นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวหลังจากการวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ว่า พรรคเพื่อไทยยังไม่ได้หารือกัน แต่เห็นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่สร้างความสับสน เนื่องจากบอกว่ายกคำร้องเพราะไม่เป็นการล้มล้างการปกครอง แต่ไม่สามารถแก้ทั้งฉบับได้ ให้ลงประชามติก่อน ไม่ทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจใดในการวินิจฉัย
ดังนั้น การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นกึ่งความเห็นกึ่งคำวินิจฉัย แต่ปัญหาที่จะเกิดต่อไป คือ ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องต่อศาลโดยตรงได้ และศาลรัฐธรรมนูญสร้างบรรทัดฐานว่ามีอำนาจตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภาได้ ซึ่งการวินิจฉัยว่าแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ได้ ไม่มีการระบุในรัฐธรรมนูญ คงเป็นเรื่องที่รัฐสภาและคนที่เกี่ยวข้องต้องไปพิจารณาต่อว่าจะลงมติวาระ 3 อย่างไร หรือจะต้องทำประชามติก่อน และต้องคิดว่าการลงประชามติต้องใช้กฎหมายใดรับรอง อย่างไรก็ตามการจะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอย่างไรต้องมาตีความคำวินิจฉัยกันอีกครั้ง
นายจาตุรนต์ยังเห็นว่า ถ้าแก้รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ใช้เวลา 10 ปี ก็ไม่เสร็จ เพราะพรรคประชาธิปัตย์จะอภิปรายทุกมาตรา ฉะนั้นการแก้รัฐธรรมนูญแต่ละหมวดซึ่งมีหลายมาตรา จึงใช้เวลานานมาก
ที่มา:มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วรเจตน์. ชี้ตรรกะในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญขัดกันเอง !!?
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ให้สัมภาษณ์วอยซ์ทีวี ชี้ตรรกะในคำวินิจฉัยขัดกันเอง ระบุเรื่องนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแต่ต้น เพราะเป็นการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา

13 ก.ค. 55 หลังจากการอ่านคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วอยซ์ทีวีได้ทำการสัมภาษณ์อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ ต่อประเด็นการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
โดย อ.วรเจตน์ ชี้ว่าตรรกะในคำวินิจฉันขัดกันเอง โดยระบุว่ามีความเห็นแต่แรกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแต่ต้น เพราะนี่เป็นการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
“ไม่ต้องพูดเรื่องต้องผ่านอัยการหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะทำได้”
“เพราะไม่เช่นนั้น ต่อจากนี้ไป หากองค์กรของรัฐทำอะไรก็ตาม ก็จะมีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ เองและไม่มีผลผูกพันองค์กรใดๆ ของรัฐ แต่ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ยืนยันอำนาจของตัวเองในการลงประชามติผ่านวาระสาม”
อ.วรเจตน์ ให้ความเห็นต่อไปว่า ในการวินิจฉัยว่าถ้าแก้ทั้งฉบับต้องลงประชามติก่อนนั้น ศาลพูดแต่เพียงว่า "ควรจะประชามติ" ก่อน เพราะศาลก็รู้ว่าไม่มีบทบัญญัติที่ไหนเลยที่บอกว่าถ้าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทังฉบับนั้นต้องลงประชามติ และแม้จะมีการยกร่างฯ ใหม่ ก็ต้องลงประชามติอยู่ดี และประชาชนก็จะมีโอกาสเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญเก่า กับร่างฯ ใหม่แต่ถ้าประชามติไปถามเฉยๆ ว่าจะแก้หรือไม่นั้นไม่เกิดประโยชน์เสียงบประมาณเปล่าๆ นี่เป็นการยกขึ้นมาโดยศาลเองโดยไม่มีอำนาจ
ส่วนประเด็นสุดท้าย เรื่องการไม่ล้มล้างการปกครองฯ นั้น อ.วรเจตน์ ระบุว่าเหมือนกับศาลรัฐธรรมนูญ จะบอกว่าถ้าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ ถ้าทำต้องแก้รายมาตรา ถ้าบอกว่าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ แต่ศาลก็ไม่ได้บอกว่า แก้ทั้งฉบับเป็นการล้มล้างการปกครองหรือเปล่า ตรรกะของศาลเป็นปัญหาในตัวเอง
ที่มา.ประชาไท
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
(แฟ้มภาพ: ประชาไท)
13 ก.ค. 55 หลังจากการอ่านคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วอยซ์ทีวีได้ทำการสัมภาษณ์อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ ต่อประเด็นการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
โดย อ.วรเจตน์ ชี้ว่าตรรกะในคำวินิจฉันขัดกันเอง โดยระบุว่ามีความเห็นแต่แรกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแต่ต้น เพราะนี่เป็นการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
“ไม่ต้องพูดเรื่องต้องผ่านอัยการหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะทำได้”
“เพราะไม่เช่นนั้น ต่อจากนี้ไป หากองค์กรของรัฐทำอะไรก็ตาม ก็จะมีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ เองและไม่มีผลผูกพันองค์กรใดๆ ของรัฐ แต่ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ยืนยันอำนาจของตัวเองในการลงประชามติผ่านวาระสาม”
อ.วรเจตน์ ให้ความเห็นต่อไปว่า ในการวินิจฉัยว่าถ้าแก้ทั้งฉบับต้องลงประชามติก่อนนั้น ศาลพูดแต่เพียงว่า "ควรจะประชามติ" ก่อน เพราะศาลก็รู้ว่าไม่มีบทบัญญัติที่ไหนเลยที่บอกว่าถ้าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทังฉบับนั้นต้องลงประชามติ และแม้จะมีการยกร่างฯ ใหม่ ก็ต้องลงประชามติอยู่ดี และประชาชนก็จะมีโอกาสเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญเก่า กับร่างฯ ใหม่แต่ถ้าประชามติไปถามเฉยๆ ว่าจะแก้หรือไม่นั้นไม่เกิดประโยชน์เสียงบประมาณเปล่าๆ นี่เป็นการยกขึ้นมาโดยศาลเองโดยไม่มีอำนาจ
ส่วนประเด็นสุดท้าย เรื่องการไม่ล้มล้างการปกครองฯ นั้น อ.วรเจตน์ ระบุว่าเหมือนกับศาลรัฐธรรมนูญ จะบอกว่าถ้าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ ถ้าทำต้องแก้รายมาตรา ถ้าบอกว่าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ แต่ศาลก็ไม่ได้บอกว่า แก้ทั้งฉบับเป็นการล้มล้างการปกครองหรือเปล่า ตรรกะของศาลเป็นปัญหาในตัวเอง
ที่มา.ประชาไท
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
รัฐอ่วม. แบกสต็อกจำนำข้าว 10ล้านตัน ล้น500โกดัง !!?
รัฐแบกสต็อกข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์10ล้านตัน เม็ดเงินจำนำ 2.56 แสนล้าน ล้นโกดังเก็บ 500 แห่ง ผู้ส่งออกประเมินระบายออกยาก ส่อขายขาดทุนยับ
โครงการรับจำนำข้าวเป็นหนึ่งในโครงการประชานิยม ที่รัฐบาลหมายมั่นปั้นมือสร้างรายได้ให้กับชาวนาสูงขึ้น แต่ภาระที่เกิดจากการจำนำตามมาอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการกำหนดราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก เป็นเหตุให้ข้าวทั้งหมดไปอยู่กับรัฐบาล ทำให้แบกสต็อกสูงสุดเป็นประวัติการณ์นอกจากภาระงบประมาณสูงแล้ว ยังเกิดกรณีโกดังสำหรับเก็บสต็อกข้าวไม่เพียงพอ
นายสุรชัย สุขถาวรพันธุ์ เลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวจ.สุพรรณบุรี ยอมรับว่า เริ่มหนักใจกับโกดังเก็บข้าวที่อาจไม่เพียงพอต่อผลผลิตของเกษตรกรที่นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวตันละ15,000 บาทของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้เริ่มประสบปัญหาโกดังล้นและมีการแบ่งผลผลิตจากพื้นที่อื่นมาเก็บสต๊อกในจังหวัดสุพรรณบุรีมากขึ้น เช่น จากจ.นครปฐม จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากในพื้นที่จ.สุพรรณ ถือว่ามีคลังเก็บข้าวมากที่สุดในประเทศ
สำหรับผลผลิตนาปีที่ปิดโครงการจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/2555เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ปริมาณข้าวที่รัฐบาลรับจำนำมีทั้งสิ้น 3.8 ล้านตัน ขณะที่ข้าวนาปรังปี 2555 มีประมาณ 8 ล้านตันข้าวสารและจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 15 ก.ย. คาดว่าจะมีผลผลิตมาเข้าโครงการเดือนละ 1 แสนตัน คาดว่าจำนวนข้าวที่รัฐบาลรับไว้ในโครงการจะอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน
"การเก็บสต๊อกข้าวสารหากเก็บไว้นานประมาณหนึ่งปี ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของข้าวที่สภาพเริ่มเปลี่ยน ขณะที่ปัญหาสต๊อกไม่สามารถระบายได้ ก็ต้องหาโกดังเพิ่ม ซึ่งหากเก็บนานคุณภาพของข้าว ก็จะด้อยคุณภาพ เพียงไม่กี่เดือนคุณภาพสีก็จะเปลี่ยนเป็นสีขุ่น "
ทั้งนี้ ปัญหาที่ทำให้เกษตรกรนำข้าวโครงการปริมาณมาก ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ส่งผลทำให้เกษตรกรหันมาเร่งปลูกข้าวมากขึ้นโดยเฉพาะข้าวมีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 3 เดือน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของข้าว
โรงสีรับข้าวสต็อกรัฐล้นโกดัง
นายวินิจ เลาห์ทวีรุ่งเรือง ผู้จัดการโรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล กล่าวว่า ภายหลังการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลสัดส่วนของชาวนาผู้ปลูกข้าว ที่นำข้าวมาจำนำที่โรงสี มีประมาณ 70-80%ซึ่งทำให้ข้าวที่ต้องเก็บไว้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลตั้งข้อกำหนดห้ามนำข้าวไปเก็บสต๊อกในโกดังริมน้ำ เนื่องจากเกรงปัญหาน้ำท่วมและส่งผลทำให้ผลผลิตเสียหาย ซึ่งทำให้มีการขนข้าวเพื่อเก็บไว้ในคลังภาคกลาง เช่น ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ลพบุรีมากขึ้น ดังนั้น เมื่อจำนวนโกดังถูกจำกัดและผลผลิตมีจำนวนมาก จะเกิดปัญหาไม่มีโกดังเก็บข้าว
"ตอนนี้เราก็อยากให้รัฐสั่งสีแปรให้เร็วขึ้น ต้องยอมรับว่าโกดังที่มีอยู่เก็บไม่ไหว เพราะข้าวเข้าสู่สต็อกรัฐทั้งหมด โกดังส่วนใหญ่ก็อยู่ริมน้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง รัฐบอกเก็บไม่ได้ ก็ต้องไปเก็บโกดังริมภูเขาน้ำท่วมไม่ถึง ตอนนี้โกดังที่มีอยู่ขนาดจ.สุพรรณบุรีมากสุดก็แทบเต็มแล้ว ยังมีข้าวนาปรังที่เหลืออีก จะปิดโครงการก็กลางเดือนก.ย. ไม่ใช่เรื่องง่ายจะสร้างโกดังใหม่ ก็ต้องใช้เวลา 7-8 เดือน และเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทในแต่ละแห่ง"นายวินิจ ระบุ
การรับจำนำราคาข้าวส่งผลทำให้ข้าวขาวไม่สามารถส่งออกได้ เนื่องจากทำให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้ส่งออกและโรงสี เพราะ ไม่สามารถส่งออกข้าวขาวได้เลย เพราะตั้งราคาไว้สูงที่ 15,000 บาทต่อตัน จึงต้องรับไว้ทั้งหมด
อ.ต.ก.ยันข้าวเต็มโกดังทุบสถิติจำนำ
นายโอวาท อภิบาลภูวนาท รองผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก. ) ว่า โครงการรับจำนำข้าวนาปี2554/55 และนาปรัง ที่กำลังจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย.นี้ อ.ต.ก.รับจำนำข้าวมาแล้ว 3.8 ล้านตันข้าวเปลือก แยกเป็นข้าวนาปี 1.8 ล้านตันข้าวเปลือกและข้าวนาปรัง 2 ล้านตันข้าวเปลือก หลังจากนี้ไปในส่วนของข้าวนาปรังคาดว่าปริมาณจะเริ่มลดลง เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวเหลือเพียงในส่วนของภาคใต้ ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก
อย่างไรก็ตามปริมาณข้าวในโครงการรับจำนำ ตามที่อ.ต.ก. รับไว้ดังกล่าว ถือว่าเป็นปริมาณมากที่สุด เมื่อเทียบกับการรับจำนำครั้งก่อนๆหน้านี้ ที่มีข้าวในโกดังของอ.ต.ก. สูงสุดเพียง 1.7 ล้านตันเท่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการรับจำนำที่ไม่จำกัดปริมาณ โดยข้าวทั้งหมดถูกแปรสภาพเก็บไว้ในโกดังในพื้นที่ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ สุพรรณบุรี เป็นต้น
เอกชนแห่สร้างโกดังรับข้าวรัฐ
ในส่วนของโกดังเก็บข้าว เนื่องจากในปีที่ผ่านมาไทยประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ทำให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีเงื่อนไขห้ามใช้โกดังที่มีประวัติการถูกน้ำท่วม ส่งผลให้การเลือกโกดังจัดเก็บข้าว ต้องพิถีพิถันมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงไม่อยู่ติดกับแม่น้ำ ซึ่งจากที่รัฐบาลมีนโยบายจะรับจำนำข้าวในปี 2555/56 ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มก่อสร้างโกดังใหม่ๆกันบ้างแล้ว เพื่อปล่อยให้รัฐบาลเช่าเก็บสต็อก ดังนั้นแม้ว่ารัฐบาลยังไม่มีนโยบายระบายข้าวในสต๊อก แต่อ.ต.ก.ก็พร้อมจะดำเนินโครงการต่อไป
“ปีนี้อ.ต.ก เต็มที่แล้วในการรับข้าว ถือว่าเป็นมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะเรารับปากกับรัฐบาลไปแล้ว ที่จะร่วมดำเนินโครงการ ดังนั้นเมื่อข้าวมาเท่าไร ก็ต้องหาโกดังเพื่อจัดเก็บให้ได้ทั้งหมด และตั้งแต่รับจำนำมาถึงปัจจุบันรัฐยังไม่เคยสั่งให้ระบายออกเลย“ นายโอวาท กล่าว
เผยสต็อกตกค้างปีก่อน 2 ล้านตัน
แหล่งข่าวจากกขช.เปิดเผยว่า นอกจากเงินที่ใช้สำหรับรับจำนำข้าวแล้ว รัฐบาลยังใช้งบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆในการดำเนินโครงการในลักษณะงบจ่ายขาดอีกจำนวน 25,547.6 ล้านบาท แบ่งเป็นงบจ่ายขาดค่าดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายการบริหารสินเชื่อ จำนวน 14,882.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำหรับอคส. อตก. สำหรับค่ารับฝาก โอเวอร์เฮดตันละ 50 บาท และค่าเก็บรักษาข้าวสารอีกจำนวน 9,958.3 ล้านบาท
ส่วนข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลที่อยู่ในคลังกลาง ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2548/2549 และนาปรัง 2549-2552 มีปริมาณรวม 2.189 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวสารในสต๊อกของอคส. จำนวน 1,446,805.63 ตัน อ.ต.ก. 742,210 ตัน จำแนกเป็นข้าวหอมมะลิ จำนวน 28,986.85 ตัน ข้าวหอมจังหวัด จำนวน 71,799 ตัน ข้าวปทุทธานี จำนวน 269,195.37 ตัน ข้าวขาว5% จำนวน 1,736,712.22 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 10,007.45 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 5,467.21 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 24,671.44 ตัน และข้าวเหนียว 10% จำนวน 42,176.04 ตัน
สต็อกใหม่ 8ล้านตัน 2.56แสนล้าน
ส่วนผลการรับจำนำข้าวนาปีฤดูกาล 2554/55 มีปริมาณข้าวเปลือกทั้งสิ้น 6.97 ล้านตัน เกษตรกรเข้าโครงการ 1,141,512 ราย ใช้เงินไปทั้งสิ้น 118,405 ล้านบาท ขณะที่รับจำนำนาปรังปี 2555 มีปริมาณข้าวเปลือกทั้งสิ้น 9.50 ล้านตัน เกษตรกรร่วมโครงการ 876,830 ราย ใช้จ่ายเงินไปทั้งสิ้น 138,147 ล้านบาท
รวมปริมาณข้าวที่รัฐบาลจำนำ 16.47 ล้านตันหรือประมาณกว่า 8 ล้านตันข้าวสาร ใช้จ่ายเงินไปในการรับจำนำเฉพาะค่าใบประทวน 256,552 ล้านบาท โดยมีจำนวนโรงสีเข้าร่วมโครงการประมาณ 1 พันแห่ง และมีโกดังเข้าร่วมประมาณ 500 โกดัง
ขณะที่โกดังทั่วประเทศทั้งของรัฐและเอกชน มีขีดความสามารถในการเก็บสต็อกข้าวสารประมาณ 30-40 ล้านตัน แต่โกดังเอกชนบางส่วนถูกใช้สำหรับเก็บสินค้าอื่นด้วย กรณีที่รัฐตั้งเงื่อนไขห้ามเก็บในโกดังริมน้ำ จะเกิดปัญหาไม่มีพื้นที่เก็บสต็อกข้าวได้ หากไม่มีการระบายข้าวออกจากสต็อกของรัฐบาลเลย
ชี้อินเดีย-เวียดนามกดราคาขาย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ปริมาณข้าวสต๊อกของรัฐขณะนี้ถือว่าทำสถิติสูงสุด โดยประเมินว่ารัฐเก็บข้าวไว้ในสต๊อกประมาณ 10 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเป็นข้าวที่มาจากโครงการรับจำนำทั้ง 2 โครงการและข้าวจากสต๊อกเก่ามีอยู่ 2 ล้านตัน
