บรรยากาศแห่งความปรองดองซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญยังไม่เกิดขึ้นในสังคม และเชื่อว่าการใช้เสียงข้างมากในการกำหนดแนวทางสร้างความปรอง ดองจะเป็นเพียงการสร้าง “ความ ยุติธรรมของผู้ชนะ” เท่านั้น ซึ่งรายงานวิจัยได้ระบุว่าการยึด ถือเสียงข้างมากโดยละเลยความเห็นที่แตกต่างนั้นถือเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงรอบใหม่ได้อีกในอนาคต อันขัดกับเจตนารมณ์ของคณะผู้วิจัยอย่างชัดเจน”
แถลงการณ์ตอนหนึ่งของคณะผู้วิจัยโครงการศึกษาเพื่อการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบัน พระปกเกล้า ที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาร ณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภา ผู้แทนราษฎร ซึ่งมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ เป็นประธาน หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาคัดค้านแบบหัวชนฝาไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะวิจัย และเรียกร้องให้ถอนรายงานวิจัย นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังลาออกจากการเป็นกรรมาธิการด้วย
กลัวจนขี้ขึ้นสมอง
ทั้งที่ก่อนหน้านี้คณะวิจัยยืนยันหนักแน่นว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในรายงาน เพราะทำงานอย่างตรงไปตรงมาและบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้เลือกข้างหรือมุ่งช่วยเหลือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่การออกมาแถลงล่าสุดของคณะวิจัยไม่ให้คณะกรรมาธิการใช้เสียงข้างมากเรื่องการปรองดองนั้นไม่เพียงไม่แสดงบทบาทของการเป็น “นักวิชาเกิน” แล้ว ยังถูกมองว่าเพี้ยนและเลอะเทอะอีกด้วย
เพราะผลการศึกษาวิจัยที่เป็นวิชาการแม้จะออกมาอย่างไรก็ไม่มีใครสามารถนำไปบิดเบือนได้ แม้ แต่การอภิปรายในสภาก็ต้องมีการแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ในที่สุดต้องได้ข้อยุติตามกระบวนการในสภา ซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายนิติ บัญญัติที่เป็นตัวแทนของประชาชน คณะวิจัยจึงไม่จำเป็นต้องออกอาการชักเข้าชักออกหรือหวั่นไหวต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์จน “สั่นเป็นลูกนก” หรือ “กลัวจนขี้ขึ้นสมอง” นอกจากคณะวิจัยจะมีพฤติกรรมหมกเม็ด ซ่อนเร้น หรือไม่บริสุทธิ์ใจ
ขณะที่นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการบรรจุวาระ พิจารณาผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการต่อที่ประ ชุมร่วมรัฐสภาเพื่อรายงานให้รัฐสภาทราบว่าทำงานเสร็จแล้ว ถ้าจะนำเข้าพิจารณาในสมัยประชุมนี้ได้ เมื่อ ปิดสมัยประชุม ส.ส. จะได้นำเรื่องนี้ไปทำความเข้าใจกับประชาชนในการลงพื้นที่ แต่ถ้าฝ่ายค้านเห็นว่าเป็น การเร่งรัดพิจารณาเกินไปก็มีสิทธิมองได้ ส่วนที่กังวลว่าจะนำไปสู่การนิรโทษกรรมเป็นการจินตนาการเกินไป เพราะการจะนิรโทษกรรมได้ต้องมีความเห็นของทุกฝ่าย และต้องออกเป็นกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นไม่ได้ง่ายๆ
ขี้ลืมหรือวิกลจริต
ที่สำคัญหากย้อนกลับไปครั้งนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายว่าการแก้ปัญหาความแตกแยกเป็นเรื่องเร่งด่วน ทั้งหลังเหตุการณ์เมษาเลือด 2552 สังคมได้เรียกร้องเรื่องการปรองดองและปฏิรูปการเมือง รัฐสภาขณะนั้นได้ตั้งคณะทำงานที่มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี เป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หลังจากเกิดเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิตที่เข่นฆ่าประชาชนไปเกือบร้อยและบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 รายนั้น นายอภิสิทธิ์ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้นำข้อเสนอของ คอป. ไปปฏิบัติเลย ทั้งที่การศึกษาทุกคณะ ความเห็นของกลุ่มผู้มีอำนาจ นักธุรกิจ นักวิชาการ และประชาชน ต้องการให้แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เพื่อให้ทุกฝ่ายกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ซึ่งสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยประกาศคำสั่งนโยบาย 66/23 เพื่อนิรโทษกรรมให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) และแนวร่วม นอกจากนี้ยังมีการ จ่ายเงินชดเชยเยียวยาแก่ ผกค. รายละ 200,000 บาท ตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และจ่ายเงินงวดสุดท้ายก่อนเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์กลับคัดค้านรายงานของสถาบันพระปกเกล้าหัวชนฝา และ ยังโจมตีแม้แต่ พล.อ.สนธิว่ามีอะไรซ่อนเร้นกับ พ.ต.ท. ทักษิณหรือไม่ รวมทั้งโจมตีการใช้เสียงข้างมากในสภา ทั้งที่นายอภิสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นเสียงข้างน้อย แต่มีเสียงจาก “งูเห่า” จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้นั้น นายอภิสิทธิ์ก็ถูกประณาม ว่าเป็นรัฐบาลไฮแจ๊คที่ตั้งกันในค่ายทหาร แต่ก็อ้างทุกครั้งว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องเพราะเสียงข้างมากในสภา
พูดเอาแต่ได้กับดีแต่พูด?
นายอภิสิทธิ์โจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าพูดเอาแต่ได้และทำสังคมสับสน รวมทั้งโจมตีทุกคน ทุกฝ่ายที่เห็นว่าจะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ หรือ ได้ต่อสู้คดีที่ถูกกล่าวหาใหม่ตามกระบวนการยุติธรรม ปรกติ ซึ่งมีหลายฝ่ายคั้งคำถามกับนายอภิสิทธิ์เช่นกันว่าการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และ การตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพื่อตั้งธงยัดเยียดความผิดและกำจัดคนคนเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณนั้นเป็นกระบวน การยุติธรรมที่ประชาคมโลกต่างก็ประณาม แต่นายอภิสิทธิ์คัดค้านไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกคดีและข้อกล่าว หาทั้งหมดของ คตส. เท่ากับว่านายอภิสิทธิ์และพรรค ประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับอำนาจรัฏฐาธิปัตย์นั่นเอง
นายอภิสิทธิ์จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกันว่าดีแต่พูด หรือเมาอู้แล้วยัง “เอาดีใส่ดี เอาชั่วใส่ผู้อื่น” ทั้งถูกประณามว่าเป็น “รัฐบาลมือเปื้อนเลือด” ที่ถูกจารึกไปชั่วลูกชั่วหลานจากการเข่นฆ่าประชาชนเกือบ ร้อย นอกจากนี้ยังถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” และ “ล้มเจ้า” จากผังกำมะลออีก แม้นายอภิสิทธิ์จะประกาศพร้อมต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมก็เพราะมี พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินคุ้ม ครอง ไม่ใช่การพิจารณาตามกระบวนการศาลยุติธรรม ปรกติ หรือศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลนี้สามารถให้สัตยาบันได้ทันที เพื่อไม่ให้มีการทำรัฐประ หารและใช้กำลังเข่นฆ่าประชาชนเหมือนที่ผ่านมาอีก เพราะหากศาลไทยไม่สามารถพิจารณาคดีเพื่อเอาผิดได้ แต่ก็ยังมีศาลโลกที่จะเอาผิดได้
“บิ๊กจิ๋ว” สอน “อภิสิทธิ์”
อย่างจดหมายเปิดผนึกของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ที่ตอบโต้นายอภิสิทธิ์ที่ไม่เห็นด้วยกับการสร้างความปรองดองแห่งชาติขณะนี้ โดยอ้างถึงการใช้นโยบาย 66/23 ที่ทำได้สำเร็จเพราะเริ่มต้นจากการยุติสงครามกลาง เมืองก่อนแล้วจึงสร้างประชาธิปไตยระดับสูง คือการยกเลิกระบอบเผด็จการทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภาหรือเผด็จการรัฐประหาร
พล.อ.ชวลิตยืนยันว่าการแก้ปัญหาวิกฤตต้องแก้ ด้วยการเมือง ไม่ใช่มาตรการกฎหมายหรือศาล หรือใช้กำลังปราบปราม การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่าจะเป็นการล้มล้างอำนาจตุลาการและทำลายระบบยุติธรรมนั้น ความจริงก็เหมือนการใช้นโยบาย 66/23 ซึ่งช่วยให้อำนาจตุลาการยุติธรรมยิ่งขึ้น ไม่ใช่นำปัญหาการเมืองไปให้ศาลแก้ ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายศาล และไม่มีทางสำเร็จ มีแต่จะเกิดปัญหามากขึ้น โดยเฉพาะการบิดเบือนระบบยุติธรรมอย่างการตั้ง คตส. ที่ผิดมาตั้งแต่ต้นแล้ว
“การนิรโทษกรรมปัญหาการเมืองคือการช่วยศาล เป็นการสร้างประชาธิปไตย ทำให้คนไทยทุกคน ทั้งผู้เสียหายและผู้ถูกกระทำได้รับประโยชน์ร่วมกันสูงสุด คือเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อำนาจรัฐชนิดสูงสุด บุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้ได้รับการนิรโทษกรรมคือทุกคน ทุกฝ่าย ไม่ต้องระบุชื่อ นามสกุล เป็นการเลิกต่อกัน จบต่อกัน เป็นการนิรโทษกรรมแบบบูรณาการอย่างปราศจากเงื่อนไข ยุติความแตกแยก สร้างความปรองดองแห่งชาติได้อย่างแท้จริง และยังเป็นการเปลี่ยนสถานการณ์เก่าเป็นสถานการณ์ใหม่ จะไม่มีปัญหาแบบเดิมอีกต่อไป ซึ่งรายงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าล้วนมีเจตนาดีต่อประเทศ”
คมช. ภาค 2?
ท่ามกลางความขัดแย้งเรื่องการปรองดองก็มีกระแสข่าวการรัฐประหารออกมาอีกครั้งเมื่อ พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและอดีตรองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (รอง ผอ.กอ.รมน.) ระบุว่า ยังมีความพยายามจากกลุ่มเดิมที่สุขุมวิทจะให้มีรัฐประหาร หรือ “คมช. ภาค 2” เพื่อล้มรัฐบาลเพื่อไทย พยายามล้มรัฐบาลด้วยวิธีการเดิมๆ คือใช้องค์กรอิสระหรือตุลาการภิวัฒน์ที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ยุบพรรคการเมืองและล้มรัฐบาลได้ แต่ถ้าไม่สำเร็จก็ต้องให้ทหารปฏิวัติ
พล.อ.พัลลภจึงกล่าวถึง 3 เงื่อนไขที่ทำให้มีข้ออ้างทำรัฐประหารได้คือ 1.เรื่องสถาบัน 2.การทุจริตคอร์ รัปชัน และ 3.ความแตกแยกรุนแรง ถ้าไม่มี 3 เงื่อนไข ก็ไม่มีรัฐประหาร ขณะเดียวกัน พล.อ.พัลลภกล่าวตำหนิ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติ ไทยพัฒนา ที่ให้ พล.อ.สนธิเปิดเผยว่าใครคือผู้อยู่เบื้อง หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ว่าเป็นประเด็นเก่า แต่ไม่รู้ว่าทำไม พล.ต.สนั่นจึงหยิบยกประเด็น นี้ขึ้นมาพูดในช่วงที่กำลังเข้าสู่กระบวนการปรองดอง
สนธิ-สนั่น-ป๋า?
อย่างไรก็ตาม คำตอบของ พล.อ.สนธิที่ว่า “คำถามบางประการตายแล้วก็ตอบไม่ได้” นั้นแม้ พล.ต.สนั่นจะไม่ติดใจและให้เหตุผลที่ถาม พล.อ.สนธิว่าเพราะต้องการยุติความขัดแย้งทางการเมืองที่วุ่นวายจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ นายทหารใกล้ชิด พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ นายทหารคนสนิทของ พล.อ.เปรมก็ยอมรับว่าได้รับมอบหมายจาก พล.อ.มงคลให้โทรศัพท์ไปหา พล.อ.สนธิประมาณปีกว่าๆหลังรัฐประหาร เพราะ พล.อ.เปรมรู้สึกไม่สบายใจที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าอยู่เบื้องหลัง แต่ พล.อ.สนธิก็ไม่พูด
แต่ล่าสุด พล.ต.สนั่นก็เห็นด้วยที่สถาบันพระปกเกล้าจะถอนรายงานวิจัยหากยังไม่สมบูรณ์และยังมีความขัดแย้งกันสูง ทั้งอยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณใจเย็น ถ้ากลับก็ควรกลับมาอย่างเท่และสง่างาม ซึ่งคนเสื้อแดงเองก็ออกมาเรียกร้องให้สถาบันพระปกเกล้าถอนรายงานวิจัย เพื่อให้มีการค้นหาความจริงเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงกว่า 5 ปีให้ได้ก่อน โดยเฉพาะเหตุการณ์เมษา-พฤษภาอำมหิต
“ป๋า” สัญลักษณ์อำมาตยาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พล.อ.พัลลภเป็นผู้ออกมาเปิดเผยเองว่าเคยร่วมประชุมก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่บ้านนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ที่สุขุมวิท ซึ่งมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการที่นำเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์มาโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดขณะนั้น นายจรัญ ภักดีธนากุล และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกาขณะนั้น ร่วมอยู่ด้วย โดยมีการประชุมกัน 3-4 ครั้ง และพูดคุยถึงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณว่าจะให้รัฐบาลล้มไปอย่างไร โดยมี 2 แนวทางคือ ทางรัฐธรรมนูญหรือทางกฎหมาย ถ้าแนวทางแรกไม่สำเร็จก็ต้องทำรัฐประหาร
ต่อมานายปีย์ยอมรับว่ามีการเชิญบุคคลดังกล่าว มาที่บ้าน แต่ยืนยันว่าไม่มีการพูดเรื่องรัฐประหาร หรือโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นการเชิญคนที่สนิทสนมและเพื่อนมารับประทานอาหารที่บ้านเพื่อพูดคุยถึงปัญหาบ้านเมือง ซึ่งทำเป็นปรกติอยู่แล้ว
แต่นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ให้สัมภาษณ์นิตยสาร IMAGE ฉบับเดือนธันวาคม 2549 ระบุว่า พล.อ.เปรมเป็นสัญลักษณ์ของระบอบอำมาตยาธิปไตย และระบอบนี้ก็ไม่ได้หายไปจากสังคมไทย แม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ก็ตาม ซึ่งดูได้จากบทบาทของ พล.อ.เปรม
“เราอาจจะพูดว่าระบอบศักดินายืมพลังจากประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณหรือทุนใหม่ก็เป็นไปได้ แต่ผมคิดว่า พล.อ.เปรมไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของการคงอยู่ ของระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ไม่ได้หมายความว่าไม่มี พล.อ.เปรมแล้วระบอบประชาธิปไตยจะเต็มใบ แต่ เป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายอำนาจนิยมหรือระบอบอำมาต ยาธิปไตยที่ยังมีพื้นที่แน่นอนในสังคมการเมืองไทย...วันนี้ก็เห็นโดยพฤตินัยได้อย่างชัดเจนว่า พล.อ.เปรมใช้อำนาจนั้นผ่าน คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ท่านนั่งบัญชาการอยู่ที่บ้านสี่เสาฯ และไม่มีใครคิดว่าท่านจะกล้าทำ หรือไม่มีใครคิดตอนที่นั่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ว่าการรัฐประหารครั้งนี้องคมนตรีจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือเปิดเผยขนาดนี้”
คำพูดของนายสุริยะใสแม้จะผ่านมาแล้วหลายปี ขณะที่ พล.อ.เปรมก็เคยตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ให้ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติรัฐประหารว่า “ผู้สื่อข่าวน่าจะรู้ดีว่าผมไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง ต้องรู้อย่างนั้น ผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองและเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการเมือง”
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 พล.อ. เปรมยังกล่าวกับคณะนักเรียนเก่าวชิราวุธและนัก เรียนเก่าสงขลาที่เข้าพบเพื่อให้กำลังใจที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ หลังจากถูก พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร 19 กันยายนว่า ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ได้นำนายทหารผู้นำคณะมนตรีความมั่น คงแห่งชาติ (คมช.) เข้าเฝ้าฯ แต่ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าฯ เวลาประมาณ 21.00 น. ก่อนหน้า พล.อ.สนธิจะนำผู้นำเหล่าทัพเข้าเฝ้าฯประมาณ 20 นาที เพราะในฐานะประธานองคมนตรีเมื่อทราบว่าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปรกติของบ้านเมืองจะต้องเข้าไปถวายการรับใช้อยู่แล้ว จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับ คมช.
นอนตายตาสว่าง
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าฝ่ายทักษิณหรือกลุ่มเกลียดทักษิณต่างเชื่อว่าการปรองดองยากจะเกิดขึ้นตราบใดที่แต่ละฝ่ายยังก้าวไม่ข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ หรือยังให้ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นศูนย์กลางของปัญหาทั้งหมด แม้แต่นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ออกมาแถลงว่า การปรองดองจะเกิดไม่ได้ถ้าขาดหลักนิติธรรมและความยุติธรรม ถ้าทุกฝ่ายมีความจริงใจในการปรองดอง รวมถึงต้องทำความจริงให้ปรากฏ โดยเฉพาะประชาชนที่ถูกฆ่าตายนับร้อย
นางธิดายังติงรายงานการวิจัยของสถาบันพระปก เกล้าที่วิจัยรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งไม่ถูกต้อง ที่ระบุว่าเกิดจากประชาชนเสียงข้างมาก ถ้าเช่นนั้นบ้าน เมืองก็อยู่ไม่ได้ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่มีคุณธรรม ซึ่งสวนทางกับแนวทางการสร้างความปรองดอง และเห็นด้วย หากสถาบันพระปกเกล้าจะถอนรายงานวิจัยกลับไป
ขณะที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนวิเคราะห์ บทสัมภาษณ์นายนพดล ปัทมะ ทนายความส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคลิปโฟนอินของ พ.ต.ท.ทัก ษิณกับคนเสื้อแดงเมื่อวันเสาร์ที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ต้อง “อ่านระหว่างบรรทัด” หรือดูที่นัยที่ไม่ได้พูดออกมาตรงๆ ที่ตนสรุปรวบยอด “วิธีคิด” เรื่อง “ยุทธ ศาสตร์ปรองดอง” ของ พ.ต.ท.ทักษิณได้ชัดเจนมากๆคือ ทำอย่างไรที่จะให้เกิด “ความไว้วางใจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือคนที่มีอำนาจในสังคม”
เพราะไม่มีการแตะต้องแม้แต่มาตรา 112 เรื่องการ โยกย้ายทหาร หรือกรณีนักโทษ 112 หรือนักโทษเสื้อแดง ธรรมดาๆที่ไม่ไป “ก้าวก่าย” อำนาจศาลเรื่องประกัน
“ถึงที่สุดแล้วสิ่งที่มวลชนคนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยควรตั้งคำถามกับคุณทักษิณ และ นปช. กับเพื่อไทยคือ “ยุทธศาสตร์” หรือ “วิธีคิด” นี้มีจุดเริ่มต้นมาจากอะไร? จากเอาคุณทักษิณกลับบ้านเป็นอันดับหนึ่ง (priority) หรือจากการพยายามช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่เดือดร้อนอยู่เป็นอันดับหนึ่ง”
นายสมศักดิ์ยังระบุการโฟนอิน 2 ครั้งของ พ.ต.ท. ทักษิณที่ว่า “ผมเป็นผู้ที่ถูกกระทบเยอะที่สุด” ซึ่งพยา ยามชวนให้คนที่ยังติดใจ คับแค้นใจต่อความยุติธรรมยอม “กลืนเลือด” ให้อภัยเหมือนที่ พ.ต.ท.ทักษิณเอง “ถูกกระทำเยอะที่สุด” ยังสามารถ “ให้อภัย” ได้ ซึ่งนายสมศักดิ์เคยเขียนไปหลายครั้งแล้วว่าวิธีคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง เพราะคนที่เดือดร้อนที่สุดจริงๆในขณะนี้คือ คนที่ติดคุกและญาติมิตรของคนที่ตายไป
นายสมศักดิ์จึงสรุปว่า ยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยคือต้องทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับให้ได้ก่อน เรื่องอื่นๆค่อยว่ากันทีหลัง ทั้งที่รัฐบาลมี priority (จัด ความสำคัญ) ที่จะช่วยคนเสื้อแดงที่ติดคุกจากเหตุการณ์ความรุนแรงและคดีมาตรา 112 ได้ ซึ่งไม่ต่างกับที่ พล.ต.สนั่นถาม พล.อ.สนธิแล้วตอบเอง ทั้งที่ พล.อ.สนธิไม่ตอบว่า “ใครอยู่เบื้องหลังรัฐประหาร” แต่ให้ไปรออ่านหนังสือเบื้องหลังรัฐประหารที่จะพิมพ์แจกในงานศพที่ทำไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง พล.ต.สนั่นเองก็ต้องตอบด้วยว่า “ใครสั่งให้มาถาม”?
แทนที่จะค้นหา “ความจริง” ประชาชนที่ถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยมเลือดเย็นไปเกือบร้อยศพเพื่อเอาคนผิดมาลงโทษ และ เริ่มต้นสู่การปรองดอง เพราะวันนี้ไม่ ใช่แค่ “คนตายยังนอนตาไม่หลับ” เท่า นั้น แต่คนเหล่านั้นเขากำลัง “นอนตาย ตาสว่าง” กันอยู่!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555
ทบทวน 10 ปี นโยบายอาสาสมัครในประเทศไทย มืออาชีพ หรือสมัครเล่น !!?
