นับจากนี้ไป “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะครองบัลลังก์ทำเนียบฯ เป็น “นายกรัฐมนตรี” ไป ๓ ปี ๗ เดือน ในฐานะ “นารีขี่ม้าขาว” ผู้เป็นดาวรุ่ง
ได้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จ่าฝูงกองทัพบก เสริมดวง ให้เด่นล้ำ
ยิ่งได้ “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว” มาเป็น “ผบ.ตร.” ชิงเสริมบารมีให้ผ่อง เป็นมากยิ่งกว่าผู้นำ
ฉะนั้น,อย่าได้กลัว อดีตทหารม้า จะมาดีดทำให้ “นายกฯปู” ต้องพ้นเส้นทาง
ทุกคนดวงตกกันหมด..มีแต่ดวง “นายกฯปู”ใสสด...กดศัตรูจนไม่กล้าหือเหมือนทุกครั้ง
+++++++++++++++++++++++++
“ทักษิณ”โกง
เสียงอันหลอกลวงต้มตุ๋น ที่ว่ากันเป็นวรรคเป็นเวร..แต่ก็ไม่สามารถหาหลักฐาน มาเล่นงาน “ทักษิณ” ได้สักโป้ง
คนที่กล่าวหา “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” โดนกันเต็มแม็กซ์ ถูกตรวจแหลกว่าเอาป่าสงวนไปเป็นของตัวเอง อย่าง “แทน เทือกสุบรรณ” ลูกชาย “เทพเทือก” นั่นปะไร
“ไม้ชี้ผี” จีที ๒๐๐ วัตถุตรวจระเบิด กลายเป็น อาวุธสงครามลวงโลก..ที่ตำรวจอังกฤษเมืองผู้ดี สั่งจับบริษัทผู้ผลิต เพราะหลอกขายของปลอม ให้กับทหารไทย
ชักแถวรับผิดชอบกันเป็นตับ เพราะอนุมัติซื้อ “ไม้ชี้ผี” จีที ๒๐๐ เอาไว้ล็อตใหญ่.. มีแต่ระดับบิ๊กเนม “บิ๊ก ป.ปลา” และ “บิ๊ก ช.ช้าง” ต่างมีชื่อเกี่ยวข้องยาวเหยียด เสร็จสรรพ
คนไม่ได้โกง ดันถูกกล่าวหา..แต่ทีเปิบกันอ้าซ่า..กับชี้หน้าด่าเขาว่าโกง เช่นนี้ก็มีด้วยสิครับ
++++++++++++++++++++++++++
ทำอะไร หนอยแน่ะ, ก็ไม่ผิด
รอดมาได้ทุกคดี ในฐานะคนที่มี “อภิสิทธิ์”
แต่คราวนี้ “นายทุนใหญ่” ที่เป็นแบ็คอัพ ให้กับพรรคบีบชีพจรคอคนอื่น คงถูกเล่นงานอย่างจั๋งหนับ แน่
เหลิงและลำพองว่า เมื่อมีพรรคนี้หนุนหลัง..เขาในฐานะบริษัทยักษ์แห่งโทรศัพท์ จะให้ “บริษัทลูก” เข้าไปรุกที่ “จังหวัดภูเก็ต” ต้องได้ปลอกคอจากพรรคนี้ คอยดูแล
ลืมไปว่ายุคนี้ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาบริหารงานอย่างตงฉิน ใครโกงแผ่นดิน ไปเป็นสมบัติส่วนตัว ก็ต้องจัดการเต็มที่
ไม่เหมือนบางพรรคที่แสบทรวง...เที่ยวไปเอาแผ่นดินหลวง..อุบช่วงมาเป็นของตัวเองทุกที
++++++++++++++++++++++
ไม่อะไรในกอไผ่
“กิตติรัตน์ ณ ระนอง” ขุนคลังและรองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ที่แต่งชุด “พระราชทาน” เหมือนกันเป๊ะกับ “ป๋าเปรม” คงจะได้เป็น “รัฐมนตรี” กันต่อไป
แม้จะมีข่าวว่า ไปร่วมฉลองงานครบรอบ ๕๐ ปี “บริษัทชิโนทัย” ของ “ปู่จิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ที่โรงแรมเซ็นทรัล ลาดพร้าว กันมา
เรื่องที่ “นายใหญ่จากแดนไกล” ไม่พอใจ..ถึงขั้นปลดพ้นตำรวจ คงไม่จริงดอกค่า
เพราะทุกวันนี้ “เสี่ยหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล ว่าที่หัวหน้าพรรคภูมิใจไทยคนไทย..เป็นหนึ่งมิตรชิดใกล้ ที่อยู่ข้างกาย “นายใหญ่” คอยพูดแหย่ พูดเย้า
ภูมิใจไทยยกมาทั้งพรรค...แล้วเรื่องอะไรจะผลัก...ให้ไปอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเล่า
+++++++++++++++++++++++++
ความจริงปรากฏ
ไม่ได้เป็น “เสรี” และ “มีอิสระ” เหมือนเป้าหมายที่ตั้งมา...แท้ที่จริงแล้ว “ผู้บริหาร” รวบอำนาจเอาไว้หมด
ทำให้ คนข่าว เจ้าหน้าที่ สถานี “ไทยพีบีเอส” ทีวีสื่ออิสระ ร้องแรกแหกกระเชอ ให้ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สอบตัวเอ้ บริหารตัวใหญ่ “เทพชัย หย่อง” และคีย์แมนตัวเบิ้ม อีกหลายคน
รวบอำนาจ เอาพวกตัวเอง..จนเจ้าหน้าที่ดี ๆ สุดจะทน
ดูรึชิชะ, เอาภาษีเงินบาป เหล้า บุหรี่ ปีตั้ง ๒ พันล้านบาท ไปบริหารจัดการ..แต่ไม่ได้คุณประโยชน์ให้กับรัฐบาล ที่ให้เงินสนับสนุน
ยึดเงินบาปคืนมาดีกว่า..แล้วเอาไปจ่ายแจกในงบคนชรา..ยังมีค่ามากกว่าจริง ๆนะพ่อคุณ
โดย.คอลัมน์ ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
มาร์ค..ห้ามแตะ ม.309 พรรคร่วมรัฐบาลนัดถกแก้รธน.31ก.ค.
อภิสิทธิ์. ระบุรัฐธรรมนูญแก้ได้ทุกมาตราถ้ามีประโยชน์ต่อส่วนรวม และหากมีเหตุผลอธิบายได้ประชาธิปัตย์พร้อมสนับสนุน แต่ห้ามแตะมาตรา 309 เด็ดขาด เพราะจะเป็นการล้างคดีให้ “ทักษิณ” เชื่อเป้าหมายใหญ่รัฐบาลอยู่ที่มาตรานี้ แก้ให้เป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้าง “ภูมิธรรม” เผยวันที่ 31 ก.ค. จับเข่าคุยแกนนำรัฐบาลทุกพรรคให้ได้ข้อสรุปเดินต่อทางไหน แต่ไม่เห็นด้วยทำประชามติก่อน ประธานสภาผู้แทนฯย้ำจุดยื่นต้องถอนร่างแก้ไขที่รอลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน โฆษกพันธมิตรฯประกาศหลังเปิดประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค. พร้อมจัดชุมนุมทันทีหากสภาพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดอง
++++++++++++
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เปิดเผยว่า วันที่ 25 ก.ค. นี้ คณะกรรมการประสานงาน (วิป) วุฒิสภา จะหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะลงมติวาระ 3 หรือต้องทำประชามติก่อน
นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันความเห็นเดิมอยากให้ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รอลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน ส่วนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองสามารถเลื่อนเรื่องอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนได้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากประชาชนสับสนต่อท่าทีของพรรคเพื่อไทยเพราะพูดกันไปคนละทาง นายกรัฐมนตรีจึงควรแสดงภาวะผู้นำสร้างความชัดเจน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า หลังเปิดประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค. นี้ หากไม่มีการนำ พ.ร.บ.ปรองดองกับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจขึ้นมาพิจารณา พันธมิตรฯจะไม่จัดชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายของการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ที่มาตรา 309 เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้าง
“หากแก้ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีเหตุผลอธิบายได้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดข้อง แต่หากเป็นการแก้มาตรา 309 พรรคไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้เพื่อลบล้างคดีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ”
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะได้ข้อยุติเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญวันที่ 28-29 ก.ค. นี้ จากนั้นจะนำไปหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค. เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรทำประชามติก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะไม่มีอะไรไปเสนอกับประชาชน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากดูตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสภาสามารถเดินหน้าลงมติวาระ 3 แก้ไขร่างที่ค้างอยู่ได้ หากจะแก้เป็นรายมาตราเชื่อว่าเสียเวลานาน เพราะจะมีคนไปร้องให้ศาลพิจารณาเพื่อถ่วงเวลา และตามธรรมชาติจะแก้ทีละมาตราไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกมาตราเชื่อมโยงถึงกันหมด แก้มาตราหนึ่งก็จะกระทบอีกมาตราหนึ่ง จึงควรทำไปพร้อมๆกันทีเดียวทั้งฉบับ
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เปิดเผยว่า วันที่ 25 ก.ค. นี้ คณะกรรมการประสานงาน (วิป) วุฒิสภา จะหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะลงมติวาระ 3 หรือต้องทำประชามติก่อน
นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยืนยันความเห็นเดิมอยากให้ถอนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รอลงมติวาระ 3 ออกไปก่อน ส่วนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองสามารถเลื่อนเรื่องอื่นขึ้นมาพิจารณาก่อนได้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากประชาชนสับสนต่อท่าทีของพรรคเพื่อไทยเพราะพูดกันไปคนละทาง นายกรัฐมนตรีจึงควรแสดงภาวะผู้นำสร้างความชัดเจน
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า หลังเปิดประชุมสภาวันที่ 1 ส.ค. นี้ หากไม่มีการนำ พ.ร.บ.ปรองดองกับเรื่องแก้รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจขึ้นมาพิจารณา พันธมิตรฯจะไม่จัดชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายของการพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ที่มาตรา 309 เพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้าง
“หากแก้ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีเหตุผลอธิบายได้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดข้อง แต่หากเป็นการแก้มาตรา 309 พรรคไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้เพื่อลบล้างคดีให้ พ.ต.ท.ทักษิณ”
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะได้ข้อยุติเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญวันที่ 28-29 ก.ค. นี้ จากนั้นจะนำไปหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค. เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรทำประชามติก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะไม่มีอะไรไปเสนอกับประชาชน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา สมาชิกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากดูตามคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสภาสามารถเดินหน้าลงมติวาระ 3 แก้ไขร่างที่ค้างอยู่ได้ หากจะแก้เป็นรายมาตราเชื่อว่าเสียเวลานาน เพราะจะมีคนไปร้องให้ศาลพิจารณาเพื่อถ่วงเวลา และตามธรรมชาติจะแก้ทีละมาตราไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญทุกมาตราเชื่อมโยงถึงกันหมด แก้มาตราหนึ่งก็จะกระทบอีกมาตราหนึ่ง จึงควรทำไปพร้อมๆกันทีเดียวทั้งฉบับ
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โต้ กิตติศักดิ์ ปรกติ. การบิดเบือนกรณีมาตรา ๓๐๙ และการลบล้างผลพวงรัฐประหาร !!?
โดย.พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กิตติศักดิ์ ปรกติ ให้สัมภาษณ์ไทยโพสต์ [๑] ปรากฏความบิดเบือน ดังนี้
๑. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “การนับวันและนับคืนตามปฏิทิน จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่ ให้ถือว่าไม่เคยมีวันและคืนตามปฏิทินได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ ความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง วันและคืนก็คือความจริง ถ้าจะพยายามออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม”
ข้อสังเกต :
การออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันตามปฏิทินมิใช่เรื่องแปลกประหลาดในระบบกฎหมายแต่อย่างใด เช่น พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๔ “ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา” หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคหนึ่ง “เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วง ไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ” วรรคสอง “เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น”
ท่านจะเห็นได้ว่า ที่กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่…ก็ไม่ได้”นั้นจึงเป็นความเท็จ ตามตัวอย่างที่ผมยกให้ท่านพิจารณาในข้างต้น อีกทั้งเหตุผลของเรื่องคือ การนับอายุความเป็นเรื่องการนับระยะเวลาของระบบกฎหมาย (เป็นเรื่องในทางกฎหมายว่า จะบัญญัติให้นับอย่างไร อายุความเท่าไหร่) หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงการกระทำทางกายภาพหรือการกระทำในทางข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ตามที่ กิตติศักดิ์ อ้างว่า “ออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม” จึงเป็นความเท็จ เพราะเรื่องอายุความเป็นเรื่องในทางกฎหมาย หาใช่เรื่องในทางข้อเท็จจริงไม่
๒.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “แทนที่คุณจะเลิกมาตรา ๓๐๙ คุณมาพิสูจน์ว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก”
ข้อสังเกต :
เรามาพิจารณา ความเท็จและการเบี่ยงประเด็นของกิตติศักดิ์ เป็นลำดับดังนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) มาตรา ๓๐๙ “บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
นั่นคือ มาตรา ๓๐๙ รับรองว่า ๑. บรรดาการกระทำใด ๆ ๒. ที่รับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ๓. ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ (๒๕๕๐)
ฉะนั้น จึงต้องพิจารณาการดำรงอยู่ของบทบัญญัติในส่วนนี้ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับดังกล่าว(วัตถุในทางสารบัญญัติที่มาตรา ๓๐๙ รับรองการกระทำเช่นว่านั้น)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๗ “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไป เพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการรวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
ด้วยเหตุนี้ การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “มาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย” จึงเป็นความเท็จ เพราะมาตรา ๓๐๙ คุ้มครอง “การกระทำที่ผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” ด้วย (โดยผลบังคับมาตรา ๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙)
ดังปรากฏแล้วใน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ ๓๔๙๔/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๗๘๔๑/๒๕๕๓ ระหว่าง เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร (โจทก์) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพวก (จำเลย) ก็ยืนยันผลบังคับของมาตรา ๓๐๙ ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ดังที่ผม (พุฒิพงศ์) ได้อรรถธิบายไว้ข้างต้น ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าวดังนี้ [๒]
“โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จนถึงวันฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ กระทำผิดกฎหมายด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บิดเบือนหรือบิดผันระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย…ได้กระทำการแทรกแซง องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แทรกแซงสื่อ ทำลายระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเอื้อประโยชน์ให้ตนและพวก พ้อง ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เป็นการได้มาโดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิได้เห็นความสำคัญหรือเห็นคุณค่าในสิทธิของปวงชนชาวไทย อันเป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศ…
ฯลฯ
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะรับไว้พิจารณา พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว…เห็นว่า มูลเหตุที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ ในนามของ “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข” ได้ทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นผลสำเร็จ…ซึ่งในการนี้ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ที่มีผลบังคับใช้โดยชอบเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ในมาตรา ๓๗ บัญญัติว่า “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครอง แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่อง…หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” นอกจากนี้ในมาตรา ๓๖ ก็ยังบัญญัติว่า “บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่าง วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้…ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือการปฏิบัติที่ ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน หากจะเป็นการขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หรือผิดกฎหมายอาญา มาตราใด ดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน จะมีมูลความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องมานั้น ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
นั่นคือ ศาลรับรองว่า การดำรงอยู่ของมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) คุ้มครองการกระทำผิดกฎหมาย (กบฎ) ตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วยนั่นเอง ให้พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว
กรณีจึงมิใช่เรื่อง “การเอาผิดคณะรัฐประหารเพราะเหตุกระทำโดยทุจริตคอรัปชั่น” อันเป็นข้อเท็จจริงคนละกรณีกับการก่อ “กบฎล้มล้างระบอบการปกครองและรัฐธรรมนูญ” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะที่ “คณะรัฐประหาร” ได้กระทำความผิด อันได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙
การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก” จึงเป็นการเบี่ยงเบนให้พิจารณานอกประเด็นของเรื่อง โดยมิได้พิจารณาเนื้อหาสาระของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด อันขาดไร้ความรับผิดชอบในสามัญสำนึกอันดีของนักวิชาการ
๓. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “คุณต้องการอะไร ต้องการเอาโทษคณะรัฐประหารใช่ไหม ก็ต้องให้ศาลตัดสิน แต่เอาโทษสิ่งที่เขาไม่ผิดไม่ได้ ต้องเอาโทษสิ่งที่เขาผิด ในที่สุดก็ต้องวินิจฉัยว่าคุณทำรัฐประหารโดยชอบหรือไม่ชอบ เมื่อเป็นแบบนั้น อดีตผู้ทำรัฐประหารก็ต้องมาต่อสู้คดีกับศาลถึงการทำรัฐประหารว่าอันนี้เป็น สิ่งจำเป็นครับ อันนี้เป็นเหตุป้องกันอันตรายฉุกเฉินครับ โอเค คุณอาจจะผิด แต่ถึงเวลาตัดสินก็ต้องไปดูตอนนั้น เช่นแล้วมีเหตุให้ต้องบรรเทาการลงโทษหรือไม่”
ข้อสังเกต :
การรัฐประหารโดยชอบด้วยกฎหมาย มีได้อย่างไร? มิเช่นนั้นก็ไม่จำต้องนิรโทษกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งใน มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ และยังนิรโทษกรรมซ้อนซ้ำอีกในมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แต่อย่างใด
อีกทั้ง การที่กิตติศักดิ์ พยายามอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อทำรัฐประหาร (ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารไม่เป็นความผิด หรือไม่ต้องรับโทษ) นั้น ตกลงแล้ว กิตติศักดิ์ มองว่า “การกระทำ” ที่เป็น “รัฐประหาร” ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่? ถ้าชอบด้วยกฎหมาย แล้วกิตติศักดิ์ จะอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ ไปทำไม (โดยนัย – เอาล่ะ กิตติศักดิ์ ถือว่าเป็นคำอธิบายในกรณีที่ “อาจจะผิด”) เพราะในกรณีอ้างเหตุดังกล่าวนั้นต้องปรากฏว่า การกระทำนั้นเป็น “ความผิด” เสียก่อน และโดยสภาพการทำรัฐประหารไม่อาจปรากฎ “เหตุจำเป็น” (ทำไปเพราะไม่สามารถหลีก เลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้) [๓]หรือ “เหตุป้องกัน” (เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง) [๔] ได้เลย โดยสภาพของการกระทำผิดฐานกบฎ (กบฎ – รัฐประหาร ; กระทำการเพื่อยึดอำนาจรัฐหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอาจรัฐโดยมิใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ)
บทสัมภาษณ์ของกิตติศักดิ์ดังกล่าวนี้ จึงเป็นบทสัมภาษณ์ไม่มีฐานรองรับการให้เหตุผลทางนิติศาสตร์เลยดังปรากฎเหตุผลประกอบตามที่ผมได้อรรถาธิบายไว้ข้างต้น
ในท้ายนี้ควรกล่าวด้วยว่า การลบล้างมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน จำต้องลบล้างมาตรา ๓๖, มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วย เพื่อนำผู้กระทำผิดกฎหมายก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยวิถีทางที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้นมารับผิดและรับโทษตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด (มาตรา ๑๑๓ ประมวลกฎหมายอาญา) หาใช่การลบล้างข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดๆ ไม่ เพราะการลบล้างบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการ “นำสิ่งที่ผิด” มารับผิดและรับโทษตามตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด นั่นเอง หาใช่การย้อนเวลาไปเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือความจริงไม่ ดังที่ กิตติศักดิ์ บิดเบือนทั้งในข้อเท็จจริงและหลักวิชาจนยุ่งเหยิง และไม่อาจหาฐานรองรับการให้เหตุผลเช่นนี้ในทางนิติศาสตร์ได้เลยตามความปรากฏในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว.
