ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 วาระ 2 และ3 โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ได้เสนอรายงานการพิจารณาต่อที่ประชุมว่า สาระสำคัญในการพิจารณาของกมธ. มีดังนี้ กมธ.ได้พิจารณาปรับลดงบประมาณลงจำนวน 43,429,515,000 บาท
โดยในการปรับลดได้พิจารณาจากเป้าหมายการใช้งบประมาณ ผลการดำเนินงานจริง เวลาที่เหลือในการใช้งบฯอีกประมาณ 8 เดือน โดยให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายจริงในปีงบประมาณที่ผ่านมามาพิจารณาอย่างเข้มงวด รวมถึงให้ความสำคัญกับโครงการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โครงการที่ดำเนินการไปแล้วโดยการโอนการใช้จ่ายงบประมาณพ.ศ. 2554โครงการที่กันเงินไว้เบิกเหลือมปี และโครงการที่ไม่จำเป็นมีการใช้จ่ายประหยัดได้มีการปรับเปลี่ยนโครงการให้เหมาะสมโดยคงเป้าหมายไว้ เช่น โครงการจัดอบรม โครงการวิจัยศึกษา การจ้างที่ปรึกษา และโครงการที่ล่าช้าไม่สามารถใช้จ่ายได้จริงในปีนี้ รวมถึงโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีความล่าช้า การปรับราคาพัสดุครุภัณฑ์ตามแนวโน้มราคาที่ลดลง และโครงการที่สามารถใช้เงินส่วนอื่นแทนได้
นายกิตติรัตน์ กล่าวต่อว่า สำหรับการเพิ่มงบประมาณได้มีการเพิ่มงบประมาณรายการต่างๆ ตามที่ครม.มีความเห็นชอบและหน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานศาล หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ขอแปรญัตติโดยตรงกับกมธ.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 168 วรรค 9 ในวงเงินเท่ากับวงเงินที่ปรับลด ทำให้วงเงินการปรับเพิ่มมีจำนวน 43,429,515,000 บาท โดยจำแนกเป็นการเพิ่มส่วนราชการรัฐวิหากิจ กองทุน หมุนเวียน จำนวน 32,354 ล้านบาท เพื่อดำเนินนโยบายสำคัญ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ และโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนาการกีฬา ศักยภาพหมู่บ้านชุมชน จัดสรรให้องค์กรส่วนท้องถิ่น 10,227 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นเร่งด่วน จัดสรรเพิ่มให้หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานขององค์กรอิสระ และหน่วยงานตามรัฐธรรมนูญจำนวน 847 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในการพิจารณา กมธ.ได้ให้ความสำคัญกับผลการดำเนินงาน เป้าหมายการดำเนินการที่ผ่านมา เพื่อให้ดำเนินการตามวงเงินงบประมาณที่กำหนดไว้ 2.38 ล้านล้านบาท
จากนั้นเป็นการพิจารณารายมาตราทั้ง 30 มาตราตั้งแต่มาตรา 3-32 โดยมี ส.ส.ขอแปรญัตติ และสงวนคำแปรญัตติ จำนวน 219 คน ดังนี้ พรรคเพื่อไทย 79 คน พรรคประชาธิปัตย์ 121 คน พรรคภูมิใจไทย 10 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 7 คน พรรคพลังชล 1 คน และพรรคชาติพัฒนา 1 คน โดยมี กมธ.สงวนความเห็น 24 คน
โดย น.ส..ผ่องศรี ธาราภูมิ กมธ.เสียงข้างน้อยจากพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายในมาตรา 3 ว่า งบประมาณที่นำเสนอต่อที่ประชุมขณะนี้ยังมีส่วนที่สามารถปรับลดลงได้ แบ่งป็น 1.งบประมาณที่ซ้ำซ้อน ไม่บรรลุเป้าหมาย เช่น โครงการปราบยาเสพติด นโยบายด้านความมั่นคงแห่งรัฐ,การพิทักษ์สถาบัน ที่พบว่าได้จัดสรรงบประมาณทุกกระทรวง แต่ไม่สามารถประเมินผล หรือประสิทธิภาพการดำเนินการได้ 2.งบประมาณที่ไม่ได้พิจารณาผลกระทบในวงกว้าง เช่น โครงการแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบปูพรมทั่วประเทศ
ด้าน นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ กมธ.เสียงข้างน้อย ขอสงวนความเห็น โดยอภิปรายว่า งบปรองดองมีการตั้งกันทุกกรม จำนวนมากถึง 528.1 ล้านบาท แต่ตนดูแล้วปรองดองไม่ได้ เพราะสีแดงยังไม่หยุด มีการตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงสร้างความแตกแยก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ไม่จริงใจเรื่องปรองดอง หากปล่อยให้เรื่องนี้เกิดขึ้นใช้งบประมาณ 1 หมื่นล้านบาทก็ปรองดองไม่ได้ ดังนั้นขอให้ตัดไป
ทำให้นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วง ว่า ผู้อภิปรายอภิปรายเลยเถิดไปถึงหมู่บ้านเสื้อแดงว่าทำให้เกิดความแตกแยกไม่เกิดความสามัคคี ซึ่งจริงๆ แล้วหมู่บ้านเสื้อแดง ตั้งขึ้นมาเพื่อปกป้องประชาธิปไตยต่อด้านเผด็จการ ไม่ได้ทำลายความปรองดอง จึงขอให้ถอนคำพูด
อย่างไรก็ตาม ประธานที่ประชุมตัดบท และวินิจฉัยว่าผู้อภิปรายๆ อยู่ในกรอบของงบปรองดอง แต่ขอร้องอย่าอภิปรายพาดพิงไปยังบุคคลอื่น
ที่มา: มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555
พูดแล้วต้องทำ ต้องแก้รัฐธรรมนูญ 50 !!?
การบ้านที่หินที่สุดต้อนรับปีใหม่ สำหรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หนีไม่พ้นเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ปี 2550 อย่างแน่นอน....
ในสายตาของคนประชาธิปไตย ในสายตาของนักวิชาการที่ไม่ได้เลือกสี ก็ยังต้องยอมรับว่า เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้น ที่ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่คลอดออกมาภายใต้อุ้งมือเผด็จการ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับหน้าแหลมฟันดำ ที่จงใจใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเครื่องมือในทางการเมือง เพื่อที่จะทำลายล้างขั้วตรงข้ามนั้น
เป็นประเด็นที่มีความจริง
ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่บรรดากลุ่มคนเสื้อแดง ที่เดินหน้าทวงถามหาความยุติธรรม และทวงประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับคืนมา จะประกาศเดินหน้าทวงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่แคร์หากว่าจะต้องกระทบกระทั่งกับรัฐบาลที่อุตส่าห์ลงคะแนนเลือกมาก็ตาม
อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2553 พรรคเพื่อไทยได้ประกาศชัดในการหาเสียงว่า มีนโยบายที่จะเดินหน้าแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ
นี่คือหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ประชาชน และคนเสื้อแดง เทคะแนนเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทยได้ชนะอย่างถล่มทลายใช่หรือไม่??
พรรคประชาธิปัตย์ที่แพ้ไม่เห็นฝุ่น เป็นเพราะในช่วงเป็นรัฐบาลอยู่ 2 ปี 7 เดือน มีโอกาสมากมายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ คืนความเป็นธรรม และสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับประเทศชาติ แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ทำ
แถมยังใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 มาเป็นความได้เปรียบ มาทำลายล้างในทางการเมืองกับพรรคการเมืองคู่แข่งเสียอีกด้วย
เพราะประชาชนที่รักประชาธิปไตย มองเห็นในประเด็นนี้ใช่หรือไม่ จึงทำให้พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ไม่เป็นท่า และทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ไม่สามารถที่จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 ได้ดังใจที่ต้องการ
ไม่ว่าจะพูดเก่ง หรือหน้าตาดีสักเพียงใด หากไม่รักษาคำพูดหรือทำตามสัญญา ทำในสิ่งที่ประชาชนเห็นว่าสมควรจะทำไม่ได้ ก็เท่ากับตัดคะแนนทางการเมืองของตนเองไปอย่างน่าเสียดาย
ดังนั้นการที่กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มนักวิชาการ ออกมาทวงสัญญาพรรคเพื่อไทยในเรื่องของการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่ควรจะมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง
หากไม่ทำตามสัญญา และยิ่งถ้าหากว่าไม่มีคำตอบที่เป็นเหตุผลที่ดีพอ รัฐบาลยิ่งลักษณ์งานเข้าแน่นอน แม้ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ประชาชนและคนเสื้อแดงเทคะแนนเลือกตั้งเข้ามาก็ตาม
ประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญปี 2550 จึงจะเป็นปัญหาชิ้นใหญ่สำหรับรัฐบาลในช่วงต้นปีนี้อย่างแน่นอน
การออกตัวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ว่าการแก้รัฐธรรมนูญอยากให้เป็นกระบวนการของรัฐสภา ส่วนจะแก้มาตราใด ต้องดูโจทย์และเจตนาก่อน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ
ส่วนการทำประชามติ โดยภาพรวมเห็นด้วย แต่ต้องพิจารณาว่าจะทำเรื่องใด เพราะหากไม่มีโจทย์ในการแก้รัฐธรรมนูญ จะทำให้ผลการทำประชามติไม่ได้ผลเท่าที่ควร
สำหรับเรื่องที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จากประชาชน 77 จังหวัด รวมทั้งนักวิชาการและนักปราชญ์ รวม 99 คน น.ส.ยิ่งลักษณ์ มองว่าเป็นข้อเสนอที่ดี แต่ขอให้เป็นกระบวนการของรัฐสภา และอยากให้มั่นใจว่า การสรรหาตัวแทนประชาชน มาจากทุกภาคส่วนจริง
ขณะที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า การแก้รัฐธรรมนูญจะนำไปสู่ความแตกแยก นายกรัฐมนตรีเห็นว่าขณะนี้ยังเป็นความคิดของแต่ละฝ่าย ซึ่งต้องมีการหารือในวงกว้าง
อ้างว่าภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลขณะนี้ คือ การแก้ปัญหาและฟื้นฟูวิกฤติน้ำท่วมเป็นภารกิจหลัก
แต่แน่นอนว่าทั้งหมดยังเป็นคำตอบที่ไม่สามารถจะหยุดกระแสการทวงคืนประชาธิปไตย ไม่สามารถจะหยุดการทวงถามรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงได้
เพราะความต้องการลึกๆในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการโละรัฐธรรมนูญปี 2550 ทิ้งทั้งฉบับ เพื่อนำรัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้ใหม่
เหตุผลที่ฝ่ายทวงคืนประชาธิปไตยระบุก็คือ รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร จึงต้องการได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ส่วนจะมีเป้าในการโละทิ้งมาตรา 309 ที่มีเนื้อหารับรองการกระทำของคณะรัฐประหาร และการดำเนินการที่เกี่ยวเนื่อง ว่าให้เป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่นั้น แน่นอนว่าการชุมนุมที่จบลงด้วยคราบเลือด 91 ศพ และน้ำตาผู้บาดเจ็บกว่า 2,000 คน รวมทั้งความเจ็บปวดเจ็บใจของมวลชนคนเสื้อแดงทั้งประเทศด้วยแล้ว
สู้กันมายาวนานขนาดนี้ บาดเจ็บล้มตายกันมากมายขนาดนี้ ใครจะอยากให้ต้นตอของเรื่องที่เกิดจากการทำรัฐประหารลอยนวลได้ง่ายๆ
แต่ก็เพราะจุดนี้แหละ หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วฉีกทิ้งมาตรา 309 และทำให้มีการไล่ย้อนเช็คบิลคนทำรัฐประหารได้ ฝ่ายที่จะได้รับผลกระทบหรือถูกเชือดโดยตรง มีหรือจะยอมง่ายๆ
ดังนั้นหากมีการแบะท่าแก้ไขมาตรา 309 ออกมาเมื่อไหร่ แรงต้าน แรงเสียดทาน ก็ต้องเกิดขึ้นมาในทันทีด้วยเช่นกัน
ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลายเป็นประเด็นหินของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปแล้วในขณะนี้
จะแก้ไขก็ไม่ง่าย เพราะทั้งขั้วอำนาจ ทั้งพรรคการเมืองตรงกันข้าม และทั้งกลุ่มก๊วนเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภา โดยเฉพาะสำคัญที่สุดกลุ่มที่ระแวงและจงเกลียดจงชัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องออกมาค้านแน่
วนเวียนก้าวข้ามไม่พ้นคนชื่อ “ทักษิณ” ฉะนั้นการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะทำอะไร ก็รุมกล่าวหาว่าเป็นการทำที่จะมีคนชื่อทักษิณได้รับประโยชน์ด้วย
เป็นต้องโดนในทันที ไม่ว่าเรื่องนั้นจริงๆแล้ว ลึกๆแล้วจะเป็นเรื่องที่สมควรจะทำสักเพียงใดก็ตาม
คนทั้งแผ่นดินจะได้ประโยชน์ไม่เป็นไร แต่จะต้องไม่ให้คนชื่อทักษิณได้ประโยชน์จากการกระทำใดๆเลย
จะเรียกว่าเลือกปฏิบัติ จะเรียกว่ากี่มาตรฐาน หรือต่อให้ทั้งโลกจะมองอย่างไรก็ไม่สน ขอแค่สกัดให้ “ทักษิณ ชินวัตร”อยู่นอกประเทศไปนานๆได้เท่านั้นเป็นพอ หรือถ้าจะกลับประเทศก็ได้ แต่จะต้องเข้ามาติดคุกก่อน
น้ำหนักของคดี กระบวนการในการตัดสิน แม้แต่กระทั่งระบบศาลเดียว ใครจะวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลกอย่างไรก็ไม่ว่า แต่จะต้องให้มีผลบังคับใช้เฉพาะกับคนชื่อทักษิณให้ได้เท่านั้นเป็นพอ
ตรงนี้จึงเป็นประเด็น เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทำอะไรไม่ง่ายนักในการแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบนี้
ถ้าหาก กลัวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มันก็ทรยศกับประชาชนไปแล้วครึ่งหนึ่ง...
ขัดขวางความพยายามของผู้ประสงค์จะแก้ไข...ก็ทรยศกับประชาชนเต็มรูปแบบ...
โดยขยายเหตุผลว่า...
