--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

งัด กม.มั่นคงคุม นปช.


จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2614 ประจำวัน อังคาร ที่ 25 สิงหาคม 2009
รัฐบาลอ้างจำเป็นต้องควบคุมให้เกิดความสงบ

รัฐบาลงัดกฎหมายความมั่นคงควบคุมการชุมนุมของคนเสื้อแดง ชงคณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดรายละเอียดข้อบังคับและพื้นที่ที่จะประกาศใช้วันนี้ (25 ส.ค.) อ้างจำเป็นต้องควบคุมไม่ให้เกิดความวุ่นวายเพราะมีบางกลุ่มจ้องทำให้เกิดเงื่อนไขรุนแรง เชื่อต่างชาติเข้าใจไม่กระทบภาพพจน์ประเทศ “มาร์ค” ส่งสัญญาณตำรวจถอนประกันแกนนำเสื้อแดง “บิ๊กบัง” เชื่อไม่มีเหตุแทรกซ้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ โต้บ้านเมืองวุ่นวายทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะ คมช. ทำงานไม่เบ็ดเสร็จ ฟุ้งแก้ปัญหาไปมากแล้ว หากไม่แก้จะยุ่งกว่านี้หลายเท่า

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 30 ส.ค. นี้ว่า ทราบมาว่ามีบางกลุ่มต้องการสร้างความวุ่นวาย ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้มอบหมายให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดูวิธีการที่จะควบคุมให้เกิดความสงบ ไม่ให้มีการทำผิดกฎหมาย และต้องการให้การบริหารงานต่างๆเป็นไปตามปรกติ ต้องเข้าทำงานในทำเนียบรัฐบาลได้ตามปรกติ

ส่วนการชุมนุมจะยืดเยื้อหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มีบางกลุ่มเจตนาให้ยืดเยื้อ อย่างไรก็ตาม การชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่ไม่ใช่ปัญหา หากไม่มีการทำผิดกฎหมาย ก่อความวุ่นวาย

ส่งสัญญาณถอนประกันเสื้อแดง

“มีกระบวนการทางกฎหมายหลายช่องทางที่ดำเนินการได้ ซึ่งกำลังดูอยู่ เพราะหลายคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องยังมีคดีจากคราวที่แล้ว และที่ให้ประกันตัวออกมามีเงื่อนไขชัดเจนว่าจะต้องไม่ก่อความวุ่นวายอีก ส่วนจะดำเนินการอย่างไรเป็นหน้าที่ของตำรวจ เพราะตำรวจมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ไม่ได้เตรียมสถานที่สำรองสำหรับทำงานไว้ เพราะเข้าใจว่าในหมู่ผู้ชุมนุมก็ยังไม่ลงตัวเรื่องระยะเวลาและสถานที่

“ผมต้องถามว่าคนที่คิดอย่างนี้ต้องการอะไร เพราะคนที่สูญเสียที่สุดคือประชาชนทั่วไป หากประเทศเสียภาพลักษณ์ หากเราไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ ปัญหาเศรษฐกิจก็แก้ไม่ได้” นายอภิสิทธิ์กล่าว

ไม่คิดเจรจาเพราะไม่มีประโยชน์

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีแนวคิดจะเจรจากับแกนนำคนเสื้อแดงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าเขาจะคุย คุยแล้วมีความหมายอะไร เพราะขนาดสิ่งที่เขาประกาศเอง เช่น เมื่อถวายฎีกาแล้วจะยุติการชุมนุม ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างที่ได้ย้ำมาแต่ต้นว่ามีบางคน บางกลุ่มมีเป้าหมายแอบแฝงชัดเจน เขาต้องพยายามเดินไปจุดนั้น ซึ่งเสียหายกับบ้านเมืองมาก

เตรียมใช้ พ.ร.บ.มั่นคงคุมการชุมนุม

เมื่อถามว่าวันที่ 30 ส.ค. นี้จะใช้กฎหมายความมั่นคงดูแลสถานการณ์ด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวยอมรับว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะดูจากข้อเท็จจริงและข่าวที่จะรายงานเข้ามา อย่างไรก็ตาม ต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 25 ส.ค. ก่อนที่จะประกาศใช้

ไม่ห่วงภาพลักษณ์ประเทศเสีย

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าการใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความมั่นคงควบคุมการชุมนุมทางการเมืองจะมีปัญหาต่อภาพลักษณ์ของประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คิดว่าไม่ เพราะเราได้ใช้ที่ภูเก็ตในการประชุมผู้นำอาเซียนมาแล้ว เท่ากับได้ทำความเข้าใจกับต่างชาติเรื่องกฎหมายนี้ไปแล้วว่ามีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ

เร่งชง ครม. พิจารณาให้เสร็จทันใช้

“รัฐบาลมีหน้าที่บริหารจัดการให้เกิดความเรียบร้อย มีเครื่องมืออะไรต้องนำมาใช้ การใช้ต้องอยู่ใต้กรอบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ถ้ายึดตามแนวทางนี้ต่างประเทศเขารับได้อยู่แล้ว” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า เรื่องการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงจะต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง เพราะตามกฎหมายต้องเลือกสถานที่ประกาศใช้ และจะต้องมีการมอบหมายอำนาจ เรื่องการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าจะประกาศห้ามเรื่องไหน อย่างไรบ้าง ในการประชุม ครม. วันอังคารนี้จะพยายามทำให้เสร็จทัน

อ้างต้องรักษาความสงบไว้ให้ได้

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จำเป็นที่ต้องตัดสินใจวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความวุ่นวาย เช่น อาจต้องประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงหรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะต้องรักษาความสงบไว้ให้ได้

ตั้งสมมุติฐานเกิดความยุ่งยาก

“ดูจากท่าทีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ประกาศออกมา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจนำไปสู่ความยุ่งยากในบ้านเมือง ถ้าคนเสื้อแดงออกมาชุมนุมโดยสงบไม่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เป็นการแสดงออกทางระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องไม่ขัดข้อง แต่ถ้ามาแล้วปิดล้อมสถานที่ไม่ให้คนเข้าไปทำงานในทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา หรือไปล้อมสถานที่ราชการต่างๆ ถือว่าไม่ใช่การแสดงออกทางประชาธิปไตยที่ถูกต้อง”

“บิ๊กบัง” เชื่อไม่มีอำนาจแทรกซ้อน

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวว่า จากที่ฟังนายกรัฐมนตรีชี้แจงถึงการดูแลสถานการณ์การชุมนุมแล้วเห็นว่าไม่น่ากังวล และเชื่อว่าไม่น่าจะมีอำนาจนอกกฎหมายแทรกซ้อนเข้ามา จึงไม่น่าจะบานปลาย

มั่นใจดูคนออกไม่มีปฏิวัติแน่

“ผมเชื่อว่าไม่มีเงื่อนไขอะไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ ไม่น่าจะมีเรื่องกองทัพทำอะไรนอกรัฐธรรมนูญ ผมดูคนออก เชื่อว่าไม่มี” พล.อ.สนธิกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าที่บ้านเมืองมีปัญหาทุกวันนี้เพราะ คมช. ทำไม่จบใช่หรือไม่ พล.อ.สนธิกล่าวว่า ไม่ใช่ ต้องสาวต่อไปให้ดีๆ ที่ผ่านมาแก้ปัญหาไปเยอะแล้ว ไม่เช่นนั้นจะแย่ยิ่งกว่านี้ และแนวทางต่างๆที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ถือว่าถูกต้อง เพียงแต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

ส.ว.ค้านบันทึก กมธ.เขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา นักวิชาการชี้ ครม.ยกเลิกมติสมัย"สมัคร"

ส.ว.เตรียมค้านบันทึกกมธ.เขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา นักวิชาการ ย้ำต้องออกมติครม.ยกเลิกมติครม.สมัย"สมัคร"ให้ "นพดล" หนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนพระวิหารมรดกโลก

ที่รัฐสภา คณะกรรมการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร จัดเสวนาเรื่อง “แผ่นดินเขาพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร บทพิสูจน์ศักดิ์ศรีและอธิปไตยของไทย” โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการไม่เห็นด้วยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอรัฐสภาให้ลงมติเห็นชอบบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ในวันที่ 28 สิงหาคม

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงชั่วคราวที่ให้ทหารของไทยและกัมพูชาถอนกำลังออกมาจากวัดแก้วสิขาคีรีสะวารา เพราะดูเผินๆเหมือนเป็นข้อเสนอที่ดี แต่ความจริงไม่ใช่ เนื่องจากทหารของกัมพูชายังวางกำลังไว้ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งไทยไม่มี เท่ากับไทยกำลังเสียเปรียบ นอกจากนี้ยังทราบมาว่า เบื้องต้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาว่า จะขอพบกันคนละครึ่งทางในเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งคนละครึ่ง 2.3 ตารางกิโลเมตร ในฐานะคนไทยไม่เห็นด้วยเด็ดขาดเพราะพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนแต่เป็นพื้นที่ของประเทศไทย

นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา แกนนำ 40 ส.ว. กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลไปยอมรับเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร จะทำให้ไทยเหลือความเป็นเจ้าของเพียง 50 % ทั้งที่เป็นของไทยทั้งหมด ถ้าประสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์และไทยยอมให้คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Com mittee หรือ ICC) เข้ามาจัดการ ก็จะมีปัญหาตามมาอีกมากทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชนว่า ชาวบ้านที่อยู่ในแถวนั้นต้องการหรือไม่

“ผมไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 28 สิงหาคมนี้ ผมจะคัดค้านแน่นอน และจะถามรัฐบาลหลายประเด็นถึงสิ่งที่มีความไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการแถลงการณ์ร่วมไทยกับกัมพูชาว่าสรุปแล้วมีการยกเลิกแล้วหรือไม่ นอกจากนี้สิ่งที่รัฐบาลเสนอเข้ามาให้รัฐสภาพิจารณาเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ เพราะส่งเข้ามาเพียงแค่บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทยกัมพูชาเท่านั้น นอกจากนี้ ผมกลัวว่า รัฐบาลจะอ้างเรื่องความมั่นคงและให้ประชุมลับ จะทำให้สาธารณะไม่ทราบขอเท็จจริงเลย” นายคำนูณ กล่าว

ด้านนายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ที่ผ่านมาศาลโลกไม่ได้ชี้ขาดเส้นเขตแดนตามที่กัมพูชาเสนอเข้ามา เพียงแต่วินิจฉัยว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ อย่างไรก็ดี ไทยไม่ได้สละอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่หรือยอมรับอธิปไตยของกัมพูชา บริเวณนี้จึงเป็นพื้นที่เดียวที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ต่อมาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 ไทยได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนอย่างชัดเจนและกระทันหันโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และ กรมแผนที่ทหาร ได้พร้อมใจยอมรับนับถืออำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร โดยไทยได้ออกแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชาลงนามโดยนายนภดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศของไทยและรองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวโดยไทยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

“ขณะนี้ผมจึงขอเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้ ออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน และ 24 มิถุนายน ที่สนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก รวมทั้งเร่งผลักดันให้มีการยึดสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามหลักสากล” นายเทพมนตรี กล่าว

นายอิศร ปกมนตรี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตอนนี้กระทรวงต่างประเทศไม่ได้อยู่บนหอคอยงาช้างไม่สนใจปัญหาที่เกิดขึ้น แต่รับฟังความเห็นประชาชนและรับทราบปัญหามาโดยตลอด ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามมติของรัฐสภาและประชาชน

ทักษิณ กลับบ้าน.?



