จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ล่าสุดทางคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มีมติเสียงข้างมาก ยืนตามสูตร 375+125 แต่ท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายก ฐานะกมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในสัดส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา เชื่อว่าในการพิจารณาวาระ 2 นั้น อาจเปลี่ยนแปลงสูตร ให้เป็นไปตามความเห็นของผู้ที่เสนอคำแปรญัตติ ตาม สูตร ส.ส.ระบบเขต 400 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรค ภาคใต้ ให้สัมภาษณ์ว่าหากเสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภาเห็นด้วยตามสูตรใหม่ที่ 400+100 พรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะยอมรับในมติของสมาชิกรัฐสภา เพราะขณะนี้ต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์ถึงแม้จะเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลก็ไม่สามารถคุมเสียงข้างมากของที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. และส.ว.ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากเป็นเช่นนั้นอาจสะท้อนความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลชัดเจน นายวิทยา กล่าวว่า ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา เพราะทุกวันนี้ก็มีหลายเรื่องที่พรรคร่วมรัฐบาลขัดแย้งกัน อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่าจะไม่ทำให้เกิดปัญหา
เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายฯ ฐานะเลขาธิการพรรค จะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงสังสรรค์กับพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งคาดการณ์ว่าจะหาข้อยุติเรื่องแก้รัฐธรรมนูญด้วย นายวิทยา กล่าวว่า ตนเชื่อว่าการหารือเรื่องแก้รัฐธรรมนูญคงจะนำไปหารือในโอกาสอื่นมากกว่า ส่วนงานเลี้ยงสังสรรค์นั้นเป็นงานรื่นเริงที่ทำเป็นประจำก่อนที่จะเปิดสมัยประชุมสภาฯ
ด้านนายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเช่นเดียวกันว่าพร้อมจะยอมรับในเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมรัฐสภา อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังมีหลายฝ่ายสับสนว่าการแก้ไขเรื่องจำนวน ส.ส.ให้เป็นสูตร 375+125 นั้นพรรคประชาธิปัตย์มีความได้เปรียบทางการเมือง ตนขอชี้แจงว่าสูตร 375+125 นั้นในส่วนของส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่เพิ่มขึ้นเป็น 125 คน เป็นการสร้างโอกาสทางการเมือง ให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น
“ส่วนสูตร 400+100 ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ 40 ที่ผ่านมาได้สร้างปัญหาทางการเมือง จึงเกิดการแก้ไขให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 แต่หากรัฐสภาจะแก้ไขโดยกลับไปใช้สูตรรัฐธรรมนูญ 2540 อีก ผมก็เป็นห่วงว่าบ้านเมืองจะซ้ำรอยปัญหาเดิม ส่วนทิศทางความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์นั้น เชื่อว่าจะยึดตามร่างแก้ไขของคณะรัฐมนตรี แต่หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นไปตามหลักการเดิมที่สมาชิกรับเข้าสู่การพิจารณา พรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อมจะยอมรับ”
ที่มา.เนชั่น
วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554
การใช้คนต้องให้ถูกกับงาน!
ปราชญ์ซุนวู กล่าวว่า “หลักการยุทธโดยมิพักต้องทำลายเมือง นับว่าเป็นวิธีที่ประเสริฐยิ่ง รองลงมา คือการหักเอาโดยไม่ทำลายกองพล รองลงมาคือการเอาชนะโดยไม่ทำลายกองพัน เลวกว่านั้นต้องก็อย่าให้ต้องถึงทำลายกองร้อยหรือหมวดหมู่”
ชนะโดยไม่ต้องรบจึงถือเป็นวิธีการอันวิเศษสุด...อยากชนะโดยไม่ต้องรบมันต้องเดินเป็นเล่นถูก
ปัญหาชายแดนไทยเขมรก็เช่นกัน เดินไม่เป็นเล่นไม่ถูกรังแต่จะเป็นการชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีน่าจะต้องพิจารณาใหม่แล้วล่ะ
ไอ้ที่ใช้ให้ทำงานด้านนี้...ใช้คนได้ตรงงานหรือไม่ ??
ลิ้นการทูต..กับลิ้นขี้ทูด ....มันคนละเรื่องกันไม่ใช่หรือ ??
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
นักการเมืองไทย !!
ไม่ต้องไปเอกซเรย์ให้รู้เช่นเห็นชาดให้เมื่อยตุ้ม...บทบาทเปลี่ยนคนก็ต้องเปลี่ยนแหงแซะ...เมื่อตอนเป็นฝ่ายค้าน “มาร์คไขสือ”อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพลพรรคก็รุมยำโครงการประชานิยมต่างๆเสียเละเป็นโจ๊ก
พอบุญมาวาสนาส่งได้เป็นรัฐบาลก็เป็นอภิสิทธิ์ลืมคำไปซะดื้อๆ เดินนโยบายประชานิยมเสียสุดลิ่มทิ่มตำอย่างที่เห็นๆ
หรือว่ามันเป็นธรรมชาติของนักการเมืองไทย...เมื่อเป็นฝ่ายค้านก็หลับหูหลับตาค้าน
พอพลิกขั้วมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ยอมฟังคำติติงจากฝ่ายค้าน..แม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องที่ดีก็ตาม
อะไรที่ทำแล้วประชาชนประเทศชาติได้ประโยชน์ก็เร่งมือทำไป ไม่ว่ากัน
แล้วที่มีเสียงครหาว่าเอาเงินภาษีของประชาชนมาซื้อเสียงเชิงนโยบายนั้น...ประชาวิวัฒน์คงไม่ใช่นะ ???
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
เก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา ??
คงจะปราบทุจริตในวงราชการหมดแล้ว !! ป.ป.ช.ถึงได้ไอเดียกระฉูด เสนอให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีจากโรงเรียนกวดวิชา
ในเมื่อการศึกษาที่จัดให้ในระบบไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร..ขนขวายหาวิชาความรู้มาเพิ่มแม้ต้องเสียเงินเสียทองเพิ่มก็ต้องยอม
นี่ขืนรัฐบาลมาจัดเก็บภาษีจากโรงเรียนกวดวิชาอีก...ภาระภาษีก็ต้องถูกผลักมายังนักเรียนอย่างแน่นอน
ชินวรณ์ บุญยเกียรติ เสมา 1 จะคิดอ่านทำอะไรให้มันเข้าท่าเข้าทีดีกว่าขึ้นฟิวเจอร์บอร์ดหราเพื่อโฆษณาว่าไม่ใช้รัฐมนตรีที่โลกลืมก็เร่งมือทำได้แล้ว
การศึกษาในโรงเรียนตามปกติดีแล้ว...แมวที่ไหนจะแส่ไปเสียเงินอีก
สำนวนไต่สวนต่างๆในส่วนของป.ป.ช.ก็ค้างอยู่บานเบอะไม่ใช่หรือ ???
สะสางสำนวนน่าจะดีกว่าจะมาวุ่นกับเรื่องจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเป็นไหนๆนะ???
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
อะไรไม่ว่าขอให้ได้เสนอเสนอหน้าเป็นพอใจ!
เรื่องของมนุษย์พันธุ์พิเศษ...ฉกฉวยอะไรที่ได้มีโอกาสเสนอหน้าเป็นทำหมด...รกหูรกตาตามข้างถนนรนแคมก็ป้ายประชาสัมพันธ์ของนักการเมือง...ทั้งส่งความสุขปีใหม่และประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆ
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าประชาชนธรรมดาเขาทำบ้าง...กรมทางหลวงกับ กทม.จะทำเฉยอย่างนี้หรือไม่ ??
ล่าสุดแค่จะกำจัดยุ่งลาย...ส.ส.กทม.บางพรรคก็ขึ้นชื่อขึ้นรูปหรา
มองให้ทะลุปรุโปร่งผ่านป้าย....พินิจอีกสักหน่อย...ประชาชนคนเป็นเจ้าของประเทศคงพอรู้ว่าอะไรเป็นอะไรและควรจะทำอย่างไรต่อไปกับคนพวกนี้ !!!
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
ประชาวิวัฒน์!
นอกจากจะลดแลกแจกแถมแล้ว...ประชาวิวัฒน์ของ”มาร์คไขสือ” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีข้อเฆี่ยนให้มีการลดอาชญากรรมลงอีกร้อยละยี่สิบ
ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เลิกทุจริตคอร์รัปชั่นอาชญากรรมมันก็ลดเองนั่นแหละ
อาชญากรรมมันจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ความต้องการและโอกาส...ตำรวจทำได้ก็แค่ลดโอกาสในการประกอบอาชญากรรมเท่านั้นแหละ
ไอ้เรื่องตัดความต้องการในการประกอบอาชญากรรมคงทำได้ยาก...อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ให้ตำรวจลดอาชญากรรมโดยรัฐบาลไม่เร่งรัดในส่วนอื่นก็แล้วกัน เดี๋ยวผักชีโรยหน้า...ตัวเลขแหกตาก็โผล่กันมาสลอน
เพราะที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ตำรวจก็รับคดีที่ปรากฏเป็นตัวเลขแค่สามสิบเปอร์เซ็นเท่านั้นไม่ใช่หรือ ??
อยากรู้เรื่องจริง...เรียก พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี ผบ.ตร.มาถามไถ่บ้างก็ได้
ระวังอาจได้ยิน ผบ.ตร.คิดออกมาดังๆก็ได้ว่า “พวกเองเลิกยุ่งกับการแต่งตั้งเมื่อไหร่ อะไรๆก็จะดีไปเองนั่นแหละ” ก็ได้นะ..??
----------------------------------------------------------
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยใต้ฟ้า,บางกอกทูเดย์
ชนะโดยไม่ต้องรบจึงถือเป็นวิธีการอันวิเศษสุด...อยากชนะโดยไม่ต้องรบมันต้องเดินเป็นเล่นถูก
ปัญหาชายแดนไทยเขมรก็เช่นกัน เดินไม่เป็นเล่นไม่ถูกรังแต่จะเป็นการชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีน่าจะต้องพิจารณาใหม่แล้วล่ะ
ไอ้ที่ใช้ให้ทำงานด้านนี้...ใช้คนได้ตรงงานหรือไม่ ??
ลิ้นการทูต..กับลิ้นขี้ทูด ....มันคนละเรื่องกันไม่ใช่หรือ ??
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
นักการเมืองไทย !!
ไม่ต้องไปเอกซเรย์ให้รู้เช่นเห็นชาดให้เมื่อยตุ้ม...บทบาทเปลี่ยนคนก็ต้องเปลี่ยนแหงแซะ...เมื่อตอนเป็นฝ่ายค้าน “มาร์คไขสือ”อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพลพรรคก็รุมยำโครงการประชานิยมต่างๆเสียเละเป็นโจ๊ก
พอบุญมาวาสนาส่งได้เป็นรัฐบาลก็เป็นอภิสิทธิ์ลืมคำไปซะดื้อๆ เดินนโยบายประชานิยมเสียสุดลิ่มทิ่มตำอย่างที่เห็นๆ
หรือว่ามันเป็นธรรมชาติของนักการเมืองไทย...เมื่อเป็นฝ่ายค้านก็หลับหูหลับตาค้าน
พอพลิกขั้วมาเป็นรัฐบาลก็ไม่ยอมฟังคำติติงจากฝ่ายค้าน..แม้บางเรื่องจะเป็นเรื่องที่ดีก็ตาม
อะไรที่ทำแล้วประชาชนประเทศชาติได้ประโยชน์ก็เร่งมือทำไป ไม่ว่ากัน
แล้วที่มีเสียงครหาว่าเอาเงินภาษีของประชาชนมาซื้อเสียงเชิงนโยบายนั้น...ประชาวิวัฒน์คงไม่ใช่นะ ???
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
เก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา ??
คงจะปราบทุจริตในวงราชการหมดแล้ว !! ป.ป.ช.ถึงได้ไอเดียกระฉูด เสนอให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีจากโรงเรียนกวดวิชา
ในเมื่อการศึกษาที่จัดให้ในระบบไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร..ขนขวายหาวิชาความรู้มาเพิ่มแม้ต้องเสียเงินเสียทองเพิ่มก็ต้องยอม
นี่ขืนรัฐบาลมาจัดเก็บภาษีจากโรงเรียนกวดวิชาอีก...ภาระภาษีก็ต้องถูกผลักมายังนักเรียนอย่างแน่นอน
ชินวรณ์ บุญยเกียรติ เสมา 1 จะคิดอ่านทำอะไรให้มันเข้าท่าเข้าทีดีกว่าขึ้นฟิวเจอร์บอร์ดหราเพื่อโฆษณาว่าไม่ใช้รัฐมนตรีที่โลกลืมก็เร่งมือทำได้แล้ว
การศึกษาในโรงเรียนตามปกติดีแล้ว...แมวที่ไหนจะแส่ไปเสียเงินอีก
สำนวนไต่สวนต่างๆในส่วนของป.ป.ช.ก็ค้างอยู่บานเบอะไม่ใช่หรือ ???
สะสางสำนวนน่าจะดีกว่าจะมาวุ่นกับเรื่องจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเป็นไหนๆนะ???
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
อะไรไม่ว่าขอให้ได้เสนอเสนอหน้าเป็นพอใจ!
เรื่องของมนุษย์พันธุ์พิเศษ...ฉกฉวยอะไรที่ได้มีโอกาสเสนอหน้าเป็นทำหมด...รกหูรกตาตามข้างถนนรนแคมก็ป้ายประชาสัมพันธ์ของนักการเมือง...ทั้งส่งความสุขปีใหม่และประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆ
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าประชาชนธรรมดาเขาทำบ้าง...กรมทางหลวงกับ กทม.จะทำเฉยอย่างนี้หรือไม่ ??
ล่าสุดแค่จะกำจัดยุ่งลาย...ส.ส.กทม.บางพรรคก็ขึ้นชื่อขึ้นรูปหรา
มองให้ทะลุปรุโปร่งผ่านป้าย....พินิจอีกสักหน่อย...ประชาชนคนเป็นเจ้าของประเทศคงพอรู้ว่าอะไรเป็นอะไรและควรจะทำอย่างไรต่อไปกับคนพวกนี้ !!!
xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
ประชาวิวัฒน์!
นอกจากจะลดแลกแจกแถมแล้ว...ประชาวิวัฒน์ของ”มาร์คไขสือ” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีข้อเฆี่ยนให้มีการลดอาชญากรรมลงอีกร้อยละยี่สิบ
ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เลิกทุจริตคอร์รัปชั่นอาชญากรรมมันก็ลดเองนั่นแหละ
อาชญากรรมมันจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ความต้องการและโอกาส...ตำรวจทำได้ก็แค่ลดโอกาสในการประกอบอาชญากรรมเท่านั้นแหละ
ไอ้เรื่องตัดความต้องการในการประกอบอาชญากรรมคงทำได้ยาก...อย่ากำหนดกฎเกณฑ์ให้ตำรวจลดอาชญากรรมโดยรัฐบาลไม่เร่งรัดในส่วนอื่นก็แล้วกัน เดี๋ยวผักชีโรยหน้า...ตัวเลขแหกตาก็โผล่กันมาสลอน
เพราะที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ตำรวจก็รับคดีที่ปรากฏเป็นตัวเลขแค่สามสิบเปอร์เซ็นเท่านั้นไม่ใช่หรือ ??
อยากรู้เรื่องจริง...เรียก พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิศรี ผบ.ตร.มาถามไถ่บ้างก็ได้
ระวังอาจได้ยิน ผบ.ตร.คิดออกมาดังๆก็ได้ว่า “พวกเองเลิกยุ่งกับการแต่งตั้งเมื่อไหร่ อะไรๆก็จะดีไปเองนั่นแหละ” ก็ได้นะ..??
----------------------------------------------------------
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยใต้ฟ้า,บางกอกทูเดย์
ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ ดอกเตอร์ห้องแถว และดอกเตอร์ประเทศโลกที่สาม
โดย.ชำนาญ จันทร์เรือง
ประเด็นปัญหาของมาตรฐานการศึกษาไทยในปัจจุบันก็คือ การที่เรามีดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ ดอกเตอร์ห้องแถว และดอกเตอร์โลกประเทศโลกที่สามอยู่เกลื่อนเมืองจนแทบจะเดินชน กันตาย ซึ่งไม่รู้ว่าอันไหนจริง อันไหนเสมือนจริงและอันไหนเก๊ ผมในฐานะอาจารย์ในหลักสูตรดอกเตอร์ด้วยกันกับเขาคนหนึ่ง จึงอยากจะร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ดังนี้
ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์
ปัญหาที่ถกเถียงในเรื่องนี้ก็คือว่าคนที่ได้ปริญญาเอกปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ใช้ ดร. นำหน้าชื่อได้หรือเปล่า มีทั้งบอกว่าใช้ได้กับที่บอกว่าใช้ไม่ได้ โดยที่คนที่บอกว่าใช้ได้ให้เหตุผลว่า ก็เขาได้ปริญญาเอกแล้วต้องใช้ได้ซิ ส่วนคนที่บอกว่าไม่ได้ก็ให้เหตุผลว่าเขาไม่ได้จบปริญญาเอก จริง ๆ เป็นการให้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นเกียรติเท่านั้น จึงไม่สมควรที่จะใช้คำว่า “ดอกเตอร์”
คำว่าปริญญากิตติมศักดิ์นั้น มาจากภาษาลาตินว่า honoris causa ad gradum เป็นสิ่งที่ได้จากผลงานที่เกี่ยวกับทางวิชาการ ถือเป็นสิ่งประดับตัวบุคคล เพราะปกติแล้วการจะได้ปริญญาต้องไปสอบเข้าและเรียนเป็นเวลาหลายปี ส่วนปริญญากิตติมศักดิ์มักจะเป็นการให้จากสถาบันศึกษาแก่ผู้รับ โดยปริญญาที่ให้อาจจะเป็นปริญญา ตรี โท หรือเอก ซึ่งที่พบบ่อยสุดคือปริญญาเอก โดยวันรับปริญญาจะเป็นวันที่ทำพิธีกันอย่างเอิกเกริกเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้รับ และมหาวิทยาลัยที่ให้ก็จะได้ประโยชน์ในแง่ที่ได้คนที่มีชื่อเสียงมาเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อออกไปสู่สังคม และ เป็นการเพิ่มเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนแรกที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ คือ Lionel Woodville ปี ๑๔๗๐ ของ Oxford
ปริญญากิตติมศักดินั้นมักจะมอบให้พร้อมกับพิธีประสาทปริญญาโดยทั่วไป และในต่างประเทศผู้รับมักจะได้รับเชิญให้กล่าวคำปราศรัยด้วยในงานรับปริญญาเพื่อแสดงภูมิหรือ “กึ๋น”ของตนเอง ซึ่งการกล่าวคำปราศรัยนี้มักจะเป็นจุดเด่นของงาน โดยปกติแล้วทางมหาวิทยาลัยจะเสนอชือผู้จะได้รับหลายคน ซึ่งชื่อเหล่านี้จะผ่านการกลั่นกรองจากกรรมการมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาความเหมาะสม โดยผู้มีชื่อรับเลือกมักจะไม่ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยได้เสนอชื่อตนเอง จนกว่าจะได้รับเลือกเป็นทางการ และปกติแล้วการเลือกผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์นี้ถือเป็นความลับอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผู้ได้รับกลายเป็นพวกคนดัง เช่น นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจใหญ่ นักแสดง ฯลฯ แทนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเช่นในอดีต
คำว่า ปริญญากิตติมศักดิ์หรือ honorary degree นี้ แท้จริงแล้วเป็นการประสาทหรือให้เป็นตัวปริญญาจริง ๆ ตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งต่างจากปริญญาที่ต้องเรียนมา (earned degree) โดยทางมหาวิทยาลัยยกเว้นการใช้เวลาศึกษาในห้องเรียน วิจัย การต้องเข้าชั้นเรียน หรือ ผ่านการสอบ เพราะผู้ที่ได้รับการยกเว้นที่ว่านี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีชื่อเสียงและเป็นปราชญ์ในสาขานั้นๆ จึงได้รับการยกเว้นตามความต้องการของมหาวิทยาลัย แต่ในปัจจุบันความหมายเดิมค่อยๆเปลี่ยนความหมายไป ปริญญากิตติมศักดิ์กลายเป็นปริญญาที่ไม่เท่ากับปริญญาที่ต้องเรียนต้องสอบมา ซึ่งหมายความว่าของเดิมนั้นให้คนเก่งจริงๆ ฉะนั้น ปริญญากิตติมศักดิ์จึงมีศักดิ์ศรีมาก แต่ปัจจุบันไม่ได้มีความหมายเช่นนั้นแล้ว
แม้ว่าปริญญาเอกหรือดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ทางมหาวิทยาลัยจะให้ปริญญาีเป็น DSc, DLitt, ฯ ซึ่งมักจะหมายความว่าแม้จะใ้ห้เป็นแบบกิตติมศักดิ์ก็ตาม แต่ปริญญาเหล่านี้ ( DSc, DLitt ฯ) สามารถจะได้จากการศึกษาเล่าเรียนเช่นกัน คือ ทำการศึกษาเพื่อให้่ได้ปริญญาจริง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักร โดยสามารถยื่นผลงานการทำวิจัย ซึ่งมักจะทำอยู่หลายปี และผลงานนี้ มีผลต่อวงการวิชาการสาขาวิชานั้นเป็นอย่างมาก โดยทางมหาวิทยาลัยจะตั้ง กรรมการศึกษาผลงาน และรายงานผลการตัดสินให้ทางมหาวิิทยาลััยว่าจะให้ผ่านได้รับปริญญาที่ว่าหรือไม่ โดยปกติผู้เสนอเข้ารับปริญญามักจะเกี่ยวข้องกับสาขานั้นๆ เช่น เป็นอาจารย์สอน หรือ จบมาและดีเด่นอยู่หลายปี
มีหลายมหาวิทยาลัยที่พยายามให้มีความแตกต่างระหว่างดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ( Univ หรือ Doctor of the University') กับดุษฎีบัณฑิตธรรมดา โดยให้เห็นถึงความแตกต่างของสองขั้ว คือ ฝ่ายให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้มีชื่อเสียง กับ ฝ่ายที่ให้แก่ผู้ที่มีความรู้จริง
ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์โดยปกติแล้วจะไม่ใช้คำนำหน้าว่า 'doctor หรือ ดร.' แต่หาก ผู้ที่ได้รับนั้นได้มาเพราะมีความสามารถในสาขานั้นจริงๆ ก็อาจจะเหมาะสมที่จะใช้เป็นคำนำหน้า ชื่อของตนเอง ในหลายๆประเทศ เช่น United Kingdom, Australia, New Zealand, and United States ถือว่าการใช้ doctor หรือ ดร. ของผู้ได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการ ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะได้มาโดยทางใดก็ตาม มีข้อยกเว้นอยู่คนเดียว คือ ในสหรัฐอเมริกาที่ Benjamin Franklin ซึ่งได้รับดุษฎีบัณฑิตจาก University of St. Andrews ในปี ๑๗๕๙ และ University of Oxford ในปี ๑๗๖๒ จากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น เขาจะอ้างถึงตนเองว่า "Doctor Franklin."
