--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จับสัญญาณลดดอกเบี้ย !!?


จนถึงขณะนี้มุมมองต่อแนวทางการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ปัญหา "บาทแข็ง" ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน เพราะกระทรวงการคลังก็ยังคงยืน

ความเห็นที่ต้องการให้มีการลด ดอกเบี้ย ขณะที่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวกับการดำเนิน 4 มาตรการที่ ธปท.เสนอ โดยในวันจันทร์ที่ 13 พ.ค.นี้ รัฐบาลโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้นัดประชุมพิเศษกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธปท. รวมทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจถึงภารกิจและหน้าที่ในการดูแลค่าเงินบาทให้ตรงกัน

สำหรับ 4 มาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าเพื่อแก้ไขการแข็งค่าของเงินบาท ที่ ธปท.เสนอ ได้แก่ 1.การกำหนดห้ามไม่ให้ต่างชาติซื้อพันธบัตรของ ธปท. 2.กำหนดการถือครองพันธบัตรกระทรวงการคลังและรัฐวิสาหกิจ 3-6 เดือน 3.การเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับต่างชาติที่มาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ เมื่อได้รับผลตอบแทน และ 4.นักลงทุนต่างประเทศนำเงินเข้ามาต้องทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน และต้องกันเงินจำนวนหนึ่งเพื่อตั้งสำรองไว้ที่ ธปท.

ผู้ว่าการ ธปท.ส่งซิกลดดอกเบี้ย

นาย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ตอนนี้สถานการณ์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเกาะกลุ่มสกุลเงินในภูมิภาค และ ธปท.ก็ยังเฝ้าตามดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่

"ถ้าจำได้ 2-3 สัปดาห์ที่แล้ว ผมให้ความเห็นว่า อัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น มันเกินพื้นฐานไปนั้น ซึ่งการแทรกแซงก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ขณะนี้มีเครื่องมือต่าง ๆ ไว้หลายด้าน ก็เป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเราก็เลือกใช้ในแต่ละสถานการณ์ อาจไม่ต้องใช้ทั้งหมด หรืออาจใช้ผสมผสานกัน" นายประสารกล่าว

ทั้งนี้ หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ 28.5 บาท/ดอลลาร์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งแข็งค่าสุดในภูมิภาคเอเชีย และมีการปรับอ่อนค่าลงต่อเนื่องจนล่าสุดอยู่ที่ 29.53 บาท/ดอลลาร์ (เช้าวันที่ 10 พ.ค.) ซึ่งเกาะกลุ่มกับภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธปท.ยังเห็นว่ากระแสเงินทุนยังไหลเข้าต่อค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดการเงินมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวค่อนข้างเร็ว ซึ่งได้เสนอไป 4 มาตรการ พร้อมทั้งให้ข้อมูลผลกระทบของแต่ละมาตรการพร้อมกันไปด้วย แต่จะนำมาตรการใดมาใช้ ธปท.ต้องติดตามสถานการณ์และดูความเหมาะสม

"มาตรการ ให้ต่างชาติทำเฮดจิ้ง ถือเป็นมาตรการที่เข้มที่สุด เพราะเป็นการประกาศว่า การเข้ามาลงทุนก็อย่าหวังกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เฮดจ์คือต้องประกันตัวอัตราแลกเปลี่ยน" นายประสารกล่าว

นายประสารได้ ยอมรับว่า เงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้ามาในปัจจุบัน ดอกเบี้ยอาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่นักลงทุนต่างชาติดู ขณะที่การเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อลงทุนจะคิดกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาได้สูง เมื่อลงแค่เดือนสองเดือน และคำนวณออกมาทั้งปี จะเป็นตัวเลขที่สูง ซึ่งต่างกับดอกเบี้ยที่มีส่วนต่าง (กำไร) 1% ต่อปี

โดยระบุว่า ดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในเครื่องมือแก้ปัญหาเงินทุนไหลเข้าได้ นอกเหนือจากการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารจัดการเงินทุนเคลื่อนย้าย แต่ว่าปัจจุบันดอกเบี้ยในประเทศไทย รับภาระหนักที่ต้องพยายามรักษาดุลยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ การจะใช้ดอกเบี้ยลดหรือไม่ จึงต้องพยายามดูให้เหมาะสมว่าจะผ่อนได้ขนาดไหน ถ้าหากเศรษฐกิจในประเทศไม่ได้เติบโตสูง หรือร้อนแรงมากนัก ก็จะผ่อนภารกิจของดอกเบี้ย

ขณะที่เสียงสะท้อนของคนแวดวงการเงินหลาก หลายมุมมอง โดยนายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อในเรื่องระบบเศรษฐกิจตามกลไกตลาดเสรี การที่จะออกมาตรการอะไรออกมานั้นจะต้องทำอย่างระมัดระวัง ทั้งมีความชัดเจน และต้องมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินมาตรการชัดเจนด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจปัจจุบันมีความซ้ำซ้อนมากกว่าที่คิด ดังนั้นต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ

นักวิชาการหนุนห้าม ตปท.ซื้อบอนด์ ธปท.

ด้าน รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ เห็นว่ามี 2 มาตรการที่ควรทำคือ การห้ามนักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตร ธปท. เนื่องจากปัญหาที่ ธปท.ประสบอยู่ขณะนี้คือ เงินดอลลาร์ที่ล้นระบบ ทำให้ ธปท.ต้องออกพันธบัตรเพื่อมาดูดซับสภาพคล่อง ดังนั้น เพื่อลดปัญหาการทำงาน ธปท.ให้เบาลงคือ ต้องหยุดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในพันธบัตร ธปท.

และอีกแนวทางคือ ห้ามนักลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจระยะสั้น 3-6 เดือน เพื่อป้องกันเงินร้อนที่เข้ามาเพื่อหวังเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และหากถือครองต่ำกว่า 6 เดือน ควรจะมีการเก็บภาษีระดับ 2% เพื่อลดความเหลี่ยมล้ำของอัตราดอกเบี้ยไทยกับต่างประเทศ เชื่อว่า 2 แนวทางข้างต้นเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถทำได้เลยทันที ไม่ต้องใช้ขั้นตอนในการออกนโยบายมากนัก

ส่วนมาตรการเก็บค่าธรรมเนียม การลงทุนในตราสาร และมาตรการต้องตั้งสำรองและทำประกันความเสี่ยงของเม็ดเงินที่นำเข้ามาลงทุน จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน อาจทำให้การลงทุนชะงักได้ ซึ่งไม่เพียงแต่หยุดเงินทุนระยะสั้น แต่อาจกระทบไปถึงเงินทุนระยะยาว

สำหรับมาตรการด้านดอกเบี้ย เชื่อว่า ไม่ใช่แนวทางการแก้ไขปัญหา เพราะเต็มที่ ธปท.อาจลดได้เพียง 0.25% ถือว่าไม่มีผลต่อตลาดมากนัก หากจะได้ผลต้องลดมากกว่า 1% แต่ ธปท.ไม่สามารถดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฟองสบู่ตามมาในที่สุด

SCB เชื่อลด ดบ.ไม่สามารถสกัดเงินไหลเข้า

ขณะ ที่นางสุทธาภา อมรวิวัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการด้านดอกเบี้ยดูแลค่าเงินบาท เนื่องจากการลดดอกเบี้ย ไม่ใช่ทางออก และไม่ได้สกัดเงินทุนไหลเข้าจากต่างชาติได้ เพราะหากเทียบกับเงินที่มีในระบบจำนวนมาก ทั้งจาก QE ญี่ปุ่น ยุโรป สหรัฐแล้ว เห็นว่าแม้จะลดดอกเบี้ยแล้ว เม็ดเงินต่างชาติก็ไหลเข้ามาอยู่ดี เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยดี ความเสี่ยงน้อย

หากยืนยันที่จะใช้นโยบาย ดังกล่าว ก็ต้องออกมาตรการคุมสินเชื่อ เพื่อกำจัดปัญหาฟองสบู่ตามมา เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องมีการออกกฎควบคุมเงินดาวน์ เหมือนสิงคโปร์ที่เพิ่มเงินดาวน์บ้านหลังที่สอง

"เชื่อว่า ทุกมาตรการทำได้หมด แต่การทำนโยบายดังกล่าวต้องไม่ให้กระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนมากนัก และอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนอดีตที่เคยให้กันสำรอง 30% อาจต้องมีการปรับใช้ให้เหมาะและเข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ"

สภาตลาดทุนฯค้านมาตรการเก็บค่าฟี

นาย ไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับมาตรการข้อแรก เพราะจะช่วยจำกัดการเก็งกำไรในตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งน่าจะเพียงพอและมีผลต่อค่าเงินบาทในขณะนี้ เพราะตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นถือเป็นช่องทางหลักที่นักลงทุนต่างชาติใช้เข้า มาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน

แต่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการที่ 2 ที่กำหนดระยะเวลาการถือครองพันธบัตรในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวโดยตรง ทั้งนี้เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนมาเป็นห้ามนักลงทุนต่างชาติลงทุนในพันธบัตร ของกระทรวงการคลัง และรัฐวิสาหกิจที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด

สำหรับมาตรการที่ 3 และ 4 นายไพบูลย์ระบุว่าไม่เห็นด้วย เพราะการเก็บค่าธรรมเนียมและภาษีจากนักลงทุนต่างประเทศที่ได้ผลตอบแทนจากการ ลงทุนในตลาดตราสารหนี้นั้น เป็นการลดผลตอบแทนที่ได้รับ อีกทั้งในทางปฏิบัติทำได้ยาก ส่วนการทำประกันป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนนั้น จะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน เพราะนักลงทุนต่างชาติที่เข้าลงทุนส่วนใหญ่ยังต้องการมีกำไรจากอัตราแลก เปลี่ยน

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////

ตัวทำลาย เศรษฐกิจ ประเทศ !!?


ปมปัญหาเงินบาทแข็งค่าจนทำให้ผู้ส่งออกเสียหายหนัก ประเทศชาติส่อแวววิกฤตเศรษฐกิจอีกรอบ แต่การแก้ไขหรือดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลงตามเสียงเรียกร้องของภาคเอกชนยังคงไม่เกิดขึ้นแถมยังบานปลายเป็นประเด็นขัดแย้งอย่างหนัก ระหว่าง นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น การส่งออกก็จะได้รับผลกระทบในทันที ประการแรกผลกระทบจากการลดลงของผู้ซื้อสินค้าของไทย เพราะเดิม 1 ดอลลาร์สหรัฐ เคยซื้อสินค้าไทยได้ 30-31 บาท แต่มาตอนนี้กลับซื้อสินค้าไทยได้แค่ 28-29 บาทเท่านั้น

เท่ากับว่าสินค้าไทยแพงขึ้น ผู้นำเข้าจึงหันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่นๆที่เป็นคู่แข่งของไทยแทน
นั่นคือเจ๊งแรกของประเทศ ที่ส่งออกสินค้าได้น้อยลง อย่าว่าแต่เป้าในการส่งออกจะลดลงเลย การที่รายได้เข้าประเทศน้อยลงเช่นที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ สิ่งที่รัฐบาลนายกฯปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เคยหวังเอาไว้ว่า GDP ของไทยปีนี้จะโต 8-9% ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไปก็ลืมไปได้เลย

เจ๊งที่ 2 ก็คือบรรดาผู้ส่งออกที่ขาดทุนบักโกรกไปตามๆกัน จากที่เคยกำหนดราคาขายเอาไว้ 1 ดอลลาร์เพราะคิดว่าจะได้เงิน 30 -31 บาท พอจะมีกำไรบ้างเนื่องจากต้นทุนอยู่ที่ 29 บาท กลับกลายเป็นขาดทุนในทันที... แค่ขายก็ขาดทุนแล้ว อย่าว่าแต่ลดราคาแข่งกับประเทศเพื่อนบ้านเลย ซึ่งก็ทำไม่ได้เหมือนกัน เพราะค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับค่าเงินในประเทศอื่นๆ

ฉะนั้นนี่คือเหตุผลที่ทำไมทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าไทย ต่างออกมาประสานเสียง ร้องลั่นไปหมดว่าแย่แล้ว ไม่ไหวแล้ว ทำอย่างไรก็ได้ ช่วยดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนลงด้วยเถิด

นี่คือความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และคือเหตุผลว่าทำไมภาคธุรกิจเอกชนจึงโหยหวนขอความเห็นใจว่า แบงก์ชาติช่วยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงทีเถิด

และเป็นเหตุให้นำมาซึ่งการถกเถียงกันเรื่องของอัตราดอกเบี้ย ที่กระทรวงการคลัง ภาคธุรกิจเอกชนต้องการให้ แบงก์ชาติ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเสียที เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจะได้ลดน้อยลง ค่าเงินบาทจะได้อ่อนตัวลงมาบ้าง

แต่ทางแบงก์ชาติ และ กนง.กลับไม่เห็นด้วยในการที่จะลดอัตราดอกเบี้ย

ประเด็นของการลดไม่ลดอัตราดอกเบี้ย ที่ไปเกี่ยวข้องกับการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท ก็เนื่องจากว่า เมื่อแบงก์ชาติ และ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับที่สูงกว่าประเทศต่างๆ โดยอัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ที่ 2.75% ในขณะที่ประเทศอื่นๆอยู่ที่ 0 – 1.25% จึงเท่ากับดอกเบี้ยไทยเป็นแม่เหล็กขนาดมหึมาที่จะดึงให้ต่างชาติเอาเงินเข้ามาฝากมาลงทุนในไทย

ฝากที่ประเทศตัวเองได้ไม่ถึง 1% แต่มาซื้อตราสารหนี้มาซื้อพันธบัตรของไทย ได้ดอกเบี้ย 2.75 – 3% มีหรือต่างชาติจะไม่สนใจเข้ามา

ซึ่งวิธีการเข้ามาพวกนี้ก็จะต้องมาซื้อเงินบาท เพื่อเข้ามาลงทุนในไทย เมื่อเงินต่างชาติทะลักเข้ามามากมาย ค่าเงินบาทก็เลยแข็งค่าขึ้นอย่างที่เห็น และนี่เองเป็นเหตุผลที่มีการเรียกร้องให้แบงก์ชาติ และ กนง.ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยลงมาบ้าง ประเทศอื่นๆเขาลดอัตราดอกเบี้ยกันอุตลุดแล้ว ล่าสุดธนาคารกลางของออสเตรเลียก็ลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีก 0.25% แล้ว

ถ้าดอกเบี้ยลดลงไปใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ เงินที่เคยไหลเข้ามามากมาย ก็จะชะลอตัวลง หรือดึงเงินกลับคืนไปลงทุนที่ประเทศอื่นแทน ค่าเงินบาทจะได้อ่อนตัวลงมาบ้าง
แต่แบงก์ชาติยืนกรานที่จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยลง เพราะกลัวจะเกิดภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์

ในขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกฯและอดีตรัฐมนตรีคลัง แถมเป็นอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญใน กนง. และยังเคยเป็นผู้บริหารระดับสูงธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นแบงก์ที่นายประสารเคยไปนั่งเป็นเอ็มดีมาแล้ว ก็ได้มีการออกมาสนับสนุนแนวทางของนายประสารแบบเต็มที่ โดยอ้างว่า การลดดอกเบี้ยไม่ช่วยอะไรได้มาก