โดย จักรภพ เพ็ญแข

ที่มา หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “แนวร่วม Red”

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๗25 สิงหาคม 2552
คนไทยที่รู้การเมืองไทยจะไม่ยอมให้คุณทักษิณกลับมาเป็นเป้าปืนของเขาเป็นอันขาด..ระเบิดเครื่องบินการบินไทย วางแผนลอบสังหาร ๘ ครั้ง รวมทั้งกะฆ่าหมู่คนไทยที่บางพลัดเมื่อรถของคุณทักษิณแล่นผ่าน ไม่พออีกหรือครับ ที่จะเรียนรู้ว่าฝ่ายนี้เขาเจตนาฆ่าคุณทักษิณโดยไม่มีความคิดที่จะเจรจาใดๆ ด้วยเลย หมู่นี้พูดกันบ่อยจริงเรื่องคุณทักษิณจะกลับบ้าน อยากให้พี่น้องตื่นเต้นเร่งลงชื่อในฎีกา ก็บอกว่าเพื่อให้คุณ


ทักษิณได้กลับบ้าน จะเอาฎีกาไปยื่นที่สำนักพระราชวัง ก็เรียกคนมาชุมนุมกันที่สนามหลวงและบอกเป็นนัยๆ ว่าเพื่อคุณทักษิณจะได้กลับบ้าน หรือกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเสียด้วยซ้ำ แค่ชาวเสื้อแดงมากันให้มากเข้าไว้เป็นได้การ พูดย้ำซ้ำทวนกันจนชาวประชาธิปไตยที่นิยมคุณทักษิณค่อนประเทศเชื่อเอาจริงๆ ว่ากระบวนการขั้นตอนในการเอาชนะพวกปล้นประชาธิปไตย จะง่าย สั้น จบ อย่างสวยงามอย่างที่พูดกัน ผมก็คนหนึ่งล่ะครับที่อยากเห็น พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้าน


อยากเห็นท่านเข้ามากอบกู้บ้านเมืองที่ถูกอำมาตย์มันปล้นทำลายไป แต่ผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนที่พร่ำพูดเช่นนั้นเอาเหตุผลอะไรมาอธิบายว่าความหวังของเราจะเป็นจริง การให้กำลังใจกันนั้นก็เป็นเรื่องดีและควรทำครับ แต่อย่าเตลิดไปจนสร้าง “ความฝัน” ขึ้นมาแทน “ความหวัง” จนกลายเป็นฝันสลายไป ดร.ทักษิณฯ นำพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาด ๒ ครั้ง


เป็นปรากฏการณ์แรกนับแต่ฝ่ายประชาธิปไตยโค่นเผด็จการแบบเก่าได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๕ และนำพรรคพลังประชาชนจนได้รับชัยชนะอีกครั้งในระหว่างที่บ้านเมืองอยู่ในเงารัฐประหารและรัฐบาลอำมาตย์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ สร้างฐานสมาชิกพรรคไทยรักไทยเป็นประวัติการณ์เกือบ ๒๐ ล้านคน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว ๔๐ ล้านทั่วประเทศ และได้รับคะแนนนิยมสูงกว่านายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งทุกคน วัดผลทีไรก็ไม่มีใครเถียงว่ามีผลงานจับใจประชาชนมากที่สุด


จนทำให้ประชาธิปไตยที่คุณทักษิณดูแลกลายเป็นสิ่งมีชีวิตและกินได้ แต่แล้ว...เขาก็หักดิบเอาตรงๆ เมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ในนาม คปค. / คมช. โดยไม่เกรงใจประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว ถามจริงๆ เถิดครับ เสียงในฎีกา ๖ ล้าน ซึ่งเป็นเสียงสวรรค์โดยแท้ไม่มีใครเถียงได้ จะไปคัดง้างอะไรกับคนชนิดนี้?ได้เคยคิดกันบ้างไหมครับ เห็นขึ้นมารุมด่าพลเอกเปรม พลเอกพิจิตร นายอภิสิทธิ์ นายบวรศักดิ์ ฯลฯ เป็นหมูเป็นหมา สนุกเสียไม่มี สะใจเป็นบ้า


ในที่สุดก็บอกกับพี่น้องประชาชนว่า ด่าไอ้พวกเลวชาติแบบไม่ต้องให้มันได้ผุดได้เกิดกันเลย เพื่อเราจะได้เกิดใหม่ทางการเมือง คนดูโห่ร้องกึกก้องเพราะนึกว่าเราจะได้รับชัยชนะแน่นอนแล้ว ไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ครับว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยหมายถึงใครและอะไรบ้าง เล่าเรียนกันมาทางไสยศาสตร์ขนาดไหน ถึงประกาศกลางเมืองว่าจะแยกผีออกจากสางมิน่าเล่า...


ถึงได้ถูกหลอกจนหัวโกร๋นแล้วโกร๋นอีก บางคนเคยถูกเขาหลอกมาครั้งหนึ่งตอนอายุสี่สิบเศษๆ ดันยอมถูกหลอกอีกครั้งในวัยหลังหกสิบ แล้วมาลากเอาคนเป็นล้านๆ เข้าไปในป่าช้าเพื่อจะถูกหลอกด้วย เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันใย? บอกด้วยความรักและหวังดีต่อกันว่า การหาความเป็นธรรมจากคนหน้าด้านที่ชำนาญเกมรักษาอำนาจ ยากกว่าการแงะเศษกระดูกออกจากปากสุนัขมากนัก ชอบอ่านประวัติศาสตร์การเมืองไทย


ทำไมจงใจอ่านข้ามตอนนี้ไปเสียล่ะครับ?พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ผู้นำสายทหารในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๕๗๕ ถึงกับต้องทำรัฐประหารซ้ำสองในปีรุ่งขึ้นเพื่อปราบปราม “ซากเดนศักดินา” ที่ผ่านร่างทรงเก่าๆ ของผีร้ายตัวเดิมเข้ามาทวงอำนาจคืน เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ผู้ได้รับเชิญเป็นประธานกรรมการราษฎร หรือนายกรัฐมนตรีคนแรกหลังการปฏิวัติ เป็นต้น แล้วคนรักพระยาพหลฯ ในบ้านเมืองนี้


ทำไมถึงได้ยืนด่าซากเดนศักดินาโดยไม่ยอมบอกมวลชนที่รักและเชื่อถือตัวเองว่า ซากเดนเหล่านั้นกระเด็นออกมาจากตรงไหน? หรือวันนี้เพลิดเพลินกับอำนาจใหม่ และการฟื้นคืนชีพทางการเมือง จนฝันจะเป็นพระยามโนฯ ขึ้นมาเอง โดยลืมเกียรติยศของเจ้าคุณพหลฯ เสียแล้ว?เป็นอย่างนั้นไปแล้วหรือครับพระคุณท่าน?การถวายฎีกาในครั้งนี้ไม่ต่างอะไรจากกระบวนการขั้นตอนที่เคยมีมา ไม่อาจลบประวัติศาสตร์ ๑๔ ตุลาคมที่คนเดือนพฤษภาบางคนที่มีปมด้อยพยายามจะลบ และอย่าเอาไปฝันเองว่าเป็นวีรกรรมใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าวีรกรรมทั้งหลาย


นี่คือการใช้ช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่ายังอยู่กันได้เท่านั้นเองครับ ใครจะหวังได้ดีอย่างไรจากงานนี้ โปรดอย่าลืมว่าประชาชนของเราเดือดร้อนกันมามากกว่าสี่ปีแล้ว อย่าไปเล่นสนุกกับความฝันและความหวังของท่านทั้งหลายเหล่านี้เป็นอันขาด บาปหนักและขบวนการประชาธิปไตยจะถูกทำลายเกลี้ยง หยุดพูดเถอะครับว่า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะกลับบ้านในเร็ววันนี้ เหตุการณ์บ้านเมืองจะพลิกไปอย่างไรก็ตามหลังฎีกา


คนไทยที่รู้การเมืองไทยจะไม่ยอมให้คุณทักษิณกลับมาเป็นเป้าปืนของเขาเป็นอันขาด ระเบิดเครื่องบินการบินไทย วางแผนลอบสังหาร ๘ ครั้ง รวมทั้งกะฆ่าหมู่คนไทยที่บางพลัดเมื่อรถของคุณทักษิณแล่นผ่าน ไม่พออีกหรือครับ ที่จะเรียนรู้ว่าฝ่ายนี้เขาเจตนาฆ่าคุณทักษิณโดยไม่มีความคิดที่จะเจรจาใดๆ ด้วยเลย อยากให้คุณทักษิณกลับมาตายเมืองไทย หรือเตรียมเป็นนายกรัฐมนตรีในยามปลอดภัยและช่วยชาติได้เต็มที่ เป็น


ทางเลือกที่คนไทยหลายคน และตัวผมเองไม่ยอมเลือกเป็นอันขาด คนที่เรียกร้องให้คุณทักษิณกลับบ้านโดยอะไรต่างๆ มันไม่ได้ดีขึ้นเลยนั้น เหมือนคนที่อยากเห็นคุณทักษิณกลับไปตายเหมือนวุฒิสมาชิกเบนิญโญ อาคิโนของฟิลิปปินส์ คุณทักษิณท่านไม่กลัวตายหรอกครับ ผู้นำคนนี้กล้า ผมได้เห็นมาหลายครั้งแล้ว แต่เราต่างหากที่เป็นฝ่ายกลัวคุณทักษิณจะเป็นอะไรไป เพราะเรารู้ว่าบ้านเมืองจะสูญเสียอะไร.-----------------------------------

TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน)Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเมืองของมวลชนหลังถวายฎีกา

การเมืองของมวลชนหลังถวายฎีกา

นักปรัชญาชายขอบ


“...การเมืองไทยได้คลี่คลายมาสู่การเมืองของมวลชนมากขึ้น ข้อนี้ใครๆ ก็เห็นได้อยู่แล้ว การดำเนินการทางการเมืองจึงเปลี่ยนไป และหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงคือความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์ การถวายฎีกาด้วยคลื่นมหาชนเช่นนี้นับเป็นครั้งแรกของความสัมพันธ์ใหม่ ที่ปรากฏให้เห็นได้ในการเมืองแบบมวลชน

