--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ยึด 4 แนวทางดูค่าบาท ประสาร ยันยังไม่ดูดซับเงินเยน คลังเตรียมคลอดกองทุนอุ้มเอสเอ็มอี !!?


"ผู้ว่าการธปท."   ยันเงินต่างชาติไหลเข้าเป็นเงินระยะยาวเฉลี่ย 4 ปี   ย้ำดบ.นโยบาย2.75% ยังเหมาะ  ไม่ต้องมีมาตรการดูแลค่าเงินเพิ่ม  พร้อมปรับจีดีพีปี 56 โต 5.1% จากเดิมที่ 4.9%,ปี 57 ที่ 5%  ตามแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐเริ่มชัด โมเมนตัมโตต่อเนื่องส่งถึงปีหน้า  คาด 2 ปีแรกงบเบิกจ่ายลงทุนเฉลี่ย 40%   โต้ง"ห่วงบาทแข็งฉุดส่งออกพลาดเป้า 9% เศรษฐกิจดิ่ง   ด้าน"สมภพ" แนะจับตามาตรการบีโอเจ อาจดันเงินเฟ้อไทยพุ่งแตะ 7%

การดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ) รายล่าสุดที่ประกาศอัดฉีดเงินเข้าซื้อพันธบัตรถึงเดือนละ 7.5ล้านล้านเยนหรือกว่า 8  หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( ประมาณ  2.32 ล้านล้านบาท ) จนกว่าจะสามารถดึงเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นถึงระดับ 2% หลังจากที่ญี่ปุ่นประสบภาวะเงินฝืดมาหลายปี ซึ่งเป็นมาตรการคล้ายคลึงกับ QE  (Quantitative Easing ) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แบบไม่มีที่สิ้นสุด  สร้างความกดดันเพิ่มต่อกระแสเงินไหลเข้า ส่งผลให้ค่าเงินบาทเปิดตลาดเมื่อต้นสัปดาห์ ( 9 เมษายน 2556 ) ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี    แตะที่ 28.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ฯหรือแข็งค่าขึ้น 5.73 % เทียบจากเงินบาท ณ สิ้นปี 2555 ที่ 30.61 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ฯ  ล่าสุดเปิดตลาดเช้า 12 เมษายน 2556 ที่ระดับ 29.06  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ฯ

*ผู้ว่าการธปท.ยันไม่เพิ่มมาตรการดูแลค่าเงิน
   
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลการเข้ามาลงทุนของต่างชาติในตลาดพันธบัตร พบว่าพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่ตอนนี้จะลงในพันธบัตรอายุเฉลี่ย 4 ปี สะท้อนว่าต่างชาติเข้ามาลงทุนระยะยาวเพิ่มมากขึ้น
   
ดังนั้นสถานการณ์การเข้าลงทุนของต่างชาติขณะนี้ จึงไม่น่าเป็นห่วงเหมือนช่วงเดือน มกราคม 2556 ที่เงินเข้ามาลงทุนระยะสั้น  การดูแลค่าเงินบาทของ ธปท.จึงยังไม่จำเป็นต้องออกมาตรการเพิ่มเติม โดยยังใช้ 4 แนวทางหลักในการให้น้ำหนักการดูแลค่าเงิน  อาทิในขั้นที่ 1-2  โดยการใช้แนวทางอัตราแลกเปลี่ยนยืดหยุ่น โดยหากพบเงินบาทเคลื่อนไหวเอียงในทิศทางใดทางหนึ่งที่ผิดปกติก็พร้อมจะเข้าดูแล รวมถึงการใช้แนวทางการสร้างความสมดุลของการเคลื่อนย้ายเงินทุน ทั้งในส่วนของมาตรการการเงินที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนต่างประเทศง่ายขึ้น และการที่กระทรวงการคลังเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจให้ชำระคืนหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนด  ตลอดจนการใช้โอกาสที่บาทแข็งค่าสนับสนุนการออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น
   
ผู้ว่าการธปท. กล่าวต่อถึงการที่ ธปท.ออกจดหมายถึงคัสโตเดียนเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาให้รายงานข้อมูลการนำเงินเข้าของลูกค้าต่างชาตินั้นเพื่อที่ ธปท.จะใช้ข้อมูลดังกล่าวสำหรับเตรียมรับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร แต่เป็นเรื่องที่ควรรับรู้สถานการณ์ของตลาด
   
ส่วนสถานการณ์เงินเยนในตลาดที่ขาดแคลนว่าหลังเยนอ่อนค่า 17% เมื่อเทียบกับเงินบาทนั้น  ยืนยันว่าธปท.ไม่ได้เข้าดูดซับสภาพคล่องเป็นเงินเยนในตลาด แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจกันว่า  เนื่องจากเงินเยนที่อ่อนค่ามากทำให้มีการขายบาทเพื่อเข้าถือเยน ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการท่องเที่ยวทำให้เงินเยนขาดตลาด แต่ไม่ได้เป็นปัญหาในระบบเศรษฐกิจการเงิน การค้าการลงทุน เพราะเอกชนยังสามารถจัดหาเงินเยนในระบบการค้าได้

*ดบ.นโยบาย 2.75% เหมาะสมขณะนี้
   
ด้านนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า อัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นไตรมาส 1/2556 อยู่ที่ระดับ 29.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น 4.31% เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาสก่อนหน้า จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ
   
โดยปัจจัยภายนอกมาจากความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกที่ปรับดีขึ้น หลังจากผลการหารือเกี่ยวกับการปรับลดการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ ได้ข้อสรุป ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนปรับดีขึ้น และประเทศอุตสาหกรรมหลักยังคงมีท่าทีชัดเจนที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนปรนเป็นพิเศษด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง
   
ขณะที่ปัจจัยภายในเกิดจากการปรับฐานของค่าเงินบาทกับภูมิภาคที่แข็งค่าไปก่อนหน้าที่บางส่วนชะลอการลงทุนลงจากความกังวลต่อปัญหาน้ำท่วม แนวโน้มเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีและสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาค ปัญหาการเมืองอยู่ในระดับคลี่คลาย รัฐบาลมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
   
นายไพบูลย์ กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี) ที่ระดับ 2.75% ต่อปี ถือว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและสถานการณ์ที่ประเมินไว้ในระยะข้างหน้า แต่ไม่ใช่ระดับที่เหมาะสมตลอดไป  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงต้องนำปัจจัยใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเข้ามาพิจารณา ซึ่งความท้าทายของการดำเนินนโยบายในขณะนั้นๆ จะต้องดำเนินการอย่างผสมผสานระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ หรือกระทั่งนโยบายการคลัง เพื่อให้บรรยากาศหรือโมเมนตัมทางเศรษฐกิจเกิดความสมดุล และขยายตัวได้ใกล้เคียงกับศักยภาพ และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านอื่นๆ ตามมา เช่น หนี้ครัวเรือน ฟองสบู่ เป้นต้น

*ธปท.ปรับเป้าศก.ปี 56 โต 5.1%
   
ทั้งนี้ ธปท.ยังได้ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2556 เพิ่มขึ้นจากระดับ 4.9% เป็น 5.1% และได้ปรับประมาณการจีดีพีปี 2557 เพิ่มจากระดับ 4.8% เป็น 5.0% โดยการคาดการณ์ครั้งล่าสุดได้รวมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐภายใต้โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท และโครงการบริการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท รวมด้วย
   
โดย ธปท.ประเมินว่าในปี 2556 จะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนจริงราว 1.7 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในปี 2557 ประเมินการเบิกจ่ายงบลงทุนจริงราว 9.3 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ที่ 2.2 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายเฉลี่ย 2 ปีแรกประมาณ 40% ของแผนการลงทุนเบื้องต้นในแต่ละปีของภาครัฐ ดังนั้น หากสามารถเบิกจ่ายได้สูงขึ้นกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้ ก็มีโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวได้สูงกว่าที่คาดการณ์
   
ด้านการส่งออกสินค้าและบริการในไตรมาสแรกต่ำกว่าประมาณการเล็กน้อย ส่วนหนึ่งจากการปรับแข็งค่าของเงินบาทที่ทำให้กำไรของผู้ประกอบการปรับลดลง แต่จากการศึกษาของธปท.และหลายสำนักวิจัยพบว่าการปรับเปลี่ยนแปลงของการส่งออกขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเป็นหลัก   โดยธปท.ได้ปรับลดการเติบโตของการส่งออกในปีนี้ ลงเหลือ 7.5%  จากเดิมที่ 9.0%ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ถือเป็นระดับที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากเร่งตัวขึ้นมากในช่วงก่อนหน้า
   
ขณะเดียวกันยังมีการปรับประมาณการเงินเฟ้อใหม่ โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2556 ลดลงจาก 1.7% เหลือ 1.6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจาก 2.8% เหลือ 2.7% แต่ความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อแนวโน้มไปทางด้านสูงเล็กน้อย โดยในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวและปัจจัยการผลิตในประเทศตึงตัวขึ้นโดยเฉพาะในตลาดแรงงานการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าอาจเพิ่มขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา

*"โต้ง"ห่วงส่งออกสะดุดฉุดศก.
   
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปีนี้เป็นปีสำคัญของการเริ่มต้นทิศปรับสมดุลเศรษฐกิจประเทศ จึงจำเป็นต้องระวังความเสี่ยงในช่วงรอยต่อ  ซึ่งไม่สบายใจที่เห็นเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นจนคุกคามภาคการส่งออกจึงต้องพยายามผลักดันให้สามารถส่งออกขยายตัวได้ 2หลัก   เพื่อที่เศรษฐกิจไทยจะได้โตเพิ่มอีก  3-4 %  เพราะภาคส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 70 %  ของขนาดจีดีพี ดังจะเห็นได้จากปี 2555 ที่ภาคส่งออกโตเพียง 3.1 % แต่เศรษฐกิจประเทศกลับโตได้ในระดับ 6.4%
   
โดยหากค่าเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อาจทำให้การขยายตัวของมูลค่าการส่งออก ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าไว้ที่ 9%  มีโอกาสต่ำกว่าเป้าหมายหรืออาจจะขยายตัวต่ำกว่าจีดีพี  ยิ่งไปกว่านั้นถ้าส่งออกที่ลดลงยังโยงใยถึงรายได้ของการจัดเก็บภาษีจากภาคธุรกิจลดลงไปด้วย จะกระทบต่อรายได้ของลูกจ้างภาคเอกชนและส่งผลถึงภาคการบริโภคภายในประเทศ
   
อย่างไรก็ดียังเชื่อมั่นว่า 3เครื่องจักรสำคัญ คือ 1.การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาครัฐ  2.การขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน  รวมถึง 3.การลงทุนภาคเอกชน ยังมีประสิทธิภาพที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้ และเชื่อมั่นว่าปี 2557และ ปี2558 จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทย จะเริ่มปรับเข้าสู่สมดุลอย่างแท้จริง  เนื่องจากในปี 2557 รัฐบาลจะเริ่มต้นลงทุนในโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และจะมีการเบิกจ่ายจริงโดยจะทยอยการเบิกจ่ายต่อเนื่องถึงปี 2558  และในปี 2558 น่าจะสามารถเบิกจ่ายการลงทุนโครงการ 2 ล้านล้านบาท  โครงการลงทุนดังกล่าวทั้งหมดจะช่วยกระตุ้นเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็ง

*หวั่นบีโอเจทำเงินเฟ้อไทยพุ่ง
   
ด้านนายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์  กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าหากนำปริมาณเงินจากญี่ปุ่นเมื่อรวมกับมาตรการคิวอีของเฟดที่อัดฉีดเงินเข้าระบบ ( 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ) แต่ละเดือนจะมีปริมาณเงินเข้าระบบรวมกว่า 1.65  แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กระจายออกไปหาอัตราผลตอบแทนทั่วโลก  โดยเฉพาะเอเชียที่พื้นฐานเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งดูจากแนวโน้มแล้วไม่มีทางที่เงินบาทจะกลับมาอ่อนค่าได้ นอกจากการออกมาตรการภาษี ควบคุมเงินไหลเข้า (แคปิตอลคอนโทรล)     นอกจากนี้หากบีโอเจสามารถทำให้อัตราเงินเฟ้อขึ้นถึง 2%ได้จริงจะกระทบกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศอื่นๆ ทั่วโลกให้ขยับขึ้นตามไม่น้อยกว่า 4% เช่น ไทยตอนนี้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 3% จะกลายเป็น 7% ได้

ที่มา. นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////

ดับไฟใต้ : มาถูกทาง หรือ ถึงทางตัน !!?



