--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วุฒิสภา ยื้อฯไม่ยอมตั้งนายกฯคนกลาง..

สุรชัยนำทีมส.ว.แถลงทางออกประเทศ แบะท่าเปิดประชุมวุฒิสภา กรณีพิเศษเลือกนายกฯ แต่ไม่ได้บอกจะทำเมื่อไร เรียกร้อง3ข้อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกับวุฒิ

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) นำโดย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา ในฐานะว่าที่ประธานวุฒิสภา ได้เปิดแถลงต่อสื่อมวลชนถึงข้อสรุปในการหาทางออกให้กับประเทศ หลังจากได้ประชุม ส.ว.นอกรอบและพบปะรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายหลายองค์กรมาตลอดสัปดาห์

นายสุรชัย กล่าวว่า สืบเนื่องจากวิกฤติชาติที่ดำรงอยู่ มีรากเหง้าจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง มีปัญหาการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง และองค์กรอิสระมีคำวินิจฉัยหลายกรณี รวมทั้งมีการประกาศยุบสภา จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อ 2 ก.พ. 2557 แต่ด้วยความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน นำไปสู่กระแสการคัดค้านการเลือกตั้ง จนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ

จนกระทั่งบัดนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และรัฐบาลรักษาการยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งต่อไป จึงแน่นอนว่าไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะมีสภาผู้แทนราษฎรได้อีกเมื่อไร

วุฒิสภาในฐานะเป็นองค์กรนิติบัญญัติองค์กรเดียวที่ยังเหลืออยู่จึงมิอาจนิ่งเฉย ประกอบกับมีกระแสเรียกร้องของสังคมให้ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย เราจึงจัดประชุมนอกรอบเพื่อระดมความเห็น และที่ประชุมเห็นพ้องว่าวุฒิสภาต้องทำหน้าที่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้วิกฤติชาติ

นายสุรชัย กล่าวต่อว่า จากนั้นได้ประสานไปยังทุกภาคส่วนของสังคม โดยผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นจากส่วนต่างๆ ผลการจัดเวทีสาธารณะล้วนมีความเห็นตรงกันว่า หากปล่อยให้สภาวการณ์แบบนี้ดำรงต่อไปอาจนำไปสู่การล่มสลายทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงแห่งชาติ ทุกภาคส่วนจึงเสนอให้วุฒิสภาแก้ไขวิกฤติของชาติเพื่อไม่ให้ขยายตัว จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.ให้แก้ไขปัญหาวิกฤติชาติโดยคืนความสงบสุข สมานฉันท์ ด้วยการจัดให้ปฏิรูปประเทศในทุกด้าน ซึ่งต้องมีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็ม 2.ให้รัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่รัฐบาลและพรรคการเมืองให้ความร่วมมือกับวุฒิสภาในการหาทางออกให้ประเทศภายใต้หลักการร่วมมือของคนในชาติ และลดเงื่อนไขความรุนแรง

3.วุฒิสภาพร้อมจะทุ่มเทการทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง จะนำความเห็นจากทุกฝ่ายมาพิจารณาประกอบ หากจำเป็นจะอาศัยข้อบังคับเปิดประชุมเป็นกรณีพิเศษเพื่อได้นายกรัฐมนตรีตามกรอบรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามประเพณีทั้งของสากลและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย

"เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลและทุกภาคส่วน หวังว่าทุกคนจะร่วมกันตระหนักถึงวิกฤติชาติและฝ่าฟันไปให้ได้ เราหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะยอมเสียสละและลดละความคิดดั้งเดิม ให้ความร่วมมือของวุฒิสภาในการก้าวไปข้างหน้าต่อไป" นายสุรชัย ระบุ

"สุเทพ"ฉุนจบไม่ลง-ลั่นกลับไปหาวิธีเอง

ด้าน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ขึ้นปราศรัยบริเวณหน้าอาคารรัฐสภาซึ่งมีมวลชน กปปส.ล้อมไว้ทุกประตู หลังได้ฟังคำแถลงของนายสุรชัย ว่า เราได้ยินคำตอบแล้วว่าให้รอต่อไป

"ผมอยากบอกว่าวันนี้ วินาทีนี้ที่ผมได้ยินคำตอบ ผมดีใจมากที่ไม่ต้องพบกันในสภาอีกต่อไป ผมดีใจที่ได้เลิกเล่นการเมืองทั้งชีวิตเพราะเบื่อคำพูดแบบนี้ ท่านประธานที่เคารพได้ยินว่าพูดได้อย่างไร เราก็ไม่อยากคุยกับคุณอีกต่อไปแล้ว ขอบคุณที่ช่วยแถลงให้ทราบว่าในที่สุดคุณก็ยังเกรงใจคนมากเหลือเกิน จากนี้เราจะคิดหาวิธีของเรา จะได้ไม่ต้องเล่นลิ้นกับใคร ทำตามประสาเรา เป็นอย่างไรก็เป็นกัน"

จากนั้น นายสุเทพได้นำมวลชนเดินกลับเวทีหลักที่หน้าหอประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ท่ามกลางมวลชนที่เป่านกหวีดเสียงดังลั่นตลอดทาง

เพื่อไทยลุยค้าน นายกฯคนกลาง

ด้านความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ทั้งแกนนำ อดีต ส.ส.ของพรรค และทีมกฎหมายของพรรค เช่น นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ยังคงออกมายืนยันเช่นเดิมว่า วุฒิสภาไม่มีอำนาจในการดำเนินการตั้งนายกรัฐมนตรี และย้ำว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 181 บังคับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รักษาการทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่

ขณะที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยทีมทนายความ ได้เดินทางเข้าพบ นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภาคนใหม่ พร้อมพวก จะกระทำการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ถือเป็นการขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่าด้วยการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งนี้ นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า อัยการรับเรื่องไว้แล้วและจะตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที หากพบว่าเป็นการกระทำเข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้การพิจารณาคาดว่าใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน

"นิวัฒน์ธำรง"ปัดนัดหารือส.ว.

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีรักษาการ กล่าวขณะลงพื้นที่ จ.เชียงราย ถึงกรณีมีข่าวนัดหารือกับว่าที่ประธานวุฒิสภาในวันที่ 17 พ.ค. ว่า "ไม่ทราบ วันนี้ผมมาปฏิบัติราชการที่ จ.เชียงราย ส่วนวันที่ 17 พ.ค.มีภารกิจต้องปฏิบัติราชการที่ จ.เชียงใหม่ ทั้งวันเสาร์และอาทิตย์ ผมอยู่ที่ภาคเหนือ" และว่าข่าวที่ระบุว่ามีการนัดหมายนั้น คงไม่ได้นัดกับตน เพราะตนไม่เคยตอบรับ

"อภิสิทธิ์"บอกรธน.เปิดช่องตั้งนายกฯ

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลอ้างเหตุผลต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อรักษาการต่อตามรัฐธรรมนูญ จึงห้ามมีรัฐบาลใหม่หรือนายกฯคนใหม่ ว่า ถือเป็นคนละเรื่องกัน เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 180 กำหนดให้ ครม.พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลง ส่วนมาตรา 181 ระบุว่า คนที่พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 180 ให้ทำหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ แต่รัฐบาลกลับไปอ้างมาตรา 181 เป็นบทหลัก ทั้งๆ ที่มาตรา 180 บอกชัดว่า เมื่อนายกฯพ้นจากตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และ 173 ให้เห็นชอบบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ดังนั้น การบอกว่าห้ามสรรหาคนใหม่นั้นไม่จริง เพียงแต่การสรรหาคนใหม่เกิดปัญหา คือ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นเอง และสิ่งที่คณะของวุฒิสภากำลังดำเนินการ คือ ตามมาตรา 180 ที่ให้ดำเนินการตาม 172 และ 173 โดยอนุโลม และสิ่งที่วุฒิสภาทำ เป็นการหาทางออกให้ประเทศ แต่กลับมีคนกลุ่มเดียวที่พยายามจะอยู่ในอำนาจคัดค้าน ท่ามกลางความเสียหายของบ้านเมือง

มท.1 ไฟเขียวขนคนเข้ากรุงขวางทหาร

ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ออกแถลงการณ์ 7 ข้อ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ยืนยันพร้อมใช้กำลังทหารเต็มรูปแบบหากสถานการณ์ความรุนแรงในบ้านเมืองมีแนวโน้มเกิดจลาจลนั้น

ที่ หอประชุมประจักษ์ศิลปาคม ศาลากลางจังหวัดหนองคาย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) กล่าวตอนหนึ่งขณะมอบนโยบายและชี้แจงสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย ว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้เข้ามาบริหารบ้านเมือง 2 ปีเศษ ได้ดำเนินการตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาทุกประการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ การถูกขัดขวางทุกวิถีทาง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยร่วมกับองค์กรอิสระอื่นๆ ทำลายพรรคเพื่อไทย

ที่สำคัญคือแถลงการณ์ของทหาร 7 ข้อ ที่ออกมา อาจจะนำไปสู่เหตุการณ์ที่นักประชาธิปไตยไม่ต้องการเกิดขึ้นใน 1-2 วันนี้ จึงขอให้กำนันผู้ใหญ่บ้านได้เตรียมความพร้อมไว้ โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแต่ละคนไปทำความเข้าใจกับประชาชน และเชิญชวนให้ได้อย่างน้อย 10 คน เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทวงคืนประชาธิปไตย หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริง โดยให้ทุกคนไปรวมตัวกันที่ศาลากลางและให้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางต่อไป

ท่าทีของนายจารุพงศ์ สอดคล้องกับที่ประชุมคณะกิจการพรรคเพื่อไทย ที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในสัปดาห์หน้าว่า มีความน่าเป็นห่วง เพราะอาจมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงจนเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชน นำไปสู่การออกมายึดอำนาจของทหาร อย่างไรก็ดี ในส่วนของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยได้เตรียมพร้อมเคลื่อนไหวต่อต้านผ่านประชาชนที่แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ พร้อมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เพื่อยืนยันว่าไม่ยอมรับการปฏิวัติรัฐประหาร และยืนยันว่าทางออกที่ดีที่สุดตามหลักการประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งเท่านั้น

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุ ประธานวุฒิสภา เสนอชื่อ นายกฯ ไม่ได้.

ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุประธานวุฒิสภาในช่วงที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร อ้างสิทธิทำตนเป็น"รัฐาธิปัตย์"เพื่อเสนอชื่อและลงนามรับรองนายกฯคนใหม่ไม่ได้

การเขียนคำว่า"รัฐาธิปัตย์"ที่ถูกต้อง คือ รัฐ+อธิปัตย์ หมายถึง การมีอำนาจหน้าที่สูงสุดแห่งรัฐในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาปกติโดยทั่วไปคือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร หรือ Head of Government

ประมุขฝ่ายบริหาร หรือ Head of Government ในกรณีของสหรัฐคือ ประธานาธิบดี ของอังกฤษ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย คือ นายกรัฐมนตรี ส่วนประมุขแห่งรัฐ Head of State เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศและทำหน้าที่ในการลงนามกฎหมายแทนประชาชนทุกคนทั้งประเทศเท่านั้น (ยกเว้นรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) เช่น สหรัฐ สิงคโปร์ คือ ประธานาธิบดี มาเลเซีย คือ ยังดี เปอร์ตวน อากง อังกฤษและไทย คือ Monarch

แต่ในช่วงที่ต้องมีการหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในการใช้อำนาจนำเสนอและลงนามรับรองชื่อบุคคลที่จะมาเป็นประมุขฝ่ายบริหาร ในระบอบประชาธิปไตยคือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนคำเขียนที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีความหมาย คือ"รัฏฐาธิปัตย์"เพราะคำว่า "รัฏฐ" นั้น ไม่มีคำและความหมายใดๆ ทั้งสิ้น ดูได้จาก"พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530" (หน้า 447) และ"พจนานุกรมฉบับมติชน" (หน้า 734-735)

คำว่า "รัฐาธิปัตย์" ถูกนำเสนอเป็นข่าวเมื่อต้นเดือน (5-12) เมษายน 2557 สัมพันธ์กับกรณีศาลปกครองสูงสุดกับการตัดสินคดีนายถวิล เปลี่ยนศรี และศาลตลก. มีมติเอกฉันท์ รับวินิจฉัยสถานะ "นายกรัฐมนตรี"ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง ( 7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้รัฐบาลคืนเก้าอี้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้กับถวิล เปลี่ยนศรี ทั้งนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำของฝ่ายการเมืองบนท้องถนน ประกาศว่า ตนจะทำหน้าที่เป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ในนามมวลชนกปปส. โดยนายสุเทพจะทูลเกล้าฯชื่อ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ จะอาสารับเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเอง1

ในแง่นี้ นายสุเทพคาดหวังว่าตนจะสามารถนำเสนอชื่อและลงนามรับรอง "นายกรัฐมนตรี" ได้ตามบทบาทหน้าที่ของตนใน 2 แนวทาง ที่ "ไม่อาจเป็นไปได้"คือ 1. แสดงบทบาทหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบรัฐธรรมนูญ และ 2. แสดงบทบาทของหัวหน้าคณะยึดอำนาจ ซึ่งที่ผ่านโดยทั่วไปมาคือการยึดอำนาจเพื่อเป็นรัฐเผด็จการของคณะทหารไทย โดยฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมทิ้ง แล้วสร้างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมาใช้ โดยที่ผู้นำคณะยึดอำนาจจะยังคงมีอำนาจทั้งในทางนิตินัย (de jure) และในทางพฤตินัย (de facto) เพื่อควบคุมครอบงำการใช้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่

ทำไมเป้าหมายจึงอยู่ที่การตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีหรือประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่?

คำตอบคือ ระบอบการเมืองไทยสมัยใหม่นับแต่ปฏิวัติ 2475 มา ไม่ว่าจะอยู่ในระยะของระบบรัฐสภา หรือระบบเผด็จการทหาร นายกรัฐมนตรีหรือประมุขฝ่ายบริหาร คือผู้ที่มีอำนาจในฐานะ"รัฐาธิปัตย์"อย่างแท้จริงที่จะใช้อำนาจทางการเมืองในการบริหารประเทศ

นายสุเทพสามารถเป็นองค์"รัฐาธิปัตย์" ในช่วงที่ต้องมีการหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่ได้หรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ได้ คำอธิบายอย่างสั้นกระชับคือ นายสุเทพไม่สามารถแสดงบทบาทหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบรัฐธรรมนูญ หรือ แสดงบทบาทของหัวหน้าคณะยึดอำนาจได้แต่อย่างไร เพราะหากพิจารณาจากปรากฏการณ์ที่เป็นจริง ต่อให้ศาล ตลก. ตัดสินว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีชุดนั้นมีความผิดและหมดสิ้นวาระอำนาจหน้าที่ เราก็พบว่า นายสุเทพ ก็ไม่อาจที่จะสามารถเสนอชื่อและลงนามรับรองบุคคลใดมาเป็นนายกฯคนใหม่แทนได้

สรุป ความไม่สามารถมีบทบาทหน้าที่ตามนิตินัยได้ของคุณสุเทพในเกือบครึ่งปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ในวันนี้ (กลางพฤษภาคม) เราจึงเห็นความพยายามของสมาชิกวุฒิสภาที่จะผลักดันให้มีการแต่งตั้งประธานวุฒิสภาเพื่อที่จะนำไปสู่การอ้างอำนาจในการทำหน้าที่ "รัฐาธิปัตย์" ของตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ

คำถาม ประธานวุฒิสภาในช่วงที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร อ้างสิทธิทำตนเป็น “รัฐาธิปัตย์” แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอชื่อและลงนามรับรองนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อนำไปสู่การตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่ได้

คำอธิบาย คือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยล้มเหลวทางความชอบธรรมทางการเมืองอย่างสูงสุดจากกรณีผ่าน พรบ.นิรโทษกรรม แบบสุดซอย จนต้องวิ่งหนีจนสุดโลก

ในลักษณะเดียวกัน ประธานวุฒิสภาในช่วงที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร หากอ้างสิทธิทำตนเป็น "รัฐาธิปัตย์" แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอชื่อและลงนามรับรองนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อนำไปสู่การตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ก็จะล้มเหลวทางความชอบธรรมทางการเมืองอย่างสูงสุด เช่นกัน

"รัฐาธิปัตย์" มีอำนาจทางนิตินัยและพฤตินัยได้ เพราะความชอบธรรมทางการเมืองที่เกิดจากการยอมรับของสังคมไทยโดยรวมและสังคมโลกโดยรวม แต่ไม่อาจดำรงอยูได้ ถ้าเป็นเพียงการยอมรับจากพวกฝ่ายของพวกตนเท่านั้น

นี้คือคำและความหมาย “รัฐาธิปัตย์” ในการเมืองไทยสมัยใหม่

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
------------------------------------------------

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เปิด พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส. 2552 พบ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ

ความพยายามของ ส.ว. ซึ่งนำโดย สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา ในการผลักดัน นายก ม.7 ตามความต้องการของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ให้ทันตามกำหนด เผด็จศึก ภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 นั้นเรียกได้ว่า ความหวังริบหรี่ จนแทบที่จะเดินต่อไปไม่ได้

สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้เคยประกาศ เผด็จศึกรัฐบาลให้ได้ภายใน 14 พ.ค. 2557 นั้นไม่สามารถทำได้ตามที่พูด และอาจจะต้อง กลืนน้ำลายตัวเอง อีกครั้ง

แต่กระนั้น เครือข่าย กปปส. ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ กลุ่มคนที่เคยร่วมวงไพบูลย์กับ เผด็จการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็ยังคงไม่ละความพยายาม
ล่าสุด คณะกรรรมการการเลือกตั้ง กกต.ซึ่งไม่เคยแสดงให้เห็นว่า จะพยายามจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วงตามระบอบประชาธิปไตย ก็พยายาม สร้างสรรค์เงื่อนไข มาขัดขวางการการ กำหนดวันเลือกตั้ง ครั้งใหม่อีกครั้ง ด้วยการอ้างว่า ไม่มั่นใจว่า รักษาการนายกรัฐมนตรี จะมีอำนาจ ในการนำ ร่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการฯ หรือไม่
แสดงอาการที่จะ ดึงเกม การเลือกตั้ง ให้ เว้นว่าง ยืดยาว ออกไป อีกครั้ง






แต่มีการตรวจสอบพบว่า ในช่วงปลายปี 2551 ซึ่งเกิดวิกฤตการเมืองจากการที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง จากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ก็เร่งวินิจฉัยให้ ยุบพรรคพลังประชาชน-พรรคชาติไทย และ พรรคมัชฌิมาธิปไตย พร้อมกับสั่งให้ ตัดสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี อันเป็นการทำให้ รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ขณะนั้นต้องถูกโค่นล้มลง พร้อมกับการเปิดโอกาสให้กับ พรรคประชาธิปัตย์ สุมหัวกับ ส.ส.งูเห่า กลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคภูมิใจไทยแอบจัดตั้ง รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
พบว่า ขณะที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็น คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน พรรคการเมืองที่ถูกสั่งยุบพรรค จนทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เหลืออยู่ ต้องหาผู้ที่จะมา รักษาการ และ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จึงมีมติในเวลาต่อมามอบหมายให้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น เป็นผู้รักษาการในตำแหน่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ซึ่งต่อมาก็คือ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นที่รวมของ ส.ส.งูเห่า กลุ่มเพื่อนเนวิน
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ซึ่งต่อมาก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ซึ่งก็คือ บิดาของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในปัจจุบัน และเป็นแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน ในขณะนั้น
ซึ่งก็พบว่า นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ขณะ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในเขตที่ว่างลง ซึ่งกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม 2552

จากการตรวจสอบเว็บไซด์ราชกิจนุเบกษา ( www.ratchakitcha.soc.go.th )พบว่า มีการเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ ๑๐ จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดนครปฐม เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดนครพนม เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดนราธิวาส เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตเลือกตั้งที่ ๒ และเขตเลือกตั้งที่ ๔ จังหวัดปทุมธานี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดมหาสารคาม เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดร้อยเอ็ด เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดลพบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดลําปาง เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดลําพูน เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดศรีสะเกษ เขตเลือกตั้งที่ ๑ และเขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดสระบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสิงห์บุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดสุพรรณบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ และเขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดอ่างทอง เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดอุดรธานี เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ ๑ และจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๒ และเขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตําแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑” ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เอาไว้เมื่อ 20 ธันวาคม 2551 เอาไว้อย่างถูกต้อง

ที่มา.พระนครสานส์
//////////////////////////////////////////

ภาคีประชาชนคือคนกลาง แถลงเดินหน้าเลือกตั้ง !!?



ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide! แถลงการณ์ ประชาชนคือคนกลาง เสนอเดินหน้าและปกป้องการเลือกตั้ง วอน ส.ว. ฟังเสียงประชาชนกลุ่มอื่นด้วย นอกจาก กปปส.และ นปช. ย้ำประชาชนกำหนดอนาคตเองได้

ที่ ห้องสมุด The Reading Room ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide! ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มขั้วที่ 3 คัดค้านความรุนแรง ,เครือข่ายพลเมืองเพื่อความหวัง Citizen for Hope, กลุ่มพอกันที!, กลุ่ม Respect My Vote, กลุ่ม My Freedom, กลุ่มสภาหน้าโดม, กลุ่มคนเท่ากัน,กลุ่มเพื่อนรักกัน ,กลุ่ม We Vote, กลุ่ม Ant’s Power เป็นต้น จัดแถลงข่าวพร้อมด้วยออกแถลงการณ์ฉบับแรก เรื่อง ‘ประชาชนคือคนกลาง’ โดยเสนอให้สังคมเดินหน้าเลือกตั้งให้เร็วที่สุดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เรียกร้องให้ปกป้องการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้องค์กรที่พยามหาทางออกของประเทศ เช่น ส.ว. ให้ฟังประชาชนกลุ่มอื่นๆ นอกจาก กปปสง และ นปช. ด้วย

นอกจากนี้ภาคีประชาชนคือคนกลางฯ ได้เชิญชวนให้ประชาชนรณรงค์ด้วยการเขียนป้าย “ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide” ถ่ายรูปกับป้าย แล้วติด tag #ประชาชนคือคนกลาง #Let_the_People_Decide ใน facebook, instragram ส่งต่อจากเพื่อนถึงเพื่อนให้มากที่สุด เพื่อประเทศไทยที่คิดต่างได้และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

รายละเอียดของแถลงการณ์ :

แถลงการณ์
ประชาชนคือคนกลาง

"ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide!" เป็นการรวมตัวของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ปรารถนาจะเห็นประเทศเดินหน้าต่อไปได้ด้วยการเคารพสิทธิและเสียงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย จึงได้มาร่วมกันนำเสนอทางออกจากวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้

เราขอพูดด้วยเสียงของประชาชนผู้ต้องการอยู่อย่างสงบสันติ คิดแตกต่างแต่ไม่แตกแยก ไม่เอาปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ต้องการเห็นการบิดเบือนกฎหมายและหลักนิติธรรมอีกต่อไป และปรารถนาจะเห็นการปฏิรูปร่วมกันของคนทั้งสังคมบนพื้นฐานประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน

ท่ามกลางสถานการณ์ขณะนี้ เราเห็นว่าความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะนำประเทศเข้าสู่สุญญากาศทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกฯ คนกลางที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ถือเป็นวิธีการนอกระบอบประชาธิปไตย เป็นการลิดรอนสิทธิเสียงของประชาชนพลเมืองในประเทศนี้อย่างชัดเจน

เราขอยืนยันว่าทางออกของความขัดแย้งครั้งนี้ คือให้ประชาชนได้กำหนดอนาคตตนเอง ได้มีส่วนในการตัดสินใจต่อชะตากรรมประเทศด้วยสิทธิเสียงที่มีอยู่เท่ากันทุกผู้นาม เพราะ “ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide!” เราขอเสนอต่อทุกภาคส่วนดังนี้

เดินหน้าเลือกตั้งให้เร็วที่สุดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เพราะการเลือกตั้งคือทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติในระบอบประชาธิปไตย
ขอให้เตรียมพร้อมเข้าสู่โหมดปกป้องการเลือกตั้ง ด้วยวิถีทางต่างๆ เท่าที่แต่ละคนแต่ละกลุ่มจะทำได้บนพื้นฐานของการเคารพความเห็นที่แตกต่างและไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
ขอให้องค์การต่างๆ ที่พยายามหาทางออกให้กับบ้านเมืองในขณะนี้ ดังเช่นวุฒิสภา กรุณาให้โอกาสเราชี้แจง รับฟังและเคารพในความเห็นของภาคประชาชนนี้อีกฝ่ายหนึ่งด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ กปปส. หรือ นปช. เท่านั้น

เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากเห็นความขัดแย้งลุกลามบานปลายรุนแรงจนไปสู่สงครามกลางเมือง ก่อนจะถึงวันนั้นทุกฝ่ายต้องกลับสู่การเลือกตั้งเท่านั้น เพราะ ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide

แถลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2557
ณ ห้องสมุด The Reading Room

ที่มา.ประชาไท
////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สมัชชา เครือข่ายปฏิรูปการศึกษา !!?

โดย.อินทิรา วิทยสมบูรณ์

ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หลายภาคส่วนในสังคมต่างได้เสนอแนวทางอันเป็นทางออกจากปัญหา ที่พบว่า “การปฏิรูปประเทศไทย” เป็นทิศทางที่ทุกภาคส่วนต่างเห็นพ้องว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่จะนำพาประเทศก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลายาวนาน

โดยการปฏิรูปประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็นการปฏิรูปที่ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการระดมความคิดเห็น ออกแบบเครื่องมือและกระบวนการอย่างจริงจังในทุกด้าน สังคมไทยต้องการการปฏิรูปในหลายเรื่อง เช่น การปฏิรูปการปกครอง ที่มีข้อเสนอการกระจายอำนาจการปกครองและงบประมาณให้ท้องถิ่นจังหวัดจัดการตนเอง การปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดินให้ประชาชนอย่างเป็นธรรม การปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานของประเทศ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น



ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การศึกษา” เป็นฐานปัญหาสำคัญหนึ่งของสังคมไทย เป็นรากเน่าที่ส่งผลก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ขึ้นในสังคม การศึกษาไทยเป็นระบบเผด็จการทางการศึกษา เป็นการศึกษาที่ผูกขาดจากส่วนกลาง ด้วยการบังคับให้เรียนตามมาตรฐานเดียว/ หลักสูตรเดียวจากกรุงเทพฯ ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งปัญหาการจัดสรรงบประมาณการศึกษา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุดของงบประมาณแผ่นดิน แต่กลับมีงบพัฒนาเด็กเพียง 10% เท่านั้น และงบประมาณดังกล่าวก็ไม่อาจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพราะการจัดสรรงบประมาณรายหัวเด็กนั้นไม่สมดุลกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งต้นทุนของเด็กแต่ละคนต่างกันตามสภาพพื้นที่ แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดใด (โรงเรียนด้อยโอกาส เล็ก กลาง ใหญ่) กลับได้รับงบประมาณอุดหนุนรายหัวเด็กเท่ากัน ดังนั้นโรงเรียนที่ด้อยโอกาสอยู่แล้วจึงไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะพัฒนาโรงเรียน ไหนจะขาดครู ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน จนนำไปสู่การเกิดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพและศักยภาพทางการศึกษาตามมา

ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษายังเป็นการศึกษาที่ผูกอยู่กับระบบโรงเรียน ผูกติดอยู่กับมาตรฐานกลาง หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักจนไม่สามารถสร้างการเรียนรู้เพื่อให้เด็กค้นเจอศักยภาพ ค้นเจอตนเอง อีกทั้งยังละเลย/เพิกเฉยไม่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและรากเหง้า อัตลักษณ์ของชุมชน ขาดการเปิดรับการมีส่วนร่วมของสังคมทำให้ชีวิตวัยเรียนเป็นชีวิตในห้องเรียนเป็นหลัก พรากเด็กออกจากวิถีของถิ่นฐานและรากเหง้าจนไม่สามารถเชื่อมโยงตนเองสู่ชีวิตจริงที่มีครอบครัว ชุมชนและสังคมแวดล้อมได้

การศึกษาเช่นนี้ ได้บีบให้เด็กเข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่ไม่มีทางเลือก จึงไม่แปลกที่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา หลายคนมีชีวิตอยู่กับการเรียนอย่างหนัก ทั้งเรียนในโรงเรียน เรียนพิเศษกวดวิชา หลายคนขาดทักษะในการใช้ชีวิต ขาดความมีชีวิตชีวาในการเรียนรู้ เบื่อโรงเรียน เบื่อห้องเรียน และหลายคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา แขวนชีวิตไว้กับความเสี่ยง

การศึกษาไทยที่เป็นอยู่ เด็กจึงไม่ได้รับการผลักดันในเรื่องที่ตัวเองถนัด มุ่งเน้นวิชาการเป็นเลิศแต่อ่อนแอในการพัฒนาจิตใจ คุณธรรม จริยธรรมของเด็ก, นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนก็ไม่ต่อเนื่องเปลี่ยนตามผู้บริหารที่ย้ายไปย้ายมา, ผู้บริหารมีอำนาจค่อนข้างเบ็ดเสร็จ, ระบบการประเมินโรงเรียนและครู เกณฑ์การวัดผลยังไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ต่างกัน อีกทั้งยังทำให้ครูมุ่งแต่การจัดเตรียมเอกสารเพื่อการประเมินภายนอกจนละเลยการเรียนการสอน , หลักสูตรยังไม่เหมาะสมกับช่วงวัย และระบบการศึกษาไม่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม เป็นต้น

ทั้งๆ ที่หัวใจของการศึกษาที่แท้นั้น คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบตนเอง เรียนในเรื่องที่อยากจะเรียน เรียนแล้วมีความสุข เรียนแล้วเอามาปรับใช้กับชีวิตและสังคมได้ โดยเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความหลากหลายทั้งอัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์ และวิถีวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบสานภูมิปัญญา/องค์ความรู้ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของเด็กและชุมชน ลดต้นทุนการนำเข้าทรัพยากรการเรียนรู้จากภายนอกด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา

ภายใต้สถานการณ์ปัญหาต่างๆ เช่นนี้ กลุ่ม ข่าย สถาบัน องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายประชาสังคมที่ทำงานการศึกษา ต่างตระหนักได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประสบปัญหาจากการศึกษา ตัวจริงเสียงจริงทั้งเด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และผู้ประกอบภาคเอกชน จะได้ส่งเสียงสะท้อนถึงปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อเป็นทางออกของการศึกษาไทยร่วมกัน

ด้วยความสำคัญของปัญหาเช่นนี้ “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษาไทย” หรือ Education Reform Assembly TH จึงเกิดขึ้นบนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การถักทอเชื่อมร้อย ประสานความร่วมมือกันของเครือข่ายใหญ่ 9 เครือข่าย ประกอบด้วย

1. กลุ่มโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น

2. กลุ่มโรงเรียน/วิทยาลัย ที่จัดโดยภาคธุรกิจเอกชน

3. กลุ่มสมาคม/ชมรมผู้ปกครอง

4. กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.

5. กลุ่มเครือข่ายการศึกษาทางเลือก

6. กลุ่มเด็กและเยาวชน

7. กลุ่มนักบริหารและนักวิชาการด้านการศึกษา

8. กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชน

9. กลุ่มสื่อที่สนใจด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีความสุขทั้งมิติของกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันในตัวมนุษย์และสัมพันธ์กับสิ่งแวด ล้อมทั้งทางกายภาพและสังคม และมีความสามารถเชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

บนปรัชญาและเจตจำนงค์ที่เชื่อมั่นว่า “การศึกษาที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นการศึกษาที่พัฒนาคนให้เป็นผู้มีความสุข”

ถึงเวลาแล้ว ที่ “เรา” ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมกันลงมือสร้างอนาคตทางการศึกษา ให้เป็นการศึกษาที่มีความเป็นมนุษย์ การศึกษาที่มีความหลากหลาย และเป็นการศึกษาที่สร้างความงอกงามแก่บุคคล ชุมชนและสังคม

มาร่วมกันเปลี่ยนการศึกษา มาร่วมกันเป็นสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา







เราต่างคือเกลียวเชือกที่ถักทอร่วมกัน บนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษาเกลียวเชือกทั้ง 9 เครือข่าย 9 สีสะท้อนถึงความหลากหลาย ที่มาเรียงกัน มาขมวดมาสุ่มรวมกันบนจุดร่วมเดียวกันที่ปลายดินสอที่เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการศึกษา

ภายใต้ชื่อว่า Education Reform Assembly หรือชื่อเล่นว่า ERA หรือ “ยุคสมัย” เพื่อแสดงนัยยะของการสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันในช่วงชีวิตของพวกเรา ที่มีการศึกษาเป็นเป้าประสงค์สำคัญ

…มาร่วมกันขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา มาร่วมกัน

สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา https://www.facebook.com/EducationReformAssemblyTH

ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////

ทำไมประชาธิปัตย์ จึงไม่ชนะ...!!?