...การรณรงค์ตอบโต้ว่าผิดกฎหมายก็ตาม, "ดึงฟ้าต่ำ" ก็ตาม, "หินแตก" ก็ตาม หรือแม้แต่การตั้งโต๊ะให้ถอนชื่อก็ตาม นอกจากไม่ประสบความสำเร็จที่จะยับยั้งฎีกาได้แล้ว ยังมาจากความพยายามที่จะดึงการเมืองไทยให้จำกัดอยู่บนเวทีของชนชั้นนำตามเดิม อันเป็นความพยายามที่ฝืนธรรมชาติของพัฒนาการทางการเมืองในเศรษฐกิจทุนนิยม”
(นิธิ เอียวศรีวงศ์,มติชนรายวัน, 10 /08/2552 น.6)

ข้อเขียนของนิธิข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นว่า เหตุผลของฝ่ายคัดค้านการถวายฎีกาช่วยทักษิณที่อ้างว่าเป็นการ “กดดัน” หรือ “กระทบกระทั่ง” สถาบันนั้น เป็นเหตุผลที่เกิดจากความไม่เข้าใจการเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงมาสู่การเมืองของมวลชนมากขึ้น ที่ทำให้ “การดำเนินการทางการเมืองจึงเปลี่ยนไป และหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงคือความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์”

ขยายความต่อก็คือ ใน “ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับสถาบันพระมหากษัตริย์” คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การเมืองของมวลชนจะกระทบกระทั่งหรือกดดันสถาบันกษัตริย์ในแง่ใดแง่หนึ่ง ดังที่เราเห็นในกรณีถวายฎีกาขอนายกฯตามมาตรา 7 และฎีกาช่วยทักษิณในขณะนี้

ดังนั้น ถ้าเราตามทันพัฒนาการทางการเมืองของมวลชน ประเด็นที่เราจะต้องปกป้อง (defend) จึงไม่ใช่การห้ามไม่ให้การเมืองของมวลชนกระทบกระทั่ง หรือกดดันสถาบัน เพราะในระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ย่อมไม่มีสถาบันใดๆสมควรอยู่เหนือการกระทบกระทั่งหรือการกดดันจากการเมืองของมวลชน หรือ “การเมืองภาคพลเมือง”

ในทางกลับกัน สถาบันทางสังคมการเมืองใดๆก็ต้องมีความพร้อมที่จะเผชิญกับการกดดันกระทบกระทั่งอย่างใช้ปัญญา และใช้วิธีการตอบโต้ตามครรลองของประชาธิปไตยอย่างมีจิตสำนึกที่เคารพต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง

ประเด็นที่เราต้องปกป้อง จึงได้แก่ การส่งเสริมให้การเมืองภาคพลเมืองมี “ช่องทาง” ตามกฎหมาย มีวุฒิภาวะและมีพลังในการกดดันสถาบันใดๆก็ได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม การเคารพสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และสิ่งที่ดีอื่นๆตามครรลองของประชาธิปไตย และเราต้องปฏิเสธความพยายามใดๆที่จะ “ดึงการเมืองไทยให้จำกัดอยู่บนเวทีของชนชั้นนำตามเดิม”

ดังนั้น การเมืองของมวลชนหลังถวายฎีกา จึงควรเดินต่อไปดังนี้

1.ต้องแสดงให้เห็นว่า “มวลชนใช้ทักษิณ” ไม่ใช่ “ทักษิณใช้มวลชน” โดยมวลชนเสื้อแดงจะต้องชูยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของอำมาตย์ การนำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาและแก้ไขจุดอ่อน การกำหนดแนวทางรัฐสวัสดิการ ต้องกดดันให้ทักษิณและพรรคการเมืองที่สนับสนุนทักษิณ (หรือพรรคการเมืองใดๆที่ต้องการเสียงสนับสนุนจากประชาชน) สร้างนโยบายที่เป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าว

ทักษิณและพรรคการเมืองที่สนับสนุนทักษิณจะได้รับการสนับสนุนจากมวลชน ไม่ใช่ด้วยการสร้างฝันลมๆแล้งๆ เช่น การเปิดสถานีโทรทัศน์ 100 ช่อง การจะกลับมาเป็นนายกฯทำให้คนรากหญ้าหายจน ฯลฯ โดยไม่แสดงให้เห็นนโยบายใหม่ๆที่เป็นรูปธรรมใดๆที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าว

2.ต้องเสนอแนวทางปฏิเสธอิทธิพลทางการเมืองของ “พรรคข้าราชการ” หรืออำมาตยาธิปไตย เช่น เสนอให้มีกฎหมายห้ามทำรัฐประหาร และให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ มีระบบการกระจายอำนาจจนถึงระดับชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีอำนาจดูแลตนเองให้มากที่สุดทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุข สาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.การเมืองภาคพลเมืองจะต้องสร้างพลังกำกับตรวจสอบพรรคการเมือง นักการเมืองอำมาตย์หรือชนชั้นนำต่างๆให้พ้นไปจากการช่วงชิงอำนาจรัฐในรูปแบบวัฒนธรรม “สมบัติผลัดกันชม” มาเป็นการแข่งกันสร้างนโยบาย (และทำตามนโยบาย) เพื่อตอบสนองความต้องการของการเมืองภาคพลเมือง

4.การเมืองภาคพลเมืองจะมีอายุยืนยาวหรือมีพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสร้างสรรค์ ก็ต่อเมือมีการเสร้างเครือข่าย ขยายเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ (ที่มากกว่าการชุมนุม) และจำเป็นต้องสร้างอุดมการณ์ร่วมในเรื่องรัฐสวัสดิการ พร้อมกับสร้างการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจริงจังถึงแนวทางที่เป็นไปได้ที่จะบรรลุอุดมการณ์ดังกล่าว

กล่าวโดยสรุป ทางออกของวิกฤตการเมืองคือทางเดินต่อย่างสร้างสรรค์ของการเมืองของมวลชน หรือการเมืองภาคพลเมือง ที่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน และสามารถกำกับ ถ่วงดุล ตรวจสอบ สถาบันทางการเมืองต่างๆให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นธรรม และรัฐสวัสดิการ

โดยมวลชนจะต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง พรรคการเมือง หรือฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ แต่ต้องสามารถใช้นักการเมือง พรรคการเมือง หรือฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของมวลชน หรือของประชาชนส่วนรวม

ทำไมยังโหยหาถึงแต่"ทักษิณ"

วันจันทร์ 24 สิงหาคม 2009 — chapter 11
Why they still long for ThaksinAugust 16, 2009
ที่มา – Philippine Daily Inquirerแปลและเรียบเรียง – chapter 11

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ผู้นำต่างๆของประเทศไทยปฎิเสธที่จะทำความเข้าใจ และจัดการกับปัญหาที่แบ่งแยกประเทศออกเป็นฝ่าย “เสื้อแดง” และ ฝ่าย “เสื้อเหลือง” ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับพวกเขาเอง

ช่างคล้ายกับประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจในประเทศไทยตกอยู่ในกำมือของศักดินาหัวโบราณ ซึ่งคุมสถาบันต่างๆและดำเนินการในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า จะปกป้องผลประโยชน์ให้กับตัวเองโดยไม่แยแสถึงประชาชนจำนวนมากซึ่งยากแค้น และแทบจะหมดหนทางหรือไม่มีทางที่จะได้เข้าถึงอำนาจทางการเมือง

ไม่ว่าทักษิณจะเข้ามามีอำนาจจากการโกหกและการหลอกลวงตามที่รัฐบาลปัจจุบันกล่าวอ้าง อดึตนายกรัฐมนตรีที่กำลังลี้ภัยทักษิณ ชินวัตร สามารถเปลี่ยนแปลงสมการนั้นได้ชั่วคราว ถึงแม้จะอยู่ในระหว่างการลี้ภัย ทักษิณยังคงย้ำเตือนความจำให้กับผู้สนับสนุนในชนบท ให้คิดถึงคุณประโยชน์ที่ได้เคยทำไว้ให้กับพวกเขา และปลุกจิตสำนึกให้พวกเขารู้ว่า อำนาจเป็นพวกเขาเองและพวกเขาเองเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้

ทักษิณ แม้จะถูกรัฐบาลถากถางเหน็บแนมว่า “เป็นคนที่โกงกินและใช้อำนาจในทางผิดมากที่สุด” กลับกลายเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตย

ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน ผู้อำนวยการศูนย์แคโรไรนาเอเซีย ภาควิชาเอเซียศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไรนา แห่งสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่า “ทักษิณอาจจะกลับไทยไม่ได้ ผมไม่คิดว่าทักษิณจะมีอนาคตทางการเมืองในประเทศไทย แต่ขณะนี้ปัญหาคือ ทักษิณเป็นตัวแทนของอะไร”

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐสภา หลังจากตุลการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งกองทัพเป็นผู้แต่งตั้งขี้นมา เป็นตัวการสำคัญในการยุบรัฐบาลถึงสองครั้ง ที่นำโดยพรรคการเมืองนิยมทักษิณที่ได้รับชัยชนะเข้ามาจากการเลือกตั้งอย่างใสสอาด

เสื้อแดงต่างคับแค้นใจที่ตัวแทนที่พวกเขาได้เลือกเข้าไป ถูกโค่นล้มซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากคำสั่งของศาลซึ่งถูกมองว่า ไม่มีความยุติธรรม และ ไม่เป็นประชาธิปไตย

ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน กล่าวว่า “ถ้าขืนเรื่องแบบนี้ยังเกิดขี้นบ่อยๆ ถ้าคะแนนเสียงของพวกเขากลายเป็นโมฆะ ถ้าเมื่อไรพวกเขารู้สึกว่าไม่มีหนทางชนะ เมื่อนั้นแหละจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงขี้นได้”
นอกเสียจากว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง แล้วผู้ที่เสื้อแดงลงเสียงให้พ่ายแพ้ ซึ่งการเลือกตั้งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยุติธรรมมากที่สุด

มิฉะนั้นแล้ว ความคับแค้นใจจะทับถม และพวกเขาจะหันไปใช้วิธีการลุกฮือขี้นมา ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรงได้

ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน อธิบายถึง ประวัติของความเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่ต้นจนจบว่า “ผู้ที่มีอำนาจ ผู้ที่มีเงิน” ควรแลกเปลี่ยนอำนาจในมือเพียงเล็กน้อยให้กับชนชั้นล่างของสังคม อันจะเป็นหนทางป้องกันไม่ให้เกิดการลุกฮือขี้นมาได้ หรือพวกเขาจะทำวิธีใดก็ได้ที่จะทำให้ประชาชนคิดว่า พวกเขาได้แบ่งปันอำนาจแม้ว่าไม่ได้แบ่งจริงๆ

อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน ไม่คิดว่าศักดินาในประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ จะยอมประนีประนอมในการแบ่งอำนาจกับมวลชน เขากล่าวอีกว่า ศักดินาอยากที่จะคุมอำนาจไว้กับตัวเองมากกว่าจะแบ่งปัน

เขากล่าวว่า “พวกเขา (คนไทยทั้งหลาย) จะต้องหาวิธีประนีประนอมให้กับพวกที่ถูกริดรอนสิทธิ ซึ่งแท้จริงแล้วพวกเขาต้องมีส่วนในการตัดสินใจด้วยเช่นกัน ถ้าคนไทยไม่สามารถหาหนทางเพื่อให้เกิดการประนีประนอมกันได้ ผมคิดว่า คนไทยเองนั่นแหละ ที่จะต้องตกอยู่ในสภาพลำบาก ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า พวกศักดินาจะยอมหรือเปล่า”

นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมคนไทยจึงได้รู้สึกวิตกว่าทักษิณ และผู้สนับสนุนจะสร้างความไม่สงบบนท้องถนนอีกครั้ง หรืออาจจะรุนแรงมากไปกว่านั้น

วีรบุรุษ ที่หายไป


ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ผมต้องเก็บตัว เป็นจังหวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทุกอย่างมันประดัง คนพวกเดียวกันมันทำร้ายพวกเรากันเอง ถือว่ามันขัดอุดมการณ์ของผม คนพวกเดียวกันทำร้ายด้วยกันเอง เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ หากเป็นข้าศึกคงไม่ว่าอะไร เพราะข้าศึกไม่เคยทำร้ายพวกเรา”เสียงจากนายพล “ไซซ์เอส” คนเดิม พล.อ.สพรั่งกัลยาณมิตร ที่ระบายความในใจต่อสถานการณ์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ “บิ๊กพรั่ง” เจ็บปวดมากที่สุด

คือการเปลี่ยนแปลงของเพื่อนที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกันการออกมาเผยความในใจของชายชาติทหารผู้นี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติบางอย่างในกลุ่มเพื่อน คมช.ที่ไม่เหมือนเดิมจนไม่อาจกลับไปเป็นเหมือนเดิมที่จะนั่งล้อมวงจิบกาแฟปรับทุกข์ฉันมิตรเหมือนเช่น 3 เดือนแรกของการหมดสิ้นอำนาจ คมช.แต่การออกมาสู่สังคมสาธารณะของ “บิ๊กพรั่ง” ในครั้งนี้เหมือนจะฝากคำพูดผ่านสื่อไปยังอดีต คมช. ที่กำลังจะแหย่เท้าลงวิ่งในสนามการเมือง ที่ครั้งหนึ่ง คมช. เป็นผู้ลบประวัติศาสตร์การเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. (Council of National Security - CNS) เป็นคณะบุคคลที่แปรสภาพมาจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคมช.

ประกอบด้วย
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข รองประธาน คมช.
พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ สมาชิก คมช.
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ สมาชิก คมช.
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส สมาชิก คมช.
พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ
คมช.พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.

และคงยังจำกันได้ สำหรับประโยคที่สุดแสนจะคลาสสิก“ขณะนี้ประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 คมช. จึงขอจบภารกิจ

พร้อมทั้งขอขอบคุณประชาชนทุกคนในโอกาสที่ คมช. สิ้นสุดหน้าที่ และฝากความหวังไว้กับรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้ทำทุกอย่างภายใต้เจตนารมณ์แก้ไขปัญหาประเทศชาติ”คมช. นำโดย “บิ๊กต๋อย” พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข แถลงข่าวจบภารกิจ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551นั่นคือสิ่งที่คนไทยหลายคนจดจำได้

ขณะที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เจอมรสุมทางการเมืองมากเท่าใด ยิ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าเมืองไทย
กำลังจะได้เห็นพรรคการเมืองและนักการเมืองน้องใหม่(แต่)หน้าเก่า กำลังแต่งองค์ทรงเครื่องรอจังหวะ “สนามเลือกตั้ง” เปิดให้ลงชิงชัยกันมากหน้าหลายตาและในบรรดานักการเมืองน้องใหม่ที่ว่านี้ ก็ย่อมหนีไม่พ้นอดีตนายทหารจากคณะปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 อย่าง “บิ๊กบัง”พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. และประธาน คมช.ที่เบนเข็มจากนักศึกษารัฐศาสตร์ การเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาศึกษา

งานด้านการเมืองโดยเลือกศึกษาในพรรคการเมืองถิ่นสะตอที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ แต่เป็นพรรคน้องใหม่อย่าง “มาตุภูมิ”ที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาทว่า “บิ๊กบัง” จะยังแบ่งรับแบ่งสู้ตามสไตล์ “ลับ ลวง พราง”อยู่ก็ตาม จึงยังไม่รู้ซะทีว่าตกลงแล้ว อดีตประธาน คมช.จะสานต่อภารกิจล้มระบอบทักษิณหรือไม่หรือจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบอบ

ยังไม่มีคำถามที่ชัดเจนจากปาก พล.อ.สนธิ ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มทวีความร้อนแรงด้วยสีของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ออกมาถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรรวมทั้งเตรียมออกมาเคลื่อนไหวล่ารายชื่อประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลอภิสิทธิ์จึงไม่แปลกที่นายทหารร่างเล็กต้องออกมาแสดงความเป็นกังวลต่อสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขวันเวลาที่ไม่เหมือนเดิมตลอดจนกลับมาทวงถามหา“วีรบุรุษ” ที่หายไป

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ย่างก้าวของ "เวียดนาม"วัดกึ๋น รบ.มาร์ค

ประเทศเวียดนาม! เคยเป็นประเทศ “ด้อยพัฒนา”แต่วันนี้ไม่ใช่ไทยแลนด์! เคยเป็นประเทศ “กำลังพัฒนา” แต่วันนี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร! ปลดหนี้และนำพาประเทศสู่ระดับ“ผู้นำ” แต่เมื่อเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 เกิดขึ้น ทุกอย่างก็ “ถอยหลัง”..เสถียรภาพความมั่นคงของไทย “ติดลบ”กระทั่ง 17 ธันวาคม 2551 คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเข้าบริหารประเทศ การขับเคลื่อนช่วงแรกส่งสัญญาณ“ไปได้ดี” ไม่มีที่ติ! ประชาชน “โล่งอก” รอดูการก้าวย่างของไทยแลนด์ในทางที่ดีขึ้น ท่ามกลาง “ฝุ่นการเมือง”

ที่เริ่มก่อตัวตามธรรมเนียม ซึ่งเชื่อว่าจะ “สงบ” ลงในไม่ช้าแต่ดูจะเป็นการ “คาดเดา” ที่ผิดผลาด เพราะปัจจุบันการจัดสรรปันส่วนยัง “ชิง” กัน “ฝุ่นตลบกลบเมือง” ทั้งเรื่องโยกย้ายตำแหน่ง บารมี มอบรางวัลเป็นค่าตอบแทนพระคุณที่เกื้อหนุนกันจนได้ดิบได้ดี แค่ 2 เรื่องก็ทำให้ “วงล้อประเทศ”หยุดนิ่ง!สถานการณ์เมืองไทยน่าเป็นห่วง..ในขณะที่รัฐบาลประกาศว่าเรามาถูกทาง และพยายามเหนี่ยวรั้งให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่ในความเป็นจริงไทยกำลังอยู่ในช่วง “ชะลอ”การพัฒนา ซึ่งเป็น “จุดด้อย” ที่นักลงทุนต่างตระหนักท่ามกลางความอึมครึมในเมืองไทย!! “เวียดนาม”ประเทศเพื่อนบ้านที่เราเคยนำหน้าไปแบบไม่เห็นฝุ่น วันนี้รัฐบาลเขาวางแผนพัฒนาประเทศด้วยเมกะโปรเจกต์กว่า 60,000ล้านดอลลาร์ โดยมีเป้าหมาย 12 ปีข้างหน้า “เวียดนาม”จะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่น่าสนใจในระดับต้นๆ ของเอเชียนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง(Nguyen Tan Dung) ได้ออกคำสั่งให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกำกับดูแลโครงการ

ก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศให้เป็นไปตามกำหนดเวลา ประกอบด้วย
1. ทางหลวงโฮจิมินห์ 500 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างโครงการสร้างทางหลวงขนาด 6 เลนแนวตะวันออก-ตะวันตกรวมระยะทาง 23 กม. ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่แห่งนี้

2. ทางด่วนไซ่ง่อน-ด่งนาย 1,200 ล้านดอลลาร์ ทางด่วนระยะทาง 55 กม. ตัดผ่าน จ.บิ่งซเวือง (Binh Duong) ไปยังเมืองเบียนหว่า (Bien Hoa) จ.ด่งนาย ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกขนาดใหญ่ของประเทศ เชื่อมต่อกับ จ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า อันเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมันดิบ ตลอดจนเมืองท่องเที่ยวตากอากาศ

3. รถไฟไฮสปีดเหนือ-ใต้ 33,000 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงตามรางกว้าง 1.435 เมตร สายเหนือ-ใต้ รวมระยะทางกว่า 1,700 กม. เชื่อมกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์โดยไม่ต้องรื้อทางรถไฟสายเก่าที่ใช้งานมานาน 60 ปี

4. รถไฟเลียบอ่าวฮาลอง 255 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างเพิ่งจะเริ่มได้เมื่อปี 2549 เพื่อพัฒนายกระดับทางรถไฟจากเอี๋ยนเวียน (Yen Vien) ชานกรุงฮานอย ไปยังฝาหล่าย (Pha Lai) เกิ๋มฝา (Cam Pha) และเอืองบิ (Oung Bi) ซึ่ง เป็นเขตอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดใหญ่

5. รถไฟฟ้าโฮจิมินห์ 1,100 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดินสายแรกในนครใหญ่แห่งนี้ ระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดจะดำเนินการไปจนถึงปี 2563

6. รถไฟหายฟ่อง-ล่าวกาย 150 ล้านดอลลาร์ การพัฒนายกระดับทางรถไฟสายนี้ดำเนินการภายใต้กลุ่มความร่วมมือแห่งอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) มีต้นทางจากท่าเรือนครหายฟ่อง(Hai Phong) ไปยังสถานีลองเบียน (Long Bien) ชานกรุงฮานอย ก่อนจะตัดขึ้นเหนือไปยัง จ.ล่าวกาย(Lao Cai) เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากเมืองคุนหมิง (Kunming) มณฑลหยุนหนันของจีน เพื่อให้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าออกผ่านท่าเรือน้ำลึกในทะเลจีนใต้

7. สนามบินฮานอยส่วนขยาย 300 ล้านดอลลาร์ ประกอบด้วย อาคารผู้โดยสาร 1 หลัง พื้นที่ใช้สอย90,000 ตารางเมตร มูลค่า 230 ล้านดอลลาร์ กับทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินความยาว 3,800 เมตร ทั้งหมดกำหนดแล้วเสร็จในปี 2553 คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 6.5 ล้านคนต่อปี และในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีการขยายเฟสที่สองให้ท่าอากาศยานโนบ่าย (Noi Bai) รองรับผู้โดยสารได้ 12 ล้านคนต่อปี

