ดีเอสไอเซ็งทหารสังกัด กอ.รมน. ขอยืดเวลาเข้าให้ข้อมูลผังล้มเจ้าออกไปไม่มีกำหนด เตรียมทำหนังสือเชิญอีกเป็นครั้งสุดท้าย เพราะเบี้ยวมา 4 ครั้งแล้ว หากไม่มาจะทำความเห็นสั่งไม่ฟ้องทั้ง 39 คนที่ถูกกล่าวหา
พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐว่าด้วยการล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ (คดีล้มเจ้า) เปิดเผยว่า ได้รับการติดต่อจาก พ.อ.วิจารณ์ จดแตง ทหารสังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาในคดีดังกล่าวขอเลื่อนเข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนอย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่าจะรอมาพร้อมกับ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก และทหารอีก 2 นาย
“ดีเอสไอจะทำหนังสือถึงนายทหารทั้ง 4 คนอีกครั้ง และจะเป็นครั้งสุดท้าย เพราะก่อนหน้านี้ทำหนังสือเชิญมาให้ปากคำแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ครั้ง เพื่อให้โอกาสได้ชี้แจงข้อมูลในฐานะเป็นผู้กล่าวหาบุคคลทั้ง 39 รายชื่อที่ปรากฏในแผนผังล้มเจ้า หากยังไม่เข้าพบพนักงานสอบสวนจะหารือกับอัยการเพื่อทำความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ถูกกล่าวหาต่อไป เพราะที่ผ่านมาไม่สามารถหาพยานหลักฐานการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาได้”
นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวยืนยันว่า ไม่เคยเปลี่ยนแนวทางการสอบสวนคดีการเสียชีวิตจากการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ตามที่นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ออกมาตั้งข้อสังเกตที่แบ่งสอบสวนการตายออกเป็น 3 กลุ่ม ในกรณีของ พล.อ.ร่มเกล้า จากการตรวจสอบพบว่าการเสียชีวิตน่าจะเกิดจากวัตถุระเบิด และร่องรอยบาดแผลน่าจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มฮาร์ดคอร์ของคนเสื้อแดง
“การที่ศาลเปิดไต่สวนหาสาเหตุการตายของคนเสื้อแดงที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐทำให้ถูกมองว่าคดีมีความคืบหน้าเฉพาะส่วนนี้ แต่การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ไม่มีความคืบหน้า ซึ่งการเปิดไต่สวนของศาลเป็นไปตามขั้นตอนปรกติ ยังไม่ใช่ข้อสรุปของคดี ต้องยอมรับว่าคดีจลาจลหาพยานหลักฐานยาก พิสูจน์ได้ยาก โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดจากฝีมือของกลุ่มฮาร์ดคอร์ เพราะไม่มีใครออกมาพูดหรือให้ข้อมูลอะไรเลย”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555
ตบหน้าแรมโบ้อีสานคำตอบสุดท้าย...อยู่ที่แดงร้าวลึก !!?
เป็นอันว่าเรียบร้อยโรงเรียนโคราชไปแล้ว..
สำหรับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ นายก อบจ.นครราชสีมา ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งภายในของ นปช.ส่วนกลางกับคนเสื้อแดงซึ่งเคลื่อนไหวในพื้นที่
ผลคะแนนรวมอย่างเป็นทางการ..
อันดับ 1..“ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี” อดีต รมต.กระทรวงไอซีที ภริยา “ว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี” อดีตแกนนำกลุ่ม 3 พี ได้ 487,470 คะแนน
อันดับ 2..“น.พ.สำเริง แหยงกระโทก” อดีตนายก อบจ. ได้ 421,507 คะแนน
และอันดับ 3.. “วิทูร ชาติปฏิมาพงษ์” ได้ 96,482 คะแนน
อันดับ 1 และอันดับ 2 มีผลต่างคะแนน ถึง 65,963 คะแนน นั่นย่อมสะท้อนให้เห็นนัยยะ ผ่านตัวเลขที่ไม่ธรรมดา เพราะต้องไม่ลืมว่าสถานะของ “หมอแหยง” คือ อดีตนายก อบจ.โคราช หรือแชมป์เก่า
“ขอแสดงความยินดี กับนายก อบจ.คนใหม่ ผมยินดีให้คำปรึกษาปัญหาท้องถิ่น และเข้าไปช่วยเหลือหากได้รับการร้องขอเข้ามา และขอขอบคุณ กว่า 4.2 แสนคะแนนที่เลือกผม แม้จะไปไม่ถึงดวงดาว แต่ก็เป็นกำลังให้ผมสู้ต่อไป ขณะนี้ขอเวลาพักผ่อน ใช้ชีวิตกับครอบครัวสักระยะหนึ่ง จากนั้นจะปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ และครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินชีวิตจะทำอย่างไรต่อไป”
น้ำเสียงของ “หมอแหยง” หลังความพ่ายแพ้ จะว่าไปแล้วไม่ต่างจากสคริปต์เดิมๆ ซึ่งฝ่ายที่ปราชัยในการเลือกตั้งมักจะพูดในทำนองนี้ แต่หากขีดเส้นใต้ไปในวรรคท้ายๆ ที่พูดทำนองว่าจะมีการปรึกษาหารือผู้ใหญ่เพื่อกำหนดแนวทางในอนาคตต่อไป ย่อมบังเกิดแง่มุมที่น่าสนใจ..
ผู้ใหญ่ที่ “หมอแหยง” ระบุถึงนั่นหมายถึงใคร???
เนื่องด้วยที่ผ่านมาดูเหมือนว่า อดีตนายก อบจ.ท่านนี้ จะเข้านอกออกในไปมาหาสู่ผู้หลักผู้ใหญ่มากหน้าหลายตาอยู่พอสมควร
ถอดรหัสไล่เรียงลำดับตามประวัติศาสตร์การเมืองท้องถิ่น แดนโคราชที่ผ่านมาไม่นานเท่าไหร่..
แรกเริ่มเดิมทีที่ “หมอแหยง” ก้าวขึ้นสู่เก้าอี้นายก อบจ. โคราช นั้นได้รับการสนับสนุนจาก “เสี่ยกล้วย-สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” แกนนำคนสำคัญที่สุดแห่งพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน หรือพรรค ชาติพัฒนาในอดีต
แต่หลังจากการขึ้นดำรงตำแหน่ง “นายกเล็ก” ดูเหมือนว่า ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จะเริ่มห่างเหินกันออกไปเรื่อยๆ ว่ากันว่า หนึ่งในเงื่อนไขแห่งความห่างเหิน ส่วนหนึ่งมันเกี่ยวข้องกับฐานคะแนนเสียงในการเลือกตั้งสนามใหญ่ครั้งพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ที่เจ้าของฐานเสียงเดิมอย่าง “เสี่ยกล้วย” ในฐานะ “พรรคโคราช” ถูกท้าทายจากพรรคสีแดง
สายสัมพันธ์ของทั้งคู่ต้องขาดลงอย่างเป็นการถาวร หลังมีการพลิกขั้วทางการเมืองก่อกำเนิดพรรคภูมิใจไทยและรัฐบาลเทพประทาน ส่งผลให้มีตัวแปรที่ 3 ในสนามโคราช.. โดย “บุญจง วงศ์ไตรรัตน์” ตัดสินใจสะบัดเสื้อแดงไปสวมเสื้อสีน้ำเงิน โยกไปร่วมงานการเมืองกับ “เนวิน ชิดชอบ”
พลันที่การเมืองเปลี่ยนขั้ว พรรคภูมิใจไทย เริ่มเข้ามามีบทบาทในโคราช สายสัมพันธ์ระหว่าง “หมอแหยง” กับพรรคสีน้ำเงินก็เริ่มก่อตัวขึ้น และแล้วผลกระทบต่างๆ ก็เริ่มตามมา
ยิ่งหากจับจากจังหวะก้าวของพรรคสีน้ำเงิน มันย่อมปรากฏชัดว่า ล้วนสวนทางกับพรรคสีแดงในแทบทุกๆ มุมมองและทุกๆ มิติ
ในเมื่อช่วงนั้น “หมอแหยง” คลุกคลีอยู่กับพรรคภูมิใจไทย มันจึงมีผลไปถึงแนวทางการบริหารงานที่ทำให้คนเสื้อแดงในโคราชเริ่มไม่พอใจ เพราะไม่ค่อยให้การสนับสนุนกิจกรรมของ นปช.ในพื้นที่
ส่งผลให้ตลอด 2 ปีกว่าที่ “รัฐบาลเทพประทาน” บริหารประเทศ มันยิ่งทำให้ระยะห่างระหว่าง “หมอแหยง” กับ “คนเสื้อแดง” ทิ้งช่วงออกไปเรื่อยๆ
จนในวันหนึ่งที่ “รัฐบาลเทพประทาน” สิ้นอายุขัย และ ตามมาด้วยชัยชนะอย่างถล่มทลายของพรรคเพื่อไทย มันไม่ต่างจากแรงเหวี่ยงซึ่งสวิงกลับมาที่การเมืองสนามเล็กในโคราช บนตรรกะความห่างเหินระหว่างนายก อบจ.โคราช กับคนเสื้อแดง
ชัดเจนว่าสภาพแวดล้อมทางการเมือง..ล้วนไม่เป็นคุณกับ “หมอแหยง” จุดยืนในอดีตกำลังมีแนวโน้มเป็นพิษของแชมป์ที่มุ่งหวังจะป้องกันแชมป์เอาไว้ให้ได้
ถึงบรรทัดนี้ การเมืองสนามเล็กไม่รู้ไปทำกันอีท่าไหน..จึงทอดยอดออกมาเป็นภาพ “หมอแหยง” ควงคู่กับ “แรมโบ้อีสาน- สุภรณ์ อัตถาวงศ์” แกนนำ นปช. ย่างสามขุมหาเสียงในการช่วงชิง เก้าอี้ นายก อบจ.โคราชรอบใหม่ ที่ถือว่ามีเซอร์ไพรส์อยู่พอสมควร
ใครเข้าหาใคร..น้ำจะพึ่งเรือเสือจะพึ่งป่าในรูปแบบใด..ไม่อาจทราบได้ แต่การออกตัวแรงของ “แรมโบ้อีสาน” ได้นำมาซึ่งความไม่พอใจของคนเสื้อแดงโคราชเป็นอันมาก
นั่นนำมาซึ่งความขัดแย้งครั้งใหญ่ภายในระหว่าง นปช. โคราชด้วยกันเอง เล่นกันหนักถึงขั้นที่ “แรมโบ้อีสาน” อ้างอิงมติแกนนำ 32 อำเภอ ปลด “อนุวัฒน์ ทินราช” ประธาน นปช. โคราช กลางอากาศ ด้วยสาเหตุที่ทำงานไม่เข้าขาแกนนำ และเสนอตั้ง “อุบล เอื้อศรี” อดีตผู้ว่าราชการและ ส.ว.นครราชสีมา ซึ่งเป็นคนสนิท “หมอแหยง” มาทำหน้าที่ ประธาน นปช.ฯ แทน
ก่อนจะตามมาซึ่งวาระเอาคืน เมื่อ “อนุวัฒน์” ยกเอามติแกนนำ นปช.สวนกลับเสนอปลด “แรมโบ้อีสาน” ออกจากตำแหน่งประธานที่ปรึกษา นปช.โคราช อันเป็นที่มาแห่งความแตกแยกให้กับคนเสื้อแดงเมืองย่าโม
แนวปะทะที่เกิดขึ้นจากการก้าวเข้ามาของ “หมอแหยง” ในขณะนั้น ใครพูดจริงใครพูดเท็จไม่อาจสืบทราบได้ แต่นั่นก็เป็น ประเด็นที่ทอดยอดออกมาสู่เกมหัก ที่ว่ากันว่า เหล่ามวลชนที่ยืน อยู่ตรงข้าม “หมอแหยง” และ “แรมโบ้อีสาน” หันไปสนับสนุน “ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์”
ดีกรีเป็นถึงขั้นอดีตเสนาบดี แถมพรรคชาติพัฒนายังถูก “เสี่ยกล้วย” รีแบรนดิ้งขึ้นมาใหม่ด้วยการดึง 2 ใน 3 พี เข้ามาผนึกกำลัง แถมระยะหลังเซียนการเมืองโคราชตัวจริงยังได้รับเครดิตจาก “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ว่าเป็นคนวงนอกที่มีแนวโน้มรีเทิร์นสู่เก้าอี้ตัวใหญ่ใน “ครม.ยิ่งลักษณ์” หลังได้รับอิสรภาพทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมมากที่สุด
บริบทก่อนเลือกตั้งสนามเล็ก สะท้อนให้เห็นสูตร “พรรคโคราช+แดงโคราช”..
บริบทหลังเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นว่าอะไรคือ “ของจริง” อะไรคือ “ของปลอม”..
คำตอบสุดท้าย “ระนองรักษ์” ชนะ “หมอแหยง”
คำตอบท้ายที่สุด “แรมโบ้อีสาน” โดนตบหน้าฉาดใหญ่ ในวันที่ “แดงโคราชร้าวลึก” จนยากจะเยียวยา???
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สำหรับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ นายก อบจ.นครราชสีมา ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งภายในของ นปช.ส่วนกลางกับคนเสื้อแดงซึ่งเคลื่อนไหวในพื้นที่
ผลคะแนนรวมอย่างเป็นทางการ..
อันดับ 1..“ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี” อดีต รมต.กระทรวงไอซีที ภริยา “ว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี” อดีตแกนนำกลุ่ม 3 พี ได้ 487,470 คะแนน
อันดับ 2..“น.พ.สำเริง แหยงกระโทก” อดีตนายก อบจ. ได้ 421,507 คะแนน
และอันดับ 3.. “วิทูร ชาติปฏิมาพงษ์” ได้ 96,482 คะแนน
อันดับ 1 และอันดับ 2 มีผลต่างคะแนน ถึง 65,963 คะแนน นั่นย่อมสะท้อนให้เห็นนัยยะ ผ่านตัวเลขที่ไม่ธรรมดา เพราะต้องไม่ลืมว่าสถานะของ “หมอแหยง” คือ อดีตนายก อบจ.โคราช หรือแชมป์เก่า
“ขอแสดงความยินดี กับนายก อบจ.คนใหม่ ผมยินดีให้คำปรึกษาปัญหาท้องถิ่น และเข้าไปช่วยเหลือหากได้รับการร้องขอเข้ามา และขอขอบคุณ กว่า 4.2 แสนคะแนนที่เลือกผม แม้จะไปไม่ถึงดวงดาว แต่ก็เป็นกำลังให้ผมสู้ต่อไป ขณะนี้ขอเวลาพักผ่อน ใช้ชีวิตกับครอบครัวสักระยะหนึ่ง จากนั้นจะปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่ และครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินชีวิตจะทำอย่างไรต่อไป”
น้ำเสียงของ “หมอแหยง” หลังความพ่ายแพ้ จะว่าไปแล้วไม่ต่างจากสคริปต์เดิมๆ ซึ่งฝ่ายที่ปราชัยในการเลือกตั้งมักจะพูดในทำนองนี้ แต่หากขีดเส้นใต้ไปในวรรคท้ายๆ ที่พูดทำนองว่าจะมีการปรึกษาหารือผู้ใหญ่เพื่อกำหนดแนวทางในอนาคตต่อไป ย่อมบังเกิดแง่มุมที่น่าสนใจ..
ผู้ใหญ่ที่ “หมอแหยง” ระบุถึงนั่นหมายถึงใคร???
เนื่องด้วยที่ผ่านมาดูเหมือนว่า อดีตนายก อบจ.ท่านนี้ จะเข้านอกออกในไปมาหาสู่ผู้หลักผู้ใหญ่มากหน้าหลายตาอยู่พอสมควร
ถอดรหัสไล่เรียงลำดับตามประวัติศาสตร์การเมืองท้องถิ่น แดนโคราชที่ผ่านมาไม่นานเท่าไหร่..
แรกเริ่มเดิมทีที่ “หมอแหยง” ก้าวขึ้นสู่เก้าอี้นายก อบจ. โคราช นั้นได้รับการสนับสนุนจาก “เสี่ยกล้วย-สุวัจน์ ลิปตพัลลภ” แกนนำคนสำคัญที่สุดแห่งพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน หรือพรรค ชาติพัฒนาในอดีต
แต่หลังจากการขึ้นดำรงตำแหน่ง “นายกเล็ก” ดูเหมือนว่า ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จะเริ่มห่างเหินกันออกไปเรื่อยๆ ว่ากันว่า หนึ่งในเงื่อนไขแห่งความห่างเหิน ส่วนหนึ่งมันเกี่ยวข้องกับฐานคะแนนเสียงในการเลือกตั้งสนามใหญ่ครั้งพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ที่เจ้าของฐานเสียงเดิมอย่าง “เสี่ยกล้วย” ในฐานะ “พรรคโคราช” ถูกท้าทายจากพรรคสีแดง
สายสัมพันธ์ของทั้งคู่ต้องขาดลงอย่างเป็นการถาวร หลังมีการพลิกขั้วทางการเมืองก่อกำเนิดพรรคภูมิใจไทยและรัฐบาลเทพประทาน ส่งผลให้มีตัวแปรที่ 3 ในสนามโคราช.. โดย “บุญจง วงศ์ไตรรัตน์” ตัดสินใจสะบัดเสื้อแดงไปสวมเสื้อสีน้ำเงิน โยกไปร่วมงานการเมืองกับ “เนวิน ชิดชอบ”
พลันที่การเมืองเปลี่ยนขั้ว พรรคภูมิใจไทย เริ่มเข้ามามีบทบาทในโคราช สายสัมพันธ์ระหว่าง “หมอแหยง” กับพรรคสีน้ำเงินก็เริ่มก่อตัวขึ้น และแล้วผลกระทบต่างๆ ก็เริ่มตามมา
ยิ่งหากจับจากจังหวะก้าวของพรรคสีน้ำเงิน มันย่อมปรากฏชัดว่า ล้วนสวนทางกับพรรคสีแดงในแทบทุกๆ มุมมองและทุกๆ มิติ
ในเมื่อช่วงนั้น “หมอแหยง” คลุกคลีอยู่กับพรรคภูมิใจไทย มันจึงมีผลไปถึงแนวทางการบริหารงานที่ทำให้คนเสื้อแดงในโคราชเริ่มไม่พอใจ เพราะไม่ค่อยให้การสนับสนุนกิจกรรมของ นปช.ในพื้นที่
ส่งผลให้ตลอด 2 ปีกว่าที่ “รัฐบาลเทพประทาน” บริหารประเทศ มันยิ่งทำให้ระยะห่างระหว่าง “หมอแหยง” กับ “คนเสื้อแดง” ทิ้งช่วงออกไปเรื่อยๆ
จนในวันหนึ่งที่ “รัฐบาลเทพประทาน” สิ้นอายุขัย และ ตามมาด้วยชัยชนะอย่างถล่มทลายของพรรคเพื่อไทย มันไม่ต่างจากแรงเหวี่ยงซึ่งสวิงกลับมาที่การเมืองสนามเล็กในโคราช บนตรรกะความห่างเหินระหว่างนายก อบจ.โคราช กับคนเสื้อแดง
ชัดเจนว่าสภาพแวดล้อมทางการเมือง..ล้วนไม่เป็นคุณกับ “หมอแหยง” จุดยืนในอดีตกำลังมีแนวโน้มเป็นพิษของแชมป์ที่มุ่งหวังจะป้องกันแชมป์เอาไว้ให้ได้
ถึงบรรทัดนี้ การเมืองสนามเล็กไม่รู้ไปทำกันอีท่าไหน..จึงทอดยอดออกมาเป็นภาพ “หมอแหยง” ควงคู่กับ “แรมโบ้อีสาน- สุภรณ์ อัตถาวงศ์” แกนนำ นปช. ย่างสามขุมหาเสียงในการช่วงชิง เก้าอี้ นายก อบจ.โคราชรอบใหม่ ที่ถือว่ามีเซอร์ไพรส์อยู่พอสมควร
ใครเข้าหาใคร..น้ำจะพึ่งเรือเสือจะพึ่งป่าในรูปแบบใด..ไม่อาจทราบได้ แต่การออกตัวแรงของ “แรมโบ้อีสาน” ได้นำมาซึ่งความไม่พอใจของคนเสื้อแดงโคราชเป็นอันมาก
นั่นนำมาซึ่งความขัดแย้งครั้งใหญ่ภายในระหว่าง นปช. โคราชด้วยกันเอง เล่นกันหนักถึงขั้นที่ “แรมโบ้อีสาน” อ้างอิงมติแกนนำ 32 อำเภอ ปลด “อนุวัฒน์ ทินราช” ประธาน นปช. โคราช กลางอากาศ ด้วยสาเหตุที่ทำงานไม่เข้าขาแกนนำ และเสนอตั้ง “อุบล เอื้อศรี” อดีตผู้ว่าราชการและ ส.ว.นครราชสีมา ซึ่งเป็นคนสนิท “หมอแหยง” มาทำหน้าที่ ประธาน นปช.ฯ แทน
ก่อนจะตามมาซึ่งวาระเอาคืน เมื่อ “อนุวัฒน์” ยกเอามติแกนนำ นปช.สวนกลับเสนอปลด “แรมโบ้อีสาน” ออกจากตำแหน่งประธานที่ปรึกษา นปช.โคราช อันเป็นที่มาแห่งความแตกแยกให้กับคนเสื้อแดงเมืองย่าโม
แนวปะทะที่เกิดขึ้นจากการก้าวเข้ามาของ “หมอแหยง” ในขณะนั้น ใครพูดจริงใครพูดเท็จไม่อาจสืบทราบได้ แต่นั่นก็เป็น ประเด็นที่ทอดยอดออกมาสู่เกมหัก ที่ว่ากันว่า เหล่ามวลชนที่ยืน อยู่ตรงข้าม “หมอแหยง” และ “แรมโบ้อีสาน” หันไปสนับสนุน “ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์”
ดีกรีเป็นถึงขั้นอดีตเสนาบดี แถมพรรคชาติพัฒนายังถูก “เสี่ยกล้วย” รีแบรนดิ้งขึ้นมาใหม่ด้วยการดึง 2 ใน 3 พี เข้ามาผนึกกำลัง แถมระยะหลังเซียนการเมืองโคราชตัวจริงยังได้รับเครดิตจาก “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ว่าเป็นคนวงนอกที่มีแนวโน้มรีเทิร์นสู่เก้าอี้ตัวใหญ่ใน “ครม.ยิ่งลักษณ์” หลังได้รับอิสรภาพทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมมากที่สุด
บริบทก่อนเลือกตั้งสนามเล็ก สะท้อนให้เห็นสูตร “พรรคโคราช+แดงโคราช”..
บริบทหลังเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นว่าอะไรคือ “ของจริง” อะไรคือ “ของปลอม”..
คำตอบสุดท้าย “ระนองรักษ์” ชนะ “หมอแหยง”
คำตอบท้ายที่สุด “แรมโบ้อีสาน” โดนตบหน้าฉาดใหญ่ ในวันที่ “แดงโคราชร้าวลึก” จนยากจะเยียวยา???
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555
ลากตั้งได้ ก็สอยร่วงได้ !!?
ทองแท้ย่อมต้องไม่กลัวไฟ แต่หากเจอไฟเข้าไป แล้วมีลอกมีร่วงเห็นสีทองที่ชุบไว้ออกแววกระดำกระด่างขึ้นมาให้เห็น แสดงว่าไม่ใช่ทองของแท้
เช่นเดียวกับศึกหนักที่บรรดา ส.ว.สรรหา หรือที่สังคมเรียกว่า ส.ว.ลากตั้ง กำลังเผชิญการตรวจสอบอย่างเข้มข้นของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เจ้าของฉายา “อดีตส.ว.จอมสอย” เข้ามาขอดูเนื้อในของบรรดา ส.ว.สรรหา กลุ่มผยองทางการเมืองในขณะนี้ ว่าเป็นทองแท้ หรือว่า เป็นแค่ทองชุบเอาไว้หลอกตาคน หลอกตาสังคม
ถือเป็นการตรวจสอบที่สร้างเสียงฮือฮาจากสังคมได้เป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะรายแรกที่โดยสอยร่วง ในล็อต 32 คนนี้ คือ นายสัก กอแสงเรือง ที่ไม่ได้มีสถานภาพเป็นแค่ ส.ว.สรรหา ธรรมดาๆเท่านั้น แต่ยังมีดีกรีเป็นนักกฎหมายมือฉมัง ระดับแถวหน้าที่คนในแวดวงสภาทนายความบอกว่าเป็นระดับ “พี่เบิ้ม”
ไม่มีทางที่นักบัญชีอย่างนายเรืองไกร จะมาสอยนักกฎหมายมือทองได้ด้วยประเด็นทางกฎหมายอย่างแน่นอน
แต่สุดท้าย ความจริงย่อมหนีความจริงไปไม่พ้น แม้จะมีกลไกต่างๆพยายามเข้ามากล่าวอ้างสักเพียงใดก็ตาม แต่การเกาะติดข้อมูลของนายเรืองไกร ก่อนที่จะปล่อยหมัดเด็ด ปล่อยมีดสั้นไปสู่เป้าหมาย ก็ทำให้เห็นแล้วว่า
แม้แต่ 5 เสือ กกต.เองก็ยังถึงกับมึนไปเหมือนกัน หาทางออก หาทางลงแทบไม่ถูกเมื่อเจอกับข้อมูลที่ชัดและตรงประเด็น จนสุดท้ายต้องเลือกไม่ให้นายสักอยู่เป็นเป้า ให้ กกต. ต้องเหนื่อยหนักต่อไปอีก
จำใจ? จำยอม? หรือเพราะจนแต้มที่จะอุ้ม? เป็นเรื่องที่ 5 เสือ กกต. รู้กันเองอยู่ภายในอก แต่ไม่สามารถที่จะพูดออกมาได้ เพราะเป็นเหมือนเรื่องน้ำท่วมปากก็ตาม แต่บทสรุปก็คือต้องไม่มีนายสักเป็น ส.ว.สรรหา ให้นายเรืองไกรกัดไม่ปล่อย
ปัญหาใหญ่ก็คือ กรณีของนายสัก เป็นเสมือนด่านหน้าที่โยงไปถึง ส.ว.อีก 31 คน ที่ก็ลาออกก่อนครบวาระเหมือนกับนายสักด้วยเช่นกัน จะทำอย่างไร ที่จะไม่ให้มอดไหม้ลามไปหมดทั้งยวง
นายสักหลุดคนเดียวยังไม่เสียหายหรือกระทบกับภาพใหญ่เท่าไรนัก แต่หากว่ายกขโยงกันหมดพวง 32 คนของ ส.ว.สรรหา อันนี้สะเทือนหนักแน่
ทำให้ทาง 5 เสือ กกต.เองก็ต้องงัดไม้เด็ด ออกมาเบรกเกมสอยของนายเรืองไกร โดยนางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ ออกมาแจงมติที่ประชุม กกต. ว่าได้เพิกถอนสิทธิการสรรหา ส.ว.ของนายสัก กอแสงเรือง เพียงคนเดียว
โดยบอกว่าจริงๆแล้ว ที่ประชุม กกต.ได้มีมติเอกฉันท์ให้ยกคำร้องของนายเรืองไกร ว่าไม่อาจนำบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 297 มาบังคับใช้ ที่กำหนดให้ ส.ว.ที่มาจากการสรรหาครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2550 ให้มี วาระ 3 ปี และมิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 1 วาระ มาบังคับใช้กับบุคคลดังกล่าวในการสรรหาคราวถัดไปหลังจากสิ้นสุดสมาชิกภาพ
เพราะฉะนั้น ส.ว.สรรหาทั้ง 31 รายที่ได้รับการสรรหา แต่ได้ลาออกก่อนครบวาระ เพื่อเข้ารับการเสนอชื่อสรรหา ส.ว.เมื่อปี 2554 ทาง กกต.จึงยังถือว่าเข้ากับบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ สามารถเข้ารับการสรรหาได้ เช่นเดียวกับการที่ ส.ว.สรรหาชุดแรกอยู่จนครบวาระจนพ้นตำแหน่ง ก็ยังสามารถได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาได้อีก
แปลง่ายๆคือ กกต.พิจารณาว่าไม่ว่าจะลาออกก่อนครบวาระ หรือไม่ได้ลาออกอยู่จนครบวาระ ก็มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ามาสรรหาใหม่เหมือนๆกัน
เล่นเอาอ้าปากค้างไปตามๆกัน เพราะถ้าเช่นนั้นเจตนารมณ์ของกฎหมายจะเขียนให้ต้องมีการเว้นวรรคเอาไว้ทำต่วยตูนอะไรกัน
ซึ่งถ้าแปลตามที่ 5 เสือ กกต. ออกมาในรูปนี้จริงๆต้องเท่ากับว่า แม้แต่นายสักก็ต้องไม่ผิดด้วยเหมือนกัน แต่เพราะนายสักเป็นเผือกร้อน เนื่องจากหลังจากที่รู้ว่านายเรืองไกรยื่นเรื่องสอย ทางด้านนายสักก็ออกมาสอนหนังสือนายเรืองไกรว่า หัดไปอ่านรัฐธรรมนูญให้ดีก่อนมั้ง
จนสังคมมองว่ากลายเป็นคู่ฟัดไปโดยปริยาย ทำให้ กกต.เองก็ต้องหาทางลงด้วยเช่นกัน
นางสดศรีก็เลยต้องอธิบายว่า กรณีของนายสักที่ กกต.ให้เพิกถอนการสรรหา เป็นการพิจารณาคนละประเด็นกันกับ 31 ส.ว. เพราะนายเรืองไกรได้ร้องเพิ่มว่านายสักยังพ้นจาก ส.ว.เลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 จนถึงวันได้รับการเสนอชื่อจากสภาทนายความยังไม่เกิน 5 ปี
ทำให้ กกต.มีมติเอกฉันท์ให้เพิกถอนการสรรหา และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ซึ่งเหมือนกับการที่ กกต.ให้ใบแดง ส.ส. หลังประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
และเมื่อศาลฎีการับคำร้องจาก กกต.แล้วก็จะมีผลให้นายสักต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ว.จนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้อง
ส่วนที่ กกต.มีมติให้ดำเนินคดีอาญากับนายสักและสภาทนายความนั้น เนื่องจากคณะอนุกรรมการวินิจฉัยบางคณะเห็นว่า ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเป็นผู้รู้กฎหมายดี เมื่อรู้กฎหมายมากแล้วเลี่ยงกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญ
“กรณีของคุณสักก็อาจมีคนมองว่า ละเลยในแง่การตรวจสอบ ส่วนสำนักงาน กกต.โดยเลขาธิการ กกต.ละเลยหรือไม่ หากศาลวินิจฉัยยืนตาม กกต.ก็อาจมองว่า กรรมการสรรหา ส.ว.ได้ละเลยการตรวจสอบได้หรือไม่ แต่หากจะให้ฟ้อง กกต. 4 คน ที่วินิจฉัยก็คงไม่เกี่ยว เพราะ กกต.พิจารณาตามที่มีผู้ร้องคัดค้านเท่านั้น” นางสดศรีกล่าว
ก่อนหน้านี้ บรรดา 31 ส.ว.ระส่ำหนักจากกรณีของนายสัก แต่เมื่อสุดท้ายเกมพลิกมาเป็นร่วงเดี่ยวแทนร่วงหมู่ บรรดา 31 ส.ว.ก็โล่งอก แต่จะมองหน้านายสักสนิทหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะในขณะที่ ส.ว.ลากตั้งทั้งหลายพยายามพร่ำพูดในเรื่องจริยธรรม ต้องยึดในจริยธรรม แต่กรณีที่เกิดขึ้นกับนายสักที่โดนเชือดเพียงคนเดียว บรรดา ส.ว.ที่เหลือคิดว่าเป็นการมีจริยธรรมหรือไม่ ที่ปล่อยให้นายสักโดนสอยคนเดียว ในกระบวนการร้องเรียนให้ตรวจสอบอย่างเดียวกันเป๊ะ
หรือจะถือว่า มติ 5 เสือ กกต.ที่ออกมา เป็นโล่กำบังได้เป็นอย่างดีแล้ว
แต่เรื่องนี้ไม่จบง่ายๆแน่ เพราะการที่นายสักต้องพ้นจากตำแหน่งตามการวินิจฉัยของ กกต. นอกจากมีโทษต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากพ้นจากตำแหน่งมาไม่เกิน 5 ปีแล้วมาสมัครเข้ารับเป็น ส.ว.สรรหา ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 115 (9)
คือนายสักมีวาระในการดำรงตำแหน่ง ส.ว. เริ่มตั้งแต่ 22 มี.ค.43 - 21 มี.ค. 49 แต่ปรากฏว่าสภาทนายความซึ่งเป็นองค์กรที่เสนอชื่อนายสักเข้ารับการสรรหา ส.ว. เมื่อวันที่ 6 มี.ค. 54 ซึ่งบวกลบคูณหารแล้ว ก็ขาดไป 10 กว่าวันที่จะครบ 5 ปีจริงๆ
และเมื่อ กกต. จะต้องส่งคำวินิจฉัยให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งดำเนินการต่อไป เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน ก็เลยเกิดมีคำถามขึ้นมาว่า เรื่องนี้ถ้าจะถามถึงจริยธรรมและความยุติธรรมกันแล้ว น่าจะต้องถามหาความรับผิดชอบไปถึงคณะกรรมการสรรหา ด้วยหรือไม่ ว่าทำอย่างไรจึงผิดพลาดบกพร่องเช่นนี้
ปรากฏว่าเสียงสะท้อนจากสังคมเรื่องนี้ นายสรัลชา ศรีชลวัฒนา เลขาธิการสภาทนายความ รับว่าเคยถูก กกต.เรียกไปให้การแล้วว่า ที่ประชุมกรรมการบริหารสภาทนายความ มีมติส่งนายสักเป็น ส.ว.จริง และได้สอบถามนายสักถึงระยะเวลาที่พ้นตำแหน่งจาก ส.ว.ชุดเดิม
โดยนายสักยืนยันว่าพ้นระยะ 5 ปี แล้ว อ้างว่าเกินมา 8 วันแล้วด้วยซ้ำ ทางสภาทนายความจึงเสนอชื่อนายสักในฐานะเป็นหัวหน้าองค์กรไปเป็น ส.ว.
ที่นายสักอ้างว่าเกิน ก็เพราะตีความว่า การเข้ามาดำรงตำแหน่งในช่วงรักษาการ ไม่ใช่ระยะเวลาดำรงตำแหน่งจริงๆ แต่ กกต.วินิจฉัยว่าการดำรงตำแหน่งรักษาการถือว่ายังอยู่ในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งจริงๆ จึงยังพ้นตำแหน่งไม่เกิน 5 ปี
ส่วนกรณีมีข่าวว่าจะดำเนินคดีอาญากับกรรมการสภา ทนายความ ถ้าเป็นเรื่องจริงก็ต้องดำเนินคดีกับกรรมการสรรหาด้วย หากคดีถึงศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง แม้นายสักไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ ส.ว.ได้ แต่จะไม่เกี่ยวกับตำแหน่งนายกสภาทนายความ ที่สำคัญหากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ผิด นายสักก็กลับไปเป็น ส.ว.ได้
เรียกว่ายังกะลุ้นกันจนวินาทีสุดท้าย!!
เช่นเดียวกับทางด้านของ นายเรืองไกร เอง ดูเหมือนว่าลึกๆยังคาใจกับมติ ของ 5 เสือ กกต.ที่ออกมาแบบพลิกล็อกป็อกช่าป็อกดื้อๆ ก็เลยงัดหลักฐานใหม่ ขึ้นมาสร้างความหนักใจให้กับ กกต.อีก โดยใช้ข้อมูลใหม่ว่า มี ส.ว.ประมาณ 10 คน ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งได้ตรวจสอบกับสำนักงานเขตต่างๆแล้ว ก็จะยื่นเรื่องให้ กกต.พิจารณา เพื่อส่งศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไป
ซึ่งข้อนี้เป็นพื้นฐานกฎหมายเลยว่า ถ้าไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งก็จะขาดสิทธิทางการเมือง
นอกจากนี้ในประเด็นตรวจสอบ ส.ว.สรรหา ปรากฏว่านายเรืองไกร ยังได้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณี น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ไปขึ้นเวทีพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาโจมตีรัฐบาล ซึ่งแสดงถึงความไม่เป็นกลางทางการเมือง ที่ถือเป็นคุณสมบัติสำคัญที่รัฐธรรมนูญกำหนดต่อผู้ที่จะมาเป็น ส.ว.
นายเรืองไกรตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า จริงๆได้ยื่นเรื่องของ น.ส.รสนา กับทางผู้ตรวจการไปก่อนที่จะมีกรณีตรวจสอบนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนางนลินี ทวีสิน ซึ่งกรณีนั้นใช้เวลาตรวจสอบแค่ 15 วัน ก็แจ้งผลออกมาแล้ว แต่ทำไมกรณี น.ส.รสนา ที่ถือเป็น ส.ว.ที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งสูงสุดของประเทศ จึงยังไม่มีการแจ้งผลออกมา
จะไม่ตรวจสอบเลยหรือว่าเป็นกลางทางการเมืองจริงหรือไม่
กรณีอ้างว่าไปขึ้นเวทีเพื่อให้ข้อมูลเรื่องราคาน้ำมัน แต่หากยึดตามประมวลจริยธรรมจริง ก็ควรไปขึ้นเวทีที่เป็นกลาง ไม่ใช่ไปขึ้นเวทีของพรรคการเมืองไม่ใช่หรือ
งานนี้เจอการบ้านจากนายเรืองไกร ให้ต้องตอบคำถามกับสังคมกันโดยถ้วนหน้า
และแน่นอนว่า กกต.เองก็ยังไม่สามารถยุติเรื่องได้ง่าย เพราะนายเรืองไกร ใช้สิทธิ์ผู้ร้องขอให้ กกต. เพิกถอนสิทธิ์ ส.ว สรรหา 31 คน ได้ยื่นหนังสือต่อ กกต. เพื่อขออุทธรณ์คำวินิจฉัยของกกต. ที่ได้ยกคำร้องกรณีให้เพิกถอนสิทธิ์ 31 ส.ว.แล้ว
โดยระบุว่าในเมื่อ กกต. ได้สรุปและแถลงแล้วว่า ส.ว. สรรหาทั้ง 31 รายลาออกก่อนครบวาระ จึงแปลได้ว่า ส.ว.สรรหาทั้ง 31 ราย ไม่ได้อยู่ครบวาระตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 297 อย่างชัดเจน และย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัยไปตามความในมาตรา 115(9) และมาตรา 116 วรรคสอง การสรรหาจึงไม่ชอบ ส.ว.สรรหาดังกล่าวจะต้องเว้นวรรคไปเป็นเวลา 5 ปีเช่นกัน
จึงเห็นได้ว่า การวินิจฉัยของ กกต. ย่อมขัดกับข้อเท็จจริงที่ กกต. ได้สรุปออกมาโดยข้อเท็จจริง เลยอุทธรณ์ให้พิจารณาทบทวนข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้อีกครั้งหนึ่ง และส่งเรื่องให้ศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยต่อไปตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 240 วรรคสองต่อไป
แถมยังให้ข้อมูลอีกด้วยว่า เมื่อก่อนหน้าเว็ปไซค์ ของกกต. จะสามารถตรวจสอบสิทธิ์การเลือกตั้งของ ส.ว.ได้ โดยการป้อนเลขบัตรประจำตัวประชาชน แต่ขณะนี้หลังจากที่ได้ยื่นเรื่อง 10 ส.ว.ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง กลับมีการปิดหน้าเว็ปส่วนนี้ไปแล้ว เปิดมามีแต่หน้าต่าง ไม่มีเนื้อหาที่จะตรวจสอบได้
ไม่รู้ว่ามีใคร มีบารมีใหญ่โต ถึงขนาดลบหน้าเว็ปขององค์กรอิสระได้ อยากให้ กกต.ตรวจสอบด้วย
รวมทั้งเพื่อต้องการให้ กกต. เป็นกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและสร้างการยอมรับให้กับสังคมได้อย่างแท้จริง นายเรืองไกรจึงได้จัดเต็มการบ้านให้ กกต.ไปด้วยอีกประเด็นหนึ่ง
นั่นคือการยื่นคำร้องเพิ่มเติมเพื่อขอให้กกต. ให้พิจารณากรณีที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้เลือก นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา ไปเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.คราวที่ผ่านมา ว่าอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่?