สำหรับการระบายข้าวในช่วงนี้ ถือว่ามีความยากลำบากมาก เพราะตลาดมีการแข่งขันราคาระหว่างเวียดนามและอินเดีย แม้จะเป็นระบบขายแบบรัฐต่อรัฐแต่ในความเป็นจริงราคาข้าวขาวคู่แข่งเฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ข้าวไทยคำนวนจากราคารับจำนำจะเฉลี่ยที่ตันละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ทางออกเดียวคือต้องขายขาดทุนตามกลไกตลาด
ผลผลิตอินเดียมีสต๊อกข้าวถึง 30 ล้านตันเพียงพอที่อินเดียจะเดินหน้าส่งออกข้าวในปีนี้ เช่นเดียวกับเวียดนามที่กำลังลดราคาข้าวให้ต่ำลง เพื่อตัดราคาข้าวกับอินเดีย เนื่องจากในเดือนหน้าจะมีผลผลิตข้าวปริมาณ 4 ล้านตันออกสู่ตลาด ซึ่งเวียดนามไม่มีพื้นที่เก็บข้าว จึงต้องเร่งระบายออกทันที
“เวียดนามก็อยากจะรีบขายโดยเร็วแต่ก็ไม่สะดวกนักเพราะมีอินเดียขวางอยู่ โดยราคาข้าวขาว 5%เปรียบเทียบอินเดียอยู่ที่ตันละ 410-415 ดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามจึงตัดราคาลงมาอยู่ที่ตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ไทยยืนอยู่ที่ตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ส่งออกไม่สามารถขายได้เพราะราคาต่างกันถึงตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ”นายชูเกียรติกล่าว
เชื่อรัฐขาดทุนมหาศาลขายข้าว
ทิศทางราคาขณะนี้มีแนวโน้มลดลง ชี้ให้เห็นข้าวยังไม่หมดไปจากตลาด ตามที่รัฐบาลกล่าวอ้างว่าเป็นจังหวะเหมาะที่ไทยจะเริ่มขายข้าว และมีปัจจัยภายในจากปริมาณสต๊อกของรัฐบาล เพราะผู้ค้าต่างประเทศจะไม่ยอมซื้อข้าวในราคาแพงทั้งที่ไทยถือสต๊อกมหาศาลไว้ เนื่องจากมั่นใจว่าไม่นานรัฐบาลไทยจะต้องระบายสต๊อกอย่างแน่นอน
“จากนโยบายรับจำนำนี้ทำให้ผู้ส่งออกขายข้าวไม่ได้ เป็นผลพวงจากนโยบายที่มีส่วนทำให้ปริมาณส่งออกข้าวลดลงมากกว่าครึ่ง และทุกคนก็รู้รัฐมีสต็อกมากก็ไม่ซื้อ แต่ในที่สุดก็ต้องระบายซึ่งจะต้องขาดทุนจำนวนมหาศาล เพราะจะขายราคารับจำนำก็แข่งไม่ได้ จะขายราคาตลาดก็ขาดทุน จะเก็บสต็อกต่อก็ไม่มีที่เก็บ "นายชูเกียรติ กล่าว
"บุญทรง"มั่นใจ"เอาอยู่"สต็อกข้าว
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สต๊อกข้าวขณะนี้มีไม่น้อยกว่า 8 ล้านตัน ตามที่ได้รับจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/55 และข้าวเปลือกนาปรัง 2555 รวมข้าวเปลือก 15 ล้านตันหรือประมาณ 8 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งความสามารถจัดเก็บของรัฐบาลยังมีอีกมากไม่จำเป็นต้องเร่งระบาย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การขายข้าวผ่านรัฐต่อรัฐ กำลังมีการเจรจาอยู่และบางส่วนได้ข้อสรุปแล้วรอส่งมอบ รวมประมาณ 2 ล้านตัน และกันไว้เป็นเซฟตี้สต๊อกอีก 1 ล้านตัน ซึ่งแนวทางบริหารจัดการสต๊อกของรัฐบาลมีประสิทธิภาพและไม่มีแรงกดดัน อันเกิดจากปริมาณจัดเก็บที่จะทำให้รัฐบาลต้องเร่งระบายข้าว แต่รัฐบาลจะพิจารณาระบายในสัดส่วนที่เหมาะสมและยืนยันว่าจะได้ราคาไม่ขาดทุนจากที่รับซื้อเข้ามา
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โครงการรับจำนำข้าวเป็นหนึ่งในโครงการประชานิยม ที่รัฐบาลหมายมั่นปั้นมือสร้างรายได้ให้กับชาวนาสูงขึ้น แต่ภาระที่เกิดจากการจำนำตามมาอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการกำหนดราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดมาก เป็นเหตุให้ข้าวทั้งหมดไปอยู่กับรัฐบาล ทำให้แบกสต็อกสูงสุดเป็นประวัติการณ์นอกจากภาระงบประมาณสูงแล้ว ยังเกิดกรณีโกดังสำหรับเก็บสต็อกข้าวไม่เพียงพอ
นายสุรชัย สุขถาวรพันธุ์ เลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวจ.สุพรรณบุรี ยอมรับว่า เริ่มหนักใจกับโกดังเก็บข้าวที่อาจไม่เพียงพอต่อผลผลิตของเกษตรกรที่นำข้าวมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวตันละ15,000 บาทของรัฐบาล ซึ่งขณะนี้เริ่มประสบปัญหาโกดังล้นและมีการแบ่งผลผลิตจากพื้นที่อื่นมาเก็บสต๊อกในจังหวัดสุพรรณบุรีมากขึ้น เช่น จากจ.นครปฐม จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากในพื้นที่จ.สุพรรณ ถือว่ามีคลังเก็บข้าวมากที่สุดในประเทศ
สำหรับผลผลิตนาปีที่ปิดโครงการจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/2555เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ปริมาณข้าวที่รัฐบาลรับจำนำมีทั้งสิ้น 3.8 ล้านตัน ขณะที่ข้าวนาปรังปี 2555 มีประมาณ 8 ล้านตันข้าวสารและจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 15 ก.ย. คาดว่าจะมีผลผลิตมาเข้าโครงการเดือนละ 1 แสนตัน คาดว่าจำนวนข้าวที่รัฐบาลรับไว้ในโครงการจะอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน
"การเก็บสต๊อกข้าวสารหากเก็บไว้นานประมาณหนึ่งปี ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของข้าวที่สภาพเริ่มเปลี่ยน ขณะที่ปัญหาสต๊อกไม่สามารถระบายได้ ก็ต้องหาโกดังเพิ่ม ซึ่งหากเก็บนานคุณภาพของข้าว ก็จะด้อยคุณภาพ เพียงไม่กี่เดือนคุณภาพสีก็จะเปลี่ยนเป็นสีขุ่น "
ทั้งนี้ ปัญหาที่ทำให้เกษตรกรนำข้าวโครงการปริมาณมาก ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ส่งผลทำให้เกษตรกรหันมาเร่งปลูกข้าวมากขึ้นโดยเฉพาะข้าวมีช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 3 เดือน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของข้าว
โรงสีรับข้าวสต็อกรัฐล้นโกดัง
นายวินิจ เลาห์ทวีรุ่งเรือง ผู้จัดการโรงสีข้าวที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล กล่าวว่า ภายหลังการดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลสัดส่วนของชาวนาผู้ปลูกข้าว ที่นำข้าวมาจำนำที่โรงสี มีประมาณ 70-80%ซึ่งทำให้ข้าวที่ต้องเก็บไว้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลตั้งข้อกำหนดห้ามนำข้าวไปเก็บสต๊อกในโกดังริมน้ำ เนื่องจากเกรงปัญหาน้ำท่วมและส่งผลทำให้ผลผลิตเสียหาย ซึ่งทำให้มีการขนข้าวเพื่อเก็บไว้ในคลังภาคกลาง เช่น ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ลพบุรีมากขึ้น ดังนั้น เมื่อจำนวนโกดังถูกจำกัดและผลผลิตมีจำนวนมาก จะเกิดปัญหาไม่มีโกดังเก็บข้าว
"ตอนนี้เราก็อยากให้รัฐสั่งสีแปรให้เร็วขึ้น ต้องยอมรับว่าโกดังที่มีอยู่เก็บไม่ไหว เพราะข้าวเข้าสู่สต็อกรัฐทั้งหมด โกดังส่วนใหญ่ก็อยู่ริมน้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง รัฐบอกเก็บไม่ได้ ก็ต้องไปเก็บโกดังริมภูเขาน้ำท่วมไม่ถึง ตอนนี้โกดังที่มีอยู่ขนาดจ.สุพรรณบุรีมากสุดก็แทบเต็มแล้ว ยังมีข้าวนาปรังที่เหลืออีก จะปิดโครงการก็กลางเดือนก.ย. ไม่ใช่เรื่องง่ายจะสร้างโกดังใหม่ ก็ต้องใช้เวลา 7-8 เดือน และเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทในแต่ละแห่ง"นายวินิจ ระบุ
การรับจำนำราคาข้าวส่งผลทำให้ข้าวขาวไม่สามารถส่งออกได้ เนื่องจากทำให้ราคาข้าวในตลาดสูงขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้ส่งออกและโรงสี เพราะ ไม่สามารถส่งออกข้าวขาวได้เลย เพราะตั้งราคาไว้สูงที่ 15,000 บาทต่อตัน จึงต้องรับไว้ทั้งหมด
อ.ต.ก.ยันข้าวเต็มโกดังทุบสถิติจำนำ
นายโอวาท อภิบาลภูวนาท รองผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก. ) ว่า โครงการรับจำนำข้าวนาปี2554/55 และนาปรัง ที่กำลังจะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย.นี้ อ.ต.ก.รับจำนำข้าวมาแล้ว 3.8 ล้านตันข้าวเปลือก แยกเป็นข้าวนาปี 1.8 ล้านตันข้าวเปลือกและข้าวนาปรัง 2 ล้านตันข้าวเปลือก หลังจากนี้ไปในส่วนของข้าวนาปรังคาดว่าปริมาณจะเริ่มลดลง เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวเหลือเพียงในส่วนของภาคใต้ ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก
อย่างไรก็ตามปริมาณข้าวในโครงการรับจำนำ ตามที่อ.ต.ก. รับไว้ดังกล่าว ถือว่าเป็นปริมาณมากที่สุด เมื่อเทียบกับการรับจำนำครั้งก่อนๆหน้านี้ ที่มีข้าวในโกดังของอ.ต.ก. สูงสุดเพียง 1.7 ล้านตันเท่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการรับจำนำที่ไม่จำกัดปริมาณ โดยข้าวทั้งหมดถูกแปรสภาพเก็บไว้ในโกดังในพื้นที่ เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ สุพรรณบุรี เป็นต้น
เอกชนแห่สร้างโกดังรับข้าวรัฐ
ในส่วนของโกดังเก็บข้าว เนื่องจากในปีที่ผ่านมาไทยประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ทำให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีเงื่อนไขห้ามใช้โกดังที่มีประวัติการถูกน้ำท่วม ส่งผลให้การเลือกโกดังจัดเก็บข้าว ต้องพิถีพิถันมากขึ้น ส่วนใหญ่จึงไม่อยู่ติดกับแม่น้ำ ซึ่งจากที่รัฐบาลมีนโยบายจะรับจำนำข้าวในปี 2555/56 ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มก่อสร้างโกดังใหม่ๆกันบ้างแล้ว เพื่อปล่อยให้รัฐบาลเช่าเก็บสต็อก ดังนั้นแม้ว่ารัฐบาลยังไม่มีนโยบายระบายข้าวในสต๊อก แต่อ.ต.ก.ก็พร้อมจะดำเนินโครงการต่อไป
“ปีนี้อ.ต.ก เต็มที่แล้วในการรับข้าว ถือว่าเป็นมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะเรารับปากกับรัฐบาลไปแล้ว ที่จะร่วมดำเนินโครงการ ดังนั้นเมื่อข้าวมาเท่าไร ก็ต้องหาโกดังเพื่อจัดเก็บให้ได้ทั้งหมด และตั้งแต่รับจำนำมาถึงปัจจุบันรัฐยังไม่เคยสั่งให้ระบายออกเลย“ นายโอวาท กล่าว
เผยสต็อกตกค้างปีก่อน 2 ล้านตัน
แหล่งข่าวจากกขช.เปิดเผยว่า นอกจากเงินที่ใช้สำหรับรับจำนำข้าวแล้ว รัฐบาลยังใช้งบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆในการดำเนินโครงการในลักษณะงบจ่ายขาดอีกจำนวน 25,547.6 ล้านบาท แบ่งเป็นงบจ่ายขาดค่าดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายการบริหารสินเชื่อ จำนวน 14,882.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำหรับอคส. อตก. สำหรับค่ารับฝาก โอเวอร์เฮดตันละ 50 บาท และค่าเก็บรักษาข้าวสารอีกจำนวน 9,958.3 ล้านบาท
ส่วนข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลที่อยู่ในคลังกลาง ตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2548/2549 และนาปรัง 2549-2552 มีปริมาณรวม 2.189 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวสารในสต๊อกของอคส. จำนวน 1,446,805.63 ตัน อ.ต.ก. 742,210 ตัน จำแนกเป็นข้าวหอมมะลิ จำนวน 28,986.85 ตัน ข้าวหอมจังหวัด จำนวน 71,799 ตัน ข้าวปทุทธานี จำนวน 269,195.37 ตัน ข้าวขาว5% จำนวน 1,736,712.22 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 10,007.45 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 5,467.21 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 24,671.44 ตัน และข้าวเหนียว 10% จำนวน 42,176.04 ตัน
สต็อกใหม่ 8ล้านตัน 2.56แสนล้าน
ส่วนผลการรับจำนำข้าวนาปีฤดูกาล 2554/55 มีปริมาณข้าวเปลือกทั้งสิ้น 6.97 ล้านตัน เกษตรกรเข้าโครงการ 1,141,512 ราย ใช้เงินไปทั้งสิ้น 118,405 ล้านบาท ขณะที่รับจำนำนาปรังปี 2555 มีปริมาณข้าวเปลือกทั้งสิ้น 9.50 ล้านตัน เกษตรกรร่วมโครงการ 876,830 ราย ใช้จ่ายเงินไปทั้งสิ้น 138,147 ล้านบาท
รวมปริมาณข้าวที่รัฐบาลจำนำ 16.47 ล้านตันหรือประมาณกว่า 8 ล้านตันข้าวสาร ใช้จ่ายเงินไปในการรับจำนำเฉพาะค่าใบประทวน 256,552 ล้านบาท โดยมีจำนวนโรงสีเข้าร่วมโครงการประมาณ 1 พันแห่ง และมีโกดังเข้าร่วมประมาณ 500 โกดัง
ขณะที่โกดังทั่วประเทศทั้งของรัฐและเอกชน มีขีดความสามารถในการเก็บสต็อกข้าวสารประมาณ 30-40 ล้านตัน แต่โกดังเอกชนบางส่วนถูกใช้สำหรับเก็บสินค้าอื่นด้วย กรณีที่รัฐตั้งเงื่อนไขห้ามเก็บในโกดังริมน้ำ จะเกิดปัญหาไม่มีพื้นที่เก็บสต็อกข้าวได้ หากไม่มีการระบายข้าวออกจากสต็อกของรัฐบาลเลย
ชี้อินเดีย-เวียดนามกดราคาขาย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ปริมาณข้าวสต๊อกของรัฐขณะนี้ถือว่าทำสถิติสูงสุด โดยประเมินว่ารัฐเก็บข้าวไว้ในสต๊อกประมาณ 10 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งเป็นข้าวที่มาจากโครงการรับจำนำทั้ง 2 โครงการและข้าวจากสต๊อกเก่ามีอยู่ 2 ล้านตัน
สำหรับการระบายข้าวในช่วงนี้ ถือว่ามีความยากลำบากมาก เพราะตลาดมีการแข่งขันราคาระหว่างเวียดนามและอินเดีย แม้จะเป็นระบบขายแบบรัฐต่อรัฐแต่ในความเป็นจริงราคาข้าวขาวคู่แข่งเฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ข้าวไทยคำนวนจากราคารับจำนำจะเฉลี่ยที่ตันละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ทางออกเดียวคือต้องขายขาดทุนตามกลไกตลาด
ผลผลิตอินเดียมีสต๊อกข้าวถึง 30 ล้านตันเพียงพอที่อินเดียจะเดินหน้าส่งออกข้าวในปีนี้ เช่นเดียวกับเวียดนามที่กำลังลดราคาข้าวให้ต่ำลง เพื่อตัดราคาข้าวกับอินเดีย เนื่องจากในเดือนหน้าจะมีผลผลิตข้าวปริมาณ 4 ล้านตันออกสู่ตลาด ซึ่งเวียดนามไม่มีพื้นที่เก็บข้าว จึงต้องเร่งระบายออกทันที
“เวียดนามก็อยากจะรีบขายโดยเร็วแต่ก็ไม่สะดวกนักเพราะมีอินเดียขวางอยู่ โดยราคาข้าวขาว 5%เปรียบเทียบอินเดียอยู่ที่ตันละ 410-415 ดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามจึงตัดราคาลงมาอยู่ที่ตันละ 405 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ไทยยืนอยู่ที่ตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ส่งออกไม่สามารถขายได้เพราะราคาต่างกันถึงตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ”นายชูเกียรติกล่าว
เชื่อรัฐขาดทุนมหาศาลขายข้าว
ทิศทางราคาขณะนี้มีแนวโน้มลดลง ชี้ให้เห็นข้าวยังไม่หมดไปจากตลาด ตามที่รัฐบาลกล่าวอ้างว่าเป็นจังหวะเหมาะที่ไทยจะเริ่มขายข้าว และมีปัจจัยภายในจากปริมาณสต๊อกของรัฐบาล เพราะผู้ค้าต่างประเทศจะไม่ยอมซื้อข้าวในราคาแพงทั้งที่ไทยถือสต๊อกมหาศาลไว้ เนื่องจากมั่นใจว่าไม่นานรัฐบาลไทยจะต้องระบายสต๊อกอย่างแน่นอน
“จากนโยบายรับจำนำนี้ทำให้ผู้ส่งออกขายข้าวไม่ได้ เป็นผลพวงจากนโยบายที่มีส่วนทำให้ปริมาณส่งออกข้าวลดลงมากกว่าครึ่ง และทุกคนก็รู้รัฐมีสต็อกมากก็ไม่ซื้อ แต่ในที่สุดก็ต้องระบายซึ่งจะต้องขาดทุนจำนวนมหาศาล เพราะจะขายราคารับจำนำก็แข่งไม่ได้ จะขายราคาตลาดก็ขาดทุน จะเก็บสต็อกต่อก็ไม่มีที่เก็บ "นายชูเกียรติ กล่าว
"บุญทรง"มั่นใจ"เอาอยู่"สต็อกข้าว
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สต๊อกข้าวขณะนี้มีไม่น้อยกว่า 8 ล้านตัน ตามที่ได้รับจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/55 และข้าวเปลือกนาปรัง 2555 รวมข้าวเปลือก 15 ล้านตันหรือประมาณ 8 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งความสามารถจัดเก็บของรัฐบาลยังมีอีกมากไม่จำเป็นต้องเร่งระบาย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การขายข้าวผ่านรัฐต่อรัฐ กำลังมีการเจรจาอยู่และบางส่วนได้ข้อสรุปแล้วรอส่งมอบ รวมประมาณ 2 ล้านตัน และกันไว้เป็นเซฟตี้สต๊อกอีก 1 ล้านตัน ซึ่งแนวทางบริหารจัดการสต๊อกของรัฐบาลมีประสิทธิภาพและไม่มีแรงกดดัน อันเกิดจากปริมาณจัดเก็บที่จะทำให้รัฐบาลต้องเร่งระบายข้าว แต่รัฐบาลจะพิจารณาระบายในสัดส่วนที่เหมาะสมและยืนยันว่าจะได้ราคาไม่ขาดทุนจากที่รับซื้อเข้ามา
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
3กลุ่ม ลงขัน 6พันล้าน วางหมาก2ชั้นล้ม รบ.ยิ่งลักษณ์.
