เมื่อ “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” มอบดาบอำนาจ ให้ “ท่านไตรรงค์ สุวรรณคีรี” รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เข้ามาดูแล..เรื่องทุกอย่าง ก็โปร่งใสขาวสะอาด เบ็ดเสร็จ
ประมูลสต๊อกมันเส้น ๒.๕ แสนตัน, และ ประมูลสต๊อกข้าว ๑.๕ ล้านตัน ที่เหม็นโฉ่ งามไส้ไปทั้งกระทรวงพาณิชย์.. “รองนายกฯไตรรงค์” ล้างคราบไคล ไม่เหลือกลิ่นเหม็น
“ท่านไตรรงค์” เลิกสัญญา ล้มประมูลข้าว แบบคนทำงานเป็น
เพราะบริษัทที่ประมูลได้นั้น..ทำผิดสัญญาเต็มเปา ระบายขายข้าวใน ๑๕๐ วันไม่ได้ จึงต้องยกเลิก...ส่วนข้าวนั้น เมื่อนำมาขายในระบบ “จีทูจี” รัฐต่อรัฐ และ “ประมูลขาย”บางส่วน ก็ได้เงินเข้าประเทศ มากมายมหาศาล เสร็จสรรพ!!
ทำเรื่องทุกอย่างออกมาดี...โดยรายงานนายกรัฐมนตรี..แบบทันที ทันใด ด้วยสิครับ??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ทำงานหลายกระทรวง.. “งานหลวง” ผ่านมาโชกโชน!!
“ท่านไตรรงค์ สุวรรณคีรี” รองนายกฯ จึงเก่ง ด้านใช้ทรัพยากรบุคคล??
ดึงมือโปร หัวกะทิมันสมองของประเทศ.. ทั้งอดีตข้าราชการ อดีตอธิบดี และ อดีตรัฐมนตรีพาณิชย์ มาช่วยเร่งบูรณาการ ปัญหาน้ำท่วมหาดใหญ่ และ เร่งปัญหาเรื่องข้าว เรื่องมัน
โดยเฉพาะข้าว หากเก็บสต๊อกไว้ ๒ ปี จะเป็น “อาหารสัตว์” ราคาตกอย่างมหันต์
ดังนั้น,จึงต้องดึงคนดีมาร่วมงาน เพื่อเปิดประมูลข้าวและมันให้โปร่งใส..ไม่ให้ “บริษัทฮั้วกัน” หรือพวก “มือใหม่หัดประมูลข้าว” ใช้เส้นสาย เข้ามาประมูล !!!
และเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต..ครม.จึงให้เครดิต.. “นายกฯอภิสิทธิ์” เซ็นขายได้คนเดียว เท่านั้นแหละคุณ???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“สปิริต” และ “จริยธรรม” ต้องสูง!!
เมื่อซุกหุ้น..ถูก “ศาลรัฐธรรมนูญ” พิพากษาเช็คบิลอย่างเด็ดขาด.. “บุญจง วงศ์ไตรรงค์” มท.๒ ต้องถวายบังคม ลาออกจากตำแหน่ง เรื่องมันจะได้ไม่ต้องยุ่ง??
รัฐมนตรีญี่ป่นลาออกเพราะ “เมาแล้วขับ”...รัฐมนตรีเกาหลีใต้ลาออก เพราะ “ไปเล่นกอล์ฟโดยไม่ทำงาน”..เขาไม่มีคำตัดสินของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ชี้โทษผิดยังพากันออก..น่าที่ “มท. ๒ บุญจง” ต้องเอาเป็นตัวอย่าง
อย่าดื้อแพ่งเกาะเก้าอี้อยู่เลย เหมือนคนไม่มียาง
ที่ซ้ำร้ายเลิกแถได้แล้ว เพราะการทำตัวเป็นนักเลงข้ามรุ่นท้า “ท่านไพโรจน์ สุวรรณฉวี” พรรคเพื่อแผ่นดิน ให้ฮั้วและจับมือ กับ “พรรคเพื่อไทย” นั้น ท่านเบลอ และหลงประเด็น!!
หรือคิดว่าชาตินี้..สะบัดก้นออกจากความเป็นรัฐมนตรี.บารมีสูญสิ้น อดที่จะกลับเข้ามาเป็น
++++++++++++++++++++++++++++++++++
หงายไพ่แบบเกเต็มหน้าตัก!!
หวังเพียงประการเดียว...เพื่อที่ “น้ามิ่ง” มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ จะได้เป็นหัวหน้าพรรค
กระสุนดินดำ หน้าเสื่อมีแค่ไหน ควักจ่ายดูแล สส.ลูกทีม ใน“พรรคเพื่อไทย” เป็นอย่างดี
เป้าหมายสูงสุด เบอร์หนึ่งของประเทศ เป็น “นายกรัฐมนตรี”
ท่ามกลางคนไทยที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม และหนาวตาย..โดย “รัฐบาลอภิสิทธิ์” สอบตกในการช่วยราษฎร..แต่ “น้ามิ่ง” กลับถอย “บีเอ็ม” ซีรีย์ใหม่คันโก้ เข้ามาแล่นในสภาฯ!!
ในเมื่อสตุ้งสตางค์เหลือเยอะ..บริจาคช่วยคนมั่งเหอะ?..บุญจะพาให้เจอะ สิ่งสมปรารถนา?
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แฉกันอย่างตูมตาม!!
เอาเรื่องจริงโพนทะนา กลางสภาฯ โดย “ประยุทธ์ ศิริพานิชย์” สส.เพื่อไทย มหาสารคาม
อบจ.อุบลราชธานี เอาถุงยังชีพไปแจก แก่ราษฎร ที่ถูกน้ำท่วม อ้างราคาสูง ๑ พันบาท
เมื่อเช็คราคาจริง ๆ แล้ว แค่ “ห้าร้อย” .. นี่,คือการกินเงินหลวง ที่น่าเกลียดชะมัด
“ลุงจิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล มท. ๑ ตรวจสอบหน่อย..ปล่อย “เหลือบ”ให้กำแหงไม่ได้!!
คนเขาเดือดร้อนมันยังงาบ.....หยั่งงี้,ต้องกำหลาบ ..ปราบให้ราบคาบหน่อยนะเจ้านาย ???
คอลัมน์ :ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
************************************
วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ชาติมาทีหลัง...!!!?
กรณี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่นอร์เวย์เพื่อหารือเรื่องความปรองดองกลายเป็นการตอบโต้ทางการเมืองระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไปโดยปริยาย เพราะพรรคประชาธิปัตย์ถือว่า พล.ต.สนั่นไม่ให้เกียรตินายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาล แต่พรรคชาติไทยพัฒนาถือเป็นเรื่องส่วนตัว และ พล.ต.สนั่นเคยแถลงไว้แล้วว่าตั้งใจจะสร้างความปรองดองให้สำเร็จก่อนเดือนธันวาคม และถือเป็นงานชิ้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในชีวิตทางการเมือง แม้จะมีหลายกระแสต่อต้านหรือกลัวจะเป็นการเกี๊ยะเซียะทางการเมือง
การออกมาเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดใดๆจาก พล.ต.สนั่นจึงถูกมองว่าเป็นการตีโพยตีพายหรือกลัวจะสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์มากเกินไปหรือไม่ ทั้งที่นายอภิสิทธิ์ประกาศเองว่าต้องการให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองโดยเร็ว เพื่อจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ทันที เหมือนที่รัฐบาลมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตราก่อนหน้านี้
ดังนั้น การจะเดินหน้าไปสู่การปรองดองหรือไม่นั้นพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญไม่น้อยไปกว่าประชาชนทุกกลุ่ม เพราะนายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำที่มีอำนาจสูงสุด และพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาล ถ้าผู้นำรัฐบาลไม่มีความจริงใจก็ไม่สามารถเกิดความปรองดองและความสงบสุขได้
เหมือนกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้แก้ไขใน 2 ประเด็น ซึ่งเป็นข้อเสนอของพรรคร่วมรัฐบาล แต่ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์เคยมีมติไม่เห็นด้วยจนทำให้ไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้มาแล้ว
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ถูกประณามจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดินว่าไม่มีความจริงใจที่จะสร้างความปรองดอง จนเกิดเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ทำให้มีการเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมและเลือดเย็นถึง 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน จนถึงวันนี้ยังไม่มีผลการชันสูตรพลิกศพว่าแต่ละคนเสียชีวิตอย่างไร และใครเป็นคนยิง
นายอภิสิทธิ์จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าไม่จริงใจและใช้วาทกรรมเพื่อสร้างภาพตัวเองและพวกพ้องให้มีอำนาจต่อไปให้นานที่สุดมากกว่าจะแก้ปัญหาของประเทศชาติและประชาชน
แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญล่าสุดที่นายอภิสิทธิ์ประกาศจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ทันที แต่กลับตั้งเงื่อนไขเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาว่าบ้านเมืองต้องมีความสงบสุข หรือเลือกตั้งแล้วไม่เกิดความรุนแรง ซึ่งมีคำถามว่าใครเป็นผู้ประเมิน ขณะที่รัฐบาลยังคงใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไล่ล่าและกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง จับกุมและคุมขังฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปรกติ
ความปรองดองจึงเกิดขึ้นไม่ได้ตราบใดที่ไม่มีความยุติธรรมและผู้นำรัฐบาลไม่มีความจริงใจ
ที่มา:บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
การออกมาเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ทั้งที่ยังไม่มีรายละเอียดใดๆจาก พล.ต.สนั่นจึงถูกมองว่าเป็นการตีโพยตีพายหรือกลัวจะสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์มากเกินไปหรือไม่ ทั้งที่นายอภิสิทธิ์ประกาศเองว่าต้องการให้บ้านเมืองเกิดความปรองดองโดยเร็ว เพื่อจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ทันที เหมือนที่รัฐบาลมีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 มาตราก่อนหน้านี้
ดังนั้น การจะเดินหน้าไปสู่การปรองดองหรือไม่นั้นพรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญไม่น้อยไปกว่าประชาชนทุกกลุ่ม เพราะนายอภิสิทธิ์เป็นผู้นำที่มีอำนาจสูงสุด และพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาล ถ้าผู้นำรัฐบาลไม่มีความจริงใจก็ไม่สามารถเกิดความปรองดองและความสงบสุขได้
เหมือนกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้แก้ไขใน 2 ประเด็น ซึ่งเป็นข้อเสนอของพรรคร่วมรัฐบาล แต่ก่อนหน้านี้พรรคประชาธิปัตย์เคยมีมติไม่เห็นด้วยจนทำให้ไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้มาแล้ว
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ถูกประณามจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดินว่าไม่มีความจริงใจที่จะสร้างความปรองดอง จนเกิดเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ทำให้มีการเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมและเลือดเย็นถึง 91 ศพ และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน จนถึงวันนี้ยังไม่มีผลการชันสูตรพลิกศพว่าแต่ละคนเสียชีวิตอย่างไร และใครเป็นคนยิง
นายอภิสิทธิ์จึงถูกวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าไม่จริงใจและใช้วาทกรรมเพื่อสร้างภาพตัวเองและพวกพ้องให้มีอำนาจต่อไปให้นานที่สุดมากกว่าจะแก้ปัญหาของประเทศชาติและประชาชน
แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญล่าสุดที่นายอภิสิทธิ์ประกาศจะยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ทันที แต่กลับตั้งเงื่อนไขเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาว่าบ้านเมืองต้องมีความสงบสุข หรือเลือกตั้งแล้วไม่เกิดความรุนแรง ซึ่งมีคำถามว่าใครเป็นผู้ประเมิน ขณะที่รัฐบาลยังคงใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไล่ล่าและกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง จับกุมและคุมขังฝ่ายตรงข้ามโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมปรกติ
ความปรองดองจึงเกิดขึ้นไม่ได้ตราบใดที่ไม่มีความยุติธรรมและผู้นำรัฐบาลไม่มีความจริงใจ
ที่มา:บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
‘ทักษิณ’ซัดอ้างสถาบันจนระบบพัง
“ทักษิณ” กลับถึงเลบานอนทวิตข้อความให้รอถามรายละเอียดพูดคุยปรองดองจาก “สนั่น” เอาเอง เตือนองค์กรต่างๆทั้งหลายให้กลับมาทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา อย่ารอสัญญาณหรือธงจากใคร เพราะมีขบวนการแอบอ้างจนทำให้ระบบต่างๆพังย่อย ยับ ย้ำถอยคนละก้าวสองก้าว ทำให้ทุกฝ่ายมีความเสมอภาคปรองดองเกิดได้แน่นอน “สนั่น” นัดชี้แจงรายละเอียดหารือวันนี้ (9 พ.ย.) “อภิสิทธิ์” ไม่ตื่นเต้น เผยรองนายกฯแจ้งหลักการพูดคุยให้ทราบแล้วไม่มีอะไรซับซ้อน
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางกลับมาจากประเทศนอร์เวย์ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับการหารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องความปรองดอง โดยกล่าวเพียงว่า “หากปรองดองไม่ดีคงไม่ไป”
ทั้งนี้ พล.ต.สนั่นนัดหมายกับสื่อมวลชนแถลงผลการหารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณในวันที่ 9 พ.ย.
