--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

ศาลฎีกาพิพากษากลับ จำคุก 3 ปี ปรับ 2 หมื่น อดีต ประธานคตง.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ !!?



ศาลฎีกาพิพากษากลับ จำคุก 3 ปี ปรับ 2 หมื่น “ปัญญา ตันติยวรงค์” อดีต ประธาน คตง.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เสนอชื่อคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ให้วุฒิสภา คัดเลือกตำแหน่งผู้ว่าฯ สตง. ศาลชี้เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
     
       วันนี้ (10 เม.ย.) ที่ห้องพิจารณาคดี 803 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 และนายประธาน ดาบเพชร อดีตผู้ได้รับการเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับคัดเลือกเป็นผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายปัญญา ตันติยวรงค์ อดีตประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรแก่ตนเองหรือผู้อื่นได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2544 จำเลยเสนอรายชื่อ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา และนายนนทพล นิ่มสมบูรณ์ ร่วมกับชื่อของนายประธาน ดาบเพชร เสนอประธานวุฒิพิจารณาเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง. ทั้งที่ในการประชุมของ คตง.ได้ลงมติด้วยวิธีคะแนนลับเลือกนายประธาน ดาบเพชร ด้วยคะแนนสูงสุด 5 คะแนนที่เกินเสียงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการเพียงคนเดียว โดยที่คุณหญิงจารุวรรณ ได้รับคะแนนเพียง 3 คะแนน ขณะที่นายนนทพลไม่ได้รับคะแนน
     
       คดีนี้ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2549 ให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี โดยไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าการที่จำเลยเสนอรายชื่อบุคคลทั้ง 3 ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.ทั้งที่กฎหมายกำหนดจะต้องส่งเพียงชื่อของบุคคลที่ได้รับคะแนนสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม คตง.ด้วยวิธีการลงคะแนนลับ ซึ่งคือนายประธานคนเดียวเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
     
       ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ซึ่งศาลอุทธรณ์ประชุมตรวจสำนวนแล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องจำเลย เนื่องจากเห็นว่าจำเลยเข้าใจว่า การเสนอเสนอรายชื่อให้วุฒิสภาพิจารณาเห็นชอบ ที่จะเลือกบุคคลเป็นผู้ว่าฯ สตง.นั้น สมควรจะต้องเสนอรายชื่อทั้ง 3 คน ที่ไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย พร้อมผลคะแนน โดยไม่มีข้อความระบุชัดเจนว่าวุฒิสภาต้องเลือกใคร เสนอต่อวุฒิสภา และที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิด คตง.และโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายนั้น เห็นว่าการกระทำของจำเลย ยังไม่เป็นการทำให้โจทก์ร่วมและ คตง.ต้องเสียหาย เพราะเมื่อมีการส่งรายชื่อแล้วยังไม่มีใครคาดหมายได้ว่าวุฒิสภาจะส่งหนังสือคืนจำเลยให้ทำใหม่ หรือจะเลือกบุคคลใดเป็นผู้ว่าฯ สตง. ซึ่งกฎหมายให้วุฒิสภาเป็นผู้ทำความเห็นชอบพิจารณาเลือกบุคคลที่ไมมีคุณสมบัติต้องห้าม โดยวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติจึงมีอำนาจเหนือกว่าจำเลยหลายเท่า ดังนั้นหากจะเกิดความเสียหายก็ต้องเกิดในชั้นวุฒิสภา และหากวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่โดยถูกต้อง การเลือกบุคคลเป็นผู้ว่า สตง.ก็จะไม่มีปัญหา พยานหลักฐานจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนา หรือเจตนาพิเศษเพื่อจูงใจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ให้เกิดความเสียหายแก่ คตง.และโจทก์ร่วม ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตาม ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227
     
       ต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมยื่นฎีกาศาลฎีกาประชุมตรวจสำนวนแล้ว เห็นว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกถึง 10 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 2,000 บาท -20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พฤติกรรมของจำเลยที่ไม่เสนอรายชื่อโจทก์ร่วม ซึ่งได้คะแนนเสียงสูงสุดเกินกึ่งหนึ่งจากที่ประชุม ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อคัดเลือกเป็นผู้ว่าฯ สตง.เพียงคนเดียว ตามที่กฎหมายกำหนด แต่กลับส่งรายชื่อบุคคลอีก 2 คนให้วุฒิสภาคัดเลือกนั้น ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นอำนาจของวุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นผู้ว่าฯ สตง.ก็ตาม จึงพิพากษากลับให้จำคุกจำเลยเป็นเวลา 3 ปี และ เห็นควรเพิ่มโทษปรับ จำนวน 2 หมื่นบาทด้วย ทั้งนี้พฤติกรรมจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี

ที่มา.ผู้จัดการออนไลน์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////

Live & Learn


โดย ณฐกร ขุนทอง

เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็น "สัจธรรม" ที่มนุษย์ทุกคนต้องพบเจอ

การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้และเข้าใจ

เราอาจอยู่ในสถานที่คุ้นเคย ไม่เคยพบการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีลมหายใจอยู่ที่บ้าน-ที่ทำงาน ซึ่งอย่างหลังกลายเป็นสถานที่ที่คนเราใช้เวลามากกว่า "บ้าน" เสียอีก

เรียกว่า ชีวิตคลุกคลีกับเพื่อนร่วมงาน จนกลายเป็นสายสัมพันธ์ที่ยิ่งกว่าญาติ อาจรู้ใจกันยิ่งกว่าคนรัก

แต่เมื่อมี "บริบทใหม่ ๆ" เข้ามาเบียดแทรก

"การเปลี่ยนแปลง" ....สิ่งที่หลายคนไม่อยากเผชิญจะวิ่งเข้ามาหา ซึ่งต้องยอมรับว่านี่คือ "สัจธรรม" ที่ยากปฏิเสธ

ไม่ว่าจะเตรียมหัวใจไว้หรือไม่ก็ตาม...

สัจธรรมนี้ไม่เพียงใช้ได้กับ "ชีวิตของปัจเจก" หากแต่ยังใช้ได้กับเส้นทาง

สายการตลาด และการปลุกปั้นแบรนด์ ซึ่งพบความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะต่างก็ต้องคอยจับจ้อง เฝ้าดูความ

เป็นไปของ "ผู้บริโภค" ผู้ซึ่งเป็นลูกค้าที่ยิ่งใหญ่

ประกอบกับทุกวันนี้ "บริบท" แวดล้อมรอบตัวเปลี่ยนเร็ว ไม่ว่าจะเป็น วิถีการเดินทางที่สะดวกรวดเร็วขึ้น, กำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้นตามรายได้ที่เป็นผลพวงจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท หรือเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท, ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่วิ่งตามเทคโนโลยีทั้ง 3 จี และดิจิทัล

หรือแม้แต่การเลือกเสพสื่อในยุคที่มีทางเลือกให้มากมาย, การใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น, พฤติกรรมเสพติดสมาร์ทโฟน, ชอบความสะดวก, หลงอยู่ในโลกเสมือน, คลั่งกระแสแชร์ความรู้สึก ฯลฯ

ทั้งหลายทั้งปวงกลายเป็นโจทย์ที่ยากขึ้นสำหรับการวางแผนการตลาด ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทวิจัยผู้ทำหน้าที่อินไซต์ข้อมูลผู้บริโภคต้องทำงานหนักให้กับแบรนด์สินค้าต่าง ๆ เพื่อ "เข้าถึง" ความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

คงเหมือนกับกลยุทธ์การบริหารแบบซุนวู ในยุทธตำราการรบรบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ที่เขียนไว้ว่า "รู้เขา รู้เรา"

การตลาดที่ดีต้องรู้ถึงความต้องการ เข้าถึงใจ หรือเข้าไปนั่งอยู่กลางใจผู้บริโภคให้ได้

ยุคนี้จึงถือเป็นความท้าทายของแบรนด์อย่างมาก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภค หรือ Consumer Behavior ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นเปลี่ยนแปลงเร็ว การหา Contact Point หรือจุดที่ผู้บริโภคเข้าไปอ่าน ติดต่อ สื่อสาร สัมผัสกับสื่อหรือพื้นที่นั้น ๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

เท่าที่เห็น ปัจจุบันแบรนด์สินค้าพาหันมาเลือกใช้สื่อแบบโฟกัสมากขึ้น

ในเมื่อมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างเจาะลึกและอินไซต์ สัมผัสได้ถึง Contact Point และ

เชื่อมั่น ก็ไม่จำเป็นต้อง "หว่าน" ให้เปลืองเม็ดเงิน

ข้อมูลที่น่าสนใจของ "มายด์แชร์ ประเทศไทย" พบว่า ทิศทางการสื่อสารการตลาดกำลังเข้าสู่ช่วงปรับตัวอย่างก้าวกระโดด การทำความเข้าใจกับการใช้สื่อ และผสมผสานสื่อให้เข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคถือเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องรู้

ประเด็นสำคัญคือ ยุคนี้เจ้าของสินค้าหรือใคร ๆ ก็ใช้เม็ดเงินอย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุดทั้งนั้น แต่ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้การโฆษณาหรือทำการตลาดสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ชมหรือผู้บริโภค ไม่เช่นนั้นผลลัพธ์ที่ออกมาอาจไม่โสภานัก เพราะเป็นความละเอียดอ่อนที่อาจทำให้เป้าหมายพลิกจาก "ชอบ" กลายเป็น "เกลียด" ได้

อยากยกตัวอย่างหนังฮอตเรื่อง "พี่มาก...พระโขนง" ของค่ายจีทีเอช เรื่องนี้ต้องยกนิ้วให้การวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด การปั้นกระแสก่อนหนังเข้าฉายจริงผ่านทางโซเชียลมีเดียและสื่อต่าง ๆ ซึ่งเมื่อบวกกับตัวหนังที่มีเนื้อหา "โดน" ผลลัพธ์จึงทำให้ "ผู้สร้าง" ยิ้ม

ไม่หุบกับรายได้มหาศาลที่ยังพุ่งทะยานไม่หยุดทั้ง ๆ ที่หนังเรื่องนี้คือตำนานแม่นาคพระโขนง แต่เมื่อถูกตีความในอีกแบบ และผู้บริโภค "รับ" ในแนวเนื้อหาและการนำเสนอสไตล์คอเมดี้ได้ "อาการโดนอย่างแรง" จึงกระฉ่อน กระทั่งเกิดปรากฏการณ์ "ต้องไปดูให้ได้" กระจายไปทั่วประเทศ

ว่าไปแล้ว นี่ก็คือการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและผู้บริโภค ซึ่งคนทำหนังและนักการตลาดสามารถผสมผสานทุกอย่างได้ตอบโจทย์ ท่ามกลางบริบทที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ

วันนี้การเปลี่ยนแปลงกำลังวิ่งเข้าหาผู้คนและทุกวงการธุรกิจ จะมากบ้าง น้อยบ้าง ก็แล้วแต่บริบทใหม่ ๆ ที่เข้ามา ซึ่งหากคนเรามองทุกอย่างด้วยการเรียนรู้ เห็นทุกอย่างด้วยหัวใจคิดบวก

ต่อให้ "บริบท" หมุนเปลี่ยนไปสักเท่าใด เราอาจมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ !

ที่มา.ประชาชาตฺธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////

ทวงความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตที่แยกคอกวัว !!?


นายเทอดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์มีอายุเพียง 29 ปี เมื่อเขาถูกสังหารด้วยกระสุนพลซุ่มยิง ในวันนี้เมื่อ 3 ปีก่อน ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 เขาล้มลงบนพื้นถนนอันแข็งกระด้างในกรุงเทพฯ และบาดเจ็บสาหัส กองกำลังที่ใช้จัดการกับนายเทอดศักดิ์เป็นกองกำลังที่มีเป้าหมายสังหารและผู้สั่งก็จงใจให้เป็นเช่นนั้นแม้ว่าคนที่ลั่นกระสุนจะเห็นชัดเจนว่าเหยื่อของเขาไม่มีอาวุธและมิได้เป็นภัยต่อผู้ใดแต่อย่างใดก็ตาม คำเดียวที่สามารถใช้อธิบายการกระทำเหล่านี้ได้คือการฆาตกรรมและสำนักงานกฎหมายของผมยังคงทำทุกวิถีทางเพื่อนำตัวคนผิดมาลงโทษให้ได้




นอกจากนี้ หากพิจารณาในประเด็นต่างๆ ก็เป็นเรื่องชัดเจนว่ากองกำลังที่ใช้จัดการกับคนเสื้อแดงที่แยกคอกวัวในคืนอำมหิตเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ออกแบบมาเพื่อสังหารเพียงอย่างเดียว กองกำลังดังหล่าวได้สังหารคนเสื้อแดงทั้งหมด 21 ราย โดยทั้งหมดเสียชีวิตจากกระสุนซึ่งยิงจากปากกระบอกปืนที่มีนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นคนสั่งการ นอกจากนี้ยังมีทหารเสียชีวิตอีก 5 นาย โดยการจบชีวิตของพวกเขาเป็นไปในสถานการณ์ที่เป็นปริศนา ในขณะที่การสอบสวนกรณีการเสียชีวิตของนักข่าวช่างภาพญี่ปุ่น นายฮิโร มูราโมโตยังคงดำเนินต่อไป การกระทำทั้งหมดนี้ทำให้มีภรรยาม่ายและมารดาหลายคนที่ต้องเศร้าสลดกับเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่เบื้องหลัง

