--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

แรงงานลาว มองไทย ร่ำรวยกว่า...แต่ยังไม่เลิกดูถูก !!?

หากมีการศึกษาถึงทัศนคติและระบบแนวคิดระหว่างไทยและลาว โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของแรงงานลาวที่มีต่อคนไทยได้จะนำไปสู่มุมมองมิติทางความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของไทยได้ ขณะเดียวกันยังสามารถนำไปสู่ตัวแปลที่จะสร้างกลไกในการดำเนินการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากกลไกของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินความสัมพันธ์ผ่านนโยบายต่างประเทศเพียงอย่างเดียว

ดังนั้น เพื่อมองให้เห็นถึงภาพมุมมองเดียวกัน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "จากอุษาคเนย์ถึงแดนอาทิตย์อุทัย สถานะของชนกลุ่มน้อยและแรงงานข้ามชาติในศักราชใหม่"

"อดิศร เสมแย้ม" นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของงานวิจัยหัวข้อ "ลาวมองไทย เปิดโลกทัศน์แรงงานข้ามชาติ" ได้เปิดมุมมองเรื่องนี้ไว้ว่า เหตุที่เลือกทำงานวิจัยเรื่องทัศนคติของแรงงานลาวที่มีต่อคนไทยนั้น สืบเนื่องมาจากยังไม่ค่อยมีการศึกษาในเรื่องการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคประชาชน ซึ่งเชื่อว่าสื่อยังคงมีบทบาทในการติดต่อและสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสังคมสมัยใหม่ที่เป็นสังคมข่าวสารและโลกไร้พรมแดนอยู่ ซึ่งรัฐไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนได้ว่ามีมุมมอง การรับรู้ และความเข้าใจต่อไทยอย่างไรบ้าง

"ผมจึงเริ่มทำวิจัยโดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ในบริเวณพื้นที่ชายแดนของไทย ทั้งส่วนของแรงงานที่ได้รับใบอนุญาตผ่อนผันทำงานและแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย พบว่า การที่สื่อไทยสามารถสร้างแรงดึงดูดได้มากกว่าสื่อลาว ซึ่งถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ทางการเมือง และความได้เปรียบในเรื่องภาษา ที่มีความเข้าใจภาษาลาวมากกว่าภาษาอื่น ประกอบกับการที่รัฐบาลลาวไม่มีนโยบายในการปิดกั้นไม่ให้ประชาชนเข้าถึงสื่อต่างประเทศ ทำให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับไทยได้อีกช่องทางหนึ่ง"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการได้รับสื่อโทรทัศน์ของไทยทุกวัน นั่นจึงเป็นผลสืบเนื่องที่ทำให้ชาวลาวชอบประเทศไทยมากที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง "อดิศร" บอกว่า เรายังพบปัญหาแรงงานในประเทศลาวว่าค่าจ้างแรงงานของลาวค่อนข้างต่ำและมักไม่มีงานทำหลังจากการเก็บเกี่ยว นั่นจึงส่งผลกระทบเกิดภาวะการว่างงานของลาว ดังนั้นการหางานทำในประเทศของตนจึงเป็นไปได้ยาก

"นั่นจึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า แรงงานลาวนึกถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของไทยเป็นสำคัญ เพราะยังคงมองว่าไทยเป็นต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านที่จะทำให้เขามีคุณภาพที่ดีขึ้น และเศรษฐกิจไทยยังมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของลาว ทั้งยังเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เป็นแหล่งงานของภูมิภาค จึงเป็นเหตุผลทำให้แรงงานลาวตัดสินใจอยากมาทำงานในประเทศไทยอยู่"

แต่ในทางตรงกันข้าม ยังมีอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แรงงานลาวรู้สึกไม่ชอบประเทศไทยอย่างมากนั่นก็คือ การที่คนไทยมักดูถูกคนลาวมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่ไปประสบพบเจอมา

"อดิศร" ยอมรับว่า จากการวิจัยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มักไม่พบการสำรวจในเชิงของทัศนคติปลายเปิดจากแรงงานมากนัก เพราะส่วนใหญ่เน้นหนักไปในเรื่องการศึกษาการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็กเสียมากกว่า

แล้วโดยส่วนตัวเขามองว่า ยิ่งในยุคสมัยใหม่ที่การมองให้เห็นถึงเชิงทัศนคติเป็นส่วนที่จำเป็นมาก เพราะเราจะได้ทราบถึงทัศนคติที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล เพื่อจะได้สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมัยใหม่ได้ด้วย

"สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ลองทบทวนดู ในฐานะที่เป็นภาคประชาชนคนหนึ่ง สิ่งที่เราต้องตระหนักก็คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีของ 2 ประเทศ ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนได้ในอนาคต"

ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการสร้างการเดินหน้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนร่วมกันของทั้งแรงงานชาวลาวและแรงงานอีกหลายเชื้อชาติในภูมิภาคนี้

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ยักษ์ตื่น !!?


โดย : สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี
ผมคุยนอกรอบกับท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน 'ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ' หลังแถลงข่าวเรื่องผลการตรวจสอบประมวลจริยธรรม ของนายกรัฐมนตรี 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 'นลินี ทวีสิน' รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 'ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ' และรายสุดท้ายคือ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 'อำพน กิตติอำพน' ถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้เสนอให้ยุบรวมองค์กรอิสระบางองค์กรเข้าด้วยกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจะมาถึง

ท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน บอกว่า "มันเป็นเรื่องไม่เที่ยง พวกเรา(ผู้ตรวจการแผ่นดิน)มีกันแค่สามคน เขาจะแก้หรือจะทำอะไรยิ่งง่ายใหญ่"

ผม บอกท่านไปว่ามันไม่แฟร์ โดยเฉพาะวันนี้การที่ผู้ที่ผู้ตรวจการสามท่านลงมติเหมือนหันสปอร์ตไลท์ไปที่ ตัวนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ฝ่ายการเมืองอาจจะไม่พอใจ

ท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ย้ำกับผมอีกว่า "เรา ทำใจได้ อะไรที่เกิดขึ้น ก็ย่อมมีดับไป เราทำงานข้าราชการ มันก็มีวันเกษียณอายุราชการ ทำงานเอกชนก็มีวันหนึ่งที่เขาบอกเลิกจ้างเรา หรือบริษัทเลิกกิจการ"

ผมยังไม่ย่อท้อที่จะแย้งท่านประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่า "แต่ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์หรือผลกำไรให้องค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่นี่ทำเพื่อประเทศชาติโดยแท้"

ท่านประธานผาณิต บอกผมว่า "ทุกอย่างขอให้เป็นเรื่องอนาคต"

ครับ ผมเห็นด้วยว่าเป็นเรื่องอนาคต แต่ก็ไม่ควรที่จะลืมซึ่งอดีตเพราะไม่เช่นนั้นการพัฒนาประชาธิปไตยจะไร้ฐานราก

สำหรับผมแล้ว ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้แสดงให้เห็นว่าเป็น 'ยักษ์ที่เพิ่งตื่นจากหลับใหล' เสียดายที่ยักษ์ตนนี้ตื่นสายไป เพราะมาตื่นเอาเมื่อวันที่การเมือง กำลังจะเขย่ารัฐธรรมนูญ และเป็นไปได้ที่จะทำลายซึ่งองค์กรควบคุมจริยธรรมนักการเมืองแห่งนี้

ห้วง หนึ่งของการเมือง ที่ความประพฤติแม้ไม่มีใบเสร็จมามัดการกระทำความผิด แต่สังคมตระหนักรู้ว่าการกระทำของนักการเมืองผู้นั้นไร้ซึ่งคุณธรรม จริยธรรม แต่ไม่มีใครชี้ผิด นักการเมืองจึง 'ย่ามใจ' ตัดสินใจ 'บุ่มบ่าม' เพราะสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผิดๆ โกงได้แต่ต้องไม่ให้มีใบเสร็จมามัดตัวเอง

ดังนั้น ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงกลับมามองว่าที่บ้านเมืองไม่มีพัฒนาการ เพราะมาตรฐานทาง'จริยธรรม'นักการเมืองไม่มี

ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 จึงกำหนดให้มีผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยแก้ไขจุดบกพร่องในอดีต

ในอดีตปี พ.ศ.2517 คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้มี 'ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา' ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2517 แต่ในขั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญโดยตัดผู้ตรวจการแผ่นดินออกไป

ใน ปี พ.ศ.2538 เกิดแรงผลักดันอย่างจริงจังในการที่จะบัญญัติสถาบันผู้ตรวจการรัฐสภาไว้ ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย โดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 ฉบับที่ 5 ปีพุทธศักราช 2538 โดยบัญญัติในมาตรา 162 ทวิ ดังนี้

“พระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการรัฐสภามีจำนวนไม่เกินห้าคน ตามมติของรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่ง ตั้งผู้ตรวจการรัฐสภา”

แต่เนื่องจากไม่มีบทบังคับในเรื่องระยะเวลาการดำเนินการจึงไม่มีการตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน

ภาย หลังจากมีกระแสผลักดันให้มีการปฏิรูปการเมือง จนกระทั่งได้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 211 เรื่องการตั้งคณะกรรมการสภาร่างรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งระบบผู้ตรวจการแผ่นดินจึงประสบความสำเร็จ โดยใช้ชื่อว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” และได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2540 หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

1 เมษายน 2543 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'พิเชต สุนทรพิพิธ' เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคนแรกของไทย

หลัง รัฐประหาร 2549 มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ผลปรากฏว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากเห็นชอบให้นำร่างรัฐ ธรรมนูญ 2550 มาใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ซึ่งยังคงระบบผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พร้อมทั้งมอบอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมให้อีกหลายประการ และเปลี่ยนแปลงชื่อจาก 'ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา' เป็น 'ผู้ตรวจการแผ่นดิน'

'ผู้ ตรวจการแผ่นดิน'ทำให้เป็นที่ประจักษ์ถึงความจำเป็นที่ต้องควบคุมจริยธรรม นักการเมือง เพราะไม่ว่ายุคสมัยใด 'สันดาน' นักการเมืองไม่เคยเปลี่ยน

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

พลังท้าทายที่เป็นจริง....