____________________
เชิงอรรถ
[๑] เว็บไซต์ไทยโพสต์ “แก้309ไม่ล้างผิด นักกฎหมายยก‘ปิโนเชต์’กระตุก‘แม้ว’ชี้คดีโกงยังอยู่” : http://www.thaipost.net/news/200712/59901
[๒] เว็บไซต์นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร “คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ นายฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คมช.และพวก ฐานกบฎล้มล้างรัฐธรรมนูญฯ” : http://www.enlightened-jurists.com/directory/193
[๓] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๗
[๔] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กิตติศักดิ์ ปรกติ ให้สัมภาษณ์ไทยโพสต์ [๑] ปรากฏความบิดเบือน ดังนี้
๑. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “การนับวันและนับคืนตามปฏิทิน จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่ ให้ถือว่าไม่เคยมีวันและคืนตามปฏิทินได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ ความเป็นจริงก็คือความเป็นจริง วันและคืนก็คือความจริง ถ้าจะพยายามออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม”
ข้อสังเกต :
การออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันตามปฏิทินมิใช่เรื่องแปลกประหลาดในระบบกฎหมายแต่อย่างใด เช่น พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๔ “ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้บอกเลิกการเจรจา” หรือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๑๕ วรรคหนึ่ง “เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วง ไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ” วรรคสอง “เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น”
ท่านจะเห็นได้ว่า ที่กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “จะมาออกกฎหมายไม่ให้มีการนับวันและคืนทำได้หรือไม่…ก็ไม่ได้”นั้นจึงเป็นความเท็จ ตามตัวอย่างที่ผมยกให้ท่านพิจารณาในข้างต้น อีกทั้งเหตุผลของเรื่องคือ การนับอายุความเป็นเรื่องการนับระยะเวลาของระบบกฎหมาย (เป็นเรื่องในทางกฎหมายว่า จะบัญญัติให้นับอย่างไร อายุความเท่าไหร่) หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงการกระทำทางกายภาพหรือการกระทำในทางข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ตามที่ กิตติศักดิ์ อ้างว่า “ออกกฎหมายเพื่อล้มล้างความจริงคนก็จะไม่ปฏิบัติตาม” จึงเป็นความเท็จ เพราะเรื่องอายุความเป็นเรื่องในทางกฎหมาย หาใช่เรื่องในทางข้อเท็จจริงไม่
๒.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “แทนที่คุณจะเลิกมาตรา ๓๐๙ คุณมาพิสูจน์ว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก”
ข้อสังเกต :
เรามาพิจารณา ความเท็จและการเบี่ยงประเด็นของกิตติศักดิ์ เป็นลำดับดังนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) มาตรา ๓๐๙ “บรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้”
นั่นคือ มาตรา ๓๐๙ รับรองว่า ๑. บรรดาการกระทำใด ๆ ๒. ที่รับรองไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ๓. ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ (๒๕๕๐)
ฉะนั้น จึงต้องพิจารณาการดำรงอยู่ของบทบัญญัติในส่วนนี้ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับดังกล่าว(วัตถุในทางสารบัญญัติที่มาตรา ๓๐๙ รับรองการกระทำเช่นว่านั้น)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ มาตรา ๓๗ “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือของผู้ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันได้กระทำไป เพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการรวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง”
ด้วยเหตุนี้ การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “มาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเฉพาะการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย” จึงเป็นความเท็จ เพราะมาตรา ๓๐๙ คุ้มครอง “การกระทำที่ผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” ด้วย (โดยผลบังคับมาตรา ๓๗ แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙)
ดังปรากฏแล้วใน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ ๓๔๙๔/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๗๘๔๑/๒๕๕๓ ระหว่าง เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร (โจทก์) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และพวก (จำเลย) ก็ยืนยันผลบังคับของมาตรา ๓๐๙ ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ดังที่ผม (พุฒิพงศ์) ได้อรรถธิบายไว้ข้างต้น ปรากฏในคำพิพากษาดังกล่าวดังนี้ [๒]
“โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จนถึงวันฟ้องทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ กระทำผิดกฎหมายด้วยการใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย บิดเบือนหรือบิดผันระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย…ได้กระทำการแทรกแซง องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แทรกแซงสื่อ ทำลายระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเอื้อประโยชน์ให้ตนและพวก พ้อง ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เป็นการได้มาโดยมิได้เป็นไปตามวิถีทางดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิได้เห็นความสำคัญหรือเห็นคุณค่าในสิทธิของปวงชนชาวไทย อันเป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศ…
ฯลฯ
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่มีมูลที่จะรับไว้พิจารณา พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว…เห็นว่า มูลเหตุที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ ในนามของ “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข” ได้ทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นผลสำเร็จ…ซึ่งในการนี้ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ที่มีผลบังคับใช้โดยชอบเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ ในมาตรา ๓๗ บัญญัติว่า “บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครอง แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่อง…หากการกระทำนั้นผิดกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง” นอกจากนี้ในมาตรา ๓๖ ก็ยังบัญญัติว่า “บรรดาประกาศและคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่าง วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้…ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นประกาศหรือการปฏิบัติที่ ชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน หากจะเป็นการขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หรือผิดกฎหมายอาญา มาตราใด ดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว คดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามร้อยแปดคน จะมีมูลความผิดตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องมานั้น ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”
นั่นคือ ศาลรับรองว่า การดำรงอยู่ของมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒๕๕๐) คุ้มครองการกระทำผิดกฎหมาย (กบฎ) ตามมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วยนั่นเอง ให้พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิงตามบทบัญญัติดังกล่าว
กรณีจึงมิใช่เรื่อง “การเอาผิดคณะรัฐประหารเพราะเหตุกระทำโดยทุจริตคอรัปชั่น” อันเป็นข้อเท็จจริงคนละกรณีกับการก่อ “กบฎล้มล้างระบอบการปกครองและรัฐธรรมนูญ” อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๓ ซึ่งบังคับใช้อยู่ในขณะที่ “คณะรัฐประหาร” ได้กระทำความผิด อันได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ประกอบมาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙
การที่ กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “ถ้าคุณเชื่อว่าคณะ คมช.ทุจริตคอรัปชั่น เอาเงินไปโกงกิน คุณก็ดำเนินคดีเขาสิ แล้วดูว่ามาตรา ๓๐๙ มันคุ้มครองเขาจริงไหม ถ้ามันคุ้มครอง แล้วเขาทำผิดจริง มาตรา ๓๐๙ มันก็ไม่ถูก” จึงเป็นการเบี่ยงเบนให้พิจารณานอกประเด็นของเรื่อง โดยมิได้พิจารณาเนื้อหาสาระของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด อันขาดไร้ความรับผิดชอบในสามัญสำนึกอันดีของนักวิชาการ
๓. กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “คุณต้องการอะไร ต้องการเอาโทษคณะรัฐประหารใช่ไหม ก็ต้องให้ศาลตัดสิน แต่เอาโทษสิ่งที่เขาไม่ผิดไม่ได้ ต้องเอาโทษสิ่งที่เขาผิด ในที่สุดก็ต้องวินิจฉัยว่าคุณทำรัฐประหารโดยชอบหรือไม่ชอบ เมื่อเป็นแบบนั้น อดีตผู้ทำรัฐประหารก็ต้องมาต่อสู้คดีกับศาลถึงการทำรัฐประหารว่าอันนี้เป็น สิ่งจำเป็นครับ อันนี้เป็นเหตุป้องกันอันตรายฉุกเฉินครับ โอเค คุณอาจจะผิด แต่ถึงเวลาตัดสินก็ต้องไปดูตอนนั้น เช่นแล้วมีเหตุให้ต้องบรรเทาการลงโทษหรือไม่”
ข้อสังเกต :
การรัฐประหารโดยชอบด้วยกฎหมาย มีได้อย่างไร? มิเช่นนั้นก็ไม่จำต้องนิรโทษกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่าทั้งใน มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ และยังนิรโทษกรรมซ้อนซ้ำอีกในมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ แต่อย่างใด
อีกทั้ง การที่กิตติศักดิ์ พยายามอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อทำรัฐประหาร (ซึ่งจะทำให้การรัฐประหารไม่เป็นความผิด หรือไม่ต้องรับโทษ) นั้น ตกลงแล้ว กิตติศักดิ์ มองว่า “การกระทำ” ที่เป็น “รัฐประหาร” ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่? ถ้าชอบด้วยกฎหมาย แล้วกิตติศักดิ์ จะอ้าง “เหตุจำเป็น” หรือ “เหตุป้องกัน” เพื่อยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษ ไปทำไม (โดยนัย – เอาล่ะ กิตติศักดิ์ ถือว่าเป็นคำอธิบายในกรณีที่ “อาจจะผิด”) เพราะในกรณีอ้างเหตุดังกล่าวนั้นต้องปรากฏว่า การกระทำนั้นเป็น “ความผิด” เสียก่อน และโดยสภาพการทำรัฐประหารไม่อาจปรากฎ “เหตุจำเป็น” (ทำไปเพราะไม่สามารถหลีก เลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้) [๓]หรือ “เหตุป้องกัน” (เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง) [๔] ได้เลย โดยสภาพของการกระทำผิดฐานกบฎ (กบฎ – รัฐประหาร ; กระทำการเพื่อยึดอำนาจรัฐหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอาจรัฐโดยมิใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ)
บทสัมภาษณ์ของกิตติศักดิ์ดังกล่าวนี้ จึงเป็นบทสัมภาษณ์ไม่มีฐานรองรับการให้เหตุผลทางนิติศาสตร์เลยดังปรากฎเหตุผลประกอบตามที่ผมได้อรรถาธิบายไว้ข้างต้น
ในท้ายนี้ควรกล่าวด้วยว่า การลบล้างมาตรา ๓๐๙ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน จำต้องลบล้างมาตรา ๓๖, มาตรา ๓๗ รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ๒๕๔๙ ด้วย เพื่อนำผู้กระทำผิดกฎหมายก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยวิถีทางที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้นมารับผิดและรับโทษตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด (มาตรา ๑๑๓ ประมวลกฎหมายอาญา) หาใช่การลบล้างข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดๆ ไม่ เพราะการลบล้างบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการ “นำสิ่งที่ผิด” มารับผิดและรับโทษตามตามกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กระทำผิด นั่นเอง หาใช่การย้อนเวลาไปเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือความจริงไม่ ดังที่ กิตติศักดิ์ บิดเบือนทั้งในข้อเท็จจริงและหลักวิชาจนยุ่งเหยิง และไม่อาจหาฐานรองรับการให้เหตุผลเช่นนี้ในทางนิติศาสตร์ได้เลยตามความปรากฏในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว.
____________________
เชิงอรรถ
[๑] เว็บไซต์ไทยโพสต์ “แก้309ไม่ล้างผิด นักกฎหมายยก‘ปิโนเชต์’กระตุก‘แม้ว’ชี้คดีโกงยังอยู่” : http://www.thaipost.net/news/200712/59901
[๒] เว็บไซต์นิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร “คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ นายฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คมช.และพวก ฐานกบฎล้มล้างรัฐธรรมนูญฯ” : http://www.enlightened-jurists.com/directory/193
[๓] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๗
[๔] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๘
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สงครามน้ำข้ามทวีปจากนาซ่าถึงประชาธิปัตย์ !!?
นายปลอดประสพ สุรัสวดี ตกเป็นเป้าโจมตีของของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะถูกฟ้องร้องเป็นรายต่อไป โทษฐานที่ประชาธิปัตย์บอกว่า “กล่าวหาว่ารัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริหารจัดการน้ำแบบมีนัยจนกระทั่งส่งผลมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการเกิดอุทกภัยขึ้น”
เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อปีที่แล้วเกิดวาทกรรมของสงครามน้ำขึ้นมาอย่างสะบั้นหั่นแหลก กระทั่งในปีนี้โอกาสที่จะเกิดสงครามน้ำอีกระลอกหรือไม่ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่? ถ้าหากเกิดขึ้นมาก็คงจะเปิดฉากจากพรรคประชาธิปัตย์เรื่องนายปลอดประสพ สุรัสวดี นี่แหละ ส่วนจะฟ้องข้อหาอะไรอย่างไรนั้นคงต้องติดตามดูกันต่อไป แต่สำหรับนายปลอดประสพเองเคยให้สัมภาษณ์กันเมื่อไม่นานมานี้ว่า อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องตัวเองอยู่เหมือนกัน ทั้งนี้ เพื่อจะได้พิสูจน์และตีแผ่ความจริงออกมาว่าอะไรเป็นอะไร? พร้อมกันนั้นนายปลอดประสพได้อ้างแหล่งข่าวจากต่างประเทศระบุว่า
องค์การนาซ่าได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความล้มเหลวในการจัดการน้ำของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และตรงนี้มีโอกาสเป็นสาเหตุทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ขัดขวางโครงการของนาซ่าในการสำรวจเมฆชั้นสูงเพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศ!
ข้อมูลจากนายปลอดประสพนี้นับว่าน่าสนใจมาก เพราะองค์การระดับนาซ่าคงไม่ซี้ซั้วพูดอะไรออกมาง่ายๆ นั่นแสดงว่าเขามีข้อมูลชั้นเมฆอยู่พอสมควร พอจะรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น จึงมีความแน่ใจในระดับหนึ่งที่จะฟันธงในเรื่องความล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในช่วงก่อนการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าเราเชื่อมือและให้เครดิตต่อนาซ่าพอสมควร ก็มีเหตุผลที่พอจะระบุได้ว่าในปี 2554 ปัญหามหาอุทกภัยในประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะเกิดจากการผลักดันของภาคการเมืองเพื่อทำลายล้างกัน ดังจะเห็นจากข้อมูลการปล่อยน้ำจากเขื่อนจนท่วมพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้ถ้าหากประชาธิปัตย์จะฟ้องร้องนายปลอดประสพ และมีการพิสูจน์กันในชั้นศาลก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่คำพูดของนายปลอดประสพตอนหนึ่งมีความน่าสนใจมาก เขาให้ข้อสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์ขัดขวางนาซ่าทุกวิถีทางในการใช้ฐานบินอู่ตะเภาสำหรับสำรวจอากาศในช่วงที่ผ่านมา เพราะถ้าข้อมูลชุดใหม่นี้มีเพิ่มเติมก็เป็นไปได้สูงที่นาซ่าจะสามารถฟันธงได้แน่นหนาขึ้นย้อนหลังไปถึงความผิดพลาดเมื่อคราวประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เพราะถ้าผลออกมาแน่นหนาว่าอุทกภัยในปี 2554 นั้นมีงานการเมืองแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
ผลสำรวจของนาซ่าถ้ามีขึ้นมาในปี 2555 จะเท่ากับเป็นการเปิดหน้ากากของวิธีเล่นการเมืองโดยใช้น้ำมาก่อสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจ! เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรน่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง ก็อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องให้รู้เรื่องกันไปเสียที แม้กระทั่งการรู้ว่าอุทกภัยเมื่อปีที่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นจากธรรมชาติอย่างเดียว หากแต่มีเกมการเมืองและอำนาจผสมอยู่ด้วย บางทีเรื่องของสงครามน้ำที่เกี่ยวข้องกับการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน คือพรรคประชาธิปัตย์ คงจะดำเนินต่อเนื่องในหน้าฝนปี 2555 นี้ก็เป็นไปได้ เพราะอย่างน้อยข้อมูลจากนาซ่ายืนยันได้ว่าการใช้น้ำมาเล่นการเมืองในปี 2554 มีจริง ส่วนจะมีมากน้อยแค่ไหนคงไปว่ากันในชั้นศาลระหว่างนายปลอดประสพ สุรัสวดี กับพรรคประชาธิปัตย์ บางทีเบื้องหน้าเบื้องหลังอุทกภัยในปีที่แล้วสามารถที่จะเชื่อมโยงมาถึงเรื่องของนาซ่า ตลอดจนสงครามน้ำที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ได้
ด้านนายปลอดประสพเองถ้าไม่แน่ใจก็คงไม่ยืดอกท้าประชาธิปัตย์ให้ฟ้องร้องให้รู้เหนือรู้ใต้กันไปเลย อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะแน่ใจตัวเองหรือไม่? ซึ่งหมายถึงมีความบริสุทธิ์ใจในการบริหารจัดการน้ำในสมัยนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯหรือเปล่า!? และนี่ก็คือสงครามน้ำในยกแรกที่เปิดฉากขึ้นมาแล้ว เชื่อว่ายังมียกที่ 2 และ 3 ติดตามมาอีกหลายขบวน เพราะปัญหาอุทกภัยคือหนึ่งในวาทกรรมที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาเสนอควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาของแพง โดยระบุว่า ให้รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจและอุทกภัยดีกว่าไปแก้รัฐธรรมนูญ จึงมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาอุทกภัยในปีนี้มีโอกาสถูกลากมาเกี่ยวข้องกับการยุติแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยับยั้ง พ.ร.บ.ปรองดองไม่ให้คลอดออกมา
การใช้น้ำมาเล่นการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นตัวอย่างแรกของโลกนี้ที่น่าศึกษา และเข้าใจว่านาซ่าคงศึกษาไม่ถึงเกมนี้เหมือนกัน แต่บอกได้ว่าสงครามได้ข้ามทวีปไปแล้ว ไม่ได้จำกัดเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น นี่จึงเป็นวีรกรรมอีกอย่างของพรรคประชาธิปัตย์ที่ควรจดจำให้มาก จดจำว่าพรรคนี้เขาเล่นการเมืองกันอย่างไร?
