แกนนำเพื่อไทยเชื่อวันที่ 29 พ.ย. หลังแถลงปิดคดีด้วยวาจาศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อจะยื้อไปจนถึงการชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลของพันธมิตรฯในวันที่ 11 ธ.ค. ระบุมีความพยายามอาศัยสถานการณ์สร้างความชุลมุนเพื่อให้อำนาจนอกระบบเข้ามาเคลียร์เงื่อนปมต่างๆที่ทำให้ฝ่ายถืออำนาจในปัจจุบันได้ประโยชน์กันทั่วหน้าและประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบ “อภิสิทธิ์” ไม่กังวลเทปเสียง “ประจวบ” โผล่เพราะเป็นเรื่องเก่าที่นำสืบในชั้นศาลหมดแล้ว ยอมรับกังวลวันแถลงปิดคดีอาจเกิดความวุ่นวาย ไม่พอใจเจ้าหน้าที่ต่างหน่วยงานประเมินสถานการณ์ไม่ตรงกัน กำชับตำรวจคุ้มกันตุลาการใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย
พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เชื่อว่าวันที่ 29 พ.ย. นี้หลังการแถลงปิดคดีด้วยวาจาศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินยุบพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน เพราะไม่มีทางออกอื่นแล้ว เนื่องจากทั้งพรรคประชาธิปัตย์และศาลรัฐธรรมนูญต่างมีปัญหาภายใน จึงต้องตัวใครตัวมันเพื่อรักษาสถานะของตัวเองเอาไว้
“มีทางเดียวที่พรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบคือต้องฉีกรัฐธรรมนูญ บางทีวันที่ 29 พ.ย. หลังแถลงปิดคดีแล้วศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่มีคำตัดสินใจทันที แต่จะยื้อเวลาออกไปจนถึงวันที่ 11 ธ.ค. เพื่อรอให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาล เชื่อว่าจะเกิดการจลาจลขึ้น ซึ่งเหมาะที่ทหารจะออกมาฉีกรัฐธรรมนูญ เพียงเท่านี้ก็จะสมประโยชน์กันทุกฝ่าย ทหารได้อำนาจรัฐ ได้เข้ามาบริหารประเทศ พันธมิตรฯก็ได้ตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี ในสภา ในกรรมการชุดต่างๆเหมือนตอนปฏิวัติคราวที่แล้ว และพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ถูกยุบ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีคลิปเสียงของนายประจวบ สังข์ขาว พยานคนสำคัญคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเผยแพร่ทำนองกล่าวหาแกนนำพรรคเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคว่า เท่าที่ฟังจากเนื้อหาเหมือนกับประเด็นที่เอามาใช้ในทางคดีและศาลได้นำสืบไปแล้ว ทั้งเรื่องที่ว่าเอาเงินมาให้พรรค ตนรับรู้เรื่องทุกอย่าง หรือต้องขอให้ตำรวจคุ้มกันเพื่อความปลอดภัย ซึ่งในชั้นศาลนายประจวบยอมรับว่าเป็นเรื่องไม่จริง
“วันที่ 29 พ.ย. ที่มีการแถลงปิดคดีด้วยวาจาจะเดินทางไปฟังการแถลงที่ศาลรัฐธรรมนูญด้วย โดยการแถลงเป็นหน้าที่ของนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ในฐานะหัวหน้าทีมทนายต่อสู้คดียุบพรรค” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า เท่าที่ดูคำแถลงปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษรเห็นว่าสามารถชี้แจงได้ครบทุกประเด็นกล่าวหาอย่างชัดเจน
นายอภิสิทธิ์ยอมรับว่า เป็นห่วงสถานการณ์วันที่ 29 พ.ย. พอสมควร เพราะเข้าใจว่าจะมีผู้ชุมนุมไปรอฟังคำตัดสินเป็นจำนวนมาก ซึ่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำลังติดตามประเมินสถานการณ์อยู่ ในส่วนความปลอดภัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้กำชับกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไปแล้วว่าให้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ตุลาการเกิดความมั่นใจในความปลอดภัย
“สิ่งที่เป็นห่วงตอนนี้คือเรื่องของการประสานงาน เพราะว่ารายงานที่ได้รับมาเป็นอย่างหนึ่ง แต่เรื่องที่ได้ยินมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ค่อยตรงกัน แต่ได้กำชับผู้เกี่ยวข้องไปแล้วว่าให้แก้ปัญหา” นายกรัฐมนตรีกล่าวและว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าจะมีการขนคนจากต่างจังหวัดเข้ามาชุมนุมเพื่อกดดันศาลหรือไม่ ส่วนตัวอยากให้ทุกคนร่วมมือกันให้บ้านเมืองผ่านเรื่องนี้ไปได้ โดยให้ตุลาการเป็นอิสระในการตัดสินคดี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มั่นใจว่าหลังการแถลงปิดคดีด้วยวาจาแล้วศาลจะตัดสินเลยหรือไม่ เพราะตามนัดระบุเพียงให้ไปแถลงปิดคดีด้วยวาจา
ส่วนกรณีที่มีเสียงวิจารณ์กรณีที่พรรคออกหนังสือ “ความดีสู้อธรรม” ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวคดียุบพรรคที่ออกมาก่อนวันตัดสินคดี เป็นการทำเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่มีอะไรไปกดดัน เพราะเป็นเพียงการรวบรวมข้อเท็จจริงของคดี
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
“แอมเนสตีมาเลเซีย” สัมภาษณ์พิเศษ “ออง ซาน ซูจี”
“ออง ซาน ซูจี” ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีของพม่า ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับ “แอมเนสตี มาเลเซีย” ตอบคำถามจากเยาวชนอาเซียน พร้อมฝากคนหนุ่มสาวทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองในพม่า ซึ่งในจำนวนนี้มีเยาวชนรวมอยู่ด้วย “ประชาไท” นำเสนอพร้อมเสียงสัมภาษณ์
ไฟล์เสียงสัมภาษณ์พิเศษทางโทรศัพท์กับ “ออง ซาน ซูจี” เมื่อ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา จากคำถามของนักกิจกรรมเยาวชนในอาเซียน ตั้งถามโดยนอรา มูรัต (Nora Murat) ผู้อำนวยการแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล มาเลเซีย [ที่มา: ได้รับการเอื้อเฟื้อจากแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล มาเลเซีย (Amnesty International Malaysia)]
ที่ผ่านมา ที่เปตาลิงจายา ประเทศมาเลเซีย แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล มาเลเซีย (Amnesty International Malaysia) หรือเอไอมาเลเซีย ได้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับนางออง ซาน ซูจี ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพปี 2534 และผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ของพม่า ซึ่งเพิ่งได้รับอิสรภาพเมื่อวันเสาร์ที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา หลังถูกกักบริเวณในบ้านมาตั้งแต่ปี 2546 โดยการสนทนานี้กินเวลาประมาณ 6 นาทีเศษ
ก่อนหน้านี้เมื่อคืนวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา เอไอมาเลเซีย พยายามจัดการสนทนาทางไกล (teleconference) กับนางออง ซาน ซูจี เช่นกัน โดยกำหนดการในวันดังกล่าวนักกิจกรรมเยาวชนของเอไอมาเลเซีย และนักกิจกรรมเยาวชนของแอมเนสตีอินเตอร์เนชั่นแนลจากหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งฮ่องกง อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะเป็นผู้ตั้งคำถาม และนางออง ซาน ซูจีจะเป็นผู้ตอบ อย่างไรก็ตามในวันดังกล่าวไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์เข้าไปในพม่าได้
เอไอมาเลเซีย พยายามติดต่อนางออง ซาน ซูจีอีกครั้ง โดยแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ออสเตรเลีย หรือ เอไอ ออสเตรเลีย ได้ร่วมฟังการสนทนาทางไกลครั้งนี้ด้วย และในครั้งนี้สามารถติดต่อกับนางออง ซาน ซูจีได้ โดยผู้สัมภาษณ์คือ น.ส.นอรา มูรัต (Nora Murat) ผู้อำนวยการเอไอมาเลเซีย เป็นผู้สัมภาษณ์นางออง ซาน ซูจี โดยใช้คำถามที่รวบรวมจากนักกิจกรรมเยาวชนของแอมเนสตี อินเตอร์เนชั่นแนล และคำถามจากนางนอราเอง
“เรากังวลมากว่าสายจะถูกตัด เราทราบมาก่อนว่าการโทรศัพท์เข้าพม่าเป็นเรื่องไม่น่าวางใจ แต่คืนดังกล่าวถือเป็นคืนที่มหัศจรรย์สำหรับพวกเราและบรรดาเยาวชน” นอรากล่าวผ่านคำแถลงในอีเมล์ “สิ่งนี้ทำให้พวกเรามีความสุขและมีแรงบันดาลใจที่จะทำงานของเราต่อไป”
โดยนางออง ซาน ซูจีตอบคำถามทั้งหมด 5 ข้อ โดยนางออง ซาน ซูจี ได้ตอบคำถามของนายไฟซาล อาซิส (Faisal Aziz) เยาวชนจากมาเลเซีย ซึ่งถามปรึกษาว่าเยาวชนจะสามารถดำเนินการรณรงค์ในประเด็นพม่าได้ในด้านใด และกลุ่มใดที่ควรเป็นเป้าหมายของการรณรงค์ โดยนางออง ซาน ซูจีตอบว่า “เพื่อนคนหนุ่มสาว ขอให้พยายามทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองในพม่าจำนวนกว่า 2,200 คน ในจำนวนนี้เป็นคนหนุ่มสาวเช่นเดียวกัน จำนวนมากอายุไม่ถึง 20 ปี” นางออง ซาน ซูจีกล่าวด้วยว่าสิ่งแรกที่ต้องทำคือ “สร้างความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์นักโทษการเมืองในพม่า”
ออง ซาน ซูจี ตอบคำถามถึงสถานการณ์ในพม่าหลังจากที่เธอได้รับการปล่อยตัวว่า สิ่งที่ฉันเห็นในวันแรกก็คือ ได้เห็นคนหนุ่มสาวในพม่าจำนวนมากในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นที่เธอกล่าวปราศรัยที่หน้าพรรคเอ็นแอลดี ซึ่งเธอระบุว่า “เป็นสิ่งที่ทำให้เธอมีกำลังใจมากๆ” และระบุว่าอยากเห็นคนหนุ่มสาวในพม่าได้ติดต่อกับคนหนุ่มสาวทั่วโลก ซึ่งจะช่วยหาโอกาสใหม่ๆ ให้กับพม่าต่อไป
ต่อคำถามสุดท้ายที่ว่า รัฐบาลประเทศไหนที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่สุดที่คนหนุ่มสาวจะรณรงค์เพื่อสร้างกระแสกดดันต่อรัฐบาลทหารพม่าให้เกิดมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน นางออง ซาน ซูจี ตอบว่า เพื่อให้เกิดสิทธิมนุษยชนในพม่า กล่าวเฉพาะประเทศในอาเซียนทั้งหมด เราต้องการให้พวกเขาทั้งหมดร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไทยถือว่าสำคัญเพราะถือเป็นประเทศเพื่อนบ้าน สิงคโปร์ก็เป็นประเทศสำคัญด้านเศรษฐกิจกับพม่า มาเลเซียก็สำคัญเพราะต้องก้าวเดินไปข้างหน้าร่วมกัน รวมทั้งอินโดนีเซียก็มีความสำคัญเพราะเคยเป็นประเทศเผด็จการทหารและปัจจุบันเปลี่ยนเป็นประเทศประชาธิปไตย ซึ่งมีประธานาธิบดีมีท่าทีที่ดีต่อเรา
โอกาสนี้ เอไอมาเลเซียได้เอื้อเฟื้อคลิปเสียงสัมภาษณ์ออง ซาน ซูจีความยาวประมาณ 6 นาทีเศษสำหรับเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไทด้วย
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ "จรูญ" ถอนตัว คดียุบพรรคปชป.
ศาลรัฐธรรมนูญได้นำเอกสารเผยแพร่ มาแจกให้กับผู้สื่อข่าวโดยเนื้อความระบุว่า เนื่องจากนายจรูญ อินทจาร และนายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือขอถอนตัวออกจากการพิจารณาคดีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลว่าได้ฟ้องคดีในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญาไว้ต่อศาลอาญาแล้ว ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้จึงอนุญาตให้นายจรูญ ถอนตัว ส่วนนายสุพจน์ ไม่อนุญาตให้ถอนตัว
ทั้งนี้ เมื่อคณะตุลาการให้นายจรูญถอนตัวก็ทำให้เหลือตุลาการเพียง 6 คนในการพิจารณาวินิจฉัยในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา นายจรัญ ภักดีธนากุล นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายสุพล ไข่มุกด์และนายนุรักษ์ มาประณีต
ที่มา.ข่าวสดออนไลน์
----------------------------------------------------
ทั้งนี้ เมื่อคณะตุลาการให้นายจรูญถอนตัวก็ทำให้เหลือตุลาการเพียง 6 คนในการพิจารณาวินิจฉัยในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายบุญส่ง กุลบุปผา นายจรัญ ภักดีธนากุล นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายสุพล ไข่มุกด์และนายนุรักษ์ มาประณีต
ที่มา.ข่าวสดออนไลน์
----------------------------------------------------
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
นักวิชาการสงสัยคอป.ถูกบีบล้มดึงต่างชาติสอบสลายแดง
นักวิชาการตั้งข้อสงสัยทำไม คอป. ยกเลิกดึงนักวิชาการจากต่างชาติเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบข้อเท็จจริงเหตุสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีท่าทีอยากดึงมาร่วมทำงานเพื่อให้ผลที่ออกมาได้รับการยอมรับ ระบุประเทศไทยมีธรรมเนียมปฏิบัติไม่ดี ไม่ใจกว้างให้องค์กรต่างประเทศเข้ามาตรวจสอบเรื่องต่างๆอย่างเป็นทางการ หากจะมาทำได้แค่ในนามส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลจากเอ็นจีโอไทยเท่านั้น “ประยุทธ์” ยืนยันไม่ยกเลิกประกาศห้ามจำหน่ายสินค้ายั่วยุ ย้ำจะบังคับใช้ไปจนกกว่าบ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย
น.ส.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัย มหิดล ร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเร็ว เพราะควรยกเลิกกฎหมายพิเศษแบบนี้ตั้งนานแล้ว
“ความจริงต้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาตั้งแต่ยุบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะไม่ควรมีกฎหมายแบบนี้ใช้ในประเทศไทย เมื่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำมาบังคับใช้ก็ยิ่งเห็นว่าสมควรยกเลิกกฎหมายนี้ไปเลย เพราะไม่เป็นคุณกับประเทศและประชาชนเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐได้” น.ส.ศรีประภากล่าว
น.ส.ศรีประภายังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไทยไม่อนุญาตให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ในประเทศไทย หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ย. 2553 ว่ารัฐบาลไทยไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้ชุดเดียวที่ไม่อนุญาตให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบเรื่องภายในประเทศ แต่รัฐบาลไทยทุกชุดที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ค่อยยอมรับให้องค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เข้ามาตรวจสอบอย่างเป็นทางการ หากจะเข้ามาต้องมาในนามส่วนตัวเพื่อหาข้อมูลหรือพูดคุยกับองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอของไทย
“ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศไทยไปแล้วที่ไม่ยอมรับให้ผู้แทนพิเศษของยูเอ็นเข้ามาตรวจ สอบเรื่องต่างๆภายในประเทศ ทั้งๆที่แนวทางปฏิบัติในสถานการณ์ตรงนี้รัฐบาลไทยควรต้องเปิดใจกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลหรือเปิดให้คนอื่นเข้ามาตรวจสอบ ถ้ามีความมั่นใจว่าไม่มีอะไรปกปิดก็ต้องให้เขาเข้ามาตรวจสอบ โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก” น.ส.ศรีประภากล่าวและว่า เคยนำเรื่องนี้เข้าหารือกับ ศ.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ว่าควรเอาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมเป็นกรรมการ เพราะจะทำให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงได้รับความน่าเชื่อถือเนื่องจากเราไม่ได้ทำแบบทำกันเอง ตอนแรกก็สนใจแต่เรื่องก็เงียบไป
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงการยกเลิกการเยือนไทยของนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เกิดจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษชน โดยเฉพาะเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. นั้น น.ส.ศรีประภากล่าวว่า ต้องยอมรับว่าประเทศอังกฤษได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนค่อนข้างแข็งกร้าวมาตลอด และถือเป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่นกรณีพม่า โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกๆที่ขอร้องไม่ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในพม่า ไม่ออกวีซ่าให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่า และมีหลายเรื่องที่อังกฤษทำ จึงเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอังกฤษให้ความสำคัญกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงมาก ดังนั้น ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่าอังกฤษจะมีปฏิกิริยากับไทยอย่างไรต่อไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยืนยันคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยกว่า ทั้งตนและ ศอฉ. เข้าใจตรงกันว่าอะไรที่เป็นความผิดต่อส่วนรวมถือเป็นความผิดที่ต้องดำเนินการ คำสั่งนี้ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำงาน แต่อะไรที่เป็นความผิดส่วนบุคคล ศอฉ. จะไม่เข้าไปยุ่ง
“ถึงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในทางปฏิบัติเขาก็ต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ว่าให้ทำอะไรแค่ไหน อย่างไร เรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นการขัดแย้งหรืองัดข้ออะไร เพราะหลักการของผมกับ ศอฉ. ตรงกันคือ หากเป็นความผิดเกี่ยวกับบุคคลจะไม่ยุ่ง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ยืนยันว่า คำสั่งของ ศอฉ. ไม่ได้เจาะจงว่าใช้เฉพาะคนสีไหน และจะบังคับใช้ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะเรียบร้อย ไม่ให้มีความรุนแรง ไม่มีการหมิ่นสถาบัน
“เราจำเป็นต้องดำเนินการ ขอให้เห็นใจเจ้าหน้าที่ด้วย การใช้สิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องทำได้แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย” ผบ.ทบ. กล่าวและว่า ที่ผ่านมาตำรวจและเจ้าหน้าที่เทศกิจอะลุ้มอล่วยเต็มที่แล้ว หากมีการจับกุมก็ลงโทษสถานเบาแค่ปรับแล้วก็ปล่อย สิ่งที่เรามุ่งหวังจากคำสั่งของ ศอฉ. นี้คือทำสถาบันให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ใครก็ตามที่เอาของมาขายต้องรู้ดีอยู่แก่ใจแล้วว่าเข้าข่ายหมิ่นหรือไม่
ส่วนที่นายกรัฐมนตรีอยากให้ยกเลิกคำสั่งนั้น พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ได้คุยกับนายกรัฐมนตรีแล้ว ท่านเพียงแต่บอกว่าให้ช่วยดูให้เกิดความชัดเจนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการปฏิบัติของเจ้า หน้าที่ ซึ่ง ศอฉ. ได้ประชุมกำหนดความชัดเจนไปแล้ว การออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะต้องพิจารณาโดยคณะกรรมการของ ศอฉ. ไม่ได้ให้ใครกำหนดเพียงคนเดียว เราได้หารือกันแล้ว เมื่อได้ข้อยุติจึงมีมติและประกาศออกมา
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
น.ส.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัย มหิดล ร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยเร็ว เพราะควรยกเลิกกฎหมายพิเศษแบบนี้ตั้งนานแล้ว
“ความจริงต้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาตั้งแต่ยุบรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะไม่ควรมีกฎหมายแบบนี้ใช้ในประเทศไทย เมื่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำมาบังคับใช้ก็ยิ่งเห็นว่าสมควรยกเลิกกฎหมายนี้ไปเลย เพราะไม่เป็นคุณกับประเทศและประชาชนเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐได้” น.ส.ศรีประภากล่าว
น.ส.ศรีประภายังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไทยไม่อนุญาตให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ในประเทศไทย หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ย. 2553 ว่ารัฐบาลไทยไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้ชุดเดียวที่ไม่อนุญาตให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบเรื่องภายในประเทศ แต่รัฐบาลไทยทุกชุดที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ค่อยยอมรับให้องค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เข้ามาตรวจสอบอย่างเป็นทางการ หากจะเข้ามาต้องมาในนามส่วนตัวเพื่อหาข้อมูลหรือพูดคุยกับองค์กรพัฒนาเอกชนหรือเอ็นจีโอของไทย
“ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศไทยไปแล้วที่ไม่ยอมรับให้ผู้แทนพิเศษของยูเอ็นเข้ามาตรวจ สอบเรื่องต่างๆภายในประเทศ ทั้งๆที่แนวทางปฏิบัติในสถานการณ์ตรงนี้รัฐบาลไทยควรต้องเปิดใจกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลหรือเปิดให้คนอื่นเข้ามาตรวจสอบ ถ้ามีความมั่นใจว่าไม่มีอะไรปกปิดก็ต้องให้เขาเข้ามาตรวจสอบ โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 ที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก” น.ส.ศรีประภากล่าวและว่า เคยนำเรื่องนี้เข้าหารือกับ ศ.คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ว่าควรเอาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาร่วมเป็นกรรมการ เพราะจะทำให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงได้รับความน่าเชื่อถือเนื่องจากเราไม่ได้ทำแบบทำกันเอง ตอนแรกก็สนใจแต่เรื่องก็เงียบไป
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงการยกเลิกการเยือนไทยของนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เกิดจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษชน โดยเฉพาะเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. นั้น น.ส.ศรีประภากล่าวว่า ต้องยอมรับว่าประเทศอังกฤษได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนค่อนข้างแข็งกร้าวมาตลอด และถือเป็นนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่นกรณีพม่า โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกๆที่ขอร้องไม่ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในพม่า ไม่ออกวีซ่าให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่า และมีหลายเรื่องที่อังกฤษทำ จึงเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอังกฤษให้ความสำคัญกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงมาก ดังนั้น ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่าอังกฤษจะมีปฏิกิริยากับไทยอย่างไรต่อไป
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ยืนยันคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยกว่า ทั้งตนและ ศอฉ. เข้าใจตรงกันว่าอะไรที่เป็นความผิดต่อส่วนรวมถือเป็นความผิดที่ต้องดำเนินการ คำสั่งนี้ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำงาน แต่อะไรที่เป็นความผิดส่วนบุคคล ศอฉ. จะไม่เข้าไปยุ่ง
“ถึงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในทางปฏิบัติเขาก็ต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ว่าให้ทำอะไรแค่ไหน อย่างไร เรื่องนี้ไม่ถือว่าเป็นการขัดแย้งหรืองัดข้ออะไร เพราะหลักการของผมกับ ศอฉ. ตรงกันคือ หากเป็นความผิดเกี่ยวกับบุคคลจะไม่ยุ่ง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ยืนยันว่า คำสั่งของ ศอฉ. ไม่ได้เจาะจงว่าใช้เฉพาะคนสีไหน และจะบังคับใช้ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะเรียบร้อย ไม่ให้มีความรุนแรง ไม่มีการหมิ่นสถาบัน
“เราจำเป็นต้องดำเนินการ ขอให้เห็นใจเจ้าหน้าที่ด้วย การใช้สิทธิเสรีภาพเป็นเรื่องทำได้แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย” ผบ.ทบ. กล่าวและว่า ที่ผ่านมาตำรวจและเจ้าหน้าที่เทศกิจอะลุ้มอล่วยเต็มที่แล้ว หากมีการจับกุมก็ลงโทษสถานเบาแค่ปรับแล้วก็ปล่อย สิ่งที่เรามุ่งหวังจากคำสั่งของ ศอฉ. นี้คือทำสถาบันให้อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ใครก็ตามที่เอาของมาขายต้องรู้ดีอยู่แก่ใจแล้วว่าเข้าข่ายหมิ่นหรือไม่
ส่วนที่นายกรัฐมนตรีอยากให้ยกเลิกคำสั่งนั้น พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ได้คุยกับนายกรัฐมนตรีแล้ว ท่านเพียงแต่บอกว่าให้ช่วยดูให้เกิดความชัดเจนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการปฏิบัติของเจ้า หน้าที่ ซึ่ง ศอฉ. ได้ประชุมกำหนดความชัดเจนไปแล้ว การออกข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะต้องพิจารณาโดยคณะกรรมการของ ศอฉ. ไม่ได้ให้ใครกำหนดเพียงคนเดียว เราได้หารือกันแล้ว เมื่อได้ข้อยุติจึงมีมติและประกาศออกมา
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
ฟองสบู่แตก !!!!!??
