คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มีมติให้ความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์โดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน (10 ต่อ 0) ตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) อาวุโสลำดับที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อจาก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งจะครบเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้
การที่นายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเสนอชื่อ พล.ต.อ.อดุลย์ข้ามอาวุโสลำดับที่ 1 และ 2 คือ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต และ พล.ต.อ.ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ นับเป็นการตัดสินใจทางการบริหารที่กฎหมายตำรวจ พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้ไว้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดมากว่า 30 ปี ที่ตำแหน่งผู้นำองค์กรตำรวจ ไม่ว่าจะมีฐานะเป็นกรมสังกัดกระทรวงมหาดไทยที่เรียกชื่อว่า “อธิบดีกรมตำรวจ” หรือเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สังกัดขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เรียกชื่อตำแหน่งว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ”
ผู้มีอำนาจเสนอชื่อจะคัดเลือกรองอธิบดีกรมตำรวจ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่มีอาวุโสสูงสุดในหน่วยงานเลื่อนขึ้นเป็นผู้นำองค์กร
มีครั้งเดียวที่นายกรัฐมนตรีชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พยายามเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รอง ผบ.ตร. ที่มีอาวุโสต่ำกว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ขึ้นเป็น ผบ.ตร. แต่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติไม่ให้ความเห็นชอบถึง 2 ครั้ง จึงจำเป็นต้องรับราชการมาจนเกือบจะเกษียณอายุถึงได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียรให้ ก.ต.ช. มีมติเห็นชอบ
มีหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า พล.ต.อ.วิเชียรอาวุโสต่ำกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะว่าไปแล้วความเห็นดังกล่าวก็ฟังได้ถ้าพิจารณาจากการเข้าสู่ตำแหน่งรอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็นตำแหน่งหลักนั้น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ดำรงตำแหน่งก่อน และก่อน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ด้วยซ้ำไป แต่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ประสบวิบากกรรมจากการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 ถูกคณะปฏิวัติ (ชื่อยาวเหยียด) ออกคำสั่งให้ไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จนเป็นเหตุให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองจนชนะคดีได้กลับมาเป็นรอง ผบ.ตร. อีกครั้งหนึ่ง
แต่จะว่าไปแล้วในอีกมุมหนึ่ง พล.ต.อ.วิเชียรได้ยศเป็น พล.ต.อ. ในตำแหน่งหัวหน้านายตำรวจราชสำนัก ซึ่งเทียบชั้นเดียวกับรอง ผบ.ตร. ก่อน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ถ้านับตามลำดับอาวุโส มองในมุมนี้ พล.ต.อ.วิเชียรย่อมมีอาวุโสกว่า
ฉะนั้นเมื่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ย้าย พล.ต.อ.วิเชียรไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จึงเป็นความชอบธรรมที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์จะขึ้นเป็น ผบ.ตร. ด้วยประการทั้งปวง
สำหรับกรณีของ พล.ต.อ.ปานศิริ ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดในขณะนี้เมื่อเปรียบเทียบกับ พล.ต.อ.อดุลย์ ตามกฎหมายตำรวจว่าด้วยการพิจารณาเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่าให้ดูที่อาวุโส ประวัติการรับราชการ ผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติ และความรู้ความสามารถ ประกอบกัน (ม.57) ทั้ง 2 คนแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ที่เห็นได้ชัดก็คืออาวุโสและอายุราชการเท่านั้น พล.ต.อ.ปานศิริมีอาวุโสกว่าทั้งอายุราชการและอายุตัว ทั้งคู่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจห่างกัน 1 รุ่น ไล่เรียงเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งเกือบทุกชั้นยศห่างกันเพียง 1 ปี จนกระทั่งถึงชั้นยศนายพลตำรวจ
ที่สำคัญคือทั้ง 2 คนเป็นนายตำรวจที่ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชาให้การยอมรับในฝีไม้ลายมือ ความเฉลียวฉลาด ความมุ่งมั่นเพียรพยายามในงานที่มอบหมายให้รับผิดชอบ ตลอดจนความมีมนุษยสัมพันธ์ทั้งต่อบุคลากรในองค์กรและต่างองค์กร ไม่มีใครยิ่งหย่อนกว่ากัน
ถ้าจะว่าไปแล้วเมื่อพิจาณาถึงความสัมพันธ์สนิทสนมคุ้นเคยกับฝ่ายนโยบายและการเมือง พล.ต.อ.ปานศิริดูจะใกล้ชิดได้รับความไว้วางใจเหนือ พล.ต.อ.อดุลย์ด้วยซ้ำไป นอกจากรุ่นจะใกล้เคียงกับอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังมีโอกาสได้ตามไปศึกษาต่อต่างประเทศในมหาวิทยาลัย Eastern Kentucky University ด้วยกันอีก จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเมื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีจึงเลือก พล.ต.อ.ปานศิริให้เป็น ผบช.ภ.1 ก่อนเปลี่ยนมาเป็นตำแหน่งที่ทรงอิทธิพลต่อรัฐบาลอย่างผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ความสามารถในการสอบสวนอยู่ในระดับเกรดเอบวก จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนในคดีสำคัญๆเกือบทุกคดี
มองคุณสมบัติของ พล.ต.อ.ปานศิริแล้วแทบไม่มีใครคาดคิดเลยว่าทำไมนายกรัฐมนตรีถึงต้องหยิบ พล.ต.อ.อดุลย์เข้ามาแทนที่แบบออกนอกกฎเกณฑ์ธรรมเนียมปฏิบัติ
ในฐานะที่ผมเป็นครูของทั้ง 2 คนที่เป็นคู่ Candidate ตำแหน่ง ผบ.ตร. รู้จักคุ้นเคย สนิทสนมใกล้ชิดเป็นอย่างมาก เคยใช้สอยไหว้วาน บังคับบัญชาทั้งคู่ ใช้งาน ได้งานละเอียด ผลงานไม่มีอะไรบกพร่อง รักทั้งพี่ เสียดายทั้งน้องถ้าจะต้องตัดสินใจเลือกคนใดคนหนึ่ง
สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ผมเชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผู้มีอำนาจเลือกตกลงใจในลักษณะที่มองการณ์ไกล 2 ปีในตำแหน่งกับ 1 ปี มีผลแตกต่างกันในเชิงบริหารงานมาก โดยเฉพาะการบังคับบัญชาในองค์กรตำรวจ นกกาจะเกาะต้นไม้ใดก็ต้องดูความยั่งยืนและผลิตผลของต้นไม้นั้นๆเป็นหลัก ถ้าเป็นต้นไม้ที่ร่มเงาอยู่ไม่คงทน คำว่า “นกรู้” จึงเกิดขึ้น จะบังคับบัญชาสั่งการใดๆ ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชารู้ดีว่านายอยู่ได้สั้นๆ คำสั่งก็จะรับฟัง ส่วนการปฏิบัติจะให้เต็มร้อยคงไม่เป็นไปตามคาดหวัง
องค์กรตำรวจไทย 5 ปี เปลี่ยน ผบ.ตร. มาแล้ว 6 คน ความต่อเนื่องในการบริหารงาน สั่งการไม่มีเอกภาพ แทบจะกล่าวได้ว่าแต่ละคนทำงานเพื่อรักษาสถานภาพ การเลือก พล.ต.อ.อดุลย์ให้ทำงานอย่างน้อย 2 ปี จึงเท่ากับเป็นการเตือน (Warning) ให้ตำรวจทุกนายทราบว่าต่อไปนี้งานบริการ การรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันปราบปรามอาชญากรรมต้องเดินหน้าจริงจัง เพราะกิตติศัพท์ของ พล.ต.อ.อดุลย์เป็นที่ทราบกันดีว่าจริงจัง เอาการเอางาน กัดไม่ปล่อย และทำงานอย่างเป็นระบบ คิด วางแผน ตัดสินใจอย่างทหาร เพราะเป็นนายตำรวจระดับสูงคนเดียวที่ให้ความสำคัญกับการใช้ฝ่ายอำนวยการ (เสนาธิการ) ดังจะเห็นได้จากรูปแบบการทำงานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยสั่งการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์เป็นนายตำรวจระดับสูงยศ พล.ต.อ. ที่ผ่านงานในสนามรบในฐานะนักรบ (จนได้เหรียญพิทักษ์เสรีชนชั้น 1 ประดับเปลวระเบิด เป็นเครื่องหมายประกันคุณภาพถึงความกล้าหาญ) นักปฏิบัติ และเป็นผู้เสนอแนะแนวปฏิบัติ (เสนาธิการ) ทุกตำแหน่งระดับหัวหน้างาน จึงครบเครื่องของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่รู้ทุกข์รู้สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
ความเสียสละ กล้าหาญ ตั้งแต่เป็นนายตำรวจเด็กๆจนถึงสารวัตร มีผลงานจนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากมูลนิธิธารน้ำใจให้เป็น “คนไทยตัวอย่าง”
สำคัญที่สุดก็คือ พล.ต.อ.อดุลย์เป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ทำงาน โตมาทุกตำแหน่งโดยไม่เคยมีข้อครหาว่าวิ่งเต้นกับผู้ใดเลย?!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ศาล รธน.ฟ้องกราวรูด ส.ส.-แกนนำ นปช.ข้อหาขู่เข็ญ-ข่มขืนใจ !!?
ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้แจงส่งเจ้าหน้าที่แจ้งดำเนินคดีแกนนำเสื้อแดง แนวร่วมเสื้อแดง ส.ส.พรรคเพื่อไทย และบุคคลอื่นๆ ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และข้อหาอื่นๆอีกรวม 6 ข้อหา ระบุเป็นหน้าที่ต้องปกป้องตุลาการทุกคนไม่ให้ได้รับผลกระทบทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำหน้าที่ ด้านฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์จี้แกนนำเลิกชักชวนคนเสื้อแดงไปชุมนุมหน้าศาลอาญาในวันที่ 9 ส.ค. ที่ศาลจะชี้ขาดถอนประกันตัวแกนนำ อ้างทำรถติด ประชาชนเดือดร้อน
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่พูดจาดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นเรื่องจริง โดยนายเชาวนะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเข้าแจ้งความที่กองปราบปรามเพื่อดำเนินคดีกับนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน และ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เป็นตุลาการ โดยการข่มขู่ทำให้ตุลาการเกิดความกลัวด้วยการปราศรัยโจมตีใส่ร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อีกทั้งยังมีการบอกเบอร์โทรศัพท์ตุลาการให้ผู้สนับสนุนโทร.ไปก่อกวนและข่มขู่
นอกจากนี้ยังแจ้งความดำเนินคดีกับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายด้วย
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในข้อหาแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งความดำเนินคดีนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ นักจัดรายการวิทยุชุมชน และพวก ที่เดินทางมาเผาโลงจำลองตุลาการ 9 คน บริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้อหาข่มขู่ในลักษณะทำให้เกิดความกลัว และมีการชูป้ายด่า ดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังมีการเผาโลง และยังไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการในข้อหาแจ้งความเท็จด้วย
“นอกจากข้อกล่าวหาที่กล่าวมาแล้ว สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับบุคคลอื่นๆอีก 6 ข้อหา โดยในวันที่ 30 ก.ค. นี้ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญจะแถลงรายละเอียดให้ทราบ”
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพราะสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ดูแลตุลาการทุกคนตามหน้าที่ เพื่อไม่ให้มีใครมาดำเนินการใดๆที่ส่งผลกระทบต่อตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือการปฏิบัติหน้าที่
นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คนเสื้อแดงไม่ควรไปรวมตัวกันเพื่อกดดันการทำงานของศาลที่จะไต่สวนเพื่อพิจารณาถอนประกันตัวแกนนำในวันที่ 9 ส.ค. นี้
“คนเสื้อแดงสามารถให้กำลังใจแกนนำอยู่ที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปปิดล้อมศาล เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากการจราจรติดขัด และขอให้แกนนำทุกคนหยุดปลุกระดมมวลชนให้มารวมตัวกันที่หน้าศาล”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานไปแจ้งความดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่พูดจาดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า เป็นเรื่องจริง โดยนายเชาวนะมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเข้าแจ้งความที่กองปราบปรามเพื่อดำเนินคดีกับนายยศวริศ ชูกล่อม หรือ “เจ๋ง ดอกจิก” แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน และ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เป็นตุลาการ โดยการข่มขู่ทำให้ตุลาการเกิดความกลัวด้วยการปราศรัยโจมตีใส่ร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จ อีกทั้งยังมีการบอกเบอร์โทรศัพท์ตุลาการให้ผู้สนับสนุนโทร.ไปก่อกวนและข่มขู่
นอกจากนี้ยังแจ้งความดำเนินคดีกับนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง ข้อหาข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายด้วย
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ ที่ไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในข้อหาแจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งความดำเนินคดีนายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือโกตี๋ นักจัดรายการวิทยุชุมชน และพวก ที่เดินทางมาเผาโลงจำลองตุลาการ 9 คน บริเวณหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้อหาข่มขู่ในลักษณะทำให้เกิดความกลัว และมีการชูป้ายด่า ดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังมีการเผาโลง และยังไปแจ้งความดำเนินคดีกับตุลาการในข้อหาแจ้งความเท็จด้วย
“นอกจากข้อกล่าวหาที่กล่าวมาแล้ว สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับบุคคลอื่นๆอีก 6 ข้อหา โดยในวันที่ 30 ก.ค. นี้ทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญจะแถลงรายละเอียดให้ทราบ”
นายสมฤทธิ์กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพราะสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ดูแลตุลาการทุกคนตามหน้าที่ เพื่อไม่ให้มีใครมาดำเนินการใดๆที่ส่งผลกระทบต่อตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือการปฏิบัติหน้าที่
นายราเมศ รัตนะเชวง ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คนเสื้อแดงไม่ควรไปรวมตัวกันเพื่อกดดันการทำงานของศาลที่จะไต่สวนเพื่อพิจารณาถอนประกันตัวแกนนำในวันที่ 9 ส.ค. นี้
“คนเสื้อแดงสามารถให้กำลังใจแกนนำอยู่ที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปปิดล้อมศาล เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เนื่องจากการจราจรติดขัด และขอให้แกนนำทุกคนหยุดปลุกระดมมวลชนให้มารวมตัวกันที่หน้าศาล”
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
มันต่างกันจริงๆ ..!!!?
นับแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะมีชัยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคมปีที่แล้วอย่างถล่มทะลาย
คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ถูกพลพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาโจมตีไม่เว้นแต่ละวัน ตั้งแต่เรื่องขนาดไม้จิ้มฟันไปยันขนาดเรือรบ
แต่งตัวสวยไปเยือนต่างประเทศก็หาว่าไปเดินแฟชั่น
ได้รับเชิญจากรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ไปปาฐกถาให้นักธุรกิจอเมริกันฟังที่เขมรก็ถูกหาว่าทำผิดมารยาทการทูต
พูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศก็หาว่าพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด ทั้งๆ ที่ฝรั่งมันฟังรู้เรื่อง
และอีกสารพัดสารเพที่ยกมาเล่นงาน แต่น้อยนิดหนึ่ง คุณยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้ตอบโต้ ทำตัวยังกะเป็น พระเตมีย์ใบ้ เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่ประสพความสำเร็จเป็นอย่างดี
และดีกว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำมาด้วยซ้ำไป
ผลงานหลังสุดก็เป็นเรื่องการประชุม กตช.เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ ๙ ซึ่งปรากฎว่า...
