
การเมืองยังไม่มีอะไรใหม่ เลยแหวกแนวการเมืองฮาร์ดคอร์..มาเป็นเรื่องของนักการเมืองแต่ไม่ประเทืองปัญญา...แก้เซ็ง
บะละฮึ่ม บึ้ม เบิ้ม กับการเปลี่ยนรถยนต์และแผนพิทักษ์รักษาความปลอดภัย “นายกรัฐมนตรี” ไม่บอกชื่อก็คงรู้กัน แต่บอกสักหน่อย
ตามหลักงานเขียน
“อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ภายหลังโดนความพยายามเบียดติด ประชิดรถประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.โดยใครก็ไม่รู้? สาเหตุอะไรก็ไม่รู้?
แต่หลายฝ่ายข้าง “นายกฯ” กังวลว่าจะเป็นการ “ลอบทำร้าย” เลยมีการปรับกันขนานใหญ่..เริ่มตั้งแต่รถยนต์ถึงโครงสร้างขบวนอารักขา
การประชิดแทรกขบวนอาจเกิดจากความเสน่หา อยากจ๊ะจ๋ากับนายกฯ หน้าหล่อ หรืออาจจะหมั่นไส้ขบวนรถคนใหญ่คนโต..
จะว่าไปแล้วคนธรรมดาใช้รถเหมือนกั นแต่ไม่กันกระสุนมักจะโดนรถคนใหญ่คับฟ้าเบียดเสียดบ่อยครั้ง..
1. รถขบวนจะขับเร็ว-เร็วมาก
2. ไม่มีการเหยียบเบรก ไฟแดงๆไม่มี ไฟเขียวตลอดทาง
3. ขบวนยาวมาก และ
4. ใครขวางหน้ากูชนดะ (คนธรรมดาเลยยอมหลบซ้าย ชิดขวา)
ส่วนโครงสร้างขบวนอารักขา..แม่เจ้าโว้ย!! หากจะ “ลองของ” ขอเตือน ว่า อันตราย!..
โครงสร้างเดิมนั้น ทีมรักษาความปลอดภัย (รปภ.) นายกฯ มี 2 หน่วยหลักรับผิดชอบคือ
ตำรวจสันติบาล 3 และ กอง 8 ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย
ปัจจุบันนายกฯ อภิสิทธิ์ เลือกใช้ทหารจาก ศรภ. เป็นบอร์ดี้การ์ดหลัก ขณะที่ตำรวจก็เลือกใช้ตำรวจกองปราบปราม ไม่ได้เลือกใช้
ตำรวจสันติบาล 3 เหมือนสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เพิ่มเติมด้วยกำลังกองพันทหารสารวัตรที่ 11 มณฑลทหารบกที่ 11
รวมถึงชุดปฏิบัติการพิเศษคอมมานโดหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองทัพอากาศ ชุดปฏิบัติการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
(ทหารเสือราชินี) มาประจำการเพิ่มทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล และบ้านพัก สร.1 และเพิ่มเจ้าหน้าที่ ศรภ.อีก 1 ชุดสำหรับการวางตัว
ทีม รปภ.ประจำ ตัวนายกฯ
ตามมาตรฐานแล้ว ทีมต้องไม่ตํ่ากว่า 5 คน โดยมีหัวหน้าชุดยืนประกบด้านข้างและยังมีลูกทีมอีก 4 คนเฝ้าระวังรอบตัวใน 4 ทิศทาง
แต่หากนายกฯ ต้องเดินทางฝ่าฝูงชนหนาแน่น ต้องมีการปรับรูปแบบมาใช้ทีม รปภ.ประจำตัว 6 คน
กฎเหล็กคือ หัวหน้าชุดต้องเอื้อมมือถึงตัวนายกฯ ทันทีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ต้องเฝ้าระวัง 360 องศารอบตัว สร.1
หัวใจสำคัญก็คือ เจ้าหน้าที่ ศรภ. ที่เป็นทหาร “มือดี” จาก 3 เหล่าทัพ แยกเป็นทีมประมาณ 8 คน แบ่งเป็น 2 ผลัด
ใช้รถโฟร์วิลล์ปิดขบวนของนายกฯ ภายในรถจะติดฟิล์มดำ มีอุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ตัดสัญญาณโทรศัพท์ป้องกันการจุดชนวนระเบิด
อาวุธปืนหนักเบา ทั้ง 2 ทีมของตำรวจและทหาร จะทำงานประสานกันทางวิทยุสื่อสาร มีการประชุมวางแผนอารักขาการเดินทางทุกวัน
หากนายกฯ อยู่ในสถานที่เสี่ยงมาก ชุดปฏิบัติการที่ 5 ที่ต้องเพิ่มเข้ามา คือ เจ้าหน้าที่ชุดอาวุธพิเศษที่ไม่ได้มีแค่ปืนพก “กล็อก”
หรือ เสื้อเกราะอ่อน แต่เป็นปืนกลยิงเร็วระดับ เอ็มพี-5 หรือรู้จักกันดีในนามปืนกล “อูซี” เอาไว้ต่อกรกับอาวุธของผู้ประสงค์ร้าย
ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ อารักขากันครบสูตร!
หากมี “เหตุไม่คาดฝัน” มาเขย่าขวัญรัฐบาลอีก..คงต้องปรบมือให้ “ไอ้มือมืด”
และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องบอกว่า “โชคชะตาฟ้ากำหนด” แล้วล่ะ “ท่านนายกฯ”
ที่มา.konthaiuk
*************************************************************