ข่าว(ในประเทศ)
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2612 ประจำวัน ศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2009
“ประโภชฌ์” ไขก๊อกตามพี่ชาย ระบุเพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ รับมีการแสวงหาประโยชน์ในขั้นปฏิบัติการ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายประโภชฌ์ สภาวสุ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ได้ให้เจ้าหน้าที่นำเอกสารหนังสือลาออกจากรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนมาแจกจ่ายผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล โดยในเอกสารดังกล่าวระบุว่าวันที่ 20 สิงหาคม ที่สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี นายประโภชฌ์ สภาวสุ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งแล้ว โดยระบุว่าการลาออกครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้มีการปรับโครงสร้างทั้งระบบของโครงการชุมชนพอเพียง เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โครงการนี้เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชน หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จจะช่วยเหลือชุมชนต่างๆทั่วประเทศได้กว่า 80,000 ชุมชน
“เมื่อมีการตรวจสอบโครงการพบว่ามีปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัติและมีผู้แสวงหาประโยชน์กันอยู่มาก ดังนั้น เพื่อให้มีการตรวจสอบอย่างโปร่งใสและมีความคล่องตัว อิสระในการปรับโครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการได้อย่างเต็มที่ จึงขอลาออกจากการทำหน้าที่ในครั้งนี้ และหวังว่าการเดินหน้าของโครงการชุมชนพอเพียงจะสามารถสร้างประโยชน์ให้ชุมชนได้อย่างแท้จริง”
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบโครงการชุมชนพอเพียงของพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานโครงการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) ลาออกจากตำแหน่งประธานโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน
โดย น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า การที่นายกอร์ปศักดิ์ลาออกดูผิวเผินเหมือนแสดงความรับผิดชอบ แต่จะลดกระแสสังคมได้หรือไม่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเหมือนปล้นประชาชนอย่างไร้ยางอาย ขอให้ผู้มีอำนาจหยุดโกงกินในโครงการ แต่จะหยุดความรับผิดชอบไม่ได้ เนื่องจากการลาออกเป็นเพียงแค่สับขาหลอก แต่ยังยิงประตูได้ เพราะโครงสร้าง สพช. แปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดในโลกคือ นายกอร์ปศักดิ์ 1.เป็นรองนายกฯ กำกับดูแลนโยบาย 2.เป็นประธานบอร์ดโครงการนี้ ทั้งนี้ ยังให้บอร์ดตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายอำนวยการที่เป็นฝ่ายบู๊ มีนายกอร์ปศักดิ์เป็นประธาน และ 3.คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการที่เป็นฝ่ายบุ๋น มีนายมีชัย วีระไวทยะ เป็นประธาน
น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวอีกว่า ฝ่ายบู๊มีอำนาจอนุมัติเงินโครงการ 22,000 ล้านบาท และยังมีการตั้งรอง ผอ. 6 คน กลับไม่ใช่รอง ผอ. ขับเคลื่อนงาน แต่ไปตั้งกลุ่มภารกิจบริหารจัดการงบประมาณ มีนายประโภชฌ์ สภาวสุ รอง ผอ.โครงการชุมชนพอเพียงรับผิดชอบ และยังมีกลุ่มภารกิจดำเนินการสรุปผลและพิจารณาโครงการ มีนายประโภชฌ์รับผิดชอบบริหารจัดการงบภายในและชงเรื่อง ก่อนที่เส้นทางเงิน 22,000 ล้านบาทที่ทุจริตจะกระจายไปทั่วประเทศ
จะเห็นได้ว่ารองนายกฯดูแลทั้งนโยบาย เป็นประธานบอร์ดอนุมัติโครงการ และเป็นประธานคณะอนุกรรมการที่มีอำนาจเต็มในการอนุมัติงบก่อนรายงานบอร์ด ดังนั้น การกระจายงบประมาณ 22,000 ล้านบาท เกี่ยวข้องกับนายกอร์ปศักดิ์ทุกกระบวนการ แม้ลาออกจากประธานบอร์ด และให้นายมีชัยขึ้นเป็นประธานบอร์ด แต่อำนาจบริหารจัดการโครงการยังอยู่ที่คณะอนุกรรมการฝ่ายอำนวยการที่มีนายกอร์ปศักดิ์เป็นประธาน ดังนั้น นายกอร์ปศักดิ์ต้องลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯเพื่อแสดงความรับผิดชอบ และเปิดให้มีการตรวจสอบได้อย่างเต็มที่
นายเจริญ คันธวงศ์ ประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงชุมชนพอเพียง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า เบื้องต้นพบว่าการขายสินค้าต่างๆไม่มีบริษัทอื่นๆเข้าร่วมในการแข่งขัน หรือไม่มีการเข้ามาแข่งในด้านการจัดซื้อ นอกจากนี้ยังพบว่าได้มีการแจ้งไปยังชุมชนว่ามีเงินมาแล้ว จากนั้นมีการติดต่อบริษัทโดยตรง ทั้งนี้ จะต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้ง
นายเจริญกล่าวอีกว่า การสอบสวนในเบื้องต้นพบว่ามีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติกระทำความผิดในบางขั้นตอนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สำหรับโครงการชุมชนพอเพียงเห็นว่าควรที่จะดำเนินการต่อไป แต่ต้องทำให้เกิดความโปร่งใส เพราะโครงการนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม
วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร”
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 1222 สิงหาคม 2552
อารยะขัดขืน เอามาใช้ให้เต็มที่ และรัฐบาลพลัดถิ่น ต้องตั้งขึ้นมาสวนควันปืนทันที เรื่องอื่นๆ ขอเก็บไว้หน่อย ปล่อยให้ (อำมาตย์) งง แทบจะไม่มีใครนึกฝันว่า กระบวนการลงชื่อถวายฎีกากรณีคุณทักษิณ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เบาบางที่สุดแล้วในเส้นทางอันยาวไกล จะทำให้ระบอบอำมาตยาธิปไตยเกิด “วินาศกาเล วิปริตพุทธิ”
ขึ้นมาอย่างกะทันหันอย่างนี้เห็นปัญญาแปรปรวนวิปลาสไป ทำให้ฉุกคิดว่าถึงคราววินาศเสียแล้วล่ะกระมัง อำมาตย์ไม่รู้หรอกหรือว่า ชาวประชาธิปไตยที่เอาจริงเอาจังเขาไม่ได้เห็นด้วยกับฎีกาทุกคน แต่เงียบสงบกันอยู่ตลอดมานี้ก็เพราะเห็นว่าสังคมไทยต้องเดินไปตามวงเวียนกรรมของตนเองเสียก่อนที่จะเกิดความเข้าใจทะลุปรุโปร่งว่าทุกข์ทางการเมืองในขณะนี้เกิดจากอะไร ผิดหวังอีกสักรอบหนึ่งอาจจะเป็นการศึกษาที่ดีว่า
การต่อสู้ตามสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ กับการลดความเป็นมนุษย์ของตนเองลงเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่เราต้องการนั้น มีความแตกต่างกันนักหนา การต่อสู้ย่อมเหนื่อยยาก ยาวนาน แต่ยั่งยืน การขอร้องนั้นเร็วทันใจและดูเหมือนได้ผล แต่เขาจะเอากลับคืนไปอีกเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อใดก็ตามในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ อำนาจสูงสุดที่เป็นของปวงชน เสรีภาพส่วนบุคคล สังคมเสมอภาค หลักกฎหมาย และผู้ใช้อำนาจรัฐที่มา
จากการเลือกตั้ง แต่สังคมของเรามีคนมากมายและหลากหลาย กว่าจะเกิดแนวคิดที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างที่เรียกว่าฉันทามตินั้น บางครั้งต้องยอมให้เจ็บตัวบ้าง เหมือนเด็กเล็กที่ต้องหกล้มสักครั้งสองครั้งก่อนจะเรียนรู้ว่าพื้นคอนกรีตนั้นมันแข็งและไม่ควรปล่อยตัวให้หกล้ม พลังประชาธิปไตยที่รอคอยอย่างเงียบสงบในกระบวนการถวายฎีกา รู้ดีว่าเรื่องนี้เป็นการศึกษาของสังคม โอกาสที่จะได้มาซึ่งทางออกอย่างยั่งยืนและระบอบประชาธิปไตยแท้จริงด้วยวิธีการอย่างนี้แทบจะไม่เห็นทาง แต่ก็ต้องให้สาธุชนทั้งหลายรู้เองด้วย
ประสบการณ์ส่วนตัว บอกล่วงหน้าไม่ได้ คนกำลังหลงใหลอะไร อย่าไปขัดคอขัดใจให้เกิดโกรธเคืองกันเลยครับ ความหลงถูกทำลายได้ไม่ยากด้วยความจริง เราไม่ควรห่วงใยจนเกินเหตุนัก ความจริงที่ว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยไม่เป็นที่พึ่งที่หวังได้เลยสำหรับฝ่ายประชาธิปไตย เพราะใช้เวลาตลอดชีวิตในการบดขยี้ทำลายล้างให้เป็นภัสมธุลี ด้วยความโหดเหี้ยมอำมหิตเหลือที่จะกล่าวนั้น เป็นความจริงที่เจ็บปวด ฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อขาวอีกเป็นจำนวนมากยังปลงใจเชื่อไม่ได้ และยังฝันว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยเป็นคำตอบที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยสถิตสถาพรได้ สมการง่ายๆ ว่าฝ่ายอำมาตย์คือผู้ทำลายประชาธิปไตย และ
ประชาธิปไตยจะเกิดและอยู่ถาวรได้ในประเทศนี้ต่อเมื่อฝ่ายอำมาตย์ต้องพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด ยังไม่ใช่สมการที่ผู้คนส่วนใหญ่หรือจำนวนมากพอเข้าใจและยอมรับ เราจึงต้องใจเย็น ผมถูกป้ายสีมาตั้งแต่ออกจากเมืองไทยว่า เป็นคนประเภทใช้กำลัง เพราะไปเอ่ยถึงเรื่องการจัดตั้งกองกำลังเพื่อเตรียมสู้รบกับฝ่ายอำมาตย์ในการให้สัมภาษณ์ ทั้งๆ ที่พูดสื่อความหมายในทางตรงข้ามว่า ฝ่ายอำมาตย์ไม่ควรบีบบังคับฝ่ายประชาชนให้ถึงขั้นคิดใช้และจัดตั้งกองกำลังเลย พูดเตือนสติกับสุนัขบ้าที่กำลังน้ำลายฟูมปาก มันก็กัดเข้าให้
ขณะนี้ได้นำบทเรียนนี้มาขบคิดใคร่ครวญและฉีดวัคซีนรอบสะดือไว้แล้วเรียบร้อยโรงเรียนไทยแล้วครับ อย่าได้เป็นห่วง เชื่อเถิดว่า ความวุ่นวายในหมู่อำมาตย์จนชีวิตกลายเป็นจลาจลในขณะนี้ จะเป็นคุณอย่างมากต่อการยอมรับความจริงที่หลีกเลี่ยงมิได้ของฝ่ายประชาธิปไตย ไม่เกินจริงเลยที่จะบอกว่าถวายฎีกาแล้วจะเกิดปฏิกิริยาอย่างหนักหน่วงจากฝ่ายอำมาตย์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก หนึ่ง-อำมาตย์ใหญ่และคนวงใน จะ
ทำท่าเงียบเฉยจนดูเหมือนให้ความร่วมมือ แต่รอเวลาที่จะตลบหลังเปลี่ยนฉากทำให้คนเสื้อแดงและฝ่ายประชาธิปไตยกลายเป็นผู้ร้ายไป สอง-อำมาตย์ระดับกลางและระดับปฏิบัติการจะวิ่งวุ่น แสดงออกโต้งๆ เลยว่าไม่สามารถอดทนต่อกระบวนการถวายฎีกาของคนเสื้อแดงได้ เพราะรู้ดีว่ากำลังเสี่ยงภัยมหาศาล ถ้าอำมาตย์ใหญ่เกิดรับลูกฝ่ายประชาธิปไตยขึ้นมา จะจริงใจหรือไม่ก็ช่างเถิด ตัวเองอาจถูกจับบูชายัญแทนเจ้า
นายผู้เป็นอำมาตย์ใหญ่ที่หาทางลงไม่ได้ หรือถ้าอำมาตย์ใหญ่วางแผนตลบหลังคนเสื้อแดงเสียเอง ก็จะได้หน้าว่าออกมาช่วยอำมาตย์ใหญ่ตั้งแต่ต้นเราจึงเห็นหน้าของคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ คุณอานันท์ ปันยารชุน คุณสุรพล นิติไกรพจน์ ฯลฯ ในบัดนี้ เพราะเป็นฤดูกาลหาเสียงของฝ่ายอำมาตย์เขา ไม่มีทางเลยที่วิกฤติการเมืองครั้งนี้จะจบลงด้วยความยอมรับนับถือในทัศนะของประชาชน เพราะหากมี DNA ประชาธิปไตยอยู่ในตัวบ้าง
คงไม่จุดไฟเผาเมืองตัวเองจนเป็นจุลมหาจุลอย่างนี้มาแต่ต้นการปะทะระหว่างกลุ่มมวลชนเป็นไปได้ ตั้งแต่ปะทะใหญ่โตเป็น ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึงปะทะน้อยๆ แต่สร้างภาพให้น่าสะพรึงกลัวในโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ และเว็ปของฝ่ายอำมาตย์ จนประชาชนทั่วไปรู้สึกว่าสถานการณ์ไร้การควบคุม และยอมให้จัดตั้งรัฐบาลพิเศษขึ้นมาปกครองในรูปแบบที่ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ คนเสื้อแดงถูกทำลายภาพลักษณ์จนกลายเป็นผู้ร้าย คิดโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยฎีกาที่ยกขบวนกันไปยื่น ทำลายชื่อเสียงกลางเมืองกันอย่างนั้นก็เป็นไปได้
และจนถึงใช้วิธีรัฐประหาร ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน เพราะกองทัพเป็นเครื่องมือชิ้นเดียวที่ยังไม่ออกมาแสดงท่าทีในเรื่องฎีกา อาจจะรอทำผลงานทีเดียวหลังจากที่กลไกอื่นๆ ทำลายภาพลักษณ์ของฝ่ายประชาธิปไตยจนย่อยยับแล้ว เหมือนใช้วิทยุยานเกราะ หนังสือพิมพ์อย่างดาวสยามและบางกอกโพสต์ก่อนเหตุการณ์โหดเหี้ยม ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ จนนักศึกษาในที่ชุมนุมกลายเป็นญวนเป็นแกว และคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเมืองไทยด้วยกำลังอาวุธ
ละครแบบนี้เล่นมาหลายรอบแล้ว และเขาก็เชื่อมั่นว่ายังได้ผล เมื่อเขายังเชื่อมั่นอย่างนั้น เราก็ต้องระมัดระวัง บทความที่เขียนอยู่นี้ยังไม่รู้ว่าจะได้ลงพิมพ์ทันเวลาหรือไม่ แต่บอกไว้ตรงนี้ว่าอะไรที่พลาดมาจาก ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ เราจะนำมาเป็นบทเรียนและทำเสียให้แตกต่างในครั้งนี้ เลิกเอาไข่ใส่ในตะกร้าเดียวกันเหมือนที่มั่นใจว่ามีเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเหลือเฟือ และลืมสร้างกลไกอื่นๆ นอกสภาเอาไว้สู้ กลับ
มาสนับสนุนขบวนการและกลุ่มประชาธิปไตยเสื้อแดงและเสื้อขาวที่กระจายกำลังกันอยู่แล้วทั่วประเทศและทั่วโลกอย่างเต็มที่ เพราะเขาคือพระเอกนางเอกตัวจริง คนที่เป็น ส.ส. และคนที่อยากเป็น ก็เข้าช่วยเขาในเขตนั้นๆ ด้วยกำลังปัญญา กำลังทรัพย์ และกำลังใจ โดยใช้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเข้าไปสมทบ อารยะขัดขืน เอามาใช้ให้เต็มที่ และรัฐบาลพลัดถิ่น ต้องตั้งขึ้นมาสวนควันปืนทันที เรื่องอื่นๆ ขอเก็บไว้หน่อย ปล่อยให้ (อำมาตย์) งง. -------------------------------
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
มาร์คถกเครียด ชวน-บัญญัติ-นิพนธ์ ที่พรรค ริอาจฝืนลิขิตฟ้า ลักไก่เสนอชื่อ"ปทีป"ผบ.ตร.คนใหม่แทน จุมพล

ข่าวสด : เมื่อเวลา 06.50 น.
