ระหว่างนั่งชมการประชุมพิจารณารายงานของ กมธ.ปรองดอง โดยสภาผู้แทนราษฎร
มีโอกาสได้ยินคำว่า "ความยุติธรรมของผู้ชนะ" หลายครั้ง
ฟังแล้วก็เกิดคำถามขึ้นมา
ไม่ได้เป็นข้อคลางแคลงใจต่อสถาบันพระปกเกล้าหรือพรรคประชาธิปัตย์
แต่เป็นคำถามว่า ใครบ้างคือ "ผู้ชนะ" ที่จะได้รับความยุติธรรม หากรัฐบาลนำข้อสังเกตของ กมธ.ปรองดองไปปฏิบัติ?
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, พรรคเพื่อไทย, แกนนำ นปช. และชนชั้นนำอื่นๆ
หรือจะรวมถึงผู้ซึ่งลงคะแนนเลือกพรรคเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาล "คนเสื้อแดง" ที่บาดเจ็บ ล้มตาย ถูกจับกุมคุมขังในคดีการเมือง ตลอดจนประชาชนฝ่ายอื่นๆ
ถ้า "ผู้ชนะ" หมายถึงคนกลุ่มหลังด้วย
การปรองดองจะดำเนินไปถึงระดับไหน?
ข้อสังเกตสำคัญของ กมธ.ปรองดอง ที่ได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
คือ การเสนอให้นิรโทษกรรมบุคคลทุกฝ่าย ทุกระดับ ที่มีคดีการเมืองติดตัว ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยาฯ
"คนเสื้อแดง" หรือประชาชนที่เลือกพรรคเพื่อไทย
จะยอมรับได้ไหม?
ถ้ากลุ่มบุคคลซึ่งเขามองว่าเป็น "ฆาตกร" จะได้รับการนิรโทษกรรมไปด้วย
เช่นเดียวกับที่ประชาชนอีกฝ่ายก็คงรับไม่ได้ หากอดีตนายกฯทักษิณ และกลุ่มคนที่เขามองว่าเป็น "พวกเผาบ้านเผาเมือง" จะได้รับการนิรโทษกรรม
เมื่อปัญหาติดขัดตรงจุดนั้น ความปรองดองหรือการนิรโทษกรรมใดๆ ก็คงไม่เกิดขึ้น
สุดท้าย "คนธรรมดา" ของทุก "สีเสื้อ" ที่มีชะตากรรมเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์บ้านเมือง กระทั่งต้องถูกคุมขังในเรือนจำ หรือต้องเสียเวลาและกำลังทรัพย์ในการต่อสู้คดี
ก็ยังไม่พ้นมลทิน และเฝ้ารอคอยอิสรภาพกันต่อไป
แนวโน้มดังกล่าวนำมาสู่ข้อเสนอของนักวิชาการอย่าง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่เสนอให้
หนึ่ง แยกกรณีทักษิณ รวมทั้งบุคคลระดับนำทุกฝ่าย เช่น รัฐบาลอภิสิทธิ์ กองทัพ แกนนำพันธมิตร และ นปช.ออกมา แล้วนิรโทษกรรมให้แก่คนธรรมดาของทุกฝ่าย
สอง ให้มีการ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร" ตามข้อเสนอของ "คณะนิติราษฎร์" รวมถึงการยกเลิกคดีต่างๆ ของ คตส.
ถ้าทำตามข้อเสนอของสมศักดิ์ หมายความว่า
หนึ่ง คนทำรัฐประหาร 19 กันยาฯ ยังต้องถูกดำเนินคดี
สอง ทักษิณจะหลุดคดีของ คตส. แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมใหม่
สาม คนระดับธรรมดาของทั้งฝ่ายเสื้อเหลือง เสื้อแดง และทหารชั้นผู้น้อย จะได้รับการนิรโทษกรรมทั้งหมด
สี่ คนระดับนำ อย่างอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ, นายทหารชั้นผู้ใหญ่,
แกนนำพันธมิตร และแกนนำ นปช. ยังต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป
ตามความเห็นของนักวิชาการผู้นี้ ผลลัพธ์อันเกิดจาก
ข้อเสนอของเขาจะครอบคลุมทุกประเด็นซึ่งเป็นวิกฤตในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา
ตลอดจนเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างถูกหลักประชาธิปไตยและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ฟัง อ.สมศักดิ์แล้ว ก็เริ่มรู้สึกว่าคำอภิปรายของคุณอภิสิทธิ์ เมื่อค่ำวันที่ 5 เมษายน
ซึ่งท้าว่าตนเองและคุณสุเทพ จะไม่รับการนิรโทษกรรม เพื่อแลกกับการไม่นิรโทษกรรมให้อดีตนายกฯทักษิณ ส่วนคนอื่นที่เหลือให้นิรโทษทั้งหมดนั้น
ดูเข้าทีอยู่ไม่น้อย
ที่มา:คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555
ศพไม่สวย !!?
มอดมรณา เมื่อคนไม่ศรัทธา ...เขาไม่เล่นด้วย
แทนที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” บุรุษ ๒ สัญชาติ..จะเดินสง่างาม เข้าทำเนียบทำเนียบรัฐบาล เปิดข้อมูลปัญหาคาร์บอมบ์ระเบิดภาคใต้ ให้กับ “นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ย่อมมีเสียงสรรเสริญ
กรีดกรายฉายเงา เร่งเร้าสร้างภาพ จึงโดนถูกด่ายับเยิน
ปัญหาภาคใต้ ที่ “ประชาธิปัตย์” รู้คำตอบครอบจักรวาล หากนำมาแบแชร์ บอก “รัฐบาลปู” ให้กระจ่าง ย่อมมีแต่ผลดี
มีปัญหาอะไรไม่ยอมบอก..ไม่เคยชี้โพรงให้กระรอก?..พอเกิดเหตุช็อค วิ่งรอกหาเสียงเต็มที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
เทพเจ้าปักษ์ใต้
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่พ่อแม่พี่น้องชาวสะตอ ยก “ซุปเปอร์ชวน หลีกภัย” เหนือกว่าใคร ๆ
ท่านน่าจะเป็น “ศูนย์รวม-ศูนย์กลาง” คีย์แมนหลัก เพื่อดับ “ไฟใต้ ๓ จังหวัด”ให้มอด
อย่าให้ใครคิดอคติ ยามแม่ธรณีบีบมวยผม เป็นฝ่ายค้านรากงอก สถานการณ์ก็ดุเดือดตลอด
นักรบขุนศึกทหาร ข้าราชการ พลเรือน...เชื่อสนิทใจ มีเพียง “ท่านชวน” ที่จะกู้สถานการณ์ใต้จากร้าย ให้กลายเป็นดี
ถ้าท่านชวนเดินหน้าเสียอย่าง..เหตุการณ์ใกล้เกลือกินด่าง?...พังบ้านเมืองไม่น่าจะมี
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
เลือดต้องข้นกว่าน้ำ
แต่ผิดฝาผิดตัว “ประชาธิปัตย์” ยุค “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จึงเกิดสภาพตกต่ำ
เป็นผู้เฒ่าที่ทรงหลักการ มีผลงานเป็นที่รับรอง ว่า “ท่านสัมพันธ์ ทองสมัคร” คนดีแห่งนครศรีธรรมราช เป็นที่เชิดชูได้ ต่อทุกคน
แต่เพราะเขาเล่นพรรคเล่นพวก “ท่านสัมพันธ์” จึงลี้ภัย ลาออกหนีไปให้พ้น
ท่านเป็นคนเก่าคนแก่ ที่มีคุณูปการ เป็นปูชนียะบุคคล ที่สร้างเกียรติคุณ แก่ประชาธิปัตย์ เอาไว้ มากมายก่ายกองจ๊ะคุณพี่
แต่เพราะมีจอมจุ้น...ทำตัวเป็นพวกโง่เง่าเต่าตุ่น... “ท่านสัมพันธ์”จึงเคืองขุ่นลาออกจากพรรค ด้วยประการฉะนี้
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
คนที่รัก ก็ออกอาการมัวขุ่น
ไม่ปึ้กปั๊กรักกัน เหมือนกินข้าวหม้อเดียวกัน อีกแล้วล่ะคุณ
ว่ากันว่า “นายพลแม็คอาร์เธ่อร” พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” กับ “บิ๊กมนูญ” พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร เพื่อนรัก จปร.๗ ยังเติร์ก นามกระฉ่อน
อายุต่างชำระเฒ่าชะเราด้วยกัน มีเค้า จะหันหลังให้กัน อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี, อยากให้ ๒ ท่านผู้อาวุโส กับมาเป็นเพื่อนน้ำมิตร เป็นเพื่อนคู่คิด กันดีกว่า
อยากให้สองท่านทบทวนให้ดี...เคยขอกันกินมากกว่านี้...อยู่ ๆ มานี่ มากินใจทำไมล่ะจ้า
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ปฏิกิริยาหลังคาร์บอมบ์
คราวเมื่อระเบิด สถานีรถไฟหาดใหญ่ เขาก็ประชุมยกกำลัง มาปฏิวัติโค่น “ทักษิณ ชินวัตร” ซะประเทศเสียหาย สะบักสะบอม
ระเบิดคราวนี้อานุภาพรุนแรง...เมื่อฝ่ายจ้องล้มกระดาน “นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เปิดวอรลุ่ม เพื่อสะกรัม “รัฐบาลปู” ให้อยู่หมัด
ล้วนขาเก่าขาแก่..ที่อ้างตัวเองเป็น “ผู้ดี” นั่นแหละ ที่ร่วมกันจุดชนวนปฏิวัติ
อยากบอก “ท่านผู้ดี” ที่คุยอวดว่าตัวเองเป็นคนเลือกข้าง สิ่งไหนเป็นสิ่งดีตัวก็เลือกข้างโดยที่ไม่เกรงกลัวปัญหา
อย่ามาพูดทำเป็นประจบ...ท่านมันพวกเต่าใหญ่ไข่กลบ?..หวังตะปบเก้าอี้นายกฯมากกว่า
ที่มา:คอลัมน์ ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แทนที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” บุรุษ ๒ สัญชาติ..จะเดินสง่างาม เข้าทำเนียบทำเนียบรัฐบาล เปิดข้อมูลปัญหาคาร์บอมบ์ระเบิดภาคใต้ ให้กับ “นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ย่อมมีเสียงสรรเสริญ
กรีดกรายฉายเงา เร่งเร้าสร้างภาพ จึงโดนถูกด่ายับเยิน
ปัญหาภาคใต้ ที่ “ประชาธิปัตย์” รู้คำตอบครอบจักรวาล หากนำมาแบแชร์ บอก “รัฐบาลปู” ให้กระจ่าง ย่อมมีแต่ผลดี
มีปัญหาอะไรไม่ยอมบอก..ไม่เคยชี้โพรงให้กระรอก?..พอเกิดเหตุช็อค วิ่งรอกหาเสียงเต็มที่
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
เทพเจ้าปักษ์ใต้
เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่พ่อแม่พี่น้องชาวสะตอ ยก “ซุปเปอร์ชวน หลีกภัย” เหนือกว่าใคร ๆ
ท่านน่าจะเป็น “ศูนย์รวม-ศูนย์กลาง” คีย์แมนหลัก เพื่อดับ “ไฟใต้ ๓ จังหวัด”ให้มอด
อย่าให้ใครคิดอคติ ยามแม่ธรณีบีบมวยผม เป็นฝ่ายค้านรากงอก สถานการณ์ก็ดุเดือดตลอด
นักรบขุนศึกทหาร ข้าราชการ พลเรือน...เชื่อสนิทใจ มีเพียง “ท่านชวน” ที่จะกู้สถานการณ์ใต้จากร้าย ให้กลายเป็นดี
ถ้าท่านชวนเดินหน้าเสียอย่าง..เหตุการณ์ใกล้เกลือกินด่าง?...พังบ้านเมืองไม่น่าจะมี
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
เลือดต้องข้นกว่าน้ำ
แต่ผิดฝาผิดตัว “ประชาธิปัตย์” ยุค “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จึงเกิดสภาพตกต่ำ
เป็นผู้เฒ่าที่ทรงหลักการ มีผลงานเป็นที่รับรอง ว่า “ท่านสัมพันธ์ ทองสมัคร” คนดีแห่งนครศรีธรรมราช เป็นที่เชิดชูได้ ต่อทุกคน
แต่เพราะเขาเล่นพรรคเล่นพวก “ท่านสัมพันธ์” จึงลี้ภัย ลาออกหนีไปให้พ้น
ท่านเป็นคนเก่าคนแก่ ที่มีคุณูปการ เป็นปูชนียะบุคคล ที่สร้างเกียรติคุณ แก่ประชาธิปัตย์ เอาไว้ มากมายก่ายกองจ๊ะคุณพี่
แต่เพราะมีจอมจุ้น...ทำตัวเป็นพวกโง่เง่าเต่าตุ่น... “ท่านสัมพันธ์”จึงเคืองขุ่นลาออกจากพรรค ด้วยประการฉะนี้
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
คนที่รัก ก็ออกอาการมัวขุ่น
ไม่ปึ้กปั๊กรักกัน เหมือนกินข้าวหม้อเดียวกัน อีกแล้วล่ะคุณ
ว่ากันว่า “นายพลแม็คอาร์เธ่อร” พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” กับ “บิ๊กมนูญ” พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร เพื่อนรัก จปร.๗ ยังเติร์ก นามกระฉ่อน
อายุต่างชำระเฒ่าชะเราด้วยกัน มีเค้า จะหันหลังให้กัน อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ดี, อยากให้ ๒ ท่านผู้อาวุโส กับมาเป็นเพื่อนน้ำมิตร เป็นเพื่อนคู่คิด กันดีกว่า
อยากให้สองท่านทบทวนให้ดี...เคยขอกันกินมากกว่านี้...อยู่ ๆ มานี่ มากินใจทำไมล่ะจ้า
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ปฏิกิริยาหลังคาร์บอมบ์
คราวเมื่อระเบิด สถานีรถไฟหาดใหญ่ เขาก็ประชุมยกกำลัง มาปฏิวัติโค่น “ทักษิณ ชินวัตร” ซะประเทศเสียหาย สะบักสะบอม
ระเบิดคราวนี้อานุภาพรุนแรง...เมื่อฝ่ายจ้องล้มกระดาน “นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เปิดวอรลุ่ม เพื่อสะกรัม “รัฐบาลปู” ให้อยู่หมัด
ล้วนขาเก่าขาแก่..ที่อ้างตัวเองเป็น “ผู้ดี” นั่นแหละ ที่ร่วมกันจุดชนวนปฏิวัติ
อยากบอก “ท่านผู้ดี” ที่คุยอวดว่าตัวเองเป็นคนเลือกข้าง สิ่งไหนเป็นสิ่งดีตัวก็เลือกข้างโดยที่ไม่เกรงกลัวปัญหา
อย่ามาพูดทำเป็นประจบ...ท่านมันพวกเต่าใหญ่ไข่กลบ?..หวังตะปบเก้าอี้นายกฯมากกว่า
ที่มา:คอลัมน์ ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555
ศุภชัย เจียรวนนท์. ทรู ธุรกิจ-การแข่งขัน และเกมเอาคืน แผนสำรองไม่มี แค่ สู้เต็มที่ !!?
