--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ใกล้หมดเวลา มาร์คอปิสิด

โดยคุณ ธุลีดิน
นับเวลาถอยหลัง และฝั่งพันธ์แมลงสาบ
ไม่ให้มันกลับมาครองเมือง

กู้แล้วโกง จงออกไป

เห็นโฆษกมันบอก เร่งล้มเพราะกลัวรัดทะบานโจรมีผลงาน
ฟังแล้วขำ ผ่านมาเกือบปี มีผลงานอะไรมิทราบ
มีแต่ผลหนี้ ที่มันก่อมาให้เราชาวไทยช่วยกันชดใช้

เงิน๒พัน มันก็อ้างมนุษย์เงินเดือน ทั้งๆที่มันต้องการช่วย ธ.กรุงเทพ
เอาปลากระป๋องเน่า ช่วยผู้ประสบภัย
เอานมบูดไปแจกเด็ก
เอาข้าวเสีย ไปแจกคนที่เจอน้ำท่วม
ทำหลักสูตรหลอกๆ เอาเงินต้นเน่าปลิวชีพ ล้มเหลวไม่เป็นท่า
กองทุนหมู่บ้านพอเพียง โกงกันแบบไม่เพียงพอ เครื่องกรองน้ำ ไม่ถึงหมื่น มันทำให้ถึงแสน

ยังไม่หนำใจ มารค์ทรราช เอาประเทศไปจำนำ เอาเงินกู้มาโกงทุกโครงการ ทุกรายละเอียด
แบบนี้ แถวบ้านผม เรียกว่าขายชาติ สร้างหนี้ให้กับประชาชน ใครเขาจะทนเลือกมันเข้ามา
นอกจากบ้าและโง่ มีสมองเท่า หัวแมลงสาบ ถึงจะเลือกพรรคขายชาตินี้กลับมาอีก
หนี้ที่มันก่อ มากกว่ารายได้ของประเทศทั้งปี
สิ่อมวลโจร ปล่อยให้มันเอาประเทศไปขายและเอาเงินมาโกง
โดยไม่เห่าหอน เพราะถูกตอน ด้วยเศษเงินกู้

ตั้งแต่ มันมาเป็นนายก หาเงินเข้าประเทศได้บ้างไหม
มีแต่กู้ และ กู้ กู้ได้แล้ว ก็โกง และโกง ก่อกรรมทำหนี้ไว้ให้กับบ้านเมือง

ลึกสุดใจ"พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" ความลับ"สงครามครั้งสุดท้าย"



สัมภาษณ์พิเศษ

โดย สุเมศ ทองพันธ์

"ผมพยายามทำให้ทักษิณเขากลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยให้ได้ แล้วก็รับโทษ จากนั้นจะนิรโทษหรืออภัยโทษอะไรก็แล้วแต่"...

"ผมตั้งใจจะแก้ปัญหาทั้งหมดให้ได้ภายใน 1 ปี 1 ปีเท่านั้นแล้วจบ...ผมก็ไป"

ก่อนยึดอำนาจ "19 กันยายน 2549" เพื่อโค่นล้ม "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลพรรคไทยรักไทย

"พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" อดีตนายกรัฐมนตรี เดินเคียงข้าง "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

ซึ่งถูกฝ่าย "พ.ต.ท.ทักษิณ" ประทับตราว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจ

แต่ หลังจากนั้นอีก 2 ปีเมื่อ "พรรคพลังประชาชน" ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและกลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล "พล.อ.ชวลิต" กลับก้าวเข้ามารับตำแหน่ง "รองนายกรัฐมนตรี" ใน "รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์"

แล้วหลังหมดอายุขัย "รัฐบาลสมชาย" ซึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้โอกาสจัดตั้งรัฐบาล โดยที่ "พรรคเพื่อไทย" ตกอยู่ในฐานะ "ฝ่ายค้านพรรคเดียว"

"พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" ได้ตัดสินใจเดินกลับเข้ามาสู่วังวนการเมืองอีกครั้ง ด้วยการเข้าสวมเสื้อ "พรรคเพื่อไทย" ประกาศตัวสู้ใน "สงครามครั้งสุดท้าย" อยู่ฝ่าย "พ.ต.ท.ทักษิณ" ซึ่งเท่ากับว่า ต้องยืนคนละฟากฝั่งกับ "พล.อ.เปรม" อย่างเต็มตัว

แล้วหลังจากนั้น ในแต่ละก้าวที่ "พล.อ.ชวลิต" เดิน ไม่ว่าจะเหยียบย่างไปที่ไหน อดีต "ขงเบ้งแห่งกองทัพไทย" สามารถกำหนดเกมสั่นคลอน "รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ได้ทุกครั้ง

ซึ่งเขาเปิดใจให้ "มติชน" ได้ฟังทุกกลเกมเบื้องหลังหมากร้อยชั้นทุกการเคลื่อนไหว ตั้งแต่ตัดสินใจเข้ามาเขียนใบสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทย มีอะไรซ่อนอยู่ เพื่ออะไร เพื่อใคร แล้วสุดท้ายจะเป็นอย่างไร

@ การตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย?

ผมมีเรื่องสำคัญ 5 ข้อที่จะต้องแก้ไขและพิสูจน์ให้ได้ คือ 1.ผมจะพิสูจน์ว่าพรรคการเมืองนี้ เสื้อสีนี้ คนคนนี้ อยู่ที่ไหนรู้อยู่แล้ว จงรักภักดีจริงหรือไม่ 2.ผมจะพิสูจน์ให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในแผ่นดินที่กำลังเกิดขึ้น 3.ผมตั้งใจจะมาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ ซึ่งก็ได้ทำไปแล้ว 4.ผมจะแก้ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน และ 5.ผมจะเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ส่วนเรื่องอื่นๆ เรื่องเล็กๆ เรื่องการเมือง อย่าง ส.ส.คนไหน จะลงที่ไหน อย่างไร ผมไม่ยุ่ง พวกคุณไปจัดการกันเอง ผมจะมาแก้ปัญหาของแผ่นดิน เรื่องนี้ผมบอกกับคุณทักษิณเขาไว้ตั้งแต่แรกแล้ว และผมตั้งใจจะแก้ปัญหาทั้งหมดให้ได้ภายใน 1 ปี 1 ปีเท่านั้นแล้วจบ...ผมก็ไป

วันนี้ผมก็พยายามพิสูจน์ข้อที่ 1 เรื่องความจงรักภักดีให้ได้ ตอนนี้กำลังดำเนินการ แอพโพรช (วิธีการเข้าหา) ผู้หลักผู้ใหญ่ กำลังหาช่อง ยังไม่ชัดเจน

ตอนที่ผมเข้ามาพรรคเพื่อไทย ก็มีคนที่ผมเคารพให้ บิ๊กหมง (พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์) มาบอก ผมก็เคารพท่านอยู่แล้ว ผมก็ฝากบอกบิ๊กหมงไปว่า ผมรับทราบ แต่วันนี้เหตุการณ์ ไปไกลแล้ว

เรามาแก้ปัญหาความขัดแย้งกัน ผมว่าเรื่องนี้น่าเป็นห่วงมาก เราเห็นแล้วว่าความขัดแย้งในประเทศนั้น ถ้าเราไม่แก้ไขโดยด่วน วิกฤตใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ ผมมองว่ามีเพียง 3 สถาบันเท่านั้นที่แก้ไขปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ได้ คือ 1.สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งวันนี้พระองค์ทรงพระราชกรณียกิจอย่างหนักมานานแล้ว เราจะรบกวนเบื้องพระยุคลบาทอีกหรือ 2.สถาบันทหาร ซึ่งที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ปัญหามัวแต่ทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้ ยุ่งเหยิง น่าจะไปบอกป๋า (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) ให้ป๋าทำเองสัก 90 วัน แก้รัฐธรรมนูญสัก 2 มาตรา แล้วถอนตัว ปล่อยให้เขาไปลงเลือกตั้งกัน ถ้าทำได้จะเป็นวีรบุรุษ ไปให้ พล.อ.สุรยุทธ์ (จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี) มาทำ ปัญหาของชาติมัน Very simple แต่ทหารทำไม่ได้ ทำมาเละ! ผ่านมาแล้วรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ ต้องสร้างอำนาจให้ประชาชน ผมพยายามเสนอผู้มีอำนาจ บอกว่าอย่าไปยุ่งตรงนั้น ทำเพื่อประชาชนก่อน แล้วค่อยโดยประชาชน เหมือนรัฐบาลจีน แต่ก็ยังทำไม่ได้ แล้วเราจะยอมให้เข้ามาอีกหรือ ดังนั้นจึงเหลือเพียงสถาบันที่ 3.คือรัฐบาล ซึ่งวันนี้ก็เห็นแล้วว่ายังไม่มีการดำเนินการที่จะแก้ไข ไม่ได้ทำในสิ่งที่เป็นปัญหาของชาติที่สะสมมานานกว่า 77 ปี ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังนั้นวิกฤตใหญ่จะเกิดขึ้นแน่นอน

วันนี้ยังมีความขัดแย้งเรื่องสีเสื้อ ตีกันด้วยไม้หน้าสาม ผมออกจากราชการก่อนเกษียณ 4 ปี ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา ยุติปัญหาปฏิวัติ ยุติสงครามประชาชนได้แล้ว แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ กำลังจะแก้ปัญหาพื้นฐาน เรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคม ผมเอากองทัพมาพัฒนาประเทศ ทุกคนชนะหมด ไม่มีแพ้ จากนั้นก็เอากองทัพไปสร้างระบบการปกครองที่เป็นธรรม ให้ความรู้คน...แต่ยังไม่สำเร็จ แต่ขณะนั้นเขาก็ยึดอำนาจไม่ได้ เพราะตลอดเวลาเราปราบการปฏิวัติตลอด นี่เป็นสาเหตุที่เราออกจากราชการก่อน 4 ปี แล้วเดินต๊อกๆ เข้าไปสู่อำนาจ

การแก้ปัญหาของชาติวันนี้รัฐบาลเป็นสถาบันสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาให้ได้ แต่ต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไร ต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม การแก้ปัญหามันก็เหมือนกับเราจะไปสร้างถนน คือเราจะต้องมีรถแทร็กเตอร์ ถึงจะใช้สร้างถนนได้ ไม่ใช่มีแค่สิ่ว-ขวาน ดังนั้นเราต้องไปจัดภาพรัฐบาลให้เหมาะสำหรับการแก้ไขปัญหา จัดภาพรัฐบาลให้เห็นกันไปเลยว่ารัฐบาลนี้จะมาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งเราจะเรียกรัฐบาลนั้นว่ารัฐบาลเฉพาะกาลหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่จะเป็นรัฐบาลที่เราจะมาช่วยกันหาทางลง เป็นรัฐบาลที่ไม่ได้คิดถึงพวกถึงพ้อง แต่จะมาแก้ปัญหา

"สถานการณ์ทุกอย่างขณะนี้กำลังจะนำไปสู่การปฏิวัติ โอกาสที่จะเกิดการปฏิวัติ เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นมีสูงมาก เพราะะ 1.ผู้ปกครองเอง 2.ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง เริ่มไม่ยอมให้ปกครอง และ 3.พวกที่เคยล้าหลังเริ่มก้าวหน้า ก็คือพวกนายทุนที่เริ่มก้าวขึ้นมา ซึ่งทั้ง 3 อันดูเหมือนจะทำให้ใกล้เข้าสู่การปฏิวัติเต็มที เมืองไทยกำลังจะไม่มีทางออกอื่น ผมก็ดีใจ ที่ผมก้าวเข้ามาในจังหวะที่สามารถยุติสงครามปฏิวัติได้ทันท่วงที ป้องกันความขัดแย้งเฉพาะหน้าได้เร็ว"

อย่างปัญหาภาคใต้ ผมทำสำเร็จแล้วนะ หลังจากนี้ก็จะมีวงวิชาการในพื้นที่ออกมาพูดเรื่องนครปัตตานี กำลังลงไปสัมผัสใจประชาชน สัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่ ไปใช้บ้าน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เปิดรับฟังความคิดเห็น สะท้อนปัญหาในพื้นที่กัน อีกไม่กี่วันนี้ก็คงจะมีเกิดขึ้น ทราบว่า บิ๊กบัง (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน) ไปเสนอว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้มี 10 ล้านคน เอาไปเลย 1 ทบวง คนเขาหัวเราะกันตกเก้าอี้ นึกไม่ถึงว่าบิ๊กบัง มุสลิมแท้ๆ จะคิดแต่เรื่องผู้ปกครอง เรื่องอำนาจ

ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ทำสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว พรรคนี้หรือไม่จงรักภักดี แต่เรื่องแบบนี้เขาไม่ต้องพูดกัน ผมตั้งใจว่าจะเปลี่ยนคนเสื้อแดง ที่วันนี้เขาชูรูปทักษิณ ให้มาเป็นการชูพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งตอนนี้ทำได้แล้ว แล้วก็จะให้ ส.ส.ที่มีอยู่ 180 กว่าคนเนี่ย ลงพื้นที่ไปทำโครงการพระราชดำริ หลายๆ โครงการ อย่างโครงการป่ารักน้ำ ของสมเด็จฯท่าน ก็กำลังจะให้พวกนี้เขาลงไปทำ ทำไปเลยโครงการชลประทาน แก้มลิงในภาคอีสาน โดยไม่ต้องพูดว่าจงรักภักดียังไง พวกเราทำถวายฯ

ส่วนข้อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้เราก็เห็นว่าเป็นปัญหามาก อย่างกัมพูชา ผมจะรู้จักกับ ฮุน เซน (สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา) มานาน ตั้งแต่ 30 ปีก่อน พล.อ.ศรีสวัสดิ์ แก้วบุญพัน ของประเทศลาว บอกผม เฮ้ย จิ๋วเอ้ย เอ็งมาลาวหน่อย มีคนอยากพบ ผมก็ไป ก็พาไปก็แนะนำกับ ฮุน เซน บอกว่าฮุน เซน อยากพบผม แล้วก็ขอให้ผมสรุปโครงการต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ในเมืองไทยให้ฟัง ตอนนั้นนั่งกัน 3 คน ขวาเป็น รณฤทธิ์ (สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา) ซ้ายเป็นฮุน เซน พบกันแบบ Six eyes เลย ซึ่งที่ผมไปกัมพูชา ผมก็ไปในระดับความสัมพันธ์ระหว่างพรรคกับพรรค ประคองความสัมพันธ์ของรัฐบาลต่อรัฐบาล ผมก็ไม่เข้าใจว่ามาโกรธผมทำไม เราเป็นประเทศใหญ่จะต้องใจเย็น ... จ๊ะจ๋า... เดี๋ยวก็ดีกันไปเอง

"ความขัดแย้งระหว่างเรากับกัมพูชาในสายตาอินเตอร์เนชั่นแนล เราใหญ่กว่าเขา ทำไมไร้ความอดทน ยิ่งกรณียกเลิกเอ็มโอยู นี่ร้ายกาจมาก ไปดูรายละเอียดยิ่งเยอะ ประเทศเพื่อนบ้านนี่ เราต้องให้ความสำคัญ ประเทศใกล้สำคัญกว่าประเทศไกล เรื่องในบ้านสำคัญกว่าปัญหานอกบ้าน เสียดายมาร์ค (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) มาว่าผม เอาความลับไปขาย สมัยก่อนตอนผมเริ่มเข้ามาทำงานสนองคุณแผ่นดิน ตอนนั้นมาร์คอยู่ไหนก็ไม่รู้"

ท่านเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (อดีตนายกรัฐมนตรี) บอกว่าเมืองไทย อะไรๆ ก็ดีหมด ยกเว้นผู้นำ (หัวเราะ) น่าสงสารประเทศไทย (หัวเราะอีก)

อย่างไปมาเลเซียก็เหมือนกัน เขากับเราก็มีความเห็นร่วมกันว่าสมควรจะแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพวกเราที่อยู่ในที่ก็ตระหนักกันดีว่าถ้าไม่ทำตั้งแต่วันนี้ปัญหาจะหนักขึ้นแน่นอน เราจึงต้องใช้ยาแรงหน่อย ต้องคิดว่าจะทำยังไงให้ไปอยู่ในหัวใจเขา เพราะจริงๆ แล้วพื้นตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่น่ารัก ผมจะผลักดันให้เป็นภูมิภาคที่ยิ่งใหญ่ ทำภาคใต้ให้เป็นแลนด์มาร์คใหญ่ในภูมิภาค ให้ตรงนั้นเป็นเกียรติประวัติในชีวิตของเขา เพื่อเอาสังคมภูมิบุตร มาสู่การแก้ไขปัญหา

"ทำไมเราจะทำไม่ได้ ถ้าข้างหนึ่งเป็นโบสถ์ใหญ่ของวัดช้างไห้ เป็นศาสนาพุทธ ตรงกลางเป็นมัสยิดกรือเซะ ทำให้ใหญ่ไปเลยของพี่น้องมุสลิม ถัดไปก็เป็นศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่เขาจะไปสักการบูชากัน อย่างนี้น่ารักไหม ทำไมเราจะทำไม่ได้ แต่วันนี้มันน่ากลัวที่ภาคเหนือ มันก็บอกว่าเป็นล้านนามา 800 ปีแล้ว ภาคอีสาน ... ศรีโคตรบูร ก็บอกว่ามีมาเป็นพันๆ ปี ไอ้ ลังกาสุกะ ก็ว่ามันมีมาเป็นพันปีเหมือนกัน อย่างนี้แล้วประเทศไทยมันมีมากี่ปี เป็นเนชั่นสเตทมากี่ปีเอง นี่คือจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขให้ได้"

นอกจากกัมพูชาและมาเลเซียแล้วก็จะมีไปเวียดนาม ตั้งใจจะไปพบเพื่อนเก่าของผม รัฐบุรุษ โงเหวี่ยนเกี๊ยป ซึ่งเวียดนามเนี่ยผมบอกได้เลยว่าตอนนี้สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว คือเขารู้ว่าเราเป็นเพื่อนเขา ถ้าจะจำกันได้ เมื่อไม่กี่ปีที่แล้วเวียดนามมาประชุม ครม. นอกสถานที่ที่ประเทศไทยนะ มาประชุมกันนครพนม บ้านผมนะ สมัยผมเป็น ผบ.ทบ.ใหม่ๆ ตอนนั้นผมไปเวียดนาม ไปกัน 7 คนมีบิ๊กจ๊อด (พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ.) บิ๊กสุ (พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี) ก็ไปด้วย มี รมว.กลาโหม มี ผบ.ส.ส. มีนายพลอีก 400 นายมาต้อนรับเรา เขาพูด 1 ชั่วโมง ผมพูดแค่ 5 นาที ปรบมือกันเกรียวเลย

"ผมพูดว่าในภูมิภาคนี้ถ้าไทยกับเวียดนามเป็นศัตรูกัน ภูมิภาคนี้ไม่มีวันสงบสุข แต่ภูมิภาคนี้มีศัตรูตัวฉกาจอยู่ตัวหนึ่ง...แล้วผมก็หยุดพักหนึ่ง ในห้องเงียบกันหมด ผมก็บอกว่า ศัตรูตัวนี้คือความยากจน เขาปรบมือกันไม่หยุด เหมือนที่มอสโคว์ เราก็เป็นนายทหารกลุ่มแรกที่ไปคุยกับเขา"

@ จะเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหรือไม่?

(หัวเราะๆ) พอแล้ว....ไม่เอาแล้ว มาครั้งนี้ผมมาทำให้บ้านเมือง ถ้าสำเร็จแล้วผมก็ไป ก่อนที่จะเข้ามาที่พรรคเพื่อไทย ผมเขียนจดหมายบอกทักษิณเขาไว้ เป็นเงื่อนไข 10 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือผมจะไม่รับตำแหน่งอะไรเลย แล้วจะไม่ยุ่งกิจการภายใน ท่านไปจัดการกันเอง ถ้าจะให้เป็นหัวหน้าพรรคมันก็ขึ้นอยู่กับว่าถ้าจะให้เป็นอีกก็ต้องมีการเรียกประชุมแล้วก็เลือกกันด้วยโหวตเตอร์ เรื่องอะไรผมจะให้โดนด่า มันก็จะมาด่าว่านอมินีทักษิณ ส.ส.มันก็จะมาด่า แต่ก็พลาดไปแล้ว ออกมาแล้วเขาให้เป็นประธานพรรค แต่ผมยืนยันเลยนะ คนอย่างผมทำอะไรก็ต้องทำด้วยตัวเอง

"ผมบอกทักษิณเขาแล้ว ว่าผมขอเป็นแค่สมาชิกพรรคคนหนึ่ง เป็นสมาชิกอย่างเดียว ผมก็ไม่รู้ว่าเขาคิดอย่างไร เขาก็ไม่รู้ว่าผมคิดอะไร ผมบอกไปเลยนะ ผมจะไม่ยุ่งเรื่องภายในพรรค ส.ส.คนไหนจะลงสมัครที่ไหนยังไง ให้ไปจัดการกันเอง ในจดหมายผมบอกชัดว่าทุกอย่างให้เขา คงเอาไว้ต่อไป เรื่องเลือกคนเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เขาเลือกเองนะ...รู้สึกว่าเขาจะเลือกไว้แล้วด้วย...ผมไม่ยุ่ง

มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนมาถามผมเหมือนกันนะว่า ได้ 3,000 ล้านจากทักษิณจริงไหม...งง! ผมงงเลย บาทนึงยังไม่ได้ ทุกวันนี้ก็ใช้เงินคุณหญิงหลุยส์ (คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ ภริยา) อยู่เลย

@ 10 ข้อที่เขียนเป็นจดหมายถึง พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นมีอะไรบ้าง?

อืม...ผมจำไม่ได้แล้วสิ ว่ามีอะไรบ้าง... แต่นี่เป็นหนึ่งข้อในนั้น คือผมบอกเขาขอเป็นแค่สมาชิกธรรมดา

ทักษิณอยากให้เป็นอะไร ก็ขอให้เป็นไปตามครรลอง มีการโหวต ลงคะแนน มีการประชุมพรรค เป็นระบบ

@ พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบจดหมายมาว่าอย่างไร?