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องการพูดคุยระหว่าง พล.ต.สนั่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นเรื่องที่ดีเพราะการสร้างความปรองดองต้องคุยกับทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ
“แม้การสร้างความปรองดองไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องพยายามทำต่อไปด้วยใจที่บริสุทธิ์ และทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน แต่หากใครจะปรองดองเพื่อให้หมดภาระหรือให้ตนเองปลอดภัยก็คงไม่สำเร็จ” นายสมชายกล่าวและว่า การปรองดองไม่ควรมีการตั้งเงื่อนไข เพราะการทำงานใหญ่ต้องใจกว้างและไม่ควรเอา พ.ต.ท.ทักษิณมาเป็นเงื่อนไข เพราะอดีตนายกฯไม่เคยยื่นเงื่อนไขใดๆ ยินดีที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและบ้านเมืองตลอดเวลา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะได้พบ พล.ต.สนั่นในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 9 พ.ย. นี้ แต่เท่าที่คุยกันก่อนหน้านี้ พล.ต.สนั่นบอกว่าแนวทางสร้างความปรองดองของท่านไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย
ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณโพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์ส่วนตัวระบุว่า รายละเอียดพูดคุยให้ไปถาม พล.ต.สนั่นเอาเอง ขณะนี้พักอยู่ที่ประเทศเลบานอน
“คนไทยด้วยกันทะเลาะกันไปทำไมครับ ทะเลาะไปทะเลาะมา ไอ้พวกทำเลวได้ดีกันเป็นแถว ระบบต่างๆที่สร้างกันมาชั่วบรรพบุรุษพังไปหมด ตอนนี้ระบบไม่ทำงานเพราะมีคนไปทำลายระบบเพื่ออำนวยประโยชน์ให้ตัวเอง สำคัญคือคนที่รักษาระบบไม่ยอมทำงานตามกฎเกณฑ์ จะคอยรอแต่สัญญาณ (ธง) ผมขอเล่าประสบการณ์ตอนเป็นนายกฯให้ฟังครับ มีรัฐมนตรีบางคนซึ่งก็ทิ้งผมไปแล้วบ้าง ตายไปบ้าง เวลาลงโทษหรือย้ายข้าราชการไปที่แย่ลง ขาดภาวะผู้นำที่จะบอกว่าตัวเองสั่ง ก็อ้างว่านายกฯสั่ง บางทีไปทำอะไรก็มารายงานให้ทราบทั้งๆที่เรื่องอยู่ในอำนาจรัฐมนตรี พอมีคนที่ได้รับผลกระทบมาโวยก็บอกว่านายกฯสั่ง”
“หลังจากผมพ้นนายกฯแล้วจึงมีคนกล้ามาพูดให้ผมฟัง นี่คือวัฒนธรรมที่ไม่ดีอย่างหนึ่งที่อยู่ในตัวของคนขาดภาวะผู้นำ และวันนี้ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งที่ฝ่ายหนึ่งทำผิดก็ถูก อีกฝ่ายหนึ่งทำไม่ผิดก็ต้องผิด จึงเกิดอาการใหม่ขึ้นครับ คือมองฝ่ายและรอสัญญาณ คือไม่พิจารณาตามข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติกันมาหรือหลักสากล ถ้าไม่มีสัญญาณล่ะก็แดงผิด ไม่แดงถูก ความที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นยืดเยื้อยาวนานทำให้เกิดอาการอ้างเหมือนที่ผมเคยโดนมา ตอนนี้อำนาจและผลประโยชน์ในช่วงนี้มากมายเหลือเกินก็เลยต้องอ้างแบบที่เช็กไม่ได้ให้กลัวไว้ก่อน จึงเอาเจ้านายมาอ้าง ผมเป็นคนธรรมดาที่เช็กได้ยังถูกอ้าง แล้วเจ้านายไม่มีใครบังอาจโทร.ไปตรวจสอบอะไรเลยถูกอ้างกันเพลิน ทำให้เจ้านายถูกเข้าใจผิดโดยคนที่ถูกผลกระทบได้” พ.ต.ท.ทักษิณระบุ
นอกจากนั้นยังเกิดข่าวลือต่างๆนานาจากการที่ทำเป็นอาสาจะปกป้องสถาบันขึ้นมากล่าวหาคนอื่นไม่จงรักภักดีบ้าง ที่สุดคือเจ้านายและสถาบันเสียหาย ทางออกที่ดีคือการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นโดยเร็ว คนที่รักษาระบบก็ขอให้ปฏิบัติที่เล่าเรียนและอบรมมา โดยอยู่ในหลักนิติธรรมและคุณธรรม ตลอดจนปฏิบัติตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเสีย อย่าเอาระบบไปเล่นการเมืองกับเขา อย่ารอสัญญาณปลอมๆเพื่อประโยชน์ฝ่ายใดเลย ส่วนทุกฝ่ายที่คิดจะเอาเป็นเอาตายกันวันนี้ก็ต้องรู้จักถอยคนละก้าวสองก้าว หันหน้าเข้าหากันด้วยความตระหนักว่าเราคือคนไทยด้วยกัน แล้วมาร่วมกันเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งครั้งนี้โดยไม่เลือกสีเลือกฝ่าย ไม่ว่าจะตาย บาดเจ็บ หรือติดคุกโดยไม่เป็นธรรมอย่างเสมอภาคกันทุกฝ่าย
ที่มา:หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางกลับมาจากประเทศนอร์เวย์ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับการหารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เรื่องความปรองดอง โดยกล่าวเพียงว่า “หากปรองดองไม่ดีคงไม่ไป”
ทั้งนี้ พล.ต.สนั่นนัดหมายกับสื่อมวลชนแถลงผลการหารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณในวันที่ 9 พ.ย.
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องการพูดคุยระหว่าง พล.ต.สนั่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นเรื่องที่ดีเพราะการสร้างความปรองดองต้องคุยกับทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ
“แม้การสร้างความปรองดองไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องพยายามทำต่อไปด้วยใจที่บริสุทธิ์ และทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน แต่หากใครจะปรองดองเพื่อให้หมดภาระหรือให้ตนเองปลอดภัยก็คงไม่สำเร็จ” นายสมชายกล่าวและว่า การปรองดองไม่ควรมีการตั้งเงื่อนไข เพราะการทำงานใหญ่ต้องใจกว้างและไม่ควรเอา พ.ต.ท.ทักษิณมาเป็นเงื่อนไข เพราะอดีตนายกฯไม่เคยยื่นเงื่อนไขใดๆ ยินดีที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและบ้านเมืองตลอดเวลา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะได้พบ พล.ต.สนั่นในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 9 พ.ย. นี้ แต่เท่าที่คุยกันก่อนหน้านี้ พล.ต.สนั่นบอกว่าแนวทางสร้างความปรองดองของท่านไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย
ด้าน พ.ต.ท.ทักษิณโพสต์ข้อความลงในทวิตเตอร์ส่วนตัวระบุว่า รายละเอียดพูดคุยให้ไปถาม พล.ต.สนั่นเอาเอง ขณะนี้พักอยู่ที่ประเทศเลบานอน
“คนไทยด้วยกันทะเลาะกันไปทำไมครับ ทะเลาะไปทะเลาะมา ไอ้พวกทำเลวได้ดีกันเป็นแถว ระบบต่างๆที่สร้างกันมาชั่วบรรพบุรุษพังไปหมด ตอนนี้ระบบไม่ทำงานเพราะมีคนไปทำลายระบบเพื่ออำนวยประโยชน์ให้ตัวเอง สำคัญคือคนที่รักษาระบบไม่ยอมทำงานตามกฎเกณฑ์ จะคอยรอแต่สัญญาณ (ธง) ผมขอเล่าประสบการณ์ตอนเป็นนายกฯให้ฟังครับ มีรัฐมนตรีบางคนซึ่งก็ทิ้งผมไปแล้วบ้าง ตายไปบ้าง เวลาลงโทษหรือย้ายข้าราชการไปที่แย่ลง ขาดภาวะผู้นำที่จะบอกว่าตัวเองสั่ง ก็อ้างว่านายกฯสั่ง บางทีไปทำอะไรก็มารายงานให้ทราบทั้งๆที่เรื่องอยู่ในอำนาจรัฐมนตรี พอมีคนที่ได้รับผลกระทบมาโวยก็บอกว่านายกฯสั่ง”
“หลังจากผมพ้นนายกฯแล้วจึงมีคนกล้ามาพูดให้ผมฟัง นี่คือวัฒนธรรมที่ไม่ดีอย่างหนึ่งที่อยู่ในตัวของคนขาดภาวะผู้นำ และวันนี้ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งที่ฝ่ายหนึ่งทำผิดก็ถูก อีกฝ่ายหนึ่งทำไม่ผิดก็ต้องผิด จึงเกิดอาการใหม่ขึ้นครับ คือมองฝ่ายและรอสัญญาณ คือไม่พิจารณาตามข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่ปฏิบัติกันมาหรือหลักสากล ถ้าไม่มีสัญญาณล่ะก็แดงผิด ไม่แดงถูก ความที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นยืดเยื้อยาวนานทำให้เกิดอาการอ้างเหมือนที่ผมเคยโดนมา ตอนนี้อำนาจและผลประโยชน์ในช่วงนี้มากมายเหลือเกินก็เลยต้องอ้างแบบที่เช็กไม่ได้ให้กลัวไว้ก่อน จึงเอาเจ้านายมาอ้าง ผมเป็นคนธรรมดาที่เช็กได้ยังถูกอ้าง แล้วเจ้านายไม่มีใครบังอาจโทร.ไปตรวจสอบอะไรเลยถูกอ้างกันเพลิน ทำให้เจ้านายถูกเข้าใจผิดโดยคนที่ถูกผลกระทบได้” พ.ต.ท.ทักษิณระบุ
นอกจากนั้นยังเกิดข่าวลือต่างๆนานาจากการที่ทำเป็นอาสาจะปกป้องสถาบันขึ้นมากล่าวหาคนอื่นไม่จงรักภักดีบ้าง ที่สุดคือเจ้านายและสถาบันเสียหาย ทางออกที่ดีคือการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นโดยเร็ว คนที่รักษาระบบก็ขอให้ปฏิบัติที่เล่าเรียนและอบรมมา โดยอยู่ในหลักนิติธรรมและคุณธรรม ตลอดจนปฏิบัติตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเสีย อย่าเอาระบบไปเล่นการเมืองกับเขา อย่ารอสัญญาณปลอมๆเพื่อประโยชน์ฝ่ายใดเลย ส่วนทุกฝ่ายที่คิดจะเอาเป็นเอาตายกันวันนี้ก็ต้องรู้จักถอยคนละก้าวสองก้าว หันหน้าเข้าหากันด้วยความตระหนักว่าเราคือคนไทยด้วยกัน แล้วมาร่วมกันเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งครั้งนี้โดยไม่เลือกสีเลือกฝ่าย ไม่ว่าจะตาย บาดเจ็บ หรือติดคุกโดยไม่เป็นธรรมอย่างเสมอภาคกันทุกฝ่าย
ที่มา:หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
ฝนตกขี้หมูไหล !!!!!??
