หุ้น-เงินเอเชียขยับขึ้น หลังวิกฤติการคลังสหรัฐส่อยืดเยื้อ ส่งผลเฟดส่อเลื่อนคิวอี "โอบามา"ลั่นไม่เจรจาต่อรอง ธาริษา"เตือนรับมือตลาดผันผวน
วิกฤติงบประมาณและเพดานหนี้ของสหรัฐส่อเค้ายืดเยื้อ หลังจากประธานาธิบดีบารัก โอบามา ปฏิเสธเจรจาหรือต่อรองกับพรรครีพับลิกัน เรื่องปัญหางบประมาณจนนำไปสู่การปิดหน่วยงานรัฐบาลเป็นวันที่ 3 และคองเกรสพิจารณาเพิ่มเพดานหนี้ในวันที่ 17 ต.ค.
ประธานาธิบดีโอบามา กล่าวย้ำต่อบรรดาผู้นำสภาคองเกรสว่าจะไม่เจรจาต่อรองใดๆ หลังจากเจรจามากกว่า 1 ชั่วโมงที่ทำเนียบขาว ซึ่งทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า"ท่านประธานาธิบดีได้บ่งชี้อย่างชัดเจนต่อบรรดาผู้นำว่าท่านจะไม่เจรจาต่อรองเกี่ยวกับความต้องการให้สภาคองเกรสดำเนินการเพื่อเปิดทำการหน่วยงานรัฐบาลหรือเพื่อเพิ่มเพดานหนี้"
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโอบามา จัดการเจรจาที่ห้องทำงานรูปไข่กับผู้นำระดับสูงของพรรครีพับลิกัน ซึ่งได้แก่นายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และนายมิทช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำวุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน รวมทั้งสมาชิกสภาระดับสูงของพรรคเดโมแครตซึ่งได้แก่ นายแฮร์รี รีด ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภา และนางแนนซี เพโลซี ผู้นำพรรคเดโมแครตในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นการเจรจากันแบบเผชิญหน้ากันครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดีโอบามาและผู้นำสภาคองเกรส นับตั้งแต่เริ่มการปิดหน่วยงานรัฐบาลเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ท่าทีของแข็งกร้าวของประธานาธิบดีโอบามา ได้ส่งผลต่อค่าเงินและตลาดหุ้น เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าหากสหรัฐไม่สามารถตกลงเรื่องงบประมาณและขยายเพดานหนี้ได้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เลื่อนกำหนดการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 29-30 ต.ค.นี้
สกุลเงินเอเชียปรับตัวขึ้นในวานนี้ (3 ต.ค.) ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงอันเนื่องมาจากความวิตกที่ว่าการปิดหน่วยงานรัฐบาลบางส่วนของสหรัฐอาจดำเนินต่อไป
นักวิเคราะห์กล่าวว่ามีแรงเทขายดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆ ซึ่งทุกคนกำลังเทขายขณะที่ไม่มีใครต้องการซื้อ
นักวิเคราะห์เห็นว่าการปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอาจยืดเยื้อออกไปและลดโอกาสที่เฟด จะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะใกล้ ได้ช่วยหนุนสกุลเงินเอเชียเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
"หากการปิดหน่วยงานรัฐบาลดำเนินต่อไปหลายสัปดาห์ ก็จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวอยู่ใกล้ระดับ ณ สิ้นปี 2555"
ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับวันก่อน แม้ว่าช่วงท้ายตลาดวานนี้ (3 ต.ค.) อยู่ที่ 31.25/30 อ่อนจาก 31.14/20 ในช่วงเช้า และขณะที่ตลาดต่างประเทศ (offshore) อยู่ที่ 31.25/29 จาก 31.12/19 ในช่วงเช้า
เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่สหรัฐ มีปัญหาเรื่องงบประมาณ โดยวานนี้ ปิดบวก 20.19 จุด หรือ 1.43% อยู่ที่ 1,429.18 แม้นักลงทุนต่างชาติจะขายสุทธิ แต่ได้แรงหนุนจากกลุ่มสถาบันเข้าซื้อ โดยคาดว่าเฟดจะชะลอการลดวงเงินคิวอี
คำกล่าวของนายเอริค โรเซนเกรน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาบอสตัน ช่วยย้ำว่าเฟดจะยังคงคิวอีต่อไป โดยกล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังชะลอตัว และตลาดจ้างงานที่ย่ำแย่ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงต้องได้รับมาตรการหนุนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกหลายปี
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 29-30 ต.ค. นี้ ซึ่งคาดว่าจะยังคงมาตรการคิวอี ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
ชี้เฟดอาจเลื่อนปรับลดคิวอี
นายโรเซนเกรน ยังกล่าวว่า การปิดหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ อาจส่งผลให้เฟดประเมินสภาพเศรษฐกิจสหรัฐได้ล่าช้ากว่าเดิม และอาจทำให้เฟดต้องเลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับลดวงเงินในมาตรการคิวอีออกไป
นายโรเซนเกรน กล่าวว่า เฟดอาจจะต้องรอจนกว่าได้เห็นข้อมูลในเดือนต.ค. เพื่อประเมินความเสียหายจากการปิดทำการของหน่วยงานรัฐบาล และความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้นกรณีการเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ
"ถ้าเศรษฐกิจมีการพัฒนาตามที่คาดไว้ ก็มองว่า นโยบายของเฟดก็น่าจะรวมถึงการยกเลิกมาตรการผ่อนคลายอย่างช้าๆ ในช่วงหลายปีข้างหน้า และน่าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อข้อมูลสนับสนุนการคาดการณ์ของเราที่ว่า จีดีพีที่แท้จริงและการจ้างงานได้ปรับตัวดีขึ้น" นายโรเซนเกรน กล่าว
ย้ำเศรษฐกิจยังแย่ ไม่ลดคิวอี
นายโรเซนเกรน กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลรวมถึงความไม่แน่นอนในนโยบายการคลัง อัตราการเติบโตที่ระดับต่ำของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาด เพราะได้พุ่งขึ้นสู่ระดับที่สูงมากจนอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
นายโรเซนเกรน ย้ำว่า "หากเศรษฐกิจไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นตามคาด เราก็จะไม่ปรับลดนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย"
ด้าน โกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยว่า การปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ (ชัทดาวน์) ในระยะสั้น จะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ประมาณ 0.2% แต่การปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ อาจถ่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงมากถึง 0.4% เนื่องจากพนักงานภาครัฐที่ถูกพักงานจะทำการปรับลดการใช้จ่ายส่วนบุคคล
ขณะนี้ การปิดหน่วยงานของรัฐบาลได้ย่างเข้าสู่วันที่สามแล้ว
"ธาริษา"เตือนรับมือสหรัฐป่วน
นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอาจมีผลต่อตลาดเงินในระยะสั้น และน่าจะหาข้อสรุปได้ในที่สุด
แต่ปัญหาที่น่ากังวล คือ การขยายเพดานหนี้ของสหรัฐ ที่หากตกลงกันไม่ได้จะเกิดปัญหาตามมาอีกมาก ซึ่งในที่สุดรัฐบาลสหรัฐต้องหาทางแก้ปัญหาให้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการชำระหนี้ และการลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งเป็นการยากที่จะฟื้นความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั่วโลกกลับมาได้
"ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตลาดเงินทั่วโลก จะยังคงเชื่อและลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรวมถึงค่าเงินดอลลาร์ต่อเนื่อง เพราะเป็นสกุลเงินและสินทรัพย์หลักของโลก
นางธาริษา กล่าวถึงผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ว่าเป็นเรื่องคาดเดาได้ยากว่าเงินทุนจะไหลเข้าออกอย่างไร เพราะที่ผ่านมาความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้รับผลจากภาวะเศรษฐกิจแตกต่างไปจากอดีต แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัว แต่ยังกังวลว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในสถานการณ์ที่แย่กว่า ทำให้เงินทุนมีโอกาสที่จะไหลออกได้
แนะเก็บมาตรการกระตุ้นยามจำเป็น
นางธาริษา มองว่า เศรษฐกิจโลกโดยรวมยังมีความผันผวน แต่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหรัฐ หากไม่นับปัญหางบประมาณ ยังเห็นการฟื้นตัวได้ดี
ส่วนเศรษฐกิจไทยทั้งปีจะยังเติบโตไม่สูงมากนัก แต่ปีหน้ามีทิศทางดีขึ้นจากกำลังซื้อของโลก ซึ่งจะทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
