คอลัมน์ เลือกตั้งรัฐบาล2554
72 ชั่วโมง หลังรับสนองพระบรมราชโองการพระราชกฤษฎีกายุบสภา นายกรัฐมนตรีมีนัดอย่างเป็นทางการเพียง 2 นัด
1 คือ ประชุมคณะรัฐมนตรี "รักษาการ"
2 คือ ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ "หัวหน้าพรรค"
นัดหมายที่ 3 คือ นัดสัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจประจำทำเนียบรัฐบาล
1 ชั่วโมงกับ 30 นาที มีเรื่องการเมืองที่นายกรัฐมนตรีปริปากเพียง 20 นาที
ที่เหลือเป็นการ "เคลียร์" ปมปัญหา-ข้อกังขาวาระเศรษฐกิจ
- อะไรคือผลงานเศรษฐกิจที่ทำให้คนจำนายกฯคนที่ 27 ได้
แล้วแต่ว่าเราไปถามใคร แต่สำหรับประชาชนที่เป็นเกษตรกร โครงการประกันรายได้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะมีเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งไม่เคยได้รับการชดเชยประกันรายได้แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรที่ปลูกข้าวกินเอง เกษตรกรที่ไม่มีความสามารถในการจำนำข้าว เกษตรกรที่อาจจะปลูกข้าวไปแล้วมีความเสียหายจากภัยแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืชก็ยังได้รับการชดเชย ตรงนี้สำคัญกับเกษตรกรจำนวนมาก
แต่ถ้าพูดถึงภาพรวม ประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจจะชัดเจนที่ประเทศไทยฟื้นตัวค่อนข้างเร็วจากวิกฤตโลกรอบนี้ หากถามคนเล่นหุ้นดัชนีก็สูงที่สุดในรอบ 13 ปี
- เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมาแล้ว จะแข็งแรงในระยะต่อไปหรือไม่
เราสามารถฟื้นเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย บางเรื่องน่าจะเกินกว่าที่คาดการณ์ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้น ก่อนหน้านี้วิธีการฟื้นตัวด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นนี้ จะทำให้เกิดหนี้สาธารณะพุ่งสูง ก็ไม่เกิดขึ้น และช่วงรุนแรงในปี 2552 อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว เรากลับเจอปัญหาใหม่คือ ราคาพลังงาน อาหารแพง ทำให้ประชาชนจำนวนมาก รู้สึกว่าผลประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่ตกถึงพวกเขา แต่ในแง่ภาพรวมระดับมหภาค ผมคิดว่าทุกคนยอมรับว่าเราฟื้นตัวแล้วและไม่มีปัญหาตกค้าง อย่าลืมว่าอเมริกามีการว่างงานตกค้าง ยุโรปมีหนี้สินตกค้าง แต่เรากลับเจอปัญหาใหม่ที่รุนแรงกว่าที่กระทบกับกระเป๋าเงินโดยตรง
- ภาพที่ตอกย้ำรัฐบาลคือเป็นยุคข้าวยากหมากแพง
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับว่า คนกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสิ่งที่มองไปข้างหน้า แต่หากนึกย้อนกลับไปปี 2551 สมัยท่านนายกฯสมัคร สุนทรเวช ก็เจอปัญหาเช่นนี้ ซึ่งเรากำลังพิสูจน์ว่าแนวทางของเราเป็นอย่างไร อย่างการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทได้ เพราะการตัดสินใจในการเก็บเงินเข้ากองทุนช่วงปี 2552-2553 และการตัดสินใจตรึงราคาเช่นนี้ เพื่อไม่ให้ค่าขนส่งถีบตัวสูงขึ้น และการตัดสินใจเรื่องภาษีสรรพสามิต ก็ถูกตำหนิว่ารู้ได้อย่างไรว่าราคาน้ำมันจะไม่สูงขึ้นไปอีก ซึ่งขณะนั้นผมกล้ายืนยันว่า การวิเคราะห์ออกมานั้นไม่ใช่