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อปีที่แล้วเกิดวาทกรรมของสงครามน้ำขึ้นมาอย่างสะบั้นหั่นแหลก กระทั่งในปีนี้โอกาสที่จะเกิดสงครามน้ำอีกระลอกหรือไม่ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่? ถ้าหากเกิดขึ้นมาก็คงจะเปิดฉากจากพรรคประชาธิปัตย์เรื่องนายปลอดประสพ สุรัสวดี นี่แหละ ส่วนจะฟ้องข้อหาอะไรอย่างไรนั้นคงต้องติดตามดูกันต่อไป แต่สำหรับนายปลอดประสพเองเคยให้สัมภาษณ์กันเมื่อไม่นานมานี้ว่า อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องตัวเองอยู่เหมือนกัน ทั้งนี้ เพื่อจะได้พิสูจน์และตีแผ่ความจริงออกมาว่าอะไรเป็นอะไร? พร้อมกันนั้นนายปลอดประสพได้อ้างแหล่งข่าวจากต่างประเทศระบุว่า
องค์การนาซ่าได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความล้มเหลวในการจัดการน้ำของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และตรงนี้มีโอกาสเป็นสาเหตุทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ขัดขวางโครงการของนาซ่าในการสำรวจเมฆชั้นสูงเพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศ!
ข้อมูลจากนายปลอดประสพนี้นับว่าน่าสนใจมาก เพราะองค์การระดับนาซ่าคงไม่ซี้ซั้วพูดอะไรออกมาง่ายๆ นั่นแสดงว่าเขามีข้อมูลชั้นเมฆอยู่พอสมควร พอจะรู้เรื่องสภาพภูมิอากาศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น จึงมีความแน่ใจในระดับหนึ่งที่จะฟันธงในเรื่องความล้มเหลวในการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในช่วงก่อนการขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าเราเชื่อมือและให้เครดิตต่อนาซ่าพอสมควร ก็มีเหตุผลที่พอจะระบุได้ว่าในปี 2554 ปัญหามหาอุทกภัยในประเทศไทยมีโอกาสสูงที่จะเกิดจากการผลักดันของภาคการเมืองเพื่อทำลายล้างกัน ดังจะเห็นจากข้อมูลการปล่อยน้ำจากเขื่อนจนท่วมพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
เรื่องนี้ถ้าหากประชาธิปัตย์จะฟ้องร้องนายปลอดประสพ และมีการพิสูจน์กันในชั้นศาลก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี แต่คำพูดของนายปลอดประสพตอนหนึ่งมีความน่าสนใจมาก เขาให้ข้อสังเกตว่า พรรคประชาธิปัตย์ขัดขวางนาซ่าทุกวิถีทางในการใช้ฐานบินอู่ตะเภาสำหรับสำรวจอากาศในช่วงที่ผ่านมา เพราะถ้าข้อมูลชุดใหม่นี้มีเพิ่มเติมก็เป็นไปได้สูงที่นาซ่าจะสามารถฟันธงได้แน่นหนาขึ้นย้อนหลังไปถึงความผิดพลาดเมื่อคราวประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล เพราะถ้าผลออกมาแน่นหนาว่าอุทกภัยในปี 2554 นั้นมีงานการเมืองแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
ผลสำรวจของนาซ่าถ้ามีขึ้นมาในปี 2555 จะเท่ากับเป็นการเปิดหน้ากากของวิธีเล่นการเมืองโดยใช้น้ำมาก่อสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจ! เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไรน่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง ก็อยากให้พรรคประชาธิปัตย์ฟ้องร้องให้รู้เรื่องกันไปเสียที แม้กระทั่งการรู้ว่าอุทกภัยเมื่อปีที่แล้วไม่ได้เกิดขึ้นจากธรรมชาติอย่างเดียว หากแต่มีเกมการเมืองและอำนาจผสมอยู่ด้วย บางทีเรื่องของสงครามน้ำที่เกี่ยวข้องกับการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน คือพรรคประชาธิปัตย์ คงจะดำเนินต่อเนื่องในหน้าฝนปี 2555 นี้ก็เป็นไปได้ เพราะอย่างน้อยข้อมูลจากนาซ่ายืนยันได้ว่าการใช้น้ำมาเล่นการเมืองในปี 2554 มีจริง ส่วนจะมีมากน้อยแค่ไหนคงไปว่ากันในชั้นศาลระหว่างนายปลอดประสพ สุรัสวดี กับพรรคประชาธิปัตย์ บางทีเบื้องหน้าเบื้องหลังอุทกภัยในปีที่แล้วสามารถที่จะเชื่อมโยงมาถึงเรื่องของนาซ่า ตลอดจนสงครามน้ำที่จะเกิดขึ้นในปี 2555 ได้
ด้านนายปลอดประสพเองถ้าไม่แน่ใจก็คงไม่ยืดอกท้าประชาธิปัตย์ให้ฟ้องร้องให้รู้เหนือรู้ใต้กันไปเลย อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะแน่ใจตัวเองหรือไม่? ซึ่งหมายถึงมีความบริสุทธิ์ใจในการบริหารจัดการน้ำในสมัยนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯหรือเปล่า!? และนี่ก็คือสงครามน้ำในยกแรกที่เปิดฉากขึ้นมาแล้ว เชื่อว่ายังมียกที่ 2 และ 3 ติดตามมาอีกหลายขบวน เพราะปัญหาอุทกภัยคือหนึ่งในวาทกรรมที่พรรคประชาธิปัตย์นำมาเสนอควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาของแพง โดยระบุว่า ให้รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจและอุทกภัยดีกว่าไปแก้รัฐธรรมนูญ จึงมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาอุทกภัยในปีนี้มีโอกาสถูกลากมาเกี่ยวข้องกับการยุติแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งยับยั้ง พ.ร.บ.ปรองดองไม่ให้คลอดออกมา
การใช้น้ำมาเล่นการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นตัวอย่างแรกของโลกนี้ที่น่าศึกษา และเข้าใจว่านาซ่าคงศึกษาไม่ถึงเกมนี้เหมือนกัน แต่บอกได้ว่าสงครามได้ข้ามทวีปไปแล้ว ไม่ได้จำกัดเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น นี่จึงเป็นวีรกรรมอีกอย่างของพรรคประชาธิปัตย์ที่ควรจดจำให้มาก จดจำว่าพรรคนี้เขาเล่นการเมืองกันอย่างไร?
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไทยเตรียมพัฒนาสินค้า OTOP ให้มีมาตรฐานหวังขยายตลาดต่างประเทศ !!?
นายกรัฐมนตรีหารือ รมว.ต่างประเทศเยอรมนีเรื่องทำเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป ยกระดับอาชีวะศึกษาแบบ “ดูโอซิสเท็ม-เรียนไป ทำงานไป” เตรียมพัฒนาสินค้าโอท็อปให้มีมาตรฐานขยายตลาดต่างประเทศ ยืนยันสัมพันธ์กับพม่า-กัมพูชามีทิศทางที่ดี พร้อมให้ความมั่นใจเศรษฐกิจไทยโตร้อยละ 4.5-5
“พัทธนันท์ สงชัย” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ซึ่งติดตามภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 17-22 ก.ค.2555 รายงานว่า ภารกิจนายกรัฐมนตรีวันนี้ (19 ก.ค.) เวลา 08.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 5 ชั่วโมง นายกรัฐมนตรี ได้หารือร่วมกับนายกีโด เวสเตอร์เวลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีพร้อมคณะ เกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยผ่านผู้เชี่ยวชาญของเยอรมนีที่จะมาอบรมให้ความรู้ รวมถึงการยกระดับการศึกษาสายอาชีวะ ดูโอซิสเท็ม หรือเรียนไปทำงานไป ซึ่งเยอรมนีพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีได้ซักถามถึงความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชาและพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า มีทิศทางไปในทางที่ดีทั้งสองประเทศ จากนั้นเวลา 08.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานเปิดอบรมผู้ประกอบการธุรกิจในเยอรมนี ณ ห้องโรงแรม Adlon Kempimski ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในเยอรมนีมีความรู้ในการจัดการ การต่อยอดการตลาด การบริหารเฟรนไชส์ เพื่อสามารถขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การนำเข้าสินค้าเกษตรไทยมากขึ้น โดยมีผู้ประกอบการร้านอาหาร สปา นวดไทย ร้านเสริมความงาม ผลิตสิ่งพิมพ์เข้าร่วมการอบรม 107 ราย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มีโอกาสเดินทางมาเยือนเยอรมนี ซึ่งเป็นการมาเยือนในรอบ 17 ปีที่ไม่มีผู้นำมาเยือนอย่างเป็นทางการ และดีใจที่ได้พบว่ามีประกอบการที่ร่วมอบรมถึง 107 ราย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศ ที่มีคนไทยมาเปิดธุรกิจและขยายกิจการในเยอรมนีจนประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ หลังจากเศรษฐกิจถดถอยในช่วงน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ขณะนี้เริ่มกลับมาในทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลคาดว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
“รัฐบาลไทยจะร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมนีปรับปรุงคุณภาพอาหาร สินค้าเกษตรของไทยให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากเยอรมนีค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องนี้ ภายใต้ แบรนด์ไทยซีเล็ก ที่จะบ่งบอกความเป็นไทยให้ต่างชาติรับทราบ และการอบรมในวันนี้จะเป็นการต่อยอดธุรกิจ ขอให้ผู้ประกอบการไทยช่วยกันนำเอกลักษณ์หรือภูมิปัญญาไทยมาเผยแพร่ให้ต่างชาติรับทราบ และทำหน้าที่เสมือนทูตของประเทศที่จะสื่อสารสิ่งดีๆกลับไปยังประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะยกระดับคุณภาพโอท็อปเพื่อส่งออกต่างประเทศด้วย โดยจะพัฒนา และคัดเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานมาจำหน่ายในสถานทูตไทยตามประเทศต่างๆ และเตรียมนำร่องในสถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงเฟริส์ต” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน โดยมีนางนงนุช เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และคนไทยที่พำนักอยู่ในเยอรมนีให้การต้อนรับ จากนั้นเดินทางไปยังท่าอากาศยานเทเกล เพื่อเดินทางต่อไปยังนครมิวนิก รัฐบาวาเรีย โดยเที่ยวบินพิเศษ TG 8838 บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เพื่อร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันโดยนายมาร์ติน ไซล์ รองนายกรัฐมนตรีรัฐบาวาเรีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และเทคโนโลยีรัฐบาวาเรีย เป็นเจ้าภาพ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังวัดไทยมิวนิก เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนคนไทย ก่อนที่จะเดินทางไปที่ท่าอากาศยานมิวนิก เพื่อไปปฏิบัติภารกิจต่อที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส.
ที่มา:สำนักข่าวไทย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“พัทธนันท์ สงชัย” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ซึ่งติดตามภารกิจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 17-22 ก.ค.2555 รายงานว่า ภารกิจนายกรัฐมนตรีวันนี้ (19 ก.ค.) เวลา 08.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 5 ชั่วโมง นายกรัฐมนตรี ได้หารือร่วมกับนายกีโด เวสเตอร์เวลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีพร้อมคณะ เกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป การพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยผ่านผู้เชี่ยวชาญของเยอรมนีที่จะมาอบรมให้ความรู้ รวมถึงการยกระดับการศึกษาสายอาชีวะ ดูโอซิสเท็ม หรือเรียนไปทำงานไป ซึ่งเยอรมนีพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีได้ซักถามถึงความสัมพันธ์ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกัมพูชาและพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า มีทิศทางไปในทางที่ดีทั้งสองประเทศ จากนั้นเวลา 08.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานเปิดอบรมผู้ประกอบการธุรกิจในเยอรมนี ณ ห้องโรงแรม Adlon Kempimski ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในเยอรมนีมีความรู้ในการจัดการ การต่อยอดการตลาด การบริหารเฟรนไชส์ เพื่อสามารถขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การนำเข้าสินค้าเกษตรไทยมากขึ้น โดยมีผู้ประกอบการร้านอาหาร สปา นวดไทย ร้านเสริมความงาม ผลิตสิ่งพิมพ์เข้าร่วมการอบรม 107 ราย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่มีโอกาสเดินทางมาเยือนเยอรมนี ซึ่งเป็นการมาเยือนในรอบ 17 ปีที่ไม่มีผู้นำมาเยือนอย่างเป็นทางการ และดีใจที่ได้พบว่ามีประกอบการที่ร่วมอบรมถึง 107 ราย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศ ที่มีคนไทยมาเปิดธุรกิจและขยายกิจการในเยอรมนีจนประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ หลังจากเศรษฐกิจถดถอยในช่วงน้ำท่วมปีที่ผ่านมา ขณะนี้เริ่มกลับมาในทางที่ดีขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลคาดว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5 เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
“รัฐบาลไทยจะร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมนีปรับปรุงคุณภาพอาหาร สินค้าเกษตรของไทยให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากเยอรมนีค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องนี้ ภายใต้ แบรนด์ไทยซีเล็ก ที่จะบ่งบอกความเป็นไทยให้ต่างชาติรับทราบ และการอบรมในวันนี้จะเป็นการต่อยอดธุรกิจ ขอให้ผู้ประกอบการไทยช่วยกันนำเอกลักษณ์หรือภูมิปัญญาไทยมาเผยแพร่ให้ต่างชาติรับทราบ และทำหน้าที่เสมือนทูตของประเทศที่จะสื่อสารสิ่งดีๆกลับไปยังประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกัน รัฐบาลจะยกระดับคุณภาพโอท็อปเพื่อส่งออกต่างประเทศด้วย โดยจะพัฒนา และคัดเลือกสินค้าที่ได้มาตรฐานมาจำหน่ายในสถานทูตไทยตามประเทศต่างๆ และเตรียมนำร่องในสถานเอกอัครทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงเฟริส์ต” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เดินทางจากโรงแรมที่พักไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน โดยมีนางนงนุช เพ็ชรรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน และคนไทยที่พำนักอยู่ในเยอรมนีให้การต้อนรับ จากนั้นเดินทางไปยังท่าอากาศยานเทเกล เพื่อเดินทางต่อไปยังนครมิวนิก รัฐบาวาเรีย โดยเที่ยวบินพิเศษ TG 8838 บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง เพื่อร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวันโดยนายมาร์ติน ไซล์ รองนายกรัฐมนตรีรัฐบาวาเรีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และเทคโนโลยีรัฐบาวาเรีย เป็นเจ้าภาพ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางต่อไปยังวัดไทยมิวนิก เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนคนไทย ก่อนที่จะเดินทางไปที่ท่าอากาศยานมิวนิก เพื่อไปปฏิบัติภารกิจต่อที่กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส.
ที่มา:สำนักข่าวไทย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
4 กับดัก 4 ทางแก้รธน. ทักษิณเพื่อไทยสั่งหยุด เสื้อแดงสั่งรุก ปชป.รอร่างรายมาตรา ..