พระพิรุณโปรยปราย..โปรยปรายอย่าง บ้าคลั่ง ไหลบ่าท่วมภาคกลาง หมุนวนป่วนอีสาน ขมวดหัวขบวนก้อนน้ำดิ่งลงใต้ ขวานทองแห่งสยามจมบาดาลเกือบมิดเล่ม
ประชาชนผู้ประสบภัยเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า น้ำป่าไหลหลากซ้ำเป็นสีแดงเทือกสะท้อนให้เห็นในวงกว้างอย่าน่าอเนจอนาถสายตา น้ำทะเลหนุนท่วมมิดปิดขอบตลิ่ง ไหลลึกหนุน ท่วมสูงปกคลุมไปถึงยอดหอคอยงาช้างและสภาหินอ่อนแห่งปริมณฑลการเมืองไทย น้ำเน่าการ เมืองอันฟอนเฟะที่กำลังส่งกลิ่นโชยรับอานิสงส์น้ำท่วมจนเจือจางเป็นแค่หางดีเปรสชั่น
การเมืองอันมอมแมมกระดำกระด่าง ถูกฟอก ขาวชั่วครู่ชั่วยามบนสายธารน้ำตาของประชาชน คลิปฉาวในแวดวงตุลาการ ที่เกิดขึ้นในอาณา บริเวณขององค์กรอิสระที่ชื่อ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ดูจะกลายเป็นเรื่องรองๆ ลงไปในพลันที่ฟ้าบ้าคลั่งหอบพายุกระหน่ำเมือง
แต่การเปิดประเด็นเหล่านี้ กลับถูกฝ่ายการ เมืองหรือแม้กระทั่งคนในแวดวงศาลเอง ที่ยังคง ชิงจังหวะตีกินสร้างความได้เปรียบ กระทั่งกลายเป็น เรื่องราวบานปลาย ในวันมหาทุกข์หล่นทับกบาลประชาชน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องรับผิดชอบด้วย การลาออกตุลาการรัฐธรรมนูญต้องลาออกทั้งคณะ พรรคประชาธิปัตย์จะรอดในคดียุบพรรคหากตุลาการรัฐธรรมนูญพ้นสภาพไป แต่กระนั้นก็ยังมีข้อเรียกร้องให้ตุลาการลาออกดังออกมาจากทีมงานนักเลือกตั้งเสื้อแดง
หรือแม้กระทั่งคำแถลงอย่างแข็งขันในการ ไล่ล่ามือปล่อยของปล่อยคลิป ที่ดังมาคู่ขนานกับสัญญาใจในการผลัดใบอำนาจ อันเป็นคำมั่นของคน กันเอง นี่คือเรื่องเล่าน้ำเน่าในวันน้ำท่วมที่ดังมาจาก ปริมณฑลการเมืองไทย
และด้วยชะตากรรมของพรรคประชาธิปัตย์ดูเหมือนว่า จะทำให้โลกใต้น้ำยังคงหมุนรอบพระแม่ ธรณีบีบมวยผมอย่างไม่ขาดสาย รับกับสถานการณ์ ร้อนในวันพิพากษา 6 ผู้ทรงเกียรติจากสภาล่างต้อง สิ้นสภาพ ส.ส. คาตีนโรงตีนศาลรัฐธรรมนูญ ภายใต้ ข้อกล่าวหาถือหุ้นบริษัทสัมปทานรัฐ
มันยิ่งอ่อนไหวกินยาวไปถึงเสถียรภาพรัฐบาล ก่อนวันคิดบัญชียุบพรรค..ปรับ ครม. เลือกตั้งซ่อม บนสถานการณ์อนาคตไม่แน่นอน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทางคะแนนนิยมยังไม่นิ่งและไม่เข้าใครออก ใคร อะไรอะไรทางการเมืองย่อมเปลี่ยนหน้าแปรพักตร์ไปได้ทุกกระบวนท่า
จับจากอาการจมูกไวของนักเลือกตั้ง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รีเทิร์นคืนสถานภาพ แต่ไม่วายมีข่าวลือว่าคนใกล้ชิด “เชน เทือกสุบรรณ” ผู้น้อง เตรียมผ่องถ่ายอนาคตด้วยการจดทะเบียนพรรคใหม่ในนาม “ไทยเข้มแข็ง”
ที่น่าแปลกไปเสียยิ่งกว่า นั่นคือข่าวลือเรื่องการขยับของคนบ้านเดียวกันในซีกทศวรรษใหม่ เคลื่อนแบบลับๆ เช่นกัน แผ่วทางประตูฉุกเฉินหนีไฟไว้ในนาม “ธรรมาธิปัตย์”
หรือแม้กระทั่ง คนฝั่งตรงข้ามอย่าง “หญิงหน่อยสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ” ยังแอบเดินเงียบปิดแต่ไม่ลับ แต่มือทหารเก่ารุ่นเก๋า เปิดป้อมค่ายการเมืองแห่งใหม่ ภายใต้พะยี่ห้อใหม่ที่ยังไม่ลง ตัวระหว่างพรรค “ไทยเพื่อไทย” และ “สร้างสรรค์ไทย”
ทั้งหมดทั้งมวลแห่งการเคลื่อน นี่เป็นแค่เพียง ตัวอย่างเล็กๆ แห่งคลื่นใต้น้ำการเมืองที่ยังคงหมุนวน อยู่ใต้บาดาลแห่งวาระน้ำท่วมประเทศไทย อย่างว่า ฝนตกขี้หมูไหล มันเกิดได้ทุกเมื่อ... ไม่เว้นแม้กระทั่งวันที่คนทั้งประเทศกำลังลอย คอรอความช่วยเหลืออย่างน่าสลดหดหู่หัวใจ
ที่มา:สยามธุรกิจ
*******************************
ประชาชนผู้ประสบภัยเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า น้ำป่าไหลหลากซ้ำเป็นสีแดงเทือกสะท้อนให้เห็นในวงกว้างอย่าน่าอเนจอนาถสายตา น้ำทะเลหนุนท่วมมิดปิดขอบตลิ่ง ไหลลึกหนุน ท่วมสูงปกคลุมไปถึงยอดหอคอยงาช้างและสภาหินอ่อนแห่งปริมณฑลการเมืองไทย น้ำเน่าการ เมืองอันฟอนเฟะที่กำลังส่งกลิ่นโชยรับอานิสงส์น้ำท่วมจนเจือจางเป็นแค่หางดีเปรสชั่น
การเมืองอันมอมแมมกระดำกระด่าง ถูกฟอก ขาวชั่วครู่ชั่วยามบนสายธารน้ำตาของประชาชน คลิปฉาวในแวดวงตุลาการ ที่เกิดขึ้นในอาณา บริเวณขององค์กรอิสระที่ชื่อ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ดูจะกลายเป็นเรื่องรองๆ ลงไปในพลันที่ฟ้าบ้าคลั่งหอบพายุกระหน่ำเมือง
แต่การเปิดประเด็นเหล่านี้ กลับถูกฝ่ายการ เมืองหรือแม้กระทั่งคนในแวดวงศาลเอง ที่ยังคง ชิงจังหวะตีกินสร้างความได้เปรียบ กระทั่งกลายเป็น เรื่องราวบานปลาย ในวันมหาทุกข์หล่นทับกบาลประชาชน
ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องรับผิดชอบด้วย การลาออกตุลาการรัฐธรรมนูญต้องลาออกทั้งคณะ พรรคประชาธิปัตย์จะรอดในคดียุบพรรคหากตุลาการรัฐธรรมนูญพ้นสภาพไป แต่กระนั้นก็ยังมีข้อเรียกร้องให้ตุลาการลาออกดังออกมาจากทีมงานนักเลือกตั้งเสื้อแดง
หรือแม้กระทั่งคำแถลงอย่างแข็งขันในการ ไล่ล่ามือปล่อยของปล่อยคลิป ที่ดังมาคู่ขนานกับสัญญาใจในการผลัดใบอำนาจ อันเป็นคำมั่นของคน กันเอง นี่คือเรื่องเล่าน้ำเน่าในวันน้ำท่วมที่ดังมาจาก ปริมณฑลการเมืองไทย
และด้วยชะตากรรมของพรรคประชาธิปัตย์ดูเหมือนว่า จะทำให้โลกใต้น้ำยังคงหมุนรอบพระแม่ ธรณีบีบมวยผมอย่างไม่ขาดสาย รับกับสถานการณ์ ร้อนในวันพิพากษา 6 ผู้ทรงเกียรติจากสภาล่างต้อง สิ้นสภาพ ส.ส. คาตีนโรงตีนศาลรัฐธรรมนูญ ภายใต้ ข้อกล่าวหาถือหุ้นบริษัทสัมปทานรัฐ
มันยิ่งอ่อนไหวกินยาวไปถึงเสถียรภาพรัฐบาล ก่อนวันคิดบัญชียุบพรรค..ปรับ ครม. เลือกตั้งซ่อม บนสถานการณ์อนาคตไม่แน่นอน รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทางคะแนนนิยมยังไม่นิ่งและไม่เข้าใครออก ใคร อะไรอะไรทางการเมืองย่อมเปลี่ยนหน้าแปรพักตร์ไปได้ทุกกระบวนท่า
จับจากอาการจมูกไวของนักเลือกตั้ง “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รีเทิร์นคืนสถานภาพ แต่ไม่วายมีข่าวลือว่าคนใกล้ชิด “เชน เทือกสุบรรณ” ผู้น้อง เตรียมผ่องถ่ายอนาคตด้วยการจดทะเบียนพรรคใหม่ในนาม “ไทยเข้มแข็ง”
ที่น่าแปลกไปเสียยิ่งกว่า นั่นคือข่าวลือเรื่องการขยับของคนบ้านเดียวกันในซีกทศวรรษใหม่ เคลื่อนแบบลับๆ เช่นกัน แผ่วทางประตูฉุกเฉินหนีไฟไว้ในนาม “ธรรมาธิปัตย์”
หรือแม้กระทั่ง คนฝั่งตรงข้ามอย่าง “หญิงหน่อยสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ุ” ยังแอบเดินเงียบปิดแต่ไม่ลับ แต่มือทหารเก่ารุ่นเก๋า เปิดป้อมค่ายการเมืองแห่งใหม่ ภายใต้พะยี่ห้อใหม่ที่ยังไม่ลง ตัวระหว่างพรรค “ไทยเพื่อไทย” และ “สร้างสรรค์ไทย”
ทั้งหมดทั้งมวลแห่งการเคลื่อน นี่เป็นแค่เพียง ตัวอย่างเล็กๆ แห่งคลื่นใต้น้ำการเมืองที่ยังคงหมุนวน อยู่ใต้บาดาลแห่งวาระน้ำท่วมประเทศไทย อย่างว่า ฝนตกขี้หมูไหล มันเกิดได้ทุกเมื่อ... ไม่เว้นแม้กระทั่งวันที่คนทั้งประเทศกำลังลอย คอรอความช่วยเหลืออย่างน่าสลดหดหู่หัวใจ
ที่มา:สยามธุรกิจ
*******************************
ฮือฮา!จดหมาย‘พสิษฐ์’ระบุเมื่อถึงเวลาความจริงจะปรากฏอีกมาก
ฮือฮา! แฟกซ์เขียนด้วยลายมืออ้างเป็น “พสิษฐ์” ส่งจากฮ่องกง ปฏิเสธไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ถูกกล่าวหา แต่อยากให้คำว่า “ยุติธรรม” กลับไปศักดิ์สิทธิ์เหมือนเดิม เพราะที่ผ่านมามีการอ้างกระแสพิเศษเพื่ออุ้มชูกันในหลายรูปแบบจนเละเทะ ระบุเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมความจริงจะปรากฏอีกมากมาย อาจารย์ภาควิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มธ. งงทำไมนักวิชการและคนในแวดวงกฎหมายเลือกที่จะไม่พูดถึงเรื่องคลิปฉาวทั้งที่มีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม และหลายประเด็นต้องการคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง ย้ำอย่าเบี่ยงเบนให้เป็นเพียงความผิดของคนถ่ายทำกับคนเผยแพร่ แต่ละเลยเนื้อหาโดยไม่สนใจสืบให้กระจ่างว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ “พิชา” ให้เวลาประธานศาลรัฐธรรมนูญถึงวันที่ 12 พ.ย. หากไม่แจ้งความเอาผิดโกงสอบเจ้าหน้าที่ยื่น ป.ป.ช. ฟันฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่แน่
ที่มา:หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
ที่มา:หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
เกมชิงอำนาจ
โดย : รักษ์ มนตรี
ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มคนเสื้อหลากสี และทราบว่า "หมอตุลย์" ได้ทำหนังสือถึงราชเลขาธิการ
และท่าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา กรณีที่ พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน (นักบริหาร 10) รักษาราชการแทนผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน (ผู้ว่าการ สตง.) อ้างถึงการใช้อำนาจหน้าที่ ในฐานะประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (ประธาน คตง.) ทำเรื่องขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการซี 10 สำนักงาน สตง. พ้นจากตำแหน่ง และขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ข้าราชการสำนักงาน สตง. ซี 9 เป็นซี 10 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจนอกเหนือจากคำพิพากษาศาลปกครอง
หมอตุลย์ บอกผมว่า "การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองของผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องระงับคำสั่งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา แต่งตั้งนายพิศิษฐ์ รักษาการผู้ว่าการ สตง. ซึ่งศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับคำสั่งที่ไม่ให้นายพิศิษฐ์เป็นรักษาการผู้ว่าการ สตง. โดยให้ทำหน้าที่แทนผู้ว่าการ สตง.ในงานด้านธุรการ ภายในสำนักงาน สตง. แต่นายพิศิษฎ์กำลังอาศัย 'ความเห็นของผู้พิพากษา' ซึ่งไม่ใช่คำพิพากษา ตีขลุมว่าตัวนายพิศิษฎ์มีอำนาจที่จะใช้อำนาจในฐานะประธาน คตง. ซึ่งขัดกับประกาศ คปค. เพราะนายพิศิษฎ์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการสรรหาใหม่ ให้มาเป็นประธาน คตง."