วิธีการปราบปรามโจรปัตตานี หรือการต่อสู้กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

ในปี 2328 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ วังหน้า เป็นแม่ทัพเสด็จยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองปัตตานีจนมีชัยชนะ พร้อมกับนำปืนใหญ่ “พญาตานี” ซึ่งเป็นปืนคู่บ้านคู่เมืองปัตตานี กลับมาไว้ที่พระนคร

ในปี 2445 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มีการจับกุม “พระยาวิชิตภักดี” หรือ “อับดุลกาเดร์” เจ้าเมืองตานีผู้ก่อการกบฏ ไปควบคุมไว้ที่จังหวัดพิษณุโลกเป็นเวลาเกือบ 3 ปี หลังจากได้รับพระราชทานอภัยโทษ จอมโจรผู้นี้หาสำนึกผิดไม่ กลับปลุกระดมราษฎรในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กระด้างกระเดื่อง และคิดวางแผนก่อการกบฏขึ้นอีก เมื่อถูกทางราชการปราบปราม
ก็หลบหนีไปกบดานที่รัฐกลันตัน และสิ้นชีวิตลงที่นั่น แต่ก็ได้ปลูกฝังอุดมการณ์ให้สนุนบริวาร แยกนครปัตตานีให้เป็นอิสระให้จงได้

หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาถึงสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขบวนการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ใช้ยุทธวิธีสองประสาน คือ 1) ในรูปแบบ “กองโจรปัตตานี” มี นายหะยีสุหลง เป็นผู้นำ และ 2) ดำเนินงาน “ทางการเมือง” มี สส. อดุลย์ ณ สายบุรี (ตวนกูอับดุลยะลา) รับผิดชอบงานการเมืองเรียกร้องให้มีการแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ต่อมา นายหะยีสุหลงถูกจับติดคุก 3 ปีเศษ เมื่อพ้นโทษแล้วถูกฆ่าตาย และมีข่าวว่าศพถูกนำไปถ่วงทะเล บริเวณจังหวัดสงขลา แต่ไม่พบศพ

ต่อมาในยุคสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีการจับกุมโจรแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส สตูล และ ปัตตานี ได้เป็นจำนวนมาก แต่รัฐบาลในยุคนั้นใช้นโยบายผ่อนปรน ได้ให้การอบรมแล้วปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด พร้อมทั้งให้เงินยังชีพอีกเป็นจำนวนมากด้วย โดยมุ่งหวังที่จะซื้อใจโจรเหล่านั้น แต่ก็ไร้ประโยชน์

ในยุครัฐบาลทักษิณ โจรแบ่งแยกดินแดนกลับถูกสบประมาทว่าเป็น “โจรกระจอก” และมีการปราบปรามที่รุนแรง หรือที่เรียกว่า “ใช้กำปั้นเหล็ก” เป็นเหตุให้ประชาชนชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ถึงขั้นที่ รัฐบาล คมช.ซึ่งมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องประกาศ “ขอโทษชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รวมทั้งขอโทษโจรด้วย) แทนรัฐบาลทักษิณ” พร้อมกับมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา 92 คน เพื่อความสมานฉันท์ แต่โจรแบ่งแยกดินแดนก็หายุติศึกไม่ การเข่นฆ่า ทหาร ตำรวจ ครู พระ และ ประชาชนยังคงมีอยู่ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบัน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ อ้างว่ามาตราการ การดับไฟใต้ของรัฐบาลมา “ถูกทางแล้ว” แต่ถ้าวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ มาถึง “ทางตัน” เสียมากว่า ด้วยเงื่อนไข

1) ไม่เท่าทันกลยุทธ์โจร: โจรแบ่งแยกดินแดนมิใช่“โจรกระจอก”แต่เป็น “โจรอุดมการณ์” ซึ่งได้แตกเหล่าแตกกอเป็นกลุ่มต่างๆ มากมาย เช่น ขบวนการร่วมเพื่อเอกราชปัตตานี หรือ เบอร์ซาตู ขบวนการมูจาฮีดีนอิสลามปัตตานี ขบวนการพูโล กลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น และ องค์กรกู้ชาติปัตตานี เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มดำเนินกลยุทธ์เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน ทำสงครามจรยุทธ์ต่อสู้กับรัฐบาล ควบคู่กับการดำเนินงานทางการเมืองเพื่อให้นานาชาติ โดยเฉพาะโลกมุสลิมยอมรับในอุดมการณ์ของตน จนสามารถพลิกผันสถานการณ์จากการเป็นฝ่ายตั้งรับ มาเป็นฝ่ายรุก จนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งไร้เดียงสาอยู่แล้ว งงเป็นไก่ตาแตก หมดสภาพ ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้

2) ไม่เท่าทันอุดมการณ์โจร : ปัญหาไฟใต้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ก็เพราะวิธีการปลูกฝังอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนได้นำศาสนามาเป็นเครื่องมือล้างสมอง และปลุกระดมเยาวชนมุสลิมในทางที่ผิด โดยปลูกฝังให้มีความเชื่อว่า ชาวไทยพุทธเป็นศัตรูที่จะต้องฆ่าทิ้ง หรือขับไล่ให้พ้นไปจากแผ่นดินภาคใต้ ตามความประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ไม่สามารถแก้ปัญหา หรือ หยุดยั้งการปลูกฝังอุดมการณ์ในทางที่ผิดนี้ได้

3) ไม่กล้ารับผิดชอบ : ทั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ต่างเกี่ยงความรับผิดชอบ ไม่มีใครกล้าหาญที่จะแก้ปัญหาไฟใต้ มีแต่ความหวาดกลัวจนขี้ขึ้นสมองหมดปัญญาที่จะคิด ได้แต่หาทางเอาตัวรอดไปวันๆ ตัวอย่างเช่น รองฯ เหลิม ผัดวันประกันพรุ่งไม่ยอมลงพื้นที่ภาคใต้ แต่กลับเดินทางไปพักผ่อนฮ่องกงอย่างสุขสำราญได้ และในเวลาเดียวกับที่ทักษิณอยู่ที่นั่นด้วย เป็นต้น

คนที่ถูกโจรบีบบังคับจะข่มขืน ย่อมมีทางเลือกอยู่สองทางคือ 1)ใช้ปัญญาต่อสู้จนถึงที่สุด หรือ 2)ร่วมสนุกกับโจรเสียเลย เพื่อเงินและอำนาจ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เลือกทางไหน คิดกันเอาเอง

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
///////////////////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

โค้งสุดท้าย : ปราสาทพระวิหาร การตีความในสิ่งที่ไม่อยู่ในคำพิพากษาปี 2505 !!?


ในขณะที่ชาวไทยในประเทศกำลังเล่นน้ำในเทศกาลสงกรานต์ แต่ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ณ กรุงเฮก กลับปรากฏการเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา มีกำหนดการกล่าวถ้อยแถลงด้วยวาจาเพิ่มเติม (Further Oral Explanations) ในช่วงระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นการอธิบายทางวาจาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่ศาลโลกจะมีคำพิพากษาในช่วงปลายปี 2556

ทั้งนี้ ความขัดแย้งในการครอบครองพื้นที่โดยรอบตัวปราสาทพระวิหาร หรือเปรี๊ยะ วิเฮียร์ ในภาษาเขมร ได้นำมาซึ่งศาลโลกได้รับคำร้องจากรัฐบาลกัมพูชาที่ยื่นขอให้ศาลโลก "ตีความ"

คำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 ใน 2 ประเด็นด้วยกัน คือ 1.อธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา 2.ให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทพระวิหาร ต่อมาในปี 2505 กัมพูชาได้ยื่นเรื่องขอให้ศาลโลกวินิจฉัยเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็นคือ 1) ขอให้ตัดสินชี้ขาดเขตแดนไทย-กัมพูชา 2) แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ระวางดงรัก ที่ฝ่ายกัมพูชาผนวกตามคำฟ้องให้มีผลกับไทย และ 3) ให้ไทยคืนโบราณวัตถุทั้งหมดจากปราสาทพระวิหารคืนกัมพูชา (ข้อสังเกต 2 ประเด็นแรก ศาลโลกไม่ได้มีคำพิพากษาออกมา)

ศาลโลกได้ตัดสินในวันที่ 15 มิถุนายน 2505 โดยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา รวมไปถึงตัดสินให้ทางการไทยนำทหารออกจากพื้นที่ และคะแนนตัดสิน 7 ต่อ 5 เสียง ชี้ว่าไทยจะต้องคืนวัตถุโบราณทุกชิ้น ซึ่งทางการไทยภายใต้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเรียบร้อยแล้ว

ต่อมาในวันที่ 24 เมษายน 2554 ทางกัมพูชาได้ยื่นเรื่องให้ศาลโลกตีความใหม่ใน 2 เรื่อง คือ การขอตีความในเรื่องพื้นใกล้เคียงประสาทพระวิหาร หรือ Vicinity ซึ่งทางกัมพูชาอ้างว่า ควรเป็นไปตามแผนที่สัดส่วน 1 : 200,000 ตร.กม ตามที่ได้แนบคำฟ้องในปี 2502 โดยรวมพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.เข้าไปด้วย กับขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวพื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งสำหรับข้อเรียกร้องประการหลังนั้นศาลโลกได้นั่งบัลลังก์ตัดสินไปเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554

โดยให้ทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 17.6 ตารางกิโลเมตร

การถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ ไทยและกัมพูชาได้มอบให้คณะกรรมการร่วมชายแดนทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย รมต.กลาโหม และคณะทำงานร่วมที่ประกอบด้วยฝ่ายทหารชั้นสูงของทั้งสองฝ่าย หารือกันในเรื่องเขตแดนให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาลโลก นำมาสู่การปรับกำลังทหารเมื่อปี 2555 โดยทางกัมพูชาตัดสินใจถอนทหารออกจากพื้นที่ และนำกำลังตำรวจเข้าประจำการแทน ซึ่งไทยก็ปฏิบัตินั้นเช่นกัน

สำหรับแนวทางการต่อสู้คดีครั้งนี้ รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศได้เตรียมการต่อสู้กับทางกัมพูชา เป็นเอกสารสำหรับศาลโลกพิจารณาจำนวน 1,300 หน้า โดยนายวีรชัย

พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และหัวหน้าคณะต่อสู้คดี ได้อธิบายถึงแนวทางการสู้คดีของไทย 3 ประเด็นดังนี้

1) ศาลโลกไม่มีอำนาจ เพราะแม้อำนาจการตีความของศาลนั้นไม่มีอายุความ แต่ต้องจำกัดอยู่ภายในกรอบคำพิพากษาเดิม ตามคำพิพากษาปี 2505 ระบุให้ไทยต้องถอนทหารออกจากบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท (Vicinity) ซึ่งกัมพูชาต้องการให้ศาลตีความคำนี้ตามเขตแดนที่กัมพูชาถ่ายทอดจากแผนที่ 1 : 200,000

แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า นี่ไม่ใช่คำขอตีความ แต่เป็นการฟ้องร้องคดีใหม่ เพราะเป็นประเด็นเกี่ยวกับเขตแดน ซึ่งไม่ได้ปรากฏในคำพิพากษาตามคดีเก่า (ปี 2505) ฉะนั้นเมื่อออกนอกกรอบคำพิพากษาเดิม ศาลจึงไม่มีอำนาจตัดสิน

2) ไทยกับกัมพูชาไม่ได้เห็นต่างกันในเรื่องเขตแดน เพราะไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิมของศาลในปี 2505 เป็นที่เรียบร้อย คณะรัฐมนตรีไทยมีมติให้กั้นแนวรั้วลวดหนาม กำหนดเขตรอบตัวปราสาท และถอนกำลังทหารออกมาหมดแล้ว

ซึ่งหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทางกัมพูชาก็ไม่ได้แสดงท่าทีคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิบัติของไทย

และ 3) คำร้องของกัมพูชาเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาเดิม ซึ่งจะกระทำมิได้ เพราะในครั้งนี้กัมพูชาร้องขอในสิ่งที่ศาลโลกปี 2505 เคยปฏิเสธมาแล้ว นั่นคือ การกำหนดเส้นเขตแดน และระบุสถานะทางกฎหมายของแผนที่ 1 : 200,000 การยื่นตีความรอบปัจจุบันจึงเท่ากับเป็นการขออุทธรณ์คำพิพากษาในอดีตนั่นเอง

กระทรวงการต่างประเทศไทยได้ว่าจ้างคณะทนายเพื่อต่อสู้คดีซึ่งนำโดย James Crawford ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, Donald McRae ปัจจุบันเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ, Alain Pellet ศาสตราจารย์ชาวฝรั่งเศสด้านกฎหมายระหว่างประเทศ และนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ที่เป็นหัวหน้าคณะต่อสู้คดี

ด้านนายศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ให้ความคิดเห็นต่อกรณีข้อพิพาทครั้งนี้ว่า ทั้งหมดนี้คือผลพวงจากยุคอาณานิคมในเรื่องเขตแดน ที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อการใช้ชีวิตของคนที่มีวัฒนธรรมร่วมกันจากทั้งประเทศไทยและกัมพูชา

"ความเป็นอยู่ของชาวภูมิซรอลที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่พิพาทเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สำคัญต่อการหาของป่าเพื่อดำรงชีพของคนในพื้นที่ หากพื้นที่พิพาทเป็นของกัมพูชา ดังนั้นรัฐควรกำหนดเขตแดนทางวัฒนธรรมขึ้นใหม่ และไม่ควรหาประโยชน์จากพื้นทับซ้อน" นายศรีศักรกล่าว

อย่างไรก็ตาม การกล่าวถ้อยแถลงด้วยวาจาเพิ่มเติม ถือเป็นถ้อยแถลงครั้งสุดท้ายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคำพิพากษาในช่วงปลายปีนี้ สามารถรับฟังการถ่ายทอดสดถ้อยแถลงด้วยวาจาของทั้ง 2 ฝ่ายได้จากเว็บไซต์ http://www.icj-cij.org/homepage ซึ่งจะเป็นให้เสียงที่ใช้จริงที่เป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ศาลโลกยังจะมีการเผยแพร่คำแถลงของทั้ง 2 ฝ่ายผ่านทางเว็บไซต์ของสหประชาชาติที่ http://webtv.un.org ส่วนทางกระทรวงต่างประเทศได้จัดช่องทางรับชม โดยสามารถเลือกรับฟังเสียงจริงที่เป็นภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาอังกฤษ และเสียง

ที่แปลแล้วเป็นภาษาไทยได้ที่ http://www.phraviharn.org และยังสามารถรับฟังได้ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891 รวมไปถึงสถานีวิทยุสราญรมย์ที่คลื่น AM1575 ด้วย

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

พี่มากพระโขนง-คู่กรรม กับกลวิธี การตีความใหม่ (reinterpret) !!?