ที่ประชุมลงมติเอกฉันท์ด้วยคะแนน ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งจะเกษียณในวันที่ ๓๐ กันยายน ศกนี้
ก่อนหน้านี้ ก็เป็นประธานประชุม กตช.ที่ลงมติ ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตช.คนที่ ๘ แทนคนเดิมที่ถูกย้ายไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ในยุคที่ คุณอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ๓ ปีปรากฎว่า...เรียกประชุม กตช. เพื่อแต่งตั้ง ผบ.ตช.ไม่ได้แม้แต่คนเดียว
ประชุมคราใดก็ล้มเหลวครานั้น เพราะที่ประชุมไม่เห็นชอบกับคนที่นายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง เลยต้องใช้วิธีให้นั่งรักษาการไปจนเกษียณอายุ
มันชี้ให้เห็นว่า..การบริหารจัดการ การเจรจาประนีประนอมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกรรมการ กตช.ทั้ง ๑๐ คนนั้น ใครมีภาวะผู้นำที่เหนือกว่ากัน
ระหว่างนายกรัฐมนตรีที่ตั้งรัฐบาลในค่ายทหารกับนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ
นอกจากจะทำงานกับตำรวจได้ดีแล้ว คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังทำงานประสานกับบรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพได้เป็นอย่างดี
จนคนทั่วไปเริ่มมีความเชื่อมั่นว่า...คุณยิ่งลักษณ์น่าจะจบได้สวย และอาจจะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ได้ถึงสองสมัย เพราะจนถึงบัดนี้ยังไม่มีข้อกล่าวที่ร้ายแรงใดๆ ต่อตัวคุณยิ่งลักษณ์เลย
แต่เมื่อมองไปทางคุณอภิสิทธิ์แล้วก็ต้องเป็นห่วง เพราะนอกจากคดี ๙๘ ศพที่อาจจะต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว ก็ยังมีคดีหนีทหารที่กระทรวงกลาโหมยืนยันว่า มีหลักฐานชัดแจ้งซะอีกอย่างหนึ่ง
ลองทายกันสิว่าชะตาชีวิตของคุณอภิสิทธิ์จะลงเอยแบบใด
โดย.ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ถูกพลพรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาโจมตีไม่เว้นแต่ละวัน ตั้งแต่เรื่องขนาดไม้จิ้มฟันไปยันขนาดเรือรบ
แต่งตัวสวยไปเยือนต่างประเทศก็หาว่าไปเดินแฟชั่น
ได้รับเชิญจากรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ไปปาฐกถาให้นักธุรกิจอเมริกันฟังที่เขมรก็ถูกหาว่าทำผิดมารยาทการทูต
พูดภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศก็หาว่าพูดภาษาอังกฤษไม่ชัด ทั้งๆ ที่ฝรั่งมันฟังรู้เรื่อง
และอีกสารพัดสารเพที่ยกมาเล่นงาน แต่น้อยนิดหนึ่ง คุณยิ่งลักษณ์ ก็ไม่ได้ตอบโต้ ทำตัวยังกะเป็น พระเตมีย์ใบ้ เอาแต่ตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่ประสพความสำเร็จเป็นอย่างดี
และดีกว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ หรือคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำมาด้วยซ้ำไป
ผลงานหลังสุดก็เป็นเรื่องการประชุม กตช.เพื่อแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ ๙ ซึ่งปรากฎว่า...
ที่ประชุมลงมติเอกฉันท์ด้วยคะแนน ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ซึ่งจะเกษียณในวันที่ ๓๐ กันยายน ศกนี้
ก่อนหน้านี้ ก็เป็นประธานประชุม กตช.ที่ลงมติ ๑๐ ต่อ ๐ เลือก พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตช.คนที่ ๘ แทนคนเดิมที่ถูกย้ายไปเป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ในยุคที่ คุณอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ ๓ ปีปรากฎว่า...เรียกประชุม กตช. เพื่อแต่งตั้ง ผบ.ตช.ไม่ได้แม้แต่คนเดียว
ประชุมคราใดก็ล้มเหลวครานั้น เพราะที่ประชุมไม่เห็นชอบกับคนที่นายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง เลยต้องใช้วิธีให้นั่งรักษาการไปจนเกษียณอายุ
มันชี้ให้เห็นว่า..การบริหารจัดการ การเจรจาประนีประนอมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับกรรมการ กตช.ทั้ง ๑๐ คนนั้น ใครมีภาวะผู้นำที่เหนือกว่ากัน
ระหว่างนายกรัฐมนตรีที่ตั้งรัฐบาลในค่ายทหารกับนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ
นอกจากจะทำงานกับตำรวจได้ดีแล้ว คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรยังทำงานประสานกับบรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพได้เป็นอย่างดี
จนคนทั่วไปเริ่มมีความเชื่อมั่นว่า...คุณยิ่งลักษณ์น่าจะจบได้สวย และอาจจะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ได้ถึงสองสมัย เพราะจนถึงบัดนี้ยังไม่มีข้อกล่าวที่ร้ายแรงใดๆ ต่อตัวคุณยิ่งลักษณ์เลย
แต่เมื่อมองไปทางคุณอภิสิทธิ์แล้วก็ต้องเป็นห่วง เพราะนอกจากคดี ๙๘ ศพที่อาจจะต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว ก็ยังมีคดีหนีทหารที่กระทรวงกลาโหมยืนยันว่า มีหลักฐานชัดแจ้งซะอีกอย่างหนึ่ง
ลองทายกันสิว่าชะตาชีวิตของคุณอภิสิทธิ์จะลงเอยแบบใด
โดย.ศรี อินทปันตี,บางกอกทูเดย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ป.ป.ช.ถอดถอน สุเทพ.ใช้อำนาจแทรกแซงผิดกฎหมาย !!?
ป.ป.ช.มีมติส่งเรื่องให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน “สุเทพ” ออกจากตำแหน่งฐานใช้อำนาจสมัยเป็นรองนายกรัฐมนตรีแทรกแซงส่งส.ส.ไปทำงานในกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อผลประโยชน์ด้านคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญชัดเจน “อภิสิทธิ์” รอดหลังสอบไม่พบข้อมูลหลักฐานว่าเกี่ยวข้องให้ยกคำร้อง
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.มีมติให้ส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีผลให้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
ทั้งนี้สืบเนื่องจากมาที่นายสุเทพใช้อำนาจหน้าที่สมัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ส่งส.ส.และบุคคลรวม 19 คนไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นการใช้ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ของตนเอง ส.ส. และพรรคประชาธิปัตย์ ในด้านคะแนนเสียง อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) จึงต้องส่งเรื่องให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน
ส่วนข้อกล่าวหาที่มีต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นผลการสอบสวนไม่พบข้อมูลหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวจึงให้ยกคำร้อง
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
--------------------------------------------------------------------------------
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.มีมติให้ส่งเรื่องให้วุฒิสภาพิจารณาถอดถอนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะมีผลให้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
ทั้งนี้สืบเนื่องจากมาที่นายสุเทพใช้อำนาจหน้าที่สมัยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ส่งส.ส.และบุคคลรวม 19 คนไปช่วยราชการกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นการใช้ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ของตนเอง ส.ส. และพรรคประชาธิปัตย์ ในด้านคะแนนเสียง อันเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (1) จึงต้องส่งเรื่องให้วุฒิสภาลงมติถอดถอน
ส่วนข้อกล่าวหาที่มีต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นผลการสอบสวนไม่พบข้อมูลหลักฐานว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวจึงให้ยกคำร้อง
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
--------------------------------------------------------------------------------
ประชาธิปัตย์อวยพรวันเกิด ทักษิณ !!!?
รองโฆษก ปชป. วอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง "อภิสิทธิ์" แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต โอดเป็นไปได้อย่างไรที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่
รองโฆษก ปชป. อวยพรวันเกิดให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง
กรณีที่เมื่อวานนี้ (26 ก.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์กล่าวขอบคุณครอบครัว และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในการสร้างห้องสมุดพรรคเพื่อไทย และขอบคุณทุกคนที่อวยพรวันเกิดนั้น เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ก็ต้องขออวยพรให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กลับประเทศ ในเร็ววัน ขอให้มีจิตใจที่สงบ ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิช่วยดลบัลดาลใจให้ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบทั้งตัวคุณทักษิณเอง และประเทศไทย
นายราเมศ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวเชิญชวนให้พรรคประชาธิปัตย์ใช้ห้องสมุดที่พรรคเพื่อไทยนั้น อยากเรียนว่าต้องขอบคุณแต่เราคงไม่ไปใช้ห้องสมุดดังกล่าว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็มีตำรามากมาย อาจจะมีห้องสมุดที่ไม่ใหญ่โตมากนักเหมือนของคุณทักษิณ แต่ห้องสมุดพรรคประชาธิปัตย์มีหนังสือที่ดี ไม่มีหนังสือที่จะสอนให้คนมีความรู้ในการโกงอย่างไร ไม่มีหนังสือที่สอนให้เผาบ้านเผาเมืองอย่างไร เพราะปัจจุบันความวุ่นวายในบ้านเมืองก็เกิดจากคนที่ประพฤติตนแบบนี้ การที่คนไม่มีความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่ส่งเสริมเพิ่มความรู้ แต่การเป็นคนดีย่อมสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะบางครั้งคนที่มีความรู้ระดับ ดร. ใช้ความรู้ในการโกงบ้านโกงเมือง ชอบทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ก็มีให้เห็นอยู่ในสังคมไทย ฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ไปใช้ห้องสมุดแห่งนี้แน่นอน
อภิสิทธิ์แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวานนี้ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ 101 องศาข่าว ทางสถานีวิทยุ 101 โดยช่วงหนึ่งนายอภิสิทธิ์ได้อวยพรให้ทักษิณว่า “ก็วันเกิดก็ขอให้ปีนี้ได้คิดได้นะครับว่า ชีวิตจะมีความสุข ก็น่าที่จะต้องละวางประโยชน์ส่วนตน แล้วก็ยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วก็มันอาจจะมีทางออกสำหรับชีวิตของคุณทักษิณได้ครับ”
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า รู้สึกข้องใจในเรื่องที่ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ บินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “มันคงไม่ใช่ความข้องใจหรอกครับ แต่มันต้องบอกว่า มันเป็นไปได้อย่างไรที่หัวหน้าของตำรวจ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่”
ผู้ดำเนินรายการถามว่า "ไม่ได้มองว่าเขาเป็นญาติกัน" นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมไม่ปฏิเสธครับ ความเป็นญาติกัน จำเป็นจะต้อง หรือความผูกพันอะไร ผมไม่ว่า แต่ว่าเมื่อคุณดำรงตำแหน่ง คุณสวมหมวก 2 ใบ ตรงนี้ครับ คุณต้องเอาหน้าที่การงานแล้วก็สถานะของส่วนรวมมาก่อน ไม่ใช่เรื่องของส่วนตัวมาก่อน มันก็ไม่เหมาะสมแน่นอนครับ”
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีที่มีคนไปพบทักษิณในช่วงวันเกิดด้วยว่า “ไม่เป็นไรหรอกครับ คือคนผูกพันกัน จะไปหากันวันเกิดก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่อย่างที่บอกก็ต้องดูสถานะว่าเป็นอย่างไร เพราะว่ามันก็มีประมวลจริยธรรม มีกฎต่าง ๆ กำกับอยู่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งหลบหนีความผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ส่วนเป็นประเด็นที่ว่าจะแทรกแซงการเมือง ก็รู้ๆ กันอยู่นะครับ ไม่รู้จะวิจารณ์กันไปอีกทำไม ผมถึงบอกว่า สำคัญมากกว่า คือมาช่วยกันยึดประโยชน์ส่วนรวมดีกว่า”
ขณะที่เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าในสัปดาห์หน้า วางแผนฉลองวันเกิดให้ตัวเองหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “ไม่มีอะไรเป็นพิเศษหรอกครับ ก็อายุเพิ่มมากขึ้นนะครับ”
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
รองโฆษก ปชป. อวยพรวันเกิดให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจ "ทักษิณ" เคารพกฎหมายบ้านเมือง
กรณีที่เมื่อวานนี้ (26 ก.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์กล่าวขอบคุณครอบครัว และสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในการสร้างห้องสมุดพรรคเพื่อไทย และขอบคุณทุกคนที่อวยพรวันเกิดนั้น เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายราเมศ รัตนะเชวง รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ก็ต้องขออวยพรให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กลับประเทศ ในเร็ววัน ขอให้มีจิตใจที่สงบ ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิช่วยดลบัลดาลใจให้ยอมรับในกระบวนการยุติธรรม เคารพกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งจะทำให้เกิดความสงบทั้งตัวคุณทักษิณเอง และประเทศไทย
นายราเมศ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวเชิญชวนให้พรรคประชาธิปัตย์ใช้ห้องสมุดที่พรรคเพื่อไทยนั้น อยากเรียนว่าต้องขอบคุณแต่เราคงไม่ไปใช้ห้องสมุดดังกล่าว เพราะพรรคประชาธิปัตย์ก็มีตำรามากมาย อาจจะมีห้องสมุดที่ไม่ใหญ่โตมากนักเหมือนของคุณทักษิณ แต่ห้องสมุดพรรคประชาธิปัตย์มีหนังสือที่ดี ไม่มีหนังสือที่จะสอนให้คนมีความรู้ในการโกงอย่างไร ไม่มีหนังสือที่สอนให้เผาบ้านเผาเมืองอย่างไร เพราะปัจจุบันความวุ่นวายในบ้านเมืองก็เกิดจากคนที่ประพฤติตนแบบนี้ การที่คนไม่มีความรู้เป็นสิ่งที่ดีที่ส่งเสริมเพิ่มความรู้ แต่การเป็นคนดีย่อมสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะบางครั้งคนที่มีความรู้ระดับ ดร. ใช้ความรู้ในการโกงบ้านโกงเมือง ชอบทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ก็มีให้เห็นอยู่ในสังคมไทย ฉะนั้นพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ไปใช้ห้องสมุดแห่งนี้แน่นอน
อภิสิทธิ์แนะทักษิณยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วจะมีทางออกชีวิต
ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวานนี้ได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ 101 องศาข่าว ทางสถานีวิทยุ 101 โดยช่วงหนึ่งนายอภิสิทธิ์ได้อวยพรให้ทักษิณว่า “ก็วันเกิดก็ขอให้ปีนี้ได้คิดได้นะครับว่า ชีวิตจะมีความสุข ก็น่าที่จะต้องละวางประโยชน์ส่วนตน แล้วก็ยึดประโยชน์ส่วนรวม แล้วก็มันอาจจะมีทางออกสำหรับชีวิตของคุณทักษิณได้ครับ”
เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า รู้สึกข้องใจในเรื่องที่ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์ บินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “มันคงไม่ใช่ความข้องใจหรอกครับ แต่มันต้องบอกว่า มันเป็นไปได้อย่างไรที่หัวหน้าของตำรวจ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจไปหาคนที่มีหมายจับอยู่”
ผู้ดำเนินรายการถามว่า "ไม่ได้มองว่าเขาเป็นญาติกัน" นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมไม่ปฏิเสธครับ ความเป็นญาติกัน จำเป็นจะต้อง หรือความผูกพันอะไร ผมไม่ว่า แต่ว่าเมื่อคุณดำรงตำแหน่ง คุณสวมหมวก 2 ใบ ตรงนี้ครับ คุณต้องเอาหน้าที่การงานแล้วก็สถานะของส่วนรวมมาก่อน ไม่ใช่เรื่องของส่วนตัวมาก่อน มันก็ไม่เหมาะสมแน่นอนครับ”
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงกรณีที่มีคนไปพบทักษิณในช่วงวันเกิดด้วยว่า “ไม่เป็นไรหรอกครับ คือคนผูกพันกัน จะไปหากันวันเกิดก็ไม่ว่ากันนะครับ แต่อย่างที่บอกก็ต้องดูสถานะว่าเป็นอย่างไร เพราะว่ามันก็มีประมวลจริยธรรม มีกฎต่าง ๆ กำกับอยู่เกี่ยวกับบุคคลซึ่งหลบหนีความผิดกฎหมาย เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่ง ส่วนเป็นประเด็นที่ว่าจะแทรกแซงการเมือง ก็รู้ๆ กันอยู่นะครับ ไม่รู้จะวิจารณ์กันไปอีกทำไม ผมถึงบอกว่า สำคัญมากกว่า คือมาช่วยกันยึดประโยชน์ส่วนรวมดีกว่า”
ขณะที่เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่าในสัปดาห์หน้า วางแผนฉลองวันเกิดให้ตัวเองหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ตอบว่า “ไม่มีอะไรเป็นพิเศษหรอกครับ ก็อายุเพิ่มมากขึ้นนะครับ”
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชูศักดิ์แนะแก้ม. 68 ก่อนเดินหน้าแก้รธน.ทั้งฉบับ !!?