ทุกวันนี้แสดงให้เห็นว่าเราตัดสินใจถูกต้อง แต่ทั้งนี้ก็ยังระมัดระวังในการใช้เงินของกองทุนน้ำมันฯอยู่เช่นเคย
- การตรึงราคาสินค้า คนมองว่าตั้งใจบิดเบือนกลไกการตลาด
ต้องพิจารณากรณีสินค้าที่เป็นพลังงาน จะพูดถึงกลไกการตลาดลำบาก แท้จริงการไม่มีภาษี ไม่เก็บเงินคือกลไก การตลาด หากถามว่าการเก็บภาษีบิดเบือนหรือไม่ ก็ต้อง บอกว่าบิดเบือน ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น แต่สินค้าที่เราพยายามดูแลเป็นพิเศษ คือสินค้าที่ประชาชนไม่ค่อยมีทางเลือก
กรณีก๊าซหุงต้ม รัฐบาลเห็นว่า อาจต้องยอมสูญเสียบ้างสำหรับคนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว สำหรับเอ็นจีวีก็เป็นนโยบายที่พยายามผลักดันให้คนมาใช้ เหล่านี้คือความจำเป็น หากผมตั้งใจบิดเบือนสินค้าทุกตัว ซึ่งคนมีทางเลือกที่จะประหยัดได้ อย่างก๊าซหุงต้ม มีคนกล่าวหาว่าผมบิดเบือนกลไกการตลาด ผมต้องถามกลับว่าประชาชนจะนำก๊าซไปจุดเล่นหรืออย่างไร
- มีนโยบายใดที่อยากทำ แต่ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจที่ต้องเร่งตัวเข้าไปอีก อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตหลายอย่าง ที่ทำให้จังหวะเวลาต้องช้า เช่น เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งระบบราง โครงการรถไฟไทย-จีน ใจผมอยากบรรลุข้อตกลงกับทางสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทันที แต่ขณะนี้ก็ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ แต่มันได้เริ่มต้นแล้ว
ยังมีเรื่องปฏิรูปเชิงโครงสร้างในเชิงกฎระเบียบกับภาษี ซึ่งที่ผ่านมาเป็นงานที่ยังไม่มีจังหวะ คาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มทำได้ โดยมาพร้อมกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
- ทำไมถึงตัดสินใจไม่เอาโครงการแลนด์บริดจ์
ผมว่ามันชัดเจนว่า ในที่สุดแล้วเราต้องตัดสินใจว่าจะเลือกอุตสาหกรรมหนักเข้ามาอยู่ตรงนั้นหรือไม่ การที่จะพัฒนาโดยไม่มีสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถเป็นจริงได้ ในการนำโครงการแลนด์บริดจ์เข้ามา เราได้คำนึงแล้วว่าจะมีผลกระทบกับประโยชน์ ส่วนรวม ทั้งการท่องเที่ยวและวิถีชีวิตของคน โดยข้อเท็จจริงคือ เราไม่มีความจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมทุกประเภทอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นขึ้นอยู่ที่ว่าจะวางตำแหน่งประเทศเราอย่างไร
กรณีมาบตาพุด ยังต้องตอบโจทย์ในเรื่องความสามารถ การรองรับอุตสาหกรรมเพิ่มเติม ผมว่ามันหมดยุคแล้วที่ให้คนกรุงเทพฯตัดสินใจว่าประเทศไทยอยากได้อะไร และชี้นิ้วสั่ง ซึ่งมีปัญหาตามมาเยอะ ในหลักเศรษฐศาสตร์บอกชัดเจนว่า ไม่ใช่ความได้เปรียบอะไรหากมีอุตสาหกรรมทุกประเภทในประเทศ
- รัฐบาลรักษาการ จะทำให้ข้าราชการเกิดภาวะเกียร์ว่าง
ทุกคนมีหน้าที่ต้องทำ ใครไม่ทำหน้าที่อาจโดนเล่นงาน ขณะเดียวกันต้องรักษามารยาททางการเมือง ในการไม่ทำโครงการที่ผูกมัดกับรัฐบาลหน้า ซึ่งสิ่งที่กำหนดทิศทางไว้ ผมคิดว่ามันเพียงพอต่อการบริหารงานช่วงนี้
- การประชุม ครม.นัดสุดท้าย ต่อเนื่อง 2 วันคงจะเพียงพอ
การประชุมวันนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างเทคนิค เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดว่า งานโครงการใด ๆ ที่ผูกพันถึงโครงการหน้าจะไม่สามารถทำได้ในช่วงรักษาการ ซึ่งมีอีกหลายเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เช่น เรื่องปุ๋ย ชดเชยเงินให้เกษตรกร น้ำท่วม ภัยแล้ง โรคที่เกิดขึ้นกับพืช หากไม่รีบ ขณะนั้น หมายความว่าเกษตรกรจะไม่ได้รับเงินชดเชยจนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่อีก 3-4 เดือน
ซึ่งหลายเรื่องก็ไม่ได้ผ่านการอนุมัติ ครม.ได้ดูตามความจำเป็น งบฯกลาง สุดท้ายใช้ไปเพียง 13,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณการเลือกตั้ง 3,000 ล้านบาท จ่ายเงินค่าเงินเดือนหมอกับบุคลากรสาธารณสุข 4,200 ล้านบาท หักค่าน้ำท่วม ภัยพิบัติอีก 2,000 ล้านบาท ที่เหลือก็คือเพิ่มเบี้ยเลี้ยงให้ทหารพราน แล้วตรงไหนที่บอกว่าทิ้งทวน ทุจริตเทกระจาด
เราจะไม่ให้ กกต.มีเงินจัดการเลือกตั้ง จะไม่ให้หมอรับเงินเดือน ให้ทหารพรานรับเบี้ยเลี้ยง 15 บาทต่อวัน เกษตรกรไม่มีปุ๋ยใช้ และรอเงินชดเชยน้ำท่วม ภัยแล้ง เหล่านี้จะให้เขารอไปเพื่ออะไร ?
- กระทรวงไอซีทีก็เรียกค่าเสียหายจากกลุ่มชินคอร์ปไม่ได้
เรื่องนี้ยังไม่จบต้องรอรัฐบาลใหม่ หากผมเริ่มทำวันนั้นก็จะถูกกล่าวหาว่าทิ้งทวนอีก ซึ่งรายงานการเจรจาเพิ่งถูกส่งเข้ามาที่ ครม.เพียงไม่กี่วัน โดยขอให้เราตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย ท้ายที่สุดหากวันนั้นเราตัดสินใจในเชิงเนื้อหาสาระคงถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกมาก ซึ่งเรื่องนี้จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการจัดการกับพรรคคู่แข่ง เพราะทุกอย่างดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา
- เรื่องนี้จะกลายเป็นดาบปักหลัง "คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
ผมยังไม่ทราบว่าจะไปปักหลังอะไรใครได้ ในเมื่อมีคำพิพากษาจากศาล แล้ว ครม.จึงมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีไปไล่ดูว่า ต้องทำให้ข้อมูลกลับมาถูกต้องอย่างไร กับ การเสาะหาว่ามีใครเป็นผู้เกี่ยวข้องบ้าง โดยจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงานที่มีอำนาจในการตรวจสอบ ประกอบด้วยนักกฎหมาย และมีความแตกต่างจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จทั่วไป เพราะสามารถอาศัยกลไกของดีเอสไอและ ปปง. ในการดำเนินงานภายใต้กฎหมายที่กำหนดได้ แต่ในที่สุดแล้วการเรียกค่าเสียหายจะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดต่อไป
สาเหตุที่ต้องยืดเยื้อ ผมต้องบอกตามตรงว่า คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีมากมาย และแฝงตัวอยู่ในทุกหน่วยงาน ฉะนั้นลำพังการเดินหน้าต่อไปไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะที่ผ่านมามีหลายคนถูกข่มขู่ แต่ก็ยังยืนยันว่าจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ก็จะตั้งใจทำต่อไปหากได้รับโอกาส
- การขับเคลื่อนนโยบาย 3G ทำให้ประชาชนผิดหวัง