หากปราศจากความยุติธรรมสำหรับเหยื่อทุกคน โศกนาถกรรมของเดือนเมษยน พ.ศ. 2553 ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ประเทศไทยยังไม่มีความสงบสุขแท้จริงนับตั้งแต่คืนที่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตถูกปล่อยให้จมอยู่กับคำถามที่ยังตอบไม่ได้มากมาย

และหากต้องการทำความเข้าใจถึงความรู้สึกอันลึกซึ้งในกรณีการสังหารหมู่ที่คอกวัวในวันที่ 10 เมษายน คุณไม่จำเป็นต้องมองหาที่ไหนอื่นไกลไปกว่าหนังสือภาษาไทยอันน่าทึ่ง ชื่อว่า “คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต” ซึ่งตีพิมพ์โดยมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย หนังสือเล่มนี้ให้พื้นที่เหยื่อจากเหตุการณ์เดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ได้ร่ำไห้ถึงสิ่งที่ทุกคนควรฟังหากต้องการให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าเพื่อความสมานฉันท์

อย่างกรณีมารดาของนายเทอดศักดิ์ นางสุวิมล ซึ่งบอกเล่าให้กลุ่มผู้เขียนของหลังสืออันยอดเยี่ยมนี้ฟังว่า

“จริงๆลึกๆแล้วยังอยากต่อสู้เพื่อลูก เพราะเขาตายไป เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ ตายไปโดยไม่สมควร ไม่สมควรมาทำเขา เรารู้สึกว่าเราทำอะไรไม่ได้ เราแค่เป็นประชาชนคนเล็กๆธรรมดา ขอแค่มีส่วนร่วมไปเดินบ้างอะไรบ้างก็โอเค แต่ยังไงก็ไม่ลืม”

เราควรตรึกครองถึงคำพูดของนางสุวิมลในขณะที่เราร่วมรำลึกถึงวันครบรอบเหตุการณ์ความสูญเสียในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 – “ฉันยังต้องการจะต่อสู้เพื่อลูก” มารดาคนเสื้อแดงผู้เสียชีวิตไม่สามารถ “ลืม” เรื่องการสูญเสียบุตรหลานแบบนี้ได้อย่างง่ายดายซึ่ง ต่างจากผู้วิจารณ์ นักการเมือง หรือผมกล้าพูดได้เลยว่า แม้แต่นักกฎหมาย เราทำได้แค่เพียงเสนอความช่วยเหลือและแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการต่อสู้เพื่อสู้เพื่อความยุติธรรมกับบุคคลที่ตกอยู่ในชะตากรรมแบบเดียวกับนางสุวิมล

เหยื่อเหตุการณ์สังหารหมู่คอกวัวอีกรายคือช่างเย็บผ้า นายวสันต์ ภู่ทอง (อายุ 39 ปี) น้องสาวของเขา น้ำทิพย์เล่าเรื่องผ่านทางหนังสือ “คนที่ตายมีใบหน้า คนที่ถูกฆ่ามีชีวิต” ว่า

“ตอนนี้ก็ยังคิดถึง เพราะทำงานอยู่ด้วยกันมานานมาก หันไปก็ต้องเจอ เพราะอยู่ด้วยกันทั้งวันทั้งคืน ……มันทำใจยาก”

คำพูดของน้ำทิพย์สะท้อนให้เห็นถึงการเสียชีวิตของน้องชายเธอซึ่งถูกสังหารในสถานการณ์อังน่าขยะแขยงได้เป็นอย่างดี การปราศจากความยุติธรรมที่แน่ชัดจะยังคงทำให้เหยื่อจากเหตุการณ์คอกวัวยากที่จะทำใจ “ยอมรับเรื่องแบบนี้”

วันนี้ทีมงานผมได้รับเกียรติพูดคุยกับพี่เขยของวสันต์ นายกลิ่น และเราขอทิ้งท้ายคำพูดของเขาไว้ในบทความนี้ คำพูดเหล่านี้ควรเป็นคำขวัญของเรา ในขณะที่เราร่วมรำลึกถึงวันครบรอบอีกหนึ่งปีที่บุคคลอันเป็นที่รักของเราถูกพรากไป

“ตอนนี้ยังไม่มีความยุติธรรม เพราะคนผิดยังไม่ถูกลงโทษ เราจะยังคงต่อสู้ต่อไปเพื่อความยุติธรรม”
Read more from นปช
///////////////////////////////////////////////////////



แบงก์ชาติจับตา : บาทแข็งในรอบ 16 ปี !!?



แบงก์ชาติรับบาทแข็งเร็วเทียบดอลลาร์แข็งค่าขึ้น 1.4% แตะ 28.95 บาทต่อดอลลาร์ สั่งติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ส่วนหนึ่งโยกเข้าลงทุนกองทุนบีทีเอส

ผลพวงจากการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของทางการญี่ปุ่น ที่ประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เหมือนกับที่สหรัฐและสหภาพยุโรป (อียู) ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เกิดความผันผวนขึ้นตลาดเงินระหว่างประเทศ ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นรวมทั้งเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เขายอมรับว่าค่าเงินบาทวานนี้ (9 เม.ย.) มีระดับการแข็งค่าที่ค่อนข้างเร็ว โดยสาเหตุหลักน่าจะเป็นผลจากการดำเนินนโยบายการเงิน ของ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่ผ่อนคลายมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ และบางส่วนน่าจะเป็นผลจากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุน เพื่อชำระค่าจองซื้อหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท หรือ BTSGIF



สำหรับกองทุนรวม BTSGIF นั้น แบ่งขายให้นักลงทุนต่างชาติประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรณีนี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาเพื่อลงทุนในกองทุนดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันเชื่อว่า มีบางส่วนที่โยกเงินจากสินทรัพย์ที่มีการลงทุนอยู่แล้วในประเทศไทย เช่น ในตลาดหุ้น เพื่อมาลงทุนในกองทุนนี้ด้วย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดัชนีหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงก็เป็นได้

ธปท.รับบาทแข็งค่าเร็วเกินไป

"ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงของเงินบาทเช้าวันที่ 9 เม.ย. 2556 ค่อนข้างเร็วไป ซึ่งจากสิ้นวันศุกร์มาถึงช่วงเวลา 10.30 น. ของวันที่ 9 เม.ย.นั้น เงินบาทแข็งค่าขึ้นเทียบดอลลาร์ประมาณ 1.4% และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบเงินเยน 4% ก็เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างเร็ว ซึ่งเร็วกว่าปกติ โดยแบงก์ชาติเองจะติดตามดูการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด"นายประสาร กล่าว

นอกจากนี้ การแข็งค่าที่รวดเร็วของเงินบาท ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากช่วงนี้มีวันหยุดติดต่อกันมาก ทำให้ปริมาณการซื้อขายเงินตราต่างประเทศค่อนข้างเบาบาง จึงเห็นการเคลื่อนไหวที่เร็วกว่าปกติบ้าง โดยช่วงนี้มียอดขายดอลลาร์เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 200-400 ดอลลาร์ ส่วนขาซื้อดอลลาร์สหรัฐเองก็ค่อนข้างเบาบางกว่าปกติ เพราะจริงๆ แล้วช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ที่จะซื้อเงินดอลลาร์เพื่อไปซื้อสินค้าทุนหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ

"ประสาร"ยันเฝ้าระวังใกล้ชิด

สำหรับการดูแลค่าเงินบาทของ ธปท. นั้น นายประสาร กล่าวว่า ธปท.มีการดูแลเป็นปกติอยู่แล้ว เพียงแต่การดูแลไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าแทรกแซงในตลาดเงินเสมอไป เพราะว่า ธปท. เองก็มีเครื่องมือหลายชั้นในการดูแล โดยมีตั้งแต่การปล่อยให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ซึ่งถือเป็นเครื่องมือแรกๆ ของ ธปท. เครื่องมือถัดมา เช่น การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการชาวไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสมดุลของเงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออก ซึ่งล่าสุด ธปท.จะขายเพิ่มให้กับนักลงทุนรายใหญ่ที่สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศได้อย่างไม่จำกัด

ส่วนเครื่องมือที่สาม คือ การแทรกแซงในตลาดเงิน ถ้าธปท.เห็นว่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวที่ผิดไปจากสภาวะปกติ ก็สามารถเข้าไปแทรกแซงในตลาดเงินได้ ส่วนเครื่องมือที่สี่ คือ การกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายของเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งขณะนี้ ธปท. อยู่ในสถานะที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นายประสาร กล่าวด้วยว่า ทั้ง 4 เครื่องมือที่ ธปท. มีนั้น จะเห็นว่ามีเครื่องมือที่เป็นลักษณะของวิธีธรรมชาติ และที่ไม่ใช่วิธีธรรมชาติ ซึ่งทางธปท.เองจะเลือกใช้วิธีที่เป็นธรรมชาติก่อน เช่น ตอนนี้มีหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจใด ที่มีหนี้ต่างประเทศ ธปท.ก็จะสนับสนุนให้ชำระหนี้เหล่านั้นก่อนกำหนด หรือหน่วยงานใดที่ต้องลงทุนด้วยการสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศ ทางธปท.ก็ให้การสนับสนุนเต็มที่ เพราะเห็นว่าเป็นจังหวะดี ที่จะมีการลงทุนเพิ่มในช่วงนี้ ในขณะที่วิธีที่ไม่ได้เป็นธรรมชาตินั้น จะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

ปัดควบคุมเงินทุนผวาผลกระทบข้างเคียง

"การควบคุมเงินทุนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบ อย่างประเทศบราซิลที่เขาใช้วิธีเก็บภาษีเงินที่เข้ามาลงทุน พอทำไปจริงๆ มันมีผลข้างเคียงอื่น เช่น เงินลงทุนจริงที่เขาอยากได้ พวกนี้ก็ได้รับผลกระทบพลอยหยุดชะงักไปด้วย จนกระทั่งหลังๆ เขาเองก็อยากจะปรับลดภาษีที่เรียกเก็บตรงนี้ลง ดังนั้นเวลาเราจะทำอะไรก็ต้องดูให้รอบคอบ ว่า จะมีผลข้างเคียงขึ้นบ้างหรือไม่"นายประสาร กล่าว

สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคการส่งออก จากสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น นายประสาร กล่าวว่า เวลานี้กำลังประเมินกันอยู่ แต่ถ้าดูกรณีของเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐนั้น จากการศึกษาของธปท.ช่วงที่ผ่านมา พบว่าการแข็งค่าของเงินบาทไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อภาคการส่งออกมากนัก หากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ายังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง

ส่วนเงินบาทเทียบกับค่าเงินเยนนั้น พบว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท เพราะไทยไม่ได้เป็นประเทศคู่แข่งกับญี่ปุ่น แต่เป็นประเทศคู่ค้า โดยอุตสาหกรรมไทยมีการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นค่อนข้างมาก

ซื้อบาทจ่ายค่ากองทุนบีทีเอส2หมื่นล้าน

ขณะที่นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้ (9 เม.ย.) ปรับตัวแข็งค่าทะลุระดับ 29.00 บาทต่อดอลลาร์ ลงไปถึงระดับ 28.93 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าสุดของวัน หลังจากที่เปิดตลาดที่ระดับ 29.22-29.23 บาทต่อดอลลาร์ เพราะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ เงินบาทที่ลงไปแตะ 28.93 บาทต่อดอลลาร์ เป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 16 ปี

นอกจากนี้ยังมีการทำคิวอีของญี่ปุ่นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เช่นกัน ทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าภูมิภาคเอเชียมากขึ้น จึงมีแรงขายดอลลาร์ออกมา ประกอบกับความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่เห็นเงินบาทแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ทำให้มีปริมาณซื้อขายเข้ามาอย่างหนาแน่น

"บรรยากาศการลงทุนตลาดเงิน มีผู้เข้ามาทำการซื้อขายค่าเงินมากขึ้น ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ทำให้ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงมาปิดที่ระดับ 29.00-29.04 บาทต่อดอลลาร์ได้"

คาดเคลื่อนไหว 29-29.15 บาทต่อดอลล์

ทั้งนี้ ต้องติดตามสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งจะมีผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่ากลับขึ้นมาได้ ทำให้แนวโน้มเงินบาทวันนี้ (10 เม.ย.) อาจจะอ่อนค่าลงได้โดยคาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 29.00-29.15 บาท

ด้าน นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการแข็งค่าของเงินบาทวานนี้ เป็นผลจากเม็ดเงินลงทุนต่างชาติที่นำเงินเข้ามาลงทุน ในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของบีทีเอส จึงมีการขายดอลลาร์และซื้อเงินบาท เพื่อชำระค่ากองทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาท เมื่อตัดปัจจัยดังกล่าวไปแล้ว ก็เชื่อว่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าที่ระดับเหนือ 29.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้อีกสักพักหนึ่ง

ต่างชาติซื้อสุทธิตราสารหนี้1.2หมื่นล้าน

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สรุปการซื้อขายวานนี้ (9 เม.ย.) รวม 158,941 ล้านบาท โดยประเภทของตราสารที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงที่สุด คือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 136,660 ล้านบาท คิดเป็น 74.0% พันธบัตรรัฐบาล มีมูลค่าการซื้อขาย 45,540 ล้านบาท คิดเป็น 24.7% ทางด้านหุ้นกู้เอกชน มีมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ 1,623 ล้านบาท คิดเป็น 0.9%