วันที่ 21 ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางออกจากบ้านพัก ซ.สุขุมวิท 31 มุ่งหน้าไปยังบ้านพักของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ ซ.สุขุมวิท 53 ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด คาดว่าหารือเรื่องปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่หลังจากเมื่อวานนี้ยังไม่ข้อยุติ โดยมีกระแสข่าวว่ากรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติหลายคนไม่เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เพียงชื่อเดียว
ต่อมาเวลา 08.00 น. นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อพบผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อสื่อซักถามถึงตำแหน่งผบ.ตร.คนใหม่ นายกรัฐมนตรีตอบว่าไม่ยุ่งเรื่องผบ.ตร.แต่ยุ่งเรื่องอื่นอยู่ และเมื่อสื่อถามว่ายุ่งเรื่องยุบสภาหรือ นายกรัฐมนตรีตอบกลับว่า ช่างคิดจริงนะ
ภายหลังนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยปฏิเสธกระแสข่าวยุบสภาว่าเป็นเพียงแค่ข่าวลือ ยืนยันว่าไม่มี ส่วนกรณีที่งดประชุมสภาในวันนี้ ตนไม่ทราบขอให้สื่อมวลชนไปถามประธานสภากันเอง เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามถามต่อ นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธโดยระบุว่าให้ไปที่โรงแรมพล่าซาแอทธินีดีกว่าเพราะมีเวลาเยอะ
จากนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้เดินทางมายังโรงแรมพล่าซาแอนธินี แต่เมื่อปาฐกถาเสร็จ นายอภิสิทธิ์ ได้หลบผู้สื่อข่าวออกจากอีกช่องทางหนึ่ง โดยไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ และเดินทางมาที่พรรคประชาธิปัตย์ในเวลา 11.10 น. เมื่อมาถึงได้มีกลุ่มส.ส.ที่เห็นด้วยกับนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป ประมาณ 20 คนตั้งแถวต้อนรับให้กำลังใจ พร้อมทั้งปรบมือ บอกให้สู้ๆ ทำให้นายอภิสิทธิ์ มีสีหน้าแจ่มใสขึ้นและยิ้มอย่างอารมณ์ดี โดยแซวส.ส.ที่มาให้กำลังใจว่า ไม่มีประชุมสภา ไม่มีที่ไปเลยมาที่นี่กันใช่หรือไม่ จากนั้นนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วน เข้าไปให้กำลังใจ
เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามนายกฯถึงตัวผบ.ตร.คนใหม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร สบายดี ก่อนจะรีบขึ้นไปยังห้องทำงานที่อาคารควง อภัยวงศ์ โดยก่อนหน้านี้นายชวน และนายนิพนธ์ ได้ขึ้นไปรออยู่แล้ว ต่อมาเวลา 11.25 น. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้เดินทางมาสมทบ ส่วนบรรยากาศที่พรรคมีส.ส.ทยอยเดินทางเข้ามาจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้เวลา 10.10 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ได้ร่วมหารือกับพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร. และพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฐฎ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ที่เดินทางมารอพบตั้งแต่เวลา 09.30 น. ทั้งนี้ นายชวน ให้สัมภาษณ์ก่อนการหารือถึงนายอภิสิทธิ์ ถูกหักหน้าจากการโหวตเลือกผบ.ตร.ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คิดว่านายกฯคงคาดไม่ถึง แต่เชื่อนายกฯเข้มแข็งและจะผ่านไปได้ ส่วนที่กังวลว่าเรื่องนี้จะส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อมในพรรค ตนคิดว่าคงไม่มี เพราะถึงอย่างไรส.ส.ให้กำลังใจเป็นการภายในอยู่แล้ว และขอให้ทุกคนช่วยกันทำหน้าที่ เมื่อถามถึงกระแสข่าวยุบสภา นายชวน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่อง นายชวน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่อง
นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย คัดค้านการเสนอของนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป เป็นผบ.ตร.คนใหม่ ในที่ประชุมก.ต.ช.ว่า เป็นการไม่ให้เกียรติ ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ไม่เคยแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือยุ่งเกี่ยวกับโยกย้ายในกระทรวงมหาดไทย แต่พอนายอภิสิทธิ์ เสนอชื่อคนที่จะมาเป็นผบ.ตร.บ้าง นายชวรัตน์กลับคัดค้าน ถือไม่ให้เกียรติทางการเมืองเป็นอย่างมาก
ภายหลังนายอภิสิทธิ์ เปิดเผยว่า ยังไม่กำหนดว่าจะประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เมื่อไร เนื่องจากกรรมการบางคนติดภารกิจไปต่างประเทศ ยืนยันว่าตนไม่ได้ถูกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายเนวิน ชิดชอบ กดดนแต่อย่างใด และเชื่อว่าหากได้คุยกับนายชวรัตน์ก็จะมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน
วันที่ 21 ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางออกจากบ้านพัก ซ.สุขุมวิท 31 มุ่งหน้าไปยังบ้านพักของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ ซ.สุขุมวิท 53 ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด คาดว่าหารือเรื่องปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่หลังจากเมื่อวานนี้ยังไม่ข้อยุติ โดยมีกระแสข่าวว่ากรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติหลายคนไม่เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เพียงชื่อเดียว
ต่อมาเวลา 08.00 น. นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อพบผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อสื่อซักถามถึงตำแหน่งผบ.ตร.คนใหม่ นายกรัฐมนตรีตอบว่าไม่ยุ่งเรื่องผบ.ตร.แต่ยุ่งเรื่องอื่นอยู่ และเมื่อสื่อถามว่ายุ่งเรื่องยุบสภาหรือ นายกรัฐมนตรีตอบกลับว่า ช่างคิดจริงนะ
ภายหลังนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยปฏิเสธกระแสข่าวยุบสภาว่าเป็นเพียงแค่ข่าวลือ ยืนยันว่าไม่มี ส่วนกรณีที่งดประชุมสภาในวันนี้ ตนไม่ทราบขอให้สื่อมวลชนไปถามประธานสภากันเอง เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามถามต่อ นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธโดยระบุว่าให้ไปที่โรงแรมพล่าซาแอทธินีดีกว่าเพราะมีเวลาเยอะ
จากนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้เดินทางมายังโรงแรมพล่าซาแอนธินี แต่เมื่อปาฐกถาเสร็จ นายอภิสิทธิ์ ได้หลบผู้สื่อข่าวออกจากอีกช่องทางหนึ่ง โดยไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ และเดินทางมาที่พรรคประชาธิปัตย์ในเวลา 11.10 น. เมื่อมาถึงได้มีกลุ่มส.ส.ที่เห็นด้วยกับนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป ประมาณ 20 คนตั้งแถวต้อนรับให้กำลังใจ พร้อมทั้งปรบมือ บอกให้สู้ๆ ทำให้นายอภิสิทธิ์ มีสีหน้าแจ่มใสขึ้นและยิ้มอย่างอารมณ์ดี โดยแซวส.ส.ที่มาให้กำลังใจว่า ไม่มีประชุมสภา ไม่มีที่ไปเลยมาที่นี่กันใช่หรือไม่ จากนั้นนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วน เข้าไปให้กำลังใจ
เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามนายกฯถึงตัวผบ.ตร.คนใหม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร สบายดี ก่อนจะรีบขึ้นไปยังห้องทำงานที่อาคารควง อภัยวงศ์ โดยก่อนหน้านี้นายชวน และนายนิพนธ์ ได้ขึ้นไปรออยู่แล้ว ต่อมาเวลา 11.25 น. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้เดินทางมาสมทบ ส่วนบรรยากาศที่พรรคมีส.ส.ทยอยเดินทางเข้ามาจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้เวลา 10.10 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ได้ร่วมหารือกับพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร. และพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฐฎ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ที่เดินทางมารอพบตั้งแต่เวลา 09.30 น. ทั้งนี้ นายชวน ให้สัมภาษณ์ก่อนการหารือถึงนายอภิสิทธิ์ ถูกหักหน้าจากการโหวตเลือกผบ.ตร.ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คิดว่านายกฯคงคาดไม่ถึง แต่เชื่อนายกฯเข้มแข็งและจะผ่านไปได้ ส่วนที่กังวลว่าเรื่องนี้จะส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อมในพรรค ตนคิดว่าคงไม่มี เพราะถึงอย่างไรส.ส.ให้กำลังใจเป็นการภายในอยู่แล้ว และขอให้ทุกคนช่วยกันทำหน้าที่ เมื่อถามถึงกระแสข่าวยุบสภา นายชวน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่อง นายชวน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่อง
นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย คัดค้านการเสนอของนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป เป็นผบ.ตร.คนใหม่ ในที่ประชุมก.ต.ช.ว่า เป็นการไม่ให้เกียรติ ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ไม่เคยแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือยุ่งเกี่ยวกับโยกย้ายในกระทรวงมหาดไทย แต่พอนายอภิสิทธิ์ เสนอชื่อคนที่จะมาเป็นผบ.ตร.บ้าง นายชวรัตน์กลับคัดค้าน ถือไม่ให้เกียรติทางการเมืองเป็นอย่างมาก
ภายหลังนายอภิสิทธิ์ เปิดเผยว่า ยังไม่กำหนดว่าจะประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เมื่อไร เนื่องจากกรรมการบางคนติดภารกิจไปต่างประเทศ ยืนยันว่าตนไม่ได้ถูกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายเนวิน ชิดชอบ กดดนแต่อย่างใด และเชื่อว่าหากได้คุยกับนายชวรัตน์ก็จะมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน
วิกฤติการเมืองไทยจะถลำลึกกว่านี้ถ้ายื่นถวายฎีกา กระนั้นหรือ???

วันศุกร์ 21 สิงหาคม 2009 — chapter 11
SCENARIOS: Will Thaksin petition deepen Thai political crisisBy Martin Petty, August 17, 2009ที่มา – Reutersแปลและเรียบเรียง – chapter 11
SCENARIOS: Will Thaksin petition deepen Thai political crisisBy Martin Petty, August 17, 2009ที่มา – Reutersแปลและเรียบเรียง – chapter 11
กรุงเทพ – ผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มากกว่า ๒๐,๐๐๐ คน ได้ชุมนุมในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ใจกลางกรุงเทพเมื่อวันจันทร์ และยื่นฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับมหาเศรษฐีที่กำลังลี้ภัย
แผนการการยื่นถวายฎีกาได้สร้างความหวาดกลัวว่า จะทำให้วิกฤติทางการเมืองของไทยที่เกิดขี้นมาในเวลาสี่ปีนี้ต้องตึงเครียดมากขี้น และจะยิ่งทำลายชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพเอื้อต่อการลงทุน และน่าท่องเที่ยว
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทที่ยากจนได้กล่าวว่า ได้มีประชาชนร่วมลงชื่อการยื่นถวายฎีกาถึง ๓.๕ ล้านคน ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับพวกคลั่งเจ้าและชนชั้นกลางที่เกลียดทักษิณ
บทความต่อจากนี้ จะเป็นมุมมองของเหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้า
ความพยายามที่จะยื่นถวายฎีกาอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่สงบ
การยื่นถวายฎีกาต่อองค์กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชอันเป็นที่เคารพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังในหมู่คนที่ต่อต้านทักษิณ
การยื่นถวายฎีกาได้ผ่านพ้นไปโดยปราศจากเหตุการณ์ใดๆ แต่โอกาสที่ฝ่ายพันธมิตรคลั่งเจ้าจะออกมาประท้วงในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า เป็นการระคายเบื้องพระยุคลบาท สร้างความน่าสะพรึงกลัวว่าจะมีการปะทะกัน หรือแม้แต่การแทรกแซงของกองทัพ
จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ฝ่ายพันธมิตรได้สัญญาว่าจะไม่ชุมนุมต่อต้านการยื่นถวายฎีกา โดยกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะขัดขวางในเรื่องนี้
ผู้วิเคราะห์ข่าวส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า การยื่นถวายฎีกาไม่น่าจะก่อให้เกิดสถานการณ์รุนแรง
พวกเขากล่าวว่า จุดประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการยื่นถวายฎีกานี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงสนับสนุนจำนวนมหาศาลที่มีต่อทักษิณ เพื่อให้กระแสการเคลื่อนไหวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง พวกเขามองว่าโอกาสที่ทักษิณที่กำลังลี้ภัยจะได้รับการประทานอภัยโทษนั้นมีน้อยมาก ซึ่งทักษิณยังคงยืนยันว่า การถูกตัดสินว่ากระทำผิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง
นายวีระ ประทีปชัยกูร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เขียนไว้ว่า “ไม่สำคัญว่าทักษิณจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ แต่ที่สำคัญที่สุด จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความนิยมที่ยังมีต่อทักษิณอย่างมาก”
นักลงทุนในตลาดหุ้นต่างเป็นกังวลล่วงหน้าก่อนที่จะมีการชุมนุมในวันจันทร์ แต่การที่หุ้นตกในวันนั้นเป็นเพราะปัจจัยอื่น ในขณะที่การยื่นถวายฎีกายังไม่เสร็จสิ้น ตลาดหุ้นจะยังมีราคาที่ผันผวนต่อไป
อภิสิทธิ์รวบรวมเสียงสนับสนุนจากชาวชนบท เพือรักษาอำนาจ
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้แผนแล้วแผนเล่า โดยตั้งเป้าจะเอาชนะใจคนยากจนชาวชนบท ซึ่งเป็นฐานเสียงของทักษิณ โดยมุ่งหวังจะรักษาอำนาจ และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่จะได้คะแนนเสียงนำพรรคเพื่อไทยที่นิยมทักษิณ
ดูเหมือนอภิสิทธิ์ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขี้น แต่ความพยายามที่จะเพิ่มเสียงสนับสนุนจากคนยากจนดูเหมือนจะไม่ได้ผลนัก พวกเขาเหล่านั้นยังคงนิยมในตัวทักษิณ เนื่องจากนโยบายประชานิยมที่ทักษิณได้ทำไว้ในสมัยเป็นนายก
รศ. ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล ภาควิชารัฐศาสตร์ กล่าวว่า “อภิสิทธิ์รู้ดีว่าเป็นเรื่องสำคัญเพียงใดในการที่จะดึงฐานเสียงของทักษิณ และความพยายามที่จะเลียนแบบนโยบายประชานิยม”
“แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าคนยากจนยังมองไม่เห็นผลจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่อภิสิทธิ์ได้สัญญาไว้ พวกเขาคงไม่เปลี่ยนใจ”
ถ้าการเมืองไทยยังคงอยู่ในทางตันแบบนี้ ราคาในตลาดหุ้นไทยยังคงได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในเอเซีย
ถ้ามีการเลือกตั้ง พรรคนิยมทักษิณจะนอนมา
อภิสิทธิ์ปฎิเสธที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่จนกระทั่งเศรษฐกิจฟื้นตัว และจนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นักวิจารณ์กล่าวว่า อภิสิทธิ์กำลังซื้อเวลาเพื่อหาทางที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีฐานเสียงที่แข็งแกร่งมากขี้น
เอแบคโพล สำรวจความเห็นมาสองครั้งเผยว่า อภิสิทธิ์มีความสามารถน้อยกว่าทักษิณ ซึ่งความนิยมของทักษิณจะช่วยให้พรรคเพื่อไทยกลับมาชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า แม้จะไม่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (scenario) ต่อไปนี้จะนำไปสู่ความวุ่นวายมากขี้น เนื่องจากหลายๆกลุ่มที่ต่อต้านทักษิณไม่ยอมรับรัฐบาลอันเสมือนเป็นตัวแทนของอาชญากรที่กำลังหลบหนี และพวกเขาเชื่อว่าเป็นการท้าท้ายต่อระบอบกษัตริย์
ด้วยภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดหุ้นร่วง
สถานการณ์ที่ต่างคนต่างคุมเชิง, การยึดอำนาจของกองทัพ
ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในขั้นนี้ แต่จะตัดการทำรัฐประหารโดยกองทัพทิ้งออกไปเลยก็ไม่ได้ สำหรับประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างลุ่มๆดอนๆ และมีการทำรัฐประหารหรือพยายามที่จะทำรัฐประหารถึง ๑๘ ครั้ง ในรอบ ๗๗ ปี
