--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ICC วัดใจ รบ.ไทย !!?


ประเด็นการขับไล่ยังเดินหน้าต่อไป แม้จะมีการยอมรับหรือลงสัตยาบัน การขับไล่ก็ยังเดินหน้าเป็นปรกติ แต่รัฐมนตรีปึ๋ง (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) จะตัดสินใจแบบปึ๋งๆหรือเปล่า ไม่ว่าตัดสินใจทางไหนก็ต้องมีคำตอบให้เห็นว่ารัฐ บาลนี้ไม่ได้คิดเพื่อตัวเอง แต่มองไปวันข้างหน้า ถ้าประ เทศเราต้องกลับไปถูกกระ บวนการคว่ำรัฐบาลในวิถีทางที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย อย่างน้อยก็จะมีภูมิต้านทาน โดยรัฐมนตรีปึ๋งควรจะทำอย่างหนึ่งอย่างใดใน 2 ข้อนี้ จะประกาศชัดเจนก็ได้ แต่ถ้าลังเลเรื่องการยอมรับหรือไม่ยอมรับเขตอำนาจศาล ก็ร่วมลงสัตยาบันไปเลย ก็ไม่มีปัญหา แต่ไม่ใช่อยู่ในภาวะไม่ตัดสินใจอะไรเลย อีกฝ่ายหนึ่งเขาต้องการให้รัฐบาลพ้น วันนี้เราต้องอยู่อย่างมีเกียรติ คิดถึงคนที่ตาย รวมถึงเรื่องที่เกิดความไม่เป็นธรรมในประเทศ ถ้าวันหน้าเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบประชาชน จะให้เหตุผลกับประชาชนเขาอย่างไร”

นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้ความเห็นเรื่องการรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC-International Criminal Court) ว่าไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาตามมาตรา 190 แต่ถ้าจะลงสัตยาบันก็เข้าข่ายมาตรา 190 ถ้ารัฐบาลวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงทางการเมืองก็ยื่นให้รัฐสภาเห็นชอบตามมาตรา 190 ไปเลย เพราะไม่ได้มีผลแค่คดี 98 ศพเท่านั้น แต่ทุกคดีที่ฝ่ายค้านสงสัย อย่างเรื่องฆ่าตัดตอน การยอมรับเขตอำนาจ ICC หรือลงสัตยาบันจึงเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ฝ่ายค้านจะได้พิสูจน์เรื่องข้อกล่าวหา “นี่คือวัคซีนประชาธิปไตยและป้องกันการรัฐประหารในอนาคต”

นายจตุพรเตือนคนเสื้อแดงและรัฐบาลว่า ขณะนี้สถานการณ์กำลังคืบคลานเข้าสู่การรัฐประหาร ฝ่ายตรงข้ามกำลังจัดเตรียมอย่างเป็นระบบ ก่อนหน้านี้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจอ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เปรียบเทียบเป็น “จ๊อกกี้” แต่ตอนนี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังเจอกับ “สนามม้า” จึงอย่าประมาทหรือประเมินแค่ “เสธ.อ้าย” พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม เพราะมีการสลับฉากหน้าให้ดูเหมือนว่าไม่มีกำลัง แต่เบื้องหลังไม่ได้มีแค่สนามม้า แต่มีทุกคอก ทุกสังกัดที่จะรวมตัวกันโค่นล้มรัฐบาลเพื่อตัวเองจะได้ประโยชน์ การลงนามยอมรับเขตอำนาจ ICC จึงเป็นทางออกหนึ่ง แต่พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลต้องเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ด้วย แม้จะถูกขับไล่แต่ได้หัวใจประชาชน ดีกว่ากลัวและนั่งลุ้นอยู่ทุกวัน

อัยการ ICC รับคำร้อง

ม็อบ เสธ.อ้ายจึงไม่ใช่ “ม็อบกระจอก” อย่างที่คนเสื้อแดงหรือคนในรัฐบาลเคยดูถูกดูแคลน แต่ยังสะท้อนชัดเจนว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะเป็น “มหากาพย์” ไปอีกนาน เพราะ “กลุ่มเกลียดทักษิณ” ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายแค้นยังคงเดินหน้าตามล้างตามเช็ด พ.ต.ท.ทักษิณและล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เหมือนข่าวการลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณที่ จะเดินทางมาท่าขี้เหล็ก ไม่ว่าจะเป็นข่าวจริงหรือเท็จ แต่ก็ทำให้สถานการณ์การเมืองร้อนระอุ เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็เตรียมจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ขณะที่ เสธ.อ้ายก็คึกคักกับการปลุกกระแสม็อบให้มาชุมนุมขับไล่รัฐบาล ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีคนมาชุมนุมล้านคนหรือแสนคนเท่านั้น

แต่ข่าวที่ต้องจับตามองไม่น้อยไปกว่าม็อบ เสธ.อ้ายและการลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณคือ กรณีที่ นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. นำหนังสือของสำนักงานอัยการ ICC ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 มาเปิดเผยว่า ได้แจ้งมาว่ารับคำร้องของ นปช. ก่อนหน้านี้ที่เดินทางไปเข้าพบอัยการ ICC เพื่อเรียกร้องให้รับคดีการปราบปรามประชาชนเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไว้แล้ว แต่ประเทศไทยยังไม่ใช่สมาชิกสนธิสัญญากรุงโรม จึงไม่สามารถเข้ามาสอบสวนได้ นอกจากจะได้รับมอบหมายจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสห ประชาชาติตามมาตรา 13 (b) ของสนธิสัญญากรุงโรมแล้ว ประเทศไทยต้องลงนามยอมรับเขตอำนาจของศาลก่อน โดยการประกาศและบันทึกที่สำนักทะเบียนตามมาตรา 12 (3) ของสนธิสัญญากรุงโรม ตามข้อกล่าวหาเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติปี พ.ศ. 2553 เพื่อให้ศาลมีขอบเขตอำนาจ และหากจะมีการเปิดการสอบสวนก็ต้องผ่านอัยการพิจารณาใช้ดุลยพินิจเองตามมาตรา 15

นพ.เหวงจึงเรียกร้องให้รัฐบาลลงนามรับรองเขตอำนาจ ICC ซึ่งทำได้ทันทีโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หรือนายกรัฐมนตรี ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 โดยเขตอำนาจ ICC ครอบคลุม “อาชญา กรรมทำลายล้างมนุษยชาติ” ทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษและศาลไทยยังสามารถเดินหน้าไต่สวนการเสียชีวิตคดี 98 ศพได้ต่อไป ซึ่งนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย นปช. ได้ยื่นคำร้องต่ออัยการ ICC เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 ให้เปิดการสอบสวนเบื้องต้นเหตุการณ์ระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีประชาชนเสียชีวิตและถูกทำร้ายโดยกองทัพ โดยในคำร้องระบุว่าเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ต่อผู้ชุมนุมที่เป็นพลเรือน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้นถือ 2 สัญ ชาติ “ไทย-อังกฤษ”

ปมมาร์ค 2 สัญชาติ

นางธิดา โตจิราการ ประธาน นปช. ชี้แจงว่า การ ถือ 2 สัญชาติ “ไทย-อังกฤษ” ของนายอภิสิทธิ์คือจุดสำคัญที่สำนักอัยการ ICC รับเรื่องร้องเรียนของ นปช. แต่เพื่อให้ ICC สามารถขยายขอบเขตการตรวจสอบไปยังส่วนอื่นๆ ไม่ใช่แค่ตรวจสอบเฉพาะนายอภิสิทธิ์คนเดียว นปช. จึงเรียกร้องให้รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีประกาศรับรองเขตอำนาจ ICC เฉพาะเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 ตามมาตรา 12 (3) สนธิสัญญากรุงโรมด้วย

“เรื่องนี้ไม่ทำให้ประเทศเสียหาย แต่จะทำให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถตรวจสำนวนเบื้องต้นและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ไทยได้ นอกจากนี้ยังเป็นก้าวย่างสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยไม่ปราบปรามประชาชนหรือฆ่าคนกลางถนนอีกต่อไป การลงนามรับรองครั้งนี้ไม่มีอะไรน่ากลัว ยกเว้นว่ารัฐบาลตั้งใจจะฆ่าประชาชนอีกเท่านั้นเอง เรายินดีให้รัฐบาลเร่งพิจารณาและทำหนังสือไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลไม่จำเป็นต้องนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมรัฐสภา ไม่ต้องผ่านมาตรา 190 เพราะไม่ใช่การทำสนธิสัญญา และรัฐบาลไทยมีสิทธิยกเลิกเมื่อไรก็ได้ เราจะส่งรายละเอียดทั้งหมดให้รัฐบาลดู และในเวลาที่เหมาะสมอาจเดินทางไปพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์เพื่อบอกให้ท่านลงนามในประกาศนี้” นางธิดากล่าว

ดึง “ศาล-สถาบัน” ต้าน ICC

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเชื่อว่ารัฐบาลคงไม่กล้าลงนามยอมรับเขตอำนาจ ICC ขณะนี้แน่นอน เพราะกลัวว่าจะกลายเป็นเงื่อนไขให้ฝ่ายค้านและฝ่ายแค้นปลุกกระแสมวลชนล้มรัฐบาลได้ โดยเฉพาะ ข้ออ้างว่าจะกระทบต่ออธิปไตยของประเทศไทย ทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยถูกแทรกแซง และกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะธรรมนูญกรุงโรมไม่คุ้มครองพระมหากษัตริย์ แม้รัฐธรรมนูญของไทยบัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและฟ้องร้องไม่ได้ก็ตาม แต่ถ้ามีใครยื่นฟ้องเบื้องสูง ICC ก็สามารถนำเรื่องขึ้นสู่ศาลได้ แม้นักกฎหมายและนักวิชาการยืนยันว่าการยอมรับเขตอำนาจ ICC หรือการลงสัตยาบันจะไม่กระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือศาลไทยก็ตาม

อย่างที่นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณาการสั่งสลายการชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อปี 2553 ยืนยันว่า หากมีการลงนามรับรองเขตอำนาจร่วมระหว่าง ICC กับกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเข้ามาสอบสวนเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 ก็เป็นคนละส่วนกัน และไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจของ ป.ป.ช. เพราะ ป.ป.ช. เน้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้เกี่ยวข้องว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ และคำสั่งสมควรแก่เหตุหรือไม่

ขณะที่นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า หากมีการลงนามยอมรับเขตอำนาจ ICC ก็เท่ากับว่านายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จงใจใช้อำนาจของตัวเองบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย เพราะคดี 98 ศพอยู่ระหว่างการไต่สวนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ และไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ ICC จะรับพิจารณา เป็นการใช้อำนาจรัฐกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้าม ซึ่งรัฐบาลทราบดีว่าไม่สามารถหาพยานหลักฐานเพื่อเอาผิดนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ จึงต้องสร้างละครตบตาคนเสื้อแดง

นายชวนนท์กล่าวว่า คดีที่เข้าข่ายที่ ICC จะรับไว้พิจารณาคือคดีที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่น คดีการฆ่าตัดตอน เหตุการณ์กรือเซะและตากใบ โดยจะรวบรวมรายชื่อญาติของผู้ได้รับความเสียหายยื่นต่อนายสุรพงษ์เพื่อให้รับอำนาจศาลในกรณีนี้เช่นกัน

ด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ออกแถลงการณ์ว่า การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงที่เรียกร้องให้รัฐบาลรับรองเขตอำนาจ ICC มีขบวนการหมกเม็ดและมีวาระซ่อนเร้นทาง การเมือง คนเสื้อแดงต้องการให้คดี 98 ศพขึ้นสู่ ICC แต่ไม่ต้องการให้คดีฆ่าตัดตอนสมัย พ.ต.ท.ทักษิณถูกดำเนินคดีใน ICC

ขณะที่นายสุรพงษ์เปิดเผยหลังจากหารือกับตัวแทน ICC ที่เข้าพบเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า มองว่าคดีฆ่าตัดตอนการปราบปรามยาเสพติดสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณไม่เข้าข่ายที่ ICC จะรับไว้พิจารณา เนื่องจากจะรับร้องเรียนใน 4 เรื่องคือ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม รุกราน และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งได้ให้ ICC สรุปรายละเอียดส่งมาให้อีกครั้ง

เตือน “ตุลาการภิวัฒน์”

อย่างไรก็ตาม การประกาศยอมรับเขตอำนาจ ICC นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ท้วงติงว่า แม้การตีความ “ตามตัวบท” อาจสรุปว่าไม่เข้าลักษณะ “หนังสือสัญญา” ตามมาตรา 190 แต่การตีความ “ตามเจตนารมณ์” อาจทำให้คณะรัฐมนตรีต้องยั้งคิดพิจารณาให้ดีว่าการแถลงยอมรับอำนาจ ICC จะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางและมีนัยสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรมไทย และจำเป็นต้องปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่

เพราะมาตรา 190 บัญญัติว่า หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา แต่หากวันหนึ่งประเทศไทยมีข้อพิพาทเรื่องเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน และรัฐบาลไทยจะแถลงยอมรับอำนาจศาลโลกโดยทำคำแถลงฝ่ายเดียวให้ศาลโลกวินิจฉัยข้อพิพาทเขตแดนได้ หากสุดท้ายศาลโลกตัดสินคดีเขตแดนในทางที่เป็นคุณต่อประเทศเพื่อนบ้านก็อาจจะกระทบต่ออาณาเขตไทยได้ หากเป็นเช่นนี้คณะรัฐมนตรีจะแถลงยอมรับอำนาจ ICC โดยไม่ปรึก ษาหารือกับรัฐสภาเพียงเพราะการแถลงดังกล่าวไม่ใช่ “หนังสือสัญญา” กระนั้นหรือ?

ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยชุดปัจจุบันได้ขยายอำนาจการตีความของตนให้ไปไกลกว่าเพียง “ตัวบท” รัฐ ธรรมนูญ คือพร้อมจะอ้างการตีความ “ตามเจต นารมณ์” แม้จะขัดแย้งกับตัวบท แต่ก็ปลุกเสกให้เกิด “ผลทางการเมือง” ตามที่ใจปรารถนาได้

นายวีรพัฒน์จึงเสนอว่า คณะรัฐมนตรีอาจแก้ปัญหาโดยใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 179 เปิดอภิ ปรายทั่วไปฟังความเห็นจากสมาชิกรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติ

บทเรียนผู้นำเคนยา

น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า การให้ ICC มาสอบสวนข้อเท็จจริงจะทำให้ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตได้รับความ เป็นธรรมในระดับสากล ทั้งจะเปิดโอกาสให้ ICC ทำงานร่วมกับศาลไทย และเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล หรือเกิดรัฐประหารซ้ำซากในประเทศไทยอีก ข้อเสียจึงแทบไม่มี นอกจากคนที่กระทำผิดเท่านั้นที่หวาดกลัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในต่างประเทศก็เกิดขึ้นเช่นกัน จึงมีกระบวนการต่อต้านในแง่ข้อกฎหมาย กระบวนการปกป้องนายอภิสิทธิ์และคนที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆ หรืออาจถึงขั้นให้การเท็จต่อ ICC

ส่วนคดีฆ่าตัดตอนหรือคดีตากใบที่ฝ่ายค้านดึงขึ้นมานั้น น.ส.จารุพรรณกล่าวว่า ตามความเห็นคิดว่าปราศจากเจตนา แตกต่างกับคดีสลายการชุมนุมที่ประกาศชัดเจนว่ามีเขตใช้กระสุนจริง และมีกระบวนการต่างๆที่ทำอย่างเป็นระบบ ซึ่งเทียบเคียงได้กับในเคนยาที่มีการปราบปรามกลุ่มคนที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยนั้น และเป็นกลุ่มคนที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่าง โดยกระบวนการพิจารณาคดีหรือการตัดสินของ ICC จะดู 2 ลักษณะคือ เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการสั่งการ กับเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการสั่งการแต่มิได้ห้ามให้กระทำการนั้น ซึ่งมีอัตราโทษต่างกันตามแต่ละกรณี เช่น กรณีเคนยาประธานาธิบดีถูกตัดสินจำคุก 30 ปี

อย่างไรก็ตาม นายวีรพัฒน์มองว่าแม้จะมีการยอมรับเขตอำนาจ ICC แล้ว แต่หากกระบวน การยุติธรรมไทยทำงานได้ตามปรกติและมีความคืบหน้าตามลำดับขั้น อย่างคดีนายพัน คำกอง ICC อาจเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพิจารณาคดีให้ซ้ำซ้อนอีก แม้คดีดังกล่าวจะอยู่ในเขตอำนาจของ ICC ก็ตาม

วัดใจ “เพื่อไทย”

การให้พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ลงนามยอมรับเขตอำนาจ ICC จึงอาจเป็นแค่ “ความฝัน” ของคนเสื้อแดง อย่างที่นายใจ อึ๊งภากรณ์ เชื่อว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยคงไม่กล้าลงนามยอมรับเขตอำนาจ ICC เพราะไม่ต้องการสร้างความขัดแย้งกับกองทัพ จึงไม่เคยพูดถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. ว่ามีส่วนในการฆ่าคนเสื้อแดง พูดแต่นายอภิสิทธิ์เท่านั้น ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็บอกว่าไม่มีข้อขัดแย้งกับทหาร แต่ขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำ นปช. ก็คล้อยตาม

การลงนามยอมรับเขตอำนาจ ICC จึงไม่ใช่แค่ “ห่วงแขวนคอ” นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพในฐานะ “ฆาตกร 99 ศพ” เท่านั้น แต่ยัง “วัดใจ” พรรค เพื่อไทยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่าจะเลือก “แขวนคอตัวเอง” โดยยืนอยู่หลังกองทัพและกลุ่มอำมาตย์เพียงเพื่อให้มีอำนาจต่อไป และรอวันเสื่อมถอย

หรือพร้อมจะยืนเคียงข้างประชาชนและ “คนเสื้อแดง” เพื่อเอา “ฆาตกร 99 ศพ” มาลงโทษ และเปิดประตูประเทศไทยให้ก้าวสู่สัง คมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ศาล รธน.ไม่ปิดทางเร่ง ไต่สวนคุณสมบัติ อภิสิทธิ์ !!?


ศาล รธน.ไม่ปิดทางเร่งไต่สวนคุณสมบัติ"อภิสิทธิ์"เผยหากจำเป็นอาจลัดคิวคดีอื่น ถ้าคำร้องอ้างเหตุผล ความสำคัญเพียงพอ

รายงานข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่าจากกรณีที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทยจะยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมูญเพื่อให้พิจารณาว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎ สมาชิกภาพความเป็น ส.ส. สิ้นสุดลงหรือไม่จากการที่กระทรวงกลาโหม มีคำสั่งถอดยศและปลดออกจากราชการ นั้นการที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับพิจารณาได้หรือไม่ต้องดูว่ายื่นมาในช่องทางใด ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะยื่นมาตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ที่ระบุให้ ส.ส. เข้าชื่อ 1 ใน 10 เพื่อขอให้วินิจฉัย หรืออาจจะยื่นผ่านช่องทางอื่นเช่น กกต. แต่อาจจะทำให้เรื่องขึ้นสู่ศาลล่าช้ากว่าที่ต้องการ

สำหรับกรณีที่นายประชา ประสพดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนฉุกเฉินนั้น ตามระเบียบวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีการไต่สวนฉุกเฉินในลักษณะเดียวกับศาลปกครอง แต่การพิจารณาจะทันก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นกับศาลว่าจะพิจารณาอย่างไรจะเร่งให้หรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูว่าคำร้องที่ยื่นมานั้นมีน้ำหนักพอที่จะให้เร่งพิจารณาหรือไม่ โดยต้องดูจากเหตุผลและความสำคัญ ซึ่งทั้งหมดต้องขึ้นกับดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะที่แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญไม่มีธรรมเนียมปฎิบัติในการไต่สวนฉุกเฉิน เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะไม่นำวิธีการไต่สวนแบบคดีแพ่งมาใช้ ที่ไม่ให้อีกฝ่ายได้ชี้แจง และตัดสินคดีภายในวันเดียว เราไม่มีวิธีนั้น แต่ถ้าจะทำจริงๆกฎหมายก็เปิดช่องไว้ ทั้งนี้เบื้องต้นหากมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา ก็ต้องผ่านขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ในชั้นของสำนักงานก่อนที่จะส่งเรื่องมายังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ซึ่งหลังจากนั้นตุลาการก็จะมาพิจารณาตามคำร้องและสถานการณ์ว่าจำเป็นหรือไม่ หากเห็นว่าจำเป็นก็อาจจะลัดคิวคดีอื่น เพื่อเร่งรัดในการพิจารณาให้ทันเวลาได้

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
******************************************************************************

ราคาหุ้น BEC ร่วง 6 เปอร์เซนต์ ผลพวง คดีไร่ส้ม !!?



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้บริหาร บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) (BEC) ได้เรียกประชุมนักวิเคราะห์ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงผลการดำเนินงานไตรมาส 3 และทิศทางการเติบโตของบริษัทปี 2556 โดยมีนักวิเคราะห์ได้สอบถามถึงประเด็นผลกระทบจากการเรียกร้องให้ภาคเอกชน ระมัดระวังการทำธุรกรรมกับบริษัทไร่ส้ม ของนายสรยุทธ์ สุทัศนจินดา ผู้ดำเนินรายการของช่อง 3 หลังถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิด

ด้านบล.ธนาชาติระบุว่าบีอีซี ชี้แจงประเด็นนายสรยุทธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบกรณีทุจริตว่า บริษัทยังคงไม่เห็นการเพิกถอนสัญญาโฆษณาใดๆ จากทั้งมีเดียเอเจนซี่ และจากลูกค้าของบริษัท บีอีซี

ส่วนแนวโน้มกำไรไตรมาส 4 ปีนี้ คาดว่า จะเติบโตแข็งแกร่งจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากฐานที่ต่ำมาก เพราะปีก่อนมีผลกระทบจากน้ำท่วม และเติบโตจากรายการข่าวของครอบครัวข่าว 3 ผลกระทบจากน้ำท่วมปี 2556 นั้น บริษัทมีแผนที่จะผลักดันรายได้โฆษณา โดยปรับขึ้นค่าโฆษณาสำหรับรายการละครช่วง ซูเปอร์ไพรม์ไทม์ โดยตัดนาทีที่ให้ฟรีออกไป ซึ่งหมายความว่าอัตราค่าโฆษณาจะเพิ่มขึ้น 12.5% ขณะที่ช่อง 7 เพิ่งจะปรับขึ้น 4%

ด้านบล.เกียรตินาคิน วิเคราะห์ปี 2556 บีอีซี จะโตด้วยอัตราชะลอตัวลง เพราะการแข่งขันที่สูงขึ้นในธุรกิจสื่อโทรทัศน์ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ และความไม่แน่นอนจากการต่อต้านการใช้โฆษณาในรายการของนายสรยุทธ จึงคาดกำไรจะเติบโต 4% จากปีนี้ที่คาดกำไรจะโต 22% แม้จะรักษาส่วนแบ่งระดับสูงต่อเนื่องในปีนี้ รวมถึงมีแผนปรับผังรายการที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ราคาหุ้น บีอีซี ถูกกดดันจากปัจจัยเสี่ยงรายการนายสรยุทธ์ นับตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันราคาหุ้นปรับตัวลดลงแล้ว 6%

ที่มา.เนชั่น
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภาพฝัน : ก้าวข้ามขัดแย้ง สันติภาพการเมืองไทยมองง่าย-ไปยาก !!?


ประเมินสถานการณ์ความสุ่มเสี่ยงทางการเมืองในช่วงขณะนี้มีความเป็นไปได้มากที่จะเกิดการปะทะกันของ กลุ่มชนที่มีความขัดแย้งทางความคิดที่แตกต่างกันในเชิงการเมือง จากการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยาม ที่ทำท่าว่าจะโหมกระแสไฟการเมืองอย่างต่อเนื่องหลังที่ก่อติดแล้ว ซึ่งก็มีกระแสต่อเนื่องตามมาถึงการปลุกมวลชนขึ้นต่อต้าน....

ขณะที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา พยายามออกมาขวางโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 62 ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยกรณีบุคคลหรือพรรคการ เมือง กระทำการอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยขอให้ศาลสั่งให้ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การ พิทักษ์สยาม และ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีต สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) เลิกกระทำการ นัดชุมนุมครั้งต่อไป ที่จะเกิดขึ้นภายในปลาย เดือน พ.ย.นี้ เพราะมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิ เสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเข้าลักษณะขัดรัฐธรรมนูญ ชัดเจน และเข้าข่ายความผิดฐานเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ต้อง ระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

ในทรรศนะเรื่องการปรองดองในสังคม การเมืองประเทศนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ใกล้ตา แต่ไกลตีน!!..ไปเสียแล้ว ซึ่งในมุมของนักวิธีการด้านสันติวิทยาอย่าง อาจารย์โคทม อารียา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ได้พยายามทำงานด้านนี้อย่างต่อเนื่องด้วยโครงการเวทีสันติประชาธิปไตย อึด ฮึด ฟัง!!..

นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า แม้สังคม ขณะนี้จะมองทางออกโดยเน้นที่การปรองดอง แต่เห็นว่าสิ่งสำคัญกว่า คือการสร้างสังคมสันติประชาธิปไตยที่อยู่กันอย่างเคารพกัน เพราะสังคมเสื้อสีและการแบ่งแยกที่เป็นอยู่นี้ไม่ใช่สภาวะที่ทุกคนอยากเห็นอยากได้ แต่เป็นสภาวะที่ถูกลากจูงเข้าไป เป็นความอ่อนด้อยในสังคมไทย ไม่ใช่ประชาธิปไตย ซึ่งสังคมที่มีความเห็นขัดแย้งในประชาธิปไตยและแน่นแฟ้นในการเป็นปฏิปักษ์กับอีก ฝั่งเช่นนี้ คนที่ “อยู่กลางๆ” ต้องออกมามีเสียงบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้สังคมเป็นของคนที่เสียงดัง แต่ไม่ใช่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศมีเสียงอยู่เพียงฝ่ายเดียว

“สังคมไทยขณะนี้กลายเป็นว่า เมื่อมีคนออกมาแสดงความเห็นก็ถูกผลักไปอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง ข้อมูลของคณะกรรมการอิสระอย่างสถาบันพระปกเกล้า หรือ คอป.เมื่อรายงานออกมาก็ถูกวิจารณ์ ถูกตัดสินโดยผู้ที่ไม่ได้อ่าน เป็นจุดอ่อนของสังคมไทยที่ด่ากันไปโดยไม่รู้ข้อมูล ใช้ความรู้น้อยกว่าความรู้สึก”

นายวุฒิสาร กล่าวถึงบทเรียนจากต่างประเทศสามารถพาสังคมที่ขัดแย้งกลับมาสู่ความยั่งยืนได้ โดยกระบวนการสำคัญ คือ สานเสวนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นร่วมกัน แต่ต้องพูดคุยระยะยาวจากเรื่องที่เห็นร่วมกันมากที่สุดก่อน ทั้งนี้ การค้นหาความจริงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ได้คำอธิบายเหตุการณ์อย่าง เป็นกลาง เยียวยาคนบางกลุ่ม ซึ่งการเยียวยามีทั้งกล่าวขอโทษไป ชดเชยเป็นตัวเงิน ให้โอกาสกลับมาอยู่ในสังคม พัฒนาอาชีพ การให้ เกียรติสร้างอนุสรณ์สถาน และปฏิรูปโครงสร้าง ระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคม แต่ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ เจตจำนงที่ชัดเจนของผู้นำ การเมืองในการปรองดอง สังคมโดยรวมต้องยอมรับผิด ให้อภัยและพูดถึงอนาคตร่วมกัน

สำหรับสังคมไทย นายวุฒิสาร กล่าวว่า การพยายามสร้างบรรยากาศให้เกิดความปรอง ดองเป็นสิ่งสำคัญ โดยการพูดคุย 3 ระดับ 1.ผู้นำ การเมือง ต้องยอมรับซึ่งกันและกัน หาข้อยุติในบางเรื่อง 2.สื่อ มีส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศที่ดีและเร่งปฏิกิริยาความขัดแย้ง สื่อ ต้องไม่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่ใช้ความอ่อนด้อยของสังคมที่เชื่อโดยไม่ค้นหาความจริงมาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา อันจะทำให้สังคมแย่ไปกว่านี้ 3.ภาคประชาชน ควรเริ่มต้นพูดคุยกันที่เรื่องอนาคตของประเทศไทย มากกว่าเรื่องอดีตและ ความขัดแย้งที่เคยมีมา หรือพูดคุยเพื่อหาคนผิด ซึ่งจะยิ่งทำให้สังคมตกอยู่ในวังวนของความขัดแย้งต่อไป

