--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เจาะศูนย์บัญชาการ ยิ่งลักษณ์. ใคร-อยู่ที่ไหน-ทำอะไรใน Energy Complex !!?

แม้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) จะอพยพหนีน้ำเหนือจากท่าอากาศยานดอนเมืองมาปักหลักอยู่อาคาร Energy Complex ของกระทรวงพลังงาน บนเนื้อที่ของ สำนักงานการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ย่าน 5 แยกลาดพร้าว

หากสุดท้ายก็ยังไม่สามารถรอดพ้นมวลน้ำก้อนมหึมาที่หลากมา ทำให้มีการตั้งคำถามว่า "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี และ "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก" รองนายกฯ ในฐานะ ผอ.ศปภ.จะตัดสินใจอพยพศูนย์บัญชาการต่อสู้ภัยน้ำอีกครั้งหรือไม่

จึงเป็นสัญญาณว่า ศปภ.ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะปักหลักต่อสู้กันอยู่ที่ตึก แห่งนี้จนวินาทีสุดท้าย

ไม่เพียงแค่การสร้างทางเชื่อมเพื่อเข้าไปยัง ศปภ.เท่านั้น บริเวณโดยรอบอาคารทั้งอาคาร A, B, C มีการเสริมกระสอบทรายบริเวณประตูทางเข้าโดยรอบทั้งหมด

โดยเฉพาะอาคาร B ซึ่งใช้เป็น สถานที่ปฏิบัติงานของ ศปภ. มีการเสริมกระสอบทรายสูงราว 1 เมตร นอกจากนี้บริเวณโดยรอบยังมีการสร้างแนวป้องกันน้ำไว้อีก 1 ชั้น จนทำให้รัฐบาล ยิ่งลักษณ์มั่นใจว่าน้ำจะไม่รุกล้ำเข้ามาซ้ำรอยศูนย์บัญชาการดอนเมืองที่เวลานี้กำลังจมบาดาล

นอกจากอาคาร B จะมีการวางแผนป้องกันน้ำทะลักเข้ามาอย่างรัดกุม ภายในตึกยังมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการเข้า-ออกของบุคคลภายนอก ผิดกับ ศปภ. ดอนเมืองที่การรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างหละหลวมจนเกิดเหตุลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ้นบ่อยครั้ง

เมื่อสำรวจพื้นที่ซึ่งถูกใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการในอาคาร B พบว่า ศปภ.แบ่งสัดส่วนเอาไว้ 5 ชั้น

ชั้น 1 เป็นโซนผู้สื่อข่าว โซนแถลงข่าว และโซนรับบริจาค การรักษาความปลอดภัยไม่เข้มงวดมากนัก และตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไปผู้มาติดต่อจะต้องแลกบัตรที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ โดยมีคำสั่ง ลงมาจากเบื้องบนว่า ห้ามสื่อทุกแขนงที่มาทำข่าว ศปภ.ขึ้นไปชั้นบนจนกว่าจะได้รับอนุญาต หรือต้องมีคนในส่วนราชการของ ศปภ.ลงมารับเท่านั้น

และกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ยังส่งอาสาสมัครรักษา ดินแดน 4 นายมาคอยเปิดประตู และเป็นหน่วยสแกนคนเข้า-ออกอีกชั้น แต่สำหรับ "ยิ่งลักษณ์" ทางกระทรวงพลังงานได้จัดทางเดิน V.I.P.ไว้เป็นการเฉพาะ มีลิฟต์ส่วนตัวต่อตรงขึ้นไปยังห้องทำงานชั้น 25 ทันที

ชั้น 3 เป็นโซน ศปภ.กทม.ส่วนหน้า และหน่วยกรมกองราชการย่อยต่าง ๆ ที่ส่งเจ้าหน้าที่บางส่วนมาประจำ ศปภ. และยังมีห้องทำงานของ "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" รองนายกฯ และ รมว. มหาดไทย 1 ห้อง มีโต๊ะทำงานที่จัดไว้สำหรับ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" และ "พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ" รองนายกฯ รวมอยู่ในห้องเดียวกัน 1 ห้อง พร้อมกับห้องสำหรับคณะรัฐมนตรีอีก 1 ห้อง

ชั้น 6 นับว่าเป็นโซน "หน้างาน" โซน "มันสมอง" และโซน "งบประมาณ" ประกอบด้วยหน่วยงานราชการ อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำโดย "ปลอดประสพ สุรัสวดี" รมว. วิทยาศาสตร์ฯ ในฐานะหัวหน้าหน่วยปฏิบัติงานที่มาพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำจากประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งมาให้คำปรึกษาเรื่องทิศทางการไหลของน้ำ

ข้าง ๆ กันมีห้องของ "นักวิชาการเรื่องน้ำ" เป็นที่ทำงานของกูรูเรื่องน้ำที่ ศปภ.ของ "ยิ่งลักษณ์" ดึงมาช่วยงาน เช่น "ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา" และ "ดร.รอยล จิตรดอน" ถัดไปเป็นศูนย์บัญชาการกองทัพไทย-กระทรวงกลาโหม ที่ยกบรรดาแม่ทัพ-นายกองมาช่วยแก้วิกฤตอุทกภัยครั้งนี้

ในบริเวณใกล้กันยังมีห้องของสำนักงบประมาณ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฝ่ายงบประมาณ ศปภ. กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

แต่ไฮไลต์ของชั้น 6 คือ "ห้องที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี" อันเป็นมันสมองสำคัญของ ศปภ. ซึ่งประกอบด้วยคนจากสมาชิกบ้านเลขที่ 111+109 และคนจากพรรคเพื่อไทย ที่มาช่วยงานตั้งแต่ ศปภ.ดอนเมืองจนถึง ศปภ.วิภาวดีฯ

ห้องนี้เป็นที่ชุมนุมเช่น น.พ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช-ภูมิธรรม เวชยชัย-สุรนันทน์ เวชชาชีวะ แต่คนที่หายหน้าไปคือ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

ขึ้นมา ชั้น 15 ซึ่งเป็นโซนบัญชาการหลักของ ศปภ. แยกเป็นห้องบัญชาการ (Command Center) มี "ยิ่งลักษณ์" รัฐมนตรี ข้าราชการระดับสูง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในห้องนี้ทุกวัน นอกจากนี้ยังมีห้องกระทรวงยุติธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ห้องโฆษก

ห้องปฏิบัติการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ ห้องประชุมคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) กระทรวงมหาดไทย มี "พระนาย สุวรรณรัฐ" ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะ รอง ผอ.ศปภ.เป็น ผู้บัญชาการ

ชั้น 25 เป็นชั้นสุดท้าย อยู่ชั้นบนสุด และมีความสำคัญที่สุดเพราะก่อนที่ ศปภ.ดอนเมืองจะยกทัพหนีน้ำมายังตึกแห่งนี้ เดิมเป็นห้องทำงานของ "พิชัย นริพทะพันธุ์" รมว.พลังงาน และเมื่อศูนย์บัญชาการต่อสู้ภัยน้ำย้ายสถานที่จากดอนเมืองมายัง Energy Complex "พิชัย" ได้ประกาศยกห้องตัวเองบนชั้น 25 แห่งนี้ให้แก่ "น.ส.ยิ่งลักษณ์" ใช้เป็นห้องทำงานนายกรัฐมนตรี

ชั้น 25 ประกอบด้วย ห้องประชุมที่เปลี่ยนสภาพมาเป็นห้องประชุมคณะรัฐมนตรีและห้องทำงานนายกรัฐมนตรี มีลิฟต์ V.I.P. ตั้งแต่ชั้น 1 มาถึงชั้น 25

หากขึ้นทางปกติ เมื่อประตูลิฟต์เปิดออกจะพบว่าการรักษาความปลอดภัยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล 1 นาย และ รปภ.ของกระทรวงพลังงานอีก 1 นาย คอยถือการ์ดเปิด-ปิดประตูห้อง

และพลันที่ออกจากตัวลิฟต์ขวามือจะพบกับประตูบานใหญ่สีขาว ต้อง ใช้ key card เปิดประตูจาก รปภ.ของกระทรวงพลังงานเท่านั้น ถึงจะเปิดกระดองชั้นนอกที่ห่อหุ้ม "ปู-ยิ่งลักษณ์" ผ่านไปได้

พลันที่ประตูบานนอกถูกเปิดแล้ว ยังมีประตูอีกชั้นในขั้นกลางอีก 1 ชั้น ต้องอาศัยให้ รปภ.ที่อยู่ด้านในใช้ key card เปิดอีกครั้งหนึ่ง เป็นระบบรักษาความปลอดภัยแบบ "ลับเฉพาะ" ให้กับ "ยิ่งลักษณ์"

เพราะสถานที่แห่งนี้ไม่ใช่แค่ศูนย์บัญชาการหลักของ ศปภ.ที่ใช้สำหรับรับมือมวลน้ำทั้ง 2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งหลักแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ 1 ใน 3 ของประเทศไทย และรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลเพื่อไทยด้วย

ที่มา: มติชนออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ยืดอกรับผิด ธีระ..ฉุน เหตุทำน้ำท่วม !!?

ยืดอกรับผิด 'ธีระ'ฉุน เหตุทำน้ำท่วม
รมว.เกษตรแจงสภาฯ บอกไม่มีใครผิด กักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนภูมิพล ลั่นหากไม่มีเขื่อนจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย วอนทุกฝ่ายยุติหาคนผิดคนถูก ตนขอรับผิดเอง เหตุทำน้ำท่วม แจงไม่ใช่ "ขงเบ้ง" จึงไม่รู้สถานการณ์ล่วงหน้า...

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ อภิปรายชี้แจงยืนยันการจัดการน้ำในเขื่อนเป็นไปตามเกณฑ์การเก็บกัก ระหว่างระดับสูงสุดและต่ำสุด โดยระบุว่า ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่จะเอาข้อมูลกักน้ำในแต่ละปีมาเทียบกัน มันไม่ใช่วิธีการ โดยช่วงที่น้ำเกินเก็บกักในช่วงปลาย แม้จะเกินระดับไปบ้าง เราก็ต้องยอม เพราะต้องดูว่า ล่างเขื่อนมีการทำอะไร คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ กทม.และปริมณทล มีทั้งตัวแทนกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุกทกศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) กรมทรัพยากรน้ำ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย กรุงเทพมหนคร (กทม.) มีหน้าที่ประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลติดตามน้ำฝน น้ำท่า เพื่อบริหารจัดการน้ำ เพื่อสรุปร่วมกันว่าเวลาใด ควรจะมีการระบายเท่าไร เช่น บางครั้งน้ำเกินเกณฑ์สูงสุดแล้ว แต่ถ้าด้านล่างฝนตกหนัก น้ำท่วมอยู่ ก็ปล่อยไม่ได้ ทั้งนี้ ช่วงเดือนตุลาคมที่ต้องระบายน้ำ เพราะเป็นช่วงที่เกิดพายุเนสาด จนทำให้น้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ น้ำจึงไหลลงเขื่อนภูมิพล 2-3 ร้อยล้าน ลบ.ม. ซึ่งจึงต้องทำการระบายออก

พอเสียทีครับ เรื่องนี้ไม่มีใครผิด ทั้งกรมชล กฟผ. รัฐบาลที่แล้วก็ไม่ผิด ไม่ได้กักน้ำไว้เกิน รัฐบาลนี้ก็ไม่ผิด แต่เราต้องให้เครดิตเขื่อนภูมิพลบ้าง สร้างมาหลายสิบปี ลองหลับตาดูว่า ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนปี 2554 มากเป็น 2 เท่า ถ้าไม่มีเขื่อนภูมิพล จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศ น้ำถูกดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นเรื่องต่ำ เพราะน้ำไหลจากสูงลงต่ำ แต่น้ำเป็นส่วนปะกอบถึง 3 ใน 4 ของโลก เรื่องบริหารจัดการน้ำ ผมอยากให้ยุติกันเสียทีว่าใครผิดถูก เพราะไม่มีใครผิดถูก แต่ถ้าผิดก็ผิดที่ผม เพราะผมคือพญานาค 1 ตรากระทรวงเกษตรฯ คือพระพิรุณทรงนาค จึงผิดที่ผม ไม่สามารถเป็นเหมือนขงเบ้ง ที่จะคาดการณ์ได้ถูกหมด รู้สถานการณ์ล่วงหน้า” รมว.เกษตร กล่าว

ต้นฉบับ: http://www.thairath.co.th/content/pol/215983
ที่มา: ไทยรัฐ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สัตว์สภา !!?

มีเรื่อง "งี่เง่า" เกิดขึ้นมาเรื่องหนึ่ง...ในขณะที่เมืองเทพเมืองเทวดามหานครแห่งมวลชนชาวไทย...กำลังกลายดั่งลำเล่าขานแห่งบรรพกาล...นามขนานว่า...

เวนิสแห่งตะวันออก

กรุงเทพระหว่างนี้...สวยสดงดงามได้ใจจริงๆ เพียงแต่ว่า...น้ำที่สร้างกรุงเทพเวนิสขึ้นมานั้น มันน้ำเน่า...ทว่าน้ำที่ว่าเน่านั้น...มันยังเน่าน้อยกว่า...คน...คนที่อาสาเข้ามาบริหารดูแลประเทศ

น้ำเน่าที่ท่วมท้นจนล้นแผ่นดินนั้น...มันยังเน่าน้อยกว่า...น้ำลาย...แค่ นายกรัฐมนตรีร้องไห้...ในระหว่างวิบัติภัยกำลังท้าทายอำนาจบริหารจัดการของเธอ...