โดย: พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
The Reading Room

(บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์์)

ภาพยนตร์ไทยสองเรื่องที่เข้าฉายในห้วง 2 -3 สัปดาห์ แต่สร้างผลตอบรับทำเสียงวิจารณ์และรายได้ ขณะที่พี่มากพระโขนง ของมาริโอ – ใหม่ โกยรายได้ทะลุหลัก 200 ล้านและยืนโรงฉายอย่างสบายๆ คู่กรรม ของ ณเดชน์ – ริชชี่ กลับเก็บรายได้ใน 3 วันแรกที่เข้าฉายเพียง 19 ล้าน และเสียงคำวิจารณ์จากผู้ชมที่ค่อนข้างผิดหวัง ทั้งๆที่สองเรื่องนี้ใช้วิธีในการเล่าเรื่องแบบเดียวกันคือ “การตีความใหม่” และ “ดัดแปลง”
ฮอลลีวู้ดการตีความใหม่ในโลกเซลลูลอยด์

การตีความใหม่ (reinterpret) เป็นหนึ่งในกลวิธีในโลกแห่งการละครและมายา เป็นการนำเนื้อหาที่มีอยู่แล้วดั้งเดิม เช่น บทละคร นิยาย ตำนานปรัมปรา ที่ทุกคนรับรู้ใน “เวอร์ชั่นเดียวกัน” นำมาอ่านเพื่อตีความซ้ำอีกครั้งหนึ่งโดยได้มีการดัดแปลง แต่งเติม หรือใช้เพียงบางส่วนของเรื่องดั้งเดิมไปต่อยอดเพื่อให้เกิดเนื้อหาและความรับรู้แบบใหม่ หรืออาจจะสอดแทรก ค่านิยม และอุดมการณ์บางอย่างของผู้กำกับเข้าไปในนั้นด้วย



ในปี 2012 ที่ผ่านมาภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด สนุกสนานกับการยำนิทานของ พี่น้องตระกูลกริมมส์ (Brothers Grimm) นักเขียนนิยายระดับตำนาน เป็นอย่างมาก (แซวกันว่าเพราะนิทานของกริมม์นั้นไม่ถูกคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ สามารถหยิบมาทำได้เลย) ทั้งสโนว์ไวท์ที่มีให้ชมถึงสองเวอร์ชั่นทั้ง Mirror Mirror ที่ได้จูเลีย โรเบิร์ตส มารับบทแม่มดใจร้ายที่ทำมาในรูปแบบสีสันสดใสเบาสมอง หรือ Snow White and the Huntsman ที่ได้ คริสเตน สจ๊วตต์ มารับบทสโนว์ไวท์ ในเวอร์ชั่นดาร์คและให้บรรยากาศแบบหนังอัศวินในยุคกลาง

หรือนิยายคู่พี่น้องจากบ้านขนมปัง Hansel and Gretel สองพี่น้องที่หักขนมปังเพื่อจะได้จดจำทางกลับบ้านหลังจากถูกหลอกไปปล่อยในป่า ให้กลายเป็นหนังแอ็คชั่นสุดเร้าใจอย่าง Hansel & Gretel: Witch Hunters เมื่อสองพี่น้องหันมากลายเป็นคู่หูปราบแม่มด เรียกได้ว่าหยิบเพียงชื่อตัวละครและต้นเรื่องของตัวละครเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการดัดแปลงต่อยอดขึ้นมาใหม่หมด แต่โดยส่วนตัวผมชื่นชอบ Romeo and Juliet เวอร์ชั่นแก๊งสเตอร์ ที่ได้ ลีโอนาร์โด ดิ คาปริโอ และแคลร์ เดนส์ ในวัยหน้าใส ซึ่งหนังเคารพแก่นหลักของเรื่องไว้อย่างครบถ้วยเพียงแต่เปลี่ยนให้เข้ายุคเข้าสมัยกับปี 1997 ที่หนังเรื่องนี้ออกฉาย
การตีความใหม่ในวงการมายาไทยไม่ใช่เรื่องใหม่

หากจะว่ากลวิธีดังกล่าวนั้นใหม่ในประเทศไทยก็ไม่ใช่เสียทีเดียว มีการนำมาใช้และประสบความสำเร็จอย่างแพร่หลาย เช่น “นางนาก” ที่นำแสดงโดย วินัย ไกรบุตร และ อินทิรา เจริญปุระ กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร ซึ่งทำรายได้ไปมากกว่า 150 ล้านบาท หนังเลือกสะท้อนมิติความเป็นคนของแม่นาก และการเน้นเรื่องของความรักที่เป็นไปไม่ได้ของผีและคนมากกว่าเน้นฉากสยองขวัญน่ากลัวเหมือนเวอร์ชั่นอื่นๆ ที่เคยสร้างมาก่อนหน้านั้น



หรือละครเวทีของซีนาริโอ บอย – ถกลเกียรติก็มักจะใช้กลวิธีดังกล่าว เช่น การสร้างละครเวทีฟอร์มใหญ่อย่าง “บัลลังก์เมฆ” สองครั้งแต่เลือกให้บทเด่นของลูกปานรุ้งคนละคนกัน โดยครั้งแรกให้น้ำหนักกับ “ปรก” ลูกชายที่แม่ไม่รักซึ่งแสดงโดย อรรถพร ทีมากร ทำให้เพลง “คนไม่สำคัญ” ฮิตไปทั่วประเทศ และเวอร์ชั่นปี 2550 ที่เน้นไปที่ “ปกรณ์”ลูกชายคนที่ปานรุ้งรักที่สุด รับบทโดย บี้ เดอะสตาร์ เป็นต้น และเรื่องสี่แผ่นดินที่แฝงแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น ของผู้กำกับได้อย่างแยบคาย

แต่ผมกลับชอบ “ทวิภพ” เวอร์ชั่นที่ ฟลอเรนซ์ เฟเวอร์ ได้แสดงเป็นแม่มณีที่กล้าดัดแปลงบทประพันธ์ดั้งเดิมชนิดที่ “ทมยันตี” ผู้ประพันธ์ดั้งเดิมถึงกลับแสดงความไม่พอใจจนบอกว่าไม่เคารพบทประพันธ์ดั้งเดิม โดยในฉบับนี้ลดความเป็นชาตินิยมแบบไร้เหตุผลออกไปมาก ใส่ปูมหลังด้านประวัติศาสตร์ลงไปอย่างน่าสนใจ และกล้านำเสนอภาพของกษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 5 บนจอภาพยนตร์ครั้งแรก แต่น่าเสียดาย ไม่ประสบความสำเร็จในแง่รายได้ แต่ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายคนดูว่า ถ้าหากต้องการดูหนังเดิมๆ เนื้อเรื่องเดิมๆ สร้างซ้ำๆ เพียงแต่เปลี่ยนผู้แสดงจะดูไปทำไม?
ข้อแตกต่างระหว่าง พี่มากฯ – คู่กรรม อะไรคือปัจจัยรุ่งและร่วง

พี่มากพระโขนงนั้น เป็นการต่อยอดจากเรื่องเล่าแบบมุขปาฐะ ที่มีการเล่าแบบปากต่อปากมามีความผิดเพี้ยนมาหลายๆ ทอดแต่ยังคงมีเนื้อเรื่องหรือสารที่คนรับรู้ร่วมกัน และมีช็อตที่เป็น “ลายเซ็นต์” (signature) เมื่อพูดถึงแม่นาคทุกคนจะจำภาพต่างๆได้ เช่น มือยาวเก็บมะนาว ฉากรำพึงรำพันระหว่างพ่อมากกับแม่นาก หรือฉากหมอผีและพระสู้กับผีแม่นาค



การเปิดตัวในครั้งนี้อยู่ภายใต้โจทย์ “ถ้าลองเล่าในมุมของพี่มากที่มีเพื่อนสนิทสี่คนจากการออกไปสงครามจะเป็นอย่างไร?” หน้าหนังของเรื่องนี้ถูกโปรโมทในมุมของหนังตลกเพื่อหยอกล้อกับเรื่องเล่าดั้งเดิม มาริโอ้ทาฟันดำ แก๊งค์เพื่อนสี่คนที่ขนมุกระดมมายิงกัน และการให้แม่นาคกับไปเป็นผีผมยาวอีกครั้ง เมื่อภาพถูกสื่อสารออกมาแบบนี้ผู้ชมก็สามารถคาดหวังได้ว่านี่เป็นหนังตลก และเมื่อเข้าไปชมสามารถสร้างความพึงพอใจจึงมีการบอกต่อถึงความสนุกของ พี่มากพระโขนง รวมไปถึงฉากลายเซ็นต์ที่กล่าวถึงข้างต้นก็มากันอย่างครบถ้วน รวมไปถึงการทิ้งท้ายว่า “แล้วถ้าผีกับคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ล่ะ จะเป็นอย่างไร?”

แต่คู่กรรม ฉบับณเดชน์นั้นกลับเลือกเสนอภาพลักษณ์ที่ดูจริงจัง โรแมนติกผ่าน trailer ที่ปล่อยออกมาทำให้คนดูคาดหวังว่าจะซาบซึ้งตราตรึงกับรักอมตะของความรักของทหารหนุ่มญี่ปุ่นและสาวไทยอังศุมาลินที่ต้องเลือกระหว่างความรักและชาติ แต่ เรียว – กิตติกร ผู้กำกับใช้ความกล้าอย่างมากที่สุดในการดัดแปลงภาพยนตร์ดังกล่าวให้เป็นภาพของหนังรักวัยรุ่น โดยตีความเปรียบเทียบอายุของตัวละครเอกที่อยู่ในช่วงต้นสงครามว่า น่าจะเป็นคนในช่วงวัยรุ่น

การใช้สรรพนาม “เรา กับ นาย” ทำให้คนดูหลายๆ คนเกิดอาการอึ้ง การใส่รายละเอียดแบบหนังรักของค่าย M39 ผู้ผลิตหนังอย่าง สุดเขตเสลดเป็ด วาเลนไทน์สวีทตี้ และคุณนายโฮ ทำให้เกิดความ “ไม่คุ้นลิ้น” ของผู้ชม ทั้งการใส่ซาวด์น่ารักๆ ประกอบฉากหวานๆ ของคู่พระนาง ฉากเปิดที่ใช้ภาพการ์ตูนสีสันสดใสแทนที่จะใช้ภาพข่าวสงครามโลกแบบฉบับอื่นๆ เรียวยังกล้าไปกว่านั้นโดยการเลือกที่จะไม่ใส่ “ลายเซนต์” ที่คนคุ้นเคย เช่น การลงโทษกรอกน้ำมันใส่ปากตาบัวกับตาผล อังศุมาลินตีขิม (เพียงแต่ให้มีขิมอยู่ในห้องนางเอก) การลดบทบาทของคุณย่าอังศุมาลินที่เป็นหมายสื่อรักระหว่างสองคน ไม่มีทางช้างเผือกไม่มีหิ่งห้อย




ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือหนังรักแบบ “ยัยใจน้อย กับ นายคิ้วเข้ม” ซึ่งคนดูหลายๆ คนทำใจรับได้ยาก เนื่องจาก “คู่กรรม” ของทมยันตีนั้น เป็นนิยายอมตะซึ่งมีหนังสือวางขาย และมีการนำมาสร้างบ่อยครั้ง ทำให้คนดูค่อนข้างติดภาพจำมากกว่า แต่ความผิดพลาดที่สุดคงหนีไม่พ้น การตัด trailer “หน้าหนัง” ออกมาให้รู้สึกว่าคู่กรรมฉบับนี้จะเดินตามขนบของคู่กรรมเวอร์ชั่นที่ผ่านๆ มา แทนที่จะสื่อสารว่าภาพจะออกมาเป็นหนังรักวัยรุ่น ทำให้อาจพูดสรุปได้ว่ารสนิยมของผู้ชมไทยนั้นยังคงต้องการความ “แปลก”แต่ “ไม่ใหม่” อาหารคุ้นเคยที่ปรุงแต่งไม่คุ้นลิ้น อาจทำให้เกิดผลเช่นเดียวกับคู่กรรมและทวิภพ ฉบับตีความใหม่ได้เจอมา

ที่มา.Siam Intelligence Unit
///////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นหลังเจรจา !!?


โดย.สุทิน วรรณบวร

การเจรจาสันติภาพที่ประสบความสำเร็จในอดีต เขาทำกันลับๆ มาเป็นเวลานาน สร้างความเชื่อถือและศรัทธาซึ่งกันและกันก่อน เมื่อประสบความสำเร็จที่แท้จริงแล้ว จึงเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ"

ข่าวต่างประเทศหลายสำนักเสนอข่าวในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ว่า ความรุนแรงและโหดร้ายเพิ่มขึ้นอย่างน่าสังเกต หลังจากที่รัฐบาลไทย เริ่มพูดคุยหาทางเจรจาสันติภาพกับกลุ่มขบถมุสลิม เหมือนกับเป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่ว่า กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหลายกลุ่มไม่รับรู้ และไม่เห็นด้วยกับการเจรจาที่เน้นการสร้างภาพ มุ่งหวังแต่การประชาสัมพันธ์

การสูญเสียเจ้าหน้าที่ระดับสูงและการฆ่าตัดหัวซึ่งเงียบหายไปนาน กลับปรากฏขึ้นมาให้เห็นอีกดังที่ข่าวรายงานว่า ในตอนเช้าเจ้าหน้าที่พบศพไร้ศีรษะของลูกจ้างกรีดยางในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา ในตอนบ่ายรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กับป้องกันภัยจังหวัด ถูกระเบิดบนถนนเสียชีวิต ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของนายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และครอบครัวของนายเชาวลิต ไชยฤกษ์ ป้องกันจังหวัดยะลา ที่ต้องสูญเสียผู้เป็นที่รักเพราะความขัดแย้งที่เลวร้ายขึ้นทุกวันในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดในวันที่ลงไปเคารพศพวีรชนผู้เสียสละเพื่อชาติทั้งสองท่านว่า “ไม่อยากให้มองว่าเหตุร้ายเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการเจรจา เพราะการพูดคุยเพิ่งเริ่มขึ้นและต้องดำเนินต่อไป”

แต่ผู้ที่ทำงานในพื้นที่มาตลอดเวลาแปดปีของความรุนแรงและเข้าถึงพื้นที่ทุกระดับวิเคราะห์ว่า ความรุนแรงที่โหดร้ายมากขึ้น เป็นผลมาจากเริ่มต้นเจรจาที่ผิดฝาผิดตัว และการแก้ปัญหาความรุนแรงที่มุ่งแต่การสร้างภาพประชาสัมพันธ์ตัวเอง เขาชี้ให้เห็นว่ากลุ่มผู้ก่อความไม่สงบมุ่งเน้นเป้าหมายที่ทำให้เป็นข่าวดังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจับตัวนาวิกโยธิน ไปสังหาร การเสียชีวิตของนายตำรวจระดับผู้กำกับ และการฆ่าตัดคอในวันเดียวกัน กับวันที่วางระเบิดขบวนรถรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รายงานว่า ตั้งแต่เหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ เมื่อต้นปี 2547 มีผู้เคราะห์ร้ายถูกสังหารโหดด้วยการฆ่าตัดคอมาแล้ว 53 ราย และส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกฆ่าตัดคอจะเป็นมุสลิมที่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ

“รองผู้ว่าฯอิศราตกเป็นผู้รับเคราะห์แทนพล.ต.อ.ทวี สอดส่อง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารงานสามจังหวัดภาคใต้ (ศอ.บต.) เพราะเป้าหมายวันนั้นน่าจะอยู่ที่ผู้อำนวยการ ศอ.บต.แต่บังเอิญ ทวีไม่ว่างมอบหมายให้ผู้ว่าฯไปแทนแต่ผู้ว่าฯมอบหมายให้รองฯไปแทน เคราะห์กรรมเลยตกอยู่ท่านซึ่งเป็นคนดีที่ชาวบ้านรักมาก” แหล่งข่าวผู้คลุกคลีอยู่ในพื้นที่ และเข้าถึงทุกระดับกล่าว

“เท่าที่ทราบมา พวกเขา(ผู้ก่อความไม่สงบ)หมายหัวคนที่ไปเสนอหน้าเจรจาไว้แล้วทุกคน ถ้าการเจรจาวันที่ 29 เมษายน 2556 ไม่ยกเลิกหรือเลื่อนออกไป เหตุการณ์จะรุนแรงกว่านี้” ผู้ทำงานในพื้นที่กล่าวและตำหนิว่า การเจรจาที่หวังผลในการสร้างภาพและประชาสัมพันธ์ รังแต่จะสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับประเทศ รัฐบาลเพื่อไทยกับรัฐบาลไทยรักไทยมักแก้ปัญหาด้วยการสร้างภาพเหมือนกัน ในปี 2547 รัฐบาลไทยรักไทยแก้ปัญหาด้วยการสร้างภาพพับนกกระดาษล้านตัวไปโปรยในพื้นภาคใต้ ทำประชาสัมพันธ์ครึกโครม แต่ปัญหาก่อการร้ายกลับรุนแรงขึ้นตามลำดับ มาวันนี้รัฐบาลเพื่อไทยสร้างภาพด้วยการเปิดตัวผู้แทนกลุ่มขบถมานั่งโต๊ะลงนามกับตัวแทนรัฐบาล เรียกความสนใจจากสำนักข่าวทั่วโลก

ประสบการณ์การทำข่าว การพูดคุยเพื่อนำมาซึ่งการเจรจาข้อตกลงสันติภาพที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การพูดคุยกับนายจีนเป็ง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา เพื่อนำมาสู่การเจรจาสันติภาพของเขมรสามฝ่าย ซึ่งประสบความสำเร็จในอดีต เขาทำกันลับๆ มาเป็นเวลานาน สร้างความเชื่อถือและศรัทธาซึ่งกันและกันก่อน เมื่อประสบความสำเร็จแท้จริงแล้ว จึงจะเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ ข่าวประชาสัมพันธ์ออกมาในวันที่ลงนามสันติภาพกันเท่านั้น ไม่มีที่ไหนเขานำคู่เจรจามาเปิดตัวทางทีวี.ตั้งแต่วันแรกที่พูดคุย ถ้ายังไม่รู้ว่า เขาทำงานลับกันอย่างไรถึงสำเร็จ ให้ลองถามวิธีการกับพล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ หรือไม่ก็พล.อ.กิตติ รัตนฉายา สองนายพลนี้ ประสบความสำเร็จในการเจรจาสันติ กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและพรรคคอมมิวนิสต์มาลายามาแล้ว

เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งว่า รัฐบาลไทยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเจรจากับผู้ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มบีอาร์เอ็นฯ ต่อไป ท่ามกลางข้อกังขาและคำเตือนของคนที่เคยมีบทบาทสำคัญอย่างนายมหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ครองอำนาจในมาเลเซียนานถึง 22 ปี กลุ่ม International Crisis Group ที่บอกว่า ผู้ก่อความไม่สงบมีหลายกลุ่มหลายก๊ก ไม่ว่าจะเป็น พูโล เบอร์ซาตูบีอาร์เอ็นฯ เกอรา-ข่า มูจาฮีดีน อาร์เคเค วาฮาบี ฯลฯ จึงยากมากที่จะทำให้พวกเขาเห็นพ้องกันได้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นอกจากนั้นการไปตกลงเจรจากับคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง รังแต่จะนำมาซึ่งความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการริเริ่มเจรจาทำด้วยคนที่เคยมีข้อครหา ว่ามีส่วนสำคัญในการทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อแปดปีก่อน

นอกจากนั้นกลุ่มวาดะห์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการพูดคุย ล้วนเคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้ต้องหาคนสำคัญที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยเชื่อว่าเป็นแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็นฯ ไม่ว่าจะเป็น นายมะแซ อุเซ็งนายสะแปอิง บาซอ และ ผู้ที่เป็นตัวกลางในการเจรจาฝ่ายมาเลเซีย นายซามซามิน ฮาซิม ก็คืออดีตเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิวาดะห์ แห่งมาเลเซีย

ซึ่งผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองชี้ให้เห็นว่า การยิงเอ็ม 79 ถล่มบ้านนายนัจมุดดีน อุมา แกนนำคนสำคัญคนหนึ่งของกลุ่มวาดะห์ และเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีเฉลิม อยู่บำรุง เป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาทั้งหมดว่าผู้ก่อความไม่สงบ มุ่งเน้นไปที่คนสำคัญเพื่อให้เป็นข่าวดัง “สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณนัจมุดดีน นั้นเป็นการเตือนจากทั้งฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ และจากการเมืองภายในซึ่งลูกน้องเก่าของเขาเตือนว่าอย่ากดดันกันให้มากนัก” แหล่งข่าวกล่าว

สิ่งที่น่าจับตามองอีกอย่างหนึ่งคือ มหาอำนาจผู้มีจมูกไวกว่ามด ในเรื่องข่าวผู้ก่อการร้าย และข่าวขบถอย่างอเมริกา แสดงออกว่า ไม่ยินดียินร้ายกับการพูดคุยสันติภาพระหว่างตัวแทนของรัฐบาลไทยในมาเลเซีย แต่กลับไปทุ่มความสนใจให้กับการทำงานเพื่อสันติภาพอย่างเงียบๆ ของเอ็นจีโอคนหนึ่งในภาคใต้ วันที่ 28 มีนาคม 2556 ขณะที่ ตัวแทนรัฐบาลไทยกำลังพูดคุยกับผู้ที่อ้างว่าเป็นตัวแทนบีอาร์เอ็นฯ เลขานุการโทฝ่ายการเมืองของสถานทูตอเมริกาลงไปพบกับผู้อำนวยการ มูลนิธิ Envoy for Peace ที่จังหวัดนราธิวาส วันนั้นเลขาฯโทสถานทูตอเมริกา ได้พบกับคนสำคัญในพื้นที่บางคนที่รู้จริง และมีส่วนการสร้างความเข้าใจกับผู้คนในพื้นที่ ทำให้มีแนวร่วมหันมาทำงานร่วมกับมูลนิธิเป็นจำนวนมาก หลังจากพบปะกับผู้คนและได้ดูวีดีโอที่จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิฯ เลขานุการโทของสถานทูตอเมริกาพูดสั้นๆว่า “ฉันศรัทธาและเห็นด้วยแนวทางของมูลนิธิ คิดว่าอีกสองสามเดือนผลงานของมูลนิธิจะเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกว่าสามารถนำสันติภาพมาสู่ภาคใต้ได้อย่างแท้จริง”

นายสุริยะ ตะวันฉาย ผู้อำนวยการมูลนิธิ Envoy For Peace หรือทูตสันติภาพลงไปทำงานคลุกคลีในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้มาหลายปี จนทำให้เขาเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจจากชาวบ้าน และดึงคนในพื้นที่มาทำงานกับเขาได้เป็นจำนวนมาก ไม่ยอมออกความเห็นเรื่องการเจรจาสันติภาพในมาเลเซียพูดแต่เพียงว่า

“พรรคปาส (Parti Islam Se-Malaysia) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในมาเลเซียมีความนิยมสูงในพื้นภาคเหนือของมาเลเซียซึ่งมีเขตติดต่อและมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับพี่น้องมุสลิม 3 จังหวัดภาคใต้ ดังนั้นถ้าจะมีการเจรจา หรือ เป็นตัวกลางในการเจรจา นายฮัลวา ฮิบราฮิม หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน น่าจะเหมาะสมกว่า มหาธีร์หรือนายราจิบ นาซัค ตรรกะง่ายๆ คือ เอาคนที่ชาวบ้านไว้เนื้อเชื่อใจ มาเป็นตัวกลางในการพูดคุย จะเกิดผลกว่าเอาคนที่ชาวบ้านไม่ศรัทธามาเป็นตัวกลางในการเจรจา เพราะนอกจากไม่เกิดผลแล้ว ปัญหามันจะรุนแรงขึ้นอีก” นายสุริยะ กล่าว

และสรุปว่า การแก้ปัญหาที่มุ่งเน้นแต่เรื่องสร้างภาพสร้างความเสียหายให้กับทั้งสองประเทศ “ความรุนแรงโหดร้ายที่เกิดขึ้นในภาคใต้ขณะนี้สร้างความสั่นสะเทือนไปถึงการเมืองทั้งในกรุงเทพฯ และกัวลาลัมเปอร์ พรรคอัมโน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมาเลเซียแทนที่จะได้คะแนน จากการเป็นเจ้ากี้เจ้าการจัดให้มีการเจรจา คะแนนเสียงกลับตกหนักลงไป เพราะความล้มเหลวที่เห็นอยู่ ส่วนรัฐบาลไทยแทนจะได้หน้า กลับต้องมาแก้ข่าวอยู่ทุกวันว่า ความรุนแรงไม่เกี่ยวข้องกับการเจรจา”

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

เลื่อนคุยบีอาร์เอ็น 29 เม.ย. กับความเปราะบางของกระบวนการสันติภาพใต้ !!?


แม้ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ จะยังยืนยันไม่ชัดนักว่านัดหมายพูดคุยอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2 กับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ นำโดย นายฮัสซัน ตอยิบ ที่อ้างตัวว่าเป็นแกนนำขบวนการบีอาร์เอ็น จะเลื่อนออกไปจากวันที่ 29 เม.ย.หรือไม่ แต่ความเป็นไปได้ของการพูดคุยในวันดังกล่าวน่าจะไม่เกิดขึ้นแน่นอนแล้ว
         
เหตุผลที่ พล.ท.ภราดร นำมาอธิบายถึงความไม่แน่นอนก็คือ มาเลเซียกำลังมีการเลือกตั้งใหญ่ ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 13 ของประเทศ
         
นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา และมีการคาดหมายกันว่าการเลือกตั้งใหม่น่าจะมีขึ้นในราวปลายเดือน เม.ย.หรือต้นเดือน พ.ค.

 มีรายงานว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งของมาเลเซียน่าจะมีมติในวันที่ 10 มี.ค.เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งนักวิเคราะห์พากันคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นวันที่ 2 พ.ค.

 ในขณะที่ประเทศกำลังมีการเลือกตั้งใหญ่ และอนาคตของนายนาจิบบนเก้าอี้นายกรัฐมนตรีก็กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ความสำคัญกับปัญหาของประเทศอื่นอย่างไทยเพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้มาเลเซียจะรับเป็น "ผู้อำนวยความสะดวก" ในกระบวนการพูดคุยสันติภาพก็ตาม

 ว่าที่ ร.ต.เลิศเกียรติ วงศ์โพธิพันธ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้ข้อมูลว่าได้ส่งหนังสือไปขอเลื่อนการพูดคุยสันติภาพออกไปก่อน เพราะไม่อยากให้กระบวนการนี้ถูกมองว่าจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบริบทการเมืองมาเลเซีย

ขณะที่ พล.ท.ภราดร บอกว่าได้สัญญาณเลาๆ มาแล้วว่ามาเลเซียไม่พร้อมจัดพูดคุยสันติภาพตามที่กำหนดวันไว้เดิม ขณะนี้กำลังรอสัญญาณอย่างเป็นทางการ

นี่คือความเปราะบางอย่างยิ่งของกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ที่รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำไปผูกติดไว้กับมาเลเซีย ทั้งๆ ที่มาเลเซียคือผู้มีส่วนได้เสียอย่างสำคัญกับการดำรงอยู่หรือการคลี่คลายของปัญหา

 การที่วันนัดพูดคุยถูกเลื่อนออกไป ย่อมส่งต่อความเชื่อมั่นของกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของประชาชนที่เฝ้ามองอยู่ และน่าจะมีคำถามในใจว่า ในเมื่อรู้ว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียงของเรากำลังจะมีการเลือกตั้ง เหตุใดจึงต้องรีบ "เปิดตัว-เปิดหน้า" กระบวนการพูดคุยสันติภาพถึงขั้นลงนามในข้อตกลงกันอย่างเอิกเกริกครึกโครมเมื่อวันที่ 28 ก.พ. หรือเพียง  1 เดือนก่อนยุบสภา และ 2 เดือนเศษก่อนเลือกตั้ง

เพราะใครๆ ก็รู้ว่าการเลือกตั้งไม่ว่าจะที่ใดๆ ในโลก ล้วนไม่มีความแน่นอน ทำไมจึงไม่รอให้มาเลเซียเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยไปก่อน ได้นายกรัฐมนตรี ได้คณะรัฐมนตรีใหม่พร้อม แล้วค่อยเริ่มกระบวนการที่รู้ๆ กันอยู่ว่าต้องใช้เวลายาวนาน และความต่อเนื่องคือปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ

ที่สำคัญการเลือกตั้งหนนี้มีการวิเคราะห์กันอย่างกว้างขวางว่า อาจจะเกิดการพลิกล็อคอย่างมโหฬารขึ้นก็ได้ เพราะฝ่ายพรรคอัมโนที่ครองเสียงข้างมากและเป็นรัฐบาลมาเนิ่นนาน อาจจะต้องลิ้มรสชาติของความพ่ายแพ้

สุทธิชัย หยุ่น นักหนังสือพิมพ์อาวุโส เขียนไว้ในคอลัมน์ "กาแฟดำ" ของเขาในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า อาจจะเกิดสึนามิการเมืองที่มาเลเซีย