งานอาสาสมัครนั้นอยู่ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน มีหลักฐานที่พอจะอ้างอิงได้ย้อนหลังก็คือเมื่อครั้งต้นทศวรรษ 2510 อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ได้จัดตั้งสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยหวังว่านักศึกษาจะได้เข้าใจวิถีชีวิตของคนในชนบท ร่วมพัฒนาและทำความเข้าใจกับสังคมไทยให้มากกว่าในรั้วมหาวิทยาลัย
แต่งานอาสาสมัครไทยได้การรับรองอย่างเป็นทางการในปี 2544 โดยคณะรัฐมนตรีของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรลงนามในนาม”ปฏิญญาอาสาสมัครไทย” โดยมีจุดมุ่งหมายสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทงานอาสาสมัครในทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ โดยจัดให้มีอบรมอาสาสมัครในระดับภูมิภาคต่างๆและศูนย์อาสาสมัคร งานอาสาสมัครส่วนใหญ่จะถูกถ่ายโอนไปอยู่ในอำนาจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และในปี2547 ได้มีการบรรจุให้การมี”จิตสาธารณะ”เป็นส่วนหนึ่งของร่างมาตรฐานการศึกษาของชาติ และในปีเดียวกันเกิดเหตุการณ์สึนามิเราได้เห็นพลังของอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลกที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ประสบภัย
ต่อมาในปี 2550 รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติประกาศให้ปีดังกล่าวเป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม และผลักดันอาสาสมัครเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการกำหนดว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐสามารถลาไปทำงานอาสาสมัครได้ปีละ 5 วันโดยไม่คิดวันลา ความสำเร็จในครั้งนั้นเกิดจากการผลักดันของ นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในระดับมหภาคเรื่องของงานอาสาสมัครถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่ใช้ในปี 2550 – 2554 โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้มีจิตใจดีงาม อยู่ในกรอบของศีลธรรมและมีจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งถูกนำไปบูรณาการในการดำเนินนโยบายต่างๆ
หากมองในเชิงโครงสร้างนโยบายโดยรวมอาจจะฟังดูดี แต่ในเชิงปฏิบัติจริงยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง ด้วยกรอบความคิดแบบไทยๆในบางครั้งเราก็จะยึดติดกับเรื่องของการทำความดี โดยคิดว่าอาสาสมัครนั้นเป็นการทำดี หรือการเป็นผู้ให้ที่มีความรู้สึกว่าเหนือกว่าผู้รับ ซึ่งในต่างประเทศจะเรียกพวกคนเหล่านี้ว่า “philanthropist” หรือ ผู้อุทิศให้ ไม่ใช่อาสาสมัคร หรือ volunteer ที่จะเป็นผู้ที่น้อมตัวให้ต่ำแล้วทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่ได้คาดหวังสิ่งตอบแทนเป็นเบื้องต้น
ประเทศไทยเราก็มีวันอาสาสมัคร คือวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น”วันอาสาสมัครไทย” ซึ่งตั้งขึ้นในวาระวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ส่วนวันที่ 5 ธันวาคมนั้นถือว่าเป็น “วันอาสาสมัครโลก” ซึ่งบังเอิญตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชด้วย เมื่อปี 2554 เพิ่งมีการเฉลิมฉลอง 10ปีปฏิญญาอาสาสมัครสากลขององค์การสหประชาชาติไปซึ่งตรงกับช่วงที่ประสบอุทกภัยใหญ่พอดี
หลายๆคนอาจคิดว่างานอาสาสมัครนั้นจะร่วมมือกันได้จะต้องเกิดปัญหาใหญ่เสียก่อนทั้งวิกฤตการเมืองหรือภัยธรรมชาติ จริงๆแล้ในต่างประเทศอาสาสมัครในเวลาปรกตินั้นมีจำนวนมาก ประเทศเกาหลีใต้มีศูนย์อาสาสมัครอยู่ในทุกเมือง ให้ความช่วยเรือตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือช่วยขนของย้ายบ้าน ประเทศไต้หวันแฟชั่นของวัยรุ่นที่นั่นก็คือการออกทำงานอาสาสมัคร และในบางประเทศงานอาสาสมัครถูกคิดคำนวนเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพี

อุปสรรคในประเทศไทยนอกจากปัญหาเชิงทัศนคติที่คิดว่างานอาสาสมัครเป็นแค่การทำดีต่อผู้ด้อยกว่าแล้ว กลไกของรัฐบาลบางอย่างก็ไม่อำนวยต่อการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเช่น การลาให้ข้าราชการไปทำงานอาสาสมัครได้นั้น ในความเป็นจริงหลายๆองค์กรก็ไม่ให้ลา แต่ในทางตรงกันข้ามเมื่อหัวหน้างานลาพวกข้าราชการชั้นผู้น้อยก็ลากันตามไปเป็นพรวนๆ หรือการนิยามองค์กรสาธารณะประโยชน์หรือองค์กรอาสาสมัครของรัฐนั้นเน้นไปที่หน่วยงานภายใต้สังกัดของรัฐบาลหรือที่ถูกขึ้นทะเบียนโดยรัฐบาลเท่านั้น ทั้งที่งานอาสาสมัครส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะเน้นกลไกที่มาจากภาคประชาชน หลายครั้งหน่วยงานรัฐที่ต้องมารับผิดชอบดังกล่าวและมีงบประมาณที่ชัดเจนก็เกิดการทุจริตเสียเองและกีดกันการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ยกตัวอย่างเช่น ในสองรัฐบาลที่ผ่านมาเกิดปัญหาเมื่อ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สังกัดกระทรวงมหาดไทยเกิดการทุจริตงบถุงยังชีพในช่วงน้ำท่วม
ได้เวลาที่ต้องฝากโจทย์ไปยังภาครัฐว่าจะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมกลไกอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นนโยบายเฉพาะกิจหรือไปสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงต่างๆที่มีกลไกค่อนข้างแข็งตัวแทนที่จะกระจายทรัพยากรออกไปยังภาคส่วนต่างๆรวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่เช่นนั้นเมื่อยามภัยมางานอาสาสมัครก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่อยู่เสมอๆ
ที่มา:Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แต่งานอาสาสมัครไทยได้การรับรองอย่างเป็นทางการในปี 2544 โดยคณะรัฐมนตรีของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรลงนามในนาม”ปฏิญญาอาสาสมัครไทย” โดยมีจุดมุ่งหมายสร้างความเข้มแข็งให้กับบทบาทงานอาสาสมัครในทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ โดยจัดให้มีอบรมอาสาสมัครในระดับภูมิภาคต่างๆและศูนย์อาสาสมัคร งานอาสาสมัครส่วนใหญ่จะถูกถ่ายโอนไปอยู่ในอำนาจของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และในปี2547 ได้มีการบรรจุให้การมี”จิตสาธารณะ”เป็นส่วนหนึ่งของร่างมาตรฐานการศึกษาของชาติ และในปีเดียวกันเกิดเหตุการณ์สึนามิเราได้เห็นพลังของอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลกที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ประสบภัย
ต่อมาในปี 2550 รัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีมติประกาศให้ปีดังกล่าวเป็นปีแห่งการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม และผลักดันอาสาสมัครเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการกำหนดว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐสามารถลาไปทำงานอาสาสมัครได้ปีละ 5 วันโดยไม่คิดวันลา ความสำเร็จในครั้งนั้นเกิดจากการผลักดันของ นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ในระดับมหภาคเรื่องของงานอาสาสมัครถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่ใช้ในปี 2550 – 2554 โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยกำหนดแนวทางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติให้มีจิตใจดีงาม อยู่ในกรอบของศีลธรรมและมีจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งถูกนำไปบูรณาการในการดำเนินนโยบายต่างๆ
หากมองในเชิงโครงสร้างนโยบายโดยรวมอาจจะฟังดูดี แต่ในเชิงปฏิบัติจริงยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง ด้วยกรอบความคิดแบบไทยๆในบางครั้งเราก็จะยึดติดกับเรื่องของการทำความดี โดยคิดว่าอาสาสมัครนั้นเป็นการทำดี หรือการเป็นผู้ให้ที่มีความรู้สึกว่าเหนือกว่าผู้รับ ซึ่งในต่างประเทศจะเรียกพวกคนเหล่านี้ว่า “philanthropist” หรือ ผู้อุทิศให้ ไม่ใช่อาสาสมัคร หรือ volunteer ที่จะเป็นผู้ที่น้อมตัวให้ต่ำแล้วทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่ได้คาดหวังสิ่งตอบแทนเป็นเบื้องต้น
ประเทศไทยเราก็มีวันอาสาสมัคร คือวันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น”วันอาสาสมัครไทย” ซึ่งตั้งขึ้นในวาระวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือสมเด็จย่า ส่วนวันที่ 5 ธันวาคมนั้นถือว่าเป็น “วันอาสาสมัครโลก” ซึ่งบังเอิญตรงกับวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชด้วย เมื่อปี 2554 เพิ่งมีการเฉลิมฉลอง 10ปีปฏิญญาอาสาสมัครสากลขององค์การสหประชาชาติไปซึ่งตรงกับช่วงที่ประสบอุทกภัยใหญ่พอดี
หลายๆคนอาจคิดว่างานอาสาสมัครนั้นจะร่วมมือกันได้จะต้องเกิดปัญหาใหญ่เสียก่อนทั้งวิกฤตการเมืองหรือภัยธรรมชาติ จริงๆแล้ในต่างประเทศอาสาสมัครในเวลาปรกตินั้นมีจำนวนมาก ประเทศเกาหลีใต้มีศูนย์อาสาสมัครอยู่ในทุกเมือง ให้ความช่วยเรือตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น การซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือช่วยขนของย้ายบ้าน ประเทศไต้หวันแฟชั่นของวัยรุ่นที่นั่นก็คือการออกทำงานอาสาสมัคร และในบางประเทศงานอาสาสมัครถูกคิดคำนวนเป็นส่วนหนึ่งของจีดีพี
อาสาสมัครอิสระ กลไกที่รัฐไม่เข้าใจ - ขอบคุณภาพจากเครือข่ายจิตอาสา
ได้เวลาที่ต้องฝากโจทย์ไปยังภาครัฐว่าจะทำอย่างไรที่จะส่งเสริมกลไกอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่เพียงแต่เป็นนโยบายเฉพาะกิจหรือไปสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงต่างๆที่มีกลไกค่อนข้างแข็งตัวแทนที่จะกระจายทรัพยากรออกไปยังภาคส่วนต่างๆรวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมอาสาสมัคร ไม่เช่นนั้นเมื่อยามภัยมางานอาสาสมัครก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่อยู่เสมอๆ
ที่มา:Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555
แม่เลี้ยงติ๊ก ท้า ธาริต. ไม่เกี่ยวซูโด อดีต รมต.ยุคุ้ยต้นตอ แฉอีก 4 รพ.กรุงมีพิรุธ !!?
พสิษฐ์.เผยมีอีก 4 รพ.ใน กทม.-ปริมณฑลต้องสงสัยเอี่ยวขบวนการยักยอกซูโด เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบ ยัน′วชิรพยาบาล′เคลียร์แล้ว ไม่พบผิดปกติ
นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะทำงานป้องกันปราบปราม ฟื้นฟูและเยียวยาด้านยาเสพติด สธ. กล่าวถึงกรณีที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่าพบความเชื่อมโยงไปถึงอดีตรัฐมนตรีว่าการ สธ. มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณียาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนว่า ที่นาย ธาริตระบุชัดออกมาเช่นนั้น ก็เป็นสิ่งที่ชัดเจนแล้วว่าเป็นหนึ่งในรายชื่อที่อยู่ในข้อมูลลับที่ทางคณะทำงานมอบให้กับนายธาริตขอที่จะไม่พูดถึงเรื่องรายชื่อดังกล่าว เพราะถือว่าอยู่ในอำนาจการสอบสวนของทางดีเอสไอ ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ยังได้มอบข้อมูลชุดเดียวกันกับที่มอบให้ดีเอสไอส่งเป็นเอกสารประทับตราลับมากส่งไปยังนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการ สธ. และ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีแล้ว
นายพสิษฐ์กล่าวว่า ในส่วนข้อมูลที่คณะทำงานพบว่าโรงพยาบาล (รพ.) วชิรพยาบาล อยู่ในข่ายที่ควรเข้าไปตรวจสอบเรื่องการเบิกจ่ายยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนนั้น ยอมรับว่าข้อมูลที่คณะทำงานตรวจสอบมาครั้งแรกมีชื่อ รพ.วชิรพยาบาล อยู่ในจำนวน 20 รายชื่อ ที่คณะทำงานเห็นว่าอาจจะเข้าข่าย และน่าสงสัย แต่เมื่อค่ำวันที่ 31 มีนาคม คณะทำงานนำรายชื่อทั้ง 20 โรงพยาบาลมาตรวจสอบในเชิงลึกอีกครั้งก่อนจะลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่ามี 16 โรงพยาบาล ที่ไม่อยู่ในข่ายที่ควรลงไปตรวจสอบ ซึ่งหนึ่งใน 16 โรงพยาบาลนั้นมี รพ.วชิรพยาบลรวมอยู่ด้วย ส่วนที่เหลืออีก 4 โรงพยาบาลนั้นคณะ ทำงานพบข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่าเข่าข่ายที่ควรจะต้องไปตรวจสอบ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และจะลงพื้นที่ตรวจสอบในเร็วๆ นี้
นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรี ธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการ สธ. กล่าวถึงกรณีที่นายธาริตเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับจากนายพสิษฐ์ ว่ามีอดีตรัฐมนตรี สธ.บางคนเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบนำยาแก้หวัดซูโดอีเฟดรีน ออกจาก รพ.ต่างๆ ว่า อยากให้กำลังใจนายธาริต ในการหาข้อเท็จจริงให้ได้ อย่าหยุดนิ่งให้ค้นหาต่อไปกระทั่งถึงตัวผู้กระทำผิดจริงๆ เพราะยาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่ ต้องรู้ให้ได้ว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้มีการจับแพะชนแกะ อ้างลอยๆ ว่ามีอดีตรัฐมนตรี สธ.เกี่ยวข้อง เพราะคนอาจจะคิดว่าเป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง หรือนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ส่วนตนเชื่อว่าแทบไม่มีใครจำได้ว่าไปเป็นรัฐมนตรีว่าการ สธ.เมื่อไร
"อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข มีบางคนถูกศาลพิพากษา บางคนก็ยังมีคดีอยู่ในศาล อย่างเรื่องคอมพิวเตอร์ฉาว จึง ไม่อยากให้มีการกล่าวอ้างลอยๆ" นายวิทยากล่าว
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันที่ 2 เมษายน ดีเอสไอ ประชุมคณะทำงานร่วมกันครั้งแรกภายหลังรับคดีลักลอบนำสารซูโดอีเฟดรีน ไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การทำงานร่วมกัน โดยจะแบ่งชุดการทำงานเป็นหลายชุด ทั้งชุดสืบสวนหลัก ชุดสอบสวนหลัก คาดว่าชุดการสืบสอบสวนจะแบ่งตามพื้นที่ สภ.ที่เกิดเหตุ ส่วนการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ต้องหารือในข้อกฎหมายว่าจะทำอะไรได้บ้าง
นายธาริตกล่าวว่า นอกจากนี้ตนและ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน จะแถลงข่าวการทุจริตการเบิกจ่ายยาออกจากระบบสาธารณสุขด้วย
รายงานข่าวจาก ดีเอสไอ แจ้งว่า หลังจากรับคดีซูโดอีเฟดรีนเป็นคดีพิเศษ และได้รับข้อมูลลับเป็นตัวอักษรย่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ของผู้ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง และรับผลประโยชน์จากยาแก้หวัดที่มีสาร ซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสมหลักที่หายไปจากโรงพยาบาล จากนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ สธ.แล้ว ดีเอสไออยู่ระหว่างตรวจสอบการโทรศัพท์ของบุคคลที่มีชื่อปรากฏว่า มีการติดต่อใครบ้าง และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอย่างไร รวมถึงการติดต่อระหว่างผู้ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในข้อมูลนายพสิษฐ์ด้วยกันเองว่า มีการติดต่อกันบ้างหรือไม่ ทั้งนี้ เบื้องต้นจากการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์มือถือของคนชื่อ ป. ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด มีข้อมูลเพียงเป็นผู้ที่ทำงานกับ
ข้าราชการประจำระดับสูงมายาวนาน และเคยเดินทางไปต่างประเทศร่วมคณะเดียวกัน แต่ไม่พบความผิดปกติทั้งในแง่ความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงกับซูโดอีเฟดรีน
วันเดียวกัน ที่ จ.เชียงใหม่ นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ กล่าวว่า ในฐานะที่ดูแล โรงพยาบาลเอกชนและคลินิกทั่วประเทศ พบว่าโรงพยาบาลนวมินทร์ 1-9 และคลินิกตรวจสอบยาซูโดอีเฟดรีนที่ใช้ไม่ตรงกัน 900,000 เม็ด ซึ่งโรงพยาบาลต้องหาหลักฐานมายืนยันว่ามีการสั่งยาและใช้ยาจริงหรือไม่ หากใช้ยาจริงก็ไม่มีอะไร ซึ่งกรมจะร่วมกับองค์การอาหารและยา (อย.) และดีเอสไอ จะสนธิกำลังในวันที่ 2 เมษายน เข้าตรวจสอบที่มาและข้อมูล โดยเฉพาะตัวยา ที่มีความคลาดเคลื่อนของตัวเลข
"หากมีหลักฐานการสั่งยาใช้ยาจริงก็ไม่ว่ากัน ทุกอย่างตรวจสอบได้ หากมีประเด็นข้อสงสัย ดีเอสไอก็จะดำเนินการต่อ ส่วนกรม จะส่งหลักฐานต่างๆ ให้กระทรวงสาธารณสุข ไปให้ดีเอสไอสืบสวนและดำเนินคดีอาญา" นพ.สมชัยกล่าว
ที่มา: มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะทำงานป้องกันปราบปราม ฟื้นฟูและเยียวยาด้านยาเสพติด สธ. กล่าวถึงกรณีที่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุว่าพบความเชื่อมโยงไปถึงอดีตรัฐมนตรีว่าการ สธ. มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณียาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนว่า ที่นาย ธาริตระบุชัดออกมาเช่นนั้น ก็เป็นสิ่งที่ชัดเจนแล้วว่าเป็นหนึ่งในรายชื่อที่อยู่ในข้อมูลลับที่ทางคณะทำงานมอบให้กับนายธาริตขอที่จะไม่พูดถึงเรื่องรายชื่อดังกล่าว เพราะถือว่าอยู่ในอำนาจการสอบสวนของทางดีเอสไอ ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ยังได้มอบข้อมูลชุดเดียวกันกับที่มอบให้ดีเอสไอส่งเป็นเอกสารประทับตราลับมากส่งไปยังนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการ สธ. และ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีแล้ว
นายพสิษฐ์กล่าวว่า ในส่วนข้อมูลที่คณะทำงานพบว่าโรงพยาบาล (รพ.) วชิรพยาบาล อยู่ในข่ายที่ควรเข้าไปตรวจสอบเรื่องการเบิกจ่ายยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนนั้น ยอมรับว่าข้อมูลที่คณะทำงานตรวจสอบมาครั้งแรกมีชื่อ รพ.วชิรพยาบาล อยู่ในจำนวน 20 รายชื่อ ที่คณะทำงานเห็นว่าอาจจะเข้าข่าย และน่าสงสัย แต่เมื่อค่ำวันที่ 31 มีนาคม คณะทำงานนำรายชื่อทั้ง 20 โรงพยาบาลมาตรวจสอบในเชิงลึกอีกครั้งก่อนจะลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่ามี 16 โรงพยาบาล ที่ไม่อยู่ในข่ายที่ควรลงไปตรวจสอบ ซึ่งหนึ่งใน 16 โรงพยาบาลนั้นมี รพ.วชิรพยาบลรวมอยู่ด้วย ส่วนที่เหลืออีก 4 โรงพยาบาลนั้นคณะ ทำงานพบข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่าเข่าข่ายที่ควรจะต้องไปตรวจสอบ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล และจะลงพื้นที่ตรวจสอบในเร็วๆ นี้
นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรี ธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการ สธ. กล่าวถึงกรณีที่นายธาริตเปิดเผยข้อมูลที่ได้รับจากนายพสิษฐ์ ว่ามีอดีตรัฐมนตรี สธ.บางคนเกี่ยวข้องกับขบวนการลักลอบนำยาแก้หวัดซูโดอีเฟดรีน ออกจาก รพ.ต่างๆ ว่า อยากให้กำลังใจนายธาริต ในการหาข้อเท็จจริงให้ได้ อย่าหยุดนิ่งให้ค้นหาต่อไปกระทั่งถึงตัวผู้กระทำผิดจริงๆ เพราะยาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่ ต้องรู้ให้ได้ว่าใครเกี่ยวข้องบ้าง อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้มีการจับแพะชนแกะ อ้างลอยๆ ว่ามีอดีตรัฐมนตรี สธ.เกี่ยวข้อง เพราะคนอาจจะคิดว่าเป็นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง หรือนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ส่วนตนเชื่อว่าแทบไม่มีใครจำได้ว่าไปเป็นรัฐมนตรีว่าการ สธ.เมื่อไร
"อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข มีบางคนถูกศาลพิพากษา บางคนก็ยังมีคดีอยู่ในศาล อย่างเรื่องคอมพิวเตอร์ฉาว จึง ไม่อยากให้มีการกล่าวอ้างลอยๆ" นายวิทยากล่าว
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันที่ 2 เมษายน ดีเอสไอ ประชุมคณะทำงานร่วมกันครั้งแรกภายหลังรับคดีลักลอบนำสารซูโดอีเฟดรีน ไปเป็นสารตั้งต้นผลิตยาเสพติดเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การทำงานร่วมกัน โดยจะแบ่งชุดการทำงานเป็นหลายชุด ทั้งชุดสืบสวนหลัก ชุดสอบสวนหลัก คาดว่าชุดการสืบสอบสวนจะแบ่งตามพื้นที่ สภ.ที่เกิดเหตุ ส่วนการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ต้องหารือในข้อกฎหมายว่าจะทำอะไรได้บ้าง
นายธาริตกล่าวว่า นอกจากนี้ตนและ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน จะแถลงข่าวการทุจริตการเบิกจ่ายยาออกจากระบบสาธารณสุขด้วย
รายงานข่าวจาก ดีเอสไอ แจ้งว่า หลังจากรับคดีซูโดอีเฟดรีนเป็นคดีพิเศษ และได้รับข้อมูลลับเป็นตัวอักษรย่อและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ของผู้ที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง และรับผลประโยชน์จากยาแก้หวัดที่มีสาร ซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสมหลักที่หายไปจากโรงพยาบาล จากนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ สธ.แล้ว ดีเอสไออยู่ระหว่างตรวจสอบการโทรศัพท์ของบุคคลที่มีชื่อปรากฏว่า มีการติดต่อใครบ้าง และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอย่างไร รวมถึงการติดต่อระหว่างผู้ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในข้อมูลนายพสิษฐ์ด้วยกันเองว่า มีการติดต่อกันบ้างหรือไม่ ทั้งนี้ เบื้องต้นจากการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์มือถือของคนชื่อ ป. ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด มีข้อมูลเพียงเป็นผู้ที่ทำงานกับ
ข้าราชการประจำระดับสูงมายาวนาน และเคยเดินทางไปต่างประเทศร่วมคณะเดียวกัน แต่ไม่พบความผิดปกติทั้งในแง่ความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงกับซูโดอีเฟดรีน
วันเดียวกัน ที่ จ.เชียงใหม่ นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ กล่าวว่า ในฐานะที่ดูแล โรงพยาบาลเอกชนและคลินิกทั่วประเทศ พบว่าโรงพยาบาลนวมินทร์ 1-9 และคลินิกตรวจสอบยาซูโดอีเฟดรีนที่ใช้ไม่ตรงกัน 900,000 เม็ด ซึ่งโรงพยาบาลต้องหาหลักฐานมายืนยันว่ามีการสั่งยาและใช้ยาจริงหรือไม่ หากใช้ยาจริงก็ไม่มีอะไร ซึ่งกรมจะร่วมกับองค์การอาหารและยา (อย.) และดีเอสไอ จะสนธิกำลังในวันที่ 2 เมษายน เข้าตรวจสอบที่มาและข้อมูล โดยเฉพาะตัวยา ที่มีความคลาดเคลื่อนของตัวเลข
"หากมีหลักฐานการสั่งยาใช้ยาจริงก็ไม่ว่ากัน ทุกอย่างตรวจสอบได้ หากมีประเด็นข้อสงสัย ดีเอสไอก็จะดำเนินการต่อ ส่วนกรม จะส่งหลักฐานต่างๆ ให้กระทรวงสาธารณสุข ไปให้ดีเอสไอสืบสวนและดำเนินคดีอาญา" นพ.สมชัยกล่าว
ที่มา: มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555
ใบตองแห้ง ออนไลน์: เสรีภาพ เนรคุณ !!?