เนื่องจากตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส อาจไม่เข้าลักษณะผู้พิพากษาในศาลฎีกาตามความในมาตรา 11 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และไม่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 113 วรรคหนึ่ง
ซึ่งจะส่งผลให้คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไม่ชอบตามไปด้วย
เป็นอีกหนึ่งงานเข้า ที่ 5 เสือ กกต. คงต้องมึนอีกเช่นเคย เพราะกรณีนี้ถ้าใช่ตามที่นายเรืองไกรตั้งข้อสังเกตุก็แปลว่า ส.ว.ทั้งหมดที่คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาได้สรรหาเข้ามานั้น ก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ชอบตามไปด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้นงานนี้ กกต. หนีไม่พ้นต้องเหนื่อยอีกอย่างแน่นอน
แต่ก็เป็นบทเรียนให้ใครก็ตามที่คิดว่า มีอำนาจสามารถลากตั้งเข้ามาได้เสียอย่าง
ก็ย่อมต้องเจอตรวจสอบเพื่อสอยได้เช่นกัน!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชาติคางคก !!?
ไม่มีความสำนึก ในจิตใจที่เป็นธรรมซะเลย ว่าตัวเองนั้น “ยางหัวจะตก”
ทุกฝ่ายผนึกกำลังใจ เพื่อบัดกรีประเทศไทย ให้เป็นหนึ่งเดียว
ชูธง ความปรองดอง ความสมานฉันท์ไมตรี กันให้เกรียว
แต่มีบางพรรค บางก๊วน บางพวก สวมวิญญาณเป็น “จระเข้ขวางคลอง” ปิดหนทางการเดิน..เพราะรู้ว่าถ้าคนในชาติสามัคคี ก็จะไม่มีปัญญาชนะเลือกตั้ง จึงต้องทำให้ประเทศแตกเข้าไว้
พฤติการณ์ตอกย้ำ..เป็นพวกมือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ?.ประเทศตกต่ำ ก็เพราะพวกนี้ปะไร
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฆ่าประชาชน
คดีเข้าสู่โหมด แห่งกระบวนการยุติธรรมแล้ว..ต่อไปก็จะเหลือว่า ใครคือ “หัวหน้าโจร”
แต่รับประกันซ่อมฟรี สำนวนที่สั่งฟ้อง ไม่มี “ชายชุดดำ” ที่รัฐบาลอำมหิต กล่าวอ้าง ว่าเป็น “มือสังหาร” ชาวบ้านที่เป็นนักรบประชาธิปไตย
เท่าที่ทราบ “บิ๊กเหลิม ดาวเทียม” ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ รับรองว่าไม่มีชายชุดดำ ลั่นสไนเปอร์ ไปฆ่าใคร
ความจริงจะประจักษ์ ชัดตาคา ว่าใครเป็นผู้ออกคำสั่งฆ่าประชาชน จนมียอดคนตายสูงลิบ
แล้วจะรู้ว่า ผู้นำฟันน้ำนม...มีพฤติการณ์ไม่เพราะสม..ระดมคน ฆ่าคน โดยตาไม่กระพริบ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“คนเดือนตุลาฯ”
สร้างเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ สู้กับเผด็จการฟาสซิสต์ จึงไม่สำควร ที่จะให้ผู้รักประชาธิปไตยเต็มใบ ต้องมาด่า
“บุรุษเสื้อกั๊ก” ธีรยุทธ บุญมี และ “สมบัติ ธำรงธัญวงศ์”แห่งนิด้า ต้องรักษาคุณภาพเต็มร้อย เข้าไว้
เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ ..อุดมการณ์นั้น ก็ต้องแปรเปลี่ยนไม่ได้
ถึงบางครั้ง จะมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็ไม่มีใครเอามาเป็นเรื่อง ทะเลาะกับปัจเจกชนเช่นท่าน..แต่ขณะเดียวกัน บริบท ของท่านต้องมั่นใจ เป็น “คนเดือนตุลาฯ” ที่กล้าสู้รบกับเผด็จการ
อย่าให้ใครด่าเอาสนุก..ว่าเป็นพวกมะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก..มันจะจุกหน้าอกเอานะท่าน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชนักยังติดหลัง
คดีรถดับเพลิง ตอกย้ำ ว่าคดีมีมูล เป็นที่โด่งดัง
ก่อน “หล่อเล็ก” อภิรักษ์ โกษะโยธิน คีย์แมนใหญ่แห่งพรรคประชาธิปัตย์ จะออกมาตำหนิ “นายกฯปู “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไร้ประสิทธิภาพ แก้ปัญหาของแพงไม่เป็นสับประรด
นี่ก็สร้างภาพ ออกมาด่า เพื่อเอาดีใส่ตัว โยนชั่วให้กับคนอื่น..ตามสไตล์สาวไส้คนอื่นหมด
ถ้าดีจริง จงรีบสร้างภาพพจน์ เกี่ยวกับคดีรถดับเพลิง ให้สะอาดหมดจด สิเจ้านาย
ทำว่าตัวเองเป็นทองแท้..แต่หลายคนมองว่า น่าจะเป็นหอกข้างแคร่..คดีตัวเองยังแก้ไม่ได้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อำนาจมากับภาระที่ยิ่งใหญ่
“บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องแสดงให้เห็นว่า เป็นชายชาติเสือ ที่ใครหมิ่นไม่ได้
ถึงช่วงนี้, ท่านจะไม่แสดงบทบาทอะไร เป็นที่เข้าตากรรมการนัก
เดือนเมษายน มีเทศกาลย้ายทหารระดับบิ๊ก ท่านต้องแอ็คชั่น สร้างเรตติ้ง แก่ตัวเองให้มั่กๆ
กับการโยกย้ายในกองทัพอากาศ ว่าจะโยก “บิ๊กเฟื่อง” พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. เมื่อทำงานเข้าขากันไม่ได้.. จึงทำให้งาน “รัฐบาลปู” กระปลกกระเพลี้ย
เมื่อเป็นรมว.กลาโหมต้องคุมกองทัพได้..ฉะนั้น,อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้...ใครที่ไม่ทำตาม ก็ย้ายฟ้าผ่าออกไปเสีย
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
***************************************************************
ทุกฝ่ายผนึกกำลังใจ เพื่อบัดกรีประเทศไทย ให้เป็นหนึ่งเดียว
ชูธง ความปรองดอง ความสมานฉันท์ไมตรี กันให้เกรียว
แต่มีบางพรรค บางก๊วน บางพวก สวมวิญญาณเป็น “จระเข้ขวางคลอง” ปิดหนทางการเดิน..เพราะรู้ว่าถ้าคนในชาติสามัคคี ก็จะไม่มีปัญญาชนะเลือกตั้ง จึงต้องทำให้ประเทศแตกเข้าไว้
พฤติการณ์ตอกย้ำ..เป็นพวกมือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ?.ประเทศตกต่ำ ก็เพราะพวกนี้ปะไร
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฆ่าประชาชน
คดีเข้าสู่โหมด แห่งกระบวนการยุติธรรมแล้ว..ต่อไปก็จะเหลือว่า ใครคือ “หัวหน้าโจร”
แต่รับประกันซ่อมฟรี สำนวนที่สั่งฟ้อง ไม่มี “ชายชุดดำ” ที่รัฐบาลอำมหิต กล่าวอ้าง ว่าเป็น “มือสังหาร” ชาวบ้านที่เป็นนักรบประชาธิปไตย
เท่าที่ทราบ “บิ๊กเหลิม ดาวเทียม” ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ รับรองว่าไม่มีชายชุดดำ ลั่นสไนเปอร์ ไปฆ่าใคร
ความจริงจะประจักษ์ ชัดตาคา ว่าใครเป็นผู้ออกคำสั่งฆ่าประชาชน จนมียอดคนตายสูงลิบ
แล้วจะรู้ว่า ผู้นำฟันน้ำนม...มีพฤติการณ์ไม่เพราะสม..ระดมคน ฆ่าคน โดยตาไม่กระพริบ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“คนเดือนตุลาฯ”
สร้างเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ สู้กับเผด็จการฟาสซิสต์ จึงไม่สำควร ที่จะให้ผู้รักประชาธิปไตยเต็มใบ ต้องมาด่า
“บุรุษเสื้อกั๊ก” ธีรยุทธ บุญมี และ “สมบัติ ธำรงธัญวงศ์”แห่งนิด้า ต้องรักษาคุณภาพเต็มร้อย เข้าไว้
เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ ..อุดมการณ์นั้น ก็ต้องแปรเปลี่ยนไม่ได้
ถึงบางครั้ง จะมีความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็ไม่มีใครเอามาเป็นเรื่อง ทะเลาะกับปัจเจกชนเช่นท่าน..แต่ขณะเดียวกัน บริบท ของท่านต้องมั่นใจ เป็น “คนเดือนตุลาฯ” ที่กล้าสู้รบกับเผด็จการ
อย่าให้ใครด่าเอาสนุก..ว่าเป็นพวกมะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก..มันจะจุกหน้าอกเอานะท่าน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชนักยังติดหลัง
คดีรถดับเพลิง ตอกย้ำ ว่าคดีมีมูล เป็นที่โด่งดัง
ก่อน “หล่อเล็ก” อภิรักษ์ โกษะโยธิน คีย์แมนใหญ่แห่งพรรคประชาธิปัตย์ จะออกมาตำหนิ “นายกฯปู “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไร้ประสิทธิภาพ แก้ปัญหาของแพงไม่เป็นสับประรด
นี่ก็สร้างภาพ ออกมาด่า เพื่อเอาดีใส่ตัว โยนชั่วให้กับคนอื่น..ตามสไตล์สาวไส้คนอื่นหมด
ถ้าดีจริง จงรีบสร้างภาพพจน์ เกี่ยวกับคดีรถดับเพลิง ให้สะอาดหมดจด สิเจ้านาย
ทำว่าตัวเองเป็นทองแท้..แต่หลายคนมองว่า น่าจะเป็นหอกข้างแคร่..คดีตัวเองยังแก้ไม่ได้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อำนาจมากับภาระที่ยิ่งใหญ่
“บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องแสดงให้เห็นว่า เป็นชายชาติเสือ ที่ใครหมิ่นไม่ได้
ถึงช่วงนี้, ท่านจะไม่แสดงบทบาทอะไร เป็นที่เข้าตากรรมการนัก
เดือนเมษายน มีเทศกาลย้ายทหารระดับบิ๊ก ท่านต้องแอ็คชั่น สร้างเรตติ้ง แก่ตัวเองให้มั่กๆ
กับการโยกย้ายในกองทัพอากาศ ว่าจะโยก “บิ๊กเฟื่อง” พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. เมื่อทำงานเข้าขากันไม่ได้.. จึงทำให้งาน “รัฐบาลปู” กระปลกกระเพลี้ย
เมื่อเป็นรมว.กลาโหมต้องคุมกองทัพได้..ฉะนั้น,อย่าเห็นขี้ดีกว่าไส้...ใครที่ไม่ทำตาม ก็ย้ายฟ้าผ่าออกไปเสีย
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
***************************************************************
วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555
เปิดบทวิเคราะห์การเมือง ธีรยุทธ บุญมี ฉบับเต็ม ผ่าทางตันการเมืองไทย !!?
นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์การเมืองไทยแนวโน้มของวิกฤติปัจจุบัน ดังนี้
1.ยุคของการเมืองปัจจุบันยุคของทักษิณ-การเมืองรากหญ้า ประชานิยม
1. การเมืองยุคของทักษิณ ช่วงเกือบ 15 ปีที่พรรคการเมืองของทักษิณชนะการเลือกตั้งทั่วไป ได้เสียงข้างมากติดต่อกัน รวมทั้งสามารถขยายฐานรากหญ้า เสื้อแดง ระดมพลไปเลือกตั้งและชุมนุมประท้วงได้อย่างกว้างขวาง สะท้อนว่าทักษิณกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้มีบารมีทางการเมืองในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ที่มีบทบาทเปลี่ยนโฉมการเมืองไทย ซึ่งได้แก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ทักษิณจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือประเทศล่มจมยังเป็นสิ่งต้องพิสูจน์อีกยาวนาน
2. เกิดการเมืองรากหญ้า-ประชานิยม วิกฤติการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ที่รุนแรงที่สุดคือการไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของอีกฝ่าย เพราะมองว่าไม่ใช่ของจริง ไม่ต้องสนใจจริงจัง เช่น ฝ่ายอนุรักษ์มองว่า เสื้อแดงไม่มีตัวตนเพราะถูกจ้างมา โง่จึงถูกหลอกมา ไร้การศึกษาจึงถูกชักจูงโดยทักษิณ แต่ชาวรากหญ้าเสื้อแดงกลับมองว่า ทักษิณมีบุญคุณล้นเหลือคือ (ก) นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ช่วยผ่อนเบารายจ่ายของคนจนอย่างมาก
นอกจากแก้การเจ็บไข้ร่างกายแล้ว ยังแก้เจ็บใจที่แต่ก่อนไปสถานพยาบาลแล้วถูกดูถูกปฏิเสธ (ข) ชาวบ้านมองกองทุนและโครงการช่วยคนจนต่างๆ ว่าเป็นก้าวแรกที่มีการช่วยเหลือทางวัตถุโดยตรงและจริงจังแก่ชาวบ้าน (ค) ชาวบ้านชอบความรวดเร็วและเด็ดขาดเอาจริงเอาจังของทักษิณ โดยเฉพาะในการปราบปรามยาเสพติด (ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ปัญหายาเสพติดกระทบโดยตรงต่อครอบครัวคนชั้นกลางล่าง ชั้นล่าง หรือคนจนในเขตเมืองมากกว่าที่คิด และลดลงมากในช่วงทักษิณ) ส่วนเสื้อแดงก็ไม่ยอมรับเสื้อเหลือง มองเป็นพวกไม่มีเหตุผล ความคิด เพราะคลั่ง “ชาติ” คลั่ง “เจ้า”
3. การเมืองรากหญ้ามีความสำคัญต่อประชาธิปไตย ถ้าจะมองพัฒนาการการเมืองไทยในด้านสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ในช่วงราชาธิปไตยชาวบ้านไม่มีทั้งเสรีภาพและศักดิ์ศรี ต่อมาในช่วงเผด็จการทหารมีบางส่วนได้มีศักดิ์ศรีแต่ไม่มีเสรีภาพ ชนชั้นกลางในสังคมไทยเพิ่งจะมีเสรีภาพก็ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 และชาวบ้านระดับรากหญ้าเองก็มามีเสรีภาพในการแสดงออกหลัง 19 กันยายน 2549 การเมืองรากหญ้าจึงเป็นดัชนีบ่งชี้พัฒนาการของสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในอนาคต
อย่างไรก็ตาม พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นคราวๆ ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด
2.รากเหง้าของวิกฤติ
1. เรารวมศูนย์มากเกินไป ท้ายที่สุดศูนย์กลางเอาไม่อยู่
ก่อนรัตนโกสินทร์ไทยไม่ได้ปกครองแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ มีความหลากหลายของรูปแบบการปกครอง ขนบ วัฒนธรรม เพิ่งมีการรวมศูนย์เบ็ดเสร็จทุกด้านในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม จึงเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลาย ๆ ด้านฝังลึกอยู่ เนื่องจากทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร ชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น
ส่วนชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ จึงตำหนิชาวบ้านเต็มที่ไม่ได้ เมื่อประเทศต้องการให้มาลงคะแนนเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตย พวกเขาจึงถือเป็นอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขายเสียง ขอโครงการเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านตื้นตันใจกับทักษิณที่ใช้ประชานิยมผันเอาเงินของรัฐไปช่วยชาวบ้านอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้ตัวเองจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่สตางค์แดงเดียวก็ตาม
ตัวอย่างความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการรวมศูนย์มากเกินไป ซึ่งต้องร่วมกันแก้ไข คือ
(ก) ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ คุณภาพชีวิต อำนาจในการใช้และควบคุมทรัพยากรพื้นฐาน ตั้งแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แร่ธาตุ ป่าไม้ การสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพอนามัย ฯลฯ มีอยู่มากและได้พูดกันมากแล้ว
(ข) ประวัติศาสตร์เป็นความภาคภูมิใจของคน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เราเน้นประวัติศาสตร์แบบกษัตริย์นิยมเป็นรัชกาลๆ ไป เกือบไม่มีเรื่องราวของคน อาชีพ สถานะอื่น ไม่มีประวัติศาสตร์สังคมโดยรวม
ไม่มีการเขียนประวัติศาสตร์ว่าคนอาชีพต่างๆ มีส่วนสร้างสังคมอย่างไร ราวกับว่าไม่มีพวกเขาอยู่ ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของประเทศจึงเกิดน้อย สถานที่สาธารณะของเรามีรูปปั้น มีชื่อถนน สะพาน อาคาร สวนสาธารณะ ฯลฯ ตามพระนามพระมหากษัตริย์ เกือบไม่มีชื่อของปราชญ์ชาวไทย พระ ทูต นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร สถาปนิก นายแพทย์ นักสำรวจ นักเศรษฐศาสตร์ นักแต่งเพลง กวี ศิลปิน ดารา นักกีฬา เช่น ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปรีดี พนมยงค์ พระยาอนุมานราชธน พุทธทาสภิกขุ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ กุหลาบ สายประดิษฐ์ สุนทราภรณ์ มิตร ชัยบัญชา สุรพล สมบัติเจริญ ปรีดา จุลละมณฑล รวมทั้งบุคคลสำคัญของท้องถิ่นต่างๆ ในต่างประเทศเช่นราชสำนักอังกฤษให้อิสริยาภรณ์กับหลากหลายอาชีพ แม้แต่ชาวต่างประเทศ เปเล่ เอลตัน จอห์น บิล เกทส์ เดวิด เบคแฮม ฯลฯ ในขณะที่เรามีให้กับข้าราชการทหาร พลเรือน และภริยา กับนักธุรกิจเป็นส่วนใหญ่
(ค) ภาษา ขนบประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่นถูกทอดทิ้งละเลยไปมาก เช่น มีการรื้อถอนคุ้มจวนเจ้าเมือง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่สวยงาม แล้วสร้างศาลากลางที่อัปลักษณ์แบบไทยภาคกลางลงไปแทน วัดวาจำนวนมากก็ถูกเปลี่ยนเป็นแบบวัดภาคกลางแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีการใช้ภาษาบาลี ไปเป็นชื่อถนน อำเภอ ตำบล แทนชื่อท้องถิ่น ฯลฯ ยิ่งสร้างความแปลกแยก แทนที่จะสร้างความเข้าใจ เคารพซึ่งกันและกัน
ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมมาตลอดชีวิต ถูกดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีศักดิ์ศรีของตัวเองให้เกิดความเคารพความรับผิดชอบตัวเอง เมื่อชนชั้นกลางในเมืองต่อต้านคนที่มีบุญคุณเช่นทักษิณ จนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน ขึ้น พวกเขาจึงรู้สึกว่ายิ่งถูกซ้ำเติม ไม่ได้รับความเป็นธรรม ศูนย์กลางใช้ 2 มาตรฐานต่อพวกเขา จึงเกิดการไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลางขยายตัวกว้างขวางขึ้น