“ในส่วนเรื่องกฎหมายเน้นย้ำว่าควรจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องท้ายๆ ของความปรองดอง ต้องออกหลังจากสังคมเห็นพ้องกันพอสมควร และอาจมีความจำเป็นต้องปฏิรูปสิ่งที่คนส่วนมากเห็นว่าไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญบางข้อ เช่น การยุบพรรค”

นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า จากนี้ไปสังคมไทยต้องไม่ปล่อยให้ความขัดแย้งพูดคุยกันแค่ในกลุ่มที่ขัดแย้งกันเท่านั้น เหตุที่คนไทยยังไม่ก้าวข้ามความขัดแย้งไปได้ เนื่องจากไม่ยอมรับในข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระ ในขณะที่ต่างประเทศเห็นพ้องกันว่าถึงเวลาต้องยุติความขัดแย้งแล้วให้คณะกรรมการอิสระมาหาทางออกให้และปฏิบัติตาม แต่ประเทศไทยกลับใช้ข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเฉพาะที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ฉะนั้น ไม่ว่าข้อเสนอของคณะกรรมการชุดใดก็จะถูกลากดึงไปอยู่แต่ละฝ่าย เป็นปัญหาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นในสังคมที่ยังไม่ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา

อย่างไรก็ตาม นายกิตติพงษ์ กล่าวว่า ยังมีความจำเป็น ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมให้ดีที่สุด หากนำข้อเท็จจริงไป “แห่” ที่ท้องถนนปัญหาคงไม่จบ การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงสังคม ไทยที่ผ่านมาได้นำไปสู่สังคมที่ดีขึ้นหรือไม่ มีการตรวจสอบที่ดีขึ้นหรือไม่ หรือเป็นประชาธิปไตยแบบพวกมากลากไป แล้วดึงองค์กรหรือสถาบันต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง

“ปัญหาของสังคมไทยอยู่ที่ความไม่เชื่อถือศรัทธาในกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งเรื่องสื่อเลือกข้างและคนเลือกสื่อ คนที่ใช้ประโยชน์จากสื่อเป็นต้นเหตุของปัญหามากที่สุด ในยุคที่คนเลือกเสพสื่อได้ จะทำให้เกิดการแบ่งแยกขั้วอำนาจ ซึ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ที่ต้องข้ามผ่านไปให้ได้”

ดร.โคทม อารียา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผมหวั่นเกรงว่าจะเกิดความรุนแรง มีสัญญาณว่ามีการชุมนุมของผู้ที่ทนกันไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น บริบท อันนี้อาจจะต้องขยายให้กับคนที่ทนกันได้ บริบท ที่สองจะมีการขับเคลื่อนเรื่องรัฐธรรมนูญกับ พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ต้องวงเล็บนิรโทษกรรมไว้ด้วย ผมเห็นว่าบริบทนี้ก็ทำให้วิตก เพราะสองข้อเสนอ นี้เป็นไปได้ 2 ทาง ทางที่เราเห็นๆ กันอยู่ก็เป็นข้อเสนอ ซึ่งจะเป็นทางเข้าสู่ความขัดแย้ง ไม่ ใช่ทางออกจากความขัดแย้ง ถ้าจะให้เป็นทาง ออกจากความขัดแย้ง การทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ก็ดี ความปรองดอง หรือการนิรโทษกรรมก็ดี ต้องเป็นเรื่องที่เปิดรับทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม

ผมไม่แน่ใจ ผมว่าตกเรื่องที่วิตกอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหา ความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ที่สำคัญมากๆ คือเรื่องทางด้านวัฒนธรรม ด้วยการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่กทม. เห็นอาจารย์ แนะนำว่าให้คิดอนาคต ให้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

เรามีความขัดแย้ง แต่เราเสียเวลาน้อย ที่จะไปวิเคราะห์ถึงสาเหตุ หรือเสียเวลาน้อย ที่จะไปพยากรณ์ว่ามันจะไปทางไหน และเสีย เวลาน้อยที่จะไปหาทางเยียวยา หาทางออก มีข้อสรุปว่าวัฒนธรรมอันหนึ่งคือวัฒนธรรม ที่คิดว่าพูดถึงความขัดแย้งในทางรุนแรง ที่วันนี้มีเต็มไปหมด ทั้งสื่อและในโซเชียลมีเดีย เป็นไปได้ไหมที่เราจะคิดทำ เราตื่นขึ้นมาได้แล้วโดยไม่ต้องมีเสียงระเบิดมาปลุกเรา

ที่ผมพูดถึงความรุนแรงรอบใหม่ ถ้าฝ่ายหนึ่งคิดว่าตนถูก และมองฝ่ายหนึ่งด้วยภาพความประสงค์ร้าย ขาดความเห็นใจหรือ เมตตา ขณะเดียวกันพวกเขาเหล่านี้ผมก็เห็นใจเขา เพราะเขามองไม่เห็นทางออก เขา คิดว่าถึงจะไม่ชอบความรุนแรง แต่คิดว่าความรุนแรงยังเป็นทางออกอยู่ จำให้เกิดนั้น หลายคนเป็นคนที่ผมรักและเข้าใจอย่างดี ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนั้น แต่เข้าใจ แต่บังเอิญเข้าใจแต่เฉพาะเรื่องที่เราเข้าข้างอยู่แล้ว ตรงนี้คือปัญหา

ปัญหาลึกลงไปอีกเรื่องหนึ่ง เรามีตรรกะแค่ 2 ทางเท่านั้น แบ่งชัดออกเป็น 2 พวก โลกทัศน์คือไม่มีทางเลือกอื่นนอกจาก 2 ทางเลือกนี้ เป็น 2 ทางเลือกที่สุดโต่งของความขัดแย้ง แต่อันที่จริงทางเลือกอื่นยังมี เช่น ทางเลือกที่ 3 ทั้งใช่หรือไม่ใช่ ยุติเรื่องเอาไว้ก่อน เรื่องมันยังแก้ไม่ได้ เช่น อินเดียกันจีน อินเดียกับปากีสถาน 50-60 ปีแล้วยังแก้ไม่ได้แต่ยุติเอาไว้ก่อน ทะเลจีนใต้ยังแก้ไม่ได้ก็ยุติไว้ก่อน อันนี้ก็ทำได้ถ้ายังแก้ไม่ได้ หรือไม่ก็ก้าวพ้นความขัดแย้งไปด้วยกัน ที่เรามักใช้คำว่า “วิน-วิน” คือเราเข้าใจเขา เขาเข้าใจเรา แต่เราสุมหัวกันมีความคิดสร้างสรรค์แล้วจะเกิดพื้นที่ที่เราเดินไปข้างหน้าได้ หรือประนีประนอม เรายังมีอีกตั้ง 3 ทางเลือก แต่เราคิดอยู่อย่างเดียวว่ามีแค่ 2 ทาง เราถูกเขาผิดก็มีแค่นี้

ถ้าเราคิดจาก 2 เป็น 5 เราจะเริ่มตั้งสันติวัฒนธรรม เพราะสันติภาพนั้นมันเหมือน การปลูกป่ามันที่มีหลายพันธุ์ เป็นสวนรุกขชาติ และพวกเราเป็นนักสันติภาพ นักประชาธิปไตยต้องทำตัวเป็นชาวสวนที่ดี ข้อเสนอในการสานเสวนามีหลายประเด็น อาทิ เรื่องที่สำคัญไม่ควรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของนักการเมืองหรือรัฐบุรุษไม่รู้กี่คน เพราะ ประชาธิปไตยคือประชาชน และประชาชนต้องเอาเรื่องนี้มาอยู่ในมือของเรา ประชาชน ไปข้างหน้าได้ อย่าไปคิดติดที่ว่าต้องมีผู้หลักผู้ใหญ่ไปช่วยแก้ปัญหาให้เรา นั่นเป็นแนวความคิดดั้งเดิมในยุคสมัยศักดินา ประชาชน คือองค์อธิปัตย์ แต่ระวัง การออกเสียงประชามติเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเรายังไม่เข้าใจเรื่องใด ยังไม่ถกแถลงอย่างชัด แล้วมาท้าดวลคะแนนก็จะลงคะแนนตามอารมณ์ ตามความรู้สึก ตามพรรคตามพวก ข้อเสนอของการสานเสวนาไม่ใช่การถกเถียง แต่ให้ความคิดโลดแล่นรวมออกมาเป็นพลังมวลรวมแห่งชาติ ซึ่งจะเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย

มีความจำเป็นในการเยียวยา การคืนดี การปิดฉากโลกของความขัดแย้งบางช่วงบางตอน วิธีหนึ่งที่เสนอไว้ก็คือ จัดกลุ่มพบปะแบ่งปันความรู้สึกความห่วงใยและมีการขอโทษกัน การให้อภัย การเยียวยาบาดแผล เราช่วยเยียวยากันเองได้ไหม

ทางออกอีกอย่างหนึ่งที่มีการคุยกันไว้คือสานเสวนา ซึ่งเป็นการตั้งคำถามและการ แสวงหา เป็นการใช้กริยาเชิงสมมติว่าถ้าเป็น เช่นนี้จะเกิดอะไรขึ้น เรามาคุยกัน สิ่งที่เราได้ข้อสรุป ถือเป็นชั่วคราว อาจจะเปลี่ยนได้หากมีการสานเสวนารอบใหม่ๆ สิ่งที่เราเสนอ ที่เป็นรูปธรรมเป็นส่วนที่ทำให้เกิดวัฒนธรรม แห่งสันติเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น

สรุป เราสื่อสารความขัดแย้งเพื่อมีความเห็นใจ มีความคิดสร้างสรรค์ เราศึกษา สันติภาพเพื่อป้องกันความรุนแรงบนพื้นฐาน แห่งความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม เรา ศึกษาการคืนดีเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต เยียวยาความขัดแย้งที่ทำเกิดขึ้นในอดีต ความรุนแรงนั้นมีความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม ถ้าเราสามารถทำให้ความรุนแรงเหล่านั้นน้อยลง สันติภาพก็จะมีมากขึ้น และจะช่วยป้องกัน ความขัดแย้งใหม่ๆ ให้เราเผชิญกับความขัดแย้งนั้นๆ อย่างสันติ สันติภาพทำให้ประชาชนยิ่งใหญ่

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กบฏซึ่งหน้า !!?


ทุกครั้งที่คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ออกมาเสนอประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ถ้าไม่อคติจนเกินไป เราจะเห็นสาระของท่านเป็นมุมมองที่น่าสนใจ สามารถตีความได้น่าทึ่งและ “เป็นประเด็น” ที่มีผลต่อปัญหานั้นๆ ไม่มากก็น้อย

อย่างน้อยที่ผ่านมา คุณเรืองไกรก็ทำให้ ส.ว.หลายคนที่อยู่ดีๆ ก็ถูกสอบสวน ให้ขาดคุณสมบัติ “สอบตก” หลุดจากการเป็น ส.ว. ไปแล้วหลายคน

ถ้าหยิบเรื่องเสนอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมาของคุณเรืองไกรมาพิจารณาอย่างจริงจัง จะเห็นเหตุผลที่มีน้ำหนักไม่น้อย เพียงแต่ใครที่คิดจะงัดข้อกับพรรคเก่าแก่พรรคนี้ ต้อง “วัดกำลัง” ของตัวเองให้ดีเสียก่อน ก่อนที่ตัวเองจะ “เสียคน” เสียเอง

คุณเรืองไกรยื่นคำร้องเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้สั่งพลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์กรพิทักษ์สยาม และน.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) หยุดการชุมนุมครั้งต่อไปก็เช่นกัน ถือเป็นความแหลมคมในการมองประเด็นอย่างมีน้ำหนักมากทีเดียว

เพราะก่อนหน้า เสธ.อ้าย พลเอกบุญเลิศจะชุมนุมนั้นได้พูดจาแสดงอาการ ล้มล้างรัฐธรรมนูญ และมีความคิดในการยึดอำนาจการปกครองอย่างชัดเจนยิ่ง

“พวกผมเป็นทหารเก่า อยากปฏิวัติมานานแล้ว...หากผมมีกำลังทหารอยู่ในมือ คงปฏิวัติไปนานแล้ว”

หากเป็นเหตุการณ์เมื่อครั้งที่ระบอบคอมมิวนิสต์มาเผยแพร่ในไทยยุคเผด็จการทหารเป็นใหญ่ และถ้าพลเอกบุญเลิศไม่ใช่ทหาร เป็นฝ่ายพูดให้ฝักใฝ่ระบอบคอมมิวนิสต์เหมือนกับที่พูดยุให้ทหารปฏิวัติ รับรองว่าเสธ.อ้ายของผมถูกอำนาจรัฐจับกุมไปเรียบร้อยแล้ว

ดีไม่ดีเจ้าหน้าที่รัฐอาจ “อุ้ม” หายไปไหนเสียแล้วก็ได้

ยุคสมัยที่มีการกล่าวหาประชาชนว่าฝักใฝ่ระบอบคอมมิวนิสต์ในอดีต มันง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วย คนยุคปัจจุบันจึงไม่เคยสัมผัสรู้ว่า ประเทศไทยเราแต่เก่าก่อน เจ้าหน้าที่รัฐไม่ว่า ทหารหรือตำรวจมัก “ยัดข้อหาคอมมิวนิสต์” ให้ชาวบ้านที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ถูกกล่าวหาลงโทษทุกข์ทรมานโดยไม่รู้สาเหตุยังไง

พลเอกบุญเลิศเมื่อครั้งเป็นทหารผู้น้อยถูกชักชวนจากพลเอกฉลาด หิรัญศิริ ให้ทำรัฐประหารในปี 2526 พี่อ้าย (ที่ผมเคารพนับถือ) ก็เห็นดีเห็นงามร่วมใช้กำลัง ยึดอำนาจด้วย แต่ปฏิวัติไม่สำเร็จ ก็กลายเป็น “กบฏ” ร่วมสมัยไปกับคนสำคัญอีกท่านหนึ่งคือ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์

แต่พลตรีสนั่น ท่านพลิกชีวิตเข้าหาระบอบประชาธิปไตย ลงเลือกตั้งตามกติกา จนมีชื่อเสียงโด่งดัง แถมผลักดันพลเอกบุญเลิศให้กลับมาเติบโตในกองทัพอีกครั้งหนึ่ง

แต่เสธ.อ้าย กลับหมกมุ่นกับความคิดเก่าๆ ยิ่งมาขยายความเคลื่อนไหวทาง การเมืองที่สนามม้านางเลิ้ง เพื่อขับไล่รัฐบาลในขณะที่ “เรตติ้ง” ความนิยมการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่มัวหมองมากนัก ได้ยินประเด็นกล่าวหาก็ขาดน้ำหนักถึงขั้น “ฟางเส้นสุดท้าย” จึงไม่แน่ใจว่าท่านคิดเรื่องปฏิวัติ รัฐประหารมาทุ่มใส่ให้สังคมอย่างโจ๋งครึ่มได้อย่างไร...นอกจากมีนัยแอบแฝงเท่านั้น

แถมยังมาเสริมภายหลังว่า จะขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ลาออกหรือยุบสภา โดยไม่ต้องเลือกตั้งใหม่ ด้วยวิธี “แช่แข็งประเทศไทยไป 5 ปี”

ให้ตีความซัก 80 ตลบ ก็เห็นชัดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่า ท่านมีเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย

คำร้องที่คุณเรืองไกร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งหยุดการชุมนุมครั้งต่อไปของ องค์กรพิทักษ์สยามจึงมีน้ำหนักมากๆ เพราะมันเข้าข่ายความผิดฐานกบฏ ตามกฎหมายอาญามาตรา 113

“ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างการ เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวไม่ได้ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจ การปกครองส่วนหนึ่งส่วนใด...

