--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ศาล รธน.ไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญที่นำทูลเกล้าฯ !!?

โดยสมลักษณ์ จัดกระบวนพล

 อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช. อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชาระบบศาล และการพิจารณาคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โต้แย้งต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้

"ผู้เขียนได้พิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบเจตนารมณ์ของ ส.ส.ร.ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว มีความเห็นโดยสุจริตใจว่า

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ที่มีการแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา เพราะว่า เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติไว้เป็นเฉพาะในหมวด 15 มาตรา 291 สรุปได้ว่า การพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องมีการพิจารณาโดยที่ประชุมร่วมของทั้ง 2 สภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 136 (16) และไม่มีบทบัญญัติมาตราใดในหมวดนี้ที่บัญญัติให้ทำร่างที่แก้ไขเพิ่มเติมไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบก่อน ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ

หากเป็นร่างกฎหมายอื่นที่มิใช่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หากกฎหมายรัฐธรรมนูญต้องการให้มีการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เช่น ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบเสียก่อนภายใน 30 วัน ตามมาตรา 141 หรือกรณีที่เป็นร่าง พรบ.อื่นๆ ในกรณีที่สมาชิกของทั้ง 2 สภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนทั้งหมดเห็นว่าร่าง พรบ.ดังกล่าวมีความขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ สามารถเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่าง พ.ร.บ.นั้น ได้ตามมาตรา 154 วรรค 2

จะเห็นได้ว่ากรณีที่รัฐธรรมนูญต้องการให้ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้ชัดเจน ส่วนเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การออกแบบกฎหมายรัฐธรรมนูญให้มีรูปร่าง สาระสำคัญ อย่างไร จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ 40 ส.ว. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นกรณีที่ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงเข้ามาในอำนาจนิติบัญญัติ ขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ เป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด

2.กระบวนการที่ยื่นคำร้องตามมาตรา 68 ไม่ถูกต้อง เพราะไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดก่อนตามมาตรา 68 วรรค 2 เรื่องนี้เป็นประเด็นที่รัฐสภากำลังดำเนินการแก้ไขมาตรา 68 ให้มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะตามเจตนารมณ์ของ ส.ส.ร. ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้บัญญัติเรื่องการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญไว้ตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งเป็นเรื่องการกระทำของบุคคลหรือพรรคการเมือง มิใช่การกระทำของรัฐสภา แต่เมื่อมีบุคคลธรรมดายื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ผ่านการตรวจสอบของอัยการสูงสุด

ศาลรัฐธรรมนูญก็ตีความแบบขยายความ รับคำร้องจากบุคคลธรรมดา โดยตนเองไม่มีอำนาจ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์เดิมของการร่างกฎหมายฉบับนี้เพราะเป็นการนำอำนาจนิติบัญญัติไปให้ฝ่ายตุลาการวินิจฉัย โดยไม่มีบทบัญญํติกำหนดให้อำนาจไว้ในรัฐธรรมนูญ และไม่กระทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ผ่านอัยการสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 2 เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญกระทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง

3.ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ 40 ส.ว. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นั้น เกินกำหนดเวลาที่ศาลจะรับไว้พิจารณาแล้ว เพราะนายกรัฐมนตรีได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว เพราะการนำร่างกฎหมายส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 141 และ 154 เขียนไว้โดยชัดแจ้งว่า จะต้องดำเนินการ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ในกรณีร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายกรัฐมนตรีได้นำร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 120 วันนับแต่ได้รับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจากรัฐสภา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 150 ครบถ้วนแล้ว ฉะนั้น นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจึงเป็นผู้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญโดยเคร่งครัดตามมาตรา 281 (7) ประกอบมาตรา 150

4.เป็นคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยว่าผู้ถูกกระทำ กระทำผิดมาตรา 68 วรรค 1 แต่ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องกระทำการแก้ไขอย่างไรตามวรรค 2 เป็นเหตุให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นรัฐสภา, นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป ซึ่งโดยหลักแล้วเมื่อมีการล้มล้างการปกครองตามวรรค 1 หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ามีการกระทำดังกล่าวจริง ต้องมีคำสั่งให้เลิกดำเนินการตามวรรค 2 แต่คำวินิจฉัยในเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ปรากฏว่าศาลมิได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ได้แก่ รัฐสภา หรือนายกรัฐมนตรีจะต้องปฏิบัติอย่างไร

5.ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 216 วรรค 5 กล่าวคือ เมื่อเป็นการวินิจฉัยโดยศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้อง จึงเป็นคำวินิจฉัยที่มิชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรของรัฐอื่นๆ ตามมาตรา 136 วรรค 5

การวินิจฉัยที่ผิดพลาดของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น มีผู้นำคำวินิจฉัยนี้อ้างเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ของมวลชน ว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรม เพราะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งๆ ที่เป็นกรณีที่ฝ่ายตุลาการเข้าไปก้าวล่วงนิติบัญญัติ เพราะถ้าศาลมีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว บุคคลที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใดๆ ก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทุกระยะไป ไม่ว่าในวาระ 1 วาระ 2 วาระ 3 ผลแห่งการนี้จึงดูเสมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญคุมอำนาจในการร่างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาไว้อย่างเบ็ดเสร็จ"

ที่มา:มติชน
------------------------------------------------

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรรพากรเล็ง หมอ-ครูกวดวิชา รายได้สูงแต่เสียภาษีไม่ครบ ชงรัฐบาลใหม่กวาดเข้าระบบ !!

สรรพากรเดินหน้าขยายฐานภาษี พบหลายอาชีพรายได้สูงแต่กรอบคำนวณภาษีไม่ชัด ทำให้เกิดการหลบเลี่ยง จับจ้องกลุ่มแพทย์-แม่ค้า-ครูกวดวิชา-นายหน้าประกัน

นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมผู้มีรายในกลุ่มอาชีพอื่นๆ นอกเหนือจากที่มีผู้ยื่นแบบในปัจจุบัน 10 ล้านราย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้อิสระ และที่ยังไม่เข้ามาอยู่ในระบบ ทั้งที่มีรายได้ถึงเกณฑ์หรือตั้งใจจะหลบเลี่ยงภาษีภาษี เพื่อเตรียมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาเห็นชอบต่อไป โดยกลุ่มที่กำลังพิจารณา เช่น กลุ่มแม่ค้า-พ่อค้า ร้านอาหาร ตามตลาดนัด ตลาดสด ซึ่งปัจจุบันบางแห่งได้เสียเงินในรูปแบบค่าธรรมเนียม โดยมีเทศกิจเป็นผู้จัดเก็บเป็นรายวัน ซึ่งกลุ่มนี้ยอมรับว่าค่อนข้างยากเพราะต้องพิจารณาด้วยว่ามีที่ค้าขายเป็น หลักแหล่งอย่างไรและเจ้าหน้าที่สรรพากรเองอาจจะเข้าไม่ถึงคนกลุ่มนี้ จึงอาจต้องหาวิธีประเมินเพื่อจัดเก็บภาษีที่ต่างจากการยื่นแบบปกติ

นายสุทธิชัยกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มแพทย์ ที่อาจมีกรอบรายได้ในการยื่นเสียภาษีไม่ครบถ้วน เพราะหากพิจารณาดูการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน พบว่าทำหน้าที่เหมือนกับอพาร์ตเมนต์ในการให้เช่าบริการทางการแพทย์ ทั้งห้องผู้ป่วย เครื่องมืออุปกรณ์ ห้องผ่าตัด เพื่อจ่ายให้กับแพทย์ผู้มารักษา แต่โรงพยาบาลเหมือนกับทำหน้าที่จำหน่ายยารักษาโรคเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นการทำสัญญาระหว่างหมอกับโรงพยาบาล จึงต้องศึกษาแนวทางดูว่าจะเก็บภาษีจากกลุ่มแพทย์อย่างไร นอกจากนั้น ยังมีการตั้งคณะบุคคลขึ้นมากระจายการเสียภาษีออกไปให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ด้วย โดยการแก้ไขกฎหมายในเรื่องดังกล่าวยังไม่ผ่านสภาทำให้ปีนี้กรมฯจะเข้มงวดใน การตรวจสอบการยื่นแบบของกลุ่มอาชีพนี้เป็นพิเศษ

นอกจากนั้น กลุ่มที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ กลุ่มอาจารย์ที่สอนในโรงเรียนกวดวิชา ที่นับว่าเป็นกลุ่มมีรายได้สูงและพยายามจะเข้าไปตรวจสอบการเสียภาษี แต่ก็ถูกคัดค้านมาโดยตลอด เพราะปัจจุบันโรงเรียนกวดวิชาได้รับการยกเว้นภาษีรายได้จากการประกอบธุรกิจ ด้านการศึกษา ตามกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการ

"การสอนในโรงเรียนกวดวิชาบางแห่งใช้วิดีโอจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง เพื่อส่งไปเปิดตามโรงเรียนกวดวิชาต่างจังหวัดด้วยซ้ำ กรมจึงจะเข้าไปดูส่วนของรายได้ของอาจารย์กวดวิชาแทนที่จะดูจากตัวสถาบันกวด วิชาว่ามีการแจ้งเสียภาษีถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ คาดว่าในส่วนนี้น่าทำได้จริงในปีหน้าหลังจากที่กรมพยายามมานาน" นายสุทธิชัยกล่าว และว่า ยังมีกลุ่มตัวแทนนายหน้าขายประกัน แม้ว่าได้จดทะเบียนเป็นคณะบุคคล แต่หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยังมีผู้หลีกเลี่ยงด้วยแนวทางต่างๆ จึงต้องหาแนวทางดูแลให้ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น

ที่มา : นสพ.มติชน
-----------------------------------

เปิดโฉม 61 พรรคการเมือง มีสิทธิส่งส.ส.

โดย : ธวัชชัย อินทรประดิษฐ์

ส่งผู้สมัครชิงเก้าอี้ ส.ส. 2 ก.พ.57

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั่วไป คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดไว้ในวันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ.2557 และทางกกต.ได้กำหนดเปิดรับสมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ระหว่างวันที่ 23-27 ธ.ค.นี้ ส่วนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง รับสมัครระหว่าง วันที่ 28 ธ.ค.- 1 ม.ค. 2557 กำหนดเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 ม.ค.

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเก่าแก่อย่าง "ประชาธิปัตย์" ได้มีมติเอกฉันท์ว่า จะไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง โดยอ้างเหตุผลว่าการเมืองได้อยู่ในภาวะล้มเหลวไม่ต่ำกว่า 8-9 ปี กระบวนการประชาธิปไตยได้ถูกบิดเบือนโดยคนบางกลุ่ม ทำให้ประชาชนขาดศรัทธาระบอบการเมืองและการเลือกตั้ง หากสภาพดำรงต่อไป การเมืองไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีการปฏิรูป ก็จะตกในความขัดแย้งเสี่ยงต่อความรุนแรงและการทุจริตคอร์รัปชัน พรรคจึงต้องการหยุดภาวะการเมืองขณะนี้

แม้พรรคประชาธิปัตย์จะบอยคอตการเลือกตั้ง แต่ "รัฐบาล" ก็ยังยืนยันจะให้มีการจัดเลือกตั้งต่อไป ท่ามกลางความกังวลของ กกต.ที่หวั่นไหวว่าอาจจะเกิดปัญหาความวุ่นวายตามมา

แต่ "กกต." ก็คงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องเดินหน้าจัดการเลือกตั้งต่อไปให้ดีที่สุด

ทั้งนี้ในสารบบพรรคการเมืองไทย เมื่อ"ประชาธิปัตย์"ไม่ลงเลือกตั้ง ก็ยังมีอีกถึง 61 พรรค ที่สามารถส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ครั้งนี้ได้

เพราะจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ณ วันที่ 19 ก.ย.2556 พบข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินกิจการอยู่มีจำนวนทั้งสิ้น 64 พรรคการเมือง ประกอบด้วย

พรรคประชาธิปัตย์ พรรคประชากรไทย พรรคกิจสังคม พรรคมหาชน พรรคคนขอปลดหนี้ พรรคกสิกรไทย พรรคเพื่อฟ้าดิน พรรคความหวังใหม่ พรรคประชาราช พรรคดำารงไทย พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย พรรคชาติสามัคคี พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อแผ่นดิน