2. ความต่างในค่านิยม ความคิดพื้นฐานระหว่างรากหญ้ากับชนชั้นนำ ตอกย้ำความไม่เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น
ชาวบ้านอยู่กับความยากจนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จึงชอบวัตถุจับต้องได้อย่างเห็นชัดๆ ชอบความไวทันใจแบบปาฏิหาริย์ ชาวบ้านจึงชอบตะกรุด หลวงพ่อคูณ (กูให้มึงรวย) แทงหวย ชอบทองคำ ซึ่งบ่งบอกถึงความรวยชัดๆ (มวยไทยเก่งๆ ได้แจกสร้อยทองคำ) ชาวบ้านยังมีค่านิยมแบบนักเลง มีน้ำใจให้กัน พึ่งพากันได้ ชอบฮีโร่หรือวีรบุรุษที่สร้างความหวัง (ส่วนใหญ่ไม่สมหวัง) ให้กับตน ชอบผู้นำที่ฉับไว กล้าได้กล้าเสีย ไม่ต้องยกแม่น้ำทั้งห้า ส่วนคนชั้นสูงชอบระเบียบ ความสงบ เรียบร้อย เพราะเท่ากับว่าคนที่ต่ำกว่ายอมรับโครงสร้างอำนาจเดิม และมองว่าระเบียบเป็นสิ่งเดียวกับประสิทธิภาพ
แต่เมื่อใช้กับระบบราชการที่มีอยู่มานานจึงเชื่องช้า (นี่เป็นค่านิยมหลักของประชาธิปัตย์ที่ถูกวิจารณ์หนักมาตลอด) ชนชั้นสูงชั้นกลางเน้นการพึ่งตนเองและระบบ เน้นวัตถุเหมือนชาวบ้านเช่นกันแต่พยายามมีคำอธิบาย พวกเขาเน้นนามธรรม และชอบเทศนาคุณธรรม ความดี จึงเป็นที่มาของความต่างระหว่างประชาธิปไตยกินได้ของชาวบ้านกับประชาธิปไตยดูได้ของชนชั้นสูง
ความแตกต่างในค่านิยมระหว่างชนชั้นล่าง และชนชั้นสูง/กลาง
ชั้นล่าง ค่านิยมชีวิตทั่วไป ชอบความง่าย สนุกสนาน รู้สึกชีวิตไม่เป็นธรรม ชอบวัตถุจับต้องได้ เน้นการพึ่งพา ช่วยเหลือกัน ใจกว้างใจนักเลง
ชั้นสูง/กลาง ชอบระเบียบ กระบวนการ ความสงบเรียบร้อย มารยาท ชีวิตเป็นโอกาส ช่องทางเปิดกว้าง ชอบนามธรรม เน้นคุณธรรม ความดี (แต่ก็ชอบวัตถุ) เน้นการพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง
ค่านิยมทางการเมือง
ชั้นล่างชอบ ผู้นำวีรบุรุษ นโยบายประชานิยม ประชาธิปไตยกินได้
สำหรับนักการเมือง ประชาธิปไตย (กู) ได้กิน
ชั้นสูง/กลาง ไม่ชอบทักษิณที่ไม่เคารพกติกา ไม่ชอบประชานิยม เพราะทำให้คนไม่รับผิดชอบตนเอง ชอบ
ประชาธิปไตยคนดี (เพราะพวกเราเป็นคนดี) หรือประชาธิปไตยดูได้ เผด็จการคนดีก็รับได้
3.มุมมองใหม่ของปรากฏการณ์ของ การเมืองรากหญ้า ขบถ”คนเล็กคนน้อย”
1. จะเข้าใจปรากฏการณ์เสื้อแดงได้ดีขึ้น ถ้ามามองทฤษฎีวงจรอุบาทว์หรือทฤษฎีสองนคราฯ ให้ลึกลงในระดับโครงสร้าง เราเคยอธิบายว่าการเมืองไทยเป็นสองนคราธิปไตย คือคนชนบทตั้งรัฐบาล คนเมืองล้มรัฐบาล หรือคนชนบทซื้อ-ชายเสียงเลือกตั้ง นักการเมืองถอนทุน ชนชั้นกลางไม่พอใจ ทหารรัฐประหารเลือกตั้งใหม่
แต่นี่เป็นการมองเชิงปรากฏการณ์ ถ้ามองเชิงโครงสร้างเราจะมองเห็นวงจรของการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจการเมืองซ้อนทับอยู่ คือ ชนบทเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งที่มาที่ชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย (ซึ่งก็คือการเลือกตั้ง) ส่วนเมืองเป็นแหล่งผลิตใช้ทรัพยากร และเป็นผู้ใช้อำนาจประชาธิปไตย และเพื่อให้วงจรนี้ดำรงต่อไปได้ก็มีการครอบงำชาวบ้าน โดยวาทกรรมความสำคัญของศูนย์กลาง ของประชาธิปไตยคนดี และมาตรการสุดท้ายคือรัฐประหาร
ประเทศตะวันตกไม่เกิดวงจรอุบาทว์นี้ เพราะเขาทำให้ประชาชนทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศ มีส่วนร่วมรับผิดชอบ กล้าใช้สิทธิเสรีภาพของตน ประชาธิปไตยในต่างประเทศไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ต้องมีการลงทุนด้านสังคม การศึกษา ค่านิยม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม รับผิดชอบ กลุ่มธุรกิจ ธนาคาร อุตสาหกรรม และภาคสังคมเป็นตัวหลักในการสร้างมหาวิทยาลัย โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ที่ประชุม ชุมชน หอศิลป์ ที่ฟังดนตรี สร้างสังคมที่ดี สวยงาม น่าอยู่ น่ารับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ
ชนชั้นนำไทยละเลยภารกิจนี้โดยสิ้นเชิง กลับโยนความไม่เป็นประชาธิปไตยไปที่ชาวบ้าน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ชนชั้นสูงของไทยสร้างค่านิยม อุดมการณ์แบบนิยมกษัตริย์ ทหารเน้นอุดมการณ์ความมั่นคง ส่วนกลุ่มทุน ธุรกิจต่างๆ ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบหรือร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หรือสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยขึ้นเลย ชนบทจึงเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นผู้ลงคะแนนเสียง หรือแหล่งที่มาของความชอบธรรม (legitimacy) ของประชาธิปไตยที่ดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยที่ตัวเองเกือบไม่ได้อะไร
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็รู้ดีว่าอำนาจต่อรองทำให้เกิดผลประโยชน์ได้ เมื่อคนเมืองต้องการให้พวกเขาลงคะแนนเลือกตั้ง การซื้อ-ขายเสียงอย่างเป็นระบบ การของบโครงการเข้าหมู่บ้านจึงเริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2521 และขยายตัวเรื่อยมา สังคมทั่วไปประณามว่าเป็นเหมือนมะเร็งร้ายของประชาธิปไตย แต่ถ้าจะมองว่าเป็นการแบ่งปัน ขอคืน ของชาวชนบทก็ได้เช่นกัน
การเกิดขึ้นของการเมืองรากหญ้าจึงเสมือนเป็นกระบวนการย้อนกลับที่จะดึงเอาอำนาจ ความมั่งคั่ง ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ กลับคืนสู่ชนบท จะเป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดผลยั่งยืนแก่ประชาธิปไตยถ้ากระบวนการนี้ยั่งยืน แล้วสร้างความเป็นธรรมในที่สุด เพราะความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำต่างๆ เป็นรากเหง้าลึกที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาเหลือง-แดง การเมืองรากหญ้า-ประชานิยม (ดูแผนภาพประกอบ)
2. เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจ เมืองไทยยุค 2 ก๊ก ก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก “คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง
ขณะที่การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า ซึ่งเป็นภาวะที่ทั้งน่าสนใจและน่าเป็นห่วงมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงการเมืองทั้งหมดที่ผ่านมา ภาวะ 2 ศูนย์อำนาจจะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมีฐานที่มั่น ที่มาความชอบธรรม (legitimacy) ควบคุมอำนาจที่ต่างกันชัดเจน
(ก)จากนโยบายประชานิยม ซึ่งจะหลากหลายขึ้น ทั้งประชานิยม เศรษฐกิจ อาชีพ สังคม (กองทุนสตรี การแจกคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้เด็กนักเรียน[3]) ประชานิยมด้านอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี
(ข) จากคนเล็กคนน้อย จากหลากหลายอาชีพ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเหยียด เช่น ตำรวจ อัยการ พ่อค้า แม่ค้า (ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจนหรือยศชั้นต่ำ)
จะเห็นได้ว่าฝ่ายเสื้อแดง-รากหญ้าอยู่ในสถานะได้เปรียบ ฝ่ายอนุรักษ์เสียเปรียบ เพราะ (ก) แนวทางและวาทกรรมในการต่อสู้ของเสื้อแดงจูงใจคนเล็กคนน้อย (แต่เป็นคนส่วนใหญ่ได้) ส่วนของความคิดอนุรักษ์จำกัดอยู่ในเรื่องชาติและพระมหากษัตริย์ (ข) เสื้อแดงมีความชอบธรรมในเรื่องประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมสากลของโลกปัจจุบัน
ส่วนความชอบธรรมของฝ่ายอนุรักษ์เป็นเชิงประวัติศาสตร์ประเพณีซึ่งเกาแก่และสึกกร่อนได้ (ค) วิสัยทัศน์ของพลังอนุรักษ์ตีบตันจึงเป็นฝ่ายตั้งรับ ในขณะที่ฝ่ายรากหญ้าเส้นทางเปิดกว้างเพราะสามารถคิดสิ่งใหม่ๆ มาให้กับชาวบ้านได้ โดยมีงบประมาณ ทรัพยากรรองรับ
ภาวะ 2 ศูนย์กลางไม่เป็นผลดีในที่สุดต้องเหลือเพียงศูนย์เดียว ในระยะยาวโอกาสของพลังฝ่ายรากหญ้ามีมากกว่า
4.บทสรุป
ไม่มีทางออกในระยะใกล้ มีแต่สิ่งที่ต้องทำเพื่อทางออกระยะยาว
1. ไม่มีทางออกจากการรอมชอมในระยะสั้น เพราะปัญหาฝังลึกมานาน ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าตัวเองถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีปากเสียงมานาน อีกฝ่ายศรัทธาในสถาบันที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมานาน ต่างเชื่อว่าอีกฝ่ายจะล้มล้างหรือซ้ำเติมฝ่ายตน
2. การขยายตัวของขั้วทักษิณ-รากหญ้า มีโอกาสทำให้เกิดการแตกร้าวระดับโครงสร้างและสถาบันมากขึ้น
ดังที่กล่าวว่า วงจรการเมืองเป็นเสมือนการย้อนเอาอำนาจ รายได้ ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ ความยุติธรรมกลับคืน เส้นแบ่งระหว่าง 2 ศูนย์อำนาจนอกจากจะเป็นความเสียเปรียบ/ได้เปรียบ คนต่ำต้อย/คนชั้นสูง มีแนวโน้มขยายเป็นเรื่องอัตลักษณ์ (คนอีสาน เหนือ ใต้ กรุงเทพฯ) วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับการเมืองประชาธิปไตยในแง่ที่จะเกิดความหลากหลายทางอัตลักษณ์ วัฒนธรรม การตระหนักในอำนาจ ศักดิ์ศรีของตนเองกับคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต แต่ถ้าเป็นวงจรการเมืองแบบเอาคืนหรือทีใครทีมันอย่างสุดขั้ว ก็จะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อได้ และจะเป็นเรื่องเสียหายเกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุดถ้าเส้นแบ่งขั้วขัดแย้งขยายเข้าไปสู่สถาบันกองทัพ ศาล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองจะผ่านความรุนแรงไปได้อย่างน้อยช่วงหนึ่งถ้าทักษิณและเพื่อไทยมองเห็นว่า เวลาอยู่กับฝ่ายตน ไม่จำเป็นต้องกดดันให้มีการเผชิญหน้าของมวลชน และใช้เวลาดังกล่าวแก้ไขความไม่ถูกต้อง ซึ่งมีมาช้านานให้ดีขึ้น แต่ก็ควรมุ่งเชิงโครงสร้างและค่านิยมที่ควรมากกว่า
3. ต้องมีการปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดใหม่ว่า ประเทศไทยควรเป็นอย่างไร ทั้งในด้านการเมืองการปกครอง การปฏิรูปปรับปรุงสถาบัน องค์กร สำคัญๆ ต่างๆ ทั้งหมด อาทิ
รูปแบบการปกครองประเทศควรเป็นอย่างไร ควรจะกระจายอำนาจการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจ การศึกษาในระดับภูมิภาค การพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร
เป็นที่ประจักษ์ชัดจากความขัดแย้งปัจจุบันว่า ได้ลุกลามไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ นักวิชาการรวมทั้งนักคิดที่ใกล้ชิดราชสำนัก เช่น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
นพ.ประเวศ วะสี อานันท์ ปันยารชุน ควรสร้างการศึกษาค้นคว้า สร้างความรู้ที่ถูกต้องว่า สถาบันกษัตริย์ควรจะดำรงอยู่ในระบบเสรีประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์อย่างไร โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการอนุรักษ์สุดขั้วบางส่วน ที่พยายามจะหวนกลับมายกย่องให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีพระราชอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการย้อนยุค สถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและโลกยุคข่าวสารได้ยั่งยืน ก็ต้องเป็นสถาบันที่มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง
นอกจากจะมีหน้าที่ ภารกิจตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแล้ว ยังมีภารกิจตามขนบประเพณี ทางศาสนา วัฒนธรรม และที่สังคมคาดหวัง เช่น เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งที่มาของเกียรติยศ จริยธรรม คุณธรรม พิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น
นักเศรษฐศาสตร์สำคัญทั่วโลกล้วนสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะมีส่วนดีในหลายด้านแต่ก็ล้มเหลวในที่สุดในทุกประเทศที่เคยใช้มา เพราะเกิดปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อรุนแรง สังคมต้องช่วยกันกดดัน วิพากษ์ วิจารณ์ทักษิณและพรรคเพื่อไทยทีจะพัฒนาเปลี่ยนรูปนโยบายนี้ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ผู้ที่ควรร่วมคิด ผลักดันประเด็นข้างต้นควรเป็น นักวิชาการเสื้อเหลือง แดง และนักวิชาการทั่วไปที่ไม่ยึดแนวสุดขั้วจนปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่ง ภาคธุรกิจ กลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งอยู่ตรงกลางมากที่สุด แต่ก็มีผลได้ผลเสียจากความขัดแย้งปัจจุบันมากที่สุด ควรมีบทบาทชดเชยสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ ด้วยการลงทุนสร้างความยุติธรรม บรรยากาศ ค่านิยมประชาธิปไตยให้กว้างขวางที่สุด
4.การเกิดขั้วทางอำนาจนี้ คงดำเนินต่อไปอีกยาวนาน มีโอกาสเกิดการชุมนุมประท้วงรุนแรงขึ้นได้อีก จำเป็นที่เราต้องยกระดับให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเข้มแข็ง (strong democracy) ที่ใช้ทั้งสิทธิและเสรีภาพและตามลักษณะที่เข้มแข็งทั้ง 3 ด้าน (strong right, strong freedom, strong responsibility) คือเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็รักษาสิทธิของตน รับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเต็มที่
สิ่งที่ต้องทำ
1. ต้องปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดว่าประเทศไทยควรเป็นอย่างไรใหม่ ประเทศไทยเราคงไม่อยู่ ดำรงอยู่ และก้าวหน้าต่อไปด้วยแนวคิดง่ายๆ ว่าไทยเป็นเมืองสงบ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำไม่มีใครอดตาย เป็นประเทศที่ยึดมั่นใน “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” เพราะมีความซับซ้อนทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสื่อสาร ฯลฯ เกิดขึ้น เราต้องตั้งคำถามต่อปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศใหม่ทั้งหมด เช่น
เราจะมีประชาธิปไตยแบบไหน จะมีประชาธิปไตยรากหญ้าที่มีการตรวจสอบ สกัดกั้นการคอร์รัปชั่นของนักการเมืองได้ไหม จะพัฒนาองค์กรตรวจสอบอย่างไร
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มองบทเรียนประวัติศาสตร์ว่า ประชานิยมที่ถูกนำมาใช้ล้มเหลวในที่สุด แต่บางส่วนมองว่ามีด้านที่ดีในเชิงการเมือง สังคม ความยุติธรรม และอื่นๆ นักเศรษฐศาสตร์ไทยต้องเพิ่มการถกเถียง ถ่ายทอดความรู้ทัศนะในประเด็นดังกล่าวแก่สังคมให้กว้างขวางที่สุด
2. ทุกฝ่ายทั้งเหลือง-แดง ทุกสถาบันของประเทศ ควรปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ใหม่ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเสียหน้าเสียศักดิ์ศรี หรือเป็นการยอมรับแรงกดดันจากอีกฝ่าย
3. ทุกฝ่ายต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็เคารพสิทธิ กล้าใช้สิทธิของตนเอง เช่น ไม่ควรยินยอมให้พลังฝ่ายใดทำรุนแรงเกินเหตุ เช่น การยึดทำเนียบ การขับไล่ล้มการประชุมนานาชาติ การยึดสนามบินสุวรรณภูมิ การยึดราชประสงค์ จนเกิดการปราบปรามและการเผาราชประสงค์อีกต่อไป แต่ละฝ่ายควรรักษาสิทธิของตนเองอย่างจริงจัง เพราะการกระทำดังกล่าวแม้จะอ้างว่าทำด้วยเจตนามุ่งหมายที่ดี แต่เมื่อเกิดผลเสียหายขึ้นแล้วก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเท่าเทียมกัน เพื่อรักษาระบบยุติธรรมของประเทศเอาไว้ ส่วนจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมทั้งหมดจะช่วยกันพิจารณา
4. โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอ มากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย อนาคตการเมืองไทยจึงจะยังเป็นเครื่องหมายคำถามที่จะอยู่กับคนชื่อทักษิณอยู่อีกต่อไปนานพอสมควร
5. โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอมากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย อุดมการณ์การเมืองที่มีความสามารถชี้ทางออกที่เหมาะสมให้สังคมไทยได้ ซึ่งเท่ากับประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
1.ยุคของการเมืองปัจจุบันยุคของทักษิณ-การเมืองรากหญ้า ประชานิยม
1. การเมืองยุคของทักษิณ ช่วงเกือบ 15 ปีที่พรรคการเมืองของทักษิณชนะการเลือกตั้งทั่วไป ได้เสียงข้างมากติดต่อกัน รวมทั้งสามารถขยายฐานรากหญ้า เสื้อแดง ระดมพลไปเลือกตั้งและชุมนุมประท้วงได้อย่างกว้างขวาง สะท้อนว่าทักษิณกลายเป็น 1 ใน 3 ของผู้มีบารมีทางการเมืองในช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ที่มีบทบาทเปลี่ยนโฉมการเมืองไทย ซึ่งได้แก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ทักษิณจะช่วยให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือประเทศล่มจมยังเป็นสิ่งต้องพิสูจน์อีกยาวนาน
2. เกิดการเมืองรากหญ้า-ประชานิยม วิกฤติการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ที่รุนแรงที่สุดคือการไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของอีกฝ่าย เพราะมองว่าไม่ใช่ของจริง ไม่ต้องสนใจจริงจัง เช่น ฝ่ายอนุรักษ์มองว่า เสื้อแดงไม่มีตัวตนเพราะถูกจ้างมา โง่จึงถูกหลอกมา ไร้การศึกษาจึงถูกชักจูงโดยทักษิณ แต่ชาวรากหญ้าเสื้อแดงกลับมองว่า ทักษิณมีบุญคุณล้นเหลือคือ (ก) นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ช่วยผ่อนเบารายจ่ายของคนจนอย่างมาก
นอกจากแก้การเจ็บไข้ร่างกายแล้ว ยังแก้เจ็บใจที่แต่ก่อนไปสถานพยาบาลแล้วถูกดูถูกปฏิเสธ (ข) ชาวบ้านมองกองทุนและโครงการช่วยคนจนต่างๆ ว่าเป็นก้าวแรกที่มีการช่วยเหลือทางวัตถุโดยตรงและจริงจังแก่ชาวบ้าน (ค) ชาวบ้านชอบความรวดเร็วและเด็ดขาดเอาจริงเอาจังของทักษิณ โดยเฉพาะในการปราบปรามยาเสพติด (ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ปัญหายาเสพติดกระทบโดยตรงต่อครอบครัวคนชั้นกลางล่าง ชั้นล่าง หรือคนจนในเขตเมืองมากกว่าที่คิด และลดลงมากในช่วงทักษิณ) ส่วนเสื้อแดงก็ไม่ยอมรับเสื้อเหลือง มองเป็นพวกไม่มีเหตุผล ความคิด เพราะคลั่ง “ชาติ” คลั่ง “เจ้า”
3. การเมืองรากหญ้ามีความสำคัญต่อประชาธิปไตย ถ้าจะมองพัฒนาการการเมืองไทยในด้านสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว ในช่วงราชาธิปไตยชาวบ้านไม่มีทั้งเสรีภาพและศักดิ์ศรี ต่อมาในช่วงเผด็จการทหารมีบางส่วนได้มีศักดิ์ศรีแต่ไม่มีเสรีภาพ ชนชั้นกลางในสังคมไทยเพิ่งจะมีเสรีภาพก็ในช่วงหลัง 14 ตุลาคม 2516 และชาวบ้านระดับรากหญ้าเองก็มามีเสรีภาพในการแสดงออกหลัง 19 กันยายน 2549 การเมืองรากหญ้าจึงเป็นดัชนีบ่งชี้พัฒนาการของสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย แม้จะเป็นช่วงเริ่มต้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประชานิยมน่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงในอนาคต
อย่างไรก็ตาม พลังรากหญ้า เสื้อแดงมีลักษณะเฉพาะ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการชุมนุมเป็นคราวๆ ยังไม่เป็นขบวนการการเมือง ไม่มีเป้าหมายอุดมการณ์ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองแต่อย่างใด
2.รากเหง้าของวิกฤติ
1. เรารวมศูนย์มากเกินไป ท้ายที่สุดศูนย์กลางเอาไม่อยู่
ก่อนรัตนโกสินทร์ไทยไม่ได้ปกครองแบบรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ มีความหลากหลายของรูปแบบการปกครอง ขนบ วัฒนธรรม เพิ่งมีการรวมศูนย์เบ็ดเสร็จทุกด้านในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยรัฐเป็นเจ้าของและผู้ใช้ทรัพยากรทุกอย่าง เชิดชูส่วนกลาง กดเหยียดของเดิม จึงเกิดความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ความน้อยเนื้อต่ำใจในหลาย ๆ ด้านฝังลึกอยู่ เนื่องจากทุกอย่างรวมศูนย์ที่รัฐ ทั้งอำนาจและทรัพยากร ชนชั้นนำที่เข้ามามีอำนาจการเมืองล้วนหยิบฉวยใช้ประโยชน์จากรัฐทั้งสิ้น
ส่วนชาวบ้านเกือบไม่เคยได้อะไรจากรัฐ จึงตำหนิชาวบ้านเต็มที่ไม่ได้ เมื่อประเทศต้องการให้มาลงคะแนนเป็นรากฐานให้ประชาธิปไตย พวกเขาจึงถือเป็นอำนาจต่อรองในการซื้อ-ขายเสียง ขอโครงการเข้าหมู่บ้าน ชาวบ้านตื้นตันใจกับทักษิณที่ใช้ประชานิยมผันเอาเงินของรัฐไปช่วยชาวบ้านอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง แม้ตัวเองจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่สตางค์แดงเดียวก็ตาม
ตัวอย่างความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการรวมศูนย์มากเกินไป ซึ่งต้องร่วมกันแก้ไข คือ
(ก) ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ คุณภาพชีวิต อำนาจในการใช้และควบคุมทรัพยากรพื้นฐาน ตั้งแต่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แร่ธาตุ ป่าไม้ การสื่อสาร โครงสร้างพื้นฐาน สุขภาพอนามัย ฯลฯ มีอยู่มากและได้พูดกันมากแล้ว
(ข) ประวัติศาสตร์เป็นความภาคภูมิใจของคน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เราเน้นประวัติศาสตร์แบบกษัตริย์นิยมเป็นรัชกาลๆ ไป เกือบไม่มีเรื่องราวของคน อาชีพ สถานะอื่น ไม่มีประวัติศาสตร์สังคมโดยรวม
ไม่มีการเขียนประวัติศาสตร์ว่าคนอาชีพต่างๆ มีส่วนสร้างสังคมอย่างไร ราวกับว่าไม่มีพวกเขาอยู่ ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของประเทศจึงเกิดน้อย สถานที่สาธารณะของเรามีรูปปั้น มีชื่อถนน สะพาน อาคาร สวนสาธารณะ ฯลฯ ตามพระนามพระมหากษัตริย์ เกือบไม่มีชื่อของปราชญ์ชาวไทย พระ ทูต นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร สถาปนิก นายแพทย์ นักสำรวจ นักเศรษฐศาสตร์ นักแต่งเพลง กวี ศิลปิน ดารา นักกีฬา เช่น ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ปรีดี พนมยงค์ พระยาอนุมานราชธน พุทธทาสภิกขุ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ กุหลาบ สายประดิษฐ์ สุนทราภรณ์ มิตร ชัยบัญชา สุรพล สมบัติเจริญ ปรีดา จุลละมณฑล รวมทั้งบุคคลสำคัญของท้องถิ่นต่างๆ ในต่างประเทศเช่นราชสำนักอังกฤษให้อิสริยาภรณ์กับหลากหลายอาชีพ แม้แต่ชาวต่างประเทศ เปเล่ เอลตัน จอห์น บิล เกทส์ เดวิด เบคแฮม ฯลฯ ในขณะที่เรามีให้กับข้าราชการทหาร พลเรือน และภริยา กับนักธุรกิจเป็นส่วนใหญ่
(ค) ภาษา ขนบประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่นถูกทอดทิ้งละเลยไปมาก เช่น มีการรื้อถอนคุ้มจวนเจ้าเมือง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่สวยงาม แล้วสร้างศาลากลางที่อัปลักษณ์แบบไทยภาคกลางลงไปแทน วัดวาจำนวนมากก็ถูกเปลี่ยนเป็นแบบวัดภาคกลางแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีการใช้ภาษาบาลี ไปเป็นชื่อถนน อำเภอ ตำบล แทนชื่อท้องถิ่น ฯลฯ ยิ่งสร้างความแปลกแยก แทนที่จะสร้างความเข้าใจ เคารพซึ่งกันและกัน
ชาวบ้านรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรมมาตลอดชีวิต ถูกดูหมิ่นดูแคลน ไม่มีศักดิ์ศรีของตัวเองให้เกิดความเคารพความรับผิดชอบตัวเอง เมื่อชนชั้นกลางในเมืองต่อต้านคนที่มีบุญคุณเช่นทักษิณ จนเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน ขึ้น พวกเขาจึงรู้สึกว่ายิ่งถูกซ้ำเติม ไม่ได้รับความเป็นธรรม ศูนย์กลางใช้ 2 มาตรฐานต่อพวกเขา จึงเกิดการไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลางขยายตัวกว้างขวางขึ้น
2. ความต่างในค่านิยม ความคิดพื้นฐานระหว่างรากหญ้ากับชนชั้นนำ ตอกย้ำความไม่เข้าใจกันเพิ่มมากขึ้น
ชาวบ้านอยู่กับความยากจนมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย จึงชอบวัตถุจับต้องได้อย่างเห็นชัดๆ ชอบความไวทันใจแบบปาฏิหาริย์ ชาวบ้านจึงชอบตะกรุด หลวงพ่อคูณ (กูให้มึงรวย) แทงหวย ชอบทองคำ ซึ่งบ่งบอกถึงความรวยชัดๆ (มวยไทยเก่งๆ ได้แจกสร้อยทองคำ) ชาวบ้านยังมีค่านิยมแบบนักเลง มีน้ำใจให้กัน พึ่งพากันได้ ชอบฮีโร่หรือวีรบุรุษที่สร้างความหวัง (ส่วนใหญ่ไม่สมหวัง) ให้กับตน ชอบผู้นำที่ฉับไว กล้าได้กล้าเสีย ไม่ต้องยกแม่น้ำทั้งห้า ส่วนคนชั้นสูงชอบระเบียบ ความสงบ เรียบร้อย เพราะเท่ากับว่าคนที่ต่ำกว่ายอมรับโครงสร้างอำนาจเดิม และมองว่าระเบียบเป็นสิ่งเดียวกับประสิทธิภาพ
แต่เมื่อใช้กับระบบราชการที่มีอยู่มานานจึงเชื่องช้า (นี่เป็นค่านิยมหลักของประชาธิปัตย์ที่ถูกวิจารณ์หนักมาตลอด) ชนชั้นสูงชั้นกลางเน้นการพึ่งตนเองและระบบ เน้นวัตถุเหมือนชาวบ้านเช่นกันแต่พยายามมีคำอธิบาย พวกเขาเน้นนามธรรม และชอบเทศนาคุณธรรม ความดี จึงเป็นที่มาของความต่างระหว่างประชาธิปไตยกินได้ของชาวบ้านกับประชาธิปไตยดูได้ของชนชั้นสูง
ความแตกต่างในค่านิยมระหว่างชนชั้นล่าง และชนชั้นสูง/กลาง
ชั้นล่าง ค่านิยมชีวิตทั่วไป ชอบความง่าย สนุกสนาน รู้สึกชีวิตไม่เป็นธรรม ชอบวัตถุจับต้องได้ เน้นการพึ่งพา ช่วยเหลือกัน ใจกว้างใจนักเลง
ชั้นสูง/กลาง ชอบระเบียบ กระบวนการ ความสงบเรียบร้อย มารยาท ชีวิตเป็นโอกาส ช่องทางเปิดกว้าง ชอบนามธรรม เน้นคุณธรรม ความดี (แต่ก็ชอบวัตถุ) เน้นการพึ่งตนเอง ช่วยตนเอง
ค่านิยมทางการเมือง
ชั้นล่างชอบ ผู้นำวีรบุรุษ นโยบายประชานิยม ประชาธิปไตยกินได้
สำหรับนักการเมือง ประชาธิปไตย (กู) ได้กิน
ชั้นสูง/กลาง ไม่ชอบทักษิณที่ไม่เคารพกติกา ไม่ชอบประชานิยม เพราะทำให้คนไม่รับผิดชอบตนเอง ชอบ
ประชาธิปไตยคนดี (เพราะพวกเราเป็นคนดี) หรือประชาธิปไตยดูได้ เผด็จการคนดีก็รับได้
3.มุมมองใหม่ของปรากฏการณ์ของ การเมืองรากหญ้า ขบถ”คนเล็กคนน้อย”
1. จะเข้าใจปรากฏการณ์เสื้อแดงได้ดีขึ้น ถ้ามามองทฤษฎีวงจรอุบาทว์หรือทฤษฎีสองนคราฯ ให้ลึกลงในระดับโครงสร้าง เราเคยอธิบายว่าการเมืองไทยเป็นสองนคราธิปไตย คือคนชนบทตั้งรัฐบาล คนเมืองล้มรัฐบาล หรือคนชนบทซื้อ-ชายเสียงเลือกตั้ง นักการเมืองถอนทุน ชนชั้นกลางไม่พอใจ ทหารรัฐประหารเลือกตั้งใหม่
แต่นี่เป็นการมองเชิงปรากฏการณ์ ถ้ามองเชิงโครงสร้างเราจะมองเห็นวงจรของการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจการเมืองซ้อนทับอยู่ คือ ชนบทเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งที่มาที่ชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย (ซึ่งก็คือการเลือกตั้ง) ส่วนเมืองเป็นแหล่งผลิตใช้ทรัพยากร และเป็นผู้ใช้อำนาจประชาธิปไตย และเพื่อให้วงจรนี้ดำรงต่อไปได้ก็มีการครอบงำชาวบ้าน โดยวาทกรรมความสำคัญของศูนย์กลาง ของประชาธิปไตยคนดี และมาตรการสุดท้ายคือรัฐประหาร
ประเทศตะวันตกไม่เกิดวงจรอุบาทว์นี้ เพราะเขาทำให้ประชาชนทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของประเทศ มีส่วนร่วมรับผิดชอบ กล้าใช้สิทธิเสรีภาพของตน ประชาธิปไตยในต่างประเทศไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ ต้องมีการลงทุนด้านสังคม การศึกษา ค่านิยม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม รับผิดชอบ กลุ่มธุรกิจ ธนาคาร อุตสาหกรรม และภาคสังคมเป็นตัวหลักในการสร้างมหาวิทยาลัย โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ที่ประชุม ชุมชน หอศิลป์ ที่ฟังดนตรี สร้างสังคมที่ดี สวยงาม น่าอยู่ น่ารับผิดชอบร่วมกัน ฯลฯ
ชนชั้นนำไทยละเลยภารกิจนี้โดยสิ้นเชิง กลับโยนความไม่เป็นประชาธิปไตยไปที่ชาวบ้าน ตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ชนชั้นสูงของไทยสร้างค่านิยม อุดมการณ์แบบนิยมกษัตริย์ ทหารเน้นอุดมการณ์ความมั่นคง ส่วนกลุ่มทุน ธุรกิจต่างๆ ไม่เคยแสดงความรับผิดชอบหรือร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย หรือสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยขึ้นเลย ชนบทจึงเป็นแหล่งที่มาของทรัพยากร แรงงานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นผู้ลงคะแนนเสียง หรือแหล่งที่มาของความชอบธรรม (legitimacy) ของประชาธิปไตยที่ดึงดูดเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยที่ตัวเองเกือบไม่ได้อะไร
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านก็รู้ดีว่าอำนาจต่อรองทำให้เกิดผลประโยชน์ได้ เมื่อคนเมืองต้องการให้พวกเขาลงคะแนนเลือกตั้ง การซื้อ-ขายเสียงอย่างเป็นระบบ การของบโครงการเข้าหมู่บ้านจึงเริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2521 และขยายตัวเรื่อยมา สังคมทั่วไปประณามว่าเป็นเหมือนมะเร็งร้ายของประชาธิปไตย แต่ถ้าจะมองว่าเป็นการแบ่งปัน ขอคืน ของชาวชนบทก็ได้เช่นกัน
การเกิดขึ้นของการเมืองรากหญ้าจึงเสมือนเป็นกระบวนการย้อนกลับที่จะดึงเอาอำนาจ ความมั่งคั่ง ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ กลับคืนสู่ชนบท จะเป็นสิ่งที่ดีมากและเกิดผลยั่งยืนแก่ประชาธิปไตยถ้ากระบวนการนี้ยั่งยืน แล้วสร้างความเป็นธรรมในที่สุด เพราะความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำต่างๆ เป็นรากเหง้าลึกที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาเหลือง-แดง การเมืองรากหญ้า-ประชานิยม (ดูแผนภาพประกอบ)
2. เกิดการเมืองแบบ 2 ขั้วอำนาจ เมืองไทยยุค 2 ก๊ก ก๊ก “คนเลว” โจโฉ จะชนะก๊ก “คนดี” เล่าปี่-ขงเบ้ง
ขณะที่การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษนิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า ซึ่งเป็นภาวะที่ทั้งน่าสนใจและน่าเป็นห่วงมากที่สุดเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงการเมืองทั้งหมดที่ผ่านมา ภาวะ 2 ศูนย์อำนาจจะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนมีฐานที่มั่น ที่มาความชอบธรรม (legitimacy) ควบคุมอำนาจที่ต่างกันชัดเจน
(ก)จากนโยบายประชานิยม ซึ่งจะหลากหลายขึ้น ทั้งประชานิยม เศรษฐกิจ อาชีพ สังคม (กองทุนสตรี การแจกคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้เด็กนักเรียน[3]) ประชานิยมด้านอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี
(ข) จากคนเล็กคนน้อย จากหลากหลายอาชีพ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเหยียด เช่น ตำรวจ อัยการ พ่อค้า แม่ค้า (ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจนหรือยศชั้นต่ำ)
จะเห็นได้ว่าฝ่ายเสื้อแดง-รากหญ้าอยู่ในสถานะได้เปรียบ ฝ่ายอนุรักษ์เสียเปรียบ เพราะ (ก) แนวทางและวาทกรรมในการต่อสู้ของเสื้อแดงจูงใจคนเล็กคนน้อย (แต่เป็นคนส่วนใหญ่ได้) ส่วนของความคิดอนุรักษ์จำกัดอยู่ในเรื่องชาติและพระมหากษัตริย์ (ข) เสื้อแดงมีความชอบธรรมในเรื่องประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความชอบธรรมสากลของโลกปัจจุบัน
ส่วนความชอบธรรมของฝ่ายอนุรักษ์เป็นเชิงประวัติศาสตร์ประเพณีซึ่งเกาแก่และสึกกร่อนได้ (ค) วิสัยทัศน์ของพลังอนุรักษ์ตีบตันจึงเป็นฝ่ายตั้งรับ ในขณะที่ฝ่ายรากหญ้าเส้นทางเปิดกว้างเพราะสามารถคิดสิ่งใหม่ๆ มาให้กับชาวบ้านได้ โดยมีงบประมาณ ทรัพยากรรองรับ
ภาวะ 2 ศูนย์กลางไม่เป็นผลดีในที่สุดต้องเหลือเพียงศูนย์เดียว ในระยะยาวโอกาสของพลังฝ่ายรากหญ้ามีมากกว่า
4.บทสรุป
ไม่มีทางออกในระยะใกล้ มีแต่สิ่งที่ต้องทำเพื่อทางออกระยะยาว