ประเภทของนักลงทุนที่มียอดซื้อสุทธิสูงที่สุด คือ กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซื้อสุทธิ 21,337 ล้านบาท กลุ่มนิติบุคคลในประเทศ ซื้อสุทธิ 13,789 ล้านบาท ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติ มียอดซื้อสุทธิ มูลค่า 12,829 ล้านบาท โดยต่างชาติมียอดคงค้างซื้อตราสารหนี้จนถึงปัจจุบันกว่า 8 แสนล้านบาท

ขณะที่ การซื้อขายตลาดตราสารหนี้สัปดาห์ที่ผ่านมา (1-5 เม.ย.) นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิในตราสารหนี้ทุกประเภท 8,503 ล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะการซื้อขายในตราสารหนี้ระยะยาว อายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี จะพบว่าเป็นการซื้อสุทธิถึง 8,392 ล้านบาท

เยนเทียบดอลล์อ่อนค่าทุบสถิติ

รานงานภาวะตลาดปริวรรตเงินตราเอเชีย โดยเงินดอลลาร์แข็งสุดรอบ 47 เดือน ขณะที่เงินเยนร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบหลายปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์และยูโร โดยนักลงทุนเทขายเยนออกมา ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) กำลังดำเนินนโยบายต่อต้านภาวะเงินฝืดในช่วงนี้ โดยดอลลาร์ดีดตัวขึ้นไปแตะระดับ 99.67 เยนซึ่งเป็นจุดสูงสุด นับตั้งแต่เดือนพ.ค.2009 แต่ต่อมาคำสั่งขายทำกำไรได้กดดันดอลลาร์ให้ร่วงลงสู่ 99.25 เยน ขณะที่ยูโรขึ้นไปแตะ 129.935 เยน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ เดือนม.ค.2010 โดยในช่วงนี้ยูโรอยู่ที่ 129.59 เยน แข็งค่าขึ้น 0.3 % นับตั้งแต่บีโอเจเปิดเผยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในวันพฤหัสบดี ที่ 4 เม.ย. ดอลลาร์/เยนก็ได้พุ่งขึ้นมาแล้วราว 7 %

สรท.ชี้ภาครัฐลอยแพผู้ส่งออก

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ในช่วง 3 เดือน แรกของปีนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 5 % และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกมีมาร์จินระหว่าง 3-5% และเมื่อมาเจอปัญหาเงินบาทแข็งค่าเช่นนี้ มีโอกาสสูงที่กำไรจะหายไป รวมทั้งเงินเยนอ่อนค่าลงด้วยทำให้กระทบการส่งออกไปญี่ปุ่นด้วย

"เราชี้แจงผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่า แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้ตอบสนองอะไรมากนัก และกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ยกเลิกนัดหารือผลกระทบกับภาคเอกชนในสัปดาห์นี้ ซึ่งเหมือนรัฐบาลก็ไม่ได้ดำเนินการอะไรช่วยเหลือผู้ส่งออก รวมทั้งยังบอกให้ผู้ส่งออกหาทางช่วยเหลือตัวเอง โดยแนะนำให้นำเข้าเครื่องจักรในช่วงเงินบาทแข็งค่า รวมทั้งให้ออกไปลงทุนในต่างประเทศและซื้อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่ภาครัฐไม่รู้ว่าแต่ละแนวทางมีข้อจำกัด ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกราย" นายไพบูลย์ ระบุ

ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องช่วยเหลือตัวเอง เพื่อบริหารภาวะขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น โดยผู้ผลิตเพื่อส่งออกบางรายต้องบริหารเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาหลายฝ่ายมองว่าผู้ส่งออกก็อยู่รอดมาตลอด เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้ส่งออกเจอปัญหาเงินบาทแข็งค่าหลายครั้ง แต่ภาครัฐไม่รู้ว่าผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าครั้งนี้ค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้การส่งออกไตรมาส 2 ไม่ดีเหมือนไตรมาส 1 เพราะเจรจาคำสั่งซื้อช่วงเงินบาทแข็งค่า

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////

ความสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง บนเส้นทางของการค้า !!?

โดย ชัยพงษ์ สำเนียง
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่

1.การค้าขายระหว่างไทยกับจีน

ราวต้นทศวรรษ 1990 เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว และประเทศไทย เรียกว่า “สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ” ต่อมาเพิ่มประเทศเวียดนามและประเทศกัมพูชาเข้ามาเรียกว่า “หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ” ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะทำอย่างไรให้ประเทศของตนจะได้รับประโยชน์ หรือกำไรในทางเศรษฐกิจมากที่สุด

ประเทศจีนและประเทศไทยค่อนข้างมีบทบาทมากในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เช่น พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เพื่อเปิดและขยายเส้นทางคมนาคมให้สะดวกและคล่องตัวมากขึ้นเพื่อรองรับการค้า การลงทุน

ในส่วนของประเทศจีนมุ่งที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่รายรอบ ทำให้ประเทศจีนพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศอนุภาคลุ่มน้ำโขง ประเทศจีนได้สร้างถนนจากคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนานลงมาทางใต้ถึงชายแดนประเทศพม่า ประเทศลาว และเชื่อมต่อไปยังไทย และเวียดนาม (วรศักดิ์ 2549 : 1 – 4)

ความร่วมมือในกรอบ “สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ” หรือ “หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ” ประเทศจีนมีบทบาทอย่างสำคัญทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ เพราะจะเห็นว่าจีนเป็นผู้การสนับสนุนประเทศต่างๆในภาคพื้นทวีป เช่น พม่า ลาว เช่น การลงทุนในการสร้างถนน R3a หรือ R3w หรือเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของลาวและพม่า



ความสัมพันธ์ทางการค้า ลุ่มน้ำโขง/ ภาพจาก primexinc.org

ประเทศจีนเริ่มมีแผนพัฒนาในการมุ่งลงมาหาประเทศที่อยู่ทางใต้ ซึ่งประเทศไทยเองก็คิดไม่ต่างกัน ทั้งสองประเทศจึงมองเห็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กว้างกว่าที่ผ่านมา นำมาสู่ความร่วมมือการการสร้างเส้นทางบกหรือทางแม่น้ำเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความคิดนี้จะสำเร็จได้ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือของประเทศอื่น เช่น พม่า ลาว เวียดนาม เป็นต้น (อเนก : 2555)

2.มูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบันจีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยใหญ่เป็นอันดับสอง โดยปี 2554 มีมูลค่าการค้าร่วมกัน 1.7 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 12.6 เปอร์เซ็นต์

สินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนในปี 2554 อันดับหนึ่งเป็น ยางพารา จำนวน 1.4 แสนล้านบาท อันดับสองเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 1.3 แสนล้านบาท อันดับสามเป็นเคมีภัณฑ์ 8 หมื่นล้านบาท ซึ่งสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าปฐมภูมิและกึ่งสำเร็จรูป ในฐานะที่จีนเป็นโรงงานของโลก นำไปประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปในตลาดโลก ต่อไป (เดลินิวส์ 2555)

ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน – จีน ด้านสินค้าได้กำหนดให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2548 และเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2553 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน และภายในปี 2558 สำหรับอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ) โดยกำหนดอัตราภาษีปกติลดลงปีสุดท้ายมี 2 อัตรา คือ 0 เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ และได้กำหนดให้เริ่มลดภาษีสินค้าบางรายการลงทันที (Early Harvest : EH)

อาทิ เช่น สินค้าเกษตรทุกรายการ ได้แก่ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ใช้บริโภค ปลาและสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ต้นไม้ และพืชที่มีชีวิต พืชผักใช้บริโภค และผลไม้ โดยให้ลดภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม 2547 ให้เป็น 0 ภายในปี 2549 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และจีน ส่วนอาเซียนใหม่ภายในปี 2553 (ดูข้อมูลเพิ่มเติมในศูนย์วิจัยกสิกรไทย)

สำหรับดุลการค้าไทย-จีน (ทั้งประเทศ)

ในครึ่งแรกปี 2550 ไทยเกินดุลการค้าผักและผลไม้กับจีนเร่งตัวเป็น 7,495.0 ล้านบาท สูงกว่าที่เกินดุล 6,557.7 ล้านบาท และสูงกว่าช่วงเดียวกันปี 2546 (ก่อนFTA ไทย-จีน ) ที่เกินดุล 3,096.6 ล้านบาท สินค้าอ่อนไหวสูง ได้แก่ สินค้าที่มีโควตาภาษีของไทยทั้ง 23 รายการ (53 พิกัดศุลกากร) เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง ชา เป็นต้น

ซึ่งสินค้าอ่อนไหวสูงเหล่านี้จะยังคงภาษีนอกโควตาเท่าที่ผูกพันไว้เท่าเดิมไปจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 ซึ่งไม่ว่าภาษีนอกโควตาจะอยู่ที่ ระดับใดก็ต้องลดลงเหลือในอัตราร้อยละ 50 เช่น กระเทียมจะลดจากร้อยละ 57 เหลือร้อยละ 50 หอมหัวใหญ่จะลดจากร้อยละ 142 เหลือร้อยละ 50 แต่หากสินค้าใดมีภาษีนอกโควตาที่ต่ำกว่าหรือเท่ากับร้อย 50 อยู่แล้วก็จะคงภาษีนอกโควตาไว้เท่าเดิม

การค้าผ่านแดนปี 2554

ไทยมีมูลค่าการค้าผ่านแดนกับจีนตอนใต้ รวม 27,615.4 ล้านบาท(ปี 2553 มูลค่า 18,890.3 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 โดยแยกเป็นการส่งออก 19,939.6 ล้านบาท(ปี 2553 มีมูลค่า 13,253.9 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.4 การนำเข้า 7,675.8 ล้านบาท (ปี 2553 มีมูลค่า 5,636.4 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 ทำให้ประเทศไทยได้ดุลการค้า 12,263.8 ล้านบาทสำหรับปี 2555 (มกราคม-สิงหาคม) ไทยมีมูลค่าการค้าผ่านแดนกับจีนตอนใต้ รวม 20,852.4 ล้านบาท

เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 16.2 (ปี 2554 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่า 17,941.1 ล้านบาท)แบ่งเป็นการส่งออก มีมูลค่า 15,625.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 (ปี 2554 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่า 13,357.7 ล้านบาท) การนำเข้ามีมูลค่า 5,226.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 (ปี 2554 (ม.ค.-ส.ค.) มูลค่า 4,583.4 ล้านบาท)ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 10,399.1 ล้านบาท (สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ 2555)

สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 9,915.2ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 น้ำมันดีเซล มูลค่า 1,577.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 902.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง มูลค่า 668.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.0 น้ำมันปาล์ม มูลค่า 431.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผักและผลไม้ต่างๆ เช่น บรอกโคลี ถั่วหวาน กระเทียม แอปเปิล สาลี่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 939.9 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ผักและของปรุงแต่งจากผัก มูลค่า 684.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.5 เครื่องส่งสัญญาณภาพ เสียงและส่วนประกอบ มูลค่า 621.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 ผลไม้และของปรุงแต่งจากผลไม้ มูลค่า 567.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.6 เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือนอื่นๆ มูลค่า 312.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 (เรื่องเดียวกัน)

จังหวัดที่มีมูลค่าการส่งออกผ่านแดนไทย – จีนตอนใต้มากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่จังหวัดมุกดาหาร มูลค่าการส่งออก 10,218.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดเชียงรายมูลค่า 5,402.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 จังหวัดนครพนม มูลค่า 4.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จังหวัดที่มีมูลค่าการนำเข้ามากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย มูลค่าการนำเข้า 1,756.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดนครพนม มูลค่า 1,053.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จังหวัดมุกดาหาร มูลค่า 705.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 จังหวัดน่าน มูลค่า 2.7 ล้านบาท (เรื่องเดียวกัน)

มูลค่าการส่งออกของไทยไปจีนที่ไม่นับรวมน้ำมัน สำเร็จรูปและน้ำมันดิบในไตรมาส1/ 2555 ลดลงร้อยละ 3.2 เกิดจากการหดตัวของกลุ่มสินค้าเกษตรกรรมอย่างยางพารา ข้าว และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง และราคาสินค้าของไทยที่สูงกว่าคู่แข่งอย่างสินค้ายางพารา (คู่แข่งคือเวียดนามและอินโดนีเซีย) หรือข้าว (คู่แข่งคือเวียดนามและปากีสถาน) หรือผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (คู่แข่งคือเวียดนามและกัมพูชา) เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความต้องการสินค้าเกษตรของไทยที่ลดลง

การนำเข้าของไทย (จากจีน)ในช่วง 3 เดือนแรกปี 2555 มีการขยายตัวถึงร้อยละ 23.5 จากระดับร้อยละ 11.4 ในไตรมาส 4/2554 โดยเฉพาะกลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งที่เติบโตร้อยละ 51.1 (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2555)

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 จีนได้ยกเว้นภาษีนำเข้าแก่สินค้าไทยเพิ่มเติมอีก 150 รายการ ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หลังจากที่ได้มีการปรับตัวลดภาษีสินค้ากว่า 7,000 รายการเหลือร้อยละ 0 ไปแล้วตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีอัตราภาษีนำเข้าสูง เช่น สินค้าในกลุ่มอาหาร เช่น เนย เทียม ผัก/ผลไม้ดอง แยม และ น้ำส้ม/น้ำมะเขือเทศ (ภาษีปกติร้อยละ 25-30)

สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องโกนหนวด เครื่องปิ้งขนมปัง (ภาษีปกติร้อยละ 30-35) ฟิล์มสำหรับใช้ในการถ่ายรูปสี (ภาษีปกติร้อยละ 40-47) รถจักรยานยนต์ (ภาษีปกติร้อยละ 40-45) สินค้าในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ (ภาษีปกติร้อยละ 35) (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2555)

