นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏร และนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยนายพิทูร กล่าวว่า จากการหารือระหว่างผู้นำฝ่ายบริหาร และผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ ได้ตกลงเลือกพื้นที่เกียกกาย เป็นพื้นที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบในรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยให้ได้ประโยชน์สูงสุด 3 แสนตารางเมตร ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในช่วงปลายปี และเปิดประมูลได้ในต้นปีหน้า
ทั้งนี้ในวันที่ 12 ส.ค. เวลา 10.09 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงวางศิลาฤกษ์ โดยจะมีพิธีบูชาพระฤกษ์ ในเวลา 08.00 น. ทั้งนี้ได้ออกบัตรเชิญจำนวน 4,785 ใบให้มาร่วมงาน
นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา กล่าวว่า รัฐสภาถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้ประชาชนร่วมมาเป็นสักขีพยาน โดยในวันดังกล่าวจะเห็นภาพจำลองของรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งจะเป็นอาคาร 11 ชั้น และอีก 2 ชั้นใต้ดินที่ใช้เป็นลานจอดรถ โดยรัฐสภาแห่งใหม่นี้มีความเด่นสง่าเพื่อให้ทั่วโลกได้มาทัศนะศึกษา
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้วางแผนงานต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นความร่วมมือตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จนถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทั้งนี้ คาดว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาดังกล่าวจะแล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ภายในปี 2556 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 900 วัน นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง หรืออาจจะเร็วกว่านั้น เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย
สำหรับพื้นที่ใช้ก่อสร้างขณะนี้ได้ดำเนินการเวนคืน และจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบไปแล้ว 57 ราย รวมทั้งได้สร้างอาคารให้กับพนักงานองค์การทอผ้า 92 ห้อง ในส่วนของโรงเรียนโยธินบูรณะขณะนี้ได้หาที่ดินก่อสร้างโรงเรียนแห่งใหม่ ซึ่งไม่ไกลจากที่ตั้งเดิมในพื้นที่ใหญ่กว่าเดิมจาก 8 ไร่ เป็น 16 ไร่ และจะก่อสร้างอาคารในวงงบประมาณ 1,000 ล้านบาท
"ยืนยันว่าการก่อสร้างอาคารรัฐสภาไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับใคร นอกจากนี้ยังวางแผนรองรับในส่วนการจราจรซึ่งจะเสร็จในเวลาใกล้เคียงกัน"
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะส่งผลให้การก่อสร้างอาคารชะงักไปหรือไม่ นายชัย กล่าวว่า การก่อสร้างได้มีหมายวางศิลาฤกษ์แล้ว และครม.มีมติให้ความเห็นชอบตั้งแต่ ปี 2552 สมัยรัฐบาลนายสมัครแล้ว และที่สำคัญได้รับงบประมาณตั้งแต่ปี 2554 และได้รับต่อเนื่องในปี 2555-57 ซึ่งรวมทั้งหมดเป็นงบประมาณกว่าหมื่นล้านบาท จึงเชื่อว่าการก่อสร้างจะเรียบร้อยไม่มีปัญหา ซึ่งหวังว่ารัฐบาลชุดต่อไป สมาชิกรัฐสภาจะให้ความร่วมมือ เพราะสมาชิกแต่ละคนก็ต้องการรัฐสภาแห่งใหม่ และที่สำคัญ ได้กราบบังคมถวายคืนอาคารรัฐสภาปัจจุบันแล้ว
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
******************************************************************************
วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553
บทเรียน "พระวิหาร" ทำไมไทยเสียเปรียบตลอด
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
แม้ว่าถึงที่สุดแล้ว ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) จะตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาในประเด็นรับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามข้อเสนอของประเทศกัมพูชา ด้วยเหตุผลที่อยากให้ประเทศไทยและกัมพูชาได้พูดคุยกันก่อน หลังจากท่าทีของประเทศไทยยังยืนกรานที่จะคัดค้านแผนดังกล่าวอย่างแข็งขัน แต่ดูเหมือนอุณหภูมิความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็ยังไม่ลดดีกรีลงสักเท่าไหร่
ส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาออกไป อาจมาจากท่าทีของฝ่ายไทยที่มีการเคลื่อนไหวอย่างแข็งกร้าว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่รวมตัวกันไปชุมนุมหน้าสำนักงานยูเนสโก้ในประเทศไทย ยื่นหนังสือคัดค้าน ไปจนถึงขั้นประณามยูเนสโก้ ตลอดจนปฏิกิริยาจากรัฐบาลไทย ซึ่งมีมติ ครม.ออกมาอย่างชัดเจน โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในวันที่ 28 ก.ค. 2553 สั่งการให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนของไทยดำเนินการ ตอบโต้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการงดออกเสียง วอล์กเอาต์ ไปจนถึงขั้นถอนตัวจากภาคีของยูเนสโก้
อย่างไรก็ตาม การกำหนดท่าทีที่เข้มข้นในลักษณะดังกล่าว ก็ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ที่จะแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เท่าที่พอทำได้เท่านั้น เพราะหากพิจารณาจากสถานะของไทยในกระบวนการพิจารณาตามกรอบที่คณะกรรมการมรดกโลกได้รับข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องนั้น กระทั่งนายสุวิทย์ก็ยอมรับว่าไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก โดยเฉพาะกรณีที่ศาลโลกมีมติรับรองการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวไปแล้ว นอกจากนี้ ประเทศที่เป็นสมาชิกในภาคี ก็มีท่าทีสนับสนุนกัมพูชาเป็นส่วนใหญ่
จุดสำคัญที่น่าจะนำกลับมาทบทวน เพื่อกำหนดแนวทาง หรือยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการแก้ไขปัญหา ก็คือ เพราะเหตุใด ในเวทีการเจรจาต่อรอง ภายใต้กฎ กติกาของคณะกรรมการมรดกโลก หรือบนเวทีระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงตกอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบมาโดยตลอด กลยุทธ์ในการดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีจุดอ่อน หรือมีช่องโหว่อย่างไร ควรปรับปรุงในจุดไหน หรือต้องใช้กระบวนการล็อบบี้ในระยะยาวอย่างไร นั่นน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายของไทยต้องกลับมาร่วมคิดมากกว่าที่จะเลือกวิธีแสดงจุดยืนอย่างแข็งกร้าว ตอบโต้อย่างรุนแรงกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับไทย จนอาจนำไปสู่ข้อขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน
การรักษาสิทธิ ข้อตกลงเรื่องเขตแดน อธิปไตย หรือผลประโยชน์ที่ต้องทำสัญญา ข้อตกลง ซึ่งรัฐบาล หรือองค์กรตัวแทนภาครัฐจะต้องกระทำภายใต้กติกาของสังคมโลกยังมีอีกมากมายหลายกรณี ไม่เฉพาะแต่เพียงเรื่องของพื้นที่เขาพระวิหารเท่านั้น ปัญหาที่ควรนำมาทบทวน กำหนดท่าที หรือเตรียมความพร้อมมากกว่า ก็คือ ทำอย่างไร จึงจะศึกษารายละเอียด พิจารณาข้อดีข้อเสียในสัญญา หรือข้อตกลงเหล่านั้นให้รอบคอบ รัดกุมมากที่สุด แทนที่จะต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการทำข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือระหว่างรัฐไทยกับองค์กรเอกชน ดังที่มีตัวอย่าง "ค่าโง่" ให้เห็นมาแล้วโดยตลอด
****************************************************************************
แม้ว่าถึงที่สุดแล้ว ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก้) จะตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาในประเด็นรับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารตามข้อเสนอของประเทศกัมพูชา ด้วยเหตุผลที่อยากให้ประเทศไทยและกัมพูชาได้พูดคุยกันก่อน หลังจากท่าทีของประเทศไทยยังยืนกรานที่จะคัดค้านแผนดังกล่าวอย่างแข็งขัน แต่ดูเหมือนอุณหภูมิความขัดแย้งระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็ยังไม่ลดดีกรีลงสักเท่าไหร่
ส่วนหนึ่งของการตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาออกไป อาจมาจากท่าทีของฝ่ายไทยที่มีการเคลื่อนไหวอย่างแข็งกร้าว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่รวมตัวกันไปชุมนุมหน้าสำนักงานยูเนสโก้ในประเทศไทย ยื่นหนังสือคัดค้าน ไปจนถึงขั้นประณามยูเนสโก้ ตลอดจนปฏิกิริยาจากรัฐบาลไทย ซึ่งมีมติ ครม.ออกมาอย่างชัดเจน โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ในวันที่ 28 ก.ค. 2553 สั่งการให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนของไทยดำเนินการ ตอบโต้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการงดออกเสียง วอล์กเอาต์ ไปจนถึงขั้นถอนตัวจากภาคีของยูเนสโก้
อย่างไรก็ตาม การกำหนดท่าทีที่เข้มข้นในลักษณะดังกล่าว ก็ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ที่จะแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เท่าที่พอทำได้เท่านั้น เพราะหากพิจารณาจากสถานะของไทยในกระบวนการพิจารณาตามกรอบที่คณะกรรมการมรดกโลกได้รับข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องนั้น กระทั่งนายสุวิทย์ก็ยอมรับว่าไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่มาก โดยเฉพาะกรณีที่ศาลโลกมีมติรับรองการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวไปแล้ว นอกจากนี้ ประเทศที่เป็นสมาชิกในภาคี ก็มีท่าทีสนับสนุนกัมพูชาเป็นส่วนใหญ่
จุดสำคัญที่น่าจะนำกลับมาทบทวน เพื่อกำหนดแนวทาง หรือยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการแก้ไขปัญหา ก็คือ เพราะเหตุใด ในเวทีการเจรจาต่อรอง ภายใต้กฎ กติกาของคณะกรรมการมรดกโลก หรือบนเวทีระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงตกอยู่ในสถานะที่เสียเปรียบมาโดยตลอด กลยุทธ์ในการดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีจุดอ่อน หรือมีช่องโหว่อย่างไร ควรปรับปรุงในจุดไหน หรือต้องใช้กระบวนการล็อบบี้ในระยะยาวอย่างไร นั่นน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายของไทยต้องกลับมาร่วมคิดมากกว่าที่จะเลือกวิธีแสดงจุดยืนอย่างแข็งกร้าว ตอบโต้อย่างรุนแรงกับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับไทย จนอาจนำไปสู่ข้อขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน
การรักษาสิทธิ ข้อตกลงเรื่องเขตแดน อธิปไตย หรือผลประโยชน์ที่ต้องทำสัญญา ข้อตกลง ซึ่งรัฐบาล หรือองค์กรตัวแทนภาครัฐจะต้องกระทำภายใต้กติกาของสังคมโลกยังมีอีกมากมายหลายกรณี ไม่เฉพาะแต่เพียงเรื่องของพื้นที่เขาพระวิหารเท่านั้น ปัญหาที่ควรนำมาทบทวน กำหนดท่าที หรือเตรียมความพร้อมมากกว่า ก็คือ ทำอย่างไร จึงจะศึกษารายละเอียด พิจารณาข้อดีข้อเสียในสัญญา หรือข้อตกลงเหล่านั้นให้รอบคอบ รัดกุมมากที่สุด แทนที่จะต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการทำข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ หรือระหว่างรัฐไทยกับองค์กรเอกชน ดังที่มีตัวอย่าง "ค่าโง่" ให้เห็นมาแล้วโดยตลอด
****************************************************************************
วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553
มือปั้น มือสร้าง ‘นายกฯ’!!
ผลิต “นายกรัฐมนตรี” รุ่นเบญจภาคี ประดับประเทศเอาไว้หลายคน..บัดนี้ “เจ้าพ่อวังน้ำเย็น” เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช มีแต่ ความหวาดวิตก???
เมื่อ “กองทัพ” ปล่อยให้ “นักการเมืองโจร” คุมอำนาจ และ ออกคำสั่ง
ปล่อยให้ “นักเลงหัวไม้” คอนโทรล..ปล่อยให้โจรเหลิงอำนาจ ประเทศก็พัง
“ป๋าเหนาะ” แสนอึดอัดหาวเร้อชะเง้อเหียนเสียจริง... “คนในกองทัพ”?...ยอมศิโรราบ แก่ “โจร” ที่มีอำนาจ ขึ้นมาครองเมืองได้ อย่างไรกัน!!!
โจรย่อมเป็นโจร...ควรหลีกหนีให้พ้น?..ถึงให้ประโยชน์เหลือล้น อย่าไปร่วมมือกับมัน??
...................................................
‘เขมร’ ยังมีแค่ ‘๓ ฝ่าย’!!!
ถึงขนาดนั้นยัง ละเลงเลือด สังหารหมู่ ฆ่าและล้มตาย กันอย่างมากมาย??
หันดู “ประเทศไทย” ใต้อำนาจปกครอง แห่ง “นักฆ่าเมืองอีตัน” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถูกแบ่งเป็น ไทยเหนือ ไทยใต้ ไทยอีสาน ไทยภาคกลาง แตกเป็นภาค จนน่าห่วง
“เสนาะ เทียนทอง” ชี้แนะ...ปัญหานี้แหละ นับเป็นอันตราย ใหญ่หลวง
คนไทยแตกสามัคคี แบ่งฝัก-แบ่งฝ่าย กันเป็น “คนละภาค”..ซึ่งรุนแรง! เกิดความ ระราน! ขยายความ ระรัว! จนคนไทยต้องหันมา “ฆ่ากันเอง” อย่างไม่มีทางเลี่ยง!!!
“ป๋าเหนาะ” ชี้ “มาร์ค” ทบทวน.เร่งแก้ปัญหานี้ด่วน?.ไม่สมควรเอาประเทศไทยมาเสี่ยง
...................................................
‘คนจริงของแท้’!!!
ปัญหาของชาติ นุงนังพัลเกที่ใด..“ลุงจิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ก็ลงไปแก้??
เสาร์ที่ผ่าน “ลุงจิ้น” เสาหลักแห่งกระทรวงมหาดไทย ลงไปภาคใต้ ถึงปัตตานี ร่วมฟังและแก้ปัญหา ของเขา อย่างเป็นระบบ
“ลุงจิ้น” ยืนยันดิบดี...จังหวัดปัตตานี มิใช่ พื้นที่ เขตสนามรบ
ชาวบ้านอยู่อย่างสงบ, ได้พบถามสารทุกข์สุกดิบกัน...เขามีปัญหาประการใด “ลุงจิ้น” ก็จัดการแก้ไขให้ด่วนจี๋..โดยเฉพาะการขอให้ “ลุงจิ้น” สร้างสะพาน ๓ แห่งก็สั่งการให้เสร็จสรรพ!
“ลุงจิ้น”ลงไปจังหวัดไหน..ใครเดือดร้อนเรื่องอะไร?..แก้ปัญหาทันใจ ทุกจังหวัดเลยครับ
...................................................
‘รวมพลคนข่าว’!!
แจกรางวัล “ภาพยอดเยี่ยม” ถ้วยพระราชทาน ของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ..โดย สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ของ “นายกฯ วิชัย วลาพล” ..ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ สิงหาคม ณ ร.ร. โซฟิเทล ทาราแกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
“นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไปเป็นอาคันตุกะ ทัวร์ราชการต่างประเทศ.. กลับมาตอนเย็น มาร่วมเป็น “ประธาน” แจกรางวัล “ภาพยอดเยี่ยม” ทันเวลา...
มางานนี้ “สื่อ” มากันแน่น...ฉะนั้น, ไม่ต้องหวั่นแผน โดนสั่งเก็บ สั่งฆ่า
อีกทั้ง “๒ นายพลมือปราบขวัญใจประชาชน” อย่าง “บิ๊กตุ๊” พล.ต.ต.จตุรงค์ ภุมรินทร์” ผบก. ปคบ. และ “มือปราบหูดำ” พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้การ น. ๑ ได้รับรางวัล “บุคคลดีเด่น” ย่อมไม่ให้มีการ “แหย่หนวดเสือ”!!!
ขืนใครมากระทบ “นายกฯ อภิสิทธิ์”...เป็นความคิดที่ผิด?...ชีวิตจะโดนปิดบัญชีไม่เหลือ?
.....................................................
เป็น ‘ขวัญใจชาว กทม.’
ถามว่า “มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทำอะไรให้ชาวเมืองหลวงมั่งล่ะรูปหล่อ
“ปชป.” กวาดเก้าอี้ ส.ส. เป็นอันดับหนึ่ง
“สข.” นักการเมืองท้องถิ่น...ท่านก็คว้าเก้าอี้ไปกิน จนหน้าทึ่ง
นี่, ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ก็จะเลือก “สก.” กันอีก.... “ประชาธิปัตย์” ตั้งเป้าฟันธง จะกวาดเก้าอี้ให้เรียบวุธ...แต่ขณะที่ “ชาวเมืองฟ้าอมรรัตนโกสินทร์” แห่เลือกประชาธิปัตย์มืดฟ้ามัวดิน ...แต่ “นายกฯ อภิสิทธิ์” ไม่ยักคิดแก้ปัญหา “การจราจร” ให้ดีขึ้นเลย!!!!
ปล่อยให้รถติดเป็นกิโล.....ไม่มีผลงานออกมาโชว์?...ไม่เคยโผล่หัว ออกมา เช่นเคย??
____________________________________________________
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
เมื่อ “กองทัพ” ปล่อยให้ “นักการเมืองโจร” คุมอำนาจ และ ออกคำสั่ง
ปล่อยให้ “นักเลงหัวไม้” คอนโทรล..ปล่อยให้โจรเหลิงอำนาจ ประเทศก็พัง
“ป๋าเหนาะ” แสนอึดอัดหาวเร้อชะเง้อเหียนเสียจริง... “คนในกองทัพ”?...ยอมศิโรราบ แก่ “โจร” ที่มีอำนาจ ขึ้นมาครองเมืองได้ อย่างไรกัน!!!
โจรย่อมเป็นโจร...ควรหลีกหนีให้พ้น?..ถึงให้ประโยชน์เหลือล้น อย่าไปร่วมมือกับมัน??
...................................................
‘เขมร’ ยังมีแค่ ‘๓ ฝ่าย’!!!
ถึงขนาดนั้นยัง ละเลงเลือด สังหารหมู่ ฆ่าและล้มตาย กันอย่างมากมาย??
หันดู “ประเทศไทย” ใต้อำนาจปกครอง แห่ง “นักฆ่าเมืองอีตัน” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถูกแบ่งเป็น ไทยเหนือ ไทยใต้ ไทยอีสาน ไทยภาคกลาง แตกเป็นภาค จนน่าห่วง
“เสนาะ เทียนทอง” ชี้แนะ...ปัญหานี้แหละ นับเป็นอันตราย ใหญ่หลวง
คนไทยแตกสามัคคี แบ่งฝัก-แบ่งฝ่าย กันเป็น “คนละภาค”..ซึ่งรุนแรง! เกิดความ ระราน! ขยายความ ระรัว! จนคนไทยต้องหันมา “ฆ่ากันเอง” อย่างไม่มีทางเลี่ยง!!!
“ป๋าเหนาะ” ชี้ “มาร์ค” ทบทวน.เร่งแก้ปัญหานี้ด่วน?.ไม่สมควรเอาประเทศไทยมาเสี่ยง
...................................................
‘คนจริงของแท้’!!!
ปัญหาของชาติ นุงนังพัลเกที่ใด..“ลุงจิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ก็ลงไปแก้??
เสาร์ที่ผ่าน “ลุงจิ้น” เสาหลักแห่งกระทรวงมหาดไทย ลงไปภาคใต้ ถึงปัตตานี ร่วมฟังและแก้ปัญหา ของเขา อย่างเป็นระบบ
“ลุงจิ้น” ยืนยันดิบดี...จังหวัดปัตตานี มิใช่ พื้นที่ เขตสนามรบ
ชาวบ้านอยู่อย่างสงบ, ได้พบถามสารทุกข์สุกดิบกัน...เขามีปัญหาประการใด “ลุงจิ้น” ก็จัดการแก้ไขให้ด่วนจี๋..โดยเฉพาะการขอให้ “ลุงจิ้น” สร้างสะพาน ๓ แห่งก็สั่งการให้เสร็จสรรพ!
“ลุงจิ้น”ลงไปจังหวัดไหน..ใครเดือดร้อนเรื่องอะไร?..แก้ปัญหาทันใจ ทุกจังหวัดเลยครับ
...................................................
‘รวมพลคนข่าว’!!
แจกรางวัล “ภาพยอดเยี่ยม” ถ้วยพระราชทาน ของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ..โดย สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ของ “นายกฯ วิชัย วลาพล” ..ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ สิงหาคม ณ ร.ร. โซฟิเทล ทาราแกรนด์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
“นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไปเป็นอาคันตุกะ ทัวร์ราชการต่างประเทศ.. กลับมาตอนเย็น มาร่วมเป็น “ประธาน” แจกรางวัล “ภาพยอดเยี่ยม” ทันเวลา...
