เย็นวันที่ 26 ส.ค. ที่ผ่านมา แม้ฟ้าฝนจะไม่เป็นใจแต่คนที่รัก “อากง” นายอำพล ตั้งนพกุล ชายวัย 61 ปี อดีตผู้ต้องขังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และคนที่ไม่เห็นด้วยกับบทลงโทษที่หนักน่วงของกฎหมาย ต่างไปรวมตัวกันที่วัดลาดพร้าวเพื่อร่วมส่ง “อากง” เป็นครั้งสุดท้ายในพิธีฌาปนกิจศพ
การถูกจับดำเนินคดีของ “อากง” เป็นประเด็นฮือฮา
การถูกศาลสั่งจำคุก 20 ปี ก็เป็นประเด็นฮือฮา
การไม่ได้รับสิทธิประกันตัว ก็เป็นประเด็นฮือฮา
การเสียชีวิตหลังถูกจำคุกได้ไม่นานยิ่งเป็นประเด็นฮือฮา
คำถามคือ สังคมได้อะไรจากความ “ฮือฮา” ที่เกิดขึ้น
“อากง” ถูกตำรวจเข้าควบคุมตัวที่บ้านพักย่านสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2553 ด้วยข้อกล่าวหาใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัวพิมพ์ข้อความอันเป็นการจาบจ้วง ดูหมิ่นพระเกียรติยศ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระราชินี ส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น
เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2), (3) ฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลใดๆอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
คดีนี้ศาลตัดสินจำคุก “อากง” รวม 20 ปี จากความผิด 4 กระทง กระทงละ 5 ปี เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2554
ตลอดระยะเวลาของการต่อสู้คดี แม้ทนายความจะยื่นขอประกันตัวเพื่อออกมาต่อสู้คดีหลายครั้งแต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต
หลัง “อากง” เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2555 จากโรคมะเร็งตับ มีคำอธิบายจากนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ว่า
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 108 ที่ว่าด้วยการปล่อยตัวผู้ต้องหาเป็นการชั่วคราว จำเป็นต้องมีเหตุผลที่ชัดเจน และเพียงพอที่ศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวออกไปได้ ส่วนจะอนุญาตหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล และกว่าร้อยละ 93 ศาลจะอนุญาตให้ประกันตัว แต่ในกรณีของ “อากง” เป็นการเจ็บป่วยที่ไม่มีความชัดเจนในตอนที่แจ้งขอรับการประกันตัว จึงเป็นเหตุผลให้ศาลไม่อนุญาต
“ศาลเองก็รู้สึกไม่สบายใจ และเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับเป็นห่วงและไม่อยากให้ใครมาใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการทำลายฝ่ายตรงข้าม”
กรณีของ “อากง” ไม่ได้เป็นที่ฮือฮาเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต่างประเทศก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ยอมรับว่าสื่อต่างประเทศ เอ็นจีโอ องค์กรสิทธิมนุษยชน และสหภาพยุโรปหรืออียู ต่างให้ความสนใจในประเด็นนี้อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะเรื่องของการบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่ ซึ่งทีมทนายความของกลุ่มคนเสื้อแดงระบุว่า กรณีของอากงนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้อากงเดินทางไปศาลด้วยตนเองทุกครั้ง โดยไม่คิดหลบหนี แต่กับกรณีของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ที่มีความผิดในกรณีเดียวกันกลับได้รับการประกันตัวออกมา (ผู้จัดการออนไลน์ 16 พ.ค. 2555)
ประเด็นเรื่องมาตรา 112 เคยเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างมาก เมื่อคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ออกมาชี้ให้เห็นว่า กฎหมายนี้เกิดจากคณะรัฐประหารเมื่อปี 2519 จากนั้นมีการปรับปรุงเพิ่มโทษให้หนักมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผล และไม่สอดคล้องหลักการของกฎหมาย
ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์คือ ปรับปรุงกฎหมายให้มีความสมเหตุสมผล ทั้งเรื่องการคุ้มครองที่ต้องแยกสถานะราชวงศ์ไม่ใช่เหมารวม
ให้ลดอัตราโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท สำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ส่วนการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระราชินี รัชทายาท โทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 30,000 บาท ไม่กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ เพื่อเปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลยพินิจลงโทษตามสมควรแก่เหตุ
นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดเหตุยกเว้นความผิดและเหตุยกเว้นโทษ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการติชมโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
หรือหากพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริงก็ไม่ต้องรับโทษ
แต่ประเด็นการเสนอก้ไขมาตรา 112 ก็เหมือนกับไฟไหม้ฟาง ที่จุดติดพึ่บเดียวก็เหลือแต่เถ้าถ่าน
หลังคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ยื่นรายชื่อประชาชนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอแก้ไขกฎหมาย 26, 968 รายชื่อ เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2555 เรื่องก็เงียบหายไปตั้งแต่บัดนั้น
ไม่มีความคืบหน้า ไม่มีการดำเนินการต่อทั้งจากผู้ยื่นเสนอแก้ไข ผู้รับเรื่อง นักการเมือง พรรคการเมือง หรือแม้แต่กระแสของสังคมที่ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายก็หยุดลง
แม้วันที่เปลวไฟเผาไหม้ร่างไร้วิญญาณของ “อากง” ที่เมรุวัดลาดพร้าว ก็ไม่เป็นประเด็นให้ฮือฮาเหมือนแต่ก่อน
มีคนบอกว่ามาตรา 112 มีไว้กลั่นแกล้งกันทางการเมือง
หรือการเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ที่ผ่านมาเป็นแค่เรื่องทางการเมืองที่ไม่ได้ต้องการให้มีการปรับแก้เกิดขึ้นจริง
วันนี้ “อากง” ไปสูสุคติแล้ว
แต่มาตรา 112 ยังดำรงอยู่ และคงจะอยู่ต่อไปอย่างอมตะนิรันดร์กาล
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555
โภคิน พลกุล แก้ รธน.50 กลบ หลุมดำ การเมือง !!?
โดย : ประพันธ์ จินดาเลิศอุดมดี,สมฤทัย ทรัพย์สมบูรณ์
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 เป็น “ผลที่มาจากต้นไม้พิษ ย่อมต้องเป็นพิษ” จึงต้องกำจัด
แต่ฝ่ายค้านและฝ่ายตรงข้ามกลับมองว่า เพื่อไทยกำลังทำเพื่อตัวเอง การแก้รัฐธรรมนูญปี 50 จึงเป็นอีกสาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคม
โภคิน พลกุล มือกฎหมายจากพรรคเพื่อไทย เห็นว่า รัฐบาลต้องใช้ความอดทนในการทำความเข้าใจกับสังคมเพื่อให้ “หลุมดำ” การเมืองตื้นขึ้น
ผมชื่นชมนายกฯ ท่านอดทน ไม่ก้าวร้าว ไม่โต้ตอบ เราหยุดตรงนี้เสียก่อน ผมว่าสิ่งนี้ถูกต้อง" โภคิน เอ่ยถึงผู้นำรัฐบาล
ปัจจุบันโภคินเป็น ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นหนึ่งในมือกฎหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเขาเป็นอดีตรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง
โภคิน พูดถึงเรื่องระยะเวลาที่จะได้ข้อสรุปเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า "อย่าไปกำหนดล่วงหน้า เพราะอาจเกิดปัญหาตามมาเยอะ เอาเป็นว่าคณะทำงานจะเร่งรัดทำให้ดีที่สุด ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลตัดสินใจอย่างไรก็ว่ากันไป แต่พวกเราต้องทำให้เสร็จก่อน แต่ไม่ใช่ว่าไปตัดสินใจให้เขา ถือเป็นการนำเสนอทางเลือกที่ดี แต่ที่แน่ๆ ให้ฝ่ายอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยได้เข้าใจ"
"ถ้ารัฐบาลได้รับข้อเสนอต่างๆ แล้วเห็นว่าสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม ความเข้าใจต่างๆ ยังไม่ชัดเจน หากทำไปอาจเกิดปัญหา ก็รอดูเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ผมคิดว่าคนคงไม่ว่า แต่หากโหวตแล้วคนไม่เอา เรื่องจะยุ่ง เราหลงทางไปเยอะ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่รู้อะไรคือหลักหรือไม่ใช่หลัก อะไรคือถูกจริงหรือไม่ถูกจริง วันนี้ต้องกลับมาใหม่ ลดอารมณ์ความเกลียดชังต่างๆ ลงไป"
"วันนี้ไม่ใช่เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ปัญหานายสนธิ (ลิ้มทองกุล) แต่เป็นปัญหาที่สังคมตกหลุมดำ การใช้อารมณ์ทำให้หลุมดำขยายไปทุกวัน เราต้องหยุดแล้วถอย ไม่ใช้อารมณ์มาพูดกัน ต้องก้าวข้ามหลุมดำนี้"
"วันนี้ผมว่ารัฐบาลทำดีแล้ว แม้รัฐบาลถูกก็ไม่ดึงดัน ใช้เวลาหน่อย แม้จะเสียเปรียบเพราะมรดกของรัฐประหารที่พร้อมจะทำลายมีอีกเยอะ ไม่มีรัฐบาลไหนที่เดินและแก้ปัญหาให้ชาวบ้านยากขนาดนี้ แก้ปัญหาบ้านเมืองก็ยาก แล้วยังต้องระวังตัวด้วย เมื่อคนใช้อารมณ์มากๆ เราใช้อารมณ์ตามไม่ได้ แม้จะเจ็บ รู้สึกว่าบริหารคนไม่ได้ผล แต่ต้องอดทนและทำความเข้าใจ"
"ในความเห็นผม รัฐบาลแม้จะเจ็บปวด จะกัดฟันเท่าไหร่ก็ต้องทน เป็นวิธีเดียวเท่านั้น เมื่อผ่านช่วงนี้ไปได้หลุมดำก็จะตื้นขึ้น เราจะก้าวข้ามไปทันทีไม่ได้ แต่ทำให้หลุมมันตื้นขึ้นจนไม่มีหลุมได้ ส่วนจะใช้เวลานานหรือไม่นั้น ผมก็ตอบไม่ได้"
โภคิน พูดถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังคาอยู่ในสภาเพื่อรอลงมติวาระ 3 ว่า ถึงอย่างไรก็ต้องมีการโหวตวาระ 3 ส่วนจะโหวตให้ผ่านหรือโหวตให้ตก ก็ต้องดูสถานการณ์
ต่อข้อถามถึงการแก้ไขเนื้อหารัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะแก้มาตรา 68 เพื่อป้องกันไม่ให้มีการร้องศาลรัฐธรรมนูญก่อนโหวตวาระ 3 หรือไม่นั้น เขาบอกว่า ถึงตอนนี้มี 2 แนวคิด
"ส่วนหนึ่งบอกถ้าอะไรที่จำเป็นต้องแก้เพื่อให้เกิดความบาลานซ์ (สมดุล) ของ 3 อำนาจก็ควรต้องแก้ แต่อีกส่วนบอกว่าต้องระวัง เพราะอาจเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าแก้เพื่อตัวเอง หากจะมีการแก้รายมาตรา ก็จะถูกใส่ร้ายว่าทำเพื่อตัวเอง เราจึงต้องให้ ส.ส.ร. (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) เป็นคนทำ"
โภคิน ย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ต้องแก้เพราะรัฐธรรมนูญนี้ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
“โดยเฉพาะมาตรา 309 ไปรับรองประกาศของคณะรัฐประหารให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นหมายความว่ากฎหมายอื่นๆ แม้แต่ประกาศ พระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นกฎหมายของพระมหากษัตริย์ยังขัดรัฐธรรมนูญได้ กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาแล้วพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ แต่กฎหมายของคณะรัฐประหารขัดไม่ได้เลย เพราะรัฐธรรมนูญบอกเองให้ชอบหมด แบบนี้ทำไมเราทนอยู่ได้ ผมไม่เข้าใจ”
“กฎหมายของคณะรัฐประหารใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีค่าเท่ากับรัฐธรรมนูญ อันนี้คิดว่าแย่แล้ว แต่ที่ไปบอกว่าผู้ปฏิบัติตามคำสั่งให้ถือว่าชอบระดับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน อันนี้ยิ่งแย่ใหญ่ เช่น ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) บอกว่าต้องทำหน้าที่โดยเที่ยงธรรม หากไม่เที่ยงธรรมคุณถูกลงโทษทางอาญา สมมติว่าเขาปฏิบัติหน้าที่ไม่เที่ยงธรรม แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง คปค.(คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ผลคือใครทำอะไรไม่ได้ เพราะถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมถึงไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ได้อย่างไร”
“ทั้งโลกที่เขาพูดเรื่องต้นไม้พิษ ผลไม้พิษ เป็นคำวินิจฉัยของศาลสูงสหรัฐ เขาบอกว่าหากคุณเริ่มต้นไม่ถูก ท้ายมันต้องไม่ถูกด้วย พอบอกว่าจะแก้มาตรา 309 ก็หาว่าทำเพื่อตัวเอง ผมยังมองไม่ออกว่ามาตรา 309 มันไปเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ตรงไหน มันไม่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มันเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้ยึดอำนาจ”
เมื่อถามว่าการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ จำเป็นต้องยกเลิกมาตรา 309 ก่อนหรือไม่ โภคิน บอกว่า จะนิรโทษกรรมใครสามารถออกกฎหมายได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามาตรา 309 ยังอยู่ แปลว่าคำสั่งของคณะรัฐประหารชอบด้วยรัฐธรรมนูญตลอดไป การปฏิบัติขององค์กรหรือบุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสั่งของ คปค. เป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้คุณจะแกล้งหรือรังแกอย่างไรก็ชอบหมด
เมื่อซักอีกว่า ตามร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ จะมีผลให้ยกเลิกคดีความต่างๆ รวมทั้งคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเข้าสู่กระบวนการที่ฝ่ายพรรคเพื่อไทยเห็นว่าเป็นไปตามหลักนิติธรรม รายละเอียดขั้นตอนคืออย่างไร ใครจะเป็นเจ้าภาพเริ่มต้น เพราะฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีการดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จริงๆ ประเด็นนี้ โภคิน ตอบว่า เขาไม่สามารถบอกได้ ต้องขึ้นอยู่กับสภาที่จะต้องไปหารือกัน แต่ก็ต้องได้ข้อสรุปก่อนว่าสิ่งที่ทำมาไม่ถูกต้อง แล้วก็ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ตามกระบวนการปกติ
โภคิน ยังแสดงท่าทีให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการแก้รัฐธรรมนูญกำหนดให้เพิ่มชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
"เราเอาศาลฎีกาแผนกคดีอาญามาจากฝรั่งเศส ซึ่งเดี๋ยวนี้ฝรั่งเศสเขาถือว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเพราะมีศาลเดียว แต่ของเขาอำนาจจำกัดที่การทรยศต่อชาติเป็นหลัก แต่ของเรากวาดเรียบ แม้แต่คนที่ไม่ใช่นักการเมือง เป็นผู้สนับสนุนก็โดนหมด ขึ้นศาลเดียวหมด ระบบนี้จริงๆ มันขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีใครเข้าใจ มองว่าคอร์รัปชันต้องกำจัด แต่ไม่ได้ดูว่าถ้าเอาไปแกล้งกันแล้วจะเป็นอย่างไร หลักสิทธิมนุษยชนต้องมี 2 ชั้นศาล คนต้องมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลา"
อนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ต้องการให้สามารถดำเนินคดีอาญากับนักการเมืองได้อย่างเห็นผล รวดเร็ว จึงให้มีเพียงศาลเดียว ซึ่งศาลนี้เป็นศาลที่พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเวลา 2 ปีในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก จนทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหนีออกนอกประเทศ (ก่อนมีคำพิพากษา) และยังไม่ยอมเดินทางกลับประเทศไทย
โภคิน เห็นว่า ในระบบการเมืองไทยยังควรมี "องค์กรอิสระ" ต่อไป แต่ต้องแก้ไขเรื่องที่มาและอำนาจ โดยในส่วนที่มานั้น ไม่ควรให้ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมากเหมือนในรัฐธรรมนูญนี้ เพราะยิ่งศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมาก สถาบันศาลก็จะได้รับผลกระทบมาก ภาพพจน์ศาลระยะหลังเสียหายไปเยอะ
เขาพูดถึงการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า หลายเรื่องตัดสินได้ดี อะไรที่ไม่ใช่ประเด็นที่เป็นเรื่องอารมณ์ของคน 2 กลุ่ม ศาลทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี แต่พอเป็นประเด็นของคน 2 สีเมื่อไหร่ ศาลก็จะแกว่ง
สำหรับข่าวลือว่าเขาถูกวางตัวให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรองนายกรัฐมนตรีใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 เพื่อดูแลงานด้านกฎหมายให้กับรัฐบาลนั้น โภคิน บอกว่า "ไม่ใช่ว่าผมต้องไปตรงนั้นถึงจะช่วยได้ แค่ช่วยพรรคในระดับนี้ก็เต็มใจแล้ว จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง เพราะผมเป็นมาหลายตำแหน่งแล้ว และทุกตำแหน่งก็ทำมาอย่างเต็มที่"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 เป็น “ผลที่มาจากต้นไม้พิษ ย่อมต้องเป็นพิษ” จึงต้องกำจัด
แต่ฝ่ายค้านและฝ่ายตรงข้ามกลับมองว่า เพื่อไทยกำลังทำเพื่อตัวเอง การแก้รัฐธรรมนูญปี 50 จึงเป็นอีกสาเหตุหลักของความขัดแย้งในสังคม
โภคิน พลกุล มือกฎหมายจากพรรคเพื่อไทย เห็นว่า รัฐบาลต้องใช้ความอดทนในการทำความเข้าใจกับสังคมเพื่อให้ “หลุมดำ” การเมืองตื้นขึ้น
ผมชื่นชมนายกฯ ท่านอดทน ไม่ก้าวร้าว ไม่โต้ตอบ เราหยุดตรงนี้เสียก่อน ผมว่าสิ่งนี้ถูกต้อง" โภคิน เอ่ยถึงผู้นำรัฐบาล
ปัจจุบันโภคินเป็น ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นหนึ่งในมือกฎหมายของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และเขาเป็นอดีตรัฐมนตรีมาหลายกระทรวง
โภคิน พูดถึงเรื่องระยะเวลาที่จะได้ข้อสรุปเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า "อย่าไปกำหนดล่วงหน้า เพราะอาจเกิดปัญหาตามมาเยอะ เอาเป็นว่าคณะทำงานจะเร่งรัดทำให้ดีที่สุด ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลตัดสินใจอย่างไรก็ว่ากันไป แต่พวกเราต้องทำให้เสร็จก่อน แต่ไม่ใช่ว่าไปตัดสินใจให้เขา ถือเป็นการนำเสนอทางเลือกที่ดี แต่ที่แน่ๆ ให้ฝ่ายอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยได้เข้าใจ"
"ถ้ารัฐบาลได้รับข้อเสนอต่างๆ แล้วเห็นว่าสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม ความเข้าใจต่างๆ ยังไม่ชัดเจน หากทำไปอาจเกิดปัญหา ก็รอดูเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ผมคิดว่าคนคงไม่ว่า แต่หากโหวตแล้วคนไม่เอา เรื่องจะยุ่ง เราหลงทางไปเยอะ 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่รู้อะไรคือหลักหรือไม่ใช่หลัก อะไรคือถูกจริงหรือไม่ถูกจริง วันนี้ต้องกลับมาใหม่ ลดอารมณ์ความเกลียดชังต่างๆ ลงไป"
"วันนี้ไม่ใช่เรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ปัญหานายสนธิ (ลิ้มทองกุล) แต่เป็นปัญหาที่สังคมตกหลุมดำ การใช้อารมณ์ทำให้หลุมดำขยายไปทุกวัน เราต้องหยุดแล้วถอย ไม่ใช้อารมณ์มาพูดกัน ต้องก้าวข้ามหลุมดำนี้"
"วันนี้ผมว่ารัฐบาลทำดีแล้ว แม้รัฐบาลถูกก็ไม่ดึงดัน ใช้เวลาหน่อย แม้จะเสียเปรียบเพราะมรดกของรัฐประหารที่พร้อมจะทำลายมีอีกเยอะ ไม่มีรัฐบาลไหนที่เดินและแก้ปัญหาให้ชาวบ้านยากขนาดนี้ แก้ปัญหาบ้านเมืองก็ยาก แล้วยังต้องระวังตัวด้วย เมื่อคนใช้อารมณ์มากๆ เราใช้อารมณ์ตามไม่ได้ แม้จะเจ็บ รู้สึกว่าบริหารคนไม่ได้ผล แต่ต้องอดทนและทำความเข้าใจ"
"ในความเห็นผม รัฐบาลแม้จะเจ็บปวด จะกัดฟันเท่าไหร่ก็ต้องทน เป็นวิธีเดียวเท่านั้น เมื่อผ่านช่วงนี้ไปได้หลุมดำก็จะตื้นขึ้น เราจะก้าวข้ามไปทันทีไม่ได้ แต่ทำให้หลุมมันตื้นขึ้นจนไม่มีหลุมได้ ส่วนจะใช้เวลานานหรือไม่นั้น ผมก็ตอบไม่ได้"
โภคิน พูดถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังคาอยู่ในสภาเพื่อรอลงมติวาระ 3 ว่า ถึงอย่างไรก็ต้องมีการโหวตวาระ 3 ส่วนจะโหวตให้ผ่านหรือโหวตให้ตก ก็ต้องดูสถานการณ์
ต่อข้อถามถึงการแก้ไขเนื้อหารัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยเฉพาะแก้มาตรา 68 เพื่อป้องกันไม่ให้มีการร้องศาลรัฐธรรมนูญก่อนโหวตวาระ 3 หรือไม่นั้น เขาบอกว่า ถึงตอนนี้มี 2 แนวคิด
"ส่วนหนึ่งบอกถ้าอะไรที่จำเป็นต้องแก้เพื่อให้เกิดความบาลานซ์ (สมดุล) ของ 3 อำนาจก็ควรต้องแก้ แต่อีกส่วนบอกว่าต้องระวัง เพราะอาจเป็นการทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าแก้เพื่อตัวเอง หากจะมีการแก้รายมาตรา ก็จะถูกใส่ร้ายว่าทำเพื่อตัวเอง เราจึงต้องให้ ส.ส.ร. (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) เป็นคนทำ"
โภคิน ย้ำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ต้องแก้เพราะรัฐธรรมนูญนี้ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
“โดยเฉพาะมาตรา 309 ไปรับรองประกาศของคณะรัฐประหารให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นหมายความว่ากฎหมายอื่นๆ แม้แต่ประกาศ พระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นกฎหมายของพระมหากษัตริย์ยังขัดรัฐธรรมนูญได้ กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภาแล้วพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ แต่กฎหมายของคณะรัฐประหารขัดไม่ได้เลย เพราะรัฐธรรมนูญบอกเองให้ชอบหมด แบบนี้ทำไมเราทนอยู่ได้ ผมไม่เข้าใจ”
“กฎหมายของคณะรัฐประหารใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีค่าเท่ากับรัฐธรรมนูญ อันนี้คิดว่าแย่แล้ว แต่ที่ไปบอกว่าผู้ปฏิบัติตามคำสั่งให้ถือว่าชอบระดับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน อันนี้ยิ่งแย่ใหญ่ เช่น ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) บอกว่าต้องทำหน้าที่โดยเที่ยงธรรม หากไม่เที่ยงธรรมคุณถูกลงโทษทางอาญา สมมติว่าเขาปฏิบัติหน้าที่ไม่เที่ยงธรรม แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่ง คปค.(คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ผลคือใครทำอะไรไม่ได้ เพราะถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมถึงไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ได้อย่างไร”
“ทั้งโลกที่เขาพูดเรื่องต้นไม้พิษ ผลไม้พิษ เป็นคำวินิจฉัยของศาลสูงสหรัฐ เขาบอกว่าหากคุณเริ่มต้นไม่ถูก ท้ายมันต้องไม่ถูกด้วย พอบอกว่าจะแก้มาตรา 309 ก็หาว่าทำเพื่อตัวเอง ผมยังมองไม่ออกว่ามาตรา 309 มันไปเกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ตรงไหน มันไม่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ มันเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้ยึดอำนาจ”
เมื่อถามว่าการนิรโทษกรรมตามร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติ จำเป็นต้องยกเลิกมาตรา 309 ก่อนหรือไม่ โภคิน บอกว่า จะนิรโทษกรรมใครสามารถออกกฎหมายได้อยู่แล้ว แต่ถ้ามาตรา 309 ยังอยู่ แปลว่าคำสั่งของคณะรัฐประหารชอบด้วยรัฐธรรมนูญตลอดไป การปฏิบัติขององค์กรหรือบุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสั่งของ คปค. เป็นการชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้คุณจะแกล้งหรือรังแกอย่างไรก็ชอบหมด
เมื่อซักอีกว่า ตามร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ จะมีผลให้ยกเลิกคดีความต่างๆ รวมทั้งคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อเข้าสู่กระบวนการที่ฝ่ายพรรคเพื่อไทยเห็นว่าเป็นไปตามหลักนิติธรรม รายละเอียดขั้นตอนคืออย่างไร ใครจะเป็นเจ้าภาพเริ่มต้น เพราะฝ่ายไม่เห็นด้วยก็ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีการดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จริงๆ ประเด็นนี้ โภคิน ตอบว่า เขาไม่สามารถบอกได้ ต้องขึ้นอยู่กับสภาที่จะต้องไปหารือกัน แต่ก็ต้องได้ข้อสรุปก่อนว่าสิ่งที่ทำมาไม่ถูกต้อง แล้วก็ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม ตามกระบวนการปกติ
โภคิน ยังแสดงท่าทีให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการแก้รัฐธรรมนูญกำหนดให้เพิ่มชั้นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
"เราเอาศาลฎีกาแผนกคดีอาญามาจากฝรั่งเศส ซึ่งเดี๋ยวนี้ฝรั่งเศสเขาถือว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเพราะมีศาลเดียว แต่ของเขาอำนาจจำกัดที่การทรยศต่อชาติเป็นหลัก แต่ของเรากวาดเรียบ แม้แต่คนที่ไม่ใช่นักการเมือง เป็นผู้สนับสนุนก็โดนหมด ขึ้นศาลเดียวหมด ระบบนี้จริงๆ มันขัดรัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีใครเข้าใจ มองว่าคอร์รัปชันต้องกำจัด แต่ไม่ได้ดูว่าถ้าเอาไปแกล้งกันแล้วจะเป็นอย่างไร หลักสิทธิมนุษยชนต้องมี 2 ชั้นศาล คนต้องมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลา"
อนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ต้องการให้สามารถดำเนินคดีอาญากับนักการเมืองได้อย่างเห็นผล รวดเร็ว จึงให้มีเพียงศาลเดียว ซึ่งศาลนี้เป็นศาลที่พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเวลา 2 ปีในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก จนทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหนีออกนอกประเทศ (ก่อนมีคำพิพากษา) และยังไม่ยอมเดินทางกลับประเทศไทย
โภคิน เห็นว่า ในระบบการเมืองไทยยังควรมี "องค์กรอิสระ" ต่อไป แต่ต้องแก้ไขเรื่องที่มาและอำนาจ โดยในส่วนที่มานั้น ไม่ควรให้ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมากเหมือนในรัฐธรรมนูญนี้ เพราะยิ่งศาลเข้ามาเกี่ยวข้องมาก สถาบันศาลก็จะได้รับผลกระทบมาก ภาพพจน์ศาลระยะหลังเสียหายไปเยอะ
เขาพูดถึงการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า หลายเรื่องตัดสินได้ดี อะไรที่ไม่ใช่ประเด็นที่เป็นเรื่องอารมณ์ของคน 2 กลุ่ม ศาลทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี แต่พอเป็นประเด็นของคน 2 สีเมื่อไหร่ ศาลก็จะแกว่ง
สำหรับข่าวลือว่าเขาถูกวางตัวให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือรองนายกรัฐมนตรีใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 3 เพื่อดูแลงานด้านกฎหมายให้กับรัฐบาลนั้น โภคิน บอกว่า "ไม่ใช่ว่าผมต้องไปตรงนั้นถึงจะช่วยได้ แค่ช่วยพรรคในระดับนี้ก็เต็มใจแล้ว จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่ง เพราะผมเป็นมาหลายตำแหน่งแล้ว และทุกตำแหน่งก็ทำมาอย่างเต็มที่"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555
จังหวัด จัดการตนเอง ธงนำปฏิรูปประเทศไทย !!?