 "นับตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1957 หรือ 56 ปีก่อน ไม่มีการเลือกตั้งครั้งใดจะมีความไม่แน่นอนเท่าครั้งนี้ แปลว่ามีความเป็นไปได้ว่าพรรค UNMO ที่ครองอำนาจเกือบจะเบ็ดเสร็จมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองนั้น อาจจะหลุดจากแกนอำนาจให้กับฝ่ายค้านที่ทำท่าว่าจะมีแรงสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น" (กาแฟดำ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 8 เม.ย. http://bit.ly/ZM1olU)

หากมาเลเซียเกิดสึนามิการเมืองจริง กระบวนการสันติภาพที่ไทยให้น้ำหนักมาเลเซียอย่างมากย่อมเสี่ยงต่อภาวะ "ไร้อนาคต" เพราะที่ผ่านมาไทยพึ่งพามาเลเซียทั้งขั้นตอนอำนวยความสะดวกในการพูดคุย การประสานงานต่างๆ และกำหนดตัวผู้เข้าร่วมวงพูดคุยในฝั่งผู้เห็นต่างจากรัฐ (ที่อ้างตัวว่าเป็นขบวนการบีอาร์เอ็น) ด้วย

ทว่ามีหลักฐานชิ้นสำคัญ คือ คำสั่งแต่งตั้ง ดาโต๊ะ สรี อาหมัด ซัมซามีน ที่ทางการไทยระบุว่าเป็นอดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองของมาเลเซีย เป็นผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยสันติภาพระหว่างผู้แทนรัฐบาลไทยกับกลุ่มนายฮัสซัน ซึ่งมาเลเซียเรียกชื่อเป็น "คณะทำงานร่วม" ว่า JOINT WORKING GROUP SOUTHERN THAI PEACE PROCESS; JWG-STPP ปรากฏว่าออกโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัก เท่านั้น หาได้เป็นมติคณะรัฐมนตรีไม่ (ดูคำสั่งได้ใน http://www.pmo.gov.my/?menu=news&news_id=11153&page=1731&news_cat=4)

 ฉะนั้นหากนายกฯคนใหม่ไม่ใช่นายนาจิบ กระบวนการพูดคุยสันติภาพที่ทำมาก็มีอันต้องสูญเปล่าใช่หรือไม่ (โดยที่มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ต้องสังเวยชีวิตและได้รับบาดเจ็บไปจำนวนไม่น้อยระหว่างรอยต่อการพูดคุยสันติภาพตามที่คนในรัฐบาลชอบอ้าง) เหมือนกับการตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ในบ้านเราโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดหนึ่ง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนรัฐบาล คณะกรรมการเหล่านั้นมักสิ้นสภาพไปโดยปริยาย หากจะทำงานต่อก็ต้องรอสัญญาณจากรัฐบาลชุดใหม่หรือนายกรัฐมนตรีคนใหม่

          โอกาสที่รัฐบาลไทยต้องนับหนึ่งกระบวนการสันติภาพอีกครั้งจึงมีไม่น้อยทีเดียว!

ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
//////////////////////////////////////////////////

ศาลฎีกาพิพากษากลับ จำคุก 3 ปี ปรับ 2 หมื่น อดีต ประธานคตง.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ !!?



ศาลฎีกาพิพากษากลับ จำคุก 3 ปี ปรับ 2 หมื่น “ปัญญา ตันติยวรงค์” อดีต ประธาน คตง.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เสนอชื่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ให้วุฒิสภา คัดเลือกตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง. ศาลชี้เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
     
       วันนี้ (10 เม.ย.) ที่ห้องพิจารณาคดี 803 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายประธาน ดาบเพชร อดีตผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายปัญญา ตันติยวรงค์ อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2544 จำเลยเสนอรายชื่อ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และนายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ร่วมกับชื่อของนายประธาน ดาบเพชร เสนอประธานวุฒิพิจารณาเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ทั้งที่ในการประชุมของ คตง.ได้ลงมติด้วยวิธีคะแนนลับเลือกนายประธาน ดาบเพชร ด้วยคะแนนสูงสุด 5 คะแนนที่เกินเสียงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเพียงคนเดียว โดยที่คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับคะแนนเพียง 3 คะแนน ขณะที่นายนนทพลไม่ได้รับคะแนน
     
       คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2549 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าการที่จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลทั้ง 3 ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.ทั้งที่กฎหมายกำหนดจะต้องส่งเพียงชื่อของบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม คตง.ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ซึ่งคือนายประธานคนเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
     
       ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวนแล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลย เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเข้าใจว่า การเสนอเสนอรายชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบ ที่จะเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าฯ สตง.นั้น สมควรจะต้องเสนอรายชื่อทั้ง 3 คน ที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย พร้อมผลคะแนน โดยไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่าวุฒิสภาต้องเลือกใคร เสนอต่อวุฒิสภา และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิด คตง.และโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการทำให้โจทก์ร่วมและ คตง.ต้องเสียหาย เพราะเมื่อมีการส่งรายชื่อแล้วยังไม่มีใครคาดหมายได้ว่าวุฒิสภาจะส่งหนังสือคืนจำเลยให้ทำใหม่ หรือจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ว่าฯ สตง. ซึ่งกฎหมายให้วุฒิสภาเป็นผู้ทำความเห็นชอบพิจารณาเลือกบุคคลที่ไมมีคุณสมบัติต้องห้าม โดยวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงมีอำนาจเหนือกว่าจำเลยหลายเท่า ดังนั้นหากจะเกิดความเสียหายก็ต้องเกิดในชั้นวุฒิสภา และหากวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง การเลือกบุคคลเป็นผู้ว่า สตง.ก็จะไม่มีปัญหา พยานหลักฐานจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ให้เกิดความเสียหายแก่ คตง.และโจทก์ร่วม ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227
     
       ต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมยื่นฎีกาศาลฎีกาประชุมตรวจสำนวนแล้ว เห็นว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกถึง 10 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท -20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พฤติกรรมของจำเลยที่ไม่เสนอรายชื่อโจทก์ร่วม ซึ่งได้คะแนนเสียงสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.เพียงคนเดียว ตามที่กฎหมายกำหนด แต่กลับส่งรายชื่อบุคคลอีก 2 คนให้วุฒิสภาคัดเลือกนั้น ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นอำนาจของวุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นผู้ว่าฯ สตง.ก็ตาม จึงพิพากษากลับให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี และ เห็นควรเพิ่มโทษปรับ จำนวน 2 หมื่นบาทด้วย ทั้งนี้พฤติกรรมจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี

ที่มา.ผู้จัดการออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////

Live & Learn


โดย ณฐกร ขุนทอง

เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็น "สัจธรรม" ที่มนุษย์ทุกคนต้องพบเจอ

การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้และเข้าใจ

เราอาจอยู่ในสถานที่คุ้นเคย ไม่เคยพบการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีลมหายใจอยู่ที่บ้าน-ที่ทำงาน ซึ่งอย่างหลังกลายเป็นสถานที่ที่คนเราใช้เวลามากกว่า "บ้าน" เสียอีก

เรียกว่า ชีวิตคลุกคลีกับเพื่อนร่วมงาน จนกลายเป็นสายสัมพันธ์ที่ยิ่งกว่าญาติ อาจรู้ใจกันยิ่งกว่าคนรัก

แต่เมื่อมี "บริบทใหม่ ๆ" เข้ามาเบียดแทรก

"การเปลี่ยนแปลง" ....สิ่งที่หลายคนไม่อยากเผชิญจะวิ่งเข้ามาหา ซึ่งต้องยอมรับว่านี่คือ "สัจธรรม" ที่ยากปฏิเสธ

ไม่ว่าจะเตรียมหัวใจไว้หรือไม่ก็ตาม...

สัจธรรมนี้ไม่เพียงใช้ได้กับ "ชีวิตของปัจเจก" หากแต่ยังใช้ได้กับเส้นทาง

สายการตลาด และการปลุกปั้นแบรนด์ ซึ่งพบความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะต่างก็ต้องคอยจับจ้อง เฝ้าดูความ

เป็นไปของ "ผู้บริโภค" ผู้ซึ่งเป็นลูกค้าที่ยิ่งใหญ่

ประกอบกับทุกวันนี้ "บริบท" แวดล้อมรอบตัวเปลี่ยนเร็ว ไม่ว่าจะเป็น วิถีการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วขึ้น, กำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นตามรายได้ที่เป็นผลพวงจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หรือเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท, ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่วิ่งตามเทคโนโลยีทั้ง 3 จี และดิจิทัล

หรือแม้แต่การเลือกเสพสื่อในยุคที่มีทางเลือกให้มากมาย, การใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น, พฤติกรรมเสพติดสมาร์ทโฟน, ชอบความสะดวก, หลงอยู่ในโลกเสมือน, คลั่งกระแสแชร์ความรู้สึก ฯลฯ

ทั้งหลายทั้งปวงกลายเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นสำหรับการวางแผนการตลาด ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทวิจัยผู้ทำหน้าที่อินไซต์ข้อมูลผู้บริโภคต้องทำงานหนักให้กับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เพื่อ "เข้าถึง" ความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

คงเหมือนกับกลยุทธ์การบริหารแบบซุนวู ในยุทธตำราการรบรบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ที่เขียนไว้ว่า "รู้เขา รู้เรา"

การตลาดที่ดีต้องรู้ถึงความต้องการ เข้าถึงใจ หรือเข้าไปนั่งอยู่กลางใจผู้บริโภคให้ได้

ยุคนี้จึงถือเป็นความท้าทายของแบรนด์อย่างมาก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภค หรือ Consumer Behavior ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นเปลี่ยนแปลงเร็ว การหา Contact Point หรือจุดที่ผู้บริโภคเข้าไปอ่าน ติดต่อ สื่อสาร สัมผัสกับสื่อหรือพื้นที่นั้น ๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

เท่าที่เห็น ปัจจุบันแบรนด์สินค้าพาหันมาเลือกใช้สื่อแบบโฟกัสมากขึ้น

ในเมื่อมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างเจาะลึกและอินไซต์ สัมผัสได้ถึง Contact Point และ

เชื่อมั่น ก็ไม่จำเป็นต้อง "หว่าน" ให้เปลืองเม็ดเงิน

ข้อมูลที่น่าสนใจของ "มายด์แชร์ ประเทศไทย" พบว่า ทิศทางการสื่อสารการตลาดกำลังเข้าสู่ช่วงปรับตัวอย่างก้าวกระโดด การทำความเข้าใจกับการใช้สื่อ และผสมผสานสื่อให้เข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคถือเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องรู้

ประเด็นสำคัญคือ ยุคนี้เจ้าของสินค้าหรือใคร ๆ ก็ใช้เม็ดเงินอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดทั้งนั้น แต่ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้การโฆษณาหรือทำการตลาดสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ชมหรือผู้บริโภค ไม่เช่นนั้นผลลัพธ์ที่ออกมาอาจไม่โสภานัก เพราะเป็นความละเอียดอ่อนที่อาจทำให้เป้าหมายพลิกจาก "ชอบ" กลายเป็น "เกลียด" ได้

อยากยกตัวอย่างหนังฮอตเรื่อง "พี่มาก...พระโขนง" ของค่ายจีทีเอช เรื่องนี้ต้องยกนิ้วให้การวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด การปั้นกระแสก่อนหนังเข้าฉายจริงผ่านทางโซเชียลมีเดียและสื่อต่าง ๆ ซึ่งเมื่อบวกกับตัวหนังที่มีเนื้อหา "โดน" ผลลัพธ์จึงทำให้ "ผู้สร้าง" ยิ้ม

ไม่หุบกับรายได้มหาศาลที่ยังพุ่งทะยานไม่หยุดทั้ง ๆ ที่หนังเรื่องนี้คือตำนานแม่นาคพระโขนง แต่เมื่อถูกตีความในอีกแบบ และผู้บริโภค "รับ" ในแนวเนื้อหาและการนำเสนอสไตล์คอเมดี้ได้ "อาการโดนอย่างแรง" จึงกระฉ่อน กระทั่งเกิดปรากฏการณ์ "ต้องไปดูให้ได้" กระจายไปทั่วประเทศ

ว่าไปแล้ว นี่ก็คือการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและผู้บริโภค ซึ่งคนทำหนังและนักการตลาดสามารถผสมผสานทุกอย่างได้ตอบโจทย์ ท่ามกลางบริบทที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ

วันนี้การเปลี่ยนแปลงกำลังวิ่งเข้าหาผู้คนและทุกวงการธุรกิจ จะมากบ้าง น้อยบ้าง ก็แล้วแต่บริบทใหม่ ๆ ที่เข้ามา ซึ่งหากคนเรามองทุกอย่างด้วยการเรียนรู้ เห็นทุกอย่างด้วยหัวใจคิดบวก

ต่อให้ "บริบท" หมุนเปลี่ยนไปสักเท่าใด เราอาจมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ !

ที่มา.ประชาชาตฺธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////

ทวงความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตที่แยกคอกวัว !!?


นายเทอดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์มีอายุเพียง 29 ปี เมื่อเขาถูกสังหารด้วยกระสุนพลซุ่มยิง ในวันนี้เมื่อ 3 ปีก่อน ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 เขาล้มลงบนพื้นถนนอันแข็งกระด้างในกรุงเทพฯ และบาดเจ็บสาหัส กองกำลังที่ใช้จัดการกับนายเทอดศักดิ์เป็นกองกำลังที่มีเป้าหมายสังหารและผู้สั่งก็จงใจให้เป็นเช่นนั้นแม้ว่าคนที่ลั่นกระสุนจะเห็นชัดเจนว่าเหยื่อของเขาไม่มีอาวุธและมิได้เป็นภัยต่อผู้ใดแต่อย่างใดก็ตาม คำเดียวที่สามารถใช้อธิบายการกระทำเหล่านี้ได้คือการฆาตกรรมและสำนักงานกฎหมายของผมยังคงทำทุกวิถีทางเพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้




นอกจากนี้ หากพิจารณาในประเด็นต่างๆ ก็เป็นเรื่องชัดเจนว่ากองกำลังที่ใช้จัดการกับคนเสื้อแดงที่แยกคอกวัวในคืนอำมหิตเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ออกแบบมาเพื่อสังหารเพียงอย่างเดียว กองกำลังดังหล่าวได้สังหารคนเสื้อแดงทั้งหมด 21 ราย โดยทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสุนซึ่งยิงจากปากกระบอกปืนที่มีนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นคนสั่งการ นอกจากนี้ยังมีทหารเสียชีวิตอีก 5 นาย โดยการจบชีวิตของพวกเขาเป็นไปในสถานการณ์ที่เป็นปริศนา ในขณะที่การสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของนักข่าวช่างภาพญี่ปุ่น นายฮิโร มูราโมโตยังคงดำเนินต่อไป การกระทำทั้งหมดนี้ทำให้มีภรรยาม่ายและมารดาหลายคนที่ต้องเศร้าสลดกับเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่เบื้องหลัง

หากปราศจากความยุติธรรมสำหรับเหยื่อทุกคน โศกนาถกรรมของเดือนเมษยน พ.ศ. 2553 ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ประเทศไทยยังไม่มีความสงบสุขแท้จริงนับตั้งแต่คืนที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตถูกปล่อยให้จมอยู่กับคำถามที่ยังตอบไม่ได้มากมาย

และหากต้องการทำความเข้าใจถึงความรู้สึกอันลึกซึ้งในกรณีการสังหารหมู่ที่คอกวัวในวันที่ 10 เมษายน คุณไม่จำเป็นต้องมองหาที่ไหนอื่นไกลไปกว่าหนังสือภาษาไทยอันน่าทึ่ง ชื่อว่า “คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต” ซึ่งตีพิมพ์โดยมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย หนังสือเล่มนี้ให้พื้นที่เหยื่อจากเหตุการณ์เดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ได้ร่ำไห้ถึงสิ่งที่ทุกคนควรฟังหากต้องการให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าเพื่อความสมานฉันท์

อย่างกรณีมารดาของนายเทอดศักดิ์ นางสุวิมล ซึ่งบอกเล่าให้กลุ่มผู้เขียนของหลังสืออันยอดเยี่ยมนี้ฟังว่า

“จริงๆลึกๆแล้วยังอยากต่อสู้เพื่อลูก เพราะเขาตายไป เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ตายไปโดยไม่สมควร ไม่สมควรมาทำเขา เรารู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้ เราแค่เป็นประชาชนคนเล็กๆธรรมดา ขอแค่มีส่วนร่วมไปเดินบ้างอะไรบ้างก็โอเค แต่ยังไงก็ไม่ลืม”

เราควรตรึกครองถึงคำพูดของนางสุวิมลในขณะที่เราร่วมรำลึกถึงวันครบรอบเหตุการณ์ความสูญเสียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 – “ฉันยังต้องการจะต่อสู้เพื่อลูก” มารดาคนเสื้อแดงผู้เสียชีวิตไม่สามารถ “ลืม” เรื่องการสูญเสียบุตรหลานแบบนี้ได้อย่างง่ายดายซึ่ง ต่างจากผู้วิจารณ์ นักการเมือง หรือผมกล้าพูดได้เลยว่า แม้แต่นักกฎหมาย เราทำได้แค่เพียงเสนอความช่วยเหลือและแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการต่อสู้เพื่อสู้เพื่อความยุติธรรมกับบุคคลที่ตกอยู่ในชะตากรรมแบบเดียวกับนางสุวิมล

เหยื่อเหตุการณ์สังหารหมู่คอกวัวอีกรายคือช่างเย็บผ้า นายวสันต์ ภู่ทอง (อายุ 39 ปี) น้องสาวของเขา น้ำทิพย์เล่าเรื่องผ่านทางหนังสือ “คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต” ว่า

“ตอนนี้ก็ยังคิดถึง เพราะทำงานอยู่ด้วยกันมานานมาก หันไปก็ต้องเจอ เพราะอยู่ด้วยกันทั้งวันทั้งคืน ……มันทำใจยาก”

คำพูดของน้ำทิพย์สะท้อนให้เห็นถึงการเสียชีวิตของน้องชายเธอซึ่งถูกสังหารในสถานการณ์อังน่าขยะแขยงได้เป็นอย่างดี การปราศจากความยุติธรรมที่แน่ชัดจะยังคงทำให้เหยื่อจากเหตุการณ์คอกวัวยากที่จะทำใจ “ยอมรับเรื่องแบบนี้”

วันนี้ทีมงานผมได้รับเกียรติพูดคุยกับพี่เขยของวสันต์ นายกลิ่น และเราขอทิ้งท้ายคำพูดของเขาไว้ในบทความนี้ คำพูดเหล่านี้ควรเป็นคำขวัญของเรา ในขณะที่เราร่วมรำลึกถึงวันครบรอบอีกหนึ่งปีที่บุคคลอันเป็นที่รักของเราถูกพรากไป

“ตอนนี้ยังไม่มีความยุติธรรม เพราะคนผิดยังไม่ถูกลงโทษ เราจะยังคงต่อสู้ต่อไปเพื่อความยุติธรรม”
Read more from นปช
///////////////////////////////////////////////////////



แบงก์ชาติจับตา : บาทแข็งในรอบ 16 ปี !!?



แบงก์ชาติรับบาทแข็งเร็วเทียบดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 1.4% แตะ 28.95 บาทต่อดอลลาร์ สั่งติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ส่วนหนึ่งโยกเข้าลงทุนกองทุนบีทีเอส

ผลพวงจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของทางการญี่ปุ่น ที่ประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เหมือนกับที่สหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เกิดความผันผวนขึ้นตลาดเงินระหว่างประเทศ ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นรวมทั้งเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เขายอมรับว่าค่าเงินบาทวานนี้ (9 เม.ย.) มีระดับการแข็งค่าที่ค่อนข้างเร็ว โดยสาเหตุหลักน่าจะเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงิน ของ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่ผ่อนคลายมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ และบางส่วนน่าจะเป็นผลจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุน เพื่อชำระค่าจองซื้อหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท หรือ BTSGIF



สำหรับกองทุนรวม BTSGIF นั้น แบ่งขายให้นักลงทุนต่างชาติประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรณีนี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาเพื่อลงทุนในกองทุนดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันเชื่อว่า มีบางส่วนที่โยกเงินจากสินทรัพย์ที่มีการลงทุนอยู่แล้วในประเทศไทย เช่น ในตลาดหุ้น เพื่อมาลงทุนในกองทุนนี้ด้วย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดัชนีหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงก็เป็นได้

ธปท.รับบาทแข็งค่าเร็วเกินไป

"ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงของเงินบาทเช้าวันที่ 9 เม.ย. 2556 ค่อนข้างเร็วไป ซึ่งจากสิ้นวันศุกร์มาถึงช่วงเวลา 10.30 น. ของวันที่ 9 เม.ย.นั้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบดอลลาร์ประมาณ 1.4% และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบเงินเยน 4% ก็เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างเร็ว ซึ่งเร็วกว่าปกติ โดยแบงก์ชาติเองจะติดตามดูการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด"นายประสาร กล่าว

นอกจากนี้ การแข็งค่าที่รวดเร็วของเงินบาท ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากช่วงนี้มีวันหยุดติดต่อกันมาก ทำให้ปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศค่อนข้างเบาบาง จึงเห็นการเคลื่อนไหวที่เร็วกว่าปกติบ้าง โดยช่วงนี้มียอดขายดอลลาร์เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 200-400 ดอลลาร์ ส่วนขาซื้อดอลลาร์สหรัฐเองก็ค่อนข้างเบาบางกว่าปกติ เพราะจริงๆ แล้วช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่จะซื้อเงินดอลลาร์เพื่อไปซื้อสินค้าทุนหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ

"ประสาร"ยันเฝ้าระวังใกล้ชิด

สำหรับการดูแลค่าเงินบาทของ ธปท. นั้น นายประสาร กล่าวว่า ธปท.มีการดูแลเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่การดูแลไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าแทรกแซงในตลาดเงินเสมอไป เพราะว่า ธปท. เองก็มีเครื่องมือหลายชั้นในการดูแล โดยมีตั้งแต่การปล่อยให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ซึ่งถือเป็นเครื่องมือแรกๆ ของ ธปท. เครื่องมือถัดมา เช่น การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการชาวไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออก ซึ่งล่าสุด ธปท.จะขายเพิ่มให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศได้อย่างไม่จำกัด

ส่วนเครื่องมือที่สาม คือ การแทรกแซงในตลาดเงิน ถ้าธปท.เห็นว่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวที่ผิดไปจากสภาวะปกติ ก็สามารถเข้าไปแทรกแซงในตลาดเงินได้ ส่วนเครื่องมือที่สี่ คือ การกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายของเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งขณะนี้ ธปท. อยู่ในสถานะที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นายประสาร กล่าวด้วยว่า ทั้ง 4 เครื่องมือที่ ธปท. มีนั้น จะเห็นว่ามีเครื่องมือที่เป็นลักษณะของวิธีธรรมชาติ และที่ไม่ใช่วิธีธรรมชาติ ซึ่งทางธปท.เองจะเลือกใช้วิธีที่เป็นธรรมชาติก่อน เช่น ตอนนี้มีหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจใด ที่มีหนี้ต่างประเทศ ธปท.ก็จะสนับสนุนให้ชำระหนี้เหล่านั้นก่อนกำหนด หรือหน่วยงานใดที่ต้องลงทุนด้วยการสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ทางธปท.ก็ให้การสนับสนุนเต็มที่ เพราะเห็นว่าเป็นจังหวะดี ที่จะมีการลงทุนเพิ่มในช่วงนี้ ในขณะที่วิธีที่ไม่ได้เป็นธรรมชาตินั้น จะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

ปัดควบคุมเงินทุนผวาผลกระทบข้างเคียง

"การควบคุมเงินทุนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบ อย่างประเทศบราซิลที่เขาใช้วิธีเก็บภาษีเงินที่เข้ามาลงทุน พอทำไปจริงๆ มันมีผลข้างเคียงอื่น เช่น เงินลงทุนจริงที่เขาอยากได้ พวกนี้ก็ได้รับผลกระทบพลอยหยุดชะงักไปด้วย จนกระทั่งหลังๆ เขาเองก็อยากจะปรับลดภาษีที่เรียกเก็บตรงนี้ลง ดังนั้นเวลาเราจะทำอะไรก็ต้องดูให้รอบคอบ ว่า จะมีผลข้างเคียงขึ้นบ้างหรือไม่"นายประสาร กล่าว

สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคการส่งออก จากสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น นายประสาร กล่าวว่า เวลานี้กำลังประเมินกันอยู่ แต่ถ้าดูกรณีของเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐนั้น จากการศึกษาของธปท.ช่วงที่ผ่านมา พบว่าการแข็งค่าของเงินบาทไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อภาคการส่งออกมากนัก หากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง

ส่วนเงินบาทเทียบกับค่าเงินเยนนั้น พบว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท เพราะไทยไม่ได้เป็นประเทศคู่แข่งกับญี่ปุ่น แต่เป็นประเทศคู่ค้า โดยอุตสาหกรรมไทยมีการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นค่อนข้างมาก

ซื้อบาทจ่ายค่ากองทุนบีทีเอส2หมื่นล้าน

ขณะที่นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (9 เม.ย.) ปรับตัวแข็งค่าทะลุระดับ 29.00 บาทต่อดอลลาร์ ลงไปถึงระดับ 28.93 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าสุดของวัน หลังจากที่เปิดตลาดที่ระดับ 29.22-29.23 บาทต่อดอลลาร์ เพราะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ เงินบาทที่ลงไปแตะ 28.93 บาทต่อดอลลาร์ เป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี

นอกจากนี้ยังมีการทำคิวอีของญี่ปุ่นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นกัน ทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าภูมิภาคเอเชียมากขึ้น จึงมีแรงขายดอลลาร์ออกมา ประกอบกับความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่เห็นเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ทำให้มีปริมาณซื้อขายเข้ามาอย่างหนาแน่น

"บรรยากาศการลงทุนตลาดเงิน มีผู้เข้ามาทำการซื้อขายค่าเงินมากขึ้น ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ทำให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงมาปิดที่ระดับ 29.00-29.04 บาทต่อดอลลาร์ได้"

คาดเคลื่อนไหว 29-29.15 บาทต่อดอลล์

ทั้งนี้ ต้องติดตามสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งจะมีผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ากลับขึ้นมาได้ ทำให้แนวโน้มเงินบาทวันนี้ (10 เม.ย.) อาจจะอ่อนค่าลงได้โดยคาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 29.00-29.15 บาท

ด้าน นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทวานนี้ เป็นผลจากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่นำเงินเข้ามาลงทุน ในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของบีทีเอส จึงมีการขายดอลลาร์และซื้อเงินบาท เพื่อชำระค่ากองทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาท เมื่อตัดปัจจัยดังกล่าวไปแล้ว ก็เชื่อว่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าที่ระดับเหนือ 29.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้อีกสักพักหนึ่ง

ต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้1.2หมื่นล้าน

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สรุปการซื้อขายวานนี้ (9 เม.ย.) รวม 158,941 ล้านบาท โดยประเภทของตราสารที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด คือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 136,660 ล้านบาท คิดเป็น 74.0% พันธบัตรรัฐบาล มีมูลค่าการซื้อขาย 45,540 ล้านบาท คิดเป็น 24.7% ทางด้านหุ้นกู้เอกชน มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 1,623 ล้านบาท คิดเป็น 0.9%

ประเภทของนักลงทุนที่มียอดซื้อสุทธิสูงที่สุด คือ กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซื้อสุทธิ 21,337 ล้านบาท กลุ่มนิติบุคคลในประเทศ ซื้อสุทธิ 13,789 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติ มียอดซื้อสุทธิ มูลค่า 12,829 ล้านบาท โดยต่างชาติมียอดคงค้างซื้อตราสารหนี้จนถึงปัจจุบันกว่า 8 แสนล้านบาท

ขณะที่ การซื้อขายตลาดตราสารหนี้สัปดาห์ที่ผ่านมา (1-5 เม.ย.) นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตราสารหนี้ทุกประเภท 8,503 ล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะการซื้อขายในตราสารหนี้ระยะยาว อายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี จะพบว่าเป็นการซื้อสุทธิถึง 8,392 ล้านบาท