การเกษียณและพ้นจากตำแหน่งระดับ 10 ในสำนักงาน สตง. ไม่เหมือนข้าราชการอื่นนะครับ
ผมเพิ่งทราบว่า การจะให้ซี 10 สตง. พ้นจากตำแหน่งแม้จะเกษียณ ต้องเป็นหน้าที่ของประธาน คตง. นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการระดับ 10 สตง.พ้นจากตำแหน่ง และประธาน คตง.เป็นผู้มีอำนาจขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการ ระดับ 9 เป็นระดับ 10 ประจำสำนักงาน สตง. โดยในปี 2553 มีข้าราชการระดับ 10 เกษียณอายุราชการทั้งสิ้น 7 คน การที่คนเหล่านี้จะพ้นจากตำแหน่งได้ต้องให้ประธาน คตง.นำความขึ้นกราบบังคมทูล
หมอตุลย์ บอกว่า นายพิศิษฎ์ ซึ่งตามคำสั่งศาลปกครองนั้นคือรักษาการผู้ว่าการ สตง. แต่จะไปอ้างว่าศาลปกครอง ได้ระบุให้ทำหน้าที่รักษาผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ประธาน คตง. และคณะกรรมการ คตง. ไม่ได้เนื่องจากคำสั่งศาลในคดีนี้ในหน้าที่ 27 เป็นความเห็นของผู้พิพากษาในคดี ไม่ใช้คำพิพากษาของคดีนี้ ซึ่งศาลมีคำสั่งเพียงว่า
"พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง 184 เรื่องยกเลิกคำสั่งให้รองรักษาผู้ว่าการ สตง.พ้นจากรักษาการผู้ว่าการ สตง. โดยให้คำสั่งทุเลาการบังคับใช้จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น"
"การยื่นเรื่องคัดค้านครั้งนี้เพื่อยืนยันว่าไม่เห็นด้วย ที่นายพิศิษฎ์จะใช้กรณีนี้แสตมป์ตัวเองเพื่อปฏิบัติหน้าที่ประธาน คตง. และต้องการใช้อำนาจนั้น ไปสรรหาสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ซึ่ง ส.ว.สรรหาชุดแรกจะพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 19 ก.พ.นี้"
หมอตุลย์ บอกอย่างนั้น
ขณะที่ผมก็สอบทานไปยังท่านสมาชิกวุฒิสภา ที่รู้จักมักคุ้นกันก็ทราบว่า การที่นายพิศิษฎ์ อาศัยความเห็นของผู้พิพากษาในหน้า 27 ซึ่งความเห็นของตุลาการ ไม่ใช่คำพิพากษาในคดี ดังนั้น การที่ความเห็นของตุลาการแม้จะเห็นว่า "รองผู้ว่าการ สตง. ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการ สตง. จึงมีอำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการ และคณะกรรมการ คตง.ระหว่างที่ยังไม่มีการสรรหาประธาน คตง. และกรรมการ คตง. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 301 และไม่ขัดแย้งการบริหารงานบุคคลภายในสำนักงานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน" ก็ไม่ใช่คำพิพากษาของศาล
ส.ว.คนเดิมบอกว่า มี ส.ว.สรรหาหลายคนบ่นไม่สบายใจ เพราะขณะนี้เริ่มส่งสัญญาณว่าจะมีผู้นั้นผู้นี้มาทำหน้าที่คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ถ้าต้องการได้รับการสรรหา ขอให้รีบมา "เข้าแถว"
สำหรับผมแล้ว ผู้ที่มีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ไม่ดีเลย เพราะนั่นเท่ากับเป็นการข่มขู่คุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
ครั้นมาดูกรรมการสรรหา ส.ว.มีใครบ้าง ประกอบด้วย 1.ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (นายชัช ชลวร) 2.ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) 3.ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (นายปราโมทย์ โชติมงคล) 4.ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ) 5.ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 6. ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และ 7.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน)
ครับ นี่คือเกมชิงอำนาจที่แท้จริง
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ
*******************************************
ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มคนเสื้อหลากสี และทราบว่า "หมอตุลย์" ได้ทำหนังสือถึงราชเลขาธิการ
และท่าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา กรณีที่ พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน (นักบริหาร 10) รักษาราชการแทนผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน (ผู้ว่าการ สตง.) อ้างถึงการใช้อำนาจหน้าที่ ในฐานะประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน (ประธาน คตง.) ทำเรื่องขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการซี 10 สำนักงาน สตง. พ้นจากตำแหน่ง และขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ข้าราชการสำนักงาน สตง. ซี 9 เป็นซี 10 ซึ่งเป็นการใช้อำนาจนอกเหนือจากคำพิพากษาศาลปกครอง
หมอตุลย์ บอกผมว่า "การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองของผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องระงับคำสั่งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา แต่งตั้งนายพิศิษฐ์ รักษาการผู้ว่าการ สตง. ซึ่งศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ระงับคำสั่งที่ไม่ให้นายพิศิษฐ์เป็นรักษาการผู้ว่าการ สตง. โดยให้ทำหน้าที่แทนผู้ว่าการ สตง.ในงานด้านธุรการ ภายในสำนักงาน สตง. แต่นายพิศิษฎ์กำลังอาศัย 'ความเห็นของผู้พิพากษา' ซึ่งไม่ใช่คำพิพากษา ตีขลุมว่าตัวนายพิศิษฎ์มีอำนาจที่จะใช้อำนาจในฐานะประธาน คตง. ซึ่งขัดกับประกาศ คปค. เพราะนายพิศิษฎ์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการสรรหาใหม่ ให้มาเป็นประธาน คตง."
การเกษียณและพ้นจากตำแหน่งระดับ 10 ในสำนักงาน สตง. ไม่เหมือนข้าราชการอื่นนะครับ
ผมเพิ่งทราบว่า การจะให้ซี 10 สตง. พ้นจากตำแหน่งแม้จะเกษียณ ต้องเป็นหน้าที่ของประธาน คตง. นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการระดับ 10 สตง.พ้นจากตำแหน่ง และประธาน คตง.เป็นผู้มีอำนาจขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการ ระดับ 9 เป็นระดับ 10 ประจำสำนักงาน สตง. โดยในปี 2553 มีข้าราชการระดับ 10 เกษียณอายุราชการทั้งสิ้น 7 คน การที่คนเหล่านี้จะพ้นจากตำแหน่งได้ต้องให้ประธาน คตง.นำความขึ้นกราบบังคมทูล
หมอตุลย์ บอกว่า นายพิศิษฎ์ ซึ่งตามคำสั่งศาลปกครองนั้นคือรักษาการผู้ว่าการ สตง. แต่จะไปอ้างว่าศาลปกครอง ได้ระบุให้ทำหน้าที่รักษาผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน และเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่ประธาน คตง. และคณะกรรมการ คตง. ไม่ได้เนื่องจากคำสั่งศาลในคดีนี้ในหน้าที่ 27 เป็นความเห็นของผู้พิพากษาในคดี ไม่ใช้คำพิพากษาของคดีนี้ ซึ่งศาลมีคำสั่งเพียงว่า
"พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่ง 184 เรื่องยกเลิกคำสั่งให้รองรักษาผู้ว่าการ สตง.พ้นจากรักษาการผู้ว่าการ สตง. โดยให้คำสั่งทุเลาการบังคับใช้จนกว่าศาลปกครองสูงสุดจะพิพากษาเป็นอย่างอื่น"
"การยื่นเรื่องคัดค้านครั้งนี้เพื่อยืนยันว่าไม่เห็นด้วย ที่นายพิศิษฎ์จะใช้กรณีนี้แสตมป์ตัวเองเพื่อปฏิบัติหน้าที่ประธาน คตง. และต้องการใช้อำนาจนั้น ไปสรรหาสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ซึ่ง ส.ว.สรรหาชุดแรกจะพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 19 ก.พ.นี้"
หมอตุลย์ บอกอย่างนั้น
ขณะที่ผมก็สอบทานไปยังท่านสมาชิกวุฒิสภา ที่รู้จักมักคุ้นกันก็ทราบว่า การที่นายพิศิษฎ์ อาศัยความเห็นของผู้พิพากษาในหน้า 27 ซึ่งความเห็นของตุลาการ ไม่ใช่คำพิพากษาในคดี ดังนั้น การที่ความเห็นของตุลาการแม้จะเห็นว่า "รองผู้ว่าการ สตง. ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการ สตง. จึงมีอำนาจหน้าที่ในฐานะประธานกรรมการ และคณะกรรมการ คตง.ระหว่างที่ยังไม่มีการสรรหาประธาน คตง. และกรรมการ คตง. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 301 และไม่ขัดแย้งการบริหารงานบุคคลภายในสำนักงานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน" ก็ไม่ใช่คำพิพากษาของศาล
ส.ว.คนเดิมบอกว่า มี ส.ว.สรรหาหลายคนบ่นไม่สบายใจ เพราะขณะนี้เริ่มส่งสัญญาณว่าจะมีผู้นั้นผู้นี้มาทำหน้าที่คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ถ้าต้องการได้รับการสรรหา ขอให้รีบมา "เข้าแถว"
สำหรับผมแล้ว ผู้ที่มีพฤติกรรมเยี่ยงนี้ไม่ดีเลย เพราะนั่นเท่ากับเป็นการข่มขู่คุกคามการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
ครั้นมาดูกรรมการสรรหา ส.ว.มีใครบ้าง ประกอบด้วย 1.ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (นายชัช ชลวร) 2.ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (นายอภิชาต สุขัคคานนท์) 3.ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (นายปราโมทย์ โชติมงคล) 4.ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ) 5.ผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 6. ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และ 7.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน)
ครับ นี่คือเกมชิงอำนาจที่แท้จริง
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ
*******************************************
วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ศาลโลกนำเรื่องเข้าพิจารณาการ" สังหารหมู่ที่ราชประสงค์ "ในวาระพิเศษวาระแรกแล้ว
ลางร้ายสำหรับรัฐบาลไทย
วันนี้ ดูเหมือนว่าความดิ้นรนพยายามสร้าง “กระบวนการปรองดองสมานฉันท์” ของนายอภิสิทธิ์ดูจะท่าจะไม่เป็นผล เพราะ ICG องค์กรนิรโทษกรรมสากล และ Human Rights Watch ได้ถอนตัวจากการมีส่วนร่วมกับกระบวนการสมานฉันท์จอมปลอมในศรีลังกา และได้ยังเผยแพร่แถลงการณ์ตักเตือนว่า
“ICG องค์การนิรโทษกรรมสากล และ Human Rights Watch ได้ปฏิเสธคำเชิญของคณะกรรมการเรียนรู้จากบทเรียนและสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง (LLRC) แห่งศรีลังกา รัฐบาลศรีลังกาได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมานฉันท์และนำความยุติธรรมกลับคืนสู่ประเทศหลังจากสงครามการเมืองที่ยาวนานระหว่างรัฐบาลและกลุ่ม the Liberation Tigers of Tamil Eelam (LTTE) แต่กระนั้นคณะกรรมการล้มเหลวปฏิบัติตามมาตรฐานเบื้องต้น และยังทำลายโครงสร้างพื้นฐานและหลักการปฏิบัติ ”
เป็นที่แน่ชัดว่า นายกอภิสิทธิ์เพิกเฉยต่อคำแนะนำนี้ และทำให้หลายคนคิดว่าแผนการดังกล่าวเป็นแค่กระบวนการสมานฉันท์จอมปลอมที่ใช้ปกปิดความจริง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงอันอำมหิตในเดือนเมษายนและพฤษภาคมซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90ราย ได้รับการปูนบำเหน็จ ในขณะที่จำนวนคนเสื้อแดงที่ถูกปฏิบัติอย่างไร้ความเป็นธรรมและถูกกักขังเพิ่มมากขึ้น
สิ่งสำคัญคือคณะกรรมการไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสอบสวนถึงข้อกล่าวหาอันน่าเชื่อถือหลายข้อที่มีต่อหน่วยความมั่นคงและกลุ่ม LTTE ว่าทั้งสองกลุ่มกระทำความผิดอาชญากรรมสงคราม กระบวนการพิจารณารับฟังที่มีขึ้นสองเดือนที่แล้วจนกระทั่งวันนี้ สมาชิกคณะกรรมการหลายคนที่ได้เกษียณอายุราชการไปแล้วไม่ได้พยายามจะตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เล่าโดยฝ่ายรัฐบาล และยังปล่อยให้สมาชิกคณะกรรมการใหม่เข้าใจผิดถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว
ในวันที่ 27 ตุลาคม พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า “ที่ประชุมยังไม่มีการรายงานเรื่องนี้เข้ามา ขณะเดียวกันผมก็ไม่ชัดเจนในข้อกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นที่รับรู้กันว่าอะไรเกิดขึ้น ไม่ใช่ทหารเราไปไล่ฆ่าประชาชน แต่เกิดจากการชุมนุมที่เกินขอบเขตกฎหมาย” นอกจากนี้พันเอกสรรเสริญยังกล่าวว่า “ศาลในประเทศไทยก็วินิจฉัยรัฐบาลเป็นผู้ดูแลความมั่นคงมีอำนาจระงับยับยั้งเหตุการณ์ เพราะได้มีความพยายามต่อรองและได้ดำเนินการอย่างถึงที่สุดด้วยความรอบคอบ (สำหรับการดำเนินการสลายการชุมนุม) การดำเนินการของเจ้าหน้าที่จึงต้องทำด้วยหลักสากล มีการชี้แจงผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และผ่านสื่อ รวมทั้งไม่ปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน”
ตามมาด้วยคำชี้แจงของสมาชิกรัฐบาลอย่างนายเทพไท เสนพงศ์ “เหตุการณ์ดังกล่าวต่างจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา ซึ่งอยู่ในการตัดสินของศาลโลก แต่เหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศไทย เป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศ และรัฐบาลไม่ได้มีเจตนาไปเข่นฆ่าประชาชน เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายที่มีบทบัญญัติกฎหมายรับรอง จึงคิดว่าไม่สามารถนำไปฟ้องดำเนินคดีต่อศาลโลกได้”
หากพิจารณาคำอธิบายของศอฉ.และชี้แจงเหล่านี้ จะพบว่ามีความโดดเด่นอย่างมาก เพราะแนวความคิดของศอฉ. (ซึ่งเราสามารถตีความได้โดยทั่วไปว่าเป็นความคิดของกลุ่มอำมาตย์) แสดงให้เห็นว่ายังคงมีความพยายามที่จะปฏิเสธว่าทหารและตำรวจไม่ได้สังหารผู้ชุมนุม จุดยืนของศอฉ. แสดงให้เห็นถึงพยายามชี้นำสังคมในทางที่ผิดเท่าที่จะสามารถจินตนาการได้ ซึ่งขัดต่อหลักฐานที่ถูกเผยแพร่อย่างแพร่หลายในที่สาธารณะ และความพยายามนี้ช่วยอธิบายว่าเหตุใด รัฐบาลจึงปฏิเสธโอกาสในการเข้าถึงหลักฐานทางนิติเวชและพยายามที่จะปกปิดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของการกระทำของรัฐบาลทีเราเลือกออกมาจากยุทธศาสตร์สร้างความยุ่งยากในการตรวจสอบเหตุการณ์ของรัฐบาลไทย ซึ่งแสดงในเห็นถึงความพยายามปฏิเสธการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม นั้นคือการที่ศาลปฏิเสธคำร้องผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 19 คน ในวันที่ 27 สิงหาคม โดยเป็นคำร้องที่ขอดำเนินการชันสูตรศพทั้ง 9ศพที่ถูกสังหารหมู่ ด้วยผู้เชี่ยวชาญของผู้ถูกกล่าวหา
แม้รัฐบาลจะทำการชันสูตรศพดังกล่าว แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลไม่เคยเปิดเผยผลการชันสูตรแก่ผู้ถูกกล่าวหา นอกจากนี้ ครอบครัวของผู้เสียชีวิตไม่ได้ดำเนินพิธีการเผาศพ เพื่อต้องการเก็บรักษาหลักฐาน ด้วยความหวังที่ว่า ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในที่สุด การปฏิเสธคำร้องดังกล่าวของศาลละเมิดต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามไว้ ICCPR บัญญัติว่า ผู้ถูกกล่าวหาทางอาญามีสิทธิเข้าถึงหลักฐานเช่นเดียวกับกับรัฐบาล เหตุผลเดียวที่ศาลใช้ปฏิเสธคือ อัยการเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจในการร้องขอชันสูตร
วัตถุประสงค์หนึ่งในการชันสูตรคือ การตรวจสอบทิศทางกระสุน ชนิดกระสุน และระยะทาง เพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียชีวิตเหล่านี้ถูกมือปืนซุ่มยิงทหาร หรือถูกยิงจากระดับพื้นดินโดยบุคคลอื่นตามที่รัฐบาลอ้าง และนี่คือประเด็นที่เจ้าหน้ารัฐล้มเหลวในการชันสูตรพลิกศพ การที่รัฐบาลปฏิเสธคำร้องของผู้ถูกกล่าวหา แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามทำลายหลักฐานสำคัญที่จะระบุว่ามือปืนซุ่มยิงทหารได้สังหารประชาชน เพราะเมื่อการชันสูตรเสร็จสิ้นลง ศพเหล่านั้นจะถูกนำไปประกอบพิธีวางเพลิงศพ
เหตุใดจึงพยายามปกปิดผลการชันสูตร?
รัฐบาลได้จับกุมแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้าย ก่อนที่จะมีการสอบสวนข้อเท็จจริง หากมีข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาของรัฐบาลที่ว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงในการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง รัฐบาลควรจะสอบสวนและระบุตัวบุคคลดังกล่าวให้แน่ชัด ก่อนที่จะกุมกุมแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้าย เพราะบุคคลเหล่านั้นเพียงแค่ใช้สิทธิตามกฎหมาย และยังเป็นสิทธิที่รับรองใน ICCPR ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเท่านั้น
* มาตรา ๘๑ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (มีทั้งหมด ๕ ข้อ) (๒) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน* มาตรา ๘๒ รัฐต้องปฎิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ* มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ * มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฎิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิด มิได้
* มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
แกนนำเสื้อแดงถูกปฏิเสธสิทธิในการเข้ารับฟังการพิจารณาคดีของตนเอง ในวันที่ 27 สิงหาคม แกนนำเสื้อแดงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับฟังการแจ้งข้อหาอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งชี้แจ้งและแก้ต่างข้อหาเหล่านั้น นอกจากนี้ ศาลยังได้กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตในเข้าฟังการพิจารณาคดีครั้งต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดบทบัญญัติใน ICCPR ที่ประกันความยุติธรรมในการพิจารณาคดี เพราะการกีดกันไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสที่จะสื่อสารกับทนายของคนเองในประเด็นที่เกี่ยวกับ ข้อหา/ข้อเท็จจริง/ข้อกล่าวหา และยังส่งผลต่อความสามารถในการตระเตรียมข้อแก้ต่างให้กับตนเองอีกด้วย เหตุผลที่พวกเขาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าฟังการพิจารณาคดีคือ ห้องพิจารณามีขนาดคับแคบเกินไป อันแสดงให้เห็นถึงความไร้สาระของรัฐบาลนี้ในการจัดการกับคดีดังกล่าว (มีที่นั่ง 3 ที่นั่ง สำหรับทนายทั้ง 19 คน ในการพิจารณาคดีวันที่ 27 สิงหาคม) ครอบครัวของผู้ถูกกล่าวหายังถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีเช่นกัน ในขณะที่คำร้องขอให้พิจารณาคดีในห้องพิจารณาคดีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นถูกปฏิเสธ
เมื่อพิจารณาจุดยืนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในคดีนี้จะพบว่า แทนที่จะแสดงข้อมูลที่สนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตน รัฐบาลกลับพยายามอย่างมากที่จะปัดความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ข้อเท็จจริงคือ มีฝ่ายหนึ่งที่สนใจให้มีการนำเสนอข้อมูล หลักฐาน การสอบสวนและดำเนินคดีอย่างเปิดเผย และอีกฝ่ายที่กล่าวตนเองเท่านั้นที่มีสิทธิขาดในการพิจารณาตรวจสอบคดี โดยสรุป เรายินดีที่จะพิสูจน์หลักฐานที่ระบุว่ารัฐบาลกระทำความผิดจริงอย่างเปิดเผยในศาลยุติธรรม
จนถึงทุกวันนี้ พันเอกสรรเสริญ นายเทพไท และนายอภิสิทธิ์ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ไม่ได้แสดงความมั่นใจต่อจุดยืนของตนเอง แต่กลับพยายามแสดงพฤติกรรมหลีกเลี่ยงความผิดของตนเอง
หลังเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม ผ่านพ้นไปและดูท่าทีรัฐบาลอภิสิทธิยังกอดอำนาจแน่น จึงมีกลุ่มผู้รอบรู้ทางกฏหมายและการสืบสวนสอบสวน
ได้ ลงมือรวบรวมพยานหลักฐานอย่างละัเอียด เป็นขั้นเป็นตอน น่าเชื่อถือ เก็บพยานวัตถุ สอบปากคำพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก สอบกันแบบมืออาชีพ
สำคัญที่สุดผลการตรวจพิสูจน์ผู้เสียชีวิต เท่าที่สามารถรวบรวมได้ โดยผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติเวช ยืนยันได้ว่า ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตถูกกระสุนเข้าที่ศรีษะ
นั่นหมายความว่า คนตายจำนวนมากถูกยิงจากที่สูง ไม่ใช่ยิงในแนวระนาบ
เหมือน กรณี 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งมีการตรวจพบรอยกระสุนยิงลงบนพื้นซีเมนต์จนเป็นรูเต็มไปหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าจะยิงจากแนวราบ ต้องยิงจากที่สูงทั้งนั้น
ขณะที่มีภาพถ่าย คลิปวีดีโอ ละเอียดทุกมุม เห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมอาวุธยืนเล็งปืนอยู่เต็มรางรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าวัดปทุมนั่นเอง
ทีม นักกฏหมายและผู้รอบรู้ด้านการสืบสวนสอบสวนในไทยได้ลงมือรวบรวมพยาน หลักฐานเหล่านี้มาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนประสานกับนายโรเบิรต์ อัมสเตอร์ดัม เพื่อนำไปประกอบการฟ้องร้องต่อศาลในต่างประเทศ
อย่งน้อยก็ไม่ใช่การฟ้องร้องอย่างเลื่อนลอย
หาก แต่แนบพยานหลักฐาน รวมทั้งผลการตรวจพิสูจน์ศพ การตรวจที่เกิดเหตุ ที่รวบรวมอย่างเป็นระบบและหนาแน่นน่าเชื่อถือ พร้อม ๆ กับการยื่นฟ้องร้องด้วย
อย่างว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นในกลางเมืองหลวง ต่อหน้าต่อตาประชาชนมากมาย ในยุคที่อุปกรณ์ไฮเทคมีอยู่ทุกครัวเรือน
ดังนั้นการบันทึกพยานหลักฐานในเหตุการณ์ดังกล่าว จึงยุบยั่บไปหมด
ขณะ เดียวกันนักกฏหมายและผู้เชี่ยวชาญด้้านสืบสวนสอบสวนจำนวนมาก ก็ไม่สามารถทนดูการเข่นฆ่ากันกลางเมืองโดยคำสั่งอันผิดพลาดของรัฐบาลได้
จึงมีการแอบลงมือรวมรวมเป็นรูปคดีสมบูรณ์แบบ เพื่อประสานกับทนายความระดับสากล ในการนำคดีนี้ไปพิสูจน์ในศาลระหว่างประเทศ
...นอกจากนี้ ศาลยังได้กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตในเข้าฟังการพิจารณาคดีครั้งต่อไป ...
