คมชัดลึก :เผย"ทักษิณ"เตรียมประเด็น ใช้อำนาจของรัฐบาลหลังเกิดการรัฐประหาร คดีความ"ทักษิณ" ถูกกล่าวหา และข้อมูลการใช้กำลังทหารสลายม็อบเสื้อแดงแจงกมธ.สหรัฐ โดยล็อบบี้ยีสต์คอยประสานอย่างใกล้ชิด ตร.สั่งตรวจวีซ่าทักษิณเข้าอเมริกา
นายประชา ประพพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ.กฏหมายการยุติรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฏร์ กล่าวกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปชี้แจงและให้ข้อมูลที่สหรัฐจากกรณีการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงในประเทศไทยว่า ขณะนี้รัฐบาลค่อนข้างตื่นเต้นกับข่าวนี้มากและมีการพูดไปถึงขั้นว่าจะมีการขอให้สหรัฐอเมริกาส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ตนในฐานะเป็นประธานกมธ.ฯมองว่าพ.ต.ท.ทักษิณยังไม่เข้าข่ายสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเพราะไม่มีการหลบหนีไปสหรัฐโดยพลการ แต่การที่สหรัฐเชิญพ.ต.ท.ทักษิณไปให้ข้อมูลนั้นสหรัฐก็เป็นประเทศต้นแบบประชาธิปไตยอีกประเทศหนึ่ง ที่กำลังจับตาการล่วงละเมิดสิทธิในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังทหารหรืออาวุธความรุนแรงทำให้คนบาดเจ็บจำนวนมาก
ที่ผ่านมาไทยถูกจัดอันดับประเทศละเมิดสิทธิค่อนข้างสูงประกอบกับทักษิณเป็นอดีตผู้นำที่พาประเทศไทยเข้าสู่เวทีโลกและมั่นใจว่าการให้ข้อมูลของพ.ต.ท.ทักษิณไม่ต้องการทำลายประเทศไทย แต่เเป็นการให้ข้อเท็จจริงในอีกมุมหนึ่ง ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีการแเบคเมล์ส่งตัวกลับนั้นพ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้กังวลเรื่องนี้และคาดว่าจะตัดสินใจไปแน่นอนและเชื่อว่าการเชิญของสภาคองเกรสมีกฏหมายรธน.อเมริกาคุ้มครอง ตนในฐานะกมธ.อาจเดินทางไปสังเกตการณ์ด้วย
" หากมีการควบคุมพ.ต.ท.ทักษิณสังคมโลกก็จะรู้ถึงความไม่เป็นปชต.และการใช้อำนาจของรัฐบาลชุดนี้ " นายประชา กล่าว
แหล่งข่าวระบุว่า การเดินทางไปสหรัฐของพ.ต.ท.ทักษิณครั้งนี้ได้มีล็อบบี้ยีสต์คอยประสานในประเด็นที่จะพูดคือ การใช้อำนาจของรัฐบาลหลังเกิดการรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ คดีความพ.ต.ท.ทักษิณที่ถูกกล่าวหา และข้อมูลการใช้กำลังทหารสลายการชุมุนมเสื้อแดง
ตร.สั่งตรวจวีซ่าทักษิณเข้าอเมริกา
เมื่อเวลา 12.30 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร. กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานที่อยู่รวมทั้งการขอวีซ่าเพื่อผ่านเข้าออกประเทศสหรัฐอเมริกาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ชัดเจนว่าจะเดินทางเข้า ออกเมื่อไรและอยู่นานเท่าใด ซึ่งหากมีความชัดเจน ก็จะส่งเรื่องให้กับอัยการสูงสุดเพื่อทำเรื่องส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนต่อไป พร้อมระบุว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่ได้รับการประสานจากตำรวจสากลแต่อย่างใด
ด้าน นายศิริศักดิ์ ติยะพันธ์ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ เปิดเผยว่า ข่าวการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเพียงข่าวแต่ ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะเดินทางไปเมื่อใด ซึ่งตามขั้นตอนแล้วกระทรวงการต่างประเทศต้องประสานมาและให้ที่อยู่ที่ชัดเจนจึงจะสามารถทำเรื่องในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้
วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553
"ความโชคดีซ้ำซากของพรรคประชาธิปัตย์"ทัศนะทางวิชาการของบรรณาธิการใหญ่ www.pub-law.net
บทบรรณาธิการ เว๊ปไซต์กฎหมายมหาชน http://www.pub-law.net/ ล่าสุด เรื่อง "ความโชคดีซ้ำซากของพรรคประชาธิปัตย์"มีประเด็นน่าสนใจ ดังนี้
ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อให้คู่กรณีแถลงปิดคดีด้วยวาจาในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ จากนั้นในตอนบ่ายสองโมง ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดฟังคำวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่เขียนบทบรรณาธิการนี้ ผมยังไม่เห็นคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน จึงยังไม่ขอให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ผมเข้าใจว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์เกินระยะเวลาที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนด กล่าวคือ เกิดการนับวันไม่ตรงกันระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับศาลรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งนับวันที่ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ฟ้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553
และต่อมา ประธานกรรมการการเลือกตั้งก็ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งก็อยู่ภายใน 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญกลับถือเอาวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันที่ประธานกรรมการการเลือกตั้งเสนอเรื่องให้ที่ประชุมพิจารณา ดังนั้น เมื่อประธานกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 จึงล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองไปแล้ว
แม้จะยังไม่ได้เห็นคำวินิจฉัยฉบับจริง แต่เมื่อได้ฟังคำวินิจฉัยและรับทราบผลคำวินิจฉัยในเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในเบื้องต้น ผมมีข้อสังเกตบางอย่างเกี่ยวกับ 2 องค์กรคือ ศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้งที่คงต้องนำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้ก่อน เมื่อได้อ่านคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตัวแล้ว หากมีประเด็นน่าสนใจ ก็จะได้ย้อนกลับมาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่งครับ
องค์กรแรกที่อยากจะกล่าวถึงก็คือศาลรัฐธรรมนูญ มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญที่อยากจะพูดถึง คงต้องเริ่มจากก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีข่าวไม่ดีไม่งามออกมามากมายที่ทำให้เกิดมุมมองในเชิงลบกับศาลรัฐธรรมนูญและกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน ข่าวไม่ดีไม่งามดังกล่าวมีผู้ให้ความเห็นสรุปได้เป็นสองแนวทาง แนวทางแรกคือ มี “ขบวนการ” จ้องทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ กับแนวทางที่สองคือ ศาลรัฐธรรมนูญเองที่ทำให้องค์กรของตัวเองไม่น่าเชื่อถือ
เรื่องดังกล่าวจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดออกมาชี้แจงให้กระจ่างว่าในที่สุดแล้ว ปัญหาเกิดจากใคร และความรับผิดชอบควรตกอยู่แก่ผู้ใด แต่ในช่วงเวลาเดียวกันก็กลับมีการให้ข่าวออกมาว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะฉะนั้น ในปัจจุบัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ก็ชอบที่ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวจะออกมาชี้แจงหรืออธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้แก่สังคมทราบต่อไปว่า สรุปแล้วเกิดอะไรขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญครับ
เรื่องต่อมาที่ผมมีข้อสังเกตก็คือ เรื่องผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ยกคำร้องกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เนื่องจากมีการยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น ผมได้ลองตรวจสอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ดูแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีข้อใดเลยที่กล่าวถึงการตรวจสอบเรื่อง “อายุความในการร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ”
แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีระเบียบหรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้หรือไม่ ซึ่งเมื่อเทียบเรื่องดังกล่าวกับวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองแล้ว ก็จะพบว่าทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กับระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องมีการตรวจสอบคำฟ้องในเบื้องต้นก่อนที่จะรับไว้พิจารณา
นอกจากนี้ จากการสอบถามเรื่องดังกล่าวกับพนักงานคดีปกครองทำให้ได้ข้อมูลว่า การตรวจสอบเรื่อง “อายุความ” หรือ “ระยะเวลาในการฟ้องคดี” จะทำกันอย่างจริงจังและหลายขั้นตอน แม้กระทั่งเมื่อตุลาการหัวหน้าคณะจ่ายสำนวนคดีให้กับตุลาการเจ้าของสำนวนแล้ว ตุลาการเจ้าของสำนวนก็จะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำฟ้องก่อนที่จะรับหรือไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา ดังนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีกระบวนการดังกล่าว ก็ชอบที่จะพิจารณาปรับปรุงข้อกำหนดของตัวเองเสียใหม่เพื่อให้การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นของคำร้องเกิดประโยชน์มากกว่าพิจารณากันไปตั้งชาติหนึ่งแล้วค่อยมาบอกว่ายื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
นอกจากนี้ ในข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ยังได้ มีการแต่งตั้ง “ตุลาการประจำคดี” คล้าย ๆ กับ “ตุลาการเจ้าของสำนวน” ของศาลปกครองด้วย แต่จำนวนอาจแตกต่างกันเพราะของศาลรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในข้อกำหนดฯ ข้อ 25 ว่าให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตุลาการไม่น้อยกว่า 3 คนเป็นตุลาการประจำคดี แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ 2 กรณีซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และก็มีข้อยกเว้นซ้อนเข้าไปอีกว่า “หรือในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ประธานศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่แต่งตั้งตุลาการประจำคดีก็ได้” ซึ่งข้อยกเว้นหลังนี้ก็ไม่เข้าเกณฑ์กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
คำถามของผมคือ ใครเป็นตุลาการประจำคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และตุลาการประจำคดีได้ทำหน้าที่ของตนในการตรวจสอบว่าการยื่นฟ้องกรณีดังกล่าวเกินระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ อย่างไร ครับ เพราะหากพิจารณาข้อกำหนดฯ ข้อ 29 ก็กล่าวไว้ชัดเจนพอสมควรว่า
“เมื่อศาลหรือตุลาการประจำคดี แล้วแต่กรณี มีคำสั่งรับคำร้องที่มีคู่กรณีไว้พิจารณาวินิจฉัย ให้ส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกร้อง หรือมีคำสั่งแจ้งผู้ถูกร้องมารับสำเนาคำร้องภายในระยกเวลาที่ศาลกำหนด
เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสำเนาคำร้อง ให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด
กรณีผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือไม่มารับสำเนาคำร้องภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป”
ผมสงสัยจริง ๆ นะครับว่าใครเป็นตุลาการประจำคดีในเรื่องนี้ แล้วทำไมตุลาการประจำคดีถึงได้ไม่หยิบยกเรื่องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนด มาพิจารณาตั้งแต่ต้น ปล่อยให้เสียเวลาไต่สวนข้อเท็จจริงมาถึงหลายเดือนแล้วก็มาจบลงตรงที่ว่า ยื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
นอกจากนี้แล้ว ผมยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง “อายุความ” กับ “ประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งในอนาคตคงต้องสร้างความชัดเจนให้มากกว่านี้ครับ ผมขอยกตัวอย่างจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 52 ที่ว่า “การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคล จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้”
การฟ้องคดีปกครองที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้”
ผมคงไม่ต้องอธิบายมาตรา 52 นะครับ แต่จะขอให้ย้อนกลับไปดูกันสักหน่อยว่า การใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนนั้น หากศาลจะรับไว้พิจารณาจะเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือไม่ครับ !!!
ผมไม่อยากโต้เถียงประเด็นนี้กับ “นักกฎหมายใหญ่” บางคนที่รีบออกมาให้ความเห็นสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่พิจารณายกคำร้องกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เนื่องจาก “ขาดอายุความ” ว่าเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกทำกันคือต้องดูว่าถูกต้องตามกระบวนการตามกฎหมายหรือไม่ก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วในเรื่องดังกล่าว หากถามนักกฎหมายมหาชน “แท้ ๆ ” ก็จะได้คำตอบไม่ต่างกันเท่าไรนัก เพราะหัวใจสำคัญของกฎหมายมหาชนคือ การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะซึ่งก็คือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง หากศาลซึ่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอ้างว่า กระบวนการของการยื่นคำร้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วปฏิเสธไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ศาลก็จะเป็นผู้บกพร่องต่อหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเสียเองครับ
ข้อสงสัยยังมีอีกว่า ข้อผิดพลาดทางเทคนิคคือการยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะกลายเป็น “ข้อยกเว้น” ที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่พิจารณาวินิจฉัย “ข้อเท็จจริง” ที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อแผ่นดินได้หรือไม่ครับ ซึ่งเรื่องนี้ผมก็จะขอพูดต่อไปเลยและเป็นเรื่องที่ควรจะต้องมีคำอธิบายจากศาลรัฐธรรมนูญก็คือ ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 50 ได้กล่าวไว้ว่า การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยทุกประเด็นที่ศาลกำหนด โดยตุลาการที่เป็นองค์คณะทุกคนจะงดออกเสียงในประเด็นใดประเด็นหนึ่งตามที่ศาลกำหนดมิได้ นั้น ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นเอาไว้ถึง 5 ประเด็นด้วยกัน
แต่จากการฟังการอ่านคำวินิจฉัยเมื่อบ่ายวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในประเด็นแรกเพียงประเด็นเดียวคือ กระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นอื่นซึ่งก็เป็นประเด็นที่สำคัญมากโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้นจึงชอบที่ประชาชนจะต้องได้รับทราบคำตอบที่ถูกต้องว่า การใช้จ่ายเงินภาษีอากรของประชาชนดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้วินิจฉัยทั้ง ๆ ที่ข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญเอง “บังคับ” ไว้แล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำ
คำถามต่อเนื่องก็คือ จะทำอย่างไรกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการ “ฝ่าฝืน” ข้อกำหนดของตัวเองครับ !!!
ผมไม่แน่ใจว่า ที่ผมถามไปทั้งหมด จะได้รับทราบคำตอบที่ชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญหรือจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร หรือจะเป็นเหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญคือ “silence is golden” แต่ก็อยากจะขอฝากไว้ให้กับ “พลเมือง” ทุกคนให้ช่วยกัน “ผลักดัน” ให้เราได้รับคำตอบเหล่านี้ต่อไปครับ
องค์กรต่อมาที่ผมคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งครับ ปัญหาทั้งหมดของเรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์เกิดขึ้นจากการกระทำของนายทะเบียนพรรคการเมืองกับประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคน ๆ เดียวกันแต่ทำสองหน้าที่
คงไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่า เกิดความสับสนในหน้าที่ระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมืองกับประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือเกิดความสับสนในกฎหมายที่จะนำมาใช้ระหว่างกฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่กับกฎหมายพรรคการเมืองฉบับเก่า คนที่ “สมัครใจ” เข้ามาทำงานระดับนี้ ในตำแหน่งนี้ ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนแล้วว่า ต้องรู้จริง ต้องทำงานได้ดีและไม่ผิดพลาด ตำแหน่งเหล่านี้ไม่ใช่ที่ “เรียนรู้งาน” เพราะเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ และต่อระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ฉะนั้น เมื่อทำงานผิด ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องไม่ควรผิด เช่นสับสนในหน้าที่หรือสับสนในกฎหมาย เราจะทำอย่างไรกันดีกับ “คนพวกนี้” ครับ !!
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากเป็นผม ผมลาออกไปแล้วครับ สง่างามกว่าอยู่ทำงานต่อไป เพราะ “พลเมือง” อย่างพวกเราคงไม่มีอะไรเป็นหลักประกันอีกแล้วว่า ในการทำงานต่อ ๆ ไปคุณจะไม่ “สับสนในหน้าที่” หรือ “สับสนในกฎหมาย” อีก
แต่ถ้าให้ผม “เดา” ผมคิดว่าคงไม่มีใครลาออกแน่ จะลาออกกันไปทำไมครับ มีตัวอย่าง ที่เห็น ๆ กันอยู่หลายเรื่อง ล่าสุดที่เคยเกิดขึ้นในศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เถียงกันว่าการสอนหนังสือเป็นการรับจ้างหรือไม่ หรือกรณีล่าสุด กรณีเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ทุกคนเงียบ ไม่ลาออก ไม่ชี้แจง ปล่อยให้เวลาผ่านไป ไม่ช้าเรื่องก็เงียบ ตัวเองก็มีงานทำ มีเงินใช้ มีอำนาจวาสนาบารมีต่อไปครับ !!!
ไม่ทราบว่า กรรมการการเลือกตั้งคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้บ้างนะครับ น่าจะลองแนะนำนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ลาออกเนื่องจากบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายอย่าง รวมทั้ง “ตอกย้ำ” ความแตกแยกในสังคมให้มากยิ่งขึ้นไปด้วย
จริง ๆ แล้วประเด็นนี้ สื่อมวลชนน่าจะลองไปรื้อข้อมูลที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วในช่วงเวลาที่ผ่านมาเสนอต่อสาธารณะให้ทราบว่า ก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องการฟ้องไม่ฟ้องมาหลายครั้งแล้ว จนกระทั่ง “เสื้อแดง” บุกไปที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องจึงออกจาก กกต. ไปที่อัยการ จำกันได้ไหมครับ !
มีข้อสงสัยสุดท้ายที่คาใจอยู่ก็คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รู้ หรือเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจครับ…..
