โดย : สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี
ชนะที่ไม่ชนะ โหวตรัฐบาล ญัตติศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ผูกพันสภาฯ ส.ส.แดง ชน "สมศักดิ์"
ก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เพื่อไทยและในฐานะแกนนำนปช. แถลงภายหลัง สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาแจ้งในที่ประชุมว่าจะไม่มีการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ว่า เคารพการตัดสินใจของประธานรัฐสภาแต่ขอเรียนให้ทราบว่าพวกตนโดยเฉพาะส.ส.ที่เป็นแกนนำเสื้อแดง ผิดหวัง เสียใจมากที่ตัดสินใจเช่นนี้ รวมทั้งส.ส.เพื่อไทยจำนวนมาก
ก่อแก้ว บอกว่า ประธานรัฐสภาสร้างรอยด่างให้กับรัฐสภาแห่งนี้ โดยยอมให้เนื้องอกของฝ่ายตุลาการมีอำนาจครอบงำฝ่ายนิติบัญญัติ ในฐานะสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติขอประกาศไว้บันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่าพวกตนไม่ยินยอม ไม่เห็นด้วย ไม่ขอสยบยอมต่อความไม่ถูกต้อง
"การกระทำและการตัดสินใจของประธานรัฐสภา ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดเป็นการตอกย้ำคำพูดนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ที่ปราศรัยต่อมวลชนเมื่อ 2 วันที่ผ่านมาว่าประชาธิปไตยไทยตกต่ำมากที่สุดในรอบ 80 ปี ซึ่งตกต่ำมากจริงๆ เพราะสมาชิกรัฐสภาไม่ได้ทำหน้าที่โดยใช้เหตุผล ใช้แต่ความรุนแรงไม่เคารพกติกา เมื่อแพ้โหวตในสภาก็ไปใช้อำนาจนอกระบบมาแทรกแซงการทำงานของระบบรัฐสภา"ก่อแก้ว กล่าว
ส.ส.เสื้อแดง ผู้นี้ บอกด้วยว่า แทนที่ประธานรัฐสภาจะต่อต้านกลับสมยอมทุกอย่างจนเละเทะไปหมด น่าเสียดายตนเป็นส.ส.สมัยแรกแต่ไม่สามารถปกป้องเกียรติยศองค์กรได้ ขณะนี้ได้รับเอสเอ็มเอสและอีเมลจากพี่น้องเสื้อแดงจำนวนมากว่าถ้าไม่มีการผลักดันลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 ในสมัยประชุมนี้ จะเลิกเป็นคนเสื้อแดง ตนขอฝากไปถึงพี่น้องเสื้อแดงด้วยความเคารพว่าพวกตนได้ทำหน้าที่อย่างถึงที่สุดแล้ว ขอให้พี่น้องเข้าใจและอดทน แม้จะยังไม่ได้โหวตในสมัยประชุมนี้ก็จะไปโหวตสมัยประชุมหน้า ขออย่าเคลื่อนไหว วันนี้เราต้องยอมกลืนเลือดประคองสถานการณ์ให้รัฐบาลเป็นรัฐบาลต่อไปก่อน เมื่อใดมีหลักฐานทำให้พวกตนตัดสินใจเป็นอย่างอื่นก็จะแจ้งให้พี่น้องเสื้อแดงรับทราบ
ส่วนที่เชื่อว่าเป็นการตัดสินใจของประธานรัฐสภาโดยลำพังหรือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาเกี่ยวข้อง นั้น ก่อแก้ว บอกว่า เชื่อว่าประธานรัฐสภาคงชั่งน้ำหนักในหลายด้านทั้งข้อกฎหมาย คำขู่ คำห่วงใยซึ่งแรงผลักดันมีทั้งส.ส.ที่สนับสนุนและเตือน คงไม่เกี่ยวกับพ.ต.ท.ทักษิณ
“เสื้อแดงจะอดทนให้ถึงที่สุดเพื่อบ้านเมือง แต่ความอดทนก็มีขีดจำกัดเพราะเราก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่ง่าย เราต้องอดทนต้องเสียสละ แต่การตัดสินใจของประธานรัฐสภาทำให้พรรคเพื่อไทยต้องกลับไปคิดว่าท่ามกลางสงครามที่ยังไม่จบสิ้น พรรคเพื่อไทยก็ควรพิจารณาหาคนที่มีความกล้าหาญในการตัดสินใจมาทำหน้าที่ต่างๆ ถ้าถามว่าเกี๊ยะเซี๊ยะต่ออำมาตย์หรือไม่ ผมว่ามองได้สองมิติคือหนึ่งเราสมยอมต่ออำนาจไม่ถูกต้อง กับเราต้องระมัดระวังการก้าวเดิน”ก่อแก้ว กล่าว
พร้อมระบุว่า ให้สถานการณ์เป็นตัวบ่งชี้ แต่ที่ผ่านมาเสื้อแดงอดทนอยู่แล้ว เสื้อแดงตายเป็นร้อย ฆาตกรยังนั่งอยู่ในสภา เรารอให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจัดการ แต่ไม่จัดการเราก็ยังทนได้ ดีกว่าล้มรัฐบาลแล้วให้ฝ่ายตรงข้ามขึ้นมามีอำนาจ แม้จะผิดหวังในตัวประธานรัฐสภา แต่ก็ยังรักน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ทุ่มเททำงาน ส่วนการทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถ้ายังไม่หยุดยังพิจารณาคดีต่อไปก็เสี่ยงต่อวิกฤตการเผชิญหน้า ซึ่งตุลาการก็รับผิดชอบไม่ไหว
“ฝ่ายอำมาตย์ที่คิดว่าเรื่องนี้จะสร้างความแตกแยกระหว่างพรรคเพื่อไทยกับคนเสื้อแดง อย่าเพิ่งฝันหวาน แม้ผมจะไม่พอใจประธานรัฐสภา แต่ไม่ได้หมายความว่าผมไม่พอใจประธานรัฐสภา” ก่อแก้ว กล่าว
ถึงแม้ส.ส.แดง จะไม่พอใจ แต่ยังต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกฯ กล่าวในที่ประชุม ครม. ว่า หน่วยข่าวความมั่นคงวิเคราะห์ว่าหากเดินหน้าไม่ถอยแก้รัฐธรรมนูญ ระวังไม่โดนขาไป ก็โดนขามา
ในที่สุดทีประชุมเห็นตรงกันว่าควรชะลอการลงมติรัฐธรรมนูญ วาระสาม เอาไว้ก่อน เพราะสถานการณ์การเมืองมีความละเอียดอ่อน
การลงมติว่ารัฐสภา จะยอมรับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถึงแม้รัฐบาลผนวกเสียงส.ว.ได้ 318 เสียง แต่ก็ไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 322 เสียง ทำให้ญัตตินั้นเป็นอันตกไป
"เป็นชัยชนะที่ไม่ได้ชัยชนะ"
ถ้าถอดรหัสสถานการณ์เวลานี้ รัฐบาลกำลังประคองตัวเองอยู่ให้ยาวที่สุด ยอมแลกกับการแตกหักกับมวลชนคนเสื้อแดง เพื่ออะไร คำตอบมีอยู่ในท่าทีทั้ง2ฝ่าย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สามัญสำนึก !!!?
ต้องนับว่าเป็นความพยายามอย่างยิ่งของ..ฟากฝ่ายที่อยากจะให้การ..กำเนิดเกิดใหม่ของรัฐธรรมนูญต้องชะงักงันหรือสะดุดหยุดลง
แน่นอนว่า..ฝ่ายที่สร้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมา..ย่อมจะรู้สึกเสียหน้าเสียตา..หากว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีอายุแค่ 6 ปี..
ใครบ้างที่เป็นครอบครัวของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็คือตัวตนที่ออกมา..สนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งให้ชะลอการลงมติวาระ 3
ก็คนหน้าเดิมทั้งนั้น
แต่นักกฎหมายที่ไม่ใช่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองนักวิชาการอิสระทั้งหลาย ต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่า..ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับเรื่องจากอัยการสูงสุดเท่านั้นมาวินิจฉัย..จะลงไปรับเองเออเองไม่ได้
แต่โดยสามัญสำนึกแล้ว..สามัญสำนึกเป็นเช่นไร ถูกผิดในเรื่องนี้ก็เป็นเช่นนั้น
ไม่มีประเทศประชาธิปไตยประเทศใด..จะให้อำนาจขนาดนี้กับ..คนไม่กี่คน..และองค์กรองค์กรเดียว..มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดขนาดนี้
เพราะหากท่านรับเรื่องจากใครก็ได้ และสั่งรัฐสภาให้ทำอย่างไรก็ได้แล้ว..และมีผลผูกพันให้ทุกส่วนการบริหารการปกครองต้องปฏิบัติตามแล้ว
ชื่อของท่านต้องเปลี่ยนใหม่..เป็น..องค์กรปกครองสูงสุดแห่งชาติ
และโดยสามัญสำนึกแล้ว..รัฐธรรมนูญให้ใช้คน 5 พันคน ตั้งพรรคการเมือง..ใช้ 2 หมื่นคน ในการถอดถอนรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง..แล้วจะให้คนๆ เดียว มีอำนาจเยี่ยงนี้เลยหรือ
และหากว่าคนๆ เดียวสามารถทำได้เช่นว่า..คน 10 ล้านคนของพรรคเพื่อไทย..จะทำเรื่องราวเป็นล้านฉบับ..ให้ศาลรับไปวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไหวหรือ..อธิบายได้ว่า..ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นเช่นนี้
ยิ่งมองกลับเข้าไปในอดีต 14 ปีที่ศาลนี้เกิดขึ้นมา..เรายังมีเรื่องที่..ริดรอนศรัทธา..ของประชาชนเกิดขึ้นมามากมายหลายครั้ง..แม้ประธานศาลเองยังต้องลาออกก่อนกำหนด..
แน่นอนว่า..ศาลคงหมดทางเลี่ยงที่จะสู้ต่อไป..หากทางถอยที่เตรียมไว้..ถูกปิดกั้น..นั่นอาจจะกลายเป็นนำผึ้งหยดเดียว..ที่จะให้อวสานที่ขมขื่นและคาดไม่ถึง
โดย:พญาไม้,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แน่นอนว่า..ฝ่ายที่สร้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมา..ย่อมจะรู้สึกเสียหน้าเสียตา..หากว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีอายุแค่ 6 ปี..
ใครบ้างที่เป็นครอบครัวของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็คือตัวตนที่ออกมา..สนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญ และคำสั่งให้ชะลอการลงมติวาระ 3
ก็คนหน้าเดิมทั้งนั้น
แต่นักกฎหมายที่ไม่ใช่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองนักวิชาการอิสระทั้งหลาย ต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่า..ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับเรื่องจากอัยการสูงสุดเท่านั้นมาวินิจฉัย..จะลงไปรับเองเออเองไม่ได้
แต่โดยสามัญสำนึกแล้ว..สามัญสำนึกเป็นเช่นไร ถูกผิดในเรื่องนี้ก็เป็นเช่นนั้น
ไม่มีประเทศประชาธิปไตยประเทศใด..จะให้อำนาจขนาดนี้กับ..คนไม่กี่คน..และองค์กรองค์กรเดียว..มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดขนาดนี้
เพราะหากท่านรับเรื่องจากใครก็ได้ และสั่งรัฐสภาให้ทำอย่างไรก็ได้แล้ว..และมีผลผูกพันให้ทุกส่วนการบริหารการปกครองต้องปฏิบัติตามแล้ว
ชื่อของท่านต้องเปลี่ยนใหม่..เป็น..องค์กรปกครองสูงสุดแห่งชาติ
และโดยสามัญสำนึกแล้ว..รัฐธรรมนูญให้ใช้คน 5 พันคน ตั้งพรรคการเมือง..ใช้ 2 หมื่นคน ในการถอดถอนรัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง..แล้วจะให้คนๆ เดียว มีอำนาจเยี่ยงนี้เลยหรือ
และหากว่าคนๆ เดียวสามารถทำได้เช่นว่า..คน 10 ล้านคนของพรรคเพื่อไทย..จะทำเรื่องราวเป็นล้านฉบับ..ให้ศาลรับไปวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไหวหรือ..อธิบายได้ว่า..ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นเช่นนี้
ยิ่งมองกลับเข้าไปในอดีต 14 ปีที่ศาลนี้เกิดขึ้นมา..เรายังมีเรื่องที่..ริดรอนศรัทธา..ของประชาชนเกิดขึ้นมามากมายหลายครั้ง..แม้ประธานศาลเองยังต้องลาออกก่อนกำหนด..
แน่นอนว่า..ศาลคงหมดทางเลี่ยงที่จะสู้ต่อไป..หากทางถอยที่เตรียมไว้..ถูกปิดกั้น..นั่นอาจจะกลายเป็นนำผึ้งหยดเดียว..ที่จะให้อวสานที่ขมขื่นและคาดไม่ถึง
โดย:พญาไม้,บางกอกทูเดย์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วสันต์. ประมุขศาลรัฐธรรมนูญ คนที่ก่อกรรม ก็ต้องรับกรรม !!?
ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่เครื่องมืออำมาตย์
มันเป็นข้อกล่าวอ้างตามคำร้อง ผู้ร้อง เขากล่าวอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นอย่างอื่น เขาบอกว่ามีเจตนาซ่อนเร้น แอบแฝง
เป็นคำอรรถาธิบายของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" ประธานศาลรัฐธรรมนูญ วันที่องค์กรศาลรัฐธรรมนูญถูกดึงคลุกฝุ่นการเมือง
รัฐธรรมนูญมาตรา 68 กำลังกลายเป็นปัญหาการตีความ ในเรื่องช่องทางการร้องเรียนว่าผู้ทราบการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะต้องยื่นอัยการสูงสุดตรวจสอบเท่านั้น หรือสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้อีกช่องทางหนึ่ง
และคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ห้ามรัฐสภาโหวตรัฐธรรมนูญวาระ 3 มีผลผูกพันกับองค์กรอื่นหรือไม่
มุมมองของ "วสันต์" เทียบการแก้รัฐธรรมนูญเป็นการพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน "เราได้พิเคราะห์ตัวบทแล้ว เห็นว่าเป็นสิทธิของผู้ร้องเรื่องจะพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน อย่างเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะนำไปสู่การวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเพียงท่านเดียว น่าจะเป็นการตีความที่แคบ"
"เราระวังมากกับการก้าวล่วงเกี่ยวข้องกับอำนาจอื่น อย่างน้อยที่สุดก็ต้องไต่สวนควรความก่อนว่าจริงหรือเปล่า"
"อย่างน้อยที่สุดในเบื้องต้น มีคำร้องกล่าวหาว่าการกระทำของบุคคลเหล่านี้ ก็ต้องฟังก่อนว่าคนที่เขาถูกฟ้อง ถูกร้องจะว่าอย่างไร เขาจะรับสารภาพไหมว่าเขาคิดอย่างนั้นจริง เขาคงไม่รับใช่ไหม ถ้าไม่รับก็ปฏิเสธมาสิ มีเหตุผล มีพยานหลักฐานมาก็พิจารณากัน"
เพราะกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใกล้ถึงบรรทัดสุดท้าย เมื่อถึงมือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ไม่มีใครรู้ได้ว่า ส.ส.ร.ทั้ง 99 คนจะเขี่ยบอลอย่างไร
"ถ้าผ่านลูกให้ ส.ส.ร. เขาจะเตะอย่างไรก็ยังไม่รู้ คนเกี่ยวข้องยืนยันไหมว่าไม่ใช่ตามที่ถูกกล่าวหา หรือจะสารภาพ"
วสันต์บอกว่า ยังไกลเกินไปถ้าจะพูดถึงเรื่องยุบพรรค "เขาจะมาสู้คดีหรือไม่ก็ยังไม่รู้ ไต่สวนจะได้ความอย่างไรก็ยังไม่รู้ นี่แค่รับไต่สวนธรรมดาก็เป็นปัญหา"
"แต่ถ้าไต่สวนแล้วเป็นอย่างนั้น ผลก็เป็นไปตามมาตรา 68 วรรคถัดไป คือศาลสั่งให้ยกเลิกการกระทำอันนั้น ก็จะมีคำวินิจฉัยให้หยุดการกระทำอันนั้น และอาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้แค่นั้น จะไม่ยุบก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ"
เขาไม่คิดว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตจะกลายเป็นชนวนขัดแย้งของมวลชนเหลือง-แดงรอบใหม่ เพราะทุกฝ่ายควรใช้เหตุใช้ผลเป็นที่ตั้งมากกว่าการใช้อารมณ์ ไม่ควรนำวาทกรรม 2 มาตรฐานมาปลุกกระแส
"คนเรามันต้องฟังเหตุฟังผล ต้องรับในเหตุผล ไม่ใช่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่เวลาทำอะไรก็ไปว่าสองมาตรฐาน (เสียงดัง) ไอ้คนของคุณที่ว่าสองมาตรฐานเรื่องรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ก็เพิ่งเคยมีเป็นเรื่องแรก สองมาตรฐานตัวจริงคือซุกหุ้นภาคแรก มีปัญหาเรื่องแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ตอนเช้าตัดสินว่าผิด ตอนบ่ายตัดสินว่าไม่ผิด คนละคดี เรื่องเหมือนกัน หน้าตาเหมือนกัน อย่างนี้เขาเรียกสองมาตรฐาน"
วสันต์ยกตัวอย่างคดีเก่าของเพื่อไทย "ผมไม่เห็นพรรคเพื่อไทยมาชื่นชมผม หรือศาลรัฐธรรมนูญ พอผ่าน พ.ร.ก.ให้ 2 ฉบับ เห็นนายกฯมาขอบคุณ ตรงกันข้ามผมตั้งคำถามรองนายกฯกิตติรัตน์ (ณ ระนอง รมว.คลัง) ก็ไปด่าบนเวทีเสื้อแดงว่า ซักยังกับทำตัวเป็นทนายของฝ่ายค้าน พอผ่านให้ ไม่เห็นขอโทษเลยที่ด่าฟรี ๆ ไปแล้ว พวกนี้มีอคติกันมาก่อน พอเห็นหน้าแล้วโอ๊ยนี่เป็นศัตรูร้อยเปอร์เซ็นต์"
"วสันต์" เล่าเหตุการณ์เมื่อปลายปี 2551 "ตอนตัดสินยุบ 3 พรรค ใส่เสื้อแดงไปนั่งกินข้าวอยู่ พวกศาลปกครองสูงสุดมองเหล่เลยว่าขึ้นมาได้ยังไงวะ พอมาดูหน้าก็เอ้า... เลยบอกว่าทำเนียนไง เดี๋ยวจะได้หนีได้ เราก็เตรียมเสื้อแดงมาใส่"
ในชีวิต "วสันต์" ทำหน้าที่ตัดสิน วินิจฉัยมาแล้วหลายคดี เขาบอกว่า...
"คนที่ก่อกรรมก็ต้องรับกรรม ผมอยู่มาปูนนี้ อีกไม่กี่ปีก็ตาย ตายก็บริจาคร่างกายไม่ต้องมีใครมาทำศพ กำหนดไว้ด้วยว่าไม่ต้องมีพิธีสวด ปล่อยให้โรงพยาบาลเขาไปจัดอย่างไรก็เรื่องของเขา เป็นอาจารย์ใหญ่"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มันเป็นข้อกล่าวอ้างตามคำร้อง ผู้ร้อง เขากล่าวอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในลักษณะนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นอย่างอื่น เขาบอกว่ามีเจตนาซ่อนเร้น แอบแฝง
เป็นคำอรรถาธิบายของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" ประธานศาลรัฐธรรมนูญ วันที่องค์กรศาลรัฐธรรมนูญถูกดึงคลุกฝุ่นการเมือง
รัฐธรรมนูญมาตรา 68 กำลังกลายเป็นปัญหาการตีความ ในเรื่องช่องทางการร้องเรียนว่าผู้ทราบการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะต้องยื่นอัยการสูงสุดตรวจสอบเท่านั้น หรือสามารถยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้อีกช่องทางหนึ่ง
และคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ห้ามรัฐสภาโหวตรัฐธรรมนูญวาระ 3 มีผลผูกพันกับองค์กรอื่นหรือไม่
มุมมองของ "วสันต์" เทียบการแก้รัฐธรรมนูญเป็นการพลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน "เราได้พิเคราะห์ตัวบทแล้ว เห็นว่าเป็นสิทธิของผู้ร้องเรื่องจะพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน อย่างเรื่องเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะนำไปสู่การวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเพียงท่านเดียว น่าจะเป็นการตีความที่แคบ"
"เราระวังมากกับการก้าวล่วงเกี่ยวข้องกับอำนาจอื่น อย่างน้อยที่สุดก็ต้องไต่สวนควรความก่อนว่าจริงหรือเปล่า"
"อย่างน้อยที่สุดในเบื้องต้น มีคำร้องกล่าวหาว่าการกระทำของบุคคลเหล่านี้ ก็ต้องฟังก่อนว่าคนที่เขาถูกฟ้อง ถูกร้องจะว่าอย่างไร เขาจะรับสารภาพไหมว่าเขาคิดอย่างนั้นจริง เขาคงไม่รับใช่ไหม ถ้าไม่รับก็ปฏิเสธมาสิ มีเหตุผล มีพยานหลักฐานมาก็พิจารณากัน"
เพราะกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญใกล้ถึงบรรทัดสุดท้าย เมื่อถึงมือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็ไม่มีใครรู้ได้ว่า ส.ส.ร.ทั้ง 99 คนจะเขี่ยบอลอย่างไร
"ถ้าผ่านลูกให้ ส.ส.ร. เขาจะเตะอย่างไรก็ยังไม่รู้ คนเกี่ยวข้องยืนยันไหมว่าไม่ใช่ตามที่ถูกกล่าวหา หรือจะสารภาพ"
วสันต์บอกว่า ยังไกลเกินไปถ้าจะพูดถึงเรื่องยุบพรรค "เขาจะมาสู้คดีหรือไม่ก็ยังไม่รู้ ไต่สวนจะได้ความอย่างไรก็ยังไม่รู้ นี่แค่รับไต่สวนธรรมดาก็เป็นปัญหา"
"แต่ถ้าไต่สวนแล้วเป็นอย่างนั้น ผลก็เป็นไปตามมาตรา 68 วรรคถัดไป คือศาลสั่งให้ยกเลิกการกระทำอันนั้น ก็จะมีคำวินิจฉัยให้หยุดการกระทำอันนั้น และอาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้แค่นั้น จะไม่ยุบก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ"
เขาไม่คิดว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตจะกลายเป็นชนวนขัดแย้งของมวลชนเหลือง-แดงรอบใหม่ เพราะทุกฝ่ายควรใช้เหตุใช้ผลเป็นที่ตั้งมากกว่าการใช้อารมณ์ ไม่ควรนำวาทกรรม 2 มาตรฐานมาปลุกกระแส
"คนเรามันต้องฟังเหตุฟังผล ต้องรับในเหตุผล ไม่ใช่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่เวลาทำอะไรก็ไปว่าสองมาตรฐาน (เสียงดัง) ไอ้คนของคุณที่ว่าสองมาตรฐานเรื่องรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ก็เพิ่งเคยมีเป็นเรื่องแรก สองมาตรฐานตัวจริงคือซุกหุ้นภาคแรก มีปัญหาเรื่องแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ตอนเช้าตัดสินว่าผิด ตอนบ่ายตัดสินว่าไม่ผิด คนละคดี เรื่องเหมือนกัน หน้าตาเหมือนกัน อย่างนี้เขาเรียกสองมาตรฐาน"
วสันต์ยกตัวอย่างคดีเก่าของเพื่อไทย "ผมไม่เห็นพรรคเพื่อไทยมาชื่นชมผม หรือศาลรัฐธรรมนูญ พอผ่าน พ.ร.ก.ให้ 2 ฉบับ เห็นนายกฯมาขอบคุณ ตรงกันข้ามผมตั้งคำถามรองนายกฯกิตติรัตน์ (ณ ระนอง รมว.คลัง) ก็ไปด่าบนเวทีเสื้อแดงว่า ซักยังกับทำตัวเป็นทนายของฝ่ายค้าน พอผ่านให้ ไม่เห็นขอโทษเลยที่ด่าฟรี ๆ ไปแล้ว พวกนี้มีอคติกันมาก่อน พอเห็นหน้าแล้วโอ๊ยนี่เป็นศัตรูร้อยเปอร์เซ็นต์"
"วสันต์" เล่าเหตุการณ์เมื่อปลายปี 2551 "ตอนตัดสินยุบ 3 พรรค ใส่เสื้อแดงไปนั่งกินข้าวอยู่ พวกศาลปกครองสูงสุดมองเหล่เลยว่าขึ้นมาได้ยังไงวะ พอมาดูหน้าก็เอ้า... เลยบอกว่าทำเนียนไง เดี๋ยวจะได้หนีได้ เราก็เตรียมเสื้อแดงมาใส่"
ในชีวิต "วสันต์" ทำหน้าที่ตัดสิน วินิจฉัยมาแล้วหลายคดี เขาบอกว่า...
"คนที่ก่อกรรมก็ต้องรับกรรม ผมอยู่มาปูนนี้ อีกไม่กี่ปีก็ตาย ตายก็บริจาคร่างกายไม่ต้องมีใครมาทำศพ กำหนดไว้ด้วยว่าไม่ต้องมีพิธีสวด ปล่อยให้โรงพยาบาลเขาไปจัดอย่างไรก็เรื่องของเขา เป็นอาจารย์ใหญ่"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ประชาธิปไตย อำพราง !!?
ที่มาของ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” มีน้ำเชื้อเบ่งออกมาจากหลอดแก้ว “เผด็จการ”.. อันเนื่องมาจาก “การปฏิวัติ” จึงผิดฝาปิดตัว ทุกอย่าง
โลกประชาธิปไตยพันธุ์แท้เต็มใบ ต้องมาจากการเลือกตั้ง มีวาระอยู่แค่ ๔ ปี ..๒ สมัย ก็ต้องเก็บฉาก ไปอยู่บ้าน
แต่ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” มีภูมิคุ้มกัน “อภิสิทธิ์ชน” อยู่ได้ ๑ วาระ ตั้ง “๙ ปี” จนก้นด้านริดสีดวงรับประทาน
เป็นกันจนฝีดาษถามหา.. แต่ก็ยังเจี๊ยะเต้เสวยบุญ เป็น “ตุลาการ” ดูช่างทะแม่ง ขัดกับ“ประชาธิปไตยต้นแบบ” ของ “อังกฤษ” และ “สหรัฐอเมริกา” ต้องชิดซ้าย
โคตรเหง้าสักหลาด ..มาจากอำนาจอุบาทว์..เราต้องรีบขจัด พวกนี้ออกไป
+++++++++++++++++++++++++++
สงครามประชาชน
หยิบ “สงครามฝ่ายเหนือ-ฝ่ายใต้” แห่งมลรัฐสหรัฐอเมริกา มายกเป็นตัวอย่าง แก่จำอวดข้างถนน อย่าง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ดูเป็นแซมเปิ้ล ตัวอย่าง สักหน
สุดท้ายนักประชาธิปไตย เสียง “ฝ่ายเหนือ” ก็กำชัยเด็ดขาดต่อ “ฝ่ายใต้”จอมทุรัง
ปั่นกระแส สร้างโจ๊ก เล่นวาทะกรรม..บั้นปลาย “ฝ่ายใต้” ก็ต้องพัง
ฐานที่มั่นหลัก “ประชาธิปัตย์” มีเพียงแดนสะตอ...ผิดกับ “เพื่อไทย” ของ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มี ฝ่ายเหนือ ฝ่ายอีสาน ฝ่ายภาคตะวันออก ฝ่ายภาคตะวันตก หนุนชอบธรรม
ให้คนออกมาสู้...แพ้แบบไม่มีประตู...รู้หรือเปล่าท่านยิ่งจะช้ำ
++++++++++++++++++++++++++
ส่องกระจกตัวเอง เสียหน่อย
พรรคไหนหนอ ที่เป็น “ขี้ข้า-ลิ่วล้อ-ทาสในเรือนเบี้ย” ของ “สหรัฐอเมริกา”อยู่บ้อย..บ่อย
คราวที่ “ชวน หลีกภัย” สร้างปรากฏการณ์ “งูเห่า” เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
รีบแจ้นใส่เกือก กระเสือกกระสน บินไปรายงานต่อ “ลุงแซม” ทันที
แม้แต่ “รัฐบาลมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็บินปร๋อ ชูคอไปหา “ประธานาธิบดีสหรัฐ” แทนที่จะบินไปคารวะพี่ใหญ่เอเชีย “จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี-สิงคโปร์” เพื่อสร้างบรรยายกาศดี..ดี
ฉะนั้นที่, “สหรัฐ” ขอมาให้ “สนามบินอู่ตะเภา” เพื่อสำรวจภูมิอากาศ..อย่าตำหนิ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต” รมว.กลาโหม..เพราะสมัย “ชวน”เป็นรัฐบาล ยอมให้ “สิงคโปร์” เข้ามาเคลมใช้สนามบินอุดรธานี เป็นสนามที่ฝึกรบยิงกระสุนให้ลั่น
ก่อนจะเล่นจำอวดบอกใคร..ต้องปูพื้นความใน...ว่า “รัฐบาลไหน”มันอนุมัติก่อนกัน
+++++++++++++++++++++++++++++
“มรดกบาป”
เป็นห่วง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกรงว่า “นารีขี่ม้าขาว” จะพังพาบ
เพราะข้อท้วงติง ที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มีไปถึง “ศาลโลก” เกี่ยวกับดินแดน “ไทย-เขมร”
มีเค้าว่า เราจะเสียดินแดนทางทะเล ให้กับ “กัมพูชา” เหมือนสมัยหัวหน้าพรรคต้นตำรา พรรคประชาธิปัตย์ ไปว่าความ ..จนไทยต้องเสีย “ประสาทเขาพระวิหาร” อยากที่เห็น
“นายกฯปู” ต้องชิงแก้เกมกับ “สมเด็จฮุนเซน” เสียให้ดี..เพราะเราเป็นรองทุกด้าน จากรัฐบาลฟันน้ำนม ไปก่อเหตุทุกด้าน
เสียแผ่นดินแล้วล่ะก้อ...ไอ้พวกนี้มันจะจ้อ...หยิบเรื่องขึ้นมาล่อ เพื่อไล่รัฐบาล
++++++++++++++++++++++++++
ล้างบางให้เกลี้ยง
“นักการเมืองท้องถิ่น” ที่เป็น “ศัตรู” กับ “รัฐบาลปู” อย่าได้ไปเลี้ยง
การชดเชย ช่วยประชาชนที่ถูกน้ำท่วม บ้านละ ๑๕ บาท ๒๐๐ บาท เป็นพวกนักการเมืองท้องถิ่น สร้างรอยด่าง กับ “นายกฯปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
พวกนี้สร้างเหตุ เพื่อให้ “คนเสื้อแดง” ที่เดือดร้อนเกิดความเกลียดชัง ไปรักประชาธิปัตย์
ต้องวาน รัฐมนตรีตงฉิน “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” มท.๑ ไปสอดส่องดูแล นักการเมืองท้องถิ่นปทุมธานี และ นนทบุรี มีพฤติกรรมใส่ร้าย “รัฐบาลปู” อย่างจั๋งหนับ
พวกเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล...ต้องใช้กฎหมายจัดการ..อย่าปล่อยมันแทงข้างหลังอยู่นะครับ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
โลกประชาธิปไตยพันธุ์แท้เต็มใบ ต้องมาจากการเลือกตั้ง มีวาระอยู่แค่ ๔ ปี ..๒ สมัย ก็ต้องเก็บฉาก ไปอยู่บ้าน
แต่ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” มีภูมิคุ้มกัน “อภิสิทธิ์ชน” อยู่ได้ ๑ วาระ ตั้ง “๙ ปี” จนก้นด้านริดสีดวงรับประทาน
เป็นกันจนฝีดาษถามหา.. แต่ก็ยังเจี๊ยะเต้เสวยบุญ เป็น “ตุลาการ” ดูช่างทะแม่ง ขัดกับ“ประชาธิปไตยต้นแบบ” ของ “อังกฤษ” และ “สหรัฐอเมริกา” ต้องชิดซ้าย
โคตรเหง้าสักหลาด ..มาจากอำนาจอุบาทว์..เราต้องรีบขจัด พวกนี้ออกไป
+++++++++++++++++++++++++++
สงครามประชาชน
หยิบ “สงครามฝ่ายเหนือ-ฝ่ายใต้” แห่งมลรัฐสหรัฐอเมริกา มายกเป็นตัวอย่าง แก่จำอวดข้างถนน อย่าง “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ให้ดูเป็นแซมเปิ้ล ตัวอย่าง สักหน
สุดท้ายนักประชาธิปไตย เสียง “ฝ่ายเหนือ” ก็กำชัยเด็ดขาดต่อ “ฝ่ายใต้”จอมทุรัง
ปั่นกระแส สร้างโจ๊ก เล่นวาทะกรรม..บั้นปลาย “ฝ่ายใต้” ก็ต้องพัง
ฐานที่มั่นหลัก “ประชาธิปัตย์” มีเพียงแดนสะตอ...ผิดกับ “เพื่อไทย” ของ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มี ฝ่ายเหนือ ฝ่ายอีสาน ฝ่ายภาคตะวันออก ฝ่ายภาคตะวันตก หนุนชอบธรรม