พรรคชาติพัฒนา พรรคแทนคุณแผ่นดิน พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคอนาคตไทย พรรคธรรมาภิบาลสังคม พรรคมาตุภูมิ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาสันติ พรรคพลังพัฒนา พรรคประชาธรรม พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย พรรคไทยรวมพลัง

พรรคพลังคนกีฬา พรรคเสรีนิยม พรรครักประเทศไทย พรรคไทยพอเพียง พรรคประชาสามัคคี พรรคไทยมหารัฐพัฒนา พรรคเพื่อธรรม พรรคบำรุงเมือง พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรครักษ์สันติ พรรคเพื่อประชาชนไทย พรรคพลังชล พรรคสร้างไทย พรรคยางพาราไทย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคพลังสหกรณ์ พรรคท้องถิ่นไท พรรคพลังเครือข่ายประชาชน

พรรคถิ่นกาขาว พรรคชูชาติไทย พรรคพลังเศรษฐกิจไทย พรรคทวงคืนผืนป่า พรรคพลังอุดร พรรคพลังงานไทย พรรคเพื่อประชาธิปไตย พรรคเสียงประชาชน พรรคพัฒนาคุณภาพชีวิต พรรคไทยถาวร พรรครักไท พรรคชาติประชาธิปไตยก้าวหน้า พรรคเพื่อสันติ พรรคพลังประเทศไทย พรรคไทยรักธรรม พรรคเสรีรวมไทย พรรคอาสาสมัครไทย พรรครักษ์ธรรม พรรครวมพลังไทย พรรคเพื่อชาติ

โดยในจำนวน 64 พรรคการเมืองดังกล่าว มีประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมทั้งสิ้น 5,110,325 คน

พรรคที่มีสมาชิกเกินจำนวนหนึ่ง 100,000 คน มี 4 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ มีสมาชิกพรรคมากที่สุดจำนวน 2,890,232 คน ตามด้วย พรรคมหาชน จำนวน 1,182,742 คน พรรคภูมิใจไทย จำนวน 153,950 คน และ พรรคเพื่อไทย จำนวน 117,955 คน

อย่างไรก็ตาม สำหรับพรรคการเมืองที่นายทะเบียนการเมือง รับจดแจ้งจัดตั้งพรรคแล้ว จะต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 26 โดยจะต้องหาสมาชิกพรรคให้ได้ 5,000 คนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนฯ รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และต้องมีสาขาพรรคอย่างน้อย 4 สาขา ถ้าไม่เป็นไปตามที่กำหนดนายทะเบียนฯ ก็จะเรื่องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง ที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

และจากข้อมูลพบว่า พรรคการเมืองที่ยังมีสมาชิกพรรคไม่ครบ 5,000 คน ซึ่งต้องดำเนินการภายใน 1 ปี มีจำนวน 19 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคชูชาติไทย จดทะเบียนจัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2555 มีสมาชิกพรรคอยู่แค่ 217 คน พรรคพลังเศรษฐกิจไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2555 มีสมาชิกพรรคอยู่ 1,000 คน

พรรคทวงคืนผืนป่า จดทะเบียนจัดตั้งพรรคเมื่อวันที่ 9 ม.ค.2556 มีสมาชิกพรรค 4,372 คน พรรคพลังอุดร จดทะเบียนพรรคเมื่อ 28 ก.พ.2556 มีสมาชิก 516 คน พรรคพลังงานไทย จดทะเบียน เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2556 มีสมาชิก 18 คน พรรคเพื่อประชาธิปไตย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2556 มีสมาชิก 87 คน พรรคเสียงประชาชน จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2556 มีสมาชิก 15 คน

พรรคพัฒนาคุณภาพชีวิต จดทะเบียนเมื่อ 17 เม.ย.2556 มีสมาชิกพรรรค 20 คน พรรคไทยถาวร จดทะเบียนเมื่อ 1 พ.ค.2556 มีสมาชิก 261 คน พรรครักไท จดทะเบียนเมื่อ 15 พ.ค.2556 มีสมาชิก 28 คน พรรคชาติประชาธิปไตย จดทะเบียนเมื่อ 28 มิ.ย.2556 มีสมาชิก 21 คน พรรคเพื่อสันติ จดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2556 มีสมาชิก 16 คน พรรคพลังประเทศไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 31 ก.ค.2556 มีสมาชิก 16 คน

พรรคไทยรักธรรม จดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 ส.ค.2556 มีสมาชิก 16 คน พรรคเสรีรวมไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2556 มีสมาชิก 18คน พรรคอาสาสมัครไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 4 ก.ย.2556 มีสมาชิก 15 คน พรรครักษ์ธรรม จดทะเบียนเมื่อวันที่ 4 ก.ย.2556 มีสมาชิก 15 คน พรรครวมพลังไทย จดทะเบียนเมื่อวันที่ 11 ก.ย.2556 มีสมาชิก 15 คน และ พรรคเพื่อชาติ จดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2556 มีสมาชิก 16 คน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มี 2 พรรคการเมืองคือ พรรคชูชาติไทย กับพรรคพลังเศรษฐกิจไทย อยู่ในข่ายถูกกกต.สั่งยุบพรรค เพราะมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้

ดังนั้น ในการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.2557 จึงมี 61 พรรคการเมืองที่สามารถส่งผู้สมัครลงแข่งขันชิงเก้าอี้ส.ส.ได้

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นักการเมืองเลว ต้องโล๊ะ ทิ้ง !!?

การเมืองไทย วันนี้ ชัดเจนแล้วว่า “จบไม่ลง” ดังนั้น ป่วยการที่จะมาถามกันอีกต่อไปว่า จะจบอย่างไร
ถ้าห่วงกันจริงๆต้องถามแค่ว่า สุดท้ายแล้วประเทศชาติ เศรษฐกิจ สังคม จะย่อยยับสักเพียงใดจากการต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้

เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ก็ได้ยืนยันด้วยการโพสต์ข้อความในเฟสบุ๊กส่วนตัวแล้วว่า เหตุที่จะต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ก็เพราะ 1. การปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีต้องยึดหลักความรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารราชการแผ่นดินและเมื่อมี พรฎ.ยุบสภา ความรับผิดชอบของครม.ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ยังมีต่อไปจนกว่าครม.ชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ทั้งนี้เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดินอันเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา171 และ 181

2.ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชวินิฉัยการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการนั้นอย่างสุดความสามารถ คือการให้ความร่วมมือกับ กกต.ในการจัดการเลือกตั้งตามกำหนดในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

และ3. ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าจะไม่ยอมลาออกหรือยึดติดกับตำแหน่ง และยินดีรับฟังเสียงของประชาชนทั้งเสียงส่วนใหญ่และเสียงส่วนน้อย แต่ทั้งหมดต้องเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐ

ชัดเจนว่าไม่ลาออก แต่จะทำตามโปรดเกล้าฯ พรฏ.ยุบสภา คือ เลือกตั้งใหม่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
สอดรับกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ยืนยันเช่นกันว่า อันดับแรก กกต.ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งว่าต้องดำเนินการให้มีการเลือกตั้ง เนื่องจากขณะนี้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งส.ส. เป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 ก.พ.57
หากไม่ปฏิบัติตามคงไม่ได้

ส่วนที่แต่ละฝ่ายอ้างกันอย่างนั้นอย่างโน้น จริงๆแล้ว กกต. ก็เพียงแต่ระบุว่าหากใครเสนอแนวทางกฎหมายที่สามารถจะให้เลื่อนการเลือกตั้งได้ก็ให้เสนอมายัง กกต. ซึ่งยินดีที่จะรับฟัง เพราะหลายฝ่ายมีการตีความข้อกฎหมายออกไปหลายทาง

หากจะแปลก็น่าจะหมายถึงว่า ตอนนี้สังคมไทยล่อกันสนุกจนเละไปหมดแล้วว่างั้นเถอะ
ทั้งๆที่ กกต. ยืนยันว่าต้องดูตามพระราชกฤษฎีกาที่มีพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
หากจะให้มีการเลื่อนวันเลือกตั้งนั้น ต้องเป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่ต้องนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯซึ่ง กกต.ไม่มีอำนาจในส่วนนี้

หรืออีกส่วนหนึ่งที่เจอหนักไม่น้อยกว่า กกต. ก็คือ กองทัพ เพราะทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ และกลุ่มผู้ชุมนุม ก็พยายามทุกวิถีทางจะให้ทหารเข้ามาเคลียร์ก็ไม่ยอมทำเสียที แม้แต่จะให้มาเลือกข้าง ก็ไม่ตัสินใจ เลยกลายเป็นเป้ากระสุนตกในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์สารพัด

ซึ่ง พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ก็ยังยืนยันว่าใครจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่ยังยืนยันว่าเราทำตามหน้าที่ให้การสนับสนุนอย่างมีเหตุผล

“การเลือกตั้งทำได้ก็ดี แต่ถามว่าผมสั่งว่าต้องมีการเลือกตั้งได้หรือไม่ ผมสั่งไม่ได้ เพราะกฎหมายมีอยู่แล้วตามกติกา ส่วนใครจะพอใจหรือไม่พอใจต้องมาพูดคุย ถ้าคุยได้ ก็ไปได้ดี คือ วิน-วิน ได้ประโยชน์”
ส่วนข้อเสนอในการตั้งคนกลางมาดูแลการเลือกตั้ง โดยกองทัพคอยสนับสนุนนั้น พล.อ.ธนะศักดิ์ บอกว่าปกติใครขออะไรมา กองทัพทำให้อยู่แล้ว ถ้าขอมาเป็นช่องทาง เพราะกองทัพถือเป็นกลไกของรัฐ
“แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆเราจะไปทำโน่นทำนี่ จะต้องมีการขอมา ซึ่งผมยังยึดหลักว่า งานที่รับผิดชอบต้องไม่ให้เสีย ต้องเดินหน้าไปเรื่อย ส่วนรายละเอียดทางการเมืองก็ว่ากันไป ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องดีที่ประชาชนออกมาแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก หากใครมีเหตุผลดีก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศ”ผบ.สส. ระบุ
เมื่อทิศทางค่อนข้างชัดว่าฝ่ายที่ยึดตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ก็พยายามจะเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง ในขณะที่นายสุเทพ กับบรรดาแกนนำ และผู้ชุมนุม ยืนยันว่า จะต้องปฏิรูปก่อน โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องลาออก ไม่เช่นนั้นจะคว่ำการเลือกตั้งทุกวิถีทาง

โดยยกเหตุผลว่า ก็รู้ๆ กันอยู่ว่า เลือกตั้งภายใต้กติกาเดิม กกต.แบบเดิม ระบอบทักษิณก็กลับมาใหม่ ปฏิรูปประเทศไม่ได้แน่นอน

แถมปลุกเร้าด้วยการงัดประเด็นที่จุดติดม็อบมาแล้ว คือเรื่อง พรบ.นิรโทษกรรม ว่าหากเขาชนะเลือกตั้งและได้เป็นรัฐบาลสิ่งแรกที่จะทำคือยก ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาพิจารณา ซึ่งจะทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้านทันที และจะอ้างว่าประชาชนรู้อยู่แล้ว

ฉะนั้นนายสุเทพจึงประกาศให้มวลมหาประชาชนลุกขึ้นต้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งประเทศ

“การต่อสู้ต่อไปนี้ตรงไปตรงมา ชัดเจน คือไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกจากตำแหน่ง เราจะไล่ทุกวัน ไล่ไม่เลิก ไล่จนกว่าจะไป ไม่ต้องมีกำหนด ไล่เป็นระลอกๆให้ขาดใจตาย ให้เป็นลมไปเลย”
โดยนายสุเทพนัดหมายแสดงพลังขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 22 ธ.ค. ชนิดเป็นศึกใหญ่อีกครั้ง

ฉะนั้นเมื่อภาพของแต่ละฝ่ายออกมากันชัดเจนเช่นนี้แล้ว คำว่า “จบไม่ลง”จึงเหมาะสมที่สุด
ปัญหาจึงย้อนกลับมาตกที่สังคมไทย ที่ประชาชนคนไทยทั้ง 67 ล้านคนจะต้องคิดกันอย่างจริงจังว่าในเมื่อทางการเมืองจบไม่ลง แล้วประชาชนที่แท้จริงจะสรุปจบกันอย่างไร???

