นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวถึงกรณีมีการเรียกร้องให้ 2 รัฐมนตรีลาออกจากรัฐมนตรีก่อนลงสมัคร ส.ส. ว่าเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส. เนื่องจากถือครองหุ้นที่เป็นบริษัทที่เป็นสัมปทานจากรัฐ ซึ่งเป็นกิจการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ อีกทั้งในมาตรา 267 ยังระบุไว้ว่าให้นำบทบัญญัติมาตรา 265 มาใช้บังคับกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีด้วย ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาแบบนี้ เท่ากับเป็นการทำให้ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงด้วย
"คนที่รู้กฎหมายอ่านต้องเข้าใจได้ ผมเห็นว่าทั้ง 2 คนควรที่จะลาออกจากความเป็นรัฐมนตรีเลยดีกว่า ไม่ใช่เรียกร้องหาสปิริตให้ลาออกหากจะลงเลือกตั้ง แต่ควรแสดงสปิริตโดยตัวเองเพราะกฎหมายก็ระบุไว้ชัดเจนแล้วความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดเพราะความขัดกันแห่งผลประโยชน์ ที่ตนเอง หรือภรรยา เข้าไปถือหุ้น ไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอีก ถึงไม่ลาออกตอนนี้ เมื่อ กกต.ยื่นและศาลมีคำวินิจฉัยมาก็ต้องออกอยู่ดี ดังนั้น จะเป็นการดีถ้าทั้ง 2 ลาออกตอนนี้ กกต.จะได้ไม่ต้องนำเรื่องนี้มายื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยในเรื่องของให้สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี เพราะมีหุ้นต้องห้าม" นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวว่า หากรัฐมนตรีที่อาจเข้าข่ายยังไม่ลาออก กกต.อาจจะต้องดำเนินการร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยอีกครั้ง เพราะมาตรา 269 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วน ซึ่งการร้องครั้งนั้นผู้ร้องเข้ามาไม่ได้ร้องเรื่องนี้กกต.จึงไม่ได้ร้องให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดด้วยศาลจึงไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
*****************************************************
วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประธานศาลปกครองสูงสุดคนใหม่"หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล" เราไม่ใช่ไผ่ลู่ลม...แน่นอน !
"หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล" เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดคนใหม่ ต่อจาก ดร.อักขราทร จุฬารัตน
ก่อนจะมาเป็นตุลาการ "หัสวุฒิ" เคยเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และทำงานบริหารฝ่ายวิชาการในมหาวิทยาลัยมากว่า 10 ปี
หลายคนอาจไม่รู้ว่าประธานศาลปกครองสุงสุด คือผู้จุดประกายอยู่เบื้องหลังแนวคิดการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเป็นคนแรก ๆ
ท่ามกลางวิกฤตภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในองค์กรศาล เปิดใจคุยครั้งแรกกับ "หัสวุฒิ" อย่างตรงไปตรงมาในประเด็นที่หลายคนอยากรู้คำตอบ...
@ ตั้งแต่เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด ภารกิจเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ก็คงเปลี่ยนเพราะเราต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น ทั้งตุลาการ ฝ่ายสำนักงาน และเจ้าหน้าที่ เป็นงานบริหาร งานคดีคงน้อยลง แต่จริง ๆ ผมชอบงานคดีมากกว่า (นะ) เพราะทำงานคดีสนุกกว่า แต่เราก็มีนโยบายต่าง ๆ ที่ชัดเจน ที่ได้พูดกับบุคลากรที่เป็นศาล ตุลาการ และเจ้าหน้าที่ชัดเจน เพียงแต่ตอนนี้จะทำยังไงที่จะทำให้นโยบายที่เราพูดไปเป็นจริงได้มากที่สุด ตรงนี้สำคัญ
@ แนวนโยบายจะสานต่อจากคุณอักขราทร
ถูกต้อง เพราะผมคิดว่านโยบาย เจตนารมณ์ หรืองานหลักของศาลเปลี่ยนไม่ได้ คงต้องดูแลเรื่องการให้ความยุติธรรม เพียงแต่การบริหารงานหรือวิธีทำงานเพื่อไปสู่ผลลัพธ์อาจจะต่างกัน
@ ช่วงปลายสมัยคุณอักขราทรมีคำพิพากษาอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ คดีมาบตาพุด และ 3 จี ศาลปกครองถูกวิพากษ์วิจารณ์เยอะมาก ตรงนี้มีความเห็นอย่างไร
ทั้ง 2 คดียังไม่อยากจะพูด เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด พูดไปคงไม่ค่อยจะเหมาะสม เรื่องนี้คงต้องปล่อยให้เป็นตุลาการเจ้าของสำนวนและองค์คณะ ผมคิดว่า มีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ที่จะวินิจฉัยหรือตัดสิน
ส่วนเรื่องการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ผมคิดว่าคงต้องยอมรับว่ามันต้องมี เพราะการตัดสินคดีผมคิดว่าไม่ว่าจะออกมาทางใดทางหนึ่งก็มีคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งสิ้น แต่ที่สำคัญผมว่าอยู่ที่เหตุผลของคำตัดสินนั้นมากกว่า
@ คำวิพากษ์วิจารณ์ เช่น กรณี 3 จีว่าศาลฉุดรั้งความเจริญ มีผลกระทบต่อการพิจารณาของศาลบ้างหรือไม่
อืม...ทำไมถึงมองว่าศาลเป็นคนฉุดรั้งความเจริญ (ล่ะ) ที่จริงที่มีปัญหาก็เพราะว่าฝ่ายบริหารทำงานไม่ครบถ้วนหรือเปล่า ตรงนี้น่าจะไปดูบ้างหรือเปล่า ที่จริงศาลก็เป็นเพียงองค์กรตรวจสอบสิ่งที่ได้ทำมาว่าถูกต้องหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ แต่ศาลคงไม่มีหน้าที่ไปแก้ปัญหาเอง (มั้ง)
โดยเฉพาะศาลคงไม่มีอำนาจ ถ้าไม่มีการฟ้องคดีอยู่ ๆ เราจะไปพูดอย่างใดอย่างหนึ่งคงไม่ได้ ฉะนั้นผมอยากจะบอกว่าทุกฝ่ายที่มีหน้าที่ก็ต้องดำเนินการทำหน้าที่ของตัวเองให้ถูกต้อง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องกฎหมายเป็นหน้าที่ของใครก็ต้องแก้ไป และต้องรวดเร็วด้วย
สำหรับศาลเองคดีที่สำคัญหรือคดีจำเป็นเร่งด่วนที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประเทศ เราก็พยายามรีบพิจารณาวินิจฉัยเพราะไม่อย่างนั้นแล้วก็จะเกิดผลเสียมาก หรือบางเรื่องถ้าการพิจารณาพิพากษาล่าช้าก็อาจจะเยียวยาไม่ได้ นี่ก็เป็นที่มาที่เราเสนอแก้กฎหมายของเรา เพื่อให้การทำงานของศาลมีความคล่องตัวขึ้น
ในอนาคตเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองได้แก้ไขแล้ว ในเรื่องการจัดตั้งหน่วยงานพิจารณาคดี ซึ่งนั่นก็จะรวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาในคดีบางประเภท เพื่อให้คดีนั้นเสร็จลงได้โดยรวดเร็ว
@ เสียงวิจารณ์อีกส่วนหนึ่งจากภาควิชาการ คือ ช่วงหลังศาลปกครองดูเหมือนจะเบรกรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ตรงนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร
ผมไม่ได้คิดอย่างนั้น อย่างที่บอกคือศาลมีหน้าที่ตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่มันยังไม่ได้ดำเนินการ เมื่อไม่ได้ดำเนินการแล้วมีปัญหาเป็นข้อพิพาทเกิดขึ้น ก็จำเป็นที่ศาลต้องชี้ ไม่ว่าจะเป็นคดีมาบตาพุด หรือ 3 จี
จริง ๆ ผมว่าศาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้เจริญเช่นเดียวกัน ฉะนั้นคงไม่ใช่เรื่องตั้งหน้าตั้งตาขัดขวางฝ่ายบริหารทำงาน คงไม่ใช่แน่นอน เพียงแต่ฝ่ายบริหารต้องทำตามอำนาจหน้าที่ของตัวเอง
@ ศาลปกครองในหลายประเทศ จะมีปฏิสัมพันธ์กับนักวิชาการที่สอนกฎหมายปกครองหรือกฎหมายมหาชน เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่สอนกฎหมายในด้านนี้ อาจารย์รับฟังมากน้อยแค่ไหน
ผมรับฟังครับ รับฟังหมด แต่จะเห็นด้วยหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะผมคิดว่าแต่ละคนพูดบนพื้นฐานและจุดยืนของตัวเขาเอง เบื้องหลังเราไม่รู้ว่าคืออะไร แม้ว่าบางครั้งจะถ่ายทอดมาทางคำพูดได้ แต่เราก็ไม่อยากจะก้าวล่วงว่าเขามีจุดยืนอย่างไร ฉะนั้นอยู่ที่เราว่าเมื่อเขาพูดแล้วเราจะรับฟังอย่างไรแค่ไหน
ธรรมดามากเลยในการฟังเสียงสังคมภายนอกให้รอบด้าน ไม่ว่าจะฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายอื่น ๆ แต่ว่าเราคงไม่ใช่ไผ่ลู่ลม หรือเสาหลักปักขี้เลนแน่นอน ฉะนั้นเราก็ฟัง แต่ก็ต้องดูว่าสิ่งนั้นมันถูกต้อง มันควรจะแก้ไขก็ต้องรับไปแก้ไข ไม่ใช่ดื้อรั้น
แต่ถ้าสิ่งนั้นไม่ถูกต้อง เราก็ต้องมีจุดยืนของเรา โดยเฉพาะเราเป็นองค์กรหนึ่งในอำนาจรัฐที่ควรจะเป็นเสาหลักของบ้านเมือง ไม่ใช่ลมแรงแค่ไหน แล้วเราจะลู่ไปตามลมไม่ใช่แน่นอน
@ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่านเป็นเด็กคุณอักขราทร
ก็มีเสียงสะท้อนเหมือนกันว่า เด็กไป แต่ก็สงสัยว่าอายุเกิน 60 อย่างผม ถ้ารับราชการก็เกษียณแล้ว ยังเป็นเด็กอยู่อีกเหรอ ฉะนั้นก็ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นผู้ใหญ่
แต่ผมคิดว่าผมมีความเป็นตัวของตัวเอง
@ ในช่วงคุณอักขราทร การเมืองค่อนข้างปั่นป่วนวุ่นวายจนมีกระแสเรื่องตุลาการภิวัตน์ ยุคสมัยอาจารย์ตุลาการภิวัตน์จะดำรงอยู่ แผ่วไปหรือปิดฉาก
ที่จริงตุลาการภิวัตน์ต้องถามว่ามันคืออะไร แต่การที่ตุลาการออกไปทำเรื่องการใช้อำนาจตุลาการ ผมคิดว่ามันไม่น่าเป็นเรื่องของตุลาการภิวัตน์ แต่คนก็มักจะพูดว่าเป็นตุลาการภิวัตน์
แต่ถ้าพูดว่าตุลาการเป็นคนหนึ่งหรือสมาชิกของสังคม เขาจะแสดงความคิดเห็นอะไรก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้นั้น แต่ไม่ว่าจะอะไร เพื่อให้ประเทศและสังคมดีขึ้น ผมคิดว่าเราคงไม่เหมือนก้อนหินก้อนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งที่เขาจัดให้เราอยู่ ก็อยู่ คงไม่เป็นอย่างนั้น ฉะนั้นก็ต้องคอยดู
มีคนถามผมว่า ศาลปกครองแบกไว้ทุกอย่างจะทำยังไง ผมตอบว่าไม่หรอก เพราะเราแค่ชี้สิ่งที่ฝ่ายบริหารทำมาว่าถูกไม่ถูก ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมาว่าทำได้หรือไม่ได้ ส่วนการแก้ปัญหาก็เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร หรือกฎหมายที่มันไม่ดี ฝ่ายนิติบัญญัติก็ต้องไปดูสิ ศาลจะทำอะไรได้ก็แค่ชี้ตามกฎหมาย แต่เราก็ต้องดูเหมือนกัน ไม่ใช่สักแต่ใช้กฎหมาย ต้องดูว่ามันถูกมั้ย ถ้าเผื่อเราตัดสินโดยไม่อิงกฎหมายแล้วเราจะอิงอะไร หรืออ้างอะไร
แต่ผมยอมรับนะว่า ผมไม่ใช่คนรู้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเรื่องที่ผมไม่รู้ ผมคงพูดไม่ได้ และผมคงไม่พูด โดยเฉพาะเรื่องที่มันเฉพาะลงไปมาก ๆ เพราะไม่อย่างนั้นผมคิดว่ามันจะเป็นการสร้างปัญหา ผมคิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างในบ้านเมืองเราที่มีปัญหาขณะนี้ ก็เพราะคนที่ไม่ใช่ field ของตัวเอง คือพูดแล้วทำไม่ได้ หรือพูดแล้วตัวเองไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ มีแต่จะสร้างปัญหา ฉะนั้นสิ่งแรกเลยคือจะต้องปล่อยให้คนที่มีอำนาจหน้าที่ทำหน้าที่ของเขาก่อน ส่วนผมก็จะทำหน้าที่ในส่วนของผมให้ดี
จริง ๆ ผมอยากจะบอกว่า ผมคิดว่าผมทุ่มเทกับงาน และไม่ได้ต้องการอะไร ฉะนั้นการทำงานของผม ผมไม่หนักใจเท่าไร เพราะผมเป็นตัวของตัวเองมาก เพราะคนที่จะมาเป็นศาล ถ้าเรายืนอยู่บนจุดที่ถูกต้องแล้วก็พิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ผมคิดว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหา แล้วผมก็ไม่กลัวด้วย
@ 2 ปีมานี้คดีสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ ระบบศาลปกครองได้พัฒนาองค์ความรู้หรือความเป็นผู้เชี่ยวชาญคดีสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด
2 ปีก่อนเราประกาศให้ทราบว่า เราจะตั้งองค์คณะชำนาญการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นตุลาการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้มี แต่เราก็ไม่ได้หยุดยั้งแค่นี้ ทุกวันนี้เราก็พยายามสร้างตุลาการด้านสิ่งแวดล้อม เพราะในอนาคตปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะมีมากขึ้น ๆ
ฉะนั้น เรามีฝ่ายวิชาการซึ่งอันนี้ที่จริงแล้วผมเป็นคนคิดสมัยท่านอาจารย์อักขราทร ผมคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินคดี เพราะงานตุลาการก็มาก ฉะนั้นการค้นคว้าก็ควรจะต้องมีหน่วยงานสนับสนุน ฉะนั้นกรรมการวิชาการที่ผมคิดขึ้นมาอาจจะแตกต่างจากกรรมการวิชาการที่คนทั่วไปเข้าใจ
"คือของผมเป็นด้าน ๆ ไปเลย ซึ่งปัจจุบันมี 3 ชุดแล้ว ในอนาคตน่าจะมีเพิ่มอีก แต่ที่มีอยู่แล้วก็คือ กรรมการวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม กรรมการวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายด้านการบริหารงานบุคคล กรรมการวิชาการเกี่ยวกับวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล และคิดว่าอีกไม่นานจะตั้งคณะกรรมการวิชาการที่เกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความ"
อันนี้ก็จำเป็นเพราะเหตุว่ามันคงมีปัญหาในแง่ต่าง ๆ หรือการพัฒนาวิธีพิจารณาให้มันดียิ่งขึ้น คือเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เช่นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เราก็กำลังคิดอยู่ว่า คดีสิ่งแวดล้อมมันเป็นคดีที่มีผลกระทบในวงกว้างมาก
ฉะนั้น เช่นวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมเรากำลังดูอยู่ว่าเราจะใช้วิธีพิจารณา ซึ่งเรากำลังคิดทำอยู่ อาจจะบอกได้อันหนึ่ง เช่น ต่อไปในอนาคตอาจจะให้ตัวตุลาการลงไปรับฟ้องเอง ก็หมายความว่าจะได้ข้อเท็จจริงที่ตุลาการจะรู้ทันที
ในคดีปกครอง เมื่อฟ้องมาก็ต้องตรวจเงื่อนไขของการฟ้องก่อนว่า เงื่อนไขการฟ้องครบมั้ย ถ้าครบก็รับฟ้อง ฉะนั้นทุกวันนี้เส้นทางการฟ้องกระบวนการค่อนข้างยาวมาก แต่ถ้าตุลาการรับฟ้องเองก็เท่ากับเป็นการตรวจเงื่อนไขรับฟ้องไปในตัว
"เมื่อรับฟ้องก็อาจจะส่งไปให้ผู้ถูกฟ้องทำคำให้การได้ทันทีภายในวันสองวัน อันนี้ยังเป็นความคิดแต่ก็ต้องคุยกันอีก ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาผมก็มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องดี" ถามว่ากรรมการวิชาการจะสนับสนุนการทำงานของตุลาการอย่างไร ก็คือปัจจุบันคดีปกครองมันเป็นคดีที่ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้น ตัวตุลาการเองก็ไม่ได้มีคดีเดียว เพราะฉะนั้นบางครั้งก็อาจจะติดปัญหาข้อกฎหมายว่าเรื่องนี้มันมีข้อกฎหมายเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว มีหรือไม่มี ก็อาจจะปรึกษามาที่กรรมการฝ่ายวิชาการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคดีจะเข้ามาที่กรรมการวิชาการ
แต่ตรงนี้อยากจะพูดให้ชัดเจนว่า การให้คำปรึกษากับความเป็นอิสระของตุลาการในการวินิจฉัยนั้น ตุลาการก็ยังคงมีความเป็นอิสระ ไม่ได้ผูกพันว่าจะต้องทำตามคำแนะนำกรรมการวิชาการหรือไม่ เขายังมีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ พูดง่าย ๆ คือเขาจะต้องหาคำตอบที่ดีที่สุด คือมีเหตุผลสนับสนุนที่เขาเห็นว่าถูกต้อง.
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
************************************************************************
ก่อนจะมาเป็นตุลาการ "หัสวุฒิ" เคยเป็นอาจารย์สอนกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และทำงานบริหารฝ่ายวิชาการในมหาวิทยาลัยมากว่า 10 ปี
หลายคนอาจไม่รู้ว่าประธานศาลปกครองสุงสุด คือผู้จุดประกายอยู่เบื้องหลังแนวคิดการสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเป็นคนแรก ๆ
ท่ามกลางวิกฤตภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในองค์กรศาล เปิดใจคุยครั้งแรกกับ "หัสวุฒิ" อย่างตรงไปตรงมาในประเด็นที่หลายคนอยากรู้คำตอบ...