แดงเคลื่อนให้ขวักไขว่ คล้อยหลังเหลืองก็ขยับ เข้าใกล้หายใจรดต้นคอ โดยไม่อินังขังขอบว่าเขียวจะถอยรถถังออกมาเอ็กซ์เซอร์ไซส์ จัดระเบียบการเมืองเพื่อรักษาความสงบในวงเล็บแห่งชาติ!!!
กระนั้น ฝ่ายการเมืองโดยนายกฯ เด็กดื้อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ยังคงสวมบทใจดีสู้เสือ ปุเลงปุเลงกระเตงเตี้ยอุ้มห้อย ลุยไฟฝ่าดงบาทา โดยไม่แยแสเสียงทักท้วง
ประหนึ่งมั่นใจในอำนาจยุบสภา..จะเป็นคำตอบสุดท้ายแห่ง วาระซ่อนเร้นทั้งหมดทั้งปวง “อภิสิทธิ์ชน” เอาหลังพิงกติกาประชาธิปไตย ท่องคาถาคงกระพัน เอามือกุมหลวงพ่อรอด ท่องทะเลโต้คลื่นสึนามิ มิยำเกรงว่า “รัฐนาวาเทพประทาน” จะล่มคาปาก อ่าวประชาธิปไตย
“นายกฯ อภิสิทธิ์” ทุบโต๊ะกลางวง ครม. อุ้มสมพรรคร่วม รัฐบาล ชูธงแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 มาตรา โดยไม่ต้องผ่านประชามติ ล่อเป้าพันธมิตรฯ ให้เปิดวาระชุมนุมโหนฟ้าเกลื่อนถนน เด็กดื้อวางยาซ้ำอย่างมีนัย “หากการชุมนุมแล้วทำให้เกิดการรัฐประหาร สู้ยอมยุบสภาเสียดีกว่า”
แทงกั๊กล็อกคออำนาจพิเศษ ไม่ให้ทะลุกลางปล้องออกมาในยามบ้านเมืองเกิดอาการวังเวง แต่อีกนัยก็มองกันได้ว่าเกมนี้มีงานขุดบ่อล่อปลา ก่อนอาญายุบพรรคประชาธิปัตย์จะตกผลึก
เนื่องด้วยการเมืองภายในพรรคสะตอเอง “นายหัวชวน หลีกภัย” และ “บัญญัติ บรรทัดฐาน” 2 ผู้เฒ่าก็โดดขวางวาระ แก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยอาการสุดลิ่มทิ่มประตู
สรุปความคือ วาระนี้จะแก้รัฐธรรมนูญหรือแก้ผ้าตัวเองให้ เปลือยเปล่าล่อนจ้อนต่อหน้าเพื่อนพ้องและไพร่ฟ้าประชาชน คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามแบบตาห้ามกะพริบ
แต่ที่แน่ๆ คือทีมงานเสื้อแดงภาครัฐสภา ตีธงไอ้เข้ขวางคลอง ไม่ร่วมสังฆกรรมแก้รัฐธรรมนูญรอบนี้ด้วยประการทั้งปวง และหาก เคราะห์ซ้ำกรรมซัดส่งผลให้วาระร้อนนี้ต้องประสบอุบัติเหตุด้วยน้ำมือคนกันเอง
มโหรีที่ตีฆ้องร้องป่าวมหกรรมตีปี๊บแก้ไขรัฐธรรมนูญ...คงต้องเอวังไปด้วยประการฉะนี้!!! ถ้าสมมติฐานดังกล่าว เผอิญเป็นจริง มันก็จะเข้าอีหรอบเดิม ในท่วงท่าการซื้อเวลาของเซียนเขี้ยวอย่างพรรคประชาธิปัตย์ แต่ ที่จะงามหน้ากว่าใครเพื่อนก็คงไม่พ้น “นายกฯ อภิสิทธิ์” ที่ไร้วาจาสิทธิ์ในการสั่งการอยู่บนหัวโขน “ท่านนายกฯ”
ภาพการเมืองอาจจะแก้ปัญหาแบบ “บัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น” แต่ภาพลักษณ์ส่วนตัวที่สั่งสมมา อนิจจา “นายกฯ อภิสิทธิ์” สภาพไม่ต่างจากยาใกล้หมดอายุ
ยิ่งชำเลืองไปที่การโดดลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.ของ “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” แคนดิเดตม้าแข่งตัวใหม่ในเก้าอี้ “นายกฯ สำรอง” ย่อมสะท้อนให้เห็นลางบอกเหตุอะไรบางอย่างที่น่าสนใจยิ่ง
โดยเฉพาะในระยะหลัง “นายกฯ อภิสิทธิ์” กับ “รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ” ดันกลับมาแนบแน่นกันจนผิดสังเกต บ่งบอกถึงทิฐิแห่งวาระหวงอำนาจที่ปรากฏให้เห็นเป็นเค้าราง เพราะงานนี้ หากจัดแถวใหม่โดยไม่ลงแข่งในสนามประชาธิปไตย
หัวโขนใหญ่เปลี่ยนใหม่หมด มีหวัง “นายกฯ อภิสิทธิ์” และ “รองนายกฯ สุเทพ” รวมไปถึง “เครือเนวินกรุ๊ป” ต้องตกสวรรค์ โลว์โปรไฟล์ทางการเมืองไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กระนั้นก็ตาม ก็ดูเหมือนว่า “นายกฯ อภิสิทธิ์” จะมั่นอกมั่นใจในอาญาสิทธิ์ยุบสภาในมือตัวเองยิ่งนัก แต่คงลืมไปว่า แรกเริ่ม เดิมทีนั้น บรรดาศักดิ์ของท่านได้มาแต่แห่งหนใด และนั่นก็อาจเป็น ไปได้ว่า กระบวนการเก่าซ้ำซาก จะย้อนรอยเกวียนกลับมาเหยียบ รอยตีนควายอำนาจคุมประเทศอาจไม่เปลี่ยนมือ แต่ดูเหมือนวันคืนของ “นายกฯ อภิสิทธิ์” ใกล้ฟองสบู่แตกแล้ว!!!!
ที่มา.สยามธูรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กระนั้น ฝ่ายการเมืองโดยนายกฯ เด็กดื้อ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ยังคงสวมบทใจดีสู้เสือ ปุเลงปุเลงกระเตงเตี้ยอุ้มห้อย ลุยไฟฝ่าดงบาทา โดยไม่แยแสเสียงทักท้วง
ประหนึ่งมั่นใจในอำนาจยุบสภา..จะเป็นคำตอบสุดท้ายแห่ง วาระซ่อนเร้นทั้งหมดทั้งปวง “อภิสิทธิ์ชน” เอาหลังพิงกติกาประชาธิปไตย ท่องคาถาคงกระพัน เอามือกุมหลวงพ่อรอด ท่องทะเลโต้คลื่นสึนามิ มิยำเกรงว่า “รัฐนาวาเทพประทาน” จะล่มคาปาก อ่าวประชาธิปไตย
“นายกฯ อภิสิทธิ์” ทุบโต๊ะกลางวง ครม. อุ้มสมพรรคร่วม รัฐบาล ชูธงแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 2 มาตรา โดยไม่ต้องผ่านประชามติ ล่อเป้าพันธมิตรฯ ให้เปิดวาระชุมนุมโหนฟ้าเกลื่อนถนน เด็กดื้อวางยาซ้ำอย่างมีนัย “หากการชุมนุมแล้วทำให้เกิดการรัฐประหาร สู้ยอมยุบสภาเสียดีกว่า”
แทงกั๊กล็อกคออำนาจพิเศษ ไม่ให้ทะลุกลางปล้องออกมาในยามบ้านเมืองเกิดอาการวังเวง แต่อีกนัยก็มองกันได้ว่าเกมนี้มีงานขุดบ่อล่อปลา ก่อนอาญายุบพรรคประชาธิปัตย์จะตกผลึก
เนื่องด้วยการเมืองภายในพรรคสะตอเอง “นายหัวชวน หลีกภัย” และ “บัญญัติ บรรทัดฐาน” 2 ผู้เฒ่าก็โดดขวางวาระ แก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยอาการสุดลิ่มทิ่มประตู
สรุปความคือ วาระนี้จะแก้รัฐธรรมนูญหรือแก้ผ้าตัวเองให้ เปลือยเปล่าล่อนจ้อนต่อหน้าเพื่อนพ้องและไพร่ฟ้าประชาชน คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามแบบตาห้ามกะพริบ
แต่ที่แน่ๆ คือทีมงานเสื้อแดงภาครัฐสภา ตีธงไอ้เข้ขวางคลอง ไม่ร่วมสังฆกรรมแก้รัฐธรรมนูญรอบนี้ด้วยประการทั้งปวง และหาก เคราะห์ซ้ำกรรมซัดส่งผลให้วาระร้อนนี้ต้องประสบอุบัติเหตุด้วยน้ำมือคนกันเอง
มโหรีที่ตีฆ้องร้องป่าวมหกรรมตีปี๊บแก้ไขรัฐธรรมนูญ...คงต้องเอวังไปด้วยประการฉะนี้!!! ถ้าสมมติฐานดังกล่าว เผอิญเป็นจริง มันก็จะเข้าอีหรอบเดิม ในท่วงท่าการซื้อเวลาของเซียนเขี้ยวอย่างพรรคประชาธิปัตย์ แต่ ที่จะงามหน้ากว่าใครเพื่อนก็คงไม่พ้น “นายกฯ อภิสิทธิ์” ที่ไร้วาจาสิทธิ์ในการสั่งการอยู่บนหัวโขน “ท่านนายกฯ”
ภาพการเมืองอาจจะแก้ปัญหาแบบ “บัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น” แต่ภาพลักษณ์ส่วนตัวที่สั่งสมมา อนิจจา “นายกฯ อภิสิทธิ์” สภาพไม่ต่างจากยาใกล้หมดอายุ
ยิ่งชำเลืองไปที่การโดดลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.ของ “อภิรักษ์ โกษะโยธิน” แคนดิเดตม้าแข่งตัวใหม่ในเก้าอี้ “นายกฯ สำรอง” ย่อมสะท้อนให้เห็นลางบอกเหตุอะไรบางอย่างที่น่าสนใจยิ่ง
โดยเฉพาะในระยะหลัง “นายกฯ อภิสิทธิ์” กับ “รองนายกฯ สุเทพ เทือกสุบรรณ” ดันกลับมาแนบแน่นกันจนผิดสังเกต บ่งบอกถึงทิฐิแห่งวาระหวงอำนาจที่ปรากฏให้เห็นเป็นเค้าราง เพราะงานนี้ หากจัดแถวใหม่โดยไม่ลงแข่งในสนามประชาธิปไตย
หัวโขนใหญ่เปลี่ยนใหม่หมด มีหวัง “นายกฯ อภิสิทธิ์” และ “รองนายกฯ สุเทพ” รวมไปถึง “เครือเนวินกรุ๊ป” ต้องตกสวรรค์ โลว์โปรไฟล์ทางการเมืองไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กระนั้นก็ตาม ก็ดูเหมือนว่า “นายกฯ อภิสิทธิ์” จะมั่นอกมั่นใจในอาญาสิทธิ์ยุบสภาในมือตัวเองยิ่งนัก แต่คงลืมไปว่า แรกเริ่ม เดิมทีนั้น บรรดาศักดิ์ของท่านได้มาแต่แห่งหนใด และนั่นก็อาจเป็น ไปได้ว่า กระบวนการเก่าซ้ำซาก จะย้อนรอยเกวียนกลับมาเหยียบ รอยตีนควายอำนาจคุมประเทศอาจไม่เปลี่ยนมือ แต่ดูเหมือนวันคืนของ “นายกฯ อภิสิทธิ์” ใกล้ฟองสบู่แตกแล้ว!!!!
ที่มา.สยามธูรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
งบฯปฏิรูปประเทศปี 54 กว่า 187 แสนล้าน
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนการใช้งบประมาณจำนวน 187,470,000 บาท ในปี 2554 นั้นแบ่งเป็นของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) 57,780,000 บาท มาจาก 1.กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของคปร. 26,100,000 บาท 2.สนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นวิชาการและนโยบายภายใต้ คปร. 10,000,000 บาท 3.งานสนับสื่อสารสังคมของคปร. 14,480,000 บาท 4.ประชุม 80 ครั้งๆ ละ 90,000 บาท รวม 7,200,000 บาท
ขณะที่ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) มีแผนการใช้งบประมาณ ทั้งหมด 110,880,000 บาท ประกอบด้วย 1.กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของคสป.ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูป 18,000,000 บาท 2.กิจกรรมสมัชชาปฏิรูประดับชาติปีละ 1 ครั้ง 23,520,000 บาท 3.งานสนับสนุนการดำเนินการของเครือข่ายต่างๆ 25,000,000 บาท 4.งานสนับสนุนเครือข่ายภายใต้คสป. 25,000,000 บาท 5.งานสนับสนุนการขับเคลื่อนเฉพาะประเด็น 2,000,000 บาท 6.งานสนับสนุนการสื่อสารสังคมของคสป. 14,480,000 บาท 7.การประชุมคสป. 2,880,000 บาท
งบกลาง 18,810,000 บาทประกอบด้วย 1.งานนโยบาย แผน และการประเมินผล 2,000,000 บาท 2.งานบริหารทั่วไป 10,000,000 บาท 3.งานสารสนเทศ และการจัดการเครือข่าย 4,310,000 บาท 4.งานสนับสนุนกิจการพิเศษ 2,500,000 บาท
ที่มา.เนชั่น
-------------------------------------
ขณะที่ คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป (คสป.) มีแผนการใช้งบประมาณ ทั้งหมด 110,880,000 บาท ประกอบด้วย 1.กิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของคสป.ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูป 18,000,000 บาท 2.กิจกรรมสมัชชาปฏิรูประดับชาติปีละ 1 ครั้ง 23,520,000 บาท 3.งานสนับสนุนการดำเนินการของเครือข่ายต่างๆ 25,000,000 บาท 4.งานสนับสนุนเครือข่ายภายใต้คสป. 25,000,000 บาท 5.งานสนับสนุนการขับเคลื่อนเฉพาะประเด็น 2,000,000 บาท 6.งานสนับสนุนการสื่อสารสังคมของคสป. 14,480,000 บาท 7.การประชุมคสป. 2,880,000 บาท
งบกลาง 18,810,000 บาทประกอบด้วย 1.งานนโยบาย แผน และการประเมินผล 2,000,000 บาท 2.งานบริหารทั่วไป 10,000,000 บาท 3.งานสารสนเทศ และการจัดการเครือข่าย 4,310,000 บาท 4.งานสนับสนุนกิจการพิเศษ 2,500,000 บาท
ที่มา.เนชั่น
-------------------------------------
น่าจะไม่รอด
ไม่ใช่แค่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องละเมิดสิทธิ์และไม่เป็นประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว
สำหรับคำสั่งศอฉ.ที่ห้ามขายสินค้ารองเท้าแตะรูปหน้ามาร์ค
ในกรณีการละเมิดสิทธิ์ก็ว่ากันไปเรื่องหนึ่ง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็ตำหนิติติงกันไป
แต่ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ในอีกนัยหนึ่ง ถึงปัญหาความร้าวฉานระหว่าง นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ ศอฉ.