ภาพที่ปรากฎ ณ โบนันซ่า เขาใหญ่เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มันเป็นสิ่งที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงสำหรับคนที่เป็นปรปักษณ์กับกลุ่มคนเสื้อแดง

เพราะบนเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ที่อยู่ท่ามกลางขุนเขาในวันนั้น มองไปทางไหนก็เห็นแต่สีแดงที่แน่นขนัดไปหมดทุกทิศทุกทาง

พื้นที่ 300 ไร่ เท่ากับ 120,000 ตารางวา หรือ 480,000 ตารางเมตร

ดังนั้น หากประเมินอย่างหยาบๆ ที่สุดแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงไปชุมนุมกันในวันนั้นจะไม่น้อยกว่า 240,000 คน ในขณะที่ฝ่ายตำรวจประเมินว่า มีคนไปร่วมชุมนุมประมาณ 50,000 คน

คนเสื้อแดงหรือแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติจัดชุมนุมในวันนั้น เพื่อ “ต้านรัฐประหาร สานต่อรัฐธรรมนูญ” เป็นการชุมนุมใหญ่ที่สุดครั้งแรกนับตั้งแต่พวกเขาถูกรัฐบาลของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พรรคประชาธิปัตย์ ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามในการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553

ซึ่งยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 92 ศพ บาดเจ็บประมาณ 2,000 คน และมีคนถูกจับกุมคุมขังหลายร้อยคน

แต่ภายหลังจากที่ถูกปราบปรามเข่นฆ่ากลางเมืองหลวง...จนคนที่มีใจรักความเป็นธรรมไม่สามารถจะยอมรับได้และก่นด่าประนามกันทั้งโลก...คนเสื้อแดงก็ไม่ได้หลบลี้หนีหายไปไหน

พวกเขายังคงยืนหยัดต่อสู้เรียกร้องสิทธิประชาธิปไตยที่แท้จริงของประชาชนต่อไป

พวกเขายังคงยืนหยัดชุมนุมและต่อสู้ด้วยรูปแบบต่างๆ โดยไม่หวาดหวั่นต่อการข่มขู่คุกคามจากอำนาจรัฐ ทำให้คำกล่าวที่ว่า “ตายสิบเกิดแสน” เป็นความจริง

ขณะเดียวกัน พวกเขาก็ได้พัฒนาจากการมี “ตาสว่าง” ไปเป็นการ “ก้าวข้ามความตาย”และการก้าวข้ามสิ่งอื่นๆ

รวมทั้ง “การก้าวข้ามทักษิณ” ไปเป็นการมุ่งมั่นต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้จริงของประชาชน

ได้เป็นที่ยอมรับว่า...ชัยชนะแบบถล่มทะลายของพรรคเพื่อไทยและคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมนั้น เกิดจากพลังของคนเสื้อแดง

ซึ่งมันพิสูจน์ว่า...ขณะนี้คนเสื้อแดงมีอยู่ไม่น้อยกว่า 15 ล้านคน

พวกเขาไม่เพียงแต่เติบใหญ่ในด้านปริมาณ แต่นักวิชาการจำนวนมากได้ยอมรับว่า บัดนี้พลังเสื้อแดงในชนบทได้พัฒนาเป็นชนชั้นกลางแล้ว อันเป็นการพัฒนาทางด้านคุณภาพ

และพวกเขาก็ยังมีปัญญาชนชั้นสูงและชั้นกลางมาร่วมสามัคคีในเส้นทางการต่อสู้มากยิ่งขึ้นตามลำดับ มิพักจะต้องพูดถึงปัญญาชนชั้นล่างอันเป็นพลังพื้นฐานที่หล่อหลอมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับคนรากหญ้าทั้งหลายในสังคมชนบทอยู่แล้ว

ความเป็นจริงดังกล่าวนี้ มันจึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ “แดงทั้งแผ่นดิน” แน่นขนัดเขาใหญ่ เพียงแค่มีการนัดหมายกันว่า...คนเสื้อแดงจะแสดงพลัง “ต้านรัฐประหาร สานต่อรัฐธรรมนูญ” เท่านั้น

การแสดงพลังดังกล่าวเป็นไปอย่างที่อำนาจใดๆ ไม่ว่าอำนาจรัฐหรืออำนาจเงินไม่สามารถจะดลบรรดาลให้เกิดขึ้นได้ เว้นเสียแต่การมีอุดมการณ์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้น เป็นอุดมการณ์ที่เรียกร้องต้องการในสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย

ภาพที่ปรากฎให้เห็นจึงน่าประหวั่นพรั่นพรึงสำหรับคนที่ฝักใฝ่อำนาจเผด็จการและการกดขี่ ยิ่ง อาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.ประกาศว่า...

วันนี้คนเสื้อแดงขอท้าทายว่าใครที่จะทำรัฐประหาร โปรดดูภาพของคนเสื้อแดงที่โบนันซ่านี้ แล้วลองคิดดูว่าท่านจะกล้าทำรัฐประหารในประเทศไทยอีกหรือไม่?

จะยอมรับหรือไม่ก็ตามที สิ่งที่เห็นที่โบนันซ่าวันนั้น เป็นพลังท้าทายที่แท้จริง ซึ่งผู้มีอำนาจจะต้องเตือนตัวเองว่าอย่าได้คิดทดสอบพลังนี้เป็นอันขาด

เว้นเสียแต่อยากจะทำลายตัวเอง

โดย:คนชายขอบ (ศรี อินทปันตี)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ดับฝันแต่ต้นลม !!?

คิดว่าจะมีพาวเวอร์สูง แต่คิดผิดถนัดอย่างแรง สำหรับตัว “บิ๊กโอ๋” พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ไม่โดดเดี่ยว ดุดันทุรัง สมกับเป็น “ทหารนักบู๊”
หนำซ้ำ คุมทหารนอกแถว ยังไม่อยู่
รู้ทั้งรู้ “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เจอรายการเจาะยาง เพื่อปฏิวัติโค่นอำนาจเป็นรายวัน
นึกว่า “บิ๊กโอ๋”จะเด็ดเดี่ยว..ทีแท้ก็พวกไร้เขี้ยว?..ปล่อยให้พวกมันเฮี้ยว คิดแต่จะล้มรัฐบาล

++++++++++++++++++++++++++++++++++

จุดตายเป็นตับ
แผล “รัฐบาลปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแค่สิว ๆ แต่ปล่อยให้มันหวด อย่างจั๋งหนับ
จากเรื่องมุสาวาทา ว. ๕ โฟร์ซีชั่นชั้น ๗..ถึงเรื่อง “บิ๊กเหลิม” ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง เมาเดินเซกลางสภาฯ
ที่ประณาม กล่าวหาเขานั้น ล้วนปั้นน้ำแข็งเป็นตัว ทั้งนั้นแหละจ้า
ที่พยายามสร้างรอยด่างอย่างสุดทิ่ม เพื่อกลบรอยชั่ว ..ผู้บังการสั่งฆ่าประชาชน ๙๑ ศพ..ดีสเครดิต “บิ๊กเหลิม”เพื่อให้ล้มละลาย ทางสาธารณะ
ตีคนอื่นดัง ๆ ...ก็เพื่อกลบฝัง....คดีสั่งฆ่าประชาชนกันเจ้าค่ะ

+++++++++++++++++++++++++++++++++

แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน
เทพเจ้าสะตอ “ชวน หลีกภัย” ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ออกลูกเหวอตลอดแล้วล่ะท่าน
ยกก้นคนภาคใต้ เป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ซื่อตรง
งั้น,ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ..เป็นพวกงี่เง่า ต้องโดนสาปส่ง
จนแล้วจนรอด ยังไม่รู้สัจจะธรรมแห่งความเป็นจริง..ว่านักการเมือง “ที่ดีแต่พูด” แต่ทำงานไม่เป็นสับปะรดขลุ่ยนั้น ชาวบ้านเขาหันหลังหนี ไม่มาแยแส
ด่าคนภาคอื่นให้เขาหงุดหงิด....แต่ไม่เคยมองตัวเองสักนิด...ที่สำคัญ ทำผิดก็ไม่เคย คิดแก้

++++++++++++++++++++++++++++++++

นิ่งเป็นน้ำแข็ง
ไม่ออกอาการเป๋ หรือซวนเซ ถึง “มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะจัดเกิดหนัก เปิดเกมแรง
แต่ “นายกฯปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินตามกรอบระเบียบเป๊ะ เหมือนกับ “อดีตนายกรัฐมนตรี” พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และ รัฐบุรุษ
ใช้กุศโลบาย เฉยไว้ ..ไม่ต้องพูด
เมื่อไม่ก่อความยาว สาวความยืดด้วย “ประชาธิปัตย์” จึงชกลม หมดแรงข้าวต้มไปเอง
ไม่ก่อเรื่องให้ยุ่ง..พวกนี้ก็ไม่มีอะไรมากระทุ้ง...โถ,เขาเป็นพวก พูดน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

++++++++++++++++++++++++++++++++

ก่อชนวน ตีร่วน อย่างไร้ค่า
ตั้งป้อม สร้างสถานการณ์ ไม่ให้คนใต้ คนเมืองเพชร รับ “เต้น-ตู่” ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรฯ และ จตุพร พรหมพันธุ์ ..คิดแบบคน ไร้ปัญญา
ที่บางพรรค?.. กลายเป็นหมาหัวเน่า ขนาดหัวหน้าพรรคอดีตเคยเป็นนายกรัฐมนตรี..เพราะไปภาคเหนือ ภาคอีสานไม่ได้ เป็นเพราะอะไร
เพราะการสร้าง “ภาคนิยม” ผิด ๆ ใช่หรือเปล่าเจ้านาย
ก้อ,เพราะคิดสร้างสถานการณ์ผิด อย่างพวก “กบอยู่ในกะลาครอบ” ..ประชาชนจึงมอง กลุ่มนี้ในแง่ไม่ดี
ทำแต่เรื่องเหม็นหึ่ง...ทั้งที่สุนัขก็เลียก้นไม่ถึง... เมื่อไหร่จึงจะสำนึกได้เสียที

คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อย,บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

รร.นายร้อย จปร.พลิกกลยุทธ์ เล็งเปิดรับ ม.6 ต่อป.ตรี วิทย์-วิศวะ-ศิลปศาสตร์ โควต้า ปีละ 30%....

