บนความเคลื่อนไหวทางการเมือง หลังถอดสลักวาระแห่งความขัดแย้ง ด้วยการยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้กรรม และ พ.ร.บ.ปรองดอง...ปรองเดือด แม้ดูเหมือนกับว่าทุกขั้วการเมืองพากันถอยกลับสู่ป้อมประตูค่าย เพื่อสงบศึกเป็นการชั่วคราว แต่นั่นก็เป็นเพียงความ นิ่งสงบ ก่อนหน้าพายุใหญ่จะพัดถล่ม ยิ่งตลอดหลายวันที่ผ่านมา การเผชิญหน้าของขั้วการเมือง กลุ่มมวลชน กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปอย่างถึงลูกถึงคน หลังมีความชัดเจนว่าฝ่ายการ เมืองกำลังตกอยู่ในภาวะเพลี่ยงพล้ำ หาก คิดจะฝ่าด่านอรหันต์ เพื่อดันแก้รัฐธรรมนูญ “วาระ 3” ผ่านกระบวนการในสภา
เวลานี้ จังหวะก้าวในซีกรัฐนาวา ยัง คงมีความสุ่มเสี่ยงในการถูก “ยัดเยียดข้อหา” โดยเฉพาะในเรื่องการตีความมาตรา 68 ที่ยังมีความเห็นต่างกันสุดขั้วภายใต้ข้อกฎหมายตัวเดียวกัน เช่นที่ว่านี้ เมื่อมีระฆังสั่งพักยกให้ต่างฝ่ายถอยกันไปคนละก้าว! สัญญาณดังกล่าวจึงถูกมอง เป็นแค่การสลับเวทีเล่น เปลี่ยนจากการลับฝีปากในสภา ย้ายวิกมา สู่เกมการเมืองข้างถนนเท่านั้นเอง โดยทาง พรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ก็ยังดาหน้า ถล่มกันผ่านอีเวนต์การเมือง ทั้งการเปิดเวทีปราศรัยและวงเสวนา ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็น การแลกกันคนละหมัด โดยไม่มีใครเก็บงำ อาการอีกต่อไป แต่เหนืออื่นใด การที่พรรคการเมือง ใหญ่ทั้งคู่มุ่งขยายประเด็นเผือกร้อนดังกล่าว ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองทวีความ รุนแรง ขยับเข้าไปใกล้จุดแตกหักมากขึ้นทุกที
ขณะเดียวกัน การเคลื่อนไหวในภาค ประชาชน ก็ไม่ได้มีแค่ “ม็อบเสื้อเหลือง” หรือ “เสื้อแดง” เท่านั้น ทว่ายังรวมไปถึง “แนวร่วมรบ” ที่มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มก้อนอำนาจทางการเมือง ตลอดจนมวลชน จัดตั้งที่ออกมาตีปีกเชียร์! การทำหน้าที่ของ คณะตุลาการและคัดค้านโรดแมปปรองดอง-รธน.แก้กรรมของรัฐบาล เช่นการนัดชุมนุมที่ทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี โดยมีกลุ่มมวลชนในภาคอีสาน กว่า 5 พันคน ภายใต้ชื่อกองทัพปลดแอก ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ได้แห่กันมาร่วมเวทีปราศรัยเพื่อปกป้องและสนับสนุนคณะ 7 ตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ หลังจากศาล รธน.ถูกโจมตีอย่างหนัก กรณีไปล้วงลูกฝ่ายนิติบัญญัติ ด้วยการออกคำสั่งให้ “รัฐสภา” ชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ “วาระ 3” ออกไปจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ซึ่งทางมวลชน กลุ่มนี้กล่าวอ้างว่าศาล รธน.มีอำนาจและ มีความชอบธรรม
บนเวทีไฮด์ปาร์คที่ทุ่งศรีเมือง “คมสัน โพธิ์คง” อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ปี 2550 และนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ได้ขึ้นปราศรัย พร้อมกล่าวโจมตีผู้ที่ออกมา เคลื่อนไหวต่อต้านคำสั่งดังกล่าว ไม่ยอมรับ มติของตุลาการศาล พร้อมแจกจ่ายแถลงการณ์ต่อประชาชนที่มาร่วมชุมนุม โดยแถลงการณ์ระบุว่า ขณะนี้ได้มีบุคคลและกลุ่มบุคคลบางพวกที่ไม่ยอมรับ ไม่เคารพต่อคำสั่งจากสถาบันตุลาการ ศาล รัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจอธิปไตย ของปวงชนชาวไทย โดยบิดเบือนข้อเท็จจริง อันจะเกิดมหันตภัยอย่างใหญ่หลวงต่อ ประเทศชาติ ตามที่นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.และพวก ได้กระทำการตั้งโต๊ะออกล่ารายชื่อเพื่อดำเนินการถอดถอน คณะตุลาการ เพราะมีคำสั่งให้ชะลอการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวนั้น ในฐานะประชาชนคนไทยผู้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้อำนาจอธิปไตย ภายใต้กฎหมาย รัฐธรรมนูญที่ใช้ปกครองประเทศ จึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่าการกระทำดังกล่าว ของกลุ่ม นปช.ถือเป็นการข่มขู่ คุกคาม คณะตุลาการอย่างให้อภัยมิได้ และถือว่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น จึงขอเรียกร้อง ให้ทางกลุ่ม นปช.ได้ยุติพฤติกรรมดังกล่าว นั้นโดยเด็ดขาด
ทางด้านความเคลื่อนไหวในภาคประชาชน ทั้งในระดับพื้นที่และในหัวเมือง ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งเวลานี้เต็มไปด้วยความ อึมครึมไม่แพ้กัน เพราะทุกม็อบจากทุกสี ต่างพากันเปิดเวทีปลุกระดม! ภายใต้ มหกรรม หลากสีเสื้อ ซึ่งถือเป็นการ “จัดแถว” เพื่อรอคำสั่งเคลื่อนพลจากส่วนกลาง เช่นเดียวกับการเป่านกหวีดเรียก “คนเสื้อแดง” ให้ออกมาชุมนุมใหญ่ในวันที่ 24 มิ.ย. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดย “ธิดา ถาวรเศรษฐ” ประธาน นปช. ได้ประกาศจุดยืนชัดเจนว่า...จะเดินหน้าต่อต้าน “ฝ่ายอำมาตย์” ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะยังมีความพยายามในการจ้องล้ม รัฐบาล และมุ่งทำลายกลุ่มคนเสื้อแดง “สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะมีความพยายามตัดสิทธิ์การทำหน้าที่ ของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึง มีการแฝงตัวในกลุ่มพวกเรา เพื่อหวังทำลายเสื้อแดง”
ขณะที่หนึ่งในแกนนำอย่าง “จตุพร พรหมพันธุ์” ได้ขอให้กลุ่มคนเสื้อแดง เก็บความน้อยอกน้อยใจกรณีที่ไม่ถูกยับยั้งการ ลงมติวาระ 3 เอาไว้ก่อน เพราะเวลานี้คนเสื้อแดงยังต้องสามัคคีเพื่อร่วมกันต่อสู้ โดยย้ำถึงความพยายามในการล้มรัฐบาล จากการดำเนินการขององค์กรอิสระ ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ด้วยความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่า..เป็น “เจตนา” และ “จงใจ” ที่จะนำมาซึ่งการล้มกระดาน “อำนาจแห่งรัฐนาวา” พร้อมเรียกร้องให้คนเสื้อแดง ออกมารวมพลังในการชุมนุม!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555
อู่ตะเภา - เขาวิหาร สันดาน แมลงสาป !!?
กษิต พูดชัดรัฐบาลสหรัฐฯไม่ทำเพื่อคนๆเดียว ถือเป็นประเด็นร้อนแรง ปลุกกระแสสังคมได้สมเจตนาของขั้วการเมืองที่ต้องการทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้กระแสต้านแม้ว กระแสไม่เอาทักษิณ เงียบหายไป
โดยครั้งนี้เปิดประเด็นว่า รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ไปเขียวให้สหรัฐอเมริกามาใช้พื้นที่อู่ตะเภาตั้งฐานปฏิบัติการได้ เพื่อแลกกับวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยที่กองทัพไทยในยุคนี้ก็ไม่ได้มีการคัดค้านอะไรเลย
เจอข่าวปล่อยออกมาแบบนี้ กระแสเลือดรักชาติก็ย่อมพลุ่งพล่านเป็นธรรมดา และยิ่งหากเป็นพวกที่ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่แล้ว ยิ่งเดือดเป็น 2 เท่า
ซึ่งบังเอิญเรื่องที่ปล่อยออกมานี้ก็มีข้อมูลจริงอยู่ส่วนหนึ่ง คือมีโครงการเกี่ยวกับองค์การการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา หรือ “นาซา” จะมาขอใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เพื่อทำการศึกษาสภาพภูมิอากาศ ในโครงการ Southeast Asia Composition, Cloud, Climate Coupling Regional Study หรือ SEAC4RS จริงๆ
แต่เรื่องที่เอาไปโยงว่านี่คือการยกแผ่นดิน การเปิดประตูให้รุกล้ำอธิปไตยของชาติเพียงเพื่อแลกกับวีซ่าเข้าสหรัฐให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นเป็นเรื่องจินตนาการกับความจงใจของคนปล่อยข่าว เพราะรู้ว่าประเด็นนี้ปล่อยออกมาแล้วแรงแน่ คนไทยจะเดือดแน่ๆ แล้วรัฐบาลก็จะเอียงกระเท่เร่ได้ง่ายๆ
เป็นประเด็นที่คล้ายหรือเหมือนกันกับกรณีพื้นที่เขาวิหาร ที่มีการปลุกเร้ากระแสรักชาติจนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาเกือบจะต้องรบกันนั่นแหละ
แต่ที่รอบนี้ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ก็เป็นเพราะหลังจากที่เปิดประเด็นสร้างกระแสออกมาจนทำท่าว่าจะจุดติด รัฐบาลต้องเร่งชี้แจงเป็นพัลวัน ว่ากรณีนี้คือสหรัฐได้ยื่นข้อเสนอใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์สำรวจชั้นบรรยากาศ และ เป็นศูนย์กู้ภัยพิบัติธรรมชาติประจำภูมิภาคเอเชียเท่านั้น
ไม่ได้มีกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีเพนตากอน เข้ามาแอบแฝงพัฒนาโครงการดาวเทียมหรือเครื่องบินสอดแนมเพื่อคุกคามจีน และที่สำคัญไม่ได้มีเรื่องวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเกี่ยวเลยสักนิด
เพราะต้นตอจุดเริ่มต้นของการเจรจาเรื่องนี้ ไม่ใช่มาจากรัฐบาลชุดนี้ แต่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นแล้ว
กลายเป็นเรื่องกลับตาลปัตร โอละพ่อ ขึ้นมาในทันที ว่าอ้าวแล้วจริงๆมันอย่างไรแน่
ซึ่งแรกๆก็ตามสไตล์ ปชป. ที่ถูกล้อเลียนว่าชอบเอาดีเข้าตัว เอาชั่วโยนให้คนอื่นนั่นแหละ แต่บังเอิญรอบนี้ นายกษิต ภิรมย์ อดีต รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นคนที่ออกมาแถลงเรื่องการขอใช้สนามบินอู่ตะเภาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และองค์การนาซ่าขอใช้พื้นที่ด้วย เพื่อจอดอากาศยานและขึ้นทำการบินตรวจสภาพอากาศ
ยอมรับอย่างชัดเจนว่า โครงการนี้ทำมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
ว่าเป็นการเสนอไปที่จะให้ใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการพูดคุยกับ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ องค์การสหประชาชาติ และเวิลด์ฟู๊ด โดยทางนั้นขอเสนอให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฯ ส่วนทางรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็จะทำเรื่องนี้เป็นนโยบายของอาเซียน
ซึ่งเรื่องนี้มีการพูดชัดเจนในอาเซียน ว่าจะทำเรื่องนี้ในกรอบของสหประชาชาติ โดยได้มีการประสานงานระหว่างกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เคยหารือกันและมาสำรวจพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาว่าจะสามารถใช้พื้นที่ไหนในการทำศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฯได้บ้าง
เพียงแต่ว่าพอมาในรัฐบาลชุดนี้ รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไอซีที กลับไม่มีการแถลงข่าวความคืบหน้าความชัดเจนในเรื่องนี้ จึงก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดีของประชาชน
ทั้งที่จริงเรื่องนี้เราเป็นฝ่ายไปเจรจาเองในการขอความร่วมมือในการมาช่วยเหลือภัยพิบัติในอาเซียน ส่วนจะไปเกี่ยวกับ มาตรา 190 หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหา เพราะด้านความมั่นคงเรามีกรอบความร่วมมือกับสหรัฐฯเราอยู่แล้ว
“การที่องค์การน่าซ่ามาขอใช้ก็มาในช่วงปลายสมัยที่ผมเป็น รมว.ต่างประเทศ จนเสนาธิการทหารสหรัฐมาให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ คนไทยจึงมาทราบเรื่อง ส่วนเรื่องขอนาซ่ามาขอใช้ด้วยนั้น ทางเสนาธิการทหารสหรัฐฯบอกว่าเรื่องนาซ่าไม่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แต่ผลงานของนาซ่าในการสำรวจอวกาศจะช่วยให้เราสามารถรู้ถึงการเกิดภัยพิบัติล่วงหน้า และจะทำให้เราสามารถเตือนภัยและป้องกันภัยได้ ข้อมูลของน่าซ่าก็จะเป็นประโยชน์กับเรา”นายกษิต กล่าว
ชัดเจนแจ่มกระจ่างกันแล้วว่าโครงการนี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลใด
แถมยังบอกด้วยว่าเรื่องนี้กลุ่มพันธมิตรเข้าใจผิด ส่วนการต่างตอบแทนเรื่องวีซ่าเข้าสหรัฐฯของ พ.ต.ท.ทักษิณ แลกกับการใช้สนามบินอู่ตะเภานั้น นายกษิต พูดชัดเลยว่า รัฐบาลสหรัฐฯสูงส่งกว่าเรื่องนี้เยอะ เขาเคารพกฎหมาย คงไม่ใช่ประเทศที่จะมาทำเพื่อผลประโยชน์ของคนๆเดียว
“เรื่องนี้จริงๆแล้วไทยได้ประโยชน์ ได้ความรู้ ได้เทคโนโลยี และไม่ได้เสียอธิปไตยแน่นอน เพราะเราเป็นคนอนุญาตให้เขามาใช้พื้นที่ของเราเอง เขาเข้ามา เราก็มีอธิปไตยอยู่”นายกษิต สรุป
เล่นเอาแม้แต่นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังต้องออกมาขอบคุณนายกษิต ที่กล้าพูดสวนทางกับนายอภิสิทธิ์ ที่ก่อนหน้านี้กล่าวหาว่าความร่วมมือระหว่างไทย-สหรัฐครั้งนี้ เพื่อแลกกับวีซ่าของพ.ต.ท.ทักษิณ
และยังกล้าหักต้นสังกัดเดิมคือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ระบุว่าการให้สหรัฐใช้สนามบินอู่ตะเภา ทำให้เสียดินแดน เป็นความเข้าใจผิด
อย่างไรก็ตามในเรื่องการต่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เปราะบาง และหลายครั้งถูกลากโยงมาเป็นเครื่องมือการเมือง เพราะปลุกระดมแล้วจุดติดง่าย เช่น กรณีคดีปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นการทำงานต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ยืนยันไม่มีอะไรที่ไทยเสียประโยชน์และไม่กระทบกับความสัมพันธ์กับประเทศใดๆ ในภูมิภาคแน่นอน
เมื่อเจอแบบนี้ นายอภิสิทธิ์ จึงมีการอ้างว่าการใช้สนามบินอู่ตะเภาในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จะเน้น2ด้านคือ
1.ภารกิจการช่วยเหลือด้านภัยพิบัติและมนุษยธรรม
2.เป็นความร่วมมือในระดับพหุภาคีและในแง่ของการร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค ซึ่งยังรวมไปถึงการพูดถึงสหประชาชาติและมิตรประเทศต่างๆ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นเรื่องระหว่างสหรัฐกับไทย ซึ่งเหตุผลที่ขอใช้ในขณะนี้ต้องมีความชัดเจนว่า ใช้โดยใครและอย่างไร หากเป็นเรื่องของการตกลงทวิภาคีระหว่างไทยและสหรัฐก็ไม่ใช่แนวทางที่เคยวางไว้
ส่วนคำขอจากสหรัฐได้ส่งมาจริง ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นยังไม่มีการพิจารณาแต่อย่างใด และก็ตามสไตล์คือเรียกร้องว่าเรื่องนี้ต้องโปร่งใสและต้องชี้แจง ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยรู้เลยสักนิดว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์
กับนายอภิสิทธิ์ยังพูดให้ล่อแหลมอีกว่าต้องให้มิตรประเทศของเราในภูมิภาค เช่น ประเทศจีนมีความเข้าใจ เพราะสหรัฐมียุทธศาสตร์ปิดล้อมประเทศจีน
พูดแบบนี้จีนอาจจะสบายใจ แต่สหรัฐอาจจะไม่สบายใจที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยอย่างนายอภิสิทธิ์พูดว่าสหรัฐมียุทธศาสตร์ปิดล้อมประเทศจีนก็เป็นได้
ซึ่งเมื่อต้องการความกระจ่าง เพราะคนไทยไม่รู้มาตลอดตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว นายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงในเรื่องนี้ว่า
1. การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติระดับภูมิภาค (Humanitarian Assistance and Disaster Relief – HADR) ในประเทศไทย เป็นข้อริเริ่มของฝ่ายไทยในรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งได้เสนอในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน - สหประชาชาติ ครั้งที่ 3 ในปี 2553 ด้วยเห็นว่าภูมิภาคประสบภัยพิบัติในหลายรูปแบบ และที่ผ่านมาหลายประเทศได้ใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กระจายความช่วยเหลือ
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดี จึงเห็นว่าการจัดตั้ง HADR ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและภูมิภาค อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการหารือ ซึ่งยังต้องมีการพิจารณาในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดต่อไป
2. องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronautic and Space Administration - NASA) ซึ่งเป็นองค์กรของพลเรือนได้ขอดำเนินโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Composition, Cloud, Climate Coupling Regional Study - SEAC4RS) ในประเทศไทย ซึ่งโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ได้เคยดำเนินการแล้วในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เช่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น และคอสตาริกา โดยจะใช้ท่าอากาศยานในประเทศเหล่านั้นทำการบินเพื่อเก็บตัวอย่างของอากาศในพื้นที่และสำรวจสภาพอากาศในพื้นที่ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ ประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ การพยากรณ์อากาศ ตลอดจนการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ
ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อเสนอโครงการแล้ว ซึ่งโดยสรุปเห็นว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของไทย และช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการพยากรณ์และป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งนี้ หน่วยงานปฏิบัติหลักของไทยคือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
สำหรับฝ่ายไทยที่จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ อาทิ การตรวจอุปกรณ์ การทำการบิน ซึ่งจะมีทั้งนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย อาทิ สำนักฝนหลวง และการบินเกษตร เป็นต้น
อีกทั้งการใช้พื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาจะต้องขออนุญาตทำการบินผ่านในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการบินสำรวจเหนือน่านน้ำสากลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมการบินของไทย สิงคโปร์ และกัมพูชา ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้รับความยินยอมจากสิงคโปร์และกัมพูชา และได้แจ้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแล้ว ซึ่งไม่มีประเทศใดคัดค้าน ด้วยเห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการ และก่อประโยชน์ให้แก่ภูมิภาคโดยรวม
ก็เป็นเรื่องที่ชี้แจงออกมาชัดเจนแล้ว ส่วนเรื่องวีซ่านั้น พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต กล่าวว่า ข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลไทยยอมให้สหรัฐเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนกับวีซ่าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีจริงๆ และไม่เกี่ยวกันเลย พ.ต.ท.ทักษิณสามารถเดินทางเข้าออกประเทศไหนก็ได้อยู่แล้ว แม้แต่ประเทศอังกฤษ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เข้าไปได้เลย ถือเป็นเรื่องเล็ก แต่หากจะขอแลกเปลี่ยนกันต้องขอมากกว่านี้
ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวความมั่นคงแจ้งว่า นาซาได้คัดเจ้าหน้าที่ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ของนาซาที่มีเชื้อสายไทยร่วมคณะมาด้วย รวมทั้ง ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรไทยคนเดียวในนาซา เพื่อให้ไทยสบายใจขึ้นว่า นาซามาเพื่อสำรวจสภาพอากาศจริงๆ
ไม่ได้แอบส่งเครื่องบินหรือดาวเทียมจารกรรมมาสอดแนมจีน
งานนี้เป็นอีกกรณีที่ทำให้เห็นชัดว่า ที่ไทยมีปัญหากับประเทศต่างๆในรัฐบาลก่อนหน้า หรือที่มีการปลุกเร้ากระแสรักชาติเรื่องพื้นที่เขาพระวิหารจนหวิดเกิดเรื่อง และกระทั่งมาถึงเรื่องอู่ตะเภาในครั้งนี้
ก็น่าจะเป็นเพราะสไตล์หรือนิสัย แมลงสาป นั่นแหละที่ชอบก่อเหตุ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โดยครั้งนี้เปิดประเด็นว่า รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ไปเขียวให้สหรัฐอเมริกามาใช้พื้นที่อู่ตะเภาตั้งฐานปฏิบัติการได้ เพื่อแลกกับวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยที่กองทัพไทยในยุคนี้ก็ไม่ได้มีการคัดค้านอะไรเลย
เจอข่าวปล่อยออกมาแบบนี้ กระแสเลือดรักชาติก็ย่อมพลุ่งพล่านเป็นธรรมดา และยิ่งหากเป็นพวกที่ไม่ชอบ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่แล้ว ยิ่งเดือดเป็น 2 เท่า
ซึ่งบังเอิญเรื่องที่ปล่อยออกมานี้ก็มีข้อมูลจริงอยู่ส่วนหนึ่ง คือมีโครงการเกี่ยวกับองค์การการบินอวกาศสหรัฐอเมริกา หรือ “นาซา” จะมาขอใช้พื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เพื่อทำการศึกษาสภาพภูมิอากาศ ในโครงการ Southeast Asia Composition, Cloud, Climate Coupling Regional Study หรือ SEAC4RS จริงๆ
แต่เรื่องที่เอาไปโยงว่านี่คือการยกแผ่นดิน การเปิดประตูให้รุกล้ำอธิปไตยของชาติเพียงเพื่อแลกกับวีซ่าเข้าสหรัฐให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นเป็นเรื่องจินตนาการกับความจงใจของคนปล่อยข่าว เพราะรู้ว่าประเด็นนี้ปล่อยออกมาแล้วแรงแน่ คนไทยจะเดือดแน่ๆ แล้วรัฐบาลก็จะเอียงกระเท่เร่ได้ง่ายๆ
เป็นประเด็นที่คล้ายหรือเหมือนกันกับกรณีพื้นที่เขาวิหาร ที่มีการปลุกเร้ากระแสรักชาติจนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาเกือบจะต้องรบกันนั่นแหละ
แต่ที่รอบนี้ไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ก็เป็นเพราะหลังจากที่เปิดประเด็นสร้างกระแสออกมาจนทำท่าว่าจะจุดติด รัฐบาลต้องเร่งชี้แจงเป็นพัลวัน ว่ากรณีนี้คือสหรัฐได้ยื่นข้อเสนอใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์สำรวจชั้นบรรยากาศ และ เป็นศูนย์กู้ภัยพิบัติธรรมชาติประจำภูมิภาคเอเชียเท่านั้น
ไม่ได้มีกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีเพนตากอน เข้ามาแอบแฝงพัฒนาโครงการดาวเทียมหรือเครื่องบินสอดแนมเพื่อคุกคามจีน และที่สำคัญไม่ได้มีเรื่องวีซ่าเข้าสหรัฐของ พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามาเกี่ยวเลยสักนิด
เพราะต้นตอจุดเริ่มต้นของการเจรจาเรื่องนี้ ไม่ใช่มาจากรัฐบาลชุดนี้ แต่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นแล้ว
กลายเป็นเรื่องกลับตาลปัตร โอละพ่อ ขึ้นมาในทันที ว่าอ้าวแล้วจริงๆมันอย่างไรแน่
ซึ่งแรกๆก็ตามสไตล์ ปชป. ที่ถูกล้อเลียนว่าชอบเอาดีเข้าตัว เอาชั่วโยนให้คนอื่นนั่นแหละ แต่บังเอิญรอบนี้ นายกษิต ภิรมย์ อดีต รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นคนที่ออกมาแถลงเรื่องการขอใช้สนามบินอู่ตะเภาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และองค์การนาซ่าขอใช้พื้นที่ด้วย เพื่อจอดอากาศยานและขึ้นทำการบินตรวจสภาพอากาศ
ยอมรับอย่างชัดเจนว่า โครงการนี้ทำมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์