"อภิดีลระหว่างกลุ่มทรู-กสท โทรคมนาคม" ชัดถ้อยชัดคำว่าพบความผิดปกติหลายจุด และเชื่อได้ว่าอิทธิพลการเมืองเข้ามามีเอี่ยวเอื้อประโยชน์เอกชน ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างธุรกิจโทรคมนาคมไทย
รัฐมนตรี "ไอซีที" ยังสั่งการเสียงเข้มไปยัง "ซีอีโอใหม่ กสทฯ" ให้รับลูกดำเนินการต่อ ขีดเส้นให้ได้ข้อสรุปภายใน 15 วัน
ไม่ใช่แค่กระทรวงไอซีที ดีลนี้ "ป.ป.ช." ตรวจสอบเอาผิดทางอาญากับผู้บริหาร กสทฯในอดีตเช่นกัน
เรียกว่า ผจญศึกรอบทิศกันเลยทีเดียว
จะว่าไปแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับ "ทรู" ไม่ต่างไปจากที่ "เอไอเอส" เคยเจอมาก่อนสมัยรัฐบาลที่แล้ว เทียบกัน "ทรู" อาจเบากว่าด้วยซ้ำไป ด้วยสไตล์เจ้ากระทรวงต้นสังกัดระหว่าง "น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" และ "จุติ ไกรฤกษ์"
มากกว่าเนื้อหาสาระและความถูกต้อง หลายฝ่ายมองว่าเป็นการเอาคืนทางการเมือง
นอกจากต้องลุ้นระทึกกับภารกิจสร้างแต้มต่อในธุรกิจโทรศัพท์มือถือด้วยบริการ "3G" ที่พร้อมกว่าใครแล้ว
สมรภูมิธุรกิจเคเบิลทีวี ดูท่าว่า "ทรู" ยังต้องเหนื่อยขึ้นด้วยจากคู่แข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นมาก จากการตบเท้าเข้าสู่สังเวียน "ทีวีดาวเทียม" ของค่ายบันเทิงยักษ์ใหญ่หลายราย ส่งผลถึงการชิงลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศอันถือเป็นจุดขายสำคัญอย่าง "ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ" ที่ร้อนแรงเป็นอย่างยิ่ง
ในฐานะแม่ทัพธุรกิจของกลุ่มทรู "ศุภชัย เจียรวนนท์" มองปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและเตรียมแผนรับมืออย่างไร มีรายละเอียดใน "ประชาชาติธุรกิจ" บรรทัดถัดไป
- ถ้ามีการรื้อสัญญาจะทำให้แผนทรูมูฟ เอชสะดุดไหม
เรื่องการตรวจสอบ คิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามกระบวนการขยายเครือข่ายยังเดินหน้าได้ตามปกติ (เงินลงทุนทั้งหมด 4 หมื่นล้านบาท เฉพาะปีนี้ 2 หมื่นล้าน ขยายสถานีฐานให้ได้ 13,500 แห่ง ภายในสิ้นปี เพิ่มฐานลูกค้าเฉพาะปีนี้อีก 4 ล้านราย)
โดยตัวสัญญาที่ทำกับ กสทฯคงไม่ผิด เพราะไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องมาตรา 46 (ห้ามโอนคลื่น) หรือกรณีเข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน และอื่น ๆ ชี้แจงได้ ไม่น่าเป็นประเด็นหลัก
- มีโอกาสพบรัฐมนตรีไอซีทีแล้ว
ยังครับ ก็คงต้องขอเข้าไปคุยไปหารือ ชี้แจงข้อมูลอะไรต่าง ๆ กับท่านรัฐมนตรีเร็ว ๆ นี้
- หลายคนมองว่าเป็นการเอาคืนทางการเมือง
ไม่คิดว่านะครับ ไม่คิดว่าถึงขั้นนั้น ไม่น่ามีแรงจูงใจเป็นเรื่องแรก น่าจะเป็นเรื่องเพื่อความโปร่งใสเป็นหลัก แต่ถ้าจะบอกว่าเปลี่ยนพรรคเปลี่ยนรัฐบาลก็เป็นแบบนี้ สลับกันไปมา ก็ไม่เป็นไร เพราะการตรวจสอบก็เป็นเรื่องดี เป็นกลไกตามระบอบประชาธิปไตยที่ดี
- มีแผนสำรองอะไรไหมถ้ามีผลกับการให้บริการ
ไม่มีครับ อย่างที่บอกคิดว่าเป็นกระบวนการตรวจสอบปกติ ซึ่งเราเองก็มั่นใจว่าได้ดำเนินการทุกอย่างโดยถูกต้อง
- ป.ป.ช.ก็จะสรุปเรื่องนี้
คงไม่ใช่สรุปนะครับ เพราะก็ยังไม่ได้มีการเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องไปสอบสวนหรือชี้แจงอะไร น่าจะเป็นการสรุปว่าจะรับหรือไม่รับเรื่องนี้ไปพิจารณาต่อมากกว่า ถือว่าอยู่ในกระบวนการ ซึ่งก็คงต้องมาดูกันไปว่าจะเป็นอย่างไร ถ้ามีการพิจารณาต่อก็ต้องมีการสืบสวนให้ปากคำเหมือนกระบวนการทางศาล
- มีผลกระทบต่อลูกค้าและพนักงาน
ไม่มีครับ ทุกอย่างยังเดินหน้า กับพนักงานเราก็มีการชี้แจงว่า ทุกอย่างที่ทำมาถูกต้องโปร่งใสอยู่แล้ว เพียงรัฐบาลใหม่ที่มาอาจไม่เห็นด้วยกับชุดที่แล้วก็ต้องมาตรวจสอบ ก็อาจมีความกังวลใจบ้าง แต่ช่วงนี้ของปีที่แล้วเอไอเอสก็โดนไม่เยอะเหมือนกัน ไม่เป็นไร เป็นกระบวนการตรวจสอบก็ยินดีครับ
- กรณีคืนคลื่น 3G ของทรูมูฟจะดำเนินการอย่างไร
กสทฯต้องการให้ทรูมูฟคืนคลื่น (850MHz ที่นำมาทดลองบริการ) การย้ายลูกค้า 3G จากทรูมูฟไปทรูมูฟ เอชก็จะเป็นไปตามกระบวนการบริการคงสิทธิ์เลขหมาย (mobile Number Portability) ตามกฎ กสทช.ต้องให้เวลา 1 ปี แต่เราวางแผนกับ กสทฯว่าอยากให้สั้นกว่านั้น
- ขอเลขหมายใหม่ผ่านกสทฯไป 16 ล้านเพื่อ
ขอกสทช. ในนามกสทฯ ทั้งหมด 16 ล้านเลขหมาย ครอบคลุมไปถึงกันยายนปีหน้า เมื่อสัญญาสัมปทาน (ทรูมูฟ) หมดอายุ ก็เป็นแผนสำรองที่จะต้องไมเกรทลูกค้าไปยังทรูมูฟเอช ถ้ามีความต้องการ แต่ 16 ล้านนี่ คงไม่ใช่เผื่อของทั้งหมด เพราะลูกค้าส่วนหนึ่งคงใช้เบอร์เดิม อีกบางส่วนก็ไม่ต้องใช้เบอร์เดิมเป็นเบอร์ใหม่เลย
- ปัจจุบันมีลูกค้าเท่าไร
ทรูมูฟ 17-18 ล้านราย ทรูมูฟเอช 1 ล้านกว่าราย เป็นลูกค้าที่ย้ายมาจากฮัทช์ 4 แสน ลูกค้าใหม่ 6 แสน
- ลิขสิทธิพรีเมียร์ลีกมีคนสนใจเยอะมาก
มีคู่แข่งก็ไม่เป็นไร สำหรับทรูก็เป็นคอนเทนต์ที่สำคัญกับเรา เราก็อยากจะได้ ใครชนะก็คงจะแชร์กันอยู่แล้ว ในแง่เราก็ต้องสู้เต็มที่ก่อน แต่ไม่ว่าใคาจะชนะก็คงต้องหาทางระบาย
- แพ้ได้
ถ้าแพ้เราก็ไปรอรับอีกทอด เช่นกันถ้าเราชนะเราก็อาจพิจารณาส่งต่อให้คนอื่น เราไม่ได้ปิดเรื่องการมีพันธมิตรอยู่แล้ว แต่ก็ต้องดูโพสิชั่นของแต่ละฝ่ายด้วย มีความตั้งใจว่า ที่ผ่านมาเราถือหลักการประมูลเอง การแข่งขันมีแพ้มีชนะ ในการประมูลครั้งที่ผ่านๆ มาเราก็แข่งประมูลในระดับภูมิภาคมาแล้ว คู่แข่งก็มีกำลังเงินสูงๆ ทั้งนั้น
- คึกคักกว่าทุกครั้ง
ก็ไม่แน่ใจนะครับ หลายคนมองว่า เรื่องบอลบ้านเราเริ่มครึกครื้น
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555
โค่นรัฐบาลทักษิณ เหตุ รธน.ปี 40 พลังทุนเพิ่มความชอบธรรม !!?
โดย : พิรอบ แต้มประสิทธิ์

ศึกษางานวิจัย"ยูชิฟูมิ ทามาดะ"ประเด็น"สุเทพ"อ้าง"ทักษิณ"ต้องการระบอบประธานาธิบดี ค้นพบรธน.ปี40เป็นประชาธิปไตย-พลังทุนเพิ่มความชอบธรรม
ต่อกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายการปรองดองแห่งชาติ ที่คณะกรรมาธิการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
นายสุเทพกล่าวตอนหนึ่งว่า "เราต้องพูดความจริง หากไม่พูดก็ไม่สามารถเกิดความปรองดองได้ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ มีบริวาร เครือญาติ พรรคการเมือง คนเสื้อแดง กลุ่มกองกำลังติดอาวุธหรือที่พวกเขาเรียกว่าแก้ว 3 ประการ และทำให้ฝ่ายอื่นได้รับบาดเจ็บ ล้มตายและสร้างความไม่พอใจ ที่สำคัญแนวทางการเมืองของระบอบทักษิณ แตกต่างจากพวกตน และคนไทยอื่นๆ เพราะความคิดของพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองของประเทศนี้ เพื่อสร้างรัฐไทยใหม่ และเลยเถิดไปในระบอบประธานาธิบดี ให้พรรคเสื้อแดงครองประเทศและประชาชนรับไม่ได้ "
จะเชื่อตามนายสุเทพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อมูลและความรู้ที่แต่ละฝ่ายอ้างความชอบธรรม แต่เมื่อกลับไปค้นคว้างานวิจัยของ"ยูชิฟูมิ ทามาดะ"นักวิชาการชาวญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ที่ศึกษา"ประชาธิปไตย การกลายเป็นประชาธิปไตย และการออกจากประชาธิปไตยของประเทศไทย" ต่อกรณีที่นายสุเทพ เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองเป็นรัฐไทยใหม่ หรือที่ว่าต้องการปกครองแบบประธานาธิบดี
"ทามาดะ"ระบุว่าสาเหตุสำคัญอยู่ที่ความไม่พอใจต่อรัฐบาลทักษิณ หากคนจำนวนมากไม่พอใจรัฐบาล จะทำให้รัฐบาลแพ้การเลือกตั้งเป็นวิธิการเปลี่ยนรัฐบาลแบบประชาธิปไตย แต่กรณีรัฐบาลทักษิณ คนที่ไม่พอใจไม่ใช่คนส่วนใหญ่ จึงเป็นการยากที่ที่รัฐบาลจะแพ้ในการเลือกตั้ง
แม้ว่าจะมีการรณรงค์โจมตีอย่างหนัก เพื่อโจมตีรัฐบาล แต่ไม่สามารถทำให้รัฐบาลสูญเสียความนิยมชมชอบจากคนส่วนใหญ่ และประการหนึ่งคือ ระบอบการเมืองตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ยิ่งช่วยให้มีเป้าหมายให้รัฐบาลทักษิณมีเสถียรภาพสูงขึ้น และปัจจัยที่ไม่ต้องกล่าวถึงคือรัฐบาลทักษิณมีเงินทุนทางการเมือง ซึ่งต่างจากรัฐบาลที่ช่วงก่อนหน้ารัฐบาลพรรคไทยรักไทยไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก และเป็นรัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพ ทำให้พรรคการเมืองอื่นที่ต้องระดมทุนสู้กับพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นสู้ได้ยาก
ด้วยเหตุนี้การที่พ.ต.ท.ทักษิณ ทุ่มทุนลงไปในพรรคของตัวเอง จึงแน่ใจได้ว่าไม่มีใครหักหลังเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด แต่หากเป็นพรรคการเมืองไม่ใช่ของตัวเองย่อมไม่มั่นใจถึงเพียงนั้น และหากหันไปช่วยเหลือพรรคอื่นก็เสียประโยชน์
"อำนาจเงินจึงช่วยพรรคไทยรักไทยในการซื้อพรรคเล็ก จนส.ส.พรรคอื่นให้เข้ามาอยู่พรรคไทยรักไทย และเมื่อพรรคการเมืองเข้ามาอยู่มในพรรคไทยรักไทยจึงหนีออกยาก เพราะเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญปี 2540 "
นอกจาก อำนาจเงินแล้ว นโยบายรัฐบาลทักษิณ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้ประชานิยมชมชอบ ให้การสนับสนุนสุดใจ ที่นโยบายนี้มุ่งสนับสนุนทั้งคนรวยและคนจน ทั้งในภาคเมืองและภาคชนบท จึงทำให้ประชาชนเทคะแนนเสียงจากทุกกลุ่มอาชีพ จึงไม่แปลกเพราะการเลือกตั้งเป็นกลไกตรวจสอบนักการเมืองที่ดีที่สุด นัการเมืองจึงต้องเอาใจประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เพื่อจะได้ไม่สอบตก
"ทามาดะ" ยังค้นคว้าพบว่าการที่รัฐบาลทักษิณ ถูกโค่น สาเหตุหลักอยู่ที่การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เพราะเมื่อการเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้ว วิธีการเปลี่ยนรัฐบาลที่ถูกต้องตามกติกา คือการเลือกตั้ง หากเอาชนะครั้งเดียวไม่ได้ก็ต้องมีการเลือกตั้งอีกหลายครั้ง ฝ่ายค้านสามารถรณรงค์ว่ารัฐบาลไม่ดีอย่างไร และฝ่ายค้านดีกว่าอย่างไร และรัฐบาลที่เลวจริงก็มีสิทธิจะแพ้การเลือกตั้ง
"แต่มีคนบางกลุ่มรอคอยไม่ได้ กลับเลือกทำการรัฐประหาร ถ้าหากว่ารัฐบาลที่ถูกขับไล่ออกไปนั้นเป็นรัฐบาลเผด็จการที่ไม่ยอมจัดให้มีการเลือกตั้ง การขับไล่ด้วยวิธีการรัฐประหารก็ไม่เลวนัก แต่รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่ปฏิเสธการเลือกตั้ง ฝ่ายรัฐประหารจึงถูกสังคมโลกด่า ผู้นำไปต่างประเทศก็ไม่สามารถจัดประชุมอย่างเป็นทางการกบผู้นำประเทศตะวันตกได้ "
ประเด็นดังกล่าวข้างต้น สอดรับกับที่นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ระบุว่า "แท้จริงแล้วไม่ใช่อะไรอื่นไกล การที่นายสุเทพ ชูประเด็นพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการปกครองระบอบประธานาธิบดี ก็คือพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งตลอดนั่นเอง จึงต้องอ้างความไม่จงรักภักดี ต้องการล้มสถาบัน เพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักเรียนนายร้อย รู้อยู่แล้วว่ามีความจงรักภักดี"
เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบอบการปกครองประชาธิปไตยได้แก่ระบอบประธานาธิบดี กับระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่สองระบอบนี้ความชอบธรรมของผู้นำประเทศแตกต่างกัน การปกครองระบอบประธานาธิบบดี ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง ส่วนระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนเลือกส.ส.แล้ว ให้ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีความชอบธรรมนายกรัฐมนตรีจึงมาจากรัฐสภา แต่กฏมายรัฐะรรมนูญปี 2540 มีลักษณะทั้งสองระบอบผสมผสานกัน
โดยที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ มาจากสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่ได้รับความชอบธรรมเพิ่มพิเศษจากระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ทำให้นายกรัฐมนตรีมีความชอบธรรมสูงขึ้นเป็นสองเท่า เท่ากับว่ามีความชอบธรรมแบบประธานาธิบดี
รัฐบาลไทยรักไทย และนายกรัฐมนตรีทักษิณ ขณะนั้นจึงมีลักษณะตรงกับกระบวนการ presidentialization ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดินสูงขึ้น และนี่คือที่มาที่กลุ่มไม่พอใจรัฐบาลทักษิณ โค่นล้ม เพราะเป็นรัฐบาลแข็งแกร่ง ต่างจากรัฐบาลผสมที่เคยมีมาก่อนหน้านั้น
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ศึกษางานวิจัย"ยูชิฟูมิ ทามาดะ"ประเด็น"สุเทพ"อ้าง"ทักษิณ"ต้องการระบอบประธานาธิบดี ค้นพบรธน.ปี40เป็นประชาธิปไตย-พลังทุนเพิ่มความชอบธรรม
ต่อกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายการปรองดองแห่งชาติ ที่คณะกรรมาธิการเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร
นายสุเทพกล่าวตอนหนึ่งว่า "เราต้องพูดความจริง หากไม่พูดก็ไม่สามารถเกิดความปรองดองได้ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ มีบริวาร เครือญาติ พรรคการเมือง คนเสื้อแดง กลุ่มกองกำลังติดอาวุธหรือที่พวกเขาเรียกว่าแก้ว 3 ประการ และทำให้ฝ่ายอื่นได้รับบาดเจ็บ ล้มตายและสร้างความไม่พอใจ ที่สำคัญแนวทางการเมืองของระบอบทักษิณ แตกต่างจากพวกตน และคนไทยอื่นๆ เพราะความคิดของพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองของประเทศนี้ เพื่อสร้างรัฐไทยใหม่ และเลยเถิดไปในระบอบประธานาธิบดี ให้พรรคเสื้อแดงครองประเทศและประชาชนรับไม่ได้ "