ให้คนออกมาสู้...แพ้แบบไม่มีประตู...รู้หรือเปล่าท่านยิ่งจะช้ำ
++++++++++++++++++++++++++
ส่องกระจกตัวเอง เสียหน่อย
พรรคไหนหนอ ที่เป็น “ขี้ข้า-ลิ่วล้อ-ทาสในเรือนเบี้ย” ของ “สหรัฐอเมริกา”อยู่บ้อย..บ่อย
คราวที่ “ชวน หลีกภัย” สร้างปรากฏการณ์ “งูเห่า” เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
รีบแจ้นใส่เกือก กระเสือกกระสน บินไปรายงานต่อ “ลุงแซม” ทันที
แม้แต่ “รัฐบาลมาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็บินปร๋อ ชูคอไปหา “ประธานาธิบดีสหรัฐ” แทนที่จะบินไปคารวะพี่ใหญ่เอเชีย “จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลี-สิงคโปร์” เพื่อสร้างบรรยายกาศดี..ดี
ฉะนั้นที่, “สหรัฐ” ขอมาให้ “สนามบินอู่ตะเภา” เพื่อสำรวจภูมิอากาศ..อย่าตำหนิ “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต” รมว.กลาโหม..เพราะสมัย “ชวน”เป็นรัฐบาล ยอมให้ “สิงคโปร์” เข้ามาเคลมใช้สนามบินอุดรธานี เป็นสนามที่ฝึกรบยิงกระสุนให้ลั่น
ก่อนจะเล่นจำอวดบอกใคร..ต้องปูพื้นความใน...ว่า “รัฐบาลไหน”มันอนุมัติก่อนกัน
+++++++++++++++++++++++++++++
“มรดกบาป”
เป็นห่วง “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกรงว่า “นารีขี่ม้าขาว” จะพังพาบ
เพราะข้อท้วงติง ที่ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มีไปถึง “ศาลโลก” เกี่ยวกับดินแดน “ไทย-เขมร”
มีเค้าว่า เราจะเสียดินแดนทางทะเล ให้กับ “กัมพูชา” เหมือนสมัยหัวหน้าพรรคต้นตำรา พรรคประชาธิปัตย์ ไปว่าความ ..จนไทยต้องเสีย “ประสาทเขาพระวิหาร” อยากที่เห็น
“นายกฯปู” ต้องชิงแก้เกมกับ “สมเด็จฮุนเซน” เสียให้ดี..เพราะเราเป็นรองทุกด้าน จากรัฐบาลฟันน้ำนม ไปก่อเหตุทุกด้าน
เสียแผ่นดินแล้วล่ะก้อ...ไอ้พวกนี้มันจะจ้อ...หยิบเรื่องขึ้นมาล่อ เพื่อไล่รัฐบาล
++++++++++++++++++++++++++
ล้างบางให้เกลี้ยง
“นักการเมืองท้องถิ่น” ที่เป็น “ศัตรู” กับ “รัฐบาลปู” อย่าได้ไปเลี้ยง
การชดเชย ช่วยประชาชนที่ถูกน้ำท่วม บ้านละ ๑๕ บาท ๒๐๐ บาท เป็นพวกนักการเมืองท้องถิ่น สร้างรอยด่าง กับ “นายกฯปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
พวกนี้สร้างเหตุ เพื่อให้ “คนเสื้อแดง” ที่เดือดร้อนเกิดความเกลียดชัง ไปรักประชาธิปัตย์
ต้องวาน รัฐมนตรีตงฉิน “ยงยุทธ วิชัยดิษฐ” มท.๑ ไปสอดส่องดูแล นักการเมืองท้องถิ่นปทุมธานี และ นนทบุรี มีพฤติกรรมใส่ร้าย “รัฐบาลปู” อย่างจั๋งหนับ
พวกเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล...ต้องใช้กฎหมายจัดการ..อย่าปล่อยมันแทงข้างหลังอยู่นะครับ
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ภาษาไทยวันละคำ : ตลก.. (ตุลาการ) อัยการสูงสุดไม่ตลกด้วย !!?
ยิ่งดิ้นก็ยิ่งเข้าเนื้อลึกลงไปเรื่อยๆ ตามคำสอนของไทยแท้แต่โบราณจริงๆ
เพราะงานนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญกำลังตกอยู่ในสภาพ ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก... จะเดินหน้าก็ลำบากใจ จะถอยหลังศักดิ์ศรีก็ค้ำคอ
เรื่องของการใช้อำนาจในการรับคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ทำให้กลายเป็นมติคำสั่งที่เป็นเหมือนระเบิดลูกใหญ่หล่นโครมเข้าใส่กลางวงของตุลาการเสียงข้างมาก จนไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร ก็เลยต้องเล่นมุก “รัฐธรรมนูญฉบับภาษาอังกฤษ”
แต่คนทั้งประเทศไม่ตลกไปด้วย เลยทำให้ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงกับอ่วม เพราะเสียงสะท้อนในเรื่องที่ให้คนไทยไปอ่านรัฐธรรมนูญฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น มาแรงเกินกว่าที่นายวสันต์คาดเดาเอาไว้เยอะ
แถมแต่ละเสียงแรงๆทั้งนั้น ไม่ใช่แค่เฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ถึงขนาดไล่ให้ไปเกิดใหม่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักแทนที่จะเกิดในเมืองไทย
แต่ที่เป็นหลักวิชาการภาษาอังกฤษ ก็คือ นายณรงค์เดช สรุโฆษิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายการปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นอกจากระบุว่ากรณีรัฐธรรมนูญ 2550 ชัดเจนว่า ร่างขึ้นจากภาษาไทย อีกทั้งเนื้อความตามมาตรา 68 ในภาษาอังกฤษก็คลุมเครือ ซึ่งแม้จะไม่เชี่ยวชาญนัก แต่เข้าใจว่าคำกริยา request นั้น มีโครงสร้างแบบ "request + someone + to do something" ดังนั้น มาตรา 68 ในภาษาอังกฤษ ก็น่าแปลว่า อัยการสูงสุดต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลอยู่ดี
“หากผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้คำร้องไปศาลได้ทั้งสองช่องทางจริง อย่างน้อยก็น่าจะใส่เครื่องหมายคอมม่าหลังคำว่า facts และเพิ่มคำว่า to หน้าคำว่า submit เป็นดังนี้ In the case where a person or a political party has committed the act under paragraph one, the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and to submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act without, however, prejudice to the institution of a criminal action against such person. แต่ถ้าจะให้ชัดเจนกว่านั้น เติมคำว่า the right to เข้าไปหลังคำว่า and เลย เป็น “... the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and the right to submit…” คราวนี้ จะเป็นดังที่ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญอธิบายมาแน่ๆ”นายณรงค์เดชกล่าว
นายณรงค์เดชยังให้มุมมองด้วยว่าจริงๆแล้วศาลรัฐธรรมนูญสามารถถอนคำสั่งศาลได้เสมอ แต่ศาลคงจะไม่ทำ เพราะจะหมายความว่าความศักดิ์สิทธิ์ของศาลจะลดลงทันที
แต่กรณีนี้อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า คณะทำงานอัยการชุดที่พิจารณาเรื่องนี้ ไม่สนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษวันละคำ อย่างที่นายวสันต์ และตุลาการเสียงข้างมากสนุก
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีคำร้องมาตรา 68 จึงประชุมกันอย่างเคร่งเครียดนานกว่า 6 ชั่วโมง แล้วสรุปความเห็นออกมาว่า ไม่ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ตามมาตรา 68
ซึ่งนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันหนักแน่นว่าหลังจากคณะกรรมการอัยการสรุปข้อเท็จจริง และเสนอให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด พิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณีคำร้องของผู้ร้องทั้ง 6 นั้น
ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติกรรม หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำตามความ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ที่สำคัญมีการชี้แจงกันแบบตรงไปตรงมาด้วยว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมให้อำนาจอัยการสูงสุดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยถึงการกระทำดังกล่าวตามเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา68 หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อมิให้อัยการสุงสุดใช้อำนาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง
ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามมาตรา 68 และการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันเป็นวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งมาตรา 291 รวมทั้งเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความใดที่บ่งชี้หรือแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครอง
อีกทั้งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อนว่าจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ ดังนั้นกรณีตามคำร้องของผู้ร้องทั้งหกข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติการณ์หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการให้เลิกการกระทำการตามมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญ
โดยการพิจารณาของอัยการสูงสุดในเรื่องนี้ไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นแต่อย่างใด
ส่วนกระบวนการต่อไปขององค์กรอื่นๆ ทั้งในส่วนของรัฐสภา หรืออำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทางอัยการสูงสุดไม่ได้พิจารณาในส่วนนั้น เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เท่านั้น
ซึ่งวงในยืนยันว่า ความเห็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีการระบุไว้ชัดเจนว่า เนื้อหาในคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
แน่นอนว่ากรณีนี้คือหนังคนละม้วนกับตอนที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากให้รับคำร้องของกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ และเสียงสะท้อนก็แตกต่างกันด้วย เพราะตอนมติคำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญ โดนชยันโตดังทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะบรรดานักกฎหมาย นักปราชญ์ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ พากันรับไม่ได้ทั้งนั้น
ยิ่งกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง และแกนนำ นปช. ไม่เพียงแต่รับไม่ได้ ยังมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอน 7 ตุลาการเสียงข้างมากกันเลยทีเดียว
ส่วนผู้ที่เชียร์และเห็นด้วยมีเพียงแค่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ กับกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ กับกลุ่ม 40 ส.ว. และกลุ่มพันธมิตรฯเท่านั้น ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ได้ออกมาเจื้อยแจ้วว่า ให้เคารพหลักการ เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ควรเคารพตามนั้น
แต่พอคณะอัยการสูงสุด มีความเห็นสวนทางกับศาลรัฐธรรมนูญ คือไม่รับคำร้อง นายอภิสิทธิ์ก็ลืมสิ่งที่เคยพูดว่าควรเคารพตามคำตัดสินที่ออกมา แต่กลับเล่นงานกล่าวหาว่า อัยการสูงสุดเดินตามธงของรัฐบาลไปโน่นเลย
แถมกลุ่มพันธมิตรก็ออกโรงขู่ฟ่อว่าจะหาช่องทางฟ้องอัยการในเรื่องนี้ แต่ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง สวนกลับไม่กังวลเรื่องนี้ เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น เมื่อพบว่าไม่เข้าตามมาตรา 68 ก็เท่านั้นเอง
เจอเข้าเต็มๆแบบนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมต้องดิ้นหาทางออก เมื่ออัยการสูงสุดเห้นไม่ตรงกับตุลาการ ก็เลยมีการเปลี่ยนการจัดรายการจาก “ภาษาอังกฤษวันละคำ” มาเป็นจัดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ”อีกรอบหนึ่ง
โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกข่าวมาชี้แจงว่า การที่อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วไม่ฟ้อง ก็ยิ่งเป็นการทำให้เห็นว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 ประการ คือ 1 มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยตรงได้
พร้อมกับระบุด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของอัยการกับศาลนั้นแตกต่างกัน เพราะอัยการต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วจึงใช้ดุลพินิจว่าจะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่ศาลต้องรับคำฟ้องหรือคำร้องให้เป็นคดีก่อน แล้วค่อยไปพิจารณาหลักฐานของทุกฝ่าย
งานนี้เห็นชัดเจนว่าตุลาการรัฐธรรมนูญไม่เลิกเล่นเกมตีความภาษา แต่หันมาตีความภาษาไทยอีกรอบหนึ่ง เรียกว่าเป็นการเปิดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ” ขึ้นมาหมายกู้ศรัทธาคืน
เพราะเสียรังวัดตอนงัดภาษาอังกฤษมาสู้ จนเจอไล่ไปเกิดใหม่บ้าง ตั้งคำถามว่า ภาษาสากลของประเทศไทยที่เป็นทางการหรือเป็นภาษาราชการคือภาษาไทย เพราะเมืองไทยไม่ได้เคยเป็นเมืองขึ้นของตะวันตกภาษาอังกฤษจึงไม่ใช่ภาษาราชการของประเทศไทย แล้วทำไมตุลาการ ทำไมนายวสันต์ จึงไปใช้ภาษาอังกฤษ
เมื่อโดนจนจุก จึงต้องหันมาใช้ตีความภาษาไทยวันละคำสู้อีกรอบ
งานนี้ไม่รู้ว่านักภาษาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จะส่ายหน้าด้วยความอิดหนาระอาใจหรือเปล่า เพราะประโยคเจ้าปัญหาในมาตรา 68 วรรคสอง ที่เป็นกรณีขึ้นมาด้วยฝีมือของตุลาการ ก็คือ
“ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว”
ครูภาษาไทยมาทั้งชีวิตบอกว่า ประโยคนี้ไม่มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ฉะนั้นแม้แต่ตามหลักภาษาไทย โดยที่ไม่ต้องดูเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ต้องบอกว่า เป็นสิทธิในการเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง
แต่สิ่งที่ตุลาการรัฐธรรมนูญกระทำกับภาษาไทยประโยคนี้คือ ไปทำเหมือนกับว่า มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ก็เลยตีความว่า ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ทั้งๆที่โดยรูปประโยค หากฝืนไปแยกเว้นวรรค เพื่ออ้างว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 สิทธิอย่างที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้างนั้น จะกลายเป็นว่า แล้วกระบวนการของอัยการสูงสุดก็จะกุดด้วนอยู่แค่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้นหรือ
ถ้าฝืนตีความภาษาไทยให้แยกประโยคขาดกันเช่นนั้นแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ จะให้อัยการทำอะไร
ในเมื่อประโยคนี้เป็นประโยคติดกัน ย่อมต้องหมายความว่าให้อัยการสูงสุดทำทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการยื่นคำร้อง
เรื่องนี้ต่อให้ถึงครูอังคณา หากยึดหลักไวยากรณ์ไทย ก็ต้องออกมาแบบนี้
ปัญหานี้เกิดจากการไม่เข้าใจเครื่องหมายวรรคตอนทางด้านภาษาไทยอย่างแท้จริง ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะเด็กรุ่นใหม่ๆก็มีปัญหาในเรื่องการเว้นวรรคไม่เว้นวรรคนี่แหละ ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นในคนรุ่นผู้ใหญ่ด้วย
จึงถือเป็นวิกฤตของภาษาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะขนาดผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรม แต่กลับตีความภาษาไทยแตกต่างกันอย่างนี้ ประชาชนที่หวังพึ่งระบบยุติธรรมก็คงอดรู้สึกวังเวงไม่ได้
งานนี้นอกจากจะเป็นศึกงัดข้อทางด้านกฎหมายแล้ว ยังเป็นสงครามการตีความภาษาไทยอีกด้วย
แบบนี้แหละที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ต้องออกมาบอกว่าห่วงที่บ้านเมืองยังคงมีการแบ่งเป็นเหลืองเป็นแดง
แต่ยังดีที่การันตีว่า บรรดาพวกที่ชอบกระชุ่นให้ทหารปฏิวัตินั้น ลืมไปได้เลย..