นายชูศักดิ์ ศิรินิล ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า แนวทางของพรรคยังต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะเป็นนโยบายที่แถลงไว้ต่อสภา ซึ่งแนวทางที่จะทำให้การแก้ไขทั้งฉบับสามารถทำได้ ต้องมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางประเด็นที่เป็นอุปสรรคก่อน เช่น มาตรา 68 โดยระบุให้ชัดเจนว่ากำหนดเวลาให้อัยการสูงสุดวินิจฉัยกี่วันก่อนยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามผู้ทราบการกระทำยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แต่ประเมินแล้วว่าการลงมติในวาระ 3 ขณะนี้ยังมีความล่อแหลมและอาจดำเนินการลำบาก เพราะขนาดยังไม่มีการลงมติศาลยังเปิดช่องออกคำสั่งให้มีการชะลอการลงมติได้ และเชื่อว่าหากลงมติจริงเสียงของ สส.และสว.จะเกิดความไม่มั่นใจว่าหากลงมติแล้วจะแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จหรือไม่ ดังนั้นเห็นว่าไม่สามารถลงมติวาระ 3 ได้ทันที แต่ระหว่างนี้รัฐบาลควรเร่งรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชาชนเห็นว่าเหตุใดจึงควรแก้รัฐธรรมนูญปี 50 ทั้งฉบับ
ขณะที่การแก้ไขรายมาตรานั้น กระบวนการต้องใช้ระยะเวลานานมาก ประกอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรานั้นมีความเกี่ยวโยงกับมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นควรแก้เป็นพลวัตคือแก้ทั้งฉบับจะดำเนินการง่ายกว่าและเป็นไปตามนโยบายที่พรรคเคยแถลงไว้ด้วย
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เชื่อว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมานั้นตรงกับคำแถลงเมื่อวันที่ 13 ก.ค. แต่จะมีรายละเอียดชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ไม่ทราบว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจนเรื่องการลงมติในวาระ 3 รวมทั้งคำแนะนำเรื่องการทำประชามติหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนออกมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็คงเป็นหมัน เพราะไม่ได้ปลดล็อคเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ หวังว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจน หรือว่าอาจจะชัดเจนแบบไม่ชัดเจนหรือไม่
"เท่าที่ฟังนั้นเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ใช่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย"อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนตัวแล้วมองว่า ทางออกที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดคือ การแก้ไขเป็นรายมาตรา โดยให้ครม.หรือสมาชิกรัฐสภาเป็นผู้เสนอขอแก้ไข แม้ว่าจะช้าเพราะถูกฝ่ายค้านแปรญัตติยืดเยื้อจนใช้เวลานาน แต่ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาเรื่องการไม่ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เพราะรัฐบาลได้เดินหน้าทำอย่างเต็มที่แล้ว และไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายหรือนองเลือดขึ้นอีก จึงเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ไม่สามารถกระทำตามนโยบายรัฐบาลได้ จึงไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แต่ประเมินแล้วว่าการลงมติในวาระ 3 ขณะนี้ยังมีความล่อแหลมและอาจดำเนินการลำบาก เพราะขนาดยังไม่มีการลงมติศาลยังเปิดช่องออกคำสั่งให้มีการชะลอการลงมติได้ และเชื่อว่าหากลงมติจริงเสียงของ สส.และสว.จะเกิดความไม่มั่นใจว่าหากลงมติแล้วจะแก้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จหรือไม่ ดังนั้นเห็นว่าไม่สามารถลงมติวาระ 3 ได้ทันที แต่ระหว่างนี้รัฐบาลควรเร่งรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชาชนเห็นว่าเหตุใดจึงควรแก้รัฐธรรมนูญปี 50 ทั้งฉบับ
ขณะที่การแก้ไขรายมาตรานั้น กระบวนการต้องใช้ระยะเวลานานมาก ประกอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละมาตรานั้นมีความเกี่ยวโยงกับมาตราอื่นในรัฐธรรมนูญด้วย ดังนั้นควรแก้เป็นพลวัตคือแก้ทั้งฉบับจะดำเนินการง่ายกว่าและเป็นไปตามนโยบายที่พรรคเคยแถลงไว้ด้วย
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เชื่อว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมานั้นตรงกับคำแถลงเมื่อวันที่ 13 ก.ค. แต่จะมีรายละเอียดชัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ไม่ทราบว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจนเรื่องการลงมติในวาระ 3 รวมทั้งคำแนะนำเรื่องการทำประชามติหรือไม่ หากไม่มีความชัดเจนออกมาการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็คงเป็นหมัน เพราะไม่ได้ปลดล็อคเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ หวังว่าคำวินิจฉัยกลางที่ออกมาจะมีความชัดเจน หรือว่าอาจจะชัดเจนแบบไม่ชัดเจนหรือไม่
"เท่าที่ฟังนั้นเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ใช่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย"อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนตัวแล้วมองว่า ทางออกที่ปลอดภัยและเหมาะสมที่สุดคือ การแก้ไขเป็นรายมาตรา โดยให้ครม.หรือสมาชิกรัฐสภาเป็นผู้เสนอขอแก้ไข แม้ว่าจะช้าเพราะถูกฝ่ายค้านแปรญัตติยืดเยื้อจนใช้เวลานาน แต่ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาเรื่องการไม่ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เพราะรัฐบาลได้เดินหน้าทำอย่างเต็มที่แล้ว และไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายหรือนองเลือดขึ้นอีก จึงเป็นเรื่องสุดวิสัยที่ไม่สามารถกระทำตามนโยบายรัฐบาลได้ จึงไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ที่มา.หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการ 13 ชุด แยกสอบจีที 200 - อัลฟา 6.
นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการป.ป.ช.ได้มติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงคดีตรวจสอบกรณีการทุจริตจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัย จีที 200 และอัลฟา 6 ภายหลังที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้สรุปส่งสำนวนการสอบสวนมาให้สำนักไต่สวนคดีทุจริตภาครัฐ ป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.54 เลขที่ ยธ.0800/10 ซึ่งดีเอสไอสรุปผลการสืบสวนสอบสวน ภายหลังมีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดีเอสไอตรวจสอบตั้งแต่ ปี 53 ซึ่งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นพบว่า เจ้าหน้าที่รัฐปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุต้องสงสัยทั้ง 2 ประเภท ทั้งการจัดซื้อในราคาแพงเกินจริง และฮั้วประมูล ซึ่งตามระเบียบราชพัสดุของสำนักนายกฯการจัดซื้อเครื่องมือใดๆจะต้องไม่แพงเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดราคากลาง แต่กลายเป็นแต่ละหน่วยงานต่างคนต่างจัดซื้อกันเอง
นายวิชา กล่าวอีกว่า หนังสือของดีเอสไอยังได้แยกประเด็นระบุถึง 13 หน่วยงานของภาครัฐ ที่มีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัดวัตถุระเบิดดังกล่าว ประกอบด้วย กรมการปกครองที่ได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 63 เครื่อง จังหวัดยะลา จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 17 ชุด เทศบาลนครภูเก็ต จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 2 เครื่อง จังหวัดพิษณุโลก 1 เครื่องและเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ สถานีตำรวจภูธร จ.ชัยนาท จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 1 ชุด กรมศุลากรจัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 6 เครื่อง กรมสรรพาวุธ จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 757 เครื่อง ศูนย์รักษาความปลอดภัย(ศรภ.)จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 8 เครื่อง สำนักป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 10 เครื่อง และต่อมาภายหลังได้มีการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพิ่มอีก 5 เครื่อง สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ทยอยจัดซื้อเครื่องมือจีที 200 จำนวน 7 เครื่อง และต่อมาได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 อีก 2 เครื่อง สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรีจัดซื้อจีที 200 จำนวน 2 เครื่อง รวมงบประมาณที่หน่วยงานรัฐได้ใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือทั้งสองประเภทจำนวน 683 ล้านบาท
กรรมการป.ป.ช. กล่าวอีกว่า คณะกรรมการป.ป.ช.มีความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวมีถึง 13 หน่วย ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบในแต่ละหน่วยงานจำนวน 13 ชุด เพื่อเร่งรัดให้มีการทำคดีอย่างต่อเนื่อง เพราะถือเป็นคดีใหญ่และมีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก โดยในวันที่ 26 ก.ค. นี้ กรรมการป.ป.ช.จะนัดหารือเพื่อพิจารณาว่า จะมอบหมายให้ใครจะรับผิดชอบเรื่องใดบ้าง หรืออาจมีความเป็นไปได้ว่ากรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่จะรับไว้พิจารณาเอง นอกจากนี้ป.ป.ช.ต้องขอข้อมูลจากประเทศอังกฤษ เนื่องจากอัยการประเทศอังกฤษได้ดำเนินคดีกับนายจิม แมกคอร์มิก เจ้าของธุรกิจเครื่องมือตรวจดักระเบิดจีที 200 เพื่อนำรายละเอียดมาประกอบการพิจารณาไต่สวนคดีต่อไป
นายวิชา กล่าวต่อว่า ส่วนการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 นั้น เบื้องต้นป.ป.ช.ได้รับข้อมูลการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้ส่งผลการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวของสำนักนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมมาให้แล้ว แต่กรรมการฯยังไม่ได้ดูรายละเอียดดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร และหากมติที่ประชุมเห็นว่าควรจะให้รวมเป็นเรื่องใหญ่เรื่องเดียวกับสำนวนที่ดีเอสไอสรุปส่งมาให้ก็คงต้องรวม
ที่มา.เนชั่น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นายวิชา กล่าวอีกว่า หนังสือของดีเอสไอยังได้แยกประเด็นระบุถึง 13 หน่วยงานของภาครัฐ ที่มีการจัดซื้อเครื่องตรวจวัดวัตถุระเบิดดังกล่าว ประกอบด้วย กรมการปกครองที่ได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 63 เครื่อง จังหวัดยะลา จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 17 ชุด เทศบาลนครภูเก็ต จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 2 เครื่อง จังหวัดพิษณุโลก 1 เครื่องและเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ สถานีตำรวจภูธร จ.ชัยนาท จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 1 ชุด กรมศุลากรจัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 6 เครื่อง กรมสรรพาวุธ จัดซื้อเครื่องจีที 200 จำนวน 757 เครื่อง ศูนย์รักษาความปลอดภัย(ศรภ.)จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 8 เครื่อง สำนักป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) จัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 จำนวน 10 เครื่อง และต่อมาภายหลังได้มีการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเพิ่มอีก 5 เครื่อง สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ทยอยจัดซื้อเครื่องมือจีที 200 จำนวน 7 เครื่อง และต่อมาได้มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟา 6 อีก 2 เครื่อง สถานีตำรวจภูธรจังหวัดสิงห์บุรีจัดซื้อจีที 200 จำนวน 2 เครื่อง รวมงบประมาณที่หน่วยงานรัฐได้ใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือทั้งสองประเภทจำนวน 683 ล้านบาท
กรรมการป.ป.ช. กล่าวอีกว่า คณะกรรมการป.ป.ช.มีความเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวมีถึง 13 หน่วย ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อตรวจสอบในแต่ละหน่วยงานจำนวน 13 ชุด เพื่อเร่งรัดให้มีการทำคดีอย่างต่อเนื่อง เพราะถือเป็นคดีใหญ่และมีมูลค่าความเสียหายจำนวนมาก โดยในวันที่ 26 ก.ค. นี้ กรรมการป.ป.ช.จะนัดหารือเพื่อพิจารณาว่า จะมอบหมายให้ใครจะรับผิดชอบเรื่องใดบ้าง หรืออาจมีความเป็นไปได้ว่ากรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่จะรับไว้พิจารณาเอง นอกจากนี้ป.ป.ช.ต้องขอข้อมูลจากประเทศอังกฤษ เนื่องจากอัยการประเทศอังกฤษได้ดำเนินคดีกับนายจิม แมกคอร์มิก เจ้าของธุรกิจเครื่องมือตรวจดักระเบิดจีที 200 เพื่อนำรายละเอียดมาประกอบการพิจารณาไต่สวนคดีต่อไป
นายวิชา กล่าวต่อว่า ส่วนการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 นั้น เบื้องต้นป.ป.ช.ได้รับข้อมูลการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ได้ส่งผลการตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวของสำนักนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมมาให้แล้ว แต่กรรมการฯยังไม่ได้ดูรายละเอียดดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร และหากมติที่ประชุมเห็นว่าควรจะให้รวมเป็นเรื่องใหญ่เรื่องเดียวกับสำนวนที่ดีเอสไอสรุปส่งมาให้ก็คงต้องรวม
ที่มา.เนชั่น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ไทย-พม่า ควงแขน สู้เศรษฐกิจโลก !!?
หงส์สีทอง ถูกแกะสลักอย่างสวยงามตั้งตระหง่านหันหน้าเข้าหารูปปั้นยักษ์บริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคารศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การ หันหน้าเข้าหากันระหว่างไทยกับพม่า
เพื่อร่วมมือด้านโลจิสติกส์รองรับการเชื่อมโยงกับภูมิภาค ในโอกาสที่ “นายเต็ง เส่ง” ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน์มาร์เดินทางตรวจเยี่ยมชมท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
“นายเต็ง เส่ง” เดินทางถึงอาคารศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 เวลาประมาณ 15.15 น.โดยมีม.ร.ว.พงศ์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายจาตุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ให้การต้อนรับหลังจากเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายกับพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีสเทิร์น ซีบอร์ด) และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวาย-ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นมิติใหม่ด้านการค้าการลงทุนของไทย เชื่อว่าจะสามารถลดสัดส่วนต้นทุนระบบขนส่งที่ปัจจุบันอยู่ที่ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลงได้ รวมถึงช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งจากฝั่งจะวันออกที่อ่าวไทย ซึ่งมีสินค้าจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีกระจายไปฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ตะวันออกกกลาง แอฟริกา และยุโรป ได้ครึ่งหนึ่ง ก็จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร และน้ำตาล
และเพื่อรองรับการเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ได้เตรียมแผนก่อสร้างมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร และช่วงกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ไว้รองรับแล้ว รวมถึงเส้นทางรถไฟ นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจชายแดนด้วย
“มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างการรอเวนคืนที่ถ้าแล้วเสร็จก็จะเปิดประมูลได้ทันทีด้วยวิธี PPP จากนั้นก็จะเริ่มก่อสร้างสายกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน เป็นลำดับต่อไป” นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าว
ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง และคณะตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบังเพื่อสำรวจความพร้อมของระบบขนส่ง เตรียมผลักดันการเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือทวายในพม่ากับท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว สำหรับกนอ.อยู่ระหว่างศึกษานิคมอุตสาหกรรมพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรองรับการเปิดท่าเรือน้ำลึกทวาย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน
นายอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า การเดินทางมาท่าเรือแหลมฉบังของคณะประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ครั้งนี้ เพื่อร่วมมือการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งจะมีการร่วมกันพัฒนาและกระตุ้นนักลงทุนไทยและนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย สำหรับนักลงทุนมีความสนใจไปลงทุนที่พม่าจำนวนมาก โดยเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้าไปจับคู่ธุรกิจในย่างกุ้ง จำนวน 100 ราย และในเดือนกรกฎาคม นี้ก็จะมีบริษัทคนไทย 50 แห่งเข้าไปย่างกุ้ง ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุนไทยทางบีโอไอมีแผนจะเข้าไปตั้งสำนักงานบีโอไอที่ย่างกุ้งในเร็วๆ นี้
ภายหลังการเดินทางไปหอบังคับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง “นายเต็ง เส่ง” ได้ให้ความสนใจท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังมาก โดยได้สอบถามถึงรูปแบบการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งสามารถเอาไปเป็นตัวอย่างการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายได้ส่วนหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก หรือ อิสเทิร์น ซีบอร์ด ที่มีการลงทุนอุตสาหกรรมต่างๆ ของ 7 นิคมอุตสาหกรรม การตัดถนน และเส้นทางรถไฟ จะต้องพัฒนาควบคู่กันไป
จากนี้ไปต้องจับตาการจับมือเดินไปพร้อมกันระหว่างไทยกับพม่า ภายหลัง “เต็ง เส่ง” เข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือขยายความร่วมมือด้านพลังงาน การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย เส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างอีสเทิร์น ซีบอร์ดกับเวสต์เทิร์น ซีบอร์ด เพื่อก้าวไปสู่สะพานเศรษฐกิจ และศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของโลก
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เพื่อร่วมมือด้านโลจิสติกส์รองรับการเชื่อมโยงกับภูมิภาค ในโอกาสที่ “นายเต็ง เส่ง” ประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน์มาร์เดินทางตรวจเยี่ยมชมท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
“นายเต็ง เส่ง” เดินทางถึงอาคารศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 เวลาประมาณ 15.15 น.โดยมีม.ร.ว.พงศ์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายจาตุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ให้การต้อนรับหลังจากเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน ที่โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค โดยเฉพาะการเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายกับพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีสเทิร์น ซีบอร์ด) และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวาย-ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นมิติใหม่ด้านการค้าการลงทุนของไทย เชื่อว่าจะสามารถลดสัดส่วนต้นทุนระบบขนส่งที่ปัจจุบันอยู่ที่ 15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลงได้ รวมถึงช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งจากฝั่งจะวันออกที่อ่าวไทย ซึ่งมีสินค้าจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีกระจายไปฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็นอินเดีย ตะวันออกกกลาง แอฟริกา และยุโรป ได้ครึ่งหนึ่ง ก็จะเป็นประโยชน์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร และน้ำตาล
และเพื่อรองรับการเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ได้เตรียมแผนก่อสร้างมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร และช่วงกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน ระยะทาง 70 กิโลเมตร ไว้รองรับแล้ว รวมถึงเส้นทางรถไฟ นิคมอุตสาหกรรม และเขตเศรษฐกิจชายแดนด้วย
“มอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างการรอเวนคืนที่ถ้าแล้วเสร็จก็จะเปิดประมูลได้ทันทีด้วยวิธี PPP จากนั้นก็จะเริ่มก่อสร้างสายกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน เป็นลำดับต่อไป” นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าว
ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง และคณะตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบังเพื่อสำรวจความพร้อมของระบบขนส่ง เตรียมผลักดันการเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือทวายในพม่ากับท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว สำหรับกนอ.อยู่ระหว่างศึกษานิคมอุตสาหกรรมพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรองรับการเปิดท่าเรือน้ำลึกทวาย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน
นายอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่า การเดินทางมาท่าเรือแหลมฉบังของคณะประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ครั้งนี้ เพื่อร่วมมือการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งจะมีการร่วมกันพัฒนาและกระตุ้นนักลงทุนไทยและนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย สำหรับนักลงทุนมีความสนใจไปลงทุนที่พม่าจำนวนมาก โดยเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้าไปจับคู่ธุรกิจในย่างกุ้ง จำนวน 100 ราย และในเดือนกรกฎาคม นี้ก็จะมีบริษัทคนไทย 50 แห่งเข้าไปย่างกุ้ง ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุนไทยทางบีโอไอมีแผนจะเข้าไปตั้งสำนักงานบีโอไอที่ย่างกุ้งในเร็วๆ นี้
ภายหลังการเดินทางไปหอบังคับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง “นายเต็ง เส่ง” ได้ให้ความสนใจท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังมาก โดยได้สอบถามถึงรูปแบบการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งสามารถเอาไปเป็นตัวอย่างการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายได้ส่วนหนึ่ง รวมถึงการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก หรือ อิสเทิร์น ซีบอร์ด ที่มีการลงทุนอุตสาหกรรมต่างๆ ของ 7 นิคมอุตสาหกรรม การตัดถนน และเส้นทางรถไฟ จะต้องพัฒนาควบคู่กันไป
จากนี้ไปต้องจับตาการจับมือเดินไปพร้อมกันระหว่างไทยกับพม่า ภายหลัง “เต็ง เส่ง” เข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้หารือขยายความร่วมมือด้านพลังงาน การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย เส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างอีสเทิร์น ซีบอร์ดกับเวสต์เทิร์น ซีบอร์ด เพื่อก้าวไปสู่สะพานเศรษฐกิจ และศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ของโลก
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไขทางออก : วิกฤติ รธน. ประชามติ ดับไฟการเมือง !!?