ในที่สุดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงรอดพ้นวิกฤตยุบพรรคไปได้อีกครั้ง
สำหรับแนวทางการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะคู่ตรงข้าม มีดังต่อไปนี้
1.เมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเป็น "คำแนะนำ" ไม่ใช่ "คำสั่ง" ไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาตบเท้าสนับสนุนให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ต่อทันที
โดย "ธิดา ถาวรเศรษฐ" แกนนำ นปช.ยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการพิจารณาที่ก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ และไม่เห็นด้วยที่ศาลรัฐธรรมนูญจะให้ทำประชามติก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ขณะที่ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" รัฐมนตรีสายสีแดงบอกว่า รัฐสภาต้องเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 เพื่อเริ่มต้นแก้รัฐธรรมนูญตามแนวทางเดิมที่ทำมา
สอดคล้องกับคำพูดของ "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาระบุว่า วิธีการที่ถูกต้องในหลักการ คือให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 ต่อไป เพื่อรักษาหลักการประชาธิปไตยไม่ให้โอนเอน
"ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่า เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ไม่ได้สั่งห้าม ส่วนการลงประชามติก่อนการแก้ไขนั้นไม่ชัดเจนในตัวเองว่าเป็นคำแนะนำหรือคำวินิจฉัย"
2.แนวทางการแก้ไขรายมาตรา ตามขั้นตอนในรัฐสภาตามปกติ ซึ่งเป็นแนวทางที่ "นพดล ปัทมะ" ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่า ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และเห็นว่าแนวทางนี้จะดีที่สุด ภายใต้การสนับสนุนของ
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้เก๋าเกมการเมือง
นพดลอ้างถึงเหตุผลของที่ต่อสายจาก พ.ต.ท.ทักษิณว่า "รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปรียบเหมือนรถที่ยางแตก เบรกไม่ดี หม้อน้ำร้อน ถ้าบอกให้ขับไปก่อนอีกปีหนึ่งแล้วค่อยมายกเครื่อง คงเป็นความคิดที่ไม่ฉลาด เราควรซ่อมในจุดที่เสียหายเฉพาะหน้าไปก่อน แล้วค่อยมาซ่อมใหญ่ทั้งหมด มาตราที่จำเป็นต้องแก้มีไม่ถึง 10 เรื่องด้วยซ้ำ"
"แนวโน้มที่พรรคเพื่อไทยจะดำเนินการและเป็นไปได้มากที่สุดคือการแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่ถ้าทำประชามติ ถ้าเริ่มต้นใหม่ก็ใช้เวลานานมาก หรือถ้าตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมา ก็จะถูกร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญอีก"
"แม้ในทางกฎหมายสามารถเดินหน้าโหวตลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ได้ แต่ทางการเมืองเดินหน้าลำบาก กลายเป็นวงจรอุบาทว์"
ขณะที่ "เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุน เพื่อรักษาสถานะ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์"
เขาบอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้อง แก้รายมาตรา
3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยกระบวนการจัดทำ "ประชามติ" พร้อมกับเดินหน้าต่อในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งแนวทางนี้ได้รับแรงสนับสนุนโดย "จาตุรนต์ ฉายแสง"
จาตุรนต์เสนอทางสู้ให้ฝ่ายเพื่อไทยว่า ให้ค้างวาระลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ไว้ในสภาก่อน จากนั้นให้จัดทำ "ประชามติ" เพื่อยืนยันตามคำวินิจฉัยของศาล และให้รัฐสภาเดินหน้าโหวตวาระ 3 ต่อทันที
เขาย้ำว่า หากรัฐสภาเมินการลงมติในวาระ 3 ระวังคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะติดคุก ฐานกระทำความผิดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
"ในหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291 ระบุตอนหนึ่งว่า เมื่อการพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 3 ต่อไป กล่าวคือ รัฐสภาไม่มีอำนาจยกเลิกในวาระนี้ เว้นเสียแต่ว่า จะต้องลงมติโหวตให้วาระนี้ตกไปเสียก่อน"
4.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยขอความเห็นชอบจากประชาชน ผ่านการ "ประชามติ" จากนั้นให้ทุกกระบวนการเริ่มต้นใหม่ทั้งระบบ เป็นความเห็นฟากฝ่ายค้านอย่าง "วิรัตน์ กัลยาศิริ" ทีมกฎหมายฝั่ง ปชป.ที่ออกมายืนยันว่า เส้นทางนี้จะทำให้ฝ่ายผู้มีอำนาจ ทั้งรัฐบาล คณะรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องปลอดภัยที่สุด
เขาเชื่อว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่กล้าทำอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า จนทำให้รัฐบาลต้องล้ม โดยเฉพาะการเดินหน้าลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ซึ่งจะเปิดช่องว่างให้ ปชป.
ยื่นฟ้องได้อีก เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ
วิรัตน์ บอกว่าหากเพื่อไทยจะเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไปจะเข้าข่ายมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง ที่ระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศมิได้"
วิรัตน์ให้เหตุผลประกอบว่า ในการไต่สวนฝ่ายผู้ถูกร้อง นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวยอมรับชัดเจนว่า ผู้สถาปนารัฐธรรมนูญคือปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์ ดังนั้น รัฐสภาไม่สามารถใช้อำนาจนี้ได้
"เมื่อเลขาฯกฤษฎีกาเองก็ยอมรับว่า ผู้ที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญมีเพียง 2 คน คือประชาชนกับพระมหากษัตริย์ รัฐสภาเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ เพื่อให้กำเนิดรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น ถ้ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น ก็จะเข้าข่ายตามมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง"
แต่วาระทั้ง 4 แนวทาง ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ เมื่อเพื่อไทย "สั่งหยุด" ทุกการเคลื่อนไหว ผ่านแถลงการณ์พรรค กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ความว่า
"...กรณีประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น จะมีการลงมติวาระ 3 หรือไม่ จะสอบถามประชามติหรือไม่ เห็นว่า กระบวนการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ มีองค์ประกอบสำคัญจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล สมาชิกวุฒิสภา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณา ว่าจะมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวอย่างไร จึงเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะหาข้อยุติดังกล่าวในขณะนี้"
"เนื่องจากขณะนี้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอง ยังมิได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และเพื่อไทยยังคงยืนยันในข้อคัดค้านที่ได้แถลงไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญในวาระ 2 ประเด็น คือ 1.พรรคเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัยตามมาตรา 68 และ 2.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ"
ทั้งหมดเป็นการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลากหลายแนวทาง ภายใต้การตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแบบรอบทิศทาง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พรรคเพื่อไทย (พท.) พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะผู้เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงรอดพ้นวิกฤตยุบพรรคไปได้อีกครั้ง
สำหรับแนวทางการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งคณะรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย คนเสื้อแดง และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะคู่ตรงข้าม มีดังต่อไปนี้
1.เมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเป็น "คำแนะนำ" ไม่ใช่ "คำสั่ง" ไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา ซึ่งแกนนำคนเสื้อแดงเป็นกลุ่มแรกที่ออกมาตบเท้าสนับสนุนให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ต่อทันที
โดย "ธิดา ถาวรเศรษฐ" แกนนำ นปช.ยืนยันว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการพิจารณาที่ก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ และไม่เห็นด้วยที่ศาลรัฐธรรมนูญจะให้ทำประชามติก่อนที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ขณะที่ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" รัฐมนตรีสายสีแดงบอกว่า รัฐสภาต้องเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 เพื่อเริ่มต้นแก้รัฐธรรมนูญตามแนวทางเดิมที่ทำมา
สอดคล้องกับคำพูดของ "วรเจตน์ ภาคีรัตน์" แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกมาระบุว่า วิธีการที่ถูกต้องในหลักการ คือให้รัฐสภาเดินหน้าลงมติวาระ 3 ต่อไป เพื่อรักษาหลักการประชาธิปไตยไม่ให้โอนเอน
"ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้บอกว่า เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ไม่ได้สั่งห้าม ส่วนการลงประชามติก่อนการแก้ไขนั้นไม่ชัดเจนในตัวเองว่าเป็นคำแนะนำหรือคำวินิจฉัย"
2.แนวทางการแก้ไขรายมาตรา ตามขั้นตอนในรัฐสภาตามปกติ ซึ่งเป็นแนวทางที่ "นพดล ปัทมะ" ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่า ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และเห็นว่าแนวทางนี้จะดีที่สุด ภายใต้การสนับสนุนของ
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้เก๋าเกมการเมือง
นพดลอ้างถึงเหตุผลของที่ต่อสายจาก พ.ต.ท.ทักษิณว่า "รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปรียบเหมือนรถที่ยางแตก เบรกไม่ดี หม้อน้ำร้อน ถ้าบอกให้ขับไปก่อนอีกปีหนึ่งแล้วค่อยมายกเครื่อง คงเป็นความคิดที่ไม่ฉลาด เราควรซ่อมในจุดที่เสียหายเฉพาะหน้าไปก่อน แล้วค่อยมาซ่อมใหญ่ทั้งหมด มาตราที่จำเป็นต้องแก้มีไม่ถึง 10 เรื่องด้วยซ้ำ"
"แนวโน้มที่พรรคเพื่อไทยจะดำเนินการและเป็นไปได้มากที่สุดคือการแก้ไขเป็นรายมาตรา แต่ถ้าทำประชามติ ถ้าเริ่มต้นใหม่ก็ใช้เวลานานมาก หรือถ้าตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมา ก็จะถูกร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญอีก"
"แม้ในทางกฎหมายสามารถเดินหน้าโหวตลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ได้ แต่ทางการเมืองเดินหน้าลำบาก กลายเป็นวงจรอุบาทว์"
ขณะที่ "เฉลิม อยู่บำรุง" รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุน เพื่อรักษาสถานะ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์"
เขาบอกว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้อง แก้รายมาตรา
3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดยกระบวนการจัดทำ "ประชามติ" พร้อมกับเดินหน้าต่อในการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งแนวทางนี้ได้รับแรงสนับสนุนโดย "จาตุรนต์ ฉายแสง"
จาตุรนต์เสนอทางสู้ให้ฝ่ายเพื่อไทยว่า ให้ค้างวาระลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ไว้ในสภาก่อน จากนั้นให้จัดทำ "ประชามติ" เพื่อยืนยันตามคำวินิจฉัยของศาล และให้รัฐสภาเดินหน้าโหวตวาระ 3 ต่อทันที
เขาย้ำว่า หากรัฐสภาเมินการลงมติในวาระ 3 ระวังคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะติดคุก ฐานกระทำความผิดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
"ในหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 291 ระบุตอนหนึ่งว่า เมื่อการพิจารณาวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้ 15 วัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่ 3 ต่อไป กล่าวคือ รัฐสภาไม่มีอำนาจยกเลิกในวาระนี้ เว้นเสียแต่ว่า จะต้องลงมติโหวตให้วาระนี้ตกไปเสียก่อน"
4.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยขอความเห็นชอบจากประชาชน ผ่านการ "ประชามติ" จากนั้นให้ทุกกระบวนการเริ่มต้นใหม่ทั้งระบบ เป็นความเห็นฟากฝ่ายค้านอย่าง "วิรัตน์ กัลยาศิริ" ทีมกฎหมายฝั่ง ปชป.ที่ออกมายืนยันว่า เส้นทางนี้จะทำให้ฝ่ายผู้มีอำนาจ ทั้งรัฐบาล คณะรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องปลอดภัยที่สุด
เขาเชื่อว่า พรรคเพื่อไทยจะไม่กล้าทำอะไรสุ่มสี่สุ่มห้า จนทำให้รัฐบาลต้องล้ม โดยเฉพาะการเดินหน้าลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ซึ่งจะเปิดช่องว่างให้ ปชป.
ยื่นฟ้องได้อีก เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ
วิรัตน์ บอกว่าหากเพื่อไทยจะเดินหน้าลงมติในวาระ 3 ต่อไปจะเข้าข่ายมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง ที่ระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศมิได้"
วิรัตน์ให้เหตุผลประกอบว่า ในการไต่สวนฝ่ายผู้ถูกร้อง นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวยอมรับชัดเจนว่า ผู้สถาปนารัฐธรรมนูญคือปวงชนชาวไทยและพระมหากษัตริย์ ดังนั้น รัฐสภาไม่สามารถใช้อำนาจนี้ได้
"เมื่อเลขาฯกฤษฎีกาเองก็ยอมรับว่า ผู้ที่ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญมีเพียง 2 คน คือประชาชนกับพระมหากษัตริย์ รัฐสภาเป็นเพียงผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ เพื่อให้กำเนิดรัฐธรรมนูญได้ ดังนั้น ถ้ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น ก็จะเข้าข่ายตามมาตรา 68 วรรค 1 อีกครั้ง"
แต่วาระทั้ง 4 แนวทาง ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ เมื่อเพื่อไทย "สั่งหยุด" ทุกการเคลื่อนไหว ผ่านแถลงการณ์พรรค กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ความว่า
"...กรณีประเด็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น จะมีการลงมติวาระ 3 หรือไม่ จะสอบถามประชามติหรือไม่ เห็นว่า กระบวนการยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ มีองค์ประกอบสำคัญจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล สมาชิกวุฒิสภา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณา ว่าจะมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวอย่างไร จึงเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะหาข้อยุติดังกล่าวในขณะนี้"
"เนื่องจากขณะนี้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอง ยังมิได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และเพื่อไทยยังคงยืนยันในข้อคัดค้านที่ได้แถลงไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญในวาระ 2 ประเด็น คือ 1.พรรคเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องไว้วินิจฉัยตามมาตรา 68 และ 2.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ"
ทั้งหมดเป็นการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลากหลายแนวทาง ภายใต้การตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแบบรอบทิศทาง
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
แนะประเดิมแก้ ม.309 ล้างรัฐประหารสร้างหลักประชาธิปไตย !!?
โภคิน. แนะให้แก้รัฐธรรมนูญรายมาตราเพื่อตัดปัญหา และควรเริ่มต้นที่การแก้มาตรา 309 ที่รับผลการกระทำและผลผวงจากการรัฐประหารก่อน เพราะขัดแย้งกับมาตรา 3 เพื่อสร้างหลักประชาธิปไตยให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ “สามารถ” ชี้หากทำประชามติต้องได้มากกว่า 23 ล้านเสียงจึงแก้ไขได้ นิติราษฎร์เซ็งฝ่ายการเมืองไม่ตอบรับข้อเสนอเดินหน้าลงมติวาระ 3 ปรับโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญใหม่ เตรียมยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์ให้เป็นแนวทางไปปรับใช้ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญเผยคำวินิจฉัยกลางเสร็จแล้ว เผยแพร่ได้ภายในสัปดาห์หน้า
+++++++++++
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คำวินิจฉัยกลางคดีล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 เสร็จแล้วอยู่ระหว่างตรวจทานความถูกต้องก่อนเผยแพร่ คาดว่าจะส่งถึงผู้ร้องและผู้ถูกร้องได้ตามกำหนดภายในวันที่ 28 ก.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาหลักเป็นไปตามที่ศาลอ่านคำวินิจฉัยแล้วทั้ง 4 ประเด็น แต่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติม เชื่อว่าเมื่อสังคมได้อ่านแล้วจะเข้าใจ
นายโภคิน พลกุล อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด พยานฝ่ายผู้ถูกร้องคดีแก้รัฐธรรมนูญล้มล้างการปกครอง ระบุว่า ต้องรอคำวิจิยฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตัวออกมาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจว่าจะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไปอย่างไร เพราะยังไม่มีความชัดเจนในหลายเรื่อง เช่น การแก้มาตรา 291 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ถือเป็นการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่
“ทางเลือกที่ดีที่สุดควรแก้เป็นรายมาตรา และแก้มาตรการที่ขัดกันเองในรัฐธรรมนูญ เช่นมาตรา 309 ที่นิรโทษกรรมและรับรองการกระทำของคณะรัฐประหาร ผลพวงจากรัฐประหาร ซึ่งขัดกับมาตรา 3 จึงควรแก้ไขเพื่อสร้างหลักประชาธิปไตยให้ประเทศเดินหน้า ไม่ใช่เป็นการแก้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามที่ถูกตั้งข้อสงสัย ส่วนการแก้เรื่องขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาให้ดี หากจะแก้ต้องระบุให้ชัดว่า ต่อไปการรับเรื่องตามมาตรา 68 ต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อนเท่านั้น”
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ออกแถลงการณ์ระบุว่า สภาควรปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รอลงมติวาระ 3 ตกไป เพื่อจัดทำประชามติสอบถามประชาชนว่าเอารัฐธรรมนูญปี 2550 หรือหากไม่เอาจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับปรุงเพื่อประกาศใช้แทน ส่วนตัวเห็นว่าควรเอาฉบับปี 2517 มาปรับปรุงแก้ไขเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด หลังปรับปรุงแล้วก็จัดทำประชามติอีกครั้งก่อนประกาศใช้ ซึ่งแนวทางนี้น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 15 เดือน โดยไม่ต้องมี ส.ส.ร.