โรงเรียนนายร้อย จปร.พลิกกลยุทธ์ใหม่ เล็งเปิดรับนักเรียน ม.6 ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี กำหนดโควตาปีละ 30% ชู 3 ปริญญา "วิทยาศาสตร์-วิศวกรรม-ศิลปศาสตร์" เป็นจุดขายตอบโจทย์โลกการศึกษายุคใหม่ นักวิชาการชี้ปรับเปลี่ยนค่านิยมในทางที่ดี หนุนให้วุฒิทหารควบคู่วุฒิการศึกษาตามปกติ

ข่าวจากกระทรวงกลาโหมเปิดเผย ว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ มีแนวคิดที่จะเปิดรับบุคคลพลเรือนที่จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ารับการศึกษาใน 3 สถาบันการศึกษาดังกล่าว จากเดิมที่รับเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร สาเหตุมาจากปัจจุบันโรงเรียนเตรียมทหารมีการรับบุคคลเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารน้อยลง ทำให้มีนักเรียนเตรียมทหารเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศน้อยลงด้วย ไม่สอดคล้องกับความพร้อมและศักยภาพของทั้งโรงเรียนในสังกัดเหล่าทัพทั้ง 3 โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาคาร สถานที่ และบุคลากร

ดังนั้นเพื่อให้มีการกระจายโอกาสทางการศึกษา และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือน รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า จึงประสงค์จะรับบุคคลพลเรือนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ โดยกำหนดสัดส่วนการรับนักเรียนที่เป็นพลเรือนประมาณร้อยละสามสิบ สำหรับการเปิดสอนจะเปิดสอนเฉพาะสาขาวิชาที่มีความพร้อม ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์

แหล่งข่าวกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กระทรวงกลาโหมได้มีหนังสือที่ กห 0202/2317 ลงวันที่ 30 กันยายน 2554 ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการดังกล่าวว่าขัดต่อระเบียบข้อกฎหมายหรือไม่ และจะต้องดำเนินการอย่างไร

หลังคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) พิจารณา ได้ตอบข้อหารือว่า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ มีลักษณะเป็นสถาบันการศึกษาเฉพาะทาง ตามมาตรา 21[1] แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ขณะเดียวกันมาตรา 5 (4)[2] แห่งพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2533 สภาการศึกษาวิชาการทหารจึงสามารถกำหนดให้บุคคลพลเรือนผู้มีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้าเป็นนักเรียนทหารได้

ส่วนจะสามารถให้ปริญญาแก่นักเรียนซึ่งเป็นบุคคลพลเรือนผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่สภาการศึกษาวิชาการทหารอนุมัติได้หรือไม่นั้นเมื่อกระทรวงกลาโหมประสงค์จะรับบุคคลพลเรือนเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทั้ง 3 เหล่าทัพ โดยเปิดสอนสาขาวิชาที่มีความพร้อม แต่ไม่ได้มีการศึกษาวิชาการทหาร ดังเช่นนักเรียนวิชาการทหาร บุคคลดังกล่าวย่อมไม่เป็นผู้สำเร็จวิชาการทหาร

สภาการศึกษาวิชาการทหารจึงไม่สามารถอนุมัติให้ปริญญาแก่บุคคลพลเรือนที่ไม่ได้ผ่านการศึกษาวิชาการทหารได้หากกระทรวงกลาโหมประสงค์จะจัดการศึกษาแก่บุคคลพลเรือนเช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาโดยทั่วไปก็จะต้องแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษา และอนุมัติปริญญาสำหรับหลักสูตรการศึกษาทั่วไป และกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการทางวิชาการให้สอดคล้องกับมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนดเสียก่อน

นายกำจรตติยกวีรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมสามารถให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศ เปิดรับพลเรือนเข้าเรียนได้ ตราบใดที่การบริหารการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการเปิดสอนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาวิศวกร จึงต้องให้คำตอบคำถามนักศึกษาให้ได้ว่าเมื่อจบออกมาแล้วจะได้รับใบประกอบวิชาชีพหรือไม่ เพราะการได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพ สภาวิชาชีพจะต้องให้การรับรองสถาบันสอนก่อน

ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า หากโรงเรียนนายร้อยเปิดรับพลเรือนเข้าเรียนจะเป็นการดี เพราะโดยปกติโรงเรียนนายร้อยเป็นโรงเรียนที่มีค่านิยมเดียว หากพลเรือนเข้าไปเรียนด้วยจะทำให้มีความแตกต่างทางความคิดมากกว่าเดิม ความเข้มข้นของความคิดแบบทหารจะน้อยลง เช่น เรื่องรัฐประหาร ส่งผลให้ต้องปรับปรุงลักษณะการสอน และหลักสูตรให้เป็นไปตามค่านิยมของพลเรือนด้วย การสั่งสอน หรือระเบียบวินัยแบบเดิมอาจต้องเปลี่ยนเป็นวิถีประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งเรื่องวิธีการคิด วิธีการเรียนรู้ หรือวิถีชีวิต

"อย่างไรก็ดี หากจบจากโรงเรียนนายร้อยแล้วได้รับวุฒิการศึกษาตามสาขาวิชาอย่างเดียวอาจไม่มีใครสนใจเข้าเรียน เพราะสามารถไปเรียน 3 สาขาที่มหาวิทยาลัยอื่นเปิดสอนได้ ดังนั้นน่าจะให้วุฒิทหารด้วย หรือเปิดโอกาสให้พลเรือนที่จบโรงเรียนนายร้อยมีสิทธิ์สอบเข้ารับราชการทหาร จะดึงดูดให้คนมาเข้าเรียนมากกว่าได้รับวุฒิการศึกษาตามปกติ"

ขณะที่แหล่งข่าวจากสภาการศึกษาวิชาการทหารยอมรับว่าปัจจุบันมีนักเรียนที่สมัครสอบและสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหารน้อยลงจริงอาจเป็นเพราะค่านิยมที่เปลี่ยนไป เพราะรู้สึกว่าวิชาชีพทางด้านนี้ไม่ตอบโจทย์วิชาชีพในระดับสากล ที่ต่างมุ่งไปสู่ความเป็นทุนนิยมในอนาคต ประกอบกับปัจจุบันโอกาสเลือกในเส้นทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น มีการเปิดหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา ที่ต่างตอบสนองผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศในวิชาชีพ

ระดับสากล สามารถเชื่อมโยงกับโลกทางการศึกษาที่เปิดกว้างขึ้น ยิ่งเฉพาะต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี 2558

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จ่ายทันที 7.7ล้าน ยงยุทธ ลั่นเยียวยาไม่รอศาลปกครอง !!?

“ยงยุทธ” ยืนยันหาก ครม. เห็นชอบตามข้อเสนอพร้อมจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองทันที ไม่จำเป็นต้องรอคำตัดสินของศาลปกครองที่ ส.ส.ประชาธิปัตย์จะไปยื่นฟ้อง ย้ำไม่ได้จ่ายให้คนผิด ไม่ได้ทำเพื่อหาเสียงกับคนเสื้อแดง ตำรวจเผย 12 มี.ค. นี้ศาลเปิดไต่สวนหาสาเหตุการตายจากการสลายการชุมนุม 4 ราย แต่ยังไม่มีชื่อ “เสธ.แดง” ด้านคดีชกหน้า “วรเจตน์” จะขอเพิ่มโทษแฝดพี่ เพราะมีคดีติดตัวที่ศาลสั่งรอลงอาญา 2 ปี

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานประชุมคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ยืนยันว่า ถ้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรอบวงเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การเมืองในวันนี้ (6 มี.ค.) จะสามารถจ่ายเงินเยียวยาได้ทันที โดยเฉพาะในรายที่คดีความสิ้นสุดแล้ว

ส่วนกรณีที่นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ จะยื่นฟ้องศาลปกครองเพื่อให้ระงับการจ่ายเยียวยานั้น นายยงยุทธยืนยันว่าไม่มีผลทำให้การจ่ายเยียวยาต้องสะดุด เพราะไม่มีการจ่ายให้กับคนที่คดีความยังไม่สิ้นสุดหรือผู้ที่กระทำความผิด

“ผมยืนยันว่าการเยียวยาไม่ได้ทำเพื่อหาเสียงกับคนเสื้อแดง”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจ่ายเยียวยามีตัวเลขสูงสุดอยู่ที่รายละ 7.75 ล้านบาท โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)

พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เปิดเผยว่า วันที่ 12 มี.ค. นี้ศาลจะไต่สวนสาเหตุการเสียชีวิตของคนเสื้อแดง 4 ราย ส่วนกรณีของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ยังต้องดูพยานหลักฐานเพิ่มเติมก่อนส่งให้อัยการเพื่อส่งศาลเปิดไต่สวน

สำหรับ 4 รายที่จะเปิดไต่สวนประกอบด้วย นายชาญณรงค์ พลศรีลา, พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ, นายพัน คำกอง และ ด.ช.คุณากร สิงห์สุวรรณ

ด้านความคืบหน้าคดีทำร้ายร่างกายนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำคณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร พ.ต.อ.วิชาญญ์วัชร์ บริรักษ์กุล รอง ผบก.น.1 ระบุว่า เบื้องต้นสามารถเพิ่มโทษนายสุพจน์ ศิลารัตน์ แฝดผู้พี่ได้ เพราะมีคดีอาวุธปืนผิดมือที่ศาลสั่งรอลงอาญา 2 ปีติดตัวอยู่ ส่วนการครอบครองอาวุธปืนของนายสุพัฒน์ ได้สอบถามกรมการปกครองเรื่องความถูกต้องของการออกใบอนุญาตอยู่ หากทุกอย่างเรียบร้อย น่าจะส่งฟ้องศาลได้ตามกำหนดวันที่ 12 มี.ค. นี้

ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
**********************************************************************

เมาค้าง !!?