เพราะต้องยอมรับความเป็นจริงว่า ในคนไทย 67 ล้านคนนั้น แน่นอนว่า จะต้องมีคนที่คลั่งไคล้แต่ละฝ่ายไม่แพ้กันแน่นอน เท่าที่เห็นในตอนนี้ นั่นแปลว่าหากให้ 2 ฝ่ายหาข้อสรุปคงเป็นไปไม่ได้ แถมอาจจะเกิดการปะทะกันได้ทุกเมื่อ เพราะล้วนแต่เพาะบ่มอารมณ์เกลียดชังกันมาเต็มที่

คนกลางๆ ที่ถูกเรียกเป็น “พลังเงียบ”บ้าง เป็น “ไทยเฉย”บ้าง หรือเป็น “ไทยอดทน” เป็น “ไทยเซฟ” ก็แล้วแต่จะว่ากัน หรือเหน็บแนมเสียดสีก็เถอะ บรรดาคนตรงกลางเหล่านี้แหละที่จะต้องตัดสินใจ เพราะแน่นอนว่ามีพลังมากกว่ามวลชนของแต่ละฝ่ายอย่างแน่นอน

คนตรงกลางๆ ที่จะต้องกลางจริงๆ ไม่กลางแบบอีแอบมีใจให้ขั้วใดขั้วหนึ่ง แล้วพยายามแอ๊บอำพราง กลายเป็นกลางแบบเอียงๆ รอจังหวะชัยชนะจะได้เสนอหน้ารับรางวัล อะไรแบบนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นคนกลางที่จะแก้ไขวิกฤตคราวนี้ได้

ต้องเป็นคนกลางจริง ที่กล้าออกมานำสังคมไปสู่ข้อยุติให้ได้ เพราะตอนนี้ต่างฝ่ายต่างก็หวาดระแวงกันชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู

สุเทพก็ระแวงว่า หาก “เลือกตั้ง” แล้วเพื่อไทยชนะ จะต้องมีการปลุกผีงัดนิรโทษกรรมมาอีก
อีกฝั่งก็ระแวงว่า หากให้ “เทือกตั้ง” อะไรจะการันตีว่าไม่ได้ตั้งซ้ำรอย คตส. ที่เลือกคัดเอาแต่เฉพาะกลุ่มอคติ ชิงชัง เกลียดแค้น มากำหนดกติกา

วันนี้ถึงได้บอกว่า ถึงเวลาที่คนเป็นกลางจริงๆต้องแสดงบทบาท ถ้าหากผู้ใหญ่ คนรุ่นเก่าๆ พากันเลือกข้าง เลือกที่รักมักที่ชัง จนไม่เหลือกลางจริงๆ ก็ต้องให้คนรุ่นใหม่ๆนั่นแหละที่ต้องออกมาแสดงพลัง
ซึ่งชื่อคนรุ่นใหม่ๆ ที่แนะนำเข้ามาที่ บางกอก ทูเดย์ ก็อย่าง หม่อมปลื้ม หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ลูกชายหม่อมอุ๋ยนั่นแหละ เพราะแม้หม่อมอุ๋ยจะเลือกข้าง ยืนอยู่ฝ่ายเกลียดชังทักษิณ โดยเฉพาะประเด็นนโยบายรับจำนำข้าว ซึ่งหม่อมอุ๋ยสนิทกับบรรดาผู้ส่งออกข้าวมาชั่วชีวิต ก็คงว่ากันไม่ได้

แต่ที่ผ่านมาก็เห็นว่าหม่อมปลื้มมีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้คล้อยตามหม่อมอุ๋ย
แถมเป็นคนรุ่นใหม่ ก็เลยมีคนถามว่า ถ้าออกมาเป็นแกนนำคนตรงกลางจะเหมาะหรือไม่?

และก็มีคนแนะนำชื่อของ สรยุทธ สุทัศนะจินดา เข้ามาด้วยเช่นกัน ซึ่งถามว่าบนหน้าจอช่อง 3 ที่มีแฟนคลับมากมายนั้น หากกล้าจะออกมานำสังคม ดึงพลังคนตรงกลางออกมานั้น ต้องถือว่าทำได้ เพราะหากดูจากที่จัดกิจกรรมรับบริจาคในทุกๆครั้ง ได้กระแสตอบรับมาก

แต่หากเป็นประเด็นการเมือง 2 ขั้วแบบนี้ โอกาสที่ออกมาแล้วจะโดนถล่มมีสูง และเชื่อว่าม็อบนายสุเทพ ไม่เอาแน่ เพราะแค่ยังไม่ได้แสดงพลัง แค่รายงานข่าวยังเจอยกพลไปล้อมไปกดดันแล้วเลย
ฉะนั้นไม่ง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ หากประกาศให้ชัดไปเลยว่า ต้องการวัดพลังคนกลางจริงๆ
งานนี้มีลุ้น... ปัญหาอยู่ที่ว่า สรยุทธ จะกล้าเสี่ยงเพื่อปลดล็อกให้ประเทศหรือไม่

การเมืองเลือกข้างในเวลานี้ จึงกดดันและทำให้ทุกอย่างวุ่นวายไปหมด ทั้งๆที่หากสังคมไทยตั้งสติ และมองด้วยสายตาของความเป็นจริงที่ปราศจากอคติแล้ว จะพบว่าความจริงว่า

ไม่ว่านักการเมืองขั้วเพื่อไทย หรือนักการเมืองขั้วประชาธิปัตย์ ก็แหลกเหลวพอกันนั่นแหละ!!!

เพราะฉะนั้น บางกอก ทูเดย์ ถึงได้ยืนยันว่า หากมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์เกิดขึ้นได้โดยไม่สะดุด บรรดากลุ่มคนที่คลั่งไคล้แต่ละฝ่ายนั้นก็ปล่อยไปเถอะ เพราะรณรงค์ให้ตายยังไงก็ไม่มีทางไม่เลือกฝ่ายที่ตนเองคลั่งไคล้แน่ๆ

แต่คนกลางๆนี่ต่างหากที่ต้องแสดงพลังให้นักการเมืองที่เหลวแหลกได้รู้ว่า ถ้าพลังประชาชนที่แท้จริง ที่ไม่ใช่มวลมหาประชาชนของใคร ลงคะแนนเลือกใครแล้วนั่นคือ “ฉันทานุมัติบริสุทธ์” ที่ตัดสินให้พรรคทางเลือกใหม่เข้ามาทำหน้าที่

ให้นักการเมืองดีๆ พรรคการเมืองดีๆ ที่ไม่ใช่ขั้วความขัดแย้ง มาช่วยทำให้ปัญหายุติ
2 กุมภาพันธ์ 2557 คนกลางๆต้องกล้าแสดงพลังกันแล้ว

ที่มา.บางกอกทูเดย์
------------------------

อดุลย์ ผบ.ข้าวกล่อง - คำรณวิทย์ แจ๊ด กลับลำ !!?



สมาคมผู้สื่อข่าวย-ชางภาพอาชญากรรมฯตั้งฉายา "อดุลย์"ผบ.ข้าวกล่อง คำรณวิทย์"แจ๊ดกลับลำ "ปิยะ"โฆษกขายยา "ธาริต"นกหวีด...ปรี๊ดแตก

นายไพโรจน์ เทศนิยม นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมผู้สื่อข่าวและช่างภาพอาชญากรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย รองนายกฯ กรรมการ ที่ปรึกษาสมาคมฯ เพื่อหารือกันถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐในรอบปีที่ผ่านมา แล้วมีการตั้งฉายาให้กับองค์กร นายตำรวจและข้าราชการ ที่เป็นข่าวและเป็นที่สนใจของสังคมเพื่อสะท้อนแง่คิด ติชม และยกย่องให้เห็นถึงผลงานที่ผ่านมา

โดยในปีนี้ มีการให้ฉายา องค์กร 1 แห่ง คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบุคคล 12 ท่าน โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับฉายาว่า เสือกระดาษ เพราะถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่มีการบังคับใช้กฎหมาย เป็นที่น่าเกรงขามต่อผู้กระทำผิดต่างๆ แต่ในช่วงสถานการณ์การชุมนุมของกปปส.นั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้จริงจัง ทำได้เพียงแค่แถลงข่าว เจรจาและตักเตือนไม่ให้มีการกระทำผิด จึงถูกมองว่าการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในช่วงสถานการณ์วิกฤตทางการเมืองนั้น เป็นเพียงเสือกระดาษเท่านั้น

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ได้รับฉายาว่า ผบ.ข้าวกล่อง เพราะว่า ในฐานะที่เป็นผู้นำหน่วยตำรวจที่ต้องรับมือกับสถานการณ์การชุมนุมต่างๆของมวลมหาประชาชนนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ ได้ลงพื้นที่ไปดูแลความเรียบร้อยและให้ขวัญกำลังใจกับลูกน้องอย่างใกล้ชิด และเกือบทุกครั้งก็จะร่วมรับประทานอาหารกล่องในพื้นที่การชุมนุมไปพร้อมๆกับตำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าข้าวกล่องดังกล่าวจะถูกตรวจสอบว่าราคาแพงเกินกว่าความเป็นจริงไปก็ตาม

พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. ได้รับฉายาว่า แจ๊ด...กลับลำ เนื่องจากช่วงสถานการณ์การชุมนุมของ กปปส.ที่นำมวลมหาประชาชนมาประชิดบริเวณทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ในฐานะผู้นำหน่วยและควบคุมกำลังเจ้าหน้าที่ได้สั่งให้ตำรวจสกัดกั้นกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยการยิงแก๊สน้ำตาใส่หากมีการเข้ามาในพื้นที่หวงห้าม โดยเหตุการณ์ปะทะกันของตำรวจและมวลชนยาวนานถึง 2 วัน และเมื่อเข้าสู่วันที่ 3 นั้น ทุกฝ่ายคิดว่าจะมีการปะทะกันหนักอีก แต่กลับกลายว่าในช่วงเช้านั้นเอง ผบช.น. ได้มีคำสั่งให้หยุดยิง รื้อลวดหนามและแท่งแบริเออร์ออกแล้วให้มวลมหาประชาชนเข้ามาภายในทำเนียบรัฐบาลและบช.น.ได้อย่างง่ายดาย

พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย รอง ผบช.สกพ. และโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับฉายา โฆษกขายยา เพราะการทำงานของพล.ต.ต.ปิยะ ในฐานะโฆษกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศอ.รส.ในช่วงสถานการณ์ม็อบกปปส.ชุมนุมขับไล่รัฐบาลนั้นมีการแถลงข่าวบ่อยครั้งและในทุกๆครั้งก็เป็นการแถลงข่าวที่ไม่มีสาระสำคัญหรือมีประโยชน์ต่อการสร้างความสงบในพื้นที่ แต่กลับเป็นการจุดประเด็นหรือโจมตีฝั่งผู้ชุมนุมจนมีการปิดล้อมสำนักงานตำรวจแห่งชาติบ่อยครั้ง จนทำให้การให้ข่าวหรือแถลงข่าวแต่ละครั้งของพล.ต.ต.ปิยะ เป็นเสมือนโฆษกขายยาที่คั่นรายการหรือฉายภาพยนตร์เท่านั้นเอง

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้รับฉายาว่า นกหวีด...ปรี๊ดแตก เพราะช่วงสถานการณ์การชุมนุมของกปปส.นั้นมีการให้มวลชนนำนกหวีดเป่าไล่รัฐบาลและข้าราชการที่อยู่ใต้ระบอบทักษิณ ซึ่งนายธาริต เป็นคนหนึ่งที่ประกาศตัวชัดเจนว่าทำงานให้กับรัฐบาลทั้งๆที่ในอดีตเคยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับแกนนำกปปส.จึงทำให้ถูกเป่านกหวีดใส่ในห้างย่านแจ้งวัฒนะ ทำให้นายธาริต ไม่พอใจออกมาแถลงข่าวให้ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจับกุมคนเป่านกหวีดใส่ในฐานะความผิดก่อความรำคาญ ซึ่งสร้างความฮือฮากับแนวคิดดังกล่าวมาก

ร.ต.ต.แชน วรงคไพสิฐ รองหัวหน้าชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด ภ.จว.นราธิวาส ได้รับฉายาว่า ผู้กล้า...บาเจาะ เนื่องจากหมวดแชน หรือ ดาบแชน เป็นนายตำรวจในชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดในพื้นที่มายาวนาน ทำงานด้วยความเสียสละมาอย่างต่อเนื่องจนได้รับการชื่นชมจากสังคมตำรวจ สื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ต้องมาเสียชีวิตระหว่างที่มากู้ระเบิดบริเวณบ้านส้มป่อย ต.กาเยาะมาตี อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งในครั้งนั้นมีตำรวจที่เสียชีวิตไปพร้อมกับหมวดแชน อีก 2 นาย คือ ร.ต.ต.จรูญ เมฆเรือง และ จ.ส.ต.นิมิตร ดีวงร์

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
---------------------------------

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อนาคต 10 อย่าง ที่กำลังจะหายไป !!?

