ผ่านกระบวนการพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญนัดสุดท้ายเมื่อ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา นับถอยหลังจากนี้ไปไม่ถึงเดือนร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท หรือร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ซึ่งจะบรรจุเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาสมัยประชุมสามัญทั่วไปปี 2556 วันที่ 21 สิงหาคมนี้ จะยิ่งถูกจับตามองจากคนทั้งในแวดวงธุรกิจ นักลงทุน ตลอดจนสาธารณชนทั่วไป
พร้อม ๆ กับความคาดหวังว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ โดยเฉพาะการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า
ถนน ทางด่วน ท่าเรือ ฯลฯ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เต็มรูปแบบในปี 2558 และพลิกโฉมหน้าประเทศไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด อีกแง่มุมหนึ่งก็มีเสียงสะท้อนในลักษณะของการตั้งคำถาม ต้องการความชัดเจนในการดำเนินการของภาครัฐ
แม้หลายคำถามที่เจ้าภาพหลักอย่างกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคมพยายามชี้แจงทำความเข้าใจ จะสามารถตอบโจทย์คลายข้อสงสัย แต่มีอีกไม่น้อยที่สาธารณชนยังคลางแคลงใจโดยเฉพาะภาระทางด้านการเงินสำหรับใช้ลงทุน ซึ่งจะกลายเป็นหนี้สาธารณะตกทอดสู่คนรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต รวมทั้งความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ
เพราะแม้ทุกภาคส่วนจะมองไปในทิศทางเดียวกันว่า จำเป็นที่รัฐจะต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการแข่งขันเพื่อสร้างความได้เปรียบ โดยอาศัยความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ บวกกับศักยภาพของทำเลที่ตั้งประเทศที่เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน สามารถเชื่อมโยงด้านการขนส่งสินค้าและการเดินทางกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่างจีน อินเดียได้ แต่เนื่องจากการลงทุนพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการพร้อมกัน จำเป็นต้องใช้วงเงินลงทุนสูง ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าจะสร้างหนี้จนเกินกำลัง กลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต
ขณะเดียวกัน ก็มีข้อท้วงติงห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องการมั่นใจว่าภาครัฐจะดำเนินมาตรการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณทุกบาททุกสตางค์คุ้มค่า ไม่ให้เกิดปัญหาการรั่วไหลเพื่อไขข้อข้องใจทุกข้อสงสัย ทุกคำถาม วันที่ 30 กรกฎาคมนี้ โดยรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" 2 หัวขบวนหลักในการขับเคลื่อนโครงการ 2 ล้านล้าน จะใช้เวทีสัมมนา "Moving Forward 2 ล้านล้าน ขับเคลื่อนไทยทัดเทียมโลก" ที่กระทรวงการคลังกับกระทรวงคมนาคมร่วมกันจัดขึ้น ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชี้แจงหลากหลายประเด็น
และนี่คือตัวอย่างเพียงแค่บางส่วนของประเด็นคำถามฮอต และคำชี้แจงจากกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม ชิมลางเป็นหนังตัวอย่าง แต่ถ้าต้องการทราบรายละเอียดลงลึกเพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ควรพลาดเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว ที่จะมีการชี้แจงอธิบายแบบฉายหนังม้วนเดียวจบ ครั้งแรกและครั้งเดียว 30 กรกฎาคมนี้
ความจำเป็นที่ต้องยกร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน
ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง การเพิ่มของประชากร และรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน
ทั้งในประเทศและจากนักลงทุนต่างชาติ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งแก่ประชาชนทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งเชื่อมโยงฐานการผลิต ฐานการส่งออกระหว่างประเทศ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม ขณะเดียวกัน เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระบบการขนส่งของประเทศ
โครงการลงทุนภายใต้ร่าง พ.ร.บ.จะเป็นตัวเร่งการพัฒนาและยกระดับการให้บริการในระบบโครงสร้างการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ปรับรูปแบบการขนส่งทางถนนไปสู่ระบบรางและการขนส่งทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศโดยรวม และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดความสูญเสียจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาและยกระดับการบริการด่านศุลกากร เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน
ทำไมจึงกำหนดวงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
เหตุที่กำหนดให้ลงทุนในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เป็นการพิจารณาจากกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP การกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาทในระยะเวลา 7 ปี เพื่อนำมาลงทุนภายใต้การบริหารจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารจัดการหนี้ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับไม่เกินกว่าร้อยละ 50 และแม้ว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังจะกำหนดหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 แต่รัฐก็ตระหนักดีว่าจำเป็นต้องมีที่ว่างทางการคลังเผื่อไว้บ้าง กรณีที่เกิดเหตุการณ์นอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้อีกประมาณร้อยละ 10 ของ GDP
