โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"ปิยะวัฒก์"สุดทนเปิดคลิปลับคนเสียงคล้ายรองอธิบดีดีเอส อ้างถึงอธิบดีให้ประกันตัว และโต้งๆ "พสพ.8"เจรจาให้ช่วยทำสำนวนคดีอ่อนมีค่าแรงให้
จากกรณี พันเอก ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บังคับการ สำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)โพสต์ข้อความลงเฟชบุ๊ค ระบายความคับข้องใจหลังจาก ดีเอสไอสั่งไม่ฟ้องคดีแชร์ปูแดง และสั่งไม่ฟ้องคดีสำคัญอีก 2 คดี ซึ่งเป็นความเห็นแย้งกับคณะพนักงานสอบสวน โดยตั้งข้อสังเกตจะมีการวิ่งเต้น และมีใบสั่งทางการเมืองมาถึงดีเอสไอ
จากนั้น พันเอกปิยะวัฒก์ ได้เผยแพร่ "คลิปเสียง" จำนวน 2 คลิป ซึ่งคลิปแรก ความยาวประมาณ 5 นาที เป็นการสนทนาระหว่างบุคคลที่มีเสียงคล้ายรองอธิบดี ดีเอสไอ คนหนึ่งกับ พันเอกปิยะวัฒก์ โดยเนื้อหาลักษณะเชิงสั่งการให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดีแชร์ปูแดง อ้างเป็นไปตามนโยบายของ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม
ส่วนคลิปที่ 2 ประมาณ 20 นาทีเศษ เป็นการพูดคุยระหว่างพนักงานสอบสวน(พสพ.) ระดับ 8 ยศนำหน้าเป็นพันตำรวจโท กับ พันเอกปิยะวัฒก์ ซึ่ง พสพ. 8 คนนี้พยายามเป็นตัวกลางวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีแชร์ปูแดง ให้กับบริษัทเบสท์ 59 จำกัด ซึ่งการสนทนาถูกบันทึกขณะเจรจาวิ่งเต้นคดีกับพ.อ.ปิยะวัฒก์
ในระหว่างที่ พ.อ.ปิยะวัฒก์เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเนื้อหาการเจรจานานกว่า 20 นาที สาระสำคัญคือ ผู้ใหญ่ให้มาเจรจาจะช่วยเหลือผู้ต้องหาอย่างไรได้บ้าง พร้อมกับเสนอมีค่าแรงค่าเหนื่อยตอบแทนให้ แต่พันเอกปิยะวัฒก์ ปฏิเสธหลายครั้ง อีกทั้ง ตอนท้าย พสพ. 8 คนดังกล่าว เหมือนกับคุยโอ่ข่ม พ.อ.ปิยะวัฒก์ อ้างถึงเคยช่วยงานการเมืองให้กับนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ช่วยอำนวยการเลือกตั้ง ส.ส.ในปี 2539 จนพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 3 ที่นั่ง
คลิปเสียงที่ 1
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : หวัดดีครับ ตกลงเมื่อคืนไม่ได้โทรเพราะแบตหมด ตกลงแนวทางยังไงครับผม เสียงเหมือนรองอธิบดีดีเอสไอ : ท่านอธิบดีบอกนโยบาย ถามรัฐมนตรีแล้วบอกว่าให้ประกันได้ โดยใช้เงินสด 2 ล้าน หลักทรัพย์ 5 ล้านแล้ว ให้พี่เพิ่มในสัญญาประกัน 2 ประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง คือ ไม่เข้าไปยุ่งเหยิงในพยานหลักฐาน ไม่ไปทำลายหลักฐานเอกสารทิ้ง สองคืออย่าเข้าไปก่อหวอด ปลุกปั่นม็อบให้เกิดความไม่สงบ ถ้าขัดในสองประเด็นนี้เราถอนประกัน แล้วก็ท่านอธิบดีไม่อยู่มอบหมายให้ผมเซ็นแทน
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : คืออย่างนี้ครับ เนื่องจากทางทีมผมไปสอบผู้ต้องหาคดีบลูโอเชี่ยนในหลายจังหวัดทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ตอนนี้ทีมที่ทำ ไม่อยู่เลย ถ้าจะขอเป็นเข้ามอบตัววันจันทร์หรือวันอังคารได้ไหมครับ เดี๋ยวให้ทางส่วนสืบสวนสะกดรอย(สร.) เค้าประสาน
เสียงเหมือนรองอธิบดีดีเอสไอ : เค้ามาโชว์ 9 โมง ผมนัดมาเจอ 9 โมง ถ้าเค้าขึ้นมาเราไม่มีทางอื่นให้เค้ากลับไป
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : เช้านี้มีประชุมด้วย
เสียงเหมือนรองอธิบดีดีเอสไอ: พี่มอบใครไปก็ได้ (อ้าง)อธิบดีบอกว่าเค้ามาก็ดีกว่าเราไปตามจับไม่งั้นเดี๋ยวสูญเสียอะไรกัน เดี๋ยวมีอุบัติเหตุ น่าจะเป็นผลดีที่อย่างน้อยเค้ามามอบตัว
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ผมก็โอเคในแนวทางที่รัฐมนตรีให้ แต่ผมเขียนปิดท้ายไปนิดนึงได้ไหมว่ามีการปิดล้อมพนักงาน
เสียงเหมือนรองอธิบดีดีเอสไอ : ครับพี่เขียนในสัญญาประกันเลยว่าไม่ให้ไปยุ่งเหยิงพยาน และปลุกปั่นก่อหวอด โดยพฤติการณ์นำผู้เสียหายมาปิดล้อมเจ้าพนักงานก็อยู่ในเงื่อนไขของการก่อหวอด
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : คดีนี้สื่อมวลชนสนใจ
เสียงเหมือนรองอธิบดีดีเอสไอ: พี่เตรียมพนักงานสอบสวนให้หน่อย 2-3 คน (อ้าง) อธิบดีกังวลเพราะท่านไม่อยู่ ท่านให้นโยบายชัดเจน และบอกว่าคุยกับพี่ไว้แล้ว ขอผมมีหน้าที่แค่เพียงว่า พอเค้ามาก็ส่งให้พี่ทำสัญญาประกัน ในช่วงที่เค้ามามอบตัว เราไม่เกี่ยวกับนักข่าวนะ
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ถ้างั้นวันนี้ ว่าไปเลยแล้วกัน คดีนี้อธิบดีก็ให้สัมภาษณ์ไป อธิบดีก็ทำงาน มันก็ออกมาว่าไม่ผิดจากคดีอื่นๆ ดีเอสไอทำงานร่วมกับกรมวิชาการเกษตร หน่วยงานป้องปราบกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เพราะฉะนั้นเราไม่ใช่ผู้ร้าย ถ้ายังไงให้คุณเตรียมไว้ด้วยนะครับเพราะอาจถูกถามว่าอีกคนให้ประกันอีกคนไม่ให้ประกัน จะถูกหาว่าสองมาตรฐาน
คลิปที่สอง
พสพ. 8 : ผู้ใหญ่ให้มาคุยว่าคดีนี้จะดูแลช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง จะมีค่าแรงค่าเหนื่อยให้
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : สร. (ส่วนสืบสวนสะกดรอย) ดูเรื่องนี้มานานมาก แผนการตลาดผิดชัดเจน ผมเคยถูกคณะกรรมาธิการเรียกไปชี้แจงพร้อมกับผู้บริหารปูแดง ปูแดงชี้แจงเพียงรายละเอียดสินค้า ไม่ได้โต้แย้งเรื่องแผนการตลาดกับเราเลย ซึ่งสถิติคดีที่ผ่านมา ที่ผิดก็ผิดตรงแผนการตลาด พสพ. 8 : ตรงนั้นผมแก้ไขได้นะ จะเป็น 2 ช็อต ขึ้นอยู่กับเราจะตั้งต้นแค่ไหนและให้อัยการรับลูกอย่างไร
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ต้องว่าไปตามหลักฐาน ที่แจ้งข้อหาไปแล้ว คือ พ.ร.ก.ว่าด้วยการกู้ยืมเงินและฉ้อโกงประชาชน ผิดกรรมเดียวตามกฎหมายหลายบท ต้องลงบทหนัก ตามพ.ร.ก.ว่าด้วยการกู้ยืม ในส่วนความผิดอื่นเช่นเรื่องขายตรง และเรื่องปุ๋ยก็ต้องว่ากันไป ตามพ.ร.บ.เกษตรฯ และพ.ร.บ.ขายตรง ถ้าพบความผิดเรื่องสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก็ต้องแจ้งข้อหาเพิ่ม แนวทางต้องเป็นอย่างนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลักฐานว่าเพียงพอจะดำเนินคดีตามข้อหาที่ผมได้เรียนไปหรือไม่ ซึ่งตอนนี้เรากำลังรวบรวมหลักฐานอยู่
พสพ. 8 : คนทำงานจริง ๆ พี่ให้ใครรับผิดชอบ
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : มือทำจริง ๆ ก็มีนิรันดร (นายนิรันดร ชัยศรี พนักงานสอบสวนระดับชำนาญการ) กับผม
พสพ. 8 : ก็คือพี่ลงไปเล่นเองกับนิรันดร
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ถ้าคดีใหญ่ ๆ คดีที่มีปัญหา ผมจะรับผิดชอบเอง
พสพ. 8 : ผมเข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรียุติธรรม หรือใครก็รู้กันหมด คงไม่ต้องเคาะอะไรลงมา ขึ้นอยู่กับข้างในจะเซิฟรับกันยังไง ขึ้นอยู่กับพี่กับนิรันดร เราจะไปหาหลักฐานข้อมูลอื่นมาเติมให้ มันอาจเหมือนกับว่าเปิดช่องไว้หน่อย กันไว้นิดนึง นอกเสียจากไปเจออะไรที่ไปไม่รอดจริง ๆ นั่นก็ต้องชี้แจง
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : อย่างที่ผมบอกไง ทุกอย่างอยู่ที่หลักฐาน ถ้ามัดแน่นมันต้องดำเนินการตามกฎหมาย ถ้าผมไปทำอะไรลักษณะที่ช่วยเหลือ ผมก็โดนเอง ผมขอว่าไปตามหลักฐาน ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะรวบรวมได้ครบถ้วนแค่ไหน เพียงใด
พสพ 8 : ถ้าเป็นอย่างนี้เค้าก็ต้องมีหลักฐานมาหักล้างให้ได้
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ก็ต้องอยู่ที่เค้าว่าจะร่วมมือให้การมากน้อยแค่ไหน แต่ตอนนี้เรียกมาให้การก็ไม่ให้การ
พสพ. 8 : วันนั้นเพียงแต่มายื่นประกัน เดี๋ยวเค้าจะเดินเข้ามา ก็เลยต้องมาคุยกับพี่ว่า ช่องทางแนวทางพอจะมีสักนิดนึง คงไม่ต้องถึงกับ โอ้โฮ... เพราะเรารักษาภาพเราอยู่แล้ว เราคงทำอย่างนั้นไม่ได้ เราก็เดินตามสไตล์ของเรา เพียงแต่เค้าจะเอาอะไรมาหักล้าง
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : มันขึ้นอยู่ที่เขา เราไม่ได้เอาผิดกับตัวผู้ต้องหาอย่างเดียว เราให้โอกาสเค้าพิสูจน์ความบริสุทธิ์ ในดีเอสไอต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าคุณมีหลักฐานมาหักล้างก็เอามาให้เรา เรามีมาตรฐานในการชั่งน้ำหนัก ถ้าคิดว่าถูกไม่ผิด เอามาเลยเราจะเป็นคนชั่งน้ำหนักเอง
พสพ. 8 : มันก็คือมีพี่กับนิรันดร หลัก ๆ แค่ 2 คน
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : หลัก ๆ มีอยู่ 2 คน นอกนั้นก็เป็นเด็ก ๆ มอบหมายให้ลงพื้นที่ มอบประเด็นให้สอบสวน ถ้าคดีที่มีปัญหา ผมรับผิดชอบคนเดียวอยู่แล้ว
พสพ. 8 : จริง ๆ ข้างในมันก็เคลียร์ได้ อย่างที่วันนั้นเค้ามามอบตัวกับพี่ เราถือว่าถ้าคุณจะวิ่งเพื่อขอความร่วมมือ คุณก็ต้องให้ความร่วมมือกับเราด้วย เค้าก็โอเคทุกอย่าง เว็บไซต์ที่เคยออกเค้าก็หยุดหมด นี่เบื้องต้นนะพี่นะ ก็ว่ากันไป พอผู้ใหญ่เค้าสะกิดมา บางอย่างก็เหมือนว่าน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า แทนที่จะไปถึงศาล ผมเชื่อว่าเดี๋ยวอธิบดีต้องเรียกพี่ไปคุย
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : เลขาฯ ก็เรียกมาผมก็ว่าไป ผมก็ว่าไปตามหลักฐาน ยึดหลักฐานอย่างเดียว ผมทุกอย่างว่าไปตามหลักฐานถ้าไม่ผิดก็ให้ความเป็นธรรมแต่ถ้าผิดผมก็ไม่เคยเว้นเหมือนกัน
พสพ. 8 : ผมเชื่อว่าอย่างนั้น มันมีผิดบ้างถูกบ้าง ไม่มีอะไร 100 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : แต่ตอนนี้เรามีหลักฐานเชื่อว่าเขากระทำผิด เราจึงดำเนินการ
พสพ. 8 : เรื่องนี้ต้นเรื่องมาจากที่ไหน
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : มาจาก สคบ. ยื่นเรื่องให้เราไปสืบสวนสะกดรอย
พสพ. 8 : แล้ว สคบ.เอาเรื่องมาจากไหน
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : มีผู้เสียหายไปร้องเรียน ร้องผ่านกรรมาธิการและเว็บไซต์
พสพ. 8 : มันมาจากคู่กรณีเค้า พี่รู้ใช่ไหม
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ผมไม่รู้ ใครเป็นคู่กรณี
พสพ. 8 : จะได้เลาะเงินมาให้ก่อน เดี๋ยวจะเลาะไม่ทัน
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ปัญหามันจะตามมาอีกเยอะ กับเงินที่เราต้องคืนผู้เสียหาย ผมทำงานยึดถือคำสอนของ อาจารย์จรัญ (จรัญ ภักดีธนากุล) ที่บอกว่าปิยะวัฒก์จำไว้นะแชร์ลูกโซ่ทำยังไงก็ได้ต้องเอาเงินคืนพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ผมยึดถือสิ่งที่ท่านบอกมาตลอด คิดแต่ว่าต้องคืนเงินเค้าให้มาก ในอดีตชม้อยได้คืนคนละอีกตั้ง แทบยึดอะไรไม่ได้เลย
พสพ. 8 : แชร์อีซี่ยังยึดคืนมาได้บ้าง
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : แชร์อี่ซี่ยึดคืนมาได้ร้อยล้านก็ยังดี
พสพ. 8 : ไอ้พวกนี้มันยังไม่ใหญ่พอ มันก็วน ๆ ไม่คิดว่าเราจะไปทุบมัน
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ในชีวิตราชการ ผมได้รับการปลูกฝังให้ทำงานถูกต้อง ให้ความเป็นธรรมไม่กลั่นแกล้งใคร ถ้าหลักฐานถึงผมก็เรียนท่านว่าผมต้องดำเนินการ ถ้าไม่ถึงผมก็ให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหา คดีที่ผ่านมาใช่ว่าเราฟ้องทุกคน อย่างแม่ทีมบางคนเราก็สั่งไม่ฟ้อง ถ้าเราสั่งฟ้องไป อัยการสั่งไม่ฟ้องเราก็ไม่ติดใจ เพราะบางครั้งมีการเอาชื่อคนไปใส่เป็นกรรมการ มีอำนาจลงนามผูกพัน แต่เรียกมาสอบแล้วเชื่อว่ามันไม่น่าจะรู้เรื่องอะไร เราก็ไม่ฟ้อง
พสพ. 8 : คนพวกนี้เค้าคิดว่าเค้าทำสุจริต แต่การตลาดมันนำไปเรื่อย เพราะมันต้องแข่งขัน พอทำไปทำมาคนนั้นแนะนำอย่างนี้ คนนี้แนะนำอย่างนั้น พวกนี้มันไม่รู้แค่ไหนมันเลยไม่เลย ตัวเองก็มั่นใจอยู่ว่ามันไม่เลย เพราะเค้าไปคุยกับผู้ใหญ่ว่าอย่างนั้น คดีนี้พี่ตั้งพนักงานสอบสวนเพิ่ม 30 คนเหรอ
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ต้องลงสอบสวนหลายพื้นที่ กระจายสอบทั่วประเทศ งานเราเยอะตอนนี้หนัก ลานมัน นมโรงเรียนอีก วันนี้ผู้ต้องหาคดีลานมันก็เข้ามอบตัวอีก
พสพ. 8 : อ๋อ ลานมันเรื่องยาวนะ ได้ตัวใหญ่บ้างไหมพี่
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ได้ ได้ครบหมด
พสพ. 8 : พนักงานสอบสวนที่ตั้งเพิ่มทำทั้ง 3 เรื่องเลยเหรอพี่
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ใครมีประสบการณ์แชร์ลูกโซ่ดึงมาช่วยหมด
พสพ. 8 : คดีนี้จะใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ก็ต้องพยายามให้เร็วที่สุด พี่ต้องเร่งเพราะนิรันดร มีคดีบลู โอเชี่ยน สยาม สอบผู้ต้องหาไปแล้ว 200 คน ต้องไปสอบผู้เสียหายหลายจังหวัดทั้งภาคเหนือและอีสานแต่เวลาไปสอบก็ให้สอบคดีปูแดงไปด้วย เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว เพราะในแต่ละพื้นที่มีข้อมูลทั้งหมด บอกกันอย่างพี่อย่างน้องนะ ชีวิตพี่ไม่ทำในเรื่องทุจริต จะค่าเหนื่อยอะไรผมไม่รับทั้งนั้น ผมขอดูหลักฐานบนความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต ขณะเดียวกันก็จะให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายผู้ต้องหา ให้โอกาสพิสูจน์ความบริสุทธิ์ มีอะไรให้มาแสดง การฟ้องหรือไม่จะชั่งจากน้ำหนักพยาน ผมรับรองว่าให้ความเป็นธรรมและไม่กลั่นแกล้งใคร ในชีวิตราชการผมไม่คิดจะทำเรื่องทุจริต ผมได้รับการปลูกฝังอย่างนี้มาตลอด เราเป็นครูอาจารย์พูดเรื่องนี้กับศิษย์มาตลอด ให้เข้าใจแล้วกัน
พสพ. 8 : นายเค้าฝากมา
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ผมเข้าใจ แต่ไม่ต้องพูดอย่างนี้กับผม ให้เข้าใจพี่แล้วกัน ก็จะพยายามเร่งทำให้รู้ถึงในเรื่องความเสียหาย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือ แต่ท่านต้องเข้าใจนะสำนักคดีอาญางานเยอะ ปวดกระบาลเลย เคยพูดกับลูกน้องเหมือนกันว่าคดีลานมันคงทำจนเกษียณ แต่ก็มีลานมันที่ซื่อสัตย์สุจริต
พสพ. 8 : ถ้ามีคดีเข้ามาอีกจะทำอย่างไร
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ก็เกลี่ยคนไปทำ ผมรักน้อง ๆ ในสำนักคดีอาญาก็อย่างนี้ ทำให้ผมไม่เคยไปบี้หรือกวดขัน ปีที่แล้วจบ 26 เรื่อง ลูกน้องผมทำรู้เวลา เรียนผู้ใหญ่ด้วยว่าผมจะให้ความเป็นธรรม
พสพ. 8 : ปี 39 คณะของท่านไตรรงค์ให้ผมไปลง ส.ส.ที่หัวหิน
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ท่านไตรรงค์ สุวรรณคีรี เหรอ
พสพ. 8 : ครับ ผมอำนวยการให้จนพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มา 3 คน และผมก็ไปอยู่กับท่านมา 3 ปี ผมพูดเพราะเดี๋ยวพี่จะสงสัยว่าผมรู้จักไปหมดเลย
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ก็ดี กว้างขวางดี
พสพ. 8 : ผมก็เหมือนพี่แหละไม่ไปวิ่งใคร ถ้าผมวิ่ง ป่านนี้ผมไปไหนๆแล้ว ผมไม่ชอบวิ่ง
พ.อ.ปิยะวัฒก์ : ท่านไปดูได้เลย ผมไม่เคยวิ่งในเรื่องตำแหน่ง ไม่เคยคิดว่าจะได้ขึ้นเป็น ผบ. เมื่อได้เป็นก็ทำงานเต็มที่
พสพ. 8 : ผมจะกลับไปบอกเค้าว่า มีหลักฐานอะไรให้เตรียมมา
********************************************************************************************
วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553
รายงานเสวนา: “การเมืองบนท้องถนนของคนธรรมดา” มองผ่านแว่นหลายสี
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิศักยภาพชุมชนได้จัดการเสวนาในหัวข้อ “การเมืองบนท้องถนนของคนธรรมดา” โดยมีวิทยากร ได้แก่ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ จากกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง, นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร จากโรงเรียนสาธิตมัฆวานแห่งมหาวิทยาลัยราชดำเนิน, น.ส.จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และนางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด
นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร มองการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทยผ่านแว่นตาสีเหลืองว่า การเมืองบนท้องถนนมีความสำคัญต่อการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของทุกประเทศ เมื่อใดที่การเมืองของรัฐบาลกระทบต่อประชาชนและไม่มีกลไกแก้ไข จำเป็นจะต้องมีการแสดงพลังบนท้องถนน
นายแสงธรรม กล่าวว่า สาเหตุของการเมืองบนท้องถนนเกิดจากนโยบายรัฐบาลที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน และการเกิดสิ่งผิดแปลกหรือแปลกปลอมขึ้นในระบบการเมือง ดังจะเห็นได้จากการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่ง พธม.มีความชัดเจนคือต่อต้านระบอบทักษิณ และยังคงต่อสู้อยู่จนถึงปัจจุบัน
นายแสงธรรม กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของ พธม.ในสมัยรัฐบาลทักษิณว่า ได้ทำหน้าที่หลายเรื่อง ได้แก่ ตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น, การละเมิดสิทธิมนุษยชน, ตรวจสอบกรณีกรือเซะ-ตากใบ, กรณีฆ่าตัดตอน 2,500 ศพในสงครามยาเสพติด และกรณีการเสียชีวิตของทนายสมชาย นีละไพจิตร และพระสุพจน์ สุวโจ
นอกจากนี้ นายแสงธรรม กล่าวด้วยว่า กลุ่ม พธม.มีความรู้สึกเช่นกันว่า รัฐประหารปี 2549 เป็นสิ่งแปลกปลอมทางการเมือง แต่ก็ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนเท่ากับคนเสื้อแดง และภายหลังรัฐประหาร ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พธม.ได้ยุติการชุมนุมไป 1 ปี แต่หลังการเลือกตั้งได้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค และมาตรา 309 เพื่อนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ พธม.กลับมาชุมนุมอีกครั้ง และเป็นการชุมนุมยืดเยื้อถึง 193 วัน
นายสมบัติ บุญงามอนงค์ มองการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านแว่นตาสีแดงว่า เสื้อเหลืองกับเสื้อแดงมีส่วนที่เหมือนกันอยู่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนที่เหมือนกันมักไม่ได้นำมาพูดคุย และส่วนที่ต่างกันนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ เช่น ความคิดเรื่องอำนาจสูงสุดเป็นของใคร และการให้ความสำคัญกับความต่าง ทำให้ทั้งสองสีไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้