กระแสข่าวลือเรื่องรัฐประหารยังคงวนเวียนอยู่ และนักวิเคราะห์กล่าวว่า อภิสิทธิ์ยังคงได้รับการหนุนหลังจากกองทัพที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองและกระหายอำนาจ และยังคงบงการอภิสิทธิ์ได้อยู่
จาคอบ แรมเซย์ นักวิเคราะห์จากคอนโทรลริสค์กล่าวว่า “มุมมองจากวงในยังคงเห็นว่า อภิสิทธิ์จะยังได้รับการหนุนหลังจากทหาร เพราะทหารยังไม่สามารถหาคนมาแทนได้”
ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ ย่อมเป็นการฝืนความต้องการของสังคม หลังจากการทำรัฐประหารปล้นอำนาจของทักษิณในปี พ.ศ.๒๕๔๙ กองทัพยังคงอยู่เบื้องหลังของรัฐบาลมือสมัครเล่นชุดนี้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกู้ความมีเสถียรภาพหรือ
อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขามีความมุ่งมั่นที่จะให้มีการสมานฉันท์แห่งชาติ แต่ดูเหมือนว่าแต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมรอมชอมกัน และเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในเร็ววันนี้
คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ส่งมอบรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายต่อต้านทักษิณจะไม่เห็นด้วยกับความพยายามของฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ที่จะให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบถึงสองพรรค
ยูเรเซียกรุ๊ป (Eurasia Group) ได้ส่งรายงานถึงลูกค้าว่า “จะต้องได้รับการเห็นชอบจากกองทัพ ราชวงศ์ และศักดินาในกรุงเทพ”
“นับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับกำลังฝ่ายต่อต้านทักษิณ เนื่องจากพวกนี้เป็นกังวลว่าถ้ามีการยินยอม จะเป็นการนำไปสู่การตั้งรัฐบาลของฝ่ายนิยมทักษิณ และยิ่งประวัติการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขาดความสามารถในการบริหารงาน”
มติจากมหาชนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะเป็นหนทางอีกยาวไกล ซึ่งจะช่วยรักษาความแตกแยกในทางการเมือง ถ้ามีการแก้ไขตลาดหุ้นจะขานรับด้วยความยินดี แต่จะไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าผลที่ได้คือรัฐบาลเงาของทักษิณ
แผนการการยื่นถวายฎีกาได้สร้างความหวาดกลัวว่า จะทำให้วิกฤติทางการเมืองของไทยที่เกิดขี้นมาในเวลาสี่ปีนี้ต้องตึงเครียดมากขี้น และจะยิ่งทำลายชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพเอื้อต่อการลงทุน และน่าท่องเที่ยว
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทที่ยากจนได้กล่าวว่า ได้มีประชาชนร่วมลงชื่อการยื่นถวายฎีกาถึง ๓.๕ ล้านคน ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับพวกคลั่งเจ้าและชนชั้นกลางที่เกลียดทักษิณ
บทความต่อจากนี้ จะเป็นมุมมองของเหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้า
ความพยายามที่จะยื่นถวายฎีกาอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่สงบ
การยื่นถวายฎีกาต่อองค์กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชอันเป็นที่เคารพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังในหมู่คนที่ต่อต้านทักษิณ
การยื่นถวายฎีกาได้ผ่านพ้นไปโดยปราศจากเหตุการณ์ใดๆ แต่โอกาสที่ฝ่ายพันธมิตรคลั่งเจ้าจะออกมาประท้วงในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า เป็นการระคายเบื้องพระยุคลบาท สร้างความน่าสะพรึงกลัวว่าจะมีการปะทะกัน หรือแม้แต่การแทรกแซงของกองทัพ
จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ฝ่ายพันธมิตรได้สัญญาว่าจะไม่ชุมนุมต่อต้านการยื่นถวายฎีกา โดยกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะขัดขวางในเรื่องนี้
ผู้วิเคราะห์ข่าวส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า การยื่นถวายฎีกาไม่น่าจะก่อให้เกิดสถานการณ์รุนแรง
พวกเขากล่าวว่า จุดประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการยื่นถวายฎีกานี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงสนับสนุนจำนวนมหาศาลที่มีต่อทักษิณ เพื่อให้กระแสการเคลื่อนไหวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง พวกเขามองว่าโอกาสที่ทักษิณที่กำลังลี้ภัยจะได้รับการประทานอภัยโทษนั้นมีน้อยมาก ซึ่งทักษิณยังคงยืนยันว่า การถูกตัดสินว่ากระทำผิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง
นายวีระ ประทีปชัยกูร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เขียนไว้ว่า “ไม่สำคัญว่าทักษิณจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ แต่ที่สำคัญที่สุด จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความนิยมที่ยังมีต่อทักษิณอย่างมาก”
นักลงทุนในตลาดหุ้นต่างเป็นกังวลล่วงหน้าก่อนที่จะมีการชุมนุมในวันจันทร์ แต่การที่หุ้นตกในวันนั้นเป็นเพราะปัจจัยอื่น ในขณะที่การยื่นถวายฎีกายังไม่เสร็จสิ้น ตลาดหุ้นจะยังมีราคาที่ผันผวนต่อไป
อภิสิทธิ์รวบรวมเสียงสนับสนุนจากชาวชนบท เพือรักษาอำนาจ
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้แผนแล้วแผนเล่า โดยตั้งเป้าจะเอาชนะใจคนยากจนชาวชนบท ซึ่งเป็นฐานเสียงของทักษิณ โดยมุ่งหวังจะรักษาอำนาจ และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่จะได้คะแนนเสียงนำพรรคเพื่อไทยที่นิยมทักษิณ
ดูเหมือนอภิสิทธิ์ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขี้น แต่ความพยายามที่จะเพิ่มเสียงสนับสนุนจากคนยากจนดูเหมือนจะไม่ได้ผลนัก พวกเขาเหล่านั้นยังคงนิยมในตัวทักษิณ เนื่องจากนโยบายประชานิยมที่ทักษิณได้ทำไว้ในสมัยเป็นนายก
รศ. ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล ภาควิชารัฐศาสตร์ กล่าวว่า “อภิสิทธิ์รู้ดีว่าเป็นเรื่องสำคัญเพียงใดในการที่จะดึงฐานเสียงของทักษิณ และความพยายามที่จะเลียนแบบนโยบายประชานิยม”
“แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าคนยากจนยังมองไม่เห็นผลจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่อภิสิทธิ์ได้สัญญาไว้ พวกเขาคงไม่เปลี่ยนใจ”
ถ้าการเมืองไทยยังคงอยู่ในทางตันแบบนี้ ราคาในตลาดหุ้นไทยยังคงได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในเอเซีย
ถ้ามีการเลือกตั้ง พรรคนิยมทักษิณจะนอนมา
อภิสิทธิ์ปฎิเสธที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่จนกระทั่งเศรษฐกิจฟื้นตัว และจนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นักวิจารณ์กล่าวว่า อภิสิทธิ์กำลังซื้อเวลาเพื่อหาทางที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีฐานเสียงที่แข็งแกร่งมากขี้น
เอแบคโพล สำรวจความเห็นมาสองครั้งเผยว่า อภิสิทธิ์มีความสามารถน้อยกว่าทักษิณ ซึ่งความนิยมของทักษิณจะช่วยให้พรรคเพื่อไทยกลับมาชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า แม้จะไม่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (scenario) ต่อไปนี้จะนำไปสู่ความวุ่นวายมากขี้น เนื่องจากหลายๆกลุ่มที่ต่อต้านทักษิณไม่ยอมรับรัฐบาลอันเสมือนเป็นตัวแทนของอาชญากรที่กำลังหลบหนี และพวกเขาเชื่อว่าเป็นการท้าท้ายต่อระบอบกษัตริย์
ด้วยภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดหุ้นร่วง
สถานการณ์ที่ต่างคนต่างคุมเชิง, การยึดอำนาจของกองทัพ
ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในขั้นนี้ แต่จะตัดการทำรัฐประหารโดยกองทัพทิ้งออกไปเลยก็ไม่ได้ สำหรับประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างลุ่มๆดอนๆ และมีการทำรัฐประหารหรือพยายามที่จะทำรัฐประหารถึง ๑๘ ครั้ง ในรอบ ๗๗ ปี
กระแสข่าวลือเรื่องรัฐประหารยังคงวนเวียนอยู่ และนักวิเคราะห์กล่าวว่า อภิสิทธิ์ยังคงได้รับการหนุนหลังจากกองทัพที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองและกระหายอำนาจ และยังคงบงการอภิสิทธิ์ได้อยู่
จาคอบ แรมเซย์ นักวิเคราะห์จากคอนโทรลริสค์กล่าวว่า “มุมมองจากวงในยังคงเห็นว่า อภิสิทธิ์จะยังได้รับการหนุนหลังจากทหาร เพราะทหารยังไม่สามารถหาคนมาแทนได้”
ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ ย่อมเป็นการฝืนความต้องการของสังคม หลังจากการทำรัฐประหารปล้นอำนาจของทักษิณในปี พ.ศ.๒๕๔๙ กองทัพยังคงอยู่เบื้องหลังของรัฐบาลมือสมัครเล่นชุดนี้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกู้ความมีเสถียรภาพหรือ
อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขามีความมุ่งมั่นที่จะให้มีการสมานฉันท์แห่งชาติ แต่ดูเหมือนว่าแต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมรอมชอมกัน และเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในเร็ววันนี้
คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ส่งมอบรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายต่อต้านทักษิณจะไม่เห็นด้วยกับความพยายามของฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ที่จะให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบถึงสองพรรค
ยูเรเซียกรุ๊ป (Eurasia Group) ได้ส่งรายงานถึงลูกค้าว่า “จะต้องได้รับการเห็นชอบจากกองทัพ ราชวงศ์ และศักดินาในกรุงเทพ”
“นับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับกำลังฝ่ายต่อต้านทักษิณ เนื่องจากพวกนี้เป็นกังวลว่าถ้ามีการยินยอม จะเป็นการนำไปสู่การตั้งรัฐบาลของฝ่ายนิยมทักษิณ และยิ่งประวัติการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขาดความสามารถในการบริหารงาน”
มติจากมหาชนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะเป็นหนทางอีกยาวไกล ซึ่งจะช่วยรักษาความแตกแยกในทางการเมือง ถ้ามีการแก้ไขตลาดหุ้นจะขานรับด้วยความยินดี แต่จะไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าผลที่ได้คือรัฐบาลเงาของทักษิณ
วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ฎีกา ใครจะรับไว้เองก็ตามใจ
ที่มา thaifreenews
โดย ปลายอ้อกอแขม
”ฎีกา” ใครจะรับไว้เองก็ตามใจ...
ความยิ่งใหญ่อลังการระดับงานสร้าง กับพิธีการทูลเกล้าถวายฎีกาของคนเสื้อแดง ณ ประตูวิเศษไชยศรีเมื่อช่วงเที่ยงๆของวันที่ 17 สิงหานี้ ..สุดยอด !เห็น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนเสื้อแดงจำนวนหลายหมื่นจากทั่วสาระทิศ ที่มารวมตัวกันตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 16 สิงหา
เห็นการตั้งแถวเป็นริ้วขบวนเคลื่อนตัวไปยังพระบรมมหาราชวังอย่างพร้อมเพรียง สวยงาม เห็นภาพการ “หาม”กล่องใส่ฎีกา 2 คนต่อ 1 กล่องที่เป็นขบวนยาวเหยียด เป็นภาพที่ผมคิดว่าหาไม่ได้แล้วอีกแล้ว ..งามจริงๆทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นจากพลังของมหาประชาชน ..ของจริง !เห็น พูดๆกันว่า ตามขั้นตอนเมื่อสำนักราชเลขาฯรับไปแล้ว
ก็ต้องส่งให้รัฐบาลตรวจสอบก่อน จากนั้นรัฐบาลก็จะส่งฎีกากลับคืนสำนักพระราชฯพร้อมห็นประกอบ แต่ไม่มีสิทธิ์จะดองฎีกาไว้ จากนั้นเมื่อสำนักราชฯได้ความเห็นคืนมาแล้ว ก็จะส่งต่อให้องคมนตรีอีกทอดหนึ่ง ..เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯมี หลายคนถามว่า ตอนที่ฎีกาของอาจารย์จุฬาฯ และฎีกาของนายสนธิที่บุกไปถวายฎีกาตอน 3 ทุ่มในคราวนั้น
สำนักราชเลขาฯได้ทำ “ขั้นตอน”อย่างนี้หรือไม่ และคำถามก็คือรัฐบาลในตอนนั้น ได้มีการตรวจสอบฎีกาหรือไม่ ..ผมไม่รู้ !แต่ ที่รู้ ก็คือ ฎีกาทั้ง 2 ฉบับ ส่งไปถึงมือองคมนตรีอย่างแน่นอน พล.อ.เปรมยอมรับเองเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถ้าฎีกาทั้ง 2 ฉบับถึงมือองคมนตรีได้ ก็แสดงว่ารัฐบาลทักษิณในตอนนั้น ไม่ได้สะกัดขัดขวางฎีกาเลย ทั้งที่ฎีกานั้นมีเนื้อความที่ร้ายตนเอง ..นี่ซิ คนจริง ! แต่ถ้าไม่จริงดังที่สำนักราชเลขาฯกล่าว อ้าง ก็เป็นเรื่องน่าคิด แต่อย่างไรเสีย ความจริงก็คือความจริง
วันหนึ่งมันต้องเปิดเผยออกมาอย่างแน่นอน ..เหมือนทุกเรื่อง!แต่ วันนี้ คนเสื้อแดงได้ยื่นฎีกาไปแล้ว จุดหมายก็เพื่อทูลเกล้าถวายพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ไม่ใช่สำนักราชเลขาฯ ไม่ใช่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ไม่ใช่องคมนตรี ..จึงไม่คิดว่าใครหน้าไหนจะบังอาจตัดตอนฎีกา !การถวายฎีกา เป็นเรื่องของพสกนิกรที่ต้องการบอกเล่าถึงความทุกข์ร้อนแสนสาหัสของตนเองกับ พระเจ้าอยู่หัวของเขาตามโบราณราชประเพณี พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นที่จะดับทุกข์เข็ญได้
เหตุที่ไม่ร้องทุกข์กับรัฐบาล เพราะรัฐบาลได้ประกาศเป็นศัตรูกับคนเสื้อแดงเสียเอง ..ก็รู้ๆกันอยู่โปรด รับรู้ว่าฎีกานี้ คนเสื้อแดงส่งขึ้นทูลเกล้าถวาย ใครอย่ามาทำตัวเสมอด้วยพระองค์รับฎีกาเก็บเอาไว้ หากคิดจะทำอย่างนั้น ก็ตามใจ ..แล้วจะว่าไม่เตือน !และโปรดรับรู้อีกอย่างว่า คนเสื้อแดงเหล่านี้ เทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระองค์ ..รู้ไว้ด้วย !!!
โดย ปลายอ้อกอแขม
”ฎีกา” ใครจะรับไว้เองก็ตามใจ...
ความยิ่งใหญ่อลังการระดับงานสร้าง กับพิธีการทูลเกล้าถวายฎีกาของคนเสื้อแดง ณ ประตูวิเศษไชยศรีเมื่อช่วงเที่ยงๆของวันที่ 17 สิงหานี้ ..สุดยอด !เห็น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนเสื้อแดงจำนวนหลายหมื่นจากทั่วสาระทิศ ที่มารวมตัวกันตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 16 สิงหา
เห็นการตั้งแถวเป็นริ้วขบวนเคลื่อนตัวไปยังพระบรมมหาราชวังอย่างพร้อมเพรียง สวยงาม เห็นภาพการ “หาม”กล่องใส่ฎีกา 2 คนต่อ 1 กล่องที่เป็นขบวนยาวเหยียด เป็นภาพที่ผมคิดว่าหาไม่ได้แล้วอีกแล้ว ..งามจริงๆทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นจากพลังของมหาประชาชน ..ของจริง !เห็น พูดๆกันว่า ตามขั้นตอนเมื่อสำนักราชเลขาฯรับไปแล้ว
ก็ต้องส่งให้รัฐบาลตรวจสอบก่อน จากนั้นรัฐบาลก็จะส่งฎีกากลับคืนสำนักพระราชฯพร้อมห็นประกอบ แต่ไม่มีสิทธิ์จะดองฎีกาไว้ จากนั้นเมื่อสำนักราชฯได้ความเห็นคืนมาแล้ว ก็จะส่งต่อให้องคมนตรีอีกทอดหนึ่ง ..เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯมี หลายคนถามว่า ตอนที่ฎีกาของอาจารย์จุฬาฯ และฎีกาของนายสนธิที่บุกไปถวายฎีกาตอน 3 ทุ่มในคราวนั้น
สำนักราชเลขาฯได้ทำ “ขั้นตอน”อย่างนี้หรือไม่ และคำถามก็คือรัฐบาลในตอนนั้น ได้มีการตรวจสอบฎีกาหรือไม่ ..ผมไม่รู้ !แต่ ที่รู้ ก็คือ ฎีกาทั้ง 2 ฉบับ ส่งไปถึงมือองคมนตรีอย่างแน่นอน พล.อ.เปรมยอมรับเองเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถ้าฎีกาทั้ง 2 ฉบับถึงมือองคมนตรีได้ ก็แสดงว่ารัฐบาลทักษิณในตอนนั้น ไม่ได้สะกัดขัดขวางฎีกาเลย ทั้งที่ฎีกานั้นมีเนื้อความที่ร้ายตนเอง ..นี่ซิ คนจริง ! แต่ถ้าไม่จริงดังที่สำนักราชเลขาฯกล่าว อ้าง ก็เป็นเรื่องน่าคิด แต่อย่างไรเสีย ความจริงก็คือความจริง
วันหนึ่งมันต้องเปิดเผยออกมาอย่างแน่นอน ..เหมือนทุกเรื่อง!แต่ วันนี้ คนเสื้อแดงได้ยื่นฎีกาไปแล้ว จุดหมายก็เพื่อทูลเกล้าถวายพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ไม่ใช่สำนักราชเลขาฯ ไม่ใช่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ไม่ใช่องคมนตรี ..จึงไม่คิดว่าใครหน้าไหนจะบังอาจตัดตอนฎีกา !การถวายฎีกา เป็นเรื่องของพสกนิกรที่ต้องการบอกเล่าถึงความทุกข์ร้อนแสนสาหัสของตนเองกับ พระเจ้าอยู่หัวของเขาตามโบราณราชประเพณี พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นที่จะดับทุกข์เข็ญได้
เหตุที่ไม่ร้องทุกข์กับรัฐบาล เพราะรัฐบาลได้ประกาศเป็นศัตรูกับคนเสื้อแดงเสียเอง ..ก็รู้ๆกันอยู่โปรด รับรู้ว่าฎีกานี้ คนเสื้อแดงส่งขึ้นทูลเกล้าถวาย ใครอย่ามาทำตัวเสมอด้วยพระองค์รับฎีกาเก็บเอาไว้ หากคิดจะทำอย่างนั้น ก็ตามใจ ..แล้วจะว่าไม่เตือน !และโปรดรับรู้อีกอย่างว่า คนเสื้อแดงเหล่านี้ เทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระองค์ ..รู้ไว้ด้วย !!!