รัฐธรรมนูญ 2550 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำอำนาจของคนส่วนใหญ่ไปให้คนไม่กี่คนกำกับบังคับใช้...และมันถูกใช้ทำลายรัฐบาลของประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 2 รัฐบาล...มันทำให้ประเทศก้าวเข้าสู่วิกฤติอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน...ในชั่วเวลาเกือบพันปีที่...ไทยเป็นประเทศ
หายนะที่มันนำมาสู่ทุกๆ สถาบันที่รวมกันเป็นประเทศไทยนั้น...เกินกว่าจะพรรณนา
เป็นข้อเขียนที่เจตนาเตือนกันตรงๆว่า เหตุผลใดจึงจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหากไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น??
ส่วนว่าหากทำ หากเดินหน้าแก้ไขแล้วจะต้องเจอกับแรงต้าน เจอกับปัญหาการเผชิญหน้าก็เป็นเรื่องที่จะต้องหาทางแก้ไขฝ่าฟันไปให้ได้
ดังนั้นสถานการณ์ที่เดินมาถึงขณะนี้ พรรคเพื่อไทยหนีไม่พ้นที่จะต้องแสดงความชัดเจนในหลักการที่จะต้องผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. เข้ามาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แม้จะยังไม่มีมติพรรคออกมาอย่างเป็นทางการ แต่ ส.ส.ในพรรคก็เห็นตรงกันว่า จะต้องเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นนโยบายที่หาเสียงไว้
แม้ว่าจะมีข้ออ้างในเรื่องของระยะเวลาในการดำเนินการว่าจะต้องเร่งด่วนแค่ไหน? เวลาใดคือช่วงเวลาที่จะเหมาะสม?
เป็นความเห็นต่างที่จะต้องหาข้อสรุป เพราะอย่าง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้บอกว่าจะไม่แก้ เพียงแต่อยากให้หน่วงเวลาเอาไว้ก่อน รอให้แก้ปัญหาน้ำท่วม แก้ปัญหาเศรษบกิจ สร้างผลงานสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ก่อน แล้วค่อยเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ
โดยจะต้องไม่ไปแตะในเรื่องมาตรา 112
ก็เท่านั้นเองของความเห็นซีกนี้... แก้ แต่ยังไม่ถึงเวลา
ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งโดยเฉพาะแกนนำกลุ่มเสื้อแดง ยืนยันต้องการให้เร่งดำเนินการทันที เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายเร่งด่วนของพรรคเพื่อไทยที่ประกาศเอาไว้อยู่แล้ว
และขณะนี้ก็ก้าวล่วงพ้นมาปี 2555 แล้ว ทำไมจะต้องรอช้าอะไรอีก
ยังคงเดินไปในทิศทางเดียวกัน แต่เดินเร็วเดินช้าต่างกัน
ในขณะที่ฝ่ายที่พยายามประนีประนอมหาทางออก ก็มองแนวทางว่าควรดำเนินการตามขั้นตอนที่ต้องมีการทำประชาพิจารณ์และประชามติตาม กระบวนการของ ส.ส.ร.
ทำให้ฝ่ายที่ไม่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว อาศัยการพูดเก่ง ฉวยโอกาสออกมาตีกินในเรื่องรายละเอียดในทันทีว่า นอกจากจะต้องทำรายละเอียดในเรื่องการทำประชามติจากประชาชนให้เป็นที่ยอมรับแล้ว
กระบวนการเลือกสรร ส.ส.ร. ก็ควรจะต้องได้รับการยอมรับจากทุกๆฝ่ายด้วย
เจตนาเตะถ่วงดื้อๆ เพราะไม่ว่าจะแต่งตั้ง ส.ส.ร.โดยวิธีการใดก็ตาม เสียงครหาก็เกิดขึ้นทั้งนั้น
ก็ดูอย่างสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่มาจากกลไกหลังการรัฐประหาร ที่กำหนด ให้มีสมัชชาแห่งชาติจำนวนไม่เกิน 2 พันคน โดยสรรหาบุคคลจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ จากนั้นสมัชชาจะคัดเลือกสมาชิกด้วยกันเอง เพื่อทำบัญชีรายชื่อผู้สมควรเป็น ส.ส.ร. 200 คน ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เลือกให้เหลือ 100 คน เพื่อแต่งตั้งเป็น ส.ส.ร.
จากนั้น ส.ส.ร.จะเลือกกันเอง 25 คน และ คมช.คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอีก 10 คน รวมเป็น 35 คน ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ก็โดนด่าเละเทะมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
ฉะนั้นไม่ว่าจะสรรหา ส.ส.ร.อย่างไร ก็หนีไม่พ้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายตรงกันข้ามแน่นอน
การบ้านแก้รัฐธรรมนูญจึงเป็นปัญหาหนักของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเกี่ยวพันกับการอยู่รอดหรือการล้มคว่ำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ไปด้วย
นี่คือพิษสงร้ายลึกของ รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่จนถึงวันนี้ ยังสามารถที่จะเป็นชนวนจุดระเบิดให้เกิดวิกฤตกับประเทศชาติได้อีกหนหนึ่งเลยทีเดียว
ยิ่งหากมีการปลุกผี “ทักษิณ”ขึ้นมาเป็นประเด็นในการเผชิญหน้า โดยที่ทั้งฝ่ายหนุน ฝ่ายต้าน ต่างก็มีมวลชนจำนวนมากที่พร้อมจะลุกฮือขึ้นมาแสดงพลังใส่กันอย่างเต็มเหนี่ยว
การเผชิญหน้า ปะทะรุนแรง ก็จะต้องเกิดขึ้น
“วิกฤติแตกหัก” ถึงขั้นนองเลือด ก็จะไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
นี่คือเกมโหดที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องเจออย่างชนิดที่หนีอย่างไรก็หนีไม่พ้นแน่นอน!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555
ออกพ.ร.ก.กู้ 6 แสนล้านฟื้นน้ำท่วม ดึงทุนสำรอง-งบไทยเข้มแข็งเสริม !!?
รัฐควานหาแหล่งเงินฟื้นน้ำท่วม เตรียมร่าง พ.ร.ก.-พ.ร.บ.กู้รวม 6 แสนล้านรองรับ-หาทางโยกงบฯไทยเข้มแข็ง 1.2 หมื่นล้านเสริม เปิดช่องกู้ทุนสำรองใช้ซื้อเครื่องมือเครื่องจักรจาก ตปท. นอกเหนือจากที่กันงบฯ 1.2 แสนล้านไว้แล้ว
หลัง จากธนาคารโลกได้ร่วมประเมินความเสียหายของประเทศไทย ในกรณีเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยสรุปว่าความเสียหายมีตัวเลขสูงถึง 1.356 ล้านล้านบาท ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าจะต้องใช้เงินฟื้นฟูประเทศเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท สำหรับการแก้ปัญหาเร่งด่วนและระยะยาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด โดยเฉพาะงบฯลงทุนเมื่อเทียบกับงบประมาณรวม มีสัดส่วนต่ำมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง กล่าวคือช่วงก่อนวิกฤต (ปีงบประมาณ 2536-2540) สัดส่วน รายจ่ายลงทุนต่องบประมาณรวมอยู่ที่ 30.6-41.1% ของวงเงินงบประมาณ แต่ช่วง 4-5 ปีหลังมานี้ พบว่าสัดส่วนต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ควรจะมีไม่ต่ำกว่า 25% ของวงเงินงบประมาณรวมมาโดยตลอด โดยปี งบประมาณ 2552 มีสัดส่วน 22.2% ปีงบประมาณ 2553 มี 12.5% ปีงบประมาณ 2554 มี 17.8% และล่าสุดปีงบประมาณ 2555 มีสัดส่วน 16.4%
จึงเป็นสาเหตุว่ารัฐบาลต้องพยายามทุกวิถีทางใน การหาแหล่งเงินมารองรับ โดยระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่ต้องจ่ายชดเชยเยียวยาผลกระทบให้แก่ประชาชน รัฐบาลได้กันงบประมาณ รายจ่ายในปีงบประมาณ 2555 จากทุก ส่วนราชการ ส่วนราชการละประมาณ 10% เอาไว้ หรือรวมเป็นเม็ดเงิน 120,000 ล้านบาท
ขณะ เดียวกันก็มีการสั่งการให้กรมบัญชีกลางดึงเงินจากกองทุนเงินนอก งบประมาณมาอีกส่วนหนึ่ง ล่าสุดกรมบัญชีกลางได้ทำหนังสือไปยังกองทุนเงินนอกงบประมาณทุกแห่ง เพื่อขอให้นำส่งเงินสดส่วนเกินที่เหลือจากการบริหารงาน หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ส่งกลับเป็นรายได้เข้ากระทรวงการคลัง กองทุนละ 30-40% ของเงินกองทุนภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งประเมินว่าน่าจะได้เงินจากส่วนนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท
แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวง การคลังได้เตรียมร่างกฎหมายกู้เงินไว้ 2 ฉบับ วงเงินรวม 600,000 ล้านบาท ฉบับแรก เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูประเทศจากอุทกภัย ระยะเร่งด่วน 1-2 ปี (ปี 2555-2556) ซึ่งจะออก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน วงเงิน 200,000 ล้านบาท เพื่อกู้เงินในประเทศเป็นหลัก ในรูปการออกพันธบัตร การกู้จากธนาคารพาณิชย์โดยตรง (เทอมโลน) เป็นต้น ส่วนฉบับที่สอง จะใช้สำหรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างฟลัดเวย์ เป็นต้น โดยจะใช้วงเงินอีก 400,000 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี (ปี 2555-2558) ด้วยการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
สำหรับ การกู้เงินภายใต้ พ.ร.บ.นี้ จะมีทั้งรูปแบบการกู้ในประเทศเช่นเดียว กับ พ.ร.ก. และบางส่วนจะกู้เงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามแนวคิดของนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
อย่างไรก็ดี วิธีการกู้เงินจากทุนสำรองนี้ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจาก ธปท.กังวลว่าจะส่งผลกระทบกับอัตราเงินเฟ้ออย่างมาก โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ธค. 54 ได้มอบหมายให้ธปท.ไปหารือร่วมกับสภาพัฒน์ฯ และกระทรวงการคลังในรายละเอียด แล้วนำกลับมาเสนออีกครั้ง
นอกจาก นี้รัฐบาลยังมีแนวคิดว่าที่จะนำวงเงินของโครงการไทยเข้มแข็งที่ยัง มีวงเงินเหลืออยู่จากบางโครงการ ซึ่งมีการจัดสรรงบฯให้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการลงนามในสัญญา ซึ่งส่วนนี้มีวงเงินอยู่ประมาณ 120,000 ล้านบาท มาใช้ในการฟื้นฟูน้ำท่วม โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของกระทรวงสาธารณสุข และกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จะมีช่องให้สามารถปรับมาใช้ได้หรือไม่
ขณะที่นาย อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูและสร้างรากฐานของประเทศหลังจากปัญหาอุทกภัย จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งจะใช้จากงบประมาณปกติในแต่ละปี ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องหาทางลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ควบคู่ไปด้วย ขณะเดียวกันยังต้องมีงบฯพิเศษด้วย
คลังมีแนวคิดที่จะกู้เงินจากทุน สำรองตามข้อเสนอของนายวีรพงษ์ ที่มองว่าปัจจุบันทุนสำรองของไทยมีจำนวนมาก ซึ่งปกติ ธปท.ก็นำทุนสำรองไปลงทุน ซื้อพันธบัตรของสหรัฐอยู่แล้ว หากใช้วิธีนี้ก็ชัดเจนว่าจะต้องเป็นหนี้สาธารณะ เพราะรัฐบาลเป็นผู้กู้ และเป็นสิ่งหนึ่งที่คุยกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้
"การกู้เงินดังกล่าว เมื่อมีปริมาณเงินในระบบเพิ่ม ธปท.ก็ต้องทำหน้าที่ดูดซับ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนผู้กู้เป็นรัฐบาลไทย แทนที่จะเป็นรัฐบาลอเมริกา อย่างไรก็ตามโดยข้อเท็จจริงแล้ว ทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่ไอเดีย เพราะปัจจุบันสภาพคล่องในระบบการเงินของไทยมีมากถึง 2 ล้านล้านบาท ฉะนั้นคงเน้นกู้ในประเทศเป็นหลัก เพียงแต่จะเขียนกฎหมายเปิดช่องไว้ให้สามารถทำได้ส่วนหนึ่ง คือกรณีหากต้องใช้อุปกรณ์ที่ต้องนำเข้า หรือซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ซึ่งต้องซื้อเป็นเงินตราต่างประเทศ"
สำหรับวงเงินที่จะออกกฎหมาย เพื่อกู้นั้น จะเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการชุด ดร.วีรพงษ์ รามางกูร พิจารณา ในเบื้องต้นจะออกตามความจำเป็น วงเงินประมาณ 3.5 แสนล้าน
ส่วน กรณีการลงทุนระยะยาว ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนต่างชาติต้องการความมั่นใจ และมองว่าหากการเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักลงทุนกังวล และหากรัฐบาลวางระบบจัดการน้ำระยะยาวซึ่งเป็นแผนลงทุนระยะ 5-10 ปี จึงกังวลว่ารัฐบาลอยู่ได้ตลอดหรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการก็คือจะมีการสร้างองค์กรที่จะสามารถ ขับเคลื่อนการลงทุนในเรื่องระบบน้ำให้มีความต่อเนื่อง
นาย จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าจะมีการออก พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. กู้เงินเป็นจำนวนเท่าใด เพราะยังไม่มีรายละเอียดโครงการที่ชัดเจน ดังนั้นต้องให้มีการเสนอโครงการชัดเจนก่อนค่อยดูว่าจะต้องกู้เป็นจำนวน เท่าใด
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
หลัง จากธนาคารโลกได้ร่วมประเมินความเสียหายของประเทศไทย ในกรณีเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยสรุปว่าความเสียหายมีตัวเลขสูงถึง 1.356 ล้านล้านบาท ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าจะต้องใช้เงินฟื้นฟูประเทศเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท สำหรับการแก้ปัญหาเร่งด่วนและระยะยาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด โดยเฉพาะงบฯลงทุนเมื่อเทียบกับงบประมาณรวม มีสัดส่วนต่ำมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง กล่าวคือช่วงก่อนวิกฤต (ปีงบประมาณ 2536-2540) สัดส่วน รายจ่ายลงทุนต่องบประมาณรวมอยู่ที่ 30.6-41.1% ของวงเงินงบประมาณ แต่ช่วง 4-5 ปีหลังมานี้ พบว่าสัดส่วนต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ควรจะมีไม่ต่ำกว่า 25% ของวงเงินงบประมาณรวมมาโดยตลอด โดยปี งบประมาณ 2552 มีสัดส่วน 22.2% ปีงบประมาณ 2553 มี 12.5% ปีงบประมาณ 2554 มี 17.8% และล่าสุดปีงบประมาณ 2555 มีสัดส่วน 16.4%
จึงเป็นสาเหตุว่ารัฐบาลต้องพยายามทุกวิถีทางใน การหาแหล่งเงินมารองรับ โดยระยะเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่ต้องจ่ายชดเชยเยียวยาผลกระทบให้แก่ประชาชน รัฐบาลได้กันงบประมาณ รายจ่ายในปีงบประมาณ 2555 จากทุก ส่วนราชการ ส่วนราชการละประมาณ 10% เอาไว้ หรือรวมเป็นเม็ดเงิน 120,000 ล้านบาท
ขณะ เดียวกันก็มีการสั่งการให้กรมบัญชีกลางดึงเงินจากกองทุนเงินนอก งบประมาณมาอีกส่วนหนึ่ง ล่าสุดกรมบัญชีกลางได้ทำหนังสือไปยังกองทุนเงินนอกงบประมาณทุกแห่ง เพื่อขอให้นำส่งเงินสดส่วนเกินที่เหลือจากการบริหารงาน หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ส่งกลับเป็นรายได้เข้ากระทรวงการคลัง กองทุนละ 30-40% ของเงินกองทุนภายใน 1-2 เดือนนี้ ซึ่งประเมินว่าน่าจะได้เงินจากส่วนนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท
แหล่ง ข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวง การคลังได้เตรียมร่างกฎหมายกู้เงินไว้ 2 ฉบับ วงเงินรวม 600,000 ล้านบาท ฉบับแรก เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูประเทศจากอุทกภัย ระยะเร่งด่วน 1-2 ปี (ปี 2555-2556) ซึ่งจะออก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน วงเงิน 200,000 ล้านบาท เพื่อกู้เงินในประเทศเป็นหลัก ในรูปการออกพันธบัตร การกู้จากธนาคารพาณิชย์โดยตรง (เทอมโลน) เป็นต้น ส่วนฉบับที่สอง จะใช้สำหรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างฟลัดเวย์ เป็นต้น โดยจะใช้วงเงินอีก 400,000 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี (ปี 2555-2558) ด้วยการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
สำหรับ การกู้เงินภายใต้ พ.ร.บ.นี้ จะมีทั้งรูปแบบการกู้ในประเทศเช่นเดียว กับ พ.ร.ก. และบางส่วนจะกู้เงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตามแนวคิดของนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ซึ่งนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
อย่างไรก็ดี วิธีการกู้เงินจากทุนสำรองนี้ยังไม่มีข้อสรุป เนื่องจาก ธปท.กังวลว่าจะส่งผลกระทบกับอัตราเงินเฟ้ออย่างมาก โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 ธค. 54 ได้มอบหมายให้ธปท.ไปหารือร่วมกับสภาพัฒน์ฯ และกระทรวงการคลังในรายละเอียด แล้วนำกลับมาเสนออีกครั้ง
นอกจาก นี้รัฐบาลยังมีแนวคิดว่าที่จะนำวงเงินของโครงการไทยเข้มแข็งที่ยัง มีวงเงินเหลืออยู่จากบางโครงการ ซึ่งมีการจัดสรรงบฯให้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการลงนามในสัญญา ซึ่งส่วนนี้มีวงเงินอยู่ประมาณ 120,000 ล้านบาท มาใช้ในการฟื้นฟูน้ำท่วม โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของกระทรวงสาธารณสุข และกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 จะมีช่องให้สามารถปรับมาใช้ได้หรือไม่
ขณะที่นาย อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูและสร้างรากฐานของประเทศหลังจากปัญหาอุทกภัย จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยส่วนหนึ่งจะใช้จากงบประมาณปกติในแต่ละปี ซึ่งส่วนหนึ่งจะต้องหาทางลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ควบคู่ไปด้วย ขณะเดียวกันยังต้องมีงบฯพิเศษด้วย
คลังมีแนวคิดที่จะกู้เงินจากทุน สำรองตามข้อเสนอของนายวีรพงษ์ ที่มองว่าปัจจุบันทุนสำรองของไทยมีจำนวนมาก ซึ่งปกติ ธปท.ก็นำทุนสำรองไปลงทุน ซื้อพันธบัตรของสหรัฐอยู่แล้ว หากใช้วิธีนี้ก็ชัดเจนว่าจะต้องเป็นหนี้สาธารณะ เพราะรัฐบาลเป็นผู้กู้ และเป็นสิ่งหนึ่งที่คุยกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้
"การกู้เงินดังกล่าว เมื่อมีปริมาณเงินในระบบเพิ่ม ธปท.ก็ต้องทำหน้าที่ดูดซับ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ตามปกติ เพียงแต่เปลี่ยนผู้กู้เป็นรัฐบาลไทย แทนที่จะเป็นรัฐบาลอเมริกา อย่างไรก็ตามโดยข้อเท็จจริงแล้ว ทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่ไอเดีย เพราะปัจจุบันสภาพคล่องในระบบการเงินของไทยมีมากถึง 2 ล้านล้านบาท ฉะนั้นคงเน้นกู้ในประเทศเป็นหลัก เพียงแต่จะเขียนกฎหมายเปิดช่องไว้ให้สามารถทำได้ส่วนหนึ่ง คือกรณีหากต้องใช้อุปกรณ์ที่ต้องนำเข้า หรือซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ซึ่งต้องซื้อเป็นเงินตราต่างประเทศ"
สำหรับวงเงินที่จะออกกฎหมาย เพื่อกู้นั้น จะเป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการชุด ดร.วีรพงษ์ รามางกูร พิจารณา ในเบื้องต้นจะออกตามความจำเป็น วงเงินประมาณ 3.5 แสนล้าน
ส่วน กรณีการลงทุนระยะยาว ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนต่างชาติต้องการความมั่นใจ และมองว่าหากการเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นักลงทุนกังวล และหากรัฐบาลวางระบบจัดการน้ำระยะยาวซึ่งเป็นแผนลงทุนระยะ 5-10 ปี จึงกังวลว่ารัฐบาลอยู่ได้ตลอดหรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการก็คือจะมีการสร้างองค์กรที่จะสามารถ ขับเคลื่อนการลงทุนในเรื่องระบบน้ำให้มีความต่อเนื่อง
นาย จักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าจะมีการออก พ.ร.ก. และ พ.ร.บ. กู้เงินเป็นจำนวนเท่าใด เพราะยังไม่มีรายละเอียดโครงการที่ชัดเจน ดังนั้นต้องให้มีการเสนอโครงการชัดเจนก่อนค่อยดูว่าจะต้องกู้เป็นจำนวน เท่าใด
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อะเมซิ่งประเทศไทย !!?
| |||
ชัยชนะอย่างท่วมท้นและเด็ดขาดของพรรคเพื่อไทยในการเลือก ตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 3
กรกฎาคม 2554 โดยได้จำนวน ส.ส. ถึง 265 ที่นั่ง จาก 500 ที่นั่ง ทำให้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็น “นายกรัฐมนตรีคนที่ 28” และ
“นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย” หลังจากสภาผู้แทนราษฎรลงมติเมื่อวันที่ 5
สิงหาคม 2554
น.ส.ยิ่งลักษณ์ทำให้ทั้งคนไทยและทั่วโลกทึ่งและสนใจอย่างมาก เพราะใช้เวลาแค่ 49 วันในการเข้าสู่ถนนการเมืองเป็น ครั้งแรกก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งยังสร้างประวัติศาสตร์เป็นพี่น้อง “ตระกูลชินวัตร” ที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยอีกด้วย ขณะที่นิตยสารไทม์ได้เผย แพร่บทความพิเศษจัดให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็น 1 ใน 12 ผู้นำหญิงอันดับต้นๆของโลก (Top 12 Female Leaders Around the World) แม้ 4 เดือนที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์จะยังไม่มีผลงานโดดเด่น รวมทั้งถูกจ้องโจมตีทุกรูปแบบจากพรรคประชาธิปัตย์และบรรดาขาประจำแล้ว ยังถูกถล่มจาก “มหาอุทกภัย” ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จนแทบตั้งตัวไม่ติด แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและสุขุมเยือกเย็น โดยเฉพาะความตั้งใจที่จะพิสูจน์ตัวเองในฐานะ “ผู้นำตัวจริง” ไม่ใช่ “ผู้นำตัวสำรอง” หรือ “หุ่นเชิด” ของพี่ชาย “พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” เพราะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณได้หลุดวาทะเด็ดที่ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์สั่นสะเทือนทันทีคือ “คุณยิ่งลักษณ์เป็นโคลนนิ่งของผม” ซึ่งเป็นประโยคที่เปิดช่องให้ฝ่ายตรงข้ามรุมถล่มอย่างหนักว่า “เลือกยิ่งลักษณ์ได้ทักษิณ” หนังสือพิมพ์ “โลกวันนี้” จึงขอยกย่องให้ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เป็น “บุคคลแห่งปี” ที่สร้างปรากฏ การณ์ “อะเมซิ่ง” จนถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้ประชาคมโลกต้องเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะสามารถยืนหยัดอยู่บนถนนการเมือง ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและแตกแยกได้นานแค่ไหน ทำเพื่อชาติและทุกคน “ดิฉันตระหนักดีว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงในขณะนี้เป็นความท้าทายและความคาดหวังอย่างมากจากพี่น้องประชาชน แต่ดิฉันเชื่อมั่นว่าความเป็นผู้หญิงจะไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน แต่ในทางตรงกันข้ามความเข้มแข็งที่ควบคู่กับความอ่อนโยน การรับฟังปัญหาทรรศนะที่แตกต่างจะช่วยให้เรามองเห็นทางเลือกใหม่ๆในการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น” น.ส.ยิ่งลักษณ์แถลงภายหลังรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554 และขอบคุณประชาชนในตอนท้ายที่ให้โอกาส ซึ่งถือเป็นพันธสัญญาทางใจให้ตระ-หนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน โดยจะมุ่งมั่นสร้างสุข สลายทุกข์ให้พี่น้องประชาชนอย่างสุดกำลังความสามารถ “จะไม่ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะทำเพื่อประเทศชาติและคนไทยทุกคน” ครม. ไม่สวยเหมือนนายกฯ แต่ทันทีที่รายชื่อคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 ออกมาก็ถูกรุมถล่มซ้ำทันทีว่าขี้เหร่ ไม่สวยเหมือนนายกฯ นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณยังเพิ่มอุณหภูมิการเมืองให้ร้อนระอุโดยการยอมรับว่าให้คำปรึกษา น.ส.ยิ่งลักษณ์ในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี แม้ในขั้นตอนสุดท้าย น.ส. ยิ่งลักษณ์จะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเองก็ไม่มีใครเชื่อ เพราะวันนี้บรรดา ส.ส. และสมาชิกพรรคเพื่อไทยยังถือว่า พ.ต.ท.ทักษิณคือนายใหญ่ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ยังคงสร้างกระแส “ผีทักษิณ” เพื่อดิสเครดิต น.ส.ยิ่งลักษณ์ตลอดมา อย่างที่นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปรียบคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เป็น “ครม. ต่างตอบแทน” คน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.ตอบแทนสายตรงของ นายใหญ่ นายหญิงในพรรค 2.ตอบแทนข้าราชการเก่าที่มีสายสัมพันธ์อุปถัมภ์ค้ำชูตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 3.ตอบแทนกลุ่มก๊วนต่างๆในพรรค 4.ตอบแทนคนที่เคยมีส่วนปกป้องช่วยเหลือกรณีปัญหาหุ้นของตระกูลชินวัตร และ 5.ตอบแทนเพื่อนร่วมรุ่น พ.ต.ท.ทักษิณ ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ขอเวลา 1 ปี เพื่อพิสูจน์ผลงาน โดยยืนยันจะทำหน้าที่ให้กับส่วนรวม ไม่ทำเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และคำนึงถึงประชาชนทุกคน “เรื่องคุณทักษิณต้องเป็นไปตามกระบวนการ โดยจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ผู้ทำงานก็ทำงานอย่างเต็มที่บนหลักนิติธรรม และให้ความยุติธรรมเท่าเทียมกัน” “ทักษิณ” เงา “ยิ่งลักษณ์” จึงไม่แปลกที่นับตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่การเมืองจนวันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังเหมือนเงาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ถูก จับตามองว่าเป็น “นายกฯตัวจริง” ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นแค่ “นายกฯพิธีการ” แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะปฏิเสธและ ยืนยันว่าตัวเองเป็นผู้นำตัวจริงและมีอำนาจจริงก็ตาม โดยเฉพาะการเยือนพม่าล่าสุดที่ พ.ต.ท.ทักษิณให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่าเป็นผู้ประ- สานงานการเดินทางให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ในการพบกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง และ พล.อ.อาวุโสตัน ฉ่วย อดีต ผู้นำสูงสุดของพม่า รวมทั้งนางออง ซาน ซู จี ยิ่งทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกมองว่าเป็น “หุ่นเชิด” ของ พ.ต.ท. ทักษิณ นอกจากนี้ยังถูกโยงถึงเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจอีกด้วย แม้จะไม่เป็นความจริง แต่คนที่เกลียดทักษิณก็เชื่ออย่างสนิทใจไปแล้ว แม้แต่ผู้สื่อข่าวสายทำเนียบยังตั้งฉายารัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่า “ทักษิณส่วนหน้า” ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ฉายา “นายกฯนกแก้ว” ขณะที่ผู้สื่อข่าวสายรัฐสภาตั้งฉายา น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็น “ดาวดับ” และชุมนุมรัฐศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งฉายารัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็น “ปูอบวุ้นเส้น” ที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่ยังหนีไม่พ้นพี่ชายและไม่มีผลงานที่เข้าตาประชาชนและสื่อ นายกฯ 15 ล้านเสียง 4 เดือนแรกของ น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงยังคงมีเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณที่สลัดไม่หลุด แล้วยังถูกกระหน่ำซ้ำเติมด้วย “มหาอุทกภัย” ที่ไม่อาจปฏิเสธว่ารัฐบาลล้มเหลวในการแก้ ปัญหา (ไม่นับรวมการถูกเตะสกัดที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ว่าฯ กทม. ที่มาจากพรรคประชาธิปัตย์) แม้แต่เรื่องไร้สาระ อย่างการใช้ภาษาอังกฤษยังถูกนำมาโจมตี แต่ประชาชนยังให้โอกาส น.ส.ยิ่งลักษณ์ทำงานต่อ เพราะยอมรับว่าทุ่มเททำงานเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนและประเทศชาติ ขณะที่โพลทุกสำนักสำรวจความเห็นประชาชนพบว่ากว่า 80% พอใจการแก้ปัญหายาเสพติด น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ และมีอำนาจจริง โดยจะต้องสลัดเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณออกไปให้ได้ นอกจากนี้ยังต้องกล้าปรับคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาแก้ปัญหาประเทศชาติอย่างแท้ จริง ไม่ใช่เป็นแค่นายกฯประสานงาน เพราะเส้นทางข้างหน้าเต็มไปด้วยศัตรูทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นจ้องจะล้มรัฐบาลและทำลายฝ่ายประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม วันนี้ “ความจริง” ที่ใครก็เปลี่ยน แปลงไม่ได้คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น “นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย” เธอจึงสมควรเป็น “บุคคลแห่งปีของไทย” ที่ถูกคัดเลือกโดยหนังสือพิมพ์ “โลกวันนี้” ในปีนี้ เพราะได้สร้างปรากฏการณ์ “อะ-เมซิ่งยิ่งลักษณ์” และมาจากเสียงสนับสนุนของประชาชนกว่า 15 ล้านเสียง ไม่ใช่ “นายกฯโจรสลัด” ที่ตั้งในค่ายทหาร! ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข /////////////////////////////////////////////////// |
วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ระวังเป็น ผู้ทรยศ !!?
ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับมาตรา 112 ของ...รัฐธรรมนูญ...นั่นเป็นเรื่องถูกต้อง...แต่...ไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทำใหม่ไม่ปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการปรุงแต่ง...
เป็นเรื่องไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน
เลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคม...2554 ประชาชนส่วนที่มากที่สุดของการเลือกตั้ง...ได้เลือกพรรคที่ประกาศว่า...จะแก้ไขหรือนำกลับรัฐธรรมนูญปี 2540 และปฏิเสธรัฐธรรมนูญ 2550
จึงไม่มีเหตุผลใด...พรรคการเมืองที่ได้ประกาศไว้เช่นว่า หรืออ้ายอีคนไหน...ที่เสพสุขสนุกอยู่กับหัวโขนที่เสียบหัวอยู่...จะบ่ายเบี่ยงเลี่ยงกระทำการ...ที่ประชาชนได้พิพากษาแล้ว...เพียงเพราะไม่อยากให้น้ำขุ่นฝุ่นฟุ้ง
การเมืองเป็นสิ่งมีชีวิต...หยุดนิ่งไม่ใช่คุณสมบัติของมัน
ถ้าการทำตามสัจจะวาจาที่ได้รับปากไว้กับประชาชน...จะนำไปสู่การเผชิญหน้าไม่ว่ากับกลุ่มก้อนแห่งเผด็จการกลุ่มก้อนใด...ก็เป็นหน้าที่ของผู้ให้คำสัญญาจะต้องฟันฝ่ามันไปไม่ว่ามันจะเป็นนรกหรือสวรรค์...ไม่ว่ามันจะเป็นความเป็นหรือความตาย...
หากสันติภาพนำมันมาสู่ความถูกต้องไม่ได้...ก็ให้สงครามนำมันมา
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า...หลังสงครามใหญ่ต่างหาก สันติภาพจึงจะยั่งยืนยาวนาน...ประชาธิปไตยกับเผด็จการ...ไม่ใช่ 2 ด้านของเหรียญ...แต่มันเป็น...คู่ขนานที่ไม่มีวันกลมกลืนกัน
ย่ำเหยียบอยู่บนเถ้ากระดูกและกองเลือดของประชาชน...แล้วประคองหัวโขนไม่ให้หล่นจากหัว...กลัวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มันก็ทรยศกับประชาชนไปแล้วครึ่งหนึ่ง...
ขัดขวางความพยายามของผู้ประสงค์จะแก้ไข...ก็ทรยศกับประชาชนเต็มรูปแบบ...
รัฐธรรมนูญ 2550 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำอำนาจของคนส่วนใหญ่ไปให้คนไม่กี่คนกำกับบังคับใช้...และมันถูกใช้ทำลายรัฐบาลของประชาชนไปแล้วอย่างน้อย 2 รัฐบาล...มันทำให้ประเทศก้าวเข้าสู่วิกฤติอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน...ในชั่วเวลาเกือบพันปีที่...ไทยเป็นประเทศ
หายนะที่มันนำมาสู่ทุกๆ สถาบันที่รวมกันเป็นประเทศไทยนั้น...เกินกว่าจะพรรณนา...
สมานฉันท์กับความชั่วช้า...ข้างหน้าของมันคือทรราชย์
โดย:พญาไม้,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////
วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554
10 วิธี ขับรถปลอดภัยช่วงวันหยุดยาว !!?
แน่นอน สิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ คือการเตรียมรถยนต์ให้พร้อมก่อนออก เดินทาง วันนี้เรามีเคล็ดลับ 10 วิธี เตรียมความพร้อมง่าย ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม อย่างวิธีการขับขี่อย่างถูกต้องเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวคุณเองและ ครอบครัวมาแบ่งปัน เพื่อให้ทุกการ เดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย
1.เข็มขัดนิรภัยถือว่าเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญที่สุด การคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกวิธีนั้น ควรคาดเข็มขัดให้อยู่รอบสะโพกไม่ให้เข็มขัดนิรภัยพาดบริเวณหน้าท้อง และไม่ควรรัดเข็มขัดนิรภัยจากด้านหลังหรือใต้แขน เนื่องจากจะทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก
2.สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ควรใช้ที่นั่งสำหรับเด็กและคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยสูงสุด โดยควรจัดวางไว้ที่เบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังรถ ส่วนเด็กอายุ 1-3 ขวบนั้น ควรนั่งที่นั่งสำหรับเด็กเช่นกัน แต่สามารถหันหน้าไปทางหน้ารถได้ สำหรับเด็กอายุ 4-7 ขวบ ซึ่งโตเกินกว่าที่จะนั่งเก้าอี้นิรภัย แต่เข็มขัดนิรภัยที่มากับที่นั่งปกติของผู้ใหญ่ก็ยังไม่พอดีกับตัว ควรใช้ที่นั่งเสริม (booster seat) แล้วคาดเข็มขัดนิรภัยของที่นั่งปกติเพื่อยึดเก้าอี้เสริมให้ติดกับเบาะรถ ทั้งนี้ ควรให้เด็กเล็กนั่งบริเวณเบาะหลังของรถ เพราะการทำงานของถุงลมนิรภัยอาจทำอันตรายต่อเด็กเล็กได้ อีกทั้งบริเวณประตูหลังของรถยังสามารถตั้งไม่ให้สามารถเปิดจากภายในรถได้ เพราะลดความเสี่ยงจากความซุกซนของเด็กน้อยได้อีกชั้น
3.ควรปรับที่ วางศีรษะให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และผู้นั่งรู้สึกสบายมากที่สุด 4.ไม่ควรวางสิ่งของด้านบนหรือรอบ ๆ ที่เก็บถุงลมนิรภัย มิฉะนั้นอาจทำให้ถุงลมนิรภัยไม่ทำงานเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จนทำให้ผู้ที่อยู่ในรถบาดเจ็บร้ายแรงหรือเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ บริเวณที่เป็นลิ้นชักเก็บของหน้ารถ ก็ไม่ควรเหน็บสิ่งของไว้ที่ฝาลิ้นชัก เพราะสิ่งของที่เหน็บไว้อาจพุ่งใส่ผู้นั่งเมื่อต้องเหยียบเบรกกะทันหัน
5.ผู้ขับขี่ควรทำความรู้จักและความคุ้นเคยกับรถและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยก่อน ออกเดินทาง นอกจากนี้ควรตรวจตราและซ่อมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ สิ่งที่ควรตรวจสอบให้เรียบร้อย ก่อนออกเดินทางคือ เกจ์วัดความลึกของดอกยาง ความดันลมยาง รวมถึงระดับของน้ำมันเครื่องและน้ำในหม้อน้ำว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือ ไม่
6.ขับรถอย่างมีความรับผิดชอบ เคารพกฎหมายและมีความรู้เรื่องระดับความเร็วของแต่ละสถานที่ นอกจากนี้ควรพกใบขับขี่และรายละเอียดของประกันติดรถไว้เสมอ
7.วางแผน ล่วงหน้าก่อนออกเดินทาง โดยประมาณระยะเวลาที่เหมาะสมของแต่ละจุดหมายปลายทาง รวมถึงขับรถตามความเร็วที่เหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด และเว้นช่องว่างกับรถที่อยู่ด้านหน้าอย่างน้อย 3 วินาที เพราะความปลอดภัยเมื่อรถคันหน้าเบรกอย่างกะทันหัน เพื่อให้สิ่งของนั้นไม่เคลื่อนมากระแทกโดนผู้โดยสารเมื่อต้องหยุดกะทันหัน 8.จัดสิ่งของหรือกระเป๋าที่หนักที่สุดให้อยู่ใต้สุด หรือเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
9.ถึงแม้ว่าช่วงหยุดยาวจะเป็นช่วง แห่งการเฉลิมฉลองก็ตาม แต่กฎทองที่ ผู้ขับขี่ทุกคนควรจำไว้คือ "อย่าขับรถ ในขณะเมาเหล้า"
10.หากรู้สึกเหนื่อยให้หยุดพัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เดินทางในระยะทางไกลอาจต้องการแวะพักบ่อยขึ้น เพื่อช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าและทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
คำต่อคำ ธีระชัย. เปิดทางเลือกแก้หนี้ กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท
ภายหลังมีการถกเถียงกันมากในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม
2554 ถึงแนวคิดการโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
1.14 ล้านล้านบาท กลับไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รับภาระทั้งก้อน
จนเหมือนกับว่าเกิดความไม่ลงรอยกันของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล ล่าสุด ช่วงเย็นวันที่ 28
ธันวาคม นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง
ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางของกระทรวงการคลัง อย่างเปิดเผยมากขึ้น
จากก่อนหน้านี้การแก้ปัญหาเรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นความลับอย่างมาก
@การโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ นี้ คนที่ไม่ได้ดูรายละเอียด อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าหนี้อันนี้เวลานี้อยู่ที่ทางรัฐบาล และจะต้องไปโอนให้กับแบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) จริงๆ ไม่ใช่ จริงๆ กฎหมายเขียนไว้ว่าคนที่มีหน้าที่ชำระหนี้อันนี้คือแบงก์ชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นตามหลักจริงๆ เวลานี้จริงๆ คือไม่ต้องไปโอนหนี้คืนให้เขา เพราะเป็นหนี้ของเขา ของแบงก์ชาติอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ภาระในการชำระดอกเบี้ย ทีนี้ ในส่วนภาระการชำระดอกเบี้ยนี้ ถ้าหากให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ยทุกปีๆ ไป อย่างนี้ในแง่กระทรวงการคลังก็ไม่มีภาระอะไร ดอกเบี้ยเวลานี้ คือเดิม 6.5 หมื่นล้านบาท แต่ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเวลานี้ลดลง ก็ตกประมาณสัก 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ถ้าหากว่าจะให้แบงก์ชาติเป็นคนชำระดอกเบี้ย วิธีการก็สามารถที่จะออกเป็นกฎหมายบังคับให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ย ก็สามารถที่จะทำได้
แต่ว่าประเด็นและข้อสังเกตที่ผมให้ไว้ ก็คืออย่างนี้ว่า ถ้าหากจะให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ยนี้ ถ้าหากว่าชำระจากส่วนที่แบงก์ชาติมีกำไร มันก็จะไม่มีผลในการเพิ่มปริมาณเงิน ไม่มีผลในการพิมพ์ธนบัตร พิมพ์เงินออกมา แต่ถ้าบังคับให้แบงก์ชาติชำระเกินกว่าที่แบงก์ชาติมีกำไรที่พึงได้ตามปกติ ตามวิธีการบัญชีปกติ มันก็จะกลายเป็นว่าไปบังคับให้แบงก์ชาติต้องพิมพ์เงิน
ทีนี้รัฐบาลทั่วโลก ทุกประเทศเขามีอำนาจในการที่จะออกกฎหมายบังคับให้ธนาคารกลางของประเทศเขาพิมพ์เงิน เพื่อจะให้รัฐบาลใช้ ทุกประเทศมีอำนาจอย่างนี้ทั้งนั้น แต่ถ้าประเทศไหนเอาอำนาจนี้มาใช้ ส่วนใหญ่มันจะทำให้นักลงทุนต่างชาติ แล้วก็สถาบันการเงินต่างชาติ อย่าง IMF(กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) หรือ WorldBank (ธนาคารโลก) แล้วก็สถาบันวิเคราะห์เครดิตใหญ่ เขาก็จะตั้งข้อกังวลว่า ไอ้การที่รัฐบาลใช้อำนาจทางกฎหมายมาบีบบังคับให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินเอามาให้รัฐบาลใช้นี้ มันจะเป็นช่องโหว่ แล้วมันจะกลายเป็นว่าไอ้ตรงนี้ มันจะทำให้เราไปอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศแบบ อาร์เจนตินา หรือซิมบับเว อะไรอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นการที่เราจะเรียกร้องให้แบงก์ชาตินำเงินมาชำระเป็นดอกเบี้ย มันต้องขีดเส้นเอาให้พอดี ในจำนวนที่สมควร อันนี้ไม่ได้เสียวินัยการเงินการคลัง แต่ถ้าเกินกว่านี้มันมีความเสี่ยงที่จะถือว่าเสียวินัยการเงินการคลัง พูดง่ายๆ ว่าถ้าเราไปบังคับให้เขาต้องพิมพ์เงินออกมา เพื่อจะให้รัฐบาลใช้ มันจะเป็นภาพที่ค่อนข้างไม่ดี