พรรคประชาธิปัตย์...กับอนาถาสมาชิก...ยังเล่นไม่เป็น...โจมตีเรื่องนายกรัฐมนตรีร้องไห้...หน้ากล้องหน้าจอทีวี...

นายกรัฐมนตรี...ก็ไม่เห็นจะต้องปฏิเสธ...ให้เสียรังวัด...ก็ยอมรับไปซะว่า...หายนะที่คร่าชีวิตคนไทยไปแล้ว 400 กว่าศพ...พังพินาศ...ทรัพย์สินผู้คนอีกเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน...นายกรัฐมนตรีคนไหน...หัวเราะหน้ารื่น...ก็ต้องถือว่า...เป็นคนวิกลจริต

ก็บอกว่า...ก็เพราะมันอัดอั้นตันใจ...อยากจะช่วยให้คนให้สบายๆ ทุกคนรอด...แต่มันก็ทำไม่ได้...น้ำตามันจะไหลก็ช่างมัน...ให้มันหล่นลงมา

เรื่องก็เท่านั้น...ไม่เห็นมีความจำเป็นจะต้องอรรถาธิบายอย่างไร...เห็นอย่างนั้นแล้วยิ้ม ก็มีแต่คนบ้าเท่านั้น...ประชาธิปัตย์ยกเรื่องขึ้นมาเล่น...คนก็เหม็นกันยิ่งกว่าน้ำเน่าอยู่แล้ว

ก็เลยเละทั้งคู่ ทั้งฝ่ายค้านทั้งฝ่ายรัฐบาล...

นายกรัฐมนตรีที่ไหนๆ ก็ร้องไห้กันเป็นทั้งนั้น...ก็พวกท่านเป็นมนุษย์...ไม่ใช่สัตว์...แล้ว ทำไม...นายกฯ หญิงยิ่งลักษณ์ ถึงจะร้องไห้ไม่ได้...แล้วทำไม...ถึงต้องปฏิเสธ...

เมื่อประเทศร้องไห้...คนไทยคนไหนจะหัวเราะก็ให้มันหัวเราะไป...ลุยไปในป่าน้ำ...คนไทยกับคนไทยวันนี้...เกื้อกูลกันเต็มที่...ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่มีขาวไม่มีดำ ไม่มีแดงไม่มีเหลือง...ฯลฯ

ก็มีแต่สัตว์สภาเท่านั้น...ที่ยังจ้องจะกัดกันไม่เลิก...

ถ้าสัตว์สภาทั้งหลาย...ยังกระหายจะกัดกัน...ระวังหลังน้ำท่วมใหญ่...ประชาชนจะเอาดอกไม้ไปเสียบปากกระบอกปืน

โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////

น้ำลด..ยากยิ่งกว่า !!?

โดย. พัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์

โอกาสที่ความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่เท่าที่ประเทศไทยเคยประสบจะสาหัสเกินกว่าที่ประเมินเอาไว้เบื้องต้น

จากช่วงแรก ๆ ที่น้ำไหลบ่าท่วมนิคมอุตสาหกรรม โรจนะ อยุธยา หน่วยงานรัฐประเมินไว้ไม่ถึงแสนล้าน แต่ล่าสุดสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยมองไกลไปถึง 6-7 แสนล้าน ความเสียหายมีโอกาสเพิ่มมากกว่านี้ หากสถานการณ์ยืดเยื้อออกไป

ขณะที่นักวิเคราะห์มองตรงกันว่า อุทกภัยครั้งนี้ทำให้ธุรกิจการค้าทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เพราะไทยคือฐานการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมนานาชนิด ไม่รวมถึงการเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก

ยอมรับว่านาทีนี้แม้จะหงุดหงิดกับการทำงานของ รัฐบาลเพียงใด แต่ยังพยายามเอาใจช่วยให้รัฐบาลนำพาประเทศผ่านวิกฤตเบื้องหน้านี้ไปให้ได้ ต่อจากนั้นจะเป็นอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่ง

จริงอยู่อาจมีเสียงโต้แย้ง ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็คงเหมือนๆ กัน เพราะน้ำท่วมครั้งนี้ต่างไปจากทุกครั้ง แต่ถ้าบอกว่ารัฐบาลทำดีที่สุดแล้ว ผมว่าไม่น่าจะใช่

อย่างกรณีการบริหารจัดการน้ำก็เรื่องหนึ่ง

การปล่อยให้น้ำท่วมที่อยู่อาศัย เขตเศรษฐกิจ และนิคมอุตสาหกรรม โดยส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้าไม่กี่ชั่วโมงก่อนน้ำจะมาก็อีกเรื่องหนึ่ง

การขอให้ผู้คนทิ้งบ้านโยกย้ายไปอยู่ในศูนย์ผู้ประสบภัย โดยไม่มีความพร้อมใด ๆ รองรับก็อีกเรื่องหนึ่ง

กระทั่งเรื่องอาหารการกิน ผู้คนที่ตื่นตระหนกพากันกักตุน ทำให้สินค้าขาดตลาดอย่างหนัก

ไม่รวมถึง ศปภ.อะไรนั่นด้วย

ที่เอาใจช่วยรัฐบาลให้แก้ไขน้ำท่วมโดยเร็ว เพราะเชื่อว่าหลังน้ำลดจะมีปัญหารอการแก้ไขอีกมากมาย สถานการณ์อาจหนักหนากว่าช่วงน้ำกำลังไหลบ่าเสียด้วยซ้ำ

ไม่ได้หมายความว่าเมื่อน้ำแห้ง ผู้คนคืนสู่ถิ่นฐาน ประเทศไทยจะกลับมาเหมือนเก่าแบบอัตโนมัติทันที

รัฐบาลซึ่งมือเติบอยู่แล้วจะมีปัญหางบประมาณขาดมือ ที่พูดว่า "เงินมี" ถึงเวลาจริง ๆ อาจพูดคำนี้ไม่ออก เพราะรัฐบาลต้องใช้เงินมหาศาลไปกับการฟื้นฟูประเทศ

แค่ใกล้ ๆ ตัวอย่างเรือกสวนไร่นาจมไปกับกระแสน้ำ ส่งผลกระทบโดยตรงถึงเศรษฐกิจชุมชน เมื่อคนไม่มีเงินมาจับจ่ายซื้อหาข้าวของ การค้าขายย่อมฝืดเคืองตาม

ในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เชื่อได้เลยว่าจะมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยมีปัญหาเงินทุนขาดมือดีหน่อยอาจแค่หยุดกิจการชั่วคราว แต่ถ้าไม่ไหวจริง ๆ คงต้องปิดตัว คนตกงานจะกลายเป็นปัญหาสังคมที่รัฐบาลต้องเตรียมรับมือให้ดี

จริงอยู่ ธุรกิจใหญ่ ๆ เชื่อว่าน่าจะเอาตัวรอดและผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ แต่ธุรกิจรายย่อย ๆ เอสเอ็มอี โรงงานห้องแถว กลุ่มนี้จะน่าเป็นห่วงที่สุด

เพื่อนคนหนึ่งทำมาค้าขายในธุรกิจบริการมานานสะท้อนสถานการณ์ในขณะนี้เหมือนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 อย่างไรอย่างนั้น งานต่าง ๆ ที่เคยรับไว้ถูกยกเลิก ที่ไม่ยกเลิกก็ถูกเลื่อนไปเป็นปีหน้า รายได้นับสิบล้านต่อเดือนหายไปเกือบหมด

ฟังน้ำเสียงของเพื่อนรับรู้ถึงความทุกข์เงินเดือนพนักงาน ร้อยชีวิตต้องจ่ายตามเวลา ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

ดีที่เจ้าเพื่อนคนนี้ไม่ได้ก่อหนี้อะไรไว้มากมาย

ย้อนไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ผลจากการปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ผู้มีหนี้สกุลเงินต่างประเทศชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะมูลหนี้เพิ่มร่วมเท่าตัว แต่ผลกระทบตกที่คนชั้นกลาง ทำงานออฟฟิศ มากกว่ากลุ่มอื่น

ผมยังจำภาพพนักงานธนาคารแห่งหนึ่งกอดคอกันร่ำไห้ ต้องกลายเป็นคนตกงานชั่วข้ามคืน แต่ที่ฟื้นตัว อย่างรวดเร็วคืออุตสาหกรรมส่งออก และสินค้าเกษตร แต่น้ำท่วมใหญ่คราวนี้สถานการณ์ต่างออกไป เจ็บหนักกว่าใคร ๆ คืออุตสาหกรรมการผลิต และภาคการเกษตร

คงต้องใช้เวลาฟื้นตัวอีกนานทีเดียว

นั่นยังไม่เท่ากับเรื่องความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทย ที่ร้ายกว่าอะไรทั้งหมด

ถ้าแก้ไม่ดี ประเทศไทยอาจไม่ใช่ "ที่มั่น" ที่เคยปลอดภัย และดึงเม็ดเงินการลงทุนมหาศาลจากนานาประเทศอีกต่อไป

ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เพื่อไทย อาศัยทางน้ำท่วม ชิงลงมือเปลี่ยนม้า (แดง) กลางศึก โยกนิติบัญญัติ-ขยับทหาร-เด้งผู้ว่าฯ !!??


แม้มหาอุทกภัยที่กำลังเอ่อล้นถึงใจกลางกรุงเทพมหานคร กระจายไปถึงเขตปริมณฑล จะยังไม่คลี่คลาย และในหลายพื้นที่ยังอยู่ในภาวะวิกฤต

แต่การเมืองไทย "ในวิกฤตยังมีโอกาส"

เพราะวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้กลายเป็นโอกาสที่รัฐบาลใช้บริหารจัดการภายใน ปรับโครงสร้างบริหาร-จัดการทั้งคนและงบประมาณ

ทุกการเคลื่อนไหวของฝ่ายบริหารกลับถูกปริมาณน้ำที่หลากมากลบกระแส ลดแรงเสียดทานจากสังคมได้เป็นอย่างดี

หากย้อนกลับไปขณะที่มวลน้ำก้อนใหญ่ยังปักหลักอยู่ภาคกลางอย่าง จ.นครสวรรค์ จ.ลพบุรี จ.อ่างทอง จ.อยุธยา และจ่อคอหอย จ.ปทุมธานี อยู่นั้น รัฐนาวาของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" กำลังงัดข้อกับ "กองทัพ" ในการ จัดทำโผแต่งตั้งนายทหาร โดยเฉพาะระดับนายพล

รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปแตะต้อง หรือสับเปลี่ยนตำแหน่งตามอำเภอใจของฝ่ายการเมืองได้แม้แต่เก้าอี้เดียว เพราะติดล็อกจาก พ.ร.บ.จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 หรือ พ.ร.บ.กลาโหม ที่คลอดสมัยรัฐบาลคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

พลันที่มีความเคลื่อนไหวจาก ส.ส. ซีกเพื่อไทย เพื่อจะแก้ไข พ.ร.บ.อันมาจากผลผลิตของท็อปบู๊ตกลับมีเสียงต่อต้านจากกองทัพอย่างมาก ทั้งฝ่ายสภาสูงนำโดย "พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม" ส.ว.สรรหา ในฐานะอดีตเลขาฯ คมช.

หรือฝ่ายกองทัพ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา" ผู้บัญชาการทหารบก ที่ออกมาค้านหัวชนฝา คัดค้านเต็มที่ว่าไม่ควรแก้

แต่เมื่อมวลน้ำประชิดเมืองหลวง ทุกองคาพยพ รัฐบาล-กองทัพต่างปรับโฟกัสหันมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

สภาวะอุทกภัยจึงกลายเป็นตัวเชื่อมให้ "ยิ่งลักษณ์" กับ "พล.อ.ประยุทธ์" ต้องหันหน้าเข้าหากัน

หากแต่ ส.ส.เพื่อไทยไม่ได้หยุดยั้งเดินหน้าแก้ไข พ.ร.บ.กลาโหม กลับอาศัยจังหวะนี้ซุ่มเงียบ เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาศึกษา สำหรับใช้เป็นแนวทางแก้ไข พร้อมจัดวาระรอชงเข้าเสิร์ฟในสภานิติบัญญัติ

ไม่เพียง พ.ร.บ.กลาโหมเท่านั้นที่พรรคเพื่อไทย "สบช่อง" แต่ "น.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์" ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย แกนนำ นปช. ถิ่นอีสาน ยังได้เสนอญัตติเรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาแก้ปัญหาและแนวทางแก้ไขกระบวนการเลือกตั้ง ส.ส.ของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ได้ถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภาเรียบร้อยแล้ว

เป็นวาระที่ "น.พ.เชิดชัย" ต้องการหั่นอำนาจของ 5 เสือ กกต.โดยเฉพาะอำนาจการให้คุณให้โทษนักการเมือง-พรรคการเมืองถึงขั้นสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปจนถึงยุบพรรค

เพราะพลพรรคเพื่อไทยต่างขยาดอำนาจของ กกต. จนมีตัวอย่างให้เห็นตั้งแต่ "ไทยรักไทย" และ "พลังประชาชน" ที่ถูกยุบพ้นสารบัญการเมืองไทยไปก่อนหน้านี้ และเหตุผลนี้อาจขยายผลไปถึงการหั่นมาตรา 237 ในรัฐธรรมนูญ เรื่องการยุบพรรคทิ้งในอนาคต