ส.ส.เพื่อไทยอ้างมีข่าว 2 กลุ่มการเมืองกับ 1 กลุ่มธุรกิจน้ำเมา จับมือลงขัน 6,000 ล้านบาท เพื่อล้มรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์” โดยวางหมากไว้ 2 ชั้นคือ ใช้อำนาจศาลยุบพรรค กับสร้างเงื่อนไขให้เกิดความวุ่นวายเพื่อให้ทหารเข้ามารักษาความสงบ ให้จับตาวันที่ 13 ก.ค. ผู้สนับสนุนให้เอาผิดแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมารวมตัวกันมากเป็นพิเศษ ด้านผู้ร้องและถูกร้องตามมาตรา 68 ยื่นคำแถลงปิดคดีแล้ว กลุ่ม 416 ส.ส.-ส.ว. ที่ถูกยื่นถอดถอนนอกรอบขอขยายเวลาชี้แจงอีก 30 วัน “จำลอง” ยื่นศาลเลื่อนอ่านคำตัดสินคดีล้มล้างการปกครองออกไปก่อน เพราะคำร้องไม่ได้ระบุคนทำผิด ให้รอตัดสินพร้อมคดีถอดถอน ส.ส.-ส.ว. ด้านหน่วยข่าวยังไม่พบการเคลื่อนไหวก่อเหตุรุนแรง
การเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความคึกคัก เมื่อผู้ร้องและผู้ถูกร้องกรณีให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ต่างไปยื่นคำแถลงปิดคดีต่อศาลอย่างพร้อมเพรียง
พรรคเพื่อไทยยื่นแถลงปิดคดีมีเนื้อหาสาระยืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับเรื่องพิจารณาโดยตรง หากชี้ว่าไม่สามารถมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญได้ เป็นการตัดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน กฎหมายไม่ได้ห้ามตั้ง ส.ส.ร.
พรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำแถลงสรุปคดีได้ว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาล การแก้มาตรา 291 เป็นการเปิดทางให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การแก้ไขเป็นการใช้สิทธิเพื่อล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความผิดนี้นำไปสู่การยุบพรรคการเมืองได้
“จำลอง” จี้เลื่อนตัดสินคดี
ด้าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ไปยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนการตัดสินคดีล้มล้างการปกครองออกไปก่อน เพราะอยากให้รอการไต่สวนถอดถอน ส.ส. และ ส.ว. 416 คน ที่ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะ 5 คำร้องเรื่องล้มล้างการปกครองไม่ได้ระบุความผิดรายบุคคล ต่างจากคำร้องของพันธมิตรฯ
“อยากให้ศาลชะลอการตัดสินคดีล้มล้างการปกครองออกไปก่อน ไต่สวนเรื่องถอดถอนให้จบแล้วตัดสินพร้อมกัน แต่หากศาลไม่ชะลอก็จะไม่เคลื่อนไหวกดดัน”
“เหวง” คิดเอาคืน “จำลอง”
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า ส.ส. และ ส.ว. 416 คน ที่ถูกยื่นถอดถอนเนื่องจากสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ยื่นเรื่องคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 หรือไม่
ด้านการประชุมนอกรอบของกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว. ที่ถูกยื่นถอดถอนที่รัฐสภา ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าให้ขอขยายเวลาส่งคำชี้แจงกับศาลรัฐธรรมนูญออกไปอีก 30 วัน เนื่องจากมี ส.ส. และ ส.ว. หลายคนติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ ทำคำชี้แจงไม่ทัน ส่วนประเด็นเอาผิดกับ พล.ต.จำลอง ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป
“มาร์ค” ให้ “ปู” ปรามเสื้อแดง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตำหนิแกนนำคนเสื้อแดงหลายคนที่ออกมาข่มขู่ว่าจะเกิดความรุนแรงหากศาลตัดสินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความผิด แต่เชื่อว่าตุลาการจะไม่หวั่นไหว หากคุกคามศาลได้แสดงว่าไม่เหลือกติกาแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องดูแลให้ทุกฝ่ายเคลื่อนไหวอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย และควรปรามผู้สนับสนุนให้หยุดปลุกระดมด้วย เพราะจะกลายเป็นว่ารัฐบาลสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาเอง
การข่าวไม่พบความรุนแรง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมหน่วยงานด้านการข่าวว่า ที่ประชุมประเมินสถานการณ์ว่าหากผลการตัดสินของศาลออกมาเป็นลบจะเกิดอะไรขึ้นเพื่อเตรียมมาตรการรองรับ ขณะนี้มีการเตรียมกำลังไว้แล้วแต่ไม่ต้องใช้กฎหมายพิเศษ เพราะยังไม่มีรายงานสร้างความรุนแรง แต่จะไม่ประมาท
สภาทนายขู่เอาผิดกดดันศาล
นายเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ แถลงว่า ผู้ที่ออกมาข่มขู่กดดันการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตัดสินไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด อาจเป็นการกระทำความผิดฐานข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และอาจเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 และมาตรา 198 จึงขอเตือนให้ยุติการกระทำดังกล่าว
“อุกฤษ” ชี้ต้องตัดสินให้สงบ
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ระบุว่า คำตัดสินออกไปเป็น 3 แนวทางคือ 1.ศาลพิจารณาโดยปราศจากทิฐิและรอบคอบแล้ว อาจเห็นว่าคำร้องไม่เข้าข่ายมาตรา 68 หรือแม้จะเข้าข่ายก็ให้ยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน 2.ให้ดำเนินการได้แต่ต้องแก้ไขเป็นรายมาตรา ไม่แก้ทั้งฉบับ ถ้าวินิจฉัยแนวทางนี้ถือเป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด จะทำให้บ้านเมืองสงบไปได้ระยะหนึ่ง และ 3.เป็นแนวทางสุดโต่ง คือเป็นการกระทำมิชอบที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
“คนมีหน้าที่ตัดสินต้องยุติธรรม ถ้าไม่ยุติธรรมความสงบไม่เกิด การใช้กฎหมายต้องมุ่งให้เกิดความสงบเรียบร้อย วันที่ 13 ก.ค. จะเป็นประวัติศาสตร์ว่าท่านเรียนกฎหมายมาจากสำนักไหน เคยทำอะไรให้ประเทศชาติบ้าง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังมีคำตัดสินจะไม่เกิดเหตุการณ์นองเลือดอย่างที่กังวลกัน”
ปูด 3 ลงขันล้มรัฐบาล “ปู”
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย หนึ่งในแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ออกมาระบุว่า ขณะนี้มีขบวนการล้มล้างรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดขึ้น โดยมีการลงขันกันหลายกลุ่มหาทุนได้มากถึง 6,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการในส่วนต่างๆ
“ที่ตรวจสอบตอนนี้มี 3 กลุ่มที่ร่วมลงขันกันคือ กลุ่มนักการเมืองปักษ์ใต้ชื่อขึ้นหน้าด้วย ส. นักการเมืองใหญ่ภาคอีสานชื่อขึ้นต้น น. และกลุ่มนักธุรกิจน้ำเมา เท่าที่ทราบตอนนี้มีการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญคดีล้มล้างการปกครองที่จะออกมาในวันที่ 13 ก.ค. นี้ ที่จะมีการระดมคนมาที่ศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมที่จะปะทะด้วยความรุนแรงกับผู้ที่มาคัดค้านศาล โดยจ้างมาหัวละ 1,000 บาท เมื่อเปิดความวุ่นวายก็เข้าล็อกให้ทหารออกมายึดอำนาจ”
นายวรชัยกล่าวอีกว่า แผนการล้มรัฐบาลมี 2 เด้งคือ 1.ใช้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และ 2.ถ้าทำไม่สำเร็จก็จะใช้กำลังทหารเข้ามาปฏิวัติโดยการสร้างสถานการณ์ความรุนแรง จึงอยากฝากถึงแนวร่วมเสื้อแดงทั้งหลายว่าอย่าไปหลงกลเดินเข้าแผนเขา ขอให้เตรียมความพร้อมในที่ตั้ง รอฟังสัญญาณจากแกนนำที่จะประเมินสถานการณ์กันอีกครั้งหลังทราบคำตัดสินแล้ว
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การเคลื่อนไหวทางการเมืองเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความคึกคัก เมื่อผู้ร้องและผู้ถูกร้องกรณีให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ต่างไปยื่นคำแถลงปิดคดีต่อศาลอย่างพร้อมเพรียง
พรรคเพื่อไทยยื่นแถลงปิดคดีมีเนื้อหาสาระยืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับเรื่องพิจารณาโดยตรง หากชี้ว่าไม่สามารถมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญได้ เป็นการตัดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน กฎหมายไม่ได้ห้ามตั้ง ส.ส.ร.
พรรคประชาธิปัตย์ยื่นคำแถลงสรุปคดีได้ว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นเรื่องโดยตรงต่อศาล การแก้มาตรา 291 เป็นการเปิดทางให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การแก้ไขเป็นการใช้สิทธิเพื่อล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และความผิดนี้นำไปสู่การยุบพรรคการเมืองได้
“จำลอง” จี้เลื่อนตัดสินคดี
ด้าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ไปยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนการตัดสินคดีล้มล้างการปกครองออกไปก่อน เพราะอยากให้รอการไต่สวนถอดถอน ส.ส. และ ส.ว. 416 คน ที่ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะ 5 คำร้องเรื่องล้มล้างการปกครองไม่ได้ระบุความผิดรายบุคคล ต่างจากคำร้องของพันธมิตรฯ
“อยากให้ศาลชะลอการตัดสินคดีล้มล้างการปกครองออกไปก่อน ไต่สวนเรื่องถอดถอนให้จบแล้วตัดสินพร้อมกัน แต่หากศาลไม่ชะลอก็จะไม่เคลื่อนไหวกดดัน”
“เหวง” คิดเอาคืน “จำลอง”
นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า ส.ส. และ ส.ว. 416 คน ที่ถูกยื่นถอดถอนเนื่องจากสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ยื่นเรื่องคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 หรือไม่
ด้านการประชุมนอกรอบของกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว. ที่ถูกยื่นถอดถอนที่รัฐสภา ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าให้ขอขยายเวลาส่งคำชี้แจงกับศาลรัฐธรรมนูญออกไปอีก 30 วัน เนื่องจากมี ส.ส. และ ส.ว. หลายคนติดภารกิจอยู่ต่างประเทศ ทำคำชี้แจงไม่ทัน ส่วนประเด็นเอาผิดกับ พล.ต.จำลอง ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป
“มาร์ค” ให้ “ปู” ปรามเสื้อแดง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตำหนิแกนนำคนเสื้อแดงหลายคนที่ออกมาข่มขู่ว่าจะเกิดความรุนแรงหากศาลตัดสินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นความผิด แต่เชื่อว่าตุลาการจะไม่หวั่นไหว หากคุกคามศาลได้แสดงว่าไม่เหลือกติกาแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องดูแลให้ทุกฝ่ายเคลื่อนไหวอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย และควรปรามผู้สนับสนุนให้หยุดปลุกระดมด้วย เพราะจะกลายเป็นว่ารัฐบาลสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาเอง
การข่าวไม่พบความรุนแรง
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมหน่วยงานด้านการข่าวว่า ที่ประชุมประเมินสถานการณ์ว่าหากผลการตัดสินของศาลออกมาเป็นลบจะเกิดอะไรขึ้นเพื่อเตรียมมาตรการรองรับ ขณะนี้มีการเตรียมกำลังไว้แล้วแต่ไม่ต้องใช้กฎหมายพิเศษ เพราะยังไม่มีรายงานสร้างความรุนแรง แต่จะไม่ประมาท
สภาทนายขู่เอาผิดกดดันศาล
นายเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน สภาทนายความ แถลงว่า ผู้ที่ออกมาข่มขู่กดดันการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตัดสินไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด อาจเป็นการกระทำความผิดฐานข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยอำนาจหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และอาจเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 139 และมาตรา 198 จึงขอเตือนให้ยุติการกระทำดังกล่าว
“อุกฤษ” ชี้ต้องตัดสินให้สงบ
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ระบุว่า คำตัดสินออกไปเป็น 3 แนวทางคือ 1.ศาลพิจารณาโดยปราศจากทิฐิและรอบคอบแล้ว อาจเห็นว่าคำร้องไม่เข้าข่ายมาตรา 68 หรือแม้จะเข้าข่ายก็ให้ยื่นผ่านอัยการสูงสุดก่อน 2.ให้ดำเนินการได้แต่ต้องแก้ไขเป็นรายมาตรา ไม่แก้ทั้งฉบับ ถ้าวินิจฉัยแนวทางนี้ถือเป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด จะทำให้บ้านเมืองสงบไปได้ระยะหนึ่ง และ 3.เป็นแนวทางสุดโต่ง คือเป็นการกระทำมิชอบที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
“คนมีหน้าที่ตัดสินต้องยุติธรรม ถ้าไม่ยุติธรรมความสงบไม่เกิด การใช้กฎหมายต้องมุ่งให้เกิดความสงบเรียบร้อย วันที่ 13 ก.ค. จะเป็นประวัติศาสตร์ว่าท่านเรียนกฎหมายมาจากสำนักไหน เคยทำอะไรให้ประเทศชาติบ้าง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังมีคำตัดสินจะไม่เกิดเหตุการณ์นองเลือดอย่างที่กังวลกัน”
ปูด 3 ลงขันล้มรัฐบาล “ปู”
นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย หนึ่งในแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ออกมาระบุว่า ขณะนี้มีขบวนการล้มล้างรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดขึ้น โดยมีการลงขันกันหลายกลุ่มหาทุนได้มากถึง 6,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการในส่วนต่างๆ
“ที่ตรวจสอบตอนนี้มี 3 กลุ่มที่ร่วมลงขันกันคือ กลุ่มนักการเมืองปักษ์ใต้ชื่อขึ้นหน้าด้วย ส. นักการเมืองใหญ่ภาคอีสานชื่อขึ้นต้น น. และกลุ่มนักธุรกิจน้ำเมา เท่าที่ทราบตอนนี้มีการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงกับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญคดีล้มล้างการปกครองที่จะออกมาในวันที่ 13 ก.ค. นี้ ที่จะมีการระดมคนมาที่ศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมที่จะปะทะด้วยความรุนแรงกับผู้ที่มาคัดค้านศาล โดยจ้างมาหัวละ 1,000 บาท เมื่อเปิดความวุ่นวายก็เข้าล็อกให้ทหารออกมายึดอำนาจ”
นายวรชัยกล่าวอีกว่า แผนการล้มรัฐบาลมี 2 เด้งคือ 1.ใช้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และ 2.ถ้าทำไม่สำเร็จก็จะใช้กำลังทหารเข้ามาปฏิวัติโดยการสร้างสถานการณ์ความรุนแรง จึงอยากฝากถึงแนวร่วมเสื้อแดงทั้งหลายว่าอย่าไปหลงกลเดินเข้าแผนเขา ขอให้เตรียมความพร้อมในที่ตั้ง รอฟังสัญญาณจากแกนนำที่จะประเมินสถานการณ์กันอีกครั้งหลังทราบคำตัดสินแล้ว
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
สองนคราประชาธิปไตย !!?
ประเทศไทยกับพม่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดเคยรักกัน...รบกันมานานหลายร้อยปีและยังจะต้องอยู่เป็นเพื่อนบ้านกันอีกชั่วกัปชั่วกัลป์
ว่าไปแล้วเรากับพม่ามีส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่าง ในอดีตโบราณกาลสมัยดูไม่ออกว่าเราเจริญรุ่งเรืองกว่าพม่า หรือพม่าเจริญรุ่งเรืองกว่าเรา
แต่ที่แน่ๆ นั้น ส่วนใหญ่เราจะรบแพ้พม่า แต่ะม่ารบแพ้พวกล่าอาณานิคม จึงตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
ผิดกับของเราที่แม้จะไม่มีใครเข้ามายึดครอง แต่เราก็ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางศาลและเสียดินแดนไปครึ่งประเทศ
ปัญหาของพม่าเป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ คือ ปัญหาการเมืองการปกครองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องสูญเสียเอกราช เป็นอาณานิคมของชาติอื่น
และปัญหาการเมืองการปกครองอีกนั่นแหละที่ทำให้พม่าล้าหลังประเทศเราไปหลายสิบปี
เพราะภายหลังจากที่ได้รับเอกราชแล้ว พม่าก็มีการปกครองแบบเผด็จการทหารมาเกือบ 50 ปี ผิดกับของเรา ที่แม้จะลุ่มๆดอนๆ แต่ก็ยังมีเวลาอ้าปากให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงบ้างเป็นบางเวลา
มาถึงวันนี้ เรากับพม่ากำลังมีปัญหาที่คล้ายคลึงกันอีก นั่นคือ คนไทยกับคนพม่าต่างรู้สึกรำคาญกฎหมายสูงสุดที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” ด้วยอารมย์อันเดียวกัน
โดยฝ่ายพม่านั้น เผด็จการทหารพม่าได้เขียนรัฐธรรมนูญให้อำนาจตัวเองไว้ก่อนที่จะถอนตัวออกไปอยู่หลังฉาก
เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยได้เลย...น่าจะเรียกว่า “ทหารธิปไตย” จึงจะถูกต้อง
พอๆ กับของเราก็เขียนยอกย้อนซ่อนเงื่อนจนรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเกือบจะไม่ได้เลย
พอคิดจะแก้ไขให้มันเป็นประชาธิปไตย คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน...เป็นเจ้าของอำนาจประเทศอย่างแท้จริง ทั้งคนไทยและคนพะม่าต่างก็เผชิญปัญหายิ่งกว่า “จงอางหวงไข่” เสียอีก
โดยของไทยเรา คนที่คิดแก้อาจจะต้องรับโทษประหารชีวิต เพราะอาจมีความผิดฐานล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ทั้งๆ ที่มีเจตนาจะแก้กฎหมายเผด็จการให้เป็นประชาธิปไตย
ส่วนของพม่าเห็นทีจะแก้ได้ชาติหน้าตอนบ่ายๆ โดยรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า...การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมีคะแนนเสียงของสภาไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
ในขณะที่รัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ด้วยว่า...สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดนั้น จะต้องเป็นผู้ที่กองทัพแต่งตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
แสบยิ่งกว่าเอาซีม่าทาแผลขี้กลากเสียอีก
โดย:ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ว่าไปแล้วเรากับพม่ามีส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่าง ในอดีตโบราณกาลสมัยดูไม่ออกว่าเราเจริญรุ่งเรืองกว่าพม่า หรือพม่าเจริญรุ่งเรืองกว่าเรา
แต่ที่แน่ๆ นั้น ส่วนใหญ่เราจะรบแพ้พม่า แต่ะม่ารบแพ้พวกล่าอาณานิคม จึงตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
ผิดกับของเราที่แม้จะไม่มีใครเข้ามายึดครอง แต่เราก็ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางศาลและเสียดินแดนไปครึ่งประเทศ
ปัญหาของพม่าเป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ คือ ปัญหาการเมืองการปกครองเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องสูญเสียเอกราช เป็นอาณานิคมของชาติอื่น
และปัญหาการเมืองการปกครองอีกนั่นแหละที่ทำให้พม่าล้าหลังประเทศเราไปหลายสิบปี
เพราะภายหลังจากที่ได้รับเอกราชแล้ว พม่าก็มีการปกครองแบบเผด็จการทหารมาเกือบ 50 ปี ผิดกับของเรา ที่แม้จะลุ่มๆดอนๆ แต่ก็ยังมีเวลาอ้าปากให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงบ้างเป็นบางเวลา
มาถึงวันนี้ เรากับพม่ากำลังมีปัญหาที่คล้ายคลึงกันอีก นั่นคือ คนไทยกับคนพม่าต่างรู้สึกรำคาญกฎหมายสูงสุดที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” ด้วยอารมย์อันเดียวกัน
โดยฝ่ายพม่านั้น เผด็จการทหารพม่าได้เขียนรัฐธรรมนูญให้อำนาจตัวเองไว้ก่อนที่จะถอนตัวออกไปอยู่หลังฉาก
เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยได้เลย...น่าจะเรียกว่า “ทหารธิปไตย” จึงจะถูกต้อง
พอๆ กับของเราก็เขียนยอกย้อนซ่อนเงื่อนจนรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศเกือบจะไม่ได้เลย
พอคิดจะแก้ไขให้มันเป็นประชาธิปไตย คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน...เป็นเจ้าของอำนาจประเทศอย่างแท้จริง ทั้งคนไทยและคนพะม่าต่างก็เผชิญปัญหายิ่งกว่า “จงอางหวงไข่” เสียอีก
โดยของไทยเรา คนที่คิดแก้อาจจะต้องรับโทษประหารชีวิต เพราะอาจมีความผิดฐานล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ทั้งๆ ที่มีเจตนาจะแก้กฎหมายเผด็จการให้เป็นประชาธิปไตย
ส่วนของพม่าเห็นทีจะแก้ได้ชาติหน้าตอนบ่ายๆ โดยรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า...การจะแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องมีคะแนนเสียงของสภาไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
ในขณะที่รัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ด้วยว่า...สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดนั้น จะต้องเป็นผู้ที่กองทัพแต่งตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
แสบยิ่งกว่าเอาซีม่าทาแผลขี้กลากเสียอีก
โดย:ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
อำนาจแฝงอำนาจ !!?