คะแนน 399 ต่อ 199 เสียง ของที่ประชุมรัฐสภาที่เห็นชอบในวาระแรกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ แม้จะเป็นเพียงกระบวนการสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) แต่ก็ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มสลิ่มที่เป็นขาประจำ ออกอาการเป็น “เจ้าเข้า” ต้องออกมาปลุกกระแสต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่างจริงจัง และอาจกลับมา “สุมหัว” กันสู้อีกครั้ง

อย่างที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุ-ราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอนหนึ่ง ในการสัมมนาพรรคที่หาดใหญ่ว่า ตนฝันร้ายมาตลอด เพราะไม่รู้ว่าหากพวกเสื้อแดง (กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช.) คุมประเทศได้อะไรจะเกิดขึ้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราต้อง “สุมหัว” กันปกป้องประเทศ

ก้าวไม่พ้น “ทักษิณ”

นายสุเทพกล่าวว่า หนักใจหากเรายังไม่ตระหนักว่าประเทศกำลังมีวิกฤต กำลังจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในประเทศ และถือว่าประมาทโดยสิ้นเชิง เพราะวิกฤตประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่วันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งพรรคการเมืองและเข้าสู่อำนาจทางการเมือง เพราะไม่ได้เดินมาในแนวทางประชาธิปไตยปรกติ พ.ต.ท.ทักษิณใช้ทรัพย์สินเงินทองที่ได้มาจากการรับสัมปทานผูกขาดจากรัฐในยุคเผด็จการมาเป็นทุนตั้งพรรคการเมือง ซื้อนักการเมืองจนมีอำนาจรัฐและได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯถือว่าตัวเลขที่ออกมาพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณและเครือข่ายมั่นใจว่าทุกอย่างอยู่ในมืออย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว ซึ่งเป็น “พิธีกรรม” ประชาธิปไตยสำหรับการ “รัฐประหาร” ฉีกรัฐธรรมนูญรูปแบบใหม่

เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่อภิปรายยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะถือเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และยกร่างใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง เพราะมีวาระแอบแฝง

แม้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยยืนยันว่าจะไม่มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ก็ตาม แต่นายอภิสิทธิ์ก็ต้องการให้กำหนดไว้ชัดเจนในการแปรญัตติ เช่นเดียวกับต้องไม่ทำให้ความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐลดลง และต้องไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกใช้ไปในลักษณะของการนิรโทษกรรมเพื่อล้มล้างคำพิพากษาของศาลไปเอื้อประโยชน์ให้กับผู้หนึ่งผู้ใด โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ

“สลิ่ม” ประสานเสียง “พันธมิตรฯ”

ขณะที่กลุ่มสยามสามัคคีได้นัดรวมตัวกันในวันที่ 2 มีนาคมนี้ เพื่อคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย โดยมีนักวิชาการ “ขาประจำ” มาร่วมอภิปราย อาทิ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นายเสรี วงศ์มณฑา นายแก้วสรร อติโพธิ และนายบรรเจิด สิงคะเนติ แกนนำกลุ่มสยามสามัคคี

นายประสาร มฤคพิทักษ์ หนึ่งในแกนนำกลุ่มสยามสามัคคี ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นการเรียกแขกที่เคยกระจัดกระจายให้กลับมารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรฯที่หมายรวมถึงประชาชนที่รักความเป็นธรรมและจงรักภักดีต่อในหลวงจะออกมาเคลื่อนไหว กลุ่มพลังประชาธิปไตยต่างๆจะยกระดับการต่อสู้เป็นการผนึกกำลังเป็นแนวร่วมใหญ่ต้านยันระบอบเผด็จการเสียงข้างมากของทุนนิยมสามานย์ ขณะที่ ส.ส.ร. ในกำกับของพรรคเพื่อไทยจะเป็นจำอวดการเมืองที่ไร้ความไว้วางใจจากประชาชน

“การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นการบั่นทอนกระบวนการยุติธรรมอย่างรุนแรง เพราะมันเป็นการฟอกขาวให้นักโทษจำคุกที่ไม่สำนึกและไม่ยอมรับโทษทัณฑ์ใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยจะยอมไม่ได้ และถ้ายังใช้อำนาจแบบย่ามใจ ใช้เสียงข้างมากสามานย์อย่างซ้ำซาก สุดท้ายจะกลายเป็นความแค้นเคืองสะสมของประชาชนที่เครือข่ายทักษิณต้องจ่ายคืนอย่างบอบช้ำกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา”

ขณะที่ก่อนหน้านี้กลุ่มพันธมิตรฯได้ออกแถลงการณ์พร้อมจะชุมนุมใหญ่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ โดยจะประชุมในวันที่ 10 มีนาคม เพราะถือว่าเป็นแค่นิติกรรมอำพรางเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญ และเปิดทางให้ทุนสามานย์ยึดอำนาจประเทศ รวมถึงลบล้างความผิดในอดีต พร้อมกระชับอำนาจให้เจ้าของพรรค การเมือง ซึ่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จึงพิสูจน์ชัดว่าการเมืองไทยโดยนักการเมืองไม่ว่าจะพรรคไหนก็ตามล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะส่วนใหญ่เป็นคนที่บัดซบ ไม่ได้รักชาติ รักประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว เพราะฉะนั้นการตั้ง ส.ส.ร. จึงเป็นการพิสูจน์ชัดเจนว่าทุกอย่างทำเพื่อพวกเขา ทำเพื่อหัวหน้าพวกเขา ทำเพื่อเจ้าของพรรค ไม่ว่าพรรคใดก็เหมือนกันไม่มีผิด เพียงแต่ว่าบางพรรคปล้นกลางแดด บางพรรคใส่เสื้อนอกปล้น แต่สรุปแล้วคือปล้นคนไทยนั่นเอง

ส่วนนายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ ยืนยันว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านการลงประชามติกว่า 14 ล้านเสียง จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญปี 2540 และไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐ-บาลพรรคเพื่อไทยเลย เพราะฉะนั้นเหตุผลที่จะแก้รัฐธรรมนูญมีประการเดียวคือ เพื่อจะแทรกการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และจัดโครงสร้างทางอำนาจใหม่ให้กระชับและรับใช้นักการเมือง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยและกลุ่มทุนของพรรคเพื่อไทยที่อยู่รอบตัว พ.ต.ท.ทักษิณ

แก้เพราะไม่เป็นประชาธิปไตย

การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มสยามสา-มัคคี กลุ่มเสื้อหลากสี หรือพันธมิตรฯ ไม่สามารถใช้วาทกรรม “ความจงรักภักดี” มาโจมตีได้อย่างที่ผ่านมา เพราะพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลรู้ดีว่าเป็นประเด็นร้อนที่แตะต้องไม่ได้ แม้ แต่มาตรา 112 ก็ตาม จึงประกาศยืนยันมาโดยตลอดว่าจะไม่มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาด

แต่ยังมีความพยายามโยงให้สถาบันเกี่ยว ข้องให้ได้ เช่น พรรคประชาธิปัตย์ที่ให้รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยต้องระบุไว้ในการแปรญัตติชัดเจนว่าจะไม่แก้ไขใดๆในหมวดพระมหากษัตริย์ หรือนายสนธิที่อ้างว่าพันธมิตรฯออกมาเคลื่อนไหวเพราะมีความจงรักภักดี

ดังนั้น ทุกกลุ่มที่ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงต้อง “จินตนาการ” ว่าพรรคเพื่อไทยมีวาระแอบแฝงเพื่อกระชับอำนาจให้ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดและช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่เป็นเรื่องปรกติของการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ทุกพรรคก็ต้องการได้ ส.ส. มากที่สุด เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากที่สุด แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎกติกา ไม่ใช่ซื้อเสียงหรือปล้นจี้เขามาอย่างบางพรรค

ประเด็น พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศนั้น พรรค เพื่อไทยเองไม่ได้ปฏิเสธ เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศมาโดยตลอดว่าจะนำ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศให้ได้ แต่จะเป็นการนิรโทษกรรมหรือ พ.ร.บ.ปรองดองก็ตาม ก็ไม่ใช่การใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมหรืออำนาจเผด็จการอย่างการทำรัฐประหาร

แม้แต่ พ.ต.ท.ทักษิณยังให้ความเห็นถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านวิดีโอลิ้งค์มายังเวทีคอนเสิร์ต “การหยุดรัฐประหารเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญ” ที่จัดโดย นปช. เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า เป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่จำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการถ่วงดุล

“ทำไมต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเนื่องจากการไม่เป็นประชาธิปไตย การไม่มีความยุติธรรม การที่ผู้รักษากติกาขาดความยุติธรรมทำให้บ้านเมืองสับสนวุ่นวาย แล้วมีเรื่องบาดหมาง ทะเลาะเบาะแว้งแตกแยกกันเพราะความไม่มียุติธรรมนั่นเองนะครับ ถ้าทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตัวเองอย่างยุติธรรมนะครับ ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเป็นกลางบ้านเมืองจะไม่เป็นอย่างนี้ บ้านเมืองเป็นอย่างนี้เพราะหลายฝ่ายได้เลือกข้างโดยไม่คำนึงถึงกติกาที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เรามั่นใจว่าถ้าเป็นของประชาชน ทุกอย่างจะเป็นกติกาที่เป็นกลางและเป็นธรรม บ้านเมืองจะได้กลับสู่ภาวะปรกติ ผมไปเห็นแต่ละประเทศมาแล้ว ผมบอกได้เลยว่าศักยภาพประเทศไทยนั้น ถ้าเป็นประชาธิปไตยและทุกอย่างเป็นธรรมจะทำให้ประเทศรุ่งเรืองขนาดไหน”

รัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย

จึงไม่แปลกที่โพลสำรวจความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และเพิ่มอำนาจให้ประชาชนตรวจสอบนักการเมืองมากขึ้น แม้บางส่วนวิตกว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรง เพราะแต่ละฝ่ายมุ่งแต่จะเอาชนะคะคานเพื่อผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าประเทศชาติและประชาชน เช่นเดียวกับความขัดแย้งกว่า 5 ปีที่ผ่านมาที่ไม่มีใครต้องการรัฐประหาร และต้องการให้ประเทศไทยเลิกฉีกรัฐธรรมนูญ

ด้านนายคณิน บุญสุวรรณ อดีต ส.ส.ร. ปี 2540 หวังว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะเป็นฉบับสุดท้ายหรือถาวรจริงๆ เพราะ 18 ฉบับมากเกินไปแล้ว ถ้ายังมีการแก้ไขและกลับมาสู่วงจรอุบาทว์อีก คำว่า “ล่มสลายของรัฐ” คงไม่ไกลเกินจริง