ว่าเป็นการเสนอไปที่จะให้ใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการพูดคุยกับ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ องค์การสหประชาชาติ และเวิลด์ฟู๊ด โดยทางนั้นขอเสนอให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฯ ส่วนทางรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็จะทำเรื่องนี้เป็นนโยบายของอาเซียน
ซึ่งเรื่องนี้มีการพูดชัดเจนในอาเซียน ว่าจะทำเรื่องนี้ในกรอบของสหประชาชาติ โดยได้มีการประสานงานระหว่างกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เคยหารือกันและมาสำรวจพื้นที่สนามบินอู่ตะเภาว่าจะสามารถใช้พื้นที่ไหนในการทำศูนย์บรรเทาสาธารณภัยฯได้บ้าง
เพียงแต่ว่าพอมาในรัฐบาลชุดนี้ รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงไอซีที กลับไม่มีการแถลงข่าวความคืบหน้าความชัดเจนในเรื่องนี้ จึงก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และก่อให้เกิดความรู้สึกไม่ดีของประชาชน
ทั้งที่จริงเรื่องนี้เราเป็นฝ่ายไปเจรจาเองในการขอความร่วมมือในการมาช่วยเหลือภัยพิบัติในอาเซียน ส่วนจะไปเกี่ยวกับ มาตรา 190 หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหา เพราะด้านความมั่นคงเรามีกรอบความร่วมมือกับสหรัฐฯเราอยู่แล้ว
“การที่องค์การน่าซ่ามาขอใช้ก็มาในช่วงปลายสมัยที่ผมเป็น รมว.ต่างประเทศ จนเสนาธิการทหารสหรัฐมาให้สัมภาษณ์ในรายการโทรทัศน์ คนไทยจึงมาทราบเรื่อง ส่วนเรื่องขอนาซ่ามาขอใช้ด้วยนั้น ทางเสนาธิการทหารสหรัฐฯบอกว่าเรื่องนาซ่าไม่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ แต่ผลงานของนาซ่าในการสำรวจอวกาศจะช่วยให้เราสามารถรู้ถึงการเกิดภัยพิบัติล่วงหน้า และจะทำให้เราสามารถเตือนภัยและป้องกันภัยได้ ข้อมูลของน่าซ่าก็จะเป็นประโยชน์กับเรา”นายกษิต กล่าว
ชัดเจนแจ่มกระจ่างกันแล้วว่าโครงการนี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลใด
แถมยังบอกด้วยว่าเรื่องนี้กลุ่มพันธมิตรเข้าใจผิด ส่วนการต่างตอบแทนเรื่องวีซ่าเข้าสหรัฐฯของ พ.ต.ท.ทักษิณ แลกกับการใช้สนามบินอู่ตะเภานั้น นายกษิต พูดชัดเลยว่า รัฐบาลสหรัฐฯสูงส่งกว่าเรื่องนี้เยอะ เขาเคารพกฎหมาย คงไม่ใช่ประเทศที่จะมาทำเพื่อผลประโยชน์ของคนๆเดียว
“เรื่องนี้จริงๆแล้วไทยได้ประโยชน์ ได้ความรู้ ได้เทคโนโลยี และไม่ได้เสียอธิปไตยแน่นอน เพราะเราเป็นคนอนุญาตให้เขามาใช้พื้นที่ของเราเอง เขาเข้ามา เราก็มีอธิปไตยอยู่”นายกษิต สรุป
เล่นเอาแม้แต่นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ยังต้องออกมาขอบคุณนายกษิต ที่กล้าพูดสวนทางกับนายอภิสิทธิ์ ที่ก่อนหน้านี้กล่าวหาว่าความร่วมมือระหว่างไทย-สหรัฐครั้งนี้ เพื่อแลกกับวีซ่าของพ.ต.ท.ทักษิณ
และยังกล้าหักต้นสังกัดเดิมคือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ระบุว่าการให้สหรัฐใช้สนามบินอู่ตะเภา ทำให้เสียดินแดน เป็นความเข้าใจผิด
อย่างไรก็ตามในเรื่องการต่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เปราะบาง และหลายครั้งถูกลากโยงมาเป็นเครื่องมือการเมือง เพราะปลุกระดมแล้วจุดติดง่าย เช่น กรณีคดีปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นการทำงานต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ยืนยันไม่มีอะไรที่ไทยเสียประโยชน์และไม่กระทบกับความสัมพันธ์กับประเทศใดๆ ในภูมิภาคแน่นอน
เมื่อเจอแบบนี้ นายอภิสิทธิ์ จึงมีการอ้างว่าการใช้สนามบินอู่ตะเภาในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์จะเน้น2ด้านคือ
1.ภารกิจการช่วยเหลือด้านภัยพิบัติและมนุษยธรรม
2.เป็นความร่วมมือในระดับพหุภาคีและในแง่ของการร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค ซึ่งยังรวมไปถึงการพูดถึงสหประชาชาติและมิตรประเทศต่างๆ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นเรื่องระหว่างสหรัฐกับไทย ซึ่งเหตุผลที่ขอใช้ในขณะนี้ต้องมีความชัดเจนว่า ใช้โดยใครและอย่างไร หากเป็นเรื่องของการตกลงทวิภาคีระหว่างไทยและสหรัฐก็ไม่ใช่แนวทางที่เคยวางไว้
ส่วนคำขอจากสหรัฐได้ส่งมาจริง ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้นยังไม่มีการพิจารณาแต่อย่างใด และก็ตามสไตล์คือเรียกร้องว่าเรื่องนี้ต้องโปร่งใสและต้องชี้แจง ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยรู้เลยสักนิดว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นในยุครัฐบาลประชาธิปัตย์
กับนายอภิสิทธิ์ยังพูดให้ล่อแหลมอีกว่าต้องให้มิตรประเทศของเราในภูมิภาค เช่น ประเทศจีนมีความเข้าใจ เพราะสหรัฐมียุทธศาสตร์ปิดล้อมประเทศจีน
พูดแบบนี้จีนอาจจะสบายใจ แต่สหรัฐอาจจะไม่สบายใจที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยอย่างนายอภิสิทธิ์พูดว่าสหรัฐมียุทธศาสตร์ปิดล้อมประเทศจีนก็เป็นได้
ซึ่งเมื่อต้องการความกระจ่าง เพราะคนไทยไม่รู้มาตลอดตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว นายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงในเรื่องนี้ว่า
1. การจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติระดับภูมิภาค (Humanitarian Assistance and Disaster Relief – HADR) ในประเทศไทย เป็นข้อริเริ่มของฝ่ายไทยในรัฐบาลสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งได้เสนอในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน - สหประชาชาติ ครั้งที่ 3 ในปี 2553 ด้วยเห็นว่าภูมิภาคประสบภัยพิบัติในหลายรูปแบบ และที่ผ่านมาหลายประเทศได้ใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กระจายความช่วยเหลือ
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดี จึงเห็นว่าการจัดตั้ง HADR ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและภูมิภาค อย่างไรก็ดี โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการหารือ ซึ่งยังต้องมีการพิจารณาในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดต่อไป
2. องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronautic and Space Administration - NASA) ซึ่งเป็นองค์กรของพลเรือนได้ขอดำเนินโครงการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Composition, Cloud, Climate Coupling Regional Study - SEAC4RS) ในประเทศไทย ซึ่งโครงการในลักษณะเดียวกันนี้ได้เคยดำเนินการแล้วในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เช่น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น และคอสตาริกา โดยจะใช้ท่าอากาศยานในประเทศเหล่านั้นทำการบินเพื่อเก็บตัวอย่างของอากาศในพื้นที่และสำรวจสภาพอากาศในพื้นที่ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละประเทศ โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ ประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ การพยากรณ์อากาศ ตลอดจนการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ
ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย ทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคง และด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อร่วมกันพิจารณาข้อเสนอโครงการแล้ว ซึ่งโดยสรุปเห็นว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ของไทย และช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการพยากรณ์และป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งนี้ หน่วยงานปฏิบัติหลักของไทยคือสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
สำหรับฝ่ายไทยที่จะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ อาทิ การตรวจอุปกรณ์ การทำการบิน ซึ่งจะมีทั้งนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย อาทิ สำนักฝนหลวง และการบินเกษตร เป็นต้น
อีกทั้งการใช้พื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาจะต้องขออนุญาตทำการบินผ่านในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการบินสำรวจเหนือน่านน้ำสากลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่ภายใต้การควบคุมการบินของไทย สิงคโปร์ และกัมพูชา ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้รับความยินยอมจากสิงคโปร์และกัมพูชา และได้แจ้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแล้ว ซึ่งไม่มีประเทศใดคัดค้าน ด้วยเห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการ และก่อประโยชน์ให้แก่ภูมิภาคโดยรวม
ก็เป็นเรื่องที่ชี้แจงออกมาชัดเจนแล้ว ส่วนเรื่องวีซ่านั้น พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต กล่าวว่า ข่าวที่ระบุว่ารัฐบาลไทยยอมให้สหรัฐเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนกับวีซ่าของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีจริงๆ และไม่เกี่ยวกันเลย พ.ต.ท.ทักษิณสามารถเดินทางเข้าออกประเทศไหนก็ได้อยู่แล้ว แม้แต่ประเทศอังกฤษ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เข้าไปได้เลย ถือเป็นเรื่องเล็ก แต่หากจะขอแลกเปลี่ยนกันต้องขอมากกว่านี้
ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากแหล่งข่าวความมั่นคงแจ้งว่า นาซาได้คัดเจ้าหน้าที่ วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ของนาซาที่มีเชื้อสายไทยร่วมคณะมาด้วย รวมทั้ง ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรไทยคนเดียวในนาซา เพื่อให้ไทยสบายใจขึ้นว่า นาซามาเพื่อสำรวจสภาพอากาศจริงๆ
ไม่ได้แอบส่งเครื่องบินหรือดาวเทียมจารกรรมมาสอดแนมจีน
งานนี้เป็นอีกกรณีที่ทำให้เห็นชัดว่า ที่ไทยมีปัญหากับประเทศต่างๆในรัฐบาลก่อนหน้า หรือที่มีการปลุกเร้ากระแสรักชาติเรื่องพื้นที่เขาพระวิหารจนหวิดเกิดเรื่อง และกระทั่งมาถึงเรื่องอู่ตะเภาในครั้งนี้
ก็น่าจะเป็นเพราะสไตล์หรือนิสัย แมลงสาป นั่นแหละที่ชอบก่อเหตุ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ลับ ลวง พราง กับการเจรจา วาระรัฐธรรมนูญหลอน เพื่อไทยหวัง ศาลวินิจฉัยบวก !!?
เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และทีมยุทธศาสตร์ พร้อมหน่วยงานด้านความมั่นคง ส่งสัญญาณให้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยอมถอยในเกมแก้รัฐธรรมนูญ
ทำให้ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารของรัฐบาล
ต้องยอมทำตามคำสั่งของฝ่ายตุลาการ
กระนั้นก็ตาม แกนนำพรรคเพื่อไทยที่เคยหวาดกลัว หวั่นไหวต่อการเผชิญหน้ากับขบวนการตุลาการภิวัตน์ ก็ยังเชื่อเรื่อง "เกมใต้ดิน" และการ "เจรจาลับ"
เป็นเกมที่นักการเมืองใกล้ชิดฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อว่าผลการเจรจากับฝ่ายตุลาการจะทำให้เกิดผลทางบวกกับพรรคเพื่อไทย
จากนี้ไปจึงเป็นตารางการเมือง ของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากสมมติฐานในทาง "คิดบวก" และไม่คิดว่า "จะถูกหลอก" อีกครั้ง
ภายใต้แนวคิดนี้จะทำให้ฝ่ายเพื่อไทยได้เป็นฝ่ายแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ราวต้นปี 2557
เริ่มต้นจากสมมติฐานคาดว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยคำร้องเรื่องการล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 68 ภายในเดือนกรกฎาคม 2555
จากนั้นรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีขอตรา พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อจะกำหนดวันลงมติวาระ 3 ทันที
หรือเมื่อศาลวินิจฉัยแล้ว จึงค่อยขอให้คณะรัฐมนตรีตรา พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อลงมติวาระ 3
หรือเมื่อเปิดสมัยประชุมสมัยสามัญทั่วไปแล้ว จึงค่อยเสนอลงมติวาระ 3 ในสมัยประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปตามปกติ
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่เป็น "คุณ" กับพรรคเพื่อไทย โดยยกคำร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 มิได้ล้มล้างการปกครองหรือเปลี่ยนรูปแบบรัฐ
เมื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านการยกมือโดยเสียงข้างมากได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และส่งขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อตราเป็นกฎหมาย และโปรดเกล้าฯลงมาแล้ว ปฏิทินของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเริ่มต้นนับจากวันประกาศลงในราช
กิจจานุเบกษาในวันถัดไป ประเมินคร่าว ๆ คาดว่าจะเป็นช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2555
จากนั้น คณะรัฐมนตรีจะออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร. 3) จังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน โดยใช้เวลาประมาณ 15 วัน ซึ่งตรงกับต้นเดือนกันยายน 2555
ขั้นตอนต่อไป ให้ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง" (กกต.) จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยตรงจังหวัดละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 77 คน โดยเดินคู่ขนานกับกระบวนการสรรหา ส.ส.ร.ในรัฐสภาอีก 22 คน โดยทั้งสองกระบวนการจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 75 วัน
ดังนั้นราวกลางเดือน "พฤศจิกายน 2555" ก็จะเห็นโฉมหน้า ส.ส.ร. ที่จะมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแทนคนไทยทั้ง 99 คน
เมื่อ ส.ส.ร.ทั้ง 99 คน ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนแล้ว ตามมาตรา 291/9 จะต้องมีการประชุม ส.ส.ร.ครั้งแรกภายใน 30 วัน นับจากที่มีการเลือกตั้ง + สรรหา ครบจำนวน เพื่อให้มีการประชุมเพื่อเลือกประธาน และรองประธาน โดยห้วงเวลาในขั้นตอนนี้จะตรงกับกลางเดือนธันวาคม 2555
หลังมี ส.ส.ร.ครบทั้ง 99 คน จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" กำหนดกรอบเวลาทั้งสิ้น 240 วัน เท่ากับใช้เวลาหมด 8 เดือนพอดิบพอดี จะตรงกับช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2556
เมื่อได้ ส.ส.ร.ยกร่างพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องเสนอต่อประธานรัฐสภา เพื่อตรวจสอบว่าขัดต่อมาตรา 291/11 วรรค 5 ที่ระบุว่า "ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนรูปแบบของรัฐจะกระทำมิได้" หรือไม่
หากประธานรัฐสภาเห็นว่าไม่ขัด ก็จะส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กกต.ภายใน 7 วัน เพื่อให้จัดการออกเสียงประชามติจากมหาชนว่า "เห็นชอบ" หรือ "ไม่เห็นชอบ" ภายใน 45-60 วัน
ช่วงเวลาดังกล่าวคาดว่าจะอยู่ในช่วงต้น-กลางเดือนพฤศจิกายน 2556
จากนั้น กกต.ก็จะใช้เวลารับรองผลคะแนนประชามติอีก 15 วัน หากเสียงข้างมากโหวตว่า "เห็นชอบ" ประธานสภาก็จะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯถวาย และประธานรัฐสภาก็จะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาจเป็นต้นปี 2557
ทั้งหมดนี้คือกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยเป็น "บวก" และเปิดทางให้ฝ่ายเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่หากเป็นกรณี "เลวร้าย" ตามคำวิเคราะห์ของ นายจาตุรนต์ ฉายแสง
หัวขบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ 90% คือการแก้รัฐธรรมนูญถูกคว่ำบาตร ก็จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของรัฐบาล
"ยิ่งลักษณ์" อาจต้องจากไปก่อนเวลาอันควร
ที่เหลืออีก 10% คือแรงกดดันของมวลชน มีผลต่อคำวินิจฉัยของฝ่ายตุลาการ ทำให้เกิดการหาทางลง และกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญเดินหน้าไปได้
ทางรอดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในทรรศนะจาตุรนต์ คือ "ผมภาวนาให้ผมวิเคราะห์ในส่วนของ 90% ผิด"
เกมแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีลุ้นทุกขณะ จนกว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นคำตอบสุดท้าย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทำให้ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารของรัฐบาล
ต้องยอมทำตามคำสั่งของฝ่ายตุลาการ
กระนั้นก็ตาม แกนนำพรรคเพื่อไทยที่เคยหวาดกลัว หวั่นไหวต่อการเผชิญหน้ากับขบวนการตุลาการภิวัตน์ ก็ยังเชื่อเรื่อง "เกมใต้ดิน" และการ "เจรจาลับ"
เป็นเกมที่นักการเมืองใกล้ชิดฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ เชื่อว่าผลการเจรจากับฝ่ายตุลาการจะทำให้เกิดผลทางบวกกับพรรคเพื่อไทย
จากนี้ไปจึงเป็นตารางการเมือง ของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากสมมติฐานในทาง "คิดบวก" และไม่คิดว่า "จะถูกหลอก" อีกครั้ง
ภายใต้แนวคิดนี้จะทำให้ฝ่ายเพื่อไทยได้เป็นฝ่ายแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ราวต้นปี 2557
เริ่มต้นจากสมมติฐานคาดว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยคำร้องเรื่องการล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 68 ภายในเดือนกรกฎาคม 2555
จากนั้นรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีขอตรา พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อจะกำหนดวันลงมติวาระ 3 ทันที
หรือเมื่อศาลวินิจฉัยแล้ว จึงค่อยขอให้คณะรัฐมนตรีตรา พ.ร.ฎ.เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เพื่อลงมติวาระ 3
หรือเมื่อเปิดสมัยประชุมสมัยสามัญทั่วไปแล้ว จึงค่อยเสนอลงมติวาระ 3 ในสมัยประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปตามปกติ
ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่เป็น "คุณ" กับพรรคเพื่อไทย โดยยกคำร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 มิได้ล้มล้างการปกครองหรือเปลี่ยนรูปแบบรัฐ
เมื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผ่านการยกมือโดยเสียงข้างมากได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และส่งขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อตราเป็นกฎหมาย และโปรดเกล้าฯลงมาแล้ว ปฏิทินของกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเริ่มต้นนับจากวันประกาศลงในราช
กิจจานุเบกษาในวันถัดไป ประเมินคร่าว ๆ คาดว่าจะเป็นช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2555
จากนั้น คณะรัฐมนตรีจะออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร. 3) จังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน โดยใช้เวลาประมาณ 15 วัน ซึ่งตรงกับต้นเดือนกันยายน 2555
ขั้นตอนต่อไป ให้ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง" (กกต.) จัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.โดยตรงจังหวัดละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 77 คน โดยเดินคู่ขนานกับกระบวนการสรรหา ส.ส.ร.ในรัฐสภาอีก 22 คน โดยทั้งสองกระบวนการจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 75 วัน
ดังนั้นราวกลางเดือน "พฤศจิกายน 2555" ก็จะเห็นโฉมหน้า ส.ส.ร. ที่จะมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแทนคนไทยทั้ง 99 คน
เมื่อ ส.ส.ร.ทั้ง 99 คน ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนแล้ว ตามมาตรา 291/9 จะต้องมีการประชุม ส.ส.ร.ครั้งแรกภายใน 30 วัน นับจากที่มีการเลือกตั้ง + สรรหา ครบจำนวน เพื่อให้มีการประชุมเพื่อเลือกประธาน และรองประธาน โดยห้วงเวลาในขั้นตอนนี้จะตรงกับกลางเดือนธันวาคม 2555
หลังมี ส.ส.ร.ครบทั้ง 99 คน จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการ "ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" กำหนดกรอบเวลาทั้งสิ้น 240 วัน เท่ากับใช้เวลาหมด 8 เดือนพอดิบพอดี จะตรงกับช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2556
เมื่อได้ ส.ส.ร.ยกร่างพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องเสนอต่อประธานรัฐสภา เพื่อตรวจสอบว่าขัดต่อมาตรา 291/11 วรรค 5 ที่ระบุว่า "ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนรูปแบบของรัฐจะกระทำมิได้" หรือไม่
หากประธานรัฐสภาเห็นว่าไม่ขัด ก็จะส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กกต.ภายใน 7 วัน เพื่อให้จัดการออกเสียงประชามติจากมหาชนว่า "เห็นชอบ" หรือ "ไม่เห็นชอบ" ภายใน 45-60 วัน
ช่วงเวลาดังกล่าวคาดว่าจะอยู่ในช่วงต้น-กลางเดือนพฤศจิกายน 2556
จากนั้น กกต.ก็จะใช้เวลารับรองผลคะแนนประชามติอีก 15 วัน หากเสียงข้างมากโหวตว่า "เห็นชอบ" ประธานสภาก็จะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯถวาย และประธานรัฐสภาก็จะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ความเป็นไปได้ที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาจเป็นต้นปี 2557
ทั้งหมดนี้คือกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยเป็น "บวก" และเปิดทางให้ฝ่ายเพื่อไทยแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่หากเป็นกรณี "เลวร้าย" ตามคำวิเคราะห์ของ นายจาตุรนต์ ฉายแสง
หัวขบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ 90% คือการแก้รัฐธรรมนูญถูกคว่ำบาตร ก็จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของรัฐบาล
"ยิ่งลักษณ์" อาจต้องจากไปก่อนเวลาอันควร
ที่เหลืออีก 10% คือแรงกดดันของมวลชน มีผลต่อคำวินิจฉัยของฝ่ายตุลาการ ทำให้เกิดการหาทางลง และกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญเดินหน้าไปได้
ทางรอดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในทรรศนะจาตุรนต์ คือ "ผมภาวนาให้ผมวิเคราะห์ในส่วนของ 90% ผิด"
เกมแก้ไขรัฐธรรมนูญยังมีลุ้นทุกขณะ จนกว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นคำตอบสุดท้าย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ปรากฎการณ์ : เดจาวู กรีซ กับ 3 สมมติฐาน ยูโรโซน !!?
