รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตกหน้าผาจำนำข้าว สุดท้ายแค่ซื้อเวลาลากยาว กู้เงินผิดรัฐธรรมนูญ-ข่าวล่องหน
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประจำปีงบประมาณปี 2557 ครั้งที่ 1 ถือเป็นวิธีการพยายามกู้เงินของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าวในฤดูผลิตนาปี 2556/57
จากข้อมูลตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 ต.ค. 2556 ถึงวันที่ 30 ม.ค. 2557 มีข้าวเข้าโครงการทั้งสิ้น 178,681.55 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินไปแล้ว 56,132.96 ล้านบาท
ครม.เห็นชอบแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วงค่ำของวันเดียวกับที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่พิจารณาการขอกู้เงินของรัฐบาลเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำ ที่รัฐบาลติดค้างชำระใบประทวนชาวนาทั่วประเทศกว่าแสนล้านบาท
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ได้ปรับเปลี่ยน"แผนก่อหนี้" ด้วยการ"ยกเลิก" แผนกู้เงินในโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง 2 ล้านล้านบาท ที่เดิมมีแผนจะกู้เงินในปี 2557 ประมาณ 1.2 แสนล้านบาทออก เนื่องจากพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทอยู่ในขั้นตอนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และแผนการก่อหนี้ใหม่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ให้ปรับลดวงเงินกู้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท
จากนั้น เพิ่มรายการ"ใหม่" จำนวน 2 รายการ รวมเงิน 143,244 ล้านบาท ได้แก่ 1.เงินกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล 13,244 ล้านบาท และ 2.เงินกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต 2556/57 จำนวน 130,000 ล้านบาท
นั่นคือ เงินกู้ที่จะนำมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล
แต่เนื่องจากรัฐบาลยุบสภา ทำให้มีปัญหาว่าไม่สามารถดำเนินโครงการหรือนโยบายใดที่ผูกพันไปยังรัฐบาลต่อไปได้ ซึ่งจุด"ตาย"ของนโยบายนี้ เนื่องจากขาดสภาพคล่องอย่าง"รุนแรง" หากไม่ได้เงินกู้ เพราะกระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถระบายข้าว เพื่อนำเงินมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนได้
หากฟังความเห็นของสำนักงานกฤษฎีกาในการประชุมครม.วันนั้น ก็จะรู้ว่าการกู้เงินเพื่อใช้ในโครงการนี้ไม่สามารถทำได้ตั้งแต่ต้น
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า หากการที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้กระทรวงการคลังมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นไปตามกรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว และการพิจารณาอนุมัติดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป คณะรัฐมนตรีก็ย่อมพิจารณาอนุมัติให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามที่เสนอได้
แต่ทางกระทรวงการคลังเห็นว่าความเห็นกฤษฎีกายังไม่ชัดเจนว่าทำได้หรือไม่ จึงเสนอให้ตีความอีกครั้งว่าทำได้หรือไม่ ในวันที่ 23 ม.ค.
นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบกลับว่าสามารถดำเนินการได้ เพราะไม่ใช่โครงการใหม่
แต่ประเด็นปัญหาก็เกิดขึ้น เมื่อมีการตีความว่าความเห็นของกฤษฎีกาในวันเสนอครม.เมื่อวันที่ 21 ม.ค.นั้น เป็นการประชุมในรูปแบบของคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนความเห็นเมื่อวันที่ 23 ม.ค.นั้น เป็นความเห็นของนายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความสับสนจึงเกิดขึ้น เพราะกระทรวงการคลังได้สั่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ทำแผนกู้เงินจากตลาดเงินงวดแรก 20,000 ล้านบาท จากนั้นกู้เงินในทุกสัปดาห์ แต่ความเห็นขอบสบน.ระบุว่าอาจสุ่มเสี่ยงผิดรัฐธรรมนูญ
ปรากฏว่าการประกาศเชิญชวนให้สถาบันการเงินมาปล่อยเงินกู้ในครั้ง มีเพียงสถาบันการเงินต่างชาติเพียงรายเดียว โดยเสนอดอกเบี้ยสูงลิ่วถึง 18% ส่วนสถาบันการเงินอื่นไม่ยื่นข้อเสนอเพื่อประมูลปล่อยกู้ในครั้งนี้
นักการธนาคารหลายคนระบุตรงกันว่าไม่มีความชัดเจนในเรื่องข้อกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่ต้องการรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หากมีการตีความว่าการกู้เงินในครั้งผิดรัฐธรรมนูญ
เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลัง ยอมรับว่าสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ไม่มั่นใจว่าจะสามารถกู้ได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นความเห็นของเลขาธิการเท่านั้น ไม่ใช่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ไม่ใช่ความเห็นในลักษณะขององค์กร อย่างไรก็ตามในที่สุดแล้ว การที่จะระบุว่า ขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จะต้องขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญ
ในเมื่อกระทรวงการคลังไม่สามารถกู้เงินในตลาดเงินได้ จึงพยายามหาช่องทางต่างๆ เพื่อหาเงินมาใช้ในโครงการ เพราะยิ่งปล่อยเวลาให้ผ่านไปนานเท่าไร ความเดือดร้อนของชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงินจากโครงการนี้ก็เพิ่มมากขึ้น เพราะรัฐบาลติดค้างชาวนามานาน บางพื้นที่ค้างจ่ายมานานถึง 6 เดือน
ดังนั้น จึงมีความเคลื่อนไหวพยายามหาแหล่งเงิน ไม่ว่าจะร้องขอธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ให้ยอมปล่อยสภาพคล่อง แต่ก็ถูกต่อต้านจากสหภาพแรงงาน รวมทั้งมีข่าว ว่าจะขอให้ธนาคารออมสินมาปล่อยกู้ แต่ก็ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านเช่นเดียวกัน แม้แต่ธนาคารกรุงไทย
แต่เมื่อถูกต่อต้าน ก็มีข่าวว่ารัฐบาลพยายามหาทางกู้แหล่งเงินที่มีสภาพคล่องสูง อย่างกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ซึ่งล่าสุดได้รับการปฏิเสธเช่นเดียวกัน
เจ้าหน้าที่รายเดียวกัน กล่าวอีกว่า แผนการหาเงินด้วยการกู้เพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในขณะนี้ เรียกได้ว่า "แทบเป็นไปไม่ได้" เนื่องจาก ติดปัญหาว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) และ (4) ที่ห้ามรัฐบาลรักษาการ ทำงานหรือโครงการที่มีผลผูกพันรัฐบาลชุดต่อไป และ ห้ามใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคลากรของรัฐ ที่ทำให้มีผลต่อการเลือกตั้ง ทำให้ข้าราชการประจำที่ทำหน้าที่ดังกล่าวไม่กล้าที่จะเสนอแผนการกู้เงิน
เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องเสนอเงินกู้ หรือ แม้แต่ทางรัฐมนตรีคลังนั้น ก็ทราบกันดีว่า การกู้เงินดังกล่าวจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังทำเรื่องเสนอเงินกู้ และเมื่อเสนอแล้ว ก็พบว่า มีแบงก์แห่งเดียวที่เสนออัตราดอกเบี้ยเข้ามาร่วมประมูล ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องการทำเรื่องกู้เงิน เพราะกังวลว่า จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย
เจ้าหน้าที่รายนี้ กล่าวอีกว่า ข่าวที่ออกมาว่ากระทรวงการคลังเตรียมไปกู้เงินจากแหล่งต่างๆนั้น ถือว่า เป็นข่าวที่ปล่อยออกมาเพื่อให้ดูว่า รัฐบาลกำลังหาเงิน เพื่อมาจ่ายให้ชาวนา แต่แท้จริงแล้ว รัฐบาลกำลังซื้อเวลา เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ดังนั้น แนวทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหา คือ การเร่งระบายข้าว
แต่การระบายข้าวก็อาจสร้างปัญหาตามมาอีก เพราะหากรัฐบาล"เปิดโกดัง"เพื่อขายข้าวให้แก่ผู้ส่งออก ก็อาจพบได้ว่ามีข้าวสารในบางโกดังหายไป และข้าวเสื่อมสภาพ อาจถูกกดราคาหรือไม่มีใครสนใจประมูล
ปัญหาโครงการนี้สะท้อนได้จากผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล เพราะผ่านเข้าสู่ฤดูผลิตปีที่ 3 แล้ว แต่ยังไม่มีการปิดบัญชี