ส่งผลให้ "พรรคเพื่อไทย" ต้องหาวิธีหนีตายอีกทางหนึ่ง ส่งคนไปจดทะเบียนพรรคการเมืองกับ กกต. โดยใช้ชื่อว่า "พรรคเพื่อธรรม" เพื่อเป็น "นอมินี" รุ่น 4 ต่อจาก "ไทยรักไทย-พลังประชาชน-เพื่อไทย"

ไม่เพียงฝ่ายนิติบัญญัติซีกรัฐบาลเท่านั้นที่ใช้ช่วงชุลมุนจากภัยน้ำท่วมเดินเครื่องรื้อกฎหมายที่เป็นผลิตผลจากคณะรัฐประหาร

หากฝ่ายบริหารยังอาศัยช่วงเวลานี้อนุมัติโยกย้ายข้าราชการระดับสูงบางตำแหน่ง เพื่อเด้งคนของฝ่ายตรงข้าม เปิดช่องดันเด็กในคาถานั่งเก้าอี้แทน

ดังกรณีตำแหน่งของ "ภาณุ อุทัยรัตน์" ที่ถูกเตะโด่งจากเก้าอี้เลขาธิการของ "ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้" หรือ ศอ.บต. มาเข้ากรุ "ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ" แล้วดัน "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" รองปลัดกระทรวงยุติธรรม เข้ามารับตำแหน่งแทน

ในทันทีที่ถูกคำสั่งเด้งฟ้าผ่า เจ้าตัวก็ทำใจยอมรับสภาพ เพราะรู้ตัวดีว่า รอดยาก เนื่องจากคนที่ผลักดันให้ "ภาณุ" มานั่งในตำแหน่ง เลขาฯ ศอ.บต.คนแรกขององค์กรคือ "ถาวร เสนเนียม" ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ รมว.ยุติธรรมเงา โดยขณะนั้น "ถาวร" เป็นเจ้าของรหัส มท.3 ในยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

สถานภาพทางการเมืองของ "ถาวร" และ "ภาณุ" มีสายเลือด "สงขลา" สีเดียวกันคือ "เลือดป๋า" มีระดับความใกล้ชิดกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี อย่างมีนัยสำคัญ

เป็นสถานภาพที่อยู่คนละขั้วกับ "ทักษิณ ชินวัตร" นายใหญ่แห่ง "พรรคเพื่อไทย"

เสียงความเห็นจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่มีโอกาสเคยสัมผัสกับ "ภาณุ" สมัยเป็น รมว.มหาดไทย ครั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ยังถึงกับเอ่ยปากว่า "ภาณุเป็นคนดี แต่ไร้ฝีมือ"

อีกตำแหน่งที่ถูกบรรจุในวาระ ครม.ยุคน้ำท่วม และ "ยิ่งลักษณ์และคณะ" ตัดสินใจเปลี่ยนม้ากลางศึก คือ "พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า" พ่อเมืองปทุมธานี ที่ถูกเตะโด่งเข้ากรุผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทย ในวันที่น้ำในเมืองปทุมทะลักเข้า กทม.

แม้จะมีเสียงมาจากฝั่งซีกรัฐบาลว่า สาเหตุย้าย "พีระศักดิ์" เพราะดันไป ยอมยกธงขาวให้กับ "วารี" ที่บุกรุกเข้ากลืนเมืองปทุม แถมยังยกจังหวัด ให้กองทัพดูแล แสดงถึงความไม่เป็นผู้นำ

แต่หากย้อนดูเส้นสาย "พีระศักดิ์" ก่อนมารับตำแหน่งพ่อเมืองปทุม พบว่าเติบโตในสาย จ.บุรีรัมย์ อันเป็นฐานบัญชาการของ "ตระกูลชิดชอบ" เจ้าของ "พรรคภูมิใจไทย" มาตลอด

มีความสนิทสนมตั้งแต่หน้าบ้านยันหลังบ้าน รวมถึง "ชัย ชิดชอบ" อดีตประธานสภา ผู้อาวุโสในรัฐบาลชุดที่ แล้ว จึงไม่แปลกที่ "พีระศักดิ์" จะถูกเด้งเข้ากรุ เพราะรู้กันทั่วกระทรวงคลองหลอดว่า อดีตพ่อเมืองปทุมนั้นเชื่อมคอนเน็กชั่นพิเศษกับขั้ว "เนวิน"

แม้ก่อนหน้านี้ช่วงที่มวลน้ำเพิ่งไหลเข้า จ.ปทุมฯในระยะแรก "พีระศักดิ์" จะแวะเวียนเข้าพบ "ยงยุทธ วิชัยดิษฐ" รมว.มหาดไทย พร้อมกับแลกเบอร์โทรศัพท์กับ "กาย วิชัยดิษฐ" ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ "ยงยุทธ" ไว้เป็นเครื่องการันตีความสนิทก็ตาม แต่ก็ไม่อาจหนีรอดจาก "กรุผู้ตรวจราชการ" ไปได้

ข้ามฟากมาที่กระบวนการปรองดองสมานฉันท์ อันมี คณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของ คอป. (ปคอป.) ของ "ยงยุทธ" เป็นประธาน เพื่อนำกรอบการเยียวยาเหยื่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ที่เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ชุด "คณิต ณ นคร" เป็นประธาน

หน้าฉาก คณะกรรมการ ปคอป.ชุด "ยงยุทธ" เริ่มนับ 1 ประชุมกำหนดกรอบการเยียวยานัดแรก แต่หลังฉาก "พรรคเพื่อไทย" เดินเกมใต้ดิน โดยใช้ ส.ส.ประสานทุกองคาพยพปรองดอง เพื่อหาทางประกันตัวแกนนำ นปช.ที่ยังติดอยู่ในคุก

โดยมี "โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม" ทนายความของ "ทักษิณ" เป็นตัวชูโรงดึงกระแส แบ่งเนื้อที่ข่าวจากวิกฤตน้ำท่วม ด้วยการเดินสายเยี่ยมแกนนำ นปช.ที่ยังถูกจองจำในคุกต่าง ๆ ถึงรั้วลูกกรง ทั้งภาคกลาง ไปจนถึงภาคอีสาน

ที่สำคัญในห้วงเวลาเดียวกัน ในภาวะอุทกภัยยังคงดำรงอยู่ "คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ" หรือ คอ.นธ. อันมี "อุกฤษ มงคลนาวิน" เป็นประธาน ได้คลอดกรรมการ 10 คน ขึ้นมาเพื่อ ปฏิรูปกฎหมาย หวังก้าวข้ามคำว่า ใช้กฎหมาย 2 มาตรฐาน ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ถึงตัวประธานว่ามี "คอนเน็กชั่นพิเศษ" กับ "ทักษิณ"

ทุกตำแหน่งในตารางรายชื่อของฝ่ายบริหาร บัญชีของฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรอิสระ ล้วนเป็นการฉวยจังหวะรุกทางการเมืองอย่างเงียบ ๆ ในภาวะที่ประเทศไทยเผชิญหน้าภาวะวิกฤตน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สิ่งที่ถูกทิ้งในยามไม่ทิ้งกัน !!?

โดย :นิธิ เอียวศรีวงศ์

หลายคนพูดถึงความงดงามที่หายไปจากสังคมไทยได้กลับคืนมาในน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งก็เป็นความงดงามจริง

เราได้เห็นภาพผู้คนส่งความช่วยเหลืออย่างล้นหลามแก่ผู้ประสบภัย อีกหลายคนลงไปช่วยด้านแรงงาน นับตั้งแต่บรรจุถุงทราย ไปจนถึงเอารถบรรทุกไปช่วยขนส่ง บางคนช่วยพายเรือรับส่ง อีกไม่น้อยนำเอาสกู๊ตเตอร์น้ำซึ่งซอกซอนได้ดีจากพัทยาไปช่วยนำน้ำและอาหารไปถึงบ้านเรือนด้านใน หลายบ้านตั้งโรงครัวแจกจ่ายอาหารฟรี ไกลไปถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังอุตส่าห์ขนเสบียงมาตั้งโรงครัว หรือส่งน้ำและอาหารมาจุนเจือ ฯลฯ

(แต่ก็เหมือนกับรัฐไทยที่เป็นอย่างนี้ตลอดมา กล่าวคือ ไม่เคยสามารถจัดองค์กรทางสังคมเพื่อทำให้ความช่วยเหลือเหล่านี้กระจายไปถึงผู้เดือดร้อนอย่างเป็นระบบ รัฐบาลที่เก่งคือรัฐบาลที่สามารถจัดองค์กรภาครัฐในยามเกิดภัยพิบัติได้เก่ง แต่ไม่ว่าจะเก่งอย่างไร ก็ไม่เคยสามารถจัดองค์กรภาคสังคมให้มีประสิทธิภาพได้สักรัฐบาลเดียว)

ภาพของสังคมไทยที่ดูเหมือนกำลังแตกสลายลงใน 4-5 ปีที่ผ่านมา จึงกลับมาแสดงพลังของความผูกพันระหว่างกันให้เห็นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ท่ามกลางความพยายามอย่างหนักของนักการเมืองฝ่ายค้านและบริวารในสื่อ ที่จะใช้ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหนทางกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่ง

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า มีภาพอัปลักษณ์ให้เห็นในน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้อยู่ไม่น้อย

ในวันที่ 7 ตุลาคม เมื่อน้ำเริ่มหลากลงสู่อยุธยา ทีวีทุกช่องเสนอภาพความเดือดร้อนของผู้คนจากนครสวรรค์ลงมาถึงอ่างทองและบางส่วนของอยุธยา อยู่ทุกรายการข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้เลือกที่จะเสนอตัววิ่งจากเอสเอ็มเอสที่ผู้ชมส่งเข้ามาในรายการข่าวตอนเที่ยงว่า "แม่น้ำเจ้าพระยาลงโทษพวกเสื้อแดง" ผู้ส่งใช้นามว่า "มหานทีสีทันดร"

ที่ผมบอกว่าสถานี "เลือก" ที่จะเสนอความเห็นจากผู้ชมท่านนี้ ก็เพราะผมเข้าใจว่า ผู้ส่งเอสเอ็มเอสแสดงความเห็นในรายการข่าวของทุกช่อง คงมีมากเกินกว่าจะนำเสนอได้หมด ฉะนั้นถึงอย่างไรก็ต้อง "เลือก" นอกจากนี้สถานีไทยพีบีเอสยังเสนอข้อความดังกล่าวซ้ำถึงสองหนในรายการข่าวเดียวกันด้วย

แน่นอนก็เป็นความเห็นหนึ่ง ซึ่งควรมีพื้นที่แสดงออกได้ในสังคมของเรา ไม่มีใครผิดหรอกครับ แต่ท่ามกลางความทุกข์ยากของผู้คนแทบเลือดตากระเด็นนี้ คงปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า ความเห็นนี้อัปลักษณ์

ยังไม่พูดถึงสงครามคันกั้นน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ อันเป็นความอัปลักษณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากจิตใจของผู้คน แต่เกิดขึ้นจากการไม่มีข้อมูลข่าวสารต่างหาก

บ้านใครก็ตามที่แช่น้ำมาเป็นเดือน ต้องรู้ว่าจะแช่ไปทำไม ในเมื่อฝั่งตรงข้ามแห้งสนิท คำปลอบใจให้ "เสียสละ" ทั้งไม่เพียงพอและไม่ทำให้เข้าใจอยู่นั่นเองว่าเสียสละทำไม และเสียสละให้ใคร

จำเป็นที่เขาต้องรู้ภาพรวมว่า การบริหารจัดการให้น้ำไหลลงทะเลอย่างรวดเร็วนั้นเป็นอย่างไร ที่แช่บ้านเขาอยู่ในน้ำนั้น จะเป็นผลดีแก่ส่วนรวมอย่างไร หรือการรื้อคันกั้นน้ำ นอกจากไม่ช่วยให้เขาพ้นจากภัยพิบัติอย่างจริงจังแล้ว ยังทำให้คนอื่นเดือดร้อนโดยไม่จำเป็นอย่างไร

ทุกคนจึงเข้ามาบริหารจัดการน้ำเอง จากข้อมูลที่ตัวมีในท้องถิ่นแคบๆ ของตัว ไม่ใช่จากภาพรวม เพราะไม่มีใครรู้ว่าภาพรวมเป็นอย่างไร (แต่ก็หวังว่า ศปภ.จะรู้)

ความงดงามและความอัปลักษณ์ยืนอยู่เคียงข้างกันตลอดเวลาในวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้...ทำไม?