การปฏิรูปประเทศไทย! เพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ ถือเป็นแนวทางที่คณะกรรมการปฏิรูปฯ ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ผ่านข้อเสนอไปยังรัฐบาลและภาคประชาสังคม โดยมีสำนักงานปฏิรูปประเทศไทย (สปร.) เป็นแกนสำคัญในการประสานงานกับภาคีเครือข่าย “ภาคประชาชน” จากทั่วประเทศ
แม้ “จุดแข็ง” ขององค์กรเหล่านี้ จะมีกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จำนวนมาก และมีการ ทำงานร่วมกันมายาวนาน แต่ทว่าจำนวน พื้นที่ และงบประมาณ ตลอดจนสมาชิกในเครือข่ายยังน้อยกว่าการจัดตั้งของภาครัฐ รวมทั้งการขยายผลและการบริหารจัดการที่มีคุณภาพยังเป็น “จุดอ่อน” ที่ไม่สามารถทะลุทะลวงไปสู่การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้
จนถึงวันนี้ ก็มีตัวอย่างการบูรณาการพื้นที่ในหลายจังหวัด ทั้งสมุทรสาคร นครปฐม สระแก้ว อำนาจเจริญ เชียงราย สงขลา ฯลฯ กระทั่งล่าสุดยังมีข้อเสนอให้ “นครเชียงใหม่” นำร่องเป็นจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งทั้งหมดได้มีความพยายาม บูรณาการองค์กรต่างๆ ให้มาทำงานร่วมกันโดย ใช้พื้นที่จังหวัดและตำบลเป็นตัวตั้ง โดยวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ การจัดทำแผนเพื่อ แก้ไขปัญหาต่างๆ การสร้างความร่วมมือของนักพัฒนา นักวิชาการ ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และสื่อสารมวลชน เข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อนมุ่งผลักดันเข้าสู่ระบบข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้นๆ
ในอนาคตอันใกล้นี้ กระแสจังหวัดและพื้นที่จัดการตนเอง ยังคงเป็นกระแสหลักทั้งการผลักดันนโยบายการเสนอกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติจริงในพื้นที่โดย เครือข่ายภาคประชาชน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คสป.) ยอมรับว่า การขับเคลื่อน “จังหวัดจัดการ ตนเอง” ขณะนี้แรงและมีพลังมาก หลังจากจังหวัดเชียงใหม่ประกาศเจตนารมณ์ผลักดันจังหวัดจัดการตนเองไปเมื่อเร็วๆ นี้ ก็นับว่าเป็นการขับเคลื่อนที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ มีผู้เข้าร่วมงานมากพอสมควร มีการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ได้รับการ ยอมรับมากขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญคือกระแสต่อต้าน เกิดความสนใจของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
“ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ” คณะทำงานเชียงใหม่จัดการตนเอง ระบุว่า ได้มีการยกระดับการทำงานมองภาพรวมทั้ง จังหวัด พร้อมทั้งประสานงานกลุ่มพลังทางสังคมและภาคประชาชนต่างๆ เข้ามาเพิ่ม ทั้งนักวิชาการ นักพัฒนา นักธุรกิจ สมาพันธ์ครูเชียงใหม่ ศิลปิน นักเขียน สื่อมวลชน ทั้งชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 210 องค์กร
“เป็นการทำงานร่วมของกลุ่มคนที่หลากหลาย มีทุกสีเข้ามาขับเคลื่อนร่วมกันแบบข้ามสี โดยใช้ระบบปรึกษาหารือและความสัมพันธ์แบบแนวนอน มีสิ่งที่เป็น เป้าหมายร่วมกัน เชียงใหม่ที่เข้มแข็ง น่าอยู่และยั่งยืน เพื่อมอบสิ่งดีๆ ให้ลูกหลานในอนาคต”
นอกจากนี้ ยังได้จัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกับผู้นำชุมชนทั้ง 25 อำเภอ และเวทีเครือข่าย 30 เครือข่าย จัดทำฐานข้อมูลกรณีการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นที่น่าสนใจ และนำข้อคิดเห็นต่างๆ มาจัดทำร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร ราชการเชียงใหม่ ซึ่งจะนำไปจัดประชาพิจารณ์ใน 210 ตำบล รวมทั้งเปิดให้ประชาชนลงชื่อเสนอกฎหมาย 15,000 รายชื่อต่อรัฐสภา ตามบทบัญญัติในรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งได้จัดกิจกรรมเสนอต่อสาธารณะ ไปก่อนแล้ว
“จากนี้ไปจะเป็นการทำงานกันอย่าง เข้มข้นและทั่วถึงในจังหวัดเชียงใหม่ 210 ตำบล ตลอดจนการเชื่อมโยงจังหวัดต่างๆ ราว 45 จังหวัดที่กำลังขับเคลื่อน”
> ภาคประชาชนตื่นตัวทั่วไทย
เมื่อภาคประชาชนทั้ง 45 จังหวัดตื่นตัวแล้ว น่าจับตามองว่า “การปฏิรูป ประเทศไทย” จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ แม้ว่าในบางจังหวัดจะอาศัย การเปลี่ยนแปลงตามระบบคือผ่านขั้นตอน การยื่น พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของสภา ผู้แทนราษฎร หรือลงรายชื่อเพื่อนำเสนอ ในนามองค์กรภาคประชาชนก็ตาม
ในจังหวัดขอนแก่นมีการรวมตัวของภาคส่วนต่างๆ จัดสมัชชา ประกาศปฏิญญา “ขอนแก่นจัดการตนเอง” ด้วย 8 ยุทธศาสตร์ ที่ศาลากลางจังหวัดฯ ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมหลายพันคน และได้จัดตั้งสภาประชาชนด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการเกษตรกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ด้านการศึกษา สังคม คุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม ด้านการเมืองภาคพลเมือง และด้านแก้ไขโครงสร้างการพัฒนาจากภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ส่วนการดำเนินการนั้นได้ส่งมอบยุทธศาสตร์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีครูสน รูปสูง และเครือข่ายภาคประชาชน ประสานงาน เริ่มต้นจากการจัดเวทีย่อย 4 โซนจากฐานราก รวมเป็นยุทธศาสตร์ร่วมของจังหวัด
ด้านจังหวัดปราจีนบุรี ก็มีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมราว 70 เครือข่าย เริ่มต้นคล้ายธรรมนูญคนอำนาจเจริญ โดยการ เตรียมพูดคุยกันโดยเฉพาะประเด็นอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับเป็นธรรมนูญและสภา ประชาชนของจังหวัดขึ้นมา
สำหรับจังหวัดพัทลุงนั้น “แก้ว สังข์ชู” กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูป กล่าวย้ำว่า คนพัทลุงต้องการกำหนดคุณสมบัติ และเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงด้วยตน เอง เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยส่งผู้ว่าฯ ลงมาโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนที่ต้องการพัฒนาบ้านเมือง เพราะ 3 ปีที่ผ่านมา พัทลุงมีผู้ว่าราชการจังหวัดถึง 4 คน
“ผู้ว่าฯ บางคนอยู่ไม่นาน บางคนย้ายมารอเกษียณอายุราชการ บางคนย้าย มาเพื่อรอไปจังหวัดใหญ่ๆ อย่างนี้จะมีเวลา ใส่ใจพัฒนาและแก้ปัญหาให้คนพัทลุงได้อย่างไร ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของคน พัทลุงก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้”
นอกจากนี้ ยังมีการจัดเวทีและกิจกรรมในจังหวัดต่างๆ เช่น ยะลา และแม่ ฮ่องสอน เป็นต้น แต่ล่าสุดคือจังหวัดภูเก็ต โดยหนึ่งในคณะทำงานภูเก็ตจัดการตนเอง ระบุว่า จากปัญหาและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต ทางคณะทำงานจึง มีเป้าหมายในการพัฒนาโดยประกาศเจตนารมณ์ร่วมเพื่อผลักดัน “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดจัดการตนเอง และจัดตั้งสภาพลเมืองภูเก็ต เพราะที่ผ่าน มาพบว่าจังหวัดภูเก็ต ยังมีการพัฒนาอย่าง ไร้ทิศทาง ส่งผลให้ยากต่อการควบคุมปัญหา ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวด ล้อม ปัญหาสังคม รวมไปถึงปัญหาการพัฒนา ที่ไม่ยั่งยืน และขาดประสิทธิภาพในการจัดการ ทั้งการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เคร่งครัด ภาคประชาชนมีส่วน ร่วมน้อย หากภูเก็ตจัดการตนเอง ปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้
เป็นต้นว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภูเก็ตให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น ปรับกระบวนและสนับสนุนให้มีการ คิดอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังความสำนึกรักในพื้นที่บ้านเกิด สร้างภาคีและแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือต่างๆ ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมจิต สำนึกเพื่อส่วนรวม จัดกิจกรรมที่สนับสนุน ให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม ให้มีคุณภาพทางธุรกิจ มีภาวะความเป็นผู้นำ โดยในอนาคตอาจจะตั้งคนในพื้นที่เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการขับเคลื่อนขั้นตอนต่างๆ ด้วยตนเอง อาทิ การมีสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ไปยังประชาชน เพื่อสร้างองค์ความรู้และทำความเข้าใจ การสร้างกระแสให้กับชาวภูเก็ตเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการตกผลึกเรื่องจังหวัดจัดการ ตนเอง รวมถึงจัดทำเอกสารแจกใบปลิวให้ ความรู้ การทำประชาพิจารณ์ การจัดประชุมหารือทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน การจัด เวทีย่อยโดยรวบรวมความเห็นจากผู้บริหาร ท้องถิ่น มีเวทีใหญ่ 3-6 เดือนต่อครั้ง เป็นต้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี
ด้าน “ดร.วณี ปิ่นประทีป” รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป (สปร.) ยอมรับว่า สปร.ได้มองจังหวัดจัดการตนเองในภาคเหนือคือ เชียงใหม่ ส่วนภาคอีสานคือ อำนาจเจริญ และจะยินดีสนับสนุนอย่างยิ่งหากภาคใต้จะมี “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดจัด การตนเอง และต้องการเห็นการวางแผน ที่เป็นระบบ และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
> การก่อตัวของแนวคิดจัดการตนเอง
ก่อนหน้านี้ แนวคิดจังหวัดจัดการ ตนเองก่อตัวและเกิดขึ้นแล้วที่จังหวัดอำนาจเจริญ ชื่อว่า “ธรรมนูญประชาชน ฅนอำนาจเจริญ” ซึ่งถือเป็นธรรมนูญประชาชนฉบับแรกของไทยโดยที่ “กำธร ถาวรสถิตย์” ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ยอมรับว่า ปัจจุบันสังคมเผชิญกับวิกฤติทางสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความสลับซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก จึงเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนท้อง ถิ่นร่วมกันจัดการตนเองทั้งการทำแผนชุม ชน การจัดการสวัสดิการชุมชน การจัด การทุนของชุมชน การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ขณะเดียวกันก็มีการจัดให้มีสภาผู้นำ ชุมชนเพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ นำไปสู่การ สร้างเป้าหมายร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น
ด้าน “วิรัตน์ สุขกุล” ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจ เจริญ ชี้ว่า เหตุผลในการจัดทำธรรมนูญประชาชนตนอำนาจเจริญ เพื่อเป็นเครื่อง มือในวางระเบียบกติกาของชุมชนร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นมาตรการปฏิบัติเพื่อสร้างประชาธิปไตยชุมชนเป็นกรอบและแนวทาง ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง กับชุมชนท้องถิ่น อนาคตจะมีการยกร่างธรรมนูญประชาชน “ฅนอำนาจเจริญ” เป็นพระราชบัญญัติจังหวัดจัดการตนเอง โดยจะให้มีประชาชนรักษาการในข้อบัญญัตินี้ด้วย
ขณะที่ “กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร” รองผู้อำนวยการ สปร.มองว่า ธรรมนูญประชาชนฉบับนี้ มีข้อตกลงที่น่าสนใจ คือ การจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของสภาประชาชนทุกระดับ เพื่อเป็นเวทีทบทวนแผนงาน ตรวจสอบการนำแผนไป ปฏิบัติ และนำข้อเสนอของชุมชนต่อหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับว่าเป็น “ธรรมนูญประชาชน” ระดับจังหวัดฉบับแรกของประเทศไทย
ทั้งนี้ ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจ เจริญ มี 9 หมวด คือ 1.บททั่วไป 2.ปรัชญาแนวคิด 3.การเมืองภาคพลเมือง ที่มีเนื้อ หาสร้างสังคมเครือข่ายแห่งการเรียนรูปตามแนวทางวิถีประชาธิปไตยชุมชน โดยอาศัยสภาหมู่บ้าน ฯลฯ 4.ด้านสังคมเพื่อ ชุมชนเข้มแข็ง ผู้คนฮักแพงแบ่งปัน สานต่อวัฒนธรรมประเพณี โดยมีข้อเสนอจัดการด้านการศึกษา ด้านสตรี เด็ก และเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และศาสนา ความเชื่อ 5.ระบบเศรษฐกิจชุมชนการยกระดับการกินดีอยู่ดีของคนในชุมชน โดยทุกครอบครัวจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินและแบ่งปัน กองทุนเพื่อการผลิตดอกเบี้ย ต่ำ ปรับวิถีการผลิตพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์ ฯลฯ และ 6.ด้านสุขภาพ สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ หมวดนี้มีความน่าสนใจตรงการกำหนดให้มี “ธรรมนูญสุขภาพ” ซึ่งทางสมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ (สช.) สนับสนุน
ในการจัดทำกระบวนการ 7.ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสิทธิชุมชนในการ บริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง ที่ชาวบ้านขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดและตัดสินใจ 8.ด้านการรับรู้ การเข้าถึง และการกระจายข่าวสารเป็นข้อ เสนอด้านการสื่อสารของชุมชน โดยชุมชน ต้องเข้าถึง อิสระเท่าเทียม และเป็นเจ้า ของพื้นที่สาธารณะ ผลิตเนื้อหาสาระด้วยตนเอง หลากหลายเนื้อหาสาระ และ 9.บทเฉพาะกาล
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แม้ “จุดแข็ง” ขององค์กรเหล่านี้ จะมีกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จำนวนมาก และมีการ ทำงานร่วมกันมายาวนาน แต่ทว่าจำนวน พื้นที่ และงบประมาณ ตลอดจนสมาชิกในเครือข่ายยังน้อยกว่าการจัดตั้งของภาครัฐ รวมทั้งการขยายผลและการบริหารจัดการที่มีคุณภาพยังเป็น “จุดอ่อน” ที่ไม่สามารถทะลุทะลวงไปสู่การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้
จนถึงวันนี้ ก็มีตัวอย่างการบูรณาการพื้นที่ในหลายจังหวัด ทั้งสมุทรสาคร นครปฐม สระแก้ว อำนาจเจริญ เชียงราย สงขลา ฯลฯ กระทั่งล่าสุดยังมีข้อเสนอให้ “นครเชียงใหม่” นำร่องเป็นจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งทั้งหมดได้มีความพยายาม บูรณาการองค์กรต่างๆ ให้มาทำงานร่วมกันโดย ใช้พื้นที่จังหวัดและตำบลเป็นตัวตั้ง โดยวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ การจัดทำแผนเพื่อ แก้ไขปัญหาต่างๆ การสร้างความร่วมมือของนักพัฒนา นักวิชาการ ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และสื่อสารมวลชน เข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อนมุ่งผลักดันเข้าสู่ระบบข้อบัญญัติของท้องถิ่นนั้นๆ
ในอนาคตอันใกล้นี้ กระแสจังหวัดและพื้นที่จัดการตนเอง ยังคงเป็นกระแสหลักทั้งการผลักดันนโยบายการเสนอกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติจริงในพื้นที่โดย เครือข่ายภาคประชาชน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และประธานคณะกรรมการปฏิรูป (คสป.) ยอมรับว่า การขับเคลื่อน “จังหวัดจัดการ ตนเอง” ขณะนี้แรงและมีพลังมาก หลังจากจังหวัดเชียงใหม่ประกาศเจตนารมณ์ผลักดันจังหวัดจัดการตนเองไปเมื่อเร็วๆ นี้ ก็นับว่าเป็นการขับเคลื่อนที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ มีผู้เข้าร่วมงานมากพอสมควร มีการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ได้รับการ ยอมรับมากขึ้น โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญคือกระแสต่อต้าน เกิดความสนใจของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย
“ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ” คณะทำงานเชียงใหม่จัดการตนเอง ระบุว่า ได้มีการยกระดับการทำงานมองภาพรวมทั้ง จังหวัด พร้อมทั้งประสานงานกลุ่มพลังทางสังคมและภาคประชาชนต่างๆ เข้ามาเพิ่ม ทั้งนักวิชาการ นักพัฒนา นักธุรกิจ สมาพันธ์ครูเชียงใหม่ ศิลปิน นักเขียน สื่อมวลชน ทั้งชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 210 องค์กร
“เป็นการทำงานร่วมของกลุ่มคนที่หลากหลาย มีทุกสีเข้ามาขับเคลื่อนร่วมกันแบบข้ามสี โดยใช้ระบบปรึกษาหารือและความสัมพันธ์แบบแนวนอน มีสิ่งที่เป็น เป้าหมายร่วมกัน เชียงใหม่ที่เข้มแข็ง น่าอยู่และยั่งยืน เพื่อมอบสิ่งดีๆ ให้ลูกหลานในอนาคต”
นอกจากนี้ ยังได้จัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกับผู้นำชุมชนทั้ง 25 อำเภอ และเวทีเครือข่าย 30 เครือข่าย จัดทำฐานข้อมูลกรณีการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นที่น่าสนใจ และนำข้อคิดเห็นต่างๆ มาจัดทำร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร ราชการเชียงใหม่ ซึ่งจะนำไปจัดประชาพิจารณ์ใน 210 ตำบล รวมทั้งเปิดให้ประชาชนลงชื่อเสนอกฎหมาย 15,000 รายชื่อต่อรัฐสภา ตามบทบัญญัติในรัฐ ธรรมนูญ ซึ่งได้จัดกิจกรรมเสนอต่อสาธารณะ ไปก่อนแล้ว
“จากนี้ไปจะเป็นการทำงานกันอย่าง เข้มข้นและทั่วถึงในจังหวัดเชียงใหม่ 210 ตำบล ตลอดจนการเชื่อมโยงจังหวัดต่างๆ ราว 45 จังหวัดที่กำลังขับเคลื่อน”
> ภาคประชาชนตื่นตัวทั่วไทย
เมื่อภาคประชาชนทั้ง 45 จังหวัดตื่นตัวแล้ว น่าจับตามองว่า “การปฏิรูป ประเทศไทย” จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมหรือไม่ แม้ว่าในบางจังหวัดจะอาศัย การเปลี่ยนแปลงตามระบบคือผ่านขั้นตอน การยื่น พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของสภา ผู้แทนราษฎร หรือลงรายชื่อเพื่อนำเสนอ ในนามองค์กรภาคประชาชนก็ตาม