8. สนามบินลองแถ่ง 6,000 ล้านดอลลาร์ สนามบินแห่งนี้อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ราว 30 กม.จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 45-50 ล้านคน เวียดนามจะใช้แทนท่าอากาศยานเติ่นเซินเญิตนครโฮจิมินห์ ที่ขยายไม่ได้อีก ขณะนี้อยู่ในช่วงศึกษาความเหมาะสม

9. สนามบินฟุก๊วกเฟสแรก 60 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างเริ่มเมื่อปีที่แล้ว เป็นสนามบินแห่งใหม่ที่จะใช้แทนที่สนามบินขนาดเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เฟสแรกจะใช้เงินลงทุนเพียง 60 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้เครื่องบินโดยสารโบอิ้งและแอร์บัสลงจอดได้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2.65 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2563 จะขยายเป็นสนามบินขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับแผนพัฒนาเกาะอ่าวไทยแห่งนี้ให้เป็นปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก

10. ท่าเรือน้ำลึกหายฟ่อง 200 ล้านดอลลาร์ ท่าเรือน้ำลึกแหล็คเฮวียน (Lach Huyen) เริ่มก่อสร้างเมื่อปีที่แล้วในเขตอุตสาหกรรมใหญ่นครหายฟ่อง มีกำหนดเปิดใช้ในปี2553 ด้วยเงินลงทุน 213.8 ล้านดอลลาร์ สามารถรองรับเรือสินค้าที่มีระวาง 50,000-80,000 ตัน

11. ท่าเรือ-อู่เรืออ่าวเวินฟอง 9,000 ล้านดอลลาร์โครงขนาดใหญ่ใน จ.แค๊งหว่า (Khanh Hoa) นี้ ประกอบด้วยท่าเรือสินค้าและเรือโดยสาร รวมทั้งอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มสึมิโตโม (Tsumitomo) จากญี่ปุ่นที่เข้าลงทุนถึง4,000 ล้านดอลลาร์ และยังมีโครงการโรงงานเหล็กกล้ามูลค่าอีกเท่าๆ กัน

12. ท่าเรือน้ำลึกก๋ายแหม็บ-ถิหวาย 300 ล้านดอลลาร์เป็นท่าเรือน้ำลึกใหญ่ที่สุดในภาคใต้ที่ปากแม่น้ำถิหวายในจ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า (Ba Ria-Vung Tao) เป็นไปตามแผนการย้ายท่าเรือออกจากไซ่ง่อนที่ขยายไม่ได้อีก13. ขยายร่องน้ำเข้าท่าเรือเกิ่นเธอ 100 ล้านดอลลาร์นครเกิ่นเธอ (Can Tho) เป็นศูนย์กลางของเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงอันเป็นเขตอู่ข้าวสำคัญของประเทศ เวียดนามจะต้องขุดลอกแม่น้ำตลอดความยาวกว่า 60 กม. เพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าถึงได้โดยตรงแทนการทยอยขนส่งสินค้าออกสู่ทะเลหลวงด้วยเรือขนาดเล็ก ซึ่งสิ้นเปลืองและเสี่ยงอันตรายทั้งหมดคือโครงการที่รัฐบาลเวียดนาม สั่งการดำเนินการแล้วและมันจะเป็นรูปธรรมในอีก 12 ปีข้างหน้าแน่นอน! แล้วรัฐบาลมาร์คล่ะมีคำตอบอะไรให้ประชาชนบ้าง?? ■

ถอยหลังเข้าคลอง
โดยคุณ นกน้อย (not verified) เมื่อ Sat, 2009-08-22 06:09.
บ้านเมืองล่มจมเพราะทักษิณโกงชาตือย่างคนที่ออกประกาศขับไล่ ทักษิณหมดความชอบธรรมที่จะเป็นนายกฯต่อไปแล้วนั้นจริงหรือ....จึงใช้พฤติกรรมบอยคอตการเลือกตั้ง อ้างจะไม่ขอร่วมสังฆกรรมทางการเมือง

ในที่สุดเป็นที่มาของการปฎิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน นำไปสู่เหตุที่มาของวิกฤตินานัปการ จะว่าบ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ความล่มจมแล้วในบัดนั้นก็ว่าได้.แผ่นดินไทยแตกแยกเพราะเกิดการชิงดีชิงเด่นของกลุ่มคนสร้างความสับสนโดยอาศัยเสื้อเหลืองอันเป็นสัญลักษณ์องค๋พระมหากษัตริย์ พร้อมกับคำว่า เราสู้เพื่อในหลวง เอาแผ่นดินของเราคืนมา ช่วงเวลานั้นประชาชนสับสนจนไม่ทราบว่า.........กำลังทำสงครามกับประทศอะไร

แทนที่กลุ่มการเมืองที่หวังแก่งแย่งอำนาจที่ให้การสนับสนุนชี้แจงกลับนิ่งเฉย โดดขึ้นเวที่เอากะเขาด้วย..สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ พวกเขาต้องการแย่งอำนาจจาก พัน ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ มาจากพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น..ด้วยความเชี่ยวชาญ..ประเคนสารพัดข้อกล่าวหาเข้าใส่ ลักษณะเดียวกับที่กำลังเกิดเป็นข่าวกับ สตช.ในปัจจุบัน..ยิ่งนานวันประชาชนก็ยิ่งเห็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมในสังคมไทย..เขาออกมาเรียกหาความเป็นธรรมที่เกิดกับคนที่เขารัก คนที่เขาเคยฝากชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบจากองค์กรที่เขาหวังพึ่งพาได้..

ความแตกแยกก็ยิ่งทวีหนักขึ้นจนที่มาของเสื้อแดง ตามมาด้วยเสื้อน้ำเงิน ในที่สุดอาจจะเข้าขั้นถึงการจราจลในบ้านเมือง..ที่ผมสาธยายมาทั้งหมด..ก็จะมาสรุปตรงที่ว่า อดีตนายกฯทักษิณท่านทำผิดอะไรกันนักหนา..จนถึงขั้นยอมทำลายบ้านเมืองเพื่อล้มล้างกับคนคนเดียว..สิ่งดีๆมีมากมายที่ท่านทำให้แก่ประชาชนได้อยู่ดีกินดีมีมากมาย แลดประเทศชาติกำลังก้าวสู่ความเป็นนิค ถึงใครจะมืดบอดมองไม่เห็น แต่ประชาชนเสื้อแดงที่ออกมาเคลื่อนไหวเขาต่างเห็นเป็นรูปธรรม..สัมผัสได้ ..ของอย่างนี้หลอกกันไม่หรอกครับ..ผม

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประโภชฌ์ "ทิ้งพอเพียง"เปิดทางสางทุจริตโครงการ

ข่าว(ในประเทศ)
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2612 ประจำวัน ศุกร์ ที่ 21 สิงหาคม 2009

“ประโภชฌ์” ไขก๊อกตามพี่ชาย ระบุเพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ รับมีการแสวงหาประโยชน์ในขั้นปฏิบัติการ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายประโภชฌ์ สภาวสุ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ได้ให้เจ้าหน้าที่นำเอกสารหนังสือลาออกจากรองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชนมาแจกจ่ายผู้สื่อข่าวทำเนียบรัฐบาล โดยในเอกสารดังกล่าวระบุว่าวันที่ 20 สิงหาคม ที่สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี นายประโภชฌ์ สภาวสุ รอง ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งแล้ว โดยระบุว่าการลาออกครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้มีการปรับโครงสร้างทั้งระบบของโครงการชุมชนพอเพียง เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โครงการนี้เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจฐานรากระดับชุมชน หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จจะช่วยเหลือชุมชนต่างๆทั่วประเทศได้กว่า 80,000 ชุมชน

“เมื่อมีการตรวจสอบโครงการพบว่ามีปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัติและมีผู้แสวงหาประโยชน์กันอยู่มาก ดังนั้น เพื่อให้มีการตรวจสอบอย่างโปร่งใสและมีความคล่องตัว อิสระในการปรับโครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการได้อย่างเต็มที่ จึงขอลาออกจากการทำหน้าที่ในครั้งนี้ และหวังว่าการเดินหน้าของโครงการชุมชนพอเพียงจะสามารถสร้างประโยชน์ให้ชุมชนได้อย่างแท้จริง”

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. ประธานคณะกรรมการตรวจสอบโครงการชุมชนพอเพียงของพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานโครงการสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) ลาออกจากตำแหน่งประธานโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน

โดย น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า การที่นายกอร์ปศักดิ์ลาออกดูผิวเผินเหมือนแสดงความรับผิดชอบ แต่จะลดกระแสสังคมได้หรือไม่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเหมือนปล้นประชาชนอย่างไร้ยางอาย ขอให้ผู้มีอำนาจหยุดโกงกินในโครงการ แต่จะหยุดความรับผิดชอบไม่ได้ เนื่องจากการลาออกเป็นเพียงแค่สับขาหลอก แต่ยังยิงประตูได้ เพราะโครงสร้าง สพช. แปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่สุดในโลกคือ นายกอร์ปศักดิ์ 1.เป็นรองนายกฯ กำกับดูแลนโยบาย 2.เป็นประธานบอร์ดโครงการนี้ ทั้งนี้ ยังให้บอร์ดตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายอำนวยการที่เป็นฝ่ายบู๊ มีนายกอร์ปศักดิ์เป็นประธาน และ 3.คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการที่เป็นฝ่ายบุ๋น มีนายมีชัย วีระไวทยะ เป็นประธาน

น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวอีกว่า ฝ่ายบู๊มีอำนาจอนุมัติเงินโครงการ 22,000 ล้านบาท และยังมีการตั้งรอง ผอ. 6 คน กลับไม่ใช่รอง ผอ. ขับเคลื่อนงาน แต่ไปตั้งกลุ่มภารกิจบริหารจัดการงบประมาณ มีนายประโภชฌ์ สภาวสุ รอง ผอ.โครงการชุมชนพอเพียงรับผิดชอบ และยังมีกลุ่มภารกิจดำเนินการสรุปผลและพิจารณาโครงการ มีนายประโภชฌ์รับผิดชอบบริหารจัดการงบภายในและชงเรื่อง ก่อนที่เส้นทางเงิน 22,000 ล้านบาทที่ทุจริตจะกระจายไปทั่วประเทศ