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นายประสารจะเสียงแข็งที่จะไม่ลดดอกเบี้ย แถม กนง. ก็ยังเล่นบทลอยตัว เห็นได้จากการออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่บอกว่า ห่วงใยต่อความผันผวนและการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาทในระยะที่ผ่านมา ซึ่งบางช่วงอาจไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการจึงเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการดำเนินนโยบายที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ภายใต้กรอบการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้วางไว้แล้ว รวมถึงการผสมผสานมาตรการและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

บอกว่าห่วง แต่ก็ไม่มีมาตรการใดๆที่ชัดเจนออกมา ทำให้ล่าสุดทางนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ต้องออกมาเรียกร้องให้ กนง.ประชุมพิจารณาลดดอกเบี้ยภายใน 24 ชั่วโมง

ชัดเจนว่าเดินพันในเรื่องความเสียหายของประเทศรุนแรงมากขึ้นทุกที

ในขณะที่ทั้งนายกิตติรัตน์ และนายประสาร ก็ยังไม่สามารถที่จะคุยกันได้รู้เรื่อง กระทั่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องใช้สิทธิของการเป็นนายกรัฐมนตรี สั่งให้ทั้ง 2 คน ไปเปิดร้านอาหารคุยกันให้รู้เรื่องเสียที เพราะขืนปล่อยเอาไว้อย่างนี้ ประเทศชาติจะยิ่งเสียหาย

ปัญหาในขณะนี้นอกจากการเมือง จะมีการแบ่งแยกแตกขั้วกันอย่างชัดเจนแล้ว แม้แต่ในภาคเศรษฐกิจก็มีการแบ่งแยกแตกขั้วเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งๆที่เวลาที่เกิดวิกฤต เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น มันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทั้งหมดทุกภาคส่วนของประเทศ

ท่าทีของนายประสาร ที่เลือกจะไม่ยอมลดดอกเบี้ยเลยแม้แต่สักนิด แต่กลับเลือกเสนอมาตรการดูแลค่าเงินบาท 4 แนวทาง ออกมาแทน โดยมาตรการที่ 1 คือ การออกพันธบัตรของธปท. ที่สามารถกำหนดห้ามไม่ให้ต่างชาติซื้อพันธบัตร มาตรการที่ 2 การออกพันธบัตรของกระทรวงการคลังให้กำหนดระยะเวลาการถือครอง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เพื่อป้องกันการเก็งกำไร มาตรการที่ 3 คือ เสนอให้เก็บภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับต่างชาติที่มาลงทุนในตลาดตราสารหนี้เมื่อได้รับผลตอบแทน
และมาตรการที่ 4 ยังไม่มีประเทศไหนในโลกนี้ใช้กัน คือ กรณีที่นักลงทุนต่างประเทศนำเงินเข้ามา ต้องทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อบังคับไม่ให้ได้รับผลตอบแทนทางบวก ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับผลกระทบในเชิงลบ

มองให้ลึกลงไปในข้อเสนอทั้ง 4 ข้อของแบงก์ชาติ ไม่ว่าอย่างไรก็เห็นแต่เงาของนายประสารและ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร นั่นแหละที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด

และทำให้หลายฝ่ายอดคิดไม่ได้ว่า หรือว่าที่ไม่ยอมให้ลดอัตราดอกเบี้ย เพราะต้องการให้เกิดเหตุซ้ำรอย เหมือนเมื่อปี 2549 ซึ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ประกาศใช้มาตรการสำรอง 30% กับเงินทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทย

ครั้งนั้น ตลาดหุ้นไทยตกวินาศสันตะโร 100 กว่า 200 จุดมาแล้วในชั่วข้ามคืน... หรือว่าครั้งนี้ ก็อยากจะให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนั้นซ้ำรอยขึ้นมาอีก

ทำให้มีการตั้งประเด็นสงสัยว่า แล้วทำไมจึงอยากให้ตลาดหุ้นไทยพังพาบลง ซึ่งก็น่าจะมีเพียงเหตุผลเดียวก็คือ การฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทย จนดัชนีหุ้นมาจ่อที่ระดับ 1600 จุด และคาดการณ์กันว่า สิ้นปีดัชนีหุ้นไทยน่าจะไปที่ 1,700 จุดได้

ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มเครดิต เพิ่มคะแนนบวกให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์มากขึ้น
แต่หากเจอมาตรการ Capital Control เข้าให้ ตลาดหุ้นตก 200 กว่าจุดเหมือนเมื่อปี 49 ก็เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้มีการถล่มแหลกทางการเมืองได้ในทันทีว่า เป็นความผิดพลาดล้มเหลวของรัฐบาล

การออกมาตรการสำรอง 30% ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ครั้งนั้น โดนด่าหนักเพียงใด หม่อมอุ๋ยย่อมรู้ซึ้งแก่ใจ เพียงแต่บังเอิญตอนนั้นเป็นรัฐบาลมาคลอดมาจากมดลูกของ คมช. ไม่ใช่รัฐบาลที่เลือกตั้งมาตามระบอบประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้นรัฐบาลก็คงอยู่ลำบาก

แต่ขนาดนั้นสุดท้าย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ก็อยู่ไม่ได้ในที่สุด

ปัญหาก็คือ การแข็งขืนไม่ยอมลดดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ และการออกมาหนุนท่าทีแบงก์ชาติ ของบรรดาขั้วตรงข้ามรัฐบาลทั้งหลายนั้น มีเจตนาอย่างที่ผู้คนในแวดวงตลาดทุนตั้งข้อสงสัยกันหรือไม่???

หากเป็นจริง ก็ต้องถือว่าเป็นเกมการเมืองที่โหดเหี้ยมเอามากๆ เพราะการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้น ไม่ใช่เป็นเพราะลำพังผลงานรัฐบาล หรือไม่ใช่มีแต่นักการเมืองหรือคนที่เกี่ยวข้องในรัฐบาลเข้าไปลงทุน แต่ยังมีนักลงทุนรายย่อย รายบุคคล อีกเป็นจำนววนนับแสนๆคนที่เข้าไปลงทุนโดยสุจริตอยู่ด้วย

หากตลาดหุ้นต้องพังลงด้วยเหตุผลลึกๆทางการเมือง หรือเพียงเพื่อผลประโยชน์ตัณหาทางการเมืองจริงๆแล้ว ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนไทยควรจะต้องจดจารึกซื่อคนที่เกี่ยวข้องใส่บัญชีหนังสุนัขกันเอาไว้เลยว่า เพื่อเกมทางการเมือง ทำกันจนนักลงทุน จนเศรษฐกิจพัง ก็ยังทำได้เช่นนั้นหรือ

แต่หากไม่ใช่ทางผู้ว่าแบงก์ชาติ ควรจะต้องพูดให้ชัดเจนไปเลยว่า ทำไมจึงยอมลดดอกเบี้ยลดไม่ได้แม้แต่เพียงแค่สลึงเดียว

ทั้งๆที่ในอดีตที่ผ่านมา การลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นประจำ จะมีฮือฮาหน่อยก็คือลด 0.50% ซึ่งอดีตก็มีเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ขนาดว่าภาคธุรกิจเอกชนวิงวอนกันขนาดนี้แล้ว แต่ไม่ยอมเป็นไม่ยอม ตรงนี้แหละลูกผู้ชายอย่างนายประสารน่าจะพูดให้ชัดเจนไปเลย

ขณะเดียวกัน นายกิตติรัตน์เอง วันนี้ก็จะมัวมาเล่นบทอ่อนแออยู่ไม่ได้แล้วเช่นกัน ไม่ใช่เอาแต่โอดครวญว่าอยากจะปลดนายประสารเป็นรายวัน แต่ผ่านมาเป็นเดือนแล้ว ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจาบ่นไปเรื่อยๆ ทำให้นายประสารเกิดภาพเป็นลบในสายตาของภาพธุรกิจ

ถ้าคิดว่านี่เป็นเกมที่จะทำให้นายประสารเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำได้ในที่สุด ก็เป็นแผนที่ไม่เข้าท่า เพราะระหว่างนั้น กลายเป็นเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ นักลงทุน ตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วันนี้สังคมไทยรู้หมดแล้วว่ามีการเผชิญหน้ากันระหว่าง รัฐมนตรีคลัง กับ ผู้ว่าแบงก์ชาติ

แต่ก็เป็นการรับรู้ภายใต้การสับสนงุนงง ว่าตกลงแล้วใครผิดใครถูก ใครเดินเกมเดินแผนร้าย และสุดท้ายใครจะต้องเป็นฝ่ายพ่ายเป็นฝ่ายไป

จริงแล้วทั้ง 2 คน คือนายกิตติรัตน์ และนายประสาร ควรจะต้องตระหนักด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายว่า การมองต่างมุม และการเผชิญหน้ากันในครั้งนี้ เป็นศึกที่คนทั้งคู่สามารถกุมชะตาเศรษฐกิจของประเทศ ชนิดที่จะทำให้ประเทศชาติพลิกคว่ำพลิกหงายได้

แล้วทำไมยังดันอุตริเล่นเกม หรือยังดันทุรังคาราคาซังกันอยู่แบบนี้

ถ้านายกิตติรัตน์ ยอมรับว่าไม่มีปัญญาจัดการกับผู้ว่าแบงก์ชาติให้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลได้ ก็ลาออกไปเลย

หรือถ้านายประสารเห็นว่าไม่สามารถจะทำตามทิศทางของรัฐบาลได้ ไม่ยอมรับการแทรกแซง ก็ลาออกไปเสียไม่ดีกว่าหรือ?

นายประสารเป็นนักเรียนทุนแบงก์ชาติ ควรจะต้องจำคำของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้เป็นอย่างดีว่า หากผู้ว่าแบงก์ชาติ อึดอัดใจ ไม่สามารถทำงานได้ ก็ต้องลาออกไป

ดังนั้นวันนี้ไม่ใช่แค่ทั้ง 2 คน จะไปนั่งกินอาหารคุยกันว่าจะตกลงเรื่องนี้อย่างไร แต่ทั้งคู่ควรจะต้องมีสำนึกว่า แล้วประเทศชาติจะอยู่อย่างไร

หากยังขัดแย้งกันไม่เลิกราอย่างที่เกิดขึ้นขณะนี้

ที่มา.บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////

กู้วิกฤติศรัทธา : แบงก์ชาติแจงรายละเอียดยิบ เอกสาร 9 หน้า !!?


แบงก์ชาติร่อนเอกสาร 9 หน้า แจงละเอียดยิบ หลังถูกกระแสการเมือง-เอกชน ถล่มหนักความอิสระธปท.-การบริหารค่าเงิน-นโยบายดอกเบี้ย-บริหารเจ๊ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกเอกสารชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทยในระยะนี้ มีกระแสข่าวตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทำหน้าที่ดูแลเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและกระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศได้ธปท. จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สื่อมวลชนและสาธารณชน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นสาคัญเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของ ธปท. อันเป็นหนึ่งในสถาบันหลักที่ทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศมากว่า 70 ปี โดยจะครอบคลุมใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) บทบาทหน้าที่และความเป็นอิสระของ ธปท. 2) การดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน 3) การดาเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย และ 4) การขาดทุนจากการดาเนินงานของ ธปท.

ประเด็นที่หนึ่ง เรื่องบทบาทหน้าที่และความเป็นอิสระของ ธปท.

หน่วยงานหลักด้านเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็น ธปท. หรือกระทรวงการคลังหรือหน่วยงานอื่นใด ต่างมีจุดมุ่งหมายสูงสุดร่วมกัน คือ ความกินดีอยู่ดีของประชาชน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจสามารถเติบโตได้เต็มศักยภาพอย่างยั่งยืน ไม่สะดุดหยุดลงจากปัญหาวิกฤตเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน ตลอดจนมี การกระจายรายได้ที่ทั่วถึงและเป็นธรรม ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงินหรือนโยบายการคลัง ต่างต้องสอดประสานให้เหมาะสมกับภาวะและพื้นฐานของเศรษฐกิจ

พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ พรบ.ธปท. กำหนดพันธกิจหลักของ ธปท. ไว้อย่างชัดเจนตามมาตรา 7 คือการดารงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางการเงิน และเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินและระบบการชาระเงิน โดยต้องคานึงถึงการดาเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลด้วย และมาตรา 28/8 กาหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จัดทาเป้าหมายของนโยบายการเงินทุกปี โดยทาความ ตกลงร่วมกับรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

นอกจากนี้ ธปท. มีหน้าที่ตาม มาตรา 60 และ 61 ในการจัดทารายงานภาวะเศรษฐกิจการเงินเสนอต่อรัฐมนตรีเป็นประจาทุกเดือน และรายงานผลการดาเนินนโยบายของ ธปท. ต่อคณะรัฐมนตรีทุก 6 เดือน

ในทางปฏิบัติ กระทรวงการคลังและ ธปท. ได้มีการประชุมหารือและประสานงานกันอย่างสม่าเสมอ โดยมีผู้ว่าการ ธปท. หรือผู้แทนร่วมอยู่ในคณะกรรมการหรือคณะทางานต่างๆ ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานด้านนโยบายเศรษฐกิจอื่นๆ ตลอดจนมีการเข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะทางานกากับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและประชุมเป็นรายสัปดาห์

ในการพิจารณาประเด็นเชิงนโยบายต่างๆ นั้น เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ว่าการ ธปท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อาจมีความเห็นหรือมุมมองที่แตกต่างกันได้ โดยเฉพาะการให้น้าหนักกับเศรษฐกิจในระยะสั้นกับระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยการหารือและพิจารณาในภาพรวมว่า การดาเนินการอย่างไรจะเป็นผลดีที่สุดต่อประเทศ ในเมื่อทุกๆ ฝ่ายต่างมีความหวังดีต่อประเทศเป็นที่ตั้ง ดังนั้น การร่วมกันพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยยึดประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ย่อมจะนาไปสู่ข้อสรุปที่เหมาะสมกับสถานการณ์ได้

ประเทศไทยเลือกใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Inflation Targeting ใน การดาเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นแนวทางที่ธนาคารกลางใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน แม้จะมีชื่อว่า กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ แต่ในการตัดสินนโยบายนั้นมีการพิจารณาด้านการเติบโตของเศรษฐกิจด้วยเสมอ การที่ ธปท. เลือกใช้เป้าหมายเงินเฟ้อในการดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจ ก็เพราะการมีระดับอัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมเป็นสิ่งจาเป็น (prerequisite) ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ประชาชนกินดีอยู่ดี

ในการพิจารณาตัดสินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้นั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งประกอบด้วยทั้งผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ที่ผ่านกระบวนการคัดสรรมาแล้วว่าเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์สูง จะพิจารณาข้อมูลรอบด้านและตัดสินนโยบายในลักษณะมองไปข้างหน้า ไม่ได้มุ่งให้ความสาคัญแต่เฉพาะเสถียรภาพด้านราคาหรือ เงินเฟ้อ แต่ให้ความสาคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจ และคานึงถึงการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ในขณะนั้นด้วย โดยมุ่งให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องใกล้เคียงศักยภาพ ตลอดจนพยายามรักษาสมดุลของภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาและการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา2 สะท้อนว่าการดาเนินนโยบายการเงินของไทยเป็นที่เชื่อถือและยอมรับ มีกระบวนการที่ชัดเจน มีความโปร่งใส เป็นไปตามมาตรฐานสากล ตลอดจนมีประสิทธิภาพในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