@สรุปแล้ว ครม. มีมติให้ทำอย่างไร
มติ ครม. นั้น เนื่องจากว่าผมได้มีข้อสังเกตอันนี้เอาไว้ ผมก็เลยเสนอว่าควรจะมีการปรึกษาหารือกัน โดยขอให้รองนายกฯ กิตติรัตน์ (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์) เป็นประธาน แล้วก็นัดปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแบงก์ชาติ สภาพัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) รวมทั้งกระทรวงการคลัง เพื่อที่จะดูตัวเลขกันให้ชัด
ผมเอง แนวคิดอันนี้ ที่จะให้แบงก์ชาติชำระหนี้เต็มที่ อันนี้เป็นแนวคิดที่ผมมีอยู่เดิม แล้วผมได้หยิบยกขึ้นหารือกับทางผู้ว่าการแบงก์ชาติก่อนหน้านี้แล้ว แต่ว่าพอผมได้ลงไปดูตัวเลข คือผมเอางบดุลของแบงก์ชาติมาดู แล้วผมก็เอาบัญชีกำไรขาดทุนมาดู เอาบัญชีทุนสำรองเงินตรามาดูด้วย ในประเด็นต่างๆ ก็เห็นได้ชัดว่ามันมีขีดจำกัด ถ้าหากว่าเราเรียกร้องจากแบงก์ชาติเกินกว่าขีดนั้น มันก็จะเข้าข่ายเป็นการพิมพ์เงิน พิมพ์ปริมาณเงินออกมา ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็มาชี้แจงว่า ถ้าหากว่ารัฐบาลไปออกกฎหมายแล้วบังคับแบงก์ชาติเกินกว่าขอบเขต มันจะต้องมีคนมาถามว่า อันนี้เป็นการพิมพ์เงินออกมาให้รัฐบาลใช้หรือเปล่า ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็บอกว่า ถ้าเขาถามท่าน ท่านก็ต้องพูดตามตรง ว่าถ้ามันเลยไปเขาก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นการพิมพ์เงิน แล้วท่านก็บอกว่าแล้วถ้าเขามาถาม รมว.คลัง รมว.คลังจะว่าอย่างไร ผมก็บอกว่า ถ้าเขามาถามผม ผมก็ต้องยอมรับเหมือนกันว่ามันจะเข้าข่ายพิมพ์เงิน อันนี้มันก็จะไม่ดี แล้วถ้ามันกลายเป็นว่าถ้าเราจะไปเอาจากแบงก์ชาติเกินกว่าขอบเขตที่สมควร เข้าข่ายบังคับให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินมาให้รัฐบาลใช้ มันจะกระทบเครดิตไม่ใช่เฉพาะของรัฐบาล แต่มันจะกระทบเครดิตไปถึงของแบงก์พาณิชย์ไทย กระทบถึงบริษัทไทยใหญ่ๆ ที่มีการค้าขายกับต่างประเทศ กว้างขวางไปหมด อันนี้ผมคิดว่าเป็น ประเด็นที่ต้องระมัดระวังมาก
@ขอบเขตที่แบงก์ชาติรับได้นี่ หมายถึงในแง่วิธีการ หรือจำนวนเงิน
จำนวนเลย ที่เราพูดถึงคือจำนวน
@แล้วจำนวนเท่าใดจึงจะเหมาะสม จำนวนที่เหมาะสมนี้ ผมขออุบไว้ก่อน คืออย่างนี้ ถามว่าจำนวนที่พอจะทำได้เป็นเท่าไหร่ ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็ได้ให้ไอเดียมาแล้ว คือทางแบงก์ชาติ ตั้งแต่สมัย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้เคยเสนอแนวทางไว้ คือวิธีการปรับกระบวนการลงบัญชี ระหว่างบัญชีผลประโยชน์กับบัญชีกำไรสะสม ซึ่งตรงนั้น จำนวนนั้นผู้ว่าการแบงก์ชาติดูแล้ว เป็นจำนวนที่อยู่ในขอบข่าย ที่ยังอยู่ในวินัยการเงินการคลัง
แต่ปัญหาคืออย่างนี้ ปัญหาคือว่าจะต้องออกกฎหมาย แล้วก็มีการแก้ไขวิธีลงบัญชี ผมก็เลยปรึกษากับท่าน ก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นขอให้ท่านไปปรึกษาหารือกับทางศิษย์หลวงตา (หลวงตามหาบัว) ปรากฏว่ารอบแรกที่ไปปรึกษา ลูกศิษย์หลวงตาก็ยังไม่สบายใจเท่าไหร่ ผมเองกำลังมีการรวบรวมข้อมูล แล้วผมเองก็คิดว่าถ้ามีโอกาส ผมเองก็อยากจะลองปรึกษาหารือกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อีกสักทางเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม แนวคิดขณะนี้ คือว่า หลักเป็นอย่างนี้ หลักในการที่แบงก์ชาติขอปรับปรุงวิธีการลงบัญชีหลักคืออย่างนี้ คือทุนสำรองเงินตรานั้น เงินต้น และทองคำ จะไม่แตะต้อง แต่ขอเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้น ดอกผลที่เกิดในแต่ละปี เอามาใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ หลักง่ายๆ แค่นี้ ขณะนี้ไอ้วิธีการลงบัญชี มันทำให้ดอกผลไม่ออก เขาก็บอกว่าถ้าอย่างนั้น ขอหลักอย่างนี้ เงินต้นไม่แตะ ทองคำไม่แตะ ดอกผลที่เกิดในแต่ละปี ที่งอกในแต่ละปีเท่านั้นที่เราจะเอามาใช้ แล้วหลักนี้ถ้าเราเอาแค่นี้ ในแง่ของทางแบงก์ชาติก็บอกว่าอันนี้อยู่ในขั้นที่มันไม่มีปัญหาวินัยการเงินการคลัง
@ปัจจุบันการลงบัญชีทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
มันอีรุงตุงนังกันอยู่เวลานี้ คือกระบวนการลงบัญชีเวลานี้มันกลายเป็นว่าดอกผลประจำปี ซึ่งควรจะเอามาใช้ มันไปวนกันอยู่ จนกระทั่งเอาออกมาใช้ไม่ได้ ก็ต้องมีการเสนอแก้ไขกฎหมาย แต่หลัก ผมย้ำอีกครั้ง อย่าไปลงรายละเอียด เพราะเทคนิคทางบัญชีของแบงก์ชาติมันวุ่นวายมาก แต่หลักก็คือว่าเราจะไม่แตะต้นเงิน จะไม่แตะทองคำ ไม่แตะเงินบริจาค แต่ว่าดอกเบี้ย ดอกผลที่ออกในแต่ละปี เอาดอกผลตรงนี้มาใช้ในการแก้ปัญหา แล้วเราก็ไม่ได้เอามาใช้เป็นงบประมาณรัฐบาลทั่วไป แต่เอามาใช้เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ เท่านั้น
@จะเอามาในจำนวนที่ดูมีนัยยะสำคัญแค่ไหน เท่าที่ดู ผมกำลังให้เขาเก็บตัวเลข แล้วก็จะเอาตัวเลขตรงนี้มาดู แต่ว่าถ้าดูตัวเลขปีนี้ที่จะออกมา มันประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ดอกผลตรงนี้ เป็นดอกผลที่ไม่ได้มาจากการตีราคา แต่มาจากพันธบัตรรัฐบาลที่ไปลงทุนไว้แล้วมีดอกเบี้ย
นอกเหนือจากนั้นเอง ผมได้มีการปรึกษาหารือกับผู้ว่าการแบงก์ชาติ ลองหาแนวทางอื่น คือสมมติว่าเงินต้นทางแบงก์ชาติเขาต้องรับภาระอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องไปกังวล แต่ทำยังไง เราจะแหล่งเงินเพื่อเอามาใช้ประจำปีให้ได้ ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ที่ผมตั้งไว้ สมมติว่าได้จากดอกผลจากบัญชีเงินตรา สมมติว่า 2-2.5 หมื่นล้านบาท ผมไปดูอีกแหล่งหนึ่งที่เจอ ก็คือว่า สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ปัจจุบันเรียกเก็บเงินเพื่อคุ้มครองเงินฝากจากระบบ จากแบงก์ 0.4% เป็นเงินปีหนึ่งประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท ตรงนี้ผมคิดว่าเราเอามาใช้ก่อนได้ โดยที่ในระหว่างนี้กระทรวงการคลังจะเป็นคนค้ำประกัน ในส่วนภาระของการประกันเงินฝาก กระทรวงการคลังจะเป็นคนดูแลเอง นี่ก็สามารถทำได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีแหล่ง 2 แหล่งนี้ เราก็สามารถจะ Survice ดอกเบี้ยไปได้เรื่อยๆ ส่วนต้นเงินก็เมื่อวันนึงแบงก์ชาติมีกำไรขึ้นมา แบงก์ชาติก็ค่อยๆ ลดต้นเงิน ก็คงไม่มีปัญหา
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการคลังให้ข้อมูลด้วยเงินที่เราได้จาก สคฝ. มันจะโตขึ้นตามปริมาณเงินฝาก ซึ่งเวลนี้โตทุกปี พอเราทำพยากรณ์แล้ว เงินตรงนี้มันจะเหลือเกินกว่าที่จะเอามาใช้ชำระดอกเบี้ยอย่างเดียว ก็ใช้ชำระเงินต้นได้ด้วย คร่าวๆ คือในเวลาประมาณ 30 ปี ส่วนจะเอามาเท่าไหร่ ผมขออุบไว้ก่อน
@จะกระทบกับความเชื่อมั่นของระบบสถาบันการเงินหรือไม่ หากทำเช่นนั้น คิดว่าไม่ เพราะว่า หนึ่ง คือที่ผ่านมา เราได้มีการแก้ไขฐานะของระบบสถาบันการเงินของเรา อย่างเข้มแข็งอยู่แล้ว แล้วก็อีกประการหนึ่งก็คือว่า ในส่วนนี้กระทรวงการคลังเข้าไปยืนเป็นหลักให้แทน คือภาระ แล้วก็ความรับผิดชอบของสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีอยู่อย่างไร กระทรวงการคลังก็จะเข้าไปรับผิดชอบแทนเป็นการชั่วคราว
@ดูเหมือนกับว่าภาระไม่ได้เปลี่ยนไป แต่เพียงแค่โยกดอกเบี้ยออกไปจากความรับผิดชอบของกระทรวงการคลังเท่านั้นเอง
แต่ว่าการบริหารการคลังง่ายขึ้นเยอะ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว เราก็จะมีเงินจาก สคฝ. ปีนึงอาจจะ 2.9 หมื่นล้านบาท แล้วก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็จะมีเงินจากดอกผลทุนสำรองเงินตรามาอีก 2-2.5 หมื่นล้านบาท มันก็พอที่จะ Survice ดอกเบี้ยได้ ทีนี้ในส่วนที่มันเกินจากการชำระดอกเบี้ย มันก็สามารถนำไปตัดเงินต้นได้ ก็เอาไปช่วยลดเงินต้นได้ ผมว่าปัญหาตอนนี้เรายังไม่ต้องไปกังวลถึงเรื่องเงินต้น ขอให้เรามีแหล่งเงินมา Survice ดอกเบี้ยก่อน ผมย้ำอีกครั้งว่าดอกเบี้ยเวลานี้มัน 4.5 หมื่นล้านบาท
@แต่ว่าถ้าไม่ชำระเงินต้น ดอกเบี้ยก็จะเดินต่อไปเรื่อยๆ ดอกเบี้ยก็ยังเดิน แต่ว่ามันก็ยังพอ การตัดต้นนั้น ถ้าหากว่ามันมีส่วนเกิน ก็สามารถนำไปชำระต้นได้ทุกปีๆ
@ทำไมไม่ใช้วิธีออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เอาดอกผลตรงนั้นมาใช้ชำระหนี้เงินต้นไปเลย เข้าใจ แต่ว่าเวลานี้การจะออก พ.ร.ก.นั้น ให้แบงก์ชาติเขาไปทาบทามทางลูกศิษย์หลวงตา เขาก็ยังมีข้อกังวลอยู่ ขณะนี้กำลังดูว่าจะออกยังไง ขอผมปรึกษาหารือกันก่อน
@จะคุยกับลูกศิษย์หลวงตามหาบัวเมื่อไหร่ เดี๋ยวกำลังให้จัดตัวเลข แล้วจะคุย ตอนนี้เท่าที่ฟังดูรองนายกฯ กิตติรัตน์ จะนัดคุยวันศุกร์ (30 ธ.ค.54) ก็เลยยังไม่แน่ใจว่าท่านจะมีไอเดียอะไรเพิ่มเติมรึเปล่า เผื่อมีก็จะได้เอาไปคุย
@สรุปแล้วที่บอกว่าถ้าโยกหนี้ไปอยู่แบงก์ชาติแล้วหนี้สาธารณะจะลดลง ถือว่าจริงหรือไม่ คืออย่างนี้ มันอยู่ที่ไหนก็ตามหนี้มันไม่หายไปจากโลกนี้นะ เราจะโยกบัญชี ย้าย แล้วก็ขีดเส้นออกจากนี้ แล้วเอาไปลงไว้ที่ไหน หนี้มันไม่หายไปจากโลกนี้หรอก เพราะฉะนั้นไม่จริง บัญชีที่อาจจะดูว่ามันไม่ใช่บัญชีของรัฐนั้น คือเราอาจจะดูจากในแง่มุมของสายตาเราเอง สำหรับคนพื้นๆ อาจจะสายตาของใครก็ตาม แต่ถ้าเป็นสายตาของ IMF ที่เขาเป็นคนคอยดูตัวเลขเงินทุนระหว่างประเทศ ถ้าเป็นสายตาของนักวิเคราะห์ ถ้าเป็นสายตาของ Rating Agency หรือสถาบันการจัดอันดับ ผมคิดว่าเขาก็ยังนับเป็นหนี้สาธารณะอยู่ดี
@แล้วแนวทางที่เคยเสนอว่าจะใช้วิธีคงภาษีนิติบุคคลกลุ่มแบงก์ไม่ลดเหลือ 23%ยังทำหรือไม่ อันนั้น ก็คิดแล้วคิดอีก บังเอิญตอนนี้มันจบไปแล้ว เผอิญว่ากระบวนการลดภาษีมันผ่านไปแล้ว ลงราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว
@แบงก์จะยอมรับหรือไม่ ถ้าจะไปเอาเงิน สคฝ.มาใช้ อันนี้เป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะไปเอามา
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
@การโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
เรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ นี้ คนที่ไม่ได้ดูรายละเอียด อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าหนี้อันนี้เวลานี้อยู่ที่ทางรัฐบาล และจะต้องไปโอนให้กับแบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) จริงๆ ไม่ใช่ จริงๆ กฎหมายเขียนไว้ว่าคนที่มีหน้าที่ชำระหนี้อันนี้คือแบงก์ชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นตามหลักจริงๆ เวลานี้จริงๆ คือไม่ต้องไปโอนหนี้คืนให้เขา เพราะเป็นหนี้ของเขา ของแบงก์ชาติอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ภาระในการชำระดอกเบี้ย ทีนี้ ในส่วนภาระการชำระดอกเบี้ยนี้ ถ้าหากให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ยทุกปีๆ ไป อย่างนี้ในแง่กระทรวงการคลังก็ไม่มีภาระอะไร ดอกเบี้ยเวลานี้ คือเดิม 6.5 หมื่นล้านบาท แต่ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเวลานี้ลดลง ก็ตกประมาณสัก 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ถ้าหากว่าจะให้แบงก์ชาติเป็นคนชำระดอกเบี้ย วิธีการก็สามารถที่จะออกเป็นกฎหมายบังคับให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ย ก็สามารถที่จะทำได้
แต่ว่าประเด็นและข้อสังเกตที่ผมให้ไว้ ก็คืออย่างนี้ว่า ถ้าหากจะให้แบงก์ชาติชำระดอกเบี้ยนี้ ถ้าหากว่าชำระจากส่วนที่แบงก์ชาติมีกำไร มันก็จะไม่มีผลในการเพิ่มปริมาณเงิน ไม่มีผลในการพิมพ์ธนบัตร พิมพ์เงินออกมา แต่ถ้าบังคับให้แบงก์ชาติชำระเกินกว่าที่แบงก์ชาติมีกำไรที่พึงได้ตามปกติ ตามวิธีการบัญชีปกติ มันก็จะกลายเป็นว่าไปบังคับให้แบงก์ชาติต้องพิมพ์เงิน
ทีนี้รัฐบาลทั่วโลก ทุกประเทศเขามีอำนาจในการที่จะออกกฎหมายบังคับให้ธนาคารกลางของประเทศเขาพิมพ์เงิน เพื่อจะให้รัฐบาลใช้ ทุกประเทศมีอำนาจอย่างนี้ทั้งนั้น แต่ถ้าประเทศไหนเอาอำนาจนี้มาใช้ ส่วนใหญ่มันจะทำให้นักลงทุนต่างชาติ แล้วก็สถาบันการเงินต่างชาติ อย่าง IMF(กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) หรือ WorldBank (ธนาคารโลก) แล้วก็สถาบันวิเคราะห์เครดิตใหญ่ เขาก็จะตั้งข้อกังวลว่า ไอ้การที่รัฐบาลใช้อำนาจทางกฎหมายมาบีบบังคับให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินเอามาให้รัฐบาลใช้นี้ มันจะเป็นช่องโหว่ แล้วมันจะกลายเป็นว่าไอ้ตรงนี้ มันจะทำให้เราไปอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประเทศแบบ อาร์เจนตินา หรือซิมบับเว อะไรอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นการที่เราจะเรียกร้องให้แบงก์ชาตินำเงินมาชำระเป็นดอกเบี้ย มันต้องขีดเส้นเอาให้พอดี ในจำนวนที่สมควร อันนี้ไม่ได้เสียวินัยการเงินการคลัง แต่ถ้าเกินกว่านี้มันมีความเสี่ยงที่จะถือว่าเสียวินัยการเงินการคลัง พูดง่ายๆ ว่าถ้าเราไปบังคับให้เขาต้องพิมพ์เงินออกมา เพื่อจะให้รัฐบาลใช้ มันจะเป็นภาพที่ค่อนข้างไม่ดี
@สรุปแล้ว ครม. มีมติให้ทำอย่างไร
มติ ครม. นั้น เนื่องจากว่าผมได้มีข้อสังเกตอันนี้เอาไว้ ผมก็เลยเสนอว่าควรจะมีการปรึกษาหารือกัน โดยขอให้รองนายกฯ กิตติรัตน์ (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์) เป็นประธาน แล้วก็นัดปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแบงก์ชาติ สภาพัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) รวมทั้งกระทรวงการคลัง เพื่อที่จะดูตัวเลขกันให้ชัด
ผมเอง แนวคิดอันนี้ ที่จะให้แบงก์ชาติชำระหนี้เต็มที่ อันนี้เป็นแนวคิดที่ผมมีอยู่เดิม แล้วผมได้หยิบยกขึ้นหารือกับทางผู้ว่าการแบงก์ชาติก่อนหน้านี้แล้ว แต่ว่าพอผมได้ลงไปดูตัวเลข คือผมเอางบดุลของแบงก์ชาติมาดู แล้วผมก็เอาบัญชีกำไรขาดทุนมาดู เอาบัญชีทุนสำรองเงินตรามาดูด้วย ในประเด็นต่างๆ ก็เห็นได้ชัดว่ามันมีขีดจำกัด ถ้าหากว่าเราเรียกร้องจากแบงก์ชาติเกินกว่าขีดนั้น มันก็จะเข้าข่ายเป็นการพิมพ์เงิน พิมพ์ปริมาณเงินออกมา ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็มาชี้แจงว่า ถ้าหากว่ารัฐบาลไปออกกฎหมายแล้วบังคับแบงก์ชาติเกินกว่าขอบเขต มันจะต้องมีคนมาถามว่า อันนี้เป็นการพิมพ์เงินออกมาให้รัฐบาลใช้หรือเปล่า ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็บอกว่า ถ้าเขาถามท่าน ท่านก็ต้องพูดตามตรง ว่าถ้ามันเลยไปเขาก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นการพิมพ์เงิน แล้วท่านก็บอกว่าแล้วถ้าเขามาถาม รมว.คลัง รมว.คลังจะว่าอย่างไร ผมก็บอกว่า ถ้าเขามาถามผม ผมก็ต้องยอมรับเหมือนกันว่ามันจะเข้าข่ายพิมพ์เงิน อันนี้มันก็จะไม่ดี แล้วถ้ามันกลายเป็นว่าถ้าเราจะไปเอาจากแบงก์ชาติเกินกว่าขอบเขตที่สมควร เข้าข่ายบังคับให้ธนาคารกลางพิมพ์เงินมาให้รัฐบาลใช้ มันจะกระทบเครดิตไม่ใช่เฉพาะของรัฐบาล แต่มันจะกระทบเครดิตไปถึงของแบงก์พาณิชย์ไทย กระทบถึงบริษัทไทยใหญ่ๆ ที่มีการค้าขายกับต่างประเทศ กว้างขวางไปหมด อันนี้ผมคิดว่าเป็น ประเด็นที่ต้องระมัดระวังมาก
@ขอบเขตที่แบงก์ชาติรับได้นี่ หมายถึงในแง่วิธีการ หรือจำนวนเงิน
จำนวนเลย ที่เราพูดถึงคือจำนวน
@แล้วจำนวนเท่าใดจึงจะเหมาะสม จำนวนที่เหมาะสมนี้ ผมขออุบไว้ก่อน คืออย่างนี้ ถามว่าจำนวนที่พอจะทำได้เป็นเท่าไหร่ ผู้ว่าการแบงก์ชาติก็ได้ให้ไอเดียมาแล้ว คือทางแบงก์ชาติ ตั้งแต่สมัย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ได้เคยเสนอแนวทางไว้ คือวิธีการปรับกระบวนการลงบัญชี ระหว่างบัญชีผลประโยชน์กับบัญชีกำไรสะสม ซึ่งตรงนั้น จำนวนนั้นผู้ว่าการแบงก์ชาติดูแล้ว เป็นจำนวนที่อยู่ในขอบข่าย ที่ยังอยู่ในวินัยการเงินการคลัง
แต่ปัญหาคืออย่างนี้ ปัญหาคือว่าจะต้องออกกฎหมาย แล้วก็มีการแก้ไขวิธีลงบัญชี ผมก็เลยปรึกษากับท่าน ก็บอกว่าถ้าอย่างนั้นขอให้ท่านไปปรึกษาหารือกับทางศิษย์หลวงตา (หลวงตามหาบัว) ปรากฏว่ารอบแรกที่ไปปรึกษา ลูกศิษย์หลวงตาก็ยังไม่สบายใจเท่าไหร่ ผมเองกำลังมีการรวบรวมข้อมูล แล้วผมเองก็คิดว่าถ้ามีโอกาส ผมเองก็อยากจะลองปรึกษาหารือกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อีกสักทางเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม แนวคิดขณะนี้ คือว่า หลักเป็นอย่างนี้ หลักในการที่แบงก์ชาติขอปรับปรุงวิธีการลงบัญชีหลักคืออย่างนี้ คือทุนสำรองเงินตรานั้น เงินต้น และทองคำ จะไม่แตะต้อง แต่ขอเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้น ดอกผลที่เกิดในแต่ละปี เอามาใช้ในการแก้ไขปัญหาหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ หลักง่ายๆ แค่นี้ ขณะนี้ไอ้วิธีการลงบัญชี มันทำให้ดอกผลไม่ออก เขาก็บอกว่าถ้าอย่างนั้น ขอหลักอย่างนี้ เงินต้นไม่แตะ ทองคำไม่แตะ ดอกผลที่เกิดในแต่ละปี ที่งอกในแต่ละปีเท่านั้นที่เราจะเอามาใช้ แล้วหลักนี้ถ้าเราเอาแค่นี้ ในแง่ของทางแบงก์ชาติก็บอกว่าอันนี้อยู่ในขั้นที่มันไม่มีปัญหาวินัยการเงินการคลัง
@ปัจจุบันการลงบัญชีทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้
มันอีรุงตุงนังกันอยู่เวลานี้ คือกระบวนการลงบัญชีเวลานี้มันกลายเป็นว่าดอกผลประจำปี ซึ่งควรจะเอามาใช้ มันไปวนกันอยู่ จนกระทั่งเอาออกมาใช้ไม่ได้ ก็ต้องมีการเสนอแก้ไขกฎหมาย แต่หลัก ผมย้ำอีกครั้ง อย่าไปลงรายละเอียด เพราะเทคนิคทางบัญชีของแบงก์ชาติมันวุ่นวายมาก แต่หลักก็คือว่าเราจะไม่แตะต้นเงิน จะไม่แตะทองคำ ไม่แตะเงินบริจาค แต่ว่าดอกเบี้ย ดอกผลที่ออกในแต่ละปี เอาดอกผลตรงนี้มาใช้ในการแก้ปัญหา แล้วเราก็ไม่ได้เอามาใช้เป็นงบประมาณรัฐบาลทั่วไป แต่เอามาใช้เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ เท่านั้น
@จะเอามาในจำนวนที่ดูมีนัยยะสำคัญแค่ไหน เท่าที่ดู ผมกำลังให้เขาเก็บตัวเลข แล้วก็จะเอาตัวเลขตรงนี้มาดู แต่ว่าถ้าดูตัวเลขปีนี้ที่จะออกมา มันประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ดอกผลตรงนี้ เป็นดอกผลที่ไม่ได้มาจากการตีราคา แต่มาจากพันธบัตรรัฐบาลที่ไปลงทุนไว้แล้วมีดอกเบี้ย
นอกเหนือจากนั้นเอง ผมได้มีการปรึกษาหารือกับผู้ว่าการแบงก์ชาติ ลองหาแนวทางอื่น คือสมมติว่าเงินต้นทางแบงก์ชาติเขาต้องรับภาระอยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องไปกังวล แต่ทำยังไง เราจะแหล่งเงินเพื่อเอามาใช้ประจำปีให้ได้ ประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ที่ผมตั้งไว้ สมมติว่าได้จากดอกผลจากบัญชีเงินตรา สมมติว่า 2-2.5 หมื่นล้านบาท ผมไปดูอีกแหล่งหนึ่งที่เจอ ก็คือว่า สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ปัจจุบันเรียกเก็บเงินเพื่อคุ้มครองเงินฝากจากระบบ จากแบงก์ 0.4% เป็นเงินปีหนึ่งประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท ตรงนี้ผมคิดว่าเราเอามาใช้ก่อนได้ โดยที่ในระหว่างนี้กระทรวงการคลังจะเป็นคนค้ำประกัน ในส่วนภาระของการประกันเงินฝาก กระทรวงการคลังจะเป็นคนดูแลเอง นี่ก็สามารถทำได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีแหล่ง 2 แหล่งนี้ เราก็สามารถจะ Survice ดอกเบี้ยไปได้เรื่อยๆ ส่วนต้นเงินก็เมื่อวันนึงแบงก์ชาติมีกำไรขึ้นมา แบงก์ชาติก็ค่อยๆ ลดต้นเงิน ก็คงไม่มีปัญหา
นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการคลังให้ข้อมูลด้วยเงินที่เราได้จาก สคฝ. มันจะโตขึ้นตามปริมาณเงินฝาก ซึ่งเวลนี้โตทุกปี พอเราทำพยากรณ์แล้ว เงินตรงนี้มันจะเหลือเกินกว่าที่จะเอามาใช้ชำระดอกเบี้ยอย่างเดียว ก็ใช้ชำระเงินต้นได้ด้วย คร่าวๆ คือในเวลาประมาณ 30 ปี ส่วนจะเอามาเท่าไหร่ ผมขออุบไว้ก่อน
@จะกระทบกับความเชื่อมั่นของระบบสถาบันการเงินหรือไม่ หากทำเช่นนั้น คิดว่าไม่ เพราะว่า หนึ่ง คือที่ผ่านมา เราได้มีการแก้ไขฐานะของระบบสถาบันการเงินของเรา อย่างเข้มแข็งอยู่แล้ว แล้วก็อีกประการหนึ่งก็คือว่า ในส่วนนี้กระทรวงการคลังเข้าไปยืนเป็นหลักให้แทน คือภาระ แล้วก็ความรับผิดชอบของสถาบันคุ้มครองเงินฝากมีอยู่อย่างไร กระทรวงการคลังก็จะเข้าไปรับผิดชอบแทนเป็นการชั่วคราว
@ดูเหมือนกับว่าภาระไม่ได้เปลี่ยนไป แต่เพียงแค่โยกดอกเบี้ยออกไปจากความรับผิดชอบของกระทรวงการคลังเท่านั้นเอง
