หลังจากที่กล่าวถึง “อาเซียน+3” (อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และ “การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก” (East Asia Summit: EAS) แล้ว วันนี้กระผมขออนุญาตกล่าวถึงความเป็นมาและรายละเอียด ของกรอบความร่วมมือสุดท้าย คือ “การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก” (ASEAN Regional Forum: ARF) ดังนี้ครับ
ความเป็นมาและรูปแบบของกระบวนการ ARF ARF เป็นผลสืบเนื่องมาจากมติของของที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 26 ที่สิงคโปร์ เมื่อปี 2536 เพื่อแยกการหารือด้านความมั่นคงกับประเทศคู่เจรจาในกรอบ ASEAN Post Ministerial Conferences (PMC) ออกไปเป็นอีกเวทีหนึ่งสำหรับการหารือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถหารือในรายละเอียดและได้ผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537
ปัจจุบัน ARF มีประเทศเข้าร่วม 26 ประเทศกับ 1 กลุ่มประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน 9 ประเทศกับอีก 1 กลุ่มประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี รัสเซีย อินเดีย สหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์พิเศษของอาเซียน 1 ประเทศ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่นในภูมิภาค 6 ประเทศ ได้แก่ มองโกเลีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ปากีสถาน ติมอร์-เลสเต บังคลาเทศ และศรีลังกา
ภารกิจสำคัญของ ARF ARF เป็นเวทีและกลไกที่อาเซียนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางที่จะมีปฏิสัมพันธ์ กับประเทศสำคัญนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีผลประโยชน์ในพื้นที่ที่เป็น Geographical Footprint ของ ARF (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และ Oceania) เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพและสันติภาพในพื้นที่ดังกล่าว ในการนี้ อาเซียนมอง ARF เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์อาเซียน ที่จะคงไว้ซึ่งบทบาทนำของอาเซียนในการขับเคลื่อนกระบวนการความร่วมมือต่างๆ เพื่อให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค อีกทั้งเป็นเสาหลักอันหนึ่งใน Regional Security Architecture
การดำเนินงานในกรอบ ARF เพื่อนำไปสู่เสถียรภาพในภูมิภาคมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) มาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือ Confidence Building Measures: CBMs-Stage 1 2) การทูตเชิงป้องกันหรือ Preventive Diplomacy : PD-Stage 2 3) แนวทางเรื่องปัญหาความขัดแย้งหรือ Approaches to Conflict-Stage 3
ปัจจุบันถือได้ว่า ARF อยู่ในขั้นหรือ Stage 1.5 กล่าวคือ เริ่มมีการหารือเรื่องของการทูตในเชิงป้องกันหรือ Preventive Diplomacy แต่ยังไม่ถึงขั้นมีการดำเนินการเรื่อง Preventive Diplomacy ในชั้นนี้ประเทศที่เข้าร่วมใน ARF กำลังพิจารณาการจัดทำ ARF Preventive Diplomacy Work Plan เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการหามาตรการ PD ในบางกรณี ซึ่งอาจเป็นในเรื่องของ Non-Traditional Security Issues เป็นต้น ประเทศส่วนใหญ่มีทีท่าว่าพร้อมที่จะให้มีการก้าวไปสู่ Stage 2 เรื่อง Preventive Diplomacy แม้กระทั่งจีนมีท่าทีไม่ขัดข้องในหลักการแต่ขอให้มีการศึกษาอย่างละเอียด และมีการดำเนินการเรื่องของ CBMs ควบคู่กันไป ส่วนประเทศที่มีท่าทียังไม่พร้อมที่จะรับ PD มากที่สุดคืออินเดีย อนึ่ง ไทยได้พยายามผลักดันให้ ARF ก้าวไปสู่ Stage 2 ของ ARF หรือ PD มาโดยตลอด ทั้งนี้ บนพื้นฐานว่าจะไม่มีการใช้ PD ในส่วนของปัญหาภายในประเทศ หรือปัญหาขัดแย้งทวิภาคี ยกเว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากประเทศที่เกี่ยวข้อง
ในเวลาเดียวกัน ARF พยายามที่จะส่งเสริม Practical Cooperation ใน Areas บางอย่างที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันรวมกัน 4 areas หลักกล่าวคือ (1) Disaster Relief (2) Counter-Terrorism และ Transnational Crime (3) Maritime Security และ (4) Non-Proliferation and Disarmament เป็นหลัก โดยพยายามส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน best practices และประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อพยายามนำไปสู่การจัดทำกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเช่นการจัดทำ Standard Operating Procedures หรือ Guidelines เป็นต้น นอกจากนี้ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในบริบทของการช่วยแก้ปัญหาร่วมกันจะเป็นการช่วยส่งเสริม Trust and Confidence ในอีกทางหนึ่ง