ประเด็นที่สอง การดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

การแข็งค่าของเงินบาทประมาณร้อยละ 4 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นผลจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในประเทศที่เป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยปัจจัยภายนอกคือ ความอ่อนแอของเศรษฐกิจประเทศหลักและการดาเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษที่เน้นการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนของประเทศเหล่านี้อยู่ในระดับต่ามาก นักลงทุนที่ต้องการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นจึงจาเป็นต้องกระจายการลงทุนไปยังประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมทั้งประเทศไทยซึ่งมีปัจจัยภายในประเทศที่ดึงดูดการลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี สะท้อนจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ร้อยละ 4.23 และค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วที่ร้อยละ 1.34 ภาครัฐมีโครงการลงทุนต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งจะส่งผลให้ภาคธุรกิจทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีต้นทุนการดาเนินการที่ถูกลง อันจะเป็นการยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

นอกจากนี้ เสถียรภาพทางการเมืองและระบบสถาบันการเงินของไทยโดยรวมที่อยู่ในเกณฑ์ดี เป็นปัจจัยเสริมให้ไทยเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะต่ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค ทาให้ในช่วงกลางเดือนเมษายน ค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดถึงประมาณร้อยละ 6.5 จากต้นปีและแข็งค่ามากในที่สุดในภูมิภาค อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา แรงกดดันต่อค่าเงินบาทผ่อนคลายลงบ้างหลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่าไปมากแล้วและนักลงทุนเริ่มกังวลว่าทางการอาจมีมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ในขณะที่ เงินภูมิภาคก็เริ่มปรับแข็งค่าขึ้นหลังจากปัจจัยชั่วคราวของแต่ละประเทศ เช่น ความกังวลเกี่ยวกับกรณีพิพาทในคาบสมุทรเกาหลี และการเลือกตั้งในมาเลเซีย เริ่มหมดไป

หากมองในระยะยาว เงินบาทที่โน้มแข็งค่าขึ้นนับตั้งแต่หลังวิกฤตการเงินไทยปี 2540 สอดคล้องกับพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลาดับของเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจที่เติบโตดี ส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศได้มากขึ้น มีศักยภาพในการผลิตสูงขึ้น ได้ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง สะท้อนความเชื่อมั่นที่นักลงทุนมีต่อเศรษฐกิจไทย แต่ก็เป็นแรงกดดันให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ดี การแข็งค่าของเงินบาทก็มีส่วนช่วยให้คนไทยซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศและใช้น้ามันในราคาที่ถูกลง ช่วยให้เอกชนไทยลงทุนในต่างประเทศได้ด้วยต้นทุนที่ลดลง และช่วยลดภาระหนี้ต่างประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย แม้ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ผู้ประกอบการไทยก็ได้ปรับตัว โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ขยายตลาดสินค้าส่งออก ตลอดจนใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งมีส่วนสาคัญในการช่วยลดทอนผลกระทบของค่าเงิน และทาให้ภาคการส่งออกของไทยยังขยายตัวได้ดีและเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโลกได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ในภาวะปัจจุบันที่ประเทศหลัก เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ดาเนินนโยบายอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ทาให้นักลงทุนย้ายมาลงทุนในประเทศที่มีการเติบโตดีและให้ผลตอบแทนสูงกว่า ตามที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น หากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดไปในทิศทางที่สอดคล้องกับภูมิภาคและพัฒนาการของเศรษฐกิจไทย ก็ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม เพราะในภาวการณ์ที่ว่านี้ การฝืนไม่ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวตามกลไกตลาดจะทาให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวลดลง เพราะภาคธุรกิจอาจขาดแรงจูงใจในการปรับตัวตามสภาวะแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้ใช้โอกาสในการลงทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตอย่างเต็มที่ ในขณะที่คู่แข่งปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงต้นปีนี้ แม้จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกแต่คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมมากนัก โดยในไตรมาสแรก ทั้งมูลค่าและปริมาณการส่งออกยังขยายตัวได้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และจากข้อมูลเบื้องต้นของเดือนเมษายนที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็ว ธุรกิจที่บริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีก็ยังสามารถรองรับผลจาก การแข็งค่าของเงินบาทได้ ทั้งนี้ จากการหารือเพื่อประเมินผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเศรษฐกิจระหว่างสานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ธปท. ภายใต้สมมติฐานการแข็งค่าของเงินบาทที่ระดับต่างๆ ได้ผลที่ค่อนข้างสอดคล้องกัน โดยพบว่าในกรณีเลวร้าย คือ สมมติให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วมากต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี ถึงแม้จะทาให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ปรับลดลงบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ ซึ่งไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าการแข็งค่าของค่าเงินจะทาให้เศรษฐกิจหดตัวลงมากถึงขั้นวิกฤตแต่อย่างใด

จากการศึกษาพบว่า การส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเป็นหลัก (รูปที่ 1: ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าการส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพของผู้ผลิตบางส่วน ที่ช่วยลดผลกระทบของค่าเงินแข็งต่อการขายสินค้า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารายได้ของผู้ส่งออกเมื่อแปลงเป็นเงินบาทย่อมจะมีมูลค่าน้อยลง ประกอบกับการที่ผู้ส่งออกของไทยส่วนใหญ่ไม่มีอานาจต่อรองราคาในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ ทาให้กาไรและสภาพคล่องในรูปเงินบาทของผู้ส่งออกลดลงได้ การตั้งราคาซื้อขายสินค้าในรูปสกุลเงินต่างประเทศก็อาจทาได้ยากภายใต้สถานการณ์ที่ค่าเงินมีความผันผวนสูง

ธปท. ตระหนักดีว่า ภาคธุรกิจขนาดเล็กที่มีศักยภาพจากัดย่อมได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจ ขนาดใหญ่ ทางการจึงควรต้องมีมาตรการเยียวยาที่เจาะจงเฉพาะกลุ่ม เช่น การช่วยเหลือด้านสภาพคล่อง และการค้าประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสามารถปรับตัวได้อย่างราบรื่นและยั่งยืนในการรับมือกับแนวโน้มค่าเงินบาท รวมทั้งผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สาคัญ ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่า และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งในส่วนนี้ ธปท. ได้ดาเนินการผลักดันมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก ทั้งในด้านการผ่อนผันเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารรายรับและรายจ่ายสกุลเงินต่างประเทศ และการพิจารณา แนวทางการค้าประกันธุรกรรมซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของผู้ประกอบการรายเล็กร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ในระยะนี้ที่ภาวะตลาดการเงินโลกมีความผันผวนมาก อาจทาให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและเบี่ยงเบนจากระดับที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานได้ในบางช่วง ธปท. ตระหนักถึงความจาเป็นที่ทางการต้องมีมาตรการดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากเกินไปจนเกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจ

ธปท. มีการติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด ตลอดจนประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพและรายงานให้ กนง. ทราบโดยละเอียดอย่างต่อเนื่อง กนง. ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลให้อัตราเงินเฟ้อและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเหมาะสมกับสถานการณ์และเอื้อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและมีดุลยภาพ ได้มีการพิจารณาใช้เครื่องมือบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นระบบ โดยคานึงถึงประสิทธิผลของเครื่องมือ ตลอดจนผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการดาเนินการต่างๆ

ทั้งนี้ หาก กนง. ประเมินว่าการเคลื่อนไหวของเงินบาทมีความผันผวนผิดปกติ จนอาจส่งผลกระทบทาให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่อาจจะไม่สามารถเติบโตได้ตามศักยภาพ กนง. ก็พร้อมที่จะพิจารณาทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และพิจารณาความจาเป็นในการใช้มาตรการเสริมเข้าดูแล รวมถึงประสาน การใช้มาตรการอื่นๆ ภายใต้อานาจกระทรวงการคลัง โดยจะพิจารณาความเข้มของมาตรการตามความจาเป็นและเหมาะสมของสถานการณ์ ทั้งนี้ การใช้มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้านั้น จาเป็นต้องใช้ความรอบคอบและระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลข้างเคียง ทั้งผลทางจิตวิทยาที่อาจทาให้เกิดความผันผวนระยะสั้นในตลาดเงิน ตลอดจนผลต่อปริมาณเงินทุนและต้นทุนการกู้เงินของประเทศในระยะยาว


สาหรับประเด็นที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าสถานการณ์ในปัจจุบันอาจนาไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540 นั้น ธปท. ขอชี้แจงว่าสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันแตกต่างกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤตครั้งก่อนโดยสิ้นเชิง ซึ่งทาให้โอกาสที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินเช่นในอดีตมีน้อยมาก

ประการแรก การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่นในปัจจุบัน แทนระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทางการไม่จาเป็นต้องรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง แต่สามารถปล่อยให้ค่าเงินเคลื่อนไหวในระดับที่สอดคล้องกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสที่จะถูกโจมตีค่าเงินเช่นในอดีต

ประการที่สอง เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีโครงสร้างที่แข็งแกร่งกว่าในอดีตมาก ทาให้ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพทางการเงินจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินลดลงไปมาก เนื่องจาก (1) การกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อใช้จ่ายและลงทุนในประเทศของภาคเอกชนลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 สะท้อนจากระดับหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนที่ลดลงจากร้อยละ 65 ของ GDP ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต เหลือเพียงร้อยละ 35 ในปัจจุบัน ประกอบกับการบริหารจัดการความเสี่ยงของภาคเอกชนที่ระมัดระวังมากขึ้น จึงทาให้ความเสี่ยงจากการที่สกุลเงินด้านสินทรัพย์และหนี้สินไม่ตรงกัน (currency mismatch) น้อยลงกว่าในอดีตมาก (2) สถานะด้านการค้าต่างประเทศของไทยในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ต่างกับในช่วงก่อนวิกฤตที่ไทยประสบปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึงร้อยละ 8 ของ GDP ในปี 2539 และ (3) ระบบสถาบันการเงินในปัจจุบันมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมากกว่าในอดีต มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประการที่สาม ค่าเงินที่เคลื่อนไหวได้ตามกลไกตลาดภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน สามารถทาหน้าที่เป็นกลไกอัตโนมัติในการรักษาสมดุลของระบบเศรษฐกิจ โดยหากเศรษฐกิจเติบโตได้ดีและมีเงินทุนไหลเข้ามาก ซึ่งทาให้ค่าเงินแข็งขึ้นจนเริ่มเกินกว่าระดับที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน ดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนไหลเข้าจะเริ่มชะลอลง นักลงทุนจะระมัดระวังในการนาเงินเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจและลดแรงกดดันต่อค่าเงิน ในทางกลับกัน ในยามที่เศรษฐกิจอ่อนแอ ค่าเงินก็มักปรับอ่อนลงด้วย ช่วยกระตุ้นการส่งออก และเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนในสินทรัพย์ไทย ทาให้โดยรวมแล้วระบบเศรษฐกิจจะไม่เบี่ยงเบนไปจากจุดสมดุลมากหรือยาวนานนัก

ประการที่สี่ การที่ทางการไม่จาเป็นต้องแทรกแซงเพื่อรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ระดับใดระดับหนึ่ง ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินภายในประเทศอีกด้วย ต่างจากประเทศที่ใช้เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนเช่นฮ่องกงหรือสิงคโปร์ที่จาเป็นต้องปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยปรับตามประเทศหลัก ไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยเพื่อดูแลเศรษฐกิจในประเทศที่มีความร้อนแรงในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้

ประเด็นที่สาม การดาเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหมายถึงอัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน เป็นเครื่องมือในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินระดับมหภาค การปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยมีผลกว้างขวางต่อเศรษฐกิจทุกภาคส่วน เพราะนอกจากจะมีผลต่อเงินเฟ้อ ผ่านต้นทุนการกู้ยืมเพื่อการบริโภคและลงทุนแล้ว ยังมีผลต่อผลตอบแทนและพฤติกรรมของผู้ออมอีกด้วย

ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ร้อยละ 2.75 ไม่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และไม่ได้สูงกว่าหลายประเทศในภูมิภาคที่มีระบบการเงินคล้ายคลึงกับไทย (รูปที่ 2: อัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศต่างๆ) และหากพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rate) ซึ่งก็คืออัตราดอกเบี้ยหักด้วยอัตราเงินเฟ้อปัจจุบัน ของไทยก็อยู่ในระดับใกล้ศูนย์ (รูปที่ 3: อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศต่างๆ) หมายถึง ประเทศไทยมีนโยบายการเงินที่ยังเอื้อต่อการใช้จ่ายและการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดี บทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจในต่างประเทศแสดงให้เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ต่าต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ประชาชนก่อหนี้มากขึ้น และผู้ออมเกิดแรงจูงใจนาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้นเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงกว่า

ในปัจจุบันเริ่มมีสัญญาณความร้อนแรงอยู่บ้าง ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ตาม หัวเมืองใหญ่ ขณะที่สินเชื่อภาคเอกชนยังขยายตัวสูง และหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะหลังที่เร่งขึ้นมากมาอยู่ที่ร้อยละ 78 ของ GDP ทาให้การพิจารณาใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือจาเป็นต้องมี ความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อให้สามารถรักษาสมดุลในระบบเศรษฐกิจได้ในระยะปานกลางและระยะยาว

มาตรการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจผ่านสถาบันการเงินหรือที่เรียกว่า macroprudential เพื่อลดความร้อนแรงในบางภาคธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่อาจนามาใช้เสริมกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการดูแลเศรษฐกิจได้ ซึ่งหากจะนาเครื่องมือนี้มาใช้กับธนาคารพาณิชย์ ก็ควรต้องพิจารณานามาใช้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ตลอดจนสถาบันอื่นๆ ที่มีการให้กู้ยืมเงินด้วย ซึ่งมีสัดส่วนการให้สินเชื่อประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณสินเชื่อทั้งระบบ เพื่อให้มาตรการมีประสิทธิผลอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ นโยบาย macroprudential ควรนามาใช้เป็นเครื่องมือเสริมในกรณีที่นโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้ทาหน้าที่ดูแลเศรษฐกิจอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์แล้วเท่านั้น ไม่เช่นนั้นประสิทธิผลของเครื่องมือนี้ก็จะถูกลดทอนลงไป

ประเด็นที่สี่ การขาดทุนจากการดาเนินงานของ ธปท.