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต”

เห็นเหตุการณ์และเนื้อหาสาระที่ผ่านมาแล้ว ผมเชื่อเหตุผลของคุณเรืองไกร พันเปอร์เซ็นต์ และเชื่อมั่นว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศจำนวนที่มากกว่าหลายพันเท่าจะรู้สึกเช่นเดียวกัน

และถ้าเหตุการณ์การชุมนุมยังเคลื่อนไหวภายใต้การชี้นำของพลเอกบุญเลิศ ต่อไป โดยกฎหมายเหล่านี้ไม่อาจบังคับใช้ได้ ทั้งๆ ที่มีโทษร้ายแรงถึงขั้นประหาร ชีวิต ก็ยังไม่มีใครรู้สึกรู้สา

อำนาจตุลาการ ขยับเขยื้อนด้วยตัวเองบ้างไม่ได้เลยหรือ

ผมจะถือว่าแผ่นดินนี้มี “กบฏซึ่งหน้า” ที่พวกเรายินยอมพร้อมใจถวายพานให้ “เผด็จการครองเมือง” อย่างสมบูรณ์แล้ว

มันจะเอายังไงกันแน่วะ..ประเทศไทย!

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผู้ชาย อกสามศอก !!?


ชายชาติทหาร ยุค “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จ่าฝูงทัพบก ใครก็ดูออก
ไม่ทำเรื่องนอกประเพณี “ปฏิวัติ” รัฐบาลนายกฯหญิง
ทั้ง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โหมงานปั่นงาน เสียสละเพื่อชาติเป็นของจริง
จึงไม่มีทหารคนไหน “กล้าปฏิวัตินายกฯหญิง” ให้เป็นที่ครหาไปทั่วโลก เสร็จสรรพ
ส่วน,พวกที่เรียกร้องส่ง ๆ ..เป็นพวกผู้ชายสวมกระโปร่ง..จึงล้งเล้งไม่ขายอายใครสิครับ

+++++++++++++++++++++++++

“คนดี” ใจพาล
ก่อน “ปฏิวัติ ๑๙ กันยาฯ” ถ้าเจ้าหน้าที่จับ “คนดี” เสียวันนั้น ทุกอย่างก็จบกัน
ไปถึงหน้าประตูบ้าน แต่กลับถอนสมอกลับ
ถ้าดิ่งไปรวบตัว.. “ทักษิณ ชินวัตร” ก็ไม่โดนปฏิวัติกลับจากอเมริกา สบายสิครับ
เพราะความผิด “ลอบปองร้าย”หมายฆ่า “อดีตนายกฯทักษิณ” จับได้ทันที
คดีฆ่าคาร์บอมม์...ถ้าไม่สมยอม...ป่านนี้ติดคุกแก่งอม ไปแล้วล่ะพี่

+++++++++++++++++++++++++

“โค้ช” สำคัญไฉน
เมื่อเป็น “กุนซือ” แล้ว “สุรนันทน์ เวชชาชีวะ” เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต้องมีน้ำใจ
การป้อนข้อมูล แล้วไปกระชุ่น “นักรบประชาธิปไตย” ที่ทำงาน จะเสียการ เอานะเออ
“สุรนันทน์” ที่ลี้ภัยอยู่ใกล้ชิด “นายกฯปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เพราะถูกใส่ไคล้ใช่มั้ยเธอ
สมัยก่อน ที่ท่านทำงานให้ กับองค์กรทางด้านเศรษฐกิจ “ถูกใส่ไฟ” มีแต่ความเจ็บปวด
เป็นคนควรให้โอกาส...มีตำแหน่งแล้วฟาด...ท่านจะมีอะไรมาผงาด เอาไว้อวด

+++++++++++++++++++++++++

“รัฐสภา” ของประชาชน
“เจ๊อ้อย” นุฎฎ์ษีห์ ชัยสุวรรณ ผอ.กลุ่มสื่อมวลชน แห่งรัฐสภา กระจายข่าวแจ้งมาอีกหน
วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ที่ ๙-๑๐-๑๑ พฤศจิกายนนี้
“ขุนค้อน” สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ สุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดสัมมนารัฐสภาจังหวัด ดึงประชาชนมาร่วมมืออำนาจในครั้งนี้
จัด ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์ กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใครไปได้ความรู้ประดับกึ๋นส์
ไปรับทราบสิ่งดี ๆ ...ทัศนะที่เขามอบให้ในครั้งนี้...ทำให้มี ปัญญาดีขึ้น

+++++++++++++++++++++++++

ยอดคนเหนือคน
“บิ๊กเปีย” พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย อดีตรองประธานสภาฯ หัวใจเสื้อแดงเหลือล้น
เป็นคนสองคนที่มีสภาพ เหมือนกัน
ยามสลายเนื้อแดง ปักหลักปกป้องดูแล “คนเสื้อแดง” อย่างไม่ทอดทิ้งหนีไปที่ไหนทั้งนั้น
ชะตากรรมเดียวกับ “ตู่” จตุพร พรหมพันธ์ ที่ได้ “เอกสิทธิ์” ไม่ถูกดำเนินคดี
พร้อมสละชีพแก่คนเสื้อแดง..เป็นชายแกร่ง...ที่ไม่คิดแย่งเก้าอี้รัฐมนตรีกับใครด้วยซี

ทื่มา.คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วาทกรรมอำพราง : ปัญหาผู้ใหญ่บ้าน (กำนันสไตล์) อำมาตย์ หรือทาสประชาชน !!?


โดย. ชัยพงษ์ สำเนียง สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่

ชื่อบทความเดิม “พัฒนาการการปกครองท้องที่ไทย: ผ่านความเปลี่ยนแปลงของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อำมาตย์หรือทาสประชาชน
ในปี พ.ศ.2435 (ร.ศ. 111) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดการปกครองระดับหมู่บ้านขึ้นใหม่ ท่านทรงเล็งเห็นว่าการปกครองระดับนี้มีความจำเป็น และสำคัญยิ่งในการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเป็นหน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดกับราษฎรมากที่สุด โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หลวงเทศาจิตวิจารณ์ (เส็ง วิริยศิริ) ไปทดลองจัดตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านขึ้นที่บ้านเกาะบางปะอิน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยให้ราษฎรพิจารณาเลือก ผู้ใหญ่บ้านแล้วให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกให้เป็นกำนันกันเอง ทรงให้มีการทดลองจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน
โดยให้ราษฎรเลือกผู้ใหญ่บ้านกันเองแทนการแต่งตั้ง กำหนดหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในท้องที่ การป้องกันโจรผู้ร้าย ตลอดจนช่วยเก็บภาษีอากร ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี มีการวางรูปแบบการปกครองระดับหมู่บ้าน ตำบลเรียกว่า “การปกครองท้องที่” อย่างเป็นทางการขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองประเทศ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ เมื่อ ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) ใช้มาเป็นเวลา 17 ปี

ปัญหากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ภาพจากไทยรัฐ
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ได้ทรงประกาศยกเลิกและประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และมีการแก้ไขต่อมาอีหลายครั้ง ครั้งล่าสุดมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2551 (กรมการปกครอง 2555) กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำหน้าที่ปกครองและบริหารการปกครอง “ท้องที่” กำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นการจัดระบบปกครองและเป็นระบบการบริหารราชการระดับฐานรากของไทย ซึ่งมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 เป็นกฎหมายที่ได้วางรากฐานไว้ นับว่าเป็นโครงสร้างสำคัญของการบริหารดินแดนของไทย (Territory Administration)
โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ที่มีจังหวัดและอำเภอขึ้นเป็นโครงสร้างส่วนบนอีกชั้นหนึ่ง การที่การปกครองท้องที่มีลักษณะดังกล่าวส่งผลให้กำนันผู้ใหญ่บ้านของไทยมีวัฒนาการต่อเนื่อง (การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการบริหารแต่ละครั้งมุ่งปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างส่วนบนและไม่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างส่วนล่าง)
ไม่เพียงแต่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะเป็นเพียงตัวแทนอำนาจรัฐในระดับรากฐานเท่านั้น รัฐยังได้ “ประสาน” “ดูดกลืน” ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น นักเลง เจ้าพ่อ เพื่อเป็น “มือไม้” ของรัฐในการควบคุมท้องถิ่น หรือพูดได้ว่าผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นการขยายอำนาจรัฐในระดับเล็กสุด และมีพลวัตอย่างสำคัญภายหลังทศวรรษที่ 2500 (ดูเพิ่มใน สกอตต์, เจมส์ ซี. 2539) และที่สำคัญคือ การมีสองสถานภาพควบคู่กันไป
กล่าวคือในทางหนึ่ง กำนันผู้ใหญ่บ้านมีฐานะเป็นผู้แทนของรัฐคือ ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่ปฏิบัติงานอยู่ในระดับล่างสุดของรัฐและอยู่ใกล้ชิดสนิทกับประชาชนในท้องที่ต่างๆ มีหน้าที่สำคัญคือการช่วยเรื่องการประสานงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาชนในเขตหมู่บ้านและการแจ้งข่าวสารของทางราชการให้ประชาชนรับทราบ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน กำนันผู้ใหญ่บ้านก็มีสถานะและมีบทบาทเป็นผู้แทนประชาชน เป็นผู้นำของชุมชน เนื่องด้วยไม่ได้มีสถานะเป็นข้าราชการของรัฐเต็มตัว อีกทั้งมิได้ทำงานให้แก่ทางราชการเต็มเวลาบทบาทและหน้าที่ดังกล่าวส่งผลให้กำนันผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ต้องดูแลความสุขทุกข์ของประชาชนที่เรียกกันว่า “ลูกบ้าน” ในด้านต่างๆเป็นอันมาก
ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ เพื่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของตำบลหมู่บ้าน กิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมและทางด้านจิตใจของลูกบ้าน (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ 2546) การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีสาระที่สำคัญ อาทิ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2- 8) พ.ศ. 2486 – 2532
  • 1. เปลี่ยนแปลงวิธีเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จากให้ผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบลเลือกกันเอง เป็นให้ราษฎรที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลเป็นผู้เลือก จากผู้ใหญ่บ้านที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง
  • 2. เปลี่ยนแปลงการดำรงตำแหน่งจากที่เคยให้ดำรงตำแหน่งตลอดอายุ เป็นให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี (เริ่มปี 2515)
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2535มาตรา 13 วรรค 5 เพิ่มข้อความ “ผู้ใหญ่บ้านอยู่ในตำแหน่งคราวละห้าปี นับแต่วันที่ราษฎรเลือก” และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 ที่น่าสนใจคือ
  • 1. เปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกกำนัน จากราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลเป็นผู้เลือกจากผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็น ให้ผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นคัดเลือกกันเอง
  • 2. เปลี่ยนแปลงการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี เป็น การดำรงและให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานทุก 5 ปี
พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551 (ต่อไปจะเรียก พ.ร.บ.11) เนื่องจากกระทรวงมหาดไทย เห็นว่าการบริหารการปกครองท้องที่ในปัจจุบันยังขาดประสิทธิภาพ และบทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ยังไม่สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินนับตั้งแต่ปี 2535 ที่ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่ง 5 ปีจนถึงก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติฯ ฉบับปัจจุบัน
เป็นผลทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เคยทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน ไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากเกรงผลกระทบต่อคะแนนเสียง การทำงานขาดความต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีผู้นำตามธรรมชาติที่ราษฎรยอมรับนับถือ ราษฎรเริ่มมีความขัดแย้ง แตกแยก (สรียา วิไลพงศ์ 25551) อาทิเช่น
  • มาตรา 14 ที่กำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 60 ปี ซึ่งเป็นการพรากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่บ้าน กับประชาชนในท้องที่ออกจากกัน เพราะผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่รับผิดชอบต่อราชการส่วนภูมิภาค หรือพุดอีกอย่างได้ว่าเป็น “ส่วนย่อ” ส่วนย่อย” ของรัฐ ซึ่งน่าสนใจว่าการที่ได้ตำแหน่งโดย “การเลือกตั้ง” แต่หมดวาระ หรือถูกปลด ถอด โดยอำนาจอื่นๆโดย “มาตรา ๑๔ ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
  • (๑) มีอายุครบหกสิบปี
  • (๒) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้ลาอุปสมบทหรือบรรพชาตามประเพณี มิให้ถือว่ามีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๒ (๕)
  • (๓) ตาย
  • (๔) ได้รับอนุญาตจากนายอำเภอให้ลาออก
  • (๕) หมู่บ้านที่ปกครองถูกยุบ
  • (๖) เมื่อราษฎรผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑ ในหมู่บ้านนั้นจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของราษฎรผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๑ ทั้งหมดเข้าชื่อกันขอให้ออกจากตำแหน่ง ในกรณีเช่นนั้นให้นายอำเภอสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
  • (๗) ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อได้รับรายงานการสอบสวนของนายอำเภอว่าบกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง
  • (๘) ไปเสียจากหมู่บ้านที่ตนปกครองติดต่อกันเกินสามเดือน เว้นแต่เมื่อมีเหตุอันสมควรและได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ
  • (๙) ขาดการประชุมประจำเดือนของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่นายอำเภอเรียกประชุมสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร
  • (๑๐) ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากตำแหน่ง เนื่องจากกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
  • (๑๑) ไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้องทำอย่างน้อยทุกห้าปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง… (๘) ให้นายอำเภอรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบโดยเร็วด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดตาม (๑๑) ต้องกำหนดให้ราษฎรในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านด้วย” (พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551)