จะเชื่อตามนายสุเทพหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อมูลและความรู้ที่แต่ละฝ่ายอ้างความชอบธรรม แต่เมื่อกลับไปค้นคว้างานวิจัยของ"ยูชิฟูมิ ทามาดะ"นักวิชาการชาวญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ที่ศึกษา"ประชาธิปไตย การกลายเป็นประชาธิปไตย และการออกจากประชาธิปไตยของประเทศไทย" ต่อกรณีที่นายสุเทพ เชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองเป็นรัฐไทยใหม่ หรือที่ว่าต้องการปกครองแบบประธานาธิบดี
"ทามาดะ"ระบุว่าสาเหตุสำคัญอยู่ที่ความไม่พอใจต่อรัฐบาลทักษิณ หากคนจำนวนมากไม่พอใจรัฐบาล จะทำให้รัฐบาลแพ้การเลือกตั้งเป็นวิธิการเปลี่ยนรัฐบาลแบบประชาธิปไตย แต่กรณีรัฐบาลทักษิณ คนที่ไม่พอใจไม่ใช่คนส่วนใหญ่ จึงเป็นการยากที่ที่รัฐบาลจะแพ้ในการเลือกตั้ง
แม้ว่าจะมีการรณรงค์โจมตีอย่างหนัก เพื่อโจมตีรัฐบาล แต่ไม่สามารถทำให้รัฐบาลสูญเสียความนิยมชมชอบจากคนส่วนใหญ่ และประการหนึ่งคือ ระบอบการเมืองตามรัฐธรรมนูญปี 2540 ยิ่งช่วยให้มีเป้าหมายให้รัฐบาลทักษิณมีเสถียรภาพสูงขึ้น และปัจจัยที่ไม่ต้องกล่าวถึงคือรัฐบาลทักษิณมีเงินทุนทางการเมือง ซึ่งต่างจากรัฐบาลที่ช่วงก่อนหน้ารัฐบาลพรรคไทยรักไทยไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมาก และเป็นรัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพ ทำให้พรรคการเมืองอื่นที่ต้องระดมทุนสู้กับพรรคไทยรักไทยในขณะนั้นสู้ได้ยาก
ด้วยเหตุนี้การที่พ.ต.ท.ทักษิณ ทุ่มทุนลงไปในพรรคของตัวเอง จึงแน่ใจได้ว่าไม่มีใครหักหลังเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด แต่หากเป็นพรรคการเมืองไม่ใช่ของตัวเองย่อมไม่มั่นใจถึงเพียงนั้น และหากหันไปช่วยเหลือพรรคอื่นก็เสียประโยชน์
"อำนาจเงินจึงช่วยพรรคไทยรักไทยในการซื้อพรรคเล็ก จนส.ส.พรรคอื่นให้เข้ามาอยู่พรรคไทยรักไทย และเมื่อพรรคการเมืองเข้ามาอยู่มในพรรคไทยรักไทยจึงหนีออกยาก เพราะเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญปี 2540 "
นอกจาก อำนาจเงินแล้ว นโยบายรัฐบาลทักษิณ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้ประชานิยมชมชอบ ให้การสนับสนุนสุดใจ ที่นโยบายนี้มุ่งสนับสนุนทั้งคนรวยและคนจน ทั้งในภาคเมืองและภาคชนบท จึงทำให้ประชาชนเทคะแนนเสียงจากทุกกลุ่มอาชีพ จึงไม่แปลกเพราะการเลือกตั้งเป็นกลไกตรวจสอบนักการเมืองที่ดีที่สุด นัการเมืองจึงต้องเอาใจประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เพื่อจะได้ไม่สอบตก
"ทามาดะ" ยังค้นคว้าพบว่าการที่รัฐบาลทักษิณ ถูกโค่น สาเหตุหลักอยู่ที่การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เพราะเมื่อการเมืองเป็นประชาธิปไตยแล้ว วิธีการเปลี่ยนรัฐบาลที่ถูกต้องตามกติกา คือการเลือกตั้ง หากเอาชนะครั้งเดียวไม่ได้ก็ต้องมีการเลือกตั้งอีกหลายครั้ง ฝ่ายค้านสามารถรณรงค์ว่ารัฐบาลไม่ดีอย่างไร และฝ่ายค้านดีกว่าอย่างไร และรัฐบาลที่เลวจริงก็มีสิทธิจะแพ้การเลือกตั้ง
"แต่มีคนบางกลุ่มรอคอยไม่ได้ กลับเลือกทำการรัฐประหาร ถ้าหากว่ารัฐบาลที่ถูกขับไล่ออกไปนั้นเป็นรัฐบาลเผด็จการที่ไม่ยอมจัดให้มีการเลือกตั้ง การขับไล่ด้วยวิธีการรัฐประหารก็ไม่เลวนัก แต่รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และไม่ปฏิเสธการเลือกตั้ง ฝ่ายรัฐประหารจึงถูกสังคมโลกด่า ผู้นำไปต่างประเทศก็ไม่สามารถจัดประชุมอย่างเป็นทางการกบผู้นำประเทศตะวันตกได้ "
ประเด็นดังกล่าวข้างต้น สอดรับกับที่นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย ระบุว่า "แท้จริงแล้วไม่ใช่อะไรอื่นไกล การที่นายสุเทพ ชูประเด็นพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการปกครองระบอบประธานาธิบดี ก็คือพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งตลอดนั่นเอง จึงต้องอ้างความไม่จงรักภักดี ต้องการล้มสถาบัน เพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง ขณะที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนักเรียนนายร้อย รู้อยู่แล้วว่ามีความจงรักภักดี"
เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบอบการปกครองประชาธิปไตยได้แก่ระบอบประธานาธิบดี กับระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่สองระบอบนี้ความชอบธรรมของผู้นำประเทศแตกต่างกัน การปกครองระบอบประธานาธิบบดี ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง ส่วนระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประชาชนเลือกส.ส.แล้ว ให้ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีความชอบธรรมนายกรัฐมนตรีจึงมาจากรัฐสภา แต่กฏมายรัฐะรรมนูญปี 2540 มีลักษณะทั้งสองระบอบผสมผสานกัน
โดยที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ มาจากสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา แต่ได้รับความชอบธรรมเพิ่มพิเศษจากระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ทำให้นายกรัฐมนตรีมีความชอบธรรมสูงขึ้นเป็นสองเท่า เท่ากับว่ามีความชอบธรรมแบบประธานาธิบดี
รัฐบาลไทยรักไทย และนายกรัฐมนตรีทักษิณ ขณะนั้นจึงมีลักษณะตรงกับกระบวนการ presidentialization ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดินสูงขึ้น และนี่คือที่มาที่กลุ่มไม่พอใจรัฐบาลทักษิณ โค่นล้ม เพราะเป็นรัฐบาลแข็งแกร่ง ต่างจากรัฐบาลผสมที่เคยมีมาก่อนหน้านั้น
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มาแล้ว..นิวตริโน สื่อชั้นเลิศแห่งอนาคต !!?
"นิวตริโน"สื่อชั้นเลิศแห่งอนาคตสามารถนำข้อมูลดิจิตอลทั้งภาพและเสียงไปยังที่ต่างๆตั้งแต่ใต้ท้องธารลึกที่สุดของโลกจนถึงอวกาศที่ไร้อากาศ
เมื่อครั้งที่อเลกซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ หยิบโทรศัพท์เครื่องแรกของโลกขึ้นมา ก่อนที่จะส่งเสียงผ่านปากพูด ว่า “วัตสัน เข้ามาหน่อย ผมต้องการคุณ” เมื่อปี 2419 และก่อให้เกิดช่องทางในการสื่อสารสำคัญของโลก ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม การเมือง และ การทหาร รวมทั้งชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกในช่วงไม่เกิน 1 ศตวรรษ ต่อมา
ทุกวันนี้โทรศัพท์ พัฒนาไปสู่โทรศัพท์ไร้สาย และ อินเตอร์เน็ต ซึ่งเชื่อมต่อคนทั้งโลกเข้าด้วยกันภายในระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที ด้วยการส่งผ่านข้อมูลเสียง และ ข้อมูลอื่นๆ ผ่านเส้นไยแก้วนำแสงที่ทอดยาวใต้ก้นสมุทรจากทวีปหนึ่งไปอีกทวีปหนึ่ง
แต่ยุคใหม่ของการสื่อสาร เริ่มต้นขึ้นแล้ว และการประดิษฐ์อุปกรณ์การสื่อสารชนิดใหม่นี้ที่ใช้ “ นิวตริโน” เป็นสื่อในการนำข้อมูลดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นเสียง หรือ ภาพ ไปยังที่ต่างๆทั่วโลก ทั้งใต้ท้องธารที่ลึกที่สุดของโลก จนถึงอวกาศที่ไร้อากาศที่เป็นสื่อในการนำคลื่นเสียงออกไป
ห้องปฏิบัติการเฟอร์มิแล็ป ในรัฐอิลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เพิ่งประกาศความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องส่งคลื่นนิวตริโนที่เรียกย่อๆว่า “นูมิ” (NuMI : Neutrino beam at the Main Injector) และเครื่องรับนิวตริโนความไวสูงที่เรียกว่า “มิเนอร์วา” (MINERvA) ที่สามารถส่ง และรับสารที่ใช้นิวตริโนเป็นสื่อได้โดยมีความผิดพลาดเพียง 0.1%
ต้องขออธิบายกันก่อนว่า นิวตริโน คือ อะไร นิวตริโร คืออนุภาค เป็นอนุภาคมูลฐาน ไม่มีประจุไฟฟ้า แทบจะไม่มีมวล หรือน้ำหนัก สามารถเคลื่อนผ่านสสารทั่วไปได้ โดยแทบไม่รบกวน หรือไม่สามารถตรวจจับได้ ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรกรีก ว่า (นิว) พบได้จากกากกัมมันตรังสี หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่นปฏิกิริยานิวเคลียร์ในโรงไฟฟ่ที่ใหญ่ที่สุดในสุริยจักรวาล หรือ เรียกสั้นๆ ว่า ดวงอาทิตย์นั่นเอง
นักวิทยาศาสตร์แห่งเฟอร์มิแล็ป จับ และ รวบรวมนิวตริโนมา 10 กำลัง 13 อนุภาค ที่เพียงพอต่อการโปรแกรมตัวเลขดิจิตอล 0 กับ 1 ที่เมื่อนำไปถอดรหัสก็จะได้คำว่า “นิวตริโน” ส่งจากเครื่องนูมิ ไปยังมิเนอร์วา ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 1 กิโลเมตร
อุปสรรคสำคัญ ที่ขวางกั้นนิวตริโนอยู่นั่นคือ ชั้นหินแข็งตลอดความยาว 1 กิโลเมตร ที่เป็นกำแพงสุดแกร่งป้องกันการทะลุทะลวงของสสาร หรือ อนุภาคอื่นๆที่จะรอดออกไป แต่ด้วยความพิเศษของนิวตริโน นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ สามารถส่งข้อความคำว่า “นิวตริโน” ไปยังเครื่องตรวจจับนิวตริโน ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับสารที่ใช้ นิวตริโนเป็นสื่อ มาได้อย่างชัดเจนอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น
การพัฒนาระบบสื่อสารด้ายนิวตริโน เป็นการเปิดประตู สู่การสื่อสารระยะไกลยิ่งยวด เช่น จากโลก ถึงดวงดาวอื่น หรือ จากพื้นดินลง ไปยังเรือดำน้ำ ที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ที่ความลึกกว่า 10 กิโลเมตรหรือ ต่ำกว่านั้นลงไป ด้วยคุณสมบัติทางกายภาพ และ ทางทฤษฏีฟิสิกส์ของนิวตริโน
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555
รอยโค รอยเกวียน !!?
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของตัวเอง โดยอ้างเหตุผลต่อสาธารณชนว่า...พวกส.ส.สร้างความวุ่นวายจนบริหารประเทศต่อไปไม่ไหว
แต่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ก่อนการยึดอำนาจหนึ่งวัน อเมริกาได้ส่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ บินด่วนมาพบ จอมพลถนอม กับ นายพจน์ สารสิน ในฐานะนายกรัฐมนตรีกับรองนายกรัฐมนตรี
เพราะอเมริกันได้ข่าวว่า...ไทยจะมีการยึดอำนาจและจะเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ
ต่อคำถามของปลัดกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันว่าจะมีการยึดอำนาจหรือไม่ จอมพลถนอมตอบว่า...ไม่มี
แต่เมื่อมีการยึดอำนาจวันรุ่งขึ้น ฝ่ายอเมริกันก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะรู้ว่า ประเทศไทยจะเปลี่ยนนโยบายจากการรับรองไต้หวันไปเป็นการรับรอง “จีนแดง” หรือไม่ และ คุณถนัด คอมันตร์ จะได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศหรือไม่
วันที่มีการยึดอำนาจนั้น ประเทศไทยไม่มีสัมพันธไมตรีกับจีน พรรคการเมืองบางพรรคบอกว่า การเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อประเทศไทยเลย เพราะสินค้าออกของจีนมีแค่เม็ดก๋วยจี๊
ขณะเดียวกันเวลานั้น เราก็เป็นเสาหลักของสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใดหรือซีโต้ มีฐานทัพของเมริกันอยู่ในเมืองเรา 14แห่ง รวมทั้งฐานบิน บี.52 ที่อู่ตะเภา
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2514 หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้มีคำสั่งลับสุดยอดถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ห้ามสถานีวิทยุทุกแห่งของทางราชการ “ด่าและวิจารณ์จีน”
เพื่อปูทางไปสู่การเจรจารื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518
การตระเตรียมการต่างๆ เพื่อเปิดสัมพันธไมตรีกับจีน มันยังรวมถึงการจัดการให้ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517
การรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับจีนเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งสำคัญ คือเปลี่ยนจากการเดินตามก้นอเมริกัน ร่วมมือปิดล้อมจีน ไปสู่การดำเนินนโยบายไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด และมีความสัมพันธ์กับมหาอำนาจทั้งหลายแบบเสมอเหมือนกัน
ไม่เอนเอียงเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
จากปี 2518 มาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 37 ปี สถานการณ์ต่างๆได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
อเมริกาซึ่งเคยเป็นพี่เบิ้มใหญ่ กำลังมีภาวะเศรษฐกิจทรุดโทรม จีนมีความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของโลกและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย โดยทั้งจีนและรัสเซียต่างมีแสนยานุภาพทางการทหารที่ไม่ต้องหวั่นเกรงใคร
แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าวชิ้นหนึ่งจากกรุงวอชิงตันว่า...อเมริกาได้หวนกลับมาให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ในเอเชียอีกครั้งหนึ่ง
ขณะนี้อเมริกามีทหารอยู่ในญี่ปุ่น 47,300 นาย เกาหลีใต้ 29,000 นาย ฮาวาย 42,360 นาย
ตามแผนการนั้น อเมริกาจะส่งนาวิกโยธิน 2,500 นายพร้อมเครื่องบินและเรือรบไปประจำในออสเตรเลีย และจะส่งเรือรบไปประจำที่สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์
โดยบอกพร้อมกันว่า...จะส่งเรือรบกับเครื่องบินมาประจำในประเทศไทยด้วย
ไม่รู้ว่าความตกลงให้อเมริกันกลับมาตั้งฐานทัพใหม่ทำขึ้นเมื่อใด?