การขาดทุนจากการดาเนินงานเกิดขึ้นจากการดาเนินการตามพันธกิจของ ธปท. ในการดูแลเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตตามศักยภาพได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ โดยเฉพาะในช่วงหลังวิกฤตการเงินโลกปี 2551 เศรษฐกิจโลกตกต่า ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ธปท. จึงจาเป็นต้องบริหารจัดการค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากหรือแข็งค่าเร็วเกินไป โดยการซื้อเงินตราต่างประเทศ ทาให้มีการสะสมเงินสารองทางการเพิ่มขึ้นมาก และในการซื้อเงินตราต่างประเทศดังกล่าว หน้าที่ของธนาคารกลางโดยทั่วไปก็ต้องดูดซับ สภาพคล่องเงินบาทไปพร้อมๆ กัน เพื่อรักษาให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจการเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

การทาหน้าที่ของธนาคารกลางเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินดังกล่าว เป็นแนวปฏิบัติของ ธนาคารกลางโดยทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดทอนผลกระทบต่อภาคเอกชนในภาวะที่ค่าเงินแข็งค่า และเป็นการยืดเวลาให้ภาคเอกชนได้มีการปรับตัว แต่ในอีกด้านหนึ่งก็มีต้นทุนต่องบดุลของธนาคารกลาง

ต้นทุนในส่วนแรกมาจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยรับและอัตราดอกเบี้ยจ่าย ในภาวะปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยของประเทศหลักถูกกดลงให้ต่าผิดปกติเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดอกเบี้ยรับจากสินทรัพย์ต่างประเทศที่ ธปท. ถือ จึงอยู่ในระดับที่ต่ามาก ในขณะที่ ธปท. มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยในประเทศเพื่อ

ดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินไทยในอัตราที่สูงกว่าและเป็นอัตราที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่เติบโตได้ดี

ต้นทุนในส่วนที่สอง คือ ผลขาดทุนทางบัญชีจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นซึ่งสะท้อนเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี สินทรัพย์ต่างประเทศที่ ธปท. ถือไว้ยังคงมีมูลค่าในสกุลเงินตราต่างประเทศเท่าเดิม แต่เมื่อมีการตีราคาเป็นเงินบาท ก็จะมีมูลค่าที่ลดลง ทาให้เกิดผลขาดทุนทางบัญชี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่หลายประเทศในภูมิภาคกาลังประสบเช่นกัน

ในภาวะที่ ธปท. มีผลขาดทุน แต่หากการดาเนินงานของ ธปท. ยังเป็นที่เชื่อถือและ ธปท. สามารถอธิบายสาเหตุของการขาดทุนให้สาธารณชนเข้าใจและยอมรับได้ ผลขาดทุนของ ธปท. ก็จะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นและประสิทธิผลในการดาเนินนโยบายการเงิน แต่ในทางกลับกัน หากสาธารณชนเข้าใจผิดว่า ธปท. ไม่ทาหน้าที่ดูแลเศรษฐกิจในภาวะที่ประชาชนเดือดร้อน กรณีเช่นนี้ก็อาจก่อให้เกิดความสับสนและกระทบต่อความเชื่อมั่นและประสิทธิผลของนโยบายการเงินในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจได้

ทั้งนี้ ธปท. ตระหนักในภาระการขาดทุนจากการดาเนินงานดังกล่าว และได้วางแนวทางเพื่อลด การขาดทุนดังกล่าวและปรับปรุงฐานะการเงินของ ธปท. ให้เข้มแข็งขึ้น โดยได้ดาเนินการขยายประเภทสินทรัพย์ที่นาเงินสารองทางการไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการหาผลตอบแทน และขอเรียนเพิ่มเติมให้ประชาชนสบายใจได้ว่า เงินทุนที่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เมตตารวบรวมบริจาคมานั้น ยังคงมีอยู่ครบถ้วนในบัญชีทุนสารองเงินตรา

ธปท. ขอให้ความมั่นใจกับประชาชนว่า ธปท. จะยังคงดาเนินการตามหลักการและมาตรฐานใน การดาเนินงานของธนาคารกลางที่เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล โดยยึดมั่นต่อพันธกิจตามกฎหมายในการดูแลรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจการเงิน และมุ่งทาหน้าที่อย่างเข้มแข็งเช่นที่เคยเป็นมา เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนคนไทยสืบไป

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความภูมิใจ ในความเป็นไทย !!?


คอลัมน์ เรื่องเล่าซีอีโอ

โดย ศุภชัย เจียรวนนท์

ความภูมิใจในตัวเองเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างความเชื่อมั่น หากปราศจากความภาคภูมิใจและความเชื่อมั่นในตัวเองจะทำให้เราไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ไม่กล้าเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึงความภูมิใจ และความมั่นใจเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาระบบสังคม และเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งองค์กร หรือแม้กระทั่งผู้นำในครอบครัว

ผมยังจำได้ว่า ตอนที่ลูกชายคนโตยังเด็ก เขาเรียนโรงเรียนอินเตอร์ ประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่เรียนจะเกี่ยวกับยุโรป ประวัติศาสตร์กรุงโรม ผู้ที่มีความยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับเด็กชายวัย 10 ขวบตอนนั้น ชื่อ Alexander the Great ซึ่งสามารถครอบครองพรมแดนในอาณาบริเวณกว้างถึง 1/3 ของโลก สิ่งที่สะท้อนกลับมาตอนนั้น ดูเหมือนว่า เด็กวัย 10 ขวบคนหนึ่ง ไม่ได้มีอะไรในความเป็นประเทศเอเชีย หรือแม้กระทั่งประเทศไทย ที่ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจ หรือแม้กระทั่งความเป็นเด็กไทยของตัวเอง หรือความเป็นเด็กเอเชียคนหนึ่ง

ดูเหมือนว่า ความยิ่งใหญ่ทั้งหมดเกิดขึ้นจากยุโรป ไม่ใช่เพียงแค่การปกครอง แต่ยังรวมถึงการค้นคว้าวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญาที่มีชื่อเสียง

ผมถามลูกชายวัย 10 ขวบในเวลานั้นว่า นอกจาก Alexander the Great แล้ว เขารู้จัก "สิทธัตถะ" หรือไม่ เขาบอกว่า ไม่รู้จัก และเมื่อถามว่า รู้จักพระพุทธเจ้าหรือไม่ เขาบอกว่า รู้จัก แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ปกครองโลกถึง 1 ใน 3 เหมือน Alexander ผมเลยถามต่อว่า แล้ว Alexander มีคุณค่าและความทรงจำที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องไว้ให้คนรุ่นปัจจุบันนี้หรือไม่ หากเทียบกับเจ้าชายสิทธัตถะ ที่เวลาผ่านมากว่า 2500 ปีแล้ว ยังมีคนเรียนรู้คำสอน ยังเคารพบูชา แม้กระทั่งหุ่นปั้น หรือรูปของท่านอยู่ตลอด

ผมถามลูกชายผมต่อไปถึงสิ่งที่รู้สึกภูมิใจในประเทศไทย ในความเป็นคนไทย

คำตอบที่เขาสามารถตอบได้ทันที คือภูมิใจใน "ในหลวง" ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจ และเป็นจุดยึดเหนี่ยวของคนไทย แต่ถ้าถามไปว่า มีอะไรอีก เขาเริ่มจะคิดไม่ออก

ผมกลับมานึกถึงตัวเองว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเดินทางไปในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่ง 20 ปีก่อนล้าหลังเรามาก แต่ปัจจุบันก้าวนำหน้าประเทศเราไปแล้ว ผมสังเกตได้ชัดเลยว่า เวลาคนจีนพูดถึงประเทศตัวเอง จะพูดด้วยความเชื่อมั่น และภาคภูมิใจว่า สามารถทำทุกอย่างได้ไม่แพ้ประเทศอื่น

เรื่องความภาคภูมิใจในประเทศของตนไม่ใช่มีเพียงแค่คนในประเทศจีน แต่ทั้งประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ต่างมีความชัดเจนเรื่องความภาคภูมิใจในประเทศของตน ซึ่งรวมถึงผู้คนในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปตะวันตกด้วย

การสร้างความภาคภูมิใจในประเทศของเรา ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านความคิดที่สำคัญมาก เพราะหากปราศจากความเชื่อมั่น เราก็ไม่สามารถสร้างสังคมที่ยั่งยืนได้ ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรม

ทุกวันนี้ สิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของไทยยังมีอีกหลายเรื่อง ซึ่งชาวโลกยอมรับ แต่คนไทยเองอาจยังมองไม่เห็น ทั้งศิลปะการป้องกันตัวของไทย "มวยไทย" ที่มีชื่อเสียงติดระดับท็อปของโลก อาหารไทยก็ได้รับการยอมรับในระดับท็อปของโลกเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรมไทย ที่นานาประเทศต่างชื่นชมว่า เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีการ

หล่อหลอมวัฒนธรรมในภาคพื้นเอเชียเข้ามาด้วยกัน อันเนื่องมาจากความเป็นเอกราชของไทย ที่ทำให้วัฒนธรรมไทยเปิดกว้าง และยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ภาคภูมิใจ

ประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามในระดับโลก และเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก ว่าทำไมต้องมาเที่ยวที่ประเทศไทย แต่เราอาจไม่ดูแล และรักษาความน่าภาคภูมิใจเหล่านี้เท่าที่ควรจะเป็น

ยังมีศิลปวัฒนธรรมของไทยอีกมายมาย ที่แสดงถึงความสามารถของคนไทย รวมไปถึงอุตสาหกรรม เช่น เกษตรกรรม เป็นอุตสาหกรรมที่มีความรุดหน้า และเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของโลก จะพูดไป ก็มีอีกหลายเรื่องที่เป็นความภาคภูมิใจของคนไทย แต่หลายสิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้มีการนำมาถ่ายทอดไปสู่เยาวชน ให้เขาได้รู้สึกภาคภูมิใจ และเสริมสร้างความมั่นใจว่า เขาสามารถสร้างสรรค์ภายใต้ความเป็นไทยไปสู่ความเป็นผู้นำในระดับสากลได้ เขาสามารถสร้างคุณค่าที่แบ่งปันให้คนทั้งโลกได้ เขาจะมีความรู้สึกได้ว่า ถ้าประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว สมารถทำได้ ทำไมตัวเราจะทำไม่ได้

คนทุกคนอยากรู้ว่า ตัวเองมีที่มาจากครอบครัว จากสังคม หรือจากประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในทางใดทางหนึ่ง หากขาดความภาคภูมิใจ และความมั่นใจในพื้นฐานของตัวเอง ขาดความรู้สึกที่เรียกว่า Sense of Belongings ไม่เข้าใจหรือเคารพในที่มาที่ไปของตัวเอง ก็ยากที่จะเติบโตอย่างมีความมั่นใจ

ในฐานะที่เป็นคนไทย ความมั่นใจ ความภูมิใจ คือความแข็งแกร่งของเมล็ดพันธุ์ที่จะหยั่งรากลึก พร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรค และความท้าทายนานัปการในการดำเนินชีวิต พร้อมที่จะแข่งขัน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ คุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ลองถามตัวเองดูว่า คุณเชื่อหรือไม่ว่า คนไทย ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำในเกษตรอุตสาหกรรมของโลกได้ ? คุณเชื่อหรือไม่ว่า ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำในเรื่องของอาหาร เพื่อเสิร์ฟคนทั่วโลกได้ ? คุณเชื่อหรือไม่ว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้เกิดประโยชน์ต่อคนทั้งโลกได้ ?

คุณเชื่อหรือไม่ว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของ AEC เชื่อหรือไม่ว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศไทยน่าอยู่ประเทศหนึ่งของโลก ? คุณเชื่อหรือไม่ว่า จะสามารถเป็นผู้นำในเทคโนโลยีด้านอวกาศ และส่งกระสวยอวกาศไปดาวอังคารได้ ?

ถ้าคำตอบคือไม่เชื่อ มันก็คงเป็นไปไม่ได้ ถ้าคำตอบคือประเทศไทยทำได้อยู่แล้ว ทุกอย่างก็เป็นไปได้ ลองถามเด็ก ๆ รุ่นใหม่ดูว่า เขามีความเชื่อหรือไม่ และมีความภาคภูมิใจในประเทศมากน้อยแค่ไหน มีเรื่องอะไรบ้างที่เขามีความภูมิใจในความเป็นคนไทย แต่ต้องอย่าลืมเริ่มต้นด้วยการถามตัวคุณเองก่อน

ทุกอย่างเริ่มต้นจากความภาคภูมิใจ "You are what you belong" ในพื้นฐานที่คนเอเชียมักคิดคือความกตัญญู คือการรู้ถึงที่มาที่ไปของตัวเอง และสามารถที่จะทดแทนและตอบแทนให้กับที่มาของตัวเอง อันนี้เป็นความภาคภูมิใจขั้นพื้นฐาน

ด้วยสื่อ หนังสือ และระบบการเรียนการสอนในปัจจุบัน และรวมถึงระบอบที่เป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ทำให้ลืมพื้นฐาน ที่มาที่ไป และความภาคภูมิใจของตัวเราเอง รวมทั้งลืมความเป็นไทย ที่สามารถสร้างคุณค่าให้คนทั้งโลกได้

ในฐานะผู้นำขององค์กรไทยองค์กรหนึ่ง หลายครั้งที่ผมตั้งคำถามว่า เราจะทำสิ่งใหม่ ๆ ได้หรือไม่ แต่คำถามที่ผมมักได้รับกลับมา คือมีประเทศอื่นทำสำเร็จหรือยัง ถ้าไม่มี แล้วเราจะทำสำเร็จได้หรือ ซึ่งก็ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับองค์กรไทย แต่ผมมีความหวังว่าสักวันหนึ่งที่ผมถามถึงการทำเรื่องอะไรใหม่ ๆ จะมีคนถามผมกลับว่าทำไมเราจะทำไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดเช่นเดียวกัน เพราะผมมั่นใจว่าคนไทยทำได้

ผมมั่นใจในศักยภาพของคนไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทย

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////


เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ของจริงหรือฟองสบู่ !!?


คอลัมน์ มายาการเงิน โดย สันติธาร เสถียรไทย

เมื่อเทียบเศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียกับเศรษฐกิจประเทศอื่นในเอเชียแล้ว เศรษฐกิจอินโดนีเซียนั้นมีอะไรให้อิจฉาหลายข้อ

อย่างแรกคือ การที่เศรษฐกิจของเขามีอัตราการเจริญเติบโต (GDP Growth Rate) ที่มีเสถียรภาพสูง โดยโตอย่างสม่ำเสมอที่อัตราประมาณ 6% ใน 5 ปีที่ผ่านมา จนรัฐบาลอินโดนีเซียชอบพูดอย่างภูมิใจเสมอว่า ขนาดในปี 2552 ที่ทั้งโลกโดนกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์นั้น เศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนนี้ก็ยังโตได้ 4.6% ขณะที่ไทยกับมาเลเซีย ติดลบประมาณ 2% และแม้แต่เศรษฐกิจที่ไม่พึ่งพาการส่งออกมากอย่างฟิลิปปินส์ก็โตได้แค่ 1%

นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีหนี้ในระบบต่ำมาก ทั้งในรัฐบาล (23% ของ GDP) และภาคเอกชน (33% ของ GDP) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่อินโดนีเซียนั้นเบี้ยวไม่จ่ายและยกเลิกหนี้ไป หลังจากเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่อีกเหตุผลหนึ่ง ก็คือการที่รัฐบาลเขาระมัดระวังการใช้จ่ายการคลังมากในสิบปีที่ผ่านมา ถึงขนาดมีกฎในรัฐธรรมนูญว่าการ
ขาดดุลการคลังนั้นห้ามเกิน 3% ของ GDP

สุดท้ายแม้แต่เรื่องที่เคยเป็นจุดอ่อนใหญ่ของอินโดนีเซียมาตลอด อย่าง "เงินเฟ้อ" ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็อยู่ภายใต้การควบคุมได้อย่างน่าแปลกใจ ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจและสินเชื่อโตอย่างรวดเร็วเกิน GDP เสมอมา จนทำเอานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ผิดครั้งแล้วครั้งเล่า

ขวัญใจของนักลงทุน

จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศนี้เป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุนทุกประเภท ใน 5 ปีที่ผ่านมา ในด้านตลาดหุ้นก็เป็นตลาดที่ร้อนแรงที่สุดของอาเซียน (ดัชนีปรับตัวขึ้นมา 110% ในช่วงเวลานี้) พันธบัตรรัฐบาลก็ได้อัพเกรดระดับความน่าเชื่อถือ จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่าง ๆ กลับมาเป็น Investment Grade ตั้งแต่ปี 2554 บริษัทข้ามชาติ (Multinational Companies) ก็นำเงินมาลงทุกปี ทีละ 1-1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำเอาไทยกับมาเลเซียที่ได้ปีละ 8-9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นดูน้อยไปเลย (ถ้าไม่เทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ) บริษัทเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงมีบริษัทชั้นนำที่ลงทุนในอินโดนีเซีย เพื่อให้เข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และแร่โลหะ แต่ยังมีเจ้าอื่น เช่น พวกยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อย่างโตโยต้าและการค้าปลีก เช่น ยูนิลีเวอร์ ที่อยากได้ประโยชน์จากตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ เมื่อขนาดของชนชั้นกลางกำลังเติบใหญ่ (Mckinsey คาดการณ์ว่าตลาด

ผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อในอินโดนีเซียจะขยายใหญ่ขึ้น จาก 45 ล้านคนในปี 2553 เป็น 85 ล้านคนภายใน 10 ปี)

ในขณะเดียวกันแรงงานราคาถูกก็ยังมีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งเพราะประชากรที่ยังเด็กและโตเร็ว สุดท้ายที่ลืมไม่ได้คือธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่มาแรงเช่นกัน โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเศรษฐีพันล้านที่นิตยสาร Forbes บอกว่ามีถึง 25 คนในอินโดนีเซีย (อยู่ที่อันดับ 5 ของเอเชีย และสูงกว่าญี่ปุ่นหรือไทยที่มี 10 คน) เริ่มนำเงินที่คนเชื่อว่าเก็บไว้ที่สิงคโปร์กลับมาลงทุนในประเทศของตนมากขึ้น

ภัยซ่อนเร้นสภาวะฟองสบู่

หากจะถามว่าอย่างนั้นรีบไปลงทุนในอินโดนีเซียกันเลยไหม? ผมว่ายังก่อนดีกว่าครับ เมื่อที่ใดดูดีไร้ที่ติเกินความเป็นจริงจนนักลงทุนต่างชาติเรียกกัน ว่าเป็น "สิ่งมหัศจรรย์" เหมือนกับที่ไทยเราเคยถูกขนานนามก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง

เมื่อนั้นคือยามที่ต้องถอยหนึ่งก้าวแล้วเอาแว่นขยายมาส่องมองให้ลึกลงไปอีกสักหน่อย

เสมอ

แท้จริงแล้วเศรษฐกิจของอินโดนีเซียเริ่มมีอาการหลายอย่างที่ส่อถึงสภาวะที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า"Overheating" หมายถึงการที่เศรษฐกิจโตเร็วเกินไป แต่ที่นักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินหลายคนมองข้ามปัญหานี้ไป มีอย่างน้อยสองข้อคือ

ข้อแรกคือ การที่พวกเรามักจะให้ความสำคัญกับเงินเฟ้อมากเกินไปในการเป็นสัญญาณเตือนภัย เหมือนเป็นปรอท

วัดอุณหภูมิที่เชื่อถือได้ เมื่อเงินเฟ้อไม่ดีดตัวขึ้นสูงอย่างมีนัย นักเศรษฐศาสตร์

และนักลงทุนจึงวางใจคิดว่า "ไม่มีอะไร" ต้องห่วง และนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธนาคารชาติของอินโดนีเซียวางใจถึงขนาดลดดอกเบี้ยลงไปอีก

หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกผ่านไปแล้วอีก 0.75% จนดอกเบี้ยนโยบายนั้นลงมาอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ เพื่ออัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มในยามที่ GDP ยังโตได้เฉลี่ยปีละกว่า 6% อย่างไม่มีปัญหา (เป็นรองแค่จีนและอินเดีย)

ซึ่งนโยบายการเงินที่ผิดพลาดนี่เองก็คือหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซียนั้นเริ่ม Overheat

ถ้าเรามองกลับไปในประวัติศาสตร์จริง ๆ แล้ว หลายต่อหลายครั้งเงินเฟ้อไม่ใช่สัญญาณเตือนภัยทางเศรษฐกิจล่วงหน้าที่ดี ไม่ว่าจะเป็นในอเมริกาก่อนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ และวิกฤตดอตคอม (Dot-com Crisis) หรือในอินโดนีเซียเอง ช่วงก่อนฟองสบู่จะแตกตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง เงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคนั้นก็ไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้น ไม่ได้เตือนภัยว่า "เครื่องยนต์ร้อนจนไฟติดแล้ว" สุดท้ายเครื่องเลยระเบิด

โดยทั่วไปสิ่งที่เตือนภัยได้ดีกว่ามากคือ ราคาสินทรัพย์ เช่น ราคาอสังหาริมทรัพย์ แต่ในกรณีของอินโดนีเซียนั้น เรียกได้ว่าปราบเซียนซ้อนขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เพราะหากไปดูดัชนีราคาอสังหาฯที่รวบรวมโดยรัฐบาล จะพบว่าราคานั้นไม่ได้ปรับตัวขึ้นสูงนัก อยู่เพียง 5-7% ต่อปีที่ผ่านมา

เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะตัวเลขไม่สะท้อนถึงสภาพความจริง ไม่ว่าจะเป็นราคาที่ดิน บ้าน คอนโดฯ ราคาไม่ได้ขึ้นทุกที่เหมือนฝนที่ตกไม่ทั่วฟ้า เพราะฉะนั้น หากดูดัชนีราคาอสังหาฯที่เป็นค่าเฉลี่ย หรือถามผิดคน ก็จะไม่รู้ว่าราคาขึ้นสูงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฟองสบู่ขนาดนี้

ตอนนี้สิ่งเดียวที่ออกอาการ ฟ้องว่าเศรษฐกิจมหภาคของอินโดนีเซียกำลังมีปัญหาคือ ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) ที่ตกฮวบ จากที่เคยเกินดุลกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเป็นติดลบ 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการขาดดุลที่สูงที่สุด ยิ่งกว่าช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้งเสียอีก

นี่ก็เป็นปัจจัยหลักตัวหนึ่งที่ทำให้ธนาคารชาติของอินโดนีเซียต้องเข้าไปแทรกแซงพยุงค่าเงินรูเปียห์ไม่ให้อ่อนไป ในขณะที่ประเทศอื่นในเอเชียกำลังปวดหัวเรื่องเงินตนเองแข็งเกินไป

มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินโดนีเซียนี้เป็นปัญหาเพียงชั่วคราว เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ที่ประเทศนี้ส่งออก เช่น ถ่านหิน น้ำมันปาล์ม และยางพารานั้นซบเซามากในปีที่ผ่านมา แล้วปีนี้ราคาน่าจะกระเตื้องกลับขึ้นสูง

แต่วิธีคิดเช่นนี้มีข้อบกพร่องสองข้อคือ ข้อแรก-ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้อาจไม่ดีขึ้นสักเท่าไร โดยเฉพาะถ่านหิน เมื่อลูกค้าใหญ่อย่างจีนพอใจกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้ากว่าเดิม และยังมีสต๊อกอยู่มาก สอง-หากเราแยกบัญชีการค้าของอินโดนีเซียเป็นส่วนที่เกี่ยวกับ

สินค้าโภคภัณฑ์ กับส่วนที่ไม่เกี่ยว

(Commodity and Noncommodity Trade Balances) จะเห็นว่าส่วนที่ไม่เกี่ยวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์นั้นแย่ลงมากเช่นกัน

จึงโทษราคาถ่านหินหรือน้ำมันปาล์มไม่ได้ แต่ต้องโทษอุปสงค์ภายในประเทศที่โตเร็วเกินไป จนเศรษฐกิจเริ่ม Overheat อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น

เศรษฐกิจอินโดฯจะพังหรือไม่ ?

คำตอบคือ ทั้งหมดนี้ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะพัง และผจญกับวิกฤตแบบช่วงปี 2540-2542 แต่มันเป็นสัญญาณเตือนว่าค่าเงินรูเปียห์จะถูกแรงกดดันให้อ่อนตัวลงไปอีก เพราะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนี้น่าจะแย่ลงกว่าปีที่แล้ว ทำให้มีเงินที่ไหลออกจากอินโดนีเซียมากกว่าเงินที่ไหลเข้า

และแม้แบงก์ชาติของอินโดฯจะแทรกแซงเพื่อพยุงค่าเงินอยู่สุดท้ายรัฐบาลคงไม่อยากใช้เงินสำรองต่างประเทศมากเกินไป และน่าจะยอมให้ค่าเงินค่อย ๆ อ่อนตัวลงจนเกิน 10,000 เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีผลลบต่อภาคเศรษฐกิจและธุรกิจที่พึ่งพาการนำเข้าสูง เช่นภาคยานยนต์และก่อสร้าง ในขณะที่ธุรกิจที่เน้นส่งออก เช่น ถ่านหิน น้ำมันปาล์ม และยางพารา จะได้รับประโยชน์

สุดท้ายรัฐบาลก็คงไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกเพื่อชะลออุปสงค์ภายในประเทศ อาจจะด้วยการผลักภาระราคาน้ำมันที่ตนอุ้มอยู่ให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเองมากขึ้น หรือการปล่อยให้ธนาคารชาติขึ้นดอกเบี้ยบางตัว เพื่อลดปัญหา Overheating ลง

ถ้าเราเป็นนักลงทุนในอินโดนีเซีย คงต้องถามตัวเองว่าเราพร้อมกับการปรับตัวของอินโดนีเซียที่น่าจะเกิดในไม่นานนี้
หรือยัง

เมื่อมองเขาแล้วกลับมามองเรา

นิทานเรื่องนี้มีข้อคิดสำคัญ ที่ว่าการจะดูว่าเศรษฐกิจ Overheat หรือมีสภาวะฟองสบู่หรือไม่นั้น ต้องดูจากหลายมุม และเข้าใจข้อจำกัดของตัวแปรเศรษฐกิจแต่ละตัว ซึ่งเปรียบดั่งปรอทวัด

อุณหภูมิที่มีข้อดีข้อด้อยต่างกัน ไม่เว้นแม้แต่อัตราเงินเฟ้อที่เรามักจะให้ความสำคัญค่อนข้างมาก จนบางครั้งอาจจะมากเกินไป

ในกรณีของประเทศไทย "ปรอทวัดไข้" ที่อาจต้องจับตาดูคือ การเจริญเติบโตของหนี้ภาคครัวเรือน ราคาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในและนอกกรุงเทพฯ รวมไปถึงดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งอาจเปลี่ยนจากบวกเป็นติดลบได้ในเวลาไม่นาน

เพราะแม้ว่าเศรษฐกิจของไทยวันนี้ยังไม่ Overheat แบบอินโดนีเซียขณะนี้ แต่ถ้านโยบายการเงินและการคลังของเรายังกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอย่างไม่ระวัง ปีหน้าบทความนี้อาจต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเรื่องของประเทศไทย

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ครม.ฉุนขาด ประสาร ทำรัฐตกเป็นจำเลย !!?

ประชุมครม.ถกเครียดไม่พอใจผู้ว่าการธปท. โวยทำรัฐบาลตกเป็นจำเลย หลังกนง.ชง 4 มาตรการเริ่มจากอ่อนยันเข้มสุดให้ใช้ยาแรงกันสำรองทุนไหลเข้า ตอบกลับจ.ม.คลัง ระบุเงินไหลเข้าเพื่อเก็งกำไรค่าบาท ตามพื้นฐานศก.แกร่งมากกว่าหาผลตอบแทนส่วนต่างดอกเบี้ย "กิตติรัตน์" ตอกย้ำ "ลดอาร์/พีจำเป็น" นายกฯปูสั่งรมว.คลังประสานธปท.ใกล้ชิดระบุอยากให้แก้ปัญหาศก.แบบองค์รวม ด้าน "หม่อมอุ๋ย- ค้านลดดอกเบี้ย-ชี้บล็อกกระแสเงินไหลเข้าตราสารหนี้วิธีแก้ตรงจุดสุด



ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ทางออกในการสกัดทุนร้อนไหลเข้าเพื่อแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่า ซึ่งกระทรวงการคลัง ยังคงยื่นไม้ตายให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์/พีลง 1% จากปัจจุบันที่ระดับ 2.75% เหลือ 1.75% แม้ว่าก่อนหน้าธปท. จะเสนอแนวทางเริ่มจากมาตรการอ่อนยันเข้มแล้วก็ตาม อาทิ การลงทะเบียนนักลงทุนต่างชาติ,การกำหนดให้นักลงทุนต่างชาติถือครองเงินบาทที่ลงทุนในตราสารหนี้และพันธบัตรรัฐตามระยะเวลาที่ธปท.กำหนด ตลอดจนการจัดเก็บภาษีหรือมาตรการกันสำรองเงินไหลเข้าระยะสั้น

โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทว่าขณะนี้ได้มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการ(รมว.)กระทรวงการคลัง ประสานกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมให้รมว.คลังประสานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อาทิกระทรวงพาณิชย์เพื่อติดตามดูว่ามีกรณีใดที่จะต้องเร่งช่วยเหลือโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและภาคส่งออก

ส่วนปัญหาที่ผู้ว่าการธปท.ไม่สนองนโยบายภาครัฐ ที่กระทรวงการคลังยืนกรานจะให้ลดดอกเบี้ยนโยบายนั้น นายกฯกล่าวว่า ข้อกฎหมายได้ให้ความอิสระต่อธปท.ที่จะตัดสินใจในวิธีการ ในขณะที่รมว.คลังก็มีหน้าที่มอบนโยบายอย่างเดียว ดังนั้นคงต้องประสานงานพูดคุย ซึ่งขึ้นอยู่กับกนง. ที่จะเป็นผู้พิจารณาร่วมกับผู้ว่าการธปท. เพราะการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ต้องแก้แบบองค์รวม
ทั้งนี้นายกฯ ยังปฏิเสธที่จะตอบสื่อมวลชนที่ถามว่า พอใจหรือมองว่าผู้ว่าการธปท.เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาค่าเงินหรือไม่

"โต้ง" ย้ำลดอาร์/พีจำเป็น

ขณะที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้รายงานมาตรการแก้บาทแข็งค่า 4 ข้อตามที่ที่ประชุมกนง.นัดพิเศษเมื่อวันที่ 30 เมษายน เสนอให้กระทรวงการคลัง โดยได้แจงให้ที่ประชุมครม.รับทราบ ซึ่งเป็นเพียงแนวทาง เพราะกนง.ไม่ได้เสนอเพื่อขออนุมัติ และบางข้อเสนอผู้ว่าการธปท.มีอำนาจพร้อมใช้ แต่บางข้อต้องมีการแก้ไขกฎหมายก่อน

อย่างไรก็ดีรมว.คลัง ไม่ได้ระบุถึงรายละเอียดของมาตรการทั้ง 4 กล่าวเพียงว่า ไม่สามารถเปิดเผยได้เพราะธปท.ประทับตราลับ แต่มีบางมาตรการที่มีความพร้อม ธปท.สามารถดำเนินการได้เลย แต่ขณะนี้ก็ยังไม่เห็นธปท.ออกบังคับใช้มาตรการใด ทำให้รู้สึกเป็นห่วงอัตราแลกเปลี่ยน และการไหลเข้าของเงินทุน" นายกิตติรัตน์กล่าวและว่าในฐานะรองนายกฯ ที่ดูแลเศรษฐกิจ เห็นว่าจำเป็นที่ต้องลดดอกเบี้ยนโยบายมากที่สุด เพราะวิธีการดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ง่ายในการใช้กลไกของตลาดควบคุมเงินทุนไหลเข้า
เปิดจ.ม.ธปท.ตอบคลัง

