--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทำความเข้าใจเรื่องคำร้องไอซีซีกรณีประเทศไทย !!


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลจะเข้าพบหัวหน้าอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) มาดามฟาทู เบนซูดาในวันนี้ ( 1 พ.ย.) เพื่อพูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ในการเปิดการสอบสวนกรณีเหตุการณ์การชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553

รายละเอียดข้างล่างคือคำถามที่มีการถามกันบ่อยครั้งเกี่ยวความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะขยายเขตอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซี

คำถามที่ถามบ่อยครั้ง

คำถาม: ไอซีซีคืออะไรและทำไมอัยการถึงมาประเทศไทย?
คำตอบ: ไอซีซีตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก และจัดตั้งโดยสนธิสัญญาที่เรียกว่าธรรมนูญแห่งกรุงโรม ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบัณดังนั้นประเทศไทยจึงมิใช่ภาคีต่อสนธิสัญญาดังกล่าว
ทนายความนปช. นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมยื่นคำร้องต่ออัยการไอซีซีเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 โดยร้องขอให้ไอซีซีเปิดการสอบสวนเบื้องต้นในกรณีเหตุการณ์ชุมนุมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งมีพลเรือน 98 รายถูกสังหารและถูกทำร้ายกว่า 2,000 รายโดยกองทัพไทย

คำร้องระบุว่ามีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่อผู้ชุมนุมที่เป็นพลเรือน และะในคำร้องเกี่ยวกับประเทศไทยได้กล่าวถึงการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติเท่านั้น โดยไม่มีหลักพื้นฐานใดที่กล่าวถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธ์หรืออาชญากรรมสงคราม

คำถาม:เมื่อประเทศไทยมิใช่ภาคีของสนธิสัญญาก่อตั้งไอซีซีแล้ว ไอซีซีจะสอบสวนกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่อ้างถึงและเกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างไร?
คำตอบ: ในกรณีนี้ อำนาจพิจารณาของไอซีซีสามารถจัดตั้งขึ้นได้สองประการ
ประการแรก ไอซีซีสามารถใช้อำนาจพิจารณาคดีเหนือบุคคลต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะภายใต้มาตรา 12.2(b) ของธรรมนูญโรม เนื่องจากเขาเป็นพลเมืองอังกฤษ ซึ่งเป็นภาคีกับไอซีซี

ประการที่สอง มาตรา 12.3 ได้ให้อำนาจรัฐที่มิได้เป็นภาคีกับไอซีซี อย่างเช่นประเทศไทย ให้ทำการยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีบนหลักการของการยอมรับให้ไอซีซีพิจารณาเป็นเฉพาะคดีไป โดยการประกาศยอมรับอำนาจของไอซีซี ขณะนี้รัฐบาลไทยกำลังพิจารณาว่าจะประกาศยอมรับอำนาจของไอซีซีเพื่อให้ไอซีซีทำการการสอบสวนกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่วงอ้างในปี 2553 หรือไม่

คำถาม:คำประกาศดังกล่าวเป็นการกล่าวหาผู้ใดว่ากระทำอาชญากรรมหรือไม่?
คำตอบ: ไม่ใช่ มันเป็นเพียงการอนุญาตให้ไอซีซีเข้ามาพิจารณาว่ามีใครหรือกลุ่มบุคคลใดบ่างที่ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาตินับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 หรือไม่เท่านั้น

คำถาม: คำประกาศดังกล่าวเป็นการส่งต่อความรับผิดชอบให้แก่ไอซีซีในการสอบสวนอาชญากรรมต่อมนุษยชาติใช่หรือไม่?
คำตอบ: ไม่ใช่ ประเทศไทยจะยังคงต้องรับผิดชอบเป็นลำดับแรกในการสอบสวน และหากเหมาะสม ต้องดำเนินคดีต่อคนที่ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ไอซีซีสามารถสอบสวนหรือดำเนินคดีหากเจ้าหน้าที่รัฐไทยไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะทำเช่นนั้นเท่านั้น

คำถาม: แล้วหากเป็นเช่นนั้น เหตุใดจึงต้องยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่าวอ้าง?
คำตอบ: คำประกาศดังกล่าวทำให้อัยการไอซีซีสามารถเปิดการตรวจสอบเบื้องต้นได้ การตรวจสอบดังกล่าวทำให้อัยการสามารถเข้าร่วมกับกระบวนการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่รัฐไทยเกี่ยวกับความคืบหน้าของการสอบสวนและดำเนินคดีในประเทศไทยหากอัยการสรุปว่าความยุติธรรมไม่ได้บังเกิดขึ้นในประเทศไทย อัยการสามารถเข้ามาดำเนินการได้

คำถาม: ดังนั้นอัยการสามารถสอบสวนและดำเนินคดีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่าวอ้างได้หรือไม่?
คำตอบ: อัยการสามารถเปิดการสอบสวนเต็มขั้นได้ในสองกรณีเท่านั้น
กรณีแรก อัยการต้องแจ้งต่อประเทศไทยถึงเจตจำนงค์ในการเปิดการสอบสวนเบื้องต้น ประเทศไทยมีเวลาหนึ่งในการตอบรับ ประเทศไทยสามารถเลือกที่จะยอมให้อัยการเข้ามาทำการสอบสวน อีกทางเลือกหนึ่งคือ ประเทศไทยสามารถปฏิเสธและยืนยันสิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐไทยในการสอบสวนคดีดังกล่าวก็ได้ ทำให้อัยการไอซีซีไม่มีอำนาจเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น นอกเสียจากว่า อัยการจะได้รับอนุญาติจากผู้พิพากษาไอซีซี อัยการต้องพิสูจน์ให้ผู้พิพากษาเห็นว่า การสอบสวนในประเทศไทยไม่ได้เป็นไปในแนวทางเพื่อแสวงหาความยุติธรรม ประเทศไทยจะได้รับโอกาสชี้แจงต่อผู้พิพากษาไอซีซีสามคนเพื่อนำเสนอเหตุผลในการปฏิเสธ หากผู้พิพากษาตัดสินตามคำร้องขอของอัยการไอซีซี ประเทศไทยสามารถอุทธรณ์ต่อองค์คณะของผู้พิพากษาชั้นอุทรณ์ของไอซีซี
กรณีที่สอง แม้ประเทศไทยจะไม่ปฏิเสธ อัยการไอซีซียังไม่สามารถเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้นได้ นอกจากอัยการจะได้รับความเห็นชอบจากองค์คณะผู้พิพากษาไอซีซีสามคนเสียก่อน หากไม่มีความเห็นชอบดังกล่าว อัยการสามารถเปิดทำการตรวจสอบเบื้องต้นได้เท่านั้น
โดยสรุปคือ การประกาศยอมรับอำนาจศาลไอซีซีของรัฐบาลภายใต้มาตรา 12.3 เป็นเพียงการเปิดประตูให้กับกระบวนการการพูดคุยอย่างต่อเนื่องระหว่างประเทศไทยและไอซีซีเท่านั้น มันเป็นเพียงแค่การเริ่มต้น ไม่ใช่จุดจบ

คำถาม: อะไรคือการตรวจสอบเบื้องต้น?
คำตอบ: การตรวจสอบเบื้องต้นคือก้าวแรกที่ออกแบบมาเพื่อกำหนดว่าอัยการไอซีซีควรขอความเห็นชอบจากผู้พิพากษาไอซีซีก่อนว่าจะเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้นหรือไม่ ในการตรวจสอบเบื้องต้น อัยการไอซีซีสามารถพิจารณาติดตามความคืบหน้าการสอบสวนและการดำเนินคดีในประเทศไทย อัยการสามารถทำการไต่สวนอย่างจำกัดว่าอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นจริงหรือไม่ การตรวจสอบเบื้องต้นจะไม่แทรกแซงการสอบสวนหรือดำเนินคดีอาชญากรรมในประเทศไทย กระบวนการในไทยสามารถเดินหน้าไปได้ในเวลาเดียวกัน

คำถาม: หากรัฐบาลไทยประกาศยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของศาลไอซีซี อัยการจะเปิดการตรวจสอบเบื้องต้นหรือไม่?
คำตอบ: อัยการจะต้องเป็นผู้ตัดสินเอง อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของศาลไอซีซี เราเข้าใจว่าอัยการจะเปิดการตรวจสอบเบื้องต้นต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่กล่าวอ้างอันเกิดขึ้นในปี 2553

คำถาม: อัยการไอซีซีสามารถทำอะไรได้บ้างในการตรวจสอบเบื้องต้น?
คำตอบ: อัยการสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งให้อัยการโดยสมัครใจ อัยการสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมบนพื้นฐานของความสมัครใจจากรัฐบาลไทยหรือรัฐบาลต่างชาติ จากองค์กรสหประชาชาติ และจากองค์กรเอกชน หรือองค์กรรัฐบาลสากล นอกจากนี้ อัยการสามารถรับคำให้การที่เสนอให้โดยความสมัตรใจในกรุงเฮก และจากข้อมูลทั้งหมดนี้ อัยการสามารถตัดสินว่ามีหลักพื้นฐานอันสมเหตุสมผลที่จะเปิดการสอบสวนอย่างเต็มขั้นหรือไม่

คำถาม: อัยการไม่มีอำนาจทำอะไรในการตรวจสอบเบื้องต้น?
คำตอบ: ในการตรวจสอบเบื้องต้น อัยการไอซีซีไม่สามารถเรียกร้องให้รัฐบาลส่งตัวพยาน และไม่สามารถสัมภาษณ์หรือทำการสอบสวนในประเทศไทยได้ หากอัยการเชื่อว่า การกระทำดังกล่าวมีความจำเป็น อัยการต้องแจ้งให้ประเทศไทยทราบและขอความเห็นชอบจากผู้พิพากษาไอซีซีให้เปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้นตามที่อธิบายในข้างต้น

คำถาม:การตรวจสอบเบื้องต้นใช้เวลานานเท่าไร?
คำตอบ: ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน อาจใช้เวลาหลายเดือน หากอัยการไอซีซีตัดสินว่าจะให้รัฐไทยทำการสอบสวนดังกล่าวเอง อาจต้องใช้เวลาหลายปี

คำถาม: เป็นไปได้หรือไม่ที่อัยการไอซีซีอาจไม่ร้องขอให้เปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น?
คำตอบ: เป็นไปได้ หากเกิดความยุติธรรมขึ้นในประเทศไทยแล้ว เพราะไม่มีความจำเป็นที่อัยการไอซีซีจะต้องร้องขอให้มีการเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น

คำถาม: หากอัยการร้องขอให้เปิดการสอบสวนอย่างเต็มขั้น และสรุปว่ามีผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติขึ้น อัยการสามารถแจ้งข้อหาทางอาญาต่อบุคคลเหล่านั้นได้หรือไม่?
คำตอบ: ไม่ได้ ขั้นแรกเลยอัยการต้องขอความเห็นชอบจากผู้พิพากษาไอซีซีเสียก่อน ผู้ที่ถูกกล่าวหาและรัฐบาลไทยจะได้รับโอกาสชี้แจงและปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวต่อศาล หากผู้พิพากษาไอซีซีสามคนตัดสินว่าคำปฏิเสธนั้นฟังไม่ขึ้น พวกเขาสามารถอุทรณ์ต่อองค์คณะผู้พิพากษาอุทรณ์ไอซีซีห้าคนได้

คำถาม: หากผู้พิพาพากษาไอซีซีเห็นชอบให้อัยการแจ้งข้อหาได้ อัยการสามารถสั่งจับกุมบุคคลนั้นได้หรือไม่?
คำตอบ: ไม่ได้ มีเพียงผู้พิพากษาไอซีซีเท่านั้นที่สามารถสั่งให้จับกุมบุคคลที่ถูกกล่าวหาได้