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประท้วง ภาพจากไทยรัฐ
ที่สำคัญคือ ขาดความยึดโยงกับประชาชน หรือแม้เปิดช่องให้ประชาชนสามารถถอดถอนได้ตาม (๖) ซึ่งก็มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากเพราะต้องขอความเห็นชอบจากนายอำเภอ รวมถึงการสั่งสมอิทธิพลปลดผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ออกจากตำแหน่ง ซึ่งตั้งแต่มีการออก พ.ร.บ. 11 ก็ยังไม่พบว่ามีพื้นที่ใดที่ประชาชนสามารถถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันออกจากตำแหน่งได้ (ยกเว้นถูกปลดโดยกรณีอื่นๆ)
ในส่วนของการได้มาซึ่งตำแหน่ง “กำนัน” ยิ่งซ้ำร้าย พ.ร.บ. 11 กำหนดไว้ใน “มาตรา ๓๐ ให้นายอำเภอเป็นประธานประชุมผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้น เพื่อปรึกษาหารือคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งในตำบลนั้นขึ้นเป็นกำนัน เมื่อผู้ใหญ่บ้านที่มาประชุมเห็นชอบคัดเลือกผู้ใดแล้วให้นายอำเภอคัดเลือกผู้นั้นเป็นกำนัน
ในกรณีที่มีผู้สมควรได้รับการคัดเลือกเป็นกำนันมากกว่าหนึ่งคน ให้นายอำเภอจัดให้มีการออกเสียงลงคะแนน เมื่อผู้ใหญ่บ้านคนใดได้รับคะแนนสูงสุดให้นายอำเภอคัดเลือกผู้นั้นเป็นกำนัน
ในกรณีที่ได้รับคะแนนเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลาก….เมื่อคัดเลือกผู้ใดเป็นกำนันตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้นายอำเภอรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน การประชุมผู้ใหญ่บ้านตามวรรคหนึ่งต้องมีผู้ใหญ่บ้านมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ใหญ่บ้านทั้งหมดที่มีอยู่ในตำบลนั้น จึงเป็นองค์ประชุม…” (พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551) ซึ่งเป็นการพรากการตัดสินใจของประชาชนในพื้นที่ ได้ยกอำนาจการเลือกตั้งกำนันให้แก่ผู้ใหญ่บ้านเลือกกันเองขึ้นเป็นกำนัน ซึ่งก่อนหน้า พ.ร.บ. 11 กำนันต้องได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ซึ่งนัยยะสำคัญหลายประการคือ
  • (1) สร้างจุดเชื่อมโยงกับประชาชนในท้องถิ่น ในอดีตกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นตัวกลางระหว่างรัฐ กับประชาชน แต่ในปัจจุบันอำนาจอื่นๆ ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น ทั้งองค์กรเอกชน (NGOs) นักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มเงินล้าน อสม. กลุ่มป่าชุมชน กลุ่มประชาคมต่างๆ ฯลฯ ทำให้ความเป็นตัวกลางของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ลดบทบาทไปมาก
  • (2) เป็นการแสวงหาฉันทานุมัติในท้องถิ่น ที่ต้องการคนที่มีบารมี มีความสามารถ เป็นที่นับถือและสามารถประสานงานในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
  • (3) เป็นประชาธิปไตย “ตำบล” ที่สร้างดุลอำนาจของคนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ หรือพูดได้ว่าเป็นการสร้างการคานอำนาจของกลุ่มคนที่หลากหลาย (ดูรายละเอียดอย่างพิสดารใน แคเธอรีน เอ. เบาว์วี 2555)
  • (4) ซึ่งดุลอำนาจที่หลากหลายนี้ทำให้ประชาชน หรือชาวบ้านในพื้นที่แสวงหาการคุ้มครอง การอุถัมภ์ ความช่วยจากกลุ่มอำนาจที่หลากหลาย หรือพูดได้ว่าเป็นความยืดหยุ่นของ “สัมพันธภาพทางอำนาจในท้องถิ่น” ผ่านการ “เลือกตั้ง” ที่ประชาชนในท้องถิ่นสามารถสร้างอำนาจต่อรองได้อย่างยืดหยุ่น
  • (5) แม้ว่าหนังไทยจะสร้างภาพผู้มี “อิทธิพล” “มาเฟีย” “นายหน้าค้าที่ดิน” “พ่อค้าที่ขูดรีด” “นายทุนเงินกู้” “สมุนเจ้าพ่อ – นักการเมือง” “การกดขี่ข่มเหง” ฯลฯ ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่มีหลายต่อหลายแห่งที่ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของชุมชน เหมือนเพลง “พี่ผู้ใหญ่” ของแอ๊ดคาราบาว ที่ชี้ให้เห็นถึงการเสียสละ และเป็น agency ของการ “พัฒนาสมัยใหม่”
  • รวมถึงความเสียสละ และค่าตอบแทนที่น้อยนิด ผมยกตัวอย่างเท่าที่ผมรู้จักก็ได้ เช่น กำนันอนันต์ ดวงแก้วเรือน ผู้รักษาป่าแห่งลุ่มน้ำทา อดีตกำนันธนา ยะโสภา ต. ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน (ที่ไม่ได้เห็นด้วยกับการที่ผู้ใหญ่บ้านกำนันมีวาระ 60 ปี) ได้ต่อสู้เรียกร้องเรื่องที่ดินทำกิน นายกสมหมาย หลวงสอน (อดีตผู้ใหญ่บ้านหัวเวียง อ.เชียงของ) ผู้ใหญ่บ้านนักพัฒนา ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลัง พ.ร.บ. 11 นี้ทำให้ “บทบาทเหล่านี้พร่าเลือน” ไป กอปรกลับความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยในหลายมิติก็มีส่วนอย่างสำคัญ แม้ว่าในบางพื้นที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังมีความสำคัญอยู่ แต่ “อำนาจอื่น” ตาม (1) ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นๆ การที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อยู่จนถึง 60 ปี จึงเป็นการทิ้ง “ระเบิดเวลา” ไว้ในสังคมไทย
ตาราง 1 การเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (ฉบับที่ 1-11)

การเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (ฉบับที่ 1-11)
ที่มา: พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (ฉบับที่ 1-11) ปรับปรุงมาจาก พิบูลย์ศักดิ์ ราชจันทร์ (2554) และ สรียา วิไลพงศ์ (2551)

วาทกรรมอำกรรมพราง

—“กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นสถาบันที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาโดยตลอด โดยเป็นผู้ช่วยเหลือทางราชการ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่ประชาชนในตำบลหมู่บ้าน และเป็นผู้แทนประชาชนในตำบลหมู่บ้านใน การติดต่อกับภาคส่วนต่าง ๆ ถึงแม้สภาพสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย จนปัจจุบันและต่อไป ในอนาคต จะทำให้ภารกิจบทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านเพิ่มมากขึ้น
กรมการปกครองเป็นกรม กำกับดูแลกำนันผู้ใหญ่บ้าน ก็ได้ช่วยเสริมศักยภาพให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน ด้วยการขยายเวลาการทำงานให้ถึง 60 ปี เพราะประสบการณ์จะช่วยสร้างเสริมความมั่นใจในการทำงาน รวมทั้งปรับปรุงคณะกรรมการหมู่บ้านให้เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอและผู้ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้กำนันผู้ใหญ่บ้านจะเป็นที่ยอมรับหรือได้รับความศรัทธาจากประชาชนมากน้อยเท่าใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการทุ่มเทกำลังใจ กำลังกายในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน ของกำนันผู้ใหญ่บ้านนั่นเอง”—
—ถ้ามีการเลือกตั้ง “จะทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน” “โวยกระทบต่อการทำงานหลายด้าน โดยเฉพาะงานวาระแห่งชาติ เช่น ปราบยาเสพย์ติด ชี้มีการตรวจสอบที่ดีอยู่แล้ว หากทำงานไร้ประสิทธิภาพชาวบ้านสามารถลงชื่อถอดถอนได้อยู่แล้ว” (ไทยรัฐออนไลน์ 2 ตุลาคม 2555)—
—“…เรา (ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน) เป็นส่วนหนึ่งของราชการ ไม่ใช่นักการเมือง อย่าเอาเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง…การเลือกตั้งทำให้ชุมชนขัดแย้ง”—

ปัญหาผู้ใหญ่บ้าน กำนัน การเมืองท้องถิ่น ภาพจาก innnews
เหตุผลที่ยกมาเพื่อไม่ให้มีการแก้ไข พ.ร.บ. 11 ข้างต้น 3 – 4 ประเด็น เป็น “วาทกรรม” หรือผมเรียกว่า “ความจริงอำพราง” ด้วยเหตุผล 4 – 5 ประการ
ประการที่หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีวาระ 60 ปี เป็นความต้องการของ “รัฐบาลเผด็จการ คมช. – สุรยุทธ์ – สนธิ” โดยแท้ ด้วยเหตุผลมักง่าย (ความคิดผมเอง SIU ไม่มีส่วนในการรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น) ที่ต้องการเอาใจกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาเป็นพวก เพื่อคานอำนาจกับ “ทักษิณ ชินวัตร” โดยมีสมมุติฐานว่านักการเมืองท้องถิ่นทั้ง ส.อบต. ส.อบจ. ส.ท. หรือ สออะไรทั้งหมด ล้วนเป็นพวกทักษิณ การคิดง่ายๆ โดยการขยายวาระกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้มาเป็นพวกน่าจะสร้างดุลอำนาจให้ “รัฐบาลเผด็จการ คมช. – สุรยุทธ์ – สนธิ” ได้ ซึ่งก็พบว่าไม่ได้ผล หรือว่า “ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง”
ดูได้จากการที่ทหารเรียกประชุมชี้แจงเหตุการณ์ช่วง เมษายน 52 – พฤษภา 53 ในพื้นที่ภาคเหนือมักไม่ได้รับความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแม้แต่ถูกต่อต้าน ชี้ให้เห็นว่าความต้องการสร้างอำนาจเพื่อคานกับ “ทักษิณ ชินวัตร” ผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่ประสบผลสำเร็จ
ประการที่สอง“การเลือกตั้งทำให้ชุมชนแตกแยก” นี้เป็นข้ออ้างที่ไร้เหตุผล ภายใต้สมมุติฐานว่า “ประชาชนโง่” “ไร้ความคิด” ไม่สามารถมีอิสระในการเลือกถูก “ตราสังข์” ไว้ภายใต้ “ระบบอุปถัมภ์” ซื้อได้ ควบคุมได้ ถ้าให้ “เลือก” ไม่ว่าอะไร ก็จะทำให้เกิดการ “แย่งชิง” “แตกแยก” เพราะฉะนั้น “รัฐเผด็จการ” ต้องให้ “เลือก” น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก
ข้ออ้างอันนี้ไม่มีความจริง และไร้เหตุผลอย่างที่สุด เพราะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงในชนบททั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ การเมือง (ดู ชัยพงษ์ สำเนียง 2555 ใน SIU) ได้ทำให้ชนบทเปลี่ยนไปอย่างไพศาล และ “ตื่น” เล่นการเมืองเป็น สร้าง “ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ” ในพื้นที่อย่างซับซ้อนเพื่อต่อรองภายในกลุ่ม รัฐ ทุน อย่างสลับซับซ้อน ที่คนในขบวนการ คมช. ไม่มีวันเข้าใจ
ดูข้อถกเถียงเรื่องประชาธิปไตย การเลือกตั้ง และความเปลี่ยนแปลงของชนบทไทย ใน ประจักษ์ ก้องกีรติ (2555) สกอตต์, เจมส์ ซี. (2539) งานทั้ง 2 ชิ้นข้างต้นทำให้เข้าใจ “การเลือกตั้ง” ที่ทำให้เกิดพลวัตในชนบท และคนในชนบทได้สร้างระบบการต่อรองผ่านการเลือกตั้ง ทำให้คนกลุ่มต่างๆสร้างอำนาจได้อย่างยืดหยุ่น หลากหลาย ซึ่งการแย่งยึดทำลายการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำให้สายใยของอำนาจในชนบทถูกตัดตอน บ่อนเซาะ และเป็นการทำลายการเรียนรู้ในระบบประชาธิปไตยอย่างน่าเสียดาย
ประการที่สาม “ชนชั้นนำ – กลางสูง – เมือง – กทม.” มักบอกว่า “ชุมชนชนบทไทย” “หมู่บ้านไทย” “อะไรที่ไทยๆๆ” สงบสันติ สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในได้โดยการไกล่เกลี่ยของ “ผู้ใหญ่” “ผู้อาวุโส” (ดูภาพแทนความจริง ความเป็นไทยนี้ในงานของ ศ. สายชล สัตยานุรักษ์ 2545; 2546; 2550) แล้วทำไมถึงบอกว่าการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะทำให้เกิดความแตกแยก โปรดกลับไปอ่านข้างบน ((1) ประการที่สอง หรืองานผมใน SIU) จะทำให้เข้าใจสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น
ประการที่สี่ การที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีวาระ 60 ปี ค่าตอบแทนเพิ่มมากขึ้น ทำให้การแข่งขันเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งข้างต้น มีการแข่งขันรุนแรง และมีการซื้อเสียงมากที่สุด (ดูงานของ อภิชาต สถิตนิรามัย และคณะ 2555) รวมถึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการกระจายอำนาจ (ดู มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ 2555) ซึ่งการที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านอยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุ 60 ปี นั้นอาจทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเกิดความห่างเหินกับประชาชนหรืออาจละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่พึงกระทำ เพราะไม่ต้องขอคะแนนเสียงจากประชาชนในระยะเวลาที่ยาวนาน
ประการที่ห้า การปลด ถอดถอนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกจากตำแหน่งยากมากจากเงื่อนไขของ พ.ร.บ. 11 ทำให้การกระทำของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านบางส่วนไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน รับผิดชอบต่อนายอย่างเดียว อย่างไรก็ตามการที่วาระกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีถึง 60 ปี ขาดการยึดโยงกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ขาดความรับผิดชอบต่อประชาชนต้องเอาใจนาย (ซึ่งก็เป็นมรดกบาปที่ควรสะสางจะกล่าวต่อไปในครั้งหน้า)