มางานนี้ “สื่อ” มากันแน่น...ฉะนั้น, ไม่ต้องหวั่นแผน โดนสั่งเก็บ สั่งฆ่า
อีกทั้ง “๒ นายพลมือปราบขวัญใจประชาชน” อย่าง “บิ๊กตุ๊” พล.ต.ต.จตุรงค์ ภุมรินทร์” ผบก. ปคบ. และ “มือปราบหูดำ” พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้การ น. ๑ ได้รับรางวัล “บุคคลดีเด่น” ย่อมไม่ให้มีการ “แหย่หนวดเสือ”!!!
ขืนใครมากระทบ “นายกฯ อภิสิทธิ์”...เป็นความคิดที่ผิด?...ชีวิตจะโดนปิดบัญชีไม่เหลือ?
.....................................................
เป็น ‘ขวัญใจชาว กทม.’
ถามว่า “มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทำอะไรให้ชาวเมืองหลวงมั่งล่ะรูปหล่อ
“ปชป.” กวาดเก้าอี้ ส.ส. เป็นอันดับหนึ่ง
“สข.” นักการเมืองท้องถิ่น...ท่านก็คว้าเก้าอี้ไปกิน จนหน้าทึ่ง
นี่, ในวันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ก็จะเลือก “สก.” กันอีก.... “ประชาธิปัตย์” ตั้งเป้าฟันธง จะกวาดเก้าอี้ให้เรียบวุธ...แต่ขณะที่ “ชาวเมืองฟ้าอมรรัตนโกสินทร์” แห่เลือกประชาธิปัตย์มืดฟ้ามัวดิน ...แต่ “นายกฯ อภิสิทธิ์” ไม่ยักคิดแก้ปัญหา “การจราจร” ให้ดีขึ้นเลย!!!!
ปล่อยให้รถติดเป็นกิโล.....ไม่มีผลงานออกมาโชว์?...ไม่เคยโผล่หัว ออกมา เช่นเคย??
____________________________________________________
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
สะกิด DSI เลิกพล่ามก่อการร้าย
เหวง โตจิราการ - ก่อแก้ว พิกุลทอง
ลุ้น ‘ก่อแก้ว-เหวง’ รอลุ้นต่อ
ขยับเดินเกมต่อหลังจากที่มีกรณีประกันตัว นายวีระ มุสิกพงศ์ ได้แล้ว เป้าหมายต่อไปคือการที่จะขอประกันตัว นายก่อแก้ว พิกุลทอง และ น.พ.เหวง โตจิราการ ทั้งนี้ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. เผยว่า ได้เตรียมยื่นอุทธรณ์ขอประกันตัวนายก่อแก้ว พิกุลแก้ว และ น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. โดยอ้างอิงถึงคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ที่อนุญาตปล่อย ตัวชั่วคราว นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. ซึ่งทั้งสองคนพร้อมจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดทุกประการ ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
ก่อนหน้านี้นายก่อแก้ว ยื่นหลักทรัพย์เงินสด จำนวน 2 ล้านบาท ขณะที่ น.พ.เหวง ใช้เงินสด 2 ล้านบาท บวกกับที่ดินอีกรวม 7 ล้านบาท ขอประกันตัวมาแล้ว แต่ศาลไม่อนุญาต คาดว่าจะยื่นประกันในวันพรุ่งนี้ (3 ส.ค.)
นอกจากนี้ ทีมทนายความจะยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการในคดี ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนสั่งฟ้อง 25 แกนนำ นปช. ในข้อหาก่อการร้าย ส่วนรายละเอียดนั้นไม่สามารถเปิดเผยได้
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี 905 ศาลอาญา ถนนรัชดาฯ องค์คณะศาลอุทธรณ์ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งกรณีทนายความของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ผู้ต้องหาในคดีร่วมกันใช้ หรือสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135 / 1-3 ยื่นขอประกันตัว
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ได้ความจากจากการสืบพยาน นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่าได้เคยประสานงานกับนายวีระ แล้ว ผู้ต้องหาไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง ขณะที่พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็จัดกลุ่มผู้ต้องหาให้อยู่ในกลุ่มที่ไม่ใช้ความรุนแรง และผู้ต้องหาก็ได้เข้ามอบตัว ประกอบกับสถานการณ์คลี่คลายลงแลัว เชื่อว่าหากปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไม่หลบหนี ไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยาน จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยตีราคาหลักทรัพย์ประกันตัว 6 ล้านบาท
นอกจากนี้ ศาลยังมีคำสั่งห้ามนายวีระ เดินทางออกนอกประเทศ รวมทั้งพื้นที่ กทม. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล และห้ามนายวีระ ร่วมกับกลุ่มบุคคลชุมนุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เว้นแต่จะเป็นการอยู่กับกลุ่มญาติ และห้ามนายวีระ ให้ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะด้วย โดยศาลยังได้มีคำสั่งให้นายวีระ รายงานตัวต่อศาลชั้นต้น ทุก 15 วัน
ซึ่งการที่ศาลให้ประกันตัวนายวีระ และการที่นายกอร์ปศักดิ์ เบิกความช่วยนายวีระ จนได้ประกันตัว ได้ก่อให้เกิดปฏิกริยาตามมาพอสมควร เพราะนอกจากจะมีการยื่นอุทธรณ์ขอประกันตัวนายก่อแก้ว และ น.พ.เหวง ตามมาอีกระลอก เพราะนายก่อแก้ว ถึงขนาดที่กล้าลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม เขต 6 กทม. ย่อมสะท้อนชัดเจนว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลบหนีอย่างแน่นอน
ในขณะเดียวกันปฏิกริยาที่ตามมาจากการที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นพยานยืนยันว่า นายวีระ มุสิกพงศ์ ผู้ต้องหาก่อการร้าย ไม่มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงจนได้รับการประกันตัว ได้ทำให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รีบออกมาให้ความเห็น ว่า จะไม่ส่งผลต่อคดีก่อการร้ายที่ดีเอสไอ สรุปสำนวนโดยมีความเห็นสั่งฟ้อง และส่งให้อัยการฝ่ายคดีพิเศษพิจารณาหลักฐานในสำนวนคดี เนื่องจากการก่อการร้ายไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องใช้ความรุนแรง
แต่เป็นรูปแบบการกระทำความผิดที่แบ่งแยกหน้าที่กันทำ เช่น การเป็นผู้นำในการปราศรัย ซึ่งตามแนวทางการสอบสวนของดีเอสไอระบุว่า นายวีระ ไม่ใช่กลุ่มฮาร์ดคอร์ที่นิยมความรุนแรง แต่เป็นแกนนำมีหน้าที่ประสานงาน เพื่อให้เกิดการวางแผนก่อการร้าย
อธิบดีดีเอสไอ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองก่อนหน้านี้ว่า หลังคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติรับคดีที่เกี่ยวข้องกับ 4 ข้อหาหลักให้เป็นคดีพิเศษ ประกอบด้วย การก่อการร้าย การข่มขู่รัฐบาล การทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน และการกระทำผิดต่ออาวุธยุทโธปกรณ์ ขณะนี้ดีเอสไอสรุปสำนวนคดีส่งฟ้องอัยการไปแล้ว 21 คดี โดยคดีก่อการร้ายที่สั่งฟ้องไปเป็นสำนวนคดีที่ 21 ส่วนอีก 20 คดีเป็นการก่อเหตุวางระเบิดในจุดต่างๆ ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้เร่งรัดสั่งฟ้องคดีใดเป็นพิเศษ แต่ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน หากคดีใดหลักฐานครบถ้วนจะสรุปสำนวนส่งฟ้องทันที ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยสั่งฟ้องคดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะคดีก่อการร้ายที่เพิ่งส่งฟ้องไปเท่านั้น
ส่วนคดีระเบิดที่กลางซอยรางน้ำตรงข้ามห้างคิงพาวเวอร์ว่า เหตุระเบิดตำรวจต้องเป็นฝ่ายสืบสวนหาข่าว ส่วนดีเอสไอเป็นฝ่ายสอบสวน กรณีระเบิดเฉพาะหน้าห้างบิ๊กซี ราชประสงค์ ตำรวจได้โอนคดีให้ดีเอสไอแล้ว ส่วนเหตุระเบิดที่ซอยรางน้ำยังไม่โอนคดีมา ตำรวจและดีเอสไอกำลังช่วยกันเร่งตรวจสอบเหตุระเบิดทั้ง 2 จุด
การที่นายธาริต ยังคงพยายามที่จะเอาใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการที่ยังคงรับลูกจาก ศอฉ. ในเรื่องของการกำหนดกรอบว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นเรื่องของการก่อการร้าย ยิ่งทำให้บรรยากาศการปรองดองยากที่จะเกิดขึ้น
และที่สำคัญด้วยการยืนกรานว่ามีการก่อการร้ายเช่นนี้เอง ได้ทำให้บรรดาผู้ที่เสียหายจากกรณีการสลายการชุมนุมพฤษภาอำมหิต 53 รวมทั้งการเผาสถานที่อาคารต่างๆ แม้จะมีการทำประกันเอาไว้ ก็ไม่ได้รับการชดเชยเลยกระทั่งบัดนี้ เพราะบริษัทประกันต่างหยิบยกประเด็นก่อการร้ายขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธว่า การประกันวินาศภัยไม่ได้คุ้มครองถึงกรณีการก่อการร้าย
ดังนั้นผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย จึงอดเกิดความรู้สึกกับท่าทีของรัฐบาลและท่าทีของนายธาริต ไม่ได้ ที่ยังคงยืนกรานว่าเป็นเรื่องของการก่อการร้าย
“ก็เข้าใจว่านายธาริต ต้องการเติบโตในหน้าที่ราชการ ต้องการขยับไปเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม แต่โดยข้อเท็จริงที่นายธาริต เองทำงานร่วมกับ ศอฉ. ก็รู้ๆ อยู่ว่าอะไรเป็นอะไร รวมทั้งสามัญสำนึกน่าจะรู้ดีว่า จริงๆ แล้วการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นการก่อการร้ายจริงหรือไม่ ดังนั้น การที่นายธาริต ยังออกมาเล่นงานในคดีก่อการร้ายไปเรื่อยๆ แบบนี้ การต่อสู้ของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ประกันจ่ายเงินชดเชย ก็คงเป็นความหวังที่ริบหรี่เต็มทน อยากให้นายธาริต หันมามองมุมนี้บ้าง แทนที่จะมองในมุมของตนเองและการก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างเดียว” ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้และยังไม่สามารถเคลมประกันได้กล่าว
ที่มา.บางกอกทูเดย์
...........................................................................
ลุ้น ‘ก่อแก้ว-เหวง’ รอลุ้นต่อ
ขยับเดินเกมต่อหลังจากที่มีกรณีประกันตัว นายวีระ มุสิกพงศ์ ได้แล้ว เป้าหมายต่อไปคือการที่จะขอประกันตัว นายก่อแก้ว พิกุลทอง และ น.พ.เหวง โตจิราการ ทั้งนี้ นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ นปช. เผยว่า ได้เตรียมยื่นอุทธรณ์ขอประกันตัวนายก่อแก้ว พิกุลแก้ว และ น.พ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. โดยอ้างอิงถึงคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ที่อนุญาตปล่อย ตัวชั่วคราว นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. ซึ่งทั้งสองคนพร้อมจะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดทุกประการ ส่วนมูลค่าหลักทรัพย์นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
ก่อนหน้านี้นายก่อแก้ว ยื่นหลักทรัพย์เงินสด จำนวน 2 ล้านบาท ขณะที่ น.พ.เหวง ใช้เงินสด 2 ล้านบาท บวกกับที่ดินอีกรวม 7 ล้านบาท ขอประกันตัวมาแล้ว แต่ศาลไม่อนุญาต คาดว่าจะยื่นประกันในวันพรุ่งนี้ (3 ส.ค.)
นอกจากนี้ ทีมทนายความจะยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการในคดี ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนสั่งฟ้อง 25 แกนนำ นปช. ในข้อหาก่อการร้าย ส่วนรายละเอียดนั้นไม่สามารถเปิดเผยได้
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ห้องพิจารณาคดี 905 ศาลอาญา ถนนรัชดาฯ องค์คณะศาลอุทธรณ์ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำสั่งกรณีทนายความของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ผู้ต้องหาในคดีร่วมกันใช้ หรือสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135 / 1-3 ยื่นขอประกันตัว
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ได้ความจากจากการสืบพยาน นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ว่าได้เคยประสานงานกับนายวีระ แล้ว ผู้ต้องหาไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง ขณะที่พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็จัดกลุ่มผู้ต้องหาให้อยู่ในกลุ่มที่ไม่ใช้ความรุนแรง และผู้ต้องหาก็ได้เข้ามอบตัว ประกอบกับสถานการณ์คลี่คลายลงแลัว เชื่อว่าหากปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาจะไม่หลบหนี ไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยาน จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยตีราคาหลักทรัพย์ประกันตัว 6 ล้านบาท
นอกจากนี้ ศาลยังมีคำสั่งห้ามนายวีระ เดินทางออกนอกประเทศ รวมทั้งพื้นที่ กทม. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล และห้ามนายวีระ ร่วมกับกลุ่มบุคคลชุมนุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เว้นแต่จะเป็นการอยู่กับกลุ่มญาติ และห้ามนายวีระ ให้ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะด้วย โดยศาลยังได้มีคำสั่งให้นายวีระ รายงานตัวต่อศาลชั้นต้น ทุก 15 วัน
ซึ่งการที่ศาลให้ประกันตัวนายวีระ และการที่นายกอร์ปศักดิ์ เบิกความช่วยนายวีระ จนได้ประกันตัว ได้ก่อให้เกิดปฏิกริยาตามมาพอสมควร เพราะนอกจากจะมีการยื่นอุทธรณ์ขอประกันตัวนายก่อแก้ว และ น.พ.เหวง ตามมาอีกระลอก เพราะนายก่อแก้ว ถึงขนาดที่กล้าลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม เขต 6 กทม. ย่อมสะท้อนชัดเจนว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะหลบหนีอย่างแน่นอน
ในขณะเดียวกันปฏิกริยาที่ตามมาจากการที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นพยานยืนยันว่า นายวีระ มุสิกพงศ์ ผู้ต้องหาก่อการร้าย ไม่มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงจนได้รับการประกันตัว ได้ทำให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รีบออกมาให้ความเห็น ว่า จะไม่ส่งผลต่อคดีก่อการร้ายที่ดีเอสไอ สรุปสำนวนโดยมีความเห็นสั่งฟ้อง และส่งให้อัยการฝ่ายคดีพิเศษพิจารณาหลักฐานในสำนวนคดี เนื่องจากการก่อการร้ายไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องใช้ความรุนแรง
แต่เป็นรูปแบบการกระทำความผิดที่แบ่งแยกหน้าที่กันทำ เช่น การเป็นผู้นำในการปราศรัย ซึ่งตามแนวทางการสอบสวนของดีเอสไอระบุว่า นายวีระ ไม่ใช่กลุ่มฮาร์ดคอร์ที่นิยมความรุนแรง แต่เป็นแกนนำมีหน้าที่ประสานงาน เพื่อให้เกิดการวางแผนก่อการร้าย
อธิบดีดีเอสไอ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองก่อนหน้านี้ว่า หลังคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) มีมติรับคดีที่เกี่ยวข้องกับ 4 ข้อหาหลักให้เป็นคดีพิเศษ ประกอบด้วย การก่อการร้าย การข่มขู่รัฐบาล การทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน และการกระทำผิดต่ออาวุธยุทโธปกรณ์ ขณะนี้ดีเอสไอสรุปสำนวนคดีส่งฟ้องอัยการไปแล้ว 21 คดี โดยคดีก่อการร้ายที่สั่งฟ้องไปเป็นสำนวนคดีที่ 21 ส่วนอีก 20 คดีเป็นการก่อเหตุวางระเบิดในจุดต่างๆ ทั้งนี้ยืนยันว่าไม่ได้เร่งรัดสั่งฟ้องคดีใดเป็นพิเศษ แต่ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน หากคดีใดหลักฐานครบถ้วนจะสรุปสำนวนส่งฟ้องทันที ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยสั่งฟ้องคดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะคดีก่อการร้ายที่เพิ่งส่งฟ้องไปเท่านั้น
ส่วนคดีระเบิดที่กลางซอยรางน้ำตรงข้ามห้างคิงพาวเวอร์ว่า เหตุระเบิดตำรวจต้องเป็นฝ่ายสืบสวนหาข่าว ส่วนดีเอสไอเป็นฝ่ายสอบสวน กรณีระเบิดเฉพาะหน้าห้างบิ๊กซี ราชประสงค์ ตำรวจได้โอนคดีให้ดีเอสไอแล้ว ส่วนเหตุระเบิดที่ซอยรางน้ำยังไม่โอนคดีมา ตำรวจและดีเอสไอกำลังช่วยกันเร่งตรวจสอบเหตุระเบิดทั้ง 2 จุด
การที่นายธาริต ยังคงพยายามที่จะเอาใจรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และการที่ยังคงรับลูกจาก ศอฉ. ในเรื่องของการกำหนดกรอบว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นเรื่องของการก่อการร้าย ยิ่งทำให้บรรยากาศการปรองดองยากที่จะเกิดขึ้น
และที่สำคัญด้วยการยืนกรานว่ามีการก่อการร้ายเช่นนี้เอง ได้ทำให้บรรดาผู้ที่เสียหายจากกรณีการสลายการชุมนุมพฤษภาอำมหิต 53 รวมทั้งการเผาสถานที่อาคารต่างๆ แม้จะมีการทำประกันเอาไว้ ก็ไม่ได้รับการชดเชยเลยกระทั่งบัดนี้ เพราะบริษัทประกันต่างหยิบยกประเด็นก่อการร้ายขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธว่า การประกันวินาศภัยไม่ได้คุ้มครองถึงกรณีการก่อการร้าย
ดังนั้นผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย จึงอดเกิดความรู้สึกกับท่าทีของรัฐบาลและท่าทีของนายธาริต ไม่ได้ ที่ยังคงยืนกรานว่าเป็นเรื่องของการก่อการร้าย
“ก็เข้าใจว่านายธาริต ต้องการเติบโตในหน้าที่ราชการ ต้องการขยับไปเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม แต่โดยข้อเท็จริงที่นายธาริต เองทำงานร่วมกับ ศอฉ. ก็รู้ๆ อยู่ว่าอะไรเป็นอะไร รวมทั้งสามัญสำนึกน่าจะรู้ดีว่า จริงๆ แล้วการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเป็นการก่อการร้ายจริงหรือไม่ ดังนั้น การที่นายธาริต ยังออกมาเล่นงานในคดีก่อการร้ายไปเรื่อยๆ แบบนี้ การต่อสู้ของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้ประกันจ่ายเงินชดเชย ก็คงเป็นความหวังที่ริบหรี่เต็มทน อยากให้นายธาริต หันมามองมุมนี้บ้าง แทนที่จะมองในมุมของตนเองและการก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างเดียว” ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้และยังไม่สามารถเคลมประกันได้กล่าว
ที่มา.บางกอกทูเดย์
...........................................................................
น่าตกใจ!หนี้ครูทั้งระบบ1ล.ล.
สรุปตัวเลขหนี้สินครูทั้งระบบสูงน่าตกใจ 1 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 7 แสนล้านบาท ชพค.1-5 1.5 แสนล้าน เฉลียวยันส่วนใหญ่เป็นหนี้ดีไม่ใช่หนี้เสีย ชี้จะได้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือไม่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะคณะกรรมการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูทั้งระบบ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้เสนอข้อมูลไปให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อประกอบการพิจารณาหารือกับทางกระทรวงการคลังและรัฐบาลเพื่อแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบแล้ว ซึ่งจากข้อมูลที่นำเสนอไปพบว่าจากการสำรวจหนี้สินครูจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 87 แห่งทั่วประเทศ โครงการพัฒนาชีวิตครู โครงการเงินกู้สมาชิกกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และกองทุนหมุนเวียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูนั้น ครูทั่วประเทศมีครูเป็นหนี้ประมาณกว่า 4 แสนคน และมีมูลค่าหนี้สินรวมกันประมาณ 1 ล้านล้านบาท และมีเงินออมรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งหนี้สินดังกล่าวของครูเป็นหนี้สินที่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมดและไม่ใช่หนี้เสีย
โดยหนี้สินของครูส่วนใหญ่จะเป็นหนี้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 87 แห่ง ประมาณ 7 แสนล้านบาท มีครูเป็นหนี้จำนวน 4.6 แสนคน, โครงการเงินกู้ ช.พ.ค.1-5 มูลค่าหนี้สิน 1.5 แสนล้านบาท มีครูเป็นหนี้ประมาณกว่า 3 แสนคน, โครงการพัฒนาชีวิตครู มูลค่าหนี้ 5 หมื่นล้านบาท มีครูเป็นหนี้กว่า 6 หมื่นคน และกองทุนหมุนเวียนฯ มูลค่าหนี้ 1 พันล้านบาท มีครูเป็นหนี้จำนวน 8,500 คน
"ข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อนำไปหารือกับทางรัฐบาลว่าจะกำหนดนโยบายเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้สินครูได้อย่างไร ส่วนจำนวนหนี้สินที่มากมายนั้น ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขเรื่องนี้ เพราะขณะนี้ครูที่มีหนี้สินส่วนใหญ่ก็อยู่กันได้" ปลัด ศธ.กล่าว และว่า จากข้อมูลการสำรวจพบจำนวนหนี้เสียค่อนข้างน้อย อย่างสหกรณ์ออมทรัพย์ครู มีครูที่เบี้ยวหนี้แค่กว่า 1,000 คน โครงการเงินกู้ ช.พ.ค.ก็ไม่มีหนี้เสียตามที่รายงานมา ส่วนกองทุนพัฒนาชีวิตครูฯ หนี้เสียแค่กว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้สำหรับการหารือกับสถาบันการเงินเพื่อให้ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำนั้นไม่ได้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ แต่เป็นเรื่องของทางรัฐบาลที่จะดำเนินการกัน ซึ่งตนก็ตอบไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร.