เพราะหลังศอฉ.ออกคำสั่งนี้ไปในวันที่ 19 พ.ย.
วันรุ่งขึ้นนายกฯมาร์คกลับออกมาสั่งให้ศอฉ. ทบทวนคำสั่งนี้ทันที
อีก 2-3 วันถัดมา ศอฉ.ก็เรียกประชุม ก่อนให้โฆษกไก่อูออกมาแถลงว่าในที่ประชุมศอฉ.มีมติทบทวนคำสั่งตามบัญชานายกฯ แต่ศอฉ.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง
ตรงนี้หลายฝ่ายมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างศอฉ. กับนายกฯมาร์คไม่ปกติแล้ว
ท่าทีของนายกฯ ทำให้คนมองว่าศอฉ.ออกคำสั่งโดยพลการ หยุมหยิม จุกจิก
กลายเป็นเป้าโดนโจมตีจากนักสิทธิมนุษยชน
ส่วนนายกฯมาร์คก็ลอยตัว ไม่โดนด่า
จึงเป็นเหตุผลของการทบทวนตามบัญชา แต่ไม่เปลี่ยน แปลงคำสั่งนั่นเอง!?
ยิ่งตอกย้ำกระแสข่าวความไม่ลงรอยกัน
ก่อนหน้านี้ กองทัพก็ไม่พอใจกรณีการแถลงข่าวของ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เรื่องการสืบสวนสอบสวนคดี 91 ศพ
นายธาริตสรุปเพียงแค่ 12 ศพเจ้าหน้าที่โดนเสื้อ แดงฆ่า
แต่ที่เหลืออีกเกือบ 80 ศพไม่ฟันธงอะไรเลย ปล่อยให้อึมครึม
ออกมาแบบนี้ก็เท่ากับให้ไปคิดเอาเองว่าฝีมือใคร?
ฝ่ายการเมืองก็ลอยตัวอีก ฝ่ายปฏิบัติการก็รับไปเต็มๆ
ผสมโรงกับกรณีนายกฯมาร์คออกมาปูดข่าวการปฏิวัติเข้าไปอีก
ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์เหินห่างขึ้น
หากย้อนกลับไปดูช่วงประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินใหม่ๆ นายกฯ กับกองทัพก็กลมเกลียวกันดี
แต่หลังจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พ้นจากตำแหน่งผอ.ศอฉ.ออกไปสมัครเลือกตั้งส.ส.
ตัวประสานระหว่างกองทัพกับฝ่ายการเมืองก็ขาดหายไป
พอชนะเลือกตั้งได้กลับมาเป็นรองนายกฯ ตามเดิม แต่ไม่ได้คุมศอฉ.ตามเดิม
ถึงนาทีนี้รัฐบาลเข้าขั้นโคม่าแล้ว
คดีสั่งสลายม็อบมีคนตาย 91 ศพถูกม็อบแดงจี้เช้าจี้เย็น
คดีความก็จ่อขึ้นศาลโลก
แถมโดนองค์กรนานาชาติจับตาว่าจะเป็นมวยล้มหรือไม่
การแก้รัฐธรรมนูญก็โดนม็อบผู้มีพระคุณเล่นงานเข้าให้
คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังร่อแร่
ไม่รู้ว่าจะยุบสภาก่อนถูกยุบพรรคดีหรือเปล่า?
ยังต้องเจอปัญหาขัดแย้งกับกองทัพเข้าไปอีก
แนวโน้มแบบนี้เรียกว่า น่าจะไปไม่รอด!?
ที่มา:คอลัมน์ เหล็กใน.ข่าวสดรายวัน
----------------------------------------------------------
สำหรับคำสั่งศอฉ.ที่ห้ามขายสินค้ารองเท้าแตะรูปหน้ามาร์ค
ในกรณีการละเมิดสิทธิ์ก็ว่ากันไปเรื่องหนึ่ง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนก็ตำหนิติติงกันไป
แต่ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ในอีกนัยหนึ่ง ถึงปัญหาความร้าวฉานระหว่าง นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ ศอฉ.
เพราะหลังศอฉ.ออกคำสั่งนี้ไปในวันที่ 19 พ.ย.
วันรุ่งขึ้นนายกฯมาร์คกลับออกมาสั่งให้ศอฉ. ทบทวนคำสั่งนี้ทันที
อีก 2-3 วันถัดมา ศอฉ.ก็เรียกประชุม ก่อนให้โฆษกไก่อูออกมาแถลงว่าในที่ประชุมศอฉ.มีมติทบทวนคำสั่งตามบัญชานายกฯ แต่ศอฉ.ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง
ตรงนี้หลายฝ่ายมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างศอฉ. กับนายกฯมาร์คไม่ปกติแล้ว
ท่าทีของนายกฯ ทำให้คนมองว่าศอฉ.ออกคำสั่งโดยพลการ หยุมหยิม จุกจิก
กลายเป็นเป้าโดนโจมตีจากนักสิทธิมนุษยชน
ส่วนนายกฯมาร์คก็ลอยตัว ไม่โดนด่า
จึงเป็นเหตุผลของการทบทวนตามบัญชา แต่ไม่เปลี่ยน แปลงคำสั่งนั่นเอง!?
ยิ่งตอกย้ำกระแสข่าวความไม่ลงรอยกัน
ก่อนหน้านี้ กองทัพก็ไม่พอใจกรณีการแถลงข่าวของ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เรื่องการสืบสวนสอบสวนคดี 91 ศพ
นายธาริตสรุปเพียงแค่ 12 ศพเจ้าหน้าที่โดนเสื้อ แดงฆ่า
แต่ที่เหลืออีกเกือบ 80 ศพไม่ฟันธงอะไรเลย ปล่อยให้อึมครึม
ออกมาแบบนี้ก็เท่ากับให้ไปคิดเอาเองว่าฝีมือใคร?
ฝ่ายการเมืองก็ลอยตัวอีก ฝ่ายปฏิบัติการก็รับไปเต็มๆ
ผสมโรงกับกรณีนายกฯมาร์คออกมาปูดข่าวการปฏิวัติเข้าไปอีก
ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์เหินห่างขึ้น
หากย้อนกลับไปดูช่วงประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินใหม่ๆ นายกฯ กับกองทัพก็กลมเกลียวกันดี
แต่หลังจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ พ้นจากตำแหน่งผอ.ศอฉ.ออกไปสมัครเลือกตั้งส.ส.
ตัวประสานระหว่างกองทัพกับฝ่ายการเมืองก็ขาดหายไป
พอชนะเลือกตั้งได้กลับมาเป็นรองนายกฯ ตามเดิม แต่ไม่ได้คุมศอฉ.ตามเดิม
ถึงนาทีนี้รัฐบาลเข้าขั้นโคม่าแล้ว
คดีสั่งสลายม็อบมีคนตาย 91 ศพถูกม็อบแดงจี้เช้าจี้เย็น
คดีความก็จ่อขึ้นศาลโลก
แถมโดนองค์กรนานาชาติจับตาว่าจะเป็นมวยล้มหรือไม่
การแก้รัฐธรรมนูญก็โดนม็อบผู้มีพระคุณเล่นงานเข้าให้
คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังร่อแร่
ไม่รู้ว่าจะยุบสภาก่อนถูกยุบพรรคดีหรือเปล่า?
ยังต้องเจอปัญหาขัดแย้งกับกองทัพเข้าไปอีก
แนวโน้มแบบนี้เรียกว่า น่าจะไปไม่รอด!?
ที่มา:คอลัมน์ เหล็กใน.ข่าวสดรายวัน
----------------------------------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การเมืองต้องนำการทหาร!
แม่ทัพภาคที่ 4 พลโทอุดม ธรรมสาโรรัชต์ ออกมาแถลง...เหตุการณ์ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มดีขึ้นเพราะกองทัพภาคที่ 4ใช้การเมืองนำการทหาร
ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่ปัญหาการรุกรานด้วยกำลังจากอริราชศัตรู
การแก้ปัญหาด้วยการใช้การเมืองนำการทหารถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
ปัญหาความขัดแย้งของผู้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองการแก้ไขยิ่งต้องใช้การเมืองนำ
ขืนคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในภาวะฉุกเฉินซึ่งก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้นานๆเข้า..นับวันยิ่งเหมือนเชื้อดื้อยา ??
เลิกได้เลิกเถอะ...กฏหมายเผด็จการ
การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง...ขืนปล่อยให้การทหารนำการเมืองเดี๋ยวก็ปฏิวัติสลับรัฐประหารไปเรื่อยๆหรอก..จริงไหม ???
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มาอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงกันดีไหม ??
เจอซากทารกร่วมสองพันกว่าซาก...ผลพวงจากการทำแท๊งเถื่อน !!
วี๊ดว๊าดกระตู้วู้ออกมาร้องแรกแหกกระเฌอเป็นไฟไหม้ฟางอีกตามเคย...แต่ไม่นานก็คงเงียบหายกลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งตามเคย
สาเหตุของการทำแท๊งเถื่อนล้วนมาจากสาเหตุแห่งความไม่พร้อมที่จะมีบุตรแต่ดันมาตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นมาดื้อๆ
หนทางแก้และหนทางที่จะป้องกันนั้นมีเสมอ
สำคัญแต่ว่าสังคมจะยอมรับความจริง และยอมอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงได้หรือไม่เท่านั้นแหละ ??
ถ้าหากเรายอมรับและยอมอยู่กับความเป็นจริงได้การแก้ไขปัญหาต่างๆก็คงง่ายขึ้น
แต่ที่มันยุ่งยากอยู่ทุกวันนี้...ล้วนมากจากปัญหาหน้าบางใจหนา
เลิกหน้าบางใจหนาเมื่อไหร่..ปัญหานั้นแก้ได้ง่ายนิดเดียว !!
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่รู้จะลาออกทำไม ??
เป็นผู้ว่า กทม.อยู่ดีๆ พอเจอคดีทุจริตรถดับเพลิงเข้า “หล่อเล็ก” อภิรักษ์ โกษะโยธิน ก็แสดงสปริริตลาออกจากผู้ว่า กทม.จนได้ใจชาวบ้านร้านถิ่นเป็นกระปุงโกย
มาวันนี้ไม่รู้อะไรมาทำให้ “หล่อเล็ก” เปลี๊ยนไป่ก็ไม่รู้
อยู่ๆก็ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมเป็น สส.กทม.เขต 2 ซะงั้นแหละ
การลาออกจากผู้ว่า กทม.ของ”หล่อเล็ก”ก็เพื่อให้เกิดมาตรฐานทางการเมืองใหม่ที่ประชาชนเรียกร้อง ??
คดีความยังไม่จบ ถูกผิดยังไม่ชี้
ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.มันก็อีหรอบเดียวกัน...แล้วมันเป็นมาตรฐานทางการเมืองใหม่ตรงไหนเอ่ย ???
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จะแต่งตั้งตำรวจแต่ละทีช่างยากเย็นแสนเข็ญ ??
ข้าราชอื่นเห็นการแต่งตั้งของข้าราชการตำรวจแล้วขำกลิ้ง ??
จะแต่งตั้งแต่ละครั้งที่ชักช้าโอ้เอ้วิหารรายก็เพราะแต่ละหน่วยที่จะแต่งตั้งในอำนาจต้องรอกฎเกณฑ์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดให้เสียก่อน
การแต่งตั้งระดับรองผู้บังคับการลงมาถึงสารวัตรประจำปีนี้...กฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งยังไม่ออก
กฎเกณฑ์การแต่งตั้งน่าที่จะกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนถือใช้ได้ทุกปีไม่ใช่จะแต่งตั้งทีก็กำหนดกันที
ข้อยกเว้นต้องมีไว้เฉพาะที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจริงๆเท่านั้น
เปลือก กระพี้ แก่น เป็นเช่นไรต้องแยกให้ออกบอกให้ชัด
หรือว่า “บิ๊กน้อย” พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ลูกบ้านไผ่ จะปล่อยเอาไว้ให้เป็นปัญหาเช่นนี้ทุกปีไป???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“เหลิมดาวเทียม” !!
เจอ”เหลิมดาวเทียม” ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน สส.พรรคเพื่อไทยอภิปราย โซ้ยนิดตอดหน่อยได้ไม่นาน พ่อเจ้าประคุณช่องหอยม่วงก็ดันตัดไปถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ซะงั้นแหละ
เมื่อไม่ยอมให้ถ่ายทอดสดให้ตลอดรอดฝั่ง ไปฟัง “เหลิมดาวเทียม” โซ้ยสดๆให้ฟังบนเวทีน่าสนุกกว่าเป็นไหนๆ
ก็เมื่อพรรคแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งซ่อมทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภาคอิสานทั้งหมดแล้ว
หน้าที่”เหลิมดาวเทียม”คือทัวร์ปราศรัยหาเสียงช่วยลูกพรรคหาเสียงทั่วทุกเขต
ถ้ารักเหลิม ชอบเหลิมอย่าลืมติดตามเองก็แล้วกัน โดยเฉพาะที่โคราช เขาว่าน่ามันส์หยดติ๋งๆกันเลยล่ะ!!!
-----------------------คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยใต้ฟ้า.บางกอกทูเดย์-----------------------
ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่ปัญหาการรุกรานด้วยกำลังจากอริราชศัตรู
การแก้ปัญหาด้วยการใช้การเมืองนำการทหารถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
ปัญหาความขัดแย้งของผู้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันทางการเมืองการแก้ไขยิ่งต้องใช้การเมืองนำ
ขืนคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในภาวะฉุกเฉินซึ่งก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้นานๆเข้า..นับวันยิ่งเหมือนเชื้อดื้อยา ??
เลิกได้เลิกเถอะ...กฏหมายเผด็จการ
การเมืองต้องแก้ด้วยการเมือง...ขืนปล่อยให้การทหารนำการเมืองเดี๋ยวก็ปฏิวัติสลับรัฐประหารไปเรื่อยๆหรอก..จริงไหม ???
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มาอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงกันดีไหม ??
เจอซากทารกร่วมสองพันกว่าซาก...ผลพวงจากการทำแท๊งเถื่อน !!
วี๊ดว๊าดกระตู้วู้ออกมาร้องแรกแหกกระเฌอเป็นไฟไหม้ฟางอีกตามเคย...แต่ไม่นานก็คงเงียบหายกลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งตามเคย
สาเหตุของการทำแท๊งเถื่อนล้วนมาจากสาเหตุแห่งความไม่พร้อมที่จะมีบุตรแต่ดันมาตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนาขึ้นมาดื้อๆ
หนทางแก้และหนทางที่จะป้องกันนั้นมีเสมอ
สำคัญแต่ว่าสังคมจะยอมรับความจริง และยอมอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริงได้หรือไม่เท่านั้นแหละ ??
ถ้าหากเรายอมรับและยอมอยู่กับความเป็นจริงได้การแก้ไขปัญหาต่างๆก็คงง่ายขึ้น
แต่ที่มันยุ่งยากอยู่ทุกวันนี้...ล้วนมากจากปัญหาหน้าบางใจหนา
เลิกหน้าบางใจหนาเมื่อไหร่..ปัญหานั้นแก้ได้ง่ายนิดเดียว !!
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไม่รู้จะลาออกทำไม ??
เป็นผู้ว่า กทม.อยู่ดีๆ พอเจอคดีทุจริตรถดับเพลิงเข้า “หล่อเล็ก” อภิรักษ์ โกษะโยธิน ก็แสดงสปริริตลาออกจากผู้ว่า กทม.จนได้ใจชาวบ้านร้านถิ่นเป็นกระปุงโกย
มาวันนี้ไม่รู้อะไรมาทำให้ “หล่อเล็ก” เปลี๊ยนไป่ก็ไม่รู้
อยู่ๆก็ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมเป็น สส.กทม.เขต 2 ซะงั้นแหละ
การลาออกจากผู้ว่า กทม.ของ”หล่อเล็ก”ก็เพื่อให้เกิดมาตรฐานทางการเมืองใหม่ที่ประชาชนเรียกร้อง ??
คดีความยังไม่จบ ถูกผิดยังไม่ชี้
ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.มันก็อีหรอบเดียวกัน...แล้วมันเป็นมาตรฐานทางการเมืองใหม่ตรงไหนเอ่ย ???
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จะแต่งตั้งตำรวจแต่ละทีช่างยากเย็นแสนเข็ญ ??
ข้าราชอื่นเห็นการแต่งตั้งของข้าราชการตำรวจแล้วขำกลิ้ง ??
จะแต่งตั้งแต่ละครั้งที่ชักช้าโอ้เอ้วิหารรายก็เพราะแต่ละหน่วยที่จะแต่งตั้งในอำนาจต้องรอกฎเกณฑ์ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดให้เสียก่อน
การแต่งตั้งระดับรองผู้บังคับการลงมาถึงสารวัตรประจำปีนี้...กฎเกณฑ์ในการแต่งตั้งยังไม่ออก
กฎเกณฑ์การแต่งตั้งน่าที่จะกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนถือใช้ได้ทุกปีไม่ใช่จะแต่งตั้งทีก็กำหนดกันที
ข้อยกเว้นต้องมีไว้เฉพาะที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการจริงๆเท่านั้น
เปลือก กระพี้ แก่น เป็นเช่นไรต้องแยกให้ออกบอกให้ชัด
หรือว่า “บิ๊กน้อย” พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ลูกบ้านไผ่ จะปล่อยเอาไว้ให้เป็นปัญหาเช่นนี้ทุกปีไป???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“เหลิมดาวเทียม” !!
เจอ”เหลิมดาวเทียม” ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน สส.พรรคเพื่อไทยอภิปราย โซ้ยนิดตอดหน่อยได้ไม่นาน พ่อเจ้าประคุณช่องหอยม่วงก็ดันตัดไปถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ซะงั้นแหละ
เมื่อไม่ยอมให้ถ่ายทอดสดให้ตลอดรอดฝั่ง ไปฟัง “เหลิมดาวเทียม” โซ้ยสดๆให้ฟังบนเวทีน่าสนุกกว่าเป็นไหนๆ
ก็เมื่อพรรคแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งซ่อมทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและภาคอิสานทั้งหมดแล้ว
หน้าที่”เหลิมดาวเทียม”คือทัวร์ปราศรัยหาเสียงช่วยลูกพรรคหาเสียงทั่วทุกเขต
ถ้ารักเหลิม ชอบเหลิมอย่าลืมติดตามเองก็แล้วกัน โดยเฉพาะที่โคราช เขาว่าน่ามันส์หยดติ๋งๆกันเลยล่ะ!!!