ผลเลือกตั้ง "กรีซ" ที่ออกมาอาจทำให้หายใจโล่งไปได้เปลาะหนึ่ง แต่ดูเหมือนเอเธนส์จะหนีไม่พ้นปรากฏการณ์เดจาวู ท่ามกลางภาวะใกล้ถังแตกเข้าไปทุกขณะ
แม้ว่าพรรคประชาธิปไตยใหม่ ที่หนุนแนวทางรัดเข็มขัดแลกกับความช่วยเหลือทางการเงิน จะคว้าชัยในการเลือกตั้งรอบนี้ แต่เป็นการเฉือนชนะพรรคซิริซาที่ปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดอย่างชัดเจนเพียงไม่ถึง 3%
ผลเลือกตั้ง ที่ออกมาอาจช่วยให้หายใจโล่งขึ้นในยามที่ผู้คนวิตกถึงการโบกมือลายูโรโซนของกรีซ แต่ยังต้องรอลุ้นการจัดตั้งรัฐบาล เพราะนี่ไม่ใช่ชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามลำพัง สถานการณ์นี้ คล้ายกับผลการเลือกตั้งครั้งก่อนเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งพรรคประชาธิปไตยใหม่มีคะแนนมาเป็นอันดับ 1 และพรรคซิริซาตามมาเป็นที่ 2 แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
ขณะที่ การจัดตั้งรัฐบาลอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญในยามนี้ เพราะกรีซกำลังใกล้ภาวะถังแตกมากขึ้นเรื่อยๆ ประเมินกันว่าภายในวันที่ 15 กรกฎาคม ทางการเอเธนส์อาจไม่มีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่าย
ถึงตอนนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าจะมีพรรคใดบ้างที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปไตยใหม่ แต่สื่อกรีซประเมินว่าหนึ่งในนั้นน่าจะมีชื่อของพรรคสังคมนิยมปาสก คู่แข่งที่ทำคะแนนมาเป็นอันดับ 3
นอกจากนี้ ผลเลือกตั้งครั้งล่าสุด ยังจุดคำถามตามมา เพราะชาวกรีกที่มีสิทธิเลือกตั้งราว 38% ไม่ออกไปใช้สิทธิหย่อนบัตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากกว่าคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปไตยใหม่ที่ได้คะแนนนำ 29.7% ได้ 129 ที่นั่ง จากทั้งหมด 300 พรรคซิริซา 26.9% หรือ 71 ที่นั่ง และพรรคปาสก 12.3% ยึด 33 ที่นั่ง
ที่น่าสนใจ คือ กรีซยังหนีไม่พ้นวังวนแห่งความไม่แน่นอน ซึ่งนี่ส่งแรงกดดันไปยังสเปนและอิตาลี เขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 และอันดับ 3 ของยูโรโซน ซึ่งลำพังสเปนประเทศเดียวมีขนาดใหญ่กว่าไอร์แลนด์ โปรตุเกส และกรีซ 3 เกลอที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้วรวมกันเสียอีก ทำให้อยู่ในภาวะอิหลักอิเหลื่อ "ทั้งใหญ่เกินกว่าจะอุ้ม และใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม"
โดยสถานการณ์ของสเปน ยังคงต้องจับตา หลังเพิ่งได้รับเงินช่วยเหลือภาคธนาคารไป 1 แสนล้านยูโร ถึงมาตรการนี้จะช่วยบรรเทาคลื่นลมในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรได้ แต่ก็ไม่ยั่งยืนเพียงพอ เห็นได้จากผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีของสเปนพุ่งขึ้นแตะระดับ 7% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนมูดี้ส์ก็ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสเปนลง 3 ขั้นรวด อยู่เหนือระดับขยะเพียงขั้นเดียว ขณะที่อัตราว่างงาน 24% และราคาบ้านที่ทรุดฮวบ สำหรับเศรษฐกิจอิตาลีก็น่าจะหดตัว 2% ในปีนี้
คำถามสำคัญ นับจากนี้ คือ อนาคตของยุโรปจะเป็นอย่างไรต่อไป มี 3 สมมติฐานหลักๆ โดยสมมติฐานแรก คือ การล่มสลายของยูโรโซนแบบไม่มีระเบียบแบบแผน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายหนักหนาที่สุด เริ่มต้นจากกรีซที่ไม่มีใครชนะอย่างชัดเจน และเกิดรอยแตกร้าวระหว่างชาวกรีก ในขณะที่เงินในคลังร่อยหรอจนเกือบหมด จากนั้นแพร่สู่สเปนและอิตาลี ส่วนเยอรมนีเลือกเดินบนทางที่ไม่ผ่อนปรน ผลที่ตามมาจึงไม่พ้นเศรษฐกิจยุโรปเดินสู่หายนะ ทั้งการผิดนัดชำระหนี้ที่จะตามมา การควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย และภาวะถดถอยยาวนานทั่วยุโรป
สมมติฐานต่อมา ยุโรปอาจวุ่นวาย แต่ยังผนึกภาคการเงินและการคลังได้ ซึ่งเกิดจากการประนีประนอมระหว่างกรีซและทรอยก้า หรือคณะตรวจสอบวินัยการคลังแห่งยุโรป ที่ประกอบด้วยไอเอ็มเอฟ ธนาคารกลางยุโรป และสหภาพยุโรป แนวทางนี้จะช่วยให้กรีซพ้นจากสถานการณ์เลวร้าย โดยบทบาทของเยอรมนีภายใต้สมมติฐานนี้จะยอมรับเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย รวมถึงจัดตั้งสหภาพการธนาคารเพื่อสร้างหลักประกันแก่ผู้ฝากเงิน การใช้นโยบายภาษีร่วมกัน นโยบายหนี้ภาครัฐและการจัดการภาวะถดถอย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาจุดร่วม แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อเยอรมนีที่ส่งออกในยุโรปคิดเป็นสัดส่วนถึง 60%
สมมติฐานสุดท้าย คือ การบูรณาการกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นแนวคิดตั้งแต่ก่อตั้งสหภาพยุโรป แต่รัฐบาลของแต่ละประเทศยังไม่สามารถผลักดันไปสู่จุดนั้น ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวในการเปิดตลาดแรงงานเสรี การตรวจสอบภาคการเงิน หรือการผนึกระบบภาษีร่วมกัน แต่ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะได้แรงหนุนจากชาวยุโรปที่ไม่เชื่อมั่นในผลประโยชน์ร่วมกันจากการบูรณาการเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้ง
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แม้ว่าพรรคประชาธิปไตยใหม่ ที่หนุนแนวทางรัดเข็มขัดแลกกับความช่วยเหลือทางการเงิน จะคว้าชัยในการเลือกตั้งรอบนี้ แต่เป็นการเฉือนชนะพรรคซิริซาที่ปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัดอย่างชัดเจนเพียงไม่ถึง 3%
ผลเลือกตั้ง ที่ออกมาอาจช่วยให้หายใจโล่งขึ้นในยามที่ผู้คนวิตกถึงการโบกมือลายูโรโซนของกรีซ แต่ยังต้องรอลุ้นการจัดตั้งรัฐบาล เพราะนี่ไม่ใช่ชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามลำพัง สถานการณ์นี้ คล้ายกับผลการเลือกตั้งครั้งก่อนเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งพรรคประชาธิปไตยใหม่มีคะแนนมาเป็นอันดับ 1 และพรรคซิริซาตามมาเป็นที่ 2 แต่ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
ขณะที่ การจัดตั้งรัฐบาลอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญในยามนี้ เพราะกรีซกำลังใกล้ภาวะถังแตกมากขึ้นเรื่อยๆ ประเมินกันว่าภายในวันที่ 15 กรกฎาคม ทางการเอเธนส์อาจไม่มีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่าย
ถึงตอนนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าจะมีพรรคใดบ้างที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคประชาธิปไตยใหม่ แต่สื่อกรีซประเมินว่าหนึ่งในนั้นน่าจะมีชื่อของพรรคสังคมนิยมปาสก คู่แข่งที่ทำคะแนนมาเป็นอันดับ 3
นอกจากนี้ ผลเลือกตั้งครั้งล่าสุด ยังจุดคำถามตามมา เพราะชาวกรีกที่มีสิทธิเลือกตั้งราว 38% ไม่ออกไปใช้สิทธิหย่อนบัตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมากกว่าคะแนนที่แต่ละพรรคได้รับ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปไตยใหม่ที่ได้คะแนนนำ 29.7% ได้ 129 ที่นั่ง จากทั้งหมด 300 พรรคซิริซา 26.9% หรือ 71 ที่นั่ง และพรรคปาสก 12.3% ยึด 33 ที่นั่ง
ที่น่าสนใจ คือ กรีซยังหนีไม่พ้นวังวนแห่งความไม่แน่นอน ซึ่งนี่ส่งแรงกดดันไปยังสเปนและอิตาลี เขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 4 และอันดับ 3 ของยูโรโซน ซึ่งลำพังสเปนประเทศเดียวมีขนาดใหญ่กว่าไอร์แลนด์ โปรตุเกส และกรีซ 3 เกลอที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินไปแล้วรวมกันเสียอีก ทำให้อยู่ในภาวะอิหลักอิเหลื่อ "ทั้งใหญ่เกินกว่าจะอุ้ม และใหญ่เกินกว่าจะปล่อยให้ล้ม"
โดยสถานการณ์ของสเปน ยังคงต้องจับตา หลังเพิ่งได้รับเงินช่วยเหลือภาคธนาคารไป 1 แสนล้านยูโร ถึงมาตรการนี้จะช่วยบรรเทาคลื่นลมในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรได้ แต่ก็ไม่ยั่งยืนเพียงพอ เห็นได้จากผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปีของสเปนพุ่งขึ้นแตะระดับ 7% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนมูดี้ส์ก็ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรสเปนลง 3 ขั้นรวด อยู่เหนือระดับขยะเพียงขั้นเดียว ขณะที่อัตราว่างงาน 24% และราคาบ้านที่ทรุดฮวบ สำหรับเศรษฐกิจอิตาลีก็น่าจะหดตัว 2% ในปีนี้
คำถามสำคัญ นับจากนี้ คือ อนาคตของยุโรปจะเป็นอย่างไรต่อไป มี 3 สมมติฐานหลักๆ โดยสมมติฐานแรก คือ การล่มสลายของยูโรโซนแบบไม่มีระเบียบแบบแผน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายหนักหนาที่สุด เริ่มต้นจากกรีซที่ไม่มีใครชนะอย่างชัดเจน และเกิดรอยแตกร้าวระหว่างชาวกรีก ในขณะที่เงินในคลังร่อยหรอจนเกือบหมด จากนั้นแพร่สู่สเปนและอิตาลี ส่วนเยอรมนีเลือกเดินบนทางที่ไม่ผ่อนปรน ผลที่ตามมาจึงไม่พ้นเศรษฐกิจยุโรปเดินสู่หายนะ ทั้งการผิดนัดชำระหนี้ที่จะตามมา การควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้าย และภาวะถดถอยยาวนานทั่วยุโรป
สมมติฐานต่อมา ยุโรปอาจวุ่นวาย แต่ยังผนึกภาคการเงินและการคลังได้ ซึ่งเกิดจากการประนีประนอมระหว่างกรีซและทรอยก้า หรือคณะตรวจสอบวินัยการคลังแห่งยุโรป ที่ประกอบด้วยไอเอ็มเอฟ ธนาคารกลางยุโรป และสหภาพยุโรป แนวทางนี้จะช่วยให้กรีซพ้นจากสถานการณ์เลวร้าย โดยบทบาทของเยอรมนีภายใต้สมมติฐานนี้จะยอมรับเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย รวมถึงจัดตั้งสหภาพการธนาคารเพื่อสร้างหลักประกันแก่ผู้ฝากเงิน การใช้นโยบายภาษีร่วมกัน นโยบายหนี้ภาครัฐและการจัดการภาวะถดถอย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาจุดร่วม แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อเยอรมนีที่ส่งออกในยุโรปคิดเป็นสัดส่วนถึง 60%
สมมติฐานสุดท้าย คือ การบูรณาการกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นแนวคิดตั้งแต่ก่อตั้งสหภาพยุโรป แต่รัฐบาลของแต่ละประเทศยังไม่สามารถผลักดันไปสู่จุดนั้น ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวในการเปิดตลาดแรงงานเสรี การตรวจสอบภาคการเงิน หรือการผนึกระบบภาษีร่วมกัน แต่ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะได้แรงหนุนจากชาวยุโรปที่ไม่เชื่อมั่นในผลประโยชน์ร่วมกันจากการบูรณาการเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้ง
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555
นิธิ ชี้ต้องกระจายอำนาจลดความเหลื่อมล้ำ ปรับตัวอยู่ร่วมประชาคมโลก !!?
นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "แผ่นดินเดียวกันแต่เหมือนอยู่คนละโลก: การปฏิรูปประเทศไทยเพื่อการอยู่ร่วมโลกเดียวกับคนอื่น จินตนาการสู่อนาคต" ในการประชุมสังคมวิทยาระดับชาติ ครั้งที่ 4 ที่ รร.มิราเคิลแกรนด์ โดยตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์กับโลกข้างนอก คนไทยมักมองในเชิงการแข่งขัน เช่น เมื่อจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มักมองว่าเราจะแข่งขันกับประเทศสมาชิกได้อย่างไร ทั้งที่ส่วนตัวมองว่า AEC เกิดขึ้นเพื่อให้เราร่วมมือกันเพื่อให้เป็นตลาดที่ใหญ่โตพอที่คนอื่นจะเข้ามาลงทุนต่อ ซึ่งวิธีการมองโลกในลักษณะการแข่งขันดังกล่าวเข้าใจว่าน่าจะมากับวัฒนธรรมอเมริกัน ที่รู้สึกว่าเราต้องเป็นที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์กับคนในประเทศ เรามักนึกถึงความเป็นธรรม
นิธิกล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดและมีมานานพอสมควรในไทย คือ ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง รัฐ ทุนและสังคม ที่ขาดความสมดุลต่อกัน โดยอำนาจบางกลุ่ม เช่น รัฐ หรือทุน มีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรสูง จนสังคมไม่สามารถถ่วงดุลและตรวจสอบได้ โดยทรัพยากรในที่นี้มีความหมายกว้าง กินความถึงทรัพยากรทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางการเมืองและสังคม
ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวเห็นได้จากคำพิพากษาที่ปรับชาวสวนชาวไร่ที่บุกเบิกที่ ซึ่งอ้างว่าไม่ใช่ที่ของเขา ด้วยข้อหาทำให้โลกร้อน เป็นแสนเป็นล้านบาท ท่ามกลางรถยนต์-โรงงานที่ปล่อยควันพิษ แต่ไม่มีใครโดนปรับ ทำให้คนที่จนที่สุดในสังคมกลับเป็นผู้รับผิดชอบโลกร้อนในสังคมเรา รวมถึงตัวเลขแสดงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจำนวนมาก แม้แต่งบประมาณบริการของรัฐ เช่น การศึกษา กลุ่ม 20% บนสุดเข้าถึงมากกว่า 10% ขณะที่กลุ่มล่างสุด เข้าถึงน้อยกว่า 10%
นิธิ กล่าวว่า การจะเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรเสียใหม่ ต้องทำให้อำนาจของการบริหารจัดการกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและประนีประนอมกันเอง โดยการกระจายการบริหารจัดการในเชิงการปกครองให้ลงสู่ท้องถิ่นมากขึ้น จะเป็นกุญแจแรกในการจัดการทรัพยากรด้านอื่นๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหา คือ อำนาจที่กระจายไปตกกับชนชั้นนำจำนวนน้อยในท้องถิ่น จึงต้องออกแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจในท้องถิ่นใหม่ ให้มีสถาบัน-องค์กรอื่นเข้ามาต่อรองอำนาจได้ รวมถึงต้องให้พลังทางการเงินกับท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อจัดการบริหารทรัพยากรในท้องถิ่นเอง
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นิธิกล่าวว่า สิ่งที่เป็นปัญหาพื้นฐานที่สุดและมีมานานพอสมควรในไทย คือ ความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง รัฐ ทุนและสังคม ที่ขาดความสมดุลต่อกัน โดยอำนาจบางกลุ่ม เช่น รัฐ หรือทุน มีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรสูง จนสังคมไม่สามารถถ่วงดุลและตรวจสอบได้ โดยทรัพยากรในที่นี้มีความหมายกว้าง กินความถึงทรัพยากรทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางการเมืองและสังคม
ความเหลื่อมล้ำดังกล่าวเห็นได้จากคำพิพากษาที่ปรับชาวสวนชาวไร่ที่บุกเบิกที่ ซึ่งอ้างว่าไม่ใช่ที่ของเขา ด้วยข้อหาทำให้โลกร้อน เป็นแสนเป็นล้านบาท ท่ามกลางรถยนต์-โรงงานที่ปล่อยควันพิษ แต่ไม่มีใครโดนปรับ ทำให้คนที่จนที่สุดในสังคมกลับเป็นผู้รับผิดชอบโลกร้อนในสังคมเรา รวมถึงตัวเลขแสดงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจำนวนมาก แม้แต่งบประมาณบริการของรัฐ เช่น การศึกษา กลุ่ม 20% บนสุดเข้าถึงมากกว่า 10% ขณะที่กลุ่มล่างสุด เข้าถึงน้อยกว่า 10%
นิธิ กล่าวว่า การจะเปลี่ยนการบริหารจัดการทรัพยากรเสียใหม่ ต้องทำให้อำนาจของการบริหารจัดการกระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและประนีประนอมกันเอง โดยการกระจายการบริหารจัดการในเชิงการปกครองให้ลงสู่ท้องถิ่นมากขึ้น จะเป็นกุญแจแรกในการจัดการทรัพยากรด้านอื่นๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่ามีปัญหา คือ อำนาจที่กระจายไปตกกับชนชั้นนำจำนวนน้อยในท้องถิ่น จึงต้องออกแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจในท้องถิ่นใหม่ ให้มีสถาบัน-องค์กรอื่นเข้ามาต่อรองอำนาจได้ รวมถึงต้องให้พลังทางการเงินกับท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อจัดการบริหารทรัพยากรในท้องถิ่นเอง
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สัมภาษณ์ดุลยภาค ปรีชารัชช: จับตารัฐยะไข่ จุดวาบไฟการเมืองโลก !!?
ประชาไท สัมภาษณ์ อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพิธีกรรายการ ASEAN Weekly ทางเว็บไซต์ประชาไท ต่อกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยาและชาวอาระกัน ในรัฐอาระกัน ทางตะวันตกของพม่า
นอกจากการกล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญของรัฐอาระกันที่ทำให้ความขัดแย้งดำรงทั้งเรื่องความแตกต่างทางเชื่อชาติ สภาพพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติส่งไปยังจีนและอินเดีย รวมทั้งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงในสายตาของกองทัพพม่า โดยก่อนหน้านี้มีการย้ายที่ตั้งกองบัญชาการทางทหารภาคตะวันตก ที่อยู่ในรัฐอาระกัน จากเมืองชายทะเลซิตตเหว่ เข้าไปยังเมืองอานที่อยู่ตอนในแผ่นดิน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เรียกร้องให้คนในชาติปรองดอง และว่าเหตุขัดแย้งระหว่างคนต่างศาสนาจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยนั้น ดุลยภาคแสดงความเห็นว่าท่าทีรอมชอม โอนอ่อนผ่อนปรน และใช้วาทกรรมสร้างสันติและความสมานฉันท์นี้ อยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยที่เต็ง เส่งวางไว้และสอดรับกับ "ผู้ใหญ่" ในพม่า ที่ต้องการเปิดประเทศเสริมภาพลักษณ์ประเทศ ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งก็เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าหากไม่หยุดสร้างความรุนแรง ไม่หยุดสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ แล้วรัฐบาลเหลือแรงที่จะควบคุม คงปฏิเสธไม่ได้ ที่จะให้กองทัพมาเคลียร์สถานการณ์
ในตอนท้ายการสัมภาษณ์ดุลยภาคประเมินว่า หลังจากนี้เป็นต้นไป เมื่อจัดการสถานการณ์เรียบร้อยแล้ว ความเป็นไปได้แรกคือ พม่าจะทบทวนเรื่องสิทธิพลเมือง ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาให้ดีขึ้น เพื่อกันการแทรกแซงจากโลกภายนอก แต่ในทางปฏิบัติจะดูแลเช่นนั้นหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง ความเป็นไปได้อีกประการคือ รัฐบาลพม่าสามารถจัดระเบียบสถานการณ์ได้ แต่หลังจากนี้เป็นต้นไปสถานการณ์ของรัฐอาระกันจะถูกทำให้เป็นจุดวาบไฟทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือจุดวาบไฟทางชาติพันธุ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งความรุนแรงจะเกิดและหยุด เกิดและหยุดไปเรื่อยๆ แต่อัตราจังหวะเดี๋ยวรุนแรง เดี๋ยวหยุดนี้จะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ เอ็นจีโอ หรือมหาอำนาจการเมืองโลกเห็นความสำคัญของรัฐอาระกันในหลายมิติ และเริ่มเข้ามาเป็นตัวแสดงในรัฐอาระกัน ซึ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ โดยรายละเอียดของการสัมภาษณ์มีดังนี้
ประชาไท - กรณีความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยากับชาวอาระกันที่กำลังดำรงอยู่ในขณะนี้ มีมูลเหตุความขัดแย้งพื้นฐานมาก่อนหรือเปล่าจึงทำให้สถานการณ์ดูจะปะทุอย่างที่จะหาความสงบระยะสั้นได้ยาก
อันดับแรก ต้องเข้าใจสภาวะแวดล้อมพื้นฐานของรัฐอาระกันในหลายๆ มิติก่อน ในเรื่องของทำเลที่ตั้งนั้นเราจะเห็นงว่ารัฐอาระกัน ตั้งอยู่ฟากตะวันตกเฉียงใต้ของพม่า ลักษณะสัณฐานค่อนข้างยาวเรียว มีแนวแม่น้ำนาฟ เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ แต่จุดสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐอาระกันก็คือว่ามีท่อก๊าซจากคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน พาดผ่านตอนกลางของพม่า แล้วมาลงที่รัฐอาระกันเพื่อสูบน้ำมัน
สองก็คือมีท่อก๊าซจากอินเดียมาลงที่อาระกันเพื่อสูบน้ำมันแล้วขึ้นไปที่มณีปุระ ตรีปุระ แล้วเข้ากัลกัตตา
ประการที่สามก็คือทางหลวงสายเอเชียใต้ ที่เชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะลุผ่านเอเชียใต้ เซาท์อีสเอเชีย หรือ ASEAN+BIMSTEC นั้นผ่านที่รัฐอาระกัน ประการที่สี่คือ บ่อน้ำมัน หลุ่มก๊าซธรรมชาติประมาณ 18 แห่งทั้งในทะเลลึก ทะเลชายฝั่ง และบนบกบางส่วนกระจัดกระจายอยู่ในรัฐอาระกัน
ประการสุดท้าย คือ เขตแดนพิพาททางทะเลที่เป็นเกมแย่งชิงน้ำมันรอบอ่าวเบงกอลระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ รวมถึงความขัดแย้งในแนวแม่น้ำนาฟ ก็อยู่ที่รัฐอาระกัน เพราะฉะนั้นหากเราดูตำแหน่งแห่งที่ทางภูมิยุทธศาสตร์ ก็จะเห็นความสำคัญของมันว่าอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขัดแย้งลุกลามบานปลายได้ แม้กระทั่งในอนาคตเพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของมันนั้นจะผูกโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ นี่คือมิติแรก
มิติที่สอง คือประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ เวลาพูดถึงอาระกัน นักวิชาการฝรั่งจะนึกถึง The Kingdom of Arakan เป็นอาณาจักรยุคโบราณที่มีความรุ่งเรือง เป็นอาณาจักรแบบพุทธผสมกับอิสลาม คณะผู้ปกครองก็เป็นกษัตริย์พุทธผสมกับสุลต่านที่มีสายสัมพันธ์กับสุลต่านใน East เบงกอลของบังคลาเทศ ขึ้นหมุนสลับกันเป็นช่วงๆ อาระกันถือเป็นอาณาจักรที่ร่วมสมัยกับพระนครศรีอยุธยาและพะโค เป็นศูนย์การค้า พ่อค้าอาหรับวาณิชเข้ามาที่อาระกัน เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาที่อาระกัน
อิสลามภิวัฒน์จากตะวันตออกกลางเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ซึมผ่านอาระกันในบางมิติ นี่คือาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และพุทธกับบมุสลิมอยู่ร่วมกันมาเนิ่นนาน แต่ดูประวัติศาสตร์ในยุคอดีตเราจะไม่เห็นความขัดแย้งกันมากนักระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ จนกระทั่ง พ.ศ. 1785 พระเจ้าปดุง กษัตริย์ราชวงศ์คอนบอง สำเร็จในการพิชิตนรัฐอาระกัน จากนั้นมีการเทครัวมุสลิมไปอยู่อังวะ อมราปุระในพม่า แล้วมีประชากรพุทธบางส่วนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