ที่มา.ไทยโพสต์
****************************************************************************
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะคณะกรรมการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูทั้งระบบ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้เสนอข้อมูลไปให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการ ศธ. เพื่อประกอบการพิจารณาหารือกับทางกระทรวงการคลังและรัฐบาลเพื่อแก้ไขหนี้สินครูทั้งระบบแล้ว ซึ่งจากข้อมูลที่นำเสนอไปพบว่าจากการสำรวจหนี้สินครูจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 87 แห่งทั่วประเทศ โครงการพัฒนาชีวิตครู โครงการเงินกู้สมาชิกกองทุนการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) และกองทุนหมุนเวียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูนั้น ครูทั่วประเทศมีครูเป็นหนี้ประมาณกว่า 4 แสนคน และมีมูลค่าหนี้สินรวมกันประมาณ 1 ล้านล้านบาท และมีเงินออมรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งหนี้สินดังกล่าวของครูเป็นหนี้สินที่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมดและไม่ใช่หนี้เสีย
โดยหนี้สินของครูส่วนใหญ่จะเป็นหนี้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ครู 87 แห่ง ประมาณ 7 แสนล้านบาท มีครูเป็นหนี้จำนวน 4.6 แสนคน, โครงการเงินกู้ ช.พ.ค.1-5 มูลค่าหนี้สิน 1.5 แสนล้านบาท มีครูเป็นหนี้ประมาณกว่า 3 แสนคน, โครงการพัฒนาชีวิตครู มูลค่าหนี้ 5 หมื่นล้านบาท มีครูเป็นหนี้กว่า 6 หมื่นคน และกองทุนหมุนเวียนฯ มูลค่าหนี้ 1 พันล้านบาท มีครูเป็นหนี้จำนวน 8,500 คน
"ข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์เพื่อนำไปหารือกับทางรัฐบาลว่าจะกำหนดนโยบายเพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้สินครูได้อย่างไร ส่วนจำนวนหนี้สินที่มากมายนั้น ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขเรื่องนี้ เพราะขณะนี้ครูที่มีหนี้สินส่วนใหญ่ก็อยู่กันได้" ปลัด ศธ.กล่าว และว่า จากข้อมูลการสำรวจพบจำนวนหนี้เสียค่อนข้างน้อย อย่างสหกรณ์ออมทรัพย์ครู มีครูที่เบี้ยวหนี้แค่กว่า 1,000 คน โครงการเงินกู้ ช.พ.ค.ก็ไม่มีหนี้เสียตามที่รายงานมา ส่วนกองทุนพัฒนาชีวิตครูฯ หนี้เสียแค่กว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้สำหรับการหารือกับสถาบันการเงินเพื่อให้ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำนั้นไม่ได้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ แต่เป็นเรื่องของทางรัฐบาลที่จะดำเนินการกัน ซึ่งตนก็ตอบไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร.
ที่มา.ไทยโพสต์
****************************************************************************
ยุทธวิธีการต่อสู้แบบ"ไร้หัว"ของคนเสื้อแดง
ภายใต้สภาวะการกดดัน ห้ามส่งเสียง ห้ามรวมกลุ่ม ห้ามถือป้าย หรือเรียกว่าห้ามประท้วงชุมนุมใดๆทั้งสิ้น การต่อสู้ของกลุ่มที่ถูกกดทับด้วย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนจะถูกจับเขาซังเตได้ง่ายๆ อย่างไรก็ตามยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ออกมาเย้ยฟ้าท้าดินหาทางดิ้นออกจากกรอบที่ขีดล้อมไว้ทั่วบ้านทั่วเมือง
ความพยายามของคนหนึ่งคนขยายเป็นกลุ่มเล็กๆกระจายกันไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์จากจุดเล็กๆเริ่มจากการผูกผ้าแดงที่เสาป้ายราชประสงค์ การตะโกนบอกที่นี่มีคนตาย การชูป้ายเราเห็นคนตาย กลายเป็นสิ่งต้องห้ามถูกเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน "วันอาทิตย์แดง" เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน มีการจัดงาน โครงการศิลปะสู่อิสรภาพ ครั้งที่ 1 "คน ตาย ตึก และพรก.ฉุกเฉิน" มีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบมาประจำการรอบพื้นที่อนุสรณ์สถาน
ในงานนี้มีเวทีเสวนา "สามัญชนเปลี่ยนโลก / วิถีแนวนอน การเคลื่อนไหวของแกนนอน" โดยมีวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นแนวทางการต่อสู้ให้สิ่งที่ต้องการสื่อสารปรากฎต่อสาธารณะทั้งทางตรงทางอ้อม ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ลดทอนอำนาจ และตีแผ่ความเป็นจริงให้สังคมได้รับรู้ โดยยึดแนวทางการสู้แบบระนาบหวังจะให้ทุกคนเคลื่อนไหวได้เองหากวันหนึ่งแกนนำนำถูก"เด็ด"ไปเพื่อไม่ให้ท้ายขบวนหยุดนิ่ง
ในกระบวนการต่อสู้เชิงลักษณ์เพื่อให้สังคมรู้จักตั้งคำถาม เริ่มจาก "ภควดี" ไม่มีนามสกุล อธิบายถึง การเปลี่ยนแปลงตามวีถีแนวนอน หมายถึง สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่อิงกันมาตั้งแต่ในอดีตสังคมที่มีผู้นำแล้วมีมวลชนเป็นฐาน เปลี่ยนเป็นวิถีแบบระนาบ ต้องอาศัยการจัดตั้งจากคนที่มีความคิดอิสระเริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆสร้างเป็นเครือข่ายคิดกระบวนการเพื่อแสวงหาฉันทามติโดยใช้วิธีส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมแบบโต๊ะกลมไม่ใช่แบบผู้นำเดี่ยว
จากหนังสือ"สามัญชนเปลี่ยนโลก" ของ ภควดี เขียนอธิบายเรื่องวิถีระนาบพอสรุปได้ว่า การจัดตั้งแนวระนาบมีความเชื่อมโยงและได้รับอิทธิพลมาจากแนวทางอนาธิปไตย (anarchism) กลุ่มเครือสหาย (Affinity Group) และหลายกลุ่มองค์กรในขบวนการสังคมใหม่ใช้วิธีการจัดตั้งแบบนี้ แต่ก็มีหลายองค์กรที่ยังใช้การจัดตั้งองค์กรแบบพีระมิด อย่างไรก็ดี การผนึกกำลังเป็นเครือข่ายของขบวนการสังคมใหม่จะใช้วิธีการจัดตั้งแนวระนาบเป็นหลัก
"วิถีระนาบ" ซึ่งเป็นแนวทางของขบวนการประชาชนหลายขบวนการที่ผุดขึ้นมาในประเทศอาร์เจนตินา ในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 2001 "วิถีระนาบ" ของชาวอาร์เจนตินาไม่ได้เกิดมาจากลัทธิความคิดใดๆ ไม่ได้มาจากแนวทางอนาธิปไตยหรือแม้กระทั่งขบวนการซาปาติสตา ในประเทศเม็กซิโกแต่เกิดจากปฏิกิริยาโดยธรรมชาติที่ต้องการตอบโต้ต่อความล้มเหลวของระบบในประเทศรวมทั้งแสวงหาหนทางแก้ไขและข้ามพ้นระบบดังกล่าว
ในทางปฏิบัติ การจัดตั้งองค์กรและการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่เป็นขบวนการที่มักเรียกรวมๆ ว่าขบวนการอัตตาณัติ (autonomous movements)ซึ่งเป็นขบวนการประชาชนจำนวนมากที่เกิดขึ้นมาในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ขบวนการเหล่านี้ล้วนต้องการเป็นอิสระจากรัฐ
"วิถีระนาบ" จึงเป็นปฏิกิริยาตอบโต้โดยสัญชาตญาณเป็นการแสดงความผิดหวังต่อระบบผู้นำเดี่ยวรวมทั้งระบบเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย มีรูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ มากกว่าวิธีการจัดตั้งองค์กรเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเท่าเทียม โดยไม่ยอมตกอยู่ภายใต้กรอบของเงื่อนไขเดิมๆ มันเป็นวิธีการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันแบบประชาธิปไตยทางตรง และเชื่อมโยงขบวนการต่างๆ เป็นเครือข่าย จัดรูปแบบความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจใหม่ โดยปฏิเสธแนวคิดของ "อำนาจเหนือ" หันมาเน้นการมี "อำนาจร่วมกัน" มีเป้าหมายในการสร้างอำนาจให้สมาชิกและหมู่คณะ โดยเฉพาะอำนาจในการตัดสินใจไม่มุ่งยึดอำนาจรัฐแต่มุ่งสร้าง "อำนาจอีกแบบหนึ่ง" ขึ้นมาด้วยความสัมพันธ์ทางสังคม ยอมรับว่าสมาชิกแต่ละคนแตกต่างกัน มีความคิดแตกต่างกัน และมุ่งสร้างความเป็นหมู่คณะรองรับความเป็นอัตตาณัติ (autonomy)
ขณะที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด ที่เพิ่งออกจากการถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นำผ้าแดงมาผูกที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์เพื่อไว้อาลัยให้ประชาชน 90 ศพ ที่ถูกสังหารในเหตุการณ์สลายการชุมนุมจากเวทีผ่านฟ้าถึงราชประสงค์ ร่วมเสวนากล่าวถึงการต่อสู้จากมวลชนจะต้องพึ่งแกนนำอยากให้เปลี่ยนมาเป็นแกนนอนจากสามเหลี่ยมแนวตั้งคว่ำให้กลับมาเป็นสามเหลี่ยมแนวนอนเคลื่อนไปในระนาบเดียวกันสามารถสลับกันขึ้นไปอยู่แถวหน้าได้ เพราะขณะนี้มวลชนที่อยู่ฐานล่างยังมีพลังอยู่มากพร้อมที่จะเคลื่อนต่อไปเพียงแค่สะดุดเพราะแกนนำถูกจับไป หากเปลี่ยนเป็นสามเหลี่ยนแนวนอนคนทั้งหมดจะเคลื่อนไปด้วยกันได้
นายสมบัติ ได้เสนอวิธีการเคลื่อนในแนวระนาบไว้ว่า ทุกคนต้องสะท้อนศักยภาพของตัวเองออกมาไม่ใช่การรอคำสั่งจากแกนนำเพื่อสั่งให้ไปนั่งเป็น 1 หน่วย ให้สันติบาลนับจำนวนเท่านั้น เปลี่ยนจากมวลชนเป็นผู้ปฏิบัติงาน รวมกลุ่ม 5-20 คน แล้วมาคุยกันมีความฝันร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของตัวเองว่าทำอะไรได้บ้าง เพื่อหลุดพ้นจากอำนาจนิย คือ การแสวงหาผู้นำที่ดีมาปกครองทำตัวเป็นบ่าวแต่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้มวลชนเป็นนายไม่ใช่การหาเจ้านายมาคุ้มกะบาล เช่น กวีบางคนพกปากกาเข้าไปในห้องน้ำแล้วเขียนบทกวีที่ประตูห้องน้ำ สภากาแฟที่ไม่ใช่แค่คุยโม้ให้คิดและปฏิบัติการ เชื่อว่าไม่น่าเกิน 3 เดือน รูปพระอาทิตย์จะขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง
"ผมหมดความหวังกับแกนนำแล้ว อยากเห็นวัฒนธรรมที่เห็นคนเป็นคน และคนมีอำนาจสูงสุด เพราะถ้าเรารู้สึกเป็นเจ้าของก็จะรู้สึกหวงแหนและปกป้อง ถึงวันนั้น การต่อสู้ถึงจะสำเร็จผล ลักษณะนี้เรียกว่า แกนนอน "
ด้านนายพันธุ์ศักดิ์ ศรีเทพ ผู้สูญเสียลูกชาย นายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ "สุรเฌอ" เด็กหนุ่มวัย 17 ปี เสียชีวิตในเหตุนองเลือดกลางเดือนพฤษภาคมที่กรุงเทพมหานคร ว่า กิจกรรมของคนเสื้อแดงที่พยายามแสดงออกเพื่อให้สังคมรับรู้ว่ามีคนตายด้วยการผูกผ้าแดง การตะโกนถูกจับหมด พอเห็นกลุ่มต่อต้านรวมตัวกันจากคนเล็กๆรัฐก็ไม่ละเว้นเข้ามาครอบงำด้วยอาวุธด้วยอำนาจ ดังนั้นกิจกรรมที่จะสื่อสารไปถึงคนภายนอกจึงถูกตีกรอบหมด จึงได้คิดวิธีการใหม่โดยใช้ร่างกาย คือ การนอนเป็นศพแต่มีข้อจำกัดคือไม่มีบทสนทนาจึงลองเปลี่ยนมาเป็นรณรงค์ให้คนไทยแต่งเป็น "ผี" ที่ออกไปหลอกหลอนความผิดปกติของระบบ
"จากประสบการณ์การแต่งผีไปเล่นกับตำรวจที่แยกราชประสงค์ถือว่าประสบความสำเร็จเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รู้จะจัดการอย่างไร ทำได้แค่ขอร้องให้เลิก ซึ่งถือว่าเป็นการข้อร้อง จากนี้ชีวิตไม่กลัวอะไรแล้ว เพราะลูกสอนให้ไม่กลัว การจัดการทางการเมืองคือการจัดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับมาปกติ แต่รัฐบาลกลับสร้างความกลัวขึ้นมาโดยการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สร้างความอาฆาตพยาบาทขึ้นมาอีกครั้ง ใช้โครงการ "ทูเกตเทอร์ วีแคน" คือการสร้างความแตกต่างให้คนด้วยกัน และการผลักคนอีกกลุ่มหนึ่งออกไปข้างนอก ฉะนั้นทุกคนต้องรู้จักการปฏิเสธ แล้วตั้งคำถามกลับ ทุกอย่างจะเป็นประเด็นคำถามต่อรัฐบาล พอรัฐบาลไม่มีคำตอบแสดงว่ารัฐบาลไม่มีทางแก้ไขความขัดแย้งได้"
Tewarit Bus Maneechay กล่าวว่า แนวทางการต่อสู้แบบแกนนอนนี้ยังมีข้อจำกัดเพราะไม่มีสื่อ แต่จะเป็นการต่อสู้ทางตรงที่อาจจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าโดยมีภาพประกอบและเป็นการสื่อสารจากคนหนึ่งถึงอีกคนหนึ่งโดยมีสื่ออินเตอร์เน็ต รัฐบาลจะทำให้คำว่าก่อการร้ายมีความศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจ แต่ถ้าเราสามารถสกรีนคำว่า "ก่อการร้าย" ลงบนเสื้อยืดแล้วใส่กัน จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของคำนี้ลดลง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการสร้างนวัตกรรมการต่อสู้เชิง สัญลักษณ์และวัฒนธรรมจะทำให้ต้นทุนการต่อสู้ลดลงแต่มีปฏิกิริยาตอบรับสูง
นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็นถึงกรณีการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์มองว่า เริ่มแรกที่เห็นนายสมบัติไปผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์ก็คิดว่าไม่น่าจะมีอะไร แต่ปรากฏว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้กล้าแสดงออกกล้าใส่เสื้อแดง นับเป็นการต่อสู้ที่ไม่ต้องไปอิงกับแกนนำเหมือนกับบางคน เมื่อแกนนำเข้าคุกเหมือนเข้าคุกไปกับแกนนำด้วย แต่แนวทางการต่อสู้ของกลุ่มย่อยๆแบบนี้ทำให้รู้สึกว่าเป็นเสรีชนพร้อมที่จะเคลื่อนด้วยตัวเองแบบแกนนอน
อย่างไรก็ตามการเคลื่อนในแนวระนาบคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยจนสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบพีระมิดได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
***************************************************************************
ความพยายามของคนหนึ่งคนขยายเป็นกลุ่มเล็กๆกระจายกันไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์จากจุดเล็กๆเริ่มจากการผูกผ้าแดงที่เสาป้ายราชประสงค์ การตะโกนบอกที่นี่มีคนตาย การชูป้ายเราเห็นคนตาย กลายเป็นสิ่งต้องห้ามถูกเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน "วันอาทิตย์แดง" เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน มีการจัดงาน โครงการศิลปะสู่อิสรภาพ ครั้งที่ 1 "คน ตาย ตึก และพรก.ฉุกเฉิน" มีเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบมาประจำการรอบพื้นที่อนุสรณ์สถาน
ในงานนี้มีเวทีเสวนา "สามัญชนเปลี่ยนโลก / วิถีแนวนอน การเคลื่อนไหวของแกนนอน" โดยมีวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นแนวทางการต่อสู้ให้สิ่งที่ต้องการสื่อสารปรากฎต่อสาธารณะทั้งทางตรงทางอ้อม ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ลดทอนอำนาจ และตีแผ่ความเป็นจริงให้สังคมได้รับรู้ โดยยึดแนวทางการสู้แบบระนาบหวังจะให้ทุกคนเคลื่อนไหวได้เองหากวันหนึ่งแกนนำนำถูก"เด็ด"ไปเพื่อไม่ให้ท้ายขบวนหยุดนิ่ง
ในกระบวนการต่อสู้เชิงลักษณ์เพื่อให้สังคมรู้จักตั้งคำถาม เริ่มจาก "ภควดี" ไม่มีนามสกุล อธิบายถึง การเปลี่ยนแปลงตามวีถีแนวนอน หมายถึง สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่อิงกันมาตั้งแต่ในอดีตสังคมที่มีผู้นำแล้วมีมวลชนเป็นฐาน เปลี่ยนเป็นวิถีแบบระนาบ ต้องอาศัยการจัดตั้งจากคนที่มีความคิดอิสระเริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆสร้างเป็นเครือข่ายคิดกระบวนการเพื่อแสวงหาฉันทามติโดยใช้วิธีส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมแบบโต๊ะกลมไม่ใช่แบบผู้นำเดี่ยว
จากหนังสือ"สามัญชนเปลี่ยนโลก" ของ ภควดี เขียนอธิบายเรื่องวิถีระนาบพอสรุปได้ว่า การจัดตั้งแนวระนาบมีความเชื่อมโยงและได้รับอิทธิพลมาจากแนวทางอนาธิปไตย (anarchism) กลุ่มเครือสหาย (Affinity Group) และหลายกลุ่มองค์กรในขบวนการสังคมใหม่ใช้วิธีการจัดตั้งแบบนี้ แต่ก็มีหลายองค์กรที่ยังใช้การจัดตั้งองค์กรแบบพีระมิด อย่างไรก็ดี การผนึกกำลังเป็นเครือข่ายของขบวนการสังคมใหม่จะใช้วิธีการจัดตั้งแนวระนาบเป็นหลัก
"วิถีระนาบ" ซึ่งเป็นแนวทางของขบวนการประชาชนหลายขบวนการที่ผุดขึ้นมาในประเทศอาร์เจนตินา ในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 2001 "วิถีระนาบ" ของชาวอาร์เจนตินาไม่ได้เกิดมาจากลัทธิความคิดใดๆ ไม่ได้มาจากแนวทางอนาธิปไตยหรือแม้กระทั่งขบวนการซาปาติสตา ในประเทศเม็กซิโกแต่เกิดจากปฏิกิริยาโดยธรรมชาติที่ต้องการตอบโต้ต่อความล้มเหลวของระบบในประเทศรวมทั้งแสวงหาหนทางแก้ไขและข้ามพ้นระบบดังกล่าว
ในทางปฏิบัติ การจัดตั้งองค์กรและการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่เป็นขบวนการที่มักเรียกรวมๆ ว่าขบวนการอัตตาณัติ (autonomous movements)ซึ่งเป็นขบวนการประชาชนจำนวนมากที่เกิดขึ้นมาในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ขบวนการเหล่านี้ล้วนต้องการเป็นอิสระจากรัฐ