สวัสดีผู้อ่านทุกกท่าน รายงานข่าวจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกรุงวอชิงตัน ฉบับนี้เป็นฉบับส่งท้ายปี พ.ศ. 2556 ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่มีการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายๆ อย่าง ซึ่งเราก็จะพยายามรวบรวมและนำเสนอให้แก่ท่านผู้อ่านอย่างต่อเนื่องให้ได้ติดตามต่อไป

นี้กำลังจะผ่านไป ปีใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อมีการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นก็ต้องมีส่วนที่ล้าสมัยและกำลังจะหายไป รายงานข่าววิทยาศาสตร์ฯ ฉบับนี้ ขอนำเสนอบทความชิ้นหนึ่งจากนิตยสาร The Futurist ที่นักอนาคตศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รูปแบบการดำรงชีวิตที่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือหายไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต นักอนาคตศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้อย่างไรบ้าง เชิญติดตามอ่านได้เลยครับ

อันดับที่1. ความเหลื่อมล้ำทางวัฒนธรรม ภาษา และการศึกษา

สมาร์ทโฟนทำให้คนรุ่นใหม่ในปี ค.ศ. 2020 สามารถเข้าถึงข้อ้อมูลข่าวสารได้จากทั่วโลกอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นการศึกษาที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาครูผู้สอน เยาวชนในยุคนั้นจะใช้ภาษาของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นหลัก เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาจีน และจะซึมซับวัตนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ทำให้ความเหลื่อมล้ำต่างๆ หายไป แต่ในข้อดีก็มีข้อเสียปนอยู่ นั่นคือ ในปี 2030 ภาษาจำนวน 3 พัน ภาษาจากที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบัน 6 พันภาษาจะหายสาบสูญไป รวมถึงคนรุ่นต่อๆ ไปอาจจะไม่มีความเข้าใจและความอดในความแตกต่างด้านวัฒนธรรม



อันดับที่ 2. ระบบการศึกษาในปัจจุบัน

เทคโนโลยีจะลบล้างระบบการศึกษาที่แบ่งกลุ่มนักเรียนตามอายุการเลื่อนระดับชั้นเรียนจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล นักเรียนจะมีโอกาสในการค้นพบและเลือกสาขาความเชี่ยวชาญได้เร็วขึ้น (เช่นเดียวกับนักกรีฑาในปัจจุบัน ที่นักกรีฑาสามารถเลือกสาขากีฬาที่ตนชอบได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก) แม้ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้อาจจะฟังดูดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ บริษัทผู้นำด้านโทรคมนาคมบางแห่งอาจจะกลายเป็นผู้ควบคุมการศึกษาของคนในอนาคต เพราะพวกเขามีเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดอยู่ในมือ



อันดับที่ 3 รูปแบบของสหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปจะแตกต่างไป โดยข้อจำกัดต่างๆ จะถูกทำลายลงและจะมีการปกครองแบบรัฐบาลเดียว สหภาพยุโรปจะกลายเป็นสหรัฐยุโรป (United Europe)และพูดภาษาเดียวกัน

อันดับที่ 4 งาน

ในปี ค.ศ. 2030 งานกว่า 2 พันล้านตำแหน่งจะหายสาบสูญไป เทคโนโลยีที่เป็นปัจจัยสำคัญคือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เทคโนโลยีการจัดแต่งพันธุกรรม และอื่นๆ อย่างไรก็ตามแม้เทคโนโลยีเหล่านี้จะทำลายงานแบบดั้งเดิม ขณะเดียวกันก็สร้างงานรูปแบบใหม่ๆ ที่เราอาจจะคิดไม่ถึงขึ้นเช่นกัน

อันดับที่ 5 ร้านค้า

ห้างร้านต่างๆ ในปี 2030 จะไม่ใช่ห้างร้านในรูปแบบที่เรารู้จักอีกต่อไป ผู้บริโภคจะใช้อินเตอร์เน็ตในการศึกษาคุณสมบัติ ความสามารถ และราคาของสินค้า จากนั้นก็แวะไปที่ห้างร้านเพื่อทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งจะมีเพียงหุ่นยนต์คอยให้บริการ และตอบคำถามพื้นฐานของผู้ที่สนใจ จากนั้นผู้บริโภคก็จะสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ เมื่อพวกเขากลับถึงบ้าน ก็จะพบกับสินค้าที่เพิ่งสั่งไว้ตั้งรออยู่ที่หน้าประตู



อันดับที่ 6 หมอ

ในปี 2030 เทคโนโลยีจะทำให้การตรวจวินิจฉัยโรคบางอย่างสามารถทำได้เองที่บ้านของคุณ สมาร์ทโฟนและเทคโนโลยี Cloud computing จะสามารถตรวจระดับน้ำตาลระดับออกซิเจน ระดับการเต้นของหัวใจ และอื่นๆ ได้ หุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่แพทย์ผ่าตัด แพทย์จะมีจำนวนน้อยลงและจะต้องเป็นแพทย์ที่มีความสามารถสูงเท่านั้น พวกเขาจะสามารถปฏิบัติงานได้จากทุกแห่งทั่วโลกผ่านระบบควบคุมทางไกล จะมีเพียงบุคคลสำคัญๆ หรือผู้ที่มีความสามารถทางการเงินสูงที่ได้รับสิทธิพิเศษในการรับการรักษาจากแพทย์จริงๆ



อันดับที่ 7 กระดาษ

นอกจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และเอกสารต่างๆ ที่พิมพ์ลงบนกระดาษจะหายไปแล้ว ธนบัตรก็จะหายไปด้วย ทุกอย่างจะอยู่ในรูปแบบดิจิตอล โรงพิมพ์จำนวนมากต้องปิดกิจการหนังสือที่เป็นรูปเล่มพิมพ์บนกระดาษแม้จะไม่หายสาบสูญไปโดยสิ้นเชิง แต่ที่จะพบได้จะเป็นหนังสือที่พิมพ์โดย Self-Publishing หรือการจัดพิมพ์ด้วยตนเอง

อันดับที่ 8 ประสบการณ์แบบดั้งเดิมของมนุษย์

ในอนาคตจะไม่มีคำว่า “ข้อมูลส่วนบุคคล” เพราะข้อมูลของเราทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นวันเดือนปีเกิด ประวัติการศึกษาหมายเลขบัตรเครดิต ประวัติการรักษาพยาบาล จะถูกบันทึกและบุคคลอื่นๆ จะสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ต่อไป เราจะขาด “การไตร่ตรอง” เพราะสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยีการสื่อสารอื่นๆ ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนั้น เทคโนโลยีในอนาคตจะสามารถตรวจรับการรับรู้ต่างๆ ของร่างกายเราได้ เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจระหว่างการออกกำลังกาย และคอยให้คำแนะนำว่าเราควรจะหยุดหรือเร่งการออกกำลังกายเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้เราไม่มีโอกาสที่จะครุ่นคิดและสื่อสารกับร่างกายของเรา “การรอคอย” จะกลายเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย เพราะทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการฝาก-ถอนเงิน สั่งอาหารจองบัตรโดยสารต่างๆ สามารถทำได้ทันทีผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยียังสามารถบอกเราได้อีกว่า ขณะนี้ที่สนามบินมีผู้โดยสารมากน้อยแค่ไหนและเราควรมาถึงสนามบินเวลาใดเพื่อหลีกเลี่ยงการรอคอย นอกจากนั้นเราก็จะไม่ “หลงทาง” เพราะเทคโนโลยีจะคอยบอกตำแหน่งของเราและแนะนำเส้นทางได้อยู่ตลอดเวลา

อันดับที่ 9 สมาร์ทโฟน

เทคโนโลยีทุกวันนี้มีอายุสั้น สมาร์ทโฟนเองก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีล้าสมัยในอนาคตอันใกล้เช่นกัน เทคโนโลยีในยุคต่อไปจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสวมใส่ได้ เช่นที่เราได้เห็นกันเมื่อไม่นานที่ผ่านมา คือ Google glasses ยิ่งไปกว่านั้นเราเตรียมบอกลาคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ไปได้เลย นักอนาคตได้คาดการณ์ไว้ถึงเทคโนโลยีที่จะเป็นที่นิยมในอนาคต คือ Intelligent Web (2017 – 2020), Intelligent Interface และ Virtual Reality (2019 – 2023), Thought power และ AI หรือ Artificial Intelligence (2024 – 2031)



อันดับที่10 ความไม่ปลอดภัย

ต่อไปเราจะไม่มีอุบัติเหตุบนถนน เพราะยานพาหนะจะสามารถสื่อสารกันได้และหลีกเลี่ยงการปะทะกันได้การโจรกรรมจะสิ้นสุดลง เพราะของมีค่าทุกอย่างจะถูกติดตั้งเครื่องมือติดตามตัว ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับอนุภาคเล็กๆที่สามารถใส่ไว้กับวัสดุใดก็ได้
ที่มา
สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
http://ostc.thaiembdc.org/13th/?p=1577
----------------------------------

วิเคราะห์ : จังหวะก้าวขวางการเลือกตั้ง ของ กปปส.- ปชป

จังหวะก้าวทางการเมืองที่กำลังเดินไปสู่การ "คัดค้านการเลือกตั้ง" ตามที่คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้ประกาศไว้ ถูกเพ่งมองจากนักวิชาการหลายคนว่าอาจเป็นเกมเสี่ยงของทั้ง กปปส. และพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังไม่แสดงท่าทีชัดๆ ว่าจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่

เป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลลึกล้ำทั้งๆ ที่ยังถือธงนำเรื่องการปฏิรูปประเทศและปฏิรูปการเมืองอยู่!

เพราะแม้การเลือกตั้งจะไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย แต่การเคลื่อนไหวขัดขวางการเลือกตั้งย่อมอธิบายให้เข้าใจได้ยากว่าเป็นแนวทางที่ไม่ได้สวนทางกับหลักการประชาธิปไตยอย่างไร เห็นได้จากความสับสนมึนงงของตัวแทนสถานเอกอัครราชทูต 2 ประเทศที่ไปพบปะกับแกนนำ กปปส.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา...

ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า การเคลื่อนไหวของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ กปปส.ด้วยการจะทำทุกวิถีทางไม่ให้มีการเลือกตั้ง คือการทำลายความชอบธรรมการเคลื่อนไหวของ กปปส.เอง เพราะประชาชนโดยทั่วไปที่เข้าร่วมชุมนุมกับ กปปส. ไม่ว่าจะเป็น 24 พ.ย. หรือ 9 ธ.ค. (การนัดชุมนุมใหญ่ 2 ครั้งล่าสุด) ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทำลายระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่มองว่ารัฐบาลได้กระทำผิดพลาดหลายประการจนไม่สามารถยอมรับได้

"สถานการณ์ในวันที่ 9 ธ.ค.เป็นการทำลายความชอบธรรมแผนยื้อบนท้องถนนของคุณสุเทพและ กปปส.ลงไปมาก ทั้งการตัดสินใจยุบสภาของนายกรัฐมนตรี และการเปิดประตูสถานที่ราชการให้เข้าได้ตามสบาย ทำให้ประเด็นของการชุมนุมเพื่อขับไล่อะไรก็ไม่รู้ลดระดับของความสำคัญลงไป ด้วยเหตุนี้แกนนำ กปปส.จึงไม่มีทางออกทางอื่น จะปล่อยให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งนั้นจะทำให้แกนนำ กปปส.หมดอำนาจทางการเมืองไปทันที เพราะการเลือกตั้งจะกลายเป็นความชอบธรรมทางการเมืองที่สำคัญ"

ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ วิเคราะห์ต่อว่า นายสุเทพและคณะได้ทิ้งไพ่สำหรับการเลือกตั้งจนหมดหน้าตักไปแล้ว ถ้าการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 เกิดขึ้นได้จริงๆ กลุ่มของนายสุเทพจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปเลย คือหมดบทบาททางการเมืองไป