อำนาจแฝงอำนาจ
“รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่ากันตามบริบทอัตลักษณ์แล้ว ยังไม่ใช่ผู้นำของชาติ
ภาพเชิงซ้อน จะเห็นว่า มี “องค์กรอิสระ” ที่ยังมีอำนาจอยู่เหนือระบบ ทั้ง ตุลาการรัฐธรรมนูญ ,ผู้ตรวจการแผ่นดิน, ศาลปกครอง, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, คณะกรรมการเลือกตั้ง, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ยิ่งเมื่อรวมกับ “พลัง ๓ เหล่าทัพ” อำนาจกลุ่มนี้ จึงยิ่งใหญ่ดับเบิ้ล
ที่ร่วมเดินไปกับอำนาจรัฐ ก้อ, “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ของ “บิ๊กอ๊อฟ” พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์...แม้จะมีผลงานโดดเด่น “ปราบปรามยาเสพติด” ผลงานอู้ฟู่ ติดอันดับ
ฉะนั้น, ต้องสร้างอำนาจให้เห็นผล..สร้างอำนาจประชาชน..ให้มากล้นเป็น กันชนขอรับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถอยร่น..จนตกกระดาน
ต้องยืนบนลำแข้งตัวเอง...จึงจะเสริมใยเหล็ก ให้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดความเชื่อมั่น
มีกลุ่มปรมาจารย์กูรู อยากเห็น “นายกฯยิ่งลักษณ์” อัพเกรด “รัฐบาลปู ๓”ให้แข็งแกร่งถึงเหล็กใน
หนุนให้ตั้ง “นายพลแม็คอาเธอร์” พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เป็นรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง, และตั้ง “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ. ดร.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เพื่อรับมือกับฝ่าย เจาะยางเสียบตัดขา..ที่เรียงหน้ารุมกินโต๊ะ ลงแขกรัฐบาล ไม่ยั้ง
ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องฮึดสู้...ประกาศิตตั้ง “ฝ่ายบู๊”...ขึ้นมาจู่โจมกับเขามั่ง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
เจาะเวลาหาอดีต
คนที่อยู่เบื้องหลัง หนุนให้ “มหาห้าขัน” พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขึ้นมาใหญ่สุดฤทธิ์
เขาครือ, “พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี” เพื่อนรัก จปร.๗..ที่ยามนั้นเป็นกล่องดวงใจของ “ท่านคุณป๋าเปรม” พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ที่ใช้ให้ไปบัญชาการงาน ที่ “เขาศูนย์” นครศรีธรรมราช และการสร้างเขื่อน “เชี่ยวหลาน”..หากสร้างไม่สำเร็จ เขาจะขอเงินคืน..ซึ่ง “บิ๊กพัลลภ” ก็ทำงานเข้าตา อย่างเห็นผล
ครั้น “ป๋า” เรียกตัวกลับกรุงเทพฯ นั่ง ฮ.มาเจอเจอะกับพายุ จนนึกว่าเครื่องตก...เมื่อผ่านวิกฤติมาได้ ถูกคำขอจากเพื่อนรุ่น ๗ ให้ดัน “แม่ทัพหาญ”พล.อ.หาญ ลีลานนท์ เป็น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ของ “ป๋าเปรม” เสร็จสรรพ
มีแต่ “บิ๊กพัลลภ”คนนี้...ที่ใช้กำลังภายในเต็มที่..ดัน “พล.ต.จำลอง”เพื่อนซี้ ได้ก้าวเป็น “เลขาฯนายกรัฐมนตรี” สำเร็จครับ
++++++++++++++++++++++++++++++++
ลูกผู้ชายชาติทหาร
เลือดยังเข็มข้นเต็มลูกสูบ ยกให้กับ “พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี” ไปเถอะท่าน
ว่ากันว่า หลังจากการซักค้าน ของ “พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม”นั้น...สร้างความเฮิร์ตฟิลลิ่งฮาร์ต ให้กับ “บิ๊กพัลลภ ปิ่นมณี” ไม่น้อย
สายในสายลึก ว่ามีการต่อสาย ไปฉะอย่างไม่เอนจอย
ถึงกับอีกฝ่าย กล่าวว่า “ผมไม่มีอะไร ผมพร้อมไปกินข้าวกับพี่เสมอ”
เหตุที่ “บิ๊กพัลลภ”ต้องออกมาชน...เพราะท่านตั้งพรรคเพื่อไทยตั้งแต่ต้น..หากจะด่าตัวบุคคล ก็อย่าให้กระทบพรรค สิเธอ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ของจริงที่ทุกคนต้องรับรู้
“ปฏิวัติ ๑๙ กันยาฯ” กล่าวขานกัน “คนบ้านเสาน้อย” เป็นตัวตั้งตัวตี..ไม่ใช่ข้อเท็จจริงดอกคุณหนู..หนู
เท่าที่รู้และทราบว่า ท่านคัดค้านเป็นชั่วโมง เพื่อไม่ให้บ้านเมืองเกิดวิกฤติ
คนหนุนเดินหน้าเต็มเกียร์ ก็ทายาทหัวหน้าขบวนการปลดแอก ที่หนุนสุดชีวิต
ฉะนั้น,อย่าไปเข้าใจสถานการณ์ที่ผ่านมาผิด ๆ...โอกาสการปรองดอง ของ “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” กับ “คนบ้านเสาน้อย” มีทางเป็นจริง.. ที่ประเทศชาติบ้านเมือง จะปลอดภัย
คนค้านการทำปฏิวัติ...ต่างร่วมกันยืนหยัด...ร่วมขจัดสิ่งร้าย ๆ ทุกอย่างย่อมจะสดใส
โดย:คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
“รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่ากันตามบริบทอัตลักษณ์แล้ว ยังไม่ใช่ผู้นำของชาติ
ภาพเชิงซ้อน จะเห็นว่า มี “องค์กรอิสระ” ที่ยังมีอำนาจอยู่เหนือระบบ ทั้ง ตุลาการรัฐธรรมนูญ ,ผู้ตรวจการแผ่นดิน, ศาลปกครอง, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, คณะกรรมการเลือกตั้ง, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ยิ่งเมื่อรวมกับ “พลัง ๓ เหล่าทัพ” อำนาจกลุ่มนี้ จึงยิ่งใหญ่ดับเบิ้ล
ที่ร่วมเดินไปกับอำนาจรัฐ ก้อ, “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ของ “บิ๊กอ๊อฟ” พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์...แม้จะมีผลงานโดดเด่น “ปราบปรามยาเสพติด” ผลงานอู้ฟู่ ติดอันดับ
ฉะนั้น, ต้องสร้างอำนาจให้เห็นผล..สร้างอำนาจประชาชน..ให้มากล้นเป็น กันชนขอรับ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถอยร่น..จนตกกระดาน
ต้องยืนบนลำแข้งตัวเอง...จึงจะเสริมใยเหล็ก ให้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดความเชื่อมั่น
มีกลุ่มปรมาจารย์กูรู อยากเห็น “นายกฯยิ่งลักษณ์” อัพเกรด “รัฐบาลปู ๓”ให้แข็งแกร่งถึงเหล็กใน
หนุนให้ตั้ง “นายพลแม็คอาเธอร์” พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เป็นรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง, และตั้ง “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ. ดร.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เพื่อรับมือกับฝ่าย เจาะยางเสียบตัดขา..ที่เรียงหน้ารุมกินโต๊ะ ลงแขกรัฐบาล ไม่ยั้ง
ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องฮึดสู้...ประกาศิตตั้ง “ฝ่ายบู๊”...ขึ้นมาจู่โจมกับเขามั่ง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
เจาะเวลาหาอดีต
คนที่อยู่เบื้องหลัง หนุนให้ “มหาห้าขัน” พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ขึ้นมาใหญ่สุดฤทธิ์
เขาครือ, “พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี” เพื่อนรัก จปร.๗..ที่ยามนั้นเป็นกล่องดวงใจของ “ท่านคุณป๋าเปรม” พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ที่ใช้ให้ไปบัญชาการงาน ที่ “เขาศูนย์” นครศรีธรรมราช และการสร้างเขื่อน “เชี่ยวหลาน”..หากสร้างไม่สำเร็จ เขาจะขอเงินคืน..ซึ่ง “บิ๊กพัลลภ” ก็ทำงานเข้าตา อย่างเห็นผล
ครั้น “ป๋า” เรียกตัวกลับกรุงเทพฯ นั่ง ฮ.มาเจอเจอะกับพายุ จนนึกว่าเครื่องตก...เมื่อผ่านวิกฤติมาได้ ถูกคำขอจากเพื่อนรุ่น ๗ ให้ดัน “แม่ทัพหาญ”พล.อ.หาญ ลีลานนท์ เป็น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ของ “ป๋าเปรม” เสร็จสรรพ
มีแต่ “บิ๊กพัลลภ”คนนี้...ที่ใช้กำลังภายในเต็มที่..ดัน “พล.ต.จำลอง”เพื่อนซี้ ได้ก้าวเป็น “เลขาฯนายกรัฐมนตรี” สำเร็จครับ
++++++++++++++++++++++++++++++++
ลูกผู้ชายชาติทหาร
เลือดยังเข็มข้นเต็มลูกสูบ ยกให้กับ “พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี” ไปเถอะท่าน
ว่ากันว่า หลังจากการซักค้าน ของ “พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม”นั้น...สร้างความเฮิร์ตฟิลลิ่งฮาร์ต ให้กับ “บิ๊กพัลลภ ปิ่นมณี” ไม่น้อย
สายในสายลึก ว่ามีการต่อสาย ไปฉะอย่างไม่เอนจอย
ถึงกับอีกฝ่าย กล่าวว่า “ผมไม่มีอะไร ผมพร้อมไปกินข้าวกับพี่เสมอ”
เหตุที่ “บิ๊กพัลลภ”ต้องออกมาชน...เพราะท่านตั้งพรรคเพื่อไทยตั้งแต่ต้น..หากจะด่าตัวบุคคล ก็อย่าให้กระทบพรรค สิเธอ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ของจริงที่ทุกคนต้องรับรู้
“ปฏิวัติ ๑๙ กันยาฯ” กล่าวขานกัน “คนบ้านเสาน้อย” เป็นตัวตั้งตัวตี..ไม่ใช่ข้อเท็จจริงดอกคุณหนู..หนู
เท่าที่รู้และทราบว่า ท่านคัดค้านเป็นชั่วโมง เพื่อไม่ให้บ้านเมืองเกิดวิกฤติ
คนหนุนเดินหน้าเต็มเกียร์ ก็ทายาทหัวหน้าขบวนการปลดแอก ที่หนุนสุดชีวิต
ฉะนั้น,อย่าไปเข้าใจสถานการณ์ที่ผ่านมาผิด ๆ...โอกาสการปรองดอง ของ “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” กับ “คนบ้านเสาน้อย” มีทางเป็นจริง.. ที่ประเทศชาติบ้านเมือง จะปลอดภัย
คนค้านการทำปฏิวัติ...ต่างร่วมกันยืนหยัด...ร่วมขจัดสิ่งร้าย ๆ ทุกอย่างย่อมจะสดใส
โดย:คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เวียดนาม: ยุคหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจ ดอย เหม่ย (Doi Moi) !!?