@ ตั้งแต่เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด ภารกิจเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ก็คงเปลี่ยนเพราะเราต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น ทั้งตุลาการ ฝ่ายสำนักงาน และเจ้าหน้าที่ เป็นงานบริหาร งานคดีคงน้อยลง แต่จริง ๆ ผมชอบงานคดีมากกว่า (นะ) เพราะทำงานคดีสนุกกว่า แต่เราก็มีนโยบายต่าง ๆ ที่ชัดเจน ที่ได้พูดกับบุคลากรที่เป็นศาล ตุลาการ และเจ้าหน้าที่ชัดเจน เพียงแต่ตอนนี้จะทำยังไงที่จะทำให้นโยบายที่เราพูดไปเป็นจริงได้มากที่สุด ตรงนี้สำคัญ
@ แนวนโยบายจะสานต่อจากคุณอักขราทร
ถูกต้อง เพราะผมคิดว่านโยบาย เจตนารมณ์ หรืองานหลักของศาลเปลี่ยนไม่ได้ คงต้องดูแลเรื่องการให้ความยุติธรรม เพียงแต่การบริหารงานหรือวิธีทำงานเพื่อไปสู่ผลลัพธ์อาจจะต่างกัน
@ ช่วงปลายสมัยคุณอักขราทรมีคำพิพากษาอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ คดีมาบตาพุด และ 3 จี ศาลปกครองถูกวิพากษ์วิจารณ์เยอะมาก ตรงนี้มีความเห็นอย่างไร
ทั้ง 2 คดียังไม่อยากจะพูด เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด พูดไปคงไม่ค่อยจะเหมาะสม เรื่องนี้คงต้องปล่อยให้เป็นตุลาการเจ้าของสำนวนและองค์คณะ ผมคิดว่า มีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ที่จะวินิจฉัยหรือตัดสิน
ส่วนเรื่องการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ผมคิดว่าคงต้องยอมรับว่ามันต้องมี เพราะการตัดสินคดีผมคิดว่าไม่ว่าจะออกมาทางใดทางหนึ่งก็มีคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งสิ้น แต่ที่สำคัญผมว่าอยู่ที่เหตุผลของคำตัดสินนั้นมากกว่า
@ คำวิพากษ์วิจารณ์ เช่น กรณี 3 จีว่าศาลฉุดรั้งความเจริญ มีผลกระทบต่อการพิจารณาของศาลบ้างหรือไม่
อืม...ทำไมถึงมองว่าศาลเป็นคนฉุดรั้งความเจริญ (ล่ะ) ที่จริงที่มีปัญหาก็เพราะว่าฝ่ายบริหารทำงานไม่ครบถ้วนหรือเปล่า ตรงนี้น่าจะไปดูบ้างหรือเปล่า ที่จริงศาลก็เป็นเพียงองค์กรตรวจสอบสิ่งที่ได้ทำมาว่าถูกต้องหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ แต่ศาลคงไม่มีหน้าที่ไปแก้ปัญหาเอง (มั้ง)
โดยเฉพาะศาลคงไม่มีอำนาจ ถ้าไม่มีการฟ้องคดีอยู่ ๆ เราจะไปพูดอย่างใดอย่างหนึ่งคงไม่ได้ ฉะนั้นผมอยากจะบอกว่าทุกฝ่ายที่มีหน้าที่ก็ต้องดำเนินการทำหน้าที่ของตัวเองให้ถูกต้อง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องกฎหมายเป็นหน้าที่ของใครก็ต้องแก้ไป และต้องรวดเร็วด้วย
สำหรับศาลเองคดีที่สำคัญหรือคดีจำเป็นเร่งด่วนที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประเทศ เราก็พยายามรีบพิจารณาวินิจฉัยเพราะไม่อย่างนั้นแล้วก็จะเกิดผลเสียมาก หรือบางเรื่องถ้าการพิจารณาพิพากษาล่าช้าก็อาจจะเยียวยาไม่ได้ นี่ก็เป็นที่มาที่เราเสนอแก้กฎหมายของเรา เพื่อให้การทำงานของศาลมีความคล่องตัวขึ้น
ในอนาคตเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองได้แก้ไขแล้ว ในเรื่องการจัดตั้งหน่วยงานพิจารณาคดี ซึ่งนั่นก็จะรวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาในคดีบางประเภท เพื่อให้คดีนั้นเสร็จลงได้โดยรวดเร็ว
@ เสียงวิจารณ์อีกส่วนหนึ่งจากภาควิชาการ คือ ช่วงหลังศาลปกครองดูเหมือนจะเบรกรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ตรงนี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร
ผมไม่ได้คิดอย่างนั้น อย่างที่บอกคือศาลมีหน้าที่ตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่มันยังไม่ได้ดำเนินการ เมื่อไม่ได้ดำเนินการแล้วมีปัญหาเป็นข้อพิพาทเกิดขึ้น ก็จำเป็นที่ศาลต้องชี้ ไม่ว่าจะเป็นคดีมาบตาพุด หรือ 3 จี
จริง ๆ ผมว่าศาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้เจริญเช่นเดียวกัน ฉะนั้นคงไม่ใช่เรื่องตั้งหน้าตั้งตาขัดขวางฝ่ายบริหารทำงาน คงไม่ใช่แน่นอน เพียงแต่ฝ่ายบริหารต้องทำตามอำนาจหน้าที่ของตัวเอง
@ ศาลปกครองในหลายประเทศ จะมีปฏิสัมพันธ์กับนักวิชาการที่สอนกฎหมายปกครองหรือกฎหมายมหาชน เสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่สอนกฎหมายในด้านนี้ อาจารย์รับฟังมากน้อยแค่ไหน
ผมรับฟังครับ รับฟังหมด แต่จะเห็นด้วยหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะผมคิดว่าแต่ละคนพูดบนพื้นฐานและจุดยืนของตัวเขาเอง เบื้องหลังเราไม่รู้ว่าคืออะไร แม้ว่าบางครั้งจะถ่ายทอดมาทางคำพูดได้ แต่เราก็ไม่อยากจะก้าวล่วงว่าเขามีจุดยืนอย่างไร ฉะนั้นอยู่ที่เราว่าเมื่อเขาพูดแล้วเราจะรับฟังอย่างไรแค่ไหน
ธรรมดามากเลยในการฟังเสียงสังคมภายนอกให้รอบด้าน ไม่ว่าจะฝ่ายวิชาการ ฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายอื่น ๆ แต่ว่าเราคงไม่ใช่ไผ่ลู่ลม หรือเสาหลักปักขี้เลนแน่นอน ฉะนั้นเราก็ฟัง แต่ก็ต้องดูว่าสิ่งนั้นมันถูกต้อง มันควรจะแก้ไขก็ต้องรับไปแก้ไข ไม่ใช่ดื้อรั้น
แต่ถ้าสิ่งนั้นไม่ถูกต้อง เราก็ต้องมีจุดยืนของเรา โดยเฉพาะเราเป็นองค์กรหนึ่งในอำนาจรัฐที่ควรจะเป็นเสาหลักของบ้านเมือง ไม่ใช่ลมแรงแค่ไหน แล้วเราจะลู่ไปตามลมไม่ใช่แน่นอน
@ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ท่านเป็นเด็กคุณอักขราทร
ก็มีเสียงสะท้อนเหมือนกันว่า เด็กไป แต่ก็สงสัยว่าอายุเกิน 60 อย่างผม ถ้ารับราชการก็เกษียณแล้ว ยังเป็นเด็กอยู่อีกเหรอ ฉะนั้นก็ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นผู้ใหญ่
แต่ผมคิดว่าผมมีความเป็นตัวของตัวเอง
@ ในช่วงคุณอักขราทร การเมืองค่อนข้างปั่นป่วนวุ่นวายจนมีกระแสเรื่องตุลาการภิวัตน์ ยุคสมัยอาจารย์ตุลาการภิวัตน์จะดำรงอยู่ แผ่วไปหรือปิดฉาก
ที่จริงตุลาการภิวัตน์ต้องถามว่ามันคืออะไร แต่การที่ตุลาการออกไปทำเรื่องการใช้อำนาจตุลาการ ผมคิดว่ามันไม่น่าเป็นเรื่องของตุลาการภิวัตน์ แต่คนก็มักจะพูดว่าเป็นตุลาการภิวัตน์
แต่ถ้าพูดว่าตุลาการเป็นคนหนึ่งหรือสมาชิกของสังคม เขาจะแสดงความคิดเห็นอะไรก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้นั้น แต่ไม่ว่าจะอะไร เพื่อให้ประเทศและสังคมดีขึ้น ผมคิดว่าเราคงไม่เหมือนก้อนหินก้อนหนึ่งที่ตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งที่เขาจัดให้เราอยู่ ก็อยู่ คงไม่เป็นอย่างนั้น ฉะนั้นก็ต้องคอยดู
มีคนถามผมว่า ศาลปกครองแบกไว้ทุกอย่างจะทำยังไง ผมตอบว่าไม่หรอก เพราะเราแค่ชี้สิ่งที่ฝ่ายบริหารทำมาว่าถูกไม่ถูก ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมาว่าทำได้หรือไม่ได้ ส่วนการแก้ปัญหาก็เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร หรือกฎหมายที่มันไม่ดี ฝ่ายนิติบัญญัติก็ต้องไปดูสิ ศาลจะทำอะไรได้ก็แค่ชี้ตามกฎหมาย แต่เราก็ต้องดูเหมือนกัน ไม่ใช่สักแต่ใช้กฎหมาย ต้องดูว่ามันถูกมั้ย ถ้าเผื่อเราตัดสินโดยไม่อิงกฎหมายแล้วเราจะอิงอะไร หรืออ้างอะไร
แต่ผมยอมรับนะว่า ผมไม่ใช่คนรู้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเรื่องที่ผมไม่รู้ ผมคงพูดไม่ได้ และผมคงไม่พูด โดยเฉพาะเรื่องที่มันเฉพาะลงไปมาก ๆ เพราะไม่อย่างนั้นผมคิดว่ามันจะเป็นการสร้างปัญหา ผมคิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างในบ้านเมืองเราที่มีปัญหาขณะนี้ ก็เพราะคนที่ไม่ใช่ field ของตัวเอง คือพูดแล้วทำไม่ได้ หรือพูดแล้วตัวเองไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ มีแต่จะสร้างปัญหา ฉะนั้นสิ่งแรกเลยคือจะต้องปล่อยให้คนที่มีอำนาจหน้าที่ทำหน้าที่ของเขาก่อน ส่วนผมก็จะทำหน้าที่ในส่วนของผมให้ดี
จริง ๆ ผมอยากจะบอกว่า ผมคิดว่าผมทุ่มเทกับงาน และไม่ได้ต้องการอะไร ฉะนั้นการทำงานของผม ผมไม่หนักใจเท่าไร เพราะผมเป็นตัวของตัวเองมาก เพราะคนที่จะมาเป็นศาล ถ้าเรายืนอยู่บนจุดที่ถูกต้องแล้วก็พิจารณาอย่างตรงไปตรงมา ผมคิดว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหา แล้วผมก็ไม่กลัวด้วย
@ 2 ปีมานี้คดีสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อย ๆ ระบบศาลปกครองได้พัฒนาองค์ความรู้หรือความเป็นผู้เชี่ยวชาญคดีสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด
2 ปีก่อนเราประกาศให้ทราบว่า เราจะตั้งองค์คณะชำนาญการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ฉะนั้นตุลาการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทุกวันนี้มี แต่เราก็ไม่ได้หยุดยั้งแค่นี้ ทุกวันนี้เราก็พยายามสร้างตุลาการด้านสิ่งแวดล้อม เพราะในอนาคตปัญหาข้อพิพาทเรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะมีมากขึ้น ๆ
ฉะนั้น เรามีฝ่ายวิชาการซึ่งอันนี้ที่จริงแล้วผมเป็นคนคิดสมัยท่านอาจารย์อักขราทร ผมคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการตัดสินคดี เพราะงานตุลาการก็มาก ฉะนั้นการค้นคว้าก็ควรจะต้องมีหน่วยงานสนับสนุน ฉะนั้นกรรมการวิชาการที่ผมคิดขึ้นมาอาจจะแตกต่างจากกรรมการวิชาการที่คนทั่วไปเข้าใจ
"คือของผมเป็นด้าน ๆ ไปเลย ซึ่งปัจจุบันมี 3 ชุดแล้ว ในอนาคตน่าจะมีเพิ่มอีก แต่ที่มีอยู่แล้วก็คือ กรรมการวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม กรรมการวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายด้านการบริหารงานบุคคล กรรมการวิชาการเกี่ยวกับวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล และคิดว่าอีกไม่นานจะตั้งคณะกรรมการวิชาการที่เกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความ"
อันนี้ก็จำเป็นเพราะเหตุว่ามันคงมีปัญหาในแง่ต่าง ๆ หรือการพัฒนาวิธีพิจารณาให้มันดียิ่งขึ้น คือเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เช่นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เราก็กำลังคิดอยู่ว่า คดีสิ่งแวดล้อมมันเป็นคดีที่มีผลกระทบในวงกว้างมาก
ฉะนั้น เช่นวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมเรากำลังดูอยู่ว่าเราจะใช้วิธีพิจารณา ซึ่งเรากำลังคิดทำอยู่ อาจจะบอกได้อันหนึ่ง เช่น ต่อไปในอนาคตอาจจะให้ตัวตุลาการลงไปรับฟ้องเอง ก็หมายความว่าจะได้ข้อเท็จจริงที่ตุลาการจะรู้ทันที
ในคดีปกครอง เมื่อฟ้องมาก็ต้องตรวจเงื่อนไขของการฟ้องก่อนว่า เงื่อนไขการฟ้องครบมั้ย ถ้าครบก็รับฟ้อง ฉะนั้นทุกวันนี้เส้นทางการฟ้องกระบวนการค่อนข้างยาวมาก แต่ถ้าตุลาการรับฟ้องเองก็เท่ากับเป็นการตรวจเงื่อนไขรับฟ้องไปในตัว
"เมื่อรับฟ้องก็อาจจะส่งไปให้ผู้ถูกฟ้องทำคำให้การได้ทันทีภายในวันสองวัน อันนี้ยังเป็นความคิดแต่ก็ต้องคุยกันอีก ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาผมก็มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องดี" ถามว่ากรรมการวิชาการจะสนับสนุนการทำงานของตุลาการอย่างไร ก็คือปัจจุบันคดีปกครองมันเป็นคดีที่ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้น ตัวตุลาการเองก็ไม่ได้มีคดีเดียว เพราะฉะนั้นบางครั้งก็อาจจะติดปัญหาข้อกฎหมายว่าเรื่องนี้มันมีข้อกฎหมายเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว มีหรือไม่มี ก็อาจจะปรึกษามาที่กรรมการฝ่ายวิชาการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคดีจะเข้ามาที่กรรมการวิชาการ
แต่ตรงนี้อยากจะพูดให้ชัดเจนว่า การให้คำปรึกษากับความเป็นอิสระของตุลาการในการวินิจฉัยนั้น ตุลาการก็ยังคงมีความเป็นอิสระ ไม่ได้ผูกพันว่าจะต้องทำตามคำแนะนำกรรมการวิชาการหรือไม่ เขายังมีความเป็นอิสระอย่างเต็มที่ พูดง่าย ๆ คือเขาจะต้องหาคำตอบที่ดีที่สุด คือมีเหตุผลสนับสนุนที่เขาเห็นว่าถูกต้อง.
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
************************************************************************
วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์ดวงไม่ดี??? หรือ ‘มาร์ค’หมดดวง!!!
แม้สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ที่สร้างภัยพิบัติให้กับพื้นที่ 33 จังหวัด มีประชาชนเดือดร้อนมากกว่า 3 ล้านคน ความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจไม่ว่าอย่างไร ก็คงไม่หนี 20,000 ล้านบาทอย่างแน่นอนนั้น อาจจะถูกมองว่าเป็นสถานการณ์ที่เหมือนกับเข้ามาเป็นรายการ“พักยก” ทางการเมือง
เพราะในจังหวะที่รัฐบาลโคลงเคลง พรรคร่วมรัฐบาลกระเพื่อม พรรคฝ่ายค้านเองก็ตกอยู่ในสภาพรบกับคู่ต่อสู้ แต่ก็มีทะเลาะกันเองตลอดเวลา แถมองค์กรอิสระต่างๆ ก็อยู่ในสภาพที่ถูกตั้งคำถามสารพัด
ทั้งเรื่องความพยายามที่จะเกาะติดหนึบเก้าอี้แม้อายุ 65 ปีแล้ว ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ที่จะไม่ยอมลุกจากตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน จนต้องเดือดร้อนถึงศาลปกครอง หรือเรื่องของรถประจำตำแหน่งของบรรดาบิ๊กองค์กรอิสระ ที่เล่นเอาประชาชนที่โดนน้ำท่วมอ้าปากค้าง ช็อกซ้ำไปตามๆ กัน
เพราะเวลาจะให้คนจนที่น้ำท่วมบ้าน หมดเนื้อหมดตัว ข้าวของในบ้านพังหมด ปรากฏว่ารัฐบาลให้จิ๊บจ๊อยชนิดที่แต่ละครอบครัวยังได้ไม่พอแค่ค่ายางรถยนต์ของบรรดาบิ๊กๆ องค์กรอิสระเลยด้วยซ้ำ
และโดยเฉพาะเรื่องคลิปตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวพันโยงไปถึงเรื่องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ถือเป็นเรื่องยุ่งยิ่งกว่าลิงแก้แห เพราะสุดท้ายแล้วไม่รู้ว่าแหจะพันลากลิงตัวไหนตกน้ำลงไปบ้าง หรือลิงตัวไหนจะจมน้ำตายบ้าง!!!
ดังนั้นจริงๆ แล้วแม้ดูเหมือนว่าน้ำท่วมอาจจะทำให้ดูเหมือนเป็นจังหวะพักยกทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการทางเมืองในตอนนี้น่าจะเป็นอาการของ
ทะเลสงบ ก่อนจะเกิดพายุใหญ่... เสียมากกว่า
ก็ขนาดผู้ที่มีข้อมูลวงในใกล้ชิดขั้วอำนาจ ขั้วสีเขียว อย่างนายบุญเลิศ ไพรินทร์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.ฉะเชิงเทรา ที่ชอบทำตัวเป็นโหร สว. ยังยอมรับว่าสถานการณ์ดวงบ้านเมืองของไทยยังไม่ดีทั้งปลายปีนี้ และลากยาวไปถึงต้นเดือนพฤษภาคม 2554 โน่นเลย
ดวงเมืองไม่ดี ดวงพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ดี เพราะดาวดีตกที่เสียหมด ดาวร้ายให้โทษยังให้โทษได้อยู่ ดวงเมืองยังไม่ปกติ ดวงเมืองจะเริ่มดีขึ้นก็หลังวันที่ 4 พ.ค.54 เป็นต้นไป
“ช่วงนี้จนถึงวันที่ 3 พ.ค.54 ยังไม่ปกติ มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง เปลี่ยนแปลงพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังแกว่งอยู่มากตอนนี้ พรรคประชาธิปัตย์อาจถูกยุบ เพราะดวงพรรคประชาธิปปัตย์ตกอยู่ในที่เสีย ตามดวงดาวมีโอกาสถูกยุบสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ เพราะดาวบาปเคราะห์ตรึงทุกด้าน เหลือ 5 เปอร์เซนต์ เพราะดาวดีดาวพฤหัสบดียังให้คุณอยู่ทำมุมเล็งลักษณ์ให้คุณพรรคประชาธิปัตย์อยู่ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เท่านั้นที่จะช่วยได้” นายบุญเลิศพูดเหมือนจะฝากประชาธิปัตย์ไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอย่าง
แต่แน่นอนว่าหากมองคอนเนกชั่น การชิดใกล้หรือการคลุกข้อมูลวงในของนายบุญเลิศ เมื่อมาบวกกับเหตุการณ์คลลิปลับที่ทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกสังคมจับตามองเขม็ง ชนิดที่ไม่ว่าจะวินิจฉัยออกมาในด้านไหน ก็ย่อมหนีไม่พ้นคำถาม หนีไม่พ้นคำวิพากษ์วิจารณ์
และที่สำคัญที่สุดก็คือการวิเคราะห์คำวินิจฉัยของบรรดานักฎหมาย... อย่างแน่นอน
ฉะนั้นสิ่งที่กดดันตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างมากจากวันนี้ไปจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนหรือต้นเดือนธันวาคม ที่เชื่อกันว่า ไม่ว่าอย่างไรก็จะต้องมีการอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์แล้วนั้น... ไม่ใช่เรื่องของผลว่าจะออกมายุบหรือไม่ยุบ
แต่กดดันที่สุดคือการเขียนเหตุผลคำวินิจฉัย เพื่อให้สังคมยอมรับให้ได้ โดยที่คำว่า 2 มาตรฐานไม่ดังสนั่นขึ้นมาต่างหาก
เพราะหากถามวันนี้ พรรคประชาธิปัตย์ก็ย่อมเชื่อมั่นว่า ไม่มีทางถูกยุบ
ในขณะที่ทางฝ่ายค้าน ฝ่ายคนเสื้อแดง ก็เชื่อมั่นเช่นกันว่า ยังไงก็ต้องยุบชัวร์
เรียกว่าต่างฝ่ายหากเดิมพัน...ร้อยบาท ขี้หมากองเดียว งานนี้มีคนต้องอมขี้หมาอย่างแน่นอน
ซึ่งทั้งหลายทั้งปวง ก็ตกไปเป็นภาระของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างที่บอก
ด้วยเหตุนี้แหละที่มีกระแสข่าวว่า จริงๆ คนที่ควรรับภาระหนักที่สุดน่าจะเป็นนายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองมากกว่า
เพราะด้วยความที่มัวแต่เหลียวหน้าเหลียวหลัง ฟังซ้ายฟังขวาตลอด เลยทำให้เรื่องนี้ไม่สะเด็ดน้ำ และกลายเป็นเรื่องบวมฉึ่งจบไม่ง่ายอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ปัญหาที่เป็นประเด็นที่จะต้องเกิดขึ้นตามมาและจะต้องเกาะติดสถานการณ์ให้ดีจากนี้ไปก็คือ หากยุบพรรคประชาธิปัตย์แล้วจะเป็นอย่างไร???
หรือหากว่าไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์แล้วจะเกิดอะไรขึ้น!?!