นอกจากนี้การพัฒนาเส้นทางถนนเพิ่มเติม โดยเฉพาะเส้นทาง R3E (จีน-ลาว-ไทย) จะเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศจีนมากขึ้นในการกระจายสินค้า ส่งผลต่อผู้ประกอบการ ภาคเอกชน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนปรับตัวรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อสู้กับสินค้าราคาถูกจากประเทศจีนที่จะเข้ามาครองตลาดในภูมิภาคนี้



ตลาดน้ำ ปากแม่น้ำโขง ภาพจาก wikipedia

3.อุปสรรค ปัญหาและข้อสังเกตเบื้องต้นการค้าระหว่างไทย – จีน คือ

ประการที่ 1 ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลงมากทุกปี ในฤดูแล้ง ซึ่งทำให้เรือสินค้าจากจีนไม่สามารถขนส่งสินค้าได้ ทำให้การขนส่งบางส่วนไปใช้เส้นทางบกผ่านเส้นทาง R3a แต่ก็ยังไม่มีความคล่องตัวเนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ ยังสร้างไม่เสร็จรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางบก ดังกล่าวยังสูงกว่าการขนส่งทางเรือ แต่อย่างไรก็ดีหากการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 แล้วเสร็จภายในปี 2558 จะช่วยลดระยะเวลาเดินทางจากคุนหมิงถึงกรุงเทพฯ จาก 42 ชั่วโมง เหลือเพียง 20 ชั่วโมง (สำนักความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ 2555)

ประการที่ 2 ปัญหาการปล้นและสังหารลูกเรือชาวจีน บนเรือขนส่งสินค้าในแม่น้ำโขงตอนบนในเดือนตุลาคม 2554 ปัจจุบันยังต้องมีการเฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยให้เรือขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับจีนตอนใต้จากการปล้นโดยกลุ่มโจรติดอาวุธตามลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน (เรื่องเดียวกัน)

ประการที่ 3 ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบถนนที่ยังจำเป็นต้องเร่งก่อสร้างเพิ่มเติมอีกมาก ทั้งตัวถนน สถานีบริการน้ำมัน ที่พักระหว่างทาง รวมทั้งบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอื่นๆขณะเดียวกันก็ยังขาดแคลนงบประมาณในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทำให้การก่อสร้างล่าช้า นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศมีระดับแตกต่างกันทำให้การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ยังไม่สมบูรณ์ (เรื่องเดียวกัน)

ประการที่ 4 นายทุนจีนยังเข้ามาลงทุนในกิจการต่างๆ เช่น การเช่าที่ปลูกยางพารา ทางตอนเหนือของลาว และพม่า หรือการสร้างระบบเกษตรพันธสัญญาในการปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ เช่น แตงโม หอมหัวใหญ่ หรือการเข้ามาเป็นนายทุนขนาดเล็กในท้องที่ในการขายปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์การเกษตร ของชำ ซึ่งบทบาทของพ่อค้าจีนนี้ได้เบียดขับพ่อค้าท้องถิ่นจำนวนมากที่ต้องเลิกกิจการไปเพราะไม่สามารถสู้กับทุนจีนได้ (ปิ่นแก้ว : 2554 และจามะรี : 2553; 2554)

ประการที่ 5 ประเทศจีนประสบความสำเร็จสามารถครองตลาดสินค้าราคาถูกในภูมิภาคนี้อย่างเบ็ดเสร็จ ดูได้จากสินค้าตามร้านในตลาด หรือแผงลอย(ไทย พม่า ลาว) ล้วนเป็นสินค้าราคาถูกที่นำเข้าจากจีนทั้งสิ้น ไม่แต่เท่านั้นพ่อค้า แม่ค้าชาวจีนยังได้ขยายการลงทุนมายังประเทศพม่า และประเทศลาว โดยเข้ามาตั้งร้านขายของทั้งขายปลีก และขายส่ง เช่น ในตลาดจีนในเมืองห้วยทราย และตลาดลาวในเมืองต้นผึ้ง ประเทศลาว ที่เจ้ากิจการล้วนเป็นชาวจีนแถบทั้งสิ้น

ประการที่ 6 ประเทศจีนทวีความสำคัญในภูมมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นคู่ค้าที่สำคัญของ พม่า ลาว และเป็นผู้ช่วยเหลือรายใหญ่ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเหล่านี้

ประการที่ 7 การที่จีนขยายบทบาทเข้ามาในประเทศลุ่มน้ำโขง เพื่อเป็น “ประตู” สู่แดนใต้ ทำให้ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของมหาอำนาจประเทศต่างๆ

จะเห็นว่าประเทศจีนมีบทบาทอย่างมากในการค้า และกิจการอื่นๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพราะสนองต่อผลประโยชน์จีนโดยตรง ในการขนส่งสินค้า และการเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ข้าว ข้าวโพด ทำให้จีนกระตือรือร้นในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ประเทศจีนจึงมีบทบาทอย่างมากในภูมิภาคนี้ และจะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

ทีมา.Siam Intelligence Unit
//////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร !!?


คอลัมน์ : คนเดินตรอก

พ.ร.บ.กู้ยืมเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปลงทุนสร้างระบบรางรถไฟ ประโยชน์โภชน์ผลคงไม่ต้องพูดกันแล้ว เพราะฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไปแล้ว

ก็เหลือประเด็นที่ฝ่ายค้านใช้เวลาอภิปรายว่า จะเป็นการเปิดช่องให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กับสร้างหนี้ไว้ให้ลูกหลาน ควรใช้งบประมาณประจำปีดีกว่า

ประเด็นเรื่องคอร์รัปชั่น ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ แต่ต้องช่วยกันป้องกัน ถ้าเล็ดลอดไปได้ ก็ต้องหาทางเอาตัวมาลงโทษให้ได้

แม้ว่าอาจรับประกันได้ ก็ยังต้องลงทุน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ การฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหยาบคาย ก็เหมือนกับสังคมป่วยเป็นริดสีดวงทวาร เข้าห้องเล็กเมื่อไหร่ก็เจ็บปวด มีเลือดไหลทุกที เพราะเป็นจนเรื้อรังไปแล้ว รักษาก็ยาก แต่เมื่อเป็นริดสีดวงแล้วจะไม่ยอมเข้าห้องเล็ก ก็เห็นจะไม่ถูก เมื่อถึงเวลาก็ต้องเข้า แล้วควรระวังดูแลอย่าให้เจ็บปวดมาก รักษากันไป

เมื่อถึงเวลาก็ต้องลงทุนพัฒนาประเทศ ถ้ากลัวว่าจะมีรั่วไหล ก็ต้องหาทางป้องกันปราบปราม ได้ข่าวว่า ท่านประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานกลุ่มต่อต้านคอร์รัปชั่น จะมาร่วมดูแลไม่ให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็เบาใจ สบายใจขึ้น

ส่วนประเด็นที่สองที่กลัวกันว่า การกู้ยืมเงินมาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ควรจะตั้งเป็นรายจ่ายในงบประมาณประจำปี เพราะจะได้ปฏิบัติไปตามบทบัญญัติวิธีการงบประมาณ ไม่ควรจะเป็นงบรายจ่ายพิเศษ เพราะจะกลายเป็นภาระกับลูกหลานที่จะต้องมารับภาระ สมัยก่อนหนังสือพิมพ์ชอบคำนวณว่า คนไทยพอเกิดมาปุ๊บก็เป็นหนี้ทันที คนละเท่านั้นเท่านี้บาท

โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อย่างที่รัฐบาลเสนอขอกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจากประชาชนนั้น เป็นการกู้เงินจากประชาชนในประเทศเพื่อทำการลงทุนขนาดใหญ่ หรือภาษาการคลังเรียกว่าเป็น "Capital Expenditure"

รายจ่ายสำหรับการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ มีอายุใช้งานเป็นเวลายาวนาน เช่น โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มักจะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนมาก เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ สนามบิน ท่าเรือน้ำลึก ทางด่วนพิเศษ โครงการชลประทาน และอื่น ๆ

โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะแยกประเภทตามลักษณะในการลงทุนเป็น 2 ประเภท ประเภทแรก โครงการที่รัฐบาลทำให้ราษฎรใช้โดยไม่คิดค่าใช้งาน เช่น ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท ระบบชลประทาน กับอีกประเภทหนึ่ง รัฐลงทุน แต่มีการเก็บเงินจากผู้ใช้ จ่ายคืนการลงทุนภายหลัง เข้าลักษณะใครใช้ใครจ่าย ซึ่งกว่าจะคุ้มกับเงินลงทุน อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แล้วแต่นโยบาย

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานประเภทแรก ก็มักจะอยู่ในอำนาจของกรมใดกรมหนึ่ง เวลาจะลงทุน ก็ตั้งจากงบประมาณประจำปี และผูกพันปีต่อไปเรื่อย ๆ ปีต่อปี รัฐบาลก็ตั้งให้ตามที่ผูกพัน แต่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตั้งให้ตามที่ขอทุกปี น้อยบ้าง มากบ้าง แล้วแต่ฐานะทางด้านรายได้ เราจึงเห็นทางหลวงแผ่นดินหลายสายมีการก่อสร้างไว้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือโครงการรถไฟรางคู่ทั่วประเทศเริ่มลงทุนมากกว่า 15 ปีแล้ว ก็ยังไม่เสร็จ เพราะงบประมาณได้บ้างไม่ได้บ้าง แล้วแต่นโยบายและความจำเป็นเร่งด่วน

สำหรับโครงการที่รัฐบาลต้องการทำเป็นโครงการที่จะเรียกเก็บค่าบริการมาใช้คืนเงินค่าลงทุนอย่างกรณีรถไฟความเร็วสูงก็ดีท่าอากาศยานก็ดี ท่าเรือน้ำลึกก็ดี ระบบไฟฟ้าก็ดี น้ำประปาก็ดี หรืออื่น ๆ ที่จะทำในลักษณะรัฐพาณิชย์ จึงมักจะมอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐวิสาหกิจ รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แล้วแต่ความเหมาะสม เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการผลิต การเงิน บุคคล

ในกรณีรถไฟความเร็วสูง ก็คงจัดในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง คงไม่ตั้งกรมรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาเป็นผู้ลงทุน ส่วนจะเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปใด ก็คงต้องคอยฟังกันต่อไป

เมื่ออยู่ในรูปรัฐวิสาหกิจรูปใดรูปหนึ่ง การตั้งงบประมาณประจำปีเพื่อใช้ในการลงทุน ก็ไม่น่าจะเหมาะสม ควรให้รัฐวิสาหกิจเจ้าของโครงการเป็นผู้รับผิดชอบเงินลงทุนเอง แทนที่จะคอยเงินภาษีอากรของประชาชนมาลงทุนเหมือนกรมทางหลวงแผ่นดิน กรมชลประทาน กรมทางหลวงชนบท หรือกรมอุตุนิยมวิทยา

โครงการขนาดใหญ่อย่างนี้ อายุการใช้งานเป็นร้อย ๆ ปี ถ้าต้องการทำเร็วเช่นที่รัฐบาลประกาศไว้ 7 ปีสำหรับรถไฟความเร็วสูง และเร็วกว่านั้นสำหรับโครงการอื่น ๆ หากต้องจ่ายเมื่อการลงทุนเริ่มขึ้น ก็ต้องจ่ายเป็นเงินจำนวนมากในแต่ละปี ปีละ 3-4 แสนล้านบาท ก็จะเต็มวงเงินลงทุนของรัฐบาล แต่ถ้าจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยของเงินลงทุน ถ้าดอกเบี้ยกู้ยืม 3-4 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลก็สามารถตั้งงบประมาณ จ่ายเพียงปีละ 6 ถึง 8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ไม่เต็มวงเงินงบประมาณประจำปี

เมื่อไม่เต็มวงเงินกู้ ก็จะสามารถตั้งงบประมาณลงทุนในด้านอื่น ๆ เป็นโครงการสาธารณสุข โครงการการศึกษา โครงการพัฒนาอาชีพ รวมทั้งโครงการทางหลวงแผ่นดิน โครงการชลประทานได้อีก ไม่ใช่เอางบประมาณรายจ่ายทั้งหมดมาลงทุนในโครงการนี้อย่างเดียว อย่างที่ฝ่ายคัดค้านอยากเห็น

การกู้ภายในประเทศ หรือการกู้เงินบาท ก็เท่ากับการระดมเงินออมจากประชาชนไทยมาลงทุน ผู้ออมก็ได้ประโยชน์ คือได้ดอกเบี้ยสูงกว่า และมั่นคงสบายใจกว่าฝากธนาคารพาณิชย์ เพราะผู้กู้คือกระทรวงการคลัง เป็นการเอาเงินออมจากคนรุ่นนี้มาลงทุนสร้างทรัพย์สินไว้ให้ลูกหลาน แทนที่จะไปลงทุนซื้อพันธบัตรอเมริกัน อังกฤษ ยุโรป เพราะทรัพย์เหล่านั้นดอกเบี้ยก็ต่ำ ความเสี่ยงที่ค่าเงินดอลลาร์ เงินปอนด์ และเงินยูโรจะเสื่อมค่า เมื่อเทียบกับรางรถไฟ หรือโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งมีแต่จะมีราคามากขึ้นแพงขึ้น