ใครรู้ช่วยบอกที
คนชายขอบ (ศรี อินทปันตี),บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แต่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ก่อนการยึดอำนาจหนึ่งวัน อเมริกาได้ส่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ บินด่วนมาพบ จอมพลถนอม กับ นายพจน์ สารสิน ในฐานะนายกรัฐมนตรีกับรองนายกรัฐมนตรี
เพราะอเมริกันได้ข่าวว่า...ไทยจะมีการยึดอำนาจและจะเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ
ต่อคำถามของปลัดกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันว่าจะมีการยึดอำนาจหรือไม่ จอมพลถนอมตอบว่า...ไม่มี
แต่เมื่อมีการยึดอำนาจวันรุ่งขึ้น ฝ่ายอเมริกันก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะรู้ว่า ประเทศไทยจะเปลี่ยนนโยบายจากการรับรองไต้หวันไปเป็นการรับรอง “จีนแดง” หรือไม่ และ คุณถนัด คอมันตร์ จะได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศหรือไม่
วันที่มีการยึดอำนาจนั้น ประเทศไทยไม่มีสัมพันธไมตรีกับจีน พรรคการเมืองบางพรรคบอกว่า การเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อประเทศไทยเลย เพราะสินค้าออกของจีนมีแค่เม็ดก๋วยจี๊
ขณะเดียวกันเวลานั้น เราก็เป็นเสาหลักของสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใดหรือซีโต้ มีฐานทัพของเมริกันอยู่ในเมืองเรา 14แห่ง รวมทั้งฐานบิน บี.52 ที่อู่ตะเภา
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2514 หัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้มีคำสั่งลับสุดยอดถึงอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ห้ามสถานีวิทยุทุกแห่งของทางราชการ “ด่าและวิจารณ์จีน”
เพื่อปูทางไปสู่การเจรจารื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518
การตระเตรียมการต่างๆ เพื่อเปิดสัมพันธไมตรีกับจีน มันยังรวมถึงการจัดการให้ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517
การรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับจีนเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งสำคัญ คือเปลี่ยนจากการเดินตามก้นอเมริกัน ร่วมมือปิดล้อมจีน ไปสู่การดำเนินนโยบายไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด และมีความสัมพันธ์กับมหาอำนาจทั้งหลายแบบเสมอเหมือนกัน
ไม่เอนเอียงเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
จากปี 2518 มาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 37 ปี สถานการณ์ต่างๆได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
อเมริกาซึ่งเคยเป็นพี่เบิ้มใหญ่ กำลังมีภาวะเศรษฐกิจทรุดโทรม จีนมีความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของโลกและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซีย โดยทั้งจีนและรัสเซียต่างมีแสนยานุภาพทางการทหารที่ไม่ต้องหวั่นเกรงใคร
แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ได้มีรายงานข่าวชิ้นหนึ่งจากกรุงวอชิงตันว่า...อเมริกาได้หวนกลับมาให้ความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ในเอเชียอีกครั้งหนึ่ง
ขณะนี้อเมริกามีทหารอยู่ในญี่ปุ่น 47,300 นาย เกาหลีใต้ 29,000 นาย ฮาวาย 42,360 นาย
ตามแผนการนั้น อเมริกาจะส่งนาวิกโยธิน 2,500 นายพร้อมเครื่องบินและเรือรบไปประจำในออสเตรเลีย และจะส่งเรือรบไปประจำที่สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์
โดยบอกพร้อมกันว่า...จะส่งเรือรบกับเครื่องบินมาประจำในประเทศไทยด้วย
ไม่รู้ว่าความตกลงให้อเมริกันกลับมาตั้งฐานทัพใหม่ทำขึ้นเมื่อใด?
ใครรู้ช่วยบอกที
คนชายขอบ (ศรี อินทปันตี),บางกอกทูเดย์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หายนะใครกัน..!!?
หากว่า..การพ้นข้อหาและกลับมาประเทศไทย..ของ ทักษิณ ชินวัตร.. คือหายนะของประเทศแล้วละก็... เตรียมรอความหายนะกันไว้ได้เลย
ไม่ใช่เพราะ..ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณ จะหยิบอาวุธขึ้นมาต่อสู้กับผู้ไม่อยากให้ทักษิณกลับบ้าน..ประชาชนคนไทยไม่ได้โง่เหมือนหัวหน้าพรรคการเมืองบางพรรคหรือสมาชิกพรรคบางคน ที่มองว่า การกลับเข้ามาเพราะได้รับการนิรโทษกรรมของ ทักษิณ ชินวัตร..คือการกระทำการฆาตกรรมต่อระบบระบอบยุติธรรมของประเทศ..
แต่การยอมรับไม่ต่อสู้และร่วมสมสู่กับการยึดอำนาจประเทศด้วยกำลังอาวุธ จากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกลายเป็นวีรกรรมอันน่าเชิดชู...
เพราะว่าเมื่อไม่มีการนิรโทษกรรม..ผู้ต้องหาจำนวนร้อย จำนวนพันที่เป็นคดีจากการต่อสู้กันด้วยความเห็นต่างทางการเมือง..และการถูกเร้าปลุกระดมจากนักปลุกระดมให้กระทำความผิดในการยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ก็จะกลายเป็นนักโทษเมื่อการพิพากษาถึงที่สุด
ประชาชนเหล่านี้ต่างหากที่น่าสงสาร..ความรักบ้าน รักเมืองของพวกเขากลายเป็นอาชญากรรม..ภายใต้การนำของนักการเมืองที่บ้าอำนาจและนักปลุกระดมที่แสวงหาผลประโยชน์ไม่กี่คน...จากทั้งสองฝ่าย..
ที่ว่าเตรียมหายนะกันไว้ได้เลยนั้น...ไม่ได้หมายความถึงประเทศไทยหรือแผ่นดินไทย..แต่หมายความถึงพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำพรรคในปัจจุบัน..เอาแค่จุดธูปไปถามผู้ก่อตั้งพรรคที่ล่วงลับหรือที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า..พรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันได้เดินห่างจากพรรคประชาธิปัตย์ในอดีตมาแล้วกี่มากน้อย
คำตอบก็คือ...เกือบจะตรงกันข้าม
ประชาธิปัตย์ในอดีต..ยึดประชาธิปไตยและการประนีประนอม...แล้ววันนี้ละ...เหมือนพรรคนาซีของฮิตเลอร์..
พรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหา..ทักษิณกลับมาหรือไม่..วันนี้คำตอบยังน่าสงสัย.. เมื่อคะแนนแห่งความสงสารหายไปและคะแนนแห่งความหมั่นไส้อิจฉาเพิ่มขึ้น.. เก้าอี้ผู้แทนที่เกินครึ่งอาจจะเหลือไม่ถึง..
พรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหา... ทักษิณไม่กลับมาหรือกลับมาไม่ได้.. พลังประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงก็มีแต่จะแกร่งและแข็งแรงเพิ่มขึ้นตามชั่วโมงวัน..
แล้วใครกันที่หายนะ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่ใช่เพราะ..ฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณ จะหยิบอาวุธขึ้นมาต่อสู้กับผู้ไม่อยากให้ทักษิณกลับบ้าน..ประชาชนคนไทยไม่ได้โง่เหมือนหัวหน้าพรรคการเมืองบางพรรคหรือสมาชิกพรรคบางคน ที่มองว่า การกลับเข้ามาเพราะได้รับการนิรโทษกรรมของ ทักษิณ ชินวัตร..คือการกระทำการฆาตกรรมต่อระบบระบอบยุติธรรมของประเทศ..
แต่การยอมรับไม่ต่อสู้และร่วมสมสู่กับการยึดอำนาจประเทศด้วยกำลังอาวุธ จากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกลายเป็นวีรกรรมอันน่าเชิดชู...
เพราะว่าเมื่อไม่มีการนิรโทษกรรม..ผู้ต้องหาจำนวนร้อย จำนวนพันที่เป็นคดีจากการต่อสู้กันด้วยความเห็นต่างทางการเมือง..และการถูกเร้าปลุกระดมจากนักปลุกระดมให้กระทำความผิดในการยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ก็จะกลายเป็นนักโทษเมื่อการพิพากษาถึงที่สุด
ประชาชนเหล่านี้ต่างหากที่น่าสงสาร..ความรักบ้าน รักเมืองของพวกเขากลายเป็นอาชญากรรม..ภายใต้การนำของนักการเมืองที่บ้าอำนาจและนักปลุกระดมที่แสวงหาผลประโยชน์ไม่กี่คน...จากทั้งสองฝ่าย..
ที่ว่าเตรียมหายนะกันไว้ได้เลยนั้น...ไม่ได้หมายความถึงประเทศไทยหรือแผ่นดินไทย..แต่หมายความถึงพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำพรรคในปัจจุบัน..เอาแค่จุดธูปไปถามผู้ก่อตั้งพรรคที่ล่วงลับหรือที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า..พรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันได้เดินห่างจากพรรคประชาธิปัตย์ในอดีตมาแล้วกี่มากน้อย
คำตอบก็คือ...เกือบจะตรงกันข้าม
ประชาธิปัตย์ในอดีต..ยึดประชาธิปไตยและการประนีประนอม...แล้ววันนี้ละ...เหมือนพรรคนาซีของฮิตเลอร์..
พรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหา..ทักษิณกลับมาหรือไม่..วันนี้คำตอบยังน่าสงสัย.. เมื่อคะแนนแห่งความสงสารหายไปและคะแนนแห่งความหมั่นไส้อิจฉาเพิ่มขึ้น.. เก้าอี้ผู้แทนที่เกินครึ่งอาจจะเหลือไม่ถึง..
พรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหา... ทักษิณไม่กลับมาหรือกลับมาไม่ได้.. พลังประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงก็มีแต่จะแกร่งและแข็งแรงเพิ่มขึ้นตามชั่วโมงวัน..
แล้วใครกันที่หายนะ
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิวาทะ ปรองดอง สู่แนวคิดที่ตีบตัน !!?
กลายเป็น “วาระร้อน!” สำหรับรายงานของคณะวิจัยสถาบันพระปกเกล้า ที่กำลังเป็น “ข้อถกเถียง” กันในทางการเมือง หลังผลักดันเข้าสู่ “กระบวนการในสภา” ผ่านคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ หรือ กมธ. ปรองดอง ที่มี “บิ๊กบัง-พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน” เป็นหัวหน้าคณะ
เมื่อคำว่า “ปรองดอง” เดินมาถึงจุด “หัวเลี้ยว-หัวต่อ” เพราะทั้ง “รัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน” ต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้กัน จนการปิดเกมเร็วของ “รัฐนาวา” เพื่อนำไปสู่ปรองดอง ได้ก่อตัวเป็น “ชนวน” ความขัดแย้งรอบใหม่
กระนั้นแล้ว ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ก็ล้วนมีหลายมิติหลากมุมมอง โดยเฉพาะกับแนวทาง “ปรองดอง” ที่ลากกันไปมานั้น จะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ หรือเป็น “หนทาง” ยุติความขัดแย้งได้หรือไม่..?!
เช่นเดียวกับในซีกนักวิชาการ ที่ล้วนมีมุมมอง..สะท้อนปัญหา “ความไม่ปรองดอง” ไว้อย่างน่าสนใจ
“ศ.สุริชัย หวันแก้ว” ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า..วาทะ “ปรองดอง” ที่นักการเมืองนิยมใช้กันเป็นเพียงคำนิยาม เพราะหากอธิบายความปรองดองในการประชุมร่วมรัฐสภาให้ตรงกับความเป็นจริง ควรจะใช้คำว่า “สงครามปรองดอง” มากกว่า!
ดูแล้วเรื่องการ “ปรองดอง” ถ้ายิ่งเร่งร้อนกันมาก ก็จะกลายเป็นการระแวงกันมากขึ้น อีกฝ่ายคิดว่า เหมือนกับมีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า คิดไปก็ยิ่งมากเรื่อง สุดท้ายมันจึงล่มทั้งสถาบัน ทำให้ช่องว่างความขัดแย้งขยายขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้นจะต้องเอื้อบรรยากาศ อย่าให้เลยเถิด ทุกฝ่ายต้องพิจารณาเหมือนกันว่า เรื่องปรองดองข้อสรุปไม่สำคัญเท่ากับวิธีการที่ใช้
เมื่อวงปรองดอง เริ่มระส่ำระสาย “ฝ่ายค้าน” พากันถอนตัวออกจาก กมธ.ปรองดอง แถมยกขบวน “วอล์กเอาต์” ออกจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา ทางออกของวิกฤติความขัดแย้งก็เริ่มตีบตัน ความหวาดระแวงเรื่องขั้วอำนาจ สีเขียวขนปืน-รถถัง ออกมาเบรกเกม “ยึดอำนาจ” ก็อาจเกิดขึ้นได้
“สิริพรรณ นกสวน สวัสดี” อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าถือว่า “มีจุดอ่อน!” เช่น การนำแนวคิดของ 10 ประเทศ ที่เกิดความขัดแย้งมาเป็นข้อเสนอในการสร้างความปรองดอง แต่มันไม่ได้ตั้งอยู่บนความขัดแย้งของสังคมไทย ฉะนั้นมันอาจจะใช้ไม่ได้เสมอไป และข้อเสนอเชิงทางเลือกของสถาบันพระปกเกล้า จะก่อให้เกิดการถกเถียง และ สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอีก
“ตอนนี้มีทั้งกลุ่มที่กลัว พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่มที่กลัวอำมาตย์ กลัวการรัฐประหาร ซึ่งการจะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความผิด หาคนกระทำผิดก่อน หรือควรมีการลงโทษก่อนนิรโทษกรรม อย่างเช่น การทำรัฐประหารถือเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ และถือเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้ง และการนำ พล.อ.สนธิ มาเป็นประธานกรรมาธิการปรองดอง สมควรแล้วหรือไม่”
ส่วนกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่มีคดีความผิดก่อนการเกิดรัฐประหาร ก็ควรมีการตรวจสอบความผิด และนำมาดำเนินคดีใหม่ทั้งหมด ขณะที่คนบางกลุ่มมองว่า แล้วความผิดของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สลายการชุมนุม “คนเสื้อแดง” จนก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผิดอย่างไร
ฉะนั้นแล้ว ก่อนจะมีการนิรโทษกรรม จะต้องตรวจสอบหาความผิดเสียก่อน เพราะประชาชนที่สูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และหมดความศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย คงจะยอมรับไม่ได้ ไม่เช่นนั้นไม่มีทางที่สังคมไทยจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ได้เลย!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อคำว่า “ปรองดอง” เดินมาถึงจุด “หัวเลี้ยว-หัวต่อ” เพราะทั้ง “รัฐบาล” และ “ฝ่ายค้าน” ต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้กัน จนการปิดเกมเร็วของ “รัฐนาวา” เพื่อนำไปสู่ปรองดอง ได้ก่อตัวเป็น “ชนวน” ความขัดแย้งรอบใหม่
กระนั้นแล้ว ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ก็ล้วนมีหลายมิติหลากมุมมอง โดยเฉพาะกับแนวทาง “ปรองดอง” ที่ลากกันไปมานั้น จะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ หรือเป็น “หนทาง” ยุติความขัดแย้งได้หรือไม่..?!
เช่นเดียวกับในซีกนักวิชาการ ที่ล้วนมีมุมมอง..สะท้อนปัญหา “ความไม่ปรองดอง” ไว้อย่างน่าสนใจ
“ศ.สุริชัย หวันแก้ว” ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า..วาทะ “ปรองดอง” ที่นักการเมืองนิยมใช้กันเป็นเพียงคำนิยาม เพราะหากอธิบายความปรองดองในการประชุมร่วมรัฐสภาให้ตรงกับความเป็นจริง ควรจะใช้คำว่า “สงครามปรองดอง” มากกว่า!
ดูแล้วเรื่องการ “ปรองดอง” ถ้ายิ่งเร่งร้อนกันมาก ก็จะกลายเป็นการระแวงกันมากขึ้น อีกฝ่ายคิดว่า เหมือนกับมีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือเปล่า คิดไปก็ยิ่งมากเรื่อง สุดท้ายมันจึงล่มทั้งสถาบัน ทำให้ช่องว่างความขัดแย้งขยายขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้นจะต้องเอื้อบรรยากาศ อย่าให้เลยเถิด ทุกฝ่ายต้องพิจารณาเหมือนกันว่า เรื่องปรองดองข้อสรุปไม่สำคัญเท่ากับวิธีการที่ใช้
เมื่อวงปรองดอง เริ่มระส่ำระสาย “ฝ่ายค้าน” พากันถอนตัวออกจาก กมธ.ปรองดอง แถมยกขบวน “วอล์กเอาต์” ออกจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา ทางออกของวิกฤติความขัดแย้งก็เริ่มตีบตัน ความหวาดระแวงเรื่องขั้วอำนาจ สีเขียวขนปืน-รถถัง ออกมาเบรกเกม “ยึดอำนาจ” ก็อาจเกิดขึ้นได้
“สิริพรรณ นกสวน สวัสดี” อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าถือว่า “มีจุดอ่อน!” เช่น การนำแนวคิดของ 10 ประเทศ ที่เกิดความขัดแย้งมาเป็นข้อเสนอในการสร้างความปรองดอง แต่มันไม่ได้ตั้งอยู่บนความขัดแย้งของสังคมไทย ฉะนั้นมันอาจจะใช้ไม่ได้เสมอไป และข้อเสนอเชิงทางเลือกของสถาบันพระปกเกล้า จะก่อให้เกิดการถกเถียง และ สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอีก
“ตอนนี้มีทั้งกลุ่มที่กลัว พ.ต.ท. ทักษิณ และกลุ่มที่กลัวอำมาตย์ กลัวการรัฐประหาร ซึ่งการจะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องมีการตรวจสอบความผิด หาคนกระทำผิดก่อน หรือควรมีการลงโทษก่อนนิรโทษกรรม อย่างเช่น การทำรัฐประหารถือเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ และถือเป็นสาเหตุหลักของความขัดแย้ง และการนำ พล.อ.สนธิ มาเป็นประธานกรรมาธิการปรองดอง สมควรแล้วหรือไม่”
ส่วนกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณที่มีคดีความผิดก่อนการเกิดรัฐประหาร ก็ควรมีการตรวจสอบความผิด และนำมาดำเนินคดีใหม่ทั้งหมด ขณะที่คนบางกลุ่มมองว่า แล้วความผิดของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สลายการชุมนุม “คนเสื้อแดง” จนก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผิดอย่างไร
ฉะนั้นแล้ว ก่อนจะมีการนิรโทษกรรม จะต้องตรวจสอบหาความผิดเสียก่อน เพราะประชาชนที่สูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และหมดความศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย คงจะยอมรับไม่ได้ ไม่เช่นนั้นไม่มีทางที่สังคมไทยจะเริ่มนับหนึ่งใหม่ได้เลย!