แต่ว่าการบริหารการคลังง่ายขึ้นเยอะ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นแล้ว เราก็จะมีเงินจาก สคฝ. ปีนึงอาจจะ 2.9 หมื่นล้านบาท แล้วก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็จะมีเงินจากดอกผลทุนสำรองเงินตรามาอีก 2-2.5 หมื่นล้านบาท มันก็พอที่จะ Survice ดอกเบี้ยได้ ทีนี้ในส่วนที่มันเกินจากการชำระดอกเบี้ย มันก็สามารถนำไปตัดเงินต้นได้ ก็เอาไปช่วยลดเงินต้นได้ ผมว่าปัญหาตอนนี้เรายังไม่ต้องไปกังวลถึงเรื่องเงินต้น ขอให้เรามีแหล่งเงินมา Survice ดอกเบี้ยก่อน ผมย้ำอีกครั้งว่าดอกเบี้ยเวลานี้มัน 4.5 หมื่นล้านบาท
@แต่ว่าถ้าไม่ชำระเงินต้น ดอกเบี้ยก็จะเดินต่อไปเรื่อยๆ ดอกเบี้ยก็ยังเดิน แต่ว่ามันก็ยังพอ การตัดต้นนั้น ถ้าหากว่ามันมีส่วนเกิน ก็สามารถนำไปชำระต้นได้ทุกปีๆ
@ทำไมไม่ใช้วิธีออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เอาดอกผลตรงนั้นมาใช้ชำระหนี้เงินต้นไปเลย เข้าใจ แต่ว่าเวลานี้การจะออก พ.ร.ก.นั้น ให้แบงก์ชาติเขาไปทาบทามทางลูกศิษย์หลวงตา เขาก็ยังมีข้อกังวลอยู่ ขณะนี้กำลังดูว่าจะออกยังไง ขอผมปรึกษาหารือกันก่อน
@จะคุยกับลูกศิษย์หลวงตามหาบัวเมื่อไหร่ เดี๋ยวกำลังให้จัดตัวเลข แล้วจะคุย ตอนนี้เท่าที่ฟังดูรองนายกฯ กิตติรัตน์ จะนัดคุยวันศุกร์ (30 ธ.ค.54) ก็เลยยังไม่แน่ใจว่าท่านจะมีไอเดียอะไรเพิ่มเติมรึเปล่า เผื่อมีก็จะได้เอาไปคุย
@สรุปแล้วที่บอกว่าถ้าโยกหนี้ไปอยู่แบงก์ชาติแล้วหนี้สาธารณะจะลดลง ถือว่าจริงหรือไม่ คืออย่างนี้ มันอยู่ที่ไหนก็ตามหนี้มันไม่หายไปจากโลกนี้นะ เราจะโยกบัญชี ย้าย แล้วก็ขีดเส้นออกจากนี้ แล้วเอาไปลงไว้ที่ไหน หนี้มันไม่หายไปจากโลกนี้หรอก เพราะฉะนั้นไม่จริง บัญชีที่อาจจะดูว่ามันไม่ใช่บัญชีของรัฐนั้น คือเราอาจจะดูจากในแง่มุมของสายตาเราเอง สำหรับคนพื้นๆ อาจจะสายตาของใครก็ตาม แต่ถ้าเป็นสายตาของ IMF ที่เขาเป็นคนคอยดูตัวเลขเงินทุนระหว่างประเทศ ถ้าเป็นสายตาของนักวิเคราะห์ ถ้าเป็นสายตาของ Rating Agency หรือสถาบันการจัดอันดับ ผมคิดว่าเขาก็ยังนับเป็นหนี้สาธารณะอยู่ดี
@แล้วแนวทางที่เคยเสนอว่าจะใช้วิธีคงภาษีนิติบุคคลกลุ่มแบงก์ไม่ลดเหลือ 23%ยังทำหรือไม่ อันนั้น ก็คิดแล้วคิดอีก บังเอิญตอนนี้มันจบไปแล้ว เผอิญว่ากระบวนการลดภาษีมันผ่านไปแล้ว ลงราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว
@แบงก์จะยอมรับหรือไม่ ถ้าจะไปเอาเงิน สคฝ.มาใช้ อันนี้เป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะไปเอามา
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เผือกร้อน. ข้ามปี งานหนัก นายกฯ โยกหนี้ให้แบงก์ชาติ
มติ ครม.เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม เห็นชอบการโอนหนี้คงค้างจากการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินเมื่อปี 2540 ให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้บริหารจัดการและชำระหนี้โดยไม่นับรวมเป็นหนี้สาธารณะ
สะท้อนอะไร
มติ ครม.เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม รับทราบว่าสัญญาที่มีให้กับ กทม.สิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม 2555 และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะเข้ามาดำเนินการในวันที่ 2 มกราคม 2555
สะท้อนอะไร
สะท้อนจุดเด่นของ "นายกฯนกแก้ว" ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระนั้นหรือ สะท้อนจุดเด่นของ "ปุเลง...นอง" ของ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจ กระนั้นหรือ
นี่มิได้เป็นการของ "นายกฯนกแก้ว" อย่างแน่นอน
เพราะเป้าหมายของที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าบริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดสวนจตุจักร คือ การขยายศักยภาพ เพิ่มรายได้ เพื่อลดการขาดทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ขาดทุนสะสมมาอย่างต่อเนื่อง
เช่นเดียวกับเป้าหมายของการโอนหนี้คงค้างให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินคือการลดภาระหนี้สาธารณะลงได้ประมาณร้อยละ 10 โดยพลัน
ตรงกันข้าม นี่เป็นการของรัฐบาล "ทักษิณส่วนหน้า" อย่างไม่ต้องสงสัย
ถามว่าจุดเด่นของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จากเดือนมกราคม 2544 ถึง เดือนกันยายน 2549 คืออะไร
หากให้พรรคประชาธิปัตย์ตอบ ก็อึงคะนึงด้วยคำว่า ทุจริต คอร์รัปชั่น ใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล
แต่หากให้กว่า 15 ล้านเสียงที่เทคะแนนให้พรรคเพื่อไทยกระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ตอบ
ก็เห็นแต่ "นิ้วโป้ง" ที่ชูพร้อมกับคำว่า "ซูดดด ยอดดดด"
เป็นความสุดยอดในกระบวนการบริหารจัดการ เป็นความสุดยอดในการแปรนามธรรมแห่งนโยบายเป็นรูปธรรมทางการปฏิบัติ
นั่นก็คือ ทำให้ "ประชาธิปไตยกินได้"
ข้อเสนอของการรถไฟแห่งประเทศไทยผ่านกระทรวงคมนาคมที่จะเข้าบริหารจัดการพื้นที่อันเป็นทรัพย์สินของตน แทน ที่จะให้ กทม.เช่าด้วยราคาแสนถูก นั่นแหละคือการขับเคลื่อนในเรื่องของการบริหาร
อย่างน้อยที่สุดก็เพื่อเพิ่มผลกำไรไป ลดทอนในส่วนที่ขาดทุนด้านอื่น
ยิ่งเป็นข้อเสนอในเรื่องการโอนหนี้สินคงค้างที่มีมาตั้งแต่วิกฤตเมื่อปี 2540 ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินอย่าง เบ็ดเสร็จ
ยิ่งสะท้อนความกล้า
ไม่ว่าข้อเสนอนี้จะสำเร็จหรือล้มเหลว แต่การหยิบเอาหนี้สินคงค้าง 1.14 ล้านล้านบาทจากสถานการณ์เมื่อปี 2540 นับว่าแหลมคม
นี่เป็น "เผือกร้อน" ที่หลายคนไม่อยากยื่นมือเข้าไปแตะ
แท้จริงแล้ว หนี้สินนี้เริ่มต้นที่ 1.4 ล้านล้านบาท โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ชำระเงินต้น
เป็นเวลา 14 ปีแล้ว ที่รัฐต้องจัดงบประมาณปีละ 6 หมื่นล้านบาท เพื่อชำระ ดอกเบี้ย
ขณะเดียวกัน เป็นเวลา 14 ปีแล้ว ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถชำระเงินต้นไปได้ 300 ล้านบาท จึงเหลือหนี้คงค้างอยู่ที่ 1.14 ล้านล้านบาท ในปัจจุบัน
14 ปีชำระได้ 300 ล้านบาท
14 ปีชำระดอกเบี้ยไปแล้ว 8 แสน 4 หมื่นล้านบาท
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกปัดปฏิเสธไม่ยอมรับมติ ครม.เป็นเรื่องดี เพราะอย่างน้อยก็จะนำไปสู่การถกแถลงอภิปรายถึงเหตุถึงผล
ที่สำคัญก็คือ หากไม่ทำอย่างนี้แล้ว จะดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นคุณ
ความขัดแย้งมิได้เป็นเรื่องเลวร้าย ตรงกันข้าม ภายในความขัดแย้งย่อมมีหนทางออกที่เหมาะสม
รัฐบาลมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อมีปัญหาก็ต้องเข้าไปศึกษา หาวิธีแก้ปัญหาเพราะปัญหาเขามีไว้แก้มิได้มีไว้แบก
เรื่องอย่างนี้พวก "ดีแต่พูด" ไม่ทำหรอก มีแต่ "นายกฯนกแก้ว" เท่านั้น ที่กล้าลงมือทำ
ที่มา: มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แก๊งค์เด็กนรก !!?
ฝากความไปถึง “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้ออกระเบียบ กวาดล้างยาเสพติด ในฐานะ “รองนายกฯ”
ที่พัทยาเหนือ สาย ๓ เป็นที่ตั้งผับ แหล่งท่องเที่ยว “นัวเนีย” มั่วสุมอัพยากันสุดสวิง
“เดนนรก”ที่คุมผับเป็นขาโจ๋ ขายยาไอซ์ ยาอี ประเจิดประเจ้อ เป็นของจริง
ใครเอายา ไม่ซื้อยา มาเสพเอง ก็ถูกรุมสกรัม ถูกยิง...อ้างอำนาจบาตรใหญ่ “เด็กคนมีเส้น” เอาชื่อ “จงรักษ์” มาขู่ตำรวจก็ไม่กล้าจับ
เส้นแข็งโป๊ก...มันค้ายาเสพติดนรก?...เย้ย “รองนายกฯเฉลิม”มากเลยนะครับ
++++++++++++++++++++
อำนาจเป็นของคุณ
มีอำนาจ ไม่สั่งการประการใด?...”ประชาชนคนไทย” ที่ไหนจะมาหนุน
“ตั้วเจ๊กฤษณา สีหลักษณ์” รมต.ประจำสำนักนายกฯ ผู้ควบคุมดูแลสื่อ..ผ่านไป ๓ เดือน ๔ เดือน ท่านยังงมหราก๋า นั่งปะแป้ง
ตอกย้ำเลยว่า เป็น “รัฐมนตรี” ที่ “เสียของอย่างแรง”
ปล่อยให้ “สื่อเท็จ” ถล่มยึดหน้าจอทีวี และโทรทัศน์แต่ละช่อง ..เปิดยุทธการ ละลายสีตีข่าวใส่ไคล้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กันอย่างสาดเสีย เทเสีย ไม่มีชิ้นดี
นับวันมีแต่หย่อนยาน...ปลดพ้นจากรัฐบาล?...เร็ววัน คนจะพากัน แฮปปี้
++++++++++++++++++++
ล้างมือในอ่างทองคำ
ปิดสาย เลิกรับสาย...ไม่ยอมที่จะพูดกับ “อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” สักคำ
สายลัย สายสื่อเจมส์บอนด์ จาก “บุรีรัมย์” ยืนยันว่า... “เดอะมาร์ค” ต่อสายไปถึง “เนวิน ชิดชอบ” อยู่เสมอ
กริ้งกร้างสายแทบไหม้..แต่ “ซูเปอร์ห้อย ร้อยยี้สิบ” ก็ไม่เคยรับสาย สิเธอ
กล่าวกับคนข้างเคียง...ขอล้างมือไม่ยุ่งกับการเมือง ที่มีแต่ความสับปลับ ยุ่งเหยิง ไม่เว้นวัน
เมื่อเข้าไปยุ่งกับการเมือง...โอ๊ย,มีแต่เรื่อง?..ให้เคืองขุ่น กระทั่งแทบไม่มองหน้ากัน
+++++++++++++++++++
อย่ามองข้าม “คดีสนธิ”
หยิบเอาสำนวน การตามฆ่าตามล้าง “สนธิ ลิ้มทองกุล” ขึ้นมาปัดเป่า ดีกว่านะคุณพี่
เพราะคดีนี้, นักการเมือง ที่เป็นพลเรือน ร่วมกันวางแผน “ยิงหัวสนธิ”จนเป็นหัวตะขาบ
เอาคดีนี้เป็นประเด็น...นักการเมืองที่สั่งฆ่าประชาชน ๙๑ ศพ..ก็จะจนมุมด้วยหลักฐานเองล่ะครับ
ดีกว่าเอาคดี นักรบประชาธิปไตย ตายกลางถนน ๙๑ ศพ บาดเจ็บ ๒ พันมาตามเช็คบิล จึงขอบอก
เพื่อลบล้างว่าตามกลั่นแกล้ง...เรื่องนี้รัฐบาลจะเล่นแรง?..มันก็ตีหน้าเสแสร้ง ว่ากลั่นแกล้งไม่ได้ดอก
+++++++++++++++++++
“เติบโต”ตามหน้าที่
ถ้า “พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์” ผบ.ตร. จะก้าวมาเป็น “รองนายกฯคุมความมั่นคง”ก่อนเกษียณ ก็เข้าท่าดี
เบิ้ลล์ให้ ๒ ขั้น สำหรับ “พล.ต.อ.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ.อยุธยา” มือปราบสาย “บิ๊กเฉลิม อยู่บำรุง” เป็น “รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย” ก็เข้าท่า
เพื่อหนุนให้ “พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร ขึ้นเป็น “ผบ.ตร.” ไงล่ะคุณเจ้าขา
ถ้าเป็นไปตามสูตรนี้, “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” จะก้าวกระโดดเติบโตฉับพลัน
เรียกว่าเป็น ๓ หนุ่ม ๓ มุมรูปหล่อ..ที่มาสกัดกลุ่มนักการเมืองหัวหมอ?..ให้กลัวหงอก็แล้วกัน
ที่มา.คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ที่พัทยาเหนือ สาย ๓ เป็นที่ตั้งผับ แหล่งท่องเที่ยว “นัวเนีย” มั่วสุมอัพยากันสุดสวิง
“เดนนรก”ที่คุมผับเป็นขาโจ๋ ขายยาไอซ์ ยาอี ประเจิดประเจ้อ เป็นของจริง
ใครเอายา ไม่ซื้อยา มาเสพเอง ก็ถูกรุมสกรัม ถูกยิง...อ้างอำนาจบาตรใหญ่ “เด็กคนมีเส้น” เอาชื่อ “จงรักษ์” มาขู่ตำรวจก็ไม่กล้าจับ
เส้นแข็งโป๊ก...มันค้ายาเสพติดนรก?...เย้ย “รองนายกฯเฉลิม”มากเลยนะครับ