ก่อนที่ผมจะเสนอความเห็นที่เป็นคำตอบของปัญหา ผมขอพูดถึงความงดงามและความอัปลักษณ์อีกบางอย่างที่แตกต่างจากความงดงามและความอัปลักษณ์ที่ได้กล่าวไปแล้ว

รายการข่าวทีวีช่องหนึ่ง ซึ่งจำไม่ได้แล้วว่าช่องไหน เสนอเหตุการณ์อันหนึ่งในปทุมธานี ซึ่งแช่น้ำมาหลายสัปดาห์แล้ว

ผู้สื่อข่าวเดินทางไปไกลจากตัวเมือง และได้พบคุณลุงคนหนึ่ง ซึ่งดูจากการแต่งเนื้อแต่งตัวแล้ว ก็น่าจะเป็นคนชั้นกลางที่ไปสร้างบ้านอยู่ในเขตไกลเมืองเมื่อเลิกทำงานแล้ว คุณลุงกำลังลุยน้ำเพื่อต่อเรือและรถหลายทอดเข้ามาสู่ตัวเมืองปทุมธานี คุณลุงเล่าว่า จำเป็นต้องเข้ามาหาซื้ออาหาร เพราะน้ำท่วมสูงจนหาซื้ออะไรไม่ได้ นอกจากที่ตัวเมือง ก่อนหน้านั้นคุณลุงเคยออกล่าหาอาหาร กว่าจะมาถึงตัวเมืองก็กินเวลาไปกว่า 4 ชั่วโมง วันนั้นได้อาหารแล้วฟ้าก็มืดลง ไม่สามารถหารถ-เรือกลับบ้านได้ จึงต้องนอนค้างที่ตัวเมือง และกลับวันรุ่งขึ้น (ผมได้แต่หวังว่า ยังสามารถติดต่อกับบ้านทางโทรศัพท์ได้ ไม่อย่างนั้นทางบ้านคงห่วงกันจนนอนไม่หลับ เพราะไม่รู้ว่าตาแก่คนหนึ่งซึ่งเป็นเสาหลักของบ้าน ถูกกระแสน้ำพัดไปทางไหน)

คุณลุงบอกผู้สื่อข่าว ซึ่งให้คุณลุงอาศัยนั่งรถกลับบ้านว่า บ้านซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองไปประมาณ 20 กิโลเมตรนั้นมีคนอาศัยอยู่หลายคน เมื่อรถของผู้สื่อข่าวเดินทางไปถึงที่สุดเท่าที่รถกระบะจะลุยเข้าไปได้ ก็ต้องให้คุณลุงลุยต่อหรือหาเรือกลับบ้านเอาเอง ผู้สื่อข่าวซึ่งนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายระหว่างทำข่าวด้วย จึงมอบถุงยังชีพให้คุณลุงอีกหลายถุง เพราะเห็นว่าอยู่กันหลายคน แต่คุณลุงขอรับไปเพียงถุงเดียว ด้วยเหตุผลว่า "ยังมีคนอื่นที่เขาต้องการอีกมาก"

นี่เป็นความงดงามแน่ แต่ไม่เหมือนกับความงดงามของความช่วยเหลือนานาชนิดที่คนไทยทุ่มเทลงไปช่วยผู้ประสบภัย ไม่เหมือนอย่างไร จะพูดถึงข้างหน้า

แม่ค้าขายอาหารสำเร็จคนหนึ่งในเชียงใหม่ เตือนลูกค้าซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยว่า น้องสั่งอาหารแต่พอกินเถิด เช่นมีกับสักอย่างเดียวหรือสองอย่างก็พอ อาหารกำลังเริ่มขาดแคลนทั้งในเชียงใหม่และในประเทศไทย ถ้าน้องไม่กินทิ้งกินขว้าง ก็จะมีอาหารเหลือแก่คนอื่นๆ ได้อีกทั้งประเทศ

ในทรรศนะของผม นี่ก็เป็นความงดงามอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งต่างจากความงดงามที่เกิดขึ้นจากความช่วยเหลือส่วนใหญ่

ความงดงามของคุณลุงและคุณพี่แม่ค้านี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการกักตุนอาหารอย่างเอาเป็นเอาตายของผู้คน จนกระทั่งเกิดขาดแคลนอาหารบางอย่าง เช่น ไข่ไก่และน้ำดื่ม เป็นต้น ผู้อพยพมาสู่เชียงใหม่ทำให้ชั้นวางของในซุปเปอร์ว่างลงเหมือนกรุงเทพฯ แม้จะติดป้ายให้ซื้อน้ำมันได้รายละไม่เกิน 6 ขวด น้ำ, ไข่ไก่, มาม่า, ฯลฯ ไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ ก็มีลูกค้าจำนวนไม่น้อยใช้วิธี "เวียน" ซื้อ จนชั้นวางของว่างลง

ผมเชื่อว่า ผู้กักตุนอาหารเหล่านี้คงเต็มใจแบ่งปันน้ำดื่มหรืออาหารให้แก่เพื่อนบ้านฟรีๆ หากได้รู้ว่าเพื่อนบ้านกำลังจะอดตาย คนที่ต่างหนีเอาตัวรอดเหล่านี้ไม่ใช่คนใจไม้ไส้ระกำมาจากไหน แต่คือคนไทยใจดีที่เราคุ้นเคยนั่นแหละ มีอุดมคติของความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หากเป็นความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่ตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ทางตรง (direct contact)

เช่นเดียวกับความกระตือรือร้นของคนไทยอีกมาก ที่สู้ลำบากลงไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเลย แต่ลักษณะของความเสียสละเหล่านี้ คือเสียสละบนฐานของความสัมพันธ์ทางตรง (ช่วยอพยพผู้คน, นำอาหารและถุงยังชีพไปแจกจ่าย, นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล, อุ้มคนแก่ ฯลฯ) จริงอยู่ ผู้ให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ไม่ได้รู้จักมักจี่กับผู้รับความช่วยเหลือมาก่อน แต่ก็เป็นความช่วยเหลือที่กระทำกันโดยตรงอยู่นั่นเอง

แตกต่างจากคุณลุงและคุณพี่แม่ค้า ที่กำลังให้ความช่วยเหลือแก่ "สังคม" ไม่ได้ติดต่อสัมพันธ์ทางตรงกับใคร แต่กระทำด้วยสำนึกว่า มี "คนอื่น" ที่ร่วมอยู่ใน "สังคม" ซึ่งการกระทำส่วนบุคคลของแต่ละคน ย่อมมีผลกระทบในทางดีหรือทางร้ายแก่เขาเหล่านั้น คนที่เราไม่มีทางรู้จักตลอดชีวิตนี้ แต่มีอยู่จริงและเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราเอง "คนอื่น" ที่ไม่มีตัวมีตน แต่มีอยู่

"คนไทยไม่ทิ้งกัน" แน่ครับ แต่เราไม่ทิ้งคนไทยที่เป็นคนๆ หรือคนไทยที่เป็นองค์รวมนามธรรม ซึ่งไม่มีใครอาจสัมผัสได้ แต่ทุกคนก็สำนึกว่ามีอยู่จริง "คนไทย" ในมิตินามธรรมหรือ "สังคมไทย" นี่ต่างหากที่ขาดหายไปสำนึกส่วนใหญ่ ไม่ว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม

คงไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งคนปฏิเสธการซื้อหาหรือรับของเกินจำเป็น เพราะเกรงว่า "คนอื่น" จะขาดแคลน พยายามใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง เพราะเกรงว่าไฟฟ้าจะไม่พอใช้กันทั่วถึง ฯลฯ

ผมไม่ได้คิดว่าสำนึกถึง "คนอื่น" ที่เราไม่รู้จักหน้าค่าตา และทั้งชีวิตก็คาดได้ว่าจะไม่มีอะไรเกี่ยวกับเขาเลยนั้นไม่มีในหมู่คนไทยปัจจุบัน สำนึกนี้มีแน่ แต่เป็นสำนึกที่ได้สร้างและปลุกเร้ากันมานานในนามของ "ชาติ" รัฐได้จับจองสำนึกนี้ไว้เป็นของตนแต่ผู้เดียว ในขณะที่คนไทยซึ่งต้องสัมพันธ์กันผ่านระบบที่ซับซ้อนขึ้นของเศรษฐกิจ-สังคมสมัยใหม่ ไม่ได้มีสำนึกอย่างนี้ในหมู่พวกเรากันเองโดยไม่เกี่ยวกับรัฐ

พูดอีกอย่างหนึ่งคือคนไทยมีแต่สำนึกร่วมในความเป็นชาติ แต่ไม่มีสำนึกร่วมในความเป็นสังคม ถ้าจะนับว่ามี ก็เป็นสำนึกร่วมทางสังคมของชุมชนขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่บนฐานของความสัมพันธ์ทางตรง ไม่ใช่สังคมสมัยใหม่ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสสัมพันธ์ทางตรงต่อกันอีกแล้ว

ความเข้าใจนี้ทำให้ผมเห็นใจความอัปลักษณ์ต่างๆ ที่เกิดในสังคมไทยได้ดีขึ้น เห็นใจคุณ "มหานทีสีทันดร" เห็นใจผู้บริหารทีวีไทย เห็นใจการกักตุนอาหารอย่างบ้าคลั่ง เห็นใจคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ ที่ฟูมฟายกับซากโรงหนังและช็อปปิ้งเซ็นเตอร์มากกว่าซากศพของผู้คน เห็นใจการเรียกร้องความจงรักภักดีต่อบุคคลยิ่งกว่าสถาบัน เห็นใจตุลาการที่ให้ความสำคัญแก่กฎหมายอาญายิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ ฯลฯ

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน
/////////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฆ่า ปู !!!??

สมประสงค์...ตามทุกสิ่ง...ทุกประการ...ที่ได้วางหมาก?
ไม่คิดถึงผล บวกลบคูณหาร ที่ทำประเทศย่อยยับ ประชาชนหลายล้านคน พื้นที่เขตภาคกลาง ล่มจม หมดตัวระนาว
ปล่อยน้ำเขื่อนล้อมกรุงเทพฯ ไม่ให้เข้าเมืองหลวง...ชาวรากหญ้าเจ๊งบ้ง กระอักเลือดทุกเจ้า
มีเสียงสาปด่าแช่ง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร..คุ้มหรือที่ไล่คนพ้นอำนาจคนเดียว..แต่ผันน้ำทำลาย ประเทศทั้งหมด
ยิ่งลักษณ์บรรลัย...แต่ว่าชาติเสียหาย?..คุ้มกันที่ไหน กับแผนที่ได้กำหนด

++++++++++++++++++++++++++++++

ถอยหน้าถอยหลัง มีแต่เสียศูนย์!!
รักดอก จึงขอเตือน “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กันสักหน่อย สิคุณ
ออกมาตรการสามวันดีสี่วันไข้...แบบกลับมากลับไป อำนาจของท่านจะเสื่อม
ทำงานลักปิดลักเปิด ไม่มีการไตร่ตรองให้รอบครอบ ขั้วอำนาจของท่านจะกระเพื่อม
ด้วยลักษณะการทำงาน ไม่ยืนอยู่ในมาตรฐานที่มั่นคง จึงเข้าล็อคกับ “กลุ่มมือที่มองไม่เห็น” ที่จะให้ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” พังใน ๖ เดือน
บริหารชาติต้องใช้สมอง....ไม่ใช่เล่นวิธีขายข้าวขายของ?...ท่านจะตกมากอง จึงขอเตือน

+++++++++++++++++++++++++++++

เล่นกันปานวอก!!
ที่ออกมาเล่นกันทางหน้าจอทีวี ..ล้วนแต่ข้าราชการ และ นักวิชาการ ตัวหลอก
ถ้าเก่งเหมือนปากว่า... “น้ำท่วม” จะหลากบ่า เดินหน้า บ้าเลือด ท่วมถึงกรุงเทพฯ ได้อย่างไร
“ชลิต ดำรงศักดิ์” อธิบดีกรมชลประทาน..โชว์ภูมิรู้..แต่ผันน้ำลงทะเล ไม่เคยได้
เก่งแต่ทฤษฎี แต่ภาคปฏิบัติล้มเหลว ย่อยยับ
ทำตัวเก่งแบบดาวรุ่ง..น่าให้กางมุ้ง? เป็นเจ้ากรมตบยุง ดีกว่านะครับ

++++++++++++++++++++++++++++

รวยแบบติดอันดับประเทศ!!
บริจาคเงินช่วยน้ำท่วม น้อยจิ๊บจ๊อย เกินไปจนคนเข้าสังเกต
แค่ “อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” และ “อดีตขุนคลังกรณ์ จาติกวณิช” ว่าที่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ในอนาคต ..ร่วมหุ้น ร่วมกันแชร์ บริจาคเงิน ให้ช่อง๓โชว์เอาหน้ากันหนักหน่วง
รวยล้นฟ้า น่าบริจาคเงินเกิน ๑ แสนบาท ...หน้าแข้ง ก็ไม่น่าจะร่วง
เมื่อบอกว่ารู้สึกอาธรร้อนใจ เห็นใจชาวบ้านที่เดือดร้อน...เมื่อมีทรัพย์มาก น่าบริจาคมาก ทำให้เศรษฐีขี้ตืดเห็น จึงจะควักเงินออกมาได้
แต่นี่นักการเมืองมีมรดก..ยังทำตัวขี้งก?..แล้วจะยกเป็นตัวอย่าง ให้คนทำตามได้อย่างไร

++++++++++++++++++++++++++++

ใช้ฝ่ามือปิดฟ้า!!
เคยทำ เรื่องดำเป็นขาว สำเร็จมาแล้ว..แต่คราวนี้ คงจะไม่ได้หรอกคุณเจ้าขา
“นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวบอำนาจอยู่ในมือเบ็ดเสร็จ เมื่อ วันที่ ๒๖ สิงหาคม จึงเข้าบริหารทำงานเต็มตัว
น้ำในเขื่อนเต็มปรี่ ที่ปล่อยออกจากเขื่อน เป็นยุค ของ “อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จึงโยนผิด มาให้ใครไม่ได้ ดอกนะทูนหัว
หลายเรื่องที่สามารถพลิกสถานการณ์ จาก “ฝ่าเท้า” ให้มาเป็น “ฝ่ามือ” จนคนเชื่อทั้งบาง
คราวนี้คงรอดตัวยาก...เพราะหลักฐานชัดเจนมาก?..ถึงจะลากอย่างไร ก็ไม่มีทาง???


คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์

////////////////////////////////////////////////////////////

น้ำพันคอ ก่อศึก.. กรมชล-ธีระ-สุขุมพันธ์ บทเรียนพระเอกการเมือง !!?



กรณีความขัดแย้งระหว่าง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กับนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน รวมทั้งที่ข้ามช็อตไปถึงอาการหัวเสียของนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ทำให้คนกรุงเทพฯตาสว่างขึ้นมาทันที

ใครทำอะไร??? วิธีคิด??? และจุดยืนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภายใต้เกมกดดันทางการเมือง???... ความขัดแย้งครั้งนี้ ถือเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่ทำให้รู้ได้ชัดขึ้น
ว่าใครเป็นพิน็อกชิโอน้ำท่วมในครั้งนี้???

การที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ออกอาการน๊อตหลุด มาแถลงข่าวขึงขังว่ากรมชลประทานไม่ให้ความร่วมมือ เพราะขอสนับสนุนเครื่องสูบน้ำไป แต่ก็ยังไม่ได้รับ เหมือนกับเพิกเฉย ไม่ตอบสนอง
ให้ข่าวแบบนี้ กรมชลประทาน กลายเป็นจำเลยสังคมไปโดยปริยาย

ยิ่งที่ผ่านมา กรณีมวลน้ำก้อนมหึมากว่า 10,000 ล้านลูกบากก์เมตร ที่ถูกปล่อยออกมาจากเขื่อน อันเป็นบทเรียนจากการบริหารน้ำในเขื่อนไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ซึ่งว่าไปแล้ว ที่มาของมวลน้ำมหึมานั้นมาจากไหน

ทำให้ครั้งนี้ พอ ผู้ว่าฯกทม.ออกมาโวยแบบนี้ กรมชลฯ ก็เลยถูกมองติดลบหนักขึ้นไปอีก
แต่อย่างที่ ยืนยันมาตลอดว่ามุ่งนำเสนอข้อมูลข่าวที่เป็นความจริงเพื่อให้ประชาชนได้รู้ความจริงว่าน้ำมาจากไหน แต่ก็ไม่ได้คิดโทษว่าใคร เพียงแต่ต้องการให้เป็นบทเรียน

แม้กรมชลฯจะนิ่งไม่โต้แย้งข้อมูล ในขณะที่กลับมีสื่อบางสื่อที่โจมตีทั้งๆที่ไม่สามารถโต้แย้งข้อมูลได้ หรือมีบรรดาพลพรรคประชาธิปัตย์ที่ร้อนตัวออกมาแก้ต่างว่าไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลประชาธิปัตย์อุตลุดไปหมด เหมือนกับคนที่อ่านหนังสือไม่ออก อ่านข่าวไม่เข้าใจกระนั้น

และเพื่อยืนยันว่า ไม่ได้อคติกับกรมชลประทาน แต่ที่ผ่านมาเป็นการเสนอข่าวความจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้น ครั้งนี้จึงขอยืนยันว่า จากการสืบค้นข้อมูลในกรณีเครื่องสูบน้ำ พบว่า
กรมชลฯประทานไม่ผิด!!!

เพราะ กทม.ไม่ได้มีการขอสนับสนุนเครื่องสูบน้ำไปยัง กรมชลฯ อย่างที่อธิบดีกรมชลฯ และรัฐมนตรีเกษตรฯ ยืนยันจริงๆ

จากข้อมูลที่ค้นพบ ทาง กทม.มีการทำหนังสือขอเครื่องสูบน้ำออกไปจากสำนักงานปลัด กทม. ซึ่งมีนายเจริญรัตน์ ชุติกาญจน์ เป็นปลัด กทม.คนปัจจุบัน โดยหนังสือมีออกไปเมื่อวันที่ 2 พ.ย. ส่งถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย!!!

เป็นการส่งหนังสือตามระบบราชการ ซึ่งข้าราชการในเมืองไทยทุกคนรู้ดีว่า หากส่งหนังสือตามระบบงานราชการ ต้องมีการลงเลขส่ง เลขรับ ต้องผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามระบบนั้นต้องใช้เวลาหลายวัน
ดีไม่ดีในวันนี้ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทยอาจจะเพิ่งได้รับหนังสือ ก็เป็นได้...

จึงไม่เข้าใจว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ได้รับข้อมูลหรือรายงานจากใคร จึงทำให้ออกมาให้ข่าวทันทีในวันที่ 3 พ.ย. หรือแค่วันเดียวเท่านั้น ว่าทำเรื่องขอไปที่กรมชลฯแล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง... จะตอบสนองได้อย่างไรในเมื่อกรมชลฯไม่รู้เรื่องเลยสักนิดเช่นนี้

นี่จึงเป็นเหตุให้ในวันที่ 4 พ.ย. หลังจากที่กรมชลฯโดนผู้ว่าฯกทม.โวยใส่แค่ 1 วัน ในการประชุมที่สำนักระบายน้ำกทม. ต่อหน้านางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่นำคณะไปฟังบรรยายสรุปการระบายน้ำของ กทม.

นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน จึงได้แลกหมัดกลับคืนทันทีว่า เมื่อคืนวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้ว่าฯกทม.ให้ข่าวว่า กทม.ไม่ได้รับการตอบสนองจากกรมชลฯในการมอบเครื่องสูบน้ำหลังจากที่ กทม.ร้องขอ แต่ได้ตรวจสอบแล้วว่า ยังไม่มีหนังสือจาก กทม.ส่งตรงถึงกรมชลฯ เลย
งานนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ หน้าหงาย เพราะเชื่อข้อมูลจากลูกน้องแล้วไปให้ข่าวเลย โดยไม่มีการตรวจสอบก่อน

แถมพอเกิดเรื่องแล้ว ทางปลัด กทม. ก็ยังมีการอ้างว่าเป็นการทำหนังสือขอความร่วมมือไปยัง ศปภ. ก็เลยโดนตอกกลับอีกดอก ครั้งนี้จาก พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ที่เชือดกลับแบบนิ่มๆประสาผู้ใหญ่ว่า ตรวจสอบแล้ว ศปภ.ก็ยังไม่ได้รับหนังสือจาก กทม.ด้วยเหมือนกัน
ยังรักษาหน้าอยู่บ้าง ตรงที่บอกว่า อย่างไรก็ตามก็จะไปตามดูให้ว่ามีหนังสือไปตกค้างอยู่ที่ไหนหรือไม่อย่างไร

แต่โดยข้อมูลความเป็นจริง ทั้งกรมชลฯ ทั้ง ศปภ. หาหนังสือฉบับนี้ให้ตายก็หาไม่เจอ เพราะไม่ได้มีการส่งมาจะหาเจอได้อย่างไร???
ความจริงจึงกลายเป็นลูกศรที่พุ่งย้อนเข้าปักอก กทม.ไปเต็มรัก เพราะประการแรก ผู้ว่าฯ กทม.ไม่รู้หรือว่านี่คือสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน ทำไมจึงปล่อยให้ยังคงใช้การทำหนังสือราชการไปตามระบบ ทำไมตัวผู้ว่าฯกทม. ไม่ใช้การโทรศัพท์สายด่วนไปหาเลยโดยตรง
หรือ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ยังมองว่านี่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ไม่ฉุกเฉินพอ???

ประการที่ 2 ตั้งแต่เริ่มต้นตั้ง ศปภ. ทางกทม. ก็ได้ส่ง รองผู้ว่าฯ และ รองปลัด เข้าไปเป็นคณะทำงานอยู่ใน ศปภ. เดินไปเดินมาอยู่ทุกวัน กรณีเช่นนี้ทำไมจึงไม่ใช้ให้ไปขอความร่วมมือโดยเร่งด่วน เพราะเจอคณะกรรมการ คปภ.อยู่ตลอดอยู่แล้ว ทำไมจึงเลือกการส่งหนังสือ

ประการที่ 3 กทม.นั้นมีงบประมาณในแต่ละปีสูงถึง 60,000 ล้านบาท รวมทั้งมีงบสนับสนุนอีกส่วนหนึ่ง รวมๆกันแล้วปีๆนึง กทม.มีงบประมาณสูงเกือบแสนล้านบาท ทำไมจึงไม่มีเงินซื้อเครื่องสูบน้ำฉุกเฉินเองบ้างเลยหรือ???

ที่สำคัญ ในเมื่อตลอดเวลา ผู้ว่าฯกทม.อ้างว่า กทม.มีความพร้อม ถึงขนาดกล้าประกาศเหมือนกับต้องการข่มขวัญนายกฯยิ่งลักษณ์ ว่าเรื่อง การระบายน้ำของกทม. ต้องฟังผู้ว่าฯกทม.คนเดียว เพราะเตรียมการรับมือไว้หมดแล้ว

แต่วันนี้กลับกลายเป็นว่า กทม.ไม่มีความพร้อมต้องวิ่งวุ่นฉุกเฉินขอความช่วยเหลือเรื่องเครื่องสูบน้ำจากหน่วยงานอื่น... แบบนี้หรือที่เรียกว่ามีแผนรองรับเอาไว้แล้ว

แต่ที่ร้ายที่สุดหลังจากที่เกิดภาวะน้ำท่วมกรุงเทพฯในพื้นที่ 13-14 เขตขึ้นมาจริงๆ และหลังจากเกิดภาพความขัดแย้งเพราะ กทม.พล่านหาเครื่องสูบน้ำ นั่นแหละที่ไม่น่าเชื่อว่า จะได้ยินจากปากผู้ว่าฯกทม.ว่า ระบบระบายน้ำของ กทม.ที่คุยนักหนานั้นจริงๆแล้ว

“ระบบระบายน้ำของ กทม. มีไว้เพื่อรองรับปัญหาระบายน้ำฝนเท่านั้น ไม่ใช่น้ำท่วมใหญ่ขนาดนี้”
คน กทม.ได้ฟังแล้วไม่ขนหัวลุกก็คงแปลกไปแล้ว กทม.ลงทุนเป็นหมื่นๆล้านรับมือได้แค่น้ำท่วมจากน้ำฝนเท่านั้นเองหรือ พอมาเจอน้ำท่วมใหญ่เข้าก็เลยจอดไม่ต้องแจว...

แล้วราคาคุยที่ผ่านมาคืออะไร แล้วระบบอุโมงค์ยักษ์มูลค่าหมื่นล้าน ที่ขึ้นป้ายโฆษณาหราว่าลงทุนทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวรนั้น คืออะไร???

ประชาชนคน กทม. ขนหัวลุกและเหลือเชื่อกับการบริหาร กทม.โดยคนของพรรคประชาธิปัตย์ กับเรื่องกล้อง CCTV ที่พบว่ามี Fake Camera เข้ามาปะปนอยู่เพียบมาแล้ว นี่ยังจะต้องเจอกับระบบระบายน้ำที่ Fake อีกอย่างนั้นหรือ???

แถมยังมีตลกร้ายกับข้ออ้างที่ว่า น้ำท่วมครั้งนี้ไม่ใช่น้ำจาก กทม. เป็นเป็นน้ำจากเหนือ เข้ามาจากปทุมธานี นนทบุรี บางบัวทอง แล้วกลายมาเป็นปัญหาของ กทม. ซึ่งเป็นข้ออ้างที่เล่นเอาคนฟังอ้าปากค้าง
ตลอดเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา คนรู้กันทั่วประเทศว่าน้ำท่วมไล่ลงมาเรื่อยๆ เป็นน้ำท่วมใหญ่มวลน้ำมหาศาล ทำให้ต้องมีการตั้ง ศปภ. แล้ว ผู้ว่าฯกทม.งงอะไรอยู่หรือจึงเพิ่งมาบอกว่า ระบบระบายน้ำของ กทม.สู้ได้แค่น้ำฝน แต่สู้น้ำท่วมไม่ไหว

ช่างไม่รู้เลยหรือว่า 2 เดือนมานี้ที่คนไทยเครียดกันทั้งประเทศ เพราะเขาสู้กันเรื่องน้ำท่วมใหญ่
ที่บอกว่าให้ฟังผู้ว่าฯกทม.คนเดียว มีแผน 1 แผน 2 แผน 3 รองรับเอาไว้แล้วนั้น เป็นการพูดกันคนละเรื่องอย่างนั้นหรือ?