1. ไม่มีทางออกจากการรอมชอมในระยะสั้น เพราะปัญหาฝังลึกมานาน ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าตัวเองถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีปากเสียงมานาน อีกฝ่ายศรัทธาในสถาบันที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมานาน ต่างเชื่อว่าอีกฝ่ายจะล้มล้างหรือซ้ำเติมฝ่ายตน
2. การขยายตัวของขั้วทักษิณ-รากหญ้า มีโอกาสทำให้เกิดการแตกร้าวระดับโครงสร้างและสถาบันมากขึ้น
ดังที่กล่าวว่า วงจรการเมืองเป็นเสมือนการย้อนเอาอำนาจ รายได้ ศักดิ์ศรี ความภูมิใจ ความยุติธรรมกลับคืน เส้นแบ่งระหว่าง 2 ศูนย์อำนาจนอกจากจะเป็นความเสียเปรียบ/ได้เปรียบ คนต่ำต้อย/คนชั้นสูง มีแนวโน้มขยายเป็นเรื่องอัตลักษณ์ (คนอีสาน เหนือ ใต้ กรุงเทพฯ) วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับการเมืองประชาธิปไตยในแง่ที่จะเกิดความหลากหลายทางอัตลักษณ์ วัฒนธรรม การตระหนักในอำนาจ ศักดิ์ศรีของตนเองกับคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต แต่ถ้าเป็นวงจรการเมืองแบบเอาคืนหรือทีใครทีมันอย่างสุดขั้ว ก็จะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อได้ และจะเป็นเรื่องเสียหายเกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุดถ้าเส้นแบ่งขั้วขัดแย้งขยายเข้าไปสู่สถาบันกองทัพ ศาล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองจะผ่านความรุนแรงไปได้อย่างน้อยช่วงหนึ่งถ้าทักษิณและเพื่อไทยมองเห็นว่า เวลาอยู่กับฝ่ายตน ไม่จำเป็นต้องกดดันให้มีการเผชิญหน้าของมวลชน และใช้เวลาดังกล่าวแก้ไขความไม่ถูกต้อง ซึ่งมีมาช้านานให้ดีขึ้น แต่ก็ควรมุ่งเชิงโครงสร้างและค่านิยมที่ควรมากกว่า
3. ต้องมีการปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดใหม่ว่า ประเทศไทยควรเป็นอย่างไร ทั้งในด้านการเมืองการปกครอง การปฏิรูปปรับปรุงสถาบัน องค์กร สำคัญๆ ต่างๆ ทั้งหมด อาทิ
รูปแบบการปกครองประเทศควรเป็นอย่างไร ควรจะกระจายอำนาจการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจ การศึกษาในระดับภูมิภาค การพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร
เป็นที่ประจักษ์ชัดจากความขัดแย้งปัจจุบันว่า ได้ลุกลามไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ นักวิชาการรวมทั้งนักคิดที่ใกล้ชิดราชสำนัก เช่น ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
นพ.ประเวศ วะสี อานันท์ ปันยารชุน ควรสร้างการศึกษาค้นคว้า สร้างความรู้ที่ถูกต้องว่า สถาบันกษัตริย์ควรจะดำรงอยู่ในระบบเสรีประชาธิปไตยและโลกาภิวัตน์อย่างไร โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการอนุรักษ์สุดขั้วบางส่วน ที่พยายามจะหวนกลับมายกย่องให้พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ มีพระราชอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการย้อนยุค สถาบันพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสังคมเสรีประชาธิปไตยและโลกยุคข่าวสารได้ยั่งยืน ก็ต้องเป็นสถาบันที่มีสถานะเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอย่างแท้จริง
นอกจากจะมีหน้าที่ ภารกิจตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแล้ว ยังมีภารกิจตามขนบประเพณี ทางศาสนา วัฒนธรรม และที่สังคมคาดหวัง เช่น เป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งที่มาของเกียรติยศ จริยธรรม คุณธรรม พิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น
นักเศรษฐศาสตร์สำคัญทั่วโลกล้วนสรุปว่า นโยบายประชานิยมแม้จะมีส่วนดีในหลายด้านแต่ก็ล้มเหลวในที่สุดในทุกประเทศที่เคยใช้มา เพราะเกิดปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนและเงินเฟ้อรุนแรง สังคมต้องช่วยกันกดดัน วิพากษ์ วิจารณ์ทักษิณและพรรคเพื่อไทยทีจะพัฒนาเปลี่ยนรูปนโยบายนี้ให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
ผู้ที่ควรร่วมคิด ผลักดันประเด็นข้างต้นควรเป็น นักวิชาการเสื้อเหลือง แดง และนักวิชาการทั่วไปที่ไม่ยึดแนวสุดขั้วจนปฏิเสธอีกฝ่ายหนึ่ง ภาคธุรกิจ กลุ่มทุนใหญ่ ซึ่งอยู่ตรงกลางมากที่สุด แต่ก็มีผลได้ผลเสียจากความขัดแย้งปัจจุบันมากที่สุด ควรมีบทบาทชดเชยสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ ด้วยการลงทุนสร้างความยุติธรรม บรรยากาศ ค่านิยมประชาธิปไตยให้กว้างขวางที่สุด
4.การเกิดขั้วทางอำนาจนี้ คงดำเนินต่อไปอีกยาวนาน มีโอกาสเกิดการชุมนุมประท้วงรุนแรงขึ้นได้อีก จำเป็นที่เราต้องยกระดับให้สังคมไทยเป็นสังคมประชาธิปไตยเข้มแข็ง (strong democracy) ที่ใช้ทั้งสิทธิและเสรีภาพและตามลักษณะที่เข้มแข็งทั้ง 3 ด้าน (strong right, strong freedom, strong responsibility) คือเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็รักษาสิทธิของตน รับผิดชอบต่อสิทธิเสรีภาพของตนเต็มที่
สิ่งที่ต้องทำ
1. ต้องปรับกระบวนทัศน์หรือแม่บทความคิดว่าประเทศไทยควรเป็นอย่างไรใหม่ ประเทศไทยเราคงไม่อยู่ ดำรงอยู่ และก้าวหน้าต่อไปด้วยแนวคิดง่ายๆ ว่าไทยเป็นเมืองสงบ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำไม่มีใครอดตาย เป็นประเทศที่ยึดมั่นใน “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” เพราะมีความซับซ้อนทางประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ การปฏิวัติทางเทคโนโลยีสื่อสาร ฯลฯ เกิดขึ้น เราต้องตั้งคำถามต่อปัญหาใหญ่ๆ ของประเทศใหม่ทั้งหมด เช่น
เราจะมีประชาธิปไตยแบบไหน จะมีประชาธิปไตยรากหญ้าที่มีการตรวจสอบ สกัดกั้นการคอร์รัปชั่นของนักการเมืองได้ไหม จะพัฒนาองค์กรตรวจสอบอย่างไร
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มองบทเรียนประวัติศาสตร์ว่า ประชานิยมที่ถูกนำมาใช้ล้มเหลวในที่สุด แต่บางส่วนมองว่ามีด้านที่ดีในเชิงการเมือง สังคม ความยุติธรรม และอื่นๆ นักเศรษฐศาสตร์ไทยต้องเพิ่มการถกเถียง ถ่ายทอดความรู้ทัศนะในประเด็นดังกล่าวแก่สังคมให้กว้างขวางที่สุด
2. ทุกฝ่ายทั้งเหลือง-แดง ทุกสถาบันของประเทศ ควรปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ใหม่ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเสียหน้าเสียศักดิ์ศรี หรือเป็นการยอมรับแรงกดดันจากอีกฝ่าย
3. ทุกฝ่ายต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น ขณะเดียวกันก็เคารพสิทธิ กล้าใช้สิทธิของตนเอง เช่น ไม่ควรยินยอมให้พลังฝ่ายใดทำรุนแรงเกินเหตุ เช่น การยึดทำเนียบ การขับไล่ล้มการประชุมนานาชาติ การยึดสนามบินสุวรรณภูมิ การยึดราชประสงค์ จนเกิดการปราบปรามและการเผาราชประสงค์อีกต่อไป แต่ละฝ่ายควรรักษาสิทธิของตนเองอย่างจริงจัง เพราะการกระทำดังกล่าวแม้จะอ้างว่าทำด้วยเจตนามุ่งหมายที่ดี แต่เมื่อเกิดผลเสียหายขึ้นแล้วก็ต้องมีผู้รับผิดชอบ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเท่าเทียมกัน เพื่อรักษาระบบยุติธรรมของประเทศเอาไว้ ส่วนจะมีการนิรโทษกรรมหรือไม่ เป็นเรื่องที่สังคมทั้งหมดจะช่วยกันพิจารณา
4. โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอ มากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย อนาคตการเมืองไทยจึงจะยังเป็นเครื่องหมายคำถามที่จะอยู่กับคนชื่อทักษิณอยู่อีกต่อไปนานพอสมควร
5. โดยส่วนตัวผู้เขียนยังเชื่อว่าทักษิณไม่ได้เชื่อมั่นการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าจริงๆ จะเห็นได้จากการปราศรัยกับชาวบ้าน ไม่ได้เห็นประเด็นที่เป็นโครงสร้างยั่งยืน นอกจากอ้อนวอนขอกลับมาเมืองไทย ทักษิณมีลักษณะเป็นผู้นำการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย ทักษิณมุ่งหวังรากหญ้าเป็นลูกค้าซื้อสินค้าของตนเป็นประจำสม่ำเสมอมากกว่าจะให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนมั่นคงของระบบเศรษฐกิจการเมืองไทย หรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมาย อุดมการณ์การเมืองที่มีความสามารถชี้ทางออกที่เหมาะสมให้สังคมไทยได้ ซึ่งเท่ากับประเทศเราแตกแยก ด่าทอกันเอง ใช้ความรุนแรงต่อกันเพียงเพื่อแก้ปัญหาการซุกหุ้น หนีภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สิน อำนาจของทักษิณเท่านั้น
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555
โมเดลชั่ว !!?
สู้ซึ่ง ๆ ตามระบอบประชาธิปไตย รับประกันซ่อมฟรี ไม่มีโอกาสเป็น “รัฐบาลชัวร์”
ฉะนั้น, จึงมีการจัดหนัก จัดเต็ม เพื่อสร้างสถานการณ์ให้บ้านเมืองวุ่นวาย
เสี้ยมเขา ให้ประชาชนแต่ละสีออกมาคราวนี้...จะจุดไฟนรก เพื่อให้เกิดมีคนตาย
จะคิดแย่งชิงอำนาจ ไปจาก “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรใช้เสียงสวรรค์ประชาชนเป็นตัวกำหนด และ ตัดสิน ในคูหาเลือกตั้งจะดีกว่า..ดึงเผด็จการทอปบู๊ตออกมาช่วย ไม่สง่างาม
ปากบอกว่ารักประชาธิปไตย...แต่ไฉนถึงใช้ลูกไม้?..อาศัยสีเขียวเป็นประจำ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผีเน่ากับโลงผุ
ผสมประสานกัน เพื่อให้เกมของตัวเอง ได้บรรลุ
หลังจากสาวกเฒ่าโกเต๊กซ์ กับพญาแมลงศาป เป็นพวกผีไม่เผา เงาไม่เหยียบกันมาแล้ว
คราวนี้, กลับมาร่วมบรรเลงคีย์เดียวกันอีก..จุดมุ่งหมายโค่น “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร..อ้างชนวนเก่าเล่ายี่ห้อ แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อ “บิ๊กแม้ว”
พอผลประโยชน์ขัดกัน ก็สะบัดก้นหนีไปยืนอยู่คนละฝั่ง ไม่มีอุดมการณ์เป็นจุดยืนที่แน่วแน่
ขอประณามพวกนี้ทำไม่ถูก..เป็นพวกคดในคองอในกระดูก..ผูกใจเจ็บ ที่ไม่รู้จักแพ้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คบคนพาลพาไปหาผิด
ไปเชื่อน้ำมนต์ นักการเมืองที่ไม่อยู่กับร่องกระรอย ระวังจะพา “ท่านนายพล” หลงทาง ท่านอาจจะหงุดหงิด
สะกิดไปถึง “ท่านนายพลใหญ่” ที่มีศรีภรรยาเป็นนักการเมืองดัง..อย่าคล้อยตามคำชักชนวน ให้ก่อหวอดสร้างปัญหาให้ชาติ ต้องสะสม
อย่าไปเชื่อลิ้นไม่มีกระดูก ว่าเมื่อล้มรัฐบาลปูจ๋าไปได้ แล้วจะผลักดันให้ท่านเป็นรัฐมนตรีคมนาคม
เอาชิ้นปลามันขี้ปะติ๋วมาล่อ...เพื่อให้เขาก้าวขึ้นไปเป็น “หัวหน้า ครม.” แบบนั้น...จะเสียเกียรติคุณนักรบคุณธรรมที่เรืองศรี
ขืนไปเชื่อคำชวนที่งี่เง่า...หลงกลพวกจับเสือมือเปล่า?...ท่านจะเสียท่าเขาฟรี..ฟรี
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พญาน้อยชมตลาด
ต้องบอกว่า “อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ทำตัวผิดหลักการ ชะมัด
ยามเมื่ออยู่มีอำนาจ, เคยออกสำรวจดูตลาด กรณีที่ “น้ำมันปาล์ม” แพงรากเลือด...โดยนักการเมืองรัฐบาลยุคนั้น ปั่นราคารวยกันหนุบหนับ
เตล็ดเตร่ โดยการออกสำรวจตลาดสด เพื่อดีสเครดิต “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้คะแนนหรือครับ
อย่าลืมว่า สมัย “รัฐบาลอภิสิทธิ์” หมูเห็ดเป็ดไก่ ผักปลาผลไม้ ขยับขึ้นไปสุดกู่
ยุคโน้นข้าวของแพงบรรลัย..อย่ามาเกลียดตัวกินไข่?...คนเขาจับไต๋ได้ หรือท่านไม่รู้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ท่าดีทีเหลว
“บิ๊กออฟ” พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ทนไม่ไหว...ต้องออกคำสั่งโดยเร็ว
ให้ “พล.ต.ท.ปัญญา มาเม่น” ผบ.ช.ภ.๒ กวาดล้างค้าบ้า ยาไอซ์ ยาเค ที่ขายกันเกลื่อน แถวพัทยาเหนือ หลังห้างบิ๊กซี ให้หมด
ใครใคร่ค้า ใคร่ใครเสพ ทำให้เยาวชน เสียอนาคต
อีกทั้ง “อิทธิพล คุณปลื้ม” นายกฯพัทยา ควรสอดส่อง ร่วมกันปราบปราม อย่าให้พัทยาที่เป็นแดนสวรรค์นักท่องเที่ยว กลางเป็นศูนย์กลาง “ยาเสพติด” ที่ต่างชาติหาเสพกันได้ง่าย ทุกวัน
เห็นบางคนปราบยาเสพติดแล้วก็ท้อ...เหมือนพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ?.. “ผบ.ตร.” ทนไม่ไหว ต้องออกมาจี้ โดยไม่เกรงใจกัน
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
*********************************************************************
ฉะนั้น, จึงมีการจัดหนัก จัดเต็ม เพื่อสร้างสถานการณ์ให้บ้านเมืองวุ่นวาย
เสี้ยมเขา ให้ประชาชนแต่ละสีออกมาคราวนี้...จะจุดไฟนรก เพื่อให้เกิดมีคนตาย
จะคิดแย่งชิงอำนาจ ไปจาก “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ควรใช้เสียงสวรรค์ประชาชนเป็นตัวกำหนด และ ตัดสิน ในคูหาเลือกตั้งจะดีกว่า..ดึงเผด็จการทอปบู๊ตออกมาช่วย ไม่สง่างาม
ปากบอกว่ารักประชาธิปไตย...แต่ไฉนถึงใช้ลูกไม้?..อาศัยสีเขียวเป็นประจำ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ผีเน่ากับโลงผุ
ผสมประสานกัน เพื่อให้เกมของตัวเอง ได้บรรลุ
หลังจากสาวกเฒ่าโกเต๊กซ์ กับพญาแมลงศาป เป็นพวกผีไม่เผา เงาไม่เหยียบกันมาแล้ว
คราวนี้, กลับมาร่วมบรรเลงคีย์เดียวกันอีก..จุดมุ่งหมายโค่น “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร..อ้างชนวนเก่าเล่ายี่ห้อ แก้รัฐธรรมนูญ เพื่อ “บิ๊กแม้ว”
พอผลประโยชน์ขัดกัน ก็สะบัดก้นหนีไปยืนอยู่คนละฝั่ง ไม่มีอุดมการณ์เป็นจุดยืนที่แน่วแน่
ขอประณามพวกนี้ทำไม่ถูก..เป็นพวกคดในคองอในกระดูก..ผูกใจเจ็บ ที่ไม่รู้จักแพ้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คบคนพาลพาไปหาผิด
ไปเชื่อน้ำมนต์ นักการเมืองที่ไม่อยู่กับร่องกระรอย ระวังจะพา “ท่านนายพล” หลงทาง ท่านอาจจะหงุดหงิด
สะกิดไปถึง “ท่านนายพลใหญ่” ที่มีศรีภรรยาเป็นนักการเมืองดัง..อย่าคล้อยตามคำชักชนวน ให้ก่อหวอดสร้างปัญหาให้ชาติ ต้องสะสม
อย่าไปเชื่อลิ้นไม่มีกระดูก ว่าเมื่อล้มรัฐบาลปูจ๋าไปได้ แล้วจะผลักดันให้ท่านเป็นรัฐมนตรีคมนาคม
เอาชิ้นปลามันขี้ปะติ๋วมาล่อ...เพื่อให้เขาก้าวขึ้นไปเป็น “หัวหน้า ครม.” แบบนั้น...จะเสียเกียรติคุณนักรบคุณธรรมที่เรืองศรี
ขืนไปเชื่อคำชวนที่งี่เง่า...หลงกลพวกจับเสือมือเปล่า?...ท่านจะเสียท่าเขาฟรี..ฟรี
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พญาน้อยชมตลาด
ต้องบอกว่า “อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ทำตัวผิดหลักการ ชะมัด
ยามเมื่ออยู่มีอำนาจ, เคยออกสำรวจดูตลาด กรณีที่ “น้ำมันปาล์ม” แพงรากเลือด...โดยนักการเมืองรัฐบาลยุคนั้น ปั่นราคารวยกันหนุบหนับ
เตล็ดเตร่ โดยการออกสำรวจตลาดสด เพื่อดีสเครดิต “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้คะแนนหรือครับ
อย่าลืมว่า สมัย “รัฐบาลอภิสิทธิ์” หมูเห็ดเป็ดไก่ ผักปลาผลไม้ ขยับขึ้นไปสุดกู่
ยุคโน้นข้าวของแพงบรรลัย..อย่ามาเกลียดตัวกินไข่?...คนเขาจับไต๋ได้ หรือท่านไม่รู้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ท่าดีทีเหลว
“บิ๊กออฟ” พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ทนไม่ไหว...ต้องออกคำสั่งโดยเร็ว
ให้ “พล.ต.ท.ปัญญา มาเม่น” ผบ.ช.ภ.๒ กวาดล้างค้าบ้า ยาไอซ์ ยาเค ที่ขายกันเกลื่อน แถวพัทยาเหนือ หลังห้างบิ๊กซี ให้หมด
ใครใคร่ค้า ใคร่ใครเสพ ทำให้เยาวชน เสียอนาคต
อีกทั้ง “อิทธิพล คุณปลื้ม” นายกฯพัทยา ควรสอดส่อง ร่วมกันปราบปราม อย่าให้พัทยาที่เป็นแดนสวรรค์นักท่องเที่ยว กลางเป็นศูนย์กลาง “ยาเสพติด” ที่ต่างชาติหาเสพกันได้ง่าย ทุกวัน
เห็นบางคนปราบยาเสพติดแล้วก็ท้อ...เหมือนพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ?.. “ผบ.ตร.” ทนไม่ไหว ต้องออกมาจี้ โดยไม่เกรงใจกัน
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
*********************************************************************
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555
มาตรฐานการตรวจสอบบิดเบี้ยว: ต่อปากต่อคำ โดย ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ !!?