เยนเทียบดอลล์อ่อนค่าทุบสถิติ

รานงานภาวะตลาดปริวรรตเงินตราเอเชีย โดยเงินดอลลาร์แข็งสุดรอบ 47 เดือน ขณะที่เงินเยนร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบหลายปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร โดยนักลงทุนเทขายเยนออกมา ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กำลังดำเนินนโยบายต่อต้านภาวะเงินฝืดในช่วงนี้ โดยดอลลาร์ดีดตัวขึ้นไปแตะระดับ 99.67 เยนซึ่งเป็นจุดสูงสุด นับตั้งแต่เดือนพ.ค.2009 แต่ต่อมาคำสั่งขายทำกำไรได้กดดันดอลลาร์ให้ร่วงลงสู่ 99.25 เยน ขณะที่ยูโรขึ้นไปแตะ 129.935 เยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ เดือนม.ค.2010 โดยในช่วงนี้ยูโรอยู่ที่ 129.59 เยน แข็งค่าขึ้น 0.3 % นับตั้งแต่บีโอเจเปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 เม.ย. ดอลลาร์/เยนก็ได้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7 %

สรท.ชี้ภาครัฐลอยแพผู้ส่งออก

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือน แรกของปีนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 5 % และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกมีมาร์จินระหว่าง 3-5% และเมื่อมาเจอปัญหาเงินบาทแข็งค่าเช่นนี้ มีโอกาสสูงที่กำไรจะหายไป รวมทั้งเงินเยนอ่อนค่าลงด้วยทำให้กระทบการส่งออกไปญี่ปุ่นด้วย

"เราชี้แจงผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้ตอบสนองอะไรมากนัก และกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ยกเลิกนัดหารือผลกระทบกับภาคเอกชนในสัปดาห์นี้ ซึ่งเหมือนรัฐบาลก็ไม่ได้ดำเนินการอะไรช่วยเหลือผู้ส่งออก รวมทั้งยังบอกให้ผู้ส่งออกหาทางช่วยเหลือตัวเอง โดยแนะนำให้นำเข้าเครื่องจักรในช่วงเงินบาทแข็งค่า รวมทั้งให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศและซื้อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ภาครัฐไม่รู้ว่าแต่ละแนวทางมีข้อจำกัด ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกราย" นายไพบูลย์ ระบุ

ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องช่วยเหลือตัวเอง เพื่อบริหารภาวะขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น โดยผู้ผลิตเพื่อส่งออกบางรายต้องบริหารเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายมองว่าผู้ส่งออกก็อยู่รอดมาตลอด เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้ส่งออกเจอปัญหาเงินบาทแข็งค่าหลายครั้ง แต่ภาครัฐไม่รู้ว่าผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าครั้งนี้ค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้การส่งออกไตรมาส 2 ไม่ดีเหมือนไตรมาส 1 เพราะเจรจาคำสั่งซื้อช่วงเงินบาทแข็งค่า

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////

ความสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง บนเส้นทางของการค้า !!?

โดย ชัยพงษ์ สำเนียง
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่

1.การค้าขายระหว่างไทยกับจีน

ราวต้นทศวรรษ 1990 เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว และประเทศไทย เรียกว่า “สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ” ต่อมาเพิ่มประเทศเวียดนามและประเทศกัมพูชาเข้ามาเรียกว่า “หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ” ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะทำอย่างไรให้ประเทศของตนจะได้รับประโยชน์ หรือกำไรในทางเศรษฐกิจมากที่สุด

ประเทศจีนและประเทศไทยค่อนข้างมีบทบาทมากในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพื่อเปิดและขยายเส้นทางคมนาคมให้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้นเพื่อรองรับการค้า การลงทุน

ในส่วนของประเทศจีนมุ่งที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่รายรอบ ทำให้ประเทศจีนพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศอนุภาคลุ่มน้ำโขง ประเทศจีนได้สร้างถนนจากคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนานลงมาทางใต้ถึงชายแดนประเทศพม่า ประเทศลาว และเชื่อมต่อไปยังไทย และเวียดนาม (วรศักดิ์ 2549 : 1 – 4)

ความร่วมมือในกรอบ “สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ” หรือ “หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ” ประเทศจีนมีบทบาทอย่างสำคัญทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ เพราะจะเห็นว่าจีนเป็นผู้การสนับสนุนประเทศต่างๆในภาคพื้นทวีป เช่น พม่า ลาว เช่น การลงทุนในการสร้างถนน R3a หรือ R3w หรือเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของลาวและพม่า



ความสัมพันธ์ทางการค้า ลุ่มน้ำโขง/ ภาพจาก primexinc.org

ประเทศจีนเริ่มมีแผนพัฒนาในการมุ่งลงมาหาประเทศที่อยู่ทางใต้ ซึ่งประเทศไทยเองก็คิดไม่ต่างกัน ทั้งสองประเทศจึงมองเห็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กว้างกว่าที่ผ่านมา นำมาสู่ความร่วมมือการการสร้างเส้นทางบกหรือทางแม่น้ำเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความคิดนี้จะสำเร็จได้ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือของประเทศอื่น เช่น พม่า ลาว เวียดนาม เป็นต้น (อเนก : 2555)

2.มูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันจีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยใหญ่เป็นอันดับสอง โดยปี 2554 มีมูลค่าการค้าร่วมกัน 1.7 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 12.6 เปอร์เซ็นต์

สินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนในปี 2554 อันดับหนึ่งเป็น ยางพารา จำนวน 1.4 แสนล้านบาท อันดับสองเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1.3 แสนล้านบาท อันดับสามเป็นเคมีภัณฑ์ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าปฐมภูมิและกึ่งสำเร็จรูป ในฐานะที่จีนเป็นโรงงานของโลก นำไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปในตลาดโลก ต่อไป (เดลินิวส์ 2555)

ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน – จีน ด้านสินค้าได้กำหนดให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 และเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2553 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน และภายในปี 2558 สำหรับอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ) โดยกำหนดอัตราภาษีปกติลดลงปีสุดท้ายมี 2 อัตรา คือ 0 เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ และได้กำหนดให้เริ่มลดภาษีสินค้าบางรายการลงทันที (Early Harvest : EH)

อาทิ เช่น สินค้าเกษตรทุกรายการ ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ใช้บริโภค ปลาและสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ต้นไม้ และพืชที่มีชีวิต พืชผักใช้บริโภค และผลไม้ โดยให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2547 ให้เป็น 0 ภายในปี 2549 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน ส่วนอาเซียนใหม่ภายในปี 2553 (ดูข้อมูลเพิ่มเติมในศูนย์วิจัยกสิกรไทย)

สำหรับดุลการค้าไทย-จีน (ทั้งประเทศ)

ในครึ่งแรกปี 2550 ไทยเกินดุลการค้าผักและผลไม้กับจีนเร่งตัวเป็น 7,495.0 ล้านบาท สูงกว่าที่เกินดุล 6,557.7 ล้านบาท และสูงกว่าช่วงเดียวกันปี 2546 (ก่อนFTA ไทย-จีน ) ที่เกินดุล 3,096.6 ล้านบาท สินค้าอ่อนไหวสูง ได้แก่ สินค้าที่มีโควตาภาษีของไทยทั้ง 23 รายการ (53 พิกัดศุลกากร) เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง ชา เป็นต้น

ซึ่งสินค้าอ่อนไหวสูงเหล่านี้จะยังคงภาษีนอกโควตาเท่าที่ผูกพันไว้เท่าเดิมไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 ซึ่งไม่ว่าภาษีนอกโควตาจะอยู่ที่ ระดับใดก็ต้องลดลงเหลือในอัตราร้อยละ 50 เช่น กระเทียมจะลดจากร้อยละ 57 เหลือร้อยละ 50 หอมหัวใหญ่จะลดจากร้อยละ 142 เหลือร้อยละ 50 แต่หากสินค้าใดมีภาษีนอกโควตาที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับร้อย 50 อยู่แล้วก็จะคงภาษีนอกโควตาไว้เท่าเดิม

การค้าผ่านแดนปี 2554

ไทยมีมูลค่าการค้าผ่านแดนกับจีนตอนใต้ รวม 27,615.4 ล้านบาท(ปี 2553 มูลค่า 18,890.3 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 โดยแยกเป็นการส่งออก 19,939.6 ล้านบาท(ปี 2553 มีมูลค่า 13,253.9 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4 การนำเข้า 7,675.8 ล้านบาท (ปี 2553 มีมูลค่า 5,636.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 ทำให้ประเทศไทยได้ดุลการค้า 12,263.8 ล้านบาทสำหรับปี 2555 (มกราคม-สิงหาคม) ไทยมีมูลค่าการค้าผ่านแดนกับจีนตอนใต้ รวม 20,852.4 ล้านบาท

เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.2 (ปี 2554 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่า 17,941.1 ล้านบาท)แบ่งเป็นการส่งออก มีมูลค่า 15,625.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 (ปี 2554 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่า 13,357.7 ล้านบาท) การนำเข้ามีมูลค่า 5,226.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 (ปี 2554 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่า 4,583.4 ล้านบาท)ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 10,399.1 ล้านบาท (สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ 2555)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 9,915.2ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 น้ำมันดีเซล มูลค่า 1,577.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 902.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มูลค่า 668.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.0 น้ำมันปาล์ม มูลค่า 431.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผักและผลไม้ต่างๆ เช่น บรอกโคลี ถั่วหวาน กระเทียม แอปเปิล สาลี่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 939.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ผักและของปรุงแต่งจากผัก มูลค่า 684.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.5 เครื่องส่งสัญญาณภาพ เสียงและส่วนประกอบ มูลค่า 621.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 ผลไม้และของปรุงแต่งจากผลไม้ มูลค่า 567.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.6 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือนอื่นๆ มูลค่า 312.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 (เรื่องเดียวกัน)

จังหวัดที่มีมูลค่าการส่งออกผ่านแดนไทย – จีนตอนใต้มากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่จังหวัดมุกดาหาร มูลค่าการส่งออก 10,218.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงรายมูลค่า 5,402.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 จังหวัดนครพนม มูลค่า 4.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จังหวัดที่มีมูลค่าการนำเข้ามากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย มูลค่าการนำเข้า 1,756.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดนครพนม มูลค่า 1,053.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จังหวัดมุกดาหาร มูลค่า 705.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 จังหวัดน่าน มูลค่า 2.7 ล้านบาท (เรื่องเดียวกัน)

มูลค่าการส่งออกของไทยไปจีนที่ไม่นับรวมน้ำมัน สำเร็จรูปและน้ำมันดิบในไตรมาส1/ 2555 ลดลงร้อยละ 3.2 เกิดจากการหดตัวของกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมอย่างยางพารา ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง และราคาสินค้าของไทยที่สูงกว่าคู่แข่งอย่างสินค้ายางพารา (คู่แข่งคือเวียดนามและอินโดนีเซีย) หรือข้าว (คู่แข่งคือเวียดนามและปากีสถาน) หรือผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (คู่แข่งคือเวียดนามและกัมพูชา) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความต้องการสินค้าเกษตรของไทยที่ลดลง

การนำเข้าของไทย (จากจีน)ในช่วง 3 เดือนแรกปี 2555 มีการขยายตัวถึงร้อยละ 23.5 จากระดับร้อยละ 11.4 ในไตรมาส 4/2554 โดยเฉพาะกลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งที่เติบโตร้อยละ 51.1 (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2555)

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จีนได้ยกเว้นภาษีนำเข้าแก่สินค้าไทยเพิ่มเติมอีก 150 รายการ ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หลังจากที่ได้มีการปรับตัวลดภาษีสินค้ากว่า 7,000 รายการเหลือร้อยละ 0 ไปแล้วตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีอัตราภาษีนำเข้าสูง เช่น สินค้าในกลุ่มอาหาร เช่น เนย เทียม ผัก/ผลไม้ดอง แยม และ น้ำส้ม/น้ำมะเขือเทศ (ภาษีปกติร้อยละ 25-30)

สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องโกนหนวด เครื่องปิ้งขนมปัง (ภาษีปกติร้อยละ 30-35) ฟิล์มสำหรับใช้ในการถ่ายรูปสี (ภาษีปกติร้อยละ 40-47) รถจักรยานยนต์ (ภาษีปกติร้อยละ 40-45) สินค้าในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ (ภาษีปกติร้อยละ 35) (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2555)

นอกจากนี้การพัฒนาเส้นทางถนนเพิ่มเติม โดยเฉพาะเส้นทาง R3E (จีน-ลาว-ไทย) จะเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศจีนมากขึ้นในการกระจายสินค้า ส่งผลต่อผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนปรับตัวรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อสู้กับสินค้าราคาถูกจากประเทศจีนที่จะเข้ามาครองตลาดในภูมิภาคนี้



ตลาดน้ำ ปากแม่น้ำโขง ภาพจาก wikipedia

3.อุปสรรค ปัญหาและข้อสังเกตเบื้องต้นการค้าระหว่างไทย – จีน คือ

ประการที่ 1 ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลงมากทุกปี ในฤดูแล้ง ซึ่งทำให้เรือสินค้าจากจีนไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ ทำให้การขนส่งบางส่วนไปใช้เส้นทางบกผ่านเส้นทาง R3a แต่ก็ยังไม่มีความคล่องตัวเนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ ยังสร้างไม่เสร็จรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางบก ดังกล่าวยังสูงกว่าการขนส่งทางเรือ แต่อย่างไรก็ดีหากการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 แล้วเสร็จภายในปี 2558 จะช่วยลดระยะเวลาเดินทางจากคุนหมิงถึงกรุงเทพฯ จาก 42 ชั่วโมง เหลือเพียง 20 ชั่วโมง (สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ 2555)

ประการที่ 2 ปัญหาการปล้นและสังหารลูกเรือชาวจีน บนเรือขนส่งสินค้าในแม่น้ำโขงตอนบนในเดือนตุลาคม 2554 ปัจจุบันยังต้องมีการเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยให้เรือขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับจีนตอนใต้จากการปล้นโดยกลุ่มโจรติดอาวุธตามลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (เรื่องเดียวกัน)