นางธาริษา กล่าวอีกว่า ธปท.มีเครื่องมือดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศได้ แม้จะมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น แต่จะดูแลให้เป็นไปตามกลไกตลาด และไม่ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปในทิศทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป
"ผลกับเศรษฐกิจไทยที่แน่ๆ คือความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้น ทุกฝ่ายต้องตั้งรับให้ดี ทำตัวเองให้แข็งแกร่งโดยเฉพาะเศรษฐกิจ ภาคสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนต้องรักษาสภาพคล่องให้ดี อย่าให้หนี้เสียมากเกินไป ทำตัวให้เบา นโยบายการเงินต้องติดตามใกล้ชิด เก็บกระสุนไว้ใช้ยามจำเป็น และติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในทุกประเทศด้วย"
ด้าน นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่ารัฐบาลสหรัฐจะมีแนวทางแก้ไขปัญหางบประมาณ รวมถึงการขยายเพดานหนี้ได้ในที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งเฟดต้องทำหน้าที่ดูแลภาวะเศรษฐกิจสหรัฐให้ต่อเนื่อง แม้ในอนาคตเฟดจะต้องลดขนาดคิวอี ลงตามแนวทางที่วางไว้
เอกชนชี้ไม่กระทบภาคผลิต-ส่งออก
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่าปัญหาในสหรัฐ จะทำให้การบริโภคเอกชนสหรัฐชะลอในระยะสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อทั้งภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทย เพราะเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วและตลาดก็คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว
ทั้งนี้ คาดว่าการเจรจาน่าจะจบและผ่านร่างงบประมาณปี 2557 ออกมาได้ก่อนวันที่ 17 ต.ค. ที่สภาจะต้องมีการหารือเรื่องเพดานหนี้สาธารณะ ซึ่งอาจมีการพิจารณาเพิ่มเพดานหนี้หรือยืดระยะเวลาการชำระหนี้บางส่วนออกไป อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาที่พื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐตอนนี้มีแนวโน้มดีขึ้น ไม่น่าจะมีการทำนโยบายที่ไปทำให้การฟื้นตัวดังกล่าวสะดุด
"ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวนี้ได้ทำให้การส่งออกของไทยบางกลุ่มปรับตัวดีขึ้นตาม ที่เห็นได้ชัดคืออิเล็กทรอนิกส์และเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งหากการฟื้นตัวต่อเนื่องก็น่าจะทำให้การส่งออกภาพรวมดีขึ้นด้วย"
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าไม่น่ากังวลว่าจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมและส่งออกไทย ซึ่งตอนนี้ยังไม่พบข้อมูลว่ามีผู้ส่งออกได้รับความเสียหายจากปัญหาในสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสหรัฐจะหาทางออกร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนฯ และสภาคองเกรสได้ภายในไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เคยเกิดการชัทดาวน์นานที่สุดเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เพราะหากปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นนาน จะยิ่งสร้างความเสียหายมาก เนื่องจากปัจจุบันปัจจัยทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเร็ว และพื้นฐานของสหรัฐก็ไม่ได้แข็งแรงเหมือนอดีต
"ประเด็นที่ไทยต้องระวัง คือ เรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน แต่แบงก์ชาติในฐานะหน่วยงานที่ดูแลตลาดคงทราบถึงสถานะอัตราแลกเปลี่ยนเงินไหลเข้าไหลออก และมีเครื่องมือที่รองรับอยู่แล้ว
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------
วิกฤติงบประมาณและเพดานหนี้ของสหรัฐส่อเค้ายืดเยื้อ หลังจากประธานาธิบดีบารัก โอบามา ปฏิเสธเจรจาหรือต่อรองกับพรรครีพับลิกัน เรื่องปัญหางบประมาณจนนำไปสู่การปิดหน่วยงานรัฐบาลเป็นวันที่ 3 และคองเกรสพิจารณาเพิ่มเพดานหนี้ในวันที่ 17 ต.ค.