ผมว่าตัวหลักคือวันที่ศาลปกครองมีคำสั่งไม่ให้ กทช.ดำเนินการต่อ แต่เราต้องเคารพกฎหมาย แม้หน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ยื่นฟ้องร้อง ก็เพื่อสร้างความชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าดำเนินการไปแล้วจะไม่มีปัญหา ต้องยอมรับว่าโครงการขนาดใหญ่มักเกิดปัญหาการฟ้องร้องเป็นประจำ ในกรณีธุรกิจโทรคมนาคมก็มีความวุ่นวายซ้ำซ้อนจากมรดกโครงสร้างสัมปทาน ซึ่ง 3G เกิดไม่ได้เพราะกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลชุดนี้ เพราะเราพยายามผลักดันให้มีการเจรจา แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งรัฐบาลพยายามทำให้เร็ว แต่ตามข้อกฎหมายเราเร่งดำเนินการไม่ได้
- ภาพรวมการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้จะเป็นอย่างไร
เศรษฐกิจโดยรวมยังมีทิศทางขยับขึ้น ซึ่งรัฐบาลพยายามทำให้ได้ใกล้กับเป้าหมายที่วางไว้ประมาณ 4% เพียงแต่ว่า ต้องบริหารจัดการด้วยความละเอียดอ่อน ยกตัวอย่างในไตรมาสแรก ที่เรากลัวว่าจะมีโอกาสติดลบ แต่เท่าที่เห็นตัวเลขเรื่องส่งออกและดัชนีอุตสาหกรรมแล้วน่าจะเป็นบวก
ขณะที่ไตรมาสสองเราเจอผลกระทบจากประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมยานยนต์หยุดชะงัก แต่ที่ผมพยายามตรึงราคาน้ำมันดีเซล เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนเจอปัญหา 2 ต่อเนื่องจากว่าหากปล่อยสินค้าราคาขึ้นมาก ๆ ธนาคาร แห่งประเทศไทยก็ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย ทำให้ประเทศประสบปัญหาทั้งเงินฝืดและเฟ้อพร้อมกัน
- บรรยากาศการเลือกตั้งจะไม่ฉุดให้เศรษฐกิจแย่ลง
การเลือกตั้งจะคลายปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองส่วนหนึ่ง ผมเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบอะไรกับเศรษฐกิจมากนัก แต่มีเรื่องเดียวที่เป็นปัญหาคือ งบประมาณปี 2555 จะล่าช้า โดยปกติ พ.ร.บ.งบประมาณจะถูกนำเสนอเข้าสภาประมาณปลายเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน เมื่อเลือกตั้งเรียบร้อยในเดือนสิงหาคม หากรัฐบาลเข้ามาแบบทำงานได้เลย กฎหมายก็ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม แต่หากรัฐบาลที่เข้ามาแบบ รื้อทุกสิ่งทุกอย่าง อาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น
- งบลงทุนเพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือไม่
ผมคิดว่าเพียงพอ สัดส่วนในงบฯลงทุนก็เพิ่มขึ้น อย่างโครงการไทยเข้มแข็งที่มีการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งในระดับมหภาคการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลชัดเจน ส่วนที่สองในรายละเอียดของโครงการต้องดูเป็นราย ๆ ไป ในภาพรวมก็สามารถดำเนินการไปได้ตามเป้าหมาย แม้อาจจะมีข้อบกพร่องจุดอ่อนก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา
แม้คนจะรู้จักกันแค่โครงการถนนปลอดฝุ่น แต่ความเป็นจริง มีโครงการนมโรงเรียน โรงพยาบาลที่ทำไว้ได้เยอะ แต่เกิดปัญหาในกระทรวงทำให้ขับเคลื่อนออกไปได้ช้า ในเมื่อมีปัญหาในกระทรวง เราก็ต้องตรวจสอบให้โปร่งใสก่อนที่จะขับเคลื่อน ผมเชื่อว่าในพื้นที่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง คนที่ได้ประโยชน์ก็มีมากมาย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