กลไกสำคัญของ ARF รัฐมนตรีต่างประเทศและเจ้าหน้าที่อาวุโส ARF พบปะกันปีละ 1 ครั้ง โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ (ARF Ministerial Meeting) จะพบกันในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมและเจ้าหน้าที่อาวุโส (ARF Senior Officials’ Meeting) ในเดือนพฤษภาคม เพื่อพิจารณาข้อเสนอของที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่และหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือใน ARF ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม รัฐมนตรี ARF ประธานที่ประชุมจะออกแถลงการณ์ (Chairman’s Statement) เพื่อสะท้อนผลการหารือ อีกทั้งอาจมีแถลงการณ์แยกในเรื่องสำคัญอื่นๆ ด้วย
ประเทศที่เข้าร่วมใน ARF ได้พยายามที่จะให้ฝ่ายทหารมีความเกี่ยวข้องมากขึ้นในกระบวนการ ARF ซึ่งปัจจุบันฝ่ายทหารมีส่วนร่วมใน ARF ใน 2 ระดับ โดยผ่านกลไกของ ARF Security Policy Conference (ASPC) และการประชุม ARF Defence Officials Dialogue (ARF DOD)
(1) การประชุม ARF Security Policy Conference (ASPC) เป็นการประชุมระดับสูงของฝ่ายทหาร (รัฐมนตรีช่วยหรือระดับเทียบเท่าปลัดกระทรวงฯ) เพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างฝ่ายทหารของประเทศที่เข้าร่วม ARF เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและไว้เนื้อเชื่อใจและความโปร่งใสระหว่างกองทัพของประเทศต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการใช้กำลังหรือมาตรการทางทหารระหว่างกัน โดยการประชุม ASPC ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงปักกิ่ง โดยมีอินโดนีเซียเป็นประธาน
(2) การประชุม ARF Defense Officials’ Dialogue (ARF DOD) เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือของฝ่ายทหารในกรอบ ARF ทั้งนี้ การประชุม DOD ยังจัดขึ้นในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ และก่อนการประชุม ASPC เพื่อช่วยในการเตรียมการประชุมดังกล่าว
ARF แบ่งประเภทกิจกรรมออกเป็น 2 แนวทาง (Tracks) ได้แก่ (1) กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) เรียกว่า กิจกรรมระหว่างปี (Inter-Sessional Activities) ซึ่งเป็นกิจกรรมระดับเจ้าหน้าที่ที่หารือเกี่ยวกับกิจกรรมเฉพาะเรื่อง ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กรอบกิจกรรม ได้แก่ (1) Inter-Sessional Support Group on Confidence Building Measures and Preventive Diplomacy (ISG on CBMs and PD) และ (2) Inter-Sessional Meetings ในสาขาความร่วมมือต่างๆ โดย ISG on CBMs จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2539 ในลักษณะของการมีประธานร่วมจากสมาชิกอาเซียน 1 ประเทศและประเทศภายนอกอาเซียน 1 ประเทศ ซึ่งต่อมาได้มีการเพิ่มเรื่องของ PD ด้วย โดยภายใต้การประชุม ISG on CBMs จะมีการประชุม workshops/seminars ต่าง ๆ ที่ประเทศใน ARF เสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศรับรองก่อนดำเนินการในปีถัดไป ส่วน ISMs จะเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องของ Disaster Relief, Counter-Terrorism and Transnational Crime, Maritime Security และ Non-Proliferation and Disarmament
(2) กิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) จัดโดยสถาบันวิจัยหรือสถาบันวิชาการของประเทศผู้เข้าร่วม ARF ตามความเห็นชอบจากที่ประชุม ARF ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรี โดยมีนักวิชาการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐบาลเข้าร่วมประชุมในฐานะส่วนตัว เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคง ซึ่งที่ผ่านมา ARF ได้มีการจัดประชุม/สัมมนาวิชาการในหัวข้อต่างๆ อาทิ การไม่แพร่ขยายของอาวุธ การทูตเชิงป้องกัน การต่อต้านการก่อการร้าย และสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี เป็นต้น ปัจจุบัน CSCAP ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Track II ของ ARF เช่นเดียวกับกลุ่ม ARF Experts/Eminent Persons Group (EEPs)
บทบาทไทยใน ARF ไทยสนับสนุนให้ ARF มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความตึงเครียดในภูมิภาค พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ในการนี้ ไทยมองว่า ARF และกลไกใหม่ๆ เช่น การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministerial Meeting Plus-ADMM Plus) เกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดย ARF พิจารณานโยบายความมั่นคงในภาพรวม ส่วน ADMM Plus พิจารณาโครงการความร่วมมือที่ฝ่ายกลาโหมสามารถมี Value-Added ได้สูง เช่น เรื่องการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และความมั่นคงทางทะเลเป็นต้น ในส่วนของความร่วมมือในสาขาต่างๆ นั้น ไทยมีบทบาทส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่างๆ อาทิ