เหลื่อเชื่อกับคำตอบของ"อภิสิทธิ์"

วันพฤหัส 20 สิงหาคม 2009 — chapter 11
The incredible Abhisit petition responseAugust 18, 2009
ที่มา – Political Prisoners in Thailand
แปลและเรียบเรียง – chapter 11
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตกเป็นเหยื่อของการที่ปากไม่มีหูรูดของตัวเอง ในเรื่องเกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาเพื่อ “ขอพระราชทานอภัยโทษ” ให้กับทักษิณ ชินวัตร
จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒: “นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การพิจารณาเรื่องการยื่นถวายฎีกาอาจใช้เวลาหลายเดือน”) ข่าวรายงานว่า อภิสิทธิ์กล่าวว่า “จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึง ๒ เดือน ในการพิจารณาฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับทักษิณ ชินวัตร ก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจว่าจะปฎิบัติตามขั้้นตอนต่อไปอย่างไร…” เพียงหนึ่งวันก่อนมีการยื่นถวายฎีกา อภิสิทธิ์ได้แถลงการณ์ว่า ถ้าการยื่นถวายฎีกาอภัยโทษ ไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย จะยุติการพิจารณาทันทีโดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น
อภิสิทธิ์กล่าวว่า การตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาในครั้งนี้อาจต้องใช้เวลานานเนื่องจากเป็น “เรื่องที่ซับซ้อน และประชาชนจำนวนมากอ้างว่าได้ร่วมลงชื่อในการยื่นถวายฎีกา” ให้สังเกตุว่าอภิสิทธิ์ใช้คำ “อ้างว่า” แน่ละ ที ๑๐ ล้านรายชื่อที่รัฐบาลทำการล่ารายชื่อเพื่อต่อต้านการยื่นถวายฎีกากลับไม่มีปัญหาหรือ และเคยไปตรวจสอบข้อมูลในใบคัดค้านการยื่นถวายฎีกาที่เจ้าหน้าที่ทำการกรอกเองแทนเจ้าของชื่อจริงหรือไม่ แล้วประเด็นการปลอมแปลงเอกสาร และการใช้อำนาจในทางผิดของข้าราชการล่ะ
สำหรับในประเด็นนี้ ถือว่านายกรัฐมนตรีขาดความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
แม้กระนั้นก็ตาม อภิสิทธิ์ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ควบคุมดูแลในเรื่องนี้ ดูเหมือนว่า ไม่มีสมาชิกคนใดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะมีความสามารถในการชี้ให้รัฐบาลมองเห็นถึงความ “ยุ่งยาก” ใดๆ
ไม่น่าเชื่อเมื่ออภิสิทธิ์ยังอ้างต่อว่า “รัฐบาลจะไม่ขัดขวางขั้นตอนการถวายฎีกา” และเสริมว่า “ผมขอรับรองกับทุกคนว่า รัฐบาลจะปฎิบัติต่อการยื่นถวายฎีกาในครั้งนี้ ไม่ต่างจากกรณีอื่น” “ผมสัญญาว่ารัฐบาลจะไม่ขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยวในการยื่นถวายฎีกา..” พีพีทียังคงสงสัยในเรื่องนี้ เนื่องจากในอดีตอภิสิทธิ์ได้เคยบิดเบือนความจริงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งประเด็นนี้ด้วยแล้ว อภิสิทธิ์นับว่าทำตัวได้น่าเหลือเชื่อ
นายสุเทพกล่าวว่า เขาสนับสนุนให้ตั้ง “กรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบการยื่นถวายฎีกา” ทำราวกับว่า นายสุเทพไม่เชื่อนักวิชาการทั้งหมดที่เคยดาหน้าออกมาโวยวายว่าการยื่นถวายฎีกานั้นผิดกฎหมาย หรืออาจจะไม่เป็นแบบนั้นก็ได้ เพราะขนาดรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค “ยังกล่าวว่า ถ้าพบว่าการยื่นถวายฎีกานั้นไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย ทุกอย่างจะจบ จะไม่มีการดำเนินการใดๆต่อทั้งสิ้น”
ทั้งรัฐบาล ทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยม ต่างออกมาแสดงอาการโกรธแค้นอย่างเอาเป็นเอาตาย และข่มขู่การยื่นถวายฎีกา รัฐมนตรีกล่าวว่า “เวลานี้ผมยังไม่ทราบว่าการยื่นถวายฎีกา เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ หรือเพียงแค่เป็นการร้องเรียน…”
นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. ขู่ว่า “ถ้ารัฐบาลพยายามกระทำนอกเหนือหน้าที่ ย่อมเป็นเหตุผลให้เสื้อแดงทำการชุมนุมครั้งใหญ่….”
The incredible Abhisit petition responseAugust 18, 2009
ที่มา – Political Prisoners in Thailand
แปลและเรียบเรียง – chapter 11
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตกเป็นเหยื่อของการที่ปากไม่มีหูรูดของตัวเอง ในเรื่องเกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาเพื่อ “ขอพระราชทานอภัยโทษ” ให้กับทักษิณ ชินวัตร
จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒: “นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การพิจารณาเรื่องการยื่นถวายฎีกาอาจใช้เวลาหลายเดือน”) ข่าวรายงานว่า อภิสิทธิ์กล่าวว่า “จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยถึง ๒ เดือน ในการพิจารณาฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับทักษิณ ชินวัตร ก่อนที่รัฐบาลจะตัดสินใจว่าจะปฎิบัติตามขั้้นตอนต่อไปอย่างไร…” เพียงหนึ่งวันก่อนมีการยื่นถวายฎีกา อภิสิทธิ์ได้แถลงการณ์ว่า ถ้าการยื่นถวายฎีกาอภัยโทษ ไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย จะยุติการพิจารณาทันทีโดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น
อภิสิทธิ์กล่าวว่า การตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาในครั้งนี้อาจต้องใช้เวลานานเนื่องจากเป็น “เรื่องที่ซับซ้อน และประชาชนจำนวนมากอ้างว่าได้ร่วมลงชื่อในการยื่นถวายฎีกา” ให้สังเกตุว่าอภิสิทธิ์ใช้คำ “อ้างว่า” แน่ละ ที ๑๐ ล้านรายชื่อที่รัฐบาลทำการล่ารายชื่อเพื่อต่อต้านการยื่นถวายฎีกากลับไม่มีปัญหาหรือ และเคยไปตรวจสอบข้อมูลในใบคัดค้านการยื่นถวายฎีกาที่เจ้าหน้าที่ทำการกรอกเองแทนเจ้าของชื่อจริงหรือไม่ แล้วประเด็นการปลอมแปลงเอกสาร และการใช้อำนาจในทางผิดของข้าราชการล่ะ
สำหรับในประเด็นนี้ ถือว่านายกรัฐมนตรีขาดความน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
แม้กระนั้นก็ตาม อภิสิทธิ์ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ควบคุมดูแลในเรื่องนี้ ดูเหมือนว่า ไม่มีสมาชิกคนใดของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะมีความสามารถในการชี้ให้รัฐบาลมองเห็นถึงความ “ยุ่งยาก” ใดๆ
ไม่น่าเชื่อเมื่ออภิสิทธิ์ยังอ้างต่อว่า “รัฐบาลจะไม่ขัดขวางขั้นตอนการถวายฎีกา” และเสริมว่า “ผมขอรับรองกับทุกคนว่า รัฐบาลจะปฎิบัติต่อการยื่นถวายฎีกาในครั้งนี้ ไม่ต่างจากกรณีอื่น” “ผมสัญญาว่ารัฐบาลจะไม่ขัดขวาง หรือหน่วงเหนี่ยวในการยื่นถวายฎีกา..” พีพีทียังคงสงสัยในเรื่องนี้ เนื่องจากในอดีตอภิสิทธิ์ได้เคยบิดเบือนความจริงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ยิ่งประเด็นนี้ด้วยแล้ว อภิสิทธิ์นับว่าทำตัวได้น่าเหลือเชื่อ
นายสุเทพกล่าวว่า เขาสนับสนุนให้ตั้ง “กรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบการยื่นถวายฎีกา” ทำราวกับว่า นายสุเทพไม่เชื่อนักวิชาการทั้งหมดที่เคยดาหน้าออกมาโวยวายว่าการยื่นถวายฎีกานั้นผิดกฎหมาย หรืออาจจะไม่เป็นแบบนั้นก็ได้ เพราะขนาดรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค “ยังกล่าวว่า ถ้าพบว่าการยื่นถวายฎีกานั้นไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย ทุกอย่างจะจบ จะไม่มีการดำเนินการใดๆต่อทั้งสิ้น”
ทั้งรัฐบาล ทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยม ต่างออกมาแสดงอาการโกรธแค้นอย่างเอาเป็นเอาตาย และข่มขู่การยื่นถวายฎีกา รัฐมนตรีกล่าวว่า “เวลานี้ผมยังไม่ทราบว่าการยื่นถวายฎีกา เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ หรือเพียงแค่เป็นการร้องเรียน…”
นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. ขู่ว่า “ถ้ารัฐบาลพยายามกระทำนอกเหนือหน้าที่ ย่อมเป็นเหตุผลให้เสื้อแดงทำการชุมนุมครั้งใหญ่….”
ลิงแก้แห
ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุมกระสา
มันเสมอปัจจุบันเป็นลิงแก้แห อนาคต ร่างแหไม่ร้อยรัดลิงให้รุงรังไปได้อย่างไรปัจจุบัน สงบ สว่าง มีส่วนรวมเป็นตัวตั้ง
มีสติปัญญาเป็นตัวแก้ไขปัญหาด้วยความโปร่งใส อนาคต ความสว่าง ความสงบจะหนีไปไหนพ้นอดีตและอนาคต เป็นเครื่องบอกปัจจุบันได้เคยเป็นโจร ฉ้อฉลมาตลอด
แม้แต่ปากก็ยังถูกผีเจาะ โอกาสอำนวยหน่อยเดียว สูทสีดำกลายเป็นสูทสีขาว อบายกลายเป็นธรรมะ ชี้แนะช่องทางความโปร่งปลอดยุวอำนาจไร้ประสบการณ์ก็เผลอเชื่อสื่อหลายต่อหลายแห่ง นำเสนอหน้าที่ที่ควรพึงปฏิบัติก่อน
อาทิราคาน้ำมันไม่เป็นธรรม ราคาน้ำมันจริง ลิตรละไม่เกิน 20 บาท ราคาขายกลับกว่า 30 บาท ทั้งที่ปีที่แล้ว น้ำมันตลาด โลกราคาถึง 147 เหรียญต่อบาร์เรล ปัจจุบันแค่ 70 กว่าเหรียญต่อบาร์เรลรัฐบาลผสมเทียม กำลังทำอะไรกับประชาชน?
และจะทำอย่างไรกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเป็นรูปธรรมหรือลดให้เพียง 2 บาท ขณะที่ประโยชน์แอบแฝงใน ราคาไม่เคยเอาจริงกับมันบางสื่อ เป็นห่วงเรื่องการประกันราคาสินค้าเกษตร อย่างข้าวโพด มันสำปะหลังพ่อค้ากรอกลมมา แล้วเอาเงินไป สินค้าไม่ต้องปรากฏ
อีหรอบนี้ เกษตรกรอยู่รอดจริงๆ ละหรือหรือเพื่อความอยู่รอดของนายทุนการเมืองท้องถิ่นถัวๆ แถกๆ เฉลี่ยกันแสวกตามอัธยาศัยผู้คนหลากสาขาหลายอาชีพ เสนอประมุขฝ่ายบริหารให้ประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น
ตามที่บอกกับประชาชนว่าจะรับฟังเสียงทุกเสียงมหัศจรรย์มาก เป็นการรับฟังที่ไม่ได้ยินถ้าได้ยิน จะประพฤติในสิ่งที่ควรเว้นอย่างนั้นหรือบางแห่ง เตือนล่วงหน้าไว้เลยว่า ระวังเหมือนท่าน แตˆก่อน พอมีประสบการณ์ ก็ไม่มีอำนาจ ตอนมีก็ใช้อำนาจไม่เป็นวงการสันทัดกรณีทางการเมืองริมถนน กำลังตระหนักถึงภัยเศรษฐกิจ การเมือง สังคมยามนี้ทั่วกันแล้วก็หัวเราะกันด้วยความขมขื่นว่าใคร พรรคไหนวะ ทะลึ่งตั้งโฆษกมาเป็นประมุข ฝ่ายบริหาร?
คอลัมน์ ทิ้งหมัดเข้ามุมกระสา
มันเสมอปัจจุบันเป็นลิงแก้แห อนาคต ร่างแหไม่ร้อยรัดลิงให้รุงรังไปได้อย่างไรปัจจุบัน สงบ สว่าง มีส่วนรวมเป็นตัวตั้ง
มีสติปัญญาเป็นตัวแก้ไขปัญหาด้วยความโปร่งใส อนาคต ความสว่าง ความสงบจะหนีไปไหนพ้นอดีตและอนาคต เป็นเครื่องบอกปัจจุบันได้เคยเป็นโจร ฉ้อฉลมาตลอด
แม้แต่ปากก็ยังถูกผีเจาะ โอกาสอำนวยหน่อยเดียว สูทสีดำกลายเป็นสูทสีขาว อบายกลายเป็นธรรมะ ชี้แนะช่องทางความโปร่งปลอดยุวอำนาจไร้ประสบการณ์ก็เผลอเชื่อสื่อหลายต่อหลายแห่ง นำเสนอหน้าที่ที่ควรพึงปฏิบัติก่อน
อาทิราคาน้ำมันไม่เป็นธรรม ราคาน้ำมันจริง ลิตรละไม่เกิน 20 บาท ราคาขายกลับกว่า 30 บาท ทั้งที่ปีที่แล้ว น้ำมันตลาด โลกราคาถึง 147 เหรียญต่อบาร์เรล ปัจจุบันแค่ 70 กว่าเหรียญต่อบาร์เรลรัฐบาลผสมเทียม กำลังทำอะไรกับประชาชน?
และจะทำอย่างไรกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเป็นรูปธรรมหรือลดให้เพียง 2 บาท ขณะที่ประโยชน์แอบแฝงใน ราคาไม่เคยเอาจริงกับมันบางสื่อ เป็นห่วงเรื่องการประกันราคาสินค้าเกษตร อย่างข้าวโพด มันสำปะหลังพ่อค้ากรอกลมมา แล้วเอาเงินไป สินค้าไม่ต้องปรากฏ
อีหรอบนี้ เกษตรกรอยู่รอดจริงๆ ละหรือหรือเพื่อความอยู่รอดของนายทุนการเมืองท้องถิ่นถัวๆ แถกๆ เฉลี่ยกันแสวกตามอัธยาศัยผู้คนหลากสาขาหลายอาชีพ เสนอประมุขฝ่ายบริหารให้ประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น
ตามที่บอกกับประชาชนว่าจะรับฟังเสียงทุกเสียงมหัศจรรย์มาก เป็นการรับฟังที่ไม่ได้ยินถ้าได้ยิน จะประพฤติในสิ่งที่ควรเว้นอย่างนั้นหรือบางแห่ง เตือนล่วงหน้าไว้เลยว่า ระวังเหมือนท่าน แตˆก่อน พอมีประสบการณ์ ก็ไม่มีอำนาจ ตอนมีก็ใช้อำนาจไม่เป็นวงการสันทัดกรณีทางการเมืองริมถนน กำลังตระหนักถึงภัยเศรษฐกิจ การเมือง สังคมยามนี้ทั่วกันแล้วก็หัวเราะกันด้วยความขมขื่นว่าใคร พรรคไหนวะ ทะลึ่งตั้งโฆษกมาเป็นประมุข ฝ่ายบริหาร?
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
(ฎีกา)ดับทุกข์!..จะทำให้คนทั้งแผ่นดิน "ตาสว่าง" ที่ได้เห็นเหรียญทุกด้าน
คอลัมน์ ฉุก(ละหุก)คิด
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ประจำวัน พุธ ที่ 19 สิงหาคม 2009
โดย นายหัวดี
ดับทุกข์!
ยังมีลมหายใจก็ต้องสู้กันไป
ยิ่ง “โดเรแม้ว” ยิ่งรู้ซึ้งถึงสัจธรรมแห่งชีวิตที่ “ไร้พรมแดน” ได้อย่างดี
แม้จะยังพอมีบารมีและมีทรัพย์สมบัติที่จะโชว์กึ๋น แต่ก็ไม่ใช่การใช้ชีวิตบนแผ่นดินเกิด
น้ำตาและความปลาบปลื้มที่ประชาชีนับล้านคนมีให้กับ “โดเรแม้ว” จึงมีค่ายิ่งและต้องจดจำไปจนวันตาย
ไม่ว่า “โดเรแม้ว” จะกลับแผ่นดินในฐานะอะไรก็ตาม ต้องไม่ลืม “บุญคุณ” ที่ยิ่งใหญ่
แม้การถวายฎีกาจะถูกตัดตอนหรือแขวนไว้อย่างไร ก็จะทำให้คนทั้งแผ่นดิน “ตาสว่าง” ที่ได้เห็นเหรียญทุกด้าน
มหกรรมตอแหลและโกหกจะดำเนินต่อไปอย่างไร “หล่อใหญ่” จะตีหน้าหล่อเป็นผู้ดีตีนแดง “มือถือสาก ปากถือศีล” ให้ลิ่วล้อออกมาตอแหลและบิดเบือนอย่างไร
ความจริงก็คงเป็นความจริง!