ก่อนที่จะจบบทบรรณาธิการครั้งนี้ผมต้องขอฝากเป็นข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นปัญหาที่ “นักกฎหมาย” ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งก็มาจากนักกฎหมายที่มีระดับ เช่น ผู้พิพากษา อัยการซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นนักกฎหมายใหญ่ ศาลรัฐธรรมนูญเองก็มาจากนักกฎหมายและมาจากผู้พิพากษาจำนวนหนึ่ง ทำไมคนทั้งหมดซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในวงการเดียวกันแต่กลับมองหรืออ่านกฎหมายไม่เหมือนกัน เรื่องนี้คงไม่ต้องการคำตอบว่าการมองของใครถูกต้องที่สุดเพราะในเมื่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุด ผูกพันทุกองค์กร อย่างไรเสียก็ต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะ “คิดว่า” เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญถูกหรือผิดก็ตาม
ท้ายที่สุด ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ “โชคดีซ้ำซาก” รอดพ้นจากทุกเหตุการณ์ไปได้อย่างง่ายดายครับ จริงอยู่ แม้จะมีคนออกมาตั้งข้อสงสัยในความ “โชคดีซ้ำซาก” ของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถ “สลัด” ข้อกังขาที่เป็นประเด็นให้หลุดไปได้ แต่ไม่ช้าไม่นานคนก็จะลืมกันไปเองเหมือนกับทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา และยิ่งถ้ามีข่าว “เหมือนเดิม” ออกมา เช่น ข่าวการลอบทำร้าย หรือข่าวหมิ่นต่าง ๆ คนก็จะหันไปสนใจเรื่องเหล่านั้นจนไม่สนใจว่า การ “รอด” จากการถูกยุบพรรคด้วยข้อผิดพลาดทางเทคนิคนั้น เป็นความ “สง่างาม” หรือเป็นความ “ถูกต้อง” ที่พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศโดยควรจะ “ภูมิใจ” หรือไม่ เพราะข้อกล่าวหาว่า ใช้เงินภาษีอากรของพี่น้องประชาชนผิดประเภท ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ให้กระจ่างครับ !!!
ศ. ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
*********************************************************************
ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อให้คู่กรณีแถลงปิดคดีด้วยวาจาในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์จากกรณีการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ จากนั้นในตอนบ่ายสองโมง ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดฟังคำวินิจฉัยเรื่องดังกล่าว โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่เขียนบทบรรณาธิการนี้ ผมยังไม่เห็นคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนตัวของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน จึงยังไม่ขอให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ผมเข้าใจว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องเนื่องมาจากคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์เกินระยะเวลาที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนด กล่าวคือ เกิดการนับวันไม่ตรงกันระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับศาลรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งนับวันที่ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ฟ้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553
และต่อมา ประธานกรรมการการเลือกตั้งก็ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งก็อยู่ภายใน 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญกลับถือเอาวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันที่ประธานกรรมการการเลือกตั้งเสนอเรื่องให้ที่ประชุมพิจารณา ดังนั้น เมื่อประธานกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 จึงล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองไปแล้ว
แม้จะยังไม่ได้เห็นคำวินิจฉัยฉบับจริง แต่เมื่อได้ฟังคำวินิจฉัยและรับทราบผลคำวินิจฉัยในเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในเบื้องต้น ผมมีข้อสังเกตบางอย่างเกี่ยวกับ 2 องค์กรคือ ศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้งที่คงต้องนำมากล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้ก่อน เมื่อได้อ่านคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตัวแล้ว หากมีประเด็นน่าสนใจ ก็จะได้ย้อนกลับมาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่งครับ
องค์กรแรกที่อยากจะกล่าวถึงก็คือศาลรัฐธรรมนูญ มีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญที่อยากจะพูดถึง คงต้องเริ่มจากก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ มีข่าวไม่ดีไม่งามออกมามากมายที่ทำให้เกิดมุมมองในเชิงลบกับศาลรัฐธรรมนูญและกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน ข่าวไม่ดีไม่งามดังกล่าวมีผู้ให้ความเห็นสรุปได้เป็นสองแนวทาง แนวทางแรกคือ มี “ขบวนการ” จ้องทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ กับแนวทางที่สองคือ ศาลรัฐธรรมนูญเองที่ทำให้องค์กรของตัวเองไม่น่าเชื่อถือ
เรื่องดังกล่าวจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีผู้ใดออกมาชี้แจงให้กระจ่างว่าในที่สุดแล้ว ปัญหาเกิดจากใคร และความรับผิดชอบควรตกอยู่แก่ผู้ใด แต่ในช่วงเวลาเดียวกันก็กลับมีการให้ข่าวออกมาว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะฉะนั้น ในปัจจุบัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์เสร็จเรียบร้อยไปแล้ว ก็ชอบที่ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวจะออกมาชี้แจงหรืออธิบายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นให้แก่สังคมทราบต่อไปว่า สรุปแล้วเกิดอะไรขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญครับ
เรื่องต่อมาที่ผมมีข้อสังเกตก็คือ เรื่องผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ยกคำร้องกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เนื่องจากมีการยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น ผมได้ลองตรวจสอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ดูแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีข้อใดเลยที่กล่าวถึงการตรวจสอบเรื่อง “อายุความในการร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ”
แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีระเบียบหรือหลักเกณฑ์อื่นใดที่กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้หรือไม่ ซึ่งเมื่อเทียบเรื่องดังกล่าวกับวิธีพิจารณาคดีของศาลปกครองแล้ว ก็จะพบว่าทั้งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กับระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ต้องมีการตรวจสอบคำฟ้องในเบื้องต้นก่อนที่จะรับไว้พิจารณา
นอกจากนี้ จากการสอบถามเรื่องดังกล่าวกับพนักงานคดีปกครองทำให้ได้ข้อมูลว่า การตรวจสอบเรื่อง “อายุความ” หรือ “ระยะเวลาในการฟ้องคดี” จะทำกันอย่างจริงจังและหลายขั้นตอน แม้กระทั่งเมื่อตุลาการหัวหน้าคณะจ่ายสำนวนคดีให้กับตุลาการเจ้าของสำนวนแล้ว ตุลาการเจ้าของสำนวนก็จะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำฟ้องก่อนที่จะรับหรือไม่รับคำฟ้องนั้นไว้พิจารณา ดังนั้น หากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีกระบวนการดังกล่าว ก็ชอบที่จะพิจารณาปรับปรุงข้อกำหนดของตัวเองเสียใหม่เพื่อให้การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นของคำร้องเกิดประโยชน์มากกว่าพิจารณากันไปตั้งชาติหนึ่งแล้วค่อยมาบอกว่ายื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
นอกจากนี้ ในข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ยังได้ มีการแต่งตั้ง “ตุลาการประจำคดี” คล้าย ๆ กับ “ตุลาการเจ้าของสำนวน” ของศาลปกครองด้วย แต่จำนวนอาจแตกต่างกันเพราะของศาลรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในข้อกำหนดฯ ข้อ 25 ว่าให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งตุลาการไม่น้อยกว่า 3 คนเป็นตุลาการประจำคดี แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ 2 กรณีซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และก็มีข้อยกเว้นซ้อนเข้าไปอีกว่า “หรือในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ประธานศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่แต่งตั้งตุลาการประจำคดีก็ได้” ซึ่งข้อยกเว้นหลังนี้ก็ไม่เข้าเกณฑ์กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน
คำถามของผมคือ ใครเป็นตุลาการประจำคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และตุลาการประจำคดีได้ทำหน้าที่ของตนในการตรวจสอบว่าการยื่นฟ้องกรณีดังกล่าวเกินระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ อย่างไร ครับ เพราะหากพิจารณาข้อกำหนดฯ ข้อ 29 ก็กล่าวไว้ชัดเจนพอสมควรว่า
“เมื่อศาลหรือตุลาการประจำคดี แล้วแต่กรณี มีคำสั่งรับคำร้องที่มีคู่กรณีไว้พิจารณาวินิจฉัย ให้ส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกร้อง หรือมีคำสั่งแจ้งผู้ถูกร้องมารับสำเนาคำร้องภายในระยกเวลาที่ศาลกำหนด
เมื่อผู้ถูกร้องได้รับสำเนาคำร้อง ให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด
กรณีผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับสำเนาคำร้อง หรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หรือไม่มารับสำเนาคำร้องภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป”
ผมสงสัยจริง ๆ นะครับว่าใครเป็นตุลาการประจำคดีในเรื่องนี้ แล้วทำไมตุลาการประจำคดีถึงได้ไม่หยิบยกเรื่องยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กำหนด มาพิจารณาตั้งแต่ต้น ปล่อยให้เสียเวลาไต่สวนข้อเท็จจริงมาถึงหลายเดือนแล้วก็มาจบลงตรงที่ว่า ยื่นคำร้องเกินระยะเวลาครับ !!!
นอกจากนี้แล้ว ผมยังมีข้อสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง “อายุความ” กับ “ประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งในอนาคตคงต้องสร้างความชัดเจนให้มากกว่านี้ครับ ผมขอยกตัวอย่างจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 52 ที่ว่า “การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือสถานะของบุคคล จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้”
การฟ้องคดีปกครองที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาการฟ้องคดีแล้ว ถ้าศาลปกครองเห็นว่าคดีที่ยื่นฟ้องนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือมีเหตุจำเป็นอื่นโดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอศาลปกครองจะรับไว้พิจารณาก็ได้”
ผมคงไม่ต้องอธิบายมาตรา 52 นะครับ แต่จะขอให้ย้อนกลับไปดูกันสักหน่อยว่า การใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนนั้น หากศาลจะรับไว้พิจารณาจะเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะหรือเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือไม่ครับ !!!
ผมไม่อยากโต้เถียงประเด็นนี้กับ “นักกฎหมายใหญ่” บางคนที่รีบออกมาให้ความเห็นสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่พิจารณายกคำร้องกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์เนื่องจาก “ขาดอายุความ” ว่าเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกทำกันคือต้องดูว่าถูกต้องตามกระบวนการตามกฎหมายหรือไม่ก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วในเรื่องดังกล่าว หากถามนักกฎหมายมหาชน “แท้ ๆ ” ก็จะได้คำตอบไม่ต่างกันเท่าไรนัก เพราะหัวใจสำคัญของกฎหมายมหาชนคือ การคุ้มครองประโยชน์สาธารณะซึ่งก็คือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชนนั่นเอง หากศาลซึ่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะอ้างว่า กระบวนการของการยื่นคำร้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วปฏิเสธไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ศาลก็จะเป็นผู้บกพร่องต่อหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเสียเองครับ
ข้อสงสัยยังมีอีกว่า ข้อผิดพลาดทางเทคนิคคือการยื่นคำร้องเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะกลายเป็น “ข้อยกเว้น” ที่ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่พิจารณาวินิจฉัย “ข้อเท็จจริง” ที่ถือว่าเป็นการกระทำผิดต่อแผ่นดินได้หรือไม่ครับ ซึ่งเรื่องนี้ผมก็จะขอพูดต่อไปเลยและเป็นเรื่องที่ควรจะต้องมีคำอธิบายจากศาลรัฐธรรมนูญก็คือ ตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 50 ได้กล่าวไว้ว่า การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยทุกประเด็นที่ศาลกำหนด โดยตุลาการที่เป็นองค์คณะทุกคนจะงดออกเสียงในประเด็นใดประเด็นหนึ่งตามที่ศาลกำหนดมิได้ นั้น ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดประเด็นเอาไว้ถึง 5 ประเด็นด้วยกัน
แต่จากการฟังการอ่านคำวินิจฉัยเมื่อบ่ายวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในประเด็นแรกเพียงประเด็นเดียวคือ กระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นอื่นซึ่งก็เป็นประเด็นที่สำคัญมากโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชน ดังนั้นจึงชอบที่ประชาชนจะต้องได้รับทราบคำตอบที่ถูกต้องว่า การใช้จ่ายเงินภาษีอากรของประชาชนดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในเรื่องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้วินิจฉัยทั้ง ๆ ที่ข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญเอง “บังคับ” ไว้แล้วว่า ศาลรัฐธรรมนูญต้องทำ
คำถามต่อเนื่องก็คือ จะทำอย่างไรกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการ “ฝ่าฝืน” ข้อกำหนดของตัวเองครับ !!!
ผมไม่แน่ใจว่า ที่ผมถามไปทั้งหมด จะได้รับทราบคำตอบที่ชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญหรือจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร หรือจะเป็นเหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญคือ “silence is golden” แต่ก็อยากจะขอฝากไว้ให้กับ “พลเมือง” ทุกคนให้ช่วยกัน “ผลักดัน” ให้เราได้รับคำตอบเหล่านี้ต่อไปครับ
องค์กรต่อมาที่ผมคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้คือ คณะกรรมการการเลือกตั้งครับ ปัญหาทั้งหมดของเรื่องยุบพรรคประชาธิปัตย์เกิดขึ้นจากการกระทำของนายทะเบียนพรรคการเมืองกับประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคน ๆ เดียวกันแต่ทำสองหน้าที่
คงไม่สามารถกล่าวอ้างได้ว่า เกิดความสับสนในหน้าที่ระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมืองกับประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือเกิดความสับสนในกฎหมายที่จะนำมาใช้ระหว่างกฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่กับกฎหมายพรรคการเมืองฉบับเก่า คนที่ “สมัครใจ” เข้ามาทำงานระดับนี้ ในตำแหน่งนี้ ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนแล้วว่า ต้องรู้จริง ต้องทำงานได้ดีและไม่ผิดพลาด ตำแหน่งเหล่านี้ไม่ใช่ที่ “เรียนรู้งาน” เพราะเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อระบบต่าง ๆ และต่อระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ฉะนั้น เมื่อทำงานผิด ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องไม่ควรผิด เช่นสับสนในหน้าที่หรือสับสนในกฎหมาย เราจะทำอย่างไรกันดีกับ “คนพวกนี้” ครับ !!
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากเป็นผม ผมลาออกไปแล้วครับ สง่างามกว่าอยู่ทำงานต่อไป เพราะ “พลเมือง” อย่างพวกเราคงไม่มีอะไรเป็นหลักประกันอีกแล้วว่า ในการทำงานต่อ ๆ ไปคุณจะไม่ “สับสนในหน้าที่” หรือ “สับสนในกฎหมาย” อีก
แต่ถ้าให้ผม “เดา” ผมคิดว่าคงไม่มีใครลาออกแน่ จะลาออกกันไปทำไมครับ มีตัวอย่าง ที่เห็น ๆ กันอยู่หลายเรื่อง ล่าสุดที่เคยเกิดขึ้นในศาลรัฐธรรมนูญมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เถียงกันว่าการสอนหนังสือเป็นการรับจ้างหรือไม่ หรือกรณีล่าสุด กรณีเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ทุกคนเงียบ ไม่ลาออก ไม่ชี้แจง ปล่อยให้เวลาผ่านไป ไม่ช้าเรื่องก็เงียบ ตัวเองก็มีงานทำ มีเงินใช้ มีอำนาจวาสนาบารมีต่อไปครับ !!!
ไม่ทราบว่า กรรมการการเลือกตั้งคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้บ้างนะครับ น่าจะลองแนะนำนายทะเบียนพรรคการเมืองให้ลาออกเนื่องจากบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายอย่าง รวมทั้ง “ตอกย้ำ” ความแตกแยกในสังคมให้มากยิ่งขึ้นไปด้วย
จริง ๆ แล้วประเด็นนี้ สื่อมวลชนน่าจะลองไปรื้อข้อมูลที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วในช่วงเวลาที่ผ่านมาเสนอต่อสาธารณะให้ทราบว่า ก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องการฟ้องไม่ฟ้องมาหลายครั้งแล้ว จนกระทั่ง “เสื้อแดง” บุกไปที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องจึงออกจาก กกต. ไปที่อัยการ จำกันได้ไหมครับ !
มีข้อสงสัยสุดท้ายที่คาใจอยู่ก็คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รู้ หรือเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจครับ…..
ก่อนที่จะจบบทบรรณาธิการครั้งนี้ผมต้องขอฝากเป็นข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นปัญหาที่ “นักกฎหมาย” ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งก็มาจากนักกฎหมายที่มีระดับ เช่น ผู้พิพากษา อัยการซึ่งเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญก็เป็นนักกฎหมายใหญ่ ศาลรัฐธรรมนูญเองก็มาจากนักกฎหมายและมาจากผู้พิพากษาจำนวนหนึ่ง ทำไมคนทั้งหมดซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในวงการเดียวกันแต่กลับมองหรืออ่านกฎหมายไม่เหมือนกัน เรื่องนี้คงไม่ต้องการคำตอบว่าการมองของใครถูกต้องที่สุดเพราะในเมื่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นที่สุด ผูกพันทุกองค์กร อย่างไรเสียก็ต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะ “คิดว่า” เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญถูกหรือผิดก็ตาม
ท้ายที่สุด ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ “โชคดีซ้ำซาก” รอดพ้นจากทุกเหตุการณ์ไปได้อย่างง่ายดายครับ จริงอยู่ แม้จะมีคนออกมาตั้งข้อสงสัยในความ “โชคดีซ้ำซาก” ของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่สามารถ “สลัด” ข้อกังขาที่เป็นประเด็นให้หลุดไปได้ แต่ไม่ช้าไม่นานคนก็จะลืมกันไปเองเหมือนกับทุก ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา และยิ่งถ้ามีข่าว “เหมือนเดิม” ออกมา เช่น ข่าวการลอบทำร้าย หรือข่าวหมิ่นต่าง ๆ คนก็จะหันไปสนใจเรื่องเหล่านั้นจนไม่สนใจว่า การ “รอด” จากการถูกยุบพรรคด้วยข้อผิดพลาดทางเทคนิคนั้น เป็นความ “สง่างาม” หรือเป็นความ “ถูกต้อง” ที่พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศโดยควรจะ “ภูมิใจ” หรือไม่ เพราะข้อกล่าวหาว่า ใช้เงินภาษีอากรของพี่น้องประชาชนผิดประเภท ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ให้กระจ่างครับ !!!