ผู้รับภาระจ่ายดอกเบี้ยก็คือคนรุ่นนี้ เพราะช่วง 10-15 ปีแรก โครงการก็คงจะขาดทุนอยู่ จะไปทำกำไรได้คืนทุนก็คือรุ่นลูก ยิ่งรุ่นหลานก็คงกำไรมากขึ้น ไม่น่าจะมีภาระมากเท่ากับรุ่นเรา ข้อสำคัญ รายจ่ายที่รัฐบาลจ่าย ก็จ่ายให้ประชาชนคนไทยด้วยกันเอง เจ้าหนี้ก็คือคนไทยด้วยกัน

ดูอย่างครั้งเมื่อรัฐบาลพระพุทธเจ้าหลวงไปออกพันธบัตรเป็นเงินปอนด์ขายที่ยุโรปเพื่อมาเป็นค่าเวนคืนที่และลงทุนสร้างระบบรถไฟขึ้นเมื่อปี 2447 บัดนี้ก็ใช้หนี้หมดไปนานแล้ว พวกเรารุ่นหลานรุ่นเหลนไม่เคยทราบด้วยซ้ำว่าเราเคยมีหนี้ก้อนนี้ แต่เรามีรางรถไฟจากเหนือจดใต้ จากตะวันตกไปตะวันออก

โครงการเงินกู้ธนาคารโลกมาสร้างเขื่อนยันฮี หรือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ และเขื่อนอื่นที่เราให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตกู้เงินมาก่อสร้าง ก็สามารถคืนเงินกู้ได้จนหมดแล้ว รุ่นเรารู้แต่ว่าเรามีทรัพย์สินเป็นเขื่อน เป็นระบบชลประทาน เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ใช้ไปได้ถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเรา

ยิ่งเป็นเงินกู้ภายในประเทศ ลูกหนี้ก็เป็นรัฐบาล เจ้าหนี้ก็เป็นประชาชน ประชาชนเป็นทั้งเจ้าของทรัพย์สินและเป็นเจ้าหนี้ ถ้าเกิดประมาทพลาดพลั้ง เช่น ภาษีไม่เข้าเป้า จะยืมประชาชนใหม่มาใช้หนี้เก่าก็ยังได้ ไม่เหมือนกู้ต่างประเทศ ถ้าเครดิตไม่มี อาจจะถูกเรียกหนี้คืนได้ง่าย ๆ หรือยืมใหม่มาใช้หนี้เก่าไม่ได้ ลูกหลานไทยจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะเป็นทั้งผู้ถือพันธบัตรและผู้จ่ายภาษีใช้หนี้

พอถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน หนี้ 2 ล้านล้าน มูลค่าจะเหลือนิดเดียว แต่ทรัพย์สินจะมีมูลค่าสูงขึ้นมหาศาลเหมือนหนี้สร้างเขื่อนภูมิพล 2,000 ล้านบาท สมัยโน้น เทียบไม่ได้เลยกับมูลค่าที่ดินและตัวเขื่อนในราคาปัจจุบัน

การกู้เพื่อการ ลงทุนสร้างทรัพย์สินคราวนี้จึงไม่มีอันตรายเท่าใดเลย ขออย่างเดียว ลูกหลานเราอย่าบริหารให้ขาดทุนจนพังก็แล้วกัน

ผมเห็นของผมอย่างนี้ ลูกหลานจะด่าก็ตามใจ

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

เตือนภัย.นักดื่มช่วงอากาศร้อน เสี่ยงช็อก เสียชีวิต แนะดื่มน้ำให้ได้2ลิตร/วัน !!?


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนให้งดดื่มเหล้าในช่วงหน้าร้อนไม่ว่าจะผสมน้ำแข็งหรือไม่ก็ตาม ชี้มีอันตรายสูง เสี่ยงช็อก เสียชีวิตได้ แนะวิธีคลายร้อน ให้ดื่มน้ำมากๆ ให้ได้วันละอย่างน้อย 2 ลิตร จะช่วยให้ร่างกายปรับตัวดียิ่งขึ้น

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพอากาศในประเทศร้อนอบอ้าวมาก โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน อุณหภูมิบางแห่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส เกินอุณหภูมิปกติของร่างกายซึ่งมีระดับที่ 37 องศาเซลเซียส จึงมีความเป็นห่วงสุขภาพประชาชนอาจมีการเจ็บป่วยจากอากาศร้อน โดยหากได้รับความร้อนสูง ร่างกายจะพยายามระบายความร้อนออก โดยการปรับเปลี่ยนอัตราและการหมุนเวียนโลหิต เพื่อทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิปกติ ความร้อนจะมีผลต่อการหมุนเวียนของเลือดในร่างกาย เกิดการสูญเสียน้ำผ่านทางผิวหนังและต่อมเหงื่อ ทำให้มีอาการหอบหรือใจสั่น เนื่องจากความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว เพื่อรับการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้น เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะระบายความร้อนผ่านทางผิวหนังตอนที่เหงื่อออก

อากาศร้อนจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ 4 ระดับ ตั้งแต่ผิวหนังไหม้ ตะคริว อาการเพลียแดด และที่รุนแรงที่สุดคืออาการของลมร้อน หรือที่เรียกว่าโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินหรือนานเกินไป สมองไม่ทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ได้ และสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อาการที่สำคัญได้แก่ตัวร้อนจัดแต่ผิวหนังแห้ง ไม่มีเหงื่อออก กระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เสียชีวิตได้ ข้อมูลใน 5 ปีที่แล้วมีรายงานพบผู้ป่วยจากสภาพอากาศร้อน 81 ราย

นายแพทย์ชลน่านกล่าวต่อว่า เครื่องดื่มที่ไม่ควรดื่มในช่วงที่สภาพอากาศร้อน ก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะดื่มโดยใส่น้ำแข็งหรือไม่ใส่ ก็จะมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ถึงขั้นเกิดภาวะช็อกได้ โดยเฉพาะหากเป็นผู้มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก เนื่องจากในสภาวะที่อากาศร้อนอบอ้าว จะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสโลหิตได้เร็ว และจะเพิ่มแรงดันโลหิตให้สูงขึ้นกว่าช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นหรือในช่วงที่มีอากาศปกติ โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ผ่านทางเหงื่อและทางปัสสาวะได้ง่ายขึ้นไปอีก ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ช็อกหมดสติ และมีโอกาสเสียชีวิตได้ แม้แต่คนที่ไม่มีโรคประจำตัว ฤทธิ์แอลกอฮอล์ก็ส่งผลกับอวัยวะภายใน ทั้งตับ ไต หัวใจ โดยเฉพาะระบบประสาท สมอง ประกอบกับภาวะอากาศที่ร้อนและแล้งจะมีผลให้ประชาชนเกิดความเครียด อารมณ์หงุดหงิดได้ง่าย หากมีการดื่มสุราร่วมด้วย จะยิ่งส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตอยู่แล้ว ได้มอบหมายให้กรมสุขภาพจิตเตรียมบุคลากรไว้รองรับเรื่องนี้ด้วย ประชาชนสามารถขอรับบริการปรึกษาที่สายด่วน 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

วิธีการป้องกันอันตรายในช่วงที่มีอากาศร้อนที่สำคัญและง่ายที่สุด คือการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ โดยผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งหรือผู้ที่ออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน ส่วนผู้ที่ทำงานในที่ร่มควรดื่มอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ผู้ที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถปรับตัวให้สู้กับอากาศร้อนได้ เนื่องจากน้ำจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติคือ 37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ต้องลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ประการสำคัญสำหรับผู้ที่ใช้รถ อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดโรคฮีทสโตรกได้ง่าย

นายแพทย์ชลน่านกล่าวย้ำว่า ไม่มีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัย เพราะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ทั้งนี้ ในการสังเกตว่าร่างกายตนเอง ได้รับน้ำเหมาะสมเพียงพอหรือไม่ สามารถสังเกตง่ายๆ จากสีของน้ำปัสสาวะ ถ้ามีสีเหลืองจางๆ แสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอ แต่ถ้ามีสีเหลืองเข้มคล้ายน้ำชา และปัสสาวะออกน้อย แสดงว่าได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะต้องดื่มน้ำให้มากๆ

ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
///////////////////////////////////////////////////////

รถไฟความเร็วสูง ดันอสังหาฯเชียงใหม่บูม !!?


ที่ดินเชียงใหม่เผยแนวโน้มอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ปี'56 ขยายตัวต่อเนื่อง ระบุโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกระตุ้นการลงทุน 4 อำเภอในโซนตะวันออก

นายไพรัต เศียรสมาน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงแนวโน้มการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของจังหวัดเชียงใหม่ในปี 56 ว่า ยังไม่อิ่มตัวโดยยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี โดยเฉพาะในพื้นที่ 4 อำเภอโซนตะวันออก คือ อำเภอดอยสะเก็ด, อำเภอสันทราย, อำเภอสันกำแพง และอำเภอแม่ริม โดยมีปัจจัยจากความต้องการที่อยู่อาศัยของคนในพื้นที่ และคนต่างพื้นที่ และการก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่พร้อมกัน 3 แห่ง, อีกทั้งโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง ตลอดจนการเปิดใช้งานศูนย์ประชุม และแสดงสินค้านานาชาติฯ ล้วนแต่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้จังหวัดเชียงใหม่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคการลงทุนอสังหาริมทรัพย์เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการประกาศใช้ผังเมืองรวมจังหวัดเชียงใหม่แล้ว แต่รายละเอียดของผังเมืองฉบับดังกล่าวไม่สอด คล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันในปลายเดือนเมษายน 2556 กำลังจะมีการประกาศใช้ผังเมืองเมืองเชียงใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์เร่งดำเนินการก่อนที่จะ มีกฎหมายบังคับ แต่ในข้อเท็จจริงคงจะต้องมีการแก้ไขผังเมืองทั้ง 2 ฉบับ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่แต่ละโซนให้มีความเหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเท่าที่ทราบขณะนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่มีแนวคิดจะแบ่งโซนระหว่างเมืองเก่าในฝั่งตะวันตกกับเมืองใหม่ในฝั่งตะวันออกให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อโบราณสถาน และการค้าการลงทุน

นอกเหนือจากนี้ หลังจากที่ทางรัฐบาลต้องการผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของภาคเหนือ ด้วยการสนับสนุนโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง จึงทำให้มีผลต่อการตัดสินในใจการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มทุนขนาดใหญ่จากส่วนกลางไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส, คลอลิตี้เฮ้าส์, ศุภาลัย และแสนสิริ ต่างเข้ามาลงทุนในรูปแบบของบ้านจัดสรร และอาคารชุดกันอย่างคึกคัก ซึ่งในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 มีการยื่นคำขออนุญาตจัดสรรแบ่งเป็นบ้านจัดสรร จำนวน 13 ราย และอาคารชุด 5 ราย ขณะที่ทั้งปี 2555 มีการยื่นคำขออนุญาตจัดสรรแบ่งเป็นบ้านจัดสรร 55 ราย และอาคารชุด 11 ราย

นายไพรัต กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ในปี 2555 มีการโอนจำนวน 38,000 ราย คิดเป็นเงิน 445 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่มีจำนวน 37,000 ราย คิดเป็น 352 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2556 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม พบว่ามีจำนวน 9,608 ราย คิดเป็น 128 ล้านบาท โดยราคาที่ดินสูงสุดยังอยู่ในย่านสำคัฐ เช่นถนนช้างม่อย, ถนนช้างคลาน, ตลาดวโรรส และถนนนิมมานเหมินทร์ ตารางวาละ 250,000 บาท ส่วนราคาที่ดินที่พบว่ามีการปรับตัวสูงขึ้น คือ บริเวณศูนย์การค้ารเซ็นทรัลเชียงใหม่แอร์พอร์ต มีการปรับตัวสูงที่สุดจากเดิมตารางวาละ 3,000 บาท ปรับเป็น 25,000 บาท และ ถนนอัษฎาธร จากเดิมตารางวาละ 20,000 บาท ปรับเป็น 60,000 บาท และในเขตเมืองชั้นในจากเดิมอยู่ที่ตารางวาละ 200,000 บาท ปรับเป็น 250,000 บาท

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

หนี้จีน ระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด !!?