ประธานาธิบดีโอบามา กล่าวย้ำต่อบรรดาผู้นำสภาคองเกรสว่าจะไม่เจรจาต่อรองใดๆ หลังจากเจรจามากกว่า 1 ชั่วโมงที่ทำเนียบขาว ซึ่งทำเนียบขาวได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า"ท่านประธานาธิบดีได้บ่งชี้อย่างชัดเจนต่อบรรดาผู้นำว่าท่านจะไม่เจรจาต่อรองเกี่ยวกับความต้องการให้สภาคองเกรสดำเนินการเพื่อเปิดทำการหน่วยงานรัฐบาลหรือเพื่อเพิ่มเพดานหนี้"
ทั้งนี้ ประธานาธิบดีโอบามา จัดการเจรจาที่ห้องทำงานรูปไข่กับผู้นำระดับสูงของพรรครีพับลิกัน ซึ่งได้แก่นายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และนายมิทช์ แมคคอนเนลล์ ผู้นำวุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกัน รวมทั้งสมาชิกสภาระดับสูงของพรรคเดโมแครตซึ่งได้แก่ นายแฮร์รี รีด ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภา และนางแนนซี เพโลซี ผู้นำพรรคเดโมแครตในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือเป็นการเจรจากันแบบเผชิญหน้ากันครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดีโอบามาและผู้นำสภาคองเกรส นับตั้งแต่เริ่มการปิดหน่วยงานรัฐบาลเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ท่าทีของแข็งกร้าวของประธานาธิบดีโอบามา ได้ส่งผลต่อค่าเงินและตลาดหุ้น เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าหากสหรัฐไม่สามารถตกลงเรื่องงบประมาณและขยายเพดานหนี้ได้ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐ และจะทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เลื่อนกำหนดการปรับลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 29-30 ต.ค.นี้
สกุลเงินเอเชียปรับตัวขึ้นในวานนี้ (3 ต.ค.) ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงอันเนื่องมาจากความวิตกที่ว่าการปิดหน่วยงานรัฐบาลบางส่วนของสหรัฐอาจดำเนินต่อไป
นักวิเคราะห์กล่าวว่ามีแรงเทขายดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆ ซึ่งทุกคนกำลังเทขายขณะที่ไม่มีใครต้องการซื้อ
นักวิเคราะห์เห็นว่าการปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐอาจยืดเยื้อออกไปและลดโอกาสที่เฟด จะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะใกล้ ได้ช่วยหนุนสกุลเงินเอเชียเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
"หากการปิดหน่วยงานรัฐบาลดำเนินต่อไปหลายสัปดาห์ ก็จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวอยู่ใกล้ระดับ ณ สิ้นปี 2555"
ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับวันก่อน แม้ว่าช่วงท้ายตลาดวานนี้ (3 ต.ค.) อยู่ที่ 31.25/30 อ่อนจาก 31.14/20 ในช่วงเช้า และขณะที่ตลาดต่างประเทศ (offshore) อยู่ที่ 31.25/29 จาก 31.12/19 ในช่วงเช้า
เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทย ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่สหรัฐ มีปัญหาเรื่องงบประมาณ โดยวานนี้ ปิดบวก 20.19 จุด หรือ 1.43% อยู่ที่ 1,429.18 แม้นักลงทุนต่างชาติจะขายสุทธิ แต่ได้แรงหนุนจากกลุ่มสถาบันเข้าซื้อ โดยคาดว่าเฟดจะชะลอการลดวงเงินคิวอี
คำกล่าวของนายเอริค โรเซนเกรน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาบอสตัน ช่วยย้ำว่าเฟดจะยังคงคิวอีต่อไป โดยกล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังชะลอตัว และตลาดจ้างงานที่ย่ำแย่ บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงต้องได้รับมาตรการหนุนจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกหลายปี
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 29-30 ต.ค. นี้ ซึ่งคาดว่าจะยังคงมาตรการคิวอี ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในวงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ และซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมกัน 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ทุกเดือนเพื่อพยุงเศรษฐกิจ