ประการที่ 3 ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบถนนที่ยังจำเป็นต้องเร่งก่อสร้างเพิ่มเติมอีกมาก ทั้งตัวถนน สถานีบริการน้ำมัน ที่พักระหว่างทาง รวมทั้งบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่นๆขณะเดียวกันก็ยังขาดแคลนงบประมาณในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้การก่อสร้างล่าช้า นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศมีระดับแตกต่างกันทำให้การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ยังไม่สมบูรณ์ (เรื่องเดียวกัน)

ประการที่ 4 นายทุนจีนยังเข้ามาลงทุนในกิจการต่างๆ เช่น การเช่าที่ปลูกยางพารา ทางตอนเหนือของลาว และพม่า หรือการสร้างระบบเกษตรพันธสัญญาในการปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น แตงโม หอมหัวใหญ่ หรือการเข้ามาเป็นนายทุนขนาดเล็กในท้องที่ในการขายปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์การเกษตร ของชำ ซึ่งบทบาทของพ่อค้าจีนนี้ได้เบียดขับพ่อค้าท้องถิ่นจำนวนมากที่ต้องเลิกกิจการไปเพราะไม่สามารถสู้กับทุนจีนได้ (ปิ่นแก้ว : 2554 และจามะรี : 2553; 2554)

ประการที่ 5 ประเทศจีนประสบความสำเร็จสามารถครองตลาดสินค้าราคาถูกในภูมิภาคนี้อย่างเบ็ดเสร็จ ดูได้จากสินค้าตามร้านในตลาด หรือแผงลอย(ไทย พม่า ลาว) ล้วนเป็นสินค้าราคาถูกที่นำเข้าจากจีนทั้งสิ้น ไม่แต่เท่านั้นพ่อค้า แม่ค้าชาวจีนยังได้ขยายการลงทุนมายังประเทศพม่า และประเทศลาว โดยเข้ามาตั้งร้านขายของทั้งขายปลีก และขายส่ง เช่น ในตลาดจีนในเมืองห้วยทราย และตลาดลาวในเมืองต้นผึ้ง ประเทศลาว ที่เจ้ากิจการล้วนเป็นชาวจีนแถบทั้งสิ้น

ประการที่ 6 ประเทศจีนทวีความสำคัญในภูมมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของ พม่า ลาว และเป็นผู้ช่วยเหลือรายใหญ่ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเหล่านี้

ประการที่ 7 การที่จีนขยายบทบาทเข้ามาในประเทศลุ่มน้ำโขง เพื่อเป็น “ประตู” สู่แดนใต้ ทำให้ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของมหาอำนาจประเทศต่างๆ

จะเห็นว่าประเทศจีนมีบทบาทอย่างมากในการค้า และกิจการอื่นๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพราะสนองต่อผลประโยชน์จีนโดยตรง ในการขนส่งสินค้า และการเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ข้าว ข้าวโพด ทำให้จีนกระตือรือร้นในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ประเทศจีนจึงมีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคนี้ และจะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

ทีมา.Siam Intelligence Unit
//////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร !!?


คอลัมน์ : คนเดินตรอก

พ.ร.บ.กู้ยืมเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปลงทุนสร้างระบบรางรถไฟ ประโยชน์โภชน์ผลคงไม่ต้องพูดกันแล้ว เพราะฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไปแล้ว

ก็เหลือประเด็นที่ฝ่ายค้านใช้เวลาอภิปรายว่า จะเป็นการเปิดช่องให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กับสร้างหนี้ไว้ให้ลูกหลาน ควรใช้งบประมาณประจำปีดีกว่า

ประเด็นเรื่องคอร์รัปชั่น ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ แต่ต้องช่วยกันป้องกัน ถ้าเล็ดลอดไปได้ ก็ต้องหาทางเอาตัวมาลงโทษให้ได้

แม้ว่าอาจรับประกันได้ ก็ยังต้องลงทุน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ การฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหยาบคาย ก็เหมือนกับสังคมป่วยเป็นริดสีดวงทวาร เข้าห้องเล็กเมื่อไหร่ก็เจ็บปวด มีเลือดไหลทุกที เพราะเป็นจนเรื้อรังไปแล้ว รักษาก็ยาก แต่เมื่อเป็นริดสีดวงแล้วจะไม่ยอมเข้าห้องเล็ก ก็เห็นจะไม่ถูก เมื่อถึงเวลาก็ต้องเข้า แล้วควรระวังดูแลอย่าให้เจ็บปวดมาก รักษากันไป

เมื่อถึงเวลาก็ต้องลงทุนพัฒนาประเทศ ถ้ากลัวว่าจะมีรั่วไหล ก็ต้องหาทางป้องกันปราบปราม ได้ข่าวว่า ท่านประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานกลุ่มต่อต้านคอร์รัปชั่น จะมาร่วมดูแลไม่ให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็เบาใจ สบายใจขึ้น

ส่วนประเด็นที่สองที่กลัวกันว่า การกู้ยืมเงินมาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ควรจะตั้งเป็นรายจ่ายในงบประมาณประจำปี เพราะจะได้ปฏิบัติไปตามบทบัญญัติวิธีการงบประมาณ ไม่ควรจะเป็นงบรายจ่ายพิเศษ เพราะจะกลายเป็นภาระกับลูกหลานที่จะต้องมารับภาระ สมัยก่อนหนังสือพิมพ์ชอบคำนวณว่า คนไทยพอเกิดมาปุ๊บก็เป็นหนี้ทันที คนละเท่านั้นเท่านี้บาท

โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างที่รัฐบาลเสนอขอกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจากประชาชนนั้น เป็นการกู้เงินจากประชาชนในประเทศเพื่อทำการลงทุนขนาดใหญ่ หรือภาษาการคลังเรียกว่าเป็น "Capital Expenditure"

รายจ่ายสำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีอายุใช้งานเป็นเวลายาวนาน เช่น โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มักจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนมาก เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก ทางด่วนพิเศษ โครงการชลประทาน และอื่น ๆ

โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะแยกประเภทตามลักษณะในการลงทุนเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก โครงการที่รัฐบาลทำให้ราษฎรใช้โดยไม่คิดค่าใช้งาน เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ระบบชลประทาน กับอีกประเภทหนึ่ง รัฐลงทุน แต่มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ จ่ายคืนการลงทุนภายหลัง เข้าลักษณะใครใช้ใครจ่าย ซึ่งกว่าจะคุ้มกับเงินลงทุน อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แล้วแต่นโยบาย

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานประเภทแรก ก็มักจะอยู่ในอำนาจของกรมใดกรมหนึ่ง เวลาจะลงทุน ก็ตั้งจากงบประมาณประจำปี และผูกพันปีต่อไปเรื่อย ๆ ปีต่อปี รัฐบาลก็ตั้งให้ตามที่ผูกพัน แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งให้ตามที่ขอทุกปี น้อยบ้าง มากบ้าง แล้วแต่ฐานะทางด้านรายได้ เราจึงเห็นทางหลวงแผ่นดินหลายสายมีการก่อสร้างไว้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือโครงการรถไฟรางคู่ทั่วประเทศเริ่มลงทุนมากกว่า 15 ปีแล้ว ก็ยังไม่เสร็จ เพราะงบประมาณได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วแต่นโยบายและความจำเป็นเร่งด่วน

สำหรับโครงการที่รัฐบาลต้องการทำเป็นโครงการที่จะเรียกเก็บค่าบริการมาใช้คืนเงินค่าลงทุนอย่างกรณีรถไฟความเร็วสูงก็ดีท่าอากาศยานก็ดี ท่าเรือน้ำลึกก็ดี ระบบไฟฟ้าก็ดี น้ำประปาก็ดี หรืออื่น ๆ ที่จะทำในลักษณะรัฐพาณิชย์ จึงมักจะมอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐวิสาหกิจ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสม เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการผลิต การเงิน บุคคล

ในกรณีรถไฟความเร็วสูง ก็คงจัดในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง คงไม่ตั้งกรมรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาเป็นผู้ลงทุน ส่วนจะเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปใด ก็คงต้องคอยฟังกันต่อไป

เมื่ออยู่ในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง การตั้งงบประมาณประจำปีเพื่อใช้ในการลงทุน ก็ไม่น่าจะเหมาะสม ควรให้รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบเงินลงทุนเอง แทนที่จะคอยเงินภาษีอากรของประชาชนมาลงทุนเหมือนกรมทางหลวงแผ่นดิน กรมชลประทาน กรมทางหลวงชนบท หรือกรมอุตุนิยมวิทยา

โครงการขนาดใหญ่อย่างนี้ อายุการใช้งานเป็นร้อย ๆ ปี ถ้าต้องการทำเร็วเช่นที่รัฐบาลประกาศไว้ 7 ปีสำหรับรถไฟความเร็วสูง และเร็วกว่านั้นสำหรับโครงการอื่น ๆ หากต้องจ่ายเมื่อการลงทุนเริ่มขึ้น ก็ต้องจ่ายเป็นเงินจำนวนมากในแต่ละปี ปีละ 3-4 แสนล้านบาท ก็จะเต็มวงเงินลงทุนของรัฐบาล แต่ถ้าจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยของเงินลงทุน ถ้าดอกเบี้ยกู้ยืม 3-4 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลก็สามารถตั้งงบประมาณ จ่ายเพียงปีละ 6 ถึง 8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ไม่เต็มวงเงินงบประมาณประจำปี

เมื่อไม่เต็มวงเงินกู้ ก็จะสามารถตั้งงบประมาณลงทุนในด้านอื่น ๆ เป็นโครงการสาธารณสุข โครงการการศึกษา โครงการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งโครงการทางหลวงแผ่นดิน โครงการชลประทานได้อีก ไม่ใช่เอางบประมาณรายจ่ายทั้งหมดมาลงทุนในโครงการนี้อย่างเดียว อย่างที่ฝ่ายคัดค้านอยากเห็น

การกู้ภายในประเทศ หรือการกู้เงินบาท ก็เท่ากับการระดมเงินออมจากประชาชนไทยมาลงทุน ผู้ออมก็ได้ประโยชน์ คือได้ดอกเบี้ยสูงกว่า และมั่นคงสบายใจกว่าฝากธนาคารพาณิชย์ เพราะผู้กู้คือกระทรวงการคลัง เป็นการเอาเงินออมจากคนรุ่นนี้มาลงทุนสร้างทรัพย์สินไว้ให้ลูกหลาน แทนที่จะไปลงทุนซื้อพันธบัตรอเมริกัน อังกฤษ ยุโรป เพราะทรัพย์เหล่านั้นดอกเบี้ยก็ต่ำ ความเสี่ยงที่ค่าเงินดอลลาร์ เงินปอนด์ และเงินยูโรจะเสื่อมค่า เมื่อเทียบกับรางรถไฟ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งมีแต่จะมีราคามากขึ้นแพงขึ้น

ผู้รับภาระจ่ายดอกเบี้ยก็คือคนรุ่นนี้ เพราะช่วง 10-15 ปีแรก โครงการก็คงจะขาดทุนอยู่ จะไปทำกำไรได้คืนทุนก็คือรุ่นลูก ยิ่งรุ่นหลานก็คงกำไรมากขึ้น ไม่น่าจะมีภาระมากเท่ากับรุ่นเรา ข้อสำคัญ รายจ่ายที่รัฐบาลจ่าย ก็จ่ายให้ประชาชนคนไทยด้วยกันเอง เจ้าหนี้ก็คือคนไทยด้วยกัน

ดูอย่างครั้งเมื่อรัฐบาลพระพุทธเจ้าหลวงไปออกพันธบัตรเป็นเงินปอนด์ขายที่ยุโรปเพื่อมาเป็นค่าเวนคืนที่และลงทุนสร้างระบบรถไฟขึ้นเมื่อปี 2447 บัดนี้ก็ใช้หนี้หมดไปนานแล้ว พวกเรารุ่นหลานรุ่นเหลนไม่เคยทราบด้วยซ้ำว่าเราเคยมีหนี้ก้อนนี้ แต่เรามีรางรถไฟจากเหนือจดใต้ จากตะวันตกไปตะวันออก

โครงการเงินกู้ธนาคารโลกมาสร้างเขื่อนยันฮี หรือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ และเขื่อนอื่นที่เราให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตกู้เงินมาก่อสร้าง ก็สามารถคืนเงินกู้ได้จนหมดแล้ว รุ่นเรารู้แต่ว่าเรามีทรัพย์สินเป็นเขื่อน เป็นระบบชลประทาน เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ใช้ไปได้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเรา

ยิ่งเป็นเงินกู้ภายในประเทศ ลูกหนี้ก็เป็นรัฐบาล เจ้าหนี้ก็เป็นประชาชน ประชาชนเป็นทั้งเจ้าของทรัพย์สินและเป็นเจ้าหนี้ ถ้าเกิดประมาทพลาดพลั้ง เช่น ภาษีไม่เข้าเป้า จะยืมประชาชนใหม่มาใช้หนี้เก่าก็ยังได้ ไม่เหมือนกู้ต่างประเทศ ถ้าเครดิตไม่มี อาจจะถูกเรียกหนี้คืนได้ง่าย ๆ หรือยืมใหม่มาใช้หนี้เก่าไม่ได้ ลูกหลานไทยจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะเป็นทั้งผู้ถือพันธบัตรและผู้จ่ายภาษีใช้หนี้

พอถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หนี้ 2 ล้านล้าน มูลค่าจะเหลือนิดเดียว แต่ทรัพย์สินจะมีมูลค่าสูงขึ้นมหาศาลเหมือนหนี้สร้างเขื่อนภูมิพล 2,000 ล้านบาท สมัยโน้น เทียบไม่ได้เลยกับมูลค่าที่ดินและตัวเขื่อนในราคาปัจจุบัน

การกู้เพื่อการ ลงทุนสร้างทรัพย์สินคราวนี้จึงไม่มีอันตรายเท่าใดเลย ขออย่างเดียว ลูกหลานเราอย่าบริหารให้ขาดทุนจนพังก็แล้วกัน

ผมเห็นของผมอย่างนี้ ลูกหลานจะด่าก็ตามใจ

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////