คำถาม: หากผู้พิพากษาไอซีซีออกหมายจับ ประเทศไทยจะต้องจับกุมและส่งตัวบุคคลที่ถูกกล่าวหาให้ไอซีซีใช่หรือไม่?
คำตอบ: ใช่เพราะตามข้อตกลงทางตุลาการ โดยการประกาศว่าจะยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีต่อกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ประเทศไทยจึงยอมรับที่จะให้ความร่วมมือกับไอซีซี อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถูกจับกุมมีสิทธิที่จะโต้แย้งเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุมนั้นต่อศาลไทยเป็นลำดับแรก และหลังจากนั้นต่อผู้พิพากษาไอซีซี หลังจากที่เขาถูกส่งตัวไปยังกรุงเฮกแล้ว

คำถาม: การดำเนินคดีของไอซีซีจะเป็นไปอย่างยุติธรรมหรือไม่?
คำตอบ: มีความเป็นธรรม เพราะผู้พิพากษาไอซีซีเป็นผู้เชี่ยวชาญอิสระทางกฎหมายอาญาและกฎหมายระหว่างประเทศ เลือกโดยรัฐบาลจากประเทศมากกว่า 120 ประเทศที่เป็นภาคีกับไอซีซี ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะแก้ต่างต่อศาลไอซีซีโดยใช้ทนายของตนเอง และจะได้รับความเป็นธรรมในสิทธิการพิจารณาคดีซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศให้การยอมรับ ผู้ถูกกล่าวหาทุกรายจะถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ พวกเขาจะไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิดได้นอกจากจะมีการพิสูจน์ว่าพวกเขากระทำผิดอย่างแน่แท้ และหากถูกตัดสินว่ามีความผิด ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิที่จะอุทรณ์ต่อองค์คณะผู้พิพากษาอุทรณ์ไอซีซีห้าคน

คำถาม: รัฐบาลไทยต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์หรือรัฐสภาเพื่อที่จะประกาศยอมรับอำนาจพิจารณาของไอซีซีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี 2553 หรือไม่?
คำตอบ: ไม่จำเป็นเพราะภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญไทยระบุว่า การลงนามในสนธิสัญญาทุกอย่างต้องได้รัความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์ และการลงนามในสนธิสัญญาบางประเภทต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา อย่างไรก็ตาม การประกาศยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของรัฐบาลไทยในกรณีชั่วคราวตามมาตรา 12.3 แห่งธรรมนูญกรุงโรมไม่ใช่สนธิสัญญา ตามคำนิยามคือ สนธิสัญญาเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสัญญาสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายระหว่างประเทศไทยกับคู่สัญญาหรือคณะสัญญาอื่น สนธิสัญญาจะมีผลทางกฎหมายต่อเมื่อหลังจากที่บุคคลอย่างน้อยสองฝ่ายตกลงที่จะยอมรับข้อผูกพันธ์ทางกฎหมาย
ในทางตรงข้าม การประกาศตามมาตรา 12.3 เป็นการกระทำฝ่ายเดียวโดยประเทศไทย การประกาศมีผลทางกฎหมายทันทีเมื่อประเทศไทยประกาศแจ้งต่อไอซีซี ไม่จำเป็นต้องได้รับการตอบตกลงจากไอซีซีเพื่อให้การกระทำดังกล่าวมีผลทางกฎหมาย คำประกาศไม่ใช่สัญญา แต่เป็นการกระทำใช้อำนาจทางอธิปไตยของประเทศไทย เนื่องจากไม่ใช่สนธิสัญญา จึงไม่ต้องดำเนินตามขั้นตอนในมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญไทย และไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์หรือรัฐสภา

คำถาม: การประกาศภายใต้มาตรา 12.3 จะทำให้มีการแก้ไขกฎหมายไทยฉบับใดหรือไม่?
คำตอบ: ยังไม่ต้องในขั้นตอนนี้ และบางทีอาจไม่จำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายฉบับใดเลยก็ได้ รัฐบาลสามารถยอมรับคำประกาศตามมาตรา 12.3โดยไม่ต้องออกกฎหมายใหม่ หากอัยการไอซีซีตัดสินใจที่จะเปิดการตรวจสอบเบื้องต้น และเราเชื่อว่าอัยการจะทำเช่นนั้น ในขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องมีการออกกฎหมายใหม่เช่นกัน แต่อาจต้องมีการการแก้ไขกฎหมายไทยบางฉบับเท่านั้นหากไอซีซีตัดสินใจที่จะเปิดการสอบสวนแบบเต็มขั้น ซึ่งอย่างอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายปีนับจากนี้ไป

คำถาม: ไอซีซีทำให้พระมหากษัตริย์ตกอยู่ในภัยอันตรายหรือไม่?
คำตอบ: ไม่ ไม่โอกาสที่ไอซีซีจะดำเนินคดีต่อพระมหากษัตริย์ได้เลย

Read more from โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลาวแซงไทยใช้4Gใครตัวถ่วงพัฒนาชาติ

ลาวเปิดใช้ 4G เทคโนโลยี Long Term Evolution เป็น 4G ระบบที่ 2 หลังจากรัฐวิสาหกิจลาวเทเลคอมทดลองเปิดให้บริการระบบ 4G WiMAX เมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว ในนครเวียงจันทน์
ข่าวดีของคนลาวที่ทำให้คนไทยปวดตับ

บ้านเรายังเถียงกันเรื่อง 3G ไม่จบ ยังไม่รู้อนาคตว่าจะได้ใช้เมื่อไร ทั้งที่เปิดประมูลแล้วและบริษัทที่ประมูลจ่ายเงินมัดจำไปแล้วครึ่งหนึ่ง

ลาวใช้ 3G มาหลายปีแล้ว และ 4G ที่เร็วกว่า 3G ถึง 5 เท่าจะขยายไปยังเมืองและแขวงทั่วประเทศภายในสิ้นปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้า

คงได้เห็นภาพหนุ่มสาวไทยไปนั่งริมโขงเพื่อแจมขอใช้ 4G ของเพื่อนบ้านซ้ำรอย 3G ที่เย็นลงมีคนไปนั่งกดโทรศัพท์แถวริมโขงจำนวนมาก

นั่นคือการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของเพื่อนบ้านอย่างลาวที่คนไทยเคยเย้ยหยันว่าด้อยกว่าเรา แต่กลับแซงรุดหน้าไปไกลจนทำให้คนไทยอายแทบแทรกแผ่นดิน

หันไปมองทางฝั่งพม่า ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ประกาศแผนพัฒนาประเทศระยะ 2 หลังปฏิรูปการเมือง เน้นพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อปากท้องประชาชน

ตั้งเป้าที่จะสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้เฉลี่ยร้อยละ 7.7 ต่อปี ตลอดระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป

พม่าเลิกทะเลาะกันทางการเมือง เลิกแย่งชิงอำนาจ หันมาจับมือกันพัฒนาประเทศเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

แม้แต่กัมพูชาก็มุ่งพัฒนาประเทศทุกด้านเพื่อนำความอยู่ดีมีสุขมาให้ประชาชน และหากขุดน้ำมัน ก๊าซ ที่มีอยู่มากมายขึ้นมาใช้ได้เมื่อไร

เชื่อได้ว่าจะพัฒนาไปได้อีกไกล มีโอกาสแซงหน้าไทยได้ไม่ยาก
ขณะที่เวียดนามซึ่งเคยด้อยกว่าไทย แต่วันนี้พัฒนาตัวเองขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับไทยเกือบทุกด้าน
ทุกประเทศรีบแต่งตัวพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558

นับจากวันนี้เหลืออีกแค่ 2 ปี แล้วไทยกำลังทำอะไร
ประเทศไทยหยุดชะงักมานานกว่า 6 ปี หลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 วนเวียนอยู่กับการประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ไม่ถูกใจผู้มีบารมี มีอำนาจนอกระบบ
ขับไล่ทุกวิถีทางโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ ไม่สนใจกฎหมาย จริยธรรม คุณธรรม
ขอเพียงไล่รัฐบาลที่ประชาชนเลือกมาให้พ้นจากอำนาจได้อะไรก็ยอมทำ แล้วใช้อำนาจพิเศษคอยให้การช่วยเหลือกันภายหลังในเรื่องคดีความ

ดังที่เห็นว่าถึงวันนี้ยังไม่มีใครติดคุกจากการปิดสนามบิน ยึดทำเนียบรัฐบาล ปิดล้อมรัฐสภาเพื่อไม่ให้ตัวแทนประชาชนได้ทำหน้าที่

เสียเวลาพัฒนาประเทศไป 6 ปี จนประเทศเพื่อนบ้านที่เคยล้าหลังกว่าไทยพัฒนาไล่หลังขึ้นมาในบางเรื่อง

พัฒนาขึ้นมาเท่าเทียมในบางด้าน และล้ำหน้ากว่าไทยไปหลายด้าน
กัมพูชา เวียดนาม ลาว พัฒนาประเทศได้เพราะการเมืองนิ่ง ไม่มีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ไม่มีอำนาจพิเศษ ผู้มีบารมีนอกระบบ แทรกแซงการตัดสินใจของประชาชนเลือกตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่

พม่าก็คิดได้ว่าหากยังขัดแย้งกันอยู่จะกลายเป็นประเทศล้าหลังที่สุดในโลก 2 ฝ่ายที่เคยขัดแข้งขัดขา แย่งชิงอำนาจ ก็หันมาจับมือปฏิรูปการเมืองแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่มีใครได้คืบเอาศอก ได้ศอกเอาวา
ทำให้ประเทศกำลังพัฒนารุดหน้าไปทุกด้าน

แต่ไทยกลับหยุดนิ่ง เพราะมีคนคอยขัดแข้งขัดขารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไม่ให้ทำงานได้ตามนโยบายที่ประกาศไว้
ค้านทุกเรื่อง ขัดขวางทุกนโยบาย

วันนี้การเมืองก็วนมาสู่จุดเดิมคือ ปลุกม็อบขึ้นมาขับไล่รัฐบาล มีเป้าหมายแช่แข็งประเทศ 5 ปี ให้พวกตัวเองเข้ามาวางกฎกติกาใหม่ตามที่ต้องการที่สุดโต่งยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
คนกลุ่มนี้ไม่สนใจว่าโลกจะพัฒนาไปไกลแค่ไหน

ไม่เคยหันมามองว่าเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เวียดนาม พม่า ลาว พัฒนาตัวเองขึ้นมามากเพียงใด
ไม่สนใจว่าไทยจะเป็นตัวถ่วงของอาเซียนหลังการรวมกลุ่ม AEC ในปี 2558 หรือไม่ จะเสียโอกาสเก็บเกี่ยวผลประโยน์จากการรวมกลุ่ม AEC อย่างไร

ผู้มีอำนาจทั้งหลายอาจไม่แคร์ เพราะอยู่บนกองเงินกองทอง ไม่ได้รับผลกระทบอะไร แต่ควรเห็นใจประชาชนที่จะได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิต

วันนี้ฉุดประเทศหยุดอยู่กับที่จนลาวแซงหน้ามี 4G ใช้แล้ว
ถ้ายังไม่กลับใจเลิกก่อม็อบ เลิกใช้อำนาจนอกระบบ แล้วหันมาตรวจสอบกันตามระบบ ตามกติกา
ในอนาคตข้างหน้าคนไทยต้องอับอายขายหน้ายิ่งกว่าถูกลาวแซงหน้าใช้ 4G

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หนุนตีความคุณสมบัติ วราเทพ !!?

จากกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความคุณสมบัตินายวราเทพ รัตนากร ที่อาจขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีเพราะถูกศาลสั่งจำคุกแต่ให้รอลงอาญา 2 ปี ในคดีหวยบนดิน

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า เรื่องแง่มุมกฎหมายคิดเห็นต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าจะส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความก็ส่งได้ ไม่ควรวิจารณ์ให้สังคมสับสน

“นักกฎหมายมีมุมมองต่างกันเป็นเรื่องปรกติ ควรให้ศาลตัดสิน คนอื่นอาจมองว่านายวราเทพขาดคุณสมบัติ แต่ผมมองว่าไม่ขาด ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่าอาจส่งผลให้ยุบพรรคเพื่อไทยได้นั้นก็พูดไปเรื่อย เพราะจ้องแต่จะยุบพรรค”
ที่บ้านพักย่านซอยวัชรพลของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง มีคนเสื้อแดงจากจังหวัดพิษณุโลกเดินทางมาให้กำลังใจที่พลาดจากเก้าอี้รัฐมนตรี

นายบุญเลิศ เรืองทิม ตัวแทนคนเสื้อแดง กล่าวว่า การที่นายจตุพรไม่ได้ตำแหน่งทำให้คนเสื้อแดงมีความรู้สึกบ้างเพราะร่วมต่อสู้กันมา อย่างไรก็ตาม ถึงไม่มีตำแหน่งแต่ก็ได้ใจคนเสื้อแดง
ด้านนายจตุพรกล่าวกับผู้มาให้กำลังใจว่า อยากให้ทุกคนลืมเรื่องนี้ เพราะไม่ได้ต้องการตำแหน่งอะไรนอกจากการเป็นคนเสื้อแดง

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์นิตยสารฟอร์บส์ว่า ได้รับทรัพย์สินที่ถูกอายัด 30,703 ล้านบาทคืนแล้ว ซึ่งช่วยเพิ่มความมั่งคั่งให้ได้เป็นอย่างมาก

“ผมยังมีชีวิตอยู่เพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรม และต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ขาดความถูกต้องชอบธรรม ผมได้พูดคุยกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สัปดาห์ละหลายครั้ง ส่วนมากเป็นการคุยเรื่องภายในครอบครัว ส่วนเรื่องงานหากมีประเด็นร้อนจะคุยกันบ่อยขึ้น เพราะผมรู้จักผู้คน รู้กฎหมาย และรู้เรื่องระหว่างประเทศมากกว่า น้องของผมยังใหม่ต่อเรื่องเหล่านี้ และเมื่อใดก็ตามที่เธอโทรศัพท์มาหาเพื่อขอคำแนะนำ ผมก็สามารถช่วยเธอได้ในทันที” พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวและว่า ได้ให้คำปรึกษาด้านนโยบายหลายเรื่องที่รัฐบาลไทยนำไปใช้ในขณะนี้

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขรก.ท้องถินชวดปรับ 15,000 รัฐถังแตก / อบต. เทศบาล ฝุ่นตลบหางบ ฯ พัฒนาพื้นที่ !!?

ข้าราชการส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศรอรับประทานแห้วเงิน 1.5 หมื่น บาท หึ่ง!รัฐบาลไม่มีจ่าย หลังยอดสูงถึง 6,200 ล้านบาท เผยผู้บริหารท้องถิ่น วิ่งเต้นหางบฯลงพื้นที่ ถึงกับ “กลืนเลือด” ยอมจ่าย “แป๊ะเจี๊ยะ” อ้อนรัฐโอนเงินส่วนปรับเพิ่มมาให้ด่วน ขู่คุยไม่รู้เรื่องล้มกระดานทันที ด้านรองอธิบดีกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นระบุ อปท.เกือบทั่วประเทศใช้จ่ายงบฯประจำเกิน 40% เผยงบปีี56 ท้องถิ่นเล่นกลซุกยอดเงินเพื่อให้ดูเพิ่มขึ้น

ขณะนี้ได้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นและพนักงานจ้างท้องถิ่นทั่วประเทศ กรณีรัฐบาลมีนโยบาย ปรับเพิ่มค่าตอบแทนให้กับข้าราชการ และพนักงาน จำนวน 15,000 บาทในกรณีบุคคลมีวุฒิปริญญาตรี และ 9,000 บาท กรณีวุฒิประกาศนียบัตรชั้นสูง(ปวส.)นั้น แม้ว่าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะมีมติเมื่อวันที่ 4 ก.ย.55 เห็นชอบในหลักการให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันข้าราชการท้องถิ่นก็ยังไม่ได้รับเงินแม้แต่แห่งเดียว

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นางเลื่อมใส ใจแจ้ง กรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น(ก.ถ.) กล่าวว่า ก.ถ.มีมติให้มีการปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการส่วนท้องถิ่นใหม่แล้ว โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 11 ธ.ค.51 อันเป็นวันเดียวกับที่ข้าราชการพลเรือนมีการเปลี่ยนจากระบบซีไปเป็นระบบแท่งเงินเดือน แต่ก็มีกรรมการ ก.ถ.หลายคนเป็นห่วงว่าจะกระทบกับฐานะการคลังของท้องถิ่น และไม่รู้ว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายชดเชยให้

นายวีรวัฒน์ ภักตรนิกร นายกเทศมนตรีเมืองยโสธร ประธานสันนิบาตเทศบาลภาคอีสาน กล่าวว่า หากรัฐบาลคุยกันไม่รู้เรื่องก็จะล้มกระดานทันที เพราะรับปากมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบันท้องถิ่นเดือดร้อนอย่างหนัก จึงอยากให้เข้าใจท้องถิ่นด้วย

ด้านนายศักดิพงศ์ ธรรมอาชวกุล ปลัดเทศบาลตำบลบางงา อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ในฐานะประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีใครได้รับเงินที่รัฐบาลรับปากว่าจะดำเนินการจ่ายให้ โดยเทศบาลตำบลบางงา ก็ทำยอดสรุปส่งไปให้ส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไป ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะหาเงินที่ไหนมาให้ เพราะยอดเงินต่าง ๆ ได้ถูกวางแผนไว้หมดแล้ว่าจะนำไปใช้จ่ายอะไร

“ปัจจุบันผู้บริหารท้องถิ่นหลายแห่งต้องวิ่งเต้นงบประมาณ และก็มีการตกลงกันว่าต้องมีเงินทอน หากรับได้ก็นำงบไปพัฒนาพื้นที่ได้ แต่หากรับไม่ได้ก็ไม่ได้เงินในโครงการดังกล่าว เพราะมีท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่สามารถรับเงื่อนไขได้ หากผู้บริหารท้องถิ่นไม่ทำอย่างนั้นก็จะไม่มีเงินมาพัฒนาพื้นที่ ไม่มีผลงาน ชาวบ้านก็จะว่าเอาได้ ดังนั้นจึงขอร้องให้รัฐบาลโอนเงินในส่วนการปรับเพิ่มมาให้ท้องถิ่นด้วย เพราะท้องถิ่นทั่วประเทศรออยู่”นายศักดิพงศ์ กล่าว

ขณะที่นายสมศักดิ์ ปะริสุทโธ เหมทานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นให้ข้อมูลในการประชุม ก.ถ.เมื่อวันที่ 18 ต.ค.55 ว่า ปัจจุบันท้องถิ่นใช้จ่ายเงินในหมวดเงินเดือน และรายจ่ายประจำเกินกว่าที่ พ.ร.บ.การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดคือเกินกว่าร้อยละ 40 เกือบทั่วประเทศ มีเพียง 3 จังหวัดที่ไม่เกินนั่นคือ ภูเก็ต ระนอง และระยอง ทำให้กระทบกับฐานการคลังของท้องถิ่นทั่วประเทศ

ทั้งนี้ยอดเงินที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(สถ.)สำรวจในเบื้องต้นเพื่อจ่ายเงินให้กับท้องถิ่นในกรณีดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น 6,200 ล้านบาท ถือเป็นยอดเงินที่สูงมาก ทำให้เป็นภาระแก่รัฐบาลจนเกิดวิตกกังวลว่ารัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาจ่ายให้ สุดท้ายคนท้องถิ่นทั้งเทศบาล และ อบต.กว่า 1 พันคนก็บุกล้อมรัฐบาลเมื่อวันที่ 4 ก.ย.55 ที่ผ่านมา เพื่อกดดันให้รับบาลเร่งจัดสรรเงินยอดดังกล่าวมาให้ท้องถิ่น

สำหรับ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 กำหนดให้รัฐบาลจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลเป็นร้อยละ 27.27 หรือจำนวน 572,670 ล้านบาท โดยเป็นรายได้ของ อปท. ทั้งที่จัดเก็บเองและรัฐบาลจัดเก็บให้และแบ่งให้ จำนวน 336,170 ล้านบาท และจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. จำนวน 236,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ที่ได้รับการจัดสรร 221,091.8 ล้านบาท เป็นจำนวน 15,408.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0

“เมื่อดูผิวเผินแล้ว งบประมาณของท้องถิ่นก็ไม่น่ามีอะไรที่ไม่เป็นธรรม เพราะมีการจัดสรรเพิ่มขึ้นให้ทุกปี เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.การกระจายอำนาจฯ แต่เมื่อพลิกเข้าไปดูรายละเอียดแล้วกลับพบว่า มีการซ่อนซุกตัวเลขไว้ ทำให้มีตัวเลขเหมือนจะมาก แต่เม็ดเงินจริง ๆ แล้วได้ไม่เท่าไหร่”

ทั้งนี้ การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อบจ. เทศบาล และ อบต. นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.เงินอุดหนุนทั่วไป และ 2. เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดย เงินอุดหนุนทั่วไป ได้ 104,444.85 ล้านบาท เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ได้114,594.89 ล้านบาท ซึ่งเงินอุดหนุนทั่วไป ยังแบ่งเป็น เงินอุดหนุนตามหน้าที่ 61,635.16 ล้านบาท และเงินอุดหนุนตามภารกิจ 42,809.69 ล้านบาท

โดยเงินอุดหนุนทั่วไป แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 จำนวน 61,635.16 ล้านบาท จัดสรรเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. โดยคิดจากค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานของ อปท. สำหรับ ส่วนที่ 2 จำนวน 42,809.69 ล้านบาท จัดสรรเพื่อดาเนินการตามภารกิจถ่ายโอน และการส่งเสริมการจัด เช่นการศึกษา บริการสาธารณสุข อาหารเสริม (นม) อาหารกลางวัน บริหารสนามกีฬา และสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

ขณะที่เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน 114,594.89 ล้านบาท ใช้จ่ายในเรื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสถานีสูบน้ำถ่ายโอนบุคลากร และค่ารักษาพยาบาล ทำให้ดูเหมือนว่าท้องถิ่นมีเงินเยอะ แต่ข้อเท็จจริงต้องดำเนินการตามที่รัฐบาลกำหนดวไว้ทุกประการ

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ถอดรหัส : ครม.โฉมใหม่เปลี่ยนแกนอำนาจ บิ๊กเซอร์ไพรส์ ปู 3 !!?