เนื่องจากถ้าหากจะว่ากันตามเทอมแบบประชาธิปไตยเต็มใบอย่างแท้จริง การเลือกตั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะดันทุรังลากยาวกันอย่างไรก็ตาม ระยะเวลา 4 ปี ตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงก็ต้องถูกเป่านกหวีดหมดเวลาในวันที่ 23 ธันวาคม 2554
ลากยาวไปเกินกว่านั้น โดยไม่ยอมให้มีเลือกตั้งใหญ่ครั้งใหม่ในวันที่ 24 ธันวาคม 2554 มีเรื่องแน่
ยกเว้นแต่จะมีนายทหารบางคนบางกลุ่มที่อาจจะมีการออกมาเอ็กเซอไซส์ เพราะไม่ได้ยินคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ที่ประกาศบอกว่าใน 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งจะไม่มีการปฏิวัติ เพราะทหารและข้าราชการไม่ได้มีหน้าที่เป็นเครื่องมือให้กับนักการเมืองที่กอบโกยผลประโยชน์ของชาติ
ถ้ามีปฏิวัติแล้วทำให้เลือกตั้งไม่เกิด ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นคราวเคราะห์ของประเทศนั่นแหละ
ดังนั้นตอนนี้หากมองกันตามเนื้อผ้า เฉพาะจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และอาการง่อนแง่นระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว แม้ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะใช้คารมโวหาร เล่นคำในเรื่องการเลือกตั้ง ว่าไม่ว่าอย่างไรก็เป็น “ปีหน้า” แน่นอน
ส่วนวันไหน เดือนไหนไม่รู้
แต่นั่นสะท้อนชัดว่า นายอภิสิทธิ์เองก็รู้ดีว่า หากไม่ประกาศในเรื่องการเลือกตั้งออกมาเป็นระยะๆ แรงกดดันจะต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นพอมีจังหวะก็ถือโอกาสพูดเพื่อผ่อนคลายบรรยากาศเสียหน่อยเป็นระยะๆ
หรืออาจจะฉวยโอกาสในการเป็น “มิสเตอร์โพเดียม” เรียกคะแนนพ่วงไปด้วย กับการที่ออกมาเล่นบทพระเอกว่าไม่ได้ตั้งใจจะอยู่ครบเทอม แม้จะอยู่ครบเทอมก็จะเป็นปีถัดไป แต่คิดว่าไม่อยู่ครบเทอม และมีเลือกตั้งแน่ในปีหน้า ซึ่งถ้าการเลือกตั้งเป็นไปโดยเรียบร้อยนั่นเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุด
“ผมเคยพูดชัดเจนว่า ผมอยากจะแพ้การเลือกตั้งที่ทำให้บ้านเมืองกลับมาสู่ความสงบสุข มากกว่าชนะการเลือกตั้งแล้วเกิดรุนแรง เพราะฉะนั้นก็หวังว่าปีหน้ามีการเลือกตั้ง และเป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าเป็นอย่างนั้นก็จะทำให้เรื่องทางการเมืองมีความเป็นเสถียรภาพ และกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น”
เล่นเอาแม้แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์ด้วยกันเองยังรับไม่ได้ ที่นายอภิสิทธิ์มีฐานะเป็นหัวหน้าพรรค แต่กลับบอกว่าต้องการที่จะแพ้การเลือกตั้ง... ซึ่งผิดธรรมชาติของคนการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ยิ่งประโยคที่ว่า “คนชอบมาบอกว่าทำไมคะแนนดีแล้วไม่ยุบสภา ชนะเลือกตั้งแล้วยุบสภาสิ ผมบอกว่า ผมไม่ได้สนใจเรื่องนั้น ผมบอกว่า ถ้าเลือกตั้งแล้วนองเลือด ให้ผมชนะแล้วผมไม่เอาหรอก ผมแพ้เลือกตั้งให้มันสงบดีกว่า บ้านเมืองเดินหน้าได้เท่านั้นเองครับ ดังนั้น เป้าหมายหลักของการเลือกตั้งไม่ได้อยู่ที่จังหวะเวลาของพรรคครับ เป็นเรื่องของบ้านเมือง จะได้ประโยชน์จากการเลือกตั้งที่สงบ ผมก็ต้องการแค่เท่านั้นให้เกิดขึ้น”
แน่นอนว่าพูดแบบนี้บรรดาแม่ยกขนลุกซุ่น้ำตาไหลพราก แต่สำหรับเวทีการเมืองแล้ว ทำให้ในพรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้องหันไปจับเข่าคุยกันใหม่เหมือนกันว่า ขืนปล่อยให้เป็นแบบนี้ไม่ดีกับพรรคประชาธิปัตย์แน่ๆ
เพราะจะว่าออกแนววิเคราะห์จุดอ่อน หรือออกแนวเตือนเพื่อนร่วมพรรค เหมือนอย่างที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรค ออกมาบอกว่าพรรคเพื่อไทยต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้ง ซึ่งมีเป้าหมายอยากได้ส.ส.เกินครึ่งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ซึ่งมีความหวังเป็นไปได้หรือไม่ เพราะวันนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการอะไรอยู่
อีกทั้งวันนี้การทำโพลล์เปรียบเทียบพบว่าภาคเหนือ ภาคตะวันออก น่าเป็นห่วง ส่วนภาคอีสานก็ยังดี ส่วนภาคตะวันตกก็กำลังเตรียมย้ายขุมกำลังไปทางอื่น แถวๆ จ.นครปฐม
“ที่พูดอย่างนี้ทุกคนก็คงเข้าใจ ดังนั้นภาระข้างหน้าหนักหนาสาหัสมาก สิ่งสำคัญสุดคือต้องมีความสามัคคี ต้องละวางบางสิ่งบางอย่างไว้ก่อนบ้างเพื่อสร้างความสามัคคีในชาติ อีกทั้งหูต้องมั่นคง ต้องฟังหูไว้หูครึ่ง อย่าฟังทั้งหมด”
พูดแบบพลเอกชวลิตในลักษณะประเมินสถานการณ์ ประเมินความพร้อม ยอมรับจุดอ่อนอย่างนี้ในทางการเมืองถือว่าดี เพราะเป็นการไม่ประมาทไว้ก่อนล่วงหน้า
แต่พูดแบบนายอภิสิทธิ์ นั้นคนในพรรคประชาธิปัตย์ยังงงๆ เอ๋อๆ กันอยู่เลยว่า แล้วแบบนี้จะไปยังไงต่อ
หรือว่าหลังคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ หากมีความจำเป็นต้องใช้หัว “พรรคธรรมาธิปัตย์” ขึ้นมาจริงๆ ก็จะต้องเปลี่ยนหัวหน้าพรรคไปพร้อมๆ กันเสียเลยดีหรือไม่
หรือจะจริงอย่างที่นายบุญเลิศ ไพรรินทร์ ว่าก็ได้... ว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ดวงไม่ดีจริงๆ
ที่มา:บางกอกทูเดย์,นารถ นเรนทร
***********************************************************************
ละครแห่งกระบวนการพิจารณาคดี, การพิจาณาคดีการเมือง และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม และ ศาสตราจารย์คนูปส์
หลังจากเหตุการณ์สังหารมวลชนในกรุงเทพมหานครในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้เริ่มตระเตรียมข้อเท็จจริงอย่างย่อเกี่ยวกับการกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่ออัยการ นอกจากคำให้การของพยานที่ให้สัตยาบันแล้ว เรายังมีหลักฐานวีดีโอและหลักฐานทางนิติเวชวิทยา ซึ่งหลักฐานทั้งหมดเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ระบุถึงความไม่เต็มใจของรัฐบาลไทยที่จะนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศ รวมสิ่งที่ผมได้พบเห็นและรับรู้ในประเทศรัสเซียเมื่อไม่นานมานี้ เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการบิดเบือนการใช้กระบวนการตุลาการทำลายฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ยั้งคิด และมีการปกปิดอาชญากรรมโดยผู้ทีใช้อำนาจในศาลยุติธรรมและสถาบันอื่นๆ
บุคคลที่ประณามความพยายามของเราในการบังคับใช้กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ควรพิจารณาเหตุการณ์ในประเทศไทยที่เป็นเหมือนฝันร้าย หลังจากสั่งปิดเวปไซต์กว่า 250000 เวปไซต์ รัฐบาลยังจับกุมฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองด้วยข้อหาก่อการร้าย คุมขังพวกเขาโดยใช้อำนาจทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมอย่างพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพยายามที่จะปิดบังความรับผิดของตนด้วยการใช้ “คณะกรรมการปรองดองสมานฉันท์” จอมปลอมมาบังหน้า
บทความนี้ต้องการที่จะกล่าวถึงประเด็นของความไม่เท่าเทียมทางอำนาจ (การดำเนินคดี) ระหว่างบุคคลที่แย่งชิงอำนาจในการควบคุมสถาบันต่างๆไปอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย และบุคคลหนึ่งที่พยายามใช้ิสิทธิตามรัฐธรรมนูญของตน ภายใต้สถานการณ์ที่มีการบิดเบือนใช้กฎหมายฉุกเฉินอย่างยืดเยื้อ (ของรัฐบาล)
เราเชื่ออย่างหนึ่งว่า การจะกล่าวถึงประเด็นของความไม่เป็นธรรมนั้นนั้น เราต้องมองไปไกลกล่าวประเด็นที่เราสามารถเห็นได้ชัดอย่าง การไม่ทำการสอบสวนเป็นอิสระครั้งแล้วครั้งเล่าของรัฐบาลไทย ซึ่งเรามีหลักฐานเป็นรายงานและจดหมายเปิดผนึกหลายฉบับ โดยครั้งนี้เราได้ตัดสินใจหยิบยกประเด็นที่ว่า การกระทำของรัฐบาลต่อกลุ่มคนเสื้อแดงอาจเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติภายใช้กฎหมายระหว่างประเทศ
ตามบทบัญญัติที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่งสงคราม ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ อนุสัญญาระหว่างประเทศแห่งกรุงเจนีวา กล่าวว่า การพิพากษาลงโทษและการประหารชีวิตโดยปราศจากคำพิพากษาของศาลยุติธรรมโดยทั่วไป อันเป็นหลักประกันที่ประเทศอารยะธรรมยอมรับโดยทั่วไปนั้น ไม่อาจกระทำได้
นอกจากนี้ บทบัญญัติของศาลอาญาระหว่างประเทศยังได้บัญญัติคำอธิบายเพิ่มไว้ในมาตราที่ ๘ (๒) (a)(vi) อย่างชัดเจนว่า “เจตนาลิดรอนสิทธิของนักโทษสงครามและบุคคลที่ได้รับการปกป้องซึ่งสิทธิดังกล่าวในการเข้าถึงกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเป็นปกติวิสัย”ถือเป็นอาชญากรรมสงคราม และละเมิดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศแห่งกรุงเจนีวา
ภายใต้สภานการณ์บิดเบือนการใช้กฎหมายฉุกเฉินนี้ ในไม่ช้าละครแห่งการพิจารณาคดีของรัฐบาล (ประกอบกับการสมรู้ร่วมคิดของตุลาการที่ฉ้อฉล) ต่อแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดง จะแสดงในเห็นว่ารัฐบาลละเมิดต่อกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ คำถามคือ รัฐบาลไทยมีเหตุผลทางการเมืองและกฎหมายอย่างพอเพียงที่จะใช้ปกปิดการกระทำที่ละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ และจารีตประเพณีอาชญากรรมระหว่างประเทศหรือไม่? หรือสิบปีหลังจากเสวยสุขจากความพยายามปัดความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่น่าสยดสยองที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย นายอภิสิทธิ์จะเป็นผู้นำคนแรกของประเทศไทยที่ต้องรับผิดต่ออาชญากรรมที่เขาได้ร่วมก่อขึ้น?
ที่มา: ประเทศไทย Robert Amsterdam
*******************************************************************************
วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
น้ำท่วมศาล!?
“คณะกรรมการได้สรุปไปด้วยว่านายวิรัชมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำไม่ถูกไม่ควร ไปพบกับนายพสิษฐ์ และที่เขาถามนำก็ไม่ควรตอบให้เกี่ยวพันโยงใยถึงขนาดนั้น เพราะรู้อยู่แล้วว่านายพสิษฐ์เป็นเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่ตัวเองเป็นทีมกฎหมายของพรรคยิ่งไม่ควรไป เพราะผูกโยงกันอยู่ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดผลกระทบต่อพรรค ทำให้คนรู้สึกคลางแคลงใจสับสนในพรรคว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ส่วนบทลงโทษจะกระทบต่อตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคของนายวิรัชหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุลยพินิจของหัวหน้าพรรคที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคข้อที่ 79 คือการตักเตือนหรือภาคทัณฑ์”
นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง ปรากฏตัวในคลิป และหารือกับนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยจะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก-รัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจดำเนินการต่อ
ขณะที่ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อ้างว่าเป็นกระบวนการทำลายความน่าเชื่อถือของ ศาลรัฐธรรมนูญ และกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยพยายามสร้างกระแสว่าหากไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกับพรรคการเมืองอื่นที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้จะเป็น 2 มาตรฐาน โดยเฉพาะนายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่ออกมาแสดงจุดยืนสอดรับว่ามีการพิจารณา 2 มาตรฐาน และเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกทั้งคณะ เพื่อสร้างกระแสสังคมให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ความจริงในมุมมืด?
ผลการสอบสวนของพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่ได้ทำให้คนทั่วไปแปลกใจที่ระบุว่านายวิรัชไม่ผิดและมีโทษ เบาหวิว ทั้งที่คำพูดในคลิปเชื่อมโยงถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง และนายวิรัชยอมรับว่าได้พบกับนายพสิษฐ์หลายครั้งก่อนหน้านี้
เช่นเดียวกับผลการสอบสวนของศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายสนิท จรอนันต์ ที่ปรึกษาสำนัก งานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีคลิปการหารือของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์หลุดออกไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน เปิดเผยว่า จะสรุปผลการสอบให้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป คณะกรรมการทำได้แค่การประมวลเรื่องราวว่ามีใครเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง หากมีเจ้าหน้าที่ของศาลเข้าไปเกี่ยวข้องต้องดำเนินการภายในตามกระบวนการทางวินัย ส่วนทางตำรวจก็สอบสวนหาว่าใครเป็นคนทำคลิปและนำไปเผยแพร่ แม้แต่นายพสิษฐ์ยังสรุปไม่ได้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่
ดังนั้น ผลการสอบสวนคลิปฉาวของพรรคประชาธิปัตย์และศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ตอบข้อกังขาหรือข้อสงสัยของสังคมว่ามีการพยายามใช้อำนาจทางการเมืองแทรกแซงศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และตุลาการศาล รัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีความสุจริตเที่ยงธรรมหรือไม่
เพราะคลิปที่ถูกเผยแพร่ 2 ชุดคือ ชุดแรก 5 ตอน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม และชุดที่สอง 3 ตอน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม กลายเป็นระเบิดลูกใหญ่ที่อาจทำลายศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันตุลาการให้หมดความน่าเชื่อถือจากประชาชน โดยเฉพาะคลิปชุดที่ 2 ยิ่งตอกย้ำความขัดแย้งและพฤติกรรมไม่เหมาะสมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะจริงหรือเท็จอยู่ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า “จะทำความจริงให้ปรากฏ” หรือปกปิดความจริง และปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปเอง โดยเพิกเฉยต่อความเชื่อถือและศรัทธาของประชาชน
ปฏิรูปหรือยุบทิ้ง?
เสียงที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาลทั้งระบบจึงดังมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่มีการเสนอให้ยุบทิ้งเพื่อไม่ให้ศาลต้องถูกครหาว่าเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง แม้แต่ตุลาการจำนวนไม่น้อยต้องการให้ดึงศาลกลับมา เพราะไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ เพราะรัฐ ธรรมนูญบัญญัติให้ใช้อำนาจหน้าที่กับองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ยังมีผลไปถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนและการควบคุมตรวจสอบต่างๆ
โดยเฉพาะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด มีผลผูกพันบุคคล องค์กร และหน่วยงานของรัฐทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องยอมรับผลกระทบจากทุกฝ่าย
ตุลาการจึงต้องมีจรรยาบรรณ โดยเฉพาะความสุจริตเที่ยงธรรม ต้องไม่มีแม้แต่ความอคติ หรือความชอบ ความเกลียดชังส่วนตัว เพื่อยืนหยัดในความถูกต้อง ต้องพร้อมถูกตรวจสอบและถูกยื่นถอดถอนจากวุฒิสภา
วิกฤตศาลรัฐรรมนูญขณะนี้จึงส่งผลกระทบต่อตุลาการทั้งระบบ หลังจากก่อนหน้านี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ที่กล่าวหา 2 ประมุขศาลว่าเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำให้บ้านเมืองวิกฤตและกลายเป็น “ตุลาการวิบัติ” ขณะนี้
ชาวเน็ตจวกเละ
วิกฤตหรือความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญยังดูได้จากกระแสสังคมชาวเน็ตที่แห่เข้าชมคลิปฉาว 3 ตอนใหม่หลังจากถูกเผยแพร่ไม่กี่วัน ปรากฏว่ามียอดเข้าชมหลายหมื่นครั้ง แถมโพสต์จวกเละว่าถ้าบทสนทนาเป็นความจริงก็ถือเป็นความเสื่อมเสียอย่างยิ่งกับกระบวนการยุติธรรม บางคนเชื่อว่าตุลาการไม่มีอิสระ ถูกอำนาจมืดแทรกแซง และเรียกร้องให้ลาออก แต่มีบางกลุ่มโพสต์ให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและนายอภิสิทธิ์ให้ทำงานต่อไป
อย่างผู้ใช้นาม TheFlukemon ระบุว่า “ผมไม่สนใครถ่ายคลิป ใครปล่อยคลิป ผมสนใจแต่ที่เขาพูดในคลิป 3 คลิปนี้ไม่จัดฉาก ถามเองตอบเองแน่ ฟังเขาพูดก็รู้แล้ว” bestbuysiam ระบุว่า “โดนเต็มๆ บอกตรงๆ เลยว่าควรปลดได้แล้ว ถ้าไม่ปลดแสดงว่าสมรู้ร่วมคิดกัน เผด็จการมันเป็นแบบนี้นี่เอง” genotype1000 ระบุว่า “วันนี้สื่อกระแสหลักไม่ใช่สื่อที่เป็นกลางอีกต่อไป สื่อที่เห็นแก่ผลประโยชน์ไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ยุคนี้สื่อซื้อได้ถ้ามีเงินและปืน” kazilong ระบุว่า “ศาลประเทศนี้เป็นอย่างนี้นี่เอง สงสารประ- เทศนี้จริงๆ” DonXedoza ระบุว่า “นี่เพียงแค่ซ้อมละครเรื่อง “น้ำท่วมฟ้า ปลากินดาวเท่านั้นแหละ”
songthai ระบุว่า “มันชัดเจนแล้วว่าพวกมันเป็นพวกเดียวกันหมดอย่างที่เขาว่ากันจริงๆด้วย นี่แหละหนอมือที่มองไม่เห็นที่คอยบงการประเทศไทยที่คุณสมัครว่าไว้ อำมาตย์ครอบงำชาติหมด แล้ว” และข้อความว่า “เป็นกลางยังไง คนทั่วประเทศตาสว่างแล้ว พูดมาได้พวกมัน!!! อย่างโน้นอย่างนี้ เรียกฝ่ายโจทก์คือพรรคเพื่อไทยว่าพวกมัน เรียก ส.ส.เพื่อไทยว่าไอ้ตู่!! เหอๆ แถมยังเตรียมอีกเพียบ แต่แหกหมดแล้วครับ เจอแฉไปอีกรอบ!!! นี่แหละคนที่ คมช. ตั้งขึ้นมา” bundit1180 ระบุว่า “พระบิดาแห่งกฎหมายไทยเคยสอนไว้ว่า เอ็งกินเหล้าเมายาไม่ว่าหรอก...แต่อย่ากินสินบาทคาดสินบน ลืมหรือยังท่านระพีฯสอนไว้น่ะ”
ถามหาความรับผิดชอบ
แม้วันนี้จะมีเสียงเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกทั้งคณะ แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิ-สิทธิ์เป็นหัวหน้าไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้เช่นกัน หาก “ความจริง” ในคลิปไม่ปรากฏหรือยังคลุมเครือ แค่การตำหนินายวิรัชมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเท่านั้น ทั้งที่นายวิรัชเป็นฝ่ายกฎหมายของพรรคและเป็น ส.ส. หลายสมัย จึงมีวุฒิภาวะมากพอที่จะรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ก่อนหน้านี้มีกรณีนายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี พรรค ประชาธิปัตย์ ที่เป็นทีมกฎหมายของพรรคไปรับเอกสารจากเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญนอกสถานที่ว่ามีเบื้องหลังอะไรหรือไม่ แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้คือความไม่เหมาะสม
กรณีคลิปฉาวคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จึงอาจมองได้ทุกแง่มุม ไม่ใช่จะระบุทันทีว่าเป็นพรรคการ เมืองฝ่ายตรงข้าม แต่ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของฝ่ายใด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่าไม่ได้เป็น “โสเภณี” ที่ใครจะซื้อหรืออยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มใดที่จะสั่งได้
ขณะเดียวกันมีเสียงเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์แสดงความรับผิดชอบด้วยการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ เพราะไม่ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ออกมาอย่างไรก็มีข้อกังขาและถูกโจมตีทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแน่นอน
หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์จะมีกระแสการเมืองและกระแสสังคมกดดันศาลรัฐธรรมนูญจนอาจมีคนบางกลุ่มถือโอกาสสร้างสถานการณ์ให้ลุกลามบานปลาย และนำไปสู่ข้ออ้างให้กองทัพทำรัฐประหารได้
รัฐบาลเน่า-ผู้นำหมดสภาพ?
โดยเฉพาะการโจมตีถึงภาวะความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นหลายครั้งว่ามีภาวะความเป็นผู้นำที่จะบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ไม่ใช่แค่เชื่องช้าและไม่เด็ดขาด แต่ยังเต็มไปด้วยข่าวการทุจริตคอร์รัปชันมากมาย ปัญหายาเสพติดและแก๊งมาเฟียก็เต็มบ้านเต็มเมือง แม้แต่ปัญหาสลากขายเกินราคาและเจ้ามือหวยเถื่อนที่เคยประกาศจะกวาดล้างอย่างเด็ดขาดก็แก้ไม่ได้ ทั้งยังมอมเมาประชาชนโดยให้พิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาลเพิ่มอีกถึง 18 ล้านฉบับ จึงเหมือนการส่งเสริมมาเฟียกองสลากและเจ้ามือหวยเถื่อนที่มีเงินหมุนเวียนนอกระบบนับหมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมีสีและนักการเมือง
อย่างที่ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี เปิดโปงการโยกย้ายนายตำรวจที่ไม่เป็นธรรม เพราะตนไปขัดแย้งกับเจ้ามือหวยเถื่อน บ่อนการพนัน และการค้าน้ำมันเถื่อน รวมถึงนักการเมืองใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีชื่อ “สระอิ สระอา” จึงถูกกลั่นแกล้ง ทั้งยังโจมตีคนใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ว่าเป็น “วอลเปเปอร์เน่า” ที่ทำให้คนในบ้านติดโรค ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งคณะกรรมการตรวจสอบด้านวินัยกับ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ นอกจากนี้นายศิริโชคยังเตรียมฟ้อง พล.ต.ต.วิสุทธิ์อีกด้วย
การออกมาพูดความเน่าเฟะในระบบราชการและ การเมืองจึงอาจทำให้ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ตายเหมือน “จ่าเพียร” (พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา) ที่ก่อนหน้านี้ก็ออกมาร้องขอความเป็นธรรมกับนายอภิสิทธิ์แต่ถูกเพิกเฉยจนเสียชีวิตในที่สุด
ความจริงกับโจร?
บ้านเมืองขณะนี้จึงเหมือนอยู่ภายใต้แดนสนธยาที่ไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐาน แต่หลายมาตรฐาน เพราะแม้แต่กระบวนการยุติธรรมที่ตุลาการเคยเป็นเสาหลักยังสั่นคลอน และถูกตั้งคำถามถึงความสุจริตเที่ยงธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องตรวจสอบเพื่อค้นหา “ความจริง” มาพิสูจน์ต่อประชาชน ไม่ใช่พยายามปิดบังข้อมูลและเบี่ยงเบนประเด็นไปที่ผู้เผยแพร่คลิป ซึ่งมีแต่จะทำให้สังคมกังขาและไม่เชื่อมั่น
อย่างที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าต้องทำความจริงให้ปรากฏเท่านั้นจึงจะยุติวิกฤตและเรียกความเชื่อมั่นของศาลรัฐธรรมนูญกลับคืนมาได้
ไม่ใช่แค่จับผู้เผยแพร่คลิปเท่านั้น แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเนื้อหาในคลิปนั้นจริงหรือเท็จ ไม่ใช่ใช้คำพูดหักล้างและกล่าวหาใครเป็น “โจร” หรือ “คนผิด” แต่ทั้งหมดอยู่ที่ “ความจริง” ที่จะให้ความยุติธรรมอย่างแท้จริง
“ตุลาการ” วันนี้กำลังอยู่ท่ามกลางพายุและอุทกภัยที่โหมกระหน่ำ...กำลังจะจมแหล่มิจมแหล่...
ธรรมชาตินั้นช่างโหดร้ายในยามที่เกิดภัยพิบัติ แต่เมื่อสืบสาวราวเรื่องย้อนกลับไปก็จะพบว่า “มนุษย์” นั่นเองที่โหดร้ายกับธรรมชาติ ทำลาย “สมดุล” ของธรรมชาติ จึงถูกธรรมชาติ “เอาคืน”
“กฎแห่งกรรม” โดยแท้... บุ๋ง...บุ๋ง...บุ๋ง...!!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
***********************************************************
นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง ปรากฏตัวในคลิป และหารือกับนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยจะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายก-รัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตัดสินใจดำเนินการต่อ
ขณะที่ นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อ้างว่าเป็นกระบวนการทำลายความน่าเชื่อถือของ ศาลรัฐธรรมนูญ และกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยพยายามสร้างกระแสว่าหากไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกับพรรคการเมืองอื่นที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้จะเป็น 2 มาตรฐาน โดยเฉพาะนายจาตุรนต์ ฉายแสง ที่ออกมาแสดงจุดยืนสอดรับว่ามีการพิจารณา 2 มาตรฐาน และเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกทั้งคณะ เพื่อสร้างกระแสสังคมให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ความจริงในมุมมืด?
ผลการสอบสวนของพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่ได้ทำให้คนทั่วไปแปลกใจที่ระบุว่านายวิรัชไม่ผิดและมีโทษ เบาหวิว ทั้งที่คำพูดในคลิปเชื่อมโยงถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง และนายวิรัชยอมรับว่าได้พบกับนายพสิษฐ์หลายครั้งก่อนหน้านี้
เช่นเดียวกับผลการสอบสวนของศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายสนิท จรอนันต์ ที่ปรึกษาสำนัก งานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีคลิปการหารือของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์หลุดออกไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน เปิดเผยว่า จะสรุปผลการสอบให้กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป คณะกรรมการทำได้แค่การประมวลเรื่องราวว่ามีใครเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง หากมีเจ้าหน้าที่ของศาลเข้าไปเกี่ยวข้องต้องดำเนินการภายในตามกระบวนการทางวินัย ส่วนทางตำรวจก็สอบสวนหาว่าใครเป็นคนทำคลิปและนำไปเผยแพร่ แม้แต่นายพสิษฐ์ยังสรุปไม่ได้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่
ดังนั้น ผลการสอบสวนคลิปฉาวของพรรคประชาธิปัตย์และศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ตอบข้อกังขาหรือข้อสงสัยของสังคมว่ามีการพยายามใช้อำนาจทางการเมืองแทรกแซงศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และตุลาการศาล รัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีความสุจริตเที่ยงธรรมหรือไม่
เพราะคลิปที่ถูกเผยแพร่ 2 ชุดคือ ชุดแรก 5 ตอน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม และชุดที่สอง 3 ตอน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม กลายเป็นระเบิดลูกใหญ่ที่อาจทำลายศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันตุลาการให้หมดความน่าเชื่อถือจากประชาชน โดยเฉพาะคลิปชุดที่ 2 ยิ่งตอกย้ำความขัดแย้งและพฤติกรรมไม่เหมาะสมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะจริงหรือเท็จอยู่ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า “จะทำความจริงให้ปรากฏ” หรือปกปิดความจริง และปล่อยให้เรื่องเงียบหายไปเอง โดยเพิกเฉยต่อความเชื่อถือและศรัทธาของประชาชน
ปฏิรูปหรือยุบทิ้ง?