นายคณินยังระบุว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ส.ส.ร. จึงต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม กระบวนการ ยกร่างต้องเป็นประชาธิปไตยและเป็นอิสระจากระบบราชการ หรือแม้กระทั่งระบบศาล

ขณะที่นายเดโช สวนานนท์ อดีต ส.ส.ร. ปี 2550 ตั้งคำถามว่า ส.ส.ร. ครั้งนี้ควรจะเป็นครั้งสุดท้ายหรือไม่ เพราะประเทศไทยถือว่ามีรัฐธรรมนูญมากที่สุดในโลก เนื่องจากประเทศไทยปฏิวัติมาหลายครั้ง ส.ส.ร.ชุดใหม่จึงต้องไปเขียนและตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทำให้เป็นรัฐธรรมนูญถาวรอย่างไร

ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตแกนนำพรรคเพื่อไทยและ ส.ส.ร. ปี 2540 ตั้งข้อสังเกตว่า รู้สึกแปลกใจที่พูดกันถึงหมวด 1-2 เพราะโดยปรกติผู้ร่างไม่ว่าชุดไหนก็ตามไม่มีใครคิดจะแก้ไขอยู่แล้ว การอภิปรายในสภาก็มีมาก จึงไม่คิดว่าสภากลัวมีการแก้ไข แต่ต้องการใช้มาปรักปรำคนอื่นมากกว่า เป็นการสร้างความเสื่อมเสียให้แก่ประเทศชาติ ศาล และองค์กรอิสระที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยที่ต้องตรวจสอบซึ่งกันและกัน โดยศาลและองค์กรอิสระ รัฐสภาและรัฐบาล ต้องมีกลไกในการตรวจสอบ หากไม่ดุลและคานเป็นไปไม่ได้เลย แต่ที่เป็นปัญหาเพราะที่มาขององค์กรอิสระไม่มีจุดยึดโยงจากประชาชน จึงทำให้เกิดปัญหา “ผลัดกันเกาหลัง” ระหว่างองค์กรอิสระกับศาล ผู้อยู่ในองค์กร อิสระจึงต้องไปหาจุดว่าที่มาควรจะเป็นอย่างไร

“ส.ส.ร.ชุดใหม่นี้มาจากการเลือกตั้งโดย ตรงของประชาชน ใครจะมาบอกว่าไม่เชื่อถือ เพราะเกรงว่าจะมีพรรคการเมืองครอบงำ ผมคิดว่าท่านคงไม่เห็นด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไหนพัฒนาแล้วเขาก็เชื่อถือประชาชน เพราะฉะนั้นข้ออ้างดังกล่าวผมคิดว่าไม่มีเหตุผล และขัดกับหลักการประชาธิปไตย ผมเชื่อว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่จะคิดกันได้ ขณะเดียวกันก็ได้เห็นข้ออ้างที่ฟังแล้วขัดในตัว เช่น ถ้ามีสภาร่างแล้วจะเป็นการให้เช็คเปล่า ขณะเดียวกันถ้าให้ ส.ส. หรือ ส.ว. แก้กันเองก็บอกว่าจะทำเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง สองอย่างที่พูดมาดูเหมือนว่าจะไปทางไหนไม่ได้”

เมาค้าง-เมาอำนาจ

เห็นได้ว่าการออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มสยามสามัคคี กลุ่มเสื้อหลากสี และพันธมิตรฯครั้งนี้ไม่ได้นำเหตุผลในเรื่องของหลักนิติรัฐ นิติธรรม และประชาธิปไตยมาต่อสู้เลย แม้แต่ประเด็นมาตรา 112 ก็ปิดประตูตาย หลังจากพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลชิงประกาศว่าไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์และมาตรา 112 อย่างเด็ดขาดเพื่อตัดเกมก่อน เพราะรู้ดีว่าเป็น การ “ชิงสุกก่อนห่าม”

พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มที่ต่อต้านจึงต้องพุ่งเป้ามาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และพยายาม “จินตนาการ” ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีวาระแอบแฝง เพื่อยึดโยงให้เกี่ยวข้องกับสถาบันให้มากที่สุด ซึ่งไม่ต่างกับอาการ “เมาค้าง” จากการ เสพติด “อำนาจ” ซึ่งเคยสุมหัวกันปล้นจี้โค่นล้มพรรคเพื่อไทยและยุบพรรคพลังประชาชน

อาการ “เมาค้าง” และ “เมาอำนาจ” จึงอันตรายยิ่งกว่า “เมาเหล้า” หรือ “เมารัก” เพราะ “น้ำอมฤตแห่งอำนาจ” นอกจากจะทำให้คนไม่เป็นคนแล้ว ยังไม่เกรงกลัวหรือละอายต่อบาป แม้แต่การเป็น “ฆาตกรฆ่าคน” ได้อย่างเลือดเย็นและอำมหิต

ขณะที่การดื่มเหล้าและเมามีคำเตือนว่า “ดื่มเหล้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพตัวเอง” แต่ “เมาอำนาจ” สามารถทำลายบ้านเมืองให้หายนะได้ในชั่วพริบตา อย่างรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมากว่า 5 ปี ประเทศไทยวันนี้ยังถูกประณามและจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเผด็จการล้าหลัง เพราะพวก “เมาค้าง” จากการเสพติด “อำนาจ”

เช่นเดียวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ไม่รู้จะยกเหตุผลอะไรมาต่อต้าน จึงต้องออกมาปลุกกระแสขับไล่ “ทักษิณ” ออกไปอีกครั้ง ทั้งที่วันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณก็มิได้อยู่ในประเทศไทย และคงรู้ตัวดีว่ายังไม่จำเป็นต้องรีบกลับ อีกทั้งยังทำตัว เป็นทูตพิเศษ เดินทางไปพบปะผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลก ไม่ต่างอะไรกับนายกรัฐมนตรีตัวจริง

ดังนั้น หากพรรคประชาธิปัตย์ สลิ่ม และพันธมิตรฯยัง “ดื้อ ดึง ดัน” จะไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ครั้งนี้คงต้อง ไล่ให้ไปอยู่ดาวอังคารแล้ว!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ถ้ากระทู้ถามสด. เป็นประโยชน์ต่อประชาชน !!?




กระทู้ถามสดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อปชช. อาทิเช่น เรื่องปากท้องของประชาชน ราคามันสำปะหลัง หัวหอม มีราคาตกต่ำถ้าคิดได้อย่างนี้ได้ใจปชช.แน่

บนความเคลื่อนไหว  เกาะติดความเคลื่อนไหวการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ต้องแลกกับการสูญเสียภาษีอากรของประชาชน ราว 4,000-5,000 ล้านบาท เช่นนั่นกระทู้ถามสดหรือหัวข้อในการทำงานควรเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด อาทิเช่น เรื่องปากท้องของประชาชน ไปจนถึงราคาข้าวของที่แพงขึ้น!

- ประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง บอกว่าในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อให้มาแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ กกต.มีงบสำรองไว้ 900 ล้านบาท ส่วนที่เหลือรัฐบาลต้องจัดสรรให้

- แค่เลือกตั้ง ส.ส.ร.ก็ใช้งบ 2,000 ล้านบาทแล้ว และยังจะมีการเปิดให้ประชาชนทั่วประเทศลง "ประชามติ" หลังร่างรัฐธรรมนูญเสร็จอีก ซึ่งคาดว่าคงจะใช้งบอีก 2,000 ล้านบาทเช่นกัน

- นอกจากงบที่ใช้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เมื่อมี "ส.ส.ร." ก็ต้องมีเงินเดือน คูณด้วยระยะเวลาที่ใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้งบประมาณอีกเท่าไร

- คิดดูแล้ว "ร่างรัฐธรรมนูญใหม่" ที่กำลังจะร่างกันขึ้นมาเพื่อตอบสนอง "พรรคการเมือง" หรืออาจจะตอบสนอง "คนบางคน" ต้องแลกกับการสูญเสียภาษีอากรของประชาชน ราว 4,000-5,000 ล้านบาท

- ในฐานะ "มนุษย์เงินเดือน" ที่เสียภาษีอย่างสม่ำเสมอ ไม่เคยหลีกเลี่ยง ซ่อนเร้น คิดแล้ว "เสียดาย..."

- ขอร่วม "ประณาม" มือชก วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำคณะนิติราษฎร์ ด้วยคน เพราะไม่เห็นด้วยกับ "วิธีป่าเถื่อน" แบบนี้

- คนเราแม้จะมีความคิดเห็น ทัศนคติ ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะแสดงออกด้วยการลงไม้ลงมือ ใช้กำลัง ปืนผาหน้าไม้ เข้าทำร้ายหรือประหัตประหารกันเยี่ยงนี้

- ในสังคมประชาธิปไตย ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ถือเป็นเรื่องธรรมดา ใครเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับเรื่องอะไร ต้องแสดงออกด้วยเหตุ ด้วยผล เพื่อหักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่ง

- เมื่อ "เสียงส่วนใหญ่" เห็นไปในทิศทางใด ฝ่าย "เสียงข้างน้อย" ก็ต้องยอมรับ ขณะที่ฝ่ายเสียงข้างมาก ก็ต้องไม่ "ถากถาง" ละเลยความคิด เหตุผล ของฝ่ายเสียงข้างน้อยด้วยเช่นกัน แบบนี้ถึงจะเรียกว่า "สังคมประชาธิปไตย"

- เห็น จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน บอกว่า ต่อไปนี้จะเอาเวลาไปตั้งกระทู้ถามสดในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน อาทิเช่น เรื่องปากท้องของประชาชน เช่น เรื่องราคามันสำปะหลัง หัวหอม ลำไย เนื่องจากปัจจุบันมีราคาตกต่ำ

- ถ้า "ฝ่ายค้าน" คิดได้อย่างนี้ คงจะเกิดประโยชน์ และได้ใจประชาชนแน่ เพราะปัจจุบันไปไหนมาไหนมีแต่คนบ่นข้าวของแพง โดยเฉพาะราคาอาหาร ที่ประชาชนต้องบริโภควันละ 3 มือ "แพงโคตรๆ"

- ในช่วงปลายสมัยที่ "ประชาธิปัตย์" เป็นรัฐบาล ก็เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสินค้าราคาแพง จนถูกลงโทษด้วยผลการเลือกตั้งมาแล้ว

- มายุครัฐบาล "เพื่อไทย" ประชาชนก็ยังไม่พ้นจากภาวะ "ข้าวยากหมากแพง" หาก "ฝ่ายค้าน" เกาะติดและกระทุ้งรัฐบาลให้หันมาสนใจปัญหาเรื่อง "ปากท้อง" ของประชาชนเป็นพิเศษ ไม่แน่เลือกตั้งสมัยหน้า คะแนนเสียงอาจจะดีขึ้นกว่าเก่าก็เป็นไปได้

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

พี่น้องครู ครับ.. กฎว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ประกาศแล้ว !!?

วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ. ๒๕๕๕

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๔) มาตรา ๑๐๓ วรรคห้า และมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ก.ค.ศ. โดยได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรีออกกฎ ก.ค.ศ. ไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนกรณีรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา และกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. นี้

ข้อ ๒ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ มาตรา ๙๘ วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคห้า มาตรา ๑๐๐วรรคหก และผู้บังคับ
บัญชาที่ได้รับรายงานตามมาตรา ๑๐๔ แล้วแต่กรณี เป็นผู้สั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน

ข้อ ๓ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ จะสั่งให้ผู้นั้นพักราชการได้ต่อเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ และผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้ และผู้มีอำนาจตามข้อ ๒พิจารณาเห็นว่าถ้าให้ผู้นั้นคงอยู่ในหน้าที่ราชการอาจเกิดความเสียหายแก่ราชการ

(๒) ผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าถ้าคงอยู่ในหน้าที่ราชการจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณาหรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้น

(๓) ผู้นั้นอยู่ในระหว่างถูกควบคุมหรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาและได้ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก เป็นเวลาติดต่อกันเกินสิบห้าวันแล้ว

(๔) ผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวน หรือผู้นั้นถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงภายหลังที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาญาในเรื่องที่สอบสวนนั้น และผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ พิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำพิพากษาถึงที่สุด ได้ความประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการกระทำความผิดอาญาของผู้นั้นเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ข้อ ๔ การสั่งพักราชการตามข้อ ๓ ให้สั่งพักตลอดเวลาที่สอบสวนพิจารณา เว้นแต่กรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ร้องทุกข์คำสั่งพักราชการและผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นว่าคำร้องทุกข์ฟังขึ้น และสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นเนื่องจากพฤติการณ์ของผู้ถูกสั่งพักราชการไม่เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนพิจารณา และไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อไป หรือเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยได้ล่วงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันพักราชการ ยังไม่แล้วเสร็จ และผู้ถูกสั่งพักราชการไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนการสอบสวนพิจารณาเสร็จสิ้นได้

ข้อ ๕ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพถ้าภายในสามสิบวันนับแต่วันที่หน่วยงานการศึกษาของผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพปฏิบัติงานอยู่ได้รับหนังสือแจ้งการพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และผู้บังคับบัญชาหน่วยงานการศึกษานั้น พิจารณาเห็นว่า ผู้นั้นไม่เหมาะสมที่จะเปลี่ยนตำแหน่งหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือผู้นั้นมีความเหมาะสม แต่ไม่อาจเปลี่ยนตำแหน่งหรือย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นได้หรือ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี ไม่อนุมัติ ก็ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สั่งให้ผู้นั้นพักราชการ

ข้อ ๖ การสั่งพักราชการตามข้อ ๕ ให้สั่งพักตลอดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เว้นแต่กรณีที่ผู้ถูกสั่งพักราชการเนื่องจากเหตุ ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ร้องทุกข์ คำสั่งพักราชการและผู้มีอำนาจพิจารณาเห็นว่าคำร้องทุกข์ฟังขึ้นและสมควรสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติ หน้าที่ราชการก่อนกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เนื่องจากมีตำแหน่งอื่นที่ไม่ต้องมี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานการศึกษาพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นมีความเหมาะสม ที่จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ผู้มีอำนาจสั่งพักราชการอาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการก่อนกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้

ข้อ ๗ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนหลายสำนวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา หลายคดี เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้น พนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี

ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้น มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีกเว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ ก็ให้สั่งพักราชการ ในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย

ข้อ ๘ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีเหตุพักราชการตามข้อ ๓ และพักใช้ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามข้อ ๕ ถ้าจะสั่งพักราชการให้สั่งพักทุกสำนวนและทุกคดี ในกรณีที่ได้สั่งพักราชการในสำนวนใดหรือคดีใดไว้แล้ว ภายหลังปรากฏว่าผู้ถูกสั่งพักราชการนั้น มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวนในสำนวนอื่น หรือถูกฟ้อง คดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาในคดีอื่นเพิ่มขึ้นอีก เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือผู้ที่ถูกฟ้องนั้นพนักงานอัยการรับเป็นทนายแก้ต่างให้ หรือมีกรณี

ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ก็ให้สั่งพักราชการ
ในสำนวนหรือคดีอื่นที่เพิ่มขึ้นนั้นด้วย

ข้อ ๙ การสั่งพักราชการหรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ห้ามมิให้สั่งย้อนหลังไปก่อน วันออกคำสั่ง เว้นแต่
(๑) ผู้ซึ่งจะถูกสั่งพักราชการหรือจะถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนอยู่ในระหว่างถูกควบคุม หรือขังโดยเป็นผู้ถูกจับในคดีอาญา หรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษา การสั่งพักราชการหรือการสั่ง ให้ออกจากราชการไว้ก่อนในเรื่องนั้นให้สั่งย้อนหลังไปถึงวันที่ถูกควบคุม ขัง หรือต้องจำคุก

(๒) ในกรณีที่ได้มีการสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนแล้ว ถ้าจะต้องสั่งใหม่ เพราะคำสั่งเดิมไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ให้สั่งพักหรือสั่งให้ออกตั้งแต่วันให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามคำสั่งเดิม หรือตามวันที่ควรต้องพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนในขณะที่ออกคำสั่งเดิม

ข้อ ๑๐ คำสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนต้องระบุชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกสั่งพักหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งให้พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเมื่อได้มีคำสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนแล้ว ให้แจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมทั้งส่งสำเนาคำสั่งให้ด้วยโดยพลัน ในกรณีที่ผู้ถูกพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนไม่ยอมลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งแต่ได้มีการแจ้งคำสั่งให้ผู้นั้นทราบพร้อมกับมอบสำเนาคำสั่งให้ผู้นั้น รวมทั้งทำบันทึกลงวัน เดือน ปี

เวลาและสถานที่ที่แจ้ง และลงลายมือชื่อผู้แจ้งพร้อมทั้งพยานรู้เห็นไว้เป็นหลักฐานแล้ว ให้ถือวันที่แจ้งนั้น
เป็นวันที่ผู้นั้นได้รับทราบคำสั่ง

ในกรณีที่ไม่อาจแจ้งให้ผู้ถูกพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งได้โดยตรง แต่ได้มีการแจ้งเป็นหนังสือส่งสำเนาคำสั่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปให้ผู้นั้น ณ ที่อยู่ของผู้นั้น ซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ โดยส่งสำเนาคำสั่งไปให้สองฉบับเพื่อให้ผู้นั้นเก็บไว้หนึ่งฉบับ และให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อและวัน เดือน ปีที่รับทราบคำสั่งส่งกลับคืนมาเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ในกรณีเช่นนี้เมื่อล่วงพ้นสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏในใบตอบรับทางไปรษณีย์ลงทะเบียนว่าผู้นั้นได้รับเอกสารดังกล่าวหรือมีผู้รับแทนแล้ว แม้ยังไม่ได้รับสำเนาคำสั่งฉบับที่ให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อแลวัน เดือน ปีที่รับทราบคำสั่งกลับคืนมา ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับทราบคำสั่งให้พักราชการ
หรือคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้นแล้ว

ข้อ ๑๑ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการและผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ พิจารณาเห็นว่าการสอบสวนพิจารณา หรือการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ ๓ นั้นจะไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว ผู้มีอำนาจดังกล่าวจะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้

ข้อ ๑๒ เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีเหตุที่อาจถูกสั่งพักราชการตามข้อ ๕ เป็นเวลาเกินหนึ่งปี ผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ อาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนก็ได้

ข้อ ๑๓ ให้นำความในข้อ ๔ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับกับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนโดยอนุโลม

ข้อ ๑๔ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการไว้แล้ว หากผู้มีอำนาจตามข้อ ๒ พิจารณาเห็นว่ามีเหตุตามข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๒ จะสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนอีกชั้นหนึ่งก็ได้

ข้อ ๑๕ ในกรณีที่จะสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อ ๑๔ ให้สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตั้งแต่วันพักราชการเป็นต้นไป

ข้อ ๑๖ การสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าออกจากราชการไว้ก่อน ให้ดำเนินการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งนับแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน

ข้อ ๑๗ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาเป็นประการใดแล้วให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสี่
หรือมาตรา ๑๓๔ แล้วแต่กรณี

(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ แล้วแต่กรณี ในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิมหรือตำแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะ แล้วให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง หรือมาตรา ๑๓๔ แล้วแต่กรณี

(๓) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการได้เนื่องจาก ผู้ถูกสั่งพักราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการแล้ว หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องพ้นจาก ราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น แล้วแต่กรณี ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษตามมาตรา ๑๐๒ โดยไม่ต้องสั่ง ให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ และสำหรับผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ


(๔) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งงดโทษตามมาตรา ๑๐๒ แล้วสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ

(๕) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งยุติเรื่อง และสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิมหรือตำแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะ

(๖) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย และไม่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการได้ เนื่องจากผู้ถูกสั่งพักราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น แล้วแต่กรณี ก็ให้สั่งยุติเรื่อง และสำหรับผู้ที่ถูกสั่ง