นายสมบัติกล่าวว่า การเมืองของคนเสื้อแดงครั้งนี้เป็นวิวัฒนาการทางประชาธิปไตย ซึ่งในปี 2475 เป็นการเปลี่ยนอำนาจจากหนึ่งคนมาเป็นคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เป็นอำมาตย์และขุนศึก ต่อมาเมื่อคนมีการศึกษามากขึ้น ปัญญาชนจึงต้องการส่วนแบ่งทางอำนาจจึงเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ขึ้น ทำให้ปัญญาชนมีพื้นที่ทางการเมืองนับแต่นั้นมา และในปี 2535 คนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น จึงเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกลางซึ่งได้รับชัยชนะและได้รับประโยชน์ ชนชั้นกลางจึงไม่มีความรู้สึกถึงคำว่า อำมาตย์
นายสมบัติกล่าวว่า ตัวละครสุดท้ายซึ่งกล่าวอ้างคำว่าประชาธิปไตยเช่นเดียวกับคณะราษฎรและชนชั้นกลางในปี 2535 เป็นตัวละครสุดท้ายของวิวัฒนาการประชาธิปไตยไทย คนกลุ่มนี้แทรกตัวอยู่ในทุกจุดของสังคม ในรูปของแม่บ้าน คนรับใช้ และ รปภ. การต่อสู้ครั้งนี้จึงไม่ใช่สงครามของชนชั้นกลาง แต่เป็นการต่อสู้ของยักษ์หลับซึ่งอยู่ชั้นล่าง เมื่อยักษ์ขยับตัว ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงจึงตีความว่าเป็นการเคลื่อนไหวของทักษิณ เพราะชนชั้นล่างไม่เคยปริปาก ทำให้ชนชั้นกลางคิดว่าพวกเขาไม่รู้จักประชาธิปไตย การประเมินการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงว่าเป็นการขยับตัวของทักษิณ แสดงว่าไม่เข้าใจวิวัฒนาการทางรูปการจิตสำนึกหรือการเติบโตทางจิตวิญญาณของประชาชน และการกล่าวว่าชาวบ้านโปรทักษิณ ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่มีสิทธิในการต่อสู้
นายสมบัติกล่าวว่า ตนได้สร้างวาทกรรมขึ้นใหม่โดยนิยามศัพท์การเมือง 3 คำ ได้แก่
“อำมาตย์ เวอร์ชั่น 1.0” คือ การที่มีคนขีดเส้นแบ่ง แล้วกดปุ่มบอกว่าประชาชนต้องทำอะไรและต้องไม่ทำอะไร และการบังคับให้คนอยู่ในกรอบคิดว่าอะไรดี อะไรไม่ดี
“นักการเมือง 2.0” คือ กลุ่มคนที่มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม และมีความสามารถเชื่อมโยงอำนาจระหว่างระดับบนและระดับล่าง
“ประชาชน 3.0” คือ คนที่ต้องการปกครองตัวเอง ซึ่งไม่ใช่การโค่นรัฐบาลอภิสิทธิ์ลงแล้วเอาคนของตัวเองมาเป็นเจ้านายแทน แต่หมายถึงชัยชนะในครั้งนี้ ผู้เป็นนายคือประชาชน ประชาชนเป็นผู้ควบคุมอำนาจ ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนเป็นผู้แทนที่ประชาชนควบคุมได้ และต้องไม่มีใครใหญ่ไปกว่าประชาชน
นายสมบัติกล่าวว่า ปัจจุบันอำนาจหรือนโยบายกระจายออกไปในแนวดิ่ง การจัดสรรงบประมาณเริ่มที่รัฐสภาแล้วกระจายออกไปสู่จังหวัดไล่ลงไปถึงระดับหมู่บ้าน เปรียบกับการส่งแท่งไอติม เมื่อมาถึงหมู่บ้านก็เหลือแต่ไม้ ชาวบ้านไม่เคยชิมเนื้อไอติม แต่ในสมัยรัฐบาลทักษิณ งบประมาณถูกส่งตรงมายังกองทุนหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านได้ลิ้มรสไอติม แต่ยังไม่มีจิตสำนึกทางการเมือง ดังนั้นการเดินทางของชาวบ้านครั้งนี้จึงเป็นการตามหาคุณภาพชีวิตที่ดี เหมือนคนที่เดินหาต้นตอของปัญหาน้ำแห้ง และไปพบเขื่อนกักน้ำอยู่ที่ต้นน้ำ ซึ่งชาวบ้านพบว่านั่นคือระบบอำมาตย์
นายสมบัติกล่าวในตอนท้ายว่า นี่ไม่ใช่สงครามของตนเอง แต่เป็นสงครามของยักษ์ที่ขยับตัว จึงอยากให้ทุกคนให้โอกาส
น.ส.จิตรา คชเดช กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานไทยว่า คนงานไม่มีเครื่องมือที่จะต่อสู้กับนายทุน โดยที่นายทุนร่วมมือกับรัฐในการกำหนดสิ่งต่างๆ เช่น สวัสดิการ หรือค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานที่มีทักษะสูงจึงไม่สามารถเสนอค่าแรงต่อนายจ้างตามความสามารถของตนได้
น.ส.จิตรา กล่าวว่าเนื่องจากแรงงานไม่มีเครื่องมือในการต่อสู้ จึงจำเป็นต้องออกมาเดินขบวนบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน แต่สิ่งที่ตามมาคือการถูกออกหมายจับ และถูกตำหนิจากผู้ที่มีรถยนต์ขับว่าเป็นสาเหตุของการจราจรติดขัดบนท้องถนน
น.ส.จิตรา กล่าวว่า ไม่ว่าจะรัฐบาลใดก็ตาม ปัญหาของแรงงานก็ไม่เคยได้รับการแก้ไข ในยุครัฐบาลทักษิณ มีการทดลองใช้สเปรย์พริกไทยกับคนงานบริษัทไทยเกรียง รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีการนำเครื่อง L-RAD ที่สามารถทำลายแก้วหูมาทดลองใช้กับคนงานไทรอัมพ์ และในที่สุดคนงานบางส่วนก็ถูกออกหมายจับ
น.ส.จิตรา มองว่าการเคลื่อนไหวของแรงงานเฉพาะภายในประเทศนั้นยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการลงทุนมาจากต่างประเทศ และนายจ้างก็เป็นชาวต่างชาติ จึงต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่าย การเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งแรงงานถูกเลิกจ้างพบว่าคนงานฟิลิปปินส์ที่เคลื่อนไหวก็ถูกออกหมายจับและถูกบริษัทฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อเดือนถึงเดือนละ 1 ล้านเปโซ
น.ส.จิตรากล่าวว่า รู้สึกประหลาดใจกับประเทศไทยว่าเหตุใดจึงไม่มีใครรู้สึกอะไรกับการฆ่าคนกลางเมืองหลวง แต่กลับมีคนออกมาช่วยกันทำความสะอาดครั้งใหญ่ และเมื่อใดที่มีการชุมนุมบนท้องถนนก็จะมีการฆ่าหรือการจับกุม ซึ่งหากไม่มีเสรีภาพบนท้องถนน เราก็ไม่สามารถจะมีประชาธิปไตยได้เลย การพยายามจะออกกฎหมายเพื่อควบคุมการชุมนุม จึงมีคำถามว่ายังมีพื้นที่สาธารณะเหลืออยู่ตรงไหนบ้าง เพราะพื้นที่หน้าโรงงานก็เป็นของนายจ้าง
น.ส.จิตรากล่าวด้วยว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง เพื่อส่งตัวแทนเข้าไปในระบบการเมือง และเป็นปากเสียงให้กับการแก้ไขปัญหาของแรงงงาน
นางจินตนา แก้วขาว กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาชนใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ว่า ชาวบ้านรวมตัวเคลื่อนไหวบนท้องถนนมาตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งเป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องฐานทรัพยากร โดยคิดว่าเพื่อรักษาชีวิตของตัวเอง ความตื่นตัวทางการเมืองของชาวบ้านจึงเริ่มมีมาแล้วตั้งแต่ก่อนหน้าการชุมนุมของ พธม. ในปี 2548
การเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือสีเขียวนั้นต้องการคนทุกสีทั้งสีเหลืองและสีแดง แต่ที่เป็นปัญหาอยู่บ้างตอนนี้คือในสีเขียวเองนั้นก็มีทั้งสีเหลืองและสีแดง
ในตอนท้าย นายแสงธรรม กล่าวว่าเสริมว่า เห็นด้วยกับ บก.ลายจุดที่บอกว่า จริงๆ แล้ว สีเหลืองกับสีแดงมีจุดร่วมกันอยู่ อาจมีที่เหมือนกัน 80 และต่างกัน 20 แต่ตัวเขาอาจไม่ถึงขนาดสรุปเป็นเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนอย่าง บก. ลายจุด
จุดยืนหลักที่ต่างจากสีแดงของสีเหลืองคือ พวกเขาต้านระบอบทักษิณ ซึ่งเขาอธิบายคร่าวๆ ว่า ระบอบทักษิณนำไปสู่ปัญหาหลายด้าน เช่น กรณีกรือเซะ การขายหุ้นโดยไม่เสียภาษี การหายตัวไปของนักต่อสู้ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่น่ากลัว ไม่แน่ใจว่าถ้าปล่อยให้ระบอบทักษิณยังอยู่ ตอนนี้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
ส่วนที่เหมือนกันก็มีหลายประเด็น เช่นเรื่องการรัฐประหาร ตัวเขาเองก็ไม่เห็นด้วย และถึงตอนนี้ เขาคิดว่า ถ้าที่ผ่านมาไม่เกิดรัฐประหาร 19 กันยาเลย ก็คงจะดีมาก
ระหว่างการสนทนา มีผู้ซักถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งหลายอย่างไม่ต่างจากที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ หรือจะเรียกว่า ระบอบทักษ๋ิณในรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ได้ ที่กรือเซะมีคนตาย ที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ก็มีคนตายเช่นกัน ประเด็นนี้สีเหลืองมีจุดยืนอย่างไร แสงธรรมตอบว่า ที่ผ่านมาสีเหลืองก็วิพากษ์รัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วย จากนั้นมีผู้ซักถามถึงการได้รับการปฏิบัติที่ต่างกันจากรัฐบาลระหว่างสีเหลืองและสี แดง แสงธรรมตอบว่า สิ่งที่ทำให้การสลายการชุมนุมระหว่างสีเหลืองกับสีแดงแตกต่างกันคือ เสื้อแดงมีคนกลุ่มหนึ่งที่มีอาวุธ มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่ใช้สันติ เห็นได้จาก ผู้เสียชีวิตนั้นไม่ได้มีเพียงคนเสื้อแดงเท่านั้น แต่มีทหารเสียชีวิตด้วย ขณะที่ม็อบสีเหลืองมีความพยายามยึดหลักสันติอหิงสาในการชุมนุมตลอดเวลา
ที่มา.ประชาไท
************************************************************
นายแสงธรรม ชุนชฎาธาร มองการเคลื่อนไหวทางการเมืองของไทยผ่านแว่นตาสีเหลืองว่า การเมืองบนท้องถนนมีความสำคัญต่อการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของทุกประเทศ เมื่อใดที่การเมืองของรัฐบาลกระทบต่อประชาชนและไม่มีกลไกแก้ไข จำเป็นจะต้องมีการแสดงพลังบนท้องถนน
นายแสงธรรม กล่าวว่า สาเหตุของการเมืองบนท้องถนนเกิดจากนโยบายรัฐบาลที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชน และการเกิดสิ่งผิดแปลกหรือแปลกปลอมขึ้นในระบบการเมือง ดังจะเห็นได้จากการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่ง พธม.มีความชัดเจนคือต่อต้านระบอบทักษิณ และยังคงต่อสู้อยู่จนถึงปัจจุบัน
นายแสงธรรม กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของ พธม.ในสมัยรัฐบาลทักษิณว่า ได้ทำหน้าที่หลายเรื่อง ได้แก่ ตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น, การละเมิดสิทธิมนุษยชน, ตรวจสอบกรณีกรือเซะ-ตากใบ, กรณีฆ่าตัดตอน 2,500 ศพในสงครามยาเสพติด และกรณีการเสียชีวิตของทนายสมชาย นีละไพจิตร และพระสุพจน์ สุวโจ
นอกจากนี้ นายแสงธรรม กล่าวด้วยว่า กลุ่ม พธม.มีความรู้สึกเช่นกันว่า รัฐประหารปี 2549 เป็นสิ่งแปลกปลอมทางการเมือง แต่ก็ไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนเท่ากับคนเสื้อแดง และภายหลังรัฐประหาร ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ พธม.ได้ยุติการชุมนุมไป 1 ปี แต่หลังการเลือกตั้งได้นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 เรื่องการยุบพรรค และมาตรา 309 เพื่อนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ พธม.กลับมาชุมนุมอีกครั้ง และเป็นการชุมนุมยืดเยื้อถึง 193 วัน
นายสมบัติ บุญงามอนงค์ มองการเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านแว่นตาสีแดงว่า เสื้อเหลืองกับเสื้อแดงมีส่วนที่เหมือนกันอยู่ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ แต่ส่วนที่เหมือนกันมักไม่ได้นำมาพูดคุย และส่วนที่ต่างกันนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ เช่น ความคิดเรื่องอำนาจสูงสุดเป็นของใคร และการให้ความสำคัญกับความต่าง ทำให้ทั้งสองสีไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้
นายสมบัติกล่าวว่า การเมืองของคนเสื้อแดงครั้งนี้เป็นวิวัฒนาการทางประชาธิปไตย ซึ่งในปี 2475 เป็นการเปลี่ยนอำนาจจากหนึ่งคนมาเป็นคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เป็นอำมาตย์และขุนศึก ต่อมาเมื่อคนมีการศึกษามากขึ้น ปัญญาชนจึงต้องการส่วนแบ่งทางอำนาจจึงเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ขึ้น ทำให้ปัญญาชนมีพื้นที่ทางการเมืองนับแต่นั้นมา และในปี 2535 คนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น จึงเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกลางซึ่งได้รับชัยชนะและได้รับประโยชน์ ชนชั้นกลางจึงไม่มีความรู้สึกถึงคำว่า อำมาตย์
นายสมบัติกล่าวว่า ตัวละครสุดท้ายซึ่งกล่าวอ้างคำว่าประชาธิปไตยเช่นเดียวกับคณะราษฎรและชนชั้นกลางในปี 2535 เป็นตัวละครสุดท้ายของวิวัฒนาการประชาธิปไตยไทย คนกลุ่มนี้แทรกตัวอยู่ในทุกจุดของสังคม ในรูปของแม่บ้าน คนรับใช้ และ รปภ. การต่อสู้ครั้งนี้จึงไม่ใช่สงครามของชนชั้นกลาง แต่เป็นการต่อสู้ของยักษ์หลับซึ่งอยู่ชั้นล่าง เมื่อยักษ์ขยับตัว ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงจึงตีความว่าเป็นการเคลื่อนไหวของทักษิณ เพราะชนชั้นล่างไม่เคยปริปาก ทำให้ชนชั้นกลางคิดว่าพวกเขาไม่รู้จักประชาธิปไตย การประเมินการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงว่าเป็นการขยับตัวของทักษิณ แสดงว่าไม่เข้าใจวิวัฒนาการทางรูปการจิตสำนึกหรือการเติบโตทางจิตวิญญาณของประชาชน และการกล่าวว่าชาวบ้านโปรทักษิณ ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่มีสิทธิในการต่อสู้
นายสมบัติกล่าวว่า ตนได้สร้างวาทกรรมขึ้นใหม่โดยนิยามศัพท์การเมือง 3 คำ ได้แก่
“อำมาตย์ เวอร์ชั่น 1.0” คือ การที่มีคนขีดเส้นแบ่ง แล้วกดปุ่มบอกว่าประชาชนต้องทำอะไรและต้องไม่ทำอะไร และการบังคับให้คนอยู่ในกรอบคิดว่าอะไรดี อะไรไม่ดี
“นักการเมือง 2.0” คือ กลุ่มคนที่มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม และมีความสามารถเชื่อมโยงอำนาจระหว่างระดับบนและระดับล่าง
“ประชาชน 3.0” คือ คนที่ต้องการปกครองตัวเอง ซึ่งไม่ใช่การโค่นรัฐบาลอภิสิทธิ์ลงแล้วเอาคนของตัวเองมาเป็นเจ้านายแทน แต่หมายถึงชัยชนะในครั้งนี้ ผู้เป็นนายคือประชาชน ประชาชนเป็นผู้ควบคุมอำนาจ ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนเป็นผู้แทนที่ประชาชนควบคุมได้ และต้องไม่มีใครใหญ่ไปกว่าประชาชน
นายสมบัติกล่าวว่า ปัจจุบันอำนาจหรือนโยบายกระจายออกไปในแนวดิ่ง การจัดสรรงบประมาณเริ่มที่รัฐสภาแล้วกระจายออกไปสู่จังหวัดไล่ลงไปถึงระดับหมู่บ้าน เปรียบกับการส่งแท่งไอติม เมื่อมาถึงหมู่บ้านก็เหลือแต่ไม้ ชาวบ้านไม่เคยชิมเนื้อไอติม แต่ในสมัยรัฐบาลทักษิณ งบประมาณถูกส่งตรงมายังกองทุนหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านได้ลิ้มรสไอติม แต่ยังไม่มีจิตสำนึกทางการเมือง ดังนั้นการเดินทางของชาวบ้านครั้งนี้จึงเป็นการตามหาคุณภาพชีวิตที่ดี เหมือนคนที่เดินหาต้นตอของปัญหาน้ำแห้ง และไปพบเขื่อนกักน้ำอยู่ที่ต้นน้ำ ซึ่งชาวบ้านพบว่านั่นคือระบบอำมาตย์
นายสมบัติกล่าวในตอนท้ายว่า นี่ไม่ใช่สงครามของตนเอง แต่เป็นสงครามของยักษ์ที่ขยับตัว จึงอยากให้ทุกคนให้โอกาส
น.ส.จิตรา คชเดช กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานไทยว่า คนงานไม่มีเครื่องมือที่จะต่อสู้กับนายทุน โดยที่นายทุนร่วมมือกับรัฐในการกำหนดสิ่งต่างๆ เช่น สวัสดิการ หรือค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานที่มีทักษะสูงจึงไม่สามารถเสนอค่าแรงต่อนายจ้างตามความสามารถของตนได้
น.ส.จิตรา กล่าวว่าเนื่องจากแรงงานไม่มีเครื่องมือในการต่อสู้ จึงจำเป็นต้องออกมาเดินขบวนบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน แต่สิ่งที่ตามมาคือการถูกออกหมายจับ และถูกตำหนิจากผู้ที่มีรถยนต์ขับว่าเป็นสาเหตุของการจราจรติดขัดบนท้องถนน
น.ส.จิตรา กล่าวว่า ไม่ว่าจะรัฐบาลใดก็ตาม ปัญหาของแรงงานก็ไม่เคยได้รับการแก้ไข ในยุครัฐบาลทักษิณ มีการทดลองใช้สเปรย์พริกไทยกับคนงานบริษัทไทยเกรียง รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็มีการนำเครื่อง L-RAD ที่สามารถทำลายแก้วหูมาทดลองใช้กับคนงานไทรอัมพ์ และในที่สุดคนงานบางส่วนก็ถูกออกหมายจับ
น.ส.จิตรา มองว่าการเคลื่อนไหวของแรงงานเฉพาะภายในประเทศนั้นยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการลงทุนมาจากต่างประเทศ และนายจ้างก็เป็นชาวต่างชาติ จึงต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่าย การเดินทางไปประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งแรงงานถูกเลิกจ้างพบว่าคนงานฟิลิปปินส์ที่เคลื่อนไหวก็ถูกออกหมายจับและถูกบริษัทฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อเดือนถึงเดือนละ 1 ล้านเปโซ
น.ส.จิตรากล่าวว่า รู้สึกประหลาดใจกับประเทศไทยว่าเหตุใดจึงไม่มีใครรู้สึกอะไรกับการฆ่าคนกลางเมืองหลวง แต่กลับมีคนออกมาช่วยกันทำความสะอาดครั้งใหญ่ และเมื่อใดที่มีการชุมนุมบนท้องถนนก็จะมีการฆ่าหรือการจับกุม ซึ่งหากไม่มีเสรีภาพบนท้องถนน เราก็ไม่สามารถจะมีประชาธิปไตยได้เลย การพยายามจะออกกฎหมายเพื่อควบคุมการชุมนุม จึงมีคำถามว่ายังมีพื้นที่สาธารณะเหลืออยู่ตรงไหนบ้าง เพราะพื้นที่หน้าโรงงานก็เป็นของนายจ้าง
น.ส.จิตรากล่าวด้วยว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองเป็นของตัวเอง เพื่อส่งตัวแทนเข้าไปในระบบการเมือง และเป็นปากเสียงให้กับการแก้ไขปัญหาของแรงงงาน
นางจินตนา แก้วขาว กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาชนใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ว่า ชาวบ้านรวมตัวเคลื่อนไหวบนท้องถนนมาตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งเป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องฐานทรัพยากร โดยคิดว่าเพื่อรักษาชีวิตของตัวเอง ความตื่นตัวทางการเมืองของชาวบ้านจึงเริ่มมีมาแล้วตั้งแต่ก่อนหน้าการชุมนุมของ พธม. ในปี 2548
การเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือสีเขียวนั้นต้องการคนทุกสีทั้งสีเหลืองและสีแดง แต่ที่เป็นปัญหาอยู่บ้างตอนนี้คือในสีเขียวเองนั้นก็มีทั้งสีเหลืองและสีแดง
ในตอนท้าย นายแสงธรรม กล่าวว่าเสริมว่า เห็นด้วยกับ บก.ลายจุดที่บอกว่า จริงๆ แล้ว สีเหลืองกับสีแดงมีจุดร่วมกันอยู่ อาจมีที่เหมือนกัน 80 และต่างกัน 20 แต่ตัวเขาอาจไม่ถึงขนาดสรุปเป็นเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอนอย่าง บก. ลายจุด
จุดยืนหลักที่ต่างจากสีแดงของสีเหลืองคือ พวกเขาต้านระบอบทักษิณ ซึ่งเขาอธิบายคร่าวๆ ว่า ระบอบทักษิณนำไปสู่ปัญหาหลายด้าน เช่น กรณีกรือเซะ การขายหุ้นโดยไม่เสียภาษี การหายตัวไปของนักต่อสู้ และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่น่ากลัว ไม่แน่ใจว่าถ้าปล่อยให้ระบอบทักษิณยังอยู่ ตอนนี้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