จะเห็นได้ว่ารองนายกฯดูแลทั้งนโยบาย เป็นประธานบอร์ดอนุมัติโครงการ และเป็นประธานคณะอนุกรรมการที่มีอำนาจเต็มในการอนุมัติงบก่อนรายงานบอร์ด ดังนั้น การกระจายงบประมาณ 22,000 ล้านบาท เกี่ยวข้องกับนายกอร์ปศักดิ์ทุกกระบวนการ แม้ลาออกจากประธานบอร์ด และให้นายมีชัยขึ้นเป็นประธานบอร์ด แต่อำนาจบริหารจัดการโครงการยังอยู่ที่คณะอนุกรรมการฝ่ายอำนวยการที่มีนายกอร์ปศักดิ์เป็นประธาน ดังนั้น นายกอร์ปศักดิ์ต้องลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯเพื่อแสดงความรับผิดชอบ และเปิดให้มีการตรวจสอบได้อย่างเต็มที่

นายเจริญ คันธวงศ์ ประธานตรวจสอบข้อเท็จจริงชุมชนพอเพียง พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า เบื้องต้นพบว่าการขายสินค้าต่างๆไม่มีบริษัทอื่นๆเข้าร่วมในการแข่งขัน หรือไม่มีการเข้ามาแข่งในด้านการจัดซื้อ นอกจากนี้ยังพบว่าได้มีการแจ้งไปยังชุมชนว่ามีเงินมาแล้ว จากนั้นมีการติดต่อบริษัทโดยตรง ทั้งนี้ จะต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้ง

นายเจริญกล่าวอีกว่า การสอบสวนในเบื้องต้นพบว่ามีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติกระทำความผิดในบางขั้นตอนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สำหรับโครงการชุมชนพอเพียงเห็นว่าควรที่จะดำเนินการต่อไป แต่ต้องทำให้เกิดความโปร่งใส เพราะโครงการนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม

หากรัฐประหาร
โดย จักรภพ เพ็ญแขที่มา

คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร”

หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 1222 สิงหาคม 2552

อารยะขัดขืน เอามาใช้ให้เต็มที่ และรัฐบาลพลัดถิ่น ต้องตั้งขึ้นมาสวนควันปืนทันที เรื่องอื่นๆ ขอเก็บไว้หน่อย ปล่อยให้ (อำมาตย์) งง แทบจะไม่มีใครนึกฝันว่า กระบวนการลงชื่อถวายฎีกากรณีคุณทักษิณ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เบาบางที่สุดแล้วในเส้นทางอันยาวไกล จะทำให้ระบอบอำมาตยาธิปไตยเกิด “วินาศกาเล วิปริตพุทธิ”


ขึ้นมาอย่างกะทันหันอย่างนี้เห็นปัญญาแปรปรวนวิปลาสไป ทำให้ฉุกคิดว่าถึงคราววินาศเสียแล้วล่ะกระมัง อำมาตย์ไม่รู้หรอกหรือว่า ชาวประชาธิปไตยที่เอาจริงเอาจังเขาไม่ได้เห็นด้วยกับฎีกาทุกคน แต่เงียบสงบกันอยู่ตลอดมานี้ก็เพราะเห็นว่าสังคมไทยต้องเดินไปตามวงเวียนกรรมของตนเองเสียก่อนที่จะเกิดความเข้าใจทะลุปรุโปร่งว่าทุกข์ทางการเมืองในขณะนี้เกิดจากอะไร ผิดหวังอีกสักรอบหนึ่งอาจจะเป็นการศึกษาที่ดีว่า


การต่อสู้ตามสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ กับการลดความเป็นมนุษย์ของตนเองลงเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่เราต้องการนั้น มีความแตกต่างกันนักหนา การต่อสู้ย่อมเหนื่อยยาก ยาวนาน แต่ยั่งยืน การขอร้องนั้นเร็วทันใจและดูเหมือนได้ผล แต่เขาจะเอากลับคืนไปอีกเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อใดก็ตามในระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ อำนาจสูงสุดที่เป็นของปวงชน เสรีภาพส่วนบุคคล สังคมเสมอภาค หลักกฎหมาย และผู้ใช้อำนาจรัฐที่มา


จากการเลือกตั้ง แต่สังคมของเรามีคนมากมายและหลากหลาย กว่าจะเกิดแนวคิดที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันอย่างที่เรียกว่าฉันทามตินั้น บางครั้งต้องยอมให้เจ็บตัวบ้าง เหมือนเด็กเล็กที่ต้องหกล้มสักครั้งสองครั้งก่อนจะเรียนรู้ว่าพื้นคอนกรีตนั้นมันแข็งและไม่ควรปล่อยตัวให้หกล้ม พลังประชาธิปไตยที่รอคอยอย่างเงียบสงบในกระบวนการถวายฎีกา รู้ดีว่าเรื่องนี้เป็นการศึกษาของสังคม โอกาสที่จะได้มาซึ่งทางออกอย่างยั่งยืนและระบอบประชาธิปไตยแท้จริงด้วยวิธีการอย่างนี้แทบจะไม่เห็นทาง แต่ก็ต้องให้สาธุชนทั้งหลายรู้เองด้วย


ประสบการณ์ส่วนตัว บอกล่วงหน้าไม่ได้ คนกำลังหลงใหลอะไร อย่าไปขัดคอขัดใจให้เกิดโกรธเคืองกันเลยครับ ความหลงถูกทำลายได้ไม่ยากด้วยความจริง เราไม่ควรห่วงใยจนเกินเหตุนัก ความจริงที่ว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยไม่เป็นที่พึ่งที่หวังได้เลยสำหรับฝ่ายประชาธิปไตย เพราะใช้เวลาตลอดชีวิตในการบดขยี้ทำลายล้างให้เป็นภัสมธุลี ด้วยความโหดเหี้ยมอำมหิตเหลือที่จะกล่าวนั้น เป็นความจริงที่เจ็บปวด ฝ่ายเสื้อแดงและเสื้อขาวอีกเป็นจำนวนมากยังปลงใจเชื่อไม่ได้ และยังฝันว่าระบอบอำมาตยาธิปไตยเป็นคำตอบที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยสถิตสถาพรได้ สมการง่ายๆ ว่าฝ่ายอำมาตย์คือผู้ทำลายประชาธิปไตย และ


ประชาธิปไตยจะเกิดและอยู่ถาวรได้ในประเทศนี้ต่อเมื่อฝ่ายอำมาตย์ต้องพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด ยังไม่ใช่สมการที่ผู้คนส่วนใหญ่หรือจำนวนมากพอเข้าใจและยอมรับ เราจึงต้องใจเย็น ผมถูกป้ายสีมาตั้งแต่ออกจากเมืองไทยว่า เป็นคนประเภทใช้กำลัง เพราะไปเอ่ยถึงเรื่องการจัดตั้งกองกำลังเพื่อเตรียมสู้รบกับฝ่ายอำมาตย์ในการให้สัมภาษณ์ ทั้งๆ ที่พูดสื่อความหมายในทางตรงข้ามว่า ฝ่ายอำมาตย์ไม่ควรบีบบังคับฝ่ายประชาชนให้ถึงขั้นคิดใช้และจัดตั้งกองกำลังเลย พูดเตือนสติกับสุนัขบ้าที่กำลังน้ำลายฟูมปาก มันก็กัดเข้าให้


ขณะนี้ได้นำบทเรียนนี้มาขบคิดใคร่ครวญและฉีดวัคซีนรอบสะดือไว้แล้วเรียบร้อยโรงเรียนไทยแล้วครับ อย่าได้เป็นห่วง เชื่อเถิดว่า ความวุ่นวายในหมู่อำมาตย์จนชีวิตกลายเป็นจลาจลในขณะนี้ จะเป็นคุณอย่างมากต่อการยอมรับความจริงที่หลีกเลี่ยงมิได้ของฝ่ายประชาธิปไตย ไม่เกินจริงเลยที่จะบอกว่าถวายฎีกาแล้วจะเกิดปฏิกิริยาอย่างหนักหน่วงจากฝ่ายอำมาตย์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก หนึ่ง-อำมาตย์ใหญ่และคนวงใน จะ


ทำท่าเงียบเฉยจนดูเหมือนให้ความร่วมมือ แต่รอเวลาที่จะตลบหลังเปลี่ยนฉากทำให้คนเสื้อแดงและฝ่ายประชาธิปไตยกลายเป็นผู้ร้ายไป สอง-อำมาตย์ระดับกลางและระดับปฏิบัติการจะวิ่งวุ่น แสดงออกโต้งๆ เลยว่าไม่สามารถอดทนต่อกระบวนการถวายฎีกาของคนเสื้อแดงได้ เพราะรู้ดีว่ากำลังเสี่ยงภัยมหาศาล ถ้าอำมาตย์ใหญ่เกิดรับลูกฝ่ายประชาธิปไตยขึ้นมา จะจริงใจหรือไม่ก็ช่างเถิด ตัวเองอาจถูกจับบูชายัญแทนเจ้า


นายผู้เป็นอำมาตย์ใหญ่ที่หาทางลงไม่ได้ หรือถ้าอำมาตย์ใหญ่วางแผนตลบหลังคนเสื้อแดงเสียเอง ก็จะได้หน้าว่าออกมาช่วยอำมาตย์ใหญ่ตั้งแต่ต้นเราจึงเห็นหน้าของคุณบวรศักดิ์ อุวรรณโณ คุณอานันท์ ปันยารชุน คุณสุรพล นิติไกรพจน์ ฯลฯ ในบัดนี้ เพราะเป็นฤดูกาลหาเสียงของฝ่ายอำมาตย์เขา ไม่มีทางเลยที่วิกฤติการเมืองครั้งนี้จะจบลงด้วยความยอมรับนับถือในทัศนะของประชาชน เพราะหากมี DNA ประชาธิปไตยอยู่ในตัวบ้าง


คงไม่จุดไฟเผาเมืองตัวเองจนเป็นจุลมหาจุลอย่างนี้มาแต่ต้นการปะทะระหว่างกลุ่มมวลชนเป็นไปได้ ตั้งแต่ปะทะใหญ่โตเป็น ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จนถึงปะทะน้อยๆ แต่สร้างภาพให้น่าสะพรึงกลัวในโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ และเว็ปของฝ่ายอำมาตย์ จนประชาชนทั่วไปรู้สึกว่าสถานการณ์ไร้การควบคุม และยอมให้จัดตั้งรัฐบาลพิเศษขึ้นมาปกครองในรูปแบบที่ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๖ คนเสื้อแดงถูกทำลายภาพลักษณ์จนกลายเป็นผู้ร้าย คิดโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยฎีกาที่ยกขบวนกันไปยื่น ทำลายชื่อเสียงกลางเมืองกันอย่างนั้นก็เป็นไปได้