เขาก็ยอมรับ ต้องคุยกัน ให้เข้าใจตรงกัน แหม ... คนในพรรคเขาทำงานกันเกือบตายแล้วเราจะมาเอาได้ไง

คือมันเป็นข้อตกลง และเราต้องทำแบบนี้ เพื่อไม่ให้คนนอก-คนใน เขาเข้าใจผิด เพราะพรรคนี้พวกเขาทำกันมา เราเพิ่งเข้ามาแล้วจะมาเป็นนั่นเป็นนี่ไม่ได้

@ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งขุนพลข้างกาย ที่เป็น 111 อดีต กก.บห.ไทยรักไทยมาช่วยงานในทีมวอร์รูมบ้างหรือไม่?

ไม่มีเลย ... ไม่มี

@ ประเมินไว้ว่าจะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่เมื่อไร?

เราจะประเมินไม่ได้ ต้องรู้ไปเลยว่ายุบสภาเมื่อไร วันไหน เราต้องเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่ให้รัฐบาลมากำหนด

@ สถานการณ์ความขัดแย้งจะไปถึงจุดไหน อย่างไร?

ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างก็จะเหมือนที่ผมได้พูดมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ต้น แต่ตอนนี้กำลังพยายามทำให้ทุกอย่างมันซอฟต์ลง

"ผมพยายามทำให้ทักษิณเขากลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยให้ได้ แล้วก็รับโทษ จากนั้นจะนิรโทษหรืออภัยโทษอะไรก็แล้วแต่ คนที่มีอำนาจในเมืองไทยก็ควรจะ well come (ต้อนรับ) ท่านทักษิณด้วยนะ โดยเราจะต้องไม่ไปทำอะไรให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทพระเจ้าอยู่หัว เพราะเรื่องแบบนี้พวกเราก็ทำกันเองได้อยู่แล้วนี่"

@ เคลียร์กับ พล.อ.เปรม หรือยัง?

มันต้องได้พบกันถึงจะเคลียร์กันให้ได้ แต่ถ้ายังอยู่ห่างๆ กันอย่างนี้ ลำบาก!

ท่านทักษิณก็เหมือนกัน ถ้าท่านจะไปหาป๋า บอกป๋าให้มาช่วย อ่อนน้อม ถ่อมตนไม่ได้เหรอ ท่าทีตอนนี้มันแข็งไปนิดหนึ่ง

@ นโยบายในประเทศที่ต้องการเสนอให้พรรคเพื่อไทยขับเคลื่อนมีอะไรบ้าง?

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจุดอ่อนของเราอยู่ในกระบวนการ ซึ่งทุกคนรู้อยู่ อย่างพรรคการเมืองวันนี้ มวลชนมันนำพรรค ซึ่งความจริงมวลชนมันต้องเดินตามพรรค โดยพรรคจะต้องเป็นผู้ควบคุมมวลชน เป็นมวลชนของพรรค แต่กลายเป็นว่าตอนหลังพรรคเดินตามมวลชน อย่างคนเสื้อแดงวันนี้ พรรคเพื่อไทยจะต้องไม่ทิ้ง เพราะคนเสื้อแดงมีคุณูปการต่อพรรค เวลาพรรคตกอับก็ยังมีคนพร้อมที่จะเดินให้พรรค ดังนั้นพรรคจะทิ้งไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่ผมจะเสนอคือ พรรคเพื่อไทยจะต้องทำให้คนยากคนจนทั้งหลายที่เขานิยมชมชอบในพรรคเพื่อไทย จะต้องให้มวลชนพื้นฐานมาขึ้นอยู่กับพรรค ทำให้มาเป็นฐานรากของพรรคให้ได้ ส่วนเรื่องที่เหลือยังพูดไม่ได้ ผมยังพูดตอนนี้ไม่ได้จริงๆ ขอร้องๆ มันเป็นความลับยังพูดไม่ได้

ส่วนการแก้ไขปัญหาความยากจนเรื่องหนึ่งใน 5 ข้อผมพูดมาตลอดว่าอยากให้ชาวนาขับรถเก๋งให้ได้ ชาวนาจะต้องส่งลูก ส่งหลานไปเรียนเมืองนอกให้ได้ ชาวนาต้องขึ้นเครื่องบินไปเที่ยวเมืองนอกได้ อย่าง อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) ผมเป็นคนผลักดันนะ ผลักดันมาตั้งแต่แรก แรกๆ มีแต่ ตาสี ตาสา ยายมี ยายมา ตอนนี้ไปดูสิ อบต. มีแต่ดอกเตอร์นะครับ

@ มองพรรคการเมืองใหม่อย่างไรบ้าง?

พรรคสนธิ (ลิ้มทองกุล) เหรอ เขาด่าผมมากไปหน่อย ...ผมว่าลำบากนะ ไม่ใช่ง่ายๆ การตั้งพรรคการเมือง น่าจะรอก่อน ก็ไม่เอา ผมก็อยากจะคุยกับเขานะ เขาก็คือเพื่อนเราทั้งนั้น

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กับดักชาตินิยม ชาญวิทย์ ศิริเกษตร


Posted by ภีรเดช โกตมวรีสุรนารถ
หมายเหตุ: บทความหน้าแรกจากแทบลอยด์ไทยโพสต์

ลัทธิชาตินิยมนั้นเป็นอะไรก็ตามที่สามารถจะไปได้ไกลมากๆ คือลัทธิชาตินิยมเป็นเรื่องของความรัก ความรักชาติ เป็นห่วง เป็นพลังสร้างสรรค์ แต่ถ้าล้ำเส้นมันก็กลายเป็นความหลง พอหลงปุ๊บคลั่ง หลงปุ๊บตาบอด หลงก็คลั่ง แล้วมันอาจไปถึงขนาดทำอะไรก็ได้ กลายเป็นพลังลบ เป็นพลังทำลาย อันนี้คือทวิลักษณ์ของลัทธิชาตินิยมเช่นเดียวกัน มีด้านที่เป็นบวกซึ่งดีมากๆ ถ้าเรารักชาติเราเสียสละ เราทำอะไรให้ชาติบ้านเมืองเราเจริญ ทำได้เยอะมาก

พลังของ ‘ชาตินิยม’ เป็นสิ่งที่อธิบายได้ไม่ง่ายนัก ‘ชาติ’ ทำให้เราขนลุก ทำให้เรารู้สึกว่าจะทำอะไรก็ได้ที่เป็นการเสียสละ ที่คนจำนวนเป็นล้านๆ ที่ต้องตายลงโดยสิ่งที่อธิบายได้ยากยิ่ง

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อธิบายไว้ในงานเขียนเล่มล่าสุด ‘ลัทธิชาตินิยม/สยามกับกัมพูชาและกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร’..แม้ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา คราวนี้จะไม่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร แต่วาทกรรม ชาตินิยม ก็กำลังถูกปลุกกระแสไม่ต่างกัน แทบลอยด์เลือกสัมภาษณ์ อ.ชาญวิทย์ แม้จะรู้ดีว่าในกระแสรักชาติที่กำลังเชี่ยวเช่นนี้ การหยุด ฟัง นั้นอาจจะเกิดขึ้นได้ยากก็ตามที
ทวิลักษณ์ชาตินิยม
“ชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ เป็นอุดมคติที่สำคัญมากๆ สำหรับ รัฐ หรือว่าประเทศสมัยใหม่ก็มีทุกประเทศ ผมคิดว่าชาตินิยมของประเทศเรานั้น ที่เป็นมาแต่เดิมเป็นลักษณะผสมระหว่างสิ่งที่นักวิชาการเรียกว่าเป็น ราชาชาตินิยม กับสิ่งที่เรียกว่า อำมาตยา-เสนาชาตินิยม ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อพัฒนามาถึงปัจจุบันแล้วจะมีหัวใจอยู่ที่สถาบันพระมหา กษัตริย์ และในบางครั้งก็จะเอาเรื่องของเชื้อชาติ อย่างเช่นพูดเรื่องความเป็นไทยเข้าไปบวกด้วย เพราะฉะนั้น อันนี้ผมมองว่าเป็นลักษณะดั้งเดิมของลัทธิชาตินิยมของเรา ซึ่งอาจจะบอกได้ว่าเป็นทวิลักษณ์ก็ได้ มีการประสานกันระหว่างสิ่งที่เป็นราชากับเป็นอำมาตยา-เสนาชาตินิยม ก็เป็นเวอร์ชั่นซึ่งรัฐผู้ปกครองใช้มาอย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร เป็นระยะเวลาผมคิดว่าสักเกือบๆ 100 ปีมาแล้วก็ได้”

“พอ มาถึง ณ จุดนี้ ถามว่าลัทธิชาตินิยมฉบับดั้งเดิมจะมีผลหรือไม่ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการปลุกกระแสลัทธิชาตินิยมขึ้นมาอย่างที่เราเห็น กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้หรือขัดแย้งกันเอง ในกลุ่มการเมืองภายในประเทศอย่างที่เราเห็นมาตั้งแต่ปี 2548-2549 ก็ยกประเด็นชาตินิยมฉบับดั้งเดิมนี้ขึ้นมา ว่าด้วยชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเราก็เห็นว่ามีการตอกย้ำว่าด้วยเรื่องสถาบันกษัตริย์อยู่ตลอดเวลา เรื่องของความไม่จงรักภักดี เรื่องของการทรยศ เรื่องของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็จะเห็นมาตลอดตั้งแต่ปี 2548 จนกระทั่งเกิดรัฐประหารปี 2549 เราก็เดินมาอย่างนี้ 2550, 2551, 2552 และ ตอนนี้มันขยายออกไปอีกจากความขัดแย้งการเมืองภายในของเหลืองกับแดง ผมว่ามันขยายไปอีกจนกระทั่งกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ คือไทยกับกัมพูชา ผมคิดว่าอันนี้จะมีบทพิสูจน์ว่าชาตินิยมเวอร์ชั่นนี้ ที่ว่าด้วยชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะยังมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่

ผมคิดว่าอันนี้เป็นบทพิสูจน์นะครับ คือผมคิดว่าในด้านหนึ่งถ้าเรานิยามชาตินิยมอยู่ตรงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็น 3 ใช่ไหม มันก็จบ ถ้าตกลงกันว่าแค่นี้ก็จบ แต่ผมคิดว่าใน 70-80 ปีที่ผ่านมา มันมีปรากฏการณ์อันหนึ่ง ก็คือการเติมคำว่าและเข้าไป คำว่าและนี่สำคัญมาก อย่างเช่นในตอนแรกมีการเติมคำว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็เปลี่ยนลักษณะของลัทธิชาตินิยมเก่าไป แน่นอนจากวิวัฒนาการประวัติศาสตร์ทางการเมืองของเรา คำว่าและรัฐธรรมนูญ มันก็ยังไม่เป็นผล มันก็ยังไม่ลงหลัก มีการเปลี่ยนและนี่อยู่เรื่อย และรัฐธรรมนูญฉบับไหนล่ะ จะฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 ซึ่งยังเป็นและรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรสยาม จนกระทั่งมาฉบับที่ 3 จนกระทั่งถึงฉบับปัจจุบัน คือฉบับที่ 18 ราชอาณาจักรไทย และคำนี้ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ”

“แต่มันมีอะไรบางอย่างที่ผมสะกิดใจนะ และก็สะดุดตา ก็คือว่าภายหลังเหตุการณ์พฤษภาเลือด 2535 สถานที่ราชการของทหารอย่างน้อย 2 แห่งที่ถนนราชดำเนินนอก เขียนไว้เหนือตึกกับเหนือประตูทางเข้าของโรงเรียนนายร้อย จปร.เก่าว่า ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ผมคิดว่าตรงนี้น่าสนใจมาก แปลว่ามันจะต้องมีอะไรบางอย่างนับตั้งแต่ปี 2535 และประชาชน คำนี้น่าสนใจมาก เพราะว่ารัฐธรรมนูญเรายังมองเห็นได้ใช่ไหมครับ เราจับต้องได้ เป็นกระดาษ เขียนขึ้นมาอยู่ในสมุดไทยวางอยู่บนพานรัฐธรรมนูญอะไรก็ตาม แต่และประชาชนนี่ อะไรคือประชาชน คำนี้เป็นคำที่ผมว่าเป็นนามธรรมมาก อย่างกรณีประธานาธิบดีลินคอล์น บอกว่าประชาชนธิปไตยคือ การปกครองของประชาชน โดย ประชาชน เพื่อประชาชน ประชาชนนี่คือใคร ใครๆ ก็บอกว่าเป็นประชาชนได้ใช่ไหมครับ ประชาชนในที่สุดแล้วมันจะไปพิสูจน์เอาในวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง 51 ต่อ 49 ก็ถือว่าชนะแล้วในระบอบการปกครองประชาธิปไตยสมัยใหม่ ก็กลายเป็นเสียงข้างมากแล้ว 51 ต่อ 49 ก็อ้างว่าเป็นประชาชนได้ เพราะ ฉะนั้น ตรงนี้ผมคิดว่าสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันของการต่อสู้ ทั้งการเมืองภายในระหว่างสีเหลืองกับสีแดง และคู่ต่อสู้มีทั้งทางฝ่ายของพรรครัฐบาลของคุณอภิสิทธิ์ มีทั้งฝ่ายพันธมิตรฯ สีเหลือง มีทั้งฝ่ายสีแดง ซึ่งก็อาจจะพูดได้ว่าผู้นำก็คือคุณทักษิณกับคุณชวลิตนั่นเอง มันจะออกมาอย่างไรในการต่อสู้นี้ เพราะในที่สุดแล้วผมคิดว่าต้องมีเลือกตั้งไม่ช้าก็เร็ว และตรงนั้นแหละมันจะพิสูจน์ว่าคำว่าและประชาชน จะ 60 ต่อ 40 หรือ 55 ต่อ 45 จะอยู่กับข้างไหน จะอยู่กับวิธีการตีความและอ้างอิงของชาตินิยมเวอร์ชั่นเดิม หรือจะอยู่กับวิธีการและการตีความของเวอร์ชั่นใหม่ อันนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เราจะต้องจับตากันแบบไม่กะพริบเลย”

เท่ากับพิสูจน์ว่า ชาตินิยมแบบเก่ายังมีประสิทธิภาพแค่ไหน

“ตรงนั้นจะเป็นตัวบอกว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพ ตรงนั้นจะเป็นตัวบอกว่าจะใช้ได้ผลไหม แต่ผมคิดว่าใกล้ๆ ตัวเราต้องดูว่าการชุมนุมในวันอาทิตย์ที่ 15 จะเป็นอย่างไร จะมีคนมาแค่ไหน จะจบลงในวันเดียวเพื่อแสดงพลังหรือว่าจะขยายต่อไปอีก อันนี้ผมคิดว่าก็คงต้องตามดูอย่างตาไม่กะพริบเช่นกัน เพราะว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ”

ถึงกระนั้น หลังจากอภิสิทธิ์ตอบโต้กัมพูชากลับไป ก็ทำให้โพลล์ความนิยมเพิ่มขึ้นมาก นั่นแสดงว่าคนไทยก็ยังมีฐานความคิดชาตินิยมเก่าอยู่พอสมควร

“ชาตินิยมฉบับดั้งเดิมที่เราใช้กันมาเกือบ 100 ปีฝังรากลึกมากนะครับ กี่เจเนอเรชั่น ถ้าคิดถึงเจเนอเรชั่นที่โดนปลุกระดมอย่างรุนแรง คือเจเนอเรชั่นแม่ผม แม่ผมก็เติบโตเป็นสาวในสมัยประมาณช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณช่วงเปลี่ยนจากสยามเป็นไทย มารุ่นผมซึ่งเป็นรุ่นขิงแก่ และหลังรุ่นผมนี่มีอีกกี่รุ่นล่ะ ผมก็นึกถึงรุ่นลูก หลาน และเหลนด้วยซ้ำบางที ประมาณ 4-5 เจเนอเรชั่น 4-5 ชั่วอายุคน เพราะฉะนั้นมันฝังรากลึกมาก สะกิดปุ๊บมันก็ติด ต้องพูดว่าจุดปุ๊บก็ติดปั๊บ แต่มันก็มีแต่อีกว่ากระแสนี้จะรักษาได้ยาวเท่าไหร่ นานเท่าไหร่ โพลล์ที่บอกว่า 3 เท่าตัวจะอยู่ไหม คือโพลล์ผมก็คิดว่ามันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา มันมีปัญหามีเทคนิคมีอะไรเกี่ยวกับโพลล์เยอะแยะ ซึ่งคงจะพูดไม่ได้ครอบคลุม แต่ผมคิดว่าเพียงเมื่อประมาณ 2-3 อาทิตย์ที่แล้ว โพลล์ก็บอกว่าคุณทักษิณนำคุณอภิสิทธิ์ แต่ตอนนี้โพลล์ของคุณอภิสิทธิ์ได้รับความนิยมถึง 3 เท่า แต่อันนี้จะอยู่ไหม และผมคิดว่าเผลอๆ มันไปพิสูจน์เอาเมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งเมื่อไหร่เราก็ไม่รู้ ตัวตัดสินน่าจะอยู่ตรงนั้น”

ประวัติศาสตร์บาดแผล
การ นัดชุมนุมของพันธมิตรฯ ในวันอาทิตย์นี้ก็น่าจะวัดได้ระดับหนึ่ง ว่ากระแสชาตินิยมจะปลุกขึ้นได้เพียงใด อ.ชาญวิทย์ยังไม่แน่ใจนัก เพราะเงื่อนไขเวลานี้ต่างจากยุคสฤษดิ์-จอมพล ป.

“เพราะ ว่าเอาเข้าจริง ถ้าเราดูเรื่องการปลุกกระแสชาตินิยมในอดีต มันถูกปลุกโดยรัฐ ถูกปลุกโดยรัฐบาล แต่ปัจจุบันรัฐบาลมีส่วนปลุกไม่เต็มที่ คือผมไม่คิดว่ารัฐบาลจะไม่ปลุกเลยนะ ผมคิดว่ารัฐบาลปลุก รัฐบาลปลุกและก็รัฐบาลใช้เครื่องมือที่มีอยู่ โทรทัศน์บางช่องที่ออกมาเสนอประวัติศาสตร์บาดแผล ประวัติศาสตร์ฉบับพิกลพิการว่าด้วยพระยาละแวกอะไรอย่างนี้ คือ ใช้วาทกรรมว่าพระนเรศวรนั้นล้างแค้นตัดหัวกษัตริย์กัมพูชาเอาเลือดมาล้างพระ บาท ดูแล้วเหมือนกับพระนเรศวรนั้นใจดำอำมหิตมากเลย ล้างแค้นถึงขนาดหนัก แต่เอาเข้าจริงมันเป็นประวัติศาสตร์ซึ่งถูกทำให้เชื่อว่าพระยาละแวกถูกจับ ตัดหัว แต่ในข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น กษัตริย์กัมพูชาหรือพระยาละแวกหนีไปเมืองลาวได้ อันนี้เป็นงานประวัติศาสตร์ซึ่ง อ.จันทร์ฉาย ภัคอธิคม ทำการศึกษาค้นคว้า เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เธอทำการค้นคว้าเรื่องพิธีปฐมกรรมพระยาละแวก และเธอก็ได้เป็นศาสตราจารย์ไปเพราะว่างานค้นคว้ายอดเยี่ยมมาก และก็ได้พิสูจน์แล้วว่าพระนเรศวรตีเมืองละแวกได้ แต่ฆ่าพระยาละแวกไม่ได้

แต่ ว่าประวัติศาสตร์อีกอันหนึ่งที่โทรทัศน์ของรัฐเอาขึ้นมาใช้ปลุกระดม ซึ่งผมคิดว่าอันนี้น่าเป็นห่วง มันเป็นการใช้ประวัติศาสตร์บาดแผลมาตอกย้ำ ทำให้เกิดความบาดหมางกับกัมพูชาต่อไป ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้คนไทยรับข้อมูลผิดๆ สืบทอดอคติความคิดที่เป็นลบต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด”

“แต่ ว่าประเด็นที่พูดก็คือว่า การปลุกกระแสชาตินิยมส่วนใหญ่อันนี้ ก็คือทำโดยกลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่มเสื้อสีเหลือง ซึ่งไม่ใช่องค์กรของรัฐ ดังนั้นก็จะต่างกับสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่างจากสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม อันนั้นใช้เครื่องมือของรัฐโดยตรงเลย แต่ตรงนี้ต่าง เมื่อต่างแล้วก็อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่เคยเป็นมาในอดีต และมันต่างอีกตรงที่ว่าปัจจุบัน คือสมัยสฤษดิ์กับสมัยจอมพล ป. ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีคู่ต่อสู้ทางการเมือง จึงเล่นได้ค่อนข้างสบายมาก เพียวๆ ไปเลย ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปลุกระดมเรื่องการแพ้คดีเขาพระวิหารนั้น พรรคฝ่ายค้านคือประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคคือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก็เป็นทนายให้รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ดังนั้นไม่มีคนคัดค้าน”

“ผมคิดว่าปัจจุบันมันมีกลุ่มการเมืองเยอะแยะที่ไม่เห็นด้วย คุณชวลิต คุณทักษิณนี่ชัดเจน และก็กลุ่มเสื้อแดง รวมทั้งยังมีความหลากหลายอีกเยอะแยะ ผมคิดว่ากลุ่มนักวิชาการถึงแม้จะเป็นกลุ่มเล็กๆ เสียงไม่ดังมากเท่ากับนักวิชาการกระแสหลัก ก็ไม่เห็นด้วยไม่น้อย และผมคิดว่าข้อสำคัญโลกปัจจุบันมันเป็นโลกของอินเทอร์เน็ต คนจำนวนมากเลยที่มีความรู้มีสถานะ สามารถใช้สื่อทางเลือก ไม่พึ่งกับสื่อปกติ ไม่พึ่งอยู่กับโทรทัศน์วิทยุ อย่าง ผมนี่ปกติผมจะไม่ค่อยดูโทรทัศน์ เพราะผมคิดว่าโทรทัศน์นั้นอ่านข่าวและวิจารณ์ข่าวไปในตัว ผมว่าทำให้เรากลายเป็นจำเลยของคนอ่านข่าว มันไม่ให้อิสระเราได้คิด เขาให้เราเลยว่ามันคืออะไร แต่ผมคิดว่าการอ่านหนังสือพิมพ์หรือการอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต มันมีอิสระที่ว่าเราคิดได้ เรามีเวลาคิด เราค่อยๆ อ่านก็ได้ ผมคิดว่าโทรทัศน์นี่เป็นอันตรายมากๆ เพราะฉะนั้นตัวผมเองไม่ค่อยดู ตามอยู่บ้างแต่ว่าไม่ค่อยดู คิดว่ามันทำให้คนไม่สามารถสร้างความคิดอิสระได้ ไม่สามารถจะปลดปล่อย ตกเป็นทาส