ยังไงก็ไม่ปฏิวัติแน่!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เพราะงานนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญกำลังตกอยู่ในสภาพ ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก... จะเดินหน้าก็ลำบากใจ จะถอยหลังศักดิ์ศรีก็ค้ำคอ
เรื่องของการใช้อำนาจในการรับคำร้องของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ทำให้กลายเป็นมติคำสั่งที่เป็นเหมือนระเบิดลูกใหญ่หล่นโครมเข้าใส่กลางวงของตุลาการเสียงข้างมาก จนไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร ก็เลยต้องเล่นมุก “รัฐธรรมนูญฉบับภาษาอังกฤษ”
แต่คนทั้งประเทศไม่ตลกไปด้วย เลยทำให้ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงกับอ่วม เพราะเสียงสะท้อนในเรื่องที่ให้คนไทยไปอ่านรัฐธรรมนูญฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษนั้น มาแรงเกินกว่าที่นายวสันต์คาดเดาเอาไว้เยอะ
แถมแต่ละเสียงแรงๆทั้งนั้น ไม่ใช่แค่เฉพาะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่ถึงขนาดไล่ให้ไปเกิดใหม่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักแทนที่จะเกิดในเมืองไทย
แต่ที่เป็นหลักวิชาการภาษาอังกฤษ ก็คือ นายณรงค์เดช สรุโฆษิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชากฎหมายการปกครองและกฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นอกจากระบุว่ากรณีรัฐธรรมนูญ 2550 ชัดเจนว่า ร่างขึ้นจากภาษาไทย อีกทั้งเนื้อความตามมาตรา 68 ในภาษาอังกฤษก็คลุมเครือ ซึ่งแม้จะไม่เชี่ยวชาญนัก แต่เข้าใจว่าคำกริยา request นั้น มีโครงสร้างแบบ "request + someone + to do something" ดังนั้น มาตรา 68 ในภาษาอังกฤษ ก็น่าแปลว่า อัยการสูงสุดต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลอยู่ดี
“หากผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญประสงค์จะให้คำร้องไปศาลได้ทั้งสองช่องทางจริง อย่างน้อยก็น่าจะใส่เครื่องหมายคอมม่าหลังคำว่า facts และเพิ่มคำว่า to หน้าคำว่า submit เป็นดังนี้ In the case where a person or a political party has committed the act under paragraph one, the person knowing of such act shall have the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and to submit a motion to the Constitutional Court for ordering cessation of such act without, however, prejudice to the institution of a criminal action against such person. แต่ถ้าจะให้ชัดเจนกว่านั้น เติมคำว่า the right to เข้าไปหลังคำว่า and เลย เป็น “... the right to request the Prosecutor General to investigate its facts, and the right to submit…” คราวนี้ จะเป็นดังที่ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญอธิบายมาแน่ๆ”นายณรงค์เดชกล่าว
นายณรงค์เดชยังให้มุมมองด้วยว่าจริงๆแล้วศาลรัฐธรรมนูญสามารถถอนคำสั่งศาลได้เสมอ แต่ศาลคงจะไม่ทำ เพราะจะหมายความว่าความศักดิ์สิทธิ์ของศาลจะลดลงทันที
แต่กรณีนี้อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่า คณะทำงานอัยการชุดที่พิจารณาเรื่องนี้ ไม่สนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษวันละคำ อย่างที่นายวสันต์ และตุลาการเสียงข้างมากสนุก
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีคำร้องมาตรา 68 จึงประชุมกันอย่างเคร่งเครียดนานกว่า 6 ชั่วโมง แล้วสรุปความเห็นออกมาว่า ไม่ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ตามมาตรา 68
ซึ่งนายวินัย ดำรงค์มงคลกุล อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันหนักแน่นว่าหลังจากคณะกรรมการอัยการสรุปข้อเท็จจริง และเสนอให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด พิจารณาแล้ว เห็นว่ากรณีคำร้องของผู้ร้องทั้ง 6 นั้น
ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติกรรม หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำตามความ รัฐธรรมนูญ มาตรา 68
ที่สำคัญมีการชี้แจงกันแบบตรงไปตรงมาด้วยว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแล้ว ก็ย่อมให้อำนาจอัยการสูงสุดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยถึงการกระทำดังกล่าวตามเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา68 หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อมิให้อัยการสุงสุดใช้อำนาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง
ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามมาตรา 68 และการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันเป็นวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งมาตรา 291 รวมทั้งเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความใดที่บ่งชี้หรือแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครอง
อีกทั้งเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อนว่าจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ ดังนั้นกรณีตามคำร้องของผู้ร้องทั้งหกข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติการณ์หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการให้เลิกการกระทำการตามมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญ
โดยการพิจารณาของอัยการสูงสุดในเรื่องนี้ไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ขององค์กรอื่นแต่อย่างใด
ส่วนกระบวนการต่อไปขององค์กรอื่นๆ ทั้งในส่วนของรัฐสภา หรืออำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญนั้น ทางอัยการสูงสุดไม่ได้พิจารณาในส่วนนั้น เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เท่านั้น
ซึ่งวงในยืนยันว่า ความเห็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงมีการระบุไว้ชัดเจนว่า เนื้อหาในคำร้องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่เป็นการล้มล้างการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
แน่นอนว่ากรณีนี้คือหนังคนละม้วนกับตอนที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากให้รับคำร้องของกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ และเสียงสะท้อนก็แตกต่างกันด้วย เพราะตอนมติคำสั่งของตุลาการรัฐธรรมนูญ โดนชยันโตดังทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะบรรดานักกฎหมาย นักปราชญ์ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ พากันรับไม่ได้ทั้งนั้น
ยิ่งกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดง และแกนนำ นปช. ไม่เพียงแต่รับไม่ได้ ยังมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอน 7 ตุลาการเสียงข้างมากกันเลยทีเดียว
ส่วนผู้ที่เชียร์และเห็นด้วยมีเพียงแค่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ กับกลุ่ม พล.อ.สมเจตน์ กับกลุ่ม 40 ส.ว. และกลุ่มพันธมิตรฯเท่านั้น ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ได้ออกมาเจื้อยแจ้วว่า ให้เคารพหลักการ เมื่อตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยออกมาแล้ว ก็ควรเคารพตามนั้น
แต่พอคณะอัยการสูงสุด มีความเห็นสวนทางกับศาลรัฐธรรมนูญ คือไม่รับคำร้อง นายอภิสิทธิ์ก็ลืมสิ่งที่เคยพูดว่าควรเคารพตามคำตัดสินที่ออกมา แต่กลับเล่นงานกล่าวหาว่า อัยการสูงสุดเดินตามธงของรัฐบาลไปโน่นเลย
แถมกลุ่มพันธมิตรก็ออกโรงขู่ฟ่อว่าจะหาช่องทางฟ้องอัยการในเรื่องนี้ แต่ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง สวนกลับไม่กังวลเรื่องนี้ เนื่องจากอัยการสูงสุดพิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น เมื่อพบว่าไม่เข้าตามมาตรา 68 ก็เท่านั้นเอง
เจอเข้าเต็มๆแบบนี้ตุลาการรัฐธรรมนูญย่อมต้องดิ้นหาทางออก เมื่ออัยการสูงสุดเห้นไม่ตรงกับตุลาการ ก็เลยมีการเปลี่ยนการจัดรายการจาก “ภาษาอังกฤษวันละคำ” มาเป็นจัดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ”อีกรอบหนึ่ง
โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกข่าวมาชี้แจงว่า การที่อัยการสูงสุดพิจารณาแล้วไม่ฟ้อง ก็ยิ่งเป็นการทำให้เห็นว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 ประการ คือ 1 มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ 2 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยตรงได้
พร้อมกับระบุด้วยว่า การปฏิบัติหน้าที่ของอัยการกับศาลนั้นแตกต่างกัน เพราะอัยการต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนแล้วจึงใช้ดุลพินิจว่าจะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่ศาลต้องรับคำฟ้องหรือคำร้องให้เป็นคดีก่อน แล้วค่อยไปพิจารณาหลักฐานของทุกฝ่าย
งานนี้เห็นชัดเจนว่าตุลาการรัฐธรรมนูญไม่เลิกเล่นเกมตีความภาษา แต่หันมาตีความภาษาไทยอีกรอบหนึ่ง เรียกว่าเป็นการเปิดรายการ “ภาษาไทยวันละคำ” ขึ้นมาหมายกู้ศรัทธาคืน
เพราะเสียรังวัดตอนงัดภาษาอังกฤษมาสู้ จนเจอไล่ไปเกิดใหม่บ้าง ตั้งคำถามว่า ภาษาสากลของประเทศไทยที่เป็นทางการหรือเป็นภาษาราชการคือภาษาไทย เพราะเมืองไทยไม่ได้เคยเป็นเมืองขึ้นของตะวันตกภาษาอังกฤษจึงไม่ใช่ภาษาราชการของประเทศไทย แล้วทำไมตุลาการ ทำไมนายวสันต์ จึงไปใช้ภาษาอังกฤษ
เมื่อโดนจนจุก จึงต้องหันมาใช้ตีความภาษาไทยวันละคำสู้อีกรอบ
งานนี้ไม่รู้ว่านักภาษาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย จะส่ายหน้าด้วยความอิดหนาระอาใจหรือเปล่า เพราะประโยคเจ้าปัญหาในมาตรา 68 วรรคสอง ที่เป็นกรณีขึ้นมาด้วยฝีมือของตุลาการ ก็คือ
“ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว”
ครูภาษาไทยมาทั้งชีวิตบอกว่า ประโยคนี้ไม่มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ฉะนั้นแม้แต่ตามหลักภาษาไทย โดยที่ไม่ต้องดูเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ต้องบอกว่า เป็นสิทธิในการเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง
แต่สิ่งที่ตุลาการรัฐธรรมนูญกระทำกับภาษาไทยประโยคนี้คือ ไปทำเหมือนกับว่า มีการเว้นวรรค ตรงหน้าคำว่าและ ก็เลยตีความว่า ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ทั้งๆที่โดยรูปประโยค หากฝืนไปแยกเว้นวรรค เพื่ออ้างว่าผู้ทราบการกระทำมีสิทธิ 2 สิทธิอย่างที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้างนั้น จะกลายเป็นว่า แล้วกระบวนการของอัยการสูงสุดก็จะกุดด้วนอยู่แค่การตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้นหรือ
ถ้าฝืนตีความภาษาไทยให้แยกประโยคขาดกันเช่นนั้นแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ จะให้อัยการทำอะไร
ในเมื่อประโยคนี้เป็นประโยคติดกัน ย่อมต้องหมายความว่าให้อัยการสูงสุดทำทั้งการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการยื่นคำร้อง
เรื่องนี้ต่อให้ถึงครูอังคณา หากยึดหลักไวยากรณ์ไทย ก็ต้องออกมาแบบนี้
ปัญหานี้เกิดจากการไม่เข้าใจเครื่องหมายวรรคตอนทางด้านภาษาไทยอย่างแท้จริง ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะเด็กรุ่นใหม่ๆก็มีปัญหาในเรื่องการเว้นวรรคไม่เว้นวรรคนี่แหละ ซึ่งไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นในคนรุ่นผู้ใหญ่ด้วย
จึงถือเป็นวิกฤตของภาษาไทยเลยก็ว่าได้ เพราะขนาดผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบยุติธรรม แต่กลับตีความภาษาไทยแตกต่างกันอย่างนี้ ประชาชนที่หวังพึ่งระบบยุติธรรมก็คงอดรู้สึกวังเวงไม่ได้
งานนี้นอกจากจะเป็นศึกงัดข้อทางด้านกฎหมายแล้ว ยังเป็นสงครามการตีความภาษาไทยอีกด้วย
แบบนี้แหละที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ต้องออกมาบอกว่าห่วงที่บ้านเมืองยังคงมีการแบ่งเป็นเหลืองเป็นแดง
แต่ยังดีที่การันตีว่า บรรดาพวกที่ชอบกระชุ่นให้ทหารปฏิวัตินั้น ลืมไปได้เลย..
ยังไงก็ไม่ปฏิวัติแน่!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555
จาตุรนต์ ฉายแสง: จดหมายเปิดผนึกถึง ส.ส.พรรคเพื่อไทยและประชาชนผู้รักประชาธิปไตย !!?
ถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย
และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้แจ้งประธานรัฐสภาให้ชะลอการลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ต่อมาประธานรัฐสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาทราบถึงคำสั่งดังกล่าว ทำให้มีการอภิปรายกันในที่ประชุมรัฐสภาอย่างกว้างขวางแต่ยังไม่เป็นที่ยุติ และประธานรัฐสภาได้นัดประชุมรัฐสภาเพื่อหารือเรื่องนี้ต่อไปในวันอังคารที่ 12 มิถุนายน 2555 นี้
รัฐสภาจะพิจารณาตัดสินใจดำเนินการอย่างไรต่อไปต่อคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญและการลงมติในวาระที่ 3 เป็นกรณีที่มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ทั้งยังอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิกฤตของประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ผมขอเสนอความเห็นดังนี้
1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องในกรณีนี้ไว้พิจารณาได้โดยตรง และศาลรัฐธรรมนูญในอดีตก็ได้วินิจฉัยตีความรัฐธรรมนูญในเรื่องเดียวกันไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจหรือสิทธิที่จะร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องร้องผ่านอัยการสูงสุดเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไปเท่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงกำลังกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง
2. คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้เลขาธิการรัฐสภาแจ้งให้ประธานรัฐสภาชะลอการพิจารณาลงมติในวาระ 3 ออกไป ไม่มีผลผูกพันรัฐสภา รัฐสภาจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ออกมายอมรับแล้วว่าไม่ได้สั่งประธานรัฐสภา และไม่มีอำนาจจะสั่งได้
3. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ตรวจสอบหรือวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าในขั้นตอนที่ยังร่างไม่เสร็จหรือร่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญนี้ และมาตรา 68 ก็มิได้มีไว้ตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
4. ขณะนี้การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 2 ได้ผ่านพ้นมาเกินกว่า 15 วัน รัฐธรรมนูญมาตรา 291 กำหนดให้รัฐสภาต้องจัดให้มีการลงมติในวาระที่ 3 ต่อไป แม้ไม่กำหนดว่าจะต้องลงมติในวันใด โดยประเพณีปฏิบัติของรัฐสภาก็มักกระทำกันในโอกาสแรก
ขณะนี้รัฐสภามีทางเลือกปฏิบัติ 2 ทาง คือ
1.ยืนยันว่าคำสั่งศาลไม่ผูกพันรัฐสภาและกำหนดวันที่เหมาะสมเพื่อลงมติวาระที่ 3 ต่อไป หรือ
2.ยังไม่ลงมติวาระที่ 3 รอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้องเสียก่อน
หากมีการลงมติในวาระที่ 3 ต่อไป และได้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ก็เท่ากับว่ารัฐสภาเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยตรวจสอบ หรือระงับยับยั้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีก
แต่ถ้ารัฐสภาไม่มีการลงมติในวาระที่ 3 ปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องต่อไป ก็เท่ากับรัฐสภาจงใจไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ยินยอมให้ศาลรัฐธรรมนูญมาก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ กระทั่งมีอำนาจเหนือกว่ารัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นบรรทัดฐานที่ผิดอย่างร้ายแรงต่อไป ผลที่ตามมาอาจจะได้แก่การยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ และยิ่งกว่านั้นจะมีผลเท่ากับปิดโอกาสในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องสำคัญต่อไปในอนาคตด้วย
ปัญหาพื้นฐานและต้นเหตุที่สำคัญที่สุดของวิกฤตประเทศคือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยและความอยุติธรรม หนทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ที่สำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยได้ร่วมกับประชาชนต่อสู้กับอำนาจเผด็จการตลอดมาก็เพื่อให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ที่ประชาชนสนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็เพื่อให้พรรคมาแก้ปัญหา พัฒนาประเทศ และเพื่อให้มาร่วมกันทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย
ถึงแม้ว่าประชาชนได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาลแล้วนั้น ตราบใดที่รัฐธรรมนูญนี้ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่ารัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ยังจะทำให้วิกฤตของประเทศร้ายแรงยิ่งขึ้นต่อไปด้วย
ประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และโดยเฉพาะประชาชนที่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยความเสียสละจำนวนมากมายมหาศาล รวมทั้งผู้ที่เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อไปเป็นจำนวนมากนั้น มิได้ต้องการเพียงให้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยและสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตลอดมา
มาถึงโอกาสนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยจะร่วมกับสมาชิกรัฐสภาผู้ยึดถือหลักการประชาธิปไตยทั้งหลายยืนยันหลักการและความถูกต้อง ปฏิเสธคำสั่งที่ไม่มีผลผูกพันรัฐสภา ยืนยันว่าอำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา และดำเนินการต่อไปเพื่อให้มีการลงมติในวาระที่ 3 เพื่อให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชน และให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยตามที่ประชาชนทั้งประเทศได้ฝากความหวังไว้
จาตุรนต์ ฉายแสง
11 มิถุนายน 2555
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้แจ้งประธานรัฐสภาให้ชะลอการลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ต่อมาประธานรัฐสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาทราบถึงคำสั่งดังกล่าว ทำให้มีการอภิปรายกันในที่ประชุมรัฐสภาอย่างกว้างขวางแต่ยังไม่เป็นที่ยุติ และประธานรัฐสภาได้นัดประชุมรัฐสภาเพื่อหารือเรื่องนี้ต่อไปในวันอังคารที่ 12 มิถุนายน 2555 นี้
รัฐสภาจะพิจารณาตัดสินใจดำเนินการอย่างไรต่อไปต่อคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญและการลงมติในวาระที่ 3 เป็นกรณีที่มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ทั้งยังอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิกฤตของประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ผมขอเสนอความเห็นดังนี้
1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องในกรณีนี้ไว้พิจารณาได้โดยตรง และศาลรัฐธรรมนูญในอดีตก็ได้วินิจฉัยตีความรัฐธรรมนูญในเรื่องเดียวกันไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจหรือสิทธิที่จะร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องร้องผ่านอัยการสูงสุดเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไปเท่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงกำลังกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง
2. คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้เลขาธิการรัฐสภาแจ้งให้ประธานรัฐสภาชะลอการพิจารณาลงมติในวาระ 3 ออกไป ไม่มีผลผูกพันรัฐสภา รัฐสภาจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ออกมายอมรับแล้วว่าไม่ได้สั่งประธานรัฐสภา และไม่มีอำนาจจะสั่งได้
3. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ตรวจสอบหรือวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าในขั้นตอนที่ยังร่างไม่เสร็จหรือร่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญนี้ และมาตรา 68 ก็มิได้มีไว้ตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภา
4. ขณะนี้การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 2 ได้ผ่านพ้นมาเกินกว่า 15 วัน รัฐธรรมนูญมาตรา 291 กำหนดให้รัฐสภาต้องจัดให้มีการลงมติในวาระที่ 3 ต่อไป แม้ไม่กำหนดว่าจะต้องลงมติในวันใด โดยประเพณีปฏิบัติของรัฐสภาก็มักกระทำกันในโอกาสแรก
ขณะนี้รัฐสภามีทางเลือกปฏิบัติ 2 ทาง คือ
1.ยืนยันว่าคำสั่งศาลไม่ผูกพันรัฐสภาและกำหนดวันที่เหมาะสมเพื่อลงมติวาระที่ 3 ต่อไป หรือ
2.ยังไม่ลงมติวาระที่ 3 รอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้องเสียก่อน
หากมีการลงมติในวาระที่ 3 ต่อไป และได้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ก็เท่ากับว่ารัฐสภาเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยตรวจสอบ หรือระงับยับยั้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีก
แต่ถ้ารัฐสภาไม่มีการลงมติในวาระที่ 3 ปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องต่อไป ก็เท่ากับรัฐสภาจงใจไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ยินยอมให้ศาลรัฐธรรมนูญมาก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ กระทั่งมีอำนาจเหนือกว่ารัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นบรรทัดฐานที่ผิดอย่างร้ายแรงต่อไป ผลที่ตามมาอาจจะได้แก่การยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ และยิ่งกว่านั้นจะมีผลเท่ากับปิดโอกาสในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องสำคัญต่อไปในอนาคตด้วย
ปัญหาพื้นฐานและต้นเหตุที่สำคัญที่สุดของวิกฤตประเทศคือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยและความอยุติธรรม หนทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ที่สำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยได้ร่วมกับประชาชนต่อสู้กับอำนาจเผด็จการตลอดมาก็เพื่อให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ที่ประชาชนสนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็เพื่อให้พรรคมาแก้ปัญหา พัฒนาประเทศ และเพื่อให้มาร่วมกันทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย
ถึงแม้ว่าประชาชนได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาลแล้วนั้น ตราบใดที่รัฐธรรมนูญนี้ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่ารัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ยังจะทำให้วิกฤตของประเทศร้ายแรงยิ่งขึ้นต่อไปด้วย
ประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และโดยเฉพาะประชาชนที่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยความเสียสละจำนวนมากมายมหาศาล รวมทั้งผู้ที่เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อไปเป็นจำนวนมากนั้น มิได้ต้องการเพียงให้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยและสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตลอดมา
มาถึงโอกาสนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยจะร่วมกับสมาชิกรัฐสภาผู้ยึดถือหลักการประชาธิปไตยทั้งหลายยืนยันหลักการและความถูกต้อง ปฏิเสธคำสั่งที่ไม่มีผลผูกพันรัฐสภา ยืนยันว่าอำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา และดำเนินการต่อไปเพื่อให้มีการลงมติในวาระที่ 3 เพื่อให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชน และให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยตามที่ประชาชนทั้งประเทศได้ฝากความหวังไว้
จาตุรนต์ ฉายแสง
11 มิถุนายน 2555
ที่มา.ประชาไท
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
5 อำนาจในพายุตุลาการภิวัตน์ รัฐสภา-อัยการ-นิติบัญญัติระส่ำ !!?
ทันทีที่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาแสดงจุดยืน-หลักการของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อกรณีที่มีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ออกไปก่อน
ดีกรีความขัดแย้งอาจจะทวีเพิ่มขึ้น หลังจากที่หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องต่างออกมาตบเท้าแสดงความเห็นในทิศทางที่ "ตรงข้าม" กับศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งสิ้น
เริ่มจาก "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ในฐานะประธานสภา ที่ออกมาแสดงท่าทียืนยันที่จะเรียกประชุมร่วมรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษในวันที่ 8 มิ.ย. เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างสภา แต่จะไม่มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันดังกล่าว
ประธานสภาระบุว่า เพื่อยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และไม่ต้องการให้ประชาชนเสียเลือดเสียเนื้อ
"หากสั่งให้เดินหน้าประชุมและให้ลงมติแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ก็ละเมิดอำนาจศาล แต่หากฟังคำสั่งศาล ผมก็ผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วรรคห้า"
ขณะที่ "พิทูร พุ่มหิรัญ" เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แถลงชี้แจงในทิศทางเดียวกับ "สมศักดิ์" ว่า ทีมกฎหมายรัฐสภาก็ได้ตีความอย่างสุจริตเพื่อให้ข้อมูลแก่ประธานสภา
โดยสรุปความเห็นได้ทั้งหมด 6 ประเด็น หยิบยกเอาหลักการแห่งรัฐธรรมนูญมา
สนับสนุนทั้งสิ้น 4 มาตรา ดังนี้
1.มาตรา 3 กำหนดว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นผลให้รัฐสภามีผลผูกพันต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำวินิจฉัยขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ถูกบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าต้องปฏิบัติตาม
2.มาตรา 216 กำหนดให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันเด็ดขาดต่อรัฐสภา แต่ต้องเป็นคำวินิจฉัยต้องถูกกระทำโดยคณะตุลาการไม่น้อยกว่า 5 คน โดยต้องทำความเห็นในคำวินิจฉัยในส่วนของตน และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แต่คำสั่งศาลครั้งนี้ไม่ปรากฏตามลักษณะในมาตรา 216 จึงถือว่าไม่เป็นคำวินิจฉัยที่ผูกพันต่อสภา
3.การที่ศาลรัฐธรรมนูญอาศัยอำนาจตามมาตรา 68 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 213 วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่าศาลรัฐธรรมนูญสามารถเรียกขอเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคล ตลอดจนหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อมาดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาได้
แต่รัฐสภามิใช่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาจึงไม่มีผลผูกพันตามคำสั่งดังกล่าว
4.มาตรา 291 กำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา และการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาต้องเป็นไปตามมาตรา 122 ระบุว่า สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดหรือความครอบงำใด ๆ จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตเพื่อประโยชน์ของประชาชน
5.คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นนี้ เป็นหนังสือส่งถึงเลขาธิการสภาเพื่อให้แจ้งต่อประธานรัฐสภาว่า ขอให้รอดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่ถือว่าเป็น "คำสั่ง" ที่ส่งตรงถึงประธานรัฐสภาหรือรัฐสภาโดยตรง
และ 6.การดำเนินการใดของประธานสภาและรัฐสภาในเรื่องดังกล่าวหลังจากนี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป
ด้าน "อัชพร จารุจินดา" เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า วิธีการรับเรื่องร้องเรียนของศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ไม่เคยมีใครในโลกนี้เขาทำกัน และสิ่งนี้ทำให้เกิดความคาราคาซังของรัฐสภา-รัฐธรรมนูญ
เขาย้ำว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือกฤษฎีกาอีกแล้ว เพราะรัฐบาลไม่มีอำนาจไปบังคับรัฐสภา ดังนั้นสภาจะเดินหน้าต่อโดยไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้น ต้องไปว่ากันด้วยเรื่องข้อกฎหมายต่อไป
"รัฐธรรมนูญบังคับไว้ว่า พอพ้น 15 วันก็ต้องลงมติ แต่หากพ้นกรอบเวลาดังกล่าวไปแล้ว เรื่องนี้ก็จะยังไม่ตกไป ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ก็ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่รัฐสภาสามารถจะคาเรื่องนี้ไว้ได้"
ขณะเดียวกัน "อรรถพล ใหญ่สว่าง" รองอัยการสูงสุด ก็ได้ออกมาเปิดเผยอย่างสงวนท่าที ว่า ขณะนี้ได้รับข้อมูลแค่เฉพาะจากทางสำนักเลขาธิการฯ เท่านั้น แต่ไม่ได้รับข้อมูลจากทางฝั่งศาลรัฐธรรมนูญ
"เหตุที่ต้องขอเอกสารก่อน ก็เพราะต้องตรวจสอบว่ากระบวนการทางรัฐสภาอยู่ในขั้นตอนใดแล้ว ทางด้านศาลก็ต้องดูว่าได้รับคำร้องไว้จริงหรือไม่ ทางเราทำเรื่องขอเอกสารไปนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับทั้งหมด"