ส่วนที่เหมือนกันก็มีหลายประเด็น เช่นเรื่องการรัฐประหาร ตัวเขาเองก็ไม่เห็นด้วย และถึงตอนนี้ เขาคิดว่า ถ้าที่ผ่านมาไม่เกิดรัฐประหาร 19 กันยาเลย ก็คงจะดีมาก
ระหว่างการสนทนา มีผู้ซักถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งหลายอย่างไม่ต่างจากที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ หรือจะเรียกว่า ระบอบทักษ๋ิณในรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ได้ ที่กรือเซะมีคนตาย ที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ก็มีคนตายเช่นกัน ประเด็นนี้สีเหลืองมีจุดยืนอย่างไร แสงธรรมตอบว่า ที่ผ่านมาสีเหลืองก็วิพากษ์รัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วย จากนั้นมีผู้ซักถามถึงการได้รับการปฏิบัติที่ต่างกันจากรัฐบาลระหว่างสีเหลืองและสี แดง แสงธรรมตอบว่า สิ่งที่ทำให้การสลายการชุมนุมระหว่างสีเหลืองกับสีแดงแตกต่างกันคือ เสื้อแดงมีคนกลุ่มหนึ่งที่มีอาวุธ มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางไม่ใช้สันติ เห็นได้จาก ผู้เสียชีวิตนั้นไม่ได้มีเพียงคนเสื้อแดงเท่านั้น แต่มีทหารเสียชีวิตด้วย ขณะที่ม็อบสีเหลืองมีความพยายามยึดหลักสันติอหิงสาในการชุมนุมตลอดเวลา
ที่มา.ประชาไท
************************************************************
จดหมายลับ วิกเตอร์ บูท "ผมไม่รู้จักทักษิณ"
ที่มา. (www.go6tv.com, กรุงเทพฯ)
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น และ ฐิติมาฉายแสง
กรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฏร
กมธ.ต่างประเทศ ซีกฝ่ายค้านบุกคุกบางขวางเข้าพบ "วิกเตอร์ บูท" พ่อค้าความตาย ร่วมซักถามข้อมูลนานกว่า 4 ชั่วโมง
กรณี "ศิริโชค โสภา" ส.ส.ประชาธิปัตย์ ประกาศตัวเป็น "ผู้ช่วยนายกฯ" ดอดเข้าพบนายบูทช่วงกลางเดือนเม.ย. ด้านบูทยืนยันไม่เคยรู้จัก "ทักษิณ" เป็นการส่วนตัว วอนรัฐบาลไทยอย่านำตนไปเกี่ยวโยงกับประเด็นการ เมือง ย้ำเรื่องราวทุกอย่างเป็นจริงตามที่เมียเคยแถลงไปแล้ว ทั้งยังแฉซ้ำอีกว่าในวันดังกล่าวนายศิริโชคได้มอบ "เบอร์มือถือ" เอาไว้ให้ด้วย นอกจากนั้น นายบูทมอบจ.ม.ลับ 5 หน้ากระดาษให้กมธ. แต่ยังเผยแพร่ไม่ได้ เพราะต้องรอให้กรมราชทัณฑ์ตรวจสอบก่อน เผย 8 ก.ย.นี้เตรียมเรียกศิริโชคชี้แจง เพราะบางเรื่องพูดไม่ตรงกับนายบูท
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 ก.ย. ที่เรือนจำกลางบางขวาง อ.เมือง จ.นนทบุรี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ (กมธ.ต่างประเทศ) สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนางฐิติมา ฉายแสง รองประธานกรรมาธิการ เดินทางมาเข้าพบนายวิกเตอร์ บูท ภายหลังที่ประชุมกรรมาธิการการต่างประเทศมีมติให้เข้าพบเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองไทย
ต่อมาเวลา 14.20 น. นายต่อพงษ์เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายบูทนานกว่า 4 ชั่วโมง ว่า การเข้าพบครั้งนี้มีคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ นายวิกเตอร์ บูท ล่ามแปลภาษารัสเซีย และเจ้าหน้าที่กงสุลรัสเซียประจำประ เทศไทยร่วมฟังการพูดคุยโดยตลอด โดยนายบูทเป็นผู้ร้องขอให้ล่ามและเจ้าหน้าที่กงสุลเข้าร่วมหารือเพื่อจะได้มีพยานรับรู้ ทั้งนี้ นายบูทยังยื่นจดหมายเขียนด้วยลายมือเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน 5 หน้ากระดาษผ่านมายังตน ซึ่งเนื้อหาบางส่วนตนอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถนำออกมาเผยแพร่ขณะนี้ได้ เนื่องจากตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ต้องผ่านการตรวจสอบก่อน เบื้องต้นจากการสอบถามในประ เด็นที่นายศิริโชค เข้าพบเมื่อวันที่ 15 เม.ย. นายบูทชี้แจงว่านายศิริโชคเข้าพบจริง โดยใช้ตำแหน่งในการเข้าพบตรงตามที่ภรรยาของนายบูทแถลงต่อสื่อมวลชนไปก่อนหน้านี้ และนายศิริโชคยังให้หมายเลขโทรศัพท์มือถือแก่นายบูทด้วย
นอกจากนี้ นายต่อพงษ์ยังเผยเนื้อหาบางส่วนในจดหมาย 5 หน้าของนายบูทว่า นายบูทไม่รู้จักพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นการส่วนตัว ทราบเพียงว่าเป็นอดีตนายกฯ เท่านั้น และยืนยันไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งในประเด็นการค้าอาวุธ หรือในทางธุรกิจต่างๆ
"วิกเตอร์ บูท เรียกร้องให้รัฐบาลไทยอย่านำเรื่องของเขาไปเกี่ยวโยงกับประเด็นการ เมือง และขอให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเที่ยงตรง วิกเตอร์ยืนยันว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะขณะนี้เป็นเพียงผู้ที่ถูกกล่าวหา ทั้งยังขอให้กรรมาธิการการต่างประเทศตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีของวิกเตอร์โดยตรง ทั้งเรื่องสิทธิ์ในเรือนจำ หรือคดีที่ทางการไทยกำลังดำเนินการ เพราะไม่ต้องการให้การ เมืองใช้วิกเตอร์เป็นเหยื่อและเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และขอให้กรรมการสิทธิมนุษยชนเข้ามาดูแลเรื่องสิทธิในเรือนจำของผู้ต้องขัง รวมถึงผู้บริสุทธิ์ที่ถูกคุมขัง" นายต่อพงษ์ กล่าว
นายต่อพงษ์ระบุด้วยว่า วันพุธที่ 8 ก.ย. กมธ.ต่างประเทศนัดประชุมและจะเชิญนายศิริโชคเข้ามาชี้แจงในรายละเอียดเกี่ยวกับนายบูทด้วย อย่างไรก็ตาม จากการเข้าพบนายบูทตนได้ข้อมูลที่ยืนยันแล้วว่าไม่ตรงกับคำพูดของนายศิริโชค ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด นอกจากนั้น จด หมายของนายบูทหากผ่านการตรวจสอบจากกรมราชทัณฑ์แล้วจะนำมาเผยแพร่กับสื่อ มวลชน โดยเนื้อหาบางส่วนระบุถึงการเข้าพบของนายศิริโชคด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเข้าพบนายบูททำไมกรรมาธิการฝั่งรัฐบาลถึงไม่เข้าร่วมด้วย นายต่อพงษ์ตอบว่าก่อนหน้านี้ได้หารือกันและนัดหมายให้มาเจอก่อนเวลาเข้าพบ ซึ่งกรรมาธิการบางคนตอบตกลงเข้าร่วม แต่เมื่อถึงเวลาจริงกลับพบว่าไม่มีใครมาเลย ซึ่งตนไม่เป็นห่วงว่าการที่กรรมาธิการฝ่ายรัฐ บาลไม่มาจะทำให้ฝ่ายรัฐบาลมองว่าการทำ งานของตนเพื่อปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณ และดิสเครดิตรัฐบาล เพราะตนมีเอกสารที่สามารถชี้แจงได้ ต่อข้อถามว่า ทำไมถึงไม่ให้ทนายของนายบูทเข้าไปร่วมพบปะด้วย นายต่อพงษ์กล่าวว่า ตนไม่มีอำนาจจะเชิญใครเข้าร่วมการพบปะดังกล่าว มีแต่เจ้าหน้าที่เท่านั้นที่อนุญาตได้
****************************************************************
ต่อพงษ์ ไชยสาส์น และ ฐิติมาฉายแสง
กรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฏร
กมธ.ต่างประเทศ ซีกฝ่ายค้านบุกคุกบางขวางเข้าพบ "วิกเตอร์ บูท" พ่อค้าความตาย ร่วมซักถามข้อมูลนานกว่า 4 ชั่วโมง
กรณี "ศิริโชค โสภา" ส.ส.ประชาธิปัตย์ ประกาศตัวเป็น "ผู้ช่วยนายกฯ" ดอดเข้าพบนายบูทช่วงกลางเดือนเม.ย. ด้านบูทยืนยันไม่เคยรู้จัก "ทักษิณ" เป็นการส่วนตัว วอนรัฐบาลไทยอย่านำตนไปเกี่ยวโยงกับประเด็นการ เมือง ย้ำเรื่องราวทุกอย่างเป็นจริงตามที่เมียเคยแถลงไปแล้ว ทั้งยังแฉซ้ำอีกว่าในวันดังกล่าวนายศิริโชคได้มอบ "เบอร์มือถือ" เอาไว้ให้ด้วย นอกจากนั้น นายบูทมอบจ.ม.ลับ 5 หน้ากระดาษให้กมธ. แต่ยังเผยแพร่ไม่ได้ เพราะต้องรอให้กรมราชทัณฑ์ตรวจสอบก่อน เผย 8 ก.ย.นี้เตรียมเรียกศิริโชคชี้แจง เพราะบางเรื่องพูดไม่ตรงกับนายบูท
ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 ก.ย. ที่เรือนจำกลางบางขวาง อ.เมือง จ.นนทบุรี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ประธานกรรมาธิการการต่างประเทศ (กมธ.ต่างประเทศ) สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนางฐิติมา ฉายแสง รองประธานกรรมาธิการ เดินทางมาเข้าพบนายวิกเตอร์ บูท ภายหลังที่ประชุมกรรมาธิการการต่างประเทศมีมติให้เข้าพบเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองไทย
ต่อมาเวลา 14.20 น. นายต่อพงษ์เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายบูทนานกว่า 4 ชั่วโมง ว่า การเข้าพบครั้งนี้มีคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ นายวิกเตอร์ บูท ล่ามแปลภาษารัสเซีย และเจ้าหน้าที่กงสุลรัสเซียประจำประ เทศไทยร่วมฟังการพูดคุยโดยตลอด โดยนายบูทเป็นผู้ร้องขอให้ล่ามและเจ้าหน้าที่กงสุลเข้าร่วมหารือเพื่อจะได้มีพยานรับรู้ ทั้งนี้ นายบูทยังยื่นจดหมายเขียนด้วยลายมือเป็นภาษาอังกฤษ จำนวน 5 หน้ากระดาษผ่านมายังตน ซึ่งเนื้อหาบางส่วนตนอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถนำออกมาเผยแพร่ขณะนี้ได้ เนื่องจากตามระเบียบของกรมราชทัณฑ์ต้องผ่านการตรวจสอบก่อน เบื้องต้นจากการสอบถามในประ เด็นที่นายศิริโชค เข้าพบเมื่อวันที่ 15 เม.ย. นายบูทชี้แจงว่านายศิริโชคเข้าพบจริง โดยใช้ตำแหน่งในการเข้าพบตรงตามที่ภรรยาของนายบูทแถลงต่อสื่อมวลชนไปก่อนหน้านี้ และนายศิริโชคยังให้หมายเลขโทรศัพท์มือถือแก่นายบูทด้วย
นอกจากนี้ นายต่อพงษ์ยังเผยเนื้อหาบางส่วนในจดหมาย 5 หน้าของนายบูทว่า นายบูทไม่รู้จักพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นการส่วนตัว ทราบเพียงว่าเป็นอดีตนายกฯ เท่านั้น และยืนยันไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งในประเด็นการค้าอาวุธ หรือในทางธุรกิจต่างๆ
"วิกเตอร์ บูท เรียกร้องให้รัฐบาลไทยอย่านำเรื่องของเขาไปเกี่ยวโยงกับประเด็นการ เมือง และขอให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเที่ยงตรง วิกเตอร์ยืนยันว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ เพราะขณะนี้เป็นเพียงผู้ที่ถูกกล่าวหา ทั้งยังขอให้กรรมาธิการการต่างประเทศตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดีของวิกเตอร์โดยตรง ทั้งเรื่องสิทธิ์ในเรือนจำ หรือคดีที่ทางการไทยกำลังดำเนินการ เพราะไม่ต้องการให้การ เมืองใช้วิกเตอร์เป็นเหยื่อและเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง และขอให้กรรมการสิทธิมนุษยชนเข้ามาดูแลเรื่องสิทธิในเรือนจำของผู้ต้องขัง รวมถึงผู้บริสุทธิ์ที่ถูกคุมขัง" นายต่อพงษ์ กล่าว
นายต่อพงษ์ระบุด้วยว่า วันพุธที่ 8 ก.ย. กมธ.ต่างประเทศนัดประชุมและจะเชิญนายศิริโชคเข้ามาชี้แจงในรายละเอียดเกี่ยวกับนายบูทด้วย อย่างไรก็ตาม จากการเข้าพบนายบูทตนได้ข้อมูลที่ยืนยันแล้วว่าไม่ตรงกับคำพูดของนายศิริโชค ซึ่งการประชุมดังกล่าวจะทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด นอกจากนั้น จด หมายของนายบูทหากผ่านการตรวจสอบจากกรมราชทัณฑ์แล้วจะนำมาเผยแพร่กับสื่อ มวลชน โดยเนื้อหาบางส่วนระบุถึงการเข้าพบของนายศิริโชคด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเข้าพบนายบูททำไมกรรมาธิการฝั่งรัฐบาลถึงไม่เข้าร่วมด้วย นายต่อพงษ์ตอบว่าก่อนหน้านี้ได้หารือกันและนัดหมายให้มาเจอก่อนเวลาเข้าพบ ซึ่งกรรมาธิการบางคนตอบตกลงเข้าร่วม แต่เมื่อถึงเวลาจริงกลับพบว่าไม่มีใครมาเลย ซึ่งตนไม่เป็นห่วงว่าการที่กรรมาธิการฝ่ายรัฐ บาลไม่มาจะทำให้ฝ่ายรัฐบาลมองว่าการทำ งานของตนเพื่อปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณ และดิสเครดิตรัฐบาล เพราะตนมีเอกสารที่สามารถชี้แจงได้ ต่อข้อถามว่า ทำไมถึงไม่ให้ทนายของนายบูทเข้าไปร่วมพบปะด้วย นายต่อพงษ์กล่าวว่า ตนไม่มีอำนาจจะเชิญใครเข้าร่วมการพบปะดังกล่าว มีแต่เจ้าหน้าที่เท่านั้นที่อนุญาตได้
****************************************************************
วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553
‘เส้นทางเหล็ก’ ผบ.ทบ.คนที่ 37
ที่มา.บางกอกทูเดย์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 37 กำลังถูกจับตามองหลังก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง ผบ.ทบ. ตามเส้นทางที่รุ่นพี่ “บูรพาพยัคฆ์” ขีดเส้นไว้ให้เดิน เพราะภารกิจหลังจากนี้ไปยังต้องฟันฝ่าอุปสรรคทั้งการเมืองนอกกองทัพและการเมืองในกองทัพ
แต่ใช่ว่า “บิ๊กตู่”จะเป็นผบ.ทบ.ที่เด็ดขาดหรือยอมให้ใครชักจูงได้ง่ายๆ เพราะจากเส้นทางเหล็กที่ ผบ.ทบ.คนนี้ไต่เต้าขึ้นมาสู่จุดสูงสุดของการรับราชการทหารพบว่า “บิ๊กตู่” ถือเป็นนายทหารสายเหยี่ยวที่ทำงานในพื้นที่ภาคตะวันออกและโครงการในพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่จบการศึกษาจาก ร.ร.เตรียมทหารรุ่นที่ 12 และ โรงเรียนนายร้อย จปร. รุ่นที่ 23 พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการในกรมทหารราบที่21รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือมีนามเรียกว่าขานว่า “ทหารเสือราชินี” ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ. )หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “บูรพาพยัคฆ์”
พล.อ.ประยุทธ์ เริ่มเข้าสู่เส้นทางเหล็ก จากผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน.2 รอ.) จากนั้นเลื่อนเป็นเสนาธิการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (เสธ.ร.21 รอ.) และ รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (รองผบ.ร.21 รอ.)
ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.) ถือเป็นผู้การทหารเสือราชินี ต่อจากพล.อ.อนุพงษ์ จากนั้นไต่เต้าในตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (รองผบ.พล.ร.2 รอ.)
กระทั่งขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.ร.2 รอ.) ข้ามมาเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 และ แม่ทัพภาคที่ 1 ตามลำดับและเข้าสู่ไลน์ 5 ทบ.ในตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก สมัย พล.อ.อนุพงษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนเป็นรองผบ.ทบ. เพื่อแต่งตัวรอเป็น ผบ.ทบ. ต่อจาก “บิ๊กป๊อก”
พล.อ.ประยุทธ์ ถือเป็นนายทหาร ที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่ใหญ่ในกองทัพทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ รวมทั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะมีผลงานในการมีส่วนร่วมวางแผน และดูแลความสงบในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองคนกลุ่มคนเสื้อแดง
ลักษณะเด่นของ พล.อ.ประยุทธ์ ถือเป็น ทหารสายบู๊ มีไหวพริบดี ใจถึง นักเลง และถือว่าการเข้าสู่ตำแหน่งในครั้งนี้ ถือเป็นความท้าทายเป็นอย่างมาก เมื่อมองถึงสถานการณ์ความมั่นคงที่รออยู่ข้างหน้า เพราะต้องรับศึกหนักทั้งเรื่องการเมืองและเรื่องภายในกองทัพ โดยเฉพาะกระแสความไม่พอใจในการเติบโตของทหารสายบูรพาพยัคฆ์ และความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงที่ยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่
งานนี้จึงต้องมาลุ้นว่า ผบ.ทบ.คนที่ 37 กับอายุราชการอีก 4 ปีที่เหลือจะนำกองทัพรุดหน้าไปได้ไกลมากน้อยเพียงใด?
**********************************************************************
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 37 กำลังถูกจับตามองหลังก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง ผบ.ทบ. ตามเส้นทางที่รุ่นพี่ “บูรพาพยัคฆ์” ขีดเส้นไว้ให้เดิน เพราะภารกิจหลังจากนี้ไปยังต้องฟันฝ่าอุปสรรคทั้งการเมืองนอกกองทัพและการเมืองในกองทัพ
แต่ใช่ว่า “บิ๊กตู่”จะเป็นผบ.ทบ.ที่เด็ดขาดหรือยอมให้ใครชักจูงได้ง่ายๆ เพราะจากเส้นทางเหล็กที่ ผบ.ทบ.คนนี้ไต่เต้าขึ้นมาสู่จุดสูงสุดของการรับราชการทหารพบว่า “บิ๊กตู่” ถือเป็นนายทหารสายเหยี่ยวที่ทำงานในพื้นที่ภาคตะวันออกและโครงการในพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่อง
ตั้งแต่จบการศึกษาจาก ร.ร.เตรียมทหารรุ่นที่ 12 และ โรงเรียนนายร้อย จปร. รุ่นที่ 23 พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจเลือกเข้ารับราชการในกรมทหารราบที่21รักษาพระองค์ (ร.21 รอ.) หรือมีนามเรียกว่าขานว่า “ทหารเสือราชินี” ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ. )หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “บูรพาพยัคฆ์”
พล.อ.ประยุทธ์ เริ่มเข้าสู่เส้นทางเหล็ก จากผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน.2 รอ.) จากนั้นเลื่อนเป็นเสนาธิการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (เสธ.ร.21 รอ.) และ รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (รองผบ.ร.21 รอ.)
ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.) ถือเป็นผู้การทหารเสือราชินี ต่อจากพล.อ.อนุพงษ์ จากนั้นไต่เต้าในตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (รองผบ.พล.ร.2 รอ.)
กระทั่งขึ้นเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.ร.2 รอ.) ข้ามมาเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 และ แม่ทัพภาคที่ 1 ตามลำดับและเข้าสู่ไลน์ 5 ทบ.ในตำแหน่ง เสนาธิการทหารบก สมัย พล.อ.อนุพงษ์ เป็นผู้บัญชาการทหารบกและเลื่อนเป็นรองผบ.ทบ. เพื่อแต่งตัวรอเป็น ผบ.ทบ. ต่อจาก “บิ๊กป๊อก”
พล.อ.ประยุทธ์ ถือเป็นนายทหาร ที่ได้รับความไว้วางใจจากพี่ใหญ่ในกองทัพทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ รวมทั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะมีผลงานในการมีส่วนร่วมวางแผน และดูแลความสงบในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองคนกลุ่มคนเสื้อแดง
ลักษณะเด่นของ พล.อ.ประยุทธ์ ถือเป็น ทหารสายบู๊ มีไหวพริบดี ใจถึง นักเลง และถือว่าการเข้าสู่ตำแหน่งในครั้งนี้ ถือเป็นความท้าทายเป็นอย่างมาก เมื่อมองถึงสถานการณ์ความมั่นคงที่รออยู่ข้างหน้า เพราะต้องรับศึกหนักทั้งเรื่องการเมืองและเรื่องภายในกองทัพ โดยเฉพาะกระแสความไม่พอใจในการเติบโตของทหารสายบูรพาพยัคฆ์ และความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงที่ยังคงมีความเคลื่อนไหวอยู่
งานนี้จึงต้องมาลุ้นว่า ผบ.ทบ.คนที่ 37 กับอายุราชการอีก 4 ปีที่เหลือจะนำกองทัพรุดหน้าไปได้ไกลมากน้อยเพียงใด?