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 กล่าวว่า หากจะทำประชามติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ประมาณ 46 ล้านคน หมายความว่าถ้าได้คะแนนไม่ถึง 23 ล้านเสียงก็ไม่มีสิทธิแก้ไข
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจให้เด็ดขาดตามแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญเสนอแนะว่าจะเอาอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เรื่องจบ บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อไปได้ ขณะนี้ไม่มีปัญหาข้อกฎหมายแล้ว อยู่ที่หัวหน้ารัฐบาลว่าจะเอาอย่างไร
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำคณะนิติราษฎร์:นิติศาสตร์เพื่อราษฎรกล่าวว่า แม้ไม่มีฝ่ายการเมืองตอบรับข้อเสนอเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 และปรับโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เป็นอะไร เพราะเป็นการเสนอทางวิชาการที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง
“คณะนิติราษฎร์มีแนวคิดที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฏร์ขึ้นมา เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญต้นแบบที่มีความเหมาะสมกับสังคมไทย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้เป็นแนวคิดในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ เนื้อหายังคงความเป็นราชอาณาจักรไทย และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งมีความเป็นนิติรัฐมากขึ้นด้วย”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
+++++++++++
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คำวินิจฉัยกลางคดีล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 เสร็จแล้วอยู่ระหว่างตรวจทานความถูกต้องก่อนเผยแพร่ คาดว่าจะส่งถึงผู้ร้องและผู้ถูกร้องได้ตามกำหนดภายในวันที่ 28 ก.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาหลักเป็นไปตามที่ศาลอ่านคำวินิจฉัยแล้วทั้ง 4 ประเด็น แต่จะมีคำอธิบายเพิ่มเติม เชื่อว่าเมื่อสังคมได้อ่านแล้วจะเข้าใจ
นายโภคิน พลกุล อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด พยานฝ่ายผู้ถูกร้องคดีแก้รัฐธรรมนูญล้มล้างการปกครอง ระบุว่า ต้องรอคำวิจิยฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตัวออกมาอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจว่าจะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไปอย่างไร เพราะยังไม่มีความชัดเจนในหลายเรื่อง เช่น การแก้มาตรา 291 เพื่อให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ถือเป็นการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่
“ทางเลือกที่ดีที่สุดควรแก้เป็นรายมาตรา และแก้มาตรการที่ขัดกันเองในรัฐธรรมนูญ เช่นมาตรา 309 ที่นิรโทษกรรมและรับรองการกระทำของคณะรัฐประหาร ผลพวงจากรัฐประหาร ซึ่งขัดกับมาตรา 3 จึงควรแก้ไขเพื่อสร้างหลักประชาธิปไตยให้ประเทศเดินหน้า ไม่ใช่เป็นการแก้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามที่ถูกตั้งข้อสงสัย ส่วนการแก้เรื่องขอบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาให้ดี หากจะแก้ต้องระบุให้ชัดว่า ต่อไปการรับเรื่องตามมาตรา 68 ต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อนเท่านั้น”
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ออกแถลงการณ์ระบุว่า สภาควรปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รอลงมติวาระ 3 ตกไป เพื่อจัดทำประชามติสอบถามประชาชนว่าเอารัฐธรรมนูญปี 2550 หรือหากไม่เอาจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับปรุงเพื่อประกาศใช้แทน ส่วนตัวเห็นว่าควรเอาฉบับปี 2517 มาปรับปรุงแก้ไขเหมาะสมที่สุด เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด หลังปรับปรุงแล้วก็จัดทำประชามติอีกครั้งก่อนประกาศใช้ ซึ่งแนวทางนี้น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 15 เดือน โดยไม่ต้องมี ส.ส.ร.
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 กล่าวว่า หากจะทำประชามติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ประมาณ 46 ล้านคน หมายความว่าถ้าได้คะแนนไม่ถึง 23 ล้านเสียงก็ไม่มีสิทธิแก้ไข
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจให้เด็ดขาดตามแนวทางที่ศาลรัฐธรรมนูญเสนอแนะว่าจะเอาอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เรื่องจบ บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อไปได้ ขณะนี้ไม่มีปัญหาข้อกฎหมายแล้ว อยู่ที่หัวหน้ารัฐบาลว่าจะเอาอย่างไร
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำคณะนิติราษฎร์:นิติศาสตร์เพื่อราษฎรกล่าวว่า แม้ไม่มีฝ่ายการเมืองตอบรับข้อเสนอเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 และปรับโครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เป็นอะไร เพราะเป็นการเสนอทางวิชาการที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง
“คณะนิติราษฎร์มีแนวคิดที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฏร์ขึ้นมา เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญต้นแบบที่มีความเหมาะสมกับสังคมไทย เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้เป็นแนวคิดในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ เนื้อหายังคงความเป็นราชอาณาจักรไทย และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งมีความเป็นนิติรัฐมากขึ้นด้วย”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ญัตติสงคราม !!?
ดูจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว...ว่ากันตามภาษาชาวบ้านก็ต้องว่า...ปัสสาวะไม่เสด็จน้ำ และดูเหมือนว่าจะนำไปสู่ความบาดหมางที่แก้ได้ยากกว่า..ในอีกไม่นานข้างหน้า
เพราะ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นคุณกับตนเองว่า..มีอำนาจเทียบเท่าหรือมากกว่า อัยการสูงสุด..ทั้งๆ ที่ทุกตัวอักษรในรัฐธรรมนูญจอมยุ่ง..ก็บัญญัติไว้แจ่มชัดว่า..พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
แต่หากมองผ่านกระจกที่วางกลับด้านแล้วละก้อ...คนที่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันออกก็สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางจากปลายตีนเตียงได้เช่นกัน..เพียงแต่ท่านจะทึกทักเอาเองว่ามันเป็นเรื่องจริง..
เพราะหากท่านมีอำนาจเช่นว่า ท่านก็ต้องมีหน้าที่ เมื่อท่านมีหน้าที่ ท่านก็ต้องมีบุคลาการ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานและติดตามเรื่องราว ต้องมีแผนกขึ้นมาสนับสนุนในการไปสืบเจาะหาข้อเท็จจริงมาประกอบ
และสำคัญที่สุด..ท่านต้องมีงบประมาณเพื่อการนี้
ประเทศจะไม่มีวันให้ท่านควักเงินเดือนมาใช้จ่าย..แต่เพราะท่านไม่มีอำนาจและหน้าที่..ประเทศจึงให้คำร้องทั้งหลายต้องไปผ่านอัยการสูงสุด..ซึ่งมีบุคลากรและงบประมาณพร้อมเบิกจ่าย..
อีกประการหนึ่ง..ไม่มีระบอบประชาธิปไตยที่ไหนในโลก..จะให้อำนาจเผด็จการกับองค์คณะใดองค์คณะหนึ่งโดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..ดั่งเช่นที่ท่านทึกทักว่าท่านมี..
แม้แต่ขึ้นเงินเดือนให้กับตนเองและคนในบังคับบัญชายังต้องเสนอผ่าน..ประสาอะไรกับอำนาจชี้ชะตากรรมประเทศและการคงอยู่หรือไปของสถาบันทั้งหลาย ภายใต้การตีความที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและผูกพันส่วนราชการสำคัญทั้งสิ้น
คงไม่มีใครยอมรับอำนาจเผด็จการใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย..ตามที่พวกท่านวินิจฉัยยืนยัน
ดังนั้น..เรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญคือญัตติสงครามเรื่องใหม่...ที่จะจบยาก จบลำบากเกินกว่าจะบรรยายหรือพยากรณ์..
ประชาชนทั้งหลาย...คงทำใจไม่ได้กับอำนาจที่ไม่ใช่ครอบงำรัฐสภา..แต่เป็นอำนาจที่ครอบครองรัฐสภา..ไม่ต่างอะไรกับสารถีที่ชักบังเหียนรถม้า..โดยมีผู้แทนทั้งรัฐสภาเป็นม้า 650 เชือกให้ท่านสนตะพาย
ประชาชนกับรัฐสภาเห็นตรงกัน..มีแต่อาวุธเท่านั้นถึงจะเชิดชูท่านไว้ได้
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เพราะ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นคุณกับตนเองว่า..มีอำนาจเทียบเท่าหรือมากกว่า อัยการสูงสุด..ทั้งๆ ที่ทุกตัวอักษรในรัฐธรรมนูญจอมยุ่ง..ก็บัญญัติไว้แจ่มชัดว่า..พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก
แต่หากมองผ่านกระจกที่วางกลับด้านแล้วละก้อ...คนที่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันออกก็สามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางจากปลายตีนเตียงได้เช่นกัน..เพียงแต่ท่านจะทึกทักเอาเองว่ามันเป็นเรื่องจริง..
เพราะหากท่านมีอำนาจเช่นว่า ท่านก็ต้องมีหน้าที่ เมื่อท่านมีหน้าที่ ท่านก็ต้องมีบุคลาการ เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานและติดตามเรื่องราว ต้องมีแผนกขึ้นมาสนับสนุนในการไปสืบเจาะหาข้อเท็จจริงมาประกอบ
และสำคัญที่สุด..ท่านต้องมีงบประมาณเพื่อการนี้
ประเทศจะไม่มีวันให้ท่านควักเงินเดือนมาใช้จ่าย..แต่เพราะท่านไม่มีอำนาจและหน้าที่..ประเทศจึงให้คำร้องทั้งหลายต้องไปผ่านอัยการสูงสุด..ซึ่งมีบุคลากรและงบประมาณพร้อมเบิกจ่าย..
อีกประการหนึ่ง..ไม่มีระบอบประชาธิปไตยที่ไหนในโลก..จะให้อำนาจเผด็จการกับองค์คณะใดองค์คณะหนึ่งโดยเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..ดั่งเช่นที่ท่านทึกทักว่าท่านมี..
แม้แต่ขึ้นเงินเดือนให้กับตนเองและคนในบังคับบัญชายังต้องเสนอผ่าน..ประสาอะไรกับอำนาจชี้ชะตากรรมประเทศและการคงอยู่หรือไปของสถาบันทั้งหลาย ภายใต้การตีความที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและผูกพันส่วนราชการสำคัญทั้งสิ้น
คงไม่มีใครยอมรับอำนาจเผด็จการใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย..ตามที่พวกท่านวินิจฉัยยืนยัน
ดังนั้น..เรื่องอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญคือญัตติสงครามเรื่องใหม่...ที่จะจบยาก จบลำบากเกินกว่าจะบรรยายหรือพยากรณ์..
ประชาชนทั้งหลาย...คงทำใจไม่ได้กับอำนาจที่ไม่ใช่ครอบงำรัฐสภา..แต่เป็นอำนาจที่ครอบครองรัฐสภา..ไม่ต่างอะไรกับสารถีที่ชักบังเหียนรถม้า..โดยมีผู้แทนทั้งรัฐสภาเป็นม้า 650 เชือกให้ท่านสนตะพาย
ประชาชนกับรัฐสภาเห็นตรงกัน..มีแต่อาวุธเท่านั้นถึงจะเชิดชูท่านไว้ได้
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เกมบังคับ เพื่อไทย. กลับไปสู่ประชาชน !!?
ทางออกเพื่อดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ตามช่องทางมาตรา 291 ให้สำเร็จลุล่วงตามนโยบายของพรรคเพื่อไทยมันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย แม้พอมีทางอยู่ แต่ต้องระดมแรงมหาประชาชนมาถากถางกันยกใหญ่
เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้สร้าง "ปมปัญหา" ผูกมัดไว้แน่นหนา หันหน้าขยับไปทางไหน ยังแต่สุ่มเสี่ยงและเสียหายทางการเมืองใหญ่หลวง
จนทำให้แกนนำพรรคอยู่ในอาการ "ยิ้มฝืดๆ" จะดีใจก็ไม่ให้ เมื่อร้องไห้ยังไร้น้ำตาเปื้อนเกม
คำวินิจฉัย 3 ประเด็น ราวกับเป็น "เกมการเมือง" ให้พรรคเพื่อไทยตั้งรับ แล้วหาทางแก้ลำให้ได้ที่สำคัญแก้อย่างไร ย่อมส่งผลสะเทือนต่อเสถียรภาพรัฐบาล และเอกภาพพรรคเพื่อไทย
ประเด็นหนึ่งทั้งศาลรัฐธรรมนูญและอัยการสูงสุดมีอำนาจรับคำร้องตามมาตรา 68 วรรคสองได้
อีกประเด็นหนึ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบตั้ง "สมาชิกสภายกร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ใหม่ทั้งฉบับ" ต้องขอ "ประชามติจากประชาชน" แต่แก้ไขเป็นรายมาตราดำเนินการได้
และสุดท้าย ยกคำร้อง "การล้มล้างการปกครอง" ในระบอบประชาธิปไตยภาพใต้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 68 วรรคแรก
เพราะคำวินิจฉัยซับซ้อน เต็มไปด้วยเกมที่ออกแบบไว้เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 ของเหล่าทหารยึดอำนาจให้ดำรงอยู่อย่างเหนี่ยวแน่นไปอีกนานๆ
เอากันง่ายๆ เป็นเบื้องต้น แม้คำวินิจฉัยได้บรรจุสิ่งดีๆ ไว้ คือ การสถาปนา "อำนาจประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน" ขึ้นมา โดยความตั้งใจหรือจำยอมให้เป็นไปก็ตามที แต่ "อำนาจประชาชน" เป็นใหญ่เพียงไร ต้องพิจารณาคำวินิจฉัยที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้อง "ขอประชามติจากประชาชน"
ดังนั้น การหันหน้า "กลับสู่ประชาชน" จึงเป็นเสียงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสังคมความขัดแย้งแห่งอำนาจในยุคนี้
บัดนี้ ภารกิจศาลรัฐธรรมนูญพ้นไปแล้ว แต่คำแนะนำให้ "กลับไปสู่ประชาชน" ได้สั่นสะเทือนทั้ง "สภาและรัฐบาล" ที่พรรคเพื่อไทยต้องกุมหัว แค้นใจในการสะสาง หาทางออกให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองอย่างละมุนละม่อมที่สุด
เนื่องจากทางเลือกของพรรคเพื่อไทยมีน้อย หนำซ้ำยังถูก "บีบบังคับ" ให้ต้องเลือกในช่องทางที่ศาลขีดเส้นให้เดิน
หนึ่ง เดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 291 วาระ 3 ให้เสร็จสิ้นกระบวนการฝ่ายสภา เพื่อหยุดเส้นทางปัญหาที่ยืดเนื้อมากกว่าเดือน ยังลำบากเอาการถึงขนาดนี้
แล้วพรรคเพื่อไทยยังจะเดินหน้าในแนวทางใด เพื่อไปบรรลุการแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายการมาตราในครั้งใหม่ได้เล่า มันช่างอับจนเหลือเกิน
สิ่งเหล่านี้ บ่งชี้ถึง "กรรม" จากอาการ "กลัว" ของ "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ประธานรัฐสภาที่ไม่กล้าลงมติวาระ 3 ตั้งแต่แรก กลับตัดสินใจรอคำวินิจฉัยของศาล จนได้เรื่องและดิ้นหลุดยากหนักเข้าไปอีก
สอง เป็นหนทางเดินไป "สู่ประชาชน" เพื่อขอประชามติตัดสินอนาคตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระ 3 ที่คาราคาซังอยู่
คำถามต้องตอบให้กระจ่างมีว่า จะเอากฎหมายใดมารองรับการขอประชามติก่อนลงมติวาระ 3 ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องขอประชามติก่อนลงมติวาระ 3 ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องขอประชามติจากประชาชนถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรก ขอประชามติเพื่อ "แก้ไข" ด้วยการตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตาม "คำแนะนำ" ที่อยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่สอง ขอประชามติเพื่อ "ใช้" รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291/13
นี่คือ "ปมปัญหา" ที่ศาลรัฐธรรมนูญวางไว้ในคำแนะนำให้ "ขอประชามติ" แม้เป็นทางออกให้พรรคเพื่อไทย รัฐบาลและสภา ได้สวยงดงาม แต่กลับเต็มไปด้วยขวากหนาม
ว่ากันตามจริงแล้วตามเส้นทางเดิน "กลับไปสู่ประชาชน" สอดคล้องกับจะยืนประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ถ้าพรรคเพื่อไทยเลือกเช่นนี้เท่ากับนำเสียงประชาชนมา "ต่อสู้" และเป็นหลับพิงอำนาจประชาธิปไตยของประชาชน