ศ. ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
*********************************************************************
ปชป.ขู่‘เพื่อไทย’ระวังถูกยุบรอบ3
ทีมทนายต่อสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ออกโรงขู่เพื่อไทยให้เตรียมทนายเอาไว้ได้เพราะจะถูกฟ้องยุบพรรคอีกครั้งเป็นคำรบที่ 3 หากยังไม่ยุตินำคำตัดสินคดี 29 ล้านบาทไปขยายผลทางการเมือง โฆษกประชาธิปัตย์ชี้มีกระบวนการกดดันศาลให้ยุบพรรคในคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท โฆษกเพื่อไทยยอมรับ ส.ส. ทยอยลาออกจาการเป็นกรรมการบริหารเพราะกลัวถูกยุบพรรค ตัดสิทธิ ระบุทุกคนประจักษ์ชัดเจนแล้วว่าอีกฝ่ายทำอะไรก็ไม่ผิด เพราะฉะนั้นการถูกยุบพรรคอีกรอบจึงอาจเกิดขึ้นได้
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์ หนึ่งในทีมทนายต่อสู้คดียุบพรรค กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้สถาบันการศึกษาตั้งศาลรัฐธรรมนูญจำลองขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จากการใช้เงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ว่า การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญถือว่ายุติแล้วและมีผลผูกพันกับทุกองค์กร อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ทางกฎหมายนั้นสามารถทำได้ แต่ขอให้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้มีความรู้ทางกฎหมายจริงๆเท่านั้น โดยผู้พูดต้องมีความเป็นกลาง มีคุณธรรม ไม่ใช่เอานักวิชาการที่ไม่มีความเป็นกลางมาวิจารณ์เพื่อหวังนำคำวิจารณ์ไปขยายผลต่อยอดให้เป็นประเด็นทางการเมือง
ให้เพื่อไทยเตรียมทนายสู้ยุบพรรค
“ผมอยากให้พรรคเพื่อไทยเตรียมทนายเอาไว้ เพราะหากมีข้อมูลหลักฐานว่ากระทำการให้ข้อมูลใส่ร้ายป้ายสีพรรคประชาธิปัตย์อาจจะถูกฟ้องยุบพรรคได้อีกเป็นครั้งที่ 3 หากพรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องนี้เป็นประเด็นเสนอต่อสังคมควรนำนักวิชการที่มีความเป็นกลางจริงๆออกมาพูดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ทางการเมือง และทำให้เกิดความเข้าใจผิดในกระบวนการยุติธรรม เพราะต้องยอมรับความจริงว่าประชาชนไม่ได้เข้าใจกฎหมายทุกคน เนื่องจากไม่สนใจศึกษาข้อกฎหมายจึงตกเป็นเหยื่อของพวกสร้างสถานการณ์ให้เข้าใจว่ามี 2 มาตรฐาน ทั้งที่ความจริงมีมาตรฐานเดียว” นายไชยวัฒน์กล่าว
พบกระบวนการกดดันยุบพรรค
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ส.ส.สัดส่วนและโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีความพยายามเคลื่อนไหวกดดันศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคดียุบพรรคจากเงินบริจาค 258 ล้านบาทอย่างต่อเนื่อง หลังทำไม่สำเร็จในคดี 29 ล้านบาท
“ชัดเจนว่ามีความพยายามเคลื่อนไหวกดดัน โดยทำกันเป็นขบวนการ ทั้งจากพรรคการเมือง นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ อดีตนายกรัฐมนตรี และประชาชนบางกลุ่ม โดยทั้งหมดพูดจาสอดคล้องกันว่ามีรังสีอำมหิตคอยช่วยพรรคประชาธิปัตย์เพื่อให้ประชาชนคล้อยตามว่าศาลรัฐธรรมนูญถูกคุกคาม ทั้งที่การพิจารณาคดีเป็นไปตามพยานหลักฐาน และพรรคต่อสู้ไปตามข้อเท็จจริง ไม่มีใครคอยให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จึงอยากขอให้ประชาชนทุกคนช่วยกันรักษาระบบและปฏิเสธขบวนการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม” นพ.บุรณัชย์กล่าว
เพื่อไทยรับ ส.ส. กลัวพรรคถูกยุบอีก
ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค แถลงว่า ยอมรับว่ามี ส.ส. ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคทยอยลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเกรงว่าพรรคอาจจะถูกยุบอีกจึงไม่อยากถูกตัดสิทธิ
“ส.ส. จำเป็นต้องหาทางหนีทีไล่เอาไว้เหมือนกัน เพราะเราได้ประจักษ์กันแล้วว่าในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งทำอะไรไม่เคยผิด แต่เราทำอะไรก็ผิด ทุกคนก็กลัวเป็นธรรมดา เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าบ้านเมืองเรายังไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง” นายพร้อมพงศ์กล่าว
กมม. ชี้เป็นบทเรียน 2 องค์กรอิสระ
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า พรรคไม่ติดใจคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ผลที่ออกมาถือเป็นบทเรียนที่สำคัญของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องตอบคำถามจากสังคมให้มีความกระจ่างชัดเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากยังไม่มีการวินิจฉัยเนื้อหาของคดีว่ามีการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ร้องกล่าวหาหรือไม่
ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
*********************************************************************
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์ หนึ่งในทีมทนายต่อสู้คดียุบพรรค กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้สถาบันการศึกษาตั้งศาลรัฐธรรมนูญจำลองขึ้นมาเพื่อพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จากการใช้เงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ว่า การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญถือว่ายุติแล้วและมีผลผูกพันกับทุกองค์กร อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ทางกฎหมายนั้นสามารถทำได้ แต่ขอให้เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้มีความรู้ทางกฎหมายจริงๆเท่านั้น โดยผู้พูดต้องมีความเป็นกลาง มีคุณธรรม ไม่ใช่เอานักวิชาการที่ไม่มีความเป็นกลางมาวิจารณ์เพื่อหวังนำคำวิจารณ์ไปขยายผลต่อยอดให้เป็นประเด็นทางการเมือง
ให้เพื่อไทยเตรียมทนายสู้ยุบพรรค
“ผมอยากให้พรรคเพื่อไทยเตรียมทนายเอาไว้ เพราะหากมีข้อมูลหลักฐานว่ากระทำการให้ข้อมูลใส่ร้ายป้ายสีพรรคประชาธิปัตย์อาจจะถูกฟ้องยุบพรรคได้อีกเป็นครั้งที่ 3 หากพรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องนี้เป็นประเด็นเสนอต่อสังคมควรนำนักวิชการที่มีความเป็นกลางจริงๆออกมาพูดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ทางการเมือง และทำให้เกิดความเข้าใจผิดในกระบวนการยุติธรรม เพราะต้องยอมรับความจริงว่าประชาชนไม่ได้เข้าใจกฎหมายทุกคน เนื่องจากไม่สนใจศึกษาข้อกฎหมายจึงตกเป็นเหยื่อของพวกสร้างสถานการณ์ให้เข้าใจว่ามี 2 มาตรฐาน ทั้งที่ความจริงมีมาตรฐานเดียว” นายไชยวัฒน์กล่าว
พบกระบวนการกดดันยุบพรรค
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ส.ส.สัดส่วนและโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีความพยายามเคลื่อนไหวกดดันศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคดียุบพรรคจากเงินบริจาค 258 ล้านบาทอย่างต่อเนื่อง หลังทำไม่สำเร็จในคดี 29 ล้านบาท
“ชัดเจนว่ามีความพยายามเคลื่อนไหวกดดัน โดยทำกันเป็นขบวนการ ทั้งจากพรรคการเมือง นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ อดีตนายกรัฐมนตรี และประชาชนบางกลุ่ม โดยทั้งหมดพูดจาสอดคล้องกันว่ามีรังสีอำมหิตคอยช่วยพรรคประชาธิปัตย์เพื่อให้ประชาชนคล้อยตามว่าศาลรัฐธรรมนูญถูกคุกคาม ทั้งที่การพิจารณาคดีเป็นไปตามพยานหลักฐาน และพรรคต่อสู้ไปตามข้อเท็จจริง ไม่มีใครคอยให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จึงอยากขอให้ประชาชนทุกคนช่วยกันรักษาระบบและปฏิเสธขบวนการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม” นพ.บุรณัชย์กล่าว
เพื่อไทยรับ ส.ส. กลัวพรรคถูกยุบอีก
ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค แถลงว่า ยอมรับว่ามี ส.ส. ที่เป็นกรรมการบริหารพรรคทยอยลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเกรงว่าพรรคอาจจะถูกยุบอีกจึงไม่อยากถูกตัดสิทธิ
“ส.ส. จำเป็นต้องหาทางหนีทีไล่เอาไว้เหมือนกัน เพราะเราได้ประจักษ์กันแล้วว่าในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งทำอะไรไม่เคยผิด แต่เราทำอะไรก็ผิด ทุกคนก็กลัวเป็นธรรมดา เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าบ้านเมืองเรายังไม่มีประชาธิปไตยที่แท้จริง” นายพร้อมพงศ์กล่าว
กมม. ชี้เป็นบทเรียน 2 องค์กรอิสระ
นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า พรรคไม่ติดใจคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ผลที่ออกมาถือเป็นบทเรียนที่สำคัญของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องตอบคำถามจากสังคมให้มีความกระจ่างชัดเพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากยังไม่มีการวินิจฉัยเนื้อหาของคดีว่ามีการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ตามที่ผู้ร้องกล่าวหาหรือไม่
ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
*********************************************************************
ทวงคืน29ล้าน
ถึงแม้จะล่วงเลยมาหลายวันแล้ว แต่คำวินิจฉัยยกคำร้องคดี 29 ล้านเงินกกต.ยังไม่จางหายไปจากสังคม
ชาวบ้านยังสงสัยกันว่าความจริงแล้ว พรรคประชาธิปัตย์นำเงิน 29 ล้านบาทไปใช้ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
เงินภาษีก้อนนี้นำไปใช้ในการพัฒนาพรรคการเมืองตามจุดประสงค์จริงหรือเปล่า !?
เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นนี้
ฉะนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีหวังกลบกระแสสังคมด้วยการสั่งให้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ไม่ได้ช่วยทำให้ข้อสงสัยลดลงแม้แต่น้อย
กลับกันยิ่งตอกย้ำ ยิ่งขยาย 4 ประเด็นที่ไม่มีการวินิจฉัยเข้าไปอีก
อีกทั้งมติ 4:2 ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ยืนยันในตัวเองชัดเจนว่ายังมีตุลาการอีกขั้วไม่เห็นด้วยกับการยกคำร้อง
ทำให้ความสงสัยและกังขายังมีแรงกระเพื่อมอยู่
แม้ว่าคนเสื้อแดงจะแถลงชัดเจนว่าจะไม่มีการชุมนุมต่อต้านคำตัดสินคดี 29 ล้าน
อาจเป็นเพราะมีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะออกมาในรูปนี้ !?
แต่ก็ยังมีการเคลื่อนไหวเฉพาะในประเด็นเงิน 29 ล้านบาทอยู่
วันก่อน แกนนำนปช.เชียงรายยื่นหนังสือถึงกกต.จังหวัด เพื่อให้ส่งต่อถึงนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง
ขอให้เรียกคืนเงิน 29 ล้านบาทจากพรรคประชาธิปัตย์
เพราะกกต.ในฐานะผู้ร้อง เคยมีมติชัดเจนว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำผิดระเบียบ ไม่ได้ใช้เงินก้อนนี้ไปตามเจตนารมณ์
กกต.จึงมีความชอบธรรมที่จะเรียกคืน"เงินหลวง"ก้อนนี้
กับอีกส่วนที่เป็นการเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ซึ่งก็เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แกนนำเพื่อไทยประกาศเตรียมล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นคน ยื่นถอดถอนนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.
เพราะมองว่าเป็น"ต้นเหตุ"ของคำตัดสินยกคำร้อง
ทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่าเงื่อนเวลา 17 ธ.ค.2552 กับ 12 เม.ย.2553 เป็นการจงใจหรือเปล่า
ว่าไปแล้ว นายอภิชาตไม่ได้โดนกดดันจากสังคม หรือจากพรรคเพื่อไทยเท่านั้น
กกต.ด้วยกันเองก็ยังเห็นว่านายอภิชาตควรลาออกไปคนเดียว !
เพื่อรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ถึงเวลานี้ พรรคประชาธิปัตย์อาจรอดพ้นจากการยุบพรรคในแง่ของตัวบทกฎหมาย
ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อพรรคใหม่
นายกฯมาร์คไม่ต้องพ้นจากเก้าอี้นายกฯ ไม่ต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
แต่ในแง่สังคม พรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นปัญหาอยู่
ยังไขความกระจ่างคดี 29 ล้านไม่ได้
ข้อกล่าวหา"มือที่มองไม่เห็น"ก็ยังกังขาอยู่ต่อไป !?
ข่าวสดรายวัน.คอลัมน์ เหล็กใน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชาวบ้านยังสงสัยกันว่าความจริงแล้ว พรรคประชาธิปัตย์นำเงิน 29 ล้านบาทไปใช้ถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
เงินภาษีก้อนนี้นำไปใช้ในการพัฒนาพรรคการเมืองตามจุดประสงค์จริงหรือเปล่า !?
เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่มีการวินิจฉัยในประเด็นนี้
ฉะนั้น การที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีหวังกลบกระแสสังคมด้วยการสั่งให้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ไม่ได้ช่วยทำให้ข้อสงสัยลดลงแม้แต่น้อย
กลับกันยิ่งตอกย้ำ ยิ่งขยาย 4 ประเด็นที่ไม่มีการวินิจฉัยเข้าไปอีก
อีกทั้งมติ 4:2 ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ยืนยันในตัวเองชัดเจนว่ายังมีตุลาการอีกขั้วไม่เห็นด้วยกับการยกคำร้อง
ทำให้ความสงสัยและกังขายังมีแรงกระเพื่อมอยู่
แม้ว่าคนเสื้อแดงจะแถลงชัดเจนว่าจะไม่มีการชุมนุมต่อต้านคำตัดสินคดี 29 ล้าน
อาจเป็นเพราะมีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วว่าจะออกมาในรูปนี้ !?
แต่ก็ยังมีการเคลื่อนไหวเฉพาะในประเด็นเงิน 29 ล้านบาทอยู่
วันก่อน แกนนำนปช.เชียงรายยื่นหนังสือถึงกกต.จังหวัด เพื่อให้ส่งต่อถึงนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง
ขอให้เรียกคืนเงิน 29 ล้านบาทจากพรรคประชาธิปัตย์
เพราะกกต.ในฐานะผู้ร้อง เคยมีมติชัดเจนว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำผิดระเบียบ ไม่ได้ใช้เงินก้อนนี้ไปตามเจตนารมณ์
กกต.จึงมีความชอบธรรมที่จะเรียกคืน"เงินหลวง"ก้อนนี้
กับอีกส่วนที่เป็นการเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ซึ่งก็เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แกนนำเพื่อไทยประกาศเตรียมล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นคน ยื่นถอดถอนนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.
เพราะมองว่าเป็น"ต้นเหตุ"ของคำตัดสินยกคำร้อง
ทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่าเงื่อนเวลา 17 ธ.ค.2552 กับ 12 เม.ย.2553 เป็นการจงใจหรือเปล่า
ว่าไปแล้ว นายอภิชาตไม่ได้โดนกดดันจากสังคม หรือจากพรรคเพื่อไทยเท่านั้น
กกต.ด้วยกันเองก็ยังเห็นว่านายอภิชาตควรลาออกไปคนเดียว !
เพื่อรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ถึงเวลานี้ พรรคประชาธิปัตย์อาจรอดพ้นจากการยุบพรรคในแง่ของตัวบทกฎหมาย
ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อพรรคใหม่
นายกฯมาร์คไม่ต้องพ้นจากเก้าอี้นายกฯ ไม่ต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี
แต่ในแง่สังคม พรรคประชาธิปัตย์ยังเป็นปัญหาอยู่
ยังไขความกระจ่างคดี 29 ล้านไม่ได้
ข้อกล่าวหา"มือที่มองไม่เห็น"ก็ยังกังขาอยู่ต่อไป !?