ใบตองแห้ง
1 เมษายน 2555
เมื่อวันพุธ มีข่าวที่ทำให้ผมหัวร่อแทบตกเก้าอี้ นั่นคือ 5 สถาบันทางวิชาการ จัดแถลงภารกิจ ขยายพื้นที่เสรีภาพให้กับสังคมไทย เนื่องใน 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
รายชื่อ 5 สถาบันที่ประโคมข่าวกันยิ่งใหญ่ (โดยเฉพาะไทยรัฐเอาไปเขียนบทวิเคราะห์ อิอิ) ได้แก่ สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มธ. ซึ่งมีศาสตราจารย์วิธีพิเศษ ธีรยุทธ บุญมี เป็นผู้อำนวยการ สถาบันพระปกเกล้า ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นเลขาธิการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นประธาน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคม
เสียดายที่ผมไม่รู้หมายล่วงหน้า ไม่งั้นจะไปนั่งหัวร่อเป็นบ้าเป็นหลังอยู่คนเดียวในห้องประชุม ให้คนอื่นประหลาดใจ อะไรวะ นักวิชาการท่านพูดแต่เนื้อหาดีๆ มีที่ไหนมานั่งหัวร่อ
แน่นอนครับ เนื้อหาที่พูดล้วนมธุรสวาจาทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ต่างอะไรกับพรรคประชาธิปัตย์จัดงาน “จับมือรวมพลัง ออกแบบประเทศไทย” คุยว่าสู้กับเผด็จการ อุดมการณ์ไม่เคยเปลี่ยน (เผด็จการทุนผูกขาด ไม่ใช่เผด็การทหาร กร๊าก!) ชูคำขวัญ ก้าวข้ามนักการเมือง คืนกระสุน-เอ๊ย คืนการเมืองให้ประชาชน
นักวิชาการที่มาร่วมภารกิจ “ขยายพื้นที่เสรีภาพ” นี้ก็เช่นกัน ถามว่าที่ผ่านมาท่านได้ขยายพื้นที่เสรีภาพหรือไม่ หรือกลายเป็นฝ่ายจำกัดพื้นที่เสียเอง ประเด็นเสรีภาพทางวิชาการที่เพิ่งร้อนแรงยังไม่จางหายไป คือกรณี อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กับนิติราษฎร์ เสนอแก้ไขมาตรา 112 และกรอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วถูกปลุกความเกลียดชังจนถูกทำร้าย
ผมไม่เห็น 5 สถาบันที่ว่าออกมาปกป้องเสรีภาพของ อ.วรเจตน์กับนิติราษฎร์เลย การแถลงครั้งนี้ก็ไม่พูดถึง แต่ประชาชนเขายังจำได้ อ.บวรศักดิ์ไม่ใช่หรือที่โจมตี อ.วรเจตน์ว่า “เนรคุณ” ทุนอานันทมหิดล
แล้วถ้าพูดในหลักการ มันยิ่งเลอะเข้าไปใหญ่ อ.บวรศักดิ์ไม่ใช่หรือ ที่เป็นเนติบริกรให้ทักษิณครั้งเหลิงอำนาจ ครั้นนายเก่าจวนตัว บวรศักดิ์-วิษณุ ได้สัญญาณ ก็โดดเรือหนี พอรัฐประหารก็เข้าไปช่วยร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว เสร็จสรรพก็เป็น สนช.เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
ถามว่าตอนร่างกฎหมายให้ทักษิณ ร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐประหาร ท่านเคยสนใจ “พื้นที่เสรีภาพ” ไหม เพิ่งมาตอนสถาบันพระปกเกล้ารับงานวิจัยปรองดองของบิ๊กบังนี่แหละ ที่ถูกฝ่ายค้านกับสื่อรุมกระหน่ำเสียจนต้องร้องขอ “พื้นที่เสรีภาพ”
เช่นกัน 5 ปีที่ผ่านมา ธีรยุทธ บุญมี เคยเรียกหา “พื้นที่เสรีภาพ” บ้างไหม (เสรีภาพมี แต่พอดีหายใจขัด ฮิฮิ) ในยุครัฐประหาร ในยุคสื่อและนักวิชาการเลือกข้าง ธีรยุทธเคยปกป้องพื้นที่เสรีภาพของเสียงข้างน้อยไหม ธีรยุทธคือผู้เรียกหา “ตุลาการภิวัตน์” โดยหวังจะใช้อำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ อำนาจที่ปิดกั้นเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ มาจัดการกับความขัดแย้งทางการเมือง มาถึงตอนนี้ เมื่อเห็นก๊กเล่าปี่จะแพ้ กลับออกมาเรียกร้องหา “พื้นที่เสรีภาพ”
ทีดีอาร์ไอที่จริงก็มีนักวิชาการหลากหลาย เข้าท่าเข้าทีก็หลายท่าน แต่ภาพลักษณ์โดยรวมกลับเป็นสถาบันเศรษฐศาสตร์สำนักอนุรักษ์นิยม แบบอะไรที่เป็นประชานิยม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องเลวร้ายหมด มุ่งต่อต้านทุนสามานย์ แต่เลือกเฉพาะกลุ่ม ทำเป็นไม่เห็นกลุ่มทุนเก่า
แล้วที่สำคัญ จะจงใจหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่งานวิจัยของทีดีอาร์ไอหลายชิ้นกลายเป็นอาวุธทางการเมือง (หรือแม้แต่เป็นคำพิพากษา ในคดียึดทรัพย์ทักษิณ ซึ่ง คตส.ว่าตามงานวิจัยของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เกือบทั้งดุ้น)
เมื่อตอนพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งมาใหม่ๆ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ไปให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าวอิศรา “ประธานทีดีอาร์ไอเปิดหลุมพรางพรรคเพื่อไทยปูทางสู่การเมืองพรรคเดียว” บอกว่าการที่รัฐบาลมีนโยบายบ้านหลังแรก รถคันแรก เงินเดือน 15,000 หวังผลทางการเมือง ชนะใจคนชั้นล่างแล้ว ก็จะมาชนะใจคนชั้นกลางบ้าง เป็นความต้องการครอบงำการเมืองไทย
แถมท่านยังบอกว่าการที่รัฐบาลมีเกิน 300 เสียง อำนาจต่างๆ ก็จะถูกครอบงำ ประชาธิปไตยที่แข็งแรง 2 พรรคต้องสูสีกัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ถ้าพรรคเดียวครอบงำ จะเป็นประชาธิปไตยเผด็จการ
อุ๊บ๊ะ ก็อีกพรรคมันขี้แพ้แล้วจะมาโทษกันได้ไง นึ่หรือความคิดคนระดับประธานทีดีอาร์ไอ ผมเคยด่าไว้เรียบร้อยแล้ว “ที่สุดแห่งความเลอะเทอะ” ใครก็ได้ช่วยบอกท่านเปิดดูที http://www.voicetv.co.th/blog/432.html เพราะถ้าทัศนะเรื่องประชาธิปไตยเรื่องเผด็จการท่านมีปัญหาอย่างนี้ ทัศนะต่อเสรีภาพของท่าน ก็คงพิกลเช่นกัน
สมาคมนักข่าวฯ น่าจะมาในฐานะตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ ซึ่ง 5 ปีที่ผ่านมา สื่อกระแสหลักขยายพื้นที่เสรีภาพ หรือปิดกั้นเสรีภาพ ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ตอนนี้ต้องหันมาปรับตัวกันวุ่นวาย พยายามรักษาความเป็นอภิสิทธิ์ชนเอาไว้สุดฤทธิ์
ขี้เกียจย้อนอดีตให้มากมาย เอาแค่กรณีนิติราษฎร์ อ.วรเจตน์ถูกผู้จัดการรายสัปดาห์เอาหน้าไปแปะภาพลิงขึ้นปกเป็น “วรเจี๊ยก” องค์กรวิชาชีพสื่อมีใครวิพากษ์วิจารณ์บ้างไหมว่านั่นเป็นการกระทำที่เลวร้าย ดูหมิ่นเหยียดหยาม ทำลายความเป็นคน ให้ผู้อ่านรู้สึกว่าต่ำทราม ช่วยกันดูถูกเหยียดหยามได้ในเฟซบุค แม้เมื่อ อ.วรเจตน์ถูกชก
ทีกนก รัตน์วงศ์สกุล โดนมวลชนรวมตัวกันไปแสดงความไม่พอใจ (แน่นอนไม่ได้ไปพับเพียบขอความกรุณาสื่อ) สื่อทั้งหลายจะเป็นจะตายเสียให้ได้ นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์อ้างว่า “กึ่งคุกคาม”
หรือสมาคมฯ จะบอกว่าไม่เป็นไร กรรมสนองผู้จัดการรายสัปดาห์ ต้องปิดตัวเองไปแล้ว พร้อมสื่อในเครือผู้จัดการหลายฉบับ โดยต้องปลดพนักงาน 600 คน (ได้ค่าชดเชยเต็มเม็ดเต็มหน่วย สุรวิชช์ วีรวรรณ ฝากชี้แจง)
เห็นจะมีแต่ อ.สุริชัย หวันแก้ว กับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กระมัง ที่ยังคู่ควรกับการเรียกร้อง “ขยายพื้นที่เสรีภาพ” (ถึงแม้อาจารย์แกจะหลวมตัวไปเป็น สนช.แต่ก็ชิงลาออกช่วงที่เลอะเทอะกันตอนท้าย หลังจากนั้นก็พยายามจะถอยออกมาเป็นสีขาว)
สาระของข่าวนี้ไปอยู่ที่คำพูดของ อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ เสียมากกว่า ที่ท่านบอกว่านักวิชาการควรเสนอความจริง ไม่ควรมีค่าเชิงตัดสิน (โห เขาเอาไปเป็นคำพิพากษาเลยอาจารย์) ไม่ควรคิดว่าตัวเองถูกต้องเสมอไป และอย่าเอาศีลธรรมมาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ขณะที่ อ.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ แถมให้ว่า สิ่งที่สถาบันทั้ง 5 ควรทำคือ ต้องเป็นสถาบันที่ถูกตรวจสอบได้ด้วย เพราะทุกความคิดต้องอยู่ในความโปร่งใส ต้องดีเบตชุดความคิดที่เสนอ เพื่อให้ข้อเสนออยู่ได้ มีความเข้มแข็ง ไม่ล้มหรือทำอันตรายต่อใคร
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ช่วงนี้อย่าไว้ใจใครที่ออกมาพูดเรื่องดีๆ อำพราง เพราะบ้างก็อยากรักษาสถานะ ในกระแสที่เปลี่ยนไป บ้างก็จวนตัวกลายเป็นเสียงข้างน้อย ต้องเรียกร้องพื้นที่เสรีภาพ
คล้ายกับภาคีเครือข่ายต้านคอรัปชั่นนั่นละครับ เนื้อหาสาระดูดีไปหมด แต่ตัวองค์กรและบุคคลที่ร่วมก่อตั้ง ผมตะหงิดๆ ไม่เคยไว้วางใจเลย มีอะไรอำพรางหรือเปล่า
นิติศาสตร์หรือเทววิทยา
อ่านพุทธิพงศ์ พงศ์อเนกกุล ตรวจข้อสอบ รศ.ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม เรื่อง “นายสุรเจต” กับ “นิติโรส” แล้วมันส์มากครับ พุฒิพงศ์บอกด้วยว่านี่ไม่ใช่ความเห็นต่าง แต่เป็นการชี้ถูกผิด เอาละสิ คณะนิติศาสตร์ มธ.จะถือเอาคำตอบของใคร ถ้าเผื่อมีนักศึกษาตอบไปอย่างพุทธิพงศ์ แล้ว รศ.ดร.ท่านไม่ให้คะแนน นักศึกษาต้องประท้วงนะครับ
ผมเห็นว่าคณะนิติศาสตร์จะปล่อยให้เกิดความคลุมเครือทางวิชาการไม่ได้ คำตอบต้องมีเพียงหนึ่งเดียว ที่ถูกต้อง ชัดเจน ไม่งั้นนักศึกษาสับสนกันหมด คณะจะทำการเรียนการสอนกันต่อไปได้อย่างไร เมื่อ รศ.ดร.ออกข้อสอบแล้วมีนักศึกษาปี 4 แย้งคำตอบ แถมแย้งอย่างมีเหตุผลน่าฟังเสียด้วย
คณะนิติศาสตร์ต้องจัดประชุมใหญ่นะครับ ให้คณาจารย์ลงมติว่า ธงคำตอบของใครถูกต้องกันแน่ เพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป
ต้องซูฮกอาจารย์พุทธิพงศ์ เพราะผมอ่านคำตอบข้อ 1 ถึง 3 ไม่ยักจับจุดทางนิติศาสตร์ได้ คนรู้กฎหมายงูๆ ปลาๆ อย่างผมยังหลงคิดว่าถูกแล้ว แม้กังขาอยู่ในเรื่อง agenda ว่าทำไมเอากรณี “นิติโรส” มาถาม
แต่ที่ผมอ่านแล้วสะดุดกึกทันทีคือข้อ 4 นายสุรเจตต้องการให้องค์กรศาลได้รับการตรวจสอบจากผู้แทนของประชาชน แล้ว รศ.ดร.ท่านถามว่า สอดคล้องกับหลักอิสระของผู้พิพากษาอันเป็นหลักย่อยหลักหนึ่งของหลักนิติรัฐหรือไม่ โดยมีธงคำตอบว่า “ขัดหลักนิติรัฐเพราะแทรกแซงอำนาจตุลาการ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมและก่อความไม่สงบสุขในบ้านเมือง”
นี่เอาง่ายๆ ไม่ตีความโดยละเอียดเหมือนพุทธิพงษ์ การที่องค์กรศาลถูกตรวจสอบจากผู้แทนประชาชน ถือว่าขัดหลักนิติรัฐ แทรกแซงอำนาจตุลาการ อย่างนั้นหรือครับ ท่านเรียนที่ไหนมา ท่านไม่รู้หรือว่า อเมริกาประธานาธิบดีเสนอชื่อศาลสูง วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ อเมริกาไม่มีหลักนิติรัฐ แทรกแซงอำนาจตุลาการ อย่างนั้นหรือ (ที่จริงเขาเลือกตั้งผู้พิพากษาด้วยซ้ำ) อังกฤษก็มีรัฐมนตรียุติธรรมเป็นประธานศาลฎีกาโดยตำแหน่ง ไม่ต้องแยกออกมาเหมือนบ้านเรา ไม่เห็นมีใครว่าเขาขัดหลักนิติรัฐ
ต่อให้ท่านจบ ดร.เมืองไทย ท่านไม่รู้หรือว่า ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา เริ่มมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 40 สมัยวุฒิเลือกตั้ง สภาผัวสภาเมียนั่นแหละ
ทัศนะของท่านคืออะไร คือผู้พิพากษาตุลาการต้องเป็นเจ้ากรมอิสระ ไม่มีใครตรวจสอบได้ เพราะท่านเป็นผู้วิเศษ เป็นคนดีโดยตำแหน่ง ห้ามผู้แทนประชาชนตรวจสอบ อย่างนั้นหรือ
นี่หรือคือหลักนิติรัฐ เป็นอาจารย์กฎหมายเคยเรียนหลักการประชาธิปไตยเบื้องต้นหรือเปล่าว่า อำนาจ 3 ฝ่าย บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ล้วนเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชน ถ้าอ้างความเป็นอิสระให้ตุลาการล่องลอยอยู่โดยไม่มีที่ยึดโยงกับประชาชน จะถูกหลักนิติรัฐได้อย่างไร
ทัศนะประชาธิปไตยนะครับ (เผื่อไม่เคยเรียน) คือความเชื่อว่าเราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ธรรมดา มีกิเลส ตัณหา รัก โลภ โกรธ หลง ฉะนั้นไม่มีใครหรอกที่สามารถดำรงตนอยู่ในความบริสุทธิ์สะอาดตลอดกาล ถูกเสมอโดยไม่เคยพลาด ประชาธิปไตยจึงเชื่อว่าทุกคนที่มีอำนาจต้องถูกตรวจสอบ อำนาจแต่ละฝ่ายต้องคานซึ่งกันและกัน
ประชาธิปไตยไม่เชื่อว่าใครบริสุทธิ์ผุดผ่องหรือเป็นฝ่ายถูกต้องโดยกำเนิด โดยชาติตระกูล โดยวุฒิการศึกษา หรือโดยตำแหน่ง ความคิดแบบนั้นคือเทวนิยม ความเชื่อเรื่องผู้วิเศษ ผีสางเทวดา ที่แปลงมาเป็นความเชื่อว่าตุลาการหรือองค์กรอิสระผู้บริสุทธิ์ ล่องลอยมาจากฟากฟ้า ไม่มีสุคติอคติกับใครเขา ดำรงชีวิตอย่างสมถะกินผักกินหญ้า (แต่เงินเดือนเป็นแสน คริคริ) สมควรจะมาชี้ถูกชี้ผิดให้สังคมโดยห้ามวิพากษ์วิจารณ์ให้เป็นมลทิน ห้ามตรวจสอบ ห้ามซักไซ้ (แบบตุลาการรายหนึ่งจะมาเป็นองค์กรอิสระ ไม่ยอมแสดงบัญชีทรัพย์สินให้ผู้แทนประชาชนดู)
ตามความรู้งูๆปลาๆ แบบผม เทววิทยาเขามีสอนในมหาลัยต่างประเทศ เมืองไทยไม่มี แต่เทวนิยมสอดแทรกอยู่ทุกปริมณฑลของการศึกษาและวัฒนธรรมไทย ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เคารพนับถือตามจารีต เกรงกลัวยกย่องผู้หลักผู้ใหญ่ผู้มีตำแหน่ง ครอบงำคนไทยตั้งแต่เกิด
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่อาจารย์กฎหมายก็มีความคิดเทวนิยม เพียงแต่ท่านควรแยกแยะให้ออกว่าท่านสอนนิติศาสตร์หรือเทววิทยา
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
1 เมษายน 2555
เมื่อวันพุธ มีข่าวที่ทำให้ผมหัวร่อแทบตกเก้าอี้ นั่นคือ 5 สถาบันทางวิชาการ จัดแถลงภารกิจ ขยายพื้นที่เสรีภาพให้กับสังคมไทย เนื่องใน 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 และ 40 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
รายชื่อ 5 สถาบันที่ประโคมข่าวกันยิ่งใหญ่ (โดยเฉพาะไทยรัฐเอาไปเขียนบทวิเคราะห์ อิอิ) ได้แก่ สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย มธ. ซึ่งมีศาสตราจารย์วิธีพิเศษ ธีรยุทธ บุญมี เป็นผู้อำนวยการ สถาบันพระปกเกล้า ศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นเลขาธิการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นประธาน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว เป็นที่ปรึกษา และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายกสมาคม
เสียดายที่ผมไม่รู้หมายล่วงหน้า ไม่งั้นจะไปนั่งหัวร่อเป็นบ้าเป็นหลังอยู่คนเดียวในห้องประชุม ให้คนอื่นประหลาดใจ อะไรวะ นักวิชาการท่านพูดแต่เนื้อหาดีๆ มีที่ไหนมานั่งหัวร่อ
แน่นอนครับ เนื้อหาที่พูดล้วนมธุรสวาจาทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ต่างอะไรกับพรรคประชาธิปัตย์จัดงาน “จับมือรวมพลัง ออกแบบประเทศไทย” คุยว่าสู้กับเผด็จการ อุดมการณ์ไม่เคยเปลี่ยน (เผด็จการทุนผูกขาด ไม่ใช่เผด็การทหาร กร๊าก!) ชูคำขวัญ ก้าวข้ามนักการเมือง คืนกระสุน-เอ๊ย คืนการเมืองให้ประชาชน
นักวิชาการที่มาร่วมภารกิจ “ขยายพื้นที่เสรีภาพ” นี้ก็เช่นกัน ถามว่าที่ผ่านมาท่านได้ขยายพื้นที่เสรีภาพหรือไม่ หรือกลายเป็นฝ่ายจำกัดพื้นที่เสียเอง ประเด็นเสรีภาพทางวิชาการที่เพิ่งร้อนแรงยังไม่จางหายไป คือกรณี อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ กับนิติราษฎร์ เสนอแก้ไขมาตรา 112 และกรอบแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วถูกปลุกความเกลียดชังจนถูกทำร้าย
ผมไม่เห็น 5 สถาบันที่ว่าออกมาปกป้องเสรีภาพของ อ.วรเจตน์กับนิติราษฎร์เลย การแถลงครั้งนี้ก็ไม่พูดถึง แต่ประชาชนเขายังจำได้ อ.บวรศักดิ์ไม่ใช่หรือที่โจมตี อ.วรเจตน์ว่า “เนรคุณ” ทุนอานันทมหิดล
แล้วถ้าพูดในหลักการ มันยิ่งเลอะเข้าไปใหญ่ อ.บวรศักดิ์ไม่ใช่หรือ ที่เป็นเนติบริกรให้ทักษิณครั้งเหลิงอำนาจ ครั้นนายเก่าจวนตัว บวรศักดิ์-วิษณุ ได้สัญญาณ ก็โดดเรือหนี พอรัฐประหารก็เข้าไปช่วยร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว เสร็จสรรพก็เป็น สนช.เป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
ถามว่าตอนร่างกฎหมายให้ทักษิณ ร่างรัฐธรรมนูญให้รัฐประหาร ท่านเคยสนใจ “พื้นที่เสรีภาพ” ไหม เพิ่งมาตอนสถาบันพระปกเกล้ารับงานวิจัยปรองดองของบิ๊กบังนี่แหละ ที่ถูกฝ่ายค้านกับสื่อรุมกระหน่ำเสียจนต้องร้องขอ “พื้นที่เสรีภาพ”
เช่นกัน 5 ปีที่ผ่านมา ธีรยุทธ บุญมี เคยเรียกหา “พื้นที่เสรีภาพ” บ้างไหม (เสรีภาพมี แต่พอดีหายใจขัด ฮิฮิ) ในยุครัฐประหาร ในยุคสื่อและนักวิชาการเลือกข้าง ธีรยุทธเคยปกป้องพื้นที่เสรีภาพของเสียงข้างน้อยไหม ธีรยุทธคือผู้เรียกหา “ตุลาการภิวัตน์” โดยหวังจะใช้อำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ อำนาจที่ปิดกั้นเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ มาจัดการกับความขัดแย้งทางการเมือง มาถึงตอนนี้ เมื่อเห็นก๊กเล่าปี่จะแพ้ กลับออกมาเรียกร้องหา “พื้นที่เสรีภาพ”
ทีดีอาร์ไอที่จริงก็มีนักวิชาการหลากหลาย เข้าท่าเข้าทีก็หลายท่าน แต่ภาพลักษณ์โดยรวมกลับเป็นสถาบันเศรษฐศาสตร์สำนักอนุรักษ์นิยม แบบอะไรที่เป็นประชานิยม เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต้องเลวร้ายหมด มุ่งต่อต้านทุนสามานย์ แต่เลือกเฉพาะกลุ่ม ทำเป็นไม่เห็นกลุ่มทุนเก่า
แล้วที่สำคัญ จะจงใจหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่งานวิจัยของทีดีอาร์ไอหลายชิ้นกลายเป็นอาวุธทางการเมือง (หรือแม้แต่เป็นคำพิพากษา ในคดียึดทรัพย์ทักษิณ ซึ่ง คตส.ว่าตามงานวิจัยของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เกือบทั้งดุ้น)
เมื่อตอนพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งมาใหม่ๆ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ไปให้สัมภาษณ์ศูนย์ข่าวอิศรา “ประธานทีดีอาร์ไอเปิดหลุมพรางพรรคเพื่อไทยปูทางสู่การเมืองพรรคเดียว” บอกว่าการที่รัฐบาลมีนโยบายบ้านหลังแรก รถคันแรก เงินเดือน 15,000 หวังผลทางการเมือง ชนะใจคนชั้นล่างแล้ว ก็จะมาชนะใจคนชั้นกลางบ้าง เป็นความต้องการครอบงำการเมืองไทย
แถมท่านยังบอกว่าการที่รัฐบาลมีเกิน 300 เสียง อำนาจต่างๆ ก็จะถูกครอบงำ ประชาธิปไตยที่แข็งแรง 2 พรรคต้องสูสีกัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ถ้าพรรคเดียวครอบงำ จะเป็นประชาธิปไตยเผด็จการ
อุ๊บ๊ะ ก็อีกพรรคมันขี้แพ้แล้วจะมาโทษกันได้ไง นึ่หรือความคิดคนระดับประธานทีดีอาร์ไอ ผมเคยด่าไว้เรียบร้อยแล้ว “ที่สุดแห่งความเลอะเทอะ” ใครก็ได้ช่วยบอกท่านเปิดดูที http://www.voicetv.co.th/blog/432.html เพราะถ้าทัศนะเรื่องประชาธิปไตยเรื่องเผด็จการท่านมีปัญหาอย่างนี้ ทัศนะต่อเสรีภาพของท่าน ก็คงพิกลเช่นกัน
สมาคมนักข่าวฯ น่าจะมาในฐานะตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ ซึ่ง 5 ปีที่ผ่านมา สื่อกระแสหลักขยายพื้นที่เสรีภาพ หรือปิดกั้นเสรีภาพ ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ตอนนี้ต้องหันมาปรับตัวกันวุ่นวาย พยายามรักษาความเป็นอภิสิทธิ์ชนเอาไว้สุดฤทธิ์
ขี้เกียจย้อนอดีตให้มากมาย เอาแค่กรณีนิติราษฎร์ อ.วรเจตน์ถูกผู้จัดการรายสัปดาห์เอาหน้าไปแปะภาพลิงขึ้นปกเป็น “วรเจี๊ยก” องค์กรวิชาชีพสื่อมีใครวิพากษ์วิจารณ์บ้างไหมว่านั่นเป็นการกระทำที่เลวร้าย ดูหมิ่นเหยียดหยาม ทำลายความเป็นคน ให้ผู้อ่านรู้สึกว่าต่ำทราม ช่วยกันดูถูกเหยียดหยามได้ในเฟซบุค แม้เมื่อ อ.วรเจตน์ถูกชก
ทีกนก รัตน์วงศ์สกุล โดนมวลชนรวมตัวกันไปแสดงความไม่พอใจ (แน่นอนไม่ได้ไปพับเพียบขอความกรุณาสื่อ) สื่อทั้งหลายจะเป็นจะตายเสียให้ได้ นายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์อ้างว่า “กึ่งคุกคาม”