แต่สังคมไทยกำลังอยู่ "ท่ามกลางความขัดแย้ง" เมื่อพรรคเพื่อไทย เดินหน้าไปสู่การขอประชามติย่อมเท่ากับทำให้เกิดการเผชิญหน้าทางความคิดของมวลชน "สองฝ่าย" แล้วมีโอกาสนำไปสู่ "กลุ่มคนไม่หวังดี" ก่อความรุนแรงให้เกิดการเผชิญหน้ายิ่งขึ้น
ถึงที่สุด สังคมขัดแย้งภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยังเต็มไปด้วยปัญหาการ "ชิงอำนาจ" แบบเดิม ซ้ำร้ายการขอประชามติยังจะกลายเป็นสมรภูมิการเผชิญหน้าครั้งใหม่ของมวลชนทั้งสองฝ่ายเข้าไปอีก
"มวลชนเสื้อแดง" อารมณ์และจุดยืนชัดเจน "ต้องการสร้างประชาธิปไตยของประชาชน" จึงสนับสนุนการ "ขอประชามมติ" เพื่อสร้าง "สังคมใหม่ประชาธิปไตยใหม่" ให้เกิดขึ้นเป้นจริง "สมเจตนารมณ์" ในการต่อสู่มานานถึง 6 ปี
ในซีกพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายอำมาตย์ และโครงสร้างสังคมเดิมๆต้องสู้ "สุดกำลังมี" เพื่อไม่ให้ประชามติผ่าน
ดังนั้น ในทางเลือกทั้งหลายทั้งปวงของพรรคเพื่อไทย ราวกับเป็น "ปม" ที่ศาลรัฐธรรมนูญสร้างขึ้นไว้ในคำวินิจฉัยประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญยุคปี 2555
และเป็นทางเลือกที่พรรคเพื่อไทยต้องปวดหัว แม้ "เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง" แต่กลับเสียทางการเมืองทั้งหมดเมื่อทุกหนทางเลือกมีปัญหาต้องเผชิญหน้าแล้ว พฤติกรรมรักษาอำนาจของพรรคเพื่อไทยที่แสดงออกมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา คือ เฉยและหยุดนิ่งอยู่กับที่
ดังนั้น ทางเลือกของพรรคเพื่อไทย-รัฐบาล อาจถนัดทาง "เฉยค่อยไปทางถอย" เพื่อปล่อยปัญหาไปเรื่อยๆ ยื้อเวลาตัดสินใจแบบไม่มีอนาคต
นั่นสะท้อนถึงอาการ "เสื่อม" เริ่มเกาะแน่น ยากจะสกัดทิ้งได้ ดีไม่ดีอาจขั้น "ยุบสภา" ล้างกระดานใหม่เพื่อกลับไปสู่ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง...ยังมีความเป็นไปได้อยู่
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้สร้าง "ปมปัญหา" ผูกมัดไว้แน่นหนา หันหน้าขยับไปทางไหน ยังแต่สุ่มเสี่ยงและเสียหายทางการเมืองใหญ่หลวง
จนทำให้แกนนำพรรคอยู่ในอาการ "ยิ้มฝืดๆ" จะดีใจก็ไม่ให้ เมื่อร้องไห้ยังไร้น้ำตาเปื้อนเกม
คำวินิจฉัย 3 ประเด็น ราวกับเป็น "เกมการเมือง" ให้พรรคเพื่อไทยตั้งรับ แล้วหาทางแก้ลำให้ได้ที่สำคัญแก้อย่างไร ย่อมส่งผลสะเทือนต่อเสถียรภาพรัฐบาล และเอกภาพพรรคเพื่อไทย
ประเด็นหนึ่งทั้งศาลรัฐธรรมนูญและอัยการสูงสุดมีอำนาจรับคำร้องตามมาตรา 68 วรรคสองได้
อีกประเด็นหนึ่ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบตั้ง "สมาชิกสภายกร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ใหม่ทั้งฉบับ" ต้องขอ "ประชามติจากประชาชน" แต่แก้ไขเป็นรายมาตราดำเนินการได้
และสุดท้าย ยกคำร้อง "การล้มล้างการปกครอง" ในระบอบประชาธิปไตยภาพใต้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา 68 วรรคแรก
เพราะคำวินิจฉัยซับซ้อน เต็มไปด้วยเกมที่ออกแบบไว้เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 ของเหล่าทหารยึดอำนาจให้ดำรงอยู่อย่างเหนี่ยวแน่นไปอีกนานๆ
เอากันง่ายๆ เป็นเบื้องต้น แม้คำวินิจฉัยได้บรรจุสิ่งดีๆ ไว้ คือ การสถาปนา "อำนาจประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน" ขึ้นมา โดยความตั้งใจหรือจำยอมให้เป็นไปก็ตามที แต่ "อำนาจประชาชน" เป็นใหญ่เพียงไร ต้องพิจารณาคำวินิจฉัยที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้อง "ขอประชามติจากประชาชน"
ดังนั้น การหันหน้า "กลับสู่ประชาชน" จึงเป็นเสียงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสังคมความขัดแย้งแห่งอำนาจในยุคนี้
บัดนี้ ภารกิจศาลรัฐธรรมนูญพ้นไปแล้ว แต่คำแนะนำให้ "กลับไปสู่ประชาชน" ได้สั่นสะเทือนทั้ง "สภาและรัฐบาล" ที่พรรคเพื่อไทยต้องกุมหัว แค้นใจในการสะสาง หาทางออกให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองอย่างละมุนละม่อมที่สุด
เนื่องจากทางเลือกของพรรคเพื่อไทยมีน้อย หนำซ้ำยังถูก "บีบบังคับ" ให้ต้องเลือกในช่องทางที่ศาลขีดเส้นให้เดิน
หนึ่ง เดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 291 วาระ 3 ให้เสร็จสิ้นกระบวนการฝ่ายสภา เพื่อหยุดเส้นทางปัญหาที่ยืดเนื้อมากกว่าเดือน ยังลำบากเอาการถึงขนาดนี้
แล้วพรรคเพื่อไทยยังจะเดินหน้าในแนวทางใด เพื่อไปบรรลุการแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายการมาตราในครั้งใหม่ได้เล่า มันช่างอับจนเหลือเกิน
สิ่งเหล่านี้ บ่งชี้ถึง "กรรม" จากอาการ "กลัว" ของ "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ประธานรัฐสภาที่ไม่กล้าลงมติวาระ 3 ตั้งแต่แรก กลับตัดสินใจรอคำวินิจฉัยของศาล จนได้เรื่องและดิ้นหลุดยากหนักเข้าไปอีก
สอง เป็นหนทางเดินไป "สู่ประชาชน" เพื่อขอประชามติตัดสินอนาคตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระ 3 ที่คาราคาซังอยู่
คำถามต้องตอบให้กระจ่างมีว่า จะเอากฎหมายใดมารองรับการขอประชามติก่อนลงมติวาระ 3 ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องขอประชามติก่อนลงมติวาระ 3 ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องขอประชามติจากประชาชนถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรก ขอประชามติเพื่อ "แก้ไข" ด้วยการตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตาม "คำแนะนำ" ที่อยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่สอง ขอประชามติเพื่อ "ใช้" รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291/13
นี่คือ "ปมปัญหา" ที่ศาลรัฐธรรมนูญวางไว้ในคำแนะนำให้ "ขอประชามติ" แม้เป็นทางออกให้พรรคเพื่อไทย รัฐบาลและสภา ได้สวยงดงาม แต่กลับเต็มไปด้วยขวากหนาม
ว่ากันตามจริงแล้วตามเส้นทางเดิน "กลับไปสู่ประชาชน" สอดคล้องกับจะยืนประชาธิปไตยเพื่อประชาชน ถ้าพรรคเพื่อไทยเลือกเช่นนี้เท่ากับนำเสียงประชาชนมา "ต่อสู้" และเป็นหลับพิงอำนาจประชาธิปไตยของประชาชน
แต่สังคมไทยกำลังอยู่ "ท่ามกลางความขัดแย้ง" เมื่อพรรคเพื่อไทย เดินหน้าไปสู่การขอประชามติย่อมเท่ากับทำให้เกิดการเผชิญหน้าทางความคิดของมวลชน "สองฝ่าย" แล้วมีโอกาสนำไปสู่ "กลุ่มคนไม่หวังดี" ก่อความรุนแรงให้เกิดการเผชิญหน้ายิ่งขึ้น
ถึงที่สุด สังคมขัดแย้งภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยังเต็มไปด้วยปัญหาการ "ชิงอำนาจ" แบบเดิม ซ้ำร้ายการขอประชามติยังจะกลายเป็นสมรภูมิการเผชิญหน้าครั้งใหม่ของมวลชนทั้งสองฝ่ายเข้าไปอีก
"มวลชนเสื้อแดง" อารมณ์และจุดยืนชัดเจน "ต้องการสร้างประชาธิปไตยของประชาชน" จึงสนับสนุนการ "ขอประชามมติ" เพื่อสร้าง "สังคมใหม่ประชาธิปไตยใหม่" ให้เกิดขึ้นเป้นจริง "สมเจตนารมณ์" ในการต่อสู่มานานถึง 6 ปี
ในซีกพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายอำมาตย์ และโครงสร้างสังคมเดิมๆต้องสู้ "สุดกำลังมี" เพื่อไม่ให้ประชามติผ่าน
ดังนั้น ในทางเลือกทั้งหลายทั้งปวงของพรรคเพื่อไทย ราวกับเป็น "ปม" ที่ศาลรัฐธรรมนูญสร้างขึ้นไว้ในคำวินิจฉัยประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญยุคปี 2555
และเป็นทางเลือกที่พรรคเพื่อไทยต้องปวดหัว แม้ "เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง" แต่กลับเสียทางการเมืองทั้งหมดเมื่อทุกหนทางเลือกมีปัญหาต้องเผชิญหน้าแล้ว พฤติกรรมรักษาอำนาจของพรรคเพื่อไทยที่แสดงออกมาตลอด 1 ปีที่ผ่านมา คือ เฉยและหยุดนิ่งอยู่กับที่
ดังนั้น ทางเลือกของพรรคเพื่อไทย-รัฐบาล อาจถนัดทาง "เฉยค่อยไปทางถอย" เพื่อปล่อยปัญหาไปเรื่อยๆ ยื้อเวลาตัดสินใจแบบไม่มีอนาคต
นั่นสะท้อนถึงอาการ "เสื่อม" เริ่มเกาะแน่น ยากจะสกัดทิ้งได้ ดีไม่ดีอาจขั้น "ยุบสภา" ล้างกระดานใหม่เพื่อกลับไปสู่ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง...ยังมีความเป็นไปได้อยู่
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โค้งหักศอก.. 10 วันอันตราย จับตาเกมล้มอำนาจรัฐ !!?
เป็นการคลี่คลายวิกฤติแห่งรัฐธรรมนูญ หลังคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 7-1 “ให้ยกคำร้อง” กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ไม่ขัดมาตรา 68” เพราะเห็นว่ายังไม่มีการกระทำที่จะเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยเคาะกันตามเกม!! ที่สุดพรรคเพื่อไทย และ “กลไกนิติบัญญัติ” ก็สามารถล้าง “อาถรรพ์ศุกร์ 13” ได้แล้วแต่กระนั้น แม้ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็น “หนทาง” ซึ่งประนีประนอมกันมากที่สุด แต่ยังคงไว้ซึ่ง “เงื่อนไข” ที่ให้แก้เป็นรายมาตรามิใช่แก้ทั้งฉบับ ได้มีการกล่าวถึง “จินตภาพแห่ง รธน.” ที่ไม่ว่า “ผลลัพธ์” จะออกมาในแง่บวกหรือลบ นั่นย่อมกลายเป็น “จุดเปลี่ยน” แห่งชะตากรรมของการเมืองไทยทั้งระบบ และย่อมไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทยในเรื่องการถ่วงดุลอำนาจระหว่าง “ฝ่ายตุลาการ” และ “ฝ่ายนิติบัญญัติ”
เมื่อมองไปถึงการเคลื่อนไหวใน “ซีกมวลชน” แต่ละขั้ว ไม่ว่าฝ่าย “ผู้ร้อง” และ “ผู้ถูกร้อง” ก็มีแนวโน้มที่ว่า...ต่างฝ่ายยอมหักไม่ยอมงอ นั่นคือ การเปิดประตูไปสู่ความวุ่นวาย! “ปะ-ฉะ-ดะ” บนเกมการเมืองข้างถนน ทั้งในปีกคนเสื้อแดง หรือกระทั่งเสื้อเหลือง ที่จะออกมา “เคลื่อนไหว” ไปพร้อมๆ กับ “ม็อบบลูสกาย” ยิ่งในเบื้องลึกแล้ว! การเผชิญหน้า ระหว่างมวลชนขั้วตรงข้าม ในจังหวะการเคาะ “คำตัดสิน” อาจไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะถือเป็นการต่อสู้กันอย่างเปิดเผยระหว่าง “กลุ่มมวลชน” ที่มีอุดมการณ์แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
ทว่าเวลานี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจยิ่งกว่า เพราะ มี “สัญญาณ” จากแกนนำในรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง ตีธงออกมาเป็นทิศทางเดียวกันว่า “ศุกร์ 13” ยังมิใช่จุดที่ “วิกฤติ” อย่างแท้จริง หากแต่สถานการณ์อันล่อแหลม หลังวันที่ 13 ก.ค.ไปแล้ว ดูจะยิ่งข้นคลั่ก ทำให้ทุกฝ่ายมิควรคลาดสายตา!! จะเห็นได้ว่า การระดมมวลชนทั้ง จาก “ฝ่ายต่อต้าน” และฝ่ายพิทักษ์ตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่ได้รุนแรงหรือไม่มากอย่างที่มีการ “ประโคมข่าว” กัน เอาไว้ เช่นเดียวกับ กระแสเสียงใน “ภาคประชาชน” ที่แม้จะมีมุมความคิดต่างกันไป ทว่าได้มีทรรศนะที่ตรงกันว่า “โมเดลแก้ รธน.” จะเป็นชนวนร้าวที่นำไปสู่ความแตกแยกครั้งใหญ่ “น.พ.ประเวศ วะสี” ราษฎรอาวุโส ย้ำหัวตะปูว่า สิ่งที่กำลังดำเนินไปอยู่ขณะนี้ คือการกระพือความเกลียด ชังกันในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรงที่เรียกว่า “มิคสัญญีกลียุค”
“แม้ปัญหาความขัดแย้งยังมี แต่ไม่ควรกระพือความเกลียดชัง เราต้องช่วยกันสร้างสังคมที่ความเป็นธรรม แต่ที่ผ่านมาสังคมไทยมีช่องว่างความเหลื่อมล้ำมาก ทำให้นำไปสู่ปัญหาต่างๆ รวมทั้งความขัดแย้ง คนไทยไม่ว่าจะสีแดง สีเหลือง สีเขียว หรือไม่มีสีก็ตาม การตื่นตัวทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังอย่าให้เกิดความวุ่นวาย”
ทั้งหมดทั้งปวง สอดรับกระแสใน ช่วง 10 วันอันตรายนับจากนี้ไป ที่ดูจะ สุ่มเสี่ยงเป็นอย่างมาก และคงต้อง ระมัดระวังทุกย่างก้าว เพราะ 13 กรกฎาคม คือวันชี้คดี แก้รัฐธรรมนูญว่าจะขัดมาตรา 68 อันเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่... ซึ่งก็รู้ผลลัพธ์กันไปแล้ว ส่วน 23 กรกฎาคม เป็นวันชี้ชะตากรรมทางการเมืองของแกนนำเสื้อแดง “จตุพร พรหมพันธุ์” ซึ่งถูกเพิกถอนประกันตัวต่อศาลอาญา หลังถูกชี้ว่ามีพฤติกรรมข่มขู่ศาล
แม้เวลานี้ “จตุพร” กำลังตกอยู่ใน “วงล้อม” แห่งความยากลำบาก แต่กระนั้นเขาก็ยังคง “วาดหวัง” กับการ “ปูนบำเหน็จ” ในเก้าอี้เสนาบดีแห่งรัฐ หลังมี “สัญญาณให้เตรียมตัว” ส่งมาจากคนแดนไกล จะ..“วืด” หรือจะ..“สมปรารถนา” ?! และ “จตุพร” จะเอาตัวเองพ้นคุก ได้หรือไม่?! ทั้งหมดทั้งปวงย่อมจะเป็น “ตัวเร่งปฏิกิริยา” ให้เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมือง...ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งที่พอจะเป็น “ธงในใจ” และพอจับเค้าใจความได้ นั่นคือการที่ “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ที่ออกมายอมรับว่า สิ่งที่เขารู้สึกเป็นห่วง ไม่ใช่การเคลื่อนไหวของมวลชนหน้าศาลรัฐธรรมนูญ เพราะทุกคนต้องกระทำภายใต้กรอบของกฎหมายภายใต้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอย่าง “อำนาจนอกระบบ” ต่างหากที่ฝ่ายยุทธศาสตร์เพื่อไทย อดวิตกกังวลไม่ได้ว่า “ประวัติศาสตร์” กำลังจะย่ำซ้ำรอยเก่าอีกครั้ง
แถมมีการออกมาปูดกระแส ว่าด้วย “อำนาจนอกระบบ” ดูจะสอดคล้อง กับจังหวะก้าวของ “แกนนำคนเสื้อแดง” โดยเฉพาะสายฮาร์ดคอร์หลายคน ที่ผลัดเวียนกันออกมา “โยนระเบิดกลางวง” ว่า...เวลานี้กำลังมีรายการ “ลงขัน” เพื่อ “ล้มรัฐบาล” จากฝ่ายอนุรักษนิยม 3 กลุ่ม เคาะวงเงินกันสูงถึง 6 พันล้านบาท!!
และตามมาด้วยการแฉ “แผนบันได 2 ขั้น” โดย “วรชัย เหมะ” แดงสายฮาร์ดคอร์ และ ส.ส.ปากน้ำ พรรค เพื่อไทย ได้กล่าวอ้างว่า “ขั้นที่ 1” จะใช้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกแรกเพื่อล้มรัฐบาล และหากยังไม่สำเร็จ จะตาม มาด้วยบันไดขั้นต่อไป คือการดึง “กองทัพ” ให้ออกมา “ปฏิวัติ”
เช่นที่ว่านี้ การออกมาให้ความเห็น ของคนในซีกรัฐบาลและแกนนำเสื้อแดง กำลังบ่งชี้ให้เห็นถึง “ชนวนร้าว” ที่จะเป็นหมายเหตุแห่งความวุ่นวายหลังหลุดพ้น “อาถรรพ์ศุกร์ 13” ไปแล้ว..ใช่หรือไม่ ?!! ต้องไม่ลืมว่า การระดมมวลชนไม่ว่าจะเสื้อสีใดก็ตาม คงต้องเผชิญกับ คำสั่ง “ให้แตะเบรก” จากเจ้าของอำนาจที่กำกับฉากอยู่เบื้องหลัง เพราะ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเดินเกมผิดพลาด ย่ำเข้าสู่ “กับดัก” ด้วยการเป็นฝ่ายเล่นเกมแรงก่อน ก็อาจเป็นฝ่ายล้มคว่ำไปเสียเอง เชื่อเหลือเกินว่า หากใครเริ่มก่อน คงไม่แคล้วเป็น “มวยแพ้หมดรูป” ตามโจทย์แห่งความชอบธรรม ที่สุดแล้วก็จะ กลายเป็น “เงื่อนไข” ที่นำมาซึ่ง “ปฏิบัติ การกวาดล้าง” เช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และยิ่งทำให้ฝ่ายที่ก้าวพลาด ตายตกเป็น “จำเลย” ที่สร้างความปั่นป่วนขึ้นในสังคม
ภายใต้สถานการณ์ที่กำลังสุกงอม ก็ดูน่าแปลกสำหรับการเคลื่อนไหวของ ฝ่ายต่อต้านอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่ง อยู่ในอารมณ์อันคุกรุ่น “สวนทาง” กับจังหวะการก้าวของ “ฝ่ายไม่เอาทักษิณ” หรือฝ่ายองครักษ์พิทักษ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ทั้งเหลือง หลากสี หรือม็อบบลูสกาย ตลอดจนแนวร่วมฯ ทั้งหลายแหล่ ที่เวลานี้ดูสงบเรียบร้อย...ผิดปกติ ไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด
แม้จะมีการลั่นปี่กลองออกมาเป็น ระยะ แต่บนความเคลื่อนไหวของ “แกนนำสารพัดสี” ในซีกอนุรักษนิยม กลับยังไม่แน่ชัด และไม่สะท้อนให้เห็นถึง “ความแรง” ที่มากพอ หรือการจุดกระแสให้เกิดเหตุ “ประจันหน้า” กันอย่างที่คาดกันเอาไว้ เหล่านี้ยิ่งทำให้ขุมข่ายอำนาจในซีกรัฐบาล ประเมินสถานการณ์การสู้รบได้อย่างยากลำบากยิ่ง!