โดย.วันวลิต ธารไทรทอง
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)
เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า การปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ของเวียดนามเกิดขึ้นเมื่อปี 2529 โดยใช้ชื่อเรียกว่า ดอย เหม่ย (Doi Moi) การปฏิรูปนี้ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างงดงามในช่วง 26 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเศรษฐกิจเวียดนามได้เดินมาสู่หนทางแห่งความท้าทายใหม่ของการปฏิรูป ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามในอนาคต
การปฏิรูปเศรษฐกิจ ดอย เหม่ย ถือเป็น “หลักไมล์” สำคัญในการเปลี่ยนเวียดนามจากระบบเศรษฐกิจที่วางแผนโดยส่วนกลาง ไปสู่การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดมากขึ้น ลดบทบาทภาครัฐ เพิ่มบทบาทภาคเอกชน และมุ่งสู่แนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalization)
แม้ตลอดระยะเวลาแห่งการปฏิรูปนี้ได้ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามดีขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน อาทิเช่น เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 7% ต่อปี เปลี่ยนจากเป็นประเทศยากจนมาก กลายเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง และมีการเปิดกว้างทางการค้าการและการลงทุนกับต่างประเทศมากขึ้น ทั้งยังเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2538 และสมาชิกองค์กรการค้าโลก (WTO) ในปี 2550 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง การปฏิรูปชักจะไม่สดใส ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจด้านมหภาค (Macroeconomic Indicators) หลายตัวเริ่มสะท้อนความป่วยไข้ของเศรษฐกิจเวียดนาม อาทิเช่น เวียดนามขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องเกือบตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา และเมื่อ 4 ปีที่ผ่าน (2551-2554) มาเวียดนามประสบสภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในเอเชีย คือสูงถึง 16 เปอร์เซ็นต์
ขณะเดียวกัน ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเวียดนามต้องปรับลดค่าเงินหลายครั้งเพื่อหนุนการส่งออก เงินทุนเริ่มขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเวียดนามและโยกเงินออกไปลงทุนที่อื่น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงจากประมาณ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2550 เหลือเพียงประมาณ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ เป็นสถานการณ์ที่ตรงข้ามกับแนวโน้มของประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชีย
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การจัดอันดับความสะดวกในการเข้าไปดำเนินธุรกิจของแต่ละประเทศโดยธนาคารโลก ซึ่งวัดจากตัวชี้วัดด้านการประกอบธุรกิจ 10 ตัว เช่น การหาสินเชื่อในการลงทุน ระบบการชำระภาษี การคุ้มครองนักลงทุน พบว่า เวียดนามอยู่อันดับที่ต่ำมาก คืออันดับที่ 98 จากจำนวน 183 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 17 และสิงคโปร์ เป็นอันดับที่ 1
มากไปกว่านั้น เวียดนามกำลังประสบกับปัญหาพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งยังมีต้นทุนค่าขนส่งที่สูง อันเนื่องมาจากการขาดระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ อย่างเช่น ฮานอย และ โฮจิมินห์ ปรับตัวขึ้นมาก เกินกว่าอำนาจซื้อของคนส่วนใหญ่จะไล่ตามทัน เกิดการขยายตัวของความไม่เท่าเทียมระหว่างเมืองกับชนบท รวมถึงปัญหาสังคมต่างๆ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
แม้แต่รายงานของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของเวียดนามเอง เช่น รายงานความสามารถทางการแข่งขันปี 2553 รายงานการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามปี 2553 และ ปี 2554 ก็ยอมรับว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม เป็นการเติบโตแบบไม่มีคุณภาพและไม่ยั่งยืน มีการก่อมลภาวะสูงจากกระบวนการผลิต ขณะเดียวกัน ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value Addition) ให้กับสินค้าที่ส่งออก อีกทั้งผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ลดลงต่อเนื่อง
สรุปคือ เวียดนามกำลังตกอยู่ใน “กับดัก” ของการพัฒนา คือ ยิ่งพยายามพัฒนา ยิ่งสร้างปัญหาในการพัฒนา ดังนั้น ความจำเป็นเร่งด่วนของเวียดนามตอนนี้คือ ต้องทำการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่
ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลและคนเวียดนามก็ทราบดี สังเกตได้จากการประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 2554-2564 โดยตั้งเป้าหมายสำคัญไว้คือ ต้องสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานระดับโลก (World Class Infrastructure) ผลิตแรงงานที่มีฝีมือ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันและองค์กรต่างๆของ “ตลาด” (Strengthen Market-based Institutions)
เป้าหมายเหล่านี้ถือว่าเป็นการ “ปลดล็อค” ให้เวียดนามสามารถพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม จะทำได้มากน้อยแค่ไหน ทำโดยวิธีใด และใช้เวลานานเท่าไหร่ กว่าเวียดนามจะหลุดออกจากปัญหาโครงสร้างนี้ ยังเป็นความท้าทายของเวียดนาม
ผมเชื่อว่า ถ้าเวียดนามสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปได้อย่างดี จะสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้าไปมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงหนุนให้เวียดนามสามารถปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม และยกระดับสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ (Modern Economy) ซึ่งแน่นอนว่า ศักยภาพของเวียดนามจะเพิ่มมหาศาล โอกาสที่เศรษฐกิจเวียดนามซึ่งปัจจุบันมีขนาดประมาณ 125,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เล็กกว่าขนาดเศรษฐกิจไทยประมาณ 3 เท่า จะสามารถไล่ทันเศรษฐกิจไทยในเวลาไม่ถึง 10 ปี
ในทางกลับกัน ถ้าเวียดนามไม่สามารถออกจากวังวนของปัญหานี้ได้ โอกาสที่เวียดนามจะเดินไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง และวิกฤตสังคม ก็มีความเป็นไปได้สูง
แต่ไม่ว่าเวียดนามจะปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้ได้สำเร็จงดงาม หรือล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ย่อมมีนัยต่ออาเซียนและประเทศไทยโดยไม่ต้องสงสัย การติดตามพัฒนาการเศรษฐกิจเวียดนามหลังจากนี้อย่างใกล้ชิด จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้
ที่มา:Siam Intelligence Unit
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)
เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า การปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์ของเวียดนามเกิดขึ้นเมื่อปี 2529 โดยใช้ชื่อเรียกว่า ดอย เหม่ย (Doi Moi) การปฏิรูปนี้ทำให้เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างงดงามในช่วง 26 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเศรษฐกิจเวียดนามได้เดินมาสู่หนทางแห่งความท้าทายใหม่ของการปฏิรูป ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามในอนาคต
การปฏิรูปเศรษฐกิจ ดอย เหม่ย ถือเป็น “หลักไมล์” สำคัญในการเปลี่ยนเวียดนามจากระบบเศรษฐกิจที่วางแผนโดยส่วนกลาง ไปสู่การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดมากขึ้น ลดบทบาทภาครัฐ เพิ่มบทบาทภาคเอกชน และมุ่งสู่แนวทางเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalization)
แม้ตลอดระยะเวลาแห่งการปฏิรูปนี้ได้ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามดีขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน อาทิเช่น เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 7% ต่อปี เปลี่ยนจากเป็นประเทศยากจนมาก กลายเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลาง และมีการเปิดกว้างทางการค้าการและการลงทุนกับต่างประเทศมากขึ้น ทั้งยังเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี 2538 และสมาชิกองค์กรการค้าโลก (WTO) ในปี 2550 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง การปฏิรูปชักจะไม่สดใส ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจด้านมหภาค (Macroeconomic Indicators) หลายตัวเริ่มสะท้อนความป่วยไข้ของเศรษฐกิจเวียดนาม อาทิเช่น เวียดนามขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่องเกือบตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา และเมื่อ 4 ปีที่ผ่าน (2551-2554) มาเวียดนามประสบสภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในเอเชีย คือสูงถึง 16 เปอร์เซ็นต์
ขณะเดียวกัน ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเวียดนามต้องปรับลดค่าเงินหลายครั้งเพื่อหนุนการส่งออก เงินทุนเริ่มขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจเวียดนามและโยกเงินออกไปลงทุนที่อื่น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงจากประมาณ 23,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2550 เหลือเพียงประมาณ 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ เป็นสถานการณ์ที่ตรงข้ามกับแนวโน้มของประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจอื่นๆ ในเอเชีย
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การจัดอันดับความสะดวกในการเข้าไปดำเนินธุรกิจของแต่ละประเทศโดยธนาคารโลก ซึ่งวัดจากตัวชี้วัดด้านการประกอบธุรกิจ 10 ตัว เช่น การหาสินเชื่อในการลงทุน ระบบการชำระภาษี การคุ้มครองนักลงทุน พบว่า เวียดนามอยู่อันดับที่ต่ำมาก คืออันดับที่ 98 จากจำนวน 183 ประเทศ ขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 17 และสิงคโปร์ เป็นอันดับที่ 1
มากไปกว่านั้น เวียดนามกำลังประสบกับปัญหาพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งยังมีต้นทุนค่าขนส่งที่สูง อันเนื่องมาจากการขาดระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองใหญ่ อย่างเช่น ฮานอย และ โฮจิมินห์ ปรับตัวขึ้นมาก เกินกว่าอำนาจซื้อของคนส่วนใหญ่จะไล่ตามทัน เกิดการขยายตัวของความไม่เท่าเทียมระหว่างเมืองกับชนบท รวมถึงปัญหาสังคมต่างๆ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
แม้แต่รายงานของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของเวียดนามเอง เช่น รายงานความสามารถทางการแข่งขันปี 2553 รายงานการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนามปี 2553 และ ปี 2554 ก็ยอมรับว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม เป็นการเติบโตแบบไม่มีคุณภาพและไม่ยั่งยืน มีการก่อมลภาวะสูงจากกระบวนการผลิต ขณะเดียวกัน ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่ม (Value Addition) ให้กับสินค้าที่ส่งออก อีกทั้งผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ลดลงต่อเนื่อง
สรุปคือ เวียดนามกำลังตกอยู่ใน “กับดัก” ของการพัฒนา คือ ยิ่งพยายามพัฒนา ยิ่งสร้างปัญหาในการพัฒนา ดังนั้น ความจำเป็นเร่งด่วนของเวียดนามตอนนี้คือ ต้องทำการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจขนานใหญ่
ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลและคนเวียดนามก็ทราบดี สังเกตได้จากการประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 2554-2564 โดยตั้งเป้าหมายสำคัญไว้คือ ต้องสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานระดับโลก (World Class Infrastructure) ผลิตแรงงานที่มีฝีมือ และสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันและองค์กรต่างๆของ “ตลาด” (Strengthen Market-based Institutions)
เป้าหมายเหล่านี้ถือว่าเป็นการ “ปลดล็อค” ให้เวียดนามสามารถพัฒนาเศรษฐกิจต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
อย่างไรก็ตาม จะทำได้มากน้อยแค่ไหน ทำโดยวิธีใด และใช้เวลานานเท่าไหร่ กว่าเวียดนามจะหลุดออกจากปัญหาโครงสร้างนี้ ยังเป็นความท้าทายของเวียดนาม
ผมเชื่อว่า ถ้าเวียดนามสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปได้อย่างดี จะสร้างแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้าไปมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงหนุนให้เวียดนามสามารถปฏิรูปภาคอุตสาหกรรม และยกระดับสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ (Modern Economy) ซึ่งแน่นอนว่า ศักยภาพของเวียดนามจะเพิ่มมหาศาล โอกาสที่เศรษฐกิจเวียดนามซึ่งปัจจุบันมีขนาดประมาณ 125,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เล็กกว่าขนาดเศรษฐกิจไทยประมาณ 3 เท่า จะสามารถไล่ทันเศรษฐกิจไทยในเวลาไม่ถึง 10 ปี
ในทางกลับกัน ถ้าเวียดนามไม่สามารถออกจากวังวนของปัญหานี้ได้ โอกาสที่เวียดนามจะเดินไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตการเมือง และวิกฤตสังคม ก็มีความเป็นไปได้สูง
แต่ไม่ว่าเวียดนามจะปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้ได้สำเร็จงดงาม หรือล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า ย่อมมีนัยต่ออาเซียนและประเทศไทยโดยไม่ต้องสงสัย การติดตามพัฒนาการเศรษฐกิจเวียดนามหลังจากนี้อย่างใกล้ชิด จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้
ที่มา:Siam Intelligence Unit
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
กฎหมายการลงทุนพม่า !!?
โดย:ณกฤช เศวตนันทน์
คอลัมน์ พร้อมรับAECหรือยัง?
พม่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากชนิด ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เป็นต้น
ทรัพยากร ธรรมชาติเหล่านี้ต่างเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทางอุตสาหกรรม และเป็นที่ต้องการสูงในตลาด นอกจากนี้พม่ายังมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของสองประเทศที่มีประชากรมาก ที่สุด และกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างจีนและอินเดีย ดังนั้นเมื่อพม่าเปิดประเทศ โดยมีการปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง พม่าจึงเป็นเป้าหมายที่น่าเข้าไปแสวงหาโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักลงทุนต่าง ชาติ
อย่างไรก็ดี แม้ทรัพยากรและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในพม่าจะดูหอมหวานเพียง ใด แต่เท่าที่ผ่านมาการลงทุนในพม่าก็ยังคงมีอุปสรรคอยู่หลายประการ หนึ่งในอุปสรรคที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ระบบกฎหมายที่ล้าสมัยไม่มีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือไม่คุ้มครองนักลงทุน
เดิมทีก่อนพม่าจะปฏิรูปประเทศ รัฐบาลพม่าเคยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment : FDI) โดยมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติ หรือ Myanmar Foreign Investment Law (FIL) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เพื่อจูงใจให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่า
กฎหมายฉบับนี้ได้ผลพอสมควร
ผู้ ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนนั้นส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับเดิมจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพม่ามีศักยภาพด้านการลงทุนที่สูงกว่านี้ ขณะที่กฎหมายการลงทุนฉบับเดิมมีขีดจำกัดด้านการลงทุนโดยชาวต่างชาติหลาย ประการ เช่น ไม่สามารถถือหุ้นในกิจการได้ 100% นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ ต้องเช่าจากรัฐ เป็นต้น
ทั้ง นี้ การที่รัฐบาลพม่ามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดนักลงทุน จึงเล็งเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนให้ทันสมัย มีสิทธิพิเศษ
ต่าง ๆ ดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น และที่สำคัญคือต้องคุ้มครองนักลงทุน ทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจว่ากิจการของตนจะไม่ถูกแทรกแซงโดยรัฐ
ดัง นั้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งพม่า ได้แถลงแผนปฏิรูปขั้นที่สองผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยแผนปฏิรูปขั้นที่สองนี้จะมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจและประชาชน ซึ่งต่างจากแผนปฏิรูปขั้นที่หนึ่ง ที่รัฐบาลเน้นปฏิรูปด้านการเมืองและการปรองดองภายในชาติเป็นสำคัญ
แผน ปฏิรูปขั้นที่สอง รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็น 7.7% ต่อปีภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายการลงทุนรองรับแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งประธานาธิบดีเต็ง เส่งแถลงว่า รัฐสภาจะผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ในการ ประชุมสภาสมัยหน้าที่จะเริ่มวันที่ 4 กรกฎาคมนี้
สำหรับกฎหมายว่า ด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ของพม่านี้ มีรายละเอียดที่แตกต่างจากฉบับเดิมคือ กฎหมายฉบับใหม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35%-100% ในบริษัทท้องถิ่น โดยผู้ที่ต้องการถือหุ้น 100% จะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ในเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษี กฎหมายฉบับใหม่กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติ 5 ปี จากเดิมที่ให้แค่เพียง 2 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้นักลงทุน ต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ จากเดิมเช่าได้เฉพาะที่ดินของรัฐ อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นการคุ้มครองคนในชาติ เช่น แรงงานไร้ฝีมือทั้งหมดในบริษัทต่างชาติต้องเป็นคนพม่า ห้าปีต่อไปแรงงานฝีมือในบริษัทต้องเป็นคนพม่า 25% เพิ่มขึ้นเป็น 50% ในห้าปีต่อไป และ 75% ภายใน 15 ปีตั้งแต่เริ่มกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะพม่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มการจ้างงานของคนในชาตินั่นเอง
การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลง ทุนของพม่าในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนไทย ซึ่งเดิมทีก็มีการเข้าไปลงทุนในพม่าในกิจการหลาย ๆ ประเภทอยู่แล้ว
อย่าง ไรก็ดี พม่ายังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยที่ปะทุอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทางที่ดีแบบนี้จน ถึงเมื่อใด นักลงทุนจึงควรระมัดระวังต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังคำกล่าวเตือนของออง ซาน ซู จี ในงาน World Economic Forum 2012 ที่ไทยว่า "Optimism is good but it should be cautious optimism. I have come across reckless optimism. A little bit of healthy scepticism is in order."
ซึ่งแปลได้ว่า "การมองอะไรในแง่ดีนับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรเป็นการมองในแง่ดีที่ใช้ความระมัดระวัง ดิฉันเคยมองโลกในแง่ดีแบบไม่ระวังมาแล้ว ตอนนี้การมองโลกในเชิงสงสัยตามสมควรน่าจะดีกว่า"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
คอลัมน์ พร้อมรับAECหรือยัง?
พม่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลากชนิด ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน เป็นต้น
ทรัพยากร ธรรมชาติเหล่านี้ต่างเป็นวัตถุดิบที่สำคัญทางอุตสาหกรรม และเป็นที่ต้องการสูงในตลาด นอกจากนี้พม่ายังมีทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของสองประเทศที่มีประชากรมาก ที่สุด และกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างจีนและอินเดีย ดังนั้นเมื่อพม่าเปิดประเทศ โดยมีการปฏิรูปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง พม่าจึงเป็นเป้าหมายที่น่าเข้าไปแสวงหาโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักลงทุนต่าง ชาติ
อย่างไรก็ดี แม้ทรัพยากรและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในพม่าจะดูหอมหวานเพียง ใด แต่เท่าที่ผ่านมาการลงทุนในพม่าก็ยังคงมีอุปสรรคอยู่หลายประการ หนึ่งในอุปสรรคที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ระบบกฎหมายที่ล้าสมัยไม่มีความน่าเชื่อถือ และที่สำคัญคือไม่คุ้มครองนักลงทุน
เดิมทีก่อนพม่าจะปฏิรูปประเทศ รัฐบาลพม่าเคยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment : FDI) โดยมีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติ หรือ Myanmar Foreign Investment Law (FIL) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เพื่อจูงใจให้นักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในพม่า
กฎหมายฉบับนี้ได้ผลพอสมควร
ผู้ ประกอบการต่างชาติที่เข้าไปลงทุนนั้นส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับเดิมจะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพม่ามีศักยภาพด้านการลงทุนที่สูงกว่านี้ ขณะที่กฎหมายการลงทุนฉบับเดิมมีขีดจำกัดด้านการลงทุนโดยชาวต่างชาติหลาย ประการ เช่น ไม่สามารถถือหุ้นในกิจการได้ 100% นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ ต้องเช่าจากรัฐ เป็นต้น
ทั้ง นี้ การที่รัฐบาลพม่ามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยใช้เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดนักลงทุน จึงเล็งเห็นว่าควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนให้ทันสมัย มีสิทธิพิเศษ
ต่าง ๆ ดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น น่าเชื่อถือมากขึ้น และที่สำคัญคือต้องคุ้มครองนักลงทุน ทำให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจว่ากิจการของตนจะไม่ถูกแทรกแซงโดยรัฐ
ดัง นั้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งพม่า ได้แถลงแผนปฏิรูปขั้นที่สองผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยแผนปฏิรูปขั้นที่สองนี้จะมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจและประชาชน ซึ่งต่างจากแผนปฏิรูปขั้นที่หนึ่ง ที่รัฐบาลเน้นปฏิรูปด้านการเมืองและการปรองดองภายในชาติเป็นสำคัญ
แผน ปฏิรูปขั้นที่สอง รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็น 7.7% ต่อปีภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า รวมไปถึงการเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายการลงทุนรองรับแผนปฏิรูปดังกล่าว ซึ่งประธานาธิบดีเต็ง เส่งแถลงว่า รัฐสภาจะผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ในการ ประชุมสภาสมัยหน้าที่จะเริ่มวันที่ 4 กรกฎาคมนี้
สำหรับกฎหมายว่า ด้วยการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ของพม่านี้ มีรายละเอียดที่แตกต่างจากฉบับเดิมคือ กฎหมายฉบับใหม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35%-100% ในบริษัทท้องถิ่น โดยผู้ที่ต้องการถือหุ้น 100% จะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียด ในเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษี กฎหมายฉบับใหม่กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติ 5 ปี จากเดิมที่ให้แค่เพียง 2 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้นักลงทุน ต่างชาติสามารถเช่าที่ดินจากเอกชนได้ จากเดิมเช่าได้เฉพาะที่ดินของรัฐ อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นการคุ้มครองคนในชาติ เช่น แรงงานไร้ฝีมือทั้งหมดในบริษัทต่างชาติต้องเป็นคนพม่า ห้าปีต่อไปแรงงานฝีมือในบริษัทต้องเป็นคนพม่า 25% เพิ่มขึ้นเป็น 50% ในห้าปีต่อไป และ 75% ภายใน 15 ปีตั้งแต่เริ่มกิจการ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะพม่ามีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มการจ้างงานของคนในชาตินั่นเอง
การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลง ทุนของพม่าในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนไทย ซึ่งเดิมทีก็มีการเข้าไปลงทุนในพม่าในกิจการหลาย ๆ ประเภทอยู่แล้ว
อย่าง ไรก็ดี พม่ายังมีปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนหลายประการ เช่น ปัญหาด้านการคอร์รัปชั่น ปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อยที่ปะทุอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองที่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปในทางที่ดีแบบนี้จน ถึงเมื่อใด นักลงทุนจึงควรระมัดระวังต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ดังคำกล่าวเตือนของออง ซาน ซู จี ในงาน World Economic Forum 2012 ที่ไทยว่า "Optimism is good but it should be cautious optimism. I have come across reckless optimism. A little bit of healthy scepticism is in order."
ซึ่งแปลได้ว่า "การมองอะไรในแง่ดีนับว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรเป็นการมองในแง่ดีที่ใช้ความระมัดระวัง ดิฉันเคยมองโลกในแง่ดีแบบไม่ระวังมาแล้ว ตอนนี้การมองโลกในเชิงสงสัยตามสมควรน่าจะดีกว่า"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เพื่อไทย หลุด Killing Zone .