วาระร้อน!! ว่าด้วย “ศึกแก้รัฐธรรมนูญ” ดูท่าจะ ยืดเยื้อและบานปลาย หลังฝ่ายผู้ถูกร้องเริ่มออกอาการงัดข้อ กันเอง จนกลายเป็น “วิวาทะ” ระหว่าง “ขุมข่ายอำนาจรัฐ” กับ “ฝ่ายนิติบัญญัติ” ซึ่งต่างมีปม ปัญหาขัดแย้งในเรื่องการลงมติ “วาระ 3” ที่ฝ่ายหนึ่ง แนะให้เดินหน้าต่อไป โดยไม่สนใจ “คำวินิจฉัย” หรือการที่อีกฝ่าย ชี้ให้ “ค่อยเป็นค่อยไป” แก้ทีละ มาตราตาม “ข้อเสนอแนะ” ของศาลรัฐธรรมนูญ
เมื่อดูจากอาการ “เสี้ยนตำคอ” ระหว่างเหล่าเสนาบดีแห่งรัฐ และทีมยุทธ ศาสตร์ในมุ้งค่ายเพื่อไทย ต่างมี “มุมความ คิด” ที่แปลกแยกกันไป เกี่ยวกับคำวินิจฉัย ใน 4 ประเด็น ตลอดจน “ข้อเสนอแนะ” ซึ่งอีกฝ่ายมองว่าเป็นการ “มัดมือชก” โดยคณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ผลวินิจฉัยอันเป็นที่สุดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสมือนหนึ่ง เป็นการ “ขุดหลุมพราง” เอาไว้ล่อฝ่ายการเมือง-นิติบัญญัติ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ยัง “ไม่สะเด็ดน้ำ” ทิ้งปม “ข้อเสนอแนะ” ไว้ให้แตกผลึกกันต่อไปว่า... ถ้อยคำที่ศาล
รธน.ชี้ว่า ควรจะทำประชามติถามประชาชน ก่อน หมายถึงอย่างไรกันแน่?!!
โดยเฉพาะในข้อ 2 ที่ศาล รธน. อ้าง ถึงหลักการ “อำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นของประชาชน” ซึ่งที่ผ่านมาแสดงออก โดยการลงประชามติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2550 มากถึง 15 ล้านเสียง หากจะแก้ไขควรผ่านการลงประชามติ และหากจะแก้ก็ควรแก้เป็นรายมาตรา ไม่เป็นการแก้ทั้งฉบับ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่าย ล้มล้างการปกครอง
แต่การที่ศาลไม่ได้ชี้ชัดว่า การลงประชามติควรกระทำเมื่อไหร่ ในขั้นตอนไหน ลงประชามติในหลักการใหญ่เลยว่าสมควรจะแก้หรือไม่แก้... หรือให้ลงประชามติในหลักการสำคัญๆ เป็นประเด็นไป
เช่นที่ว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของที่ประชุม “รัฐสภา” ว่าจะ “เลือก” โดย ยึดหลักอะไรเป็นบรรทัดฐานรองรับ ซึ่งหาก ยึดหลักการถ่วงดุลและแบ่งแยกอำนาจ กำหนดขอบเขตอำนาจแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน หรือชี้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ไม่ควรก้าว “ล้ำเส้นอำนาจ” การบัญญัติกฎหมายของรัฐสภา ก็ให้เลือกแนวทางเดินหน้า “ลงมติ” ให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ “วาระ 3”
ในทางกลับกัน หากเลือกหลักการบริหารจัดการให้เกิดความเรียบร้อย ลดความขัดแย้ง และบรรลุเป้าหมายที่ต้อง การในที่สุด ก็ควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญ ตกไป ไม่ต้องนำขึ้นมาให้ความเห็นชอบวาระ 3 แล้วเริ่มต้นกระบวนการแก้ไขราย มาตรา โดยกระบวนการรัฐสภาเอง มิต้อง มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา
แต่หาก “เลือก” แนวทางนี้ โดยแก้ เป็นรายมาตราตามข้อเสนอแนะของศาล รธน. ยิ่งแน่ชัดว่าจะมีการ “ลากประเด็น” หรือ “ตีรวน” โดยฝ่ายคัดค้าน ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้อออกไปอีก แต่ก็เชื่อว่าด้วย “เสียงข้างมาก” ย่อมจะเอา ชนะได้ไม่ยาก เมื่อมีการยกมือโหวต!
ปัญหามีอยู่ว่า...หากรัฐบาลเลือกแนวทางนี้ ก็อาจถูก “ซีกฝ่ายค้าน” นำเอา คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาที่ระบุไว้ว่า “จะมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ ขึ้นมายก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” เอามาโจมตีซึ่งรัฐบาลสามารถอธิบายเหตุผลความเปลี่ยนแปลง โดยอ้างถึงคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้
ทว่า...ปัญหาข้อถกเถียงเพื่อหาทางออกก็ยังไม่ตกไป เพราะคงมีประเด็นว่าด้วยการทำประชามติ ค้างคาอยู่อีก! ไม่ว่าจะทำประชามติก่อนยกร่างเป็น รายมาตรา หรือประชามติในหลักใหญ่เพียงประเด็นเดียวว่า...ควรแก้หรือไม่ควร แก้ หรือไม่ก็ให้ “รัฐสภา” ลงมติในวาระ 3 แล้วค่อยลงประชามติ หากประชาชนจำนวนมากกว่าครึ่งเห็นอย่างไร ก็ให้มีผลตามนั้น
ทำให้เกิดข้อกังขาที่ว่า...ใครจะเป็นผู้ทำประชามติ รัฐบาล รัฐสภา หรือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้รับเอาไปทำ และมีคำถามต่อมาว่า จะทำได้หรือไม่...เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้
แต่เหนืออื่นใด การที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ “คำแนะนำ” ซึ่งมิใช่เป็น “คำสั่ง” แต่เมื่อไม่ชี้ให้ชัดเจนถึงกระบวนการที่จะดำเนินต่อไป ปล่อยให้ผู้มีส่วนได้-เสีย ทั้งรัฐบาลและรัฐสภาไปว่ากันเอง ก็ยิ่งทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย จนไร้ซึ่งทางออก
ท้ายที่สุด ก็มีคำถามตามมาว่า... กลไกนิติบัญญัติและรัฐบาลจะ “เลือก” แนวทางไหน เพื่อเป็น “ทางออก” ของประเทศไทย ภายใต้วิกฤติแห่งรัฐธรรมนูญ?!! เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการ ส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย โดยมีเนื้อหาสรุปเอา ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
“ข้อแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้ประชาชนลงประชามติก่อน ส่งผลให้มีการ วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงในด้านวิชาการว่า ศาลรัฐธรรมนูญตั้งประเด็นและวินิจฉัยเกินเลยไปจากมาตรา 68 หรือไม่ การลงประชามติต้องทำในขั้นตอนใด ข้อแนะนำดังกล่าวมีผลผูกพันต่อฝ่ายที่เกี่ยว ข้องแค่ไหนเพียงใด ซึ่งต้องรอศึกษารายละเอียดคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตน แต่ที่มีความเห็นเป็น 3 แนวทาง คือ รัฐสภาควรเดินหน้าลงมติในวาระสาม ต่อไป หรือควรชะลอเอาไว้ก่อนเพื่อไปดำเนิน การออกเสียงประชามติก่อน หรือปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป แล้วไปดำเนิน การแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งเห็นว่าการดำเนินการตามแนวทางที่ 1 แม้จะกระทำ ได้โดยชอบตามกฎหมาย แต่แนวทางนี้อาจเป็นชนวนหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดความ วุ่นวายในบ้านเมืองไม่จบสิ้น”
ส่วนแนวทางที่ 2 ก็ไม่มีความชัดเจน เพราะยังไม่มีร่างให้ประชาชนพิจารณาเปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจลงประชามติ ซึ่ง จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เหมือนกรณีการลง ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ2550 ที่ให้ประชาชนเลือกระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ 50 กับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ขณะที่แนวทางที่ 3 คงต้องใช้เวลานานมาก และไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเสร็จเมื่อใด จึงมีข้อเสนอว่า รัฐสภาควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญที่รอลงมติในวาระที่สามตกไป เพื่อไปดำเนินการออกเสียงประชามติ โดยกำหนดหัว ข้อให้ชัดเจน คือให้ประชาชนมีตัวเลือกว่าหากไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว รัฐบาลจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับปรุงแก้ไข และประกาศใช้บังคับแทน ซึ่งเห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก หากประชาชนลงประชามติไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 ก็จะนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไขตามกระบวนการมาตรา 291 จากนั้นให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้งก่อนประกาศใช้บังคับ
การที่นำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก เพราะเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีความก้าวหน้าและเป็นเสรีนิยม ยึดโยงกับภาคประชาชนที่สำคัญยังถูกร่างขึ้นภายหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสประชาธิปไตยกำลังเบ่ง บาน ขณะเดียวกันยังมีการบัญญัติถึงที่มา องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการตุลาการ เป็นผู้เลือกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ หากเสียงข้างมากว่าเห็นควรใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อไปก็เป็นอันยุติ ไม่ต้องดำเนินการอันใดต่อไปอีก เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาเท่านั้น
แต่หากเสียงข้างมากเห็นควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไข ก็ให้ ดำเนินการยกร่างเช่นเดียวกันกับปี 2517 คือให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างโดยใช้แนว ทางปี 2517 มาเป็นหลัก เสร็จแล้วก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาตามกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ต่อไป
เมื่อรัฐสภาลงมติวาระแรกก็ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ส.ส.และ ส.ว.ในสัดส่วน จำนวนที่เหมาะสมจากนั้นจัดรับฟังความเห็นจากประชาชนโดยเปิดเผย และโปร่งใส ถ่ายทอดทางโทรทัศน์วิทยุ หรือสื่ออื่น ให้ประชาชนรับรู้ เมื่อพิจารณาในวาระสองเสร็จแล้วให้รอ 15 วัน จากนั้นจึงลงมติใน วาระสาม และนำไปสู่การออกเสียงลงประชามติ จากนั้นนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้บังคับต่อไป
หากดำเนินการตามแนวทางนี้จะแล้วเสร็จภายในไม่เกิน 15 เดือน หรือ 450 วันถึงจะต้องลงประชามติ 2 ครั้ง บางคนอาจมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบ ประมาณโดยใช่เหตุ แต่แนวทางนี้จะสิ้น เปลืองน้อยกว่าการจัดตั้งสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่นอกจากต้องเสียการ ใช้จ่ายเลือกตั้ง ส.ส.ร. ยังมีเงินเดือน และงบไปจัดทำประชามติอีก ที่สำคัญแนวทางที่เสนอ จะทำให้รัฐธรรมนูญได้ รับการยอมรับจากบุคคลทุกฝ่ายทุกสี และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับข้อแนะ นำของศาลรัฐธรรมนูญด้วย...!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เมื่อดูจากอาการ “เสี้ยนตำคอ” ระหว่างเหล่าเสนาบดีแห่งรัฐ และทีมยุทธ ศาสตร์ในมุ้งค่ายเพื่อไทย ต่างมี “มุมความ คิด” ที่แปลกแยกกันไป เกี่ยวกับคำวินิจฉัย ใน 4 ประเด็น ตลอดจน “ข้อเสนอแนะ” ซึ่งอีกฝ่ายมองว่าเป็นการ “มัดมือชก” โดยคณะตุลาการภิวัฒน์ นั่นยิ่งทำให้ผลวินิจฉัยอันเป็นที่สุดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสมือนหนึ่ง เป็นการ “ขุดหลุมพราง” เอาไว้ล่อฝ่ายการเมือง-นิติบัญญัติ เพราะเป็นคำวินิจฉัยที่ยัง “ไม่สะเด็ดน้ำ” ทิ้งปม “ข้อเสนอแนะ” ไว้ให้แตกผลึกกันต่อไปว่า... ถ้อยคำที่ศาล
รธน.ชี้ว่า ควรจะทำประชามติถามประชาชน ก่อน หมายถึงอย่างไรกันแน่?!!
โดยเฉพาะในข้อ 2 ที่ศาล รธน. อ้าง ถึงหลักการ “อำนาจการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นของประชาชน” ซึ่งที่ผ่านมาแสดงออก โดยการลงประชามติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญ 2550 มากถึง 15 ล้านเสียง หากจะแก้ไขควรผ่านการลงประชามติ และหากจะแก้ก็ควรแก้เป็นรายมาตรา ไม่เป็นการแก้ทั้งฉบับ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่าย ล้มล้างการปกครอง
แต่การที่ศาลไม่ได้ชี้ชัดว่า การลงประชามติควรกระทำเมื่อไหร่ ในขั้นตอนไหน ลงประชามติในหลักการใหญ่เลยว่าสมควรจะแก้หรือไม่แก้... หรือให้ลงประชามติในหลักการสำคัญๆ เป็นประเด็นไป
เช่นที่ว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของที่ประชุม “รัฐสภา” ว่าจะ “เลือก” โดย ยึดหลักอะไรเป็นบรรทัดฐานรองรับ ซึ่งหาก ยึดหลักการถ่วงดุลและแบ่งแยกอำนาจ กำหนดขอบเขตอำนาจแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน หรือชี้ว่า “ศาลรัฐธรรมนูญ” ไม่ควรก้าว “ล้ำเส้นอำนาจ” การบัญญัติกฎหมายของรัฐสภา ก็ให้เลือกแนวทางเดินหน้า “ลงมติ” ให้ความเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ “วาระ 3”
ในทางกลับกัน หากเลือกหลักการบริหารจัดการให้เกิดความเรียบร้อย ลดความขัดแย้ง และบรรลุเป้าหมายที่ต้อง การในที่สุด ก็ควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญ ตกไป ไม่ต้องนำขึ้นมาให้ความเห็นชอบวาระ 3 แล้วเริ่มต้นกระบวนการแก้ไขราย มาตรา โดยกระบวนการรัฐสภาเอง มิต้อง มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา
แต่หาก “เลือก” แนวทางนี้ โดยแก้ เป็นรายมาตราตามข้อเสนอแนะของศาล รธน. ยิ่งแน่ชัดว่าจะมีการ “ลากประเด็น” หรือ “ตีรวน” โดยฝ่ายคัดค้าน ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้อออกไปอีก แต่ก็เชื่อว่าด้วย “เสียงข้างมาก” ย่อมจะเอา ชนะได้ไม่ยาก เมื่อมีการยกมือโหวต!