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ อาจจะใช้ตัวย่อต่อท้ายชื่อได้ แต่ต้องให้เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นกิตติมศักดิ์ โดยเพิ่มคำว่า "honorary" หรือ "honoris causa" หรือ"h.c." เข้าไปในวงเล็บ และในหลายประเทศ ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิต อาจจะใช้คำนำหน้าว่า doctor โดยใช้คำย่อว่า Dr.h.c. หรือ Dr.(h.c.). ในบางครั้งอาจจะใช้ Hon ก่อนปริญญาว่า Hon DMus.
ในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีความยุ่งยากสับสนเรื่องดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งพยายามแยกออกเพื่อให้ชัดเจนโดยให้ดุษฎีบัณฑิตใช้ LLD หรือ Hon.D. เท่านั้น แทน Ph.D. และมีหลายมหาวิทยาล้ย รวมทั้งมหาวิทยาล้ยเปิดใช้ Doctorates of the University (D.Univ.) และใช้ Ph.D หรือ Ed.D สำหรับปริญญาเอกที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียน
สำหรับของไทยเรานั้น สกอ.ได้มีหนังสือ ที่ ศธ.๐๕๐๖(๒) ว/๕๐๕ ลงวันที่ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๒ เรื่อง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปริญญากิตติมศักดิ์ โดยระบุว่า คำนำหน้าว่า ดร. ใช้เฉพาะกับผู้ศึกษาจบระดับปริญญาเอก มิได้รวมถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์หรือพูดง่าย ๆ ผู้ที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใช้คำว่า ดร. ไม่ได้ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยนัก ผมคิดว่าหากอยากจะเรียกดอกเตอร์ก็เรียกไปเพราะเป็นรับรู้กันโดยทั่วไปแล้วว่าคำเรียกขานดอกเตอร์ใช้กับคนที่ได้รับปริญญาในระดับดุษฎีบัณฑิตหรือแพทย์ศาสตร์บัณฑิต(Medical Doctor-M.D.) ซึ่งเขาก็ได้รับดุษฎีบัณฑิตมาแล้วเช่นกันถึงแม้ว่าจะเป็นกิตติมศักดิ์ก็ตาม แต่ต้องใช้ว่า “ดร.(กิตติมศักดิ์)”เพราะจะเป็นการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นกิตติมศักดิ์ แต่หากเป็นดอกเตอร์กิตติมศักดิ์แล้วไปพิมพ์นามบัตรหรือเรียกตนเองว่าว่าดอกเตอร์เฉยๆก็ถือได้ว่าอยู่ในข่ายหลอกลวงประชาชน ปลิ้นปล้อน คบไม่ได้ ฯลฯ ดังเหตุผลที่ผมยกตัวอย่างจากต่างประเทศ มาข้างต้นนั้นเอง
ที่สำคัญก็คือในนานาอารยประเทศทั้งหลายคำว่าดอกเตอร์นั้นส่วนใหญ่เขาจะเอาไว้ใช้เรียกผู้ที่เป็นแพทย์เสียเป็นส่วนใหญ่ เห็นมีแต่พี่ไทยเราเท่านั้นแหละครับที่นิยมใช้คำว่าดอกเตอร์นำหน้าชื่อตัวเองทั้งดอกเตอร์ธรรมดาและ ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ จนมีเรื่องเล่าว่าในเครื่องบินโดยสาร ลำหนึ่งมีคนป่วยฉุกเฉิน แอร์โฮสเตสประกาศว่ามีใครเป็นดอกเตอร์(หมอ)บ้าง ปรากฏว่าพี่ไทยเรายกมือกันตั้งหลายคนเล่นเอาแอร์โฮสเตสเป็นงงไปเลย
ดอกเตอร์ห้องแถว
สมัยก่อนเราเคยได้ยินแต่เพียงว่ามีอยู่ในเมืองนอกที่คนมีสตางค์ส่งลูกหลานไปชุบตัวแล้ว ได้ปริญญากลับมาโดยไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่ไปติดต่อแล้วเสียสตางค์ให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีลักษณะเป็นห้องแถวมีกิจการขายใบปริญญาบัตรเป็นการเฉพาะ แต่ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีมหาวิทยาลัยดังกล่าวมาตั้งสาขากันอยู่ทั่วไป
ที่สำคัญก็คือมีมหาวิทยาลัยไทยเราเองที่เปิดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศ เข้าลักษณะ “จ่ายครบ จบแน่” ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะหมายความถึงมหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังตัวอย่างที่ว่ามีการรับนักศึกษาปริญญาเอกเพียงแต่ลงทะเบียนและจ่ายเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท รอให้เวลาใกล้ ๒ ปี ค่อยไปสอบปากเปล่ากับอาจารย์เพียง ๔ คน และก่อนไปสอบจะคนมาช่วยสอนให้พูดด้วย มิหนำซ้ำยังมีการขึ้นชื่อผู้ทีมีชื่อเสียงต่างๆหรือตำแหน่งสูงๆในวงราชการว่าเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยตนอีกด้วย (อย่าให้ยกตัวอย่างเลยครับเดี๋ยวเคืองกันเปล่าๆ)
ดอกเตอร์ประเทศโลกที่สาม
คำว่าดอกเตอร์ประเทศโลกที่สามนี้เป็นคำที่ใช้เรียกขานบรรดาดอกเตอร์ทั้งหลายที่แม้ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัยของรัฐก็ตาม แต่เป็นหลักสูตรที่เปิดสอนไม่เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด เช่น จะต้องมีอาจารย์จบวุฒิปริญญาเอก หรือ เป็นรองศาสตราจารย์จำนวนเท่านั้นเท่านี้ หรือหากไม่มีจริงๆก็ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามคุณวุฒิที่กำหนด แต่ก็ไม่เป็นไปตามนั้น หรือมีการละเลยมาตรฐานขั้นต่ำในระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา เป็นต้น และโดยส่วนใหญ่กรรมการในสภามหาวิทยาลัยเหล่านั้นบางคนก็เป็นกรรมการหลายแห่งจนไม่มีเวลามาเอาใจใส่ในเรื่องนี้ หรือถึงแม้จะพยายามเอาใจใส่ก็ไม่ได้ข้อมูลอยู่ดี ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีคดีไปถึงศาลปกครองแล้ว เพียงแต่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าวแพร่หลายไปในวงกว้างเท่านั้นเอง
ฉะนั้น ผู้ที่อยากได้คำว่า “ดร.”โดยไม่อยากยุ่งยากเสียเวลาและเสียเงินเป็นแสนเป็นล้าน ผมขอแนะนำให้ไปยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อที่อำเภอเป็น “ดร”(อ่านว่า”ดอน”แปลว่า พ่วงหรือแพ)เป็นชื่อแรก และใช้ชื่อเดิมเป็นชื่อรอง เสียเงินไม่กี่สิบบาทก็มีคำว่า”ดร”เช่นกันเพียงแต่ไม่แต่ไม่มีจุด (.)เท่านั้นเอง
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจ
********************************************************
ประเด็นปัญหาของมาตรฐานการศึกษาไทยในปัจจุบันก็คือ การที่เรามีดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ ดอกเตอร์ห้องแถว และดอกเตอร์โลกประเทศโลกที่สามอยู่เกลื่อนเมืองจนแทบจะเดินชน กันตาย ซึ่งไม่รู้ว่าอันไหนจริง อันไหนเสมือนจริงและอันไหนเก๊ ผมในฐานะอาจารย์ในหลักสูตรดอกเตอร์ด้วยกันกับเขาคนหนึ่ง จึงอยากจะร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ดังนี้
ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์
ปัญหาที่ถกเถียงในเรื่องนี้ก็คือว่าคนที่ได้ปริญญาเอกปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ใช้ ดร. นำหน้าชื่อได้หรือเปล่า มีทั้งบอกว่าใช้ได้กับที่บอกว่าใช้ไม่ได้ โดยที่คนที่บอกว่าใช้ได้ให้เหตุผลว่า ก็เขาได้ปริญญาเอกแล้วต้องใช้ได้ซิ ส่วนคนที่บอกว่าไม่ได้ก็ให้เหตุผลว่าเขาไม่ได้จบปริญญาเอก จริง ๆ เป็นการให้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นเกียรติเท่านั้น จึงไม่สมควรที่จะใช้คำว่า “ดอกเตอร์”
คำว่าปริญญากิตติมศักดิ์นั้น มาจากภาษาลาตินว่า honoris causa ad gradum เป็นสิ่งที่ได้จากผลงานที่เกี่ยวกับทางวิชาการ ถือเป็นสิ่งประดับตัวบุคคล เพราะปกติแล้วการจะได้ปริญญาต้องไปสอบเข้าและเรียนเป็นเวลาหลายปี ส่วนปริญญากิตติมศักดิ์มักจะเป็นการให้จากสถาบันศึกษาแก่ผู้รับ โดยปริญญาที่ให้อาจจะเป็นปริญญา ตรี โท หรือเอก ซึ่งที่พบบ่อยสุดคือปริญญาเอก โดยวันรับปริญญาจะเป็นวันที่ทำพิธีกันอย่างเอิกเกริกเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ได้รับ และมหาวิทยาลัยที่ให้ก็จะได้ประโยชน์ในแง่ที่ได้คนที่มีชื่อเสียงมาเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยมีชื่อออกไปสู่สังคม และ เป็นการเพิ่มเครือข่ายของมหาวิทยาลัยเอง ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิคนแรกที่ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ คือ Lionel Woodville ปี ๑๔๗๐ ของ Oxford
ปริญญากิตติมศักดินั้นมักจะมอบให้พร้อมกับพิธีประสาทปริญญาโดยทั่วไป และในต่างประเทศผู้รับมักจะได้รับเชิญให้กล่าวคำปราศรัยด้วยในงานรับปริญญาเพื่อแสดงภูมิหรือ “กึ๋น”ของตนเอง ซึ่งการกล่าวคำปราศรัยนี้มักจะเป็นจุดเด่นของงาน โดยปกติแล้วทางมหาวิทยาลัยจะเสนอชือผู้จะได้รับหลายคน ซึ่งชื่อเหล่านี้จะผ่านการกลั่นกรองจากกรรมการมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาความเหมาะสม โดยผู้มีชื่อรับเลือกมักจะไม่ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยได้เสนอชื่อตนเอง จนกว่าจะได้รับเลือกเป็นทางการ และปกติแล้วการเลือกผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์นี้ถือเป็นความลับอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผู้ได้รับกลายเป็นพวกคนดัง เช่น นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจใหญ่ นักแสดง ฯลฯ แทนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเช่นในอดีต
คำว่า ปริญญากิตติมศักดิ์หรือ honorary degree นี้ แท้จริงแล้วเป็นการประสาทหรือให้เป็นตัวปริญญาจริง ๆ ตามหลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งต่างจากปริญญาที่ต้องเรียนมา (earned degree) โดยทางมหาวิทยาลัยยกเว้นการใช้เวลาศึกษาในห้องเรียน วิจัย การต้องเข้าชั้นเรียน หรือ ผ่านการสอบ เพราะผู้ที่ได้รับการยกเว้นที่ว่านี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีชื่อเสียงและเป็นปราชญ์ในสาขานั้นๆ จึงได้รับการยกเว้นตามความต้องการของมหาวิทยาลัย แต่ในปัจจุบันความหมายเดิมค่อยๆเปลี่ยนความหมายไป ปริญญากิตติมศักดิ์กลายเป็นปริญญาที่ไม่เท่ากับปริญญาที่ต้องเรียนต้องสอบมา ซึ่งหมายความว่าของเดิมนั้นให้คนเก่งจริงๆ ฉะนั้น ปริญญากิตติมศักดิ์จึงมีศักดิ์ศรีมาก แต่ปัจจุบันไม่ได้มีความหมายเช่นนั้นแล้ว
แม้ว่าปริญญาเอกหรือดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่ทางมหาวิทยาลัยจะให้ปริญญาีเป็น DSc, DLitt, ฯ ซึ่งมักจะหมายความว่าแม้จะใ้ห้เป็นแบบกิตติมศักดิ์ก็ตาม แต่ปริญญาเหล่านี้ ( DSc, DLitt ฯ) สามารถจะได้จากการศึกษาเล่าเรียนเช่นกัน คือ ทำการศึกษาเพื่อให้่ได้ปริญญาจริง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักร โดยสามารถยื่นผลงานการทำวิจัย ซึ่งมักจะทำอยู่หลายปี และผลงานนี้ มีผลต่อวงการวิชาการสาขาวิชานั้นเป็นอย่างมาก โดยทางมหาวิทยาลัยจะตั้ง กรรมการศึกษาผลงาน และรายงานผลการตัดสินให้ทางมหาวิิทยาลััยว่าจะให้ผ่านได้รับปริญญาที่ว่าหรือไม่ โดยปกติผู้เสนอเข้ารับปริญญามักจะเกี่ยวข้องกับสาขานั้นๆ เช่น เป็นอาจารย์สอน หรือ จบมาและดีเด่นอยู่หลายปี
มีหลายมหาวิทยาลัยที่พยายามให้มีความแตกต่างระหว่างดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ( Univ หรือ Doctor of the University') กับดุษฎีบัณฑิตธรรมดา โดยให้เห็นถึงความแตกต่างของสองขั้ว คือ ฝ่ายให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้มีชื่อเสียง กับ ฝ่ายที่ให้แก่ผู้ที่มีความรู้จริง
ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์โดยปกติแล้วจะไม่ใช้คำนำหน้าว่า 'doctor หรือ ดร.' แต่หาก ผู้ที่ได้รับนั้นได้มาเพราะมีความสามารถในสาขานั้นจริงๆ ก็อาจจะเหมาะสมที่จะใช้เป็นคำนำหน้า ชื่อของตนเอง ในหลายๆประเทศ เช่น United Kingdom, Australia, New Zealand, and United States ถือว่าการใช้ doctor หรือ ดร. ของผู้ได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการ ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะได้มาโดยทางใดก็ตาม มีข้อยกเว้นอยู่คนเดียว คือ ในสหรัฐอเมริกาที่ Benjamin Franklin ซึ่งได้รับดุษฎีบัณฑิตจาก University of St. Andrews ในปี ๑๗๕๙ และ University of Oxford ในปี ๑๗๖๒ จากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น เขาจะอ้างถึงตนเองว่า "Doctor Franklin."
ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ อาจจะใช้ตัวย่อต่อท้ายชื่อได้ แต่ต้องให้เป็นที่ชัดเจนว่าเป็นกิตติมศักดิ์ โดยเพิ่มคำว่า "honorary" หรือ "honoris causa" หรือ"h.c." เข้าไปในวงเล็บ และในหลายประเทศ ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิต อาจจะใช้คำนำหน้าว่า doctor โดยใช้คำย่อว่า Dr.h.c. หรือ Dr.(h.c.). ในบางครั้งอาจจะใช้ Hon ก่อนปริญญาว่า Hon DMus.