"วิถีระนาบ" จึงเป็นปฏิกิริยาตอบโต้โดยสัญชาตญาณเป็นการแสดงความผิดหวังต่อระบบผู้นำเดี่ยวรวมทั้งระบบเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย มีรูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ มากกว่าวิธีการจัดตั้งองค์กรเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเท่าเทียม โดยไม่ยอมตกอยู่ภายใต้กรอบของเงื่อนไขเดิมๆ มันเป็นวิธีการเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันแบบประชาธิปไตยทางตรง และเชื่อมโยงขบวนการต่างๆ เป็นเครือข่าย จัดรูปแบบความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจใหม่ โดยปฏิเสธแนวคิดของ "อำนาจเหนือ" หันมาเน้นการมี "อำนาจร่วมกัน" มีเป้าหมายในการสร้างอำนาจให้สมาชิกและหมู่คณะ โดยเฉพาะอำนาจในการตัดสินใจไม่มุ่งยึดอำนาจรัฐแต่มุ่งสร้าง "อำนาจอีกแบบหนึ่ง" ขึ้นมาด้วยความสัมพันธ์ทางสังคม ยอมรับว่าสมาชิกแต่ละคนแตกต่างกัน มีความคิดแตกต่างกัน และมุ่งสร้างความเป็นหมู่คณะรองรับความเป็นอัตตาณัติ (autonomy)
ขณะที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด ที่เพิ่งออกจากการถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน นำผ้าแดงมาผูกที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์เพื่อไว้อาลัยให้ประชาชน 90 ศพ ที่ถูกสังหารในเหตุการณ์สลายการชุมนุมจากเวทีผ่านฟ้าถึงราชประสงค์ ร่วมเสวนากล่าวถึงการต่อสู้จากมวลชนจะต้องพึ่งแกนนำอยากให้เปลี่ยนมาเป็นแกนนอนจากสามเหลี่ยมแนวตั้งคว่ำให้กลับมาเป็นสามเหลี่ยมแนวนอนเคลื่อนไปในระนาบเดียวกันสามารถสลับกันขึ้นไปอยู่แถวหน้าได้ เพราะขณะนี้มวลชนที่อยู่ฐานล่างยังมีพลังอยู่มากพร้อมที่จะเคลื่อนต่อไปเพียงแค่สะดุดเพราะแกนนำถูกจับไป หากเปลี่ยนเป็นสามเหลี่ยนแนวนอนคนทั้งหมดจะเคลื่อนไปด้วยกันได้
นายสมบัติ ได้เสนอวิธีการเคลื่อนในแนวระนาบไว้ว่า ทุกคนต้องสะท้อนศักยภาพของตัวเองออกมาไม่ใช่การรอคำสั่งจากแกนนำเพื่อสั่งให้ไปนั่งเป็น 1 หน่วย ให้สันติบาลนับจำนวนเท่านั้น เปลี่ยนจากมวลชนเป็นผู้ปฏิบัติงาน รวมกลุ่ม 5-20 คน แล้วมาคุยกันมีความฝันร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของตัวเองว่าทำอะไรได้บ้าง เพื่อหลุดพ้นจากอำนาจนิย คือ การแสวงหาผู้นำที่ดีมาปกครองทำตัวเป็นบ่าวแต่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้มวลชนเป็นนายไม่ใช่การหาเจ้านายมาคุ้มกะบาล เช่น กวีบางคนพกปากกาเข้าไปในห้องน้ำแล้วเขียนบทกวีที่ประตูห้องน้ำ สภากาแฟที่ไม่ใช่แค่คุยโม้ให้คิดและปฏิบัติการ เชื่อว่าไม่น่าเกิน 3 เดือน รูปพระอาทิตย์จะขึ้นเต็มบ้านเต็มเมือง
"ผมหมดความหวังกับแกนนำแล้ว อยากเห็นวัฒนธรรมที่เห็นคนเป็นคน และคนมีอำนาจสูงสุด เพราะถ้าเรารู้สึกเป็นเจ้าของก็จะรู้สึกหวงแหนและปกป้อง ถึงวันนั้น การต่อสู้ถึงจะสำเร็จผล ลักษณะนี้เรียกว่า แกนนอน "
ด้านนายพันธุ์ศักดิ์ ศรีเทพ ผู้สูญเสียลูกชาย นายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือ "สุรเฌอ" เด็กหนุ่มวัย 17 ปี เสียชีวิตในเหตุนองเลือดกลางเดือนพฤษภาคมที่กรุงเทพมหานคร ว่า กิจกรรมของคนเสื้อแดงที่พยายามแสดงออกเพื่อให้สังคมรับรู้ว่ามีคนตายด้วยการผูกผ้าแดง การตะโกนถูกจับหมด พอเห็นกลุ่มต่อต้านรวมตัวกันจากคนเล็กๆรัฐก็ไม่ละเว้นเข้ามาครอบงำด้วยอาวุธด้วยอำนาจ ดังนั้นกิจกรรมที่จะสื่อสารไปถึงคนภายนอกจึงถูกตีกรอบหมด จึงได้คิดวิธีการใหม่โดยใช้ร่างกาย คือ การนอนเป็นศพแต่มีข้อจำกัดคือไม่มีบทสนทนาจึงลองเปลี่ยนมาเป็นรณรงค์ให้คนไทยแต่งเป็น "ผี" ที่ออกไปหลอกหลอนความผิดปกติของระบบ
"จากประสบการณ์การแต่งผีไปเล่นกับตำรวจที่แยกราชประสงค์ถือว่าประสบความสำเร็จเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รู้จะจัดการอย่างไร ทำได้แค่ขอร้องให้เลิก ซึ่งถือว่าเป็นการข้อร้อง จากนี้ชีวิตไม่กลัวอะไรแล้ว เพราะลูกสอนให้ไม่กลัว การจัดการทางการเมืองคือการจัดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้กลับมาปกติ แต่รัฐบาลกลับสร้างความกลัวขึ้นมาโดยการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สร้างความอาฆาตพยาบาทขึ้นมาอีกครั้ง ใช้โครงการ "ทูเกตเทอร์ วีแคน" คือการสร้างความแตกต่างให้คนด้วยกัน และการผลักคนอีกกลุ่มหนึ่งออกไปข้างนอก ฉะนั้นทุกคนต้องรู้จักการปฏิเสธ แล้วตั้งคำถามกลับ ทุกอย่างจะเป็นประเด็นคำถามต่อรัฐบาล พอรัฐบาลไม่มีคำตอบแสดงว่ารัฐบาลไม่มีทางแก้ไขความขัดแย้งได้"
Tewarit Bus Maneechay กล่าวว่า แนวทางการต่อสู้แบบแกนนอนนี้ยังมีข้อจำกัดเพราะไม่มีสื่อ แต่จะเป็นการต่อสู้ทางตรงที่อาจจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าโดยมีภาพประกอบและเป็นการสื่อสารจากคนหนึ่งถึงอีกคนหนึ่งโดยมีสื่ออินเตอร์เน็ต รัฐบาลจะทำให้คำว่าก่อการร้ายมีความศักดิ์สิทธิ์มีอำนาจ แต่ถ้าเราสามารถสกรีนคำว่า "ก่อการร้าย" ลงบนเสื้อยืดแล้วใส่กัน จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของคำนี้ลดลง สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นการสร้างนวัตกรรมการต่อสู้เชิง สัญลักษณ์และวัฒนธรรมจะทำให้ต้นทุนการต่อสู้ลดลงแต่มีปฏิกิริยาตอบรับสูง
นอกจากนี้ยังมีผู้เข้าร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็นถึงกรณีการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์มองว่า เริ่มแรกที่เห็นนายสมบัติไปผูกผ้าแดงที่แยกราชประสงค์ก็คิดว่าไม่น่าจะมีอะไร แต่ปรากฏว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้กล้าแสดงออกกล้าใส่เสื้อแดง นับเป็นการต่อสู้ที่ไม่ต้องไปอิงกับแกนนำเหมือนกับบางคน เมื่อแกนนำเข้าคุกเหมือนเข้าคุกไปกับแกนนำด้วย แต่แนวทางการต่อสู้ของกลุ่มย่อยๆแบบนี้ทำให้รู้สึกว่าเป็นเสรีชนพร้อมที่จะเคลื่อนด้วยตัวเองแบบแกนนอน
อย่างไรก็ตามการเคลื่อนในแนวระนาบคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้นในสังคมไทยจนสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบพีระมิดได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
***************************************************************************
มหากาพย์ 3จี
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)
พิชัย นริพทะพันธุ์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ต้องขอบอกว่าดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเขียนบทความให้ท่านอ่านอีกครั้ง หลังจากที่ได้หายไปหลายอาทิตย์ ผู้เขียนขอเริ่มต้นด้วยเรื่อง ประมูลคลื่นความถี่สำหรับมือถือระบบ 3จี ที่ไม่ทราบว่าทำเวรทำกรรมมาแต่ชาติปางไหน ทำให้ประเทศไทยต้องล้าหลังทางเทคโนโลยีกว่าประเทศอื่นๆ ท้ายสุดนี้รัฐบาลโดยรมว.คลัง ได้ออกมาเสนอความคิดในการเปลี่ยนระบบสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาตของระบบ 2จี ที่สร้างความสับสนให้เพิ่มขึ้นไปอีก
ปัญหาแรก คือ ปัญหาข้อกฎหมาย โดย รมว.คลังและ รมว.ไอซีที คงจะลืมไปแล้วว่า รัฐบาลไม่ได้มีสิทธิเป็นผู้กำกับ (Regulator) อีกต่อไปแล้วตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยอำนาจในการตัดสินใจเรื่องนี้เป็นของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยที่ กทช. ต้องพิจารณาให้ชัดเจนในข้อกฎหมายจะทำได้หรือไม่
อย่าลืมว่า คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ การที่จะขยายการให้ใช้คลื่นออกไปจากเวลาที่เหลือของสัมปทาน คือ 3 ปี 5 ปี และ 8 ปี ไปเป็น 15 ปี จะทำได้หรือไม่ โดยไม่ประมูล อีกทั้งการที่จะลดค่าสัมปทานลงมาเหลือ 12.5% นั้น จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการหรือเปล่า และการที่ไปคิดกันว่าการแปรค่าตอบแทนสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตทำไม่ได้ ยิ่งทำให้การดำเนินการในอนาคตในการจัดเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐจะมีปัญหามาก ต้องหาทางเลี่ยงบาลีกันเป็นขนานใหญ่
ปัญหาต่อมาเป็นปัญหาทางเทคนิค อยากให้ความเข้าใจแบบง่ายๆ คำว่าระบบ 3จี หมายถึง ความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่าระบบ 2จี ซึ่งคลื่นมาตรฐานทั่วโลกคือ 2.1 GHz ซึ่งพบว่าเมื่อไรมีการนำระบบมือถือ 3จีมาใช้ ในที่สุดแล้วระบบมือถือ 2จี จะต้องเลิกไปในที่สุด
การติดตั้งระบบมือถือ 3จี ให้ครอบคลุมอาจจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี เป็นอย่างช้า และระบบมือถือ2จี ก็จะต้องยกเลิกไป เพราะผู้ใช้บริการจะหันไปใช้ระบบมือถือ 3จี ทั้งหมด อีกทั้งผู้ให้บริการก็จะพยายามดึงดูดให้ผู้ใช้บริการไปใช้เครือข่าย 3จี เพราะมีการชำระผลตอบแทนให้รัฐที่ต่ำกว่า ในอนาคตบริการใหม่ๆ ก็มีการคิดค้นในรูปแบบ 3จี เท่านั้น และค่าบริการก็ไม่แพงอีก 3-4 ปีข้างหน้าลูกค้าก็เปลี่ยนเครื่องมือถือรุ่นใหม่กันหมดแล้ว และก็เชื่อว่าเครื่องมือถือในระบบ 3จี จะมีราคาถูกลง
การที่จะคิดว่าในอนาคตจะใช้ระบบ 2จี ผสมกับ3จี เป็นความคิดที่ผิด จริงอยู่เมื่อหลายปีก่อนมีการนำระบบมือถือ 3จี มาใช้ในระยะแรกและยังไม่เป็นที่นิยมจึงมีการใช้ผสมกัน แต่หลังจากที่ติดตั้งระบบมือถือ 3จีเกือบทั่วโลกแล้ว ระบบมือถือ 2จี ต้องเลิกไป
สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังมากสุด กลับเป็นการที่ รมว.คลังออกมาบอกว่า ระบบมือถือ 3จี อาจจะเกินความจำเป็นของประเทศไทย เพราะคนไทยใช้บริการการรับ-ส่งข้อมูลน้อย นับเป็นการพูดที่แสดงให้เห็นถึงการขาดวิธีคิดที่ดีและการศึกษาข้อมูลที่แท้จริง เพราะในปัจจุบันคนไทยมีการใช้บริการการรับ-ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นมาก ในอนาคตโลกจะเป็น Wireless Broadband หรืออินเทอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งระบบ 3จี จะรองรับในเรื่องนี้หากไม่เร่งดำเนินการ ประเทศไทยก็จะล้าสมัย จึงอยากให้ท่าน รมว.คลัง ได้ศึกษาให้ดีก่อน
การกระทำของรัฐบาลในเรื่องนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยกันอย่างกว้างขวางว่า จะมีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการบางรายที่สนิทกับรัฐบาล ที่ไม่มั่นใจว่าจะประมูลคลื่นระบบ 3จี ได้ หรืออาจจะมีความตั้งใจว่าจะไม่ประมูล โดยจะใช้คลื่นเดิมที่ได้ขยายไป 15 ปี นำไปทำระบบมือถือ 3จี เพราะในบางประเทศมีการนำคลื่นดังกล่าวไปให้บริการระบบมือถือ 3จี แต่ก็ต่อเมื่อความถี่มาตรฐานที่ 2.1 GHz ถูกใช้จนเต็มหมดแล้วเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยความถี่ดังกล่าวยังมีเหลืออีกมาก
ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้มีการดำเนินการ 3 เรื่องคือ 1) ขอให้ กทช. เร่งให้มีการเปิดประมูลคลื่น 3จี โดยเร็วที่สุด โดยรัฐบาลอย่าได้เป็นผู้ถ่วงเวลา 2) พิจารณาหาทางแก้ปัญหาให้กับทีโอทีและกสทฯ เพราะเมื่อมีการประมูลและเริ่มใช้ระบบมือถือ 3จี แล้ว รายได้จากสัมปทานของรัฐวิสาหกิจทั้งสองจะลดลงและหมดไป 3)อยากให้รัฐบาลระมัดระวังในการให้ข้อมูลที่จะออกมากระทบกับมูลค่าหลักทรัพย์ และอย่าได้มีการนำข้อมูลภายในออกมาเพื่อหาประโยชน์กับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ เหมือนกับที่เกิดกับหุ้นไทยคม.
***************************************************************************
พิชัย นริพทะพันธุ์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ต้องขอบอกว่าดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเขียนบทความให้ท่านอ่านอีกครั้ง หลังจากที่ได้หายไปหลายอาทิตย์ ผู้เขียนขอเริ่มต้นด้วยเรื่อง ประมูลคลื่นความถี่สำหรับมือถือระบบ 3จี ที่ไม่ทราบว่าทำเวรทำกรรมมาแต่ชาติปางไหน ทำให้ประเทศไทยต้องล้าหลังทางเทคโนโลยีกว่าประเทศอื่นๆ ท้ายสุดนี้รัฐบาลโดยรมว.คลัง ได้ออกมาเสนอความคิดในการเปลี่ยนระบบสัมปทานเป็นระบบใบอนุญาตของระบบ 2จี ที่สร้างความสับสนให้เพิ่มขึ้นไปอีก
ปัญหาแรก คือ ปัญหาข้อกฎหมาย โดย รมว.คลังและ รมว.ไอซีที คงจะลืมไปแล้วว่า รัฐบาลไม่ได้มีสิทธิเป็นผู้กำกับ (Regulator) อีกต่อไปแล้วตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยอำนาจในการตัดสินใจเรื่องนี้เป็นของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยที่ กทช. ต้องพิจารณาให้ชัดเจนในข้อกฎหมายจะทำได้หรือไม่
อย่าลืมว่า คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ การที่จะขยายการให้ใช้คลื่นออกไปจากเวลาที่เหลือของสัมปทาน คือ 3 ปี 5 ปี และ 8 ปี ไปเป็น 15 ปี จะทำได้หรือไม่ โดยไม่ประมูล อีกทั้งการที่จะลดค่าสัมปทานลงมาเหลือ 12.5% นั้น จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการหรือเปล่า และการที่ไปคิดกันว่าการแปรค่าตอบแทนสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตทำไม่ได้ ยิ่งทำให้การดำเนินการในอนาคตในการจัดเก็บผลประโยชน์เข้ารัฐจะมีปัญหามาก ต้องหาทางเลี่ยงบาลีกันเป็นขนานใหญ่
ปัญหาต่อมาเป็นปัญหาทางเทคนิค อยากให้ความเข้าใจแบบง่ายๆ คำว่าระบบ 3จี หมายถึง ความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูงกว่าระบบ 2จี ซึ่งคลื่นมาตรฐานทั่วโลกคือ 2.1 GHz ซึ่งพบว่าเมื่อไรมีการนำระบบมือถือ 3จีมาใช้ ในที่สุดแล้วระบบมือถือ 2จี จะต้องเลิกไปในที่สุด
การติดตั้งระบบมือถือ 3จี ให้ครอบคลุมอาจจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี เป็นอย่างช้า และระบบมือถือ2จี ก็จะต้องยกเลิกไป เพราะผู้ใช้บริการจะหันไปใช้ระบบมือถือ 3จี ทั้งหมด อีกทั้งผู้ให้บริการก็จะพยายามดึงดูดให้ผู้ใช้บริการไปใช้เครือข่าย 3จี เพราะมีการชำระผลตอบแทนให้รัฐที่ต่ำกว่า ในอนาคตบริการใหม่ๆ ก็มีการคิดค้นในรูปแบบ 3จี เท่านั้น และค่าบริการก็ไม่แพงอีก 3-4 ปีข้างหน้าลูกค้าก็เปลี่ยนเครื่องมือถือรุ่นใหม่กันหมดแล้ว และก็เชื่อว่าเครื่องมือถือในระบบ 3จี จะมีราคาถูกลง
การที่จะคิดว่าในอนาคตจะใช้ระบบ 2จี ผสมกับ3จี เป็นความคิดที่ผิด จริงอยู่เมื่อหลายปีก่อนมีการนำระบบมือถือ 3จี มาใช้ในระยะแรกและยังไม่เป็นที่นิยมจึงมีการใช้ผสมกัน แต่หลังจากที่ติดตั้งระบบมือถือ 3จีเกือบทั่วโลกแล้ว ระบบมือถือ 2จี ต้องเลิกไป
สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังมากสุด กลับเป็นการที่ รมว.คลังออกมาบอกว่า ระบบมือถือ 3จี อาจจะเกินความจำเป็นของประเทศไทย เพราะคนไทยใช้บริการการรับ-ส่งข้อมูลน้อย นับเป็นการพูดที่แสดงให้เห็นถึงการขาดวิธีคิดที่ดีและการศึกษาข้อมูลที่แท้จริง เพราะในปัจจุบันคนไทยมีการใช้บริการการรับ-ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นมาก ในอนาคตโลกจะเป็น Wireless Broadband หรืออินเทอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งระบบ 3จี จะรองรับในเรื่องนี้หากไม่เร่งดำเนินการ ประเทศไทยก็จะล้าสมัย จึงอยากให้ท่าน รมว.คลัง ได้ศึกษาให้ดีก่อน
การกระทำของรัฐบาลในเรื่องนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยกันอย่างกว้างขวางว่า จะมีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ให้บริการบางรายที่สนิทกับรัฐบาล ที่ไม่มั่นใจว่าจะประมูลคลื่นระบบ 3จี ได้ หรืออาจจะมีความตั้งใจว่าจะไม่ประมูล โดยจะใช้คลื่นเดิมที่ได้ขยายไป 15 ปี นำไปทำระบบมือถือ 3จี เพราะในบางประเทศมีการนำคลื่นดังกล่าวไปให้บริการระบบมือถือ 3จี แต่ก็ต่อเมื่อความถี่มาตรฐานที่ 2.1 GHz ถูกใช้จนเต็มหมดแล้วเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยความถี่ดังกล่าวยังมีเหลืออีกมาก
ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้มีการดำเนินการ 3 เรื่องคือ 1) ขอให้ กทช. เร่งให้มีการเปิดประมูลคลื่น 3จี โดยเร็วที่สุด โดยรัฐบาลอย่าได้เป็นผู้ถ่วงเวลา 2) พิจารณาหาทางแก้ปัญหาให้กับทีโอทีและกสทฯ เพราะเมื่อมีการประมูลและเริ่มใช้ระบบมือถือ 3จี แล้ว รายได้จากสัมปทานของรัฐวิสาหกิจทั้งสองจะลดลงและหมดไป 3)อยากให้รัฐบาลระมัดระวังในการให้ข้อมูลที่จะออกมากระทบกับมูลค่าหลักทรัพย์ และอย่าได้มีการนำข้อมูลภายในออกมาเพื่อหาประโยชน์กับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ เหมือนกับที่เกิดกับหุ้นไทยคม.