กระนั้นในเรื่อง “ทุนล้มรัฐบาล” แม้ดูเป็นการพูดกันอย่างเลื่อนลอย แต่ก็ดูมีน้ำหนักขึ้นมาเยอะ หากเทียบเคียงกับพฤติการณ์ “นิ่งเงียบ” ของหมู่มวลพันธมิตรฯ เพราะยากจะปฏิเสธได้ ว่าเวลานี้ “ม็อบ” กำลังขาดน้ำเลี้ยง!!! ในความเงียบที่ดูไม่ปกตินี้ จะเป็นเพียงแค่ “คลื่นกระทบฝั่ง” หรือจะบานปลายถึงขั้นเป็น “มรสุมลูกใหญ่” ผ่านการเดินเกมเขย่ารัฐบาลทั้ง “ใต้ดิน-บนดิน” ผ่านทุกเส้นใยอำนาจ ที่จะเป็น “ตัวแปร” ไปสู่การพลิก-หมากการเมืองทั้งกระดาน?!!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เมื่อมองไปถึงการเคลื่อนไหวใน “ซีกมวลชน” แต่ละขั้ว ไม่ว่าฝ่าย “ผู้ร้อง” และ “ผู้ถูกร้อง” ก็มีแนวโน้มที่ว่า...ต่างฝ่ายยอมหักไม่ยอมงอ นั่นคือ การเปิดประตูไปสู่ความวุ่นวาย! “ปะ-ฉะ-ดะ” บนเกมการเมืองข้างถนน ทั้งในปีกคนเสื้อแดง หรือกระทั่งเสื้อเหลือง ที่จะออกมา “เคลื่อนไหว” ไปพร้อมๆ กับ “ม็อบบลูสกาย” ยิ่งในเบื้องลึกแล้ว! การเผชิญหน้า ระหว่างมวลชนขั้วตรงข้าม ในจังหวะการเคาะ “คำตัดสิน” อาจไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะถือเป็นการต่อสู้กันอย่างเปิดเผยระหว่าง “กลุ่มมวลชน” ที่มีอุดมการณ์แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว
ทว่าเวลานี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจยิ่งกว่า เพราะ มี “สัญญาณ” จากแกนนำในรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง ตีธงออกมาเป็นทิศทางเดียวกันว่า “ศุกร์ 13” ยังมิใช่จุดที่ “วิกฤติ” อย่างแท้จริง หากแต่สถานการณ์อันล่อแหลม หลังวันที่ 13 ก.ค.ไปแล้ว ดูจะยิ่งข้นคลั่ก ทำให้ทุกฝ่ายมิควรคลาดสายตา!! จะเห็นได้ว่า การระดมมวลชนทั้ง จาก “ฝ่ายต่อต้าน” และฝ่ายพิทักษ์ตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่ได้รุนแรงหรือไม่มากอย่างที่มีการ “ประโคมข่าว” กัน เอาไว้ เช่นเดียวกับ กระแสเสียงใน “ภาคประชาชน” ที่แม้จะมีมุมความคิดต่างกันไป ทว่าได้มีทรรศนะที่ตรงกันว่า “โมเดลแก้ รธน.” จะเป็นชนวนร้าวที่นำไปสู่ความแตกแยกครั้งใหญ่ “น.พ.ประเวศ วะสี” ราษฎรอาวุโส ย้ำหัวตะปูว่า สิ่งที่กำลังดำเนินไปอยู่ขณะนี้ คือการกระพือความเกลียด ชังกันในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรงที่เรียกว่า “มิคสัญญีกลียุค”
“แม้ปัญหาความขัดแย้งยังมี แต่ไม่ควรกระพือความเกลียดชัง เราต้องช่วยกันสร้างสังคมที่ความเป็นธรรม แต่ที่ผ่านมาสังคมไทยมีช่องว่างความเหลื่อมล้ำมาก ทำให้นำไปสู่ปัญหาต่างๆ รวมทั้งความขัดแย้ง คนไทยไม่ว่าจะสีแดง สีเหลือง สีเขียว หรือไม่มีสีก็ตาม การตื่นตัวทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังอย่าให้เกิดความวุ่นวาย”
ทั้งหมดทั้งปวง สอดรับกระแสใน ช่วง 10 วันอันตรายนับจากนี้ไป ที่ดูจะ สุ่มเสี่ยงเป็นอย่างมาก และคงต้อง ระมัดระวังทุกย่างก้าว เพราะ 13 กรกฎาคม คือวันชี้คดี แก้รัฐธรรมนูญว่าจะขัดมาตรา 68 อันเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่... ซึ่งก็รู้ผลลัพธ์กันไปแล้ว ส่วน 23 กรกฎาคม เป็นวันชี้ชะตากรรมทางการเมืองของแกนนำเสื้อแดง “จตุพร พรหมพันธุ์” ซึ่งถูกเพิกถอนประกันตัวต่อศาลอาญา หลังถูกชี้ว่ามีพฤติกรรมข่มขู่ศาล
แม้เวลานี้ “จตุพร” กำลังตกอยู่ใน “วงล้อม” แห่งความยากลำบาก แต่กระนั้นเขาก็ยังคง “วาดหวัง” กับการ “ปูนบำเหน็จ” ในเก้าอี้เสนาบดีแห่งรัฐ หลังมี “สัญญาณให้เตรียมตัว” ส่งมาจากคนแดนไกล จะ..“วืด” หรือจะ..“สมปรารถนา” ?! และ “จตุพร” จะเอาตัวเองพ้นคุก ได้หรือไม่?! ทั้งหมดทั้งปวงย่อมจะเป็น “ตัวเร่งปฏิกิริยา” ให้เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมือง...ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งที่พอจะเป็น “ธงในใจ” และพอจับเค้าใจความได้ นั่นคือการที่ “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ที่ออกมายอมรับว่า สิ่งที่เขารู้สึกเป็นห่วง ไม่ใช่การเคลื่อนไหวของมวลชนหน้าศาลรัฐธรรมนูญ เพราะทุกคนต้องกระทำภายใต้กรอบของกฎหมายภายใต้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอย่าง “อำนาจนอกระบบ” ต่างหากที่ฝ่ายยุทธศาสตร์เพื่อไทย อดวิตกกังวลไม่ได้ว่า “ประวัติศาสตร์” กำลังจะย่ำซ้ำรอยเก่าอีกครั้ง
แถมมีการออกมาปูดกระแส ว่าด้วย “อำนาจนอกระบบ” ดูจะสอดคล้อง กับจังหวะก้าวของ “แกนนำคนเสื้อแดง” โดยเฉพาะสายฮาร์ดคอร์หลายคน ที่ผลัดเวียนกันออกมา “โยนระเบิดกลางวง” ว่า...เวลานี้กำลังมีรายการ “ลงขัน” เพื่อ “ล้มรัฐบาล” จากฝ่ายอนุรักษนิยม 3 กลุ่ม เคาะวงเงินกันสูงถึง 6 พันล้านบาท!!
และตามมาด้วยการแฉ “แผนบันได 2 ขั้น” โดย “วรชัย เหมะ” แดงสายฮาร์ดคอร์ และ ส.ส.ปากน้ำ พรรค เพื่อไทย ได้กล่าวอ้างว่า “ขั้นที่ 1” จะใช้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกลไกแรกเพื่อล้มรัฐบาล และหากยังไม่สำเร็จ จะตาม มาด้วยบันไดขั้นต่อไป คือการดึง “กองทัพ” ให้ออกมา “ปฏิวัติ”
เช่นที่ว่านี้ การออกมาให้ความเห็น ของคนในซีกรัฐบาลและแกนนำเสื้อแดง กำลังบ่งชี้ให้เห็นถึง “ชนวนร้าว” ที่จะเป็นหมายเหตุแห่งความวุ่นวายหลังหลุดพ้น “อาถรรพ์ศุกร์ 13” ไปแล้ว..ใช่หรือไม่ ?!! ต้องไม่ลืมว่า การระดมมวลชนไม่ว่าจะเสื้อสีใดก็ตาม คงต้องเผชิญกับ คำสั่ง “ให้แตะเบรก” จากเจ้าของอำนาจที่กำกับฉากอยู่เบื้องหลัง เพราะ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเดินเกมผิดพลาด ย่ำเข้าสู่ “กับดัก” ด้วยการเป็นฝ่ายเล่นเกมแรงก่อน ก็อาจเป็นฝ่ายล้มคว่ำไปเสียเอง เชื่อเหลือเกินว่า หากใครเริ่มก่อน คงไม่แคล้วเป็น “มวยแพ้หมดรูป” ตามโจทย์แห่งความชอบธรรม ที่สุดแล้วก็จะ กลายเป็น “เงื่อนไข” ที่นำมาซึ่ง “ปฏิบัติ การกวาดล้าง” เช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และยิ่งทำให้ฝ่ายที่ก้าวพลาด ตายตกเป็น “จำเลย” ที่สร้างความปั่นป่วนขึ้นในสังคม
ภายใต้สถานการณ์ที่กำลังสุกงอม ก็ดูน่าแปลกสำหรับการเคลื่อนไหวของ ฝ่ายต่อต้านอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่ง อยู่ในอารมณ์อันคุกรุ่น “สวนทาง” กับจังหวะการก้าวของ “ฝ่ายไม่เอาทักษิณ” หรือฝ่ายองครักษ์พิทักษ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ทั้งเหลือง หลากสี หรือม็อบบลูสกาย ตลอดจนแนวร่วมฯ ทั้งหลายแหล่ ที่เวลานี้ดูสงบเรียบร้อย...ผิดปกติ ไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด
แม้จะมีการลั่นปี่กลองออกมาเป็น ระยะ แต่บนความเคลื่อนไหวของ “แกนนำสารพัดสี” ในซีกอนุรักษนิยม กลับยังไม่แน่ชัด และไม่สะท้อนให้เห็นถึง “ความแรง” ที่มากพอ หรือการจุดกระแสให้เกิดเหตุ “ประจันหน้า” กันอย่างที่คาดกันเอาไว้ เหล่านี้ยิ่งทำให้ขุมข่ายอำนาจในซีกรัฐบาล ประเมินสถานการณ์การสู้รบได้อย่างยากลำบากยิ่ง!
กระนั้นในเรื่อง “ทุนล้มรัฐบาล” แม้ดูเป็นการพูดกันอย่างเลื่อนลอย แต่ก็ดูมีน้ำหนักขึ้นมาเยอะ หากเทียบเคียงกับพฤติการณ์ “นิ่งเงียบ” ของหมู่มวลพันธมิตรฯ เพราะยากจะปฏิเสธได้ ว่าเวลานี้ “ม็อบ” กำลังขาดน้ำเลี้ยง!!! ในความเงียบที่ดูไม่ปกตินี้ จะเป็นเพียงแค่ “คลื่นกระทบฝั่ง” หรือจะบานปลายถึงขั้นเป็น “มรสุมลูกใหญ่” ผ่านการเดินเกมเขย่ารัฐบาลทั้ง “ใต้ดิน-บนดิน” ผ่านทุกเส้นใยอำนาจ ที่จะเป็น “ตัวแปร” ไปสู่การพลิก-หมากการเมืองทั้งกระดาน?!!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เบื้องหลังทักษิณเจรจา อำมาตย์แดง เกมบีบรัฐบาลลูกไก่ในกำมือ !!?