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555
เปิดเส้นทางสู่เมียนมาร์ โอกาสใหม่ของนักลงทุนไทย !!?
และเพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเมียนมาร์ เพื่อนบ้านที่มีแนวพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยนับ 1,000 กม. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดสัมมนา "เปิดเส้นทางสู่พม่า โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย" มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์ไทยกับทวาย
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ฉายภาพถึง "ยุทธศาสตร์ประเทศไทยกับโครงการทวาย" ว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมียนมาร์และโครงการทวายถือว่า "ฮอต" มาต่อเนื่อง แม้ว่าระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานจะยังไม่สมบูรณ์นัก แต่เชื่อว่าต่อจากนี้ไปเศรษฐกิจของเมียนมาร์จะขยายตัวอีกร้อยละ 4-5 และในอนาคตมีโอกาสขยายตัวถึงร้อยละ 10 ปัจจุบันเมียนมาร์มีการส่งออกมาไทยมากถึงร้อยละ 40 ในรูปของก๊าซธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็นำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมากที่สุด เพราะสินค้าราคาถูก
ในปี 2558 หลังการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เมียนมาร์ยิ่งต้องพัฒนาหลายด้าน เช่น สร้างท่าเรือด้านใต้ของประเทศ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่เน้นไปที่อุตสาหกรรมต้นน้ำ และเมื่อมีท่าเรือทวายแล้วประเทศไทยสามารถใช้ศักยภาพนี้ส่งสินค้าไปยังยุโรป ลดการพึ่งพาท่าเรือสิงคโปร์ที่เริ่มแออัดและมีปัญหาโจรสลัด โดยสภาพัฒน์มองว่า การส่งสินค้าออกผ่านท่าเรือทวายจะช่วยเพิ่ม GDP ของไทยให้โตขึ้นถึงร้อยละ 2
"สิ่งที่เราต้องทำเร่งด่วนคือ การปรับด่านพุน้ำร้อนให้สามารถขนส่งสินค้าได้ชั่วคราวก่อน ต่อจากนั้นต้องหาข้อยุติเรื่องการแบ่งเขตแดนไทย-พม่า ส่วนในระยะกลาง-ยาว ต้องมีการสร้างถนนเชื่อม 2 ประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาด่านพุน้ำร้อนให้เป็นด่านถาวร ศึกษาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีให้สอดรับกับการลงทุน คาดว่าอุตสาหกรรมเหล็ก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ จะเกิดขึ้นในทวายแน่นอน"
ด้าน ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด ผู้บริหารโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย มูลค่า 400,000 ล้านบาท กล่าวว่า
เมียนมาร์กำลังให้ความสำคัญกับการสร้างเมืองใหม่ รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ด้วย สิ่งที่นักลงทุนจะต้องมองก่อนเข้าไปลงทุนก็คือ กฎระเบียบต่าง ๆ อย่างกรณีทวายจะตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา
ไทย-เมียนมาร์ต้องเติบโตร่วมกัน
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มองว่า เมียนมาร์ได้เข้ามาเสริมรอยต่อของประเทศไทยในเรื่องของ 1) ปัญหาแรงงานไทยในภาวะติดลบ เพราะเมียนมาร์มีแรงงานที่พร้อมเข้าระบบอีกไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคน 2) ที่ดินสำหรับรองรับอุตสาหกรรม เพราะไทยมีปัญหากับชุมชนรอบข้างอุตสาหกรรมในประเด็นสิ่งแวดล้อม 3) มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่สูงเทียบเท่ากับกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ได้กลายเป็นอุปสรรคให้กับการลงทุนในอุตสาหกรรมรองเท้า-
สิ่งทอ-อาหาร-ประมง และการเกษตร สามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ได้ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่สูงมากนัก "หากจะลงทุนในพม่า การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม อย่าไปตามกระแส ต้องศึกษาข้อกฎหมายอย่างละเอียด ต้องมองว่าเรามีจุดแข็งหรือไม่ด้านใด การมี partner ที่ดีมีความจำเป็น ที่สำคัญอย่าคิดไปเอาเปรียบเมียนมาร์"
นางโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ได้เล่าประสบการณ์ของบริษัทว่า เริ่มเข้าไปทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไป (trading) ในเรื่องของสายส่ง สถานีไฟฟ้า แต่บริษัทมีพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี ทำให้บริษัทกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง ติด 1 ใน 5 ของการขายระบบไฟฟ้าให้เมียนมาร์ จนกระทั่งบริษัทมีโอกาสเข้าร่วมประมูลในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ซึ่งจากโครงการนี้จะนำไฟฟ้ากลับมาใช้ในประเทศไทยด้วย ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า นักลงทุนต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน เมื่อเมียนมาร์เปิดประเทศ ทุกอย่างจะ "ก้าวเร็ว" ยิ่งขึ้น ฉะนั้นหลังการเลือกตั้งนักลงทุนต้องพร้อม
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวถึงการเข้าไปลงทุนใน
เมียนมาร์ว่า มาจากทรัพยากรธรรมชาติทั้งก๊าซและน้ำมัน ประกอบกับช่วงนั้นเมียนมาร์มีความต้องการการลงทุนจากภายนอก ปตท.สผ.จึงเข้าไปเจรจาเพื่อขอซื้อก๊าซ โดยจับมือไปกับบริษัทโททาล (TOTAL) ต้องสร้างความมั่นใจในแง่ของประโยชน์ทั้งที่ไทยและเมียนมาร์จะได้รับ ล่าสุด ปตท.สผ.ยังได้สัมปทานบนบกผ่านการประมูลและชนะได้มาถึง 2 แปลง เหตุผลที่ชนะก็คือ ปตท.สผ.มี local partner และมีการตอบแทนภาคสังคมให้กับเมียนมาร์มาอย่างต่อเนื่อง
"ประเทศไทยนั้นได้เปรียบและค่อนข้างมีโอกาส เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่รัฐบาลควรมีบทบาทในการผลักดันให้มากกว่านี้ ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะเชื่อมไทยรวมเข้ากับกลุ่มอินโดไชน่า และไทยจะเป็นตัวเหนี่ยวนำเศรษฐกิจเมียนมาร์ให้เติบโตเร็วขึ้น ช่วยปิดช่องว่างความรวยความจน ต้องมองความได้เปรียบให้เป็น และทำให้เมียนมาร์เจริญเติบโตควบคู่ไปกับไทย"
การปฏิรูปเงินจ๊าตสู่สากล
นายโมว เตต เลขาธิการสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมในเมียนมาร์ กล่าวแนะนักลงทุนไทยว่า ควรมุ่งไปที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรม ส่วนด้านการเกษตร แนะนำให้นักลงทุนไทยพุ่งความสนใจไปทางตอนใต้ของเมียนมาร์ เพราะมีที่ดินขนาดใหญ่เหมาะแก่การลงทุน โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม นอกจากนี้อุตสาหกรรมอาหารก็เป็นที่ต้องการของเมียนมาร์มาก จากปัจจุบันที่มีการนำเข้าสินค้าประเภทนี้จากประเทศไทยอยู่แล้ว "ไทยเข้ามาลงทุนในเมียนมาร์มากเป็นอันดับ 2 รองจากจีน ในขณะที่เราโดนชาติตะวันตกแซงก์ชั่น ไทยกับจีนก็ยังคงอยู่กับเรา ตรงนี้ชัดเจนว่าเมียนมาร์วางไทยอยู่ในตำแหน่งคู่ค้าที่ดี เราหวังที่จะเพิ่มการให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุนไทยเพิ่มขึ้น"
ด้าน นายออง ซู ผู้อำนวยการแผนกการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการปฏิรูปค่าเงินจ๊าต ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 1 เมษายนว่า ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากของ
เมียนมาร์ เนื่องจากเมียนมาร์ถูกแซงก์ชั่นทางเศรษฐกิจหลายประการ ดังนั้น นโยบายทางการค้าจึงสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของประเทศ ที่ผ่านมาเมียนมาร์อยู่รอดได้เพราะการค้าชายแดน จึงต้องขอขอบคุณเพื่อนบ้านอย่างจีน อินเดีย และประเทศไทย
"ที่ผ่านมาเรามีอัตราแลกเปลี่ยนถึง 2-3 อัตรา รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงด้านค่าเงิน เราร่วมมือกับ IMF ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการได้ในเมียนมาร์ โดยธนาคารกลางจะเป็นผู้ดูแลระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบใหม่ นี่เป็นข่าวดีที่ทุกฝ่ายรอคอย"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถกปรองดอง สภาเดือด หารือต่อวันนี้ !!?
ถกรายงานปรองดอง 7ชม.เดือด ฝ่ายค้าน งงบรรจุลำดับต้นได้อย่างไร'เจริญ'ปัดไม่ทราบ โยนเป็นอำนาจประธานสภาฯ "สนธิ"ยันทำหน้าที่เสร็จแล้ว
เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้(4) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) โดยก่อนเริ่มพิจารณา นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงกติกา และหลักเกณฑ์การเรียงลำดับวาระการประชุม เนื่องจากพบว่า วาระรายงานปรองดองอยู่ในลำดับท่ 4.2 ซึ่งถือว่าบรรจุในลำดับก่อนหน้าเรื่องอื่นที่พิจารณาแล้วเสร็จไปนานแล้วก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ชี้แจงว่า การบรรจุวาระการประชุม เป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ ทั้งนี้การเรียงลำดับนั้นเป็นอำนาจของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำให้ นพ.สุกิจ กล่าวว่า แสดงว่าไม่ได้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนกับการเรียงลำดับวาระประชุมใดๆ ซึ่งประเด็นนี้คงเป็นเรื่องที่รัฐบาลหรือบางคนได้รับประโยชน์ เรื่องถึงได้นำมาบรรจุในระดับต้น
หลังจากที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ฐานะประธานกมธ.ปรองดอง กล่าวรายงานต่อที่ประชุม โดยย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องรีบยุติความขัดแย้งในปัจจุบัน เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และความมั่นคงของประเทศแล้วเสร็จ นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ขอหารือที่ประชุมโดยได้นำแถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้าที่ย้ำวิธีการสร้างความปรองดองด้วยการเสวนาหาทางออกร่วมกัน มาอ่านในที่ประชุม พร้อมอภิปรายว่า ตนแปลกใจว่าทำไมประธานกมธ.ปรองดองไม่นำประเด็นนี้มาพิจารณา เบื้องต้นตนอยากให้ประธานกมธ.ปรองดอง รับข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาเพื่อทำให้เกิดความสมานฉันท์และทางออกร่วมกัน
ด้านนายชวลิต วิทยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะกมธ.ปรองดอง ชี้แจง ว่าในแถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้าตนดีใจที่ทางสถาบันได้ตรวจสอบเนื้อหาของงานวิจัย ภายหลังจากที่มีคนทักท้วง ติติง และเมื่อลงไปตรวจสอบกระบวนการวิจัย และเนื้อหาแล้ว พบว่ากระบวนการศึกษาวิจัยถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งตนขอย้ำว่ากระบวนการวิจัยนั้นถูกต้องตามวิชาการ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่าในข้อเสนอของคณะผู้วิจัยสถาบันพระปกเกล้า ที่ระบุว่าปัจจุบันบรรยากาศปรองดองไม่เกิด เพราะทุกฝ่ายยังมีท่าทีเหมือนเดิม คณะผู้วิจัยจึงอยากสร้างความปรองดองระดับการเมืองและประชาชน ด้วยการพูดคุยหาทางออกร่วมกน ทั้งนี้ผลการวิจัยไม่ใช้ข้อสรุปที่นำไปปฏิบัติได้ทันทีนั้น สิ่งที่นำมาอ้างอิงเสมือนเป็นข้อเสนอที่ลงมติวันนี้ไม่ตรงกันสิ่งที่วิจัยได้ยืนยัน คือ ที่มาของแถลงการณ์ขอสถาบันพระปกเกล้า หากทำตามสิ่งที่สถาบันเสนอ ทางกมธ.ปรองดอง รวมถึงสมาชิกสภาฯ ควรจะรับทราบรายงานของกมธ.ไว้ชั้นหนึ่งก่อน และขยายอายุของกมธ.ปรองดอง ไปจนสิ้นสมัยประชุมสามัญทั่วไป และระหว่างนั้นควรจัดเวทีสัมมนาหาทางออกร่วมกัน
“ ผมขอท้วง ว่าให้อ่านให้ครบ เพราะผมอยู่ที่ประชุมของกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้าด้วย ผมขอถามประธานกมธ.ปรองดอง ว่าสรุปที่ขอให้พิจารณาวันนี้ จะดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัยและสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่ ที่ระบุว่าจะขอให้สภาฯรับทราบชั้นหนึ่งก่อน และจะนำไปดำเนินการตามข้อเสนอ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
พล.อ.สนธิ ชี้แจงว่าการรายงานของกมธ.ปรองดองแล้วเสร็จ จึงนำเรื่องสู่สภาฯ ถือว่าหน้าที่ของกรรมาธิการฯ จบแล้ว ภาระกิจเสร็จสมบูรณ์แล้ว ส่วนใครจทำอะไรต่อไป เป็นหน้าที่ของสภาฯ
"อภิสิทธิ์" ยกข้อบังคับ 96 วรรคสอง กดดันให้แก้ไขรายงานปรองดอง
ต่อจากนั้นนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงข้อเสนอของกมธ.ปรองดอง ว่าตนได้อ่านหลายรอบ ไม่พบข้อเสนอของกมธ.ปรองดองขัดหรือแย้งต่อรายงานการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งนี้ยังได้ระบุความเห็นว่าเห็นด้วยกับรายงานแนวทางการสร้างบรรยากาศปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมได้เรียกร้องหน่วยงานที่เห็นด้วย ให้นำแนวทางปรองดองไปปฏิบัติโดยเร็ว อย่างไรก็ตามในประเด็นที่หลายฝ่ายกังวลในการนำรายงานไปต่อยอด เชื่อว่าหากไม่ผ่านกระบวนการในสภาฯ แล้วคงไม่สามารถทำได้ หรือหากจะทำในประเด็นใดนั้น ต้องกำหนดเป็นมติของสภา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงย้ำว่าในประเด็นที่ระบุว่า เรียกร้องให้หน่วยงานที่เห็นด้วยกับข้อเสนอ กมธ.ปรองดอง นำแนวทางไปดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ถือว่าสร้างความกังวลต่อคณะผู้วิจัยอย่างยิ่ง เพราะในบทที่ 5 ผลการศึกษาของกรรมาธิการนั้น ได้ระบุชัดเจนว่า ว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่าออกกฎหมายนิรโทษกรรม และลบล้างความผิดทางกฎหมายของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ทั้งที่ในงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าไม่ได้ระบุเช่นนั้น
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่าตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อ 96 วรรคสอง ระบุให้ที่ประชุมสภาฯ แก้ไขเพิ่มเติมผลการพิจารณาของกมธ.ได้ ดังนั้นประเด็นนี้กมธ.ปรองดอง จะพิจารณาแก้ไขเพื่อให้เกิดความสบายใจของสังคมและสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่
“วัฒนา”ค้านเสวนาปรองดองก่อนเยียวยา
นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะรองประธานกมธ.ปรองดอง ชี้แจงว่า สิ่งที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตในประเด็นผลการศึกษาของกมธ.ปรองดองนั้น ตนขอถามว่ามีสิ่งใดที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามจากการรับฟังองค์กรภาคธุรกิจ และหน่วยความมั่นคง ยอมรับว่าสิ่งที่จะลดความขัดแย้งได้ คือ การให้อภัย ทั้งนี้ความเห็นของสถาบันพระปกเกล้า ที่ระบุเรื่องการนิรโทษกรรม การยกเลิกผลทางกฎหมายของ คตส. ไม่ใช้นวัตกรรมใหม่ และถูกจดลิขสิทธิ์ จนไม่มีใครนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้เกิดมาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว อีกทั้งข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าได้ออกมาภายหลังจากที่กมธ.ปรองดองนำเสนอ
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าที่ระบุให้มีการสานเสวนา ตนมองว่าเป็นข้อเสนอที่ข้ามขั้นตอน เพราะส่วนตัวมองว่าการสร้างความปรองดองได้ ประเด็นแรกต้องดำเนินคดีอาญากับผู้ที่มีส่วนทำความรุนแรงในปี 53 - 55 ต่อด้วยการเยียวยา คืนความถูกต้องและชอบธรรมที่จะนำไปสู่กระบวนการเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายพูดคุยทางทางออกร่วมกัน แต่ต้องไม่เกิดขึ้นก่อนการเยียวยา หรือคืนความถูกต้อง
“ ผมมองว่าความปรองดองไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากปล่อยผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ยังดำรงความไม่เป็นธรรมนั้นอยู่ และประเด็นนี้ต้องทำโดยทันที เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม ที่มาเสนอให้เลื่อน อย่าเพิ่งทำ อย่าเพิ่งคืนความถูกต้อง ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วย เพราะความสำคัญสูงสุดคือการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน คิดว่ากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา โดยเฉพาะเรื่องของการนิรโทษกรรม และคืนความชอบธรรมเพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับเช่น ป.ป.ช. ต้องรีบทำโดยเร็ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยของสภาฯ ที่จะทำได้ ” นายวัฒนากล่าว
นายวัฒนา กล่าวด้วยว่า การสานเสวนาได้ ต้องเกิดขึ้นในระดับคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง ซึ่งตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) อาทิ การอำนวยความยุติธรรม ด้วยความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้นการดำเนินคดีกับคนบางคนที่คุณก้าวข้ามไม่พ้น ที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมนั้นถูกต้องแล้วหรือ ซึ่งตนไม่ได้เรียกร้องให้ล้างผิดกับใคร แค่ขอให้ดำเนินให้ถูกต้องเท่านั้น
ส.ส.ปชป. โวย “วัฒนา” ใช้เวทีกมธ.ปรองดอง ฟอกผิดคดี คตส.