***************************************************************************
วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สิ้นหวัง
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังยืนยันว่าวาทกรรมสร้างความปรองดองของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชาตินี้ก็ไม่สำเร็จ ซึ่งนายอภิสิทธิ์เองก็ออกมายอมรับ
นอกจากนี้นายบรรหารยังท้วงติงการใช้งบประมาณเกือบ 600 ล้านบาทของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ว่าไม่ควรใช้เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไร การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการให้อภัยซึ่งกันและกันก่อน ตราบใดที่ยังให้อภัยกันไม่ได้การปรองดองก็เป็นไปไม่ได้
นายบรรหารจึงสรุปว่า “สิ้นหวัง” กับการแก้ปัญหาบ้านเมืองหรือการหาทางออกของประเทศไทยขณะนี้ ซึ่งหลายฝ่ายก็เห็นเช่นเดียวกับนายบรรหาร เพราะตราบใดที่รัฐบาล โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ ยังแก้ปัญหาด้วยคำพูดหรือวาทกรรมสวยหรู แต่ในทางปฏิบัติยังเหมือน “มือถือสาก ปากถือศีล” ก็ไม่มีใครเชื่อว่ามีความจริงใจ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไว้โดยไม่ปฏิเสธเลยว่าเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามต่อไป
ขณะที่รัฐบาลก็เพิกเฉยหรือพยายามกลบเกลื่อนการสังหารโหดในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่วันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 ราย แต่ญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บพิการก็ไม่รู้จะเรียกร้องความเป็นธรรมและความยุติธรรมได้จากใคร เพราะรัฐบาลยังใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินข่มขู่ คุกคาม และจับกุมฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง
ภาพลักษณ์ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ขณะนี้จึงไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการที่ถูกประจานไปทั่วโลก อย่างคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists-CPJ) เผยแพร่รายงานพิเศษประจานรัฐบาลไทยที่ไม่จริงจังในการดำเนินการสอบสวนประชาชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ซึ่งมีผู้สื่อข่าวต่างชาติ 2 รายถูกยิงเสียชีวิตด้วย
แม้นายอภิสิทธิ์จะแถลงว่าทหารใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้น และมาตรการควบคุมฝูงชนก็ดำเนินการตามมาตรฐานสากล แต่การตรวจสอบของ CPJ กลับพบว่าทหารยิงปืนใส่ประชาชนที่ไม่มีอาวุธในหลายพื้นที่ รวมทั้งกรณี “ไอ้โม่งชุดดำ” ที่รัฐบาลอ้างว่ายิงกระสุนและระเบิดใส่ทหารนั้น การสืบสวนก็เป็นไปอย่างคลุมเครือ เช่นเดียวกับการชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต ซึ่งองค์กร สถานทูต และญาติผู้เสียชีวิตไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาล และไม่มีการมาแสดงความรับผิดชอบการสังหารโหดครั้งนี้เลย
แต่นายอภิสิทธิ์กลับดูเหมือนจะไม่สะทกสะท้านกับเสียงของประชาชนและประชาคมโลก ยังยิ้มระรื่นเรียกร้องความปรองดองเหมือน “ที่นี่ไม่มีคนตาย” เลย
**********************************************************************
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังยืนยันว่าวาทกรรมสร้างความปรองดองของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชาตินี้ก็ไม่สำเร็จ ซึ่งนายอภิสิทธิ์เองก็ออกมายอมรับ
นอกจากนี้นายบรรหารยังท้วงติงการใช้งบประมาณเกือบ 600 ล้านบาทของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ (คปร.) และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) ว่าไม่ควรใช้เพราะไม่เกิดประโยชน์อะไร การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการให้อภัยซึ่งกันและกันก่อน ตราบใดที่ยังให้อภัยกันไม่ได้การปรองดองก็เป็นไปไม่ได้
นายบรรหารจึงสรุปว่า “สิ้นหวัง” กับการแก้ปัญหาบ้านเมืองหรือการหาทางออกของประเทศไทยขณะนี้ ซึ่งหลายฝ่ายก็เห็นเช่นเดียวกับนายบรรหาร เพราะตราบใดที่รัฐบาล โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ ยังแก้ปัญหาด้วยคำพูดหรือวาทกรรมสวยหรู แต่ในทางปฏิบัติยังเหมือน “มือถือสาก ปากถือศีล” ก็ไม่มีใครเชื่อว่ามีความจริงใจ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไว้โดยไม่ปฏิเสธเลยว่าเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามต่อไป
ขณะที่รัฐบาลก็เพิกเฉยหรือพยายามกลบเกลื่อนการสังหารโหดในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่วันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 ราย แต่ญาติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บพิการก็ไม่รู้จะเรียกร้องความเป็นธรรมและความยุติธรรมได้จากใคร เพราะรัฐบาลยังใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินข่มขู่ คุกคาม และจับกุมฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง
ภาพลักษณ์ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ขณะนี้จึงไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการที่ถูกประจานไปทั่วโลก อย่างคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists-CPJ) เผยแพร่รายงานพิเศษประจานรัฐบาลไทยที่ไม่จริงจังในการดำเนินการสอบสวนประชาชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ซึ่งมีผู้สื่อข่าวต่างชาติ 2 รายถูกยิงเสียชีวิตด้วย
แม้นายอภิสิทธิ์จะแถลงว่าทหารใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้น และมาตรการควบคุมฝูงชนก็ดำเนินการตามมาตรฐานสากล แต่การตรวจสอบของ CPJ กลับพบว่าทหารยิงปืนใส่ประชาชนที่ไม่มีอาวุธในหลายพื้นที่ รวมทั้งกรณี “ไอ้โม่งชุดดำ” ที่รัฐบาลอ้างว่ายิงกระสุนและระเบิดใส่ทหารนั้น การสืบสวนก็เป็นไปอย่างคลุมเครือ เช่นเดียวกับการชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต ซึ่งองค์กร สถานทูต และญาติผู้เสียชีวิตไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของรัฐบาล และไม่มีการมาแสดงความรับผิดชอบการสังหารโหดครั้งนี้เลย
แต่นายอภิสิทธิ์กลับดูเหมือนจะไม่สะทกสะท้านกับเสียงของประชาชนและประชาคมโลก ยังยิ้มระรื่นเรียกร้องความปรองดองเหมือน “ที่นี่ไม่มีคนตาย” เลย
**********************************************************************
ไอเดีย "คิดใหม่ประเทศไทย" ของ "ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" ก้าวข้ามวิกฤต สลัดหลุมดำแห่งความขัดแย้ง !!
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ประเทศไทยขาดผู้นำเชิงรัฐบุรุษที่พร้อมจะทำเพื่อสังคมส่วนรวม ไม่ใช่แค่เพื่อพรรคและบุคคลเท่านั้น"
มูลนิธิสัมมาชีพ ร่วมกับ เครือมติชนจัดโครงการอบรม "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" ระหว่างวันที่ 31 ก.ค. - 5 ก.ย. เพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้นำรุ่นใหม่ในทุกภาคส่วนของสังคมที่มีความตั้งใจจริงและมีเป้าหมายชัดเจนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในสังคมไทย และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป ในการอบรมวันแรกมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมมากมายอาทิ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ,ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย, ดร.คณิศ แสงสุพรรณ, ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ และดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
การอบรมในวันแรก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ "คิดใหม่ประเทศไทย" ว่าอยากบอกกับประเทศไทยว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดใหม่ก่อนที่จะสายเกินไป นิตยสาร"นิวส์วีค"กล่าวถึงความสำเร็จในอดีตของไทยว่าในอดีต เรากลายเป็นเสือแห่งเอชียที่หลายคนยกย่อง ไทยเสมือนแดนสวรรค์ในสายตาโลก แต่แล้วจากประเทศที่ทุกคนคิดว่าเป็นประเทศที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้กลายเป็นสังคมที่แตกแยกพร้อมที่จะปะทุขึ้นทุกขณะ
ความผิดพลาดที่มากที่สุดของประเทศไทยคือ ไม่เคยจริงจังกับการปฎิรูปไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่เลวร้ายหรือรุ่งโรจน์ เราไม่เคยคิดจะปฎิรูปการศึกษา อุตสาหกรรม และภาคเอกชนยังขาดความสามารถที่จะก้าวไปสู่ระดับโลก เรามีการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งแต่เราไม่รักษา ฟูมฟัก เรากลายเป็นสูญเสียทรัพยากรไป
ประเทศไทยขาดผู้นำเชิงรัฐบุรุษที่พร้อมจะทำเพื่อสังคมส่วนรวม ไม่ใช่แค่เพื่อพรรคและบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่เพียงแค่นิตยสาร"นิวส์วีค" ที่มองเราแบบนี้แต่ทั่วโลกมองเราแบบนี้ทั้งนั้น
ปัญหาใหญ่ของชาติในวันนี้คือเราไม่สามารถก้าวข้ามวิกฤติการความขัดแย้งซึ่งเหมือนหลุมดำที่ดูดความก้าวหน้าเข้าไปอยู่ในวังวนเหล่านี้ ประเด็นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเราวนเวียนอยู่กับเรื่อง"ทักษิณ" การเมืองและกระบวนการของเราไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาสร้างบ้านเมือง แต่ถูกใช้เพื่อเอาชนะ ใช้บนพื้นฐานว่า"ถ้าเราไม่ชนะเขามาแน่" เสมือนหนึ่งประเทศไทยไม่มีปัญหาอื่นที่ต้องแก้ไขนอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ ประเทศไทยเราจมปลักอยู่กับที่ ประเทศอื่นเขาปรับตัวเข้ากับบริบทใหม่ของโลก ยิ่งนานวันเราก็ยิ่งอ่อนแอ
ลองหลับตานึกภาพถ้าเราไม่คิดเรื่องความขัดแย้ง ลองมองที่ประเทศไทยว่ามีปัญหาอะไรที่ท้าทายเรา รอการบริหารจัดการ ลองมองที่ภาคใต้มันสงบแล้วหรือ วันนี้แทบจะไม่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่าง 4 จังหวัดภาคใต้เลยได้แต่ดูจากข่าวที่โผล่มาทีละอย่างว่าตรงนั้นระเบิด งบประมาณหมดไปเท่าไหร่แล้ว คนตายไปเท่าไหร่แล้ว ความคิดที่จะไปฟื้นฟูเศรษฐกิจที่นั่น ฟื้นฟูความกลมเกลียวที่นั่นอยู่ที่ไหน ? ถ้าเป็นแบบนี้ใครจะมาเชื่อมั่นเรา นี่คือปัญหาที่รอการจัดการอย่างเป็นระบบและโปร่งใส
ลองมองไปที่การจัดการประเทศในเรื่องยุทธศาสตร์ เราไปทางไหน เป้าหมายคืออะไร การขับเคลื่อนเป็นอย่างไรบ้าง ลองดูที่มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่ฉลาด เขาประกาศจะขยับจากประเทศรายได้หลักกลางไปสู่รายได้ระดับสูง เขามีเป้าชัดเจน เขาลงทุนในการพัฒนาบุคคลากร เขารู้ว่าความกลมเกลียวในชาติเป็นสิ่งสำคัญ เขายกเลิกสิทธิของชนชาติมาเลย์ดั้งเดิมให้ลดลงมาอย่างเท่าเทียม
ผมเชื่อว่าเรามีภาระทางนโยบาย 2 ประการคือ การเปลี่ยนเข็มเป้า จากที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องเปลี่ยนไปสู่การยกระดับรายได้ความเท่าเทียมในชีวิตและลดความยากจน ตัวนี้มันก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ยิ่งนานวันความเจริญก็ยิ่งถ่างออกไป
ในทางสังคมความไม่เท่าเทียม เราเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้ ในประเทศเรามีความต่างกันทางรายได้ประมาณ 14- 15 เท่า การเกลี่ยความยุติธรรมนั้นจำเป็น
ส่วนในทางการเมืองหากประชาชนที่ยากจนต้องหาเลี้ยงชีพ การเมืองจะดีก็จ่อเมื่อประชาชนแข็งแรง ฉะนั้นการยกระดับรายได้และเกลี่ยความยุติธรรมคือสิ่งแรกที่ต้องทำ
การปฎิรูปการเกษตรไม่ใช่ว่าเราไม่มีแผน แต่เราไม่ขับเคลื่อนอย่างมีพลัง ผมสนับสนุนแนวทางท่านประเวศที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม เรารู้ว่าการแก้ไขปัญหาเกษตรกรรายบุคคลแก้ปัญหาไม่ได้ การรวมกลุ่มและสหกรณ์คือหัวใจ โจทย์คือ ทำอย่างไรที่จะยกระดับผู้นำชุมชนทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็งทางปัญญา โครงการอะไรต้องทำ โลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร บทบาทของการปฎิรูปจากรากหญ้าสำคัญมาก
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสังคมสำคัญมาก ต้องไม่ใช่การแจกเงินและไม่ใช่กู้มาแจก ทำอย่างไรให้มีการแบ่งและกระจายอำนาจซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการ 76 จังหวัดต้องให้เขามียุทธศาสตร์ร่วมกัน จังหวัดที่มีศักยภาพสามารถให้เป็นซุปเปอร์ซิตี้ได้ ยุทธศาสตร์ของส่วนกลางมันก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ตอนนี้ไม่มีใครคิดแบบนี้ กลายเป็นว่าเราเอาขนมเค้กที่หายากมากไปแบ่งกัน
ประการที่สองคือ การเปลี่ยนโครงสร้างเป็นการขับเคลื่อนด้วยวิทนาการไม่ใช่จินตนาการ สิ่งที่มาเลย์ผลิตได้ไม่ใช่แค่ความรู้พื้นฐาน ไทยเราต้องเปลี่ยนความคิดว่าเราเป็นศูนย์กลางการผลิต แต่ต้องเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางความคิดให้มากขึ้น ซึ่งการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องของครู ไอที หลักสูตร นักการศึกษารู้ปัญหาดีอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณจะเคาะขับเคลื่อนอย่างไร
เรื่องของเทคโนโลยีคือหัวใจของอนาคตข้างหน้า ของอย่างนี้ไม่ใช่แค่ว่ามีแล้วจบ มันต้องมียุทธศาสตร์ ดูอย่างสิงค์โปร์ เขามีโครงการเอยนต์ซี่รีเสิด จุดคือพัฒนาทุนสามตัว คือมนุษย์ ปัญญาหรืองานวิจัย และทุนอุตสาหกรรม ดึงเอกชนมาร่วม ทุนมนุษย์ต้องสร้างบุคคลากร ทุนปัญญาเขาเอาเงินผลิตงานวิจัย ทุนอุตสาหกรรมเขาเอาเงินกระตุ้นให้เอกชนเข้ามาลงทุนเชิงพาณิชย์ เขารู้ว่านวัตกรรมเหมือนไข่กบมีเป็นร้อยแต่มีไม่มีฟองจะออกเป็นตัวได้ สิ่งเหล่านี้เขาทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เมืองไทยทำอย่างเขาได้หรือไม่
นี่คือตัวอย่างของทิศทาง ถ้าเราคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้อง ชัดเจนแล้ว เราก็ต้องมาดูว่าจุดแข็งของเรามีสิ่งเหล่านี้หรือไม่ นั่นคือภารกิจที่สามที่จะตามมา ความสามารถเชิงนวัตกรรมของเราอยู่อันดับที่ 59 เวียดนามอยู่ที่ 33 งบประมาณและการคลังต้องบริหารจัดการให้ดีๆ มันไม่เกี่ยวว่าจะกระทบตอนนี้หรือตอนไหน แต่มันอยู่ที่"อนาคต" อนาคตข้างหน้ามันขึ้นอยู่ที่วันนี้
สำหรับต่างประเทศ ทุกประเทศต่างปรับตัวทั้งนั้น อเมริกาวันนี้มองกลับมาถ้าปล่อยให้จีนใหญ่ต้องยุ่งแน่ ก็เข้ามาสัมพันธ์กับอาเซียน อินเดียก็ไม่ยอมให้จีนใหญ่ก็เข้ามาสัมพันธ์กับอาเซียน ไทยอยู่ตรงไหน? เราต้องเดินความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ ผมมองว่าวันหนึ่งข้างหน้าข้าวของเราจะมีปัญหาในWTO ส่วนเขาพระวิหารก็มีปัญหาเราต้องเร่งสร้างความสัมพันธ์เชิงลึก เราไม่ใช่มหาอำนาจ พลังของเราอยู่ที่ประเทศเหล่านี้จะช่วยหรือไม่
ตอนนี้เรากำลังรอการบริหารจัดการอยู่ เราวนเวียนอยู่กับการจัดการตัวบุคคล ยิ่งนานยิ่งวนเวียนน เราเสียเวลาไปมากแล้ว บราซิลใช้เวลา 7 ปีเป็นมหาอำนาจ แต่อาร์เจนตินาทุกวันนี้ยังเบี้ยวหนี้อยู่เลย เพราะเป็นชาติที่ไม่เคยมีฟอร์ม และทำตัวเป็นเด็กดีที่แกล้งโง่เดินตามตะวันตก ทำตามเรตติ้งฝรั่ง กู้มาแล้วก็มาโกง การเมืองไม่สนใจเรื่องความโปร่งใส กู้มาเรื่อยๆแล้วไม่ทำประโยชน์ดอกเบี้ยก็บาน พัฒนาไม่ถูกจุดก็ไม่เกิดรายได้ ดอกเบี้ยก็ถมไปเรื่อยๆ จนตอนนี้กลายเป็นบราซิลเป็นยักษ์ใหญ่ของโลก คุณมีทางให้เลือกจะเป็นมีความคิดอ่านในโลกมีศักดิ์ศรี หรือจะเป็นหนี้
"มีคนบอกว่ายุคนี้ต้องเลือกข้าง ผมว่าอันนั้นเป็นการขุดหลุมฝังประเทศ ถ้าคุณนำประโยชน์ของชาติมาไว้ก่อน ไม่ใช่แค่ประโยชน์ของความขัดแย้งแค่นี้ทำไมจะก้าวข้ามไปไม่ได้ ทำไมมันแก้ไม่ได้ ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องคิดใหม่แล้ว"
การบรรยายของผมขอจบด้วยคำกล่าวของเนลสัน แมนเดล่า ที่กล่าวว่า"ชีวิตของผมต่อสู้เพื่อประชาชนแอฟริกาใต้ ต่อสู่กับชนชั้นปกครองผิวขาวและผิวดำที่แบ่งแยก ผมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่คนทุกคนอยู่ร่วมกันเพื่อประเทศ ผมอยู่เพื่อเห็นวันนั้น ถ้าต้องตายเพื่อที่จะได้เห็นวันนั้น ผมก็ยอม"
****************************************************************************
"ประเทศไทยขาดผู้นำเชิงรัฐบุรุษที่พร้อมจะทำเพื่อสังคมส่วนรวม ไม่ใช่แค่เพื่อพรรคและบุคคลเท่านั้น"