หรือสมาคมฯ จะบอกว่าไม่เป็นไร กรรมสนองผู้จัดการรายสัปดาห์ ต้องปิดตัวเองไปแล้ว พร้อมสื่อในเครือผู้จัดการหลายฉบับ โดยต้องปลดพนักงาน 600 คน (ได้ค่าชดเชยเต็มเม็ดเต็มหน่วย สุรวิชช์ วีรวรรณ ฝากชี้แจง)
เห็นจะมีแต่ อ.สุริชัย หวันแก้ว กับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กระมัง ที่ยังคู่ควรกับการเรียกร้อง “ขยายพื้นที่เสรีภาพ” (ถึงแม้อาจารย์แกจะหลวมตัวไปเป็น สนช.แต่ก็ชิงลาออกช่วงที่เลอะเทอะกันตอนท้าย หลังจากนั้นก็พยายามจะถอยออกมาเป็นสีขาว)
สาระของข่าวนี้ไปอยู่ที่คำพูดของ อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ เสียมากกว่า ที่ท่านบอกว่านักวิชาการควรเสนอความจริง ไม่ควรมีค่าเชิงตัดสิน (โห เขาเอาไปเป็นคำพิพากษาเลยอาจารย์) ไม่ควรคิดว่าตัวเองถูกต้องเสมอไป และอย่าเอาศีลธรรมมาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ขณะที่ อ.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ แถมให้ว่า สิ่งที่สถาบันทั้ง 5 ควรทำคือ ต้องเป็นสถาบันที่ถูกตรวจสอบได้ด้วย เพราะทุกความคิดต้องอยู่ในความโปร่งใส ต้องดีเบตชุดความคิดที่เสนอ เพื่อให้ข้อเสนออยู่ได้ มีความเข้มแข็ง ไม่ล้มหรือทำอันตรายต่อใคร
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ช่วงนี้อย่าไว้ใจใครที่ออกมาพูดเรื่องดีๆ อำพราง เพราะบ้างก็อยากรักษาสถานะ ในกระแสที่เปลี่ยนไป บ้างก็จวนตัวกลายเป็นเสียงข้างน้อย ต้องเรียกร้องพื้นที่เสรีภาพ
คล้ายกับภาคีเครือข่ายต้านคอรัปชั่นนั่นละครับ เนื้อหาสาระดูดีไปหมด แต่ตัวองค์กรและบุคคลที่ร่วมก่อตั้ง ผมตะหงิดๆ ไม่เคยไว้วางใจเลย มีอะไรอำพรางหรือเปล่า
นิติศาสตร์หรือเทววิทยา
อ่านพุทธิพงศ์ พงศ์อเนกกุล ตรวจข้อสอบ รศ.ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม เรื่อง “นายสุรเจต” กับ “นิติโรส” แล้วมันส์มากครับ พุฒิพงศ์บอกด้วยว่านี่ไม่ใช่ความเห็นต่าง แต่เป็นการชี้ถูกผิด เอาละสิ คณะนิติศาสตร์ มธ.จะถือเอาคำตอบของใคร ถ้าเผื่อมีนักศึกษาตอบไปอย่างพุทธิพงศ์ แล้ว รศ.ดร.ท่านไม่ให้คะแนน นักศึกษาต้องประท้วงนะครับ
ผมเห็นว่าคณะนิติศาสตร์จะปล่อยให้เกิดความคลุมเครือทางวิชาการไม่ได้ คำตอบต้องมีเพียงหนึ่งเดียว ที่ถูกต้อง ชัดเจน ไม่งั้นนักศึกษาสับสนกันหมด คณะจะทำการเรียนการสอนกันต่อไปได้อย่างไร เมื่อ รศ.ดร.ออกข้อสอบแล้วมีนักศึกษาปี 4 แย้งคำตอบ แถมแย้งอย่างมีเหตุผลน่าฟังเสียด้วย
คณะนิติศาสตร์ต้องจัดประชุมใหญ่นะครับ ให้คณาจารย์ลงมติว่า ธงคำตอบของใครถูกต้องกันแน่ เพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป
ต้องซูฮกอาจารย์พุทธิพงศ์ เพราะผมอ่านคำตอบข้อ 1 ถึง 3 ไม่ยักจับจุดทางนิติศาสตร์ได้ คนรู้กฎหมายงูๆ ปลาๆ อย่างผมยังหลงคิดว่าถูกแล้ว แม้กังขาอยู่ในเรื่อง agenda ว่าทำไมเอากรณี “นิติโรส” มาถาม
แต่ที่ผมอ่านแล้วสะดุดกึกทันทีคือข้อ 4 นายสุรเจตต้องการให้องค์กรศาลได้รับการตรวจสอบจากผู้แทนของประชาชน แล้ว รศ.ดร.ท่านถามว่า สอดคล้องกับหลักอิสระของผู้พิพากษาอันเป็นหลักย่อยหลักหนึ่งของหลักนิติรัฐหรือไม่ โดยมีธงคำตอบว่า “ขัดหลักนิติรัฐเพราะแทรกแซงอำนาจตุลาการ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมและก่อความไม่สงบสุขในบ้านเมือง”
นี่เอาง่ายๆ ไม่ตีความโดยละเอียดเหมือนพุทธิพงษ์ การที่องค์กรศาลถูกตรวจสอบจากผู้แทนประชาชน ถือว่าขัดหลักนิติรัฐ แทรกแซงอำนาจตุลาการ อย่างนั้นหรือครับ ท่านเรียนที่ไหนมา ท่านไม่รู้หรือว่า อเมริกาประธานาธิบดีเสนอชื่อศาลสูง วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ อเมริกาไม่มีหลักนิติรัฐ แทรกแซงอำนาจตุลาการ อย่างนั้นหรือ (ที่จริงเขาเลือกตั้งผู้พิพากษาด้วยซ้ำ) อังกฤษก็มีรัฐมนตรียุติธรรมเป็นประธานศาลฎีกาโดยตำแหน่ง ไม่ต้องแยกออกมาเหมือนบ้านเรา ไม่เห็นมีใครว่าเขาขัดหลักนิติรัฐ
ต่อให้ท่านจบ ดร.เมืองไทย ท่านไม่รู้หรือว่า ตุลาการศาลปกครองสูงสุด ต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา เริ่มมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 40 สมัยวุฒิเลือกตั้ง สภาผัวสภาเมียนั่นแหละ
ทัศนะของท่านคืออะไร คือผู้พิพากษาตุลาการต้องเป็นเจ้ากรมอิสระ ไม่มีใครตรวจสอบได้ เพราะท่านเป็นผู้วิเศษ เป็นคนดีโดยตำแหน่ง ห้ามผู้แทนประชาชนตรวจสอบ อย่างนั้นหรือ
นี่หรือคือหลักนิติรัฐ เป็นอาจารย์กฎหมายเคยเรียนหลักการประชาธิปไตยเบื้องต้นหรือเปล่าว่า อำนาจ 3 ฝ่าย บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ล้วนเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชน ถ้าอ้างความเป็นอิสระให้ตุลาการล่องลอยอยู่โดยไม่มีที่ยึดโยงกับประชาชน จะถูกหลักนิติรัฐได้อย่างไร
ทัศนะประชาธิปไตยนะครับ (เผื่อไม่เคยเรียน) คือความเชื่อว่าเราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์ธรรมดา มีกิเลส ตัณหา รัก โลภ โกรธ หลง ฉะนั้นไม่มีใครหรอกที่สามารถดำรงตนอยู่ในความบริสุทธิ์สะอาดตลอดกาล ถูกเสมอโดยไม่เคยพลาด ประชาธิปไตยจึงเชื่อว่าทุกคนที่มีอำนาจต้องถูกตรวจสอบ อำนาจแต่ละฝ่ายต้องคานซึ่งกันและกัน
ประชาธิปไตยไม่เชื่อว่าใครบริสุทธิ์ผุดผ่องหรือเป็นฝ่ายถูกต้องโดยกำเนิด โดยชาติตระกูล โดยวุฒิการศึกษา หรือโดยตำแหน่ง ความคิดแบบนั้นคือเทวนิยม ความเชื่อเรื่องผู้วิเศษ ผีสางเทวดา ที่แปลงมาเป็นความเชื่อว่าตุลาการหรือองค์กรอิสระผู้บริสุทธิ์ ล่องลอยมาจากฟากฟ้า ไม่มีสุคติอคติกับใครเขา ดำรงชีวิตอย่างสมถะกินผักกินหญ้า (แต่เงินเดือนเป็นแสน คริคริ) สมควรจะมาชี้ถูกชี้ผิดให้สังคมโดยห้ามวิพากษ์วิจารณ์ให้เป็นมลทิน ห้ามตรวจสอบ ห้ามซักไซ้ (แบบตุลาการรายหนึ่งจะมาเป็นองค์กรอิสระ ไม่ยอมแสดงบัญชีทรัพย์สินให้ผู้แทนประชาชนดู)
ตามความรู้งูๆปลาๆ แบบผม เทววิทยาเขามีสอนในมหาลัยต่างประเทศ เมืองไทยไม่มี แต่เทวนิยมสอดแทรกอยู่ทุกปริมณฑลของการศึกษาและวัฒนธรรมไทย ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เคารพนับถือตามจารีต เกรงกลัวยกย่องผู้หลักผู้ใหญ่ผู้มีตำแหน่ง ครอบงำคนไทยตั้งแต่เกิด
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่อาจารย์กฎหมายก็มีความคิดเทวนิยม เพียงแต่ท่านควรแยกแยะให้ออกว่าท่านสอนนิติศาสตร์หรือเทววิทยา
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555
66/23 คาถาผ่าทางตัน หลวงพ่อจิ๋ว !!?
แม้ว่าที่ประชุมร่วมของรัฐสภา จะมีมติเห็นชอบ ด้วยคะแนน 346 ต่อ 17 งดออกเสียง 7 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ตามที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานกรรมาธิการ และคณะเสนอ
และคาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 4 เมษายนนี้
แต่ดูแล้ว ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับความพยายามในการสร้างความปรองดองให้เกิดขั้นกับประเทศไทย คงต้องพยายามก่อหวอดต้านกันสุดฤทธิ์ โดยที่ใช้ข้ออ้างในเรื่อง เป็นการทำเพื่อช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นตัวกระตุ้นปฏิกริยา
ก้าวข้ามไม่พ้นคนชื่อทักษิณ เพราะยังเป็นสิ่งที่สามารถระดมเกมสหบาทาจากคนที่ไม่ชอบทักษิณได้เป็นอย่างดี
เห็นประโยชน์กันชัดๆแบบนิ้ แล้วเรื่องอะไรที่จะยอมก้าวข้ามพ้นคนชื่อทักษิณ สู้พายเรือในอ่าง แผ่นเสียงตกร่อง ตีกินฉกฉวยผลประโยชน์ไปเรื่อยๆไม่ดีกว่าหรือ
ดังนั้นจึงไม่ใช่เพียงแค่รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งศึกษาวิจัยโดย สถาบันพระปกเกล้า จะกลายเป็นเหยื่อเกมการเมืองไปเต็มๆ
แม้แต่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานกรรมาธิการปรองดอง ก็โดนไปเต็มๆด้วยเช่นกัน
งานนี้ปลุกกระแสต้านจากกลุ่มคนไม่เอาทักษิณกันสุดชีวิตเลยก็ว่าได้
หัวเรือใหญ่ที่เปิดหน้าชกเที่ยวนี้ก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์รุ่นปัจจุบัน และหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ที่นำทีม ส.ส.ปชป. แอนนด์ แก๊ง ทั้งหมด ทำทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นการให้ 9 กมธ.สายประชาธิปัตย์ลาออก
หรือแม้แต่กระทั่งก่อนที่จะมีการประชุมร่วมของรัฐสภา ก็มีการล็อบบี้วุฒิสมาชิกกันอย่างโจ่งครึ่ม
รวมทั้งก่อนลงมติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน ก็ดาหน้าอภิปรายให้คณะกรรมาธิการ พิจารณาทบทวนรายงานฉบับนี้อย่างสุดกำลัง อ้างว่าจะเป็นชนวนความขัดแย้งและเห็นว่ารวบรัดแนวทางสร้างความปรองดอง ซึ่งไม่เกิดความยั่งยืน
พร้อมตั้งข้อสังเกตเล่นงานข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าว่า ไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะประเด็นการนิรโทษกรรม ซึ่งเกรงอาจก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม
พร่ำพูดวนเวียนซ้ำซากในประเด็นเดิมๆอยู่จนถึงเที่ยงคืน พอมีการเสนอให้ปิดอภิปรายเพราะเห็นว่าพูดกันมามากแล้ว ก็ทำให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ไม่พอใจ ประกาศไม่ประสงค์เข้าร่วม แล้วก็ใช้มุกเดิมๆคือให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน วอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุมก่อนที่จะมีการลงมติ
ถือเป็นการเล่นเกมต้านกันจนวินาทีสุดท้ายเลยก็ว่าได้
ดังนั้นถึงได้บอกว่า ไม่ง่ายเลยที่จะปรองดอง หากยังมีมุมมองที่คำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ผลประโยชน์เฉพาะพรรคกันอยู่เช่นนี้
ก็ขนาด พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มีฐานะเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นอดีต ผบ.ทบ.ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นขงเบ้งกองทัพบก ก็ยังไม่วายโดนกลุ่มคัดค้านเล่นงาน เมื่อออกมาทำจดหมายเปิดผนึก 11 หน้าเรียกร้องการสร้างความปรองดองให้กับประเทศนี้
บิ๊กจิ๋ว ได้ยกตัวอย่างความปรองดองด้วยการกล่าวถึงการปฏิบัตินโยบาย 66/23 สำเร็จในขั้นตอนที่ 1 คือยุติสงครามกลางเมืองลงได้ แต่ขั้นตอนที่2 คือการสร้างประชาธิปไตยระดับสูง คือการยกเลิกระบอบเผด็จการทุกชนิดคือระบอบเผด็จการรัฐสภา เผด็จการรัฐประหาร ยังไม่แล้วเสร็จ จึงทำให้เกิดสถานการณ์ต่างๆจนถึงปัจจุบัน
มีการรัฐประหาร 2 ครั้ง โดยรสช.และคมช. จนเกิดการจลาจลนองเลือดขนานใหญ่หลายครั้งเกิดม็อบต่อสู้ขัดแย้งรุนแรง ระหว่างเสื้อเหลือง เสื้อแดงเกิดการเข่นฆ่าจับกุมคุมขังประชาชนเกิดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนับ ร้อยๆคดี มากมายเป็นประวัติการณ์
และแทนที่จะแก้ไขด้วยมาตรการทางการเมือง อย่างถูกต้องตามนโยบาย 66/23 กลับเอาปัญหาที่เกิดจากการเมืองเหล่านี้ไปแก้ในศาลยิ่งทำให้ปัญหาวิกฤติหนัก
พล.อ.ชวลิตระบุว่าเราเคยใช้นโยบาย 66/23 คือแก้ด้วยมาตรการทางการเมือง ไม่ใช่ด้วยมาตรการกฎหมาย มาตรการทางศาลการใช้กำลังหรือการปราบปราม แต่ใช่มาตรการเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ เป็นการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีไม่มีการจับกุมดำเนินคดีในศาล หรือเช่นฆ่าทรมานใดๆทั้งสิ้น จึงยุติสงครามกลางเมืองช่วงนั้นได้
หากยังดำเนินการตามนโยบาย66/23 ก็แทบไม่ต้องมาถกเถียงกันเรื่องนิรโทษกรรม
ที่สำคัญสามารถหักล้างได้กับข้อโต้แย้งของนายอภิสิทธิ์ที่ว่าจะเป็นการล้มล้าง อำนาจตุลาการ ทำลายระบบยุติธรรม
เพราะการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมตามนโยบาย 66/23จะเป็นการช่วยให้อำนาจตุลาการเข้าหาระบบยุติธรรม หรือยิ่งทำให้ระบบยุติธรรมของไทยดียิ่งขึ้น คือ ไม่นำปัญหาการเมืองที่เกิดจาก ระบอบเผด็จการรัฐสภา เผด็จการรัฐประหารเข้ามาแก้ในระบบยุติธรรม “ศาล” นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ยังทำให้บานปลาย
เนื่องจากฝ่ายที่แพ้จะหมดสิ้นความเชื่อถือศรัทธาในระบบยุติธรรมไทยนำเอาผลการพิพากษา ไปโจมตี ทำให้จำเลยไม่ยอมรับในการตัดสินของศาลไทยเดินทางออกนอกประเทศ จนกลายเป็นปัญหาใหม่อยู่ขณะนี้
บิ๊กจิ๋วจึงมองว่า การนำปัญหาการเมืองไปให้ศาลแก้ คือการทำลายศาล ไม่มีทางสำเร็จมีแต่จะเกิดปัญหามากขึ้น แต่การนิรโทษกรรมปัญหาการเมืองคือการ ช่วยศาล เป็นการสร้างประชาธิปไตยทำให้คนไทยทุกคนทั้งผู้เสียหายและผู้ถูกกระทำได้รับ ประโยชน์ร่วมกันสูงสุด คือเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย อำนาจรัฐชนิดสูงสุด
บุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้ได้รับการนิรโทษกรรมคือทุกคนทุกฝ่าย ไม่ต้องระบุชื่อ นามสกุล เป็นการเลิกต่อกัน จบต่อกันเป็นการนิรโทษกรรมแบบบูรณาการอย่างปราศจากเงื่อนไข ยุติความแตกแยกสร้างความปรองดองแห่งชาติได้อย่างแท้จริง
และยังเป็นเป็นการเปลี่ยนสถานการณ์เก่าเป็นสถานการณ์ใหม่จะไม่มีปัญหาแบบ เดิมอีกต่อไป ซึ่งรายงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าล้วนมีเจตนาดีต่อประเทศ
นอกจากนี้ หนังสือเปิดผนึกของ พล.อ.ชวลิต ยังได้สนับสนุนให้ยกเลิกคดีที่มาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส. ) เนื่องจากส่วนตัวเห็นว่า คตส.เกิดจากปัญหาการเมือง คือระบอบเผด็จการรัฐสภา และระบอบเผด็จการรัฐประหาร ซึ่งไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย
คตส.จึงเป็นสิ่งย่อมไม่ชอบธรรมและไม่ถูกตั้งแต่ต้น หลักการทั้งหลายย่อมต้องเป็นโมฆะ
ปัญหาการเมืองไม่สามารถนำระบบยุติธรรมมาแก้ไขไม่ได้ เพราะผิดที่ผิดทาง เนื่องจากการคอรัปชันนั้นมาจากระบอบเผด็จการรัฐสภา ระบอบเผด็จการรัฐประหาร ซึ่งปัญหาคอรัปชันนั้นเป็นปัญหาของระบอบ ตรงกันข้ามกับประเทศประชาธิปไตยอื่นที่การคอรัปชันเป็นปัญหาบุคคล
ดังนั้น คตส.จึงผิดที่ผิดทาง ผิดปัญหา ผิดหน้าที่ คตส.แก้ไขปัญหาผิดจุด เมื่อผิดก็ต้องหยุดและยกเลิกทุกสิ่งที่ คตส.ทำ
เขียนกันตรงๆ ไม่มีอ้อมค้อมเช่นนี้ แน่นอนว่าต่อให้เป็นบิ๊กจิ๋วอดีตผู้นำกองทัพ อดีตผู้นำรัฐบาล ก็ย่อมหนีไม่พ้นแรงเสียดทานแรงโจมตี
เพราะตอนที่บิ๊กจิ๋ว ดำเนินนโยบาย 66/2523 นั้น นายอภิสิทธิ์ เพิ่งจะมีอายุแค่ 16 ปีเท่านั้น ยังเรียนหนังสืออยู่ที่ประเทศอังกฤษอยู่เลย ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะลึกซึ้งกับนโยบาย 66/2523 และการเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงเรื่องนี้ของบิ๊กจิ๋ว
แต่จะไปตำหนิหรือว่านายอภิสิทธิ์ที่ไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง ก็คงไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง เพราะแม้แต่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่ยืนยันว่าตนเองเป็นลูกป๋า และอยู่ในห้วงเวลาที่มีการดำเนินนโยบาย 66/23 ด้วยซ้ำ ก็ยังออกมาวิจารณ์จดหมายเปิดผนึกของบิ๊กจิ๋วในครั้งนี้กับเขาด้วย
ฉะนั้นหาก น.ต.ประสงค์ จะถูกมองว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มขาประจำที่เป็นขั้วตรงข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริงๆ หากมองถึงการออกโรงในแต่ละครั้ง
รวมทั้งการอยู่เบื้องหลังในการผลักดันรัฐธรรมนูญปี 2550 จนถูกเรียกเป็น รัฐธรรมนูญฉบับหน้าแหลมฟันดำ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการกระทำของ น.ต.ประสงค์ นั่นเอง
หรือแม้แต่กระทั่ง พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ซึ่งเป็นนายทหารรุ่นหลังแท้ๆ ก็ยังมองเรื่องที่รุ่นพี่ คือ พล.อ.ชวลิต เสนอการสร้างความปรองดองว่าควรใช้มาตรการทางการเมืองตามนโยบาย 66/23 เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี ว่า คงจะต้องเอามาประกอบกันหลายอย่าง เพราะนโยบาย 66/23 ออกมานานแล้ว แต่ปัจจุบัน สถานการณ์มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมาก รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ อะไรที่ดีก็ควรนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ แต่ทั้งหมดต้องนำมาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ฉะนั้นแม้ว่าที่ประชุมร่วมรัฐสภาจะไม่คล้อยไปตามการล็อบบี้ของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เชื่อขนมกินล่วงหน้าได้เลยว่าฉายาเด็กดื้อของนายอภิสิทธิ์ แอนด์ เดอะแก๊ง ไม่ใช่จะได้มาโดยไม่มีพื้นฐานข้อเท็จจริง จึงรับรองได้ว่า ประชาธิปัตย์จะต้องค้านหัวชนฝาทุกรูปแบบอย่างแน่นอน
แต่คนรู้ทันประชาธิปัตย์อย่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็พูดชัดเจนว่า พรรคประชาธิปัตย์เล่นการเมืองเก่ง แต่ไม่กังวลว่าจะเป็นอุปสรรคอะไร เพราะสิ่งที่ฝ่ายค้านกังวลว่ารายงานของคณะกรรมาธิการปรองดองฯ จะนำไปสู่การออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น เป็นคนละเรื่องกัน
“รายงานกับกฎหมายเป็นคนละเรื่อง รายงานเป็นแค่นามธรรม จึงต้องสรุปให้เป็นรูปธรรมโดยการออก พ.ร.บ.ปรองดอง โดยเสียงส่วนใหญ่ในสภา ที่ทุกภาคส่วนต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่คนหนึ่งคนใด หรือไปรังเกียจคนหนึ่งคนใด อย่างนั้นเรียกว่าอคติ คิดแบบไม่ใช่สุภาพบุรุษ และอย่าไปรื้ออดีตขึ้นมาอีก หากใครแพ้โหวตในสภาแล้วยังไม่เคารพก็ไม่ใช่นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย”
ส่วนเรื่องการทำความเข้าใจกับฝ่ายค้านเรื่องความปรองดองนั้น อีกร้อยชาติฝ่ายค้านก็ไม่ยอมเข้าใจ
แต่ ร.ต.อ.เฉลิม ยังคงมองว่าบรรยากาศอย่างนี้ปกติ เพราะการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเห็นตรงกันไม่ได้ ต้องแย้งกันเสมอ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่าขณะนี้ไม่มีเงื่อนไขใดที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ
ที่สำคัญหากรัฐบาลไม่ทำการทุจริต ก็มั่นใจว่ารัฐบาลอยู่ครบวาระแน่นอน
นั่นอาจจะเป็นความมั่นคงของรัฐบาล แต่สิ่งที่จำเป็นในเวลานี้ก็คือเรื่องการสร้างความปรองดอง เพื่อไม่ให้ประเทศไทยต้องถอยหลัง หรือย่ำอยู่กับที่อย่างที่เป็นมา 4-5 ปีแล้วเช่นนี้
ทำอย่างไรที่จะให้แก๊งเด็กดื้อทางการเมืองละทิฐิและผลประโยชน์ของกลุ่มของพวก มาฟังคนอื่นโดยเฉพาะผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ และมีความห่วงใยสถานการณ์บ้านเมืองในเวลานี้บ้าง
อย่าลืมว่า จดหมายเปิดผนึกของ พล.อ.ชวลิต ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ทหารประชาธิปไตย” นั้นเขียนอยู่บนหลักการที่เป็นกลาง ใช้เหตุและผลเป็นตัวนำ โดยที่มีมีเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์มาเป็นหลักฐานช่วยสนับสนุน
ขอแค่มองอย่างเป็นกลาง ว่าคนอย่างบิ๊กจิ๋ว ที่มีความเป็นประชาธิปไตย และจงรักภักดีต่อสถาบันอย่างสูงที่สุดคนหนึ่งในประเทศนี้ ออกมาพูดอย่างเป็นกลางและจริงใจ รวมทั้งอยากเห็นความปรองดองเกิดขึ้นจริงๆ
ทำไมจึงดาหน้าตั้งป้อมชนเช่นนี้ แล้วเมื่อไหร่ปรองดองจะเกิด???
