โดย. ธีรภัทร เจริญสุข
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปนำทางให้นักวิจัยท่านหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลด้านการค้าชายแดนตามจุดผ่อนปรนการค้า ท่าเรือ ด่านศุลกากร และตรวจคนเข้าเมืองในเขตจังหวัดหนองคาย ก็ได้พบกับข้อมูลเพิ่มเติมหลายๆ อย่างในส่วนรับผิดชอบของทางราชการ ที่เพิ่มเติมจากความรู้เดิมที่มีมาในสายตาพ่อค้าและบุคคลทั่วไปที่น่านำมาเล่าสู่กันฟัง
จากสถิติการค้าชายแดนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ สปป.ลาว เป็นมูลค่าสูงมากในแต่ละปี ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงราชการและหอการค้า ก็นำมาเป็นประเด็นภาคภูมิใจและกล่าวขวัญถึงในทางที่ดี ว่าเราสามารถหาเงินเข้าประเทศจากการค้าชายแดนได้เป็นจำนวนมาก และเป็นข้อได้เปรียบในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แต่ที่จริงแล้ว หากเรามองกลับกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ประเทศเพื่อนบ้านย่อมไม่น่าจะพอใจในภาวะที่ต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศไทยจนขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมหาศาลเช่นนี้มาโดยตลอด
ที่ผ่านมา ประเด็นนี้ยังไม่ถูกจับตามองจากผู้บริหารภาครัฐของ สปป. ลาว เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าหลักที่มีมูลค่าสูง เป็นสินค้าทุน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล
ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม โดยสินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าคิดเป็นอัตราส่วนแล้วต่ำกว่ามูลค่าสินค้าทุนต่างๆ มาก เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่า การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการซื้อของประชาชนที่ข้ามชายแดนมาจับจ่ายรายครอบครัวแล้วขนเครื่องใช้ของกินเหล่านั้นกลับไปเองโดยไม่ผ่านระบบตรวจสอบภาษีศุลกากรของทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว
หลักฐานที่พบได้ว่าสินค้าและการบริโภคที่เกิดขึ้นจากการซื้อหาของประชาชนจากอีกฝั่งเห็นได้ชัดเจนจากการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่จัดเก็บได้ในจังหวัดหนองคายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปีกว่าปีละ 10% โดย VAT เหล่านี้แตกต่างจาก VAT ที่ได้จากการส่งออกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากไม่มีการขอคืนภาษี (Tax Refund) ไม่ว่าจะเป็นการขอคืนภาษีเพื่อสนับสนุนการส่งออก (Export Tax Refund) หรือการขอคืนภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (Tourist Tax refund) ทำให้รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มเหล่านี้ส่งตรงเข้าสู่คลังของรัฐเต็มๆ
แน่นอนว่า หากเราเป็นผู้บริหารประเทศของประเทศเพื่อนบ้าน คงเป็นเรื่องไม่น่าพิสมัยนัก ที่ประชาชนในประเทศนำเงินออกไปใช้จ่ายและเสียภาษีให้แก่ประเทศอื่นมากกว่าที่จะกินอยู่และใช้จ่ายในประเทศของตน