ก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมการปิดบัญชีที่มีน.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีบัญชีใน 3 ฤดูกาลผลิต นับตั้งแต่ฤดูการผลิต 2554/55 โดยตัวเลขสินค้าคงเหลือในสต็อกของรัฐบาล ณ เดือน พ.ค. 2556 มีข้าวสารในสต็อกรวม 13 ล้านตัน
ในปีที่แล้ว ที่รัฐบาลได้ประกาศตรวจสอบสต็อกข้าวของรัฐบาลพร้อมกันทั้งประเทศ ซึ่งก่อนตรวจสอบทางองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และ องค์การคลังสินค้า (อคส.)ได้แจ้งว่ายังมีข้าวสารที่ยังไม่ลงบัญชีอีก 2.98 ล้านตัน
ดังนั้น เมื่อมีการตรวจนับปริมาณข้าวในสต็อกปริมาณข้าวที่นับได้จะต้องมีมากกว่าที่บันทึกไว้ในบัญชี 2.98 ล้านตัน แต่ในทางตรงกันข้าม หลังจากตรวจสอบทั่วประเทศในครั้งนั้น กลับพบว่า มีปริมาณข้าว ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในบัญชี 1.5 ล้านตัน
เมื่อรวมปริมาณข้าว ที่ระบุว่าไม่ได้ลงบัญชี แต่กลับหาไม่พบ 2.98 ล้านตัน กับตัวเลขข้าวที่มีอยู่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในบัญชี 1.5 ล้านตัน เท่ากับว่า มีปริมาณข้าวหายไปจากสต็อกประมาณ 4.5 ล้านตัน ซึ่งจนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีการชี้แจง หรือ สืบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้
ถือเป็นภาวะ กลืนไม่เข้า คลายไม่ออก ของรัฐบาล แต่ที่ทำได้ขณะนี้คือการซื้อเวลาออกไปให้ยาวนานที่สุด
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
-----------------------------------
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประจำปีงบประมาณปี 2557 ครั้งที่ 1 ถือเป็นวิธีการพยายามกู้เงินของกระทรวงการคลัง เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำข้าวในฤดูผลิตนาปี 2556/57
จากข้อมูลตั้งแต่เริ่มโครงการวันที่ 1 ต.ค. 2556 ถึงวันที่ 30 ม.ค. 2557 มีข้าวเข้าโครงการทั้งสิ้น 178,681.55 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินไปแล้ว 56,132.96 ล้านบาท
ครม.เห็นชอบแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วงค่ำของวันเดียวกับที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่พิจารณาการขอกู้เงินของรัฐบาลเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำ ที่รัฐบาลติดค้างชำระใบประทวนชาวนาทั่วประเทศกว่าแสนล้านบาท
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ได้ปรับเปลี่ยน"แผนก่อหนี้" ด้วยการ"ยกเลิก" แผนกู้เงินในโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง 2 ล้านล้านบาท ที่เดิมมีแผนจะกู้เงินในปี 2557 ประมาณ 1.2 แสนล้านบาทออก เนื่องจากพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาทอยู่ในขั้นตอนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และแผนการก่อหนี้ใหม่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ให้ปรับลดวงเงินกู้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท
จากนั้น เพิ่มรายการ"ใหม่" จำนวน 2 รายการ รวมเงิน 143,244 ล้านบาท ได้แก่ 1.เงินกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินโครงการที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตามนโยบายรัฐบาล 13,244 ล้านบาท และ 2.เงินกู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต 2556/57 จำนวน 130,000 ล้านบาท
นั่นคือ เงินกู้ที่จะนำมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล
แต่เนื่องจากรัฐบาลยุบสภา ทำให้มีปัญหาว่าไม่สามารถดำเนินโครงการหรือนโยบายใดที่ผูกพันไปยังรัฐบาลต่อไปได้ ซึ่งจุด"ตาย"ของนโยบายนี้ เนื่องจากขาดสภาพคล่องอย่าง"รุนแรง" หากไม่ได้เงินกู้ เพราะกระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถระบายข้าว เพื่อนำเงินมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนได้
หากฟังความเห็นของสำนักงานกฤษฎีกาในการประชุมครม.วันนั้น ก็จะรู้ว่าการกู้เงินเพื่อใช้ในโครงการนี้ไม่สามารถทำได้ตั้งแต่ต้น
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า หากการที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติให้กระทรวงการคลังมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นไปตามกรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว และการพิจารณาอนุมัติดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป คณะรัฐมนตรีก็ย่อมพิจารณาอนุมัติให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามที่เสนอได้
แต่ทางกระทรวงการคลังเห็นว่าความเห็นกฤษฎีกายังไม่ชัดเจนว่าทำได้หรือไม่ จึงเสนอให้ตีความอีกครั้งว่าทำได้หรือไม่ ในวันที่ 23 ม.ค.
นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบกลับว่าสามารถดำเนินการได้ เพราะไม่ใช่โครงการใหม่
แต่ประเด็นปัญหาก็เกิดขึ้น เมื่อมีการตีความว่าความเห็นของกฤษฎีกาในวันเสนอครม.เมื่อวันที่ 21 ม.ค.นั้น เป็นการประชุมในรูปแบบของคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนความเห็นเมื่อวันที่ 23 ม.ค.นั้น เป็นความเห็นของนายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ความสับสนจึงเกิดขึ้น เพราะกระทรวงการคลังได้สั่งให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ทำแผนกู้เงินจากตลาดเงินงวดแรก 20,000 ล้านบาท จากนั้นกู้เงินในทุกสัปดาห์ แต่ความเห็นขอบสบน.ระบุว่าอาจสุ่มเสี่ยงผิดรัฐธรรมนูญ
ปรากฏว่าการประกาศเชิญชวนให้สถาบันการเงินมาปล่อยเงินกู้ในครั้ง มีเพียงสถาบันการเงินต่างชาติเพียงรายเดียว โดยเสนอดอกเบี้ยสูงลิ่วถึง 18% ส่วนสถาบันการเงินอื่นไม่ยื่นข้อเสนอเพื่อประมูลปล่อยกู้ในครั้งนี้
นักการธนาคารหลายคนระบุตรงกันว่าไม่มีความชัดเจนในเรื่องข้อกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่ต้องการรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หากมีการตีความว่าการกู้เงินในครั้งผิดรัฐธรรมนูญ
เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลัง ยอมรับว่าสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ไม่มั่นใจว่าจะสามารถกู้ได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นความเห็นของเลขาธิการเท่านั้น ไม่ใช่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ไม่ใช่ความเห็นในลักษณะขององค์กร อย่างไรก็ตามในที่สุดแล้ว การที่จะระบุว่า ขัดหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จะต้องขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญ
ในเมื่อกระทรวงการคลังไม่สามารถกู้เงินในตลาดเงินได้ จึงพยายามหาช่องทางต่างๆ เพื่อหาเงินมาใช้ในโครงการ เพราะยิ่งปล่อยเวลาให้ผ่านไปนานเท่าไร ความเดือดร้อนของชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงินจากโครงการนี้ก็เพิ่มมากขึ้น เพราะรัฐบาลติดค้างชาวนามานาน บางพื้นที่ค้างจ่ายมานานถึง 6 เดือน
ดังนั้น จึงมีความเคลื่อนไหวพยายามหาแหล่งเงิน ไม่ว่าจะร้องขอธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ให้ยอมปล่อยสภาพคล่อง แต่ก็ถูกต่อต้านจากสหภาพแรงงาน รวมทั้งมีข่าว ว่าจะขอให้ธนาคารออมสินมาปล่อยกู้ แต่ก็ต้องเผชิญกับแรงต่อต้านเช่นเดียวกัน แม้แต่ธนาคารกรุงไทย
แต่เมื่อถูกต่อต้าน ก็มีข่าวว่ารัฐบาลพยายามหาทางกู้แหล่งเงินที่มีสภาพคล่องสูง อย่างกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ซึ่งล่าสุดได้รับการปฏิเสธเช่นเดียวกัน
เจ้าหน้าที่รายเดียวกัน กล่าวอีกว่า แผนการหาเงินด้วยการกู้เพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในขณะนี้ เรียกได้ว่า "แทบเป็นไปไม่ได้" เนื่องจาก ติดปัญหาว่าอาจจะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (3) และ (4) ที่ห้ามรัฐบาลรักษาการ ทำงานหรือโครงการที่มีผลผูกพันรัฐบาลชุดต่อไป และ ห้ามใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคลากรของรัฐ ที่ทำให้มีผลต่อการเลือกตั้ง ทำให้ข้าราชการประจำที่ทำหน้าที่ดังกล่าวไม่กล้าที่จะเสนอแผนการกู้เงิน
เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องเสนอเงินกู้ หรือ แม้แต่ทางรัฐมนตรีคลังนั้น ก็ทราบกันดีว่า การกู้เงินดังกล่าวจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังทำเรื่องเสนอเงินกู้ และเมื่อเสนอแล้ว ก็พบว่า มีแบงก์แห่งเดียวที่เสนออัตราดอกเบี้ยเข้ามาร่วมประมูล ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ก็ไม่ต้องการทำเรื่องกู้เงิน เพราะกังวลว่า จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย
เจ้าหน้าที่รายนี้ กล่าวอีกว่า ข่าวที่ออกมาว่ากระทรวงการคลังเตรียมไปกู้เงินจากแหล่งต่างๆนั้น ถือว่า เป็นข่าวที่ปล่อยออกมาเพื่อให้ดูว่า รัฐบาลกำลังหาเงิน เพื่อมาจ่ายให้ชาวนา แต่แท้จริงแล้ว รัฐบาลกำลังซื้อเวลา เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ดังนั้น แนวทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหา คือ การเร่งระบายข้าว
แต่การระบายข้าวก็อาจสร้างปัญหาตามมาอีก เพราะหากรัฐบาล"เปิดโกดัง"เพื่อขายข้าวให้แก่ผู้ส่งออก ก็อาจพบได้ว่ามีข้าวสารในบางโกดังหายไป และข้าวเสื่อมสภาพ อาจถูกกดราคาหรือไม่มีใครสนใจประมูล
ปัญหาโครงการนี้สะท้อนได้จากผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาล เพราะผ่านเข้าสู่ฤดูผลิตปีที่ 3 แล้ว แต่ยังไม่มีการปิดบัญชี
ก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมการปิดบัญชีที่มีน.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีบัญชีใน 3 ฤดูกาลผลิต นับตั้งแต่ฤดูการผลิต 2554/55 โดยตัวเลขสินค้าคงเหลือในสต็อกของรัฐบาล ณ เดือน พ.ค. 2556 มีข้าวสารในสต็อกรวม 13 ล้านตัน
ในปีที่แล้ว ที่รัฐบาลได้ประกาศตรวจสอบสต็อกข้าวของรัฐบาลพร้อมกันทั้งประเทศ ซึ่งก่อนตรวจสอบทางองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และ องค์การคลังสินค้า (อคส.)ได้แจ้งว่ายังมีข้าวสารที่ยังไม่ลงบัญชีอีก 2.98 ล้านตัน
ดังนั้น เมื่อมีการตรวจนับปริมาณข้าวในสต็อกปริมาณข้าวที่นับได้จะต้องมีมากกว่าที่บันทึกไว้ในบัญชี 2.98 ล้านตัน แต่ในทางตรงกันข้าม หลังจากตรวจสอบทั่วประเทศในครั้งนั้น กลับพบว่า มีปริมาณข้าว ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในบัญชี 1.5 ล้านตัน
เมื่อรวมปริมาณข้าว ที่ระบุว่าไม่ได้ลงบัญชี แต่กลับหาไม่พบ 2.98 ล้านตัน กับตัวเลขข้าวที่มีอยู่ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในบัญชี 1.5 ล้านตัน เท่ากับว่า มีปริมาณข้าวหายไปจากสต็อกประมาณ 4.5 ล้านตัน ซึ่งจนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีการชี้แจง หรือ สืบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้
ถือเป็นภาวะ กลืนไม่เข้า คลายไม่ออก ของรัฐบาล แต่ที่ทำได้ขณะนี้คือการซื้อเวลาออกไปให้ยาวนานที่สุด
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
-----------------------------------