นายกิตติรัตน์ ยังได้กล่าวถึงจดหมายที่ธปท.ตอบกลับกระทรวงการคลังใน 3 ประเด็นถึง 1.สถานการณ์ทางการเงินของธปท.ว่างบการเงินของธปท.สิ้นปี 2555 ส่วนทุน ธปท.แจงกลับมาว่าติดลบอยู่ที่ 5.3 หมื่นล้านบาท โดยผลกระทบมาจาก 2 ส่วน คือ 1.ส่วนของผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากต้นทุนดอกเบี้ยที่สูง และส่วนที่ 2 คือผลกระทบจากการตีมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ถือครองอยู่ ซึ่งหากค่าเงินบาทมีมูลค่าแข็งขึ้นทำให้การคำนวณมูลค่าทางบัญชีประสบผลขาดทุน

2. แนวคิดเรื่องอัตราดอกเบี้ย ธปท.ตอบกลับว่า แม้ว่าการลดดอกเบี้ยลงจะสามารถชะลอการไหลเข้าเงินทุนจากต่างประเทศได้ แต่ข้อกังวลของธปท.วิเคราะห์ว่าส่วนต่างของดอกเบี้ยน่าจะเป็นปัจจัยรองเพราะว่าผู้ลงทุนน่าจะประสงค์ที่จะได้ผลตอบแทนอื่นเช่นเรื่องของการแข็งค่าของเงิน หรือหวังผลตอบแทนจากตลาดหุ้น


3. ส่วนในเรื่องมาตรการการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ทาง ธปท. ได้ชี้แจงกลับในภายหลังว่ากนง.พิจารณาอย่างไรรวมถึงมาตรการทั้ง 4 มาตรการ
เผยธปท.เสนอใช้ยาแรง "กันสำรอง"

สำหรับบรรยากาศการประชุมครม. เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม แหล่งข่าวระดับสูง เปิดเผยว่า การประชุมรอบนี้ได้ใช้เวลาเกือบ 1 ชั่วโมงเต็มหารือกันอย่างตึงเครียดเรื่องค่าเงินบาทและ 4 มาตรการคุมเงินไหลเข้า โดยเฉพาะข้อ 4 ว่าด้วยมาตรการกันสำรองเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ซึ่งถือเป็นมาตรการเข้มและแรงที่สุด โดย ธปท.เสนอมาว่า เมื่อเงินเข้ามาแล้วก็เก็บส่วนหนึ่งเป็นเงินสำรอง ตรงนี้ครม.เห็นตรงกันว่า กระทรวงการคลังทั่วโลกไม่มีใครทำ ขณะที่บ้านเราเคยทำมาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนปฏิวัติปี 2549 จนเมื่อปี 2550 เมื่อออกมาตรการนี้มาใช้อยู่ได้ไม่นาน เพราะเมื่อตลาดหุ้นตกก็ร่วงเลย จึงไม่สามารถที่จะดำเนินการได้
"ครม.มองว่าต่างต้องตกอยู่ในสภาพเป็นจำเลยกันหมด ทั้งๆที่เรื่องดูแลค่าเงินไม่ได้เกี่ยวกับครม.เลย เนื่องจากเป็นหน้าที่ของบอร์ดธปท.ที่มีหน้าที่บริหาร แต่บอร์ดธปท.ก็ไม่มีหน้าที่ดูแลเรื่องของความเปลี่ยนแปลงค่าเงิน เพราะเป็นหน้าที่ของกนง.ที่คณะกรรมการธปท.ได้ให้อำนาจ ตอนนี้รัฐบาลอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก เพราะต่างได้รับผลกระทบอย่างมากจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มีการพูดถึงในลักษณะเป็นนัยที่ว่า จะดำเนินการกับ ผู้ว่าการธปท.อย่างไร จะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ต่อไปอีกไม่ได้ โดยเฉพาะนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ออกอาการไม่พอใจอย่างชัดเจน"

ด้านแหล่งข่าวกระทรวงการคลัง ระบุว่าขณะนี้มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นมาตรการบรรเทาเงินทุนไหลเข้าได้ดีและง่ายที่สุด แต่ต้องรอดูท่าทีที่ชัดเจนของกนง.ในการประชุมวันที่ 29 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ หากไม่ลดดอกเบี้ยและสถานการณ์เงินบาทยังแข็งค่าต่อ คงมีความจำเป็นต้องใช้ยาแรงโดยใช้มาตรการกันสำรอง

มองบาทอ่อนแตะ 31 บาทยาก

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ว่า กกร. ได้เชิญ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ มาหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกรณีเงินบาทแข็งค่า

โดยทั้ง 2 ท่านได้ให้ข้อมูล ว่าเงินบาทไทยมีแนวโน้มแข็งค่าตามพื้นฐานเศรษฐกิจที่เติบโตและแข็งแกร่งต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ระบุตอนหนึ่งว่า ธปท.เองก็มีส่วนชะล่าใจเล็กน้อยที่ในช่วงต้นปี (กลางเดือนมกราคม ) ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 2-3 % แต่ยังไม่ได้มีมาตรการรับมืออะไรออกมา จนปัจจุบันแข็งค่ากว่าคู่แข่งมากถึง 6-7% ดังนั้น ก็ควรออกมาตรการดูแลทันที เพื่อไม่ให้ไทยแข็งค่า

มากกว่าประเทศคู่แข่งและประเทศในภูมิภาคเดียวกันแถบนี้
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่าทิศทางค่าเงินบาทจากนี้ชัดเจนว่ามีแนวโน้มแข็งค่าตามเศรษฐกิจไทย โดยประเมินว่าโอกาสที่เงินบาทจะกลับไปแตะ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯไม่มีทางเกิดขึ้นได้อีก
ขณะที่ประธานส.อ.ท.กล่าวอีกว่า กกร.อยากเห็นการเคลื่อนไหวที่ระดับ 29.6-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯมากกว่า เพราะไม่กระทบผู้ประกอบการมากนัก แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันต้องทำคือ มีความพร้อมที่จะปรับตัวรับกับการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต อาทิ การลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า เพื่อให้ขีดความสามารถเหนือคู่แข่ง

กกร.เห็นไปในทิศทางเดียวกันกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ว่าการใช้มาตรการเข้ามาแทรกแซงค่าเงินบาท โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้อาจจะไม่ได้ผลแล้ว แม้จะลดดอกเบี้ยแรง 1% แต่หากจะใช้มาตรการแรงสุดในการควบคุมเงินทุนไหลเข้า เช่นมาตรการภาษี แคปิตอล คอนโทรล ก็อาจจะเกิดความเสียหาย ซึ่งเชื่อว่าธปท.จะมีมาตรการควบคุมที่มีผลดูแล ในระดับปานกลางออกมาในระยะต่อไป"
ด้านนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยและสมาคมธนาคารไทย จะร่วมหารือ กับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 นี้ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนระยะสั้น กลาง และระยะยาว ใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์เศรษฐกิจกล่าวว่า ปัจจุบันทั้งกระทรวงการคลังกับธปท. ก็มียาค่อนข้างพร้อมอยู่แล้วเพียงแต่ศึกษาว่ามาตรการที่เรามีอยู่จะเหมาะสมออกมาใช้เมื่อสถานการณ์อย่างไร อาทิ การเข้าแทรกแซงเงินบาทซึ่งเป็นยาขั้นต่ำที่ผลข้างเคียงน้อย ,การลดดอกเบี้ยนโยบาย ,การกำกับดูแลให้มีการจดทะเบียนของนักลงทุนซึ่งเป็นระดับยาที่แรงขึ้นอีก หรือการเก็บค่าธรรมเนียม ฯลฯ

นักเศรษฐศาสตร์แนะคลังเปิดกว้างงัดภาษีคุม

นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า สาเหตุที่ทุนไหลเข้ามหาศาลขณะนี้ ไม่ได้เพื่อหาผลตอบแทนจากส่วนต่างดอกเบี้ย จากการที่อัตราดอกเบี้ยไทยสูงกว่าต่างประเทศ แต่เพื่อมาเก็งกำไรผลตอบแทนจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากคาดคะเนได้ว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น จากการที่นักลงทุนเชื่อมั่นในพื้นฐานเศรษฐกิจ และแรงหนุนจากการที่รัฐบาลประกาศเดินหน้าโครงการลงทุนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ,โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท

ขณะนี้มาตรการที่เหมาะสมและได้ผลมากสุดก็คือ" ภาษี" ซึ่งอยู่ในอำนาจกระทรวงการคลัง แต่รัฐไม่ทำเพราะกลัวว่าจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการลงทุนในตลาดหุ้น " แหล่งข่าวกล่าวและว่าสิ่งที่ภาครัฐ-ธปท. ควรทำในทันที คือการประกาศให้นักลงทุนทราบว่าประเทศไทยมีมาตรการในการควบคุมเงินทุนไหลเข้าอย่างไร ตั้งแต่ระดับอ่อนถึงเข้ม โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เงินบาทแข็งค่าหลุด 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

หวั่นลำพังลดดบ.สกัดเงินร้อนไม่อยู่

นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาบาทแข็ง รัฐบาลควรจะใช้มาตรการจัดเก็บภาษีจากทุนไหลเข้าหรือ มาตรการ Capital Control โดยกำหนดอัตราภาษีตามความยืดหยุ่น เพราะประเทศทั่วโลกต่างก็ใช้มาตรการนี้ไม่ว่าเป็นประเทศที่เผชิญค่าเงินแข็งหรืออ่อน

 ไม่เห็นด้วย หากจะลดดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี )ลง เพราะการจะสกัดทุนไหลเข้าอย่างได้ผล อาจต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 1.50% จากปัจจุบันที่ 2.75% มาอยู่ระดับ 1.25-1.50 % จึงจะปิดส่วนต่างดอกเบี้ยในและต่างประเทศได้ และไม่คุ้มค่ากับผลเสียทั้งความเสี่ยงที่จะเกิดฟองสบู่ในภาคธุรกิจเพิ่ม และฉุดเงินฝากไหลออกจากระบบ เพราะดอกเบี้ยเงินฝากอาจจะติดดินอยู่ที่ 0.50%ต่อปี "

ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คลัง จี้ ธปท.คุมเงินบาท-ลดดอกเบี้ย !!?


กิตติรัตน์ รายงานครม. ยัน “คลัง” รวบรวมมาตรการแก้ไขปัญหา “บาทแข็ง” ไปให้ผู้ว่าฯธปท.พิจารณาแล้ว รวมถึงความเป็นไปได้ในการลดดอกเบี้ย ด้าน “กกร.” เตือนผู้ประกอบการเตรียมรับมือบาทแข็งค่าได้อีก

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้รายงานสถานการณ์ค่าเงินบาทให้ครม.รับทราบ โดยรัฐบาลก็มีความห่วงใยในการแก้ปัญหา และเห็นว่าต้องแก้โดยภาพรวมทั้งนโยบายการเงินและการคลังควบคู่กัน

ทั้งนี้ ได้ให้คลังรวบรวมมาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อประสานไปยังผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แล้ว ซึ่งตามข้อกฎหมายรัฐบาลไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของธปท.ได้ แต่คลังก็จะคอยทำหน้าที่ประสานและให้นโยบาย ซึ่งจะเป็นเชิงของการพูดคุย พร้อมยืนยันว่ารัฐบาลจะทำหน้าที่และให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่

เมื่อถามว่า รัฐบาลพอใจการทำงานของนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขออนุญาตไม่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะจริงๆ แล้วนายกรัฐมนตรีไม่สามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงได้

ด้านนายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ได้รายงานต่อที่ประชุมครม.ในการดูแลค่าเงินบาทด้วยการทำหนังสืออีกฉบับ เพื่อสอบถามไปยังธปท.เกี่ยวกับแนวคิดในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ ธปท.จะมองว่าการลดดอกเบี้ยจะไม่มีปัจจัยสำคัญต่อการไหลเข้าของเงินทุน เพราะมองว่าเงินทุนไหลเข้าขณะนี้ เพื่อเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นและเก็งกำไรส่วนต่างของค่าเงิน

“ที่ประชุมครม.เห็นชอบให้กระทรวงการคลังติดตามดูแลค่าเงินบาท โดยกระทรวงการคลังยังเป็นห่วงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมองว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ ซึ่งส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเป็นโอกาสสำคัญของการตัดสินใจเข้ามาหาส่วนต่างจากทั้งตลาดหุ้นและค่าเงินบาท จึงแยกออกจากกันไม่ได้ และติงคณะทำงานของ ธปท. ที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปีที่แล้วยังไม่มีความคืบหน้า” นายกิตติรัตน์ กล่าว

ในวันเดียวกัน มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ซึ่งประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสอท.กล่าวว่าที่ประชุมได้เชิญม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าการ ธปท. มาร่วมให้ข้อมูลและเสนอแนะการปรับตัวของเอกชนต่อภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่า

“ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ชี้ให้เห็นว่าค่าเงินบาท ของไทยปี 2540 ตั้งแต่ 45 บาทต่อเหรียญสหรัฐต่อมาใน ปี 2544 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 45.4 บาทต่อเหรียญ ปี 2546 บาท อยู่ที่ 37.56 บาทต่อเหรียญ ขณะนี้ 29 บาทต่อเหรียญก็เห็นว่าบาทไทยมีแต่จะแข็งขึ้นเรื่อยๆ ตามภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะเอเชียที่เงินจะไหลมาอีกมาก โอกาสจะเห็น 31 บาทต่อเหรียญจะไม่มีแล้ว แต่สิ่งที่เห็นตรงกันคือช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาบาทของไทยแข็งค่ามากเกินพื้นฐานเศรษฐกิจ” นายพยุงศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ กกร.พอใจการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง กับ ธปท. ที่ใช้มาตรการผสมผสานระหว่างมาตรการการเงินและการคลัง โดยเฉพาะท่าทีของผู้ว่าการ ธปท.ที่ส่งสัญญาณว่าเงินบาทที่แข็งค่ามากของไทยช่วงที่ผ่านมาเกินพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขัน ทำให้เงินบาทในช่วงนี้เริ่มอ่อนค่าลง และเป้าหมายต่อไปคือการสร้างเสถียรภาพของเงินบาท ซึ่งจะต้องดูแลและเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวของค่าเงินแบบวันต่อวัน

ด้านนักค้าเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY กล่าวว่าค่าเงินบาทวันที่ 7 พฤษภาคม ปิดตลาดที่ระดับ 29.58-29.60 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากที่เปิดตลาดในช่วงเช้า โดยระหว่างวันอ่อนค่าสุด 29.68 บาท/ดอลลาร์ ก่อนจะแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อยปิดที่ระดับดังกล่าว

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
//////////////////////////////////////////////////////////////////////

เลือกตั้งมาเลเซีย สิ่งที่เห็นอาจไม่เป็นอย่างที่คิด !!?