ข่าวสดรายวัน.คอลัมน์ เหล็กใน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
'แจกแหลก'ไม่เปรี้ยง สกัด'เสี่ยแม้ว'ไปมะกัน
สันติปรองดองขนานแท้
....นายกฯ มาร์ค แพลมเลือกตั้งต้นปีหน้า ก็จัดให้ทันทีมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า 'แจกแหลก' มีสาระสำคัญ 3 ข้อ 1.แก้หนี้สินครบวงจร 2.อัดฉีดรายได้ ลดภาระค่าครองชีพ และ 3.ขยายฐานกลุ่มประกันสังคม
ต้นตำรับประชานิยมถอยไป
....ศ.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ คณบดีเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ปิ๊งมาตรการที่ ออกมา ระบุเป็นแค่การผ่อนคลายปัญหา พร้อมแนะวิธีแก้ที่ถูกทางคือต้องเข้าไปแก้ทั้งระบบ ทั้งสร้างโอกาสหารายได้ กระ จายความเจริญ เข้าถึงระบบการศึกษา และสาธารณสุข
ทีมโทรโข่งไม่อยู่เฉยแน่
....นพดล ปัทมะ กุนซือกฎหมาย เสี่ยแม้ว ตีปี๊บนายใหญ่ได้คิวลบภาพบัญชีดำบินเข้าสหรัฐกลางเดือนนี้ ตามคำเชิญกมธ.ด้านสิทธิมนุษยชนมะกัน ไปให้ปากคำเหตุสลายม็อบแดง พ่วงสารพัดปัญหาจากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เข้าไปได้ก่อนค่อยว่ากัน
.... ไม่ทันข้ามวัน ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขาฯรมว.บัวแก้ว พูดปิดทาง ล่วงหน้าว่า เสี่ยแม้ว ไม่มีทางเข้าไปให้ข้อมูลกับสภามะกันได้ แถมคุยว่ากระ ทรวงไม่ได้ตกข่าว แต่ที่ไม่ออกอาการเพราะมั่นใจว่าไม่มีทางเกิด
ใครหน้าแตกเดี๋ยวก็รู้
.... ธานี ทองภักดี โฆษกบัวแก้ว ป้อนข้อมูลหน่วยงานที่เชิญ เสี่ยแม้ว ยกราย งานสถานทูตไทย วอชิงตัน ว่าเป็นองค์กรอิสระจัดเวทีระดมความเห็นสถานการณ์ไทย พร้อมยืนยันอดีตนายกฯ ไทยเข้าสหรัฐได้หรือไม่ รัฐบาลมะกัน เป็นผู้ชี้
พิสูจน์น้ำยาบัวแก้วอีกครั้ง
....เสธ.ไก่อู-พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ตามประเด็นร้อนมาติดๆ คอนเฟิร์มเรื่องกระชับพื้นที่ราชประสงค์ ไม่ใช่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เป็นการจัดการกับการชุมนุมที่เกินขอบเขต โดยมีกฎหมายรองรับทุกขั้นตอน
องค์กรสิทธิมนุษยชนว่าไง
.... ทอล์กโชว์ 'วอน นอน คุก' ของ บ.ก.ลายจุด-สมบัติ บุญงามอนงค์ ปิด ฉากท่ามกลางกระแสตอบรับแรงถึงขนาดพันกว่าที่นั่งไม่พอ ต้องเก้าอี้เสริม คิวต่อไป 19 ธ.ค. รำลึก 8 เดือนราชประสงค์ พับนกล้านตัว เที่ยงวันยัน เที่ยงคืน
ศอฉ.ทราบแล้วเปลี่ยน!!!
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
-------------------------------------------------------
....นายกฯ มาร์ค แพลมเลือกตั้งต้นปีหน้า ก็จัดให้ทันทีมาตรการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า 'แจกแหลก' มีสาระสำคัญ 3 ข้อ 1.แก้หนี้สินครบวงจร 2.อัดฉีดรายได้ ลดภาระค่าครองชีพ และ 3.ขยายฐานกลุ่มประกันสังคม
ต้นตำรับประชานิยมถอยไป
....ศ.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ คณบดีเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ปิ๊งมาตรการที่ ออกมา ระบุเป็นแค่การผ่อนคลายปัญหา พร้อมแนะวิธีแก้ที่ถูกทางคือต้องเข้าไปแก้ทั้งระบบ ทั้งสร้างโอกาสหารายได้ กระ จายความเจริญ เข้าถึงระบบการศึกษา และสาธารณสุข
ทีมโทรโข่งไม่อยู่เฉยแน่
....นพดล ปัทมะ กุนซือกฎหมาย เสี่ยแม้ว ตีปี๊บนายใหญ่ได้คิวลบภาพบัญชีดำบินเข้าสหรัฐกลางเดือนนี้ ตามคำเชิญกมธ.ด้านสิทธิมนุษยชนมะกัน ไปให้ปากคำเหตุสลายม็อบแดง พ่วงสารพัดปัญหาจากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เข้าไปได้ก่อนค่อยว่ากัน
.... ไม่ทันข้ามวัน ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขาฯรมว.บัวแก้ว พูดปิดทาง ล่วงหน้าว่า เสี่ยแม้ว ไม่มีทางเข้าไปให้ข้อมูลกับสภามะกันได้ แถมคุยว่ากระ ทรวงไม่ได้ตกข่าว แต่ที่ไม่ออกอาการเพราะมั่นใจว่าไม่มีทางเกิด
ใครหน้าแตกเดี๋ยวก็รู้
.... ธานี ทองภักดี โฆษกบัวแก้ว ป้อนข้อมูลหน่วยงานที่เชิญ เสี่ยแม้ว ยกราย งานสถานทูตไทย วอชิงตัน ว่าเป็นองค์กรอิสระจัดเวทีระดมความเห็นสถานการณ์ไทย พร้อมยืนยันอดีตนายกฯ ไทยเข้าสหรัฐได้หรือไม่ รัฐบาลมะกัน เป็นผู้ชี้
พิสูจน์น้ำยาบัวแก้วอีกครั้ง
....เสธ.ไก่อู-พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ตามประเด็นร้อนมาติดๆ คอนเฟิร์มเรื่องกระชับพื้นที่ราชประสงค์ ไม่ใช่ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เป็นการจัดการกับการชุมนุมที่เกินขอบเขต โดยมีกฎหมายรองรับทุกขั้นตอน
องค์กรสิทธิมนุษยชนว่าไง
.... ทอล์กโชว์ 'วอน นอน คุก' ของ บ.ก.ลายจุด-สมบัติ บุญงามอนงค์ ปิด ฉากท่ามกลางกระแสตอบรับแรงถึงขนาดพันกว่าที่นั่งไม่พอ ต้องเก้าอี้เสริม คิวต่อไป 19 ธ.ค. รำลึก 8 เดือนราชประสงค์ พับนกล้านตัว เที่ยงวันยัน เที่ยงคืน
ศอฉ.ทราบแล้วเปลี่ยน!!!
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
-------------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เปิดใจแม่ทัพหญิงนปช.'ไม่ล้มเจ้า-ไม่ต่อสู้ด้วยอาวุธ'
"ธิดา"เปิดใจฝากพี่น้องว่าการต่อสู้ของนปช. ไม่มีม้วนเดียวจบ มันมีจังหวะก้าว คุณไม่สามารถทำอะไรเกินความเป็นจริงได้
ผศ.ภญ.ธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านทีวีดาวเทียมช่อง Asiaupdate เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ด้วยความรู้สึกเป็นห่วงแนวความคิดที่ผิดในหมู่มวลสมาชิกคนเสื้อแดงทั้งประเทศ ความคิดที่ผิดนั้น มีทั้ง "ลัทธิสุ่มเสี่ยง" และ "ลัทธิยอมจำนน"
ด้วยเหตุนี้ "ธิดา" จึงอาสาเข้ามาจัดกระบวนทัพเสื้อแดง โดยเน้นเรื่อง "องค์ความรู้" หรือ "ติดอาวุธทางความคิด" ดังจะเห็นได้จากตอนหนึ่งของคำแถลงที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว
"นี่คือการยกระดับการต่อสู้ของประชาชน ด้วยองค์ความรู้ มิให้ลื่นไถลไปทางความคิดสุ่มเสี่ยง หรือความคิดยอมจำนนอย่างไร้หลักการ"
สิ่งที่ "ธิดา" ได้เปิดใจในวันนั้น สะท้อนว่า ขบวน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จะเคลื่อนไหวตามธรรมชาติแบบที่ "แกนนอน" สมบัติ งามบุญอนงค์ กำลังทำอยู่ คงเป็นไปไม่ได้แล้ว มันต้องมี "การจัดตั้ง" อย่างเป็นระบบ
จตุพร พรหมพันธุ์ ได้ทำการปรึกษาหารือกับแกนนำที่ติดคุกอยู่ รวมถึงแกนนำที่หลบหนีอยู่ในเขมร และลาว จึงได้ข้อสรุปออกมาว่า ต้องมีการเลือก "แกนนำ นปช.ชุดเฉพาะกิจ" ขึ้นมาโดยเร่งด่วน
ซึ่งผู้นำ นปช. ในสถานการณ์การต่อสู้ยืดเยื้อยาวนาน คงไม่มีเหมาะสมเท่ากับ "ธิดา" ครูใหญ่โรงเรียน นปช.
คนทั่วไปอาจคิดว่า "ธิดา" เป็นแค่ "เมียหมอเหวง" แต่ในกลุ่มคนเสื้อแดงรู้จักมักคุ้นกับบทบาท "นักวิชาการประจำ นปช." ของครูใหญ่คนนี้มานานแล้ว
ว่ากันว่า "ธิดา" ยังเป็นคนปั้น "เต้น" ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จากนักจ้อแห่งสภาโจ๊ก ให้เป็น "ผู้ถ่ายทอด" ทฤษฎีว่าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้น หรือเรื่องไพร่-อำมาตย์ ผ่านเวที นปช. ให้คนรากหญ้าได้เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ และกลายเป็น "ขวัญใจแม่ยก" คนเสื้อแดงไปโดยปริยาย
ฉะนั้น ยุทธวิธีของ นปช.ยุคแม่ทัพหญิงคือ ต่อสู้ด้วยภูมิความรู้และสติปัญญา โดยมีภาระหน้าที่สำคัญคือ
1.การรณรงค์เพื่อให้ปล่อยตัวแกนนำ มวลชนคนเสื้อแดง และผู้ถูกจับกุมคุมขังโดยมิชอบให้ได้รับอิสระภาพ การประกันตัวเพื่อดำเนินคดีอย่างมีนิติรัฐนิติธรรม
2.ช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกระทำและครอบครัวตลอดจนการประกันตัวและต่อสู้คดี
3.เรียกร้องความยุติธรรมและการใช้กฎหมาย มาตรฐานเดียวกันและคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
4.ยกระดับการต่อสู้ของประชาชนให้สูงขึ้นด้วยองค์ความรู้
การปรากฏตัวของครูใหญ่ธิดา ในฐานะประธาน นปช. ได้มีปฏิกิริยาจากคนเสื้อแดงบางกลุ่มทักท้วงว่า แนวทาง นปช.เปลี่ยนไปแล้วใช่ไหม? และภาระหน้าที่เป็นนโยบายหรือไม่?
อ.ธิดา จึงให้สัมภาษณ์ทีวีดาวเทียมช่องเอเชียอัพเดทเพิ่มเติมว่า "แนวทางนโยบาย นปช.ยังเหมือนเดิม คือเราทำงานแบบรวมหมู่ เรามีนโยบาย ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่ผ่านการรับรอง และเปิดสอนในโรงเรียนมาตลอด พูดง่ายๆเรายังเหมือนเดิม"
ในวันแถลงข่าวที่อิมพีเรียล อ.ธิดา หยิบยกนโยบาย 2 ข้อจากนโยบายเฉพาะหน้าของ นปช. 6 ข้อคือ สร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ ยึดแนวทางการต่อสู้สันติวิธี มาตอกย้ำให้รู้ว่า นปช.ยุคอดีตคอมมิวนิสต์ไทยเป็นผู้นำ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ!
"เรายังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ นอกจากจะจัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง การทำงานเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยุทธวิธี หรือภาระหน้าที่ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง"
อ.ธิดารู้อยู่แก่ใจว่า คนเสื้อแดงบางกลุ่มไม่ค่อยพอใจนัก แต่จำเป็นต้องย้ำอีกหน
"ข้อที่ 1 สำคัญที่สุด เป้าหมายของเรา สร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย เป้าหมายของเราคือร่วมกันเพื่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง ฉะนั้นข้อนี้จะกล่าวหาว่าล้มเจ้าไม่ได้"
คนเสื้อแดงมักตกเป็นเป้าโจมตีว่า "ล้มเจ้า" อ.ธิดาก็ทราบดี จึงพยายามตักเตือนคนเหล่านั้นว่า "มีบางคนก็ไม่เห็นด้วย แต่เป็นคนส่วนน้อยนะ เช่นทำไมจะต้องห้อยยาวรุงรัง เราบอกว่านี่คือมตินะ คือคนบางส่วนชอบคิดในเชิงอัตวิสัยของตัวเอง...ความคิดฝันความใฝ่ฝันของคนมันมีได้ แต่ว่าบางครั้งมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง แล้วเราต้องรับผิดชอบคำพูดและการกระทำของเรา ว่าทำไปแล้ว มันเสียหายอย่างไร ต่อขบวน ไม่ใช่พูดเอามัน พูดไม่ต้องรับผิดชอบ มันต้องรับผิดชอบต่อขบวนด้วยนะ"
จุดอ่อนอีกประการหนึ่งของคนเสื้อแดงคือ การต่อสู้ด้วยความรุนแรง "การต่อสู้ของเรา ไม่ใช่การต่อสู้ด้วยอาวุธ เรายืนยันเรื่องนี้มาโดยตลอด มันจะเอาข้อหาก่อการร้ายมายัดเยียดให้เราไม่ได้ ในที่นี้ หนทางการต่อสู้ของเรา นอกจากจะไม่ใช้อาวุธแล้ว เราจะใช้องค์ความรู้ สติปัญญา เพื่อกดดันให้เขา เห็นคนเป็นคน เท่าเทียมกันให้ได้ เพราะนี่คือคำตอบเดียวของประเทศไทย ถ้าเห็นคนเป็นคนเท่าเทียมกัน มันแก้ปัญหาได้หมดทุกอย่างเลย"
ส่วนโรงเรียนการเมือง นปช.อันโด่งดัง และ ศอฉ.กำลังเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิด อ.ธิดา ยืนยันว่า ต้องเปิดต่อแน่
"ในระยะยาวหากเป็นไปได้ เราจะรื้อฟื้นโรงเรียน นปช. ขึ้นมาอีกครั้ง และยืนยันว่าไม่ใช่โรงเรียนล้มเจ้าอย่างแน่นอน"
กล่าวโดยสรุป นปช.ยุค "ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้" ประธานคนใหม่ได้ชี้แนะไว้ชัดว่า ต้องกุมเข็มมุ่ง "2 ไม่" ให้มั่นคือ ไม่ล้มเจ้า และไม่ต่อสู้ด้วยอาวุธ
จากนี้ไปต้องจับตาดูว่า คนเสื้อแดงกลุ่มอื่นๆจะยึดกุมเข็มมุ่งนี้หรือไม่? เป็นสิ่งที่ท้าทายแม่ทัพหญิงคนใหม่อย่างน่าระทึกใจ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------------
ผศ.ภญ.ธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านทีวีดาวเทียมช่อง Asiaupdate เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ด้วยความรู้สึกเป็นห่วงแนวความคิดที่ผิดในหมู่มวลสมาชิกคนเสื้อแดงทั้งประเทศ ความคิดที่ผิดนั้น มีทั้ง "ลัทธิสุ่มเสี่ยง" และ "ลัทธิยอมจำนน"
ด้วยเหตุนี้ "ธิดา" จึงอาสาเข้ามาจัดกระบวนทัพเสื้อแดง โดยเน้นเรื่อง "องค์ความรู้" หรือ "ติดอาวุธทางความคิด" ดังจะเห็นได้จากตอนหนึ่งของคำแถลงที่ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว
"นี่คือการยกระดับการต่อสู้ของประชาชน ด้วยองค์ความรู้ มิให้ลื่นไถลไปทางความคิดสุ่มเสี่ยง หรือความคิดยอมจำนนอย่างไร้หลักการ"
สิ่งที่ "ธิดา" ได้เปิดใจในวันนั้น สะท้อนว่า ขบวน นปช.แดงทั้งแผ่นดิน จะเคลื่อนไหวตามธรรมชาติแบบที่ "แกนนอน" สมบัติ งามบุญอนงค์ กำลังทำอยู่ คงเป็นไปไม่ได้แล้ว มันต้องมี "การจัดตั้ง" อย่างเป็นระบบ
จตุพร พรหมพันธุ์ ได้ทำการปรึกษาหารือกับแกนนำที่ติดคุกอยู่ รวมถึงแกนนำที่หลบหนีอยู่ในเขมร และลาว จึงได้ข้อสรุปออกมาว่า ต้องมีการเลือก "แกนนำ นปช.ชุดเฉพาะกิจ" ขึ้นมาโดยเร่งด่วน
ซึ่งผู้นำ นปช. ในสถานการณ์การต่อสู้ยืดเยื้อยาวนาน คงไม่มีเหมาะสมเท่ากับ "ธิดา" ครูใหญ่โรงเรียน นปช.
คนทั่วไปอาจคิดว่า "ธิดา" เป็นแค่ "เมียหมอเหวง" แต่ในกลุ่มคนเสื้อแดงรู้จักมักคุ้นกับบทบาท "นักวิชาการประจำ นปช." ของครูใหญ่คนนี้มานานแล้ว
ว่ากันว่า "ธิดา" ยังเป็นคนปั้น "เต้น" ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ จากนักจ้อแห่งสภาโจ๊ก ให้เป็น "ผู้ถ่ายทอด" ทฤษฎีว่าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้น หรือเรื่องไพร่-อำมาตย์ ผ่านเวที นปช. ให้คนรากหญ้าได้เข้าใจด้วยภาษาง่ายๆ และกลายเป็น "ขวัญใจแม่ยก" คนเสื้อแดงไปโดยปริยาย
ฉะนั้น ยุทธวิธีของ นปช.ยุคแม่ทัพหญิงคือ ต่อสู้ด้วยภูมิความรู้และสติปัญญา โดยมีภาระหน้าที่สำคัญคือ
1.การรณรงค์เพื่อให้ปล่อยตัวแกนนำ มวลชนคนเสื้อแดง และผู้ถูกจับกุมคุมขังโดยมิชอบให้ได้รับอิสระภาพ การประกันตัวเพื่อดำเนินคดีอย่างมีนิติรัฐนิติธรรม
2.ช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกระทำและครอบครัวตลอดจนการประกันตัวและต่อสู้คดี
3.เรียกร้องความยุติธรรมและการใช้กฎหมาย มาตรฐานเดียวกันและคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
4.ยกระดับการต่อสู้ของประชาชนให้สูงขึ้นด้วยองค์ความรู้
การปรากฏตัวของครูใหญ่ธิดา ในฐานะประธาน นปช. ได้มีปฏิกิริยาจากคนเสื้อแดงบางกลุ่มทักท้วงว่า แนวทาง นปช.เปลี่ยนไปแล้วใช่ไหม? และภาระหน้าที่เป็นนโยบายหรือไม่?