โดย. บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ

ในมุมมองของฝ่ายต่อต้านประชาธิปัตย์ คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นอาจเป็นดังนี้
เพราะประชาธิปัตย์ เล่นการเมือง แบบนักการเมืองโบราณ มองอะไรเป็นเกมการเมืองไปหมด

เพราะประชาธิปัตย์ก้าวไม่ข้ามทักษิณ เอะอะอะไรก็โยนขี้ให้ทักษิณและตระกูลชินวัตร

เพราะประชาธิปัตย์เปลี่ยนไป เคยต่อต้านเผด็จการทหารในอดีตอยู่พักหนึ่ง แต่ปัจจุบันกลับลำมาอิงแอบแนบชิดกับกองทัพ

เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรคอำมาตย์ มีจุดยืนอยู่ตรงข้ามกับประชาชนและระบอบประชาธิปไตย

ฯลฯ

ลองฟังมุมมองของผู้ที่ยังศรัทธาพรรคประชาธิปัตย์ดูบ้าง ตำตอบก็คงประมาณนี้กระมัง

ถ้าเป็น ปชป.สาย Hard Core เหตุผลอาจเป็นว่า

เพราะประชาธิปัตย์อุดมไปด้วย คนดี จึงพ่ายแพ้ คนเลว ในกระบวนการเลือกตั้ง

เพราะประชาธิปัตย์แพ้อำนาจเงิน ทักษิณมีเงินมากจนสามารถซื้อเสียงได้ทั่วทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน

ที่ Soft ลงมาหน่อยก็คงตอบว่า ...

เพราะประชาธิปัตย์ มีคนเก่ง (เช่น ดร.ศุภชัยฯ คุณอลงกรณ์ฯ หรือแม้แต่ปู่พิชัย ฯ) ก็จริง แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร

ทำไมประชาธิปัตย์จึงไม่ชนะสักที ... ทั้งที่ก็มีปัจเจกบุคคล คณะบุคคลและองค์กร (อิสระ) ต่างๆ อันล้วนทรงพลานุภาพในสังคมไทยคอยโอบอุ้มเอาใจช่วยอยู่อย่างมากมายก่ายกองยิ่ง จนผู้สนับสนุนเหล่านั้นพากันรู้สึกขัดเคืองและเอือมระอายิ่งนักแล้ว

ลงเลือกตั้งทีไร เป็นแพ้หลุดลุ่ยทุกที ดังรูปที่ตีกรอบไว้นี้

แพ้ซ้ำซาก จนครั้งล่าสุดต้องยอมทิ้ง หลักการประชาธิปไตย ออกมาเลือกจุดยืน ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เสนอวิธีการ ปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชน เพื่อให้ได้อำนาจรัฐมาอยู่ในมือ สถาปนาความเป็น รัฏฐาธิปัตย์ มีสิทธิขาดชี้ชะตาผู้คนทั้งแผ่นดิน ทำทีมโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส. จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แนวคิดนี้ถูกตั้งคำถามจากกระแสประชาธิปไตยทั้งในและนอกประเทศว่า มวลมหาประชาชน นั้น ยึดโยงอย่างไรกับประชาชนทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคน ซ้ำร้ายเมื่อรัฐบาลยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งโดย กกต. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ขบวนการมวลมหาประชาชน ของนายสุเทพฯ ก็ยังได้เข้าขัดขวางไม่ให้การเลือกตั้งดำเนินไปได้อย่างชนิดเอาเป็นเอาตาย

มวลมหาประชาชน นี้คือใครกัน ลองวิเคราะห์แบบแฟร์ๆ ดูไหม ว่าประกอบด้วยคนลักษณะใดบ้างในสังคมไทย

1.กลุ่มคนเกลียดทักษิณ ถูกปลุกผีว่าทักษิณจะมาโกงกินประเทศ

2.ผู้รักและเทิดทูนสถาบัน ถูกป้อนข้อมูลว่าทักษิณจะมาล้มล้างสถาบัน (คนไทยที่รักและเทิดทูนสถาบันมีทั้งประเทศ ส่วนที่ไม่เชื่อข้อมูลการปลุกปั่นในเรื่องนี้ จึงไม่รวมอยู่ในข้อนี้)

3.ข้าราชการหัวโบราณ ผู้มีความสุขอยู่ใน Comfort Zone และเกลียดทักษิณที่มาปฏิรูประบบราชการ ทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น

4.คนใต้ ส่วนหนึ่ง ซึ่งผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ประชาธิปัตย์

5.ฐานเสียงประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งโดยหัวคะแนน (ซึ่งข้อนี้มีกันทุกพรรค)

6.อื่นๆ ตามแต่ท่านผู้อ่านจะเติมลงไป

คำถามคือ คนกลุ่มนี้สามารถเป็น Sample ที่มีคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Size) เพียงพอที่จะเป็นตัวแทน ประชากร-Population ของคนไทยทั้งประเทศในเชิงสถิติได้หรือไม่ และเหตุใดพรรคประชาธิปปัตย์จึงเลือกที่จะอิงแอบกับ Sampling Frame อันมีขนาดจำกัดคับแคบเช่นนี้แทนการแนบชิดกับประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ

เพราะอิงแอบกับกลุ่มใหญ่ ทีไรเป็นพบกับความพ่ายแพ้ทุกทีไปกระนั้นหรือ

อันที่จริง ผมเองก็เคยเป็นแฟนพรรคประชาธิปัตย์มานาน น่าจะยุคนายสุเทพเพิ่งเข้าการเมืองใหม่ๆ ตอนนั้นนายอภิสิทธิ์ คงจะยังเรียนมัธยมอยู่เลยกระมังครับ นักการเมืองน้ำดียุคนั้น ก็มี เช่น นายวีระ มุสิกพงศ์ ซึ่งเคยยิ่งใหญ่ในระดับเลขาธิการพรรคเลยทีเดียว จำได้ว่าตอนนายวีระ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครั้งแรก นายชวนเรียกเขาว่า ท่านรัฐมนตรีวีระ ทุกคำ คนประชาธิปัตย์อภิปรายในสภาเก่ง ที่เป็นดาวเลยก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช เงาเสียง ท่านสมัครคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง คนคุณภาพเหล่านี้

ล้วนอยู่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้กันหมด ยุคท้ายๆ ก็ยังมี อีดี้จวบ ประจวบ ไชยสาส์น สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนพดล ปัทมะ ฯลฯ

ประชาธิปัตย์เปลี่ยนไปมากยุคนายอภิสิทธิ์ เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค บทบาททางการเมืองทั้งในและนอกสภาออกทะเลแบบกู่ไม่กลับ ไม่ว่าจะเป็นนายบุญยอดนายชวนนท์ หรือนางรังสิมา การอภิปรายในสภาขาดเสน่ห์ ไม่มีเมตตาต่อกัน ไม่ชวนติดตามเหมือนนักการเมืองยุคก่อนอย่าง ธรรมนูญ เทียนเงิน ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และอีกหลายท่านที่ได้เอ่ยนามไปแล้วนั้น ความเละเทะของคนรุ่นใหม่ แม้ผู้หลักผู้ใหญ่อย่างนายพิชัย รัตตกุล จะได้ออกมาเตือนแต่ก็กลับถูกด่าแบบสาดเสียเทเสียจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน แปลกที่คนรุ่นเก่าอย่างนายชวนกลับให้ท้ายนายอภิสิทธิ์ จนทำให้พรรคเป๋ออกไปจาก หลักการประชาธิปไตย อย่างน่าอดสูยิ่ง

ประชาธิปัตย์กับแนวร่วมอันประกอบด้วย กปปส. และองค์กรอิสระ อาจชนะศึกการร่วมกัน ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ แต่นั่นก็เป็นเรื่อง ระยะสั้น เพราะการต่อสู้อันแท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ ตระกูลชินวัตร กับ มวลมหาประชาชน หากอยู่ที่ ระบอบประชาธิปไตย กับ ระบอบเผด็จการซ่อนรูป ต่างหาก

โชคไม่ดีสำหรับประชาธิปัตย์ ที่ทักษิณเลือกยืนข้างระบอบประชาธิปไตย และเอาชนะประชาธิปัตย์ทุกครั้งบนกระบวนการเลือกตั้งอันเป็นที่ยอมรับของสากล

หากยึดกุมรัฏฐาธิปัตย์เอาไว้ได้ในครั้งนี้วันหลังก็ต้องกลับมาเลือกตั้งใหม่อยู่ดี แล้วถ้าเกิดพ่ายแพ้อีกเล่า ประชาธิปัตย์มิต้องวิ่งโร่กลับไปหา ตัวช่วยให้มาทำปฏิวัติ ปฏิรูป หรือ ปฏิ ... อะไรอีกหรือ

พรรคเก่าแก่พรรคนี้ จะไม่มีวันชนะอย่างยั่งยืนได้เลย ถ้าไม่กลับตัวกลับใจ กลับไปนั่งปฏิรูปตนเองในเชิงประชาธิปไตยอย่างขนานใหญ่ ดังที่นาย อลงกรณ์ ก็ได้พยายามขายความคิดไปหลายรอบแล้วนั้น


ที่มา นสพ.มติชน
//////////////////////////////////////////

เมื่อศาลฎีกา ศาลปกครอง ถูกลากดึง ลงปลัก..!!?