เช่นนี้จะสะท้อนได้หรือไม่ว่า ตลอดมาที่คนคิดว่า กทม.เตรียมพร้อมไว้แล้วนั้น จริงๆไม่ใช่เลย กทม.เตรียมความพร้อมไว้แค่รับมือระดับน้ำฝนท่วมขังเท่านั้น

ไม่อยากที่จะมองแย่ขนาดนั้น แต่ก็ต้องขอตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับ กทม. กันแน่ โดยเหตุแห่งคำถามก็มาจากคำพูดคำตอบสื่อมวลชนของ ผู้ว่าฯกทม.เองนั่นแหละ

กทม.มีกระสอบทรายสูงหนาปิดกั้นเป็นกำแพงอยู่หรืออย่างไร? จึงทำให้เข้าใจเอาเอง คิดเอาเอง นึกว่ารู้นึกว่าเก่งเอาเองมาตลอด ซึ่งเรื่องนี้จริงๆแล้วมีการพูดมาตลอดว่า กทม. เป็นหน่วยงานของรัฐที่คิดว่า.....
ตนเองเป็นรัฐอิสระ เข้าใจเอาว่าโดยโครงสร้างและอำนาจบริหารแล้ว ผู้ว่าฯกทม.และผู้บริหาร กทม.มีอิสระ เพราะมีกฎหมายเฉพาะของตัวเอง คือ พ.ร.บ.กรุงเทพมหานคร

จึงทำให้ที่ผ่านมา ไม่คิดจะฟังใคร ไม่คิดจะร่วมมือกับใคร หลักฐานที่สะท้อนชัดก็คือในภาวะวิกฤตเร่งด่วนแท้ๆ แต่ไม่ใช้วิธีติดต่อโดยตรงกับผู้บริหารหน่วยงานอื่นๆ กลับใช้การส่งหนังสือราชการ อะไรจะขนาดนั้น

นี่คือผลจากที่ตลอดมา เมื่อ กทม. ถูกคน กทม.ตัดสินใจเลือกให้ผู้บริหาร กทม. เป็นคนละพรรคกับรัฐบาลมาโดยตลอด สุดท้ายจึงเป็นปัญหาในเรื่องการประสานงาน การร่วมมือร่วมใจในการแอก้ไขปัญหา แก้ไขวิกฤตมาโดยตลอด

เพราะกลายเป็นว่า การที่ต่างพรรคต่างขั้ว ทำให้มีเกม มีกั๊ก มีลูกเล่นเพื่อแย่งชิงความเป็นพระเอกทางการเมืองเกิดขึ้นมาตลอดเวลา แม้แต่กระทั่งในวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ก็สะท้อนให้เห็นชัดเจนแล้วว่า ผลพวงของการเลือกให้ กทม.กับรัฐบาลเป็นคนละขั้วการเมือง จึงทำให้การรับมือปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ กทม. ไม่ราบรื่น มีปัญหาให้เห็นมาโดยตลอด

แม้ว่า นายกฯยิ่งลักษณ์ จะพยายามอดทนถนอมน้ำใจเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้ก่อน ด้วยการพยายามบอกผ่านสื่อทั้งหลายว่า พวกเดียวกัน... แต่สื่อทั้งหลายก็รู้ดีว่าความจริงคืออะไร
ไม่เช่นนั้นสื่อคงไม่มีการเอาไปล้อเลียนหรอกว่า... พวกเดียวกัน??? ทีมเดียวกัน???
วันนี้ในเมื่อมีการประกาศใช้ มาตรา 31 ไปแล้ว เพื่อต้องการให้การบริหารรวมศูนย์ จะได้เกิดศักยภาพในการแก้ไขปัญหาและรับมือกับวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

ซึ่งหากประมวลเอาเหตุการณ์ต่างๆโดยดูเทปภาพข่าว หรือดูข่าวข้อแถลงของ กทม. เอง ไม่ว่าจะเป็นการคุยเขื่องตั้งแต่แรกว่า เรื่องน้ำในกทม.ต้องฟังผู้ว่าฯกทม.เพียงคนเดียว เรื่องการเตรียมพร้อมที่จริงๆไม่พร้อม เพราะถึงเวลากลับต้องมาวิ่งขอการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจ้าละหวั่นไปหมด รวมทั้งเรื่องที่มีการออกมายอมรับแล้วว่าระบบระบายน้ำที่เป็นความหวังของคน กทม.นั้นรับมือได้เพียงแค่น้ำท่วมจากน้ำฝนเท่านั้น ไม่ใช่น้ำท่วมใหญ่

แบบนี้สมควรหรือไม่ที่ รัฐบาลจะใช้ มาตรา 31 เพื่อสังคายนา ผ่าตัดใหญ่ กทม.เสียที
และงานนี้ผู้ว่าฯกทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร นั่นแหละที่ต้องบอกความจริงกับประชาชนว่าจริงๆแล้วมีเกมการเมืองระหว่างพรรคอย่างที่ทุกคนเชื่อจริงหรือไม่?? ก่อนที่จะแสดงสปิริตลุกไปเสียเอง ในเมื่อแค่เครื่องสูบน้ำยังไม่มีปัญญาหาได้แบบนี้


จะให้คน กทม. ฝากผีฝากไข้ต่อไปได้อย่างไร?

ที่มา:บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิกฤติแห่งมหานที ภาวะล่อแหลมรัฐนาวา กอบกู้ศรัทธาหลังน้ำลด !!?

ไม่มีใครต้องการให้เกิดภัยธรรมชาติ แต่เมื่อเกิดแล้วเราต้องเข้าใจธรรมชาติ และให้ภัยธรรมชาติเป็น ครูที่สอนเรา...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2533

วินาทีนี้คนไทยทั้งประเทศคงเผชิญ หน้ากับ “มหาอุทกภัย” ครั้งร้ายแรง...! นับเนื่องถึงตอนนี้ ก็ยังมิอาจนิ่งนอนใจ แม้ว่า “มวลน้ำก้อนใหญ่” กอปรกับน้ำทะเลหนุนเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จะต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ก็เป็น “เศษเสี้ยวแห่งความหวัง” ที่ช่วยละลายความตึงเครียดของประชาชน โดยเฉพาะกับคนปลายน้ำเช่นคนกรุง ให้คลายวิตกลงไปเปราะหนึ่ง

พลันให้จับตาว่า ประเทศไทยจะก้าว พ้นวิกฤตการณ์ไปได้หรือไม่...! หลังจากสถานการณ์น้ำทะเลหนุนกำลังหมดไป และเปิดทางให้การระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ สะดวกมากขึ้น

ทีนี้เมื่อได้สำเหนียกเสียงก่นอื้ออึง ที่ลั่นมากระทบโสต ทั้งผู้นำรัฐนาวา “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” กับผู้ว่าฯ กทม. “สุขุมพันธุ์ บริพัตร” จึงเริ่มหันหน้าเข้าหากัน เพื่อบรรเทาวิกฤติ และ “สกัดกั้น” มวลน้ำ มหาศาลที่จ่อคิวไหลทะลักสู่ใจกลางเมืองหลวง ก่อนมีข้อแถลงตรงกันว่า...น้ำเริ่มนิ่ง แต่ยังมิอาจวางใจได้มากนัก เพราะอาการ พนังแตกกระสอบทรายทะลาย ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก พลันให้การระบายน้ำผันน้ำให้พ้นจาก “มหานครกรุงเทพ” จึงดำเนินไปอย่างรีบเร่ง

แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า...การบริหารจัดการน้ำล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ล้มเหลว...!! เพราะประเมินสถานการณ์ผิดพลาด...การสอดประสานระหว่าง รัฐต่อรัฐยังไร้ทิศทาง จนทำให้ประชาชนตกอยู่ในภาวะ “ลอยคอกลางน้ำ”

เหนืออื่นใด รัฐบาลและกรุงเทพมหานคร (กทม.) ใต้ปีกประชาธิปัตย์ ต่าง ได้รับบทเรียนราคาแพงไปแล้ว!!

ขณะที่การเมืองใต้ผิวน้ำ...! ยังไม่คลายเกลียว...กลายเป็นภาวะ “ล่อแหลม” ของรัฐบาล หลังการเดิมพันอันสูงลิ่วของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่พลั้งปากมาว่า น้ำเหนือ ที่มาจ่อคิวลงทะเลนั้น มีมวลน้ำมากถึง 1-2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ข้อมูลจากฝ่ายรัฐบาล หรือศูนย์ปฏิบัติการ บรรเทาและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ระบุว่า มีปริมาณน้ำเพียง 1 หมื่น ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบได้เกือบ 2 เท่าตัวจากปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนภูมิพล ซึ่งกักได้ราว 1.2 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร

สิ่งเหล่านี้ เป็นข้อมูลอันคลาดเลื่อน ไปจากข้อเท็จจริงหรือไม่..! แต่นั่นได้เป็นชนวนเหตุแห่งการวิพากษ์ กัดเซาะระบบเตือนภัยของรัฐบาลและ ศปภ. ให้ตกอยู่ใน สถานะติดลบไร้ความน่าเชื่อถือ!!

ยิ่งตลอดช่วงวิกฤติแห่งน้ำ รัฐบาลเพื่อไทย และตัวนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ต้องเผชิญวิบากกรรมน้ำท่วมปาก ผจญกับสารพัด “ตอผุด” และ “แรงต้าน” จนแทบสำรอกเป็นโลหิต มีทั้งเกมการเมืองทั้งในและนอกสภา กอปรกับกลุ่มอำนาจ รวมถึง “สื่อรับใช้” ที่พุ่งเป้าทำลายล้างรัฐนาวาให้จมหายไปกับมหานที

ถึงเวลานี้ รัฐบาลจะถูกเกมการเมือง กระหน่ำซัดจนสำลักน้ำ แต่กระนั้นความเชื่อมั่นจากภาคประชาชนก็ยังเปี่ยมล้น หลังจากวิกฤติแห่งน้ำเริ่มทุเลาเบาบาง โดย เทียบเคียงจากผลวิจัยเชิงสำรวจของ “เอแบคโพลล์” ที่ระบุชัดว่า ประชาชนร้อยละ 61.9 ยังให้โอกาสรัฐบาล และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม ขณะที่ร้อยละ 40.6 เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล และ กทม.

“ไชยวัฒน์ ค้ำชู” คณะรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ระบุถึงมหาอุทกภัยครั้งนี้ว่า เป็นเรื่องใหญ่และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การแก้ปัญหาจึงต้องทำไปและเรียนรู้ไปด้วย เพราะไม่มีใครมีประสบการณ์จัดการ ปัญหาน้ำท่วมที่ใหญ่ขนาดนี้มาก่อน อีกทั้ง นายกฯ เอง ก็ไม่มีประสบการณ์ จึงต้องอาศัยนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญมาร่วมกันทำงาน จึงมีความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย กว่าจะได้วิธีการแก้ไข ต้องพูดคุยกัน หลายรอบ

“เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ การวิพากษ์วิจารณ์แก้ปัญหาของรัฐบาลก็ทำได้ เพียง แต่ต้องคิดไว้ก่อนว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรก หากครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วรัฐบาลยังทำ ได้ไม่ดี นั่นแหละรัฐบาลสมควรถูกด่า...”

ส่วนหนึ่งก็เข้าใจประชาชน เพราะเหตุการณ์แบบนี้คนที่เดือดร้อนก็ต้องวิจารณ์และไม่ไว้วางใจรัฐบาลอีก ส่วนความเด็ดขาดของนายกฯ เรื่องการควบคุมคนนั้น ต้องบอกว่าภาระหน้าที่ของ นายกฯ มีมาก บางอย่างอาจไม่ทั่วถึงและ เกิดปัญหาขึ้นได้ แต่เมื่อเกิดแล้วต้องแก้ไข และมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทุกข้อวิจารณ์จะต้องรับฟังและแก้ไข

เวลาของการฟื้นฟูความเชื่อมั่นนั้น จะเห็นได้ว่าครั้งนี้เป็นภัยพิบัติในวงกว้าง หลายพื้นที่รัฐบาลต้องระดมสมอง ระดมบุคลากรเพื่อบรรเทาปัญหา และปัญหาน้ำ ท่วมยังไม่จบสิ้น จึงยังประเมินไม่ได้ว่าต้อง ใช้เวลาเท่าไหร่จะฟื้นฟูสำเร็จ แต่รัฐบาลต้องพูดให้ชัดเจนว่าการฟื้นฟูระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลสามารถทำได้..!!

นับเป็นมุมแห่งวิพากษ์จากฟากนักวิชาการ ที่เน้นย้ำถึงภาระหน้าที่อันหนักอึ้ง ของรัฐบาล ตลอดจนการฟื้นฟูภัยพิบัติ และแผนล้อมคอกก่อนวัวหาย... ยิ่งในห้วง “วิกฤติแห่งมหานที” ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกฝักฝ่ายจะข้ามพ้นความขัดแย้ง-เห็นแก่ตัว แล้วยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชน เป็นหลักนำ

เหนืออื่นใด “รัฐนาวา” แม้ถูกมองเป็นเพียงมือใหม่หัดขับ จักพิสูจน์ตัวตนและความตั้งใจจริง ในการ “สกัดกั้นความเสียหาย-บรรเทาทุกข์” ไปพร้อมๆ กับการฟื้นฟู-เยียวยาหลังน้ำลด นั่นย่อมจะเป็น ผนังทองแดง กำแพงเหล็ก...! ที่คอย โอบอุ้มรัฐบาลให้ก้าวพ้น “วิกฤตการณ์” ก่อนจะไร้ซึ่งโอกาสในการ “กอบกู้ศรัทธาแห่งประชาชน” !!!

ที่มา.สยามธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จับอาการ หญิงหน่อย. ก่อนคืนฟอร์ม แม่ทัพ พท. !!?