อ.ธิดา จึงให้สัมภาษณ์ทีวีดาวเทียมช่องเอเชียอัพเดทเพิ่มเติมว่า "แนวทางนโยบาย นปช.ยังเหมือนเดิม คือเราทำงานแบบรวมหมู่ เรามีนโยบาย ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่ผ่านการรับรอง และเปิดสอนในโรงเรียนมาตลอด พูดง่ายๆเรายังเหมือนเดิม"
ในวันแถลงข่าวที่อิมพีเรียล อ.ธิดา หยิบยกนโยบาย 2 ข้อจากนโยบายเฉพาะหน้าของ นปช. 6 ข้อคือ สร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ ยึดแนวทางการต่อสู้สันติวิธี มาตอกย้ำให้รู้ว่า นปช.ยุคอดีตคอมมิวนิสต์ไทยเป็นผู้นำ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ!
"เรายังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ นอกจากจะจัดประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง การทำงานเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยุทธวิธี หรือภาระหน้าที่ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง"
อ.ธิดารู้อยู่แก่ใจว่า คนเสื้อแดงบางกลุ่มไม่ค่อยพอใจนัก แต่จำเป็นต้องย้ำอีกหน
"ข้อที่ 1 สำคัญที่สุด เป้าหมายของเรา สร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตย เป้าหมายของเราคือร่วมกันเพื่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่อำนาจเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง ฉะนั้นข้อนี้จะกล่าวหาว่าล้มเจ้าไม่ได้"
คนเสื้อแดงมักตกเป็นเป้าโจมตีว่า "ล้มเจ้า" อ.ธิดาก็ทราบดี จึงพยายามตักเตือนคนเหล่านั้นว่า "มีบางคนก็ไม่เห็นด้วย แต่เป็นคนส่วนน้อยนะ เช่นทำไมจะต้องห้อยยาวรุงรัง เราบอกว่านี่คือมตินะ คือคนบางส่วนชอบคิดในเชิงอัตวิสัยของตัวเอง...ความคิดฝันความใฝ่ฝันของคนมันมีได้ แต่ว่าบางครั้งมันไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง แล้วเราต้องรับผิดชอบคำพูดและการกระทำของเรา ว่าทำไปแล้ว มันเสียหายอย่างไร ต่อขบวน ไม่ใช่พูดเอามัน พูดไม่ต้องรับผิดชอบ มันต้องรับผิดชอบต่อขบวนด้วยนะ"
จุดอ่อนอีกประการหนึ่งของคนเสื้อแดงคือ การต่อสู้ด้วยความรุนแรง "การต่อสู้ของเรา ไม่ใช่การต่อสู้ด้วยอาวุธ เรายืนยันเรื่องนี้มาโดยตลอด มันจะเอาข้อหาก่อการร้ายมายัดเยียดให้เราไม่ได้ ในที่นี้ หนทางการต่อสู้ของเรา นอกจากจะไม่ใช้อาวุธแล้ว เราจะใช้องค์ความรู้ สติปัญญา เพื่อกดดันให้เขา เห็นคนเป็นคน เท่าเทียมกันให้ได้ เพราะนี่คือคำตอบเดียวของประเทศไทย ถ้าเห็นคนเป็นคนเท่าเทียมกัน มันแก้ปัญหาได้หมดทุกอย่างเลย"
ส่วนโรงเรียนการเมือง นปช.อันโด่งดัง และ ศอฉ.กำลังเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิด อ.ธิดา ยืนยันว่า ต้องเปิดต่อแน่
"ในระยะยาวหากเป็นไปได้ เราจะรื้อฟื้นโรงเรียน นปช. ขึ้นมาอีกครั้ง และยืนยันว่าไม่ใช่โรงเรียนล้มเจ้าอย่างแน่นอน"
กล่าวโดยสรุป นปช.ยุค "ไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้" ประธานคนใหม่ได้ชี้แนะไว้ชัดว่า ต้องกุมเข็มมุ่ง "2 ไม่" ให้มั่นคือ ไม่ล้มเจ้า และไม่ต่อสู้ด้วยอาวุธ
จากนี้ไปต้องจับตาดูว่า คนเสื้อแดงกลุ่มอื่นๆจะยึดกุมเข็มมุ่งนี้หรือไม่? เป็นสิ่งที่ท้าทายแม่ทัพหญิงคนใหม่อย่างน่าระทึกใจ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------------
วิกิลี้คส์ ระบุ ฮิลลารี่ ชี้ว่าซาอุฯเป็นแหล่งทุนกลุ่มก่อการร้าย
เว็บไซท์วิกิลี้คส์ ซึ่งนำเอกสารลับทางการทูตของสหรัฐมาเผยแพร่ ระบุว่า นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ เป็นแหล่งเงินทุนใหญ่ที่สุดในโลกของกลุ่มมุสลิมติดอาวุธ เช่น ตาลีบัน และลัชการ์ อี ไทบา แต่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ในการยับยั้งการไหลออกของเงินทุนเหล่านี้ ทั้งนี้จากเอกสารลับเมื่อเดือนธันวาคม 2552 ลงนามโดยนางคลินตันระบุว่า ยังมีสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วง เพราะซาอุดิอาระเบียยังเป็นแหล่งสนับสนุนทางการเงินที่สำคัญ ของพวกอัล ไกดา , ตาลีบันและลัชการ์ อี ไทบ้า ซึ่งเอกสารลับฉบับนี้ส่งถึงบันถึงบรรดานักการทูตสหรัฐ เรียกร้องให้ใช้ความพยายามเป็นสองเท่า ในการขัดขวางไม่ให้เงินทุนจากซาอุดิอาระเบียถึงมือผู้ก่อการร้ายในปากีสถาน และอัฟกานิสถาน
เอกสารลับระบุอีกว่า ผู้บริจาคในซาอุดิอาระเบียเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดของกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมนิกายสุหนี่ทั่วโลก ทั้งยังมีอีก 3 ประเทศอาหรับที่ถูกระบุว่าเป็นแหล่งเงินทุนของกลุ่มก่อการร้ายเช่นกัน ได้แก่ กาตาร์ , คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อันเป็นการเน้นให้เห็นปัจจัยที่ถูกละเลยในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่ปากีสถาน และอัฟกานิสถานซึ่งก็คือ ความรุนแรงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนทางการเงินของพวกผู้บริจาคที่ร่ำรวย และมีหัวอนุรักษ์นิยมในทะเลอาระเบียน ที่รัฐบาลขัดขวางแทบไม่ได้เลย
เอกสารลับยังระบุว่า กลุ่มลัชการ์ อี ไทบา ที่โจมตีนครมุมไบ ของอินเดีย เมื่อปี2551 อาศัยบริษัทในซาอุดิอาระเบียบังหน้า เพื่อระดมทุนเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2548 และอาศัยการยักย้ายถ่ายเทเงินที่อ้างว่านำไปสร้างโรงเรียน ไปเป็นเงินทุนในปฏิบัติการก่อการร้าย และมักเกิดขึ้นในช่วงการประกอบพิธีฮัจญ์ เพราะทางการซาอุดิอาระเบียไม่สามารถปฏิเสธการเข้าประเทศในช่วงดังกล่าวได้ ทำให้กลุ่มลัชการ์ อี ไทบา ได้รับเงินทุนสนับสนุนตกปีละ 5.25 ล้านดอลล่าร์ หรือกว่า 150 ล้านบาท
สหรัฐตำหนิซาอุดิอาระเบียมานานแล้ว ที่ไม่ยอมห้ามการเคลื่อนไหวขององค์กรการกุศล 3 แห่งที่สหรัฐ ขึ้นบัญชีดำเป็นองค์กรก่อการร้าย และทั้ง 3 แห่ง ก็ยังส่งเงินไปสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีความคืบหน้าอยู่บ้าง ในกรณีของอัล ไกดา ที่ความสามารถในการระดมทุนเสื่อมถอยลงไป นับตั้งแต่รัฐบาลกวาดล้างหนัก และทำให้อัล ไกดา อ่อนแอลง
ส่วนประเทศอื่นที่สร้างความปวดหัวให้สหรัฐ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE ซึ่งกลุ่มตาลีบันและหุ้นส่วนก่อการร้าย ต่างระดมเงินทุนผ่านทางธุรกิจใน UAE เพราะ UAE เป็นที่อยู่อาศัยของชาวปากีสถาน ที่เป็นปาชตุน หรือ ปาทาน จำนวน 1 ล้านคน และชาวอัฟกันอีก 150,000 คน ส่วนพวกที่ให้ทุน เป็นองค์กรอาชญากรรมที่ลักพาตัวนักธุรกิจปาชตุนและญาติ ๆ ในดูไบ ทำให้นักธุรกิจใน UAE ต้องหันไปพึ่งวิธีการซื้อตั๋วเครื่องบินในวันเดินทาง เพื่อป้องกันการถูกลักพาตัว
ด้านคูเวต ถูกระบุว่า เป็นทั้งแหล่งเงินทุนและจุดผ่านที่สำคัญของอัล ไกดา และกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ขณะที่รัฐบาลดำเนินการเพียงแค่ป้องกันการโจมตีบนแผ่นดินของตนเอง แต่แทบจะไม่ดำเนินการใด ๆ ในการจัดการกับแหล่งเงินทุนและกลุ่มก่อการร้ายที่วางแผนโจมตีนอกประเทศ
ที่มา.เนชั่น
----------------------------------------------
เอกสารลับระบุอีกว่า ผู้บริจาคในซาอุดิอาระเบียเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญที่สุดของกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมนิกายสุหนี่ทั่วโลก ทั้งยังมีอีก 3 ประเทศอาหรับที่ถูกระบุว่าเป็นแหล่งเงินทุนของกลุ่มก่อการร้ายเช่นกัน ได้แก่ กาตาร์ , คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อันเป็นการเน้นให้เห็นปัจจัยที่ถูกละเลยในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่ปากีสถาน และอัฟกานิสถานซึ่งก็คือ ความรุนแรงนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนทางการเงินของพวกผู้บริจาคที่ร่ำรวย และมีหัวอนุรักษ์นิยมในทะเลอาระเบียน ที่รัฐบาลขัดขวางแทบไม่ได้เลย
เอกสารลับยังระบุว่า กลุ่มลัชการ์ อี ไทบา ที่โจมตีนครมุมไบ ของอินเดีย เมื่อปี2551 อาศัยบริษัทในซาอุดิอาระเบียบังหน้า เพื่อระดมทุนเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2548 และอาศัยการยักย้ายถ่ายเทเงินที่อ้างว่านำไปสร้างโรงเรียน ไปเป็นเงินทุนในปฏิบัติการก่อการร้าย และมักเกิดขึ้นในช่วงการประกอบพิธีฮัจญ์ เพราะทางการซาอุดิอาระเบียไม่สามารถปฏิเสธการเข้าประเทศในช่วงดังกล่าวได้ ทำให้กลุ่มลัชการ์ อี ไทบา ได้รับเงินทุนสนับสนุนตกปีละ 5.25 ล้านดอลล่าร์ หรือกว่า 150 ล้านบาท
สหรัฐตำหนิซาอุดิอาระเบียมานานแล้ว ที่ไม่ยอมห้ามการเคลื่อนไหวขององค์กรการกุศล 3 แห่งที่สหรัฐ ขึ้นบัญชีดำเป็นองค์กรก่อการร้าย และทั้ง 3 แห่ง ก็ยังส่งเงินไปสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีความคืบหน้าอยู่บ้าง ในกรณีของอัล ไกดา ที่ความสามารถในการระดมทุนเสื่อมถอยลงไป นับตั้งแต่รัฐบาลกวาดล้างหนัก และทำให้อัล ไกดา อ่อนแอลง
ส่วนประเทศอื่นที่สร้างความปวดหัวให้สหรัฐ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE ซึ่งกลุ่มตาลีบันและหุ้นส่วนก่อการร้าย ต่างระดมเงินทุนผ่านทางธุรกิจใน UAE เพราะ UAE เป็นที่อยู่อาศัยของชาวปากีสถาน ที่เป็นปาชตุน หรือ ปาทาน จำนวน 1 ล้านคน และชาวอัฟกันอีก 150,000 คน ส่วนพวกที่ให้ทุน เป็นองค์กรอาชญากรรมที่ลักพาตัวนักธุรกิจปาชตุนและญาติ ๆ ในดูไบ ทำให้นักธุรกิจใน UAE ต้องหันไปพึ่งวิธีการซื้อตั๋วเครื่องบินในวันเดินทาง เพื่อป้องกันการถูกลักพาตัว
ด้านคูเวต ถูกระบุว่า เป็นทั้งแหล่งเงินทุนและจุดผ่านที่สำคัญของอัล ไกดา และกลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ขณะที่รัฐบาลดำเนินการเพียงแค่ป้องกันการโจมตีบนแผ่นดินของตนเอง แต่แทบจะไม่ดำเนินการใด ๆ ในการจัดการกับแหล่งเงินทุนและกลุ่มก่อการร้ายที่วางแผนโจมตีนอกประเทศ
ที่มา.เนชั่น
----------------------------------------------
"วิกิลีกส์" เขย่าวงการทูตสะเทือนโลก ถึงคิวแฉ "ความลับธุรกิจ" ภารกิจถัดไป
การแฉข้อมูลทางราชการของวิกิลีกส์เท่ากับส่งสัญญาณเตือนไปยังบริษัทยักษ์ใหญ่ว่า "คุณอาจเป็นรายต่อไป"
ประเด็นร้อนในช่วงสัปดาห์นี้หนีไม่พ้นกรณีที่ "วิกิลีกส์" (Wikileaks) เว็บไซต์จอมแฉออกมาเขย่าแวดวงการทูตด้วยการเปิดเผยเอกสารลับที่เรียกว่า "เคเบิล" หรือข้อมูลลับทางการทูตระหว่างสถานทูตสหรัฐที่อยู่ทั่วโลกกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งรั่วไหลออกมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของกองทัพมะกัน
ข้อมูลที่ปรากฏสร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลก เพราะได้เปลือยให้เห็นหลังฉากการทำงานด้านการทูตของสหรัฐ รวมถึงมุมมองแบบตรงไปตรงมาของบรรดานักการทูตอเมริกันที่มีต่อประเทศต่าง ๆ ทั้งมิตรและศัตรู ซึ่งบางครั้งก็ใช้ถ้อยคำแนวเสียดสีผู้นำของประเทศอื่น ไม่นับรวมคำสั่งที่ให้สอดแนมบุคคลระดับผู้นำและนักการทูต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงการดำเนินการของสหรัฐที่อาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ
ด้านหนึ่งปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่า "ความลับ" อาจไม่เป็นความลับในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งประชาชนควรได้รู้ข้อมูลและการตัดสินใจด้านการต่างประเทศของรัฐบาล แต่อีกด้านหนึ่ง วิกิลีกส์อาจเป็นจุดเปลี่ยนวิถีทางการทูตไปจากเดิมที่ให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานด้านการทูตที่ต้องการการเปิดกว้างและเชื่อถือได้
"จูเลียน แอสเซนจ์" ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์นำเสนอข้อมูลลับที่ได้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเปิดเผยการทำงานของกองทัพ ทั้งการเปิดปูมสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน จนมาถึงการแฉข้อมูลลับทางการทูต และล่าสุดมีข่าวว่าเว็บจอมแฉเตรียมจะเปิดโปงข้อมูลลับในภาคธุรกิจเป็นลำดับถัดไป
แอสเซนจ์กล่าวกับ "ฟอร์บส" ว่า เขาเตรียมจะแฉเอกสารของธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐต้นปีหน้า ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในระดับผู้บริหารของธนาคารที่จะนำไปสู่การตรวจสอบและปฏิรูป เหมือนที่เคยเกิดกับกรณีของ "เอนรอน" ยักษ์พลังงานที่ล้มไปแล้วจากการฉ้อโกงของผู้บริหาร
หลายธนาคารหนาว ๆ ร้อน ๆ กับคำสัมภาษณ์ของแอสเซนจ์ที่ออกมา ขณะที่หุ้นของ "แบงก์ออฟอเมริกา" ร่วงลงกว่า 3% เพราะนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งนี้อาจเป็นเป้าหมายของวิกิลีกส์ เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วแอสเซนจ์เคยกล่าวว่า เขามีข้อมูลที่ได้จากฮาร์ดไดรฟ์ของผู้บริหารแบงก์ออฟอเมริกา
ขณะที่ "เอพี" ระบุว่า การแฉข้อมูลทางราชการของวิกิลีกส์เท่ากับส่งสัญญาณเตือนไปยังบริษัทยักษ์ใหญ่ว่า "คุณอาจเป็นรายต่อไป"
นอกจากนี้การกระทำของวิกิลีกส์ได้จุดให้เกิดความเร่งด่วนสำหรับบริษัทในการจัดหาระบบความปลอดภัยด้านข้อมูล รวมถึงจำกัดการเข้าถึงข้อมูลของคนภายในองค์กรซึ่งอาจนำข้อมูลไปปูดเมื่อเกิดความไม่พอใจ
โดยความเสี่ยงของบริษัท ได้แก่ ข้อมูลความลับที่อยู่ภายในองค์กร อาทิ อีเมล์ เอกสารต่าง ๆ ฐานข้อมูล และอินทราเน็ต ซึ่งบริษัทคิดว่าได้ล็อกไม่ให้รั่วออกไปภายนอกแล้ว บริษัทจึงเก็บข้อมูลการตัดสินใจต่าง ๆ ทั้งการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ความสนใจที่จะควบรวมกิจการ กลยุทธ์ที่จะต่อกรกับคู่แข่ง หรือการให้ผู้บริหารขายหุ้น