ปัญหามีอยู่ว่า...หากรัฐบาลเลือกแนวทางนี้ ก็อาจถูก “ซีกฝ่ายค้าน” นำเอา คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาที่ระบุไว้ว่า “จะมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ ขึ้นมายก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” เอามาโจมตีซึ่งรัฐบาลสามารถอธิบายเหตุผลความเปลี่ยนแปลง โดยอ้างถึงคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้
ทว่า...ปัญหาข้อถกเถียงเพื่อหาทางออกก็ยังไม่ตกไป เพราะคงมีประเด็นว่าด้วยการทำประชามติ ค้างคาอยู่อีก! ไม่ว่าจะทำประชามติก่อนยกร่างเป็น รายมาตรา หรือประชามติในหลักใหญ่เพียงประเด็นเดียวว่า...ควรแก้หรือไม่ควร แก้ หรือไม่ก็ให้ “รัฐสภา” ลงมติในวาระ 3 แล้วค่อยลงประชามติ หากประชาชนจำนวนมากกว่าครึ่งเห็นอย่างไร ก็ให้มีผลตามนั้น
ทำให้เกิดข้อกังขาที่ว่า...ใครจะเป็นผู้ทำประชามติ รัฐบาล รัฐสภา หรือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้รับเอาไปทำ และมีคำถามต่อมาว่า จะทำได้หรือไม่...เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้
แต่เหนืออื่นใด การที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ “คำแนะนำ” ซึ่งมิใช่เป็น “คำสั่ง” แต่เมื่อไม่ชี้ให้ชัดเจนถึงกระบวนการที่จะดำเนินต่อไป ปล่อยให้ผู้มีส่วนได้-เสีย ทั้งรัฐบาลและรัฐสภาไปว่ากันเอง ก็ยิ่งทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย จนไร้ซึ่งทางออก
ท้ายที่สุด ก็มีคำถามตามมาว่า... กลไกนิติบัญญัติและรัฐบาลจะ “เลือก” แนวทางไหน เพื่อเป็น “ทางออก” ของประเทศไทย ภายใต้วิกฤติแห่งรัฐธรรมนูญ?!! เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการ ส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย โดยมีเนื้อหาสรุปเอา ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง
“ข้อแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้ประชาชนลงประชามติก่อน ส่งผลให้มีการ วิพากษ์วิจารณ์ และถกเถียงในด้านวิชาการว่า ศาลรัฐธรรมนูญตั้งประเด็นและวินิจฉัยเกินเลยไปจากมาตรา 68 หรือไม่ การลงประชามติต้องทำในขั้นตอนใด ข้อแนะนำดังกล่าวมีผลผูกพันต่อฝ่ายที่เกี่ยว ข้องแค่ไหนเพียงใด ซึ่งต้องรอศึกษารายละเอียดคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตน แต่ที่มีความเห็นเป็น 3 แนวทาง คือ รัฐสภาควรเดินหน้าลงมติในวาระสาม ต่อไป หรือควรชะลอเอาไว้ก่อนเพื่อไปดำเนิน การออกเสียงประชามติก่อน หรือปล่อยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไป แล้วไปดำเนิน การแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งเห็นว่าการดำเนินการตามแนวทางที่ 1 แม้จะกระทำ ได้โดยชอบตามกฎหมาย แต่แนวทางนี้อาจเป็นชนวนหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดความ วุ่นวายในบ้านเมืองไม่จบสิ้น”
ส่วนแนวทางที่ 2 ก็ไม่มีความชัดเจน เพราะยังไม่มีร่างให้ประชาชนพิจารณาเปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจลงประชามติ ซึ่ง จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เหมือนกรณีการลง ประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ2550 ที่ให้ประชาชนเลือกระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ 50 กับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ขณะที่แนวทางที่ 3 คงต้องใช้เวลานานมาก และไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเสร็จเมื่อใด จึงมีข้อเสนอว่า รัฐสภาควรปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญที่รอลงมติในวาระที่สามตกไป เพื่อไปดำเนินการออกเสียงประชามติ โดยกำหนดหัว ข้อให้ชัดเจน คือให้ประชาชนมีตัวเลือกว่าหากไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 แล้ว รัฐบาลจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดมาปรับปรุงแก้ไข และประกาศใช้บังคับแทน ซึ่งเห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก หากประชาชนลงประชามติไม่เอารัฐธรรมนูญ 2550 ก็จะนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไขตามกระบวนการมาตรา 291 จากนั้นให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้งก่อนประกาศใช้บังคับ
การที่นำรัฐธรรมนูญ 2517 มาเป็นตัวเลือก เพราะเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีความก้าวหน้าและเป็นเสรีนิยม ยึดโยงกับภาคประชาชนที่สำคัญยังถูกร่างขึ้นภายหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นช่วงที่กระแสประชาธิปไตยกำลังเบ่ง บาน ขณะเดียวกันยังมีการบัญญัติถึงที่มา องค์ประกอบและการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการตุลาการ เป็นผู้เลือกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ หากเสียงข้างมากว่าเห็นควรใช้บังคับรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อไปก็เป็นอันยุติ ไม่ต้องดำเนินการอันใดต่อไปอีก เว้นแต่การแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาเท่านั้น
แต่หากเสียงข้างมากเห็นควรนำรัฐธรรมนูญ 2517 มาปรับปรุงแก้ไข ก็ให้ ดำเนินการยกร่างเช่นเดียวกันกับปี 2517 คือให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมายกร่างโดยใช้แนว ทางปี 2517 มาเป็นหลัก เสร็จแล้วก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาตามกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 291 ต่อไป
เมื่อรัฐสภาลงมติวาระแรกก็ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ส.ส.และ ส.ว.ในสัดส่วน จำนวนที่เหมาะสมจากนั้นจัดรับฟังความเห็นจากประชาชนโดยเปิดเผย และโปร่งใส ถ่ายทอดทางโทรทัศน์วิทยุ หรือสื่ออื่น ให้ประชาชนรับรู้ เมื่อพิจารณาในวาระสองเสร็จแล้วให้รอ 15 วัน จากนั้นจึงลงมติใน วาระสาม และนำไปสู่การออกเสียงลงประชามติ จากนั้นนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้บังคับต่อไป
หากดำเนินการตามแนวทางนี้จะแล้วเสร็จภายในไม่เกิน 15 เดือน หรือ 450 วันถึงจะต้องลงประชามติ 2 ครั้ง บางคนอาจมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองงบ ประมาณโดยใช่เหตุ แต่แนวทางนี้จะสิ้น เปลืองน้อยกว่าการจัดตั้งสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่นอกจากต้องเสียการ ใช้จ่ายเลือกตั้ง ส.ส.ร. ยังมีเงินเดือน และงบไปจัดทำประชามติอีก ที่สำคัญแนวทางที่เสนอ จะทำให้รัฐธรรมนูญได้ รับการยอมรับจากบุคคลทุกฝ่ายทุกสี และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับข้อแนะ นำของศาลรัฐธรรมนูญด้วย...!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
คิดถึงขงเบ้ง !!?
ขงเบ้ง...เป็นใคร..คาดหมายได้ว่า..คนไทยทุกคนคงรู้ว่าขงเบ้งเป็นใคร...มากกว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในวันนี้
ขงเบ้ง..เป็นนักพิชัยสงคราม..รอบรู้เชี่ยวชาญในสารพัดปัญหา..เขาจึงถูกเรียกว่า..ผู้หยั่งรู้ดินฟ้า
ขงเบ้ง..กล่าวถึง..ยอดขุนพล..หรือคนที่จะเป็นยอดขุนพลว่า...ให้รับฟังความเห็นของคนทุกฝ่าย..รวบรวมปัญญาของมวลชน..คิดให้ถ้วนถึงทางได้ทางเสีย..
ขุนพล...ต้องมี “ผู้ที่มีความรู้กว้างและปัญญาหลักแหลม” มาไว้เป็น “คู่หู”
“เก่งวาทะ มีถ้อยคำแหลมคมพรั่งพรูมาโดยไม่ขาดสาย ดุจสายน้ำที่หลั่งไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ มีกลเม็ดเด็ดพรายอันสุดคาด” ..เป็นที่ปรึกษาชั้นสูง
“ห้าวหาญคล่องแคล่วสรรพาวุธศาสตรา แข็งแกร่งดุจดั่งศิลา ลีลาสู้รบดั่งมังกรเหิรหาว”..เป็นที่ปรึกษาชั้นกลาง
“ผู้ชอบแสดงความเห็นต่าง ถูกต้องบ้างไม่ถูกต้องบ้าง” เป็นที่ปรึกษาชั้นต่ำ..
เรื่องราวของบ้านเราในวันนี้..เพราะยอดขุนพลทั้งหลาย..ที่เป็นหลักแห่งแผ่นดิน..ล้วนแต่มีคู่หูลูกคู่..ที่เชี่ยวชาญแต่การประจบสอพลอ..ขาดความรู้จริงในศาสตร์ปราศจากรูปแบบของศิลปะ..เกาะเกี่ยวเพื่อเอาไปทำมาหากินอย่างมูมมาม
ใช้วาจาและสติปัญญาเพื่อความร้าวฉาน..รักบ้านมากกว่าเมือง ดูแต่เรื่องตัวเองเป็นใหญ่..ไม่ใส่ใจในเรื่องความเดือดร้อนยากจนของมวลชน..
ธรรมชาติของบ้านเมืองอันเป็นแหล่งแห่งหนที่มีคนอยู่มากอยู่อาศัย..ย่อมมากมายไปด้วยเรื่องราวความขัดแย้ง..เมื่อยอดขุนพลคนดูแลแผ่นดิน..กลายเป็นปัญหาเสียเอง..แผ่นดินก็ย่อมเร่าร้อนดังไฟ..
เหลือบแลไปทางไหนก็ไร้สิ่งจำเริญหูเจริญตา...ประกอบกับสติปัญญาของที่ปรึกษาคู่หูก็คับแคบไม่กว้างใหญ่..เห็นใกล้ไม่เห็นไกล..จิตใจสับสนไร้พลังขาดสมาธิ...เป็นนกอินทรีไปไล่จิกตีอยู่กับนกกระจอก..ฯลฯ
มองขึ้นไปในกลุ่มผู้ดูแล..ที่สุกปลั่งดั่งทองกลับเป็นสีทาฉาบ..ที่เห็นเป็นขุนเขาเบื้องหน้ากลายเป็นเมฆหนากลุ่มฝน..ผู้คุ้มครองกลับลี้หาย ผู้คุมภัยกับเป็นอันตรายซะเอง..
แล้วจะอยู่กันอย่างไร...ไทยเรา
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ขงเบ้ง..เป็นนักพิชัยสงคราม..รอบรู้เชี่ยวชาญในสารพัดปัญหา..เขาจึงถูกเรียกว่า..ผู้หยั่งรู้ดินฟ้า
ขงเบ้ง..กล่าวถึง..ยอดขุนพล..หรือคนที่จะเป็นยอดขุนพลว่า...ให้รับฟังความเห็นของคนทุกฝ่าย..รวบรวมปัญญาของมวลชน..คิดให้ถ้วนถึงทางได้ทางเสีย..
ขุนพล...ต้องมี “ผู้ที่มีความรู้กว้างและปัญญาหลักแหลม” มาไว้เป็น “คู่หู”
“เก่งวาทะ มีถ้อยคำแหลมคมพรั่งพรูมาโดยไม่ขาดสาย ดุจสายน้ำที่หลั่งไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ มีกลเม็ดเด็ดพรายอันสุดคาด” ..เป็นที่ปรึกษาชั้นสูง
“ห้าวหาญคล่องแคล่วสรรพาวุธศาสตรา แข็งแกร่งดุจดั่งศิลา ลีลาสู้รบดั่งมังกรเหิรหาว”..เป็นที่ปรึกษาชั้นกลาง
“ผู้ชอบแสดงความเห็นต่าง ถูกต้องบ้างไม่ถูกต้องบ้าง” เป็นที่ปรึกษาชั้นต่ำ..
เรื่องราวของบ้านเราในวันนี้..เพราะยอดขุนพลทั้งหลาย..ที่เป็นหลักแห่งแผ่นดิน..ล้วนแต่มีคู่หูลูกคู่..ที่เชี่ยวชาญแต่การประจบสอพลอ..ขาดความรู้จริงในศาสตร์ปราศจากรูปแบบของศิลปะ..เกาะเกี่ยวเพื่อเอาไปทำมาหากินอย่างมูมมาม
ใช้วาจาและสติปัญญาเพื่อความร้าวฉาน..รักบ้านมากกว่าเมือง ดูแต่เรื่องตัวเองเป็นใหญ่..ไม่ใส่ใจในเรื่องความเดือดร้อนยากจนของมวลชน..
ธรรมชาติของบ้านเมืองอันเป็นแหล่งแห่งหนที่มีคนอยู่มากอยู่อาศัย..ย่อมมากมายไปด้วยเรื่องราวความขัดแย้ง..เมื่อยอดขุนพลคนดูแลแผ่นดิน..กลายเป็นปัญหาเสียเอง..แผ่นดินก็ย่อมเร่าร้อนดังไฟ..
เหลือบแลไปทางไหนก็ไร้สิ่งจำเริญหูเจริญตา...ประกอบกับสติปัญญาของที่ปรึกษาคู่หูก็คับแคบไม่กว้างใหญ่..เห็นใกล้ไม่เห็นไกล..จิตใจสับสนไร้พลังขาดสมาธิ...เป็นนกอินทรีไปไล่จิกตีอยู่กับนกกระจอก..ฯลฯ
มองขึ้นไปในกลุ่มผู้ดูแล..ที่สุกปลั่งดั่งทองกลับเป็นสีทาฉาบ..ที่เห็นเป็นขุนเขาเบื้องหน้ากลายเป็นเมฆหนากลุ่มฝน..ผู้คุ้มครองกลับลี้หาย ผู้คุมภัยกับเป็นอันตรายซะเอง..
แล้วจะอยู่กันอย่างไร...ไทยเรา
โดย.พญาไม้ทูเดย์,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
เพื่อไทย กล้าๆหน่อย !!?
ศุกร์ 13 มึนงง” กลายเป็น “ศุกร์ 13 อึมครึม” เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยก 5 คำร้องว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามมาตรา 68 แต่บรรยากาศทางการเมืองก็ยังอึมครึม เพราะไม่มีใครยืนยันได้ว่า คำวินิจฉัยเป็นอย่างไร แม้แต่นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าเป็น “ข้อเสนอแนะ” หรือ “คำแนะนำ” หากรัฐสภาจะดำเนินการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญต่อก็ต้องรับผิดชอบ
เช่นเดียวกับนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่แนะให้รัฐบาลชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนในคำวินิจฉัยส่วนตนและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรม นูญกลาง โดยเฉพาะคำแนะนำของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่ให้ทำประชามติก่อนหรือแก้ไขเป็นรายมาตรานั้น หากเป็นเพียงคำแนะนำก็จะไม่มีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่หากเป็นคำวินิจฉัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง รัฐบาล และรัฐสภา ที่ต้องหารือกัน
และการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีมติให้รอผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดก่อน หลังจากนั้นจะให้คณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษา วิเคราะห์ และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
ชำแหละศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการที่ปรึกษาของพรรคเพื่อไทย วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า น่าเป็นห่วง และต่อไปจะมีปัญหามากขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญขยายอำนาจมากขึ้นเพราะไปก้าวก่ายการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญคืออัยการสูงสุดที่ถูกกระทบต่ออำนาจโดยตรง ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าให้อำนาจอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง ตรงนี้จะเป็นหมันหรือใช้บังคับไม่ได้เลย ต่อไปจะไม่มีใครไปยื่นต่ออัยการสูงสุด เพราะต้องมีกระบวนการขั้นตอนตรวจสอบว่าจริงไหม ต้องมีการไต่สวน ถ้าอัยการไม่เห็นด้วยก็ไม่ยื่นต่อ แต่จะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพราะไม่ต้องตรวจสอบอะไร ทำให้ศาลอาจต้องรับเละ กลายสภาพเป็นศาลแขวงหรือศาลจังหวัด เรียกว่าหัวกระไดไม่แห้ง
แม้แต่ประเด็นมาตรา 291 ที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของรัฐสภา แต่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่ารัฐสภาเป็นเพียงองค์กรที่รับมอบอำนาจจากอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอันจะมีผลให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ แต่ตรงนี้กฎหมายไม่มีเขียนไว้ หรือการลงประชามติก็เหมือนเป็นคำแนะนำ แต่กฎหมายไม่ได้เขียนว่าต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนหรือไม่ หากเป็นคำวินิจฉัยของศาลโดยทั่วไปที่มีผลตามกฎหมาย ศาลต้องอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกลับสับสน
กับดักตัวเอง?