กลายเป็นปัญหาให้ทั้งน่าขำและน่าขื่นขมอย่างเหลือประมาณสำหรับบทสรุปการร้องทักท้วงของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ต่อกรณีความไม่ชัดเจนในหลักเกณฑ์การรับรองสิทธิผู้สมัครเข้าสรรหาเป็น “วุฒิสมาชิก (สว.สรรหา)” กระทั่งนายสัก กอแสงเรือง อดีตนายกสภาทนายความแห่งประเทศไทยต้องกระเด็นหลุดจากเก้าอี้
เรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเพราะความเก่งกาจ หรือแหลมคมของใคร เพราะ “กฎ กติกา เขียนไว้ชัดเจน” สรุปง่ายๆ เหมือนดังที่ “กกต.ได้วินิจฉัยมาในทำนองว่า คุณสัก ในฐานะผู้ชำนาญการและรอบรู้เรื่องกฎหมาย เมื่อถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดจึงมีการพ่วงโทษอาญาเข้าไปด้วย” แต่ช้าก่อนครับ “ถ้ามองว่า คุณสักเป็นผู้รอบรู้กฎหมาย แล้วทั้งกรรมการสรรหาที่ประกอบด้วยบุคคลสำคัญเบอร์ต้นๆ ของประเทศ ดูได้ในมาตรา 113 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้แก่ “ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธาน ป.ป.ช. ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย และ ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ได้รับมอบหมายมาเช่นกัน” อย่างนี้น่าจะยิ่งกว่าปรมาจารย์ชั้นครูของประเทศด้วยกันนะครับ
จะเห็นได้ว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิชั้นนำทั้งหมด ส่วนในขณะนั้นจะเป็นใครมีชื่อเสียงอย่างไรคงไม่ยากต่อการสืบค้น เลยทำให้ “ฝ่ายสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ยิ่งโหมไฟแรงขึ้น เพราะ “ความผิดพลาดอย่างมหันต์” และไม่พึงจะเกิดขึ้นได้นี้ไม่ว่าจะนำเรื่องใดมาอ้างก็ตาม เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่องที่ยังมีอยู่ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งคนร่างอาจคิดกันตื้นๆ ว่า ให้คนเพียงห้าหกคนมาสรรหาแทนประชาชนเพื่อเลี่ยงการแทรกแซงทางการเมืองและการซื้อสิทธิขายเสียง น่าจะดีกว่าเหมาะสมกว่า แต่น่าเสียดายที่เมื่อได้สิทธิที่ประชาชนมอบให้แล้ว ยังเกิดข้อผิดพลาดอย่างนึกไม่ถึง
ถ้าจะอ้างว่าคณะกรรมการสรรหารับเรื่องมาจาก “คณะกรรมการกลั่นกรองคุณสมบัติ” ก็ต้องดูว่า หัวหน้าส่วนราชการ เช่น เลขาธิการ กกต. ซึ่งดูแลรับผิดชอบโดยตรงมีส่วนบกพร่องหรือไม่อย่างไร เพราะการตรวจสอบคุณสมบัติเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การให้สิทธิคนหนึ่งหรือตัดสิทธิอีกคนหนึ่งย่อมมีผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในทางการแข่งขันอย่างไม่ต้องสงสัย
ยิ่งไปกว่านั้นในทางปฏิบัติระบบวิธีการที่เป็นอยู่นี้ใครเห็นก็คงได้แต่หัวเราะขบขัน เพราะตัวกรรมการสรรหา อาทิ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งวันหนึ่งเคยอยู่ในคณะกรรมการที่เห็นว่า คุณสมบัติผู้สมัครอย่างนายสัก กอแสงเรือง นั้นถูกต้องครบถ้วน แต่มาอยู่ในอีกบทบาทหนึ่งของ กกต. ก็สามารถชี้ออกมาเป็นทางตรงข้ามได้ หรือในกรณีของ ศาลเองซึ่งมีตัวแทนผู้พิพากษาเข้ามาทำหน้าที่ในการสรรหา ในที่สุดเรื่องก็ต้องมา “จบลงที่ศาล เพราะต้องมีการยื่นฟ้องและยื่นคัดค้าน” ยังน่าสงสัยเป็นยิ่งนักว่า ศาลเองจะวางตัวในเรื่องนี้อย่างไร เพราะครั้งที่ร่วมเป็นกรรมการสรรหาก็บอกว่าถูก แต่วันนี้ถ้าต้องมาตัดสินความตามที่ กกต.ร้องมา จะยังเห็นว่าถูกเหมือนแต่ต้นหรือไม่
เรื่องที่เกิดขึ้นต้องถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกฝ่าย การที่ นายสัก มีความผิดนั้นเรื่องหนึ่ง ความผิดพลาดของคณะกรรมการสรรหา และอนุกรรมการกลั่นกรองคุณสมบัติของ กกต. คงจะไปล้มล้างความผิดของนายสักมิได้ แต่กรณีนี้เป็นบทเรียนชี้ให้เห็นถึงกระบวนการตรวจสอบที่บิดเบี้ยว และขาดมาตรฐานอย่างนึกไม่ถึง เพราะไม่ว่าอนุกรรมการกลั่นกรองคุณสมบัติผู้สมัคร จะชี้ถูกผิดมาอย่างไร คณะกรรมการสรรหาชุดใหญ่ ก็ไม่ควรมีหน้าที่เป็นเพียง “ตรายาง” ลงชื่อเห็นชอบตามๆ กันไปโดยไม่ต้องตรวจสอบให้รอบคอบถี่ถ้วน ถึงมีคนพูดกันว่า งานนี้นายสักอาจไม่ไปคนเดียว แต่อาจพ่วงเอาผู้หลักผู้ใหญ่หลุดกันไปได้เป็นยวงๆ ทั้งคนเก่า คนใหม่ของ กกต. และ องค์กรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ภาษิตที่เขาเรียกว่า “ขว้างงูไม่พ้นคอ” มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
ที่มา.คมชัดลึก
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถางหญ้าปากคอก !!?
ย่างเข้ากลางเดือนมีนาคมลมร้อนเริ่มเยี้องกรายเข้ามาแผดเผาให้ เร่าร้อน อันที่จริงไม่ต้องดูปฏิทินก็คงรู้ได้ว่าฤดูร้อนมาเยือนแล้ว..
ร้อนกายจนแทบบ้า ยิ่งหันมาดูราคาสินค้ายิ่งน่าเหนื่อยหน่าย..ผลกระทบต่างๆ ก็มาจากต้นทุนที่แสนจะแพงเหลือหลายไม่ว่าจะทำอะไรก็ดูจะต้องควักกระเป๋าจ่ายกันหนักกว่าเดิม!!..
ตอนนี้อย่าว่าแต่จะซื้ออะไร แค่จะเดินทางทีก็เสียเงินแล้ว ซ้ำร้ายทั้งรถโดยสาร เรือโดยสารก็โวยวายขอขึ้นราคาค่าโดยสารเพิ่มกันอีกเป็นแถว..แต่ก็ว่ากันไม่ได้ก็ราคาน้ำมันดีเซลดันถีบตัวขึ้นไปสูงถึง 32 บาทต่อลิตร..ส่วนก๊าซ NGV ที่ เป็นลูกรักลูกใคร่ ลูกค้ำลูกคูณ ราคาก็เจียนจะแตะ 10 บาท รอมร่อ
นอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถีบตัวสูงขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแล้ว น้ำมันปาล์มเอง ที่มีบทบาททั้งทางด้านการขนส่งและบริโภคก็ทำท่าจะมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากกลไกตลาด ณ ขณะนี้ก็น่าจะอยู่ที่ 42 บาทต่อลิตรได้แล้วกระมัง แม้จะยังเชื่อว่าเดือนหน้าผลผลิตใหม่จะถูกป้อนเข้าสู่ตลาดและจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มต่ำลงแต่ปัจจัยหลายๆ อย่างก็ยังส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าตอนนี้แพงเสียจนมนุษย์เดินดินกินข้าวแกงต้องเดือดเนื้อร้อนใจกันไปตามๆ กัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง สำรวจความแข็งแกร่ง มั่นคงของรัฐบาลในสายตาประชาชน และข้อเสนอต่อทาง ออกของปัญหารัฐบาล และเจ้าหน้าที่รัฐ ในเรื่องชนชั้นผู้ต้องสงสัย โดยสำรวจประชาชนทั่วประเทศพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ 76.4% เห็นว่า รัฐบาลมีความแข็งแกร่งค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุดและ 46.8% เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็น ผู้นำมากขึ้น ขณะที่ประชาชน 47.7% เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายก-รัฐมนตรี มีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นประโยชน์กับประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ 73.9% ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคาสินค้าและ ค่าครองชีพ รองลงมา 68.5% ต้องการให้แก้ปัญหาที่ดินทำกิน และ 66.3% ต้องการให้แก้ปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด
ชั่วโมงนี้น่าจะเป็นนาทีทอง ที่รัฐบาลจะพิสูจน์ฝีมือในด้านการบริหารเศรษฐกิจให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมว่าเอาอยู่จริงหรือเปล่า เพราะ 73.9% ยัง รอคอยความหวังอยู่..ส่วนเรื่องยาเสพติดเชื่อว่าท่านสารวัตรแกเอาอยู่ถึงจะดูเซๆ ไปบ้างก็ตาม แต่ก็เชื่อนะว่า ประชาชนพอใจ
จริงอยู่ว่าการทำงานของรัฐบาลจะต้องเป็นไปด้วยระบบที่บูรณาการ คือจะพัฒนาไปในด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้..ต้องบริหารไปโดยรอบด้านพร้อมๆ กันไม่ว่าจะสังคม เศรษฐกิจ การเมือง..เพราะมีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้วว่าหากมุ่งเน้น ไปด้านใดด้านหนึ่งก็อยู่ไม่ได้
รัฐบาลนี้เองก็คงเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดีว่า ชะตากรรมของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับประชาชน..ในที่นี้ไม่นับรวมอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยนะ
เรื่องง่ายๆ คือ ถ้าเขากินดี อยู่ดี สุขกาย สบายใจ เขาก็ให้เครดิตรัฐบาล แต่ถ้าต้องเดินย่ำน้ำตลอดชีวิต ของแพงจนแ...กไม่ลงเขาคงต้องคิดให้
ถึงตอนนี้การเมืองนิ่งไม่นิ่งคงเป็นประเด็นรองไปแล้ว..แต่หิวไม่หิว แพงไม่แพง คงเป็นประเด็นหญ้าปากคอกที่รัฐบาลต้องเร่งจัดการอย่างด่วน.. ถึงด่วนที่สุด!!!
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ร้อนกายจนแทบบ้า ยิ่งหันมาดูราคาสินค้ายิ่งน่าเหนื่อยหน่าย..ผลกระทบต่างๆ ก็มาจากต้นทุนที่แสนจะแพงเหลือหลายไม่ว่าจะทำอะไรก็ดูจะต้องควักกระเป๋าจ่ายกันหนักกว่าเดิม!!..
ตอนนี้อย่าว่าแต่จะซื้ออะไร แค่จะเดินทางทีก็เสียเงินแล้ว ซ้ำร้ายทั้งรถโดยสาร เรือโดยสารก็โวยวายขอขึ้นราคาค่าโดยสารเพิ่มกันอีกเป็นแถว..แต่ก็ว่ากันไม่ได้ก็ราคาน้ำมันดีเซลดันถีบตัวขึ้นไปสูงถึง 32 บาทต่อลิตร..ส่วนก๊าซ NGV ที่ เป็นลูกรักลูกใคร่ ลูกค้ำลูกคูณ ราคาก็เจียนจะแตะ 10 บาท รอมร่อ
นอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถีบตัวสูงขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันแล้ว น้ำมันปาล์มเอง ที่มีบทบาททั้งทางด้านการขนส่งและบริโภคก็ทำท่าจะมีราคาสูงขึ้นเนื่องจากกลไกตลาด ณ ขณะนี้ก็น่าจะอยู่ที่ 42 บาทต่อลิตรได้แล้วกระมัง แม้จะยังเชื่อว่าเดือนหน้าผลผลิตใหม่จะถูกป้อนเข้าสู่ตลาดและจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มต่ำลงแต่ปัจจัยหลายๆ อย่างก็ยังส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าตอนนี้แพงเสียจนมนุษย์เดินดินกินข้าวแกงต้องเดือดเนื้อร้อนใจกันไปตามๆ กัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง สำรวจความแข็งแกร่ง มั่นคงของรัฐบาลในสายตาประชาชน และข้อเสนอต่อทาง ออกของปัญหารัฐบาล และเจ้าหน้าที่รัฐ ในเรื่องชนชั้นผู้ต้องสงสัย โดยสำรวจประชาชนทั่วประเทศพบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ 76.4% เห็นว่า รัฐบาลมีความแข็งแกร่งค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุดและ 46.8% เห็นว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็น ผู้นำมากขึ้น ขณะที่ประชาชน 47.7% เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายก-รัฐมนตรี มีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นประโยชน์กับประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ 73.9% ต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาราคาสินค้าและ ค่าครองชีพ รองลงมา 68.5% ต้องการให้แก้ปัญหาที่ดินทำกิน และ 66.3% ต้องการให้แก้ปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด
ชั่วโมงนี้น่าจะเป็นนาทีทอง ที่รัฐบาลจะพิสูจน์ฝีมือในด้านการบริหารเศรษฐกิจให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมว่าเอาอยู่จริงหรือเปล่า เพราะ 73.9% ยัง รอคอยความหวังอยู่..ส่วนเรื่องยาเสพติดเชื่อว่าท่านสารวัตรแกเอาอยู่ถึงจะดูเซๆ ไปบ้างก็ตาม แต่ก็เชื่อนะว่า ประชาชนพอใจ
จริงอยู่ว่าการทำงานของรัฐบาลจะต้องเป็นไปด้วยระบบที่บูรณาการ คือจะพัฒนาไปในด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้..ต้องบริหารไปโดยรอบด้านพร้อมๆ กันไม่ว่าจะสังคม เศรษฐกิจ การเมือง..เพราะมีตัวอย่างให้เห็นอยู่แล้วว่าหากมุ่งเน้น ไปด้านใดด้านหนึ่งก็อยู่ไม่ได้
รัฐบาลนี้เองก็คงเข้าใจถึงปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างดีว่า ชะตากรรมของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับประชาชน..ในที่นี้ไม่นับรวมอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยนะ
เรื่องง่ายๆ คือ ถ้าเขากินดี อยู่ดี สุขกาย สบายใจ เขาก็ให้เครดิตรัฐบาล แต่ถ้าต้องเดินย่ำน้ำตลอดชีวิต ของแพงจนแ...กไม่ลงเขาคงต้องคิดให้
ถึงตอนนี้การเมืองนิ่งไม่นิ่งคงเป็นประเด็นรองไปแล้ว..แต่หิวไม่หิว แพงไม่แพง คงเป็นประเด็นหญ้าปากคอกที่รัฐบาลต้องเร่งจัดการอย่างด่วน.. ถึงด่วนที่สุด!!!
ที่มา:สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จับตา ปู - 2 แก้ปมน้ำมันแพง กิตติรัตน์-อารักษ์ กอดคอรื้อพลังงาน !!?
สถานการณ์ราคาน้ำมันกลายเป็น "หลุมดำเศรษฐกิจ" กำลังลามเป็นโดมิโนมาถึง "ไทย" เมื่อต้นทุนการผลิตพุ่ง ราคาสินค้าแพง เงินเฟ้อไต่ขึ้นสูงเรื่อย ๆ 3.8-4.0% ภาคการผลิตกลุ่มอุตสาหกรรมทุกหมวดสะเทือน ภาคการขนส่งและเจ้าของรถบริการสาธารณะยอมลงทุนเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิง ประการสำคัญสุดคือเป็นปัจจัยเขย่า "ผู้ผลิตไฟฟ้า" ขาดทุนพ่วงไปด้วย เพราะต้องนำเข้าเชื้อเพลิงราคาสูงมาผลิตไฟฟ้าขายในราคาต่ำกว่าต้นทุน ต้องดิ้นรนขอขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) รอบหน้า พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคมนี้ อีก 25-37 สตางค์/ยูนิต
ในขณะที่ทั้งประเทศตั้งตารอฟังนโยบายกระทรวงพลังงานประกาศปรับ "โครงสร้างราคาพลังงานใหม่" ตามที่ "นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์" รัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ยืนยันต้องรอไปจนถึงเดือนเมษายนนี้
ระหว่างนี้ สิ่งที่ กบง.และกระทรวงพลังงานต้องงัดสารพัดวิธีมาพยุงไว้ ไม่ว่าจะเป็น อนุมัติจัดเก็บเงินเพิ่มเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จากก๊าซธรรมชาติเหลว (NGV) ภาคขนส่ง และก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน (LPG) ควบคู่กับควบคุมห้ามรถโดยสารสาธารณะขึ้นราคา และยังต้องกู้เงินอุดหนุนมาเติมในกองทุนให้ครบ 30,000 ล้านบาท ยืดเวลาการสต๊อกน้ำมันในโรงกลั่นยาวขึ้นอีก 15 วัน จากปกติ 50 วัน เป็น 65 วัน เน้นสำรองกลุ่มดีเซลมากที่สุด เพราะถึงราคาจะพุ่งสูงขนาดไหน ความต้องการใช้ขยับขึ้นไม่หยุดเช่นกัน ทั่วประเทศใช้วันละ 55 ล้านลิตร
ขีดความสามารถของโรงกลั่นในไทยทำได้วันละ 1 ล้านบาร์เรล เพียงพอต่อการใช้ในประเทศวันละ 8 แสนบาร์เรล
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ประเทศเคยผ่านความท้าทายจากเหตุการณ์มาแล้วเมื่อปี 2544 กองทุนน้ำมันฯเคยติดลบถึง 80,000 ล้านบาท ผลสุดท้ายก็ใช้วิธีลอยตัวราคาจึงกู้สถานการณ์กลับมาได้ ขณะนี้ประวัติศาสตร์หน้าดังกล่าวกำลังถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งปี 2555 นี้ เมื่อกองทุนติดลบหลักหมื่นล้านบาท เพราะต้องอุดหนุนเชื้อเพลิงบางชนิดไว้ ได้แก่ กลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ซึ่งควรจะเก็บจริง 7 บาท แต่ตอนนี้เก็บเพียง 2 บาท ส่วนดีเซลแทนที่จะเก็บ 6 บาท ก็เก็บเพียง 60 สตางค์ ส่วนต่างที่รัฐต้องเร่งอุดให้เร็วที่สุด
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า การสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้น 65 วันนั้น เป็นวิธีป้องกันความเสี่ยงระหว่างที่อิหร่านกำลังมีปัญหาทำให้ทั่วโลกอ่อนไหว หากต้องปิดช่องแคบเฮอร์มุซ เส้นทางขนส่งน้ำมันกระจายไปทั่วโลกกว่า 20% ไทยจึงต้องแบ่งการสำรองน้ำมันดิบ 23 วัน น้ำมันสำเร็จรูป 19 วัน น้ำมันที่อยู่ระหว่างการเดินทาง 13 วัน น้ำมันสำรองไว้ในโรงกลั่นอีก 9 วัน
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พรรคการเมือง. จะต้องไม่ทรยศอุดมการณ์ !?
เจตนาดีเช่นนี้คงจะยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะพรรคการเมืองกลายเป็นของตระกูลการเมือง...