ในปัจจุบันนี้เนื่องจากมีความยุ่งยากสับสนเรื่องดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งพยายามแยกออกเพื่อให้ชัดเจนโดยให้ดุษฎีบัณฑิตใช้ LLD หรือ Hon.D. เท่านั้น แทน Ph.D. และมีหลายมหาวิทยาล้ย รวมทั้งมหาวิทยาล้ยเปิดใช้ Doctorates of the University (D.Univ.) และใช้ Ph.D หรือ Ed.D สำหรับปริญญาเอกที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียน
สำหรับของไทยเรานั้น สกอ.ได้มีหนังสือ ที่ ศธ.๐๕๐๖(๒) ว/๕๐๕ ลงวันที่ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๒ เรื่อง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปริญญากิตติมศักดิ์ โดยระบุว่า คำนำหน้าว่า ดร. ใช้เฉพาะกับผู้ศึกษาจบระดับปริญญาเอก มิได้รวมถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์หรือพูดง่าย ๆ ผู้ที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ใช้คำว่า ดร. ไม่ได้ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยนัก ผมคิดว่าหากอยากจะเรียกดอกเตอร์ก็เรียกไปเพราะเป็นรับรู้กันโดยทั่วไปแล้วว่าคำเรียกขานดอกเตอร์ใช้กับคนที่ได้รับปริญญาในระดับดุษฎีบัณฑิตหรือแพทย์ศาสตร์บัณฑิต(Medical Doctor-M.D.) ซึ่งเขาก็ได้รับดุษฎีบัณฑิตมาแล้วเช่นกันถึงแม้ว่าจะเป็นกิตติมศักดิ์ก็ตาม แต่ต้องใช้ว่า “ดร.(กิตติมศักดิ์)”เพราะจะเป็นการชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นกิตติมศักดิ์ แต่หากเป็นดอกเตอร์กิตติมศักดิ์แล้วไปพิมพ์นามบัตรหรือเรียกตนเองว่าว่าดอกเตอร์เฉยๆก็ถือได้ว่าอยู่ในข่ายหลอกลวงประชาชน ปลิ้นปล้อน คบไม่ได้ ฯลฯ ดังเหตุผลที่ผมยกตัวอย่างจากต่างประเทศ มาข้างต้นนั้นเอง
ที่สำคัญก็คือในนานาอารยประเทศทั้งหลายคำว่าดอกเตอร์นั้นส่วนใหญ่เขาจะเอาไว้ใช้เรียกผู้ที่เป็นแพทย์เสียเป็นส่วนใหญ่ เห็นมีแต่พี่ไทยเราเท่านั้นแหละครับที่นิยมใช้คำว่าดอกเตอร์นำหน้าชื่อตัวเองทั้งดอกเตอร์ธรรมดาและ ดอกเตอร์กิตติมศักดิ์ จนมีเรื่องเล่าว่าในเครื่องบินโดยสาร ลำหนึ่งมีคนป่วยฉุกเฉิน แอร์โฮสเตสประกาศว่ามีใครเป็นดอกเตอร์(หมอ)บ้าง ปรากฏว่าพี่ไทยเรายกมือกันตั้งหลายคนเล่นเอาแอร์โฮสเตสเป็นงงไปเลย
ดอกเตอร์ห้องแถว
สมัยก่อนเราเคยได้ยินแต่เพียงว่ามีอยู่ในเมืองนอกที่คนมีสตางค์ส่งลูกหลานไปชุบตัวแล้ว ได้ปริญญากลับมาโดยไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงแต่ไปติดต่อแล้วเสียสตางค์ให้แก่มหาวิทยาลัยที่มีลักษณะเป็นห้องแถวมีกิจการขายใบปริญญาบัตรเป็นการเฉพาะ แต่ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทยได้มีมหาวิทยาลัยดังกล่าวมาตั้งสาขากันอยู่ทั่วไป
ที่สำคัญก็คือมีมหาวิทยาลัยไทยเราเองที่เปิดการเรียนการสอนในลักษณะนี้ มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศ เข้าลักษณะ “จ่ายครบ จบแน่” ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะหมายความถึงมหาวิทยาลัยเอกชนที่ไม่ได้มาตรฐาน ดังตัวอย่างที่ว่ามีการรับนักศึกษาปริญญาเอกเพียงแต่ลงทะเบียนและจ่ายเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท รอให้เวลาใกล้ ๒ ปี ค่อยไปสอบปากเปล่ากับอาจารย์เพียง ๔ คน และก่อนไปสอบจะคนมาช่วยสอนให้พูดด้วย มิหนำซ้ำยังมีการขึ้นชื่อผู้ทีมีชื่อเสียงต่างๆหรือตำแหน่งสูงๆในวงราชการว่าเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยตนอีกด้วย (อย่าให้ยกตัวอย่างเลยครับเดี๋ยวเคืองกันเปล่าๆ)
ดอกเตอร์ประเทศโลกที่สาม
คำว่าดอกเตอร์ประเทศโลกที่สามนี้เป็นคำที่ใช้เรียกขานบรรดาดอกเตอร์ทั้งหลายที่แม้ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัยของรัฐก็ตาม แต่เป็นหลักสูตรที่เปิดสอนไม่เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด เช่น จะต้องมีอาจารย์จบวุฒิปริญญาเอก หรือ เป็นรองศาสตราจารย์จำนวนเท่านั้นเท่านี้ หรือหากไม่มีจริงๆก็ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามคุณวุฒิที่กำหนด แต่ก็ไม่เป็นไปตามนั้น หรือมีการละเลยมาตรฐานขั้นต่ำในระดับความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา เป็นต้น และโดยส่วนใหญ่กรรมการในสภามหาวิทยาลัยเหล่านั้นบางคนก็เป็นกรรมการหลายแห่งจนไม่มีเวลามาเอาใจใส่ในเรื่องนี้ หรือถึงแม้จะพยายามเอาใจใส่ก็ไม่ได้ข้อมูลอยู่ดี ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีคดีไปถึงศาลปกครองแล้ว เพียงแต่ยังไม่ปรากฏเป็นข่าวแพร่หลายไปในวงกว้างเท่านั้นเอง
ฉะนั้น ผู้ที่อยากได้คำว่า “ดร.”โดยไม่อยากยุ่งยากเสียเวลาและเสียเงินเป็นแสนเป็นล้าน ผมขอแนะนำให้ไปยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อที่อำเภอเป็น “ดร”(อ่านว่า”ดอน”แปลว่า พ่วงหรือแพ)เป็นชื่อแรก และใช้ชื่อเดิมเป็นชื่อรอง เสียเงินไม่กี่สิบบาทก็มีคำว่า”ดร”เช่นกันเพียงแต่ไม่แต่ไม่มีจุด (.)เท่านั้นเอง
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจ
********************************************************
แง้มโพล "ลับ"เพื่อไทยลุ้นเลือกตั้ง ก้าวคู่ "ทักษิณ" ก้าวข้าม "มิ่งฝัน"
วาระที่พรรคร่วมรัฐบาล 7 พรรค สาละวนกับวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ
วาระที่เขตการเลือกตั้ง-จำนวน ส.ส. ถูกถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนว่าจะใช้จำนวนเขตเล็ก 375 สัดส่วน 125 คน หรือจะเป็นตัวเลขที่ลงตัว 400 เขต และสัดส่วน 100 คนเท่าเดิมตามแนวทางรัฐธรรมนูญ 2540
วาระที่ผู้มีบารมี-ผู้ติดกับดักการเมือง 5 ปี อีก 111 คน นับถอยหลังอีกไม่เกิน 15 เดือน จะคืนสนามการเลือกตั้ง
ระหว่างที่พรรคร่วมรัฐบาลจัดเรียง โครงการลงทุนทยอยเข้าสู่ห้องประชุม คณะรัฐมนตรีอย่างถ้อยที-ถ้อยอาศัยกัน ทั้ง 35 รัฐมนตรี 20 กระทรวง
สนามการเมืองของฝ่ายคู่แข่ง-คู่ขัดแย้ง-ฝ่ายค้าน "ทักษิณและพวก" ทั้งเพื่อไทย-อดีตพลังประชาชน-อดีตไทยรักไทย ผนึกรวมกันหนาแน่นเตรียมลงสนามเลือกตั้ง
แกนนำสำคัญของพรรคเพื่อไทย ส่งสัญญาณว่า บุคลากรการเมืองของทั้งองคาพยพฝ่ายค้าน ได้ก้าวข้ามวาระ การเปิดสภาเพื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไปแล้ว
แกนนำพรรคบางคนบอกว่า ถึงอย่างไรการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้งก็จะออกมาเป็นระบบเขตเล็ก 400 เขต และสัดส่วน 100 คน
"แกนนำของพรรคเพื่อไทยได้หารือร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะร่วมกันโหวตวาระการ แก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้งไปใน ทิศทางเดียวกันทั้งหมด" แกนนำพรรค-ผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าว
แกนนำพรรคเพื่อไทย-เครือข่ายทักษิณจึงตั้งสมมติฐานการเลือกตั้งสมัยหน้าไว้ 3 ทาง
ทางแรก เลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แนวทางนี้ถือว่าเป็นแนวทาง ที่เลวร้ายที่สุด
ทางที่ 2 เลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ฉบับแก้ไข แนวทางนี้จะทำให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพันธมิตรเก่าอย่างน้อย 3 พรรค อาทิ รวมชาติพัฒนา-เพื่อแผ่นดิน และชาติไทยพัฒนา
แนวทางที่ 3 แม้เป็นไปได้น้อยที่สุด แต่อยู่ในสมมติฐาน คือ ไม่มีการเลือกตั้ง เพราะเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง
ดังนั้น ทั้งวาระในสภาผู้แทนราษฎรและวาระนอกสภาจึงไม่ได้อยู่ในความใส่ใจของ "ทักษิณและพวก"
เพราะแม้ว่าเกิดกรณีที่เลวร้ายที่สุด เลือกตั้งในระบบเดิมพรรคเพื่อไทยยังมั่นใจว่าจะรักษาฐานที่มั่น-ฐานเสียงไว้ได้ไม่ น้อยกว่าเดิม 180 เสียง
ทั้ง "ทักษิณและพวก" จึงใจจดจ่อ-มีความหวังอยู่กับการลงสนามเลือกตั้ง
"พวกเราวางแผนไปไกลถึงการออกแคมเปญการเลือกตั้งแล้ว และการได้โพลสำรวจความนิยมทุกพื้นที่ เพื่อวางแผนการจัดกำลังคน กำลังทรัพยากรไว้พร้อม ปูพรมทุกพื้นที่" แกนนำคนสำคัญพรรคเพื่อไทยกล่าว
แกนนำคนเดิมกล่าวถึงเหตุผลของ ความมั่นใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า ด้วยหลักวิชาวิทยาศาสตร์และการวิจัยว่า พรรคเพื่อไทยได้ทำทั้งโพลแบบมืออาชีพ-การลงพื้นที่ค้นหาความคิดเห็น ตรวจสอบปัญหาและความต้องการแบบโฟกัสกรุ๊ป พร้อมทำงานวิจัยพฤติการการเลือกตั้งในพื้นที่อย่างละเอียดทุกพื้นที่-ทุกอาชีพ
การทำโพล-และการวิจัยแบบค้นหา "ค่าผันแปร" ทุกตัว ถูกจัดทำขึ้นเป็นหัวข้อหลักในการค้นหา-สำรวจความนิยมของพรรค
"การทำสำรวจความนิยมได้มีการดับเบิลเช็กกับกลุ่มตัวอย่างที่มีทั้งฝ่ายที่ชอบเราและไม่ชอบเรา เช่น เราตรวจสอบ ความเห็นต่อการเลือกตั้งด้วยการสัมภาษณ์ความเห็นของข้าราชการ-นักปกครอง ส่วนท้องถิ่น และตำรวจ ผลออกมาชัดเจนมากว่า ขณะนี้แม้เขาไม่พอใจรัฐบาล แต่เขาจำเป็นต้องอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่เมื่อถึงเวลากาบัตรเลือกตั้งเขาจะเลือกเรา" นักการเมืองที่คุมการทำสำรวจกล่าว
วาระที่ถูกเสนอจากนักคิด-ปัญญาชนของพรรคที่ต้องการให้เพื่อไทยกำหนดวาระปลดแอก "ก้าวข้ามทักษิณ" นั้น ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงจากนักเลือกตั้งในพรรค
เพราะนักจัดการการเลือกตั้งในพรรคเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า "เป็นไปไม่ได้ที่เพื่อไทยจะหาเสียงว่าก้าวข้ามทักษิณมีแต่แพ้กับแพ้ ดังนั้นทางเดียวที่จะใช้หาเสียงคือ ก้าวคู่ไปกับทักษิณ เราจึงจะชนะเลือกตั้ง คนที่เสนอให้ก้าวข้ามไม่เข้าใจคนเลือกตั้ง"
ส่วนแคมเปญหาเสียงนั้น ขณะนี้แม้ว่ากรรมการบริหารพรรค "ตัวจริง เสียงนอมินี" จะพยายามเสนอเนื้อหานโยบาย แต่ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง "ตัวจริง-เสียงจริง" บอกว่า ทุกแคมเปญที่ออกมาเป็นดอกเห็ดในขณะนี้ "ของปลอม"
ส่วนเนื้อหานโยบาย-แคมเปญหาเสียงของจริงอยู่ในระหว่างการจัดทำโดย "ทักษิณ" เท่านั้น
เสียงที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจและภาพแคมเปญระหว่างนี้จึงเป็นเพียง "เป้าหลอก" เพื่อให้นักการเมืองหน้าใหม่ในพรรคได้เป็น "สิงห์สนามซ้อม" ในสภาผู้แทนฯก่อนที่จะได้ลงสนามจริงในอนาคต
นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงแคมเปญที่จะใช้หาเสียงเลือกตั้งของ พรรคเพื่อไทยว่า ขณะนี้ยังไม่ลงตัวเพราะอยู่ระหว่างการเตรียมการ
ส่วนกรณีรายชื่อบุคคลที่จะถูกเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งปรากฏผ่านสื่อมวลชนนั้น นายสมานกล่าวว่า "มีแต่คนอยากจะเป็นนายกฯแต่ไม่มีใครอยากเป็นหัวหน้าพรรคเลย การพูดถึงว่าที่นายกฯโดยที่ยังไม่รู้ผลการเลือกตั้ง จะทำให้คนอื่นเขาหัวเราะเยาะเราเสียมากกว่า เพราะเหมือนกับยังไม่ได้ปล้นแต่จะมาแบ่งสมบัติกันแล้ว"
พรรคเพื่อไทยขณะนี้จึงระทึกใจอยู่กับความจริงหลังเลือกตั้งมากกว่าความฝันของ "มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์" ที่ระทึกอยู่กับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และได้ใส่ตำแหน่ง "ว่าที่นายกรัฐมนตรี"
เพราะคราวนี้สัญญาณชัดเจนที่ถูกส่งตรงมาจาก "ดูไบ" นั้น มีประโยคเดียว "ท่อน้ำเลี้ยงยาว นโยบายโดนใจ ใครไม่ไปพรรคอื่นได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย"
ที่มา. ประชาชาติธุรกิจ
---------------------------------------------------------------------
วาระที่เขตการเลือกตั้ง-จำนวน ส.ส. ถูกถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนว่าจะใช้จำนวนเขตเล็ก 375 สัดส่วน 125 คน หรือจะเป็นตัวเลขที่ลงตัว 400 เขต และสัดส่วน 100 คนเท่าเดิมตามแนวทางรัฐธรรมนูญ 2540
วาระที่ผู้มีบารมี-ผู้ติดกับดักการเมือง 5 ปี อีก 111 คน นับถอยหลังอีกไม่เกิน 15 เดือน จะคืนสนามการเลือกตั้ง
ระหว่างที่พรรคร่วมรัฐบาลจัดเรียง โครงการลงทุนทยอยเข้าสู่ห้องประชุม คณะรัฐมนตรีอย่างถ้อยที-ถ้อยอาศัยกัน ทั้ง 35 รัฐมนตรี 20 กระทรวง
สนามการเมืองของฝ่ายคู่แข่ง-คู่ขัดแย้ง-ฝ่ายค้าน "ทักษิณและพวก" ทั้งเพื่อไทย-อดีตพลังประชาชน-อดีตไทยรักไทย ผนึกรวมกันหนาแน่นเตรียมลงสนามเลือกตั้ง
แกนนำสำคัญของพรรคเพื่อไทย ส่งสัญญาณว่า บุคลากรการเมืองของทั้งองคาพยพฝ่ายค้าน ได้ก้าวข้ามวาระ การเปิดสภาเพื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไปแล้ว
แกนนำพรรคบางคนบอกว่า ถึงอย่างไรการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้งก็จะออกมาเป็นระบบเขตเล็ก 400 เขต และสัดส่วน 100 คน
"แกนนำของพรรคเพื่อไทยได้หารือร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรค ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ว่าจะร่วมกันโหวตวาระการ แก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องเขตเลือกตั้งไปใน ทิศทางเดียวกันทั้งหมด" แกนนำพรรค-ผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กล่าว
แกนนำพรรคเพื่อไทย-เครือข่ายทักษิณจึงตั้งสมมติฐานการเลือกตั้งสมัยหน้าไว้ 3 ทาง
ทางแรก เลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แนวทางนี้ถือว่าเป็นแนวทาง ที่เลวร้ายที่สุด
ทางที่ 2 เลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ฉบับแก้ไข แนวทางนี้จะทำให้พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพันธมิตรเก่าอย่างน้อย 3 พรรค อาทิ รวมชาติพัฒนา-เพื่อแผ่นดิน และชาติไทยพัฒนา
แนวทางที่ 3 แม้เป็นไปได้น้อยที่สุด แต่อยู่ในสมมติฐาน คือ ไม่มีการเลือกตั้ง เพราะเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง
ดังนั้น ทั้งวาระในสภาผู้แทนราษฎรและวาระนอกสภาจึงไม่ได้อยู่ในความใส่ใจของ "ทักษิณและพวก"
เพราะแม้ว่าเกิดกรณีที่เลวร้ายที่สุด เลือกตั้งในระบบเดิมพรรคเพื่อไทยยังมั่นใจว่าจะรักษาฐานที่มั่น-ฐานเสียงไว้ได้ไม่ น้อยกว่าเดิม 180 เสียง
ทั้ง "ทักษิณและพวก" จึงใจจดจ่อ-มีความหวังอยู่กับการลงสนามเลือกตั้ง
"พวกเราวางแผนไปไกลถึงการออกแคมเปญการเลือกตั้งแล้ว และการได้โพลสำรวจความนิยมทุกพื้นที่ เพื่อวางแผนการจัดกำลังคน กำลังทรัพยากรไว้พร้อม ปูพรมทุกพื้นที่" แกนนำคนสำคัญพรรคเพื่อไทยกล่าว
แกนนำคนเดิมกล่าวถึงเหตุผลของ ความมั่นใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า ด้วยหลักวิชาวิทยาศาสตร์และการวิจัยว่า พรรคเพื่อไทยได้ทำทั้งโพลแบบมืออาชีพ-การลงพื้นที่ค้นหาความคิดเห็น ตรวจสอบปัญหาและความต้องการแบบโฟกัสกรุ๊ป พร้อมทำงานวิจัยพฤติการการเลือกตั้งในพื้นที่อย่างละเอียดทุกพื้นที่-ทุกอาชีพ
การทำโพล-และการวิจัยแบบค้นหา "ค่าผันแปร" ทุกตัว ถูกจัดทำขึ้นเป็นหัวข้อหลักในการค้นหา-สำรวจความนิยมของพรรค
"การทำสำรวจความนิยมได้มีการดับเบิลเช็กกับกลุ่มตัวอย่างที่มีทั้งฝ่ายที่ชอบเราและไม่ชอบเรา เช่น เราตรวจสอบ ความเห็นต่อการเลือกตั้งด้วยการสัมภาษณ์ความเห็นของข้าราชการ-นักปกครอง ส่วนท้องถิ่น และตำรวจ ผลออกมาชัดเจนมากว่า ขณะนี้แม้เขาไม่พอใจรัฐบาล แต่เขาจำเป็นต้องอยู่กับฝ่ายรัฐบาล แต่เมื่อถึงเวลากาบัตรเลือกตั้งเขาจะเลือกเรา" นักการเมืองที่คุมการทำสำรวจกล่าว
วาระที่ถูกเสนอจากนักคิด-ปัญญาชนของพรรคที่ต้องการให้เพื่อไทยกำหนดวาระปลดแอก "ก้าวข้ามทักษิณ" นั้น ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงจากนักเลือกตั้งในพรรค
เพราะนักจัดการการเลือกตั้งในพรรคเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า "เป็นไปไม่ได้ที่เพื่อไทยจะหาเสียงว่าก้าวข้ามทักษิณมีแต่แพ้กับแพ้ ดังนั้นทางเดียวที่จะใช้หาเสียงคือ ก้าวคู่ไปกับทักษิณ เราจึงจะชนะเลือกตั้ง คนที่เสนอให้ก้าวข้ามไม่เข้าใจคนเลือกตั้ง"
ส่วนแคมเปญหาเสียงนั้น ขณะนี้แม้ว่ากรรมการบริหารพรรค "ตัวจริง เสียงนอมินี" จะพยายามเสนอเนื้อหานโยบาย แต่ฝ่ายจัดการเลือกตั้ง "ตัวจริง-เสียงจริง" บอกว่า ทุกแคมเปญที่ออกมาเป็นดอกเห็ดในขณะนี้ "ของปลอม"
ส่วนเนื้อหานโยบาย-แคมเปญหาเสียงของจริงอยู่ในระหว่างการจัดทำโดย "ทักษิณ" เท่านั้น
เสียงที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจและภาพแคมเปญระหว่างนี้จึงเป็นเพียง "เป้าหลอก" เพื่อให้นักการเมืองหน้าใหม่ในพรรคได้เป็น "สิงห์สนามซ้อม" ในสภาผู้แทนฯก่อนที่จะได้ลงสนามจริงในอนาคต
นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงแคมเปญที่จะใช้หาเสียงเลือกตั้งของ พรรคเพื่อไทยว่า ขณะนี้ยังไม่ลงตัวเพราะอยู่ระหว่างการเตรียมการ
ส่วนกรณีรายชื่อบุคคลที่จะถูกเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งปรากฏผ่านสื่อมวลชนนั้น นายสมานกล่าวว่า "มีแต่คนอยากจะเป็นนายกฯแต่ไม่มีใครอยากเป็นหัวหน้าพรรคเลย การพูดถึงว่าที่นายกฯโดยที่ยังไม่รู้ผลการเลือกตั้ง จะทำให้คนอื่นเขาหัวเราะเยาะเราเสียมากกว่า เพราะเหมือนกับยังไม่ได้ปล้นแต่จะมาแบ่งสมบัติกันแล้ว"