1 คือ ประชุมคณะรัฐมนตรี "รักษาการ"
2 คือ ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ "หัวหน้าพรรค"
นัดหมายที่ 3 คือ นัดสัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจประจำทำเนียบรัฐบาล
1 ชั่วโมงกับ 30 นาที มีเรื่องการเมืองที่นายกรัฐมนตรีปริปากเพียง 20 นาที
ที่เหลือเป็นการ "เคลียร์" ปมปัญหา-ข้อกังขาวาระเศรษฐกิจ
- อะไรคือผลงานเศรษฐกิจที่ทำให้คนจำนายกฯคนที่ 27 ได้
แล้วแต่ว่าเราไปถามใคร แต่สำหรับประชาชนที่เป็นเกษตรกร โครงการประกันรายได้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะมีเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งไม่เคยได้รับการชดเชยประกันรายได้แบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรที่ปลูกข้าวกินเอง เกษตรกรที่ไม่มีความสามารถในการจำนำข้าว เกษตรกรที่อาจจะปลูกข้าวไปแล้วมีความเสียหายจากภัยแล้ง น้ำท่วม ศัตรูพืชก็ยังได้รับการชดเชย ตรงนี้สำคัญกับเกษตรกรจำนวนมาก
แต่ถ้าพูดถึงภาพรวม ประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจจะชัดเจนที่ประเทศไทยฟื้นตัวค่อนข้างเร็วจากวิกฤตโลกรอบนี้ หากถามคนเล่นหุ้นดัชนีก็สูงที่สุดในรอบ 13 ปี
- เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวมาแล้ว จะแข็งแรงในระยะต่อไปหรือไม่
เราสามารถฟื้นเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย บางเรื่องน่าจะเกินกว่าที่คาดการณ์ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้น ก่อนหน้านี้วิธีการฟื้นตัวด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจเช่นนี้ จะทำให้เกิดหนี้สาธารณะพุ่งสูง ก็ไม่เกิดขึ้น และช่วงรุนแรงในปี 2552 อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้น ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว เรากลับเจอปัญหาใหม่คือ ราคาพลังงาน อาหารแพง ทำให้ประชาชนจำนวนมาก รู้สึกว่าผลประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่ตกถึงพวกเขา แต่ในแง่ภาพรวมระดับมหภาค ผมคิดว่าทุกคนยอมรับว่าเราฟื้นตัวแล้วและไม่มีปัญหาตกค้าง อย่าลืมว่าอเมริกามีการว่างงานตกค้าง ยุโรปมีหนี้สินตกค้าง แต่เรากลับเจอปัญหาใหม่ที่รุนแรงกว่าที่กระทบกับกระเป๋าเงินโดยตรง
- ภาพที่ตอกย้ำรัฐบาลคือเป็นยุคข้าวยากหมากแพง
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับว่า คนกังวลกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสิ่งที่มองไปข้างหน้า แต่หากนึกย้อนกลับไปปี 2551 สมัยท่านนายกฯสมัคร สุนทรเวช ก็เจอปัญหาเช่นนี้ ซึ่งเรากำลังพิสูจน์ว่าแนวทางของเราเป็นอย่างไร อย่างการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทได้ เพราะการตัดสินใจในการเก็บเงินเข้ากองทุนช่วงปี 2552-2553 และการตัดสินใจตรึงราคาเช่นนี้ เพื่อไม่ให้ค่าขนส่งถีบตัวสูงขึ้น และการตัดสินใจเรื่องภาษีสรรพสามิต ก็ถูกตำหนิว่ารู้ได้อย่างไรว่าราคาน้ำมันจะไม่สูงขึ้นไปอีก ซึ่งขณะนั้นผมกล้ายืนยันว่า การวิเคราะห์ออกมานั้นไม่ใช่