ให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(๗) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิดวินัย แต่มีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๑๘ เมื่อได้สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดพักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อ ๕ หรือข้อ ๑๒ ถ้าภายหลังปรากฏผลการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นประการใด หรือพ้นกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่มีกรณี จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ แล้วแต่กรณี ในตำ แหน่งและวิทยฐานะเดิมหรือตำแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะ
(๒) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นยังคงเป็นผู้ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไปและไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้เป็นไปตามข้อ ๕ หรือข้อ ๑๒ แล้วแต่กรณี

(๓) ในกรณีที่ปรากฏว่าพ้นกำหนดเวลาที่ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว และไม่มีกรณีที่จะต้องออจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้สั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
(๔) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้หรือพ้นกำหนดเวลาถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว และไม่มีกรณีที่จะต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น แต่ไม่อาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการได้ เนื่องจากผู้ถูกสั่งพักราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์และได้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว หรือผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ซึ่งจะต้องพ้นจากราชการเมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น แล้วแต่กรณีก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำหรับกรณีผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนเพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

(๕) ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นั้นไม่เป็นผู้ถูกพักใช้ หรือพ้นกำหนดเวลาถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว แต่มีกรณีต้องออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามเหตุนั้นโดยไม่ต้องสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ
ข้อ ๑๙ คำสั่งพักราชการ คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือคำสั่งให้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ ต้องทำเป็นหนังสือระบุชื่อ ตำแหน่ง และวิทยฐานะของผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน หรือผู้กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือกลับเข้ารับราชการ ตลอดจนกรณีและเหตุที่สั่งดังกล่าว โดยให้มีสาระสำคัญตามแบบ พ. ๑ พ. ๒ พ. ๓ พ. ๔ หรือ พ. ๕ แล้วแต่กรณีท้ายกฎ ก.ค.ศ. นี้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ศาสตราจารย์สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธาน ก.ค.ศ.

ที่มา: มติชนออนไลน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เทียบ ทักษิณ-จอมพลป.-สฤษดิ์ วิเคราะห์จุดต่าง นิติราษฎร์-คณะราษฎร !!?



นับจากปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475

วันนี้วงล้อประวัติศาสตร์การเมืองไทยหมุนมาบรรจบครบ 80 ปี

"รศ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" แยกแยะความเหมือน-ความต่าง การเมืองไทยช่วงก่อนและหลัง 2475 กับ 2555 ในเชิงตรรกะทางประวัติศาสตร์ ในวันที่กลุ่มเจ้านายครั้งอดีตถูกลดบทบาท และมีกลุ่มทุนขนาดยักษ์เข้ามาแทนที่

เขายังเปรียบเทียบความเด็ดขาดของ "ทักษิณ" คล้าย 2 ผู้นำเผด็จการ คือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" และ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" ไว้อย่างน่าสนใจ

- ปรากฏการณ์ทางการเมืองก่อนและหลังเปลี่ยนแปลง 2475 กับปัจจุบันเหมือนหรือคล้ายกันอย่างไร
ผมคิดว่าความต่างกันมันมีมากกว่า โดยเฉพาะตัวโครงสร้างของสถาบันการเมืองและโครงสร้างของการปกครอง เรื่องใหญ่ที่สุดก่อน 2475 ประเทศปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นทั้งประมุขของรัฐ และเป็นประมุขฝ่ายบริหารในเวลาเดียวกัน แต่หลัง 2475 พระองค์เป็นประมุขของรัฐเพียงอย่างเดียว พระองค์ท่านปลอดจากการเมืองเชิงบริหาร การตัดสินใจเป็นของนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนตัดสินใจ นี่คือบริบทที่ต่างกันมาก

- จุดโดดเด่นในช่วงก่อน 2475 กลุ่มเจ้านายมีบทบาทอย่างสูง แต่ตอนนี้กลุ่มเจ้านายแทบไม่มีบทบาท
(สวนทันที) แน่นอนคุณก็เห็นชัด กลุ่มเจ้านายเดี๋ยวนี้เป็นกลุ่มที่เล็กมาก เพราะว่าเจ้านายไม่มีบทบาทในเชิงบริหารอีกแล้ว เหลนของสมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ (ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล) เป็นแค่

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เหลนของกรมพระยาดำรงฯ คนก่อตั้งกระทรวงมหาดไทยแท้ ๆ เดี๋ยวนี้ยังเป็นแค่เบี้ยตัวหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นปลัดกระทรวงด้วย รมว.มหาดไทยก็ไม่ใช่ด้วย มาจากฝ่ายการเมือง ธุรกิจการเมืองทั้งหมดแล้ว

- มีคนพูดถึงโครงสร้างกลุ่มอำนาจในปัจจุบันว่าเป็นกลุ่มอำมาตย์ เป็นผู้มีบารมีอยู่นอกรัฐบาลเสมอ
นักประวัติศาสตร์ตีความเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือปีกหนึ่งเชื่อว่าประวัติศาสตร์มีกฎของมัน เมื่อมีพระเจ้าวางแผนการของมันแล้วว่าประวัติศาสตร์จะไปอย่างไร ประวัติศาสตร์มันต้องคลี่คลายไปตามจังหวะจะโคนของมัน แต่ประวัติศาสตร์อีกสกุลหนึ่งต้องมองว่าประวัติศาสตร์มีเหตุการณ์เฉพาะ มีวิวัฒนาการในส่วนของมันเอง

และไม่ซ้ำกันเลย เมื่อมันจบเหตุการณ์ไปแล้วมันก็จบไปเลย เช่น การปฏิวัติ 2475 มันจบไปแล้วก็คือจบไปเลย

แต่บางคนพยายามจะบอกว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นมันไม่จบ เพราะมัน

ยังมีบางเรื่องที่ยังทำไม่เสร็จ ซึ่งผมไม่เห็นด้วย

- กลุ่มนิติราษฎร์มีลักษณะเชื่อมโยงให้มีบริบทที่คล้ายกลุ่มคณะราษฎรกับในอดีต
นั่นเป็นสิ่งที่พูดตรง ๆ ว่าผมเห็นต่าง กลุ่มพวกนี้เชื่อว่าประวัติศาสตร์มันยัง

ไม่จบ เพราะว่ายังทำเรื่องนั้นเรื่องนี้

ไม่เสร็จ นี่คือการตีความสายหนึ่งทางประวัติศาสตร์ ที่เขาพยายามเชื่อมโยงเพราะต้องการให้เกิดพลัง

- คณะนิติราษฎร์ กับความเคลื่อนไหวในรัฐสภาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คิดว่าสองภาพนี้ต่อกันได้หรือไม่
มันต่อกันได้หรือไม่ คงต้องดูการเคลื่อนไหวนับจากนี้เป็นต้นไป โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. แต่ผมเข้าใจว่าพรรคเพื่อไทยเขามีแผนการของตัวเอง รัฐบาลคงไม่ต้องการแก้ไขให้มันยุ่งมากมาย ผมคิดว่าคณะนิติราษฎร์มีกรอบที่กว้างใหญ่กว่าวัตถุประสงค์ของแกนนำพรรคเพื่อไทย หรือนักการเมืองในสภา เพราะฉะนั้นมันจะเชื่อมโยงกันหรือไม่ อยู่ที่การจัดตั้ง ส.ส.ร. และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

- มองในกรอบปรากฏการณ์การเมือง ขณะนี้ต่างจากอดีตอย่างไร
มันต่างไปอย่างสิ้นเชิง กลุ่มเจ้านายมันไม่มีอำนาจหรือพลังที่จะกำหนดทิศทางเชิงกลไกทางบริหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงบริหารประเทศเอง ผมคิดว่าเรื่องใหญ่ที่เมืองไทยเปลี่ยนโฉมหน้าไปก็คือนักธุรกิจ คนชั้นกลางในเมืองในกรุงเทพฯ มันมีมหาศาล จึงทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไป ส่วนกลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างที่เติบโตมาในเขตชนบท ก็ผันตัวมาเป็นนักการเมือง เรามีนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งในสมัยก่อนไม่มี

- ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็นทศวรรษของทักษิณหรือเป็นทศวรรษของอะไร
เป็นการเผชิญหน้ากันของค่านิยมสองชุดใหญ่ คือ ค่านิยมของรัฐไทยที่เติบโตมาจากระบบราชการไทย มีขั้นตอน กฎเกณฑ์ หรือมารยาท กับอีกค่านิยมหนึ่งที่เติบโตมาจากกลุ่มทุน หรือกลุ่มธุรกิจซึ่งต้องการความรวดเร็ว ต้องการความคล่องตัว ต้องการประสิทธิภาพในผลสุดท้าย โดยไม่ต้องสนใจวิธีการ ค่านิยมสองชุดนี้เผชิญหน้ากัน คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินรอยตามนี้ เพราะเขามาจากภาคธุรกิจ

- จะทำอย่างไรให้นักธุรกิจปรับตัวเข้ากับค่านิยมในระบบการเมืองไทย
คุณยิ่งลักษณ์ก็เรียนรู้หลายเรื่อง หรือแม้กระทั่งคุณทักษิณจะมีวุฒิภาวะมากขึ้นพอสมควรว่าอะไรจะได้เร็ว อะไรจะได้ช้า อะไรจะทุบโต๊ะเอาได้ อันไหนควรจะแบ่งปันคนอื่น

- ในประวัติศาสตร์ นักการเมืองคนไหนมีอิทธิพลแบบคุณทักษิณ
มันก็มีนะ แต่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองที่ก้าวกระโดด เช่น จอมพล ป. เป็นผู้นำม้ามืดที่ขึ้นมาในปี 2481 เด็ดขาดตัดสินใจรวดเร็ว เปลี่ยนชื่อประเทศ ประกาศเอาดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ตอนนั้นวุ่นวายไปหมด ร่วมรบสงครามโลกกับประเทศญี่ปุ่นอีก โอ้โห...ยิ่งวุ่นวายอีก

จอมพลสฤษดิ์เองก็เป็นม้ามืด ผู้นำม้ามืดในอดีต ไม่ว่าจะเป็นจอมพล ป. หรือจอมพลสฤษดิ์ ส่วนใหญ่จะมีอำนาจทางการเมืองอย่างเดียว เขาไม่ได้ร่ำรวย ผมว่าคุณทักษิณมีคุณสมบัติพิเศษ นอกจากจะมีอำนาจทางการเมืองแล้วยังมีกำลังทรัพย์อันมหาศาล