ศาลไทยน่าจะพิจารณาจาก ป.วิอาญา ลักษณะ 2 การพิจาณา ม.172 และ ม.172 ทวิ
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ในม.172 ทวิ (2)หรือ(3) ซึ่งหมายถึงกรณีที่คดีมีจำเลยจำนวนหลายคน จำเลยยังคงสิทธิที่จะรับการพิจารณาและสืบพยานต่อหน้า หากการจำกัดสิทธิของจำเลยตามมาตราดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อจำเลย
ทั้งนี้ เจตนาของมาตรานี้ก็คือ ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจาณาสืบพยานที่กระทำลับหลังและเป็นโทษหรือมีผลเสียหายกับจำเลย
นอกจากนี้ ม.172 ทวิ (1) กำหนดให้การพิจารณาสืบพยานสามารถทำลับหลังจำเลยได้หากทนายจำเลยและตัวจำเลยให้ความยินยอม และจะต้องเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
แต่ในกรณีแกนนำเสื้อแดง ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาก่อการร้ายนั้น อัตราโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตดังนั้น การพิจารณาสืบพยาน จะกระทำลับหลังจำเลยไม่ได้เด็ดขาด
ส่วนที่ ๔
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
*****************
มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้
ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง(๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับ การพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง(๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทย์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์แก่ตนเอง(๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับการรับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ(๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับการคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฎิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (๘) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ
หมายเหตุ > รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
รายชื่อที่อัมสเตอร์ดัมสั่งฟ้องมีกี่คนจำไม่ได้จำได้แค่ว่าเป็นคณะกรรมการใน ศอฉ.ทั้งหมด
โดยเริ่มตั้งแต่ม้ากในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเทือก ผอ. ศอฉ. แม่ทัพทั้ง 4 เหล่าทัพนายธาริต ผอ.ดีเอสไอ นอกนั้นจำไม่ได้
แต่น่าเสียดายตรงที่ว่าคนสั่งฆ่าตัวจริงซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร รู้แค่ว่าคนเสื้อแดงเรียกคนพวกนั้นว่า **ไอ้เฮี่ยสั่งฆ่า**มีชื่ออยู่บัญชีที่ถูกฟ้องด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้
สิ่งที่สงสัยและยังไม่มีใครตอบได้คือ
1...ตอนนี้ศาลโลกรับฟ้องแล้วใช่หรือไม่ถึงได้บรรจุเรื่องนี้เป็นวาระแรก
2...ถ้าคนที่มีรายชื่อถูกฟ้องครั้งนี้ไม่ยอมไปขึ้นศาลโลก จะทำอย่างไรศาลโลกมีมาตรการอะไรบ้างที่จะบังคับหรือทำให้คนพวกนี้ไปขึ้นศาลให้จงได้
ขอบคุณข้อมูล โดย :d-day ตาสว่าง และ Thai Free News
**************************************************
ตุ๊กแกเรียกพี่? “บุญจง”เหนื่อย!!
‘มาร์ค-เทือก’... สามวาสองศอก
แม้ว่า คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการถือหุ้นของ ส.ส. และ ส.ว. ที่สุดท้ายมีผู้ที่ถูกเชือดแค่หยิบมือเดียว
เพราะคำวินิจฉัยให้ ส.ส. 6 รายพ้นสมาชิกภาพ ประกอบด้วย 1. นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ 2. นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา และ รมช.คมนาคม 3. นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน 4. ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยันต์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน 5. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย และ รมช.มหาดไทย และ 6. ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย
เนื่องจากขณะถือครองหุ้นทั้งหมดมีสถานะเป็น ส.ส. แล้ว
ส่วน 22 ส.ส.-16 ส.ว. โล่งอกเก้าอี้ยังอยู่เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่าการถือหุ้นมาก่อนได้รับตำแหน่ง จะต้องถือว่าไม่ผิดกติกา
ดูแล้วก็ไม่น่ามีอะไร 6 ส.ส.ที่พ้นสภาพก็แค่มาลงเลือกตั้งใหม่ก็จบ เพราะไม่มีบทลงโทษอย่างอื่น ไม่มีการตัดสิทธิ์
แต่ปัญหาที่ไม่น่ามีก็ยังมีจนได้ เมื่อนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย และ นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา นั้นมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วย
หากลงสมัครเลือกตั้งทั้งๆที่ยังเป็นรัฐมนตรีอยู่ ไม่ว่ามองอย่างไรก็ไม่งามแน่ เพราะคนเป็นรัฐมนตรี ไว่าอย่างไรก็มีอำนาจบริหารอยู่ในมือ มีผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งกระทรวง ที่สำคัญมีงบราชการอยู่ในมือด้วย
มองมุมไหนก็ต้องได้เปรียบคู่แข่งขันในสนามเลือกตั้งแน่นอน กระแสสังคมจึงเห็นว่าสมควรที่ทั้งคู่จะต้องลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีเสียก่อน แล้วจึงค่อยไปลงสมัครรับเลือกตั้ง
ซึ่งก็ไม่น่าจะมีอะไร เพราะนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ต้องลาออกมาก่อนที่จะลงเลือกตั้งซ่อมที่สุราษฎร์ธานีมาแล้วเช่นกัน
แต่ที่เป็นเรื่องก็เพราะ ดันมีกองเชียร์ กองหนุน มากระชุ่นว่านายบุญจงไม่จำเป็นต้องลาออกจากการเป็นรัฐมนตรีก็ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับไว้
งานนี้แม้ว่านายบุญจงจะยังไม่ตัดสินใจว่าจะทำตามคำแนะนำที่ว่าหรือไม่ แต่ที่แน่ๆคำถามเรื่อง “จริยธรรม”ดังกระฉ่อน ไปแล้ว
โดนกันระนาว ไล่ตั้งแต่นายบุญจง ไปยันผู้ใหญ่ในพรรคภูมิใจไทย และแน่นอนว่าลามไปถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรีด้วยเต็มๆ
อย่างเช่นนายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน คนสนิท ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวถึงกรณี นายบุญจง อาจจะไม่ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อไปลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นครราชสีมา เขต 6 ว่า ยิ่งนายบุญจง เกาะเก้าอี้แน่นอย่างนี้ยิ่งถูกคู่แข่งโจมตีง่าย ว่ากลัวจะแพ้เลือกตั้งจึงไม่ยอมลาออก เพราะกลัวว่าจะหลุดทั้ง 2 ตำแหน่ง
เนื่องจากถูกจองกฐินเยอะ ทั้งจากบรรดาผู้รับเหมา ข้าราชการ และผู้นำท้องถิ่น ที่ไม่พอใจการบริหารงาน ถึงแม้จะทุ่มเทงบประมาณลงไปในพื้นที่เยอะ แต่ก็ไม่ได้ใจชาวบ้าน เพราะมีกระแสข่าวเรื่องทุจริตการรับเหมาในโครงการต่างๆหนาหู
ดังนั้นจึงอยากรู้เหมือนกันว่านายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจอย่างไร???
เพราะกรณีของนายสุเทพ อดีตรองนายกรัฐมนตรี จะไปลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สุราษฎร์ธานี ยังให้ลาออกจากตำแหน่งก่อน ทั้งที่ไม่ได้โดนคำพิพากษาของศาล แต่กรณีนายบุญจงถือว่าขาดคุณสมบัติไปแล้ว นายกฯจะปกป้องคนที่ขาดคุณสมบัติเพื่อเอาใจพรรคร่วมหรือ!!!
ที่สุดจะกลายเป็นอนุสาวรีย์เน่าๆของครม.อภิสิทธิ์ 5 ??
“กระแสในพื้นที่ขณะนี้ไม่ถือว่า นายบุญจง ได้เปรียบ และยิ่งถ้าพรรคเพื่อไทยจับมือกับกลุ่ม 3 พี บวกกับ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมชาติพัฒนา นายบุญจง สาหัสแน่ เพราะการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาก็แพ้ นายมีชัย จิตต์พิพัฒน์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.นครราชสีมา เขต 6 พรรคเพื่อแผ่นดิน ซึ่งขณะนี้ได้ย้ายไปอยู่พรรคเพื่อไทย มาแล้ว ซึ่งอยู่ที่ทางผู้ใหญ่จะได้พูดคุยกันต่อไปว่าจะเอาอย่างไร”นายอนุวัฒน์กล่าว
ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวถึงข้อวิจารณ์ว่ากลุ่มโคราชจับมือกับนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำรวมชาติพัฒนา เพื่อคว่ำพรรคภูมิใจไทยในสนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นครราชสีมา ว่า ในทางการเมืองคงจะฮั้วกันไม่ได้ แม้ว่าโดยส่วนตัวอยากให้พื้นที่ จ.นครราชสีมา เกิดความสมานฉันท์ปรองดอง
แต่จะไม่คุยกันในเรื่องแบบนี้ ส่วนการส่งบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ต้องขึ้นอยู่กับที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดินที่จะมีการประชุมกันในสัปดาห์หน้า
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพรรคไม่ได้เตรียมบุคลากรไว้รอเลือกตั้งซ่อม เพราะผู้สมัครเดิมของพรรค ได้ย้ายไปอยู่พรรคเพื่อไทย
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน กล่าวว่าถึงความคืบหน้าการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อมว่า ในวันอังคารที่ 9 พ.ย.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อขอมติว่าจะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งซ่อมกี่เขตและใครบ้าง
ส่วนกระแสข่าวที่ว่าพรรคเพื่อไทย เตรียมขอร้องให้พรรคเพื่อแผ่นดิน งดส่งผู้สมัครนั้น นายชาญชัย กล่าวว่า “ข่าวลือก็คือข่าวลือ ต้องฟังหูไว้หู ทุกอย่างพรรคจะเป็นผู้ตัดสินใจ”
นายนิคม ไวยรัชพาณิช รองประธานวุฒิสภา กล่าวว่าหาก นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย และนายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม ต้องการลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมส.ส. ก็ควรลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี จะปฏิเสธผลประโยชน์ทับซ้อนที่เกิดขึ้นไม่ได้
และเสี่ยงที่จะได้ใบเหลืองหรือใบแดงหากคู่แข่งนำไปเป็นประเด็นร้องเรียนต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ดังนั้นการลาออกจึงดีที่สุด
หากหลังการเลือกตั้ง ผลปรากฏว่าชนะคู่แข่งแล้วกลับมาเป็นรัฐมนตรีได้ วิธีนี้จะเรียกศรัทธาจากประชาชนให้กับคืนมาสู่พรรคการเมืองได้
ดังนั้นจึงคิดว่าควรยึดมาตรฐานที่นายสุเทพ ทำไว้ เพราะเป็นบรรทัดฐานด้านจริยธรรมของนักการเมือง ที่ประเทศไทยและคนไทยต้องการ
สำหรับมาตรฐานทางจริยธรรมนักการเมือง หลังถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นส.ส.นั้น ควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้กำหนดบท ลงโทษที่ชัดเจนหรือไม่ นายนิคมมองว่า จะมัวมาแก้รัฐธรรมนูญทำไม อยู่ที่คนปฏิบัตินั้นแหละ
“แม้กฎหมายไม่ได้กำหนด แต่หากนักการเมืองมีจิตสำนึกก็คิดได้เอง ถึงแก้รัฐธรรมนูญไป แต่คนไม่นำไปปฏิบัติ ก็เสียเปล่า”
ในขณะที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ยืนกรานว่าเป็นเรื่องที่นายบุญจงจะต้องพิจารณาเองว่าควรที่จะดำเนินการอย่างไร
แต่ในวันที่ 9 พ.ย.นี้ กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย จะช่วยกันพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง รวมถึงพิจารณาตัวผู้สมัครด้วย
อย่างไรก็ตามการไม่ลาออกจากตำแหน่งก็ไม่ได้ขัดกับกฎหมาย
ส่วนว่าถ้าจะพูดเรื่องจริยธรรม ก็เป็นเรื่องที่พูดยากและน่าหนักใจแทนนายบุญจง!!!