หรือจะต้องดองเอาไว้เป็นร้อยชาติ อย่างที่ ร.ต.อ.เฉลิมเปรยเอาไว้จริงๆ....??
ที่มา.บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วางหมากหลายช็อต !!?
รักษาเอกลักษณ์ ต้นตำหรับ แห่งการเป็น “จอมบอยคอต”
ไหน โก่งคอยันเสียงกร้าว ขากรรไกรแข็งเสมอมา ว่า “เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย”
แล้วในยุค ที่มี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตีกรรเชียงหนี ทิ้งตำแหน่งลาออก ไม่ทำหน้าที่ในรัฐสภา ขอรับเจ้านาย
การที่ ๙ อรหันต์กรรมาธิการปรองดอง ของ “พรรคประชาธิปัตย์” ถอดหัวหนี ทิ้งตำแหน่งกรรมาธิการ ฟ้องและระบุชัด ท่านไม่ได้เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย เหมือนที่คุยเอาไว้ฉอด ๆ
ที่สุดธาตุแท้แสดงออกมาเอง..ว่าชอบพูดน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง?..ที่เคยส่งเสียงล้งเล้ง ล้วนสร้างภาพมาตลอด
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บันได ๓ ขั้น
๙ กรรมาธิการปรองดอง พรรคประชาธิปไตย ที่สละเรือหนี ไม่สร้างความปรองดอง ความสามัคคีให้กับคนในชาติ..ยังจะมีเรื่องป่วนมากกว่านี้อีก ขอรับท่าน
ไขก๊อกลาออก จากกรรมาธิการ เป็นเรื่องชิมลางแบบชิล..ชิล แผนต่อไปคือป่วน “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภาฯยิ่งนัก
สร้างบรรยากาศ เสียงข้างมาก ไม่ฟังเสียงข้างน้อย..จึงจะยกโขยงลาออกจาก สส.ทั้งพรรค
จากนั้น, จะขุดประเด็น การคอรัปชั่นขึ้นมาชำแหละ แฉ “รัฐบาลปู” ให้จั๋งหนับ
เค้าจะทำทุกอย่าง..เพื่อปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง.....ให้ “รัฐบาลปู” พังในที่สุดสิครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
เหมือนที่ “ขงเบ้งจิ๋ว” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ชี้ชนวนนำร่อง ว่าหากนำกระบวนการยุติธรรมมาใช้ มีแต่สร้างปัญหาให้มากกว่า
ดีดลูกคิดรางแก้วแล้ว ที่ “บิ๊กจิ๋ว” ยกกัณฑ์เทศน์ขึ้นมาอบรบ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ถูกต้องแล้วทุกประการ
ฝ่ายการเมืองหลายยุค หลายรัฐบาล ใช้เปาบุ้นจิ้นผู้ทรงธรรม จัดการเล่นงาน “ทักษิณ ชินวัตร” ฝ่ายเดียว ถูกที่ไหนกัน??
แค่คดีการเมืองอีกฝ่าย อีกค้าน ดองเค็ม แช่ห้องฟรีส คดีแช่เย็น ไม่ขยับเขยื้อนไปไหน ไม่ว่าคดีทุจริตรถดับเพลิง คดีทุจริตก่อสร้างสร้างกีฬาคลอง ๖ และคดีซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาล เงียบสะดุดไปเฉย ๆ
คดี “ทักษิณ”เล่นงานทั้งเย็นและเช้า...เล่นแรงแบบหักด้ามพร้าด้วยเข่า?..แต่นักการเมืองที่โกงกินเอา คดีไม่คืบหน้าเลย
++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทำงานดี แต่ไม่มีคนหนุน
สร้างผลงานดี ฝากไว้ในแผ่นดินมากมาย สำหรับ “คุณพี่พรธรรมธนัต แย้มพลอย” ผอ.สำนักทางหลวงที่ ๖ แห่งจังหวัดเพชรบูรณ์
ฝากฝังให้ “คุณพี่วันชัย ภาคลักษณ์” อธิบดีกรมทางหลวง และ “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดูแลคนดี ๆ อย่าให้มีใครมารังแก
ต้องบอกว่า “คุณพี่พรธรรมธนัต” เป็นผู้เสียสละ เงินเดือนทุกบาททุกสตางค์ นำไปช่วยเหลือนักเรียนผู้ยากไร้ ถือเป็นผู้เสียสละ โดยแท้
และท่านเป็นมือแก้ปัญหา ที่เก่งครอบวงจร สมัยที่เป็นโปรเจ็คอยู่ที่เชียงใหม่ ร่วมกับ “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” แก้ปัญหาสะพานที่หน้าห้างเซ็นทรัล จนชาวล้านนาพากันสรรเสริญ
“คุณพี่พรธรรมนัต”ทำงานหนัก...เป็นคนคมในฝัก....เป็นคนที่ประชาชนรัก เพราะทำแต่ความเจริญ
++++++++++++++++++++++++++++++++++
มองเจตนาผิด
การออกมาเคาะข่าว เรื่องปฏิวัติ ของ “นายแพลแม็คอาเธ่อร์” พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี แล้วก็ช่วยกันคิด
๓ แนวทางแห่งการรัฐประหาร เรื่องสถาบัน คอรัปชั่น และความแตกแยกของคนไทย
เป็นเรื่องที่ “บิ๊กพัลลภ” ท่านปุจจามานาน มีคนจ้องที่จะล้ม “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้ได้
ถึง “พรรคเพื่อไทย” จะคุมอำนาจเอาไว้ในมือ...แต่อำนาจที่เหนืออำนาจ ที่แฝงมากับ “องค์กรอิสระ” ที่มีอำนาจค้ำฟ้าค้ำแผ่นดิน ที่ก่อเกิดมาจาก “คมช.” อสูรร้ายเผด็จการ ยังคงอยู่
“บิ๊กพัลลภ”ที่ออกมาเฉ่ง..ไม่ใช่พวกทุบหม้อข้าวตัวเอง..แต่เล็งเห็นองค์กรอิสระอันตรายน่าดู
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
***************************************************
ไหน โก่งคอยันเสียงกร้าว ขากรรไกรแข็งเสมอมา ว่า “เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย”
แล้วในยุค ที่มี “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตีกรรเชียงหนี ทิ้งตำแหน่งลาออก ไม่ทำหน้าที่ในรัฐสภา ขอรับเจ้านาย
การที่ ๙ อรหันต์กรรมาธิการปรองดอง ของ “พรรคประชาธิปัตย์” ถอดหัวหนี ทิ้งตำแหน่งกรรมาธิการ ฟ้องและระบุชัด ท่านไม่ได้เชื่อมั่นในระบบประชาธิปไตย เหมือนที่คุยเอาไว้ฉอด ๆ
ที่สุดธาตุแท้แสดงออกมาเอง..ว่าชอบพูดน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง?..ที่เคยส่งเสียงล้งเล้ง ล้วนสร้างภาพมาตลอด
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บันได ๓ ขั้น
๙ กรรมาธิการปรองดอง พรรคประชาธิปไตย ที่สละเรือหนี ไม่สร้างความปรองดอง ความสามัคคีให้กับคนในชาติ..ยังจะมีเรื่องป่วนมากกว่านี้อีก ขอรับท่าน
ไขก๊อกลาออก จากกรรมาธิการ เป็นเรื่องชิมลางแบบชิล..ชิล แผนต่อไปคือป่วน “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภาฯยิ่งนัก
สร้างบรรยากาศ เสียงข้างมาก ไม่ฟังเสียงข้างน้อย..จึงจะยกโขยงลาออกจาก สส.ทั้งพรรค
จากนั้น, จะขุดประเด็น การคอรัปชั่นขึ้นมาชำแหละ แฉ “รัฐบาลปู” ให้จั๋งหนับ
เค้าจะทำทุกอย่าง..เพื่อปล้ำผีลุก ปลุกผีนั่ง.....ให้ “รัฐบาลปู” พังในที่สุดสิครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
เหมือนที่ “ขงเบ้งจิ๋ว” พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ชี้ชนวนนำร่อง ว่าหากนำกระบวนการยุติธรรมมาใช้ มีแต่สร้างปัญหาให้มากกว่า
ดีดลูกคิดรางแก้วแล้ว ที่ “บิ๊กจิ๋ว” ยกกัณฑ์เทศน์ขึ้นมาอบรบ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ถูกต้องแล้วทุกประการ
ฝ่ายการเมืองหลายยุค หลายรัฐบาล ใช้เปาบุ้นจิ้นผู้ทรงธรรม จัดการเล่นงาน “ทักษิณ ชินวัตร” ฝ่ายเดียว ถูกที่ไหนกัน??
แค่คดีการเมืองอีกฝ่าย อีกค้าน ดองเค็ม แช่ห้องฟรีส คดีแช่เย็น ไม่ขยับเขยื้อนไปไหน ไม่ว่าคดีทุจริตรถดับเพลิง คดีทุจริตก่อสร้างสร้างกีฬาคลอง ๖ และคดีซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้โรงพยาบาล เงียบสะดุดไปเฉย ๆ
คดี “ทักษิณ”เล่นงานทั้งเย็นและเช้า...เล่นแรงแบบหักด้ามพร้าด้วยเข่า?..แต่นักการเมืองที่โกงกินเอา คดีไม่คืบหน้าเลย
++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทำงานดี แต่ไม่มีคนหนุน
สร้างผลงานดี ฝากไว้ในแผ่นดินมากมาย สำหรับ “คุณพี่พรธรรมธนัต แย้มพลอย” ผอ.สำนักทางหลวงที่ ๖ แห่งจังหวัดเพชรบูรณ์
ฝากฝังให้ “คุณพี่วันชัย ภาคลักษณ์” อธิบดีกรมทางหลวง และ “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดูแลคนดี ๆ อย่าให้มีใครมารังแก
ต้องบอกว่า “คุณพี่พรธรรมธนัต” เป็นผู้เสียสละ เงินเดือนทุกบาททุกสตางค์ นำไปช่วยเหลือนักเรียนผู้ยากไร้ ถือเป็นผู้เสียสละ โดยแท้
และท่านเป็นมือแก้ปัญหา ที่เก่งครอบวงจร สมัยที่เป็นโปรเจ็คอยู่ที่เชียงใหม่ ร่วมกับ “อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร” แก้ปัญหาสะพานที่หน้าห้างเซ็นทรัล จนชาวล้านนาพากันสรรเสริญ
“คุณพี่พรธรรมนัต”ทำงานหนัก...เป็นคนคมในฝัก....เป็นคนที่ประชาชนรัก เพราะทำแต่ความเจริญ
++++++++++++++++++++++++++++++++++
มองเจตนาผิด
การออกมาเคาะข่าว เรื่องปฏิวัติ ของ “นายแพลแม็คอาเธ่อร์” พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี แล้วก็ช่วยกันคิด
๓ แนวทางแห่งการรัฐประหาร เรื่องสถาบัน คอรัปชั่น และความแตกแยกของคนไทย
เป็นเรื่องที่ “บิ๊กพัลลภ” ท่านปุจจามานาน มีคนจ้องที่จะล้ม “รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้ได้
ถึง “พรรคเพื่อไทย” จะคุมอำนาจเอาไว้ในมือ...แต่อำนาจที่เหนืออำนาจ ที่แฝงมากับ “องค์กรอิสระ” ที่มีอำนาจค้ำฟ้าค้ำแผ่นดิน ที่ก่อเกิดมาจาก “คมช.” อสูรร้ายเผด็จการ ยังคงอยู่
“บิ๊กพัลลภ”ที่ออกมาเฉ่ง..ไม่ใช่พวกทุบหม้อข้าวตัวเอง..แต่เล็งเห็นองค์กรอิสระอันตรายน่าดู
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
***************************************************
วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555
คดีหุ้นชินคอร์ปจบไม่เก็บภาษี-ไม่ผิดปกปิดโครงสร้าง !!?
อธิบดีกรมสรรพากรยืนยันต้องยึดตามคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ระบุว่าหุ้นชินคอร์ปไม่ใช่ของ “พานทองแท้-พินทองทา” แต่เป็นของ “ทักษิณ-พจมาน” ทำให้ไม่สามารถเรียกเก็บภาษี 12,000 ล้านบาทได้ เพราะโอนกันในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้านดีเอสไอยุติสอบ “ยิ่งลักษณ์-บรรณพจน์-โอ๊ค-เอม” ร่วมกันปกปิดโครงสร้างถือหุ้นชินคอร์ป ยืนยันเป็นไปตามพยานหลักฐานที่ไม่พบความผิด ไม่ใช่ใบสั่งทางการเมือง
++++++++++++++++
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้เก็บภาษีการโอนหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร จำนวน 12,000 ล้านบาทว่า ไม่มีขั้นตอนที่อยู่ในอำนาจของกรมสรรพากรแล้ว
“เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดีว่าหุ้นจำนวนดังกล่าวที่มีภาระภาษีไม่ใช่ของนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร แต่เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน เมื่อศาลตัดสินออกมาอย่างนี้ส่งผลให้ธุรกรรมการซื้อขายหุ้นดังกล่าวที่ทำกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษี ขั้นตอนของกรมสรรพากรจึงยุติลง”
ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าต้องเรียกเก็บภาษีก่อนหมดอายุความสิ้นเดือน มี.ค. นี้ หากไม่เรียกเก็บภาษีจาก พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบเอาผิดผู้เกี่ยวข้องฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 8 เม.ย. นี้
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงถึงการที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ทำหนังสือเร่งรัดดำเนินคดีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา กรณีปกปิดโครงสร้างการถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฐานร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งใช้เป็นพยานหลักฐาน
นายธาริตกล่าวว่า เรื่องนี้เกิดเมื่อปี 2545-2547 ตอนนั้นกฎหมายยังไม่ได้กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายเพิ่งบังคับใช้เมื่อปี 2551 จึงเห็นว่าเป็นการกระทำไม่ครบองค์ประกอบความผิด
ส่วนประเด็นการรายงานโครงสร้างของหุ้นชินคอร์ปที่บริษัทเป็นผู้จัดทำ และข้อมูลที่ใช้รายงานก็รับมาจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่และจำนวนหุ้นที่ปรากฏในรายงานดังกล่าวตรงกันกับของตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ได้เป็นการรายงานเท็จ และไม่พบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ น.ส.พินทองทา และนายพานทองแท้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำรายงานดังกล่าว ส่วนนายบรรพจน์ได้ร่วมรับรองรายงานกับกรรมการคนอื่นในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ การกระทำของทั้ง 4 คน ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์แต่อย่างใด จึงมีคำสั่งให้ยุติเรื่องเพราะไม่พบการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา
“เป็นการยุติตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ดีเอสไอทำตามหน้าที่ ไม่รับคำสั่งใคร”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้เก็บภาษีการโอนหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร จำนวน 12,000 ล้านบาทว่า ไม่มีขั้นตอนที่อยู่ในอำนาจของกรมสรรพากรแล้ว
“เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดีว่าหุ้นจำนวนดังกล่าวที่มีภาระภาษีไม่ใช่ของนายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร แต่เป็นของ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน เมื่อศาลตัดสินออกมาอย่างนี้ส่งผลให้ธุรกรรมการซื้อขายหุ้นดังกล่าวที่ทำกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษี ขั้นตอนของกรมสรรพากรจึงยุติลง”
ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าต้องเรียกเก็บภาษีก่อนหมดอายุความสิ้นเดือน มี.ค. นี้ หากไม่เรียกเก็บภาษีจาก พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบเอาผิดผู้เกี่ยวข้องฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 8 เม.ย. นี้
ด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงถึงการที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ทำหนังสือเร่งรัดดำเนินคดีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา กรณีปกปิดโครงสร้างการถือหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฐานร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งใช้เป็นพยานหลักฐาน
นายธาริตกล่าวว่า เรื่องนี้เกิดเมื่อปี 2545-2547 ตอนนั้นกฎหมายยังไม่ได้กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายเพิ่งบังคับใช้เมื่อปี 2551 จึงเห็นว่าเป็นการกระทำไม่ครบองค์ประกอบความผิด
ส่วนประเด็นการรายงานโครงสร้างของหุ้นชินคอร์ปที่บริษัทเป็นผู้จัดทำ และข้อมูลที่ใช้รายงานก็รับมาจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่และจำนวนหุ้นที่ปรากฏในรายงานดังกล่าวตรงกันกับของตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ได้เป็นการรายงานเท็จ และไม่พบว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ น.ส.พินทองทา และนายพานทองแท้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำรายงานดังกล่าว ส่วนนายบรรพจน์ได้ร่วมรับรองรายงานกับกรรมการคนอื่นในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ การกระทำของทั้ง 4 คน ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์แต่อย่างใด จึงมีคำสั่งให้ยุติเรื่องเพราะไม่พบการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา
“เป็นการยุติตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ดีเอสไอทำตามหน้าที่ ไม่รับคำสั่งใคร”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
เผด็จการคึกคะนอง !!?
เห็นเชียร์ผลงาน “กลุ่มปฏิวัติ” ยิ่งนัก สิพ่อแม่พี่น้อง
เมื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ปลาบปลื้ม ยกก้น “คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ “คตส.” ที่เป็น “สมบัติบาปอย่างหนา” ที่เกิดจากการปฏิวัติ
ไปชูธง หลงเชียร์พวกทำลาย “ประชาธิปไตย” ถือว่าขัดกับความเป็น พรรคประชาธิปัตย์
ที่ส่งเสียงดังกระตู้วู้ นิยมชมชอบ อันเนื่องมาจาก การใช้อำนาจเถื่อน เล่นงาน “ทักษิณ ชินวัตร” ให้ตายคาเขียง
ทำหยั่งงี้นะ “บิ๊กมาร์ค”...ขอตักน้ำรดหัวสาก?..เชียร์เผด็จการมาก ๆ ประชาธิปัตย์ขาดทุน บานตะเกียง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฝีมือคนระดับ
เก่งงาน บริหารเป็นเลิศ ต้องยกนิ้วให้กับ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เค้าไปขอรับ
ราคาน้ำมันที่ว่าแพงอย่างก้าวกระโดดนั้น..ราคาแค่บาเรลละ ๑๐๘ ดอลล่าร์เอง
ยุค “รัฐบาลมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แพงระยับ บาเรลละ ๑๑๖ ต่อดอลล่าร์.. เศรษฐกิจจึงร่วงผล็อย หงายเก๋ง
“นายกฯยิ่งลักษณ์” ใช้เวลาปั้มผลงาน เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ตก..ผิดกับ “อดีตนายกฯมาร์ค” ที่ดีแต่พ่น น้ำลายเยิ้ม
“มาร์ค”ดีแต่พูดอย่างเดียว...ปากหวานแต่ก้นเปรี้ยว?..เคยมีสักเที่ยวมั้ย ที่มีความคิดริ เริ่ม
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ด่าเขา อิเหนาเป็นเอง?