ในจังหวัดขอนแก่นมีการรวมตัวของภาคส่วนต่างๆ จัดสมัชชา ประกาศปฏิญญา “ขอนแก่นจัดการตนเอง” ด้วย 8 ยุทธศาสตร์ ที่ศาลากลางจังหวัดฯ ซึ่งมีประชาชนเข้าร่วมหลายพันคน และได้จัดตั้งสภาประชาชนด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการเกษตรกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ ด้านการศึกษา สังคม คุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม ด้านการเมืองภาคพลเมือง และด้านแก้ไขโครงสร้างการพัฒนาจากภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
ส่วนการดำเนินการนั้นได้ส่งมอบยุทธศาสตร์ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยมีครูสน รูปสูง และเครือข่ายภาคประชาชน ประสานงาน เริ่มต้นจากการจัดเวทีย่อย 4 โซนจากฐานราก รวมเป็นยุทธศาสตร์ร่วมของจังหวัด
ด้านจังหวัดปราจีนบุรี ก็มีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมราว 70 เครือข่าย เริ่มต้นคล้ายธรรมนูญคนอำนาจเจริญ โดยการ เตรียมพูดคุยกันโดยเฉพาะประเด็นอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับเป็นธรรมนูญและสภา ประชาชนของจังหวัดขึ้นมา
สำหรับจังหวัดพัทลุงนั้น “แก้ว สังข์ชู” กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูป กล่าวย้ำว่า คนพัทลุงต้องการกำหนดคุณสมบัติ และเลือกผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงด้วยตน เอง เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยส่งผู้ว่าฯ ลงมาโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนที่ต้องการพัฒนาบ้านเมือง เพราะ 3 ปีที่ผ่านมา พัทลุงมีผู้ว่าราชการจังหวัดถึง 4 คน
“ผู้ว่าฯ บางคนอยู่ไม่นาน บางคนย้ายมารอเกษียณอายุราชการ บางคนย้าย มาเพื่อรอไปจังหวัดใหญ่ๆ อย่างนี้จะมีเวลา ใส่ใจพัฒนาและแก้ปัญหาให้คนพัทลุงได้อย่างไร ยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของคน พัทลุงก็ไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้”
นอกจากนี้ ยังมีการจัดเวทีและกิจกรรมในจังหวัดต่างๆ เช่น ยะลา และแม่ ฮ่องสอน เป็นต้น แต่ล่าสุดคือจังหวัดภูเก็ต โดยหนึ่งในคณะทำงานภูเก็ตจัดการตนเอง ระบุว่า จากปัญหาและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ต ทางคณะทำงานจึง มีเป้าหมายในการพัฒนาโดยประกาศเจตนารมณ์ร่วมเพื่อผลักดัน “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดจัดการตนเอง และจัดตั้งสภาพลเมืองภูเก็ต เพราะที่ผ่าน มาพบว่าจังหวัดภูเก็ต ยังมีการพัฒนาอย่าง ไร้ทิศทาง ส่งผลให้ยากต่อการควบคุมปัญหา ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวด ล้อม ปัญหาสังคม รวมไปถึงปัญหาการพัฒนา ที่ไม่ยั่งยืน และขาดประสิทธิภาพในการจัดการ ทั้งการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เคร่งครัด ภาคประชาชนมีส่วน ร่วมน้อย หากภูเก็ตจัดการตนเอง ปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้
เป็นต้นว่าการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภูเก็ตให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น ปรับกระบวนและสนับสนุนให้มีการ คิดอย่างเป็นระบบ ปลูกฝังความสำนึกรักในพื้นที่บ้านเกิด สร้างภาคีและแลกเปลี่ยนความรู้ในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือต่างๆ ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมจิต สำนึกเพื่อส่วนรวม จัดกิจกรรมที่สนับสนุน ให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม ให้มีคุณภาพทางธุรกิจ มีภาวะความเป็นผู้นำ โดยในอนาคตอาจจะตั้งคนในพื้นที่เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการขับเคลื่อนขั้นตอนต่างๆ ด้วยตนเอง อาทิ การมีสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ไปยังประชาชน เพื่อสร้างองค์ความรู้และทำความเข้าใจ การสร้างกระแสให้กับชาวภูเก็ตเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการตกผลึกเรื่องจังหวัดจัดการ ตนเอง รวมถึงจัดทำเอกสารแจกใบปลิวให้ ความรู้ การทำประชาพิจารณ์ การจัดประชุมหารือทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน การจัด เวทีย่อยโดยรวบรวมความเห็นจากผู้บริหาร ท้องถิ่น มีเวทีใหญ่ 3-6 เดือนต่อครั้ง เป็นต้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดี
ด้าน “ดร.วณี ปิ่นประทีป” รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป (สปร.) ยอมรับว่า สปร.ได้มองจังหวัดจัดการตนเองในภาคเหนือคือ เชียงใหม่ ส่วนภาคอีสานคือ อำนาจเจริญ และจะยินดีสนับสนุนอย่างยิ่งหากภาคใต้จะมี “ภูเก็ต” เป็นจังหวัดจัด การตนเอง และต้องการเห็นการวางแผน ที่เป็นระบบ และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
> การก่อตัวของแนวคิดจัดการตนเอง
ก่อนหน้านี้ แนวคิดจังหวัดจัดการ ตนเองก่อตัวและเกิดขึ้นแล้วที่จังหวัดอำนาจเจริญ ชื่อว่า “ธรรมนูญประชาชน ฅนอำนาจเจริญ” ซึ่งถือเป็นธรรมนูญประชาชนฉบับแรกของไทยโดยที่ “กำธร ถาวรสถิตย์” ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ยอมรับว่า ปัจจุบันสังคมเผชิญกับวิกฤติทางสังคมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความสลับซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก จึงเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนท้อง ถิ่นร่วมกันจัดการตนเองทั้งการทำแผนชุม ชน การจัดการสวัสดิการชุมชน การจัด การทุนของชุมชน การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ขณะเดียวกันก็มีการจัดให้มีสภาผู้นำ ชุมชนเพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ นำไปสู่การ สร้างเป้าหมายร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น
ด้าน “วิรัตน์ สุขกุล” ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจ เจริญ ชี้ว่า เหตุผลในการจัดทำธรรมนูญประชาชนตนอำนาจเจริญ เพื่อเป็นเครื่อง มือในวางระเบียบกติกาของชุมชนร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐและภาคีที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นมาตรการปฏิบัติเพื่อสร้างประชาธิปไตยชุมชนเป็นกรอบและแนวทาง ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง กับชุมชนท้องถิ่น อนาคตจะมีการยกร่างธรรมนูญประชาชน “ฅนอำนาจเจริญ” เป็นพระราชบัญญัติจังหวัดจัดการตนเอง โดยจะให้มีประชาชนรักษาการในข้อบัญญัตินี้ด้วย
ขณะที่ “กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร” รองผู้อำนวยการ สปร.มองว่า ธรรมนูญประชาชนฉบับนี้ มีข้อตกลงที่น่าสนใจ คือ การจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ของสภาประชาชนทุกระดับ เพื่อเป็นเวทีทบทวนแผนงาน ตรวจสอบการนำแผนไป ปฏิบัติ และนำข้อเสนอของชุมชนต่อหน่วย งานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนับว่าเป็น “ธรรมนูญประชาชน” ระดับจังหวัดฉบับแรกของประเทศไทย
ทั้งนี้ ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจ เจริญ มี 9 หมวด คือ 1.บททั่วไป 2.ปรัชญาแนวคิด 3.การเมืองภาคพลเมือง ที่มีเนื้อ หาสร้างสังคมเครือข่ายแห่งการเรียนรูปตามแนวทางวิถีประชาธิปไตยชุมชน โดยอาศัยสภาหมู่บ้าน ฯลฯ 4.ด้านสังคมเพื่อ ชุมชนเข้มแข็ง ผู้คนฮักแพงแบ่งปัน สานต่อวัฒนธรรมประเพณี โดยมีข้อเสนอจัดการด้านการศึกษา ด้านสตรี เด็ก และเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และศาสนา ความเชื่อ 5.ระบบเศรษฐกิจชุมชนการยกระดับการกินดีอยู่ดีของคนในชุมชน โดยทุกครอบครัวจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินและแบ่งปัน กองทุนเพื่อการผลิตดอกเบี้ย ต่ำ ปรับวิถีการผลิตพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นวิถีเกษตรอินทรีย์ ฯลฯ และ 6.ด้านสุขภาพ สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ หมวดนี้มีความน่าสนใจตรงการกำหนดให้มี “ธรรมนูญสุขภาพ” ซึ่งทางสมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ (สช.) สนับสนุน
ในการจัดทำกระบวนการ 7.ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสิทธิชุมชนในการ บริหารจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง ที่ชาวบ้านขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดและตัดสินใจ 8.ด้านการรับรู้ การเข้าถึง และการกระจายข่าวสารเป็นข้อ เสนอด้านการสื่อสารของชุมชน โดยชุมชน ต้องเข้าถึง อิสระเท่าเทียม และเป็นเจ้า ของพื้นที่สาธารณะ ผลิตเนื้อหาสาระด้วยตนเอง หลากหลายเนื้อหาสาระ และ 9.บทเฉพาะกาล
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ความเสื่อมจาก 98 ศพ !!?
ในระบอบประชาธิปไตย หากมีคนตายทางการเมืองแม้แต่คนเดียวเช่นกรณีกลุ่ม พันธมิตรเสื้อเหลือง เห็นหรือไม่ว่าพลังแห่งการเรียกร้องหาความยุติธรรมจากรัฐบาลคุณสมัครมีความรุนแรงไม่น้อย
เมื่อมีฝูงชนถูกฆ่าทางการเมืองมากถึง 91 ศพ ในปี 2553 และตายเพิ่ม ภายหลังเป็น 98 ศพ ย่อมเป็นธรรมดาที่พลังมวลชนเสื้อแดงเรียกร้องหาความยุติธรรมจากรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนหลอกหลอนมาจนถึงวันนี้..ทั้งๆ ที่พรรคของคุณอภิสิทธิ์ก็เป็นฝ่ายค้านไปนานถึง 1 ปีแล้ว
นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงจึงพึงสำเหนียกทุกขณะจิตว่า ต้อง แสดงความรับผิดชอบเช่นไร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองมีจิตสำนึกดี มีวุฒิภาวะสูง เป็นที่ชื่นชมสรรเสริญของประชาชนโดยทั่วไป เหมือนประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ เคย แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์มาแล้ว
แต่คุณอภิสิทธิ์นอกจากไม่แสดงภาวะผู้นำมาตรฐานแล้ว ยังปล่อยให้ความตายของคนไทยเกือบร้อยศพถูกเรียกร้องหาความยุติธรรมแทบไม่คืบหน้า เรียกว่า ถ่วงเวลา ให้นานที่สุดด้วยซ้ำ มันจึงส่งผลสะเทือนไปสู่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดให้พรรคประชาธิปัตย์ต้อง พ่ายแพ้แบบ “หูรูดตูดฉีก” อย่างเหลือเชื่อ
ไม่น่าเชื่อว่า ทั้งที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ และทหาร “ให้ท้าย” ทั้งกองทัพสนับสนุน เต็มกำลัง ก็ยังแพ้หมดรูป
ครั้งที่คุณอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาล ผู้คนก็เห็นว่าข้าราชการหลายกรมกองถูกโยกย้ายเพื่อ “ผ่องถ่าย” ให้พวกข้าราชการที่ฝ่ายประชาธิปัตย์ไว้ใจเข้าไปทำงานแทนที่ ฉะนั้นเมื่อคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นรัฐบาลแล้ว ฝ่ายค้านจึงไม่ควรโวยวาย เมื่อข้าราชการที่ฝ่ายเพื่อไทย ไม่ไว้ใจต้องถูกโยกย้ายเป็นธรรมดา
วันนี้ที่พรรคฝ่ายค้านรู้สึกว่า ฝ่ายตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม จึงไม่ต่างจากที่ฝ่าย มวลชนเสื้อแดงเคยประสบมาแล้ว แต่เสื้อแดงเขาพกความแค้นมากกว่าเพราะมี “คนตาย 98 ศพ” เป็นประสบการณ์การต่อสู้ ซึ่งเป็นธรรมดาอีกนั่นแหละที่รัฐบาลนี้ดำเนินคดีได้รวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลา จนถึงขั้นเชิญตัวคุณอภิสิทธิ์-คุณสุเทพเป็นฝ่ายถูกสอบจาก ปมฆ่า 98 ศพที่นักการเมืองห้วงนั้นไม่แสดงความรับผิดชอบมาตั้งแต่ต้น
มองด้วยใจเป็นธรรม จึงพูดไม่ได้ว่าคุณอภิสิทธิ์หรือคุณสุเทพถูกกลั่นแกล้ง แต่น่าจะเป็นผลกรรม
ยิ่งได้เห็นหนังสือลับ ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 สมัยคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ อนุมัติ ให้เจ้าหน้าที่ใช้ “พลแม่นปืน” และ “สามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ.ได้”...โดยลืมการอนุมัติให้ใช้โล่ ไม้พลองยาว หรือการฉีดน้ำและใช้คลื่นเสียง แม้แต่แก๊สน้ำตา กระบองหรือกระสุนยาง หรือยิงเตือน
จึงเป็นอนุสติเตือนนักการเมืองในอุดมคติ พึงหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดกับการใช้ทหาร ที่มีอาวุธสงครามเพื่อนำมาสกัดฝูงชนที่เรียกร้องประเด็นการเมือง โดยเฉพาะคนที่ผ่าน สถาบันการเมืองมาจากอังกฤษ
แม้ฝ่ายทหารจะอ้างว่า ทหารก็เจ็บและเสียชีวิตหรือมีเหตุผลมากพอ แต่มันก็เกิน กว่าเหตุที่ภาพจากช่างภาพและกล้องวีดิโอจำนวนมากได้บันทึกเป็นประจักษ์ว่า ทหารใช้อาวุธสงคราม ใช้กระสุนจริง ใช้สไนเปอร์จริง และใช้รถหุ้มเกราะปฏิบัติการเทียบเท่า “สนามรบ” ใช้รหัส “เผาบ้านเผาเมือง” เหมือนฝูงชนเหล่าเนื้อเชื้อสายคนไทยด้วยกันเป็นข้าศึกศัตรูร้ายจากต่างชาติ
ที่ประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ควรกดปุ่มเลือกใช้
แต่นักการเมืองจากพรรคเก่าแก่กลับกล้าหาญชาญชัยใช้แก้ปัญหาการเมืองด้วยอารมณ์อำมหิต
คำตอบที่ซ้ำซากก็คือ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เวทีประชาธิปไตย เลือกตั้งไม่ไว้วางใจให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลอีก
วิญญาณ 98 ศพ จึงเรียกร้องโหยหวนยาวนานมาจนถึงวันนี้ และวันต่อไป...ตราบใด ที่นักการเมืองบางคน “ไม่เข้าถึงจิตสำนึกประชาธิปไตย” มัวแต่ตะแบง “ดีแต่พูด” หวังใช้คารมบิดเบือนข้างๆ คูๆ ทุกเวที
โดยหารู้ไม่ว่า “ยิ่งตะแบง ก็ยิ่งเสื่อม” แม้กระทั่งความหล่อเหลาที่เหลืออยู่ ก็ช่วยกู้หน้าไม่ได้!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เมื่อมีฝูงชนถูกฆ่าทางการเมืองมากถึง 91 ศพ ในปี 2553 และตายเพิ่ม ภายหลังเป็น 98 ศพ ย่อมเป็นธรรมดาที่พลังมวลชนเสื้อแดงเรียกร้องหาความยุติธรรมจากรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนหลอกหลอนมาจนถึงวันนี้..ทั้งๆ ที่พรรคของคุณอภิสิทธิ์ก็เป็นฝ่ายค้านไปนานถึง 1 ปีแล้ว
นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงจึงพึงสำเหนียกทุกขณะจิตว่า ต้อง แสดงความรับผิดชอบเช่นไร จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองมีจิตสำนึกดี มีวุฒิภาวะสูง เป็นที่ชื่นชมสรรเสริญของประชาชนโดยทั่วไป เหมือนประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ เคย แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์มาแล้ว
แต่คุณอภิสิทธิ์นอกจากไม่แสดงภาวะผู้นำมาตรฐานแล้ว ยังปล่อยให้ความตายของคนไทยเกือบร้อยศพถูกเรียกร้องหาความยุติธรรมแทบไม่คืบหน้า เรียกว่า ถ่วงเวลา ให้นานที่สุดด้วยซ้ำ มันจึงส่งผลสะเทือนไปสู่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดให้พรรคประชาธิปัตย์ต้อง พ่ายแพ้แบบ “หูรูดตูดฉีก” อย่างเหลือเชื่อ
ไม่น่าเชื่อว่า ทั้งที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ และทหาร “ให้ท้าย” ทั้งกองทัพสนับสนุน เต็มกำลัง ก็ยังแพ้หมดรูป
ครั้งที่คุณอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาล ผู้คนก็เห็นว่าข้าราชการหลายกรมกองถูกโยกย้ายเพื่อ “ผ่องถ่าย” ให้พวกข้าราชการที่ฝ่ายประชาธิปัตย์ไว้ใจเข้าไปทำงานแทนที่ ฉะนั้นเมื่อคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นรัฐบาลแล้ว ฝ่ายค้านจึงไม่ควรโวยวาย เมื่อข้าราชการที่ฝ่ายเพื่อไทย ไม่ไว้ใจต้องถูกโยกย้ายเป็นธรรมดา
วันนี้ที่พรรคฝ่ายค้านรู้สึกว่า ฝ่ายตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม จึงไม่ต่างจากที่ฝ่าย มวลชนเสื้อแดงเคยประสบมาแล้ว แต่เสื้อแดงเขาพกความแค้นมากกว่าเพราะมี “คนตาย 98 ศพ” เป็นประสบการณ์การต่อสู้ ซึ่งเป็นธรรมดาอีกนั่นแหละที่รัฐบาลนี้ดำเนินคดีได้รวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลา จนถึงขั้นเชิญตัวคุณอภิสิทธิ์-คุณสุเทพเป็นฝ่ายถูกสอบจาก ปมฆ่า 98 ศพที่นักการเมืองห้วงนั้นไม่แสดงความรับผิดชอบมาตั้งแต่ต้น
มองด้วยใจเป็นธรรม จึงพูดไม่ได้ว่าคุณอภิสิทธิ์หรือคุณสุเทพถูกกลั่นแกล้ง แต่น่าจะเป็นผลกรรม
ยิ่งได้เห็นหนังสือลับ ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 สมัยคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ อนุมัติ ให้เจ้าหน้าที่ใช้ “พลแม่นปืน” และ “สามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ.ได้”...โดยลืมการอนุมัติให้ใช้โล่ ไม้พลองยาว หรือการฉีดน้ำและใช้คลื่นเสียง แม้แต่แก๊สน้ำตา กระบองหรือกระสุนยาง หรือยิงเตือน
จึงเป็นอนุสติเตือนนักการเมืองในอุดมคติ พึงหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดกับการใช้ทหาร ที่มีอาวุธสงครามเพื่อนำมาสกัดฝูงชนที่เรียกร้องประเด็นการเมือง โดยเฉพาะคนที่ผ่าน สถาบันการเมืองมาจากอังกฤษ
แม้ฝ่ายทหารจะอ้างว่า ทหารก็เจ็บและเสียชีวิตหรือมีเหตุผลมากพอ แต่มันก็เกิน กว่าเหตุที่ภาพจากช่างภาพและกล้องวีดิโอจำนวนมากได้บันทึกเป็นประจักษ์ว่า ทหารใช้อาวุธสงคราม ใช้กระสุนจริง ใช้สไนเปอร์จริง และใช้รถหุ้มเกราะปฏิบัติการเทียบเท่า “สนามรบ” ใช้รหัส “เผาบ้านเผาเมือง” เหมือนฝูงชนเหล่าเนื้อเชื้อสายคนไทยด้วยกันเป็นข้าศึกศัตรูร้ายจากต่างชาติ
ที่ประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ควรกดปุ่มเลือกใช้
แต่นักการเมืองจากพรรคเก่าแก่กลับกล้าหาญชาญชัยใช้แก้ปัญหาการเมืองด้วยอารมณ์อำมหิต
คำตอบที่ซ้ำซากก็คือ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เวทีประชาธิปไตย เลือกตั้งไม่ไว้วางใจให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลอีก
วิญญาณ 98 ศพ จึงเรียกร้องโหยหวนยาวนานมาจนถึงวันนี้ และวันต่อไป...ตราบใด ที่นักการเมืองบางคน “ไม่เข้าถึงจิตสำนึกประชาธิปไตย” มัวแต่ตะแบง “ดีแต่พูด” หวังใช้คารมบิดเบือนข้างๆ คูๆ ทุกเวที
โดยหารู้ไม่ว่า “ยิ่งตะแบง ก็ยิ่งเสื่อม” แม้กระทั่งความหล่อเหลาที่เหลืออยู่ ก็ช่วยกู้หน้าไม่ได้!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
โคตรใหญ่ !!?