แต่จุดแตกหักอยู่ที่สมัยนายพลเนวิน ที่ใช้ยุทธการณ์ทางการทหารขับไล่ที่ทำให้ชาวโรฮิงยาต้องถอยร่น ตกทะเล บ้างเข้าไปอยู่ในบังกลาเทศนี่เป็นปฐมบทของความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติในรัฐอาระกัน จากประวัติศาสตร์ในช่วงโบราณถึงปัจจุบัน สืบย้อนไปเชื่อมกับโลกทัศน์ของรัฐบาลพม่าก็จะได้ความว่ารัฐบาลพม่าทั้งในสมัยนายพลเนวิน สมัย รัฐบาล SLORC (สภาเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ) รัฐบาล SPDC (สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) และรัฐบาลปัจจุบันก็มีกรอบคิดที่มองโรฮิงยาในแง่ลบ หนึ่ง คือมองว่าเป็นชุมชนต่างประเทศ นอกวงต่างจากคนพม่าโดยทั่วไป ประการที่สอง คิดว่าลุ่มนี้อาจเชื่อมต่อกับกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศ ประการที่สาม แม้ว่ารัฐบาลบังคลาเทศจะไม่ยอมรับโรฮิงยา แต่พม่ามองว่ามีสายสัมพันธ์
สุดท้ายแล้วจากฐานที่พูดไปสักครู่นี้ก็ผูกโยงมาได้ว่าความขัดแย้งมันเริ่มปะทุคุโชนสมัยนายพลเนวิน เรื่อยมามาจนปัจจุบัน เพราะพม่ามีการอพยพและสร้างแนวร่วมกับชาวยะไข่ที่เป็นพุทธ เข้าตั้งหมู่บ้านเข้าไปลอมกรอบโรฮิงยา มองโรฮิงยาว่าผิดแผกร้ายแรงกว่าชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม มีปฏิบัติการทางทหารรุกไล่ และคนพม่าหลายส่วนก็รู้สึกไม่พอใจ ไม่ค่อยเข้า ไม่สมานฉันท์กับโรฮิงยาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ต้องตรวจสอบว่าในพื้นที่ว่าจริงๆ บางพื้นที่มีการอยู่กันอย่างสมานฉันท์ แต่บางพื้นที่มีความขัดแย้ง เป็นไปได้ว่าอาจมีปัจจัยทางการเมืองหรือแรงกดจากรัฐบาลพม่าเข้าช่วย
การประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่รัฐอาระกันโดยประธานาธิบดีเต็งเส่ง ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือทำไมท่าทีรัฐบาลเต็งเส่ง จึงต่างจากการปราบผู้ชุมนุมในปี 2550 ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลหรือสื่อของรัฐบาลก็กล่าวหาผู้ชุมนุม ประณามสื่อต่างชาติและสื่อพลัดถิ่นพม่าว่าทำให้เกิดความไม่สงบ แต่ในความขัดแย้งรอบนี้ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กลับแถลงเรียกร้องให้เกิดความสมัคคีในชาติ ว่าถ้าขัดแย้งกันจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย
และขณะเดียวกันสื่อของรัฐเองก็ระมัดระวังในการนำเสนอ ทำไมความขัดแย้งรอบนี้ผู้สนับสนุให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารปราบชาวโรฮิงยากลับเป็นสื่อภาคเอกชน หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของพม่า และเป็นไปได้ไหมว่ากองทัพพม่าจะกลับมาเพราะสถานการณ์ไม่สงบในรัฐอาระกัน
อันดับแรกต้องทำความเข้าใจ ประเภทของระบอบ และเงื่อนเวลาแห่งการดำรงอยู่ของแต่ละรัฐบาลในแต่ละห้วงสมัย การปฏิวัติของผู้ครองจีวรในปี 2007 ยังเป็นการดำรงอยู่ของทหาร พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย ยังอยู่ในอำนาจ เพียงแต่ช่วงนั้นมีการพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยสู่การเลือกตั้ง ช่วงนั้นเป็น
รัฐบาลทหาร เวลามีเหตุจลาจล มีผู้ประท้วง มีการลุกฮือเกิดขึ้น เป็นธรรมดาที่ตอนนั้นมีความเกรี้ยวกราด มีการตอบโต้ที่ดุดัน โจ่งแจ้ง และอย่าลืมว่าเหตุการณ์ขณะนั้นเกิดที่เมืองสำคัญอย่างย่างกุ้งและแพร่ไปตามเมืองยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ล่อแหลมต่อภัยคุกคามประเทศ และกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่กองทัพค่อยๆ จัดระเบียบ หากปล่อยให้แพร่ระบาดเกินไปจะทำให้การวางเกมของรัฐบาลทหารชะงักหยุดลง เพราะฉะนั้นเขาถึงมีการประณามสำนักข่าวต่างประเทศ สื่อพลัดถิ่นต่างๆ ที่รุนแรงพอสมคร และมีการปฏิบัติการทางทหารที่เด็ดขาด ฉับไว รวดเร็ว เพื่อคุมสถานการณ์ไม่ให้ยุ่งเหยิง ท่าทีขณะนั้นเป็นรัฐบาลทหาร เพียงแต่เหตุการณ์ปฏิวัติชายจีวรอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เขาจึงปิดเกมให้เรา
ส่วนในปี 2012 รัฐบาลคือรัฐบาลพลเรือน ประธานาธิบดีเต็ง เส่งมีท่าทีรอมชอม โอนอ่อนผ่อนปรน ใช้วาทกรรมสร้างสันติและความสมานฉันท์ของชาติ ท่าทีนี้อยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยที่เต็ง เส่งวางไว้และสอดรับกับ "ผู้ใหญ่" ในพม่าหลายๆ คนที่ให้เปิดพม่าเป็นประชาธิปไตย เพื่อเสริมภาพลักษณ์ประเทศ รัฐบาลเต็ง เส่ง จะแสดงความเกรี้ยวกราดคงไม่เหมาะ สิ่งที่แสดงออกคือสันติ สมานฉันท์ ชุมชนพหุสังคม พหุพรรคเพื่อประชาธิปไตย นี่คือท่าทีที่เต็ง เส่ง แสดงออกไป
แต่เต็ง เส่ง ก็พูดมาว่า หากพี่น้องทั้งพุทธและมุสลิมขัดแย้งบานปลายจนแพร่ระบาดแล้วยากที่จะควบคุม จะส่งผลต่อการปฏิรูปประเทศ นี่เป็นการเตือนอย่างมีนัยสำคัญ นั่นก็คือหนึ่ง หากคุณอยากได้
ประชาธิปไตยจริงๆ คุณต้องยุติความรุนแรง คุณต้องยอมรับความต่างของชาติพันธุ์วรรณาและวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นจงหยุดเถิด นี่คือนัยยะแรก ส่วนนัยยะประการที่สอง หากไม่หยุดสร้างความรุนแรง ไม่หยุดสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ แล้วรัฐบาลเหลือแรงที่จะควบคุม คงปฏิเสธไม่ได้ ที่จะให้กองทัพมาเคลียร์สถานการณ์ และคงจะว่ารัฐบาลพม่าไม่ได้ที่ต้องทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังกลับเล็กน้อย เพราะเป็นการกระทำของพวกคุณ นี่คือวาทกรรมของรัฐที่ลุ่มลึกมาก คือส่วนหนึ่งบอกให้สันติสมานฉันท์ แต่อีกส่วนหนึ่งก็แอบเตือนว่าถ้ากองทัพต้องเข้ามาจริงๆ ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล แต่เป็นความผิดของพวกคุณที่ทะเลาะกัน พวกที่ทะเลาะกันก็จะกลายเป็นเหยื่อการเมือง
ส่วนพื้นที่ยุทธศาสตร์ พื้นที่เกิดเหตุคือรัฐอาระกัน มันไกลจากศูนย์กลางอำนาจ และไม่ได้แพร่ระบาดเหมือนการลุกฮือที่ย่างกุ้งในปี 2550 รัฐบาลก็พยายามจำกัดวงไม่ให้แพร่กระจาย แต่สิ่งที่สุ่มเสี่ยงต่ออนาคตคือจะจำกัดวงได้แค่ไหน เพราะหากไม่สามารถทัดทานวงสวิงที่เหวี่ยงมาจากความรุนแรงนั้น พม่าจะโกลาหลอย่างยิ่ง นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยม อย่างแกนกลางของทิน อ่อง มิ้นท์ อู ซึ่งไม่ได้เป็นรองประธานาธิบดีแล้ว อาจจะกลับมาสยายปีกอีกรอบหนึ่ง กองทัพจะเข้ามาควบคุมมากขึ้น
อีกประการหนึ่งรัฐอาระกันไม่ใช่พื้นที่ชายแดนปกติ เป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงต่อพม่าหลายประเทศ ทรัพยากรและภูมิรัฐศาสตร์ที่ผมวาดไว้ก่อนหน้านั้น ทำให้มหาอำนาจสนใจ พฤติกรรมแบบนี้สังเกตได้เมื่อก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ รัฐบาลพม่าได้สั่งย้าย บก.กองทัพภาคตะวันตก จากเมืองซิตตเหว่เข้าไปที่เมืองอาน ที่อยู่ลึกเข้าไปในชายฝั่ง และมีการวางโครงสร้างเครือข่ายที่สลับซับซ้อนทางทหารไว้ที่นั่น เพราะรัฐนี้อุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยาการ และเสี่ยงต่อการแทรกแซงจากโลกภายนอก โดยเฉพาะการยกพลขึ้นบกจากองทัพต่างชาติ แต่สิ่งที่จะเป็นเหตุชักนำให้มหาอำนาจเข้าพม่าได้ อย่างถูกต้องชอบธรรม ถูกกาละเทศะ นั่นก็คือความขัดแย้งชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมที่ปะทุคุโชนนี้เองมันจะทำให้ไฟแดงกระพริบที่พม่า และจะมีตัวแสดงอื่นเข้ามาเล่นเช่น สหประชาชาติ
นี่คือโลกทัศน์ของรัฐบาลพม่าที่มองรัฐอาระกัน ถือเป็นพื้นที่ที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อน ธรรมชาติของ power politic ระดับโลกก็คือที่ไหนที่มีทรัพยากรอันล้ำค่า และมีเปราะบางทางการเมือง และชาติพันธุ์ ที่นั้นแหละจะเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจ มาวันนี้เราอาจจะเห็นไม่ชัด แต่อนาคตอาจเห็นเป็นห้วงๆ รัฐอาระกันอาจจะเป็นด่านหน้าของการแพร่ระบาดของการปฏิวัติ หรือความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่แพร่มาในภูมิภาคอาเซียน "ยะไข่โมเดล" อาจเป็นต้นตำรับให้เกิดโมเดลคล้ายๆ กันเช่นที่อาเจะห์หรือในจังหวัดต่างๆ ของฟิลิปปินส์หรือไทยบางส่วนก็เป็นได้
มองบทบาทของพรรคเอ็นแอลดี และออง ซาน ซูจี อย่างไรบ้าง ที่อดีตนักศึกษารุ่น 88 ที่เคยมีบทบาทในการเรียกร้องประชาธิปไตย บางส่วนก็แสดงจุดยืนสนับสนุนปฏิบัติการทางทหาร
อันดับแรกคือดูชีวประวัติ พื้นภูมิ หรือยุทธศาสตร์ทางการเมืองของออง ซาน ซูจี จะเห็นว่าบิดาของเธอคือนายพลออง ซาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ค่อนข้างต่ำกับโรฮิงยา พ่อขอองออง ซาน ซูจี อาจจะสัมพันธ์กับฉานหรือคะฉิ่นในนามข้อตกลงปางโหลง ส่วนตัวเธอเองอาจสัมพันธ์กับนักศึกษารุ่น 88 ที่ถูกเบียดขับจากศูนย์กลางไปตั้งฐานที่มั่นที่ชายแดนด้านตะวันออกและไปร่วมกับกระเหรี่ยงคริสต์ของนายพลโบเมี๊ยะ หรือเคเอ็นยู เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแนบแน่นกว่าที่เธอมีกับกลุ่มการเมือง หรือกลุ่มผู้คน ชายแดนด้านตะวันออกจะเหนียวกว่าทางตะวันตก อย่างรัฐอาระกัน เพราะตัวเธอเองกิจกรรมที่มาพบปะชาวมุสลิมแทบไม่เห็นเลย เป็นการมองผ่านดีกรีความสัมพันธ์ที่ไม่แนบแน่น ซึ่งส่งผลต่อท่าทีของเธอที่ไม่ชัดด้วยเพราะไม่ใช่กลุ่มที่เธอสนิทสนมมากนัก
ประการที่สองคือ ที่สำคัญคือมันเป็นความอยู่รอดทางการเมืองบางอย่าง คืออองซานซูจีประสบความสำเร็จในการมาเวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (WEF) แล้วขึ้นไปเยี่ยมแรงงาน ก็เก็บคะแนนเสียงได้ แต่เธอรู้ดีว่ารัฐบาลพม่าปล่อยเธอไปทำเรื่องแบบนี้ แต่เธอก็ต้องระวังตัวในแสดงความเห็นบางอย่างที่จะกระทบต่ออนาคตของเธอโดยเฉพาะกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว ดังนั้นประเด็นละเอียดอ่อนขณะนี้คุโชนอยู่ที่รัฐอาระกัน ทุกอย่างยังอยู่ในภาวะที่ยุ่งยาก อาจจะเสี่ยงเกินไปที่จะแสดงท่าทีที่ชัดเจนในช่วงนี้ ถ้าไปประณามรัฐบาลพม่ามาก การออกนอกประเทศก็อาจไม่สะดวก ถ้าประณามโรฮิงยามากๆ ก็จะถูกหลายๆ กลุ่มโดยเฉพาะแวดวงต่างประเทศ และเครือข่ายมุสลิมโจมตีก็เป็นได้ นี่จึงอาจเป็นยุทธศาสตร์ของนางออง ซาน ซูจีด้วยเช่นกัน
อันที่สามที่อยากจะกล่าวคือ ความรู้สึกของผู้คนและเชื่อชาติจริง คือความรู้สึกของคนชาติพันธุ์พม่า ไม่ว่าคุณจะเป็นอดีตผู้นำนักศึกษายุค 1988 แกนนำในพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD แกนนำพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา หรือ USDP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ล้วนมองชุมชนมุสลิมในประเทศ
พม่าที่แตกต่างกัน โดยใช้ศัพท์ว่า "กะหล่า" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่อพยพมาจากอนุชมพูทวีป โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นมุสลิม ฮินดู หรือซิกข์ หรือเรียกว่า Indian Burmese Mestizo ลูกผสมพม่า-อินเดีย โดยกลุ่มชาวโรฮิงยาจะถูกเหมาเรียกในบริบทนี้เช่นกัน เพียงแต่การใช้คำนี้ไปเรียกโรฮิงยา หรือคนที่มาจากอินเดียอื่นๆ แล้ว ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าโรฮิงยาเป็นชุมชนต่างประเทศ ไม่ใช่ชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม มองว่าสวนทางเป็นปฏิปักษ์ หรือผิดพวกกับคนพม่า วัฒนธรรมพม่า ทั้งภาษาพูด ทั้งอัตลักษณ์ หรือแม้กระทั่งผิวพันธุื
ในบางประเด็นว่าเป็นคนละพวกกัน และความรู้สึกของคนพม่าโดยรวมค่อนข้างหวาดระแวง ประกอบกับมีการไหลบ่าของประชากรอันแน่นขนัดจากบังกลาเทศ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 140 ล้านคน ที่เข้ามาเป็นแรงงานผิดกฎหมายในพม่า และเข้ามาแย่งงานคนพม่าในรัฐอาระกันด้วย ทำให้ปัญหานี้เกิดบานปลาย
ปฏิบัตินี้เห็นได้ชัดคือรัฐบาลพม่าสร้างรั้วเดี่ยวขึ้นมา คร่อมพรมแดนระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ เพื่อปิดไม่ให้แรงงานพวกนี้เข้ามาในพม่า ขณะเดียวกันแนวร่วมที่เป็นพุทธในรัฐยะไข่ ก็เอาด้วยกับรัฐบาลพม่า และมีปฏิบัติการร่วมบางอย่างในการรุกรวบทางวัฒนธรรม ทำให้พี่น้องโรฮิงยาเป็นคนไร้รัฐ ถูกกระบวนการทำให้เป็นชายขอบ เบียดขับผลักไสออกนอกประเทศ ข้ามแม่น้ำนาฟไปก็เจอทหารบังกลาเทศถือปืนยืนจังก้าไม่ให้เข้ามาบังคลาเทศ เพราะบังกลาเทศแม้จะเป็นมุสลิมเหมือนกันแต่อัตลักษณ์ก็แตกต่างกัน และที่สำคัญคือบังคลาเทศจน เขาก็กลัวว่าจะมาแย่งงาน ดังนั้นกลุ่มโรฮิงยาก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกประกับระหว่างรัฐพม่าและรัฐบังกลาเทศ และระหว่างประชากรบะหม่า (Burman) กับเบงกาลี และตัวโรฮิงยาที่เป็นประชากรตัวเล็กๆ และไร้รัฐ
มองว่าปัญหาความขัดแย้งจะจบแบบไหน พอจะคาดการณ์หรือประเมินว่าทิศทางที่เรื่องนี้จะคลี่คลายจะไปทางไหนบ้าง
ซีนารีโอหรือฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะทำนายยากอยู่ เช่น สถานการณ์แรก รัฐบาลพม่าสักพักนับจากนี้ไปสามารถปิดเกมได้ อาจเพิ่มตำรวจ ทหาร ปฏิบัติการเข้ากดดันพื้นที่ และใช้เคอร์ฟิวส์จัดระเบียบ และเมื่อสถานการณ์สงบ รัฐบาลพม่าอาจใช้นโยบายหรือใช้โฆษณาบางอย่าง เช่น เสนอหรือบอกประชาคมโลกว่าจะทบทวนเรื่องสิทธิพลเมือง ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการลดแรงกดดัน และกันการแทรกแซงจากโลกภายนอก แต่ในทางปฏิบัติจะดูแลเช่นนั้นหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง
สถานการณ์ที่สองคือ รัฐบาลพม่าสามารถจัดระเบียบ ควบคุมสถานการณ์ได้ต่อเนื่องจากสถานการณ์ที่ 1 แต่หลังจากนี้เป็นต้นไปสถานการณ์ของรัฐอาระกันจะถูกทำให้เป็นจุดวาบไฟทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือจุดวาบไฟทางชาติพันธุ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงจะเกิดและหยุด เกิดและหยุดไปเรื่อยๆ แต่อัตราจังหวะที่เดี๋ยวรุนแรง เดี๋ยวหยุดนี้จะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ เอ็นจีโอ หรือมหาอำนาจการเมืองโลกเริ่มเห็นความสำคัญของรัฐอาระกันในหลายมิติ และจังหวะที่เดี๋ยววูบเดี๋ยวสว่างจะทำให้มหาอำนาจเริ่มเข้ามาฝังตัว เป็นตัวแสดงในรัฐอาระกัน ซึ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ
เพราะฉะนั้น สมมติรัฐบาลคุมได้ในอนาคต เรื่องนี้ก็จะบานปลายอีก แต่ถ้ารัฐบาลพม่าคุมไม่ได้ตอนนี้ เรื่องนี้ก็จะยิ่งบานปลายยิ่งกว่า และบีบให้กองทัพพม่าจะเข้ามาจัดระเบียบ แต่ทั้งหมดนี้สะท้อนความสำคัญของรัฐอาระกันในศตวรรษที่ 21 ว่าการจำลองการทูตเชิงน้ำมันและท่อก๊าซแบบภูมิภาคเอเชียกลางเข้ามาอยู่ในด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะท่อก๊าซจีน อินเดีย บริษัทข้ามจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนในรัฐอาระกันแล้ว เพราะฉะนั้นพื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นกระดานหมากรุกทางการเมืองโลก
ประเด็นที่สองคือ หากแนวคิด "The Clash of Civilizations" ความขัดแย้งทางอารยธรรมที่เสนอไว้โดยแซมมวล ฮันติงตัน (Samuel P.Huntington) นักวิชาการรัฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน ซึ่งมองว่าการเมืองโลกยุคหลังสงครามเย็นจะเป็นการปะทะระหว่างอู่อารยธรรมสำคัญ หนึ่งในนั้นคืออารยธรรมของอเมริกันกับอิสลามแบบเคร่งจารีต ส่วนอิสลามกับพุทธไม่รู้จะชนกันบ้างหรือเปล่าในบางมิติ กรอบของฮันติงตันไม่ได้มองเรื่องศาสนาอย่างเดียว เพราะศาสนาบางทีก็ไม่ได้ขัดแย้งกัน อยู่แบบสันติก็ได้ แต่เขาเอาเรื่องศาสนาไปจับกับกำลังวังชาของมหาอำนาจเจ้าของอารยธรรม และนำการเมืองระหว่างประเทศไปเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ด้วย สุดท้ายศาสนาจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทั้งการเมืองภายในและระหว่างประเทศจนปะทุบานปลาย
เรื่องยะไข่โมเดลหรืออาระกัน อาจเป็นจุดที่มองว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมพุทธกับอิสลาม และมันจะเชื่อมกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรียกร้องก็ยกประเด็นนี้อยู่ ก็เชื่อมเรื่องสงครามเชื้อชาติได้อีก ความขัดแย้งในรวันดากระตุ้นให้สหประชาชาติเข้ามาแทรกแซง นี่ก็เป็นได้ แต่ยังไม่รุนแรงในปัจจุบัน แต่ในอนาคตไม่แน่ และจะมีลักษณะบางอย่างที่ทำให้เหมือนคาบสมุทรบอลข่านอย่างอดีตยูโกสลายเวีย บางทีสหรัฐอเมริกาและสประชาชาติก็เข้ามาแทรกแซง และการทำให้เป็นแบบตะวันออกกลางกรณีปาเลสไตน์ก็น่าสนใจ อย่างปาเลสไตน์บอกว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ วันดีคืนดียิวเข้ามาบอกว่านี่เป็นดินแดนแห่งพันธะสัญญาที่โมเสสประกาศไว้แล้วมีมหาอำนาจเข้ามาหนุนหลัง มีการสถาปนารัฐอิสราเอลขึ้นมาเป็นสะพานให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาด้วย แล้วทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางปั่นป่วน โดยใช้เรื่องอารยธรรมแบบยิวกับอารยธรรมแบบยิวกับอิสลามตีกัน
ในอนาคตรัฐอาระกันก็ไม่แน่เหมือนกัน ผมคิดว่าในอนาคตมหาอำนาจต้องเข้ารัฐอาระกันแน่นอน และจะเป็นสะพานโดมิโนให้มีการแพร่ระบาดของความขัดแย้งชาติพันธุ์ และอิทธิพลการเมืองจากภายในและภายนอก สลับตีกันเป็นห้วงๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีอาระกันเป็นด่านหน้า โจทย์ที่ต้องมองให้ออกคืออาเซียนจะเข้ามามีบทบาทแค่ไหน รัฐบาลพม่าจะคุมได้หรือเปล่า ทิศทางในอนาคตคือจะมีตัวแสดงหรือชาติอื่นๆ เข้ามาแสดงท่าทีในเรื่องนี้ อเมริกาเริ่มแล้ว อังกฤษเริ่มแล้ว เดี๋ยวจะมีจีน เดี๋ยวมีอาเซียน แต่ชาติที่น่าจับตามองคืออินเดีย ปากีสถาน และอิหร่าน เพราะโรฮิงยาผูกโยงกับสามประเทศนี้พอสมควร เช่น โรฮิงยาที่เข้าไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่อินเดีย
แม้อินเดียจะเป็นรัฐฮินดูก็ตาม แต่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนการศึกษา การศาสนาให้คนเหล่านี้ สื่อสิ่งพิมพ์ของพี่น้องโรฮิงยาแปลมาจากภาษาอูรดู จากปากีสถาน และพี่น้องบางส่วนก็เข้าไปขอความช่วยเหลือที่อิหร่าน อิหร่านแม้ไม่มีสถานทูตที่ย่างกุ้ง แต่สถานทูตอิหร่านที่
กรุงเทพฯ จะดูเรื่องรัฐอาระกัน และดูแลเรื่องโรฮิงยา แม้มุสลิมโรฮิงยาจะเป็นสุหนี่ แต่อิหร่านเป็นชีอะห์ แต่อิหร่านให้ความช่วยเหลือโรฮิงยามานาน มาวันนี้เราจะเห็นแกนนำแนวร่วมเข้าไปขอความช่วยเหลือจากสถานทูตอิหร่าน อิทธิพลเปอร์เซียจะเข้ามาด้วย ในอนาคตจะมีตัวแสดงอื่นๆ เข้ามาโลดแล่นในรัฐอาระกัน บวกกับคุณค่าภูมิยุทธศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์ จะทำให้อาระกันกลายเป็น "Flash Point" คือจุดวาบไฟ สิ่งท้าทายคือรัฐบาลพม่าจะเอาอยู่ไหม
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นอกจากการกล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญของรัฐอาระกันที่ทำให้ความขัดแย้งดำรงทั้งเรื่องความแตกต่างทางเชื่อชาติ สภาพพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติส่งไปยังจีนและอินเดีย รวมทั้งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงในสายตาของกองทัพพม่า โดยก่อนหน้านี้มีการย้ายที่ตั้งกองบัญชาการทางทหารภาคตะวันตก ที่อยู่ในรัฐอาระกัน จากเมืองชายทะเลซิตตเหว่ เข้าไปยังเมืองอานที่อยู่ตอนในแผ่นดิน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เรียกร้องให้คนในชาติปรองดอง และว่าเหตุขัดแย้งระหว่างคนต่างศาสนาจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยนั้น ดุลยภาคแสดงความเห็นว่าท่าทีรอมชอม โอนอ่อนผ่อนปรน และใช้วาทกรรมสร้างสันติและความสมานฉันท์นี้ อยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยที่เต็ง เส่งวางไว้และสอดรับกับ "ผู้ใหญ่" ในพม่า ที่ต้องการเปิดประเทศเสริมภาพลักษณ์ประเทศ ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งก็เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าหากไม่หยุดสร้างความรุนแรง ไม่หยุดสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ แล้วรัฐบาลเหลือแรงที่จะควบคุม คงปฏิเสธไม่ได้ ที่จะให้กองทัพมาเคลียร์สถานการณ์
ในตอนท้ายการสัมภาษณ์ดุลยภาคประเมินว่า หลังจากนี้เป็นต้นไป เมื่อจัดการสถานการณ์เรียบร้อยแล้ว ความเป็นไปได้แรกคือ พม่าจะทบทวนเรื่องสิทธิพลเมือง ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาให้ดีขึ้น เพื่อกันการแทรกแซงจากโลกภายนอก แต่ในทางปฏิบัติจะดูแลเช่นนั้นหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง ความเป็นไปได้อีกประการคือ รัฐบาลพม่าสามารถจัดระเบียบสถานการณ์ได้ แต่หลังจากนี้เป็นต้นไปสถานการณ์ของรัฐอาระกันจะถูกทำให้เป็นจุดวาบไฟทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือจุดวาบไฟทางชาติพันธุ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งความรุนแรงจะเกิดและหยุด เกิดและหยุดไปเรื่อยๆ แต่อัตราจังหวะเดี๋ยวรุนแรง เดี๋ยวหยุดนี้จะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ เอ็นจีโอ หรือมหาอำนาจการเมืองโลกเห็นความสำคัญของรัฐอาระกันในหลายมิติ และเริ่มเข้ามาเป็นตัวแสดงในรัฐอาระกัน ซึ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ โดยรายละเอียดของการสัมภาษณ์มีดังนี้
ประชาไท - กรณีความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยากับชาวอาระกันที่กำลังดำรงอยู่ในขณะนี้ มีมูลเหตุความขัดแย้งพื้นฐานมาก่อนหรือเปล่าจึงทำให้สถานการณ์ดูจะปะทุอย่างที่จะหาความสงบระยะสั้นได้ยาก