ทั้งนี้เมื่อสรุปความเห็นเรียบร้อย จะส่งต่อให้ "จุลสิงห์ วสันตสิงห์" อัยการสูงสุดทันที โดยยืนยันว่า ความเห็นจากอัยการสูงสุดจะตอบคำถามสังคมได้ทุกข้อ
ส่วน "นิคม ไวยรัชพานิช" รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ออกมาแสดงท่าทีสวนทางกับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวว่า การยับยั้งขั้นตอนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติถือว่าเป็นการขัดแย้งต่อกระบวนการถ่วงดุลอำนาจ
หากพิจารณาข้อมูลตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 150 และ 151 จะเห็นปฏิทินการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้อย่างละเอียด
โดยมาตรา 150 ระบุตอนหนึ่งว่า "ร่าง พ.ร.บ.ใดที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้ประธานสภานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วัน เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
ดังนั้น หากรัฐสภาเดินหน้าหารือวันลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ในวันที่ 8 มิ.ย. 55 ก็จะสามารถนัดวันลงมติอย่างเร็วที่สุดในวันที่ 13 มิ.ย. 55 นั่นหมายความว่า ประธานสภาจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในวันที่ 3 ก.ค. 55
ซึ่งเป็นการดำเนินการก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไต่สวนและมีคำวินิจฉัย กรณีมาตรา 68 ที่กำหนดกรอบเบื้องต้นไว้ในวันที่ 5-7 มิ.ย. 55
ขณะเดียวกันในมาตรา 151 ระบุตอนหนึ่งว่า "กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือพ้น 90 วันแล้วยังไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่าง พ.ร.บ.นั้นใหม่ และยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา จากนั้นให้ประธานสภานำขึ้นทูลเกล้าฯอีกครั้ง และหากไม่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้ประธานสภาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"
โดยหากเป็นไปตามปฏิทินข้างต้น จะส่งผลให้รัฐสภาเดินหน้าต่ออย่างช้าที่สุดในวันที่ 3 ต.ค. 55 (3 ก.ค.+90 วัน) เพื่อนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯอีกครั้งหนึ่ง
ในกรณีที่มีการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯครั้งที่สอง แต่มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย มาตรา 151 ก็ได้ระบุว่า หลังจากนั้น 30 วัน ประธานสภาสามารถประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาได้ทันที หรือใน 3 พ.ย. 55
ซึ่งอาจพอสรุปได้ว่า หากรัฐสภาตัดสินใจเดินหน้าและเมินคำสั่ง ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญก็พุ่งเป้าไต่สวนหาคำวินิจฉัย ดีกรีความแรง-ขัดแย้งก็มีโอกาสที่จะปะทุขึ้นอีกครั้งด้วยเช่นกัน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ดีกรีความขัดแย้งอาจจะทวีเพิ่มขึ้น หลังจากที่หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องต่างออกมาตบเท้าแสดงความเห็นในทิศทางที่ "ตรงข้าม" กับศาลรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งสิ้น
เริ่มจาก "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ในฐานะประธานสภา ที่ออกมาแสดงท่าทียืนยันที่จะเรียกประชุมร่วมรัฐสภาเป็นกรณีพิเศษในวันที่ 8 มิ.ย. เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่ค้างสภา แต่จะไม่มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันดังกล่าว
ประธานสภาระบุว่า เพื่อยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก และไม่ต้องการให้ประชาชนเสียเลือดเสียเนื้อ
"หากสั่งให้เดินหน้าประชุมและให้ลงมติแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ก็ละเมิดอำนาจศาล แต่หากฟังคำสั่งศาล ผมก็ผิดรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วรรคห้า"
ขณะที่ "พิทูร พุ่มหิรัญ" เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แถลงชี้แจงในทิศทางเดียวกับ "สมศักดิ์" ว่า ทีมกฎหมายรัฐสภาก็ได้ตีความอย่างสุจริตเพื่อให้ข้อมูลแก่ประธานสภา
โดยสรุปความเห็นได้ทั้งหมด 6 ประเด็น หยิบยกเอาหลักการแห่งรัฐธรรมนูญมา
สนับสนุนทั้งสิ้น 4 มาตรา ดังนี้
1.มาตรา 3 กำหนดว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นผลให้รัฐสภามีผลผูกพันต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำวินิจฉัยขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ถูกบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าต้องปฏิบัติตาม
2.มาตรา 216 กำหนดให้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันเด็ดขาดต่อรัฐสภา แต่ต้องเป็นคำวินิจฉัยต้องถูกกระทำโดยคณะตุลาการไม่น้อยกว่า 5 คน โดยต้องทำความเห็นในคำวินิจฉัยในส่วนของตน และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แต่คำสั่งศาลครั้งนี้ไม่ปรากฏตามลักษณะในมาตรา 216 จึงถือว่าไม่เป็นคำวินิจฉัยที่ผูกพันต่อสภา
3.การที่ศาลรัฐธรรมนูญอาศัยอำนาจตามมาตรา 68 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 213 วรรคหนึ่ง ที่ระบุว่าศาลรัฐธรรมนูญสามารถเรียกขอเอกสาร หลักฐาน หรือบุคคล ตลอดจนหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อมาดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาได้
แต่รัฐสภามิใช่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ รัฐสภาจึงไม่มีผลผูกพันตามคำสั่งดังกล่าว
4.มาตรา 291 กำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา และการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาต้องเป็นไปตามมาตรา 122 ระบุว่า สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดหรือความครอบงำใด ๆ จำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตเพื่อประโยชน์ของประชาชน
5.คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นนี้ เป็นหนังสือส่งถึงเลขาธิการสภาเพื่อให้แจ้งต่อประธานรัฐสภาว่า ขอให้รอดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงไม่ถือว่าเป็น "คำสั่ง" ที่ส่งตรงถึงประธานรัฐสภาหรือรัฐสภาโดยตรง
และ 6.การดำเนินการใดของประธานสภาและรัฐสภาในเรื่องดังกล่าวหลังจากนี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป
ด้าน "อัชพร จารุจินดา" เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า วิธีการรับเรื่องร้องเรียนของศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ไม่เคยมีใครในโลกนี้เขาทำกัน และสิ่งนี้ทำให้เกิดความคาราคาซังของรัฐสภา-รัฐธรรมนูญ
เขาย้ำว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือกฤษฎีกาอีกแล้ว เพราะรัฐบาลไม่มีอำนาจไปบังคับรัฐสภา ดังนั้นสภาจะเดินหน้าต่อโดยไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้น ต้องไปว่ากันด้วยเรื่องข้อกฎหมายต่อไป
"รัฐธรรมนูญบังคับไว้ว่า พอพ้น 15 วันก็ต้องลงมติ แต่หากพ้นกรอบเวลาดังกล่าวไปแล้ว เรื่องนี้ก็จะยังไม่ตกไป ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ก็ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่รัฐสภาสามารถจะคาเรื่องนี้ไว้ได้"
ขณะเดียวกัน "อรรถพล ใหญ่สว่าง" รองอัยการสูงสุด ก็ได้ออกมาเปิดเผยอย่างสงวนท่าที ว่า ขณะนี้ได้รับข้อมูลแค่เฉพาะจากทางสำนักเลขาธิการฯ เท่านั้น แต่ไม่ได้รับข้อมูลจากทางฝั่งศาลรัฐธรรมนูญ
"เหตุที่ต้องขอเอกสารก่อน ก็เพราะต้องตรวจสอบว่ากระบวนการทางรัฐสภาอยู่ในขั้นตอนใดแล้ว ทางด้านศาลก็ต้องดูว่าได้รับคำร้องไว้จริงหรือไม่ ทางเราทำเรื่องขอเอกสารไปนานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับทั้งหมด"
ทั้งนี้เมื่อสรุปความเห็นเรียบร้อย จะส่งต่อให้ "จุลสิงห์ วสันตสิงห์" อัยการสูงสุดทันที โดยยืนยันว่า ความเห็นจากอัยการสูงสุดจะตอบคำถามสังคมได้ทุกข้อ
ส่วน "นิคม ไวยรัชพานิช" รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ออกมาแสดงท่าทีสวนทางกับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ โดยกล่าวว่า การยับยั้งขั้นตอนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติถือว่าเป็นการขัดแย้งต่อกระบวนการถ่วงดุลอำนาจ
หากพิจารณาข้อมูลตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 150 และ 151 จะเห็นปฏิทินการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้อย่างละเอียด
โดยมาตรา 150 ระบุตอนหนึ่งว่า "ร่าง พ.ร.บ.ใดที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ให้ประธานสภานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 วัน เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา"
ดังนั้น หากรัฐสภาเดินหน้าหารือวันลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ในวันที่ 8 มิ.ย. 55 ก็จะสามารถนัดวันลงมติอย่างเร็วที่สุดในวันที่ 13 มิ.ย. 55 นั่นหมายความว่า ประธานสภาจะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯภายในวันที่ 3 ก.ค. 55
ซึ่งเป็นการดำเนินการก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไต่สวนและมีคำวินิจฉัย กรณีมาตรา 68 ที่กำหนดกรอบเบื้องต้นไว้ในวันที่ 5-7 มิ.ย. 55
ขณะเดียวกันในมาตรา 151 ระบุตอนหนึ่งว่า "กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือพ้น 90 วันแล้วยังไม่ได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่าง พ.ร.บ.นั้นใหม่ และยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา จากนั้นให้ประธานสภานำขึ้นทูลเกล้าฯอีกครั้ง และหากไม่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน ให้ประธานสภาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว"
โดยหากเป็นไปตามปฏิทินข้างต้น จะส่งผลให้รัฐสภาเดินหน้าต่ออย่างช้าที่สุดในวันที่ 3 ต.ค. 55 (3 ก.ค.+90 วัน) เพื่อนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯอีกครั้งหนึ่ง
ในกรณีที่มีการนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯครั้งที่สอง แต่มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย มาตรา 151 ก็ได้ระบุว่า หลังจากนั้น 30 วัน ประธานสภาสามารถประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาได้ทันที หรือใน 3 พ.ย. 55
ซึ่งอาจพอสรุปได้ว่า หากรัฐสภาตัดสินใจเดินหน้าและเมินคำสั่ง ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญก็พุ่งเป้าไต่สวนหาคำวินิจฉัย ดีกรีความแรง-ขัดแย้งก็มีโอกาสที่จะปะทุขึ้นอีกครั้งด้วยเช่นกัน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ยอมสละ อวัยวะ !!?
เพื่อไม่ให้คนไทย ต้องเข่นฆ่า ล้างผลาญกันอย่างรุนแรง ไงล่ะฮ่ะ
ถึงเวลาแล้ว ที่ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” ของ “ท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องใส่เกียร์ถอยหลัง ลาออกยกแผง
ใช้อำนาจ ก้าวก่าย “สภานิติบัญญัติ” จนเกิดความขัดแย้ง ในประเทศอย่างรุนแรง
เพื่อเป็นการปราม ไม่ให้แผ่นดินลุกเป็นไฟ “ท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ต้องแสดงสปิริต ว่าไม่ยึดติดในอำนาจ
เมื่อยืนยันทำหน้าที่เถรตรง..ขอให้ปลง..อย่าลุ่มหลง จงลาออกเพื่อเสียสละให้กับชาติ
++++++++++++++++++++++++
เป้าหมาย “โผล่”
แต่ตอนนี้ “พรรคเพื่อไทย” ของ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยอมเสียค่าโง่
ที่จะให้ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” หาเหตุมายุบพรรค
สอดรับ กับ “ประชาธิปัตย์” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่พยายามป่วนอย่างหนัก
แต่ลูกไม้เดิม ๆ มุกเก่า ๆ “มันแป๊ก” มันโบราณล้าสมัย ที่จะ “ยุบพรรค” โดยที่เขาไม่มีความผิด
ซ่อนดาบในรอยยิ้ม...ที่แท้ก็คอยจะเชือดนิ่ม ๆ ...ทิ่มตำพรรคเพื่อไทยให้จมมิด
+++++++++++++++++++++++++++
ต้องคาวระหัวใจ
บอกได้เลยว่า “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จ่าฝูงกองทัพบก มีความเป็นประชาธิปไตย
ในสัปดาห์ที่ผ่าน มีการตีล้อโก๊ะ เพื่อโล๊ะล้มกระดาน “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แต่ “บิ๊กตู่” เข้าเกียร์ว่าง ไม่ยอมปฏิบัติ
ไปดูเส้นทางปฏิวัติ ถ้า “ผู้บัญชาการทหารบก”ไม่ร่วมทีมเวิร์กด้วยแล้วล่ะก้อ มีแต่พับฐาน
การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง..ทหารมายุ่งไม่เข้าเรื่อง..มีแต่เปลืองตัว ล้มเหลวไปตามๆ กัน
+++++++++++++++++++++++++
มาแรง ด้วย “เลือดสีแดง” ชั้นดี
ผลงานยอดเยี่ยม เพราะ “คุณพี่สัณหพจน์ สืบนุการ” ทำงานเพื่อประชาชนเอาไว้มาก เป็นเครื่องหมายการันตี
ในครั้งนี้, “คุณพี่สัณหพจน์” ลงสมัคร นายกเทศบาล ตำบลเกษตรสมบูรณ์
จากผลงานเก่า ที่เป็น รองนายกฯเทศบาลมา ชาวบ้านรากหญ้า ผู้รักประชาธิปไตย จึงเทเสียงหนุน
โดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้อง “ชาวเสื้อแดง” หนุนให้เป็น “นายกฯเทศบาลเกษตรสมบูรณ์” กันเสร็จสรรพ
ทำงานสะอาดหมดจด..ชาวบ้านจึงเทเสียงให้หมด..นับว่าเป็นคนสุดยอดจริงๆ ขอรับ
++++++++++++++++++++++
ข้ามหัวไม่รู้กาลเทศะ
หรือว่า “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถือท้าย จึงตกรางวัลให้กันเจ้าค่ะ
มีผู้แทนของ “พรรคประชาธิปัตย์” ฝากถามกันมา ..ว่า “บุญยอด สุขถิ่นไทย” สส.บัญชีรายชื่อ ฝีมือสะเด็ดสะเด่า แค่ไหน
ถึงได้สิทธิ์พิเศษ เป็นกรรมาธิการงบประมาณกันถึง ๒ สมัย
เมื่อปี ๕๕ ก็รับประทานตำแหน่งนี้มาหน..มาปีนี้ก็เขมือบสวาปามเป็นกรรมาธิการงบประมาณปี ๕๖ เป็นซ้อนกันถึง..ประชาธิปัตย์” มีสส.ถึง ๑๖๕ คน น่ามีคนเหมาะนั่งสักหน
“บุญยอด”เก่งนักหรือ...ถึงยกตำแหน่งให้อื้อ..เหมือนคนประชาธิปัตย์ไม่มีฝีมือ สักคน
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถึงเวลาแล้ว ที่ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” ของ “ท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องใส่เกียร์ถอยหลัง ลาออกยกแผง
ใช้อำนาจ ก้าวก่าย “สภานิติบัญญัติ” จนเกิดความขัดแย้ง ในประเทศอย่างรุนแรง
เพื่อเป็นการปราม ไม่ให้แผ่นดินลุกเป็นไฟ “ท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ต้องแสดงสปิริต ว่าไม่ยึดติดในอำนาจ
เมื่อยืนยันทำหน้าที่เถรตรง..ขอให้ปลง..อย่าลุ่มหลง จงลาออกเพื่อเสียสละให้กับชาติ
++++++++++++++++++++++++
เป้าหมาย “โผล่”
แต่ตอนนี้ “พรรคเพื่อไทย” ของ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ยอมเสียค่าโง่
ที่จะให้ “ตุลาการรัฐธรรมนูญ” หาเหตุมายุบพรรค
สอดรับ กับ “ประชาธิปัตย์” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่พยายามป่วนอย่างหนัก
แต่ลูกไม้เดิม ๆ มุกเก่า ๆ “มันแป๊ก” มันโบราณล้าสมัย ที่จะ “ยุบพรรค” โดยที่เขาไม่มีความผิด
ซ่อนดาบในรอยยิ้ม...ที่แท้ก็คอยจะเชือดนิ่ม ๆ ...ทิ่มตำพรรคเพื่อไทยให้จมมิด
+++++++++++++++++++++++++++
ต้องคาวระหัวใจ
บอกได้เลยว่า “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จ่าฝูงกองทัพบก มีความเป็นประชาธิปไตย
ในสัปดาห์ที่ผ่าน มีการตีล้อโก๊ะ เพื่อโล๊ะล้มกระดาน “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แต่ “บิ๊กตู่” เข้าเกียร์ว่าง ไม่ยอมปฏิบัติ
ไปดูเส้นทางปฏิวัติ ถ้า “ผู้บัญชาการทหารบก”ไม่ร่วมทีมเวิร์กด้วยแล้วล่ะก้อ มีแต่พับฐาน
การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง..ทหารมายุ่งไม่เข้าเรื่อง..มีแต่เปลืองตัว ล้มเหลวไปตามๆ กัน
+++++++++++++++++++++++++
มาแรง ด้วย “เลือดสีแดง” ชั้นดี
ผลงานยอดเยี่ยม เพราะ “คุณพี่สัณหพจน์ สืบนุการ” ทำงานเพื่อประชาชนเอาไว้มาก เป็นเครื่องหมายการันตี
ในครั้งนี้, “คุณพี่สัณหพจน์” ลงสมัคร นายกเทศบาล ตำบลเกษตรสมบูรณ์
จากผลงานเก่า ที่เป็น รองนายกฯเทศบาลมา ชาวบ้านรากหญ้า ผู้รักประชาธิปไตย จึงเทเสียงหนุน
โดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้อง “ชาวเสื้อแดง” หนุนให้เป็น “นายกฯเทศบาลเกษตรสมบูรณ์” กันเสร็จสรรพ
ทำงานสะอาดหมดจด..ชาวบ้านจึงเทเสียงให้หมด..นับว่าเป็นคนสุดยอดจริงๆ ขอรับ
++++++++++++++++++++++
ข้ามหัวไม่รู้กาลเทศะ
หรือว่า “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถือท้าย จึงตกรางวัลให้กันเจ้าค่ะ
มีผู้แทนของ “พรรคประชาธิปัตย์” ฝากถามกันมา ..ว่า “บุญยอด สุขถิ่นไทย” สส.บัญชีรายชื่อ ฝีมือสะเด็ดสะเด่า แค่ไหน
ถึงได้สิทธิ์พิเศษ เป็นกรรมาธิการงบประมาณกันถึง ๒ สมัย
เมื่อปี ๕๕ ก็รับประทานตำแหน่งนี้มาหน..มาปีนี้ก็เขมือบสวาปามเป็นกรรมาธิการงบประมาณปี ๕๖ เป็นซ้อนกันถึง..ประชาธิปัตย์” มีสส.ถึง ๑๖๕ คน น่ามีคนเหมาะนั่งสักหน
“บุญยอด”เก่งนักหรือ...ถึงยกตำแหน่งให้อื้อ..เหมือนคนประชาธิปัตย์ไม่มีฝีมือ สักคน
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ทางรถไฟอาเซียน เป็นจริงหรือแค่ฝัน !!?