กรณีคลิปเสียงนักการเมืองใหญ่นนทบุรี พรรคเพื่อไทย โทรศัพท์ถึงอดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาแหลม อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งประจำกรมอุทยานแห่งชาติส่วนกลาง แม้เป็นคำพูดที่ต้องการไกล่เกลี่ยปัญหาให้กับเพื่อนที่มีปัญหาเรื่องการถือครองที่ดิน แต่หลายประโยคก็สะท้อนถึงพฤติกรรมของนักการเมืองที่พยายามแสดงบารมีต่อข้าราชการ โดยอ้างอำนาจของรัฐมนตรีและพวกพ้อง ซึ่งเป็นปัญหาของข้าราชการทุกยุคทุกสมัย
โดยเฉพาะปัญหาการบุกรุกป่าและเขตอุทยานแห่งชาติมากมายขณะนี้ ซึ่งนายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และเจ้าหน้าที่ทุกคนยืนหยัดต่อสู้กับผู้บุกรุกอย่างจริงจังโดยไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ แต่ผู้บุกรุกส่วนใหญ่ไม่เกรงกลัวกฎหมายหรือสำนึกในความผิด ยังพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ทางราชการยอมรับการกระทำผิด โดยอ้างสารพัดเหตุผล
ที่สำคัญการบุกรุกป่าและพื้นที่อุทยานแห่งชาตินั้นมีมากมายและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่เป็นคดีความกว่า 360 คดีขณะนี้ส่วนใหญ่เป็นการบุกรุกทำรีสอร์ตและบ้านพักตากอากาศ ซึ่งเป็นผู้มีฐานะและมีอิทธิพล
จึงไม่แปลกที่จะมีการใช้อำนาจและอิทธิพล ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อข่มขู่และกลั่นแกล้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานอย่างสุจริต แม้แต่นายดำรงค์ พิเดช ยังถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในขณะนี้ แต่ถือเป็นการพิสูจน์ว่ารัฐบาลชุดนี้จะเอาจริงเอาจังและแก้ปัญหาอย่างถอนรากถอนโคนกับการบุกรุกทำลายป่า และนำคนผิดทุกระดับมาลงโทษหรือไม่ ไม่ใช่ปากว่าตาขยิบ “ช่วยคนเลว ทำลายคนดี” อย่างนักการเมืองหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านๆมา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
เปิดบทเรียน : รถไฟความเร็วสูง ขนผัก จากต่างประเทศ !!?
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประเด็นหนึ่งที่น่าจับตามองในแวดวงเศรษฐกิจ-การเมืองไทย คือการออกมาให้สัมภาษณ์ของนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 3 สมัย (ชาติชาย-ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์) ในประเด็นเรื่องแผนการลงทุนสร้าง “ไฮสปีดเทรน” หรือรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย

แนวคิดของการขนส่งด้วย Railex คือใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าทางไกล และตั้งศูนย์ขนถ่ายสินค้าตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ จากนั้นต่อเชื่อมเส้นทางด้วยรถบรรทุกในระยะสั้นจากจุดกระจายสินค้าอีกทีหนึ่ง
Railex ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2006 โดยเริ่มจากเส้นทางระหว่างรัฐวอชิงตันทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มายังรัฐนิวยอร์กที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของประเทศ จากนั้นก็ขยายเส้นทางในปี 2008 โดยเพิ่มเส้นทางระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก เพิ่มเข้ามา ในอนาคต Railex มีแผนตั้งจุดขนถ่ายสินค้าตอนกลางประเทศที่ชิคาโก และมีแผนขยายเส้นทางมายังภาคตะวันออกเฉียงใต้อีกเส้นทางหนึ่ง

ในหนึ่งสัปดาห์มีรถไฟของ Railex วิ่งให้บริการขนส่งสินค้า 4 ขบวน โดยแบ่งเป็นเส้นทางวอชิงตัน-นิวยอร์ก 2 ขบวน และเส้นทางแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก 2 ขบวน รถทุกขบวนปรับอากาศและมีระบบตรวจสอบสินค้าด้วยกล้องวงจรปิด ระบบเช็คพิกัดด้วยจีพีเอส ส่วนศูนย์ขนถ่ายสินค้าทั้งสามแห่งก็มีระบบห้องเย็นพร้อมมูล ช่วยการันตีว่าสินค้าเกษตรที่ขนส่งด้วย Railex จะผ่านการปรับอากาศตลอดการเดินทาง
ตัวอย่างการขนสินค้าของ Railex ได้แก่การขนส่งไวน์ และการขนผลไม้ที่ลงเรือหรือเครื่องบินจากแอฟริกามายังฝั่งตะวันออกของสหรัฐ และกระจายไปยังภาคตะวันตกอีกทีหนึ่ง
หลังจากเปิดบริการมาได้ราว 5 ปี ทาง Railex ระบุว่าได้ขนส่งสินค้าเท่ากับรถบรรทุก 100,000 เที่ยวไปเรียบร้อยแล้ว การขนส่งด้วยรถไฟมีประสิทธิภาพดีกว่ารถบรรทุกมาก เพราะต้นทุนการขนส่งต่ำกว่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้มมากกว่า และลดปัญหาจากการขนส่งโดยรถยนต์ เช่น การจราจรหรืออุบัติเหตุไปได้มาก
โครงการ Euro Carex มีแนวทางที่ต่างไปจาก Railex อยู่บ้าง เพราะเป็นโครงการที่ผลักดันโดยอุตสาหกรรมการบินที่กำลังถูกบีบจากกฎกติกาทางสังคม (เช่น การห้ามบินในเวลากลางคืน) ทำให้ทำธุรกิจขนส่งสินค้ายากขึ้น ทางออกที่เป็นไปได้จึงเป็นการเปลี่ยนวิธีขนส่งมาใช้รถไฟแทน และใช้จุดขนถ่ายสินค้าของสนามบิน (cargo) ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือพูดในอีกแง่ก็คือเปลี่ยนจากการขนส่งทางอากาศมาเป็นรถไฟเท่านั้น ส่วนโครงสร้างของอุตสาหกรรม cargo ยังเป็นเหมือนเดิม
Euro Carex มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สนามบินชาร์ลเดอโกล ปารีส และเมือง Liege ในเบลเยียม จากนั้นจะกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก เช่น ขนข้ามไปลอนดอนผ่านอุโมงค์ลอดใต้ช่องแคบอังกฤษ ขนขึ้นเหนือไปอัมสเตอร์ดัมและโคโลญจ์ และในระยะยาวจะขยายไปยังยุโรปตอนใต้อย่างสเปนและอิตาลีด้วย

ในเว็บไซต์ของ Euro Carex อธิบายแรงจูงใจของโครงการนี้ว่ามีปัจจัย 6 ประการที่ช่วยหนุนให้การขนส่งสินค้าด้วยรางลักษณะนี้เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ
Euro Carex จะใช้ขบวนรถ 2 แบบ ได้แก่ รถด่วน (Express) เน้นการขนสินค้าขนาดเล็ก มีกำหนดเวลาการส่งสินค้าที่ชัดเจน (เช่น ต้องส่งภายในวันรุ่งขึ้น) ซึ่งตลาดนี้เดิมเป็นตลาดที่ใช้เครื่องบินขนส่ง กับรถสินค้า (Cargo) สำหรับสินค้าขนาดใหญ่ที่ไม่เน้นระยะเวลาการส่งมากนัก (เช่น ภายใน 3 วัน) แต่เน้นเรื่องต้นทุนค่าส่งสินค้าที่ต่ำกว่าแบบ Express
โครงการ Euro Carex ถูกริเริ่มในปี 2009 มีแผนเพิ่มให้บริการจริงในปี 2015 และจะขยายเส้นทางไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2020
การเกิดขึ้นของ Railex และแนวคิดการสร้าง Euro Carex เป็นตัวอย่างที่ดีว่าการขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเชิงธุรกิจ (ในกรณีของ Railex) ในกรณีของประเทศไทยที่มีที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์อันโดดเด่น สามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับโครงการทางรถไฟสายอาเซียน (Kunming–Singapore Railway) ที่เคยถูกคิดขึ้นตั้งแต่สมัยอาณานิคม มาประกอบการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ
ที่มา.Siam Intelligence Unit
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
- ประชาชาติธุรกิจ “พันศักดิ์ วิญญรัตน์” ชู Magic Number ชงรถไฟไฮสปีดทะลุยุโรป
- ไทยรัฐออนไลน์ รัฐสร้างเสาหลักรายได้ใหม่ เดินหน้าไฮสปีดเทรนเปลี่ยนอนาคตประเทศไทย
- หมายเหตุ: อ่านสกู๊ปพิเศษบทสัมภาษณ์พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ของ SIU
“ที่น่าสนใจคือ การขนส่งสินค้าที่เน่าเสียได้ อย่างผัก ผลไม้ ที่ปัจจุบันนี้มีการขนส่งทางรถยนต์เกิดการเน่าเสีย 17-35% แต่เมื่อขนส่งทางไฮสปีดเทรน จะมีอัตราการเน่าเสีย 0% ประเทศไทยจะสามารถขนส่งสินค้าเกษตรไปถึงลูกค้าในมูลค่า 336,000 ล้านบาท ในปี 2561 ที่ไฮสปีดเทรนสร้างเสร็จโดยไม่มีความสูญเสียเลย ขณะที่การขนส่งสินค้าสดๆ อย่างปลาสดจะถึงมือลูกค้าทั้งๆที่ปลายังเป็นอยู่”SIU คิดว่าแนวคิดเรื่องการปรับระบบลอจิสติกส์ด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องน่าสนใจมาก และลองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีการขนส่งสินค้าเกษตรด้วยระบบรางจากต่างประเทศ เพื่อค้นหาว่าต่างประเทศมีประสบการณ์ด้านนี้อย่างไรบ้าง
Railex รถไฟความเร็วสูงขนสินค้าเกษตรข้ามทวีปของสหรัฐ
Railex รถไฟขนสินค้าเกษตรข้ามฝั่งทะเลสหรัฐ
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือบริษัท Railex ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งโฆษณาตัวเองไว้ว่าเป็น “Temperature Controlled Unit Train” หรือรถไฟควบคุมอุณหภูมิพิเศษ ที่วิ่งระหว่างฝั่งตะวันตก-ตะวันออกของสหรัฐอเมริกาเพื่อขนส่งสินค้าเกษตรโดยเฉพาะ ระยะเวลาการวิ่งจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่งใช้เวลา 5 วันแนวคิดของการขนส่งด้วย Railex คือใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าทางไกล และตั้งศูนย์ขนถ่ายสินค้าตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ จากนั้นต่อเชื่อมเส้นทางด้วยรถบรรทุกในระยะสั้นจากจุดกระจายสินค้าอีกทีหนึ่ง
Railex ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2006 โดยเริ่มจากเส้นทางระหว่างรัฐวอชิงตันทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มายังรัฐนิวยอร์กที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของประเทศ จากนั้นก็ขยายเส้นทางในปี 2008 โดยเพิ่มเส้นทางระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก เพิ่มเข้ามา ในอนาคต Railex มีแผนตั้งจุดขนถ่ายสินค้าตอนกลางประเทศที่ชิคาโก และมีแผนขยายเส้นทางมายังภาคตะวันออกเฉียงใต้อีกเส้นทางหนึ่ง
เส้นทางของ Railex ในปัจจุบัน (2012)
ในหนึ่งสัปดาห์มีรถไฟของ Railex วิ่งให้บริการขนส่งสินค้า 4 ขบวน โดยแบ่งเป็นเส้นทางวอชิงตัน-นิวยอร์ก 2 ขบวน และเส้นทางแคลิฟอร์เนีย-นิวยอร์ก 2 ขบวน รถทุกขบวนปรับอากาศและมีระบบตรวจสอบสินค้าด้วยกล้องวงจรปิด ระบบเช็คพิกัดด้วยจีพีเอส ส่วนศูนย์ขนถ่ายสินค้าทั้งสามแห่งก็มีระบบห้องเย็นพร้อมมูล ช่วยการันตีว่าสินค้าเกษตรที่ขนส่งด้วย Railex จะผ่านการปรับอากาศตลอดการเดินทาง
ตัวอย่างการขนสินค้าของ Railex ได้แก่การขนส่งไวน์ และการขนผลไม้ที่ลงเรือหรือเครื่องบินจากแอฟริกามายังฝั่งตะวันออกของสหรัฐ และกระจายไปยังภาคตะวันตกอีกทีหนึ่ง
หลังจากเปิดบริการมาได้ราว 5 ปี ทาง Railex ระบุว่าได้ขนส่งสินค้าเท่ากับรถบรรทุก 100,000 เที่ยวไปเรียบร้อยแล้ว การขนส่งด้วยรถไฟมีประสิทธิภาพดีกว่ารถบรรทุกมาก เพราะต้นทุนการขนส่งต่ำกว่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้มมากกว่า และลดปัญหาจากการขนส่งโดยรถยนต์ เช่น การจราจรหรืออุบัติเหตุไปได้มาก
Euro Carex โครงการรถไฟเชื่อมยุโรปตะวันตก
ฝั่งยุโรปเองก็มีแนวคิดการสร้างโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงสำหรับขนถ่ายสินค้า (European High-speed Rail Freight Network) เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะยังเป็นเพียงโครงการอยู่ก็ตามโครงการ Euro Carex มีแนวทางที่ต่างไปจาก Railex อยู่บ้าง เพราะเป็นโครงการที่ผลักดันโดยอุตสาหกรรมการบินที่กำลังถูกบีบจากกฎกติกาทางสังคม (เช่น การห้ามบินในเวลากลางคืน) ทำให้ทำธุรกิจขนส่งสินค้ายากขึ้น ทางออกที่เป็นไปได้จึงเป็นการเปลี่ยนวิธีขนส่งมาใช้รถไฟแทน และใช้จุดขนถ่ายสินค้าของสนามบิน (cargo) ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน หรือพูดในอีกแง่ก็คือเปลี่ยนจากการขนส่งทางอากาศมาเป็นรถไฟเท่านั้น ส่วนโครงสร้างของอุตสาหกรรม cargo ยังเป็นเหมือนเดิม
Euro Carex มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สนามบินชาร์ลเดอโกล ปารีส และเมือง Liege ในเบลเยียม จากนั้นจะกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก เช่น ขนข้ามไปลอนดอนผ่านอุโมงค์ลอดใต้ช่องแคบอังกฤษ ขนขึ้นเหนือไปอัมสเตอร์ดัมและโคโลญจ์ และในระยะยาวจะขยายไปยังยุโรปตอนใต้อย่างสเปนและอิตาลีด้วย
แผนที่โครงการของ Euro Carex
ในเว็บไซต์ของ Euro Carex อธิบายแรงจูงใจของโครงการนี้ว่ามีปัจจัย 6 ประการที่ช่วยหนุนให้การขนส่งสินค้าด้วยรางลักษณะนี้เป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ
- อุตสาหกรรมขนส่งสินค้าเองมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
- การบินช่วงดึกเริ่มเจอข้อจำกัดจากระเบียบของชุมชนใกล้สนามบิน ที่ต้องการลดมลภาวะทางเสียง
- ถนนในยุโรปเริ่มมีการจราจรหนาแน่น และยุโรปก็เริ่มออกกฎจำกัดความเร็วของรถบรรทุกหนักส่งสินค้า (HGV หรือ heavy goods vehicle)
- ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
- การขยายตัวของโครงข่ายรางรถไฟ
- อุตสาหกรรมการขนส่งด้วยรางในยุโรปกลับถูกจำกัดด้านกฎระเบียบน้อยลง
Euro Carex จะใช้ขบวนรถ 2 แบบ ได้แก่ รถด่วน (Express) เน้นการขนสินค้าขนาดเล็ก มีกำหนดเวลาการส่งสินค้าที่ชัดเจน (เช่น ต้องส่งภายในวันรุ่งขึ้น) ซึ่งตลาดนี้เดิมเป็นตลาดที่ใช้เครื่องบินขนส่ง กับรถสินค้า (Cargo) สำหรับสินค้าขนาดใหญ่ที่ไม่เน้นระยะเวลาการส่งมากนัก (เช่น ภายใน 3 วัน) แต่เน้นเรื่องต้นทุนค่าส่งสินค้าที่ต่ำกว่าแบบ Express
โครงการ Euro Carex ถูกริเริ่มในปี 2009 มีแผนเพิ่มให้บริการจริงในปี 2015 และจะขยายเส้นทางไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2020
สรุป
แนวคิดเรื่องการใช้รถไฟความเร็วสูงขนส่งสินค้าไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เพราะแนวคิดนี้ถูกเสนอตั้งแต่ปี 1984 โดย Yanick Paternotte นักการเมืองชาวฝรั่งเศสที่เชี่ยวชาญเรื่องสิ่งแวดล้อมและกฎเกณฑ์ของสนามบิน เขาเสนอว่าเที่ยวบินสินค้ารอบดึกสามารถใช้การขนส่งด้วยรถไฟได้ และทางบริษัทรถไฟแห่งชาติของฝรั่งเศส (SNCF) ก็ตอบรับและเคยศึกษาเรื่องนี้ในเชิงธุรกิจการเกิดขึ้นของ Railex และแนวคิดการสร้าง Euro Carex เป็นตัวอย่างที่ดีว่าการขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเชิงธุรกิจ (ในกรณีของ Railex) ในกรณีของประเทศไทยที่มีที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์อันโดดเด่น สามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับโครงการทางรถไฟสายอาเซียน (Kunming–Singapore Railway) ที่เคยถูกคิดขึ้นตั้งแต่สมัยอาณานิคม มาประกอบการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ
ที่มา.Siam Intelligence Unit
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
3 กูรู ชี้ทิศทางฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ พลิกกลยุทธ์รับมือสงครามการค้าโลก !?