ทุกช็อตความเคลื่อนไหว ในทางการเมือง ณ ห้วงเวลา นี้ ดูเหมือนจะพลุ่งพล่านขึ้นไป ทุกขณะ โดยเฉพาะการปรับคณะรัฐมนตรีชุด 3 ที่ผ่านไป หมาดๆ แม้ก่อนหน้านี้จะยื้อยุด กันอยู่พักใหญ่ ด้วยเงื่อนไข ที่ต้องรอให้ผ่านศึกอภิปราย ไม่ไว้วางใจไปก่อน แต่เอาเข้า จริง กลับมี “สัญญาณพิเศษ” ออกมาอย่างไม่ทันตั้งตัว

ซึ่งเกมกระชับอำนาจรัฐหนนี้ มีการปรับแผงกันล็อตใหญ่ถึง 20 เก้าอี้ มีทั้งรัฐมนตรี “แถว 2-แถว 3” ที่บางส่วนถูกสลับดอกย้ายข้ามห้วยไปกระทรวงอื่น ขณะที่พวก “ส่วนเกิน” ล้วนถูก “ปรับออก” ในทันควัน จะมีก็แค่ 16 เก้าอี้เสนาบดีที่ยัง คงเหนียวแน่น

ผ่านไป 5 เดือนเศษ...หลังสิ้นพฤษภา ป่าช้าแตก! ได้มีกระแสข่าวการปรับทัพใหญ่ “ครม.” กระเพื่อมไหวมาโดยตลอด เพื่อเปิดทางให้ “ผู้เล่นตัวจริง” จากบ้าน 111 เข้ามาแทนที่ แต่กระนั้นด้วย “จังหวะ” และ “เงื่อนไขทางการเมือง” ที่ยังไม่สุกงอม ทำให้การปรับใหญ่ถูกทอดเวลาออกไป จนถึงจุดที่รัฐบาลต้องเผชิญกับมรสุมรอบด้าน ทั้งเงื่อนไขปลุกระดม “ม็อบข้างถนน” ของฝ่ายจ้องล้มอำนาจรัฐ หรือแม้ แต่ “คิวซักฟอก” ที่กำลังขยับเข้ามาใกล้

พลันให้ทุกความเคลื่อนไหวในช่วงปลายฝนต้นหนาว ดูจะยิ่งหนาวยะเยือก! ท่ามกลาง “องคาพยพ” ที่คาดหมาย ว่า “ครม.ปู 3” อย่างไรก็ต้องปรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งตัวนายกฯ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ที่ต้องเผชิญกับแรงเสียดทานในรอบด้าน โดยเฉพาะ “คนกันเอง” ในมุ้งค่ายเพื่อไทย ที่กำลังกระชับวงล้อมเพื่อเข้า สู่ “เกมอำนาจ”

กระนั้นแม้ “ยิ่งลักษณ์” จะนำพารัฐนาวา ยังไม่ผ่านครึ่งเทอมดี แต่ก็ถือว่าเดิน มาไกลและราบรื่นเกินกว่าที่ “คอการเมือง” เคยตั้งธงวิพากษ์เอาไว้ เมื่อประจวบเหมาะ... ต่อรองเงื่อนไข อำนาจกับ “พี่ชาย” ได้อย่างลงตัว พลันให้ผู้นำหญิงตัดสินใจรื้อแผง ครม.ล็อตใหญ่ ทันที ซึ่งแผนปรับ “ครม.ปู 3” แบบสายฟ้าแลบหนนี้ ยังถูกตั้งข้อสังเกตว่า...ด้านหนึ่ง สะท้อนถึง “สัญญาณบีบ” เพื่อกระชับอำนาจของตัว “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ให้มากขึ้น อีกด้านหนึ่งก็เป็นการชิงปรับเพื่อ ลดน้ำหนักความชอบธรรมในการบี้ซักฟอก ของขั้วฝ่ายค้าน

“ครม.ปู 3” จึงถือว่าเป็นวาระการ เมืองที่มาได้ถูกที่ถูกเวลาอยู่ไม่น้อย เมื่อสังเคราะห์ความเป็นไปได้จากมรสุมทางการเมืองที่เริ่มตั้งเค้า และเตรียม “โหมโรง” เข้าใส่ทำเนียบไทยคู่ฟ้าในห้วงเวลานี้ การปรับแผงเสนาบดี นอกจากเป็น การ “ขยับตัวขุนพล” เพื่อรับศึกใหญ่รอบด้านแล้ว ยังเป็นการเสริมใยเหล็กให้แก่ รัฐนาวาในขวบปีที่ 2 ทั้งการรับมือกับ “มวลชนนอกสภา” ที่ออกมาเช็กเรตติ้งรอบใหม่ ตลอดทั้งการปิดเกมการเมืองใน สภา ที่รอจังหวะ “บดขยี้” รัฐบาลอย่างหนักหน่วง

เงื่อนไขเหล่านี้ ยิ่งดูสอดคล้องกันมากขึ้น แต่หากประเมินรอบด้านแล้ว จะเห็นว่าการดึงพวก “ตัวจริง” กลับมาสู่เวทีอำนาจอีกครานั้น ย่อมเลี่ยงไม่ได้กับ “เหตุผล” ที่ว่า...เพื่อชิงความได้เปรียบทาง การเมือง!!!

ทอดจังหวะต่อเนื่องไปถึงการเลือกตัว “หัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่” ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นวันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งล้วนแต่เป็นภาพสะท้อนที่ชวนให้ติดตาม โดยเฉพาะเมื่อมีความชัดเจนแล้วว่า “เจ้ากระทรวงคลองหลอด” และหัวหน้าพรรคคนใหม่ มีความเป็นไปได้ว่า “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” จะเข้ามาควบทั้ง 2 ตำแหน่ง เพราะหากมองในแง่ของตัวบุคคลแล้วดูจะเหมาะสมที่สุด เพราะมีความคล้ายกันระหว่าง “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” หัวหน้าคนเก่า เมื่อเทียบกับ “จารุพงศ์” จะเห็นได้ว่า ทั้งคู่ล้วนมีจุดแข็งอยู่ที่การวางตัวให้ดู “โลว์ โปรไฟล์”...ไม่โดดเด่นเกินหน้า “ผู้นำหญิง” จนกลายเป็น “เป้าล่อ” ให้ฝ่ายตรงข้ามเอามาเป็น “ชนวนถล่มรัฐบาล”

นอกจากเก้าอี้ “มท.1” และว่าที่หัวหน้าพรรคคนใหม่ ที่นายใหญ่ “จงใจ” จะทำให้ภาพของ “ปู 3” ออกมาในเฉดที่ดู “ไม่จัดจ้าน” เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว “เสี่ยอ้วน” ภูมิธรรม เวชยชัย ผอ.พรรคเพื่อไทย และในบทบาท “มือทำงาน” ทั้งใต้ดิน-บนดินของ “ทักษิณ” ก็คงไม่พลาดเก้าอี้ “มท.1” หรือแม้แต่หัวโขนเพื่อไทยคนใหม่ ตามที่มีแรงหนุนนำมาอย่างหนาแน่น

หากชี้ลึกลงไปในรายละเอียดแห่ง “วาระโยกย้าย” ผ่านตัวเสนาบดีใหม่ ซึ่งล้วนแต่สะท้อนให้เห็น “นัยยะสำคัญ” ที่ดูน่าสนใจยิ่ง แม้แต่กระทรวงมหาดไทยก็ยังมีเซอร์ไพรส์ให้ “จารุพงศ์” ได้ตกใจมิใช่น้อย...เพราะเมื่อฟ้าส่ง “จารุพงศ์” มาเป็นเจ้ากระทรวงมหาดไทย แล้วไยต้องส่ง “พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก” มานั่งประกบข้างในเก้าอี้ “มท.2” ด้วยเล่า...! เพราะทั้งคู่ต่างเป็น “ไม้เบื่อไม้เมา” กันมาตลอด เรียกว่า...ซดเกาเหลากันอยู่ทุกครั้งที่นั่งคู่กันในกระทรวงคมนาคม

ภาพเก่าๆ ในวันวาน...คงจะตามมาหลอกหลอน “2 รัฐมนตรี” ที่กลายเป็นคู่กัดคู่เก่า...ในกระทรวงใหม่ และอีกช็อตการเมืองที่เป็นไฮไลต์ นั่นคือการที่ “เดอะตู่” จตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง ชื่อหลุดจากโผ “ครม.ปู 3” ไปแบบมึนๆ งงๆ... แม้ “ตู่” จะวางตัวเป็น “องครักษ์พิทักษ์นาย” มาโดยตลอด ทั้งที่ก่อนนี้ก็มีชื่อปรากฏอยู่ในทุกโผ และมีคำมั่นจาก “คนแดนไกล” ว่าเหมาะสมที่จะขึ้นชั้นเป็นรัฐมนตรี แต่ที่สุด “ตู่” ก็ไร้ซึ่งรางวัลปลอบใจใดๆ

ว่ากันว่า เหตุที่ “ตู่” ไม่ได้เก้าอี้ใน ครม.ชุด 3 เป็นเพราะมี “แรงเสียดทาน” จากภายนอกเข้ามาอย่างหนัก กอปรกับคนในพรรคบางส่วน ก็ไม่อยากให้ “ตู่” เข้ามาเป็น “รัฐมนตรีสายล่อฟ้า” เพราะคนข้างบนไม่ชอบ กองทัพก็ไม่ปลื้ม!!!

ทว่า “ตู่” ยังได้รับคำหวานจาก “นาย ใหญ่” ที่ยกมาปลอบประโลมว่า...วันหน้าฟ้าใหม่ “ตู่” คงได้สมหวังบนเก้าอี้รัฐมนตรีอย่างแน่นอน... แน่นอนว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ “ตู่” วืดเก้าอี้รัฐมนตรี นั่นเพราะได้ถูกวางตัวให้ เป็น “ผู้นำมวลชน” ในการขับเคลื่อน “ม็อบเสื้อแดง” เพื่อเป็นผนังทองแดง-กำแพงเหล็กให้แก่รัฐบาลในยามวิกฤติ... หรือแม้แต่การวางตัว “ตู่” ให้เป็น “ไม้กันสุนัข” คอยสกัดเกมการเมืองข้างถนนของ “ฝ่ายจ้องล้มรัฐบาล”

เมื่อประเมินจากตัวบุคคลที่ติดโผ ครม.เที่ยวล่าสุด ก็ยังปรากฏชัดว่า ทั้งสาย วังบัวบานของ “เจ๊แดง” เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ...สายบ้านจันทร์ส่องหล้าของ “นายใหญ่-พี่สะใภ้” ตลอดจนทีม “บ้าน 111” ต่างเดินพาเหรดเข้ามาแบบยกแผงหรือแม้แต่ “ทีมงานไทยคู่ฟ้า” ข้างกายนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็มีชื่ออยู่ในโผแทบ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” รมช.กระทรวงคมนาคม ที่ถูกอัพเกรด...ขึ้น ชั้น “ว่าการคมนาคม” แม้จะถูกมองว่าเป็น “รัฐมนตรีที่โลกลืม” ซึ่งแม้แต่นักข่าวในรังนกกระจอกยังแทบไม่รู้จัก แต่ก็ถือเป็น “เด็กปั้น” ของ “นายหญิง” เพราะช่วงหลังมานี้ “ชัชชาติ” ถูกวางบทบาทสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “อภิโปรเจกต์” แก้ปัญหาจราจรใน กทม. หรือแม้แต่การยกให้เป็น “คีย์แมนคนสำคัญ” ในทีมบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล หรือพวกมือใหม่ป้ายแดงอย่าง “ประดิษฐ์ สินธวณรงค์” ที่โผล่มายึดเก้าอี้ รมว.กระทรวงสาธารณสุข ก็มีคอนเน็กชั่น โยงใยกับธุรกิจอสังหาฯ ยักษ์ใหญ่อย่าง “กลุ่มแสนสิริ” ที่มีบอสใหญ่ชื่อ “เศรษฐา ทวีสิน” และเป็นคนเดียวกับที่ปรากฏในกระแสข่าว “ว.5 โฟร์ซีซั่น”

ต่อมายังมี “ปลอดประสพ สุรัสวดี” ที่ถูกอัพเกรดจาก รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ขึ้นชั้นเป็นรองนายกฯ คุมเกมการ บริหารจัดการเมกะโปรเจกต์น้ำ ที่มีเม็ดเงิน ในมือหลายแสนล้านบาท เป็นไปตามบทบาทเด่น ที่เล่นเป็น “กันชน” กั้นแรงปะทะให้นายกฯ หญิง ตลอดขวบปีแรก

ยิ่งได้ประเมินจากโผเสนาบดีหน้าใหม่ ก็ยิ่งปรากฏชัดว่า “นารีขี่ม้าขาว” กำลังเดินเข้าไปสู่ “เกมกระชับอำนาจในมือ” ด้วยการเลือกใช้พวกที่อยู่ใต้อาณัติ และคนที่ไว้วางใจได้ เพื่อเอาไว้เป็น “ม้าใช้... ใกล้ตัว” ตามปรากฏการณ์...รื้อแผงทีมรัฐมนตรีหนนี้ ล้วนแต่เป็น “บิ๊กเซอร์ไพรส์...ปู 3” ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็คงเหมือนการเปลี่ยนแกนอำนาจใหม่ ที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ จะสามารถแสดงให้เห็นถึง “ภาวะผู้นำ” ที่มากขึ้น และยังเป็นการสร้างน้ำหนักให้กับตัวเองในเกม “เพาเวอร์เพลย์” รอบใหม่ ที่ยังคงเล่นกันอย่างหนักในมุ้งค่ายเพื่อไทย...และมีแนว โน้มจะแรงขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ใครอยากนั่งต้องทำใจไม่ต่างจาก เก้าอี้ดนตรี !!?