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีทั้ง “ข้อเสนอแนะ” และ “คำแนะนำ” จึงไม่ได้ช่วยให้พรรคเพื่อไทยและสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญหายใจได้อย่างสบายใจ ทั้งยังทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่างและแตกแยกกันอย่างชัดเจน ทำให้แกนนำพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็น “กับดัก” ที่อาจกลับมาเชือดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลับไปเริ่มต้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ คือการแก้ไขทีละมาตรา หรือทำประชามติก่อน แม้นักวิชาการ นักกฎหมาย และแกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 ไปเลย เพื่อยืนยันอำนาจของรัฐสภา
อย่างนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหนึ่งในแกนนำ นปช. ให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 เพื่อยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรม นูญถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการแสดงถึงการปก ป้องอธิปไตย เพราะไม่ว่าจะเดินหน้าไปทิศทางใดก็เชื่อว่ามีกลุ่มคนที่รอโค่นล้มรัฐบาลอยู่ และเชื่อว่ารัฐบาลหลุด พ้นจากอันตรายมาได้เพราะนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือความ ขัดแย้งและเดินหน้าทำงานตามนโยบายโดยที่ประชา ชนให้การสนับสนุน “หากสมาชิกรัฐสภาไม่ออกมาทักท้วง ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้อำนาจของ ฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจของประชาชนถอยหลังลงไป”
แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กลับเห็นว่าหากยังเดินหน้าลงมติในวาระ 3 มีปัญหาแน่ รัฐบาลก็เอวังและถูกยุบพรรคล้านเปอร์เซ็นต์ จึงอย่าใช้ความรู้สึก แต่ต้องใช้ความรอบคอบและแม่นยำในข้อกฎหมาย และประกาศว่าตนเองจะไม่ยกมือโหวตในวาระ 3 อย่างแน่นอน
ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องว่าทางออกที่ดีที่สุดคือต้องทำใน หนทางที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาและตีความให้ยุ่งยาก คือโละ ของเดิมทิ้งแล้วให้ ส.ส. และ ส.ว. ยกร่างแก้ไขรัฐธรรม นูญขึ้นมาใหม่เป็นรายมาตรา ซึ่งไม่ทำให้เสียเงินหรือต้อง ไปตีความอีก หากตนมีอำนาจจะยืนยันในแนวคิดนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศ และไม่ยอมให้คนไทยฆ่ากัน ทั้งปฏิเสธข่าวที่ว่าต้องรอฟัง “คนทางไกล” สั่งว่าไม่มีใบสั่งอะไร แต่สิ่งที่หารือต้องหารือด้วยเหตุด้วยผล
ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่า “ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา” โดยยืนยันว่ารัฐบาลยังไม่มีความเห็นใดๆจนกว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างเป็นทางการ และคณะกรรมการกฤษฎีกานำคำวินิจฉัยมาตีความเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ใจถึงก็เดินหน้า
อย่างไรก็ตาม แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ นักวิชาการ โดยเฉพาะกลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้เดินหน้าลงมติ วาระ 3 พร้อมยุบศาลรัฐธรรมนูญและตั้ง “คณะตุลา การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” แทน (อ่านรายละเอียดหน้า 4)
“สิ่งที่ควรทำที่สุดคือการเดินหน้าลงมติวาระ 3 แต่ถ้าใจไม่ถึงก็มีข้อเสนอของนิติราษฎร์ให้พิจารณา ถ้าใจไม่ถึงอีกก็แล้วแต่ท่าน”
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ กล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคณะนิติราษฎร์ที่แถลงจุดยืนให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เสนอแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ส่วนนายนันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ได้ยืนยันตั้งแต่ต้นแล้วว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นวันที่ศาลบอกให้หยุดจึงไม่จำเป็นต้องหยุด แต่เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติหยุดก็ช่วยไม่ได้ ถ้าสภาจะโหวตวาระ 3 ก็ทำได้เลย ไม่ต้องรอเปิดสมัยวิสามัญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญบอกแล้วว่าไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครอง แต่มาตรา 68 บานปลายแน่นอน ในทางวิชาการศาลไม่มีอำนาจ แต่พอศาลบอกว่าตัวเองมีอำนาจก็เขียนรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นมาเองว่าเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทุกคนใช้สิทธิข้อนี้ได้โดยมาหาศาล อีกหน่อยก็เตรียมรับเรื่องจำนวนมากไว้ได้เลย
แม้แต่นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประ ชามติ ยังให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน ออกมาแสดงความชัดเจนว่าจะต้องให้มีการทำประชามติก่อนหรือไม่ หากทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยให้สามารถ แก้ไขทั้งฉบับได้ หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมานั้นไม่ชัดเจน มิฉะนั้นความขัดแย้งต่างๆจะยังไม่จบ
“ตลก” ตุลาการ
ด้านนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ฟันธงแบบท้าทายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าเป็น “ตลก ตลก.” (ตลกตุลาการ) เพราะศาลบอกถ้าตั้ง ส.ส.ร. แก้ทั้งฉบับ สภาจะ “ต้อง” หรือ “ควร” ทำประ ชามติถามประชาชนก่อน แต่ตามรัฐธรรมนูญผู้ทำประ ชามติได้คือคณะรัฐมนตรี และหากถามประชาชนจะให้ถามว่าอะไร แต่ถ้าสภาจะแก้ทีละมาตราทั้งหมด 300 มาตรา สามารถทำได้โดยไม่ต้องถามประชาชนใช่หรือไม่
นายวีรพัฒน์จึงสรุปว่า “ข้อเสนอแนะ” หรือ “คำ แนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือเป็น “คำวินิจฉัย” ส่วนมาตรา 68 ไม่ใช่มาตรา 291 ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มี อำนาจไปก้าวล่วงว่ามาตรา 291 แก้ไขอย่างไร และมาตรา 291 กำหนดว่าเมื่อพ้น 15 วันหลังลงมติวาระ 2 ไปแล้ว สภามี “หน้าที่ตามกฎหมาย” ต้องเดินต่อไปยังวาระ 3 เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้ไม่ขัดมาตรา 68 รัฐสภาต้องเดินหน้าต่อวาระ 3 ตามมาตรา 291 ที่กำหนดไว้ รัฐสภาจะนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะนอกคำวินิจฉัยไม่ได้ แต่ถ้ารัฐสภาเดินต่อวาระ 3 แล้วมีคนไปฟ้องซ้ำว่าขัดมาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องตอบให้ชัดเจนว่าที่บอกว่ามาตรา 291 แก้ได้อย่างนั้นอย่างนี้เป็น “ความเห็น” ของศาล ไม่ใช่ “คำวินิจฉัย”
“หากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยหลงตามศาลจนแตกเสียงกันว่าจะเดินหน้าวาระ 3 หรือไม่ก็น่าเสียดาย เพราะคำวินิจฉัยวันศุกร์ที่ 13 นี้มีผลผูกพันเพียงประการเดียวคือยกคำร้อง” นายวีรพัฒน์สรุป
อย่าลืมคนตาย!
วิกฤตศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงไม่น้อยกว่าจุดยืนของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งวันนี้แสดงท่าทีชัดเจนว่าทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจให้ได้นานที่สุด โดยไม่สนใจว่าจะเป็นการทำลายหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือ ไม่ ทั้งที่นักกฎหมาย นักวิชาการ และภาคประชาชนตื่น ตัวอย่างมาก โดยเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยืนหยัดในความถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังมีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่มีคนตายถึง 98 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน ที่กว่า 2 ปี “ความจริง” ยังไม่ปรากฏ แต่รัฐบาลยังดูเหมือนไม่กล้าที่จะเร่งกระบวนการสอบ สวนให้เดินหน้าไปอย่างที่สัญญาไว้กับคนเสื้อแดง
ล่าสุดนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ “น้องเกด” พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลงนามรับรองขอบเขตอํานาจการสอบสวนคดี 98 ศพของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC-Interna tional Criminal Court) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีอํานาจ ในการลงนามดังกล่าว เพราะเมื่อมีการลงนามรับรองแล้วจะทําให้ ICC มีอํานาจเต็มในการสอบคดีนี้ และสามารถเรียกตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมน ตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมน ตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และผู้เกี่ยวข้องในกองทัพมาสอบสวนได้ทันที รวมทั้งขอเอกสารหลักฐานต่างๆจากรัฐบาลไทย
เพราะก่อนหน้านี้ นายธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นหัวหน้าคณะตัวแทนประชาชนไทย พร้อมนางพะเยาว์ นางธิดา โตจิราการ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย นปช. ต่างประเทศ ได้เข้าพบอัยการ ICC เพื่อเรียกร้องให้รับคดีปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไว้ไต่สวนเบื้องต้น แม้ ICC จะยังไม่รับคดีนี้เพราะประเทศไทยยังไม่ลงนามเป็นภาคีในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่นายธงชัยชี้ให้เห็นว่าการที่ ICC ยังเก็บคำร้องไว้โดยไม่จำหน่ายทิ้งและยินดีให้คณะเข้าพบ แสดงว่า ICC ยังติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยอยู่ตลอด
นอกจากนี้นางพะเยาว์ยังยืนยันว่าหากนายกรัฐมนตรีไม่เซ็นรับรองหนังสือที่ยื่นให้จะเดินหน้าเรียกร้องต่อไป เพราะคดี 98 ศพลุล่วงมานานกว่า 2 ปี แต่รัฐบาลยังไม่สามารถเอาตัวผู้สั่งการฆ่าประชาชนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ ทั้งที่พยานหลักฐานมีมากมายในวันเกิดเหตุ แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงต้องออกมาเรียกร้องเพื่อขอความเป็นธรรมให้กับลูกสาวและญาติคนอื่นๆ
ส่วนนางธิดากล่าวว่า คดี 98 ศพที่ยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะนี้ได้รับการติดต่อจากนายอัมสเตอร์ดัมถึงความคืบหน้ามาว่า ICC กำลังพิจารณาอยู่ นอกจากนี้ยังเซ็นหนังสือมอบอํานาจให้นายอัมสเตอร์ดัม 1 ฉบับ หากเกิดกรณีฉุกเฉินตนถูกอุ้มหายไป หรือ นปช. ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ นายอัมเตอร์ดัมยังสามารถเป็นตัวแทนเดินหน้าคดี 98 ศพได้ต่อไป
ลงสัตยาบัน ICC มาทันที
นายธงชัยเชื่อมั่นว่าถ้าประเทศไทยลงสัตยาบัน ICC จะมาทันที เพราะจากการพูดคุยนานเกือบ 2 ชั่วโมง ICC พูดชัดเจนว่ามีทางง่ายกว่ากรณีนายอภิสิทธิ์มี 2 สัญชาติคือ ให้รัฐบาลไทยและรัฐสภาลงสัตยาบัน ซึ่ง ICC พร้อมจะเข้ามาสอบสวนทันที เพราะกรณีนี้อยู่ในระบบของ ICC มาปีกว่าและไม่ได้ทิ้ง แต่ติดข้อจำกัดเรื่อง “อำนาจศาล” เท่านั้น
“ข้อมูลของผมเป็นเชิงประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ อันนี้เกิดขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เขาก็พอจะรู้ แต่พอเราย้ำลงไป เหตุที่เกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบยุติธรรมของไทยไม่สามารถจัดการปัญหานี้ด้วยตัวเราเองได้ อันนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญอันหนึ่ง ถ้าหาก ICC เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมที่แต่ละประเทศจัดการเองได้ เขาก็ไม่อยากยุ่งหรอก แต่ผมคิดว่าจดหมายผมเคลียร์ มันเกิดซ้ำซากอย่างนี้เพราะกระบวนการยุติ ธรรมให้นิรโทษการก่อการกระทำผิดตลอดเวลา”
อย่าอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี?
นอกจากนี้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่จะสิ้นสุดวาระในเดือนกรกฎาคมนี้ก็เชื่อว่าไม่มีผลอะไรกับการดำเนินคดีเอาผิดนายอภิสิทธิ์และผู้เกี่ยวข้อง อย่างที่นายสุนัย ผาสุก ผู้ประสานงานฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ตรวจสอบและติดตามเหตุการณ์ความรุนแรง โดยมีรายงานออกมาเป็นระยะๆ ยอมรับว่าผิดหวังกับการทำงานของ คอป. และยืนยันว่าต้องค้นหาความจริงให้ได้ก่อนว่าใครผิด ใครเป็นคนฆ่า ไม่ใช่ฆ่าคนแล้วจะได้นิรโทษกรรมโดยอัตโนมัติด้วยการมาเล่าความจริง คงต้องมีที่มาที่ไปให้สังคมเป็นผู้ตัดสินใจ
นายสุนัยยอมรับว่า คงไม่มีคนที่สูญเสียลูกยอม รับการปรองดองหรือนิรโทษกรรมได้ “รับไม่ได้ที่จะให้คนที่ฆ่าลูกเขาลอยนวล ไม่ต้องถึงตาย แค่บาดเจ็บก็รับไม่ได้แล้ว เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ยอมรับ กรณีสไนเปอร์ก็ยังไม่มีการยอมรับว่ามีการใช้สไนเปอร์ยิงพลเรือน มันต้องผิดแล้วยอมรับ ทำตามคำสั่ง มีความเข้าใจผิด หรืออะไรก็ตามแต่ ต้องมีการอธิบายออกมา ตอนนี้เลยมีปัญหาอย่างที่ถามว่าแม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันหรือที่เป็นฐานเสียงเพื่อไทยส่วนหนึ่งก็อาจไม่รับเรื่องการนิรโทษกรรมเลย” (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหน้า 7)
ดังนั้น ตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่มีความยุติธรรม หรือมีแต่ความยุติธรรมแบบ “2 มาตรฐาน” หรือพรรคที่คนเสื้อแดงสนับสนุนให้เข้ามาทำหน้าที่ถามหาความยุติธรรมยังพร้อมจะก้มหัวยอมรับอำนาจ “ตุลา การภิวัฒน์” ไม่ใช่เพียง “ความจริงจะไม่ปรากฏ” และ “คนสั่งยังลอยหน้า คนฆ่ายังลอยนวล” เท่านั้น แต่ความขัดแย้งทางการเมืองจะมีต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าในไม่ช้าจะเกิดวิกฤตรอบใหม่ที่รุนแรงแตกหักและเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ขณะที่นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ เขียน บทความว่า “สนามรบ” ข้างหน้าคือกฎหมายและกระ บวนการทางกฎหมาย แต่ประชาชนไม่มีเครื่องมือใดๆที่จะต่อสู้ใน “สนามรบ” ทางกฎหมายเลย ยกเว้นแต่พรรคเพื่อไทย แต่ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกลับไม่ต้องการเป็นเครื่องมือให้ประชาชนเท่ากับเป็นเครื่องมือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจึงต้องช่วยกันคิดหาวิธีที่จะควบคุมพรรคเพื่อไทยให้ได้ ไม่ว่าจะสร้างสื่อขึ้นมาแข่งขันกับพรรคเพื่อไทย หากจะมีการเลือกตั้งซ่อมครั้งใดต้องกดดันให้พรรคเพื่อไทยยอมให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดผู้สมัคร หากไม่ทำก็ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์ใช้สิทธิ พรรคเพื่อไทยก็จะเสีย ส.ส. ในสภาไป 1 เสียง แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ต้องระวัง เพราะ อาจเห็นแก่ประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยและตนเองเหนือกว่าประโยชน์ของประชาชนและประชาธิปไตย
อย่างที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ประชา ธิปไตยเป็นกระบวนการช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ และการต่อต้านประชาธิปไตยก็เช่นกัน ไม่มีดอกประชา ธิปไตยแกะกล่องสำเร็จรูปพร้อมใช้ที่ไม่ต้องลงแรงแต่งสร้างอีก ไม่ว่าจะในไทยหรืออเมริกา”
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรม โดย เฉพาะการต่อสู้กับเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการไทยหรือเผด็จการทั่วโลก ประชาชนจึงต้องยืนหยัดต่อสู้ ไม่ใช่ได้มาด้วยการร้องขอ ที่สำคัญประชาชนต้อง “ตาสว่าง” ไม่หลงประเด็นที่ถูกบิดเบือนไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะไม่มีอำนาจใดอยู่ได้อย่างยั่งยืนหากประ ชาชนไม่ยอมรับ
พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นประมุขทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจึงต้องมีความกล้าในการแก้ไขรัฐธรรม นูญ เพื่อแสดงให้คนเสื้อแดงและประชาชนที่รักประชาธิปไตยเห็นว่ายังมีจุดยืนที่มั่นคงในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยและความยุติธรรม ไม่ใช่ยอม “เกี๊ยะเซียะ” กับเผด็จการอำมาตย์เพียงเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้นานที่สุด
เพราะประชาชนจะไม่ยอมรับเผด็จการ ไม่ยอมให้ฆาตกรฆ่าประชาชนลอยนวล และประชาชนที่เขา “คิดเป็น” แล้ว เขาจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่โกหกตอแหลประชาชนอย่างแน่นอน!
พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาลและเป็นพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาจึงควร “อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี” หรือ “พร้อมจะกลับมาอย่างมีศักดิ์ศรี” แม้จะถูกยุบพรรคแล้วยุบอีกก็ตาม
ถ้าอยู่นานแล้ว “ไม่ทำอะไรหรือไม่กล้าทำอะไรเลย”... “คะแนนนิยม” ก็จะลดลงเรื่อยๆ และจะเสื่อมลงในที่สุด อยู่นานอย่างไร้คุณค่า..“อย่าอยู่เสียดีกว่า”...อายประ ชาชนที่เขาเลือกพวกคุณมาและเดินแซงหน้าไปถึงไหนต่อไหนแล้ว!
อุตส่าห์เป็นถึงประมุขฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ..กล้าๆหน่อย..กองเชียร์เซ็ง!!?
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
เช่นเดียวกับนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่แนะให้รัฐบาลชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนในคำวินิจฉัยส่วนตนและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรม นูญกลาง โดยเฉพาะคำแนะนำของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญที่ให้ทำประชามติก่อนหรือแก้ไขเป็นรายมาตรานั้น หากเป็นเพียงคำแนะนำก็จะไม่มีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา แต่หากเป็นคำวินิจฉัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายการเมือง รัฐบาล และรัฐสภา ที่ต้องหารือกัน
และการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีมติให้รอผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดก่อน หลังจากนั้นจะให้คณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษา วิเคราะห์ และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
ชำแหละศาลรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการที่ปรึกษาของพรรคเพื่อไทย วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า น่าเป็นห่วง และต่อไปจะมีปัญหามากขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญขยายอำนาจมากขึ้นเพราะไปก้าวก่ายการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญคืออัยการสูงสุดที่ถูกกระทบต่ออำนาจโดยตรง ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าให้อำนาจอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง ตรงนี้จะเป็นหมันหรือใช้บังคับไม่ได้เลย ต่อไปจะไม่มีใครไปยื่นต่ออัยการสูงสุด เพราะต้องมีกระบวนการขั้นตอนตรวจสอบว่าจริงไหม ต้องมีการไต่สวน ถ้าอัยการไม่เห็นด้วยก็ไม่ยื่นต่อ แต่จะไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพราะไม่ต้องตรวจสอบอะไร ทำให้ศาลอาจต้องรับเละ กลายสภาพเป็นศาลแขวงหรือศาลจังหวัด เรียกว่าหัวกระไดไม่แห้ง
แม้แต่ประเด็นมาตรา 291 ที่ระบุว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของรัฐสภา แต่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่ารัฐสภาเป็นเพียงองค์กรที่รับมอบอำนาจจากอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ จึงไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอันจะมีผลให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ แต่ตรงนี้กฎหมายไม่มีเขียนไว้ หรือการลงประชามติก็เหมือนเป็นคำแนะนำ แต่กฎหมายไม่ได้เขียนว่าต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อนหรือไม่ หากเป็นคำวินิจฉัยของศาลโดยทั่วไปที่มีผลตามกฎหมาย ศาลต้องอธิบายให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจ แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกลับสับสน
กับดักตัวเอง?
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีทั้ง “ข้อเสนอแนะ” และ “คำแนะนำ” จึงไม่ได้ช่วยให้พรรคเพื่อไทยและสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญหายใจได้อย่างสบายใจ ทั้งยังทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่างและแตกแยกกันอย่างชัดเจน ทำให้แกนนำพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็น “กับดัก” ที่อาจกลับมาเชือดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลับไปเริ่มต้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ คือการแก้ไขทีละมาตรา หรือทำประชามติก่อน แม้นักวิชาการ นักกฎหมาย และแกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ต้องการให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 ไปเลย เพื่อยืนยันอำนาจของรัฐสภา
อย่างนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหนึ่งในแกนนำ นปช. ให้เดินหน้าลงมติวาระ 3 เพื่อยืนยันว่าการแก้ไขรัฐธรรม นูญถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการแสดงถึงการปก ป้องอธิปไตย เพราะไม่ว่าจะเดินหน้าไปทิศทางใดก็เชื่อว่ามีกลุ่มคนที่รอโค่นล้มรัฐบาลอยู่ และเชื่อว่ารัฐบาลหลุด พ้นจากอันตรายมาได้เพราะนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือความ ขัดแย้งและเดินหน้าทำงานตามนโยบายโดยที่ประชา ชนให้การสนับสนุน “หากสมาชิกรัฐสภาไม่ออกมาทักท้วง ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้อำนาจของ ฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจของประชาชนถอยหลังลงไป”
แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กลับเห็นว่าหากยังเดินหน้าลงมติในวาระ 3 มีปัญหาแน่ รัฐบาลก็เอวังและถูกยุบพรรคล้านเปอร์เซ็นต์ จึงอย่าใช้ความรู้สึก แต่ต้องใช้ความรอบคอบและแม่นยำในข้อกฎหมาย และประกาศว่าตนเองจะไม่ยกมือโหวตในวาระ 3 อย่างแน่นอน
ขณะที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เรียกร้องว่าทางออกที่ดีที่สุดคือต้องทำใน หนทางที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาและตีความให้ยุ่งยาก คือโละ ของเดิมทิ้งแล้วให้ ส.ส. และ ส.ว. ยกร่างแก้ไขรัฐธรรม นูญขึ้นมาใหม่เป็นรายมาตรา ซึ่งไม่ทำให้เสียเงินหรือต้อง ไปตีความอีก หากตนมีอำนาจจะยืนยันในแนวคิดนี้เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศ และไม่ยอมให้คนไทยฆ่ากัน ทั้งปฏิเสธข่าวที่ว่าต้องรอฟัง “คนทางไกล” สั่งว่าไม่มีใบสั่งอะไร แต่สิ่งที่หารือต้องหารือด้วยเหตุด้วยผล
ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็แสดงท่าทีชัดเจนว่า “ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา” โดยยืนยันว่ารัฐบาลยังไม่มีความเห็นใดๆจนกว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างเป็นทางการ และคณะกรรมการกฤษฎีกานำคำวินิจฉัยมาตีความเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
ใจถึงก็เดินหน้า
อย่างไรก็ตาม แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ นักวิชาการ โดยเฉพาะกลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้เดินหน้าลงมติ วาระ 3 พร้อมยุบศาลรัฐธรรมนูญและตั้ง “คณะตุลา การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” แทน (อ่านรายละเอียดหน้า 4)
“สิ่งที่ควรทำที่สุดคือการเดินหน้าลงมติวาระ 3 แต่ถ้าใจไม่ถึงก็มีข้อเสนอของนิติราษฎร์ให้พิจารณา ถ้าใจไม่ถึงอีกก็แล้วแต่ท่าน”
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ กล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคณะนิติราษฎร์ที่แถลงจุดยืนให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เสนอแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ส่วนนายนันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ได้ยืนยันตั้งแต่ต้นแล้วว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นวันที่ศาลบอกให้หยุดจึงไม่จำเป็นต้องหยุด แต่เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติหยุดก็ช่วยไม่ได้ ถ้าสภาจะโหวตวาระ 3 ก็ทำได้เลย ไม่ต้องรอเปิดสมัยวิสามัญ เพราะศาลรัฐธรรมนูญบอกแล้วว่าไม่ได้เป็นการล้มล้างการปกครอง แต่มาตรา 68 บานปลายแน่นอน ในทางวิชาการศาลไม่มีอำนาจ แต่พอศาลบอกว่าตัวเองมีอำนาจก็เขียนรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้นมาเองว่าเป็นการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ทุกคนใช้สิทธิข้อนี้ได้โดยมาหาศาล อีกหน่อยก็เตรียมรับเรื่องจำนวนมากไว้ได้เลย
แม้แต่นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประ ชามติ ยังให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 8 คน ออกมาแสดงความชัดเจนว่าจะต้องให้มีการทำประชามติก่อนหรือไม่ หากทำประชามติแล้วประชาชนเห็นด้วยให้สามารถ แก้ไขทั้งฉบับได้ หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมานั้นไม่ชัดเจน มิฉะนั้นความขัดแย้งต่างๆจะยังไม่จบ
“ตลก” ตุลาการ
ด้านนายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ ฟันธงแบบท้าทายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่าเป็น “ตลก ตลก.” (ตลกตุลาการ) เพราะศาลบอกถ้าตั้ง ส.ส.ร. แก้ทั้งฉบับ สภาจะ “ต้อง” หรือ “ควร” ทำประ ชามติถามประชาชนก่อน แต่ตามรัฐธรรมนูญผู้ทำประ ชามติได้คือคณะรัฐมนตรี และหากถามประชาชนจะให้ถามว่าอะไร แต่ถ้าสภาจะแก้ทีละมาตราทั้งหมด 300 มาตรา สามารถทำได้โดยไม่ต้องถามประชาชนใช่หรือไม่
นายวีรพัฒน์จึงสรุปว่า “ข้อเสนอแนะ” หรือ “คำ แนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญไม่ถือเป็น “คำวินิจฉัย” ส่วนมาตรา 68 ไม่ใช่มาตรา 291 ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มี อำนาจไปก้าวล่วงว่ามาตรา 291 แก้ไขอย่างไร และมาตรา 291 กำหนดว่าเมื่อพ้น 15 วันหลังลงมติวาระ 2 ไปแล้ว สภามี “หน้าที่ตามกฎหมาย” ต้องเดินต่อไปยังวาระ 3 เมื่อศาลวินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้ไม่ขัดมาตรา 68 รัฐสภาต้องเดินหน้าต่อวาระ 3 ตามมาตรา 291 ที่กำหนดไว้ รัฐสภาจะนำความเห็นหรือข้อเสนอแนะนอกคำวินิจฉัยไม่ได้ แต่ถ้ารัฐสภาเดินต่อวาระ 3 แล้วมีคนไปฟ้องซ้ำว่าขัดมาตรา 68 ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องตอบให้ชัดเจนว่าที่บอกว่ามาตรา 291 แก้ได้อย่างนั้นอย่างนี้เป็น “ความเห็น” ของศาล ไม่ใช่ “คำวินิจฉัย”
“หากประชาชนผู้รักประชาธิปไตยหลงตามศาลจนแตกเสียงกันว่าจะเดินหน้าวาระ 3 หรือไม่ก็น่าเสียดาย เพราะคำวินิจฉัยวันศุกร์ที่ 13 นี้มีผลผูกพันเพียงประการเดียวคือยกคำร้อง” นายวีรพัฒน์สรุป
อย่าลืมคนตาย!
วิกฤตศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงไม่น้อยกว่าจุดยืนของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งวันนี้แสดงท่าทีชัดเจนว่าทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจให้ได้นานที่สุด โดยไม่สนใจว่าจะเป็นการทำลายหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือ ไม่ ทั้งที่นักกฎหมาย นักวิชาการ และภาคประชาชนตื่น ตัวอย่างมาก โดยเรียกร้องให้พรรคเพื่อไทยและรัฐบาลยืนหยัดในความถูกต้อง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ยังมีเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่มีคนตายถึง 98 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน ที่กว่า 2 ปี “ความจริง” ยังไม่ปรากฏ แต่รัฐบาลยังดูเหมือนไม่กล้าที่จะเร่งกระบวนการสอบ สวนให้เดินหน้าไปอย่างที่สัญญาไว้กับคนเสื้อแดง
ล่าสุดนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ “น้องเกด” พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม ได้ยื่นหนังสือเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลงนามรับรองขอบเขตอํานาจการสอบสวนคดี 98 ศพของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC-Interna tional Criminal Court) เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมีอํานาจ ในการลงนามดังกล่าว เพราะเมื่อมีการลงนามรับรองแล้วจะทําให้ ICC มีอํานาจเต็มในการสอบคดีนี้ และสามารถเรียกตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมน ตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมน ตรีและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และผู้เกี่ยวข้องในกองทัพมาสอบสวนได้ทันที รวมทั้งขอเอกสารหลักฐานต่างๆจากรัฐบาลไทย
เพราะก่อนหน้านี้ นายธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นหัวหน้าคณะตัวแทนประชาชนไทย พร้อมนางพะเยาว์ นางธิดา โตจิราการ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนาย นปช. ต่างประเทศ ได้เข้าพบอัยการ ICC เพื่อเรียกร้องให้รับคดีปราบปรามประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ไว้ไต่สวนเบื้องต้น แม้ ICC จะยังไม่รับคดีนี้เพราะประเทศไทยยังไม่ลงนามเป็นภาคีในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่นายธงชัยชี้ให้เห็นว่าการที่ ICC ยังเก็บคำร้องไว้โดยไม่จำหน่ายทิ้งและยินดีให้คณะเข้าพบ แสดงว่า ICC ยังติดตามสถานการณ์ในประเทศไทยอยู่ตลอด
นอกจากนี้นางพะเยาว์ยังยืนยันว่าหากนายกรัฐมนตรีไม่เซ็นรับรองหนังสือที่ยื่นให้จะเดินหน้าเรียกร้องต่อไป เพราะคดี 98 ศพลุล่วงมานานกว่า 2 ปี แต่รัฐบาลยังไม่สามารถเอาตัวผู้สั่งการฆ่าประชาชนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ ทั้งที่พยานหลักฐานมีมากมายในวันเกิดเหตุ แต่กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ จึงต้องออกมาเรียกร้องเพื่อขอความเป็นธรรมให้กับลูกสาวและญาติคนอื่นๆ
ส่วนนางธิดากล่าวว่า คดี 98 ศพที่ยื่นฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศไปเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ขณะนี้ได้รับการติดต่อจากนายอัมสเตอร์ดัมถึงความคืบหน้ามาว่า ICC กำลังพิจารณาอยู่ นอกจากนี้ยังเซ็นหนังสือมอบอํานาจให้นายอัมสเตอร์ดัม 1 ฉบับ หากเกิดกรณีฉุกเฉินตนถูกอุ้มหายไป หรือ นปช. ไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้ นายอัมเตอร์ดัมยังสามารถเป็นตัวแทนเดินหน้าคดี 98 ศพได้ต่อไป
ลงสัตยาบัน ICC มาทันที
นายธงชัยเชื่อมั่นว่าถ้าประเทศไทยลงสัตยาบัน ICC จะมาทันที เพราะจากการพูดคุยนานเกือบ 2 ชั่วโมง ICC พูดชัดเจนว่ามีทางง่ายกว่ากรณีนายอภิสิทธิ์มี 2 สัญชาติคือ ให้รัฐบาลไทยและรัฐสภาลงสัตยาบัน ซึ่ง ICC พร้อมจะเข้ามาสอบสวนทันที เพราะกรณีนี้อยู่ในระบบของ ICC มาปีกว่าและไม่ได้ทิ้ง แต่ติดข้อจำกัดเรื่อง “อำนาจศาล” เท่านั้น
“ข้อมูลของผมเป็นเชิงประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ อันนี้เกิดขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เขาก็พอจะรู้ แต่พอเราย้ำลงไป เหตุที่เกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบยุติธรรมของไทยไม่สามารถจัดการปัญหานี้ด้วยตัวเราเองได้ อันนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญอันหนึ่ง ถ้าหาก ICC เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมที่แต่ละประเทศจัดการเองได้ เขาก็ไม่อยากยุ่งหรอก แต่ผมคิดว่าจดหมายผมเคลียร์ มันเกิดซ้ำซากอย่างนี้เพราะกระบวนการยุติ ธรรมให้นิรโทษการก่อการกระทำผิดตลอดเวลา”
อย่าอยู่อย่างไร้ศักดิ์ศรี?