ประท้วง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พรบ.11 ภาพจาก ไทยรัฐ
ทำให้ “สัมพันธภาพเชิงอำนาจในหมู่บ้าน” เปลี่ยนไป อย่างยากที่จะควบคุมการแก้ไข “พ.ร.บ.การปกครองท้องที่ ฉบับที่ … พ.ศ… ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการกฎหมายดังกล่าว ที่เสนอโดย ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลจำนวนรวม 5 ฉบับ ด้วยคะแนน 370 เสียง แถลงว่า กมธ.ได้พิจารณากฎหมายประเด็นการดำรงวาระตำแหน่งของผู้ใหญ่บ้านและการเลือกกำนัน ที่ออกในสมัยสมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) ปี 2551 โดยได้แก้ไขใน 4 ประเด็น คือ
  • 1. จากเดิมที่ไม่กำหนดวาระและเกษียณอายุใน 60 ปี เป็นกำหนดวาระให้เหลือ 5 ปี ทั้งนี้ในชั้น กมธ.มีมติเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบแล้ว
  • 2. การเปลี่ยนแปลงกำหนดวิธีเลือกกำนัน จากเดิมที่ให้แต่ผู้ใหญ่บ้านเลือกตัวแทนกันเอง แต่จะเปลี่ยนเป็นให้ประชาชนเลือกกำนันจากผู้ใหญ่ที่มีอยู่
  • 3. โดยไม่กำหนดเกณฑ์อายุ 60 ปี ซึ่งผู้ที่อายุ 60 ปีไปแล้ว ก็สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ได้
  • 4. เสนอบทเฉพาะกาล ภายหลังการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวจะไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งผู้ที่เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน จะสามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 60 ปีได้
….ขณะนี้มีกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ที่จะอยู่จนครบวาระ 60 ปี
  • เหลืออีก 5 ปี พ้นจากตำแหน่งจำนวน 1.2 หมื่นคน
  • เหลือ 10 ปี จำนวน 1.6 หมื่นคน 
  • เหลือ 15 ปี จำนวน 1.5 หมื่นคน และ
  • เหลือ 20 ปี จำนวน 1 หมื่นคน กฎหมายดังกล่าวเป็นการวางโครงสร้างระยะยาว เพื่อให้ประชาชนไม่ผูกขาดอำนาจจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” (มติชนออนไลน์ 9 ตุลาคม 2555)
แม้ว่าขณะที่เขียนบทความนี้นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.กระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยได้ชะลอ (โดยให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่เสนอ) ร่างแก้ไข พ.ร.บ. 11 ออกไป และรับปากว่าจะทำตามความต้องการของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ชุมชุมประท้วงหน้าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ทั้งที่พรรครัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และมักอ้างว่า “เป็นพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” “มวลชน” ฯลฯ กลับไม่กล้าแก้ไข พ.ร.บ. 11 นี้
ทั้งที่ประชาชน “…กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่
  • กว่าร้อยละ 85.3 เห็นว่า ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ควรให้ดำรงตำแหน่งคราวละ 4-5 ปี
  • รองลงมาอีกร้อยละ 13.0 เห็นว่าให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี
  • อีกร้อยละ 1.7 ไม่มีความเห็น
  • สำหรับตำแหน่งกำนันตำบล ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน คือ
  • ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.8 เห็นว่าควรดำรงตำแหน่งคราวละ 4-5 ปี
  • รองลงมา ร้อยละ 13 ให้ดำรงตำแหน่งจนถึงอายุ 60 ปี
  • ส่วนอีกร้อยละ 1.2 มีความเห็นอื่นๆ เช่น ดำรงตำแหน่ง 2-7 ปี บางความเห็นระบุว่า ไม่ควรมีตำแหน่งกำนันตำบลแล้ว
  • สำหรับการได้มาซึ่งตำแหน่งกำนันตำบลนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.3 เห็นว่าควรจะมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน
  • อีกร้อยละ 9.7 เห็นว่าให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นตัวแทนในการเลือกกำนันตำบล
  • และเมื่อถามต่อว่า ตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ยังควรให้คงมีอยู่ต่อไปหรือไม่
  • ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 88.5 เห็นว่า ยังควรให้มีอยู่ โดยเฉพาะในชนบท
  • อีกร้อยละ 11.5 เห็นว่าควรยกเลิกตำแหน่งนี้ เนื่องจากมีองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ทำหน้าที่อยู่แล้ว” (ASTV ผู้จัดการรายวัน 2555)
อย่างไรก็ตาม การแก้ไข พ.ร.บ. 11 เบื้องต้นแทบไม่กระทบกับผู้ดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน แต่ในทางกลับกันกับเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ที่กำลังเกษียณ และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนสามารถสมัครรับเลือกตั้งได้อีก เป็นการคืน “กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน” ให้แก่ประชาชน และด้วยเหตุผลข้างต้นสมควรที่จะมีการแก้ไข พ.ร.บ. 11 นี้อย่างเร่งด่วน
ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ส.ส.เพื่อไทย ปูด ลงขัน 6 พันล้าน ล้มรัฐบาล !!?


ส.ส.เพื่อไทยอ้างนักการเมืองอักษรย่อ “น-ส” ร่วมกันลงขัน 6,000 ล้านบาท จ้างสังหาร “ทักษิณ” และโค่นล้มรัฐบาล ให้จับตาการเมืองช่วงปลายเดือน พ.ย. จะมีความร้อนแรง ปูดทหาร 2,000 นาย แฝงตัวชานเมืองเตรียมเข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม เพื่ออารักขาแกนนำ รองโฆษกกองทัพบกโค้ทันควันตรวจสอบแล้วไม่พบความเคลื่อนไหว ยืนยันไม่มีทหารร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลเพราะเป็นนโยบายของกองทัพ หากฝ่าฝืนมีความผิดทางวินัย

ที่รัฐสภา พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ส.ว.สรรหา อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกระแสการเตรียมลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่าว่า คนอื่นอาจไม่เชื่อแต่ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณคงเชื่อ เพราะที่ผ่านมาเคยถูกลอบสังหารมาแล้วหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ

“ชัดเจนว่าในอดีตมีความพยายามลอบสังหารอดีตนายกฯ แต่ปัจจุบันจะมีหรือไม่อยู่ที่การสอบสวนขยายผล”

นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พร้อมด้วย นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ร่วมกันแถลงโดยอ้างว่ามีนักการเมืองอักษรย่อ “น” และ “ส” ลงขันกันจ้างฆ่า พ.ต.ท.ทักษิณ โดยใช้เงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อโค่นล้มรัฐบาลในหลายรูปแบบ

“เป้าหมายของเขาคือต้องล้มรัฐบาลให้ได้ แล้วตั้งรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ขอให้พี่น้องที่รักประชาธิปไตยเตรียมตัวกันให้ดี ต้องออกมาช่วยกันปกป้องประเทศไม่ให้เผด็จการยึดครอง วันที่ 16 พ.ย. นี้จะมีการรวมตัวกันที่ขอนแก่น และวันที่ 18 พ.ย. ที่สมุทรปราการ”

นายวรชัยระบุว่า ขณะนี้มีทหารจากปราจีนบุรีและกาญจนบุรีกว่า 2,000 นาย มาเตรียมอยู่ที่มีนบุรีและลาดกระบัง เพื่อเข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม ทำหน้าที่อารักขาแกนนำ สถานการณ์การเมืองปลายเดือนนี้มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ด้าน พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ยืนยันว่า ตรวจสอบแล้วไม่พบการเคลื่อนไหวของทหารที่จะมาร่วมชุมนุมขับไล่รัฐบาลตามที่มีการกล่าวอ้าง หากมีทหารออกมามากขนาดนั้นผู้บังคับบัญชาต้องรู้ ที่สำคัญกองทัพบกไม่มีนโยบายให้ทหารเข้าร่วมชุมนุม หากฝ่าฝืนจะมีความผิดทางวินัย ยืนยันได้ว่าทหารไม่ว่าจะสังกัดใดไม่มีการเข้าร่วมในการชุมนุมอย่างแน่นอน

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************

การแก้ไขปัญหาไฟใต้ : ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย !!?


โดย : สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2551ขัด หรือแย้งกับสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 ในประการสำคัญ

1 สนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 มีบทบัญญัติร่วม ที่เปรียบเสมือนสนธิสัญญาเล็ก ครอบสนธิสัญญาใหญ่เอาไว้ทั้ง 4 ฉบับ คือบทบัญญัติร่วมทั้ง 9 บทบัญญัติ และในบทบัญญัติร่วมทั้ง 9 บทบัญญัติ บทบัญญัติร่วมที่ 2 บทบัญญัติร่วมที่ 3 เป็นบทบัญญัติร่วมที่สำคัญที่สุด เพราะบทบัญญัติร่วมที่สองของสนธิสัญญาฯให้ความคุ้มครองแก่เชลยศึก และในบทบัญญัติร่วมที่ 3 เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่เอกชน หรือ พลเรือนในยามสงคราม และ ในยามที่มีความขัดแย้งทางอาวุธที่ไม่ประกาศ เป็นสงครามเป็นทางการภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง บทบัญญัติร่วมที่ 3 เปรียบเสมือนสนธิสัญญาเล็กที่ย่อเอาจุดสำคัญๆของสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 มาบัญญัติไว้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่เอกชน และ/หรือ พลเรือนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง หรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดการสู้รบ และไม่อนุญาตให้รัฐคู่ภาคีสนธิสัญญาฯ ที่จะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติในทางตรงกันข้ามกับความที่บัญญัติไว้โดยแจ้งชัดในบทบัญญัติร่วมที่ 3 ของสนธิสัญญาฯ

บทบัญญัติร่วมที่ 3 ของสนธิสัญญาฯให้ความคุ้มครองแก่เอกชนหรือพลเรือนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่เกิดความขัดแย้งทางอาวุธ ที่ไม่ประกาศสภาวการณ์ของสงคราม เป็นทางการ(สงครามกลางเมือง หรือ เกิดการกบถ)[ให้อ่านและพิจารณาดูบทบัญญัติร่วมที่ 3 ของสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 โดยพินิจพิเคราะห์ที่แนบท้ายบทความนี้]ในเรื่องดังจะกล่าวต่อไปนี้

(1.)ความมุ่งหมาย หรือเจตนารมย์ของบทบัญญัติ ต้องการให้ความคุ้มครองในทางมนุษยธรรมแก่เอกชน หรือ พลเรือนทุกๆคนที่ตกอยู่ในมือของฝ่ายศัตรูหรืออยู่ในความคุ้มครองของฝ่ายศัตรู โดยปราศจากซึ่งความแตกต่างทั้งปวง ไม่ว่าประชาชน หรือพลเรือนนั้น จะตกไปอยู่ในมือของฝ่ายใดในระหว่างคู่ขัดแย้ง. บทบัญญัติของสนธิสัญญาฯนี้ มีข้อห้าม เป็นพิเศษคือ:-

[ห้ามฆ่า หรือฆาตกรรมประชาชน, ห้ามทำให้เขาแขนขาขาด และทำให้เขากลายเป็นคนทุพลภาพ, ห้ามไม่ให้กระทำการโดยทรมาน, ห้ามไม่ให้กระทำการใดๆ อันเป็นการทารุณโหดร้าย, ห้ามไม่ให้กระทำการใดๆอันเป็นการกระทำที่ผิดมนุษย์มนา และกระทำให้ความเป็นมนุษย์ย่อหย่อนลง, ห้ามมิให้จับคนไปเป็นตัวประกันและไม่ให้ความเป็นธรรมในการพิจารณาและพิพากษาคดี.]

(2.) คนที่ได้รับการบาดเจ็บ คนที่ป่วย และคนที่ประสบภัยจากเรืออัปปาง จะต้องได้รับการช่วยเหลือ และ การดูแลรักษา

(3.)คู่สงคราม หรือคู่ขัดแย้ง จะต้องให้สิทธิแก่คณะกรรมการกาชาดสากลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้แก่คู่สงคราม และ/หรือ คู่ขัดแย้ง

(4.)ให้คู่สงคราม หรือ คู่ขัดแย้งในความขัดแย้ง ที่จะต้องนำมาบังคับซึ่งบทบัญญัติสนธิสัญญาเจนีวาทั้งหมด หรือ บางส่วนโดยที่คู่สงคราม และ/หรือ คู่ขัดแย้ง ต้องทำข้อตกลงเป็นพิเศษระหว่างกัน

(5.)เป็นที่ยอมรับกันว่า การนำเอากฏเกณฑ์ตามสนธิสัญญาฯนี้มาบังคับใช้ ย่อมไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางกฏหมายของคู่สงคราม และ/หรือคู่ขัดแย้งในความขัดแย้งนั้น

จะเห็นได้ว่า การบังคับใช้ และ ปฏิบัติตามสนธิสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949มีขั้นตอนในการขจัดปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธและความรุนแรงภายในประเทศอย่างเป็นขั้น เป็นตอน ด้วยการให้สถานะทางกฏหมายแก่คู่ขัดแย้งในทางความคิดและในทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มองหรือชี้วัดฝ่ายหนึ่งว่า “เป็นผู้ดี” อีกฝ่ายหนึ่ง “เป็นผู้ร้าย” ในระหว่างที่ความขัดแย้งดังกล่าวนั้นยังดำรงเป็นความขัดแย้งอยู่ในสังคมนั้น

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
*******************************************************************************

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ฝ่าวงล้อม : ซักฟอกโฉมใหม่ รัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ปะ ผุ รัฐบาล...ฟื้น ศก..!!?