-----------------------คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยใต้ฟ้า.บางกอกทูเดย์-----------------------
แก้ รธน.-ปล่อย "นปช." ปชป.ในพายุแดงเดือด-เหลืองแค้น
พรรคประชาธิปัตย์ยังต้องบริหารความขัดแย้งจากแนวรบหลายด้าน
ด้านหนึ่งมาจากแนวรบฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งฝ่ายสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน ที่ตั้งตัวเป็นแนวต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550
ด้านหนึ่งมาจากแนวรบฝ่ายมวลชน-นอกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งฝ่ายที่เคยเป็นพันธมิตรในนามพรรคการเมืองใหม่ และแนวร่วมของฝ่ายค้านในนามของเครือข่าย นปช.
2 เครือข่าย 2 แนวรบ ที่มีเป้าหมายสุดท้ายต่างกัน แต่ทั้งสัญลักษณ์ ฝ่ายสีแดงและฝ่ายสีเหลืองต่างชิงลงมือในช่วงโค้งสุดท้ายของการปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ
ทั้ง นปช.และเพื่อไทยต้องการเงื่อนไขทั้งคว่ำรัฐบาลประชาธิปัตย์ และต้องการอิสระให้กับแกนนำ "เสื้อแดง"
ส่วนพรรคเพื่อไทย ในสภาผู้แทนราษฎร หวังจับมือสมาชิก "สภาสูง" คว่ำเกมแก้รัฐธรรมนูญ
ทั้ง 2 เกม 2 แนวรบ รุนแรง-รุกฆาตพรรคประชาธิปัตย์ จนยากจะขยับเขยื้อน
พรรคประชาธิปัตย์ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงต้องเลื่อนวาระของคณะรัฐมนตรี และงานของฝ่ายบริหารให้พ้นจากแนวต้านนอกสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน
พลันที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรชัย ชิดชอบ บรรจุวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ
พลันที่เครือข่ายนักกฎหมายออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เสนอยกเลิกคําสั่งที่ 141/2553 ของ ศอฉ. ที่ให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดหรืออายัดสินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งตรงถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
พลันที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ (คอป.) ซึ่งมี นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน สรุปข้อเสนอแนะ 5 ข้อ เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐาน ของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ยื่นข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี
เพื่อเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ว่าด้วย "สิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว" และ "หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย" (in dubio pro reo)
"คอป.จึงเห็นว่าหากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยาน หลักฐาน หรือจะก่ออันตรายประการอื่นแล้ว ก็จะต้องปล่อยตัวหรือปล่อยชั่วคราวในทุกกรณี หรือการปล่อยชั่วคราวผู้ถูกกล่าวหาในคดีที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อความรุนแรงโดยตรง เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนที่สามารถพิสูจน์ถึงเหตุที่จะสามารถควบคุมตัวได้"
ข้อเสนอเพื่อความ "ปรองดอง" เกี่ยวเนื่องไปถึงกระบวนการยุติธรรมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ
สัญญาณที่ไปถึงศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเป็น "รายงาน" ที่สรุปตรงกันว่า
"การปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราว ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการ ในการสร้างความปรองดองในชาติ"
ข้อเสนอจากมวลชน-องค์กร "นอกสภา" ส่งสัญญาณยื่นเงื่อนไขบรรทัดสุดท้าย ให้ปล่อย 7 แกนนำพ้นคุก
สำทับด้วยข้อเสนอของ "จาตุรนต์ ฉายแสง" จากเครือข่ายพรรคเพื่อไทยที่สนับสนุนแนวคิดก้าวหน้าตามหลัก ปรัชญากฎหมาย นิติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชนของ "ดร.คณิต" อันจะเป็น "กุญแจ" ที่ทั้งฝ่ายตุลาการ-ศาล และรัฐบาล จะใช้ไขรหัสให้ 7 แกนนำได้รับการปล่อยตัว
ทุกแนวรบ แนวต้าน แตกต่างหลากประเด็น
เฉพาะอย่างยิ่งแนวรบของ "พันธมิตร" ที่นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) ที่ปรากฏตัวแสดงจุดยืน ก่อนเรียกสมาชิกลงสู่ท้องถนนหน้าอาคารรัฐสภา "คัดค้าน" การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เหตุผลหลักในการคัดค้านยังอยู่ในวาระ-สาระ ที่ว่าด้วย "การลดทอนพระราชอำนาจ" และ "วาระซ่อนเร้น" ในการ "นิรโทษกรรม" ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ตัวแทนพันธมิตรประกาศว่า "พรรคการเมืองใหม่เสนอทางออกเพื่อแก้ไขความขัดแย้งว่า รัฐบาลควรถอนวาระออกมาก่อนแล้วดำเนินการจัดให้มีการ ออกเสียงประชามติสอบถามความเห็นประชาชนทั้งประเทศว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่"
ทั้งเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ-เกมกดดันปล่อยตัว 7 แกนนำ นปช. และการปลดภาระ-พันธะจาก "ม็อบพันธมิตร" ยังเป็นวาระเร่งด่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่อาจ ไม่พิจารณา
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ด้านหนึ่งมาจากแนวรบฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งฝ่ายสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน ที่ตั้งตัวเป็นแนวต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550
ด้านหนึ่งมาจากแนวรบฝ่ายมวลชน-นอกสภาผู้แทนราษฎร ที่มีทั้งฝ่ายที่เคยเป็นพันธมิตรในนามพรรคการเมืองใหม่ และแนวร่วมของฝ่ายค้านในนามของเครือข่าย นปช.
2 เครือข่าย 2 แนวรบ ที่มีเป้าหมายสุดท้ายต่างกัน แต่ทั้งสัญลักษณ์ ฝ่ายสีแดงและฝ่ายสีเหลืองต่างชิงลงมือในช่วงโค้งสุดท้ายของการปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ
ทั้ง นปช.และเพื่อไทยต้องการเงื่อนไขทั้งคว่ำรัฐบาลประชาธิปัตย์ และต้องการอิสระให้กับแกนนำ "เสื้อแดง"
ส่วนพรรคเพื่อไทย ในสภาผู้แทนราษฎร หวังจับมือสมาชิก "สภาสูง" คว่ำเกมแก้รัฐธรรมนูญ
ทั้ง 2 เกม 2 แนวรบ รุนแรง-รุกฆาตพรรคประชาธิปัตย์ จนยากจะขยับเขยื้อน
พรรคประชาธิปัตย์ และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงต้องเลื่อนวาระของคณะรัฐมนตรี และงานของฝ่ายบริหารให้พ้นจากแนวต้านนอกสภาผู้แทนราษฎรออกไปก่อน
พลันที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรชัย ชิดชอบ บรรจุวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ
พลันที่เครือข่ายนักกฎหมายออกจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เสนอยกเลิกคําสั่งที่ 141/2553 ของ ศอฉ. ที่ให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดหรืออายัดสินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ส่งตรงถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
พลันที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ (คอป.) ซึ่งมี นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน สรุปข้อเสนอแนะ 5 ข้อ เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐาน ของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 ยื่นข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี
เพื่อเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ว่าด้วย "สิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว" และ "หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย" (in dubio pro reo)
"คอป.จึงเห็นว่าหากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยาน หลักฐาน หรือจะก่ออันตรายประการอื่นแล้ว ก็จะต้องปล่อยตัวหรือปล่อยชั่วคราวในทุกกรณี หรือการปล่อยชั่วคราวผู้ถูกกล่าวหาในคดีที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อความรุนแรงโดยตรง เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนที่สามารถพิสูจน์ถึงเหตุที่จะสามารถควบคุมตัวได้"
ข้อเสนอเพื่อความ "ปรองดอง" เกี่ยวเนื่องไปถึงกระบวนการยุติธรรมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ
สัญญาณที่ไปถึงศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเป็น "รายงาน" ที่สรุปตรงกันว่า
"การปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราว ดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการ ในการสร้างความปรองดองในชาติ"
ข้อเสนอจากมวลชน-องค์กร "นอกสภา" ส่งสัญญาณยื่นเงื่อนไขบรรทัดสุดท้าย ให้ปล่อย 7 แกนนำพ้นคุก
สำทับด้วยข้อเสนอของ "จาตุรนต์ ฉายแสง" จากเครือข่ายพรรคเพื่อไทยที่สนับสนุนแนวคิดก้าวหน้าตามหลัก ปรัชญากฎหมาย นิติธรรม และหลักสิทธิมนุษยชนของ "ดร.คณิต" อันจะเป็น "กุญแจ" ที่ทั้งฝ่ายตุลาการ-ศาล และรัฐบาล จะใช้ไขรหัสให้ 7 แกนนำได้รับการปล่อยตัว
ทุกแนวรบ แนวต้าน แตกต่างหลากประเด็น
เฉพาะอย่างยิ่งแนวรบของ "พันธมิตร" ที่นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (ก.ม.ม.) ที่ปรากฏตัวแสดงจุดยืน ก่อนเรียกสมาชิกลงสู่ท้องถนนหน้าอาคารรัฐสภา "คัดค้าน" การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เหตุผลหลักในการคัดค้านยังอยู่ในวาระ-สาระ ที่ว่าด้วย "การลดทอนพระราชอำนาจ" และ "วาระซ่อนเร้น" ในการ "นิรโทษกรรม" ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ตัวแทนพันธมิตรประกาศว่า "พรรคการเมืองใหม่เสนอทางออกเพื่อแก้ไขความขัดแย้งว่า รัฐบาลควรถอนวาระออกมาก่อนแล้วดำเนินการจัดให้มีการ ออกเสียงประชามติสอบถามความเห็นประชาชนทั้งประเทศว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่"
ทั้งเกมแก้ไขรัฐธรรมนูญ-เกมกดดันปล่อยตัว 7 แกนนำ นปช. และการปลดภาระ-พันธะจาก "ม็อบพันธมิตร" ยังเป็นวาระเร่งด่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่อาจ ไม่พิจารณา
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จ.บึงกาฬเป็นหมันกฤษฎีกาค้าน กระทบสัดส่วนเลือกตั้ง
กฤษฎีกาค้านตั้งจ.บึงกาฬ ชื่อไม่เหมาะ กระเทือนแบ่งเขตเลือกตั้งกระทบจำนวนส.ว. ไม่เป็นไปตามรธน. ชาวอ.เฝ้าไร่ไม่ย้ายรวม
จากรายงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2 ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ....ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติหลักการตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยพบหลายประเด็นอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาทั้งเรื่องชื่อจังหวัด การแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงการเลือกตั้งและการสรรหา ส.ว.
เรื่องชื่อจังหวัด คณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตว่า ในการกำหนดชื่อ จ.บึงกาฬ แม้ว่าจะมาจาก อ.บึงกาฬ แต่ก็เป็นเพียงอำเภอหนึ่งในบรรดา 8 อำเภอที่แยกออกมาจาก จ.หนองคาย และโดยความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์แล้ว ก็เคยเป็นเพียงชื่อบึงขนาดเล็ก แต่โดยที่การตั้งชื่อจังหวัดควรคำนึงถึงความรู้สึกของราษฎรในอำเภออื่น การมีความหมายที่ดี เป็นมงคล และสื่อความหมายถึงประวัติความเป็นมาของท้องที่ด้วย เช่นเดิมใช้ชื่อว่าเมืองไชยบุรี เป็นต้น
อีกทั้งร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดนี้ อาจตราขึ้นเวลาใกล้เคียงกับการเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการในวาระที่ 1 อาจขอพระราชทานชื่อจังหวัดเช่นเดียวกับกรณีการตั้งอำเภอใหม่ในระยะหลังก็ได้
เรื่องสัดส่วนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตว่า โดยที่ จ.หนองคาย แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 แต่ละเขตมี ส.ส.ได้ 3 คนในการตั้ง จ.บึงกาฬ ร่างกฎหมายได้กำหนดให้ ส.ส.ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็น ส.ส.หนองคาย และให้ ส.ส.ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 2 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็น ส.ส.ที่ได้รับเลือกจาก จ.บึงกาฬ
แต่ปัญหาก็คือ ในการแบ่งเขต จ.บึงกาฬ มีประเด็นเกี่ยวกับ อ.เฝ้าไร่ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 และควรจะต้องอยู่ในเขต จ.บึงกาฬ แต่ราษฎรในเขต อ.เฝ้าไร่ ไม่ประสงค์จะให้ย้ายอำเภอไปอยู่รวมใน จ.บึงกาฬ ดังนั้นจึงทำให้ราษฎรในเขตเลือกตั้ง จ.หนองคาย มีจำนวนมากกว่าราษฎรในเขตเลือกตั้ง จ.บึงกาฬ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัดส่วนจำนวนราษฎรที่นำมาคำนวณเป็นเกณฑ์จำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตจังหวัดสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป
นอกจากนั้น ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.ของ จ.บึงกาฬ ด้วย เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1 และ 2 กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาซึ่งมีจำนวนเท่ากับ ส.ว.ทั้งหมด หักด้วยจำนวน ส.ว.ที่มาจากเลือกตั้ง และในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงปัจจุบันมี ส.ว.จำนวน 150 คน แบ่งเป็น ส.ว.สรรหา 74 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และจะครบวาระในเดือนก.พ.2554 และส.ว.จากการเลือกตั้ง 76 คน จาก 76 จังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี จะครบวาระในเดือนมี.ค.2547 ดังนั้น เมื่อร่างพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ จะส่งผลต่อการเลือกตั้งและการสรรหาส.ว. ดังต่อไปนี้
1.กรณีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับก่อนครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คน โดยต้องลดจำนวน ส.ว.ที่มาจากการสรรหาลง 1 คน (เพราะจังหวัดเพิ่มเป็น 77 จังหวัด) แต่ กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬ ได้ทันที เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ดังนั้น เมื่อดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คนแล้ว และนำมาคำนวณรวมกับ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 จังหวัด ก็จะประกอบด้วย ส.ว. 149 คน ซึ่งจะไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา 111 วรรค 1 และจะต้องคงจำนวน ส.ว.149 คน จนกว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งต่อไป โดยกรณีนี้ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากการว่างของตำแหน่ง ส.ว.ของ จ.บึงกาฬ ไม่ได้มีเหตุมาจากมาตรา 120 ของรัฐธรรมนูญ
2.ในกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับหลังครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา โดย กกต.ได้จัดให้มีการสรรหาวุฒิสภาครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต่อมา ร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ และได้มีการจัดตั้ง จ.บึงกาฬ เป็นจังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในระหว่างการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ โดยกกต.จะสามารถจัดการเลือกตั้งส.ว.บึง
กาฬได้ เมื่อครบวาระส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง เดือนมี.ค.2557
ในกรณีนี้หากคำนวณตาม ส.ว.ที่มาจากการสรรหา 74 คน และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน จะได้จำนวนรวมของ ส.ว. 151 คน เกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1
3.ในกรณีที่สมาชิกภาพของ ส.ว.หนองคายที่มาจากการเลือกตั้งต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญในระหว่างปี 2554-2557 ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร และจังหวัดใดจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ดังกล่าว เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดิมมาจากพื้นที่ทั้ง จ.หนองคาย และ จ.บึงกาฬ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
************************************************
จากรายงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2 ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ....ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติหลักการตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยพบหลายประเด็นอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาทั้งเรื่องชื่อจังหวัด การแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงการเลือกตั้งและการสรรหา ส.ว.