และจนถึงใช้วิธีรัฐประหาร ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน เพราะกองทัพเป็นเครื่องมือชิ้นเดียวที่ยังไม่ออกมาแสดงท่าทีในเรื่องฎีกา อาจจะรอทำผลงานทีเดียวหลังจากที่กลไกอื่นๆ ทำลายภาพลักษณ์ของฝ่ายประชาธิปไตยจนย่อยยับแล้ว เหมือนใช้วิทยุยานเกราะ หนังสือพิมพ์อย่างดาวสยามและบางกอกโพสต์ก่อนเหตุการณ์โหดเหี้ยม ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ จนนักศึกษาในที่ชุมนุมกลายเป็นญวนเป็นแกว และคิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเมืองไทยด้วยกำลังอาวุธ


ละครแบบนี้เล่นมาหลายรอบแล้ว และเขาก็เชื่อมั่นว่ายังได้ผล เมื่อเขายังเชื่อมั่นอย่างนั้น เราก็ต้องระมัดระวัง บทความที่เขียนอยู่นี้ยังไม่รู้ว่าจะได้ลงพิมพ์ทันเวลาหรือไม่ แต่บอกไว้ตรงนี้ว่าอะไรที่พลาดมาจาก ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ เราจะนำมาเป็นบทเรียนและทำเสียให้แตกต่างในครั้งนี้ เลิกเอาไข่ใส่ในตะกร้าเดียวกันเหมือนที่มั่นใจว่ามีเสียงในสภาผู้แทนราษฎรเหลือเฟือ และลืมสร้างกลไกอื่นๆ นอกสภาเอาไว้สู้ กลับ


มาสนับสนุนขบวนการและกลุ่มประชาธิปไตยเสื้อแดงและเสื้อขาวที่กระจายกำลังกันอยู่แล้วทั่วประเทศและทั่วโลกอย่างเต็มที่ เพราะเขาคือพระเอกนางเอกตัวจริง คนที่เป็น ส.ส. และคนที่อยากเป็น ก็เข้าช่วยเขาในเขตนั้นๆ ด้วยกำลังปัญญา กำลังทรัพย์ และกำลังใจ โดยใช้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเข้าไปสมทบ อารยะขัดขืน เอามาใช้ให้เต็มที่ และรัฐบาลพลัดถิ่น ต้องตั้งขึ้นมาสวนควันปืนทันที เรื่องอื่นๆ ขอเก็บไว้หน่อย ปล่อยให้ (อำมาตย์) งง. -------------------------------

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มาร์คถกเครียด ชวน-บัญญัติ-นิพนธ์ ที่พรรค ริอาจฝืนลิขิตฟ้า ลักไก่เสนอชื่อ"ปทีป"ผบ.ตร.คนใหม่แทน จุมพล


ข่าวสด : เมื่อเวลา 06.50 น.
วันที่ 21 ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางออกจากบ้านพัก ซ.สุขุมวิท 31 มุ่งหน้าไปยังบ้านพักของนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ ซ.สุขุมวิท 53 ด้วยสีหน้าเคร่งเครียด คาดว่าหารือเรื่องปัญหาการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่หลังจากเมื่อวานนี้ยังไม่ข้อยุติ โดยมีกระแสข่าวว่ากรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติหลายคนไม่เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เพียงชื่อเดียว

ต่อมาเวลา 08.00 น. นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อพบผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อสื่อซักถามถึงตำแหน่งผบ.ตร.คนใหม่ นายกรัฐมนตรีตอบว่าไม่ยุ่งเรื่องผบ.ตร.แต่ยุ่งเรื่องอื่นอยู่ และเมื่อสื่อถามว่ายุ่งเรื่องยุบสภาหรือ นายกรัฐมนตรีตอบกลับว่า ช่างคิดจริงนะ
ภายหลังนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์อีกครั้งโดยปฏิเสธกระแสข่าวยุบสภาว่าเป็นเพียงแค่ข่าวลือ ยืนยันว่าไม่มี ส่วนกรณีที่งดประชุมสภาในวันนี้ ตนไม่ทราบขอให้สื่อมวลชนไปถามประธานสภากันเอง เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามถามต่อ นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธโดยระบุว่าให้ไปที่โรงแรมพล่าซาแอทธินีดีกว่าเพราะมีเวลาเยอะ

จากนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้เดินทางมายังโรงแรมพล่าซาแอนธินี แต่เมื่อปาฐกถาเสร็จ นายอภิสิทธิ์ ได้หลบผู้สื่อข่าวออกจากอีกช่องทางหนึ่ง โดยไม่ยอมให้สัมภาษณ์ใดๆ และเดินทางมาที่พรรคประชาธิปัตย์ในเวลา 11.10 น. เมื่อมาถึงได้มีกลุ่มส.ส.ที่เห็นด้วยกับนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป ประมาณ 20 คนตั้งแถวต้อนรับให้กำลังใจ พร้อมทั้งปรบมือ บอกให้สู้ๆ ทำให้นายอภิสิทธิ์ มีสีหน้าแจ่มใสขึ้นและยิ้มอย่างอารมณ์ดี โดยแซวส.ส.ที่มาให้กำลังใจว่า ไม่มีประชุมสภา ไม่มีที่ไปเลยมาที่นี่กันใช่หรือไม่ จากนั้นนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วน เข้าไปให้กำลังใจ

เมื่อผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามนายกฯถึงตัวผบ.ตร.คนใหม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหาอะไร สบายดี ก่อนจะรีบขึ้นไปยังห้องทำงานที่อาคารควง อภัยวงศ์ โดยก่อนหน้านี้นายชวน และนายนิพนธ์ ได้ขึ้นไปรออยู่แล้ว ต่อมาเวลา 11.25 น. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้เดินทางมาสมทบ ส่วนบรรยากาศที่พรรคมีส.ส.ทยอยเดินทางเข้ามาจำนวนมาก

ก่อนหน้านี้เวลา 10.10 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ได้ร่วมหารือกับพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร. และพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฐฎ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ที่เดินทางมารอพบตั้งแต่เวลา 09.30 น. ทั้งนี้ นายชวน ให้สัมภาษณ์ก่อนการหารือถึงนายอภิสิทธิ์ ถูกหักหน้าจากการโหวตเลือกผบ.ตร.ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คิดว่านายกฯคงคาดไม่ถึง แต่เชื่อนายกฯเข้มแข็งและจะผ่านไปได้ ส่วนที่กังวลว่าเรื่องนี้จะส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อมในพรรค ตนคิดว่าคงไม่มี เพราะถึงอย่างไรส.ส.ให้กำลังใจเป็นการภายในอยู่แล้ว และขอให้ทุกคนช่วยกันทำหน้าที่ เมื่อถามถึงกระแสข่าวยุบสภา นายชวน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่อง นายชวน กล่าวว่า ไม่ทราบเรื่อง

นายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย คัดค้านการเสนอของนายอภิสิทธิ์ ที่เสนอชื่อพล.ต.อ.ปทีป เป็นผบ.ตร.คนใหม่ ในที่ประชุมก.ต.ช.ว่า เป็นการไม่ให้เกียรติ ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ไม่เคยแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือยุ่งเกี่ยวกับโยกย้ายในกระทรวงมหาดไทย แต่พอนายอภิสิทธิ์ เสนอชื่อคนที่จะมาเป็นผบ.ตร.บ้าง นายชวรัตน์กลับคัดค้าน ถือไม่ให้เกียรติทางการเมืองเป็นอย่างมาก

ภายหลังนายอภิสิทธิ์ เปิดเผยว่า ยังไม่กำหนดว่าจะประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) เมื่อไร เนื่องจากกรรมการบางคนติดภารกิจไปต่างประเทศ ยืนยันว่าตนไม่ได้ถูกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายเนวิน ชิดชอบ กดดนแต่อย่างใด และเชื่อว่าหากได้คุยกับนายชวรัตน์ก็จะมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน

วิกฤติการเมืองไทยจะถลำลึกกว่านี้ถ้ายื่นถวายฎีกา กระนั้นหรือ???


วันศุกร์ 21 สิงหาคม 2009 — chapter 11
SCENARIOS: Will Thaksin petition deepen Thai political crisisBy Martin Petty, August 17, 2009ที่มา – Reutersแปลและเรียบเรียง – chapter 11
กรุงเทพ – ผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มากกว่า ๒๐,๐๐๐ คน ได้ชุมนุมในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ใจกลางกรุงเทพเมื่อวันจันทร์ และยื่นฎีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษให้กับมหาเศรษฐีที่กำลังลี้ภัย

แผนการการยื่นถวายฎีกาได้สร้างความหวาดกลัวว่า จะทำให้วิกฤติทางการเมืองของไทยที่เกิดขี้นมาในเวลาสี่ปีนี้ต้องตึงเครียดมากขี้น และจะยิ่งทำลายชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพเอื้อต่อการลงทุน และน่าท่องเที่ยว
แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ซึ่งผู้นำส่วนใหญ่เป็นชาวชนบทที่ยากจนได้กล่าวว่า ได้มีประชาชนร่วมลงชื่อการยื่นถวายฎีกาถึง ๓.๕ ล้านคน ซึ่งสร้างความโกรธแค้นให้กับพวกคลั่งเจ้าและชนชั้นกลางที่เกลียดทักษิณ

บทความต่อจากนี้ จะเป็นมุมมองของเหตุการณ์ในอนาคตข้างหน้า
ความพยายามที่จะยื่นถวายฎีกาอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่สงบ
การยื่นถวายฎีกาต่อองค์กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชอันเป็นที่เคารพ เป็นการกระตุ้นให้เกิดความเกลียดชังในหมู่คนที่ต่อต้านทักษิณ

การยื่นถวายฎีกาได้ผ่านพ้นไปโดยปราศจากเหตุการณ์ใดๆ แต่โอกาสที่ฝ่ายพันธมิตรคลั่งเจ้าจะออกมาประท้วงในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า เป็นการระคายเบื้องพระยุคลบาท สร้างความน่าสะพรึงกลัวว่าจะมีการปะทะกัน หรือแม้แต่การแทรกแซงของกองทัพ

จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ ฝ่ายพันธมิตรได้สัญญาว่าจะไม่ชุมนุมต่อต้านการยื่นถวายฎีกา โดยกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะขัดขวางในเรื่องนี้

ผู้วิเคราะห์ข่าวส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า การยื่นถวายฎีกาไม่น่าจะก่อให้เกิดสถานการณ์รุนแรง
พวกเขากล่าวว่า จุดประสงค์ที่อยู่เบื้องหลังการยื่นถวายฎีกานี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงแรงสนับสนุนจำนวนมหาศาลที่มีต่อทักษิณ เพื่อให้กระแสการเคลื่อนไหวยังคงมีอย่างต่อเนื่อง พวกเขามองว่าโอกาสที่ทักษิณที่กำลังลี้ภัยจะได้รับการประทานอภัยโทษนั้นมีน้อยมาก ซึ่งทักษิณยังคงยืนยันว่า การถูกตัดสินว่ากระทำผิดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง

นายวีระ ประทีปชัยกูร บรรณาธิการหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เขียนไว้ว่า “ไม่สำคัญว่าทักษิณจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ แต่ที่สำคัญที่สุด จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความนิยมที่ยังมีต่อทักษิณอย่างมาก”