ไม่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ขัดมาตรา 68 อย่างไร แต่ “จาตุรนต์ ฉายแสง” อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กลับไม่ให้ค่าการวินิจฉัยเลย จาตุรนต์ เชื่อว่า ผลการวินิจฉัย จะออกมาทางใดก็ไม่มีความเป็นธรรม เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้กระทำขัดรัฐธรรมนูญมาอย่างต่อเนื่อง “การที่ศาลรัฐธรรมนูญทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตั้งแต่รับคำร้องโดย ตรง สั่งประธานสภาให้ชะลอการลง มติก็ดี ล้วนเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น” อารมณ์ของจาตุรนต์ไม่แตกต่าง จากอารมณ์สองแกนนำคนสำคัญของ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) คือ “จตุพร พรหมพันธุ์ กับ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” ที่ประกาศแข็งกร้าวว่า ไม่เชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญ เช่นกัน ดังนั้นการเดินสายต่อต้านศาล รัฐธรรมนูญของจตุพรจึงยกระดับรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ราวกับส่งสัญญาณทางใจเบื้องลึกว่า “ไม่เอาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ ต้องปฏิรูป”
การปฏิรูปนั้น มาจากศาลรัฐธรรมนูญทำขัดรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง รวมแล้วอย่างน้อย 6 ข้อกล่าวหา คือ หนึ่ง รับเรื่องข้ามขั้นตอนการวินิจฉัยของอัยการสูงสุดโดยมิชอบ ซึ่งผิดกับระเบียบปฏิบัติตามมาตรา 68 สอง ไม่มี อำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นอำนาจชอบธรรมของรัฐสภา สาม แสดงเจตนารมณ์มุ่งหมายกล่าวร้ายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยไม่มีมูลความจริง สี่ ก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติโดยมีคำสั่ง ให้เลขาธิการสภาแจ้งต่อประธานรัฐสภาให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ห้าประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงความเห็นต่อสาธารณะด้วยการชี้นำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะล้มล้างการปกครองก่อนมีคำวินิจฉัยตามกระบวนการและหก ริเริ่มถอดประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์ ต่อศาลอาญา โดยไม่ผดุง ความยุติธรรม
แน่นอนว่า ข้อกล่าวหาการทำผิดต่อเนื่องดังกล่าวนั้น ไม่มีลู่ทางให้นำเรื่อง ยื่นคำร้องกล่าวโทษไปสู่องค์กรใดมาตัด สิน นอกจากเสนอวุฒิสภาให้ “ถอดถอน” ออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นการยากอย่างยิ่ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รู้สึกหนักใจกับข้อกล่าวหาเหล่านั้น คณะตุลาการยังเดินหน้าไปตามปกติผู้ร้องยื่นข้อกล่าวหาล้มการปกครองต่อศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 5 พวก แต่เมื่อพิจารณารายชื่ออย่างรัดกุมแล้ว ล้วนมาจากกลุ่มเดียว คือ กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้มีอำนาจเบื้องหลังพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา วันธงชัย ชำนาญกิจ บวร-ยสินทร และ วรินทร์ เทียมจรัส โดยทั้งหมดเสนอพยานรวมกัน 16 ชื่อ ซึ่ง จำแนกที่มา 3 กลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ส.ว. ในสังกัดกลุ่ม 40 ส.ว. สอง พรรคประชาธิปัตย์ และสาม สายวิชาการ ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เมื่อเชื่อมโยงรายชื่อผู้ยื่นคำร้องกับพยานในขั้นการไต่สวนแล้ว ล้วนมีที่มาและอดีตเป็น กลุ่มต่อต้าน เล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ อย่าง เข้มข้นมาแล้วตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
เมื่อผนวกเข้ากับศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา “รับคำร้อง” ตามมาตรา 68 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ด้วยแล้ว ข้อสรุปทางการเมืองจึงมีความ ชัดเจนว่า กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีท่าทีเล่น งาน พ.ต.ท.ทักษิณ กับพรรคการเมืองสนับสนุน “ทักษิณ” คือ พรรคเพื่อไทย ดังนั้น มีการคาดการณ์ผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่วงหน้ามาตลอด ว่า เป็นไปได้สูงกับคำตัดสินว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดมาตรา 68” นั่นบ่งบอกถึงสภาพพรรคเพื่อไทยได้ตกอยู่ในแดน “Killing Zone” มีโอกาสถูกเล่นงาน “ยุบพรรค” ซ้ำเติมเข้าไปอีก
แต่ขณะนี้สถานการณ์เลวร้ายเริ่มเปลี่ยนไปสู่สิ่งดีขึ้น...เมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เก็บอาการอยู่ เธอเฉยๆ ก้มหน้าก้มตาทำงาน และนัดกินข้าวมื้อเที่ยงกับ “ผู้นำเหล่าทัพ” เต็มไปด้วยรสชาติอาหารถูกปาก ผสมอารมณ์ชื่นมื่น นั่นสะท้อนสัมพันธภาพยัง “แน่นปึ้ก” จึงมีส่วนพลิกสถานการณ์จากแดนติดลบ ค่อยๆ กลับขึ้นมาอยู่ “แดนบวก” ประกอบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้เป็นพี่ชายกลับ “นิ่งผิดปกติ” จึงมีส่วนให้ฝ่ายต่อต้านบางส่วนผ่อนคลายการ “รุก” ขั้นแตก หักลงไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถอนตัวจากพยานปากสำคัญอย่าง “นายอานันท์” ย่อมประเมินถึงผลการ วินิจฉัยได้บ้างว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังอยู่ในอาการ “ถอย” มากกว่าใช้การเด็ดขาดเพื่อนำไปสู่การเผชิญหน้าแตกหัก นับเป็นปัจจัยดีๆ ที่ส่งสัญญาณถึงพรรคเพื่อไทยว่า ผลคำวินิจฉัยของศาลคงไม่เลวร้ายเกินกว่าการรับมือ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี คาดการณ์ผลการวินิจฉัย โดยเชื่อมั่นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะ “ยกคำร้อง” ซึ่งเท่ากับทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าไปสู่การ ลงมติวาระ 3 ได้เร็วขึ้น แต่นั่นก็เป็นเพียงความเห็นของ “เฉลิม” นักการเมืองผู้มากประสบการณ์ถึงที่สุดแล้ว ในวันไต่สวนพยาน ผู้ร้องเริ่มต้นขึ้น การทยอยถอนตัวจาก พยานคนสำคัญย่อมบ่งบอกถึงบรรยากาศการเมืองได้ผ่อนคลายไปมาก คำถามง่ายๆ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญพร้อมเผชิญหน้าขั้นแตกหักกับพลังประชาชนที่ลุกฮือขึ้นหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่กล้า” เพราะพลังอำนาจที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังยังไม่ชนะเด็ดขาด ดังนั้นโอกาสที่จะ “ถอยอย่างมีเชิง” จึงย่อมเกิดขึ้นสูงยิ่ง
ถอยอย่างมีเชิงของศาลรัฐธรรมนูญคือ ให้พรรคเพื่อไทยหลุดจาก ข้อหาล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องเป็นโมฆะ ทำไม่ได้การประเมินเช่นนี้ อาจพลิกอีก เนื่องจากศาลแห่งนี้เคยมีประวัติการสร้างบรรทัดฐานเหนือการหยั่งรู้ด้วยหลักวิชาการมาแล้วในกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช หลุดจากเก้าอี้นายก รัฐมนตรี แต่ที่แน่ๆ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ไม่รอดจากคำวินิจฉัยของพรรคเพื่อไทยให้หลุด จากตำแหน่ง เนื่องจากคลิปเสียงเป็นพิษค่อนข้างฟันธง คอนเฟิร์มเลยทีเดียว
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การปฏิรูปนั้น มาจากศาลรัฐธรรมนูญทำขัดรัฐธรรมนูญต่อเนื่อง รวมแล้วอย่างน้อย 6 ข้อกล่าวหา คือ หนึ่ง รับเรื่องข้ามขั้นตอนการวินิจฉัยของอัยการสูงสุดโดยมิชอบ ซึ่งผิดกับระเบียบปฏิบัติตามมาตรา 68 สอง ไม่มี อำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเป็นอำนาจชอบธรรมของรัฐสภา สาม แสดงเจตนารมณ์มุ่งหมายกล่าวร้ายว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยไม่มีมูลความจริง สี่ ก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติโดยมีคำสั่ง ให้เลขาธิการสภาแจ้งต่อประธานรัฐสภาให้ชะลอการลงมติวาระ 3 ห้าประธานศาลรัฐธรรมนูญแสดงความเห็นต่อสาธารณะด้วยการชี้นำว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะล้มล้างการปกครองก่อนมีคำวินิจฉัยตามกระบวนการและหก ริเริ่มถอดประกันนายจตุพร พรหมพันธุ์ ต่อศาลอาญา โดยไม่ผดุง ความยุติธรรม
แน่นอนว่า ข้อกล่าวหาการทำผิดต่อเนื่องดังกล่าวนั้น ไม่มีลู่ทางให้นำเรื่อง ยื่นคำร้องกล่าวโทษไปสู่องค์กรใดมาตัด สิน นอกจากเสนอวุฒิสภาให้ “ถอดถอน” ออกจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นการยากอย่างยิ่ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รู้สึกหนักใจกับข้อกล่าวหาเหล่านั้น คณะตุลาการยังเดินหน้าไปตามปกติผู้ร้องยื่นข้อกล่าวหาล้มการปกครองต่อศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งสิ้น 5 พวก แต่เมื่อพิจารณารายชื่ออย่างรัดกุมแล้ว ล้วนมาจากกลุ่มเดียว คือ กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้มีอำนาจเบื้องหลังพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา วันธงชัย ชำนาญกิจ บวร-ยสินทร และ วรินทร์ เทียมจรัส โดยทั้งหมดเสนอพยานรวมกัน 16 ชื่อ ซึ่ง จำแนกที่มา 3 กลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง ส.ว. ในสังกัดกลุ่ม 40 ส.ว. สอง พรรคประชาธิปัตย์ และสาม สายวิชาการ ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เมื่อเชื่อมโยงรายชื่อผู้ยื่นคำร้องกับพยานในขั้นการไต่สวนแล้ว ล้วนมีที่มาและอดีตเป็น กลุ่มต่อต้าน เล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ อย่าง เข้มข้นมาแล้วตั้งแต่ปี 2549 ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
เมื่อผนวกเข้ากับศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา “รับคำร้อง” ตามมาตรา 68 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์ว่า ขัดรัฐธรรมนูญ ด้วยแล้ว ข้อสรุปทางการเมืองจึงมีความ ชัดเจนว่า กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีท่าทีเล่น งาน พ.ต.ท.ทักษิณ กับพรรคการเมืองสนับสนุน “ทักษิณ” คือ พรรคเพื่อไทย ดังนั้น มีการคาดการณ์ผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่วงหน้ามาตลอด ว่า เป็นไปได้สูงกับคำตัดสินว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญขัดมาตรา 68” นั่นบ่งบอกถึงสภาพพรรคเพื่อไทยได้ตกอยู่ในแดน “Killing Zone” มีโอกาสถูกเล่นงาน “ยุบพรรค” ซ้ำเติมเข้าไปอีก
แต่ขณะนี้สถานการณ์เลวร้ายเริ่มเปลี่ยนไปสู่สิ่งดีขึ้น...เมื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เก็บอาการอยู่ เธอเฉยๆ ก้มหน้าก้มตาทำงาน และนัดกินข้าวมื้อเที่ยงกับ “ผู้นำเหล่าทัพ” เต็มไปด้วยรสชาติอาหารถูกปาก ผสมอารมณ์ชื่นมื่น นั่นสะท้อนสัมพันธภาพยัง “แน่นปึ้ก” จึงมีส่วนพลิกสถานการณ์จากแดนติดลบ ค่อยๆ กลับขึ้นมาอยู่ “แดนบวก” ประกอบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้เป็นพี่ชายกลับ “นิ่งผิดปกติ” จึงมีส่วนให้ฝ่ายต่อต้านบางส่วนผ่อนคลายการ “รุก” ขั้นแตก หักลงไปได้มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถอนตัวจากพยานปากสำคัญอย่าง “นายอานันท์” ย่อมประเมินถึงผลการ วินิจฉัยได้บ้างว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกำลังอยู่ในอาการ “ถอย” มากกว่าใช้การเด็ดขาดเพื่อนำไปสู่การเผชิญหน้าแตกหัก นับเป็นปัจจัยดีๆ ที่ส่งสัญญาณถึงพรรคเพื่อไทยว่า ผลคำวินิจฉัยของศาลคงไม่เลวร้ายเกินกว่าการรับมือ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี คาดการณ์ผลการวินิจฉัย โดยเชื่อมั่นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะ “ยกคำร้อง” ซึ่งเท่ากับทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเดินหน้าไปสู่การ ลงมติวาระ 3 ได้เร็วขึ้น แต่นั่นก็เป็นเพียงความเห็นของ “เฉลิม” นักการเมืองผู้มากประสบการณ์ถึงที่สุดแล้ว ในวันไต่สวนพยาน ผู้ร้องเริ่มต้นขึ้น การทยอยถอนตัวจาก พยานคนสำคัญย่อมบ่งบอกถึงบรรยากาศการเมืองได้ผ่อนคลายไปมาก คำถามง่ายๆ ว่า ศาลรัฐธรรมนูญพร้อมเผชิญหน้าขั้นแตกหักกับพลังประชาชนที่ลุกฮือขึ้นหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่กล้า” เพราะพลังอำนาจที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังยังไม่ชนะเด็ดขาด ดังนั้นโอกาสที่จะ “ถอยอย่างมีเชิง” จึงย่อมเกิดขึ้นสูงยิ่ง
ถอยอย่างมีเชิงของศาลรัฐธรรมนูญคือ ให้พรรคเพื่อไทยหลุดจาก ข้อหาล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องเป็นโมฆะ ทำไม่ได้การประเมินเช่นนี้ อาจพลิกอีก เนื่องจากศาลแห่งนี้เคยมีประวัติการสร้างบรรทัดฐานเหนือการหยั่งรู้ด้วยหลักวิชาการมาแล้วในกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช หลุดจากเก้าอี้นายก รัฐมนตรี แต่ที่แน่ๆ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ไม่รอดจากคำวินิจฉัยของพรรคเพื่อไทยให้หลุด จากตำแหน่ง เนื่องจากคลิปเสียงเป็นพิษค่อนข้างฟันธง คอนเฟิร์มเลยทีเดียว
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ส่องปรองดองสยามประเทศ ผ่านเลนส์หม่อง !!?
โจทย์การปรองดองในประเทศไทย ณ ขณะนี้ถือว่ายังเปรียบเป็นแสงตะเกียงริบหรี่น่าหวั่นใจ ไม่ว่าจะทาง ออกทั้งในสภาที่ยังต้อง รอท่ากันอีกเป็นเดือนคือ 1 สิงหาคม และยังน่าหวั่นใจเพราะแม้จะมีสภาพไม่ต่างจากทะเลที่เรียบสงบ หากแต่คลื่น ใต้น้ำที่มาตามแรงอาฟเตอร์ช็อกการเมืองอยู่ เป็นระลอกๆ
อีกหนึ่งตัวแปรที่จะวางตา วางใจเสียไม่ได้คือ ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคาดเดาได้ยากว่าจะตีความออกมาอย่างไร.. หมู่หรือจ่า!! แม้ว่าจะเปิดสภาก็ยังต้องเจอกับการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ กลไกทางการเมืองที่ฝ่ายค้านจะใช้หักล้างรัฐบาลแบบ ในเกม และรัฐบาลหมดสิทธิยุบสภาแน่นอนหันมามองปัจจัยนอกสภาระยะนี้ต่างฝ่ายต่างเดินสายแสดงคอนเสิร์ตคิว แน่นเอี้ยด..เนื้อหาของทั้งเสื้อแดง..เสื้อฟ้า ก็หาได้แตกกันในประเด็น แก้รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ปรองดอง ศาลรัฐธรรมนูญ ..แต่แปลกที่พูดเรื่องเดียวกัน แต่หยิบตำราคนละเล่ม พูดกันคนละด้าน ฝ่ายหนึ่งหนุน ฝ่ายหนึ่งต้าน
กลเม็ดเด็ดพรายก็ต่างสรรหาหยิบจับมามัดใจแฟนคลับของแต่ละสี แต่ละเผ่าทั้งตัวยืนฝ่ายแดง อย่างคู่หูตู่-เต้น..บินไปขึ้นเวทียิ่งกว่า “สายัณห์ สัญญา” สมัยก่อน..อีกด้านหนึ่งก็ดุเด็ดไม่แพ้กัน..ทีมงานสายล่อฟ้าจากบลู สกาย “ศิริโชค, ชวนนท์ และเทพไท”..ทั้งรุ่นใหญ่อย่าง “เทพเทือก โอบามาร์ค” เนื้อหาก่อให้เกิดแนวความคิดในเชิงแตกแยกทั้งสิ้น จนยากจะมอง เห็นแนวทางจะปรองดองมองไปรอบบ้านผ่านเมืองใกล้เคียง ที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเราถึง 50 ปีอย่างพม่า..
พม่าหันหน้ากลับมาเช็กแฮนด์กันเฉยระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารกับฝ่าย ค้านอย่างพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี หรือแม้แต่การเจรจาตกลงกันกับชน กลุ่มน้อยมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลพม่าและนางอองซาน ซูจี สามารถหันหน้า เข้าหากัน และตกลงกันได้ คือผลประโยชน์ของประเทศ เช่นเรื่องการ เปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยสนใจให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุนจำนวนมาก เพราะเห็นว่า ปิดประเทศมานาน ถ้าจะเปิดให้มี การลงทุนจะต้องเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนมากกว่าเน้นปริมาณ หรือเม็ดเงิน ลงทุน
ประเทศพม่าในตอนนี้จึงเป็นประเทศกรณีศึกษาอีกประเทศหนึ่งที่น่า สนใจ และเรียนรู้เพราะเขากลับมามีแนวคิดในเชิงปรองดอง ซึ่งต่างจากเพื่อนบ้านที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งมังค่า อย่างสาระขันประเทศแต่หากวิเคราะห์ในเบื้องลึกก็จะเห็นเงื่อนไขของการปรองดองว่าหาใช่ง่ายดายอย่างที่คิด บาดแผลที่กรีดลึกลงในสังคมนานนับสิบปีจะประสานกันได้จะมีแผลเป็นหรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่า ว่า แผลนั้นหายสนิทหรือเปล่า
“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทรรศนะไว้ถึงเงื่อนไขเชิงกลไกทางการเมืองของการปรองดองในประเทศพม่าว่า “เราต้องไม่ลืมไปว่านางอองซาน ซูจี ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี ขณะที่การเลือกตั้งของพม่าครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี พ.ศ.2558 ซึ่งนางอองซาน ซูจีจะมีอายุ 70 ปี เข้าข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พม่า อีกทั้งความต่างของคนหนุ่มสาวกับ คนอายุ 70-80 ปีทำให้เธอดูไม่ค่อยมีอนาคตเท่าใดนัก”
นอกจาก “อองซาน ซูจี” จะดิ้นรน แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเข้าข้างตนเอง และพวกพ้อง ว่าอายุ 70 ปีก็ยังเป็นประธานาธิบดี ได้ หรือการมีคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ ไม่ผิดรัฐธรรมนูญหากจะเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีใครทำกัน และนางก็คง ไม่เคยมีความคิดประเภทนั้น..!!!