เรื่องชื่อจังหวัด คณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตว่า ในการกำหนดชื่อ จ.บึงกาฬ แม้ว่าจะมาจาก อ.บึงกาฬ แต่ก็เป็นเพียงอำเภอหนึ่งในบรรดา 8 อำเภอที่แยกออกมาจาก จ.หนองคาย และโดยความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์แล้ว ก็เคยเป็นเพียงชื่อบึงขนาดเล็ก แต่โดยที่การตั้งชื่อจังหวัดควรคำนึงถึงความรู้สึกของราษฎรในอำเภออื่น การมีความหมายที่ดี เป็นมงคล และสื่อความหมายถึงประวัติความเป็นมาของท้องที่ด้วย เช่นเดิมใช้ชื่อว่าเมืองไชยบุรี เป็นต้น
อีกทั้งร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดนี้ อาจตราขึ้นเวลาใกล้เคียงกับการเฉลิมฉลองพระชนมพรรษา 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น หากสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการในวาระที่ 1 อาจขอพระราชทานชื่อจังหวัดเช่นเดียวกับกรณีการตั้งอำเภอใหม่ในระยะหลังก็ได้
เรื่องสัดส่วนของ ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คณะกรรมการกฤษฎีกามีข้อสังเกตว่า โดยที่ จ.หนองคาย แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 2 แต่ละเขตมี ส.ส.ได้ 3 คนในการตั้ง จ.บึงกาฬ ร่างกฎหมายได้กำหนดให้ ส.ส.ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 1 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็น ส.ส.หนองคาย และให้ ส.ส.ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งที่ 2 จ.หนองคาย ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ เป็น ส.ส.ที่ได้รับเลือกจาก จ.บึงกาฬ
แต่ปัญหาก็คือ ในการแบ่งเขต จ.บึงกาฬ มีประเด็นเกี่ยวกับ อ.เฝ้าไร่ ซึ่งอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 และควรจะต้องอยู่ในเขต จ.บึงกาฬ แต่ราษฎรในเขต อ.เฝ้าไร่ ไม่ประสงค์จะให้ย้ายอำเภอไปอยู่รวมใน จ.บึงกาฬ ดังนั้นจึงทำให้ราษฎรในเขตเลือกตั้ง จ.หนองคาย มีจำนวนมากกว่าราษฎรในเขตเลือกตั้ง จ.บึงกาฬ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัดส่วนจำนวนราษฎรที่นำมาคำนวณเป็นเกณฑ์จำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตจังหวัดสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งต่อไป
นอกจากนั้น ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ว.ของ จ.บึงกาฬ ด้วย เนื่องจากรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1 และ 2 กำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน และมาจากการสรรหาซึ่งมีจำนวนเท่ากับ ส.ว.ทั้งหมด หักด้วยจำนวน ส.ว.ที่มาจากเลือกตั้ง และในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงปัจจุบันมี ส.ว.จำนวน 150 คน แบ่งเป็น ส.ว.สรรหา 74 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และจะครบวาระในเดือนก.พ.2554 และส.ว.จากการเลือกตั้ง 76 คน จาก 76 จังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี จะครบวาระในเดือนมี.ค.2547 ดังนั้น เมื่อร่างพ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ จะส่งผลต่อการเลือกตั้งและการสรรหาส.ว. ดังต่อไปนี้
1.กรณีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับก่อนครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คน โดยต้องลดจำนวน ส.ว.ที่มาจากการสรรหาลง 1 คน (เพราะจังหวัดเพิ่มเป็น 77 จังหวัด) แต่ กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬ ได้ทันที เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
ดังนั้น เมื่อดำเนินการสรรหา ส.ว.จำนวน 73 คนแล้ว และนำมาคำนวณรวมกับ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง 76 จังหวัด ก็จะประกอบด้วย ส.ว. 149 คน ซึ่งจะไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ในมาตรา 111 วรรค 1 และจะต้องคงจำนวน ส.ว.149 คน จนกว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.ในครั้งต่อไป โดยกรณีนี้ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากการว่างของตำแหน่ง ส.ว.ของ จ.บึงกาฬ ไม่ได้มีเหตุมาจากมาตรา 120 ของรัฐธรรมนูญ
2.ในกรณีที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลใช้บังคับหลังครบวาระ ส.ว.ที่มาจากการสรรหา โดย กกต.ได้จัดให้มีการสรรหาวุฒิสภาครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ต่อมา ร่าง พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ และได้มีการจัดตั้ง จ.บึงกาฬ เป็นจังหวัดลำดับที่ 77 ของประเทศไทย กกต.ก็ยังไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ว.บึงกาฬได้ เนื่องจากมาตรา 111 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในระหว่างการเพิ่มหรือลดจังหวัดในระหว่างวาระของ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่ โดยกกต.จะสามารถจัดการเลือกตั้งส.ว.บึง
กาฬได้ เมื่อครบวาระส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง เดือนมี.ค.2557
ในกรณีนี้หากคำนวณตาม ส.ว.ที่มาจากการสรรหา 74 คน และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน รวม 77 คน จะได้จำนวนรวมของ ส.ว. 151 คน เกินกว่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 111 วรรค 1
3.ในกรณีที่สมาชิกภาพของ ส.ว.หนองคายที่มาจากการเลือกตั้งต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญในระหว่างปี 2554-2557 ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร และจังหวัดใดจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ว. ดังกล่าว เนื่องจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดิมมาจากพื้นที่ทั้ง จ.หนองคาย และ จ.บึงกาฬ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
************************************************
"อาจารย์นิติ มธ."วิพากษ์ เกมแก้ไขรธน.ทำไมเพิ่งมาสนใจตอนนี้ ร่างหมอเหวงน่าสนใจแต่..ตอบโจทย์ชัดๆม.309
การประชุมร่วม 2 สภา เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดำเนินไปอย่างน่าเบื่อหน่าย แต่"มติชนออนไลน์"จะปลุกท่านให้ตื่นมาอ่าน สัมภาษณ์ อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะนิติราษฎร์ เพื่อชี้ประเด็นให้ชัดว่า การแก้ไขเป็นประโยชน์นักการเมืองหรือประโยชน์ประชาชน รวมถึงประเด็นใหญ่ๆ ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ควรให้ความสนใจ
*การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสองมาตรา อาจารย์มองว่าเป็นอย่างไรบ้าง
เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ทำได้อยู่แล้ว มันก็ไม่ได้ต่างไปจากกฎหมายอื่น คือถ้ามันมีเหตุจำเป็นต้องแก้มันก็ต้องแก้ แต่เรื่องกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญคราวนี้ มันมีข้อสังเกตเบื้องต้นอยู่ 2 เรื่อง
เรื่องแรก จริง ๆ การเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มันไม่ใช่เกิดขึ้นมาครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีมาแล้ว นั่นก็คือตัวร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจากหมอเหวง โตจิราการ หรือ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.)แล้วก็ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค 2 พรรค แล้วครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า สองร่างแรกรัฐบาลไม่เคยให้ความสนใจเลย หรือพยายามจะหาเหตุที่ว่า มันติดปัญหาตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง และในที่สุดก็ก็มีการปฏิเสธร่างฉบับนั้นไป แต่ว่าตอนนี้กลับมีการผลักดันให้มีการเร่งแก้ไขโดยเร็ว ตรงนี้เป็นข้อสังเกตว่า ทำไมรัฐบาลไม่สนใจร่างสองร่างนี้ก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันพอถึงร่างของรัฐบาล รัฐบาลกลับรีบเร่ง
ข้อที่ควรสนใจข้อที่สองก็คือว่า ร่างแก้ไขของตัวรัฐบาล ถูกตั้งขึ้นมาบนบริบทพื้นฐานของการตอบโจทย์เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองหรือเพื่อความสมานฉันท์ แต่ว่าถ้าไปดูตัวเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญทั้งสองมาตรานั้น ผมก็ไม่เห็นมันเป็นการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างไรเลย เพราะอย่าลืมว่าความสมานฉันท์ในตอนนี้ มันเกิดความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม แล้วความขัดแย้งตรงนั้น เป็นความขัดแย้งซึ่งเกิดมาจากเหตุผลหลายสาเหตุด้วยกัน
รัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการกำหนดจำนวนหรือวิธีซึ่งการได้มาของ ส.ส. กับกระบวนการกำหนดหมดสัญญา มันไม่ตอบโจทย์พวกนี้ ฉะนั้นคำถามก็คือว่า นี่คือสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะบิดเบือนไปจากความมุ่งหมายเดิมในการร่างหรือเปล่า และในสองร่างจริง ๆ จะตอบโจทย์สมานฉันท์ที่รัฐบาลตั้งเอาเองจริงหรือไม่ ความเห็นผมนั้นคงไม่ ถ้าจะมีความสมานฉันท์คงเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันมากกว่า
*ใน 4 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจารย์สนใจร่างไหนมากที่สุด
ถ้าพูดตามความเห็นแล้วมันก็ต้องแก้ใหญ่ แต่ร่างของหมอเหวงท่านใช้วิธีการก็คือเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ.2550 แล้วเอารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 มาใช้เลย เมื่อเป็นอย่างนี้มันเลยติดปัญหาเรื่องเทคนิคอยู่บ้างพอสมควร เพราะแม้ว่า ผมต้องการให้มีการแก้ใหญ่ แต่ร่างของหมอเหวงก็มีข้ออ่อนที่เขาจะโจมตีได้ว่ามันอาจจะทำให้เกิดปัญหาทั้งปัญหาเชิงเทคนิค ปัญหาเชิงหลักการ ร่างหมอเหวงน่าสนใจแต่ว่าค่อนข้างยากที่รัฐสภาจะไม่รับ ส่วนร่างของพรรคร่วมรัฐบาลสองพรรค (ภูมิใจไทยกับชาติพัฒนา) ผมเข้าใจว่าเนื้อหามันก็ไม่ได้แตกต่างไปจากพรรครัฐบาลเท่าไหร่ ถ้าถามว่าสนใจอันไหนมากกว่ากัน ตอบว่าร่างหมอเหวงน่าสนใจแต่ติดปัญหาทางปฏิบัติ คือแก้ยาก ส่วนอีกสองร่างที่ไม่น่าสนใจก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะได้รับการแก้ไข แต่ไม่ว่ายังไงถ้ามีการแก้ไขก็ไม่ได้จบเท่านี้ ยังไงรัฐธรรมนูญก็จะต้องแก้ใหญ่อีกครั้งอยู่ดี
*ในทางการเมือง ฝ่ายค้านบอกว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านสภา รัฐบาลต้องลาออก ตรงนี้มีเหตุผลหรือไม่
นายกรัฐมนตรีก็บอกว่า ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบถึงการลาออก เพราะว่าตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่เป็นร่างที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ผมฟังดูมีคำอธิบายทำนองว่ารัฐบาลก็ไม่สามารถจะคุมสมาชิกรัฐสภาได้ซึ่งไม่เหมือนการคุม ส.ส. ที่มีเสียงข้างมาก เพราะฉะนั้นถึงแม้รัฐสภาจะไม่ผ่าน มันก็เป็นเรื่องดุลพินิจของสมาชิกรัฐสภาที่เขาไม่ให้ผ่าน รัฐบาลเองเมื่อไม่สามารถควบคุมการทำงานของรัฐสภาได้ ก็ต้องปล่อยให้เป็นอิสระ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาลจะมารับผิดชอบกับการที่รัฐธรรมนูญเสนอออกไปแล้วไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา ผมก็ว่ามีเหตุผลระดับหนึ่ง แต่ว่าถ้าพูดตามมาตรฐานของนายกรัฐมนตรีในเรื่องความรับผิดชอบทางการเมือง จริยธรรมทางการเมือง ผมก็คิดว่าต้องกลับไปคิดทบทวนดูอีกทีว่าผ่านหรือไม่ผ่านจริง ๆ แล้วควรรับผิดชอบในลักษณะไหน อย่างไรบ้าง
รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 มีข้อบกพร่องฉกรรจ์ อยู่ตรงไหนบ้าง
ผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 มีข้อบกพร่องอย่างน้อยก็สามเรื่องด้วยกันคือ อันแรกปัญหาในเชิงหลักการ ต่อมาคือปัญหาเชิงโครงสร้าง สุดท้ายคือปัญหาเชิงเทคนิค ในปัญหาเชิงหลักการจริง ๆ แล้ว รัฐธรรมนูญมีปัญหาเชิงระบอบ เพราะตัวรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 หลาย ๆ มาตรา มันมีบทบัญญัติที่ไม่สะท้อนระบอบประชาธิปไตย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมันมีที่มาอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่งก็มาจากการเลือกตั้ง อีกส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา ทั้งที่มาจากสองส่วนนี้ความจริงแล้วถ้าไม่ยึดกับอำนาจหน้าที่แล้ว เราก็ตอบไม่ได้ว่ามันมีความชอบธรรมในประชาธิปไตยหรือไม่ แต่เนื่องจาก ส.ว. มีอำนาจหน้าที่ไปถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งด้วย เลยมีปัญหาในทางประชาธิปไตยว่า คนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจในการถอดถอนผู้ที่มาจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ นี่ก็เป็นตัวอย่าง
ปัญหาในเชิงหลักการบางหลัก อย่างการแบ่งแยกอำนาจ จะเห็นตัวรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างเช่น ให้อำนาจหน้าที่กับตุลาการค่อนข้างเยอะ นอกจากจะมีอำนาจวินิจฉัยคดีหรืออำาจปกติทั่วไปแล้ว ยังให้อำนาจหน้าที่เสนอร่างกฎหมายได้ด้วย ขณะเดียวกันก็ให้อำนาจหน้าที่การคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้ด้วย อำนาจหน้าที่ในการเสนอร่างกฎหมายก็ดี อำนาจหน้าที่ในการเสนอชื่อบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระก็ดี สองเรื่องนี้มันอาจจะมีปัญหาเรื่องการถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำนาจ ว่าขณะศาลที่เป็นองค์กรตุลาการ ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้อย่างไร แต่สมมติฐานของการจัดรัฐธรรมนูญให้เป็นลักษณะอย่างนี้ ผมเข้าใจว่า ปีพ.ศ. 2550 เขามีมุ่งหมายหรือสมมติฐานเบื้องต้นว่า นักการเมืองแย่ ฝ่ายบริหารแย่ ศาลถูกมองว่าเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมดี เพราะฉะนั้นถึงแม้จะให้อำนาจหน้าที่บางอย่างให้สอดรับในรูปของการแบ่งแยกอำนาจก็น่าจะเป็นเรื่องเหมาะกับแบบไทยเรา นี่ก็คือปัญหาเชิงหลักการ
ส่วนปัญหาเชิงหลักการอีกอย่างหนึ่งซึ่งผสมกับปัญหาเชิงเทคนิคก็คือ ปัญหาเรื่องการยุบพรรค มีการเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค ใครไม่ได้กระทำความผิดก็ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปด้วย ตรงนี้มันขัดต่อหลักสมควรแก่เหตุ ซึ่งรัฐธรรมนูญรับรองเอาไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐของทุกองค์กร ว่าทำอะไรเกินกว่าเหตุไม่ได้ การเกินกว่าเหตุอธิบายในแง่นี้ก็คือว่า คนที่ไม่ได้ทำความผิดยังต้องรับโทษจากสิ่งที่คนอื่นทำด้วย ตรงนี้ก็เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ ที่นี้เรื่องเทคนิคที่เป็นปัญหาจริง ๆ แล้วก็ค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่ตบท้าย
หลายคนบอกว่าอาจเป็นการสร้างความขัดแย้งให้คนในสังคม นั่นก็คือมาตรา 309 เพราะมาตรา 309 เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. คำสั่งของหัวหน้า คปค. และการปฎิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคปค. หลักตรงนี้มันหมายความว่า เมื่อมีการรับรองประกาศ คปค. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นั่นหมายความว่าพวกนี้จะไม่มีโอกาสถูกตรวจสอบถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้เลย
มีคนเคยแย้งผมว่าทำไมจะตรวจสอบไม่ได้ ซึ่งก็มีหลายกรณีที่มีการเสนอคดีไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลตรวจสอบว่า ประกาศ คปค. บางฉบับชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมก็ยืนยันว่าแม้จะมีการเสนอขึ้นไปได้ แต่ศาลมีอำนาจในการชี้ให้มันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ไหม (ไม่ได้) เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดและรับรองไว้แล้วว่า เมื่อชอบ แล้วเสนอขึ้นไปก็มีค่าเท่ากัน เพราะฉะนั้นนี่เป็นปัญหาซึ่งจะต้องเอามาตรา 309 ออกไปเลย
และยังมีความเข้าในทางสังคมว่า มาตรา 309 จริง ๆ เป็นมาตราเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่เกี่ยวเลย เรื่องนี้เมื่อไหร่ที่มีการยกเลิกมาตรา 309 ผลทางกฎหมายก็มีอยู่อย่างเดียวคือ ประกาศ คปค. ก็ดี คำสั่งของหัวหน้า คปค. ก็ดี หรือการกระทำตามประกาศ คำสั่งของหัวหน้า คปค.ก็ดี จะเข้าสู่กระบวนการทางศาลได้ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ามันชอบหรือไม่ชอบ ถ้ามันชอบด้วยเนื้อหาก็วินิจฉัยว่าชอบ ถ้าไม่ชอบด้วยเนื้อหา ก็วินิจฉัยได้ว่ามันไม่ชอบ ถ้าไม่เอามาตรา 309 ออก ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามันไม่ชอบ ถึงแม้ตัวเนื้อหามันจะไม่ชอบ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 309 กำหนดเอาไว้แล้วว่ามันชอบด้วยเรื่องรัฐธรรมนูญ นี่คือปัญหาสำคัญ แล้วระบบอย่างนี้มันสร้างปัญหาเชิงหลักการอีกแบบหนึ่งก็คือว่า เรามีระบบตรวจสอบเรื่องความชอบรัฐธรรมนูญด้วยกฎหมายแยกออกเป็นสองทางคู่ขนานกันไป จะเรียกว่า สองมาตรฐานก็ได้
ทางหนึ่งก็คือว่ากฎหมายพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ถ้ามีปัญหาว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ แล้วศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ามันไม่ชอบจริง ๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องประกาศ คปค. ถึงเสนอไปที่ศาลได้ แต่ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามันไม่ชอบ นี่ก็คือความต่างกันเรื่องการจัดระบบตรวจสอบความชอบรัฐธรรมนูญตามกฎหมายที่มันแยกต่างหากจากกัน
* โอกาสที่จะยกเครื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งหน้า
ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นและคิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันคงไม่มีความคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ แต่ว่าถ้าเมื่อไหร่มีการเลือกตั้งใหม่ และมีพรรคการเมืองเสนอเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง นโยบายสำคัญอย่างหนึ่งนอกจากนโยบายบริหารราชการแผ่นดินแล้วก็คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ แล้วก็ไปหาเสียง ถ้าประชาชนให้ฉันทามติกับพรรคการเมืองนั้น ๆ ขึ้นมา เขาก็มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ ถึงจะมีความขัดแย้งขึ้นมาก็ไม่มีปัญหา วันนี้มีความขัดแย้ง อีกหนึ่งปีข้างหน้าจะแก้ใหญ่ก็มีความขัดแย้ง แต่ทุกอย่างก็ต้องว่าไปตามกระบวนการระบบ ไม่มีปัญหาอะไร