พันธ์รบ ราชพงศา
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)
ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน ผมมองว่า เราควรให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงทางกายภาพมากที่สุด เนื่องจากเป็นการเน้นความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และการขยายเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วถึงยิ่งขึ้น
สำหรับยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงที่สำคัญ อาทิ การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านพลังงาน ซึ่งจะส่งเสริมให้การเชื่อมโยงองค์กรและประชาชนเข้าด้วยกันทำได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ปริมาณการผลิตไม่ได้ตอบสนองความต้องการได้ทันท่วงที ทำให้ราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มที่จะพุงสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบ 200 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แน่นอนที่จะส่งผลกระทบต่อการขนส่งอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องหาช่องทางการขนส่งที่ประหยัดพลังงานเพื่อเป็นการลดต้นทุน
การขนส่งทางรถไฟ จึงเป็นทางออกหนึ่ง เพราะสามารถขนส่งสินค้าหนักๆ ในปริมาณมาก และระยะทางไกลได้ สามารถกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทางที่แน่นอน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้า
นอกจากนี้ การขนส่งทางรถไฟสามารถใช้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ได้ จึงเหมาะกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และหากเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งต่อหน่วย จะพบว่าการขนส่งทางรถไฟมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าการขนส่งทางถนนอย่างเห็นได้ชัด การขนส่งด้วยรถบรรทุกมีต้นทุนสูงถึง 2.19 บาท/ตัน-กิโลเมตร ในขณะที่การขนส่งทางรถไฟมีต้นทุน 1.38 บาท/ตัน-กิโลเมตร ดังนั้น เราควรหันมาใช้บริการขนส่งทางรถไฟให้มากขึ้น
สำหรับอาเซียนมีการเชื่อมโยงที่สำคัญคือ โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิง (Singapore Kunming Rail Link: SKRL) ซึ่งเป็นแนวคิดตามโครงการเส้นทางรถไฟสายเอเชียเอสแคป เพื่อเชื่อมทวีปเอเชียและยุโรปเข้าด้วยกัน เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2503 และเป็นทางรถไฟความเร็วสูง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายหลักของ 8 ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม พม่า และมณฑลยูนนานของจีน คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2558
นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังต้องการให้เชื่อมโยงทางรถไฟกับอินโดนีเซีย โดยคิดจะสร้างอุโมงค์รถไฟใต้น้ำลอดช่องแคบมะละกาจากชายแดนมาเลเซียถึงเกาะขนาดเล็กของอินโดนีเซีย ระยะทาง 18.9 กิโลเมตร ก่อนจะสร้างสะพานเชื่อมกับเกาะสุมาตรา ดังนั้น การเชื่อมอาเซียนด้วยรถไฟจึงขาดแค่เพียงฟิลิปปินส์และบรูไนเท่านั้น
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การจะเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวได้ ก็ต้องมีมาตรฐานร่วม แล้วอะไรคือมาตรฐานร่วมของรถไฟ อย่างแรกคือต้องใช้รถไฟระบบรางคู่เป็นอย่างน้อย ต่อมาคือขนาดของรางต้องใช้รางมาตรฐาน (standard gauge) ขนาดรางกว้าง 1.435 เมตร ที่ใช้สำหรับรถไฟความเร็วสูงที่ทำความเร็วได้ 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แต่ปัจจุบัน รถไฟของไทยส่วนใหญ่ยังเป็นระบบรางเดี่ยว หมายความว่า เวลารถไฟสวนกันก็ต้องรอให้อีกขบวนไปก่อน ต้องมีการสับราง ทำให้เสียเวลามาก และเกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ที่สำคัญคือเรื่องความกว้างของราง จริงๆ แล้วไทยเคยใช้รางมาตรฐานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แต่ปัจจุบันใช้รางขนาด 1.000 เมตร หรือ metre gauge ทำความเร็วเฉลี่ยสำหรับการขนส่งผู้โดยสารได้ 47 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความเร็วของการขนส่งสินค่าอยู่ที่ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่การจะเปลี่ยนรางรถไฟทั้งระบบก็ต้องใช้งบประมาณสูงมาก
ขอยกตัวอย่าง กรณีขบวนรถไฟบรรทุกสินค้าของไทย ซึ่งลากรถแคร่บรรทุกคอนเทนเนอร์บรรจุยางพาราอัดแท่งรมควัน เพื่อนำไปส่งยังมาเลเซีย จำนวน 17 แคร่บรรทุกคอนเทนเนอร์รวม 34 ตู้ เกิดอุบัติเหตุเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายประมาณ 400 ล้านบาท ถือเป็นบทเรียนราคาแพงของไทย สาเหตุนั้นเกิดจากระบบรางของไทยไม่ได้มาตรฐานและชำรุด มาเลเซียก็ดูเหมือนจะไม่พอใจกับเหตุการณ์นี้อย่างมาก ต้องการให้ไทยพัฒนาระบบรางให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างที่ไม่ควรเกิดเช่นนี้
ไทยถือเป็นศูนย์กลางการรถไฟของอาเซียนเพราะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แต่อย่าลืมว่าไทยเองก็เปรียบเสมือนโซ่ข้อกลางที่จะเชื่อมทางรถไฟอาเซียนทั้งระบบเข้าด้วยกัน จึงจำเป็นต้องเร่งลงทุนและพัฒนาทางรถไฟให้ได้โดยเร็ว เพราะในอนาคต โอกาสของการค้าจะไม่ได้อยู่แค่ภายในอาเซียน แต่เราสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย (Trans-Siberian) ซึ่งเป็นสายที่ยาวที่สุดในโลก ผ่านจีนและรัสเซีย
ส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่ารถไฟอาเซียนไม่ได้เป็นเพียงแค่ฝัน การเชื่อมโยงด้วยโครงข่ายรถไฟภายในอาเซียนสามารถเป็นไปได้จริง เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าต้องใช้เวลานานแค่ไหน ถ้าความฝันนี้เป็นจริง ประชากรอาเซียนจะเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกยิ่งขึ้น ขนส่งสินค้าระหว่างกันได้มากขึ้น และยังสามารถช่วยกระจายรายได้ได้เป็นอย่างดี การเชื่อมโยงอาเซียนทั้ง 3 มิติ ก็จะมีความสมบูรณ์และแน่นแฟ้นมากขึ้นในที่สุด
Nicstrendy
เชื่อว่าการเปลี่ยนเป็นรางขนาด 1.4 เป็นเรื่องที่ต้องทำไม่ช้าก็เร็ว เพียงแต่ว่าเพื่อนๆในอาเซียนก็ใช้ 1 เมตรกันหมดนะครับ(ยกเว้นอินโดฯ 1.067 เมตร) แล้วทีนี้ก็ต้องเลยตามเลยเชื่อมๆไปแล้วค่อยนัดกันปรับเพื่อความเร็ว 4X หรอครับ หรือว่าเราปรับของเราไปเลยแล้วรอให้เพื่อนบ้านปรับตามมาเองแล้วจึงเชื่อมกันหล่ะครับ
ที่มา.Siam Intelligence Unit
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สงครามรอบใหม่ ม็อบแดง ชนตุลาการภิวัฒน์ !!?
น่าเป็นห่วง! การเมืองไทยที่กำลังก้าวถึงจุดแตกหัก หลังเกมปรองดอง..ปรองเดือดในสภาฯ ถูกทำแท้งไปชั่วขณะ ทั้งจากปฏิบัติการ สภาเสื่อม-สภาถีบ ที่ถูกจุดขึ้น โดย “กลุ่มยังเติร์ก” ในซีกฝ่ายค้าน หรือแม้แต่การสร้าง “ชนวน” ที่อาจนำมาซึ่งความ ขัดแย้งรอบใหม่ ภายใต้ธงทิว ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่ออกมาป่วนหน้าสภา ไปพร้อมๆ กับแนวร่วมจัดตั้งอย่าง “ม็อบบลูสกาย”
นั่นจึงทำให้ “รัฐนาวาเพื่อไทย” มีอัน สะดุดล้ม..หัวทิ่มหัวตำ ซึ่งแม้แต่ “ชีคดูไบ” ก็ยังต้องรีบส่งสัญญาณให้ประธานขุนค้อน “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์” ยอมล่าถอย ด้วยการเลื่อนประชุมสภาออกไปอย่างไร้กำหนด แถมยังมีแนวโน้มสูงว่า จะมีการเสนอ ให้ปิดสมัยประชุมสภา เอาไปว่ากันสมัยหน้า รอเวลาดับ “ชนวนร้อน” ให้ได้เสียก่อน
แต่กระนั้น! ได้เกิดผีซ้ำด้ำพลอย เมื่อ ศาลรัฐธรรมนูญเปิดฉาก “ล้วงลูก” ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยสั่งให้ “รัฐสภา” ชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 เพื่อรอ การพิจารณาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็น การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่..?!!
ทั้งหมดทั้งปวง ทำให้บรรยากาศการเมืองในแบบฉบับ “ตุลาการภิวัฒน์” หวนคืนมาอีกครั้ง! ท่ามกลางความเหลวแหลก ของ “กลไกรัฐสภา” ซึ่งเป็น “เสาหลัก” ในระบอบประชาธิปไตย
ขณะเดียวกัน ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อก! ขึ้นในภาคประชาชน เมื่อกลุ่มเครือข่ายประชาธิปไตย และแนวร่วมเสื้อแดง พากัน ออกมา “ล้อมกรอบ” บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อเรียกร้องและ กดดันการทำงานของ “คณะตุลาการภิวัฒน์”
การเคลื่อนไหวเที่ยวล่าสุดนี้ ยังได้มีการแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนการทำงานขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมแสดงละครล้อเลียน เสียดสีการทำงานของตุลาการศาลฯ และเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญทำงานเป็นที่พึ่งของประชาชน
หลังจากนั้น “ม็อบชุดดำ” ยังได้ทำ การผูกผ้าสีดำ แปะไว้ทุกตัวอักษรของป้ายศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไว้อาลัย! การทำหน้าที่ ของตุลาการศาลฯ หลังมีคำสั่งให้ “รัฐสภา” ชะลอการดันร่างกฎหมายแก้กรรม วาระ 3 ไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึง “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และองค์คณะตุลาการ เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนคำสั่งที่ ให้รัฐสภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ” ระบุว่า ในวันนี้กลุ่มเครือข่ายประชาธิปไตยได้มายื่นหนังสือต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก เห็นว่าการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า ในมาตรา 68 บุคคลที่ทราบการกระทำที่เป็น การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำ ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การกระทำของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่คาดการณ์ ล่วงหน้า รวมถึงกระบวนการรับคำร้องไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ที่ไม่ผ่านอัยการสูงสุด ดังนั้นจึงเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการสั่งชะลอการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ดังนั้นจึงมาเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทบทวนการกระทำดังกล่าวให้อยู่ในหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
“เกษียร เตชะพีระ” อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้ำ หัวตะปูว่า...ได้เวลาตรวจสอบการใช้อำนาจ ของศาลรัฐธรรมนูญ ป้องกันไม่ให้เนื้อหาประชาธิปไตยถูกควักล้วง จนกลายเป็นประชาธิปไตยกลวงเปล่า หรือประชาธิปไตยที่ไร้ซึ่งอำนาจของประชาชนในทางปฏิบัติ
“การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สภา ผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่! ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการ ที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้นจึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้”
แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่เวลานี้ทั้งซีกมวลชน นักวิชาการ หรือกระทั่งฝ่ายการเมือง พากันเข้าคิวจองกฐิน! ศาล รัฐธรรมนูญที่ริไป “ก้าวก่าย” การทำหน้าที่ของกลไกนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะ..ร่างปรองดองลืมอดีต หรือปมแก้รัฐธรรมนูญ ก็ล้วนเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” ที่จะก้าว สืบไปสู่วังวนแห่งความขัดแย้ง!!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นั่นจึงทำให้ “รัฐนาวาเพื่อไทย” มีอัน สะดุดล้ม..หัวทิ่มหัวตำ ซึ่งแม้แต่ “ชีคดูไบ” ก็ยังต้องรีบส่งสัญญาณให้ประธานขุนค้อน “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์” ยอมล่าถอย ด้วยการเลื่อนประชุมสภาออกไปอย่างไร้กำหนด แถมยังมีแนวโน้มสูงว่า จะมีการเสนอ ให้ปิดสมัยประชุมสภา เอาไปว่ากันสมัยหน้า รอเวลาดับ “ชนวนร้อน” ให้ได้เสียก่อน
แต่กระนั้น! ได้เกิดผีซ้ำด้ำพลอย เมื่อ ศาลรัฐธรรมนูญเปิดฉาก “ล้วงลูก” ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยสั่งให้ “รัฐสภา” ชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 เพื่อรอ การพิจารณาว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็น การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่..?!!