คำพูดที่ว่า “โอกาสในวิกฤติ” ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ แม้ในยามที่ประชาชนคนกรุงเทพฯ กำลังประสบกับชะตากรรมจากการสำลักน้ำที่ไหลเอ่อท่วมพื้นที่เมืองกรุงในหลายๆ พื้นที่ แต่ดูเหมือนว่าเรื่องของ “การ เมือง” ที่เคยสร้างความบอบ ช้ำให้กับสังคมไทยหาได้จางหายไปกับมวลน้ำที่ไหลบ่าท่วมพื้นที่เมืองกรุงแห่งนี้ไม่ แต่ยังคงมีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กับ นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.พรรคเพื่อไทย หรือจะเป็นกรณีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าฯ กทม. รวมถึงใครต่อใครที่ปรากฎบนหน้าสื่อต่างๆ เรียกว่ามีให้เห็นมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งๆ ที่สังคมไทยในช่วงที่ผ่านมาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้วาทกรรมทางการเมืองแก้ปัญหาน้ำท่วม ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจของเอแบคโพลระบุว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.6 ทุกข์ใจมากถึงมาก ที่สุด เมื่อได้ยินข่าวความขัดแย้งทาง การเมืองในช่วงที่ชาวบ้านประสบภัยน้ำท่วม และร้อยละ 81.1 อยากเห็นความร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วมระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทย กับผู้ว่าฯ กทม.จากพรรคประชาธิปัตย์ แต่จนแล้วจนรอดน้ำลายการเมืองก็ยังคงผสมปนเป อยู่กับกระแสน้ำที่ไหลเอ่อท่วมคนเมืองกรุงอย่างไม่รู้เหน็ดจักเหนื่อย

การปรากฏตัวครั้งแรกของ “คุณหญิงหน่อย” สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ได้พาเหรดมุดเข้าศูนย์เฉพาะกิจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพร้อมแอ็กชั่นความเป็นมืออาชีพอย่างเต็มที่ โดยการปรากฏตัวของคุณหญิงในครั้งนี้ได้รับการยืนยันว่าไม่ได้รับคำสั่งจากใคร แถมมีข่าวไล่หลังจากพรรคเพื่อไทยว่า การที่ “คุณหญิง” เข้ามาข้องแวะกับปัญหาน้ำท่วมโดยลงพื้นที่และร่วมประชุมศปภ. สร้างความไม่พอใจให้กับส.ส. บางกลุ่มเนื่อง จากมองว่าการกระทำเช่นนี้ของคุณหญิง เป็นการขโมยซีนการแก้ปัญหาน้ำท่วม และการเข้ามาในครั้งนี้ก็เพื่อหวังที่จะสร้างฐานเสียงให้กับตัวเองในการลงรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.ในครั้งหน้า เช่นเดียวกับเสียงที่สะท้อนผ่านสมาชิกพรรคปชป.

อย่างไรก็ตาม พลันสิ้นเสียงลือเสียงเล่าอ้างจบลง นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. ในฐานะประธานภาคกทม. พรรคเพื่อไทย รวมถึงส.ส.ของพรรค ได้ออกมาตอบโต้พร้อมตำหนิพรรคปชป.ว่ากลัวเกินเหตุเล่นการเมืองเกินพอดีทั้งที่ประชาชนกำลังทุกข์ยาก ตนเป็นประธานภาคยังไม่เคยได้ยินคุณหญิงพูดว่าจะลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ทั้งๆ ที่มีส.ส.ขอร้องหลายครั้ง คนที่พูดว่าคุณหญิงจะลงสมัครผู้ว่าฯ ก็มีแต่ปชป. เท่านั้นที่ออกมาพูดเตะตัดขา การที่คุณหญิงออกมาช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ต่อสู้กับน้ำท่วมใหญ่มาตั้งแต่ปี 38 จึงรู้ปัญหาดังกล่าวดี

เช่นเดียวกับ จิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรค เพื่อไทย ส.ส.กทม.เขตคลองสามวา ที่ออกมาระบุ ว่าตนเคยเรียกร้องไปยังพรรคปชป.และผู้ว่าฯ กทม. ขอให้พรรคปชป.หยุดเล่นเกมการเมืองแล้วรวมใจกันช่วยชาวบ้านจะดีกว่า
2.ขอให้ผู้ว่าฯ กทม.ปลอดการเมือง เลิกอิงแอบพรรค ปชป.ชั่วคราวจนกว่าน้ำจะลด 3.ขอให้ผู้ว่าฯ กทม.สั่งการไปยังผอ.เขตที่อยู่ในแนวเสี่ยงให้ทำงานบูรณาการกับส.ส.พื้นที่ โดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นพรรคการเมืองใด 4.ขอให้ ส.ส.กทม.ของพรรคปชป.ที่ไม่อยู่ในแนวน้ำท่วมหยุดใช้ปากแก้ปัญหาและหันมาร่วมมือกับส.ส.ทุกพรรคการเมืองที่อยู่ในแนวน้ำท่วม 5.ขอให้นายอภิสิทธิ์ร่วมแก้ไขปัญหากับรัฐบาล

ประเด็น “คุณหญิงหน่อย” ที่มาปรากฏกายในวันที่มวลน้ำอันเชี่ยวกรากกำลังถล่มกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่สังคมกำลังเฝ้าจับจ้องติดตามกันอยู่ โดยเฉพาะใกล้วันที่สมาชิกบ้านเลขที่ 111 พ้นจากการถูกจองจำในเดือนพฤษภาคมปีหน้า เธอกำลังจะคืนความเป็นนักการเมืองแถวหน้าคนสำคัญในสนามกรุงเทพฯ สนามเดียวที่พรรคเพื่อไทยหมายจะยึดคืนจากพรรคปชป.แต่ดูเหมือนว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา “ขุนพล” หรือ “แม่ทัพ” ในการออกกรำศึกในสนามไม่เป็นที่ยอมรับทั้งจากคนในพรรคและคนกรุงเทพฯ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมผลการเลือกตั้งทั้งในสนามท้องถิ่นรวมไปจนถึงระดับชาติพรรคเพื่อไทยจึงไม่ประสบความสำเร็จ

การกลับมาของ “คุณหญิง” ในครั้งนี้แม้จะไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่าถึงที่สุดแล้วเธอจะเบนเข็มทิศการเมืองด้วยการพลิกบทหันมาลงสมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.หรือไม่ แต่อย่างน้อย ๆ เป็นการส่งสัญญาณผ่านไปยังมวลหมู่สมาชิกพรรครวมถึงคอการเมืองได้รับรู้รับทราบว่าใกล้เวลาที่ “แม่ทัพ” หญิงคนนี้จะคืนสังเวียนการเมืองเต็มตัวอีกครั้ง ขณะเดียวกันสนามกรุงเทพฯโดยเฉพาะศาลาว่าการกทม.ที่ครั้งหนึ่งคนกรุงเทพฯ เคยได้ยลโฉมเธอจากการลงสมัครชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ในการต่อกรกับ “สมัคร สุนทรเวช” มาแล้ว ประการสำคัญใครที่ติดตามผลงานนับจากที่เธอก้าวเข้าสู่เวทีการเมืองครั้งแรกด้วยวัยละอ่อน จะรู้ว่าตอนที่พรรคพลังธรรมเปิดตัวเธอครั้งแรก ครั้งนั้น “พล.ต.จำลอง ศรีเมือง” ได้ใช้ศาลาว่าการกทม.เป็นที่เปิดตัวเธอเช่นกัน ชีวิตทางการเมืองของเธอจึงหนีไม่พ้นกรุงเทพมหานครนั่นเอง

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เปิดแผนปฏิบัติการ : นิวไทยแลนด์ !!?


พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "นิ่ง" ไป 4 เดือน ในโลกออนไลน์

แต่เมื่อ รัฐมนตรี-สายตรง ในรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เปิดไพ่ไอเดีย "นิวไทยแลนด์" ด้วยโครงการเกือบ 1 ล้านล้านบาท

ทวิตเตอร์ชื่อ ThaksinLive ของ Thaksin Shinawatra ก็กลับมาโลดแล่น

24 ชั่วโมงหลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กางสำรับโครงการลงทุน ระยะสั้น-กลาง-ยาว หลังน้ำท่วม 8 แสนล้านบาท

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 ปรากฏข้อความของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ที่ก้าวหน้า-ก้าวข้าม แผนการในเมืองไทยไปหลายช็อต

12 ข้อความต่อเนื่อง มีนัยทาง การเมือง และส่งผลต่อแผนการ"นิวไทยแลนด์"

นโยบายของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ที่ส่งผ่านทวิตเตอร์ แจ่มชัด สามารถนำไปแปลงเป็นแผนงาน-โครงการ ลงสู่ระดับปฏิบัติการท่ามกลางความงุนงงของ รัฐมนตรีทีมเศรษฐกิจ

"พ.ต.ท.ทักษิณ" กล่าวว่า "สวัสดีครับ หายไปนาน ไม่ได้ทวีตมาเลย วันนี้ขออนุญาตส่งความห่วงใยมายังทุก ท่านที่ประสบภัยน้ำท่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม ความจริงผมแอบทำงานอยู่ห่าง ๆ"

"ช่วงนี้ผมยังคงเดินทางเช่นเดิม แต่ก็ตรวจสอบข่าวคราวเหตุการณ์บ้านเมืองตลอด มีอะไรช่วยทำช่วยแนะนำก็ทำ ไป แต่ก็ต้องยอมรับว่า เป็นอุทกภัยที่หนักที่สุด"

"การฟื้นฟูครั้งนี้เป็นความท้าทายของคนไทยทั้งประเทศ เพราะปัญหาใหญ่กว่า กินวงกว้างกว่า และยาวนานกว่า สึนามิที่ภาคใต้ เราจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันครับ"

"ผมได้ให้กำลังใจทุกคนไปว่า ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาส วิกฤตคราวนี้ก็เป็นโอกาสที่จะทำให้คนไทยได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและฟื้นฟูประเทศ"

"และจะเป็นโอกาสให้เราได้แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งถาวรเสียที เพราะเราเสียงบประมาณจำนวนมากแก้ปัญหาและเยียวยาแบบเฉพาะหน้า เฉพาะกิจ ครั้งแล้วครั้งเล่า"

"ถ้าท่านจำกันได้ ตอนปี 2548 ผมเคยมีโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่เชิญต่างประเทศมาลงทุนให้ก่อน แล้วผ่อนเป็นสินค้าเกษตร ซึ่งมีเรื่องน้ำรวมอยู่ด้วย แต่..."

"ผมถูกปฏิวัติเสียก่อน เหตุการณ์ครั้งนี้เราเสียหายร่วมกัน ทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐเฉพาะทางตรงน่าจะร่วม ๆ สองแสนล้านบาท แต่ก็อยากให้สบายใจ"

"ว่าหาเงินมาแก้ปัญหาได้ ผมได้ คุยกับท่านนายกฯและผู้รู้หลายท่านรวมทั้งรัฐบาลหลายประเทศถึงแนว ทางการฟื้นฟูครั้งนี้ว่า ควรจะทำกันอย่างไรจะช่วยกัน"

"ทำอย่างไรจะทำให้เขามั่นใจที่นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศจะไม่หนีจากเรา เชื่อว่าท่านนายกฯคงจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ก่อนไปประชุมเอเปก"

"เพราะต้องถูกถามและต้องไปบรรยายให้นักธุรกิจฟัง น้ำท่วมครั้งนี้ถ้าเราไม่ช่วยกันกอบกู้ความน่าเชื่อถือประเทศกลับคืนมาอนาคตจะลำบากมาก เราต้องเร่งแก้"

"สิ่งที่ทำความเสียหายแก่ประเทศกลับคืนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความ ขัดแย้งทางการเมือง การขาดหลักนิติธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย การแทรกแซงประชาธิปไตย"

"แน่นอนครับ เราต้องเร่งฟื้นฟูและเยียวยาทุกครอบครัวที่ได้รับผลกระทบทั้งภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่ผ่านมา"

จากนั้นห้องประชุมคณะรัฐมนตรีที่เมืองไทยก็ "รับลูก"

น.ส.ยิ่งลักษณ์นั่งหัวโต๊ะ ในวาระการประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน แก้น้ำท่วมทั้งระบบ และแผนการฟื้นฟูแก้ไขปัญหาประเทศระยะยาวภายหลังน้ำลดภายใต้แนวคิด "นิวไทยแลนด์" โดยมีนายพิชัย รมว.พลังงาน นั่งเป็น "มือขวา"

น.ส.ยิ่งลักษณ์อธิบายเพิ่มเติมว่า "ความจริงคือโครงการแก้ไขปัญหาน้ำอย่างถาวร โดยจะมีการศึกษาใน รายละเอียดและประกาศตัวเลขงบประมาณที่ต้องใช้อย่างชัดเจน แต่เบื้อง ต้นงบประมาณที่จะใช้ในการเยียวยาอย่างเร่งด่วนคือ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมงบฯบูรณาการโครงการ 25 ลุ่มน้ำ หรือโครงการระยะถาวร"

ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการคลังของนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รับแผนไปปฏิบัติเป็น "แผนก่อหนี้" ในร่างกฎหมายกู้เงินทันที

โดย นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุลผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แจกแจงว่า สบน. เตรียมร่างกฎหมายกู้เงินเตรียมพร้อมไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินในรูปแบบใด เพื่อรองรับแผนกู้เงินเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูระบบน้ำภายหลังน้ำท่วม

ความเป็นไปได้มีทั้งรูปแบบการออกพระราชกำหนด เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายใน 45 วัน หรือจะเป็นรูปแบบการใ ช้เงินลงทุนระยะ 3-5 ปี โดยออกเป็นพระราชบัญญัติ รอเพียงให้หัวหน้ารัฐบาล-รมว.คลัง ตกลงตัวเลขและกรอกจำนวนเงินเท่านั้น

แหล่งเงินกู้ที่เข้าแถวรอประเทศไทย ในฐานะลูกค้าชั้นดี มีทั้งไจก้า-เอดีบี และแหล่งเงินกู้สถาบันการเงินในประเทศ โดยอาศัยความตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184-185 ที่กำหนดว่า รัฐบาลสามารถออก พ.ร.ก.กู้เงินได้เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ และมีความจำเป็นฉุกเฉินที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้