นักลงทุนในตลาดหุ้นต่างเป็นกังวลล่วงหน้าก่อนที่จะมีการชุมนุมในวันจันทร์ แต่การที่หุ้นตกในวันนั้นเป็นเพราะปัจจัยอื่น ในขณะที่การยื่นถวายฎีกายังไม่เสร็จสิ้น ตลาดหุ้นจะยังมีราคาที่ผันผวนต่อไป
อภิสิทธิ์รวบรวมเสียงสนับสนุนจากชาวชนบท เพือรักษาอำนาจ

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนำแผนกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้แผนแล้วแผนเล่า โดยตั้งเป้าจะเอาชนะใจคนยากจนชาวชนบท ซึ่งเป็นฐานเสียงของทักษิณ โดยมุ่งหวังจะรักษาอำนาจ และเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่จะได้คะแนนเสียงนำพรรคเพื่อไทยที่นิยมทักษิณ

ดูเหมือนอภิสิทธิ์ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขี้น แต่ความพยายามที่จะเพิ่มเสียงสนับสนุนจากคนยากจนดูเหมือนจะไม่ได้ผลนัก พวกเขาเหล่านั้นยังคงนิยมในตัวทักษิณ เนื่องจากนโยบายประชานิยมที่ทักษิณได้ทำไว้ในสมัยเป็นนายก

รศ. ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล ภาควิชารัฐศาสตร์ กล่าวว่า “อภิสิทธิ์รู้ดีว่าเป็นเรื่องสำคัญเพียงใดในการที่จะดึงฐานเสียงของทักษิณ และความพยายามที่จะเลียนแบบนโยบายประชานิยม”
“แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าคนยากจนยังมองไม่เห็นผลจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่อภิสิทธิ์ได้สัญญาไว้ พวกเขาคงไม่เปลี่ยนใจ”

ถ้าการเมืองไทยยังคงอยู่ในทางตันแบบนี้ ราคาในตลาดหุ้นไทยยังคงได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในเอเซีย

ถ้ามีการเลือกตั้ง พรรคนิยมทักษิณจะนอนมา
อภิสิทธิ์ปฎิเสธที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่จนกระทั่งเศรษฐกิจฟื้นตัว และจนกว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นักวิจารณ์กล่าวว่า อภิสิทธิ์กำลังซื้อเวลาเพื่อหาทางที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์มีฐานเสียงที่แข็งแกร่งมากขี้น
เอแบคโพล สำรวจความเห็นมาสองครั้งเผยว่า อภิสิทธิ์มีความสามารถน้อยกว่าทักษิณ ซึ่งความนิยมของทักษิณจะช่วยให้พรรคเพื่อไทยกลับมาชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้า แม้จะไม่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากอย่างเบ็ดเสร็จ

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (scenario) ต่อไปนี้จะนำไปสู่ความวุ่นวายมากขี้น เนื่องจากหลายๆกลุ่มที่ต่อต้านทักษิณไม่ยอมรับรัฐบาลอันเสมือนเป็นตัวแทนของอาชญากรที่กำลังหลบหนี และพวกเขาเชื่อว่าเป็นการท้าท้ายต่อระบอบกษัตริย์

ด้วยภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดหุ้นร่วง
สถานการณ์ที่ต่างคนต่างคุมเชิง, การยึดอำนาจของกองทัพ
ดูเหมือนว่าไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในขั้นนี้ แต่จะตัดการทำรัฐประหารโดยกองทัพทิ้งออกไปเลยก็ไม่ได้ สำหรับประเทศที่มีประชาธิปไตยอย่างลุ่มๆดอนๆ และมีการทำรัฐประหารหรือพยายามที่จะทำรัฐประหารถึง ๑๘ ครั้ง ในรอบ ๗๗ ปี

กระแสข่าวลือเรื่องรัฐประหารยังคงวนเวียนอยู่ และนักวิเคราะห์กล่าวว่า อภิสิทธิ์ยังคงได้รับการหนุนหลังจากกองทัพที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองและกระหายอำนาจ และยังคงบงการอภิสิทธิ์ได้อยู่
จาคอบ แรมเซย์ นักวิเคราะห์จากคอนโทรลริสค์กล่าวว่า “มุมมองจากวงในยังคงเห็นว่า อภิสิทธิ์จะยังได้รับการหนุนหลังจากทหาร เพราะทหารยังไม่สามารถหาคนมาแทนได้”

ภาพที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนี้ ย่อมเป็นการฝืนความต้องการของสังคม หลังจากการทำรัฐประหารปล้นอำนาจของทักษิณในปี พ.ศ.๒๕๔๙ กองทัพยังคงอยู่เบื้องหลังของรัฐบาลมือสมัครเล่นชุดนี้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกู้ความมีเสถียรภาพหรือ

อภิสิทธิ์กล่าวว่า เขามีความมุ่งมั่นที่จะให้มีการสมานฉันท์แห่งชาติ แต่ดูเหมือนว่าแต่ละฝ่ายต่างไม่ยอมรอมชอมกัน และเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขี้นได้ในเร็ววันนี้

คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ส่งมอบรายงานต่อรัฐสภา ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายต่อต้านทักษิณจะไม่เห็นด้วยกับความพยายามของฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ที่จะให้มีการนิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบถึงสองพรรค
ยูเรเซียกรุ๊ป (Eurasia Group) ได้ส่งรายงานถึงลูกค้าว่า “จะต้องได้รับการเห็นชอบจากกองทัพ ราชวงศ์ และศักดินาในกรุงเทพ”

“นับว่าเป็นเรื่องยากสำหรับกำลังฝ่ายต่อต้านทักษิณ เนื่องจากพวกนี้เป็นกังวลว่าถ้ามีการยินยอม จะเป็นการนำไปสู่การตั้งรัฐบาลของฝ่ายนิยมทักษิณ และยิ่งประวัติการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์ที่ขาดความสามารถในการบริหารงาน”

มติจากมหาชนในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้จะเป็นหนทางอีกยาวไกล ซึ่งจะช่วยรักษาความแตกแยกในทางการเมือง ถ้ามีการแก้ไขตลาดหุ้นจะขานรับด้วยความยินดี แต่จะไม่เป็นเช่นนั้น ถ้าผลที่ได้คือรัฐบาลเงาของทักษิณ

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ฎีกา ใครจะรับไว้เองก็ตามใจ

ที่มา thaifreenews
โดย ปลายอ้อกอแขม
”ฎีกา” ใครจะรับไว้เองก็ตามใจ...

ความยิ่งใหญ่อลังการระดับงานสร้าง กับพิธีการทูลเกล้าถวายฎีกาของคนเสื้อแดง ณ ประตูวิเศษไชยศรีเมื่อช่วงเที่ยงๆของวันที่ 17 สิงหานี้ ..สุดยอด !เห็น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนเสื้อแดงจำนวนหลายหมื่นจากทั่วสาระทิศ ที่มารวมตัวกันตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 16 สิงหา

เห็นการตั้งแถวเป็นริ้วขบวนเคลื่อนตัวไปยังพระบรมมหาราชวังอย่างพร้อมเพรียง สวยงาม เห็นภาพการ “หาม”กล่องใส่ฎีกา 2 คนต่อ 1 กล่องที่เป็นขบวนยาวเหยียด เป็นภาพที่ผมคิดว่าหาไม่ได้แล้วอีกแล้ว ..งามจริงๆทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นจากพลังของมหาประชาชน ..ของจริง !เห็น พูดๆกันว่า ตามขั้นตอนเมื่อสำนักราชเลขาฯรับไปแล้ว

ก็ต้องส่งให้รัฐบาลตรวจสอบก่อน จากนั้นรัฐบาลก็จะส่งฎีกากลับคืนสำนักพระราชฯพร้อมห็นประกอบ แต่ไม่มีสิทธิ์จะดองฎีกาไว้ จากนั้นเมื่อสำนักราชฯได้ความเห็นคืนมาแล้ว ก็จะส่งต่อให้องคมนตรีอีกทอดหนึ่ง ..เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯมี หลายคนถามว่า ตอนที่ฎีกาของอาจารย์จุฬาฯ และฎีกาของนายสนธิที่บุกไปถวายฎีกาตอน 3 ทุ่มในคราวนั้น

สำนักราชเลขาฯได้ทำ “ขั้นตอน”อย่างนี้หรือไม่ และคำถามก็คือรัฐบาลในตอนนั้น ได้มีการตรวจสอบฎีกาหรือไม่ ..ผมไม่รู้ !แต่ ที่รู้ ก็คือ ฎีกาทั้ง 2 ฉบับ ส่งไปถึงมือองคมนตรีอย่างแน่นอน พล.อ.เปรมยอมรับเองเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งถ้าฎีกาทั้ง 2 ฉบับถึงมือองคมนตรีได้ ก็แสดงว่ารัฐบาลทักษิณในตอนนั้น ไม่ได้สะกัดขัดขวางฎีกาเลย ทั้งที่ฎีกานั้นมีเนื้อความที่ร้ายตนเอง ..นี่ซิ คนจริง ! แต่ถ้าไม่จริงดังที่สำนักราชเลขาฯกล่าว อ้าง ก็เป็นเรื่องน่าคิด แต่อย่างไรเสีย ความจริงก็คือความจริง

วันหนึ่งมันต้องเปิดเผยออกมาอย่างแน่นอน ..เหมือนทุกเรื่อง!แต่ วันนี้ คนเสื้อแดงได้ยื่นฎีกาไปแล้ว จุดหมายก็เพื่อทูลเกล้าถวายพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ไม่ใช่สำนักราชเลขาฯ ไม่ใช่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ไม่ใช่องคมนตรี ..จึงไม่คิดว่าใครหน้าไหนจะบังอาจตัดตอนฎีกา !การถวายฎีกา เป็นเรื่องของพสกนิกรที่ต้องการบอกเล่าถึงความทุกข์ร้อนแสนสาหัสของตนเองกับ พระเจ้าอยู่หัวของเขาตามโบราณราชประเพณี พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้นที่จะดับทุกข์เข็ญได้

เหตุที่ไม่ร้องทุกข์กับรัฐบาล เพราะรัฐบาลได้ประกาศเป็นศัตรูกับคนเสื้อแดงเสียเอง ..ก็รู้ๆกันอยู่โปรด รับรู้ว่าฎีกานี้ คนเสื้อแดงส่งขึ้นทูลเกล้าถวาย ใครอย่ามาทำตัวเสมอด้วยพระองค์รับฎีกาเก็บเอาไว้ หากคิดจะทำอย่างนั้น ก็ตามใจ ..แล้วจะว่าไม่เตือน !และโปรดรับรู้อีกอย่างว่า คนเสื้อแดงเหล่านี้ เทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงได้ทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระองค์ ..รู้ไว้ด้วย !!!