ทั้งหมดทั้งปวง ทำให้บรรยากาศการเมืองในแบบฉบับ “ตุลาการภิวัฒน์” หวนคืนมาอีกครั้ง! ท่ามกลางความเหลวแหลก ของ “กลไกรัฐสภา” ซึ่งเป็น “เสาหลัก” ในระบอบประชาธิปไตย
ขณะเดียวกัน ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อก! ขึ้นในภาคประชาชน เมื่อกลุ่มเครือข่ายประชาธิปไตย และแนวร่วมเสื้อแดง พากัน ออกมา “ล้อมกรอบ” บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อเรียกร้องและ กดดันการทำงานของ “คณะตุลาการภิวัฒน์”
การเคลื่อนไหวเที่ยวล่าสุดนี้ ยังได้มีการแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ สะท้อนการทำงานขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมแสดงละครล้อเลียน เสียดสีการทำงานของตุลาการศาลฯ และเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญทำงานเป็นที่พึ่งของประชาชน
หลังจากนั้น “ม็อบชุดดำ” ยังได้ทำ การผูกผ้าสีดำ แปะไว้ทุกตัวอักษรของป้ายศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไว้อาลัย! การทำหน้าที่ ของตุลาการศาลฯ หลังมีคำสั่งให้ “รัฐสภา” ชะลอการดันร่างกฎหมายแก้กรรม วาระ 3 ไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึง “วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์” ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และองค์คณะตุลาการ เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนคำสั่งที่ ให้รัฐสภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
“ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ” ระบุว่า ในวันนี้กลุ่มเครือข่ายประชาธิปไตยได้มายื่นหนังสือต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก เห็นว่าการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า ในมาตรา 68 บุคคลที่ทราบการกระทำที่เป็น การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำ ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การกระทำของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นการกระทำที่คาดการณ์ ล่วงหน้า รวมถึงกระบวนการรับคำร้องไม่ถูกต้องตามขั้นตอน ที่ไม่ผ่านอัยการสูงสุด ดังนั้นจึงเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการสั่งชะลอการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ดังนั้นจึงมาเรียกร้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทบทวนการกระทำดังกล่าวให้อยู่ในหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
“เกษียร เตชะพีระ” อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย้ำ หัวตะปูว่า...ได้เวลาตรวจสอบการใช้อำนาจ ของศาลรัฐธรรมนูญ ป้องกันไม่ให้เนื้อหาประชาธิปไตยถูกควักล้วง จนกลายเป็นประชาธิปไตยกลวงเปล่า หรือประชาธิปไตยที่ไร้ซึ่งอำนาจของประชาชนในทางปฏิบัติ
“การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สภา ผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่! ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการ ที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบทบัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้นจึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้”
แม้จะต่างกรรมต่างวาระ แต่เวลานี้ทั้งซีกมวลชน นักวิชาการ หรือกระทั่งฝ่ายการเมือง พากันเข้าคิวจองกฐิน! ศาล รัฐธรรมนูญที่ริไป “ก้าวก่าย” การทำหน้าที่ของกลไกนิติบัญญัติ ไม่ว่าจะ..ร่างปรองดองลืมอดีต หรือปมแก้รัฐธรรมนูญ ก็ล้วนเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” ที่จะก้าว สืบไปสู่วังวนแห่งความขัดแย้ง!!!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2555
บทบาท ตุลาการ เหาะเหินเกิน ลงกา.. เกินรัฐธรรมนูญ !!?
บังเกิดนัยประหวัดถึง "รามเกียรติ์"
เป็นรามเกียรติ์อันเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ซึ่ง ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ศาสตราจารย์พิเศษแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเอาตอนหนึ่งมาเล่าอย่างย่นย่อ
ผ่านหนังสือ สำนวนไทยที่มาจากวรรณคดี
เมื่อพระรามเดินทัพวานรจากเมืองขีดขินของสุครีพติดตามหานางสีดาที่ทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกาลักพาไป
กองทัพพระรามเดินทางมาถึงตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ริมฝั่งมหาสมุทร แต่ยังหาทางไปไม่ได้เพราะลงกาเป็นเกาะที่อยู่ไกลมาก พระรามจึงสั่งให้ทหารเอกทั้ง 3 คือ องคต ชมพูพาน และหนุมาน ไปสืบหาที่ตั้งของเกาะลงกา
ทั้ง 3 พญาวานรได้พบพญานกสัมพาทีที่ภูเขาเหมติรัน พญานกสัมพาทีพา 3 วานรบินเร่ร่อนไปในมหาสมุทรและไปจับที่เขาคันธสิงขรแล้วแนะหนทางว่า
ครั้นถึงเขาคันธสิงขร ก็ราร่อนชี้บอกราชฐาน โน่นแน่ลงกากรุงมาร เป็นประธานในกลางสมุทรไท ดังหนึ่งจอกน้อยลอยอยู่ แลหาดูใคร่เห็นไม่ ท่ามกลางนิเวศเวียงชัย มีเขาหนึ่งใหญ่มหึมา
เป็นหลักลงกาทวีปอสุรินทร์ ชื่อนิลกาลาภูผา ท่านจงสำคัญให้มั่นตา นั่นคือลงกาธานี
คำชี้แนะของพญานกสัมพาทีมีความสำคัญ เพราะได้เน้นอย่างหนักแน่นว่า "เป็นหลักลงกาทวีปอสุรินทร์ ชื่อนิลกาลาภูผา ท่านจงสำคัญให้มั่นตา
นั่นคือ "ลงกา" ธานี
เมื่อกำหนดทิศทางเมืองลงกาแน่นอนแล้ว พญานกสัมพาทีก็พา 3 วานรกลับมาส่งที่ภูเขาเหิมติรัน
จากนี้หนุมานก็ทิ้งองคตกับชมพูพานไว้ที่นั่น
ตัวเองเหาะไปลงกาแต่ลำพัง ปรากฏว่า ไปผิดทางจนไปพบพระนารทฤๅษีซึ่งตั้งสำนักอยู่ที่เขาโสฬส
ลอยลิ่วปลิวมาตามลมกรด ตกถึงโสฬสเขาใหญ่
เกินเมืองลงกาลงไป หมายใจว่านิลคีรี
พระนารทฤๅษีชี้ทางให้เหาะย้อนกลับไปและให้สังเกตภูเขานิลกาลาคีรีซึ่งสูงเยี่ยมเหมือนภูเขาจักรวาลตั้งอยู่เป็นหลักกรุงลงกา
หนุมานก็เดินทางไปสู่เกาะลงกาสมความปรารถนาและได้พบนางสีดาในที่สุด
แม้ในเบื้องต้น หนุมานจะเหาะเกินกรุงลงกา แต่เมื่อพระนารทฤๅษีชี้ทางให้ก็สามารถย้อนกลับไปได้และได้พบนางสีดาตามเป้าหมายอันกำหนดไว้เดิม
ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ศาสตราจารย์พิเศษแห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายเอาไว้ว่า
เหาะเกินลงกา หมายความว่า ทำเกินคำสั่งหรือเกินต้องการ
พร้อมกับยกตัวอย่างเช่น คนไหนได้คำสั่งให้ทำอะไรแต่ทำเกินที่ต้องการ ผู้เป็นนายหรือผู้ออกคำสั่งมักจะตำหนิลอยๆ ว่า
"ใช้ให้ทำอะไรก็เหาะเกินลงกาทุกที"
ประเด็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะทำตามคำสั่งของใคร หากแต่ทำไปตาม "คำร้อง"
ถามว่า "ลงกา" ในเรื่องนี้อยู่ที่ไหน
คำตอบ 1 เมื่อคำร้องเน้นไปยังกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องเป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ
คำตอบ 1 เมื่อร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องเป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ
ข้อสงสัยอันตามมาก็คือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำ "เกิน" กว่าที่รัฐธรรมนูญมอบหมายหน้าที่ให้ แทนที่จะยึดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกลับไปอาศัยประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง แทนที่จะยึดหลักนิติศาสตร์กลับยึดแนวทางรัฐศาสตร์
จึงสะท้อนอาการเหาะเกินลงกาเช่นเดียวกับหนุมาน
การเหาะเกินลงกาของหนุมานเมื่อรู้ตัวและได้รับการชี้ทางจากพระนารทฤๅษีก็สามารถน้อยกลับได้
คำถามก็คือ เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งเกินอำนาจของตนเองที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้และได้รับคำทักท้วงจากรอบทิศหลายทางว่าที่ทำไปไม่ชอบด้วยหลักกฎหมาย
ปมเงื่อนอยู่ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเชื่อเหมือนหนุมานเชื่อพระนารทฤๅษีหรือไม่
ที่มา.มติชนออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
บก.ลายจุด : ติง. เจ๋ง ดอกจิก แจกเบอร์ตุลาการศาล รธน. ทำให้แดงเสื่อม !!?
ยศวริศ ชูกล่อม หรือ "เจ๋ง ดอกจิก" แกนนำคนเสื้อแดงขึ้นปราศรัยแจกเบอร์ตุลาการศาล รธน. พร้อมสมาชิกครอบครัว ทำให้ บก.ลายจุด ทวีตค้าน แสดงความไม่เห็นด้วย จี้ให้เลิกเพราะทำให้แดงเสื่อม ขณะที่เจ้าตัวขึ้นปราศรัยอีกรอบช่วงหัวค่ำพร้อมกล่าวขอโทษ อ้างแค่เอาเอกสารราชการมาอ่าน วอนเสื้อแดงอย่าไปยุ่งลูกเมียตุลาการศาล รธน.
ตามที่มีข่าว ในช่วงบ่ายวานนี้ (7 มิ.ย.) นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก หนึ่งในแกนนำ นปช. หรือคนเสื้อแดง และเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช. ที่หน้ารัฐสภา และมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดต โดยการปราศรัยของนายยศวริศ ได้ประกาศที่อยู่-เบอร์โทรศัพท์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและสมาชิกครอบครัวบนเวทีชุมนุม
ทำให้นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก.ลายจุด" หนึ่งในผู้ริเริ่มกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง ได้แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ "@nuling" ว่า "ไม่เห็นด้วยกับคุณเจ๋ง ดอกจิก ที่แจกเบอร์ของ ตลก. รธน. ผ่านทีวี วิธีการแบบนี้ต้องเลิก ทำเสื้อแดงเสื่อม"
ทั้งนี้ เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานถ้อยคำปราศรัยบางส่วนของนายยศวริศ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยมีผู้อ่านจำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยกับนายยศวริศ
โดยล่าสุด มติชนออนไลน์ รายงานว่าเมื่อช่วงหัวค่ำวานนี้ "เจ๋ง ดอกจิก" จึงได้ขึ้นเวทีปราศรัยหน้ารัฐสภาอีกครั้ง โดยกล่าวว่า ขอยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาคุกคามลูกเมียของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการเอาเอกสารมาอ่าน ถ้าเขาทำอะไรลงไปแล้วทำให้ใครรู้สึกไม่สบายใจ ก็ขอโทษ และไม่มีเจตนาอย่างอื่น จึงขอให้พี่น้องเสื้อแดงอย่าไปยุ่งหรือแตะต้องคุกคามบรรดาลูกเมียของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ให้ข้อมูลด้วยว่า นายยศวริศ ถือเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกควบคุมตัวไว้หลังเหตุการณ์ 19 พ.ค. 2553 จนเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 จึงได้รับการปล่อยตัว หลังการให้การเป็นพยานของ พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี (ตำแหน่งในเวลานั้น) โดยเงื่อนไขของการปล่อยตัวประกอบด้วย ห้ามปลุกปั่น ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
โดยแกนนำ นปช. ที่ได้รับการอนุมัติให้ปล่อยตัวชั่วคราวในวันนั้นพร้อมกันมี 7 คน ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายนิสิต สินธุไพร, นายขวัญชัย ไพรพนา, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และ นายยศวริศ ซึ่งทั้งหมดตกเป็นจำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้าย
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวทีนิวส์ รายงานด้วยว่า ภายในบริเวณอาคารจอดรถสวนสัตว์ดุสิตมีข้อสังเกตว่ามีชายฉกรรจ์จำนวนมากบางคนสวมเสื้อสีแดงมีข้อความ “ปกป้องสถาบันนิติบัญญัติ” กางเตนท์และแขวนเปลลายพรางลักษณะคล้ายอุปกรณ์เดินป่าของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กระจายอยู่เกือบทุกชั้นของอาคารจอดรถ ปะปนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาคอยรักษาความสงบในบริเวณการชุมนุมซึ่งใช้อาคารดังกล่าวเป็นที่พักเช่นกัน ซึ่งจากการสอบถามว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใดและมาทำไม กลุ่มบุคคลดังกล่าวตอบเพียงว่ามาจากหลายที่ เขาให้มาก็มา
ด้านนายดำรง พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวทีนิวส์ว่าได้เซ็นคำสั่งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่จำนวน 2,500 คน เข้ารับการฝึกอบรมการปฎิบัติธรรม ณ วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 7-16 มิ.ย.นี้ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตามที่มีข่าว ในช่วงบ่ายวานนี้ (7 มิ.ย.) นายยศวริศ ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก หนึ่งในแกนนำ นปช. หรือคนเสื้อแดง และเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ขึ้นปราศรัยบนเวที นปช. ที่หน้ารัฐสภา และมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดต โดยการปราศรัยของนายยศวริศ ได้ประกาศที่อยู่-เบอร์โทรศัพท์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและสมาชิกครอบครัวบนเวทีชุมนุม
ทำให้นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก.ลายจุด" หนึ่งในผู้ริเริ่มกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง ได้แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ "@nuling" ว่า "ไม่เห็นด้วยกับคุณเจ๋ง ดอกจิก ที่แจกเบอร์ของ ตลก. รธน. ผ่านทีวี วิธีการแบบนี้ต้องเลิก ทำเสื้อแดงเสื่อม"
ทั้งนี้ เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานถ้อยคำปราศรัยบางส่วนของนายยศวริศ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดยมีผู้อ่านจำนวนมากแสดงความไม่เห็นด้วยกับนายยศวริศ
โดยล่าสุด มติชนออนไลน์ รายงานว่าเมื่อช่วงหัวค่ำวานนี้ "เจ๋ง ดอกจิก" จึงได้ขึ้นเวทีปราศรัยหน้ารัฐสภาอีกครั้ง โดยกล่าวว่า ขอยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาคุกคามลูกเมียของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงการเอาเอกสารมาอ่าน ถ้าเขาทำอะไรลงไปแล้วทำให้ใครรู้สึกไม่สบายใจ ก็ขอโทษ และไม่มีเจตนาอย่างอื่น จึงขอให้พี่น้องเสื้อแดงอย่าไปยุ่งหรือแตะต้องคุกคามบรรดาลูกเมียของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ ให้ข้อมูลด้วยว่า นายยศวริศ ถือเป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ถูกควบคุมตัวไว้หลังเหตุการณ์ 19 พ.ค. 2553 จนเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 จึงได้รับการปล่อยตัว หลังการให้การเป็นพยานของ พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี (ตำแหน่งในเวลานั้น) โดยเงื่อนไขของการปล่อยตัวประกอบด้วย ห้ามปลุกปั่น ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ
โดยแกนนำ นปช. ที่ได้รับการอนุมัติให้ปล่อยตัวชั่วคราวในวันนั้นพร้อมกันมี 7 คน ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายนิสิต สินธุไพร, นายขวัญชัย ไพรพนา, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และ นายยศวริศ ซึ่งทั้งหมดตกเป็นจำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้าย
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวทีนิวส์ รายงานด้วยว่า ภายในบริเวณอาคารจอดรถสวนสัตว์ดุสิตมีข้อสังเกตว่ามีชายฉกรรจ์จำนวนมากบางคนสวมเสื้อสีแดงมีข้อความ “ปกป้องสถาบันนิติบัญญัติ” กางเตนท์และแขวนเปลลายพรางลักษณะคล้ายอุปกรณ์เดินป่าของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กระจายอยู่เกือบทุกชั้นของอาคารจอดรถ ปะปนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาคอยรักษาความสงบในบริเวณการชุมนุมซึ่งใช้อาคารดังกล่าวเป็นที่พักเช่นกัน ซึ่งจากการสอบถามว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใดและมาทำไม กลุ่มบุคคลดังกล่าวตอบเพียงว่ามาจากหลายที่ เขาให้มาก็มา
ด้านนายดำรง พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวทีนิวส์ว่าได้เซ็นคำสั่งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่จำนวน 2,500 คน เข้ารับการฝึกอบรมการปฎิบัติธรรม ณ วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 7-16 มิ.ย.นี้ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)