โดย พระพยอม กัลยาโณ

ภายหลังการปรับคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะปรับเล็กหรือปรับใหญ่ทุกครั้งจะได้ยินเสียงการทำใจของรัฐมนตรีที่ต้องหล่นเก้าอี้ และเสียงการยินดีปรีดาของรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งครั้งนี้ก็คงได้ยินเสียงที่ว่า

เมื่อเก้ารัฐมนตรีมีสถานะไม่ต่างจากเก้าอี้ดนตรี คนที่เข้ามานั่งก็ต้องทำใจ เดี๋ยวได้นั่งเดี๋ยวคนอื่นมาแย่งนั่ง เพราะเก้าอี้มีไม่พอกับคนที่อยากนั่ง แต่เมื่อใครได้ลองนั่งแล้วย่อมไม่อยากลุก อยากหยั่งรากให้ลึกจะได้ยึดเก้าอี้ไว้นานๆ ถึงแม้รู้อยู่ว่าควรเปิดโอกาสให้คนอื่นได้เข้ามานั่งบ้าง แต่ก็อย่างที่กล่าวนั่งแล้วก็ไม่อยากลุก

ในขณะที่บางคนก่อนหน้านั้นมีลุ้นว่าน่าจะได้นั่ง มีชื่อติดโผมาตลอด แต่สุดท้ายกลับไม่มีรายชื่อ แน่นอนความผิดหวังก็ต้องเกิด โดยเฉพาะคุณจตุพร พรหมพันธุ์ แต่เมื่อพอรู้ว่าไม่มีรายชื่อเป็นรัฐมนตรีใหม่ ทีแรกดูเหมือนว่าจะทำใจได้ แต่พอเห็นหางเครื่องเห็นกองเชียร์ที่เป็นพวกพ้องออกมาไถ่ถามถึงความเสียสละในการต่อสู้จนต้องติดคุกติดตะรางแต่กลับไม่ได้อะไร ก็อาจมีฉุนตามกองเชียร์บ้าง

การปรับ ครม. ครั้งนี้จะไม่ให้เกิดคลื่นหรือแรงกระเพื่อมในพรรคเพื่อไทยเลยก็คงไม่ใช่ เพราะโลกใบนี้ตราบใดที่คนเรายังมีอารมณ์อยากจะมี อยากจะเป็น ย่อมมีความรู้สึกสมหวังและผิดหวัง

ฉะนั้นอารมณ์เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับคนที่ได้รับตำแหน่งและไม่ได้รับตำแหน่งก็มี หรือชอบก็เชียร์ไม่ชอบก็ค้าน หรือไม่ก็ด่า หรืออีกพวกเฉยๆ ใครจะนั่งตรงไหนก็เฉยๆ เพราะไม่ได้ผลประโยชน์อะไรด้วย

อยากให้สิ่งเหล่านี้เตือนสติทุกคนไว้ว่า โลกใบนี้เป็นอนิจจัง ซึ่งในอนิจจังก็ยังมีแยกอีกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่น่ารัก กับน่าเกลียด อนิจจังที่น่าเกลียดก็คือ พออะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ตนเองไม่ชอบ แน่นอนย่อมจะต้องโกรธเคืองฉุนเฉียว

สิ่งที่อยากฝากไว้เป็นข้อคิดคือ เราอย่ายึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยคิดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการชุมนุมของคนเสื้อเหลืองมีความเหนียวแน่น มีความเป็นเอกภาพสูงมาก แต่สุดท้ายก็ต้องแตก ในขณะที่เสื้อแดงตอนนี้มีโอกาสมีรอยร้าวได้เช่นกัน และอาจปริแตกได้โดยมีเรื่องของเก้าอี้เป็นเหตุ

เจริญพร
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จารุพงศ์ เต็ง หน.พรรคเพื่อไทย ภูมิธรรม คั่วเลขาฯ

 
เพื่อไทยเตรียมเลือกคณะกรรมการบริหารพรรค "จารุพงศ์"เต็งหัวหน้าพรรค ด้าน"ภูมิธรรม"คั่วเก้าอี้เลขาฯ
รายงานข่าวจากพรรคเพื่อไทย เผยว่า การประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ แทนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคที่ลาออกไปนั้น ในวันที่ 30 ต.ค. โดยตำแหน่งที่สำคัญที่มีการจับตามอง เช่น ตำแหน่งหัวหน้าพรรคคาดว่าจะเป็น นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รักษาการเลขาธิการพรรค ที่มีสายสัมพันธ์อันดีทั้งพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาณ ณ ป้อมเพชร ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ตำแหน่งเลขาธิการพรรรค เป็นของนายภูมิธรรม เวชยชัย ที่มีสายสัมพันธ์อันดีทั้งพ.ต.ท.ทักษิณ และนส.ยิ่งลักษณ์ จะเข้ามาทำหน้าที่วางโครงสร้างและจัดระเบียบพรรคใหม่
 
ทั้งด้านการขยายฐานสมาชิกพรรคและการรุกคืบช่องทางสื่อสารโดยเฉพาะทางโลกไซเบอร์ ส่วนตำแหน่งโฆษกพรรค คาดว่าจะยังเป็นของนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ เหมือนเดิม แม้ก่อนหน้าจะมีแรงกระเพื่อมจากคนในพรรคสายที่ใกล้ชิดนส.ยิ่งลักษณ์ อยากให้มีการเปลี่ยนตัว แต่ก็ได้รับการทัดทานจากแกนนำคนใกล้ชิดพ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการให้ทำหน้าที่ต่อไป
รายงานข่าวเผยอีกว่า โครงสร้างพรรคใหม่ จะมีจำนวนกรรมการบริหารพรรคไม่เกิน29คน ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับพรรค และโครงสร้างนี้จะมีอัตรส่วนส.ส.น้อยมาก โดยจะไม่มีส.ส.เขต เข้าเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคเลย แต่จะมีอัตราส่วน รัฐมนตรีหรือส.ส.บัญชีรายชื่อ เข้ามาเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคบ้าง เนื่องจากมีการมองว่าหากเกิดอุบัติเหตุการเมืองต่อพรรคหรือกรรมการบริหารพรรค หากคนที่เป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ มีการปรับเปลี่ยน สามารถเลื่อนบุคคลที่อยู่ลำดับถัดไปขึ้นมาเป็นแทนได้ ซึ่งจะดีกว่าให้ส.ส.เขต มาเป็นหากเกิดอุบัติเหตุ ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งจะทำยุ่งยากมากกว่า
 
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
************************************************************************

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เสียงจากบ้าน (ฉายแสง) เขาต้องการคนพลิ้วไหว ไม่เอาคนแข็ง !!?


สัมภาษณ์พิเศษ
ท่ามกลางกระแสปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) กว่า 22 ตำแหน่ง

ทว่าในโผสุดท้าย ยังคงไร้รายชื่อของตระกูล "ฉายแสง" ที่ร่วมยืนเคียงคู่มาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พลังประชาชน กระทั่งพรรคเพื่อไทย

โดยเฉพาะพี่ชายคนโตอย่าง "จาตุรนต์ ฉายแสง" ที่เคยรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี, รมว.ศึกษาธิการ, รมว.ยุติธรรม 

ทั้งคนวงใน-วงนอก คอการเมืองอาจไม่มีใครเข้าใจเหตุผลได้ดีเท่า 
"ฐิติมา ฉายแสง" อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คนการเมืองในตระกูล

บรรทัดต่อจากนี้คือ คำตอบของน้องสาวแทนพี่ชาย ว่าทำไมตระกูลฉายแสงถึงตกหล่นจากบัญชีปรับใหญ่ "รัฐบาลตระกูลชินวัตร"



"ตระกูลฉายแสงไม่เคยวิ่งไปหา ผู้หลักผู้ใหญ่ คนบ้านเราเป็นอย่างนั้น ไม่เคยกระเสือกกระสนเหมือนคนอื่น"

"ฐิติมา" ยกตัวอย่างภาพอดีตสมัยใต้รั้วพรรคไทยรักไทยว่า ตระกูลฉายแสงจะรู้ว่าได้รับตำแหน่งก็ต่อเมื่อนาทีสุดท้ายทุกครั้ง

"มีครั้งหนึ่งนั่งกินกาแฟกันอยู่ที่บ้าน ขณะที่มีกระแสปรับ ครม. เคยถามพี่ว่าจะได้เป็นหรือไม่ แกก็หัวเราะแล้วบอกว่าไม่รู้เหมือนกัน พอถามว่าแล้วทำไมมานั่งเฉยอยู่ตรงนี้ ไม่ไปวิ่งหาผู้ใหญ่ เขาก็บอกกับเราอย่างเรียบ ๆ ว่า ก็เราไม่ได้เป็นแบบคนอื่น"

"ครั้งนี้มีคนบอกว่าจะให้นั่งกระทรวงศึกษาธิการ แต่อะไรก็ไม่แน่นอน จนถึงนาทีสุดท้ายก็ยังไม่รู้เลยว่า พี่ชายจะได้เป็นหรือไม่ มันก็เป็นอย่างนี้มาตลอด"

เธอวิเคราะห์เหตุผลคนในที่ตระกูลไม่ได้รับตำแหน่งครั้งนี้ อาจเป็นเพราะความแตกต่างในเรื่องความอยู่รอดของรัฐบาลกับหลักประชาธิปไตยของประเทศ

"พี่อ๋อยมีจุดยืนทางการเมืองสูง ท่านยึดมั่นว่าจะไม่สนใจเรื่องอะไรนอกจากแก้รัฐธรรมนูญ จะให้ไปเป็นตำแหน่งอะไรก็ขอไม่เป็นดีกว่า จะขอแสดงจุดยืนทางประชาธิปไตยอย่างนี้ เมื่อพี่อ๋อยเสนอตัวเองไปในลักษณะนั้น มันอาจจะไม่โดนใจผู้หลักผู้ใหญ่หลายคน อาจรู้สึกว่าชนเหลือเกิน ขณะที่สถานการณ์ต้องใช้ความประนีประนอมอ่อนนุ่ม"

"ท่านมีหลักว่า ตราบใดที่ประชาธิปไตยยังไม่สมบูรณ์ ความยั่งยืนมันไม่เกิด เมื่อยึดตรงนั้นจึงเข้าชนอย่างแรง เช่น ให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 ทันที ขณะที่ผู้ใหญ่บางคนปรึกษากันว่าทำแล้วอาจมีปัญหา จึงสรุปให้ประคับประคองยอมไปก่อน มันก็เลยไม่โดนใจ นับแต่นั้นก็เลยไม่มีตำแหน่งอะไร"

พรรคเพื่อไทยใช้ยุทธวิธตั้งคณะทำงาน หาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่สุดท้ายก็ยังไร้ชื่อ "จาตุรนต์" ในชุดทำงาน 11 อรหันต์

ฐิติมาตอบสั้น ๆ ว่า "ก็คนอื่นเขาอาจจะมีท่าทางประนีประนอมมาก แต่ท่านเชื่อมั่นมากว่าเรื่องแบบนี้ประนีประนอมไม่ได้"

เธอฉายภาพจุดยืนตระกูลฉายแสงอยู่ส่วนไหนในกระดานของตระกูลชินวัตร

"จาตุรนต์" เป็นนักการเมืองที่มีจุดเด่นเหมือนนักวิชาการ ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ที่ให้ข้อคิดเห็นกับใคร ๆ ได้ดี เป็นที่ยอมรับกับสังคมและประชาชนอย่างมาก ภาพลักษณ์นี้ท่านยังคงมีอยู่ตลอด

"เวลาพรรคต้องการความเห็น ก็ยังเกรงอกเกรงใจท่าน สมัยตอนที่เป็นสมาชิก 111 ก็ยังมีคนมาขอความเห็นตลอด แต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่แบบนั้น

พูดตรง ๆ ว่า สถานการณ์ตอนนี้รัฐบาลต้องการเอาตัวรอด ไม่ต้องการใช้ตัวชนหรืออะไร เพราะต้องการคนที่พลิ้วไหว แต่ไม่ต้องการคนแข็ง"

ขณะที่ "ฐิติมา" ยังคงทำงานในฐานะรองเลขาธิการรองนายกรัฐมนตรี (ด้านเศรษฐกิจ) ส่วน "วุฒิพงศ์ ฉายแสง" ทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์และบริหารทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำตะวันออก 9 จังหวัด เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (อยอ.)