**********************************************************************
เอแบคโพลชี้คนมีรายได้ต่ำกว่าหมื่นบาท/เดือนอ่วม! ชักหน้าไม่ถึงหลังมากขึ้น กว่า65%ไม่มีเงินออม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์( Cornell University) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 กันยายนถึงผลสำรวจ เรื่อง “เปิดกระเป๋าเงินของคนทำงานผู้มีรายได้น้อย สะท้อนอารมณ์และความล้มเหลวของรัฐบาล :กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานผู้มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ใน 12 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งเป็นการสำรวจจากครัวเรือนจาก 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 988 ครัวเรือน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2553 ประเด็นสำคัญที่พบมีดังนี้
มีค่าใช้จ่ายในแต่เดือนพอๆ กับรายได้ โดยมากเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร เฉลี่ย 4,626.77 บาท รองลงมาเป็นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เฉลี่ย 1,156.56 บาท และของใช้อุปโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน เฉลี่ย 978.11 บาท
เมื่อสอบถามถึงรายได้ส่วนตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 โดยภาพรวมพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 55.7 มีรายได้ลดลง ขณะที่ร้อยละ 38.7 เท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 5.6 ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น
เมื่อจำแนกตามการมีรายได้ประจำ พบว่า ผู้ไม่มีเงินรายได้ประจำ มีรายได้ลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีรายได้ประจำ (รายได้ลดลงร้อยละ 58.0 และ 38.1 ตามลำดับ)
ในทางกลับกันเมื่อสอบถามถึงรายจ่ายส่วนตัว โดยภาพรวมพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.2 มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 25.0 เท่าเดิม และร้อยละ 14.8 มีรายจ่ายลดลง ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ และไม่มีรายได้ประจำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามต่อถึงการมีเงินออม โดยภาพรวมพบว่าตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 65.8 ไม่มีเงินออม โดยไม่แตกต่างกันมากนักไม่ว่า จะเป็นผู้มีรายได้ประจำหรือไม่มี
สำหรับตัวอย่างร้อยละ 34.2 ที่มีเงินออมนั้น โดยภาพรวมพบว่า มีเงินออมเฉลี่ย 1,369.37 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 37.2 มีเงินออมในแต่ละเดือนไม่เกิน 500 บาท รองลงมาร้อยละ 26.5 มีเงินออม 501 – 1,000 บาท และร้อยละ 18.5 มีเงินออม 1,001 – 2,000 บาท ส่วนผู้ที่มีเงินออมมากกว่านี้มีสัดส่วนลดหลั่นลงไป) ซึ่งพบว่า ผู้ที่มีรายได้ประจำมีเงินออมมากกว่าผู้ไม่มีรายได้ประจำเล็กน้อย เฉลี่ย 1,535.22 บาท และ 1,342.02 บาท ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า แม้โดยภาพรวมตัวอย่างร้อยละ 47.3 ระบุเชื่อมั่นเท่าเดิม แต่พบว่า สัดส่วนของกลุ่มที่ระบุเชื่อมั่นลดลงนั้นมีมากกว่ากลุ่มที่ระบุเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 39.3 และ 13.4 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาต่อไปยังเห็นได้ชัดว่า ผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำมีความเชื่อมั่นลดลงมากกว่าผู้ที่มีรายได้ประจำ คิดเป็นร้อยละ 40.7 และ 28.8 ตามลำดับ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า กลุ่มคนที่เป็นผู้มีรายได้น้อยเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลที่ผ่านมา และเกือบทุกอย่างดูเหมือนจะ “วน” อยู่ที่เดิม แค่เปลี่ยนชื่อคนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ เท่านั้น แต่วิธีคิดและแนวทางแก้ไขปัญหาบ้านเมืองยังไม่ปรากฏให้เห็นว่ามี “การเปลี่ยนแปลง” หรือมี “อะไรใหม่” ให้นำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนอย่างยั่งยืน เพราะผลวิจัยครั้งนี้สะท้อนปัญหาเดิมๆ ว่า คนไม่เชื่อมั่นต่อฐานะทางการเงินส่วนตัวของตนเอง และต่อความสามารถของรัฐบาล สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงด้านเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปแต่เรื่องอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เดินตามรอยประเทศมหาอำนาจเกินไป
ทางออกตอนนี้อย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก เร่งมุ่งเน้นไปที่ “ความเป็นธรรม” ที่ให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมสู่ระดับท้องถิ่น เรื่องการเข้าถึงอาชีพ รายได้ที่เป็นธรรม การครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่ทำกิน การศึกษา ระบบสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น โดยระยะสั้นน่าจะมีโครงการบรรเทาคนรายได้น้อยที่ครอบคลุมทั้งประเทศในปัจจัยพื้นฐานคือ อาหาร และสาธารณูปโภคต่างๆ
ประการที่สอง เสนอให้ “กลุ่มนายทุน” หรือคนรวยช่วยเหลือคนจนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในลักษณะมูลนิธิหรือองค์กรไม่หวังผลกำไร และรัฐบาลหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มนายทุนเหล่านั้นอีกทีหนึ่ง
และที่สำคัญ ประการที่สาม คือ ต้องแก้ “ปัญหาคอรัปชั่น” ในส่วนกลางและท้องถิ่น ที่เป็นปัจจัยทำให้ “ระบบเศรษฐกิจ” ทั้งทุนนิยมแบบประชาธิปไตยและไม่เป็นประชาธิปไตยพังไปหลายประเทศ ก่อให้เกิดการจลาจลต่อต้านรัฐบาลและผู้มีอำนาจมาหลายสมัยแล้ว จึงเห็นเสนอให้ปรับแนวทางแก้ปัญหาพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หนุนเสริมความเข้มแข็งของประชาชนโดยเน้นไปที่ “ความเป็นธรรม” และโอกาสที่ให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ถ้าไม่งั้นปัญหาบ้านเมืองของประเทศจะ “วน” อยู่ที่เดิม สิ่งเลวร้ายเดิมๆ จะย้อนกลับมาซ้ำซาก และจะมีคนเพียงหยิบมือเดียวของประเทศที่จะอาศัยบ้านเมืองวุ่นวาย กอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว
**************************************************************************
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และนักศึกษาด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์( Cornell University) เปิดเผยเมื่อวันที่ 5 กันยายนถึงผลสำรวจ เรื่อง “เปิดกระเป๋าเงินของคนทำงานผู้มีรายได้น้อย สะท้อนอารมณ์และความล้มเหลวของรัฐบาล :กรณีศึกษาตัวอย่างคนทำงานผู้มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ใน 12 จังหวัดของประเทศ” ซึ่งเป็นการสำรวจจากครัวเรือนจาก 12 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ชลบุรี นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 988 ครัวเรือน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2553 ประเด็นสำคัญที่พบมีดังนี้
มีค่าใช้จ่ายในแต่เดือนพอๆ กับรายได้ โดยมากเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร เฉลี่ย 4,626.77 บาท รองลงมาเป็นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เฉลี่ย 1,156.56 บาท และของใช้อุปโภค เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน เฉลี่ย 978.11 บาท
เมื่อสอบถามถึงรายได้ส่วนตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 โดยภาพรวมพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 55.7 มีรายได้ลดลง ขณะที่ร้อยละ 38.7 เท่าเดิม และมีเพียงร้อยละ 5.6 ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น
เมื่อจำแนกตามการมีรายได้ประจำ พบว่า ผู้ไม่มีเงินรายได้ประจำ มีรายได้ลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีรายได้ประจำ (รายได้ลดลงร้อยละ 58.0 และ 38.1 ตามลำดับ)
ในทางกลับกันเมื่อสอบถามถึงรายจ่ายส่วนตัว โดยภาพรวมพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 60.2 มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 25.0 เท่าเดิม และร้อยละ 14.8 มีรายจ่ายลดลง ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันทั้งผู้ที่มีรายได้ประจำ และไม่มีรายได้ประจำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามต่อถึงการมีเงินออม โดยภาพรวมพบว่าตัวอย่างประมาณ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 65.8 ไม่มีเงินออม โดยไม่แตกต่างกันมากนักไม่ว่า จะเป็นผู้มีรายได้ประจำหรือไม่มี
สำหรับตัวอย่างร้อยละ 34.2 ที่มีเงินออมนั้น โดยภาพรวมพบว่า มีเงินออมเฉลี่ย 1,369.37 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 37.2 มีเงินออมในแต่ละเดือนไม่เกิน 500 บาท รองลงมาร้อยละ 26.5 มีเงินออม 501 – 1,000 บาท และร้อยละ 18.5 มีเงินออม 1,001 – 2,000 บาท ส่วนผู้ที่มีเงินออมมากกว่านี้มีสัดส่วนลดหลั่นลงไป) ซึ่งพบว่า ผู้ที่มีรายได้ประจำมีเงินออมมากกว่าผู้ไม่มีรายได้ประจำเล็กน้อย เฉลี่ย 1,535.22 บาท และ 1,342.02 บาท ตามลำดับ
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ผลสำรวจพบว่า แม้โดยภาพรวมตัวอย่างร้อยละ 47.3 ระบุเชื่อมั่นเท่าเดิม แต่พบว่า สัดส่วนของกลุ่มที่ระบุเชื่อมั่นลดลงนั้นมีมากกว่ากลุ่มที่ระบุเชื่อมั่นมากขึ้นอย่างชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 39.3 และ 13.4 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาต่อไปยังเห็นได้ชัดว่า ผู้ที่ไม่มีรายได้ประจำมีความเชื่อมั่นลดลงมากกว่าผู้ที่มีรายได้ประจำ คิดเป็นร้อยละ 40.7 และ 28.8 ตามลำดับ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า กลุ่มคนที่เป็นผู้มีรายได้น้อยเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลที่ผ่านมา และเกือบทุกอย่างดูเหมือนจะ “วน” อยู่ที่เดิม แค่เปลี่ยนชื่อคนที่มาเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ เท่านั้น แต่วิธีคิดและแนวทางแก้ไขปัญหาบ้านเมืองยังไม่ปรากฏให้เห็นว่ามี “การเปลี่ยนแปลง” หรือมี “อะไรใหม่” ให้นำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนอย่างยั่งยืน เพราะผลวิจัยครั้งนี้สะท้อนปัญหาเดิมๆ ว่า คนไม่เชื่อมั่นต่อฐานะทางการเงินส่วนตัวของตนเอง และต่อความสามารถของรัฐบาล สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งอยู่ที่รัฐบาลและหน่วยงานความมั่นคงด้านเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปแต่เรื่องอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เดินตามรอยประเทศมหาอำนาจเกินไป
ทางออกตอนนี้อย่างน้อยสามประการคือ ประการแรก เร่งมุ่งเน้นไปที่ “ความเป็นธรรม” ที่ให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมสู่ระดับท้องถิ่น เรื่องการเข้าถึงอาชีพ รายได้ที่เป็นธรรม การครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่ทำกิน การศึกษา ระบบสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น โดยระยะสั้นน่าจะมีโครงการบรรเทาคนรายได้น้อยที่ครอบคลุมทั้งประเทศในปัจจัยพื้นฐานคือ อาหาร และสาธารณูปโภคต่างๆ
ประการที่สอง เสนอให้ “กลุ่มนายทุน” หรือคนรวยช่วยเหลือคนจนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในลักษณะมูลนิธิหรือองค์กรไม่หวังผลกำไร และรัฐบาลหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มนายทุนเหล่านั้นอีกทีหนึ่ง
และที่สำคัญ ประการที่สาม คือ ต้องแก้ “ปัญหาคอรัปชั่น” ในส่วนกลางและท้องถิ่น ที่เป็นปัจจัยทำให้ “ระบบเศรษฐกิจ” ทั้งทุนนิยมแบบประชาธิปไตยและไม่เป็นประชาธิปไตยพังไปหลายประเทศ ก่อให้เกิดการจลาจลต่อต้านรัฐบาลและผู้มีอำนาจมาหลายสมัยแล้ว จึงเห็นเสนอให้ปรับแนวทางแก้ปัญหาพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หนุนเสริมความเข้มแข็งของประชาชนโดยเน้นไปที่ “ความเป็นธรรม” และโอกาสที่ให้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ถ้าไม่งั้นปัญหาบ้านเมืองของประเทศจะ “วน” อยู่ที่เดิม สิ่งเลวร้ายเดิมๆ จะย้อนกลับมาซ้ำซาก และจะมีคนเพียงหยิบมือเดียวของประเทศที่จะอาศัยบ้านเมืองวุ่นวาย กอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว
**************************************************************************
ต้องสรรเสริญสันติวิธีแบบ‘โคทม’
สำนัก(ข่าว)พระพยอม
โดย พระพยอม กัลยาโณ
เห็นท่าทีของ “คณะธรรมยาตรา” หรือชื่อใหม่ที่เรียกว่า “คณะเดินเพื่อสันติปัตตานี” ที่เดินเท้าจากกรุงเทพฯถึงจังหวัดปัตตานี ระยะทางกว่า 1,100 กม. นำโดยอาจารย์โคทม อารียา เพื่อต้องการแสดงออกทางสัญลักษณ์ อยากเห็นสันติภาพกลับมาสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาให้กับการตั้งใจในครั้งนี้จริงๆ
อาตมาถือว่าอาจารย์โคทมเป็นผู้ที่เกิดมามีคุณค่าต่อประเทศเป็นอย่างมาก เพราะได้สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมอย่างมากมาย ท่านพยายามคิดพยายามทำอะไรหลายอย่างให้กับคนในสังคมเดียวกัน ถึงแม้ว่าการกระทำบางอย่างจะไม่สามารถจะเห็นผลได้ทันที แต่ก็ทำให้สังคมได้เห็นปัญหาและลงมาช่วยกันทำ แม้การเดินเท้าจากกรุงเทพฯสู่ปัตตานีจะดูว่าไม่สามารถช่วยให้สถานการณ์เบาบางลงได้ แต่ก็ช่วยได้เยอะ เพราะมันเกิดประโยชน์ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน สามารถกระตุ้นอารมณ์คนในสังคมได้ อย่างที่มีคำกล่าวคำหนึ่งว่า บางครั้งคนเราก็ต้องเขย่าธาตุรู้ เพราะถ้าไม่ได้เขย่า ไม่ได้ถูกกระตุ้น ปัญญาก็จะไม่เกิดหรือไม่งอกงาม และก็ยังทำให้คนในพื้นที่รู้สึกได้ว่าคนในส่วนกลางไม่ได้ทอดทิ้ง อยากเห็นสันติสุขร่วมกัน
อหิงสา สันติวิธี การลดการกระทำรุนแรงอะไรต่างๆ บางทีก็ต้องมีอะไรมากระตุ้น เพราะถ้าไม่มีการกระตุ้นก็อาจไม่เกิดขึ้น อหิงสาธาตุ ธาตุแห่งความรู้สึกไม่อยากเบียดเบียนใคร ไม่อยากเป็นต้นเหตุให้ใครเดือดร้อน ไม่อยากเป็นต้นเหตุให้ใครลำบาก จะเกิดขึ้นได้บางทีก็ต้องใช้แรงกระตุ้น
เพราะฉะนั้นใครที่เป็นต้นเหตุกระตุ้นให้เกิดสันติวิธีได้ก็ต้องเรียกว่าเป็นผู้ริเริ่มแห่งความดีงาม เป็นต้นคิด เป็นต้นแบบ ซึ่งจริงๆเรื่องของการกระตุ้นก็ทำกันมาหลายท่านแล้ว อาจารย์ไพศาล วิสาโล ก็ทำมาตลอดโดยไม่ย่อท้อ ไม่ใจเสาะเปราะบาง ถึงแม้ว่าใครจะไม่ทำท่านก็ทำ แม้ลำบากท่านก็จะทำ
ฉะนั้นคนลักษณะนี้เราถึงว่าท่านเป็นตัวช่วย ช่วยทำให้โลกเกิดความสันติ จึงอยากให้มีคนลักษณะนี้เกิดมาเยอะๆ และส่งพวกที่ชอบก่อเหตุ ชอบสร้างความปั่นป่วนเกิดมาน้อยๆ
อยากให้คนที่ชอบสร้างความปั่นป่วนหันมามองดูคนที่อยากเห็นสันติว่าเวลาไปไหนใครๆก็ต้อนรับ ยกตัวอย่างอาจารย์โคทม เวลาไปไหนมีแต่คนคอยให้กำลังใจ คอยต้อนรับ และตอบรับการกระทำของท่าน เมื่อมีคนตอบรับมากๆจะยิ่งมีคนคล้อยตาม ก็จะเกิดการยับยั้งความรุนแรง ลดความก้าวร้าว สามหาวที่ดุดันบ้าคลั่ง จะได้ไม่ต้องมีระเบิดที่นั่นที่นี่ จนต้องมีคนเจ็บคนตาย
ความบ้าคลั่งเกิดได้ทุกที่ อย่างกรณีวัยรุ่นชอบไล่ตี ไล่ยิงกันระหว่างสถาบัน จนทำให้เด็ก ป.3 โดนลูกหลงเสียชีวิต พอถูกจับค่อยสำนึกผิด ออกมาขอโทษครอบครัวคนตาย ซึ่งเป็นเพราะความคึกคะนอง ที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้เพราะเรามีกฎหมายที่ดีกับเด็กชั่วเหล่านี้มากเกินไป ทำให้เด็กย่ามใจ กล้าก่อความรุนแรง เบียดเบียนคนอื่น
อาตมาจึงอยากฝากไว้ว่าใครที่เป็นต้นเหตุก่อความลำบากให้คนอื่น จับมาเดินธรรมยาตราแบบอาจารย์โคทมบ้างจะได้รู้สึกว่าคนที่ต้องการสันติ ต้องการความสงบ เขาลำบากขนาดไหน แต่คงทำไม่ได้ มันคงหนีหมดระหว่างเดิน เพราะมันไม่อยากสนองตอบกิจกรรมลดความรุนแรง กิจกรรมอหิงสา กิจกรรมสันติวิธี
อาตมาขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลให้คณะธรรมยาตราทุกท่านมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพดีตลอดไป เราคงจะได้เห็นกันว่าท่านที่ปฏิบัติภารกิจนี้ได้กระตุ้นอารมณ์ของคนให้ลดความรุนแรง ความบ้าคลั่ง แล้วกลับมาเป็นความเมตตาปรานี กลับมาโอนอ่อนผ่อนปรน บ้านเมืองจะได้กลับคืนมาสู่ความปรกติสุขกันเสียที
เจริญพร
**********************************************************************
โดย พระพยอม กัลยาโณ
เห็นท่าทีของ “คณะธรรมยาตรา” หรือชื่อใหม่ที่เรียกว่า “คณะเดินเพื่อสันติปัตตานี” ที่เดินเท้าจากกรุงเทพฯถึงจังหวัดปัตตานี ระยะทางกว่า 1,100 กม. นำโดยอาจารย์โคทม อารียา เพื่อต้องการแสดงออกทางสัญลักษณ์ อยากเห็นสันติภาพกลับมาสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาให้กับการตั้งใจในครั้งนี้จริงๆ