บริษัทมีทางเลือกที่จะปกป้องความลับทางธุรกิจเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเซิร์ฟเวอร์ในการส่งอีเมล์เพื่อจำกัดวงผู้ที่สามารถส่งเอกสารได้ การห้ามคัดลอกเอกสาร บล็อกการดาวน์โหลดลงซีดี-รอม และธัมบ์ไดรฟ์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ตรวจสอบว่าข้อความในอีเมล์ของผู้บริหารถูกเช็กบ่อยครั้งเกินไปหรือไม่ แต่การปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลก็อาจส่งผลต่อขีดความสามารถในการผลิตที่ลดลงและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของบริษัท
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
************************************************************************
ประเด็นร้อนในช่วงสัปดาห์นี้หนีไม่พ้นกรณีที่ "วิกิลีกส์" (Wikileaks) เว็บไซต์จอมแฉออกมาเขย่าแวดวงการทูตด้วยการเปิดเผยเอกสารลับที่เรียกว่า "เคเบิล" หรือข้อมูลลับทางการทูตระหว่างสถานทูตสหรัฐที่อยู่ทั่วโลกกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ซึ่งรั่วไหลออกมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของกองทัพมะกัน
ข้อมูลที่ปรากฏสร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลก เพราะได้เปลือยให้เห็นหลังฉากการทำงานด้านการทูตของสหรัฐ รวมถึงมุมมองแบบตรงไปตรงมาของบรรดานักการทูตอเมริกันที่มีต่อประเทศต่าง ๆ ทั้งมิตรและศัตรู ซึ่งบางครั้งก็ใช้ถ้อยคำแนวเสียดสีผู้นำของประเทศอื่น ไม่นับรวมคำสั่งที่ให้สอดแนมบุคคลระดับผู้นำและนักการทูต ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สะท้อนถึงการดำเนินการของสหรัฐที่อาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ
ด้านหนึ่งปรากฏการณ์นี้สะท้อนว่า "ความลับ" อาจไม่เป็นความลับในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งประชาชนควรได้รู้ข้อมูลและการตัดสินใจด้านการต่างประเทศของรัฐบาล แต่อีกด้านหนึ่ง วิกิลีกส์อาจเป็นจุดเปลี่ยนวิถีทางการทูตไปจากเดิมที่ให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานด้านการทูตที่ต้องการการเปิดกว้างและเชื่อถือได้
"จูเลียน แอสเซนจ์" ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์นำเสนอข้อมูลลับที่ได้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเปิดเผยการทำงานของกองทัพ ทั้งการเปิดปูมสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน จนมาถึงการแฉข้อมูลลับทางการทูต และล่าสุดมีข่าวว่าเว็บจอมแฉเตรียมจะเปิดโปงข้อมูลลับในภาคธุรกิจเป็นลำดับถัดไป
แอสเซนจ์กล่าวกับ "ฟอร์บส" ว่า เขาเตรียมจะแฉเอกสารของธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐต้นปีหน้า ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในระดับผู้บริหารของธนาคารที่จะนำไปสู่การตรวจสอบและปฏิรูป เหมือนที่เคยเกิดกับกรณีของ "เอนรอน" ยักษ์พลังงานที่ล้มไปแล้วจากการฉ้อโกงของผู้บริหาร
หลายธนาคารหนาว ๆ ร้อน ๆ กับคำสัมภาษณ์ของแอสเซนจ์ที่ออกมา ขณะที่หุ้นของ "แบงก์ออฟอเมริกา" ร่วงลงกว่า 3% เพราะนักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งนี้อาจเป็นเป้าหมายของวิกิลีกส์ เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วแอสเซนจ์เคยกล่าวว่า เขามีข้อมูลที่ได้จากฮาร์ดไดรฟ์ของผู้บริหารแบงก์ออฟอเมริกา
ขณะที่ "เอพี" ระบุว่า การแฉข้อมูลทางราชการของวิกิลีกส์เท่ากับส่งสัญญาณเตือนไปยังบริษัทยักษ์ใหญ่ว่า "คุณอาจเป็นรายต่อไป"
นอกจากนี้การกระทำของวิกิลีกส์ได้จุดให้เกิดความเร่งด่วนสำหรับบริษัทในการจัดหาระบบความปลอดภัยด้านข้อมูล รวมถึงจำกัดการเข้าถึงข้อมูลของคนภายในองค์กรซึ่งอาจนำข้อมูลไปปูดเมื่อเกิดความไม่พอใจ
โดยความเสี่ยงของบริษัท ได้แก่ ข้อมูลความลับที่อยู่ภายในองค์กร อาทิ อีเมล์ เอกสารต่าง ๆ ฐานข้อมูล และอินทราเน็ต ซึ่งบริษัทคิดว่าได้ล็อกไม่ให้รั่วออกไปภายนอกแล้ว บริษัทจึงเก็บข้อมูลการตัดสินใจต่าง ๆ ทั้งการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ความสนใจที่จะควบรวมกิจการ กลยุทธ์ที่จะต่อกรกับคู่แข่ง หรือการให้ผู้บริหารขายหุ้น
บริษัทมีทางเลือกที่จะปกป้องความลับทางธุรกิจเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเซิร์ฟเวอร์ในการส่งอีเมล์เพื่อจำกัดวงผู้ที่สามารถส่งเอกสารได้ การห้ามคัดลอกเอกสาร บล็อกการดาวน์โหลดลงซีดี-รอม และธัมบ์ไดรฟ์ รวมถึงเทคโนโลยีที่ตรวจสอบว่าข้อความในอีเมล์ของผู้บริหารถูกเช็กบ่อยครั้งเกินไปหรือไม่ แต่การปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลก็อาจส่งผลต่อขีดความสามารถในการผลิตที่ลดลงและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของบริษัท
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
************************************************************************
“สดศรี”เลิกทน ชน ปชป.!
“ดอกไม้เหล็กแห่ง กกต.”ของขึ้น!!
ปิดตำนาน “ศรีทนได้”!!
ถึงวันนี้ โฆษณา “ศรีทนได้” น่าจะใช้ไม่ได้สำหรับการเมืองไทยยุค อะไรก็เกิดขึ้นได้ภายใต้รัฐบาลมาร์ค ที่มี”ของแข็ง” คอยหนุนอยู่เบื้องหลัง
แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะยกคำร้องไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลที่เหมือน”เส้นผมบังภูเขา แต่สงครามความคิดของคนที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวอะไรด้วย,,,,มันก็ไม่จบ!!
หนึ่งในจำนวนนั้น คือ กกต.ที่ชื่อ สดศรี สัตยธรรม ซึ่งออกมา”ชนดะ” กับประดาบิ๊ก ปชป. อันเป็นที่มาของ”หัวข่าว” ศรีเลิกทน หรือ”ศรีทนไม่ได้” ในวันนี้
เริ่มเปิดฉาก ....นิยายบู๊แนวชีวิตมีว่า....
เล่นกับใครอาจจะง่าย เพราะตลอดมานายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
ถูกยกให้เป็นมือวางอันดับ 1 ตลอดกาลของพรรคประชาธิปัตย์ไปแล้ว ในเรื่องของการใช้วาจาเชือดเฉือนคน จนเคยได้รับฉายาว่า “ใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง”
นายชวนถือเป็นไอดอลของคน ปชป. หลายคน แม้แต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ถือเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ ที่ลอกเลียนแบบนายชวนมาทั้งดุ้น!!!
เพียงแต่ระยะหลัง พัฒนาการทาง DNA ปชป. มีปัญหา เนื่องจากติดเชื้อขั้วอำนาจพิเศษอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ หลายคนก็เลยกลายเป็นแค่ “นายกองร้องด่าท้าทาย” ได้แค่นั้นจริงๆ ไม่ว่าจะเอาตำแหน่งอะไรมาสวมหัวโขนให้ก็ตาม
รวมทั้งแม้แต่นายชวน ต้นแบบเอง ระยะหลังๆ ด้วยความที่ต้องปกป้องพรรค ปชป. สุดชีวิต ก็เลยแกว่งไปเหมือนกัน พูดอะไรก็ทำให้สังคมตะลึง ว่านี่หรืออดีตนักการเมืองคุณภาพ???
แต่แน่นอนว่าไม่ว่าอย่างไร ชื่อชั้นบารมีของนายหัวชวน ยังคงขายได้ และเป็นเหมือนเกราะเหล็กผนังทองแดงให้กับนายอภิสิทธิ์ และพรรค ปชป. ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในศึกคดียุบพรรค ปชป. ที่ผ่านมา นายชวนทุ่มเทเกินร้อย เพียงเพื่อทำอย่างไรก็ได้ ขอเพียงแค่ไม่ให้พรรค ปชป. ถูกยุบเป็นพอ
ขนาดแถลงปิดคดีความผิดกรณีใช้เงินกองทุนการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ ที่ลุยแหลกเหมือนการอภิปรายในสภาเป็นชั่วโมงๆ จนงงกันทั้งสังคม ว่าเป้นการแถลงปิดคดีจริงๆหรือ
ยิ่งเมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 4 ต่อ 2 ให้ยกคำร้อง ชนิดที่สังคมทำตาปริบๆ เพราะในแง่ของข้อยุติทางคดี ก็ต้องยอมรับในอำนาจวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ว่าจบแค่นี้ก็คือจบแค่นี้
แต่ในแง่ของความรู้สึกของคนในสังคมนั้นช่วยไม่ได้ หากจะมองว่า ขั้วอำนาจพิเศษแหงๆ และ 2 มาตรฐานชัดเจนอีกแล้ว
จนกลายเป็นผลกระทบกับ ทั้งพรรค ปชป. ทั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ และทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
กระแทกกันอุตลุด เพื่อเบี่ยงหนีว่า การยกคำร้อง ไม่ต้องยุบพรรคปชป.เที่ยวนี้ ใครควรจะต้องเป็นหน่วยงานที่ต้องแสดงความรับผิดชอบ
งานนี้ กกต. ดูจะโดดเดี่ยวที่สุด เพราะ ปชป. กับ ตุลาการรัฐธรรมนูญ ดูจะขานรับกันเป็นลูกระนาด เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ยได้ดีที่สุด
แต่เมื่อต้อนกันมากไป กกต.หลายคน ก็ทนไม่ไหวเหมือนกัน โดยเฉพาะนางสดศรี สัตยธรรม เจ้าของฉายา “ดอกไม้เหล็กแห่ง กกต.”
พยายามออกมายืนยันหลายรอบแล้ว แต่เมื่ออีกฝ่ายต้องการเบี่ยงเบนให้เป็นภาระรับผิดชอบของ กกต.ให้ได้ ก็ทำให้ กกต. หลายคนชักจะเริ่มทนไม่ไหว เพราะใครจะใจเย็นเป็นน้ำ เรื่อยๆเอื่อยๆได้เหมือนนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.
ยิ่งเมื่อนายชวนออกมาระบุทำนองว่า นางสดศรีให้สัมภาษณ์ว่าถูกเสื้อแดงกดดันทำให้ต้องยุบพรรคประชาธิปัตย์
เท่านั้นก็ได้เรื่อง เพราะนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เลือกที่จะไม่ทนอีกแล้ว ถึงขนาดเดินตรงมายังห้องสื่อมวลชนก่อนที่จะร่วมพิธีถวายสัตย์ได้ร่วมปฏิญาณตนเป็นข้าราชการที่ดีและร้องเพลงสดุดีมหาราชา เนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เจตนาเพื่อชี้แจงข่าวที่นายชวนพาดพิงทันทีว่าไม่เคยพูดในลักษณะนั้น !!!
หากนายชวนมีเทปหรือมีหลักฐานก็ขอให้นำออกมาเผยแพร่
“เพราะคนดีๆ ที่มีสมอง ไม่วิกลจริตไม่มีทางที่จะพูดแบบนั้นแน่นอน”นายสดศรีกล่าว
พร้อมกับระบุด้วยว่า เรื่องการยุบพรรคจะต้องเป็นความเห็นของนายทะเบียนเท่านั้น กกต. 4 คนไม่มีอำนาจไปยุบพรรคได้ เพราะเป็นอำนาจของนายทะเบียน เรื่องนี้เป็นการกล่าวร้าย ในความเป็นจริงตนไม่เคยพูดแบบนั้น
นายชวนเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ดังนั้น การที่จะพูดอะไรออกมาต้องมีหลักฐาน
“ถามว่า กกต.ตัวเล็กๆ จะเอาอะไรไปยุบพรรคการเมืองท่านได้ ถ้านายทะเบียนไม่ทำความเห็นมาให้ยุบ เรื่องนี้ควรจบได้แล้ว เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการตีความข้อกฎหมาย เราไม่ได้เป็นศัตรูกับพรรคการเมือง หากไม่มีการร้องเรียนเข้ามาเราก็ไม่ทำ แต่เมื่อมีการร้องเข้ามาเราก็ต้องทำตามหน้าที่”นางสดศรี กล่าว
ส่วนกรณีให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทำความเห็นส่งคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จากข้อกล่าวหาเงิน 29 ล้านบาทซ้ำหรือไม่นั้น นางสดศรี กล่าวว่า การจะฟ้องซ้ำได้ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมืองเท่านั้น!!!
โดยส่วนตัวไม่มีความเห็นใดๆ เพราะขึ้นอยู่กับนายอภิชาต ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าจะฟ้องหรือไม่
ดังนั้นเรื่องนี้ขอให้ไปถามนายอภิชาตเอง
งานนี้ประกาศศักดิ์ศรี กกต.หญิง หนึ่งเดียวในคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันให้เป็นที่ประจักษ์ ว่า“เจ๊สด” ของน้องๆนักข่าวนั้น บทจะ ดื้อ บทจะดุ ขึ้นมาแล้ว อะไรก็เอาไม่อยู่ แม้แต่อดีตนายกรัฐมนตรีก็เถอะ
ซึ่งเชื่อว่างานนนี้นายชวนก็คงจะเลือกพลิ้ว ว่าผมเป็นผู้ใหญ่ ผมไม่คิดจะไปรังแกใครหรอก เป็นการเข้าใจผิดกันมากกว่า แล้วก็โยนกลองไปให้สื่อมวลชนตามฟอร์ม
เพราะขืนลุยต่อหรือสวนกลับ ก็จะเสียผู้ใหญ่เท่านั้น
แต่งานนี้ต้องยอมรับว่า นางสดศรีนั้นกล้าจริง!!!
แต่อย่างว่าเส้นทางของนางสดศรีนั้นธรรมดาที่ไหน จากอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ก้าวมาสู่วงการเมืองในฐานะหนึ่งในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 และกรรมการการเลือกตั้ง
ซ้ำยังมีบุคลิกนิสัยที่ชัดเจนตรงไปตรงมา อีกทั้งปากไวให้ สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นประเด็นร้อนๆ ที่อาจจะไม่โดนใจใครหลายๆคน ในหลายกรณีจึงกลายเป็นเป้าที่ถูกกระหน่ำทั้งซ้ายและขวา!!!
นางสดศรี ถือว่ามีสายเลือดนักกฎหมายอยู่ในตัวมาตั้งแต่เกิด เพราะมีคุณพ่อเป็นนักกฎหมาย แถมพี่ชายก็เป็นนักกฎหมายด้วย ที่สำคัญตัวเองก็จบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
“คุณพ่อและพี่ชายเป็นนักกฎหมาย แต่ตอนเด็กๆไม่ค่อยสนใจนะ เพียงแต่รู้ว่าตัวเองชอบเห็นความยุติธรรม เวลาเห็นอะไรไม่ยุติธรรม จะไม่ยอม ต้องแก้ให้ถูกต้อง ตอนอยู่กระทรวงยุติธรรม ก็เป็นหัวโจกร้องเรียนทุกเรื่อง เราเป็นผู้พิพากษาให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน ถ้าผู้พิพากษาไม่ได้รับความเป็นธรรม แล้วจะเรียกร้องกับใครได้ ความยุติธรรมต้องมีให้กับทุกคน”นางสดศรีเคยให้สัมภาษณ์เอาไว้
รวมถึงเรื่องในอนาคต คิดอยากเล่นการเมืองบ้างหรือไม่ นางสดศรีบอกไว้ชัดว่า ไม่เคยคิดเลย
“อยู่อย่างนี้ดีแล้ว อยากกลับไปวงการเดิม เพราะวงการศาลเป็นวงการที่สงบ ถึงไม่ดัง ไม่มีใครรู้จัก แต่เป็นที่ที่เราสงบ และปลอดภัยดี อยู่ที่นี่เหมือนอยู่ในป่า ไม่รู้ว่าจะโดนอะไรแค่ไหน ต้องระมัดระวังทุกฝีก้าว”
ดูแล้วก็เชื่อว่า ยิ่งคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันสนั่นแบบนี้ และมีความพยายามที่จะหาแพะให้มาเป็นจำเลยสังคมแบบนี้ กกต.ก็คงต้องเหนื่อยอีกมาก
และนางสดศรี ก็คงต้องยิ่งระมัดระวังตัวทุกฝีก้าวให้มากกว่าเดิม
เพราะ ปชป.นั้นธรรมดาที่ไหน!?!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
วิเคราะห์เกมคดีเงินบริจาค258ล.