เสียงที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาลทั้งระบบจึงดังมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่มีการเสนอให้ยุบทิ้งเพื่อไม่ให้ศาลต้องถูกครหาว่าเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง แม้แต่ตุลาการจำนวนไม่น้อยต้องการให้ดึงศาลกลับมา เพราะไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลฎีกาแผนกคดี อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือเกี่ยวข้องกับการเมืองได้ เพราะรัฐ ธรรมนูญบัญญัติให้ใช้อำนาจหน้าที่กับองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ยังมีผลไปถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนและการควบคุมตรวจสอบต่างๆ
โดยเฉพาะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด มีผลผูกพันบุคคล องค์กร และหน่วยงานของรัฐทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ จึงต้องยอมรับผลกระทบจากทุกฝ่าย
ตุลาการจึงต้องมีจรรยาบรรณ โดยเฉพาะความสุจริตเที่ยงธรรม ต้องไม่มีแม้แต่ความอคติ หรือความชอบ ความเกลียดชังส่วนตัว เพื่อยืนหยัดในความถูกต้อง ต้องพร้อมถูกตรวจสอบและถูกยื่นถอดถอนจากวุฒิสภา
วิกฤตศาลรัฐรรมนูญขณะนี้จึงส่งผลกระทบต่อตุลาการทั้งระบบ หลังจากก่อนหน้านี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ที่กล่าวหา 2 ประมุขศาลว่าเกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำให้บ้านเมืองวิกฤตและกลายเป็น “ตุลาการวิบัติ” ขณะนี้
ชาวเน็ตจวกเละ
วิกฤตหรือความเสื่อมที่เกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญยังดูได้จากกระแสสังคมชาวเน็ตที่แห่เข้าชมคลิปฉาว 3 ตอนใหม่หลังจากถูกเผยแพร่ไม่กี่วัน ปรากฏว่ามียอดเข้าชมหลายหมื่นครั้ง แถมโพสต์จวกเละว่าถ้าบทสนทนาเป็นความจริงก็ถือเป็นความเสื่อมเสียอย่างยิ่งกับกระบวนการยุติธรรม บางคนเชื่อว่าตุลาการไม่มีอิสระ ถูกอำนาจมืดแทรกแซง และเรียกร้องให้ลาออก แต่มีบางกลุ่มโพสต์ให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและนายอภิสิทธิ์ให้ทำงานต่อไป
อย่างผู้ใช้นาม TheFlukemon ระบุว่า “ผมไม่สนใครถ่ายคลิป ใครปล่อยคลิป ผมสนใจแต่ที่เขาพูดในคลิป 3 คลิปนี้ไม่จัดฉาก ถามเองตอบเองแน่ ฟังเขาพูดก็รู้แล้ว” bestbuysiam ระบุว่า “โดนเต็มๆ บอกตรงๆ เลยว่าควรปลดได้แล้ว ถ้าไม่ปลดแสดงว่าสมรู้ร่วมคิดกัน เผด็จการมันเป็นแบบนี้นี่เอง” genotype1000 ระบุว่า “วันนี้สื่อกระแสหลักไม่ใช่สื่อที่เป็นกลางอีกต่อไป สื่อที่เห็นแก่ผลประโยชน์ไม่สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ ยุคนี้สื่อซื้อได้ถ้ามีเงินและปืน” kazilong ระบุว่า “ศาลประเทศนี้เป็นอย่างนี้นี่เอง สงสารประ- เทศนี้จริงๆ” DonXedoza ระบุว่า “นี่เพียงแค่ซ้อมละครเรื่อง “น้ำท่วมฟ้า ปลากินดาวเท่านั้นแหละ”
songthai ระบุว่า “มันชัดเจนแล้วว่าพวกมันเป็นพวกเดียวกันหมดอย่างที่เขาว่ากันจริงๆด้วย นี่แหละหนอมือที่มองไม่เห็นที่คอยบงการประเทศไทยที่คุณสมัครว่าไว้ อำมาตย์ครอบงำชาติหมด แล้ว” และข้อความว่า “เป็นกลางยังไง คนทั่วประเทศตาสว่างแล้ว พูดมาได้พวกมัน!!! อย่างโน้นอย่างนี้ เรียกฝ่ายโจทก์คือพรรคเพื่อไทยว่าพวกมัน เรียก ส.ส.เพื่อไทยว่าไอ้ตู่!! เหอๆ แถมยังเตรียมอีกเพียบ แต่แหกหมดแล้วครับ เจอแฉไปอีกรอบ!!! นี่แหละคนที่ คมช. ตั้งขึ้นมา” bundit1180 ระบุว่า “พระบิดาแห่งกฎหมายไทยเคยสอนไว้ว่า เอ็งกินเหล้าเมายาไม่ว่าหรอก...แต่อย่ากินสินบาทคาดสินบน ลืมหรือยังท่านระพีฯสอนไว้น่ะ”
ถามหาความรับผิดชอบ
แม้วันนี้จะมีเสียงเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลาออกทั้งคณะ แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิ-สิทธิ์เป็นหัวหน้าไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้เช่นกัน หาก “ความจริง” ในคลิปไม่ปรากฏหรือยังคลุมเครือ แค่การตำหนินายวิรัชมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเท่านั้น ทั้งที่นายวิรัชเป็นฝ่ายกฎหมายของพรรคและเป็น ส.ส. หลายสมัย จึงมีวุฒิภาวะมากพอที่จะรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก ก่อนหน้านี้มีกรณีนายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี พรรค ประชาธิปัตย์ ที่เป็นทีมกฎหมายของพรรคไปรับเอกสารจากเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญนอกสถานที่ว่ามีเบื้องหลังอะไรหรือไม่ แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้คือความไม่เหมาะสม
กรณีคลิปฉาวคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จึงอาจมองได้ทุกแง่มุม ไม่ใช่จะระบุทันทีว่าเป็นพรรคการ เมืองฝ่ายตรงข้าม แต่ไม่ว่าจะเป็นฝีมือของฝ่ายใด ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่าไม่ได้เป็น “โสเภณี” ที่ใครจะซื้อหรืออยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มใดที่จะสั่งได้
ขณะเดียวกันมีเสียงเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์แสดงความรับผิดชอบด้วยการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ เพราะไม่ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ออกมาอย่างไรก็มีข้อกังขาและถูกโจมตีทั้งจากฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแน่นอน
หากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์จะมีกระแสการเมืองและกระแสสังคมกดดันศาลรัฐธรรมนูญจนอาจมีคนบางกลุ่มถือโอกาสสร้างสถานการณ์ให้ลุกลามบานปลาย และนำไปสู่ข้ออ้างให้กองทัพทำรัฐประหารได้
รัฐบาลเน่า-ผู้นำหมดสภาพ?
โดยเฉพาะการโจมตีถึงภาวะความเป็นผู้นำของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นหลายครั้งว่ามีภาวะความเป็นผู้นำที่จะบริหารบ้านเมืองหรือไม่ ไม่ใช่แค่เชื่องช้าและไม่เด็ดขาด แต่ยังเต็มไปด้วยข่าวการทุจริตคอร์รัปชันมากมาย ปัญหายาเสพติดและแก๊งมาเฟียก็เต็มบ้านเต็มเมือง แม้แต่ปัญหาสลากขายเกินราคาและเจ้ามือหวยเถื่อนที่เคยประกาศจะกวาดล้างอย่างเด็ดขาดก็แก้ไม่ได้ ทั้งยังมอมเมาประชาชนโดยให้พิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาลเพิ่มอีกถึง 18 ล้านฉบับ จึงเหมือนการส่งเสริมมาเฟียกองสลากและเจ้ามือหวยเถื่อนที่มีเงินหมุนเวียนนอกระบบนับหมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนมีสีและนักการเมือง
อย่างที่ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี เปิดโปงการโยกย้ายนายตำรวจที่ไม่เป็นธรรม เพราะตนไปขัดแย้งกับเจ้ามือหวยเถื่อน บ่อนการพนัน และการค้าน้ำมันเถื่อน รวมถึงนักการเมืองใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีชื่อ “สระอิ สระอา” จึงถูกกลั่นแกล้ง ทั้งยังโจมตีคนใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ว่าเป็น “วอลเปเปอร์เน่า” ที่ทำให้คนในบ้านติดโรค ทำให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งคณะกรรมการตรวจสอบด้านวินัยกับ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ นอกจากนี้นายศิริโชคยังเตรียมฟ้อง พล.ต.ต.วิสุทธิ์อีกด้วย
การออกมาพูดความเน่าเฟะในระบบราชการและ การเมืองจึงอาจทำให้ พล.ต.ต.วิสุทธิ์ตายเหมือน “จ่าเพียร” (พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา) ที่ก่อนหน้านี้ก็ออกมาร้องขอความเป็นธรรมกับนายอภิสิทธิ์แต่ถูกเพิกเฉยจนเสียชีวิตในที่สุด
ความจริงกับโจร?
บ้านเมืองขณะนี้จึงเหมือนอยู่ภายใต้แดนสนธยาที่ไม่ใช่แค่ 2 มาตรฐาน แต่หลายมาตรฐาน เพราะแม้แต่กระบวนการยุติธรรมที่ตุลาการเคยเป็นเสาหลักยังสั่นคลอน และถูกตั้งคำถามถึงความสุจริตเที่ยงธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องตรวจสอบเพื่อค้นหา “ความจริง” มาพิสูจน์ต่อประชาชน ไม่ใช่พยายามปิดบังข้อมูลและเบี่ยงเบนประเด็นไปที่ผู้เผยแพร่คลิป ซึ่งมีแต่จะทำให้สังคมกังขาและไม่เชื่อมั่น
อย่างที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าต้องทำความจริงให้ปรากฏเท่านั้นจึงจะยุติวิกฤตและเรียกความเชื่อมั่นของศาลรัฐธรรมนูญกลับคืนมาได้
ไม่ใช่แค่จับผู้เผยแพร่คลิปเท่านั้น แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเนื้อหาในคลิปนั้นจริงหรือเท็จ ไม่ใช่ใช้คำพูดหักล้างและกล่าวหาใครเป็น “โจร” หรือ “คนผิด” แต่ทั้งหมดอยู่ที่ “ความจริง” ที่จะให้ความยุติธรรมอย่างแท้จริง
“ตุลาการ” วันนี้กำลังอยู่ท่ามกลางพายุและอุทกภัยที่โหมกระหน่ำ...กำลังจะจมแหล่มิจมแหล่...
ธรรมชาตินั้นช่างโหดร้ายในยามที่เกิดภัยพิบัติ แต่เมื่อสืบสาวราวเรื่องย้อนกลับไปก็จะพบว่า “มนุษย์” นั่นเองที่โหดร้ายกับธรรมชาติ ทำลาย “สมดุล” ของธรรมชาติ จึงถูกธรรมชาติ “เอาคืน”
“กฎแห่งกรรม” โดยแท้... บุ๋ง...บุ๋ง...บุ๋ง...!!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
***********************************************************
3 คน (กทช.) ยลตามช่อง นับถอยหลังภารกิจ กทช. ?
หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชะลอการดำเนินการออกใบอนุญาตบริการโทรศัพท์มือถือ 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ไม่ได้ทำให้อภิโปรเจ็กต์ 3G ล่มไม่เป็นท่าเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโทรคมนาคมภายใต้ความรับผิดชอบของ กทช.อีกด้วย โดยเฉพาะภารกิจที่มีความเกี่ยวพันกับคลื่นความถี่
ล่าสุดกับกรณีการอนุมัตินำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม มีตั้งแต่อุปกรณ์อย่างสถานีฐานโทรศัพท์มือถือ และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงโทรศัพท์มือถือด้วย ซึ่งเดิม กทช.มอบอำนาจให้สำนักงาน กทช.ดำเนินการได้ เป็นต้น
เมื่อไม่มี 3G เมื่ออำนาจ กทช.มีปัญหา "รัฐบาล" เดินหน้าผลักดันแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ และ กม.จัดตั้งองค์กรอิสระกสทช.เต็มตัว ถึงกระนั้นหลายฝ่ายมองว่าต้องใช้เวลาอีกเป็นปี กว่าจะมี "กสทช." มาทำหน้าที่แทน
ไม่ต้องพูดถึงว่าจะการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ได้เมื่อไร
มีโอกาสพูดคุยกับ กทช. "พนา ทองมีอาคม-สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร และ นที ศุกลรัตน์" หลากหลายแง่มุม มีรายละเอียดน่าสนใจดังนี้
- งานสำคัญหลายอย่างดูจะชะงักไป มีภารกิจในมือที่ต้องทำอะไรบ้างในขณะนี้
พ.อ.นที : ถึงประมูล 3G ไม่ได้ แต่หน้าที่ในการให้ความรู้ประชาชนเรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ยังต้องทำ กำลังเตรียมการจัดการสัมมนาพร้อมโชว์เทคโนโลยี LTE วันที่ 4 -5 พ.ย.นี้ จะนำเทคโนโลยี TD-LTE จากสวีเดนของโซนี่ อิริคสัน มาโชว์ความเร็ว 80-100 Mbps เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย ประชาชนทั่วไปเห็นเทคโนโลยี 4G บนคลื่น 2.3-2.5 GHz งานนี้จะจัดที่หอประชุม กทช. ใช้งบประมาณแค่เช่าช่องสัญญาณลิงก์ไปต่างประเทศประมาณ 80,000 บาทเท่านั้น
อีกงานที่กำลังเตรียมอยู่ ถือเป็นงานที่กำหนดอนาคตของประเทศเหมือนกัน อีก 2 สัปดาห์ถึงจะเปิดเผยได้ ต้องรอให้ บอร์ด กทช.มีมติอีกครั้ง
พนา : ตอนนี้ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องวิทยุโทรทัศน์ และการเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่กำลังพยายามผลักดันให้เกิดให้ได้ คือการสร้างสำนักงานกิจการวิทยุโทรทัศน์ ที่จะมาทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ประกอบการด้านนี้ เพราะก่อนหน้านี้ กทช.ได้ให้ใบอนุญาตให้บริการเคเบิลทีวี วิทยุชุมชนไปแล้วจำนวนหนึ่ง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานมากำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาต แต่จากนี้จะมีการให้ใบอนุญาตเพิ่มอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง ว่าจะพิจารณาเบื้องต้นอย่างไรเกี่ยวกับกรอบอำนาจของตัวเอง
นอกนั้นก็มีงานอื่น ๆ ที่ประธานบอร์ด กทช.ได้รับมอบหมาย อาทิ การสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศในการให้ความรู้และการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการกำกับดูแลวิทยุกระจายเสียงไว้รองรับการทำงานขององค์กรกำกับดูแลใหม่ กสทช.ด้วย
สุรนันท์ : กำลังทำแผนบริการทั่วถึง ซึ่งต้องมีการปรับแผน จากเดิมที่เคยคิดว่าจะนำร่องไปพร้อมกับการออกใบอนุญาต 3G แต่เป้าหมายในแง่พื้นที่ยังคงเดิมคือขยายบริการบรอดแบนด์ไปยัง 45,000 แห่งทั่วประเทศ ภายใน 5 ปี
- คำสั่งศาลมีผลต่อการทำงานของ กทช. มาก
พนา : ต้องระมัดระวังรอบคอบอย่างสูง เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดคำสั่งศาล แต่ก็ยังมีงานอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ ไม่ใช่ต้องหยุดไปทั้งหมด
- กลัวมากไปหรือเปล่า
พนา : กทช.เข้าใจว่าการต้องทำงานด้วยความระมัดระวังแบบนี้ อาจทำให้เอกชนได้รับความไม่สะดวกบางอย่าง อาทิ เรื่องขออนุมัตินำเข้าอุปกรณ์ ตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือที่เดิมมอบอำนาจให้สำนักงาน กทช.อนุมัติได้เอง แต่ขณะนี้ต้องให้บอร์ด กทช.กลั่นกรองอีกชั้นก่อนอนุมัติได้ เราก็ห่วงว่าจะกลัวเกินไปไหม แต่ก็จำเป็น เพราะทุกคนควรเคารพคำสั่งศาล
ก็มีเรื่องที่เอกชนยื่นขอนำเข้าโทรศัพท์รอเข้าบอร์ดพอสมควร จะเร่งดูให้เพื่อความรอบคอบและไม่ละเมิดคำสั่งศาล เพราะเข้าใจว่าทั้งประชาชนและผู้ประกอบการเสียประโยชน์ เราก็เห็นใจที่ธุรกิจต้องรับภาระค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัยเพิ่ม และยังเสียโอกาสในการหารายได้ ยอมรับว่ากลายเป็นอุปสรรค แต่ไม่ได้ถึงขั้นรุนแรงมากนัก
- ทุกอย่างต้องเข้าบอร์ดหมดจะไหวหรือ
พนา : กทช.มีตั้ง 7 คน ต้องทำไหว แม้จะมีอุปสรรคบ้างก็ต้องทำให้ได้
- อุปสรรคอยู่ที่ไหน
นที : ศาลบอกว่าตอนนี้ยังไม่มีคณะกรรมการร่วมที่จะมาทำตารางคลื่นความถี่แห่งชาติ ทำให้ กทช.ต้องระวังในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่มาก ถ้าอะไรที่จำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง กทช.ก็ต้องอนุมัติ คือเป็นการตีความของกฎหมายที่มีความเห็นต่างกันอยู่ อย่างเรื่องวิทยุชุมชน กทช.ก็ทำโดยใช้อำนาจ พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่มีบทเฉพาะกาลให้ทำหน้าที่เป็น กสช.ได้ชั่วคราว
หลาย ๆ อย่างเป็นเรื่องที่ต้องตีความกัน
พนา : การทำงานต่าง ๆ ต้องการนโยบายและสิ่งแวดล้อมที่นิ่ง ถ้าไม่มีก็ทำให้การทำงานต่าง ๆ ทำได้ยาก เหมือนกำลังเตะฟุตบอล แต่ไม่รู้กติกาว่าเล่นแบบไหน หรือทำอะไรแล้วผิดกฎ
- สรุปค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจัดประมูล 3G ?