เพราะฉะนั้นแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วมันมีคนจำนวนหนึ่งที่หันไปหาสื่ออื่น ทำให้การปลุกระดมอย่างที่เคยทำมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยจอมพลสฤษดิ์ หรือสมัย 6 ตุลาก็ได้ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สมัย 6 ตุลา 19 มองกลับไป fax ยังไม่มีเลย โทรศัพท์มือถือก็ยังไม่มี พอมาพฤษภาเลือด 2535 มี fax มี โทรศัพท์มือถืออันใหญ่ๆ และก็มีกล้องวิดีโอ ผมคิดว่าเทคโนโลยีสำคัญมากๆ ใครแพ้ใครชนะผมว่าบางทีเทคโนโลยีสำคัญมาก ฉะนั้น ในขณะนี้ใครไม่เล่นอินเทอร์เน็ต ใครไม่มีอี-เมล์เสียเปรียบมากนะ เจเนอเรชั่นผมส่วนใหญ่ไม่เล่นนะ พวกขิงแก่นี่ไม่เล่น แต่ผมบังเอิญต้องไปสอนหนังสือเมืองนอกบ่อยๆ มันก็เลยมีความจำเป็นต้องใช้ เราก็ไม่อายที่จะให้เด็กมาสอน บางทีเราไปอยู่เมืองนอกเราไม่ค่อยอายเท่าไหร่ อยู่เมืองไทยอาจจะอาย ไม่กล้าบอกว่าเล่นอินเทอร์เน็ตไม่เป็น บางคนอาจจะต้องมี e-mail address ไว้ แต่ไม่เคยเปิด เพราะฉะนั้นคนที่ไม่สามารถจับเทคโนโลยีพวกนี้ได้เสียเปรียบมากๆ ก็แปลว่า ในอีกด้านหนึ่งคนจำนวนหนึ่งเขาหันไปหาสื่อทางเลือก ผมคิดว่าอันนี้จะเป็นประเด็นสำคัญมากในแง่ของการต่อสู้ในการเมืองครั้งนี้”

เมื่อเทียบกับยุคก่อน ความขัดแย้งของสองประเทศที่อ่อนไหวขนาดนี้ป่านนี้คงลุกลามไปไกลแล้ว

“มันมีคนออกมาทานมีคนออกมาติง เพราะฉะนั้นมันก็อาจจะไม่ร้อนแรงเท่าที่ควร แต่ก็ไว้วางใจไม่ได้นะครับ เพราะว่าลัทธิชาตินิยมนั้นเป็นอะไรก็ตามที่สามารถจะไปได้ไกลมากๆ คือลัทธิชาตินิยมเป็นเรื่องของความรัก ความรักชาติ เป็นห่วง เป็นพลังสร้างสรรค์ แต่ถ้าล้ำเส้นมันก็กลายเป็นความหลง พอหลงปุ๊บคลั่ง หลง ปุ๊บตาบอด หลงก็คลั่งแล้วมันอาจไปถึงขนาดทำอะไรก็ได้ กลายเป็นพลังลบ เป็นพลังทำลาย อันนี้คือทวิลักษณ์ของลัทธิชาตินิยมเช่นเดียวกัน มีด้านที่เป็นบวกซึ่งดีมากๆ ถ้าเรารักชาติเราเสียสละ เราทำอะไรให้ชาติบ้านเมืองเราเจริญ ทำได้เยอะมาก แต่ถ้าเราข้ามเส้นบางเส้นไป ซึ่งมันอยู่ตรงไหนเราก็ไม่รู้นะ”

เส้นที่ว่านั้นอาจต้องมีศัตรูของชาติเสียก่อน

“อันนี้หละมันถึงมีวาทกรรมประหลาดๆ เข้ามา วาทกรรมว่าด้วยพระยาละแวก วาทกรรมว่าด้วยตะกวดลิ้นสองแฉก วาทกรรมว่าด้วยขอมไม่ใช่เขมร วาทกรรมว่าด้วยแผนที่ของฝรั่งเศสฝ่ายเดียว วาทกรรมว่าด้วยทางขึ้นสันปันน้ำอยู่ทางด้านเรา มันเป็นการสร้างทัศนคติที่เป็นลบ เป็นการสร้างอคติอย่างรุนแรงมากๆ”

กระทั่งมาถึงวาทกรรมล่าสุดที่ว่า คลั่งชาติดีกว่าขายชาติ

“ไม่น่าเชื่อนะว่ามันมาจากคนซึ่งมีการศึกษา ส่วนใหญ่แล้วชาตินิยมมักถูกปลุกโดยคนเมืองเป็นส่วนใหญ่ เป็นคนกรุงเทพฯ เป็นคนเมือง เป็นคนที่อย่างน้อยต้องมีปริญญาตรี ผู้นำของลัทธิชาตินิยม ดูกลับไปเถอะครับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หลวงวิจิตรวาทการ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์”

“สิ่ง ที่ผมคิดว่ามันน่าวิตกมากก็คือ การเมืองภายในของความขัดแย้งที่ไม่ยอมจบไม่ยอมสิ้น ผมคิดว่าเมื่อล้มคุณทักษิณไปได้ด้วยการรัฐประหาร ก็ต่อต้านนอมินีของคุณทักษิณต่อ ก็คือคุณสมัคร สุนทรเวช กับคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในช่วงของการพยายามล้มคุณสมัครกับล้มคุณสมชาย มันมีเหตุบังเอิญเรื่องการขึ้นมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร มันกลายเป็นเหมือนกับสวรรค์บันดาล ส่งอะไรมาให้จุดปุ๊บติดปั๊บเลย มันก็กลายเป็นเรื่องที่สามารถจะใช้ถล่มทั้งคุณสมัคร คุณสมชาย คุณนพดลได้ และผมคิดว่ามันก็บานปลายต่อไป ถึงได้คู่ต่อสู้ใหม่คือสมเด็จฮุน เซน บานปลายถึงตรงนั้นกลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศไป และมันก็กระทบกว้างมากๆ เพราะมันไม่ใช่เรื่องในบ้านเรา และก็ไม่ใช่เพียงไทยกับกัมพูชา มันกลายเป็นอาเซียน มันกลายไปขึ้นเวทีโลก เป็นสิ่งซึ่งผู้คนทั้งหลายก็มองอย่างวิตกกังวล และเผลอๆ อาจจะค่อนข้างประหลาดใจและเผลอๆ ดูถูกดูแคลนด้วย ประเด็นมันคล้ายกับมันไม่มีวุฒิภาวะหรืออย่างไร ในวงการทูตที่ผมพบเจอในกรุงเทพฯ บรรดาข้าราชการการทูตของต่างประเทศเขาก็รู้สึก บาง คนก็ประหลาดใจ ระคนกับความมองที่เหมือนกับว่าไอ้นี่มันอะไรนะ ทำนองนี้ ซึ่งในด้านหนึ่งมันก็น่าเศร้า อีกด้านหนึ่งเรื่องนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก คือน่าห่วง ผมคิดว่ามันมีสิทธิ์บานปลายมากๆ เลย”

“เลยกลายเป็นเรื่องของคุณทักษิณกับคุณอภิสิทธิ์ (หัวเราะ) ผมว่าดูๆ แล้วตกลงใครวางกับดักใคร คุณชวลิตไปพนมเปญกลับมาปุ๊บเป็นประเด็นเลย เรื่องจะมีบ้านพักหรูหราให้ และก็ตามมาด้วยฮุน เซน บอกว่าไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามมาด้วยคุณทักษิณไปบรรยายพิเศษ ตามมาด้วยคุณอภิสิทธิ์เรียกทูตกลับ มันว้าวุ่นไปหมดนะ ผมคิดว่าการต่าง

เราไม่ได้ถือไพ่เหนือกว่า พวงทอง ภวัครพันธุ์


ที่มา:ไทยโพสต์

เขาเคลื่อนไหวแต่ละครั้งมันก็เป็นข่าวที่ทำให้ไทยปวดหัวมาโดยตลอด เราจะชอบเขา-ไม่ชอบเขา นั่นเรื่องหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าเขาเป็นของแข็ง ความสัมพันธ์ที่มีกับเขาเราต้องสุขุมรอบคอบ และต้องเข้าใจเขามากขึ้น ไม่อย่างนั้นเราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เราไม่ได้ถือไพ่เหนือเขาอย่างที่เราคิดว่าเราเป็น

มีกระแสชาตินิยมในช่วงที่ผ่านมาคอยให้ข้อมูลผิดๆ กับประชาชนเรื่องของ 4.6 ตร.กม. การปฏิเสธที่จะให้มีการประนีประนอมกันในการพัฒนาร่วมพื้นที่นี้ ไม่ว่ารัฐบาลไหนขึ้นมาก็จะทำเรื่องนี้ได้ยากมาก จะเป็นอุปสรรคไม่ให้มีการเจรจาตกลงกันด้วยสันติวิธี ดังนั้น ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาก็จะลุ่มๆ ดอนๆ ไปอย่างนี้อีกพักใหญ่

//////////////

ตลอด 2 สัปดาห์นี้ ประเด็นความขัดแย้งไทย-กัมพูชา อยู่ในความเป็นห่วงของแวดวงนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คือหนึ่งในนักวิชาการที่ติดตามประเด็นความขัดแย้งมาตั้งแต่กรณีปราสาทพระวิหาร สำหรับหนนี้ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า การแลกกันแบบหมัดต่อหมัดอยู่อย่างนี้รังแต่จะเจ็บหนักกันทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายไทยที่ได้ออกหมัดเด็ดไปแล้ว ตั้งแต่เรียกทูตกลับ ยกเลิกเอ็มโอยูพื้นที่ทับซ้อนไหล่ทวีป ทบทวนโครงการช่วยเหลือและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จะเหลือก็แต่ไม้ตายสุดท้ายคือการปิดชายแดน ซึ่งฮุน เซน สวนกลับทันควันว่าหากไทยปิด กัมพูชาก็พร้อมเช่นกัน

เจ็บทั้งสองฝ่าย
"ถ้าเราดูความขัดแย้งล่าสุดของไทย-กัมพูชาในขณะนี้ และการโต้ตอบกันไปมา ท่าทีของนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ที่มีต่อไทยก็ จะเห็นว่าเขาไม่ได้อ่อนข้อให้กับไทยในอย่างที่ไทยคาดหวังว่าจะเป็น คือถ้าไทยแรงไปเขาก็แรงกลับ ซึ่งอันนี้ทำให้เราต้องกลับไปดูว่าเวลาที่รัฐบาลไทยตอบโต้กัมพูชา เป้าหมายคืออะไร ดิฉันคิดว่าเป้าหมายอันหนึ่งก็คือว่า ต้องการที่จะลงโทษกัมพูชา และรัฐบาลไทยอาจจะคิดว่าตัวเองถือไพ่เหนือกว่ากัมพูชา ในแง่มองเห็นว่าเราเป็นประเทศใหญ่กว่า เรามีการค้า ได้กำไรทางการค้า เรามีการลงทุนในกัมพูชามากกว่า เราให้ความช่วยเหลือกัมพูชาด้วย ในเรื่องการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในการสร้างถนน และก็คิดว่าเราอยู่ในฝ่ายที่อยู่เหนือกว่ากัมพูชา แต่ถ้าเราดูท่าทีของฮุน เซน แล้ว เห็นว่าเขาไม่ได้แคร์สิ่งเหล่านั้นเลย เขามีความเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น ในแง่ที่ว่าเขาไม่ได้พึ่งพิงประเทศไทยประเทศเดียว หรือไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจกับไทยอย่างเดียว จะใช้ว่าพึ่งพิงก็ไม่ถูก"

"จริงๆ แล้วเขาไม่ได้พึ่งพิงไทยอย่างเดียว โลกในปัจจุบันมันเป็นการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน มันเป็นเรื่องของเศรษฐกิจการค้า ซึ่งถ้าคนซื้อเขาไม่ซื้อ คนขายก็เจ็บตัวไปด้วย มันไม่ใช่ว่าเราคิดว่าเขาต้องพึ่งพิงสินค้าเราแต่ฝ่ายเดียว ทุกวันนี้สินค้าที่ไทยเราขาย จีนก็ขาย เวียดนามก็ขาย เขาซื้อจากเราไม่ได้ เขาก็ไปซื้อจากเวียดนามจากจีนซึ่งถูกกว่าเราด้วยซ้ำไป และในแง่ของการลงทุน ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ไทยก็ไม่ใช่เป็นประเทศใหญ่ที่ให้เขา เราไม่ใช่เป็นประเทศใหญ่อีกต่อไปที่ไปลงทุนในประเทศเขา ในแง่ของการลงทุน ถามว่าเราสามารถที่จะถอนการลงทุนของเราได้ทันทีไหม ถ้าเราคิดว่าอันนี้คือไพ่ที่เหนือกว่า ดิฉันคิดว่าถ้าถอนทันที-ไทยเราเจ็บตัว นักธุรกิจไทยเจ็บตัวแน่ๆ และบริษัทเหล่านี้ ถ้าเราไปดูมันเป็นบริษัทข้ามชาติ เป็นบริษัทมหาชนในประเทศไทยทั้งนั้นที่เข้าไปลงทุน บริษัทเหล่านี้เขาก็ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นด้วย การลงทุนเป็นร้อยล้านพันล้าน มันไม่ใช่ว่าจะถอนตัวมาได้เพียงชั่วข้ามคืน อาจจะยังไม่ได้ทุนคืนด้วยซ้ำไป"

"เราจะเห็นว่าคุณอภิสิทธิ์อึดอัดอย่างมาก ตอนหลังเวลาที่ถูกทางกัมพูชาตอบโต้มาและเราไม่มีไม้เด็ดที่จะออกไปอีก เพราะเราเล่นเอาไม้เด็ดออกไปตั้งแต่ครั้งแรกเลย พอเขาชกมาปุ๊บก็ปล่อยไม้เด็ดออกไปเลย นั่นก็คือการเรียกทูตกลับ ถ้าเราทำตามขั้นตอน เรียกทูตกัมพูชามายื่นจดหมายประท้วง ส่งหนังสือประท้วงออกไป ในเวลาที่เขาตอบโต้มาเรายังมีขั้นตอนต่อไป อันนี้รัฐบาลกำลังอยู่ในภาวะที่ทำต่อไปไม่ได้ เพราะว่าในที่สุดแล้วมันจะเจ็บ คือจะสั่งให้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเด็ดขาด ปิดชายแดน รัฐบาลก็รู้ว่าใครจะเดือดมากกว่า เพราะเวลาปิดชายแดนแต่ละครั้ง อย่างปิดชายแดนไทย-พม่า ซึ่งพม่าเวลาเขาปิดชายแดนเขาสั่งปิดทันที เขาไม่ได้ยืดเยื้อเลย และเขาก็รู้ว่าเราเดือดร้อน เพราะว่าเราต้องแคร์ถึงพ่อค้านักลงทุนของไทย"

เห็นได้ชัดว่าการเดินนโยบายการทางการทูต ให้น้ำหนักกับปัญหาการเมืองระหว่างรัฐบาล-ทักษิณมากเกินไป

"เป็นไปได้ว่าคนที่แวดล้อมคุณอภิสิทธิ์มีความไม่ชอบฮุน เซน มากๆ ฉะนั้น การกำหนดนโยบาย มาตรการที่ออกมา มันเป็นการเน้นความสะใจ เอาแรงเข้าว่าไว้ก่อน โดยที่ไม่ได้ทำการบ้านว่ามาตรการที่ออกมา มันจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อไทยในระยะยาว ก็ลำบาก มันก็เป็นข้อผิดพลาดตั้งแต่แรกแล้ว ตั้งแต่ตั้งรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ที่เอาคุณกษิตมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ก็น่าจะรู้ว่าปัญหาไทย-กัมพูชาเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ หรือว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่รู้ก็ไม่รู้นะ อาจจะประเมินเรื่องความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา เรื่องปราสาทพระวิหารต่ำไปหน่อย ให้ความสำคัญกับกัมพูชาน้อยไปหน่อย ถึงได้ไปเอาคุณกษิตขึ้นมา ตอนนั้นอาจจะแค่มุ่งหวังให้คุณกษิตทำหน้าที่ตามไล่ล่าคุณทักษิณก็ได้ และก็ไม่สนใจความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน คิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ซึ่งดิฉันคิดว่าคุณอภิสิทธิ์รู้เรื่องการต่างประเทศน้อยเกินไป ซึ่งในเมื่อคุณเลือกผิด ผลที่ออกมามันก็เป็นอย่างที่เห็น"

จนถึงวันนี้ รัฐบาลไทยก็ยังเห็นว่าการตัดความช่วยเหลือเหมือนหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาจะได้ผล

"กรณีไทยให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชา ทั้งแบบให้เปล่าและแบบเงินกู้เริ่มขึ้นหลังสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ไทยต้องการเข้าไปทำมาหากินในประเทศเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาลไทยยุคนั้นตระหนักว่าเพื่อนบ้านไม่ไว้วางใจเรา ความไม่ไว้ใจย่อมเป็นอุปสรรคต่อความฝัน ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ในเรื่องของความช่วยเหลือที่เราให้ ดิฉันไม่รู้ว่ารัฐบาลตัดสินใจระงับไปหรือยัง เอ็มโอยูความช่วยเหลือต่อกัมพูชาในเรื่องการสร้างถนน เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1,400 ล้านบาท ตรงนี้ถามว่าใครได้ประโยชน์ที่เราช่วยเขา จริงๆ แล้วกลับไปดูเป้าหมายพื้นฐานเลย การที่เราช่วยเขามันทำเพื่อตัวเอง ไม่ได้ทำเพื่อกัมพูชา ซึ่งในช่วงที่เกิดขึ้นก็มีกลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มชาตินิยม ก็บอกให้ตัดเลย ลงโทษให้เข็ดหลาบ ไม่จำเป็นต้องไปช่วยเหลือกัมพูชา จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ เป้าหมายของการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อสร้างถนนในกัมพูชา เพราะถนนเหล่านี้เป็นถนนที่เชื่อมโยงเข้าสู่ประเทศไทยทั้งนั้นเลย จากจังหวัดชายแดนไทยเรื่อยมาตั้งแต่ศรีสะเกษลงมาถึงตราด และเพื่อถนนเหล่านี้จะเชื่อมต่อเข้ากับถนนเส้นใหญ่ในกัมพูชา เพื่อเอาสินค้าของไทยไปขายในกัมพูชา ในพนมเปญ และก็ลงไปถึงเวียดนามใต้ แต่เราไปมองว่าเราให้เงินช่วยเขาเพื่อที่จะช่วยเป็นบุญคุณ นี่เป็นความเข้าใจที่ผิด และเราก็ไม่ใช่เป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเขามากที่สุด จีนกับญี่ปุ่นต่างหากที่ให้ความช่วยเหลือเขามากที่สุด เขากู้จากเราไม่ได้ เขาไปกู้จากที่อื่นก็ได้ ดังนั้นในแง่ของความช่วยเหลือฮุน เซน ก็จะเห็นว่าเขามีทางเลือก ในปัจจุบันเขามีความสัมพันธ์กับหลายประเทศ ทั้งประเทศเล็กประเทศใหญ่ กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งลาวทั้งเวียดนาม ประเทศที่อยู่นอกภูมิภาค กับฝรั่งเศสเองเขาก็มีการลงทุนเรื่องขุดเจาะน้ำมันกันอยู่ เขามีไพ่เล่นมากยิ่งขึ้น เขาไม่ใช่ในอดีตที่มาพึ่งพิงแค่เวียดนามกับไทย และก็ถูกแซนด์วิชโดยมีเวียดนามกับไทยขนาบข้าง และก็กดดันเขาได้อย่างในอดีต"

เพราะฮุน เซน ตระหนักแล้วว่าไทยไม่ใช่ทางเลือกเดียว ดังนั้น กัมพูชาจึงเดินความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทั้งประเทศเล็กใหญ่ ทั้งในและนอกภูมิภาค

"ดิฉันคิดว่ารัฐบาลคุณฮุน เซน อาจจะสรุปบทเรียนจากในอดีตที่เขาเป็นประเทศเล็ก และเขาจะต้องพึ่งพิงอยู่แค่ไทยและเวียดนาม และก็ปล่อยให้สองประเทศนี้มีอำนาจเหนือเขา แข่งขันกันมีอำนาจเหนือเขา สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องตระหนักก็คือว่า การมองความสัมพันธ์กับกัมพูชาในลักษณะที่คิดว่าตัวเองมีไพ่เหนือกว่ากัมพูชาหลายๆ ด้าน มันเป็นมรดกที่ตกค้างมาจากยุคสงครามเย็น ซึ่งโลกทุกวันนี้มันเปลี่ยนไป ยุคสงครามเย็นเราไม่พอใจที่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นคอมมิวนิสต์ เราสั่งปิดชายแดนไทย-กัมพูชา และก็ไทย-ลาวเลย ประกาศห้ามสินค้าตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันเรือรบเข้าไปขายในลาวและกัมพูชา เพื่อที่จะเป็นการกดดันให้ประเทศเพื่อนบ้านประสบกับความยากลำบาก เป็นการปิดล้อมประเทศคอมมิวนิสต์ แต่ในอดีตคนไม่ได้ทำการค้าซึ่งกันและกัน พอสงครามยุติลง รัฐบาลไทยสมัย พล.อ.ชาติชายบอกว่า ต้องการให้อินโดจีนเปลี่ยนจากสนามรบเป็นสนามการค้า เราก็เข้าไปค้าขายไปลงทุนอะไรมากขึ้น มันก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมันมีเรื่องที่ต้องคบค้าสมาคมในทางที่ดีมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ และความสัมพันธ์นี้มันดึงให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย พ่อค้าแม่ค้าตามชายแดน นักลงทุน นักท่องเที่ยว ที่เข้าไปเที่ยวในประเทศต่างๆ เหล่านี้"

"แต่คราวนี้มันดึงเอาประชาชน นักธุรกิจระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เราต้องคำนึงถึงมากขึ้น เวลาที่เกิดความสัมพันธ์มันร้าวฉานขึ้น การตัดสินใจที่จะปิดชายแดนง่ายๆ หรือว่าไม่ขายของให้เขา เลิกคบค้าเขา มันทำได้ยากยิ่งขึ้น เพราะว่าโลกวันนี้มันพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน นี่คือโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าประเทศเล็กจะต้องง้อประเทศใหญ่เสมอไป หลายๆ เรื่องมันมีลักษณะที่พึ่งพิงซึ่งกันและกัน"