การลากดึงเอา ศาลรัฐธรรมนูญ

การลากดึงเอา ป.ป.ช. และการลากดึงเอา กกต. เข้ามาอยู่ในกลเกมแห่งการแย่งชิงอำนาจ

ก็ หวาดเสียว อยู่แล้ว

แว่วๆ ว่า กำลังมีความพยายามจะลากดึงเอา ประธานศาลฎีกา และ ประธานศาลปกครองสูงสุด เข้ามาด้วย

ก็ยิ่งสุด เสียว

ลำพังเดินเกมให้ "ศาลรัฐธรรมนูญ" นำร่องสร้างความชอบธรรมให้กับการเคลื่อนไหวของ กปปส.นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นต้นมา

ก็ขัดหูขัดตา นิติรัฐ นิติธรรม อย่างล่อแหลม

มิใช่เพราะคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรอกหรือ คำวินิจฉัยของศาลแพ่งจึงต้องเดินตาม

ยิ่งการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ยิ่งหนักหนาสาหัส

มิใช่เพราะคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรอกหรือ ทำให้ความหวังที่จะเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งเท่ากับ "ประตูที่ถูกปิด"

จึงหวาดเสียวยิ่งเมื่อจะดึง "ศาลฎีกา" ดึง "ศาลปกครอง" เข้ามา

หากประเมินจากความพยายามในการต่อสายของ กปปส.ตลอดวันที่ 9 พฤษภาคม เป้าหมายอันเป็นแก่นแกนน่าจะเป็นวุฒิสภา

โดยมี ส.ว.สรรหาเป็น "ตัวหลัก"

แต่สิ่งที่ประธานศาลฎีกาก็มองออก ประธานศาลปกครองสูงสุดก็มองออก คือเงื่อนงำการดำรงอยู่ของประธานวุฒิสภา

ต้องยอมรับว่า ยังไม่มี "ประธานวุฒิสภา" ในทางเป็นจริง

ที่ว่าประธานวุฒิสภายังมิได้ดำรงอยู่ในทางเป็นจริง มิได้เริ่มต้นจากความถูกต้อง เหมาะสมในการดำเนินการเลือกประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา ในห้วงแห่งการเปิดประชุมสมัยวิสามัญประการเดียว

หากแต่อยู่ที่ตำแหน่งนี้ยังมิได้มีการทูลเกล้าฯ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งลงมา

เพราะเรื่องยังไม่ไปจากสำนักเลขาธิการวุฒิสภา

เพียงแต่ข้อโต้แย้งว่าใครเป็นผู้มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ ใครจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งก็เหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่งแล้ว มิไยต้องกล่าวถึงความชอบธรรมและความเหมาะสมของว่าที่ประธานวุฒิสภาในการขับเคลื่อนใดๆ ในทางการเมือง

กระทั่งจะประชุมกับ "ศาลฎีกา" กระทั่งจะประชุมกับ "ศาลปกครองสูงสุด"

บทบาทของว่าที่ ประธานวุฒิสภาในขณะนี้จึงแทบไม่แตกต่างไปจากบทบาทของ "คณะรัฐบุคคล" แต่อย่างใด

คือ ยังไม่มี "อำนาจ" ใดๆ อยู่ในมือ

คือ ยังไม่มี "ความชอบธรรม" ใดๆ ในทางการเมือง นอกจากคำหะรูหะราแบบเดียวกันกับที่บางคนในพรรคประชาธิปัตย์เคยพยายาม

ยิ่งหากประเมินจากที่ ส.ว.บางคนใน "กลุ่ม 40" ยืนยัน

จำเป็นต้องใช้แนวทางอื่น คือ ให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่มาจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ดำเนินการ

ย้อนกลับไปตั้งหลักที่ มาตรา 7

ก็มาตรา 7 นี้มิใช่หรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งกับตุลาการในเดือนเมษายน 2549 ว่า

มั่ว ไม่เป็นประชาธิปไตย

แล้ว ส.ว.ยังดึงดันจะใช้บริการของมาตรา 7 มาเป็นเครื่องมืออีกละหรือ

เท่ากับการสมคบคิดระหว่าง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

แห่งชาติ กกต. ป.ป.ช.และศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่เละเทะพอเพียงหรือ

จึงต้องดึง "ศาลฎีกา" และ "ศาลปกครองสูงสุด" มาลงปลักด้วย

กลเกมทางการเมืองเดือนพฤศจิกายน 2556 จึงสัมพันธ์กับกลเกมการเมืองเดือนกันยายน 2549

ลากดึงเอากลไก "องค์กรอิสระ" ลากดึงเอากลไก "อำนาจรัฐ" เกือบทุกอย่าง โดยมีเป้าหมายเพื่อเผาบ้านไล่ "หนู" เพียงตัวเดียวจนปั่นป่วนโกลาหลไปทั้งประเทศ

7 ปีอันแสนสาหัสแล้ว ยังไม่สรุป บทเรียน กันอีกหรือ

 ที่มา:มติชน
//////////////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อ๊าฟเตอร์ ช็อค !!?

ปรากฏการณ์โลกร้อน ได้ทำลายสมดุลของโลก และได้สร้างการเปลี่ยนแปลงภายใต้ความเสียหายสำหรับมนุษยชาติมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนำแข็งขั้วโลกละลาย แผ่นดินไหว พายุใหญ่

ปรากฎการณ์การเมืองร้อนของไทย ก็ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงภายใต้ความเสียหายสำหรับคนไทย สังคมไทย และประเทศชาติมากขึ้นเรื่อยๆด้วยเช่นกัน

ซ้ำร้ายแผ่นดินไหวจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ สามารถก่อให้เกิด After Shock ขึ้นได้ฉันใด การไหวกระเพื่อมของการขัดแย้งและการทำลายล้างทางการเมืองของไทย ก็ก่อให้เกิด After Shock ขึ้นได้ฉันนั้น

นับร่วม 10 ปีแล้ว ที่การเมืองแบ่งแยกแตกขั้วเป็น 2 ข้างของไทย ได้ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทำลายล้างที่ลากยาวมาจนถึงวันนี้ วันที่สังคมไทยยังก้าวข้ามไม่พ้นความขัดแย้ง โดยมีคนชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประเด็นของความขัดแย้งที่ใครบางคนบางกลุ่มยังก้าวข้าม

ความซ้ำซากของเกมทำลายล้าง เปรียบได้เช่นเดียวกับ After Shock ที่สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่จนวันนี้ After Shock ทางการเมืองยังคงเกิดขึ้นระลอกแล้วระลอกเล่า
กรณีการเกิดขึ้นของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับการก่อเกิดมวลมหาประชาชน ในการต่อต้าน พรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง ฉบับสุดซอย ถือเป็นปรากฏการณ์ After Shock ทางการเมือง ระดับ 6-7 ริกเตอร์ได้อย่างสบายๆ กับภาพความเนืองแน่นเป็นแสนของคนที่เกลียดชังและไม่เอาระบอบทักษิณ
แต่เพราะเนื้อแท้ของม็อบประชาชนในวันนั้น กับเนื้อแท้ความต้องการของนายสุเทพ กับพรรคประชาธิปัตย์ในวันนั้น เป็นความแตกต่างที่คลาสสิกเกินกว่าเกมผลประโยชน์ทางการเมืองจะตามทัน ทำให้ล่วงเลยเนิ่นนานมาถึง 6 เดือนจวบจนวันนี้ พลังสั่นสะเทือนของม็อบสุเทพ จึงมีแต่โรยรา ลดความร้อนแรง ลดดีกรีความสั่นสะเทือนลงไปเรื่อยๆ

ด้วยเหตุผลเดียวที่ขั้วอำมาตยาธิปไตยไม่สำเหนียกที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ก็คือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาจากการไม่มีกฎหมายใดๆมารองรับ และการไม่เป็นประชาธิปไตยในสายตาประชาชน

เพราะขั้วอำมาตยาธิปไตยยังคงจมปลักและไม่ยอมรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประชาชนยุคปัจจุบัน จึงยังคงเชื่อว่าการกดหัวประชาชนด้วยอำนาจนอกระบบจะยังคงทำได้ ในการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้จึงได้เห็นความพยายามระลอกแล้วระลอกเล่ามาโดยตลอด

จากสนธิ ลิ้มทองกุล กับม็อบพันธมิตร มาเป็น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และสันติอโศก มาเป็นม็อบสนามม้าของเสธ.อ้าย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ จนมาถึง สุเทพ เทือกสุบรรณ และม็อบ กปปส. ยิ่งพยายามสร้างแรงกระเพื่อม สร้าง After Shock ทางการเมือง แต่กลับกลายเป็นยิ่งพลาด เพราะทำให้กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการแช่แข็งประเทศไทย กลุ่มคนที่สู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงมีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่เพราะการไม่ยอมรับความเป็นจริง จึงได้มีการนำเอา พล.อ.สายหยุด เกิดผล มาสร้างปรากฏการณ์ “คณะรัฐบุคคล”ขึ้นมา ก้าวแรกเป็น After Shock ได้ไม่เลวกับการมีภาพพร้อมพรึ่บของทหารแก่ทหารเก่าที่รวมพลังกันจนเกิดแรงกระเพื่อมทางการเมือง แต่เมื่อข้อเสนอวนเวียนซ้ำซากบนความต้องการของขั้วอำมาตยาธิปไตย พล.อ.สายหยุดจึงเป็นฝ่ายสะเทือนเสียเอง

แต่ที่เป็น After Shock จริงๆ ก็คือการโยนหินถามทางว่า จะให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เป็นผู้ทูลเกล้าฯขอนายกฯม.7 และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แถม พล.อ.สายหยุด ยังอ้างโอกาสการได้เข้าพบกับ พล.อ.เปรม ที่บ้านสี่เสา ว่าพยักหน้าเห็นพ้องด้วยแล้ว ถึงขนาดเร่งให้ดำเนินการร่างหนังสือทูลเกล้าฯมาโดยด่วน

เป็น After Shock ที่สั่นสะเทือนระดับ 6-7 ริกเตอร์ได้แค่วันเดียว ก็ดับมอด เพราะเจอการปฏิเสธเปรี้ยงจากบ้านสี่เสา แบบไม่ถนอมน้ำใจ จนถึงขนาดที่ พล.อ.สายหยุด หลุดปากว่าทำเหมือนไม่ให้เกียรติกัน
น่าเห็นใจ พล.อ.สายหยุด เพราะภาพที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนเห็นชัดเจนว่าควรจะต้องฟังใคร ฟังฝ่ายไหนมากกว่ากัน ทั้งๆที่เชื่อว่าด้วยวัยขนาดนี้ของ พล.อ.สายหยุด คงไม่พูดอะไรเป็นตุเป็นตะโดยไม่มีมูลเป็นแน่

เพียงแต่ก็เชื่อเช่นกันว่า ด้วยวัยวุฒิและสถานะของพล.อ.เปรมในปัจจุบัน ก็คงไม่เสี่ยงกับเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องจริงด้วยเช่นกัน

ดังนั้นระหว่าง พล.อ.เปรม กับ พล.อ.สายหยุด จะต้องมีคนใดคนหนึ่งที่เข้าใจผิดพลาดในการสื่อสาร จนกลายเป็นแรงกระเพื่อมทางการเมืองที่ไม่พึงปรารถนา... ปัญหาอยู่ที่ว่าใครสื่อสารพลาดและใครเข้าใจผิด

หมด After Shock ประเด็น พล.อ.สายหยุด กับ พล.อ.เปรม พร้อมกับการเห็นอาการของม็อบนายสุเทพ ได้ก่อให้เกิดการขยับตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาเสนอตัวเป็นคนกลาง เพื่อหาทางออกให้กับประเทศท่ามกลางความขัดแย้งครั้งนี้

จะว่าเป็น After Shock ที่ตามติดมาทันทีทันควันก็ว่าได้ แต่แรงกระเพื่อมกลับไม่รุนแรงเท่า โดยเฉพาะยิ่งดูเบาบางเหลือเกินเมื่อเทียบกับเสียงรุมสวด รุมตำหนิ จากทุกภาคส่วนไม่เว้นแม้แต่จากนายสุเทพ กับคำว่า “อย่าสะเออะ”

ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ กลายเป็นข้อเสนอหลงทาง หลงยุค ที่ยึดโยงอยู่กับความต้องการแช่แข็งประเทศไทยของขั้วอำมาตยาธิปไตย จึงไม่ได้แตกต่างอะไรกับข้อเสนอของม็อบนายสุเทพเลยแม้แต่น้อย

นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีรักษาการลาออก จัดตั้งนายกฯคนกลางและรัฐบาลชั่วคราว นายสุเทพจัดตั้งสภาประชาชน เดินหน้าปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ให้รัฐบาลชั่วคราวทำประชามติ!!!