นที : คณะกรรมการกำลังเจรจากับเอกชน กำลังพยายามต่อรองลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ได้ โดยเฉพาะสิ่งที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ณ วันที่ศาลมีคำสั่ง ซึ่งได้ประชุมร่วมกันไปแล้ว 1-2 ครั้ง คงต้องรออีกสักพักถึงจะสรุปตัวเลขค่าใช้จ่ายได้
- วาระเร่งด่วนที่บอร์ดต้องพิจารณา
นที : ก็มีหลายวาระ อย่างล่าสุดมีมติไม่รับคำอุทธรณ์ของทีโอที เรื่องการจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษ 3 หลัก 4 หลัก ที่ทีโอทีค้างชำระตั้งแต่ปี 2548 เป็นเงินกว่า 656.5 ล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นเลขหมายเก่าที่ใช้งานเองก่อนมี กทช. แต่จริง ๆ แล้วทีโอทีนำไปให้ผู้ประกอบการเอกชนอื่นใช้บริการ ซึ่งตามประกาศ กทช.เรื่องค่าธรรมเนียมเลขหมายถือว่าเข้าข่ายที่ทีโอทีต้องจ่ายค่าธรรมเนียม แต่ทีโอทีกลับยื่นหนังสือให้ กทช.ไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ เลขหมายเอง
กทช.ก็อาจต้องพิจารณาว่าจะฟ้องทีโอทีให้จ่ายค่าธรรมเนียมที่ค้างอยู่ทั้งหมด หรือไม่ทีโอทีก็อาจฟ้อง กทช.ที่ไม่รับคำอุทธรณ์ก็ได้ ใคร ๆ ก็ฟ้อง กทช.ได้อยู่แล้ว
อีกเรื่องคือการขอคืนคลื่นเพื่อไปจัดสรรใหม่ โดยเฉพาะคลื่น 1900 MHz ของทีโอที ที่หลังเปิด 3G แล้วจะมีประมาณ 15 MB ที่ไม่ได้ใช้ แต่ทีโอทีอ้างว่าจะนำคลื่นที่เหลือนี้ไปเปิดให้บริการ 2G ซึ่งไม่มีความจำเป็น เพราะมี 3G อยู่แล้ว หากยึดคลื่นทั้งหมดไว้คนเดียวไม่เป็นธรรมกับคนอื่น
กทช.ต้องการดึงกลับมาให้คนอื่นใช้บ้าง โดยเฉพาะบริการด้านโมบายทีวี ที่จะเกิดขึ้นหลังตั้ง กสทช.แล้ว คงต้องอาศัยอำนาจจากประกาศรีฟาร์มมิ่งเข้าไปดำเนินการ
- กสทช.ที่ตั้งใหม่จะเจอปัญหาอะไรบ้าง
พนา : เป็นธรรมดาขององค์กรที่ตั้งใหม่ ที่ต้องเจอปัญหาเรื่องการใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย เพราะทุกอย่างเป็นของใหม่หมด ช่วงแรกยังไม่รู้ขอบเขตของอำนาจที่แน่ชัด ทำให้ต้องตีความกฎหมายเยอะ
ขณะที่การเซตโครงสร้างองค์กรใหม่ การจัดบ้านใหม่คงโกลาหล เพราะต้องรับช่วงของเก่า และต้องหารูปแบบที่เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมาย
นที : เรื่องนี้ตอบได้ยากว่าจะต้องใช้เวลาเซตตัวแค่ไหน อยู่ที่ว่า กสทช.ชุดใหม่จะมีความเห็นสอดคล้อง มีกระบวนการทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันหรือไม่ ยิ่งใน 1 องค์กรแบ่งงานเป็น 2 ส่วน และเป็นของใหม่ทั้งนั้น จะให้ตั้งขึ้นมาแล้วเดินหน้าทำงานได้เลย คงไม่สามารถ
สุรนันท์ : เป็นห่วงเรื่องที่มาและองค์ประกอบของกรรมการ กสทช. อาจมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ องค์กรนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีความเป็นอิสระ มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน แต่สิ่งที่เขียนในร่าง กม. กสทช.สะท้อนความเป็นอิสระหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะมีการกำหนดให้เป็นตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ
ไม่ว่าจะกลุ่มไหน การกำหนดแบบนี้ เท่ากับสะท้อนให้เห็นการเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ได้ ซึ่งบทบาทหน้าที่ของ กสทช.ควรมองภาพรวมและมองประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ไม่ใช่ประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
การเปิดช่องให้มีการแทรกแซงจากการเมืองได้ก็น่าเป็นห่วง กรณีองค์ประกอบของกลุ่มตัวแทนไม่ครบ
ผมยังคิดว่ากระบวนการสรรหา กทช. เดิมก็มีความเป็นอิสระทำงานได้พอสมควร ช้าบ้างเร็วบ้าง แต่ละคนไม่ได้เป็นตัวแทนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
- มองนโยบายรัฐบาลด้านโทรคมนาคมอย่างไร
พนา : คงไม่วิจารณ์นโยบายรัฐบาล เพราะเป็นเรื่อง กทช. ในฐานะองค์กรอิสระก็ต้องพยายามทำงานให้สอดคล้องอยู่แล้ว
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
**********************************************************
ล่าสุดกับกรณีการอนุมัตินำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคม มีตั้งแต่อุปกรณ์อย่างสถานีฐานโทรศัพท์มือถือ และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงโทรศัพท์มือถือด้วย ซึ่งเดิม กทช.มอบอำนาจให้สำนักงาน กทช.ดำเนินการได้ เป็นต้น
เมื่อไม่มี 3G เมื่ออำนาจ กทช.มีปัญหา "รัฐบาล" เดินหน้าผลักดันแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ และ กม.จัดตั้งองค์กรอิสระกสทช.เต็มตัว ถึงกระนั้นหลายฝ่ายมองว่าต้องใช้เวลาอีกเป็นปี กว่าจะมี "กสทช." มาทำหน้าที่แทน
ไม่ต้องพูดถึงว่าจะการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ได้เมื่อไร
มีโอกาสพูดคุยกับ กทช. "พนา ทองมีอาคม-สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร และ นที ศุกลรัตน์" หลากหลายแง่มุม มีรายละเอียดน่าสนใจดังนี้
- งานสำคัญหลายอย่างดูจะชะงักไป มีภารกิจในมือที่ต้องทำอะไรบ้างในขณะนี้
พ.อ.นที : ถึงประมูล 3G ไม่ได้ แต่หน้าที่ในการให้ความรู้ประชาชนเรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ยังต้องทำ กำลังเตรียมการจัดการสัมมนาพร้อมโชว์เทคโนโลยี LTE วันที่ 4 -5 พ.ย.นี้ จะนำเทคโนโลยี TD-LTE จากสวีเดนของโซนี่ อิริคสัน มาโชว์ความเร็ว 80-100 Mbps เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย ประชาชนทั่วไปเห็นเทคโนโลยี 4G บนคลื่น 2.3-2.5 GHz งานนี้จะจัดที่หอประชุม กทช. ใช้งบประมาณแค่เช่าช่องสัญญาณลิงก์ไปต่างประเทศประมาณ 80,000 บาทเท่านั้น
อีกงานที่กำลังเตรียมอยู่ ถือเป็นงานที่กำหนดอนาคตของประเทศเหมือนกัน อีก 2 สัปดาห์ถึงจะเปิดเผยได้ ต้องรอให้ บอร์ด กทช.มีมติอีกครั้ง
พนา : ตอนนี้ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องวิทยุโทรทัศน์ และการเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่กำลังพยายามผลักดันให้เกิดให้ได้ คือการสร้างสำนักงานกิจการวิทยุโทรทัศน์ ที่จะมาทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ประกอบการด้านนี้ เพราะก่อนหน้านี้ กทช.ได้ให้ใบอนุญาตให้บริการเคเบิลทีวี วิทยุชุมชนไปแล้วจำนวนหนึ่ง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานมากำกับดูแลผู้ได้รับใบอนุญาต แต่จากนี้จะมีการให้ใบอนุญาตเพิ่มอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียง ว่าจะพิจารณาเบื้องต้นอย่างไรเกี่ยวกับกรอบอำนาจของตัวเอง
นอกนั้นก็มีงานอื่น ๆ ที่ประธานบอร์ด กทช.ได้รับมอบหมาย อาทิ การสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศในการให้ความรู้และการศึกษา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการกำกับดูแลวิทยุกระจายเสียงไว้รองรับการทำงานขององค์กรกำกับดูแลใหม่ กสทช.ด้วย
สุรนันท์ : กำลังทำแผนบริการทั่วถึง ซึ่งต้องมีการปรับแผน จากเดิมที่เคยคิดว่าจะนำร่องไปพร้อมกับการออกใบอนุญาต 3G แต่เป้าหมายในแง่พื้นที่ยังคงเดิมคือขยายบริการบรอดแบนด์ไปยัง 45,000 แห่งทั่วประเทศ ภายใน 5 ปี
- คำสั่งศาลมีผลต่อการทำงานของ กทช. มาก
พนา : ต้องระมัดระวังรอบคอบอย่างสูง เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดคำสั่งศาล แต่ก็ยังมีงานอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ ไม่ใช่ต้องหยุดไปทั้งหมด
- กลัวมากไปหรือเปล่า
พนา : กทช.เข้าใจว่าการต้องทำงานด้วยความระมัดระวังแบบนี้ อาจทำให้เอกชนได้รับความไม่สะดวกบางอย่าง อาทิ เรื่องขออนุมัตินำเข้าอุปกรณ์ ตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือที่เดิมมอบอำนาจให้สำนักงาน กทช.อนุมัติได้เอง แต่ขณะนี้ต้องให้บอร์ด กทช.กลั่นกรองอีกชั้นก่อนอนุมัติได้ เราก็ห่วงว่าจะกลัวเกินไปไหม แต่ก็จำเป็น เพราะทุกคนควรเคารพคำสั่งศาล
ก็มีเรื่องที่เอกชนยื่นขอนำเข้าโทรศัพท์รอเข้าบอร์ดพอสมควร จะเร่งดูให้เพื่อความรอบคอบและไม่ละเมิดคำสั่งศาล เพราะเข้าใจว่าทั้งประชาชนและผู้ประกอบการเสียประโยชน์ เราก็เห็นใจที่ธุรกิจต้องรับภาระค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัยเพิ่ม และยังเสียโอกาสในการหารายได้ ยอมรับว่ากลายเป็นอุปสรรค แต่ไม่ได้ถึงขั้นรุนแรงมากนัก
- ทุกอย่างต้องเข้าบอร์ดหมดจะไหวหรือ
พนา : กทช.มีตั้ง 7 คน ต้องทำไหว แม้จะมีอุปสรรคบ้างก็ต้องทำให้ได้
- อุปสรรคอยู่ที่ไหน
นที : ศาลบอกว่าตอนนี้ยังไม่มีคณะกรรมการร่วมที่จะมาทำตารางคลื่นความถี่แห่งชาติ ทำให้ กทช.ต้องระวังในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่มาก ถ้าอะไรที่จำเป็นเกี่ยวกับความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง กทช.ก็ต้องอนุมัติ คือเป็นการตีความของกฎหมายที่มีความเห็นต่างกันอยู่ อย่างเรื่องวิทยุชุมชน กทช.ก็ทำโดยใช้อำนาจ พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่มีบทเฉพาะกาลให้ทำหน้าที่เป็น กสช.ได้ชั่วคราว
หลาย ๆ อย่างเป็นเรื่องที่ต้องตีความกัน
พนา : การทำงานต่าง ๆ ต้องการนโยบายและสิ่งแวดล้อมที่นิ่ง ถ้าไม่มีก็ทำให้การทำงานต่าง ๆ ทำได้ยาก เหมือนกำลังเตะฟุตบอล แต่ไม่รู้กติกาว่าเล่นแบบไหน หรือทำอะไรแล้วผิดกฎ
- สรุปค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจัดประมูล 3G ?
นที : คณะกรรมการกำลังเจรจากับเอกชน กำลังพยายามต่อรองลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ได้ โดยเฉพาะสิ่งที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ณ วันที่ศาลมีคำสั่ง ซึ่งได้ประชุมร่วมกันไปแล้ว 1-2 ครั้ง คงต้องรออีกสักพักถึงจะสรุปตัวเลขค่าใช้จ่ายได้
- วาระเร่งด่วนที่บอร์ดต้องพิจารณา
นที : ก็มีหลายวาระ อย่างล่าสุดมีมติไม่รับคำอุทธรณ์ของทีโอที เรื่องการจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายพิเศษ 3 หลัก 4 หลัก ที่ทีโอทีค้างชำระตั้งแต่ปี 2548 เป็นเงินกว่า 656.5 ล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นเลขหมายเก่าที่ใช้งานเองก่อนมี กทช. แต่จริง ๆ แล้วทีโอทีนำไปให้ผู้ประกอบการเอกชนอื่นใช้บริการ ซึ่งตามประกาศ กทช.เรื่องค่าธรรมเนียมเลขหมายถือว่าเข้าข่ายที่ทีโอทีต้องจ่ายค่าธรรมเนียม แต่ทีโอทีกลับยื่นหนังสือให้ กทช.ไปเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ เลขหมายเอง
กทช.ก็อาจต้องพิจารณาว่าจะฟ้องทีโอทีให้จ่ายค่าธรรมเนียมที่ค้างอยู่ทั้งหมด หรือไม่ทีโอทีก็อาจฟ้อง กทช.ที่ไม่รับคำอุทธรณ์ก็ได้ ใคร ๆ ก็ฟ้อง กทช.ได้อยู่แล้ว
อีกเรื่องคือการขอคืนคลื่นเพื่อไปจัดสรรใหม่ โดยเฉพาะคลื่น 1900 MHz ของทีโอที ที่หลังเปิด 3G แล้วจะมีประมาณ 15 MB ที่ไม่ได้ใช้ แต่ทีโอทีอ้างว่าจะนำคลื่นที่เหลือนี้ไปเปิดให้บริการ 2G ซึ่งไม่มีความจำเป็น เพราะมี 3G อยู่แล้ว หากยึดคลื่นทั้งหมดไว้คนเดียวไม่เป็นธรรมกับคนอื่น
กทช.ต้องการดึงกลับมาให้คนอื่นใช้บ้าง โดยเฉพาะบริการด้านโมบายทีวี ที่จะเกิดขึ้นหลังตั้ง กสทช.แล้ว คงต้องอาศัยอำนาจจากประกาศรีฟาร์มมิ่งเข้าไปดำเนินการ
- กสทช.ที่ตั้งใหม่จะเจอปัญหาอะไรบ้าง
พนา : เป็นธรรมดาขององค์กรที่ตั้งใหม่ ที่ต้องเจอปัญหาเรื่องการใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย เพราะทุกอย่างเป็นของใหม่หมด ช่วงแรกยังไม่รู้ขอบเขตของอำนาจที่แน่ชัด ทำให้ต้องตีความกฎหมายเยอะ
ขณะที่การเซตโครงสร้างองค์กรใหม่ การจัดบ้านใหม่คงโกลาหล เพราะต้องรับช่วงของเก่า และต้องหารูปแบบที่เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมาย
นที : เรื่องนี้ตอบได้ยากว่าจะต้องใช้เวลาเซตตัวแค่ไหน อยู่ที่ว่า กสทช.ชุดใหม่จะมีความเห็นสอดคล้อง มีกระบวนการทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันหรือไม่ ยิ่งใน 1 องค์กรแบ่งงานเป็น 2 ส่วน และเป็นของใหม่ทั้งนั้น จะให้ตั้งขึ้นมาแล้วเดินหน้าทำงานได้เลย คงไม่สามารถ
สุรนันท์ : เป็นห่วงเรื่องที่มาและองค์ประกอบของกรรมการ กสทช. อาจมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ องค์กรนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีความเป็นอิสระ มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน แต่สิ่งที่เขียนในร่าง กม. กสทช.สะท้อนความเป็นอิสระหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะมีการกำหนดให้เป็นตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ
ไม่ว่าจะกลุ่มไหน การกำหนดแบบนี้ เท่ากับสะท้อนให้เห็นการเป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ได้ ซึ่งบทบาทหน้าที่ของ กสทช.ควรมองภาพรวมและมองประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ไม่ใช่ประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
การเปิดช่องให้มีการแทรกแซงจากการเมืองได้ก็น่าเป็นห่วง กรณีองค์ประกอบของกลุ่มตัวแทนไม่ครบ
ผมยังคิดว่ากระบวนการสรรหา กทช. เดิมก็มีความเป็นอิสระทำงานได้พอสมควร ช้าบ้างเร็วบ้าง แต่ละคนไม่ได้เป็นตัวแทนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
- มองนโยบายรัฐบาลด้านโทรคมนาคมอย่างไร
พนา : คงไม่วิจารณ์นโยบายรัฐบาล เพราะเป็นเรื่อง กทช. ในฐานะองค์กรอิสระก็ต้องพยายามทำงานให้สอดคล้องอยู่แล้ว
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
**********************************************************
รอดหรือร่วง ลุ้นศาลรธน.
คดีหุ้น44ส.ส.-ส.ว.
ต้องบอกเลยว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในยามนี้ ยิ่งกว่าเผชิญกับภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่เสียอีก เพราะเปียกปอนกระเซอะกระเซิงอย่างยิ่งกับกรณีคลิปฉาว
ทำให้มีทั้งคำถาม มีทั้งการจับตามองการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างมากมาย จนทำให้หลายฝ่ายต่างรู้สึกไม่สบา ยใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ล่าสุดนอกจากจะโดนกดดันเรื่องความพยายามเบี่ยงประเด็นไปเน้นถึงที่มาของคลิปดังกล่าว พร้อมกับพยายามที่จะเอาผิดกับคนที่เอาคลิปมาเปิดเผย
โดยเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงเนื้อหาและข้อเท็จจริงภายในคลิป
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก
เพราะคำถามก็คือ หากมีการเผยแพร่คลิปนักการเมืองมีการทุจริตคอรัปชั่น มีภาพปรากฏว่ามีการหารือเจรจากันว่าต้องจ่าย 30% หรือ 35% แล้วมีการจ่ายเงินกัน บังเอิญมีผู้พบเห็นแล้วถ่ายคลิปเอาไว้
แต่บังเอิญเป็นที่รู้กันว่านักการเมืองรายนี้เป็นผู้มีอิทธิพล ผู้ที่มีหลักฐานไม่อยากเสี่ยงออกมาแฉพฤติกรรมอย่างเปิดเผย เพราะเกรงอันตรายจะมาถึงตัว จึงใช้วิธีเอาภาพทุจริตออกมาเผยแพร่
แล้วจะกลายเป็นว่ามาเอาผิดกับคนเผยแพร่คลิป โดยที่ไม่พูดถึงพฤติกรรมของนักการเมืองในคลิปเลย ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ตลกอย่างมาก
ซึ่งกรณีของคลิปที่เกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่น่าที่จะแตกต่างกันแต่อย่างใด
ก็เพราะแบบนี้แหละที่สังคมทุกฝ่ายพากันจับตามองในเรื่องนี้อย่างเขม็ง ว่าสุดท้ายจะมีความกระจ่างให้กับสังคมอย่างไร
สำคัญที่สุดหากสังคมเชื่อในสิ่งที่เห็นจากคลิปว่ามีมูล ตรงนี้จะกระทบกับภาพลักษณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด
เนื่องจากขณะนี้ทางตำรวจกลับไปเน้นประเด็นที่ว่า คลิปที่ออกมานั้น ใช้กล้องอะไรถ่าย???
โดยเมื่อหลายวันก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้ามาตรวจดูแลทำเหตุการณ์จำลองเหมือนในคลิป ก็ยังไม่เข้าใจกันอยู่ว่าถ่ายมาจากอะไร ทางตำรวจจึงพยายามที่จะไขปริศนาว่าใช้วิธีการทางเทคนิคอย่างไรในการแอบถ่ายครั้งนี้
จนทำให้มีการตั้งข้อสังเกคุว่า ที่อยากรู้ว่าใช้เทคนิกอะไรถ่าย เพื่อจะเอาไว้ใช้ในการป้องกันในอนาคต จะได้ไม่ถูกแอบถ่ายอีกเช่นนั้นหรือ!!!
ยิ่งกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนให้คนมีความเชื่อในคลิปเหบ่านั้นมากขึ้นไปอีก ว่าแบบนี้น่าจะเป็นคลิปจริง เพราะขนาดตำรวจยังจัดฉากไม่ได้เลย
ดังนั้นต่อให้แม้ว่าจะจับตัวนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กลับมาได้ และยอมรับมีการดำเนินคดีว่าแอบถ่ายคลิปดังกล่าวก็ตาม แต่ถ้านายพสิษฐ์ยืนยันว่า แม้จะเป็นการแอบถ่ายแต่ก็เป็นคลิปที่ถ่ายจากเหตุการณ์จริงๆ
ตรงนี้แหละจะยิ่งกระเทือนภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหนักขึ้นไปอีก
จึงไม่แปลกที่เริ่มมีเสียงสะท้อนให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกเกิดขึ้นมาเป็นระยะๆแล้วในขณะนี้
และยิ่งภายในองค์กรศาลรัฐธรรมนูญเริ่มมีปัญหากันเอง เช่นกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาโวยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องรีบออกมาชี้แจงรายละเอียดเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญต่อองค์กรมาก การนิ่งเฉยของนายเชวนะจึงถูกนายวสันต์มองว่าไม่ปกป้องสถาบัน ก็ยิ่งกลายเป็นเรื่องไฟในนำออก ไฟนอกนำเข้า... หนักยิ่งขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นอกจะงวดใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว จากรกร๊คลิปที่เกิดขึ้น จึงทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมตื่นตัวและหันมาจับตามองในเรื่องนี้อย่างใก้ชิด ว่าสุดท้ายแล้วคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรกันแน่
อย่างไรก็ตาม ได้มีการออกเอกสารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมาชี้แจงว่า กรณีคลิปวีดิโอพาดพิงศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินคดีกับผู้หมิ่นประมาท ข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ ดำเนินการเพิกถอนหนังสือเดินทางราชการนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และการแจ้งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่คลิปวีดิโอ และขณะนี้ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งให้เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ บล็อกเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อไม่ให้บุคคลที่อยู่ในบริเวณศาลรัฐธรรมนูญเข้าเว็บไซต์ยูทูบผ่านเซิร์ฟเวอร์ของศาลรัฐธรรมนูญ ทำผู้ที่เข้าไปดูคลิปลับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านเว็บไซต์ยูทูบไม่ได้ตลอดทั้งวัน
เลยทำให้ข้าราชการของศาลรัฐธรรมนูญวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันมากว่า เป็นการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนในศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง และทีมกฎหมายคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้ปรากฏตัวอยู่ในคลิปเกี่ยวข้องกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ว่า หากดูทั้งหมดจะเห็นว่าคลิปดังกล่าวไม่เกี่ยวกับพรรค เพราะนายวิรัชไปพบนายพสิฐษ์เป็นการส่วนตัว ไม่ได้บอกให้คนในพรรคทราบแม้แต่คนเดียว จึงไม่มีผลต่อการพิจารณาในคดียุบพรรคแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯได้มีการสรุปออกมาว่านายวิรัช มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำไม่ถูก ไม่ควรไปพบกับนายพสิษฐ์ และเมื่อถูกถามนำก็ไม่ควรตอบให้เกี่ยวพัน โยงใยถึง ขนาดนั้น เพราะรู้อยู่แล้วว่านายพสิษฐ์ เป็นเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่ตัวเองเป็นทีมกฎหมายของพรรค ยิ่งไม่ควรไป เพราะผูกโยงกันอยู่
สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดผลกระทบต่อพรรค ทำให้คนรู้สึกคลางแคลงใจสับสนในพรรคว่าเป็นอย่างไรกันแน่
ส่วนบทลงโทษจะกระทบต่อตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคของนายวิรัชหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุลพินิจของหัวหน้าพรรคที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคข้อที่ 79 คือ การตักเตือน หรือภาคทัณฑ์ ดังนั้นไม่ว่างานนี้สุดท้ายแล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละที่จะถูกกระทบในเรื่องภาพลักษณมากที่สุด
ดังนั้นสังคมจึงมีการจับตามองว่า สำหรับคดีดังอีกคดีหนึ่งที่จะมีการตัดสินในวันนี้ ( 3 พ.ย.) เวลา 15.00 น. นั่นจะเป็นการทดสอบภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
นั่นก็คือ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธาน จะร่วมกันลงมติและแถลงผลการวินิจฉัยคดีหุ้นสัมปทานของรัฐของ ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่งที่สังคมไทยจับตามองมาตลอด
โดยคดีดังกล่าวยื่นโดยประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้ร้องส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ศาลวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพของ ส.ส.และ ส.ว. 44 ราย ใน
ฐานะผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
เนื่องจากกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 (2) และ (4) ถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ
ทั้งนี้ ส.ส. ผู้ที่มีชื่อเข้าข่ายจะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพมีทั้งสิ้น 28 ราย โดยเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ 12 ราย พรรคชาติไทยพัฒนา 1 ราย และพรรคภูมิใจไทย 2 ราย รวม 15 ราย
โดยมี ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วย คือนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก และรมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วนและรองนายกรัฐมนตรี นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา และ รมช. มหาดไทย นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ต้องพ้นสภาพ ส.ส. ก็ไม่มีผลทำให้ 4 รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีผลผูกพันต่อการเป็นรัฐมนตรี เป็นแค่การสิ้นสภาพ ส.ส.เท่านั้น ขณะที่ฝ่ายค้านมี ส.ส .จากพรรคเพื่อไทย 8 ราย พรรคเพื่อแผ่นดิน 3 ราย โดยเป็น ส.ส.ในกลุ่มสามพี พรรคประชาราช 2 ราย
ดังนั้น จึงเท่ากับว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ ส.ส.ทั้งหมดต้องพ้นสมาชิกสภาพ เสียง ส.ส.ซีกรัฐบาลจะหายไป 15 เสียง ส่วนเสียง ส.ส.ซีกฝ่ายค้านจะหายไป 13 เสียง จึงไม่มี ผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลในสภาฯมากนัก ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. ซึ่งมีชื่อถูก กกต.ส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มีทั้งสิ้น 16 ราย โดยมีทั้ง ส.ว.สรรหา และ ส.ว.เลือกตั้ง อาทิ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธ์ุ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทที่ กกต.เคยมีมติว่า เข้าข่ายเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อ และเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐตามนัยมาตรา 265 (2) (4) มีทั้งสิ้น 22 บริษัท อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททีพีไอโพลีน จำกัด มหาชน บริษัทชินคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัททรูคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.และ ส.ว. กล่าวว่า แม้จะเป็นผู้ยื่นคำร้องแต่คงไม่เดินทางไปฟังคำตัดสิน เนื่องจากถือว่าไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง การตัดสินกรณีดังกล่าวจะถือเป็นบรรทัดฐานตลอดนับจากนี้ไป เพราะกรณีเรื่องการถือครองหุ้นของ ส.ส.และ ส.ว. เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการวางบรรทัดฐานมาก่อน อีกทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการถือครองหุ้น โดยเฉพาะมาตรา 265 และมาตรา 267 จะได้มีความชัดเจน
โดยเฉพาะกรณีการถือครองหุ้นมาก่อนหรือหลังรับตำแหน่ง
เพราะเดิมมีเนื้อหาระบุเพียงว่า ห้ามมิให้ ส.ส.และ ส.ว.ถือครองหุ้นที่เป็นสัมปทานกับรัฐโดยเด็ดขาด ไม่ได้มีการระบุข้อยกเว้นเหมือนกับมาตรา 269 ที่บังคับกับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ยกเว้นให้สามารถถือครองได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถโอนฝากไว้ที่ลูกหลานและเครือญาติได้ "ถ้าศาลตัดสินว่ามีความผิด ส.ส.ที่เป็นระบบสัดส่วน ถ้าพรรคการเมืองนั้นไม่มีให้เลื่อนขึ้นมา ก็จะต้องเว้นว่าง แต่ถ้าเป็น ส.ส.ปกติก็ต้องจัดเลือกตั้งหลายเขต ซึ่งจะมีวาระเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น ส่วนถ้าเป็น ส.ว.สรรหา ก็ต้องมาเริ่มกระบวนการคัดเลือกกลั่นกรองตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติมาดำรงตำแหน่งกันใหม่ ซึ่งก็มีวาระอยู่ได้ไม่ถึง 6 เดือน ดังนั้น จึงอาจไม่คุ้มค่ากับงบประมาณของหลวง หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแบบนี้ผมเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรจะประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ด้วยการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ไปในคราวเดียวกันเลย" นายเรืองไกรกล่าว ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยยันต์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน 1 ใน 28 ส.ส. กล่าวว่า ในวันที่ 3 พ.ย. คงขอลาประชุมสภาฯหนึ่งวันเพื่อไปพักผ่อนต่างจังหวัด เพราะรู้สึกเครียดมากกับคดีนี้ หากไปร่วมฟังด้วยอาจจะช็อกคาศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
ที่มา:บางกอกทูเดย์
******************************************************************
ต้องบอกเลยว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในยามนี้ ยิ่งกว่าเผชิญกับภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่เสียอีก เพราะเปียกปอนกระเซอะกระเซิงอย่างยิ่งกับกรณีคลิปฉาว
ทำให้มีทั้งคำถาม มีทั้งการจับตามองการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างมากมาย จนทำให้หลายฝ่ายต่างรู้สึกไม่สบา ยใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ล่าสุดนอกจากจะโดนกดดันเรื่องความพยายามเบี่ยงประเด็นไปเน้นถึงที่มาของคลิปดังกล่าว พร้อมกับพยายามที่จะเอาผิดกับคนที่เอาคลิปมาเปิดเผย
โดยเลี่ยงที่จะไม่พูดถึงเนื้อหาและข้อเท็จจริงภายในคลิป
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างมาก
เพราะคำถามก็คือ หากมีการเผยแพร่คลิปนักการเมืองมีการทุจริตคอรัปชั่น มีภาพปรากฏว่ามีการหารือเจรจากันว่าต้องจ่าย 30% หรือ 35% แล้วมีการจ่ายเงินกัน บังเอิญมีผู้พบเห็นแล้วถ่ายคลิปเอาไว้
แต่บังเอิญเป็นที่รู้กันว่านักการเมืองรายนี้เป็นผู้มีอิทธิพล ผู้ที่มีหลักฐานไม่อยากเสี่ยงออกมาแฉพฤติกรรมอย่างเปิดเผย เพราะเกรงอันตรายจะมาถึงตัว จึงใช้วิธีเอาภาพทุจริตออกมาเผยแพร่
แล้วจะกลายเป็นว่ามาเอาผิดกับคนเผยแพร่คลิป โดยที่ไม่พูดถึงพฤติกรรมของนักการเมืองในคลิปเลย ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ตลกอย่างมาก
ซึ่งกรณีของคลิปที่เกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่น่าที่จะแตกต่างกันแต่อย่างใด
ก็เพราะแบบนี้แหละที่สังคมทุกฝ่ายพากันจับตามองในเรื่องนี้อย่างเขม็ง ว่าสุดท้ายจะมีความกระจ่างให้กับสังคมอย่างไร
สำคัญที่สุดหากสังคมเชื่อในสิ่งที่เห็นจากคลิปว่ามีมูล ตรงนี้จะกระทบกับภาพลักษณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด
เนื่องจากขณะนี้ทางตำรวจกลับไปเน้นประเด็นที่ว่า คลิปที่ออกมานั้น ใช้กล้องอะไรถ่าย???