นี่,ก็คนประเภทพันธุ์ปากเก่ง
เสี่ยเจ้าสัวนายทุนใหญ่... แกว่างปากหาเสี้ยน ไม่หยุด
“วันนี้คนชั่วในประเทศนิยมเข้ามาหาอำนาจด้วยการเลือกตั้ง” ดูสิ,ช่างกล่าวหา ปั้นเรื่องมาพูด
อย่างไรก็ตาม, นักการเมืองทุกคนไม่ได้ชั่วกันไปหมด? .. ดีกว่านายทุน-ขุนศึก ศักดินา ที่นิยมอำนาจนอกระบบ ที่ทำให้ประเทศไทย เสียหายทุกวัน
ใช้วาจามากล่าวด่าว่าแดก..แท้แล้วตัวเองก็ผู้ดีแปดสาแหรก?..มาแหกปากด่าคนอื่นทำไมกัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กอดซากศพ
เมื่อ สภาผู้แทนราษฎร มีมติเป็นที่เอกฉันท์ ให้แก้รัฐธรรมนูญหน้าแหลมฟันดำได้ ทุกอย่างก็น่าจะจบ
ไฉน, “กิตติศักดิ์ ปรกติ” อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฐานะโฆษกที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ของสำนักงานผู้ตรวจแผ่นดิน จึงต่อความยาวสาวความยืด อย่างไม่รู้หน้าที่
เป็นเหมือนจระเข้ออกมาขวางคลอง ไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ ซะงั้นแหละคุณพี่
อ้างไปน้ำขุ่น ๆ ต้องทำประชามติเสียก่อน ถึงจะแก้รัฐธรรมนูญได้...เมื่อแก้แล้ว ก็ต้องมาทำประชามติอีกหน จึงจะสมบูรณ์เสร็จสรรพ
โถ,ทำเรื่องง่ายให้มันลำบาก..จงเลิกละเลงขนมเบื้องด้วยปาก?..หัดกระดากใจบ้างเถอะครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เรื่องดี ๆ มีเข้ามาเป็นกุรุส
เมื่อ “รัฐสภาไทย” เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม aipa caucus ครั้งที่ ๔ เป็นวาระอันยอดเยี่ยมสุด...สุด
โดยจัดงาน ระหว่างวันที่ ๓๐ เมษายน ถึง ๓ พฤษภาคม ณ. โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพ ..มีสมาชิก ๑๐ ประเทศ เข้าร่วมประชุมพร้อมหน้า
เป็นการระดมมันสมอง ของสมัชชารัฐสภาอาเซียน ให้เป็นไปในทางทิศเดียวกัน สิคุณเจ้าขา
เมื่อรัฐสภาไทย ได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่ เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
นี่สะท้อนให้เห็น....รัฐสภาไทยมั่นคงไม่ใช่ล้อเล่น...เราจึงเป็นที่ยอมรับ ของต่างชาติจริง ๆ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ปลาบปลื้ม ยกก้น “คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ “คตส.” ที่เป็น “สมบัติบาปอย่างหนา” ที่เกิดจากการปฏิวัติ
ไปชูธง หลงเชียร์พวกทำลาย “ประชาธิปไตย” ถือว่าขัดกับความเป็น พรรคประชาธิปัตย์
ที่ส่งเสียงดังกระตู้วู้ นิยมชมชอบ อันเนื่องมาจาก การใช้อำนาจเถื่อน เล่นงาน “ทักษิณ ชินวัตร” ให้ตายคาเขียง
ทำหยั่งงี้นะ “บิ๊กมาร์ค”...ขอตักน้ำรดหัวสาก?..เชียร์เผด็จการมาก ๆ ประชาธิปัตย์ขาดทุน บานตะเกียง
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฝีมือคนระดับ
เก่งงาน บริหารเป็นเลิศ ต้องยกนิ้วให้กับ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เค้าไปขอรับ
ราคาน้ำมันที่ว่าแพงอย่างก้าวกระโดดนั้น..ราคาแค่บาเรลละ ๑๐๘ ดอลล่าร์เอง
ยุค “รัฐบาลมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แพงระยับ บาเรลละ ๑๑๖ ต่อดอลล่าร์.. เศรษฐกิจจึงร่วงผล็อย หงายเก๋ง
“นายกฯยิ่งลักษณ์” ใช้เวลาปั้มผลงาน เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ตก..ผิดกับ “อดีตนายกฯมาร์ค” ที่ดีแต่พ่น น้ำลายเยิ้ม
“มาร์ค”ดีแต่พูดอย่างเดียว...ปากหวานแต่ก้นเปรี้ยว?..เคยมีสักเที่ยวมั้ย ที่มีความคิดริ เริ่ม
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ด่าเขา อิเหนาเป็นเอง?
นี่,ก็คนประเภทพันธุ์ปากเก่ง
เสี่ยเจ้าสัวนายทุนใหญ่... แกว่างปากหาเสี้ยน ไม่หยุด
“วันนี้คนชั่วในประเทศนิยมเข้ามาหาอำนาจด้วยการเลือกตั้ง” ดูสิ,ช่างกล่าวหา ปั้นเรื่องมาพูด
อย่างไรก็ตาม, นักการเมืองทุกคนไม่ได้ชั่วกันไปหมด? .. ดีกว่านายทุน-ขุนศึก ศักดินา ที่นิยมอำนาจนอกระบบ ที่ทำให้ประเทศไทย เสียหายทุกวัน
ใช้วาจามากล่าวด่าว่าแดก..แท้แล้วตัวเองก็ผู้ดีแปดสาแหรก?..มาแหกปากด่าคนอื่นทำไมกัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กอดซากศพ
เมื่อ สภาผู้แทนราษฎร มีมติเป็นที่เอกฉันท์ ให้แก้รัฐธรรมนูญหน้าแหลมฟันดำได้ ทุกอย่างก็น่าจะจบ
ไฉน, “กิตติศักดิ์ ปรกติ” อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฐานะโฆษกที่ปรึกษาด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ของสำนักงานผู้ตรวจแผ่นดิน จึงต่อความยาวสาวความยืด อย่างไม่รู้หน้าที่
เป็นเหมือนจระเข้ออกมาขวางคลอง ไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ ซะงั้นแหละคุณพี่
อ้างไปน้ำขุ่น ๆ ต้องทำประชามติเสียก่อน ถึงจะแก้รัฐธรรมนูญได้...เมื่อแก้แล้ว ก็ต้องมาทำประชามติอีกหน จึงจะสมบูรณ์เสร็จสรรพ
โถ,ทำเรื่องง่ายให้มันลำบาก..จงเลิกละเลงขนมเบื้องด้วยปาก?..หัดกระดากใจบ้างเถอะครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เรื่องดี ๆ มีเข้ามาเป็นกุรุส
เมื่อ “รัฐสภาไทย” เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม aipa caucus ครั้งที่ ๔ เป็นวาระอันยอดเยี่ยมสุด...สุด
โดยจัดงาน ระหว่างวันที่ ๓๐ เมษายน ถึง ๓ พฤษภาคม ณ. โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพ ..มีสมาชิก ๑๐ ประเทศ เข้าร่วมประชุมพร้อมหน้า
เป็นการระดมมันสมอง ของสมัชชารัฐสภาอาเซียน ให้เป็นไปในทางทิศเดียวกัน สิคุณเจ้าขา
เมื่อรัฐสภาไทย ได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่ เป็นเจ้าภาพจัดงานนี้ ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
นี่สะท้อนให้เห็น....รัฐสภาไทยมั่นคงไม่ใช่ล้อเล่น...เราจึงเป็นที่ยอมรับ ของต่างชาติจริง ๆ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พรรคประชาธิปัตย์ ต้องก้าวให้ข้าม คตส.
ประเด็นทางการเมืองกลับมาเป็นที่ร้อนแรงอีกครั้ง หลังจากเกิดวิวาทะระหว่าง “พรรคประชาธิปัตย์” และ ส.ว.อีกบางส่วน กับ “พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” อดีตประธาน คมช. และ ส.ส.พรรคมาตุภูมิ ในฐานะประธาน กมธ.ปรองดอง ในการประชุมร่วมรัฐสภา
ประเด็นที่เป็นปัญหาคงหนีไม่พ้น “ข้อเสนอการปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า” ภายใต้การดูแลของ กมธ. ปรองดอง ชุดของ พล.อ.สนธิ ที่ระบุให้ยุบกระบวนการคดีอาญาของ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คมช. แต่งตั้งขึ้นมาหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าประเด็นสำคัญของความขัดแย้งในรัฐสภา อยู่ที่ “คดีอาญาของ คตส.” ที่สุดท้ายลงเอยด้วยการพิพากษายึดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และกลายเป็นชนวนของความขัดแย้งทางการเมืองไทยในรอบ 3-4 ปีให้หลัง
ถ้าย้อนดูเหตุการณ์ทางการเมืองไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549 เป็นต้นมา จะพบว่า “ผลพวง” หรือ “มรดก” ของการรัฐประหารครั้งนั้น มีด้วยกัน 2 อย่างที่สำคัญ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ คดีอาญาของ คตส.
มาถึงวันนี้ เราต้องยอมรับว่าผลพวงของรัฐประหารทั้ง 2 ประการ สร้างปัญหาให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก และในช่วงรอบปีหลังก็มีความพยายามจะแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อปลดล็อคทางการเมือง
ประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ ค่อนข้างชัดเจนว่า หลายฝ่ายในสังคมไทยเห็นตรงกันว่าต้องแก้ไข เพียงแต่ต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าจะมีกระบวนการแก้ไขอย่างไร มีเนื้อหาอย่างไร ซึ่งพรรคเพื่อไทยในฐานะผู้นำเสียงข้างมากของรัฐสภาปัจจุบัน (และอีกนัยหนึ่งก็คือฝ่ายที่โดนกระทำจากรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับนี้) กำลังพยายามผลักดันกระบวนการตั้ง ส.ส.ร.3 อย่างเต็มที่ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เอง (ในฐานะฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้) ก็ไม่ได้คัดค้านเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญอย่างจริงจังมากนัก และจริงๆ แล้วพรรคประชาธิปัตย์เองด้วยซ้ำที่เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ไปครั้งหนึ่งแล้วในช่วงปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์
แต่ ประเด็นเรื่องคดีของ คตส. ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก เพราะเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ (ในฐานะชนวนขัดแย้งตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร) โดยตรง ในทางกฎหมาย คดีตัดสินไปแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดในเรื่องที่ดินรัชดาฯ แต่ในทางปฏิบัติ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมรับผลของคดีนี้และเดินทางหลบหนีไปอาศัยในต่างประเทศ
จุดที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับ คดี คตส. นำมาคัดค้านก็คือ “กระบวนการ” ของ คตส. นั้นไม่ชอบธรรม นับตั้งแต่การแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร, สมาชิกของ คตส. ที่เต็มไปด้วยศัตรูของ พ.ต.ท.ทักษิณ, ข้อหาความผิดเรื่องที่ดิน ไปจนการพิจารณาคดีของตุลาการ ซึ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนัก เพราะตามหลักการด้านยุติธรรมสากล “กระบวนการ” จำเป็นต้องชอบธรรมก่อน จึงจะสามารถพิจารณาตัดสินความถูกผิดได้
“ความไม่ชอบธรรม” เหล่านี้ยังถือเป็นชนวนเหตุสำคัญประการหนึ่งที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดมาชุมนุม จนเกิดความไม่สงบกลางกรุงเทพมหานครทั้งในปี 2552 และ 2553 ความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็กลายเป็น
ปัญหาเรื้อรังที่ยังกัดกร่อนการพัฒนาสังคมไทยมาในรอบ 5 ปีหลัง
การสร้างกระบวนการปรองดองขึ้นมาในสังคมไทยที่แตกร้าว จำเป็นต้อง “ปลดล็อค” ชนวนเหล่านี้ เพื่อให้สภาพสังคมกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียเปรียบเสียก่อน จากนั้นการเจรจาจึงจะเกิดขึ้นได้
คดีอาญาของ คตส. ก็ถือเป็นหนึ่งในชนวนความขัดแย้งที่ว่า เหตุเพราะที่มาของกระบวนการนั้นไม่ชอบธรรมตั้งแต่แรก ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีหรือไม่มีความผิด แต่กระบวนการพิจารณาคดีนั้นยังไม่ถูกต้อง ควรจะกลับไปแก้ไขให้ถูกต้องกันก่อน
น้ำหนักของ คตส. ลดน้อยลงมากในรอบปีหลังๆ และเมื่อ พล.อ.สนธิ ในฐานะอดีตประธาน คมช. สนับสนุนข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าที่ให้ยกเลิกกระบวนการและคดีความของ คตส. เสียเอง ยิ่งทำให้น้ำหนักของคดี คตส. น้อยเข้าไปอีก
การปกป้องคดีอาญาของ คตส. โดย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่มีประโยชน์อะไรในทางการเมือง ทั้งต่อประเทศไทย และต่อพรรคประชาธิปัตย์เองด้วย
สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ควรทำ ก็คือ หยุดสนับสนุนคดีอาญาของ คตส. และเสนอให้สร้างกระบวนการพิจารณาความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ เสียใหม่ ที่ถูกต้องตามหลักการยุติธรรมสากล โดยมีคนไทยทั้งประเทศ ฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นชอบร่วมกัน
ไม่ว่าข้อเสนอนี้จะเกิดขึ้นได้สำเร็จหรือไม่ ก็จะไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ว่ารับใช้เผด็จการ เกาะกุมผลประโยชน์จากคณะรัฐประหาร เพราะที่มาของกระบวนการยุติธรรมใหม่ ไม่มีจุดอ่อนให้โจมตีแบบเดียวกับ คตส. อีก
เสียงสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เดิมก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะยังยืนอยู่บนจุดยืนดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เหมือนเดิม มิหนำซ้ำยังจะได้เสียงสนับสนุนเพิ่มเติมจากคนที่ไม่เห็นด้วยกับคดีของ คตส. ด้วยซ้ำ
เพื่อฟื้นฟูศักดิ์ศรีและชื่อเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อพัฒนาตัวเองเป็นฝ่ายค้านที่ประชาชนคนไทยพึ่งพิงได้ และเพื่อความปรองดองของคนในชาติ พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางเลือกอื่นให้เลือกเดินแล้ว ขอเพียงแค่ต้องรู้ตัวว่าต้องทำอะไรเท่านั้น!!!
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประเด็นที่เป็นปัญหาคงหนีไม่พ้น “ข้อเสนอการปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า” ภายใต้การดูแลของ กมธ. ปรองดอง ชุดของ พล.อ.สนธิ ที่ระบุให้ยุบกระบวนการคดีอาญาของ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คมช. แต่งตั้งขึ้นมาหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
“รัฐสภาต้องคิดว่า เรากำลังทำงานให้แผ่นดิน ไม่ใช่ทำงานให้คนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะ แถลงการณ์คณะปฏิวัตินั้นบ่งบอกว่า ท่านคิดว่าสมัยนั้นมีการทุจริต แทรกแซงองค์กรอิสระ แล้ว กมธ.ปรองดองได้ศึกษาสิ่งเหล่านี้ด้วยหรือไม่ แล้วเรื่องยุบ คตส. นี่สร้างมากับมือ ปฏิวัติมากับมือ ในที่สุดจะยกเลิกเหรอ พล.อ.สนธิตอบคำถามหน่อยว่า แถลงการณ์ในเวลา 23.50 น. ของวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นเรื่องเท็จหรือเรื่องจริง”ส่วนการอภิปรายของ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
อภิปรายโดย นายวิเชียร คันฉ่อง ส.ว.ตรัง
ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ปชป. กล่าวว่า ปชป.สนับสนุนการปรองดอง แต่ไม่สนับสนุนการนำกฎหมายไปล้างผิดให้คนโกง ขณะที่นายธนา ชีรวินิจ ส.ส.กทม. ปชป. กล่าวว่า วันก่อน พล.อ.สนธิแอบทำปฏิวัติ แล้ววันนี้แอบเสนอรายงาน กมธ.ปรองดองจนบรรยากาศแตกแยกกันไปหมด ไม่รู้จะทำร้ายประเทศไปถึงไหน ถามว่า พล.อ.สนธิประธาน คมช.กับวันนี้ที่เป็น ส.ส. เป็นคนเดียวกันหรือไม่จากนั้นความขัดแย้งในสภาก็เกิดขึ้นเมื่อ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่ม ส.ว.บางส่วน กรูเข้าไปหา พล.อ.สนธิ ในช่วงพักการประชุม จนเป็นประเด็นข่าวใหญ่ประจำวัน แต่สุดท้ายเรื่องก็จบด้วยรัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งน่าจะเป็นวันที่ 4 เมษายนนี้
(ข้อมูลจาก มติชน)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ภาพจาก Flickr ของ Thaigov)
เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าประเด็นสำคัญของความขัดแย้งในรัฐสภา อยู่ที่ “คดีอาญาของ คตส.” ที่สุดท้ายลงเอยด้วยการพิพากษายึดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และกลายเป็นชนวนของความขัดแย้งทางการเมืองไทยในรอบ 3-4 ปีให้หลัง
ถ้าย้อนดูเหตุการณ์ทางการเมืองไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยา 2549 เป็นต้นมา จะพบว่า “ผลพวง” หรือ “มรดก” ของการรัฐประหารครั้งนั้น มีด้วยกัน 2 อย่างที่สำคัญ ได้แก่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ คดีอาญาของ คตส.
มาถึงวันนี้ เราต้องยอมรับว่าผลพวงของรัฐประหารทั้ง 2 ประการ สร้างปัญหาให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก และในช่วงรอบปีหลังก็มีความพยายามจะแก้ปัญหาเหล่านี้เพื่อปลดล็อคทางการเมือง
ประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ ค่อนข้างชัดเจนว่า หลายฝ่ายในสังคมไทยเห็นตรงกันว่าต้องแก้ไข เพียงแต่ต้องพิจารณาในรายละเอียดว่าจะมีกระบวนการแก้ไขอย่างไร มีเนื้อหาอย่างไร ซึ่งพรรคเพื่อไทยในฐานะผู้นำเสียงข้างมากของรัฐสภาปัจจุบัน (และอีกนัยหนึ่งก็คือฝ่ายที่โดนกระทำจากรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับนี้) กำลังพยายามผลักดันกระบวนการตั้ง ส.ส.ร.3 อย่างเต็มที่ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เอง (ในฐานะฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญฉบับนี้) ก็ไม่ได้คัดค้านเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญอย่างจริงจังมากนัก และจริงๆ แล้วพรรคประชาธิปัตย์เองด้วยซ้ำที่เคยแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 ไปครั้งหนึ่งแล้วในช่วงปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์
แต่ ประเด็นเรื่องคดีของ คตส. ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก เพราะเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ (ในฐานะชนวนขัดแย้งตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร) โดยตรง ในทางกฎหมาย คดีตัดสินไปแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดในเรื่องที่ดินรัชดาฯ แต่ในทางปฏิบัติ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมรับผลของคดีนี้และเดินทางหลบหนีไปอาศัยในต่างประเทศ
จุดที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยกับ คดี คตส. นำมาคัดค้านก็คือ “กระบวนการ” ของ คตส. นั้นไม่ชอบธรรม นับตั้งแต่การแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร, สมาชิกของ คตส. ที่เต็มไปด้วยศัตรูของ พ.ต.ท.ทักษิณ, ข้อหาความผิดเรื่องที่ดิน ไปจนการพิจารณาคดีของตุลาการ ซึ่งเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนัก เพราะตามหลักการด้านยุติธรรมสากล “กระบวนการ” จำเป็นต้องชอบธรรมก่อน จึงจะสามารถพิจารณาตัดสินความถูกผิดได้
“ความไม่ชอบธรรม” เหล่านี้ยังถือเป็นชนวนเหตุสำคัญประการหนึ่งที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดมาชุมนุม จนเกิดความไม่สงบกลางกรุงเทพมหานครทั้งในปี 2552 และ 2553 ความขัดแย้งทางการเมืองเหล่านี้ก็กลายเป็น
ปัญหาเรื้อรังที่ยังกัดกร่อนการพัฒนาสังคมไทยมาในรอบ 5 ปีหลัง
การสร้างกระบวนการปรองดองขึ้นมาในสังคมไทยที่แตกร้าว จำเป็นต้อง “ปลดล็อค” ชนวนเหล่านี้ เพื่อให้สภาพสังคมกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ ไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียเปรียบเสียก่อน จากนั้นการเจรจาจึงจะเกิดขึ้นได้
คดีอาญาของ คตส. ก็ถือเป็นหนึ่งในชนวนความขัดแย้งที่ว่า เหตุเพราะที่มาของกระบวนการนั้นไม่ชอบธรรมตั้งแต่แรก ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีหรือไม่มีความผิด แต่กระบวนการพิจารณาคดีนั้นยังไม่ถูกต้อง ควรจะกลับไปแก้ไขให้ถูกต้องกันก่อน
น้ำหนักของ คตส. ลดน้อยลงมากในรอบปีหลังๆ และเมื่อ พล.อ.สนธิ ในฐานะอดีตประธาน คมช. สนับสนุนข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าที่ให้ยกเลิกกระบวนการและคดีความของ คตส. เสียเอง ยิ่งทำให้น้ำหนักของคดี คตส. น้อยเข้าไปอีก
การปกป้องคดีอาญาของ คตส. โดย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่มีประโยชน์อะไรในทางการเมือง ทั้งต่อประเทศไทย และต่อพรรคประชาธิปัตย์เองด้วย
สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ควรทำ ก็คือ หยุดสนับสนุนคดีอาญาของ คตส. และเสนอให้สร้างกระบวนการพิจารณาความผิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ เสียใหม่ ที่ถูกต้องตามหลักการยุติธรรมสากล โดยมีคนไทยทั้งประเทศ ฝ่ายค้านและรัฐบาลเห็นชอบร่วมกัน
ไม่ว่าข้อเสนอนี้จะเกิดขึ้นได้สำเร็จหรือไม่ ก็จะไม่มีใครวิพากษ์วิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ว่ารับใช้เผด็จการ เกาะกุมผลประโยชน์จากคณะรัฐประหาร เพราะที่มาของกระบวนการยุติธรรมใหม่ ไม่มีจุดอ่อนให้โจมตีแบบเดียวกับ คตส. อีก
เสียงสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เดิมก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะยังยืนอยู่บนจุดยืนดำเนินคดีกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เหมือนเดิม มิหนำซ้ำยังจะได้เสียงสนับสนุนเพิ่มเติมจากคนที่ไม่เห็นด้วยกับคดีของ คตส. ด้วยซ้ำ
เพื่อฟื้นฟูศักดิ์ศรีและชื่อเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อพัฒนาตัวเองเป็นฝ่ายค้านที่ประชาชนคนไทยพึ่งพิงได้ และเพื่อความปรองดองของคนในชาติ พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางเลือกอื่นให้เลือกเดินแล้ว ขอเพียงแค่ต้องรู้ตัวว่าต้องทำอะไรเท่านั้น!!!
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
ชนบทเผชิญหน้าชนชั้นสูง การบ้านปรองดองใน (โลกาภิวัตน์) !!?