คดีร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีใช้จ่ายเงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ จบลงไปท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย
ส่งผลให้คดีพรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ คลีเอชั่น จำกัด ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนัดพร้อมคู่ความในวันที่ 9 ธ.ค.นี้
เป็นที่จับตามองจากสังคมมากยิ่งขึ้น ว่าจะลงเอยในแบบเดียวกับคดี 29 ล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 4 ต่อ 2 เสียงให้ยกคำร้อง
เนื่องจากข้อผิดพลาดทางเทคนิค 2 ข้อ คือ นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นว่ามีการกระทำความผิดและควรให้ยุบพรรค และเรื่องของการขาดอายุความ
นักวิชาการด้านกฎหมายที่ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอัยการผู้ทำคดีได้วิเคราะห์ไว้น่าสนใจ ดังนี้
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไม่รู้ว่าการตัดสินคดีการรับเงินบริจาคของพรรคประ ชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท จะออกมารูปไหน เพราะการปฏิบัติหรือการอธิบายคดีสามารถออกอะไรก็ได้ไม่รู้จะคาดเดาอย่างไร
ที่ผ่านมาเกิดการตั้งคำถามว่าใช้หลักการอะไร ดูเหมือนว่าค้น หาหลักการได้ยากมาก การต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์ด้วยประ เด็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นในคดี จึงเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ก็ได้ ไม่สามารถคาดเดาในทางวิชาการได้
อยู่ในภาวะที่เราไม่สามารถใช้มาตรฐานหรือเหตุผลทางวิชาการเข้าไปจับ มันอาจจะออกมาในรูปอื่นๆ ก็เป็นไปได้
ในหลักกฎหมายถ้าพรรคประชาธิปัตย์จะสู้ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นในคดีนี้ เช่นเดียวกับคดีเงินกองทุนฯ 29 ล้านบาท
ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นศาลไต่สวน ถ้าประเด็นไหนไม่ชัดเจน ศาลฯ น่าจะเรียกข้อมูลข้อเท็จจริงมาดูให้มากขึ้น บางเรื่องถ้าไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดี เช่น เรื่องระยะเวลาในการสั่งฟ้องก็มีสิทธิพิจารณาประเด็นหลักของคดีได้
โดยหลักการแล้วศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาลยุติธรรม เรื่องระยะเวลาไม่จำเป็นต้องถือเคร่งครัด เพียงแต่กำชับให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการตาม
พอได้อ่านคำพิพากษาแล้ว ผมพบว่าเมื่อพิจารณาร่วมกับหลายคดี บางคดีมีการตีความอย่างเคร่งครัด แต่บางคดีตีความอย่างกว้างขวาง
เลยไม่รู้ ไม่กล้าคาดเดาอะไรทั้งสิ้น
วัยวุฒิ หล่อตระกูล
รองอัยการสูงสุด คณะทำงานอัยการ
ชุดพิจารณาสำนวนคดี 258 ล้านบาท
คดีดังกล่าวนายทะเบียนพรรคการ เมืองยื่นเรื่องมาที่อัยการสูงสุดเพื่อยุบพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งคณะทำงานของอัยการได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาและตั้งคณะทำงานเพื่อสรุปความเห็นยื่นภายใน 30 วัน
ยืนยันว่าได้ทำงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดทุกอย่าง แต่ถ้าหากจะมีใครเอาคดีเงิน 29 ล้านบาทที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องไปแล้วมาเทียบเคียง
คิดว่าข้อเท็จจริงคนละเรื่องกัน ต่างกรรมต่างวาระกัน การต่อสู้คนละแนวทางกัน ตัวบทกฎหมายก็ใช้ต่อสู้กันคนละมาตรา คือในคดี 29 ล้านเขาสู้ในมาตรา 93 แต่คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทสู้ในมาตรา 95-96
การทำงานของคณะทำงานอัยการเรามั่นใจว่าทำตามขั้นตอนกฎหมายที่วางไว้ แต่ถ้าใครเอาคดี 29 ล้านมาเทียบเคียงก็เป็นสิทธิ์ของเขา
แต่ทั้งหมดทั้งมวลกระบวนการตัดสินและคำวินิจฉัยอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้พิจารณา ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าทิศทางของคดีนี้จะออกมาในรูปแบบไหน
ส่วนที่มีนักวิชาการเป็นห่วงในประเด็นที่เป็นจุดอ่อน ของ คดี 29 ล้านที่ยังไม่มีความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าจะยุบพรรคหรือไม่ แต่ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน และนำมาสู่การยกฟ้องในคดีดังกล่าว อาจเป็นช่องโหว่ในคดี 258 ล้านด้วยหรือไม่นั้น
ผมมองว่าคดี 258 ล้านน่าจะมีมติของนายทะเบียนฯ และ กกต.ออกมาแล้วว่าจะยุบพรรคประชาธิปัตย์
แต่ถ้าหากประเด็นนี้มีความผิดพลาดอีก นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการ เมือง ต้องเป็นผู้อธิบายกับสังคมให้ทราบเองว่าความผิดพลาดนั้นมาจากอะไร
ในวันที่ 9 ธ.ค. ทางศาลรัฐธรรมนูญได้นัดพร้อมคู่ความในคดีดังกล่าว โดยเราได้เตรียมข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้ว แต่หากศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยหรือตัดสินคดีเลยก็เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ
เราต้องรอดูกันในวันนั้น
คมสัน โพธิ์คง
อาจารย์คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีใช้จ่ายเงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ หลายส่วนยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่พอสมควร
การยกคำร้องคดีนี้ไม่ใช่เพราะยื่นคำร้องเกินกำหนด 15 วันเท่านั้น
กกต.ไปวินิจฉัยโดยที่นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่วินิจฉัยเรื่องนี้ตามเงื่อนไข มาตรา 93
ส่วนคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท เกี่ยวข้องกับมาตรา 94 และมาตรา 95 ของพ.ร.บ. ประกอบพรรคการเมือง 2550 ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน ฉะนั้นเรื่องระยะเวลา เรื่องอายุความจึงต่างกัน
เพราะมาตรา 93 เป็นเรื่องการทำบัญชี ซึ่งกฎหมายให้อำนาจนายทะเบียนฯ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด
แต่กรณีมาตรา 95 โยงกับมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การยื่นเพื่อขอยุบพรรคกรณีนี้ ซึ่งเป็นไปตามวรรค 2 วรรค 3 ของมาตรา 68 ประกอบกับมาตรา 95 ต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่น
และอายุความในการฟ้องคดีจึงไม่ใช่ 15 วันนับแต่นายทะเบียนฯ ทราบ แต่คือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่อัยการสูงสุดได้รับเรื่อง อายุความจึงไม่ใช่ปัญหาสำหรับกรณีนี้
เรื่องที่เป็นปัญหา คือ การข้ามขั้นตอน เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อมีคนร้องหรือปรากฏต่อนายทะเบียนฯ ว่ามีเหตุให้มีการยุบพรรค ตามมาตรา 94 ให้นายทะเบียนฯ สอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยพลัน
เมื่อนายทะเบียนฯ เห็นว่ามีเหตุให้ควรยุบพรรค ก็ให้นายทะเบียนฯ โดยความเห็นชอบของ กกต.เสนอต่ออัยการสูงสุด เพื่อมีคำร้องขอให้ยุบพรรค
แสดงว่าอำนาจในการยื่นเป็นอำนาจของนายทะเบียนฯ และหมายความว่านายทะเบียนฯ ต้องเห็นควรให้ยุบพรรคก่อน
คดีเงินบริจาค 258 ล้าน มีการส่งเรื่องเข้ากกต. 2 ครั้ง ครั้งแรก กกต.เห็นว่านายทะเบียนฯ ยังไม่ทำความเห็น ก็มีมติให้นายทะเบียนฯ กลับไปทำความเห็นก่อน นายทะเบียนฯ ก็กลับไปทำความเห็นแล้วบอกว่าไม่ยุบ เรื่องอยู่ที่นายทะเบียนฯ
แต่พอมีเสื้อแดงมากดดัน กกต.ก็เอาเรื่องนี้มาพิจารณา ซึ่งนายทะเบียนฯ ยังไม่เสนอความเห็นอีก ก็สันนิษฐานว่านายทะเบียนฯ ยังยืนยันว่าไม่ยุบ
เมื่อ กกต.ไปวินิจฉัยว่าให้ยุบ เท่ากับทำข้ามขั้นตอนและเป็นคนสั่งให้พิจารณายุบพรรคเสียเองเข้าไปใช้อำนาจของนายทะเบียนฯ เสียเอง
คดี 258 ล้าน จึงน่าจะมีปัญหาเช่นเดียวกับกรณี 29 ล้านในเรื่องการกระทำข้ามขั้นตอน และการเข้าไปใช้อำนาจนายทะเบียนฯ โดยมิชอบ
ถ้าประชาธิปัตย์จะนำประเด็นนี้มาต่อสู้ เป็นไปได้ที่เขาจะชนะ
คดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้สืบพยาน ยังไม่ได้ไต่สวน ถ้ากระบวน การเบื้องต้นไม่ถูกต้องเสียแล้วถือว่าคดีจบไปเลย ไม่ต้องไปพูดถึงกระบวนการขั้นต่อไปอีก
ส่วนที่มีกระแสข่าว กกต.จะนำคดี 29 ล้าน กลับไปยื่นต่อศาลใหม่อีกครั้ง ต้องระวังว่าจะโดนเล่นงานกลับเรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะศาลรัฐธรรมนูญบอกแล้วว่า กกต.ทำงานข้ามขั้นตอน
กกต.จึงต้องระวังผลที่จะได้รับจากการทำหน้าที่ของตัวเอง และโดยหลักการก็เป็นไปไม่ได้ เพราะกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าคนจะไม่ถูกฟ้องคดี เดียวกัน ในข้อเท็จจริงอันเดียวกัน
ข้อสำคัญคือถ้าจะฟ้องใหม่ อย่างไรต้องถือว่า กกต.ยื่นเรื่องเกิน 15 วันอยู่ดี
ข่าวสดรายวัน.คอลัมน์ รายงานพิเศษ
----------------------------------------------------------
ส่งผลให้คดีพรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ผ่านบริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ คลีเอชั่น จำกัด ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนัดพร้อมคู่ความในวันที่ 9 ธ.ค.นี้
เป็นที่จับตามองจากสังคมมากยิ่งขึ้น ว่าจะลงเอยในแบบเดียวกับคดี 29 ล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 4 ต่อ 2 เสียงให้ยกคำร้อง
เนื่องจากข้อผิดพลาดทางเทคนิค 2 ข้อ คือ นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นว่ามีการกระทำความผิดและควรให้ยุบพรรค และเรื่องของการขาดอายุความ
นักวิชาการด้านกฎหมายที่ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอัยการผู้ทำคดีได้วิเคราะห์ไว้น่าสนใจ ดังนี้
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไม่รู้ว่าการตัดสินคดีการรับเงินบริจาคของพรรคประ ชาธิปัตย์ 258 ล้านบาท จะออกมารูปไหน เพราะการปฏิบัติหรือการอธิบายคดีสามารถออกอะไรก็ได้ไม่รู้จะคาดเดาอย่างไร
ที่ผ่านมาเกิดการตั้งคำถามว่าใช้หลักการอะไร ดูเหมือนว่าค้น หาหลักการได้ยากมาก การต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์ด้วยประ เด็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นในคดี จึงเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ก็ได้ ไม่สามารถคาดเดาในทางวิชาการได้
อยู่ในภาวะที่เราไม่สามารถใช้มาตรฐานหรือเหตุผลทางวิชาการเข้าไปจับ มันอาจจะออกมาในรูปอื่นๆ ก็เป็นไปได้
ในหลักกฎหมายถ้าพรรคประชาธิปัตย์จะสู้ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่มีความเห็นในคดีนี้ เช่นเดียวกับคดีเงินกองทุนฯ 29 ล้านบาท
ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นศาลไต่สวน ถ้าประเด็นไหนไม่ชัดเจน ศาลฯ น่าจะเรียกข้อมูลข้อเท็จจริงมาดูให้มากขึ้น บางเรื่องถ้าไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดี เช่น เรื่องระยะเวลาในการสั่งฟ้องก็มีสิทธิพิจารณาประเด็นหลักของคดีได้
โดยหลักการแล้วศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาลยุติธรรม เรื่องระยะเวลาไม่จำเป็นต้องถือเคร่งครัด เพียงแต่กำชับให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการตาม
พอได้อ่านคำพิพากษาแล้ว ผมพบว่าเมื่อพิจารณาร่วมกับหลายคดี บางคดีมีการตีความอย่างเคร่งครัด แต่บางคดีตีความอย่างกว้างขวาง
เลยไม่รู้ ไม่กล้าคาดเดาอะไรทั้งสิ้น
วัยวุฒิ หล่อตระกูล
รองอัยการสูงสุด คณะทำงานอัยการ
ชุดพิจารณาสำนวนคดี 258 ล้านบาท
คดีดังกล่าวนายทะเบียนพรรคการ เมืองยื่นเรื่องมาที่อัยการสูงสุดเพื่อยุบพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งคณะทำงานของอัยการได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายที่ให้อำนาจพิจารณาและตั้งคณะทำงานเพื่อสรุปความเห็นยื่นภายใน 30 วัน
ยืนยันว่าได้ทำงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดทุกอย่าง แต่ถ้าหากจะมีใครเอาคดีเงิน 29 ล้านบาทที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องไปแล้วมาเทียบเคียง
คิดว่าข้อเท็จจริงคนละเรื่องกัน ต่างกรรมต่างวาระกัน การต่อสู้คนละแนวทางกัน ตัวบทกฎหมายก็ใช้ต่อสู้กันคนละมาตรา คือในคดี 29 ล้านเขาสู้ในมาตรา 93 แต่คดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทสู้ในมาตรา 95-96
การทำงานของคณะทำงานอัยการเรามั่นใจว่าทำตามขั้นตอนกฎหมายที่วางไว้ แต่ถ้าใครเอาคดี 29 ล้านมาเทียบเคียงก็เป็นสิทธิ์ของเขา
แต่ทั้งหมดทั้งมวลกระบวนการตัดสินและคำวินิจฉัยอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้พิจารณา ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าทิศทางของคดีนี้จะออกมาในรูปแบบไหน
ส่วนที่มีนักวิชาการเป็นห่วงในประเด็นที่เป็นจุดอ่อน ของ คดี 29 ล้านที่ยังไม่มีความเห็นของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าจะยุบพรรคหรือไม่ แต่ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน และนำมาสู่การยกฟ้องในคดีดังกล่าว อาจเป็นช่องโหว่ในคดี 258 ล้านด้วยหรือไม่นั้น
ผมมองว่าคดี 258 ล้านน่าจะมีมติของนายทะเบียนฯ และ กกต.ออกมาแล้วว่าจะยุบพรรคประชาธิปัตย์
แต่ถ้าหากประเด็นนี้มีความผิดพลาดอีก นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียนพรรคการ เมือง ต้องเป็นผู้อธิบายกับสังคมให้ทราบเองว่าความผิดพลาดนั้นมาจากอะไร
ในวันที่ 9 ธ.ค. ทางศาลรัฐธรรมนูญได้นัดพร้อมคู่ความในคดีดังกล่าว โดยเราได้เตรียมข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้ว แต่หากศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยหรือตัดสินคดีเลยก็เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ
เราต้องรอดูกันในวันนั้น
คมสัน โพธิ์คง
อาจารย์คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การที่ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีใช้จ่ายเงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมือง 29 ล้านบาท ผิดวัตถุประสงค์ หลายส่วนยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่พอสมควร
การยกคำร้องคดีนี้ไม่ใช่เพราะยื่นคำร้องเกินกำหนด 15 วันเท่านั้น
กกต.ไปวินิจฉัยโดยที่นายทะเบียนพรรคการเมืองยังไม่วินิจฉัยเรื่องนี้ตามเงื่อนไข มาตรา 93
ส่วนคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท เกี่ยวข้องกับมาตรา 94 และมาตรา 95 ของพ.ร.บ. ประกอบพรรคการเมือง 2550 ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน ฉะนั้นเรื่องระยะเวลา เรื่องอายุความจึงต่างกัน
เพราะมาตรา 93 เป็นเรื่องการทำบัญชี ซึ่งกฎหมายให้อำนาจนายทะเบียนฯ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด
แต่กรณีมาตรา 95 โยงกับมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การยื่นเพื่อขอยุบพรรคกรณีนี้ ซึ่งเป็นไปตามวรรค 2 วรรค 3 ของมาตรา 68 ประกอบกับมาตรา 95 ต้องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่น
และอายุความในการฟ้องคดีจึงไม่ใช่ 15 วันนับแต่นายทะเบียนฯ ทราบ แต่คือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่อัยการสูงสุดได้รับเรื่อง อายุความจึงไม่ใช่ปัญหาสำหรับกรณีนี้
เรื่องที่เป็นปัญหา คือ การข้ามขั้นตอน เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อมีคนร้องหรือปรากฏต่อนายทะเบียนฯ ว่ามีเหตุให้มีการยุบพรรค ตามมาตรา 94 ให้นายทะเบียนฯ สอบสวนหาข้อเท็จจริงโดยพลัน
เมื่อนายทะเบียนฯ เห็นว่ามีเหตุให้ควรยุบพรรค ก็ให้นายทะเบียนฯ โดยความเห็นชอบของ กกต.เสนอต่ออัยการสูงสุด เพื่อมีคำร้องขอให้ยุบพรรค
แสดงว่าอำนาจในการยื่นเป็นอำนาจของนายทะเบียนฯ และหมายความว่านายทะเบียนฯ ต้องเห็นควรให้ยุบพรรคก่อน
คดีเงินบริจาค 258 ล้าน มีการส่งเรื่องเข้ากกต. 2 ครั้ง ครั้งแรก กกต.เห็นว่านายทะเบียนฯ ยังไม่ทำความเห็น ก็มีมติให้นายทะเบียนฯ กลับไปทำความเห็นก่อน นายทะเบียนฯ ก็กลับไปทำความเห็นแล้วบอกว่าไม่ยุบ เรื่องอยู่ที่นายทะเบียนฯ
แต่พอมีเสื้อแดงมากดดัน กกต.ก็เอาเรื่องนี้มาพิจารณา ซึ่งนายทะเบียนฯ ยังไม่เสนอความเห็นอีก ก็สันนิษฐานว่านายทะเบียนฯ ยังยืนยันว่าไม่ยุบ
เมื่อ กกต.ไปวินิจฉัยว่าให้ยุบ เท่ากับทำข้ามขั้นตอนและเป็นคนสั่งให้พิจารณายุบพรรคเสียเองเข้าไปใช้อำนาจของนายทะเบียนฯ เสียเอง
คดี 258 ล้าน จึงน่าจะมีปัญหาเช่นเดียวกับกรณี 29 ล้านในเรื่องการกระทำข้ามขั้นตอน และการเข้าไปใช้อำนาจนายทะเบียนฯ โดยมิชอบ
ถ้าประชาธิปัตย์จะนำประเด็นนี้มาต่อสู้ เป็นไปได้ที่เขาจะชนะ
คดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้สืบพยาน ยังไม่ได้ไต่สวน ถ้ากระบวน การเบื้องต้นไม่ถูกต้องเสียแล้วถือว่าคดีจบไปเลย ไม่ต้องไปพูดถึงกระบวนการขั้นต่อไปอีก
ส่วนที่มีกระแสข่าว กกต.จะนำคดี 29 ล้าน กลับไปยื่นต่อศาลใหม่อีกครั้ง ต้องระวังว่าจะโดนเล่นงานกลับเรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะศาลรัฐธรรมนูญบอกแล้วว่า กกต.ทำงานข้ามขั้นตอน
กกต.จึงต้องระวังผลที่จะได้รับจากการทำหน้าที่ของตัวเอง และโดยหลักการก็เป็นไปไม่ได้ เพราะกฎหมายบัญญัติไว้แล้วว่าคนจะไม่ถูกฟ้องคดี เดียวกัน ในข้อเท็จจริงอันเดียวกัน
ข้อสำคัญคือถ้าจะฟ้องใหม่ อย่างไรต้องถือว่า กกต.ยื่นเรื่องเกิน 15 วันอยู่ดี
ข่าวสดรายวัน.คอลัมน์ รายงานพิเศษ
----------------------------------------------------------
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553
แก้ด้วยความจริง
ไม่มีอะไรแก้ปัญหาได้เท่ากับ..การยอมรับความจริง..โลกทั้งใบพัฒนาไปบนความเป็นวิทยาศาสตร์.. ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นสิ่งอธิบายได้..อิทธิฤทธิ์ของพระ ผู้เป็นเจ้านั้น เป็นเพียงความเชื่อ..