พรรคเพื่อไทยขณะนี้จึงระทึกใจอยู่กับความจริงหลังเลือกตั้งมากกว่าความฝันของ "มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์" ที่ระทึกอยู่กับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และได้ใส่ตำแหน่ง "ว่าที่นายกรัฐมนตรี"
เพราะคราวนี้สัญญาณชัดเจนที่ถูกส่งตรงมาจาก "ดูไบ" นั้น มีประโยคเดียว "ท่อน้ำเลี้ยงยาว นโยบายโดนใจ ใครไม่ไปพรรคอื่นได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย"
ที่มา. ประชาชาติธุรกิจ
---------------------------------------------------------------------
วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554
มองอำนาจและชนชั้นในสังคมไทยจากกรณีรถตู้ 9 ศพ
โดย อภิชาติ จันทร์แดง
(หมายเหตุ ผู้เขียนเป็นอาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ติดต่อผู้เขียนได้ที่ apichart.cha@psu.ac.th)
กรณีรถตู้โดยสาย สาย ต.118 ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกรถเก๋งพุ่งชนบนทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ จนมีผู้เสียชีวิต 9 ศพ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมปีที่ผ่านมา จนกลายเป็นข่าวดังต่อเนื่องหลายวัน ทั้งที่เป็นเพียงข่าวอุบัติเหตุทั่วไปข่าวหนึ่งเท่านั้น ซึ่งว่าไปแล้วอุบัติเหตุลักษณะดังกล่าวที่ทำให้เกิดความสูญเสีย และผู้ก่อเหตุขับรถด้วยความประมาทก็เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา
ที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากเพราะส่วนหนึ่งผู้ก่อเหตุเป็นคนในตระกูลดัง กระแสสังคมหวั่นว่าจะมีการใช้อำนาจหรืออิทธิพลเพื่อให้พ้นความผิด ส่วนหนึ่งก็มองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้เกี่ยวข้องจะเลือกปฏิบัติ กล่าวคือ ไม่กล้าปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา และเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายที่สังคมเชื่อว่ากระทำความผิดอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นเจ็บและตาย
ดูเหมือนว่ากระแสสังคมกำลังปฏิเสธและรับไม่ได้กับเรื่องการใช้อำนาจหรืออิทธิพลซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของผู้มีสถานภาพหรือชนชั้นที่สูงกว่าบุคคลทั่วไปมาใช้ให้ตัวเองพ้นผิด
แต่สิ่งที่ทำให้เราเห็นมิใช่เพียงแต่ประเด็นที่สังคมกำลังหวั่นวิตกที่ว่าผู้ก่อเหตุเป็นคนในตระกูลดังที่เชื่อว่ามีอำนาจและมีความเป็นอภิสิทธิ์ชนดังที่กล่าวมาเพียงเท่านั้น หากตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมสังคมจึงให้ความสนใจข่าวอุบัติเหตุในครั้งนี้ราวกับว่าประเทศของเราไม่เคยมีอุบัติเหตุใหญ่และมีคนตายจำนวนเท่านี้มาก่อน และราวกับว่าประเทศของเราไม่เคยมีเยาวชนไม่มีใบขับขี่เป็นผู้ก่อเหตุมาก่อน อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ข่าวนี้ได้รับความสนใจและกลายเป็นกระแสสังคมที่ต้องเอาผิดกับเยาวชนผู้ก่อเหตุให้ถึงที่สุด
หากไล่เรียงรายผู้ตาย มีทั้งคนจบปริญญาเอก อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพ ลูกของข้าราชการระดับสูง ฯลฯ ในทางความหมายของคำว่าอำนาจและชนชั้นก็นับได้ว่าคนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้มีอำนาจทางความรู้ มีอำนาจทางสังคม มีสถานภาพที่สังคมยอมรับ ให้ความเชื่อถือ และให้ความสำคัญ ซึ่งความจริงแล้วนี่ก็คือการให้ค่าความเป็นชนชั้นที่สูงไปกว่าคนทั่วไปนั่นเอง
แต่ถ้ามองเชิงความสูญเสียในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับคนจำนวนมากที่เจ็บตายในอุบัติเหตุที่มาจากความประมาทของผู้อื่น โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา คนจบปริญญาเอกแตกต่างอะไรกับพนักงานออฟฟิศธรรมดาคนหนึ่ง อาจารย์มหาวิทยาลัยต่างอะไรไหมกับคนหาเช้ากินค่ำทั่วไปนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศต่างอะไรกับหนุ่มสาวคนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ ลูกข้าราชการชั้นสูงต่างอะไรกับเด็กทั่วไปคนหนึ่ง
ไม่ต้องมองอื่นไกล เอาแค่กรณีรถตู้ 9 ศพด้วยกัน ถึงตอนนี้แทบไม่มีใครทราบรายละเอียดหรือทราบความคืบหน้าของคนขับรถตู้คันนี้บ้างไหม ว่าศพถูกเผาแล้วยัง ครอบครัวได้รับความช่วยเหลือหรือเป็นอยู่กันอย่างไร แล้วจะให้บอกว่านี่คือความเท่าเทียมหรือ ในเมื่อความตายในเหตุการณ์เดียวกัน เรายังให้ค่ากับความตายที่ออกมาในรูปความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ หรือความเศร้าโศกเสียใจแตกต่างกันเลย นั่นเพราะผู้ตายแทบทั้งหมด (ยกเว้นคนขับรถตู้) เป็นผู้มีอำนาจทางความรู้ มีสถานภาพทางสังคม ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดถึงความเป็นชนชั้นที่เหนือกว่าคนทั่วไปในสังคมนั่นเอง
ดังนั้น สิ่งที่วิตกกันว่าเยาวชนหญิงวัย 17 ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุจะหลุดพ้นจากความผิดเพราะเธอเป็นคนนามสกุลดัง จึงเป็นเพียงความกลัวเรื่องอำนาจหรือความหวั่นวิตกต่อความแตกต่างทางชนชั้นของคนในสังคมไทยอย่างฉาบฉวยและผิวเผินเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นกำลังคุกคามครอบงำความรู้สึกของเราอยู่อย่างเงียบงันโดยตลอดมา
ถึงวันนี้จึงปรากฏออกมาโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ เรากำลังเศร้าโศกเสียใจและเป็นเดือดเป็นแค้นกับความตายคนในเหตุรถตู้ 9 ศพ จนกลายเป็นกระแสสังคมเสียยิ่งกว่าเราไม่เคยรับรู้ถึงความตายแบบเดียวกันนี้มาก่อนเลย ทั้งที่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในร้อยในพันของอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มาจากความประมาทของใครสักคน โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาซึ่งมีอุบัติเหตุ มีความสูญเสียชีวิตผู้คนไปยิ่งกว่านี้เสียอีก ซึ่งเชื่อว่าคนจำนวนมากกลับไม่ทุกข์ร้อนเสียด้วยซ้ำ นี่คือความแตกต่างและไม่เท่าเทียมต่อความตายซึ่งมาจากเราเองมิใช่หรือ นี่คือเรากำลังให้ค่ากับอำนาจและยอมรับความแตกต่างชนชั้นให้มีอยู่มิใช่หรือ
นั่นคือเหตุผลสำคัญของการมีอยู่ของเรื่องอำนาจและชนชั้นในสังคมไทย ที่ดูเหมือนว่าเราไม่พึงปรารถนาให้มีอยู่ แต่ท้ายที่สุดเรากลับพิทักษ์รักษามันไว้ในความรู้สึกนึกคิด และเผลอไผลให้ค่ากับมันโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยแม้แต่น้อย
ที่มา.มติชนออนไลน์
(หมายเหตุ ผู้เขียนเป็นอาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ติดต่อผู้เขียนได้ที่ apichart.cha@psu.ac.th)
กรณีรถตู้โดยสาย สาย ต.118 ม.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถูกรถเก๋งพุ่งชนบนทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ จนมีผู้เสียชีวิต 9 ศพ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมปีที่ผ่านมา จนกลายเป็นข่าวดังต่อเนื่องหลายวัน ทั้งที่เป็นเพียงข่าวอุบัติเหตุทั่วไปข่าวหนึ่งเท่านั้น ซึ่งว่าไปแล้วอุบัติเหตุลักษณะดังกล่าวที่ทำให้เกิดความสูญเสีย และผู้ก่อเหตุขับรถด้วยความประมาทก็เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา
ที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากเพราะส่วนหนึ่งผู้ก่อเหตุเป็นคนในตระกูลดัง กระแสสังคมหวั่นว่าจะมีการใช้อำนาจหรืออิทธิพลเพื่อให้พ้นความผิด ส่วนหนึ่งก็มองว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้เกี่ยวข้องจะเลือกปฏิบัติ กล่าวคือ ไม่กล้าปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา และเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายที่สังคมเชื่อว่ากระทำความผิดอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นเจ็บและตาย
ดูเหมือนว่ากระแสสังคมกำลังปฏิเสธและรับไม่ได้กับเรื่องการใช้อำนาจหรืออิทธิพลซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของผู้มีสถานภาพหรือชนชั้นที่สูงกว่าบุคคลทั่วไปมาใช้ให้ตัวเองพ้นผิด
แต่สิ่งที่ทำให้เราเห็นมิใช่เพียงแต่ประเด็นที่สังคมกำลังหวั่นวิตกที่ว่าผู้ก่อเหตุเป็นคนในตระกูลดังที่เชื่อว่ามีอำนาจและมีความเป็นอภิสิทธิ์ชนดังที่กล่าวมาเพียงเท่านั้น หากตั้งคำถามขึ้นมาว่า ทำไมสังคมจึงให้ความสนใจข่าวอุบัติเหตุในครั้งนี้ราวกับว่าประเทศของเราไม่เคยมีอุบัติเหตุใหญ่และมีคนตายจำนวนเท่านี้มาก่อน และราวกับว่าประเทศของเราไม่เคยมีเยาวชนไม่มีใบขับขี่เป็นผู้ก่อเหตุมาก่อน อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ข่าวนี้ได้รับความสนใจและกลายเป็นกระแสสังคมที่ต้องเอาผิดกับเยาวชนผู้ก่อเหตุให้ถึงที่สุด
หากไล่เรียงรายผู้ตาย มีทั้งคนจบปริญญาเอก อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในคุณภาพ ลูกของข้าราชการระดับสูง ฯลฯ ในทางความหมายของคำว่าอำนาจและชนชั้นก็นับได้ว่าคนเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้มีอำนาจทางความรู้ มีอำนาจทางสังคม มีสถานภาพที่สังคมยอมรับ ให้ความเชื่อถือ และให้ความสำคัญ ซึ่งความจริงแล้วนี่ก็คือการให้ค่าความเป็นชนชั้นที่สูงไปกว่าคนทั่วไปนั่นเอง
แต่ถ้ามองเชิงความสูญเสียในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เฉกเช่นเดียวกับคนจำนวนมากที่เจ็บตายในอุบัติเหตุที่มาจากความประมาทของผู้อื่น โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา คนจบปริญญาเอกแตกต่างอะไรกับพนักงานออฟฟิศธรรมดาคนหนึ่ง อาจารย์มหาวิทยาลัยต่างอะไรไหมกับคนหาเช้ากินค่ำทั่วไปนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศต่างอะไรกับหนุ่มสาวคนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ ลูกข้าราชการชั้นสูงต่างอะไรกับเด็กทั่วไปคนหนึ่ง
ไม่ต้องมองอื่นไกล เอาแค่กรณีรถตู้ 9 ศพด้วยกัน ถึงตอนนี้แทบไม่มีใครทราบรายละเอียดหรือทราบความคืบหน้าของคนขับรถตู้คันนี้บ้างไหม ว่าศพถูกเผาแล้วยัง ครอบครัวได้รับความช่วยเหลือหรือเป็นอยู่กันอย่างไร แล้วจะให้บอกว่านี่คือความเท่าเทียมหรือ ในเมื่อความตายในเหตุการณ์เดียวกัน เรายังให้ค่ากับความตายที่ออกมาในรูปความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ หรือความเศร้าโศกเสียใจแตกต่างกันเลย นั่นเพราะผู้ตายแทบทั้งหมด (ยกเว้นคนขับรถตู้) เป็นผู้มีอำนาจทางความรู้ มีสถานภาพทางสังคม ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดถึงความเป็นชนชั้นที่เหนือกว่าคนทั่วไปในสังคมนั่นเอง
ดังนั้น สิ่งที่วิตกกันว่าเยาวชนหญิงวัย 17 ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุจะหลุดพ้นจากความผิดเพราะเธอเป็นคนนามสกุลดัง จึงเป็นเพียงความกลัวเรื่องอำนาจหรือความหวั่นวิตกต่อความแตกต่างทางชนชั้นของคนในสังคมไทยอย่างฉาบฉวยและผิวเผินเป็นอย่างมาก เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นกำลังคุกคามครอบงำความรู้สึกของเราอยู่อย่างเงียบงันโดยตลอดมา
ถึงวันนี้จึงปรากฏออกมาโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ เรากำลังเศร้าโศกเสียใจและเป็นเดือดเป็นแค้นกับความตายคนในเหตุรถตู้ 9 ศพ จนกลายเป็นกระแสสังคมเสียยิ่งกว่าเราไม่เคยรับรู้ถึงความตายแบบเดียวกันนี้มาก่อนเลย ทั้งที่กรณีดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในร้อยในพันของอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มาจากความประมาทของใครสักคน โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาซึ่งมีอุบัติเหตุ มีความสูญเสียชีวิตผู้คนไปยิ่งกว่านี้เสียอีก ซึ่งเชื่อว่าคนจำนวนมากกลับไม่ทุกข์ร้อนเสียด้วยซ้ำ นี่คือความแตกต่างและไม่เท่าเทียมต่อความตายซึ่งมาจากเราเองมิใช่หรือ นี่คือเรากำลังให้ค่ากับอำนาจและยอมรับความแตกต่างชนชั้นให้มีอยู่มิใช่หรือ
นั่นคือเหตุผลสำคัญของการมีอยู่ของเรื่องอำนาจและชนชั้นในสังคมไทย ที่ดูเหมือนว่าเราไม่พึงปรารถนาให้มีอยู่ แต่ท้ายที่สุดเรากลับพิทักษ์รักษามันไว้ในความรู้สึกนึกคิด และเผลอไผลให้ค่ากับมันโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยแม้แต่น้อย
ที่มา.มติชนออนไลน์
กล่องของขวัญที่ว่างเปล่า ....ขอโทษ(ครับ) ผมเสียดายภาษี
ผมแกะกล่องของขวัญของผู้นำ ที่แจกผ่านรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ออกอากาศผ่านสื่อของรัฐ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2554 ดูแล้ว (ครับ) ต้องบอกกันตรงๆ แบบชนชั้นกลางที่โดนรีดภาษีจนหลังอานว่า ผมไม่ได้อะไรเลยจาก ของขวัญ 9 ชิ้น
หนึ่ง ดึงแรงงานนอกระบบเข้าไปอยู่ในระบบประกันสังคม สอง สินเชื่อพิเศษเพื่อแท็กซี่และผู้ค้าหาบเร่แผงลอย สาม เสื้อวิน ของขวัญสำหรับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง สี่ จุดผ่อนผันสำหรับหาบเร่แผงลอย ห้า ตรึงราคาแอลพีจี สำหรับครัวเรือนและขนส่ง หก ไฟฟ้าฟรี เจ็ด ต้นทุนภาคการเกษตร แปด เปิดเผยข้อมูลต้นทุนสินค้าโดยเฉพาะไข่ไก่ เก้า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ผมรู้สึกแบบเดียวกับ ประชาชนในผลสำรวจของเอแบคโพลล์ว่า ไม่มีอะไรใหม่ ล้วนเป็นเรื่องเดิมๆ
ใครจะว่า ชนชั้นกลางอย่างผม เห็นแก่ตัว ก็เชิญเลย แต่ผมก็เสียภาษีให้คุณรัฐบาลทุกชุดมาโดยตลอด
ไม่เคยเปิดตำรา How to รวยแบบ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียรและพวก ไม่เคยซื้อกองทุน LTF หรือ RMF เพื่อใช้หักภาษี
แต่ละวัน ใช้จ่าย ดื่มกิน โดยมีภาษีกำกับทุกรายการ ผมเชื่อว่า ชนชั้นกลางแบบผมเสียภาษีมากกว่า 500 เศรษฐีหุ้น"บางคน"ที่กำไรโดยไม่ต้องจ่ายภาษี
ภูมิใจเรื่อยมาว่า เงินภาษีของเราสร้างชาติ เราจ่ายเงินให้ข้าราชการและนักการเมืองดูแลประโยชน์สาธารณะโดยรวม
ไม่เคยไปเย้วๆ เรียกร้องสิทธิทางการเมือง โดยการชุมนุมปิดถนน ไม่เคยยึดทำเนียบรัฐบาล ไม่เคยยึดสนามบิน ไม่เคยประกาศตัวว่า รักชาติมากกว่าใคร จนขนาดจะไปก่อสงครามกับเพื่อนบ้าน
นิยามความรักชาติของชนชั้นกลางแบบผมและเพื่อนๆ ก็คือ ทำหน้าที่พลเมืองดี เคารพกฎหมาย และจ่ายภาษีทุกเม็ด
แต่เมื่อแกะกล่องของขวัญ" 9 ชิ้น"ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ แล้ว บอกได้คำเดียวว่า "เสียดายภาษี"(ครับ)
ตอนปลายรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผมเคยวิจารณ์นโยบายประชานิยมของทักษิณ ผ่านรัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยคนหนึ่ง ว่า ชนชั้นกลางอย่างพวกผมไม่ได้อะไรเลย(นะ) จากนโยบายหาเสียงแบบเข้มข้นของคุณทักษิณ
ผมต่อว่าแบบไม่เกรงใจผ่านรัฐมนตรีไทยรักไทยว่า คุณเอาภาษีของผม ไปหาเสียงกับชนชั้นรากหญ้า(นี่หว่า )
รัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยแก้ต่างว่า โดยอ้อมแล้วชนชั้นกลางอย่างผม จะได้อานิสสงค์แน่นอน เมื่อทุกคนอยู่ดีมีสุข สังคมจะน่าอยู่
พวกเขา บอกว่า มันจะค่อยๆหลั่งรินไปถึงทุกชนชั้น ...ใจเย็นๆ เดี๋ยวฝนก็ตกทั่วฟ้า
รัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยคนนั้น บอกว่า ของขวัญสำหรับชนชั้นกลาง อย่างผมอยู่ในแพกเกจต่อไป ...โปรดอดใจรอ
แล้วไม่นานรัฐบาลประชานิยมของทักษิณก็ถูกรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
มาวันนี้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ กลับมาเล่นละครและคลิป เดียวกับรัฐบาลทักษิณ ชนชั้นกลางอย่างผมเริ่มรู้สึกหงุดหงิด
นอกจากไม่ได้อะไรจากกล่องของขวัญแล้ว ความรู้สึกในด้านความเป็นธรรม ความเสมอหน้ากันต่อหน้ากฎหมายยังแย่ลงเรื่อยๆ
วันนี้ มีแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่โชคดีซ้ำซาก ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่งต่อหน้าสิ่งที่เรียกว่า "ยุติธรรม"
แต่ประสบการณ์ของชาวบ้านส่วนใหญ่ คือ การเลือกปฎิบัติ และ 2 มาตรฐานในสังคมไทย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่พบเห็นอยู่ทั่วไป
วันเดียวกับที่นายกฯอภิสิทธิ์ แจกของขวัญ เอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 74.7 % มองว่ามีการครอบครองที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศโดยคนตระกูลใหญ่ๆ เพียงไม่กี่กลุ่ม
ประชาชนส่วนใหญ่ 76.0 % ได้ยินเรื่องการวิ่งเต้น ซื้อขายตำแหน่งในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ และที่สำคัญคุณภาพของข้าราชการยังแย่เหมือนเดิม
มิใยต้อง พูดเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ชั่วโมงนี้ ความปลอดภัย มีให้บริการเฉพาะชนชั้นนำที่มีรถนำเท่านั้น
ชนชั้นกลางที่จ่ายภาษีอย่างผม ย่อมมีสิทธิคาดหวังว่า จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เราควรได้รับการปฎิบัติจากรัฐบาล อย่างเสมอภาค
แต่วันนี้ ภาษีที่จ่ายไป ดูเหมือนว่า ถูกเอาไปใช้จ่ายแบบไม่คุ้มค่า ถามจริงๆ เถิด ประเทศไทยจะยั่งยืน ด้วยกล่องของขัวญพวกนี้จริงๆ หรือ ?