จากประวัติซูจีไม่ได้มีแนวคิดทาง การเมืองแจ่มชัดมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยชาติกำเนิดที่เป็นลูกสาวนายพลอองซาน ประกอบกับช่วงที่กลับประเทศ เธอมาด้วยเหตุผลเพราะต้องการมาพยาบาลมารดาซึ่งป่วยหนัก จนกระทั่งได้เห็นสถานการณ์การเมืองในพม่าที่มีความ รุนแรง การสังหารนิสิตนักศึกษา เธอจึงลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเรียกร้อง ลักษณะนี้เหมือนการตกกระไดพลอยโจน ไม่ใช่เจตนาหลักที่จะเข้ามาข้องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งคล้ายกับนายกฯ ของประเทศไทยคนปัจจุบัน แต่แน่นอนว่ามีจุดต่างกันอยู่หลายอย่างทั้งที่มา และแรงผลักดันที่ดูต่างกันบ้าง
ในชั่วโมงนี้ที่ประเทศพม่ากำลังก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง การเปิดประเทศจำเป็นต้องมีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาคม โลก..ส่วนนี้อาจทำให้รัฐบาลทหารพม่าลดความเกรี้ยวกราดลง และมีความอดทนอดกลั้นในแนวคิดแบบที่คุ้นชินมาจากระบอบเผด็จการทหารมากขึ้น
ประเด็นสำคัญหลังจากนี้ คือนาง อองซาน ซูจีควรจะอยู่ในฐานะอะไรซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่ในตำแหน่งผู้นำประเทศแน่ เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า “รัฐธรรมนูญของพม่าได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติผู้เป็นประธานาธิบดีไว้หลายเรื่อง เช่น ห้ามสมรสกับชาวต่างชาติอายุเกิน 70 ปี” ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวถือว่าปิดทางเข้าออกทั้งหมดในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารประเทศของนางอองซาน ซูจี อย่างเบ็ดเสร็จตามเกมที่ทหารวางไว้เรายังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ นอนได้ว่าอนาคตของประเทศพม่าจะเป็นอย่างไร เหมือนกับที่เราเองก็ยังคิด ไม่ออกถึงแนวทางการปรองดองประประเทศไทย..แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะเรียนรู้ไว้ของประเทศพม่าในตอนนี้คือ เกมรุก เกมถอย ของฝ่ายต่างๆ ทาง การเมืองของพม่าซึ่งแม้ว่าลึกๆจะตั้งอยู่บนเหตุผลของอำนาจ หากแต่เงื่อนไขหลักที่น่าสนใจคือ..ผลประโยชน์ของประเทศ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
อีกหนึ่งตัวแปรที่จะวางตา วางใจเสียไม่ได้คือ ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งคาดเดาได้ยากว่าจะตีความออกมาอย่างไร.. หมู่หรือจ่า!! แม้ว่าจะเปิดสภาก็ยังต้องเจอกับการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจ กลไกทางการเมืองที่ฝ่ายค้านจะใช้หักล้างรัฐบาลแบบ ในเกม และรัฐบาลหมดสิทธิยุบสภาแน่นอนหันมามองปัจจัยนอกสภาระยะนี้ต่างฝ่ายต่างเดินสายแสดงคอนเสิร์ตคิว แน่นเอี้ยด..เนื้อหาของทั้งเสื้อแดง..เสื้อฟ้า ก็หาได้แตกกันในประเด็น แก้รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.ปรองดอง ศาลรัฐธรรมนูญ ..แต่แปลกที่พูดเรื่องเดียวกัน แต่หยิบตำราคนละเล่ม พูดกันคนละด้าน ฝ่ายหนึ่งหนุน ฝ่ายหนึ่งต้าน
กลเม็ดเด็ดพรายก็ต่างสรรหาหยิบจับมามัดใจแฟนคลับของแต่ละสี แต่ละเผ่าทั้งตัวยืนฝ่ายแดง อย่างคู่หูตู่-เต้น..บินไปขึ้นเวทียิ่งกว่า “สายัณห์ สัญญา” สมัยก่อน..อีกด้านหนึ่งก็ดุเด็ดไม่แพ้กัน..ทีมงานสายล่อฟ้าจากบลู สกาย “ศิริโชค, ชวนนท์ และเทพไท”..ทั้งรุ่นใหญ่อย่าง “เทพเทือก โอบามาร์ค” เนื้อหาก่อให้เกิดแนวความคิดในเชิงแตกแยกทั้งสิ้น จนยากจะมอง เห็นแนวทางจะปรองดองมองไปรอบบ้านผ่านเมืองใกล้เคียง ที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเราถึง 50 ปีอย่างพม่า..
พม่าหันหน้ากลับมาเช็กแฮนด์กันเฉยระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารกับฝ่าย ค้านอย่างพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี หรือแม้แต่การเจรจาตกลงกันกับชน กลุ่มน้อยมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลพม่าและนางอองซาน ซูจี สามารถหันหน้า เข้าหากัน และตกลงกันได้ คือผลประโยชน์ของประเทศ เช่นเรื่องการ เปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ค่อยสนใจให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุนจำนวนมาก เพราะเห็นว่า ปิดประเทศมานาน ถ้าจะเปิดให้มี การลงทุนจะต้องเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนมากกว่าเน้นปริมาณ หรือเม็ดเงิน ลงทุน
ประเทศพม่าในตอนนี้จึงเป็นประเทศกรณีศึกษาอีกประเทศหนึ่งที่น่า สนใจ และเรียนรู้เพราะเขากลับมามีแนวคิดในเชิงปรองดอง ซึ่งต่างจากเพื่อนบ้านที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งมังค่า อย่างสาระขันประเทศแต่หากวิเคราะห์ในเบื้องลึกก็จะเห็นเงื่อนไขของการปรองดองว่าหาใช่ง่ายดายอย่างที่คิด บาดแผลที่กรีดลึกลงในสังคมนานนับสิบปีจะประสานกันได้จะมีแผลเป็นหรือไม่ อาจไม่สำคัญเท่า ว่า แผลนั้นหายสนิทหรือเปล่า
“ชาญวิทย์ เกษตรศิริ” อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทรรศนะไว้ถึงเงื่อนไขเชิงกลไกทางการเมืองของการปรองดองในประเทศพม่าว่า “เราต้องไม่ลืมไปว่านางอองซาน ซูจี ปัจจุบันมีอายุ 67 ปี ขณะที่การเลือกตั้งของพม่าครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปี พ.ศ.2558 ซึ่งนางอองซาน ซูจีจะมีอายุ 70 ปี เข้าข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ พม่า อีกทั้งความต่างของคนหนุ่มสาวกับ คนอายุ 70-80 ปีทำให้เธอดูไม่ค่อยมีอนาคตเท่าใดนัก”
นอกจาก “อองซาน ซูจี” จะดิ้นรน แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเข้าข้างตนเอง และพวกพ้อง ว่าอายุ 70 ปีก็ยังเป็นประธานาธิบดี ได้ หรือการมีคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ ไม่ผิดรัฐธรรมนูญหากจะเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีใครทำกัน และนางก็คง ไม่เคยมีความคิดประเภทนั้น..!!!
จากประวัติซูจีไม่ได้มีแนวคิดทาง การเมืองแจ่มชัดมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยชาติกำเนิดที่เป็นลูกสาวนายพลอองซาน ประกอบกับช่วงที่กลับประเทศ เธอมาด้วยเหตุผลเพราะต้องการมาพยาบาลมารดาซึ่งป่วยหนัก จนกระทั่งได้เห็นสถานการณ์การเมืองในพม่าที่มีความ รุนแรง การสังหารนิสิตนักศึกษา เธอจึงลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการเรียกร้อง ลักษณะนี้เหมือนการตกกระไดพลอยโจน ไม่ใช่เจตนาหลักที่จะเข้ามาข้องเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งคล้ายกับนายกฯ ของประเทศไทยคนปัจจุบัน แต่แน่นอนว่ามีจุดต่างกันอยู่หลายอย่างทั้งที่มา และแรงผลักดันที่ดูต่างกันบ้าง
ในชั่วโมงนี้ที่ประเทศพม่ากำลังก้าวสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง การเปิดประเทศจำเป็นต้องมีความเป็นสากลมากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาคม โลก..ส่วนนี้อาจทำให้รัฐบาลทหารพม่าลดความเกรี้ยวกราดลง และมีความอดทนอดกลั้นในแนวคิดแบบที่คุ้นชินมาจากระบอบเผด็จการทหารมากขึ้น
ประเด็นสำคัญหลังจากนี้ คือนาง อองซาน ซูจีควรจะอยู่ในฐานะอะไรซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่ในตำแหน่งผู้นำประเทศแน่ เพราะอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า “รัฐธรรมนูญของพม่าได้กำหนดเงื่อนไขเรื่องคุณสมบัติผู้เป็นประธานาธิบดีไว้หลายเรื่อง เช่น ห้ามสมรสกับชาวต่างชาติอายุเกิน 70 ปี” ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวถือว่าปิดทางเข้าออกทั้งหมดในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารประเทศของนางอองซาน ซูจี อย่างเบ็ดเสร็จตามเกมที่ทหารวางไว้เรายังไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ นอนได้ว่าอนาคตของประเทศพม่าจะเป็นอย่างไร เหมือนกับที่เราเองก็ยังคิด ไม่ออกถึงแนวทางการปรองดองประประเทศไทย..แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะเรียนรู้ไว้ของประเทศพม่าในตอนนี้คือ เกมรุก เกมถอย ของฝ่ายต่างๆ ทาง การเมืองของพม่าซึ่งแม้ว่าลึกๆจะตั้งอยู่บนเหตุผลของอำนาจ หากแต่เงื่อนไขหลักที่น่าสนใจคือ..ผลประโยชน์ของประเทศ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เส้นทาง :อำนาจพิเศษ ชักใย มวลชนหลากสี’สู่สัญญาณ รัฐประหารเงียบ !!?
เมื่อแนวรบทางการเมืองสงบไปชั่วคราว ก็มีเวลาให้ “รัฐบาล” ได้พักหายใจหายคอ อย่างน้อยก็ชั่วระยะปิดสมัย ประชุมสภา 6 สัปดาห์ ก่อนจะรูดม่านกันใหม่ราวสิงหาคมนี้ ซึ่งแน่นอนว่า “อุณหภูมิ” การเมืองไทยจะกลับมาทะลุองศาเดือดอีกครั้ง!
ทว่า...ได้มีรายการคั่นเวลา ที่ว่ากันถึงโมเดลใหม่ “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นความต่อเนื่องจากปม “2 สตรีสูงศักดิ์” และ “บุรุษสักยันต์ห้าแถว” ที่กลายเป็นปริศนาเขย่าการเมืองไทยในพลันที่อดีตผู้จัดการ “เทพประทาน” ออกมาปูดข่าวว่า “ตัวละคร” ที่กล่าวมานี้ เข้ามารับหน้าที่ “ม้าใช้” ให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เพื่อส่งสารลับ สุดยอด! เปิดหมากกาวใจระหว่าง 2 พรรค การเมืองใหญ่ หวังให้ “ประชาธิปัตย์” หยุด-ละ-เลิก! เกมคัดค้านแก้รัฐธรรมนูญ “วาระ 3” และสงบศึกปรองเดือด แลกกับ การดึงเข้าร่วมรัฐบาล หรือร่วมกันเข็นโมเดล “รัฐบาลแห่งชาติ”
แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง จะยิ่งดูชัดเจนว่า เป็นการจงใจปล่อยข่าว มุ่งสาด กระสุนถล่มใส่ “คนเสื้อแดง” และรัฐนาวา “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ในเวลาเดียวกัน นั่นเพราะสิ่งที่ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ต้องการ สื่อ ย่อมมิใช่การเปิด “ตัวละคร” ในฐานะโซ่ข้อกลาง หากแต่เป็นการ “แบ่งแยก” ทัพเสื้อแดงกับ “เพื่อไทย” ให้ขาดออกจาก กัน นำมาซึ่งความเคลือบแคลงใจต่อกันอย่างที่สุด
เหนืออื่นใด ยังเป็นการบ่อนทำลาย ความสัมพันธ์ระหว่าง “แกนนำรัฐบาล” และพรรคร่วมฯ ก่อกำเนิดความขัดแย้ง-แตกคอกันเอง แต่จะบานปลายจนถึงขั้น “ย้ายขั้ว” เปลี่ยนสูตรตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น ประเด็นสำคัญคงอยู่ที่หมากกลของกลุ่มอำนาจพิเศษ! ซึ่งเคยสนับสนุนการรัฐประหาร และการเปลี่ยนแปลงแบบ “เฉพาะกิจ”
แม้ในทีแรก “คณะอำนาจ” กลุ่มนี้ยังเก็บเนื้อเก็บตัว เล่นมุกปรองดองไปตาม บท แต่เมื่อรัฐนาวากำลังรุกคืบเข้ามาใกล้ “กล่องดวงใจ” ไม่ว่าจะปมแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และโมเดลปรองดอง รวมทั้ง การที่มวลชนซีกรัฐบาล “หันคมดาบ” เข้าใส่คณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ “กลุ่มอำนาจพิเศษ” คิดเอาคืนทันควัน! และมีปฏิกิริยาผ่านเครือข่ายฯ มีการเปิดเกมโต้ตอบ ทั้งบนดิน-ใต้ดิน ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นระยะจวบจนล่าสุดได้มีการปูดกระแส “รัฐประหารเงียบ” และมีการเปิด “โมเดล งูเห่า” ภาคใหม่ ในมุ้งค่ายเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล สิ่งที่น่ากลัว...! และหลายคนกำลังหวาดวิตก นั่นคือการรัฐประหารเงียบที่มา จาก “อำนาจพิเศษ” ซึ่งเป็นไปในรูปของการ “เกี้ยเซียะ” กันทางการเมือง โดยมี “คนกลาง” มาจับขั้วให้เป็น “รัฐบาลแห่งชาติ” เหมือนเมื่อครั้งการตั้งรัฐบาลในค่ายทหารเมื่อปี 2551 ซึ่งแน่นอน หากดำเนิน หมากไปตาม “งูเห่าโมเดล” ของกลุ่มอำนาจพิเศษนี้ ย่อมทำให้เกิดอาการ “แข็งขืน” โดยเฉพาะกับคนเสื้อแดง ที่คงจะเปิดหน้าแลกหมัด เอากันให้ตายไปข้าง!!! เช่นที่เห็นและเป็นไป...! ข่าวการล้อมกรอบศาลรัฐธรรมนูญของ “กลุ่มคนเสื้อแดง” ที่ให้เหตุผลว่า...ศาลรัฐธรรมนูญถือเป็น “ศาลพิเศษ” และเป็น “อำนาจมืดนอกระบบ” โดยมีการระบุไว้ในชุดเอกสารและจดหมายเปิดผนึก ซึ่งได้มีข้อสังเกตอยู่มากว่า อำนาจพิเศษนี้ส่งผลหรือ มีประโยชน์อย่างไรต่อประเทศชาติ หรือเลวร้ายอย่างที่กลุ่มคนดังกล่าวตั้งโจทย์ไว้หรือไม่?!!
ด้าน ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล กูรูด้านรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ให้จำกัดความถึง “อำนาจพิเศษ” ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง...ว่าอำนาจเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ที่จะออกมาแสดงบทบาท เมื่อประชาชนยังขัดแย้งกันอยู่ อำนาจส่วนอื่นก็ออกมา “ละลาย” หรือก็คือกลุ่มความคิดทางการเมืองในสังคม อาทิ สถาบันผู้สูงศักดิ์ หรือ ผู้มีอิทธิพล ซึ่งในทางรัฐศาสตร์เรียกกันว่า “ชนชั้นนำแบบจารีต” ที่ยังมีคนให้ความนับถือ หรือให้ความสำคัญ และยังเชื่อว่า การเมืองในประเทศไทยต้องมีผู้ชี้นำ กระนั้นแล้ว เส้นทางของอำนาจพิเศษเหล่านี้ นอกเหนือจาก “สถาบันหลัก” คือตุลาการ-นิติบัญญัติ และกองทัพ ยังคง มีการขับเคลื่อนผ่าน “กลไกภาคประชาชน” ด้วยการทำให้หลายกลุ่มเชื่อถือ เห็นด้วยกับความคิด ซึ่งในปัจจุบันมีการ “ใช้” พลังมวลชนหลายกลุ่ม ทั้งคนเสื้อเหลือง และเสื้อหลากสี ตลอดจนเครือข่ายที่ออกมาเคลื่อนไหว อันเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนทางการเมือง สิ่งที่ปรากฏให้เห็น คือการต่อต้าน ไม่ยอมรับอำนาจของรัฐ ซึ่ง เท่ากับเป็นการ “ปฏิวัติเงียบ” เป็นอารยะขัดขืน และในที่สุดรัฐบาลก็ปกครองไม่ได้ บริหารไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นอย่างนั้น รัฐบาล ก็ไม่จัดการดูแล มีการแตกกลุ่มขยายความ คิดออกไปมากมาย และเท่าที่เห็นในขณะนี้ คือกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณ เป็นกลุ่มที่ต้องการ ขายไอเดีย สร้างเครือข่ายใหม่เพื่อใช้โค่น ล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และต่อต้านกลุ่ม เสื้อแดง “นปช.” และนั่นคือ มุมแห่งวิพากษ์ของกูรูรัฐศาสตร์ มสธ.ท่ามกลางกระแสข่าว “พลิกขั้ว-รัฐประหารเงียบ” ด้วยผลข้างเคียงในการผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันเป็นการ “ขยำกล่องดวงใจ” ของฝ่ายอำนาจนอกระบบ ตลอดจนการเดินหน้า “โมเดลปรองดอง” ซึ่งได้สร้างความขัดแย้งรอบใหม่ให้แก่สังคมไทย
มีความเป็นไปได้ว่า “รัฐบาล” อาจจะใช้ “ยาแรง” เพื่อระงับอาการเจ็บไข้ของสังคมไทย ทว่าหากไม่สามารถควบคุม ผลข้างเคียงได้แล้ว ก็ถือว่าสุ่มเสี่ยงเกินไป หากเลือกใช้ยาแรงขนานนี้ ยิ่งในยุคที่ “มวลชนกลุ่มใหญ่” และคณะอำมาตย์ ยังฝักใฝ่...เรียกร้อง “อำนาจพิเศษ” และยังมุ่งจะ “ผูกขาด” การกำหนด สถานการณ์บ้านเมืองอยู่เช่นนี้แล้ว แน่นอน ว่า “ความเสี่ยง” ที่จะถูกต่อต้านทั้งในและนอกระบบ ดูจะยิ่งบานปลายจนกลายเป็น สงครามการเมืองรอบใหม่...ในไม่ช้าไม่นาน?!!