อันดับแรก ต้องเข้าใจสภาวะแวดล้อมพื้นฐานของรัฐอาระกันในหลายๆ มิติก่อน ในเรื่องของทำเลที่ตั้งนั้นเราจะเห็นงว่ารัฐอาระกัน ตั้งอยู่ฟากตะวันตกเฉียงใต้ของพม่า ลักษณะสัณฐานค่อนข้างยาวเรียว มีแนวแม่น้ำนาฟ เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ แต่จุดสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐอาระกันก็คือว่ามีท่อก๊าซจากคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน พาดผ่านตอนกลางของพม่า แล้วมาลงที่รัฐอาระกันเพื่อสูบน้ำมัน
สองก็คือมีท่อก๊าซจากอินเดียมาลงที่อาระกันเพื่อสูบน้ำมันแล้วขึ้นไปที่มณีปุระ ตรีปุระ แล้วเข้ากัลกัตตา
ประการที่สามก็คือทางหลวงสายเอเชียใต้ ที่เชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะลุผ่านเอเชียใต้ เซาท์อีสเอเชีย หรือ ASEAN+BIMSTEC นั้นผ่านที่รัฐอาระกัน ประการที่สี่คือ บ่อน้ำมัน หลุ่มก๊าซธรรมชาติประมาณ 18 แห่งทั้งในทะเลลึก ทะเลชายฝั่ง และบนบกบางส่วนกระจัดกระจายอยู่ในรัฐอาระกัน
ประการสุดท้าย คือ เขตแดนพิพาททางทะเลที่เป็นเกมแย่งชิงน้ำมันรอบอ่าวเบงกอลระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ รวมถึงความขัดแย้งในแนวแม่น้ำนาฟ ก็อยู่ที่รัฐอาระกัน เพราะฉะนั้นหากเราดูตำแหน่งแห่งที่ทางภูมิยุทธศาสตร์ ก็จะเห็นความสำคัญของมันว่าอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขัดแย้งลุกลามบานปลายได้ แม้กระทั่งในอนาคตเพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของมันนั้นจะผูกโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ นี่คือมิติแรก
มิติที่สอง คือประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ เวลาพูดถึงอาระกัน นักวิชาการฝรั่งจะนึกถึง The Kingdom of Arakan เป็นอาณาจักรยุคโบราณที่มีความรุ่งเรือง เป็นอาณาจักรแบบพุทธผสมกับอิสลาม คณะผู้ปกครองก็เป็นกษัตริย์พุทธผสมกับสุลต่านที่มีสายสัมพันธ์กับสุลต่านใน East เบงกอลของบังคลาเทศ ขึ้นหมุนสลับกันเป็นช่วงๆ อาระกันถือเป็นอาณาจักรที่ร่วมสมัยกับพระนครศรีอยุธยาและพะโค เป็นศูนย์การค้า พ่อค้าอาหรับวาณิชเข้ามาที่อาระกัน เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาที่อาระกัน
อิสลามภิวัฒน์จากตะวันตออกกลางเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ซึมผ่านอาระกันในบางมิติ นี่คือาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และพุทธกับบมุสลิมอยู่ร่วมกันมาเนิ่นนาน แต่ดูประวัติศาสตร์ในยุคอดีตเราจะไม่เห็นความขัดแย้งกันมากนักระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ จนกระทั่ง พ.ศ. 1785 พระเจ้าปดุง กษัตริย์ราชวงศ์คอนบอง สำเร็จในการพิชิตนรัฐอาระกัน จากนั้นมีการเทครัวมุสลิมไปอยู่อังวะ อมราปุระในพม่า แล้วมีประชากรพุทธบางส่วนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
แต่จุดแตกหักอยู่ที่สมัยนายพลเนวิน ที่ใช้ยุทธการณ์ทางการทหารขับไล่ที่ทำให้ชาวโรฮิงยาต้องถอยร่น ตกทะเล บ้างเข้าไปอยู่ในบังกลาเทศนี่เป็นปฐมบทของความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติในรัฐอาระกัน จากประวัติศาสตร์ในช่วงโบราณถึงปัจจุบัน สืบย้อนไปเชื่อมกับโลกทัศน์ของรัฐบาลพม่าก็จะได้ความว่ารัฐบาลพม่าทั้งในสมัยนายพลเนวิน สมัย รัฐบาล SLORC (สภาเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ) รัฐบาล SPDC (สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) และรัฐบาลปัจจุบันก็มีกรอบคิดที่มองโรฮิงยาในแง่ลบ หนึ่ง คือมองว่าเป็นชุมชนต่างประเทศ นอกวงต่างจากคนพม่าโดยทั่วไป ประการที่สอง คิดว่าลุ่มนี้อาจเชื่อมต่อกับกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศ ประการที่สาม แม้ว่ารัฐบาลบังคลาเทศจะไม่ยอมรับโรฮิงยา แต่พม่ามองว่ามีสายสัมพันธ์
สุดท้ายแล้วจากฐานที่พูดไปสักครู่นี้ก็ผูกโยงมาได้ว่าความขัดแย้งมันเริ่มปะทุคุโชนสมัยนายพลเนวิน เรื่อยมามาจนปัจจุบัน เพราะพม่ามีการอพยพและสร้างแนวร่วมกับชาวยะไข่ที่เป็นพุทธ เข้าตั้งหมู่บ้านเข้าไปลอมกรอบโรฮิงยา มองโรฮิงยาว่าผิดแผกร้ายแรงกว่าชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม มีปฏิบัติการทางทหารรุกไล่ และคนพม่าหลายส่วนก็รู้สึกไม่พอใจ ไม่ค่อยเข้า ไม่สมานฉันท์กับโรฮิงยาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ต้องตรวจสอบว่าในพื้นที่ว่าจริงๆ บางพื้นที่มีการอยู่กันอย่างสมานฉันท์ แต่บางพื้นที่มีความขัดแย้ง เป็นไปได้ว่าอาจมีปัจจัยทางการเมืองหรือแรงกดจากรัฐบาลพม่าเข้าช่วย
การประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่รัฐอาระกันโดยประธานาธิบดีเต็งเส่ง ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือทำไมท่าทีรัฐบาลเต็งเส่ง จึงต่างจากการปราบผู้ชุมนุมในปี 2550 ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลหรือสื่อของรัฐบาลก็กล่าวหาผู้ชุมนุม ประณามสื่อต่างชาติและสื่อพลัดถิ่นพม่าว่าทำให้เกิดความไม่สงบ แต่ในความขัดแย้งรอบนี้ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กลับแถลงเรียกร้องให้เกิดความสมัคคีในชาติ ว่าถ้าขัดแย้งกันจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย
และขณะเดียวกันสื่อของรัฐเองก็ระมัดระวังในการนำเสนอ ทำไมความขัดแย้งรอบนี้ผู้สนับสนุให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารปราบชาวโรฮิงยากลับเป็นสื่อภาคเอกชน หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของพม่า และเป็นไปได้ไหมว่ากองทัพพม่าจะกลับมาเพราะสถานการณ์ไม่สงบในรัฐอาระกัน
อันดับแรกต้องทำความเข้าใจ ประเภทของระบอบ และเงื่อนเวลาแห่งการดำรงอยู่ของแต่ละรัฐบาลในแต่ละห้วงสมัย การปฏิวัติของผู้ครองจีวรในปี 2007 ยังเป็นการดำรงอยู่ของทหาร พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย ยังอยู่ในอำนาจ เพียงแต่ช่วงนั้นมีการพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยสู่การเลือกตั้ง ช่วงนั้นเป็น
รัฐบาลทหาร เวลามีเหตุจลาจล มีผู้ประท้วง มีการลุกฮือเกิดขึ้น เป็นธรรมดาที่ตอนนั้นมีความเกรี้ยวกราด มีการตอบโต้ที่ดุดัน โจ่งแจ้ง และอย่าลืมว่าเหตุการณ์ขณะนั้นเกิดที่เมืองสำคัญอย่างย่างกุ้งและแพร่ไปตามเมืองยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ล่อแหลมต่อภัยคุกคามประเทศ และกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่กองทัพค่อยๆ จัดระเบียบ หากปล่อยให้แพร่ระบาดเกินไปจะทำให้การวางเกมของรัฐบาลทหารชะงักหยุดลง เพราะฉะนั้นเขาถึงมีการประณามสำนักข่าวต่างประเทศ สื่อพลัดถิ่นต่างๆ ที่รุนแรงพอสมคร และมีการปฏิบัติการทางทหารที่เด็ดขาด ฉับไว รวดเร็ว เพื่อคุมสถานการณ์ไม่ให้ยุ่งเหยิง ท่าทีขณะนั้นเป็นรัฐบาลทหาร เพียงแต่เหตุการณ์ปฏิวัติชายจีวรอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เขาจึงปิดเกมให้เรา
ส่วนในปี 2012 รัฐบาลคือรัฐบาลพลเรือน ประธานาธิบดีเต็ง เส่งมีท่าทีรอมชอม โอนอ่อนผ่อนปรน ใช้วาทกรรมสร้างสันติและความสมานฉันท์ของชาติ ท่าทีนี้อยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยที่เต็ง เส่งวางไว้และสอดรับกับ "ผู้ใหญ่" ในพม่าหลายๆ คนที่ให้เปิดพม่าเป็นประชาธิปไตย เพื่อเสริมภาพลักษณ์ประเทศ รัฐบาลเต็ง เส่ง จะแสดงความเกรี้ยวกราดคงไม่เหมาะ สิ่งที่แสดงออกคือสันติ สมานฉันท์ ชุมชนพหุสังคม พหุพรรคเพื่อประชาธิปไตย นี่คือท่าทีที่เต็ง เส่ง แสดงออกไป
แต่เต็ง เส่ง ก็พูดมาว่า หากพี่น้องทั้งพุทธและมุสลิมขัดแย้งบานปลายจนแพร่ระบาดแล้วยากที่จะควบคุม จะส่งผลต่อการปฏิรูปประเทศ นี่เป็นการเตือนอย่างมีนัยสำคัญ นั่นก็คือหนึ่ง หากคุณอยากได้
ประชาธิปไตยจริงๆ คุณต้องยุติความรุนแรง คุณต้องยอมรับความต่างของชาติพันธุ์วรรณาและวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นจงหยุดเถิด นี่คือนัยยะแรก ส่วนนัยยะประการที่สอง หากไม่หยุดสร้างความรุนแรง ไม่หยุดสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ แล้วรัฐบาลเหลือแรงที่จะควบคุม คงปฏิเสธไม่ได้ ที่จะให้กองทัพมาเคลียร์สถานการณ์ และคงจะว่ารัฐบาลพม่าไม่ได้ที่ต้องทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังกลับเล็กน้อย เพราะเป็นการกระทำของพวกคุณ นี่คือวาทกรรมของรัฐที่ลุ่มลึกมาก คือส่วนหนึ่งบอกให้สันติสมานฉันท์ แต่อีกส่วนหนึ่งก็แอบเตือนว่าถ้ากองทัพต้องเข้ามาจริงๆ ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล แต่เป็นความผิดของพวกคุณที่ทะเลาะกัน พวกที่ทะเลาะกันก็จะกลายเป็นเหยื่อการเมือง
ส่วนพื้นที่ยุทธศาสตร์ พื้นที่เกิดเหตุคือรัฐอาระกัน มันไกลจากศูนย์กลางอำนาจ และไม่ได้แพร่ระบาดเหมือนการลุกฮือที่ย่างกุ้งในปี 2550 รัฐบาลก็พยายามจำกัดวงไม่ให้แพร่กระจาย แต่สิ่งที่สุ่มเสี่ยงต่ออนาคตคือจะจำกัดวงได้แค่ไหน เพราะหากไม่สามารถทัดทานวงสวิงที่เหวี่ยงมาจากความรุนแรงนั้น พม่าจะโกลาหลอย่างยิ่ง นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยม อย่างแกนกลางของทิน อ่อง มิ้นท์ อู ซึ่งไม่ได้เป็นรองประธานาธิบดีแล้ว อาจจะกลับมาสยายปีกอีกรอบหนึ่ง กองทัพจะเข้ามาควบคุมมากขึ้น
อีกประการหนึ่งรัฐอาระกันไม่ใช่พื้นที่ชายแดนปกติ เป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงต่อพม่าหลายประเทศ ทรัพยากรและภูมิรัฐศาสตร์ที่ผมวาดไว้ก่อนหน้านั้น ทำให้มหาอำนาจสนใจ พฤติกรรมแบบนี้สังเกตได้เมื่อก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์ รัฐบาลพม่าได้สั่งย้าย บก.กองทัพภาคตะวันตก จากเมืองซิตตเหว่เข้าไปที่เมืองอาน ที่อยู่ลึกเข้าไปในชายฝั่ง และมีการวางโครงสร้างเครือข่ายที่สลับซับซ้อนทางทหารไว้ที่นั่น เพราะรัฐนี้อุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยาการ และเสี่ยงต่อการแทรกแซงจากโลกภายนอก โดยเฉพาะการยกพลขึ้นบกจากองทัพต่างชาติ แต่สิ่งที่จะเป็นเหตุชักนำให้มหาอำนาจเข้าพม่าได้ อย่างถูกต้องชอบธรรม ถูกกาละเทศะ นั่นก็คือความขัดแย้งชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมที่ปะทุคุโชนนี้เองมันจะทำให้ไฟแดงกระพริบที่พม่า และจะมีตัวแสดงอื่นเข้ามาเล่นเช่น สหประชาชาติ
นี่คือโลกทัศน์ของรัฐบาลพม่าที่มองรัฐอาระกัน ถือเป็นพื้นที่ที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อน ธรรมชาติของ power politic ระดับโลกก็คือที่ไหนที่มีทรัพยากรอันล้ำค่า และมีเปราะบางทางการเมือง และชาติพันธุ์ ที่นั้นแหละจะเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจ มาวันนี้เราอาจจะเห็นไม่ชัด แต่อนาคตอาจเห็นเป็นห้วงๆ รัฐอาระกันอาจจะเป็นด่านหน้าของการแพร่ระบาดของการปฏิวัติ หรือความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่แพร่มาในภูมิภาคอาเซียน "ยะไข่โมเดล" อาจเป็นต้นตำรับให้เกิดโมเดลคล้ายๆ กันเช่นที่อาเจะห์หรือในจังหวัดต่างๆ ของฟิลิปปินส์หรือไทยบางส่วนก็เป็นได้
มองบทบาทของพรรคเอ็นแอลดี และออง ซาน ซูจี อย่างไรบ้าง ที่อดีตนักศึกษารุ่น 88 ที่เคยมีบทบาทในการเรียกร้องประชาธิปไตย บางส่วนก็แสดงจุดยืนสนับสนุนปฏิบัติการทางทหาร
อันดับแรกคือดูชีวประวัติ พื้นภูมิ หรือยุทธศาสตร์ทางการเมืองของออง ซาน ซูจี จะเห็นว่าบิดาของเธอคือนายพลออง ซาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ค่อนข้างต่ำกับโรฮิงยา พ่อขอองออง ซาน ซูจี อาจจะสัมพันธ์กับฉานหรือคะฉิ่นในนามข้อตกลงปางโหลง ส่วนตัวเธอเองอาจสัมพันธ์กับนักศึกษารุ่น 88 ที่ถูกเบียดขับจากศูนย์กลางไปตั้งฐานที่มั่นที่ชายแดนด้านตะวันออกและไปร่วมกับกระเหรี่ยงคริสต์ของนายพลโบเมี๊ยะ หรือเคเอ็นยู เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแนบแน่นกว่าที่เธอมีกับกลุ่มการเมือง หรือกลุ่มผู้คน ชายแดนด้านตะวันออกจะเหนียวกว่าทางตะวันตก อย่างรัฐอาระกัน เพราะตัวเธอเองกิจกรรมที่มาพบปะชาวมุสลิมแทบไม่เห็นเลย เป็นการมองผ่านดีกรีความสัมพันธ์ที่ไม่แนบแน่น ซึ่งส่งผลต่อท่าทีของเธอที่ไม่ชัดด้วยเพราะไม่ใช่กลุ่มที่เธอสนิทสนมมากนัก
ประการที่สองคือ ที่สำคัญคือมันเป็นความอยู่รอดทางการเมืองบางอย่าง คืออองซานซูจีประสบความสำเร็จในการมาเวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (WEF) แล้วขึ้นไปเยี่ยมแรงงาน ก็เก็บคะแนนเสียงได้ แต่เธอรู้ดีว่ารัฐบาลพม่าปล่อยเธอไปทำเรื่องแบบนี้ แต่เธอก็ต้องระวังตัวในแสดงความเห็นบางอย่างที่จะกระทบต่ออนาคตของเธอโดยเฉพาะกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว ดังนั้นประเด็นละเอียดอ่อนขณะนี้คุโชนอยู่ที่รัฐอาระกัน ทุกอย่างยังอยู่ในภาวะที่ยุ่งยาก อาจจะเสี่ยงเกินไปที่จะแสดงท่าทีที่ชัดเจนในช่วงนี้ ถ้าไปประณามรัฐบาลพม่ามาก การออกนอกประเทศก็อาจไม่สะดวก ถ้าประณามโรฮิงยามากๆ ก็จะถูกหลายๆ กลุ่มโดยเฉพาะแวดวงต่างประเทศ และเครือข่ายมุสลิมโจมตีก็เป็นได้ นี่จึงอาจเป็นยุทธศาสตร์ของนางออง ซาน ซูจีด้วยเช่นกัน
อันที่สามที่อยากจะกล่าวคือ ความรู้สึกของผู้คนและเชื่อชาติจริง คือความรู้สึกของคนชาติพันธุ์พม่า ไม่ว่าคุณจะเป็นอดีตผู้นำนักศึกษายุค 1988 แกนนำในพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD แกนนำพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา หรือ USDP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ล้วนมองชุมชนมุสลิมในประเทศ
พม่าที่แตกต่างกัน โดยใช้ศัพท์ว่า "กะหล่า" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่อพยพมาจากอนุชมพูทวีป โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นมุสลิม ฮินดู หรือซิกข์ หรือเรียกว่า Indian Burmese Mestizo ลูกผสมพม่า-อินเดีย โดยกลุ่มชาวโรฮิงยาจะถูกเหมาเรียกในบริบทนี้เช่นกัน เพียงแต่การใช้คำนี้ไปเรียกโรฮิงยา หรือคนที่มาจากอินเดียอื่นๆ แล้ว ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าโรฮิงยาเป็นชุมชนต่างประเทศ ไม่ใช่ชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม มองว่าสวนทางเป็นปฏิปักษ์ หรือผิดพวกกับคนพม่า วัฒนธรรมพม่า ทั้งภาษาพูด ทั้งอัตลักษณ์ หรือแม้กระทั่งผิวพันธุื
ในบางประเด็นว่าเป็นคนละพวกกัน และความรู้สึกของคนพม่าโดยรวมค่อนข้างหวาดระแวง ประกอบกับมีการไหลบ่าของประชากรอันแน่นขนัดจากบังกลาเทศ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 140 ล้านคน ที่เข้ามาเป็นแรงงานผิดกฎหมายในพม่า และเข้ามาแย่งงานคนพม่าในรัฐอาระกันด้วย ทำให้ปัญหานี้เกิดบานปลาย
ปฏิบัตินี้เห็นได้ชัดคือรัฐบาลพม่าสร้างรั้วเดี่ยวขึ้นมา คร่อมพรมแดนระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ เพื่อปิดไม่ให้แรงงานพวกนี้เข้ามาในพม่า ขณะเดียวกันแนวร่วมที่เป็นพุทธในรัฐยะไข่ ก็เอาด้วยกับรัฐบาลพม่า และมีปฏิบัติการร่วมบางอย่างในการรุกรวบทางวัฒนธรรม ทำให้พี่น้องโรฮิงยาเป็นคนไร้รัฐ ถูกกระบวนการทำให้เป็นชายขอบ เบียดขับผลักไสออกนอกประเทศ ข้ามแม่น้ำนาฟไปก็เจอทหารบังกลาเทศถือปืนยืนจังก้าไม่ให้เข้ามาบังคลาเทศ เพราะบังกลาเทศแม้จะเป็นมุสลิมเหมือนกันแต่อัตลักษณ์ก็แตกต่างกัน และที่สำคัญคือบังคลาเทศจน เขาก็กลัวว่าจะมาแย่งงาน ดังนั้นกลุ่มโรฮิงยาก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกประกับระหว่างรัฐพม่าและรัฐบังกลาเทศ และระหว่างประชากรบะหม่า (Burman) กับเบงกาลี และตัวโรฮิงยาที่เป็นประชากรตัวเล็กๆ และไร้รัฐ
มองว่าปัญหาความขัดแย้งจะจบแบบไหน พอจะคาดการณ์หรือประเมินว่าทิศทางที่เรื่องนี้จะคลี่คลายจะไปทางไหนบ้าง
ซีนารีโอหรือฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะทำนายยากอยู่ เช่น สถานการณ์แรก รัฐบาลพม่าสักพักนับจากนี้ไปสามารถปิดเกมได้ อาจเพิ่มตำรวจ ทหาร ปฏิบัติการเข้ากดดันพื้นที่ และใช้เคอร์ฟิวส์จัดระเบียบ และเมื่อสถานการณ์สงบ รัฐบาลพม่าอาจใช้นโยบายหรือใช้โฆษณาบางอย่าง เช่น เสนอหรือบอกประชาคมโลกว่าจะทบทวนเรื่องสิทธิพลเมือง ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการลดแรงกดดัน และกันการแทรกแซงจากโลกภายนอก แต่ในทางปฏิบัติจะดูแลเช่นนั้นหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง
สถานการณ์ที่สองคือ รัฐบาลพม่าสามารถจัดระเบียบ ควบคุมสถานการณ์ได้ต่อเนื่องจากสถานการณ์ที่ 1 แต่หลังจากนี้เป็นต้นไปสถานการณ์ของรัฐอาระกันจะถูกทำให้เป็นจุดวาบไฟทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือจุดวาบไฟทางชาติพันธุ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงจะเกิดและหยุด เกิดและหยุดไปเรื่อยๆ แต่อัตราจังหวะที่เดี๋ยวรุนแรง เดี๋ยวหยุดนี้จะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ เอ็นจีโอ หรือมหาอำนาจการเมืองโลกเริ่มเห็นความสำคัญของรัฐอาระกันในหลายมิติ และจังหวะที่เดี๋ยววูบเดี๋ยวสว่างจะทำให้มหาอำนาจเริ่มเข้ามาฝังตัว เป็นตัวแสดงในรัฐอาระกัน ซึ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ
เพราะฉะนั้น สมมติรัฐบาลคุมได้ในอนาคต เรื่องนี้ก็จะบานปลายอีก แต่ถ้ารัฐบาลพม่าคุมไม่ได้ตอนนี้ เรื่องนี้ก็จะยิ่งบานปลายยิ่งกว่า และบีบให้กองทัพพม่าจะเข้ามาจัดระเบียบ แต่ทั้งหมดนี้สะท้อนความสำคัญของรัฐอาระกันในศตวรรษที่ 21 ว่าการจำลองการทูตเชิงน้ำมันและท่อก๊าซแบบภูมิภาคเอเชียกลางเข้ามาอยู่ในด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะท่อก๊าซจีน อินเดีย บริษัทข้ามจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนในรัฐอาระกันแล้ว เพราะฉะนั้นพื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นกระดานหมากรุกทางการเมืองโลก
ประเด็นที่สองคือ หากแนวคิด "The Clash of Civilizations" ความขัดแย้งทางอารยธรรมที่เสนอไว้โดยแซมมวล ฮันติงตัน (Samuel P.Huntington) นักวิชาการรัฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน ซึ่งมองว่าการเมืองโลกยุคหลังสงครามเย็นจะเป็นการปะทะระหว่างอู่อารยธรรมสำคัญ หนึ่งในนั้นคืออารยธรรมของอเมริกันกับอิสลามแบบเคร่งจารีต ส่วนอิสลามกับพุทธไม่รู้จะชนกันบ้างหรือเปล่าในบางมิติ กรอบของฮันติงตันไม่ได้มองเรื่องศาสนาอย่างเดียว เพราะศาสนาบางทีก็ไม่ได้ขัดแย้งกัน อยู่แบบสันติก็ได้ แต่เขาเอาเรื่องศาสนาไปจับกับกำลังวังชาของมหาอำนาจเจ้าของอารยธรรม และนำการเมืองระหว่างประเทศไปเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ด้วย สุดท้ายศาสนาจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทั้งการเมืองภายในและระหว่างประเทศจนปะทุบานปลาย
เรื่องยะไข่โมเดลหรืออาระกัน อาจเป็นจุดที่มองว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมพุทธกับอิสลาม และมันจะเชื่อมกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรียกร้องก็ยกประเด็นนี้อยู่ ก็เชื่อมเรื่องสงครามเชื้อชาติได้อีก ความขัดแย้งในรวันดากระตุ้นให้สหประชาชาติเข้ามาแทรกแซง นี่ก็เป็นได้ แต่ยังไม่รุนแรงในปัจจุบัน แต่ในอนาคตไม่แน่ และจะมีลักษณะบางอย่างที่ทำให้เหมือนคาบสมุทรบอลข่านอย่างอดีตยูโกสลายเวีย บางทีสหรัฐอเมริกาและสประชาชาติก็เข้ามาแทรกแซง และการทำให้เป็นแบบตะวันออกกลางกรณีปาเลสไตน์ก็น่าสนใจ อย่างปาเลสไตน์บอกว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ วันดีคืนดียิวเข้ามาบอกว่านี่เป็นดินแดนแห่งพันธะสัญญาที่โมเสสประกาศไว้แล้วมีมหาอำนาจเข้ามาหนุนหลัง มีการสถาปนารัฐอิสราเอลขึ้นมาเป็นสะพานให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาด้วย แล้วทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางปั่นป่วน โดยใช้เรื่องอารยธรรมแบบยิวกับอารยธรรมแบบยิวกับอิสลามตีกัน
ในอนาคตรัฐอาระกันก็ไม่แน่เหมือนกัน ผมคิดว่าในอนาคตมหาอำนาจต้องเข้ารัฐอาระกันแน่นอน และจะเป็นสะพานโดมิโนให้มีการแพร่ระบาดของความขัดแย้งชาติพันธุ์ และอิทธิพลการเมืองจากภายในและภายนอก สลับตีกันเป็นห้วงๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีอาระกันเป็นด่านหน้า โจทย์ที่ต้องมองให้ออกคืออาเซียนจะเข้ามามีบทบาทแค่ไหน รัฐบาลพม่าจะคุมได้หรือเปล่า ทิศทางในอนาคตคือจะมีตัวแสดงหรือชาติอื่นๆ เข้ามาแสดงท่าทีในเรื่องนี้ อเมริกาเริ่มแล้ว อังกฤษเริ่มแล้ว เดี๋ยวจะมีจีน เดี๋ยวมีอาเซียน แต่ชาติที่น่าจับตามองคืออินเดีย ปากีสถาน และอิหร่าน เพราะโรฮิงยาผูกโยงกับสามประเทศนี้พอสมควร เช่น โรฮิงยาที่เข้าไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่อินเดีย
แม้อินเดียจะเป็นรัฐฮินดูก็ตาม แต่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนการศึกษา การศาสนาให้คนเหล่านี้ สื่อสิ่งพิมพ์ของพี่น้องโรฮิงยาแปลมาจากภาษาอูรดู จากปากีสถาน และพี่น้องบางส่วนก็เข้าไปขอความช่วยเหลือที่อิหร่าน อิหร่านแม้ไม่มีสถานทูตที่ย่างกุ้ง แต่สถานทูตอิหร่านที่
กรุงเทพฯ จะดูเรื่องรัฐอาระกัน และดูแลเรื่องโรฮิงยา แม้มุสลิมโรฮิงยาจะเป็นสุหนี่ แต่อิหร่านเป็นชีอะห์ แต่อิหร่านให้ความช่วยเหลือโรฮิงยามานาน มาวันนี้เราจะเห็นแกนนำแนวร่วมเข้าไปขอความช่วยเหลือจากสถานทูตอิหร่าน อิทธิพลเปอร์เซียจะเข้ามาด้วย ในอนาคตจะมีตัวแสดงอื่นๆ เข้ามาโลดแล่นในรัฐอาระกัน บวกกับคุณค่าภูมิยุทธศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์ จะทำให้อาระกันกลายเป็น "Flash Point" คือจุดวาบไฟ สิ่งท้าทายคือรัฐบาลพม่าจะเอาอยู่ไหม
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555
บรรหาร โต้หักหลัง ทักษิณ ซัด พท.ไม่เคลียร์ลงมติต้านคำสั่งศาลรธน. !!?