นอกจากนี้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่จะสิ้นสุดวาระในเดือนกรกฎาคมนี้ก็เชื่อว่าไม่มีผลอะไรกับการดำเนินคดีเอาผิดนายอภิสิทธิ์และผู้เกี่ยวข้อง อย่างที่นายสุนัย ผาสุก ผู้ประสานงานฮิวแมนไรท์วอทช์ ประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ตรวจสอบและติดตามเหตุการณ์ความรุนแรง โดยมีรายงานออกมาเป็นระยะๆ ยอมรับว่าผิดหวังกับการทำงานของ คอป. และยืนยันว่าต้องค้นหาความจริงให้ได้ก่อนว่าใครผิด ใครเป็นคนฆ่า ไม่ใช่ฆ่าคนแล้วจะได้นิรโทษกรรมโดยอัตโนมัติด้วยการมาเล่าความจริง คงต้องมีที่มาที่ไปให้สังคมเป็นผู้ตัดสินใจ
นายสุนัยยอมรับว่า คงไม่มีคนที่สูญเสียลูกยอม รับการปรองดองหรือนิรโทษกรรมได้ “รับไม่ได้ที่จะให้คนที่ฆ่าลูกเขาลอยนวล ไม่ต้องถึงตาย แค่บาดเจ็บก็รับไม่ได้แล้ว เพราะอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ยอมรับ กรณีสไนเปอร์ก็ยังไม่มีการยอมรับว่ามีการใช้สไนเปอร์ยิงพลเรือน มันต้องผิดแล้วยอมรับ ทำตามคำสั่ง มีความเข้าใจผิด หรืออะไรก็ตามแต่ ต้องมีการอธิบายออกมา ตอนนี้เลยมีปัญหาอย่างที่ถามว่าแม้แต่คนเสื้อแดงด้วยกันหรือที่เป็นฐานเสียงเพื่อไทยส่วนหนึ่งก็อาจไม่รับเรื่องการนิรโทษกรรมเลย” (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมหน้า 7)
ดังนั้น ตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่มีความยุติธรรม หรือมีแต่ความยุติธรรมแบบ “2 มาตรฐาน” หรือพรรคที่คนเสื้อแดงสนับสนุนให้เข้ามาทำหน้าที่ถามหาความยุติธรรมยังพร้อมจะก้มหัวยอมรับอำนาจ “ตุลา การภิวัฒน์” ไม่ใช่เพียง “ความจริงจะไม่ปรากฏ” และ “คนสั่งยังลอยหน้า คนฆ่ายังลอยนวล” เท่านั้น แต่ความขัดแย้งทางการเมืองจะมีต่อไป ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าในไม่ช้าจะเกิดวิกฤตรอบใหม่ที่รุนแรงแตกหักและเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ขณะที่นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ เขียน บทความว่า “สนามรบ” ข้างหน้าคือกฎหมายและกระ บวนการทางกฎหมาย แต่ประชาชนไม่มีเครื่องมือใดๆที่จะต่อสู้ใน “สนามรบ” ทางกฎหมายเลย ยกเว้นแต่พรรคเพื่อไทย แต่ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกลับไม่ต้องการเป็นเครื่องมือให้ประชาชนเท่ากับเป็นเครื่องมือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจึงต้องช่วยกันคิดหาวิธีที่จะควบคุมพรรคเพื่อไทยให้ได้ ไม่ว่าจะสร้างสื่อขึ้นมาแข่งขันกับพรรคเพื่อไทย หากจะมีการเลือกตั้งซ่อมครั้งใดต้องกดดันให้พรรคเพื่อไทยยอมให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดผู้สมัคร หากไม่ทำก็ลงคะแนนเสียงไม่ประสงค์ใช้สิทธิ พรรคเพื่อไทยก็จะเสีย ส.ส. ในสภาไป 1 เสียง แม้แต่แกนนำเสื้อแดงก็ต้องระวัง เพราะ อาจเห็นแก่ประโยชน์ของพรรคเพื่อไทยและตนเองเหนือกว่าประโยชน์ของประชาชนและประชาธิปไตย
อย่างที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ประชา ธิปไตยเป็นกระบวนการช่วยกันสร้าง ช่วยกันทำ และการต่อต้านประชาธิปไตยก็เช่นกัน ไม่มีดอกประชา ธิปไตยแกะกล่องสำเร็จรูปพร้อมใช้ที่ไม่ต้องลงแรงแต่งสร้างอีก ไม่ว่าจะในไทยหรืออเมริกา”
การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรม โดย เฉพาะการต่อสู้กับเผด็จการ ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการไทยหรือเผด็จการทั่วโลก ประชาชนจึงต้องยืนหยัดต่อสู้ ไม่ใช่ได้มาด้วยการร้องขอ ที่สำคัญประชาชนต้อง “ตาสว่าง” ไม่หลงประเด็นที่ถูกบิดเบือนไม่ว่าจากฝ่ายใดก็ตาม เพราะไม่มีอำนาจใดอยู่ได้อย่างยั่งยืนหากประ ชาชนไม่ยอมรับ
พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นประมุขทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติจึงต้องมีความกล้าในการแก้ไขรัฐธรรม นูญ เพื่อแสดงให้คนเสื้อแดงและประชาชนที่รักประชาธิปไตยเห็นว่ายังมีจุดยืนที่มั่นคงในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยและความยุติธรรม ไม่ใช่ยอม “เกี๊ยะเซียะ” กับเผด็จการอำมาตย์เพียงเพื่อให้อยู่ในอำนาจได้นานที่สุด
เพราะประชาชนจะไม่ยอมรับเผด็จการ ไม่ยอมให้ฆาตกรฆ่าประชาชนลอยนวล และประชาชนที่เขา “คิดเป็น” แล้ว เขาจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่โกหกตอแหลประชาชนอย่างแน่นอน!
พรรคเพื่อไทยในฐานะแกนนำรัฐบาลและเป็นพรรคที่มีเสียงมากที่สุดในสภาจึงควร “อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี” หรือ “พร้อมจะกลับมาอย่างมีศักดิ์ศรี” แม้จะถูกยุบพรรคแล้วยุบอีกก็ตาม
ถ้าอยู่นานแล้ว “ไม่ทำอะไรหรือไม่กล้าทำอะไรเลย”... “คะแนนนิยม” ก็จะลดลงเรื่อยๆ และจะเสื่อมลงในที่สุด อยู่นานอย่างไร้คุณค่า..“อย่าอยู่เสียดีกว่า”...อายประ ชาชนที่เขาเลือกพวกคุณมาและเดินแซงหน้าไปถึงไหนต่อไหนแล้ว!
อุตส่าห์เป็นถึงประมุขฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ..กล้าๆหน่อย..กองเชียร์เซ็ง!!?
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อ รุกกลับ !!?
ยุทธวิธีที่พรรคเพื่อไทย ไม่มีทางเลือกมาก นอกจากทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปลี่ยนจาก"ถอย"มาเป็น"รุก"ในทางการเมือง
ยังไม่มีข้อสรุปจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ในการถกเถียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะหาทางออกอย่างไร หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 68 ศาลรธน.สามารถรับคำร้องวินิจฉัย และผู้ร้องสามารถยื่นผ่านอัยสูงสูดได้ ต่อประเด็นที่มีผลล้มล้างรัฐธรรมนูญ นั่นเท่ากับว่าศาลรธน.มีข้อ"ผูกพัน"เหนือกว่าฝ่ายสถาบันสภานิติบัญญัติ แม้การแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องของสภาก็ตาม
ส่งผลให้พรรคเพื่อไทย ต่อประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญหยุดชะงักลงทันที ต้องรอคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนอของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมาปลายเดือนกรกฎาคมนี้
เสียงที่ประชุมพรรคเพื่อไทยฝ่ายหนึ่ง มีการเสนอให้แก้ไขในมาตรา 68 และ 165(2) ที่เปิดสมัยประชุมสภาฯ จากนั้นจึงค่อยมาแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่นๆต่อไป โดยจัดให้มีส.ส.ร.ขึ้นเพื่อให้ประชาชนจากทุกหมู่เหล่าได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพราะอาจเป็นการ"ปลดกุญแจ"ให้สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยไม่เสี่ยง
แม้นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.เพื่อไทยเดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาบอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เห็นด้วยกับแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา แต่ใช่ว่าแนวทางนี้จะราบรื่น เพราะต้องฟังคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยก่อน ที่จะมีการประชุมในวันที่ 24 ก.ค.นี้ แนวทางแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก่อนหน้านี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคบางคน เชื่อว่าล่าช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้รัฐธรรมนูญได้
แต่เสียงประชุมอีกฝ่ายเสนอให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 แต่มีเสียงคัดค้าน ถือเป็นการเสี่ยงเกินไป เพราะหากมีคนตีความแล้วไปยื่นเรื่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาอีก
การติดตามการแก้รัฐธรรมนูญมีการต่อสู้ขับเคี่ยวกว่าจะแก้ได้ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะทั้งฝ่ายส.ว.และส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่มีความเป็นเอกภาพ มีเสียงแตกแน่ หากโหวตแก้วาระ3
ทางออกที่ดี และเหลืออยู่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย น่าจะคิดรอบคอบกว่าที่จะเลือกวิธีโหวต และเร่งแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก็คือการหันกลับไปหาการทำประชามติ เพราะเป็นวิธีเดียว เมื่อรู้ว่าการต่อสู้กันครั้งนี้ ต้องใช้เวลานาน และซีกฝ่ายค้านไม่ยอมแน่
หากย้อนไปช่วงก่อนจะปิดสมัยสามัญนิติบัญญัติ ที่สภาเสนอพ.ร.บ.ปรองดอง และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้ามา จะเห็นว่าพรรคเพื่อไทย และรัฐบาล อยู่ในสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำ และถอยทางการเมืองมาตลอด
ยิ่งศาลรธน.วินิจฉัย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ยิ่งทำให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ติด"กับดัก"ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทางออกที่ดีกว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ที่จะยอม"ถอย"ในทางการเมืองอย่างเดียว มาเป็นการ"รุก"กลับใหม่อีกครั้ง คือ"ทำประชามติ" นั่นคือ รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย น่าจะมีเวลาได้คิด และไม่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดพลาดที่กติกามีไว้ให้ รวมถึงเวลาในการแก้รัฐธรรมนูญยังมีเวลามากพอ
อีกสถานการณ์หนึ่ง หากประเมิน แต่ละฝ่ายของกำลังมวลชนที่มีอยู่ในขณะนี้ กำลังในต่างจังหวัดของพรรคเพื่อไทยน่าจะมีกำลังมากพอที่จะช่วยหนุนได้ หากลงไปทำความเข้าใจ และยกระดับความรู้มวลชน ซึ่งเป็นกำลังหลักอยู่ก่อนแล้ว และเป็นแนวทางประชาธิปไตยทางตรง ที่จะทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เลือกตัวแทนของเขาตัดสินชะตากรรมการปกครองประเทศ
ที่สำคัญ ก็คือเพื่อตอกย้ำว่า จริงๆแล้วประเทศนี้ เมืองนี้ต้องการระบอบการปกครองแบบไหนกันแน่? ควรออกแบบสถาบันการปกครองอย่างไรดี? มีสถาบันการปกครองถ่วงดุลอำนาจกันมากน้อยแค่ไหน? สถาบันไหนที่จะยกเลิก หรือเพิ่มอำนาจเข้ามา? หรือว่าสถาบันส่วนไหนจะลดอำนาจลง? เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเมืองต่อเนื่อมาหลายปีและเป็นอยู่ในขณะนี้
นี่คือแนวทาง หากพรรคเพื่อไทยต้องการเลือกเดินหน้าวิถีประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน!
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยสามารถเดินหน้าทำประชามติได้ อาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และที่สำคัญคือร่างแก้รัฐธรรมนูญ ยังคงค้างวาระ 3ไว้ กลับมาพิจารณาได้ใหม่ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 39
เป็นยุทธวิธีทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทย สามารถเปลี่ยนจาก"ถอย"มา"รุก"ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ยังไม่มีข้อสรุปจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ในการถกเถียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะหาทางออกอย่างไร หลังจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 68 ศาลรธน.สามารถรับคำร้องวินิจฉัย และผู้ร้องสามารถยื่นผ่านอัยสูงสูดได้ ต่อประเด็นที่มีผลล้มล้างรัฐธรรมนูญ นั่นเท่ากับว่าศาลรธน.มีข้อ"ผูกพัน"เหนือกว่าฝ่ายสถาบันสภานิติบัญญัติ แม้การแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องของสภาก็ตาม
ส่งผลให้พรรคเพื่อไทย ต่อประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญหยุดชะงักลงทันที ต้องรอคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนอของศาลรัฐธรรมนูญที่จะออกมาปลายเดือนกรกฎาคมนี้
เสียงที่ประชุมพรรคเพื่อไทยฝ่ายหนึ่ง มีการเสนอให้แก้ไขในมาตรา 68 และ 165(2) ที่เปิดสมัยประชุมสภาฯ จากนั้นจึงค่อยมาแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตราอื่นๆต่อไป โดยจัดให้มีส.ส.ร.ขึ้นเพื่อให้ประชาชนจากทุกหมู่เหล่าได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพราะอาจเป็นการ"ปลดกุญแจ"ให้สามารถเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยไม่เสี่ยง
แม้นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.เพื่อไทยเดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับมาบอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เห็นด้วยกับแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา แต่ใช่ว่าแนวทางนี้จะราบรื่น เพราะต้องฟังคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยก่อน ที่จะมีการประชุมในวันที่ 24 ก.ค.นี้ แนวทางแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก่อนหน้านี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรคบางคน เชื่อว่าล่าช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้รัฐธรรมนูญได้
แต่เสียงประชุมอีกฝ่ายเสนอให้เดินหน้าลงมติในวาระ 3 แต่มีเสียงคัดค้าน ถือเป็นการเสี่ยงเกินไป เพราะหากมีคนตีความแล้วไปยื่นเรื่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาอีก
การติดตามการแก้รัฐธรรมนูญมีการต่อสู้ขับเคี่ยวกว่าจะแก้ได้ยากเย็นแสนเข็ญ เพราะทั้งฝ่ายส.ว.และส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่มีความเป็นเอกภาพ มีเสียงแตกแน่ หากโหวตแก้วาระ3
ทางออกที่ดี และเหลืออยู่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย น่าจะคิดรอบคอบกว่าที่จะเลือกวิธีโหวต และเร่งแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา ก็คือการหันกลับไปหาการทำประชามติ เพราะเป็นวิธีเดียว เมื่อรู้ว่าการต่อสู้กันครั้งนี้ ต้องใช้เวลานาน และซีกฝ่ายค้านไม่ยอมแน่
หากย้อนไปช่วงก่อนจะปิดสมัยสามัญนิติบัญญัติ ที่สภาเสนอพ.ร.บ.ปรองดอง และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เข้ามา จะเห็นว่าพรรคเพื่อไทย และรัฐบาล อยู่ในสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำ และถอยทางการเมืองมาตลอด
ยิ่งศาลรธน.วินิจฉัย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ยิ่งทำให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ติด"กับดัก"ในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทางออกที่ดีกว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ที่จะยอม"ถอย"ในทางการเมืองอย่างเดียว มาเป็นการ"รุก"กลับใหม่อีกครั้ง คือ"ทำประชามติ" นั่นคือ รัฐบาลและพรรคเพื่อไทย น่าจะมีเวลาได้คิด และไม่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดพลาดที่กติกามีไว้ให้ รวมถึงเวลาในการแก้รัฐธรรมนูญยังมีเวลามากพอ
อีกสถานการณ์หนึ่ง หากประเมิน แต่ละฝ่ายของกำลังมวลชนที่มีอยู่ในขณะนี้ กำลังในต่างจังหวัดของพรรคเพื่อไทยน่าจะมีกำลังมากพอที่จะช่วยหนุนได้ หากลงไปทำความเข้าใจ และยกระดับความรู้มวลชน ซึ่งเป็นกำลังหลักอยู่ก่อนแล้ว และเป็นแนวทางประชาธิปไตยทางตรง ที่จะทำให้ประชาชนที่เป็นผู้เลือกตัวแทนของเขาตัดสินชะตากรรมการปกครองประเทศ
ที่สำคัญ ก็คือเพื่อตอกย้ำว่า จริงๆแล้วประเทศนี้ เมืองนี้ต้องการระบอบการปกครองแบบไหนกันแน่? ควรออกแบบสถาบันการปกครองอย่างไรดี? มีสถาบันการปกครองถ่วงดุลอำนาจกันมากน้อยแค่ไหน? สถาบันไหนที่จะยกเลิก หรือเพิ่มอำนาจเข้ามา? หรือว่าสถาบันส่วนไหนจะลดอำนาจลง? เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเมืองต่อเนื่อมาหลายปีและเป็นอยู่ในขณะนี้
นี่คือแนวทาง หากพรรคเพื่อไทยต้องการเลือกเดินหน้าวิถีประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน!
นอกจากนี้ พรรคเพื่อไทยสามารถเดินหน้าทำประชามติได้ อาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และที่สำคัญคือร่างแก้รัฐธรรมนูญ ยังคงค้างวาระ 3ไว้ กลับมาพิจารณาได้ใหม่ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 39
เป็นยุทธวิธีทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทย สามารถเปลี่ยนจาก"ถอย"มา"รุก"ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)