ทั้งหมดทั้งปวง...ย่อมไม่มีทางลัดใด! ที่จะนำพาชาติบ้านเมืองให้เติบใหญ่-ก้าวไกลไปข้างหน้า นอกเสียจากการก้าว เดินอย่างมั่นคงตามกรอบกติกาประชาธิปไตย ทว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ “ยอมรับ” ในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ทว่า...ได้มีรายการคั่นเวลา ที่ว่ากันถึงโมเดลใหม่ “รัฐบาลแห่งชาติ” เป็นความต่อเนื่องจากปม “2 สตรีสูงศักดิ์” และ “บุรุษสักยันต์ห้าแถว” ที่กลายเป็นปริศนาเขย่าการเมืองไทยในพลันที่อดีตผู้จัดการ “เทพประทาน” ออกมาปูดข่าวว่า “ตัวละคร” ที่กล่าวมานี้ เข้ามารับหน้าที่ “ม้าใช้” ให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เพื่อส่งสารลับ สุดยอด! เปิดหมากกาวใจระหว่าง 2 พรรค การเมืองใหญ่ หวังให้ “ประชาธิปัตย์” หยุด-ละ-เลิก! เกมคัดค้านแก้รัฐธรรมนูญ “วาระ 3” และสงบศึกปรองเดือด แลกกับ การดึงเข้าร่วมรัฐบาล หรือร่วมกันเข็นโมเดล “รัฐบาลแห่งชาติ”
แต่หากมองในอีกแง่มุมหนึ่ง จะยิ่งดูชัดเจนว่า เป็นการจงใจปล่อยข่าว มุ่งสาด กระสุนถล่มใส่ “คนเสื้อแดง” และรัฐนาวา “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ในเวลาเดียวกัน นั่นเพราะสิ่งที่ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ต้องการ สื่อ ย่อมมิใช่การเปิด “ตัวละคร” ในฐานะโซ่ข้อกลาง หากแต่เป็นการ “แบ่งแยก” ทัพเสื้อแดงกับ “เพื่อไทย” ให้ขาดออกจาก กัน นำมาซึ่งความเคลือบแคลงใจต่อกันอย่างที่สุด
เหนืออื่นใด ยังเป็นการบ่อนทำลาย ความสัมพันธ์ระหว่าง “แกนนำรัฐบาล” และพรรคร่วมฯ ก่อกำเนิดความขัดแย้ง-แตกคอกันเอง แต่จะบานปลายจนถึงขั้น “ย้ายขั้ว” เปลี่ยนสูตรตั้งรัฐบาลหรือไม่นั้น ประเด็นสำคัญคงอยู่ที่หมากกลของกลุ่มอำนาจพิเศษ! ซึ่งเคยสนับสนุนการรัฐประหาร และการเปลี่ยนแปลงแบบ “เฉพาะกิจ”
แม้ในทีแรก “คณะอำนาจ” กลุ่มนี้ยังเก็บเนื้อเก็บตัว เล่นมุกปรองดองไปตาม บท แต่เมื่อรัฐนาวากำลังรุกคืบเข้ามาใกล้ “กล่องดวงใจ” ไม่ว่าจะปมแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และโมเดลปรองดอง รวมทั้ง การที่มวลชนซีกรัฐบาล “หันคมดาบ” เข้าใส่คณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ “กลุ่มอำนาจพิเศษ” คิดเอาคืนทันควัน! และมีปฏิกิริยาผ่านเครือข่ายฯ มีการเปิดเกมโต้ตอบ ทั้งบนดิน-ใต้ดิน ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นระยะจวบจนล่าสุดได้มีการปูดกระแส “รัฐประหารเงียบ” และมีการเปิด “โมเดล งูเห่า” ภาคใหม่ ในมุ้งค่ายเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล สิ่งที่น่ากลัว...! และหลายคนกำลังหวาดวิตก นั่นคือการรัฐประหารเงียบที่มา จาก “อำนาจพิเศษ” ซึ่งเป็นไปในรูปของการ “เกี้ยเซียะ” กันทางการเมือง โดยมี “คนกลาง” มาจับขั้วให้เป็น “รัฐบาลแห่งชาติ” เหมือนเมื่อครั้งการตั้งรัฐบาลในค่ายทหารเมื่อปี 2551 ซึ่งแน่นอน หากดำเนิน หมากไปตาม “งูเห่าโมเดล” ของกลุ่มอำนาจพิเศษนี้ ย่อมทำให้เกิดอาการ “แข็งขืน” โดยเฉพาะกับคนเสื้อแดง ที่คงจะเปิดหน้าแลกหมัด เอากันให้ตายไปข้าง!!! เช่นที่เห็นและเป็นไป...! ข่าวการล้อมกรอบศาลรัฐธรรมนูญของ “กลุ่มคนเสื้อแดง” ที่ให้เหตุผลว่า...ศาลรัฐธรรมนูญถือเป็น “ศาลพิเศษ” และเป็น “อำนาจมืดนอกระบบ” โดยมีการระบุไว้ในชุดเอกสารและจดหมายเปิดผนึก ซึ่งได้มีข้อสังเกตอยู่มากว่า อำนาจพิเศษนี้ส่งผลหรือ มีประโยชน์อย่างไรต่อประเทศชาติ หรือเลวร้ายอย่างที่กลุ่มคนดังกล่าวตั้งโจทย์ไว้หรือไม่?!!
ด้าน ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล กูรูด้านรัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ให้จำกัดความถึง “อำนาจพิเศษ” ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง...ว่าอำนาจเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ที่จะออกมาแสดงบทบาท เมื่อประชาชนยังขัดแย้งกันอยู่ อำนาจส่วนอื่นก็ออกมา “ละลาย” หรือก็คือกลุ่มความคิดทางการเมืองในสังคม อาทิ สถาบันผู้สูงศักดิ์ หรือ ผู้มีอิทธิพล ซึ่งในทางรัฐศาสตร์เรียกกันว่า “ชนชั้นนำแบบจารีต” ที่ยังมีคนให้ความนับถือ หรือให้ความสำคัญ และยังเชื่อว่า การเมืองในประเทศไทยต้องมีผู้ชี้นำ กระนั้นแล้ว เส้นทางของอำนาจพิเศษเหล่านี้ นอกเหนือจาก “สถาบันหลัก” คือตุลาการ-นิติบัญญัติ และกองทัพ ยังคง มีการขับเคลื่อนผ่าน “กลไกภาคประชาชน” ด้วยการทำให้หลายกลุ่มเชื่อถือ เห็นด้วยกับความคิด ซึ่งในปัจจุบันมีการ “ใช้” พลังมวลชนหลายกลุ่ม ทั้งคนเสื้อเหลือง และเสื้อหลากสี ตลอดจนเครือข่ายที่ออกมาเคลื่อนไหว อันเป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อขับเคลื่อนทางการเมือง สิ่งที่ปรากฏให้เห็น คือการต่อต้าน ไม่ยอมรับอำนาจของรัฐ ซึ่ง เท่ากับเป็นการ “ปฏิวัติเงียบ” เป็นอารยะขัดขืน และในที่สุดรัฐบาลก็ปกครองไม่ได้ บริหารไม่ได้ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นอย่างนั้น รัฐบาล ก็ไม่จัดการดูแล มีการแตกกลุ่มขยายความ คิดออกไปมากมาย และเท่าที่เห็นในขณะนี้ คือกลุ่มที่ไม่เอาทักษิณ เป็นกลุ่มที่ต้องการ ขายไอเดีย สร้างเครือข่ายใหม่เพื่อใช้โค่น ล้มรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และต่อต้านกลุ่ม เสื้อแดง “นปช.” และนั่นคือ มุมแห่งวิพากษ์ของกูรูรัฐศาสตร์ มสธ.ท่ามกลางกระแสข่าว “พลิกขั้ว-รัฐประหารเงียบ” ด้วยผลข้างเคียงในการผลักดันร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันเป็นการ “ขยำกล่องดวงใจ” ของฝ่ายอำนาจนอกระบบ ตลอดจนการเดินหน้า “โมเดลปรองดอง” ซึ่งได้สร้างความขัดแย้งรอบใหม่ให้แก่สังคมไทย
มีความเป็นไปได้ว่า “รัฐบาล” อาจจะใช้ “ยาแรง” เพื่อระงับอาการเจ็บไข้ของสังคมไทย ทว่าหากไม่สามารถควบคุม ผลข้างเคียงได้แล้ว ก็ถือว่าสุ่มเสี่ยงเกินไป หากเลือกใช้ยาแรงขนานนี้ ยิ่งในยุคที่ “มวลชนกลุ่มใหญ่” และคณะอำมาตย์ ยังฝักใฝ่...เรียกร้อง “อำนาจพิเศษ” และยังมุ่งจะ “ผูกขาด” การกำหนด สถานการณ์บ้านเมืองอยู่เช่นนี้แล้ว แน่นอน ว่า “ความเสี่ยง” ที่จะถูกต่อต้านทั้งในและนอกระบบ ดูจะยิ่งบานปลายจนกลายเป็น สงครามการเมืองรอบใหม่...ในไม่ช้าไม่นาน?!!
ทั้งหมดทั้งปวง...ย่อมไม่มีทางลัดใด! ที่จะนำพาชาติบ้านเมืองให้เติบใหญ่-ก้าวไกลไปข้างหน้า นอกเสียจากการก้าว เดินอย่างมั่นคงตามกรอบกติกาประชาธิปไตย ทว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ “ยอมรับ” ในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สนตะพาย รูจมูก !!?
ดึงประชาชน มาเป็นแก๊งค์ข้างถนน เพื่อล้มล้างประชาธิปไตยเต็มใบ เป็นสิ่งไม่ถูก
“นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารงานไม่เข้าตาชาวบ้านร้านตลาด ..เธอก็ถูกตะเพิดไล่
กฎกติกามารยาท กำหนดเทอม วาระการเป็น “นายกรัฐมนตรี” เอาไว้คอร์สละ ๔ ปี ..ฉะนั้น จงยอมรับกฎหมายสูงสุด ที่ “รัฐธรรมนูญ” ตรากันเอาไว้
เล่นไปล้างสมอง เพื่อพาคนมาตาย...เหมือนที่เคยประณาม “มหาห้าขัน” พล.ต.จำลอง ศรีเมือง..เวรกรรมต้องนี้ จะย้อนศรไปเล่นงาน พรรคกลิ้งกลอก
“จำลอง”มิได้พาคนไปตาย...แต่มันเป็นการไส้ไคล้..ป้ายสีจนแก้ข้อหานี้ไม่ออก
++++++++++++++++++++++++++++
สถานการณ์ร้อนปรอทแตก
เลวร้ายยิ่งกว่า “สงครามครั้งสุดท้าย” ...กลยุทธ์ทุกมุกทุกไม้ แผนใต้ดินมีตรงไหนบ้าง เขางัดมาเต็มแม็ก เพื่อทำให้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แหลก
เพราะเมื่อ “ศาลโลก” รับคดีสังหารฆ่าประชาชน ๙๘ ศพ เอาไว้เสร็จสรรพ
“ฆาตกรมือเปื้อนเลือด” ต้องใช้หนทางเลววิธีชั่ว เพื่อให้กลับมามีอำนาจอีกขอรับ
ขืนยอมสวัสดีภาพโดยดี เดินไปสู่ตะแลงแกลง ที่ “ศาลโลก” จะพิพากษา..ไม่วายต้องใช้เครื่องประหารสุนัข ตัดหัวเป็นร้อย ๆ ครั้ง
“ผู้นำที่บ้าอำนาจ”..สุดท้ายก็ขี้ขลาด?..ไม่เหลือความเป็นทรราชย์ เพราะเกรงศาลโลกสั่ง
++++++++++++++++++++++++
ผิดฝาผิดตัว
เฟสบุ๊ค มีแต่โอ็คของ“พานทองแท้ ชินวัตร”..ของแท้ที่เอา “ความจริง” มาแฉ จน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ต้องหดหัว
แต่ละเนื้อหา จัดมาแบบจัดหนัก จัดเต็ม ..เพื่อแฉตัวตน ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”ทั้งดุ้น
ใช้น้ำลายพิษน้ำปน ว่า “โอ็คเทียม” สร้างสรรค์ประดิษฐ์ถ้อยคำ จึงฟังไม่ขึ้น ดอกคุณ
ใครกันแน่ ที่เป็น “หุ่นยนต์” ให้เขาชักใยอยู่เบื้องหลัง..จนกลายเป็น “อดีตนายกรัฐมนตรี” ที่เหยียบลงพื้นที่ไหน คนก็ตามประจาน
เป็น “หุ่นยนต์”แท้ ๆ ...ถูกเขาชักใยจนแย่?..นี่ยังทะร่อทะแร่ ไม่กล้ารับอีกหรือนั่น
++++++++++++++++++++++++
อ้างส่งเดช
เมื่อ “ท่านอานันท์ ปันยารชุน” ไม่ยอมรับลูก เป็นพยานในศาลรัฐธรรมนูญ..เราจึงเห็นธาตุแท้ความทุเรศ
เพียงเพื่อที่จะเอาคน ที่สังคมชั้นสูงยอมรับ ว่าเป็นพยาน เพื่อโค่น “รัฐบาลปู”ให้บุบสลาย
เมื่อ “เจ้าตัว” สารภาพต่อคนทั้งประเทศ.. “ไม่รู้-ไม่ทราบ-ไม่เกี่ยว” และไม่รับนิมนต์ไปเป็นพยาน เพื่อโค่นล้มใคร
คิดจะใช้ภาพลักษณ์แห่งความอินเตอร์ ที่ทั่วโลกพากันยอมรับในตัว “ท่านอานันท์” เพื่อมาดับรัศมี นารีขี่ม้าขาว “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้กลายเป็นนายกฯ ที่ตกกระป๋องเสร็จสรรพ
คนสู้วางแผนเอาไว้หมด..แต่ก็สู้ฟ้ากำหนด...ไม่ยอมให้พวกโป้ปดทำลาย “นายกฯปู”หรอกครับ
++++++++++++++++++++++++++
ทางออกประเทศ
ต้องยอมรับว่า “พ่อใหญ่” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ทำอย่างสุดเดช
ท่านแนะทางออก ให้ตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อดับทุกข์ของชาติ ที่ก่อมรสุมไม่หยุด
ได้ “รัฐบาลสายกลาง” มี “คนกลาง” มาเป็น “นายกรัฐมนตรี” ถือเป็นทางออกของประเทศ ที่ดีที่สุด
จากนั้นค่อยให้ “พรรคการเมือง” ลงมามะรุมมะตุ้มเลือกตั้ง เพื่อชิงอำนาจการเป็น “นายกรัฐมนตรี”
ข่าวว่า “บิ๊กจิ๋ว” คนซื่อ...ก็แอบไปแตะมือ..เสร็จสรรพแล้วหรือ กับ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” เพื่อกลับมาลงเลือกตั้ง อีกที
โดย:คอมลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
“นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารงานไม่เข้าตาชาวบ้านร้านตลาด ..เธอก็ถูกตะเพิดไล่
กฎกติกามารยาท กำหนดเทอม วาระการเป็น “นายกรัฐมนตรี” เอาไว้คอร์สละ ๔ ปี ..ฉะนั้น จงยอมรับกฎหมายสูงสุด ที่ “รัฐธรรมนูญ” ตรากันเอาไว้
เล่นไปล้างสมอง เพื่อพาคนมาตาย...เหมือนที่เคยประณาม “มหาห้าขัน” พล.ต.จำลอง ศรีเมือง..เวรกรรมต้องนี้ จะย้อนศรไปเล่นงาน พรรคกลิ้งกลอก
“จำลอง”มิได้พาคนไปตาย...แต่มันเป็นการไส้ไคล้..ป้ายสีจนแก้ข้อหานี้ไม่ออก
++++++++++++++++++++++++++++
สถานการณ์ร้อนปรอทแตก
เลวร้ายยิ่งกว่า “สงครามครั้งสุดท้าย” ...กลยุทธ์ทุกมุกทุกไม้ แผนใต้ดินมีตรงไหนบ้าง เขางัดมาเต็มแม็ก เพื่อทำให้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แหลก
เพราะเมื่อ “ศาลโลก” รับคดีสังหารฆ่าประชาชน ๙๘ ศพ เอาไว้เสร็จสรรพ
“ฆาตกรมือเปื้อนเลือด” ต้องใช้หนทางเลววิธีชั่ว เพื่อให้กลับมามีอำนาจอีกขอรับ
ขืนยอมสวัสดีภาพโดยดี เดินไปสู่ตะแลงแกลง ที่ “ศาลโลก” จะพิพากษา..ไม่วายต้องใช้เครื่องประหารสุนัข ตัดหัวเป็นร้อย ๆ ครั้ง
“ผู้นำที่บ้าอำนาจ”..สุดท้ายก็ขี้ขลาด?..ไม่เหลือความเป็นทรราชย์ เพราะเกรงศาลโลกสั่ง
++++++++++++++++++++++++
ผิดฝาผิดตัว
เฟสบุ๊ค มีแต่โอ็คของ“พานทองแท้ ชินวัตร”..ของแท้ที่เอา “ความจริง” มาแฉ จน “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ต้องหดหัว
แต่ละเนื้อหา จัดมาแบบจัดหนัก จัดเต็ม ..เพื่อแฉตัวตน ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”ทั้งดุ้น
ใช้น้ำลายพิษน้ำปน ว่า “โอ็คเทียม” สร้างสรรค์ประดิษฐ์ถ้อยคำ จึงฟังไม่ขึ้น ดอกคุณ
ใครกันแน่ ที่เป็น “หุ่นยนต์” ให้เขาชักใยอยู่เบื้องหลัง..จนกลายเป็น “อดีตนายกรัฐมนตรี” ที่เหยียบลงพื้นที่ไหน คนก็ตามประจาน
เป็น “หุ่นยนต์”แท้ ๆ ...ถูกเขาชักใยจนแย่?..นี่ยังทะร่อทะแร่ ไม่กล้ารับอีกหรือนั่น
++++++++++++++++++++++++
อ้างส่งเดช
เมื่อ “ท่านอานันท์ ปันยารชุน” ไม่ยอมรับลูก เป็นพยานในศาลรัฐธรรมนูญ..เราจึงเห็นธาตุแท้ความทุเรศ
เพียงเพื่อที่จะเอาคน ที่สังคมชั้นสูงยอมรับ ว่าเป็นพยาน เพื่อโค่น “รัฐบาลปู”ให้บุบสลาย
เมื่อ “เจ้าตัว” สารภาพต่อคนทั้งประเทศ.. “ไม่รู้-ไม่ทราบ-ไม่เกี่ยว” และไม่รับนิมนต์ไปเป็นพยาน เพื่อโค่นล้มใคร
คิดจะใช้ภาพลักษณ์แห่งความอินเตอร์ ที่ทั่วโลกพากันยอมรับในตัว “ท่านอานันท์” เพื่อมาดับรัศมี นารีขี่ม้าขาว “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้กลายเป็นนายกฯ ที่ตกกระป๋องเสร็จสรรพ
คนสู้วางแผนเอาไว้หมด..แต่ก็สู้ฟ้ากำหนด...ไม่ยอมให้พวกโป้ปดทำลาย “นายกฯปู”หรอกครับ
++++++++++++++++++++++++++
ทางออกประเทศ
ต้องยอมรับว่า “พ่อใหญ่” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ทำอย่างสุดเดช
ท่านแนะทางออก ให้ตั้ง “รัฐบาลแห่งชาติ” เพื่อดับทุกข์ของชาติ ที่ก่อมรสุมไม่หยุด
ได้ “รัฐบาลสายกลาง” มี “คนกลาง” มาเป็น “นายกรัฐมนตรี” ถือเป็นทางออกของประเทศ ที่ดีที่สุด
จากนั้นค่อยให้ “พรรคการเมือง” ลงมามะรุมมะตุ้มเลือกตั้ง เพื่อชิงอำนาจการเป็น “นายกรัฐมนตรี”
ข่าวว่า “บิ๊กจิ๋ว” คนซื่อ...ก็แอบไปแตะมือ..เสร็จสรรพแล้วหรือ กับ “คุณพี่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” เพื่อกลับมาลงเลือกตั้ง อีกที
โดย:คอมลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)