ชี้เฟดอาจเลื่อนปรับลดคิวอี
นายโรเซนเกรน ยังกล่าวว่า การปิดหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ อาจส่งผลให้เฟดประเมินสภาพเศรษฐกิจสหรัฐได้ล่าช้ากว่าเดิม และอาจทำให้เฟดต้องเลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับลดวงเงินในมาตรการคิวอีออกไป
นายโรเซนเกรน กล่าวว่า เฟดอาจจะต้องรอจนกว่าได้เห็นข้อมูลในเดือนต.ค. เพื่อประเมินความเสียหายจากการปิดทำการของหน่วยงานรัฐบาล และความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้นกรณีการเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐ
"ถ้าเศรษฐกิจมีการพัฒนาตามที่คาดไว้ ก็มองว่า นโยบายของเฟดก็น่าจะรวมถึงการยกเลิกมาตรการผ่อนคลายอย่างช้าๆ ในช่วงหลายปีข้างหน้า และน่าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อข้อมูลสนับสนุนการคาดการณ์ของเราที่ว่า จีดีพีที่แท้จริงและการจ้างงานได้ปรับตัวดีขึ้น" นายโรเซนเกรน กล่าว
ย้ำเศรษฐกิจยังแย่ ไม่ลดคิวอี
นายโรเซนเกรน กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลรวมถึงความไม่แน่นอนในนโยบายการคลัง อัตราการเติบโตที่ระดับต่ำของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาด เพราะได้พุ่งขึ้นสู่ระดับที่สูงมากจนอาจส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
นายโรเซนเกรน ย้ำว่า "หากเศรษฐกิจไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นตามคาด เราก็จะไม่ปรับลดนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย"
ด้าน โกลด์แมน แซคส์ เปิดเผยว่า การปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐ (ชัทดาวน์) ในระยะสั้น จะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลง ประมาณ 0.2% แต่การปิดหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ อาจถ่วงการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงมากถึง 0.4% เนื่องจากพนักงานภาครัฐที่ถูกพักงานจะทำการปรับลดการใช้จ่ายส่วนบุคคล
ขณะนี้ การปิดหน่วยงานของรัฐบาลได้ย่างเข้าสู่วันที่สามแล้ว
"ธาริษา"เตือนรับมือสหรัฐป่วน
นางธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอาจมีผลต่อตลาดเงินในระยะสั้น และน่าจะหาข้อสรุปได้ในที่สุด
แต่ปัญหาที่น่ากังวล คือ การขยายเพดานหนี้ของสหรัฐ ที่หากตกลงกันไม่ได้จะเกิดปัญหาตามมาอีกมาก ซึ่งในที่สุดรัฐบาลสหรัฐต้องหาทางแก้ปัญหาให้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการชำระหนี้ และการลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ ซึ่งเป็นการยากที่จะฟื้นความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั่วโลกกลับมาได้
"ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ตลาดเงินทั่วโลก จะยังคงเชื่อและลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรวมถึงค่าเงินดอลลาร์ต่อเนื่อง เพราะเป็นสกุลเงินและสินทรัพย์หลักของโลก
นางธาริษา กล่าวถึงผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ว่าเป็นเรื่องคาดเดาได้ยากว่าเงินทุนจะไหลเข้าออกอย่างไร เพราะที่ผ่านมาความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้รับผลจากภาวะเศรษฐกิจแตกต่างไปจากอดีต แม้เศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัว แต่ยังกังวลว่าเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาอยู่ในสถานการณ์ที่แย่กว่า ทำให้เงินทุนมีโอกาสที่จะไหลออกได้
แนะเก็บมาตรการกระตุ้นยามจำเป็น
นางธาริษา มองว่า เศรษฐกิจโลกโดยรวมยังมีความผันผวน แต่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะสหรัฐ หากไม่นับปัญหางบประมาณ ยังเห็นการฟื้นตัวได้ดี