เหมือนผลงานของ “หล่อใหญ่” วันนี้ ที่ดูได้จากประชาชีมีความสุขหรือไม่ อย่างไร
ขณะที่ก๊วนไฮแจ๊คตั้งโต๊ะล้วงลูกและรับโบนัสกันสนั่นบ้านสนั่นเมือง แต่ “หล่อใหญ่” ยังรำป้อเดินสายจ้อและโชว์ตัว ทั้งที่ไม่มีผลงานจะโชว์
“6 เดือน 100 มาตรการ 10 ล้านความสุข”
โค-ตะ-ระสุดยอดผลงานจริงๆ ถ้าไม่ใช่วาทกรรมตอแหล
เหมือน “ก๊วนห้อยยี้” ที่ออกมาประกาศอย่างพอใจกับผลงาน 10 ล้านรายชื่อที่ฉีกประชาชีให้แตกเป็นเสี่ยงๆ ทั้งที่สวมหัวโขนและให้คำสัตย์ปฏิญาณจะจงรักภักดีและรับใช้ประชาชีทั้งแผ่นดิน
มหกรรมโกหกและตอแหลจึงสะท้อนชัดเจนถึงยุคสัตว์การเมืองและ “อีแอบ” ที่ใหญ่คับแผ่นดิน
ไม่ใช่สยามไม่ยิ้มเท่านั้น แต่ประชาชีก็ไม่ต่างอะไรกับตกนรกทั้งเป็น!
กระแสวงจรอุบาทว์จึงไม่ใช่เรื่องแปลก แม้ “บิ๊กป้อม” จะโชว์พุงปฏิเสธ
อย่างน้อยก็ทำให้ “หล่อใหญ่” และ “เด็กเส้น” สะดุ้งเป็นหมูถูกน้ำร้อนลวก ไล่เช็กข่าวกันอย่างบ้าเลือด
“บิ๊กแปะ” ที่โชว์ตัวเพื่อกระโจนลงบ่อน้ำเน่ายังหนาวจนต้องออกมาเบรก “บิ๊กป้อม-บิ๊กป๊อก” คิดได้ แต่อย่าทำ...(ฮา)
ย้อนกลับไปครั้ง “บิ๊กบัง” ออกมาเล่นลิเก บรรดา “เด็กเส้น” หน้าระรื่นออกมาสรรเสริญเยินยอเหมือนเทพเทวดาที่มาโปรดสัตว์
เหมือนที่ “หล่อใหญ่” ออกมาตีหน้าหล่อเรียกร้องให้ “เด็กไม่มีเส้น” หยุดเพ่นพ่าน อ้างสารพัดเหตุผล ยิ่งไปย้อนดูครั้งตามแห่ร่วมขบวนการที่เห็นดีเห็นงามกับ “เด็กเส้น” ที่ทำผิด ท้าทายทั้งอำนาจรัฐ นิติรัฐ และนิติธรรม
แถมยังรับเลี้ยง “ผู้ต้องหาก่อการร้าย” ให้นั่งหน้าสลอนรับแขกบ้านแขกเมืองอีก!
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทั้ง “สะตอแคระ” บรรดา “ก๊วนห้อยยี้” และ “ลิ่วล้อ” ข้างกางเกง “หล่อใหญ่” จะออกมาตะแบงและตอแหลปล่อยข่าวสารพัด “ฎีกาเสื้อแดง” ทั้งที่ทุกขั้นตอนมีกฎระเบียบและกรอบกติกาที่ชัดเจน ซึ่งต้องผ่าน “ก๊วนไฮแจ๊ค”
แต่ที่ “ก๊วนไฮแจ๊ค” กลัวและผวาอย่างหนักคือเรื่องของ “ฟ้า” ที่ไม่มีใครคนใดหรือกลุ่มใดจะผูกขาด “ความจงรักภักดี” ได้
เช่นเดียวกับวิกฤต “อีแดง-ไอ้ด่าง” ที่ตอแหลไม่ได้ว่าประชาชีทั้งแผ่นดินเป็นทุกข์ จึงต้องดับที่ “ต้นเหตุ” ของทุกข์
ใครเป็น “หัวตอ” ที่ปากว่าตาขยิบ และตอแหลกันทุกรูปแบบ
แค่ส่องกระจกก็เห็นทุกรูขุมขนแล้ว ไม่ใช่ใส่แต่ “แว่นตาดำ” อย่างผู้ใหญ่ลี!
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ประจำวัน พุธ ที่ 19 สิงหาคม 2009
โดย นายหัวดี
ดับทุกข์!
ยังมีลมหายใจก็ต้องสู้กันไป
ยิ่ง “โดเรแม้ว” ยิ่งรู้ซึ้งถึงสัจธรรมแห่งชีวิตที่ “ไร้พรมแดน” ได้อย่างดี
แม้จะยังพอมีบารมีและมีทรัพย์สมบัติที่จะโชว์กึ๋น แต่ก็ไม่ใช่การใช้ชีวิตบนแผ่นดินเกิด
น้ำตาและความปลาบปลื้มที่ประชาชีนับล้านคนมีให้กับ “โดเรแม้ว” จึงมีค่ายิ่งและต้องจดจำไปจนวันตาย
ไม่ว่า “โดเรแม้ว” จะกลับแผ่นดินในฐานะอะไรก็ตาม ต้องไม่ลืม “บุญคุณ” ที่ยิ่งใหญ่
แม้การถวายฎีกาจะถูกตัดตอนหรือแขวนไว้อย่างไร ก็จะทำให้คนทั้งแผ่นดิน “ตาสว่าง” ที่ได้เห็นเหรียญทุกด้าน
มหกรรมตอแหลและโกหกจะดำเนินต่อไปอย่างไร “หล่อใหญ่” จะตีหน้าหล่อเป็นผู้ดีตีนแดง “มือถือสาก ปากถือศีล” ให้ลิ่วล้อออกมาตอแหลและบิดเบือนอย่างไร
ความจริงก็คงเป็นความจริง!
เหมือนผลงานของ “หล่อใหญ่” วันนี้ ที่ดูได้จากประชาชีมีความสุขหรือไม่ อย่างไร
ขณะที่ก๊วนไฮแจ๊คตั้งโต๊ะล้วงลูกและรับโบนัสกันสนั่นบ้านสนั่นเมือง แต่ “หล่อใหญ่” ยังรำป้อเดินสายจ้อและโชว์ตัว ทั้งที่ไม่มีผลงานจะโชว์
“6 เดือน 100 มาตรการ 10 ล้านความสุข”
โค-ตะ-ระสุดยอดผลงานจริงๆ ถ้าไม่ใช่วาทกรรมตอแหล
เหมือน “ก๊วนห้อยยี้” ที่ออกมาประกาศอย่างพอใจกับผลงาน 10 ล้านรายชื่อที่ฉีกประชาชีให้แตกเป็นเสี่ยงๆ ทั้งที่สวมหัวโขนและให้คำสัตย์ปฏิญาณจะจงรักภักดีและรับใช้ประชาชีทั้งแผ่นดิน
มหกรรมโกหกและตอแหลจึงสะท้อนชัดเจนถึงยุคสัตว์การเมืองและ “อีแอบ” ที่ใหญ่คับแผ่นดิน
ไม่ใช่สยามไม่ยิ้มเท่านั้น แต่ประชาชีก็ไม่ต่างอะไรกับตกนรกทั้งเป็น!
กระแสวงจรอุบาทว์จึงไม่ใช่เรื่องแปลก แม้ “บิ๊กป้อม” จะโชว์พุงปฏิเสธ
อย่างน้อยก็ทำให้ “หล่อใหญ่” และ “เด็กเส้น” สะดุ้งเป็นหมูถูกน้ำร้อนลวก ไล่เช็กข่าวกันอย่างบ้าเลือด
“บิ๊กแปะ” ที่โชว์ตัวเพื่อกระโจนลงบ่อน้ำเน่ายังหนาวจนต้องออกมาเบรก “บิ๊กป้อม-บิ๊กป๊อก” คิดได้ แต่อย่าทำ...(ฮา)
ย้อนกลับไปครั้ง “บิ๊กบัง” ออกมาเล่นลิเก บรรดา “เด็กเส้น” หน้าระรื่นออกมาสรรเสริญเยินยอเหมือนเทพเทวดาที่มาโปรดสัตว์
เหมือนที่ “หล่อใหญ่” ออกมาตีหน้าหล่อเรียกร้องให้ “เด็กไม่มีเส้น” หยุดเพ่นพ่าน อ้างสารพัดเหตุผล ยิ่งไปย้อนดูครั้งตามแห่ร่วมขบวนการที่เห็นดีเห็นงามกับ “เด็กเส้น” ที่ทำผิด ท้าทายทั้งอำนาจรัฐ นิติรัฐ และนิติธรรม
แถมยังรับเลี้ยง “ผู้ต้องหาก่อการร้าย” ให้นั่งหน้าสลอนรับแขกบ้านแขกเมืองอีก!
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทั้ง “สะตอแคระ” บรรดา “ก๊วนห้อยยี้” และ “ลิ่วล้อ” ข้างกางเกง “หล่อใหญ่” จะออกมาตะแบงและตอแหลปล่อยข่าวสารพัด “ฎีกาเสื้อแดง” ทั้งที่ทุกขั้นตอนมีกฎระเบียบและกรอบกติกาที่ชัดเจน ซึ่งต้องผ่าน “ก๊วนไฮแจ๊ค”
แต่ที่ “ก๊วนไฮแจ๊ค” กลัวและผวาอย่างหนักคือเรื่องของ “ฟ้า” ที่ไม่มีใครคนใดหรือกลุ่มใดจะผูกขาด “ความจงรักภักดี” ได้
เช่นเดียวกับวิกฤต “อีแดง-ไอ้ด่าง” ที่ตอแหลไม่ได้ว่าประชาชีทั้งแผ่นดินเป็นทุกข์ จึงต้องดับที่ “ต้นเหตุ” ของทุกข์
ใครเป็น “หัวตอ” ที่ปากว่าตาขยิบ และตอแหลกันทุกรูปแบบ
แค่ส่องกระจกก็เห็นทุกรูขุมขนแล้ว ไม่ใช่ใส่แต่ “แว่นตาดำ” อย่างผู้ใหญ่ลี!
อะไรต่อไป หลังเสื้อแดงถวายฏีกา

หลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านสำนักราชเลขาธิการเมื่อบ่ายวานนี้ (17 ส.ค.) ก่อนสลายการชุมนุมอย่างรวดเร็วตามที่แกนนำเคยประกาศไว้ พร้อมยืนยันอีกครั้งว่า จะไม่เคลื่อนไหวประเด็นนี้ต่อไปอีก
อย่างไรก็ดี จากรายงานข่าวที่เกิดขึ้นนับจากเมื่อวานจนถึงวันนี้ ทำให้พบเส้นทางที่สับสนไม่ชัดเจนของการถวายฏีกาครั้งนี้ของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า จะเป็นอย่างไรกันต่อไป ดังนั้น เว็บไซต์ http://www.dailyworldtoday.com/ จึงเกาะสถานการณ์ รวบรวมข่าวต่อเนื่องจากการถวายฏีกา มานำเสนอดังนี้
สำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ขั้นตอนปฏิบัติหลังรับฎีกา
ช่วงบ่ายของวันที่ 17 ส.ค. สำนักราชเลขาธิการออกแถลงการณ์ ภายหลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า
ตามที่ นายวีระ มุสิกพงษ์ กับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวังนั้น สำนักราชเลขาธิการขอชี้แจงให้ทราบว่า ตามขั้นตอนที่เคยปฏิบัติมา เมื่อสำนักราชเลขาธิการได้รับการทูลเกล้าถวายฎีกาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ การขอพระราชทานความเป็นธรรม และการขอพระราชทานความช่วยเหลือ สำนักราชเลขาธิการต้องส่งฎีกาทุกเรื่องไปให้รัฐบาลพิจารณาถวายความเห็นประกอบพระราชดำริต่อไป จึงขอแถลงข่าวมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ปณิธานแจง ส่งกระทรวงยุติธรรมตรวจก่อนขอความเห็นรัฐบาล
หลังจากสำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ขั้นตอนต่อไป หลังจากที่สำนักราชเลขาธิการส่งคำขอถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาขอความคิดเห็นจากทางรัฐบาล ว่า
ถ้าเป็นกรณีถวายฎีกาทั่วไปตามโบราณราชประเพณี ขั้นตอนต่อจากนี้ คือ สำนักราชเลขาฯ จะส่งเรื่องมาที่รัฐบาล โดยผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลก็รอให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบความถูกต้องตามขั้นตอน และเมื่อกระทรวงยุติธรรมตรวจสอบแล้วเสร็จ ซึ่งนั่นหมายถึง การตรวจสอบรายชื่อต่างๆด้วย จากนั้น ก็จะส่งกลับมาที่สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลก็จะทำความเห็นประกอบไปที่สำนักราชเลขาฯ
ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการตรวจสอบที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม และเมื่อกลับมาที่สำนักนายกฯ ก็จะมีการทำความเห็นประกอบส่งกลับไปเท่านั้น
รมว.ยุติธรรม เผยส่งกรมราชทัณฑ์ตรวจก่อนกลับมากระทรวง
วันนี้ (18 ส.ค.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงขั้นตอนการตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยื่นเมื่อวานที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มาถึงมือตนเอง ซึ่งเชื่อว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารที่นำส่งมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการขอฎีกาในครั้งนี้ว่าต้องการร้องทุกข์ หรือต้องการขอพระราชทานอภัยโทษ
หากพบว่า เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ... ก็จะส่งเรื่องให้กรมราชทัณฑ์ ตรวจสอบประวัติ และพิจารณาในส่วนของอัตราโทษของผู้ที่ร้องขอ ก่อนจะส่งกลับมายังกระทรวงยุติธรรมพิจารณา ตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาว่าถูกต้องตามเงื่อนไขหรือไม่ แต่หากพบว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด ก็ถือว่าจบ ไม่ต้องดำเนินการใดๆต่อ ซึ่งที่ผ่านมานั้น
หากเป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้ญาติ หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ส่งเรื่องและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ก็สามารถส่งได้แล้ว แต่หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าทั้งหมดไม่เข้าเกณฑ์ก็ถือว่าสิ้นสุด
กรมราชภัณฑ์ไม่มีข้อมูลทักษิณ โยนเรื่องกลับยธ.