การเคลื่อนไหวทั้งบนดินและใต้ดินของเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังมีจุดมุ่งหมาย 2 ปลายทาง
ทางแรก ใช้เครือข่ายฝ่าย "แดงอำมาตย์" เจรจากับกลุ่มอำมาตย์ ด้วยการเปิดทางให้รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" และฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อไทยบริหารได้อย่างราบรื่น ไม่ติดล็อกขั้นตอนกฎหมาย
ทางที่สอง ใช้แนวร่วมมวลชน "เสื้อแดง" เคลื่อนไหวกดดันฝ่ายอำมาตย์ ให้ "ถอย" ห่างไปจากโครงสร้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายองค์กรอิสระ และฝ่ายตุลาการ
ทั้ง 2 ปลายทาง เพื่อเป้าหมายเปิดทางตรงให้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ทะลุถึงเป้าหมายการเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างราบรื่น ครบวาระ เพื่อเป้าหมายทางอ้อมให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับการคลี่คลายทางคดี และได้เริ่มต้นชีวิตทางการเมือง มีอำนาจอีกหน
การพาดพิงอ้างถึงการเจรจาระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับกลุ่มคน ที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ใช้สรรพนามว่า "ข้างบน" หรือ "พวกเขา" จึงไม่ใช่ไม่มีที่มา
แหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทยยืนยันว่า มีวงในเจรจาระหว่างตัวแทนฝ่าย "อำมาตย์แดง" กับตัวแทนฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณจริง วาระที่ถูกยกขึ้นโต๊ะเพื่อต่อรอง คือการปิดสมัยประชุมสภา กับถอนวาระปรองดอง แลกกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างราบรื่น
แต่เมื่อฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณมีอาการชักเข้า-ชักออก วาระทั้ง 3 คือแก้ไขรัฐธรรมนูญคั่นกับวาระปรองดอง และพยายามจะถ่วงถ่างเวลาการปิดสมัยประชุมสภา ทำให้ฝ่าย "แดงอำมาตย์" ผิดคำพูดกับเครือข่ายอำมาตย์ด้วยกัน
เกมเจรจาลับจึงล้ม
แหล่งข่าวอีกรายให้ความเห็นจากความเชื่อว่า การเจรจาจะไม่มีทางสำเร็จ และไม่เป็นผลดีกับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ และตัวแทนฝ่าย "อำมาตย์แดง" ไม่ใช่เป็น "พวกของจริง" มีแต่พวก "อ้างถึง"
การดึงเกมกันระหว่างฝ่ายอำมาตย์ตัวจริง กับ พ.ต.ท.ทักษิณตัวเป็นเป็น จึงยังต้องต่อเวลาไปอีกระยะ
ย่อมหมายถึงฝ่ายแดงเพื่อไทยยังอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกล้มกระดาน
คนในบ้านเลขที่ 111 ที่เพิ่งพ้นโทษการเมือง วิเคราะห์ว่า หากยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยและพวกจะยังต้องเผชิญหน้ากับวาระเสี่ยง ดังนี้
วาระแรก เสี่ยงต่อการถูกยื่นยุบพรรคการเมือง
วาระที่สอง เสี่ยงต่อการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะ
วารที่สาม เสี่ยงต่อการถูกยื่นให้มีการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญ
ทำให้สภาพรัฐบาลเพื่อไทย แม้มีเสียงข้างมาก แต่เป็นเสียงข้างมากที่ตกเป็นลูกไก่ในกำมืออำมาตย์
หากรัฐบาลลูกไก่ในกำมืออำมาตย์ ไม่ทำตามข้อเสนอของคนเสื้อแดง ก็จะถูกบีบจนยากจะหายใจ
แต่ถ้ารัฐบาลลูกไก่มีจุดมุ่งหมายอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายประชาธิปไตย ก็จะมีจุดแข็ง สามารถปีกกล้า ขาแข็ง จิกมืออำมาตย์ให้ผ่อนคลายมือออกได้เป็นระยะ
สมมติฐานรัฐบาลลูกไก่ ถูกไขรหัสโดย "จาตุรนต์ ฉายแสง" แกนนำทางความคิดสายเพื่อไทย ที่อธิบายปรากฏการณ์รัฐบาลลูกไก่ไว้ว่า "จุดแข็งอยู่ที่ประชาชน ตราบที่รัฐบาลยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ประชาชนก็ไม่เลือกพรรคที่สนับสนุนฝ่ายชนชั้นนำ หรือฝ่ายอำมาตย์ และเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ฝ่ายชนชั้นนำแก้ไม่ตก"
พ.ต.ท.ทักษิณเคยปราศรัยผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์เข้ามาที่พรรคเพื่อไทย และในเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงว่า "พี่น้องต้องไม่กลับบ้านมือเปล่า"
เช่นเดียวกับการเสี่ยงของฝ่ายชนชั้นนำ ที่หนุนให้ฝ่ายตุลาการ "ปราม" ฝ่ายเพื่อไทย ย่อมไม่เสี่ยงและเปลืองตัว จ่ายต้นทุนมือเปล่า
การวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเกมที่ต่างฝ่ายต่างต้องมีต้นทุนที่ต้องจ่าย
สอดคล้องกับความเห็นของ "จาตุรนต์" ที่ว่า "เวลานี้เขาเสื่อมไปมาก จากการเล่นเกมขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ผมเข้าใจว่าเขาคงคิดว่าการจะได้อะไรมาต้องลงทุน ต้องแลก แต่เมื่อ
ยอมลงทุนไปมาก ยอมเสียหายไปมากแล้ว จะให้กลับมือเปล่าคงไม่ได้ แต่ถ้าทำแบบเดิมต่อไปมันก็จะเสื่อม"
การเมืองเวลานี้ ยากที่ฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณจะได้กำไรฝ่ายเดียวทั้ง 2 ทาง เช่นเดียวกับฝ่ายอำมาตย์-ชนชั้นนำยากที่จะเอาชนะ พ.ต.ท.ทักษิณไปอย่างไม่ต้องเสียต้นทุน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทางแรก ใช้เครือข่ายฝ่าย "แดงอำมาตย์" เจรจากับกลุ่มอำมาตย์ ด้วยการเปิดทางให้รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" และฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อไทยบริหารได้อย่างราบรื่น ไม่ติดล็อกขั้นตอนกฎหมาย
ทางที่สอง ใช้แนวร่วมมวลชน "เสื้อแดง" เคลื่อนไหวกดดันฝ่ายอำมาตย์ ให้ "ถอย" ห่างไปจากโครงสร้างอำนาจ ทั้งในฝ่ายองค์กรอิสระ และฝ่ายตุลาการ
ทั้ง 2 ปลายทาง เพื่อเป้าหมายเปิดทางตรงให้ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ทะลุถึงเป้าหมายการเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างราบรื่น ครบวาระ เพื่อเป้าหมายทางอ้อมให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับการคลี่คลายทางคดี และได้เริ่มต้นชีวิตทางการเมือง มีอำนาจอีกหน
การพาดพิงอ้างถึงการเจรจาระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับกลุ่มคน ที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ใช้สรรพนามว่า "ข้างบน" หรือ "พวกเขา" จึงไม่ใช่ไม่มีที่มา
แหล่งข่าวในพรรคเพื่อไทยยืนยันว่า มีวงในเจรจาระหว่างตัวแทนฝ่าย "อำมาตย์แดง" กับตัวแทนฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณจริง วาระที่ถูกยกขึ้นโต๊ะเพื่อต่อรอง คือการปิดสมัยประชุมสภา กับถอนวาระปรองดอง แลกกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างราบรื่น
แต่เมื่อฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณมีอาการชักเข้า-ชักออก วาระทั้ง 3 คือแก้ไขรัฐธรรมนูญคั่นกับวาระปรองดอง และพยายามจะถ่วงถ่างเวลาการปิดสมัยประชุมสภา ทำให้ฝ่าย "แดงอำมาตย์" ผิดคำพูดกับเครือข่ายอำมาตย์ด้วยกัน
เกมเจรจาลับจึงล้ม
แหล่งข่าวอีกรายให้ความเห็นจากความเชื่อว่า การเจรจาจะไม่มีทางสำเร็จ และไม่เป็นผลดีกับฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ และตัวแทนฝ่าย "อำมาตย์แดง" ไม่ใช่เป็น "พวกของจริง" มีแต่พวก "อ้างถึง"
การดึงเกมกันระหว่างฝ่ายอำมาตย์ตัวจริง กับ พ.ต.ท.ทักษิณตัวเป็นเป็น จึงยังต้องต่อเวลาไปอีกระยะ
ย่อมหมายถึงฝ่ายแดงเพื่อไทยยังอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกล้มกระดาน
คนในบ้านเลขที่ 111 ที่เพิ่งพ้นโทษการเมือง วิเคราะห์ว่า หากยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยและพวกจะยังต้องเผชิญหน้ากับวาระเสี่ยง ดังนี้
วาระแรก เสี่ยงต่อการถูกยื่นยุบพรรคการเมือง
วาระที่สอง เสี่ยงต่อการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะ
วารที่สาม เสี่ยงต่อการถูกยื่นให้มีการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญ
ทำให้สภาพรัฐบาลเพื่อไทย แม้มีเสียงข้างมาก แต่เป็นเสียงข้างมากที่ตกเป็นลูกไก่ในกำมืออำมาตย์
หากรัฐบาลลูกไก่ในกำมืออำมาตย์ ไม่ทำตามข้อเสนอของคนเสื้อแดง ก็จะถูกบีบจนยากจะหายใจ
แต่ถ้ารัฐบาลลูกไก่มีจุดมุ่งหมายอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายประชาธิปไตย ก็จะมีจุดแข็ง สามารถปีกกล้า ขาแข็ง จิกมืออำมาตย์ให้ผ่อนคลายมือออกได้เป็นระยะ
สมมติฐานรัฐบาลลูกไก่ ถูกไขรหัสโดย "จาตุรนต์ ฉายแสง" แกนนำทางความคิดสายเพื่อไทย ที่อธิบายปรากฏการณ์รัฐบาลลูกไก่ไว้ว่า "จุดแข็งอยู่ที่ประชาชน ตราบที่รัฐบาลยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ประชาชนก็ไม่เลือกพรรคที่สนับสนุนฝ่ายชนชั้นนำ หรือฝ่ายอำมาตย์ และเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ฝ่ายชนชั้นนำแก้ไม่ตก"
พ.ต.ท.ทักษิณเคยปราศรัยผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์เข้ามาที่พรรคเพื่อไทย และในเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงว่า "พี่น้องต้องไม่กลับบ้านมือเปล่า"
เช่นเดียวกับการเสี่ยงของฝ่ายชนชั้นนำ ที่หนุนให้ฝ่ายตุลาการ "ปราม" ฝ่ายเพื่อไทย ย่อมไม่เสี่ยงและเปลืองตัว จ่ายต้นทุนมือเปล่า
การวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเกมที่ต่างฝ่ายต่างต้องมีต้นทุนที่ต้องจ่าย
สอดคล้องกับความเห็นของ "จาตุรนต์" ที่ว่า "เวลานี้เขาเสื่อมไปมาก จากการเล่นเกมขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ผมเข้าใจว่าเขาคงคิดว่าการจะได้อะไรมาต้องลงทุน ต้องแลก แต่เมื่อ
ยอมลงทุนไปมาก ยอมเสียหายไปมากแล้ว จะให้กลับมือเปล่าคงไม่ได้ แต่ถ้าทำแบบเดิมต่อไปมันก็จะเสื่อม"
การเมืองเวลานี้ ยากที่ฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณจะได้กำไรฝ่ายเดียวทั้ง 2 ทาง เช่นเดียวกับฝ่ายอำมาตย์-ชนชั้นนำยากที่จะเอาชนะ พ.ต.ท.ทักษิณไปอย่างไม่ต้องเสียต้นทุน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จนมุม !!?
คดี “หนีทหาร” หลบเลี่ยง ไม่ไปรายงานตรวจ เพื่อเกณฑ์ทหาร “จับใบดำ-ใบแดง” คดีที่ค้างเติ่งมาตั้งแต่เดือนเมษาฯ ปี ๓๐..คนผิดถึงเวลา “ลงหลุม”
เมื่อ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งลงโทษตามความผิด ที่มีการเสนอขึ้นมา
คืนความเป็นธรรมให้ประเทศ ไม่ให้คนผิด “ลบหลู่” กองทัพบก แล้วมาลอยหน้าลอยตา
จากปี ๓๐ ถึงปี ๕๕ ผ่านมา ๒๕ ปี ..คนที่ทำหลักฐานเท็จ ใบ “สด.๔๓” ต่อพัศดี เขตพระโขนง กทม. คิดว่าจะหลอกลวง “กองทัพ” ได้นั้น สุดท้ายก็โดนลงโทษเสร็จสรรพ
ถึงจะมี “อภิสิทธิ์ชน”ตลอด..สุดท้ายก็ไม่รอด?..ต้องจอด ดอดไปนอนในคุกขอรับ
+++++++++++++++++++++++++++++++
ตอกย้ำ “คดีหนีทหาร”
ว่ากันว่า...เรื่องนี้มีความเห็นเสนอให้ลงโทษกันมาแล้วหลายรัฐบาล
มีการสั่งให้ตัด กันอย่างจังหนับบุเรงนอง เมื่อสมัย “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ นั่งแท่น แอ่นอก เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” มาแล้วล่ะพี่
แต่ไม่รู้ว่าใครเก็บดอง แช่แข็งเอาไว้..จึงไม่มีคำสั่ง เล่นงาน “คน ๒ สัญชาติ” เสียที
และครั้งเมื่อ “บิ๊กอ๊อด” พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็มีเรื่องนี้ส่งขึ้นมา แต่ก็เงียบหายไปกลางทาง..ที่เรื่องมาถึงมือ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต นั้น เพราะเอกสารหลักฐานที่ทำกันนั้น “หยาบ-ชุ่ย” เหลือที่จะรับ
ขืนให้เอกสารปลอมผ่านไปได้..แตกตากันง่าย ๆ ..ก็เสียชื่อกองทัพตาย เท่านั้นสิครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++
“เนวิน” ยังสุดยอดความคิด
เมื่อครั้งตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร “เนวิน ชิดชอบ” เสนอไอเดียกระฉูด ปฏิเสธไม่เอาคนนี้เป็น “นายกรัฐมนตรี”..เขาคนนั้นก็คือ “นายอภิสิทธิ์”
โดย “เนวิน” ดันสุดลิ่มทิ่มประตู ที่จะให้ “นายหัวชวน หลีกภัย” เป็นนายกรัฐมนตรี
เพราะรู้อนาคตข้างหน้า “ผู้นำฟันน้ำนม” จะพารัฐบาลไปล้มเหลว อย่างไม่มีดี
เหมือนเช่นใน พ.ศ.นี้ คนใน “พรรคประชาธิปัตย์” เรียกร้องให้ “บิ๊กชวน ลูกแม่ถ้วน” กลับมาเป็นนายกฯอีกหน
เชิด “อภิสิทธิ์” กันต่อไป...พรรคประชาธิปัตย์มีแต่ล้มละลาย..เชิดทำไม ให้เสียคน
++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นเช่น “งูเห่า”กับ “พังพอน”
พบเจอะปะกันเมื่อไหร่ ก็ต้องกัดกันเอาไว้ก่อน
หาก “ท่านชวน หลีกภัย” คัมแบ็คกลับมาเป็น “นายกรัฐมนตรี” ..โดยไม่สนใจที่จะเอา “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ใส่ตะกร้าล้างน้ำ กลับมาเป็น “นายกรัฐมนตรี” นั้น
คนที่เดือดร้อนใจ ก้อ, “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ
เพราะตลอดเวลา ที่ “เทพเทือก” เป็นผู้จัดการรัฐบาล ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ดูเหมือน “ชวน เจ้าหลักการ” จะปฏิเสธแนวคิดยีนส์ทางสมอง ที่ “สุเทพ” นำมาปฏิบัติทุกเรื่องเสร็จสรรพ
ถ้า “ชวน”กลับมาใหญ่มาดัง..อำนาจ “สุเทพ”น่าถูกล้างบาง..ให้พ้นทางแน่เลยครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็น “โรคขี้กลัว” ขึ้นสมอง
ชักเป็นห่วง “ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มากขึ้นทุกที แล้วล่ะพี่น้อง
“นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติ ที่ “ฮิลลารี คลินตัน” รมว.ต่างประเทศ ให้ไปพบกับนักธุรกิจอเมริกา ยังประเทศเขมร หาว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน
เรื่องออก “ทีโออาร์” หาบริษัทมาป้องกันน้ำท่วม ก็บังอาจไปต่อขาน “ปลอดประสพ สุรัสวดี” รมว.พลังงาน ว่าปิดบังข้อมูล เข้าข่ายว่า น่าจะมีรายการงาบกับฟันโยก ฟันคลอน
ทั้งที “นายกฯปู” ไปอย่างเปิดเผยท้าสาธารณะชน..อีกทั้งการขอ “ทีโออาร์” ทาง “คุณปลอดประสพ” พร้อมให้เอกสาร แก่ “นายอภิสิทธิ์” ดูทั้งต้นฉบับ และร่างก๊อปปี้
ผิดกับ “รัฐบาลมาร์ค” ในวันสุดท้าย..อนุมัติงบ ๓ แสนล้านมหาประลัย..ทิ้งทวนกันยกใหญ่..ไฉนใย ไม่สงสัยตัวเองเลยล่ะพี่
โดย.คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เมื่อ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งลงโทษตามความผิด ที่มีการเสนอขึ้นมา
คืนความเป็นธรรมให้ประเทศ ไม่ให้คนผิด “ลบหลู่” กองทัพบก แล้วมาลอยหน้าลอยตา
จากปี ๓๐ ถึงปี ๕๕ ผ่านมา ๒๕ ปี ..คนที่ทำหลักฐานเท็จ ใบ “สด.๔๓” ต่อพัศดี เขตพระโขนง กทม. คิดว่าจะหลอกลวง “กองทัพ” ได้นั้น สุดท้ายก็โดนลงโทษเสร็จสรรพ
ถึงจะมี “อภิสิทธิ์ชน”ตลอด..สุดท้ายก็ไม่รอด?..ต้องจอด ดอดไปนอนในคุกขอรับ
+++++++++++++++++++++++++++++++
ตอกย้ำ “คดีหนีทหาร”
ว่ากันว่า...เรื่องนี้มีความเห็นเสนอให้ลงโทษกันมาแล้วหลายรัฐบาล
มีการสั่งให้ตัด กันอย่างจังหนับบุเรงนอง เมื่อสมัย “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ นั่งแท่น แอ่นอก เป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม” มาแล้วล่ะพี่
แต่ไม่รู้ว่าใครเก็บดอง แช่แข็งเอาไว้..จึงไม่มีคำสั่ง เล่นงาน “คน ๒ สัญชาติ” เสียที
และครั้งเมื่อ “บิ๊กอ๊อด” พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็มีเรื่องนี้ส่งขึ้นมา แต่ก็เงียบหายไปกลางทาง..ที่เรื่องมาถึงมือ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต นั้น เพราะเอกสารหลักฐานที่ทำกันนั้น “หยาบ-ชุ่ย” เหลือที่จะรับ
ขืนให้เอกสารปลอมผ่านไปได้..แตกตากันง่าย ๆ ..ก็เสียชื่อกองทัพตาย เท่านั้นสิครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++
“เนวิน” ยังสุดยอดความคิด
เมื่อครั้งตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร “เนวิน ชิดชอบ” เสนอไอเดียกระฉูด ปฏิเสธไม่เอาคนนี้เป็น “นายกรัฐมนตรี”..เขาคนนั้นก็คือ “นายอภิสิทธิ์”
โดย “เนวิน” ดันสุดลิ่มทิ่มประตู ที่จะให้ “นายหัวชวน หลีกภัย” เป็นนายกรัฐมนตรี
เพราะรู้อนาคตข้างหน้า “ผู้นำฟันน้ำนม” จะพารัฐบาลไปล้มเหลว อย่างไม่มีดี
เหมือนเช่นใน พ.ศ.นี้ คนใน “พรรคประชาธิปัตย์” เรียกร้องให้ “บิ๊กชวน ลูกแม่ถ้วน” กลับมาเป็นนายกฯอีกหน
เชิด “อภิสิทธิ์” กันต่อไป...พรรคประชาธิปัตย์มีแต่ล้มละลาย..เชิดทำไม ให้เสียคน
++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นเช่น “งูเห่า”กับ “พังพอน”
พบเจอะปะกันเมื่อไหร่ ก็ต้องกัดกันเอาไว้ก่อน
หาก “ท่านชวน หลีกภัย” คัมแบ็คกลับมาเป็น “นายกรัฐมนตรี” ..โดยไม่สนใจที่จะเอา “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ใส่ตะกร้าล้างน้ำ กลับมาเป็น “นายกรัฐมนตรี” นั้น
คนที่เดือดร้อนใจ ก้อ, “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ
เพราะตลอดเวลา ที่ “เทพเทือก” เป็นผู้จัดการรัฐบาล ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ดูเหมือน “ชวน เจ้าหลักการ” จะปฏิเสธแนวคิดยีนส์ทางสมอง ที่ “สุเทพ” นำมาปฏิบัติทุกเรื่องเสร็จสรรพ
ถ้า “ชวน”กลับมาใหญ่มาดัง..อำนาจ “สุเทพ”น่าถูกล้างบาง..ให้พ้นทางแน่เลยครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็น “โรคขี้กลัว” ขึ้นสมอง
ชักเป็นห่วง “ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มากขึ้นทุกที แล้วล่ะพี่น้อง
“นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไปปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรติ ที่ “ฮิลลารี คลินตัน” รมว.ต่างประเทศ ให้ไปพบกับนักธุรกิจอเมริกา ยังประเทศเขมร หาว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน
เรื่องออก “ทีโออาร์” หาบริษัทมาป้องกันน้ำท่วม ก็บังอาจไปต่อขาน “ปลอดประสพ สุรัสวดี” รมว.พลังงาน ว่าปิดบังข้อมูล เข้าข่ายว่า น่าจะมีรายการงาบกับฟันโยก ฟันคลอน
ทั้งที “นายกฯปู” ไปอย่างเปิดเผยท้าสาธารณะชน..อีกทั้งการขอ “ทีโออาร์” ทาง “คุณปลอดประสพ” พร้อมให้เอกสาร แก่ “นายอภิสิทธิ์” ดูทั้งต้นฉบับ และร่างก๊อปปี้
ผิดกับ “รัฐบาลมาร์ค” ในวันสุดท้าย..อนุมัติงบ ๓ แสนล้านมหาประลัย..ทิ้งทวนกันยกใหญ่..ไฉนใย ไม่สงสัยตัวเองเลยล่ะพี่
โดย.คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)