อาตมาถือว่าอาจารย์โคทมเป็นผู้ที่เกิดมามีคุณค่าต่อประเทศเป็นอย่างมาก เพราะได้สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมอย่างมากมาย ท่านพยายามคิดพยายามทำอะไรหลายอย่างให้กับคนในสังคมเดียวกัน ถึงแม้ว่าการกระทำบางอย่างจะไม่สามารถจะเห็นผลได้ทันที แต่ก็ทำให้สังคมได้เห็นปัญหาและลงมาช่วยกันทำ แม้การเดินเท้าจากกรุงเทพฯสู่ปัตตานีจะดูว่าไม่สามารถช่วยให้สถานการณ์เบาบางลงได้ แต่ก็ช่วยได้เยอะ เพราะมันเกิดประโยชน์ไม่ใช่น้อยเหมือนกัน สามารถกระตุ้นอารมณ์คนในสังคมได้ อย่างที่มีคำกล่าวคำหนึ่งว่า บางครั้งคนเราก็ต้องเขย่าธาตุรู้ เพราะถ้าไม่ได้เขย่า ไม่ได้ถูกกระตุ้น ปัญญาก็จะไม่เกิดหรือไม่งอกงาม และก็ยังทำให้คนในพื้นที่รู้สึกได้ว่าคนในส่วนกลางไม่ได้ทอดทิ้ง อยากเห็นสันติสุขร่วมกัน
อหิงสา สันติวิธี การลดการกระทำรุนแรงอะไรต่างๆ บางทีก็ต้องมีอะไรมากระตุ้น เพราะถ้าไม่มีการกระตุ้นก็อาจไม่เกิดขึ้น อหิงสาธาตุ ธาตุแห่งความรู้สึกไม่อยากเบียดเบียนใคร ไม่อยากเป็นต้นเหตุให้ใครเดือดร้อน ไม่อยากเป็นต้นเหตุให้ใครลำบาก จะเกิดขึ้นได้บางทีก็ต้องใช้แรงกระตุ้น
เพราะฉะนั้นใครที่เป็นต้นเหตุกระตุ้นให้เกิดสันติวิธีได้ก็ต้องเรียกว่าเป็นผู้ริเริ่มแห่งความดีงาม เป็นต้นคิด เป็นต้นแบบ ซึ่งจริงๆเรื่องของการกระตุ้นก็ทำกันมาหลายท่านแล้ว อาจารย์ไพศาล วิสาโล ก็ทำมาตลอดโดยไม่ย่อท้อ ไม่ใจเสาะเปราะบาง ถึงแม้ว่าใครจะไม่ทำท่านก็ทำ แม้ลำบากท่านก็จะทำ
ฉะนั้นคนลักษณะนี้เราถึงว่าท่านเป็นตัวช่วย ช่วยทำให้โลกเกิดความสันติ จึงอยากให้มีคนลักษณะนี้เกิดมาเยอะๆ และส่งพวกที่ชอบก่อเหตุ ชอบสร้างความปั่นป่วนเกิดมาน้อยๆ
อยากให้คนที่ชอบสร้างความปั่นป่วนหันมามองดูคนที่อยากเห็นสันติว่าเวลาไปไหนใครๆก็ต้อนรับ ยกตัวอย่างอาจารย์โคทม เวลาไปไหนมีแต่คนคอยให้กำลังใจ คอยต้อนรับ และตอบรับการกระทำของท่าน เมื่อมีคนตอบรับมากๆจะยิ่งมีคนคล้อยตาม ก็จะเกิดการยับยั้งความรุนแรง ลดความก้าวร้าว สามหาวที่ดุดันบ้าคลั่ง จะได้ไม่ต้องมีระเบิดที่นั่นที่นี่ จนต้องมีคนเจ็บคนตาย
ความบ้าคลั่งเกิดได้ทุกที่ อย่างกรณีวัยรุ่นชอบไล่ตี ไล่ยิงกันระหว่างสถาบัน จนทำให้เด็ก ป.3 โดนลูกหลงเสียชีวิต พอถูกจับค่อยสำนึกผิด ออกมาขอโทษครอบครัวคนตาย ซึ่งเป็นเพราะความคึกคะนอง ที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้เพราะเรามีกฎหมายที่ดีกับเด็กชั่วเหล่านี้มากเกินไป ทำให้เด็กย่ามใจ กล้าก่อความรุนแรง เบียดเบียนคนอื่น
อาตมาจึงอยากฝากไว้ว่าใครที่เป็นต้นเหตุก่อความลำบากให้คนอื่น จับมาเดินธรรมยาตราแบบอาจารย์โคทมบ้างจะได้รู้สึกว่าคนที่ต้องการสันติ ต้องการความสงบ เขาลำบากขนาดไหน แต่คงทำไม่ได้ มันคงหนีหมดระหว่างเดิน เพราะมันไม่อยากสนองตอบกิจกรรมลดความรุนแรง กิจกรรมอหิงสา กิจกรรมสันติวิธี
อาตมาขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลให้คณะธรรมยาตราทุกท่านมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพดีตลอดไป เราคงจะได้เห็นกันว่าท่านที่ปฏิบัติภารกิจนี้ได้กระตุ้นอารมณ์ของคนให้ลดความรุนแรง ความบ้าคลั่ง แล้วกลับมาเป็นความเมตตาปรานี กลับมาโอนอ่อนผ่อนปรน บ้านเมืองจะได้กลับคืนมาสู่ความปรกติสุขกันเสียที
เจริญพร
**********************************************************************
วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553
กรรมการแก้รัฐธรรมนูญเสนอยกเลิกยุบพรรค
ที่มา.Spring News
คณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอประเด็นโกงเลือกตั้ง ไม่ต้องยุบพรรค แต่ให้หัวหน้าพรรคถูกตัดสิทธิ์ 15 ปี กรรมการบริหารโดน 10 ปี ส่วนระบบเลือกตั้งหยิบโมเดล เขตเดียว-เบอร์เดียว มาใช้
นายวุฒิสาร ตันไชย เลขานุการคณะกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานแถลงหลังการประชุม กล่าวเมื่อวันที่ 3 กันยายน เกี่ยวกับข้อสรุปเบื้องต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น คือ
เสนอให้แก้ไขมาตรา 190 เรื่องการทำสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เสนอให้แก้ไขใน 2 ประเด็น คือเพิ่มเติมคำว่า ตามที่กฎหมายบัญญัติ ในท้ายวรรคสาม เพื่อให้มีความชัดเจนว่ากฎหมายอย่างไรที่เข้าข่ายเป็นสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และเพิ่มเติมคำว่า “ประเภทของหนังสือสัญญา” เพื่อให้ทราบว่าประเภทสัญญาใดบ้างที่ต้องเข้ารัฐสภา
เรื่องระบบการเลือกตั้ง ม.93-98 ที่ประชุมเสนอให้แบ่งส.ส. เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกมาจากการเลือกตั้งลดจาก 400 เหลือ 375 คน เป็นแบบเขตเดียวคนเดียว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและให้สิทธิของผู้ลงคะแนนในประเทศนี้มีสิทธิเท่ากัน ส่วน ส.ส.สัดส่วนจากเดิมกำหนด 8 กลุ่มจังหวัด 80 คน ให้เปลี่ยนเป็นใช้บัญชีเดียวทั่วประเทศจำนวน 125 คน เพื่อเพิ่ม ส.ส.สัดส่วน เนื่องจากเป็นคนมีชื่อเสียง มีประสบการณ์ ไม่ได้รับความนิยมในพื้นที่ แต่มีความนิยมทั่วประเทศ สำหรับวิธีการคิดคะแนนส.ส.สัดส่วนนั้นจะไม่มีการกำหนดเพดานขั้นต่ำ 5 เปอร์เซ็นต์เหมือนตอนปี 40 เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย
นายวุฒิสาร กล่าวว่า ม.265 ห้าม ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นนอกจากรัฐมนตรี เนื่องจาก ส.ส.ควรทำหน้าที่นิติบัญญัติ ตรวจสอบฝ่ายบริหารตามหลักแบ่งแยกอำนาจ จึงไม่ควรจะแก้ไข ส่วน ม.266 การห้าม ส.ส.และ ส.ว.แทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหาร ให้คงไว้เหมือนเดิม แต่เพิ่มข้อยกเว้นให้ ส.ส.สามารถแจ้งความเดือดร้อนของประชาชนให้หน่วยงานข้างต้นทราบเป็นลักษณ์อักษรได้
สำหรับ ส.ว.นั้นให้คงไว้เหมือนเดิม ทั้งจำนวน 150 คน โครงสร้าง ที่มา อำนาจหน้าที่ โดยมาจากการเลือกตั้งจำนวน 76 คน และเพิ่มขึ้นตามจำนวนจังหวัดใหม่ ส่วนที่เหลือมาจากการสรรหาทั้งหมด 150 คน ส่วนขอสงสัยที่ว่า ส.ว.ที่มาจากการสรรหาจะมีสิทธิถอดถอน ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างไรนั้น ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าการลงมติที่จะถอดถอน ส.ส.นั้น ต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5 ของวุฒิสภา ซึ่งมากกว่าจำนวน ส.ว.สรรหาทั้งหมด ดังนั้น ส.ว.สรรหาจะถอดถอน ส.ส.ไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจาก ส.ว.เลือกตั้ง แต่สิ่งที่จะแก้ไขคือคณะกรรมการสรรหาโดยจะเพิ่มเติมจาก 7 คน ให้มากขึ้น โดยมาจากตุลาการศาล รธน.1 คน ตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 5 คน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 1 คน ตัวแทนจากองค์กรอิสระองค์กรละ 1 คน ได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนจากคณะกรรมการองค์กรวิชาชีพตามกฎหมาย องค์กรละ 1 คน ศาสตราจารย์สายวิทยาศาสตร์ 5 คนสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 5 คน ตามทำเนียบของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
สำหรับ ม.237 ว่าด้วยการยุบพรรคจากการทุจริตการเลือกตั้งนั้น ที่ประชุมมีมติเห็นพ้องกันว่า จะไม่ใช่บทลงโทษด้วยการยุบพรรค เนื่องจากการเมืองนั้นเป็นสถาบัน จากการศึกษาข้อมูลจากหลายประเทศ พบว่าการยุบพรรคเกิดขึ้นได้ยากมาก นอกจากจะทำผิดร้ายแรง ดังนั้น จึงเห็นว่า หากพรรคการเมืองทำผิดร้ายแรงที่มีผลต่อความมั่นคง หรือมีผลต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตาม ม.68 ก็สมควรถูกยุบพรรค แต่การทุจริตการเลือกตั้งตาม ม.237 ไม่ควรถูกยุบ แต่ให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ถ้าเป็นหัวหน้าพรรคให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง 15 ส่วนถ้าเป็นกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ไม่ใช่ว่าทำผิดแล้วกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทุกราย
ส่วนที่ว่าหากเพิ่มบทลงโทษหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคต่อไป ก็จะมีแต่นอมินีมาเป็นกรรมการ นายวุฒิสาร กล่าวว่า ยอมรับว่า ป้องกันนอมินียาก ถ้าพรรคใดต้องการเป็นสถาบันทางการเมืองสมาชิกก็ต้องช่วยกันตรวจสอบไม่ให้เกิดการทุจริต แต่ถ้ายอมให้กรรมการเป็นนอมินี เท่ากับว่า พรรคนั้นก็ไม่มีสถานะเป็นสถาบันทางการเมือง
หลังจากมีข้อสรุปแล้วจะใช้เวลาอีก 1 เดือน ในการรับฟังความเห็นจากประชาชนในช่องทางต่างๆ โดยจะมีการทำแบบสอบถาม ส่วนข้อเสนอทั้งหมดซึ่งรวมถึงการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมจะเสนอได้ในเดือน ธ.ค.2553 นายวุฒิสาร กล่าวปิดท้าย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญเสนอประเด็นโกงเลือกตั้ง ไม่ต้องยุบพรรค แต่ให้หัวหน้าพรรคถูกตัดสิทธิ์ 15 ปี กรรมการบริหารโดน 10 ปี ส่วนระบบเลือกตั้งหยิบโมเดล เขตเดียว-เบอร์เดียว มาใช้
นายวุฒิสาร ตันไชย เลขานุการคณะกรรมการพิจารณาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มี นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานแถลงหลังการประชุม กล่าวเมื่อวันที่ 3 กันยายน เกี่ยวกับข้อสรุปเบื้องต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น คือ
เสนอให้แก้ไขมาตรา 190 เรื่องการทำสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เสนอให้แก้ไขใน 2 ประเด็น คือเพิ่มเติมคำว่า ตามที่กฎหมายบัญญัติ ในท้ายวรรคสาม เพื่อให้มีความชัดเจนว่ากฎหมายอย่างไรที่เข้าข่ายเป็นสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และเพิ่มเติมคำว่า “ประเภทของหนังสือสัญญา” เพื่อให้ทราบว่าประเภทสัญญาใดบ้างที่ต้องเข้ารัฐสภา
เรื่องระบบการเลือกตั้ง ม.93-98 ที่ประชุมเสนอให้แบ่งส.ส. เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกมาจากการเลือกตั้งลดจาก 400 เหลือ 375 คน เป็นแบบเขตเดียวคนเดียว เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันและให้สิทธิของผู้ลงคะแนนในประเทศนี้มีสิทธิเท่ากัน ส่วน ส.ส.สัดส่วนจากเดิมกำหนด 8 กลุ่มจังหวัด 80 คน ให้เปลี่ยนเป็นใช้บัญชีเดียวทั่วประเทศจำนวน 125 คน เพื่อเพิ่ม ส.ส.สัดส่วน เนื่องจากเป็นคนมีชื่อเสียง มีประสบการณ์ ไม่ได้รับความนิยมในพื้นที่ แต่มีความนิยมทั่วประเทศ สำหรับวิธีการคิดคะแนนส.ส.สัดส่วนนั้นจะไม่มีการกำหนดเพดานขั้นต่ำ 5 เปอร์เซ็นต์เหมือนตอนปี 40 เพื่อให้ทุกคะแนนเสียงมีความหมาย
นายวุฒิสาร กล่าวว่า ม.265 ห้าม ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นนอกจากรัฐมนตรี เนื่องจาก ส.ส.ควรทำหน้าที่นิติบัญญัติ ตรวจสอบฝ่ายบริหารตามหลักแบ่งแยกอำนาจ จึงไม่ควรจะแก้ไข ส่วน ม.266 การห้าม ส.ส.และ ส.ว.แทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหาร ให้คงไว้เหมือนเดิม แต่เพิ่มข้อยกเว้นให้ ส.ส.สามารถแจ้งความเดือดร้อนของประชาชนให้หน่วยงานข้างต้นทราบเป็นลักษณ์อักษรได้
สำหรับ ส.ว.นั้นให้คงไว้เหมือนเดิม ทั้งจำนวน 150 คน โครงสร้าง ที่มา อำนาจหน้าที่ โดยมาจากการเลือกตั้งจำนวน 76 คน และเพิ่มขึ้นตามจำนวนจังหวัดใหม่ ส่วนที่เหลือมาจากการสรรหาทั้งหมด 150 คน ส่วนขอสงสัยที่ว่า ส.ว.ที่มาจากการสรรหาจะมีสิทธิถอดถอน ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างไรนั้น ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าการลงมติที่จะถอดถอน ส.ส.นั้น ต้องใช้เสียงถึง 3 ใน 5 ของวุฒิสภา ซึ่งมากกว่าจำนวน ส.ว.สรรหาทั้งหมด ดังนั้น ส.ว.สรรหาจะถอดถอน ส.ส.ไม่ได้เลย ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจาก ส.ว.เลือกตั้ง แต่สิ่งที่จะแก้ไขคือคณะกรรมการสรรหาโดยจะเพิ่มเติมจาก 7 คน ให้มากขึ้น โดยมาจากตุลาการศาล รธน.1 คน ตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 5 คน ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 1 คน ตัวแทนจากองค์กรอิสระองค์กรละ 1 คน ได้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนจากคณะกรรมการองค์กรวิชาชีพตามกฎหมาย องค์กรละ 1 คน ศาสตราจารย์สายวิทยาศาสตร์ 5 คนสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 5 คน ตามทำเนียบของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
สำหรับ ม.237 ว่าด้วยการยุบพรรคจากการทุจริตการเลือกตั้งนั้น ที่ประชุมมีมติเห็นพ้องกันว่า จะไม่ใช่บทลงโทษด้วยการยุบพรรค เนื่องจากการเมืองนั้นเป็นสถาบัน จากการศึกษาข้อมูลจากหลายประเทศ พบว่าการยุบพรรคเกิดขึ้นได้ยากมาก นอกจากจะทำผิดร้ายแรง ดังนั้น จึงเห็นว่า หากพรรคการเมืองทำผิดร้ายแรงที่มีผลต่อความมั่นคง หรือมีผลต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตาม ม.68 ก็สมควรถูกยุบพรรค แต่การทุจริตการเลือกตั้งตาม ม.237 ไม่ควรถูกยุบ แต่ให้ลงโทษผู้กระทำความผิด ถ้าเป็นหัวหน้าพรรคให้ตัดสิทธิการเลือกตั้ง 15 ส่วนถ้าเป็นกรรมการบริหารพรรค 10 ปี ไม่ใช่ว่าทำผิดแล้วกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทุกราย
ส่วนที่ว่าหากเพิ่มบทลงโทษหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคต่อไป ก็จะมีแต่นอมินีมาเป็นกรรมการ นายวุฒิสาร กล่าวว่า ยอมรับว่า ป้องกันนอมินียาก ถ้าพรรคใดต้องการเป็นสถาบันทางการเมืองสมาชิกก็ต้องช่วยกันตรวจสอบไม่ให้เกิดการทุจริต แต่ถ้ายอมให้กรรมการเป็นนอมินี เท่ากับว่า พรรคนั้นก็ไม่มีสถานะเป็นสถาบันทางการเมือง
หลังจากมีข้อสรุปแล้วจะใช้เวลาอีก 1 เดือน ในการรับฟังความเห็นจากประชาชนในช่องทางต่างๆ โดยจะมีการทำแบบสอบถาม ส่วนข้อเสนอทั้งหมดซึ่งรวมถึงการปฏิรูปการเมืองและปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมจะเสนอได้ในเดือน ธ.ค.2553 นายวุฒิสาร กล่าวปิดท้าย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เบื้องหลังคดีสินบนผู้พิพากษาอุทธรณ์
มติชนออนไลน์
โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
ติดตามข่าว"ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์"รายหนึ่งเรียกสิบบนในการพิจารณาพิพากษาคดีต่างๆหลายคดีใน"มติชนออนไลน์"ที่นำเสนอย่างต่อเนื่องมาเกือบ10 ตอนแล้ว เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การกระทำผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรมของผู้พิพากษารายหนึ่งธรรมดาเท่านั้น
แต่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง และมีกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวพันในขบวนการนี้มากพอสมควร
จากการร้องเรียนต่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.)และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงจนกระทั่งนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายนี้พบว่า มีพฤติการณ์ฉันท์ชู้สาวกับหญิงที่มีสามีแล้ว และยังอาศัยหญิงรายนี้เป็นตัวกลางในการเรียกร้องสินบนใในคดีต่างๆหลายคดีเป็นเงินเกือบ 100 ล้านบาท อาทิ
1. มีการเรียกสินบนเป็นเงิน 70 ล้านบาทในการพิจารณาคดีบริษัทจดทะเบียนในตฃาดหฃักมรัพย์แห่งหนึ่งที่กลุ่มผู้บริหารบริษัท ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการยักยอกทรัพย์หรือไซ่ฟ่อนเงินของบริษัทและเกี่ยวพันกับตระกูลอดีตรัฐมนตรี ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้อง
ในคดีนี้ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายดังกล่าวให้ใช้หญิงคนสนิทไปติดต่อเรียกรับเงินสิบบน 70 ล้านบาทจากคนในตระกูลอดีตรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัท เพื่อจะได้ตัดสินให้ยกฟ้องคดีนี้ ตามศาลชั้นต้น
ในเบื้องต้นมีการจ่ายเงินสด 20 ล้านบาท ที่เหลือโอนหุ้นบริษัทผลิตอาหารกระป๋องให้มีมูลค่าอีก 50 ล้านบาท
2.คดีการประกันตัว เจ้าของบริษัทที่เปิดขึ้นบังหน้าเป็นจำเลยในคดี"แชร์ข้าวสาร"ซึ่งเป็นความตาม พ.ร.บ. การกู้เงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน มีการเรียกเงินสินบน 2 ล้านบาท หลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจำเลยได้ซื้อรถยนต์ Benz รุ่น S 280 ปี 2002 ในราคา2.1 ล้านบาท ที่เหลืออีก 1.5 ล้านบาทบาท จัดไฟแนนซ์ให้อีกด้วย
3.เรียกสินบน 3.5 ล้านบาทในการสั่งอนุญาตการปล่อยชั่วคราวชาวต่างประเทศรายหนึ่ง โดย ทนายความหญิงของจำเลยได้ยื่นคำร้องประกอบการขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลอาญาและศาลอุทธรณ์มาหลายครั้งแล้วแต่ไม่ได้รับการอนุญาต ทนายความจึงติดต่อผ่านหญิงคนสนิท ตกลงเรื่องเงินสินบน 3.5 ล้านบาท
มีการทำเป็นสัญญาว่าจ้างว่าจะดำเนินการให้มีการประกันตัวระหว่างญาติของหญิงคนสนิทกับทนายความของจำเลยชาวต่างประเทศ โดยทนายความหญิงกับญาติของหญิงคนสนิทของผู้พิพากษา นำเงินตามข้อตกลงดังกล่าวไปเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา เซ็นทรัล ลาดพร้าว ร่วมกัน หมายเลขบัญชี 157-217895-3 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 เป็นเงินจำนวน 3.5 ล้านบาท
ต่อมายังทำสัญญาว่าในการในการจัดหาทนายเป็นเงิน 9.2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 และชำระเงินให้หญิงคนสนิท ไปแล้ว 4 ล้านบาท คงเหลืออีก 5.2 ล้านบาท
4. เรียกรับเงินวิ่งเต้นให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดจำนวน 7 ล้านบาท โดยใช้หลักฐานใบรับรองแพทย์ปลอมจากโรงพยาบาลราชฑัณฑ์ว่าผู้ต้องหามีอาการป่วยหนักจนถึงขั้นจะต้องได้รับการรักษาผ่าตัดดวงตา นำไปอ้างต่อชั้นศาลฎีกาจนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