จริงๆ แล้ว ชนชั้นกลางอย่างพวกผม อยากเรียกร้องให้ รัฐบาล นำแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคนเข้าสู่ระบบภาษีมากกว่า ไม่ใช่มุ่งแต่หาเสียงกับแรงงานนอกระบบ เพื่อหวังคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งครั้งหน้า
ชนชั้นกลางอย่างผมไม่ขออะไรจากรัฐบาลชุดนี้ เพราะไม่คาดหวังอะไรอยู่แล้ว ทั้งความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและต่อหน้าการบังคับใช้กฎหมาย
หากจะทวงถามบ้าง ก็มีเพียงเรื่องเดียวคือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะดองกันอีกนานไหม หรือว่า ต้องรอรัฐบาลชุดหน้ามาตัดสินใจ !(ครับ)
ที่มา.มติชนออนไลน์
------------------------------------------------------------------
หนึ่ง ดึงแรงงานนอกระบบเข้าไปอยู่ในระบบประกันสังคม สอง สินเชื่อพิเศษเพื่อแท็กซี่และผู้ค้าหาบเร่แผงลอย สาม เสื้อวิน ของขวัญสำหรับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง สี่ จุดผ่อนผันสำหรับหาบเร่แผงลอย ห้า ตรึงราคาแอลพีจี สำหรับครัวเรือนและขนส่ง หก ไฟฟ้าฟรี เจ็ด ต้นทุนภาคการเกษตร แปด เปิดเผยข้อมูลต้นทุนสินค้าโดยเฉพาะไข่ไก่ เก้า ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ผมรู้สึกแบบเดียวกับ ประชาชนในผลสำรวจของเอแบคโพลล์ว่า ไม่มีอะไรใหม่ ล้วนเป็นเรื่องเดิมๆ
ใครจะว่า ชนชั้นกลางอย่างผม เห็นแก่ตัว ก็เชิญเลย แต่ผมก็เสียภาษีให้คุณรัฐบาลทุกชุดมาโดยตลอด
ไม่เคยเปิดตำรา How to รวยแบบ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียรและพวก ไม่เคยซื้อกองทุน LTF หรือ RMF เพื่อใช้หักภาษี
แต่ละวัน ใช้จ่าย ดื่มกิน โดยมีภาษีกำกับทุกรายการ ผมเชื่อว่า ชนชั้นกลางแบบผมเสียภาษีมากกว่า 500 เศรษฐีหุ้น"บางคน"ที่กำไรโดยไม่ต้องจ่ายภาษี
ภูมิใจเรื่อยมาว่า เงินภาษีของเราสร้างชาติ เราจ่ายเงินให้ข้าราชการและนักการเมืองดูแลประโยชน์สาธารณะโดยรวม
ไม่เคยไปเย้วๆ เรียกร้องสิทธิทางการเมือง โดยการชุมนุมปิดถนน ไม่เคยยึดทำเนียบรัฐบาล ไม่เคยยึดสนามบิน ไม่เคยประกาศตัวว่า รักชาติมากกว่าใคร จนขนาดจะไปก่อสงครามกับเพื่อนบ้าน
นิยามความรักชาติของชนชั้นกลางแบบผมและเพื่อนๆ ก็คือ ทำหน้าที่พลเมืองดี เคารพกฎหมาย และจ่ายภาษีทุกเม็ด
แต่เมื่อแกะกล่องของขวัญ" 9 ชิ้น"ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ แล้ว บอกได้คำเดียวว่า "เสียดายภาษี"(ครับ)
ตอนปลายรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผมเคยวิจารณ์นโยบายประชานิยมของทักษิณ ผ่านรัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยคนหนึ่ง ว่า ชนชั้นกลางอย่างพวกผมไม่ได้อะไรเลย(นะ) จากนโยบายหาเสียงแบบเข้มข้นของคุณทักษิณ
ผมต่อว่าแบบไม่เกรงใจผ่านรัฐมนตรีไทยรักไทยว่า คุณเอาภาษีของผม ไปหาเสียงกับชนชั้นรากหญ้า(นี่หว่า )
รัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยแก้ต่างว่า โดยอ้อมแล้วชนชั้นกลางอย่างผม จะได้อานิสสงค์แน่นอน เมื่อทุกคนอยู่ดีมีสุข สังคมจะน่าอยู่
พวกเขา บอกว่า มันจะค่อยๆหลั่งรินไปถึงทุกชนชั้น ...ใจเย็นๆ เดี๋ยวฝนก็ตกทั่วฟ้า
รัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยคนนั้น บอกว่า ของขวัญสำหรับชนชั้นกลาง อย่างผมอยู่ในแพกเกจต่อไป ...โปรดอดใจรอ
แล้วไม่นานรัฐบาลประชานิยมของทักษิณก็ถูกรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
มาวันนี้ รัฐบาลอภิสิทธิ์ กลับมาเล่นละครและคลิป เดียวกับรัฐบาลทักษิณ ชนชั้นกลางอย่างผมเริ่มรู้สึกหงุดหงิด
นอกจากไม่ได้อะไรจากกล่องของขวัญแล้ว ความรู้สึกในด้านความเป็นธรรม ความเสมอหน้ากันต่อหน้ากฎหมายยังแย่ลงเรื่อยๆ
วันนี้ มีแต่พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่โชคดีซ้ำซาก ได้รับความอนุเคราะห์อย่างยิ่งต่อหน้าสิ่งที่เรียกว่า "ยุติธรรม"
แต่ประสบการณ์ของชาวบ้านส่วนใหญ่ คือ การเลือกปฎิบัติ และ 2 มาตรฐานในสังคมไทย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่พบเห็นอยู่ทั่วไป
วันเดียวกับที่นายกฯอภิสิทธิ์ แจกของขวัญ เอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 74.7 % มองว่ามีการครอบครองที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศโดยคนตระกูลใหญ่ๆ เพียงไม่กี่กลุ่ม
ประชาชนส่วนใหญ่ 76.0 % ได้ยินเรื่องการวิ่งเต้น ซื้อขายตำแหน่งในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ และที่สำคัญคุณภาพของข้าราชการยังแย่เหมือนเดิม
มิใยต้อง พูดเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ชั่วโมงนี้ ความปลอดภัย มีให้บริการเฉพาะชนชั้นนำที่มีรถนำเท่านั้น
ชนชั้นกลางที่จ่ายภาษีอย่างผม ย่อมมีสิทธิคาดหวังว่า จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เราควรได้รับการปฎิบัติจากรัฐบาล อย่างเสมอภาค
แต่วันนี้ ภาษีที่จ่ายไป ดูเหมือนว่า ถูกเอาไปใช้จ่ายแบบไม่คุ้มค่า ถามจริงๆ เถิด ประเทศไทยจะยั่งยืน ด้วยกล่องของขัวญพวกนี้จริงๆ หรือ ?
จริงๆ แล้ว ชนชั้นกลางอย่างพวกผม อยากเรียกร้องให้ รัฐบาล นำแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคนเข้าสู่ระบบภาษีมากกว่า ไม่ใช่มุ่งแต่หาเสียงกับแรงงานนอกระบบ เพื่อหวังคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งครั้งหน้า
ชนชั้นกลางอย่างผมไม่ขออะไรจากรัฐบาลชุดนี้ เพราะไม่คาดหวังอะไรอยู่แล้ว ทั้งความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและต่อหน้าการบังคับใช้กฎหมาย
หากจะทวงถามบ้าง ก็มีเพียงเรื่องเดียวคือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะดองกันอีกนานไหม หรือว่า ต้องรอรัฐบาลชุดหน้ามาตัดสินใจ !(ครับ)
ที่มา.มติชนออนไลน์
------------------------------------------------------------------
ทางแก้'น้ำมันปาล์ม'
ดูเหมือนมาตรการที่รัฐบาลพยายามช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพให้กับชาวบ้าน จะไล่ตามหลังกับราคาสินค้าที่ทยอยปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์เพิ่งอนุมัติ ให้ปรับขึ้นราคาน้ำปาล์มอีกขวดละ 9 บาท ทำให้ราคาขายปลีกตกเกือบ ๆ ขวดละ 50 บาท ไม่รู้ว่านี่เป็นแผนดึงคะแนนเสียงประเภทไหน เพราะได้ยินแต่เสียงร้องระงมของผู้ได้รับผลกระทบ
ดังนั้นถ้ามติของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่อนุมัติให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบปริมาณ 30,000 ตัน จะส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มได้รับผลกระทบจนต้องออกมาต่อต้าน ก็ เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการนำเข้าครั้งนี้ เป็น เพียงเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มในประเทศเท่านั้น
เพราะในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา น้ำมันปาล์มขวด สำหรับบริโภคมีราคาสูงลิ่วเกือบ 50 บาทต่อขวด แถมเมื่อมาโดนมาตรการควบคุมราคาของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกำหนดให้จำหน่าย ไม่เกินขวดละ 38 บาท ก็ทำให้น้ำมันปาล์มขวดหายไปจากชั้นวางของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ทันที การอนุมัติครั้งนี้ จึงเป็นการมุ่งช่วยเหลือผู้บริโภค และพยายามลดผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ปลูกปาล์มไปพร้อม ๆ กัน
จริง ๆ แล้ว ปัญหาของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ผมลองสอบถามผู้รู้ ได้รับข้อมูลมาว่า ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะมีการอนุมัติให้นำเข้าหรือไม่เพียงอย่างเดียว แต่เพราะการขาดการปรับปรุงคุณภาพ ในการปลูก และสกัดน้ำมันปาล์มจนทำให้ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของน้ำมันที่สกัดได้ของไทยน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นคู่แข่งในเรื่องของน้ำมันปาล์ม อย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย และนั่นคือปัญหาสำคัญที่ผู้ปลูกปาล์มจะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข โดยมีภาครัฐ เข้าไปช่วยเหลือ มากกว่าที่จะหวังพึ่งมาตรการสกัดกั้นการนำเข้าแต่เพียงอย่างเดียว
ขณะที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย สามารถควบคุมคุณภาพได้จึงสกัดน้ำมันปาล์มได้มากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนัก ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าของบ้านเรา และทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาจากประเทศเพื่อนบ้านได้ หากไม่มีกำแพงภาษีมาช่วย
แต่จากกรอบข้อตกลงของ องค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) และ เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ทำให้ไทยต้องเปิดเสรีการนำเข้าน้ำมันปาล์ม โดยไม่มีกำแพงภาษีมาช่วยสกัดกั้นเหมือนในอดีต ทำให้เป็นโจทก์ใหญ่ว่า เราจะป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มได้อย่างไร เพราะในขณะที่ผู้บริโภคกำลังจะได้เปรียบ เนื่องจากมีโอกาสซื้อนำมันปาล์มในราคาที่ถูกลง แต่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มกำลังจะได้รับผลกระทบจากราคาผลปาล์มที่จะลดลงด้วย ซึ่งคาดว่า ทันทีที่เปิดเขตการค้าเสรี ราคาปาล์มจะลดลงเหลือเพียง กก. ละ 2 บาทเศษเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เตรียมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มจาก กรอบองค์กรระหว่างประเทศ
โดยการวางนโยบายไว้หลายประการ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายปาล์มระดับชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและกำกับ ดูแลอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม การควบ คุมจำนวนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มให้มีจำนวนและกำลังการผลิตสอดคล้องกับวัตถุดิบ, บังคับใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 5 ทั่วประเทศ
และจะมีการออก พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมัน เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย รวมทั้งจะมีการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูก ปาล์มน้ำมันผ่านสถาบันการเกษตร โดยขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเอาไว้เพื่อให้การช่วยเหลือ, จัดตั้งกองทุนปาล์มน้ำมัน เช่นเดียวกับกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ฯลฯ
มาตรการเหล่านี้ น่าจะทำให้เกษตรกรปลูกน้ำมันปาล์ม มั่นใจว่า จะสามารถเผชิญหน้ากับการเปิดเสรีนำเข้าน้ำมันปาล์มได้อย่างมั่นคง และสู้กับคู่แข่งอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียได้อย่างยั่งยืน
เพราะว่ากันตามจริงแล้ว การนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพียง 30,000 ตัน ในครั้งนี้ยัง เทียบไม่ได้กับการเปิดนำเข้าเสรีภายใต้กรอบ ดับบลิวทีโอและอาฟต้า.
โดย.เขื่อนขันธ์
ทีมา.Thairecent
ดังนั้นถ้ามติของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่อนุมัติให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบปริมาณ 30,000 ตัน จะส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มได้รับผลกระทบจนต้องออกมาต่อต้าน ก็ เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการนำเข้าครั้งนี้ เป็น เพียงเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำมันปาล์มในประเทศเท่านั้น
เพราะในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา น้ำมันปาล์มขวด สำหรับบริโภคมีราคาสูงลิ่วเกือบ 50 บาทต่อขวด แถมเมื่อมาโดนมาตรการควบคุมราคาของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกำหนดให้จำหน่าย ไม่เกินขวดละ 38 บาท ก็ทำให้น้ำมันปาล์มขวดหายไปจากชั้นวางของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ทันที การอนุมัติครั้งนี้ จึงเป็นการมุ่งช่วยเหลือผู้บริโภค และพยายามลดผลกระทบต่อเกษตรกร ผู้ปลูกปาล์มไปพร้อม ๆ กัน
จริง ๆ แล้ว ปัญหาของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ผมลองสอบถามผู้รู้ ได้รับข้อมูลมาว่า ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะมีการอนุมัติให้นำเข้าหรือไม่เพียงอย่างเดียว แต่เพราะการขาดการปรับปรุงคุณภาพ ในการปลูก และสกัดน้ำมันปาล์มจนทำให้ปริมาณเปอร์เซ็นต์ของน้ำมันที่สกัดได้ของไทยน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นคู่แข่งในเรื่องของน้ำมันปาล์ม อย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย และนั่นคือปัญหาสำคัญที่ผู้ปลูกปาล์มจะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข โดยมีภาครัฐ เข้าไปช่วยเหลือ มากกว่าที่จะหวังพึ่งมาตรการสกัดกั้นการนำเข้าแต่เพียงอย่างเดียว
ขณะที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย สามารถควบคุมคุณภาพได้จึงสกัดน้ำมันปาล์มได้มากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนัก ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าของบ้านเรา และทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาจากประเทศเพื่อนบ้านได้ หากไม่มีกำแพงภาษีมาช่วย
แต่จากกรอบข้อตกลงของ องค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) และ เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ทำให้ไทยต้องเปิดเสรีการนำเข้าน้ำมันปาล์ม โดยไม่มีกำแพงภาษีมาช่วยสกัดกั้นเหมือนในอดีต ทำให้เป็นโจทก์ใหญ่ว่า เราจะป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มได้อย่างไร เพราะในขณะที่ผู้บริโภคกำลังจะได้เปรียบ เนื่องจากมีโอกาสซื้อนำมันปาล์มในราคาที่ถูกลง แต่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มกำลังจะได้รับผลกระทบจากราคาผลปาล์มที่จะลดลงด้วย ซึ่งคาดว่า ทันทีที่เปิดเขตการค้าเสรี ราคาปาล์มจะลดลงเหลือเพียง กก. ละ 2 บาทเศษเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เตรียมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มจาก กรอบองค์กรระหว่างประเทศ
โดยการวางนโยบายไว้หลายประการ เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายปาล์มระดับชาติ เพื่อกำหนดนโยบายและกำกับ ดูแลอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม การควบ คุมจำนวนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มให้มีจำนวนและกำลังการผลิตสอดคล้องกับวัตถุดิบ, บังคับใช้น้ำมันไบโอดีเซลบี 5 ทั่วประเทศ
และจะมีการออก พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมัน เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย รวมทั้งจะมีการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูก ปาล์มน้ำมันผ่านสถาบันการเกษตร โดยขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเอาไว้เพื่อให้การช่วยเหลือ, จัดตั้งกองทุนปาล์มน้ำมัน เช่นเดียวกับกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ฯลฯ
มาตรการเหล่านี้ น่าจะทำให้เกษตรกรปลูกน้ำมันปาล์ม มั่นใจว่า จะสามารถเผชิญหน้ากับการเปิดเสรีนำเข้าน้ำมันปาล์มได้อย่างมั่นคง และสู้กับคู่แข่งอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียได้อย่างยั่งยืน
เพราะว่ากันตามจริงแล้ว การนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพียง 30,000 ตัน ในครั้งนี้ยัง เทียบไม่ได้กับการเปิดนำเข้าเสรีภายใต้กรอบ ดับบลิวทีโอและอาฟต้า.
โดย.เขื่อนขันธ์
ทีมา.Thairecent
โดน2เด้ง
การชุมนุมรำลึกครบรอบ 10 เดือนเหตุการณ์ฆ่าหมู่ 10 เม.ย.2553 ของคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา
เป็นการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ครั้งแรกของนปช. หลังประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
คนเสื้อแดงกว่า 3-4 หมื่นคนชุมนุมกันแน่นราชประสงค์
มีนัยยะสำคัญ !
เพราะเป็นการแสดงพลังให้เห็นว่าคนเสื้อแดงไม่ได้"ฝ่อ"เหมือนกับที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้
แสดงให้เห็นด้วยว่านโยบายประชาวิวัฒน์
หรือ 9 ของขวัญปีใหม่ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประ เคนให้นั้น
ไม่ได้มีผลทำให้คนเสื้อแดงลืมเลือนการสังหารหมู่ 91 ศพ ได้เลยแม้แต่น้อย
ประเด็นหลักของการชุมนุมครั้งนี้
ต้องการให้รัฐบาลรับผิดชอบการฆ่าหมู่ 91 ศพ และให้รัฐบาลปล่อยนักโทษการเมืองหลายร้อยคน
เสียงเรียกร้องดังกระหึ่มไปทั่วราชประสงค์ !
เชื่อว่าต่อจากนี้ไปจะมีการเคลื่อนไหวที่หนักหน่วงยิ่ง กว่าเดิม
ไม่ได้หมายความว่าคนเสื้อแดงจะเพิ่มดีกรีความรุนแรงขึ้น
แต่จะหนักหน่วงในด้าน"ข้อมูลและข้อเท็จจริง"ยิ่งขึ้น
การเปิดข้อมูลเอกสารลับต่างๆ เกี่ยวกับคดีคนเสื้อแดงจะมีมากขึ้น
ขุดคุ้ยว่าใครอยู่เบื้องหลังคำสั่งสังหารหมู่ !?
และยิ่งตอกย้ำความ 2 มาตรฐานของรัฐบาลไปพร้อมๆ กัน
ที่สำคัญการทวงความยุติธรรมจะเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นในเวทีนานาชาติ
การแสดงพลังของคนเสื้อแดงครั้งล่าสุดเป็นการฟ้องต่อสายตาชาวโลก
ยืนยันว่ายังมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นกับนักโทษเสื้อแดง
รัฐบาลยังคงลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนเสื้อแดง
เชื่อว่าในเร็ววันนี้จะเห็นองค์กรโลกหันมาให้ความสนใจ เรื่องนี้ยิ่งขึ้น
แต่ที่จะเห็นผลชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หลังมีการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนฯในวันที่ 21 ม.ค.นี้
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ในฐานะส.ส. พรรคเพื่อไทย
ประกาศชัดว่าคดีความทุกอย่างจะเอาไว้พูดในที่ประ ชุมรัฐสภา
เพราะพรรคเพื่อไทยให้อภิปรายได้แบบไม่จำกัดเวลา
เมื่อถึงตอนนั้นสังคมก็จะได้รู้ความจริงทั้งหมด
น่าหนักใจแทนนายอภิสิทธิ์ เพราะปัญหา 7 คนไทยถูกขังในเรือนจำเขมรยังหนักอกหนักใจอยู่เลย
พลาดพลั้งให้นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ทะเล่อทะล่าเข้าไปให้ทหารเขมรจับกุม
จนโดนม็อบที่เพิ่งผิดใจกันอัดเละว่าขายชาติ
ต้องมาเผชิญปัญหาถูกฝ่ายค้านเตรียมขย่มซ้ำในสภาเข้าไปอีก
แบบนี้เรียกว่าโดน 2 เด้ง !?
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ เหล็กใน
เป็นการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ครั้งแรกของนปช. หลังประกาศยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
คนเสื้อแดงกว่า 3-4 หมื่นคนชุมนุมกันแน่นราชประสงค์
มีนัยยะสำคัญ !