ดังนั้น ระยะหลังจึงเริ่มมีมาตรการจำกัดการค้าต่างๆ เกิดขึ้นจากฝั่ง สปป. ลาว เริ่มจากความเข้มงวดในการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยเฉพาะเงินบาทไทย ที่หากจะแลกเงินบาทจำนวนมากเพื่อมาซื้อสินค้าจากฝั่งไทย ก็ต้องผ่านการตรวจสอบและขออนุญาตจากทางรัฐมากขึ้น เริ่มมีมาตรการตรวจสอบการซื้อสินค้าของบุคคลธรรมดาที่ขับรถข้ามมาเที่ยวฝั่งไทยอย่างละเอียด รวมถึงการรณรงค์ให้ใช้เงินกีบและซื้อของที่ผลิตในประเทศ
คุณเผดิมเดช มั่งคั่ง นักวิชาการศุลกากร ด่านศุลกากรหนองคาย ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ต่อไปนี้เราต้องเลิกมองแค่ว่าคนลาวเป็นลูกค้า เพราะลูกค้าถึงวันหนึ่งเขาก็มีทางเลือกจะไปซื้อสินค้าของพ่อค้ารายอื่น แต่เราต้องมองให้เขาเป็นนักลงทุน มาลงทุนค้าขายหรือผลิตสินค้าร่วมกับเรา หากเขาได้มาเป็นเจ้าของร่วมกันกับเราแล้ว เงินของเขาที่มาใช้จ่าย ก็เหมือนได้กลับคืนไป และสามารถนำมาใช้จ่ายใหม่ได้ตลอด ไม่ใช่เพียงจ่ายเงินไปซื้อของๆ คนอื่น แต่เป็นการอุดหนุนสินค้าของตัวเอง
อีกวิธีการหนึ่งที่อาจช่วยลดความตึงเครียดของดุลการค้าชายแดนคือ การนำมูลค่าการซื้อไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เข้ามาคำนวณเป็นมูลค่าการค้าชายแดนด้วย เนื่องจากประเทศ ไทยได้พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนของประเทศลาวคิดเป็นมูลค่าซื้อไฟฟ้าจำนวนมากถึงปีละ 25,000-30,000 ล้านบาท ซึ่งถ้านำมาหักลบกับมูลค่าส่งออกแล้ว จะช่วยลดตัวเลขได้เปรียบดุลการค้าได้หลายส่วน
สุดท้ายคือ เราต้องร่วมกันเปลี่ยนแนวคิด จากการค้าเพื่อได้เพียงฝ่ายเดียว มาเป็นการค้าเพื่อเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน และร่ำรวยไปด้วยกันเพื่อสร้างความยั่งยืนของการค้าชายแดน
ที่มา.มติชน
////////////////////////////////////////////////////////////////
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปนำทางให้นักวิจัยท่านหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลด้านการค้าชายแดนตามจุดผ่อนปรนการค้า ท่าเรือ ด่านศุลกากร และตรวจคนเข้าเมืองในเขตจังหวัดหนองคาย ก็ได้พบกับข้อมูลเพิ่มเติมหลายๆ อย่างในส่วนรับผิดชอบของทางราชการ ที่เพิ่มเติมจากความรู้เดิมที่มีมาในสายตาพ่อค้าและบุคคลทั่วไปที่น่านำมาเล่าสู่กันฟัง
จากสถิติการค้าชายแดนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ สปป.ลาว เป็นมูลค่าสูงมากในแต่ละปี ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ในแวดวงราชการและหอการค้า ก็นำมาเป็นประเด็นภาคภูมิใจและกล่าวขวัญถึงในทางที่ดี ว่าเราสามารถหาเงินเข้าประเทศจากการค้าชายแดนได้เป็นจำนวนมาก และเป็นข้อได้เปรียบในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
แต่ที่จริงแล้ว หากเรามองกลับกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ประเทศเพื่อนบ้านย่อมไม่น่าจะพอใจในภาวะที่ต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศไทยจนขาดดุลการค้าเป็นจำนวนมหาศาลเช่นนี้มาโดยตลอด
ที่ผ่านมา ประเด็นนี้ยังไม่ถูกจับตามองจากผู้บริหารภาครัฐของ สปป. ลาว เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าหลักที่มีมูลค่าสูง เป็นสินค้าทุน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล
ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม โดยสินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่าคิดเป็นอัตราส่วนแล้วต่ำกว่ามูลค่าสินค้าทุนต่างๆ มาก เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะว่า การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการซื้อของประชาชนที่ข้ามชายแดนมาจับจ่ายรายครอบครัวแล้วขนเครื่องใช้ของกินเหล่านั้นกลับไปเองโดยไม่ผ่านระบบตรวจสอบภาษีศุลกากรของทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว
หลักฐานที่พบได้ว่าสินค้าและการบริโภคที่เกิดขึ้นจากการซื้อหาของประชาชนจากอีกฝั่งเห็นได้ชัดเจนจากการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่จัดเก็บได้ในจังหวัดหนองคายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปีกว่าปีละ 10% โดย VAT เหล่านี้แตกต่างจาก VAT ที่ได้จากการส่งออกอย่างเป็นทางการ เนื่องจากไม่มีการขอคืนภาษี (Tax Refund) ไม่ว่าจะเป็นการขอคืนภาษีเพื่อสนับสนุนการส่งออก (Export Tax Refund) หรือการขอคืนภาษีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (Tourist Tax refund) ทำให้รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มเหล่านี้ส่งตรงเข้าสู่คลังของรัฐเต็มๆ
แน่นอนว่า หากเราเป็นผู้บริหารประเทศของประเทศเพื่อนบ้าน คงเป็นเรื่องไม่น่าพิสมัยนัก ที่ประชาชนในประเทศนำเงินออกไปใช้จ่ายและเสียภาษีให้แก่ประเทศอื่นมากกว่าที่จะกินอยู่และใช้จ่ายในประเทศของตน
ดังนั้น ระยะหลังจึงเริ่มมีมาตรการจำกัดการค้าต่างๆ เกิดขึ้นจากฝั่ง สปป. ลาว เริ่มจากความเข้มงวดในการแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยเฉพาะเงินบาทไทย ที่หากจะแลกเงินบาทจำนวนมากเพื่อมาซื้อสินค้าจากฝั่งไทย ก็ต้องผ่านการตรวจสอบและขออนุญาตจากทางรัฐมากขึ้น เริ่มมีมาตรการตรวจสอบการซื้อสินค้าของบุคคลธรรมดาที่ขับรถข้ามมาเที่ยวฝั่งไทยอย่างละเอียด รวมถึงการรณรงค์ให้ใช้เงินกีบและซื้อของที่ผลิตในประเทศ
คุณเผดิมเดช มั่งคั่ง นักวิชาการศุลกากร ด่านศุลกากรหนองคาย ได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ต่อไปนี้เราต้องเลิกมองแค่ว่าคนลาวเป็นลูกค้า เพราะลูกค้าถึงวันหนึ่งเขาก็มีทางเลือกจะไปซื้อสินค้าของพ่อค้ารายอื่น แต่เราต้องมองให้เขาเป็นนักลงทุน มาลงทุนค้าขายหรือผลิตสินค้าร่วมกับเรา หากเขาได้มาเป็นเจ้าของร่วมกันกับเราแล้ว เงินของเขาที่มาใช้จ่าย ก็เหมือนได้กลับคืนไป และสามารถนำมาใช้จ่ายใหม่ได้ตลอด ไม่ใช่เพียงจ่ายเงินไปซื้อของๆ คนอื่น แต่เป็นการอุดหนุนสินค้าของตัวเอง
อีกวิธีการหนึ่งที่อาจช่วยลดความตึงเครียดของดุลการค้าชายแดนคือ การนำมูลค่าการซื้อไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เข้ามาคำนวณเป็นมูลค่าการค้าชายแดนด้วย เนื่องจากประเทศ ไทยได้พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อนของประเทศลาวคิดเป็นมูลค่าซื้อไฟฟ้าจำนวนมากถึงปีละ 25,000-30,000 ล้านบาท ซึ่งถ้านำมาหักลบกับมูลค่าส่งออกแล้ว จะช่วยลดตัวเลขได้เปรียบดุลการค้าได้หลายส่วน
สุดท้ายคือ เราต้องร่วมกันเปลี่ยนแนวคิด จากการค้าเพื่อได้เพียงฝ่ายเดียว มาเป็นการค้าเพื่อเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน และร่ำรวยไปด้วยกันเพื่อสร้างความยั่งยืนของการค้าชายแดน
ที่มา.มติชน
////////////////////////////////////////////////////////////////