"ตอนนี้ก็เหลือเพียงพรรคประชาธิปัตย์นำโดย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่าจะเลือกเส้นทางไหน ระหว่างการร่วมรณรงค์บนท้องถนนกับคุณสุเทพ กับการกลับเข้าสู่กระบวนการรัฐสภาด้วยการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส่วนตัวค่อนข้างเห็นปัจจัยที่สำคัญว่าพรรคประชาธิปัตย์จะลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะการพลาดการเลือกตั้งครั้งนี้มีความหมายว่า หากการเลือกตั้งดำเนินต่อไป พรรคประชาธิปัตย์จะหมดบทบาทในระบบการเมืองแบบรัฐสภาทันที"

"เท่ากับว่าพรรคประชาธิปัตย์จะกลายเป็นพรรคที่ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองในปีหน้า จะต้องเล่นการเมืองบนท้องถนนรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกระแสสังคมคงพลิกกลับทันที หากปีหน้าพรรคประชาธิปัตย์กลับมาเล่นการเมืองบนท้องถนนอย่างไรเหตุผล ก็จะกลายเป็นคนพาลในระบอบประชาธิปไตยทันที"

นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวด้วยว่า เครือข่ายของนายสุเทพต้องการให้พรรคประชาธิปัตย์เล่นตามเกมของตน คือเกมบนท้องถนน ซึ่งจะทำให้นายสุเทพไม่ถูกโดดเดี่ยวทางการเมือง เพราะยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง นายสุเทพก็จะยิ่งถูกโดดเดี่ยว ทั้งด้านเงินทุนในการชุมนุมและอื่นๆ เพราะกลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนนายสุเทพ นอกเหนือจากความชอบส่วนตัวแล้ว การจะทำให้ภาคธุรกิจเห็นด้วยกับการสร้างความปั่นป่วนในกรุงเทพฯช่วงไฮซีซั่นของภาคธุรกิจ คงจะต้องคิดหนัก

"ผมคิดว่าต้องจับตาพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะมองอนาคตของพรรคอย่างไร เป็นเรื่องที่พรรคต้องตัดสินใจ" ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุ

นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระ ประเมินสถานการณ์คล้ายๆ กันว่า การเลื่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว กปปส.ต้องเข้าใจว่ามีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การที่จะมีกระบวนการซึ่งนำไปสู่การเลื่อนการเลือกตั้งด้วยวิธีแบบที่ กปปส.จะทำ จึงไม่เป็นธรรมกับประชาชนที่ต้องการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ วิธีการที่ กปปส.จะทำให้เลื่อนการเลือกตั้งหรือไม่ให้เกิดการเลือกตั้งมีอยู่ไม่กี่อย่าง เช่น ไปกดดันให้ กกต.ลาออก 3 ใน 5 หรือไปล้อมสถานที่รับสมัคร เพื่อไม่ให้สมัครรับเลือกตั้งได้ แต่ไม่ว่า กปปส.จะใช้ทางไหน ก็เป็นแนวทางหรือการต่อสู้ทางการเมืองที่เลยกรอบสันติวิธีและไม่มีความชอบธรรม

"ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ กปปส.ที่จะให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง เพราะความหมายของคำว่าปฏิรูป ตอนนี้แต่ละกลุ่มยังนิยามและมีความเข้าใจที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะความหมายไหน ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ หรือเรื่องใดก็ตาม จำเป็นต้องใช้เวลา ฉะนั้นการเอาการเลือกตั้งที่ถือเป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไปโยงกับเรื่องปฏิรูปซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว อาจจะเป็น 10 ปี จึงไม่ถูกต้อง และผลที่จะเกิดขึ้นคือการไม่มีการเลือกตั้งไปโดยปริยาย การเลือกตั้งก็จะถูกเลื่อนไปเรื่อยๆ"

นายศิโรตม์ บอกด้วยว่า ทางออกที่มองเห็นในขณะนี้คือการเลือกตั้ง แต่ว่าเลือกตั้งอย่างไรแล้วจะนำไปสู่การปฏิรูป เป็นเรื่องที่ต้องคุยกัน เช่น เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว ต้องมีการลงสัตยาบันว่าจะทำการปฏิรูป ซึ่งแนวทางนี้เป็นทางออกที่น่าจะดีที่สุดกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ขณะ นายเอกชัย ไชยนุวัติ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า มีเพียง 2 ปัจจัยที่จะทำให้การเลือกตั้งไม่เกิดขึ้น หนึ่ง คือ การรัฐประหาร และ สอง คือ การเสียชีวิตเป็นจำนวนมากของประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่รัฐประหาร แต่ปัจจัยที่ 2 ตอนนี้ไม่เกิด เพราะรัฐบาลตัดสินใจไม่ใช้ความรุนแรงกับประชาชน หมายความว่าแทนที่จะใช้ความรุนแรง แต่รัฐบาลกลับเปิดทางให้หมดเลย ดังนั้นการเดินขบวนในวันที่ 22 ธ.ค.นั้นสามารถทำได้ แต่จะนำไปสู่ผลตามที่ผู้เดินขบวนหวังหรือไม่ คงตอบยาก

"การเลือกตั้งคือวิธีการยุติและแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 ออกไป ต้องถามกลับว่าการเลือกตั้งในวันนั้นจะทำให้ฝ่ายใดเสียเปรียบ และเป็นการทำตามกฎหมายหรือไม่ เราจะเอาปัญหามาตั้ง แล้วเอากฎหมายมาปรับไม่ได้ ต้องเอาข้อเท็จจริงมาตั้ง แล้วใช้กฎหมายไปตามหลักการ

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รัฐธรรมนูญ ม. 68, 291 กับศาลรัฐธรรมนูญ !?

โดย.อ.สมลักษณ์ จัดกระบวนพล

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและกรรมการ ป.ป.ช. อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชาระบบศาล และการพิจารณาคดี (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระยะนี้ประชาชนชาวไทยกำลังรู้สึกเครียดกับเรื่องม็อบต่างๆ ซึ่งดาวกระจายไปตามสถานที่ราชการหลายแห่ง เป็นเหตุให้รัฐบาลออก พ.ร.บ.ความมั่นคง ถึงกระนั้นฝ่ายรัฐก็ไม่กล้าใช้อำนาจเต็มที่ตามที่มีในบทบัญญัติของกฎหมาย จึงต้องใช้วิธีพูดคุยโดยสันติ ซึ่งก็คงต้องทำในสภาพบ้านเมืองปัจจุบันนี้ เพราะบุคคลมักไม่เกรงกลัวกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รักษาการตามกฎหมาย เพราะสั่งอะไรก็ไม่ทำตาม แต่กลับไปเชื่อฟังผู้นำม็อบมากกว่า

ผู้เขียนก็เห็นว่าประชาชนชุมนุมได้ตามสิทธิ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ได้ให้สิทธิดังกล่าวนี้ไว้ แต่อ่านมาตรา 63 แล้ว ก็อย่าลืมพลิกไปดูรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 28 ซึ่งบัญญัติว่า

"บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน...Ž "

การที่ต่างพากันเดินดาวกระจายไปตามถนนสายต่างๆ เกือบทั่วกรุงเทพมหานคร อันเป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่เขาจำเป็นต้องใช้ถนนหนทางไปทำกิจส่วนตัวของเขาโดยปกติสุขต้องวนไปใช้เส้นทางอื่น จนทำให้เขาต้องกระทบกระเทือนทั้งร่างกายและจิตใจนั้น ก็ลองคิดดูว่าท่านละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 28 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ ถึงแม้ท่านจะใช้สิทธิตามมาตรา 63 ได้ก็ตาม

นอกจากเรื่องม็อบต่างๆ แล้วก็ยังมีเรื่องสับสนเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนจะไม่สับสนได้อย่างไรเพราะมีนักการเมืองบางกลุ่มที่ได้รับผลเสียจากการวินิจฉัยของศาลครั้งนี้ออกมาตอบโต้ว่าไม่ยอมรับอำนาจศาล ส่วนนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามก็ออกมากล่าวหาอย่างรุนแรงว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบที่ไม่ยอมรับอำนาจตุลาการ

ไม่ใช่แค่นักการเมือง ยังมีนักวิชาการทางด้านกฎหมายก็แบ่งแยกความคิดเห็นเป็น 2 ฝ่าย โดยให้เหตุผลในทางวิชาการไว้อย่างน่าคิดทั้งสิ้น คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายในบ้านเมืองนี้จึงงงเป็นไก่ตาแตกไม่รู้จะเชื่อฝ่ายใดดี แง่คิดง่ายๆ ไม่ต้องคิดลึกก็คือ การแถลงไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลใดๆ ก็ตามจะกระทำมิได้

ขออนุญาตอ้างอิงคำตอบของท่านอดีตประธานวุฒิสภา และอดีตประธานรัฐสภาที่ว่า เราเป็นประชาชน ไม่ใช่อันธพาล จึงต้องปฏิบัติตามคำตัดสินอันเป็นที่สุดของศาล ต้องประพฤติตนตามกติกาของบ้านเมือง การจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยย่อมทำได้และเป็นของธรรมดา แต่จะปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ หรือไม่รับรู้เห็นจะไม่ได้ เพราะถ้าบ้านเมืองไร้ขื่อแป จะมีผลต่อเราโดยตรง ไม่เหมือนคนที่เป็นนักการเมือง ที่กอบโกยเงินทองไว้ล้นเหลือ ที่ถึงเวลาเขาก็หอบเงินและลูกเมียไปเสวยสุขยังต่างประเทศได้Ž

เป็นคำตอบที่ครบและค่อนข้างชัดเจนในกรณีเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยออกมาแล้ว บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเสียประโยชน์หรือได้ประโยชน์ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล จะอ้างว่าไม่ยอมรับอำนาจศาลไม่ได้โดยเด็ดขาด แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ศาลไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นแต่ไปวินิจฉัยคดีที่ศาลไม่มีอำนาจ ผลแห่งคำวินิจฉัยนั้นน่าจะไม่ชอบ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายเข้าใจ เช่น คนที่ไม่มีเงินในกระเป๋าสักบาทเดียว จะเอาเงินที่ใดไปใช้ซื้อสิ่งของเล่า

พิจารณาดูคำแถลงการณ์ของผู้เสียประโยชน์จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วน่าจะเป็นเรื่องแถลงการณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขที่มาของ ส.ว. ในรัฐสภา ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการไม่ยอมรับอำนาจศาล ซึ่งหมายถึงไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาล

เมื่อเราพูดถึง "ศาล"Ž จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้าใจใน 2 เรื่องดังนี้

1.เขต หรือเขตอำนาจศาล ซึ่งหมายถึงเขตทางภูมิศาสตร์หรือเขตทางการปกครอง ยกตัวอย่างพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ศาลแพ่งและศาลอาญา มีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้Ž หมายความว่า ถ้าคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลใดก็ต้องฟ้องให้ถูกเขตศาล มิฉะนั้น ศาลก็ไม่มีอำนาจรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษา

สำหรับศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีปัญหาด้านการพิจารณาในเรื่องเขตอำนาจศาล เพราะมีศาลเดียวในประเทศไทย

2.อำนาจศาล ซึ่งหมายถึงประเภทของคดี เช่น คดีแพ่งก็ต้องฟ้องที่ศาลแพ่ง คดีอาญาก็ต้องฟ้องที่ศาลอาญา คดีที่มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ก็ต้องฟ้องที่ศาลแขวง ยกตัวอย่าง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่นŽ เช่น คดีแพ่งที่เกิดในเรือหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราชอาณาจักร (ตาม ป.วิ.พ. ม.3 (1))

วรรคสอง บัญญัติว่า ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลอาญาธนบุรีมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณีŽ เช่น ความผิดที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรไทย หรือความผิดที่การสอบสวนได้กระทำลงในท้องที่หนึ่งซึ่งอยู่ในเขตของศาลใด ให้ชำระที่ศาลนั้น (ตาม ป.วิ.อาญา ม.22 (2))

ส่วนเกี่ยวกับศาลแขวงนั้น พระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17 บัญญัติว่า ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่งŽ เช่น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ทั้งนี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25 (5)

เรื่องอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น นับเป็นเรื่องสำคัญมากในการพิจารณาเกี่ยวกับระบบศาลไม่ว่าศาลใด เพราะถ้าผู้ฟ้องหรือผู้ยื่นคำร้องไปยื่นฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาลที่ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องนั้นๆ ศาลรับคดีไว้วินิจฉัยไม่ได้ หากพิจารณาในด้านของศาล ก็เป็นเรื่องที่ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

สำหรับศาลรัฐธรรมนูญซึ่งถูกสถาปนาหรือเกิดมีขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจไว้ ได้ตรวจดูโดยละเอียดรอบคอบแล้ว

รัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ไม่ได้มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 และเมื่อตรวจดูบทบัญญัติมาตรานี้ทุกอนุมาตรา ตั้งแต่อนุมาตรา 1 จนถึงอนุมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว (หมายถึงกระทำตามอนุมาตรา 1 ถึง 6 แล้ว) ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลมŽ

มาตรา 150 บัญญัติว่า "ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้Ž

มาตรา 151 บัญญัติว่า "ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัตินั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"Ž

พิจารณาบทบัญญัติทั้ง 3 มาตราซึ่งเกี่ยวกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้ว จะเห็นว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่ 3 องค์กรเท่านั้นคือ

1.พระมหากษัตริย์

2.รัฐสภา

3.นายกรัฐมนตรี

บุคคลอื่นหรือสถาบันอื่นนอกจากนี้จึงไม่มีอำนาจที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง และนอกจากจะไม่กล่าวถึงอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และถ้าตรวจดูบทบัญญัติดังกล่าวให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่าไม่มีการเว้นช่องว่างของระยะเวลาให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบได้เลย เพราะตามมาตรา 150 บังคับนายกรัฐมนตรีให้ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ถ้านายกรัฐมนตรีไม่ปฏิบัติตาม นายกรัฐมนตรีต้องมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จะรอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบหรือส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับตามมาตรา 155 ไม่ได้เพราะมาตรา 291 ไม่ได้ให้อำนาจไว้เหมือนกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 154 วรรคสอง ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการ เพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ด้วยเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวข้างต้นจึงต้องยืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภาตามมาตรา 291 ข้อสำคัญที่สุดคือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ซึ่งก็เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ต้องถือว่าร่างรัฐธรรมนูญอยู่ในพระราชอำนาจที่จะมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าจะทรงลงพระปรมาภิไธยหรือไม่ ฉะนั้น นอกจากจะไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการมิบังควรที่จะทำการวินิจฉัย ที่สมควรทำคือส่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมคืนและไม่รับวินิจฉัย

มีผู้แนะนำให้นายกรัฐมนตรีขอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญคืนมาก่อน แต่ผู้เขียนเห็นว่าจะให้นายกรัฐมนตรีขอคืนกลับมาด้วยเหตุผลใด เพราะศาลรัฐธรรมนูญก็มิได้มีคำวินิจฉัยให้เลิกการกระทำ เพราะสั่งไม่ได้เนื่องจากเกินเวลาแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่อาจสั่งการ แล้วจะให้นายกรัฐมนตรีบังอาจขอร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวคืนมาทั้งๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติให้นายกรัฐมนตรีทำเช่นนั้นได้หรือ

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยใช้มาตรา 68 ได้หรือไม่

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจนำรัฐธรรมนูญมาตรา 68 มาใช้กับบุคคลหรือพรรคการเมืองในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำในรัฐสภา ตามมาตรา 291 ซึ่งอยู่ในหมวด 15 ส่วนมาตรา 68 อยู่ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งไม่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา

2.กระบวนการยื่นคำร้องไม่ชอบ เพราะการยื่นคำร้องในกรณีนี้ต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและเป็นผู้ยื่นคำร้อง (ดูบทความของผู้เขียนเรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68Ž จะเข้าใจแจ่มแจ้ง)

3.คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญน่าจะผิดหลักการเขียนคำพิพากษา เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้ถูกร้องผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งต้องมีคำสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว ที่ไม่สั่งหรือไม่สามารถสั่ง น่าจะเป็นเพราะรัฐสภาได้พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่ 3 และลงมติไปเรียบร้อย จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีได้นำร่างดังกล่าวทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

4.เมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถสั่งให้เลิกการกระทำ จึงไม่อาจสั่งให้ยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการของพรรคการเมืองนั้นได้ ที่ว่าคำวินิจฉัยผิดหลักการเรื่องเขียนคำพิพากษาก็เพราะคำพิพากษาที่วินิจฉัยว่า อาศัยเหตุดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วข้างต้น จึงวินิจฉัยโดยมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่า การดำเนินการพิจารณาและลงมติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหมดในคดีนี้ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบโดยกฎหมายรัฐธธรมนูญ... อันเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกร้องได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรค 1Ž

หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ว่าผู้ถูกร้องกระทำความผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะต้องให้ผู้ถูกร้องเลิกการกระทำดังกล่าว แต่กลับไม่สั่งโดยไม่ให้เหตุผลว่าเมื่อวินิจฉัยว่าเมื่อผู้ถูกร้องกระทำผิด แล้วเหตุใดจึงไม่สั่งให้เลิกการกระทำนั้น แต่กลับไปวินิจฉัยว่า ส่วนที่ผู้ร้องขอยุบพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองเหล่านั้น เห็นว่ายังไม่เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 68 วรรค 3 และวรรค 4 จึงยกคำร้องในส่วนนี้Ž อ่านแล้วคลุมเครือจนผู้ถูกร้องก็ไม่ทราบว่าจะปฏิบัติอย่างไร เพราะถ้าพิจารณามาตรา 68 แล้วเงื่อนไขยุบพรรคหรือไม่ ตามวรรค 3 และจะเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามวรรค 4 หรือไม่ มิใช่ตามเงื่อนไขในวรรค 3 และวรรค 4 แต่หากเป็นเงื่อนไขตามวรรค 2 คือศาลต้องสั่งให้เลิกการกระทำดังกล่าว เพราะผู้ถูกร้องผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 เสียก่อน จึงจะสั่งตามมาตรา 68 วรรค 3 และวรรค 4 ซึ่งศาลจะสั่งหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องผิดตามวรรค 1 ศาลต้องสั่งให้เลิกการกระทำตามวรรค 1 จะไม่สั่งไม่ได้ เพราะวรรค 2 บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าวŽ

ถ้าจะถามว่าถ้า ส.ส. หรือ ส.ว. กระทำความผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 ไม่อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะให้องค์กรใดมีอำนาจดำเนินการ ก็จะตอบได้ว่า ถ้านักการเมืองเหล่านั้นมิได้กระทำการตามมาตรา 68 วรรค 1 ในสภา แต่ไปประชุมกันลับๆ หรือมี ส.ส. ส.ว. เสนอความเห็นให้มีการกระทำในวรรค 1 จึงอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 แต่ถ้ามีการทำในสภาก็มีความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนตามมาตรา 272 ไต่สวนแล้วก็ส่งให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนแล้วถ้ามีมติว่ามีมูลความผิดจะส่งไปที่อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาพิพากษา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 19 (2)

ส่วนที่มีการกล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 (5) นั้น คำวินิจฉัยนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะการจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลก็จริงอยู่ แต่ศาลก็ต้องดำเนินการไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 197 วรรคหนึ่ง และในวรรคสอง บัญญัติว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายŽ

ด้วยความเคารพต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนได้พิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบเจตนารมณ์ของ ส.ส.ร. ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว มีความเห็นโดยสุจริตใจว่า

1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องแก้ไขที่มาของสมาชิกวุฒิสภา

2.กระบวนการที่ยื่นตามมาตรา 68 ไม่ถูกต้องเพราะไม่ผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยอัยการสูงสุดก่อนตามมาตรา 68 วรรค 2

3.เกินกำหนดเวลาที่ศาลจะวินิจฉัย เพราะนายกรัฐมนตรีได้นำร่างดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

4.เป็นคำวินิจฉัยที่คลุมเครือ คือวินิจฉัยว่าผู้ร้องกระทำผิดตามมาตรา 68 วรรค 1 แต่ไม่สั่งให้ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมกระทำการแก้ไขอย่างไร เป็นเหตุให้สถาบันดังกล่าว เช่น รัฐสภา, นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ทราบจะปฏิบัติต่อไปอย่างไร

5.ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 216 วรรค 5

6.มีผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น มีผู้นำคำวินิจฉัยนี้ใช้อ้างเพื่อปลุกเร้าอารมณ์ของมวลชนว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมเพราะไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้

7.จากผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้อำนาจตุลาการเข้าไปก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ เพราะถ้าศาลมีอำนาจเข้าไปวินิจฉัยเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ผ่านวาระ 3 ไปแล้ว บุคคลที่ไม่ต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับใดๆ ก็จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบทุกระยะไป ไม่ว่าในวาระ 1 วาระ 2 วาระ 3 ผลแห่งการนี้จึงดูเสมือนว่าศาลรัฐธรรมนูญคุมอำนาจในการร่างหรือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาไว้อย่างเบ็ดเสร็จ

ที่มา:มติชนรายวัน
------------------------------------

สะพาน เชียงของ-บ่อแก้ว ดันเชียงราย Hub ชายแดน !!?

ศักยภาพของเชียงรายไม่ใช่ "เพชรในตม" อีกต่อไป เมื่อเหลี่ยมคมได้ถูกเจียระไนให้ส่องประกายกับการเปิดสะพาน ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 "อำเภอเชียงของ-แขวงบ่อแก้ว" เมื่อวันที่ 11 เดือนธันวาคม 2013 หรือ 11-12-13 ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเชียงรายให้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของอาเซียน ระบายสินค้าไทย เข้าสู่สปป.ลาวออกจีนทะลุสู่ตลาดโลก ในขณะเดียวกันก็เป็นการผ่องถ่ายสินค้าจากจีนไปสู่อาเซียน

จึงไม่แปลกที่จะมีกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่เข้าไปกว้านซื้อที่ดินในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากจีนที่ได้ร่วมมือกับทุนไทย จัดตั้งบริษัทลอจิสติกส์ ภายใต้ชื่อ "เจี๋ยวฟงลอจิสติกส์" รวมถึงกลุ่มนักลงทุนจากประเทศจีน ที่เข้าไปซื้อที่ดินไว้ในพื้นที่อำเภอเชียงของกว่า 3,000 ไร่ เพื่อจัดสร้างเป็นคลังและศูนย์กระจายสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยดำเนินในนามบริษัท ซินเซียง รับเบอร์ จำกัด กลุ่มสหฟาร์มที่เข้าไปตั้งโกดังซื้อข้าว โพดผลิตอาหารสัตว์ ขณะที่ห้างโลตัส และไทวัสดุในเครือเซ็นทรัลก็ได้เข้า ไปสำรวจพื้นที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่าบริษัท ดอยตุงขนส่ง จำกัด ได้มีการซื้อที่ดิน กว่า 15 ไร่ ในการสร้างสำนักงานแบบครบวงจร บริเวณเส้นทางหลวง หมายเลข 1020 เส้นทางเทิง-เชียงของ เพื่อเชื่อมต่อไปยังเส้นทาง R3A ซึ่งมุ่งสู่สปป.ลาวและเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ประเทศจีน

"สยามธุรกิจ" มีโอกาสคุยกับ "ชไมพร เจือเจริญ" กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน อธิบายว่า เมื่อสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 สร้างเสร็จ จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน แนบแน่นขึ้น โดยเฉพาะจีนฝั่งตะวันตกอย่างนครคุณหมิง ซึ่งเป็นเมือง ชายแดนติดกับสปป.ลาว และสปป. ลาวใกล้ชิดกับไทยมาก จะพูดว่าไทยกับคุนหมิงมีพื้นที่ติดกันก็น่าจะได้ การขนส่งสินค้าจากไทยไปคุนหมิงจึงสะดวก โดยขนส่งผ่านอำเภอเชียง ของ จังหวัดเชียงราย ข้ามสะพานไป ยังบ้านห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป. ลาว จากนั้นวิ่งไปตามถนน R3A เข้า สิบสองปันนา-เชียงรุ่ง-คุนหมิง

"วันนี้สะพานข้ามแม่น้ำโขงเชียงของ-บ้านห้วยทราย แขวงบ่อ แก้วสร้างเสร็จแล้ว และเปิดอย่าง เป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2013 ที่ผ่านมา ทำให้การขนส่งสินค้าผ่านชายแดนด้านนี้รวดเร็วยิ่งขึ้น" กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง กล่าว

เชียงรายถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในการลงทุน เนื่องจากมี ชายแดนสำคัญ 3 จุด นั่นคือที่อำเภอแม่สาย เขตติดต่อกับท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ที่อำเภอเชียงของติดกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว และอำเภอเชียงแสนติดกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวเช่นดียวกัน