เวที ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อเรื่อง "จุดเปลี่ยนการค้าโลก : ไทยจะเดินทางอย่างไร" ในวันครบรอบ 92 ปีการสถาปนากระทรวงพาณิชย์ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา องค์ปาฐกถาประกอบด้วย นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.), นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) และ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ สุดยอดกูรูด้านธุรกิจ เศรษฐกิจ ถ่ายทอดประสบการณ์ชี้ทิศทางฝ่าวิกฤตที่กำลังเผชิญอยู่ขณะนี้
NTMs โมเดลใหม่กีดกันทางการค้า
นาย ศุภชัยกล่าวว่า เศรษฐกิจสหภาพยุโรปและสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะซบเซาจากที่เคยขยายตัวปีละ 6-7% ปีก่อนลดเหลือ 2.5% และปีนี้จนถึงปีหน้าคงเติบโตไม่ถึง 2.5% นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดความเชื่อมั่นในระบบการค้าแบบพหุภาคี จากที่การเจรจารอบโดฮา ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกไม่คืบหน้า และไม่น่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้ ประเทศต่าง ๆ จึงเพิ่มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs : Non Tariff Measures) มากขึ้น
ไทยควรปรับวิธีเจรจาใหม่เป็นกลุ่มย่อย เฉพาะเรื่อง เลือกเรื่องที่พร้อมมาเจรจาก่อน จากเดิมเจรจาทุกเรื่องให้จบพร้อมกัน ทำให้ยืดเยื้อ เช่น เลือกเจรจาประเด็นการเงิน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ฯลฯ ซึ่งอาจจะมีฝ่ายคัดค้าน แต่จะได้ประโยชน์กว่า
ตนไม่เห็นด้วยที่จะ เปิดการเจรจากรอบความตกลงที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้า (PTA : Preference Trade Agreement) ซึ่งเริ่มมีมากขึ้น เพราะเป็นการเจรจาระหว่างประเทศที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน เช่น กรอบเจรจาสหรัฐกับเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ซึ่งเสี่ยงมากที่ข้อตกลงจะมีผลเกินกว่าที่ตกลงไว้ในกรอบดับบลิว
ทีโอ หรืออาจเรียก WTO+4 หรือปรับเงื่อนไขเจรจาให้เป็น soft law นอกจากนี้เป็นห่วงประเทศกำลังพัฒนาจะติดกับดัก global public goods ให้เป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิต แต่ไม่สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ ต้องปรับแนวคิดนำเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การใช้เครือข่ายการค้าสากลในระดับต่าง ๆ มาใช้
โลกอนาคตไม่ใช่ของอียู-สหรัฐ
ประเด็น ที่ไทยจะเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) ในอนาคตไทยไม่มีปัญหาเรื่องการเตรียมตัว แต่อาเซียนคงไม่สามารถรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ เพราะไม่ใช่แค่ลดภาษี แต่หมายถึงการปรับกฎระเบียบอื่นด้วย ซึ่งขณะนี้ทั้งเรื่องแรงงาน พลังงาน การเงิน การศึกษา ล้วนอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ให้กลุ่มอาเซียนเร่งพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกับภาคีทั้ง 6 ประเทศ ทั้งกรอบการเจรจาอาเซียน+3 อาเซียน+6 เพราะโลกต่อไปจะไม่ใช่โลกของอียูและสหรัฐแล้ว
นายศุภชัยย้ำว่า ขอให้รัฐบาลคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากกฎระเบียบที่มีอยู่ 4 เรื่องมากขึ้น คือ การจดทะเบียนคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) การออกประกาศบังคับใช้สิทธิ์ (CL) การเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และการเข้าเป็นภาคีเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยยึดหลัก Nagoya Protocal ปกป้องการเข้ามาโจรกรรมทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ โดยไม่แบ่งปันให้เจ้าของสิทธิ์ หากไม่ตื่นตัวไม่มีกฎเข้มแข็งจะเสียเปรียบ กระทบผู้บริโภค
ทัพหน้า-ทัพหลังหนุนเอกชนส่งออก
ขณะ ที่นายวีรพงษ์กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นทัพหน้าในการนำเอกชน ส่วนกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหน่วยระวังหลัง ต้องสนับสนุนและให้ความสะดวกเอกชน เพราะการค้าไทยมีสัดส่วนเพียง 1% ของการค้าโลก จะให้อยู่เฉพาะตลาดในไทยคงไม่ได้ ต้องสนับสนุนออกไปทั่วโลก
ตอน นี้ไทยอยู่บนทาง 3 แพร่ง จะต้องเลือกเลี้ยวซ้ายหรือขาว เพราะข้างหน้าคือหุบเหว ก่อนหน้านี้หัวรถจักรคือสหรัฐ-สหภาพยุโรป แต่สหรัฐคงไม่ฟื้น ที่ผ่านมาสหรัฐแข่งขันได้ในตลาดโลก เพราะใช้กฎหมายผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญามาควบคุมคนอื่น แต่ตอนนี้ไม่มีเทคโนโลยีอะไรผูกขาดได้
ส่วนสหภาพยุโรปก็รอวันตาย เพราะเอาคนแก่เล็กเด็กแดงไปผูกไว้ด้วยสกุลเงินเดียวกัน ทั้งที่ความสามารถแข่งขันต่างกัน มาตรการแก้ปัญหาที่นำมาใช้ไม่ได้แก้ไขปัญหาแท้จริง แค่อุดสภาพคล่อง ถ้าไม่ไหวอาจต้องยอมตัดเนื้อร้ายหรือพายุโรปตายยกแผง
ทวาย-มาบตาพุด พลิกโฉมประเทศไทย
ที่ น่าจับตามองคือ ผลกระทบต่อจีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่พึ่งพาตลาดสหรัฐและยุโรป แต่เชื่อว่าจีนไม่น่าทรุด เพราะเริ่มปรับตัวโดยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และการลงทุนภาครัฐ จุดนี้ถือเป็นโอกาสของไทยที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน อยู่ใกล้จีน ประกอบกับญี่ปุ่นจะขยายอำนาจไปทวาย เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
จึงเห็นด้วยที่รัฐบาลสนับสนุนโครงการทวาย เพราะจะเชื่อมมาบตาพุด แหลมฉบังไปยังทวาย ทำให้การค้าไทยไปยังฝั่งตะวันตกเติบโตขึ้น จากเดิมมีเพียง 35% เทียบกับการค้าไทยกับฝั่งตะวันออก มีโอกาสขยายการค้าไปยังอินเดีย ตะวันออกกลาง จะพลิกโฉมประเทศไทยมหาศาลในอีก 20-30 ปีข้างหน้า
มุ่งแชมป์คุณภาพข้าวแทนแชมป์ราคา
ด้าน นายธนินท์กล่าวสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่าเคยสอบถามชาวนาก็เห็นว่าดีกว่าการประกันราคา ซึ่งไม่ได้เข้าข้างรัฐบาล แต่ราคาประกัน 10 บาท ขายได้ 5 บาท รัฐบาลจาก 5 บาท ขายได้ 7 บาท รัฐจ่าย 3 บาท มีการรั่วไหล แล้วจะป้องกันความเสียหายอย่างไร นักธุรกิจค้าข้าวพอใจ ซื้อถูกขายถูก ง่าย แต่จำนำซื้อแพง ขายแพง ยาก มีโอกาสขาดทุน
คนได้คือชาวนา คนเสียคือรัฐบาลกับนักธุรกิจ จึงต้องช่วยให้นักธุรกิจเสียหายน้อยที่สุด เช่น ปรับมาใช้ระบบโควตาข้าวเหมือนเดิม ให้แต่ละคนได้ข้าวตามประวัติส่งออก ทุกคนต้องไปขายข้าวคุณภาพเดียวกันราคาเท่ากัน ไม่ตัดราคา ใช้บริษัทเซอร์เวเยอร์ระดับโลกมาดูแลและรับฝาก และให้แบงก์การันตี
การ ส่งออกข้าวไทยต้องไม่มุ่งแข่งขันเป็นแชมป์ด้านราคา แต่ควรเป็นแชมป์ด้านคุณภาพมากกว่า อนาคตพม่าจะเป็นคู่แข่งสำคัญที่สุด อินเดียไม่ใช่คู่แข่งถาวร เวียดนาม กัมพูชาก็ไม่ใช่ เพราะพม่ามีพื้นที่ และมีคนกว่า 90 ล้านคน รัฐจึงควรส่งเสริมเอกชนไทยไปลงทุนซื้อข้าวจากพม่าเป็นวัตถุดิบส่งออก ให้ปรับแนวคิดว่าวัตถุดิบของไทยมีอยู่ทั่วโลก ส่งเสริมให้ไปซื้อหน้าดินมา แล้วนำสินค้าพวกรถจักรยานยนต์ โทรทัศน์ ส่งกลับไปขาย
หนุนเกษตร-พลังงานทดแทน-ท่องเที่ยว
ไทย ไม่ควรกังวลปัญหาเงินเฟ้อเกินไป เพราะไม่สามารถคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก วิกฤตยุโรปและสหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้ารุนแรงกว่าปีนี้ เป็นโอกาสของไทยในการลงทุน หรือเข้าซื้อกิจการ รัฐบาลก็มีโอกาส เพราะเงินทุนสำรองมากถึง 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ควรนำมาลงทุนสร้างสาธารณูปโภค ทั้งท่าเรือ คมนาคม โลจิสติกส์ ชลประทาน รถไฟรางคู่ และสนับสนุนนักธุรกิจเล็ก กลาง จิ๋ว ไปลงทุนต่างประเทศ
พัฒนา ระบบชลประทาน 25 ล้านไร่ปลูกข้าวให้ผลผลิตเท่ากับที่เคยปลูก 67 ล้านไร่ แล้วนำที่ดินที่เหลือ 30-40 ล้านไร่ ไปปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานทดแทน ต้องสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ปรับลดภาษี สร้างฟรีเทรดโซนเพิ่มขึ้น แก้กฎหมายดึงเอกชนเข้ามาลงทุน เช่น ให้เช่าที่ดินเป็น 99 ปี ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 16-17% ต่ำกว่าฮ่องกง เพื่อดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
NTMs โมเดลใหม่กีดกันทางการค้า
นาย ศุภชัยกล่าวว่า เศรษฐกิจสหภาพยุโรปและสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะซบเซาจากที่เคยขยายตัวปีละ 6-7% ปีก่อนลดเหลือ 2.5% และปีนี้จนถึงปีหน้าคงเติบโตไม่ถึง 2.5% นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดความเชื่อมั่นในระบบการค้าแบบพหุภาคี จากที่การเจรจารอบโดฮา ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกไม่คืบหน้า และไม่น่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้ ประเทศต่าง ๆ จึงเพิ่มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs : Non Tariff Measures) มากขึ้น
ไทยควรปรับวิธีเจรจาใหม่เป็นกลุ่มย่อย เฉพาะเรื่อง เลือกเรื่องที่พร้อมมาเจรจาก่อน จากเดิมเจรจาทุกเรื่องให้จบพร้อมกัน ทำให้ยืดเยื้อ เช่น เลือกเจรจาประเด็นการเงิน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ฯลฯ ซึ่งอาจจะมีฝ่ายคัดค้าน แต่จะได้ประโยชน์กว่า
ตนไม่เห็นด้วยที่จะ เปิดการเจรจากรอบความตกลงที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้า (PTA : Preference Trade Agreement) ซึ่งเริ่มมีมากขึ้น เพราะเป็นการเจรจาระหว่างประเทศที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน เช่น กรอบเจรจาสหรัฐกับเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ซึ่งเสี่ยงมากที่ข้อตกลงจะมีผลเกินกว่าที่ตกลงไว้ในกรอบดับบลิว
ทีโอ หรืออาจเรียก WTO+4 หรือปรับเงื่อนไขเจรจาให้เป็น soft law นอกจากนี้เป็นห่วงประเทศกำลังพัฒนาจะติดกับดัก global public goods ให้เป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิต แต่ไม่สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปได้ ต้องปรับแนวคิดนำเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การใช้เครือข่ายการค้าสากลในระดับต่าง ๆ มาใช้
โลกอนาคตไม่ใช่ของอียู-สหรัฐ
ประเด็น ที่ไทยจะเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) ในอนาคตไทยไม่มีปัญหาเรื่องการเตรียมตัว แต่อาเซียนคงไม่สามารถรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ เพราะไม่ใช่แค่ลดภาษี แต่หมายถึงการปรับกฎระเบียบอื่นด้วย ซึ่งขณะนี้ทั้งเรื่องแรงงาน พลังงาน การเงิน การศึกษา ล้วนอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ให้กลุ่มอาเซียนเร่งพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกับภาคีทั้ง 6 ประเทศ ทั้งกรอบการเจรจาอาเซียน+3 อาเซียน+6 เพราะโลกต่อไปจะไม่ใช่โลกของอียูและสหรัฐแล้ว
นายศุภชัยย้ำว่า ขอให้รัฐบาลคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากกฎระเบียบที่มีอยู่ 4 เรื่องมากขึ้น คือ การจดทะเบียนคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) การออกประกาศบังคับใช้สิทธิ์ (CL) การเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้ พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และการเข้าเป็นภาคีเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยยึดหลัก Nagoya Protocal ปกป้องการเข้ามาโจรกรรมทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ โดยไม่แบ่งปันให้เจ้าของสิทธิ์ หากไม่ตื่นตัวไม่มีกฎเข้มแข็งจะเสียเปรียบ กระทบผู้บริโภค
ทัพหน้า-ทัพหลังหนุนเอกชนส่งออก
ขณะ ที่นายวีรพงษ์กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นทัพหน้าในการนำเอกชน ส่วนกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหน่วยระวังหลัง ต้องสนับสนุนและให้ความสะดวกเอกชน เพราะการค้าไทยมีสัดส่วนเพียง 1% ของการค้าโลก จะให้อยู่เฉพาะตลาดในไทยคงไม่ได้ ต้องสนับสนุนออกไปทั่วโลก
ตอน นี้ไทยอยู่บนทาง 3 แพร่ง จะต้องเลือกเลี้ยวซ้ายหรือขาว เพราะข้างหน้าคือหุบเหว ก่อนหน้านี้หัวรถจักรคือสหรัฐ-สหภาพยุโรป แต่สหรัฐคงไม่ฟื้น ที่ผ่านมาสหรัฐแข่งขันได้ในตลาดโลก เพราะใช้กฎหมายผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญามาควบคุมคนอื่น แต่ตอนนี้ไม่มีเทคโนโลยีอะไรผูกขาดได้
ส่วนสหภาพยุโรปก็รอวันตาย เพราะเอาคนแก่เล็กเด็กแดงไปผูกไว้ด้วยสกุลเงินเดียวกัน ทั้งที่ความสามารถแข่งขันต่างกัน มาตรการแก้ปัญหาที่นำมาใช้ไม่ได้แก้ไขปัญหาแท้จริง แค่อุดสภาพคล่อง ถ้าไม่ไหวอาจต้องยอมตัดเนื้อร้ายหรือพายุโรปตายยกแผง
ทวาย-มาบตาพุด พลิกโฉมประเทศไทย
ที่ น่าจับตามองคือ ผลกระทบต่อจีน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกที่พึ่งพาตลาดสหรัฐและยุโรป แต่เชื่อว่าจีนไม่น่าทรุด เพราะเริ่มปรับตัวโดยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ และการลงทุนภาครัฐ จุดนี้ถือเป็นโอกาสของไทยที่เป็นศูนย์กลางของอาเซียน อยู่ใกล้จีน ประกอบกับญี่ปุ่นจะขยายอำนาจไปทวาย เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
จึงเห็นด้วยที่รัฐบาลสนับสนุนโครงการทวาย เพราะจะเชื่อมมาบตาพุด แหลมฉบังไปยังทวาย ทำให้การค้าไทยไปยังฝั่งตะวันตกเติบโตขึ้น จากเดิมมีเพียง 35% เทียบกับการค้าไทยกับฝั่งตะวันออก มีโอกาสขยายการค้าไปยังอินเดีย ตะวันออกกลาง จะพลิกโฉมประเทศไทยมหาศาลในอีก 20-30 ปีข้างหน้า
มุ่งแชมป์คุณภาพข้าวแทนแชมป์ราคา
ด้าน นายธนินท์กล่าวสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าว โดยระบุว่าเคยสอบถามชาวนาก็เห็นว่าดีกว่าการประกันราคา ซึ่งไม่ได้เข้าข้างรัฐบาล แต่ราคาประกัน 10 บาท ขายได้ 5 บาท รัฐบาลจาก 5 บาท ขายได้ 7 บาท รัฐจ่าย 3 บาท มีการรั่วไหล แล้วจะป้องกันความเสียหายอย่างไร นักธุรกิจค้าข้าวพอใจ ซื้อถูกขายถูก ง่าย แต่จำนำซื้อแพง ขายแพง ยาก มีโอกาสขาดทุน
คนได้คือชาวนา คนเสียคือรัฐบาลกับนักธุรกิจ จึงต้องช่วยให้นักธุรกิจเสียหายน้อยที่สุด เช่น ปรับมาใช้ระบบโควตาข้าวเหมือนเดิม ให้แต่ละคนได้ข้าวตามประวัติส่งออก ทุกคนต้องไปขายข้าวคุณภาพเดียวกันราคาเท่ากัน ไม่ตัดราคา ใช้บริษัทเซอร์เวเยอร์ระดับโลกมาดูแลและรับฝาก และให้แบงก์การันตี
การ ส่งออกข้าวไทยต้องไม่มุ่งแข่งขันเป็นแชมป์ด้านราคา แต่ควรเป็นแชมป์ด้านคุณภาพมากกว่า อนาคตพม่าจะเป็นคู่แข่งสำคัญที่สุด อินเดียไม่ใช่คู่แข่งถาวร เวียดนาม กัมพูชาก็ไม่ใช่ เพราะพม่ามีพื้นที่ และมีคนกว่า 90 ล้านคน รัฐจึงควรส่งเสริมเอกชนไทยไปลงทุนซื้อข้าวจากพม่าเป็นวัตถุดิบส่งออก ให้ปรับแนวคิดว่าวัตถุดิบของไทยมีอยู่ทั่วโลก ส่งเสริมให้ไปซื้อหน้าดินมา แล้วนำสินค้าพวกรถจักรยานยนต์ โทรทัศน์ ส่งกลับไปขาย
หนุนเกษตร-พลังงานทดแทน-ท่องเที่ยว
ไทย ไม่ควรกังวลปัญหาเงินเฟ้อเกินไป เพราะไม่สามารถคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก วิกฤตยุโรปและสหรัฐ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้ารุนแรงกว่าปีนี้ เป็นโอกาสของไทยในการลงทุน หรือเข้าซื้อกิจการ รัฐบาลก็มีโอกาส เพราะเงินทุนสำรองมากถึง 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ควรนำมาลงทุนสร้างสาธารณูปโภค ทั้งท่าเรือ คมนาคม โลจิสติกส์ ชลประทาน รถไฟรางคู่ และสนับสนุนนักธุรกิจเล็ก กลาง จิ๋ว ไปลงทุนต่างประเทศ
พัฒนา ระบบชลประทาน 25 ล้านไร่ปลูกข้าวให้ผลผลิตเท่ากับที่เคยปลูก 67 ล้านไร่ แล้วนำที่ดินที่เหลือ 30-40 ล้านไร่ ไปปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานทดแทน ต้องสนับสนุนธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ปรับลดภาษี สร้างฟรีเทรดโซนเพิ่มขึ้น แก้กฎหมายดึงเอกชนเข้ามาลงทุน เช่น ให้เช่าที่ดินเป็น 99 ปี ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 16-17% ต่ำกว่าฮ่องกง เพื่อดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เวียดนามกับอาเซียน !!?
ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
โดย ธีระ นุชเปี่ยม ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์/ที่มา นสพ.มติชนรายวัน
รากฐานสำคัญที่สุดของประชาคมอาเซียน ซึ่งจะถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการตามกำหนดในช่วงไม่ถึง 3 ปีข้างหน้านี้ คือ ประเทศต่างๆ ทั้ง 10 ประเทศที่ประกอบกันเป็นประชาคมนี้ ดังนั้น การรู้จักประเทศต่างๆ เหล่านี้จึงจำเป็นสำหรับการทำความเข้าในอนาคตของประชาคมแห่งนี้ต่อไปด้วย ผู้เขียนจึงจะขอกล่าวถึงประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ และวันนี้ก็จะขอกล่าวประเทศเวียดนามก่อน
อาเซียนก่อตั้งขึ้นในบรรยากาศของสงครามเย็น และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รูปลักษณ์สำคัญที่สุดสงครามเย็นคือสงครามเวียดนาม ซึ่งเมื่อมีการก่อตั้งอาเซียน ใน ค.ศ.1967 กล่าวได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงสูงสุด สหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซงทางทหารในเวียดนามโดยตรงและสงครามทางอากาศต่อเวียดนามเหนือที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นค.ศ.1965 ก็ยังดำเนินอยู่อย่างเต็มกำลัง
แม้ว่าอาเซียนจะจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มิใช่เป็นพันธมิตรทางทหารอย่างเช่นองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Southeast Asia Treaty Organization-SEATO) ที่มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การเป็น
กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ของอาเซียนในขณะนั้นก็ปราศจากข้อสงสัยใดๆ และสมาชิกอาเซียน 2 ชาติ คือ ไทยและฟิลิปปินส์ก็ส่งทหารไปรบในเวียดนามใต้ด้วย
เวียดนามจึงอยู่คนละฝ่ายกับอาเซียนและประเทศไทยมาแต่ต้น
ดังนั้นช่วงระยะเวลาหลังสงครามเวียดนามจึงเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับการปรับตัวเข้าหากันระหว่างเวียดนามกับอาเซียนอย่างไรก็ดี นอกเหนือจากสถานการณ์ทั้งในโลกและในภูมิภาคที่เปลี่ยนไป การปรับตัวครั้งสำคัญของอาเซียนที่เป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่บาหลีในเดือนกุมภาพันธ์ 1976 นับว่ามีผลอยู่ไม่น้อยในการทำให้อาเซียนและเวียดนามปรับตัวเข้าหา
กันได้
ผลสำคัญประการหนึ่งจากการประชุม
สุดยอดอาเซียนครั้งแรกนี้ก็คือ การลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia-TAC) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1976 สนธิสัญญานี้ ซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีร่วมมือกันในการส่งเสริมสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างรากฐานสำหรับการมีประชาคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนของชาติในภูมิภาค โดยเฉพาะด้วยการเปิดให้รัฐอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนได้
จึงถือได้ว่าสนธิสัญญานี้มีส่วนสำคัญในการสร้างเงื่อนไขสำหรับการที่ชาติต่างๆในภูมิภาคจะปรับความสัมพันธ์ต่อกันและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป และประเทศอินโดจีน (และเมียนมาร์) ได้เข้าร่วมกลุ่มภูมิภาคที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ในที่สุดเมื่อสิ้นทศวรรษ 1990 โดยเวียดนามที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนใน ค.ศ.1995 นับเป็นสมาชิกใหม่ชาติแรกของสมาคมประชาชาตินี้ (หากไม่นับบรูไนที่เข้าใน ค.ศ.1984)
เมื่อเวียดนามเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน เวียดนามดำเนินบทบาทของตนอย่างแข็งขันทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแง่ของการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ เช่น ในกรอบของระบบอัตราภาษีพิเศษร่วม (Common Effective Preferential Tariff-CEPT) ของเขตการค้าเสรี ในทางการเมืองนอกจากเวียดนามจะมีบทบาททางการ เช่น ในการจัดประชุมสำคัญของอาเซียนทั้งในระดับเจ้าหน้าที่รัฐมนตรี และระดับสูงสุดคือ การประชุมสุดยอดของผู้นำแล้ว
ที่น่าสนใจคือเวียดนามมีส่วนอย่างมากด้วยในการนำชาติอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังอยู่นอกอาเซียนอีก3 ชาติ คือ กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน
ผลจากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของเวียดนามที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือในด้านเศรษฐกิจหลัง ค.ศ.1995 เมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนและเริ่มลดภาษีศุลกากร
ภายใต้ CEPT มูลค่าการค้าตั้งแต่ช่วงนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก (ตัวเลขต่างๆ ในที่นี้มาจาก Ninh thi Dieu Le. Vietnam?s Role in ASEAN Political and Economic Cooperetion from 1995 to 2010. Unpublished MA Thesis, Graduate School, Chulalongkorn University, May 2011) คือเพิ่มขึ้นจาก 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ.2000 มาเป็น 14.91 พันล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ.2005 และเป็น 29.77 พันล้านเหรียญใน ค.ศ.2008 ปริมาณการค้าระหว่างกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด
มีเพียง ค.ศ.2009 เท่านั้นที่มูลค่าการค้าลดลงมาเป็น 22.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันเป็นผลมาจากปัญหาเศรษฐกิจโลกขณะนั้น
นอกจากนั้น เมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว มูลค่าการลงทุนจากอาเซียนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ใน ค.ศ.1995 เงินทุนจดทะเบียนในโครงการลงทุนจากอาเซียนมีมูลค่า 3.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อถึง ค.ศ. 1997 ตัวเลขนี้ก็เพิ่มเป็นกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 3 ปีต่อมาก็เพิ่มขึ้นไปเป็น 9.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
และเฉพาะช่วง ค.ศ.2008-2009 เงินลงทุนจากอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารจาก 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 46.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในแง่ของการประเมินความพร้อมของประเทศต่างๆ ในการรับมือการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จากข้อมูลของ ดร.โสภณ
พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เวียดนามมีความพร้อมมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกทั้งหลาย คือ มีความพร้อมถึงร้อยละ 85 รองลงมาคือ มาเลเซีย ร้อยละ 72 ตามด้วยไทย ร้อยละ
67 อินโดนีเซีย ร้อยละ 63 บรูไน ร้อยละ 58 และฟิลิปปินส์ ร้อยละ 57
เวียดนามเป็นประเทศใหญ่มากที่สุดเป็นลำดับที่สามในเอเซียน คือ มีประชากรเกือบ 90 ล้านคน รองจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่สำคัญคือ มีประชากรอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก และคนเหล่านี้มีการศึกษาดี เศรษฐกิจเวียดนามตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา คือ หลังจากมีการใช้นโยบายปฏิรูปที่เรียกว่า Doi Moi เติบโตอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้วเวียดนามนับเป็นกำลังสำคัญของอาเซียนทีเดียว
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
************************************************************************************
โดย ธีระ นุชเปี่ยม ศูนย์เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์/ที่มา นสพ.มติชนรายวัน
รากฐานสำคัญที่สุดของประชาคมอาเซียน ซึ่งจะถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการตามกำหนดในช่วงไม่ถึง 3 ปีข้างหน้านี้ คือ ประเทศต่างๆ ทั้ง 10 ประเทศที่ประกอบกันเป็นประชาคมนี้ ดังนั้น การรู้จักประเทศต่างๆ เหล่านี้จึงจำเป็นสำหรับการทำความเข้าในอนาคตของประชาคมแห่งนี้ต่อไปด้วย ผู้เขียนจึงจะขอกล่าวถึงประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศ และวันนี้ก็จะขอกล่าวประเทศเวียดนามก่อน
อาเซียนก่อตั้งขึ้นในบรรยากาศของสงครามเย็น และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รูปลักษณ์สำคัญที่สุดสงครามเย็นคือสงครามเวียดนาม ซึ่งเมื่อมีการก่อตั้งอาเซียน ใน ค.ศ.1967 กล่าวได้ว่ากำลังอยู่ในช่วงสูงสุด สหรัฐอเมริกาเข้าไปแทรกแซงทางทหารในเวียดนามโดยตรงและสงครามทางอากาศต่อเวียดนามเหนือที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นค.ศ.1965 ก็ยังดำเนินอยู่อย่างเต็มกำลัง
แม้ว่าอาเซียนจะจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มิใช่เป็นพันธมิตรทางทหารอย่างเช่นองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Southeast Asia Treaty Organization-SEATO) ที่มีมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การเป็น
กลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์ของอาเซียนในขณะนั้นก็ปราศจากข้อสงสัยใดๆ และสมาชิกอาเซียน 2 ชาติ คือ ไทยและฟิลิปปินส์ก็ส่งทหารไปรบในเวียดนามใต้ด้วย
เวียดนามจึงอยู่คนละฝ่ายกับอาเซียนและประเทศไทยมาแต่ต้น
ดังนั้นช่วงระยะเวลาหลังสงครามเวียดนามจึงเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากสำหรับการปรับตัวเข้าหากันระหว่างเวียดนามกับอาเซียนอย่างไรก็ดี นอกเหนือจากสถานการณ์ทั้งในโลกและในภูมิภาคที่เปลี่ยนไป การปรับตัวครั้งสำคัญของอาเซียนที่เป็นผลมาจากการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่บาหลีในเดือนกุมภาพันธ์ 1976 นับว่ามีผลอยู่ไม่น้อยในการทำให้อาเซียนและเวียดนามปรับตัวเข้าหา
กันได้
ผลสำคัญประการหนึ่งจากการประชุม
สุดยอดอาเซียนครั้งแรกนี้ก็คือ การลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia-TAC) เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1976 สนธิสัญญานี้ ซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีร่วมมือกันในการส่งเสริมสันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างรากฐานสำหรับการมีประชาคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนของชาติในภูมิภาค โดยเฉพาะด้วยการเปิดให้รัฐอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนได้
จึงถือได้ว่าสนธิสัญญานี้มีส่วนสำคัญในการสร้างเงื่อนไขสำหรับการที่ชาติต่างๆในภูมิภาคจะปรับความสัมพันธ์ต่อกันและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป และประเทศอินโดจีน (และเมียนมาร์) ได้เข้าร่วมกลุ่มภูมิภาคที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ในที่สุดเมื่อสิ้นทศวรรษ 1990 โดยเวียดนามที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนใน ค.ศ.1995 นับเป็นสมาชิกใหม่ชาติแรกของสมาคมประชาชาตินี้ (หากไม่นับบรูไนที่เข้าใน ค.ศ.1984)
เมื่อเวียดนามเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน เวียดนามดำเนินบทบาทของตนอย่างแข็งขันทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแง่ของการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ เช่น ในกรอบของระบบอัตราภาษีพิเศษร่วม (Common Effective Preferential Tariff-CEPT) ของเขตการค้าเสรี ในทางการเมืองนอกจากเวียดนามจะมีบทบาททางการ เช่น ในการจัดประชุมสำคัญของอาเซียนทั้งในระดับเจ้าหน้าที่รัฐมนตรี และระดับสูงสุดคือ การประชุมสุดยอดของผู้นำแล้ว
ที่น่าสนใจคือเวียดนามมีส่วนอย่างมากด้วยในการนำชาติอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังอยู่นอกอาเซียนอีก3 ชาติ คือ กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน
ผลจากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของเวียดนามที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือในด้านเศรษฐกิจหลัง ค.ศ.1995 เมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนและเริ่มลดภาษีศุลกากร
ภายใต้ CEPT มูลค่าการค้าตั้งแต่ช่วงนั้นก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก (ตัวเลขต่างๆ ในที่นี้มาจาก Ninh thi Dieu Le. Vietnam?s Role in ASEAN Political and Economic Cooperetion from 1995 to 2010. Unpublished MA Thesis, Graduate School, Chulalongkorn University, May 2011) คือเพิ่มขึ้นจาก 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ.2000 มาเป็น 14.91 พันล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ.2005 และเป็น 29.77 พันล้านเหรียญใน ค.ศ.2008 ปริมาณการค้าระหว่างกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด
มีเพียง ค.ศ.2009 เท่านั้นที่มูลค่าการค้าลดลงมาเป็น 22.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันเป็นผลมาจากปัญหาเศรษฐกิจโลกขณะนั้น
นอกจากนั้น เมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว มูลค่าการลงทุนจากอาเซียนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ใน ค.ศ.1995 เงินทุนจดทะเบียนในโครงการลงทุนจากอาเซียนมีมูลค่า 3.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อถึง ค.ศ. 1997 ตัวเลขนี้ก็เพิ่มเป็นกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอีก 3 ปีต่อมาก็เพิ่มขึ้นไปเป็น 9.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
และเฉพาะช่วง ค.ศ.2008-2009 เงินลงทุนจากอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารจาก 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 46.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ในแง่ของการประเมินความพร้อมของประเทศต่างๆ ในการรับมือการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ จากข้อมูลของ ดร.โสภณ
พรโชคชัย ประธานกรรมการมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เวียดนามมีความพร้อมมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกทั้งหลาย คือ มีความพร้อมถึงร้อยละ 85 รองลงมาคือ มาเลเซีย ร้อยละ 72 ตามด้วยไทย ร้อยละ
67 อินโดนีเซีย ร้อยละ 63 บรูไน ร้อยละ 58 และฟิลิปปินส์ ร้อยละ 57
เวียดนามเป็นประเทศใหญ่มากที่สุดเป็นลำดับที่สามในเอเซียน คือ มีประชากรเกือบ 90 ล้านคน รองจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่สำคัญคือ มีประชากรอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นจำนวนมาก และคนเหล่านี้มีการศึกษาดี เศรษฐกิจเวียดนามตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา คือ หลังจากมีการใช้นโยบายปฏิรูปที่เรียกว่า Doi Moi เติบโตอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้วเวียดนามนับเป็นกำลังสำคัญของอาเซียนทีเดียว
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
************************************************************************************
พลซุ่มยิงเลื่อนให้ปากคำ. เฉลิมไม่ห่วงกองทัพ-ดีเอสไอขัดแย้ง !!?