จากคำร้องเรียนยังมีอีกหลายคดีที่มีการวิ่งเต้นจนได้รับการประกันตัว รวมถึงมีการใช้อิทธิพลจนผู้พิพากษารายหนึ่งในศาลจังหวัดตลิ่งชันพลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวชั่วข้ามคืน
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ก.ต.จึงไม่ควรแค่สอบวินัยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายนี้เท่านั้น แต่ควรดำเนินคดีอาญาควบคู่กันไปด้วย(อาจส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปรราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือตำรวจแล้วแต่กรณี)เพราะจากหลักฐานเบื้องต้นแล้ว บางคดีมีมูลเพียงพออยู่แล้ว เช่น คดีการให้ประกันตัวชาวต่างประเทศมีการทำสัญญาประหลาดๆและบัญชีธนาคารซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดี รวมทั้งการปลอมแปลงใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลกรมราชทัณฑ์ที่ยื่นต่อศาลฎีกาอันเป็นความผิดหลายกระทง
นอกจากนั้นแล้ว ทาาง ก.ต.ควรตรวจสอบย้อนหลังว่า มีคดีใดบ้างที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายนี้เป็นผู้ตัดสินหรือมีคำสั่ง เพื่อดูว่า การพิจารณาคดีเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ตั้งแต่กระบวนการจ่ายคดีให้พิจารณา กระบวนการพิจารณา จนกระทั่งคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นไปตามตัวบทกฎหมายหรือดุลพินิจโดยชอบหรือไม่
การตรวจสอบคดีย้อนหลังมีวัตถุประสงค์2 ประการสำคัญคือ
หนึ่ง เพื่อดูว่า มีคนในกระบวนการยุติธรรมรายใด มีส่วนพัวพันในการกระทำผิดหรือไม่
สอง เพื่อเยียวยาผู้ที่อาจได้รับความเสียหายจากการตัดสินคดีที่ไม่เป็นไปโดยชอบและไม่เป็นธรรม
ที่สำคัญคือ หลังจากกระบวนการสอบสวนเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ต้องเปิดเผยผลสอบสวนดังกล่าวเหมือนการเปิดเผยคำพิพากษาเพื่อให้สาธารณะเห็นว่า การสอบสวนเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาซึ่งเป็นการดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของระบบศาลยุติธรรม
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
ติดตามข่าว"ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์"รายหนึ่งเรียกสิบบนในการพิจารณาพิพากษาคดีต่างๆหลายคดีใน"มติชนออนไลน์"ที่นำเสนอย่างต่อเนื่องมาเกือบ10 ตอนแล้ว เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การกระทำผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรมของผู้พิพากษารายหนึ่งธรรมดาเท่านั้น
แต่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง และมีกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวพันในขบวนการนี้มากพอสมควร
จากการร้องเรียนต่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม(ก.ต.)และแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงจนกระทั่งนำไปสู่การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายนี้พบว่า มีพฤติการณ์ฉันท์ชู้สาวกับหญิงที่มีสามีแล้ว และยังอาศัยหญิงรายนี้เป็นตัวกลางในการเรียกร้องสินบนใในคดีต่างๆหลายคดีเป็นเงินเกือบ 100 ล้านบาท อาทิ
1. มีการเรียกสินบนเป็นเงิน 70 ล้านบาทในการพิจารณาคดีบริษัทจดทะเบียนในตฃาดหฃักมรัพย์แห่งหนึ่งที่กลุ่มผู้บริหารบริษัท ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในการยักยอกทรัพย์หรือไซ่ฟ่อนเงินของบริษัทและเกี่ยวพันกับตระกูลอดีตรัฐมนตรี ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกฟ้อง
ในคดีนี้ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายดังกล่าวให้ใช้หญิงคนสนิทไปติดต่อเรียกรับเงินสิบบน 70 ล้านบาทจากคนในตระกูลอดีตรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัท เพื่อจะได้ตัดสินให้ยกฟ้องคดีนี้ ตามศาลชั้นต้น
ในเบื้องต้นมีการจ่ายเงินสด 20 ล้านบาท ที่เหลือโอนหุ้นบริษัทผลิตอาหารกระป๋องให้มีมูลค่าอีก 50 ล้านบาท
2.คดีการประกันตัว เจ้าของบริษัทที่เปิดขึ้นบังหน้าเป็นจำเลยในคดี"แชร์ข้าวสาร"ซึ่งเป็นความตาม พ.ร.บ. การกู้เงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน มีการเรียกเงินสินบน 2 ล้านบาท หลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้วจำเลยได้ซื้อรถยนต์ Benz รุ่น S 280 ปี 2002 ในราคา2.1 ล้านบาท ที่เหลืออีก 1.5 ล้านบาทบาท จัดไฟแนนซ์ให้อีกด้วย
3.เรียกสินบน 3.5 ล้านบาทในการสั่งอนุญาตการปล่อยชั่วคราวชาวต่างประเทศรายหนึ่ง โดย ทนายความหญิงของจำเลยได้ยื่นคำร้องประกอบการขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลอาญาและศาลอุทธรณ์มาหลายครั้งแล้วแต่ไม่ได้รับการอนุญาต ทนายความจึงติดต่อผ่านหญิงคนสนิท ตกลงเรื่องเงินสินบน 3.5 ล้านบาท
มีการทำเป็นสัญญาว่าจ้างว่าจะดำเนินการให้มีการประกันตัวระหว่างญาติของหญิงคนสนิทกับทนายความของจำเลยชาวต่างประเทศ โดยทนายความหญิงกับญาติของหญิงคนสนิทของผู้พิพากษา นำเงินตามข้อตกลงดังกล่าวไปเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา เซ็นทรัล ลาดพร้าว ร่วมกัน หมายเลขบัญชี 157-217895-3 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2552 เป็นเงินจำนวน 3.5 ล้านบาท
ต่อมายังทำสัญญาว่าในการในการจัดหาทนายเป็นเงิน 9.2 ล้านบาท เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 และชำระเงินให้หญิงคนสนิท ไปแล้ว 4 ล้านบาท คงเหลืออีก 5.2 ล้านบาท
4. เรียกรับเงินวิ่งเต้นให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดจำนวน 7 ล้านบาท โดยใช้หลักฐานใบรับรองแพทย์ปลอมจากโรงพยาบาลราชฑัณฑ์ว่าผู้ต้องหามีอาการป่วยหนักจนถึงขั้นจะต้องได้รับการรักษาผ่าตัดดวงตา นำไปอ้างต่อชั้นศาลฎีกาจนได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
จากคำร้องเรียนยังมีอีกหลายคดีที่มีการวิ่งเต้นจนได้รับการประกันตัว รวมถึงมีการใช้อิทธิพลจนผู้พิพากษารายหนึ่งในศาลจังหวัดตลิ่งชันพลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวชั่วข้ามคืน
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ก.ต.จึงไม่ควรแค่สอบวินัยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายนี้เท่านั้น แต่ควรดำเนินคดีอาญาควบคู่กันไปด้วย(อาจส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปรราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือตำรวจแล้วแต่กรณี)เพราะจากหลักฐานเบื้องต้นแล้ว บางคดีมีมูลเพียงพออยู่แล้ว เช่น คดีการให้ประกันตัวชาวต่างประเทศมีการทำสัญญาประหลาดๆและบัญชีธนาคารซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดี รวมทั้งการปลอมแปลงใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลกรมราชทัณฑ์ที่ยื่นต่อศาลฎีกาอันเป็นความผิดหลายกระทง
นอกจากนั้นแล้ว ทาาง ก.ต.ควรตรวจสอบย้อนหลังว่า มีคดีใดบ้างที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์รายนี้เป็นผู้ตัดสินหรือมีคำสั่ง เพื่อดูว่า การพิจารณาคดีเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ตั้งแต่กระบวนการจ่ายคดีให้พิจารณา กระบวนการพิจารณา จนกระทั่งคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นไปตามตัวบทกฎหมายหรือดุลพินิจโดยชอบหรือไม่
การตรวจสอบคดีย้อนหลังมีวัตถุประสงค์2 ประการสำคัญคือ
หนึ่ง เพื่อดูว่า มีคนในกระบวนการยุติธรรมรายใด มีส่วนพัวพันในการกระทำผิดหรือไม่
สอง เพื่อเยียวยาผู้ที่อาจได้รับความเสียหายจากการตัดสินคดีที่ไม่เป็นไปโดยชอบและไม่เป็นธรรม
ที่สำคัญคือ หลังจากกระบวนการสอบสวนเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ต้องเปิดเผยผลสอบสวนดังกล่าวเหมือนการเปิดเผยคำพิพากษาเพื่อให้สาธารณะเห็นว่า การสอบสวนเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาซึ่งเป็นการดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของระบบศาลยุติธรรม
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553
การเมืองเรื่อง "ทูตลับ"
โดย.ประชา บูรพาวิถี
แทบไม่น่าเชื่อว่ากรณี"วิคเตอร์ บูท" จะทำให้เราได้ย้อนวันวาน"ยุคสงครามเย็น"และราชอาณาจักรไทยก็ตกอยู่ในหว่างเขาควาย"วอชิงตัน-เครมลิน"อีกครั้ง
บังเอิญว่า รัฐบาลนักเลือกตั้ง พ.ศ.นี้ ไม่ยอมเก็บรับบทเรียนอดีตมาใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ดันปล่อย "วอลล์เปเปอร์" ทำตัวเป็น "สายลับสะเหล่อ" เข้าไปพูดคุยกับ "สายลับมืออาชีพ"
เรื่องมันจึงเอวัง..ด้วยฝีมือ "คอลัมนิสต์ผู้ลื่นไหล" และวอลล์เปเปอร์ ก็คือวอลล์เปเปอร์ (ฮา)
กล่าวสำหรับการเมืองเรื่องสงครามเย็น อยากแนะให้ชมรายการ 'ชีพจรโลก' ทางช่อง 9 สุทธิชัย หยุ่น ได้พูดคุยกับ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่เบื้องหลังการเจรจาฟื้นความสัมพันธ์ไทยกับจีนเมื่อ 35 ปีก่อน
ตอนแรกออกอากาศไปแล้วเมื่ออังคารที่ 31 สิงหาคม และยังมีตอนที่สอง จะออกอากาศอังคารที่ 7 กันยายน 2553 สงครามเย็น หมายถึงสงครามระหว่าง "โลกเสรี" กับ "โลกคอมมิวนิสต์" แต่ในความเป็นจริง พ.ศ.ที่ "ทูตลับ" ชื่อ
"อานันท์" แหวกม่านไม้ไผ่สีแดงเข้าไปเจรจากับตัวแทนรัฐบาลจีน มันมี "มิติแห่งมหาอำนาจ" ซ้อนทับอยู่
คือโลกเสรี มีสหรัฐอเมริกา เป็นพี่ใหญ่เพียงผู้เดียว แต่ฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ ดันแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอำนาจคือ "ปักกิ่ง" กับ "เครมลิน"
หรือ "พรรคคอมมิวนิสต์จีน" (พคจ.) กับ "พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต" (พคซ.)
3 มหาอำนาจ ต่างเล่นเกมการเมืองระหว่างประเทศ ชิงความเป็นใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลก
สหรัฐนำ "ลัทธิประชาธิปไตยเสรีนิยม" ออกไปเร่ขาย ฝ่ายปักกิ่งสร้างแบรนด์ "ลัทธิเหมา" ต่อยอดลัทธิมาร์กซ์-เลนิน และฝ่ายเครมลินก็ขายทั้งมาร์กซ์ ทั้งเลนิน ยกเว้นสตาลิน
ในภูมิภาคแหลมทอง ชัดเจนว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) พรรคคอมมิวนิสต์พม่า และพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ยึดแนวทางปฏิวัติลัทธิเหมา
ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และพรรคประชาชนลาว เดินตามแนวปฏิวัติลัทธิเลนิน!
เมื่อ "วอชิงตัน" เล่นเกมดึง "ปักกิ่ง" มาเป็นแนวร่วมเพื่อคานอำนาจ "เครมลิน" จึงเปิดโอกาสให้รัฐบาลไทย ได้มีส่วนร่วมในกระดานหมากรุกเกมใหม่
เมื่อประธานเหมา เจ๋อ ตุง เปิดทำเนียบประชาชน ต้อนรับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ปี 2518 และเริ่มต้นเปิดศักราชความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนครั้งใหม่
ปีถัดมา "เครมลิน" อ่านเกมนี้ออก จึงให้พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (พคว.) เชื้อเชิญ มิตร สมานันท์ เลขาธิการ พคท.มาเยือนฮานอย
"เลอหย่วน" เลขาธิการ พคว. ได้ยื่นข้อเสนอจะช่วย "ปลดปล่อยภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน" ให้ พคท.ได้ก่อตั้ง "รัฐไทยใหม่" ขึ้นโดยเร็ววัน แต่เลขาธิการ พคท.ไม่ตอบ ขอเวลาตัดสินใจ
ขณะที่ พคท.ยังงึกๆ งักๆ ไม่ให้คำตอบเสียที พคว.ไม่รอช้า ยกกำลังทหารเข้า "ยึดพนมเปญ" ไล่เขมรแดงออกไปอยู่ป่า และสถาปนาอำนาจรัฐใหม่ "เขมรเฮงสำริน" ปลายปี 2521
ต้นปี 2522 พคท.จึงส่ง "ทูต" 2 คนคือ ประสิทธิ์ ตะเพียนทอง และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ไปให้คำตอบแก่ตัวแทน พคว.ที่กรุงเวียงจันทน์ ซึ่ง พคท.ปฏิเสธข้อเสนอจากฮานอย
ผลพวงแห่งการปฏิเสธ "ความหวังดี" ของฮานอย ทำให้ทั้งพรรคเวียดนาม และพรรคลาว ตัดสัมพันธ์พรรคไทย
อีกด้านหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางทูตระหว่างจีนกับไทย ในยุคสมัยรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ยิ่งแนบแน่นทั้ง "บนดิน" และ "ใต้ดิน"
เมื่อ "วอชิงตัน" จับมือ "ปักกิ่ง" ใช้แดนดินของ "ไทย" เป็นทางผ่านในการขนอาวุธยุทธปัจจัยช่วย "เขมร 3" (เขมรแดง-เขมรสีหนุ-เขมรซอนซาน) สู้รบกับ "เขมรเฮงสำริน" ที่เป็นตัวแทนของ "ฮานอย" และ "เครมลิน"
ท้ายที่สุด พคท.ผู้ยืนหยัดจะ "พึ่งตนเอง" ก็ไปไม่รอด เมื่อพรรคจีนตัดสัมพันธ์ โดยอ้างถึง "ยุทธศาสตร์ต่อต้านมหาอำนาจลัทธิแก้โซเวียต"
ป่าแตก! พรรคล่ม! แต่น่าเสียดายที่ "ผู้อาวุโส พคท." ยังไม่ยอมตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาตัวเอง!
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แทบไม่น่าเชื่อว่ากรณี"วิคเตอร์ บูท" จะทำให้เราได้ย้อนวันวาน"ยุคสงครามเย็น"และราชอาณาจักรไทยก็ตกอยู่ในหว่างเขาควาย"วอชิงตัน-เครมลิน"อีกครั้ง
บังเอิญว่า รัฐบาลนักเลือกตั้ง พ.ศ.นี้ ไม่ยอมเก็บรับบทเรียนอดีตมาใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ดันปล่อย "วอลล์เปเปอร์" ทำตัวเป็น "สายลับสะเหล่อ" เข้าไปพูดคุยกับ "สายลับมืออาชีพ"
เรื่องมันจึงเอวัง..ด้วยฝีมือ "คอลัมนิสต์ผู้ลื่นไหล" และวอลล์เปเปอร์ ก็คือวอลล์เปเปอร์ (ฮา)
กล่าวสำหรับการเมืองเรื่องสงครามเย็น อยากแนะให้ชมรายการ 'ชีพจรโลก' ทางช่อง 9 สุทธิชัย หยุ่น ได้พูดคุยกับ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อยู่เบื้องหลังการเจรจาฟื้นความสัมพันธ์ไทยกับจีนเมื่อ 35 ปีก่อน
ตอนแรกออกอากาศไปแล้วเมื่ออังคารที่ 31 สิงหาคม และยังมีตอนที่สอง จะออกอากาศอังคารที่ 7 กันยายน 2553 สงครามเย็น หมายถึงสงครามระหว่าง "โลกเสรี" กับ "โลกคอมมิวนิสต์" แต่ในความเป็นจริง พ.ศ.ที่ "ทูตลับ" ชื่อ
"อานันท์" แหวกม่านไม้ไผ่สีแดงเข้าไปเจรจากับตัวแทนรัฐบาลจีน มันมี "มิติแห่งมหาอำนาจ" ซ้อนทับอยู่
คือโลกเสรี มีสหรัฐอเมริกา เป็นพี่ใหญ่เพียงผู้เดียว แต่ฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ ดันแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอำนาจคือ "ปักกิ่ง" กับ "เครมลิน"
หรือ "พรรคคอมมิวนิสต์จีน" (พคจ.) กับ "พรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต" (พคซ.)
3 มหาอำนาจ ต่างเล่นเกมการเมืองระหว่างประเทศ ชิงความเป็นใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลก
สหรัฐนำ "ลัทธิประชาธิปไตยเสรีนิยม" ออกไปเร่ขาย ฝ่ายปักกิ่งสร้างแบรนด์ "ลัทธิเหมา" ต่อยอดลัทธิมาร์กซ์-เลนิน และฝ่ายเครมลินก็ขายทั้งมาร์กซ์ ทั้งเลนิน ยกเว้นสตาลิน
ในภูมิภาคแหลมทอง ชัดเจนว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) พรรคคอมมิวนิสต์พม่า และพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ยึดแนวทางปฏิวัติลัทธิเหมา
ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และพรรคประชาชนลาว เดินตามแนวปฏิวัติลัทธิเลนิน!
เมื่อ "วอชิงตัน" เล่นเกมดึง "ปักกิ่ง" มาเป็นแนวร่วมเพื่อคานอำนาจ "เครมลิน" จึงเปิดโอกาสให้รัฐบาลไทย ได้มีส่วนร่วมในกระดานหมากรุกเกมใหม่
เมื่อประธานเหมา เจ๋อ ตุง เปิดทำเนียบประชาชน ต้อนรับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ปี 2518 และเริ่มต้นเปิดศักราชความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนครั้งใหม่
ปีถัดมา "เครมลิน" อ่านเกมนี้ออก จึงให้พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (พคว.) เชื้อเชิญ มิตร สมานันท์ เลขาธิการ พคท.มาเยือนฮานอย
"เลอหย่วน" เลขาธิการ พคว. ได้ยื่นข้อเสนอจะช่วย "ปลดปล่อยภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน" ให้ พคท.ได้ก่อตั้ง "รัฐไทยใหม่" ขึ้นโดยเร็ววัน แต่เลขาธิการ พคท.ไม่ตอบ ขอเวลาตัดสินใจ
ขณะที่ พคท.ยังงึกๆ งักๆ ไม่ให้คำตอบเสียที พคว.ไม่รอช้า ยกกำลังทหารเข้า "ยึดพนมเปญ" ไล่เขมรแดงออกไปอยู่ป่า และสถาปนาอำนาจรัฐใหม่ "เขมรเฮงสำริน" ปลายปี 2521
ต้นปี 2522 พคท.จึงส่ง "ทูต" 2 คนคือ ประสิทธิ์ ตะเพียนทอง และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ไปให้คำตอบแก่ตัวแทน พคว.ที่กรุงเวียงจันทน์ ซึ่ง พคท.ปฏิเสธข้อเสนอจากฮานอย
ผลพวงแห่งการปฏิเสธ "ความหวังดี" ของฮานอย ทำให้ทั้งพรรคเวียดนาม และพรรคลาว ตัดสัมพันธ์พรรคไทย
อีกด้านหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางทูตระหว่างจีนกับไทย ในยุคสมัยรัฐบาลเกรียงศักดิ์ ยิ่งแนบแน่นทั้ง "บนดิน" และ "ใต้ดิน"
เมื่อ "วอชิงตัน" จับมือ "ปักกิ่ง" ใช้แดนดินของ "ไทย" เป็นทางผ่านในการขนอาวุธยุทธปัจจัยช่วย "เขมร 3" (เขมรแดง-เขมรสีหนุ-เขมรซอนซาน) สู้รบกับ "เขมรเฮงสำริน" ที่เป็นตัวแทนของ "ฮานอย" และ "เครมลิน"
ท้ายที่สุด พคท.ผู้ยืนหยัดจะ "พึ่งตนเอง" ก็ไปไม่รอด เมื่อพรรคจีนตัดสัมพันธ์ โดยอ้างถึง "ยุทธศาสตร์ต่อต้านมหาอำนาจลัทธิแก้โซเวียต"
ป่าแตก! พรรคล่ม! แต่น่าเสียดายที่ "ผู้อาวุโส พคท." ยังไม่ยอมตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาตัวเอง!