นายนที จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีที่ กรมราชทัณฑ์ อยู่ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประมวลคำพิพากษาของคดีและพฤติการณ์ของผู้ต้องโทษว่า เคยมีพฤติการณ์หลบหนี และสำนึกผิดหรือไม่ รวมทั้ง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ถวายฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญาว่า
ในกรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยมีประวัติการรับโทษ ดังนั้นแม้กระทรวงยุติธรรม ส่งเรื่องมาให้ทางกรมพิจารณา ก็คงไม่สามารถให้ข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงยุติธรรมก็คงต้องไปตรวจสอบข้อมูลในทางคดีกับศาล ได้เพียงอย่างเดียว
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ซึ่งเมื่อทางกรมราชทัณฑ์ ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ ทำให้ผู้ที่จะพิจารณาความเหมาะสม กรณีฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ไปตกอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่เพียงผู้เดียว
ครม.ไม่แน่ใจจะหารือเรื่องการถวายฏีกาของกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่
ช่วงเช้ามีรายงานข่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (18 ส.ค.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาเนื้อหาฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของกลุ่มคนเสื้อแดง หลังสำนักเลขาธิการรับเรื่องและส่งให้รัฐบาลตามกระบวนการ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีจะได้หารือกับหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล เช่น สำนักงานกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงกระทรวงยุติธรรม โดยจะพิจารณาว่าการยื่นฎีกาดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ข้อกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดเผยภายหลังว่า การประชุม ครม. วันนี้ ในวาระไม่ได้มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาด้วย
นายกฯเผยรัฐบาลอาจใช้เวลา 60 วันตรวจสอบฎีกา
วันนี้ (18 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า หลังรัฐบาลได้รับเรื่องถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาต่อไป โดยปกติต้องใช้เวลาตรวจสอบฎีกา 60 วัน แต่กรณีนี้มีความซับซ้อนและมีผู้ลงชื่อจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลามากกว่านั้น และไม่ทันการชุมนุมใหญ่ วันที่ 26 สิงหาคม ที่มีข่าวว่ากลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมเพื่อฟังคำตอบจากรัฐบาล
นายกฯยืนยันไม่มีการล้มฎีกา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีการหารือเรื่องการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่าเหมือนการถวายฎีกาทั่วไป ที่ทางสำนักราชเลขาธิการ จะส่งเรื่องมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่าฎีกาดังกล่าวเป็นประเภทใด และส่งต่อไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อสรุปความเห็น และส่งกลับไปยังสำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลจะปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีการยับยั้งหรือล้มฎีกาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังขอความร่วมมือผู้ที่ถวายฎีกาดังกล่าว อย่าบิดเบือนข้อเท็จจริง และขอความร่วมมือสรุปข้อเท็จจริงส่งให้รัฐบาลประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการสร้างความสบายใจให้กับประชาชน
จตุพรเผยรบ.ยื้อถวายฎีกาฯ อาจเร่งเสื้อแดงชุมนุมขับไล่เร็วขึ้น
นายจตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เปิดเผยช่วงบ่ายวันนี้ (18 ส.ค.) ว่า หากรัฐบาลแสดงออกให้เห็นถึงความพยายามที่จะดึงเรื่องไว้ โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการทำความเห็นประกอบ หรือพยายามล้มฎีกาก็จะเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มคนเสิ้อแดงต้องออกมาชุมนุมใหญ่เร็วขึ้น
นายจตุพร กล่าวว่า ตามขั้นตอนประเพณีปฏิบัติที่เคยมีมาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น สำนักราชเลขาธิการจะส่งเรื่องให้กับรัฐบาลเพื่อพิจารณาถวายความเห็นประกอบ ซึ่งรัฐบาลจะถวายความเห็นประกอบอย่างไรก็ได้ จะบอกว่าการถวายฎีกาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายก็ได้ เพราะเป็นเพียงแค่ความเห็น
“แถลงการณ์(สำนักราชเลขาธิการ)มีความชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะยับยั้งฎีกา ทำได้เพียงถวายความเห็นประกอบจะทำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเคยออกแถลงการณ์มาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น แค่เพียงกระทรวงยุติธรรมส่งแถลงการณ์ให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว ความจริงแล้วในวันที่ 19 ส.ค.ก็สามารถถวายความเห็นประกอบได้แล้ว”
อย่างไรก็ดี จากรายงานข่าวที่เกิดขึ้นนับจากเมื่อวานจนถึงวันนี้ ทำให้พบเส้นทางที่สับสนไม่ชัดเจนของการถวายฏีกาครั้งนี้ของกลุ่มคนเสื้อแดง ว่า จะเป็นอย่างไรกันต่อไป ดังนั้น เว็บไซต์ http://www.dailyworldtoday.com/ จึงเกาะสถานการณ์ รวบรวมข่าวต่อเนื่องจากการถวายฏีกา มานำเสนอดังนี้
สำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ขั้นตอนปฏิบัติหลังรับฎีกา
ช่วงบ่ายของวันที่ 17 ส.ค. สำนักราชเลขาธิการออกแถลงการณ์ ภายหลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดงได้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่า
ตามที่ นายวีระ มุสิกพงษ์ กับแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ได้ทูลเกล้าถวายฎีกาให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ในวันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณประตูวิเศษไชยศรี พระบรมมหาราชวังนั้น สำนักราชเลขาธิการขอชี้แจงให้ทราบว่า ตามขั้นตอนที่เคยปฏิบัติมา เมื่อสำนักราชเลขาธิการได้รับการทูลเกล้าถวายฎีกาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ การขอพระราชทานความเป็นธรรม และการขอพระราชทานความช่วยเหลือ สำนักราชเลขาธิการต้องส่งฎีกาทุกเรื่องไปให้รัฐบาลพิจารณาถวายความเห็นประกอบพระราชดำริต่อไป จึงขอแถลงข่าวมาให้ทราบโดยทั่วกัน
ปณิธานแจง ส่งกระทรวงยุติธรรมตรวจก่อนขอความเห็นรัฐบาล
หลังจากสำนักราชเลขาฯแถลงการณ์ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ขั้นตอนต่อไป หลังจากที่สำนักราชเลขาธิการส่งคำขอถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาขอความคิดเห็นจากทางรัฐบาล ว่า
ถ้าเป็นกรณีถวายฎีกาทั่วไปตามโบราณราชประเพณี ขั้นตอนต่อจากนี้ คือ สำนักราชเลขาฯ จะส่งเรื่องมาที่รัฐบาล โดยผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งขณะนี้ รัฐบาลก็รอให้กระทรวงยุติธรรมตรวจสอบความถูกต้องตามขั้นตอน และเมื่อกระทรวงยุติธรรมตรวจสอบแล้วเสร็จ ซึ่งนั่นหมายถึง การตรวจสอบรายชื่อต่างๆด้วย จากนั้น ก็จะส่งกลับมาที่สำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลก็จะทำความเห็นประกอบไปที่สำนักราชเลขาฯ
ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการตรวจสอบที่ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม และเมื่อกลับมาที่สำนักนายกฯ ก็จะมีการทำความเห็นประกอบส่งกลับไปเท่านั้น
รมว.ยุติธรรม เผยส่งกรมราชทัณฑ์ตรวจก่อนกลับมากระทรวง
วันนี้ (18 ส.ค.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงขั้นตอนการตรวจสอบการยื่นถวายฎีกาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยื่นเมื่อวานที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มาถึงมือตนเอง ซึ่งเชื่อว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารที่นำส่งมา ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการขอฎีกาในครั้งนี้ว่าต้องการร้องทุกข์ หรือต้องการขอพระราชทานอภัยโทษ
หากพบว่า เป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ... ก็จะส่งเรื่องให้กรมราชทัณฑ์ ตรวจสอบประวัติ และพิจารณาในส่วนของอัตราโทษของผู้ที่ร้องขอ ก่อนจะส่งกลับมายังกระทรวงยุติธรรมพิจารณา ตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาว่าถูกต้องตามเงื่อนไขหรือไม่ แต่หากพบว่าไม่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด ก็ถือว่าจบ ไม่ต้องดำเนินการใดๆต่อ ซึ่งที่ผ่านมานั้น
หากเป็นการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้ญาติ หรือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ส่งเรื่องและวัตถุประสงค์ที่แน่นอน ก็สามารถส่งได้แล้ว แต่หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าทั้งหมดไม่เข้าเกณฑ์ก็ถือว่าสิ้นสุด
กรมราชภัณฑ์ไม่มีข้อมูลทักษิณ โยนเรื่องกลับยธ.
นายนที จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีที่ กรมราชทัณฑ์ อยู่ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประมวลคำพิพากษาของคดีและพฤติการณ์ของผู้ต้องโทษว่า เคยมีพฤติการณ์หลบหนี และสำนึกผิดหรือไม่ รวมทั้ง การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ถวายฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญาว่า
ในกรณีการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยมีประวัติการรับโทษ ดังนั้นแม้กระทรวงยุติธรรม ส่งเรื่องมาให้ทางกรมพิจารณา ก็คงไม่สามารถให้ข้อมูลใด ๆ เพิ่มเติมได้ ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงยุติธรรมก็คงต้องไปตรวจสอบข้อมูลในทางคดีกับศาล ได้เพียงอย่างเดียว
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ซึ่งเมื่อทางกรมราชทัณฑ์ ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ ทำให้ผู้ที่จะพิจารณาความเหมาะสม กรณีฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ไปตกอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แต่เพียงผู้เดียว
ครม.ไม่แน่ใจจะหารือเรื่องการถวายฏีกาของกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่
ช่วงเช้ามีรายงานข่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (18 ส.ค.) มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาเนื้อหาฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของกลุ่มคนเสื้อแดง หลังสำนักเลขาธิการรับเรื่องและส่งให้รัฐบาลตามกระบวนการ
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีจะได้หารือกับหน่วยงานที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล เช่น สำนักงานกฤษฎีกา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวมถึงกระทรวงยุติธรรม โดยจะพิจารณาว่าการยื่นฎีกาดังกล่าวจะเข้าหลักเกณฑ์ข้อกฎหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เปิดเผยภายหลังว่า การประชุม ครม. วันนี้ ในวาระไม่ได้มีการระบุเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาด้วย
นายกฯเผยรัฐบาลอาจใช้เวลา 60 วันตรวจสอบฎีกา
วันนี้ (18 ส.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า หลังรัฐบาลได้รับเรื่องถวายฎีกาของกลุ่มคนเสื้อแดงจากสำนักราชเลขาธิการแล้ว จะส่งให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาต่อไป โดยปกติต้องใช้เวลาตรวจสอบฎีกา 60 วัน แต่กรณีนี้มีความซับซ้อนและมีผู้ลงชื่อจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลามากกว่านั้น และไม่ทันการชุมนุมใหญ่ วันที่ 26 สิงหาคม ที่มีข่าวว่ากลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมเพื่อฟังคำตอบจากรัฐบาล
นายกฯยืนยันไม่มีการล้มฎีกา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่มีการหารือเรื่องการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่าเหมือนการถวายฎีกาทั่วไป ที่ทางสำนักราชเลขาธิการ จะส่งเรื่องมาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่าฎีกาดังกล่าวเป็นประเภทใด และส่งต่อไปยังหน่วยงานของรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อสรุปความเห็น และส่งกลับไปยังสำนักราชเลขาธิการ ทั้งนี้ ยืนยันว่า รัฐบาลจะปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่มีการยับยั้งหรือล้มฎีกาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังขอความร่วมมือผู้ที่ถวายฎีกาดังกล่าว อย่าบิดเบือนข้อเท็จจริง และขอความร่วมมือสรุปข้อเท็จจริงส่งให้รัฐบาลประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อเป็นการสร้างความสบายใจให้กับประชาชน
จตุพรเผยรบ.ยื้อถวายฎีกาฯ อาจเร่งเสื้อแดงชุมนุมขับไล่เร็วขึ้น
นายจตุพร พรหมพันธุ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) เปิดเผยช่วงบ่ายวันนี้ (18 ส.ค.) ว่า หากรัฐบาลแสดงออกให้เห็นถึงความพยายามที่จะดึงเรื่องไว้ โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการทำความเห็นประกอบ หรือพยายามล้มฎีกาก็จะเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มคนเสิ้อแดงต้องออกมาชุมนุมใหญ่เร็วขึ้น
นายจตุพร กล่าวว่า ตามขั้นตอนประเพณีปฏิบัติที่เคยมีมาเกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น สำนักราชเลขาธิการจะส่งเรื่องให้กับรัฐบาลเพื่อพิจารณาถวายความเห็นประกอบ ซึ่งรัฐบาลจะถวายความเห็นประกอบอย่างไรก็ได้ จะบอกว่าการถวายฎีกาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายก็ได้ เพราะเป็นเพียงแค่ความเห็น
“แถลงการณ์(สำนักราชเลขาธิการ)มีความชัดเจนว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิ์ที่จะยับยั้งฎีกา ทำได้เพียงถวายความเห็นประกอบจะทำเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเคยออกแถลงการณ์มาก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น แค่เพียงกระทรวงยุติธรรมส่งแถลงการณ์ให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็เป็นอันเสร็จสิ้นแล้ว ความจริงแล้วในวันที่ 19 ส.ค.ก็สามารถถวายความเห็นประกอบได้แล้ว”
วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การสื่อสารสาธารณะ กับ "ไวยากรทางจริยธรรม"

Posted on 4 เมษายน 2008 by Kosol Anusim
ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอแนวคิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ คือ
1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน
2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อคิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality of opportunity among ideas)
3. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรองเรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ตามหลักของความโปร่งใสด้วย
4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ
“นักสื่อสารสาธารณะ” ในความหมายของ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ในที่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสารมวลชน แต่รวมถึงบุคคลสาธารณะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ผู้บริหารของรัฐและเอกชน ข้าราชการ นักวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารข้อความทางสังคมกับสาธารณชน ยกเว้นกิจกรรมที่เป็นความบันเทิงโดยตรงล้วนๆ
เมื่อพิเคราะห์ตามแนวคิดที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เสนอแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาทันทีว่า หากยึดตามแนวคิดดังกล่าว “นักสื่อสารสาธารณะ” ในสังคมไทย ทั้งสื่อสารมวลชนและบุคคลสาธารณะ จะมีสักกี่สื่อและกี่คนที่ยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ข้อนั้น
ปัจจุบันสื่อสาธารณะได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมาถึงสองหน่วยงาน คือ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ที่แปรมาจากสถานีโทรทัศน์ ITV และสถานีโทรทัศน์ NBT ที่เปลี่ยนชื่อมาจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง กิดขึ้นจากการผลักดันของผู้มีอำนาจทางการเมืองต่างวาระกัน โดย สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ส่วนสถานีโทรทัศน์ NBT จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่งต่างก็ได้รับการกล่าวอ้างว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสื่อสาธารณะที่มุ่งประโยชน์แก่สาธารณชน ไม่ใช่เป็นกระบอกเสียงให้แก่รัฐบาล
คำถามที่จะต้องถามก็คือ สื่อสาธารณะดังกล่าว มีความน่าเชื่อถือเพียงใดที่จะเป็นไปตามหลัก “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้นำเสนอไว้ ทั้งนี้จะต้องย้อนกลับไปพิจารณาบุคคลสาธารณะที่จัดอยู่ในฐานะ “นักการสื่อสารสาธารณะ” ซึ่งได้ก่อตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมา นั่นคือคือนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนในการก่อตั้งและดำเนินงานสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ประการนั้นหรือไม่
ถ้าหากมีคุณสมบัติของผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกิจการครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ย่อมจะเชื่อได้ว่า สื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง จะสามารถดำรงฐานะความเป็นสื่อสาธารณะที่รับใช้ประชาชนและสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ดี เหมาะสม น่าเชื่อถือ หลากหลายแง่มุม ยึดถือมีความเป็นธรรมและเที่ยงตรง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมและโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงการยืนหยัดในหลักการแห่งความเป็นสื่อ ไม่ยอมสยบต่ออำนาจใดๆที่เข้ามาแทรกแซงให้สูญเสียความเป็นสื่อสาธารณะ
ปัญหาในกรณีก็คือ นักการเมืองผู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สื่อสาธารณะ” ตามแนวคิด“ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง มีฐานะอันชวนให้สงสัยยิ่งว่า ขาดคุณสมบัติตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้เสนอไว้หรือไม่ เพื่อให้พิจารณาได้ง่ายขึ้น จึงขอยกหลักการในข้อแรกมาให้เทียบเคียงกับพฤติกรรมการสื่อสารของนักการเมืองดังนี้
(1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ - ขอให้พิจารณาดูว่า นักการเมืองไทยมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่เขาสื่อสารออกมาหรือไม่ หากมีความรู้เพียงพอย่อมสามารถยืนยันหรือกล่าวซ้ำได้โดยไม่แปรเปลี่ยนถ้อยคำหรือท่าทีที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะใช้เวลาไม่นานเลยในการเปลี่ยนแปลงคำพูดของตน
(2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ - นักการเมืองไทยมีคุณสมบัติข้อนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนมากแล้ว นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่สนใจข้อนี้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสื่อสารได้ทุกเรื่อง ทุกสถานที่ ทุกเวลา
(3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ - นักการเมืองเคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ มีข้อสรุปในสิ่งที่ตนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็คือ “ความเข้าใจ” ในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงหรือไม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองไทยทำ เพราะเขาสามารถสื่อสารในเรื่องที่ถูกถามได้ทุกเรื่องโดยทันที
(4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน - ข้อนี้ นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่คิดและสื่อสารอะไรที่มีความซับซ้อนแบบนี้
เมื่อพิจารณาครบถ้วนกระบวนความตามหลักการข้อแรกแห่ง “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ” แล้วก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นักการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนักการสื่อสารสาธารณะ ขาดคุณสมบัติทั้ง 4 ข้อนั้น
ฉะนั้น จึงเป็นที่น่าหวั่นวิตกว่า สื่อสาธารณะที่นักการเมืองผลักดันจัดตั้งกันขึ้นมานั้น จะอยู่ในสภาพที่เป็นสื่อสาธารณะแต่เพียงรูปแบบ ส่วนเนื้อหานั้นก็คือสื่อของรัฐ หรือของกลุ่มคนที่มีอำนาจอิทธิพลคอยชี้นำ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรที่จะให้โอกาสสื่อสาธารณะดังกล่าวได้ดำเนินบทบาทตามภาระหน้าที่ไปตามปกติ เพียงแต่ประชาชนคนไทยที่มีส่วนในการเป็นเจ้าของก็ควรจับตามอง ตรวจสอบ การทำงานของสื่อดังกล่าว หากแม้นปรากฏว่ามีการละเมิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ขึ้นมาเมื่อใดก็จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราทราบว่าคุณสมบัติของนักการเมืองที่เป็นผู้ผลักดันก่อตั้งสื่อนั้นขึ้นมา ไม่ผ่านแม้เพียงหลักการข้อแรกของ “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ดังกล่าว เราก็จะได้ยิ่งระมัดระวังมากขึ้น ในการดูแล “สื่อสาธารณะ” ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง.
ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนคนสำคัญคนหนึ่งของไทย ได้เสนอแนวคิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication)” ไว้ในหนังสือ “ระหว่างกระจกกับตะเกียง” (หน้า 218-220) ไว้ 4 ประการ คือ
1. นักสื่อสารสาธารณะ จะต้องตระหนักว่า ณ นาทีที่เขาส่งสารสาธารณะออกไปนั้น เขาคือผู้ผูกขาดการนำเสนอข้อมูลและข้อคิดเห็นนั้นๆโดยไร้การแข่งขันใดๆ ดังนั้น สานของเขาควรจะเป็นอะไรที่บ่งบอกได้ว่า เขา (1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ (2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ (3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ และ (4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน
2. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะคัดเลือกและนำเสนอสารของตนอย่างเป็นธรรม และอย่างเคารพความเที่ยงตรง โดยจะต้องซึมซับการใฝ่หาความยุติธรรมจนกลายเป็นนิสัย (habit of justice) ฉะนั้นเขาจะไม่เจาะจงตกแต่งหรือบิดเบือนความคิดตามลีลาของนักโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการตั้งใจหรือปกปิดหรือซ่อนเร้นจุดสำคัญๆ ซึ่งผู้รับสารจำเป็นต้องทราบในอันที่จะใช้เป็นหลักในการประเมินข้อมูลและข้อคิดเห็นของเขาได้อย่างถูกต้อง ภารกิจตลอดกาลของเขาคือการสร้างความเสมอภาคแห่งโอกาสของความคิดต่างๆ (equality of opportunity among ideas)
3. นักสื่อสารสาธารณะ ควรจะมีนิสัยที่ชอบตริตรองเรื่องราวเกี่ยวกับสาธารณะประโยชน์ ให้มากๆ จนกระทั่งเห็นว่าเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องใหญ่โตกว่าเรื่องส่วนตัว ในกรณีที่การนำเสนอของเขาจำเป็นต้องมีมุมมองเฉพาะของตนเอง เขาควรอยู่ในฐานะที่พร้อมจะเปิดเผยที่มาของข้อมูล และการก่อรูปของความคิดเห็นของตนอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของตนได้ตามหลักของความโปร่งใสด้วย
4. เต็มใจที่จะรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นอื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับของตน ทว่าในท้ายที่สุด การสื่อสารของเขาเองจะต้องไม่ยินยอมสูญเสียหลักการที่เขาเชื่อมั่นว่าได้ผ่านการตริตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว โดยไม่ประนีประนอมง่ายๆ นอกจากนี้ นักสื่อสารสาธารณะที่ทำงานของตนมาอย่างเต็มที่แล้ว จะต้องยินดีที่จะประจันหน้ากับการท้าทายใดๆมากกว่าการสมยอมอย่างผิดๆ
“นักสื่อสารสาธารณะ” ในความหมายของ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ในที่นี้ ไม่ใช่เพียงแค่สื่อสารมวลชน แต่รวมถึงบุคคลสาธารณะทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ผู้บริหารของรัฐและเอกชน ข้าราชการ นักวิชาชีพต่างๆ ที่จำเป็นต้องสื่อสารข้อความทางสังคมกับสาธารณชน ยกเว้นกิจกรรมที่เป็นความบันเทิงโดยตรงล้วนๆ
เมื่อพิเคราะห์ตามแนวคิดที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา เสนอแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาทันทีว่า หากยึดตามแนวคิดดังกล่าว “นักสื่อสารสาธารณะ” ในสังคมไทย ทั้งสื่อสารมวลชนและบุคคลสาธารณะ จะมีสักกี่สื่อและกี่คนที่ยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้ง 4 ข้อนั้น
ปัจจุบันสื่อสาธารณะได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมาถึงสองหน่วยงาน คือ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ที่แปรมาจากสถานีโทรทัศน์ ITV และสถานีโทรทัศน์ NBT ที่เปลี่ยนชื่อมาจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง กิดขึ้นจากการผลักดันของผู้มีอำนาจทางการเมืองต่างวาระกัน โดย สถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ส่วนสถานีโทรทัศน์ NBT จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งสื่อสาธารณะทั้งสองแห่งต่างก็ได้รับการกล่าวอ้างว่าจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสื่อสาธารณะที่มุ่งประโยชน์แก่สาธารณชน ไม่ใช่เป็นกระบอกเสียงให้แก่รัฐบาล
คำถามที่จะต้องถามก็คือ สื่อสาธารณะดังกล่าว มีความน่าเชื่อถือเพียงใดที่จะเป็นไปตามหลัก “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้นำเสนอไว้ ทั้งนี้จะต้องย้อนกลับไปพิจารณาบุคคลสาธารณะที่จัดอยู่ในฐานะ “นักการสื่อสารสาธารณะ” ซึ่งได้ก่อตั้งสื่อสาธารณะขึ้นมา นั่นคือคือนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนในการก่อตั้งและดำเนินงานสื่อสาธารณะทั้งสองแห่ง ว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ประการนั้นหรือไม่
ถ้าหากมีคุณสมบัติของผู้ก่อตั้งและผู้บริหารกิจการครบถ้วนตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อ ย่อมจะเชื่อได้ว่า สื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง จะสามารถดำรงฐานะความเป็นสื่อสาธารณะที่รับใช้ประชาชนและสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่ดี เหมาะสม น่าเชื่อถือ หลากหลายแง่มุม ยึดถือมีความเป็นธรรมและเที่ยงตรง มุ่งประโยชน์ส่วนรวมและโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงการยืนหยัดในหลักการแห่งความเป็นสื่อ ไม่ยอมสยบต่ออำนาจใดๆที่เข้ามาแทรกแซงให้สูญเสียความเป็นสื่อสาธารณะ
ปัญหาในกรณีก็คือ นักการเมืองผู้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “สื่อสาธารณะ” ตามแนวคิด“ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสื่อสาธารณะทั้ง 2 แห่ง มีฐานะอันชวนให้สงสัยยิ่งว่า ขาดคุณสมบัติตามแนวคิดทั้ง 4 ข้อที่ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา ได้เสนอไว้หรือไม่ เพื่อให้พิจารณาได้ง่ายขึ้น จึงขอยกหลักการในข้อแรกมาให้เทียบเคียงกับพฤติกรรมการสื่อสารของนักการเมืองดังนี้
(1) มีความรู้ในเรื่องนั้นๆดีเพียงพอ - ขอให้พิจารณาดูว่า นักการเมืองไทยมีความรู้เพียงพอในเรื่องที่เขาสื่อสารออกมาหรือไม่ หากมีความรู้เพียงพอย่อมสามารถยืนยันหรือกล่าวซ้ำได้โดยไม่แปรเปลี่ยนถ้อยคำหรือท่าทีที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะใช้เวลาไม่นานเลยในการเปลี่ยนแปลงคำพูดของตน
(2) เข้าใจประเด็นและนัยต่างๆของเนื้อสารที่เขานำเสนออย่างเหมาะสมกับกาลเทศะนั้นๆ - นักการเมืองไทยมีคุณสมบัติข้อนี้หรือไม่ ซึ่งส่วนมากแล้ว นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่สนใจข้อนี้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะสื่อสารได้ทุกเรื่อง ทุกสถานที่ ทุกเวลา
(3) ตระหนักถึงระดับแห่งความน่าเชื่อถือของแหล่งอันเป็นที่มาของข้อมูลและบทสรุปในข้อคิดเห็นที่เขานำเสนอ - นักการเมืองเคยอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่ มีข้อสรุปในสิ่งที่ตนแสดงความคิดเห็น ซึ่งก็คือ “ความเข้าใจ” ในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริงหรือไม่ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับนักการเมืองไทยทำ เพราะเขาสามารถสื่อสารในเรื่องที่ถูกถามได้ทุกเรื่องโดยทันที
(4) ยอมรับว่าเรื่องราวที่เขานำเสนออาจจะมีมุมมองอื่นๆได้อีกหลายด้านตามหลักของความหลากหลายทางความคิด ไม่ใช่อะไรที่มีด้านเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกมุมมองมีความถูกต้องเท่าๆกัน - ข้อนี้ นักการเมืองไทยดูเหมือนจะไม่คิดและสื่อสารอะไรที่มีความซับซ้อนแบบนี้
เมื่อพิจารณาครบถ้วนกระบวนความตามหลักการข้อแรกแห่ง “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ ”การสื่อสารสาธารณะ” แล้วก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่า นักการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนักการสื่อสารสาธารณะ ขาดคุณสมบัติทั้ง 4 ข้อนั้น
ฉะนั้น จึงเป็นที่น่าหวั่นวิตกว่า สื่อสาธารณะที่นักการเมืองผลักดันจัดตั้งกันขึ้นมานั้น จะอยู่ในสภาพที่เป็นสื่อสาธารณะแต่เพียงรูปแบบ ส่วนเนื้อหานั้นก็คือสื่อของรัฐ หรือของกลุ่มคนที่มีอำนาจอิทธิพลคอยชี้นำ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ควรที่จะให้โอกาสสื่อสาธารณะดังกล่าวได้ดำเนินบทบาทตามภาระหน้าที่ไปตามปกติ เพียงแต่ประชาชนคนไทยที่มีส่วนในการเป็นเจ้าของก็ควรจับตามอง ตรวจสอบ การทำงานของสื่อดังกล่าว หากแม้นปรากฏว่ามีการละเมิด “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” สำหรับ “การสื่อสารสาธารณะ” ขึ้นมาเมื่อใดก็จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราทราบว่าคุณสมบัติของนักการเมืองที่เป็นผู้ผลักดันก่อตั้งสื่อนั้นขึ้นมา ไม่ผ่านแม้เพียงหลักการข้อแรกของ “ไวยากรณ์ทางจริยธรรม” ดังกล่าว เราก็จะได้ยิ่งระมัดระวังมากขึ้น ในการดูแล “สื่อสาธารณะ” ให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง.
ศาลฏีกาสั่งออกหมายจับ"อดิศัย"

เหตุมีพฤติกรรมหลบหนี เลื่อนตัดสินคดีกล้ายาง21ก.ย.”เนวิน”ลั่นไม่เบี้ยว
สิงหาคม 17th, 2009
มติชน : ศาลฎีกาสั่งออกหมายจับ “อดิศัย” ปรับนายประกัน 1 ล้าน เนื่องจากมีพฤติกรรมหลบหนี หลังอ้างไปรักษาตัวสหรัฐ ไม่มาฟังคำตัดสิน เนวินและ42จำเลยมากันครบ รมต.-แกนนำภท.เฮให้กำลังใจ เลื่อนพิพากษาคดีกล้ายางเป็น 21 ก.ย.
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตการจัดซื้อกล้ายางเป็นวันที่ 21 กันยายน เวลา 14.00 น. เนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 1 ใน 44 จำเลยในคดีไม่เดินทางมารับฟังคำพิพากษา โดยเดินทางไปรักษาอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมให้ทนายความยื่นคำร้องขอให้อ่านคำพิพากษาลับหลัง แต่ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายอดิศัย มีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับนายอดิศัย มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 กันยายนนี้ พร้อมสั่งปรับนายประกันจำนวน 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 14.45 น. วันที่ 17 สิงหาคม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยนายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอดิศัย โพธารามิก ในฐานะ คชก. เป็นจำเลยที่ 1-5 พร้อมคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัท เอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44
คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อจัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ, ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 และความผิดฐานฉ้อโกง พร้อมขอให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 1,440 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อถึงเวลานัดหมาย จำเลยทุกคนเดินทางมาฟังคำพิพากษา ยกเว้นนายอดิศัย โดยทนายความยื่นคำร้องว่า ได้รับการติดต่อจากนายอดิศัย ผ่านทางจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เมล ว่า นายอดิศัย เดินทางไปรักษาอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามที่นายอดิศัย เคยยื่นคำร้องต่อศาลในคดีหมายเลขดำ อม.1/2551 (คดีหวยบนดิน) ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2552 พร้อมขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
ต่อมาศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามกฎหมายจะต้องอ่านคำพิพากษาต่อหน้าจำเลย กรณีที่นายอดิศัย อ้างว่าได้เคยยื่นคำร้องต่อศาลในคดีหมายเลขดำ อม.1/2551 (คดีหวยบนดิน) และได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรักษาอาการป่วยระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม-31 สิงหาคม โดยการที่นายอดิศัย เดินทางไปรักษาตัวช่วงนี้ ทั้งที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก และสหรัฐ ขณะที่ร่างกายของนายอดิศัย ยังไม่ฟื้นตัวจากการผ่าตัดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ศาลเห็นว่า เมื่อศาลกำหนดนัดไว้ล่วงหน้าแล้ว หากนายอดิศัย มีความจำเป็นต้องรักษาตัวก็ควรแจ้งให้ศาลทราบล่วงหน้า ไม่ใช่ยื่นคำร้องแจ้งในวันนี้ (17 สิงหาคม) พฤติการณ์แสดงว่า นายอดิศัย จงใจจะหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา และผิดสัญญาประกัน จึงมีคำสั่งให้ปรับนายประกัน 1 ล้านบาท และออกหมายจับนายอดิศัย มาฟังคำพิพากษา ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 32 วรรคสอง พร้อมให้เลื่อนฟังคำพิพากษา เป็นวันที่ 21 กันยายนนี้ เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ศาลยังได้กำชับให้จำเลยทั้งหมด มาฟังคำพิพากษาในนัดหน้าให้ครบทั้ง 44 คนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังศาลมีคำสั่งเลื่อนการอ่านคำพิพากษา นายเนวินและผู้ที่ตกเป็นจำเลยในคดีได้ทยอยเดินทางกลับ โดยนายเนวิน ได้ทักทายผู้สื่อข่าวอย่างอารมณ์ดีว่า “ไม่มีอะไรแล้ว กลับบ้านกันได้แล้ว เพราะฝนกำลังจะตก” เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมาฟังคำพิพากษาวันที่ 21 กันยายนหรือไม่ นายเนวินตอบสั้นๆ ว่า มา เมื่อถามว่า นายอดิศัยไม่มาฟังคำพิพากษา เพราะรู้ว่าคำพิพากษาจะออกมาว่ามีความผิดและต้องต้องโทษหรือไม่ นายเนวินกล่าวว่า “ไม่ทราบ เรื่องนี้ต้องไปสอบกับท่านอดิศัยเอง” จากนั้นนายเนวิน ได้รับมอบดอกไม้จากผู้สนับสนุน และ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ที่มาให้กำลังใจแล้วจึงเดินทางกลับทันที
ด้านนายวราเทพกล่าวว่า ครั้งหน้าจะเดินทางมาฟังคำพิพากษาแน่นอน ส่วนนายสรอรรถกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “จะไม่มาได้อย่างไร”
อนึ่ง นายสมคิด เดินทางมาถึงศาลเป็นคนแรก เมื่อเวลา 13.15 น. จากนั้นเป็นนายสรอรรถ และนายวราเทพ กระทั่งเวลา 13.37 น. นายเนวิน จึงเดินทางมาถึงด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และเข้าทักทายกับรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย แกนนำ และ ส.ส.ของพรรคที่เดินทางมาให้กำลังใจ เช่น นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายบุญลือ ประเสริฐโสภา นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ ส.ส.อุดรธานี ฯลฯ
ขณะที่ในช่วงเช้า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ10) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) เดินทางมาตรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ใช้กำลังตำรวจประมาณ 300 นาย วางกำลังโดยรอบศาลฎีกาฯ มีการนำแผงเหล็กมากั้นบนทางเดินเท้ารอบอาคาร และทางเข้า-ออกอาคารศาลฎีกาฯ รวมทั้งตรวจตราผู้ที่จะเดินทางเข้า-ออกอย่างเข้มงวด
สิงหาคม 17th, 2009
มติชน : ศาลฎีกาสั่งออกหมายจับ “อดิศัย” ปรับนายประกัน 1 ล้าน เนื่องจากมีพฤติกรรมหลบหนี หลังอ้างไปรักษาตัวสหรัฐ ไม่มาฟังคำตัดสิน เนวินและ42จำเลยมากันครบ รมต.-แกนนำภท.เฮให้กำลังใจ เลื่อนพิพากษาคดีกล้ายางเป็น 21 ก.ย.
ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลื่อนอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตการจัดซื้อกล้ายางเป็นวันที่ 21 กันยายน เวลา 14.00 น. เนื่องจากนายอดิศัย โพธารามิก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 1 ใน 44 จำเลยในคดีไม่เดินทางมารับฟังคำพิพากษา โดยเดินทางไปรักษาอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมให้ทนายความยื่นคำร้องขอให้อ่านคำพิพากษาลับหลัง แต่ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายอดิศัย มีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับนายอดิศัย มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 21 กันยายนนี้ พร้อมสั่งปรับนายประกันจำนวน 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 14.45 น. วันที่ 17 สิงหาคม ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยนายบุญรอด ตันประเสริฐ ประธานแผนกคดีเลือกตั้ง เจ้าของสำนวนทุจริตการจัดซื้อต้นกล้ายางพารา พร้อมองค์คณะรวม 9 คน นัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อม.4/2551 ที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.), นายวราเทพ รัตนากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายอดิศัย โพธารามิก ในฐานะ คชก. เป็นจำเลยที่ 1-5 พร้อมคณะกรรมการบริหารโครงการ (กำหนดทีโออาร์) และคณะกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา และบริษัทเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เมล็ดพันธุ์ จำกัด ในฐานะผู้ชนะการประกวดราคา, บริษัท รีสอร์ตแลนด์ จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา และบริษัท เอกเจริญ การเกษตร จำกัด ผู้ร่วมเสนอราคา เป็นจำเลยที่ 6-44
คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานและผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต, เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อจัดการหรือรักษาทรัพย์สินใดๆ ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตอันเป็นการเสียหายแก่รัฐ, ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 และความผิดฐานฉ้อโกง พร้อมขอให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 1,440 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อถึงเวลานัดหมาย จำเลยทุกคนเดินทางมาฟังคำพิพากษา ยกเว้นนายอดิศัย โดยทนายความยื่นคำร้องว่า ได้รับการติดต่อจากนายอดิศัย ผ่านทางจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เมล ว่า นายอดิศัย เดินทางไปรักษาอาการบาดเจ็บกระดูกสันหลัง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามที่นายอดิศัย เคยยื่นคำร้องต่อศาลในคดีหมายเลขดำ อม.1/2551 (คดีหวยบนดิน) ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2552 พร้อมขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
ต่อมาศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตามกฎหมายจะต้องอ่านคำพิพากษาต่อหน้าจำเลย กรณีที่นายอดิศัย อ้างว่าได้เคยยื่นคำร้องต่อศาลในคดีหมายเลขดำ อม.1/2551 (คดีหวยบนดิน) และได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรักษาอาการป่วยระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม-31 สิงหาคม โดยการที่นายอดิศัย เดินทางไปรักษาตัวช่วงนี้ ทั้งที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศเม็กซิโก และสหรัฐ ขณะที่ร่างกายของนายอดิศัย ยังไม่ฟื้นตัวจากการผ่าตัดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 ศาลเห็นว่า เมื่อศาลกำหนดนัดไว้ล่วงหน้าแล้ว หากนายอดิศัย มีความจำเป็นต้องรักษาตัวก็ควรแจ้งให้ศาลทราบล่วงหน้า ไม่ใช่ยื่นคำร้องแจ้งในวันนี้ (17 สิงหาคม) พฤติการณ์แสดงว่า นายอดิศัย จงใจจะหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา และผิดสัญญาประกัน จึงมีคำสั่งให้ปรับนายประกัน 1 ล้านบาท และออกหมายจับนายอดิศัย มาฟังคำพิพากษา ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 32 วรรคสอง พร้อมให้เลื่อนฟังคำพิพากษา เป็นวันที่ 21 กันยายนนี้ เวลา 14.00 น. ทั้งนี้ ศาลยังได้กำชับให้จำเลยทั้งหมด มาฟังคำพิพากษาในนัดหน้าให้ครบทั้ง 44 คนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังศาลมีคำสั่งเลื่อนการอ่านคำพิพากษา นายเนวินและผู้ที่ตกเป็นจำเลยในคดีได้ทยอยเดินทางกลับ โดยนายเนวิน ได้ทักทายผู้สื่อข่าวอย่างอารมณ์ดีว่า “ไม่มีอะไรแล้ว กลับบ้านกันได้แล้ว เพราะฝนกำลังจะตก” เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมาฟังคำพิพากษาวันที่ 21 กันยายนหรือไม่ นายเนวินตอบสั้นๆ ว่า มา เมื่อถามว่า นายอดิศัยไม่มาฟังคำพิพากษา เพราะรู้ว่าคำพิพากษาจะออกมาว่ามีความผิดและต้องต้องโทษหรือไม่ นายเนวินกล่าวว่า “ไม่ทราบ เรื่องนี้ต้องไปสอบกับท่านอดิศัยเอง” จากนั้นนายเนวิน ได้รับมอบดอกไม้จากผู้สนับสนุน และ ส.ส.พรรคภูมิใจไทย ที่มาให้กำลังใจแล้วจึงเดินทางกลับทันที
ด้านนายวราเทพกล่าวว่า ครั้งหน้าจะเดินทางมาฟังคำพิพากษาแน่นอน ส่วนนายสรอรรถกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “จะไม่มาได้อย่างไร”
อนึ่ง นายสมคิด เดินทางมาถึงศาลเป็นคนแรก เมื่อเวลา 13.15 น. จากนั้นเป็นนายสรอรรถ และนายวราเทพ กระทั่งเวลา 13.37 น. นายเนวิน จึงเดินทางมาถึงด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และเข้าทักทายกับรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย แกนนำ และ ส.ส.ของพรรคที่เดินทางมาให้กำลังใจ เช่น นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข น.ส.นริศรา ชวาลตันพิพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายบุญลือ ประเสริฐโสภา นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ส.ส.สุรินทร์ นายเชิดชัย วิเชียรวรรณ ส.ส.อุดรธานี ฯลฯ
ขณะที่ในช่วงเช้า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ที่ปรึกษา (สบ10) รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) เดินทางมาตรวจมาตรการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ใช้กำลังตำรวจประมาณ 300 นาย วางกำลังโดยรอบศาลฎีกาฯ มีการนำแผงเหล็กมากั้นบนทางเดินเท้ารอบอาคาร และทางเข้า-ออกอาคารศาลฎีกาฯ รวมทั้งตรวจตราผู้ที่จะเดินทางเข้า-ออกอย่างเข้มงวด
วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ถวายฎีกา ดับทุกข์แผ่นดิน

โดย พลเมือง
17 สิงหาคม 2552
ตามหลักการต้องยอมรับว่า ประเทศไทยเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หากเราถือว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายสูงสุดในประเทศนี้
เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรไว้ ตามมาตรา 1 และกำหนดรูปแบบการปกครองของประเทศนี้ดังกล่าวข้างต้นไว้ ตามมาตรา 2 และในมาตรานี้ยังกำหนดสถานะความเป็นประมุขของพระมหากษัตริย์ไว้
ซึ่งก็หมายความว่าพระมหากษัตริย์ไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เช่นกัน นอกจากนี้ได้กำหนดให้อำนาจอธิไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้อำนาจนี้ ตามมาตรา3
ฉะนั้นการจะดำเนินการใดๆภายในราชอาณาจักรนี้ จะต้องดำเนินการตามกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่มารองรับ
การถวายฎีกาก็เช่นเดียวกันก็ไม่อาจฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว
แต่การถวายฎีกาไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายปัจจุบันกำหนดรูปแบบไว้ว่าจะต้องใช้วิธีการใด หรือเรื่องใดบ้างที่จะถวายฎีกาได้หรือไม่ได้
แต่มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญฯบัญญัติไว้ว่า
”เมื่อไม่มีบทบัญัญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับกรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”
ประเพณีการปกครองของไทย ที่ได้ประพฤติปฎิบัติกันมาอย่างมากมาย และมีมาอย่างช้านานที่ไม่ขัดกับระบอบประชาธิปไตยอันถือเป็นนิติราชประเพณีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน โดยมีการปรับใช้อย่างแนบเนียน จนกลายเป็นวัฒนธรรมอำนาจอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งยึดหลักการใช้อำนาจด้วยธรรมะ ด้วยเมตตา และด้วยความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันมาโดยตลอด
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการถวายฎีกาของพสกนิกรไทย ที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานแต่โบราณกาลจนถือเป็นนิติราชประเพณีมา จะใช้วิธีการใดก็ได้ จะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาก็ได้ และจะเป็นเรื่องใดก็ได้ ทำได้ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องส่วนรวม
ที่ผ่านมามีทั้งเรื่องวินัยข้าราชการ เรื่องโทษทางอาญา หรือเรื่องใดๆที่ประชาชนเดือดร้อนก็ขอได้หมดทุกเรื่อง ซึ่งฎีกาประเภทนี้เรียกว่า”ฎีการ้องทุกข์”
สำหรับการพระราชทานอภัยโทษนั้นมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯมาตรา 191 ซึ่งกำหนดเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และมีกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความอาญารองรับไว้ 2 กรณีคือ การอภัยโทษเฉพาะราย และการอภัยโทษเป็นการทั่วไป และเป็นการยกเว้นโทษเท่านั้นไม่ได้ยกเว้นความผิด
-การอภัยโทษเฉพาะราย ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 บัญญัติว่า ”
ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จะทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการยุติธรรมก็ได้ฯ”
และมาตรา 265 บัญญัติว่า”
ในกรณีการอภัยโทษเด็ดขาดโดยไม่เงื่อนไข ห้ามมิให้บังคับโทษนั้น แต่ถ้ามีการบังคับโทษไปบ้างแล้ว ให้หยุดทันทีฯลฯ”
จากบทบัญญัติทั้ง 2 มาตรานี้จะเห็นได้ว่า การอภัยโทษเฉพาะรายไม่จำเป็นต้องรับโทษก่อน เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า คดีต้องถึงที่สุดแล้ว เท่านั้น
-การอภัยโทษแบบทั่วไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ ซึ่งจะกระทำในวโรกาสมหามงคลเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคณะรัฐมนตรี ถวายแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอพระราชทานอภัยโทษ โดยตราเป็นพระ ราชกฤษฎีกา
-การนิรโทษกรรม เป็นการยกเว้นความผิด ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา ออกเป็นกฎหมาย
จะเห็นว่าทั้งสามกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน แล้วแต่ใครจะใช้วิธีการใด ซึ่งแต่ละวิธีมีช่องทางแตกต่างกันไปไม่เกี่ยวข้องกัน
สำหรับคนเสื้อแดงที่กำลังจะยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับคุณทักษิณฯต่อพระมหากษัตริย์นั้นก็คงเป็นขอยุติไปแล้วว่ายื่นได้หรือไม่ได้ เพราะได้มีการประสานจากสำนักพระราชวังถึงการเตรียมการรับการยื่นถวายฎีกาแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามนิติราชประเพณีอันดีงามของไทยที่มีมาแต่โบราณกาล
และประกอบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดหลักยกเว้นให้พระมหากษัตริย์(ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งไม่ใช่บุคคลตามรัฐธรรมนูญฯ)มีพระราชอำนาจการให้อภัยโทษโดยตรงโดยไม่ผ่านรัฐสภาหรือรัฐบาลหรือศาลแล้ว เมื่อมีการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษพระมหากษัตริย์ก็ต้องรับตามกฎหมาย(by law)
ส่วนจะมีพระราชวินิจฉัยเช่นใด ถือเป็นพระราชอำนาจที่อิสระที่เด็ดขาด โดยที่ผ่านมาก็ไม่ผูกพันกับความเห็นหรือคำแนะนำของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือองคมนตรีที่กราบบังคมทูลถวายรายละเอียด และความเห็นเบื้องต้น เป็นการยึดหลักพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของความยุติธรรม และหากมีพระราชวินิจฉัยให้พระราชทานอภัยโทษก็ไม่ใช่การคัดค้านคำพิพากษาของศาล(เช่นคุณอานันท์ฯพูด) แต่เป็นกรณีการใช้พระราชอำนาจในทางแก้ไขข้อผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมได้ทางหนึ่ง
การพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นสายสัมพันธ์ของราษฎรที่ยึดเหนี่ยวพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่พึ่งสุดท้ายในการแสวงหาความยุติธรรม
ส่วนการที่รัฐมนตรีมหาดไทยที่ออกมาคัดค้านการถวายฎีกาต่างหาก ที่ได้กระทำการที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งวุฒิสมาชิกสามารถยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 270 ได้
17 สิงหาคม 2552
ตามหลักการต้องยอมรับว่า ประเทศไทยเราปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หากเราถือว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 เป็นกฎหมายสูงสุดในประเทศนี้
เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กำหนดให้ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรไว้ ตามมาตรา 1 และกำหนดรูปแบบการปกครองของประเทศนี้ดังกล่าวข้างต้นไว้ ตามมาตรา 2 และในมาตรานี้ยังกำหนดสถานะความเป็นประมุขของพระมหากษัตริย์ไว้
ซึ่งก็หมายความว่าพระมหากษัตริย์ไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เช่นกัน นอกจากนี้ได้กำหนดให้อำนาจอธิไตยเป็นของปวงชนชาวไทย และให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้อำนาจนี้ ตามมาตรา3
ฉะนั้นการจะดำเนินการใดๆภายในราชอาณาจักรนี้ จะต้องดำเนินการตามกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นที่มารองรับ
การถวายฎีกาก็เช่นเดียวกันก็ไม่อาจฝ่าฝืนหลักการดังกล่าว
แต่การถวายฎีกาไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายปัจจุบันกำหนดรูปแบบไว้ว่าจะต้องใช้วิธีการใด หรือเรื่องใดบ้างที่จะถวายฎีกาได้หรือไม่ได้
แต่มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญฯบัญญัติไว้ว่า
”เมื่อไม่มีบทบัญัญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ บังคับกรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”
ประเพณีการปกครองของไทย ที่ได้ประพฤติปฎิบัติกันมาอย่างมากมาย และมีมาอย่างช้านานที่ไม่ขัดกับระบอบประชาธิปไตยอันถือเป็นนิติราชประเพณีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน โดยมีการปรับใช้อย่างแนบเนียน จนกลายเป็นวัฒนธรรมอำนาจอย่างหนึ่งของไทยที่มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งยึดหลักการใช้อำนาจด้วยธรรมะ ด้วยเมตตา และด้วยความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันมาโดยตลอด
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการถวายฎีกาของพสกนิกรไทย ที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนานแต่โบราณกาลจนถือเป็นนิติราชประเพณีมา จะใช้วิธีการใดก็ได้ จะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยวาจาก็ได้ และจะเป็นเรื่องใดก็ได้ ทำได้ทุกเรื่อง ทั้งเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องส่วนรวม
ที่ผ่านมามีทั้งเรื่องวินัยข้าราชการ เรื่องโทษทางอาญา หรือเรื่องใดๆที่ประชาชนเดือดร้อนก็ขอได้หมดทุกเรื่อง ซึ่งฎีกาประเภทนี้เรียกว่า”ฎีการ้องทุกข์”
สำหรับการพระราชทานอภัยโทษนั้นมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯมาตรา 191 ซึ่งกำหนดเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และมีกฎหมายประมวลวิธีพิจารณาความอาญารองรับไว้ 2 กรณีคือ การอภัยโทษเฉพาะราย และการอภัยโทษเป็นการทั่วไป และเป็นการยกเว้นโทษเท่านั้นไม่ได้ยกเว้นความผิด
-การอภัยโทษเฉพาะราย ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 บัญญัติว่า ”
ผู้ต้องคำพิพากษาให้รับโทษอย่างใดๆ หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จะทูลเกล้าฯขอพระราชทานอภัยโทษ จะยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการยุติธรรมก็ได้ฯ”
และมาตรา 265 บัญญัติว่า”
ในกรณีการอภัยโทษเด็ดขาดโดยไม่เงื่อนไข ห้ามมิให้บังคับโทษนั้น แต่ถ้ามีการบังคับโทษไปบ้างแล้ว ให้หยุดทันทีฯลฯ”
จากบทบัญญัติทั้ง 2 มาตรานี้จะเห็นได้ว่า การอภัยโทษเฉพาะรายไม่จำเป็นต้องรับโทษก่อน เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า คดีต้องถึงที่สุดแล้ว เท่านั้น
-การอภัยโทษแบบทั่วไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 261 ทวิ ซึ่งจะกระทำในวโรกาสมหามงคลเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคณะรัฐมนตรี ถวายแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ ขอพระราชทานอภัยโทษ โดยตราเป็นพระ ราชกฤษฎีกา
-การนิรโทษกรรม เป็นการยกเว้นความผิด ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา ออกเป็นกฎหมาย
จะเห็นว่าทั้งสามกรณีไม่เกี่ยวข้องกัน แล้วแต่ใครจะใช้วิธีการใด ซึ่งแต่ละวิธีมีช่องทางแตกต่างกันไปไม่เกี่ยวข้องกัน
สำหรับคนเสื้อแดงที่กำลังจะยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับคุณทักษิณฯต่อพระมหากษัตริย์นั้นก็คงเป็นขอยุติไปแล้วว่ายื่นได้หรือไม่ได้ เพราะได้มีการประสานจากสำนักพระราชวังถึงการเตรียมการรับการยื่นถวายฎีกาแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามนิติราชประเพณีอันดีงามของไทยที่มีมาแต่โบราณกาล
และประกอบกับกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดหลักยกเว้นให้พระมหากษัตริย์(ซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งไม่ใช่บุคคลตามรัฐธรรมนูญฯ)มีพระราชอำนาจการให้อภัยโทษโดยตรงโดยไม่ผ่านรัฐสภาหรือรัฐบาลหรือศาลแล้ว เมื่อมีการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษพระมหากษัตริย์ก็ต้องรับตามกฎหมาย(by law)
ส่วนจะมีพระราชวินิจฉัยเช่นใด ถือเป็นพระราชอำนาจที่อิสระที่เด็ดขาด โดยที่ผ่านมาก็ไม่ผูกพันกับความเห็นหรือคำแนะนำของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือองคมนตรีที่กราบบังคมทูลถวายรายละเอียด และความเห็นเบื้องต้น เป็นการยึดหลักพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของความยุติธรรม และหากมีพระราชวินิจฉัยให้พระราชทานอภัยโทษก็ไม่ใช่การคัดค้านคำพิพากษาของศาล(เช่นคุณอานันท์ฯพูด) แต่เป็นกรณีการใช้พระราชอำนาจในทางแก้ไขข้อผิดพลาดของกระบวนการยุติธรรมได้ทางหนึ่ง
การพระราชทานอภัยโทษจึงเป็นสายสัมพันธ์ของราษฎรที่ยึดเหนี่ยวพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่พึ่งสุดท้ายในการแสวงหาความยุติธรรม
ส่วนการที่รัฐมนตรีมหาดไทยที่ออกมาคัดค้านการถวายฎีกาต่างหาก ที่ได้กระทำการที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งวุฒิสมาชิกสามารถยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 270 ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)