ตลอดห้วงเวลาหนึ่งปีเศษ รัฐบาลใต้ปีกการนำของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้เป่านกหวีดเปลี่ยนตัว ผู้เล่นไปแล้ว 2 ครั้ง จนล่วงมาถึงการทำคลอดบัญชี “ครม.ชุด 3” ที่มีการเปลี่ยนตัว “ทีมรัฐมนตรี” แบบปรับโฉมใหม่ใน 23 เก้าอี้

เหนืออื่นใด การปรับใหญ่รอบนี้ ยังถือได้ว่าเป็นการล้างบัญชีหนี้บุญคุณใน “รัฐบาลยิ่งลักษณ์”...ชุด 1 และชุด 2 ที่เคยเป็น “ต้นทุนทางการเมือง” ผ่านท่อร้อย-สายในอาณาจักรชินวัตร รวมถึงระบบ โควตา ภาคที่มีการ “เขย่า” กันต่อเนื่องโดย มุ้งการเมืองในพรรคเพื่อไทย

ยิ่งหนนี้มี “รัฐมนตรี” ที่ถูกปรับออกมากถึง 21 ตำแหน่งด้วยกัน “เปิดทาง” ให้มีการจัดแถวรัฐมนตรีใหม่ 21 คนเข้ามา ปะ-ผุ...ก่อผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้แก่ “รัฐบาล” ในการขับเคลื่อนนโยบายเมื่อเข้าสู่ขวบปีที่ 2

เหตุผลในด้านหนึ่งคือ “การจัดสรรอำนาจ” ให้คนหน้าเก่าอย่าง “ประชากรบ้าน 111” ตอบแทนให้หลังปลดพันธนาการ เมื่อคราวพฤษภาป่าช้าแตก! ในอีกด้านหนึ่ง ยังเป็นการ “จ่ายหนี้...เคลียร์สิน” ให้กับคนใน-นอกพรรคที่เป็นท่อร้อยสายพันคอน-เน็กชั่น และมีสัญญาต่างตอบแทนซึ่งกัน
ทั้งหมดทั้งปวง เป็นการ “ก้าวข้าม” ระบบโควตาพรรค เพื่อให้ “ยิ่งลักษณ์” ได้จัดแถวรัฐมนตรีใหม่ ด้วยการเพิ่มตัว “ผู้เล่น” ประหนึ่งว่าเป็นการ “เปลี่ยนโฉมหน้ารัฐบาล” เพื่อรับศึกรอบด้านที่กำลังเขย่าแรงๆ อยู่ในเวลานี้ โดยเฉพาะเวทีอภิปราย ไม่ไว้วางใจ ที่ฝ่ายค้านได้ตระเตรียม “หอกแหลม” เอาไว้กรีดแทงรัฐบาลในศึกซักฟอกที่ขยับเข้ามาใกล้ทุกขณะ

ในอีกด้านหนึ่งรัฐบาลเองก็คงรอ คิวแถลงผลงานรอบ 1 ปี ซึ่งผลงานทุกนโยบายรายกระทรวง ก็ถูกรวบรวมไว้แล้ว แต่เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางการเมือง! ทีมงานยุทธศาสตร์จึงได้กำหนด วัน น. เวลา น. รอแถลงนโยบายให้ใกล้เคียงกับการเปิด เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจฯ ให้มากที่สุด ซึ่งคงจะทำให้กระแสบี้ตรวจสอบ “รัฐบาล” น่าจะลดดีกรีลง สกัดไม่ให้ “ยิ่งลักษณ์” และทีมเสนาบดี โดนขยายทั้งแผลเก่า-แผลใหม่ โดยเฉพาะกรณี “รับจำนำข้าว” และเงื่อนปมส่อทุจริตอีกหลายรายการ โดยอีกป้อมประตูค่ายที่ “ทีมกุนซือไทยคู่ฟ้า” วางเอาไว้ ก็คือ 16 นโยบายเร่งด่วนแห่งรัฐ ที่ถูกแช่แข็งไปชั่วขณะ...หยุดความคืบหน้าไว้ที่ตัวเลขหนึ่งปี ซึ่งที่เหลือก็คงปล่อยให้เป็น “ผลงาน” ของทีมงานชุดใหม่

เพราะหากว่าไปถึง “ผลงาน” ที่ผ่านมาของรัฐบาล...แน่นอนสปอตไลต์ยังโฟกัสไปที่ “ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ” ที่ถูกโจมตีอย่างหนักว่า ไร้ซึ่งผลงาน และล้มเหลวโดย สิ้นเชิง!

เช่นกรณีรองนายกฯ ที่กำกับดูแลด้าน เศรษฐกิจ รวมถึงเก้าอี้ รมว.กระทรวงการ-คลัง ที่ดูแลโดย “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” แม้จะถูกโจมตีอย่างหนัก จากการหลุดปากวรรคทองอย่าง “ไวต์ไลน์” หรือ “โกหกสีขาว” จนกลายเป็น “ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์” ไปทั่วประเทศ ทว่าเก้าอี้ยังคงเหนียวแน่น เพราะ “เดอะโต้ง” ถือว่าเป็นที่ไว้วางใจของนายกฯ

ขณะที่เก้าอี้ รมว.กระทรวงพาณิชย์ ที่มี “บุญทรง เตริยาภิรมย์” ทำหน้าที่อยู่นั้น ก็รู้กันดีถึงสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ “สายเหนือ” ทั้งที่เคยมีกระแสข่าวถูกปรับออกมากที่สุด จากปัญหารับจำนำข้าว แต่สุดท้ายยังคงเหนียวแน่นอยู่ได้ เพื่อรองรับการอภิปรายจาก “ฝ่ายค้าน” ซึ่งหากถูกปรับออก นั่นย่อมทำให้ “รัฐบาล” ก้มหน้ารับผิดในความล้มเหลวไปในตัว ที่สำคัญ “บุญทรง” ยังทำงานได้เข้าขากับ “ยิ่งลักษณ์” เป็นอย่างดี โดยไม่ลืมคอนเซปต์ที่ว่า...ต้องไม่เด่นจนกลายเป็นข่ม “ผู้นำหญิง” ขณะเดียวกันยังถือว่ามีฐานการเมืองที่ควบแน่น และสามารถทำงานต่อทันที โดยเฉพาะ “รับจำนำข้าว” ที่กำลังคาบลูกคาบดอก หาก คิดจะเปลี่ยนม้ากลางศึกอาจไม่ส่งผลดีต่อรัฐบาลมากเท่าไรนัก

ด้านกระทรวงพลังงานที่มีการเปลี่ยน หัวใหม่ หลัง “อารักษ์ ชลธาร์นนท์” ขุนพลแห่งอาณาจักรชินฯ ถูกปรับออก ซึ่งปฏิเสธ ไม่ได้ว่า...ผลงานที่ผ่านมาของ “อารักษ์” ดูจะไม่เข้าตา “ฝ่ายการเมือง” สักเท่าไหร่... เอาแค่เรื่องปรับโครงสร้างก๊าซแอลพีจี ที่เจ้ากระทรวงคนเก่ามักทำให้เกิดความตื่นตระหนกมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะการประกาศว่าจะ “ลอยตัวก๊าซหุงต้ม” ให้เป็นไปตามตลาดโลก ก็ยิ่งทำให้เกิดกระแสสังคม วิพากษ์อย่างรุนแรง

พลันให้ชื่อของ “เฮียเพ้ง” พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ที่เพิ่งกรุแตก! ได้เข้ามาแทนที่ เพราะเป็น “นายทุนสายตรง” ที่สังคมย่อมรับรู้กันอยู่แล้ว ซึ่งภารกิจเร่งด่วน ของ รมว.กระทรวงพลังงานคนใหม่ ก็หนีไม่พ้นเผือกร้อนอย่างเรื่องการปรับโครงสร้าง ราคาพลังงานทั้งระบบ เพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อลดภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้ของกองทุนน้ำมันฯ ที่เป็นหนี้อยู่กว่า 1.7 หมื่นล้านบาท รวมไปถึงบัตรเครดิตพลังงาน เพราะ เรื่องทั้งหมดเกี่ยวกับค่าครองชีพของประชาชน แทบทั้งสิ้น

ส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมในโควตา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ก็มีการเปลี่ยน กันใหม่เช่นกัน เพราะยังมี “เผือกร้อน” ที่รัฐมนตรีใหม่ต้องเข้ามาจัดการ คือ มาตรการ ช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีให้แข่งขันกันมากขึ้น หลังจากในปีหน้ารัฐบาลประกาศปรับขึ้น ค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาทต่อวัน ทำให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอีมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมไปการเตรียมก่อนเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน “เออีซี” ในอีก 2 ปีข้างหน้า

ยิ่งถ้าพิจารณาตัวบุคคลที่เข้าประจำการใน “ครม.ปู 3” ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการปรับ...เพื่อตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจและการเมืองในหลายเงื่อนประเด็น

นั่นเพราะเป็นการจัด “ทีมยุทธ-ศาสตร์เศรษฐกิจ” ให้กับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และจัดทีมรัฐมนตรีไว้เป็น “กันชน” ในทำเนียบรัฐบาล มีทั้งเพิ่มเก้าอี้รองนายกฯ อีก 3 ตำแหน่ง...เพิ่มรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ อีก 2 ทำให้มีองครักษ์ข้างกาย “ผู้นำหญิง” มากถึง 9 คนเข้าไปแล้ว

โจทย์อีกข้อหนึ่ง คือ การที่ “ยิ่งลักษณ์” สามารถตรึงหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไว้ได้ ซึ่งทำให้ “เดอะโต้ง” กิตติรัตน์ ณ ระนอง ได้ทำหน้าที่ควบเก้าอี้ “ขุนคลัง” ต่อไป พร้อมกันนี้ยังได้สร้างทีมขับเคลื่อนเศรษฐกิจการลงทุนทั้งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการเสริมทีมต่างประเทศ ดึงตัว “เสี่ยปึ้ง” สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เข้ามาประจำการในทำเนียบอีกตำแหน่ง เช่นเดียว กับ “พงศ์เทพ เทพกาญจนา” กูรูด้านกฎหมาย ที่มารั้งเก้าอี้ “ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ” ที่ต้องขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาและสาง ปัญหาการลงทุน ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรรองรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่

พร้อมไปกับการวางตัว “ปลอด-ประสพ สุรัสวดี” ให้ทำหน้าที่ “ควบคุม” อภิโปรเจกต์น้ำมูลค่า 3.5 แสนล้าน แตะมือ กับ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” รมว.กระทรวงคมนาคมคนใหม่ ที่เป็นองครักษ์พิทักษ์นาย หญิง และเคยทำหน้าที่ร่วมกับ “ปลอด-ประสพ” มาตลอดระยะ 8 เดือนเศษ อีกทั้งได้มีการวางตัวอดีต รมช.กระทรวงการคลัง 2 สมัยอย่าง “วราเทพ รัตนากร” เข้ามาเป็น “เกราะชั้นใน” บนเก้าอี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ที่ได้รับการแบ่งงานจากนายกฯ ปู ให้ดูแลงานของสำนักงบประมาณการ ขับเคลื่อนนโยบายกองทุนที่ “เพื่อไทย” เคยหาเสียงไว้ ทั้งกองทุนตั้งตัวได้ และกองทุนหมู่บ้าน SML หรือแม้แต่กองทุนอุดหนุนสินค้าเกษตร ส่วนงานประชาสัมพันธ์ เชิงรุกก็ยังมี “นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล” เป็นผู้วางยุทธศาสตร์ร่วมกับ “ศันสนีย์ นาค-พงศ์” ที่ผันตัวมาจากทีมโฆษกฯ ผ่านการผลักดันของ “เสี่ยปุ้ม” สุรนันทน์ เวชชา-ชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อให้วอร์รูมไทยคู่ฟ้าทำหน้าที่คู่ขนานกับทีมยุทธศาสตร์

ขณะที่ในตำแหน่งของ “น.พ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์” รมว.กระทรวงสาธารณสุข ก็เตรียมจะขึ้นโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เฟสใหม่ ส่วน “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ก็ถูกวางบทบาทให้ดูแลงานด้านความมั่นคง และเป็นด่านแรกทางการเมืองให้นายกฯ หญิง เพื่อสกัดกั้นการรุมสกัมของฝ่ายค้านและผู้แทนในสภาสูงที่รอเวลาจัดหนักรัฐบาล ผ่านเวทีสภาฯ ตลอดทั้งจัดการปัญหาเรื่องม็อบข้างถนน

เป็นไปได้ว่า จากนี้ไปการขึ้นเฟสใหม่... นโยบายการลงทุนภาครัฐ และสะสางนโยบายเก่า จะอยู่ภายใต้การจัดการของ “คนกลุ่มหนึ่ง” ที่ถูกดึงมาอยู่ข้างกายผู้นำ โดยเป็นรัฐมนตรีที่ครบเครื่องในหลากหลาย ด้าน และยังขึ้นตรงต่อ “นายหญิง” เพื่อผสานยุทธศาสตร์ “ทักษิณคิด...เพื่อไทยทำ”

เหนืออื่นใด นอกจากทีมเสนาบดี “ข้างกายผู้นำ” แล้ว ยังมีการประสานงานร่วมกับที่ปรึกษานายกฯ ที่มี 2 อรหันต์อย่าง “ดร.โกร่ง” วีรพงษ์ รามางกูร และ “พัน-ศักดิ์ วิญญรัตน์” ร่วมกำหนดนโยบายแบบรวมศูนย์ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายในระดับนำไปสู่ระดับการปฏิบัติการ ตลอดทั้งวางยุทธศาสตร์จัดการเม็ดเงินทั้งในและนอกงบประมาณกว่า 3 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะ การ “สะสาง” งานไม่คืบหน้า เช่น การรับจำนำข้าว ปฏิรูปธุรกิจการเกษตร การจัด การหนี้สาธารณะ และบริหารเงินกู้สำหรับโครงสร้างการลงทุนพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท

เช่นที่ว่านี้ นโยบายด้านเศรษฐกิจคงต้องได้รับการเซ็ตอัพกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะการ “อุดรูรั่ว” การเงินคงคลังของประเทศ ตลอดจน “หาทาง” แก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่เกิดขึ้น ทั้งในเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการ อันเป็นช็อตต่อเนื่องจาก “ภาวะเงินเฟ้อ” และราคาเชื้อเพลิงที่ถีบตัวสูงขึ้น รวมถึงแรงเหวี่ยงจาก “วิกฤติเศรษฐกิจโลก” และอีกนโยบายเร่งด่วนที่ทีมเศรษฐกิจต้องรุดมือเข้าจัดการ นั่นคือการยกระดับคุณภาพชีวิต ให้กับประชาชน เพิ่มกำลังซื้อในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพ ให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสารพันปัญหาที่รุมเร้า! ซึ่งที่สุดแล้ว “รัฐบาล” คงต้อง ขับเคลื่อนนโยบายควบคู่ไปกับการจัดการ “ทุกองคาพยพ” เพื่อพิสูจน์กึ๋น...รัฐมนตรีเศรษฐกิจชุดใหม่ หากวันนี้รัฐบาลยังเต็มไป ด้วยความอ่อนแอ หรือมีความ “อ่อนด้อย” ในนโยบายเศรษฐกิจเช่นแต่ก่อน แน่นอนในยกแรกก็เตรียมล้างคอให้ “ฝ่ายค้าน” ยกเอาความล่อแหลมเหล่านี้ไป “ขยายผล” ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจฯ ที่กำลังรูดม่านขึ้น ซึ่งหากแก้ไม่ตก-คิดไม่ออก ก็คงได้เผชิญกับความล้มเหลวแบบซ้ำซาก เพราะถ้าการวางตัวผู้เล่นใน “ครม.ปู 3” เป็น ไปแบบผิดฝาผิดตัว หรือเพื่อปูนบำเหน็จ-บำนาญให้แก่พวกพ้องแต่เพียงอย่างเดียว นั่นอาจนำมาซึ่งหายนะของรัฐบาลในเวลาอันใกล้

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เจ๊แดง(เยาวภา) อำนาจและนายกฯเงา !!?