บรรหาร. เผยเคลียร์ใจ “ทักษิณ” แล้ว โวยเพื่อไทยไม่ชัดเจนเองว่าจะลงมติไม่รับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทำให้เสียงขาด ฟุ้งหากบอกก่อนรับรองไม่ขาดแม้แต่เสียงเดียว ด้านเพื่อไทยเตรียมลงโทษ 16 ส.ส. ไม่กล้าลงมติ ถามกลัวอะไร เพราะอีก 300 กว่าคนที่ลงมติยังไม่กลัว “อภิสิทธิ์” จี้ทบทวน พ.ร.บ.ปรองดอง หากไม่ปรับแก้เปิดสภามามีปัญหาอีก “นพดล” มั่นใจอดีตนายกฯชี้แจงคดีแบงก์กรุงไทยปล่อยกู้ได้ ยืนยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า พรรคจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับ ส.ส.พรรค 16 คน ที่ไม่ร่วมลงมติไม่รับคำสั่งศาลที่ให้ชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 อย่างไรก็ตาม จะเปิดโอกาสให้ชี้แจงก่อน หากชี้แจงไม่เคลียร์ต้องมีมาตรการลงโทษ
“บางคนที่ไม่กล้าลงคะแนนเพราะกลัวผิดกฎหมาย อยากถามว่าทำไมอีก 300 กว่าคนถึงไม่กลัว ถ้ากลัวแล้วมาเล่นการเมืองทำไม เมื่อเป็นนักการเมืองต้องกล้าโต้แย้งในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราเป็นพรรคหลักในรัฐบาล หากทำแบบนี้จะทำให้พรรคร่วมมองด้วยความหวาดระแวง”
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า ที่มี ส.ส. ของพรรคขาดลงมติไม่รับคำสั่งศาล เพราะวิปรัฐบาลไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลงมติเรื่องนี้หรือไม่ ไม่ใช่เราเบี้ยวหรือหักหลัง ต่อไปเวลาจะลงมติสำคัญประธานวิปรัฐบาลต้องประสานใกล้ชิดกว่านี้
“ความจริงพรรคเราขาดลงมติเพียง 2-3 คนเท่านั้น อีก 4-5 คนติดงานกับป่วย ส่วนคนที่ขาดกำชับไปแล้วว่าอย่าให้เกิดเรื่องอย่างนี้อีก อยากจะขอพรรคเพื่อไทยว่าต่อไปเอาให้ชัด ไม่ใช่พูดไปคนละทางว่าจะลงมติไม่ลงมติ เพราะแม้แต่ในพรรคเพื่อไทยก็ขาดหลายคน อย่างไรก็ตาม ได้ทำความเข้าใจกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว เพราะหลังลงมติวันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณก็โทร.มาเลย ชี้แจงไปว่าไม่ชัด หากชัดเจนว่าลงมติแน่รับรองเสียงเดียวก็ไม่ขาด”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า แม้จะปิดสมัยประชุมสภาแล้ว หากไม่มีการทบทวนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ เมื่อเปิดประชุมสภามาก็จะเกิดปัญหาเดิมๆอีก ซึ่งหลายคนก็ทักท้วงแล้ว หากรัฐบาลไม่ฟังก็ชัดเจนว่ามีเป้าหมายทำเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณและพวกให้พ้นผิดเท่านั้น
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า การที่อัยการส่งฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ 9,000 ล้านบาท ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะมีความกดดันให้ฟ้องมานานแล้ว เพื่อสร้างความชอบธรรมในการรัฐประหาร
“แม้ว่าธนาคารกรุงไทยจะเป็นธนาคารของรัฐ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆในการปล่อยกู้ เป็นเรื่องของกรรมการธนาคาร ขนาดคนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังสั่งการไม่ได้ มั่นใจว่าเรื่องนี้ชี้แจงต่อศาลได้”
ที่มา.หนังสือพิมห์โลกวันนี้
**********************************************************************
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า พรรคจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับ ส.ส.พรรค 16 คน ที่ไม่ร่วมลงมติไม่รับคำสั่งศาลที่ให้ชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 อย่างไรก็ตาม จะเปิดโอกาสให้ชี้แจงก่อน หากชี้แจงไม่เคลียร์ต้องมีมาตรการลงโทษ
“บางคนที่ไม่กล้าลงคะแนนเพราะกลัวผิดกฎหมาย อยากถามว่าทำไมอีก 300 กว่าคนถึงไม่กลัว ถ้ากลัวแล้วมาเล่นการเมืองทำไม เมื่อเป็นนักการเมืองต้องกล้าโต้แย้งในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราเป็นพรรคหลักในรัฐบาล หากทำแบบนี้จะทำให้พรรคร่วมมองด้วยความหวาดระแวง”
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า ที่มี ส.ส. ของพรรคขาดลงมติไม่รับคำสั่งศาล เพราะวิปรัฐบาลไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการลงมติเรื่องนี้หรือไม่ ไม่ใช่เราเบี้ยวหรือหักหลัง ต่อไปเวลาจะลงมติสำคัญประธานวิปรัฐบาลต้องประสานใกล้ชิดกว่านี้
“ความจริงพรรคเราขาดลงมติเพียง 2-3 คนเท่านั้น อีก 4-5 คนติดงานกับป่วย ส่วนคนที่ขาดกำชับไปแล้วว่าอย่าให้เกิดเรื่องอย่างนี้อีก อยากจะขอพรรคเพื่อไทยว่าต่อไปเอาให้ชัด ไม่ใช่พูดไปคนละทางว่าจะลงมติไม่ลงมติ เพราะแม้แต่ในพรรคเพื่อไทยก็ขาดหลายคน อย่างไรก็ตาม ได้ทำความเข้าใจกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรียบร้อยแล้ว เพราะหลังลงมติวันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณก็โทร.มาเลย ชี้แจงไปว่าไม่ชัด หากชัดเจนว่าลงมติแน่รับรองเสียงเดียวก็ไม่ขาด”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า แม้จะปิดสมัยประชุมสภาแล้ว หากไม่มีการทบทวนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ เมื่อเปิดประชุมสภามาก็จะเกิดปัญหาเดิมๆอีก ซึ่งหลายคนก็ทักท้วงแล้ว หากรัฐบาลไม่ฟังก็ชัดเจนว่ามีเป้าหมายทำเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณและพวกให้พ้นผิดเท่านั้น
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า การที่อัยการส่งฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ คดีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ 9,000 ล้านบาท ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะมีความกดดันให้ฟ้องมานานแล้ว เพื่อสร้างความชอบธรรมในการรัฐประหาร
“แม้ว่าธนาคารกรุงไทยจะเป็นธนาคารของรัฐ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆในการปล่อยกู้ เป็นเรื่องของกรรมการธนาคาร ขนาดคนเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังสั่งการไม่ได้ มั่นใจว่าเรื่องนี้ชี้แจงต่อศาลได้”
ที่มา.หนังสือพิมห์โลกวันนี้
**********************************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ชนะที่ไม่ชนะ โหวตรัฐบาล ญัตติศาล รธน. !!?
โดย : สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี
ชนะที่ไม่ชนะ โหวตรัฐบาล ญัตติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ผูกพันสภาฯ ส.ส.แดง ชน "สมศักดิ์"
ก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อไทยและในฐานะแกนนำนปช. แถลงภายหลัง สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาแจ้งในที่ประชุมว่าจะไม่มีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ว่า เคารพการตัดสินใจของประธานรัฐสภาแต่ขอเรียนให้ทราบว่าพวกตนโดยเฉพาะส.ส.ที่เป็นแกนนำเสื้อแดง ผิดหวัง เสียใจมากที่ตัดสินใจเช่นนี้ รวมทั้งส.ส.เพื่อไทยจำนวนมาก
ก่อแก้ว บอกว่า ประธานรัฐสภาสร้างรอยด่างให้กับรัฐสภาแห่งนี้ โดยยอมให้เนื้องอกของฝ่ายตุลาการมีอำนาจครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติขอประกาศไว้บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่าพวกตนไม่ยินยอม ไม่เห็นด้วย ไม่ขอสยบยอมต่อความไม่ถูกต้อง
"การกระทำและการตัดสินใจของประธานรัฐสภา ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดเป็นการตอกย้ำคำพูดนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่ปราศรัยต่อมวลชนเมื่อ 2 วันที่ผ่านมาว่าประชาธิปไตยไทยตกต่ำมากที่สุดในรอบ 80 ปี ซึ่งตกต่ำมากจริงๆ เพราะสมาชิกรัฐสภาไม่ได้ทำหน้าที่โดยใช้เหตุผล ใช้แต่ความรุนแรงไม่เคารพกติกา เมื่อแพ้โหวตในสภาก็ไปใช้อำนาจนอกระบบมาแทรกแซงการทำงานของระบบรัฐสภา"ก่อแก้ว กล่าว
ส.ส.เสื้อแดง ผู้นี้ บอกด้วยว่า แทนที่ประธานรัฐสภาจะต่อต้านกลับสมยอมทุกอย่างจนเละเทะไปหมด น่าเสียดายตนเป็นส.ส.สมัยแรกแต่ไม่สามารถปกป้องเกียรติยศองค์กรได้ ขณะนี้ได้รับเอสเอ็มเอสและอีเมลจากพี่น้องเสื้อแดงจำนวนมากว่าถ้าไม่มีการผลักดันลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในสมัยประชุมนี้ จะเลิกเป็นคนเสื้อแดง ตนขอฝากไปถึงพี่น้องเสื้อแดงด้วยความเคารพว่าพวกตนได้ทำหน้าที่อย่างถึงที่สุดแล้ว ขอให้พี่น้องเข้าใจและอดทน แม้จะยังไม่ได้โหวตในสมัยประชุมนี้ก็จะไปโหวตสมัยประชุมหน้า ขออย่าเคลื่อนไหว วันนี้เราต้องยอมกลืนเลือดประคองสถานการณ์ให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลต่อไปก่อน เมื่อใดมีหลักฐานทำให้พวกตนตัดสินใจเป็นอย่างอื่นก็จะแจ้งให้พี่น้องเสื้อแดงรับทราบ
ส่วนที่เชื่อว่าเป็นการตัดสินใจของประธานรัฐสภาโดยลำพังหรือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาเกี่ยวข้อง นั้น ก่อแก้ว บอกว่า เชื่อว่าประธานรัฐสภาคงชั่งน้ำหนักในหลายด้านทั้งข้อกฎหมาย คำขู่ คำห่วงใยซึ่งแรงผลักดันมีทั้งส.ส.ที่สนับสนุนและเตือน คงไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ
“เสื้อแดงจะอดทนให้ถึงที่สุดเพื่อบ้านเมือง แต่ความอดทนก็มีขีดจำกัดเพราะเราก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่ง่าย เราต้องอดทนต้องเสียสละ แต่การตัดสินใจของประธานรัฐสภาทำให้พรรคเพื่อไทยต้องกลับไปคิดว่าท่ามกลางสงครามที่ยังไม่จบสิ้น พรรคเพื่อไทยก็ควรพิจารณาหาคนที่มีความกล้าหาญในการตัดสินใจมาทำหน้าที่ต่างๆ ถ้าถามว่าเกี๊ยะเซี๊ยะต่ออำมาตย์หรือไม่ ผมว่ามองได้สองมิติคือหนึ่งเราสมยอมต่ออำนาจไม่ถูกต้อง กับเราต้องระมัดระวังการก้าวเดิน”ก่อแก้ว กล่าว
พร้อมระบุว่า ให้สถานการณ์เป็นตัวบ่งชี้ แต่ที่ผ่านมาเสื้อแดงอดทนอยู่แล้ว เสื้อแดงตายเป็นร้อย ฆาตกรยังนั่งอยู่ในสภา เรารอให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจัดการ แต่ไม่จัดการเราก็ยังทนได้ ดีกว่าล้มรัฐบาลแล้วให้ฝ่ายตรงข้ามขึ้นมามีอำนาจ แม้จะผิดหวังในตัวประธานรัฐสภา แต่ก็ยังรักน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ทุ่มเททำงาน ส่วนการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถ้ายังไม่หยุดยังพิจารณาคดีต่อไปก็เสี่ยงต่อวิกฤตการเผชิญหน้า ซึ่งตุลาการก็รับผิดชอบไม่ไหว
“ฝ่ายอำมาตย์ที่คิดว่าเรื่องนี้จะสร้างความแตกแยกระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง อย่าเพิ่งฝันหวาน แม้ผมจะไม่พอใจประธานรัฐสภา แต่ไม่ได้หมายความว่าผมไม่พอใจประธานรัฐสภา” ก่อแก้ว กล่าว
ถึงแม้ส.ส.แดง จะไม่พอใจ แต่ยังต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯ กล่าวในที่ประชุม ครม. ว่า หน่วยข่าวความมั่นคงวิเคราะห์ว่าหากเดินหน้าไม่ถอยแก้รัฐธรรมนูญ ระวังไม่โดนขาไป ก็โดนขามา
ในที่สุดทีประชุมเห็นตรงกันว่าควรชะลอการลงมติรัฐธรรมนูญ วาระสาม เอาไว้ก่อน เพราะสถานการณ์การเมืองมีความละเอียดอ่อน
การลงมติว่ารัฐสภา จะยอมรับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถึงแม้รัฐบาลผนวกเสียงส.ว.ได้ 318 เสียง แต่ก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 322 เสียง ทำให้ญัตตินั้นเป็นอันตกไป
"เป็นชัยชนะที่ไม่ได้ชัยชนะ"
ถ้าถอดรหัสสถานการณ์เวลานี้ รัฐบาลกำลังประคองตัวเองอยู่ให้ยาวที่สุด ยอมแลกกับการแตกหักกับมวลชนคนเสื้อแดง เพื่ออะไร คำตอบมีอยู่ในท่าทีทั้ง2ฝ่าย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชนะที่ไม่ชนะ โหวตรัฐบาล ญัตติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ผูกพันสภาฯ ส.ส.แดง ชน "สมศักดิ์"
ก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อไทยและในฐานะแกนนำนปช. แถลงภายหลัง สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาแจ้งในที่ประชุมว่าจะไม่มีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ว่า เคารพการตัดสินใจของประธานรัฐสภาแต่ขอเรียนให้ทราบว่าพวกตนโดยเฉพาะส.ส.ที่เป็นแกนนำเสื้อแดง ผิดหวัง เสียใจมากที่ตัดสินใจเช่นนี้ รวมทั้งส.ส.เพื่อไทยจำนวนมาก
ก่อแก้ว บอกว่า ประธานรัฐสภาสร้างรอยด่างให้กับรัฐสภาแห่งนี้ โดยยอมให้เนื้องอกของฝ่ายตุลาการมีอำนาจครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติขอประกาศไว้บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่าพวกตนไม่ยินยอม ไม่เห็นด้วย ไม่ขอสยบยอมต่อความไม่ถูกต้อง
"การกระทำและการตัดสินใจของประธานรัฐสภา ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดเป็นการตอกย้ำคำพูดนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่ปราศรัยต่อมวลชนเมื่อ 2 วันที่ผ่านมาว่าประชาธิปไตยไทยตกต่ำมากที่สุดในรอบ 80 ปี ซึ่งตกต่ำมากจริงๆ เพราะสมาชิกรัฐสภาไม่ได้ทำหน้าที่โดยใช้เหตุผล ใช้แต่ความรุนแรงไม่เคารพกติกา เมื่อแพ้โหวตในสภาก็ไปใช้อำนาจนอกระบบมาแทรกแซงการทำงานของระบบรัฐสภา"ก่อแก้ว กล่าว
ส.ส.เสื้อแดง ผู้นี้ บอกด้วยว่า แทนที่ประธานรัฐสภาจะต่อต้านกลับสมยอมทุกอย่างจนเละเทะไปหมด น่าเสียดายตนเป็นส.ส.สมัยแรกแต่ไม่สามารถปกป้องเกียรติยศองค์กรได้ ขณะนี้ได้รับเอสเอ็มเอสและอีเมลจากพี่น้องเสื้อแดงจำนวนมากว่าถ้าไม่มีการผลักดันลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในสมัยประชุมนี้ จะเลิกเป็นคนเสื้อแดง ตนขอฝากไปถึงพี่น้องเสื้อแดงด้วยความเคารพว่าพวกตนได้ทำหน้าที่อย่างถึงที่สุดแล้ว ขอให้พี่น้องเข้าใจและอดทน แม้จะยังไม่ได้โหวตในสมัยประชุมนี้ก็จะไปโหวตสมัยประชุมหน้า ขออย่าเคลื่อนไหว วันนี้เราต้องยอมกลืนเลือดประคองสถานการณ์ให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลต่อไปก่อน เมื่อใดมีหลักฐานทำให้พวกตนตัดสินใจเป็นอย่างอื่นก็จะแจ้งให้พี่น้องเสื้อแดงรับทราบ
ส่วนที่เชื่อว่าเป็นการตัดสินใจของประธานรัฐสภาโดยลำพังหรือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาเกี่ยวข้อง นั้น ก่อแก้ว บอกว่า เชื่อว่าประธานรัฐสภาคงชั่งน้ำหนักในหลายด้านทั้งข้อกฎหมาย คำขู่ คำห่วงใยซึ่งแรงผลักดันมีทั้งส.ส.ที่สนับสนุนและเตือน คงไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ
“เสื้อแดงจะอดทนให้ถึงที่สุดเพื่อบ้านเมือง แต่ความอดทนก็มีขีดจำกัดเพราะเราก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่ง่าย เราต้องอดทนต้องเสียสละ แต่การตัดสินใจของประธานรัฐสภาทำให้พรรคเพื่อไทยต้องกลับไปคิดว่าท่ามกลางสงครามที่ยังไม่จบสิ้น พรรคเพื่อไทยก็ควรพิจารณาหาคนที่มีความกล้าหาญในการตัดสินใจมาทำหน้าที่ต่างๆ ถ้าถามว่าเกี๊ยะเซี๊ยะต่ออำมาตย์หรือไม่ ผมว่ามองได้สองมิติคือหนึ่งเราสมยอมต่ออำนาจไม่ถูกต้อง กับเราต้องระมัดระวังการก้าวเดิน”ก่อแก้ว กล่าว
พร้อมระบุว่า ให้สถานการณ์เป็นตัวบ่งชี้ แต่ที่ผ่านมาเสื้อแดงอดทนอยู่แล้ว เสื้อแดงตายเป็นร้อย ฆาตกรยังนั่งอยู่ในสภา เรารอให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจัดการ แต่ไม่จัดการเราก็ยังทนได้ ดีกว่าล้มรัฐบาลแล้วให้ฝ่ายตรงข้ามขึ้นมามีอำนาจ แม้จะผิดหวังในตัวประธานรัฐสภา แต่ก็ยังรักน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ทุ่มเททำงาน ส่วนการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถ้ายังไม่หยุดยังพิจารณาคดีต่อไปก็เสี่ยงต่อวิกฤตการเผชิญหน้า ซึ่งตุลาการก็รับผิดชอบไม่ไหว
“ฝ่ายอำมาตย์ที่คิดว่าเรื่องนี้จะสร้างความแตกแยกระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง อย่าเพิ่งฝันหวาน แม้ผมจะไม่พอใจประธานรัฐสภา แต่ไม่ได้หมายความว่าผมไม่พอใจประธานรัฐสภา” ก่อแก้ว กล่าว
ถึงแม้ส.ส.แดง จะไม่พอใจ แต่ยังต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯ กล่าวในที่ประชุม ครม. ว่า หน่วยข่าวความมั่นคงวิเคราะห์ว่าหากเดินหน้าไม่ถอยแก้รัฐธรรมนูญ ระวังไม่โดนขาไป ก็โดนขามา
ในที่สุดทีประชุมเห็นตรงกันว่าควรชะลอการลงมติรัฐธรรมนูญ วาระสาม เอาไว้ก่อน เพราะสถานการณ์การเมืองมีความละเอียดอ่อน
การลงมติว่ารัฐสภา จะยอมรับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถึงแม้รัฐบาลผนวกเสียงส.ว.ได้ 318 เสียง แต่ก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 322 เสียง ทำให้ญัตตินั้นเป็นอันตกไป
"เป็นชัยชนะที่ไม่ได้ชัยชนะ"
ถ้าถอดรหัสสถานการณ์เวลานี้ รัฐบาลกำลังประคองตัวเองอยู่ให้ยาวที่สุด ยอมแลกกับการแตกหักกับมวลชนคนเสื้อแดง เพื่ออะไร คำตอบมีอยู่ในท่าทีทั้ง2ฝ่าย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สามัญสำนึก !!!?
ต้องนับว่าเป็นความพยายามอย่างยิ่งของ..ฟากฝ่ายที่อยากจะให้การ..กำเนิดเกิดใหม่ของรัฐธรรมนูญต้องชะงักงันหรือสะดุดหยุดลง
แน่นอนว่า..ฝ่ายที่สร้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมา..ย่อมจะรู้สึกเสียหน้าเสียตา..หากว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีอายุแค่ 6 ปี..
ใครบ้างที่เป็นครอบครัวของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็คือตัวตนที่ออกมา..สนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งให้ชะลอการลงมติวาระ 3
ก็คนหน้าเดิมทั้งนั้น
แต่นักกฎหมายที่ไม่ใช่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองนักวิชาการอิสระทั้งหลาย ต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่า..ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับเรื่องจากอัยการสูงสุดเท่านั้นมาวินิจฉัย..จะลงไปรับเองเออเองไม่ได้
แต่โดยสามัญสำนึกแล้ว..สามัญสำนึกเป็นเช่นไร ถูกผิดในเรื่องนี้ก็เป็นเช่นนั้น
ไม่มีประเทศประชาธิปไตยประเทศใด..จะให้อำนาจขนาดนี้กับ..คนไม่กี่คน..และองค์กรองค์กรเดียว..มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดขนาดนี้
เพราะหากท่านรับเรื่องจากใครก็ได้ และสั่งรัฐสภาให้ทำอย่างไรก็ได้แล้ว..และมีผลผูกพันให้ทุกส่วนการบริหารการปกครองต้องปฏิบัติตามแล้ว
ชื่อของท่านต้องเปลี่ยนใหม่..เป็น..องค์กรปกครองสูงสุดแห่งชาติ
และโดยสามัญสำนึกแล้ว..รัฐธรรมนูญให้ใช้คน 5 พันคน ตั้งพรรคการเมือง..ใช้ 2 หมื่นคน ในการถอดถอนรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง..แล้วจะให้คนๆ เดียว มีอำนาจเยี่ยงนี้เลยหรือ
และหากว่าคนๆ เดียวสามารถทำได้เช่นว่า..คน 10 ล้านคนของพรรคเพื่อไทย..จะทำเรื่องราวเป็นล้านฉบับ..ให้ศาลรับไปวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไหวหรือ..อธิบายได้ว่า..ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นเช่นนี้
ยิ่งมองกลับเข้าไปในอดีต 14 ปีที่ศาลนี้เกิดขึ้นมา..เรายังมีเรื่องที่..ริดรอนศรัทธา..ของประชาชนเกิดขึ้นมามากมายหลายครั้ง..แม้ประธานศาลเองยังต้องลาออกก่อนกำหนด..