นอกจากมีจุดค้าชายแดนใหญ่ๆ ทั้ง 3 จุดแล้ว ยังมีปัจจัยเอื้ออื่นๆ อีก เช่น การคมนาคมในแม่ น้ำโขง บริเวณท่าเรือแห่งใหม่อำเภอ เชียงแสน ที่เปิดใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา รองรับเรือสินค้าจากจีน และประเทศเพื่อน บ้านใกล้เคียง

สำหรับการค้าชายแดนด้านจังหวัดเชียงรายกับจีนตะวันตกเฉียงใต้สหภาพเมียนมาร์ และสปป. ลาว ปี2555 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 35,977.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีมูลค่ารวม 29,771.81 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.84 นับได้ว่าเป็นการขยายตัวในเกณฑ์ค่อนข้างสูง

หากโฟกัสไปในอำเภอเชียงของ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 พบว่ามีการจัดรูปแบบเมืองภายใต้สโลแกน "1 เมือง 2 แบบ" คือ เขตเมืองเก่าจะใช้เป็นฐานการผลิตทางเศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยวเดิม ส่วนพื้นที่เขตเมืองใหม่จะเป็นพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าการลงทุนและการขนส่งบนเส้นทางคมนาคมระดับภูมิภาค รองรับการเกิดของสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4

หมายความว่าแม้จะมีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมยุคใหม่ ก็จะไม่ทิ้งวัฒนธรรมรากเหง้าเดิม

รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม หัวหน้าคณะผู้วิจัยโครงการภูมิวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า เชียงรายเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งเปลี่ยนจากสังคมชาวนาแบบอยู่เป็นกลุ่มมีประเพณีของตัวเองมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม เนื่องจากมีภูมิประเทศที่ดีที่สุดในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีความอุดมสมบูรณ์ นายทุนอยากเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ เราจึงต้องสนับสนุนให้คนท้องถิ่นตื่นตัว มิฉะนั้นจะกลายเป็นสังคมร้อยพ่อพันแม่ ไม่มีการสร้างสำนึกร่วมและบูรณาการทางวัฒนธรรม มีแต่คนเข้ามาขุดทอง เช่นเดียวกับการเข้าอาเซียนเราก็ต้องรู้จักตัวเองก่อน ให้ความสำคัญย้อนไปถึงบรรพบุรุษ ไม่ใช่แค่รู้แต่ภาษาอังกฤษ

ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------------

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หอการค้า เตือน รบ.ใหม่ เลิกจำนำข้าว ช่วยเท่าที่จำเป็น .

ม.หอการค้าแนะ รบ.ใหม่ เลิกจำนำข้าว หรือช่วยเท่าที่จำเป็น อย่าเหมาแพคเกจ ชี้มีแต่ขาดทุน แบกภาระงบประมาณอื้อ ด้านสมาคมชาวนาหนุนปรับสูตรคำนวณค่าชดเชยจากต้นทุนจริง บวกกำไรไม่เกิน 30%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หากมีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลใหม่ช่วงต้นปีหน้า รัฐบาลใหม่ควรมีการทบทวนและยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว หรือหากไม่มีการยกเลิก ต้องมีการปรับวิธีการและหลักเกณฑ์โดยจำกัดจำนวนผู้ได้รับสิทธิจำนำข้าว เหลือชาวนาที่มีรายได้น้อยจริงๆ โดยหันไปใช้วิธีการช่วยเหลือหรือชดเชยการเพาะปลูกและลดต้นทุนการเพาะปลูกแทน เพราะเป็นผลดีต่อการลดภาระงบประมาณและขาดทุนจากการดำเนินโครงการรับจำนำ แม้จะมีการตั้งราคารับจำนำสูง แต่ชาวนามีปัญหาต้นทุนสูง และการจ่ายเงินตามใบประทวนล่าช้า ทำให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่เต็มที่

"จำนำข้าวไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่การไม่จำกัดจำนวนผู้ได้สิทธิและวงเงินต่อรายค่อนข้างสูงกว่าราคาตลาด ทำให้รัฐต้องแบกรับภาระมากเกินไป การจ่ายส่วนต่างน่าจะเป็นวิธีการที่นำมาใช้ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจภาคเอกชนที่ผ่านมา ที่เห็นควรให้เลิกการจำนำหรือลดเงื่อนไข ช่วยเฉพาะที่เดือดร้อนจริง ไม่ควรใช้เป็นแพคเกจเดียวกันกับเกษตรกรทั้่งหมด" นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังแสดงความเป็นห่วงต่อนโยบายแต่ละพรรคการเมือง ที่ไม่ควรนำประเด็นการเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำ มาเป็นเครื่องมือในการหาเสียงและกำหนดนโยบาย เพราะจะเพิ่มแรงกดดันต่อการลงทุน การทำธุรกิจต่างๆ รวมถึงบั่นทอนเศรษฐกิจในระยะยาว

นายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า เห็นด้วยหากรัฐบาลใหม่ เลิกจำนำข้าวในราคาสูง และหันมาจ่ายเงินชดเชย ลดต้นทุนและหาตลาดระบายข้าวให้ชาวนา เพราะการรับจำนำข้าวในปริมาณและวงเงินสูงๆ ได้พิสูจน์แล้วว่าทำให้มีปัญหาในระยะยาวในเรื่องการบริหารจัดการและงบประมาณ แต่ควรคำนวณสูตรจ่ายชดเชยที่คิดจากต้นทุนจริง บวกกับกำไรที่ชาวนาอยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 30%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาของการจำนำข้าวในขณะนี้ คือ รัฐยังค้างค่าข้าวรับจำนำ 6 พันล้านบาท สำหรับข้าวเปลือกที่เปิดจำนำส่วนต่างจากโครงการรับจำนำปี 2555/56 และเงินคงค้างตามใบประทวนโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2556/57 ที่ได้จำนำไว้แล้วกว่า 6 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายประมาณ 9 หมื่นล้านบาท รวมถึงการชะงักของการอนุมัติระบายข้าวในสต๊อกที่มีอยู่ 16 ล้านตัน หลังยุบสภาและรอการนโบบายจากรัฐบาลใหม่ จะทำให้เงินระบายข้าวที่ต้องส่งถึงกระทรวงการคลังตามแผนกระทรวงพาณิชย์ เดือนละ 2-3 หมื่นล้านบาท ต้องชะลอไว้ก่อน

ที่มา : นสพ.มติชน
----------------------------------------

หายนะจำนำข้าว !!?

โครงการจำนำข้าวป่วน รัฐบาลค้างจ่ายเงินชาวนาแสนล้าน ออกใบประทวนไร้ขีดจำกัด 7.3 ล้านตัน ธ.ก.ส.ยันเกินกรอบวงเงินต้องรอ กขช.ไฟเขียว

โครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปี 2556/2557 ที่เปิดโครงการมาตั้งแต่เดือนต.ค. ที่ผ่านมา ไปสิ้นสุดเดือนก.พ. 2557 เริ่มจะประสบปัญหาแหล่งเงินที่จะมานำมาใช้ดำเนินโครงการ หลังจากมติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กำหนดกรอบวงเงินสำหรับใช้ในโครงการปี 2556/2557 ไม่เกิน 2.7 แสนล้านบาท ผลผลิตข้าว 15 ล้านตัน แต่ขณะนี้ปรากฏว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเกษตรกรบางส่วน ยังไม่สามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ เนื่องจากยังไม่มีมติกขช.รองรับ โดย ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรตามใบประทวนไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ที่เหลือต้องรอมติอนุมัติจาก กขช. ก่อน เพราะวงเงินที่ใช้เกินกรอบเดิมไปแล้ว

เผยรัฐค้างจ่ายชาวนาแสนล้าน

แหล่งข่าวจาก กขช. เปิดเผยว่า โครงการจำนำข้าวเปลือกปี 2556/2557 องค์การคลังสินค้า (อคส.) และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ออกใบประทวนให้เกษตรกร และยังไม่สามารถนำมาขึ้นเงินจาก ธ.ก.ส. ได้ขณะนี้มีจำนวน 1.15 แสนล้านบาท แบ่งเป็นใบประทวนที่ อคส. ออกไป จำนวน 1.04 แสนล้านบาท ผลผลิตข้าว 6.3 ล้านตัน และ อ.ต.ก. จำนวน 1.58 หมื่นล้านบาท ผลผลิต 0.97 ล้านตัน รวมผลผลิตที่รับจำนำไปแล้ว 7.3 ล้านตัน โดยเหตุผลที่เกษตรกรไม่สามารถนำไปขึ้นเงินจาก ธ.ก.ส.ได้นั้น เนื่องจาก ธ.ก.ส.ยังไม่ได้รับอนุมัติจาก กขช.ให้ดำเนินการ เพราะหากอนุมัติตามใบประทวนจะทำให้วงเงินที่ใช้ดำเนินโครงการจำนำข้าวเปลือก รวมทั้งหมดเกินกรอบวงเงินที่ครม.เคยอนุมัติไว้ไม่เกิน 5 แสนล้านบาท โดยตัวเลขผลดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ณ วันที่ 11 ธ.ค. อยู่ที่ 6.9-7.1 แสนล้านบาทแล้ว ซึ่งเกินกรอบวงเงินมาแล้วเกือบ 2 แสนล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในการประชุมครม.พิเศษเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการควบคุม การออกใบประทวนจำนำข้าว ไม่ให้เกินกรอบวงเงินที่เคยอนุมัติไว้ เพราะที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์มักเสนอขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มภายหลังตลอด

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา นางเบญจา หลุยเจริญ รักษาการรมช.คลัง จึงได้เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำมาประชุมนอกรอบที่กรมศุลกากร เพื่อกำชับไม่ให้มีการรับจำนำและออกใบประทวนเกินกว่ากรอบที่ครม.เคยอนุมัติไป ซึ่งในที่ประชุมได้กำหนดเกณฑ์เบื้องต้นว่าให้ดำเนินการรับจำนำในรอบนาปี (สิ้นเดือนก.พ. 57) ภายในวงเงิน 1.5 แสนล้านบาทเท่านั้น และแบ่งสัดส่วนการออกใบประทวน ของ อคส. ไว้ที่ 1.12 แสนล้านบาท และ อ.ต.ก. จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท โดยได้รายงานมติดังกล่าวในที่ประชุม กขช.วันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมาด้วย

"ยิ่งลักษณ์"สั่งคุมไม่เกิน5แสนล้าน

การประชุมเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. นั้น มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯและรมว.คลัง, นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ร่วมประชุมพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อคส. และ อ.ต.ก. ซึ่งมีมติร่วมกันว่า หากมีการออกใบประทวนเกินกว่าที่กำหนดไว้ ทั้ง อคส. และ อ.ต.ก.ต้องรับผิดชอบหาเงินมาจ่ายตามใบประทวนเอง ขณะที่กระทรวงการคลังจะไม่รับรู้หรือหาแหล่งเงินให้

แหล่งข่าวยังบอกว่า แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2556/2557 รอบแรกนี้ มติ ครม.กำหนดกรอบวงเงินรวม 3 ฤดูกาลผลิต (2554/2555 2555/56 และ 2556/2557) ไว้ทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท โดยกระทรวงการคลังต้องจัดหาเงินกู้ให้ ธ.ก.ส. จำนวน 4.1 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินส่วนของ ธ.ก.ส. 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดมีกรอบวงเงินกู้เหลืออีก 4.5 หมื่นล้านบาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงการคลังอ้างว่าสามารถกู้ได้อีกเพียง 3.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีปัญหาทางเทคนิค ทั้งตลาดเงินไม่เอื้อ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เหมาะสม

"แม้ว่า ธ.ก.ส.จะได้รับเงินจากการระบายผลผลิตข้าวคืนจากกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา 1.64 แสนล้านบาท เมื่อหักเงินทุนของ ธ.ก.ส. 9 หมื่นล้านบาท หักเงินกู้จากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำปี 2555/2556 อีก 6.2 หมื่นล้านบาท เงินชดเชยโครงการ ปี 2555/2556 จำนวน 1.25 หมื่นล้านบาท รวมกับเงินระบายที่นำกลับมาหมุนเวียนใช้อีก 7.4 หมื่นล้านบาท และมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 2.9 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือเงินที่กระทรวงการคลังต้องจัดหามาให้อีก 4.5 หมื่นล้านบาท " แหล่งข่าวย้ำ