++++++++++++++++++++
อำนาจเป็นของคุณ
มีอำนาจ ไม่สั่งการประการใด?...”ประชาชนคนไทย” ที่ไหนจะมาหนุน
“ตั้วเจ๊กฤษณา สีหลักษณ์” รมต.ประจำสำนักนายกฯ ผู้ควบคุมดูแลสื่อ..ผ่านไป ๓ เดือน ๔ เดือน ท่านยังงมหราก๋า นั่งปะแป้ง
ตอกย้ำเลยว่า เป็น “รัฐมนตรี” ที่ “เสียของอย่างแรง”
ปล่อยให้ “สื่อเท็จ” ถล่มยึดหน้าจอทีวี และโทรทัศน์แต่ละช่อง ..เปิดยุทธการ ละลายสีตีข่าวใส่ไคล้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กันอย่างสาดเสีย เทเสีย ไม่มีชิ้นดี
นับวันมีแต่หย่อนยาน...ปลดพ้นจากรัฐบาล?...เร็ววัน คนจะพากัน แฮปปี้
++++++++++++++++++++
ล้างมือในอ่างทองคำ
ปิดสาย เลิกรับสาย...ไม่ยอมที่จะพูดกับ “อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” สักคำ
สายลัย สายสื่อเจมส์บอนด์ จาก “บุรีรัมย์” ยืนยันว่า... “เดอะมาร์ค” ต่อสายไปถึง “เนวิน ชิดชอบ” อยู่เสมอ
กริ้งกร้างสายแทบไหม้..แต่ “ซูเปอร์ห้อย ร้อยยี้สิบ” ก็ไม่เคยรับสาย สิเธอ
กล่าวกับคนข้างเคียง...ขอล้างมือไม่ยุ่งกับการเมือง ที่มีแต่ความสับปลับ ยุ่งเหยิง ไม่เว้นวัน
เมื่อเข้าไปยุ่งกับการเมือง...โอ๊ย,มีแต่เรื่อง?..ให้เคืองขุ่น กระทั่งแทบไม่มองหน้ากัน
+++++++++++++++++++
อย่ามองข้าม “คดีสนธิ”
หยิบเอาสำนวน การตามฆ่าตามล้าง “สนธิ ลิ้มทองกุล” ขึ้นมาปัดเป่า ดีกว่านะคุณพี่
เพราะคดีนี้, นักการเมือง ที่เป็นพลเรือน ร่วมกันวางแผน “ยิงหัวสนธิ”จนเป็นหัวตะขาบ
เอาคดีนี้เป็นประเด็น...นักการเมืองที่สั่งฆ่าประชาชน ๙๑ ศพ..ก็จะจนมุมด้วยหลักฐานเองล่ะครับ
ดีกว่าเอาคดี นักรบประชาธิปไตย ตายกลางถนน ๙๑ ศพ บาดเจ็บ ๒ พันมาตามเช็คบิล จึงขอบอก
เพื่อลบล้างว่าตามกลั่นแกล้ง...เรื่องนี้รัฐบาลจะเล่นแรง?..มันก็ตีหน้าเสแสร้ง ว่ากลั่นแกล้งไม่ได้ดอก
+++++++++++++++++++
“เติบโต”ตามหน้าที่
ถ้า “พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์” ผบ.ตร. จะก้าวมาเป็น “รองนายกฯคุมความมั่นคง”ก่อนเกษียณ ก็เข้าท่าดี
เบิ้ลล์ให้ ๒ ขั้น สำหรับ “พล.ต.อ.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ.อยุธยา” มือปราบสาย “บิ๊กเฉลิม อยู่บำรุง” เป็น “รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย” ก็เข้าท่า
เพื่อหนุนให้ “พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร ขึ้นเป็น “ผบ.ตร.” ไงล่ะคุณเจ้าขา
ถ้าเป็นไปตามสูตรนี้, “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” จะก้าวกระโดดเติบโตฉับพลัน
เรียกว่าเป็น ๓ หนุ่ม ๓ มุมรูปหล่อ..ที่มาสกัดกลุ่มนักการเมืองหัวหมอ?..ให้กลัวหงอก็แล้วกัน
ที่มา.คอลัมน์ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
หัวเราะฟันร่วง แคนนอน-นิคอน ร่วมกับเปิดตัวกล้อง DSLR 1D3S (Parody) !!?
แข่งไปก็งั้นๆ แคนนอน-นิคอน ประกาศช็อควงการกล้องดิจิตอล เปิดตัวกล้องดิจิตอล DSLR ใหม่ภายใต้ชื่อ Canikon รุ่น1D3S พร้อมกับชุเลนส์ใหม่ Likkors Lens พร้อมระบบกันสั่นขั้นเทพ VS Systems คาดว่าจะวางขายปลายปี 2012 ยังไม่กำหนดราคา...
เผยคลิปสะเทือนอารมณ์ คนในอุตสาหกรรมและตลาดกล้องดิจิตอลรับปีใหม่ 2012 หลังจากเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ที่ผ่านมา เมื่อ บริษัทแคนนอน และนิคอน ประเทศญี่ปุ่น ตัดสินใจร่วมกันเปิดตัวกล้องดิจิตอลแบบ DSLR ภายใต้บริษัทใหม่ แคนนิคอน (Canikon) ในรุ่นพิเศษ Canikon1D3S โดยไร้เทียมทานด้วยจุดเด่นในการโฟกัสของนิคอน และ การถ่ายวิดีโอของแคนนอน โดยถือเป็นกล้องระดับสูงของโลกการถ่ายภาพ
นายไค มาร์คทรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.แคนนิคอน กล่าวว่า ภาพถ่ายไม่มีพรมแดนขวางกันกั้น นับตั้งแต่การต่อสู้ในตลาดกล้องดิจิตอลมาอย่างยาวนานของนิคอน และแคนนอน นำมาสู่กล้องดิจิตอล Canikon1D3S ที่เหนือกว่าค่ายใดทั้งคุณภาพและราคา ทำให้คำถามอมตะว่า "แคนนอนกับนิคอนอะไรดีกว่ากัน?" ต้องจบไป แม่จะแข่งกันกันมาในธุรกิจกล้องถ่ายภาพนิ่งมาอย่างยาวนาน แต่จะมีอะไรดีไปกว่าการร่วมมือกัน โค่นคู่ต่อสู้รายเล็กที่มีในตลาดอย่างโซนี่ และเพนแท็กซ์
ด้าน นายโนบิ โนบิตะ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ บริษัทแคนนิคอน กล่าวว่า Canikon1D3S จะนำเอาทุกสิ่งที่นักถ่ายภาพชอบบนกล้องนิคอน D3s และแคนอน EOS 1Ds ที่เป็นกล้องเซ็นเซอร์รับภาพแบบฟูลเฟรมความละเอียด 21 ล้านพิกเซล โดยจุดเด่นอยู่ที่ สามารถใช้เลนส์ร่วมกันได้ ทั้งเลนส์คุณภาพสูงตระกูล L และ Nikkor Lens ทั้งวายด์แองเกิล และเทเลโฟโต้ รวมทั้งเลนส์ใหม่ที่จะออกมาในชื่อ Likkors Lens รวมถึงระบบกันการสั่นสะเทือนของเลนส์ ทั้ง Image Stabilizer: IS ของแคนนอน และ VR System ของนิคอน ที่นำมาผสานกันจนเป็นเทคโนโลยีใหม่ VS: Vibration Stabilizer System ที่ทำให้ถ่ายภาพได้คมชัดแม้ว่าจะเขย่ากล้องอย่างรุนแรง รวมทั้งยังเปลี่ยนการซูมเข้าออกจากการหมุนเลนส์ เป็นการชักเข้า-ออก ทำให้เชื่อว่า แคนนิคอน จะเป็นกล้องที่โดนใจนักถ่ายภาพมากที่สุด เท่าที่เคยมีมาในตลาด และไม่มีใครสามารถเอาชนะ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องมาแข่งกันอีกว่าแบรนด์ไหนดีกว่ากัน
ทั้งนี้กล้อง แคนนิคอน 1D3S จะวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2012 และยังไม่ได้มีการกำหนดราคา...(เพราะมันมีอยู่จริงซะที่ไหน)
ปล.เนื้อหา รูปภาพทุกอย่างเป็นการสร้างขึ้นเพื่อล้อเลียนทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กล้องถ่ายภาพของบริษัทแคนนอน และ บริษัทนิคอน ที่จำหน่ายในประเทศไทยแต่อย่างใด
ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุขมากๆ สุขสันต์ปีใหม่ 2555 Happy New(s) Years 2012
ที่มา: ไทยรัฐ
//////////////////////////////////////////////////////
วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ลงชื่อแก้ ม.112ไม่ผิดผู้ที่จะร่วมเสนอกฎหมาย เข้าสภาอย่ากังวล !!?
นักวิชาการในคณะนิติราษฎร์ให้ความมั่นใจกับประชาชนที่จะร่วมลงชื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ไม่มีความผิด ชี้ลงชื่อเสนอแก้เป็นแค่การเปิดประตูให้มีการถกเถียงกันตามระบอบประชาธิปไตยในสภาเท่านั้น ส่วนจะแก้หรือไม่เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ระบุหากแก้สำเร็จจะเป็นแค่ก้าวแรก ในอนาคตต้องพูดกันเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร กล่าวถึงการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าช่วงที่กลุ่มระดมสมองในการทำข้อเสนอนี้ พบว่ามีความคิดเห็นแตกออกเป็น 2 ส่วน โดยบางส่วนอยากให้ยกเลิกมาตรานี้ไปเลย ขณะที่บางส่วนอยากให้กลับไปใช้หมิ่นประมาทแบบบุคคลทั่วไป เพียงแต่การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ก็ให้เป็นเหตุเพิ่มโทษให้มากขึ้นได้เท่านั้นเอง
“สุดท้ายเราก็เลือกเสนอแนวทางที่ประนีประนอมมากที่สุดกับบุคคลทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่ต้องการให้กฎหมายนี้คงอยู่ต่อไปและฝ่ายที่ต้องการให้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทแบบคนปรกติธรรมดา โดยให้ปรับลดโทษลงมาตามความเหมาะสม”
นายปิยบุตรกล่าวว่า ที่ประนีประนอมก็ถอยจนถึงที่สุดแล้ว เรียกว่าเป็นขั้นต่ำแล้ว ต่ำกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะในมุมของนักวิชาการที่ต้องการให้ยกเลิกกฎหมายนี้ เห็นว่าการแก้ไขมาตรา 112 แม้ทำสำเร็จ ต่อให้แก้ได้สวยหรูอย่างไร สุดท้ายถ้าคนที่ใช้กฎหมายยังมีอุดมการณ์ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็จะใช้มาตรานี้ต่อไปเต็มสูบ ไม่เป็นคุณต่อการแสดงสิทธิเสรีภาพอยู่ดี
“ถามว่าเราทำเฉพาะการแก้ไขมาตรา 112 อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ในอนาคตจำเป็นต้องพูดเรื่องอื่นๆต่อไปอีกคือ การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง” นายปิยบุตรกล่าว พร้อมย้ำว่า การเข้าชื่อเพื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ไม่เป็นการผิดกฎหมาย เมื่อยื่นเรื่องเข้าสู่สภาแล้วจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมือง ซึ่งอย่างน้อยจะเป็นการเปิดโอกาสให้ถกเถียงกันตามระบอบประชาธิปไตย และหากมีประชาชนลงชื่อมากพอ แสดงว่ามาตรานี้อาจมีปัญหา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร กล่าวถึงการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าช่วงที่กลุ่มระดมสมองในการทำข้อเสนอนี้ พบว่ามีความคิดเห็นแตกออกเป็น 2 ส่วน โดยบางส่วนอยากให้ยกเลิกมาตรานี้ไปเลย ขณะที่บางส่วนอยากให้กลับไปใช้หมิ่นประมาทแบบบุคคลทั่วไป เพียงแต่การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ก็ให้เป็นเหตุเพิ่มโทษให้มากขึ้นได้เท่านั้นเอง
“สุดท้ายเราก็เลือกเสนอแนวทางที่ประนีประนอมมากที่สุดกับบุคคลทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่ต้องการให้กฎหมายนี้คงอยู่ต่อไปและฝ่ายที่ต้องการให้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทแบบคนปรกติธรรมดา โดยให้ปรับลดโทษลงมาตามความเหมาะสม”
นายปิยบุตรกล่าวว่า ที่ประนีประนอมก็ถอยจนถึงที่สุดแล้ว เรียกว่าเป็นขั้นต่ำแล้ว ต่ำกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะในมุมของนักวิชาการที่ต้องการให้ยกเลิกกฎหมายนี้ เห็นว่าการแก้ไขมาตรา 112 แม้ทำสำเร็จ ต่อให้แก้ได้สวยหรูอย่างไร สุดท้ายถ้าคนที่ใช้กฎหมายยังมีอุดมการณ์ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็จะใช้มาตรานี้ต่อไปเต็มสูบ ไม่เป็นคุณต่อการแสดงสิทธิเสรีภาพอยู่ดี
“ถามว่าเราทำเฉพาะการแก้ไขมาตรา 112 อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ในอนาคตจำเป็นต้องพูดเรื่องอื่นๆต่อไปอีกคือ การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง” นายปิยบุตรกล่าว พร้อมย้ำว่า การเข้าชื่อเพื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 ไม่เป็นการผิดกฎหมาย เมื่อยื่นเรื่องเข้าสู่สภาแล้วจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมือง ซึ่งอย่างน้อยจะเป็นการเปิดโอกาสให้ถกเถียงกันตามระบอบประชาธิปไตย และหากมีประชาชนลงชื่อมากพอ แสดงว่ามาตรานี้อาจมีปัญหา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)