"ดิฉันกับพี่โก้ (วุฒิพงศ์) พรรคก็ยังให้ความกรุณาบนพื้นฐานว่าเกรงใจพี่อ๋อย และเขาก็รู้กันว่า เรายังมีโอกาสที่จะได้กลับมาเป็น ส.ส.ให้พรรค ก็เลยให้ตำแหน่งทำงาน ให้ฝึกฝนฝีมือ เพื่อทำงานทางการเมืองต่อเนื่อง ส่วนพี่โก้ยังเป็นประธานประชุมบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก ก็อาจจะทำกันอยู่แค่นี้ก่อน"

"ฐิติมา" ขยายความ หากพี่ชายมีโอกาสได้รับตำแหน่ง พรรคต้องวิเคราะห์ว่า เก้าอี้ตัวไหนจะเหมาะสมที่สุดสำหรับเขา

"ที่มันเป็นแบบนี้ เขาคงคำนึงถึงว่าพี่อ๋อยเคยยิ่งใหญ่ การจะให้มาอยู่กระทรวงธรรมดามันอาจจะไม่เหมาะสม จะให้ไปดูกระทรวงศึกษาธิการ ดิฉันคิดว่าท่านน่าจะมีความสามารถมากกว่านั้น ดังนั้นจะให้ไปอยู่ตรงนั้นมันจะเสียของ"

"สำหรับพี่ชาย หากจะดำรงตำแหน่งต้องทำงานอะไรที่เป็นภาพใหญ่ ดูแล้วจะช่วยท่านนายกรัฐมนตรี และทำให้รัฐบาลโดดเด่น เพราะตอนนี้ภาพรัฐบาลเหมือนแค่ประคองตัวเท่านั้น ทั้งที่ยังมีโอกาสโดดเด่นอยู่ อาจเป็นเพราะขาดคนเข้ามาสร้างตรงนี้"

เธอยกตัวอย่าง "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" เป็นนักการเมืองในสายที่จะช่วยทำให้รัฐบาลโดดเด่นตามภาพที่วาดไว้

"ตอนนี้รัฐบาลมีแต่ท่านเฉลิมที่คอยพูดเรื่องการเมืองให้ แม้จะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ แต่ถ้าหากไม่มีท่านมาช่วยงานในสภามันก็ยุ่งเหมือนกัน ดังนั้นหากได้พี่ชายมาช่วย งานในสภาของรัฐบาลจะดีกว่านี้ เช่น ให้ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ท่านก็น่าจะทำงานภาคใต้ได้ดี เพราะมีคนยอมรับเยอะ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมั่นคงขึ้น"

ขณะที่ "ฐิติมา" ภายหลังทำหน้าที่โฆษกรัฐบาล สุดท้ายถูกเปลี่ยนสภาพนั่งเก้าอี้รองเลขาธิการรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ

"ตอนนี้ยังพอช่วยงานน้อง ๆ ส.ส.ในสภามีบทบาทเหมือนคุณครูให้คำแนะนำ ส.ส.หญิงในการลุกขึ้นอภิปรายในรัฐสภา ถ้าได้กลับมาเป็น ส.ส. ตระกูลฉายแสงก็ยังโดดเด่นได้"

เมื่อถามว่า ตระกูลฉายแสงมีแต้มเท่าไรในกระดานการเมืองตอนนี้ "ฐิติมา" ตอบก่อนหัวเราะตบท้ายว่า "ชั่วโมงนี้อาจไม่จำเป็นต้องมี แต่อีกเดี๋ยวก็จะมีก็ได้ ตราบใดที่พวกเรายังมีจุดยืนทางการเมืองแบบนี้"

"เรื่องแบบนี้รอได้ พวกเราอายุตอนนี้จะให้ทำงานการเมืองมากกว่านี้ก็พร้อมอยู่แล้ว แต่จังหวะของชีวิตคนมันก็ไม่ได้ลงล่องปล่องชิ้นเสมอไป หรือบางคนอาจจะคิดว่า เคยให้ไปแล้ว ไม่เห็นทำอะไรก็ได้"

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ม็อบไล่รัฐบาลจุดเริ่มต้นของจุดจบ !!?



ไม่เยอะแต่ก็ประมาทไม่ได้

การชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามและเครือข่าย เพื่อขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภายใต้สโลแกน “รวมพลคนทนไม่ไหว” แม้จะมีคนเข้าร่วมไม่มาก แต่ก็ไม่อยู่ในสถานะที่รัฐบาลจะประมาทได้
ขนาดระดับแกนนำต่อต้านเครือข่ายทักษิณ แถวสองแถวสามนัดชุมนุมยังมีคนออกมาร่วมระดับหนึ่ง
หากเป็นแกนนำต่อต้านแถวหนึ่งเป่านกหวีดชุมนุม ก็หลับตานึกภาพออกว่าจะมีคนเข้าร่วมมากกว่าหลายเท่า

แสดงให้เห็นชัดว่าเชื้อยังมี โหมเมื่อไรก็จุดติด เพียงแต่จะกล้าหรือเปล่า เพราะที่ผ่านมาต่างมีคดีความติดตัวยาวเป็นหางว่าว

ที่สำคัญคดีความเดินมาถึงจุดใกล้ส่งขึ้นศาล หากเคลื่อนไหวอะไรตอนนี้ก็เสี่ยง
ทั้งเสี่ยงถูกมองว่าเคลื่อนไหวเพื่อต่อรองทางคดี เคลื่อนไหวเพื่อให้อำนาจพิเศษสั่งล้มคดี
ที่สุดเลยคือเสี่ยงถูกเอาตัวไปกักขังในเรือนจำไม่ให้ประกันตัวฐานประพฤติตนเป็นตัวป่วนสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง

แต่อะไรก็ไม่แน่นอน

หากเห็นว่าสถานการณ์สุกงอมมากพอที่จะปั่นสถานการณ์เพื่อสร้างความชอบธรรมเพื่อให้อำนาจนอกระบบเข้ามาแทรกแซงได้ ก็อาจเสี่ยงลุกขึ้นมาทำสงครามครั้งสุดท้ายกันอีกครั้ง

ยิ่งในสภาวะคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทย และนายกฯยิ่งลักษณ์มองหน้ากันไม่สนิทแนบแน่นเหมือนเคย
นักรบแถวหน้าไม่ได้เหรียญกล้าหาญ ไม่ได้รับการเชิดชูเกียรติ ไม่ได้บำเหน็จศึก เครือข่ายทักษิณจึงอยู่ในสภาวะอ่อนแอที่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้

กางชื่อคนนำชุมนุมขับไล่รัฐบาลที่เปิดหน้าเล่นตอนนี้ก็ล้วนเป็นพวกขาเก่าเจ้าประจำที่ถูกส่งออกมาชิมลางหยั่งกระแส

ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ.อ้าย พล.อ.จำลอง บุญกระพือ พล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์ นายสมพจน์ ปิยะอุย น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ และ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์
ล้วนแต่แตกเหล่าแยกกอมาจากคนเสื้อเหลือง เสื้อหลากสี

เสธ.อ้ายยังเป็นประธานเตรียมทหารรุ่น 1 มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นเพื่อนร่วมรุ่น รวมถึงให้ความเคารพรัก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

เมื่อลากโยงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ทีละขั้ว ทีละกลุ่ม ก็พอต่อจิ๊กซอร์มองเห็นภาพกันได้ว่า ลิเกคณะเดิมกลับมาแสดง เพียงแต่คราวนี้เลือกส่งพระรองออกมาก่อน

เป็นคณะที่เคยขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กระเด็นตกอำนาจมาแล้ว จึงถือว่าไม่ธรรมดา ประมาทไม่ได้

เสธ.อ้ายประกาศชัดว่า หลังเบิกร่องชุมนุมนัดแรกไปแล้ว ภายใน 1 เดือนจะกลับมาใหม่
ชัดเจนว่าการจัดชุมนุมครั้งแรกนี้เป็นแค่การเผาหัว เรียกความรู้สึก เรียกบรรยากาศเก่าๆของฝ่ายต้านเครือข่ายทักษิณให้ตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้ง

อีก 1 เดือนจะกลับมาชุมนุมใหม่ หมายความว่าการชุมนุมจะเกิดขึ้นหลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์

หากพรรคประชาธิปัตย์ทำงานได้ตามเป้า การชุมนุมครั้งต่อไปเกรงว่าสนามม้านางเลิ้งที่จุคนได้ 25,000 คน จะไม่เพียงพอรองรับมวลชน

ถ้าขยายการชุมนุมออกมานอกสถานที่ได้ แสดงว่ามีคนมาร่วมมากขึ้น เมื่อมีคนมาร่วมมากขึ้น พวกที่แอบลุ้น แอบเชียร์ ก็คงได้เวลาเปิดหน้าเล่น

ที่เคยแอบอยู่ตามเสา ตามมุม ก็จะโผล่หน้าออกมาเดินปะปนอยู่กับม็อบ และขึ้นเวทีเรียกแขกในที่สุด
หากม็อบจุดติด แน่นอนว่าเสียงปฏิวัติย่อมดังกระหึ่ม

อย่าหวังว่าทหารจะถือปืนออกมาปราบปรามประชาชนเหมือนรัฐบาลที่แล้ว

แต่จะเป็นการออกมาหันกระบอกปืนจี้ให้รัฐบาลลงจากอำนาจ

ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ร.8 กับ ปรีดี พนมยงค์ !!?


คดีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2489 ผ่านมาแล้วถึง 60 กว่าปี แต่คดีนี้ยังเป็นปริศนาที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือลดความน่าเชื่อถือของนายปรีดี พนมยงค์ แม้กระทั่งปัจจุบันนี้

ตัวอย่างชัดเจนล่าสุดคือ หนังสือ “เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ” ของ “วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย” ที่พิมพ์จำหน่ายครั้งที่ 1 เดือนสิงหาคม 2553 และนำมาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นตอนๆในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ตั้งแต่ต้นปี 2555 โดยหนังสือเขียนพาดพิงเรื่องความขัดแย้งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลกับรัฐบาลนายปรีดีหลายเรื่อง ทั้งที่ในความจริงแล้วรัฐบาลมิได้มีข้อขัดแย้งใดๆเลย

ในบทที่ 23 หน้า 145 ของหนังสือเอกกษัตริย์ฯ กล่าวหาว่าคดีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นความไม่รับผิดชอบของรัฐบาลขณะนั้น ทั้งยังมีเจตนาที่จะให้เรื่องดังกล่าวเป็นช่องว่างทางประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจหาความกระจ่างใดๆได้  ซึ่งไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่รัฐบาลนายปรีดีจะกระทำเช่นนั้น

รัฐบาลพยายามปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังในอันที่จะแสดงความขาวกระจ่างในคดีนี้อย่างถึงที่สุด จึงได้ตั้งกรรมการสอบสวนการเสด็จสวรรคต ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอุทธรณ์ อธิบดีศาลอาญา อธิบดีกรมอัยการ ประธานพฤฒสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยให้อธิบดีกรมตำรวจนำพยานมาสอบสวนต่อหน้ากรรมการ และถ้ากรรมการประสงค์จะสอบสวนเพิ่มเติมก็ให้สอบถามได้

รายชื่อกรรมการยังมีเชื้อพระราชวงศ์ชั้นสูงร่วมอยู่ด้วยคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงศ์ บริพัฒน์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต
หลักฐานนี้แสดงให้เห็นความบริสุทธิ์ใจของนายปรีดีที่มิได้นำตนมาเกี่ยวข้องในคณะกรรมการชุดนี้เลย สิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ที่ราบรื่นเป็นประจักษ์อีกประการคือ หลังจากการประกาศสันติภาพเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดีในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้มีโทรเลขลงวันที่ 6 กันยายน 2488 กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนคร ซึ่งขณะนั้นพระองค์ประทับอยู่ที่โลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์

และพระองค์เสด็จนิวัติถึงพระนครเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2488 โดยพระราชพาหนะเครื่องบินพระที่นั่ง ยังความปลาบปลื้มปีติยินดีแก่พสกนิกรโดยถ้วนหน้า

ทันทีที่พระองค์เสด็จมาถึง นายปรีดีได้เข้าเฝ้าฯถวายคืนพระราชอำนาจทั้งหลายทั้งปวงให้พระองค์ ซึ่งได้ทรงบรรลุนิติภาวะแล้วตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2488 และภาระหน้าที่ของนายปรีดีในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก็สิ้นสุดลง ณ บัดนั้น

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่นายปรีดีได้ประพฤติปฏิบัติต่อเชื้อพระวงศ์มาโดยตลอด ทั้งก่อนและระหว่างสงครามนั้น ได้ปฏิบัติภารกิจหน้าที่ทั้งในฐานะหัวหน้าขบวนการเสรีไทย เพื่อรักษาเอกราชของชาติและปกป้องดูแลทุกข์สุขของพระราชวงศ์อย่างเต็มกำลังความสามารถ ล้วนเป็นประจักษ์พยานว่านายปรีดีมิได้มีจิตอกุศลคิดการร้ายใดๆต่อราชบัลลังก์แม้สักนิด

ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็ทรงมีน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยเมตตาต่อนายปรีดี ดังพระราชดำรัสที่ทรงมีต่อนายปรีดีเมื่อวันที่เสด็จนิวัติกลับเมืองไทยตอนหนึ่งว่า

ข้าพเจ้าขอขอบใจท่านเป็นอันมากที่ได้ปฏิบัติกรณียกิจแทนข้าพเจ้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อข้าพเจ้า และประเทศชาติ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้แสดงไมตรีจิตในคุณงามความดีของท่าน ที่ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ และช่วยบำรุงรักษาความเป็นเอกราชของชาติไว้”

ทั้งยังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯยกย่องนายปรีดีไว้ในตำแหน่ง “รัฐบุรุษอาวุโส” หลังจากที่เสด็จนิวัติถึงพระนครเพียง 3 วัน เพื่อให้มีหน้าที่รับปรึกษากิจราชการแผ่นดินเพื่อความวัฒนาถาวรของชาติสืบไป

ในหนังสือ “1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์” หม่อมราชวงศ์สายสวัสดี (คุณหน่อย) ธิดาของหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน์ ผู้เป็นพระเชษฐาของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เล่าว่า
“พ่อใช้เวลาเขียนหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวถึงร้อยกว่าหน้า พยายามอธิบายคดีกล่าวหาว่ามีการลอบปลงพระชนม์นี้ เป็นแผนการเมืองของฝ่ายตรงข้ามกับอาจารย์ปรีดี ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ และเผด็จการทหารที่จะทำลายปรีดีให้ได้โดยสิ้นเชิง แต่พ่อไม่ได้รับคำตอบใดๆทั้งสิ้น

เมื่อตาชิต (ชิต สิงหเสนี) ถูกประหารแล้ว ยายหนู (ชูเชื้อ สิงหเสนี) ได้รับหนังสือเชิญให้ไปพบเจ้าหน้าที่ที่ทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่าท่านนายกรัฐมนตรี (จอมพล ป.พิบูลสงคราม) สงสารว่ายายหนูตัวคนเดียว จะเลี้ยงดูลูกตั้ง 7 คนต่อไปได้อย่างไร ท่านจึงขอให้เงินช่วยเหลือเลี้ยงดูครอบครัวเดือนละ 2,000 บาท ในจดหมายที่มีมาถึงยายหนู ได้ให้คำอธิบายด้วยว่า ตาชิตเป็นผู้ที่ต้องรับภัยทางการเมือง”

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข \ คอลัมน์ เปิดฟ้าเปิดตา โดย ดอม ด่าน
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ตุลาการภิวัฒน์ ยุ่งตายห่ะ !!?



กิตติพิชญ์ ยิ่งวรการสุข สัมภาษณ์อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยที่ยังพูดถึง “ตุลาการภิวัฒน์” และ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ดังนี้

***********

มองปัญหาตุลาการภิวัฒน์ในเมืองไทยอย่างไร
ปัญหาตุลาการภิวัตน์ (ผมสะกดด้วย “ต.เต่า” ครับ) เป็นเรื่องน่าห่วง น่ากังวลยิ่ง ปัญหานี้อาจบานปลายไปจนถึงสถาบันศาลหรือตุลาการ อาจเกิดปัญหาเสื่อมศรัทธาเช่นหลายสถาบันของไทย
ตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 2549 มีการพูดถึงอำนาจ “ตุลาการภิวัฒน์” และองค์กรอิสระเข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการยุบพรรคการเมืองและลงโทษนักการเมือง อาจารย์มีความเห็นอย่างไร

การที่ตุลาการภิวัตน์หรือการที่ศาลกลายเป็นองค์กรที่ถูกใช้ให้ระงับปัญหาและความขัดแย้งเฉพาะหน้า คือการยุบพรรคการเมืองกับการกำจัดรัฐบาลนายสมัคร (สมัคร สุนทรเวช) และนายสมชาย (สมชาย วงษ์สวัสดิ์) นั้น คือสิ่งที่น่าวิตกอย่างที่กล่าวเรื่อง “เสื่อมศรัทธา” ข้างต้น สถาบันตุลาการหรือศาลถูกเชิดให้เป็น “คู่ชก” เป็นฝ่ายตรงข้ามกับขบวนการประชาชน แทนที่จะอยู่เหนือขึ้นไปจากความขัดแย้ง นี่อาจเป็นปัญหาทำนองเดียวกันที่มีการกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ให้สถาบันกษัตริย์และองค์พระมหากษัตริย์ถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งทางการเมืองนับตั้งแต่ก่อนและหลังรัฐประหาร 2549 ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก และไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ของชาติมาก่อน

ตุลาการภิวัฒน์มีผลกระทบกับหลักนิติรัฐและประชาธิปไตยอย่างไร คิดว่าจะทำให้นิติรัฐและนิติธรรมกลับมาเป็นเสาหลักของบ้านเมืองได้อย่างไร
ตุลาการภิวัตน์มีผลกระทบต่อนิติรัฐอย่างแน่นอน เพราะทำให้สถาบันศาลหรือสถาบันตุลาการเป็นเรื่องของตัวบุคคล กับเป็นเรื่องของคนที่เข้าไปนั่งประจำอยู่ในตำแหน่งนี้ หาใช่เป็นเรื่องของ “หลักการ” ไม่ การจะนำนิติธรรมหรือนิติรัฐกลับมาเป็น “เสาหลัก” ของบ้านเมืองได้ก็อยู่ที่ตัวสถาบันเอง และสถาบันอื่นๆที่ประกอบกันเป็นสถาบันหลักๆของชาติ พูดง่ายๆเงื่อนไขเหล่านี้อยู่ที่คนชั้นสูง อยู่ที่บรรดาอีลิต ชนชั้นนำหรือไฮโซทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง

บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบันถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่ากระทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง และยังขยายเขตอำนาจศาลจนพูดกันว่าเป็นการทำ “รัฐประหารโดยศาล”

จากเหตุการณ์การเมืองที่ผ่านมากว่า 10 ปีนั้น ศาลรัฐธรรมนูญถูกมองและถูกตำหนิว่าถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และเราอาจจะพูดได้ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า “รัฐประหารโดยศาล” เกิดขึ้นแล้ว นี่แหละที่จะทำให้ศาลขาดความศักดิ์สิทธิ์และขาดศรัทธา กลายเป็นว่าเกือบทุกสถาบันหลักๆของชาติได้เข้าไปร่วมตะลุมบอนในสนามยุทธ์ทางการเมืองกันหมดแล้ว จนอยากจะขอยืมคำอุทานเก่าแก่ของ ฯพณฯ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ (อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร) ที่ว่า “ยุ่งตายห่ะ” กลับมาใช้อีกครั้งครับ

ที่มีข้อเสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญหรือให้ศาลกลับไปให้อยู่ในกระบวนยุติธรรมปรกติ หรือสถาบันตุลาการควรเข้ามามีบทบาทกับการเมืองอย่างไร เช่น ศาลการเมืองหรือการปฏิรูปศาลเพื่อไม่ให้ถูกมองว่าสองมาตรฐาน อย่างการดำเนินคดีระหว่างคนเสื้อแดงกับแกนนำพันธมิตรฯ หรือกรณีมาตรา 112

เรื่องจะยุบหรือไม่ยุบศาลรัฐธรรมนูญนั้นผมคิดว่ายุบก็ได้ ไม่ยุบก็ดี ศาลรัฐธรรมนูญจะอยู่ได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่นั่งอยู่ในตำแหน่งนั้นนั่นแหละ แต่ที่อยากพูดต่อก็คือ เรื่องกฎหมายอาญา หรือกฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 ที่มีคดีฟ้องร้องเกิดขึ้นมากมายผิดปรกติ นับตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา

ขอขยายความว่า การที่กฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 มีปัญหามาก เพราะมีลักษณะที่ประหลาดพิสดารเป็นพิเศษประเทศเดียวในโลก คือใครก็ได้เดินไปที่สถานีตำรวจที่ไหนก็ได้ แล้วแจ้งความว่าใครคนไหนก็ได้ว่าหมิ่นสถาบัน คือเป็นเอกชนฟ้องร้องได้ทุกคน แทนที่จะเป็น “รัฐการ” หรือ “ราชการ” เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อันสำคัญในการพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์

ความพิสดารและอปรกตินี้มาจากการที่ฝ่ายเผด็จการทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ร่วมมือกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมทำการออกกฎหมายกำหนดไว้ในหมวดนี้เป็นความมั่นคงของชาติ

ดังนั้น เอกชนคนไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแทนของรัฐหรือของราช (ราชะหรือราชา) ก็ตาม ฟ้องร้องได้ และนี่เป็นเหตุผลที่พวกเรา รวมทั้งผมเองที่รวมกันเป็น “ครก.112” (คณะรณรงค์แก้มาตรา 112) จึงเห็นด้วยกับกลุ่มอาจารย์นิติราษฎร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าจะต้องแก้ตรงหมวดนี้

กล่าวโดยย่อ ถ้าต้องการประชาธิปไตยกับต้องการที่จะรักษาสถาบันกษัตริย์อย่างจริงจังให้เหมือนอย่างประเทศที่ศิวิไลซ์ อย่างสหราชอาณาจักรหรือยุโรปตะวันตก ไม่ใช่เพียงเอามาใช้ “โหน” เอามาใช้ “อ้าง” เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพรรคพวก ก็ต้องแก้กฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 และมาตราอื่นๆที่เกี่ยวข้อง หนทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีครับ

ประเทศไทยจะหลุดพ้นจากวิกฤตการเมืองอย่างไร เพราะทั้งพรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มพันธมิตรฯยังสร้างกระแสว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คือศูนย์กลางของปัญหา แม้แต่นายคณิต ณ นครเรียกร้องให้พ.ต.ท.ทักษิณเสียสละ