แน่นอนว่า..ศาลคงหมดทางเลี่ยงที่จะสู้ต่อไป..หากทางถอยที่เตรียมไว้..ถูกปิดกั้น..นั่นอาจจะกลายเป็นนำผึ้งหยดเดียว..ที่จะให้อวสานที่ขมขื่นและคาดไม่ถึง
โดย:พญาไม้,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แน่นอนว่า..ฝ่ายที่สร้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมา..ย่อมจะรู้สึกเสียหน้าเสียตา..หากว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีอายุแค่ 6 ปี..
ใครบ้างที่เป็นครอบครัวของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็คือตัวตนที่ออกมา..สนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งให้ชะลอการลงมติวาระ 3
ก็คนหน้าเดิมทั้งนั้น
แต่นักกฎหมายที่ไม่ใช่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองนักวิชาการอิสระทั้งหลาย ต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่า..ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับเรื่องจากอัยการสูงสุดเท่านั้นมาวินิจฉัย..จะลงไปรับเองเออเองไม่ได้
แต่โดยสามัญสำนึกแล้ว..สามัญสำนึกเป็นเช่นไร ถูกผิดในเรื่องนี้ก็เป็นเช่นนั้น
ไม่มีประเทศประชาธิปไตยประเทศใด..จะให้อำนาจขนาดนี้กับ..คนไม่กี่คน..และองค์กรองค์กรเดียว..มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดขนาดนี้
เพราะหากท่านรับเรื่องจากใครก็ได้ และสั่งรัฐสภาให้ทำอย่างไรก็ได้แล้ว..และมีผลผูกพันให้ทุกส่วนการบริหารการปกครองต้องปฏิบัติตามแล้ว
ชื่อของท่านต้องเปลี่ยนใหม่..เป็น..องค์กรปกครองสูงสุดแห่งชาติ
และโดยสามัญสำนึกแล้ว..รัฐธรรมนูญให้ใช้คน 5 พันคน ตั้งพรรคการเมือง..ใช้ 2 หมื่นคน ในการถอดถอนรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง..แล้วจะให้คนๆ เดียว มีอำนาจเยี่ยงนี้เลยหรือ
และหากว่าคนๆ เดียวสามารถทำได้เช่นว่า..คน 10 ล้านคนของพรรคเพื่อไทย..จะทำเรื่องราวเป็นล้านฉบับ..ให้ศาลรับไปวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไหวหรือ..อธิบายได้ว่า..ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นเช่นนี้
ยิ่งมองกลับเข้าไปในอดีต 14 ปีที่ศาลนี้เกิดขึ้นมา..เรายังมีเรื่องที่..ริดรอนศรัทธา..ของประชาชนเกิดขึ้นมามากมายหลายครั้ง..แม้ประธานศาลเองยังต้องลาออกก่อนกำหนด..
แน่นอนว่า..ศาลคงหมดทางเลี่ยงที่จะสู้ต่อไป..หากทางถอยที่เตรียมไว้..ถูกปิดกั้น..นั่นอาจจะกลายเป็นนำผึ้งหยดเดียว..ที่จะให้อวสานที่ขมขื่นและคาดไม่ถึง
โดย:พญาไม้,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วสันต์. ประมุขศาลรัฐธรรมนูญ คนที่ก่อกรรม ก็ต้องรับกรรม !!?
ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่เครื่องมืออำมาตย์
มันเป็นข้อกล่าวอ้างตามคำร้อง ผู้ร้อง เขากล่าวอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นอย่างอื่น เขาบอกว่ามีเจตนาซ่อนเร้น แอบแฝง
เป็นคำอรรถาธิบายของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" ประธานศาลรัฐธรรมนูญ วันที่องค์กรศาลรัฐธรรมนูญถูกดึงคลุกฝุ่นการเมือง
รัฐธรรมนูญมาตรา 68 กำลังกลายเป็นปัญหาการตีความ ในเรื่องช่องทางการร้องเรียนว่าผู้ทราบการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะต้องยื่นอัยการสูงสุดตรวจสอบเท่านั้น หรือสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้อีกช่องทางหนึ่ง
และคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ห้ามรัฐสภาโหวตรัฐธรรมนูญวาระ 3 มีผลผูกพันกับองค์กรอื่นหรือไม่
มุมมองของ "วสันต์" เทียบการแก้รัฐธรรมนูญเป็นการพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน "เราได้พิเคราะห์ตัวบทแล้ว เห็นว่าเป็นสิทธิของผู้ร้องเรื่องจะพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน อย่างเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะนำไปสู่การวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเพียงท่านเดียว น่าจะเป็นการตีความที่แคบ"
"เราระวังมากกับการก้าวล่วงเกี่ยวข้องกับอำนาจอื่น อย่างน้อยที่สุดก็ต้องไต่สวนควรความก่อนว่าจริงหรือเปล่า"
"อย่างน้อยที่สุดในเบื้องต้น มีคำร้องกล่าวหาว่าการกระทำของบุคคลเหล่านี้ ก็ต้องฟังก่อนว่าคนที่เขาถูกฟ้อง ถูกร้องจะว่าอย่างไร เขาจะรับสารภาพไหมว่าเขาคิดอย่างนั้นจริง เขาคงไม่รับใช่ไหม ถ้าไม่รับก็ปฏิเสธมาสิ มีเหตุผล มีพยานหลักฐานมาก็พิจารณากัน"
เพราะกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใกล้ถึงบรรทัดสุดท้าย เมื่อถึงมือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ไม่มีใครรู้ได้ว่า ส.ส.ร.ทั้ง 99 คนจะเขี่ยบอลอย่างไร
"ถ้าผ่านลูกให้ ส.ส.ร. เขาจะเตะอย่างไรก็ยังไม่รู้ คนเกี่ยวข้องยืนยันไหมว่าไม่ใช่ตามที่ถูกกล่าวหา หรือจะสารภาพ"
วสันต์บอกว่า ยังไกลเกินไปถ้าจะพูดถึงเรื่องยุบพรรค "เขาจะมาสู้คดีหรือไม่ก็ยังไม่รู้ ไต่สวนจะได้ความอย่างไรก็ยังไม่รู้ นี่แค่รับไต่สวนธรรมดาก็เป็นปัญหา"
"แต่ถ้าไต่สวนแล้วเป็นอย่างนั้น ผลก็เป็นไปตามมาตรา 68 วรรคถัดไป คือศาลสั่งให้ยกเลิกการกระทำอันนั้น ก็จะมีคำวินิจฉัยให้หยุดการกระทำอันนั้น และอาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้แค่นั้น จะไม่ยุบก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ"
เขาไม่คิดว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตจะกลายเป็นชนวนขัดแย้งของมวลชนเหลือง-แดงรอบใหม่ เพราะทุกฝ่ายควรใช้เหตุใช้ผลเป็นที่ตั้งมากกว่าการใช้อารมณ์ ไม่ควรนำวาทกรรม 2 มาตรฐานมาปลุกกระแส
"คนเรามันต้องฟังเหตุฟังผล ต้องรับในเหตุผล ไม่ใช่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่เวลาทำอะไรก็ไปว่าสองมาตรฐาน (เสียงดัง) ไอ้คนของคุณที่ว่าสองมาตรฐานเรื่องรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ก็เพิ่งเคยมีเป็นเรื่องแรก สองมาตรฐานตัวจริงคือซุกหุ้นภาคแรก มีปัญหาเรื่องแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ตอนเช้าตัดสินว่าผิด ตอนบ่ายตัดสินว่าไม่ผิด คนละคดี เรื่องเหมือนกัน หน้าตาเหมือนกัน อย่างนี้เขาเรียกสองมาตรฐาน"
วสันต์ยกตัวอย่างคดีเก่าของเพื่อไทย "ผมไม่เห็นพรรคเพื่อไทยมาชื่นชมผม หรือศาลรัฐธรรมนูญ พอผ่าน พ.ร.ก.ให้ 2 ฉบับ เห็นนายกฯมาขอบคุณ ตรงกันข้ามผมตั้งคำถามรองนายกฯกิตติรัตน์ (ณ ระนอง รมว.คลัง) ก็ไปด่าบนเวทีเสื้อแดงว่า ซักยังกับทำตัวเป็นทนายของฝ่ายค้าน พอผ่านให้ ไม่เห็นขอโทษเลยที่ด่าฟรี ๆ ไปแล้ว พวกนี้มีอคติกันมาก่อน พอเห็นหน้าแล้วโอ๊ยนี่เป็นศัตรูร้อยเปอร์เซ็นต์"
"วสันต์" เล่าเหตุการณ์เมื่อปลายปี 2551 "ตอนตัดสินยุบ 3 พรรค ใส่เสื้อแดงไปนั่งกินข้าวอยู่ พวกศาลปกครองสูงสุดมองเหล่เลยว่าขึ้นมาได้ยังไงวะ พอมาดูหน้าก็เอ้า... เลยบอกว่าทำเนียนไง เดี๋ยวจะได้หนีได้ เราก็เตรียมเสื้อแดงมาใส่"
ในชีวิต "วสันต์" ทำหน้าที่ตัดสิน วินิจฉัยมาแล้วหลายคดี เขาบอกว่า...
"คนที่ก่อกรรมก็ต้องรับกรรม ผมอยู่มาปูนนี้ อีกไม่กี่ปีก็ตาย ตายก็บริจาคร่างกายไม่ต้องมีใครมาทำศพ กำหนดไว้ด้วยว่าไม่ต้องมีพิธีสวด ปล่อยให้โรงพยาบาลเขาไปจัดอย่างไรก็เรื่องของเขา เป็นอาจารย์ใหญ่"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มันเป็นข้อกล่าวอ้างตามคำร้อง ผู้ร้อง เขากล่าวอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นอย่างอื่น เขาบอกว่ามีเจตนาซ่อนเร้น แอบแฝง
เป็นคำอรรถาธิบายของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" ประธานศาลรัฐธรรมนูญ วันที่องค์กรศาลรัฐธรรมนูญถูกดึงคลุกฝุ่นการเมือง
รัฐธรรมนูญมาตรา 68 กำลังกลายเป็นปัญหาการตีความ ในเรื่องช่องทางการร้องเรียนว่าผู้ทราบการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะต้องยื่นอัยการสูงสุดตรวจสอบเท่านั้น หรือสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้อีกช่องทางหนึ่ง
และคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ห้ามรัฐสภาโหวตรัฐธรรมนูญวาระ 3 มีผลผูกพันกับองค์กรอื่นหรือไม่
มุมมองของ "วสันต์" เทียบการแก้รัฐธรรมนูญเป็นการพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน "เราได้พิเคราะห์ตัวบทแล้ว เห็นว่าเป็นสิทธิของผู้ร้องเรื่องจะพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน อย่างเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะนำไปสู่การวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเพียงท่านเดียว น่าจะเป็นการตีความที่แคบ"
"เราระวังมากกับการก้าวล่วงเกี่ยวข้องกับอำนาจอื่น อย่างน้อยที่สุดก็ต้องไต่สวนควรความก่อนว่าจริงหรือเปล่า"
"อย่างน้อยที่สุดในเบื้องต้น มีคำร้องกล่าวหาว่าการกระทำของบุคคลเหล่านี้ ก็ต้องฟังก่อนว่าคนที่เขาถูกฟ้อง ถูกร้องจะว่าอย่างไร เขาจะรับสารภาพไหมว่าเขาคิดอย่างนั้นจริง เขาคงไม่รับใช่ไหม ถ้าไม่รับก็ปฏิเสธมาสิ มีเหตุผล มีพยานหลักฐานมาก็พิจารณากัน"
เพราะกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใกล้ถึงบรรทัดสุดท้าย เมื่อถึงมือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ไม่มีใครรู้ได้ว่า ส.ส.ร.ทั้ง 99 คนจะเขี่ยบอลอย่างไร
"ถ้าผ่านลูกให้ ส.ส.ร. เขาจะเตะอย่างไรก็ยังไม่รู้ คนเกี่ยวข้องยืนยันไหมว่าไม่ใช่ตามที่ถูกกล่าวหา หรือจะสารภาพ"
วสันต์บอกว่า ยังไกลเกินไปถ้าจะพูดถึงเรื่องยุบพรรค "เขาจะมาสู้คดีหรือไม่ก็ยังไม่รู้ ไต่สวนจะได้ความอย่างไรก็ยังไม่รู้ นี่แค่รับไต่สวนธรรมดาก็เป็นปัญหา"
"แต่ถ้าไต่สวนแล้วเป็นอย่างนั้น ผลก็เป็นไปตามมาตรา 68 วรรคถัดไป คือศาลสั่งให้ยกเลิกการกระทำอันนั้น ก็จะมีคำวินิจฉัยให้หยุดการกระทำอันนั้น และอาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้แค่นั้น จะไม่ยุบก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ"
เขาไม่คิดว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตจะกลายเป็นชนวนขัดแย้งของมวลชนเหลือง-แดงรอบใหม่ เพราะทุกฝ่ายควรใช้เหตุใช้ผลเป็นที่ตั้งมากกว่าการใช้อารมณ์ ไม่ควรนำวาทกรรม 2 มาตรฐานมาปลุกกระแส
"คนเรามันต้องฟังเหตุฟังผล ต้องรับในเหตุผล ไม่ใช่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่เวลาทำอะไรก็ไปว่าสองมาตรฐาน (เสียงดัง) ไอ้คนของคุณที่ว่าสองมาตรฐานเรื่องรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ก็เพิ่งเคยมีเป็นเรื่องแรก สองมาตรฐานตัวจริงคือซุกหุ้นภาคแรก มีปัญหาเรื่องแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ตอนเช้าตัดสินว่าผิด ตอนบ่ายตัดสินว่าไม่ผิด คนละคดี เรื่องเหมือนกัน หน้าตาเหมือนกัน อย่างนี้เขาเรียกสองมาตรฐาน"
วสันต์ยกตัวอย่างคดีเก่าของเพื่อไทย "ผมไม่เห็นพรรคเพื่อไทยมาชื่นชมผม หรือศาลรัฐธรรมนูญ พอผ่าน พ.ร.ก.ให้ 2 ฉบับ เห็นนายกฯมาขอบคุณ ตรงกันข้ามผมตั้งคำถามรองนายกฯกิตติรัตน์ (ณ ระนอง รมว.คลัง) ก็ไปด่าบนเวทีเสื้อแดงว่า ซักยังกับทำตัวเป็นทนายของฝ่ายค้าน พอผ่านให้ ไม่เห็นขอโทษเลยที่ด่าฟรี ๆ ไปแล้ว พวกนี้มีอคติกันมาก่อน พอเห็นหน้าแล้วโอ๊ยนี่เป็นศัตรูร้อยเปอร์เซ็นต์"
"วสันต์" เล่าเหตุการณ์เมื่อปลายปี 2551 "ตอนตัดสินยุบ 3 พรรค ใส่เสื้อแดงไปนั่งกินข้าวอยู่ พวกศาลปกครองสูงสุดมองเหล่เลยว่าขึ้นมาได้ยังไงวะ พอมาดูหน้าก็เอ้า... เลยบอกว่าทำเนียนไง เดี๋ยวจะได้หนีได้ เราก็เตรียมเสื้อแดงมาใส่"
ในชีวิต "วสันต์" ทำหน้าที่ตัดสิน วินิจฉัยมาแล้วหลายคดี เขาบอกว่า...
"คนที่ก่อกรรมก็ต้องรับกรรม ผมอยู่มาปูนนี้ อีกไม่กี่ปีก็ตาย ตายก็บริจาคร่างกายไม่ต้องมีใครมาทำศพ กำหนดไว้ด้วยว่าไม่ต้องมีพิธีสวด ปล่อยให้โรงพยาบาลเขาไปจัดอย่างไรก็เรื่องของเขา เป็นอาจารย์ใหญ่"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประชาธิปไตย อำพราง !!?
ที่มาของ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” มีน้ำเชื้อเบ่งออกมาจากหลอดแก้ว “เผด็จการ”.. อันเนื่องมาจาก “การปฏิวัติ” จึงผิดฝาปิดตัว ทุกอย่าง
โลกประชาธิปไตยพันธุ์แท้เต็มใบ ต้องมาจากการเลือกตั้ง มีวาระอยู่แค่ ๔ ปี ..๒ สมัย ก็ต้องเก็บฉาก ไปอยู่บ้าน
แต่ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” มีภูมิคุ้มกัน “อภิสิทธิ์ชน” อยู่ได้ ๑ วาระ ตั้ง “๙ ปี” จนก้นด้านริดสีดวงรับประทาน
เป็นกันจนฝีดาษถามหา.. แต่ก็ยังเจี๊ยะเต้เสวยบุญ เป็น “ตุลาการ” ดูช่างทะแม่ง ขัดกับ“ประชาธิปไตยต้นแบบ” ของ “อังกฤษ” และ “สหรัฐอเมริกา” ต้องชิดซ้าย
โคตรเหง้าสักหลาด ..มาจากอำนาจอุบาทว์..เราต้องรีบขจัด พวกนี้ออกไป
+++++++++++++++++++++++++++
สงครามประชาชน
หยิบ “สงครามฝ่ายเหนือ-ฝ่ายใต้” แห่งมลรัฐสหรัฐอเมริกา มายกเป็นตัวอย่าง แก่จำอวดข้างถนน อย่าง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ดูเป็นแซมเปิ้ล ตัวอย่าง สักหน
สุดท้ายนักประชาธิปไตย เสียง “ฝ่ายเหนือ” ก็กำชัยเด็ดขาดต่อ “ฝ่ายใต้”จอมทุรัง
ปั่นกระแส สร้างโจ๊ก เล่นวาทะกรรม..บั้นปลาย “ฝ่ายใต้” ก็ต้องพัง
ฐานที่มั่นหลัก “ประชาธิปัตย์” มีเพียงแดนสะตอ...ผิดกับ “เพื่อไทย” ของ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มี ฝ่ายเหนือ ฝ่ายอีสาน ฝ่ายภาคตะวันออก ฝ่ายภาคตะวันตก หนุนชอบธรรม
ให้คนออกมาสู้...แพ้แบบไม่มีประตู...รู้หรือเปล่าท่านยิ่งจะช้ำ
++++++++++++++++++++++++++
ส่องกระจกตัวเอง เสียหน่อย
พรรคไหนหนอ ที่เป็น “ขี้ข้า-ลิ่วล้อ-ทาสในเรือนเบี้ย” ของ “สหรัฐอเมริกา”อยู่บ้อย..บ่อย
คราวที่ “ชวน หลีกภัย” สร้างปรากฏการณ์ “งูเห่า” เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
รีบแจ้นใส่เกือก กระเสือกกระสน บินไปรายงานต่อ “ลุงแซม” ทันที
แม้แต่ “รัฐบาลมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็บินปร๋อ ชูคอไปหา “ประธานาธิบดีสหรัฐ” แทนที่จะบินไปคารวะพี่ใหญ่เอเชีย “จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี-สิงคโปร์” เพื่อสร้างบรรยายกาศดี..ดี
ฉะนั้นที่, “สหรัฐ” ขอมาให้ “สนามบินอู่ตะเภา” เพื่อสำรวจภูมิอากาศ..อย่าตำหนิ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต” รมว.กลาโหม..เพราะสมัย “ชวน”เป็นรัฐบาล ยอมให้ “สิงคโปร์” เข้ามาเคลมใช้สนามบินอุดรธานี เป็นสนามที่ฝึกรบยิงกระสุนให้ลั่น
ก่อนจะเล่นจำอวดบอกใคร..ต้องปูพื้นความใน...ว่า “รัฐบาลไหน”มันอนุมัติก่อนกัน
+++++++++++++++++++++++++++++
“มรดกบาป”
เป็นห่วง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกรงว่า “นารีขี่ม้าขาว” จะพังพาบ
เพราะข้อท้วงติง ที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มีไปถึง “ศาลโลก” เกี่ยวกับดินแดน “ไทย-เขมร”
มีเค้าว่า เราจะเสียดินแดนทางทะเล ให้กับ “กัมพูชา” เหมือนสมัยหัวหน้าพรรคต้นตำรา พรรคประชาธิปัตย์ ไปว่าความ ..จนไทยต้องเสีย “ประสาทเขาพระวิหาร” อยากที่เห็น
“นายกฯปู” ต้องชิงแก้เกมกับ “สมเด็จฮุนเซน” เสียให้ดี..เพราะเราเป็นรองทุกด้าน จากรัฐบาลฟันน้ำนม ไปก่อเหตุทุกด้าน
เสียแผ่นดินแล้วล่ะก้อ...ไอ้พวกนี้มันจะจ้อ...หยิบเรื่องขึ้นมาล่อ เพื่อไล่รัฐบาล
++++++++++++++++++++++++++
ล้างบางให้เกลี้ยง
“นักการเมืองท้องถิ่น” ที่เป็น “ศัตรู” กับ “รัฐบาลปู” อย่าได้ไปเลี้ยง
การชดเชย ช่วยประชาชนที่ถูกน้ำท่วม บ้านละ ๑๕ บาท ๒๐๐ บาท เป็นพวกนักการเมืองท้องถิ่น สร้างรอยด่าง กับ “นายกฯปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
พวกนี้สร้างเหตุ เพื่อให้ “คนเสื้อแดง” ที่เดือดร้อนเกิดความเกลียดชัง ไปรักประชาธิปัตย์
ต้องวาน รัฐมนตรีตงฉิน “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” มท.๑ ไปสอดส่องดูแล นักการเมืองท้องถิ่นปทุมธานี และ นนทบุรี มีพฤติกรรมใส่ร้าย “รัฐบาลปู” อย่างจั๋งหนับ
พวกเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล...ต้องใช้กฎหมายจัดการ..อย่าปล่อยมันแทงข้างหลังอยู่นะครับ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โลกประชาธิปไตยพันธุ์แท้เต็มใบ ต้องมาจากการเลือกตั้ง มีวาระอยู่แค่ ๔ ปี ..๒ สมัย ก็ต้องเก็บฉาก ไปอยู่บ้าน
แต่ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” มีภูมิคุ้มกัน “อภิสิทธิ์ชน” อยู่ได้ ๑ วาระ ตั้ง “๙ ปี” จนก้นด้านริดสีดวงรับประทาน
เป็นกันจนฝีดาษถามหา.. แต่ก็ยังเจี๊ยะเต้เสวยบุญ เป็น “ตุลาการ” ดูช่างทะแม่ง ขัดกับ“ประชาธิปไตยต้นแบบ” ของ “อังกฤษ” และ “สหรัฐอเมริกา” ต้องชิดซ้าย
โคตรเหง้าสักหลาด ..มาจากอำนาจอุบาทว์..เราต้องรีบขจัด พวกนี้ออกไป
+++++++++++++++++++++++++++
สงครามประชาชน
หยิบ “สงครามฝ่ายเหนือ-ฝ่ายใต้” แห่งมลรัฐสหรัฐอเมริกา มายกเป็นตัวอย่าง แก่จำอวดข้างถนน อย่าง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ดูเป็นแซมเปิ้ล ตัวอย่าง สักหน
สุดท้ายนักประชาธิปไตย เสียง “ฝ่ายเหนือ” ก็กำชัยเด็ดขาดต่อ “ฝ่ายใต้”จอมทุรัง
ปั่นกระแส สร้างโจ๊ก เล่นวาทะกรรม..บั้นปลาย “ฝ่ายใต้” ก็ต้องพัง
ฐานที่มั่นหลัก “ประชาธิปัตย์” มีเพียงแดนสะตอ...ผิดกับ “เพื่อไทย” ของ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มี ฝ่ายเหนือ ฝ่ายอีสาน ฝ่ายภาคตะวันออก ฝ่ายภาคตะวันตก หนุนชอบธรรม
ให้คนออกมาสู้...แพ้แบบไม่มีประตู...รู้หรือเปล่าท่านยิ่งจะช้ำ
++++++++++++++++++++++++++
ส่องกระจกตัวเอง เสียหน่อย
พรรคไหนหนอ ที่เป็น “ขี้ข้า-ลิ่วล้อ-ทาสในเรือนเบี้ย” ของ “สหรัฐอเมริกา”อยู่บ้อย..บ่อย
คราวที่ “ชวน หลีกภัย” สร้างปรากฏการณ์ “งูเห่า” เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
รีบแจ้นใส่เกือก กระเสือกกระสน บินไปรายงานต่อ “ลุงแซม” ทันที
แม้แต่ “รัฐบาลมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็บินปร๋อ ชูคอไปหา “ประธานาธิบดีสหรัฐ” แทนที่จะบินไปคารวะพี่ใหญ่เอเชีย “จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี-สิงคโปร์” เพื่อสร้างบรรยายกาศดี..ดี
ฉะนั้นที่, “สหรัฐ” ขอมาให้ “สนามบินอู่ตะเภา” เพื่อสำรวจภูมิอากาศ..อย่าตำหนิ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต” รมว.กลาโหม..เพราะสมัย “ชวน”เป็นรัฐบาล ยอมให้ “สิงคโปร์” เข้ามาเคลมใช้สนามบินอุดรธานี เป็นสนามที่ฝึกรบยิงกระสุนให้ลั่น
ก่อนจะเล่นจำอวดบอกใคร..ต้องปูพื้นความใน...ว่า “รัฐบาลไหน”มันอนุมัติก่อนกัน
+++++++++++++++++++++++++++++
“มรดกบาป”
เป็นห่วง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกรงว่า “นารีขี่ม้าขาว” จะพังพาบ
เพราะข้อท้วงติง ที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มีไปถึง “ศาลโลก” เกี่ยวกับดินแดน “ไทย-เขมร”
มีเค้าว่า เราจะเสียดินแดนทางทะเล ให้กับ “กัมพูชา” เหมือนสมัยหัวหน้าพรรคต้นตำรา พรรคประชาธิปัตย์ ไปว่าความ ..จนไทยต้องเสีย “ประสาทเขาพระวิหาร” อยากที่เห็น
“นายกฯปู” ต้องชิงแก้เกมกับ “สมเด็จฮุนเซน” เสียให้ดี..เพราะเราเป็นรองทุกด้าน จากรัฐบาลฟันน้ำนม ไปก่อเหตุทุกด้าน
เสียแผ่นดินแล้วล่ะก้อ...ไอ้พวกนี้มันจะจ้อ...หยิบเรื่องขึ้นมาล่อ เพื่อไล่รัฐบาล
++++++++++++++++++++++++++
ล้างบางให้เกลี้ยง
“นักการเมืองท้องถิ่น” ที่เป็น “ศัตรู” กับ “รัฐบาลปู” อย่าได้ไปเลี้ยง
การชดเชย ช่วยประชาชนที่ถูกน้ำท่วม บ้านละ ๑๕ บาท ๒๐๐ บาท เป็นพวกนักการเมืองท้องถิ่น สร้างรอยด่าง กับ “นายกฯปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
พวกนี้สร้างเหตุ เพื่อให้ “คนเสื้อแดง” ที่เดือดร้อนเกิดความเกลียดชัง ไปรักประชาธิปัตย์
ต้องวาน รัฐมนตรีตงฉิน “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” มท.๑ ไปสอดส่องดูแล นักการเมืองท้องถิ่นปทุมธานี และ นนทบุรี มีพฤติกรรมใส่ร้าย “รัฐบาลปู” อย่างจั๋งหนับ
พวกเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล...ต้องใช้กฎหมายจัดการ..อย่าปล่อยมันแทงข้างหลังอยู่นะครับ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ภาษาไทยวันละคำ : ตลก.. (ตุลาการ) อัยการสูงสุดไม่ตลกด้วย !!?