สำนักบริหารหนี้คำนวณว่า หากกู้อีก 8 แสนล้านบาทใช้แก้ปัญหาน้ำท่วม จะทำให้หนี้สาธารณะอยู่ที่ 50% ของจีดีพี ซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถบริหารจัดการได้

ขณะที่ "ผู้นำสาร" จาก "พ.ต.ท.ทักษิณ" มาเผยแพร่ อย่าง "พิชัย" ให้รายละเอียดเพิ่มเติม หมายมั่นปั้นมือ จะทำโครงการ "นิวไทยแลนด์" ว่า แนวทางการฟื้นฟูหลังน้ำลด จะนำโมเดลประเทศต่าง ๆ ที่เคยประสบอุทกภัยมาศึกษา เช่น มณฑลเสฉวนของจีน, สหรัฐอเมริกา, เนเธอร์แลนด์, พม่า และอาเจะห์ นำมาปรับใช้กับไทย

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ถูกเก็บอยู่ในธนาคารแห่งประเทศไทยถูกอ้างถึง ว่าอาจจะนำมาใช้ใน "นิวไทยแลนด์" บางส่วน

นายพิชัยยืนยันว่า "รูปแบบการฟื้นฟูนั้นจะนำมาดูในทุกด้าน เช่น ท่อส่งน้ำมัน และแลนด์บริดจ์ ระบบป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรม และในอนาคตหากจำเป็นต้องแก้กฎหมายใดที่เป็นอุปสรรคต่อการทำโครงการนิวไทยแลนด์ก็ต้องแก้ไข และใช้วิธีคิดนอกกรอบ เพื่อทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนให้ได้ โดยต้องว่าจ้างที่ปรึกษาจากต่างประเทศมาช่วยเสนอแนวคิดและโมเดลต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการพัฒนาไทยด้วย"

ไอเดียถูกขยายเป็นการตั้งคณะกรรมการถึง 3 ชุด คือชุดที่ 1 ต่อสู้น้ำ ชุดที่ 2 ฟื้นฟูประเทศระยะสั้น 1 ปี และชุดที่ 3 ปรับปรุงประเทศระยะยาว โดยให้ปรับวิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาส ซึ่งหากพบว่าไปติดขัดกฎระเบียบหรือข้อกฎหมายใด ๆ ก็จะดำเนินการ

วาระวงเงินที่จะนำมาใช้ในระยะสั้นมีเงิน 130,000 ล้านบาท โดย 50,000 ล้านบาท มาจากการขาดดุลงบประมาณประจำปี 2555 เพิ่มเติม และอีก 80,000 ล้านบาท มาจากที่แต่ละกระทรวงตัดงบประมาณลง 10%

แนวคิดการบริหาร "เงิน" ของแบงก์ชาติถูกแปรรูป เปลี่ยนแนวคิด เพื่อหาเงิน 600,000-800,000 ล้านบาท โดยอาจใช้วิธีการออกพันธบัตรและให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็น ผู้ซื้อด้วยการแก้ไขข้อกฎหมายให้ ธปท. จะซื้อพันธบัตรในประเทศได้

ทุกองคาพยพในรัฐบาลเพื่อไทยขับเคลื่อน-ควบคู่ ใน-นอกประเทศ เพื่อไป สู่แผน "นิวไทยแลนด์"

ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ มี นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ประกาศกับคณะทูตานุทูตกว่า 80 ประเทศว่า จะมีการเสนอ ครม.ออก พ.ร.บ.เงินกู้ 6 แสนล้านบาท เพื่อนำมาปรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

เงินลงทุน 8 แสนล้าน กับการลงทุนแก้กฎเหล็กของธนาคารชาติกำลังจะเริ่มขึ้น ด้วยการอ้างถึงภาวะ "วิกฤตน้ำท่วม"
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สถานการณ์ น้ำการเมือง-น้ำนิ่ง-น้ำไหล-น้ำลายและ น้ำเน่า !!?

สวนดุสิตโพลเผยแพร่ผลสำรวจ ’ดัชนีการเมือง“ เดือน ต.ค.จากประชาชนทั่วประเทศ 5,253 คน ระหว่างวันที่ 25 ต.ค.-4 พ.ย. ซึ่งเป็นช่วง ’มหาอุทกภัย“ พบว่า คะแนนนิยมในทุก ๆ ด้าน ’ลดลง“ เอาเฉพาะในแง่มุม ’การเมือง“ พบว่า ทั้งรัฐบาล ทั้งฝ่ายค้าน รวมไปถึงความสามัคคีของคนในชาติ ’ลดลง“ ต่ำกว่าครึ่งจากคะแนนเต็มสิบคะแนน

นี่อาจจะเป็นการสะท้อนแค่ ’บางส่วน“ เท่านั้น แต่เชื่อว่าหากมีการสะท้อนในลักษณะที่กว้างขวางกว่านี้แนวโน้มก็ไม่น่าจะแตกต่างกัน นั่นคือ ความขัดแย้งทางการเมืองยังมีอยู่ มีอยู่สูงด้วยและนับวันสถานการณ์ ’มหาอุทกภัย“ จะเป็นตัวเร่งให้สถานการณ์ ’สูงยิ่ง ๆ“ ขึ้นไป

ในช่วงของการตั้ง ศปภ.ของรัฐบาลเพื่อมาบูรณาการแก้ไขปัญหา “อุทกภัย” ภาพที่ทุกหน่วยงานทั้งทหารซึ่งถูกวิจารณ์จากขั้วหนึ่งในรัฐบาล ภาพของผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เดินเข้าไปให้ความเห็นพร้อมเสนอตัวเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา เป็นสิ่งที่ทำให้ใครต่อใคร ’อุ่นใจ“ ว่า ในสถานการณ์วิกฤติของชาติเช่นนี้ ผู้เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองทั้งหลายยังรู้จัก ’แยกแยะ“

แต่พอนานวัน การบริหารจัดการปัญหากลับยุ่งยากและตามไม่ทันกับสายน้ำที่กำลังไหลบ่าท่วมพื้นที่ภาคกลางตามจังหวัดปริมณฑลเรื่อยมาจนถึงกรุงเทพมหานคร ’ไข่แดง“
ของประเทศไทย

นอกจากภาพของความสามัคคีที่ ’คนไทย“ พึงมีให้กัน ยังมีภาพการช่วงชิงจังหวะทางการเมืองแฝงอยู่ในการแก้ไขปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ยิ่งในสถานการณ์ที่ ’ทุกฝ่าย“ เริ่มจะไม่สามารถควบคุมบริหารจัดการกับปริมาณน้ำที่หลั่งไหลมาอย่างมหาศาลได้ ภาพของความขัดแย้งยิ่งเด่นชัด

และแน่นอนภาพที่ชัดที่สุดคือภาพความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกทม.ในฐานะผู้ดูแลกรุงเทพฯ กับรัฐบาลในฐานะผู้ดูแลทั้งประเทศ

ถ้าจะให้ชัดขึ้นมาอีกก็คือความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย แต่ถ้าให้ชัดที่สุดก็คือความขัดแย้งระหว่างพรรคเพื่อไทย และองคาพยพอย่างแกนนำคนเสื้อแดงกับพวกที่ไม่ใช่พรรคเพื่อไทยและแกนนำคนเสื้อแดง

ใครจะเชื่อว่า ในสถานการณ์ที่น้ำยังไม่ท่วมกรุงเทพฯสูงสุด กลับมีการพูดถึง “แพะทางการเมือง” พูดถึงต้นเหตุของปัญหา พูดถึงการบริหารจัดการของอีกฝ่ายที่ผิดพลาด พูดถึงภาวะผู้นำ การกล้าตัดสินใจ เรื่อยไปจนพูดถึงแนวทางการฟื้นฟูบูรณะประเทศขึ้นมาใหม่ ที่เหมือนจะใช้ ’การเมือง“ นำ ’บ้านเมือง“

ถ้า ’นับนิ้ว“ กันดูจะพบว่า ’แพะ“ ที่มากับมหาอุทกภัยครั้งนี้มีมากมาย ทั้งธรรมชาติที่มาอย่างไม่มีใครคาดคิด ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ดูแลเขื่อน ทั้งกรมชลประทานในฐานะผู้รู้เรื่องการบริหารจัดการน้ำ ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะหน่วยงานหลัก ทั้งพรรคชาติไทยพัฒนาในฐานะดูแลกระทรวงเกษตรฯ ทั้ง

ผู้ว่าฯ กทม. ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ต้นสังกัด รวมไปถึง ’การปฏิวัติ“ ที่เป็นต้นเหตุให้แผนการจัดการที่กำลังจะทำของอดีตรัฐบาลต้องล้มพับไป

ขณะที่อีกฝ่ายก็ ’ตั้งป้อม“ เช่นกันว่า เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลที่นิ่งเฉยต่อสถานการณ์ เอาเวลาของการเป็นรัฐบาลตลอด 1 เดือนไปเน้นการแก้ไขปัญหาให้ ’คน ๆเดียว“ การอ่อนประสบการณ์ การไม่เป็นตัวของตัวเองของผู้นำรัฐบาล เรื่อยมาจนถึงการบริหารจัดการกับการรับมือกับสถานการณ์ ทั้งของบริจาคที่ถูกวิจารณ์ การใช้คนที่ไม่เหมาะสมกับงาน ข้อมูลที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา

อย่างล่าสุดข่าวการกระทบกระทั่งกันของ ’หน่วยงานหลัก“ ไม่ว่าจะเป็นกรมชลประทานกับ กทม. หรือ กทม.กับศปภ.และแม้กระทั่ง ผู้นำรัฐบาลกับกรมชลประทาน

ภาพที่เกิดขึ้น ’ล้วน“ เป็นสิ่งที่ช่วยกันกัดกร่อนให้ความน่าเชื่อถือของผู้แก้ไขปัญหา ’ลดต่ำลง“ และแน่นอนรัฐบาลในฐานะ ’เจ้าภาพหลัก“ ซึ่งมีหน้าที่แก้ไขปัญหา มี
หน้าที่ประสานความร่วมมือ มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในชาติ ต้อง ’รับผิดชอบ“

ทั้งหมดนี้ยังเป็นข้อวิจารณ์และข้อถกเถียงที่ปรากฏออกมาจากผู้ทำงาน จากสื่อมวลชนและจากการรับรู้ของประชาชนเท่านั้น หากมีเวทีทางการเมืองเปิดขึ้น น่าสนใจ
ว่า ’ข้อวิจารณ์“ ต่าง ๆ ที่ออกมาจากนักการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน หรือ วุฒิสภา น่าจะยิ่งเพิ่มความขัดแย้งทางการเมืองให้สูงขึ้น

’มหาอุทกภัย“ ในครั้งนี้ได้สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลขึ้นกับประเทศไทย ประชาชนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไปไม่ต่ำกว่า 400 คน มีผู้ประสบภัยต้องอพยพออกจากบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมหลายแสนคน เศรษฐกิจแทบจะทุกส่วนของชาติเสียหาย เสียโอกาสทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นมูลค่าที่ประเมินมิได้ ที่สำคัญสูญเสียความเชื่อมั่นจากนานาชาติ

ความน่าสนใจจาก ’บทวิเคราะห์“ ต่าง ๆ ของสื่อมวลชนต่างชาติคือการพยายามตั้งคำถามและหาคำตอบว่า “มหาอุทกภัย” ครั้งนี้เกิดจากฝีมือธรรมชาติเท่านั้นหรือเกิดจากฝีมือคนไทยเองนั่นแหละ

ถ้า ’สังคมไทย“ จะแก้ปัญหาร่วมกัน ก่อนที่รัฐบาลจะเดินหน้าฟื้นฟูคือ การแสวงหาความจริงอย่างเป็นระบบเป็นวิชาการ มากกว่าเชื่อด้วยความรู้สึกตัวเอง การหาคำตอบ
หลังความเสียหาย ไม่ใช่เรื่องที่หยิบยกขึ้นหาเรื่องกันแต่ควรหาคำตอบเพื่อเป็น ’บทเรียน“ ไว้ ในอนาคตข้างหน้าอันใกล้จะได้ไม่เกิดขึ้นอีก

แม้รัฐบาลจะมีแนวคิดพลิกฟื้นประเทศไทยหลังน้ำลดหรือที่ ’บางฝ่าย“ เรียกว่า ’นิวไทยแลนด์“ หัวใจสำคัญคือ การหาข้อเท็จจริง การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ไม่เว้นแม้กระทั่งฝ่ายการเมือง อย่างฝ่ายค้าน

’มหาอุทกภัย“ จะปล่อยให้เลยผ่านไปโดยที่ไม่มีการแสวงหาความจริงว่า ’ต้นเหตุ“ ของปัญหาที่นำมาซึ่งความเสียหายอย่างมโหฬาร เกิดขึ้นจากอะไรนั้นไม่ได้

รัฐบาล นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ซึ่งเป็น ’เจ้าภาพหลัก“ นั่นแหละ ต้องใช้โอกาสตรงนี้ดึงทุกภาคส่วนให้เข้ามามี “ส่วนร่วม”อย่างแท้จริง มากกว่าจะพูดว่า จะมาสร้างความสมานฉันท์อย่างนั้นอย่างนี้ 3 เวลาหลังอาหาร

ใน ’วิกฤติ“นั้นมี ’โอกาส“ ประโยคนี้น่าจะใช้กับคนไทยทุก ๆ คน มากกว่า ’ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเอาไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง.

ต้นฉบับ: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=8&contentId=174139

ที่มา: เดลินิวส์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////