ทุกวันนี้แสดงให้เห็นว่าเราตัดสินใจถูกต้อง แต่ทั้งนี้ก็ยังระมัดระวังในการใช้เงินของกองทุนน้ำมันฯอยู่เช่นเคย
- การตรึงราคาสินค้า คนมองว่าตั้งใจบิดเบือนกลไกการตลาด
ต้องพิจารณากรณีสินค้าที่เป็นพลังงาน จะพูดถึงกลไกการตลาดลำบาก แท้จริงการไม่มีภาษี ไม่เก็บเงินคือกลไก การตลาด หากถามว่าการเก็บภาษีบิดเบือนหรือไม่ ก็ต้อง บอกว่าบิดเบือน ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น แต่สินค้าที่เราพยายามดูแลเป็นพิเศษ คือสินค้าที่ประชาชนไม่ค่อยมีทางเลือก
กรณีก๊าซหุงต้ม รัฐบาลเห็นว่า อาจต้องยอมสูญเสียบ้างสำหรับคนที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว สำหรับเอ็นจีวีก็เป็นนโยบายที่พยายามผลักดันให้คนมาใช้ เหล่านี้คือความจำเป็น หากผมตั้งใจบิดเบือนสินค้าทุกตัว ซึ่งคนมีทางเลือกที่จะประหยัดได้ อย่างก๊าซหุงต้ม มีคนกล่าวหาว่าผมบิดเบือนกลไกการตลาด ผมต้องถามกลับว่าประชาชนจะนำก๊าซไปจุดเล่นหรืออย่างไร
- มีนโยบายใดที่อยากทำ แต่ยังไปไม่ถึงเป้าหมาย
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจที่ต้องเร่งตัวเข้าไปอีก อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤตหลายอย่าง ที่ทำให้จังหวะเวลาต้องช้า เช่น เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ระบบขนส่งระบบราง โครงการรถไฟไทย-จีน ใจผมอยากบรรลุข้อตกลงกับทางสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทันที แต่ขณะนี้ก็ต้องรอรัฐบาลชุดใหม่ แต่มันได้เริ่มต้นแล้ว
ยังมีเรื่องปฏิรูปเชิงโครงสร้างในเชิงกฎระเบียบกับภาษี ซึ่งที่ผ่านมาเป็นงานที่ยังไม่มีจังหวะ คาดว่าปลายปีนี้จะเริ่มทำได้ โดยมาพร้อมกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
- ทำไมถึงตัดสินใจไม่เอาโครงการแลนด์บริดจ์
ผมว่ามันชัดเจนว่า ในที่สุดแล้วเราต้องตัดสินใจว่าจะเลือกอุตสาหกรรมหนักเข้ามาอยู่ตรงนั้นหรือไม่ การที่จะพัฒนาโดยไม่มีสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถเป็นจริงได้ ในการนำโครงการแลนด์บริดจ์เข้ามา เราได้คำนึงแล้วว่าจะมีผลกระทบกับประโยชน์ ส่วนรวม ทั้งการท่องเที่ยวและวิถีชีวิตของคน โดยข้อเท็จจริงคือ เราไม่มีความจำเป็นต้องมีอุตสาหกรรมทุกประเภทอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นขึ้นอยู่ที่ว่าจะวางตำแหน่งประเทศเราอย่างไร
กรณีมาบตาพุด ยังต้องตอบโจทย์ในเรื่องความสามารถ การรองรับอุตสาหกรรมเพิ่มเติม ผมว่ามันหมดยุคแล้วที่ให้คนกรุงเทพฯตัดสินใจว่าประเทศไทยอยากได้อะไร และชี้นิ้วสั่ง ซึ่งมีปัญหาตามมาเยอะ ในหลักเศรษฐศาสตร์บอกชัดเจนว่า ไม่ใช่ความได้เปรียบอะไรหากมีอุตสาหกรรมทุกประเภทในประเทศ
- รัฐบาลรักษาการ จะทำให้ข้าราชการเกิดภาวะเกียร์ว่าง
ทุกคนมีหน้าที่ต้องทำ ใครไม่ทำหน้าที่อาจโดนเล่นงาน ขณะเดียวกันต้องรักษามารยาททางการเมือง ในการไม่ทำโครงการที่ผูกมัดกับรัฐบาลหน้า ซึ่งสิ่งที่กำหนดทิศทางไว้ ผมคิดว่ามันเพียงพอต่อการบริหารงานช่วงนี้
- การประชุม ครม.นัดสุดท้าย ต่อเนื่อง 2 วันคงจะเพียงพอ
การประชุมวันนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างเทคนิค เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดว่า งานโครงการใด ๆ ที่ผูกพันถึงโครงการหน้าจะไม่สามารถทำได้ในช่วงรักษาการ ซึ่งมีอีกหลายเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เช่น เรื่องปุ๋ย ชดเชยเงินให้เกษตรกร น้ำท่วม ภัยแล้ง โรคที่เกิดขึ้นกับพืช หากไม่รีบ ขณะนั้น หมายความว่าเกษตรกรจะไม่ได้รับเงินชดเชยจนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่อีก 3-4 เดือน
ซึ่งหลายเรื่องก็ไม่ได้ผ่านการอนุมัติ ครม.ได้ดูตามความจำเป็น งบฯกลาง สุดท้ายใช้ไปเพียง 13,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบประมาณการเลือกตั้ง 3,000 ล้านบาท จ่ายเงินค่าเงินเดือนหมอกับบุคลากรสาธารณสุข 4,200 ล้านบาท หักค่าน้ำท่วม ภัยพิบัติอีก 2,000 ล้านบาท ที่เหลือก็คือเพิ่มเบี้ยเลี้ยงให้ทหารพราน แล้วตรงไหนที่บอกว่าทิ้งทวน ทุจริตเทกระจาด
เราจะไม่ให้ กกต.มีเงินจัดการเลือกตั้ง จะไม่ให้หมอรับเงินเดือน ให้ทหารพรานรับเบี้ยเลี้ยง 15 บาทต่อวัน เกษตรกรไม่มีปุ๋ยใช้ และรอเงินชดเชยน้ำท่วม ภัยแล้ง เหล่านี้จะให้เขารอไปเพื่ออะไร ?
- กระทรวงไอซีทีก็เรียกค่าเสียหายจากกลุ่มชินคอร์ปไม่ได้
เรื่องนี้ยังไม่จบต้องรอรัฐบาลใหม่ หากผมเริ่มทำวันนั้นก็จะถูกกล่าวหาว่าทิ้งทวนอีก ซึ่งรายงานการเจรจาเพิ่งถูกส่งเข้ามาที่ ครม.เพียงไม่กี่วัน โดยขอให้เราตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย ท้ายที่สุดหากวันนั้นเราตัดสินใจในเชิงเนื้อหาสาระคงถูกวิพากษ์วิจารณ์อีกมาก ซึ่งเรื่องนี้จะไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการจัดการกับพรรคคู่แข่ง เพราะทุกอย่างดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา
- เรื่องนี้จะกลายเป็นดาบปักหลัง "คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"
ผมยังไม่ทราบว่าจะไปปักหลังอะไรใครได้ ในเมื่อมีคำพิพากษาจากศาล แล้ว ครม.จึงมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีไปไล่ดูว่า ต้องทำให้ข้อมูลกลับมาถูกต้องอย่างไร กับ การเสาะหาว่ามีใครเป็นผู้เกี่ยวข้องบ้าง โดยจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงานที่มีอำนาจในการตรวจสอบ ประกอบด้วยนักกฎหมาย และมีความแตกต่างจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จทั่วไป เพราะสามารถอาศัยกลไกของดีเอสไอและ ปปง. ในการดำเนินงานภายใต้กฎหมายที่กำหนดได้ แต่ในที่สุดแล้วการเรียกค่าเสียหายจะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดต่อไป
สาเหตุที่ต้องยืดเยื้อ ผมต้องบอกตามตรงว่า คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีมากมาย และแฝงตัวอยู่ในทุกหน่วยงาน ฉะนั้นลำพังการเดินหน้าต่อไปไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะที่ผ่านมามีหลายคนถูกข่มขู่ แต่ก็ยังยืนยันว่าจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ก็จะตั้งใจทำต่อไปหากได้รับโอกาส
- การขับเคลื่อนนโยบาย 3G ทำให้ประชาชนผิดหวัง