เพราะเป็นการแสดงพลังให้เห็นว่าคนเสื้อแดงไม่ได้"ฝ่อ"เหมือนกับที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้
แสดงให้เห็นด้วยว่านโยบายประชาวิวัฒน์
หรือ 9 ของขวัญปีใหม่ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประ เคนให้นั้น
ไม่ได้มีผลทำให้คนเสื้อแดงลืมเลือนการสังหารหมู่ 91 ศพ ได้เลยแม้แต่น้อย
ประเด็นหลักของการชุมนุมครั้งนี้
ต้องการให้รัฐบาลรับผิดชอบการฆ่าหมู่ 91 ศพ และให้รัฐบาลปล่อยนักโทษการเมืองหลายร้อยคน
เสียงเรียกร้องดังกระหึ่มไปทั่วราชประสงค์ !
เชื่อว่าต่อจากนี้ไปจะมีการเคลื่อนไหวที่หนักหน่วงยิ่ง กว่าเดิม
ไม่ได้หมายความว่าคนเสื้อแดงจะเพิ่มดีกรีความรุนแรงขึ้น
แต่จะหนักหน่วงในด้าน"ข้อมูลและข้อเท็จจริง"ยิ่งขึ้น
การเปิดข้อมูลเอกสารลับต่างๆ เกี่ยวกับคดีคนเสื้อแดงจะมีมากขึ้น
ขุดคุ้ยว่าใครอยู่เบื้องหลังคำสั่งสังหารหมู่ !?
และยิ่งตอกย้ำความ 2 มาตรฐานของรัฐบาลไปพร้อมๆ กัน
ที่สำคัญการทวงความยุติธรรมจะเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นในเวทีนานาชาติ
การแสดงพลังของคนเสื้อแดงครั้งล่าสุดเป็นการฟ้องต่อสายตาชาวโลก
ยืนยันว่ายังมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นกับนักโทษเสื้อแดง
รัฐบาลยังคงลิดรอนสิทธิเสรีภาพของคนเสื้อแดง
เชื่อว่าในเร็ววันนี้จะเห็นองค์กรโลกหันมาให้ความสนใจ เรื่องนี้ยิ่งขึ้น
แต่ที่จะเห็นผลชัดเจนที่สุดน่าจะเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล หลังมีการเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนฯในวันที่ 21 ม.ค.นี้
นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ในฐานะส.ส. พรรคเพื่อไทย
ประกาศชัดว่าคดีความทุกอย่างจะเอาไว้พูดในที่ประ ชุมรัฐสภา
เพราะพรรคเพื่อไทยให้อภิปรายได้แบบไม่จำกัดเวลา
เมื่อถึงตอนนั้นสังคมก็จะได้รู้ความจริงทั้งหมด
น่าหนักใจแทนนายอภิสิทธิ์ เพราะปัญหา 7 คนไทยถูกขังในเรือนจำเขมรยังหนักอกหนักใจอยู่เลย
พลาดพลั้งให้นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ทะเล่อทะล่าเข้าไปให้ทหารเขมรจับกุม
จนโดนม็อบที่เพิ่งผิดใจกันอัดเละว่าขายชาติ
ต้องมาเผชิญปัญหาถูกฝ่ายค้านเตรียมขย่มซ้ำในสภาเข้าไปอีก
แบบนี้เรียกว่าโดน 2 เด้ง !?
ที่มา.ข่าวสดรายวัน คอลัมน์ เหล็กใน
วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554
“ปรองดอง” ปิดฉาก!!
สมานฉันท์สามัคคี ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับยุค “ท่านนายกฯมาร์ค”??
จะโดนพรากอิสรเสรีภาพ ไปจากเสื้อแดงอีกคน...เมื่อ “สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์” หรือ “สุรชัย แซ่ด่าน” จะโดนถูกจับ
ขณะที่ “ศาสดาโกเต็ก” คดีติดตัวเป็นพรวน แต่บินปร๋อไป ฮ่องกง ท่องเมืองจีน ได้อย่างปลอดโปร่งหัวใจ ด้วยสิครับ
แต่ละไฟล์ทเที่ยวการบิน มีทหารตำรวจคุ้มกันส่งถึง “สุวรรณภูมิ”..เมื่อวันเสาร์ที่ผ่าน มีกำลังส่วนตัวไปส่งกันเพียบ?...ผิดกับ “หัวหน้าปฏิวัติ คมช.” คือ “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน” เดินเดี่ยวเปล่าเปลี่ยวอุราลำพัง ขณะเหินฟ้าไปยังฮ่องกง!!!
“บิ๊กบัง” เดี๋ยวนี้แย่...ไม่มีใครชายตาแล?...มีแต่ผลักไสไล่ส่ง???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นอนตายตาหลับ!!
ระเบิดสังหารแสวงเครื่อง ที่ถล่มห้องสมุด ของ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ที่ขอนแก่น ท่านคงหลับยาก เสียแล้วสิครับ??
ถึงแม้ “สภากลาโหม”..จะ อนุมัติงบ “๗๐,๐๐๐ ล้าน ให้กองพลทหารม้าที่ ๓ หรือ “พล ม.๓” โดยเป็นงบผูกพันมาราธอน ยาวนาน ๑๐ ปี
แต่เกิดเหตุ บึ้มครั้งแล้วครั้งเล่า.. “ป๋า” ย่อมไม่แฮปปี้
เหมือนส่งสัญญาณ บอยคอต แอนตี้ ไม่อยากให้ “พล ม. ๓” เกิดขึ้นที่ขอนแก่น..ก็ไม่ผิด!!
ความฝันป๋าเหลือขั้นสุดท้าย....ทำลายแก่มากมาย?...ดูจะโหดร้ายกันไปสักนิด??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กลืนเลือดลงกระเพาะ !!
นับวันสายสัมพันธ์ ของ “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” กับ “นายใหญ่เนวิน ชิดชอบ” และ “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง จะหักกลางดังเป๊าะ??
แก้รัฐธรรมนูญ “นายกฯมาร์ค” ก็ขี่คอเอาตอแทงตา..เอาเปรียบพรรคร่วมกัน ด้วยสูตร ...สส.เขต ๓๗๕คน ส.ส.สัดส่วน ๑๒๕ คน
สร้างกติกาเลือกตั้งแบบ “กติกู” เช่นนี้... พรรคร่วมทั้ง ภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา-รวมชาติพัฒนา-กิจสังคม ต่างตกเป็น “เบี้ยล่าง” เสียหายปี้ป่น
รวมทั้งผู้ที่เคย แบกเสลี่ยงหาม ให้“อภิสิทธิ์” เหยียบบ่ามาคุมอำนาจประเทศ.... ทั้ง “ซีไอเอเมืองไทย” น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน เจ้าของดาวเทียมช่อง ๑๓ “สยามไท” และ “สนธิ ลิ้มทองกุล” พร้อมสาวกต่างด่า “มาร์ค” กันวันละสามเวลาหลังอาหารเย็น!!
แหม,คนที่เคยอุ้มชู...เดี๋ยวนี้กลายเป็นศัตรู?...ดูแล้วมีมากขึ้น วันละหลายเปอร์เซ็นต์???
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชาวบ้านชี้ช้ำ!!!
“นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เล่นทำหยั่งงี้, เขาก็ต้องพากันรับกรรม??
อย่างบอกให้รู้.. ช่วง, สุดท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ “ท่านนายกฯอภิสิทธิ์” ไปพักผ่อนที่จังหวัดตาก โดยมี “ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์”รัฐมนตรีว่าการอุสาหกรรม ตามเช็คแคร์ดูแลใกล้ชิด
แต่นายกฯรู้หรือเปล่า?...เหมืองแร่ที่ไปพำนักพักหลับนอน เป็นแหล่ง สร้างมลพิษ
เมื่อ “ท่านอภิสิทธิ์” ไปนอนเค้เก้ พร้อมกับครอบครัว..แล้วข้าราชการที่ไหน จะกล้าจัดการเรื่องเดือดร้อน ที่ชาวบ้านจังหวัดตาก พากันร้องเรียนระงม!!!
“ท่านอภิสิทธิ์”จงรู้ด้วยว่า...พอท่านกันมา?...ชาวบ้านก็ส่งเสียงด่ากันจม????
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เล่นการเมืองแบบประชาธิปัตย์!!!
ใครไม่ใช่พวกตัวเอง ก็ต้องเสียบตัดขา เพื่อสกัด??
แต่เพราะ “หล่อเล็ก” อภิรักษ์ โกษะโยธิน ว่าที่สส.น้องใหม่ป้ายแดง.. เป็นกลุ่ม ก๊วน ก๊กเดียว กับ “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จึงได้รับการดูแล เป็นอย่างดี
ถ้า “หล่อใหญ่” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ตกหลุมอากาศแล้ว ให้มอง “หล่อเล็ก” ได้เลยนะพี่
เขาคนนี้นี่แหละ...จะเข้ามาเป็น “หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์” และ เป็น “นายกรัฐมนตรีคนต่อไป?” ..ปล่อยให้พวกหมายปอง อย่าง “ขุนคลังกรณ์ จาติกวณิช”, “รองสุเทพ เทือกสุบรรณ”, “รัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฏ์” อิจฉา มองกันตาเขียว!!!
เพราะกล่องดวงใจ...คนที่ “อภิสิทธิ์”รักใคร่?...อยู่ในหัวใจมีเพียงแต่ “หล่อเล็ก”คนเดียว
++++++++++++++++++++++++++++++++
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร,บางกอกทูเดย์
จะโดนพรากอิสรเสรีภาพ ไปจากเสื้อแดงอีกคน...เมื่อ “สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์” หรือ “สุรชัย แซ่ด่าน” จะโดนถูกจับ
ขณะที่ “ศาสดาโกเต็ก” คดีติดตัวเป็นพรวน แต่บินปร๋อไป ฮ่องกง ท่องเมืองจีน ได้อย่างปลอดโปร่งหัวใจ ด้วยสิครับ
แต่ละไฟล์ทเที่ยวการบิน มีทหารตำรวจคุ้มกันส่งถึง “สุวรรณภูมิ”..เมื่อวันเสาร์ที่ผ่าน มีกำลังส่วนตัวไปส่งกันเพียบ?...ผิดกับ “หัวหน้าปฏิวัติ คมช.” คือ “บิ๊กบัง” พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน” เดินเดี่ยวเปล่าเปลี่ยวอุราลำพัง ขณะเหินฟ้าไปยังฮ่องกง!!!
“บิ๊กบัง” เดี๋ยวนี้แย่...ไม่มีใครชายตาแล?...มีแต่ผลักไสไล่ส่ง???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นอนตายตาหลับ!!
ระเบิดสังหารแสวงเครื่อง ที่ถล่มห้องสมุด ของ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” ที่ขอนแก่น ท่านคงหลับยาก เสียแล้วสิครับ??
ถึงแม้ “สภากลาโหม”..จะ อนุมัติงบ “๗๐,๐๐๐ ล้าน ให้กองพลทหารม้าที่ ๓ หรือ “พล ม.๓” โดยเป็นงบผูกพันมาราธอน ยาวนาน ๑๐ ปี
แต่เกิดเหตุ บึ้มครั้งแล้วครั้งเล่า.. “ป๋า” ย่อมไม่แฮปปี้
เหมือนส่งสัญญาณ บอยคอต แอนตี้ ไม่อยากให้ “พล ม. ๓” เกิดขึ้นที่ขอนแก่น..ก็ไม่ผิด!!
ความฝันป๋าเหลือขั้นสุดท้าย....ทำลายแก่มากมาย?...ดูจะโหดร้ายกันไปสักนิด??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กลืนเลือดลงกระเพาะ !!
นับวันสายสัมพันธ์ ของ “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” กับ “นายใหญ่เนวิน ชิดชอบ” และ “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุวรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง จะหักกลางดังเป๊าะ??
แก้รัฐธรรมนูญ “นายกฯมาร์ค” ก็ขี่คอเอาตอแทงตา..เอาเปรียบพรรคร่วมกัน ด้วยสูตร ...สส.เขต ๓๗๕คน ส.ส.สัดส่วน ๑๒๕ คน
สร้างกติกาเลือกตั้งแบบ “กติกู” เช่นนี้... พรรคร่วมทั้ง ภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา-รวมชาติพัฒนา-กิจสังคม ต่างตกเป็น “เบี้ยล่าง” เสียหายปี้ป่น
รวมทั้งผู้ที่เคย แบกเสลี่ยงหาม ให้“อภิสิทธิ์” เหยียบบ่ามาคุมอำนาจประเทศ.... ทั้ง “ซีไอเอเมืองไทย” น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน เจ้าของดาวเทียมช่อง ๑๓ “สยามไท” และ “สนธิ ลิ้มทองกุล” พร้อมสาวกต่างด่า “มาร์ค” กันวันละสามเวลาหลังอาหารเย็น!!
แหม,คนที่เคยอุ้มชู...เดี๋ยวนี้กลายเป็นศัตรู?...ดูแล้วมีมากขึ้น วันละหลายเปอร์เซ็นต์???
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชาวบ้านชี้ช้ำ!!!
“นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เล่นทำหยั่งงี้, เขาก็ต้องพากันรับกรรม??
อย่างบอกให้รู้.. ช่วง, สุดท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่ “ท่านนายกฯอภิสิทธิ์” ไปพักผ่อนที่จังหวัดตาก โดยมี “ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์”รัฐมนตรีว่าการอุสาหกรรม ตามเช็คแคร์ดูแลใกล้ชิด
แต่นายกฯรู้หรือเปล่า?...เหมืองแร่ที่ไปพำนักพักหลับนอน เป็นแหล่ง สร้างมลพิษ
เมื่อ “ท่านอภิสิทธิ์” ไปนอนเค้เก้ พร้อมกับครอบครัว..แล้วข้าราชการที่ไหน จะกล้าจัดการเรื่องเดือดร้อน ที่ชาวบ้านจังหวัดตาก พากันร้องเรียนระงม!!!
“ท่านอภิสิทธิ์”จงรู้ด้วยว่า...พอท่านกันมา?...ชาวบ้านก็ส่งเสียงด่ากันจม????
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เล่นการเมืองแบบประชาธิปัตย์!!!
ใครไม่ใช่พวกตัวเอง ก็ต้องเสียบตัดขา เพื่อสกัด??
แต่เพราะ “หล่อเล็ก” อภิรักษ์ โกษะโยธิน ว่าที่สส.น้องใหม่ป้ายแดง.. เป็นกลุ่ม ก๊วน ก๊กเดียว กับ “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” จึงได้รับการดูแล เป็นอย่างดี
ถ้า “หล่อใหญ่” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ตกหลุมอากาศแล้ว ให้มอง “หล่อเล็ก” ได้เลยนะพี่
เขาคนนี้นี่แหละ...จะเข้ามาเป็น “หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์” และ เป็น “นายกรัฐมนตรีคนต่อไป?” ..ปล่อยให้พวกหมายปอง อย่าง “ขุนคลังกรณ์ จาติกวณิช”, “รองสุเทพ เทือกสุบรรณ”, “รัฐมนตรีจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฏ์” อิจฉา มองกันตาเขียว!!!