ส่วนเศรษฐกิจไทยทั้งปีจะยังเติบโตไม่สูงมากนัก แต่ปีหน้ามีทิศทางดีขึ้นจากกำลังซื้อของโลก ซึ่งจะทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น
นางธาริษา กล่าวอีกว่า ธปท.มีเครื่องมือดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศได้ แม้จะมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น แต่จะดูแลให้เป็นไปตามกลไกตลาด และไม่ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปในทิศทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป
"ผลกับเศรษฐกิจไทยที่แน่ๆ คือความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้น ทุกฝ่ายต้องตั้งรับให้ดี ทำตัวเองให้แข็งแกร่งโดยเฉพาะเศรษฐกิจ ภาคสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนต้องรักษาสภาพคล่องให้ดี อย่าให้หนี้เสียมากเกินไป ทำตัวให้เบา นโยบายการเงินต้องติดตามใกล้ชิด เก็บกระสุนไว้ใช้ยามจำเป็น และติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในทุกประเทศด้วย"
ด้าน นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่ารัฐบาลสหรัฐจะมีแนวทางแก้ไขปัญหางบประมาณ รวมถึงการขยายเพดานหนี้ได้ในที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งเฟดต้องทำหน้าที่ดูแลภาวะเศรษฐกิจสหรัฐให้ต่อเนื่อง แม้ในอนาคตเฟดจะต้องลดขนาดคิวอี ลงตามแนวทางที่วางไว้
เอกชนชี้ไม่กระทบภาคผลิต-ส่งออก
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่าปัญหาในสหรัฐ จะทำให้การบริโภคเอกชนสหรัฐชะลอในระยะสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งจะไม่ส่งผลต่อทั้งภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของไทย เพราะเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วและตลาดก็คาดการณ์ไว้อยู่แล้ว
ทั้งนี้ คาดว่าการเจรจาน่าจะจบและผ่านร่างงบประมาณปี 2557 ออกมาได้ก่อนวันที่ 17 ต.ค. ที่สภาจะต้องมีการหารือเรื่องเพดานหนี้สาธารณะ ซึ่งอาจมีการพิจารณาเพิ่มเพดานหนี้หรือยืดระยะเวลาการชำระหนี้บางส่วนออกไป อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาที่พื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐตอนนี้มีแนวโน้มดีขึ้น ไม่น่าจะมีการทำนโยบายที่ไปทำให้การฟื้นตัวดังกล่าวสะดุด
"ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวนี้ได้ทำให้การส่งออกของไทยบางกลุ่มปรับตัวดีขึ้นตาม ที่เห็นได้ชัดคืออิเล็กทรอนิกส์และเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งหากการฟื้นตัวต่อเนื่องก็น่าจะทำให้การส่งออกภาพรวมดีขึ้นด้วย"
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าไม่น่ากังวลว่าจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมและส่งออกไทย ซึ่งตอนนี้ยังไม่พบข้อมูลว่ามีผู้ส่งออกได้รับความเสียหายจากปัญหาในสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสหรัฐจะหาทางออกร่วมกันระหว่างสภาผู้แทนฯ และสภาคองเกรสได้ภายในไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เคยเกิดการชัทดาวน์นานที่สุดเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เพราะหากปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นนาน จะยิ่งสร้างความเสียหายมาก เนื่องจากปัจจุบันปัจจัยทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงเร็ว และพื้นฐานของสหรัฐก็ไม่ได้แข็งแรงเหมือนอดีต
"ประเด็นที่ไทยต้องระวัง คือ เรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน แต่แบงก์ชาติในฐานะหน่วยงานที่ดูแลตลาดคงทราบถึงสถานะอัตราแลกเปลี่ยนเงินไหลเข้าไหลออก และมีเครื่องมือที่รองรับอยู่แล้ว
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------------