ผมว่าตัวหลักคือวันที่ศาลปกครองมีคำสั่งไม่ให้ กทช.ดำเนินการต่อ แต่เราต้องเคารพกฎหมาย แม้หน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ยื่นฟ้องร้อง ก็เพื่อสร้างความชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าดำเนินการไปแล้วจะไม่มีปัญหา ต้องยอมรับว่าโครงการขนาดใหญ่มักเกิดปัญหาการฟ้องร้องเป็นประจำ ในกรณีธุรกิจโทรคมนาคมก็มีความวุ่นวายซ้ำซ้อนจากมรดกโครงสร้างสัมปทาน ซึ่ง 3G เกิดไม่ได้เพราะกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลชุดนี้ เพราะเราพยายามผลักดันให้มีการเจรจา แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งรัฐบาลพยายามทำให้เร็ว แต่ตามข้อกฎหมายเราเร่งดำเนินการไม่ได้
- ภาพรวมการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้จะเป็นอย่างไร
เศรษฐกิจโดยรวมยังมีทิศทางขยับขึ้น ซึ่งรัฐบาลพยายามทำให้ได้ใกล้กับเป้าหมายที่วางไว้ประมาณ 4% เพียงแต่ว่า ต้องบริหารจัดการด้วยความละเอียดอ่อน ยกตัวอย่างในไตรมาสแรก ที่เรากลัวว่าจะมีโอกาสติดลบ แต่เท่าที่เห็นตัวเลขเรื่องส่งออกและดัชนีอุตสาหกรรมแล้วน่าจะเป็นบวก
ขณะที่ไตรมาสสองเราเจอผลกระทบจากประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมยานยนต์หยุดชะงัก แต่ที่ผมพยายามตรึงราคาน้ำมันดีเซล เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนเจอปัญหา 2 ต่อเนื่องจากว่าหากปล่อยสินค้าราคาขึ้นมาก ๆ ธนาคาร แห่งประเทศไทยก็ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย ทำให้ประเทศประสบปัญหาทั้งเงินฝืดและเฟ้อพร้อมกัน
- บรรยากาศการเลือกตั้งจะไม่ฉุดให้เศรษฐกิจแย่ลง
การเลือกตั้งจะคลายปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองส่วนหนึ่ง ผมเชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบอะไรกับเศรษฐกิจมากนัก แต่มีเรื่องเดียวที่เป็นปัญหาคือ งบประมาณปี 2555 จะล่าช้า โดยปกติ พ.ร.บ.งบประมาณจะถูกนำเสนอเข้าสภาประมาณปลายเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน เมื่อเลือกตั้งเรียบร้อยในเดือนสิงหาคม หากรัฐบาลเข้ามาแบบทำงานได้เลย กฎหมายก็ดำเนินการในช่วงเดือนสิงหาคม แต่หากรัฐบาลที่เข้ามาแบบ รื้อทุกสิ่งทุกอย่าง อาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น
- งบลงทุนเพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือไม่
ผมคิดว่าเพียงพอ สัดส่วนในงบฯลงทุนก็เพิ่มขึ้น อย่างโครงการไทยเข้มแข็งที่มีการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งในระดับมหภาคการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลชัดเจน ส่วนที่สองในรายละเอียดของโครงการต้องดูเป็นราย ๆ ไป ในภาพรวมก็สามารถดำเนินการไปได้ตามเป้าหมาย แม้อาจจะมีข้อบกพร่องจุดอ่อนก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา
แม้คนจะรู้จักกันแค่โครงการถนนปลอดฝุ่น แต่ความเป็นจริง มีโครงการนมโรงเรียน โรงพยาบาลที่ทำไว้ได้เยอะ แต่เกิดปัญหาในกระทรวงทำให้ขับเคลื่อนออกไปได้ช้า ในเมื่อมีปัญหาในกระทรวง เราก็ต้องตรวจสอบให้โปร่งใสก่อนที่จะขับเคลื่อน ผมเชื่อว่าในพื้นที่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง คนที่ได้ประโยชน์ก็มีมากมาย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////