พาณิชย์คืนเงินขายข้าว1.3แสนล้าน

ขณะที่เงินจากการระบายข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ทยอยชำระคืนให้ ธ.ก.ส. จนถึงสิ้นเดือนพ.ย. อยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินที่ชำระคืนดังกล่าว พบว่า มีเงินจากการขายมันสำปะหลังปี 2555 /2556 จำนวน 6.4 พันล้านบาท และเงินขายยางพารา ปี 2554/2555 จำนวน 2.6 พันล้านบาท เหลือเป็นเงินระบายข้าวเพียง 1.6 แสนล้านบาท แต่เมื่อในจำนวนนี้ยังแยกเป็นเงินขายข้าวจากโครงการก่อนปี 2554/2555 จำนวน 2.24 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินระบายข้าวปี 2554/2555 (นาปี) จำนวน 4.69 หมื่นล้านบาท ข้าวนาปรังปี 2554/2555 จำนวน 1.61 หมื่นล้านบาท นาปี 2555/2556 จำนวน 4.25 หมื่นล้านบาท และนาปรังปี 2555 จำนวน 5.03 หมื่นล้าน ดังนั้นเงินจากการระบายข้าวปี 3 ฤดู มีเพียง 1.3 แสนล้านบาทเท่านั้น

เดือนต.ค. กระทรวงพาณิชย์ คืนเงินระบายผลผลิต 9.1 พันล้านบาท จากเป้าหมาย 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นเงินขายข้าว 5.2 พันล้านบาท และเงินขายมัน 3.8 พันล้านบาท เดือนพ.ย.กระทรวงพาณิชย์คืนเงินระบายผลผลิตได้ 7.7 พันล้านบาท จากเป้าหมาย 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นเงินขายข้าวเพียง 5.2 พันล้านบาท และเงินขายมัน 2.5 พันล้านบาท สะท้อนได้ว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถระบายข้าวได้ตามแผนที่ประกาศต่อสาธารณะ โดยเฉพาะการขายแบบจีทูจี

"ขณะนี้มีปัญหาการกู้เงินใหม่จำนวน 1.4 แสนล้านบาท ตามกรอบวงเงินที่ใช้ในโครงการใหม่ปี 2556/2557 จำนวน 2.7 แสนล้านบาท เพราะอยู่ในช่วงของรัฐบาลรักษาการ ดังนั้นการกู้เงินในลักษณะการก่อหนี้สาธารณะคงทำไม่ได้ นอกจากนี้สำนักบริหารหนี้สาธารณะก็ยังไม่ได้จัดทำแผนการก่อหนี้เสนอครม. ซึ่งคงต้องรอรัฐบาลใหม่ ดังนั้นตอนนี้แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวรอบใหม่ หลังสิ้นเดือนก.พ. ปีหน้าไปแล้ว อาจประสบปัญหาแหล่งเงินได้ " แหล่งข่าวกล่าว

กิตติรัตน์ลั่นออกใบประทวนแล้วได้เงินแน่

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการจำนำข้าวฤดูกาลผลิต ปี 2556/57 รัฐบาลต้องรับจำนำข้าวนาปีให้แล้วเสร็จในสิ้นเดือนก.พ. ส่วนนาปรังต้องให้รัฐบาลชุดต่อไปเป็นผู้พิจารณา โดยยืนยันชาวนาที่ได้รับใบประทวนไปแล้วขณะนี้ จะได้รับเงินจำนำข้าวอย่างแน่นอน โดยกระทรวงการคลังจะบริหารเงินจำนำข้าวให้อยู่ในกรอบเงินกู้ 5 แสนล้านบาท โดยมาจากการเร่งระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ และเงินกู้ ซึ่งยังมีช่องว่างให้หาแหล่งเงินกู้มาบริหาร ในส่วนของการชดเชยปัจจัยการผลิตให้กับชาวสวนยางที่เหลือกว่า 1 หมื่นล้านบาท ยังต้องจ่ายให้เหมือนเดิม เพื่อให้ครบจำนวนตามที่เกษตรกรขึ้นบัญชีไว้

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สงครามการเมือง และการ Propaganda ความเกลียดชัง !!?

โดย.เมธา มาสขาว

ผมนั่งตั้งคำถามว่า หรือเราเกิดมาในยุคสงครามความเชื่อ ข่าวลือและการ Propaganda ความเกลียดชัง หลังจากอ่านข้อความข้อมูลข่าวสารต่างๆ ใน Social Network

ตั้งแต่ยุคของคนเสื้อเหลือง คนเสื้อแดง จนกระทั่งถึง นปช. กปปส. และรัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์-ทักษิณในปัจจุบัน ประชาชนแต่ละฝ่ายเลือกรับข้อมูลคนละด้าน ความจริงคนละชุด แม้ในเหตุการณ์เดียวกันก็ตามแต่พยานต่างอยู่คนละขั้วข้างทางการเมือง ไม่แปลกที่พวกเขาเลือกเชื่อในข้อมูลของฝ่ายตนเอง แต่แปลกที่พวกเขาเลือกเชื่อในข้อมูลที่ถูกนำเสนอด้วยความบิดเบือน

ขณะนี้การ Propaganda หรือโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองเต็มไปหมดในโลก Internet หลายเรื่องเป็นการกล่าวหา ว่าร้าย ป้ายสี ใส่ความฝ่ายตรงข้าม บางเรื่องเป็นการยั่วยุประจานให้เกิดความเกลียดชังและความรุนแรง มีการ Share ข้อมูลต่างๆ จำนวนมากที่แม้ไร้หลักฐานการอ้างอิง จนดูเหมือนว่าเป็นสงครามปฏิบัติการข่าวสารไปแล้ว

เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายครั้งจากการเผชิญหน้ากันของประชาชนขั้วข้าง ก็อาจเกิดขึ้นจากการสั่งสมอารมณ์ความโกรธแค้นและความเกลียดชังจากการโฆษณาชวนเชื่อเหล่านั้นไม่มากก็น้อย ในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองของประเทศไทยที่สร้างกระแสใหม่ไปทั่วโลก เพราะต่างมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ให้ประชาชนติดตามยิ่งกว่ารายการ Reality Show ใดๆ และยิ่งกว่าในภาพยนตร์แห่งอนาคตเรื่อง Hunger Game เสียอีก

ท่ามกลางการปราศรัยทางการเมือง การให้ความรู้กับประชาชนของตนเองที่ติดตามอยู่นั้นเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในช่วงหลังรัฐประหารปี 2549 ที่ผ่านมา การโฆษณาชวนเชื่ออย่างเป็นระบบ และถ้อยความ Hate Speech เพื่อสร้างความเกลียดชังและปลูกฝังความรุนแรงกลับได้ขยายพื้นที่เต็มการเมืองแบบขั้วข้าง โดยเฉพาะในรายการของสถานีสีต่างๆ

ทุกวันนี้เราจึงเห็นการด่าทอเต็มหน้า Social-Network ไปหมด ไม่ว่าจะเป็นคำว่า สลิ่ม แมลงสาป ควายเหลืองหรือควายแดง เพื่อแบ่งแยกและ Propaganda ความเกลียดชังต่อกัน

เป็นเรื่องน่าเศร้าในสังคมไทยหากเราไม่สามารถยับยั้งสถานการณ์ความรุนแรงได้ เหตุที่ความขัดแย้งหรือความเห็นต่างทางความคิดทางการเมืองของประชาชนขั้วข้าง ไม่สามารถพูดคุยกันได้ด้วยการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่อกัน ไม่มากก็น้อยก็มาจากการเสพและปล่อยข้อมูลข่าวสารด้านเดียว ตลอดจนสงครามข่าวลือต่างๆ




จริงๆ แล้วความหมายของคำว่า Propaganda ไม่ได้ตรงกับคำว่าการโฆษณาชวนเชื่อเท่าไหร่นัก เพราะผลกระทบของการโฆษณาชวนเชื่อดูจะอ่อนโยนเกินไป เมื่อเปรียบเทียบกับผลกระทบของ Propaganda คำแปลที่สื่อได้ชัดเจนกว่ามาจากประเทศเยอรมนีซึ่งมีประสบการณ์เรื่องการ Propaganda ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพรรคนาซีโดยตรง

ตามความหมายใน Wikipedia ภาษาเยอรมัน ได้ให้ความหมายของคำว่า Propaganda ไว้ว่า

”ความพยายามอย่างเป็นระบบ ในการปลูกฝังแง่มุมความคิดเห็น, เบี่ยงเบนกระบวนการรับรู้ และควบคุมพฤติกรรม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิกิริยาตอบสนอง ตามที่ตนเองกำหนด”

การ Propaganda จึงมีความรุนแรงมากหากไม่มีการเฝ้าระวังดูแลจากสังคมอย่างจริงจัง เพื่อเฝ้าระวังการโฆษณาชวนเชื่อโดยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง เนื่องจากบางทีมันอาจขยายบานปลายไปสู่ความรุนแรงทางสังคมและสงครามกลางเมือง ราวกับไฟลามทุ่งโดยไม่ทันคาดคิด เหมือนกับกระแสการล่าแม่มดต่างๆ ในโลก Internet ขณะนี้

เราอย่าลืมบทเรียนที่น่าเศร้าของประเทศรวันด้า (Rwanda) ในปี 2537 ซึ่งเป็นบทเรียนประวัติศาสตร์อันปวดร้าวของโลก ประชาชนชาว Hutu ได้ทำสงครามล้างเผ่าพันธุ์จนทำให้ชาว Tutsi เสียชีวิตไปเกือบ 1 ล้านคนในสงครามกลางเมืองครั้งนั้น

เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการ Propaganda โดยตรง ความขัดแย้งระหว่าง 2 ชนเผ่าที่เกิดขึ้นมายาวนานนั้น ได้เดินทางมาถึงจุดแตกหักเมื่อเครื่องบินของประธานาธิบดี Rwanda ชาว Hutu ถูกลอบยิงตกและเสียชีวิต ในที่สุดก็เกิดการปลุกระดมของนักการเมือง Hutu ทางวิทยุกล่าวหาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการวางแผนของชนเผ่า Tutsi และชนเผ่า Tutsi มีแผนจะฆ่าชนเผ่า Hutu ทั้งหมด หลังจากนั้น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ Tutsi ซึ่งเปรียบเหมือนดังแมลงสาบจึงได้เริ่มต้นขึ้น

เมื่อประชาชนขั้วข้างมีความจริงคนละชุด จากการ Propaganda สังคมก็จะยิ่งยากต่อการปรองดองสมานฉันท์ และจะยิ่งแตกร้าวลึกมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนฝังใจ

ทุกวันนี้เราจึงมีความจริงที่มากกว่าหนึ่ง หรือ Truths แทนที่จะเป็น ความจริงหนึ่งเดียวคือ Truth แต่ละฝ่ายต่างมีชุดความจริงของตนเอง ในยุคประชาชนขั้วข้างนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการสร้างความจริง (establish the truth) ร่วมกันของฝ่ายต่างๆ ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะจากสื่อมวลชนและปัญญาชนสาธารณะ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์โดยการพิจารณาอย่างเป็นภาวะวิสัย

ประสบการณ์ของประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือการให้การศึกษาทางการเมืองที่เรียกว่า Civic Education พวกเขาแก้ปัญหาของยุคสมัยด้วยการสร้างพิพิธภัณฑ์ทางการเมืองดีๆ มากมายเพื่อให้เยาวชนคนหนุ่มสาวของเขาได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และความรู้ทางการเมือง เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพที่จะสามารถเลือกการเมืองในสิ่งที่ตนเองต้องการได้อย่างแท้จริงในระบอบประชาธิปไตย



ขณะที่การเมืองก็ได้เปิดเสรีให้แก่ทุกอุดมการณ์ได้ต่อสู้ทางความคิดและนโยบายในรัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นพรรคสังคมนิยม พรรคเสรีนิยม พรรคอนุรักษ์นิยม พรรคกรีน หรือกระทั่งพรรคคอมมิวนิสต์

มีการออกแบบและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้เยอรมันเป็นประเทศรัฐสวัสดิการและสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social-Democracy)

ประเทศไทยก็สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองแบบขั้วข้างได้เช่นกัน โดยการทำ Civic Education อย่างกว้างขวาง ให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนอย่างเต็มที่โดยไม่มีการปิดกั้น และเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มีประชาธิปไตยที่แท้จริงในระบบรัฐสภา

เพราะทุกวันนี้ มองเข้าไปในสภาครั้งใด ก็มีอยู่พรรคเดียวเท่านั้น คือพรรคนายทุน!

เผยแพร่ครั้งแรก: คอลัมน์โลกและเรา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
----------------------------------------------------------------------------