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำให้เห็นแล้วในกรณีของนายสุเทพ ที่ลาออกไปเมื่อไปลงสมัครรับเลือกตั้ง
ส่วนการที่พรรคภูมิใจไทย อ้างว่าไม่สามารถใช้บรรทัดฐานเดียวกันได้นั้น ยืนยันว่าบรรทัดฐานการเมืองควรจะเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน
และจะไปเทียบเคียงกับเวลาที่เป็นการยุบสภาคงไม่ได้เพราะเวลาที่ยุบสภาที่เป็นลักษณะของการรักษาการ คือโดยสภาพตามธรรมชาติและก็มีบทบัญญัติรองรับไว้ไม่ให้ฝ่ายการเมืองมีอำนาจเต็มที่ เพราะ กกต.จะต้องเข้ามาดูเรื่องงบประมาณ การโยกย้ายและการแต่งตั้ง
ส่วนที่ว่าแม้นายกฯส่งสัญญาณมาอย่างนี้ แต่ถ้าพรรคภูมิใจไทย ตอบกลับไม่ตรงกับสัญญาณที่ให้ไปจะทำอย่างไรนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปสมมุติ เพราะได้มอบให้นายสุเทพไปคุยอยู่ บอกไปเมื่อวันที่ 4 พ.ย.ซึ่งนายสุเทพบอกว่าจะไปคุยให้เร็วที่สุด
ปัญหาก็เลยกลายมาเป็นประเด็นงานเข้าที่นายสุเทพไปในทันที
เพราะนายสุเทพ ได้มีการให้สัมภาษณ์ว่ากรณีของนายบุญจง กับ นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รมช.คมนาคม ไม่มีรัฐธรรมนูญกำหนด
พูดง่ายๆก็คือพูดอ้างในลักษณะที่สอดคล้องเป็นปี่เป็นขลุ่ยเหมือนกับพรรคภูมิใจไทย นั่นคือรัฐมนตรีรักษาการยังลงสมัครได้โดยไม่ต้องลาออก
เมื่อถูกจี้ในเรื่องนี้นายอภิสิทธิ์ ก็ยืนยันว่าได้คุยกับนายสุเทพแล้ว นายสุเทพอ้างว่าไม่ได้พูดอย่างที่เป็นข่าว
“ท่านบอกผมไม่ได้พูดอย่างนั้นหรอก”
เลยเจรายการยืนยันว่านายสุเทพให้สัมภาษณ์แบบนั้นจริงๆ แต่นายอภิสิทธิ์ ก็ยังคงยืนกรานว่า
“ก็ท่านบอกผมว่าท่านไม่ได้พูดอย่างนั้น”
งานนี้ได้เห็นอาการที่ออกมาแล้ว บอกได้แค่ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์คลอนแคลนเต็มที ไม่เช่นนั้นคงไม่ปล่อยให้เกิดภาพเช่นนี้หลุดออกมาแน่
ที่มา.บางกอกทูเดย์
**************************************************
‘แม้ว-สนั่น’คุยเงียบไม่มีข่าวดีจากนอร์เวย์
“สนั่น” กลับถึงไทยวันนี้ (8 พ.ย.) ยังไม่มีคำชี้แจงรายละเอียดหารือกับ “ทักษิณ” ที่นอร์เวย์ “อภิสิทธิ์” ยังไม่แน่ใจว่าได้พบกันหรือไม่ เผยรองนายกฯยืนยันไม่มีเงื่อนไขเรื่องนิรโทษกรรมไปต่อรอง แต่จะพยายามดึงให้อดีตนายกฯกลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของไทย ส.ส.ประชาธิปัตย์ระบุเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะคุยกันดีกว่าด่ากันไปมา ชี้ปัญหาเกิดจาก 2 ฝ่ายมองคนละมุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ประสานงานสร้างความปรองดอง เดินทางไปประเทศนอร์เวย์เพื่อพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่ายังไม่ทราบว่าไปพบกันหรือไม่ อย่างไร หากพบพบในลักษณะใด
“เรื่องนี้มีคนเพียง 3 คนที่ออกมาพูด หากอยากทราบรายละเอียดต้องไปถาม พล.ต.สนั่นเอง” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนเรื่องความเหมาะสมที่รองนายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบกับผู้ต้องหาที่ทางการต้องการตัวนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เคยคุยเรื่องนี้กับ พล.ต.สนั่นแล้ว ซึ่ง พล.ต.สนั่นบอกว่าหากไปพบจะคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณว่าจะกลับเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างไร ส่วนเรื่องการนิรโทษกรรมนั้น เท่าที่ พล.ต.สนั่นเล่าให้ฟังทราบว่าการเดินทางไปพบกับแกนนำเสื้อแดงและกลุ่มอื่นๆก่อนหน้านี้ไม่ได้พูดกันเรื่องนิรโทษกรรมและไม่มีเงื่อนไขลักษณะนี้เลย พูดกันแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายหยุดความขัดแย้งและไม่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพบกันของ พ.ต.ท.ทักษิณและ พล.ต.สนั่นที่ประเทศนอร์เวย์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 2 คนไปร่วมพิธีรับมอบพระไตรปิฎกโบราณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณได้รับเชิญจากเจ้าอาวาสวัด ขณะที่ พล.ต.สนั่นเป็นตัวแทนรัฐบาลไทย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานข่าวออกมาว่าทั้ง 2 คนหารือกันเรื่องอะไร และผลของการหารือเป็นอย่างไร
นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การพบกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับ พล.ต.สนั่นเป็นเรื่องที่ดี แต่การปรองดองจะเกิดขึ้นหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
“ขึ้นอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณว่าจะมีความจริงใจแค่ไหน แต่หวังว่า พล.ต.สนั่นจะประสบความสำเร็จในการเจรจา” นายเจริญกล่าวพร้อมย้ำว่า การพูดคุยเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะดีกว่าด่ากันไปมา
ผู้สื่อข่าวถามว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องยอมรับข้อตกลงระหว่าง พล.ต.สนั่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ นายเจริญกล่าวว่า พล.ต.สนั่นทำในนามส่วนตัวด้วยความหวังดีกับบ้านเมือง ปัญหาของบ้านเราคือมองกันคนละมุม อีกฝ่ายบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณคือตัวปัญหา ขณะที่อีกฝ่ายก็มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณถูกกลั่นแกล้ง ส่วนตัวเห็นว่าทางออกในการสร้างความปรองดองคือทำตามกรอบของกฎหมายดีที่สุด
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยบอกว่าการยุบสภาจะช่วยสร้างความปรองดองได้นั้น นายเจริญกล่าวว่า ไม่ได้แก้ปัญหา เพราะหากไปหาเสียงแล้วโดนไล่ทุบจะยิ่งบานปลายไปกันใหญ่ ตามหลักการแล้วพรรคประชาธิปัตย์ยังสามารถเป็นรัฐบาลต่อได้ถึงปีหน้า เรื่องการยุบสภาจึงยังไม่ได้พูดถึงในขณะนี้
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า อยากให้รอฟังการชี้แจงการ พล.ต.สนั่นที่จะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยวันที่ 8 พ.ย. นี้ เวลา 06.00 น.
“ที่ผ่านมา พล.ต.สนั่นไปคุยกับทุกสีทุกกลุ่มมาแล้ว ผมเชื่อว่าท่านมีเจตนาที่บริสุทธิ์และสามารถชี้แจงเรื่องทั้งหมดได้”
ที่มา:หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ผู้ประสานงานสร้างความปรองดอง เดินทางไปประเทศนอร์เวย์เพื่อพบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่ายังไม่ทราบว่าไปพบกันหรือไม่ อย่างไร หากพบพบในลักษณะใด
“เรื่องนี้มีคนเพียง 3 คนที่ออกมาพูด หากอยากทราบรายละเอียดต้องไปถาม พล.ต.สนั่นเอง” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ส่วนเรื่องความเหมาะสมที่รองนายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบกับผู้ต้องหาที่ทางการต้องการตัวนั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เคยคุยเรื่องนี้กับ พล.ต.สนั่นแล้ว ซึ่ง พล.ต.สนั่นบอกว่าหากไปพบจะคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณว่าจะกลับเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างไร ส่วนเรื่องการนิรโทษกรรมนั้น เท่าที่ พล.ต.สนั่นเล่าให้ฟังทราบว่าการเดินทางไปพบกับแกนนำเสื้อแดงและกลุ่มอื่นๆก่อนหน้านี้ไม่ได้พูดกันเรื่องนิรโทษกรรมและไม่มีเงื่อนไขลักษณะนี้เลย พูดกันแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายหยุดความขัดแย้งและไม่ใช้ความรุนแรงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพบกันของ พ.ต.ท.ทักษิณและ พล.ต.สนั่นที่ประเทศนอร์เวย์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งทั้ง 2 คนไปร่วมพิธีรับมอบพระไตรปิฎกโบราณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณได้รับเชิญจากเจ้าอาวาสวัด ขณะที่ พล.ต.สนั่นเป็นตัวแทนรัฐบาลไทย แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานข่าวออกมาว่าทั้ง 2 คนหารือกันเรื่องอะไร และผลของการหารือเป็นอย่างไร
นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การพบกันระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับ พล.ต.สนั่นเป็นเรื่องที่ดี แต่การปรองดองจะเกิดขึ้นหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
“ขึ้นอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณว่าจะมีความจริงใจแค่ไหน แต่หวังว่า พล.ต.สนั่นจะประสบความสำเร็จในการเจรจา” นายเจริญกล่าวพร้อมย้ำว่า การพูดคุยเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะดีกว่าด่ากันไปมา
ผู้สื่อข่าวถามว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องยอมรับข้อตกลงระหว่าง พล.ต.สนั่นกับ พ.ต.ท.ทักษิณหรือไม่ นายเจริญกล่าวว่า พล.ต.สนั่นทำในนามส่วนตัวด้วยความหวังดีกับบ้านเมือง ปัญหาของบ้านเราคือมองกันคนละมุม อีกฝ่ายบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณคือตัวปัญหา ขณะที่อีกฝ่ายก็มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณถูกกลั่นแกล้ง ส่วนตัวเห็นว่าทางออกในการสร้างความปรองดองคือทำตามกรอบของกฎหมายดีที่สุด
ส่วนที่พรรคเพื่อไทยบอกว่าการยุบสภาจะช่วยสร้างความปรองดองได้นั้น นายเจริญกล่าวว่า ไม่ได้แก้ปัญหา เพราะหากไปหาเสียงแล้วโดนไล่ทุบจะยิ่งบานปลายไปกันใหญ่ ตามหลักการแล้วพรรคประชาธิปัตย์ยังสามารถเป็นรัฐบาลต่อได้ถึงปีหน้า เรื่องการยุบสภาจึงยังไม่ได้พูดถึงในขณะนี้
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า อยากให้รอฟังการชี้แจงการ พล.ต.สนั่นที่จะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยวันที่ 8 พ.ย. นี้ เวลา 06.00 น.