ในขณะที่สถานการณ์กับไทยยังเขม็งเกลียว แต่ความสัมพันธ์กับเวียดนามกลับแน่นแฟ้น แม้จะมีปัญหาการรุกล้ำเขตแดนที่สวายเรียง แต่ ฮุน เซน ยังคงสงวนท่าที

"ปัญหาชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นประเด็นที่รัฐบาลฮุน เซน ไม่ต้องการที่จะให้มีปัญหามาตลอด คือเราจะเห็นว่าในช่วงที่ความสัมพันธ์ดี กัมพูชากับไทยสามารถที่จะตกลงกันในเรื่องของการพยายามที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาปักปันเขตแดน การพัฒนาร่วมกัน เอ็มโอยูที่รัฐบาลไทยเพิ่งประกาศระงับไป ในการปักปันพื้นที่เขตไหล่ทวีป ก็เป็นการตกลงว่าจะปักปันเขตแดนและพัฒนา เอาทรัพยากรทางทะเลขึ้นมาใช้ร่วมกัน ก็ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหา กัมพูชาก็มีปัญหาเรื่องเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 3 ด้าน ซึ่งก็เหมือนไทย ไทยก็มีทุกด้าน กัมพูชากับเวียดนามก็มีความพยายามที่จะแก้ปัญหามาตลอด แต่กัมพูชาก็มีอยู่ในภาวะที่มีสงครามอยู่ตลอด มันก็เริ่มที่จะเป็นเรื่องเป็นราวในสมัยเมื่อสงครามในประเทศยุติลง

ดิฉันคิดว่ากรณีเวียดนามมี 2 ด้านที่เราต้องมอง 1.ฮุน เซน เราก็รู้กันว่าเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับเวียดนามมาโดยตลอด นับตั้งแต่เวียดนามบุกเข้าไปโค่นล้มเขมรแดงในกัมพูชา ฮุน เซน กับเฮง สัมริน ก็คือทหารของเขมรแดงที่เข้าไปขอความช่วยเหลือจากเวียดนาม เพราะว่าไม่เห็นด้วยกับกลุ่มของพล พต ที่ใช้ความรุนแรงอย่างกว้างขวาง และมีการปราบปรามภายในพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาด้วยกันเอง เขาพึ่งพิงเวียดนามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สงครามยังไม่ได้ยุติลง และกัมพูชาถูกปิดกั้นความช่วยเหลือ การลงทุนต่างๆ จากนานาชาติ มีแต่เวียดนามและสหภาพโซเวียตที่ให้ความช่วยเหลือกัมพูชา ฉะนั้น มันมีความความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องยาวนานกันมา 20 กว่าปี ความรู้จักกัน ความเกรงใจก็ต้องมีแน่นอน บวกกับถ้าเราคำนึงว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลกัมพูชา รัฐบาลไทยก็ด้วยในอดีต ที่ต้องการแก้ปัญหาเรื่องชายแดนด้วยสันติวิธี แต่ขณะเดียวกันในกัมพูชามันก็มีกลุ่มชาตินิยม ซึ่งก็ลักษณะเดียวกับไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสม รังสี ใช้ประเด็นชาตินิยมอย่างมากในการเล่นงานรัฐบาลภายใน ซึ่งมันอันตราย ดิฉันว่าอันตรายพอๆ กับกลุ่มชาตินิยมในประเทศไทยนี่แหละ ที่ต้องการจะเล่นงานกลุ่มการเมืองภายใน และเอาเรื่องระหว่างประเทศมาเล่นงาน คุณสม รังสี ไม่เล่นงานกรณีไทย-กัมพูชาเท่าไหร่ เพราะเขาพึ่งไทยเยอะ เช่นรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์เชิญเขามาพูด กับเวียดนามเขารู้ว่ามีประเด็นที่มันจุดง่าย ในแง่ที่ว่าเขาประเมินว่าความรู้สึกของคนเขมรไม่ชอบคนเวียดนามมีสูง นี่เป็นความรู้สึกทั่วไปที่ดำรงอยู่ในกลุ่มคนเขมร เพราะว่าคนเวียดนามเองก็อพยพเข้าไปทำมาหากินในพนมเปญ ในจังหวัดชายแดน และเขาก็พยายามใช้ประเด็นนี้ดิสเครดิตฮุน เซน"

"ขณะเดียวกัน ในทางเศรษฐกิจกัมพูชาเขาก็มีความสัมพันธ์กับเวียดนามมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสงครามเย็นตอนที่เวียดนามเข้าไปใหม่ๆ เวียดนามจะเป็นคนให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินทอง อาหาร รวมถึงอาวุธยุทธปัจจัยด้วย แต่ขณะเดียวกันตอนนั้นเวียดนามก็ยังยากจนอยู่ ซึ่งอันนี้เป็นเหตุผลที่เวียดนามยินดีที่จะเข้าสู่การตกลงสันติภาพ และยุติปัญหาในกัมพูชาและถอนทหารออกไป เพราะตัวเองก็ไม่ไหวแล้ว ตอนช่วงปลายของสงครามเย็น เราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วตอนที่สงครามในกัมพูชายุติลง ตอนสมัย พล.อ.ชาติชายขึ้นมา และเป็นผู้ริเริ่มให้มีการเจรจาและนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 1993 เวียดนามเป็นประเทศเล็กๆ ไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆ เลยที่เข้าไปลงทุน และเป็นนักลงทุนรายใหญ่ แต่เราก็จะเห็นว่าเวียดนามเติบโตมากยิ่งขึ้น ในทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก จีดีพีเติบโตมาก และเศรษฐกิจของเวียดนามก็เน้นการส่งออกด้วย สินค้าที่เขาขายก็คล้ายๆ กับของไทยและของจีน แน่นอนคนเราขายของก็จะเน้นเพื่อนบ้านมากที่สุด ในแง่การขนส่งก็จะง่ายที่สุด ประหยัดที่สุด เราก็จะเริ่มเห็นว่าเวียดนามเข้าไปลงทุนขายสินค้าให้กับกัมพูชามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็เป็นคู่แข่งของไทย และไม่ใช่เฉพาะกัมพูชาอย่างเดียว สินค้าจำนวนมาก-อย่างข้าว ตอนนี้เวียดนามก็เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยที่ส่งไปขายในตลาดโลก ดังนั้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างที่ดำรงในขณะนี้เป็นลักษณะของทุนนิยม ไม่ใช่ลักษณะที่ให้ฟรีอย่างในช่วงสงครามเย็น เวียดนามก็เติบโตมากยิ่งขึ้น กับจีนก็เป็นนักลงทุนที่ติดอันดับ top 3 ก่อนหน้านี้ปริมาณการลงทุนในเวียดนามสูงกว่าจีน สลับกันกับจีน"

"อีกทั้ง ปัจจุบันในกัมพูชายังมีญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นลักษณะโครงการที่พยายามจะสร้างบูรณาการขึ้นให้กับกลุ่มประเทศ 5 ประเทศ รวมจีนด้วย แต่ว่าจีนไม่ค่อยได้อาศัยเงินจากญี่ปุ่นเท่าไหร่ ในการที่จะเชื่อมต่อโครงข่ายทางเศรษฐกิจของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ญี่ปุ่นเวลาเขาไปลงทุนเขามองภาพกว้าง ไม่เน้นประเทศใดประเทศหนึ่ง ดิฉันสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นการแข่งกับจีนด้วย ในเรื่องของการพยายามหาแหล่งทรัพยากร ซึ่งไม่ได้ป้อนให้แค่ญี่ปุ่นอย่างเดียว อาจจะป้อนให้กับบริษัทญี่ปุ่นที่กระจายอยู่ในภูมิภาคด้วย"

การรวมศูนย์อำนาจของฮุน เซน กว่า 20 ปีที่ผูกขาดบริหารประเทศ ในด้านหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า เขาทำให้เศรษฐกิจของกัมพูชาเข้มแข็งขึ้น ดร.พวงทองให้ความเห็นว่า แม้กัมพูชาในปัจจุบันจะยังถือว่าเป็นประเทศยากจน และก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากต่างประเทศอยู่มากพอสมควร แต่เมื่อเทียบกับวันแรกที่ฮุน เซน ขึ้นมา กัมพูชาในขณะนั้นเรียกว่ากลับไปนับหนึ่งใหม่ เรียกได้ว่าเริ่มต้นศักราชที่ศูนย์ (Year Zero)

"กลุ่มของเฮง สัมริน และฮุน เซน ขึ้นมาหลังเขมรแดง ซึ่งทำลายกัมพูชาอยางราบคาบเลย ระบบทั้งหลายแหล่ในประเทศ ระบบการเงิน การธนาคาร ไม่มีเหลือเลย การขนส่ง อุตสาหกรรม การศึกษา โรงพยาบาล เหล่านี้ถูกทำลายหมด 20 ปีให้หลัง เฮง สัมริน ขึ้นมาปี 2522 ตลอด 30 ปี กัมพูชาก็เติบโตขึ้นเยอะในแง่ของเศรษฐกิจ อาจจะดีกว่าพม่าด้วยซ้ำและก็ลาว ถ้าเราดูจีดีพีต่อหัว และการที่ประชาชนสามารถขยับฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเองขึ้นไปได้ ดิฉันเข้าไปกัมพูชาช่วงเดียวกับเข้าไปพม่าเมื่อสิบกว่าปีก่น สิ่งที่เห็นมันต่างกัน มันเห็นการเปลี่ยนแปลงในกัมพูชาเยอะทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ อย่างพระตะบอง พนมเปญ แต่พม่านี่ไม่ค่อยเปลี่ยน ฉะนั้น ด้านหนึ่งมันก็สร้างความพอใจให้กับคนเขมรอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในเมืองใหญ่ๆ แต่ถามว่าดีหมดทุกอย่างไหม-ยัง มันยังต้องไปอีกยาวไกล และปัญหาคอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ในรัฐบาลของกัมพูชา ในเขตชนบทเองก็ยังต้องการการพัฒนาอีกเยอะ

แต่ส่วนหนึ่งเราจะเห็นได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจในยุคของฮุน เซน มันก็ทำให้เขาได้คะแนนเสียงเยอะในการเลือกตั้ง ไปถามคนเขมร คนเขมรเขาก็เบื่อฮุน เซน ประชาชนที่ดิฉันเคยไปคุยด้วยเขาก็รู้สึกว่านานเหลือเกิน เขาอยากจะได้หน้าใหม่ๆ คนใหม่ๆ บ้าง ขณะเดียวกันเขาก็รู้ว่าฮุน เซน เผด็จการ รวบอำนาจอย่างไร มีการคอรัปชั่นอย่างไร แต่เขาไม่มีทางเลือกอื่นที่จะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเขา สม รังสี ก็ไม่ได้มีอะไรที่เป็นทางเลือกที่ชัดเจน ก็จะเน้นแต่เรื่องการเล่นกระแสชาตินิยม อีกด้านหนึ่ง ฮุน เซน เขาก็มีความสามารถในการที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับกลุ่มต่างๆ ด้วย กลุ่มการเมืองต่างๆ ในแง่หนึ่งอาจจะคล้ายคุณทักษิณในด้านนี้ ก็แบ่งกันไป มันทำให้อำนาจของเขามีฐานที่มั่นคง"

"อันหนึ่งที่ชัดเจนคือ มันมีการลงทุนเข้ามาเยอะมาก เกาหลีใต้เข้าไปในกัมพูชาเยอะมาก ตึกธุรกิจใหญ่ๆ ขึ้นเต็มไปหมดเลย อันนี้ก็หมายถึงว่าเกิดการจ้างงาน มันมีเงินหมุนเข้ามาในภาคธุรกิจมากขึ้น ไทยก็เข้าไปลงทุนเยอะแยะบริเวณชายแดน อย่างซีพี. ปูนซีเมนต์ พวกนี้มันก็เป็นการสร้างงานให้กับคนของเขา"

แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่มีลักษณะการ 'ปั่น' ก็ตาม

"เราต้องดูด้วยว่า เวลาที่มีการประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจ มันไม่ใช่ดูแค่ว่ารัฐบาลปั่น-ไม่ปั่น มันจะต้องดูตัวเลขของเงินลงทุนทั้งหลายแหล่จากต่างชาติที่เข้าไปในกัมพูชา ซึ่งมันมีเยอะ รัฐบาลฮุน เซน ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ก็มีการออกกฎหมายมาเยอะแยะที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงทุนจากต่างชาติ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างๆ มากยิ่งขึ้น"

บนความสัมพันธ์ลุ่มๆ ดอนๆ
ในประเด็นปราสาทพระวิหาร อ.พวงทองเคยให้ทัศนะว่า คือชนวน sensitive ที่จุดเมื่อไหร่ก็ติดทุกครั้ง และแม้ครั้งนี้จะเป็นเรื่อง 'ทักษิน' ล้วนๆ แต่ในระยะยาวแล้ว ปัญหาไทย-กัมพูชาก็จะปะทุขึ้นมาอีกเรื่อยๆ

"คือปัญหามันยังไม่ยุติแน่ๆ แต่ว่ามันจะไปรุนแรงแค่ไหน ก็หวังว่ามันจะไม่รุนแรงไปกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งสองฝ่ายใช้สติกันมากขึ้น ด้านฮุน เซน เราก็ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแกก็ตอบโต้ด้วยความโกรธด้วยเหมือนกัน ความโกรธอันนี้ดิฉันคิดว่ามีสาเหตุมาจากเรื่องปราสาทพระวิหาร ชัดเจนทีเดียว คุณไปสัมภาษณ์คนเขมร สื่อเขมรเขาก็มองแบบนี้ ว่าไม่พอใจที่ไทยโดยเฉพาะรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ พยายามที่จะกีดกันในการที่เขาจะจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จุดยืนคุณอภิสิทธิ์เรื่องนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่าคิดอย่างไร ก็คือว่าไม่เห็นด้วย ซึ่งฝ่ายกัมพูชาก็ไม่เข้าใจว่าทำไม อย่างกรณีที่ส่งคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ไปสเปน ทั้งๆ ที่คณะกรรมการมรดกโลกยอมรับให้เขาพระวิหารขึ้นทะเบียนไปแล้วตั้งแต่ปี 2511 แต่เมื่อ 4 เดือนที่แล้วยังส่งคุณสุวิทย์ไปอีก และก็กลับมาให้ข้อมูลบิดเบือนกับคนไทยว่าสามารถที่จะยับยั้งการขึ้นทะเบียนได้ แต่ว่าทางฝ่ายกัมพูชาเขาเห็นอันนี้และเขาก็ไม่พอใจ และเขาก็เลือกจังหวะที่จะมาตอบโต้ไทยในการประชุมอาเซียนซัมมิตที่ชะอำ ก็เพื่อที่ต้องการดึงความสนใจจากนานาชาติเข้าสู่ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา

ดังนั้น ในกรณีคุณทักษิณดิฉันภาวนาว่า คุณทักษิณจะไม่กลับเข้าไปในกัมพูชาอีก ดิฉันไม่เห็นด้วยกับทั้งคุณทักษิณรวมถึงกลุ่มชาตินิยมในประเทศ ที่เอาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นเครื่องมือในทางการเมืองของตัวเอง หลังสุดที่คุณจตุพร พรหมพันธุ์ ที่ออกมาพูดว่ากัมพูชามีเทปที่อัดเสียงระหว่างคุยโทรศัพท์ของคุณกษิตกับคุณคำรบ (ปาลวัฒน์วิไชย) ดิฉันคิดว่านี่เป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างมาก ที่นักการเมืองไทยพยายามที่จะเอาเรื่องพวกนี้ เอาประเด็นเรื่องระหว่างประเทศมาใช้โจมตี มันอันตราย คือถ้าสิ่งที่คุณจตุพรพูดเป็นความจริง คุณคิดดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องมีการประท้วงใหญ่โต เพราะถือว่ากัมพูชาทำการสอดแนมสถานทูตไทย ถ้าพูดแล้วไม่มีหลักฐานอย่าพูด ถ้าพูดแล้วแสดงหลักฐานไม่ได้อย่าพูด พูดแล้วทำให้สองประเทศทะเลาะกัน ที่สำคัญเฉพาะหน้าตอนนี้คือ ชีวิตของคุณศิวรักษ์ ชุติพงษ์ เราดูการตอบโต้ของทั้งสองฝ่ายในเรื่องนี้ ห่วงคุณศิวรักษ์น้อยไปหน่อย"

รัฐบาลอาจจะกลัวเสียหน้า หากทักษิณเป็นฝ่ายแอคชั่นช่วยศิวรักษ์

"เมื่อวาน พล.อ.ชวลิตบอกว่าอาจจะบินไปรับ เสร็จแล้วคุณกษิตก็บอกว่าไม่ใช่ธุระ ไม่ใช่หน้าที่ของ พล.อ.ชวลิต แต่ดิฉันคิดว่าเอาคุณศิวรักษ์กลับมาก่อนคือสิ่งสำคัญ ถ้าเอามาได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของคุณชวลิต คุณทักษิณ หรือรัฐบาลก็แล้วแต่ หลังจากนั้นถ้าคุณคิดว่ามีข้อมูลอะไรจะเปิดโปงก็ทำไป จะโจมตีกัมพูชาว่าไม่แฟร์ที่ตั้งข้อหา เอาไว้ทีหลังเอาตัวคุณศิวรักษ์กลับมาก่อน"

ยอมให้คุณทักษิณเป็นฮีโร่ก็ได้

"และถ้าช่วยกลับมาได้ มันก็สามารถตีความได้ตั้งหลายอย่าง ก็แล้วแต่คนจะมองว่าคุณทักษิณจะเป็นฮีโร่ หรือคุณทักษิณจะเป็นแอนตี้ฮีโร่ก็ไม่รู้ เอาหละในเรื่องเฉพาะหน้า ก็หวังว่าคุณทักษิณจะไม่กลับเข้าไปอีก คุณทักษิณเราก็เห็นว่าเขาก็พยายามที่จะสร้างพื้นที่ทางการเมืองในสังคมไทย ให้ประเด็นของเขาเป็นประเด็นที่ต่อเนื่อง ไม่ลืม ถ้าจะทำคงไม่มีใครไปห้ามเขาได้ แต่ว่าอย่าเอาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นเครื่องมือ รวมถึงรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์เอง ก็ไม่ควรจะเอาเรื่องการตอบโต้กัมพูชามาใช้เพื่อที่จะสร้างคะแนนนิยมให้กับตัวเอง คะแนนนิยมนั้นมันเป็นเรื่องของชั่วครั้งชั่วคราว มันเปลี่ยนได้ง่ายด้วย ถ้าไปตามกระแสความนิยมเรื่อยๆ บางทีมันอาจจะตีกลับก็ได้ เพราะในที่สุดมาตรการที่ออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง มันกลับมากระทบกับคนไทย"

ความสัมพันธ์สองประเทศอาจจะดีขึ้น หากเกิดการยุบสภาฯ และพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล

"scenario อันนี้ดิฉันมองว่ามันยากมาก คือเราก็เห็นความพยายามของเพื่อไทยที่จะให้มีการยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ ซึ่งเขามั่นใจว่าเขาจะได้กลับมา ซึ่งก็คงเป็นไปได้สูงมาก แต่ถามว่าเพื่อไทยจะตั้งรัฐบาลได้หรือเปล่า ก็ไม่รู้เลย สีเหลืองจะทำอะไรอีก นี่ก็คือสิ่งที่คนกลัวกัน สมมติเขาตั้งรัฐบาลได้ ดิฉันคิดว่าท่าทีของฮุน เซน ที่มีต่อรัฐบาลไทยที่ตั้งมาใหม่ก็จะดีขึ้น แต่กลับไปสู่ปัญหาเดิม ดิฉันมองว่าปัญหาความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ขณะนี้มันยังไม่ออกจากเรื่องปราสาทพระวิหาร ต่อให้เพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลเรื่องนี้ก็แก้ยาก คือเรื่องปราสาทพระวิหารกับเรื่องพื้นที่ 4.6 ตร.กม. มีกระแสชาตินิยมในช่วงที่ผ่านมาคอยให้ข้อมูลผิดๆ กับประชาชนเรื่องของ 4.6 ตร.กม. การปฏิเสธที่จะให้มีการเจรจาประนีประนอมกันในแง่ของการพัฒนาร่วมพื้นที่นี้ ไม่ว่ารัฐบาลไหนขึ้นมาก็จะทำเรื่องนี้ได้ยากมาก จะเป็นอุปสรรคไม่ให้มีการเจรจาตกลงกันด้วยสันติวิธี ฉะนั้น ดิฉันคิดว่าความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาก็จะลุ่มๆ ดอนๆ ไปอย่างนี้อีกพักใหญ่ เพียงแต่ว่ามันจะลุกลามบานปลายแค่ไหน ขึ้นอยู่กับท่าทีของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย เป็นปัจจัยสำคัญ"

"สมมติตอนนั้นเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็ไม่มีใครรับรองได้ว่าสีเหลืองจะไม่เอาประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารขึ้นมาเป็นประเด็นอีก ซึ่งเราก็เห็นแล้วว่าประเด็นเรื่องนี้ เวลามันปลุกขึ้นมามันติดไฟง่ายมาก และสามารถทำลายเสถียรภาพความเชื่อมั่นของรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว"

มองเขาอย่าง'เพื่อน'

เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะใช้ไม้แข็งตอบโต้ประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นลาว พม่า กัมพูชา คนไทยส่วนหนึ่งจะรู้สึกสะใจที่ได้สวมบท 'พี่เบิ้ม' สั่งสอนลูกไล่

"ทัศนะของคนไทยโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนในเมืองยังมองเขมรในลักษณะของการดูถูก เป็นประเทศเล็ก ไม่ให้เกียรติเขา ซึ่งทัศนะอย่างนี้มันจะส่งผลต่อการกระทำของเราที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน ดิฉันหมายถึงชนชั้นนำ ผู้นำของไทยด้วย ที่มีกับประเทศเพื่อนบ้านต้องเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นเขมร ลาว เวียดนาม ในแง่ของประเทศแล้วเขาก็มีศักดิ์ศรีเท่ากับเรา และเขาไม่ได้อ่อนแออย่างที่เราเข้าใจอย่างในอดีต อย่างที่เราจะลงโทษเขาด้วยการปิดพรมแดน ปิดชายแดน ไม่ขายของให้เขา แล้วเขาจะเดือดร้อน ไม่มีอีกแล้ว ความสัมพันธ์ไม่ดีเขาก็พึ่งพิงซึ่งกันและกัน ร่วมมือกับเราน้อยลง เราต่างหากที่จะลำบาก"