พลซุ่มยิงที่ดีเอสไอเรียกมาสอบปากคำคดีสลายเสื้อแดงขอเลื่อนนัด “เฉลิม” ให้ไปถามดีเอสไอเลื่อนได้กี่ครั้ง ไม่กังวลดีเอสไอกับกองทัพจะเกิดความขัดแย้งบานปลายเพราะส่งคนไปทำความเข้าใจแล้ว เห็นด้วยกับแนวคิด ผบ.ทบ. ไม่ควรเอาข้อมูลจากสำนวนสอบสวนมาพูด แต่ชี้ช่องถ้าเป็นรายงานข่าวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทนายเสื้อแดงเร่งหาคนรับรองพฤติกรรม “ยศวริศ” เพื่อยื่นประกันตัวใหม่หลังถูกศาลสั่งถอนปล่อยตัวชั่วคราวให้กลับไปนอนคุก โฆษกประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ยอมรับรายงานคณะกรรมการสิทธิฯที่ระบุม็อบเสื้อแดงใช้ความรุนแรง มีอาวุธ
+++++++++++++++
หลังศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันตัวนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำคนเสื้อแดงเพียงคนเดียว จากที่เรียกไต่สวนเพื่อพิจารณาถอนประกันตัว 24 คน (5 คนที่เป็น ส.ส. เลื่อนไปไต่สวนหลังปิดสมัยประชุมสภา) นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความคนเสื้อแดง ระบุว่า ตอนแรกจะยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 2 ล้านบาทประกันตัวใหม่ในทันทีแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องรอดูคำสั่งศาลอย่างละเอียดก่อน ประกอบกับต้องหาหลักฐานใหม่มายื่นประกันตัว โดยจะหาคนในรัฐบาล รัฐมนตรี และหัวหน้าพรรค มารับรองพฤติกรรม
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พลซุ่มยิงของกองทัพบกขอเลื่อนให้ปากคำกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่ามีสิทธิเลื่อนได้ แต่เลื่อนได้กี่ครั้งไม่กล้าพูดแทนดีเอสไอ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แสดงความไม่พอใจดีเอสไอ ปัญหาจะบานปลายหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่มี ทุกอย่างเรียบร้อย ทุกภาคส่วนเข้าใจหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์
“ผมเห็นด้วยกับ พล.อ.ประยุทธ์ว่าไม่ควรพูดเรื่องนี้ให้มากเพราะจะทำให้สับสน ผมได้พูดคุยกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แล้วว่าสำนวนการสอบสวนนั้นเป็นความลับทางราชการเราไม่ควรพูดเอง แต่ถ้าเป็นรายงานข่าวก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าไปเคลียร์กับทาง พล.อ.ประยุทธ์เรียบร้อยแล้ว”
เมื่อถามว่าจะเอาคนผิดมาลงโทษได้หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ดูแล้วก้ำกึ่ง แต่เท่าที่ดูคนผิดก็หมั่นรดน้ำมนต์ไว้หน่อยก็ดี
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้แกนนำเสื้อแดงยอมรับรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะการมาแก้ตัวว่าการชุมนุมไม่มีอาวุธถือเป็นการดูถูกคนไทยมากเกินไป เพราะใครก็เห็นว่าใช้เอ็ม 79 ทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ ขอให้เลิกบิดเบือน เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสร้างความปรองดอง
“ถ้ามั่นใจว่าไม่ได้ทำอะไรผิดต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองที่มีเนื้อหาล้างผิดออกจากสภา”
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า แม้สภาจะพิจารณาร่างกฎหมาย 10 ฉบับที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเสร็จแล้วก็จะยังไม่พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง แต่จะเลื่อนกฎหมายอื่นขึ้นมาพิจารณาแทน สภาจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
+++++++++++++++
หลังศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันตัวนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำคนเสื้อแดงเพียงคนเดียว จากที่เรียกไต่สวนเพื่อพิจารณาถอนประกันตัว 24 คน (5 คนที่เป็น ส.ส. เลื่อนไปไต่สวนหลังปิดสมัยประชุมสภา) นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความคนเสื้อแดง ระบุว่า ตอนแรกจะยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 2 ล้านบาทประกันตัวใหม่ในทันทีแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องรอดูคำสั่งศาลอย่างละเอียดก่อน ประกอบกับต้องหาหลักฐานใหม่มายื่นประกันตัว โดยจะหาคนในรัฐบาล รัฐมนตรี และหัวหน้าพรรค มารับรองพฤติกรรม
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่พลซุ่มยิงของกองทัพบกขอเลื่อนให้ปากคำกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่ามีสิทธิเลื่อนได้ แต่เลื่อนได้กี่ครั้งไม่กล้าพูดแทนดีเอสไอ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แสดงความไม่พอใจดีเอสไอ ปัญหาจะบานปลายหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไม่มี ทุกอย่างเรียบร้อย ทุกภาคส่วนเข้าใจหมดยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์
“ผมเห็นด้วยกับ พล.อ.ประยุทธ์ว่าไม่ควรพูดเรื่องนี้ให้มากเพราะจะทำให้สับสน ผมได้พูดคุยกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ แล้วว่าสำนวนการสอบสวนนั้นเป็นความลับทางราชการเราไม่ควรพูดเอง แต่ถ้าเป็นรายงานข่าวก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าไปเคลียร์กับทาง พล.อ.ประยุทธ์เรียบร้อยแล้ว”
เมื่อถามว่าจะเอาคนผิดมาลงโทษได้หรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ดูแล้วก้ำกึ่ง แต่เท่าที่ดูคนผิดก็หมั่นรดน้ำมนต์ไว้หน่อยก็ดี
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องให้แกนนำเสื้อแดงยอมรับรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะการมาแก้ตัวว่าการชุมนุมไม่มีอาวุธถือเป็นการดูถูกคนไทยมากเกินไป เพราะใครก็เห็นว่าใช้เอ็ม 79 ทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ ขอให้เลิกบิดเบือน เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสร้างความปรองดอง
“ถ้ามั่นใจว่าไม่ได้ทำอะไรผิดต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองที่มีเนื้อหาล้างผิดออกจากสภา”
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิป) พรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า แม้สภาจะพิจารณาร่างกฎหมาย 10 ฉบับที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเสร็จแล้วก็จะยังไม่พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง แต่จะเลื่อนกฎหมายอื่นขึ้นมาพิจารณาแทน สภาจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555
จำนำข้าว แสงสว่าง-หายนะ !!?
ศึกอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 56 ก็ผ่านไปได้อย่างดุเดือด..ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่างงัดกลเม็ดเด็ดพรายกันขึ้นมาตอบโต้อย่างถึงพริกถึงขิง
เรื่องของงบประมาณเป็นเรื่องสำคัญที่ละเอียดอ่อน และอาจ จะต้องไปคาบเกี่ยวกับผลประโยชน์ของใครต่อใครในหลายขั้นตอน หลายกระบวนการ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและการจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี
สัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงมากที่สุดคงไม่พ้นเรื่องของหนี้สาธารณะ ที่เชื่อว่าอาจจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ในภายหลัง อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากนโยบายที่เราเรียกกันว่าประชานิยม โดยเฉพาะเรื่องของการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะ “โครงการจำนำข้าวเกษตรกร” ซึ่งฝ่ายค้านมองว่า นอกจากจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแล้ว ยังเป็นการเปิดช่องทางการทุจริตอย่างมหาศาล
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม พระเอกของท้องเรื่อง ร่ายมาตามบทบาทถึงโครงการจำนำข้าวว่าถือเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลอย่างที่สุด
“การทุจริต” ทำให้เงินไม่ถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง และเกษตรกรก็ไม่ได้รับสิทธิ์เงิน 15,000 บาท ตามที่รัฐบาลได้โฆษณาไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ชาวนายังออกมาร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการนี้ว่าถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยกัน 3 ส่วน คือ การทุจริตความชื้น การทุจริตเรื่องตาชั่ง เป็นการปล้นกันกลางแดด เพราะเป็นการทุจริต กันซึ่งๆ หน้า การทุจริตสิ่งเจือปน เมื่อหักลบเงิน 15,000 บาท กับ สิ่งอื่นๆ ทำให้ชาวนาได้รับเงินไม่ถึง 13,000 บาท จึงอยากให้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากมีข้อผิดพลาดตรงไหนก็ควรคืนเงินให้ชาวนา
ขณะที่ชาวนาตาใสที่เฝ้าดูการอภิปรายอยู่หน้าจอทีวีกลับพูดสวนออกมาว่า...
“ประกันราคาข้าวได้เงินมาเป็นไร่ แต่จำนำราคาข้าวนั้น ผลิตผลมีเท่าไหร่ นำไปจำนำได้ทั้งหมด มีผลผลิตมากก็ได้ราคามาก ราคา จำนำที่ได้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ขายได้ตันละ 12,000 บาท ปกติถ้าไม่ได้เข้าโครงการกับทางรัฐบาลจะขายข้าวได้เพียงตันละ 8,000-9,000 บาท จึงถือว่าโครงการจำนำข้าวเป็นโครงการที่ดี ทำมากก็ได้เงินมาก จำนำข้าวจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ตามจริง และต้อง มีผลผลิตไปยืนยัน แต่ประกันราคาจะใช้พื้นที่เพาะปลูกในการคำนวณ ผลผลิตและรัฐจะจ่ายในส่วนต่างที่ขาด รวมแล้วก็ได้รายรับน้อยกว่า จำนำข้าว”..ชาวนาวัย 50 ย่านปทุมธานี กล่าว..
แล้วยังไงล่ะทีนี้..สรุปว่ามันดี หรือไม่ดี...
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อนักลงทุน และการวิเคราะห์แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคา เพราะว่าราคาดังกล่าวจะเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญ ในการกำหนดราคาซื้อขายของสินค้าในประเทศโดยปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ อย่างเช่น ปริมาณความต้องการของประเทศผู้บริโภค หรืออัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลกระทบต่อราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แม้ว่าโครงการรับจำนำสินค้าของรัฐบาลจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ประสิทธิภาพโดยรวมต่อระบบเศรษฐกิจของโครงการดังกล่าวก็จะต้องถูกวัดด้วย สมดุลระหว่างประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร และต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้น
แน่นอนว่าข้อดีของโครงการรับจำนำสินค้าในลักษณะนี้ เกษตรกรจะได้ผลประโยชน์ทางการเงินในทันที อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่สำคัญของโครงการนี้ก็คือ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจาก โครงการจะมีเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตของ สินค้าเกษตรแต่ละชนิดมีมากกว่าปริมาณที่รัฐบาลจะสามารถรับจำนำได้ ทั้งนี้ในทางทฤษฎีราคารับจำนำของรัฐบาลจะมีผลผลักดัน ให้ราคาตลาดปรับตัวตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งมีผลให้เกษตรกรรายอื่นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง หรือไม่มีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากแนวโน้มของราคาที่เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
“เอ็นนู ซื่อสุวรรณ” กรรมการสมัชชาปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร มองโครงการจำนำข้าวเกษตรกรว่าในระยะสั้นชาวนา ได้ประโยชน์จากราคาจำนำที่สูง แต่ในระยะยาวนโยบายนี้ไม่เป็นผลดี และปัญหาเรื่องการรั่วไหลอย่างหนัก
ข้อดีสำหรับตัวเกษตรกรโครงการจำนำข้าวถือว่าดี แฮปปี้มาก ได้ราคาจำนำที่ถือว่าสูง มีเงินในมือมากขึ้น ในแง่รัฐบาลก็ได้ช่วยเหลือ เกษตรกรตามที่ต้องการ และถือว่ากุมตลาดข้าวไว้ได้หมด แต่มีข้อระวังในแง่เกษตรกรคือได้เงินง่ายและสูงมาก ก็อาจจะไม่เก็บออม ไม่ได้ลงทุน แต่ไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก็ได้ และก็ไม่สนใจปรับปรุงคุณภาพ ข้าว แม้จะจำนำแต่ก็เหมือนขายขาดไม่ไถ่ถอนแล้ว เพราะราคาจำนำ สูงกว่าตลาด ในแง่ของรัฐบาลก็จะมีปัญหาที่ต้องรับภาระงบประมาณ ไปเรื่อยๆ เพราะชาวบ้านจะคาดหวังอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตอนนี้ชาวนา จะปลูกข้าวมากขึ้นเรื่อยๆ จากปกติเราก็ปลูกเกินความต้องการ อยู่แล้ว
สอง คือเราต้องเสียเงินค่าเก็บรักษาเป็นภาระในการระบาย ข้าวถ้าเร็วก็จ่ายน้อย ช้าก็จ่ายมาก เพราะเราต้องฝากไว้กับโรงสีเอกชน หรือโกดังเก็บเอกชน ไม่ระวังให้ดีเกิดการรั่วไหลในขั้นตอน ต่างๆ รวมทั้งถ้าระบายช้า ข้าวก็เสื่อมคุณภาพ เก็บไม่ดีก็เสื่อมเร็ว เก็บดีก็เสื่อมตามธรรมชาติอยู่แล้ว
> การแก้ไข
วิธีการแก้ไข ต้องทำมาตรการควบคู่กับการจำนำ เกษตรกรต้องเน้นเรื่องให้ความรู้ทางการเงิน การออมเงินส่วนที่เกินมาจากปกติ จะให้ดอกเบี้ยพิเศษก็ว่ากันไป สาม คือให้รณรงค์ให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตข้าวเพิ่มผลผลิตต่อไป ลดต้นทุนควงคู่ไป ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ ราคาข้าวที่จำนำจะไม่ถูกเรียกร้องให้เพิ่มราคา ให้เน้นที่กำไร ไม่เน้นที่รายได้ ถ้าเน้นรายได้ราคาจำนำต้องเพิ่ม เพราะไม่เช่นนั้น ผู้ขายปุ๋ยจะใช้เป็นข้ออ้างเพิ่มราคา ชาวนาก็ขอราคาจำนำ เพิ่มอีกเพราะต้นทุนเพิ่ม แต่ถ้าชาวนาลดต้นทุนได้ กำไรก็จะเพิ่ม
รวมทั้งต้องสอนชาวบ้านเรื่องคุณภาพข้าวด้วย ถ้าคุณภาพดี ราคาก็เพิ่ม ถ้าคุณภาพไม่ดีก็ต้องตัดราคาลงนะ แทนที่จะดูแต่ความ ชื้น สิ่งเจือปน หรือน้ำหนัก ถ้าคุณภาพดี หมายถึง เวลาสีแล้วได้คุณภาพข้าวมาก เพราะเราพบว่าเกษตรกรจำนวนมาก ที่ทำนาปรัง ปีละหลายรอบ เพราะมีชลประทาน ชาวบ้านเห็นราคาดี พยายามปลูกปีละ 3 ครั้ง ก็ต้องหาพันธุ์อายุสั้นๆ แค่ 80-90 วัน พอข้าวอายุสั้น ข้าวไม่แกร่ง เวลาสีเหลือข้าวน้อย ข้าวป่นมาก ทำให้คุณภาพ ข้าวโดยรวมของประเทศมีปัญหา คิดว่าจำนำแล้วดีก็ต้องมีมาตรการ เสริมด้านคุณภาพอย่างนี้ด้วย
รัฐบาลต้องจัดระบบการระบายข้าวออกไม่ให้เก็บนานเกินไป เพราะถ้าเกิน 6 เดือนคุณภาพข้าวจะเสื่อมอยู่แล้ว กรณีเก็บดีนะ แต่ถ้าเก็บไม่ดีก็ยิ่งเสื่อมเร็ว และถ้าระบายมั่วข้าวเก็บไว้นานจะไม่ได้ระบายออกไป รวมถึงวิธีการเก็บด้วย เอกชนก็ถือโอกาสที่รัฐบาล ต้องเก็บไว้มาก อย่างข้าวเปลือกตอนนี้จำนำไว้ 16 ล้านตัน แปรเป็นข้าวสาร 6-7 ล้านตัน อย่างนี้ถามว่าใครจะให้ราคาสูง ไม่มีใคร ให้กำไร รัฐบาลก็ขาดทุนหนัก ประมูลได้ในราคาต่ำรัฐบาลก็ไม่กล้าขายอีก กลายเป็นงูกินหางสร้างปัญหาต่อไปอีก
> การระบายข้าวออกตลาด
ในเรื่องของการระบายข้าวสู่ตลาดโลกนั้น รัฐบาลควรขาย จีทูจีจะดีกว่าให้สต็อกลดลงราคาจะได้ขยับ เพราะจีทูจีคนไม่ว่าอะไร ถ้าราคาต่ำ และมีวิธีมาก ถ้าตลาดเก่าจีทูจีก็มีแถมได้ราคาไม่ต้องลง แต่มีแถม เหมือนธุรกิจเอกชนขายสินค้ายี่ห้อดังๆเค้าจะไม่ลดราคา แต่เปิดนาทีทองซื้อสามแถมหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียราคา ยิ่งรัฐบาลไหนเกิดน้ำท่วม ฝนแล้งก็แถมไปให้เขาไม่ให้ราคาเสีย เพราะจริงๆ แล้ว เราจำนำราคาขนาดนี้ ทิ้งข้าวไว้หลายเดือน ค่าเก็บรักษาเท่าไหร่ ยังไงก็ขาดทุน แต่เราคำนวณได้ว่าถ้าเก็บไว้ต่อไปจะขาดทุนเท่าไหร่ คำนวณได้หมด ถ้าไม่ทำอะไรเลยพ่อค้าจะถล่มรัฐบาล
อย่างตลาดใหม่เราก็เปิดได้ ให้ทูตพาณิชย์ไปแจกเลย ช่วย ผู้ยากจนด้อยโอกาสได้กินข้าวไทยต้องมีของแถม อร่อยแล้วมาซื้อใหม่ ส่วนที่สามคือจัดสรรในประเทศ เพราะมีหน่วยงานที่ต้องมาของบประมาณซื้อข้าวอยู่แล้ว หรือแม้แต่ในโรงเรียนชายแดน พื้นที่ ความมั่นคง งบประมาณส่วนหนึ่งเราต้องให้เขาอยู่แล้ว ก็จัดสรรเป็น ข้าวแพ็กพิเศษ ต่างหากเลยว่ามาจากรัฐบาลจะลดสต็อกได้ เมื่อมีข่าวว่าลดสต็อก จะทำให้ผู้นำเข้าต่างประเทศไม่ชะล่าใจ ต่างจากตอนนี้ยังไงเค้าก็กดราคาเพราะคิดว่าอีกสองเดือนเราก็ต้องขายแน่นอน
> มองการแก้ปัญหาในระยะยาว
การแก้ปัญหาในระยะยาวต้องเพิ่มงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา เพราะตอนนี้น้อยมากต่ำกว่า 1% ขณะที่ประเทศพัฒนาเค้าให้ 2% ทั้งที่ข้าวทำรายได้เข้าประเทศไทยนับแสนล้านบาท ต้องทำให้เรามีข้าวหลากหลายชนิดเพื่อให้สามารถปลูกในพื้นที่ต่างกัน แต่ยังมีผลผลิตที่ดี บางพื้นที่น้ำท่วมบ่อย บางพื้นที่แล้งบ่อย ต้องมีพันธุ์ ทนน้ำท่วมบ่อยแล้งบ่อย ไม่เช่นนั้นพื้นที่น้ำดีคือนาปรัง พื้นที่น้ำน้อย ผลผลิตก็ต่ำ รวมๆ แล้วทั้งประเทศก็ศักยภาพในการผลิตต่ำ
ดังนั้น เราต้องเพิ่มการวิจัยพัฒนาเข้าไป พันธุ์ข้าวพื้นเมืองก็ เอามาปรับปรุงให้ดี ให้เรามีสินค้าเป็น 100 อย่างในการขาย เวลา เราขายก็บอกว่าเราไม่แข่งกับเวียดนาม เช่น พันธุ์ข้าวมีโภชนาการสูง กินแล้วเหมือนได้กินยาป้องกันโรคไว้ก่อน เช่น ที่เกษตรกำแพงแสน ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหินเหล็ก ผ่านการวิจัยแล้วว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลน้อยเหมาะกับคนเป็นเบาหวาน มีธาตุเหล็กมาก คนที่มีเงิน ประเทศที่มีเงิน จะสนใจแตกต่างจากข้าวของเวียดนาม ทั้งสายพันธุ์และงานส่งเสริมจะตามมา จะทำให้ข้าวไทยคงความเป็นผู้นำ ไม่แข่งราคาถูก แข่งราคาแพง ไม่แข่งเรื่องสร้าง รายได้ชาวนา แต่แข่งเรื่องสร้างกำไรให้ชาวนา ซึ่งไม่เหมือนกัน สร้าง รายได้จะเป็นภาระรัฐบาล ถ้าสร้างกำไรรัฐบาลใช้จ่ายไม่มาก แต่ชาวบ้านมีเงินเหลือมีกำไร
ตอนนี้พูดกันเรื่องเฉพาะหน้าแต่ต่อไปอีกสองปีข้างหน้า จะมี ปัญหาเมื่อมี AEC ก็ต้องมีหน่วยงานสักหน่วยที่มีความสามารถมาดูแลข้าวไทยจริงๆ ทั้งระบบ มาดูทั้งการตลาด ผลิต แปรรูป แต่ต้องไม่โยงการเมือง ควรมีสภาข้าว ซึ่งต้องประกอบด้วยทั้งตัวแทน รัฐบาล ผู้แทนชาวนา โรงสี ผู้ส่งออก มารวมกันบริหารกันเอง ให้เราเป็นผู้นำได้ เน้นไปที่การมีข้อมูลข่าวสารให้คนรู้เท่าทันกัน จะรู้ว่าตลาดข้าวโลกเป็นอย่างไร คู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อมี AEC แล้วจะจับมือกับกัมพูชา พม่าได้หรือไม่ จะได้กำหนดทิศทาง ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น นโยบายรัฐบาลจะได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่เปลี่ยนรัฐบาลแล้วก็ต้องเปลี่ยนไป ทั้งเกษตรกร ชาวนา พ่อค้า งงหมดเลย ต้องเปลี่ยนใหม่