ปรากฏการณ์ความขัดแย้งเรื้อรังที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ณ ขณะนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไขโดยรีบด่วนเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศต่อไป
สำหรับในเรื่องดังกล่าวคณะกรรมการอิสระเพื่อค้นหาความจริงและการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้จัดเสนอผลวิจัย โครงการปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งและแนวทางสู่ความปรองดอง ศึกษาเฉพาะกรณีด้านโครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน
มีการเปิดเวทีสาธารณะ โครงการปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งและแนวทางสู่ความปรองดอง ศึกษาเฉพาะกรณีด้านโครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน โดย รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, รศ.ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์, รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และ ผศ.พฤกษ์ เถาถวิล ห้องประชุมบุญชู ตึกอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
>>ปัญหาความเหลื่อมล้ำนำมาสู่ความขัดแย้ง
รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จะนำงานวิจัยชิ้นนี้ แบ่งเป็น 7 บท ไม่ต่ำกว่า 300 หน้า เป็นแนวทางหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งต่อไป
ความขัดแย้งที่เกิดในช่วงเดือนเมษา-พฤษภา 2553 เป็นเพราะมวลชน ไม่ยอมรับสภาพการดำรงอยู่ของโครงสร้าง อำนาจทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันอีกต่อไป โจทย์ใหญ่ในการศึกษานี้ คือปัจจัยอะไรในโครงสร้างของอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคม ที่นำไปสู่การเกิดความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มฝ่ายและพลังทางสังคมต่างๆ และค้นคว้าว่ามีปัจจัยอะไรที่จะช่วยในการปฏิรูปการจัดสรรอำนาจ เพื่อลดทอนความขัดแย้งที่รุนแรงและนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมต่อไป พบว่าเครือข่ายหลักๆ ที่นำไปสู่โครงสร้างอำนาจ ม 4 เครือข่าย คือ 1.อุดมการณ์ 2.การ เมือง 3.ทหาร 4.เศรษฐกิจ
“โครงสร้างทางสังคมนั้นจริงๆ แล้วในทางปฏิบัติไม่มีความเท่าเทียมกันมาตลอด แต่มันจะแสดงออกในหลายลักษณะในแง่ของการดูถูก หรือการขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างหญิงชาย คือวิถีความเหลื่อมล้ำมีมาก จนหาความเหลื่อมล้ำได้ง่ายกว่าความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าในหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทำไมคนไม่ประท้วงทุกวัน ทำไมคนไม่ขัดแย้งกัน นี่คือโจทย์ว่าทำไมช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำไมความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันซึ่งมีมาตลอด จึงกลายเป็นจุดที่คนไม่ยอมรับแล้ว คนมีปฏิกิริยาไม่ยอมรับมากกว่าที่เคยมีมาเหตุการณ์ไม่ปกติจากแต่ก่อนทนได้ หรือมีคำตอบอย่างอื่น แต่ตอนนี้คำตอบเหล่านั้นสิ่งที่เคยทนได้ ไม่ทนแล้ว”
“และนี่ก็คือสิ่งที่เราสนใจว่าเกิดอะไรขึ้น แน่นอนก็ไปโยงถึงความชอบธรรมของสถาบันเครือข่ายต่างๆ ทำให้สิ่งที่เป็นอาญาสิทธิ เริ่มมีคำถามว่าเป็นอาญาสิทธิที่ถูกต้องไหม แล้วมีคนออกมาแสดงออกด้วยทั้งหมด เป็นโจทย์คำถามถึงความขัดแย้งต่างๆ จากนั้นเราจะดูว่าปัจจัยอะไรที่จะช่วยการปฏิรูป การจัดการอำนาจและโครงสร้างอำนาจหรือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เพื่อนำไปสู่การลดทอนความขัดแย้งที่รุนแรงและนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ปรองดองในสังคมต่อไป นี่เป็นภาพรวมของงานวิจัยชิ้นนี้” ศ.ดร.ธเนศ กล่าว
>> ผลจากต้มยำกุ้งทำให้กลุ่มทุนพลิกขั้ว
รศ.ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์ อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึง อดีตการชี้วัดสังคมเศรษฐกิจไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว กรุงเทพฯ มีสัดส่วน GDP 1 ใน 3 หรือ 33% แต่ปัจจุบันนี้เหลือ 1 ใน 4 ขณะที่การขยายตัวเกิดขึ้นมากในภาคกลางคือ นอกกรุงเทพฯ โดยเฉพาะภาคกลางและตะวันออก แสดงว่าอำนาจเศรษฐกิจเริ่มกระจายไปชนบทสำหรับเหนือ, อีสาน, ใต้ ก็มีการก่อสร้างโรงงาน มีผลผลิตทางการเกษตร มีกิจการขนาดใหญ่
สังคมเศรษฐกิจไทย วิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2540 มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจ โดย หลังปี 2540 กลุ่มทุนเก่า พวกแบงก์ที่เคยมีอิทธิพลในอดีต กลุ่มทุนเหล่านี้ ควบคุมเงินทุน ควบคุมสินทรัพย์ 70-80% กลุ่มทุนเหล่านี้ ก็มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เจ้าของทุนซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ๆ ก็ถูกลดทอน จนกระทั่งปัจจุบัน แม้ว่าแบงก์จะเติบโต แต่สัดส่วนจริงๆ ของผู้เป็นเจ้าของดั้งเดิม เช่น ตระกูลโสภณพนิช ตระกูลล่ำซำ ก็เหลือน้อยมาก พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลง แต่กลุ่มทุนใหม่ก็เกิดขึ้น โดยเฉพาะหลังเศรษฐกิจฟื้นตัว
“กลุ่มทุนที่เติบโต ซึ่งสะท้อนภาพการเติบโตของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ก็คือ กลุ่มทุนคมนาคม กลุ่มทุนบริการ กลุ่มทุนสื่อสาร ถ้าเราไปดูลำดับเศรษฐีของประเทศไทยในปัจจุบัน ก็จะมีตระกูลใหม่ๆ ซึ่ง 20-30 ปี เราไม่เคยรู้จักตระกูลเหล่านี้ เช่น ตระกูล ชินวัตร, ดามาพงศ์, มาลีนนท์, จึงรุ่งเรืองกิจ, ดำรงชัยธรรม, โพธารามิก แล้วพวกนี้ แม้กระทั่งปัจจุบัน ถือว่าเป็นผู้มีสัดส่วนติดอันดับรายใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นี่คือ พลวัตของกลุ่มทุนใหม่ ซึ่งมีไดเวิร์สเป็นภาคธุรกิจบริการ ธุรกิจคมนาคม ขณะที่ในอดีตมี 4 กลุ่มหลัก โดยเฉพาะทุนการเงิน ซึ่งมีเครือข่ายแบงก์กรุงเทพฯ แบงก์กสิกร ขณะเดียวกับกติกาของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็สนับสนุนพรรคการเมืองขนาดใหญ่และต้องมีทุนขนาดใหญ่ แม้ว่าตัว รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าต้องมีเงิน แต่ลองดู นะครับ ระบบปาร์ตี้ลิสต์ ทำให้พรรคเล็กอยู่ไม่ได้ ออกแบบมาอย่างมีอคติกับพรรคเล็ก เมื่อพรรคใหญ่ทุนมาก ประกอบกับสังคมโลกาภิวัตน์ที่มีระบบเสรีมากขึ้น กลุ่มทุนก็เข้ามาในพรรคไทยรักไทยมากขึ้น แล้วเป็นกลุ่มทุนที่หลายกรณีก็ไม่ได้ถูกภาวะเศรษฐกิจถล่มในปี 2540 ซึ่งทำไมต้องเข้ามา คือเราต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโลกาภิวัตน์ กติกาการค้าโลกมันบังคับให้หลายประเทศเปิดการค้าเสรีจริงอยู่ โดยหลักการเป็นเสรี แต่กลุ่มทุนเหล่านี้ ผมคิดว่า ความหมายก็คือปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองแล้วกลุ่มเหล่านี้ ก็เข้ามากำหนดนโยบายทางการเมือง นโยบายทางอำนาจ ในด้านหนึ่งก็ปกป้องกลุ่มทุนของตัวเอง” รศ.ดร.พอพันธุ์ กล่าว
นอกจากนั้น หลังปี 2540 ในอดีตย้อนไป 20 กว่าปี ยุคสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แบงก์ไทยพาณิชย์ แบงก์พาณิชย์ ถือว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลมาก พอทักษิณขึ้นมา เป็นนายกฯ เขาเคยไปกระแหนะกระแหน แบงก์กสิกร แบงก์อะไรว่าสนใจแต่เรื่องปรับฮวงจุ้ย บทบาทของเอกชนในฐานะกลุ่มทุนเก่ามันเริ่มหมดไป หลังปี 2540 นายทุน ใหญ่ๆ เจ้าของทุนเข้ามาการเมืองเต็มตัว อันนี้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่เหมือนในอดีต
สำหรับการเมืองไทยหลังปี 2540 เปลี่ยนแปลงไปมากและไม่สามารถถอยหลัง คือสิทธิเสรีภาพของท้องถิ่นไม่สามารถย้อนกลับไปรัฐธรรมนูญแบบครึ่งใบ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2540 มีคุณูปการ คือเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มคนที่ไม่เคยมีส่วนร่วมทางการเมือง ประกอบกับในช่วงที่ทักษิณเป็นผู้นำรัฐบาลปี 2544 ทำให้บุคคลจำนวนมากได้ประโยชน์
เมื่อการเมืองเปิดกว้าง 5-6 ปี ก็จะเกิดผู้ประกอบการทางการเมืองเข้ามาในระบบการเมือง ยกตัวอย่างในระดับรากหญ้า นักการเมืองระดับเล็กระดับใหญ่ คนที่จะเป็นตัวกลางทางการเมือง คอยจัดการทางการเมือง โดยเฉพาะให้กับพรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย เกิดขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน นี่คือการเปิดพื้นที่อย่างมหึมา แม้ทักษิณจะถูกรัฐประหาร 19 กันยา 2549 แต่ปรากฏว่า แนวร่วมก็ยังคงอยู่ ผมคิดว่าเป็นเพราะรัฐธรรมนูญ 2540 บวกนโยบายประชานิยม ทำให้กลุ่มพลังทางการเมือง มันค่อนข้างจะมีความหลากหลาย มีพลังไปสู่ต่างจังหวัด
การเมืองหลังรัฐประหารคล้ายการเผชิญหน้าระหว่างภูมิภาคเหนือกับอีสาน และกลางกับใต้ มีสัดส่วนการเลือกตั้งไปในแนวทางเดียวกัน เลือกตั้งครั้งใด ผลก็ออกมาแบบนั้น
>> “ทหาร” อีกปัจจัยหลักทางการเมือง
รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า กองทัพเป็นส่วนหนึ่งของปมปัญหาความขัดแย้ง เพราะการสร้างระบอบประชาธิปไตย สถาปนารัฐธรรมนูญ วัฒนธรรมของชนชั้นสูง คือข้อตกลงในระหว่างคนชั้นสูงว่าเราจะอยู่ร่วมกันในความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบนี้ แล้วทุกคนก็จะรับรู้ร่วมกัน แต่ย้ำว่าเป็นของคนชั้นสูง ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นมาในสมัย พล.อ.เปรม แล้ว กลายเป็นฐานความขัดแย้งกับคนกลุ่มใหม่ โดยความเปลี่ยนแปลงหลังปี 2516 อำนาจ ของผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของกองทัพ หายไปอย่างฉับพลัน ขณะที่ก่อนนั้นมีการต่อรองกัน เมื่อส่วนหัวหลุดไป จึงมีการแบ่งแยกกลุ่มย่อย ต่อสู้ช่วงชิงว่าใครจะมีอำนาจเหนือการเข้าใกล้ หรืออ้างอิงติดอยู่กับสถาบันฯ เป็นหนทางที่จะทำให้บางกลุ่มในกองทัพมีอำนาจ เหนือกว่าคนอื่น ก่อนที่การอ้างอิงลักษณะนี้ จะกระจายตัวจากทหารไปสู่ข้าราชการและ กลุ่มทุน
ขณะเดียวกันเงื่อนไขต่อมา ก็ทำให้ต้องเปิดให้มีการเลือกตั้ง คือการลงทุนของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมหาศาล พร้อมกับโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นจากกลุ่มทุนการเงินขยายตัวออกไปอย่างมากมาย จึงต้องการเสถียรภาพ ซึ่งต้องมีระบอบประชาธิปไตยกำกับอยู่ เงื่อนไขอย่างน้อย 2 อย่างจึงทำให้มีประชาธิปไตย
ท่ามกลางการเมืองแบบนี้ ทำให้กลุ่มทุนทหารสัมพันธ์กันแนบแน่นมากขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจที่ธนาคารกรุงเทพ กับ พล.อ. เปรม ก็สัมพันธ์กันแนบแน่น ช่วงที่ธนาคาร กรุงเทพมีปัญหา พล.อ.เปรม ก็มีบทบาทคลี่คลายสถานการณ์ของแบงก์ ซึ่งเสถียรภาพที่กองทัพสร้างขึ้นมา มีคนได้ประโยชน์ กลุ่มทุนต่างๆ ข้าราชการขยายตัว ขยายชนชั้นกลางให้มีมากขึ้น ทั้งหมดอยู่ภายใต้อุดมการณ์เดียวกัน แต่เสถียรภาพนี้ไม่ได้ยังผลดีแก่ชาวนาสักเท่าไหร่ ชาวนาผลิตด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ทางออกคือสร้างความหลากหลายในผลผลิต และออกมาทำงานนอกภาคการเกษตร
เสถียรภาพทางการเมืองแบบนี้ ด้านหนึ่งทำให้คนบางกลุ่มเติบโต แต่บางกลุ่มไม่โต เป็นบทบาทของทหาร แล้วทหารก็จะเล่นบทบาทของผู้ที่ค้ำประกัน ค้ำจุน หรือ ปกป้องรักษาอำนาจทางวัฒนธรรม แล้วควบคุมการเมือง รูปแบบนี้เริ่มตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรม ท้ายที่สุดแล้วโครงสร้างอันนี้ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของคนชั้นสูงนี้ สุดท้ายจะกลายเป็นกลุ่มทุนใหม่ซึ่งเกิดขึ้นและจะมีความเปลี่ยนแปลงอีกชุดตามมา
>> วิถีชนบทเปลี่ยนแปลงจากผลของอำนาจ
ผศ.พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของขบวนการประชาชนรากหญ้าในบริบทของการช่วงชิงอำนาจของชนชั้นนำ โดยสังเกตการณ์จากหมู่บ้านและตีความตามปรากฏการณ์ พบว่า คนชนบทเปลี่ยนแปลงไป ทั้งภาคเกษตรและนอกการเกษตร รวมทั้งวิถีการบริโภคความคาดหวังกับชีวิต ก็ใกล้เคียงชนขั้นกลางมากขึ้น เป็นชาวชนบทที่กลายเป็นคนเมือง ซึ่งความสัมพันธ์ทางอำนาจก็เปลี่ยน จากที่เคยยอมรับความเอารัดเอาเปรียบก็กลายเป็นไม่ยอมรับ ขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการชาวบ้านที่ออกมาต่อสู้เรื่องต่างๆ ขณะที่คุณทักษิณ ก็ไม่ได้แตะปัญหาโครงสร้างของชนบท เช่น เรื่องที่ดิน แต่ไม่แก้ปัญหาการเกษตร
ขณะเดียวกัน มีการแย่งชิงอำนาจของชนชั้นนำกับการแย่งชิงมวลชนในชนบท ความวุ่นวายทางการเมือง 4-5 ปีที่ผ่านมาเกิดจากกลุ่มอำนาจ 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็น กลุ่มอำนาจเก่า หรือกลุ่มอนุรักษนิยม ขณะที่ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ มีทักษิณ ชินวัตร และแวดล้อมด้วยกลุ่มทุนใหม่ ซึ่งการแบ่งกลุ่มนี้ ทั้ง 2 ฝ่าย เป็นกลุ่มที่ผนึกอำนาจในลักษณะพันธมิตรพันธุ์ข้ามชนชั้น โดยต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน แต่ไม่ได้ต้องการหักล้างกันถึงที่สุด แต่เป็นการแย่งชิงกันเพื่อสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นกลุ่มประวัติศาสตร์ แล้วมีช่วงเวลาประณีประนอมเกี้ยเซียะ ไม่ทะเลาะกันจนล้มตาย แต่แย่งกันขึ้นไปสู่การ ครองอำนาจ แล้วสิ่งสำคัญคือ ทั้ง 2 ฝ่าย อยู่ได้ด้วยการแย่งชิงมวลชนในชนบท ไม่สามารถต่อสู้กันได้โดยลำพัง แต่ว่าทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องดึงมวลชนเข้าหาเพื่อสนับสนุน
ปรากฏการณ์สร้างมวลชนสายอนุรักษนิยม มีปฏิบัติการที่ตอกย้ำอุดมการณ์กษัตริย์นิยม โดยเกิดการขยายตัวเข้าไปดูกลืนเข้าไปในการพัฒนาชนบทช่วงหนึ่งเรียกว่า ชุมชนชาตินิยม คือ เชื่อในความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบกับช่วงปี 2540 มีการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกิดหมู่บ้านพลเมืองผู้จงรักภักดี มีกระบวนการสร้างมวลชนฝ่ายอนุรักษนิยม
อีกขบวนการคือ มวลชนคนเสื้อแดง มีจุดร่วมกันคือ ชื่นชมทักษิณ ชื่นชมนโยบาย ไทยรักไทย เลือก ส.ส.เพื่อไทย มีตัวละครใหม่ทางการเมือง เป็นผู้ประกอบการทาง การเมือง ซึ่งมีฐานะจากชาวบ้านธรรมดา ที่อาจจะเป็นผู้รับเหมา คนทำสวนยาง ที่ค้นพบว่า เมื่อเขากระโดดเข้ามาเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมในท้องถิ่น จัดเวทีเชิญ นปช. เชิญเพื่อไทย มาเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอะไรต่างๆ ปรากฏว่า มันเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจการเมืองได้เป็นหัวคะแนน ได้เป็นโน่นเป็นนี่ คือมีทุนทางวัฒนธรรมการเมืองมีพื้นที่ เช่น นักร้องตลกบางคนกลายเป็น ส.ส. จ่าตำรวจ บางคนยกมือไหว้คนทั้งจังหวัด ตอนนี้เป็น ส.ส. ชื่อดังใส่ชุดแดง ตอนนี้ไปไหนใครก็ยกมือไหว้ เป็นโอกาสในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เปิดโอกาสให้คนที่เป็นชาวบ้านธรรมดาเข้าถึงแวดวงทางการเมือง ยกระดับมีพื้นที่มีตัวตน
ขณะนี้ขบวนการเสื้อแดงในอีสาน และเหนือ ถูกผลักดันด้วยคนเหล่านี้ไม่ต้อง มีใครจะจ้าง แต่เขาอยากจะทำ เพราะเมื่อทำแล้วเขาก็ได้กลับ นี่คือ พลังผลักดันของเสื้อแดงเป็นมิติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย หรือไม่
สถานการณ์ตอนนี้คนชนบทเปลี่ยนจากตัวประกอบในการต่อสู้ระหว่างชนชั้นนำไปเป็นผู้เล่นคนหนึ่งโดยชาวบ้านไม่ยอมที่จะเป็นตัวประกอบอีกต่อไป เขาเขียนบทของเขาเอง มีธงมีผลประโยชน์อุดมการณ์ของตัวเอง มาถึงยุคที่ชนชั้นนำ ต้องเข้าใจเมื่อชาวบ้านตื่นมาเป็นพลังต่อรอง นี่คือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ถ้าชนชั้นนำปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นปัญหา
แต่ถ้าชนชั้นนำหาทางออกเปิดพื้นที่ จริงจัง สังคมไทยก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปในทางสันติ ไปในทางที่ดี
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สำหรับในเรื่องดังกล่าวคณะกรรมการอิสระเพื่อค้นหาความจริงและการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ได้จัดเสนอผลวิจัย โครงการปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งและแนวทางสู่ความปรองดอง ศึกษาเฉพาะกรณีด้านโครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน
มีการเปิดเวทีสาธารณะ โครงการปัญหารากเหง้าของความขัดแย้งและแนวทางสู่ความปรองดอง ศึกษาเฉพาะกรณีด้านโครงสร้างอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกัน โดย รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, รศ.ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์, รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และ ผศ.พฤกษ์ เถาถวิล ห้องประชุมบุญชู ตึกอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
>>ปัญหาความเหลื่อมล้ำนำมาสู่ความขัดแย้ง
รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จะนำงานวิจัยชิ้นนี้ แบ่งเป็น 7 บท ไม่ต่ำกว่า 300 หน้า เป็นแนวทางหาทางแก้ปัญหาความขัดแย้งต่อไป
ความขัดแย้งที่เกิดในช่วงเดือนเมษา-พฤษภา 2553 เป็นเพราะมวลชน ไม่ยอมรับสภาพการดำรงอยู่ของโครงสร้าง อำนาจทางสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันอีกต่อไป โจทย์ใหญ่ในการศึกษานี้ คือปัจจัยอะไรในโครงสร้างของอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคม ที่นำไปสู่การเกิดความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มฝ่ายและพลังทางสังคมต่างๆ และค้นคว้าว่ามีปัจจัยอะไรที่จะช่วยในการปฏิรูปการจัดสรรอำนาจ เพื่อลดทอนความขัดแย้งที่รุนแรงและนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมต่อไป พบว่าเครือข่ายหลักๆ ที่นำไปสู่โครงสร้างอำนาจ ม 4 เครือข่าย คือ 1.อุดมการณ์ 2.การ เมือง 3.ทหาร 4.เศรษฐกิจ
“โครงสร้างทางสังคมนั้นจริงๆ แล้วในทางปฏิบัติไม่มีความเท่าเทียมกันมาตลอด แต่มันจะแสดงออกในหลายลักษณะในแง่ของการดูถูก หรือการขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างหญิงชาย คือวิถีความเหลื่อมล้ำมีมาก จนหาความเหลื่อมล้ำได้ง่ายกว่าความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่าในหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทำไมคนไม่ประท้วงทุกวัน ทำไมคนไม่ขัดแย้งกัน นี่คือโจทย์ว่าทำไมช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำไมความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันซึ่งมีมาตลอด จึงกลายเป็นจุดที่คนไม่ยอมรับแล้ว คนมีปฏิกิริยาไม่ยอมรับมากกว่าที่เคยมีมาเหตุการณ์ไม่ปกติจากแต่ก่อนทนได้ หรือมีคำตอบอย่างอื่น แต่ตอนนี้คำตอบเหล่านั้นสิ่งที่เคยทนได้ ไม่ทนแล้ว”
“และนี่ก็คือสิ่งที่เราสนใจว่าเกิดอะไรขึ้น แน่นอนก็ไปโยงถึงความชอบธรรมของสถาบันเครือข่ายต่างๆ ทำให้สิ่งที่เป็นอาญาสิทธิ เริ่มมีคำถามว่าเป็นอาญาสิทธิที่ถูกต้องไหม แล้วมีคนออกมาแสดงออกด้วยทั้งหมด เป็นโจทย์คำถามถึงความขัดแย้งต่างๆ จากนั้นเราจะดูว่าปัจจัยอะไรที่จะช่วยการปฏิรูป การจัดการอำนาจและโครงสร้างอำนาจหรือ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ เพื่อนำไปสู่การลดทอนความขัดแย้งที่รุนแรงและนำไปสู่การสร้างความสมานฉันท์ปรองดองในสังคมต่อไป นี่เป็นภาพรวมของงานวิจัยชิ้นนี้” ศ.ดร.ธเนศ กล่าว