"ข้อสำคัญอย่าลืมว่า เป้าหมายใหญ่ของประเทศในระยะ 20 กว่าปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่สงครามเย็นยุติลง เราต้องการที่จะเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าวันนี้เราเป็นศัตรูกับประเทศเพื่อนบ้านหมด ดิฉันคิดว่าลาวเขาก็ไม่สลายใจที่เห็นความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชาเป็นแบบนี้ และเขาก็ไม่ชอบ เขาก็รู้ว่าเราปฏิบัติต่อเพื่อนบ้านที่อ่อนแอกว่าอย่างไร สิ่งที่เราพยายามสร้างมาตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ มันจะสูญเปล่า ถ้าในที่สุดวันนี้เราไม่สามารถที่จะเป็นมิตรกับใครได้อย่างแท้จริง และดิฉันคิดว่าทัศนะแบบนี้ มันจะทำให้ไทยกลายเป็นปัญหาของอาเซียนได้ จะเห็นว่ากรณีไทย-กัมพูชา อาเซียนก็ไม่ได้ยืนข้างไทยนะ เขาก็บอกให้ทั้งสองฝ่ายพยายามเจรจาด้วยสันติวิธี"

เราตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อเกิดประเด็นพิพาทขึ้นมา ในสายตานานาชาติกัมพูชามักได้รับความเห็นใจเสมอ

"คือเขาก็เก่งนะ ฮุน เซน ก่อนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศซึ่งหนุ่มที่สุดในโลก และขนาดเป็นประเทศเล็กๆ ถูกปิดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การทูต ไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ จนกระทั่งถึงปี 1953 ประมาณ 40 ปีที่เขาไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ตอนนั้นนานาชาติยังโหวตให้เขมรแดงมีที่นั่งอยู่ในสหประชาชาติอยู่เลย แต่เขาสามารถทำให้ประเด็นกัมพูชาเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนานาชาติ และทำให้ในที่สุดนานาชาติหันไปยอมรับเขาได้ และที่เขาเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง มันก็เป็นข่าวที่ทำให้ไทยปวดหัวมาโดยตลอด เราจะชอบเขา-ไม่ชอบเขา นั่นเรื่องหนึ่ง แต่ต้องยอมรับว่าเขาเป็นของแข็ง ความสัมพันธ์ที่มีกับเขาเราต้องสุขุมรอบคอบ และต้องเข้าใจเขามากขึ้น ไม่อย่างนั้นเราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เราไม่ได้ถือไพ่เหนือเขาอย่างที่เราคิดว่าเราเป็น"

"การใช้มาตรการที่แข็งกร้าวกลับไป มันจะเจ็บตัวด้วยกันทั้งคู่ กัมพูชาก็เดือดร้อนนะ ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่เดือดร้อน ถ้ามีกรณีปิดชายแดน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต้องปิดลง แต่มันไม่ได้เดือดร้อนอย่างในอดีตที่เขาจะอดอยาก มันเป็นความเดือดร้อนที่เขารับได้ แต่ถ้าในแง่ของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่เดือดร้อนเลยจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะคุณอภิสิทธิ์ก็ต้องคำนึงว่าเลือกตั้งครั้งต่อไป จังหวัดที่อยู่ชายแดน รัฐบาลประชาธิปัตย์อาจจะต้องเสียคะแนนในพื้นที่ชายแดนทั้งหมดก็ได้ ถ้าใช้วิธีแข็งกร้าวกับประเทศเพื่อนบ้าน"

/////////////////



ล้อมกรอบ
MOU-ไม่มีใครได้ฝ่ายเดียว

การยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ปี 2544 เป็นสิ่งที่รัฐบาลคิดว่านี่คือการลงโทษให้เข็ดหลาบ ทว่า ในสายตาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้ มันแสดงให้เห็นว่าผู้ชงประเด็นให้กับนายกฯ อภิสิทธิ์นั้นอ่อนหัดและไม่ทำการบ้าน

หากย้อนหลังอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1958 ทั้งไทยและกัมพูชายังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในการอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนไหล่ทวีป จนกระทั่งมีแนวโน้มว่าจะมีทรัพยากรปิโตรเลียมและก๊าซในอ่าวไทย ประเทศไทยจึงเริ่มก่อนโดยการประกาศพระราชบัญญัติแร่ในปี 2511 และให้สัมปทานพื้นที่สองในสามของพื้นที่อ่าวไทย โดยอ้างว่าเป็นพื้นที่ไหล่ทวีปของไทย จากนั้นในปี 2514 เวียดนามได้ประกาศพื้นที่บางส่วนในอ่าวไทย ต่อมาในปี 2515 กัมพูชาก็ประกาศพื้นที่บางส่วนของไทยด้วยเช่นกัน จากหลักเขตแดนที่ 73 ระหว่างไทย-กัมพูชา มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย สาเหตุนี้ทำให้คนไทยรู้สึกไม่สบายใจกับเส้นแบ่งที่กัมพูชาประกาศออกมา

"รัฐบาลต้องคิดมากยิ่งขึ้นว่า ถ้าขืนยังยืนแลกหมัดอยู่อย่างนี้คนที่จะเจ็บตัวมากกว่าคือไทย รัฐบาลไทยก็อาจจะกลับไปดูมาตรการที่ตัวเองออกมา ว่าตกลงที่ออกไปมันทำให้เขาเจ็บจริงหรือเปล่า หรือว่าเราเจ็บ อย่างกรณีเอ็มโอยูการปักปันพื้นที่ไหล่ทวีป ดิฉันคิดว่าจะสร้างความเสียหายความยากลำบากให้กับรัฐบาลไทยอนาคต คือเอ็มโอยูการปักปันพื้นที่ไหล่ทวีป ในเอ็มโอยูนั้นมีสาระที่สำคัญอันหนึ่งก็คือว่า กัมพูชายอมรับสิทธิ์ของไทยเหนือเกาะกูด ซึ่งอันนี้เป็นการยอมรับที่มาจากการผลักดันของหน่วยงานของไทยที่เจรจาเรื่องนี้มาหลายปีมาก และสามารถตกลงกันได้ในยุคของรัฐบาลคุณทักษิณ เรื่องนี้ที่จริงแล้วเริ่มจากสมัยคุณชวนด้วยซ้ำไป สามารถทำให้กัมพูชายอมรับจุดนี้ได้ ดิฉันคิดว่ากัมพูชายอมรับเรื่องสิทธิเหนือเกาะกูดของไทย เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลคุณชวน และเอ็มโอยูมาเซ็นในสมัยคุณทักษิณด้วยซ้ำไป"

"เกาะกูดเดิมทีกัมพูชา ในแผนที่ที่เขาเคยทำมาเขาลากเกาะกูดเป็นครึ่งหนึ่งเลย เป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง ของไทยครึ่งหนึ่ง แต่ไทยก็พยายามผลักดันเจรจาว่าไม่ได้ เพราะต้องยึดตามสนธิสัญญาปี 1907 ซึ่งตอนนั้นไทยได้จันทบุรีและตราดคืนจากฝรั่งเศส และฝรั่งเศสก็เอาพระตะบองกับเสียมเรียบไป ในสนธิสัญญานั้นระบุว่า ตราดและเกาะทั้งหลายแหล่จนถึงเกาะกูดเป็นของไทย กัมพูชากับไทยก็เจรจาโน้มน้าวจนในที่สุดก็ยอมรับในจุดนี้ คราวนี้พอไปเลิกเอ็มโอยูอันนั้นเข้า ถ้าจะต้องมาร่างกันใหม่เริ่มกันใหม่ แล้วถ้ากัมพูชาเขาบอกว่าเขาขอกลับไปอย่างเดิม เขาไม่ยอมรับ แล้วจะทำอย่างไร เพราะในเอ็มโอยูนั้นมันมีแผนที่แนบไปด้วย ซึ่งแผนที่นั้นระบุว่าเกาะกูดเป็นของไทย"

ดร.พวงทองยังเป็นห่วงถึงประเด็นการพัฒนาร่วมพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่จะนำก๊าซขึ้นมาใช้ในอ่าวไทย

"มันเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้ง 2 ฝ่ายอยากได้พลังงาน ซึ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ ก็ไม่รู้ว่าทำไมเลือกเรื่องนี้ทั้งที่เป็นเรื่องที่สำคัญ และก็เป็นเรื่องที่ไทยต้องการมาตลอด คือสาระสำคัญของเอ็มโอยูอีกอันหนึ่ง ก็คือว่ามันจะต้องทำ 2 สิ่งคู่กันไป แยกกันไม่ได้ ก็คือการปักปันเขตแดนกับการพัฒนาร่วม จะแยกกันไม่ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการผลักดันของฝ่ายใด คือเดิมทีกัมพูชาไม่ต้องการเจรจาเรื่องการปักปันเขตแดน แต่ต้องการที่จะเอาก๊าซขึ้นมาใช้ แต่ไทยเห็นว่าในเมื่อเราประเมินว่ากัมพูชาอยากได้ก๊าซใช่ไหม จริงๆ ไทยก็อยากได้ แต่เราอยากได้เรื่องการปักปันเขตแดนให้มันเสร็จสิ้นไปด้วย ไทยก็พยายามผลักดัน ถ้าอย่างนั้นสองอย่างนี้ต้องดำเนินไปด้วยกัน ซึ่งเราผูกไว้ในตัวเองอย่างชัดเจนว่า สองประเด็นนี้จะแยกออกจากกันไม่ได้ จะต้องเดินไปคู่กัน คือเราได้ทั้งสองอัน แล้วจู่ๆ เราก็ไปเลิกมัน รัฐบาลไม่ทำการบ้านก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร"

"เอ็มโอยูทั้งหลายแหล่มันไม่ได้เกิดขึ้นโดยฝ่ายเดียวได้ผลประโยชน์ ถ้าเราคิดว่ามีแต่ฝ่ายเขาได้ประโยชน์จากเอ็มโอยูนี้ ถือเป็นการดูถูกเจ้าหน้าที่ไทยอย่างมาก ที่ไม่มีน้ำยาในการเจรจาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของไทย และเจ้าหน้าที่ที่มีบทบาทในการเจรจาเรื่องการปักปันเขตแดนไม่ใช่นายกรัฐมนตรีนะ นายกฯ ไม่ค่อยรู้เรื่องหรอก เพราะเรื่องปักปันเขตแดนจะเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 การเจรจาต่อเนื่องยาวนานมาเป็นสิบปี ก็คือข้าราชการในกระทรวงต่างประเทศและในกรมแผนที่ทหาร และก็พวกทหารที่มีบทบาทสำคัญ"

บิ๊กจิ๋วถอดใจ ไม่รับเก้าอี้นายกฯ ขออยู่เบื้องหลัง


ที่มา:ไทยรัฐ
"พล.อ.ชวลิต"เผยขอทำงานอยู่เบื้องหลัง เปิดทางให้เด็กรุ่นใหม่เป็นแทน ขายฝันลมๆแล้งๆ ตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล ให้ทุกพรรคทำงานร่วมกัน สยบปัญหาความขัดแย้ง หวังสิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นอีกไม่กี่วัน.....

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวบรรยายพิเศษในการอบรมหลักสูตรผู้นำพัฒนาประชาธิปไตย รุ่น 3 ตอนหนึ่งว่า การที่ตนเข้ามาพรรคเพื่อไทยเพราะยังไม่เห็นใครเข้ามาแก้ปัญหาของชาติได้ ไม่เห็นใครจริงๆ ก่อนหน้านี้ไปต่างจังหวัด ประชาชนก็ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาแก้ปัญหาความยากจนเหมือนรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้บอกว่า ไม่เอาแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เอาจริงๆ เพราะไม่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาได้ มีแต่เอาโครงการไปลง การเข้ามาพรรคเพื่อไทยได้ประกาศทำเรื่องใหญ่ๆคือ พิสูจน์ให้เห็นว่า 1.พรรคเพื่อไทยจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง 2.ให้สังคมเกิดความสมานสามัคคี 3.แก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องมองเข้าไปถึงหัวใจของพวกเขา การที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธาน คมช.เสนอให้ตั้งทบวงเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้นั้น อยากกระซิบบอกพล.อ.สนธิ​ ว่า คนภาคใต้บอกว่า ทำไมให้ความสนใจแต่เรื่องผู้ปกครอง แต่ไม่สนใจผู้ใต้ปกครอง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เสนอตั้งสำนักบริหารชายแดนภาคใต้ (สบ.ชต.) ก็พูดแต่เรื่องการบริหารงานปีละ 67,000 ล้านบาท แต่ไม่เคยพูดถึงเป้าหมายในการดำเนินการ

พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชานั้น เท่าที่ได้สัมผัสสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เห็นว่า เป็นคนสนุกสนาน พร้อมจะให้ตลอดเวลา แม้กระทั่งถอนกำลังออกจากแนวชายแดน ท่านก็ทำแล้ว โดยเฉพาะเรื่องที่สมเด็จฮุนเซ็นสนใจเป็นพิเศษคือ เรื่องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สมเด็จฮุน เซน ยินดีให้มาอยู่ที่กัมพูชา แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ปฏิเสธว่า ไม่อยากมา เกรงจะเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นี่คือหัวใจของพ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนการเดินสายไปต่างประเทศของตนนั้น มีหลายประเทศเชิญให้ไปพบ แต่ไม่อยากไปช่วงนี้ เพราะเวลาไปไหนจะดังเป็นเดือนๆ เหมือนที่ไปกัมพูชา จึงรู้สึกเหนื่อย ขอเพลาๆก่อน และขอยืนยันว่า จะไม่เป็นนายกรัฐมนตรี จะเป็นเมื่อไรก็ได้ แต่บอกกับพรรคไปแล้วว่า ไม่ขอเป็น ขอให้หาคนดีๆ เด็กๆ มาเป็นแทน ตนจะยืนอยู่ข้างหลังคอยช่วยดีกว่า

พล.อ.ชวลิต กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ตนหวังไว้คือ อยากให้ทุกพรรคมารวมกัน ทำงานเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล จะมีฝ่ายค้านเพียง 1-2 คน ก็ไม่เป็นไร หากทุกพรรคมารวมกันคิดว่า สามารถแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ ความรุนแรงจะไม่เกิด ทั้งนี้หวังว่า อีกไม่กี่วันอาจจะมีสิ่งมหัศจรรย์ ทำให้บ้านเมืองเราดีขึ้น.

ละครจะจบอย่างไร?


จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
โดย อัคนี คคนัมพร

เมื่อผู้เขียนพูดว่าหนัง-ละครกำลังจะจบฉากอีกตอนหนึ่งนั้น ก็มีคนถามว่ามันจะจบลงอย่างไรในเมื่อรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังคงมีเสียงข้างมากอยู่ในสภา และพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังไม่มีใครออกอาการว่าจะผละจาก

ข้อนี้ผู้เขียนก็ยอมรับว่าเป็นความจริง เพราะเหตุว่าดูจากสีหน้าท่าทางของนายอภิสิทธิ์แล้วก็รู้สึกได้ว่าท่านยังอยู่สุขสบาย ไร้กังวล ยิ้มหยันผู้คนได้เป็นปรกติ ไม่มีความวิตกทุกข์ร้อนทั้งที่กิเลนประลองเชิง กองเชียร์คนสำคัญ ก็เขียนถึงท่านว่าเวลานี้กำลังรับบท “พระรามคลุกฝุ่น” แทนหนุมานเสียแล้ว

นายอภิสิทธิ์คงไม่รู้จริงๆว่าประเทศไทยถูกดูดเข้าสู่หลุมดำลึกเพียงใดภายใต้การบริหาร 10 เดือนของพรรคประชาธิปัตย์ ตัวนายกฯเองนั้นรับงานปาฐกถา-เปิดงานและงานพิธีทางสังคมอื่นๆรวมวันละหลายงาน ก็เลยนึกว่าตัวเองทำงานหนักเพื่อประเทศชาติ และปัญหาสำคัญจริงๆของชาติก็ได้รับการแก้ไขไปมากแล้ว

อนิจจาเอ๋ย! นายกฯหารู้ไม่ว่าการขยันทำงานตัวเป็นเกลียวของท่านนั้นมันเข้าตำราโง่แล้วขยัน ที่หลายคนพูดกันว่าผู้นำประเทศยุคราชาธิปไตยนั้นท่านต้องการประหารคนประเภทนี้

ไม่ใช่เลี้ยงไว้ให้สร้างปัญหา

นายอภิสิทธิ์ นักเรียนอังกฤษผู้ร่ำเรียนวิชาเดียวกันมาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดแบบเดียวกับท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ไม่รู้ตัวเลยสักนิดเชียวหรือว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้มันตกอยู่ในสภาพย่ำแย่แค่ไหน ทางภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคนำนั้นย่ำแย่ติดต่อมา 3 ปี หากไม่ได้รับการเยียวยาโดยด่วนเสียภายในปีหน้า ก็จะไม่มีใครสามารถป้องกันไม่ให้ล้มละลายกันได้อีกแล้ว

ทางด้านภาคเกษตรคือรากหญ้า ซึ่งได้แก่รากฐานที่แท้จริงของเศรษฐกิจไทยดังที่ได้พิสูจน์กันมาแล้วในปี 2540-2544 ว่าถ้าไม่มีภาคเกษตรคอยค้ำยันตอนนั้นเราก็ไม่เหลือสภาพความพอมีพอกินไว้ให้เห็น

คนไทยคงจะต้องถือกะลาขอทานอยู่ตามประเทศมาเลเซียหรือกัมพูชาก็ไม่แน่!

แต่ภาคเกษตรที่เข้มแข็งก็ช่วยค้ำยันสังคมไทยไว้ได้ในครั้งนั้น ถึงวันนี้ภาคเกษตรกำลังเดินหน้าเข้าสู่ภาวะใกล้โคม่าอีกแล้ว เมื่อราคาข้าวตกไปอยู่ที่เกวียนละ 5,000-6,000 บาทเท่านั้น ทั้งที่ความเป็นจริงควรจะอยู่ที่ 10,000-12,000 บาท ยางพาราก็ควรจะอยู่ที่ กก. ละ 70-80 บาท แทนที่จะเป็น 50-60 บาท

พืชไร่อย่างอื่นที่ปลูกกันในภาคเหนือและภาคอีสานไม่ต้องพูดถึง!

เมื่อเราพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะย่ำแย่ถึงขั้นกู้เงินเขามากิน กู้เงินเขามาโกงเพียงใด แต่เอาเข้าจริงปัญหาเศรษฐกิจก็ไม่เคยฉุดให้รัฐบาลล้มลงได้ เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาลย่อมมีลูกเล่นด้านงาน Propaganda พอเอาตัวรอดไปได้

เอาเข้าจริงรัฐบาลไทยมักอยู่ไม่รอด เมื่อปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมมันถึงจุดเดือด หรือพูดง่ายๆว่า สำนวนไทยที่ว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก” นั่นต่างหาก

ปัญหาความเป็นธรรมในสังคมไทยในขณะนี้รุนแรงถึงจุดเดือด ผู้พิพากษา 3 ท่านที่ออกมาแสดงตัวต่อสาธารณะเพื่อบอกให้คนรู้ว่า แม้ผู้พิพากษาก็เหลือทนเหมือนกันคือ

1.ท่านมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ

2.ท่านอุดม มั่งมีดี

และ 3.ท่านกีรติ กาญจนรินทร์

ทั้ง 3 ท่านนี้เปรียบได้กับปรอทที่บอกอุณหภูมิร้อนแรงของความไม่เป็นธรรมในสังคมไทย

ท่านมานิตย์นั้น ท่านพูดมานาน และท่านได้เป็น ส.ส. ไปแล้ว ช่างท่านเถิด

แต่ท่านอุดม มั่งมีดี ที่ออกมากล่าวคำขอโทษคนไทยทั้งประเทศที่กระบวนการยุติธรรมไทยใช้กฎหมาย 2 มาตรฐานมาตลอด 3 ปีนั้น คนที่มีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมต้องรับฟัง

หรือท่านกีรติ กาญจนรินทร์ ผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็เช่นเดียวกัน

ท่านผู้นี้ได้เขียนคำพิพากษาประวัติศาสตร์สำหรับวงการศาลไทยเมื่อท่านต้องตัดสินคดีที่ ป.ป.ช. ร้องขอให้ลงโทษนายยงยุทธ ติยะไพรัช ฐานแจ้งทรัพย์สินอันเป็นเท็จ

ผู้พิพากษาผู้ซึ่งมีจิตวิญญาณนักประชาธิปไตยท่านนี้ได้พิพากษาว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะผู้ร้องเป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นโดย คปค. หรือตอนหลังคือ คมช.

คปค. หรือ คมช. คือผู้ที่ปฏิวัติรัฐประหาร จึงได้อำนาจมาโดยมิชอบโดยวิถีทางประชาธิปไตย

อันที่จริง คปค. หรือ คมช. ได้รับนิรโทษกรรมให้พ้นผิดคดีอาญา มาตรา 113 แล้ว แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ไม่มีอำนาจที่จะตั้งองค์กรต่างๆขึ้นมาจัดการกับคนอื่น

พูดตรงๆก็คือ ผู้พิพากษาท่านนี้ปฏิเสธอำนาจปฏิวัติ

คำพิพากษานี้จุดไฟในหัวใจประชาชนผู้รักความเป็นธรรมให้ลุกโพลง จุดไฟให้นักประชาธิปไตยได้เกิดความคึกคักและมั่นใจในแนวทางต่อสู้ที่ดำเนินมา

ผู้เขียนเห็นว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ได้เพราะเหตุนี้เป็นหลัก

ส่วนเรื่องพรรคร่วมรัฐบาลนั้นอย่าไปหวังพึ่งเลย

พวกเขาเป็นขอนไม้ผุๆลอยน้ำมา แถมมีอสรพิษติดอยู่บนขอนไม้โขยงใหญ่ด้วย

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บทบาทหอยม่วง (เน่า)



ที่มา เดลินิวส์

คุกคามสื่อ รัฐบาลมาร์ค เคยประณามรัฐบาลแม้ว สมัคร สมชาย อย่างรุนแรง พอตัวเองเป็นใหญ่ ก็ไม่ต่างเลย เคยด่าตอนแม้วจัดรายการ นายกฯ ทักษิณ พบ ประชาชน ว่า

เผด็จการ ล้างสมอง ยึดไมค์จ้อข้างเดียว

มาเป็นรัฐบาล มาร์ค เปลี่ยนจากวันเสาร์ เป็นวันอาทิตย์ เปลี่ยน ชื่อรายการเป็น เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกอภิสิทธิ์ฯ แล้วก็ยึดไมค์ 1 ชั่วโมงเต็ม ๆ ตั้งแต่วันแรก จน บัดนี้

เข้าข่าย เอาดีใส่ตัว โยนชั่วคนอื่น มั้ยเล่า

ที่เคยบอก เป็นรัฐบาลเมื่อไหร่ จะให้ฝ่ายค้านออกทีวี ก็มีข้ออ้างสวยหรู ยังไม่มีหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านตัวจริง คงนึกว่าคนไทยเป็นกระบือ นี่ถ้าไม่แหล ก็ไม่ว่ากันหรอก

แต่ดันอ้างตัวเป็นฝ่ายคุณธรรม ???