การเมืองของสยามประเทศของเราความขัดแย้งระหว่างคนเสื้อสีต่างๆนั้น รวมทั้งแนวร่วมกับตัวประกอบ เกิดขึ้นท่ามกลางความเกลียดชังหรือ hate ครับ นี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของสังคมไทย ต่างฝ่ายต่างเกลียดกัน และที่น่าประหลาดใจคือ เกือบ 6 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก 19 กันยายน ปี 2555 ก็ครบ 6 ปีแล้วที่ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ทำ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นรัฐประหารที่ล้มเหลวที่สุด

ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยหลายๆสียัง “ก้าวไม่พ้นทักษิณ” ดูได้จากเหตุการณ์คนเสื้อเหลืองประท้วงงานเสวนาที่ไทยทาวน์ แอลเอ/ฮอลลีวู้ด สหรัฐ

เราผ่านรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็แล้ว รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ ก็แล้ว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็แล้ว แต่กลับได้นายกรัฐมนตรี “ปูแดง” น้องสาวคุณทักษิณมาแทน

ดังนั้น ผมสงสัยว่าเกมการเมืองนี้จะยาวข้ามรัชสมัยแน่ๆ ฝ่ายไหนจะชนะ ผมเดาว่าฝ่ายไหนอดทน อึด สุขภาพจิต สุขภายกายแข็งแรง สั่งสมวิริยะบารมีไว้เพียงพอ เก็บแต้มไปเรื่อยๆ ฝ่ายนั้นก็จะชนะ “กาลเวลาไม่ปรานีใคร” หรอกครับ!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข  คอลัมน์ เวทีความคิด โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

***********************************************************************************

วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555

พลิกซีรี่ส์..ไซฟ่อนเงิน ฝ่ายล้มรัฐ ก้าวขาไม่ออก !!?

ดูท่าจะกลายเป็นหนังเรื่องยาว สำหรับซีรี่ส์ถล่มรัฐบาล ซึ่งเป็นไปตามคิวที่ “ฝ่ายต่อต้าน” ได้ปัดฝุ่นข้อมูล “ไซฟ่อนเงิน” 1.6 หมื่นล้านบาท ที่หวังให้เป็น “รหัสพิฆาต” ทางการเมือง.... ฟาดฟันใส่รัฐบาล 2

พลันให้ “ภตช.” หรือภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ นำเอา ข้อมูลที่ว่า...มีการยักย้ายถ่ายเทออกไปนอกประเทศ และขยายผลไปอีกว่า มีนักการเมืองไทย 30 ราย พากันไปเล่นกล ทางการเงินที่เกาะฮ่องกง โดยมีเจ๊ “ด” ผู้มากบารมีในรัฐบาล ที่เป็นตัวเดินเรื่อง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า “เจ๊ ด” ที่อ้างถึงนั้น...น่าจะหมายถึง “เจ๊แดง” เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ เจ้าแม่วังบัวบานแห่งพรรคเพื่อไทย

ด้าน “มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์” เลขาธิการ ภตช. ที่เป็นคน “จุดไฟ” ในเรื่องไซฟ่อนเงิน ในวงประชุมคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา แต่เมื่อถูกทวงถาม “ข้อเท็จจริง” จากทั้งคนในรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ก็มีแต่เสียงอ้ำอึ้ง...ไร้สัญญาณตอบรับใดๆ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเข้าสู่กระบวนการ ตรวจสอบอย่างเข้มข้น! ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ย้ำหัวตะปูถึง “ข้อมูลลวงโลก” ที่ไปสอดรับกับ “พ.ต.อ. สีหนาท ประยูรรัตน์” เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ได้ยืนยันอย่างหนักแน่น ว่า...ไม่มีมูลความจริง!!

เพราะเริ่มแรก “มงคลกิตติ์” บอกว่าได้ข้อมูลจากการไปประชุมกับเจ้าหน้าที่ ในคณะกรรมการอิสระเพื่อปราบปรามคอร์รัปชั่น (ไอซีเอซี) ของฮ่องกง แต่จากการให้ข่าวผ่านสื่อตลอดช่วงที่ผ่านมา เลขาธิการ ภตช.ยังให้ข้อมูลที่ดูคลาดเคลื่อนไป บ้างก็บอกว่าเป็น ปปง. หรือไม่ก็เป็น ป.ป.ช. แม้เรื่องชื่อหน่วยงาน อาจจะเรียกต่างกันไปได้ แต่พอ “ธีรพัฒน์ คำคูบอน” ผู้ที่ถูกอ้างว่าทำหน้าที่รักษาการประธาน ภตช.ได้ออกมาระบุชัดว่า “...ได้เดินทางไปดูงานตามคำเชิญของไอซีเอซีที่ฮ่องกงด้วย แต่ไปในฐานะประธานเครือข่ายอาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย”

เนื่องจากเป็นภาคีของไอซีเอซี และมีผลงานเข้าตา อันเนื่องมาจากการตรวจสอบการทุจริตการจัดซื้อครุภัณฑ์ของอาชีวศึกษามูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ที่เกิดขึ้นสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะรักษาการประธาน ภตช. ย้ำหัวตะปูว่า “ไอซีเอซี” ชวนไปดูงานและเยี่ยมชมตึก ฟังบรรยายโครงสร้างการทำงาน ปราบ คอร์รัปชั่น แต่...ไม่มีการประชุมใดๆ ทั้งสิ้น

ทั้งหมดทั้งปวง ยิ่งทำให้ “ภตช.” ที่ออกมากุข่าว หรือแม้แต่ “พรรคประชาธิปัตย์” ที่ขยายผล...เดอะซีรี่ส์ “ไซฟ่อนงบน้ำท่วม” ต่างเสียรังวัดไปตามๆ กัน

หลังเปิดซีรี่ส์ “ไซฟ่อนงบน้ำท่วม” ที่ ภตช.และฝ่ายค้านเอามาบลัฟใส่ “รัฐบาล” อย่างซึ่งหน้า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถือว่า “มีจุดตั้งต้น” เริ่มจาก “เว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์” ของ “เอกยุทธ อัญชันบุตร” ที่ถูกสังคมมองว่าเป็น “ฝ่ายจ้องล้มรัฐบาล” เช่นกัน

ทำให้ความน่าเชื่อถือใน “ข้อมูลดิสเครดิตรัฐบาล” ดูจะด้อยค่า...ไร้ราคาไปในทันที และยิ่งทำให้สังคมเชื่อว่า “ราย การเด็กเลี้ยงแกะ” ที่เผยแพร่ผ่านหลายเวที...เป็นแค่การสุมไฟทางการเมืองรอบ ใหม่ เพื่อปลุกกระแสต่อต้านรัฐบาลให้กลับมาลุกโชนขึ้นอีกครั้ง

ยิ่งมี “ข้อความ” จากคีย์แมนในซีกรัฐบาล ทั้ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ “เดอะเต้น” ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ที่ออกมาต่อจิ๊กซอว์ว่า...เจ้าของสมญา “หน้าแหลมฟันดำ” น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ (สนช.) และ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกลาโหม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังคอยชักใย “ภาคีเครือข่ายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ” และไม่ให้ราคากับองค์กรแห่งนี้

และเป็นการจับมือกัน 3 ฝ่ายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กอปรไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ทำหน้าที่ฝ่ายค้านเดินเกมทั้งในและนอกสภา มีกำลังหนุนเป็น “กลุ่ม 40 ส.ว.” ที่คอยสะกิดสะเการัฐบาล พร้อมทั้งยื่นตีความสารพัดโครงการเช่นเดียวกับฝ่ายค้าน และมี “ภตช.” ทำหน้าที่เปิดปมสร้างกระแสผ่านสื่อมวลชน

ในจังหวะส่งมุกต่อให้ “ก่อแก้ว พิกุลทอง” ส.ส.ค่ายเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ที่ออกมาแฉเบื้องหลัง “มงคลกิตติ์” พร้อมระบุว่า ภตช.มีคณะกรรมการบริหาร 15 คน โดยมี พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เป็นประธาน ซึ่ง พล.อ. กิตติศักดิ์ เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กทม.ในนามพรรคการเมืองใหม่ แต่ภายหลังขอถอนตัวการลงสมัคร เพราะมีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ขอให้ถอนตัวเกรงว่าจะตัดคะแนนกันเอง และ พล.อ. กิตติศักดิ์เคยร่วมกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ส่วนนายมงคล กิตติ์เป็นวิทยากรและแกนนำให้ความรู้กับกลุ่มพันธมิตรฯ ดังนั้น พล.อ.กิตติศักดิ์และนายมงคลกิตติ์เป็นคนเสื้อเหลือง รวมทั้งในเว็บไซต์ของ ภตช.ยังพบว่ามีชื่อของ น.ต.ประสงค์ เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของ ภตช.อีกด้วย

แถมยังมีคิว “ลากไส้ ภตช.” ต่อไปว่า เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาแบบ “อุปโลกน์” เพื่อตรวจสอบการคอร์รัปชั่น!!
ตามมาด้วยลีลาที่ “อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีประกาศตั้งโต๊ะรอรับ “เรื่องร้องเรียน” กรณีไซฟ่อนเงินที่ฮ่องกง เพื่อให้เลขาธิการ ภตช.มายื่นที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนส่งเรื่องต่อให้ “สารวัตรเหลิม”...ท้าบลัฟกันซึ่งหน้า หาก “มงคลกิตติ์” มาไม่ถูกก็ให้ “อี้-แทนคุณ จิตต์อิสระ” รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ที่สนิทสนมกันพามาก็ได้

“เชื่อมโยง” ให้ปรากฏภาพชัดขึ้นเรื่อยๆ !!!

พอ “รัฐบาล” และ “พรรคเพื่อไทย” เปิดปฏิบัติการ “ต้านสายล่อฟ้า” ...โต้กลับเป็นชุดๆ มุ่งทำลายน้ำหนักกันในที โยงให้เห็นไปถึงความสัมพันธ์ขั้นแนบ แน่นกับ “ม็อบพันธมิตรฯ” และพรรคประชาธิปัตย์ และใครบ้างที่เกี่ยวข้อง ชี้ให้ชัดไปเลยว่า... ภตช.ก็แค่ “เหล้าเก่าในขวดใหม่” ที่เฝ้ารอจังหวะ “ล้มกระดานรัฐบาล”

จะเห็นได้ว่า...ปรากฏการณ์ “ไซฟ่อนเงิน” ยังดูเป็นอะไรที่ก้ำกึ่งระหว่างฝ่ายหนึ่งที่มี “เจ๊ ด” ซึ่งมีเอี่ยวกับปมร้อนๆ ในรัฐนาวาเพื่อไทย กับอีกฝ่ายที่ “ร่วมหัวจมท้าย” ตั้งเป็นขบวนการที่คอยซุ่มอยู่เบื้องหลังเกมจ้องล้มรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” ในทุกช็อตการเมือง
ไขตามรหัสการเมืองร้อน!

เป้าหมายของการฉายเดอะซีรี่ส์ “ไซฟ่อนเงิน” ได้สัมพันธ์ไปพร้อมกับการขับเคลื่อน “ม็อบข้างถนน” ของ “เสธ.อ้าย” พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ที่เตรียม นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 28 ตุลาคมนี้

นี่เป็นแค่การวอร์มอัพ! ด้วยการทำ ให้ซีรี่ส์ “ไซฟ่อนงบน้ำท่วม” กลายเป็น “ชนวนล้มรัฐบาล” แต่จนแล้วจนรอด ข้อมูลถล่มรัฐบาลชิ้นนี้ก็มีอันต้องสะดุดขาตัวเอง...ล้มคว่ำ ไปก่อนเวลาอันสมควร ปมไซฟ่อนเงิน 1.6 หมื่นล้าน... จึงเป็นได้แค่ “นิทานเด็กเลี้ยงแกะ” เท่านั้นเอง!!

ที่มา.สยามธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++