เกาะติดความเคลื่อนไหวทั้งเรื่องการบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง เจตนารมณ์ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ และป.ป.ช.กระตุ้น อปท.ทั่วประเทศร่วมสร้างเครือข่ายองค์กรดีเด่น ด้านการป้องกันการทุจริต
อยู่ในช่วงของการเสียภาษี มีประเด็นที่ชวนพูดชวนคุย ว่า การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองนั้น ตั้งแต่ปีภาษี 2551 เป็นต้นมา บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง สามารถ บริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองได้ ตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 โดยแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองพร้อมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ โดยผู้มีเงินได้เมื่อคำนวณภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้วมีเงินภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่า ประสงค์จะบริจาคหรือไม่บริจาค และระบุ รหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค หากไม่ระบุความประสงค์ หรือไม่ระบุรหัสพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาบริจาค ตามหลักเกณฑ์
แต่ถ้าจะบริจาคให้ระบุรหัสพรรคการเมืองที่ต้องการบริจาคได้เพียง 1 พรรคการเมือง หากแสดงเจตนาเกินกว่า 1 พรรคการเมือง ถือว่า ไม่ประสงค์จะบริจาคให้พรรคการเมืองใด และเมื่อแสดงเจตนาบริจาคให้แก่พรรคการเมืองใดแล้ว ห้ามเปลี่ยนแปลง
เจตนารมณ์ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมืองที่ประชาชนมีความชื่นชอบในอุดมการณ์ วิธีการเช่นนี้หากประชาชนเป็นเจ้าของพรรคการเมืองมากขึ้นเท่าไหร่ พรรคการเมืองก็จะเป็นสถาบันมากขึ้น มีความแข็งแกร่งในด้านฐานมวลชน ประชาชนเป็นผู้กำหนดนโยบายให้พรรคการเมือง นั่นหมายความว่าพรรคการเมือง จะต้องไม่ทรยศอุดมการณ์ในภายหลังด้วย สำหรับผมแล้ว เจตนาดีเช่นนี้คงจะยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะพรรคการเมืองกลายเป็นของตระกูลการเมือง เป็นของนักธุรกิจการเมืองเพียงไม่มีคนที่กำหนดทิศทางของพรรคการเมือง ดังนั้น มีน้อยพรรคที่ต้องการให้ประชาชนมาเป็นตัวกำหนดแนวทางของพรรค
ขณะที่ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี วิสุทธิ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธาน ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ร.ต.สุเมธ ฤทธาคนี ส.ส.ปทุมธานี เขต 5 พรรคเพื่อไทย ได้ขอลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ทำให้ขณะนี้มีจำนวนสมาชิกสภา เหลือเพียง 498 คน
ส่วนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กระตุ้น อปท.ทั่วประเทศร่วมสร้างเครือข่ายองค์กรดีเด่น ด้านการป้องกันการทุจริต โดย ประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานอนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านการเมืองการปกครอง ระบุว่า ป.ป.ช. จะจัดสัมมนา "ส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต" ประจำปี 2555 เพื่อ กระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต และเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการทุจริต รวมถึงสร้างความเข้าใจ เรื่อง "การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนร่วม" เริ่มครั้งแรก เขตพื้นที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 16 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์
เว็บไซต์ ป.ป.ช.ได้แก้ข้อมูล คดี สมิทธ ธรรมสโรช กับพวกร่วมกันตรวจรับ Super Computer ไม่ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นว่า "ไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช." ก่อนหน้านี้ลงผิดว่าชี้มูลว่า "สมิทธและพวกทำผิด"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เกาะติดความเคลื่อนไหวทั้งเรื่องการบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง เจตนารมณ์ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ และป.ป.ช.กระตุ้น อปท.ทั่วประเทศร่วมสร้างเครือข่ายองค์กรดีเด่น ด้านการป้องกันการทุจริต
อยู่ในช่วงของการเสียภาษี มีประเด็นที่ชวนพูดชวนคุย ว่า การบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองนั้น ตั้งแต่ปีภาษี 2551 เป็นต้นมา บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง สามารถ บริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองได้ ตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 โดยแสดงเจตนาบริจาคเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองพร้อมการยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี โดยมีหลักเกณฑ์ และวิธีการตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ โดยผู้มีเงินได้เมื่อคำนวณภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.90/91 แล้วมีเงินภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่า ประสงค์จะบริจาคหรือไม่บริจาค และระบุ รหัสพรรคการเมือง ที่ต้องการบริจาค หากไม่ระบุความประสงค์ หรือไม่ระบุรหัสพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาบริจาค ตามหลักเกณฑ์
แต่ถ้าจะบริจาคให้ระบุรหัสพรรคการเมืองที่ต้องการบริจาคได้เพียง 1 พรรคการเมือง หากแสดงเจตนาเกินกว่า 1 พรรคการเมือง ถือว่า ไม่ประสงค์จะบริจาคให้พรรคการเมืองใด และเมื่อแสดงเจตนาบริจาคให้แก่พรรคการเมืองใดแล้ว ห้ามเปลี่ยนแปลง
เจตนารมณ์ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมืองที่ประชาชนมีความชื่นชอบในอุดมการณ์ วิธีการเช่นนี้หากประชาชนเป็นเจ้าของพรรคการเมืองมากขึ้นเท่าไหร่ พรรคการเมืองก็จะเป็นสถาบันมากขึ้น มีความแข็งแกร่งในด้านฐานมวลชน ประชาชนเป็นผู้กำหนดนโยบายให้พรรคการเมือง นั่นหมายความว่าพรรคการเมือง จะต้องไม่ทรยศอุดมการณ์ในภายหลังด้วย สำหรับผมแล้ว เจตนาดีเช่นนี้คงจะยังไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะพรรคการเมืองกลายเป็นของตระกูลการเมือง เป็นของนักธุรกิจการเมืองเพียงไม่มีคนที่กำหนดทิศทางของพรรคการเมือง ดังนั้น มีน้อยพรรคที่ต้องการให้ประชาชนมาเป็นตัวกำหนดแนวทางของพรรค
ขณะที่ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี วิสุทธิ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธาน ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ร.ต.สุเมธ ฤทธาคนี ส.ส.ปทุมธานี เขต 5 พรรคเพื่อไทย ได้ขอลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ทำให้ขณะนี้มีจำนวนสมาชิกสภา เหลือเพียง 498 คน
ส่วนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กระตุ้น อปท.ทั่วประเทศร่วมสร้างเครือข่ายองค์กรดีเด่น ด้านการป้องกันการทุจริต โดย ประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานอนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านการเมืองการปกครอง ระบุว่า ป.ป.ช. จะจัดสัมมนา "ส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต" ประจำปี 2555 เพื่อ กระตุ้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมท้องถิ่นปลอดทุจริต และเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการทุจริต รวมถึงสร้างความเข้าใจ เรื่อง "การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนร่วม" เริ่มครั้งแรก เขตพื้นที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 16 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์
เว็บไซต์ ป.ป.ช.ได้แก้ข้อมูล คดี สมิทธ ธรรมสโรช กับพวกร่วมกันตรวจรับ Super Computer ไม่ตรงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นว่า "ไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช." ก่อนหน้านี้ลงผิดว่าชี้มูลว่า "สมิทธและพวกทำผิด"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555
อึ้ง-ตะลึง-ฮือฮา-เสียว เมื่อชื่อ "ปู-ยิ่งลักษณ์" กลายเป็นศัพท์การ์ตูนญี่ปุ่น !!?
สำหรับคนที่เป็นคอการ์ตูนญี่ปุ่นชนิดเข้ากระแสเลือด คงจะคุ้นเคยกับคำศัพท์ยอดฮิตหรือคำแสลงต่างๆของวัยรุ่นแดนอาทิตย์อุทัยที่สอดแทรกอยู่ในบทสนทนาของตัวละครในเรื่องเป็นอย่างดี
อาทิเช่น “โอนิ” ที่ปกติแล้วในภาษาญี่ปุ่นคำๆนี้จะแปลว่า “ยักษ์” แต่ในปัจจุบันมักจะเอามาใช้ในความหมายที่ว่า “เป็นระดับสุดยอดที่เหนือกว่าชาวบ้านทั่วๆไป”
หรือคำว่า “โมริเกิร์ล” ที่มีความหมายถึงว่า “ผู้หญิงที่ไม่ค่อยแต่งหน้าแต่งตาและแต่งตัวเซอร์ๆ”

นอกจากโอตาคุแล้วคำว่า “โลลิค่อน” ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ติดปากคนไทยเช่นกัน โดยมีความหมายถึง “ผู้ชายสูงวัยที่มีความรู้สึกเสน่หากับเด็กสาวที่มีอายุระหว่าง 10-20 ปี” หรือเรียกง่ายๆว่า “พวกรักเด็ก”
นอกจากคำแสลงญี่ปุ่นที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นแล้ว ในหนังสือการ์ตูน, เกม หรือเอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่ได้รับการตีพิมพ์ในประเทศไทยก็ยังมีคำแสลงอีกมากมายอยู่ในนั้นเพียงแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากผู้อ่านสักเท่าไหร่ ทำให้ถูกหลงลืมไป
ล่าสุดหลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงของไทยเดินทางไปปฏิบัติภารกิจเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังแดนอาทิตย์อุทัย ก็ทำให้ประชาชาติออนไลน์ฉุกใจคิดถึงคำแสลงญี่ปุ่นได้อีกหนึ่งคำนั่นก็คือ “ปูทาโร่” หรือ “ปูโกะ” หรือในการ์ตูนเรียกกันสั้นๆว่า “ปู” ที่มันช่างพ้องและล้อไปกับชื่อของนายกฯหญิงของเราเหมือนเตี้ยมกันมาเลยทีเดียว

ส่วนคำแปลของคำว่า “ปูทาโร่” หรือ “ปูโกะ” นั้นก็คือ “คนที่อยู่ในวัยทำงาน แต่ไม่มีงานการให้ทำ” โดยผู้ชายเราจะใช้ว่า “ปูทาโร่” ส่วนผู้หญิงเราจะเรียกว่า “ปูโกะ”
แต่อย่าเพิ่งคิดว่านายกฯหญิงของเราเป็นพวกว่างงานไม่มีอะไรทำเชียวล่ะ เพราะเราแค่บอกว่าชื่อ “ปู” ของท่านนายกฯมันช่างพ้องเสียงกับคำแสลงคำนี้เท่านั้นเอง
ดังนั้นถ้าจะเรียกนายกฯหญิงของเราก็เรียกว่า “นายกฯปู” เฉยๆพอ อย่าเผลอเติม “โกะ” ลงไป ไม่อย่างนั้นแล้วมันจะกลายเป็น “นายกว่างงาน” หรือ “นายกฯเกียร์ว่าง” ทันที ขอเตือน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อาทิเช่น “โอนิ” ที่ปกติแล้วในภาษาญี่ปุ่นคำๆนี้จะแปลว่า “ยักษ์” แต่ในปัจจุบันมักจะเอามาใช้ในความหมายที่ว่า “เป็นระดับสุดยอดที่เหนือกว่าชาวบ้านทั่วๆไป”
หรือคำว่า “โมริเกิร์ล” ที่มีความหมายถึงว่า “ผู้หญิงที่ไม่ค่อยแต่งหน้าแต่งตาและแต่งตัวเซอร์ๆ”
แต่ที่ฮิตติดปากคนไทยมากที่สุด น่าจะเป็นคำว่า “โอตาคุ” ที่มีความหมายว่า “ผู้ที่คลั่งไคล้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ” แต่ส่วนใหญ่คำนี้มักจะใช้กับพวกที่บ้าการ์ตูนเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งถ้าพูดถึงพวกโอตาคุแล้วอิมเมจของคนกลุ่มนี้ก็จะเป็นเพศชาย ตัวอ้วนๆ สิวเขรอะๆ ใส่แว่น ผมเผ้ารุงรังไม่สระผม กลิ่นเหงื่อโชย เสื้อยืด กางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ แบกเป้ ทั้งที่ความจริงแล้วมีพวกที่ดูดีแต่เป็นโอตาคุอยู่ทั่วไป ทำให้คนที่มีบุคลิ
ดังกล่าวได้รับความซวยไปโดยปริยาย
นอกจากโอตาคุแล้วคำว่า “โลลิค่อน” ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ติดปากคนไทยเช่นกัน โดยมีความหมายถึง “ผู้ชายสูงวัยที่มีความรู้สึกเสน่หากับเด็กสาวที่มีอายุระหว่าง 10-20 ปี” หรือเรียกง่ายๆว่า “พวกรักเด็ก”
นอกจากคำแสลงญี่ปุ่นที่ยกตัวอย่างไปข้างต้นแล้ว ในหนังสือการ์ตูน, เกม หรือเอนิเมชั่นญี่ปุ่นที่ได้รับการตีพิมพ์ในประเทศไทยก็ยังมีคำแสลงอีกมากมายอยู่ในนั้นเพียงแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมจากผู้อ่านสักเท่าไหร่ ทำให้ถูกหลงลืมไป
ล่าสุดหลังจากที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงของไทยเดินทางไปปฏิบัติภารกิจเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่นยังแดนอาทิตย์อุทัย ก็ทำให้ประชาชาติออนไลน์ฉุกใจคิดถึงคำแสลงญี่ปุ่นได้อีกหนึ่งคำนั่นก็คือ “ปูทาโร่” หรือ “ปูโกะ” หรือในการ์ตูนเรียกกันสั้นๆว่า “ปู” ที่มันช่างพ้องและล้อไปกับชื่อของนายกฯหญิงของเราเหมือนเตี้ยมกันมาเลยทีเดียว
ส่วนคำแปลของคำว่า “ปูทาโร่” หรือ “ปูโกะ” นั้นก็คือ “คนที่อยู่ในวัยทำงาน แต่ไม่มีงานการให้ทำ” โดยผู้ชายเราจะใช้ว่า “ปูทาโร่” ส่วนผู้หญิงเราจะเรียกว่า “ปูโกะ”
แต่อย่าเพิ่งคิดว่านายกฯหญิงของเราเป็นพวกว่างงานไม่มีอะไรทำเชียวล่ะ เพราะเราแค่บอกว่าชื่อ “ปู” ของท่านนายกฯมันช่างพ้องเสียงกับคำแสลงคำนี้เท่านั้นเอง
ดังนั้นถ้าจะเรียกนายกฯหญิงของเราก็เรียกว่า “นายกฯปู” เฉยๆพอ อย่าเผลอเติม “โกะ” ลงไป ไม่อย่างนั้นแล้วมันจะกลายเป็น “นายกว่างงาน” หรือ “นายกฯเกียร์ว่าง” ทันที ขอเตือน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อดีต ปธน.มอนเตฯเตรียมเยือนไทย พัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว !!?
"ดร.ปึ้ง" เผย อดีต ปธน.มอนเตฯ คนให้พาสปอร์ต "ทักษิณ" เยือนไทยหาทางพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตนได้ต้อนรับอดีตประธานาธิบดีของประเทศมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นคนที่ให้หนังสือเดินทางและสิทธิความเป็นพลเมืองของประเทศมอนเตเนโกรแก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งการเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ มาจากการแนะนำของพ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากทั้งสองคนมีความสนิทสนมกันมานาน ตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยการมาครั้งนี้ก็เพื่อดูแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเนื่องจากมอนเตรเนโกร มีทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมแก่การพัฒนาอย่างมาก ซึ่งการท่องเที่ยวในประเทศไทยก็มีความโดดเด่นในเรื่องของการทำสปาและอาหารคงจะได้มีการพัฒนาต่อไป และในโอกาสนี้อดีตประธานาธิบดีของมอนเตเนโกรน่าจะได้พบปะหารือกับนักธุรกิจของไทยด้วย
“อดีตประธานนาธิบดีมอนเตเนโกรได้บอกกับผมว่า ท่านเป็นเพื่อนกับพ.ต.ท.ทักษิณมานาน ดีใจที่มีโอกาสได้ต้อนรับได้ช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณเมื่อตกอยู่ในความลำบาก ผมยังได้ขอบคุณท่านและบอกด้วยว่า ที่เมืองไทยก็มีคนรักท่านเหมือนกันกว่า 15 ล้านคน ซึ่งคนที่รักพ.ต.ท.ทักษิณก็จะช่วยเหลือท่านเหมือนกัน” นายสุรพงษ์กล่าว
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่รอบๆเมืองไทย แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ประเทศไหน และไม่ทราบว่ามีใครไปพบบ้าง
นายสุรพงษ์ระบุถึงการช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ แกนนำเครือข่ายคนไทยรักชาติ ที่ถูกจำคุกอยู่ในประเทศกัมพูชานั้น ขณะนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับสถานฑูตไทยในกรุงพนมเปญเพื่อหาทางช่วยเหลือคือ ช่องทางการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษ การขออภัยโทษ และการให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล เพราะทราบจากข่าวว่านายวีระป่วยหนัก ซึ่งตอนนี้กำลังเร่งตรวจสอบอยู่ว่าเป็นจริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาทางญาติที่ไปเยี่ยมก็ยังไม่ได้แจ้งเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ทั้งนี้ช่องทางการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษนั้น ขณะนี้ได้ให้ท่านทูตประสานกับทางกัมพูชาว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหน การแลกเปลี่ยนตัวนักโทษควรมีหลักเกณฑ์อย่างไร ความรุนแรงหรือโทษของคดีจะสัมพันธ์กับจำนวนนักโทษอย่างไร ควรเป็นหนึ่งคนต่อหนึ่งคน หรือเท่าไหร่ และจะทำได้หรือไม่ ส่วนเรื่องการขออภัยโทษนั้นก็ให้มีการประสานว่าจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะทางกัมพูชามีกฎอยู่ว่าผู้ที่จะได้รับการอภัยโทษนั้นต้องได้รับโทษก่อน 2 ใน 3
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตนได้ต้อนรับอดีตประธานาธิบดีของประเทศมอนเตเนโกร ซึ่งเป็นคนที่ให้หนังสือเดินทางและสิทธิความเป็นพลเมืองของประเทศมอนเตเนโกรแก่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งการเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ มาจากการแนะนำของพ.ต.ท.ทักษิณ เนื่องจากทั้งสองคนมีความสนิทสนมกันมานาน ตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยการมาครั้งนี้ก็เพื่อดูแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเนื่องจากมอนเตรเนโกร มีทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมแก่การพัฒนาอย่างมาก ซึ่งการท่องเที่ยวในประเทศไทยก็มีความโดดเด่นในเรื่องของการทำสปาและอาหารคงจะได้มีการพัฒนาต่อไป และในโอกาสนี้อดีตประธานาธิบดีของมอนเตเนโกรน่าจะได้พบปะหารือกับนักธุรกิจของไทยด้วย
“อดีตประธานนาธิบดีมอนเตเนโกรได้บอกกับผมว่า ท่านเป็นเพื่อนกับพ.ต.ท.ทักษิณมานาน ดีใจที่มีโอกาสได้ต้อนรับได้ช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณเมื่อตกอยู่ในความลำบาก ผมยังได้ขอบคุณท่านและบอกด้วยว่า ที่เมืองไทยก็มีคนรักท่านเหมือนกันกว่า 15 ล้านคน ซึ่งคนที่รักพ.ต.ท.ทักษิณก็จะช่วยเหลือท่านเหมือนกัน” นายสุรพงษ์กล่าว
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่รอบๆเมืองไทย แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ประเทศไหน และไม่ทราบว่ามีใครไปพบบ้าง
นายสุรพงษ์ระบุถึงการช่วยเหลือนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ แกนนำเครือข่ายคนไทยรักชาติ ที่ถูกจำคุกอยู่ในประเทศกัมพูชานั้น ขณะนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับสถานฑูตไทยในกรุงพนมเปญเพื่อหาทางช่วยเหลือคือ ช่องทางการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษ การขออภัยโทษ และการให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล เพราะทราบจากข่าวว่านายวีระป่วยหนัก ซึ่งตอนนี้กำลังเร่งตรวจสอบอยู่ว่าเป็นจริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาทางญาติที่ไปเยี่ยมก็ยังไม่ได้แจ้งเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ทั้งนี้ช่องทางการแลกเปลี่ยนตัวนักโทษนั้น ขณะนี้ได้ให้ท่านทูตประสานกับทางกัมพูชาว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหน การแลกเปลี่ยนตัวนักโทษควรมีหลักเกณฑ์อย่างไร ความรุนแรงหรือโทษของคดีจะสัมพันธ์กับจำนวนนักโทษอย่างไร ควรเป็นหนึ่งคนต่อหนึ่งคน หรือเท่าไหร่ และจะทำได้หรือไม่ ส่วนเรื่องการขออภัยโทษนั้นก็ให้มีการประสานว่าจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะทางกัมพูชามีกฎอยู่ว่าผู้ที่จะได้รับการอภัยโทษนั้นต้องได้รับโทษก่อน 2 ใน 3
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)