*ความเห็นของอาจารย์ อยากจะแก้ใหญ่ไปเลย แล้วกระบวนการที่จะนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแบบยกเครื่องชุดใหญ่ จะทำอย่างไร
ผมเข้าใจว่ารูปแบบที่เราคุ้นเคยกัน ก็จะต้องมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่ไม่ว่าอย่างไรเมื่อมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาแล้ว มีการยกร่างตามระบบเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายต้องมีการลงประชามติ ผมเห็นด้วยกับการลงประชามติตัวรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการแก้ไขครั้งใหญ่และไม่ใช่เหตุผลที่ว่า เราต้องลงประชามติเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ลงประชามติมาแล้ว เพราะเหตุผลในการลงประชามติของปี พ.ศ.2550 มันเป็นไปในลักษณะมัดมือชก แต่ถ้าเราต้องการให้ตัวรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากประชาชนจริง ๆ ไม่ใช่แต่สมาชิกรัฐสภา ให้ความรู้สึกว่านี่เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนจริง ๆ ควรใช้วิธีการอย่างนี้ในการกำหนดว่ารัฐธรรมนูญควรจะผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะฉะนั้นควรมีสภาร่างขึ้นมา ยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จก็ให้มีการลงประชามติ ถ้าประชาชนลงมติให้ผ่านก็ทูลเกล้าให้ในทลวงทรงลงพระปรมาภิไธย
* การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มักถูกวิจารณ์ว่า เป็นประโยชน์นักการเมือง ประชาชนไม่ได้อะไรเลย เป็นจริงแค่ไหน
ผมเคยถูกตั้งคำถามมาเยอะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างนี้ถือว่าเป็นการแก้เพื่อนักการเมืองหรือเปล่า ผมเรียนหลักการพื้นฐานอย่างนี้ก่อนเลยว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางเรื่องมันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง บางเรื่องมันไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง แต่เป็นโดยอ้อม บางเรื่องก็ไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชนโดยตรงเลย อย่างเช่นปัญหาในทางเทคนิคต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะฉะนั้นเราดูว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรเป็นประโยชน์ของประชาชนทุกกรณีไหม มันไม่จำเป็น
แต่ทีนี้ถามว่าตัวนี้ เรื่องร่างรัฐธรรมนูญสองมาตราที่กำลังเสนอแก้ไข มันเป็นประโยชน์กับประชาชนหรือเปล่า มันก็มองได้ทั้งสองแง่ ในแง่หนึ่งก็อาจจะมองว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็ได้ ในแง่หนึ่งก็มองว่าไม่ได้เป็นก็ได้ ถ้าจะบอกในแง่ของประชาชนนั้น อย่างเรื่องการแก้ไขเขตเลือกตั้ง ซึ่งเราจะเปลี่ยนวิธีจากเขตใหญ่เรียงเบอร์มาเป็นเขตเล็กเบอร์เดียว มันจะมีผลไปถึงระบบการใช้การลงคะแนนเสียงแบบ one man one vote ตรงนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไหม ผมว่า เป็นในแง่ที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการลงคะแนนเสียงอย่างเท่าเทียมกัน คือคนคนเดียวก็เลือกส.ส.ได้คนเดียว ไม่ใช่เหมือนระบบก่อนหน้านี้ บางจังหวัดเลือกได้สามคน บางจังหวัดผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเลือกได้คนเดียว
แต่ถามว่าแง่มุมในทางการเมืองมีความเป็นไปได้ไหมที่อาจจะเป็นประโยชน์ทางการเมือง ก็เป็นไปได้ เพราะว่าบางพรรค
การเมืองถ้าใช้ระบบแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์อาจจะสู้กับอีกพรรคการเมืองไม่ได้ ก็ต้องมาแก้ แก้เสร็จแล้วอาจกลับมาสู้ได้หน่อยหนึ่ง นี่คือประโยชน์ทางการเมืองก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นไปได้ทั้งประโยชน์ทางการเมืองและประโยชน์ของประชาชน
แต่ไม่ว่าอย่างไรถึงจะเป็นประโยชน์ในทางการเมืองของนักการเมือง ถ้าเป็นประโยชน์ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานของความชอบเขาก็มีสิทธิได้รับประโยชน์ ไม่ได้หมายความว่าพอเป็นประโยชน์ทางการเมืองสำหรับนักการเมือง พอจะแก้ถึงบอกว่าห้ามแก้ กรณีมาตรา 237 ก็เหมือนกัน ถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการยุบพรรค ว่าด้วยการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคสำหรับคนที่ไม่ได้ทำความผิด ถามว่าถ้าแก้แล้วมีประโยชน์ทางการเมืองต่อนักการเมืองไหม (เป็น) แต่คำถามที่จะถามต่อไปก็คือว่าประโยชน์ที่เขาจะได้รับเป็นประโยชน์ซึ่งเขาจะได้บนพื้นฐานของความยุติธรรมหรือเปล่า สรุปก็คือว่าถ้าเป็นประโยชน์ของนักการเมืองแล้วเป็นประโยชน์โดยชอบก็แก้ได้
*การปฎิรูปการเมือง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง ฉบับ ฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการสมัชชา คณะกรรมการปฎิรูป ได้หรือไม่
ผมไม่ค่อยหวัง แต่สิ่งที่ผมหวังจริง ๆ ก็คือว่า เมื่อไหร่ที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ผมหวังว่าพรรคการเมืองหนึ่งพรรค สองพรรค หรือกี่พรรคก็แล้วแต่ เสนอเป็นนโยบายหลักควบคู่ไปกับนโยบายบริหารราชการแผ่นดินว่าจะต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญชุดใหญ่และจะแก้รัฐธรรมนูญโดยมีความมุ่งหมาย เพื่อให้ตัวรัฐธรรมนูญนั้นหรือประเทศเดินไปสู่เส้นทางของระบอบประชาธิปไตยจริง ๆ นั่นคือสิ่งที่ผมหวัง ถ้าเมื่อไหร่ที่พรรคการเมืองเสนอเรื่องนี้เป็นนโยบายในการเลือกตั้ง แล้วก็ได้รับฉันทานุมัติมา ตรงนั้นและที่มีความชอบธรรมยิ่งไปกว่าคณะกรรมการชุดคุณอานันท์ หมอประเวศ และชุดคุณสมบัติด้วยซ้ำ นั่นแหละคือสิ่งที่ผมหวัง
ที่มา.มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
*การแก้ไขรัฐธรรมนูญในสองมาตรา อาจารย์มองว่าเป็นอย่างไรบ้าง
เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ทำได้อยู่แล้ว มันก็ไม่ได้ต่างไปจากกฎหมายอื่น คือถ้ามันมีเหตุจำเป็นต้องแก้มันก็ต้องแก้ แต่เรื่องกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญคราวนี้ มันมีข้อสังเกตเบื้องต้นอยู่ 2 เรื่อง
เรื่องแรก จริง ๆ การเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มันไม่ใช่เกิดขึ้นมาครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีมาแล้ว นั่นก็คือตัวร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจากหมอเหวง โตจิราการ หรือ คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.)แล้วก็ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค 2 พรรค แล้วครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า สองร่างแรกรัฐบาลไม่เคยให้ความสนใจเลย หรือพยายามจะหาเหตุที่ว่า มันติดปัญหาตรงนั้นบ้าง ตรงนี้บ้าง และในที่สุดก็ก็มีการปฏิเสธร่างฉบับนั้นไป แต่ว่าตอนนี้กลับมีการผลักดันให้มีการเร่งแก้ไขโดยเร็ว ตรงนี้เป็นข้อสังเกตว่า ทำไมรัฐบาลไม่สนใจร่างสองร่างนี้ก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันพอถึงร่างของรัฐบาล รัฐบาลกลับรีบเร่ง
ข้อที่ควรสนใจข้อที่สองก็คือว่า ร่างแก้ไขของตัวรัฐบาล ถูกตั้งขึ้นมาบนบริบทพื้นฐานของการตอบโจทย์เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองหรือเพื่อความสมานฉันท์ แต่ว่าถ้าไปดูตัวเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญทั้งสองมาตรานั้น ผมก็ไม่เห็นมันเป็นการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างไรเลย เพราะอย่าลืมว่าความสมานฉันท์ในตอนนี้ มันเกิดความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่ม แล้วความขัดแย้งตรงนั้น เป็นความขัดแย้งซึ่งเกิดมาจากเหตุผลหลายสาเหตุด้วยกัน
รัฐธรรมนูญว่าด้วยเรื่องการกำหนดจำนวนหรือวิธีซึ่งการได้มาของ ส.ส. กับกระบวนการกำหนดหมดสัญญา มันไม่ตอบโจทย์พวกนี้ ฉะนั้นคำถามก็คือว่า นี่คือสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะบิดเบือนไปจากความมุ่งหมายเดิมในการร่างหรือเปล่า และในสองร่างจริง ๆ จะตอบโจทย์สมานฉันท์ที่รัฐบาลตั้งเอาเองจริงหรือไม่ ความเห็นผมนั้นคงไม่ ถ้าจะมีความสมานฉันท์คงเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันมากกว่า
*ใน 4 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจารย์สนใจร่างไหนมากที่สุด
ถ้าพูดตามความเห็นแล้วมันก็ต้องแก้ใหญ่ แต่ร่างของหมอเหวงท่านใช้วิธีการก็คือเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี พ.ศ.2550 แล้วเอารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 มาใช้เลย เมื่อเป็นอย่างนี้มันเลยติดปัญหาเรื่องเทคนิคอยู่บ้างพอสมควร เพราะแม้ว่า ผมต้องการให้มีการแก้ใหญ่ แต่ร่างของหมอเหวงก็มีข้ออ่อนที่เขาจะโจมตีได้ว่ามันอาจจะทำให้เกิดปัญหาทั้งปัญหาเชิงเทคนิค ปัญหาเชิงหลักการ ร่างหมอเหวงน่าสนใจแต่ว่าค่อนข้างยากที่รัฐสภาจะไม่รับ ส่วนร่างของพรรคร่วมรัฐบาลสองพรรค (ภูมิใจไทยกับชาติพัฒนา) ผมเข้าใจว่าเนื้อหามันก็ไม่ได้แตกต่างไปจากพรรครัฐบาลเท่าไหร่ ถ้าถามว่าสนใจอันไหนมากกว่ากัน ตอบว่าร่างหมอเหวงน่าสนใจแต่ติดปัญหาทางปฏิบัติ คือแก้ยาก ส่วนอีกสองร่างที่ไม่น่าสนใจก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะได้รับการแก้ไข แต่ไม่ว่ายังไงถ้ามีการแก้ไขก็ไม่ได้จบเท่านี้ ยังไงรัฐธรรมนูญก็จะต้องแก้ใหญ่อีกครั้งอยู่ดี
*ในทางการเมือง ฝ่ายค้านบอกว่า ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านสภา รัฐบาลต้องลาออก ตรงนี้มีเหตุผลหรือไม่
นายกรัฐมนตรีก็บอกว่า ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบถึงการลาออก เพราะว่าตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่เป็นร่างที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ผมฟังดูมีคำอธิบายทำนองว่ารัฐบาลก็ไม่สามารถจะคุมสมาชิกรัฐสภาได้ซึ่งไม่เหมือนการคุม ส.ส. ที่มีเสียงข้างมาก เพราะฉะนั้นถึงแม้รัฐสภาจะไม่ผ่าน มันก็เป็นเรื่องดุลพินิจของสมาชิกรัฐสภาที่เขาไม่ให้ผ่าน รัฐบาลเองเมื่อไม่สามารถควบคุมการทำงานของรัฐสภาได้ ก็ต้องปล่อยให้เป็นอิสระ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐบาลจะมารับผิดชอบกับการที่รัฐธรรมนูญเสนอออกไปแล้วไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา ผมก็ว่ามีเหตุผลระดับหนึ่ง แต่ว่าถ้าพูดตามมาตรฐานของนายกรัฐมนตรีในเรื่องความรับผิดชอบทางการเมือง จริยธรรมทางการเมือง ผมก็คิดว่าต้องกลับไปคิดทบทวนดูอีกทีว่าผ่านหรือไม่ผ่านจริง ๆ แล้วควรรับผิดชอบในลักษณะไหน อย่างไรบ้าง
รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 มีข้อบกพร่องฉกรรจ์ อยู่ตรงไหนบ้าง
ผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 มีข้อบกพร่องอย่างน้อยก็สามเรื่องด้วยกันคือ อันแรกปัญหาในเชิงหลักการ ต่อมาคือปัญหาเชิงโครงสร้าง สุดท้ายคือปัญหาเชิงเทคนิค ในปัญหาเชิงหลักการจริง ๆ แล้ว รัฐธรรมนูญมีปัญหาเชิงระบอบ เพราะตัวรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 หลาย ๆ มาตรา มันมีบทบัญญัติที่ไม่สะท้อนระบอบประชาธิปไตย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมันมีที่มาอยู่สองส่วน ส่วนหนึ่งก็มาจากการเลือกตั้ง อีกส่วนหนึ่งมาจากการสรรหา ทั้งที่มาจากสองส่วนนี้ความจริงแล้วถ้าไม่ยึดกับอำนาจหน้าที่แล้ว เราก็ตอบไม่ได้ว่ามันมีความชอบธรรมในประชาธิปไตยหรือไม่ แต่เนื่องจาก ส.ว. มีอำนาจหน้าที่ไปถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งด้วย เลยมีปัญหาในทางประชาธิปไตยว่า คนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจในการถอดถอนผู้ที่มาจากการเลือกตั้งได้หรือไม่ นี่ก็เป็นตัวอย่าง
ปัญหาในเชิงหลักการบางหลัก อย่างการแบ่งแยกอำนาจ จะเห็นตัวรัฐธรรมนูญ ตัวอย่างเช่น ให้อำนาจหน้าที่กับตุลาการค่อนข้างเยอะ นอกจากจะมีอำนาจวินิจฉัยคดีหรืออำาจปกติทั่วไปแล้ว ยังให้อำนาจหน้าที่เสนอร่างกฎหมายได้ด้วย ขณะเดียวกันก็ให้อำนาจหน้าที่การคัดเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้ด้วย อำนาจหน้าที่ในการเสนอร่างกฎหมายก็ดี อำนาจหน้าที่ในการเสนอชื่อบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระก็ดี สองเรื่องนี้มันอาจจะมีปัญหาเรื่องการถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำนาจ ว่าขณะศาลที่เป็นองค์กรตุลาการ ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้อย่างไร แต่สมมติฐานของการจัดรัฐธรรมนูญให้เป็นลักษณะอย่างนี้ ผมเข้าใจว่า ปีพ.ศ. 2550 เขามีมุ่งหมายหรือสมมติฐานเบื้องต้นว่า นักการเมืองแย่ ฝ่ายบริหารแย่ ศาลถูกมองว่าเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรมดี เพราะฉะนั้นถึงแม้จะให้อำนาจหน้าที่บางอย่างให้สอดรับในรูปของการแบ่งแยกอำนาจก็น่าจะเป็นเรื่องเหมาะกับแบบไทยเรา นี่ก็คือปัญหาเชิงหลักการ
ส่วนปัญหาเชิงหลักการอีกอย่างหนึ่งซึ่งผสมกับปัญหาเชิงเทคนิคก็คือ ปัญหาเรื่องการยุบพรรค มีการเพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรค ใครไม่ได้กระทำความผิดก็ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไปด้วย ตรงนี้มันขัดต่อหลักสมควรแก่เหตุ ซึ่งรัฐธรรมนูญรับรองเอาไว้ว่าการใช้อำนาจรัฐของทุกองค์กร ว่าทำอะไรเกินกว่าเหตุไม่ได้ การเกินกว่าเหตุอธิบายในแง่นี้ก็คือว่า คนที่ไม่ได้ทำความผิดยังต้องรับโทษจากสิ่งที่คนอื่นทำด้วย ตรงนี้ก็เป็นปัญหาที่จะต้องแก้ ที่นี้เรื่องเทคนิคที่เป็นปัญหาจริง ๆ แล้วก็ค่อนข้างเป็นปัญหาใหญ่ตบท้าย
หลายคนบอกว่าอาจเป็นการสร้างความขัดแย้งให้คนในสังคม นั่นก็คือมาตรา 309 เพราะมาตรา 309 เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของประกาศ คปค. คำสั่งของหัวหน้า คปค. และการปฎิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าคปค. หลักตรงนี้มันหมายความว่า เมื่อมีการรับรองประกาศ คปค. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นั่นหมายความว่าพวกนี้จะไม่มีโอกาสถูกตรวจสอบถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้เลย
มีคนเคยแย้งผมว่าทำไมจะตรวจสอบไม่ได้ ซึ่งก็มีหลายกรณีที่มีการเสนอคดีไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ ให้ศาลตรวจสอบว่า ประกาศ คปค. บางฉบับชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผมก็ยืนยันว่าแม้จะมีการเสนอขึ้นไปได้ แต่ศาลมีอำนาจในการชี้ให้มันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ไหม (ไม่ได้) เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดและรับรองไว้แล้วว่า เมื่อชอบ แล้วเสนอขึ้นไปก็มีค่าเท่ากัน เพราะฉะนั้นนี่เป็นปัญหาซึ่งจะต้องเอามาตรา 309 ออกไปเลย
และยังมีความเข้าในทางสังคมว่า มาตรา 309 จริง ๆ เป็นมาตราเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมให้กับคนใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่เกี่ยวเลย เรื่องนี้เมื่อไหร่ที่มีการยกเลิกมาตรา 309 ผลทางกฎหมายก็มีอยู่อย่างเดียวคือ ประกาศ คปค. ก็ดี คำสั่งของหัวหน้า คปค. ก็ดี หรือการกระทำตามประกาศ คำสั่งของหัวหน้า คปค.ก็ดี จะเข้าสู่กระบวนการทางศาลได้ และศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ามันชอบหรือไม่ชอบ ถ้ามันชอบด้วยเนื้อหาก็วินิจฉัยว่าชอบ ถ้าไม่ชอบด้วยเนื้อหา ก็วินิจฉัยได้ว่ามันไม่ชอบ ถ้าไม่เอามาตรา 309 ออก ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามันไม่ชอบ ถึงแม้ตัวเนื้อหามันจะไม่ชอบ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 309 กำหนดเอาไว้แล้วว่ามันชอบด้วยเรื่องรัฐธรรมนูญ นี่คือปัญหาสำคัญ แล้วระบบอย่างนี้มันสร้างปัญหาเชิงหลักการอีกแบบหนึ่งก็คือว่า เรามีระบบตรวจสอบเรื่องความชอบรัฐธรรมนูญด้วยกฎหมายแยกออกเป็นสองทางคู่ขนานกันไป จะเรียกว่า สองมาตรฐานก็ได้
ทางหนึ่งก็คือว่ากฎหมายพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ถ้ามีปัญหาว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ แล้วศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ว่ามันไม่ชอบจริง ๆ แต่ถ้าเป็นเรื่องประกาศ คปค. ถึงเสนอไปที่ศาลได้ แต่ศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามันไม่ชอบ นี่ก็คือความต่างกันเรื่องการจัดระบบตรวจสอบความชอบรัฐธรรมนูญตามกฎหมายที่มันแยกต่างหากจากกัน
* โอกาสที่จะยกเครื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งหน้า
ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นและคิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันคงไม่มีความคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ แต่ว่าถ้าเมื่อไหร่มีการเลือกตั้งใหม่ และมีพรรคการเมืองเสนอเป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง นโยบายสำคัญอย่างหนึ่งนอกจากนโยบายบริหารราชการแผ่นดินแล้วก็คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ แล้วก็ไปหาเสียง ถ้าประชาชนให้ฉันทามติกับพรรคการเมืองนั้น ๆ ขึ้นมา เขาก็มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ ถึงจะมีความขัดแย้งขึ้นมาก็ไม่มีปัญหา วันนี้มีความขัดแย้ง อีกหนึ่งปีข้างหน้าจะแก้ใหญ่ก็มีความขัดแย้ง แต่ทุกอย่างก็ต้องว่าไปตามกระบวนการระบบ ไม่มีปัญหาอะไร
*ความเห็นของอาจารย์ อยากจะแก้ใหญ่ไปเลย แล้วกระบวนการที่จะนำไปสู่การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญแบบยกเครื่องชุดใหญ่ จะทำอย่างไร
ผมเข้าใจว่ารูปแบบที่เราคุ้นเคยกัน ก็จะต้องมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่ไม่ว่าอย่างไรเมื่อมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาแล้ว มีการยกร่างตามระบบเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายต้องมีการลงประชามติ ผมเห็นด้วยกับการลงประชามติตัวรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการแก้ไขครั้งใหญ่และไม่ใช่เหตุผลที่ว่า เราต้องลงประชามติเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ลงประชามติมาแล้ว เพราะเหตุผลในการลงประชามติของปี พ.ศ.2550 มันเป็นไปในลักษณะมัดมือชก แต่ถ้าเราต้องการให้ตัวรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากประชาชนจริง ๆ ไม่ใช่แต่สมาชิกรัฐสภา ให้ความรู้สึกว่านี่เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนจริง ๆ ควรใช้วิธีการอย่างนี้ในการกำหนดว่ารัฐธรรมนูญควรจะผ่านหรือไม่ผ่าน เพราะฉะนั้นควรมีสภาร่างขึ้นมา ยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่างเสร็จก็ให้มีการลงประชามติ ถ้าประชาชนลงมติให้ผ่านก็ทูลเกล้าให้ในทลวงทรงลงพระปรมาภิไธย
* การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มักถูกวิจารณ์ว่า เป็นประโยชน์นักการเมือง ประชาชนไม่ได้อะไรเลย เป็นจริงแค่ไหน
ผมเคยถูกตั้งคำถามมาเยอะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างนี้ถือว่าเป็นการแก้เพื่อนักการเมืองหรือเปล่า ผมเรียนหลักการพื้นฐานอย่างนี้ก่อนเลยว่าเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางเรื่องมันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง บางเรื่องมันไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรง แต่เป็นโดยอ้อม บางเรื่องก็ไม่ได้เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชนโดยตรงเลย อย่างเช่นปัญหาในทางเทคนิคต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะฉะนั้นเราดูว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรเป็นประโยชน์ของประชาชนทุกกรณีไหม มันไม่จำเป็น
แต่ทีนี้ถามว่าตัวนี้ เรื่องร่างรัฐธรรมนูญสองมาตราที่กำลังเสนอแก้ไข มันเป็นประโยชน์กับประชาชนหรือเปล่า มันก็มองได้ทั้งสองแง่ ในแง่หนึ่งก็อาจจะมองว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็ได้ ในแง่หนึ่งก็มองว่าไม่ได้เป็นก็ได้ ถ้าจะบอกในแง่ของประชาชนนั้น อย่างเรื่องการแก้ไขเขตเลือกตั้ง ซึ่งเราจะเปลี่ยนวิธีจากเขตใหญ่เรียงเบอร์มาเป็นเขตเล็กเบอร์เดียว มันจะมีผลไปถึงระบบการใช้การลงคะแนนเสียงแบบ one man one vote ตรงนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไหม ผมว่า เป็นในแง่ที่ทุกคนมีความเสมอภาคในการลงคะแนนเสียงอย่างเท่าเทียมกัน คือคนคนเดียวก็เลือกส.ส.ได้คนเดียว ไม่ใช่เหมือนระบบก่อนหน้านี้ บางจังหวัดเลือกได้สามคน บางจังหวัดผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเลือกได้คนเดียว
แต่ถามว่าแง่มุมในทางการเมืองมีความเป็นไปได้ไหมที่อาจจะเป็นประโยชน์ทางการเมือง ก็เป็นไปได้ เพราะว่าบางพรรค
การเมืองถ้าใช้ระบบแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์อาจจะสู้กับอีกพรรคการเมืองไม่ได้ ก็ต้องมาแก้ แก้เสร็จแล้วอาจกลับมาสู้ได้หน่อยหนึ่ง นี่คือประโยชน์ทางการเมืองก็มีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็เป็นไปได้ทั้งประโยชน์ทางการเมืองและประโยชน์ของประชาชน
แต่ไม่ว่าอย่างไรถึงจะเป็นประโยชน์ในทางการเมืองของนักการเมือง ถ้าเป็นประโยชน์ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานของความชอบเขาก็มีสิทธิได้รับประโยชน์ ไม่ได้หมายความว่าพอเป็นประโยชน์ทางการเมืองสำหรับนักการเมือง พอจะแก้ถึงบอกว่าห้ามแก้ กรณีมาตรา 237 ก็เหมือนกัน ถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการยุบพรรค ว่าด้วยการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคสำหรับคนที่ไม่ได้ทำความผิด ถามว่าถ้าแก้แล้วมีประโยชน์ทางการเมืองต่อนักการเมืองไหม (เป็น) แต่คำถามที่จะถามต่อไปก็คือว่าประโยชน์ที่เขาจะได้รับเป็นประโยชน์ซึ่งเขาจะได้บนพื้นฐานของความยุติธรรมหรือเปล่า สรุปก็คือว่าถ้าเป็นประโยชน์ของนักการเมืองแล้วเป็นประโยชน์โดยชอบก็แก้ได้
*การปฎิรูปการเมือง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง ฉบับ ฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการสมัชชา คณะกรรมการปฎิรูป ได้หรือไม่
ผมไม่ค่อยหวัง แต่สิ่งที่ผมหวังจริง ๆ ก็คือว่า เมื่อไหร่ที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ผมหวังว่าพรรคการเมืองหนึ่งพรรค สองพรรค หรือกี่พรรคก็แล้วแต่ เสนอเป็นนโยบายหลักควบคู่ไปกับนโยบายบริหารราชการแผ่นดินว่าจะต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญชุดใหญ่และจะแก้รัฐธรรมนูญโดยมีความมุ่งหมาย เพื่อให้ตัวรัฐธรรมนูญนั้นหรือประเทศเดินไปสู่เส้นทางของระบอบประชาธิปไตยจริง ๆ นั่นคือสิ่งที่ผมหวัง ถ้าเมื่อไหร่ที่พรรคการเมืองเสนอเรื่องนี้เป็นนโยบายในการเลือกตั้ง แล้วก็ได้รับฉันทานุมัติมา ตรงนั้นและที่มีความชอบธรรมยิ่งไปกว่าคณะกรรมการชุดคุณอานันท์ หมอประเวศ และชุดคุณสมบัติด้วยซ้ำ นั่นแหละคือสิ่งที่ผมหวัง
ที่มา.มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สัมภาษณ์: ความจริง-การเมือง-กฎหมายหมิ่นในทรรศนะ"เดวิด สเตรกฟัสส์"
ปฏิบัติการเกาะติดและสะกดรอยผู้กระทำความผิดกฎหมายอาญา มาตรา 112 เข้มข้นยิ่งขึ้น ในปรากฏการณ์ความขัดแย้งเหลืองแดงกว่าครึ่งทศวรรษ "คดีหมิ่น" ขึ้นสู่ศาล430 คดี ขณะนี้จำนวนคดีหมิ่นพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ"ประชาชาติธุรกิจ" ติดตาม-ฉายภาพ"คดีหมิ่น"จากแว่นของเดวิด สเตรกฟัสส์(David Streckfuss) นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ และทำงานในฐานะนักมานุษยวิทยาในภาคอีสาน ผู้เขียนหนังสือที่อาจหาอ่านจากเมืองไทยไม่ได้ชื่อTruth on Trial in Thailand :Defamation, Treason, and LeseMajeste (การดำเนินคดีกับความจริงในเมืองไทย : กฎหมายหมิ่นประมาท, ข้อหากบฏ, และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
Q:ในฐานะที่เป็นฝรั่งศึกษาประเทศไทยมองการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการ เมืองไทยอย่างไร
A:ช่วงนี้ไม่ว่าฝรั่งหรือไทยหลายคนก็เริ่มมองเหมือนกันว่า การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่เหมือนกฎหมายอื่นหลายอย่าง ถ้าเป็นหมิ่นประมาทธรรมดาก็เป็นผู้เสียหายเท่านั้นที่เป็นผู้ฟ้องร้อง แต่ในเมืองไทยไม่มีข้อจำกัด ผู้ที่สามารถฟ้องร้องบุคคลที่เขาคิดว่ากำลังหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อีกอันหนึ่งที่ไม่เหมือนกันระหว่างกฎหมายหมิ่นคนธรรมดากับหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ คือในการพิจารณาคดีของศาลหรือในยุทธศาสตร์การต่อสู้ของจำเลย ถ้าเป็นหมิ่นประมาทธรรมดามีข้อยกเว้น หากเป็นความจริงมีประโยชน์ต่อสาธารณะหรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตแต่กฎหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่มีข้อยกเว้น
อีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากหมิ่นประมาทธรรมดาอาจจะเห็นในต่างประเทศ คือ การวิจารณ์ถึงคนที่อยู่ในสายตาสาธารณะยิ่งต้องมีข้อยกเว้นจาก ศาล (จากกฎหมาย)สำหรับผู้ที่ถูกพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการ หรือแม้แต่ดาราหรือใครก็ตามที่อยู่ในสายตาของสาธารณะแต่กฎหมายในประเทศเหล่า นั้นก็คุ้มครองhead of the state ก็ได้ หรือนายกรัฐมนตรีก็ได้ ซึ่งอาจจะคุ้มครองกรณีที่มีผู้ใช้คำหยาบหรือดูหมิ่น เช่น กล่าวหาว่าไปฆ่าคนอื่น หรือกล่าวหาเรื่องส่วนตัว ขณะที่หากเป็นเรื่องสาธารณะเขาก็ไม่คิดจะฟ้องแต่จะใช้วิธีโต้ตอบผ่านสื่อมากกว่า
Q: ดังนั้น หลักการคือยิ่งเป็นบุคคลสาธารณะ เช่น นักการเมือง นายกรัฐมนตรี ยิ่งควรเปิดโอกาสที่จะพูดถึงแล้วกรณีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศอื่น ๆ เป็นอย่างไร
A:ประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเทศอื่นก็มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเหมือนกัน เช่น สเปน มีโทษจำคุกถึง3 ปีนอร์เวย์ จำคุกถึง5 ปี แต่มีข้อจำกัด เช่นที่ประเทศนอร์เวย์ ถ้ามีใครดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ถ้าจะดำเนินคดีต้องมาจากความยินยอมของพระมหากษัตริย์เอง ดังนั้นก็มีวิธีการที่จะให้ผู้เสียหาย (พระมหากษัตริย์) บอกว่า อันนั้นมากเกินไปแล้วต้องดำเนินคดี
ดังนั้น หลายประเทศก็อาจจะมีเงื่อนไขว่าเรื่องต้องผ่านราชสำนัก หรือคณะองคมนตรีก่อน คืออย่างน้อยต้องมีการกรองระดับหนึ่ง
Q: ผลของกฎหมายไทยที่บัญญัติแบบนี้ส่งผลอย่างไร
A:การกลั่นแกล้งเกิดขึ้นได้ง่ายมากปัญหาคือถ้าตำรวจได้รับแจ้งความแล้ว แม้เขาจะไม่อยากฟ้อง แต่เขาก็ไม่กล้าที่จะยุติการดำเนินคดีนั้น เพราะต้องสอบสวนและส่งให้อัยการอยู่ดี ส่วนอัยการก็ไม่กล้าที่จะไม่ฟ้อง ฉะนั้นเขาก็ส่งให้ศาลในที่สุดศาลชั้นต้นก็ไม่ตัดสินชี้ขาดก็ส่งต่อให้ศาล อุทธรณ์ และแม้แต่ศาลฎีกาก็ดูเหมือนไม่แน่ใจว่าจะตัดสินอย่างไร ก็มี9 คดีที่มาถึงศาลฎีกา ในช่วง5 ปีที่ผ่านมายังไม่พิพากษาและแนวโน้มของกระบวนการที่ไม่มีไกด์ไลน์ก็มีแต่การ ส่งต่อไปจนถึงศาลฎีกาประเด็นคือคนที่ทำคดีก็ไม่กล้ายกคำร้องหรือยกฟ้อง ดังนั้นกลั่นแกล้งง่ายมาก
Q:กฎหมายนี้ดูเหมือนถูกนำมาใช้ทางการเมืองมากกว่าจะหวังผลทางกฎหมายหรือไม่
A:ถ้าการเมืองอย่างแคบคือการเลือกตั้งแต่การเมืองอย่างกว้างทุกวันนี้ทุกอย่าง ก็มีเรื่องอำนาจอยู่ในตัวมันเอง หมายความว่าทุกอย่างก็เป็นการเมืองอีกแบบหนึ่งมองอย่างกว้าง ถ้านิยามอย่างแคบก็คือนักการเมืองนำกฎหมายนี้มาแกล้งกันมาฟ้องกัน นักการเมืองอาจจะเป็นศัตรูกันจึงฟ้องกัน ถ้าจะพูดว่ากฎหมายนี้ใช้เป็นอาวุธทางการเมืองก็ว่าได้
แต่เหยื่อของการใช้กฎหมายนี้เป็นใครส่วนมากเราไม่รู้ ความจริงแล้วไม่มีใครมีข้อมูลการฟ้องคดีนี้มากเท่าไร ซึ่งเราก็จะรู้แค่3-4 คดี เช่น ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล,บุญยืน ประเสริฐยิ่ง, สุวิชา ท่าค้อ, แฮรี่นิโคไลดส์ ชาวออสเตรเลีย ฯลฯ ปีที่ผ่านมามี164 คดี ไปถึงศาลชั้นต้นแล้วก็ลงอาญา82 คดี เรามีข้อมูลไม่กี่คดี และช่วงหลังมานี้สำนักงานอัยการไม่ได้รวบรวมสถิติคดีนี้ในรายงานประจำปีของ เขา เดิมทีเขารวมสถิติได้เป็นประโยชน์มาก ซึ่งต่อมาผมก็ต้องใช้สถิติของสำนักงานศาลยุติธรรมแต่ก็ขาดรายละเอียด บางอย่าง
Q:ทำไมเลือกศึกษาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
A: ผมไม่ได้สนใจกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเดียว แต่สนใจกฎหมายที่ใช้หลักการเรื่องหมิ่นประมาท คือเริ่มต้นจากผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูลผมก็พยายามศึกษาความเป็นไทย...หลังจากนั้นก็ดูเรื่องมุมมองความ มั่นคง เช่น สถานะผู้หญิง เด็ก ทุกอย่างก็เกี่ยวกับความมั่นคงศึกษาต่อมาก็ดูกฎหมายหมวดความผิดเกี่ยวกับ ความมั่นคงของประเทศ ก็ดูคำพิพากษาตั้งแต่เรื่องกบฏภายใน เรื่องดูหมิ่นสถานทูตที่เป็นมิตรกับไทย และจึงเริ่มดูกฎหมายที่ใช้หลักการหมิ่นประมาท
Q:พบว่ามีการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในสถานการณ์การเมืองที่แตกต่างกันอย่างไร
A: ตอนที่ผมเขียนวิทยานิพนธ์ พบว่าหลังจากรัฐธรรมนูญ2540 บางปีไม่มีคดีเลยหรืออาจจะ5 คดีต่อปี แต่ช่วงปี2548 ก็มีการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เริ่มมีการฟ้องกันเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ... โดยมีการฟ้องร้องกันเต็มที่ภายในไม่กี่เดือน เทียบกันไม่ได้กับในอดีต ก่อนปี2548 ผมยังเขียนเน้นเกี่ยวกับเรื่องหมิ่นประมาทธรรมดาแต่ปี2548 มีการแจ้งความฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากขึ้นไม่หาย
Q:สาเหตุที่ในตอนแรกศึกษาคดีหมิ่นประมาทธรรมดาเพราะอะไร
A:สนใจกฎหมายที่ใช้หลักการเรื่องหมิ่นและตอนนั้นทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้ข้อหาหมิ่นประมาทฟ้องร้องคนอื่นเป็นร้อยล้านบาท ในช่วงนั้นทุกคนก็พูดถึงกฎหมายหมิ่นประมาทซึ่งกระทบต่อสื่อมวลชนและตอนนั้น ก็มีคดีของสุภิญญา กลางณรงค์
Q:จากการศึกษาพบว่าทักษิณใช้กฎหมายหมิ่นจัดการกับฝ่ายที่วิจารณ์ตัวเขาอย่างไร
A:ร้ายแรงมาก มีการใช้คดีแบบนี้เยอะมาก อาจจะมีถึง100 คดีกับสนธิลิ้มทองกุล ก่อนหน้านี้มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์เตมียาเวส ที่ใช้กฎหมายนี้เก่งจนดูเหมือนเขาอาจจะขึ้นศาลทุก ๆ2 วัน เพราะฟ้องทั่วประเทศ แต่สู้ทักษิณไม่ได้ เพราะทักษิณใช้กฎหมายนี้เก่งกว่า
Q:เป็นธรรมชาติของนักการเมืองทั่วโลกหรือไม่ ที่ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทจัดการฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
A:ถ้ากฎหมายอำนวยให้ เขาก็คงจะใช้หรือถ้าอัยการและศาลเห็นด้วยในการดำเนินคดี เขาก็คงยิ่งได้อำนาจในการป้องกันตัวเองจากศัตรู โดยทั่วไปการยิ่งใช้กฎหมายหมิ่นประมาท ก็ยิ่งปิดพื้นที่สาธารณะหรือทำให้มันเล็กลง มันก็มีแนวโน้มที่ไม่ไปในทางประชาธิปไตยมากเท่าไร ซึ่งถ้าที่ไหนมีกฎหมายอำนวยให้...คนที่มีอำนาจก็จะใช้กฎหมายนั้นอยู่ดี
Q: การที่ใครไปแจ้งความข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ได้ เป็นปัญหาที่มีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง
A: มีหลายอย่างที่อาจจะช่วยให้คนมีจิตสำนึกมากขึ้นในการใช้กฎหมายนี้ ซึ่งของฝ่ายรัฐบาลเวทีสัมมนากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ มีบางคนก็เสนอว่าใครแจ้งเท็จก็ถูกฟ้องได้ อาจจะถูกจำคุก5 ปีแต่ผมคิดว่าอาจจะเป็นการขยายปัญหาเพราะที่จริงแล้วอะไรที่เป็นการหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ ก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้วและถ้าจะฟ้องคนที่กล่าวหาก็ยิ่งมั่ว เพราะในที่สุดก็เป็นเรื่องเจตนาซึ่งเป็นสิ่งที่วัดยาก
Q: ทางออกในการแก้ปัญหา
A: ถ้อยคำที่ใช้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นถ้อยคำตามกฎหมายธรรมดา ที่แต่ละประเทศที่ปกครองแบบนี้ก็อาจจะใช้ได้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่มาตรา112 แต่ปัญหาอยู่ที่อาจจะต้องมีข้อยกเว้นหรือไกด์ไลน์เพื่อที่จะทำให้ศาลนิยาม ความผิดที่ชัดเจนมากขึ้น ควรจะมีการศึกษาว่าอะไรคือหมิ่นฯ เพราะอะไร ? อะไรไม่เป็นหมิ่นฯ เพราะอะไร ? จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมาก
Q:ในฐานะที่อาจารย์ลงพื้นที่ศึกษาแบบมานุษยวิทยา พบว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากลั่นแกล้งกัน ในสังคมไทยสามารถใช้ได้ผล
A:ในความคิดเห็นของผม คิดว่าใน 100 ปีที่ผ่านมามีการพยายามสร้างโมเดลชาตินิยมชนิดหนึ่งที่ปฏิเสธความแตกต่างทาง ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้นหลาย ๆ อย่างโดยพยายามทำให้มันหายไปและก็ที่จริงแล้วช่วงที่อาจจะเข้มแข็งที่สุดก็ คือตอนช่วงต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้เป็นศัตรูสุดยอดสมบูรณ์แบบ เป็นผู้ดูเหมือนปฏิเสธความเป็นไทย ดูเหมือนช่วงนั้นก็มีคำถามว่าความเป็นไทยคืออะไร เราเป็นใคร เราน่าจะมีการปกครองแบบไหน ดูเหมือนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยรัฐธรรมนูญ2540 ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น
แต่หลังจากรัฐประหาร2549 นั้น ดูเหมือนมีความพยายามเอาโมเดลชาตินิยมแบบนี้ขึ้นมาใหม่ แล้วบังคับให้ทุกคนอยู่ในนั้น แต่มีศัตรูแบบใหม่ คือ ผู้ไม่มีความจงรักภักดีกับสถาบันสูงสุด ผมว่าเป็นโชคร้ายมาก หรือเป็นสิ่งที่แย่มากที่เป็นแบบนี้แบ่งแยกว่ามีผู้จงรักภักดีและไม่จงรัก ภักดีหรือบอกว่ามีคนรักชาติและไม่รักชาติ ทั้งที่คนซึ่งถูกหาว่าไม่รักชาติ เขาอาจจะรักชาติอีกแบบหนึ่งก็ได้ การกล่าวหากันนั้นได้ผลระยะสั้น แต่ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยยังไม่เผชิญหน้ากับการชำระประวัติศาสตร์ไม่ว่า จะเป็นช่วงสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีคำสั่งคณะปฏิวัติที่17 ที่พยายามควบคุมสื่อมวลชน หรือช่วงตุลา2516 ตุลา2519 พฤษภาทมิฬ2535 และเมษา พฤษภา ในปีนี้ก็ดูเหมือนแนวโน้มยังไม่ถึง(การชำระประวัติศาสตร์) ใช่ไหม ผมยังไม่เห็นเหตุการณ์ที่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะเผชิญหน้ายอมรับกับความจริง เพราะกลัวเจ็บ
Q:อาจารย์เชื่อว่าแผนปรองดองจะได้ผลไหม
A:ผมทำวิจัยอยู่อีสาน มีคนน้อยมากที่ผมเจอที่คิดว่าแผนปรองดองมีความหมาย
Q:บรรยากาศในชนบทเป็นอย่างไร
A:เปลี่ยนไปเยอะ แต่ยังไงก็มีฐานบางอย่างอยู่ที่นั่น อย่างเช่นเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมามีคนอีสานตายเยอะ จนคนอีสานหลายคนแทบไม่เชื่อว่าคนกรุงเทพฯรับได้ที่มีคนตายเยอะ แทบไม่เชื่อว่าเขาทนได้ยังไง แล้วหลังจากมีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ คนกรุงเทพฯก็ให้คุณค่ากับอันนั้น(เซ็นทรัลเวิลด์) เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ได้มองชีวิตคนว่าเป็นมนุษย์เท่ากัน...เขาก็เจ็บ
Q:ถ้าคิดแทนคนกรุงเทพฯ เขาก็รับไม่ได้ที่คนเสื้อแดงมาเผาบ้านเผาเมือง
A:คนอีสานก็จะตอบว่า ต้องดูหลักฐานก่อนว่าใครเผา มันจะมีเกมการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ เขายังมีความสงสัย ซึ่งผมก็ไม่มีข้อมูล แต่การเผาเป็นสิ่งดีไหม ก็ไม่ดีเพราะคนเสื้อแดงส่วนมากไม่มีใครเห็นด้วย
Q:อารมณ์คนกรุงเทพฯที่รับไม่ได้กับเสื้อแดง
A: ปัญหาคือใครมีสิทธิจะบอกว่าเป็นตัวแทนของคนกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯก็น่าจะเป็นของคนไทยทุกคน แต่คนที่สีลมในช่วงนั้นบอกให้คนชนบทออกไป คำถามคือคนชนบทเขาไม่มีสิทธิอยู่ที่นี่เหรอ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องกระจายอำนาจหน่อย เพราะถ้าไม่กระจายอำนาจ...ทุกคนก็จะมาหางานที่กรุงเทพฯอยู่ดี ถ้าไม่มีคนชนบทในกรุงเทพฯแล้ว50 เปอร์เซ็นต์ของคนกรุงเทพฯก็จะหายไป ก็ลองดู ก็จะไม่มีร้านอาหารไม่มีอะไร ลองดูว่าคนกรุงเทพฯจะยังสบายใจไหม
Q:มองการเคลื่อนไหวเสื้อแดงอย่างไร
A:ยังไม่มีใครพูดได้อย่างมั่นใจว่ากระบวนเสื้อแดงว่ามันคืออะไรกันแน่ มันเป็นของพรรคเพื่อไทยเหรอ ? มันเป็นของทักษิณเหรอ ? หรือมีเอกลักษณ์ของมันเอง?ที่จริงแล้วใครควบคุมเสื้อแดงตอนนี้ได้?ตอนแรกก็ รู้สึกว่าเชื่อมกับทักษิณ กับพรรคเพื่อไทย แต่ตอนหลังเริ่มไม่แน่ใจเพราะคุมกันไม่ได้และไม่รู้ว่าจะไปทิศทางไหน...อาจ จะต้องมีเหตุการณ์อะไรสักอย่างแต่ดีที่คุณอภิสิทธิ์มีเหตุผลที่บอกว่าถ้า ห้ามแต่เสื้อแดงก็จะเป็นการสร้างความแตกแยกเสียเอง..