แม้ว่าฝนจะตกกระหน่ำราวฟ้ารั่วในหลายพื้นที่ของมาเลเซียเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ยังหลั่งไหลไปลงคะแนนเสียงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดราว 13 ล้านคน

นับเป็นจำนวนสูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งของประเทศ

ตลอดทั้งวันกองเชียรฝ่ายค้านดูจะคึกคักเป็นพิเศษ เพราะตั้งความหวังไว้สูงว่า คงถึงยึดทำเนียบปุตราจายาเป็นแน่แท้ เพราะปัจจัยแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงครั้งแรก หรือ “คนรุ่นใหม่” ที่คาดว่าเป็นกลุ่มหัวก้าวหน้าจำนวนมาก กับความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน รวมทั้งผล การสำรวจความเห็นทางการเมืองหลายสำนักที่ชี้ไปในทางเดียวกันว่าฝ่ายค้าน จะมีคะแนนสูสี หรือแม้กระทั่งมีคะแนนนำฝ่ายรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งนี้

หลังจากลุ้นระทึกผลแพ้ชนะหลายชั่วโมง ราวตีหนึ่งของวันใหม่คณะกรรมการเลือกตั้งมาเลเซียประกาศว่า แนวร่วมพรรครัฐบาลได้ที่นั่งในรัฐสภารวมกันแล้ว 112 ที่นั่ง หรือเกินครึ่งของจำนวนที่นั่งในสภาฯซึ่งมีทั้งหมด 222 ที่นั่ง มีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป

ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการที่ประกาศราวตีสาม ระบุว่าแนวร่วมพรรครัฐบาล ที่เรียกกันสั้นๆว่า บีเอ็น (BN: Barisan Nasional) ชนะได้ที่นั่งในรัฐสภาของรัฐบาลกลางทั้งหมด 133 ที่นั่ง ในขณะที่แนวร่วมพรรคฝ่ายค้าน หรือ พีเคอาร์ (PR: Pakatan Rakyat) ได้ 89 ที่นั่ง

ผลที่ได้ทำเอาผู้สนับสนุนฝ่านค้านทุกรุ่นทุกวัยที่นั่งถ่างตารอข้ามคืนถึงกับอ่อนเปลี้ยเพลียแรง แยกย้ายกันกลับบ้านไปตามๆกัน

ชาวมาเลเซียโดยเฉพาะชนชั้นกลางในเมืองจำนวนมากคนเชื่อว่า การเลือกตั้นทั่วไปในครั้งนี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สามารถลิดรอนการผู้ขาดอำนาจของรัฐบาลพรรคอัมโนที่ดำเนินมากว่า 50 ปี

การเผชิญหน้าระหว่างแนวร่วมฝ่ายค้านอันประกอบด้วยพรรคเคอาดิลัน รักยัต (PKR: People’s Justice Party) นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม พรรคดีเอพี (DAP: Democrat Action Party) ของนายลิม กิต เสียง และพรรคพาส (PAS: Pan-Malaysian Democratic Party) นำโดยนาย ฮาดี อาวัง กับแนวร่วมพรรครัฐบาล หรือ บีเอ็น (Barisan Nasional) นำโดยพรรคอัมโน (United Malays National Organisation) ของนาย นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรี พรรค เอ็มซีเอ หรือ(Malaysian Chinese Association) และพรรคเอ็มไอซี (Malaysian Indian Congress) และพรรคเล็กพรรคน้อยอื่นๆ ทวีความเข้มข้นขึ้นหลังจากฝ่ายค้านได้ที่นั่งในสภาฯจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2551

นับแต่นั้นเป็นต้นมา บรรยากาศของความกลัวที่เคยครอบงำการเมืองมาเลเซียในยุคมหาเธร์ก็เริ่มจืดจางไป ชาวมาเลเซียเริ่มแสดงความคิดเห็นของตัวเองมากขึ้น ประหนึ่งสังคมมาเลเซียเริ่มก้าวกระโดดทางความคิดไปไม่น้อย

ภาพผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเข้าแถวยาวหน้าซุ้มเลือกตั้งหลายแห่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ถือเป็นภาพที่ไม่ได้เห็นในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ และอาจแสดงถึงความรู้สึกคึกคักทางการเมืองในหมู่คนเมือง

มีบางซุ้มเลือกตั้งผู้รอลงคะแนนเข้าแถวยาวกว่าหนึ่งกิโลเมตร ผู้ลงคะแนนเสียงวัยกว่า 50 คนหนึ่งบอกว่าเขาเข้าแถวรอหย่อนบัตรนานถึงกว่าชั่วโมงซึ่งเป็นสิ่งที่เขาไม่เคยพบในการหย่อนบัตรที่ผ่านมาในชีวิต

ในขณะเดียวกัน มีการร้องเรียน เปิดโปง ความไม่ชอบมาพาในกระบวนการเลืกตั้งกลว่อนอินเตอร์เน็ตตลอดตลอดวันเลือกตั้ง เริ่มตั้งแต่เรื่องหมึกถาวรที่ผู้ลงคะแนนต้องแต้มที่ปลายนิ้วนี้เพื่อกันการเวียนเทียนเลือกตั้งที่ไม่ถาวรจริง เพราะสามารถล้างออกได้อย่างหมดจด

เรื่องการใช้เที่ยวบินพิเศษขนคนจากเกาะซาบาห์และซาราวักมาลงคะแนนในกัวลาลัมเปอร์ และข้อกล่าวหาเรื่องการให้บัตรประชาชนชั่วคราวแก่ชาวบังกลาเทศเพื่อให้มาลงคะแนนในบางพื้นที่

แม้ว่ากลุ่มบีเอ็นจะยังคงกุมอำนาจรัฐได้อีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อลองใช้วิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้นมาพิจารณาคะแนนเลือกตั้ง ก็ให้สงสัยว่าสิ่งที่เห็นๆนั้นเป็นเรื่องจริงแน่หรือ

เริ่มจากตัวเลข ส.ส.ในสภาฯของกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลที่หายไปถึงเจ็ดที่นั่งเมื่อเทียบกับสมัยที่แล้ว ในขณะที่กลุ่มฝ่ายค้านได้ สส.เพิ่มเป็นเจ็ดที่นั่งเท่ากัน

คำถามก็คือ รัฐบาลทำอีท่าไหนที่นอกจากจะไม่ได้ที่นั่งเพิ่มแล้ว ยังถูกฝ่ายค้านเฉือนให้เจ็บใจได้อีก

เรื่องนี้คำตอบอยู่ที่พรรคฝ่ายค้านตัวแทนชาวจีน หรือ พรรคดีเอพี ซึ่งได้ที่นั่งเพิ่มถึง 10 ที่นั่ง ในขณะที่ พรรคร่วมฝ่ายค้านอีกสองพรรคเสียที่นั่งรวมกันแล้วสามที่นั่ง บวกลบคูณหารแล้วแนวร่วมฝ่ายค้าน “กำไร” มาเจ็ดที่นั่ง

เจ็ดที่นั่งที่หายไปของฝ่ายรัฐบาล มากพอที่จะสั่นสะเทือนขาเก้าอี้ในฐานะหัวหน้าพรรคอัมโนของนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค ผู้สัญญากับสมาชิกพรรคเอาไว้ว่าจะเพิ่มที่นั่ง ส.ส. ของรัฐบาให้ได้ไม่น้อยกว่า 140 ที่นั่ง หรือสองในสามของที่นั่งทั้งหมดในสภาฯ

คนคนแรกที่ออกมาเขย่าเก้าอี้ของนายนาจิบ หาใช่ใครอื่นนอกจากอดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด ผู้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เขาไม่คิดเลยว่านายนาจิบจะมีผลงานเลือกตั้งที่แย่กว่าอดีตนายกรัฐมนตรี อับดุลลาห์ บาดาวี ผู้มีผลงานย่ำแย่ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว

คำพูดของมหาเธร์ที่ว่าคนในพรรคอัมโนจะต้องตั้งคำถามต่อความสามารถและยุทธศาสตร์ของนายนาจิบ ราซัค นั้นเป็นคำพูดที่ไม่ค่อยเป็นมงคลสักเท่าไหร่ในการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีรอบสองของเขา

มหาเธร์มองผลการเลือกตั้งว่าเป็น “ความผิดพลาด” ของพรรคร่วมรัฐบาล และบอกว่าอัมโนจะต้องเรียนรู้จาก ความผิดพลาดในครั้งนี้ หาไม่ผลการเลือกตั้งครั้งต่อไปอาจเลวร้ายยิ่งกว่านี้

พรรคดีเอพีของฝ่ายค้าน มีคู่แข่งคือพรรคเอ็มซีไอซึ่งเป็นพรรคคนจีนข้างรัฐบาล พรรคพรรคนี้ร่ำรวยมหาศาล มีกิจการมากมาย หนึ่งในนั้นคือหนังสือพิมพ์ “เดอะสตาร์” ที่ได้ชื่อว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ร่ำรวยที่สุดของมาเลเซีย

ในการเลือกตั้งครั้งนี้เอ็มซีไอได้ที่นั่งในรัฐสภาฯมาเพียงเจ็ดที่นั่ง จากที่เคยได้ครั้งที่แล้ว 15 ที่นั่ง เป็นตัวบ่งชี้สำคัญอีกประการหนึ่งคือชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนในประเทศแห่กันเทคะแนนเสียงให้ฝ่ายค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคดีเอพีที่มีฐานสำคัญที่ปีนัง

ตัวเลขปริศนาอีกกลุ่มหนึ่งคือตัวเลข “ป๊อปปูล่าร์โหวต” หรือตัวเลขคะแนนรวมทั้งประเทศอย่างเป็นทางการ ที่กลุ่มพรรคฝ่ายค้านได้ 50.1 เปอร์เซ็นต์ ชนะแนวร่วมพรรครัฐบาลที่ได้ 46.7 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับผลสำรวจความเห็นประชาชนก่อนการเลือกตั้ง

สิ่งที่ทำให้พรรคร่วมรัฐบาลได้ที่นั่งในสภาฯมากกว่าฝ่ายค้านคือกลเม็ดในการแบ่งซอยพื้นที่เลือกตั้งฐานเสียงรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวน ส.ส. ซึ่งเป็นเทคนิกที่ใช้กันในบางประเทศ

การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเพียงการอุ่นเครื่องเพื่อรอการประลองกำลังครั้งใหญ่ในอีกห้าปีข้างหน้า ที่จะตัดสินชะตาประเทศมาเลเซียว่าจะเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ใกล้เคียงกับความหมายที่แท้จริง

หรือจะเป็นประชาธิปไตยแบบขำขันที่สังคมโลกดูแคลนต่อไป

ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
//////////////////////////////////////////////////////////////

เส้นทางและอนาคต ทองคำ !!?


โดย ธำรงชัย เอกอมรวงศ์ นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญการลงทุนทางเทคนิค

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้แวะไปทำธุระแถวเยาวราช และได้สัมผัสปรากฏการณ์ "ตื่นทอง" แผงแขวนสร้อยทองโล่งเลย อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมต้องขนาดนี้ อะไรคือบรรทัดฐานที่ทำให้คนคิดว่าต่ำกว่าบาทละ 20,000 บาท คือ ถูก มันใช่เหรอ ? และจุดนี้ที่ซื้อคือการซื้อเก็บยาว อีก 10 ปีค่อยว่ากัน หรือซื้อเก็งกำไรระยะสั้นหรือยังไง

บทวิเคราะห์ออกมาเพียบ ส่วนใหญ่เชิงเทคนิคคอล ว่า แนวรับ-แนวต้านที่มีนัยสำคัญอยู่ตรงไหน ที่ Extreme หน่อยก็คือ การมองว่า ทองคำ ไม่ใช่สินทรัพย์ปลอดภัย หรือ Safe haven อีกต่อไป จะเหลือ $800 อีกครั้ง ฯลฯ รับข้อมูลไปไม่พิจารณาให้ดี อ่วมแหง ๆ

ผมว่า เราต้องพิจารณาที่มากันก่อน ราคาทองคำเลี้ยงอยู่ข้างในกรอบ 300-500 ดอลลาร์ อยู่ 20 ปี (ช่วงปี 1980-2001+/-)

และหลังจากนั้นก็ดีดขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกเกือบทศวรรษที่ผ่านมาจนกระทั่งไปพีก (สูงสุด) ที่ระดับ 1,921 ดอลลาร์ เพราะประธานาธิบดี Richard Nixon ยกเลิก Gold standard ใน US dollar (เรียกเหตุการณ์นี้ว่า Nixon shock) ก็ไม่เชิง เพราะประกาศยกเลิกไปตั้งแต่ปี 1971 นั่นเพราะสมัยก่อนธนบัตร US dollar มีเขียนว่า "Redeemable in gold หรือสามารถนำไปขึ้นเป็นทองคำได้" ที่ต้องทำก็เพื่อให้ธนบัตรนั้นมีมูลค่า ไม่งั้นมันก็คือกระดาษเปล่า ๆ Link: http://goo.gl/qTXS) แต่กว่าจะได้เปลี่ยนเป็นเรื่องเป็นราว (คือเลิกผูกธนบัตรกับทองคำอย่างเป็นทางการ) ก็ปี 1976 ซึ่งทำให้ทองดีดขึ้นจากระดับที่ผูกไว้ที่ 35 ดอลลาร์/ออนซ์ เป็นหลักร้อย

แต่ก็ไม่ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมราคาทองถึงนิ่งอยู่เป็น 20 ปีหลังจากนั้น และจะบอกว่าจากการวินาศกรรมอาคาร World Trade Center ในปี 2001 "คนเริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิต" ซึ่งเป็นเหตุให้สหรัฐตัดสินใจบุกประเทศอัฟกานิสถาน และอิรัก และ FED จำเป็นต้องปั๊มเงิน

ออกมาจำนวนมาก เพื่อ Finance สงครามอ่าวเปอร์เซีย ผลคือเงินเฟ้อสูงขึ้น นักลงทุนเริ่มเล็งเห็นว่า เงินดอลลาร์ มีแต่จะด้อยค่า "คนเริ่มรู้สึกไม่ปลอดภัยในทรัพย์สิน" เลยแห่ไปซื้อทอง ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะในปี 1991 สหรัฐก็ประกาศสงครามกับอิรัก ราคาทองยังนิ่ง ๆ อยู่ที่ระดับ $350+/- อีกเป็น 10+ ปี ก็น่าคิดนะ

สังเกตดี ๆ มักเกิดเหตุการณ์หรือภาวะบางอย่างที่ไปสร้าง "จุดเปลี่ยน" หรือ Trigger

ให้ทองคำ หลังจากที่ราคาเคลื่อนไหวออกข้างมา 20 ปี เริ่มเป็น Uptrend อะไรเป็นเหตุที่แท้จริง ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน มีแต่สมมติฐานทั้งนั้น พอที่จะมีทฤษฎีอธิบายเหมือนกัน เขาเรียกว่า Black swan effect เขียนไว้

ในหนังสือชื่อเดียวกันโดย Nassim Nicholas Taleb - Link: http://goo.gl/MxYT7

สรุปไว้ว่า "บทมันจะมาก็มา บทมันจะไปก็ไป"

เมื่อทองคำเริ่มสร้างฐานที่ระดับ 450 ดอลลาร์ อีกครั้งในปี 2005 ก็ไล่ราคาขึ้นไป และไม่เคยลงมาที่ระดับนั้นอีกเลย

ในบรรดาสมมติฐานทั้งหลาย ผมเชื่อ ว่าราคาทองจะเปลี่ยนได้ระดับ 500 ดอลลาร์ ไป 1,900 ดอลลาร์ (เกือบ 4 เด้ง) นั้น บทบาทในตลาดทุนโลกต้องเปลี่ยน ซึ่งไม่ใช่แค่สกุลเงินดอลลาร์ เท่านั้นที่ลดมูลค่า แต่กับสกุลเงินทั่วโลกก็ลดค่า วิธีการรับมือกับเงินเฟ้อในระยะยาวกว่า คือต้องโยกไปในสินทรัพย์อื่น ๆ ถ้าดีที่สุด ต้องเป็นสินทรัพย์ที่ไม่สามารถสร้าง Supply เพิ่มขึ้น