>> ผลจากต้มยำกุ้งทำให้กลุ่มทุนพลิกขั้ว
รศ.ดร.พอพันธุ์ อุยยานนท์ อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึง อดีตการชี้วัดสังคมเศรษฐกิจไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว กรุงเทพฯ มีสัดส่วน GDP 1 ใน 3 หรือ 33% แต่ปัจจุบันนี้เหลือ 1 ใน 4 ขณะที่การขยายตัวเกิดขึ้นมากในภาคกลางคือ นอกกรุงเทพฯ โดยเฉพาะภาคกลางและตะวันออก แสดงว่าอำนาจเศรษฐกิจเริ่มกระจายไปชนบทสำหรับเหนือ, อีสาน, ใต้ ก็มีการก่อสร้างโรงงาน มีผลผลิตทางการเกษตร มีกิจการขนาดใหญ่
สังคมเศรษฐกิจไทย วิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2540 มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจ โดย หลังปี 2540 กลุ่มทุนเก่า พวกแบงก์ที่เคยมีอิทธิพลในอดีต กลุ่มทุนเหล่านี้ ควบคุมเงินทุน ควบคุมสินทรัพย์ 70-80% กลุ่มทุนเหล่านี้ ก็มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เจ้าของทุนซึ่งเป็นตระกูลใหญ่ๆ ก็ถูกลดทอน จนกระทั่งปัจจุบัน แม้ว่าแบงก์จะเติบโต แต่สัดส่วนจริงๆ ของผู้เป็นเจ้าของดั้งเดิม เช่น ตระกูลโสภณพนิช ตระกูลล่ำซำ ก็เหลือน้อยมาก พร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลง แต่กลุ่มทุนใหม่ก็เกิดขึ้น โดยเฉพาะหลังเศรษฐกิจฟื้นตัว
“กลุ่มทุนที่เติบโต ซึ่งสะท้อนภาพการเติบโตของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ก็คือ กลุ่มทุนคมนาคม กลุ่มทุนบริการ กลุ่มทุนสื่อสาร ถ้าเราไปดูลำดับเศรษฐีของประเทศไทยในปัจจุบัน ก็จะมีตระกูลใหม่ๆ ซึ่ง 20-30 ปี เราไม่เคยรู้จักตระกูลเหล่านี้ เช่น ตระกูล ชินวัตร, ดามาพงศ์, มาลีนนท์, จึงรุ่งเรืองกิจ, ดำรงชัยธรรม, โพธารามิก แล้วพวกนี้ แม้กระทั่งปัจจุบัน ถือว่าเป็นผู้มีสัดส่วนติดอันดับรายใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นี่คือ พลวัตของกลุ่มทุนใหม่ ซึ่งมีไดเวิร์สเป็นภาคธุรกิจบริการ ธุรกิจคมนาคม ขณะที่ในอดีตมี 4 กลุ่มหลัก โดยเฉพาะทุนการเงิน ซึ่งมีเครือข่ายแบงก์กรุงเทพฯ แบงก์กสิกร ขณะเดียวกับกติกาของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็สนับสนุนพรรคการเมืองขนาดใหญ่และต้องมีทุนขนาดใหญ่ แม้ว่าตัว รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าต้องมีเงิน แต่ลองดู นะครับ ระบบปาร์ตี้ลิสต์ ทำให้พรรคเล็กอยู่ไม่ได้ ออกแบบมาอย่างมีอคติกับพรรคเล็ก เมื่อพรรคใหญ่ทุนมาก ประกอบกับสังคมโลกาภิวัตน์ที่มีระบบเสรีมากขึ้น กลุ่มทุนก็เข้ามาในพรรคไทยรักไทยมากขึ้น แล้วเป็นกลุ่มทุนที่หลายกรณีก็ไม่ได้ถูกภาวะเศรษฐกิจถล่มในปี 2540 ซึ่งทำไมต้องเข้ามา คือเราต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโลกาภิวัตน์ กติกาการค้าโลกมันบังคับให้หลายประเทศเปิดการค้าเสรีจริงอยู่ โดยหลักการเป็นเสรี แต่กลุ่มทุนเหล่านี้ ผมคิดว่า ความหมายก็คือปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองแล้วกลุ่มเหล่านี้ ก็เข้ามากำหนดนโยบายทางการเมือง นโยบายทางอำนาจ ในด้านหนึ่งก็ปกป้องกลุ่มทุนของตัวเอง” รศ.ดร.พอพันธุ์ กล่าว
นอกจากนั้น หลังปี 2540 ในอดีตย้อนไป 20 กว่าปี ยุคสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แบงก์ไทยพาณิชย์ แบงก์พาณิชย์ ถือว่า เป็นผู้ทรงอิทธิพลมาก พอทักษิณขึ้นมา เป็นนายกฯ เขาเคยไปกระแหนะกระแหน แบงก์กสิกร แบงก์อะไรว่าสนใจแต่เรื่องปรับฮวงจุ้ย บทบาทของเอกชนในฐานะกลุ่มทุนเก่ามันเริ่มหมดไป หลังปี 2540 นายทุน ใหญ่ๆ เจ้าของทุนเข้ามาการเมืองเต็มตัว อันนี้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่เหมือนในอดีต
สำหรับการเมืองไทยหลังปี 2540 เปลี่ยนแปลงไปมากและไม่สามารถถอยหลัง คือสิทธิเสรีภาพของท้องถิ่นไม่สามารถย้อนกลับไปรัฐธรรมนูญแบบครึ่งใบ บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2540 มีคุณูปการ คือเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มคนที่ไม่เคยมีส่วนร่วมทางการเมือง ประกอบกับในช่วงที่ทักษิณเป็นผู้นำรัฐบาลปี 2544 ทำให้บุคคลจำนวนมากได้ประโยชน์
เมื่อการเมืองเปิดกว้าง 5-6 ปี ก็จะเกิดผู้ประกอบการทางการเมืองเข้ามาในระบบการเมือง ยกตัวอย่างในระดับรากหญ้า นักการเมืองระดับเล็กระดับใหญ่ คนที่จะเป็นตัวกลางทางการเมือง คอยจัดการทางการเมือง โดยเฉพาะให้กับพรรคไทยรักไทย พรรคเพื่อไทย เกิดขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน นี่คือการเปิดพื้นที่อย่างมหึมา แม้ทักษิณจะถูกรัฐประหาร 19 กันยา 2549 แต่ปรากฏว่า แนวร่วมก็ยังคงอยู่ ผมคิดว่าเป็นเพราะรัฐธรรมนูญ 2540 บวกนโยบายประชานิยม ทำให้กลุ่มพลังทางการเมือง มันค่อนข้างจะมีความหลากหลาย มีพลังไปสู่ต่างจังหวัด
การเมืองหลังรัฐประหารคล้ายการเผชิญหน้าระหว่างภูมิภาคเหนือกับอีสาน และกลางกับใต้ มีสัดส่วนการเลือกตั้งไปในแนวทางเดียวกัน เลือกตั้งครั้งใด ผลก็ออกมาแบบนั้น
>> “ทหาร” อีกปัจจัยหลักทางการเมือง
รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า กองทัพเป็นส่วนหนึ่งของปมปัญหาความขัดแย้ง เพราะการสร้างระบอบประชาธิปไตย สถาปนารัฐธรรมนูญ วัฒนธรรมของชนชั้นสูง คือข้อตกลงในระหว่างคนชั้นสูงว่าเราจะอยู่ร่วมกันในความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบนี้ แล้วทุกคนก็จะรับรู้ร่วมกัน แต่ย้ำว่าเป็นของคนชั้นสูง ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นมาในสมัย พล.อ.เปรม แล้ว กลายเป็นฐานความขัดแย้งกับคนกลุ่มใหม่ โดยความเปลี่ยนแปลงหลังปี 2516 อำนาจ ของผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของกองทัพ หายไปอย่างฉับพลัน ขณะที่ก่อนนั้นมีการต่อรองกัน เมื่อส่วนหัวหลุดไป จึงมีการแบ่งแยกกลุ่มย่อย ต่อสู้ช่วงชิงว่าใครจะมีอำนาจเหนือการเข้าใกล้ หรืออ้างอิงติดอยู่กับสถาบันฯ เป็นหนทางที่จะทำให้บางกลุ่มในกองทัพมีอำนาจ เหนือกว่าคนอื่น ก่อนที่การอ้างอิงลักษณะนี้ จะกระจายตัวจากทหารไปสู่ข้าราชการและ กลุ่มทุน
ขณะเดียวกันเงื่อนไขต่อมา ก็ทำให้ต้องเปิดให้มีการเลือกตั้ง คือการลงทุนของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมหาศาล พร้อมกับโครงสร้างพื้นฐานเกิดขึ้นจากกลุ่มทุนการเงินขยายตัวออกไปอย่างมากมาย จึงต้องการเสถียรภาพ ซึ่งต้องมีระบอบประชาธิปไตยกำกับอยู่ เงื่อนไขอย่างน้อย 2 อย่างจึงทำให้มีประชาธิปไตย
ท่ามกลางการเมืองแบบนี้ ทำให้กลุ่มทุนทหารสัมพันธ์กันแนบแน่นมากขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจที่ธนาคารกรุงเทพ กับ พล.อ. เปรม ก็สัมพันธ์กันแนบแน่น ช่วงที่ธนาคาร กรุงเทพมีปัญหา พล.อ.เปรม ก็มีบทบาทคลี่คลายสถานการณ์ของแบงก์ ซึ่งเสถียรภาพที่กองทัพสร้างขึ้นมา มีคนได้ประโยชน์ กลุ่มทุนต่างๆ ข้าราชการขยายตัว ขยายชนชั้นกลางให้มีมากขึ้น ทั้งหมดอยู่ภายใต้อุดมการณ์เดียวกัน แต่เสถียรภาพนี้ไม่ได้ยังผลดีแก่ชาวนาสักเท่าไหร่ ชาวนาผลิตด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ทางออกคือสร้างความหลากหลายในผลผลิต และออกมาทำงานนอกภาคการเกษตร
เสถียรภาพทางการเมืองแบบนี้ ด้านหนึ่งทำให้คนบางกลุ่มเติบโต แต่บางกลุ่มไม่โต เป็นบทบาทของทหาร แล้วทหารก็จะเล่นบทบาทของผู้ที่ค้ำประกัน ค้ำจุน หรือ ปกป้องรักษาอำนาจทางวัฒนธรรม แล้วควบคุมการเมือง รูปแบบนี้เริ่มตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรม ท้ายที่สุดแล้วโครงสร้างอันนี้ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของคนชั้นสูงนี้ สุดท้ายจะกลายเป็นกลุ่มทุนใหม่ซึ่งเกิดขึ้นและจะมีความเปลี่ยนแปลงอีกชุดตามมา
>> วิถีชนบทเปลี่ยนแปลงจากผลของอำนาจ
ผศ.พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวถึงการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของขบวนการประชาชนรากหญ้าในบริบทของการช่วงชิงอำนาจของชนชั้นนำ โดยสังเกตการณ์จากหมู่บ้านและตีความตามปรากฏการณ์ พบว่า คนชนบทเปลี่ยนแปลงไป ทั้งภาคเกษตรและนอกการเกษตร รวมทั้งวิถีการบริโภคความคาดหวังกับชีวิต ก็ใกล้เคียงชนขั้นกลางมากขึ้น เป็นชาวชนบทที่กลายเป็นคนเมือง ซึ่งความสัมพันธ์ทางอำนาจก็เปลี่ยน จากที่เคยยอมรับความเอารัดเอาเปรียบก็กลายเป็นไม่ยอมรับ ขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการชาวบ้านที่ออกมาต่อสู้เรื่องต่างๆ ขณะที่คุณทักษิณ ก็ไม่ได้แตะปัญหาโครงสร้างของชนบท เช่น เรื่องที่ดิน แต่ไม่แก้ปัญหาการเกษตร
ขณะเดียวกัน มีการแย่งชิงอำนาจของชนชั้นนำกับการแย่งชิงมวลชนในชนบท ความวุ่นวายทางการเมือง 4-5 ปีที่ผ่านมาเกิดจากกลุ่มอำนาจ 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็น กลุ่มอำนาจเก่า หรือกลุ่มอนุรักษนิยม ขณะที่ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มอำนาจใหม่ มีทักษิณ ชินวัตร และแวดล้อมด้วยกลุ่มทุนใหม่ ซึ่งการแบ่งกลุ่มนี้ ทั้ง 2 ฝ่าย เป็นกลุ่มที่ผนึกอำนาจในลักษณะพันธมิตรพันธุ์ข้ามชนชั้น โดยต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน แต่ไม่ได้ต้องการหักล้างกันถึงที่สุด แต่เป็นการแย่งชิงกันเพื่อสถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นกลุ่มประวัติศาสตร์ แล้วมีช่วงเวลาประณีประนอมเกี้ยเซียะ ไม่ทะเลาะกันจนล้มตาย แต่แย่งกันขึ้นไปสู่การ ครองอำนาจ แล้วสิ่งสำคัญคือ ทั้ง 2 ฝ่าย อยู่ได้ด้วยการแย่งชิงมวลชนในชนบท ไม่สามารถต่อสู้กันได้โดยลำพัง แต่ว่าทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องดึงมวลชนเข้าหาเพื่อสนับสนุน
ปรากฏการณ์สร้างมวลชนสายอนุรักษนิยม มีปฏิบัติการที่ตอกย้ำอุดมการณ์กษัตริย์นิยม โดยเกิดการขยายตัวเข้าไปดูกลืนเข้าไปในการพัฒนาชนบทช่วงหนึ่งเรียกว่า ชุมชนชาตินิยม คือ เชื่อในความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบกับช่วงปี 2540 มีการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกิดหมู่บ้านพลเมืองผู้จงรักภักดี มีกระบวนการสร้างมวลชนฝ่ายอนุรักษนิยม
อีกขบวนการคือ มวลชนคนเสื้อแดง มีจุดร่วมกันคือ ชื่นชมทักษิณ ชื่นชมนโยบาย ไทยรักไทย เลือก ส.ส.เพื่อไทย มีตัวละครใหม่ทางการเมือง เป็นผู้ประกอบการทาง การเมือง ซึ่งมีฐานะจากชาวบ้านธรรมดา ที่อาจจะเป็นผู้รับเหมา คนทำสวนยาง ที่ค้นพบว่า เมื่อเขากระโดดเข้ามาเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมในท้องถิ่น จัดเวทีเชิญ นปช. เชิญเพื่อไทย มาเปิดหมู่บ้านเสื้อแดงอะไรต่างๆ ปรากฏว่า มันเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจการเมืองได้เป็นหัวคะแนน ได้เป็นโน่นเป็นนี่ คือมีทุนทางวัฒนธรรมการเมืองมีพื้นที่ เช่น นักร้องตลกบางคนกลายเป็น ส.ส. จ่าตำรวจ บางคนยกมือไหว้คนทั้งจังหวัด ตอนนี้เป็น ส.ส. ชื่อดังใส่ชุดแดง ตอนนี้ไปไหนใครก็ยกมือไหว้ เป็นโอกาสในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เปิดโอกาสให้คนที่เป็นชาวบ้านธรรมดาเข้าถึงแวดวงทางการเมือง ยกระดับมีพื้นที่มีตัวตน
ขณะนี้ขบวนการเสื้อแดงในอีสาน และเหนือ ถูกผลักดันด้วยคนเหล่านี้ไม่ต้อง มีใครจะจ้าง แต่เขาอยากจะทำ เพราะเมื่อทำแล้วเขาก็ได้กลับ นี่คือ พลังผลักดันของเสื้อแดงเป็นมิติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย หรือไม่
สถานการณ์ตอนนี้คนชนบทเปลี่ยนจากตัวประกอบในการต่อสู้ระหว่างชนชั้นนำไปเป็นผู้เล่นคนหนึ่งโดยชาวบ้านไม่ยอมที่จะเป็นตัวประกอบอีกต่อไป เขาเขียนบทของเขาเอง มีธงมีผลประโยชน์อุดมการณ์ของตัวเอง มาถึงยุคที่ชนชั้นนำ ต้องเข้าใจเมื่อชาวบ้านตื่นมาเป็นพลังต่อรอง นี่คือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ถ้าชนชั้นนำปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงก็จะเป็นปัญหา
แต่ถ้าชนชั้นนำหาทางออกเปิดพื้นที่ จริงจัง สังคมไทยก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปในทางสันติ ไปในทางที่ดี
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รัฐสภามีมติพิจารณารายงาน กมธ.ปรองดอง ในสมัยประชุมสามัญฯ..
รัฐสภาเห็นชอบให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารายงานของกรรมาธิการปรองดองฯ ในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ หลังโต้เถียงเกือบ 5 ชั่วโมง ขณะที่ฝ่ายค้านวอล์กเอาท์ ไม่เข้าร่วม
ที่ประชุมร่วมของรัฐสภามีมติเห็นชอบ ด้วยคะแนน 346 ต่อ 17 งดออกเสียง 7 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ตามที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานกรรมาธิการฯ และคณะเสนอ ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 4 เมษายนนี้
ก่อนลงมติ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน อภิปรายให้คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาทบทวนรายงานดังกล่าว เพราะเชื่อว่าจะเป็นชนวนความขัดแย้ง และเห็นว่ารวบรัดแนวทางสร้างความปรองดอง ซึ่งไม่เกิดความยั่งยืน พร้อมตั้งข้อสังเกตต่อข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าว่าไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะประเด็นการนิรโทษกรรม ซึ่งเกรงอาจก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม
นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ได้เสนอญัตติปิดอภิปรายและลงมติ ทำให้นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เสนอญัตติให้สมาชิกอภิปรายต่อ ขณะนายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล ประนีประนอมด้วยการปล่อยให้มีการอภิปรายไปจนถึงเวลา 24.00 น. ก่อนจะเปิดให้สมาชิกอภิปรายต่อและลงมติในวันนี้ แต่ที่สุดแล้วนายอุดมเดชกลับเสนอปิดอภิปราย ส่งผลให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ไม่พอใจกับท่าทีดังกล่าว ประกาศไม่ประสงค์เข้าร่วม พร้อมกับนำ ส.ส.ฝ่ายค้าน วอล์กเอาท์ออกจากห้องประชุมก่อนที่จะมีการลงมติ.-
ที่มา.สำนักข่าวไทย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
บิ๊กบัง.ผู้โดดเดี่ยวเดียวดาย ทั้งกลืนน้ำลายและกลืนเลือด !!?
โดย นิภาวรรณ แก้วรากมุกข์ twitter@niphawan_kt
สังคมไทยยังคงวนเวียนหาทางออกกับเรื่องปรองดองแห่งชาติไม่เจอ มิหนำซ้ำแนวทางในการแก้ปัญหาที่ไม่คืบหน้า ยังส่อเค้าจะถอยหลังลงข้างทาง
ทั้งกรณีที่ทีมวิจัยสถาบันพระปกเกล้า ไม่ไว้วางใจฝ่ายการเมือง ถึงกับขู่ว่าจะถอนรายงานผลวิจัย ที่ส่งให้คณะกรรมาธิการปรองดอง สภาฯ เพราะหวั่นว่าจะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือการเมือง และเพิ่มความขัดแย้งให้ปะทุขึ้นมาอีก
ทั้งกรณี ฝ่ายการเมืองซัดกันเอง โดยเฉพาะ "เสธ.หนั่น" ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตประธานคณะกรรมการปรองดอง ที่เคยล้มเหลวมาแล้ว ตั้งคำถามให้ "บิ๊กบัง" พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานกมธ.ปรองดอง อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหาร คายความจริงเรื่องผู้สั่งการอยู่เบื้องหลัง แต่ก็ไม่ได้คำตอบ
เวลานี้ อารมณ์ของสังคม ดูเหมือนยากจะยอมรับบทบาท กมธ.ปรองดอง ที่ "บิ๊กบัง" กำลังนำไปในแนวทาง "ลืมอดีต" โละผลพวงจากการรัฐประหาร สาเหตุหนึ่งก็เพราะความคลางแคลงใจที่อดีต ประธาน คมช. ผู้นำรัฐประหารเสนอตัวมาเป็นประธาน กมธ.ปรองดอง
เรื่องอย่างนี้ บางทีความรู้สึกร่วมเมื่อครั้ง "รัฐประหารดอกกุหลาบ" ที่ "บิ๊กบัง" ยังภูมิใจนักหนา ก็เอากระแสไม่อยู่...งานนี้ "บิ๊กบัง" ผู้โดดเดี่ยวเดียวดาย ทั้งกลืนน้ำลายและกลืนเลือด!
สัปดาห์นี้ประเด็นเรื่อง "ปรองดอง" ยังส่อเค้าจะร้อนแรงต่อเนื่อง ฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์ จะถกในที่ประชุมพรรค จันทร์ที่ 26 มี.ค. 2555 นี้ เพื่อกำหนดท่าที เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับร่างรายงานของ กมธ.ปรองดอง ที่รวบรัดตัดตอนส่งให้สภาฯ พิจารณา
ล่าสุด "บิ๊กบัง" แจ้งงดการประชุม กมธ.ในวันที่ 27 มี.ค. 2555 ให้เหตุผลว่า "เนื่องจากการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว” ทำเอา กมธ.ค่ายสะตอ มึนตึ้บว่า พิจารณาเสร็จสิ้นแล้วได้ยังไง ในเมื่อ ชวลิต วิชยสุทธิ์ เลขานุการ กมธ.ปรองดอง ซีกเพื่อไทย ยังระบุว่าจะมีการตัดรายละเอียดเรื่องการลงมติเสียงข้างมากออก งานนี้ กมธ.ซีกประชาธิปัตย์ เลยบี้ให้ "บิ๊กบัง" ขอขยายเวลาการประชุมของ กมธ. ออกไปอีก 30 วัน เพื่อทบทวนร่าง ก่อนจะเข้าสู่สภาฯ เพราะไม่อย่างนั้น เกรงว่าจะมีการตัดต่อกันเอง
ปูเรื่องเตรียมเข้าสู่ ศึกชิงผู้ว่าฯ กทม. ค่ายเพื่อไทยส่งทีมโฆษกพรรคออกมา "จับผิด" โครงการ กทม.ของพรรคประชาธิปัตย์ ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
อาทิตย์ที่ผ่านมา จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. รองโฆษกเพื่อไทย แถลงเตรียมยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบการจัดซื้อสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ในโครงการติดตั้ง "ซีซีทีวี" ของ กทม.ว่ามีราคาสูงเกินจริงหรือไม่ ไล่บี้ไปที่ ผู้ว่าฯ สุขุมพันธ์ บริพัตร และรองผู้ว่าฯ ธีระชน มโนมัยพิบูลย์
อีกหนึ่งประเด็น ที่จะยื่น ป.ป.ช.คราวเดียวกัน ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มาตรา 157 กรณีที่ยังไม่ยอมดำเนินการเอาผิดต่อสภามหาวิทยาลัย และผู้บริหารโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ตามที่ ดีเอสไอ และ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินชี้มูลความไม่โปร่งใส
ไล่บี้ทีมผู้ว่าฯ ปัจจุบันไม่เท่าไร แต่ประเด็นที่ค่ายเพื่อไทยกำลังหาข่าว คือ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ของค่ายสะตอ จะเป็นใคร ยามนี้มีคนคาดหมายว่า ถ้าหวยออกที่ "คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช" เมื่อไหร่ โอกาสสอยเก้าอี้จากประชาธิปัตย์ เป็นไปได้สูง...เอ้า...ยามนี้ก็ "สับขาหลอก" กันไป
ด้านคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มี คณิต ณ นคร เป็นประธาน มีความคืบหน้าเรื่อง รายงานฉบับที่ 3 ซึ่งจะเป็นฉบับสุดท้ายในชุดของ คอป. ที่จะครบกำหนดเวลาทำงาน 2 ปี ในเดือนก.ค. 2555 นี้
มีรายงานว่า บัดนี้รายงานฉบับที่ 3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว แค่อยู่ระหว่างเวียนร่างให้กรรมการทุกคนได้พิจารณา และ อาจารย์คณิต ได้เสนอต่อที่ประชุม คอป. ให้เร่งออกรายงานฉบับนี้ให้ทันวันที่ 31 มี.ค. 2555
สำหรับเนื้อหาในรายงานฉบับที่ 3 จะเป็นการตอกย้ำถึงข้อเสนอแนะของ คอป. ที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งฉบับที่ 1 และที่ 2 และไม่ปรากฏว่ารัฐบาลขานรับหรือปฏิเสธ โดยเฉพาะข้อเสนอที่เกี่ยวกับการยกเลิกการตีตรวนนักโทษ การให้ประกันตัวจำเลยและผู้ต้องหาระหว่างการพิจารณาคดี
เสร็จจากไตรภาคแล้ว คอป. จะทำรายงานอีกหนึ่งฉบับส่งท้าย เป็นการประมวลข้อเสนอแนะจากรายงานทั้ง 3 ฉบับ ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด
ได้ยินเสียงพ้อปนห่วงใยสถานการณ์จากบรรดาคณะกรรมการ เพราะไม่รู้ว่าผลการทำงานครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือไม่ อย่างไร ถ้ารัฐบาลไม่ขานรับ บางท่านบอกว่าจะไม่ (กล้า) รับงานเพื่อชาติอีกต่อไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)