ร่าง พ.ร.บ.จะส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะอย่างไร
กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้จัดทำประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP ช่วง 7 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2557-2563) โดยรวมการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท แล้วปรากฏว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP คาดว่าจะสูงสุดที่เกือบร้อยละ 50 ในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งยังต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดคือร้อยละ 60 ของ GDP ณ เดือนตุลาคม 2555 หนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ข้อมูลหนี้สาธารณะ ณ 30 เมษายน 2556 มี 5.15 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.21 ของ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำนวน 2.46 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 21.12 ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 47.77 ของหนี้สาธารณะทั้งหมด
การเตรียมความพร้อมโครงการ
หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การจัดเตรียมความพร้อมของโครงการ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EHIA) โดยเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติจัดสรรวงเงินกู้สำหรับการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของโครงการดังกล่าว
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับคนไทย-ประเทศไทย
แผนการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งวงเงิน 2 ล้านล้านบาท จะพลิกโฉมระบบคมนาคมขนส่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่ง ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระบบคมนาคมขนส่ง และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนจะส่งผลทางบวกในเชิงเศรษฐกิจ 5 ประการสำคัญ คือ
1.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2.สร้างธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว 3.สร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศและภูมิภาค 4.ลดต้นทุนการขนส่งและการเดินทาง และ 5.ลดความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิง
ทีมา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
พร้อม ๆ กับความคาดหวังว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ โดยเฉพาะการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า
ถนน ทางด่วน ท่าเรือ ฯลฯ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เต็มรูปแบบในปี 2558 และพลิกโฉมหน้าประเทศไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด อีกแง่มุมหนึ่งก็มีเสียงสะท้อนในลักษณะของการตั้งคำถาม ต้องการความชัดเจนในการดำเนินการของภาครัฐ
แม้หลายคำถามที่เจ้าภาพหลักอย่างกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคมพยายามชี้แจงทำความเข้าใจ จะสามารถตอบโจทย์คลายข้อสงสัย แต่มีอีกไม่น้อยที่สาธารณชนยังคลางแคลงใจโดยเฉพาะภาระทางด้านการเงินสำหรับใช้ลงทุน ซึ่งจะกลายเป็นหนี้สาธารณะตกทอดสู่คนรุ่นลูกรุ่นหลานในอนาคต รวมทั้งความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ
เพราะแม้ทุกภาคส่วนจะมองไปในทิศทางเดียวกันว่า จำเป็นที่รัฐจะต้องลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการแข่งขันเพื่อสร้างความได้เปรียบ โดยอาศัยความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ บวกกับศักยภาพของทำเลที่ตั้งประเทศที่เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน สามารถเชื่อมโยงด้านการขนส่งสินค้าและการเดินทางกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่างจีน อินเดียได้ แต่เนื่องจากการลงทุนพัฒนาเมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการพร้อมกัน จำเป็นต้องใช้วงเงินลงทุนสูง ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงว่าจะสร้างหนี้จนเกินกำลัง กลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต
ขณะเดียวกัน ก็มีข้อท้วงติงห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องการมั่นใจว่าภาครัฐจะดำเนินมาตรการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณทุกบาททุกสตางค์คุ้มค่า ไม่ให้เกิดปัญหาการรั่วไหลเพื่อไขข้อข้องใจทุกข้อสงสัย ทุกคำถาม วันที่ 30 กรกฎาคมนี้ โดยรองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" 2 หัวขบวนหลักในการขับเคลื่อนโครงการ 2 ล้านล้าน จะใช้เวทีสัมมนา "Moving Forward 2 ล้านล้าน ขับเคลื่อนไทยทัดเทียมโลก" ที่กระทรวงการคลังกับกระทรวงคมนาคมร่วมกันจัดขึ้น ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชี้แจงหลากหลายประเด็น