โดยเมื่อหลายวันก่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้ามาตรวจดูแลทำเหตุการณ์จำลองเหมือนในคลิป ก็ยังไม่เข้าใจกันอยู่ว่าถ่ายมาจากอะไร ทางตำรวจจึงพยายามที่จะไขปริศนาว่าใช้วิธีการทางเทคนิคอย่างไรในการแอบถ่ายครั้งนี้
จนทำให้มีการตั้งข้อสังเกคุว่า ที่อยากรู้ว่าใช้เทคนิกอะไรถ่าย เพื่อจะเอาไว้ใช้ในการป้องกันในอนาคต จะได้ไม่ถูกแอบถ่ายอีกเช่นนั้นหรือ!!!
ยิ่งกลายเป็นสิ่งที่สะท้อนให้คนมีความเชื่อในคลิปเหบ่านั้นมากขึ้นไปอีก ว่าแบบนี้น่าจะเป็นคลิปจริง เพราะขนาดตำรวจยังจัดฉากไม่ได้เลย
ดังนั้นต่อให้แม้ว่าจะจับตัวนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กลับมาได้ และยอมรับมีการดำเนินคดีว่าแอบถ่ายคลิปดังกล่าวก็ตาม แต่ถ้านายพสิษฐ์ยืนยันว่า แม้จะเป็นการแอบถ่ายแต่ก็เป็นคลิปที่ถ่ายจากเหตุการณ์จริงๆ
ตรงนี้แหละจะยิ่งกระเทือนภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหนักขึ้นไปอีก
จึงไม่แปลกที่เริ่มมีเสียงสะท้อนให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกเกิดขึ้นมาเป็นระยะๆแล้วในขณะนี้
และยิ่งภายในองค์กรศาลรัฐธรรมนูญเริ่มมีปัญหากันเอง เช่นกรณีที่นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาโวยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องรีบออกมาชี้แจงรายละเอียดเพราะถือเป็นเรื่องสำคัญต่อองค์กรมาก การนิ่งเฉยของนายเชวนะจึงถูกนายวสันต์มองว่าไม่ปกป้องสถาบัน ก็ยิ่งกลายเป็นเรื่องไฟในนำออก ไฟนอกนำเข้า... หนักยิ่งขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นอกจะงวดใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว จากรกร๊คลิปที่เกิดขึ้น จึงทำให้ทุกภาคส่วนในสังคมตื่นตัวและหันมาจับตามองในเรื่องนี้อย่างใก้ชิด ว่าสุดท้ายแล้วคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรกันแน่
อย่างไรก็ตาม ได้มีการออกเอกสารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมาชี้แจงว่า กรณีคลิปวีดิโอพาดพิงศาลรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดำเนินคดีกับผู้หมิ่นประมาท ข่มขู่ศาลรัฐธรรมนูญ ดำเนินการเพิกถอนหนังสือเดินทางราชการนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และการแจ้งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่คลิปวีดิโอ และขณะนี้ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้สั่งให้เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ บล็อกเว็บไซต์ยูทูบ เพื่อไม่ให้บุคคลที่อยู่ในบริเวณศาลรัฐธรรมนูญเข้าเว็บไซต์ยูทูบผ่านเซิร์ฟเวอร์ของศาลรัฐธรรมนูญ ทำผู้ที่เข้าไปดูคลิปลับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านเว็บไซต์ยูทูบไม่ได้ตลอดทั้งวัน
เลยทำให้ข้าราชการของศาลรัฐธรรมนูญวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้กันมากว่า เป็นการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของคนในศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะที่นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง และทีมกฎหมายคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ได้ปรากฏตัวอยู่ในคลิปเกี่ยวข้องกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ว่า หากดูทั้งหมดจะเห็นว่าคลิปดังกล่าวไม่เกี่ยวกับพรรค เพราะนายวิรัชไปพบนายพสิฐษ์เป็นการส่วนตัว ไม่ได้บอกให้คนในพรรคทราบแม้แต่คนเดียว จึงไม่มีผลต่อการพิจารณาในคดียุบพรรคแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯได้มีการสรุปออกมาว่านายวิรัช มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำไม่ถูก ไม่ควรไปพบกับนายพสิษฐ์ และเมื่อถูกถามนำก็ไม่ควรตอบให้เกี่ยวพัน โยงใยถึง ขนาดนั้น เพราะรู้อยู่แล้วว่านายพสิษฐ์ เป็นเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่ตัวเองเป็นทีมกฎหมายของพรรค ยิ่งไม่ควรไป เพราะผูกโยงกันอยู่
สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดผลกระทบต่อพรรค ทำให้คนรู้สึกคลางแคลงใจสับสนในพรรคว่าเป็นอย่างไรกันแน่
ส่วนบทลงโทษจะกระทบต่อตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคของนายวิรัชหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุลพินิจของหัวหน้าพรรคที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับพรรคข้อที่ 79 คือ การตักเตือน หรือภาคทัณฑ์ ดังนั้นไม่ว่างานนี้สุดท้ายแล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละที่จะถูกกระทบในเรื่องภาพลักษณมากที่สุด
ดังนั้นสังคมจึงมีการจับตามองว่า สำหรับคดีดังอีกคดีหนึ่งที่จะมีการตัดสินในวันนี้ ( 3 พ.ย.) เวลา 15.00 น. นั่นจะเป็นการทดสอบภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อนที่จะถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
นั่นก็คือ องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธาน จะร่วมกันลงมติและแถลงผลการวินิจฉัยคดีหุ้นสัมปทานของรัฐของ ส.ส.และ ส.ว. ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่งที่สังคมไทยจับตามองมาตลอด
โดยคดีดังกล่าวยื่นโดยประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะผู้ร้องส่งความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ศาลวินิจฉัยความเป็นสมาชิกภาพของ ส.ส.และ ส.ว. 44 ราย ใน
ฐานะผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
เนื่องจากกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 (2) และ (4) ถือครองหุ้นในธุรกิจสื่อและบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ
ทั้งนี้ ส.ส. ผู้ที่มีชื่อเข้าข่ายจะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้สิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพมีทั้งสิ้น 28 ราย โดยเป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ 12 ราย พรรคชาติไทยพัฒนา 1 ราย และพรรคภูมิใจไทย 2 ราย รวม 15 ราย
โดยมี ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีรวมอยู่ด้วย คือนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก และรมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วนและรองนายกรัฐมนตรี นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา และ รมช. มหาดไทย นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ต้องพ้นสภาพ ส.ส. ก็ไม่มีผลทำให้ 4 รัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีผลผูกพันต่อการเป็นรัฐมนตรี เป็นแค่การสิ้นสภาพ ส.ส.เท่านั้น ขณะที่ฝ่ายค้านมี ส.ส .จากพรรคเพื่อไทย 8 ราย พรรคเพื่อแผ่นดิน 3 ราย โดยเป็น ส.ส.ในกลุ่มสามพี พรรคประชาราช 2 ราย
ดังนั้น จึงเท่ากับว่าหากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ ส.ส.ทั้งหมดต้องพ้นสมาชิกสภาพ เสียง ส.ส.ซีกรัฐบาลจะหายไป 15 เสียง ส่วนเสียง ส.ส.ซีกฝ่ายค้านจะหายไป 13 เสียง จึงไม่มี ผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลในสภาฯมากนัก ขณะที่ในส่วนของ ส.ว. ซึ่งมีชื่อถูก กกต.ส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย มีทั้งสิ้น 16 ราย โดยมีทั้ง ส.ว.สรรหา และ ส.ว.เลือกตั้ง อาทิ นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา นายถาวร ลีนุตพงษ์ ส.ว.สรรหา นายสิทธิศักดิ์ ยนต์ตระกูล ส.ว.กาฬสินธ์ุ เป็นต้น
ทั้งนี้ บริษัทที่ กกต.เคยมีมติว่า เข้าข่ายเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อ และเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐตามนัยมาตรา 265 (2) (4) มีทั้งสิ้น 22 บริษัท อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัททีพีไอโพลีน จำกัด มหาชน บริษัทชินคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัททรูคอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ยื่นคำร้องขอให้ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.และ ส.ว. กล่าวว่า แม้จะเป็นผู้ยื่นคำร้องแต่คงไม่เดินทางไปฟังคำตัดสิน เนื่องจากถือว่าไม่ใช่คู่กรณีโดยตรง การตัดสินกรณีดังกล่าวจะถือเป็นบรรทัดฐานตลอดนับจากนี้ไป เพราะกรณีเรื่องการถือครองหุ้นของ ส.ส.และ ส.ว. เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการวางบรรทัดฐานมาก่อน อีกทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการถือครองหุ้น โดยเฉพาะมาตรา 265 และมาตรา 267 จะได้มีความชัดเจน
โดยเฉพาะกรณีการถือครองหุ้นมาก่อนหรือหลังรับตำแหน่ง
เพราะเดิมมีเนื้อหาระบุเพียงว่า ห้ามมิให้ ส.ส.และ ส.ว.ถือครองหุ้นที่เป็นสัมปทานกับรัฐโดยเด็ดขาด ไม่ได้มีการระบุข้อยกเว้นเหมือนกับมาตรา 269 ที่บังคับกับบุคคลที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ที่ยกเว้นให้สามารถถือครองได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถโอนฝากไว้ที่ลูกหลานและเครือญาติได้ "ถ้าศาลตัดสินว่ามีความผิด ส.ส.ที่เป็นระบบสัดส่วน ถ้าพรรคการเมืองนั้นไม่มีให้เลื่อนขึ้นมา ก็จะต้องเว้นว่าง แต่ถ้าเป็น ส.ส.ปกติก็ต้องจัดเลือกตั้งหลายเขต ซึ่งจะมีวาระเพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น ส่วนถ้าเป็น ส.ว.สรรหา ก็ต้องมาเริ่มกระบวนการคัดเลือกกลั่นกรองตัวบุคคลที่มีคุณสมบัติมาดำรงตำแหน่งกันใหม่ ซึ่งก็มีวาระอยู่ได้ไม่ถึง 6 เดือน ดังนั้น จึงอาจไม่คุ้มค่ากับงบประมาณของหลวง หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแบบนี้ผมเห็นว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรจะประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ด้วยการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ไปในคราวเดียวกันเลย" นายเรืองไกรกล่าว ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยยันต์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน 1 ใน 28 ส.ส. กล่าวว่า ในวันที่ 3 พ.ย. คงขอลาประชุมสภาฯหนึ่งวันเพื่อไปพักผ่อนต่างจังหวัด เพราะรู้สึกเครียดมากกับคดีนี้ หากไปร่วมฟังด้วยอาจจะช็อกคาศาลรัฐธรรมนูญก็ได้
ที่มา:บางกอกทูเดย์
******************************************************************
ความยุติธรรมหลังเม.ย.-พ.ค.53
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ข่าวสดรายวัน
หมายเหตุ - ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค.2553 (ศปช.) จัดเสวนาเรื่อง "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังกรณี เม.ย.-พ.ค.2553 : การแสวงหาความจริง การรับผิด ความยุติธรรม ความปรองดอง" ที่ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.
ศรีประภา เพชรมีศรี
ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนา
มหาวิทยาลัยมหิดล
ความยุติธรรมในระยะหลังการเปลี่ยนผ่านกรณี เม.ย. -พ.ค.2553 รัฐไทยยังไม่มีความพยายามหามาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน และวันนี้เหยื่อที่เกิดจากการละเมิดสิทธิ์ยังมีอยู่
นอกจากนี้ รัฐไทยยังมีเครื่องมือละเมิดสิทธิมนุษยชน ในส่วนมาตรการทางกฎหมายโดยเฉพาะพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.ความมั่นคง
ขณะที่การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงที่รัฐบาลตั้งขึ้น เช่น คอป. (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ) โดยระบุหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ยังดูเหมือนว่ามีข้อจำกัด ไม่มีการดำเนินการอย่างกว้างขวาง
สิ่งที่หาอยู่ในปัจจุบันเป็นเพียงการหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่หาความจริง
อุปสรรคสำคัญของคอป. คือที่ผ่านมารัฐไทยไม่มีความพยายามจะลงโทษผู้กระทำผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่อดีตจนถึงสถานการณ์ล่าสุด
ส่วนการเยียวยาเหยื่อผู้เสียหาย ซึ่งดูเหมือนจะง่ายที่สุด แต่ยืนยันได้ว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะการคิดว่าการเยียวยาต้องเป็นรูปของตัวเงิน
แต่ความจริงแล้วการเยียวยาที่ดีที่สุดคือการเยียวยาจิตใจ ที่ผ่านมาไม่มีการทำกันมากนัก
ต้องเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ยอมรับ คือสิทธิ์ที่ต้องได้รับรู้ความจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกครั้ง แต่ตรงนี้กลับขาดหายไป ครอบครัวเหยื่อยังไม่ได้รับสิทธิ์ในการรับรู้ความจริง รวมทั้งการเข้าถึงความยุติธรรม
มีการพูดกันมากว่าคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นต้องแก้ไขความแตกแยกในสังคม จึงมีคำถามว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้หรือไม่
เพราะการยอมรับคณะกรรมการนั้นยากมาก เพราะเป็นกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเอง ส่วนการสมานบาด แผลในสังคมก็ไม่น่าเกิดขึ้นได้
น่าสังเกตว่า 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย เหยื่อ คณะกรรม การ และรัฐบาล ยังไม่มีการพูดคุยหรือหารือแลกเปลี่ยนอะไรกันเลย
และที่บอกว่าเมื่อลงพื้นที่เพื่อพบปะผู้ชุมนุมบางกลุ่มจะเกิดความปรองดองได้นั้น ตรงนี้มันไม่ใช่ เพราะขณะนี้ความคิดต่างแตกแยกเกิดทั่วไปหมด
ขณะที่รัฐไทยไม่เคยปฏิรูปสถาบันที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ถ้าไม่มีการปฏิรูปตรงนี้จะไม่มีหลักประกันเลยว่าจะไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอีก ตรงนี้คือจุดที่รัฐบาลต้องทบทวน
สิ่งสำคัญเช่นกันคือ การขอให้อภัย หรือการขอโทษที่มาจากผู้กระทำ ตรงนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่มีการขอ โทษก็ไม่มีการให้อภัยเช่นกัน
คณะกรรมการแต่ละชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้น ควรเลือกหา ความจริงให้เข้ากับคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เลือกหาความจริงกับผู้ที่มีอำนาจ และคณะกรรมการต้องหาความจริงในส่วนของผู้กระทำผิด
และต้องประณามผู้กระทำผิดนั้นด้วย
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์
เดือน เม.ย.-พ.ค.2553
ความผิดพลาดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ กรณีสั่งการสลายการชุมนุม เปรียบได้กับบาป 7 ประการ
บาปที่ 1 การใช้ความกลัวครอบงำประชาชน โดยผ่าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วนำมาข่มขู่คนเสื้อแดง ทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ตรงกลาง รวมถึงคนที่ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอยู่ใกล้ชิดทหารมากขึ้น ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก
บาปที่ 2 การเลือกปฏิบัติในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย ที่ผ่านมามีการเลือกปฏิบัติชัดเจน อยากให้แยกว่าคนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ เขาทำความรุนแรงหรือไม่ ที่ผ่านมาพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเท่าที่ควร
บาปที่ 3 การสร้างความเคียดแค้นชิงชังผ่านข้อ ความการรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น "ขอความสงบสุขคืนมา" "ห้างถูกเผา" หรือ "ถ้าไม่เกิดกับครอบครัวตัวเองคงไม่รู้"
บาปที่ 4 การผลักไสให้เป็นอื่น โดยผ่านคณะกรรม การที่รัฐบาลตั้งขึ้น พูดแต่ทุกข์และความสูญเสีย แต่ไม่ยอมพูดความจริงเลย
บาปที่ 5 การข่มขู่ไล่ล่า
บาปที่ 6 การสมคบคิดสร้างหลักฐานเท็จทำลายหลักฐานและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
และบาปที่ 7 การปฏิเสธความรับผิดชอบของรัฐ บาลที่ผ่านมา อย่างน้อยๆ ไม่เคยได้ยินคำขอโทษจากรัฐบาลเลย
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคอป.
สิ่งที่เป็นปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยขณะนี้ หลายฝ่ายไม่แน่ใจว่ารัฐบาล ที่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบหาความจริง จะทำได้หรือไม่และเป็นที่ยอมรับมากน้อยแค่ไหน
ด้วยเหตุนี้ทำให้ความไว้ใจของคณะกรรมการชุดต่างๆ ติดลบมาตั้งแต่ต้นเพราะตั้งมาจากผู้ขัดแย้ง
ยอมรับว่าแม้แต่นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนว ทางปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เองก็ยังไม่อยากชี้นิ้วว่าใครผิด
การตั้งคอป.ขึ้นมาจึงยากตั้งแต่ต้นและยอมรับว่าคอป. ทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ ทุกเรื่องราวไม่มีใครมีคำตอบให้
ถามว่าใครเป็นคนฆ่าผู้ชุมนุม เรื่องนี้ผมรวมทั้งคอป.ก็อยากทราบ หากใครหรือหน่วยงานไหนมีข้อมูลขอให้มาพูดคุยให้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง แล้วสังคมจะเดินหน้าต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม คอป.จะพยายามค้นหาความจริง เยียว ยาและสร้างพื้นที่ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการหารากเหง้าของปัญหาในสังคมไทย
โดยตั้งเป้าหมายว่าจะลดการฆ่ากันให้ได้
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย
ตั้งแต่เคยรับราชการมา เข้าใจว่าความยุติธรรมในประเทศนี้ไม่เคยมี เพราะถูกกำหนดโดยกติกาจากกลุ่มคนที่เขียนกติกาขึ้นโดยเฉพาะอำมาตยาธิปไตย ทุกอย่างล้วนเป็นการแสวงประโยชน์
การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อแสวงประโยชน์กับกลุ่มคนเสื้อแดง ใช้ช่องว่างตรงนี้ทำให้อีกฝ่ายผิดกฎหมาย และนำทหารออกมา นำอาวุธสงครามมาปราบปรามผู้ชุมนุม
พรรคเพื่อไทยแสดงความเห็นกรณีทหารนำอาวุธออกมาใช้ตั้งแต่ต้น การอ้างว่าเป็นฝีมือจากชายชุดดำ มันมีกระบวนการบิดเบือน เราสูญเสียวีรชน เขาเหล่านั้นต้องเสียชีวิต
หลังการเสียชีวิตนำไปสู่กระบวนการก็ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ฉะนั้น เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นจนจบการสลายการชุมนุม เข้าใจว่าหลายหน่วยงานพยายามเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง ถือเป็นเรื่องเหมาะสม
พรรคเพื่อไทยได้รับสิ่งที่รัฐบาลทำออกมา ทั้งภาพ คลิป ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ตรงกับเรา แต่วันข้างหน้าเชื่อว่าความจริงจะปรากฏ ฉะนั้น การแสวงหาความจริงจากวันนี้ ยังเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่แท้จริง
จุดยืนพรรคยืนยันว่าเราไม่เคยพูดเรื่องนิรโทษกรรม เรื่องนี้มีแต่คนพูดแทนเรา ยืนยันว่าเราจะเรียกร้องความยุติธรรมคืนให้กับ 91 ชีวิตที่เสียสละ
ถ้าหาความยุติธรรมตรงนี้ไม่ได้ ความปรองดองในบ้านเมืองไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน
เชื่อว่าพี่น้องเสื้อแดงทุกคนมีอารมณ์ มีความเคียด แค้น แต่เราต้องร่วมมือกันแสวงหาความจริงให้ได้ และน่ายินดียิ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ตอนนี้เขารู้อะไรมากมาย เขาพัฒนาเรื่องการรับรู้ความจริงไปมาก เขารู้ว่าเหตุเกิดจากอะไร
การเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง คงไม่ไกลเกินไป แต่ต้องใช้เวลา
****************************************************
ข่าวสดรายวัน
หมายเหตุ - ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค.2553 (ศปช.) จัดเสวนาเรื่อง "ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังกรณี เม.ย.-พ.ค.2553 : การแสวงหาความจริง การรับผิด ความยุติธรรม ความปรองดอง" ที่ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.