มูลนิธิสัมมาชีพ ร่วมกับ เครือมติชนจัดโครงการอบรม "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" ระหว่างวันที่ 31 ก.ค. - 5 ก.ย. เพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับผู้นำรุ่นใหม่ในทุกภาคส่วนของสังคมที่มีความตั้งใจจริงและมีเป้าหมายชัดเจนที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในสังคมไทย และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนต่อไป ในการอบรมวันแรกมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมมากมายอาทิ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ,ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย, ดร.คณิศ แสงสุพรรณ, ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ และดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
การอบรมในวันแรก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ "คิดใหม่ประเทศไทย" ว่าอยากบอกกับประเทศไทยว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องคิดใหม่ก่อนที่จะสายเกินไป นิตยสาร"นิวส์วีค"กล่าวถึงความสำเร็จในอดีตของไทยว่าในอดีต เรากลายเป็นเสือแห่งเอชียที่หลายคนยกย่อง ไทยเสมือนแดนสวรรค์ในสายตาโลก แต่แล้วจากประเทศที่ทุกคนคิดว่าเป็นประเทศที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้กลายเป็นสังคมที่แตกแยกพร้อมที่จะปะทุขึ้นทุกขณะ
ความผิดพลาดที่มากที่สุดของประเทศไทยคือ ไม่เคยจริงจังกับการปฎิรูปไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่เลวร้ายหรือรุ่งโรจน์ เราไม่เคยคิดจะปฎิรูปการศึกษา อุตสาหกรรม และภาคเอกชนยังขาดความสามารถที่จะก้าวไปสู่ระดับโลก เรามีการท่องเที่ยวที่เข้มแข็งแต่เราไม่รักษา ฟูมฟัก เรากลายเป็นสูญเสียทรัพยากรไป
ประเทศไทยขาดผู้นำเชิงรัฐบุรุษที่พร้อมจะทำเพื่อสังคมส่วนรวม ไม่ใช่แค่เพื่อพรรคและบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่เพียงแค่นิตยสาร"นิวส์วีค" ที่มองเราแบบนี้แต่ทั่วโลกมองเราแบบนี้ทั้งนั้น
ปัญหาใหญ่ของชาติในวันนี้คือเราไม่สามารถก้าวข้ามวิกฤติการความขัดแย้งซึ่งเหมือนหลุมดำที่ดูดความก้าวหน้าเข้าไปอยู่ในวังวนเหล่านี้ ประเด็นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเราวนเวียนอยู่กับเรื่อง"ทักษิณ" การเมืองและกระบวนการของเราไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาสร้างบ้านเมือง แต่ถูกใช้เพื่อเอาชนะ ใช้บนพื้นฐานว่า"ถ้าเราไม่ชนะเขามาแน่" เสมือนหนึ่งประเทศไทยไม่มีปัญหาอื่นที่ต้องแก้ไขนอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ ประเทศไทยเราจมปลักอยู่กับที่ ประเทศอื่นเขาปรับตัวเข้ากับบริบทใหม่ของโลก ยิ่งนานวันเราก็ยิ่งอ่อนแอ
ลองหลับตานึกภาพถ้าเราไม่คิดเรื่องความขัดแย้ง ลองมองที่ประเทศไทยว่ามีปัญหาอะไรที่ท้าทายเรา รอการบริหารจัดการ ลองมองที่ภาคใต้มันสงบแล้วหรือ วันนี้แทบจะไม่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่าง 4 จังหวัดภาคใต้เลยได้แต่ดูจากข่าวที่โผล่มาทีละอย่างว่าตรงนั้นระเบิด งบประมาณหมดไปเท่าไหร่แล้ว คนตายไปเท่าไหร่แล้ว ความคิดที่จะไปฟื้นฟูเศรษฐกิจที่นั่น ฟื้นฟูความกลมเกลียวที่นั่นอยู่ที่ไหน ? ถ้าเป็นแบบนี้ใครจะมาเชื่อมั่นเรา นี่คือปัญหาที่รอการจัดการอย่างเป็นระบบและโปร่งใส
ลองมองไปที่การจัดการประเทศในเรื่องยุทธศาสตร์ เราไปทางไหน เป้าหมายคืออะไร การขับเคลื่อนเป็นอย่างไรบ้าง ลองดูที่มาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่ฉลาด เขาประกาศจะขยับจากประเทศรายได้หลักกลางไปสู่รายได้ระดับสูง เขามีเป้าชัดเจน เขาลงทุนในการพัฒนาบุคคลากร เขารู้ว่าความกลมเกลียวในชาติเป็นสิ่งสำคัญ เขายกเลิกสิทธิของชนชาติมาเลย์ดั้งเดิมให้ลดลงมาอย่างเท่าเทียม
ผมเชื่อว่าเรามีภาระทางนโยบาย 2 ประการคือ การเปลี่ยนเข็มเป้า จากที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องเปลี่ยนไปสู่การยกระดับรายได้ความเท่าเทียมในชีวิตและลดความยากจน ตัวนี้มันก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ยิ่งนานวันความเจริญก็ยิ่งถ่างออกไป
ในทางสังคมความไม่เท่าเทียม เราเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้ ในประเทศเรามีความต่างกันทางรายได้ประมาณ 14- 15 เท่า การเกลี่ยความยุติธรรมนั้นจำเป็น
ส่วนในทางการเมืองหากประชาชนที่ยากจนต้องหาเลี้ยงชีพ การเมืองจะดีก็จ่อเมื่อประชาชนแข็งแรง ฉะนั้นการยกระดับรายได้และเกลี่ยความยุติธรรมคือสิ่งแรกที่ต้องทำ
การปฎิรูปการเกษตรไม่ใช่ว่าเราไม่มีแผน แต่เราไม่ขับเคลื่อนอย่างมีพลัง ผมสนับสนุนแนวทางท่านประเวศที่ประชาชนต้องมีส่วนร่วม เรารู้ว่าการแก้ไขปัญหาเกษตรกรรายบุคคลแก้ปัญหาไม่ได้ การรวมกลุ่มและสหกรณ์คือหัวใจ โจทย์คือ ทำอย่างไรที่จะยกระดับผู้นำชุมชนทั่วประเทศให้มีความเข้มแข็งทางปัญญา โครงการอะไรต้องทำ โลกเปลี่ยนแปลงอย่างไร บทบาทของการปฎิรูปจากรากหญ้าสำคัญมาก
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสังคมสำคัญมาก ต้องไม่ใช่การแจกเงินและไม่ใช่กู้มาแจก ทำอย่างไรให้มีการแบ่งและกระจายอำนาจซึ่งเป็นหัวใจของการจัดการ 76 จังหวัดต้องให้เขามียุทธศาสตร์ร่วมกัน จังหวัดที่มีศักยภาพสามารถให้เป็นซุปเปอร์ซิตี้ได้ ยุทธศาสตร์ของส่วนกลางมันก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ตอนนี้ไม่มีใครคิดแบบนี้ กลายเป็นว่าเราเอาขนมเค้กที่หายากมากไปแบ่งกัน
ประการที่สองคือ การเปลี่ยนโครงสร้างเป็นการขับเคลื่อนด้วยวิทนาการไม่ใช่จินตนาการ สิ่งที่มาเลย์ผลิตได้ไม่ใช่แค่ความรู้พื้นฐาน ไทยเราต้องเปลี่ยนความคิดว่าเราเป็นศูนย์กลางการผลิต แต่ต้องเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางความคิดให้มากขึ้น ซึ่งการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องของครู ไอที หลักสูตร นักการศึกษารู้ปัญหาดีอยู่แล้ว ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณจะเคาะขับเคลื่อนอย่างไร
เรื่องของเทคโนโลยีคือหัวใจของอนาคตข้างหน้า ของอย่างนี้ไม่ใช่แค่ว่ามีแล้วจบ มันต้องมียุทธศาสตร์ ดูอย่างสิงค์โปร์ เขามีโครงการเอยนต์ซี่รีเสิด จุดคือพัฒนาทุนสามตัว คือมนุษย์ ปัญญาหรืองานวิจัย และทุนอุตสาหกรรม ดึงเอกชนมาร่วม ทุนมนุษย์ต้องสร้างบุคคลากร ทุนปัญญาเขาเอาเงินผลิตงานวิจัย ทุนอุตสาหกรรมเขาเอาเงินกระตุ้นให้เอกชนเข้ามาลงทุนเชิงพาณิชย์ เขารู้ว่านวัตกรรมเหมือนไข่กบมีเป็นร้อยแต่มีไม่มีฟองจะออกเป็นตัวได้ สิ่งเหล่านี้เขาทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง เมืองไทยทำอย่างเขาได้หรือไม่
นี่คือตัวอย่างของทิศทาง ถ้าเราคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้อง ชัดเจนแล้ว เราก็ต้องมาดูว่าจุดแข็งของเรามีสิ่งเหล่านี้หรือไม่ นั่นคือภารกิจที่สามที่จะตามมา ความสามารถเชิงนวัตกรรมของเราอยู่อันดับที่ 59 เวียดนามอยู่ที่ 33 งบประมาณและการคลังต้องบริหารจัดการให้ดีๆ มันไม่เกี่ยวว่าจะกระทบตอนนี้หรือตอนไหน แต่มันอยู่ที่"อนาคต" อนาคตข้างหน้ามันขึ้นอยู่ที่วันนี้
สำหรับต่างประเทศ ทุกประเทศต่างปรับตัวทั้งนั้น อเมริกาวันนี้มองกลับมาถ้าปล่อยให้จีนใหญ่ต้องยุ่งแน่ ก็เข้ามาสัมพันธ์กับอาเซียน อินเดียก็ไม่ยอมให้จีนใหญ่ก็เข้ามาสัมพันธ์กับอาเซียน ไทยอยู่ตรงไหน? เราต้องเดินความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ ผมมองว่าวันหนึ่งข้างหน้าข้าวของเราจะมีปัญหาในWTO ส่วนเขาพระวิหารก็มีปัญหาเราต้องเร่งสร้างความสัมพันธ์เชิงลึก เราไม่ใช่มหาอำนาจ พลังของเราอยู่ที่ประเทศเหล่านี้จะช่วยหรือไม่
ตอนนี้เรากำลังรอการบริหารจัดการอยู่ เราวนเวียนอยู่กับการจัดการตัวบุคคล ยิ่งนานยิ่งวนเวียนน เราเสียเวลาไปมากแล้ว บราซิลใช้เวลา 7 ปีเป็นมหาอำนาจ แต่อาร์เจนตินาทุกวันนี้ยังเบี้ยวหนี้อยู่เลย เพราะเป็นชาติที่ไม่เคยมีฟอร์ม และทำตัวเป็นเด็กดีที่แกล้งโง่เดินตามตะวันตก ทำตามเรตติ้งฝรั่ง กู้มาแล้วก็มาโกง การเมืองไม่สนใจเรื่องความโปร่งใส กู้มาเรื่อยๆแล้วไม่ทำประโยชน์ดอกเบี้ยก็บาน พัฒนาไม่ถูกจุดก็ไม่เกิดรายได้ ดอกเบี้ยก็ถมไปเรื่อยๆ จนตอนนี้กลายเป็นบราซิลเป็นยักษ์ใหญ่ของโลก คุณมีทางให้เลือกจะเป็นมีความคิดอ่านในโลกมีศักดิ์ศรี หรือจะเป็นหนี้
"มีคนบอกว่ายุคนี้ต้องเลือกข้าง ผมว่าอันนั้นเป็นการขุดหลุมฝังประเทศ ถ้าคุณนำประโยชน์ของชาติมาไว้ก่อน ไม่ใช่แค่ประโยชน์ของความขัดแย้งแค่นี้ทำไมจะก้าวข้ามไปไม่ได้ ทำไมมันแก้ไม่ได้ ตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องคิดใหม่แล้ว"
การบรรยายของผมขอจบด้วยคำกล่าวของเนลสัน แมนเดล่า ที่กล่าวว่า"ชีวิตของผมต่อสู้เพื่อประชาชนแอฟริกาใต้ ต่อสู่กับชนชั้นปกครองผิวขาวและผิวดำที่แบ่งแยก ผมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่คนทุกคนอยู่ร่วมกันเพื่อประเทศ ผมอยู่เพื่อเห็นวันนั้น ถ้าต้องตายเพื่อที่จะได้เห็นวันนั้น ผมก็ยอม"
****************************************************************************
วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553
“เป็ด”ชรา อย่าอาวรณ์!!
อายุ65! ได้เวลากลับบ้าน!!
บรรดาผู้ครบเกษียณอายุราชการทั้งในอดีตและปัจจุบัน หนีไม่พ้นที่ต้องอุทานว่าเหลือเชื่อ และอดอิจฉาลึกๆในใจไม่ได้
ก็ขนาดคนที่กุมอำนาจกองทัพ คุมตำรวจนับแสนๆคน เมื่อถึงเวลาอายุครบตามกฎหมายกำหนด จะเป็น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา จะเป็น พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จะอยากลุกจากเก้าอี้หรือไม่อยากลุก เพราะอยากครองตำแหน่งต่อ
หรืออยากที่จะอยู่เพื่อให้ได้เป็นผบ.ตร.ตัวจริงเสียก่อน แต่พออายุครบ 60 ปุ๊บ 30 กันยายนปั๊บ ก็ต้องเกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ตุลาคมในทันที
โยกโย้ โยเย หรือยึกยื้อเก้าอี้ไม่ได้เด็ดขาด
แต่ปรากฏการณ์เหนือปาฏิหาริย์ ชนิดที่ไม่เคยมีหรือเคยเกิดขึ้นแบบนี้มาก่อน ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และทำให้เห็นถึงมาตรฐานในยุคปัจจุบันว่ามีมากน้อยเพียงใด
ดับเบิ้ลสแตนดาร์ดหรือไม่???
นั่นก็คือคำแหน่ง ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ ผู้ว่าการ สตง. ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา นั่งผงาดคุมเก้าอี้อยู่
ตามกฎหมาย สตง. เมื่อผู้ว่า สตง.อายุครบ 65 ปี ก็ต้องเกษียณอายุราชการ
วันนี้ คุณหญิงจารุวรรณ หรือคุณหญิงเป็ด อายุครบ 65 ปีเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีใครกล้าบอก หรือกล้ากระซิบสักแอะว่า ให้คุณหญิงเป็ดเกษียณอายุเถอะ...
นิ่งอมพะนำกันโดยถ้วนหน้า
เหตุผลทั้งหลายทั้งปวง ก็เพราะการไปยึดว่า คุณหญิงเป็ดถูกแต่งตั้งขึ้นมาโดยกฎหมายพิเศษนั่นคือโดยคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือ คปค. ทั้งๆที่ คปค.ก็หายสาบสูญ แปลงสภาพไปเป็น คมช. เรียบร้อยเนิ่นนานแล้ว
แม้แต่ประธาน คมช. อย่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็ยังไปเวียนว่ายตายเกิดบนถนนการเมืองมาหลายรอบแล้วเช่นกัน
ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนยึดติดที่จะใช้อำนาจ คปค. เป็นเกราะให้คุณหญิงเป็ดนั่งเป็นผู้ว่าการ สตง. ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องแคร์กติกาเรื่องอายุครบ 65 ปีแล้ว
ล่าสุดแม้แต่ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ยังออกตัวเกี่ยวกับความล่าช้าในการสรรหาผู้ว่า สตง. แทนคุณหญิงจารุวรรณ ว่า คณะกรรมการสรรหาผู้ว่า สตง.ที่มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ได้ประชุมแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะติดขัดในข้อกฎหมาย
เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ที่วุฒิสภาลงมติไปโดยเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งร่างดังกล่าวจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นหนึ่งในกรรมการสรรหาฯรับปากต่อที่ประชุม ว่าจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาในสัปดาห์ที่ 2 เมื่อเปิดสมัยประชุมสภานิติบัญญัติ หากสภาผู้แทนราษฎรยืนยันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว รัฐบาลก็หยิบยกขึ้นมาประกาศใช้ได้ใน 180 วัน
แต่หากไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ตกไป ต้องนำเสนอมาใหม่
ในส่วนของ สตง.เองได้ทำหนังสือมายังตนเพื่อสอบถามในกรณีดังกล่าว รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้ได้ทำหนังสือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า คุณหญิงจารุวรรณ ยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่
นายประสพสุข กล่าวว่า คณะกรรมการสรรหาฯไม่ได้ล่าช้า แต่เมื่อกฎหมายไม่ออกจะทำอย่างไร ถ้ามีกฎหมายบังคับใช้ก็คงไม่มีปัญหา เพราะกรรมการสรรหา พร้อมที่จะดำเนินการสรรหาอยู่แล้ว บางคนบอกว่าสรรหาได้เลย แต่บางคนก็บอกว่ายังทำไม่ได้ เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะตีความ ซึ่งไม่มีใครตอบข้อสงสัยได้
ทางที่ดีก็คือส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพื่อให้เป็นข้อยุติผูกพันทุกองค์กร
โยนกลองไปเป็นว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้สินิจฉัยดีกว่า
แต่นายประสบสุขก็ยอมรับเองว่าเรื่องที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น ต้องเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร แต่เรื่องนี้ถามว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างใครกับใคร ต้องตอบให้ได้ และ ต้องหาคู่ขัดแย้งเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
งานนี้จึงเท่ากับนายประสพสุขชิ่งหนีเอาดื้อๆว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นแค่ตัวกลางหรือเป็นเพียงฝ่ายเลขานุการทำหน้าที่นัดประชุมกรรมการสรรหาเท่านั้น ไม่มีอำนาจทำอย่างอื่น
สุดท้ายจึงกลายเป็นว่า สตง.ก็กลายเป็ดง่อยไปเรื่อยๆ เพราะคุณหญิงเป็ดจะมานั่งทำงานก็กระดาก เนื่องจากมีคนจับตามองไปทั่วว่าจะกล้ามานั่งทำงานหรือไม่
โดยเฉพาะคุณปลื้ม หรือ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุลที่ประกาศหรากลางรายการทาง Voice TV ว่าจะไปดูที่ สตง. ว่าคุณหญิงจารุวรรณมานั่งทำงานหรือไม่???
จริงๆ แล้ววันนี้ คุณหญิงเป็ดนั่นแหละคือผู้ที่สามารถจะถอดสลักคำครหาในสังคมได้ดีที่สุด ด้วยการตัดสินใจยื่นใบลาออกด้วยตนเอง
เพราะในโลกนี้ไม่มีกฎหมายใด ที่จะห้ามคนไม่ให้ลาออกจากตำแหน่งได้
ถ้าคุณหญิงเป็ดตัดสินใจให้เด็ดขาด ยึดเจตนารมณ์ของกฎหมาย สตง.ปกติเป็นเกณฑ์ ว่าไม่ว่าใครก็ตามเป็นผู้ว่า สตง. อายุครบ 65 ปี ก็ต้องเก็บกระเป๋ากลับบ้านด้วยกันทั้งนั้น
อย่าได้บอกว่า เป็นห่วง สตง. หรือกลัวว่า สตง.จะไม่มีคนทำงานต่อไปได้ เพราะหากเป็นแบบนั้น คุณหญิงเป็ดมิต้องอยู่ไปจนหงำเหงือกเลยหรือ
ที่สำคัญเป็นการดูถูกคน สตง. ตั้งแต่ระดับ รองผู้ว่าการ เรื่อยลงไป ว่าไม่มีความสามารถที่จะทำงานได้ถ้าไม่มีคุณหญิงเป็ด... ซึ่งแน่นอนว่าไม่จริงแน่นอน
ย้ำนักย้ำหนา กรุงศรีอยุธยาไม่เคยสิ้นคนดี วันนี้คุณหญิงเป็ดสามารถตัดสินใจลาออกได้เอง แล้วให้รองผู้ว่า สตง.ขึ้นมารักษาการดูซิว่า จะทำได้หรือไม่???
ถ้าคุณหญิงเป็ด ซึ่งที่ผ่านมาเน้นการสร้างภาพลักษณ์ในแง่ของคนเคร่งครัดต่อกฎหมาย ครั้งนี้ก็น่าจะเคารพกฎหมายปกติ
แต่หากยึดติดยึดมั่นถือมั่นกับอำนาจรัฐประหารที่แต่งตั้งขึ้นมา... ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งลาออกเถอะ ไม่ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรอก
ความสง่างามนั้นหาซื้อไม่ได้ ... ถ้าอยากได้ต้องประพฤติปฏิบัติให้สง่างามที่แท้จริงเท่านั้น
ทาง 2 แพร่งนี้... คุณหญิงเป็ดต้องเลือกแล้วล่ะ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
............................................................................
บรรดาผู้ครบเกษียณอายุราชการทั้งในอดีตและปัจจุบัน หนีไม่พ้นที่ต้องอุทานว่าเหลือเชื่อ และอดอิจฉาลึกๆในใจไม่ได้
ก็ขนาดคนที่กุมอำนาจกองทัพ คุมตำรวจนับแสนๆคน เมื่อถึงเวลาอายุครบตามกฎหมายกำหนด จะเป็น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา จะเป็น พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จะอยากลุกจากเก้าอี้หรือไม่อยากลุก เพราะอยากครองตำแหน่งต่อ
หรืออยากที่จะอยู่เพื่อให้ได้เป็นผบ.ตร.ตัวจริงเสียก่อน แต่พออายุครบ 60 ปุ๊บ 30 กันยายนปั๊บ ก็ต้องเกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ตุลาคมในทันที
โยกโย้ โยเย หรือยึกยื้อเก้าอี้ไม่ได้เด็ดขาด
แต่ปรากฏการณ์เหนือปาฏิหาริย์ ชนิดที่ไม่เคยมีหรือเคยเกิดขึ้นแบบนี้มาก่อน ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และทำให้เห็นถึงมาตรฐานในยุคปัจจุบันว่ามีมากน้อยเพียงใด
ดับเบิ้ลสแตนดาร์ดหรือไม่???