หวังสร้างแรงกระเพื่อมให้สนั่นระดับ 7 ริกเตอร์ กลับกลายเป็นแป้ก เพราะมีแต่ก้อนอิฐล้วนๆปราศจากดอกไม้จากทุกขั้วการเมืองและวิชาการ

นายภิสิทธิ์ ถูกเหน็บว่าเป็น “ลิเกอ๊อกซ์ฟอร์ด” ที่หลงทาง หาทางกลับบ้านประชาธิปไตยไม่เจอ
กลายเป็นด้อยค่ากว่า ลิเก ไชยา มิตรชัย เจ้าของเพลงดัง “กระทงหลงทาง”เสียอีก เพราะนายอภิสิทธิยิ่งนับวันยิ่งหลงทาง ออกอ่าวออกทะเลไปไกลจนกู่ไม่กลับ

กลายเป็นว่ามาถึงวันนี้ขั้วอำมาตยาธิปไตยเหลือความหวังในการสร้าง After Shock ทางการเมือง ไปฝากไว้กับองค์กรอิสระอย่าง ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. เท่านั้น!!!

ในวันที่ ตุลาการรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรี จากกรณีคดีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี และในวันที่ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดตามมาตรา 157 แก่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีละเลยการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว

ขั้วตรงข้ามพรรคเพื่อไทยเชื่อว่า จะเป็น After Shock ระดับเกิน 7 ริกเตอร์ ที่จะทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายขึ้นในสังคม จากแรงกระเพื่อมของกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล และกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต้องการประชาธิปไตย ไม่เอาเผด็จการ

โอกาสที่จะเกิดการสั่นสะเทือน จนทำให้กองทัพต้องออกมาเอ็กเซอไซร์ ย่อมเป็นไปได้ทันที
นี่จึงเป็นความหวังเป็นไม้เด็ดของขั้วตรงข้ามที่เพียรสร้าง After Shock ทางการเมืองมาตลอด
แต่ธรรมชาติไม่เลือกข้างใคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา จึงได้เกิดแผ่นดินไหวของจริงขึ้นที่เชียงราย ด้วความแรงถึง 6.3 ริกเตอร์ และตามมาด้วย After Shock ร่วมร้อยครั้ง สร้างความเสียหายหนักให้กับเมืองไทย

และเกิดกระแสวิพากษ์ทางการเมืองตามมาอุตลุด ว่าเกิดวิปริตผิดอาเพศอะไรขึ้นหรือไม่???
เพราะในเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงนั้น ที่กรุงเทพฯกลุ่มม็อบของนายสุเทพ ได้ไปอยู่บริเวณท้องสนามหลวง หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ประดิษฐ์สถานพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของไทย
หรือจะเกิดการรับรู้ใดๆขึ้นมา จึงก่อให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงขึ้นในประเทศไทยเช่นนี้
แถมเวลาห่างกันไม่ถึงนาทีด้วย

ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีการตั้งประเด็นด้วยเช่นกันว่า ทำไมจึงเกิดแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงรายอันเป็นพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานที่มั่นทางการเมืองที่สำคัญของพรรคเพื่อไทย จะเป็นลางบอกเหตุอะไรที่เกี่ยวกับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรักษาการหรือไม่???

แน่นอนในยุคแบ่งแยกแตกขั้ว แต่ละฝ่ายก็ละเลงกันสนุกสนานว่าเป็นเพราะอะไร และให้ดู After Shock ที่จะตามมาว่าจะเกิดเป็นภัยกับขั้วไหน

แต่อย่างไรก็ตามหากแผ่นดินไหวในครั้งนี้เป็นไปตามความเชื่อว่าเพราะฟ้ารู้ดินรู้ว่าแผ่นดินกำลังอาเพศ จึงต้องไหวเตือนอย่างรุนแรง ก็ให้น่าฉงนว่า

ทำไมจึงได้มาเกิดเอาในวันที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองของไทยเช่นนี้
หรือชะตาจะอาเพศกันแล้วจริงๆ

ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////

สิ้นดาบ ศาล รธน. - ปปช. กปปส.ก็ถึง ทางตัน !!?

ศาลรัฐธรรมนูญ ได้สร้างประวัติศาสตร์สำคัญเอาไว้กับการเมืองไทยอีกครั้ง เมื่อมีคำวินิจฉัย ให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้อง กับการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความั่นคงแห่งชาติ มาเป็นที่ ปรึกษานายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่ง

แม้หลายฝ่ายในสังคมจะมองว่า การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ถือเป็นเรื่องปกติของการบริหารประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารจะต้องใช้บุคลากรที่ตรงกับความต้องการและเป้าหมายของงาน ที่จะต้องดำเนินการตามนโยบายให้มีประสิทธิ์ภาพ

นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตกันอย่างกว้างขวางว่า ในรัฐบาลชุดก่อนหน้า คือ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีการโยกย้าย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา จากตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ มาอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน กลับไม่เคยมีองค์กรใด มาดำเนินการกับการกระทำของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในครั้งนั้นแม้แต่น้อย

ทำให้ทันทีที่จบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ คำถามถึง มาตรฐาน ขององค์กรอิสระ และกระบวนการยุติธรรม ของประเทศไทย ก็ดังขึ้นมาอีกครั้ง

ไม่เพียงเท่านั้น ในวันต่อมา 8 พฤษภาคม 2557 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติป.ป.ช. ก็วินิจฉัยชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรี ในกรณีโครงการรับจำนำข้าว และส่งเรื่องให้ วุฒิสภา ดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่ง

ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามสำคัญขึ้นอีกครั้งว่า การที่ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนและพิจารณาชี้มูลความผิดโครงการรับจำนำข้าว โดยใช้เวลาไม่กี่วัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ คดีทุจริตโครงการระบายข้าวสารในสต็อกรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2552-2553 แต่ ป.ป.ช. กลับอ้างว่า เอกสารหลักฐานน้ำท่วมหาย และยังไม่ดำเนินการใดๆ นั้นแท้ที่จริงแล้ว ป.ป.ช. ยังคงมีความ เป็นกลาง-เป็นธรรม-ยุติธรรม หรือไม่

แต่แม้ ศาลรัฐธรรมนูญและ ป.ป.ช. จะดำเนินการกับ นายกรัฐมนตรี ในช่วง 2 วันติดกันนั้น แต่ก็ยังไม่สามารถ โค่นล้มรัฐบาล” ลงได้ เพราะ คณะรัฐมนตรี ครม. บางส่วน ยังคงรักษาการในตำแหน่ง ต่อไป

ซึ่งเท่ากับว่า สุญญากาศ ทางการเมือง ที่จะทำให้ ม็อบ กปปส. และ กลุ่ม ส.ว.ลากตั้ง รวมหัวกัน ผลักดัน นายกฯ ม.7 นั้นยังไม่สามารถเป็นไปได้โดยง่าย

ซ้ำร้ายดูเหมือน เมื่อหมด ดาบของ ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. ในครั้งนี้ไป กลับยิ่งทำให้หนทางไปสู่ เป้าหมายล้มประชาธิปไตย ของ ม็อบ กปปส. นั้น ปิดตาย ลงในทุกหนทาง

กลับกัน หนทาง ที่เริ่มเห็น แสงสว่าง เด่นชัดขึ้นมาอีกครั้ง นั่นก็คือ การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เพราะทั้งคนไทย และ ต่างประเทศ ทั่วโลก เริ่มออกมาเรียกร้องให้ ไทย เร่ง จัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย โดยด่วน

กลายเป็นกระแสการ  กดดัน ให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ ถึง ทางตัน ในการเคลื่อนไหวโค่นล้มประชาธิปไตย

ทฤษฎีมะม่วงหล่น ที่เคยวาดหวังเอาไว้มากมาย วันนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. ก็ยังไม่สามารถทำให้ สุก-งอม และ หล่น ลงมาได้

ล่าสุด แม้ สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศเลื่อนวันกำหนดนัดชุมนุมใหญ่นัดสุดท้าย จาก 14 พฤษภาคม 2557 มาเป็นวันที่ 9 พฤษภาคม 2557  แล้วถือฤกษ์เวลา 09.09 น. เป็นฤกษ์ดีในการทำลายประชาธิปไตย พร้อมกับประกาศว่าจะล้มรัฐบาลให้ได้ในครั้งนี้ ทั้งๆที่ ทางเลือกแทบจะไม่มีเหลืออยู่

กลายเป็นการกระทำที่หลายฝ่ายมองตรงกันว่า หนทางสุดท้าย ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส. ก็คือการจุดไฟความรุนแรง-ความขัดแย้ง ให้ลุกลามจนถึงที่สุด จนกระทั่งถึงจุดที่ จะต้อง ล้มกระดานการเมือง ด้วยหนทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

เหมือนกับที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้หลุดปากพูดออกมา ว่า ท้ายที่สุด อาจจะเกิด การรัฐประหาร หากไม่รับข้อเสนอ ทางออกประเทศไทย

ส่งผลให้เกิดความกังวลกันในวงกว้าง ว่า การชุมนุมใหญ่ 9 พฤษภาคม 2557 ของ สุเทพ เทือกสุบรรณ อาจจะใช้เงื่อนไขสุดท้าย คือ การสร้างความรุนแรง เข้ามาใช้ในปฏิบัติการณ์เขย่า มะม่วง ตามทฤษฎีที่เคยกล่าวมาตลอดหรือไม่

แม้ขั้นแรกของ ฤกษ์ 9 พฤษภา อาจจะเป็นเพียงแค่การ ดาวกระจาย บุก-ยึด-ปิด-คุกคามสื่อ แต่จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่มีใคร บอกได้ว่า การกระทำดังกล่าว จะทำให้ กปปส. ถึง ฝั่งฝัน ได้อย่างไร

สุดท้ายอาจจะต้อง แรง และ แรง มากกว่าที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ เพื่อที่จะ เข็ญ รถถัง ออกมา รัฐประหาร ล้ม ประชาธิปไตย

ที่มา.พระนครสานส์
/////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

นายกรักษาการฯ.นัดถกแบ่งงาน วันนี้ !!