ศรีประภา เพชรมีศรี
ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนา
มหาวิทยาลัยมหิดล
ความยุติธรรมในระยะหลังการเปลี่ยนผ่านกรณี เม.ย. -พ.ค.2553 รัฐไทยยังไม่มีความพยายามหามาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน และวันนี้เหยื่อที่เกิดจากการละเมิดสิทธิ์ยังมีอยู่
นอกจากนี้ รัฐไทยยังมีเครื่องมือละเมิดสิทธิมนุษยชน ในส่วนมาตรการทางกฎหมายโดยเฉพาะพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.ความมั่นคง
ขณะที่การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงที่รัฐบาลตั้งขึ้น เช่น คอป. (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ) โดยระบุหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ยังดูเหมือนว่ามีข้อจำกัด ไม่มีการดำเนินการอย่างกว้างขวาง
สิ่งที่หาอยู่ในปัจจุบันเป็นเพียงการหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่หาความจริง
อุปสรรคสำคัญของคอป. คือที่ผ่านมารัฐไทยไม่มีความพยายามจะลงโทษผู้กระทำผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่อดีตจนถึงสถานการณ์ล่าสุด
ส่วนการเยียวยาเหยื่อผู้เสียหาย ซึ่งดูเหมือนจะง่ายที่สุด แต่ยืนยันได้ว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด โดยเฉพาะการคิดว่าการเยียวยาต้องเป็นรูปของตัวเงิน
แต่ความจริงแล้วการเยียวยาที่ดีที่สุดคือการเยียวยาจิตใจ ที่ผ่านมาไม่มีการทำกันมากนัก
ต้องเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) ยอมรับ คือสิทธิ์ที่ต้องได้รับรู้ความจริงในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกครั้ง แต่ตรงนี้กลับขาดหายไป ครอบครัวเหยื่อยังไม่ได้รับสิทธิ์ในการรับรู้ความจริง รวมทั้งการเข้าถึงความยุติธรรม
มีการพูดกันมากว่าคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นต้องแก้ไขความแตกแยกในสังคม จึงมีคำถามว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้หรือไม่
เพราะการยอมรับคณะกรรมการนั้นยากมาก เพราะเป็นกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาเอง ส่วนการสมานบาด แผลในสังคมก็ไม่น่าเกิดขึ้นได้
น่าสังเกตว่า 3 ฝ่าย ที่ประกอบด้วย เหยื่อ คณะกรรม การ และรัฐบาล ยังไม่มีการพูดคุยหรือหารือแลกเปลี่ยนอะไรกันเลย
และที่บอกว่าเมื่อลงพื้นที่เพื่อพบปะผู้ชุมนุมบางกลุ่มจะเกิดความปรองดองได้นั้น ตรงนี้มันไม่ใช่ เพราะขณะนี้ความคิดต่างแตกแยกเกิดทั่วไปหมด
ขณะที่รัฐไทยไม่เคยปฏิรูปสถาบันที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ถ้าไม่มีการปฏิรูปตรงนี้จะไม่มีหลักประกันเลยว่าจะไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอีก ตรงนี้คือจุดที่รัฐบาลต้องทบทวน
สิ่งสำคัญเช่นกันคือ การขอให้อภัย หรือการขอโทษที่มาจากผู้กระทำ ตรงนี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อไม่มีการขอ โทษก็ไม่มีการให้อภัยเช่นกัน
คณะกรรมการแต่ละชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้น ควรเลือกหา ความจริงให้เข้ากับคนส่วนใหญ่ ไม่ใช่เลือกหาความจริงกับผู้ที่มีอำนาจ และคณะกรรมการต้องหาความจริงในส่วนของผู้กระทำผิด
และต้องประณามผู้กระทำผิดนั้นด้วย
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์
เดือน เม.ย.-พ.ค.2553
ความผิดพลาดของรัฐบาลอภิสิทธิ์ กรณีสั่งการสลายการชุมนุม เปรียบได้กับบาป 7 ประการ
บาปที่ 1 การใช้ความกลัวครอบงำประชาชน โดยผ่าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แล้วนำมาข่มขู่คนเสื้อแดง ทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่อยู่ตรงกลาง รวมถึงคนที่ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอยู่ใกล้ชิดทหารมากขึ้น ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก
บาปที่ 2 การเลือกปฏิบัติในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหาย ที่ผ่านมามีการเลือกปฏิบัติชัดเจน อยากให้แยกว่าคนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บ เขาทำความรุนแรงหรือไม่ ที่ผ่านมาพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาเท่าที่ควร
บาปที่ 3 การสร้างความเคียดแค้นชิงชังผ่านข้อ ความการรณรงค์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น "ขอความสงบสุขคืนมา" "ห้างถูกเผา" หรือ "ถ้าไม่เกิดกับครอบครัวตัวเองคงไม่รู้"
บาปที่ 4 การผลักไสให้เป็นอื่น โดยผ่านคณะกรรม การที่รัฐบาลตั้งขึ้น พูดแต่ทุกข์และความสูญเสีย แต่ไม่ยอมพูดความจริงเลย
บาปที่ 5 การข่มขู่ไล่ล่า
บาปที่ 6 การสมคบคิดสร้างหลักฐานเท็จทำลายหลักฐานและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
และบาปที่ 7 การปฏิเสธความรับผิดชอบของรัฐ บาลที่ผ่านมา อย่างน้อยๆ ไม่เคยได้ยินคำขอโทษจากรัฐบาลเลย
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ปลัดกระทรวงยุติธรรม และคอป.
สิ่งที่เป็นปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยขณะนี้ หลายฝ่ายไม่แน่ใจว่ารัฐบาล ที่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบหาความจริง จะทำได้หรือไม่และเป็นที่ยอมรับมากน้อยแค่ไหน
ด้วยเหตุนี้ทำให้ความไว้ใจของคณะกรรมการชุดต่างๆ ติดลบมาตั้งแต่ต้นเพราะตั้งมาจากผู้ขัดแย้ง
ยอมรับว่าแม้แต่นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนว ทางปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เองก็ยังไม่อยากชี้นิ้วว่าใครผิด
การตั้งคอป.ขึ้นมาจึงยากตั้งแต่ต้นและยอมรับว่าคอป. ทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่ ทุกเรื่องราวไม่มีใครมีคำตอบให้
ถามว่าใครเป็นคนฆ่าผู้ชุมนุม เรื่องนี้ผมรวมทั้งคอป.ก็อยากทราบ หากใครหรือหน่วยงานไหนมีข้อมูลขอให้มาพูดคุยให้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง แล้วสังคมจะเดินหน้าต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม คอป.จะพยายามค้นหาความจริง เยียว ยาและสร้างพื้นที่ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการหารากเหง้าของปัญหาในสังคมไทย
โดยตั้งเป้าหมายว่าจะลดการฆ่ากันให้ได้
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย
ตั้งแต่เคยรับราชการมา เข้าใจว่าความยุติธรรมในประเทศนี้ไม่เคยมี เพราะถูกกำหนดโดยกติกาจากกลุ่มคนที่เขียนกติกาขึ้นโดยเฉพาะอำมาตยาธิปไตย ทุกอย่างล้วนเป็นการแสวงประโยชน์
การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อแสวงประโยชน์กับกลุ่มคนเสื้อแดง ใช้ช่องว่างตรงนี้ทำให้อีกฝ่ายผิดกฎหมาย และนำทหารออกมา นำอาวุธสงครามมาปราบปรามผู้ชุมนุม
พรรคเพื่อไทยแสดงความเห็นกรณีทหารนำอาวุธออกมาใช้ตั้งแต่ต้น การอ้างว่าเป็นฝีมือจากชายชุดดำ มันมีกระบวนการบิดเบือน เราสูญเสียวีรชน เขาเหล่านั้นต้องเสียชีวิต
หลังการเสียชีวิตนำไปสู่กระบวนการก็ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ฉะนั้น เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นจนจบการสลายการชุมนุม เข้าใจว่าหลายหน่วยงานพยายามเก็บรวบรวมข้อเท็จจริง ถือเป็นเรื่องเหมาะสม
พรรคเพื่อไทยได้รับสิ่งที่รัฐบาลทำออกมา ทั้งภาพ คลิป ถือเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ตรงกับเรา แต่วันข้างหน้าเชื่อว่าความจริงจะปรากฏ ฉะนั้น การแสวงหาความจริงจากวันนี้ ยังเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่แท้จริง
จุดยืนพรรคยืนยันว่าเราไม่เคยพูดเรื่องนิรโทษกรรม เรื่องนี้มีแต่คนพูดแทนเรา ยืนยันว่าเราจะเรียกร้องความยุติธรรมคืนให้กับ 91 ชีวิตที่เสียสละ
ถ้าหาความยุติธรรมตรงนี้ไม่ได้ ความปรองดองในบ้านเมืองไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน
เชื่อว่าพี่น้องเสื้อแดงทุกคนมีอารมณ์ มีความเคียด แค้น แต่เราต้องร่วมมือกันแสวงหาความจริงให้ได้ และน่ายินดียิ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ตอนนี้เขารู้อะไรมากมาย เขาพัฒนาเรื่องการรับรู้ความจริงไปมาก เขารู้ว่าเหตุเกิดจากอะไร
การเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง คงไม่ไกลเกินไป แต่ต้องใช้เวลา
****************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สุ่มตรวจของรับบริจาคอยุธยาหลังมีร้องเรียนกั๊กของให้พวก
นายประยงค์ ปรียาจิตต์ รองเลขาธิการคณะการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบตามที่มีประชาชนร้องเรียนมายังป.ป.ท. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มีนโยบายให้เร่งดำเนินการทันทีหากมีประชาชนร้องเรียน จึงได้ลงพื้นที่จังหวัดอยุธยา และจังหวัดสิงห์บุรีเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการแจกถุงยังชีพให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย พบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจทำงานกันอย่างเต็มที่ แม้จะมีประชาชนบางส่วนที่ระบุว่าถุงยังชีพที่ภาครัฐและภาคเอกชนแจกมายังได้รับไม่ทั่วถึงก็ตาม แต่ในการลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นเพียงการป้องปรามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งแจกจ่ายถุงยังชีพให้กับประชาชนทันทีที่ได้รับแจกมาเท่านั้น เพราะหากไม่เร่งดำเนินการและมีประชาชนร้องเรียนมาอีกก็จะตรวจสอบหาหลักฐานดำเนินคดี พร้อมทั้งส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รวมถึงจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
“ถ้าประชาชนพบเห็นการทุจริต และพบเห็นว่ามีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดทุจริต ไม่นำสิ่งของที่ได้มาแจกจ่ายให้กับประชาชนขอให้แจ้งมายังกระทรวงยุติธรรมหรือป.ป.ท.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอลทันที โดยยืนยันการลงพื้นที่ครั้งนี้ไม่ใช่การกดดันหรือจับผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด” นายประยงค์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงสายนายประยงค์ เจ้าหน้าที่ ปปท.และเจ้าหน้าที่ตำรวจสภอ.อินทร์บุรีได้เข้าตรวจสอบจุดที่ประชาชนมาเข้าคิวรับของบริจาคพื้นที่บริเวณเขต ต.ท่างาม จ.สิงห์บุรี ซึ่งพบว่าถนนเส้นดังกล่าวยังคงมีปริมาณน้ำท่วมสูง การเดินทางจะต้องใช้เรือแม้ว่าขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงบ้างแล้วก็ตาม แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางออกมาได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ด้านใน ขณะที่ทางอบต.ท่างามซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะต้องกระจายของบริจาคไปให้ประชาชนนั้นได้ตั้งจุดให้บริการและประกาศให้ชาวบ้านมารับบัตรคิวพร้อมทั้งนำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเพื่อรอรับของที่จะแจกให้ในเวลา 15.00 น.ของทุกวัน
ชาวบ้าน ต.ท่างามที่มาเข้าคิวรับของบริจาค กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ยังได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากเพราะน้ำท่วมมานาน 2 สัปดาห์แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ที่ผ่านมาจะได้รับความช่วยเหลือจากการมีผู้นำของบริจาคมามอบให้ รวมทั้งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯแต่ชาวบ้านก็ได้รับไม่ทั่วถึง เนื่องจากส่วนใหญ่บ้านน้ำท่วมสูงระดับอกไม่สามารถออกมาได้เนื่องจากไม่มีเรือ และทางอบต.ก็ไม่ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงไปแจกของให้ นอกจากนี้บางครั้งออกมาเพื่อรับของแจกแต่ปรากฏว่าของหมด
ขณะที่นายวิชัย บุญเข็ม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี กล่าวว่า หมู่บ้านของตนได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย 6 หมู่บ้าน จำนวน 183 หลังคาเรือน โดยสิ่งของที่ได้รับบริจาคจะมาจากภาคเอกชนเป็นหลัก และยังไม่ได้รับของบริจาคจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งเมื่อได้รับของแล้ว ตนจะประกาศให้ชาวบ้านนำคูปองและบัตรประชาชนมาลงทะเบียนรับของ ในกรณีที่ชาวบ้านอยู่ไกลไม่สามารถเดินทางออกมาได้ ก็จะพายเรือนำของไปแจกให้ถึงบ้าน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการไม่ได้รับของแจกหรือการไม่ได้รับความช่วยเหลือ โดยประชาชนในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้รับของแจกมา 7-8 รอบแล้ว
“ชาวบ้านเดือดร้อนกันทุกครอบครัว ผมเองแม้บ้านจะอยู่ข้างนอกน้ำไม่ท่วม แต่ทุกคืนนับตั้งแต่มีปัญหาน้ำท่วมชาวบ้านต้องมาตั้งเต๊นท์พักบนถนน ผมก็มานอนกับลูกบ้านทุกคืน มันทิ้งกันไม่ได้ ทุกวันนี้เครียดมากอยากให้น้ำลงเร็วๆ” นายวิชัย กล่าว
นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้วปปท.ยังเข้าไปตรวจสอบบริเวณเขตพื้นที่ ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงหมู่บ้านชีน้ำร้าย หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่ามีการยักยอกสิ่งของบริจาค และนำของที่ได้รับบริจาคไปคัดแยกแจก จนสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านนั้น
จากการสอบถามชาวบ้านหลายคน กล่าวว่า ในช่วงน้ำท่วมระยะแรกได้รับสิ่งของบริจาคแจกน้ำท่วมเป็นถุง แต่ระยะหลังพบว่าของแจกมีเพียงบะหมี่สำเร็จรูป และปลากระป๋องเท่านั้น ส่วนผ้าห่มแม้จะมีข่าวว่าได้มีผู้นำมาบริจาคแล้วแต่ชาวบ้านยังไม่ได้รับและยังเคยไม่เห็น บางรายได้รับของแจกมา 4 ครั้ง ซึ่งก็ได้แต่น้ำกับบะหมี่สำเร็จรูป ส่วนข้าวสารไม่เคยได้รับ
นายเจริญ ศรีกล่อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก ชี้แจงเรื่องการแจกจ่ายถุงยังชีพและของช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ว่า ในส่วนของต.ประศุก มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน 999 ครัวเรือน 3,214 คน โดยขั้นตอนหลังได้รับบริจาคถุงยังชีพจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว จะมอบให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับไปแจกจ่ายแก่ลูกบ้าน และจะมีการประกาศเสียงตามสายเพื่อให้ประชาชนรับทราบวันเวลาที่ต้องมารับถุงยังชีพ โดยผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านจะมีบัญชีรายชื่อประชาชนและจำนวนครัวเรือนที่ชัดเจน และสามารถจัดสรรถุงยังชีพได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งในการแจกถุงยังชีพทุกครั้งจะกำชับว่าหากได้รับมาแล้วจำเป็นต้องแจกจ่ายประชาชนให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว โดยที่ผ่านมาในพื้นที่ต.ประศุกได้มีการแจกถุงยังชีพไปแล้ว 4 ครั้ง และตนไม่เคยได้รับการร้องเรียนจากประชาชนรายใดว่าไม่ได้รับถุงยังชีพ
“ในพื้นที่ไม่มีพฤติกรรมผิดปกติเกี่ยวกับการแจกจ่ายถุงยังชีพ ทั้งเรื่องการแยกของบริจาคออกจากถุง และนำบางส่วนไปเก็บไว้เป็นส่วนตัว หรือการแจกจ่ายถุงยังชีพไม่ทั่วถึง โดยมองว่ากรณีที่เกิดการร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐนั้น อาจมาจากกรณีที่มีหน่วยงานเอกชนเสนอความช่วยเหลือมายังพื้นที่ แต่เนื่องจากจำนวนสิ่งของที่หน่วยงานเหล่านั้นนำมาไม่ครบกับจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ เช่น นำถุงยังชีพมาเพียง 200 ชุด ขณะที่ในพื้นที่มีถึง 999 ครัวเรือน ในกรณีนี้ผมจะหลีกเลี่ยงไม่เป็นตัวแทนในการจัดสรรสิ่งของแต่จะให้หน่วยงานเอกชนเหล่านั้นนำของไปมอบให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนเอง เพราะเกรงถูกมองว่าเลือกปฏิบัติ” นายเจริญ กล่าว
นายไกรลาศ รัตนโอฬาร นายอำเภออินทร์บุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแจกจ่ายถุงยังชีพแน่นอน พร้อมกันนี้ยังได้นำบัญชีรายชื่อหมู่บ้านและจำนวนประชาชนในพื้นที่ต.ประศุกมาชี้แจงด้วย โดยยืนยันทำทุกอย่างตามขั้นตอน ไม่มีการลักลอบนำสิ่งของออกจากถุงยังชีพ เพื่อนำไปเก็บไว้ส่วนตัว เนื่องจากไม่เห็นว่าจำเป็นต้องทำเช่นนั้นในเมื่อมีผู้บริจาคให้คนเดือดร้อนก็ต้องแจกจ่ายไปตามหน้าที่ ย้ำว่าไม่มีสิ่งของใดถูกนำมากักเก็บ สามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะที่ทำการอบต. ซึ่งถูกน้ำท่วมเช่นกันคงไม่สามารถใช้เป็นที่ลักลอบกักเก็บสิ่งของใดได้ ส่วนกรณีที่มีอ้างว่าในพื้นที่แจกจ่ายถุงยังชีพไม่ทั่วถึงก็ขอผู้ที่ร้องเรียนย้อนกลับไปมองตัวเองว่าได้ติดตามข่าวสารจากในพื้นที่บ้างรึเปล่า เพราะทุกครั้งที่แจกจ่ายประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้รับสิ่งของครบถ้วน
ทั้งนี้ระหว่างการชี้แจงข้อสงสัยกับเจ้าหน้าที่ป.ป.ท.และสื่อมวลชน นายกอบต. ประศุก พยายามจะสอบถามถึงรายชื่อผู้ที่ร้องเรียนไปยังป.ป.ท.ด้วย
ที่มา.เนชั่น
************************************************************
“ถ้าประชาชนพบเห็นการทุจริต และพบเห็นว่ามีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดทุจริต ไม่นำสิ่งของที่ได้มาแจกจ่ายให้กับประชาชนขอให้แจ้งมายังกระทรวงยุติธรรมหรือป.ป.ท.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอลทันที โดยยืนยันการลงพื้นที่ครั้งนี้ไม่ใช่การกดดันหรือจับผิดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด” นายประยงค์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงสายนายประยงค์ เจ้าหน้าที่ ปปท.และเจ้าหน้าที่ตำรวจสภอ.อินทร์บุรีได้เข้าตรวจสอบจุดที่ประชาชนมาเข้าคิวรับของบริจาคพื้นที่บริเวณเขต ต.ท่างาม จ.สิงห์บุรี ซึ่งพบว่าถนนเส้นดังกล่าวยังคงมีปริมาณน้ำท่วมสูง การเดินทางจะต้องใช้เรือแม้ว่าขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงบ้างแล้วก็ตาม แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่สามารถเดินทางออกมาได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ด้านใน ขณะที่ทางอบต.ท่างามซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะต้องกระจายของบริจาคไปให้ประชาชนนั้นได้ตั้งจุดให้บริการและประกาศให้ชาวบ้านมารับบัตรคิวพร้อมทั้งนำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเพื่อรอรับของที่จะแจกให้ในเวลา 15.00 น.ของทุกวัน
ชาวบ้าน ต.ท่างามที่มาเข้าคิวรับของบริจาค กล่าวว่า ประชาชนในพื้นที่ยังได้รับความเดือดร้อนจำนวนมากเพราะน้ำท่วมมานาน 2 สัปดาห์แล้ว อย่างไรก็ตามแม้ที่ผ่านมาจะได้รับความช่วยเหลือจากการมีผู้นำของบริจาคมามอบให้ รวมทั้งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯแต่ชาวบ้านก็ได้รับไม่ทั่วถึง เนื่องจากส่วนใหญ่บ้านน้ำท่วมสูงระดับอกไม่สามารถออกมาได้เนื่องจากไม่มีเรือ และทางอบต.ก็ไม่ได้จัดเจ้าหน้าที่ลงไปแจกของให้ นอกจากนี้บางครั้งออกมาเพื่อรับของแจกแต่ปรากฏว่าของหมด
ขณะที่นายวิชัย บุญเข็ม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี กล่าวว่า หมู่บ้านของตนได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย 6 หมู่บ้าน จำนวน 183 หลังคาเรือน โดยสิ่งของที่ได้รับบริจาคจะมาจากภาคเอกชนเป็นหลัก และยังไม่ได้รับของบริจาคจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งเมื่อได้รับของแล้ว ตนจะประกาศให้ชาวบ้านนำคูปองและบัตรประชาชนมาลงทะเบียนรับของ ในกรณีที่ชาวบ้านอยู่ไกลไม่สามารถเดินทางออกมาได้ ก็จะพายเรือนำของไปแจกให้ถึงบ้าน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการไม่ได้รับของแจกหรือการไม่ได้รับความช่วยเหลือ โดยประชาชนในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบได้รับของแจกมา 7-8 รอบแล้ว
“ชาวบ้านเดือดร้อนกันทุกครอบครัว ผมเองแม้บ้านจะอยู่ข้างนอกน้ำไม่ท่วม แต่ทุกคืนนับตั้งแต่มีปัญหาน้ำท่วมชาวบ้านต้องมาตั้งเต๊นท์พักบนถนน ผมก็มานอนกับลูกบ้านทุกคืน มันทิ้งกันไม่ได้ ทุกวันนี้เครียดมากอยากให้น้ำลงเร็วๆ” นายวิชัย กล่าว
นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้วปปท.ยังเข้าไปตรวจสอบบริเวณเขตพื้นที่ ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงหมู่บ้านชีน้ำร้าย หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่ามีการยักยอกสิ่งของบริจาค และนำของที่ได้รับบริจาคไปคัดแยกแจก จนสร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านนั้น
จากการสอบถามชาวบ้านหลายคน กล่าวว่า ในช่วงน้ำท่วมระยะแรกได้รับสิ่งของบริจาคแจกน้ำท่วมเป็นถุง แต่ระยะหลังพบว่าของแจกมีเพียงบะหมี่สำเร็จรูป และปลากระป๋องเท่านั้น ส่วนผ้าห่มแม้จะมีข่าวว่าได้มีผู้นำมาบริจาคแล้วแต่ชาวบ้านยังไม่ได้รับและยังเคยไม่เห็น บางรายได้รับของแจกมา 4 ครั้ง ซึ่งก็ได้แต่น้ำกับบะหมี่สำเร็จรูป ส่วนข้าวสารไม่เคยได้รับ
นายเจริญ ศรีกล่อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประศุก ชี้แจงเรื่องการแจกจ่ายถุงยังชีพและของช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่ว่า ในส่วนของต.ประศุก มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน 999 ครัวเรือน 3,214 คน โดยขั้นตอนหลังได้รับบริจาคถุงยังชีพจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว จะมอบให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับไปแจกจ่ายแก่ลูกบ้าน และจะมีการประกาศเสียงตามสายเพื่อให้ประชาชนรับทราบวันเวลาที่ต้องมารับถุงยังชีพ โดยผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านจะมีบัญชีรายชื่อประชาชนและจำนวนครัวเรือนที่ชัดเจน และสามารถจัดสรรถุงยังชีพได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งในการแจกถุงยังชีพทุกครั้งจะกำชับว่าหากได้รับมาแล้วจำเป็นต้องแจกจ่ายประชาชนให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียว โดยที่ผ่านมาในพื้นที่ต.ประศุกได้มีการแจกถุงยังชีพไปแล้ว 4 ครั้ง และตนไม่เคยได้รับการร้องเรียนจากประชาชนรายใดว่าไม่ได้รับถุงยังชีพ
“ในพื้นที่ไม่มีพฤติกรรมผิดปกติเกี่ยวกับการแจกจ่ายถุงยังชีพ ทั้งเรื่องการแยกของบริจาคออกจากถุง และนำบางส่วนไปเก็บไว้เป็นส่วนตัว หรือการแจกจ่ายถุงยังชีพไม่ทั่วถึง โดยมองว่ากรณีที่เกิดการร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐนั้น อาจมาจากกรณีที่มีหน่วยงานเอกชนเสนอความช่วยเหลือมายังพื้นที่ แต่เนื่องจากจำนวนสิ่งของที่หน่วยงานเหล่านั้นนำมาไม่ครบกับจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ เช่น นำถุงยังชีพมาเพียง 200 ชุด ขณะที่ในพื้นที่มีถึง 999 ครัวเรือน ในกรณีนี้ผมจะหลีกเลี่ยงไม่เป็นตัวแทนในการจัดสรรสิ่งของแต่จะให้หน่วยงานเอกชนเหล่านั้นนำของไปมอบให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนเอง เพราะเกรงถูกมองว่าเลือกปฏิบัติ” นายเจริญ กล่าว
นายไกรลาศ รัตนโอฬาร นายอำเภออินทร์บุรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแจกจ่ายถุงยังชีพแน่นอน พร้อมกันนี้ยังได้นำบัญชีรายชื่อหมู่บ้านและจำนวนประชาชนในพื้นที่ต.ประศุกมาชี้แจงด้วย โดยยืนยันทำทุกอย่างตามขั้นตอน ไม่มีการลักลอบนำสิ่งของออกจากถุงยังชีพ เพื่อนำไปเก็บไว้ส่วนตัว เนื่องจากไม่เห็นว่าจำเป็นต้องทำเช่นนั้นในเมื่อมีผู้บริจาคให้คนเดือดร้อนก็ต้องแจกจ่ายไปตามหน้าที่ ย้ำว่าไม่มีสิ่งของใดถูกนำมากักเก็บ สามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะที่ทำการอบต. ซึ่งถูกน้ำท่วมเช่นกันคงไม่สามารถใช้เป็นที่ลักลอบกักเก็บสิ่งของใดได้ ส่วนกรณีที่มีอ้างว่าในพื้นที่แจกจ่ายถุงยังชีพไม่ทั่วถึงก็ขอผู้ที่ร้องเรียนย้อนกลับไปมองตัวเองว่าได้ติดตามข่าวสารจากในพื้นที่บ้างรึเปล่า เพราะทุกครั้งที่แจกจ่ายประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้รับสิ่งของครบถ้วน
ทั้งนี้ระหว่างการชี้แจงข้อสงสัยกับเจ้าหน้าที่ป.ป.ท.และสื่อมวลชน นายกอบต. ประศุก พยายามจะสอบถามถึงรายชื่อผู้ที่ร้องเรียนไปยังป.ป.ท.ด้วย
ที่มา.เนชั่น
************************************************************
ทำไมต้องขึ้นศาลโลก
ข่าวสด,คอลัมน์ เหล็กในกระบวนการการทวงความยุติธรรมของคนเสื้อแดงเริ่มชัดเจนขึ้นแล้ว
หลัง นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ นปช.ได้ทำรายงานเบื้องต้นส่งถึงอัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ
รายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นายโรเบิร์ตพยายามโน้มน้าวให้อัยการเห็นว่าแม้ไทยไม่ได้ลงสัตยาบันไว้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ
แต่เหตุการณ์การสลายม็อบแดงเมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.ที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบสองพันราย ไม่ใช่เหตุการณ์ที่ปกติ
เป็นการใช้อำนาจรัฐในการปราบปรามประชาชน
เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง
เข้าข่ายขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ
อีก ทางหนึ่ง แกนนำ นปช.นำโดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด 1 ในเหยื่อสังหารหมู่ภายในวัดปทุมวนาราม ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนของ นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติไปในเวลาไล่เลี่ยกัน
การร้องเลขาฯ ยูเอ็นเพื่อต้องการให้ยูเอ็นหันมาให้ความสนใจต่อคดีปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย
หลักฐานสำคัญที่นายจตุพรมอบให้เป็นซีดีเหตุการณ์สลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เรื่อยไปจนถึงวันที่ 19 พ.ค.