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ได้เริ่มดุเดือดขึ้น โดยนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ อดีตกมธ.อภิปรายยืนยันว่า รายงานของคณะกรรมการอิสระค้นหาความจริงแห่งชาติ (คอป.) ได้ระบุชัดแล้วว่าหากจะเริ่มการปรองดองต้องเริ่มจากการค้นหาความจริงก่อน ซึ่งการหาความจริงนั่นก็เพื่อให้สังคมยอมรับข้อเท็จจริง และยอมรับผิด ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการนิรโทษกรรม ไม่มีการปรองดองไหนที่เกิดจากการให้อภัยเลยโดยขาดการค้นหาความจริง การนิรโทษกรรมคือการทำให้สิ่งที่ผิดไม่มีความผิด ดังนั้นก่อนจะถึงปลายทางนั้น ต้องมีการทำตามขั้นตอนให้ถูกต้อง
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ความยุติธรรมไม่เกี่ยวกับเสียงข้างมาก คนจำนวนมากถ้าทำผิดกฏหมายก็ไม่อาจล้มล้างความผิดนั้นได้ เช่น นายกฯคนหนึ่งได้รับเลือกตั้งมา 20ล้านเสียง หากมีการทำทุจริตผู้ที่จะพิจารณาคือผู้พิพากษาตามกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทย ซึ่งมีอยู่2-3 คนเท่านั้น จะอ้างว่ามาจากคน20ล้านเสียงไม่ได้
ต่อจากนั้น เมื่อเวลา 20.45 น. กาประชุมได้สะดุดลง เนื่องจากมีการประท้วงกันไปมาระหว่างส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และกรรมาธิการปรองดอง รวมถึงนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยฝ่ายค้าน นำโดย นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงนายสมศักดิ์ ที่ไม่เรียกให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์อภิปราย และอนุญาตให้เฉพาะ กรรมาธิการฯปรองดองชี้แจงฝ่ายเดียว
นอกจากนั้นแล้วยังมีการประท้วงระหว่างนายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ และนายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะรองประธานกมธ.ปรองดอง โดยในช่วงการชี้แจง นายวัฒนา ระบุไม่ยอมรับการไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่สร้างความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพราะเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาและใช้อำนาจซ้อนอำนาจของกระบวนการยุติธรรม โดยคดีที่ผ่านการไต่สวนจำเป็นที่ต้องนำกลับมาทบทวนให้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมที่ได้รับการยอมรับ
ทำให้นายเจะอามิง ประท้วงว่าขอให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับ ในประเด็นที่นายวัฒนาชี้แจงมีลักษณะที่นอกเรื่อง รวมถึงเป็นการใช้เวทีเพื่อฟอกตัวเอง เนื่องจากมีผลประโยชน์ทับซ้อนในคดี เนื่องจากนายวัฒนาถูก คตส. ตรวจสอบในคดีรับเสินบนบ้านเอื้ออาทร และอนุมัติโครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร
โดยนายสมศักดิ์ วินิจฉัยประเด็นนี้ว่า “ผมให้ท่านวัฒนาพูดในฐานะเป็นกรรมาธิการ ไม่เกี่ยวกับคดีของ คตส.”
"ภูมิใจไทย" เชื่อปรองดองไม่ง่าย
เมื่อเวลา 21.40 น.นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า การสร้างความปรองดองเพียงแค่คำพูดนั้นไม่พอ เท่าที่ดูการอภิปรายวันนี้บรรยากาศการปรองดองคงไม่ง่าย จนถึงเวลานี้คนที่เห็นต่างกันยังไม่ยอมลดหรือถอยให้กันเลย วันนี้ความเป็นจริงยังมีการสร้างหมู่บ้านสีอะไรต่างๆ อยู่ หรือมีการใช้มวลชนให้ห็นว่าตัวเองอยู่เหนือกฎหมายอยู่ วันนี้กลไกของกฎหมายมันบิดเบี้ยวจริง แล้วจะทำอย่างไรให้หลักนิติธรรมมองตรงกันเป็นหลักเดียวกัน วันนี้ใครที่เป็นคู่ขัดแย้งกัน คือนักการเมืองที่ขัดแย้งกับนักการเมืองเพราะช่วงชิงอำนาจกัน
ถ้าวันนี้ลดราวาศอกกัน ยอมถอยมาอยู่ในจุดที่อยู่ร่วมกันได้เราก็จะปรองดองกันได้ ส่วนเรื่องคตส.นั้นพรรคภูมิใจไทยไม่ได้เอาเรื่องตัวบุคคลเป็นตัวตั้ง แต่เรื่องแบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นในบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย แม้ว่าสิ่งที่คตส.ทำจะถูกต้องตามกฎหมายแต่ไม่ใช่นิติธรรม ดังนั้นเมื่อมีโอกาสที่เราจะทำให้ถูกต้องได้แล้วทำไมเราไม่ทำให้ถูกต้องอย่างที่มันควรจะเป็น วันนี้ถ้าทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังก้าวไม่พ้นพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ท่านก็จะยังติดอยู่ตรงนี้ และจะกลายเป็นเงื่อนไขของความรุนแรง สู้บริหารประเทศในวันนี้ให้ดีก่อนจะดีกว่า
สภาฯเดือด “จ่าเสื้อแดง” สวน “พิเชษฐ์” ไอ้แก่ตัณหากลับ
เมื่อเวลา 22.45 น. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นอภิปรายโดยใช้ถ้อยคำเสียดสี ด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายในหลายช่วง อาทิ “ไอ้สัตว์นรกตัวหนึ่ง” ซึ่งเนื้อหาได้เชื่อมโยงไปถึงเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง การเผาศาลากลาง การนำเลือดคนผสมเลือดสัตว์ ไปเทที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์ หน้าทำเนียบรัฐบาล และการยิงและทำร้ายทหารโดยกลุ่มผู้ชุมนุมในการชุมนุมที่ผ่านมา รวมถึงการพูดโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูง และถูกส.ส.พรรคเพื่อไทยประท้วงเป็นระยะๆ
แต่เมื่อมีคนประท้วง นายพิเชษฐ จึงได้ยอมถอนคำพูดดังกล่าว โดยเฉพาะ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ที่ลุกขึ้นประท้วงหลายครั้ง ทำให้นายพิเชษฐ์ตอบโต้ โดยใช้คำว่า “ไอ้จ่าคนหนึ่งที่ชอบประท้วง”
ทำให้จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ลุกขึ้นประท้วงพร้อมตอบโต้กลับไปว่า “คนไม่เต็มบาท โรคจิต ไอ้แก่ตัณหากลับ” ทำให้นายเจริญ ได้สั่งให้นายประสิทธิ์ถอนคำพูด ซึ่งจ.ส.ต.ประสิทธิ์ จึงได้ยอมถอน แต่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคนได้ลุกขึ้นประท้วงว่า ไม่ใช่แค่ถอนคำพูด แต่ต้องขอขมานายพิเชษฐ์
แต่ที่สุดนายพิเชษฐ์ได้กล่าวตัดบทว่า ไม่ต้องประท้วงแล้ว พร้อมอภิปรายต่อ โดยรับว่าจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพขึ้น จากนั้นการประชุมได้ดำเนินการต่อไป
สภา ถก รายงานกมธ.ปรองดองฯ กว่า 7 ชั่วโมง ไม่จบ ถกต่อวันนี้
จนมาถึงเวลา 00.10 น. ประธานในที่ประชุมได้พักการประชุม และจะมาอภิปรายต่อในวันนี้ (5 เม.ย.) ในเวลา 09.00 น.- 11.00 น.และจะปิดการอภิปราย จากนั้นจะมีการพิจารณากระทู้สดต่อไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้(4) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้เริ่มพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) โดยก่อนเริ่มพิจารณา นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงกติกา และหลักเกณฑ์การเรียงลำดับวาระการประชุม เนื่องจากพบว่า วาระรายงานปรองดองอยู่ในลำดับท่ 4.2 ซึ่งถือว่าบรรจุในลำดับก่อนหน้าเรื่องอื่นที่พิจารณาแล้วเสร็จไปนานแล้วก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ชี้แจงว่า การบรรจุวาระการประชุม เป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ ทั้งนี้การเรียงลำดับนั้นเป็นอำนาจของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ทำให้ นพ.สุกิจ กล่าวว่า แสดงว่าไม่ได้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนกับการเรียงลำดับวาระประชุมใดๆ ซึ่งประเด็นนี้คงเป็นเรื่องที่รัฐบาลหรือบางคนได้รับประโยชน์ เรื่องถึงได้นำมาบรรจุในระดับต้น
หลังจากที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ ฐานะประธานกมธ.ปรองดอง กล่าวรายงานต่อที่ประชุม โดยย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องรีบยุติความขัดแย้งในปัจจุบัน เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และความมั่นคงของประเทศแล้วเสร็จ นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ขอหารือที่ประชุมโดยได้นำแถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้าที่ย้ำวิธีการสร้างความปรองดองด้วยการเสวนาหาทางออกร่วมกัน มาอ่านในที่ประชุม พร้อมอภิปรายว่า ตนแปลกใจว่าทำไมประธานกมธ.ปรองดองไม่นำประเด็นนี้มาพิจารณา เบื้องต้นตนอยากให้ประธานกมธ.ปรองดอง รับข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาเพื่อทำให้เกิดความสมานฉันท์และทางออกร่วมกัน
ด้านนายชวลิต วิทยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะกมธ.ปรองดอง ชี้แจง ว่าในแถลงการณ์ของสถาบันพระปกเกล้าตนดีใจที่ทางสถาบันได้ตรวจสอบเนื้อหาของงานวิจัย ภายหลังจากที่มีคนทักท้วง ติติง และเมื่อลงไปตรวจสอบกระบวนการวิจัย และเนื้อหาแล้ว พบว่ากระบวนการศึกษาวิจัยถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งตนขอย้ำว่ากระบวนการวิจัยนั้นถูกต้องตามวิชาการ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายว่าในข้อเสนอของคณะผู้วิจัยสถาบันพระปกเกล้า ที่ระบุว่าปัจจุบันบรรยากาศปรองดองไม่เกิด เพราะทุกฝ่ายยังมีท่าทีเหมือนเดิม คณะผู้วิจัยจึงอยากสร้างความปรองดองระดับการเมืองและประชาชน ด้วยการพูดคุยหาทางออกร่วมกน ทั้งนี้ผลการวิจัยไม่ใช้ข้อสรุปที่นำไปปฏิบัติได้ทันทีนั้น สิ่งที่นำมาอ้างอิงเสมือนเป็นข้อเสนอที่ลงมติวันนี้ไม่ตรงกันสิ่งที่วิจัยได้ยืนยัน คือ ที่มาของแถลงการณ์ขอสถาบันพระปกเกล้า หากทำตามสิ่งที่สถาบันเสนอ ทางกมธ.ปรองดอง รวมถึงสมาชิกสภาฯ ควรจะรับทราบรายงานของกมธ.ไว้ชั้นหนึ่งก่อน และขยายอายุของกมธ.ปรองดอง ไปจนสิ้นสมัยประชุมสามัญทั่วไป และระหว่างนั้นควรจัดเวทีสัมมนาหาทางออกร่วมกัน
“ ผมขอท้วง ว่าให้อ่านให้ครบ เพราะผมอยู่ที่ประชุมของกรรมการสภาสถาบันพระปกเกล้าด้วย ผมขอถามประธานกมธ.ปรองดอง ว่าสรุปที่ขอให้พิจารณาวันนี้ จะดำเนินการตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัยและสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่ ที่ระบุว่าจะขอให้สภาฯรับทราบชั้นหนึ่งก่อน และจะนำไปดำเนินการตามข้อเสนอ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
พล.อ.สนธิ ชี้แจงว่าการรายงานของกมธ.ปรองดองแล้วเสร็จ จึงนำเรื่องสู่สภาฯ ถือว่าหน้าที่ของกรรมาธิการฯ จบแล้ว ภาระกิจเสร็จสมบูรณ์แล้ว ส่วนใครจทำอะไรต่อไป เป็นหน้าที่ของสภาฯ
"อภิสิทธิ์" ยกข้อบังคับ 96 วรรคสอง กดดันให้แก้ไขรายงานปรองดอง
ต่อจากนั้นนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายถึงข้อเสนอของกมธ.ปรองดอง ว่าตนได้อ่านหลายรอบ ไม่พบข้อเสนอของกมธ.ปรองดองขัดหรือแย้งต่อรายงานการวิจัยของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งนี้ยังได้ระบุความเห็นว่าเห็นด้วยกับรายงานแนวทางการสร้างบรรยากาศปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมได้เรียกร้องหน่วยงานที่เห็นด้วย ให้นำแนวทางปรองดองไปปฏิบัติโดยเร็ว อย่างไรก็ตามในประเด็นที่หลายฝ่ายกังวลในการนำรายงานไปต่อยอด เชื่อว่าหากไม่ผ่านกระบวนการในสภาฯ แล้วคงไม่สามารถทำได้ หรือหากจะทำในประเด็นใดนั้น ต้องกำหนดเป็นมติของสภา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงย้ำว่าในประเด็นที่ระบุว่า เรียกร้องให้หน่วยงานที่เห็นด้วยกับข้อเสนอ กมธ.ปรองดอง นำแนวทางไปดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ถือว่าสร้างความกังวลต่อคณะผู้วิจัยอย่างยิ่ง เพราะในบทที่ 5 ผลการศึกษาของกรรมาธิการนั้น ได้ระบุชัดเจนว่า ว่าเห็นด้วยกับข้อเสนอที่ว่าออกกฎหมายนิรโทษกรรม และลบล้างความผิดทางกฎหมายของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ทั้งที่ในงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าไม่ได้ระบุเช่นนั้น
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่าตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อ 96 วรรคสอง ระบุให้ที่ประชุมสภาฯ แก้ไขเพิ่มเติมผลการพิจารณาของกมธ.ได้ ดังนั้นประเด็นนี้กมธ.ปรองดอง จะพิจารณาแก้ไขเพื่อให้เกิดความสบายใจของสังคมและสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่
“วัฒนา”ค้านเสวนาปรองดองก่อนเยียวยา
นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะรองประธานกมธ.ปรองดอง ชี้แจงว่า สิ่งที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตในประเด็นผลการศึกษาของกมธ.ปรองดองนั้น ตนขอถามว่ามีสิ่งใดที่ไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามจากการรับฟังองค์กรภาคธุรกิจ และหน่วยความมั่นคง ยอมรับว่าสิ่งที่จะลดความขัดแย้งได้ คือ การให้อภัย ทั้งนี้ความเห็นของสถาบันพระปกเกล้า ที่ระบุเรื่องการนิรโทษกรรม การยกเลิกผลทางกฎหมายของ คตส. ไม่ใช้นวัตกรรมใหม่ และถูกจดลิขสิทธิ์ จนไม่มีใครนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้เกิดมาตั้งแต่ปี 2475 แล้ว อีกทั้งข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าได้ออกมาภายหลังจากที่กมธ.ปรองดองนำเสนอ
นายวัฒนา กล่าวต่อว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าที่ระบุให้มีการสานเสวนา ตนมองว่าเป็นข้อเสนอที่ข้ามขั้นตอน เพราะส่วนตัวมองว่าการสร้างความปรองดองได้ ประเด็นแรกต้องดำเนินคดีอาญากับผู้ที่มีส่วนทำความรุนแรงในปี 53 - 55 ต่อด้วยการเยียวยา คืนความถูกต้องและชอบธรรมที่จะนำไปสู่กระบวนการเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายพูดคุยทางทางออกร่วมกัน แต่ต้องไม่เกิดขึ้นก่อนการเยียวยา หรือคืนความถูกต้อง
“ ผมมองว่าความปรองดองไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากปล่อยผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ยังดำรงความไม่เป็นธรรมนั้นอยู่ และประเด็นนี้ต้องทำโดยทันที เพราะความยุติธรรมที่ล่าช้า คือความอยุติธรรม ที่มาเสนอให้เลื่อน อย่าเพิ่งทำ อย่าเพิ่งคืนความถูกต้อง ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วย เพราะความสำคัญสูงสุดคือการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน คิดว่ากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยา โดยเฉพาะเรื่องของการนิรโทษกรรม และคืนความชอบธรรมเพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับเช่น ป.ป.ช. ต้องรีบทำโดยเร็ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยของสภาฯ ที่จะทำได้ ” นายวัฒนากล่าว
นายวัฒนา กล่าวด้วยว่า การสานเสวนาได้ ต้องเกิดขึ้นในระดับคู่กรณีที่มีความขัดแย้ง ซึ่งตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) อาทิ การอำนวยความยุติธรรม ด้วยความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างไม่เลือกปฏิบัติ ดังนั้นการดำเนินคดีกับคนบางคนที่คุณก้าวข้ามไม่พ้น ที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมนั้นถูกต้องแล้วหรือ ซึ่งตนไม่ได้เรียกร้องให้ล้างผิดกับใคร แค่ขอให้ดำเนินให้ถูกต้องเท่านั้น
ส.ส.ปชป. โวย “วัฒนา” ใช้เวทีกมธ.ปรองดอง ฟอกผิดคดี คตส.