โดย สันติธาร เสถียรไทย

เมื่อ ปลายปีที่แล้ว เพื่อนร่วมทีมของผมที่ดูแลเศรษฐกิจจีนของธนาคารเครดิตสวิส กลับไปประเทศจีนเพื่อเยี่ยมญาติ และได้รับโทรศัพท์จากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งของจีน ชักชวนให้ไปซื้อหน่วยลงทุนที่รับรองผลตอบแทนถึง 7.5% (ประมาณสองเท่าของดอกเบี้ยที่ได้จากเงินฝากธนาคาร)

ด้วยความสงสัย และไม่เชื่อว่าของดีแบบนี้มีอยู่จริง เขาจึงโทร.ไปถามผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งคำตอบจากคนแรก คือ "ไม่รู้ ! แต่ประมาณว่าลงในสินทรัพย์หลาย ๆ อย่าง" และส่งสายต่อให้กับฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์การเงิน แต่ท้ายสุดกลับได้ยินเทปม้วนเดิม ว่าหน่วยลงทุนนี้ผลตอบแทนงาม ความเสี่ยงต่ำ เพราะลงทุนในหลาย ๆ อย่างในภาคอสังหาริมทรัพย์ ตามนิสัยนักเศรษฐศาสตร์เพื่อนคนนี้จึงซักถามต่อ โดยจะเอาคำตอบให้ได้ สุดท้ายเขาก็ตามไปถามกับต้นตอคนเดียวที่รู้เรื่อง และแล้วสิ่งที่เขากลัวก็เป็นจริง

เพราะกองทุนลงทุนใน 8 กองทุนทรัสต์ 4 หุ้นกู้ โดยใน 8 กองทุนทรัสต์นี้ 3 กองไปลงในภาคอสังหาริมทรัพย์ 3 กองลงทุนไปที่โครงการของรัฐบาลท้องถิ่น และอีก 2 เป็นอะไรบ้างคนคนนี้ก็ไม่รู้

กองทุนทรัสต์ที่ว่านี้ ส่วนใหญ่ลงทุนในผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการเงินหมุนเวียนใน ยามที่การซื้อขายซบเซา และไม่สามารถกู้จากธนาคารโดยตรงได้ ในขณะที่หุ้นกู้ที่กล่าวข้างต้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่หุ้นกู้ออกโดยบริษัทเอกชนจริง ๆ แต่โดย "บริษัท" ที่รัฐบาลท้องถิ่น

ตั้งขึ้นมา เพื่อกู้เงินหรือรู้จักกันในชื่อ Local Government Financing Vehicle (LGFV) ส่วนมากเพื่อไปลงทุนในโครงการที่ผลตอบแทนอิงกับราคาอสังหาริมทรัพย์อีก การลงทุนของหน่วยลงทุนนี้จึงพูดได้ว่าไม่ได้กระจายความเสี่ยงเลย

ยิ่ง ไปกว่านั้น ถึงแม้พนักงานฝ่ายขายคนนี้จะบอกมีการการันตีผลตอบแทน แต่พอสืบเข้าจริงกลับพบว่าธนาคารพาณิชย์แห่งนี้มีบทบาทเป็นเพียงผู้จัด จำหน่าย จึงทำให้ยิ่งงงว่าจริง ๆ แล้วใครเป็นคนรับรองผลตอบแทน และใครเป็นผู้แบกความเสี่ยงในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงพวกนี้กันแน่ ในเมื่อกองทุนเหล่านี้ไม่ได้อยู่บนงบดุลของธนาคารด้วยซ้ำ ถ้ากองทุนพวกนี้เจ๊ง ธนาคารผู้จัดจำหน่ายจะเป็นคนออกเงินให้คนซื้อหน่วยลงทุนนั้นหรือไม่

การ นำเอาของแย่ ๆ ความเสี่ยงสูงมามัดรวมกัน ตกแต่งใหม่แล้วขายต่อเหมือนของดีความเสี่ยงต่ำ โดยที่ไม่รู้ใครแบกความเสี่ยงกันแน่ ฟังดูคุ้นหูไหมครับ มันละม้ายคล้ายกับพวกผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างซีดีโอ (CDO หรือ Collateralized Debt Obligation) ที่ทำให้เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2551-2552 ไม่มีผิด

ที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้น คือพวกซีดีโอนั้นคนซื้อยังเป็นพวกกองทุนหรือธนาคาร ที่พอจะมีความเข้าใจพวกผลิตภัณฑ์เหล่านี้บ้าง (แต่ก็ไม่เข้าใจลึกซึ้งอยู่ดี) แต่ในกรณีของจีนนั้น ผู้ที่ซื้อกองทุนเหล่านี้เป็นคนเดินถนน ที่นึกว่านี่เป็นการฝากเงินแบบหนึ่ง

ระเบิดเวลาลูกนี้ใหญ่กว่าที่คิดและกำลังขยายตัวขึ้นไปอีก

ที่สำคัญคือระเบิดเวลาที่เป็นหนี้ "นอก" ระบบธนาคาร หรือที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า "ภาคธนาคารเงา" (Shadow Banking) ไม่ได้มีขนาดเล็กอย่างที่หลายคนคิด แม้ตัวเลขจริงจะไม่มีใครรู้แน่ แต่ทางทีมของเครดิตสวิสได้ประมาณการจากตัวเลขของกองทุนทรัสต์ หุ้นกู้ของ LGFV รวมไปถึงการกู้ในตลาดใต้ดิน (Underground Lending) ว่าน่าจะมีขนาดถึง 23 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 45% ของจีดีพี (GDP) เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของสินเชื่อใหม่ที่ถูกปล่อยออกมาในปีที่แล้วทั้งปี (25% ของสินเชื่อคงค้างในระบบทั้งหมด)

ด้วยเหตุนี้เอง แม้สินเชื่อโดยตรงจากธนาคารจะชะลอตัวลงมาก แต่สินเชื่อทั้งระบบการเงินยังโตเร็วและทำให้ตอนนี้ภาวะหนี้ทั้งระบบของจีน สูงถึง 176% ของ GDP

เหตุที่สินเชื่อของภาคธนาคารเงาโตเร็วมากในสอง ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเงินของจีน ที่คุมดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์โดยตรง ในขณะที่มีระบบโควตาคอยจำกัดสินเชื่อที่ธนาคารจะปล่อยได้ และการควบคุมสภาพคล่องด้วยการปรับอัตราส่วนสำรองเงินฝากของภาคธนาคาร (Reserve Requirement)

เมื่อรัฐบาลกดดอกเบี้ยไว้ต่ำ นักออมอย่างคนจีนก็ค้นหาวิธีออมที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ลดสภาพคล่องในระบบธนาคารด้วยการปรับอัตราส่วนสำรอง เงินฝากสูงขึ้น ทำให้ธนาคารปล่อยกู้ได้ยาก ต้องเน้นปล่อยให้กับลูกค้า "สำคัญ" ก่อน ส่งผลให้มี

ผู้ประกอบการหลายเจ้าที่ไม่เป็น วี.ไอ.พี.ต้องอดอยากโหยหาสินเชื่อในยามที่เศรษฐกิจไม่ซื้อง่ายขายคล่อง เหมือนเก่า (โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์)

เมื่อมีคนอยากได้เงิน และคนอยากให้เงิน (เพื่อแลกกับผลตอบแทนที่ดีกว่า) แต่ภาคธนาคารไม่สามารถเป็นท่อต่อเชื่อมได้เต็มที่ ก็ไม่แปลกที่เงินนั้นจะหาช่องทางอื่นไปหาคนที่ต้องการ ไม่ต่างกับธรรมชาติของน้ำ "ย่อมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ" ปัญหาคือช่องทางนี้ไม่ได้อยู่ใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลและขาดกฎกติกาควบคุม

ทั้งหมดนี้แปลว่าอะไรสำหรับเศรษฐกิจจีนปีนี้และปีต่อ ๆ ไป

โจทย์ ของรัฐบาลท่าน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และ นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง จึงไม่ง่ายเลย หากกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลงทุนพื้นฐานและยอมให้ราคาอสังหาฯขึ้นต่อเศรษฐกิจ โตต่อไปได้ และระเบิดเวลาเหล่านี้คงไม่ระเบิดขึ้นมาในเร็ว ๆ นี้ แต่จะขยายตัวต่อไปอีกเป็นปัญหาสะสมที่หนักหนายิ่งขึ้นในวันหน้า

แต่ถ้าจะแตะเบรกด้วยมาตรการที่รุนแรงเกินไปที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอหรือราคาอสังหาฯตก เศรษฐกิจจีนก็อาจหัวทิ่มพลิกควํ่า

เพราะ ระเบิดลูกนี้จะระเบิดขึ้นทันที และเงินเฟ้อคืออีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลต้องระวังอย่างมาก เพราะหากอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูงอย่างมีนัยจนธนาคารกลางของจีนต้องขึ้น ดอกเบี้ย ราคาอสังหาฯก็จะถูกกระทบอย่างหนักทันที จึงไม่น่าแปลกใจที่ในการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติ (National Party Congress) ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการออกมายอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรก ว่าปัญหาหนี้ภาคธนาคารเงานี้ต้องมีการจับตาดูให้ดี

แต่ผมว่าปีนี้เรา คงจะเห็นรัฐบาลจีน เลือกที่จะเน้นให้เศรษฐกิจโตและยอมจำใจปิดตาหนึ่งข้างกับเรื่องนี้ มากกว่าที่จะทำอะไรอย่างจริงจัง เพราะอย่างไรเสีย นี่เป็นช่วงรอยต่อของรัฐบาลที่สำคัญ รัฐบาลคงไม่กล้าเสี่ยงเพราะมันกระทบไม่ใช่แค่ภาคธนาคารและธุรกิจ แต่รวมไปถึงผู้ฝากเงินและแผนการระยะยาวของรัฐบาล ที่จะเร่งการพัฒนาจีนด้วยการสร้างและพัฒนาเมือง (Urbanization) อีกด้วย แม้ล่าสุดรัฐบาลจะมีการทดลองบังคับใช้มาตรการให้ธนาคารต่าง ๆ รายงานหนี้ประเภทนี้มากขึ้นในเซี่ยงไฮ้ ผมเกรงว่านี่อาจไม่เพียงพอ

ผม โชคดีมีโอกาสปรึกษาหารือเรื่องนี้กับอาจารย์เศรษฐศาสตร์ของผม ศาสตราจารย์โจเซฟ สติกลิตซ์ (Joseph E. Stiglitz) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล อดีตประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีคลินตัน และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของธนาคารโลก (Chief Economist of the World Bank) ซึ่งท่านให้ข้อคิดเห็นว่ามาตรการควบคุมสอดส่องกิจการการเงินประเภทนี้ ในความเป็นจริงทำได้ยาก ยิ่งหากธนาคาร นักลงทุน และผู้กู้ ยังมี "แรงจูงใจ" ที่จะทำธุรกรรมเช่นนี้ เพราะถึงแม้สมมติว่ารัฐบาลสามารถคุมท่อการเงินได้ท่อหนึ่ง (เช่น กองทุนทรัสต์) เงินก็จะหาทางไหลจากคนที่ต้องการผลตอบแทนไปสู่คนที่ต้องการเงินเสมอ และโดยจะหาช่องทางการเงินใหม่ที่ไม่ค่อยมีการดูแลควบคุมมาทำให้หนี้โตขึ้นไป อีกจนได้

ข่าวดีข้อหนึ่ง คือรัฐบาลกลางของจีนนั้นมีฐานะการเงินที่แกร่งมาก โดยที่อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP ไม่ถึง 20% เสียด้วยซ้ำ (ของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 44%) เพราะฉะนั้น รัฐบาลจีนน่าจะมีกำลังทางการคลังเพียงพอที่จะช่วยอุ้มภาคธนาคาร และ

ผู้ฝากให้รอดพ้นจากวิกฤตครั้งใหญ่ หากเกิดขึ้น ทำให้ปัญหาไม่น่าจะบานปลายเหมือนที่เราเห็นในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกาที่ผ่านมา

สรุป คือเศรษฐกิจจีนคงจะต้องวิ่งต่อไปเหมือนรถบัสที่มีระเบิดติดตัว (แบบหนังฮอลลีวูดชื่อดังเรื่อง สปีด-Speed) วิ่งช้าไป (อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ประมาณ 5-6% ต่อปี) ก็ไม่ได้ เพราะรถอาจระเบิด แต่ถ้าวิ่งเร็วเกินไป (9-10 เปอร์เซ็นต์) ก็อาจชนแล้วระเบิดขึ้นได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นเราคงเห็นจีนยุคใหม่โตประมาณปีละ 7-8% โดยยังมีการลงทุนภาครัฐเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

ข้อคิดสำคัญสองข้อจากสถานการณ์ของจีน

หนึ่ง-คือ ประเทศในอาเซียนที่อาจจะอยากหันมาพึ่งการส่งออกไปจีนมากขึ้น เมื่อตลาดที่อเมริกาและยุโรปยังไม่ฟื้น อาจจะต้องเข้าใจถึง "ข้อจำกัด" และ "ความเสี่ยง" ต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีน ที่มาจากปัญหาหนี้นี้

สอง-ผม มองว่าปัญหาภาคธนาคารเงาของจีน ซึ่งก็คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นที่อเมริกา เป็นข้อเตือนใจว่าหากเศรษฐกิจนั้นอยู่ในสภาพดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ๆ ถึงแม้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมสินเชื่อต่าง ๆ เช่น การจำกัดโควตา

สิน เชื่อ การปรับอัตราส่วนสำรองเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อย่างที่รัฐบาลจีนทำ หรือแม้แต่นโยบายที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ธนาคารกลางหลายประเทศที่ชื่อ "Macro-prudential Measure" พูด

ง่าย ๆ คือการใช้มาตรการควบคุมการเงินแบบเฉพาะเจาะจงไปที่เซ็กเตอร์เป้าหมาย (เช่น การคุมสินเชื่อผู้บริโภค) ทั้งหมดนี้ก็ยังอาจไม่พอเพียงในการที่จะยับยั้งภาวะฟองสบู่และปัญหาหนี้ได้ เพียงแต่ทำให้หนี้ไปโตในที่ที่เห็นยากขึ้น

เพราะฉะนั้น ธนาคารชาติของแต่ละประเทศก็ยังหนีไม่พ้นกับการที่ต้องคอยถามตัวเองอยู่เป็น ช่วง ๆ ว่าตอนนี้ดอกเบี้ยของประเทศเรานั้นต่ำไปหรือไม่ เมื่อเทียบกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสินเชื่อของเศรษฐกิจตัวเอง

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ จี้ ทบทวน P4P.


ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสการยกเลิกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และปรับไปใช้แนวทางการจ่ายเงินตามผลงาน หรือ พีฟอร์พี (P4P) ซึ่งประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยที่ยังไม่มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน ก่อให้เกิดกระแสการวิจารณ์ จากบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างกว้างขวาง

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า แนวทางการจ่ายค่าตอบแทนมีผลต่อประชาชน เพราะพื้นที่ห่างไกลมักจะประสบปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพออยู่แล้ว โรงพยาบาลชุมชนบางแห่ง มีหมอ 1-2 คน แต่ต้องดูแลประชาชนทั้งอำเภอหลายหมื่นคน หากการจ่ายค่าตอบแทนแบบนับแต้มตามผลงาน หรือพีฟอร์พี ออกมาใช้ ไม่จูงใจให้บุคลากรอยากจะอยู่ประจำในพื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่เสี่ยง กระทบต่อการรับบริการของประชาชนแน่นอน

“กลุ่มสนับสนุนแนวทางการใช้นโยบายทางการเงิน เป็นเครื่องมือในการกระจายบุคลากรเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนทุกพื้นที่ รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องพื้นที่ คือเรื่องทุรกันดาร ร่วมกับแนวคิดเรื่องภาระงาน และค่าตอบแทนการอยู่นานเป็นเรื่องสุดท้าย และต้องให้ความสำคัญกับทุกวิชาชีพเท่าๆ กัน เนื่องจากการดูแลสุขภาพคนหนึ่งคน ทุกวิชาชีพต่างสำคัญและมีภาระงานในส่วนที่รับผิดชอบต่อชีวิตใกล้เคียงกัน ต้องทำงานเป็นทีม แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้คือ กำหนดการจ่ายตามพื้นที่ส่วนหนึ่ง แล้วเพิ่มเติมด้วยการคิดตามภาระงานเป็นเงินส่วนเพิ่ม (Top up) ไม่ใช่ตัดอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป และต้องไม่ให้การกำหนดแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนเป็นชนวนให้เกิดความแตกแยกของทีมบุคลากรทางการแพทย์” สุรีรัตน์ กล่าว

สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่าต้องทวงถามเจตนารมณ์ของการนำระบบพีฟอร์พี มาใช้ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ระหว่างต้องการเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการสาธารณสุข หรือต้องการตัดงบประมาณลง หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ก็จะเห็นว่าการตัดสินใจเชิงนโยบายครั้งนี้ รีบร้อน เร่งทำ โดยไม่อาศัยหลักวิชาการ ส่อเจตนาทุจริตเชิงนโยบาย กระทบต่องบประมาณของประเทศ โดยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า P4P ทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของประชาชนอย่างชัดเจนและประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้จริงหรือไม่

“การตัดสินใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หลายเรื่องดูรีบร้อน รวบรัด เร่งทำ ไม่มีการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาก่อนเลย รวมถึงวิธีการที่จะปรับใช้ วิธีการปฏิบัติในพื้นที่ก็ยังไม่ชัดเจน ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ผลการศึกษาจากทั้งในและต่างประเทศก็ชี้ให้เห็นว่า การใช้พีฟอร์พีเพียงมาตรการเดียว เป็นผลเสียมากกว่าผลดี การตัดสินใจใดๆ จึงต้องอยู่บนข้อมูลทางวิชาการ และทำด้วยความรอบคอบรัดกุม ไม่ใช่ไม่มีแนวทางใดๆ ที่ชัดเจน ก็ประกาศออกมาอย่างเร่งรีบ โดยไม่ฟังคำทัดทาน” โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพกล่าว

นอกจากนี้ โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันฯ ยังกล่าวต่อว่า ในต่างประเทศ การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ใช้วิธีการกำหนดเพดานค่าตอบแทน และจำนวนโรงพยาบาลเอกชน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะสมองไหลอย่างเช่นที่ไทยกำลังประสบ แต่นโยบายรัฐบาลชุดนี้กลับสนับสนุนการเติบโตของโรงพยาบาลเอกชน  ให้มีการนำเรื่องสุขภาพมาซื้อขายในตลาดหุ้นได้ และส่งเสริมนโยบายเมดิคัล ฮับ ให้เป็นโครงการที่นำรายได้เข้าประเทศ แต่ก็เป็นประโยชน์เฉพาะกับแพทย์พาณิชย์ และธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน  ย่อมส่งผลต่อทำให้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในพื้นที่ห่างไกลรุนแรงมากขึ้น  ประกอบกับนโยบายพีฟอร์พี ซึ่งน่าจะเป็นตัวเร่งให้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในพื้นที่ห่างไกล เข้าสู่จุดวิกฤติเร็วขึ้นอีก

จรรยา แสนสุภา ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ส่วนตัวในฐานะผู้ใช้บริการ มีความกังวลว่าประชาชนจะไม่ได้รับการบริการ เพราะภาพที่เกิดขึ้นขณะนี้คือ หลายโรงพยาบาลขึ้นป้ายไม่ยอมรับแนวทาง P4P มีข้อความว่าในอนาคต ประชาชนอาจจะต้องรอนานขึ้น เพราะกระทรวงใช้การคิดแต้ม ทำให้ที่นี่ไม่มีบุคลากร

“จากเดิมบุคลากรก็น้อยมากอยู่แล้ว เมื่อมีแนวนโยบายแบบนี้ ทำให้เราเองกังวลจริงๆว่าจะไม่มีหมอ ไม่มีพยาบาลในพื้นที่ พวกเราก็ต้องเดินทางกว่า 100 กิโลเมตร เข้าไปรับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดทั้งที่บางครั้งไม่มีความจำเป็น” จรรยากล่าว

ที่มา.ประชาไท
///////////////////////////////////////////////

กฟผ.ยันพ้นวิกฤติ ไฟดับ-ตก !!?


พลังงาน-กฟผ.การันตี 5-14 เม.ย. พ้นวิกฤติไฟดับ หลังจากพม่าเริ่มหยุดส่งก๊าซฯ ตั้งแต่เที่ยงวันนี้ ยันมีไฟฟ้าสำรองกว่า 1,600 เมกะวัตต์

จากการที่พม่าแจ้งหยุดส่งก๊าซธรรมชาติ จากแหล่งยาดานาและเยตากุน ระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย. นี้ เนื่องจากต้องซ่อมบำรุงแท่นขุด จำเป็นต้องปิดระบบส่งก๊าซฯ ทั้งหมด และหยุดส่งมาให้กับไทยในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ก๊าซฯ หายไปจากระบบประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัญหาดังกล่าวทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่างต้องเร่งหาเชื้อเพลิงสำรอง พร้อมทั้งขอความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนช่วยประหยัดการใช้พลังงาน โดยวันนี้ (5 เม.ย.) เป็นวันแรกที่พม่าหยุดส่งก๊าซฯ

ทั้งนี้ ผู้ผลิตก๊าซฯ ในพม่าแจ้งว่าจะหยุดส่งก๊าซฯ ให้ไทยในเวลาเที่ยงวันนี้ (5 เม.ย.) และจะกลับมาจ่ายก๊าซฯ ในเวลา 14.00 น. ของวันที่ 14 เม.ย.

วานนี้ (4 เม.ย.) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมปิดไฟ ปรับแอร์ ปลดปลั๊ก ตามปฏิบัติการ 3 ป. "รวมใจคนไทยสู้วิกฤติไฟฟ้า" เพื่อขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนช่วยลดการใช้ไฟฟ้า ระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่พม่าหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ และส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมปฏิบัติการ 3 ป. ในช่วงเวลา 14.00-15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ พีค โดยปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศจาก 25 องศาเซลเซียส เป็น 26 องศาเซลเซียส ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น ทั้ง 3 มาตรการจะลดการใช้ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 700 เมกะวัตต์

"พงษ์ศักดิ์" เชื่อไม่เกิดปัญหาไฟตก-ไฟดับ

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาไฟตก ไฟดับ ช่วงที่พม่าหยุดจ่ายก๊าซฯ หลังได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงพีควันที่ 5 เม.ย. นี้ ได้ประมาณ 800 เมกะวัตต์ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะลดการใช้ไฟได้ประมาณ 107 เมกะวัตต์ ทำให้สำรองไฟฟ้าพร้อมใช้เพิ่มขี้นเป็นเกือบ 1,000 เมกะวัตต์ แต่ยอมรับเป็นห่วงวันที่ 9 -10 เม.ย. นี้ ที่โรงงานจะกลับมาเดินเครื่องผลิตทำให้สำรองไฟฟ้าอยู่ที่ 1,440 เมกะวัตต์ จึงขอความร่วมมือให้ประหยัดไฟต่อเนื่อง

สั่ง กฟผ. สร้างความเข้าใจสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ส่วนในระยะยาวรัฐบาลมีแผนจะสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังน้ำและถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้เพียงพอ แต่แผนดังกล่าวอาจทำไม่ได้ในระยะสั้น เพราะมีความเสี่ยงหากเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ระหว่างนี้จึงให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เร่งทำความเข้าใจกับประชาชนให้ยอมรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า

ทั้งนี้ ได้ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ. ) ศึกษารูปแบบการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในลักษณะที่ตั้งบริษัทให้คำปรึกษาในการประหยัดไฟฟ้า แก่สถานประกอบการ รวมทั้งหาแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านและสถานประกอบการ หรือ โซลาร์รูฟท็อป โดยจะลดขั้นตอนต่างๆ เช่น การขอใบอนุญาต การติดตั้ง และภาษี รวมถึงการขายไฟฟ้าเข้าระบบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนพ.ค. นี้

ผู้ว่าการ กฟผ. ยัน 5-14 เม.ย. สำรองไฟฟ้าพ้นวิกฤติ

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า หากทุกภาคส่วนสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ตามแผน จะช่วยให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) วันนี้ (5 เม.ย.) ลดลงเหลือ 25,600 เมกะวัตต์ จากประมาณการเดิมอยู่ที่ 26,600 เมกะวัตต์ ส่วนวันที่ 9 เม.ย. คาดว่าปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 25,250 เมกะวัตต์ และวันที่ 10 เม.ย. มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดจะอยู่ที่ 25,950 เมกะวัตต์

สำหรับวันที่ 9-10 เม.ย. นี้ กรณีที่มีผู้กังวลว่าอาจเกิดวิกฤติไฟฟ้าได้ เนื่องจากเป็นวันที่โรงงานหลายแห่งยังเดินเครื่องผลิตสินค้าก่อน จะถึงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งจะมีวันหยุดยาว จากการตรวจสอบทั้ง 2 วัน กฟผ.มีปริมาณสำรองไฟฟ้าสูงกว่า 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณไฟฟ้าสำรองของวันที่ 5 เม.ย.ที่มีปริมาณไฟฟ้าสำรองกว่า 1,661.7 เมกะวัตต์

ขณะนี้ ยังไม่มีการปรับแผนเพิ่มปริมาณไฟฟ้าสำรองช่วงวันที่ 9-10 เม.ย. เพราะว่าตามสถิติของ กฟผ. ทั้ง 2 วัน ปริมาณการผลิตในภาคอุตสาหกรรมจะไม่สูง เนื่องจากโรงงานบางส่วนได้หยุดผลิต หรือลดกำลังการผลิตลง เนื่องจากคนงานบางส่วนลากลับถิ่นฐานช่วงสงกรานต์ และได้ประสานไปยังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุนลดการใช้พลังงานในช่วงดังกล่าวด้วย

"ช่วง 9-10 เม.ย. นี้ เราไม่สามารถคาดหวังปริมาณที่แน่นอน จากการลดกำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากได้ขอความร่วมมือไปก่อนหน้านี้แล้ว กฟผ.คาดว่าจะได้รับความร่วมมือต่อไปจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ที่จะช่วยลดการใช้พลังงาน ในช่วงสูงและพม่าหยุดส่งก๊าซฯ"

กฟผ. ยันสำรอง 1.6 พันเมกะวัตต์ วันนี้เพียงพอ

ทั้งนี้ สมมติฐานเดิมปริมาณสำรองไฟฟ้าช่วงวันนี้อยู่ที่ 467 เมกะวัตต์ หลังจากมีการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนและปรับแผนการผลิตไฟฟ้า ทำให้มีปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 1,661.7 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยการขอให้โรงไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) จำนวน 26 ราย ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นรวมกันได้ 223.8 เมกะวัตต์ จากการลดการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมรวม 124 ราย รวม 970.9 เมกะวัตต์ และกำลังสำรองไฟฟ้าเดิมอีก 467 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมความร่วมมือจากภาคประชาชน คาดว่าจะลดการใช้พลังงานได้อีก 500 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าเพิ่มขึ้น สามารถรับสถานการณ์ในกรณีฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี

นายสุทัศน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 5-14 เม.ย. นี้ กฟผ.ได้งดการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าทั้งหมด พร้อมประสานกับกรมชลประทาน ขอเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนที่ไม่มีปัญหา เรื่องปริมาณน้ำเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าโดยไม่กระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ ประสานงานขอซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก และทดสอบ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้าพลังงานดีเซล

ส.อ.ท.หวั่นวิกฤติไฟ ขอสมาชิกลดใช้ช่วง 9-10 เม.ย.