> ช่องทางทุจริต
เรื่องการจำนำข้าวมีช่องโหว่ได้ทุกขั้นตอน ขึ้นกับว่าเรารู้และเราคุมเรื่องนี้ได้อย่างไร ตั้งแต่ตอนขึ้นทะเบียนกับเกษตร ถ้าเกษตรกร กับเกษตรตำบลร่วมมือกัน เกษตรกรอาจโกหกก็ได้ บอกพื้นที่ผลผลิต ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง เกษตรตำบลอาจใส่ตัวเลขไว้มากกว่าความจริง ร่วมกับโรงสี โรงสีก็ร่วมกับชาวนา ชั่่งน้ำหนัก วัดความชื้นต่างๆ กันไป สิ่งเจือปนก็หักมากไว้ให้ตัวเองได้ประโยชน์ บริษัทผู้ตรวจสอบ คุณภาพข้าวหรือเซอร์เวเยอร์ ถ้าจะตรวจให้ผ่านกระสอบเท่าไหร่ คุณภาพอย่างนี้กินกันได้อีก
ตลอดไปจนถึงโกดังกลาง ที่โรงสีกับโกดังกลางอาจร่วมมือกัน ขนไปหรือไม่ขนไป หรือส่งไปมากน้อยไม่มีใครรู้ เจ้าของโกดังยังได้เงินตามตัวเลขรายงาน หรือเจ้าของโรงสีอาจเอาข้าวที่รับจำนำไว้ แต่มีคุณภาพดีออกขายไป แล้วเอาข้าวคุณภาพไม่ดีใส่แทน เพราะยังไงรู้อยู่แล้วว่ารัฐบาลต้องเก็บสต็อกอีกนาน ยังไงข้าวที่เก็บต้องเสื่อมคุณภาพอยู่แล้ว
ผู้ส่งออกก็อาจร่วมมือกับนักการเมือง ข้าราชการ ตอนประมูล ฮั้วกันได้อีก จะล็อบบี้ให้เจ้าไหนได้ไป ตอนประมูลก็ฮั้วกัน จะเห็นได้ว่ามีทุกขั้นตอน แม้แต่การแปรสภาพข้าว นำไปแปรจริงๆ เท่าไหร่ ไม่จริงเท่าไหร่ หรือโรงสีอาจถือโอกาสทำโกดังเอง จริงๆ ไม่ได้มีการ ขนส่งไปโกดังกลาง ก็ต้องไล่ตรวจกัน
ที่ ธ.ก.ส.เคยเข้าไปตรวจสอบก็ทำได้ผล แต่เราต้องทำอย่าง รัดกุมให้มาก ร่วมกับตำรวจและสำนักนายกรัฐมนตรี ชาวบ้านจะกลัวมากไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่เกษตร เจ้าหน้าที่อตก. หรือเจ้าหน้าที่ อคส. พวกนี้จะกลัวผู้ตรวจสำนักนายกฯ ส่วนชาวบ้านจะกลัวตำรวจ ก็ไม่กล้า เราจะทำที่เรียกว่า Surprise Check ไม่บอกล่วงหน้า แล้ว ก็จะทำก็ทำพร้อมกันเลย วันเดียวกัน ถ้าทำอย่างมีแผนทุกคนก็รู้หมด จะขนข้าวหนีกันใหญ่เลย แต่เราทำสำเร็จ เราซีลกองข้าวด้วยพลาสติกคาดรัด และติดกล้องวงจรปิดถ่ายไว้ด้วย ถ่ายไว้ 3-4 ตัว เอาภาพนั้นลิงค์เข้ามากรุงเทพฯ มันก็จะไปขยับกองข้าวจะเห็นเลย มีเจ้าหน้าทีมอนิเตอร์เห็น ถ้าไปขยับเรามีเบอร์โทรศัพท์ผู้ว่าฯ และผู้การตำรวจ ภายในหนึ่งชั่วโมงจับได้เลยก็มีจับได้นะ แต่น้อยเพราะเค้าเห็นเรามีระบบนี้ก็ไม่เสี่ยงดีกว่า เราจะลิงค์ให้ดูเลยว่ากดปุ่มปุ๊บออกมาเลย จะดูโกดังกลางกองไหน คือธ.ก.ส.เราเอาระบบ แบงก์มาทำงานคือเช็กและบาลานซ์ ไม่ได้ใช้เงินมากมายอะไรนัก แรกๆก็มีคนบอกโรงสีเค้าไม่ยุ่งอะไรด้วยหรอก เราก็บอกว่าถ้าไม่ทำ ก็ไม่ให้ร่วมโครงการ ถ้าโกดังใหญ่ๆ เราใส่แบบนี้หมดเลย เพราะโกดัง เล็กๆ เรารู้ว่าเค้าทำไปก็ไม่คุ้ม เราไม่ได้ทำทุกที่เฉพาะโกดังใหญ่ๆ
กสิกรของไทย คือกระดูกสันหลังของชาติ...ความเป็นอยู่ของเขาเหล่านั้นย่อมเป็นปัจจัยสำคัญของชาติ รัฐบาลมีหน้าที่การให้บริการและสวัสดิการทางสังคมพัฒนาประเทศ.. งานนี้จึงเป็นโจทย์ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบทั้งเศรษฐกิจมวลรวม และความเป็นอยู่ของชาวนา..
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เรื่องของงบประมาณเป็นเรื่องสำคัญที่ละเอียดอ่อน และอาจ จะต้องไปคาบเกี่ยวกับผลประโยชน์ของใครต่อใครในหลายขั้นตอน หลายกระบวนการ เป็นเรื่องที่ว่าด้วยแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและการจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี
สัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงมากที่สุดคงไม่พ้นเรื่องของหนี้สาธารณะ ที่เชื่อว่าอาจจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ในภายหลัง อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องมาจากนโยบายที่เราเรียกกันว่าประชานิยม โดยเฉพาะเรื่องของการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะ “โครงการจำนำข้าวเกษตรกร” ซึ่งฝ่ายค้านมองว่า นอกจากจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแล้ว ยังเป็นการเปิดช่องทางการทุจริตอย่างมหาศาล
น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม พระเอกของท้องเรื่อง ร่ายมาตามบทบาทถึงโครงการจำนำข้าวว่าถือเป็นความล้มเหลวของรัฐบาลอย่างที่สุด
“การทุจริต” ทำให้เงินไม่ถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง และเกษตรกรก็ไม่ได้รับสิทธิ์เงิน 15,000 บาท ตามที่รัฐบาลได้โฆษณาไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ชาวนายังออกมาร้องเรียนเกี่ยวกับโครงการนี้ว่าถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยกัน 3 ส่วน คือ การทุจริตความชื้น การทุจริตเรื่องตาชั่ง เป็นการปล้นกันกลางแดด เพราะเป็นการทุจริต กันซึ่งๆ หน้า การทุจริตสิ่งเจือปน เมื่อหักลบเงิน 15,000 บาท กับ สิ่งอื่นๆ ทำให้ชาวนาได้รับเงินไม่ถึง 13,000 บาท จึงอยากให้ทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากมีข้อผิดพลาดตรงไหนก็ควรคืนเงินให้ชาวนา
ขณะที่ชาวนาตาใสที่เฝ้าดูการอภิปรายอยู่หน้าจอทีวีกลับพูดสวนออกมาว่า...
“ประกันราคาข้าวได้เงินมาเป็นไร่ แต่จำนำราคาข้าวนั้น ผลิตผลมีเท่าไหร่ นำไปจำนำได้ทั้งหมด มีผลผลิตมากก็ได้ราคามาก ราคา จำนำที่ได้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ขายได้ตันละ 12,000 บาท ปกติถ้าไม่ได้เข้าโครงการกับทางรัฐบาลจะขายข้าวได้เพียงตันละ 8,000-9,000 บาท จึงถือว่าโครงการจำนำข้าวเป็นโครงการที่ดี ทำมากก็ได้เงินมาก จำนำข้าวจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ตามจริง และต้อง มีผลผลิตไปยืนยัน แต่ประกันราคาจะใช้พื้นที่เพาะปลูกในการคำนวณ ผลผลิตและรัฐจะจ่ายในส่วนต่างที่ขาด รวมแล้วก็ได้รายรับน้อยกว่า จำนำข้าว”..ชาวนาวัย 50 ย่านปทุมธานี กล่าว..
แล้วยังไงล่ะทีนี้..สรุปว่ามันดี หรือไม่ดี...
โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อนักลงทุน และการวิเคราะห์แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคา เพราะว่าราคาดังกล่าวจะเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญ ในการกำหนดราคาซื้อขายของสินค้าในประเทศโดยปัจจัยที่สำคัญอื่นๆ อย่างเช่น ปริมาณความต้องการของประเทศผู้บริโภค หรืออัตราแลกเปลี่ยนจะส่งผลกระทบต่อราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แม้ว่าโครงการรับจำนำสินค้าของรัฐบาลจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ประสิทธิภาพโดยรวมต่อระบบเศรษฐกิจของโครงการดังกล่าวก็จะต้องถูกวัดด้วย สมดุลระหว่างประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร และต้นทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้น
แน่นอนว่าข้อดีของโครงการรับจำนำสินค้าในลักษณะนี้ เกษตรกรจะได้ผลประโยชน์ทางการเงินในทันที อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่สำคัญของโครงการนี้ก็คือ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจาก โครงการจะมีเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตของ สินค้าเกษตรแต่ละชนิดมีมากกว่าปริมาณที่รัฐบาลจะสามารถรับจำนำได้ ทั้งนี้ในทางทฤษฎีราคารับจำนำของรัฐบาลจะมีผลผลักดัน ให้ราคาตลาดปรับตัวตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งมีผลให้เกษตรกรรายอื่นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง หรือไม่มีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากแนวโน้มของราคาที่เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน
“เอ็นนู ซื่อสุวรรณ” กรรมการสมัชชาปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร มองโครงการจำนำข้าวเกษตรกรว่าในระยะสั้นชาวนา ได้ประโยชน์จากราคาจำนำที่สูง แต่ในระยะยาวนโยบายนี้ไม่เป็นผลดี และปัญหาเรื่องการรั่วไหลอย่างหนัก
ข้อดีสำหรับตัวเกษตรกรโครงการจำนำข้าวถือว่าดี แฮปปี้มาก ได้ราคาจำนำที่ถือว่าสูง มีเงินในมือมากขึ้น ในแง่รัฐบาลก็ได้ช่วยเหลือ เกษตรกรตามที่ต้องการ และถือว่ากุมตลาดข้าวไว้ได้หมด แต่มีข้อระวังในแง่เกษตรกรคือได้เงินง่ายและสูงมาก ก็อาจจะไม่เก็บออม ไม่ได้ลงทุน แต่ไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก็ได้ และก็ไม่สนใจปรับปรุงคุณภาพ ข้าว แม้จะจำนำแต่ก็เหมือนขายขาดไม่ไถ่ถอนแล้ว เพราะราคาจำนำ สูงกว่าตลาด ในแง่ของรัฐบาลก็จะมีปัญหาที่ต้องรับภาระงบประมาณ ไปเรื่อยๆ เพราะชาวบ้านจะคาดหวังอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตอนนี้ชาวนา จะปลูกข้าวมากขึ้นเรื่อยๆ จากปกติเราก็ปลูกเกินความต้องการ อยู่แล้ว
สอง คือเราต้องเสียเงินค่าเก็บรักษาเป็นภาระในการระบาย ข้าวถ้าเร็วก็จ่ายน้อย ช้าก็จ่ายมาก เพราะเราต้องฝากไว้กับโรงสีเอกชน หรือโกดังเก็บเอกชน ไม่ระวังให้ดีเกิดการรั่วไหลในขั้นตอน ต่างๆ รวมทั้งถ้าระบายช้า ข้าวก็เสื่อมคุณภาพ เก็บไม่ดีก็เสื่อมเร็ว เก็บดีก็เสื่อมตามธรรมชาติอยู่แล้ว
> การแก้ไข
วิธีการแก้ไข ต้องทำมาตรการควบคู่กับการจำนำ เกษตรกรต้องเน้นเรื่องให้ความรู้ทางการเงิน การออมเงินส่วนที่เกินมาจากปกติ จะให้ดอกเบี้ยพิเศษก็ว่ากันไป สาม คือให้รณรงค์ให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตข้าวเพิ่มผลผลิตต่อไป ลดต้นทุนควงคู่ไป ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ ราคาข้าวที่จำนำจะไม่ถูกเรียกร้องให้เพิ่มราคา ให้เน้นที่กำไร ไม่เน้นที่รายได้ ถ้าเน้นรายได้ราคาจำนำต้องเพิ่ม เพราะไม่เช่นนั้น ผู้ขายปุ๋ยจะใช้เป็นข้ออ้างเพิ่มราคา ชาวนาก็ขอราคาจำนำ เพิ่มอีกเพราะต้นทุนเพิ่ม แต่ถ้าชาวนาลดต้นทุนได้ กำไรก็จะเพิ่ม
รวมทั้งต้องสอนชาวบ้านเรื่องคุณภาพข้าวด้วย ถ้าคุณภาพดี ราคาก็เพิ่ม ถ้าคุณภาพไม่ดีก็ต้องตัดราคาลงนะ แทนที่จะดูแต่ความ ชื้น สิ่งเจือปน หรือน้ำหนัก ถ้าคุณภาพดี หมายถึง เวลาสีแล้วได้คุณภาพข้าวมาก เพราะเราพบว่าเกษตรกรจำนวนมาก ที่ทำนาปรัง ปีละหลายรอบ เพราะมีชลประทาน ชาวบ้านเห็นราคาดี พยายามปลูกปีละ 3 ครั้ง ก็ต้องหาพันธุ์อายุสั้นๆ แค่ 80-90 วัน พอข้าวอายุสั้น ข้าวไม่แกร่ง เวลาสีเหลือข้าวน้อย ข้าวป่นมาก ทำให้คุณภาพ ข้าวโดยรวมของประเทศมีปัญหา คิดว่าจำนำแล้วดีก็ต้องมีมาตรการ เสริมด้านคุณภาพอย่างนี้ด้วย
รัฐบาลต้องจัดระบบการระบายข้าวออกไม่ให้เก็บนานเกินไป เพราะถ้าเกิน 6 เดือนคุณภาพข้าวจะเสื่อมอยู่แล้ว กรณีเก็บดีนะ แต่ถ้าเก็บไม่ดีก็ยิ่งเสื่อมเร็ว และถ้าระบายมั่วข้าวเก็บไว้นานจะไม่ได้ระบายออกไป รวมถึงวิธีการเก็บด้วย เอกชนก็ถือโอกาสที่รัฐบาล ต้องเก็บไว้มาก อย่างข้าวเปลือกตอนนี้จำนำไว้ 16 ล้านตัน แปรเป็นข้าวสาร 6-7 ล้านตัน อย่างนี้ถามว่าใครจะให้ราคาสูง ไม่มีใคร ให้กำไร รัฐบาลก็ขาดทุนหนัก ประมูลได้ในราคาต่ำรัฐบาลก็ไม่กล้าขายอีก กลายเป็นงูกินหางสร้างปัญหาต่อไปอีก
> การระบายข้าวออกตลาด
ในเรื่องของการระบายข้าวสู่ตลาดโลกนั้น รัฐบาลควรขาย จีทูจีจะดีกว่าให้สต็อกลดลงราคาจะได้ขยับ เพราะจีทูจีคนไม่ว่าอะไร ถ้าราคาต่ำ และมีวิธีมาก ถ้าตลาดเก่าจีทูจีก็มีแถมได้ราคาไม่ต้องลง แต่มีแถม เหมือนธุรกิจเอกชนขายสินค้ายี่ห้อดังๆเค้าจะไม่ลดราคา แต่เปิดนาทีทองซื้อสามแถมหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียราคา ยิ่งรัฐบาลไหนเกิดน้ำท่วม ฝนแล้งก็แถมไปให้เขาไม่ให้ราคาเสีย เพราะจริงๆ แล้ว เราจำนำราคาขนาดนี้ ทิ้งข้าวไว้หลายเดือน ค่าเก็บรักษาเท่าไหร่ ยังไงก็ขาดทุน แต่เราคำนวณได้ว่าถ้าเก็บไว้ต่อไปจะขาดทุนเท่าไหร่ คำนวณได้หมด ถ้าไม่ทำอะไรเลยพ่อค้าจะถล่มรัฐบาล
อย่างตลาดใหม่เราก็เปิดได้ ให้ทูตพาณิชย์ไปแจกเลย ช่วย ผู้ยากจนด้อยโอกาสได้กินข้าวไทยต้องมีของแถม อร่อยแล้วมาซื้อใหม่ ส่วนที่สามคือจัดสรรในประเทศ เพราะมีหน่วยงานที่ต้องมาของบประมาณซื้อข้าวอยู่แล้ว หรือแม้แต่ในโรงเรียนชายแดน พื้นที่ ความมั่นคง งบประมาณส่วนหนึ่งเราต้องให้เขาอยู่แล้ว ก็จัดสรรเป็น ข้าวแพ็กพิเศษ ต่างหากเลยว่ามาจากรัฐบาลจะลดสต็อกได้ เมื่อมีข่าวว่าลดสต็อก จะทำให้ผู้นำเข้าต่างประเทศไม่ชะล่าใจ ต่างจากตอนนี้ยังไงเค้าก็กดราคาเพราะคิดว่าอีกสองเดือนเราก็ต้องขายแน่นอน
> มองการแก้ปัญหาในระยะยาว
การแก้ปัญหาในระยะยาวต้องเพิ่มงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา เพราะตอนนี้น้อยมากต่ำกว่า 1% ขณะที่ประเทศพัฒนาเค้าให้ 2% ทั้งที่ข้าวทำรายได้เข้าประเทศไทยนับแสนล้านบาท ต้องทำให้เรามีข้าวหลากหลายชนิดเพื่อให้สามารถปลูกในพื้นที่ต่างกัน แต่ยังมีผลผลิตที่ดี บางพื้นที่น้ำท่วมบ่อย บางพื้นที่แล้งบ่อย ต้องมีพันธุ์ ทนน้ำท่วมบ่อยแล้งบ่อย ไม่เช่นนั้นพื้นที่น้ำดีคือนาปรัง พื้นที่น้ำน้อย ผลผลิตก็ต่ำ รวมๆ แล้วทั้งประเทศก็ศักยภาพในการผลิตต่ำ
ดังนั้น เราต้องเพิ่มการวิจัยพัฒนาเข้าไป พันธุ์ข้าวพื้นเมืองก็ เอามาปรับปรุงให้ดี ให้เรามีสินค้าเป็น 100 อย่างในการขาย เวลา เราขายก็บอกว่าเราไม่แข่งกับเวียดนาม เช่น พันธุ์ข้าวมีโภชนาการสูง กินแล้วเหมือนได้กินยาป้องกันโรคไว้ก่อน เช่น ที่เกษตรกำแพงแสน ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหินเหล็ก ผ่านการวิจัยแล้วว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระ เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลน้อยเหมาะกับคนเป็นเบาหวาน มีธาตุเหล็กมาก คนที่มีเงิน ประเทศที่มีเงิน จะสนใจแตกต่างจากข้าวของเวียดนาม ทั้งสายพันธุ์และงานส่งเสริมจะตามมา จะทำให้ข้าวไทยคงความเป็นผู้นำ ไม่แข่งราคาถูก แข่งราคาแพง ไม่แข่งเรื่องสร้าง รายได้ชาวนา แต่แข่งเรื่องสร้างกำไรให้ชาวนา ซึ่งไม่เหมือนกัน สร้าง รายได้จะเป็นภาระรัฐบาล ถ้าสร้างกำไรรัฐบาลใช้จ่ายไม่มาก แต่ชาวบ้านมีเงินเหลือมีกำไร
ตอนนี้พูดกันเรื่องเฉพาะหน้าแต่ต่อไปอีกสองปีข้างหน้า จะมี ปัญหาเมื่อมี AEC ก็ต้องมีหน่วยงานสักหน่วยที่มีความสามารถมาดูแลข้าวไทยจริงๆ ทั้งระบบ มาดูทั้งการตลาด ผลิต แปรรูป แต่ต้องไม่โยงการเมือง ควรมีสภาข้าว ซึ่งต้องประกอบด้วยทั้งตัวแทน รัฐบาล ผู้แทนชาวนา โรงสี ผู้ส่งออก มารวมกันบริหารกันเอง ให้เราเป็นผู้นำได้ เน้นไปที่การมีข้อมูลข่าวสารให้คนรู้เท่าทันกัน จะรู้ว่าตลาดข้าวโลกเป็นอย่างไร คู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อมี AEC แล้วจะจับมือกับกัมพูชา พม่าได้หรือไม่ จะได้กำหนดทิศทาง ผลกระทบ ที่เกิดขึ้น นโยบายรัฐบาลจะได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่เปลี่ยนรัฐบาลแล้วก็ต้องเปลี่ยนไป ทั้งเกษตรกร ชาวนา พ่อค้า งงหมดเลย ต้องเปลี่ยนใหม่
> ช่องทางทุจริต
เรื่องการจำนำข้าวมีช่องโหว่ได้ทุกขั้นตอน ขึ้นกับว่าเรารู้และเราคุมเรื่องนี้ได้อย่างไร ตั้งแต่ตอนขึ้นทะเบียนกับเกษตร ถ้าเกษตรกร กับเกษตรตำบลร่วมมือกัน เกษตรกรอาจโกหกก็ได้ บอกพื้นที่ผลผลิต ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง เกษตรตำบลอาจใส่ตัวเลขไว้มากกว่าความจริง ร่วมกับโรงสี โรงสีก็ร่วมกับชาวนา ชั่่งน้ำหนัก วัดความชื้นต่างๆ กันไป สิ่งเจือปนก็หักมากไว้ให้ตัวเองได้ประโยชน์ บริษัทผู้ตรวจสอบ คุณภาพข้าวหรือเซอร์เวเยอร์ ถ้าจะตรวจให้ผ่านกระสอบเท่าไหร่ คุณภาพอย่างนี้กินกันได้อีก
ตลอดไปจนถึงโกดังกลาง ที่โรงสีกับโกดังกลางอาจร่วมมือกัน ขนไปหรือไม่ขนไป หรือส่งไปมากน้อยไม่มีใครรู้ เจ้าของโกดังยังได้เงินตามตัวเลขรายงาน หรือเจ้าของโรงสีอาจเอาข้าวที่รับจำนำไว้ แต่มีคุณภาพดีออกขายไป แล้วเอาข้าวคุณภาพไม่ดีใส่แทน เพราะยังไงรู้อยู่แล้วว่ารัฐบาลต้องเก็บสต็อกอีกนาน ยังไงข้าวที่เก็บต้องเสื่อมคุณภาพอยู่แล้ว
ผู้ส่งออกก็อาจร่วมมือกับนักการเมือง ข้าราชการ ตอนประมูล ฮั้วกันได้อีก จะล็อบบี้ให้เจ้าไหนได้ไป ตอนประมูลก็ฮั้วกัน จะเห็นได้ว่ามีทุกขั้นตอน แม้แต่การแปรสภาพข้าว นำไปแปรจริงๆ เท่าไหร่ ไม่จริงเท่าไหร่ หรือโรงสีอาจถือโอกาสทำโกดังเอง จริงๆ ไม่ได้มีการ ขนส่งไปโกดังกลาง ก็ต้องไล่ตรวจกัน
ที่ ธ.ก.ส.เคยเข้าไปตรวจสอบก็ทำได้ผล แต่เราต้องทำอย่าง รัดกุมให้มาก ร่วมกับตำรวจและสำนักนายกรัฐมนตรี ชาวบ้านจะกลัวมากไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่เกษตร เจ้าหน้าที่อตก. หรือเจ้าหน้าที่ อคส. พวกนี้จะกลัวผู้ตรวจสำนักนายกฯ ส่วนชาวบ้านจะกลัวตำรวจ ก็ไม่กล้า เราจะทำที่เรียกว่า Surprise Check ไม่บอกล่วงหน้า แล้ว ก็จะทำก็ทำพร้อมกันเลย วันเดียวกัน ถ้าทำอย่างมีแผนทุกคนก็รู้หมด จะขนข้าวหนีกันใหญ่เลย แต่เราทำสำเร็จ เราซีลกองข้าวด้วยพลาสติกคาดรัด และติดกล้องวงจรปิดถ่ายไว้ด้วย ถ่ายไว้ 3-4 ตัว เอาภาพนั้นลิงค์เข้ามากรุงเทพฯ มันก็จะไปขยับกองข้าวจะเห็นเลย มีเจ้าหน้าทีมอนิเตอร์เห็น ถ้าไปขยับเรามีเบอร์โทรศัพท์ผู้ว่าฯ และผู้การตำรวจ ภายในหนึ่งชั่วโมงจับได้เลยก็มีจับได้นะ แต่น้อยเพราะเค้าเห็นเรามีระบบนี้ก็ไม่เสี่ยงดีกว่า เราจะลิงค์ให้ดูเลยว่ากดปุ่มปุ๊บออกมาเลย จะดูโกดังกลางกองไหน คือธ.ก.ส.เราเอาระบบ แบงก์มาทำงานคือเช็กและบาลานซ์ ไม่ได้ใช้เงินมากมายอะไรนัก แรกๆก็มีคนบอกโรงสีเค้าไม่ยุ่งอะไรด้วยหรอก เราก็บอกว่าถ้าไม่ทำ ก็ไม่ให้ร่วมโครงการ ถ้าโกดังใหญ่ๆ เราใส่แบบนี้หมดเลย เพราะโกดัง เล็กๆ เรารู้ว่าเค้าทำไปก็ไม่คุ้ม เราไม่ได้ทำทุกที่เฉพาะโกดังใหญ่ๆ
กสิกรของไทย คือกระดูกสันหลังของชาติ...ความเป็นอยู่ของเขาเหล่านั้นย่อมเป็นปัจจัยสำคัญของชาติ รัฐบาลมีหน้าที่การให้บริการและสวัสดิการทางสังคมพัฒนาประเทศ.. งานนี้จึงเป็นโจทย์ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบทั้งเศรษฐกิจมวลรวม และความเป็นอยู่ของชาวนา..