- หากเทียบคุณสมบัติระหว่างจอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ และทักษิณ มีอะไรที่เหมือนหรือต่างกัน
ความเด็ดขาดที่เหมือนกัน ทั้ง 3 คนมีความคิดความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนประเทศไทย จอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ และคุณทักษิณก็มีความมุ่งมั่นว่าประเทศไทยที่เป็นมาแต่เดิมมันใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไป อย่างจอมพลสฤษดิ์เขาใช้อำนาจเผด็จการไม่ต้องแคร์ใครอยู่แล้ว เปลี่ยนประเทศไทยจากหน้ามือเป็นหลังมือ อย่าลืมว่าจอมพลสฤษดิ์เปลี่ยนประเทศไทยไปมหาศาล

- จอมพล ป.กับคุณทักษิณตัดสินใจเด็ดขาดเหมือนกัน ทำให้ทั้ง 2 คนประสบปัญหาทางการเมืองกัน
ก็มีอยู่ ปัญหาของผู้นำที่ใช้อำนาจเด็ดขาดต้องเผชิญหน้าอยู่คือ ปัญหากับผู้ร่วมงานเอง จอมพล ป.มีเรื่องระหองระแหงกับคณะราษฎรทั้งหมด อ.ปรีดีก็แยกไปตั้งวงอื่น คุณทักษิณก็มีปัญหาเหมือนกัน พรรคไทยรักไทยตอนที่รุ่งเรืองที่สุด คุณทักษิณดูใหญ่มาก แต่พอตอนทักษิณสมัยที่สอง คุณทักษิณเหลือคนใกล้ชิดอยู่ 3-4 คน คนอื่น ๆ เขาหนีหมดแล้ว

- รัฐบาลเสียงข้างมาก บวกแนวร่วมมวลชนทั้งในและนอกสภา บวกกับแนวร่วมกลุ่มธุรกิจเสียงข้างมากจะลากประเทศไทยไปทางไหน
ผมตอบไม่ได้นะ แต่คงลากไปอีกสักพักหนึ่ง ตัวที่ทำให้คลายมีความเป็นไปได้สองอย่างคือ 1.การแตกขั้วของมันเอง อาจเป็นเพราะอุดมการณ์และผลประโยชน์ขัดกัน 2.การเกิดพลังของขั้วใหม่ ประทานโทษผมอยากเห็นพรรคประชาธิปัตย์ปรับตัวมากกว่านี้สักนิดหนึ่งก็อาจเป็นตัวเลือก อยากเห็นพรรคการเมืองใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากกว่านี้ หากเมืองไทยมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งกว่านี้ เราก็อาจมีพรรคแรงงานจริง ๆ เสียที เพราะความรู้สึกของประชาชนอ่อนไหว อย่าคิดว่าผู้ออกเสียงเลือกตั้งเปลี่ยนใจไม่ได้

ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

DSIจ่อสรุปตาย 91ศพย้ำมีคนผิด !!?

ดีเอสไอเตรียมแถลงสรุปคดีการตาย 91 ศพ ช่วงสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเร็วๆนี้ แย้มมีนักการเมืองระดับสั่งการต้องรับผิดชอบกับเรื่องที่เกิดขึ้น “ถวิล” ระบุคดีที่จะส่งฟ้องศาลต้องชี้ชัดสาเหตุการตายแต่ละศพว่าเกิดจากระงับเหตุโดยประมาท เจตนาฆ่า หรืออุบัติเหตุ ย้ำแม้มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุ้มครอง แต่ทำเกินกว่าเหตุไม่ได้ และต้องให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย

+++++++++

นายสุชาติ ลายน้ำเงิน รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ว่าดีเอสไอได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการตาย 91 ศพ ระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553แล้ว จะแถลงให้ทราบอย่างเป็นทางการในเร็วๆนี้ ซึ่งนักการเมืองที่เป็นผู้สั่งการต้องรับผิดชอบด้วย

“แนวทางการสอบสวนหลักฐานต่างๆชี้ชัดว่ามีการเสียชีวิต 91 ศพจริง มีการยิงจากอาวุธปืนจริง ซึ่งจะต้องดำเนินการไปตามกระบวนการกฎหมายที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะนักการเมืองที่เคยประกาศว่าจะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”

นายถวิล เปลี่ยนศรี ในฐานะอดีตเลขานุการ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กล่าวว่า การสืบสวนสอบสวนคดีทำมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีความคืบหน้าตามสมควร แต่เมื่อมาถึงรัฐบาลปัจจุบันจึงได้ข้อสรุปที่ว่า อาจมีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต

“คดีที่จะส่งสำนวนฟ้องต้องมีการระบุสาเหตุการเสียชีวิตให้ชัด ซึ่งการเสียชีวิตก็มีทั้งฝ่ายผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่รัฐ และสื่อมวลชน เช่น เกิดจากการระงับเหตุโดยประมาท หรือเจตนาฆ่าประชาชน หรือโดยอุบัติเหตุ เป็นต้น เพราะแม้ในการปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐได้รับการคุ้มครองจาก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ถ้ากระทำการโดยประมาทอย่างร้ายแรง หรือเจตนาฆ่าผู้ชุมนุม หรือแม้แต่กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนมีอาวุธ ย่อมต้องมีกระบวนการตรวจสอบ และให้ความเป็นธรรมทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่าย”

ที่มา:หนังสือพิมพ์โลกวันนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปชป.เล่นไม่เลิก โยงข้อมูล ยกโต้ง-เศรษฐา หุ้นส่วนธุรกิจ !!?

ปชป.เล่นไม่เลิก โยงข้อมูล ยก “โต้ง-เศรษฐา” หุ้นส่วนธุรกิจ ส่งว.5โฟร์ซีซั่นผลประโยชน์ทับซ้อน

นายอรรถพร พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี นางสุพัชรี ธรรมเพชร ส.ส.พัทลุง น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล ในฐานะทีมรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงข้อสังเกต น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากกรณีพบนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น โดยนายอรรถพร กล่าวว่า ยังมีข้อสงสัยว่าวงหารือดังกล่าว มีการคุยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นได้มีตัวละครที่น่าสนใจคือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทวงการคลัง เพราะได้ยอมรับว่าร่วมพูดคุยด้วย อีกทั้งข้อมูลจาก “สำนักข่าวอิศรา” ระบุว่า มีการเชื่อมโยงกันระหว่างนายกิตติรัตน์ กับนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้บริหารบริษัทแสนสิริ เพราะทั้ง2 รายได้ถือหุ้นในบริษัทเดียวกันอย่างน้อย 3 บริษัทคือ1.บริษัทคาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ 2.บริษัทเอซี.ซีเนียร์ จำกัด 3.บริษัทรัตนโกสินทร์ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด ทั้งนี้ทั้ง 3 บริษัทเป็นบริษัทที่นายกิตติรัตน์ ถือหุ้นมากที่สุด และเมื่อนำหุ้นของนายเศรษฐาและนายกิตติรัตน์ถือหุ้นร่วมกัน ถือว่าเป็นจำนวนหุ้นเกือบทั้งหมด นั่นหมายถึงว่าทั้งสองเป็นเจ้าของบริษัท มีความสัมพันธ์ในเชิงธุรกิจ และน่าจะได้รับประโยชน์จากการหารือครั้งดังกล่าว

น.ส.มัลลิกา กล่าวว่า อยากให้นายกฯมาชี้แจงเรื่องนี้ด้วยตัวเอง และในวันพรุ่งนี้ (1 มี.ค.) พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นกระทู้ถามสด และอยากให้นายกฯมาชี้แจงด้วยตัวเอง โดยอย่าบ่ายเบี่ยงข้อสงสัยหรือมอบให้รองนายกฯชี้แจงแทน เหมือนที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลที่ทีมรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์นั้น นำมาจากสกู๊ปข่าวที่มีชื่อว่า “เปิดหลักฐาน “กิตติรัตน์” หุ้นส่วน “แสนสิริ”-บิ๊กอสังหาฯ โยงปม “ปู ว.5” โฟร์ซีซันส์?” ในเว็ปไซต์สำนักข่าวอิศรา

เตรียมดันกระทู้ถามจริยธรรม “ปู” ว.5
นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงกรณีการตั้งกระทู้ถามสดในวันที่ 1 มี.ค. ว่า กรณีการตั้งกระทู้ถามเรื่องภารกิจว .5ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีน.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถามนั้น ทางวิปฝ่ายค้านจะต้องมีการหารือกับประธานสภาฯ ก่อนว่ากระทู้ดังกล่าวได้ตกไปตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.ไปแล้วหรือยัง ซึ่งทางวิปฝ่ายค้านเห็นว่าคงจะต้องมีการถกเถียงเรื่องนี้ในห้องประชุมสภาฯ เพราะคาดว่าประธานสภาฯ คงจะอ้างว่ากระทู้ดังกล่าวได้วินิจฉัยให้ตกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางวิปจะมีการเตรียมยื่นกระทู้ถามสดสำรองไว้ ซึ่งจะเป็นหัวข้อของเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่เนื้อหาที่จะถามก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับว.5 เหมือนเดิม

ส่วนการยื่นกระทู้ถามสดกรณีของ ร.ต.อ.เฉลิม นั้น นายบุญยอด กล่าวว่า ที่ประชุมของวิปฝ่ายค้านยังคงมีการถกเถียงและยังไม่ได้ข้อสรุป โดยวิปส่วนหนึ่งเห็นว่าเรื่องนี้ได้มีการถ่ายทอดสดให้ประชาชนได้เห็นไปแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องตั้งกระทู้ถามเพื่อให้ร.ต.อ.เฉลิมได้มีโอกาสมาแก้ตัวอีก และบางส่วนเห็นว่าควรจะตั้งกระทู้ถามสดในเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาปากท้องของประชาชน เรื่องของราคาสินค้าแพง น้ำมันแพง หรือเรื่องของการขึ้นค่าแรง 300 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจ ทั้งนี้ คงต้องรอข้อสรุปของวิปฝ่ายค้านในช่วงเช้าของวันที่ 1 มี.ค. อีกครั้งหนึ่ง

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++