ได้อีก เช่น ที่ดิน แปลว่า เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 2 เท่าตัว ที่ดินราคาเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว ที่รองลงมาคือ ทองคำ เพราะหาได้ยาก และทุกวัฒนธรรมมองทองคำเป็นโลหะมีค่า ถามว่าพวกเพชร หรือหินมีค่าได้มั้ย ก็ได้เหมือนกัน แต่ทองคำแพร่หลายมากกว่า และมาตรฐานทองคำก็ค่อนข้างนิ่ง อย่างบ้านเราก็ 96.5%

ที่ไม่แปลกว่าทำไมนักลงทุนถึงมองทองคำ เป็น Safe haven ก็เพราะมีมูลค่าในทุกวัฒนธรรม ขึ้นเงินที่ไหนก็ได้ สภาพคล่องเหลือเฟือ แต่อย่างที่บอก

นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ และ Gold standard ก็ถูกยกเลิกไปกว่า 20 ปี เพิ่งจะมาขึ้น ผม เชื่อว่า เกิด Triggering events คนก็เริ่มหวั่นใจในความปลอดภัยของชีวิต (และทรัพย์สิน) จากการก่อการร้าย ทองคำเริ่มซื้อขายได้สะดวก Gold ETF เปิดตัวในปี 2003 และสกุลเงินสุดท้ายที่ยกเลิก Gold standard คือ Swiss Franc ยกเลิกใน

ปี 2000 เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอาจไม่สร้างกระแสมากพอให้ทองคำดีดตัวขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน แม้จะ

ไม่ได้เกี่ยวกัน ก็สร้าง Black swan effect ซึ่งไปเตะตานักลงทุน

นี่แหละ ตัวเร่งปฏิกิริยา

บทบาทของทองคำเปลี่ยนตั้งแต่ปี 1971 แต่เพราะไม่มีตัวเร่ง ไม่มี "เหตุ" ราคาก็ไม่ไปไหน วิ่งในกรอบ พอเกิดเหตุการณ์ (ที่อ้างมาข้างต้น) มุมมองนักลงทุนเปลี่ยน เริ่มโยกเงินมาเป็นทองคำ ราคาทองคำขึ้น มีการเก็งกำไรเข้ามาเอี่ยว พอเริ่มเก็งกำไร ราคาทำนิวไฮหรือสร้าง All time high คนก็ยิ่งซื้อ ยิ่งซื้อก็ยิ่งเก็งกำไร ฯลฯ จนทำให้ราคาขึ้นในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา

แล้วการที่ราคาทองคำลงในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาล่ะ จะกลับขึ้นขาขึ้นแล้วหรือยังลงต่อได้อีก ? ก็ต้องทบทวนเงื่อนไขว่า บทบาทของทองคำยังเป็น Safe haven อยู่มั้ย ทุกประเทศทั่วโลกหยุดปั๊มเงินอัดเข้าระบบเศรษฐกิจแล้วใช่มั้ย มีการสร้าง Supply ทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ?

คำตอบคือ "ไม่" ตราบใดที่ยังมีการปั๊มเงินพิมพ์แบงก์ ทองคำก็จะยังเป็น Safe haven ไม่เปลี่ยนแปลงครับ

อ้าว ! แล้วที่ราคาลงหนักสุดในรอบ 30 ปีล่ะ ? คำถามนี้ต้องตอบ 2 ส่วน

1)เวลาเราคำนวณการลงในขาขึ้น เราต้องคำนวณเป็นสัดส่วน (%) นะครับ ไม่ควรคำนวณเป็นส่วนต่าง

ช่วงวิกฤตซัพไพรม ทองขึ้นไปสูงสุดที่ 1,033.90 ดอลลาร์ และลงมาต่ำสุด 681.0 ดอลลาร์ และลงมา 352.9 ดอลลาร์ หรือ 34.14% และช่วง Sideway ใหญ่ยักษ์ที่ผ่านมา ทองขึ้นไปทำจุดสูงสุด 1,923.7 ดอลลาร์ และลงมาต่ำสุด 1,321.5 ดอลลาร์ ยังลงต่อมา 602.2 ดอลลาร์ หรือเพียง 31.30% มองแบบนี้ทองราคาลงช่วงซัพไพรม

"รุนแรง" กว่าตอนนี้เสียอีก

และ 2) (ผมเชื่อว่า) เป็นเพียงการทำกำไรในขาขึ้นช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น

ชัดเจนว่าราคาสร้างฐานที่ระดับ +/-1,550 ดอลลาร์ และก็ยังเป็น "แนวรับสุดท้าย" ของขาขึ้นด้วย ถ้าซื้อทองเพื่อเก็งกำไร

นี่คือราคาสุดท้ายที่ต้องปิดสถานะซื้อ... และที่บอก ๆ กันว่าทองกลับตัวแล้ว ด้วยภาพนี้ "ยากครับและไม่เร็ว" สังเกตว่าราคาออกข้างอยู่กว่า 18 เดือน ก่อนที่จะกลับตัวจาก Uptrend และหลุดลงมา อย่าเพิ่งประมาทว่า Reversal pattern จะลงแค่นี้

ครับ รอให้เห็น Bullish reversal ชัด ๆ เสียก่อน ยังไงก็ซื้อทันครับ

เพราะทองคำยังเป็น Safe haven อยู่ สำหรับการออม (ผมซื้อทองคำแท่งเพื่อออมเท่านั้น) ยังไม่มีความจำเป็นต้องขาย แต่ควรใช้ Hedging techniques พวก Gold futures/option เพื่อลดแรงกดดันหากทองคำลงต่อ สำหรับการเก็งกำไร

ผมว่า Technical play บน TF day ก็น่าจะ Bias short ต่อได้ หลุด 1,400 ดอลลาร์ก็น่าจะเห็น 1,200 ดอลลาร์

มุมมองทางเทคนิคส่วนตัวของผม คือ ในสัญญาณกลับตัวมักไม่จบที่ 161.8% แต่ราคาเป้าหมายอยู่ที่ 261.8% หรือ 1,200 ดอลลาร์/ออนซ์

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////

คลังเตรียมถก ธปท. เล็งออกมาตรการเพ็คเกจ ดูแลค่าเงิน !!?


นายอารีพงศ์  ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงแนวทางในการดูแลค่าเงินบาทว่ากระทรวงการคลังเตรียมหารือธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) เพื่อพิจารณาออกมาตรการเป็นแพ็กเกจ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงผลกระทบในหลายด้านด้วย

อย่างไรก็ดีหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีเครื่องมือใดที่พร้อมจะดูแลค่าเงินก็ให้ดำเนินการได้ ยกเว้นในกรณีของการใช้มาตรการภาษี ซึ่งเป็นอำนาจของกระทรวงการคลัง  ส่วนมาตรการกีดกันไม่ให้เงินทุนไหลเข้ามา ในลักษณะทำให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนมีอุปสรรค กระทรวงการคลังมีความเห็นว่าขณะนี้ยังไม่มีประเทศไหนใช้และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากใช้มาตรการดังกล่าว จะทำให้คนที่เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารระยะยาวหนีออกไปแล้วจะมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาวสูงขึ้น

ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวต่อว่าหากกนง.จะลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการไหลเข้าของเงินทุน แต่ห่วงเรื่องฟองสบู่เศรษฐกิจ ก็เป็นความรับผิดชอบซึ่งธปท.สามารถดำเนินการโดยการออกมาตรการควบคุมสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ได้อยู่แล้ว

ทั้งนี้กระทรวงการคลัง ได้ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ที่ระดับ 29.5-29.6 บาทต่อดอลลาร์  ต่อความห่วงใยค่าเงินบาทของกระทรวงการคลังนั้น ปลัดกระทรวงการคลัง มองว่า สถานการณ์บาทแข็งอยู่ในระดับที่ทรงตัว ไม่ได้แข็งค่ามากเหมือนกับสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งที่ระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์  และการบริหารค่าเงินบาท ก็ยังเป็นภาระหน้าที่ของ ธปท.  และจะต้องหารือมาตรการดูแลค่าเงินบาทที่ยังหารือกันและมีการรายงานต่อเนื่อง

นายอารีพงศ์ กล่าวด้วยว่า จากการประชุมเอดีบีในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้  ต่างชาติยังให้ความสนใจและเห็นว่าประเทศไทย ยังมีศักยภาพที่ดี โดยเห็นโอกาสจากตราสารหนี้ของไทยให้ผลตอบแทนดีกว่ามาก ญี่ปุ่น สหรัฐ และยุโรป ที่ผลตอบแทนติดดิน  โดยเฉพาะฟันด์เมเนเจอร์ รีไทร์เม้นท์อินคัม  ที่ต้องการผลตอบแทนระยะยาว ที่ทำให้กองทุนมีรายได้ จึงเป็นประเด็นที่ว่า ความคิดของ ธปท.  ยังไม่แน่ใจว่า ถ้าลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้ว จะทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวลดลงจริงหรือไม่  เพราะว่าบางประเทศที่ใช้วิธีการนี้แล้ว แต่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะยาวไม่ได้ลดลง

ขณะเดียวกันในที่ประชุมเอดีบีก็ได้ถามถึงประเด็นดังกล่าวต่อประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่เงินแข็งค่าขึ้น คิดอย่างไรบ้าง โดยประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ มองในทิศทางเดียวกันว่า ไม่ว่า ญี่ปุ่น สหรัฐฯ หรือยุโรป จะใช้มาตรการอะไรเข้ามาเพื่อทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับแข็งแรงขึ้นก็ตาม  จะทำให้เศรษฐกิจของทั้งโลกแข็งแรงขึ้นด้วย

 “ตอนนี้ไทยเข้าสู่มิติของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง และวิธีการดังกล่าวในบางประเทศใหญ่ๆ ก็ยังไม่เคยมีประเทศใดดำเนินการมาก่อน  แต่ถ้าเมื่อญี่ปุ่นใช้มาตรการดังกล่าวแล้ว เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวก็จะเป็นผลดีต่อประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคและการส่งออกจะฟื้นตัวด้วย แต่แน่นอนว่า จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคนี้แข็งค่าขึ้น

ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คลัง - ผู้ว่าธนาคารกลางอาเซียน รับเสี่ยงฟองสบู่ !!?


คลัง-ผู้ว่าธนาคารกลางอาเซียน+3 ยอมรับเอเชียเสี่ยงฟองสบู่-เงินทุนเคลื่อนย้ายผันผวน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 16 (ASEAN+3 Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3) ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

ที่ประชุมได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค และเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก โดยเห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน+3 จะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในปี 2556 ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคได้รับแรงสนับสนุนจากความแข็งแกร่งของอุปสงค์ภายในประเทศ สถาบันการเงิน และระบบการเงิน

อย่างไรก็ตาม ประเทศในภูมิภาคอาเซียน+3 ยังจะต้องเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจจากความเสี่ยงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพคล่องทางการเงินของโลกที่มีอยู่ในระดับสูง เนื่องจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น จากการขยายตัวของสินเชื่อ ปัญหาฟองสบู่ และความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค

ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจะให้ความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจมหภาค ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

ที่ประชุมได้หารือความคืบหน้าการแก้ไขความตกลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างกันของประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียน+3 หรือมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ที่กำหนดให้ (1) เพิ่มขนาดของ CMIM เป็น 2 เท่า จากเดิม 120 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2) เพิ่มสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินส่วนที่ไม่เชื่อมโยงกับเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF Delinked Portion) เพื่อลดการพึ่งพากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ในยามวิกฤต และ (3) การจัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (Crisis Prevention Facility) เพื่อป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นและป้องกันการลุกลามไปยังของประเทศสมาชิกอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งภายหลังจากนี้ ประเทศสมาชิกจะดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อเข้าร่วมลงนามในความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2556 นี้

ที่ประชุมได้ติดตามการดําเนินงานของมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของภูมิภาคอาเซียน+3 ให้มีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ สามารถเป็นแหล่งระดมเงินทุนและเป็นทางเลือกในการออมของภูมิภาค

โดยมีประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ความสำเร็จของกลไกการค้ำประกันเครดิตและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility: CGIF) ของภูมิภาคอาเซียน+3 ซึ่งบริษัทเอกชนที่ CGIF ให้การค้ำประกันเครดิตในการออกพันธบัตร ได้ออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทยได้สำเร็จแล้ว เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2556 โดยมีมูลค่า 2,850 ล้านบาทหรือประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของความร่วมมือ

2) การให้ความเห็นการศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการพัฒนาตลาดพันธบัตรเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (Fostering Infrastructure Financing Bonds Development) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนด้านการเงิน สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ซึ่งไทยได้กล่าวสนับสนุนการศึกษาดังกล่าว โดยเห็นว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของภูมิภาค

นายกิตติรัตน์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับ ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานเพื่อการพัฒนาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเข้ามามีส่วนร่วมของสำนักงานฯ เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยโดยเฉพาะด้านระบบรถไฟที่จะพัฒนาภายใต้ "ไทยแลนด์ 2020" และ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทหลักทรัพย์ไดวะ (Daiwa Securities) โดยหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ค่าเงินเยนของญี่ปุ่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับไทยและแนวทางการร่วมมือเพื่อพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////

ปรีดิยาธร : รับ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทช้า !!?


ปรีดิยาธร ยอมรับแบงก์ชาติดูแลค่าบาทช้าบางจังหวะ แต่ขณะนี้ถือว่าเงินบาทอยู่ระดับน่าพอใจ ค้านลดดอกเบี้ย ชี้ไม่ช่วยชะลอเงินไหลเข้า

การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย วันนี้ (7 พ.ค.) โดยมีนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสอท.ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยก่อนประชุม ได้เชิญ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการ ธปท. มาบรรยายถึงทิศทางของค่าเงินบาทว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร บอกว่า ได้อธิบายภาพรวมถึงสถานการณ์ค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยอมรับว่าที่ผ่านมา ธปท.เข้าไปดูแลค่าเงินบาทช้าเกินไปในบางจังหวะ เหมือนสมัยที่ตัวเองเป็นผู้ว่าธปท. ปี 2549 และยุคนางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่า ธปท. เมื่อปี 2553 และล่าสุดเดือน ม.ค.2556 ที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ทำได้ช้าทำให้เงินบาทแข็งค่าแตะระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์

ปัจจุบัน ธปท.ถือว่าดูแลเงินบาทได้ดี เห็นได้จากเงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งระดับปัจจุบันถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสมและสบายใจ ส่วนการเรียกร้องให้ลดดอกเบี้่ยนโยบายนั้น เห็นว่าการลดดอกเบี้ยไม่ช่วยชะลอเงินทุนไหลเข้า โดยค่าเงินบาทเช้าวันนี้อยู่ที่ 29.55 บาทต่อดอลลาร์

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยังบอกถึงกรณีที่มีข่าวว่าผู้ว่าธปท.ได้หารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในต่างประเทศ และมีข้อสรุปร่วมกันถึงมาตรการดูแลค่าเงินบาทนั้นถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนทั้งสองหน่วยงานต้องร่วมมือกัน

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน เคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นประมาณ 6.5% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ใกล้เคียงภูมิภาค เช่นมาเลเซีย แข็งค่าเกือบ 6% และสิงคโปร์ 5%

อย่างไรก็ตาม วันพรุ่งนี้  นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าฯพร้อมคณะกรรมการจะเข้าพบกับผู้ว่าการ ธปท. เพื่อหารือถึงสถานการณ์ค่าเงินบาท และขอคำแนะนำในการปรับตัวของผู้ประกอบการ

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////