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อีเวนต์ ยิ่งลักษณ์โชว์ผลงาน 1 ปี ธีมจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ชีวิตได้อะไรจากรัฐบาลบ้าง !!?
ทุกวินาที ทุกอีเวนต์ ทั้งวาระหลัก-วาระจรของ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" จะหมุนเวียนวนรอบ "ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ" ที่จะเกิดขึ้นในสมัยประชุมสามัญทั่วไปจะสิ้นสุดลง
อีเวนต์แรกเกิด ขึ้นภายหลัง ครม.มีมติเห็นชอบ จัดงานสารพัดกองทุน อาทิ กองทุนหมู่บ้าน SML กองทุนตั้งตัวได้ กองทุนบทบาทสตรี กองทุนประกันสุขภาพ และกองทุนพลังงาน เพื่อชี้แจงและเชิญชวนให้ประชาชนเข้าถึงกองทุนของรัฐ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25-26 สิงหาคมนี้
เป็นอีเวนต์ที่รัฐบาลมอบให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทย และนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ร่วมกันจัดงาน โดยใช้งบฯเหลือจ่ายของกระทรวงมหาดไทยเป็นทุนดำเนินการ
เป็นอีเวนต์ ที่ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่พร้อมกันทั่วประเทศ โดยในเมืองหลวงมีสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน และพื้นที่ฝั่งธนบุรี เป็นจุดเริ่มต้นงาน
เบื้องต้นทีมงานวางตัวให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ขึ้นเวที-กดปุ่มเปิดงานเดินหน้าพร้อมกันทั่วประเทศ
ด้าน กระบอกเสียงฝ่ายรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า งานสารพัดกองทุนครั้งนี้ต้องการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ว่ามีโอกาสเข้าถึงกองทุนของภาครัฐได้มากน้อยเพียงใด
"งานนี้เป็นการ ติดอาวุธทางปัญญาให้กับประชาชน พร้อมกันนั้นยังได้ระดมมวลชนที่เข้าร่วมกองทุนต่าง ๆ ไปแล้ว เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มพักชำระหนี้ เพื่อมาอธิบายข้อดีของกองทุนว่าสร้างประโยชน์อะไรให้กับพวกเขาบ้าง"
เป็น แผนเดินหน้านโยบาย "กองทุน" ในรูปแบบที่พรรคภายใต้กำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชื่นชอบและถนัดมาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทย
วาระเดียวกัน รัฐบาลเตรียมแทรก "วาระจร" สอดแผนใช้พื้นที่ ในงานสารพัดกองทุน จัดนิทรรศการโชว์
ผลงานรัฐบาล 1 ปี ภายใต้ชื่อ "รัฐบาลพบประชาชน"
เป็น แนวคิดที่ออกมาจากห้องทำงาน "นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับ-จัดการทั้งหมด เพื่อฉายภาพความสำเร็จของนโยบายภายใต้การบริหารตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
โดยเร่งให้รัฐมนตรีขึ้นคัตเอาต์
แผ่นป้าย-โชว์ผลงานรายกระทรวง อาทิ จำนำข้าว แท็บเลต ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือน ป.ตรี 15,000 บาท
เพื่อรับมือ-สร้างภาพบวก ก่อนที่รัฐบาลจะเกิดภาพลบในเวทีอภิปรายไม่ไว้
วางใจ
ด้าน พรรคเพื่อไทย จัดชุด ส.ส.ลงพื้นที่ประกบรายจังหวัด เป็นกองหนุนรายงานความคืบหน้านโยบายปลีกย่อยที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยอ้างถึงมติ "ครม.สัญจร" ที่รัฐบาลลงพื้นที่ไปแล้ว 6 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ 19 โซน ตามแผนยุทธศาสตร์พรรค
ทั้งจังหวัด เชียงใหม่-ภาคเหนือตอนบน จังหวัดอุดรธานี-อีสานเหนือ จังหวัดภูเก็ต-ภาคใต้ จังหวัดกาญจนบุรี-ภาคกลาง จังหวัดชลบุรี-ภาคตะวันออก และจังหวัดสุรินทร์-อีสานใต้
ทุกพื้นที่จะถูกเล่าเรื่อง-แถลงนโยบาย ปลีกย่อย รายงานให้ท้องถิ่นซึมซับ อาทิ ความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงเส้นทางจราจร สร้างโรงพยาบาล พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ฯลฯ
ทั้งหมดเป็นการตีปี๊บ ก่อนเปิดเวทีให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" แถลงผลงาน 1 ปีในรัฐสภา ในช่วงระหว่างสิ้นเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนกันยายน
วง ในพรรคเพื่อไทยประเมินเหตุล่วงหน้าว่า "ยิ่งลักษณ์และคณะ" จะถูกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ลุกขึ้นซักซ้อมซักฟอก ทั้งความล้มเหลวรายโครงการและการกู้เงินก้อนโต ซึ่งจะถูกขุดขึ้นมาชำแหละอีกหนึ่งยก
"ทีมงานนิวัฒน์ธำรง" จึงผุดอีเวนต์เสริม ภายหลังการแถลงนโยบายในรัฐสภาเสร็จสิ้นไว้อีก 2 วาระ เพื่อโหนให้ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ยังอยู่ในกระแสชื่นชอบ
วาระแรก จับมือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำรูปเล่มสรุป
ผล งานรัฐบาล 1 ปี ตามรัฐธรรมนูญกำหนดในมาตรา 75 ระบุว่า "ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา และอุปสรรคต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง"
ซึ่งการดำเนินงานล่าสุดมีความคืบ หน้าไปแล้ว 90% เหลือเพียงการอัพเดตผลงานรายกระทรวง ก่อนที่จะนำร่างสุดท้ายให้ ครม.เห็นชอบในวันที่ 18 กันยายน เพื่อจัดพิมพ์ ส่งต่อให้รัฐสภาในเดือนตุลาคม
ควบคู่ไปกับแผนประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ แผ่นพับ และรูปเล่ม
นำเสนอนโยบายเชิง "เปรียบเทียบ"
ชี้ความแตกต่างระหว่างรัฐบาลในยุค "เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์"
วาระสอง รัฐบาลจะจัดทำ "ละคร-เรื่องสั้น" เพื่อร่ายมนตร์นโยบายเพื่อไทย ส่งตรงถึงจอทีวีทั่วประเทศ
อาศัยชุดความคิด "ดร.ป๋วย
อึ๊งภา กรณ์" ผูกเรื่องจากหลักการ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ปรับมาใช้กับอีเวนต์การเมือง เพื่อบอกเล่าชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ประชาชนได้รับอะไรจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ทั้งหมดเป็นแผนอีเวนต์ที่ถูกจัดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานรัฐบาล ท่ามกลางกระแส "อภิปราย
ไม่ไว้วางใจ" ที่จะเกิดขึ้นในรัฐสภา
ทั้งหมดเป็นแผนรุกผ่านสื่อ ที่ผุดออกจากห้อง "นิวัฒน์ธำรง" ผู้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ วางบทบาทให้เข้ามากู้ภาพ-สู้รบ
เคียงข้าง "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ในวันที่ต้องพบศึกหนักจากฝ่ายค้าน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อีเวนต์แรกเกิด ขึ้นภายหลัง ครม.มีมติเห็นชอบ จัดงานสารพัดกองทุน อาทิ กองทุนหมู่บ้าน SML กองทุนตั้งตัวได้ กองทุนบทบาทสตรี กองทุนประกันสุขภาพ และกองทุนพลังงาน เพื่อชี้แจงและเชิญชวนให้ประชาชนเข้าถึงกองทุนของรัฐ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 25-26 สิงหาคมนี้
เป็นอีเวนต์ที่รัฐบาลมอบให้ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทย และนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ร่วมกันจัดงาน โดยใช้งบฯเหลือจ่ายของกระทรวงมหาดไทยเป็นทุนดำเนินการ
เป็นอีเวนต์ ที่ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่พร้อมกันทั่วประเทศ โดยในเมืองหลวงมีสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถาน และพื้นที่ฝั่งธนบุรี เป็นจุดเริ่มต้นงาน
เบื้องต้นทีมงานวางตัวให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ขึ้นเวที-กดปุ่มเปิดงานเดินหน้าพร้อมกันทั่วประเทศ
ด้าน กระบอกเสียงฝ่ายรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า งานสารพัดกองทุนครั้งนี้ต้องการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ว่ามีโอกาสเข้าถึงกองทุนของภาครัฐได้มากน้อยเพียงใด
"งานนี้เป็นการ ติดอาวุธทางปัญญาให้กับประชาชน พร้อมกันนั้นยังได้ระดมมวลชนที่เข้าร่วมกองทุนต่าง ๆ ไปแล้ว เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มพักชำระหนี้ เพื่อมาอธิบายข้อดีของกองทุนว่าสร้างประโยชน์อะไรให้กับพวกเขาบ้าง"
เป็น แผนเดินหน้านโยบาย "กองทุน" ในรูปแบบที่พรรคภายใต้กำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชื่นชอบและถนัดมาตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทย
วาระเดียวกัน รัฐบาลเตรียมแทรก "วาระจร" สอดแผนใช้พื้นที่ ในงานสารพัดกองทุน จัดนิทรรศการโชว์
ผลงานรัฐบาล 1 ปี ภายใต้ชื่อ "รัฐบาลพบประชาชน"
เป็น แนวคิดที่ออกมาจากห้องทำงาน "นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับ-จัดการทั้งหมด เพื่อฉายภาพความสำเร็จของนโยบายภายใต้การบริหารตลอด 1 ปีที่ผ่านมา
โดยเร่งให้รัฐมนตรีขึ้นคัตเอาต์
แผ่นป้าย-โชว์ผลงานรายกระทรวง อาทิ จำนำข้าว แท็บเลต ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือน ป.ตรี 15,000 บาท
เพื่อรับมือ-สร้างภาพบวก ก่อนที่รัฐบาลจะเกิดภาพลบในเวทีอภิปรายไม่ไว้
วางใจ
ด้าน พรรคเพื่อไทย จัดชุด ส.ส.ลงพื้นที่ประกบรายจังหวัด เป็นกองหนุนรายงานความคืบหน้านโยบายปลีกย่อยที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยอ้างถึงมติ "ครม.สัญจร" ที่รัฐบาลลงพื้นที่ไปแล้ว 6 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ 19 โซน ตามแผนยุทธศาสตร์พรรค
ทั้งจังหวัด เชียงใหม่-ภาคเหนือตอนบน จังหวัดอุดรธานี-อีสานเหนือ จังหวัดภูเก็ต-ภาคใต้ จังหวัดกาญจนบุรี-ภาคกลาง จังหวัดชลบุรี-ภาคตะวันออก และจังหวัดสุรินทร์-อีสานใต้
ทุกพื้นที่จะถูกเล่าเรื่อง-แถลงนโยบาย ปลีกย่อย รายงานให้ท้องถิ่นซึมซับ อาทิ ความคืบหน้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงเส้นทางจราจร สร้างโรงพยาบาล พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ฯลฯ
ทั้งหมดเป็นการตีปี๊บ ก่อนเปิดเวทีให้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" แถลงผลงาน 1 ปีในรัฐสภา ในช่วงระหว่างสิ้นเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนกันยายน
วง ในพรรคเพื่อไทยประเมินเหตุล่วงหน้าว่า "ยิ่งลักษณ์และคณะ" จะถูกพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ลุกขึ้นซักซ้อมซักฟอก ทั้งความล้มเหลวรายโครงการและการกู้เงินก้อนโต ซึ่งจะถูกขุดขึ้นมาชำแหละอีกหนึ่งยก
"ทีมงานนิวัฒน์ธำรง" จึงผุดอีเวนต์เสริม ภายหลังการแถลงนโยบายในรัฐสภาเสร็จสิ้นไว้อีก 2 วาระ เพื่อโหนให้ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ยังอยู่ในกระแสชื่นชอบ
วาระแรก จับมือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดทำรูปเล่มสรุป
ผล งานรัฐบาล 1 ปี ตามรัฐธรรมนูญกำหนดในมาตรา 75 ระบุว่า "ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา และอุปสรรคต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง"
ซึ่งการดำเนินงานล่าสุดมีความคืบ หน้าไปแล้ว 90% เหลือเพียงการอัพเดตผลงานรายกระทรวง ก่อนที่จะนำร่างสุดท้ายให้ ครม.เห็นชอบในวันที่ 18 กันยายน เพื่อจัดพิมพ์ ส่งต่อให้รัฐสภาในเดือนตุลาคม
ควบคู่ไปกับแผนประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ แผ่นพับ และรูปเล่ม
นำเสนอนโยบายเชิง "เปรียบเทียบ"
ชี้ความแตกต่างระหว่างรัฐบาลในยุค "เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์"
วาระสอง รัฐบาลจะจัดทำ "ละคร-เรื่องสั้น" เพื่อร่ายมนตร์นโยบายเพื่อไทย ส่งตรงถึงจอทีวีทั่วประเทศ
อาศัยชุดความคิด "ดร.ป๋วย
อึ๊งภา กรณ์" ผูกเรื่องจากหลักการ "คุณภาพชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน" ปรับมาใช้กับอีเวนต์การเมือง เพื่อบอกเล่าชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ประชาชนได้รับอะไรจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ทั้งหมดเป็นแผนอีเวนต์ที่ถูกจัดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานรัฐบาล ท่ามกลางกระแส "อภิปราย
ไม่ไว้วางใจ" ที่จะเกิดขึ้นในรัฐสภา
ทั้งหมดเป็นแผนรุกผ่านสื่อ ที่ผุดออกจากห้อง "นิวัฒน์ธำรง" ผู้ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ วางบทบาทให้เข้ามากู้ภาพ-สู้รบ
เคียงข้าง "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ในวันที่ต้องพบศึกหนักจากฝ่ายค้าน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ขี้เถ้ากับไส้เดือน !!?
น่าจะเป็นคำพังเพยที่ใช้ได้ดีสำหรับกรณีที่ พรรคประชาธิปัตย์ และ บุคคลบางกลุ่ม แสดงปฏิกริยาออกมาในกรณีที่รัฐบาลสหรัฐออกวีซ่าให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางเข้าไปพบปะนักการเมืองและบุคคลต่างๆ ในประเทศนั้น
มีปฏิกริยาตั้งแต่การกล่าวประณามประธานาธิบดี บารัค โอบามา กับ นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ โดย นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับการไปประท้วงที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐปประจำประเทศไทย
เพราะพวกเขาเห็นว่า...รัฐบาลสหรัฐทำผิดอย่างร้ายแรงที่อนุญาตให้ผู้ที่ศาลไทยตัดสินว่าเป็นผู้กระทำความผิดเดินทางเข้าไปเยือนอย่างเสรี
การประณามของนายกษิตถึงขั้นกล่าวหาว่า บารัค โอบามา และ ฮิลลารี คลินตัน “คบโจร”
ซึ่งดูแล้วไม่ผิดอะไรกับการที่ไส้เดือนเต้นเร่าๆ เพราะปวดแสบปวดร้อนจากการถูกขี้เถ้า
คริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยอธิบายว่า...
การออกวีซ่าให้กับคนต่างชาตินั้น เป็นไปตามกฎหมายของสหรัฐอย่างเคร่งครัด ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองแต่อย่างใด
และเมื่อถูกถามถึงความตกลงว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับสหรัฐ คริสตี้ เคนนีย์ บอกว่า สหรัฐรู้สึกดีใจและเป็นเกียรติที่มีการรร่วมมือทางด้านกฎหมายของทั้งสองประเทศและที่ผ่านมาสหรัฐก็ตอบสนองคำขอของรัฐบาลไทย
ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ห้ามการส่งตัวผู้กระทำความผิดทางการเมือง
ซึ่งกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ประเทศต่างๆ ในโลก ไม่เฉพาะสหรัฐต่างเห็นว่าแม้จะเป็นคดีอาญาแต่แท้จริงแล้วมันเป็นเป็นคดีการเมืองที่เกิดจากการรัฐประหารเมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
รวมทั้งถูกมองว่าเป็นการกลั่นแกล้งกันทางการเมืองด้วย
หากมองกันตามความเป็นจริง คดีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกตัดสินว่ากระทำความผิดก็เป็นคดีที่ถูกกล่าวหาว่า ลงชื่อรับรองให้ภริยาประมูลซื้อที่ดินของกองทุนฟื้นฟู
แต่ภายหลังศาลก็ได้ตัดสินว่า คดีดังกล่าวเป็นโมฆะ และให้ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ คืนที่ดินให้กองทุนฟื้นฟู ขณะเดียวกันกองทุนฟื้นฟูก็ต้องคืนเงินให้ภริยา พตท.ทักษิณ เป็นอันจบกันไป
แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดอะไร?
พรรคประชาธิปัตย์และพวกที่ไปประท้วงสถานทูตสหรัฐควรจะศึกษาพระราชบัญญัติการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ ของไทยเราที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๙ ว่า...
รัฐบาลไทยอาจพิจารณาส่งบุคคลข้ามแดนเพื่อการฟ้องร้องหรือรับโทษอาญา แต่ต้องไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายไทย หรือมิใช่ความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองหรือเป็นความผิดทางทหาร
เรื่องนี้ยิ่งดิ้นมันยิ่งเห็นความขี้เท่อ
โดย.ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)