1. ไทยและเกาหลีใต้เป็นประธานร่วมการประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญของ ARF ด้านการรักษาสันติภาพ ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2553 ณ โรงแรม Pullman King Power กรุงเทพฯ โดยมีสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้ 1) มุ่งสร้างทิศทางร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องปฏิบัติการรักษาสันติภาพ 2) แสวงหาความร่วมมือกับสมาชิกอื่นๆ ของ ARF ในเรื่องดังกล่าว และ 3) สร้างเครือข่ายระหว่างบุคลากรและศูนย์รักษาสันติภาพในภูมิภาค
2. ไทยและสหรัฐฯ เป็นประธานร่วมการประชุม ARF ด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (ARF Inter-Sessional Meeting on Disaster Relief-ARF ISM on DR) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2553 ณ โรงแรม Royal Orchid Sheraton Hotels & Towers กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมา ที่ประชุม ARF Inter-Sessional Support Group (ISG) on CBM and PD ที่เมืองบาหลี เมื่อเดือนธันวาคม 2553 ได้สนับสนุนข้อเสนอของไทยและสหรัฐฯ ที่เสนอต่อ ARF ISM on DR ที่ให้มี (1) การเชื่อมโยงระหว่างองค์กร/ศูนย์ฝึกอบรมเรื่องการบริหารจัดการภัยพิบัติในภูมิภาคโดยมี Asian Disaster Preparedness Centre (ADPC) ในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางประสานงานเรื่องนี้ และ (2) ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติเพื่อสนับสนุนการทำงานของ ARF Unit นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของไทยที่จะให้พัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เพื่อสนับสนุนเรื่อง Rapid Deployment ในกรณีมีภัยพิบัติในภูมิภาค โดยจะประสานงานกับศูนย์ ASEAN Humanitarian Assistance (AHA) ณ กรุงจาการ์ตา และ United Nation World Food Programme Humanitarian Depot ที่เมืองซูบัง มาเลเซีย
3. ไทยและติมอร์-เลสเต เป็นประธานร่วมในการจัดการประชุม ARF Experts and Eminent Persons (EEPs) ครั้งที่ 5 ซึ่งได้มีขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 มกราคม 2554 ณ กรุงดิลี ประเทศติมอร์-เลสเต เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายด้านการทูตเชิงป้องกันจากมุมมองของ Track 1.51 และข้อเสนอในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ARF และต่อมา ไทยได้ร่วมกับสหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม EEPs ครั้ง 6 ณ กรุงเทพ โดยที่ประชุมได่มีข้อเสนอแนะต่อแผนงานการทูตเชิงป้องกัน และพิจารณาการส่งคณะสังเกตการณ์ในการเลือกตั้งทั่วไปของติมอร์
4. ไทยได้เข้าร่วมการประชุม ARF Inter-Sessional Meeting on Maritime Security (ARF ISM on MS) ครั้งที่ 3 ณ กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2554 โดยได้แจ้งในที่ประชุมว่าไทยจะจัดการประชุม ASEAN Maritime Forum (AMF) ครั้งที่ 2 ซึ่งจะเป็นการต่อยอดจากการประชุม AMF ครั้งที่ 1 ณ เมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย โดยไทยได้จัดการประชุมดังกล่าวแล้ว ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2554 โดยได้ผลักดันประเด็นทางทะเลที่เป็นประโยชน์ต่อไทย ส่งเสริมบทบาทของไทยในภูมิภาคในเรื่องความร่วมมือทางทะเล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะต่างๆ ในด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของช่องทางการติดต่อทางทะเล การพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับประเด็นทางทะเล และการเพิ่มความตระหนักรู้ในเรื่องทางทะเล
5. ไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับสหรัฐฯ ในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Nonproliferation Nuclear Forensics ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2554 ณ กรุงเทพ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานในด้านการสืบค้นทางนิวเคลียร์อันจะช่วยลดการลักลอบขนถ่ายวัสดุนิวเคลียร์ในภูมิภาค และอีกทั้งได้มีการสาธิตการรับมือกับการตรวจพบวัสดุนิวเคลียร์ นอกจากนี้ ไทยยังรับเป็นเจ้าภาพร่วมกับสหรัฐฯ ในการจัดการสัมมนาเรื่อง Implementation of UNSCR 1540 ในปี 2556 ตามแผนงาน ISM on NPD อีกด้วย
ที่มา.สยามรัฐ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++