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Q:ในฐานะที่เป็นฝรั่งศึกษาประเทศไทยมองการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการ เมืองไทยอย่างไร
A:ช่วงนี้ไม่ว่าฝรั่งหรือไทยหลายคนก็เริ่มมองเหมือนกันว่า การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่เหมือนกฎหมายอื่นหลายอย่าง ถ้าเป็นหมิ่นประมาทธรรมดาก็เป็นผู้เสียหายเท่านั้นที่เป็นผู้ฟ้องร้อง แต่ในเมืองไทยไม่มีข้อจำกัด ผู้ที่สามารถฟ้องร้องบุคคลที่เขาคิดว่ากำลังหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อีกอันหนึ่งที่ไม่เหมือนกันระหว่างกฎหมายหมิ่นคนธรรมดากับหมิ่นพระบรมเดชานุ ภาพ คือในการพิจารณาคดีของศาลหรือในยุทธศาสตร์การต่อสู้ของจำเลย ถ้าเป็นหมิ่นประมาทธรรมดามีข้อยกเว้น หากเป็นความจริงมีประโยชน์ต่อสาธารณะหรือแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตแต่กฎหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพไม่มีข้อยกเว้น
อีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากหมิ่นประมาทธรรมดาอาจจะเห็นในต่างประเทศ คือ การวิจารณ์ถึงคนที่อยู่ในสายตาสาธารณะยิ่งต้องมีข้อยกเว้นจาก ศาล (จากกฎหมาย)สำหรับผู้ที่ถูกพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการ หรือแม้แต่ดาราหรือใครก็ตามที่อยู่ในสายตาของสาธารณะแต่กฎหมายในประเทศเหล่า นั้นก็คุ้มครองhead of the state ก็ได้ หรือนายกรัฐมนตรีก็ได้ ซึ่งอาจจะคุ้มครองกรณีที่มีผู้ใช้คำหยาบหรือดูหมิ่น เช่น กล่าวหาว่าไปฆ่าคนอื่น หรือกล่าวหาเรื่องส่วนตัว ขณะที่หากเป็นเรื่องสาธารณะเขาก็ไม่คิดจะฟ้องแต่จะใช้วิธีโต้ตอบผ่านสื่อมากกว่า
Q: ดังนั้น หลักการคือยิ่งเป็นบุคคลสาธารณะ เช่น นักการเมือง นายกรัฐมนตรี ยิ่งควรเปิดโอกาสที่จะพูดถึงแล้วกรณีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศอื่น ๆ เป็นอย่างไร
A:ประเทศประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเทศอื่นก็มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเหมือนกัน เช่น สเปน มีโทษจำคุกถึง3 ปีนอร์เวย์ จำคุกถึง5 ปี แต่มีข้อจำกัด เช่นที่ประเทศนอร์เวย์ ถ้ามีใครดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ถ้าจะดำเนินคดีต้องมาจากความยินยอมของพระมหากษัตริย์เอง ดังนั้นก็มีวิธีการที่จะให้ผู้เสียหาย (พระมหากษัตริย์) บอกว่า อันนั้นมากเกินไปแล้วต้องดำเนินคดี
ดังนั้น หลายประเทศก็อาจจะมีเงื่อนไขว่าเรื่องต้องผ่านราชสำนัก หรือคณะองคมนตรีก่อน คืออย่างน้อยต้องมีการกรองระดับหนึ่ง
Q: ผลของกฎหมายไทยที่บัญญัติแบบนี้ส่งผลอย่างไร
A:การกลั่นแกล้งเกิดขึ้นได้ง่ายมากปัญหาคือถ้าตำรวจได้รับแจ้งความแล้ว แม้เขาจะไม่อยากฟ้อง แต่เขาก็ไม่กล้าที่จะยุติการดำเนินคดีนั้น เพราะต้องสอบสวนและส่งให้อัยการอยู่ดี ส่วนอัยการก็ไม่กล้าที่จะไม่ฟ้อง ฉะนั้นเขาก็ส่งให้ศาลในที่สุดศาลชั้นต้นก็ไม่ตัดสินชี้ขาดก็ส่งต่อให้ศาล อุทธรณ์ และแม้แต่ศาลฎีกาก็ดูเหมือนไม่แน่ใจว่าจะตัดสินอย่างไร ก็มี9 คดีที่มาถึงศาลฎีกา ในช่วง5 ปีที่ผ่านมายังไม่พิพากษาและแนวโน้มของกระบวนการที่ไม่มีไกด์ไลน์ก็มีแต่การ ส่งต่อไปจนถึงศาลฎีกาประเด็นคือคนที่ทำคดีก็ไม่กล้ายกคำร้องหรือยกฟ้อง ดังนั้นกลั่นแกล้งง่ายมาก
Q:กฎหมายนี้ดูเหมือนถูกนำมาใช้ทางการเมืองมากกว่าจะหวังผลทางกฎหมายหรือไม่
A:ถ้าการเมืองอย่างแคบคือการเลือกตั้งแต่การเมืองอย่างกว้างทุกวันนี้ทุกอย่าง ก็มีเรื่องอำนาจอยู่ในตัวมันเอง หมายความว่าทุกอย่างก็เป็นการเมืองอีกแบบหนึ่งมองอย่างกว้าง ถ้านิยามอย่างแคบก็คือนักการเมืองนำกฎหมายนี้มาแกล้งกันมาฟ้องกัน นักการเมืองอาจจะเป็นศัตรูกันจึงฟ้องกัน ถ้าจะพูดว่ากฎหมายนี้ใช้เป็นอาวุธทางการเมืองก็ว่าได้
แต่เหยื่อของการใช้กฎหมายนี้เป็นใครส่วนมากเราไม่รู้ ความจริงแล้วไม่มีใครมีข้อมูลการฟ้องคดีนี้มากเท่าไร ซึ่งเราก็จะรู้แค่3-4 คดี เช่น ดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล,บุญยืน ประเสริฐยิ่ง, สุวิชา ท่าค้อ, แฮรี่นิโคไลดส์ ชาวออสเตรเลีย ฯลฯ ปีที่ผ่านมามี164 คดี ไปถึงศาลชั้นต้นแล้วก็ลงอาญา82 คดี เรามีข้อมูลไม่กี่คดี และช่วงหลังมานี้สำนักงานอัยการไม่ได้รวบรวมสถิติคดีนี้ในรายงานประจำปีของ เขา เดิมทีเขารวมสถิติได้เป็นประโยชน์มาก ซึ่งต่อมาผมก็ต้องใช้สถิติของสำนักงานศาลยุติธรรมแต่ก็ขาดรายละเอียด บางอย่าง
Q:ทำไมเลือกศึกษาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
A: ผมไม่ได้สนใจกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างเดียว แต่สนใจกฎหมายที่ใช้หลักการเรื่องหมิ่นประมาท คือเริ่มต้นจากผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูลผมก็พยายามศึกษาความเป็นไทย...หลังจากนั้นก็ดูเรื่องมุมมองความ มั่นคง เช่น สถานะผู้หญิง เด็ก ทุกอย่างก็เกี่ยวกับความมั่นคงศึกษาต่อมาก็ดูกฎหมายหมวดความผิดเกี่ยวกับ ความมั่นคงของประเทศ ก็ดูคำพิพากษาตั้งแต่เรื่องกบฏภายใน เรื่องดูหมิ่นสถานทูตที่เป็นมิตรกับไทย และจึงเริ่มดูกฎหมายที่ใช้หลักการหมิ่นประมาท
Q:พบว่ามีการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในสถานการณ์การเมืองที่แตกต่างกันอย่างไร
A: ตอนที่ผมเขียนวิทยานิพนธ์ พบว่าหลังจากรัฐธรรมนูญ2540 บางปีไม่มีคดีเลยหรืออาจจะ5 คดีต่อปี แต่ช่วงปี2548 ก็มีการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็เริ่มมีการฟ้องกันเรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ... โดยมีการฟ้องร้องกันเต็มที่ภายในไม่กี่เดือน เทียบกันไม่ได้กับในอดีต ก่อนปี2548 ผมยังเขียนเน้นเกี่ยวกับเรื่องหมิ่นประมาทธรรมดาแต่ปี2548 มีการแจ้งความฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากขึ้นไม่หาย
Q:สาเหตุที่ในตอนแรกศึกษาคดีหมิ่นประมาทธรรมดาเพราะอะไร
A:สนใจกฎหมายที่ใช้หลักการเรื่องหมิ่นและตอนนั้นทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้ข้อหาหมิ่นประมาทฟ้องร้องคนอื่นเป็นร้อยล้านบาท ในช่วงนั้นทุกคนก็พูดถึงกฎหมายหมิ่นประมาทซึ่งกระทบต่อสื่อมวลชนและตอนนั้น ก็มีคดีของสุภิญญา กลางณรงค์
Q:จากการศึกษาพบว่าทักษิณใช้กฎหมายหมิ่นจัดการกับฝ่ายที่วิจารณ์ตัวเขาอย่างไร
A:ร้ายแรงมาก มีการใช้คดีแบบนี้เยอะมาก อาจจะมีถึง100 คดีกับสนธิลิ้มทองกุล ก่อนหน้านี้มี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์เตมียาเวส ที่ใช้กฎหมายนี้เก่งจนดูเหมือนเขาอาจจะขึ้นศาลทุก ๆ2 วัน เพราะฟ้องทั่วประเทศ แต่สู้ทักษิณไม่ได้ เพราะทักษิณใช้กฎหมายนี้เก่งกว่า
Q:เป็นธรรมชาติของนักการเมืองทั่วโลกหรือไม่ ที่ใช้กฎหมายหมิ่นประมาทจัดการฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
A:ถ้ากฎหมายอำนวยให้ เขาก็คงจะใช้หรือถ้าอัยการและศาลเห็นด้วยในการดำเนินคดี เขาก็คงยิ่งได้อำนาจในการป้องกันตัวเองจากศัตรู โดยทั่วไปการยิ่งใช้กฎหมายหมิ่นประมาท ก็ยิ่งปิดพื้นที่สาธารณะหรือทำให้มันเล็กลง มันก็มีแนวโน้มที่ไม่ไปในทางประชาธิปไตยมากเท่าไร ซึ่งถ้าที่ไหนมีกฎหมายอำนวยให้...คนที่มีอำนาจก็จะใช้กฎหมายนั้นอยู่ดี
Q: การที่ใครไปแจ้งความข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ได้ เป็นปัญหาที่มีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง
A: มีหลายอย่างที่อาจจะช่วยให้คนมีจิตสำนึกมากขึ้นในการใช้กฎหมายนี้ ซึ่งของฝ่ายรัฐบาลเวทีสัมมนากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ มีบางคนก็เสนอว่าใครแจ้งเท็จก็ถูกฟ้องได้ อาจจะถูกจำคุก5 ปีแต่ผมคิดว่าอาจจะเป็นการขยายปัญหาเพราะที่จริงแล้วอะไรที่เป็นการหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ ก็เป็นเรื่องยากอยู่แล้วและถ้าจะฟ้องคนที่กล่าวหาก็ยิ่งมั่ว เพราะในที่สุดก็เป็นเรื่องเจตนาซึ่งเป็นสิ่งที่วัดยาก
Q: ทางออกในการแก้ปัญหา
A: ถ้อยคำที่ใช้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นถ้อยคำตามกฎหมายธรรมดา ที่แต่ละประเทศที่ปกครองแบบนี้ก็อาจจะใช้ได้ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่มาตรา112 แต่ปัญหาอยู่ที่อาจจะต้องมีข้อยกเว้นหรือไกด์ไลน์เพื่อที่จะทำให้ศาลนิยาม ความผิดที่ชัดเจนมากขึ้น ควรจะมีการศึกษาว่าอะไรคือหมิ่นฯ เพราะอะไร ? อะไรไม่เป็นหมิ่นฯ เพราะอะไร ? จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมมาก
Q:ในฐานะที่อาจารย์ลงพื้นที่ศึกษาแบบมานุษยวิทยา พบว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมากลั่นแกล้งกัน ในสังคมไทยสามารถใช้ได้ผล
A:ในความคิดเห็นของผม คิดว่าใน 100 ปีที่ผ่านมามีการพยายามสร้างโมเดลชาตินิยมชนิดหนึ่งที่ปฏิเสธความแตกต่างทาง ชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้นหลาย ๆ อย่างโดยพยายามทำให้มันหายไปและก็ที่จริงแล้วช่วงที่อาจจะเข้มแข็งที่สุดก็ คือตอนช่วงต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้เป็นศัตรูสุดยอดสมบูรณ์แบบ เป็นผู้ดูเหมือนปฏิเสธความเป็นไทย ดูเหมือนช่วงนั้นก็มีคำถามว่าความเป็นไทยคืออะไร เราเป็นใคร เราน่าจะมีการปกครองแบบไหน ดูเหมือนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยรัฐธรรมนูญ2540 ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น
แต่หลังจากรัฐประหาร2549 นั้น ดูเหมือนมีความพยายามเอาโมเดลชาตินิยมแบบนี้ขึ้นมาใหม่ แล้วบังคับให้ทุกคนอยู่ในนั้น แต่มีศัตรูแบบใหม่ คือ ผู้ไม่มีความจงรักภักดีกับสถาบันสูงสุด ผมว่าเป็นโชคร้ายมาก หรือเป็นสิ่งที่แย่มากที่เป็นแบบนี้แบ่งแยกว่ามีผู้จงรักภักดีและไม่จงรัก ภักดีหรือบอกว่ามีคนรักชาติและไม่รักชาติ ทั้งที่คนซึ่งถูกหาว่าไม่รักชาติ เขาอาจจะรักชาติอีกแบบหนึ่งก็ได้ การกล่าวหากันนั้นได้ผลระยะสั้น แต่ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยยังไม่เผชิญหน้ากับการชำระประวัติศาสตร์ไม่ว่า จะเป็นช่วงสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีคำสั่งคณะปฏิวัติที่17 ที่พยายามควบคุมสื่อมวลชน หรือช่วงตุลา2516 ตุลา2519 พฤษภาทมิฬ2535 และเมษา พฤษภา ในปีนี้ก็ดูเหมือนแนวโน้มยังไม่ถึง(การชำระประวัติศาสตร์) ใช่ไหม ผมยังไม่เห็นเหตุการณ์ที่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะเผชิญหน้ายอมรับกับความจริง เพราะกลัวเจ็บ
Q:อาจารย์เชื่อว่าแผนปรองดองจะได้ผลไหม
A:ผมทำวิจัยอยู่อีสาน มีคนน้อยมากที่ผมเจอที่คิดว่าแผนปรองดองมีความหมาย
Q:บรรยากาศในชนบทเป็นอย่างไร
A:เปลี่ยนไปเยอะ แต่ยังไงก็มีฐานบางอย่างอยู่ที่นั่น อย่างเช่นเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมามีคนอีสานตายเยอะ จนคนอีสานหลายคนแทบไม่เชื่อว่าคนกรุงเทพฯรับได้ที่มีคนตายเยอะ แทบไม่เชื่อว่าเขาทนได้ยังไง แล้วหลังจากมีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ คนกรุงเทพฯก็ให้คุณค่ากับอันนั้น(เซ็นทรัลเวิลด์) เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ได้มองชีวิตคนว่าเป็นมนุษย์เท่ากัน...เขาก็เจ็บ
Q:ถ้าคิดแทนคนกรุงเทพฯ เขาก็รับไม่ได้ที่คนเสื้อแดงมาเผาบ้านเผาเมือง
A:คนอีสานก็จะตอบว่า ต้องดูหลักฐานก่อนว่าใครเผา มันจะมีเกมการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ เขายังมีความสงสัย ซึ่งผมก็ไม่มีข้อมูล แต่การเผาเป็นสิ่งดีไหม ก็ไม่ดีเพราะคนเสื้อแดงส่วนมากไม่มีใครเห็นด้วย
Q:อารมณ์คนกรุงเทพฯที่รับไม่ได้กับเสื้อแดง
A: ปัญหาคือใครมีสิทธิจะบอกว่าเป็นตัวแทนของคนกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯก็น่าจะเป็นของคนไทยทุกคน แต่คนที่สีลมในช่วงนั้นบอกให้คนชนบทออกไป คำถามคือคนชนบทเขาไม่มีสิทธิอยู่ที่นี่เหรอ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องกระจายอำนาจหน่อย เพราะถ้าไม่กระจายอำนาจ...ทุกคนก็จะมาหางานที่กรุงเทพฯอยู่ดี ถ้าไม่มีคนชนบทในกรุงเทพฯแล้ว50 เปอร์เซ็นต์ของคนกรุงเทพฯก็จะหายไป ก็ลองดู ก็จะไม่มีร้านอาหารไม่มีอะไร ลองดูว่าคนกรุงเทพฯจะยังสบายใจไหม
Q:มองการเคลื่อนไหวเสื้อแดงอย่างไร
A:ยังไม่มีใครพูดได้อย่างมั่นใจว่ากระบวนเสื้อแดงว่ามันคืออะไรกันแน่ มันเป็นของพรรคเพื่อไทยเหรอ ? มันเป็นของทักษิณเหรอ ? หรือมีเอกลักษณ์ของมันเอง?ที่จริงแล้วใครควบคุมเสื้อแดงตอนนี้ได้?ตอนแรกก็ รู้สึกว่าเชื่อมกับทักษิณ กับพรรคเพื่อไทย แต่ตอนหลังเริ่มไม่แน่ใจเพราะคุมกันไม่ได้และไม่รู้ว่าจะไปทิศทางไหน...อาจ จะต้องมีเหตุการณ์อะไรสักอย่างแต่ดีที่คุณอภิสิทธิ์มีเหตุผลที่บอกว่าถ้า ห้ามแต่เสื้อแดงก็จะเป็นการสร้างความแตกแยกเสียเอง..
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)