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แถลงการณ์ พท. ยื่นไมตรี รบ.จับเข่าคุยแนวทางปลดล็อคขัดแย้งคนในชาติ ล้างไพ่ใหม่ ไม่สนองตัวใครตัวมัน
ที่มา.มติชนออนไลน์
ที่พรรคเพื่อไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนในชาติ ว่า จากการที่ตนได้รับการร้องขอจากหลายฝ่าย จึงได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ใหญ่ในพรรคเพื่อไทย เพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนออกมาเป็นแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทย ว่าจากโศกนาฎกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคมซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียจำนวนมาก ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้เฝ้าติดตามเหตุการณ์ต่างๆด้วยความหวังว่าเหตุการณ์จะปรับเข้าสู่สภาพเดิมได้ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าความร้าวฉานทางความคิดกลับปริแตกแยกยิ่งขึ้น จนกังวลว่าจะไม่สามารถกลับมาเป็นสภาพเดิมได้ อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยเริ่มมองเห็นประกายแห่งความหวัง เมื่อมีคณะบุคคล องค์กรระหว่างประเทศ คณะทูตานุทูต ได้เริ่มเข้ามาช่วยเหลือ และยังเชื่อว่าแม้แต่รัฐบาลก็เริ่มตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น
นายปลอดประสพ กล่าวว่า จากปัญหาทั้งหมดพรรคเพื่อไทยขอเสนอจุดยืนและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล 5 ข้อ คือ 1. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการพูดจาหารือแลกเปลี่ยนความคิดและความเชื่อระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันอย่างสันติวิธี 2.พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าความสงบ สามัคคี และความเป็นชาติจะกลับคืนมาได้ด้วยการที่ทุกฝ่ายให้อภัยซึ่งกันและกัน และตกลงว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เสมอภาคและมีความยุติธรรม โดยอาจจะพัฒนาจากคำพูดไปเป็นขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งจากในอดีตที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติก็ต้องแก้ไขด้วยรูปแบบนี้ 3.พรรคเพื่อไทย ขอเชิญชวนให้ทุกหมู่เหล่าหลีกเลี่ยงและละเว้นจากการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะจากวาจา การกระทำ หรือการใช้กฎหมายที่เกินความเหมาะสม
นายปลอดประสพ กล่าวว่า 4. พรรคเพื่อไทยขอน้อยถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชีนีนาถ และให้ปวงชนทุกหมู่เทิดทูนถวายพระเกียรติ 5.พรรคเพื่อไทยหวังและเชื่อว่าจุดยืนและสัจจะวาจาของเราครั้งนี้ จะช่วยให้รัฐบาลและผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อความสงบได้คลายวิตก และเริ่มกระบวนการสมานฉันท์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการศึกษาใดๆให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีก
“แถลงการณ์ฉบับนี้ถือว่าเป็นทั้งการทอดสันถวไมตรี และเป็นการยื่นคำขาดไปในตัวด้วย และที่เราเสนอแนะเช่นนี้ ไม่ได้เป็นเกมการเมืองใดๆ แต่ที่เสนอแนะทั้งหมดก็เพราะมีหลายฝ่ายขอร้อง แล้วเราก็เห็นถึงความขัดแย้งที่มีมากขึ้น แต่หากข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการตอบรับจากคนในรัฐบาล ก็ต้องบอกว่า ตัวใครตัวมัน เพราะเรียมก็เหลือทนแล้วเหมือนกัน”นายปลอดประสพกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การหารือระหว่างผู้ขัดแย้งควรจะเป็นการหารือระหว่างใคร เพราะมีการมองว่าคู่ขัดแย้งจริงๆคือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นายปลอดประสพ กล่าวว่า คงต้องคุยกันทุกระดับ ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง รัฐบาล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ ทหาร ส่วนคู่ขัดแย้งอื่น ก็คงเป็นไปตามลำดับขั้น และมารยาททางการเมือง ทุกฝ่ายก็ควรเห็นประเทศชาติเป็นหลัก
เมื่อถามว่าการหลีกเลี่ยงการทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเพราะคำพูดจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนทีมโฆษกหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ก็ต้องทำความเข้าใจกันในพรรค ให้ลดระดับการพูดจาที่รุนแรงอันส่งผลให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นได้ หากจะพูดจาอะไรก็ต้องมีหลักฐานชัดเจนมากขึ้น ซึ่งก็ต้องพยายามปรับไปเรื่อยๆ และก็คาดหวังกับทุกฝ่ายด้วย
เมื่อถามว่าจะทำความเข้าใจกับคนเสื้อแดงหรือคนที่สูญเสียได้หรือไม่เพราะการให้อภัยซึ่งกันและกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมาย เท่ากับการนิรโทษกรรมให้ทั้งหมด รวมถึงฝ่ายที่กระทำให้คนเสื้อแดงเสียชีวิต นายปลอดประสพ กล่าวว่า นั่นเป็นเรื่องในอนาคต แต่จากประวัติศาสตร์แนวทางการแก้ไขปัญหาก็ต้องออกมาในรูปแบบนี้ อย่างไรก็ตามการให้อภัยซึ่งกันและกัน ก็ต้องเริ่มไปพร้อมกับการเยียวยาที่เหมาะสมด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชช
ที่พรรคเพื่อไทย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนในชาติ ว่า จากการที่ตนได้รับการร้องขอจากหลายฝ่าย จึงได้ประชุมหารือร่วมกับผู้ใหญ่ในพรรคเพื่อไทย เพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนออกมาเป็นแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทย ว่าจากโศกนาฎกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคมซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียจำนวนมาก ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้เฝ้าติดตามเหตุการณ์ต่างๆด้วยความหวังว่าเหตุการณ์จะปรับเข้าสู่สภาพเดิมได้ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าความร้าวฉานทางความคิดกลับปริแตกแยกยิ่งขึ้น จนกังวลว่าจะไม่สามารถกลับมาเป็นสภาพเดิมได้ อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยเริ่มมองเห็นประกายแห่งความหวัง เมื่อมีคณะบุคคล องค์กรระหว่างประเทศ คณะทูตานุทูต ได้เริ่มเข้ามาช่วยเหลือ และยังเชื่อว่าแม้แต่รัฐบาลก็เริ่มตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น
นายปลอดประสพ กล่าวว่า จากปัญหาทั้งหมดพรรคเพื่อไทยขอเสนอจุดยืนและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล 5 ข้อ คือ 1. พรรคเพื่อไทยเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการพูดจาหารือแลกเปลี่ยนความคิดและความเชื่อระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันอย่างสันติวิธี 2.พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าความสงบ สามัคคี และความเป็นชาติจะกลับคืนมาได้ด้วยการที่ทุกฝ่ายให้อภัยซึ่งกันและกัน และตกลงว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เสมอภาคและมีความยุติธรรม โดยอาจจะพัฒนาจากคำพูดไปเป็นขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งจากในอดีตที่ผ่านมาปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติก็ต้องแก้ไขด้วยรูปแบบนี้ 3.พรรคเพื่อไทย ขอเชิญชวนให้ทุกหมู่เหล่าหลีกเลี่ยงและละเว้นจากการใช้ความรุนแรง ไม่ว่าจะจากวาจา การกระทำ หรือการใช้กฎหมายที่เกินความเหมาะสม
นายปลอดประสพ กล่าวว่า 4. พรรคเพื่อไทยขอน้อยถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชีนีนาถ และให้ปวงชนทุกหมู่เทิดทูนถวายพระเกียรติ 5.พรรคเพื่อไทยหวังและเชื่อว่าจุดยืนและสัจจะวาจาของเราครั้งนี้ จะช่วยให้รัฐบาลและผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อความสงบได้คลายวิตก และเริ่มกระบวนการสมานฉันท์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอการศึกษาใดๆให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์อีก
“แถลงการณ์ฉบับนี้ถือว่าเป็นทั้งการทอดสันถวไมตรี และเป็นการยื่นคำขาดไปในตัวด้วย และที่เราเสนอแนะเช่นนี้ ไม่ได้เป็นเกมการเมืองใดๆ แต่ที่เสนอแนะทั้งหมดก็เพราะมีหลายฝ่ายขอร้อง แล้วเราก็เห็นถึงความขัดแย้งที่มีมากขึ้น แต่หากข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการตอบรับจากคนในรัฐบาล ก็ต้องบอกว่า ตัวใครตัวมัน เพราะเรียมก็เหลือทนแล้วเหมือนกัน”นายปลอดประสพกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การหารือระหว่างผู้ขัดแย้งควรจะเป็นการหารือระหว่างใคร เพราะมีการมองว่าคู่ขัดแย้งจริงๆคือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นายปลอดประสพ กล่าวว่า คงต้องคุยกันทุกระดับ ทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง รัฐบาล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ ทหาร ส่วนคู่ขัดแย้งอื่น ก็คงเป็นไปตามลำดับขั้น และมารยาททางการเมือง ทุกฝ่ายก็ควรเห็นประเทศชาติเป็นหลัก
เมื่อถามว่าการหลีกเลี่ยงการทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงเพราะคำพูดจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนทีมโฆษกหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ก็ต้องทำความเข้าใจกันในพรรค ให้ลดระดับการพูดจาที่รุนแรงอันส่งผลให้เกิดความแตกแยกมากขึ้นได้ หากจะพูดจาอะไรก็ต้องมีหลักฐานชัดเจนมากขึ้น ซึ่งก็ต้องพยายามปรับไปเรื่อยๆ และก็คาดหวังกับทุกฝ่ายด้วย
เมื่อถามว่าจะทำความเข้าใจกับคนเสื้อแดงหรือคนที่สูญเสียได้หรือไม่เพราะการให้อภัยซึ่งกันและกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมาย เท่ากับการนิรโทษกรรมให้ทั้งหมด รวมถึงฝ่ายที่กระทำให้คนเสื้อแดงเสียชีวิต นายปลอดประสพ กล่าวว่า นั่นเป็นเรื่องในอนาคต แต่จากประวัติศาสตร์แนวทางการแก้ไขปัญหาก็ต้องออกมาในรูปแบบนี้ อย่างไรก็ตามการให้อภัยซึ่งกันและกัน ก็ต้องเริ่มไปพร้อมกับการเยียวยาที่เหมาะสมด้วย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชช
ทักษิณ-แมนเดลาตำนานต่อสู้อยุติธรรม
ที่มา.บางกอกทูเดย์
ปริศนาความกังวลรูปถ่าย
หลายคนเห็นอาการของคณะบุคคลในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้วอดที่จะเกิดความรู้สึกไม่ได้ว่า
แบบนี้จะปรองดอง สมานฉันท์ กันได้จริงๆ อย่างที่นายอภิสิทธิ์ พยามสร้างภาพในขณะนี้หรือไม่
เพราะเพียงแค่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายตระกูลชินวัตร เผยแพร่รูปภาพเพียง แค่ 2 รูป โดยมีเจตนาเพียงแค่จะโต้ข่าวลือที่ปล่อยผ่านสื่อบางสื่อ ที่พยายามสร้างข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังป่วยหนัก หรือบางทีอาจจะเสียชีวิตแล้ว
เจตนาจริงๆ เพียงแค่จะบอกว่ายังสบายดีอยู่ ยังไปพบปะผู้คนต่างๆ ได้โดยที่ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
รวมทั้งเจตนาให้รู้ว่า ยังคงมีการโกหกประชาชน ผ่านสื่อบางสื่อ หรือผ่านกลไกบางกลไกอยู่อย่างต่อเนื่อง
ก็แค่นั้นเอง
แต่กลับกลายเป็นว่า การจับโกหกสื่อบิดเบือน กลายเป็นเผือกร้อนสำหรับบางคนในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
รูปจริงหรือไม่? รูปตกแต่งหรือเปล่า? ... วิเคราะห์กันสารพัดไปโน่นเลย
แถมบางคนพยายามจับผิดรูปกันชนิดเอาเป็นเอาตาย หาระดับแสง ระดับเงา กันเสียยิ่งกว่าหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียอีก
ทำเอาสังคมไทยงุนงงไม่น้อยว่า ลึกๆ ที่ทำให้พล่านกันหนักขนาดนี้ เป็นเพราะอะไรหรือ
มาถึงบางอ้อ ก็เพราะว่า บังเอิญช่วงที่ต้องการตอบโต้ข่าวป่วยนั้น บังเอิญเป็นช่วงเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีนัดหมายกับ นางวินนี่ แมนเดลา พอดี ซึ่งนางวินนี่ ได้บอกเป็นนัยๆ ว่า การนัดเจอกันครั้งนี้ จะมีเรื่องเซอร์ไพรส์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย
นั่นคือ นางวินนี่ ได้บุ๊คตารางเวลาของนายเนลสัน แมนเดลา ไว้ให้พบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วก่อนหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้รู้ล่วงหน้ามาก่อน
และนั่นจึงทำให้มีการถ่ายรูปคู่ระหว่างนายเนลสัน แมนเดลา กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในห้องทำงานที่มูลนิธิของนายเนลสัน แมนเดลา
หลังจากนั้นจึงได้เดินทางไปพบกับนางวินนี่ แมนเดลา ที่บ้านพัก
สาเหตุที่นางวินนี่ แมนเดลา แยกกันพบเป็น 2 สถานที่ ก็เพราะปัจจุบัน นายเนลสัน กับนางวินนี่ ได้หย่าร้างกันอยู่ แต่นางวินนี่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พบนายเนลสันด้วย จึงช่วยนัดหมายพิเศษให้
ซึ่งเมื่อเป็นรูปถ่ายคู่กับนายเนลสัน และนางวินนี่ ตรงนี้แหละที่ทำให้กลายเป็นประเด็นสะดุ้งเฮือกทางการเมืองของกลุ่มขั้วอำนาจปัจจุบัน ที่มีโยงใยหลายกลุ่มหนุนหลัง
เพราะทั้งนายเนลสัน และนางวินนี่ ล้วนเป็น “แมนเดลา” ที่ต่อสู้กับความอยุติธรรมทางการเมือง ต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริงมายาวนาน จนกลายเป็นตำนานของประชาธิปไตยโลก ที่คนทั่วโลกรู้จัก
เพราะนายเนลสัน แมนเดลา พิสูจน์ให้เห็นว่า กำแพงคุก ข้อกล่าวที่ไม่ยุติธรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งอำนาจใดๆ สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้อยู่ดี หากเจอกับบุคคลที่ยึดมั่นและต่อสู้ด้วยหลักการที่ถูกต้อง
สภาวะของนายเนลสัน แมนเดลา ณ วันนี้ เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันที่ดีที่รับรู้กันทั่วโลก
ในขณะที่นางวินนี่ แมนเดลา ก็เป็นอีกตำนานในการต่อสู้เคียงคู่กับนายเนลสันมาตลอด นายเนลสันสู้ในคุก นางวินนี้สู้นอกคุก เพื่อให้โลกได้รับรู้ความจริงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ความจริง และแนวคิดในการต่อสู้ทั้งหลาย ก็ได้นางวินนี่นี่แหละที่เชื่อมต่อให้สังคมภายนอกกำแพงคุก และคนทั่วโลกได้รับรู้ และทำให้ภาพของนายเนลสัน แมนเดลา สามารถเป็นตำนานการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ตรงนี้แหละที่ทำให้กลุ่มบุคคลที่ต้องการโจมตีและทำลายภาพลักษณ์ต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะรับได้กับ 2 ภาพนี้ จนต้องออกอาการสงสัยว่า เป็นรูปแต่งหรือเปล่า
เพราะการที่นายเดลสัน แมนเดลา ซึ่งเป็นตำนานการต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตย ให้การต้อนรับ จับมืออย่างอบอุ่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ย่อมหมายความว่า นี่คือการพบกันระหว่างผู้ที่ต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมด้วยกัน
ภาพอย่างนี้แน่นอนว่า ใครก็ตามที่มีคราบไคลของเผด็จการสิงสู่จิตใจอยู่ ย่อมไม่สบายใจแน่
เช่นกันกับรูปคู่กับนางวินนี่ ซึ่งหากเป็นคนที่ศึกษาและติดตามการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมของนายเนลสัน ย่อมรู้ดีว่า การวางแผนที่ลึกซึ้ง การเดินเกมต่างๆ ล้วนมาจากผู้หญิงแกร่งที่ชื่อนางวินนี่ แมนเดลา คนนี้แหละ
ดังนั้นแม้สุดท้ายทั้งคู่จะหย่าร้างกัน แต่นายเนลสัน ก็ยังให้เกียรตินางวินนี่ โดยยังคงยินยอมให้ใช้สกุล แมนเดลา ต่อไปได้เหมือนเดิม
ซึ่งการที่มันสมองในการต่อสู้กับอำนาจไม่เป็นธรรมทางการเมือง อย่างนางวินนี่ เมื่อได้พบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่นนี้ หารได้มีการชี้แนะ แนะนำกระบวนยุทธบางอย่างให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
แน่นอนว่า จะให้กลุ่มขั้วอำนาจที่ไล่ล่าทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในเวลานี้ สบายใจได้อย่างไร
ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ว่า 2 รูปที่เผยแพร่ออกมานั้น ไม่ได้แค่การยืนยันว่า ไม่ได้ป่วย และยังสบายดีอยู่ เพราะเพิ่งจะถ่ายเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมานี่เอง
แต่ยังเกี่ยวโยง สะท้อนภาพการต่อสู้ทางประชาธิปไตยด้วยนั่นเอง
จึงทำให้ถึงกับออกอาการพล่านกันเช่นนี้
ซึ่งหากเป็นอย่างที่วิเคราะห์จริง แบบนี้ความปรองดอง สมานฉันท์ ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้หรือ???
เป็นห้วงเวลาที่น่าสงสารประเทศไทย และน่าสงสารคนไทยชะมัด
เพราะล่าสุดบล็อกเกอร์ชื่อ Saksith Saiyasombut ซึ่งระบุว่าเป็นนักข่าวพาร์ทไทม์ และเขียนบล็อกเกี่ยวกับข่าวในประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษ ได้มีการยืนยันมาว่า ได้สอบถามไปยังสำนักงานของเนลสัน แมนเดลา ซึ่งระบุที่อยู่ไว้บนเว็บไซต์ของประเทศแอฟริกาใต้
ว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ได้เข้าพบนายแมนเดลาจริงหรือไม่?
ซึ่งได้รับคำยืนยันมาว่าเป็นความจริง
แต่เป็นการพบปะแบบส่วนตัว จึงไม่ได้มีภาพถ่ายอย่างเป็นทางการจากทางสำนักงาน
โดยต้นฉบับอีเมลตอบจากสำนักงานของแมนเดลา
Dear Mr Saksith Saiyasombut,
There was no official meeting between Mr Thaksin and Mr Mandela. Mr Thaksin paid Mr Mandela a courtesy call when he was visiting the country.
We do not have photographs or documents as no business was discussed and the courtesy call was during Mr Mandela’s private time. The Foundation did not take any photographs.
Wes it was a private courtesy call.
Regards,Sello Hatang, Manager: Information Communications, Nelson Mandela Foundation
แบบนี้แล้ว สังคมไทยก็คงรู้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก ว่า ใครคือคนที่พูดความจริง
และใครคือคนที่ชอบโกหกให้คนอื่นฟังเป็นรายวัน
แต่ถ้ายังเจอประเภทข้างๆคูๆ ตะแคงซ้ายตะแคงขวา ก็คิดแต่จะใส่ร้ายเค้าว่า จ่ายสตางค์เพื่อขอพบปะกับนายเนลสัน แมนเดลลา
ระวังจะถูกฟ้องร้องข้ามประเทศ ในฐานะที่ไปดูภูกผู้นำประเทศของเขา
อย่าลืมว่า "เนลสัน แมนเดลลา" ถือเป็น Icon ของนักต่อสู้สันติวิธีเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงของโลก ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามี Integrity สูงสุด คงไม่บ้ารับเงิน 2-3 ล้านเหรียญ แล้วเอาชื่อเสียงไปเสี่ยงแน่ๆ
เออ ถ้าเป็นนักการเมืองสวะๆแถวๆนี้ ที่เขมือบกันปากมัน ก็ว่าไปอย่าง!!!
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปริศนาความกังวลรูปถ่าย
หลายคนเห็นอาการของคณะบุคคลในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แล้วอดที่จะเกิดความรู้สึกไม่ได้ว่า
แบบนี้จะปรองดอง สมานฉันท์ กันได้จริงๆ อย่างที่นายอภิสิทธิ์ พยามสร้างภาพในขณะนี้หรือไม่
เพราะเพียงแค่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ให้นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายตระกูลชินวัตร เผยแพร่รูปภาพเพียง แค่ 2 รูป โดยมีเจตนาเพียงแค่จะโต้ข่าวลือที่ปล่อยผ่านสื่อบางสื่อ ที่พยายามสร้างข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังป่วยหนัก หรือบางทีอาจจะเสียชีวิตแล้ว
เจตนาจริงๆ เพียงแค่จะบอกว่ายังสบายดีอยู่ ยังไปพบปะผู้คนต่างๆ ได้โดยที่ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
รวมทั้งเจตนาให้รู้ว่า ยังคงมีการโกหกประชาชน ผ่านสื่อบางสื่อ หรือผ่านกลไกบางกลไกอยู่อย่างต่อเนื่อง
ก็แค่นั้นเอง
แต่กลับกลายเป็นว่า การจับโกหกสื่อบิดเบือน กลายเป็นเผือกร้อนสำหรับบางคนในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
รูปจริงหรือไม่? รูปตกแต่งหรือเปล่า? ... วิเคราะห์กันสารพัดไปโน่นเลย
แถมบางคนพยายามจับผิดรูปกันชนิดเอาเป็นเอาตาย หาระดับแสง ระดับเงา กันเสียยิ่งกว่าหน่วยงานพิสูจน์หลักฐานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียอีก
ทำเอาสังคมไทยงุนงงไม่น้อยว่า ลึกๆ ที่ทำให้พล่านกันหนักขนาดนี้ เป็นเพราะอะไรหรือ
มาถึงบางอ้อ ก็เพราะว่า บังเอิญช่วงที่ต้องการตอบโต้ข่าวป่วยนั้น บังเอิญเป็นช่วงเวลาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ มีนัดหมายกับ นางวินนี่ แมนเดลา พอดี ซึ่งนางวินนี่ ได้บอกเป็นนัยๆ ว่า การนัดเจอกันครั้งนี้ จะมีเรื่องเซอร์ไพรส์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วย
นั่นคือ นางวินนี่ ได้บุ๊คตารางเวลาของนายเนลสัน แมนเดลา ไว้ให้พบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วก่อนหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้รู้ล่วงหน้ามาก่อน
และนั่นจึงทำให้มีการถ่ายรูปคู่ระหว่างนายเนลสัน แมนเดลา กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในห้องทำงานที่มูลนิธิของนายเนลสัน แมนเดลา
หลังจากนั้นจึงได้เดินทางไปพบกับนางวินนี่ แมนเดลา ที่บ้านพัก
สาเหตุที่นางวินนี่ แมนเดลา แยกกันพบเป็น 2 สถานที่ ก็เพราะปัจจุบัน นายเนลสัน กับนางวินนี่ ได้หย่าร้างกันอยู่ แต่นางวินนี่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พบนายเนลสันด้วย จึงช่วยนัดหมายพิเศษให้
ซึ่งเมื่อเป็นรูปถ่ายคู่กับนายเนลสัน และนางวินนี่ ตรงนี้แหละที่ทำให้กลายเป็นประเด็นสะดุ้งเฮือกทางการเมืองของกลุ่มขั้วอำนาจปัจจุบัน ที่มีโยงใยหลายกลุ่มหนุนหลัง
เพราะทั้งนายเนลสัน และนางวินนี่ ล้วนเป็น “แมนเดลา” ที่ต่อสู้กับความอยุติธรรมทางการเมือง ต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริงมายาวนาน จนกลายเป็นตำนานของประชาธิปไตยโลก ที่คนทั่วโลกรู้จัก
เพราะนายเนลสัน แมนเดลา พิสูจน์ให้เห็นว่า กำแพงคุก ข้อกล่าวที่ไม่ยุติธรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งอำนาจใดๆ สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้อยู่ดี หากเจอกับบุคคลที่ยึดมั่นและต่อสู้ด้วยหลักการที่ถูกต้อง
สภาวะของนายเนลสัน แมนเดลา ณ วันนี้ เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันที่ดีที่รับรู้กันทั่วโลก
ในขณะที่นางวินนี่ แมนเดลา ก็เป็นอีกตำนานในการต่อสู้เคียงคู่กับนายเนลสันมาตลอด นายเนลสันสู้ในคุก นางวินนี้สู้นอกคุก เพื่อให้โลกได้รับรู้ความจริงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูล ความจริง และแนวคิดในการต่อสู้ทั้งหลาย ก็ได้นางวินนี่นี่แหละที่เชื่อมต่อให้สังคมภายนอกกำแพงคุก และคนทั่วโลกได้รับรู้ และทำให้ภาพของนายเนลสัน แมนเดลา สามารถเป็นตำนานการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ตรงนี้แหละที่ทำให้กลุ่มบุคคลที่ต้องการโจมตีและทำลายภาพลักษณ์ต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถที่จะรับได้กับ 2 ภาพนี้ จนต้องออกอาการสงสัยว่า เป็นรูปแต่งหรือเปล่า
เพราะการที่นายเดลสัน แมนเดลา ซึ่งเป็นตำนานการต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตย ให้การต้อนรับ จับมืออย่างอบอุ่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ย่อมหมายความว่า นี่คือการพบกันระหว่างผู้ที่ต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมด้วยกัน
ภาพอย่างนี้แน่นอนว่า ใครก็ตามที่มีคราบไคลของเผด็จการสิงสู่จิตใจอยู่ ย่อมไม่สบายใจแน่
เช่นกันกับรูปคู่กับนางวินนี่ ซึ่งหากเป็นคนที่ศึกษาและติดตามการต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมของนายเนลสัน ย่อมรู้ดีว่า การวางแผนที่ลึกซึ้ง การเดินเกมต่างๆ ล้วนมาจากผู้หญิงแกร่งที่ชื่อนางวินนี่ แมนเดลา คนนี้แหละ
ดังนั้นแม้สุดท้ายทั้งคู่จะหย่าร้างกัน แต่นายเนลสัน ก็ยังให้เกียรตินางวินนี่ โดยยังคงยินยอมให้ใช้สกุล แมนเดลา ต่อไปได้เหมือนเดิม
ซึ่งการที่มันสมองในการต่อสู้กับอำนาจไม่เป็นธรรมทางการเมือง อย่างนางวินนี่ เมื่อได้พบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่นนี้ หารได้มีการชี้แนะ แนะนำกระบวนยุทธบางอย่างให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
แน่นอนว่า จะให้กลุ่มขั้วอำนาจที่ไล่ล่าทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ในเวลานี้ สบายใจได้อย่างไร
ดังนั้น เป็นไปได้หรือไม่ว่า 2 รูปที่เผยแพร่ออกมานั้น ไม่ได้แค่การยืนยันว่า ไม่ได้ป่วย และยังสบายดีอยู่ เพราะเพิ่งจะถ่ายเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมานี่เอง
แต่ยังเกี่ยวโยง สะท้อนภาพการต่อสู้ทางประชาธิปไตยด้วยนั่นเอง
จึงทำให้ถึงกับออกอาการพล่านกันเช่นนี้
ซึ่งหากเป็นอย่างที่วิเคราะห์จริง แบบนี้ความปรองดอง สมานฉันท์ ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้หรือ???