นิวัฒน์ธำรง รักษาการนายกฯ เตรียมเรียกประชุมแบ่งงานวันนี้ มอบกฤษฎีกาสอบศาลรธน.กรณี "ยุทธศักดิ์" เว้นช่วงรมต.ก่อนกลับดำรงตำแหน่ง

คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้มีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยให้ ความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 จากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย ส่งผลให้รัฐมนตรีที่ร่วมลงมติสิ้นสุดเป็นการเฉพาะตัวไปด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่ามีรัฐมนตรีที่ร่วมลงมติโยกย้ายนายถวิล เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2554 นอกจากนางสาวยิ่งลักษณ์ แล้ว ยังมีรัฐมนตรีอีก 9 คน ประกอบด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ปัจจุบันเป็น รมว.เเรงงาน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ เเละรมว.พาณิชย์ ขณะนั้น ปัจจุบันเปลี่ยนมาควบรมว.คลัง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ปัจจุบันควบรองนายกฯ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ปัจจุบันเป็นรองนายกฯ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ปัจจุบันเป็น รมช.กลาโหม น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมฯ ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.พาณิชย์ ปัจจุบันเป็น รมช.เกษตรเเละสหกรณ์ และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ปัจจุบันเป็น รองนายกฯ

ชี้"ยิ่งลักษณ์"พ้นรมว.กลาโหมด้วย

แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า สำหรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว จะมีผลให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง รมว.กลาโหม หรือไม่นั้น เห็นว่าความผิดในเรื่องการโยกย้ายนายถวิล เป็นความผิดของบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นเหตุให้ต้องพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะไปดำรงตำแหน่งใดในคณะรัฐมนตรีก็ต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นไปด้วย

แหล่งข่าวกล่าวว่า ความผิดดังกล่าวรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้ผู้ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ต้องเว้นวรรคทางการเมือง ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ก็สามารถได้รับแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีใหม่ได้ทันที เพียงแต่การจะแต่งตั้งรัฐมนตรี เป็นอำนาจเฉพาะของนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แม้จะมีรักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ไม่อาจที่จะแต่งตั้งรัฐมนตรีได้ เพราะถือว่าการแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกฯ เท่านั้น

แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ในเรื่องของการทูลเกล้าฯ หรือรับสนองพระบรมราชโองการกรณีแต่งตั้งประธานวุฒิสภา หรือ ร่างพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง รักษาการนายกฯ สามารถดำเนินการได้

ทนาย"ยิ่งลักษณ์"น้อมรับคำตัดสิน

นายสมหมาย กู้ทรัพย์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ซึ่งมาร่วมฟังคำวินิจฉัยแทน กล่าวว่า น้อมรับคำตัดสินของศาลที่มีมติเป็นเอกฉันท์ และพร้อมปฏิบัติตาม แต่รัฐมนตรีที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายก็ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยส่วนตัวไม่มีข้อโต้แย้งต่อคำวินิจฉัย แต่จะรอให้ถึงกำหนดในการคัดเอกสาร เพื่อมาศึกษาแนวทางคำวินิจฉัยต่อไป

"ไพบูลย์"จี้รัฐมนตรีที่เหลือลาออก

ขณะที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้ร้อง กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ดีเกินกว่าที่คาดหมายไว้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติที่เป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ในการให้นายกรัฐมนตรีสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีลงเป็นการเฉพาะตัว และไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ รวมทั้งให้รัฐมนตรีชุดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายต้องสิ้นสถานภาพด้วย ซึ่งคำวินิจฉัยก็มีความเที่ยงตรงโดยศาลได้ให้เหตุผลที่ชัดเจนทุกประเด็น

"ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีที่เหลืออยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันให้ลาออกจากความเป็นรัฐมนตรี หากไม่ลาออกก็เห็นว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป เนื่องจากไม่ครบองค์ประกอบของรัฐบาล"

ครม.ตั้ง"นิวัฒน์ธำรง"รักษาการนายกฯ

ด้านความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาล หลังจากมีคำวินิจฉัยออกมา นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) มีมติให้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจน กรณีการสิ้นสภาพของรัฐมนตรีบางคนที่ดำรงตำแหน่งใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 และได้เว้นช่วงไปเป็นปี แล้วกลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอีกครั้ง อาทิ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม และเว้นช่วงไป และปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รมช.กลาโหม จึงจะขอความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างหนังสือสอบถามศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว

นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า นายนิวัฒน์ธำรง จะดำเนินการให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะร่วมกับกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการกำหนดรายละเอียดวันเลือกตั้ง ซึ่งจะหารือกับประธาน กกต. ในวันที่ 9 พ.ค. ต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้รับชมการถ่ายทอดสดการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญร่วมกับครม.อยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมืองทองธานี ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด โดยมีสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศ มารอทำข่าว ขณะที่บรรยากาศด้านหน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมมีมวลชนกลุ่มสตรีกว่า 100 คน เดินทางมาให้กำลังใจนางสาวยิ่งลักษณ์ โดยพากันตะโกน "ยิ่งลักษณ์สู้ๆ "

นายกฯน้ำตาคลออำลาเก้าอี้นายกฯ

ต่อมา เมื่อเวลา 16.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ เปิดแถลงข่าวผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ด้วยน้ำตาคลอเบ้าและมีน้ำเสียงสั่นเครือ ตอนหนึ่งระบุว่า ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลดำเนินการด้วยความตั้งใจ ทุ่มเททำงานเพื่อประชาชน ตามที่ประชาชนได้ไว้วางใจเลือกรัฐบาลนี้เข้ามา โดยยึดหลักบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่มีพฤติกรรมทุจริตตามที่กล่าวหา หรือเอื้อประโยชน์ หรือกระทำผิดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในส่วนของการขับเคลื่อนนโยบาย รัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการจัดการทุจริต และขอถือโอกาสนี้ขอบคุณพี่น้องข้าราชการที่สนับสนุนการทำงานของรัฐบาลตลอด 2 ปี ที่ผ่านมา ขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจให้ตนและครม.ได้รับใช้พี่น้องประชาชน

"ดิฉันได้ทำงานมาทั้งหมด 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ทุกนาที ทุกวันของ 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ดิฉันภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยหนทางของประชาธิปไตย ภูมิใจที่ได้ทำงานในหน้าที่นี้ ด้วยความตั้งใจทุ่มเท และไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพใด จะขอยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม ยึดมั่นในความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม และจะยืนหยัดไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน ก็จะขอยืนเคียงข้างประชาชน" นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าว

หลังจากนั้น ผู้สื่อข่าวถามว่าจะวางอนาคตทางการเมือง หรือจะกลับมาเล่นการเมืองอีกหรือไม่ นางสาวยิ่งลักษณ์ยิ้ม ก่อนกล่าวว่า "วันนี้ยังเร็วไปที่จะตอบคำถามนี้ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ยืนยันว่าจะรับใช้ประชาชนไม่ว่าสถานะไหนก็ตาม"

จากนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้เดินลงมาพบมวลชนที่มาสนับสนุน ก่อนขึ้นรถส่วนตัวเดินทางกลับ โดยมีบรรดา ครม. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเจ้าหน้าที่เดินตามไปส่ง ซึ่ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ยกมือไหว้พร้อมกล่าวขอบคุณทุกๆ คนที่ได้ร่วมทำงานและฝ่าฟันอุปสรรคกันมา โดยก่อนจะขึ้นรถ นางสาวยิ่งลักษณ์ ได้กวักมือเรียกหานายนิวัฒน์ธำรง ก่อนจะขอจับมือ เหมือนเป็นการส่งมอบงานต่อ

"นิวัฒน์ธำรง"เรียกถกครม.แบ่งงานวันนี้

นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ในวันที่ 8 พ.ค. นี้ ได้เรียกประชุมครม.ที่เหลือ เกี่ยวกับการทำหน้าที่ของครม.การแบ่งงานต่างๆ รวมทั้งการพิจารณาเรื่องร่าง พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง และบทบาทของศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่รัฐมนตรีบางคนใน ศอ.รส.ถูกศาลวินิจฉัยพ้นสภาพ

ทั้งนี้ ครม.รักษาการ ไม่สามารถพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายได้ แต่หน้าที่หลักคือดำเนินการให้จัดการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ดูแลประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไม่หนักใจที่ต้องเข้ามาทำหน้าที่แทนนายกฯ

ศาลรธน.ปิด1วันหวั่นอันตราย

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวตอบข้อซักถามที่ว่ากังวลหรือไม่ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยแล้วศาลจะเป็นคู่กรณีทางการเมือง ว่า ในเมื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการ จะมีความเกรงกลัวไม่ได้ เพราะว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 17.30 น. ที่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากคณะตุลาการได้อ่านคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้ว ปรากฏว่าที่ด้านหน้าสำนักงานศาล ได้มีเสียงปืนดังเป็นระยะต่อเนื่องกันกว่า 10 นัด ขณะเดียวกันภายในสำนักงานก็มีการนำประกาศสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ลงนามโดยนายเชาวนะ ไตรมาส เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ไปติดไว้ที่ประตูทางเข้า โดยมีข้อความแจ้งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทราบว่า สำนักงานศาลฯ ประกาศหยุดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 8 พ.ค.

กกต.ยันเดินหน้าเลือกตั้ง

นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ สิ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี ว่า การสิ้นสภาพของรักษาการนายกรัฐมนตรีไม่กระทบต่อการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งใหม่ โดยหลังจากนี้ กกต.ยังคงเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไป และไม่ว่ารัฐมนตรีคนใดจะขึ้นมาดำรงตำแหน่งรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี ก็ย่อมมีหน้าที่ต้องทูลเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง เนื่องจาก กกต.ไม่มีอำนาจทูลเกล้าฯ เองได้ แต่ยังคงต้องรอหารือถึงการยกร่าง พ.ร.ฎ.กับทางรัฐบาลอีกครั้ง

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า หากต้องการให้การเลือกตั้งเป็นตามกำหนดการเดิม คือ ในวันที่ 20 ก.ค. กกต.กับรักษาการแทนนายกรัฐมนตรีจะต้องได้ข้อสรุปภายใน 1 สัปดาห์นับจากนี้ ไม่เช่นนั้นจะต้องล่าช้าออกไปตามลำดับ

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ป.ป.ช. มติเอกฉันท์ ชี้มูลคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว !!?