เพราะกล่องดวงใจ...คนที่ “อภิสิทธิ์”รักใคร่?...อยู่ในหัวใจมีเพียงแต่ “หล่อเล็ก”คนเดียว
++++++++++++++++++++++++++++++++
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร,บางกอกทูเดย์
ประเทศไทยทำลายชื่อเสียงตนเองด้านผู้ลี้ภัยอีกครั้ง
Benjamin Zawacki
นักวิจัยเกี่ยวกับประเทศไทยและพม่าของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล
Déjà vu เป็นคำฝรั่งเศส หมายถึงอะไรที่ “เคยเกิดขึ้นมาแล้ว” Refoulement ก็เป็นคำฝรั่งเศส ความหมายตรง ๆ ก็คือ “บังคับให้กลับ” หลังได้รับรายงานที่ออกเมื่อวันคริสต์มาสว่าทางการไทยเพิ่งจะผลักดันผู้ลี้ภัย 166 คนกลับพม่า ผมรู้ทันทีว่าเคยเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นมาก่อน อันที่จริงก็เกิดขึ้นเมื่อวันคริสต์มาสเมื่อปี 2552 นี่เอง
อันที่จริงแล้ว เมื่อหนึ่งปีก่อนในช่วงสุดสัปดาห์ เพื่อนร่วมงานและผมได้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วิจารณ์สถิติของการคุ้มครองผู้ลี้ภัยในปี 2552 ของรัฐบาลไทย ในช่วงปลายธันวาคม ซึ่งน่าจะเป็นช่วงสัปดาห์ที่เนิ่นช้าสุดของปี กองทัพบกไทยก็ได้ส่งกลับชาวม้งจำนวน 4,500 คนไปยังประเทศลาว ในจำนวนนั้นมีอยู่ 158 คน ซึ่งได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัย และอีกหลายคนเป็นผู้แสวงหาที่พักพิง
หนึ่งปีต่อมา แม้ข้อเท็จจริงบางอย่างจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ทางการไทยก็ได้ผลักดันผู้ลี้ภัย 166 คนกลับไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม โดยที่พวกเขาหลบหนีการสู้รบระหว่างกองกำลังรัฐบาลพม่าและกลุ่มติดอาวุธของชนกลุ่มน้อยในภาคตะวันออกของพม่ามา ในจำนวนนี้ 120 คนเป็นผู้หญิงและเด็ก พวกเขามาหลบภัยอยู่ที่หมู่บ้านวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก และเป็นจุดเดียวกับที่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางการไทยก็ได้ผลักดันผู้ลี้ภัยชาวพม่าออกไปอย่างน้อย 360 คน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ก็ผลักดันออกไปประมาณ 650 คน และเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ก็ผลักดันออกไปประมาณ 2,500 คน
ในช่วงเวลาเดียวกันของปลายปี การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงเกิดขึ้นเหมือนเดิม ทุกคนมีสิทธิแสวงหาที่พักพิง ผู้ที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยมีสิทธิที่จะไม่ถูกส่งกลับไปยังพื้นที่ที่มีการต่อสู้หรือมีการคุกคาม หรือที่เรียกว่าหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) แต่รัฐบาลไทยปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิของผู้ลี้ภัย 166 คนจากพม่า ทั้ง ๆ ที่มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยตามการรับรองของหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR) การที่รัฐบาลไทยไม่ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติไม่ใช่ข้ออ้าง เนื่องจากเช่นเดียวกับข้อห้ามต่อการทรมาน หลักการไม่ส่งกลับเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ หมายถึงว่ามีผลบังคับใช้ต่อทุกรัฐไม่ว่าจะมีพันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือไม่ก็ตาม อีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยได้ละเมิดกฎหมายผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา
แม้เหตุการณ์ที่เลวร้ายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหนึ่งปีก่อน การผลักดันผู้ลี้ภัยกลับครั้งนี้จึงเป็นเรื่องน่าตกอกตกใจ เพราะจริง ๆ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของไทยประกาศปฏิเสธว่า ไม่มี “แผนจะส่งตัวผู้พลัดถิ่นกลับไปยังพม่าภายหลังการเลือกตั้ง (ในพม่า)” แต่ในวันเลือกตั้งนั้นเอง วันที่ 7 พฤศจิกายน ผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกประมาณ 20,000 คนจากพม่าก็เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย และในวันที่ 6 ธันวาคม แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ผลักดันกลับหลายครั้งก่อนหน้านั้น นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตากก็ได้ให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์ระบุว่าประเทศไทยจะไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัยตราบที่การสู้รบยังดำเนินอยู่
น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น แม้ว่าผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่จะเดินทางกลับไปพม่าแล้ว แต่อีกหลายคนอย่างเช่น 166 คนที่ต้องเดินทางกลับเมื่อวันคริสต์มาส พวกเขาเดินทางกลับอย่างไม่สมัครใจ และการสู้รบยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนร่วมงานและผมได้เขียนเป็นข้อสรุปในบทความที่ตีพิมพ์เมื่อหนึ่งปีก่อนว่า “การที่ประเทศไทยไม่เคารพต่อพันธกรณีด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่ประชาคมนานาชาติไม่อาจเพิกเฉยละเลยได้” ผมคงไม่สามารถเขียนประโยคนี้ซ้ำอีก UNHCR ซึ่งออกแถลงการณ์เมื่อปลายธันวาคม เรียกร้องรัฐบาลไทยไม่ให้ผลักดันผู้ลี้ภัย 166 คนกลับ ควรประณามการกระทำครั้งนี้ และควรเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่ยังคงอยู่ในไทย หรือที่กำลังจะเข้ามาเพิ่มเติม สถานทูตต่าง ๆ ที่กรุงเทพฯ ก็ควรกระทำเช่นเดียวกัน ส่วนประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) (ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและโดยที่ทูตไทยประจำกรุงเจนีวาก็ดำรงตำแหน่งประธานของคณะมนตรีฯ) ก็ควรแสดงข้อกังวลต่อการละเมิดที่เกิดขึ้น
อันที่จริงแล้ว คงสายเกินไปสำหรับผู้ลี้ภัยชาวพม่า 166 คนที่ถูกผลักดันออกไปแล้ว เช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยชาวม้งลาว 158 คนที่ออกไปเมื่อปีก่อนหน้า แต่สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพม่า คงยังส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดนเข้ามาต่อไปในช่วงปี 2554 ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะขึ้นสู่อำนาจในไทย รัฐบาลไทยก็ควรยอมรับและปฏิบัติตามพันธกรณีด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่ตนมี แม้จะเป็นการพูดย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกราวกับเป็นเรื่องราวด้านสิทธิมนุษยชนที่เคยรู้ว่าเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม
ที่มา.ประชาไท
นักวิจัยเกี่ยวกับประเทศไทยและพม่าของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล
Déjà vu เป็นคำฝรั่งเศส หมายถึงอะไรที่ “เคยเกิดขึ้นมาแล้ว” Refoulement ก็เป็นคำฝรั่งเศส ความหมายตรง ๆ ก็คือ “บังคับให้กลับ” หลังได้รับรายงานที่ออกเมื่อวันคริสต์มาสว่าทางการไทยเพิ่งจะผลักดันผู้ลี้ภัย 166 คนกลับพม่า ผมรู้ทันทีว่าเคยเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นมาก่อน อันที่จริงก็เกิดขึ้นเมื่อวันคริสต์มาสเมื่อปี 2552 นี่เอง
อันที่จริงแล้ว เมื่อหนึ่งปีก่อนในช่วงสุดสัปดาห์ เพื่อนร่วมงานและผมได้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วิจารณ์สถิติของการคุ้มครองผู้ลี้ภัยในปี 2552 ของรัฐบาลไทย ในช่วงปลายธันวาคม ซึ่งน่าจะเป็นช่วงสัปดาห์ที่เนิ่นช้าสุดของปี กองทัพบกไทยก็ได้ส่งกลับชาวม้งจำนวน 4,500 คนไปยังประเทศลาว ในจำนวนนั้นมีอยู่ 158 คน ซึ่งได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัย และอีกหลายคนเป็นผู้แสวงหาที่พักพิง
หนึ่งปีต่อมา แม้ข้อเท็จจริงบางอย่างจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ทางการไทยก็ได้ผลักดันผู้ลี้ภัย 166 คนกลับไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม โดยที่พวกเขาหลบหนีการสู้รบระหว่างกองกำลังรัฐบาลพม่าและกลุ่มติดอาวุธของชนกลุ่มน้อยในภาคตะวันออกของพม่ามา ในจำนวนนี้ 120 คนเป็นผู้หญิงและเด็ก พวกเขามาหลบภัยอยู่ที่หมู่บ้านวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก และเป็นจุดเดียวกับที่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ทางการไทยก็ได้ผลักดันผู้ลี้ภัยชาวพม่าออกไปอย่างน้อย 360 คน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ก็ผลักดันออกไปประมาณ 650 คน และเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ก็ผลักดันออกไปประมาณ 2,500 คน
ในช่วงเวลาเดียวกันของปลายปี การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงเกิดขึ้นเหมือนเดิม ทุกคนมีสิทธิแสวงหาที่พักพิง ผู้ที่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยมีสิทธิที่จะไม่ถูกส่งกลับไปยังพื้นที่ที่มีการต่อสู้หรือมีการคุกคาม หรือที่เรียกว่าหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) แต่รัฐบาลไทยปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิของผู้ลี้ภัย 166 คนจากพม่า ทั้ง ๆ ที่มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยตามการรับรองของหน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR) การที่รัฐบาลไทยไม่ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติไม่ใช่ข้ออ้าง เนื่องจากเช่นเดียวกับข้อห้ามต่อการทรมาน หลักการไม่ส่งกลับเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ หมายถึงว่ามีผลบังคับใช้ต่อทุกรัฐไม่ว่าจะมีพันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือไม่ก็ตาม อีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยได้ละเมิดกฎหมายผู้ลี้ภัยระหว่างประเทศอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา
แม้เหตุการณ์ที่เลวร้ายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหนึ่งปีก่อน การผลักดันผู้ลี้ภัยกลับครั้งนี้จึงเป็นเรื่องน่าตกอกตกใจ เพราะจริง ๆ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของไทยประกาศปฏิเสธว่า ไม่มี “แผนจะส่งตัวผู้พลัดถิ่นกลับไปยังพม่าภายหลังการเลือกตั้ง (ในพม่า)” แต่ในวันเลือกตั้งนั้นเอง วันที่ 7 พฤศจิกายน ผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกประมาณ 20,000 คนจากพม่าก็เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย และในวันที่ 6 ธันวาคม แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ผลักดันกลับหลายครั้งก่อนหน้านั้น นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตากก็ได้ให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์ระบุว่าประเทศไทยจะไม่ส่งกลับผู้ลี้ภัยตราบที่การสู้รบยังดำเนินอยู่
น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น แม้ว่าผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่จะเดินทางกลับไปพม่าแล้ว แต่อีกหลายคนอย่างเช่น 166 คนที่ต้องเดินทางกลับเมื่อวันคริสต์มาส พวกเขาเดินทางกลับอย่างไม่สมัครใจ และการสู้รบยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนร่วมงานและผมได้เขียนเป็นข้อสรุปในบทความที่ตีพิมพ์เมื่อหนึ่งปีก่อนว่า “การที่ประเทศไทยไม่เคารพต่อพันธกรณีด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่ประชาคมนานาชาติไม่อาจเพิกเฉยละเลยได้” ผมคงไม่สามารถเขียนประโยคนี้ซ้ำอีก UNHCR ซึ่งออกแถลงการณ์เมื่อปลายธันวาคม เรียกร้องรัฐบาลไทยไม่ให้ผลักดันผู้ลี้ภัย 166 คนกลับ ควรประณามการกระทำครั้งนี้ และควรเน้นย้ำถึงข้อเรียกร้องซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่ยังคงอยู่ในไทย หรือที่กำลังจะเข้ามาเพิ่มเติม สถานทูตต่าง ๆ ที่กรุงเทพฯ ก็ควรกระทำเช่นเดียวกัน ส่วนประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) (ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและโดยที่ทูตไทยประจำกรุงเจนีวาก็ดำรงตำแหน่งประธานของคณะมนตรีฯ) ก็ควรแสดงข้อกังวลต่อการละเมิดที่เกิดขึ้น
อันที่จริงแล้ว คงสายเกินไปสำหรับผู้ลี้ภัยชาวพม่า 166 คนที่ถูกผลักดันออกไปแล้ว เช่นเดียวกับผู้ลี้ภัยชาวม้งลาว 158 คนที่ออกไปเมื่อปีก่อนหน้า แต่สถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพม่า คงยังส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยข้ามพรมแดนเข้ามาต่อไปในช่วงปี 2554 ไม่ว่าพรรคการเมืองใดจะขึ้นสู่อำนาจในไทย รัฐบาลไทยก็ควรยอมรับและปฏิบัติตามพันธกรณีด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่ตนมี แม้จะเป็นการพูดย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีกราวกับเป็นเรื่องราวด้านสิทธิมนุษยชนที่เคยรู้ว่าเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วก็ตาม
ที่มา.ประชาไท
ใครยืมมือเขมร สยบม็อบ ซ้ำรัฐบาล'อภิสิทธิ์'!
โดย : ประชุม ประทีป
ชักจะไม่ง่ายกรณี 7คนไทยถูกจับขึ้นศาลเขมร รัฐบาลไทยเจรจาไม่ได้ผล "ฮุน เซน"ลั่นยูเอ็นก็แทรกแซงไม่ได้ ผลกระเทือนความน่าเชื่อถือของ"อภิสิทธิ์"
มีสิทธิ์คิดกันทั้งนั้น ในเมื่อเป็นขั้วการเมือง เป็นมิตรชั่วคราว และมีผลประโยชน์ส่วนตน ส่วนพวกเป็นธรรมดา
เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ จะปูดว่าคนในรัฐบาลรู้เห็นกับการจับกุม 6 คนไทยเครือข่ายฯ + 1 ส.ส.ประชาธิปัตย์
จตุพร ฝ่ายค้านก็ถือโอกาสซ้ำตอกย้ำว่านายกรัฐมนตรี ให้ “พนิช วิกิตเศรษฐ์” ไปดำเนินการ ส่งผลกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ส่วนรัฐบาล นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับพวกในพรรคประชาธิปัตย์ต้องเรียงหน้ามาแก้ตัว พยายามปัดให้พ้นหัวหน้าพรรค ไม่พัวพันถึงรัฐบาล แต่ก็เฉได้เพียงว่า นายกให้ไปทำงานจริง แต่ไม่ได้ไปจุดที่ถูกจับ
ข่าวปล่อยว่า "แซมดิน เลิศบุศย์" ศิษย์สันติอโศก 1 ใน 7 คนโยงกับพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นแผนให้ถูกเขมรจับ จะได้ยกระดับปลุกระดมชุมนุมใหญ่ 25 ม.ค. คัดต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
ส่วนท่าทีรัฐบาลรี ๆ รอ ๆ ไม่ตัดสินใจเด็ดขาดตั้งแต่หลัง 29 ธันวาคม เหมือนตั้งหลักหวังเจรจากับผู้นำเขมร ตามข่าวคือเรียกร้องให้ปล่อยเฉพาะนายพนิช ดังนั้น อีกกลุ่มก็มีสิทธิ์คิดว่าซ่อนเร้นแผนอะไร
ที่กล่าวหาและแก้ตัวว่าใครชวนใครไป? รอซักถาม พนิช กับ วีระ สมความคิด ก็แล้วกัน ส่วนใครปล่อยให้ถลำเข้าลึก แล้วใครแจ้งให้ทหารเขมรจับ คงเป็นลับลมคมใน ใครจะรู้ ใครจะรับ!
แต่ถ้านายพนิช พ้นคุกเขมรได้ประกันตัวในชั้นศาลก่อน ก็อาจพลิ้วไม่ให้นายกและพรรคเสียหาย ส่วน 6 คนโดยเฉพาะนายวีระ หลายคนสมน้ำหน้า อาจอยู่คุกเขมรนานกว่าคนอื่น เพราะมีท่าทีเด็ดเดี่ยว รู้แนวทางกฎหมาย เชื่อว่าจะยืนหยัดปฏิเสธต่อศาลกัมพูชา เพื่อให้สอดคล้องกับเครือข่ายฯ ได้ยืนยันว่าอยู่ในดินแดนไทย ทำนองว่า
"ข้าพเจ้าไม่ได้รุกล้ำดินแดนกัมพูชา ข้าพเจ้าเชื่อว่าดินแดนที่ไปเหยียบนั้นเป็นดินแดนประเทศไทย และต้องถูกพิสูจน์ ข้าพเจ้าขอไม่ยอมรับอำนาจศาลประเทศกัมพูชา!"
แนวทางที่เครือข่ายฯเล็งไว้ คือ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสภากาชาดสากล กรุงเจนีวา ให้ชี้ขาดว่าเป็นกรณีพิพาทดินแดนตามสนธิสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4 ค.ศ.1949 หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ไปสู่การส่งศาลอาญาระหว่างประเทศ จำเลยจะกลายเป็นรัฐบาลกัมพูชา กับรัฐบาลไทย
กับเกมการเมืองระหว่างประเทศ เห็นชัด ๆ ไทยตามหลังกัมพูชาหลายขุม ในทุกเรื่อง เช่น 1.การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารแต่ฝ่ายเดียวสำเร็จ รอแต่ 2.การยอมรับแผนบริหารจัดการบริเวณโดยรอบปราสาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่จะไปประชุมกันที่บาเรนห์กลางปีนี้ 3.การปักปันเขตแดนตลอดแนวจากอุบลถึงตราด 4.พื้นที่ไม่ชัดเจนทางทะเลมีพลังงานก๊าซน้ำมันมหาศาล
ทั้งหมดนี้ เพราะดำเนินไปตามฐานบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยู 2543 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งแนบแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ที่เป็นปมผูกพันทั้งหมด และมีเอ็มโอยูผูกมัดตามมาอีกหลายฉบับ
ระหว่างนี้รัฐบาลต้องแก้ตัวพัลวัน แก้ภาพลักษณ์ แก้เกมการเมืองกับมวลชนฝ่ายคัดค้าน พรรคฝ่ายค้าน และแม้กระทั่งการชิงความได้เปรียบต่อรองในพรรครวมรัฐบาล
จากนี้ไปเห็นได้ลาง ๆ รัฐบาลจะถดถอย และไม่ง่ายจะผ่านแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามต้องการ
จะว่า "ลัทธิอนาธิปไตย"กำเริบเสิบสานก็เกินเลยไป ในเมื่อวิวัฒนาการสังคม การเมือง ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ขั้นที่กลไกสถาบันการเมืองแบบตัวแทนล้าหลัง(สมาชิกรัฐสภาคุณภาพต่ำ-อุดมการณ์เพื่อประเทศและประชาชนด้อย-แอบอิงผลประโยชน์-ถูกครอบงำจากกลุ่มทุน) ไม่อาจจะตัดสินใจเรื่องสำคัญได้ข้างเดียวอีกต่อไป ประกอบกับวิทยาการสื่อสารรุดล้ำไปไกลเกินกว่าจะควบคุมการไหลถ่ายเทข้อมูล
จะว่าเกิดภาวะไร้ระเบียบเพื่อจัดระเบียบใหม่ตามกฎการผันแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เช่นที่เคยเกิดมาตลอด น่าจะเข้าท่ากว่า จนกว่าสถาบันจะพัฒนารองรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่าลืม ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ท่านสุเทพ เทือกสุบรรณ ลั่นปากกล่าวหาชัด ๆ ว่า นปช. กับ พธม. ทั้งแดงทั้งเหลืองเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งก่อนหน้านั้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ถูกลอบสังหาร แต่รอดตายหวุดหวิด ตอกย้ำว่า “ขั้วอำนาจใหม่”ในรัฐบาลต้องการกำจัดมวลชนเหลืองและแดง ให้หมดเสี้ยนอำนาจ
รัฐบาลสยบกลุ่มเสื้อแดง นปช.ได้ระดับหนึ่ง เพราะแพ้ภัยตัวเอง ปลุกระดมเผาบ้านเผาเมือง เข้าทางโดนข้อหาก่อการร้าย เข้าคุกยกกระบะ
แต่เสื้อเหลืองที่แตกตัวเป็นเอกเทศ ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย, เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น, ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาท เขา พระวิหาร
ล่าสุด เคลื่อนไหวในนาม “เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ” แกนนำ เช่น ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์, วีระ สมความคิด, วัลย์วิภา จรูญโรจน์, แซมดิน เลิศบุศย์ ฯลฯ แกนนำบางคนในนี้ ก็ต้องหาคดีก่อการร้ายบุกสนามบิน ยังไม่ง่ายจะทำลายความชอบธรรม
เสื้อแดง นปช. บุ่มบ่ามรุนแรง มุ่งชิงอำนาจรัฐ ความชอบธรรมจึงน้อย ตอนนี้ขยับยาก รัฐบาลสยบได้ระดับหนึ่งแล้ว เหลือแต่กลุ่มหลังกำลังชูประเด็นเสียดินแดน ซึ่งจะสยบลงคงยาก...
ดังนั้น อีกหลายคนคิดว่า ขั้วอำนาจใหม่ในรัฐบาลอาจซ้อนแผนเล่นกลกับ 7 คนถูกเขมรจับ ก็มีสิทธิ
รูปการหลังจากศาลพนมเปญไต่สวนทั้ง 7 คน เมื่อวันที่ 6 มกราคมไปแล้ว หากผลตัดสินออกโทษหนักบางคน คนหนักหลายคน ส.ส.ประชาธิปัตย์ได้กลับประเทศก่อน กระแสมวลชนต่อต้านก็ไม่ย่อยแน่
แล้วคอยดูใครจะทำเซอร์ไพร์ ช่วยคนไทยพ้นคุกเขมร เรียกคะแนนนิยมได้ในสถานการณ์นี้
อย่างไรก็ตาม กับเรื่องพิพาทดินแดน หากทุกฝ่าย(รวมทั้งกลุ่มเครือข่ายฯ) ต้องไม่ใช้ชีวิตคนและแผ่นดินไทยเป็นเดิมพัน ไม่อิงบนผลประโยชน์ตัวเอง หรือเฉพาะกลุ่มเป็นตัวตั้ง จงทำในสิ่งที่ถูกต้องส่งผลถูกต้องในระยะยาวโดยเร็ว
สุดท้ายอยากฝากข้อคิดให้ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี สั้น ๆ "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" ด้วยครับ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------------------------------------------
ชักจะไม่ง่ายกรณี 7คนไทยถูกจับขึ้นศาลเขมร รัฐบาลไทยเจรจาไม่ได้ผล "ฮุน เซน"ลั่นยูเอ็นก็แทรกแซงไม่ได้ ผลกระเทือนความน่าเชื่อถือของ"อภิสิทธิ์"
มีสิทธิ์คิดกันทั้งนั้น ในเมื่อเป็นขั้วการเมือง เป็นมิตรชั่วคราว และมีผลประโยชน์ส่วนตน ส่วนพวกเป็นธรรมดา
เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ จะปูดว่าคนในรัฐบาลรู้เห็นกับการจับกุม 6 คนไทยเครือข่ายฯ + 1 ส.ส.ประชาธิปัตย์
จตุพร ฝ่ายค้านก็ถือโอกาสซ้ำตอกย้ำว่านายกรัฐมนตรี ให้ “พนิช วิกิตเศรษฐ์” ไปดำเนินการ ส่งผลกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ส่วนรัฐบาล นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับพวกในพรรคประชาธิปัตย์ต้องเรียงหน้ามาแก้ตัว พยายามปัดให้พ้นหัวหน้าพรรค ไม่พัวพันถึงรัฐบาล แต่ก็เฉได้เพียงว่า นายกให้ไปทำงานจริง แต่ไม่ได้ไปจุดที่ถูกจับ
ข่าวปล่อยว่า "แซมดิน เลิศบุศย์" ศิษย์สันติอโศก 1 ใน 7 คนโยงกับพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นแผนให้ถูกเขมรจับ จะได้ยกระดับปลุกระดมชุมนุมใหญ่ 25 ม.ค. คัดต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
ส่วนท่าทีรัฐบาลรี ๆ รอ ๆ ไม่ตัดสินใจเด็ดขาดตั้งแต่หลัง 29 ธันวาคม เหมือนตั้งหลักหวังเจรจากับผู้นำเขมร ตามข่าวคือเรียกร้องให้ปล่อยเฉพาะนายพนิช ดังนั้น อีกกลุ่มก็มีสิทธิ์คิดว่าซ่อนเร้นแผนอะไร
ที่กล่าวหาและแก้ตัวว่าใครชวนใครไป? รอซักถาม พนิช กับ วีระ สมความคิด ก็แล้วกัน ส่วนใครปล่อยให้ถลำเข้าลึก แล้วใครแจ้งให้ทหารเขมรจับ คงเป็นลับลมคมใน ใครจะรู้ ใครจะรับ!
แต่ถ้านายพนิช พ้นคุกเขมรได้ประกันตัวในชั้นศาลก่อน ก็อาจพลิ้วไม่ให้นายกและพรรคเสียหาย ส่วน 6 คนโดยเฉพาะนายวีระ หลายคนสมน้ำหน้า อาจอยู่คุกเขมรนานกว่าคนอื่น เพราะมีท่าทีเด็ดเดี่ยว รู้แนวทางกฎหมาย เชื่อว่าจะยืนหยัดปฏิเสธต่อศาลกัมพูชา เพื่อให้สอดคล้องกับเครือข่ายฯ ได้ยืนยันว่าอยู่ในดินแดนไทย ทำนองว่า
"ข้าพเจ้าไม่ได้รุกล้ำดินแดนกัมพูชา ข้าพเจ้าเชื่อว่าดินแดนที่ไปเหยียบนั้นเป็นดินแดนประเทศไทย และต้องถูกพิสูจน์ ข้าพเจ้าขอไม่ยอมรับอำนาจศาลประเทศกัมพูชา!"