เป็นห้วงเวลาที่น่าสงสารประเทศไทย และน่าสงสารคนไทยชะมัด
เพราะล่าสุดบล็อกเกอร์ชื่อ Saksith Saiyasombut ซึ่งระบุว่าเป็นนักข่าวพาร์ทไทม์ และเขียนบล็อกเกี่ยวกับข่าวในประเทศไทยเป็นภาษาอังกฤษ ได้มีการยืนยันมาว่า ได้สอบถามไปยังสำนักงานของเนลสัน แมนเดลา ซึ่งระบุที่อยู่ไว้บนเว็บไซต์ของประเทศแอฟริกาใต้
ว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ได้เข้าพบนายแมนเดลาจริงหรือไม่?
ซึ่งได้รับคำยืนยันมาว่าเป็นความจริง
แต่เป็นการพบปะแบบส่วนตัว จึงไม่ได้มีภาพถ่ายอย่างเป็นทางการจากทางสำนักงาน
โดยต้นฉบับอีเมลตอบจากสำนักงานของแมนเดลา
Dear Mr Saksith Saiyasombut,
There was no official meeting between Mr Thaksin and Mr Mandela. Mr Thaksin paid Mr Mandela a courtesy call when he was visiting the country.
We do not have photographs or documents as no business was discussed and the courtesy call was during Mr Mandela’s private time. The Foundation did not take any photographs.
Wes it was a private courtesy call.
Regards,Sello Hatang, Manager: Information Communications, Nelson Mandela Foundation
แบบนี้แล้ว สังคมไทยก็คงรู้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก ว่า ใครคือคนที่พูดความจริง
และใครคือคนที่ชอบโกหกให้คนอื่นฟังเป็นรายวัน
แต่ถ้ายังเจอประเภทข้างๆคูๆ ตะแคงซ้ายตะแคงขวา ก็คิดแต่จะใส่ร้ายเค้าว่า จ่ายสตางค์เพื่อขอพบปะกับนายเนลสัน แมนเดลลา
ระวังจะถูกฟ้องร้องข้ามประเทศ ในฐานะที่ไปดูภูกผู้นำประเทศของเขา
อย่าลืมว่า "เนลสัน แมนเดลลา" ถือเป็น Icon ของนักต่อสู้สันติวิธีเพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงของโลก ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามี Integrity สูงสุด คงไม่บ้ารับเงิน 2-3 ล้านเหรียญ แล้วเอาชื่อเสียงไปเสี่ยงแน่ๆ
เออ ถ้าเป็นนักการเมืองสวะๆแถวๆนี้ ที่เขมือบกันปากมัน ก็ว่าไปอย่าง!!!
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
10 คำถามเรื่อง "วอลเปเปอร์" ความไม่ "โสภา" ในคุกลับ-เวทีการเมืองโลก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ศิริโชค โสภา" วอลเปเปอร์ ถูกด่าจมหู เมื่อเขาดอดไปพบ"วิคเตอร์ บูท"ถึงในคุก เขาอ้างว่าไปหาข้อมูลให้นายกฯ คนอื่นอาจหมั่นไส้เขา แต่อะไรทำให้ วอลเปเปอร์ กลายเป็นคนโปรดข้างตัวผู้นำประเทศ
นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา กลายเป็นบุคคลมีชื่อเสียงระดับโลก
เมื่อเขาบุกไปถึงตัววิคเตอร์ บูท ผู้ต้องหาค้าอาวุธชาวรัสเซีย ที่อยู่ในคุกตามหมายจับของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา
มิคสัญญีเกิดขึ้นเมื่อหัวขบวนเสื้อแดง ในร่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทย "จตุพร พรหมพันธุ์" นำเรื่องลึก ๆ ลับ ๆ มาเปิด
โปงกลางสภาผู้แทนราษฎร ในวาระพิจารณางบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2554
จากเรื่องนักโทษชาวรัสเซียกับคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
ความสัมพันธ์พิเศษของนักโทษกับอดีตนายกรัฐมนตรี "ทักษิณ ชินวัตร"
เชื่อมโยงไปถึงเรื่องคนชุดดำ-การค้าอาวุธสงครามในตาลีบัน-ตะวันออกกลาง จับประเด็น-ชนแกะไปถึงเรื่อง "ทักษิณ"
โดยมีคนต้นเรื่องเป็น "ศิริโชค- ส.ส.สงขลา" ผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีทุกฝีก้าว
กลายเป็นสงครามข้ามพรรค ระหว่างเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์
กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
กลายเป็นวาระ-ตรรกะ ที่ต้องเลือกเชื่อระหว่างเครดิตของ "จตุพร-เสื้อแดง" และ "ศิริโชค-วอลเปเปอร์"
ก่อนหน้าวาระระดับโลกของ "ศิริโชค" ในฐานะฝ่ายค้าน เขามีวีรกรรมระดับป่วนรัฐบาล "ทักษิณ" จนพลุ่งพล่าน ในคดีของกลุ่มชินคอร์ป
เมื่อเข้าทำเนียบรัฐบาล เขาสร้างวีรกรรมแนบนามบัตรในการแต่งตั้งโยกย้ายในวงการสีกากี จนโผจริง-โผลวง ไม่เป็นไปตามโผ
เมื่อคราวที่ "เสด็จพี่" พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แฉว่า บริษัทของ "ศิริโชค" พัวพันทุจริต กลับ โดนวอลเปเปอร์แฉกลับ-เอาคืนว่านายพร้อมพงศ์ไปเล่นหนังโป๊ หากเขาเป็นนักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม ก็คงเอาซีดีที่นายพร้อมพงศ์แสดงเป็นพระเอกออกมาแจกไปแล้ว
ว่ากันว่าเบื้องหลังแห่งเบื้องหลังการ พ้นจากตำแหน่งในทำเนียบฯของสาวน้อย จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี นั้น มีเบื้องลึกมาจากปฏิกิริยา และการ "จัดการ" ของวอลเปเปอร์มหากาฬ
ทันทีที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี "อภิสิทธิ์ 5" ชื่อ จุติ ไกรฤกษ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ไอซีที แต่มีชื่อ "ศิริโชค" เป็นแหล่งข่าวเปิดเผยเรื่อง "ซื้อดาวเทียมไทยคม" กลับคืนจากเทมาเส็ก ร่วมกับ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อนสนิทนายกรัฐมนตรี
ท่ามกลางข้อครหาเสียงขรม ว่ามีขบวนการปั่นหุ้น "ไทยคม" จนปั่นป่วนรวนเรทั้งกระดานอยู่นานหลายวัน
ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก เมื่อจู่ ๆ ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2553 ปรากฏชื่อ "ศิริโชค" เข้าเยี่ยม "วิคเตอร์ บูท" ถึงห้องคุมขัง กลายเป็นประเด็นดังทั่วโลก
มีคำถามจากนักธุรกิจ-นักการเมือง-และนักวิชาการหลายคน-หลายหนว่า เหตุใด "ศิริโชค" ยังเคียงข้าง คู่ควรอยู่ ข้างกายนายกรัฐมนตรี ผู้มีภาพลักษณ์ดี มีคุณธรรม โปร่งใส ตรงไปตรงมา
คำตอบที่เล่าขานกันในตึกไทยคู่ฟ้า-ทำเนียบรัฐบาล ทั้งจากคนในพรรคประชาธิปัตย์ ผู้บริหารระดับสูงมีว่า...
1.ศิริโชค เป็นคนที่นายกรัฐมนตรี คุยด้วยแล้ว สนุก สบายใจ ทั้งเรื่องเพลง กีฬา ฟุตบอล ฯลฯ
2.ศิริโชค เป็นคนที่ค้นข้อมูลที่นายกรัฐมนตรีต้องการได้เร็วที่สุด ในบรรดาคนใกล้ตัว
3.ศิริโชค โดนเกลียดจากคนมีอำนาจเกือบทั้งพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งผู้มีอำนาจในฝ่ายความมั่นคง แต่นายกรัฐมนตรีกลับยังไว้ใจให้อยู่ใกล้ ๆ แม้ในกองบัญชาการที่ราบ 11
4.ศิริโชค รู้ใจนายกรัฐมนตรี ว่าต้องจังหวะไหนควรให้นายกรัฐมนตรีได้สนทนาทางโทรศัพท์กับใคร (แน่นอน บางช่วงของวัน เขาเป็นคนถือโทรศัพท์ให้นายกรัฐมนตรี)
5.ศิริโชค เป็นนักการเมืองที่อาจจะกล่าวได้ว่า มีมารยาท ไม่ใกล้ความเป็นผู้ดี แต่นายกรัฐมนตรีคิดบวก มองว่าเขาเป็นคนไม่มีพิธีรีตอง และไม่มีพิษมีภัย
6.ศิริโชค ที่เห็นปรากฏตัวข้างหลัง-ซ้าย-ขวานายกรัฐมนตรีตลอดเวลา เมื่ออยู่หน้าจอโทรทัศน์ แต่นายกรัฐมนตรีบอกว่าไม่เคยเห็นว่าเขามาตอนไหน และกลับจากไปตอนไหนของวัน
7.ศิริโชค อาจมีข้อครหาเรื่องไม่ชอบมาพากลในการแต่งตั้งวงการสีกากี หรือมีเรื่องอื้อฉาวคาวการเมือง ถูกพาดพิงในวงการซื้อ-ขายตำแหน่ง แต่นายกรัฐมนตรีมองโลกในแง่ดีว่า บรรทัดสุดท้าย เขาทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
8.ศิริโชค เป็นตัวแทน-สัญลักษณ์ของ "เนื้อเพลง" และจังหวะดนตรี ที่ "นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" รองนายกรัฐมนตรี-เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบไปถึงดีกรีเกลียด แต่เขาคุยเรื่องเพลงกับนายกรัฐมนตรีอย่างถูกคอ
9.ศิริโชค รู้ความเคลื่อนไหวในการ แต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ปลัดกระทรวงล่วงหน้า แม่นยำ โดยอาศัยความเป็น "หน้าห้อง" ดังนั้น ข้าราชการ-คนการเมืองจึงทั้งรักทั้งเกลียดเขา และอาศัย "เช็กข่าวจากเขา" ในฤดูโยกย้าย
10.ศิริโชค รู้ว่านายกรัฐมนตรีไม่ชอบให้ฉากหลังและคนรอบข้างเป็นตำรวจ ทหาร เพราะภาพที่ออกไปมันจะไม่ดี เหมือนอยู่ในวงล้อมของหน่วยรักษาความปลอดภัย แต่ชอบให้มีพวก ส.ส.หรือรัฐมนตรีมายืนข้าง ๆ มากกว่า เขาจึงอาสาเป็น "วอลเปเปอร์" แบบเต็มเวลา 24 ชั่วโมงทำงาน
เหล่านี้คือ 10 คำถามและคำตอบที่เป็น "โชค" ของ "อภิสิทธิ์" ที่มี "ศิริโชค" อยู่ข้างตัว
นอกจากความ "โสภา" ในหน้าจอข้างกายนายกรัฐมนตรีแล้ว "ศิริโชค" นามอุโฆษ ยังมีสถานภาพอดีตนักธุรกิจหนุ่ม ที่มีภาระหนี้มูลค่าเกือบ 120 ล้านบาท
ตามในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 ของ "ศิริโชค" ระบุว่า เขามีทรัพย์สิน 2 รายการ คือเงินฝากธนาคาร 1.1 ล้านบาทเศษ และที่ดินใน ต.ปากพลี จ.นครนายก 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มูลค่า 3 แสนบาท รวม 1.4 ล้านบาทเศษ ไม่มีทรัพย์สินอื่น
ในบัญชีด้านหนี้สินเขาระบุว่า มีหนี้สิน 119.2 ล้านบาท คือหนี้ธนาคารไทยธนาคาร 27.5 ล้านบาท บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 31.8 ล้านบาท กองทุนรวมไทยรีสตรัคเจอริ่ง 4 รายการ 59.8 ล้านบาท โดยสรุปเขามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 117.8 ล้านบาท
และหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งศาลตัดสินตั้งแต่ปี 2543-2546 ซึ่ง "ศิริโชค" เป็นจำเลยร่วมกับบริษัทของพี่ชายและญาติในครอบครัว "โสภา"
สถานภาพที่ระบุในบัญชีทรัพย์สิน คือไม่มีหุ้นเหลือในครอบครองแล้ว และไม่มีรถยนต์สักคัน
ส่วนรถ Porsche หรือมินิคูเปอร์ ที่เขามักขับไปจอดที่พรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่มีใครเคยถาม ว่าเป็นทรัพย์สินในการถือครองของใคร ?
****************************************************************************
"ศิริโชค โสภา" วอลเปเปอร์ ถูกด่าจมหู เมื่อเขาดอดไปพบ"วิคเตอร์ บูท"ถึงในคุก เขาอ้างว่าไปหาข้อมูลให้นายกฯ คนอื่นอาจหมั่นไส้เขา แต่อะไรทำให้ วอลเปเปอร์ กลายเป็นคนโปรดข้างตัวผู้นำประเทศ
นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา กลายเป็นบุคคลมีชื่อเสียงระดับโลก
เมื่อเขาบุกไปถึงตัววิคเตอร์ บูท ผู้ต้องหาค้าอาวุธชาวรัสเซีย ที่อยู่ในคุกตามหมายจับของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา
มิคสัญญีเกิดขึ้นเมื่อหัวขบวนเสื้อแดง ในร่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทย "จตุพร พรหมพันธุ์" นำเรื่องลึก ๆ ลับ ๆ มาเปิด
โปงกลางสภาผู้แทนราษฎร ในวาระพิจารณางบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2554
จากเรื่องนักโทษชาวรัสเซียกับคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ"
ความสัมพันธ์พิเศษของนักโทษกับอดีตนายกรัฐมนตรี "ทักษิณ ชินวัตร"
เชื่อมโยงไปถึงเรื่องคนชุดดำ-การค้าอาวุธสงครามในตาลีบัน-ตะวันออกกลาง จับประเด็น-ชนแกะไปถึงเรื่อง "ทักษิณ"
โดยมีคนต้นเรื่องเป็น "ศิริโชค- ส.ส.สงขลา" ผู้ใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีทุกฝีก้าว
กลายเป็นสงครามข้ามพรรค ระหว่างเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์
กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
กลายเป็นวาระ-ตรรกะ ที่ต้องเลือกเชื่อระหว่างเครดิตของ "จตุพร-เสื้อแดง" และ "ศิริโชค-วอลเปเปอร์"
ก่อนหน้าวาระระดับโลกของ "ศิริโชค" ในฐานะฝ่ายค้าน เขามีวีรกรรมระดับป่วนรัฐบาล "ทักษิณ" จนพลุ่งพล่าน ในคดีของกลุ่มชินคอร์ป
เมื่อเข้าทำเนียบรัฐบาล เขาสร้างวีรกรรมแนบนามบัตรในการแต่งตั้งโยกย้ายในวงการสีกากี จนโผจริง-โผลวง ไม่เป็นไปตามโผ
เมื่อคราวที่ "เสด็จพี่" พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แฉว่า บริษัทของ "ศิริโชค" พัวพันทุจริต กลับ โดนวอลเปเปอร์แฉกลับ-เอาคืนว่านายพร้อมพงศ์ไปเล่นหนังโป๊ หากเขาเป็นนักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม ก็คงเอาซีดีที่นายพร้อมพงศ์แสดงเป็นพระเอกออกมาแจกไปแล้ว
ว่ากันว่าเบื้องหลังแห่งเบื้องหลังการ พ้นจากตำแหน่งในทำเนียบฯของสาวน้อย จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี นั้น มีเบื้องลึกมาจากปฏิกิริยา และการ "จัดการ" ของวอลเปเปอร์มหากาฬ
ทันทีที่มีการปรับคณะรัฐมนตรี "อภิสิทธิ์ 5" ชื่อ จุติ ไกรฤกษ์ ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ไอซีที แต่มีชื่อ "ศิริโชค" เป็นแหล่งข่าวเปิดเผยเรื่อง "ซื้อดาวเทียมไทยคม" กลับคืนจากเทมาเส็ก ร่วมกับ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อนสนิทนายกรัฐมนตรี
ท่ามกลางข้อครหาเสียงขรม ว่ามีขบวนการปั่นหุ้น "ไทยคม" จนปั่นป่วนรวนเรทั้งกระดานอยู่นานหลายวัน
ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก เมื่อจู่ ๆ ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2553 ปรากฏชื่อ "ศิริโชค" เข้าเยี่ยม "วิคเตอร์ บูท" ถึงห้องคุมขัง กลายเป็นประเด็นดังทั่วโลก
มีคำถามจากนักธุรกิจ-นักการเมือง-และนักวิชาการหลายคน-หลายหนว่า เหตุใด "ศิริโชค" ยังเคียงข้าง คู่ควรอยู่ ข้างกายนายกรัฐมนตรี ผู้มีภาพลักษณ์ดี มีคุณธรรม โปร่งใส ตรงไปตรงมา
คำตอบที่เล่าขานกันในตึกไทยคู่ฟ้า-ทำเนียบรัฐบาล ทั้งจากคนในพรรคประชาธิปัตย์ ผู้บริหารระดับสูงมีว่า...
1.ศิริโชค เป็นคนที่นายกรัฐมนตรี คุยด้วยแล้ว สนุก สบายใจ ทั้งเรื่องเพลง กีฬา ฟุตบอล ฯลฯ
2.ศิริโชค เป็นคนที่ค้นข้อมูลที่นายกรัฐมนตรีต้องการได้เร็วที่สุด ในบรรดาคนใกล้ตัว
3.ศิริโชค โดนเกลียดจากคนมีอำนาจเกือบทั้งพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งผู้มีอำนาจในฝ่ายความมั่นคง แต่นายกรัฐมนตรีกลับยังไว้ใจให้อยู่ใกล้ ๆ แม้ในกองบัญชาการที่ราบ 11
4.ศิริโชค รู้ใจนายกรัฐมนตรี ว่าต้องจังหวะไหนควรให้นายกรัฐมนตรีได้สนทนาทางโทรศัพท์กับใคร (แน่นอน บางช่วงของวัน เขาเป็นคนถือโทรศัพท์ให้นายกรัฐมนตรี)
5.ศิริโชค เป็นนักการเมืองที่อาจจะกล่าวได้ว่า มีมารยาท ไม่ใกล้ความเป็นผู้ดี แต่นายกรัฐมนตรีคิดบวก มองว่าเขาเป็นคนไม่มีพิธีรีตอง และไม่มีพิษมีภัย
6.ศิริโชค ที่เห็นปรากฏตัวข้างหลัง-ซ้าย-ขวานายกรัฐมนตรีตลอดเวลา เมื่ออยู่หน้าจอโทรทัศน์ แต่นายกรัฐมนตรีบอกว่าไม่เคยเห็นว่าเขามาตอนไหน และกลับจากไปตอนไหนของวัน
7.ศิริโชค อาจมีข้อครหาเรื่องไม่ชอบมาพากลในการแต่งตั้งวงการสีกากี หรือมีเรื่องอื้อฉาวคาวการเมือง ถูกพาดพิงในวงการซื้อ-ขายตำแหน่ง แต่นายกรัฐมนตรีมองโลกในแง่ดีว่า บรรทัดสุดท้าย เขาทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
8.ศิริโชค เป็นตัวแทน-สัญลักษณ์ของ "เนื้อเพลง" และจังหวะดนตรี ที่ "นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" รองนายกรัฐมนตรี-เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ชอบไปถึงดีกรีเกลียด แต่เขาคุยเรื่องเพลงกับนายกรัฐมนตรีอย่างถูกคอ
9.ศิริโชค รู้ความเคลื่อนไหวในการ แต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ปลัดกระทรวงล่วงหน้า แม่นยำ โดยอาศัยความเป็น "หน้าห้อง" ดังนั้น ข้าราชการ-คนการเมืองจึงทั้งรักทั้งเกลียดเขา และอาศัย "เช็กข่าวจากเขา" ในฤดูโยกย้าย
10.ศิริโชค รู้ว่านายกรัฐมนตรีไม่ชอบให้ฉากหลังและคนรอบข้างเป็นตำรวจ ทหาร เพราะภาพที่ออกไปมันจะไม่ดี เหมือนอยู่ในวงล้อมของหน่วยรักษาความปลอดภัย แต่ชอบให้มีพวก ส.ส.หรือรัฐมนตรีมายืนข้าง ๆ มากกว่า เขาจึงอาสาเป็น "วอลเปเปอร์" แบบเต็มเวลา 24 ชั่วโมงทำงาน
เหล่านี้คือ 10 คำถามและคำตอบที่เป็น "โชค" ของ "อภิสิทธิ์" ที่มี "ศิริโชค" อยู่ข้างตัว
นอกจากความ "โสภา" ในหน้าจอข้างกายนายกรัฐมนตรีแล้ว "ศิริโชค" นามอุโฆษ ยังมีสถานภาพอดีตนักธุรกิจหนุ่ม ที่มีภาระหนี้มูลค่าเกือบ 120 ล้านบาท
ตามในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 ของ "ศิริโชค" ระบุว่า เขามีทรัพย์สิน 2 รายการ คือเงินฝากธนาคาร 1.1 ล้านบาทเศษ และที่ดินใน ต.ปากพลี จ.นครนายก 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มูลค่า 3 แสนบาท รวม 1.4 ล้านบาทเศษ ไม่มีทรัพย์สินอื่น
ในบัญชีด้านหนี้สินเขาระบุว่า มีหนี้สิน 119.2 ล้านบาท คือหนี้ธนาคารไทยธนาคาร 27.5 ล้านบาท บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 31.8 ล้านบาท กองทุนรวมไทยรีสตรัคเจอริ่ง 4 รายการ 59.8 ล้านบาท โดยสรุปเขามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 117.8 ล้านบาท
และหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งศาลตัดสินตั้งแต่ปี 2543-2546 ซึ่ง "ศิริโชค" เป็นจำเลยร่วมกับบริษัทของพี่ชายและญาติในครอบครัว "โสภา"
สถานภาพที่ระบุในบัญชีทรัพย์สิน คือไม่มีหุ้นเหลือในครอบครองแล้ว และไม่มีรถยนต์สักคัน
ส่วนรถ Porsche หรือมินิคูเปอร์ ที่เขามักขับไปจอดที่พรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่มีใครเคยถาม ว่าเป็นทรัพย์สินในการถือครองของใคร ?
****************************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)