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ได้เริ่มดุเดือดขึ้น โดยนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ อดีตกมธ.อภิปรายยืนยันว่า รายงานของคณะกรรมการอิสระค้นหาความจริงแห่งชาติ (คอป.) ได้ระบุชัดแล้วว่าหากจะเริ่มการปรองดองต้องเริ่มจากการค้นหาความจริงก่อน ซึ่งการหาความจริงนั่นก็เพื่อให้สังคมยอมรับข้อเท็จจริง และยอมรับผิด ก่อนจะนำไปสู่กระบวนการนิรโทษกรรม ไม่มีการปรองดองไหนที่เกิดจากการให้อภัยเลยโดยขาดการค้นหาความจริง การนิรโทษกรรมคือการทำให้สิ่งที่ผิดไม่มีความผิด ดังนั้นก่อนจะถึงปลายทางนั้น ต้องมีการทำตามขั้นตอนให้ถูกต้อง
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ความยุติธรรมไม่เกี่ยวกับเสียงข้างมาก คนจำนวนมากถ้าทำผิดกฏหมายก็ไม่อาจล้มล้างความผิดนั้นได้ เช่น นายกฯคนหนึ่งได้รับเลือกตั้งมา 20ล้านเสียง หากมีการทำทุจริตผู้ที่จะพิจารณาคือผู้พิพากษาตามกระบวนการยุติธรรมของรัฐไทย ซึ่งมีอยู่2-3 คนเท่านั้น จะอ้างว่ามาจากคน20ล้านเสียงไม่ได้
ต่อจากนั้น เมื่อเวลา 20.45 น. กาประชุมได้สะดุดลง เนื่องจากมีการประท้วงกันไปมาระหว่างส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และกรรมาธิการปรองดอง รวมถึงนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยฝ่ายค้าน นำโดย นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงนายสมศักดิ์ ที่ไม่เรียกให้ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์อภิปราย และอนุญาตให้เฉพาะ กรรมาธิการฯปรองดองชี้แจงฝ่ายเดียว
นอกจากนั้นแล้วยังมีการประท้วงระหว่างนายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ และนายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะรองประธานกมธ.ปรองดอง โดยในช่วงการชี้แจง นายวัฒนา ระบุไม่ยอมรับการไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่สร้างความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เพราะเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาและใช้อำนาจซ้อนอำนาจของกระบวนการยุติธรรม โดยคดีที่ผ่านการไต่สวนจำเป็นที่ต้องนำกลับมาทบทวนให้อยู่ในกระบวนการยุติธรรมที่ได้รับการยอมรับ
ทำให้นายเจะอามิง ประท้วงว่าขอให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับ ในประเด็นที่นายวัฒนาชี้แจงมีลักษณะที่นอกเรื่อง รวมถึงเป็นการใช้เวทีเพื่อฟอกตัวเอง เนื่องจากมีผลประโยชน์ทับซ้อนในคดี เนื่องจากนายวัฒนาถูก คตส. ตรวจสอบในคดีรับเสินบนบ้านเอื้ออาทร และอนุมัติโครงการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร
โดยนายสมศักดิ์ วินิจฉัยประเด็นนี้ว่า “ผมให้ท่านวัฒนาพูดในฐานะเป็นกรรมาธิการ ไม่เกี่ยวกับคดีของ คตส.”
"ภูมิใจไทย" เชื่อปรองดองไม่ง่าย
เมื่อเวลา 21.40 น.นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายว่า การสร้างความปรองดองเพียงแค่คำพูดนั้นไม่พอ เท่าที่ดูการอภิปรายวันนี้บรรยากาศการปรองดองคงไม่ง่าย จนถึงเวลานี้คนที่เห็นต่างกันยังไม่ยอมลดหรือถอยให้กันเลย วันนี้ความเป็นจริงยังมีการสร้างหมู่บ้านสีอะไรต่างๆ อยู่ หรือมีการใช้มวลชนให้ห็นว่าตัวเองอยู่เหนือกฎหมายอยู่ วันนี้กลไกของกฎหมายมันบิดเบี้ยวจริง แล้วจะทำอย่างไรให้หลักนิติธรรมมองตรงกันเป็นหลักเดียวกัน วันนี้ใครที่เป็นคู่ขัดแย้งกัน คือนักการเมืองที่ขัดแย้งกับนักการเมืองเพราะช่วงชิงอำนาจกัน
ถ้าวันนี้ลดราวาศอกกัน ยอมถอยมาอยู่ในจุดที่อยู่ร่วมกันได้เราก็จะปรองดองกันได้ ส่วนเรื่องคตส.นั้นพรรคภูมิใจไทยไม่ได้เอาเรื่องตัวบุคคลเป็นตัวตั้ง แต่เรื่องแบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นในบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย แม้ว่าสิ่งที่คตส.ทำจะถูกต้องตามกฎหมายแต่ไม่ใช่นิติธรรม ดังนั้นเมื่อมีโอกาสที่เราจะทำให้ถูกต้องได้แล้วทำไมเราไม่ทำให้ถูกต้องอย่างที่มันควรจะเป็น วันนี้ถ้าทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านยังก้าวไม่พ้นพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ท่านก็จะยังติดอยู่ตรงนี้ และจะกลายเป็นเงื่อนไขของความรุนแรง สู้บริหารประเทศในวันนี้ให้ดีก่อนจะดีกว่า
สภาฯเดือด “จ่าเสื้อแดง” สวน “พิเชษฐ์” ไอ้แก่ตัณหากลับ
เมื่อเวลา 22.45 น. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นอภิปรายโดยใช้ถ้อยคำเสียดสี ด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายในหลายช่วง อาทิ “ไอ้สัตว์นรกตัวหนึ่ง” ซึ่งเนื้อหาได้เชื่อมโยงไปถึงเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง การเผาศาลากลาง การนำเลือดคนผสมเลือดสัตว์ ไปเทที่หน้าพรรคประชาธิปัตย์ หน้าทำเนียบรัฐบาล และการยิงและทำร้ายทหารโดยกลุ่มผู้ชุมนุมในการชุมนุมที่ผ่านมา รวมถึงการพูดโยงไปถึงสถาบันเบื้องสูง และถูกส.ส.พรรคเพื่อไทยประท้วงเป็นระยะๆ
แต่เมื่อมีคนประท้วง นายพิเชษฐ จึงได้ยอมถอนคำพูดดังกล่าว โดยเฉพาะ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ที่ลุกขึ้นประท้วงหลายครั้ง ทำให้นายพิเชษฐ์ตอบโต้ โดยใช้คำว่า “ไอ้จ่าคนหนึ่งที่ชอบประท้วง”
ทำให้จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ลุกขึ้นประท้วงพร้อมตอบโต้กลับไปว่า “คนไม่เต็มบาท โรคจิต ไอ้แก่ตัณหากลับ” ทำให้นายเจริญ ได้สั่งให้นายประสิทธิ์ถอนคำพูด ซึ่งจ.ส.ต.ประสิทธิ์ จึงได้ยอมถอน แต่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคนได้ลุกขึ้นประท้วงว่า ไม่ใช่แค่ถอนคำพูด แต่ต้องขอขมานายพิเชษฐ์
แต่ที่สุดนายพิเชษฐ์ได้กล่าวตัดบทว่า ไม่ต้องประท้วงแล้ว พร้อมอภิปรายต่อ โดยรับว่าจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพขึ้น จากนั้นการประชุมได้ดำเนินการต่อไป
สภา ถก รายงานกมธ.ปรองดองฯ กว่า 7 ชั่วโมง ไม่จบ ถกต่อวันนี้
จนมาถึงเวลา 00.10 น. ประธานในที่ประชุมได้พักการประชุม และจะมาอภิปรายต่อในวันนี้ (5 เม.ย.) ในเวลา 09.00 น.- 11.00 น.และจะปิดการอภิปราย จากนั้นจะมีการพิจารณากระทู้สดต่อไป
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
ประสานสังคม ต่างสี ฝ่าจุดเสื่อมสังคมไทย !!?
วิกฤติการเมืองขณะนี้ ต่างฝ่ายต่างมองหาแสงสว่างจากอุโมงค์ปลายทาง ซึ่งไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ว่ายังอีกยาวไกลขนาดไหน ในเรื่องดังกล่าวนี้ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ จัดการเสวนาเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย : คิดไปไกลหรือไปได้จริง” โดย มีการเชิญตัวแทนจากไผ่ต่างกอ สังคมต่างสี มาร่วมหาแนวคิดเรื่องความปรองดองแบบอารยะสนทนา
ภายในงานนี้มีกลุ่มแกนนำทางการเมืองจากกลุ่มต่างๆ ทั้ง นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ตัวแทนแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายประพันธ์ คูณมี ตัวแทนแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พันธมิตร) และตัวแทนนักวิชาการ อย่างนายชัยวัฒน์ สุรวิชัย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน และ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอิสระ
นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในการเสวนาว่า ปัญหาของสังคมไทย มันมีรากฐานมาว่าไม่ว่าจะเป็นการปกครอง ในรูปแบบลักษณะใดก็ตาม ไม่ว่ายุคใดสมัยใด สิ่งหนึ่งที่ค่อยลงหลักปักฐานลงไปในสำนึกของคนไทยคือเสรีภาพ ขณะที่รูปแบบของประชาธิปไตย กลับเติบโตแบบบอนไซ ฉะนั้นในการปฏิรูปก็ควรปฏิรูปตั้งแต่หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่ในขณะนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราไม่เคยพัฒนาอะไรได้สำเร็จจริงๆสักครั้ง ทั้งที่มีการพูดเรื่องนี้มาเป็นสิบปี อำนาจอธิปไตยยังถูกแย่งชิงไปมาระหว่างกลุ่ม ทั้งฝ่ายทหารและนักการเมือง นอกจากนี้ ระบบการบริหารประเทศยังไม่มีความต่อเนื่อง พรรคการเมืองต่างๆ ที่เป็นตัวแทนประชาชน เมื่อได้ใครเลือกเข้ามากลับใช้อำนาจในการตักตวงผลประโยชน์เพื่อตนเอง และพวกพ้อง นำไปสู่การแทรกแซงของระบบทุนนิยม จึงทำให้เกิดปัญหาของสังคมในปัจจุบัน
จะว่าไประบบทุนนิยมเองมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย มันมีกลไกนำไปสู่การปฏิรูปได้หลายวิธีแล้วแต่จะทำ แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารเองด้วย..
ทั้งนี้ นายจรัล ยังกล่าวอีกว่า แนวทางการสร้างความปรองดองที่พยายามจะสร้างขึ้นในขณะนี้ เป็นการสร้างความปรองดอง แบบขาดองค์ความรู้และขาดความเข้าใจ เนื่องจากการปรองดองนั้น ไม่สามารถทำให้เกิดได้ทันทีด้วยกฎหมาย แต่ต้องใช้ระยะเวลาหลายปี ดังนั้น ทุกฝ่ายควรหันมายอมรับความจริงกันก่อนที่จะเริ่มกระบวนการปรองดอง
ขณะที่ นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน กล่าวว่า หากคิดจะปฏิรูปเราต้องเอาประเทศชาติเป็นหลัก เราถึงจะได้แง่คิดที่ตรงกัน ปัญหา “ความจริง” เราต้องเอาความจริงมาคุยกัน แต่บ้านเมืองเราความจริงเป็นสิ่งที่หายากเราต้องตั้งโจทย์ให้ถูกต้อง
ปัจจุบันสังคมไทย รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง สาเหตุมาจาก การตั้งโจทย์ที่ผิดพลาดและการไม่ยอมรับความจริง ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ เป็นก้าวแรกของการแก้ปัญหาสังคม ถ้ามองย้อนกลับ ปัญหาของ สังคมตอนนี้ว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีการใช้อำนาจในการบริหาร ประเทศเพื่อตนและพวกพ้อง สังคมจะมีปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้ การสร้างความปรองดองต้องอยู่บนความถูกต้อง และมีความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย ให้กับสังคม!..การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ทุกฝ่ายควรได้รับอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่เยียวยาเฉพาะพวกและฝ่ายของตน
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอิสระ เห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยวันนี้เป็นปัญหาที่สะสมหมักหมม
ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนี้ เป็นเพราะเหตุปัจจัย 3 ส่วนที่ไม่สอดประสานจนเกิดปัญหาคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยมีปัจจัยหลักที่เข้ามาทำให้เกิดปัญหาในทุกส่วน คือ ระบบทุนนิยม ซึ่งเข้ามาปรนเปรอในระบบราชการ ไม่ว่าจะทั้งในส่วนการเมือง หรือข้าราชการประจำ ตามด้วยกระบวนการดูดซึมภาษีมาต่อท่อน้ำเลี้ยงกลายเป็นกระบวนการคอร์รัปชั่น มโหฬาร
ซึ่งการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้คือ การล้างระบบของทั้ง 3 ส่วนแล้วใช้ประโยชน์ของประชาชนเป็นจุดเริ่มต้น การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมด ของประเทศชาติได้ และวิธีการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติไม่จำเป็นต้องใช้การปฏิรูปเท่านั้น
สำหรับในด้านของเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูป เพราะถ้าเศรษฐกิจดีประชาชนท้องอิ่ม ปัญหาต่างๆ ก็ไม่เกิด อย่างด้านสังคมอาชญากรก็จะน้อยลง การคอร์รัปชั่นก็ไม่มี แต่ขณะนี้เศรษฐกิจ เราติดลบจากที่เคยเป็นอันดับต้นๆของอาเซียน แต่ตอนนี้เราล้าลงทุกที เพราะการเมืองที่เล่นเกมกันจนทำให้เศรษฐกิจเราขาดศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลก หรือแม้แต่ ตลาดในภูมิภาค ส่วนด้านสังคมตอนนี้เสื่อมโทรมมากโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นความเสื่อมของประเทศอย่างเต็มระบบ ฉะนั้นแค่การปฏิรูปคงไม่พอ..