หลายพันศพของเด็กที่ถูกทำลายก่อนที่จะได้ลืมตาดูโลก..มีคำตอบทางวิทยาศาสตร์และอธิบายได้ด้วยธรรมชาติ มันจึงมีอำนาจเหนือกว่ากฎเกณฑ์และกติกาใดๆ ที่มนุษย์ร่างขึ้น
ธรรมชาติของการสมสู่..สัตว์ทั้งโลกและมนุษย์ยอมตายกันเพื่อสิ่งนี้..
ธรรมชาติพึ่งพาการสมสู่เพื่อการปฏิสนธิ..เพื่อยังโลกที่เต็มไปด้วยชีวิตโลกนี้ ให้ชีวิตดำรงคงอยู่..การปฏิเสธจึงเป็น ปรากฏการณ์หนีแรงดึงดูด..มันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
เมื่อแม่ไม่พร้อมสำหรับการอุ้มท้อง..เมื่อผู้ให้กำเนิดทั้ง สอง..ปฏิเสธการปฏิสนธิ..ผู้มาใหม่จึงกลายเป็นปัญหาของ ผู้ให้กำเนิดเป็นปฐม..เป็นภาระแหล่งให้กำเนิดเป็นมัธยมและปัญหาของสังคมในชั้นอุดมศึกษา..
จำนวนมากในผู้มาใหม่..คือกำเนิดของอาชญากร สตรีผู้ให้กำเนิดบุตร..ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้า..ต้องมา จากความรัก..แต่สตรีผู้ยังชีพอยู่ด้วยกามารมณ์..ผู้สร้างรายได้ จากการสังวาส..จะปฏิเสธทุกน้ำรักที่ปฏิสนธิ
เธอและเขา..เขาและเธอ..จะสุมหัวกันเพื่อขจัด.. เมื่อกฎหมายไม่อนุญาตมันก็ต้องพึ่งอาชญากรรม..
เชื่อกันมานานแล้วว่า..อาชญากรรมที่เกิดจากการสมยอม นั้น..ป้องกันลำบาก..การทำแท้งรีดลูกก็เช่นเดียวกัน..มันเกือบ จะหมดหนทางป้องกันไม่ว่าที่ใดๆ ในโลก..มันต่างกันแค่ราคา..
ธรรมชาติจึงกำเนิดสัตว์แต่ละชีวิต..ให้จำนวนที่สร้าง ชีวิตแตกต่างกัน..ถ้าช้างและปลาวาฬออกลูกได้เหมือน หนูอะไรจะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ถ้าเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีปัญหาทุกชีวิตไม่ถูกฆ่าทำลายลงบ้าง..รั้วบ้านแต่ละ หลังคงต้องสูงกว่ากำแพงคุก
บาป บุญ คุณ โทษ..เป็นเรื่องดี..แต่ปัญหาต้องแก้ด้วย ความจริงเป็นจริงมีอยู่จริงและเกิดขึ้นจริง..ไม่มีวันที่ใครจะ หยุด..โรคทำแท้งและการทำแท้งได้..นอกจากการให้คู่สมสู่ มีความรู้ที่จะหยุดการปฏิสนธิ
หยุดสร้างเด็กมีปัญหา..รัฐสภาอาจจะมีคนดีเพิ่มขึ้น
ที่มา.สยามธุรกิจ
หลายพันศพของเด็กที่ถูกทำลายก่อนที่จะได้ลืมตาดูโลก..มีคำตอบทางวิทยาศาสตร์และอธิบายได้ด้วยธรรมชาติ มันจึงมีอำนาจเหนือกว่ากฎเกณฑ์และกติกาใดๆ ที่มนุษย์ร่างขึ้น
ธรรมชาติของการสมสู่..สัตว์ทั้งโลกและมนุษย์ยอมตายกันเพื่อสิ่งนี้..
ธรรมชาติพึ่งพาการสมสู่เพื่อการปฏิสนธิ..เพื่อยังโลกที่เต็มไปด้วยชีวิตโลกนี้ ให้ชีวิตดำรงคงอยู่..การปฏิเสธจึงเป็น ปรากฏการณ์หนีแรงดึงดูด..มันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
เมื่อแม่ไม่พร้อมสำหรับการอุ้มท้อง..เมื่อผู้ให้กำเนิดทั้ง สอง..ปฏิเสธการปฏิสนธิ..ผู้มาใหม่จึงกลายเป็นปัญหาของ ผู้ให้กำเนิดเป็นปฐม..เป็นภาระแหล่งให้กำเนิดเป็นมัธยมและปัญหาของสังคมในชั้นอุดมศึกษา..
จำนวนมากในผู้มาใหม่..คือกำเนิดของอาชญากร สตรีผู้ให้กำเนิดบุตร..ร้อยละเก้าสิบเก้าจุดเก้า..ต้องมา จากความรัก..แต่สตรีผู้ยังชีพอยู่ด้วยกามารมณ์..ผู้สร้างรายได้ จากการสังวาส..จะปฏิเสธทุกน้ำรักที่ปฏิสนธิ
เธอและเขา..เขาและเธอ..จะสุมหัวกันเพื่อขจัด.. เมื่อกฎหมายไม่อนุญาตมันก็ต้องพึ่งอาชญากรรม..
เชื่อกันมานานแล้วว่า..อาชญากรรมที่เกิดจากการสมยอม นั้น..ป้องกันลำบาก..การทำแท้งรีดลูกก็เช่นเดียวกัน..มันเกือบ จะหมดหนทางป้องกันไม่ว่าที่ใดๆ ในโลก..มันต่างกันแค่ราคา..
ธรรมชาติจึงกำเนิดสัตว์แต่ละชีวิต..ให้จำนวนที่สร้าง ชีวิตแตกต่างกัน..ถ้าช้างและปลาวาฬออกลูกได้เหมือน หนูอะไรจะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ ถ้าเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีปัญหาทุกชีวิตไม่ถูกฆ่าทำลายลงบ้าง..รั้วบ้านแต่ละ หลังคงต้องสูงกว่ากำแพงคุก
บาป บุญ คุณ โทษ..เป็นเรื่องดี..แต่ปัญหาต้องแก้ด้วย ความจริงเป็นจริงมีอยู่จริงและเกิดขึ้นจริง..ไม่มีวันที่ใครจะ หยุด..โรคทำแท้งและการทำแท้งได้..นอกจากการให้คู่สมสู่ มีความรู้ที่จะหยุดการปฏิสนธิ
หยุดสร้างเด็กมีปัญหา..รัฐสภาอาจจะมีคนดีเพิ่มขึ้น
ที่มา.สยามธุรกิจ
ความหวังใหม่จะได้บัตร ปชช.!!!
เมื่อวันก่อนเห็นข่าวแล้วก็อดดีใจไม่ได้ เหมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์เมื่อทราบว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มอบหมาย ให้กระทรวงไอซีที กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่งสะสางปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเรื่องบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ หรือสมาร์ทการ์ด
ก็แหม...ขนาดตัวอีฉันเองอายุอานาม ก็ป่านนี้แล้ว ยังไม่มีบัตรประชาชนเป็นของ ตัวเองเลยนี่เจ้าคะ จะไปไหนมาไหนทีก็ต้อง พกใบเหลืองเหมือนเมื่อสมัยกว่า 20 ปีที่แล้ว แลย้อนยุคอย่างไรก็ไม่ทราบ ออกแนว บัตร “retro”
ส่วนไอ้ปัญหาคาราคาซังก็อย่างที่ทราบ กันดีอยู่แล้วว่า ผู้ใหญ่เล่นแง่กันจนประชาชน เดือดร้อนกันทั้งประเทศ แต่รอบนี้จะดึงเช็ง อยู่ก็ใช่ที่ เพราะประชาชนที่ประสบเคราะห์ กรรมจากอุทกภัยมีกันให้เกลื่อนเมือง เอกสารอะไรต่อมิอะไรก็แทบไม่เหลือ เอาชีวิตรอด มาได้ก็ถือว่าบุญโขแล้วเจ้าค่ะ หากรัฐบาล ไม่รีบแก้ไขมีหวังเรตติ้งตกอีกโข
ความอึดอัดของฝั่งไอซีทีเองก็หาใช่ น้อยอยู่ เพราะหากเลิกการผลิต เอกชน (บริษัท วี-สมาร์ท จำกัด) รับรองโดนฟ้องไม่มีชิ้นดี ตอนนี้โครงการนี้ก็อยู่ในภาวะลูกผีลูกคนก็ว่าได้ มืดแปดด้าน ทั้งที่เอกสารที่มีอยู่ทั้งหมดถูกต้องทุกอย่าง แต่มองว่าเป็น การทะเลาะกันเองของมหาดไทย แต่ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาภายในกันเอง...งานนี้พี่น้อง จากกระทรวงไฮเทคครวญให้ฟังแบบสิ้นหวัง
ด้านปู่จิ้นเองกลับปฏิเสธเสียงแข็งว่า อย่างไรก็จะไม่แก้กฎ เพื่อรับ Smart Card ของ ICT แน่นอน เพราะทำผิดสเปก แก้ไขไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย เรื่องนี้กระทรวง มหาดไทยได้ทำหนังสือไปยังไอซีที และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แล้วที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีไปแล้ว ซึ่งนายจุติ เข้าใจแนวทางของกระทรวงมหาดไทย และรับปากจะหาทางออกด้วยวิธีอื่น
งานนี้แม้ผู้นำสั่งตีธงมา แต่ในทางปฏิบัติแล้วหาได้ง่ายอย่างใจหวัง แต่ก็ไม่น่า แปลกใจอะไร เพราะตอนนี้นายกฯ จะพูด อะไรก็แลจะไม่ค่อยมีใครฟังเสียเท่าไหร่ขนาดคนในพรรคประชาธิปัตย์เองยังชอบ ทำตัวเป็นเด็กดื้อแลย...นับประสาอะไรจะ ให้พรรคอื่นมาเชื่อฟัง
อย่างไรก็แล้วแต่ ประชาชนก็ยังรอความหวังกันอยู่อีกตั้งครึ่งประเทศ หากยัง มัวเล่นเกมกันอยู่ ไม่คิดจะแก้ไขกันจริงๆ จังๆ เสียที งานนี้ท่าจะแย่ความปรารถนาดีต่อคนอื่นต้องแฝงความจริงใจไว้ด้วย ความปรารถนาที่เสแสร้ง ย่อมได้รับผลตอบแทนคือความปรารถนาดี ตอบ...อย่างเสแสร้งด้วยเช่นกัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
ก็แหม...ขนาดตัวอีฉันเองอายุอานาม ก็ป่านนี้แล้ว ยังไม่มีบัตรประชาชนเป็นของ ตัวเองเลยนี่เจ้าคะ จะไปไหนมาไหนทีก็ต้อง พกใบเหลืองเหมือนเมื่อสมัยกว่า 20 ปีที่แล้ว แลย้อนยุคอย่างไรก็ไม่ทราบ ออกแนว บัตร “retro”
ส่วนไอ้ปัญหาคาราคาซังก็อย่างที่ทราบ กันดีอยู่แล้วว่า ผู้ใหญ่เล่นแง่กันจนประชาชน เดือดร้อนกันทั้งประเทศ แต่รอบนี้จะดึงเช็ง อยู่ก็ใช่ที่ เพราะประชาชนที่ประสบเคราะห์ กรรมจากอุทกภัยมีกันให้เกลื่อนเมือง เอกสารอะไรต่อมิอะไรก็แทบไม่เหลือ เอาชีวิตรอด มาได้ก็ถือว่าบุญโขแล้วเจ้าค่ะ หากรัฐบาล ไม่รีบแก้ไขมีหวังเรตติ้งตกอีกโข
ความอึดอัดของฝั่งไอซีทีเองก็หาใช่ น้อยอยู่ เพราะหากเลิกการผลิต เอกชน (บริษัท วี-สมาร์ท จำกัด) รับรองโดนฟ้องไม่มีชิ้นดี ตอนนี้โครงการนี้ก็อยู่ในภาวะลูกผีลูกคนก็ว่าได้ มืดแปดด้าน ทั้งที่เอกสารที่มีอยู่ทั้งหมดถูกต้องทุกอย่าง แต่มองว่าเป็น การทะเลาะกันเองของมหาดไทย แต่ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาภายในกันเอง...งานนี้พี่น้อง จากกระทรวงไฮเทคครวญให้ฟังแบบสิ้นหวัง
ด้านปู่จิ้นเองกลับปฏิเสธเสียงแข็งว่า อย่างไรก็จะไม่แก้กฎ เพื่อรับ Smart Card ของ ICT แน่นอน เพราะทำผิดสเปก แก้ไขไม่ได้ เพราะผิดกฎหมาย เรื่องนี้กระทรวง มหาดไทยได้ทำหนังสือไปยังไอซีที และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แล้วที่ผ่านมาได้มีการหารือกับ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีไปแล้ว ซึ่งนายจุติ เข้าใจแนวทางของกระทรวงมหาดไทย และรับปากจะหาทางออกด้วยวิธีอื่น
งานนี้แม้ผู้นำสั่งตีธงมา แต่ในทางปฏิบัติแล้วหาได้ง่ายอย่างใจหวัง แต่ก็ไม่น่า แปลกใจอะไร เพราะตอนนี้นายกฯ จะพูด อะไรก็แลจะไม่ค่อยมีใครฟังเสียเท่าไหร่ขนาดคนในพรรคประชาธิปัตย์เองยังชอบ ทำตัวเป็นเด็กดื้อแลย...นับประสาอะไรจะ ให้พรรคอื่นมาเชื่อฟัง
อย่างไรก็แล้วแต่ ประชาชนก็ยังรอความหวังกันอยู่อีกตั้งครึ่งประเทศ หากยัง มัวเล่นเกมกันอยู่ ไม่คิดจะแก้ไขกันจริงๆ จังๆ เสียที งานนี้ท่าจะแย่ความปรารถนาดีต่อคนอื่นต้องแฝงความจริงใจไว้ด้วย ความปรารถนาที่เสแสร้ง ย่อมได้รับผลตอบแทนคือความปรารถนาดี ตอบ...อย่างเสแสร้งด้วยเช่นกัน
ที่มา.สยามธุรกิจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)