นั่นก็คือคำแหน่ง ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ ผู้ว่าการ สตง. ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา นั่งผงาดคุมเก้าอี้อยู่
ตามกฎหมาย สตง. เมื่อผู้ว่า สตง.อายุครบ 65 ปี ก็ต้องเกษียณอายุราชการ
วันนี้ คุณหญิงจารุวรรณ หรือคุณหญิงเป็ด อายุครบ 65 ปีเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีใครกล้าบอก หรือกล้ากระซิบสักแอะว่า ให้คุณหญิงเป็ดเกษียณอายุเถอะ...
นิ่งอมพะนำกันโดยถ้วนหน้า
เหตุผลทั้งหลายทั้งปวง ก็เพราะการไปยึดว่า คุณหญิงเป็ดถูกแต่งตั้งขึ้นมาโดยกฎหมายพิเศษนั่นคือโดยคำประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน หรือ คปค. ทั้งๆที่ คปค.ก็หายสาบสูญ แปลงสภาพไปเป็น คมช. เรียบร้อยเนิ่นนานแล้ว
แม้แต่ประธาน คมช. อย่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็ยังไปเวียนว่ายตายเกิดบนถนนการเมืองมาหลายรอบแล้วเช่นกัน
ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนยึดติดที่จะใช้อำนาจ คปค. เป็นเกราะให้คุณหญิงเป็ดนั่งเป็นผู้ว่าการ สตง. ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องแคร์กติกาเรื่องอายุครบ 65 ปีแล้ว
ล่าสุดแม้แต่ นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ยังออกตัวเกี่ยวกับความล่าช้าในการสรรหาผู้ว่า สตง. แทนคุณหญิงจารุวรรณ ว่า คณะกรรมการสรรหาผู้ว่า สตง.ที่มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ได้ประชุมแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะติดขัดในข้อกฎหมาย
เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ที่วุฒิสภาลงมติไปโดยเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งร่างดังกล่าวจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เป็นหนึ่งในกรรมการสรรหาฯรับปากต่อที่ประชุม ว่าจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาในสัปดาห์ที่ 2 เมื่อเปิดสมัยประชุมสภานิติบัญญัติ หากสภาผู้แทนราษฎรยืนยันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว รัฐบาลก็หยิบยกขึ้นมาประกาศใช้ได้ใน 180 วัน
แต่หากไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ตกไป ต้องนำเสนอมาใหม่
ในส่วนของ สตง.เองได้ทำหนังสือมายังตนเพื่อสอบถามในกรณีดังกล่าว รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่าขณะนี้ได้ทำหนังสือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า คุณหญิงจารุวรรณ ยังคงสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่
นายประสพสุข กล่าวว่า คณะกรรมการสรรหาฯไม่ได้ล่าช้า แต่เมื่อกฎหมายไม่ออกจะทำอย่างไร ถ้ามีกฎหมายบังคับใช้ก็คงไม่มีปัญหา เพราะกรรมการสรรหา พร้อมที่จะดำเนินการสรรหาอยู่แล้ว บางคนบอกว่าสรรหาได้เลย แต่บางคนก็บอกว่ายังทำไม่ได้ เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะตีความ ซึ่งไม่มีใครตอบข้อสงสัยได้
ทางที่ดีก็คือส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพื่อให้เป็นข้อยุติผูกพันทุกองค์กร
โยนกลองไปเป็นว่า ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้สินิจฉัยดีกว่า
แต่นายประสบสุขก็ยอมรับเองว่าเรื่องที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความนั้น ต้องเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร แต่เรื่องนี้ถามว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างใครกับใคร ต้องตอบให้ได้ และ ต้องหาคู่ขัดแย้งเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
งานนี้จึงเท่ากับนายประสพสุขชิ่งหนีเอาดื้อๆว่า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นแค่ตัวกลางหรือเป็นเพียงฝ่ายเลขานุการทำหน้าที่นัดประชุมกรรมการสรรหาเท่านั้น ไม่มีอำนาจทำอย่างอื่น
สุดท้ายจึงกลายเป็นว่า สตง.ก็กลายเป็ดง่อยไปเรื่อยๆ เพราะคุณหญิงเป็ดจะมานั่งทำงานก็กระดาก เนื่องจากมีคนจับตามองไปทั่วว่าจะกล้ามานั่งทำงานหรือไม่
โดยเฉพาะคุณปลื้ม หรือ ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุลที่ประกาศหรากลางรายการทาง Voice TV ว่าจะไปดูที่ สตง. ว่าคุณหญิงจารุวรรณมานั่งทำงานหรือไม่???
จริงๆ แล้ววันนี้ คุณหญิงเป็ดนั่นแหละคือผู้ที่สามารถจะถอดสลักคำครหาในสังคมได้ดีที่สุด ด้วยการตัดสินใจยื่นใบลาออกด้วยตนเอง
เพราะในโลกนี้ไม่มีกฎหมายใด ที่จะห้ามคนไม่ให้ลาออกจากตำแหน่งได้
ถ้าคุณหญิงเป็ดตัดสินใจให้เด็ดขาด ยึดเจตนารมณ์ของกฎหมาย สตง.ปกติเป็นเกณฑ์ ว่าไม่ว่าใครก็ตามเป็นผู้ว่า สตง. อายุครบ 65 ปี ก็ต้องเก็บกระเป๋ากลับบ้านด้วยกันทั้งนั้น
อย่าได้บอกว่า เป็นห่วง สตง. หรือกลัวว่า สตง.จะไม่มีคนทำงานต่อไปได้ เพราะหากเป็นแบบนั้น คุณหญิงเป็ดมิต้องอยู่ไปจนหงำเหงือกเลยหรือ
ที่สำคัญเป็นการดูถูกคน สตง. ตั้งแต่ระดับ รองผู้ว่าการ เรื่อยลงไป ว่าไม่มีความสามารถที่จะทำงานได้ถ้าไม่มีคุณหญิงเป็ด... ซึ่งแน่นอนว่าไม่จริงแน่นอน
ย้ำนักย้ำหนา กรุงศรีอยุธยาไม่เคยสิ้นคนดี วันนี้คุณหญิงเป็ดสามารถตัดสินใจลาออกได้เอง แล้วให้รองผู้ว่า สตง.ขึ้นมารักษาการดูซิว่า จะทำได้หรือไม่???
ถ้าคุณหญิงเป็ด ซึ่งที่ผ่านมาเน้นการสร้างภาพลักษณ์ในแง่ของคนเคร่งครัดต่อกฎหมาย ครั้งนี้ก็น่าจะเคารพกฎหมายปกติ
แต่หากยึดติดยึดมั่นถือมั่นกับอำนาจรัฐประหารที่แต่งตั้งขึ้นมา... ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งลาออกเถอะ ไม่ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรอก
ความสง่างามนั้นหาซื้อไม่ได้ ... ถ้าอยากได้ต้องประพฤติปฏิบัติให้สง่างามที่แท้จริงเท่านั้น
ทาง 2 แพร่งนี้... คุณหญิงเป็ดต้องเลือกแล้วล่ะ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
............................................................................
การปรับโครงสร้างภาษีอากร
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คอลัมน์.คนเดินตรอก
โดย...วีรพงษ์ รามางกูร
เห็นข่าวจากหนังสือพิมพ์ว่ากระทรวงการคลังมีดำริว่าจะต้องปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร เพราะภาระของรัฐบาลที่ผูกพันกู้หนี้ยืมสินจากประชาชนมีมาก อีก 5-6 ปีข้างหน้า ปัญหาสัดส่วนหนี้สินของรัฐบาลอาจจะเกินเพดาน 50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติซึ่งอาจจะเป็นอันตราย
ประเด็นนี้ก็น่าจะถูกต้อง และต้องชมเชยข้าราชการกระทรวงการคลัง ที่ยังเป็นนักการคลังที่มีจิตสำนึกต่อความมั่นคงของประเทศชาติ และได้ชี้แจงจนรัฐมนตรีคลังเห็นด้วย ก็ขอชมเชยรัฐมนตรีคลัง ที่เห็นด้วย แม้ว่าการเปลี่ยนโครงสร้างภาษีไปในทางที่ถูกต้อง มักจะได้รับการต่อต้านจากสื่อมวลชน และนักวิจารณ์ที่ไม่เข้าใจเรื่องภาษีอากรอย่างถ่องแท้ ในสมัยโลกาภิวัตน์นี้ ความเห็นในเรื่องภาษีอากรเปลี่ยนไปหมดแล้ว
มีประเด็นที่เราควรจะตระหนักในระดับเศรษฐกิจมหภาค และระดับการปฏิบัติมีอยู่หลายประการ
เรื่องแรกที่ต้องตระหนัก คือยอดหนี้ ภาครัฐไม่ควรจะเกินเพดานเท่านั้นเท่านี้ ขึ้นกับความแข็งแกร่งของทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ว่ายอดหนี้สาธารณะไม่ควรเกินร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ ก็น่าจะถูกต้อง ถ้าอยากกู้มากขึ้น รัฐบาลก็ต้องเร่งให้เศรษฐกิจขยายตัวมากกว่านี้ ถ้าอยากเพิ่มเพดานยอดหนี้สาธารณะ ก็ต้องเร่งการส่งออกให้สูงกว่านี้ ความมั่นคงทางการคลังและการเงินจะได้ไม่เสียไป
เรื่องที่สอง โดยส่วนรวมแล้ว รายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติของเราค่อนข้างต่ำอยู่ระหว่าง 16-17 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ สังเกตดูก็ไม่ใช่ เรื่องแปลก
โครงสร้างภาษีอากรของเรามีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสูง กล่าวคือ ถ้ารายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ ภาษีอากรจะเพิ่มมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน ถ้าเศรษฐกิจหดตัว 1 เปอร์เซ็นต์ รายได้ของรัฐบาลก็จะหดตัวมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างแบบนี้ดี เพราะเป็นตัวสร้างเสถียรภาพในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยอัตโนมัติฝรั่งเรียกว่า ′automatic stabilizer′
ถ้าเมื่อใดเศรษฐกิจขยายตัวดี รายได้จากภาษีหลายตัวก็จะกระโดด เช่น ภาษี เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราใช้เป็นตัวแทนของภาษีทรัพย์สิน ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมัน เป็นตัวแทนของภาษีการใช้ถนนหนทาง ภาษีเงินได้จากนิติบุคคล เป็นต้น
ดังนั้น ในยามเศรษฐกิจซบเซา สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลจะต่ำลงเกิน 16-17 เปอร์เซ็นต์ในยามเศรษฐกิจรุ่งเรือง สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติก็จะขยับสูงขึ้นเป็น 20-22 เปอร์เซ็นต์โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปแก้ไขมาก ในแง่โครงสร้าง
เรื่องที่สาม ภาษีเป็นเครื่องมือที่เลวที่สุด ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องรายได้และทรัพย์สิน เพราะในภาคปฏิบัติได้มีการพิสูจน์กันมากมายว่า ทฤษฎีภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมนั้น ภาระภาษีตกอยู่กับ คนชั้นกลางและคนชั้นล่างมากที่สุด ส่วนคนชั้นสูงกลับเสียภาษีทางตรง เป็นสัดส่วนของรายได้น้อยกว่าคนชั้นกลาง กว่าร้อยละ 80 ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาจากเงินเดือน ค่าจ้าง ส่วนค่าเช่า เงินปันผล กำไร มีสัดส่วนน้อยกว่า ถ้ายิ่งขึ้นอัตราการเก็บเข้าไป ก็ยิ่งมีการหลบเลี่ยงมากยิ่งขึ้น
เรื่องที่สี่ อัตราภาษีของแต่ละชนิดนั้นมีจุดพอดี ถ้าอัตราภาษีสูงเกินไปจะได้ภาษีน้อยลง และการหนีภาษีจะเกิดขึ้นเพราะความคุ้มค่าหากหนีได้ สำหรับประเทศ ด้อยพัฒนาหรือกึ่งพัฒนาอย่างประเทศไทย อาจจะมีสาเหตุที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ระบบข้อมูล ระบบการบังคับใช้ ระบบเครือญาติระบบอุปถัมภ์ ระบบการเมืองท้องถิ่น ร้อยแปด ฯลฯ
กรมจัดเก็บของกระทรวงการคลังมีประสิทธิภาพและประสบการณ์ในการจัดเก็บมากกว่าท้องถิ่น แถมท้องถิ่น หัวหน้า อบต. อบจ. เป็นนักการเมืองการบิดเบือนในทางปฏิบัติจึงมีสูงมากไม่เหมือนฝรั่งเขา ที่ชาวบ้านคอยควบคุม แต่ของเราไม่เหมือนกัน ต้องคอยรักษาดุลระหว่างให้ท้องถิ่นจัดเก็บ กับให้ส่วนกลางจัดเก็บ แต่ก็ควรให้ท้องถิ่นทำด้วย ต่อไปคงจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ
เรื่องที่ห้า เรามีหลักอยู่ว่า รายจ่ายประจำไม่ควรเกินรายได้ การกู้หนี้ของรัฐบาลต้องเอามาเพื่อการลงทุนเท่านั้น วินัยข้อนี้ต้องรักษาไว้ให้ดี
หลักต่าง ๆ ของภาษีจึงมีอยู่ว่า ภาระภาษีไม่ควรตกอยู่กับผู้ผลิต ภาระภาษีไม่ควรตกอยู่กับผู้ส่งออก เพราะเราจะ แข่งขันกับเขาไม่ได้ เงินออมไม่ควรรวมอยู่ในฐานภาษี เพราะเงินออมไม่ใช่ผู้เอาจากสังคม แต่เป็นผู้ให้กับสังคม ภาษีใดที่การจัดเก็บยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายสูงกว่าภาษี ภาษีนั้นควรเลิก
ขณะเดียวกัน ก็ควรเหลียวดูประเทศคู่ค้าและประเทศคู่แข่งว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลของเราสูงกว่า หรือต่ำกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง มีความเหมาะสมและน่าดึงดูดการลงทุน ทั้งการลงทุนของบริษัทไทย หรือบริษัทต่างชาติ เพราะเดี๋ยวนี้ทั่วโลกแย่งกันดึงดูดการลงทุน ไม่เว้นแม้แต่อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน และอื่น ๆ
หน้าที่ภาษีควรจะมีหน้าที่เดียวคือหา รายได้ให้รัฐบาล ส่วนการสร้างความเท่าเทียมกันในด้านความเป็นอยู่ อยู่ที่โครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่งและการคมนาคม บริการสาธารณสุข การป้องกัน และการรักษาพยาบาล การเท่าเทียมทางด้านโอกาสในการศึกษา การมีคุณภาพชีวิต อย่างที่อาจารย์ ดร.ป๋วยท่านเขียนไว้ในบทความเรื่อง ′จากครรภ์มารดาถึง เชิงตะกอน′
การมีความเท่าเทียมกันทางการเมือง การได้รับการอำนวยความยุติธรรม การให้เกียรติกัน ไม่แบ่งชาติกำเนิด ศาสนา ความเชื่อถือ และภาษา การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสมศักดิ์ศรี ตำแหน่ง หน้าที่ ภูมิภาค การทะนุบำรุงวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะภาษาท้องถิ่น ฯลฯ ความมั่นคงของชาติอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่การใช้ ′อำนาจเป็นธรรม′ แต่ใช้ ′ธรรมเป็นอำนาจ′
เมื่อรัฐบาลเห็นว่า 4-5 ปีข้างหน้า สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติจะเกินเพดานที่กำหนดไว้ เพื่อความมั่นคงทางการคลัง สมควรที่รัฐบาล จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร ก็เห็นสมควรแล้ว
แต่พอมาถึงเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างภาษีจริง ๆ ก็เริ่มมีปัญหา เริ่มตั้งแต่มีเสียงเรียกร้องให้ใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน หรือช่องว่างระหว่างรายได้กับช่องว่างระหว่างผู้มีทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอสังหาริมทรัพย์ เพราะทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น เงินฝาก หุ้นกู้ พันธบัตร หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ ฯลฯ ไม่ค่อยได้พูดกัน ทั้ง ๆ ที่ทรัพย์สินมีหลายชนิด ไม่ได้มีแต่อสังหาริมทรัพย์อย่างเดียว
เรื่องภาษีที่ดินและอสังหาริมทรัพย์พูดกันมากว่า 30 ปีแล้ว ในที่สุดท่านสมหมาย ฮุนตระกูล ท่านใช้ทางสายกลาง คือคงอัตราภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนเอาไว้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อัตราภาษี ปัญหาอยู่ที่การจัดเก็บ โดยเก็บภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แทน เพราะคนที่ถืออสังหาริมทรัพย์ มีทั้งคนรวย คนชั้นกลาง และคนจน แต่ถ้าเก็บเป็นรายปีอย่างภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีโรงเรือนก็คงเดือดร้อนกันทั่ว สู้เอาภาษีตอนขายดีกว่า โดยผู้ขายเป็นผู้เสียภาษี จะอ้างว่าไม่มีเงินเสียก็คงยาก เวลาเศรษฐกิจดี คนซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์มาก คนก็ยินดีจ่าย ภาษีก็ได้มาก เวลาเศรษฐกิจไม่ดี การซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ก็มีน้อย การเก็บภาษีน้อย ก็ไม่ซ้ำเติมเศรษฐกิจ
ภาษีมรดก ขณะนี้ทั้งโลกต่างทยอยกันลดและยกเลิก อเมริกาก็ยกเลิกไป สมัยรัฐบาลประธานาธิบดีบุช ผู้ลูก เหตุผล อันแรก มรดกเป็นเงินออมของผู้ขายเงินออมไม่ควรเป็นฐานภาษี อันมีการจัดทำยุ่งยาก ต้องมีการลดหย่อนมากมาย วิธีปฏิบัติยุ่งยาก ได้รายได้เล็กน้อย ไม่คุ้มเสีย
ส่วนเงินได้ของคนรวย เช่น ดอกเบี้ย เงินฝากและพันธบัตรก็เสียในอัตราต่ำ คือ15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประเภทดอกเบี้ย แต่ถ้าสูงกว่านี้ ก็กลัวคนเอาเงินออกไปฝากประเทศที่อัตราภาษีต่ำกว่า กำไรจากการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ของบุคคลธรรมดา ก็ไม่ต้องเสียภาษี เวลาขาดทุนก็ไม่ให้หักเป็นรายจ่าย ก็ยุติธรรมดี หากจะเก็บภาษีตอนกำไรตอนขาดทุน ก็ควรให้ หักเป็นรายจ่าย ซึ่งฝรั่งทำได้ แต่ไทยเรา ทำไม่ได้ แต่ไม่ค่อยมีประเทศไหนทำกัน นอกจากอเมริกา
ดังนั้น ทางที่ถูกที่ควร รัฐบาลควรพูดว่า ต้องปรับโครงสร้างภาษีให้เราแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจากร้อยละ 30 ของกำไรเป็นร้อยละ 25 อัตราสูงสุดของเงินได้บุคคลธรรมดาจากร้อยละ 37 ลงมาเป็นร้อยละ 30 หรือ 35 ก็ว่าไป เพราะร้อยละ 37 สูงกว่าประเทศอื่น ๆ
ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนโดยไม่ต้องขึ้นอัตราภาษี
เพื่อให้ได้รายได้มาใช้จ่าย ลดช่องว่างในเรื่องความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม และ ลดช่องว่างในเรื่องคุณภาพชีวิต โอกาส ในทางเศรษฐกิจ จะได้ทำโครงการประชานิยมที่เป็นประโยชน์ต่อคะแนนเสียงของรัฐบาล ไม่ต้องฝันเฟื่องไปถึงเรื่อง ′รัฐสวัสดิการ′เพราะโครงการประชานิยม ถ้าทำเป็นการถาวรก็เป็นรัฐสวัสดิการ แต่เงื่อนไขของประชานิยมดีกว่า คือช่วยให้เขามีทุน และมีตลาดมากขึ้น เงินภาษีทุกบาทได้คืน ไม่เป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีในระยะยาว
ภาษีที่ถูกหลักการข้างต้นทั้งหมดนี้คือ ′ภาษีมูลค่าเพิ่ม′ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม7 เปอร์เซ็นต์ของเราต่ำกว่าใครในโลก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือเอเชีย ตอนทำภาษีนี้ กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีขอให้เป็น 7 เปอร์เซ็นต์ก่อน แล้วค่อย ๆ ขึ้น แต่เกือบ 20 ปีแล้ว ก็ยังขึ้นไม่ได้ ในขณะที่ประเทศอื่นมีตั้งแต่ 15 เปอร์เซ็นต์ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ รายได้รัฐบาลจะเพิ่มขึ้น 50,000 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเท่าเดิม พ่อค้าไม่ชอบภาษีนี่พอเข้าใจ แต่หนังสือพิมพ์ไม่ชอบนี่ไม่เข้าใจ ชอบภาษีที่ฟังดูแล้วโก้ ๆ แต่ในทางปฏิบัติทำไม่ได้ และเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นธรรม เพราะเก็บจากการบริโภค และหนีภาษีได้ยาก
ขอสนับสนุนรัฐมนตรีคลัง แม้นายกรัฐมนตรีจะยิงตกไปแล้ว
*******************************************************************************************************
คอลัมน์.คนเดินตรอก
โดย...วีรพงษ์ รามางกูร
เห็นข่าวจากหนังสือพิมพ์ว่ากระทรวงการคลังมีดำริว่าจะต้องปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร เพราะภาระของรัฐบาลที่ผูกพันกู้หนี้ยืมสินจากประชาชนมีมาก อีก 5-6 ปีข้างหน้า ปัญหาสัดส่วนหนี้สินของรัฐบาลอาจจะเกินเพดาน 50 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติซึ่งอาจจะเป็นอันตราย
ประเด็นนี้ก็น่าจะถูกต้อง และต้องชมเชยข้าราชการกระทรวงการคลัง ที่ยังเป็นนักการคลังที่มีจิตสำนึกต่อความมั่นคงของประเทศชาติ และได้ชี้แจงจนรัฐมนตรีคลังเห็นด้วย ก็ขอชมเชยรัฐมนตรีคลัง ที่เห็นด้วย แม้ว่าการเปลี่ยนโครงสร้างภาษีไปในทางที่ถูกต้อง มักจะได้รับการต่อต้านจากสื่อมวลชน และนักวิจารณ์ที่ไม่เข้าใจเรื่องภาษีอากรอย่างถ่องแท้ ในสมัยโลกาภิวัตน์นี้ ความเห็นในเรื่องภาษีอากรเปลี่ยนไปหมดแล้ว
มีประเด็นที่เราควรจะตระหนักในระดับเศรษฐกิจมหภาค และระดับการปฏิบัติมีอยู่หลายประการ
เรื่องแรกที่ต้องตระหนัก คือยอดหนี้ ภาครัฐไม่ควรจะเกินเพดานเท่านั้นเท่านี้ ขึ้นกับความแข็งแกร่งของทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ที่กระทรวงการคลังตั้งเป้าไว้ว่ายอดหนี้สาธารณะไม่ควรเกินร้อยละ 50 ของรายได้ประชาชาติ ก็น่าจะถูกต้อง ถ้าอยากกู้มากขึ้น รัฐบาลก็ต้องเร่งให้เศรษฐกิจขยายตัวมากกว่านี้ ถ้าอยากเพิ่มเพดานยอดหนี้สาธารณะ ก็ต้องเร่งการส่งออกให้สูงกว่านี้ ความมั่นคงทางการคลังและการเงินจะได้ไม่เสียไป
เรื่องที่สอง โดยส่วนรวมแล้ว รายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติของเราค่อนข้างต่ำอยู่ระหว่าง 16-17 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ สังเกตดูก็ไม่ใช่ เรื่องแปลก
โครงสร้างภาษีอากรของเรามีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสูง กล่าวคือ ถ้ารายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ ภาษีอากรจะเพิ่มมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน ถ้าเศรษฐกิจหดตัว 1 เปอร์เซ็นต์ รายได้ของรัฐบาลก็จะหดตัวมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ โครงสร้างแบบนี้ดี เพราะเป็นตัวสร้างเสถียรภาพในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงโดยอัตโนมัติฝรั่งเรียกว่า ′automatic stabilizer′
ถ้าเมื่อใดเศรษฐกิจขยายตัวดี รายได้จากภาษีหลายตัวก็จะกระโดด เช่น ภาษี เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราใช้เป็นตัวแทนของภาษีทรัพย์สิน ภาษีสรรพสามิตจากน้ำมัน เป็นตัวแทนของภาษีการใช้ถนนหนทาง ภาษีเงินได้จากนิติบุคคล เป็นต้น
ดังนั้น ในยามเศรษฐกิจซบเซา สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลจะต่ำลงเกิน 16-17 เปอร์เซ็นต์ในยามเศรษฐกิจรุ่งเรือง สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติก็จะขยับสูงขึ้นเป็น 20-22 เปอร์เซ็นต์โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปแก้ไขมาก ในแง่โครงสร้าง
เรื่องที่สาม ภาษีเป็นเครื่องมือที่เลวที่สุด ที่จะสร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องรายได้และทรัพย์สิน เพราะในภาคปฏิบัติได้มีการพิสูจน์กันมากมายว่า ทฤษฎีภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมนั้น ภาระภาษีตกอยู่กับ คนชั้นกลางและคนชั้นล่างมากที่สุด ส่วนคนชั้นสูงกลับเสียภาษีทางตรง เป็นสัดส่วนของรายได้น้อยกว่าคนชั้นกลาง กว่าร้อยละ 80 ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาจากเงินเดือน ค่าจ้าง ส่วนค่าเช่า เงินปันผล กำไร มีสัดส่วนน้อยกว่า ถ้ายิ่งขึ้นอัตราการเก็บเข้าไป ก็ยิ่งมีการหลบเลี่ยงมากยิ่งขึ้น
เรื่องที่สี่ อัตราภาษีของแต่ละชนิดนั้นมีจุดพอดี ถ้าอัตราภาษีสูงเกินไปจะได้ภาษีน้อยลง และการหนีภาษีจะเกิดขึ้นเพราะความคุ้มค่าหากหนีได้ สำหรับประเทศ ด้อยพัฒนาหรือกึ่งพัฒนาอย่างประเทศไทย อาจจะมีสาเหตุที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ระบบข้อมูล ระบบการบังคับใช้ ระบบเครือญาติระบบอุปถัมภ์ ระบบการเมืองท้องถิ่น ร้อยแปด ฯลฯ
กรมจัดเก็บของกระทรวงการคลังมีประสิทธิภาพและประสบการณ์ในการจัดเก็บมากกว่าท้องถิ่น แถมท้องถิ่น หัวหน้า อบต. อบจ. เป็นนักการเมืองการบิดเบือนในทางปฏิบัติจึงมีสูงมากไม่เหมือนฝรั่งเขา ที่ชาวบ้านคอยควบคุม แต่ของเราไม่เหมือนกัน ต้องคอยรักษาดุลระหว่างให้ท้องถิ่นจัดเก็บ กับให้ส่วนกลางจัดเก็บ แต่ก็ควรให้ท้องถิ่นทำด้วย ต่อไปคงจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ
เรื่องที่ห้า เรามีหลักอยู่ว่า รายจ่ายประจำไม่ควรเกินรายได้ การกู้หนี้ของรัฐบาลต้องเอามาเพื่อการลงทุนเท่านั้น วินัยข้อนี้ต้องรักษาไว้ให้ดี
หลักต่าง ๆ ของภาษีจึงมีอยู่ว่า ภาระภาษีไม่ควรตกอยู่กับผู้ผลิต ภาระภาษีไม่ควรตกอยู่กับผู้ส่งออก เพราะเราจะ แข่งขันกับเขาไม่ได้ เงินออมไม่ควรรวมอยู่ในฐานภาษี เพราะเงินออมไม่ใช่ผู้เอาจากสังคม แต่เป็นผู้ให้กับสังคม ภาษีใดที่การจัดเก็บยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายสูงกว่าภาษี ภาษีนั้นควรเลิก
ขณะเดียวกัน ก็ควรเหลียวดูประเทศคู่ค้าและประเทศคู่แข่งว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลของเราสูงกว่า หรือต่ำกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง มีความเหมาะสมและน่าดึงดูดการลงทุน ทั้งการลงทุนของบริษัทไทย หรือบริษัทต่างชาติ เพราะเดี๋ยวนี้ทั่วโลกแย่งกันดึงดูดการลงทุน ไม่เว้นแม้แต่อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน และอื่น ๆ
หน้าที่ภาษีควรจะมีหน้าที่เดียวคือหา รายได้ให้รัฐบาล ส่วนการสร้างความเท่าเทียมกันในด้านความเป็นอยู่ อยู่ที่โครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่งและการคมนาคม บริการสาธารณสุข การป้องกัน และการรักษาพยาบาล การเท่าเทียมทางด้านโอกาสในการศึกษา การมีคุณภาพชีวิต อย่างที่อาจารย์ ดร.ป๋วยท่านเขียนไว้ในบทความเรื่อง ′จากครรภ์มารดาถึง เชิงตะกอน′
การมีความเท่าเทียมกันทางการเมือง การได้รับการอำนวยความยุติธรรม การให้เกียรติกัน ไม่แบ่งชาติกำเนิด ศาสนา ความเชื่อถือ และภาษา การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสมศักดิ์ศรี ตำแหน่ง หน้าที่ ภูมิภาค การทะนุบำรุงวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะภาษาท้องถิ่น ฯลฯ ความมั่นคงของชาติอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่การใช้ ′อำนาจเป็นธรรม′ แต่ใช้ ′ธรรมเป็นอำนาจ′
เมื่อรัฐบาลเห็นว่า 4-5 ปีข้างหน้า สัดส่วนรายได้ของรัฐบาลต่อรายได้ประชาชาติจะเกินเพดานที่กำหนดไว้ เพื่อความมั่นคงทางการคลัง สมควรที่รัฐบาล จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร ก็เห็นสมควรแล้ว
แต่พอมาถึงเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างภาษีจริง ๆ ก็เริ่มมีปัญหา เริ่มตั้งแต่มีเสียงเรียกร้องให้ใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน หรือช่องว่างระหว่างรายได้กับช่องว่างระหว่างผู้มีทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอสังหาริมทรัพย์ เพราะทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น เงินฝาก หุ้นกู้ พันธบัตร หลักทรัพย์ หุ้นสามัญ ฯลฯ ไม่ค่อยได้พูดกัน ทั้ง ๆ ที่ทรัพย์สินมีหลายชนิด ไม่ได้มีแต่อสังหาริมทรัพย์อย่างเดียว
เรื่องภาษีที่ดินและอสังหาริมทรัพย์พูดกันมากว่า 30 ปีแล้ว ในที่สุดท่านสมหมาย ฮุนตระกูล ท่านใช้ทางสายกลาง คือคงอัตราภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนเอาไว้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อัตราภาษี ปัญหาอยู่ที่การจัดเก็บ โดยเก็บภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แทน เพราะคนที่ถืออสังหาริมทรัพย์ มีทั้งคนรวย คนชั้นกลาง และคนจน แต่ถ้าเก็บเป็นรายปีอย่างภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีโรงเรือนก็คงเดือดร้อนกันทั่ว สู้เอาภาษีตอนขายดีกว่า โดยผู้ขายเป็นผู้เสียภาษี จะอ้างว่าไม่มีเงินเสียก็คงยาก เวลาเศรษฐกิจดี คนซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์มาก คนก็ยินดีจ่าย ภาษีก็ได้มาก เวลาเศรษฐกิจไม่ดี การซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ก็มีน้อย การเก็บภาษีน้อย ก็ไม่ซ้ำเติมเศรษฐกิจ
ภาษีมรดก ขณะนี้ทั้งโลกต่างทยอยกันลดและยกเลิก อเมริกาก็ยกเลิกไป สมัยรัฐบาลประธานาธิบดีบุช ผู้ลูก เหตุผล อันแรก มรดกเป็นเงินออมของผู้ขายเงินออมไม่ควรเป็นฐานภาษี อันมีการจัดทำยุ่งยาก ต้องมีการลดหย่อนมากมาย วิธีปฏิบัติยุ่งยาก ได้รายได้เล็กน้อย ไม่คุ้มเสีย
ส่วนเงินได้ของคนรวย เช่น ดอกเบี้ย เงินฝากและพันธบัตรก็เสียในอัตราต่ำ คือ15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประเภทดอกเบี้ย แต่ถ้าสูงกว่านี้ ก็กลัวคนเอาเงินออกไปฝากประเทศที่อัตราภาษีต่ำกว่า กำไรจากการซื้อขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์ของบุคคลธรรมดา ก็ไม่ต้องเสียภาษี เวลาขาดทุนก็ไม่ให้หักเป็นรายจ่าย ก็ยุติธรรมดี หากจะเก็บภาษีตอนกำไรตอนขาดทุน ก็ควรให้ หักเป็นรายจ่าย ซึ่งฝรั่งทำได้ แต่ไทยเรา ทำไม่ได้ แต่ไม่ค่อยมีประเทศไหนทำกัน นอกจากอเมริกา
ดังนั้น ทางที่ถูกที่ควร รัฐบาลควรพูดว่า ต้องปรับโครงสร้างภาษีให้เราแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงจากร้อยละ 30 ของกำไรเป็นร้อยละ 25 อัตราสูงสุดของเงินได้บุคคลธรรมดาจากร้อยละ 37 ลงมาเป็นร้อยละ 30 หรือ 35 ก็ว่าไป เพราะร้อยละ 37 สูงกว่าประเทศอื่น ๆ
ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนโดยไม่ต้องขึ้นอัตราภาษี
เพื่อให้ได้รายได้มาใช้จ่าย ลดช่องว่างในเรื่องความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม และ ลดช่องว่างในเรื่องคุณภาพชีวิต โอกาส ในทางเศรษฐกิจ จะได้ทำโครงการประชานิยมที่เป็นประโยชน์ต่อคะแนนเสียงของรัฐบาล ไม่ต้องฝันเฟื่องไปถึงเรื่อง ′รัฐสวัสดิการ′เพราะโครงการประชานิยม ถ้าทำเป็นการถาวรก็เป็นรัฐสวัสดิการ แต่เงื่อนไขของประชานิยมดีกว่า คือช่วยให้เขามีทุน และมีตลาดมากขึ้น เงินภาษีทุกบาทได้คืน ไม่เป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีในระยะยาว
ภาษีที่ถูกหลักการข้างต้นทั้งหมดนี้คือ ′ภาษีมูลค่าเพิ่ม′ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม7 เปอร์เซ็นต์ของเราต่ำกว่าใครในโลก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือเอเชีย ตอนทำภาษีนี้ กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ท่านนายกรัฐมนตรีขอให้เป็น 7 เปอร์เซ็นต์ก่อน แล้วค่อย ๆ ขึ้น แต่เกือบ 20 ปีแล้ว ก็ยังขึ้นไม่ได้ ในขณะที่ประเทศอื่นมีตั้งแต่ 15 เปอร์เซ็นต์ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ รายได้รัฐบาลจะเพิ่มขึ้น 50,000 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บเท่าเดิม พ่อค้าไม่ชอบภาษีนี่พอเข้าใจ แต่หนังสือพิมพ์ไม่ชอบนี่ไม่เข้าใจ ชอบภาษีที่ฟังดูแล้วโก้ ๆ แต่ในทางปฏิบัติทำไม่ได้ และเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ ภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นธรรม เพราะเก็บจากการบริโภค และหนีภาษีได้ยาก
ขอสนับสนุนรัฐมนตรีคลัง แม้นายกรัฐมนตรีจะยิงตกไปแล้ว
*******************************************************************************************************
สมการ-สถิติ ในสายตา "คนแพ้"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
โพลหลายสำนักออกมาตรงกันว่า ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยจะได้คะแนน "สูสี" ทุกพื้นที่ ทุกระดับการเลือกตั้ง
แต่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย มีความเชื่อส่วนตัวว่า
"แม้จะไม่ได้จำนวน ส.ส.เพิ่มจากการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ แต่ก็ถือว่าชนะการเลือกตั้ง เพราะได้คะแนนสูสีกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งการแพ้-ชนะ ครั้งนี้ไม่ได้วัดกันที่การได้ ส.ส."
จากผลสำรวจความนิยมของทุก ๆ ค่าย ตั้งแต่แรกประเมินว่าพรรค ประชาธิปัตย์จะชนะพรรคเพื่อไทย 65 : 35 บ้าง 70 : 30 บ้าง หรือกระทั่ง 60 : 40 ก็มี ซึ่งไม่มีใครเชื่อว่าผลคะแนนระหว่าง 2 พรรคจะออกมาใกล้เคียงกันแบบนี้ โดยเฉพาะหากนับคะแนนเฉพาะในวันเลือกตั้งโดยไม่นับรวมกับวันเลือกตั้งล่วงหน้าก็จะพบว่า พรรค เพื่อไทยแพ้ไม่ถึง 8 พันคะแนนเศษ แสดงว่าช่องว่างที่เคยเกิดขึ้นนั้นได้แคบลงมา เรื่อย ๆ เป็นผลมาจากการหาเสียงในช่วงเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ ในการทำความเข้าใจ ประชาชนที่เคยลังเลก็กลับมาเลือกพรรคเพื่อไทย
ถ้าแบ่งเป็นเขตจะยิ่งเห็นชัดว่า ที่ คะแนนแพ้มากมีเพียงในเขตบึงกุ่มเขตเดียวเท่านั้น แต่หากดูจากเขตอื่น ๆ แล้วทุกเขตมีคะแนนสูสีกัน และคะแนนในวันเลือกตั้งล่วงหน้าพรรค ประชาธิปัตย์นำเพื่อไทย 2 ต่อ 1
สาเหตุที่คะแนนออกมาสูสีกันเช่นนี้ น.อ.อนุดิษฐ์มองว่า จำนวนผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยที่ออกไปกากบาทช่อง ไม่เลือกใครในการเลือก ส.ข.คราวที่แล้วเพราะได้รับการชี้แจงเหตุการณ์ความไม่สงบจากทางรัฐบาลเพียง ฝ่ายเดียวในตอนนั้น ขณะนี้ได้กลับมาเลือกพรรคเพื่อไทยแล้ว หลังจากได้ฟังคำชี้แจงที่ไม่ใช่จากรัฐบาลฝ่ายเดียว
นอกจากนั้นเป็นเพราะประชาชน ได้เห็นความบกพร่องและทุจริตของรัฐบาล
****************************************************************************
โพลหลายสำนักออกมาตรงกันว่า ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยจะได้คะแนน "สูสี" ทุกพื้นที่ ทุกระดับการเลือกตั้ง
แต่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย มีความเชื่อส่วนตัวว่า
"แม้จะไม่ได้จำนวน ส.ส.เพิ่มจากการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ แต่ก็ถือว่าชนะการเลือกตั้ง เพราะได้คะแนนสูสีกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งการแพ้-ชนะ ครั้งนี้ไม่ได้วัดกันที่การได้ ส.ส."
จากผลสำรวจความนิยมของทุก ๆ ค่าย ตั้งแต่แรกประเมินว่าพรรค ประชาธิปัตย์จะชนะพรรคเพื่อไทย 65 : 35 บ้าง 70 : 30 บ้าง หรือกระทั่ง 60 : 40 ก็มี ซึ่งไม่มีใครเชื่อว่าผลคะแนนระหว่าง 2 พรรคจะออกมาใกล้เคียงกันแบบนี้ โดยเฉพาะหากนับคะแนนเฉพาะในวันเลือกตั้งโดยไม่นับรวมกับวันเลือกตั้งล่วงหน้าก็จะพบว่า พรรค เพื่อไทยแพ้ไม่ถึง 8 พันคะแนนเศษ แสดงว่าช่องว่างที่เคยเกิดขึ้นนั้นได้แคบลงมา เรื่อย ๆ เป็นผลมาจากการหาเสียงในช่วงเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมาประสบความสำเร็จ ในการทำความเข้าใจ ประชาชนที่เคยลังเลก็กลับมาเลือกพรรคเพื่อไทย
ถ้าแบ่งเป็นเขตจะยิ่งเห็นชัดว่า ที่ คะแนนแพ้มากมีเพียงในเขตบึงกุ่มเขตเดียวเท่านั้น แต่หากดูจากเขตอื่น ๆ แล้วทุกเขตมีคะแนนสูสีกัน และคะแนนในวันเลือกตั้งล่วงหน้าพรรค ประชาธิปัตย์นำเพื่อไทย 2 ต่อ 1
สาเหตุที่คะแนนออกมาสูสีกันเช่นนี้ น.อ.อนุดิษฐ์มองว่า จำนวนผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยที่ออกไปกากบาทช่อง ไม่เลือกใครในการเลือก ส.ข.คราวที่แล้วเพราะได้รับการชี้แจงเหตุการณ์ความไม่สงบจากทางรัฐบาลเพียง ฝ่ายเดียวในตอนนั้น ขณะนี้ได้กลับมาเลือกพรรคเพื่อไทยแล้ว หลังจากได้ฟังคำชี้แจงที่ไม่ใช่จากรัฐบาลฝ่ายเดียว
นอกจากนั้นเป็นเพราะประชาชน ได้เห็นความบกพร่องและทุจริตของรัฐบาล
****************************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)