นายประพันธ์ คูณมี ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า คำว่าปฏิรูปประเทศไม่เพียงพอแล้ว เพราะปัญหาสะสมมานาน ต้องใช้คำว่า ปฏิวัติสังคมทุกมิติ โดยต้นตอของปัญหาคือ ผู้มีอำนาจทางการเมืองเห็นประชาชนเป็นเกมทางการเมืองประเทศไทยในขณะนี้ไม่มีการพัฒนาที่เดินหน้า แต่เป็นการเดินถอยหลัง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่กระทั่งแผนการปรองดอง ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปประเทศได้เนื่องจากวิธีการแก้ปัญหาทั้งสองนั้น เป็นการเพิ่มความขัดแย้งให้กับสังคมมากขึ้น เพราะจุดประสงค์ของการแก้ไขปัญหาเพื่อต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิด และการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ก็เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเอง การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ใช่การแก้เพื่อให้ประเทศชาติมีความก้าวหน้า
ในการเสวนาครั้งนี้มีอยู่บางประเด็นที่น่าสนใจคือไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการจากฝั่งไหน สีอะไร ต่างก็มีความคิดเห็นร่วมกันในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นที่ถูกครอบงำจากกลุ่มทุน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาในสังคมไทย ส่วนนักการเมืองในฐานะฝ่ายบริหารก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างจริงจังและมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่า
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภายในงานนี้มีกลุ่มแกนนำทางการเมืองจากกลุ่มต่างๆ ทั้ง นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ตัวแทนแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายประพันธ์ คูณมี ตัวแทนแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พันธมิตร) และตัวแทนนักวิชาการ อย่างนายชัยวัฒน์ สุรวิชัย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน และ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอิสระ
นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ตัวแทนกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในการเสวนาว่า ปัญหาของสังคมไทย มันมีรากฐานมาว่าไม่ว่าจะเป็นการปกครอง ในรูปแบบลักษณะใดก็ตาม ไม่ว่ายุคใดสมัยใด สิ่งหนึ่งที่ค่อยลงหลักปักฐานลงไปในสำนึกของคนไทยคือเสรีภาพ ขณะที่รูปแบบของประชาธิปไตย กลับเติบโตแบบบอนไซ ฉะนั้นในการปฏิรูปก็ควรปฏิรูปตั้งแต่หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย แต่ในขณะนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราไม่เคยพัฒนาอะไรได้สำเร็จจริงๆสักครั้ง ทั้งที่มีการพูดเรื่องนี้มาเป็นสิบปี อำนาจอธิปไตยยังถูกแย่งชิงไปมาระหว่างกลุ่ม ทั้งฝ่ายทหารและนักการเมือง นอกจากนี้ ระบบการบริหารประเทศยังไม่มีความต่อเนื่อง พรรคการเมืองต่างๆ ที่เป็นตัวแทนประชาชน เมื่อได้ใครเลือกเข้ามากลับใช้อำนาจในการตักตวงผลประโยชน์เพื่อตนเอง และพวกพ้อง นำไปสู่การแทรกแซงของระบบทุนนิยม จึงทำให้เกิดปัญหาของสังคมในปัจจุบัน
จะว่าไประบบทุนนิยมเองมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย มันมีกลไกนำไปสู่การปฏิรูปได้หลายวิธีแล้วแต่จะทำ แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารเองด้วย..
ทั้งนี้ นายจรัล ยังกล่าวอีกว่า แนวทางการสร้างความปรองดองที่พยายามจะสร้างขึ้นในขณะนี้ เป็นการสร้างความปรองดอง แบบขาดองค์ความรู้และขาดความเข้าใจ เนื่องจากการปรองดองนั้น ไม่สามารถทำให้เกิดได้ทันทีด้วยกฎหมาย แต่ต้องใช้ระยะเวลาหลายปี ดังนั้น ทุกฝ่ายควรหันมายอมรับความจริงกันก่อนที่จะเริ่มกระบวนการปรองดอง
ขณะที่ นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน กล่าวว่า หากคิดจะปฏิรูปเราต้องเอาประเทศชาติเป็นหลัก เราถึงจะได้แง่คิดที่ตรงกัน ปัญหา “ความจริง” เราต้องเอาความจริงมาคุยกัน แต่บ้านเมืองเราความจริงเป็นสิ่งที่หายากเราต้องตั้งโจทย์ให้ถูกต้อง
ปัจจุบันสังคมไทย รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง สาเหตุมาจาก การตั้งโจทย์ที่ผิดพลาดและการไม่ยอมรับความจริง ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ เป็นก้าวแรกของการแก้ปัญหาสังคม ถ้ามองย้อนกลับ ปัญหาของ สังคมตอนนี้ว่า หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีการใช้อำนาจในการบริหาร ประเทศเพื่อตนและพวกพ้อง สังคมจะมีปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้ การสร้างความปรองดองต้องอยู่บนความถูกต้อง และมีความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย ให้กับสังคม!..การเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ทุกฝ่ายควรได้รับอย่างเท่าเทียม ไม่ใช่เยียวยาเฉพาะพวกและฝ่ายของตน
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอิสระ เห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยวันนี้เป็นปัญหาที่สะสมหมักหมม
ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนี้ เป็นเพราะเหตุปัจจัย 3 ส่วนที่ไม่สอดประสานจนเกิดปัญหาคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยมีปัจจัยหลักที่เข้ามาทำให้เกิดปัญหาในทุกส่วน คือ ระบบทุนนิยม ซึ่งเข้ามาปรนเปรอในระบบราชการ ไม่ว่าจะทั้งในส่วนการเมือง หรือข้าราชการประจำ ตามด้วยกระบวนการดูดซึมภาษีมาต่อท่อน้ำเลี้ยงกลายเป็นกระบวนการคอร์รัปชั่น มโหฬาร
ซึ่งการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ได้คือ การล้างระบบของทั้ง 3 ส่วนแล้วใช้ประโยชน์ของประชาชนเป็นจุดเริ่มต้น การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมด ของประเทศชาติได้ และวิธีการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติไม่จำเป็นต้องใช้การปฏิรูปเท่านั้น
สำหรับในด้านของเศรษฐกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิรูป เพราะถ้าเศรษฐกิจดีประชาชนท้องอิ่ม ปัญหาต่างๆ ก็ไม่เกิด อย่างด้านสังคมอาชญากรก็จะน้อยลง การคอร์รัปชั่นก็ไม่มี แต่ขณะนี้เศรษฐกิจ เราติดลบจากที่เคยเป็นอันดับต้นๆของอาเซียน แต่ตอนนี้เราล้าลงทุกที เพราะการเมืองที่เล่นเกมกันจนทำให้เศรษฐกิจเราขาดศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลก หรือแม้แต่ ตลาดในภูมิภาค ส่วนด้านสังคมตอนนี้เสื่อมโทรมมากโดยเฉพาะปัญหายาเสพติด ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นความเสื่อมของประเทศอย่างเต็มระบบ ฉะนั้นแค่การปฏิรูปคงไม่พอ..
นายประพันธ์ คูณมี ตัวแทนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า คำว่าปฏิรูปประเทศไม่เพียงพอแล้ว เพราะปัญหาสะสมมานาน ต้องใช้คำว่า ปฏิวัติสังคมทุกมิติ โดยต้นตอของปัญหาคือ ผู้มีอำนาจทางการเมืองเห็นประชาชนเป็นเกมทางการเมืองประเทศไทยในขณะนี้ไม่มีการพัฒนาที่เดินหน้า แต่เป็นการเดินถอยหลัง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่กระทั่งแผนการปรองดอง ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปประเทศได้เนื่องจากวิธีการแก้ปัญหาทั้งสองนั้น เป็นการเพิ่มความขัดแย้งให้กับสังคมมากขึ้น เพราะจุดประสงค์ของการแก้ไขปัญหาเพื่อต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พ้นผิด และการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ก็เพื่อประโยชน์ของนักการเมืองเอง การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ใช่การแก้เพื่อให้ประเทศชาติมีความก้าวหน้า
ในการเสวนาครั้งนี้มีอยู่บางประเด็นที่น่าสนใจคือไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการจากฝั่งไหน สีอะไร ต่างก็มีความคิดเห็นร่วมกันในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นที่ถูกครอบงำจากกลุ่มทุน เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาในสังคมไทย ส่วนนักการเมืองในฐานะฝ่ายบริหารก็ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างจริงจังและมุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่า
ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ค้านดะ..แต่ทำงานไม่เป็น !!?
ภาคใต้ที่เกิดความเจริญเติบโต ปีกกล้าขาแข็งทางด้านเศรษฐกิจ เพราะ “อดีตนายกฯ พล.อ.ชายชาติ ชุณหะวัณ” เป็นผู้สร้างถนน ๔ เลน
ขยายเส้นทางคมนาคม จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยันไปถึง สุไหงโก-ลก
“ประชาธิปัตย์” แชมป์พื้นที่ ส.ส.สะตอสามัคคี ไม่เคยสร้างผลงาน เพื่อชาวใต้ ในฐานะ “นายกฯ”
“บิ๊กชวน หลีกภัย ณ. เชื่องช้า” ดำริคิดสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สตูล..จนแล้วจนรอด ก็สร้างไม่สำเร็จเสร็จสรรพ
ตอนนี้ประชาธิปัตย์โกรธ..แค้น “นายกฯยิ่งลักษณ์”ทำคุณจึงบูชาโทษ...ที่ทำให้ภาคใต้ไปโลด จึงตีร่วนทุกเรื่อง ขณะนี้ไงล่ะครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมาล่าเนื้อ
นักหนังสือพิมพ์หัวสีเล่มใหญ่ อยู่ใต้อาณัติ “นักการเมืองฝ่ายค้าน” ใครจะไปเชื่อ
แต่ความจริง ย่อมเป็นความจริง ดังนั้น, จึงเอาความจริง มาแชร์
ขณะที่มีเขียนข่าว ถึงการฉีกผลวิจัยปรองดอง โดยการกระทำของ “วัชระ เพ็ชรทอง” สส.ประชาธิปัตย์ ที่ฟิวส์ขาด เล่นงาน “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานกรรมาธิการปรองดอง ด้วยพฤติการณ์ย่ำแย่
โดยฝ่ายค้านคนหนึ่ง มานั่งบงการ ให้ “เหยี่ยวข่าวสภาฯ” เขียนข่าวในคอมฯ ตามใจตัวเองที่จะบงชี้
เรื่องนี้เค้าลือกันเกรียว...มีบางคนเที่ยวไปรับใช้ฝ่ายค้าน ดูแล้วไม่ดี
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แรงจนปรอทแตก
ตามเล่นงาน “นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” เสียจนหน้าแหลก
แต่เดี๋ยวนี้ “ประวิช รัตนเพียร” ผู้ตรวจการแผ่นดิน อุณหภูมิการทำหน้าที่ ไม่เข็ม เหมือนเก่า
“ทักษิณ” ที่เคยตามเช็คบิล ตอนนี้เอาแต่น่วม ๆ ตามเล่นงานเบา ๆ
นัยหนึ่งแล้ว “ท่านประวิช รัตนเพียร” เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขนักการเมืองทั้งแท่ง และมีความสนิทสนมกลมเกลียว กับ “เสี่ยสุวัจน์ ลิปตพัลลภ” เป็นอย่างดี
ด้วยการแทนตัวความเป็นผู้นำ..รีบชิงสุกก่อนห่าม... “เสี่ยประวิช” จึงไปขย้ำ ขัดใจกับ “เสี่ยสุวัจน์” กระทั่งวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นห้องหอเรือนร้าง
ห้องผู้นำฝ่ายค้าน ที่อาคารรัฐสภา ของ “ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คนดัง
เรือนและร้าง หยักใย้แทบตกผลึก
ท่านไม่ค่อยมาใช้ ห้องนี้ทำงาน เห็นแล้วก็เสียความรู้สึก
หรือยังคิดลึก ๆ ไม่อยากมานั่งห้องผู้นำความฝ่าย...เกรงจะเป็น “ฝ่ายค้านานมืออาชีพ”ไป
อยากบอก “มาร์ค”อย่าฝันเป็นนายกฯ...เพราะตำแหน่งนี้ไม่ใช่กิ่งทองใบหยก?..ฝีมือท่านตก คงเป็นนายกฯไม่ได้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กัดเกาะติดไม่ปล่อย
วาน, “ชวน หลีกภัย” บัญญัติ บรรทัดฐาน” “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ๓ ผู้นำเก๋าโจ๋แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ดูเรื่องนี้หน่อย
คดี ปรส. สร้างความเสียหาย ให้กับชาติอย่างใหญ่หลวง
คดีจะหมดอายุความ ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ปี ๕๖ จึงน่าเป็นห่วง
อย่าให้ “โจรใส่สูท” หลุดอาญาแผ่นดิน เพราะ “คดีขาดอายุความ”.ฐานะที่ท่านเป็น “ฝ่ายค้าน” ต้องขุดเรื่องนี้ ขึ้นมาจี๋
เรื่อง ปรส.น่าจับจ้อง...เพราะมีบางคนกินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง...เค้าจึงไม่มอง อยากให้เรื่องนี้ หมดอายุความเสียที
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
****************************************************************************
ขยายเส้นทางคมนาคม จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยันไปถึง สุไหงโก-ลก
“ประชาธิปัตย์” แชมป์พื้นที่ ส.ส.สะตอสามัคคี ไม่เคยสร้างผลงาน เพื่อชาวใต้ ในฐานะ “นายกฯ”
“บิ๊กชวน หลีกภัย ณ. เชื่องช้า” ดำริคิดสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สตูล..จนแล้วจนรอด ก็สร้างไม่สำเร็จเสร็จสรรพ
ตอนนี้ประชาธิปัตย์โกรธ..แค้น “นายกฯยิ่งลักษณ์”ทำคุณจึงบูชาโทษ...ที่ทำให้ภาคใต้ไปโลด จึงตีร่วนทุกเรื่อง ขณะนี้ไงล่ะครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมาล่าเนื้อ
นักหนังสือพิมพ์หัวสีเล่มใหญ่ อยู่ใต้อาณัติ “นักการเมืองฝ่ายค้าน” ใครจะไปเชื่อ
แต่ความจริง ย่อมเป็นความจริง ดังนั้น, จึงเอาความจริง มาแชร์
ขณะที่มีเขียนข่าว ถึงการฉีกผลวิจัยปรองดอง โดยการกระทำของ “วัชระ เพ็ชรทอง” สส.ประชาธิปัตย์ ที่ฟิวส์ขาด เล่นงาน “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานกรรมาธิการปรองดอง ด้วยพฤติการณ์ย่ำแย่
โดยฝ่ายค้านคนหนึ่ง มานั่งบงการ ให้ “เหยี่ยวข่าวสภาฯ” เขียนข่าวในคอมฯ ตามใจตัวเองที่จะบงชี้
เรื่องนี้เค้าลือกันเกรียว...มีบางคนเที่ยวไปรับใช้ฝ่ายค้าน ดูแล้วไม่ดี
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แรงจนปรอทแตก
ตามเล่นงาน “นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” เสียจนหน้าแหลก
แต่เดี๋ยวนี้ “ประวิช รัตนเพียร” ผู้ตรวจการแผ่นดิน อุณหภูมิการทำหน้าที่ ไม่เข็ม เหมือนเก่า
“ทักษิณ” ที่เคยตามเช็คบิล ตอนนี้เอาแต่น่วม ๆ ตามเล่นงานเบา ๆ
นัยหนึ่งแล้ว “ท่านประวิช รัตนเพียร” เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขนักการเมืองทั้งแท่ง และมีความสนิทสนมกลมเกลียว กับ “เสี่ยสุวัจน์ ลิปตพัลลภ” เป็นอย่างดี
ด้วยการแทนตัวความเป็นผู้นำ..รีบชิงสุกก่อนห่าม... “เสี่ยประวิช” จึงไปขย้ำ ขัดใจกับ “เสี่ยสุวัจน์” กระทั่งวันนี้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เป็นห้องหอเรือนร้าง
ห้องผู้นำฝ่ายค้าน ที่อาคารรัฐสภา ของ “ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คนดัง
เรือนและร้าง หยักใย้แทบตกผลึก
ท่านไม่ค่อยมาใช้ ห้องนี้ทำงาน เห็นแล้วก็เสียความรู้สึก
หรือยังคิดลึก ๆ ไม่อยากมานั่งห้องผู้นำความฝ่าย...เกรงจะเป็น “ฝ่ายค้านานมืออาชีพ”ไป
อยากบอก “มาร์ค”อย่าฝันเป็นนายกฯ...เพราะตำแหน่งนี้ไม่ใช่กิ่งทองใบหยก?..ฝีมือท่านตก คงเป็นนายกฯไม่ได้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กัดเกาะติดไม่ปล่อย
วาน, “ชวน หลีกภัย” บัญญัติ บรรทัดฐาน” “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ๓ ผู้นำเก๋าโจ๋แห่งพรรคประชาธิปัตย์ ดูเรื่องนี้หน่อย
คดี ปรส. สร้างความเสียหาย ให้กับชาติอย่างใหญ่หลวง
คดีจะหมดอายุความ ในวันที่ ๒๑ มิถุนายน ปี ๕๖ จึงน่าเป็นห่วง
อย่าให้ “โจรใส่สูท” หลุดอาญาแผ่นดิน เพราะ “คดีขาดอายุความ”.ฐานะที่ท่านเป็น “ฝ่ายค้าน” ต้องขุดเรื่องนี้ ขึ้นมาจี๋
เรื่อง ปรส.น่าจับจ้อง...เพราะมีบางคนกินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง...เค้าจึงไม่มอง อยากให้เรื่องนี้ หมดอายุความเสียที
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
****************************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)