เป็นซีดีที่ไม่มีการตัดต่อ
เชื่อว่า นายบัน คีมุน จะได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ภาพประชาชนถูกสไนเปอร์กระหน่ำยิงตายศพแล้วศพเล่า
ภาพอาสาพยาบาลถูกยิงดิ้นทุรนทุรายในเต็นท์กาชาด
ภาพนักข่าวต่างประเทศโดนฆ่ากลางถนน
ภาพคนเสื้อแดงใช้หนังสติ๊กยิงสู้กับปืนสงครามของเจ้าหน้าที่ สู้กับรถหุ้มเกราะ
ภาพเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบอยู่บนรางบีทีเอสเล็งปืนใส่ประชาชน
นอกจากคนเสื้อแดงแล้ว ยังมีองค์กรสิทธิมนุษยชนโลก เช่น ฮิวแมนไรต์ วอชต์ ก็ยื่นหนังสือถึงเลขาฯ ยูเอ็นเช่นกัน
เรียกร้องให้ยูเอ็นเร่งรัดให้รัฐบาลไทยตอบรับคณะทำงานของยูเอ็นที่ต้องการเข้าไปสังเกตการณ์การสอบสวนเหตุสลายม็อบในเมืองไทย
เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลนายกฯ มาร์คปฏิเสธข้อเรียกร้อง ดังกล่าว
การเคลื่อนไหวทั้งหมดจะไม่มีผลเลย หากกระบวนการสอบ สวนของไทยเป็นไปด้วยความเที่ยงตรงและโปร่งใส
แต่ที่ผ่านมาเกือบครึ่งปี รัฐบาลไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับญาติพี่น้องของผู้สูญเสียชีวิตเลย
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาไม่มีความคืบหน้าใดๆ
ขนาดตัวประธานยังบ่นอุบ หน่วยงานรัฐไม่ให้ความร่วมมือ
กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ก็อืดอาดล่าช้า ล่าสุดยังขยายเวลาการชันสูตร 91 ศพออกไปไม่มีกำหนดเสียอีก
นายกฯ มาร์คที่ประกาศปาวๆ ว่าอยากจะปรองดอง แต่กลับปล่อยให้ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ออกมาตอกย้ำความแตกแยก
กล่าวหาเสื้อแดงฆ่ากันเอง
ทั้งหมดนี้เป็นข้อยืนยันได้ชัดเจนว่าการทวงความยุติในเมืองไทยไม่มีวี่แววเลยว่าจะบรรลุผล
ทั้งหมดนี้ยังตอกย้ำว่าหนทางเดียวก็คือต้องพึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องพึ่งสหประชาชาติ
ในเมื่อนายกฯ มาร์คยืนยันมาตลอดว่าไม่ใช่คนสั่งฆ่าประชาชน
ก็ต้องยอมรับการตรวจสอบในศาลโลกและยูเอ็น
ยังจะมัวบิดพลิ้วอยู่ทำไม
ผบ.ตร.แย้มฟ้องกราวรูด114พธม.ปิดสนามบิน
ผบ.ตร. ระบุรู้ผลสั่งคดี 114 พันธมิตรฯชุมนุมปิดสนามบินสัปดาห์หน้าแน่นอน แย้มสั่งฟ้องทั้งหมดตามความเห็นของพนักงานสอบสวน สั่งตรวจสอบภาพถ่าย วิดีโอ บันทึกการชุมนุมที่หน้าสภาเมื่อวันที่ 2 พ.ย. เบื้องต้นพบผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ห้ามใช้เครื่องขยายเสียง ส่วนปิดถนนอาจอนุโลมให้เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเนื่องจากมีผู้ชุมนุมจำนวนมาก
หลังใช้เวลาทำสำนวนมานานเกือบ 2 ปี ในที่สุดคดีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมปิดสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิก็ถูกสรุปส่งถึงมือของ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) แล้วตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อให้ใช้ดุลยพินิจว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่
พล.ต.อ.วิเชียรเปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาสำนวนที่พนักงานสอบสวนส่งมา เบื้องต้นคาดว่าจะสรุปความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่พนักงานสอบสวนเสนอมา คือสั่งฟ้องดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้ง 114 ราย ซึ่งจะทราบผลชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านบันทึกข้อตกลงคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ซึ่งเป็นการชุมนุมภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ผบ.ตร. กล่าวว่า เบื้องต้นพบการทำความผิดคือการใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ ส่วนจะมีความผิดอื่นเพิ่มเติมอีกหรือไม่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กำลังพิจารณาอย่างละเอียดจากภาพถ่ายและวิดีโอบันทึกการชุมนุม ส่วนกรณีการปิดกั้นการจราจรนั้นเรื่องนี้คงต้องดูที่เจตนา บางครั้งเป็นไปตามสภาพเพราะเมื่อมีผู้มาชุมนุมจำนวนมากก็ต้องล้นลงไปบนพื้นผิวจราจรบ้าง
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
หลังใช้เวลาทำสำนวนมานานเกือบ 2 ปี ในที่สุดคดีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมปิดสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิก็ถูกสรุปส่งถึงมือของ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) แล้วตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อให้ใช้ดุลยพินิจว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่
พล.ต.อ.วิเชียรเปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังพิจารณาสำนวนที่พนักงานสอบสวนส่งมา เบื้องต้นคาดว่าจะสรุปความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่พนักงานสอบสวนเสนอมา คือสั่งฟ้องดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้ง 114 ราย ซึ่งจะทราบผลชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า
ส่วนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านบันทึกข้อตกลงคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ซึ่งเป็นการชุมนุมภายใต้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น ผบ.ตร. กล่าวว่า เบื้องต้นพบการทำความผิดคือการใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ ส่วนจะมีความผิดอื่นเพิ่มเติมอีกหรือไม่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กำลังพิจารณาอย่างละเอียดจากภาพถ่ายและวิดีโอบันทึกการชุมนุม ส่วนกรณีการปิดกั้นการจราจรนั้นเรื่องนี้คงต้องดูที่เจตนา บางครั้งเป็นไปตามสภาพเพราะเมื่อมีผู้มาชุมนุมจำนวนมากก็ต้องล้นลงไปบนพื้นผิวจราจรบ้าง
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
ฆ่าด้วยความรัก
โดย:นักปรัชญาชายขอบ
ผมไม่ตั้งใจจะ “แซงคิว” ท่านพี่ “ใบต้องแห้ง” นะครับ ที่เขียนบ่อยก็ไม่ใช่เพราะว่างมาก แต่เจียดเวลานอนบ้าง วันหยุดบ้างมาเขียน แล้วมันก็อยากเขียนๆ เพราะความโศกเศร้ายังเกาะกินหัวใจ กลัวจะเป็นโรคซึมเศร้าเลยต้องระบายออกด้วยการเขียน ไม่ทราบว่าเมื่อไรเราจะก้าวผ่าน “ประวัติศาสตร์แห่งความโศกเศร้า” ไปได้
“ประวัติศาสตร์แห่งความโศกเศร้า” คือ “ประวัติศาสตร์แห่งการฆ่าด้วยความรัก” ผมครุ่นคิดซ้ำซากกับเรื่องที่พี่ (ขออนุญาตเรียก “พี่” นะครับ) ใบตองแห้ง พูดออกทีวีเมื่อช่วงรำลึก 6 ตุลา ที่ผ่านมาว่า “โมเดลที่ใช้ปราบคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์ก็คือโมเดลเดียวกันกับที่ใช้ปราบนักศึกษาเมื่อ 6 ตุลา แต่ทำไมอดีตนักศึกษา 6 ตุลาที่อยู่ฟากเสื้อเหลืองจึงเชียร์ให้ใช้โมเดลนี้กับคนเสื้อแดง ทั้งที่ตัวเองเคยเป็นฝ่ายถูกระทำมาก่อน คุณทำได้ยังไงๆๆ” (พูดถึงตรงนี้พี่ใบตองแห้งร้องให้สะอื้นออกมาอย่างระงับอารมณ์ไม่อยู่)
ถ้าไม่มีการอ้างความรักสถาบัน รัฐประหาร 19 กันยา 49 ไม่น่าจะเกิดขึ้น ถ้าไม่อ้างความรักสถาบัน การเรียกร้อง การเชียร์ การสั่งใช้กำลังทหารปราบประชาชนช่วง เมษา-พฤษภา 53 ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้น และถ้าไม่ใช่การฆ่าในนามของความรักสถาบัน ผู้ฆ่า ผู้สั่งให้ฆ่า คงถูกคนทั้งสังคมประณามในทางศีลธรรม และถูกดำเนินการทางกฎหมายไปแล้ว
ความโศกเศร้าจาก “การฆ่าด้วยความรัก” มีแง่มุมซับซ้อน เช่น
หนึ่ง ความรักเป็นสิ่งงดงาม ความรักสถาบันใดสถาบันหนึ่งทางสังคมก็เป็นสิ่งงดงาม และ “ความรัก” ย่อมตรงข้ามกับ “ความอำมหิต” หากรักอย่างมีเหตุผลย่อมเข้าใจสัจธรรมที่ว่าสถาบันใดๆ จะดำรงอยู่ได้ก็ด้วย “บุญคุณ” ของประชาชน ฉะนั้น เมื่อเรารักสถาบันใดๆ ในสังคม เราต้องรักประชาชนที่ค้ำจุนสถาบันนั้นๆ ด้วย (เช่น ด้วยการเสียภาษี ฯลฯ)
ประชาชนคือเจ้าของสถาบันทางสังคม อย่าคิดว่าสถาบันใดๆ จะมีบุญคุณกับประชาชน เช่น รัฐบาลแจกถุงยังชีพ จ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย ไม่ใช่รัฐบาลมีบุญคุณต่อประชาชน เพราะสิ่งของ เงินที่ใช้ทั้งหมดมาจากการบริจาคและภาษีของประชาชน
จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่สังคมเรามีการเรียกร้องให้รัก ให้สำนึกบุญคุณต่อสถาบันใดสถาบันหนึ่ง แต่ละเลยที่จะเรียกร้องให้รัก ให้สำนึกในบุญคุณของประชาชน!
แถมยังยอมให้อ้างความรักอ้างบุญคุณของสถาบันเพื่อใช้ “กำลังทหาร” (ที่เลี้ยงชีวิต/มีชีวิตอยู่ได้/ไม่ตาย เพราะอาศัยเงินเดือนจากภาษีประชาชน) ปราบปรามประชาชนที่มาเรียกร้องสิทธิ อำนาจของเขา แค่ขอ “เลือกตั้ง” เท่านั้นเอง โดยผู้สั่งใช้กำลังทหารไม่ต้องแคร์ว่าใช้กองกำลังและอาวุธมากขนาดนั้น จัดการกับประชาชนมากขนาดนั้น เขาจะต้องบาดเจ็บล้มตายกันเท่าไร
สอง โศกเศร้ากับ “ข้อเท็จจริง” ที่เห็น คือ นักวิชาการ สื่อ อาจารย์มหาวิทยาลัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ตบเท้าเข้ารับตำแหน่งที่ตั้งโดยคณะรัฐประหาร ออกทีวี เดินสายทั้งในและต่างประเทศไปอธิบายความชอบธรรมของรัฐประหาร
แต่คนขับแท็กซี่พลีชีพเพื่อต้านรัฐประหาร คนขับมอเตอร์ไชค์รับจ้าง แม่ค้า กรรมกร ชาวนา ป้าแก่ๆ จากชนบทจำนวนมากออกมาเสี่ยงตายเรียกร้องประชาธิปไตย ประชาชนพวกนี้ก็ถูกประณามว่าไม่เอาสถาบัน เป็นทาสของคนที่จ้องล้มสถาบัน โดยสื่อ นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย ปัญญาชนชั้นนำนิ่งเฉยต่อการที่ประชาชนเหล่านี้ถูกประณาม!
สาม เศร้าโศกกับข้อตัดสินของคนมีการศึกษาในสังคมนี้ที่ว่า “ระบอบทักษิณคือเผด็จการในคราบประชาธิปไตย” แต่ระบอบอำมาตย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ตรวจสอบไม่ได้เป็นประชาธิปไตย มีความชอบธรรมที่จะขจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
สี่ เศร้าโศกกับวิธีคิดของปัญญาชนชั้นนำของประเทศ อย่างเช่น ประเวศ วะสี ยุค ศรีอาริยะ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ฯลฯ ที่พยายามประดิษฐ์ “นวัตกรรมทางปัญญาพุทธ” มาใช้อธิบายปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เช่น อ้าง “กฎอิทัปปัจจยตา” ว่า “สรรพสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันเกิดขึ้น” อ้างเหตุปัจจัยไปถึง “ระบบโลก” ทุนข้ามชาติ กระแสโลกาภิวัตน์ ฯลฯ เพื่อสรุปว่า รัฐประหาร 19 กันยา จำเป็นต้องเกิด เพราะมีเหตุปัจจัยหนุนเนื่องอย่างซับซ้อนและประจวบพร้อมให้ต้องเกิด
แต่จริงๆ คือ กฎอิทัปปัจจยตาในพุทธศาสนาหมายถึง “กฎทั่วไป” ที่บรรยายว่า “สรรพสิ่งในธรรมชาติมีความสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยอิงอาศัยกันและกัน” เมื่อนำกฎนี้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา กฎประยุกต์นี้เรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” คือ กฎที่ระบุสาเหตุที่เด่นชัดหรือแน่นอนในการเกิดทุกข์ (หรือการดับทุกข์) ในชีวิต ถ้าจะแก้ก็ต้องเจาะจงแก้ที่สาเหตุนั้น ไม่ใช่ต้องไปแก้เหตุปัจจัยอื่นๆ ครอบจักรวาล (เช่น อวิชชา ตัณหา เป็นสาเหตุที่แน่นอนหรือโดดเด่นของการเกิดทุกข์ในชีวิต ถ้าจะแก้ทุกข์ก็ต้องแก้ตรงๆ ที่สาเหตุนี้เป็นหลัก)
ฉะนั้น เมื่อประยุกต์กฎอิทัปปัจจยตา (ปฏิจจสมุปบาท) กับปัญหาประชาธิปไตย ก็ต้องระบุ “สาเหตุที่โดดเด่นหรือแน่นอนที่เป็นอุปสรรคหรือหยุดยั้งพัฒนาการประชาธิปไตย” ซึ่งสาเหตุที่โดดเด่นก็คือ “รัฐประหาร” โดยใช้โมเดลสถาบัน หรือการอ้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไม่ใช่ไปอ้างเหตุปัจจัยครอบจักรวาล แต่ไม่แตะสาเหตุจริงๆ ที่เป็นอุปสรรคประชาธิปไตยมาตลอด แล้วก็พยายามจะปฏิรูปอะไรต่ออะไรครอบจักรวาล แต่ไม่ชัดเจนว่า จะปฏิรูปกองทัพอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะไม่ให้มีการใช้โมเดลสถาบันเพื่อทำรัฐประหาร และปราบปรามประชาชนอีก!
ห้า สุดท้ายก็เศร้าอย่างยิ่งกับสังคมนี้ที่เอาแต่ประณามว่า นาย ก นาย ข จาบจ้วง หรือหมิ่นสถาบัน แต่ไม่ประณาม ไม่คิดจะเอาผิดกับคนที่นำสถาบันมาเป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง อ้างสถาบันเพื่อแบ่งแยกคนในประเทศเป็นฝักฝ่าย
นาย ก นาย ข ที่บอกว่าเขาจาบจ้วงหรือหมิ่นฯ ก็ต้องว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม ถ้ามีใครเห็นว่ากฎหมายหมิ่นฯ ไม่ยุติธรรม ก็ต้องเอามาเถียงกันได้เพื่อแก้ไขปรับปรุง ไม่ใช่อ้างการกระทำของนาย ก นาย ข เพื่อจะปิดปาก หรือใช้อำนาจควบคุมคนทั้งประเทศแบบเหมารวม หรืออ้างเพื่อยื่ดเวลาไม่ให้มีการเลือกตั้ง ฯลฯ
พูดอย่างตรงไปตรงมาถ้า นาย ก นาย ข หมิ่นฯ ก็จัดการตามกฎหมายเป็นรายๆ ไป ไม่ได้สร้างความแตกแยกแก่สังคมเหมือนกับการใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง ไม่ได้ทำให้เกิดรัฐประหาร การปราบประชาชน
แต่การอ้างความจงรักภักดีเพื่อใช้สถาบันเป็นเครื่องมือทางการเมืองมักนำไปสู่รัฐประหาร และการปราบปรามประชาชน เป็นความเสียหายมากกว่าการกระทำของ นาย ก นาย ข อย่างเทียบกันไม่ได้ มันจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนในสังคมไม่ประเมินปัญหาสองเรื่องนี้อย่างเที่ยงธรรม!
ฉะนั้น แทนที่จะปฏิรูปจิตสำนึกใหม่ เราควร “ปฏิรูปความรัก” เพื่อหาแนวทางป้องกันอย่างถาวรว่า จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “ฆ่าด้วยความรัก” ในประเทศของเราอีกต่อไป!
ปล. คำขวัญปฏิรูปความรัก คือ “เรารักประชาชน : เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ !” (อย่าลืมติดสติ๊กเกอร์คำขวัญนี้ที่รถของคุณด้วยนะครับ!)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)