นาย ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. แถลงมีมติ 7 ต่อ 0 ระบุมีมูลเพียงพอที่จะดำเนินการส่งให้วุฒิสภาเพื่อดำเนินการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในคดีทุจริตโครงการจำนำข้าว

นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า เห็นว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหามีมูลใช้อำนาจหน้าที่ขัดรธน. 178 และขัดต่อกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถอดถอนต่อตำแหน่ง โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งนายกฯและอยู่ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลได้กำหนดนโยบายจำนำข้าวแต่ต้นในฐานะประธานกขช. มีส่วนในการกำหนดนโยบายและบริหาร

นอกจากนี้ผู้ถูกกล่าวหายังรับทราบปัญหาการดำเนินโครงการจกากการอภิปรายในสภาและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาว่ามีผลขาดทุนสะสมสูง3แสนกว่าล้านบาท และมีหนังสือจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแจ้งผลการตรวจสอบโครงการที่มีจุดอ่อนเสี่ยงทุกขั้นตอนเปิดให้มีช่องทางสวมสิทธิ์การจำนำและส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อแผ่นดินและเกษตรกรอีกทั้งเสี่ยงต่อระบบการคลังของประเทศ

นายวิชา กล่าวด้วยว่า ป.ป.ช.จึงมีมติ 7 ต่อ 0 ว่าพฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหา จงใจใช้หน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 178 ขัดต่อพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และเห็นควรให้ยื่นถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา 170 โดยให้แยกสำนวนการถอดถอนส่งไปยังวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ส่วนคดีอาญาที่ประชุมให้ไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปจนกว่าจะสิ้นกระแสความ โดยให้นำไปพิจารณาในสำนวนคดีอาญาต่อไป

"ที่มีข่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช.รับลูกมากำจัดครม.ทั้งชุดไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด คุณนิวัฒน์ธำรง (บุญทรงไพศาล) ไม่ได้เกี่ยวข้องกรณีที่เราไต่สวนเลย เป็นเพียงพยานบุคคลที่เราเรียกมาส่วนจะเกี่ยวข้องหรือไม่ยังไม่ได้พิจารณาอะไรเกี่ยวกับคุณนิวัฒน์ธำรง ดังนั้นเฉพาะตัวคุณยิ่งลักษณ์เท่านั้น เฉพาะคดีถอดถอนไม่เกี่ยวกับคดีอาญาด้วย"นายวิชากล่าว

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
--------------------------------------------------



ทัศนะนักวิชาการ หลังคำวินิจฉัยเพิกถอนยิ่งลักษณ์ !!?

หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และครม.ยิ่งลักษณ์ 1 ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากออกคำสั่งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสมช.โดยมิชอบ

มีนักวิชาการหลายรายแสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าวผ่านทางพื้นที่เฟซบุ๊ก มติชนออนไลน์ขออนุญาตนำความเห็นของ "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" "พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์" และ "ยุกติ มุกดาวิจิตร" มานำเสนอในเว็บไซต์ (แต่ต้องขออนุญาตตัดทอนถ้อยคำบางส่วนออกไปโดยใช้เครื่องหมาย "…" มาแทนที่)

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เฟซบุ๊ก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ชนะได้ ก็ปกครองไม่ได้ หรอกครับ
----------
ผมเขียนประโยคแบบนี้ตั้งแต่วันแรกๆ ของวิกฤตรอบนี้ ซึ่งผมเห็นว่า apply กับทั้งสองฝ่าย

ตอนนี้ ฝ่าย กปปส. ก็ยังไม่ชนะ (ถ้านับเอาเรื่องการตั้ง "นายกฯของประชาชน" "สภาของประชาชน" อะไรของเขา เป็นตัววัดชัยชนะ) และตราบใดที่ยังไม่ชนะ ก็ยังมีโอกาสที่จะไม่ชนะ หรือแพ้ได้อยู่เสมอ

แต่สมมุติว่า กปปส. ชนะ ในที่สุด ก็ไม่มีทางปกครองได้ (ต่อให้ใช้วิธีแบบที่ แก้วสรร เสนอ "ไล่ยิงแม่งตายไปหมด" อะไรแบบนั้น - ไม่มีสังคมไหนปกครองด้วยปืนและเลือดได้)

สังคมไทยได้มาถึงจุดที่ แต่ละฝ่ายมีมวลชนสนับสนุนเป็นล้านๆ (รวมทั้งจำนวนไม่น้อยที่พร้อมจะหันเข้าหาความรุนแรง) และไม่มีจุดที่ยอมรับร่วมกันอีกต่อไป

การที่จะเอาชนะกัน ยิ่งด้วยวิธีแบบที่ กปปส. และพันธมิตรทำอยู่ มีแต่ยิ่งขยายภาวะเช่นนี้ให้แหลมคม รุนแรงขึ้น

ไม่เพียงแต่ไม่มีทางจะทำให้ปกครองทั่วทั้งสังคมได้

สำหรับฝ่าย กปปส. ที่อาศัยอำนาจของ … ทหาร ตุลาการ ทั้งหลาย เป็น ฐาน หรือ หลังพิง สำหรับการต่อสู้ของตน

ก็มีแต่จะดึงเอาอำนาจเหล่านี้ ไปสู่ทิศทางหายนะพร้อมกันไปด้วย

ก็ตามใจนะครับ Be my guest เตือนอย่างไรก็คงไม่เชื่อแล้วมั้ง

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เฟซบุ๊ก พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์


ยังมีความพยายามเชียร์กันตะพึดตะพือว่า ยิ่งลักษณ์ไม่ได้ยอมรับคำตัดสินของศาลรธน. เป็นแค่ "ถอยชั่วคราว" ฯลฯ

เพื่อนๆ ที่เป็นกองเชียร์รักสงสารทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ต้องทำใจยอมรับความจริงสักครั้งแล้วครับว่า ยิ่งลักษณ์และตระกูลชินวัตรน้อมรับคำตัดสินของศาลรธน.ไปแล้ว ยิ่งลักษณ์ยอมพ้นตำแหน่งนายกฯไปแล้ว ให้นิวัฒน์ธำรงรักษาการ เขายอมแพ้ให้กับตุลาการไปแล้ว

เขาหวังว่า เมื่อยิ่งลักษณ์ยอมออกไปแต่โดยดี ไม่ขัดขืน โดนทั้งศาลรธน.และป.ป.ช.ฟันจนตายสนิท ครม.ไม่มีคนสำคัญของทักษิณอีกแล้ว ฝ่ายเผด็จการจะหยุดและยอมให้มีเลือกตั้ง

ขั้นต่อไปคือ ครม.ที่เหลือจะพยายามกดดัน กกต. ให้ยอมเสนอพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเขาเชื่อว่า ถ้าออก พ.ร.ฎ. ได้สำเร็จ รวมทั้งคนของตระกูลชินวัตรไม่อยู่ในครม.และจะไม่ลงเลือกตั้งครั้งหน้าด้วย เผด็จการก็จะยอมให้มีเลือกตั้งแน่นอน ม็อบเทือกจะเลิกไปและปชป.จะกลับมาลงเลือกตั้ง ทุกอย่างจบด้วยดี ส่วนเรื่องคดีความอาญาต่าง ๆ ค่อยไป "วิ่งเต้นเกี้ยเซี้ย" กันอีกที

แต่ผมฟันธงว่า จะไม่มีเลือกตั้งอย่างแน่นอน! และจะไม่มีไปอีกนานมากกกก! จนกว่าเขาจะทำลายตระกูลชินวัตรอย่างถึงที่สุดและกวาดล้าง "พวกล้มเจ้า" ให้หมดสิ้น

นักกฎหมายที่เป็นส.ว.ลากตั้งเขารู้ทัน และได้ชี้ล่วงหน้าไว้ตั้งหลายเดือนแล้วว่า รักษาการแทนนายกฯจะไม่สามารถทูลเกล้าและสนองรับพระบรมราชโองการใดๆ ได้ เพราะ รธน. ระบุชัด ต้องเป็นตัวนายกฯเท่านั้น! เหมือนกับการทูลเกล้าเสนอชื่อนายกฯโดยประธานรัฐสภา ก็ต้องเป็นประธานเท่านั้น รองประธานที่รักษาการแทนประธานจะทำแทนไม่ได้ (เขาจึงต้องดิ้นรนเปิดประชุมวุฒิสภาศุกร์นี้ให้จงได้ เพื่อเลือกประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาในช่วงที่ไม่มีสภาผู้แทนฯ) กกต.ก็จะเอาข้อนี้แหละมาอ้าง ไม่ยอมเสนอพ.ร.ฎ.

พูดง่ายๆ คือ รักษาการแทนนายกฯไม่มีอำนาจและความหมายอะไรเลย ครม.ในขณะนี้คือ ผีหัวขาด รอถูกฟันลงหลุมในดาบสุดท้ายแล้วกลบทิ้งนั่นเอง

ต่อให้ออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ได้สำเร็จ ผมก็ฟันธงอีกทีว่า ไม่มีเลือกตั้ง!! ดูตัวอย่างปี 2549 เดือนมิ.ย. ออกพ.ร.ฏ.ให้มีเลือกตั้ง 15 ตุลาคม 2549 แล้วลงเอยเป็นสิ่งใด ยังจำได้บ่?

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เฟซบุ๊ก ชาติพันธุ์นิพนธ์


ไม่แน่จริง

ผมนึกอยู่แล้วว่าไม่เด็ดขาด ไม่แน่จริงหรอก ถ้าแน่จริงทำไมไม่ล้มคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ แล้วประกาศมาเลยว่าให้ใครมีอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ถ้าแน่จริงก็บอกมาเลยว่าต้องมีนายกฯนอกรัฐธรรมนูญ บอกมาเลยว่าให้ใครตั้งนายกฯ ให้นายกฯ อยู่ในอำนาจนานเท่าไหร่อย่างไร

พวกคุณทำได้แค่แหย่ไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เชือดไปเรื่อยๆ พวกคุณยังไม่มีใครกล้าจริงที่จะทำให้เกิดทางตันจริงๆ หรอก เพราะคุณไม่มีอำนาจทำให้เกิดทางตัน พวกคุณมันแค่ "ชนชั้นนำระดับล่าง" ไม่มีอำนาจต่อกรกับอำนาจจากประชาชนในขณะนี้จริงๆ หรอก พวกคุณไม่แน่จริงหรอก เพราะคุณไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ พวกคุณมันแค่กระผีกของอำนาจทั้งหมด พวกคุณไม่มีอำนาจพอที่จะสร้างสภาวะยกเว้นได้หรอก

แรงกดดันที่แท้จริงจึงไม่ได้อยู่แต่กับฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายประชาธิปไตยแต่แรงกดดันที่แท้จริงอยู่ที่ฝ่ายพวกคุณเองนั่นแหละที่สุดแล้วพวกคุณทำได้แค่กดดันให้พวกคุณคนต่อๆไปมารับไม้รับไปเชือดต่อ "ชนชั้นนำระดับล่าง" อย่างพวกคุณทำได้แค่สร้างเงื่อนไขให้เกิดการใช้อำนาจพิเศษ

ถ้าอำนาจพิเศษไม่ทำงาน ก็อยู่กันไปอย่างนี้แหละ อีกฝ่ายหนึ่งก็เหมือนปลาหมอที่ถูกเชือดคอแล้วโยนลงน้ำมันก็ยังว่ายไปได้เรื่อยๆ อยู่ดี เพราะชนชั้นนำระดับล่างอย่างพวกคุณไม่มีอำนาจพอที่จะทุบหัวปลาให้มันตายไปตั้งแต่ต้น

การต่อกรที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่การต่อกรกันระหว่างนปช.กับ"อำมาตย์" หรอก แต่เป็นการต่อกรกันระหว่างอำนาจพิเศษนั่นกับอำนาจของประชาชน ทุกวันนี้ประชาชนเขาแค่รอวันที่อำนาจพิเศษทำงาน พวกเขาจะได้เจอกับคู่ต่อสู้ที่สมน้ำสมเนื้อกันเสียที จะได้จบๆ กันไป

ถ้าแน่จริง อำนาจพิเศษก็ทำอะไรสักทีสิ

ที่มา.มติชน
----------------------------------------