ยิ่งดิ้นก็ยิ่งเข้าเนื้อลึกลงไปเรื่อยๆ ตามคำสอนของไทยแท้แต่โบราณจริงๆ
เพราะงานนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญกำลังตกอยู่ในสภาพ ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก... จะเดินหน้าก็ลำบากใจ จะถอยหลังศักดิ์ศรีก็ค้ำคอ
เรื่องของการใช้อำนาจในการรับคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ทำให้กลายเป็นมติคำสั่งที่เป็นเหมือนระเบิดลูกใหญ่หล่นโครมเข้าใส่กลางวงของตุลาการเสียงข้างมาก จนไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร ก็เลยต้องเล่นมุก “รัฐธรรมนูญฉบับภาษาอังกฤษ”
แต่คนทั้งประเทศไม่ตลกไปด้วย เลยทำให้ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงกับอ่วม เพราะเสียงสะท้อนในเรื่องที่ให้คนไทยไปอ่านรัฐธรรมนูญฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น มาแรงเกินกว่าที่นายวสันต์คาดเดาเอาไว้เยอะ
แถมแต่ละเสียงแรงๆทั้งนั้น ไม่ใช่แค่เฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ถึงขนาดไล่ให้ไปเกิดใหม่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักแทนที่จะเกิดในเมืองไทย
แต่ที่เป็นหลักวิชาการภาษาอังกฤษ ก็คือ นายณรงค์เดช สรุโฆษิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายการปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นอกจากระบุว่ากรณีรัฐธรรมนูญ 2550 ชัดเจนว่า ร่างขึ้นจากภาษาไทย อีกทั้งเนื้อความตามมาตรา 68 ในภาษาอังกฤษก็คลุมเครือ ซึ่งแม้จะไม่เชี่ยวชาญนัก แต่เข้าใจว่าคำกริยา request นั้น มีโครงสร้างแบบ "request + someone + to do something" ดังนั้น มาตรา 68 ในภาษาอังกฤษ ก็น่าแปลว่า อัยการสูงสุดต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลอยู่ดี
“หากผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้คำร้องไปศาลได้ทั้งสองช่องทางจริง อย่างน้อยก็น่าจะใส่เครื่องหมายคอมม่าหลังคำว่า facts และเพิ่มคำว่า to หน้าคำว่า submit เป็นดังนี้ In the case where a person or a political party has committed the act under paragraph one, the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and to submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act without, however, prejudice to the institution of a criminal action against such person. แต่ถ้าจะให้ชัดเจนกว่านั้น เติมคำว่า the right to เข้าไปหลังคำว่า and เลย เป็น “... the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and the right to submit…” คราวนี้ จะเป็นดังที่ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญอธิบายมาแน่ๆ”นายณรงค์เดชกล่าว
นายณรงค์เดชยังให้มุมมองด้วยว่าจริงๆแล้วศาลรัฐธรรมนูญสามารถถอนคำสั่งศาลได้เสมอ แต่ศาลคงจะไม่ทำ เพราะจะหมายความว่าความศักดิ์สิทธิ์ของศาลจะลดลงทันที
แต่กรณีนี้อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า คณะทำงานอัยการชุดที่พิจารณาเรื่องนี้ ไม่สนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษวันละคำ อย่างที่นายวสันต์ และตุลาการเสียงข้างมากสนุก
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีคำร้องมาตรา 68 จึงประชุมกันอย่างเคร่งเครียดนานกว่า 6 ชั่วโมง แล้วสรุปความเห็นออกมาว่า ไม่ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ตามมาตรา 68
ซึ่งนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันหนักแน่นว่าหลังจากคณะกรรมการอัยการสรุปข้อเท็จจริง และเสนอให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด พิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณีคำร้องของผู้ร้องทั้ง 6 นั้น
ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติกรรม หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำตามความ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ที่สำคัญมีการชี้แจงกันแบบตรงไปตรงมาด้วยว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมให้อำนาจอัยการสูงสุดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยถึงการกระทำดังกล่าวตามเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา68 หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อมิให้อัยการสุงสุดใช้อำนาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง
ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามมาตรา 68 และการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันเป็นวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งมาตรา 291 รวมทั้งเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความใดที่บ่งชี้หรือแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครอง
อีกทั้งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อนว่าจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ ดังนั้นกรณีตามคำร้องของผู้ร้องทั้งหกข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติการณ์หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการให้เลิกการกระทำการตามมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญ
โดยการพิจารณาของอัยการสูงสุดในเรื่องนี้ไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นแต่อย่างใด
ส่วนกระบวนการต่อไปขององค์กรอื่นๆ ทั้งในส่วนของรัฐสภา หรืออำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทางอัยการสูงสุดไม่ได้พิจารณาในส่วนนั้น เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เท่านั้น
ซึ่งวงในยืนยันว่า ความเห็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีการระบุไว้ชัดเจนว่า เนื้อหาในคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
แน่นอนว่ากรณีนี้คือหนังคนละม้วนกับตอนที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากให้รับคำร้องของกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ และเสียงสะท้อนก็แตกต่างกันด้วย เพราะตอนมติคำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญ โดนชยันโตดังทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะบรรดานักกฎหมาย นักปราชญ์ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ พากันรับไม่ได้ทั้งนั้น
ยิ่งกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง และแกนนำ นปช. ไม่เพียงแต่รับไม่ได้ ยังมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอน 7 ตุลาการเสียงข้างมากกันเลยทีเดียว
ส่วนผู้ที่เชียร์และเห็นด้วยมีเพียงแค่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ กับกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ กับกลุ่ม 40 ส.ว. และกลุ่มพันธมิตรฯเท่านั้น ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ได้ออกมาเจื้อยแจ้วว่า ให้เคารพหลักการ เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ควรเคารพตามนั้น
แต่พอคณะอัยการสูงสุด มีความเห็นสวนทางกับศาลรัฐธรรมนูญ คือไม่รับคำร้อง นายอภิสิทธิ์ก็ลืมสิ่งที่เคยพูดว่าควรเคารพตามคำตัดสินที่ออกมา แต่กลับเล่นงานกล่าวหาว่า อัยการสูงสุดเดินตามธงของรัฐบาลไปโน่นเลย
แถมกลุ่มพันธมิตรก็ออกโรงขู่ฟ่อว่าจะหาช่องทางฟ้องอัยการในเรื่องนี้ แต่ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง สวนกลับไม่กังวลเรื่องนี้ เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น เมื่อพบว่าไม่เข้าตามมาตรา 68 ก็เท่านั้นเอง
เจอเข้าเต็มๆแบบนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมต้องดิ้นหาทางออก เมื่ออัยการสูงสุดเห้นไม่ตรงกับตุลาการ ก็เลยมีการเปลี่ยนการจัดรายการจาก “ภาษาอังกฤษวันละคำ” มาเป็นจัดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ”อีกรอบหนึ่ง
โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกข่าวมาชี้แจงว่า การที่อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วไม่ฟ้อง ก็ยิ่งเป็นการทำให้เห็นว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 ประการ คือ 1 มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยตรงได้
พร้อมกับระบุด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของอัยการกับศาลนั้นแตกต่างกัน เพราะอัยการต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วจึงใช้ดุลพินิจว่าจะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่ศาลต้องรับคำฟ้องหรือคำร้องให้เป็นคดีก่อน แล้วค่อยไปพิจารณาหลักฐานของทุกฝ่าย
งานนี้เห็นชัดเจนว่าตุลาการรัฐธรรมนูญไม่เลิกเล่นเกมตีความภาษา แต่หันมาตีความภาษาไทยอีกรอบหนึ่ง เรียกว่าเป็นการเปิดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ” ขึ้นมาหมายกู้ศรัทธาคืน
เพราะเสียรังวัดตอนงัดภาษาอังกฤษมาสู้ จนเจอไล่ไปเกิดใหม่บ้าง ตั้งคำถามว่า ภาษาสากลของประเทศไทยที่เป็นทางการหรือเป็นภาษาราชการคือภาษาไทย เพราะเมืองไทยไม่ได้เคยเป็นเมืองขึ้นของตะวันตกภาษาอังกฤษจึงไม่ใช่ภาษาราชการของประเทศไทย แล้วทำไมตุลาการ ทำไมนายวสันต์ จึงไปใช้ภาษาอังกฤษ
เมื่อโดนจนจุก จึงต้องหันมาใช้ตีความภาษาไทยวันละคำสู้อีกรอบ
งานนี้ไม่รู้ว่านักภาษาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จะส่ายหน้าด้วยความอิดหนาระอาใจหรือเปล่า เพราะประโยคเจ้าปัญหาในมาตรา 68 วรรคสอง ที่เป็นกรณีขึ้นมาด้วยฝีมือของตุลาการ ก็คือ
“ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว”
ครูภาษาไทยมาทั้งชีวิตบอกว่า ประโยคนี้ไม่มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ฉะนั้นแม้แต่ตามหลักภาษาไทย โดยที่ไม่ต้องดูเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ต้องบอกว่า เป็นสิทธิในการเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง
แต่สิ่งที่ตุลาการรัฐธรรมนูญกระทำกับภาษาไทยประโยคนี้คือ ไปทำเหมือนกับว่า มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ก็เลยตีความว่า ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ทั้งๆที่โดยรูปประโยค หากฝืนไปแยกเว้นวรรค เพื่ออ้างว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 สิทธิอย่างที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้างนั้น จะกลายเป็นว่า แล้วกระบวนการของอัยการสูงสุดก็จะกุดด้วนอยู่แค่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้นหรือ
ถ้าฝืนตีความภาษาไทยให้แยกประโยคขาดกันเช่นนั้นแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ จะให้อัยการทำอะไร
ในเมื่อประโยคนี้เป็นประโยคติดกัน ย่อมต้องหมายความว่าให้อัยการสูงสุดทำทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการยื่นคำร้อง
เรื่องนี้ต่อให้ถึงครูอังคณา หากยึดหลักไวยากรณ์ไทย ก็ต้องออกมาแบบนี้
ปัญหานี้เกิดจากการไม่เข้าใจเครื่องหมายวรรคตอนทางด้านภาษาไทยอย่างแท้จริง ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะเด็กรุ่นใหม่ๆก็มีปัญหาในเรื่องการเว้นวรรคไม่เว้นวรรคนี่แหละ ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นในคนรุ่นผู้ใหญ่ด้วย
จึงถือเป็นวิกฤตของภาษาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะขนาดผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรม แต่กลับตีความภาษาไทยแตกต่างกันอย่างนี้ ประชาชนที่หวังพึ่งระบบยุติธรรมก็คงอดรู้สึกวังเวงไม่ได้
งานนี้นอกจากจะเป็นศึกงัดข้อทางด้านกฎหมายแล้ว ยังเป็นสงครามการตีความภาษาไทยอีกด้วย
แบบนี้แหละที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ต้องออกมาบอกว่าห่วงที่บ้านเมืองยังคงมีการแบ่งเป็นเหลืองเป็นแดง
แต่ยังดีที่การันตีว่า บรรดาพวกที่ชอบกระชุ่นให้ทหารปฏิวัตินั้น ลืมไปได้เลย..
ยังไงก็ไม่ปฏิวัติแน่!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เพราะงานนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญกำลังตกอยู่ในสภาพ ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก... จะเดินหน้าก็ลำบากใจ จะถอยหลังศักดิ์ศรีก็ค้ำคอ
เรื่องของการใช้อำนาจในการรับคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ทำให้กลายเป็นมติคำสั่งที่เป็นเหมือนระเบิดลูกใหญ่หล่นโครมเข้าใส่กลางวงของตุลาการเสียงข้างมาก จนไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร ก็เลยต้องเล่นมุก “รัฐธรรมนูญฉบับภาษาอังกฤษ”
แต่คนทั้งประเทศไม่ตลกไปด้วย เลยทำให้ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงกับอ่วม เพราะเสียงสะท้อนในเรื่องที่ให้คนไทยไปอ่านรัฐธรรมนูญฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น มาแรงเกินกว่าที่นายวสันต์คาดเดาเอาไว้เยอะ
แถมแต่ละเสียงแรงๆทั้งนั้น ไม่ใช่แค่เฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ถึงขนาดไล่ให้ไปเกิดใหม่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักแทนที่จะเกิดในเมืองไทย
แต่ที่เป็นหลักวิชาการภาษาอังกฤษ ก็คือ นายณรงค์เดช สรุโฆษิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายการปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นอกจากระบุว่ากรณีรัฐธรรมนูญ 2550 ชัดเจนว่า ร่างขึ้นจากภาษาไทย อีกทั้งเนื้อความตามมาตรา 68 ในภาษาอังกฤษก็คลุมเครือ ซึ่งแม้จะไม่เชี่ยวชาญนัก แต่เข้าใจว่าคำกริยา request นั้น มีโครงสร้างแบบ "request + someone + to do something" ดังนั้น มาตรา 68 ในภาษาอังกฤษ ก็น่าแปลว่า อัยการสูงสุดต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลอยู่ดี
“หากผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้คำร้องไปศาลได้ทั้งสองช่องทางจริง อย่างน้อยก็น่าจะใส่เครื่องหมายคอมม่าหลังคำว่า facts และเพิ่มคำว่า to หน้าคำว่า submit เป็นดังนี้ In the case where a person or a political party has committed the act under paragraph one, the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and to submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act without, however, prejudice to the institution of a criminal action against such person. แต่ถ้าจะให้ชัดเจนกว่านั้น เติมคำว่า the right to เข้าไปหลังคำว่า and เลย เป็น “... the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and the right to submit…” คราวนี้ จะเป็นดังที่ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญอธิบายมาแน่ๆ”นายณรงค์เดชกล่าว
นายณรงค์เดชยังให้มุมมองด้วยว่าจริงๆแล้วศาลรัฐธรรมนูญสามารถถอนคำสั่งศาลได้เสมอ แต่ศาลคงจะไม่ทำ เพราะจะหมายความว่าความศักดิ์สิทธิ์ของศาลจะลดลงทันที
แต่กรณีนี้อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า คณะทำงานอัยการชุดที่พิจารณาเรื่องนี้ ไม่สนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษวันละคำ อย่างที่นายวสันต์ และตุลาการเสียงข้างมากสนุก
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีคำร้องมาตรา 68 จึงประชุมกันอย่างเคร่งเครียดนานกว่า 6 ชั่วโมง แล้วสรุปความเห็นออกมาว่า ไม่ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ตามมาตรา 68
ซึ่งนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันหนักแน่นว่าหลังจากคณะกรรมการอัยการสรุปข้อเท็จจริง และเสนอให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด พิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณีคำร้องของผู้ร้องทั้ง 6 นั้น
ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติกรรม หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำตามความ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ที่สำคัญมีการชี้แจงกันแบบตรงไปตรงมาด้วยว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมให้อำนาจอัยการสูงสุดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยถึงการกระทำดังกล่าวตามเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา68 หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อมิให้อัยการสุงสุดใช้อำนาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง
ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามมาตรา 68 และการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันเป็นวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งมาตรา 291 รวมทั้งเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความใดที่บ่งชี้หรือแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครอง
อีกทั้งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อนว่าจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ ดังนั้นกรณีตามคำร้องของผู้ร้องทั้งหกข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติการณ์หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการให้เลิกการกระทำการตามมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญ
โดยการพิจารณาของอัยการสูงสุดในเรื่องนี้ไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นแต่อย่างใด
ส่วนกระบวนการต่อไปขององค์กรอื่นๆ ทั้งในส่วนของรัฐสภา หรืออำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทางอัยการสูงสุดไม่ได้พิจารณาในส่วนนั้น เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เท่านั้น
ซึ่งวงในยืนยันว่า ความเห็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีการระบุไว้ชัดเจนว่า เนื้อหาในคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
แน่นอนว่ากรณีนี้คือหนังคนละม้วนกับตอนที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากให้รับคำร้องของกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ และเสียงสะท้อนก็แตกต่างกันด้วย เพราะตอนมติคำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญ โดนชยันโตดังทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะบรรดานักกฎหมาย นักปราชญ์ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ พากันรับไม่ได้ทั้งนั้น
ยิ่งกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง และแกนนำ นปช. ไม่เพียงแต่รับไม่ได้ ยังมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอน 7 ตุลาการเสียงข้างมากกันเลยทีเดียว
ส่วนผู้ที่เชียร์และเห็นด้วยมีเพียงแค่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ กับกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ กับกลุ่ม 40 ส.ว. และกลุ่มพันธมิตรฯเท่านั้น ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ได้ออกมาเจื้อยแจ้วว่า ให้เคารพหลักการ เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ควรเคารพตามนั้น
แต่พอคณะอัยการสูงสุด มีความเห็นสวนทางกับศาลรัฐธรรมนูญ คือไม่รับคำร้อง นายอภิสิทธิ์ก็ลืมสิ่งที่เคยพูดว่าควรเคารพตามคำตัดสินที่ออกมา แต่กลับเล่นงานกล่าวหาว่า อัยการสูงสุดเดินตามธงของรัฐบาลไปโน่นเลย
แถมกลุ่มพันธมิตรก็ออกโรงขู่ฟ่อว่าจะหาช่องทางฟ้องอัยการในเรื่องนี้ แต่ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง สวนกลับไม่กังวลเรื่องนี้ เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น เมื่อพบว่าไม่เข้าตามมาตรา 68 ก็เท่านั้นเอง
เจอเข้าเต็มๆแบบนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมต้องดิ้นหาทางออก เมื่ออัยการสูงสุดเห้นไม่ตรงกับตุลาการ ก็เลยมีการเปลี่ยนการจัดรายการจาก “ภาษาอังกฤษวันละคำ” มาเป็นจัดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ”อีกรอบหนึ่ง
โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกข่าวมาชี้แจงว่า การที่อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วไม่ฟ้อง ก็ยิ่งเป็นการทำให้เห็นว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 ประการ คือ 1 มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยตรงได้
พร้อมกับระบุด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของอัยการกับศาลนั้นแตกต่างกัน เพราะอัยการต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วจึงใช้ดุลพินิจว่าจะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่ศาลต้องรับคำฟ้องหรือคำร้องให้เป็นคดีก่อน แล้วค่อยไปพิจารณาหลักฐานของทุกฝ่าย
งานนี้เห็นชัดเจนว่าตุลาการรัฐธรรมนูญไม่เลิกเล่นเกมตีความภาษา แต่หันมาตีความภาษาไทยอีกรอบหนึ่ง เรียกว่าเป็นการเปิดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ” ขึ้นมาหมายกู้ศรัทธาคืน
เพราะเสียรังวัดตอนงัดภาษาอังกฤษมาสู้ จนเจอไล่ไปเกิดใหม่บ้าง ตั้งคำถามว่า ภาษาสากลของประเทศไทยที่เป็นทางการหรือเป็นภาษาราชการคือภาษาไทย เพราะเมืองไทยไม่ได้เคยเป็นเมืองขึ้นของตะวันตกภาษาอังกฤษจึงไม่ใช่ภาษาราชการของประเทศไทย แล้วทำไมตุลาการ ทำไมนายวสันต์ จึงไปใช้ภาษาอังกฤษ
เมื่อโดนจนจุก จึงต้องหันมาใช้ตีความภาษาไทยวันละคำสู้อีกรอบ
งานนี้ไม่รู้ว่านักภาษาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จะส่ายหน้าด้วยความอิดหนาระอาใจหรือเปล่า เพราะประโยคเจ้าปัญหาในมาตรา 68 วรรคสอง ที่เป็นกรณีขึ้นมาด้วยฝีมือของตุลาการ ก็คือ
“ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว”
ครูภาษาไทยมาทั้งชีวิตบอกว่า ประโยคนี้ไม่มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ฉะนั้นแม้แต่ตามหลักภาษาไทย โดยที่ไม่ต้องดูเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ต้องบอกว่า เป็นสิทธิในการเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง
แต่สิ่งที่ตุลาการรัฐธรรมนูญกระทำกับภาษาไทยประโยคนี้คือ ไปทำเหมือนกับว่า มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ก็เลยตีความว่า ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ทั้งๆที่โดยรูปประโยค หากฝืนไปแยกเว้นวรรค เพื่ออ้างว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 สิทธิอย่างที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้างนั้น จะกลายเป็นว่า แล้วกระบวนการของอัยการสูงสุดก็จะกุดด้วนอยู่แค่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้นหรือ
ถ้าฝืนตีความภาษาไทยให้แยกประโยคขาดกันเช่นนั้นแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ จะให้อัยการทำอะไร
ในเมื่อประโยคนี้เป็นประโยคติดกัน ย่อมต้องหมายความว่าให้อัยการสูงสุดทำทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการยื่นคำร้อง
เรื่องนี้ต่อให้ถึงครูอังคณา หากยึดหลักไวยากรณ์ไทย ก็ต้องออกมาแบบนี้
ปัญหานี้เกิดจากการไม่เข้าใจเครื่องหมายวรรคตอนทางด้านภาษาไทยอย่างแท้จริง ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะเด็กรุ่นใหม่ๆก็มีปัญหาในเรื่องการเว้นวรรคไม่เว้นวรรคนี่แหละ ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นในคนรุ่นผู้ใหญ่ด้วย
จึงถือเป็นวิกฤตของภาษาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะขนาดผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรม แต่กลับตีความภาษาไทยแตกต่างกันอย่างนี้ ประชาชนที่หวังพึ่งระบบยุติธรรมก็คงอดรู้สึกวังเวงไม่ได้
งานนี้นอกจากจะเป็นศึกงัดข้อทางด้านกฎหมายแล้ว ยังเป็นสงครามการตีความภาษาไทยอีกด้วย
แบบนี้แหละที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ต้องออกมาบอกว่าห่วงที่บ้านเมืองยังคงมีการแบ่งเป็นเหลืองเป็นแดง
แต่ยังดีที่การันตีว่า บรรดาพวกที่ชอบกระชุ่นให้ทหารปฏิวัตินั้น ลืมไปได้เลย..
ยังไงก็ไม่ปฏิวัติแน่!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)