และนี่คือตัวอย่างเพียงแค่บางส่วนของประเด็นคำถามฮอต และคำชี้แจงจากกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม ชิมลางเป็นหนังตัวอย่าง แต่ถ้าต้องการทราบรายละเอียดลงลึกเพื่อความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ไม่ควรพลาดเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว ที่จะมีการชี้แจงอธิบายแบบฉายหนังม้วนเดียวจบ ครั้งแรกและครั้งเดียว 30 กรกฎาคมนี้
ความจำเป็นที่ต้องยกร่าง พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน
ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง การเพิ่มของประชากร และรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน
ทั้งในประเทศและจากนักลงทุนต่างชาติ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งแก่ประชาชนทั้งในพื้นที่ชนบท เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ รวมทั้งเชื่อมโยงฐานการผลิต ฐานการส่งออกระหว่างประเทศ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม ขณะเดียวกัน เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระบบการขนส่งของประเทศ
โครงการลงทุนภายใต้ร่าง พ.ร.บ.จะเป็นตัวเร่งการพัฒนาและยกระดับการให้บริการในระบบโครงสร้างการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย ปรับรูปแบบการขนส่งทางถนนไปสู่ระบบรางและการขนส่งทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศโดยรวม และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดความสูญเสียจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาและยกระดับการบริการด่านศุลกากร เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน
ทำไมจึงกำหนดวงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
เหตุที่กำหนดให้ลงทุนในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท เป็นการพิจารณาจากกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ให้อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP การกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาทในระยะเวลา 7 ปี เพื่อนำมาลงทุนภายใต้การบริหารจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารจัดการหนี้ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับไม่เกินกว่าร้อยละ 50 และแม้ว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังจะกำหนดหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 แต่รัฐก็ตระหนักดีว่าจำเป็นต้องมีที่ว่างทางการคลังเผื่อไว้บ้าง กรณีที่เกิดเหตุการณ์นอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้อีกประมาณร้อยละ 10 ของ GDP
ร่าง พ.ร.บ.จะส่งผลต่อระดับหนี้สาธารณะอย่างไร
กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้จัดทำประมาณการหนี้สาธารณะต่อ GDP ช่วง 7 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ 2557-2563) โดยรวมการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 350,000 ล้านบาท แล้วปรากฏว่าหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของ GDP คาดว่าจะสูงสุดที่เกือบร้อยละ 50 ในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งยังต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดคือร้อยละ 60 ของ GDP ณ เดือนตุลาคม 2555 หนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ ข้อมูลหนี้สาธารณะ ณ 30 เมษายน 2556 มี 5.15 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.21 ของ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำนวน 2.46 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 21.12 ของ GDP และคิดเป็นร้อยละ 47.77 ของหนี้สาธารณะทั้งหมด
การเตรียมความพร้อมโครงการ
หน่วยงานเจ้าของโครงการจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การจัดเตรียมความพร้อมของโครงการ อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EHIA) โดยเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติจัดสรรวงเงินกู้สำหรับการดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมของโครงการดังกล่าว
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับคนไทย-ประเทศไทย
แผนการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งวงเงิน 2 ล้านล้านบาท จะพลิกโฉมระบบคมนาคมขนส่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่ง ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการระบบคมนาคมขนส่ง และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชนจะส่งผลทางบวกในเชิงเศรษฐกิจ 5 ประการสำคัญ คือ
1.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 2.สร้างธุรกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว 3.สร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศและภูมิภาค 4.ลดต้นทุนการขนส่งและการเดินทาง และ 5.ลดความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิง
ทีมา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////