ช่อง 11 ทุกรัฐบาลแหละ บ้าอำนาจพอกัน ก็เอาเถอะ ทีฮู ทีอิท แต่จะดีจะชั่ว รัฐบาลสมัคร ยังเนียนกว่าแยะ ด้วยสำนึกว่า ขี้เหร่ เลยมีความละอายใจอยู่บ้าง

ช่อง 11 ที่โบราณไม่มีใครดู ยังปรับปรุงจนทันสมัย (สมัย จักรภพ เพ็ญแข) ทิ้งผลงานให้กล่าวขวัญบ้าง

แต่ยุค สาทิตย์ วงศ์หนองเตย จะทิ้งผลงานไว้ในแผ่นดินบ้างไหม นอกจากเปลี่ยนโลโก้ เป็น หอยม่วง ที่ใกล้จะเป็นหอยเน่าเข้าไปทุกวัน

เอาพรรคพวกไปยึด ก็ไม่ว่า แต่เนื้อหานี่สิ สุดทน วัน ๆมีแต่โฆษณาชวนเชื่อให้ข้างตัวล้วน ๆ หาความ เที่ยงตรง เที่ยงธรรม ตามที่คุยโวไม่ได้สักกระผีกลิ้น

ผู้จัดรายการแต่ละหน่อ ไม่รู้ขุดจากรูไหน นึกว่า นาซีครองเมืองหรือไง (วะ) มีแต่ล้างสมองให้ชิงชังอีกฝ่าย (เสื้อแดง) ทั้งที่ใช้ภาษีคนทั้งประเทศอุ้มอยู่ แล้วเสื้อแดงไม่ใช่คนไทยหรือไง

ไทยพีบีเอส นี่ก็อีกช่อง เอียงสุดกู่ แต่ขอไว้ถลกหนังวันหลังเถอะ เสียดายภาษี 2,000 ล้าน เต็มทนแล้ว

ที่ชั่วร้ายสุด ขณะที่ ไทย-กัมพูชา ตึงเครียดสุดขีด บางรายการ (วันแรกของสัปดาห์) ของช่องหอยเน่า ปลุกระดมให้คนไทยเกลียดผู้นำเพื่อนบ้านเต็มที่ ย้ำแล้วย้ำอีก เป็นผู้นำที่ขายชาติ ทรยศชาติ

แล้วคิดหรือที่พนมเปญ เค้าไม่ดู นี่รึทีวีรัฐที่มีหน้าที่ปลูกสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน เอาแต่เพาะความชิงชัง

ด่าคนชาติเดียวกันที่คิดต่างว่า ขายชาติ ไม่พอ ยังเอื้อมปาก (โสมม) ไปด่าเพื่อนบ้าน อย่างเมามันอีก

เสียดายนะ คนรุ่นใหม่ อย่างสาทิตย์ น่าจะพัฒนาวงการสื่อของรัฐให้ดีขึ้น ไม่ใช่เลวร้ายลงอย่างนี้เลย.

ดาวประกายพรึก

ปาฐกถา "โลกไร้พรมแดนในประเทศที่มีพรมแดน" ของ "เสกสรรค์ ประเสริฐกุล" (ฉบับละเอียด)


เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 13.30 น. ที่ห้อง ร.103 ชั้น 1 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงปาฐกถาเรื่อง "โลกไร้พรมแดนในประเทศที่มีพรมแดน : ความขัดแย้งระหว่างระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์" ในโอกาสครบ 60 ปี ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าเรื่องที่พูดในวันนี้เป็นเรื่องใหญ่มากกว่าเรื่องคณะรัฐศาสตร์ ใหญ่กว่าเรื่องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทั่งมีด้านที่อาจจะใหญ่กว่าประเทศไทยของเรา

ฉะนั้นสิ่งที่จะพูดต่อไปนี้จึงเป็นเพียงแง่คิด คำถามและการตั้งข้อสังเกตมากกว่า ซึ่งเป็นเพียงทัศนะส่วนตัวซึ่งอาจจะผิดหรือถูก ตนต้องการเพียงแต่จุดประเด็นให้นำไปคิดต่อ และให้ผู้ที่ห่วงใยบ้านเมืองนำไปช่วยกันพิจารณา

ความขัดแย้งระหว่างระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์ สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจคงหนีไม่พ้น 3 ประเด็น

1. รัฐชาติคืออะไรทำไมจึงขัดแย้งกับสังคมโลกาภิวัตน์
2.ความขัดแย้งมีลักษณะอย่างไรทำไมจึงขัดแย้งกับสังคมโลกาภิวัตน์
3.เมื่อขัดแย้งกันแล้วเกิดปัญหาอะไร แก้ปัญหาอย่างไร

ทั้งสามประเด็นนี้พัวพันกันอย่างแยกไม่ออก บางทีอาจจะต้องพูดถึงแบบรวมๆกัน ความสัมพันธ์ทางอำนาจระดับรัฐย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องก้าวล่วงไปสู่ปริมณฑลของปรัชญาการเมือง เพราะผู้คนมองบทบาทของรัฐด้วยสายตาที่แตกต่างกัน รัฐเองก็มีจิตนาการในเรื่องอำนาจของตน

รัฐชาติเป็นรัฐสมัยใหม่ ไม่ว่าเราจะรู้สึกคุ้นเคยสักแค่ไหนต้องยอมรับว่ารูปแบบความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบนี้ไม่ได้มีมาแต่โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างยิ่งในกรณีของรัฐสมัยใหม่ของไทยและชาติไทยในความหมายสมัยใหม่ อาจจะนับถอยหลังไปเพียงประมาณ 80-90 ปีเท่านั้น

อำนาจการเมืองเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ขึ้นอยู่ต่อการยอมรับของผู้อยู่ใต้อำนาจค่อนข้างมาก และการยอมรับนั้นมักต้องอาศัยศรัทธาเกี่ยวกับประโยชน์สุขบางประการที่ผู้อยู่ใต้อำนาจเชื่อว่าอำนาจดังกล่าวจะนำมาให้

การเกิดขึ้น มีอยู่ และดำเนินไปของระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ เช่นเดียวกับอำนาจรัฐในรูปแบบอื่น ต้องอาศัยจินตนาการทางการเมืองมารองรับ เพียงแต่ว่าข้ออ้างความชอบธรรมของรัฐชาติมีเนื้อหาสาระเป็นลักษณะเฉพาะตน ต่างจากอำนาจปกครองแบบโบราณและเริ่มแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆกับชุดความคิดความเชื่อของสังคมโลกาภิวัตน์

"อำนาจแบบรัฐชาติมีรากฐานอยู่บนจินตนาการใหญ่ทางการเมือง" มี 3 ประการ

1. การตีเส้นแบ่งความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพลเมืองและประชากรของตนกับคนอื่นที่ไม่ได้สังกัดรัฐนี้ พูดง่ายๆคือ มีการนิยามสมาชิกภาพของประเทศไทยไว้อย่างตายตัว ความเป็นคนไทยและไม่ใช่คนไทยทั้งบัญญัติทางกฎหมายและโดยนิยามทางวัฒนธรรม
2. ประชากรที่สังกัดอำนาจรัฐเดียวกัน เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันหลายมิติกระทั่งเปรียบดังสมาชิกในครอบครัวใหญ่เดียวกัน มีชะตากรรมทุกข์สุขร้อนร่วมกัน
3.ทั้งประเทศเป็นหน่วยผลประโยชน์ใหญ่และถือว่าผลประโยชน์ส่วนรวมมีจริง มักเรียกกันว่าผลประโยชน์ชาติ ทั้งนี้โดยมีนัยว่าทุกคนที่เป็นสมาชิกของชาติย่อมได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวอย่างทั่วหน้า

จากจินตนาการทั้งสามข้อนี้รัฐชาติจึงได้ออกแบบสถาบันการเมืองการปกครองขึ้นมารองรับและตรากฎหมายจำนวนนับไม่ถ้วนขึ้นมา เพื่อจัดตั้งความสัมพันธ์ทางอำนาจกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจสังคม ให้เป็นไปตามความเชื่อของรัฐ นอกจากนี้ยังได้ปลูกฝังขัดเกลารูปการจิตสำนึกของประชากรให้เข้ามาอยู่ในกรอบเดียวกัน

"กระบวนการเหล่านี้เรียกรวมว่าเป็นระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ"

กรณีของประเทศไทย ระเบียบอำนาจรัฐแบบรัฐชาติถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการปัญญาชนจำนวนมาก

ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับรัฐชาติล้วนแล้วแต่ถูกตรวจสอบตั้งคำถามอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสมจริงของจินตนาการและชาตินิยม ความชอบธรรมของตัวสถาบันการเมืองการปกครอง ความเป็นธรรมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือความถูกต้องของสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมแห่งชาติ และอีกหลายๆด้านที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจ

อย่างไรก็ตามคำวิจารณ์เหล่านั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับการพูดคุยในวันนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา แม้ว่าเราจะไม่เห็นด้วยกับหลายสิ่งหลายอย่างที่รัฐไทยเป็นอยู่และทำไป แต่ข้อวิจารณ์ยังคงจำกัดอยู่ในกรอบของรัฐชาติอยู่ดี เราเพียงอยากให้รัฐชาติของไทยเป็นรัฐชาติที่ดีขึ้นเรื่อยๆ

ปัญหามีอยู่ว่า ขณะนี้ตัวแบบที่ตกเป็นเป้าวิจารณ์ของนักวิชาการและปัญญาชนเองกลับกำลังถูกแปรรูปด้วยปัจจัยอื่นตลอดเวลา

ระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ กำลังถูกหักล้างกัดกร่อนอย่างรวดเร็วด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จนทำให้เกิดคำถามว่ารัฐชาติของไทยจะสามารถรักษาระเบียบอำนาจของตนไว้ได้หรือไม่ มันสายไปแล้วหรือไม่ที่จะจำกัดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไว้ในกรอบคิดแบบรัฐชาติ และสุดท้ายคือ อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐชาติต้องแปรรูปเป็นรัฐแบบอื่น

"พร้อมหรือยังที่จะพบกับการเปลี่ยนแปลง และเราจะรับมือกับจังหวะก้าวการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แค่ไหน"

เรื่องที่น่ากังวลก็คือ ที่ผ่านมาเรายังมีองค์ความรู้ไม่พอที่จะตอบคำถามเหล่านั้นและอาจต้องทำการค้นคว้าวิจัยกันโดยด่วน ควรจะเป็นวาระสำคัญที่สุดของวงการวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายสังคมศาสตร์

ความขัดแย้งระหว่างรัฐชาติกับกระแสโลกาภิวัตน์คงไม่สามารถพูดกันในความหมายเก่าๆได้อีกแล้ว

ในห้วงเศรษฐกิจปี 2540 เราเคยพูดกันถึงเรื่อง "เสียกรุง-กู้ชาติ" กระทั่งพูดเรื่อง "การขายชาติ" เนื่องจากมองผ่านจุดยืนของลัทธิชาตินิยมและระเบียบอำนาจรัฐชาติ แรงกดดันจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศดูเหมือนเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยอีกทั้งการออกกฎหมาย 11 ฉบับโดยรัฐบาลไทยเพื่อยกเลิกข้อจำกัดของการค้าและการลงทุนแบบไร้พรมแดน ดูคล้ายเป็นการจำยอมจำนนต่อต่างชาติและเปิดประตูให้ต่างชาติเข้ามาถือครองประเทศไทย

หลังจากเหตุการณ์คลี่คลายมานานกว่าสิบปี เราจึงเห็นชัดว่าระเบียบเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์ที่ประเทศไทยถูกกดดันให้ยอมรับนั้นไม่เพียงกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้กันทั้งโลก หากยังมาจากกรอบคิดที่แตกต่างจากจินตนาการมูลฐานของรัฐชาติอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือมันเป็นแนวคิดที่ยกเลิกพรมแดนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในบางด้านกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ "การยกเลิกพรมแดนในทางการเมือง" ด้วย

"จินตนาการเรื่องอธิปไตยเหนือดินแดนก็ดี เรื่องเศรษฐกิจแห่งชาติก็ดี หรือเรื่องวัฒนธรรมแห่งชาติก็ดี ในหลายกรณีจึงกลายเป็นเรื่องนอกประเด็นกระทั่งถูกมองว่าล้าหลัง ไม่เกิดประโยชน์"

การที่เราไม่สามารถมองปัญหาด้วยกรอบคิดเก่าๆไม่ได้มาจากแรงกดดันของการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกเท่านั้น หากยังเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทยช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา

หลังจากเปิดประเทศต้อนรับการค้าการลงทุนอย่างเสรีทั่วด้าน สิ่งที่เกิดขึ้นตามหลังมาทั้งหมดล้วนมีผลประโยชน์ของคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง อย่างน้อยบางส่วน แต่เป็นบางส่วนที่มีจำนวนมาก มีน้ำหนักทางสังคมมิใช่น้อย ทุนต่างชาติไม่เพียงเข้ามาซื้อหุ้น ตั้งโรงงานหรือถือครองทรัพย์สินในประเทศไทยเท่านั้น ผู้ประกอบการชาวไทยก็ร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติหรือไม่ก็ประกอบธุรกิจที่โยงใยก่อเกื้อเอื้อประโยชน์ให้กันและยิ่งไปกว่านั้นนักธุรกิจไทยเองก็ต้องอาศัยระเบียบการค้าโลกที่เปิดกว้างข้ามพรมแดนไปลงทุนในต่างประเทศอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ยังไม่รวมผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบห้างใหญ่มากกว่าร้านโชว์ห่วย และมีพลเมืองไทยจำนวนมากที่ยังชีพด้วยการทำงานกับบริษัทต่างประเทศหรือออกไปขายแรงงานในประเทศอื่นๆ

การรื้อถอนจินตนาการแบบรัฐชาติในส่วนที่เป็นรากฐานที่สุด เกิดขึ้นเองปราศจากจิตสำนึกจงใจและไม่ขึ้นต่อเจตนารมย์ของผู้ใด

"ใช่หรือไม่"

สังคมไทยในเวลานี้กลายเป็นสังคมโลกาภิวัตน์ไปแล้ว เป็นโลกไร้พรมแดนที่ทับซ้อนอยู่ในประเทศที่มีพรมแดน เส้นแบ่งระหว่างความเป็นคนไทยกับคนอื่นมีความหมายน้อยลง คนไทยไม่ได้มีชะตากรรมร่วมกันเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน หลายคนมีเส้นทางเดินชีวิตร่วมกับชาวต่างประเทศเสียมากกว่า บ้างก็โดดเดี่ยวยากแค้นไปโดยลำพัง

"ผลประโยชน์แห่งชาตินั้นมีความหมายพร่ามัวไปหมดโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ไม่เพียงต้องแบ่งก้อนใหญ่ให้ชาวต่างประเทศเท่านั้น ส่วนที่แบ่งกันเองก็เหลื่อมล้ำอย่างยิ่ง กระทั่งมีคนที่ไม่ได้ส่วนแบ่งนั้นเลย"

ข้อสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายในสังคมไทยใช้จิตนาการเรื่องชาติต่างไปจากเดิม 2 เรื่องคือ

1.วาทกรรมทางการเมือง สำหรับต่อสู้ภายในประเทศ เช่น มีการพูดถึงการ"กู้ชาติ" ให้รอดพ้นจากคนไทยด้วยกัน ช่วงชิงกันเป็นผู้พิทักษ์รักษา "ผลประโยชน์ของชาติ" ทั้งๆที่ความเป็นจริงในเรื่องนี้ เป็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ นับวันยิ่งถูกทำให้ว่างเปล่าด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์

2. วาทกรรมทางการตลาด มีการใช้วาทกรรมเรื่องชาติไปในทางการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ และถือเป็นส่วนหนึ่งงานโฆษณาสินค้าที่ปกติมักไม่ค่อยถูกจำกัดด้วยหิริโอตัปปะ หรือความรับผิดชอบเรื่องความถูกต้องทางหลักการใดๆ

ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้คือ กรณีการแจก "เช็คช่วยชาติ" เป็นนโยบายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศของรัฐบาลเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้รัฐบาลได้ตกลงกับห้างร้านต่างๆในการรับเช็คและเพิ่มมูลค่าของเช็ค เพื่อประกันว่าผู้ที่ได้รับแจกเงินหัวละสองพันบาทจะหมดสิ้นแรงจูงใจในการเอาเงินจำนวนนั้นไปเก็บออม

ผลที่ออกมาคือใช้คำว่า "ชาติ" ในหัวข้อโฆษณาสารพัด เช่นชวนให้ซื้อเครื่องสำอางต่างประเทศเพื่อชาติ ชวนดูหนัง หรือเข้าห้องร้องคาราโอเกะเพื่อชาติ เป็นต้น

"มีการบอกผู้บริโภคว่าแค่ออกไปหาความบันเทิงเริงรมย์ก็ถือว่ารักชาติมากแล้ว"

นอกจากนี้ยังเคยเห็นป้ายคำขวัญตามเมืองท่องเที่ยวระบุนักท่องเที่ยวเป็นคนสำคัญของชาติ อาจจะแปลกหูแปลกตาสำหรับคนที่ถูกสอนมาว่าคนที่สำคัญของชาติต้องประกอบคุณงามความดีบางประการ

การนำจินตภาพเรื่องชาติมาใช้ทางการเมืองและธุรกิจแบบที่กล่าวมานี้ แทนที่จะช่วยรักษาความขลังของคำว่าชาติ กลับจะยิ่งเร่งความเสื่อมทรุดแก่แนวคิดชาตินิยมและระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่แล้วโดยปัจจัยทางภววิสัย

ความขัดแย้งระหว่างระเบียบรัฐอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์

ความขัดแย้งนี้ไม่ได้หมายถึงการต่อสู้เชิงปฏิปักษ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจหรือเข้ากันไม่ได้โดยสิ้นเชิงระหว่างผลประโยชน์ไทยกับผลประโยชน์ต่างชาติ และยิ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกัยโลกทั้งโลก

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

คำตอบ คือ เพราะนับวันเส้นแบ่งระหว่างเรากับเขาดังกล่าวแทบไม่มีอยู่ในทางปฏิบัติหรือเหลืออยู่น้อยเต็มที แม้จะยังมีเหลืออยู่มากในจินตนาการของหลายๆคนก็ตาม

"ตามความเข้าใจของผมถ้าพิจารณาจากประเด็นที่เราพูดกันในวันนี้ มันน่าจะหมายถึงลักษณะที่อาจจะเข้ากันไม่ได้หรือไม่สอดคล้องกันระหว่างระเบียบอำนาจที่เราใช้อยู่กับสังคมที่แปรเปลี่ยนไป"

นายเสกสรรค์ ยังกล่าวย้ำว่า ถึงเวลาแล้วที่คนในแวดวงวิชาการต้องช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบกันเสียทีว่ารัฐชาติแบบที่รู้จักสามารถดูแลสังคมไทยที่เป็น "พหูพจน์" ได้หรือไม่ จะอำนวยความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจและสังคมอันประกอบด้วยปัจจัยข้ามชาติมากมายหลายอย่างด้วยวิธีใด และถ้าทำไม่ได้ รูปแบบความสัมพันธ์ทางอำนาจในประเทศนี้ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือถูกแก้ไขปรับปรุงอย่างไร

"นี่เป็นเรื่องใหญ่กว่าความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างเสื้อสีต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าในบางมิติปัญหาทั้งสองระดับอาจจะเกี่ยวโยงกับอยู่ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะของรัฐนั้น ถึงอย่างไรก็ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับระบอบการปกครองในระดับรัฐบาล"

รัฐหนีไม่พ้นการเปลี่ยนแปลง

จากประสบการณ์โดยตรงของ นายเสกสรรค์ กล่าวว่า รัฐมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนวิถีวัฒนธรรมอย่างแยกไม่ออก และบ่อยครั้งเมื่อเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป รูปแบบของรัฐก็หนีไม่พ้นต้องเปลี่ยนแปลงตาม

ยกตัวอย่าง เมื่อร้อยกว่าปีก่อนอาจจะเรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ครั้งที่ 1 ภายใต้แรงกดดันของลัทธิล่าอาณานิคม ราชอาณาจักรสยามยอมเปิดประเทศทำสัญญากับราชอาณาจักรอังกฤษ หรือสนธิสัญญาบาวริง ต่อมาก็ทำสัญญาคล้ายกันกับประเทศมหาอำนาจอื่นๆ ส่งผลให้สยามต้องเปิดประตูกว้างต้อนรับสิ่งที่เรียกว่า "ระบบการค้าเสรี"

การเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมสยามอย่างรวดเร็วเมื่อบวกกับความเสื่อมของระบบไพร่ และขุนนางที่เกิดมาก่อนบ้างแล้ว ในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางอำนาจอย่างลึกซึ่งถึงราก ภายในศูนย์อำนาจและระหว่างศูนย์อำนาจกับพลเมืองที่อยู่ใต้การปกครอง

ภายในระยะเวลา 50 ปี โลกาภิวัตน์รอบแรกส่งผลให้รัฐศักดินาโบราณของไทยซี่งเคยมีระบบกระจายอำนาจสูง แปรรูปเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งรวมศูนย์เข้าสู่อำนาจส่วนกลางแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด กลายเป็นต้นทางของการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ในเวลาต่อมา

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ทางการเมืองพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบของรัฐ ทั้งที่มีความจำเป็นและเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน อดคิดไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงระดับรัฐของประเทศไทย น่าจะมีทั้งความจำเป็นและความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน

"ในฐานะปัญญาชนที่หมกหมุ่นครุ่นคิดเรื่องรัฐไทยมานาน สภาพการณ์ปัจจุบันย่อมเป็นเรื่องเย้ายวนมากที่จะชวนให้คิดอะไรแบบอภิมหาทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการของรัฐและสังคมไทยแต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าไม่มีปัญญาพอที่จะทำเรื่องสุ่มเสี่ยงทางวิชาการขนาดนั้น"

กล่าวอีกแบบหนึ่ง คือ ข้อสังเกตของผมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของรัฐไทยในยุคโลกาภิวัตน์รอบปัจจุบัน ไม่ได้เกิดจากจิตนาการแบบประวัติศาสตร์จะต้องซ้ำรอย หรือประวัติศาสตร์กำลังใช้กฎวิภาษวิธีกับเส้นทางเดินของสังคมไทย ทำนองว่า เมื่อการเปิดประเทศเสรีครั้งแรกให้กำเนิดรัฐชาติ การเปิดประเทศเสรีรอบสองทำให้รัฐชาติหมดฐานะ จากนั้นอาจจะต้องสังเคราะห์หารัฐอะไรอีกสักแบบหนึ่งซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสูงขึ้นไปอีก

ถ้ายอมรับว่ารัฐเป็นแกนกลางความสัมพันธ์ทางอำนาจของแต่ละประเทศ และเป็นกลไกหลักในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ผู้คนในสังคม ต้องยอมรับว่าหลักฐานเชิงประจักษ์มากมาย ชี้ให้เห็นว่าบทบาทหน้าที่ดังกล่าวของรัฐไทยกำลังอ่อนแอลงอย่างน่าตกใจ ในบางด้านรัฐไทยมีอำนาจน้อยลง กระทั่งได้รับฉันทานุมัติในการใช้อำนาจน้อยลง รัฐบังคับใช้กฎหมายบางเรื่องไม่ได้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงระยะหลังๆ อำนาจรัฐมักถูกขืนต้านในรูปแบบต่างๆมากขึ้นทุกที

สภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าระเบียบอำนาจแบบที่เราใช้อยู่กำลังมีปัญหาโดยตัวของมันเอง ซึ่งย่อมส่งผลลดทอนประสิทธิภาพของรัฐในการดูแลสังคมลงไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันปัญหาที่รัฐต้องแก้ไม่เพียงมีจำนวนเพิ่มขึ้น หากยังมีลักษณะใหม่ๆเปลี่ยนไปจากเดิม โดยที่ตัวรัฐเองก็ไม่สามารถใช้วิธีการเดิมๆมาแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง

ปัญหาที่รัฐต้องเผชิญเพื่อปรับปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางอำนาจมี 2 ประเภท คือ

1.ปัญหาการบูรณาการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์กับผลประโยชน์ของส่วนอื่นๆในสังคมไทย
2.ปัญหาความไม่ลงตัวเรื่องการจัดสรรอำนาจทางการเมืองและพื้นที่ทางการเมืองในสังคมแบบพหุลักษณะ

อันดับแรกเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ดังที่ตั้งข้อสังเกตไว้แล้ว ถึงวันนี้เราคงต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ของผู้คนในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก ไม่ได้เป็นหนึ่งเดียว กระทั่งขัดแย้งกันเองเกินว่าจะใช้คำว่าผลประโยชน์แห่งชาติมาเป็นข้ออ้างในการบริหารอำนาจ

นอกจากนี้เราต้องยอมรับว่าโลกภิวัตน์ทางเศรษฐกิจมีผลทั้งบวกและลบ ผู้คนได้เสียจากโลกาภิวัตน์ไม่เท่ากัน คำว่ากลุ่มทุนโลกาภิวัตน์ไม่เท่ากัน คำว่ากลุ่มทุนโลกาภิวัตน์จริงๆแล้วแทบไม่มีเรื่องสัญชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะหมายถึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยหรือหมายถึงทุนไทยที่ร่วมลงทุนกับต่างชาติและลงทุนในต่างประเทศก็ได้ ระบบการค้าการลงทุนที่ไร้พรมแดนไม่เพียงทำให้ผลประโยชน์ของทุนไทยและทุนต่างชาติคละเคล้ากันจนแยกไม่ออกเท่านั้น แม้ในระดับของการจ้างงานยังมีลักษณะไร้พรมแดนไปด้วยดังจะเห็นได้จากการนำแรงงานต่างชาติเข้ามาในจำนวนมหาศาลทำให้ประเทศไทยมีประชากรที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทยในจำนวนที่มีนัยสำคัญ ประเด็นใหญ่ในเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่พวกเขาเป็นต่างชาติที่เข้ามาอาศัยประเทศไทยทำกิน นั่นเป็นกรอบคิดเก่าที่ใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะแรงงานดังกล่าวจำนวนสองล้านห้าแสนคนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพลังการผลิต ที่ช่วยลดต้นทุนและช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งของทุนไทยและทุนต่างชาติบางกลุ่ม ขณะเดียวกันกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่คอยตรึงราคาค่าแรงของผู้ใช้แรงงานชาวไทยด้วย

"แรงงานต่างชาติเป็นคนนอกโดยนิตินัยเท่านั้น หากการดำรงอยู่พวกเขาเป็นคนในของระบบการผลิตในประเทศไทยซึ่งสมควรได้รับการดูแลตามฐานะและศักดิ์ศรีของความเป็นคน"

ตรงนี้เข้าใจว่าระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติยังไม่ได้เปิดพื้นที่เท่าที่ควร ทำให้เกิดการกดขี่ข่มเหงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างชาติขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตรงกันข้ามกับการเข้ามาของนักลงทุนหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งมักได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

การออกกฎหมาย 11 ฉบับเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องของไอเอ็มเอฟ ไม่เพียงลดอำนาจรัฐไทยในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ และลดทอนความเป็นรัฐชาติของไทยเท่านั้น หากยังพาอำนาจรัฐไทยให้เอนเอียงไปในทางการดูแลอำนวยความสะดวกให้กับการเติบโตของโลกาภิวัตน์ด้วย

แต่ประเด็นมีอยู่ว่าสภาพดังกล่าวสามารถกลายเป็นปัญหาทางการเมืองในระดับคอขาดบาดตายได้ ถ้ารัฐไทยยังใช้คำว่าผลประโยชน์แห่งชาติไปผัดหน้าทาแป้งกับการขยายตัวของฝ่ายทุนเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่สนใจใยดีการสูญเสียผลประโยชน์ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ตัวอย่างในเรื่องดังกล่าวได้แก่การประท้วงของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเดือดร้อนจากการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั้งโดยทุนไทยและทุนต่างชาติ ทั้งนี้โดยมีกรณีความขัดแย้งที่มาบตาพุดเป็นตัวอย่างล่าสุด

ระบบทุนในยุคโลกาภิวัตน์ทำให้การเติบโตของจีดีพีและการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมก่อให้เกิดประโยชน์กับคนไม่น้อย แต่เป็นแค่ส่วนหนึ่งไม่ใช่ทั้งหมดอันประกอบขึ้นเป็นประเทศไทย คนจำนวนหนึ่งได้รับผลประโยชน์ คนอีกจำนวนหนึ่งไม่ได้รับอะไร แล้วยังมีอีกจำนวนหนึ่งต้องสูญเสียสิ่งที่เคยได้รับอีกต่างหาก

ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจในประเทศไทย

เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีมาแต่เดิมแล้ว และเมื่อผนึกผนวกปัญหาเชิงโครงสร้างดังกล่าวเข้ากับกระแสโลกาภิวัตน์โดยไม่มีการปรับสมดุลใดๆ สภาพที่เกิดขึ้นจะยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ดังจะเห็นรายได้จากช่องว่างระหว่างรายได้ของคนรวยสุด 20 % กับคนที่จนสุด 20 % ซึ่งต่างกันถึง 13 เท่า แล้วถ้าจะพูดถึงการกระจุกตัวของความมั่งคั่ง จริงๆแล้ว ตัวเลขยังน่าตกใจกว่านี้

ล่าสุดนักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งคำนวณว่า 42 %ของเงินฝากในธนาคารของทั้งประเทศ มีค่าประมาณหนึ่งในสามของจีดีพีประเทศไทย เป็นของคนจำนวนเพียงสามหมื่นห้าพันคนหรืออาจจะน้อยกว่านั้น เทียบกับประชากรทั้งประเทศ 64 ล้านคน

ฉะนั้นปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่การต่อต้านการค้าการลงทุนแบบไร้พรมแดน หากจะต้องจัดวางฐานะของสิ่งนี้ไว้ในทางอันเหมาะสมและสอดคล้องกับความเป็นจริง ผลประโยชน์ของทุนเป็นได้อย่างมากก็แค่ส่วนหนึ่งของส่วนทั้งหมด หรือเป็นแค่ส่วนหนึ่งของ "ผลประโยชน์ชาติ" เพราะทุนกับชาติไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

เราต้องมองความจริงตรงนี้โดยไม่หลบตาเท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาข้อพิพาทต่างๆได้บ้าง การบูรณาการผลประโยชน์ของกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์เข้ากับส่วนอื่นๆของสังคมไทย จะทำไม่ได้เลย ถ้ารัฐไทยยังถือว่าการเติบโตของภาคธุรกิจเป็นดัชนีชี้วัด "ความเจริญ รุ่งเรืองของชาติ" เพียงอย่างเดียว และกดดันให้ผู้ยึดถือคุณค่าแบบอื่นในสังคม ตลอดจนกลุ่มชนที่เดือดร้อนจากการถูกช่วงชิงทรัพยากรหรือเดือดร้อนจากการสูญเสียสิ่งแวดล้อมอันเอื้อต่อสุขภาวะ ต้องหลีกทางให้โดยไม่มีเงื่อนไข

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรายอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาในสังคมว่าไทยมีผลประโยชน์ของชาวต่างชาติ และผลประโยชน์ของชาวต่างชาติก็ปะปนอยู่ผลประโยชน์ของคนไทยบางส่วน การตกลงหาความสมดุลกับส่วนอื่นๆของสังคมไทยอยู่ในวิสัยทำได้ การสังเคราะห์ผลประโยชน์ส่วนรวมขึ้นมาใหม่จากความจริงที่เป็นรูปธรรมก็พอทำได้ ทิศทางเช่นนี้จะปรากฎเป็นจริงต่อเมื่อมีการข้ามพ้นการอ้างชาติแบบเลื่อนลอย ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการกำหนดนโยบาย และการบริหารความเป็นธรรมโดยรัฐในขั้นตอนต่างๆ ซึ่งต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมอย่างสมศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกัน

อันนี้ไม่ใช่ระเบียบแบบรัฐชาติเราคุ้นเคยอยู่ และอาจจะต้องมีการค้นคว้าหารูปแบบที่เหมาะสม กระทั้งมีการออกแบบสถาบันใหม่ๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม "มันหมดเวลาแล้วที่รัฐจะบัญชาสังคมจากข้างบนลงมา"

"ตั้งแต่รัฐไทยตอบสนองข้อเรียกร้องของไอเอ็มเอฟด้วยการออกกฎหมาย 11 ฉบับอำนาจของรัฐในการแทรกแซงและกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจลดน้อยลงไปอีก ผลคือ กลไกตลาดกลายเป็นสถาบันหลักในการกำหนดทุกข์สุขของประชาชนและรัฐก็แทบจะกลายเป็น "นักเลง"คุมตลาดเท่านั้นเอง"

"ตลาดหรือสถาบันตลาด" ไม่ได้แก้ไขตัวเองได้เสมอไป บ่อยครั้งไม่ได้มีธรรมาภิบาลที่ชอบเรียกร้องเอากับรัฐ ทำให้การแทรกแซงของรัฐเป็นเรื่องที่จำเป็น ดังเราจะเห็นได้จากตัวอย่างในกรณีวิกฤตเศรษฐกิจไทยปี 2540 และวิกฤตในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2551

คำถามมีอยู่ว่า "แล้วรัฐควรมีบทบาทเพียงแค่นี้กระนั้นหรือ เป็นยามรักษาความปลอดภัยและเป็นหน่วยบรรเทาทุกข์เวลาเกิดไฟไหม้ตลาด?"

จริงอยู่ เราไม่ต้องการให้รัฐไทยขยายตัวไปทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบผู้คนในทุกเรื่องราวของชีวิต เพราะนั่นจะยิ่งเสริมฐานะครอบงำของรัฐให้อยู่เหนือสังคมเข้าไปอีก ดังนั้นข้อเรียกร้องของเฉพาะหน้าจึงมีอยู่ว่ารัฐจะทำหน้าที่บริหารความเป็นธรรมในสังคมที่เปลี่ยนไปได้อย่างไร

สิ่งแรกที่รัฐต้องทำคือ บูรณาการสังคมไทยเสียใหม่ ยอมรับการมีอยู่ของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แทนที่จะปิดบังมันไว้ด้วยจินตนาการเรื่องชาติ จากนั้นหาทางประสานประโยชน์ระหว่างทุนข้ามชาติ ทุนไทย แรงงานต่างชาติ แรงงานไทย เกษตรกรรายย่อย ชุมชนท้องถิ่น ผู้ค้าปลีก ชาวประมงพื้นบ้าน คนชั้นกลาง คนชั้นล่าง ข้าราชการทั้งทหารและพลเรือน และอีกหลายภาคส่วนที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมไทยปัจจุบัน

บูรณาการหมายถึง การทำหน่วยย่อยที่กระจัดกระจายหรือแม้แต่ขัดแย้งกัน ให้เปลี่ยนมามีความสัมพันธ์โยงใยกัน เอื้อประโยชน์ให้กัน อีกทั้งมีความพอใจในความสัมพันธ์ดังกล่าว อันนี้ย่อมต่างจากความสมานฉันท์แบบเลื่อนลอยที่อาศัยการรณรงค์ทางอุดมการณ์เป็นสำคัญ

สำหรับการบริหารความเป็นธรรมนั้น นับเป็นหน้าที่เก่าแก่สุดและเป็นภารกิจใจกลางที่สุดของรัฐหรือผู้กุมอำนาจการปกครอง แม้เนื้อหาของความเป็นธรรมจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับการยึดถือของสังคมในแต่ละยุคสมัย แต่เราอาจกล่าวได้ว่าสังคมที่ปราศจากความเป็นธรรม จะไม่มีวันได้พบกับความสงบร่มเย็น

อันดับต่อไป เรามาพูดถึงเรื่องความไม่ลงตัวในการจัดสรรอำนาจและพื้นที่ทางการเมืองถามว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับยุคโลกาภิวัตน์อย่างไร เกี่ยวข้องกันอยู่สองประเด็น คือ

1. ระบบเศรษฐกิจแบบไร้พรมแดนตลอดจนโลกาภิวัตน์ในด้านข่าวสารส่งผลให้สังคมไทยแตกเป็นพหุลักษณะอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มวัฒนธรรม ข้อนี้ทำให้สังคมไทยปกครองยากขึ้น

2. โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดชนชั้นนำกลุ่มใหม่ๆที่มั่งคั่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมหาศาลเช่นเดียวกับชนชั้นนำที่มาทีหลังในประวัติศาสตร์และทุกหนแห่งในโลก คนเหล่านี้ต้องการส่วนแบ่งในอำนาจการเมืองการปกครอง แต่ขณะเดียวกันไม่มีทั้งประสบการณ์ และความรู้ที่เป็นศาสตร์และศิลป์ของการปกครอง ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

การที่สังคมไทยถูกทำให้เป็นพหุนิยมอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่โลกทัศน์ในเรื่องผลประโยชน์ วิถีชีวิต แบบแผนทางวัฒนธรรม ความคิดความเชื่อในด้านจิตวิญญาณ จนถึงความคิดเห็นทางการเมือง สภาพดังกล่าวทำให้เกิดความครอบงำด้วยอุดมการณ์ ชาตินิยมแบบเก่าทำได้ยากขึ้น กระทั่งทำไม่ได้อีกต่อไป คนไทยในปัจจุบันตีความคำว่าชาติและความเป็นไทยแตกต่างกันไป กระทั่งเลิกเชื่อในจินตนาการแบบนี้

ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมของชนรุ่นหลังจำนวนไม่น้อยที่อยากมีชีวิตทางวัตถุแบบชาวตะวันตกแต่อยากมีหน้ามีตาแบบชาวเกาหลี ขณะเดียวกันก็อาจจะชื่นชอบนักร้องไต้หวัน นักฟุตบอลบราซิล และชอบกินอาหารญี่ปุ่นเป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้นการที่คนไทยบางส่วนเริ่มมีผลประโยชน์แบบไร้พรมแดน ย่อมทำให้เป็นการยากขึ้นสำหรับรัฐชาติที่มีพรมแดนตายตัว ตลอดจนผู้คนที่ถือมั่นในลัทธิชาตินิยมจะสามารถยืนหยัดเรื่องผลประโยชน์ไทยได้อย่างเคร่งครัดตามจารีตดังเดิม

ล่าสุดตัวอย่างที่น่าสนใจในเรื่องนี้ได้แก่ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา ดังที่ทราบกันอยู่แล้ว การที่นายกรัฐมนตรีเขมรแต่งตั้งอดีตนายกฯไทยเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจนั้น ได้สร้างความไม่พอใจให้กับนายกรัฐมนตรีไทยคนปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเห็นว่าอดีตนายกฯท่านนั้นมีความผิดทั้งในการเมืองและทางอาญา ขณะเดียวกันก็มีคนไทยบางส่วนโกรธแค้นฝ่ายกัมพูชาเพราะพวกเขาเห็นว่าแทรกแซงกิจการภายในของไทยหรืออย่างน้อยไม่ให้เกียรติประเทศไทยเท่าที่ควร

อย่างไรก็ดีปรากฎว่ามีคนไทยอีกจำนวนมากที่ไม่ได้เห็นด้วยกับการโต้ตอบถึงขั้นการเรียกทูตกลับของรัฐบาลไทยเลยหากกลับมีอารมณ์ไปวิตกกังวลว่าความขัดแย้งนี้จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจภายในกัมพูชา ซึ่งมีมูลค่ารวมทั้งการส่งสินค้าไปขายและการลงทุนหลายหมื่นล้านบาท แม้แต่นักธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังอดวิตกไม่ได้ว่ายอดขายทัวร์ไปเขมรอาจจะได้รับแรงกระทบกระเทือน ยังไม่ต้องเอ่ยถึงชาวบ้านที่ทำการค้าบริเวณชายแดนไทยกัมพูชาต่างก็ภาวนาให้เรื่องนี้จบลงเร็ว

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้แม้แต่เรื่องความขัดแย้งระดับคลาสสิคคือเรื่องศักดิ์ศรีของประเทศ คนไทยก็ไม่ได้เห็นพ้องต้องกัน

ในมิติทางการเมืองลักษณะ "พหูพจน์" ของสังคมไทยดังกล่าว สามารถนำไปสู่ข้อพิพาทได้สารพัดอย่างได้โดยง่าย ทั้งความขัดแย้งกันเองของผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้อำนาจรัฐกดดันหรือลดรอนสิทธิในด้านผลประโยชน์และอัตลักษณ์ของบรรดากลุ่มย่อย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว หากพวกเราประสงค์ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ก็จำเป็นต้องมีการปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่

ในทางวัฒนธรรมการเมืองจะต้องไม่มีการผูกขาดนิยามความเป็นชาติและความเป็นไทยซึ่งมักใช้เป็นข้อกำหนดถูกผิดหากเห็นต่างเรื่อง'ใดก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า และตามลักษณะรูปธรรมของความขัดแย้งเรามีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและแก้ไขกรณีพิพาทด้วยสันติวิธี ซึ่งในเรื่องนี้การศึกษาวิจัยทางวิชาการได้ดำเนินมาบ้างแล้ว โดยกระบวนการทางสังคมและกระบวนการทางการเมือง สันติวิธียังห่างไกลลักษณะความเห็นสถาบัน

อย่างไรก็ตามมาตรการสำคัญที่สุดในการลดแรงกระแทกของสังคมที่กำลังแตกปัจเจกแยกกลุ่มย่อย คือการมีพื้นที่ทางการเมืองให้กับทุกฝ่าย อันนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนทุกกลุ่มต้องขึ้นเวทีการเมือง เพื่อช่วงชิงอำนาจแต่หมายถึงการมีหนทางเข้าถึงกระบวนการใช้อำนาจได้ในกรณีที่ส่งผลกระทบถึงตน อีกทั้งมีพื้นที่ในการอธิบายเรื่องราวต่อรัฐและผู้เกี่ยวข้องตลอดจนสังคมส่วนที่เหลือ พูดง่าย ๆ ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคม "พหุลักษณะ" จะต้องอยู่ในวิถีของการเมืองแบบมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นปัญหาไหนก็แก้ไม่ได้

เรื่องนี้จริงๆนับว่าเราได้เริ่มต้นกันมาบ้างแล้วเช่นมีการกำหนดเรื่องสิทธิชุมชนและการเมืองภาคประชาชนไว้ในรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการใช้ระบบประชาพิจารณ์และการหยั่งประชามติเป็นครั้งคราว แต่ที่ผ่านมาถือว่ายังไม่พอ เรายังต้องขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในทิศทางนี้กันต่อไป

ต่อมาพูดถึงประเด็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำไทยในปัจจุบัน อันที่จริงกรณีทำนองนี้เคยเกิดขึ้นเป็นระยะนานแล้วในประวัติศาสตร์การสร้างรัฐชาติของประเทศไทย เช่นในปี 2475 ปี 2516 ปี 2535 เป็นต้น ซึ่งแต่ละครั้งที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองตามหลังมา การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองดังกล่าวไม่ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นระบอบอะไรก็ตามแต่ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือมีการขยายพื้นที่ในส่วนยอดของศูนย์อำนาจเพื่อให้ชนชั้นกลุ่มใหม่หรือรุ่นใหม่เข้ามาอยู่ในพันธมิตรการปกครอง เมื่อผ่านกาลเวลาสักระยะหนึ่งชนชั้นนำใหม่และเก่าก็มักจะปรับตัวเข้าหากัน กำหนดฐานะอันเหมาะควรให้กันและกัน ตลอดจนร่วมกันใช้อำนาจทางการเมืองบังคับบัญชาสังคมที่อยู่เบื้องล่าง