ถึงยุคนี้ ไม่มีใครมีชีวิตโดดเด่นเหนือกว่า “เยาวภา วงศ์สวัสดิ์” หรือ “เจ๊แดง” แห่งตระกูลชินวัตร ได้อีกแล้ว เพราะชีวิตเธอพัวพันกับอำนาจนายกรัฐมนตรีมาต่อเนื่องถึง 3 รุ่น เธอได้ชื่อว่า เป็น “น้องสาว” อดีตนายกรัฐมนตรีคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2544-2549 เธอเป็น “ภรรยา” ของอดีตนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อปี 2551 และเธอคือ “พี่สาวแท้ๆ” นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เพียงเท่านั้น เธอยังเป็น “นายหญิง” ที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ความเคารพรัก และขอคำปรึกษาเพื่อตัดสินใจ ทางการเมืองในช่วงวิกฤติแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังเคยเป็น “อดีตนาย” ของยิ่งลักษณ์และสามีเมื่อเข้าทำงานบริษัทเอ็มลิงค์ กิจการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของไทยชีวิตนี้ อาจไม่มีหญิงใดได้สัมผัสอำนาจเทียบเท่ากับเจ๊แดงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอีกแล้ว ดังนั้น ชีวิตของเจ๊แดงจึงสูงส่ง ถูกแวดล้อมด้วยอำนาจสูงสุดมาตลอดกว่า 10 ปี คงมีเว้นว่างบ้างในช่วงสั้นๆ เมื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรีช่วง 2 ปีเศษเท่านั้น เพียงแค่ความสัมพันธ์ทางอำนาจมา ต่อเนื่อง คงต้องยอมรับว่า เจ๊แดงย่อมมีอำนาจให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยต้องกลัวเกรงหนำซ้ำยังมีอำนาจชี้เป็นชี้ตายในตำแหน่งทางการเมืองในระนาบอำนาจเดียวกับนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันนี้ด้วย

ในห้วงเวลาสำคัญทางการเมือง เจ๊แดงอยู่เคียงข้างกายยิ่งลักษณ์เสมอ ราว กับประกาศว่า เธอคือ “นายกรัฐมนตรีเงา” ตัวจริงของไทยในปัจจุบัน และนายอภิสิทธิ์เป็นได้แค่นายกรัฐมนตรีเงาตัวปลอมเท่านั้น เพราะอำนาจของเธอ ได้รับการยอมรับและต้องปฏิบัติตามด้วยดีเสมอ บทบาททางการเมืองของเจ๊แดง สัมพันธ์ทางอำนาจมาตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทยและนายกรัฐมนตรีแล้ว เธอมักได้รับความไว้วางใจจาก “ทักษิณ” ให้ไปเจรจาทางการเมืองเสมอทั้งการเจรจากับ “เสนาะ เทียนทอง” และพรรค การเมืองอื่นให้มาร่วมรัฐบาลผสม รวมถึงการเจรจาดึงกลุ่มการเมือง หรือตัวบุคคลโดดเด่นทางการเมืองเข้ามา สังกัดพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน และเพื่อไทยในปัจจุบัน

เจ๊แดงจึงมีอำนาจ เพราะเป็นตัวแสดงแทนทางอำนาจอยู่เป็นประจำเจ๊แดงมักใช้อารมณ์หญิงมาเป็นอาวุธเด็ดในการเรียกร้องอยู่เสมอ เธอมักบีบน้ำหูน้ำตาต่อหน้าพี่ชายเมื่ออยากได้สิ่งใด ถึงที่สุด “ทักษิณ” ก็ใจอ่อนให้ในสิ่งที่น้องสาวต้องการ มิเคยขาดด้วยนิสัยที่ “อ้อนเก่ง” เจ๊แดงจึงเป็นมือเจรจาทางการเมืองกับทักษิณแทน ยิ่งลักษณ์ไปโดยปริยาย เพราะยิ่งลักษณ์แม้เป็นน้องสาวที่ทักษิณรักมาก แต่ไร้อำนาจในการต่อรองกับทักษิณ เนื่องจากชีวิตของยิ่งลักษณ์อยู่ภาย ใต้การกำกับและสั่งการของทักษิณ ดังนั้น การเจรจากับทักษิณจึงไร้น้ำหนัก ด้วยเหตุ นี้การ “อ้อน” ของเจ๊แดงจึงมีความสำคัญในระดับการตัดสินใจทางการเมืองด้วยเจ๊แดงอ้อนเก่ง ร้องไห้ขี้มูกโป่ง ได้ทุกบทบาทตามสถานการณ์ต้องการ จึง ทำให้ “คนของเจ๊แดง” ได้อานิสงส์อำนาจการเมืองตามไปด้วย

พิจารณาแค่การปรับคณะรัฐมนตรี “ยิ่งลักษณ์ 3” ที่เกิดขึ้นล่าสุด ย่อมเข้าใจบทบาทและบารมีของเจ๊แดงได้ทะลุปรุโปร่งยิ่งคนของเจ๊แดงถูกวางตัวในตำแหน่ง รัฐมนตรีมากหน้าหลายตา ชนิดที่บารมีของ ทักษิณแทบเหือดหายไป นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี นี่ก็เป็นเด็กหิ้วกระเป๋า ตามหลังเจ๊แดงมานานมาก นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ยังเหนียวแน่นกับ รมช.คลัง ก็คนของเจ๊แดงอีก ส่วนนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ไม่ต้อง พูดถึงเลย เพราะตำแหน่งรัฐมนตรีที่เป็นของ เขามาตั้งแต่ รมช.คลัง แล้วโยกมาเป็น รมว. พาณิชย์ ก็เป็นเด็กหิ้วกระเป๋า ที่ก้าวเข้ามาแทนที่นายวราเทพ แล้วก็ได้ดีดุจเดียวกัน

“บุญทรง” เป็นนักธุรกิจเชียงใหม่ อดีตเคยเป็นถึงประธานอุตสาหกรรม แล้วมาหิ้วกระเป๋าตามหลังเจ๊แดง จนถูกผลักดันให้เป็น ส.ส.สมัยแรกเมื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย บุญทรงตามหลังเจ๊แดงไม่เคยห่าง จึงได้ลูกอ้อน บีบน้ำหูน้ำตาจนได้ลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่ และได้เติบใหญ่ทางการเมือง ในปัจจุบัน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดเป็น คนของเจ๊แดงที่ยึดตำแหน่งรัฐมนตรีได้เสมอ แม้จะถูกโยกย้ายทุกช่วงการปรับคณะรัฐมนตรีก็ตาม แต่ก็ยังได้ดีเพราะมีเส้นใหญ่ นายชลน่าน ศรีแก้ว รมช.กระทรวง สาธารณสุข เพิ่งก้าวมาสัมผัสตำแหน่งรัฐมนตรี พร้อมๆ กับนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้เข้ามาอยู่ในสังกัดเจ๊แดงอีกคน ไม่ต้องกล่าวถึง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ถูกโยกจาก รมช.กระทรวงเกษตรฯ มาเป็น รมช.กระทรวงพาณิชย์ เพราะอดีตแกนนำ นปช.คนนี้ ค่อยๆ ห่างหายไปจาก มวลชนเสื้อแดงมากขึ้น จนทำให้ราศี “เด็ก เจ๊แดงคนใหม่” เข้าจับอย่างโดดเด่น จนได้เป็นรัฐมนตรี “ณัฐวุฒิ” ตัวขาวปานไข่ปอก พูดเก่ง เป็นนักประนีประนอม ไม่ดุดัน ส่วน “จตุพร พรหมพันธุ์” ตัวดำ หน้าตาดุดัน แข็งกร้าว ด้วยบุคลิกที่แตกต่างกันเช่นนี้ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า เจ๊แดงต้องพิสมัยณัฐวุฒิมากกว่าจตุพรเป็นไหนๆ ณัฐวุฒิจึงได้ชื่อว่า เป็นลูกรักคนใหม่ของเจ๊แดง ได้เป็น รมช.กระทรวงพาณิชย์ นั่งบริหารกระทรวงคู่กับบุญทรง มีการคาดกันว่าการมาของณัฐวุฒิ เพื่อมาช่วยนายบุญทรงชี้แจงการถูกซักฟอกในข้อหาโครงการรับจำนำข้าว

นั่นเป็นแค่หนังหัวม้วน เพื่อฉายให้ตื่นเต้น เรียกคนดูเข้าโรงเท่านั้น แต่ ยังมีหน้าที่ลึกๆ ที่เขาถูกวางบทบาทให้มาช่วยบุญทรงที่กระทรวงพาณิชย์ ด้วยรหัสการเมืองที่มีหน้าที่ “ลึกๆ” ของบรรดารัฐมนตรีในค่ายเจ๊แดงแล้ว คาดภารกิจกันได้ค่อนข้างชัดเจนในอนาคตคนอย่าง “วราเทพ” คงไม่พ้นคุม สำนักงบประมาณ ณัฐวุฒิต้องมาต่อสายกับเกษตรกร ยุทธพงศ์ไปเดินงานยางพาราในกระทรวงเกษตรให้มี หน้ามีตา ทนุศักดิ์ต้องก้าวมาคุมธนาคาร อิสลาม ธนาคารอาคารสงเคราะห์เพียงภารกิจ “ลับๆ” ที่ได้รับมอบหมาย ย่อมทำให้รัฐมนตรีโควตาเด็กเจ๊แดงมีความสุข และชีวิตที่มั่นคงในอนาคตแล้วนี่ย่อมเป็นสัจธรรมของอำนาจที่ถูกสร้างขึ้นมา จนทำให้ ส.ส.อีสาน แตกกระเส็นกระสาย ไร้ศูนย์รวมพลังกันได้

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
**********************************************************************

แผนลอบสังหารคิดว่า (ทักษิณ)ตายจะจบ !!?


กระแสข่าวการเตรียมลอบสังหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดังเปรี้ยงขึ้นมาอีกครั้ง
เป็นกระแสการเตรียมลอบฆ่านอกแผ่นดินไทย และเป็นการเตรียมลอบฆ่าในขณะที่ถูกโค่นลงจากอำนาจด้วยการปฏิวัติมาแล้วกว่า 6 ปี

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการพยายามลอบฆ่า

ย้อนอดีตไปสมัยเป็นนายกรัฐมนตรีก็มีความพยายามลอบฆ่าจากฝ่ายตรงข้ามมาแล้วหลายครั้ง

จู่ๆเครื่องบินที่จะไปเชียงใหม่เกิดระเบิดเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2544 เดชะบุญที่ระเบิดก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะขึ้นเครื่อง

วันที่ 24 ส.ค. 2549 ก่อนการยึดอำนาจไม่นานเกิดกรณีสะเทือนขวัญคาร์บอมบ์ คนร้ายขนระเบิดทีเอ็นทีน้ำหนัก 10.73 ปอนด์ ระเบิดซีโฟร์น้ำหนัก 3.5 ปอนด์ ปุ๋ยแอมโมเนีย น้ำมันดีเซล ผสมกันรวม 67.57 กิโลกรัม ใส่รถเก๋ง

รอจุดชนวนขณะขบวนรถของ พ.ต.ท.ทักษิณวิ่งผ่านช่วงเชิงสะพานซังฮี้

เดชะบุญอีกเหมือนกันที่ทีมรักษาความปลอดภัยพบพิรุธ สามารถจับกุมยึดของกลางได้ก่อน

ร.ท.ธวัชชัย กลิ่นชะนะ นายทหารช่วยราชการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ในขณะนั้นซึ่งเป็นคนขับรถขนระเบิดมา ให้การรับสารภาพว่า ขบวนการโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณมีแผนบันได 3 ขั้น


1.จัดม็อบขับไล่รัฐบาล ถ้าไม่สำเร็จก็ทำขั้นต่อไป

2.ลอบสังหาร ซึ่งคำให้การระบุว่ามีการกระทำถึง 4 ครั้ง ถ้าไม่สำเร็จให้ทำขั้นต่อไป

3.ให้ทหารทำการปฏิวัติ และให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

แม้จะมีเสียงปฏิเสธจากฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ แต่แผนบันได 3 ขั้นก็ดำเนินไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และบรรลุตามแผนเมื่อทหารเข้ายึดอำนาจสำเร็จเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549

เวลาผ่านมากว่า 6 ปี แผนลอบสังหารเป็นข่าวโด่งดังขึ้นมาอีกครั้งเมื่อมีตรวจพบและยึดอาวุธสงครามได้ในฝั่งท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า

การยึดอาวุธสงครามตามแนวชายแดนที่ยังไม่สงบไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ที่แปลกคือ เป็นการพบในพื้นที่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณมีกำหนดการเดินทางไปเยือนในวันที่ 9-10 พ.ย. นี้

ผู้ที่ถูกระบุว่าอยู่เบื้องหลังคือ “ขาเก่าเจ้าประจำ คนดีคนเดิม” ที่เตรียมจรวดอาร์พีจีเอาไว้ยิงใส่ในงานเจดีย์ชเวดากองจำลองที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางเข้าร่วมในวันที่ 10 พ.ย.

แม้จะมีการเย้ยหยันจากฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นการเต้าข่าว สร้างกระแส คิดไปเอง

แต่ก็ได้รับการยืนยันจาก พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ว่าเป็นเรื่องจริง

ตำรวจกำลังสอบขยายผล ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าคนที่จ้างวานเป็นทหารหรือพลเรือน
ข่าวความพยายามลอบสังหารทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณตัดสินใจยกเลิกกำหนดการเดินทางมายังท่าขี้เหล็ก

การเตรียมลอบสังหารครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าฝ่ายตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีแนวความคิดจะ “ปรองดอง” หรือ “สมานฉันท์” เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขแต่อย่างใด

ยังคงมีแนวความคิดที่จะโค่นล้มแบบถอนรากถอนโคนเอาชีวิต เพราะคิดว่าหากไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณ เรื่องต่างๆจะง่ายขึ้น ฝ่ายตรงข้ามจะอ่อนกำลังลง

“ขาเก่าเจ้าประจำ คนดีคนเดิม” คงลืมไปว่ามีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณไปนานแล้ว

คนเหล่านี้ต้องการความเป็นธรรม ความยุติธรรม และประชาธิปไตย

แม้ไม่มี “ทักษิณ” ขบวนการเหล่านี้ก็ยังอยู่ ไม่ล้มหายตายจากไปไหน

ถ้าคิดผิดขอให้คิดใหม่ เพราะแม้ “ทักษิณ” ตายก็ไม่จบ

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++