แนวทางที่เครือข่ายฯเล็งไว้ คือ ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการสภากาชาดสากล กรุงเจนีวา ให้ชี้ขาดว่าเป็นกรณีพิพาทดินแดนตามสนธิสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4 ค.ศ.1949 หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ไปสู่การส่งศาลอาญาระหว่างประเทศ จำเลยจะกลายเป็นรัฐบาลกัมพูชา กับรัฐบาลไทย
กับเกมการเมืองระหว่างประเทศ เห็นชัด ๆ ไทยตามหลังกัมพูชาหลายขุม ในทุกเรื่อง เช่น 1.การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารแต่ฝ่ายเดียวสำเร็จ รอแต่ 2.การยอมรับแผนบริหารจัดการบริเวณโดยรอบปราสาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่จะไปประชุมกันที่บาเรนห์กลางปีนี้ 3.การปักปันเขตแดนตลอดแนวจากอุบลถึงตราด 4.พื้นที่ไม่ชัดเจนทางทะเลมีพลังงานก๊าซน้ำมันมหาศาล
ทั้งหมดนี้ เพราะดำเนินไปตามฐานบันทึกความเข้าใจหรือเอ็มโอยู 2543 ในรัฐบาลชวน หลีกภัย ซึ่งแนบแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ที่เป็นปมผูกพันทั้งหมด และมีเอ็มโอยูผูกมัดตามมาอีกหลายฉบับ
ระหว่างนี้รัฐบาลต้องแก้ตัวพัลวัน แก้ภาพลักษณ์ แก้เกมการเมืองกับมวลชนฝ่ายคัดค้าน พรรคฝ่ายค้าน และแม้กระทั่งการชิงความได้เปรียบต่อรองในพรรครวมรัฐบาล
จากนี้ไปเห็นได้ลาง ๆ รัฐบาลจะถดถอย และไม่ง่ายจะผ่านแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ตามต้องการ
จะว่า "ลัทธิอนาธิปไตย"กำเริบเสิบสานก็เกินเลยไป ในเมื่อวิวัฒนาการสังคม การเมือง ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง ขั้นที่กลไกสถาบันการเมืองแบบตัวแทนล้าหลัง(สมาชิกรัฐสภาคุณภาพต่ำ-อุดมการณ์เพื่อประเทศและประชาชนด้อย-แอบอิงผลประโยชน์-ถูกครอบงำจากกลุ่มทุน) ไม่อาจจะตัดสินใจเรื่องสำคัญได้ข้างเดียวอีกต่อไป ประกอบกับวิทยาการสื่อสารรุดล้ำไปไกลเกินกว่าจะควบคุมการไหลถ่ายเทข้อมูล
จะว่าเกิดภาวะไร้ระเบียบเพื่อจัดระเบียบใหม่ตามกฎการผันแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย เช่นที่เคยเกิดมาตลอด น่าจะเข้าท่ากว่า จนกว่าสถาบันจะพัฒนารองรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่าลืม ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดี(ไม่)ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ท่านสุเทพ เทือกสุบรรณ ลั่นปากกล่าวหาชัด ๆ ว่า นปช. กับ พธม. ทั้งแดงทั้งเหลืองเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งก่อนหน้านั้น นายสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ถูกลอบสังหาร แต่รอดตายหวุดหวิด ตอกย้ำว่า “ขั้วอำนาจใหม่”ในรัฐบาลต้องการกำจัดมวลชนเหลืองและแดง ให้หมดเสี้ยนอำนาจ
รัฐบาลสยบกลุ่มเสื้อแดง นปช.ได้ระดับหนึ่ง เพราะแพ้ภัยตัวเอง ปลุกระดมเผาบ้านเผาเมือง เข้าทางโดนข้อหาก่อการร้าย เข้าคุกยกกระบะ
แต่เสื้อเหลืองที่แตกตัวเป็นเอกเทศ ทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย, สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย, เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น, ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาท เขา พระวิหาร
ล่าสุด เคลื่อนไหวในนาม “เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ” แกนนำ เช่น ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์, วีระ สมความคิด, วัลย์วิภา จรูญโรจน์, แซมดิน เลิศบุศย์ ฯลฯ แกนนำบางคนในนี้ ก็ต้องหาคดีก่อการร้ายบุกสนามบิน ยังไม่ง่ายจะทำลายความชอบธรรม
เสื้อแดง นปช. บุ่มบ่ามรุนแรง มุ่งชิงอำนาจรัฐ ความชอบธรรมจึงน้อย ตอนนี้ขยับยาก รัฐบาลสยบได้ระดับหนึ่งแล้ว เหลือแต่กลุ่มหลังกำลังชูประเด็นเสียดินแดน ซึ่งจะสยบลงคงยาก...
ดังนั้น อีกหลายคนคิดว่า ขั้วอำนาจใหม่ในรัฐบาลอาจซ้อนแผนเล่นกลกับ 7 คนถูกเขมรจับ ก็มีสิทธิ
รูปการหลังจากศาลพนมเปญไต่สวนทั้ง 7 คน เมื่อวันที่ 6 มกราคมไปแล้ว หากผลตัดสินออกโทษหนักบางคน คนหนักหลายคน ส.ส.ประชาธิปัตย์ได้กลับประเทศก่อน กระแสมวลชนต่อต้านก็ไม่ย่อยแน่
แล้วคอยดูใครจะทำเซอร์ไพร์ ช่วยคนไทยพ้นคุกเขมร เรียกคะแนนนิยมได้ในสถานการณ์นี้
อย่างไรก็ตาม กับเรื่องพิพาทดินแดน หากทุกฝ่าย(รวมทั้งกลุ่มเครือข่ายฯ) ต้องไม่ใช้ชีวิตคนและแผ่นดินไทยเป็นเดิมพัน ไม่อิงบนผลประโยชน์ตัวเอง หรือเฉพาะกลุ่มเป็นตัวตั้ง จงทำในสิ่งที่ถูกต้องส่งผลถูกต้องในระยะยาวโดยเร็ว
สุดท้ายอยากฝากข้อคิดให้ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี สั้น ๆ "รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ" ด้วยครับ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------------------------------------------
ลูกเศรษฐี-หลานอำมาตย์ ติดกับดักพันธมิตรฯ-ติดคุกเขมร
ทั้งกองทัพ-รัฐบาลยังมีความพยายามช่วย 7 คนไทย พ้นคุกกัมพูชา
ต่างจากท่าทีของฝ่าย "พันธมิตรฯ" ที่ต่าง "แสดง" บทบาทราวกับไม่เคยเป็นพันธมิตรฯกันมาก่อน
โฆษกฝ่ายพันธมิตรฯแสดงบทหลักในทำนองไม่เกี่ยวข้อง-คนละขบวนกับ นายวีระ สมความคิด นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายสมบูรณ์ ทองบุราณ และนายการุณ ใสงาม
ทั้ง ๆ ที่ "ภาพและเสียง" ของอดีตพันธมิตรฯ ทั้งนายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ และ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ รวมทั้ง ร.ท.แซมดิน เลิศบุศย์ ไม่ว่าจะเป็น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เคยเล่นบทออกเสียงคีย์เดียวกัน แสดงท่าทีเดียวกันในการ "ขับไล่ทักษิณและพวก"
ทั้งเครือข่ายพันธมิตรฯ ต่างเคยร่วมกันต่อต้านรัฐบาลสมเด็จฮุนเซนแห่งกัมพูชา
ภาพความเคลื่อนไหวในการช่วยเหลือ คนในพรรคประชาธิปัตย์กับคนในพันธมิตรฯ จึงเป็นภาพเฉพาะ ที่แสดงออกจาก พรรคประชาธิปัตย์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะเพื่อนสนิทเท่านั้น
ต่างไปจากท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ที่ค่อนข้างวางเฉยและตัดรอน
นายปานเทพ ในฐานะโฆษกพันธมิตรฯ ได้ยืนยันว่า การประสานงานจากนายพนิช เพื่อไปชายแดนนั้น อาจไม่ปลอดภัย จึงได้ปฏิเสธที่จะร่วมทาง
"ทราบภายหลังว่า ได้ประสานงานไปยังนายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ซึ่งผมยอมรับว่า ทั้งสองกลุ่มมีแนวคิดเรื่องการรักษาดินแดนเหมือนกัน แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ร่วมเคลื่อนไหวกับเครือข่ายนี้มาตั้งแต่ต้น" ตัวแทนพันธมิตรฯ-ตัวแทนบ้านพระอาทิตย์ เผยท่าที
เช่นเดียวกับท่าทีของผู้จัดการรัฐบาล- สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ค่อนข้างนิ่งและ รอจังหวะทางการเมือง
"ยอมรับว่า ความสัมพันธ์ของเรามัน ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เดี๋ยวดี เดี๋ยวไม่ดี และก็มีเหตุทางการเมืองเข้ามาแทรก พอ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้าไปอยู่ในกัมพูชา ก็เกิดความแข็งกร้าว มีปัญหากับเราไปพักหนึ่ง ตอนนี้ก็เริ่มผ่อนคลายลงและทำท่าจะดีอยู่แล้ว แต่ก็มีคนเข้าไปทำให้เกิดเหตุอีก เราก็ต้องระมัด ระวัง" นายสุเทพกล่าว
แม้นายกรัฐมนตรีจะพยายามแสดงท่าทีจากเมืองไทย ส่งสัญญาณไปถึงท่าที ในเวทีการเมืองโลก ในทำนองประนีประนอมว่า "พนิชและพวก" ยังไม่ได้รุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา และเป็นการเดินทางไปสังเกตการณ์แนวรบชายแดนเท่านั้น
ส่วนการทูตขั้นเทพของฝ่ายกัมพูชา ได้หยิบยกหลักฐาน "ภาพและเสียง" จากคลิปวิดีโอ ที่ถ่ายไว้โดย "เครือข่ายพันธมิตร" นั้น นายกรัฐมนตรียังเห็นว่ามีโอกาสและแนวทางในการต่อสู้ เพราะภาพและเสียงฉบับจริง ไม่ตัดต่อบนพื้นที่กรณีพิพาทสามารถโต้แย้งได้
เช่นเดียวกับ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล ที่เห็นว่ายังมีทางต่อสู้ในชั้นศาลของกัมพูชา เพราะ "หากมีการล้ำแดนเกิดขึ้นเล็กน้อย ระดับผู้นำประเทศได้คุยกันแล้วว่าจะใช้วิธีแบบยืดหยุ่น ไม่ส่งตัวเข้ากระบวนการยุติธรรม แต่ในกรณีนี้ทางกัมพูชาคงเห็นว่ามีบุคคลบางคนเคยเข้าไปในพื้นที่นั้นก่อนแล้ว จึงไม่ยอมปล่อยตัว"
ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนทางการทูตไทย-กัมพูชา
ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ "ทับซ้อน" ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ
ที่สุดแล้ว หาก "พนิช" ได้รับอิสระกลับมาเมืองไทย สิ่ง "หลานอำมาตย์" อย่างเขาต้องได้รับ คือบทเรียนในสนามการเมือง ที่เลือดเย็นจากพรรคประชาธิปัตย์ และ บทเรียนครั้งนี้ไม่ง่ายเหมือนเมื่อครั้งเขาเป็น "นักการเงิน"
เครือข่าย-ต้นสายของตระกูล "พนิช" นั้นไม่ธรรมดา เขาคือลูกพ่อค้าที่คบหาใกล้ชิดกับอำมาตย์ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
"คุณแม่ผมเป็น "จักรพันธุ์" เป็น หม่อมหลวงสมพงษ์วดี (จักรพันธุ์) วิกิตเศรษฐ์ บุตรสาวของ ม.ร.ว.พงษ์พรหม จักรพันธุ์-เสด็จชวด เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สายตรงจากรัชกาลที่ 5"
"ทางคุณแม่ผมเป็นอำมาตย์โดยกำเนิด แต่ผมก็ไม่คิดว่าท่านเป็นอำมาตย์โดยกำเนิด ผมคิดว่าท่านก็เกิดมาในสายราชวงศ์ คุณตาเป็นหม่อมราชวงศ์คุณแม่ผมเป็นหม่อมหลวงสายจักรพันธุ์ ก็ไม่ได้รวย"
"ส่วนสายคุณพ่อผมนั้น คุณปู่ผมเป็นพ่อค้าจีน หอบเสื่อผืนหมอนใบมาจาก ซัวเถา มาโดยไม่มีอะไร เพราะฉะนั้น ถ้าพูดแล้ว เขาเป็นอำมาตย์ หรือเขา เป็นไพร่ เขามาถึง เขาทำงาน ขายข้าว มีโรงสี เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มาโดยไม่มีอะไรมาก่อน ทำงานขายข้าวจนมีที่ดิน ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก สามารถทำให้ ลูกหลานอยู่ได้สบาย มีฐานะ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง"
ด้วยสถานภาพความเป็น ส.ส.และฐานะทางสังคม "พนิช" อาจพ้นคุกกัมพูชา แต่เขาไม่อาจพ้นบทลงโทษทางสังคมในแผ่นดินเกิด
เพราะมีนักการเมืองในประชาธิปัตย์หลายคนรออ่านคำพิพากษาส่วนบุคคล ให้ "พนิช" พ้นจากตำแหน่งคนสำคัญตลอดสมัย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ต่างจากท่าทีของฝ่าย "พันธมิตรฯ" ที่ต่าง "แสดง" บทบาทราวกับไม่เคยเป็นพันธมิตรฯกันมาก่อน
โฆษกฝ่ายพันธมิตรฯแสดงบทหลักในทำนองไม่เกี่ยวข้อง-คนละขบวนกับ นายวีระ สมความคิด นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายสมบูรณ์ ทองบุราณ และนายการุณ ใสงาม
ทั้ง ๆ ที่ "ภาพและเสียง" ของอดีตพันธมิตรฯ ทั้งนายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ และ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ รวมทั้ง ร.ท.แซมดิน เลิศบุศย์ ไม่ว่าจะเป็น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เคยเล่นบทออกเสียงคีย์เดียวกัน แสดงท่าทีเดียวกันในการ "ขับไล่ทักษิณและพวก"
ทั้งเครือข่ายพันธมิตรฯ ต่างเคยร่วมกันต่อต้านรัฐบาลสมเด็จฮุนเซนแห่งกัมพูชา
ภาพความเคลื่อนไหวในการช่วยเหลือ คนในพรรคประชาธิปัตย์กับคนในพันธมิตรฯ จึงเป็นภาพเฉพาะ ที่แสดงออกจาก พรรคประชาธิปัตย์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะเพื่อนสนิทเท่านั้น
ต่างไปจากท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ที่ค่อนข้างวางเฉยและตัดรอน
นายปานเทพ ในฐานะโฆษกพันธมิตรฯ ได้ยืนยันว่า การประสานงานจากนายพนิช เพื่อไปชายแดนนั้น อาจไม่ปลอดภัย จึงได้ปฏิเสธที่จะร่วมทาง
"ทราบภายหลังว่า ได้ประสานงานไปยังนายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติ ซึ่งผมยอมรับว่า ทั้งสองกลุ่มมีแนวคิดเรื่องการรักษาดินแดนเหมือนกัน แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ร่วมเคลื่อนไหวกับเครือข่ายนี้มาตั้งแต่ต้น" ตัวแทนพันธมิตรฯ-ตัวแทนบ้านพระอาทิตย์ เผยท่าที
เช่นเดียวกับท่าทีของผู้จัดการรัฐบาล- สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ค่อนข้างนิ่งและ รอจังหวะทางการเมือง
"ยอมรับว่า ความสัมพันธ์ของเรามัน ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เดี๋ยวดี เดี๋ยวไม่ดี และก็มีเหตุทางการเมืองเข้ามาแทรก พอ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้าไปอยู่ในกัมพูชา ก็เกิดความแข็งกร้าว มีปัญหากับเราไปพักหนึ่ง ตอนนี้ก็เริ่มผ่อนคลายลงและทำท่าจะดีอยู่แล้ว แต่ก็มีคนเข้าไปทำให้เกิดเหตุอีก เราก็ต้องระมัด ระวัง" นายสุเทพกล่าว
แม้นายกรัฐมนตรีจะพยายามแสดงท่าทีจากเมืองไทย ส่งสัญญาณไปถึงท่าที ในเวทีการเมืองโลก ในทำนองประนีประนอมว่า "พนิชและพวก" ยังไม่ได้รุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา และเป็นการเดินทางไปสังเกตการณ์แนวรบชายแดนเท่านั้น
ส่วนการทูตขั้นเทพของฝ่ายกัมพูชา ได้หยิบยกหลักฐาน "ภาพและเสียง" จากคลิปวิดีโอ ที่ถ่ายไว้โดย "เครือข่ายพันธมิตร" นั้น นายกรัฐมนตรียังเห็นว่ามีโอกาสและแนวทางในการต่อสู้ เพราะภาพและเสียงฉบับจริง ไม่ตัดต่อบนพื้นที่กรณีพิพาทสามารถโต้แย้งได้
เช่นเดียวกับ นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล ที่เห็นว่ายังมีทางต่อสู้ในชั้นศาลของกัมพูชา เพราะ "หากมีการล้ำแดนเกิดขึ้นเล็กน้อย ระดับผู้นำประเทศได้คุยกันแล้วว่าจะใช้วิธีแบบยืดหยุ่น ไม่ส่งตัวเข้ากระบวนการยุติธรรม แต่ในกรณีนี้ทางกัมพูชาคงเห็นว่ามีบุคคลบางคนเคยเข้าไปในพื้นที่นั้นก่อนแล้ว จึงไม่ยอมปล่อยตัว"
ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนทางการทูตไทย-กัมพูชา
ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ "ทับซ้อน" ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ
ที่สุดแล้ว หาก "พนิช" ได้รับอิสระกลับมาเมืองไทย สิ่ง "หลานอำมาตย์" อย่างเขาต้องได้รับ คือบทเรียนในสนามการเมือง ที่เลือดเย็นจากพรรคประชาธิปัตย์ และ บทเรียนครั้งนี้ไม่ง่ายเหมือนเมื่อครั้งเขาเป็น "นักการเงิน"
เครือข่าย-ต้นสายของตระกูล "พนิช" นั้นไม่ธรรมดา เขาคือลูกพ่อค้าที่คบหาใกล้ชิดกับอำมาตย์ มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
"คุณแม่ผมเป็น "จักรพันธุ์" เป็น หม่อมหลวงสมพงษ์วดี (จักรพันธุ์) วิกิตเศรษฐ์ บุตรสาวของ ม.ร.ว.พงษ์พรหม จักรพันธุ์-เสด็จชวด เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สายตรงจากรัชกาลที่ 5"
"ทางคุณแม่ผมเป็นอำมาตย์โดยกำเนิด แต่ผมก็ไม่คิดว่าท่านเป็นอำมาตย์โดยกำเนิด ผมคิดว่าท่านก็เกิดมาในสายราชวงศ์ คุณตาเป็นหม่อมราชวงศ์คุณแม่ผมเป็นหม่อมหลวงสายจักรพันธุ์ ก็ไม่ได้รวย"
"ส่วนสายคุณพ่อผมนั้น คุณปู่ผมเป็นพ่อค้าจีน หอบเสื่อผืนหมอนใบมาจาก ซัวเถา มาโดยไม่มีอะไร เพราะฉะนั้น ถ้าพูดแล้ว เขาเป็นอำมาตย์ หรือเขา เป็นไพร่ เขามาถึง เขาทำงาน ขายข้าว มีโรงสี เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มาโดยไม่มีอะไรมาก่อน ทำงานขายข้าวจนมีที่ดิน ส่งลูกไปเรียนเมืองนอก สามารถทำให้ ลูกหลานอยู่ได้สบาย มีฐานะ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง"
ด้วยสถานภาพความเป็น ส.ส.และฐานะทางสังคม "พนิช" อาจพ้นคุกกัมพูชา แต่เขาไม่อาจพ้นบทลงโทษทางสังคมในแผ่นดินเกิด
เพราะมีนักการเมืองในประชาธิปัตย์หลายคนรออ่านคำพิพากษาส่วนบุคคล ให้ "พนิช" พ้นจากตำแหน่งคนสำคัญตลอดสมัย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)