อย่างไรก็ดี สภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กล่าวคือชนชั้นนำเก่าจากภาคธุรกิจเอกชนซึ่งเคยร่วมมือเป็นพันธมิตรกับชนชั้นนำจากภาครัฐมาเป็นอย่างดีได้ถูกวิกฤตครั้งนั้นทำให้มีฐานะเสื่อมถอยลงทั้งในการเมืองและอิทธิพลทางสังคม ขณะเดียวกันก็ได้เกิดชนชั้นนำกลุ่มใหม่ที่เติบใหญ่มาจากระบบทุนโลกาภิวัตน์ซึ่งสามารถรวบรวมความมั่งคั่งของประเทศไว้ในมือตนได้อย่างรวดเร็วและมหาศาลอย่างเหลือเชื่อ ที่สำคัญคนกลุ่มนี้ไม่เชื่อถือในการบริหารประเทศทั้งโดยชนชั้นนำจากภาครัฐและโดยนักการเมืองรุ่นเก่า ซึ่งมักเป็นตัวแทนของภาคธุรกิจในกรอบรัฐชาติมากกว่าธุรกิจแบบไร้พรมแดน

ดังนั้นพวกเขาจึงไม่เพียงตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเข้าไปมีส่วนแบ่งในศูนย์อำนาจอย่างที่ชนชั้นนำจากภาคเอกชนรุ่นก่อนๆเคยต่อรองกับชนชั้นนำในระบบราชการ หากมีความประสงค์ถึงขั้นเข้าไปแทนที่ชนชั้นนำรุ่นเก่าๆทั้งหมดในการบริหารจัดการบ้านเมือง

ในบางด้านเราอาจจะกล่าวได้ว่านี่เป็นการขึ้นกุมอำนาจโดยตรงของกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์ในประเทศไทย ซึ่งผ่านระบบการเลือกตั้งและมาพร้อมกับความคิดที่แน่นอนชุดหนึ่งในการปรับเปลี่ยนทั้งกลไกรัฐและสังคมไทย ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าจะทำให้ประเทศไทยเชื่อมร้อยกับโลกไร้พรมแดนได้อย่างกระฉับกระเฉงขึ้น

หลังจากการปกครองประเทศไทยอยู่ได้ 5- 6ปี การสถาปนาอำนาจนำของนักการเมืองจากกลุ่มทุนโลกภิวัตน์ก็ถูกท้าทายรุนแรงจากหลายภาคส่วนของสังคม กระทั่งถูกโค่นด้วยรัฐประหารในปี 2549 จากนั้นประเทศไทยต้องพบกับความแตกแยกทางการเมืองที่หนักหน่วงร้ายแรงที่สุด นับตั้งแต่การสงบลงของสงครามระหว่างซ้ายขวาเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน

ที่กล่าวมาไม่ได้ต้องการฟื้นฝอยหาตะเข็บ หรือกล่าวหาฝ่ายไหนทั้งสิ้น เพียงอยากจะชวนมาทบทวนว่ากระแสโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในมิติของการแข่งขัน ชิงอำนาจอย่างไร ประเทศไทยเคยพยายามปรับตัวเข้าหาโลกาภิวัตน์มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยการนำของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งบังเอิญรีบร้อนและไม่มีความคิดแยบยลพอที่จะบูรณาการสังคมไทยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและมอบฉันทานุมัติเสียก่อน จึงประสบความล้มเหลว

ความขัดแย้งทางการเมืองในปี 2549 ที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องพฤติกรรมและผลประโยชน์ของบุคคลอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ในวันนี้สิ่งที่จะพูดคือโครงสร้างที่ทำให้การแบ่งพื้นที่อำนาจระหว่างชนชั้นนำก็ดี การเปิดพื้นที่ให้มวลชนชั้นล่างมีอุปสรรคขัดขวางมากมายทีเดียว

อำนาจรัฐสมัยใหม่ของไทยรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ที่เข้าใจยากคือ "ทำไมยังรวมศูนย์อยู่จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ทั้งๆที่เราพยายามสร้างระบอบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย และเคลื่อนเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์มาแล้วระยะหนึ่ง"

สรุปรวมความแล้วก็คือว่า การที่โลกไร้พรมแดนเข้ามาอยู่ในประเทศที่มีพรมแดนทำให้เราจะต้องพิจารณาหาหนทางบูรณาการประเทศกันใหม่ ทั้งในส่วนที่เป็นภาครัฐและภาคสังคม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม

การสร้างความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันใหม่ในบริบทของความเป็นจริงแห่งปัจจุบันคงจะไม่สามารถทำได้ในกรอบคิดดั้งเดิมของรัฐของลัทธิชาตินิยมหรือภายใต้ระเบียบอำนาจแบบเก่าๆอย่างที่เราคุ้นเคยกัน

"ผมเข้าใจดีว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้ใด โดยส่วนตัวแล้ว ผมเองก็ยังผูกพันอยู่กับความคิดเรื่องชาติแบบดั้งเดิม แต่เราคงต้องยอมรับว่าในระยะที่ผ่านมาคำว่าชาติได้กลายเป็นคำขวัญของการเมืองแบบผู้ชนะได้ไปหมด สมัยก่อนระบบเผด็จการมักอ้างชาติในการผูกขาดอำนาจ ต่อมารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็อ้างชาติให้คนอื่นเงียบ สุดท้ายกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกันก็อ้างชาติเพื่อผูกขาดความถูกต้อง เราคงจะอยู่กันอย่างนี้ต่อไปไม่ได้ เพราะมันไม่สอดคล้องกับความจริง ปัญหาการบูรณาการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์กับผลประโยชน์ของส่วนอื่นๆในสังคมไทยก็ดี ปัญหาความไม่ลงตัวในเรื่องการจัดสรรอำนาจทางการเมืองและพื้นที่ทางการเมืองในสังคมแบบพหุลักษณะก็ดี จะแก้ได้ต่อเมื่อเราขยายเส้นขอบฟ้าทางปัญญาให้กว้างกว่าการใช้นิยามเดียวมาตัดสินที่อยู่ที่ยืนของผู้คน"

ปัจจุบันอำนาจรัฐไทยถูกจำกัดโดยเงื่อนไขโลกาภิวัตน์อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ถูกกำกับโดยประชาสังคมเท่าที่ควร อำนาจรัฐบางส่วนถูกโอนให้สถาบันตลาด แต่ตลาดเองก็ไม่สามารถให้ความเป็นธรรมกับสมาชิกในสังคมได้อย่างทั่วถึง มิหนำซ้ำยังจะดึงรัฐไปรับใช้การขยายตัวของทุนอยู่ตลอดเวลา

เราคงไม่ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ฝากความมั่งคั่งและอยู่รอดของตนไว้กับทุนและแรงงานจากต่างประเทศ อีกจำนวนไม่น้อยพอใจชีวิตที่ไม่ต้องถูกนิยามด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติ และกินอยู่แต่งกายไปตามกระแสบริโภคสากล

แต่เราก็ต้องยอมรับเช่นกันว่ายังมีอีกหลายกลุ่มที่เดือดร้อนกับโลกที่ไร้พรมแดน บ้างถูกเบียดยึดพื้นที่ทางเศรษฐกิจและการเมือง บ้างถูกคุกคามความอยู่รอดอย่างแท้จริง และบ้างเพียงรู้สึกเจ็บปวดเมื่อโลกที่ตัวเองคุ้นเคยกำลังเลือนหายไป

การดำรงอยู่ของทั้งสองส่วนเป็นสาเหตุสำคัญของกรณีพิพาทในหลายๆเรื่อง และนี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้ต้องมีการปรับสมดุลกันในประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"ทีดีอาร์ไอ"ซัด รบ.แก้"หนี้นอกระบบ"ไม่ตรงจุด แค่หวังผลการเมือง ห่วงคนกู้นอกระบบมาโปะซ้ำอีก


ทีดีอาร์ไอ"ซัด รบ.แก้"หนี้นอกระบบ"ไม่ตรงจุด แค่หวังผลการเมือง ห่วงคนกู้นอกระบบมาโปะซ้ำอีก

"ทีดีอาร์ไอ"ซัด รบ.แก้ปัญหาหนี้นอกระบบไม่ตรงจุด แค่หวังผลทางการเมือง ไม่ต่างจาก "รบ.แม้ว" ห่วงคนร่วมโครงการเบี้ยวหนี้ หันไปกู้นอกระบบมาโปะซ้ำ ปราชญ์ชาวบ้านหวั่นกลายเป็นหนี้"งูกินหาง"

"มาร์ค-ปทีป-ธานี"ถกปมมาเฟียเงินกู้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 20 พฤศจิกายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เรียก พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) และพล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมืองเข้าหารือที่ห้องทำงานในตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ใช้เวลาประมาณ 15 นาที จากนั้น พล.ต.อ.ธานี ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯ เรียกคุยเรื่องการแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล

"ทีดีอาร์ไอ"ชี้ รบ.แก้หนี้ไม่ตรงจุด

ด้านนายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า เชื่อว่าผลลัพธ์ในการดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาล จะไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เหมือนกับโครงการของรัฐบาลในอดีต และน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด เป็นการหวังผลทางการเมืองมากเกินไป ไม่แตกต่างจากโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยถูกจุดขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมืองอยู่พักหนึ่ง แล้วก็หายไป


นายนิพนธ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ จากผลการสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2550 พบว่าครัวเรือนมีหนี้สินในระบบอยู่ถึง 80% ขณะที่หนี้สินนอกระบบมีแค่ 20% ส่วนครัวเรือนที่มีฐานะยากจนมากที่สุด เป็นหนี้ในระบบอยู่ 56% ส่วนหนี้นอกระบบ 44% เป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และแนวโน้มสัดส่วนหนี้ในระบบนับวันจะเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมูลเหตุแห่งหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนทีวี มอเตอร์ไซค์ หรือบัตรอีออน ซึ่งมีกลุ่มลูกหนี้จำนวนมาก ถือเป็นหนี้ในระบบทั้งหมด การแก้ไขปัญหาหนี้ในระบบจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่ควรมองข้าม

ห่วงคนเบี้ยวหนี้-กู้นอกระบบอีก

นายนิพนธ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ การตั้งเกณฑ์การช่วยเหลือรายละไม่เกิน 2 แสนบาท อาจเป็นตัวเลขที่สูงเกินไป เนื่องจากผลสำรวจหนี้ครัวเรือนปี 2550 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 50,000 กว่าบาทเท่านั้น และเชื่อว่าการตั้งเป้าผู้เข้าร่วมโครงการที่ 1 ล้านคน เมื่อเริ่มดำเนินการผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการพิจารณาคงมีไม่มากนัก เนื่องจากสถาบันการเงินต่างๆ ต้องระมัดระวังการปล่อยกู้ส่วนนี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียในอนาคต และรัฐบาลไม่ควรบีบบังคับให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ลักษณะนี้ เพราะสถาบันการเงินต้องนึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนที่เอาเงินมาฝากด้วย

"สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดของการโอนหนี้เข้ามาอยู่ในระบบครั้งนี้ คือ ปัญหาการเบี้ยวหนี้ของประชาชน เพราะในข้อเท็จจริงของการเป็นหนี้นอกระบบ แม้จะต้องเสียดอกเบี้ยแพง แต่ลูกหนี้ก็ต้องจ่าย แต่หนี้ในระบบซึ่งมีดอกเบี้ยถูกกว่า หากลูกหนี้ที่ได้รับกู้เงินไปแล้ว เกิดปัญหาขาดแคลนเงิน ก็จำเป็นต้องใช้วิธีไปกู้หนี้นอกระบบมาโปะอีก หนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ส่วนทันที และถ้าถึงเวลาใช้หนี้พร้อมกัน เชื่อว่าลูกหนี้จะเลือกเบี้ยวหนี้ในระบบก่อน เพราะเสียอัตราดอกเบี้ยน้อยกว่า สุดท้ายภาระหนี้สินหนี้ในระบบก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่กู้หนี้จนเกินตัว" นายนิพนธ์ กล่าว

แนะให้เข้าถึงเงินกู้ในระบบง่ายขึ้น

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ตรงจุดที่รัฐบาลควรดำเนินการ คือ การทำอย่างไรให้คนที่เดือดร้อนเงินจริง สามารถเข้าถึงกระบวนการปล่อยเงินกู้ในระบบง่ายมากขึ้น โดยใช้ช่องทางกองทุนหมู่บ้าน ละกองทุนอื่นๆ ของชุมชน เนื่องจากมีระบบที่ยืดหยุ่นมากกว่าการใช้ระบบสถาบันการเงินปกติ เพราะกองทุนเหล่านี้มีความเข้าใจคนในพื้นที่อย่างดีว่า มีศักยภาพที่ปล่อยเงินให้ได้หรือไม่

"นอกจากนี้ ควรสนับสนุนการจัดทำเครดิตบูโร ทั้งในส่วนสถาบันการเงินของรัฐและกองทุนหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานด้วย นอกจากนี้ ควรเร่งสำรวจข้อมูลว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดหนี้ เพื่อจะแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดมากที่สุด" นายนิพนธ์ กล่าว

ปราชญ์เชื่อเจ้าหนี้ไม่ร่วมมือ

นายประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าของรางวัลแม็กไซไซ สาขาผู้นำชุมชน ปี 2547 และกรรมการคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า นโยบายนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ รัฐบาลในอดีตเคยทำมาแล้วช่วงปี 2547-2548 โดยเปิดให้ผู้มีหนี้มาขึ้นทะเบียน และหาคนกลางมาเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ ไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหนี้ พอถึงเวลาไม่มาตามนัด เพราะกังวลผลประโยชน์จะเสียไปจากดอกเบี้ยที่ได้รับจากลูกหนี้ จึงมีเพียงบางส่วนได้รับการแก้ปัญหาเท่านั้น

นายประยงค์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม นโยบายเรื่องนี้ของรัฐบาลถือเป็นเรื่องที่ดีในการหาทางช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากการถูกเรียกเก็บดอกเบี้ยสูงเกินจริง แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ คือการสนับสนุนเงินทุนให้กับลูกหนี้ เพื่อนำไปสร้างงาน สร้างอาชีพ หลังปัญหาหนี้สินได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นไปแล้ว

เตือนระวังเป็นหนี้ "งูกินหาง"

"รัฐบาลต้องไม่ลืมว่า แม้จะนำหนี้ที่อยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบ เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากตัวบุคคลมาเป็นสถาบันการเงิน แต่ภาระหนี้ของลูกหนี้ไม่ได้หมดไป การช่วยเหลือครั้งนี้เป็นเพียงแค่การชะลอความเป็นหนี้ออกไปเท่านั้น หากลูกหนี้มีปัญหาการเงินขึ้นมาอีก สุดท้ายคงต้องไปกู้หนี้นอกระบบมาใช้อีก จะทำให้หนี้เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง จะกลายเป็นงูกินหาง หาทางออกไม่ได้" นายประยงค์ กล่าว

นายประยงค์ กล่าวว่า นอกเหนือจากปัญหาดังกล่าว สิ่งที่รัฐบาลควรระวัง คือการหาช่องเข้ามาหาผลประโยชน์จากคนบางกลุ่ม โดยสร้างหนี้ปลอมหรือทำสัญญาลอย นำมายื่นเรื่องเข้าโครงการเพื่อเอาเงินไปใช้กันเอง ทั้งที่ไม่ได้มีหนี้สินจริง กลวิธีแบบนี้กำลังเป็นที่พูดกันมากในระดับพื้นที่ว่ามีการเตรียมวางแผนกันไว้เรียบร้อยแล้ว หากรัฐบาลไม่รีบหาวิธีการรับมือ อาจทำให้โครงการนี้ต้องเจอปัญหาได้

ธปท.ชี้ยากตรวจหนี้นอกระบบ

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีรัฐบาลจะแก้ไขหนี้นอกระบบเข้าสู่ในระบบว่า เป็นเรื่องดี แต่ต้องดูว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เพราะการจะตรวจสอบเอกสารของเจ้าหนี้นอกระบบเป็นเรื่องยาก ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตในระบบที่มองว่าสูงเกินไปนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องของอุปสงค์ในตลาด หากมีความต้องการด้านสินเชื่อมากจะเกิดการแข่งขันก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม มองว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

"อยากให้ดูทั้ง 2 ด้าน หากมองว่าสูงเกินไป จะดูเป็นการเอาเปรียบผู้ใช้ แต่อีกด้านหากต่ำเกินไปก็จะกระทบต่อความเสี่ยงของลูกค้าทำให้สถาบันการเงินไม่กล้าปล่อย จะทำให้ไปใช้บริการเงินกู้นอกระบบ" นางธาริษา กล่าว

"กสิกร"ยันไม่กระทบสินเชื่อแบงก์

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบสามารถเข้าระบบการเงินที่ถูกต้องได้ เพราะอัตราดอกเบี้ยนอกระบบสูงมาก เฉลี่ย 20% ต่อเดือน ขณะที่อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลในระบบอยู่ที่ 28% ต่อปี

"ปัจจัยหนึ่งที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบได้ คือเรื่องความชัดเจนด้านรายได้ ซึ่งธนาคารและนอนแบงก์ (สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์) ต่างมีข้อกำหนดเรื่องรายได้ขั้นต่ำที่ต้องมี 1 หมื่นบาทต่อเดือนขึ้นไป ผู้ที่มีรายได้น้อยจึงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้ ต้องแก้ไขจากต้นตอในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย แม้กฎหมายจะกำหนดให้เรียกเก็บไม่เกิน 15% แต่ไม่มีบทลงโทษจึงไม่มีใครทำตาม หากมีการเอาจริงในเรื่องนี้จะช่วยแก้ไขหนี้นอกระบบได้" นายชาติชาย กล่าว

นายชาติ กล่าวว่า การแก้ไขหนี้นอกระบบของรัฐบาล ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารแน่นอน เนื่องจากเป็นการแก้ไขหนี้ที่เกิดในอดีตไม่ใช่ในปัจจุบัน จึงไม่ส่งผลให้ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารไหลไปเข้าโครงการนี้ แต่อาจมีส่วนหนึ่งที่เป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบที่อาจเข้าร่วมด้วยส่วนหนึ่ง

ตร.โคราชรวบ 38 ราย "แก๊งเงินกู้"

วันเดียวกัน พล.ต.ต.เดชาวัต รามสมภพ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 (ผบช.ภ.3) พร้อม พล.ต.ต.ฉัตรกนก เขียวแสงส่อง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด (ผบก.ภ.จว.) นครราชสีมา และพ.ต.อ.ภควัต ธรรมดี ผกก.สภ.ปากช่อง ร่วมแถลงข่าวผลการกวาดล้างจับกุมแก๊งออกเงินกู้นอกระบบ ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ที่ 15% โดยผู้ต้องหาเป็นชายฉกรรจ์ 38 คน พร้อมของกลางเป็นสมุดบัญชีเก็บหนี้ สำเนาบัตรประชาชนจำนวนมาก เงินสดจำนวนหนึ่ง เครื่องถ่ายเอกสารแบบพกพา 1 เครื่อง และรถจักรยานยนต์ 10 คัน

พล.ต.ต.เดชาวัต กล่าวว่า การกวาดล้างจับกุมแก๊งเงินกู้ครั้งนี้ เพราะมีประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ค้าหลายรายใน จ.นครราชสีมา ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่ออกเงินกู้นอกระบบเรียกเก็บดอกเบี้ยสูง เริ่มต้นที่ร้อยละ 20 บางรายคิดสูงถึงร้อยละ 60 โดยเรียกเก็บเป็นรายวัน หากขาดส่งดอกเบี้ยหรือส่งไม่ตรงเวลา จะส่งชายฉกรรจ์มาข่มขู่บังคับทวงหนี้ บางรายถึงขั้นขู่จะทำร้ายร่างกาย ทั้งตบตี บุกทำลายทรัพย์สินภายในร้าน หรือแผงตลาด จึงระดมกำลังสืบสวนสอบสวนทุกพื้นที่จนติดตามจับกุมแก๊งเก็บเงินกู้ และทวงหนี้ได้ตามตลาดสดหลายแห่ง ควบคุมตัวทั้งหมดมาสอบสวน เบื้องต้นผู้ต้องหายังให้การปฏิเสธ บางรายอ้างตัวรับว่าเป็นผู้ปล่อยกู้ด้วยตัวเอง

ลั่นขยายผลนายทุนปล่อยกู้

"ข้อมูลการสืบสวนทางลับทราบว่า มีนายทุนรายใหญ่หลายรายที่เป็นผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการปล่อยเงินกู้ และแบ่งกลุ่มบุคคลกระจายแต่ละพื้นที่ดูแลลูกหนี้ คาดว่าวงเงินกู้หมุนเวียนของนายทุนนอกระบบรายนี้เฉพาะใน จ.นครราชสีมา ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท สาเหตุสำคัญที่ทำให้พ่อค้าแม่ค้า หรือประชาชนทั่วไป ใช้บริการแก๊งเงินกู้นอกระบบ เพราะเข้าถึงการกู้เงินได้ง่าย เงื่อนไขไม่ยุ่งยากซับซ้อน" พล.ต.ต.เดชาวัต กล่าวและว่า เจ้าหน้าที่จะดำเนินคดีอย่างจริงจัง เนื่องจากมีพฤติการณ์ออกเงินกู้ และข่มขู่ทำร้ายร่างกายลูกหนี้ โดยผู้เสียหายที่เป็นลูกหนี้สามารถมาชี้ตัวเพื่อตำรวจจะรวบรวมพยานหลักฐานส่งดำเนินคดี และขยายผลนำไปสู่การดำเนินคดีกับตัวการใหญ่ที่เป็นนายทุนผู้อยู่เบื้องหลังต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า จากการสืบสวนเชิงลึกของตำรวจ พบว่ากลุ่มปล่อยเงินกู้นอกระบบใน 8 จังหวัดอีสานตอนล่าง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนายทุนในพื้นที่ คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 100 ราย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับบุคคลในเครื่องแบบที่คอยให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก ทำให้การจับกุมตัวกลุ่มนายทุนทำได้ยาก และผู้เสียหายไม่ให้ความร่วมมือแจ้งเบาะแสกับตำรวจ เพราะเกรงกลัวอิทธิพล แม้มีการกวดขันจับกุมอย่างจริงจัง แต่ปัญหายังไม่หมดไป เนื่องจากเงินกู้นอกระบบเป็นธุรกิจที่สมยอมกันทั้งสองฝ่าย ทำให้การสืบหาข้อมูลการกระทำผิดทำได้ยาก