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า จากการประสานงานเพื่อขอให้โรงงานต่างๆ ประหยัดพลังงานนั้น ได้รับความร่วมมือจากทุกแห่ง ส่วนใหญ่ใช้วิธีปิดซ่อมบำรุงโรงงานช่วงวันนี้ (5 เม.ย.) ส่วนโรงงานที่เปิดก็จะลดการผลิตลงจนถึงเวลา 20.00 น. ของวันนี้ ถือว่ามากกว่าที่ภาครัฐขอความร่วมมือ สำหรับแผนระยะยาวต้องแก้ไขโครงสร้างพลังงาน ปัจจุบันไทยมีอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมาก แต่ให้ประโยชน์ต่อจีดีพีต่ำ ปรับปรุงระบบการทำงานให้ใช้พลังงานต่ำ หรือเลือกใช้เครื่องจักรให้ถูกวิธี

อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท. ได้รับการประสานงานให้ประหยัดพลังงานและลดการผลิตลงวันนี้เท่านั้น แต่ตนก็จะมีการขอความร่วมมือเพิ่มเติม โดยจะส่งหนังสือไปยังโรงงานต่างๆ ที่อยู่ในสังกัด ส.อ.ท. เพื่อให้ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าในโรงงานเพิ่มเติมช่วงวันที่ 9-10เม.ย. ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงที่ใช้ไฟฟ้ามากเช่นกัน

เผยภาคธุรกิจร่วมลดใช้ไฟได้กว่า 800 เมกะวัตต์

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธาน ส.อ.ท. และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กล่าวว่า ช่วงระหว่างวันที่ 5-14 เม.ย.นี้ ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติพลังงาน ส.อ.ท. ให้ความร่วมมือประหยัดพลังงาน โดยเฉพาะค่ายรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนกว่า 10 ค่าย ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 360 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งกลุ่มเหล็ก เคมี ปูนซีเมนต์ ช่วยประหยัดพลังงานได้ 807 เมกะวัตต์ เชื่อว่าหลังจากวันนี้แล้ว จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมขอให้ภาครัฐลดความเสี่ยงด้านพลังงานลง

นายชาครีย์ บูรณกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์พลังงาน ช่วงระหว่าง 5-14 เม.ย. ว่า ปตท.ได้ดึงก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิตก๊าซฯ ทั้งในอ่าวไทยฝั่งตะวันตกจากพม่า และฝั่งตะวันออก คือ แอลเอ็นจี สำรองไว้ใช้ ทั้งนี้ มั่นใจว่า ปตท. มีก๊าซฯ ส่วนเกินสำรองไว้เพียงพอ สามารถดึงมาใช้ได้กรณีแหล่งก๊าซฯ ใดมีปัญหา โดยมีสำรองไว้ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะเดียวกันได้สำรองน้ำมันเพื่อจ่ายให้กับโรงไฟฟ้าในกรณีจำเป็นด้วย ทั้งน้ำมันเตาและดีเซล

"ปิยสวัสดิ์" มั่นใจไม่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสังคมและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ตนมีความมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ (Black out) ในช่วงที่พม่าหยุดจ่ายให้ไทย เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรับทราบสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้ามานานหลายเดือน มีการเตรียมการที่ดี นอกจากนี้ เหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ ที่สำคัญหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการพลังงาน คือ การไฟฟ้าฝ่ายต่างๆ ก็มีประสบการณ์รับมือกับสถานการณ์วิกฤติไฟฟ้าที่หนักมากกว่าครั้งนี้ เช่น เกิดพายุเกย์ในอ่าวไทย ทำให้การผลิตก๊าซฯ ต้องหยุด ขณะนั้น กฟผ. ก็สามารถที่จะสับเปลี่ยนเชื้อเพลิงอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลไปใช้ผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซฯ ที่ขาดหายไปได้

อย่างไรก็ตาม มองว่าปัจจุบันไทยมีการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูงมากในการผลิตไฟฟ้า แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แต่ยังมีขั้นตอนที่ล่าช้าและติดขัด ทำให้ในสถานการณ์วิกฤติพลังงาน ไม่สามารถมีพลังงานทดแทนมาใช้เสริมระบบได้ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะการนำเอาพลังงานทดแทนมาเสริมระบบเป็นการลดการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

กฟภ. ตั้งวอร์รูมรับมือพม่าหยุดส่งก๊าซฯ

นายนำชัย หล่อวัฒนตระกูล ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่พม่าหยุดส่งก๊าซฯ ช่วงวันที่ 5-14 เม.ย. นี้ ว่า ได้ทำแผนและวางมาตรการรองรับกรณีเกิดเหตุสุดวิสัยซ้ำซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ (วอร์รูม) ช่วยเหลือสนับสนุนกรณีเหตุการณ์ไม่ปกติ เพื่อติดตามสถานการณ์ขึ้น ที่สำนักงานใหญ่และที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 13 เขต พร้อมจัดเตรียมสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง

อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่เมืองท่องเที่ยวที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก เช่น ที่พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ จะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากเกิดเหตุการณ์จะสามารถทราบได้ทันทีว่า มีปัญหาอุปสรรคติดขัดอยู่ที่จุดใด และแก้ไขได้ทันที

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

กสอ. โชว์ 4 กลยุทธ์ด้านไอที เตรียมยกเครื่อง SMEs ไทย !!?


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์ความพร้อมรับมือระบบไอทีในการบริหารจัดการกิจการในยุคปัจจุบัน ดันโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (ECIT) ซึ่งถือเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs ไทย ให้ได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็มตัวในปี 2558 โดยส่งเสริมให้ SMEs ใช้ระบบไอทีและโซเชียล มีเดีย สื่อออนไลน์ยุคใหม่เข้าถึงผู้บริโภคได้ทันใจในธุรกิจอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินกิจกรรมด้านไอที 4 ด้านคือ 1. มุ่งเน้นที่ซอฟต์แวร์การบริหารงานครบวงจรและซอฟต์แวร์เฉพาะด้านผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้ Mobile Application ที่ใช้งานง่าย 2. การพัฒนาบุคลากร SMEs ด้านไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 3. การพัฒนาระบบ e-Marketplace เพื่อสร้างร้านค้าออนไลน์ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งสู่ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วย e-Supply Chain เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลิตภาพของกิจการ 4. ส่งเสริม SMEs โดยใช้ Green IT ด้วยระบบ Dead Stock Management เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสต็อกสินค้าและเพิ่มมูลค่าของสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้น โดยในปี 2556 กสอ. คาด SMEs มีแนวโน้มให้ความสนใจในเรื่องของการบริหารกิจการด้วยระบบไอทีเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 20พร้อมกันนี้ ได้จัดสัมมนารองรับ SMEs ที่มีแนวโน้มของการเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ภายใต้หัวข้อ “ECIT : SMEs Solutions Day 2013” มิติใหม่แห่งการใช้ IT เพื่อขับเคลื่อน SMEs ไทยสู่ระดับสากล

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-9078 หรือ www.ecitthai.net

นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที ถือเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะกับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)เนื่องจากไอทีนั้นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ตลอดจนสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจอยู่รอดและมีผลกำไรมากขึ้นได้

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้นับวันไอทียิ่งทวีความสำคัญและมีความจำเป็นขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของโซเชียลมีเดีย ที่ในปัจจุบันกำลังเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูง เพราะเป็นสื่อที่คนทั้งโลกสามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับต้นทุนของสื่อเดิม ทำให้แนวโน้มในการพัฒนาสินค้าและบริการของ SMEs สามารถเพิ่มสูงขึ้นได้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการส่งเสริมพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำไอทีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจของ SMEs มากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Enhancing SMEs Competitiveness Through IT: ECIT) หรือโครงการอีซี่ไอทีขึ้น

นายโสภณ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการอีซี่ไอทีเป็นหนึ่งในนโยบายด้านการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยระบบไอทีของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs ให้ได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมให้ SMEs ใช้ระบบไอทีในธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง ดังนี้

1. มุ่งเน้นซอฟต์แวร์การบริหารงานครบวงจรและซอฟต์แวร์เฉพาะด้านผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้ Mobile Application ที่ใช้งานง่ายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลิตภาพของกิจการ

2. การพัฒนาบุคลากร SMEs ด้านไอที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานผ่านหลักสูตรการอบรมอย่าง การสร้างโอกาสธุรกิจด้วย CRM และ KM การใช้ Social Network เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาด โดยกำหนดเป้าหมายอบรม 1,500 รายทั่วประเทศ

3. ส่งเสริมระบบ e-Marketplace และ e-Supply Chain เพื่อสร้างร้านค้าออนไลน์ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งหากมีการรวมกันของกลุ่มประเทศอาเซียนจะยิ่งทำให้โอกาสค้าขายทางออนไลน์เปิดกว้างมากขึ้น และขยายโอกาสเข้าสู่คนมากกว่า 600ล้านคน ซึ่งช่องทางออนไลน์ รวมถึงโซเชียล มีเดีย ถือเป็นช่องทางเดียวที่มีศักยภาพ สามารถลดต้นทุน และเพิ่มยอดขายได้ในเวลาเดียวกัน
4. ส่งเสริม SMEs โดยใช้ Green IT ด้วยระบบ Dead Stock Management เพื่อลดต้นทุนในการเก็บสต็อกสินค้าและเพิ่มมูลค่าของสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้น

แนวทางดังกล่าว จะสามารถทำให้ธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันต่อไปได้ เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยทั้งหมดนี้มุ่งเป้าไปที่การยกระดับ SMEs ไทยสู่ระดับสากลบนพื้นฐานของการทำงานด้วยระบบไอที ซึ่ง กสอ. ได้ริเริ่มและผลักดันให้มีกิจกรรมการให้ความรู้ด้านไอทีแก่ SMEs และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ภายใต้โครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง

ด้านนายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การเติบโตของของเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อกระแสสังคมในปัจจุบัน ซึ่งผู้บริโภคทั้งหลายเริ่มปรับตัว และสามารถเปลี่ยนเข้ามาให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้ ซึ่งมีบทบาททั้งต่อความคิด การตัดสินใจ และเกิดเป็นกระแสในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEsไม่ควรมองข้าม เพราะ ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของประชากรในโซเชียล มีเดียนั้นกระโดดตัวสูง ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนไทยกว่า 13 ล้านคนใช้Facebook นอกจากนี้ยังมีการใช้งานผ่าน YouTube โดยเฉลี่ยวันละกว่า 5 ครั้ง และตัวเลขผู้ใช้ Twitter ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงช่องทางใหม่อย่างอินสตาแกรมที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนกว่า 50% ต้องมีแอพพลิเคชั่นนี้ ซึ่งทุกช่องทางมีแนวโน้มเติบโตแบบ

ก้าวกระโดดแทบทั้งสิ้น ฉะนั้นสิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ คือการนำโซเชียล มีเดียเหล่านั้นมาบูรณาการและนำไปบริหารจัดการควบคู่กับเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆและพัฒนาสินค้าบริการของธุรกิจอุตสาหกรรมนั้น เพราะการสื่อสารผ่านโซเชียล มีเดีย ถือเป็นการสื่อสารอันทรงอิทธิพล เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีการโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์ และเมื่อมีการโต้ตอบกันไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดความสัมพันธ์ที่คุ้นเคยระหว่างกัน ซึ่งทำให้ธุรกิจ SMEs สามารถนำมาใช้ในการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management)ได้ และที่สำคัญมีต้นทุนไม่สูงนักช่องทางโซเชียล มีเดียจึงเป็นช่องทางสำคัญที่ SMEsสามารถใช้สร้างความคุ้นเคยกับตราสินค้า ให้ผู้บริโภคได้จดจำ รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง พูดคุยกันได้ ทำให้เราทราบความคิดเห็นของผู้บริโภค แต่จุดอ่อนของมันคือ สามารถสร้างความรู้สึกอึดอัดหรือสร้างความรำคาญให้ผู้บริโภคได้โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวดังนั้น ต้องเน้นการสร้างความน่าสนใจ ความชัดเจน ตรงประเด็น และการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสนองตอบและติดตามพฤติกรรมการสื่อสารของผู้บริโภคอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

นายวาที กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันมี SMEs ที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2552 – 2555 เป็นจำนวนมากถึง 360 กิจการ ในหลายหลายอุตสาหกรรมทั้ง ภาคการค้า ภาคการผลิต ภาคการบริการ ที่มีการใช้ระบบไอทีเป็นเครื่องมือในการบริหารงานและพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ทั้งในเรื่องของการวางแผนการผลิต การสต๊อกวัตถุดิบการติดตามการส่งของตามคำสั่งซื้อ ตลอดจนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ ซึ่งส่งผลในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถลดต้นทุนและเพิ่มกำไรโดยรวมได้ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ต่อปี โดยคาดว่าในปี 2556 นี้ จะมี SMEs ที่ให้ความสนใจในเรื่องของการบริหารกิจการด้วยระบบไอทีเป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งน่าจะเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 20เพราะเนื่องจากผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยโซเชียล มีเดียมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มของกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะมีการใช้โซเชียล มีเดียมากขึ้นน่าจะเป็นกลุ่ม

สินค้าอุปโภคบริโภคกลุ่มบริการขนส่ง เป็นต้น ซึ่ง กสอ. ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรองรับ SMEs ที่มีแนวโน้มของการเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ผ่านกิจกรรมด้านไอทีที่เป็นประโยชน์ อาทิ โครงการอบรมโซเชียล มีเดีย สำหรับธุรกิจ SMEs กิจกรรมสัมมนา “ECIT : SMEs Solutions Day 2013” มิติใหม่แห่งการใช้ IT เพื่อขับเคลื่อน SMEs ไทยสู่ระดับสากล พร้อมกิจกรรมการบรรยายพิเศษ อาทิ แอพพลิเคชั่น SMEs กลยุทธ์สร้างกระแสสินค้าและบริการผ่านอินสตาแกรม เป็นต้น

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-9078 หรือ www.ecitthai.net

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////