“ที่ผ่านมา พล.ต.สนั่นไปคุยกับทุกสีทุกกลุ่มมาแล้ว ผมเชื่อว่าท่านมีเจตนาที่บริสุทธิ์และสามารถชี้แจงเรื่องทั้งหมดได้”
ที่มา:หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
เปิดใจผ่านลูกกรง-กุญแจมือ สุชาติ นาคบางไทร ผู้ต้องหาคนล่าสุด "คดีหมิ่น-ม.112"
สัมภาษณ์พิเศษ
ช่วงสายของวันที่ 1 พ.ย. 2553 ข่าวสำคัญอีก 1 ข่าวสำหรับ คอการเมือง คือตำรวจกองปราบปรามรวบตัว นายวราวุฒิ ฐานังกรณ์ หรือ สุชาติ นาคบางไทร ผู้ต้องหาคดี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ผู้ปราศรัย บนเวทีสนามหลวงของฝ่ายแดง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551
โดยการปราศรัยครั้งนั้น มีเนื้อหาที่ถึงขนาดทำให้นักการเมืองหลังเวทีไฮด์ปาร์ก รีบสตาร์ตรถเผ่นหนีออกจากจุดชุมนุม แทบไม่ทัน เพราะทุกคนที่เติบโตใน สังคมไทยย่อมเข้าใจว่า เนื้อหาเช่นนั้น เข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
วราวุฒิ หรือสุชาติ เป็น 1 ในกลุ่มคนจากโลกไซเบอร์สเปซ ที่นัดหมายกันปรากฏตัว ณ สนามหลวง เพื่อต้านรัฐประหาร 2549 ในนามกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ก่อนที่นักการเมืองจะจัดตั้ง PTV ขึ้นมาใช้เฉพาะกิจแล้ว ยกเลิกไป เมื่อหมดประโยชน์
ต่อมากลุ่มคนวันเสาร์ฯแตกตัวเป็น คลับทักษิณ, นิวสกายไทยแลนด์ และสุดท้ายคือกลุ่มมดคันไฟ
การจับกุมตัวขณะที่วราวุฒิ นัดหมาย กินข้าวกับลูกสาว ในห้างย่านประตูน้ำ ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่เขาไม่ปรากฏ ตัวมาเป็นเวลา 2 ปี
เช้าวันที่ 2 พ.ย. 2553 หลังนอนคุก โรงพักคืนแรกและคืนเดียว ณ ห้องขัง ของสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม เจ้าของพื้นที่สนามหลวง จุดเกิดเหตุ...
อดีตนักไฮด์ปาร์กผู้เปลี่ยนฐานะเป็นจำเลยในข้อหาฉกรรจ์ เขาเปิดใจสนทนา ขณะที่ถูกพันธนาการกุญแจมือ ก่อนถูกนำขึ้นรถตำรวจไปยังห้องฝากขังของศาลอาญา และนำตัวไปยังเรือนจำ
ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบอกว่า "ผมปฏิเสธให้สัมภาษณ์นักข่าวหลายคน เนื่องจากไม่อยากให้ใครสนใจ ผมไม่ได้ต้องการเป็นข่าว ไม่อยากดัง ไม่อยากจะมีสื่อที่ไม่เข้าใจเจตนาของ ผมมาทำข่าว เพราะมันจะยุ่งยากและ ทำให้ครอบครัวของผมวุ่นวาย เพราะฉะนั้นผมมีความรู้สึกว่า ควรจะ ซอฟต์ ๆ และจบลง ดี ๆ..."
ก่อนการตั้งคำถามเรื่องอนาคตหลังลูกกรง เขาบอกสถานภาพของเขาชัดเจน ไม่มีเป้าหมายเป็นนักการเมือง ไม่ได้เป็น นปช. และไม่เกี่ยวข้องกับ "ทักษิณ"
- มีแนวทางในการต่อสู้คดีอย่างไร
รับสารภาพ เพื่อให้โทษลดลงครึ่งหนึ่ง และหากทำความดี โทษก็จะเหลือน้อยลง
- ได้ติดต่อกับแกนนำเสื้อแดง นปช. ที่อยู่ทั้งในคุกและนอกคุกหรือไม่
ผมเป็นคนละกลุ่มกับพวกเขา ...ไม่มีใครเอาผม ผมไม่ได้มีค่าอะไรสำหรับพวกเขา ...ผมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้ต่อสู้เพื่อเลือกตั้ง
- การต่อสู้ที่ผ่านมา ทำเพื่อคุณทักษิณ ชินวัตร หรือไม่
ไม่เกี่ยวข้อง
- มองคุณทักษิณอย่างไร
เป็นเหยื่อ...
- ที่ผ่านมาได้รับการติดต่อจากนักการเมือง หรือพรรคการเมืองหรือไม่
ไม่มีใครติดต่อผม และผมไม่ติดต่อใคร ผมอยู่คนเดียวมาตลอด
- เหตุผลที่ไม่แก้ต่างในคดี แต่เลือกวิธีรับสารภาพเพราะอะไร
เป็นวิธีที่ดีที่สุด...ผมเห็นแนวทางที่ คุณสุวิชา ท่าค้อ และแม่หมอ (นางบุญยืน ประเสริฐยิ่ง) ปฏิบัติแล้ว เห็นว่าเป็นแนว ทางที่ดี ติดคุกประมาณ 2 ปี หรือไม่ถึง 2 ปี ...คิดว่าอยากไปช่วยครอบครัว เพราะฉะนั้นสรุปคือ เรายอมรับผิดดีกว่า...สั้น ง่าย สะดวก แล้วเราก็มาทำมาหากินเพื่อครอบครัว อันนี้น่าจะเป็นทางตรง เราอยู่...เราก็ไม่ใช่คนของใคร เราไม่ได้ทำงานเพื่อใคร ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะต้องไปลำบาก นี่เป็นเหตุผลที่แท้จริง และอีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่เราพูด ที่เราทำ ถูกบันทึกวิดีโอไว้หมดแล้ว มันไปเปลี่ยนก็ไม่ได้ จะบอกว่าไม่พูด เป็นไปไม่ได้ ก็รับสารภาพไป
แล้วผมเชื่อว่าศาลก็คงจะพิจารณาไปตามรูปคดีที่เกิดจริง ผมเชื่อตรงนั้นนะ ไม่งั้นผมจะเข้ามาทำไม ถ้าเข้ามาแล้วไม่ เชื่อก็... จริง ๆ ผมจะไม่ถูกจับก็ได้ ถ้าพูดตรง ๆ แต่ผมเลือกนะ อันนี้ผมพูดอีกครั้ง...โอเค ตำรวจเก่ง อันนี้ต้องยอมรับ... แต่อีกส่วนหนึ่งเราก็มาดูแลครอบครัว พอครอบครัวเราเข้าที่เข้าทางแล้ว เราก็รู้สึกว่าเราน่าจะถึงเวลาแล้ว เราก็เริ่มลดความเคร่งครัดของตัวเองลง เมื่อเริ่มลดความเคร่งครัดของตัวเองลง ก็ไม่ยาก ที่จะถูกจับได้
- ถ้าพ้นโทษแล้วจะกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหรือไม่
ผมไม่เรียกว่าเคลื่อนไหวนะ ผมคงไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะว่าการเมืองกับผมก็ไม่ได้เกี่ยวกันเลยนะ ตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงวันนี้ ผมก็ไม่ได้เรียกว่าเคลื่อนไหวเพื่อการเมือง
- สิ่งที่ทำนั้นเพื่ออะไร
เพื่อประเทศชาติ ประชาชน และเพื่อตัวผมเอง ไม่ได้เพื่อการเมืองของใคร ผมไม่ได้อยากเป็นนักการเมือง ผมไม่ได้อยากเป็น ส.ส. ผมไม่ได้อยากเป็นนายกฯ ผมอยากทำหน้าที่ต่อครอบครัว ดูแลครอบครัวผม... แต่เมื่อเราเห็นความไม่ถูกต้อง เราก็ออกมาแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อเราทำแล้ว เราสรุปว่าเราทำไม่ได้ ในฐานะประชาชน เราทำมากไปกว่านี้ ไม่ได้หรอก
- ก่อนหน้านี้เคยลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.
สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ เราทำมาหมดแล้ว ที่ประชาชนคนหนึ่ง มือเปล่า ตัวคนเดียว จะทำได้ นอกจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของคนอื่นแล้ว
ทางสุดท้าย ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง บวก ลบ คูณ หารแล้ว ไม่มีอะไรดีไปกว่านี้ มีแต่เสีย เราไม่ได้สู้เพื่อเสีย เราไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อตาย เราไม่ได้อยากเป็นวีรชน เราไม่ได้อยากเป็นวีรบุรุษ... เหมือนอย่างเราเจอผัวเมียตีกัน อย่างน้อยเราก็แค่ห้ามไม่ให้ตีกัน พอเขาไม่ตีกันแล้วเราก็ จากไป เขาอาจจะมาตีกันอีกเรื่องของเขา แต่เราได้ทำหน้าที่ ณ เวลานั้นแล้วว่า เราเห็นมันไม่ถูกต้อง แต่เราคงไปห้ามเขาไม่ให้ตีกันตลอด เป็นไปไม่ได้หรอก เขาเป็นผัวเมียกัน เดี๋ยวเขาก็กลับมาตีกัน
- ช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ประเทศกัมพูชาหรือไม่
ไม่ได้อยู่ที่กัมพูชา
- ได้ติดต่อกับคุณจักรภพ เพ็ญแข หรือไม่
ไม่ได้ติดต่อ
- ทราบข่าวหรือไม่ว่าคุณจักรภพ ไปไหนมาไหนอย่างไร
ไม่ทราบ ไม่รู้
- ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมากัมพูชา เคยได้พบปะกันหรือไม่
ไม่ได้พบ คือผมพยายามจะไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ทั้งเจตนาเดิม ปัจจุบัน และอนาคต และถ้าจะพูดให้ตรงเลยนะ นักการเมืองเขาก็ไม่ค่อยชอบผมหรอก (หัวเราะ) นี่ก็ต้องพูดตรง ๆ เลย เพราะผมไม่ใช่คนที่สั่งได้ ไม่ใช่คนที่จะมีนาย ไม่พร้อมที่จะเป็นลูกน้องใคร เรียกใครว่านาย เรียกใครว่าท่านแล้วผมทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่วิสัยเลย
ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใครหลายคนพยายามจะไปผูกโยงให้ผมเข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งโดยบังเอิญ ทั้งโดยเจตนา อะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าคุยกันตรง ๆ แล้ว เราไม่ต้องการ ผมกล้าพูดว่าเราไม่ต้องการ (การติดต่อ) ในขณะเดียวกัน ผมก็ยืนยันว่า เขา (นักการเมือง) ก็พูดคำเดียวกัน ... เขาก็ไม่ต้องการเราเหมือนกัน เพราะว่า เราไม่ได้ทำงานเพื่อเป้าหมายของคนอื่น (นักการเมือง) แต่เราทำงานเพื่อตัวเรา ประเทศชาติของเรา ส่วนประเทศชาติ ของคนอื่นเขาเป็นยังไง มันคนละภาพ กับของผม มันก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเขา
- มองการเคลื่อนไหวของ นปช. อย่างไร ขณะนี้แกนนำก็อยู่ในคุก
ผมไม่รู้... เขาไม่เคยให้ผมรู้ สรุป ผมให้เกียรติกลุ่มอื่นที่จะทำงาน ใครจะเคลื่อนไหวยังไงเป็นสิทธิของเขา เขารับผิดชอบชีวิตเขา เขาเอาชีวิตมาแลกคุกตะราง แลกกระสุน ก็เป็นสิ่งที่น่าขอบคุณ แต่ เป้าหมายที่แท้จริง วิธีการเป็นยังไง ผมไม่รู้ เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้ เราก็ไปพูดไม่ได้
- ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะปราศรัยอย่างที่พูดในคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2551 หรือไม่
คงไม่พูดหรอก เราคงไม่พูดเพื่อจะให้มาติดคุก ไม่พูดแน่...
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
***************************************************
ช่วงสายของวันที่ 1 พ.ย. 2553 ข่าวสำคัญอีก 1 ข่าวสำหรับ คอการเมือง คือตำรวจกองปราบปรามรวบตัว นายวราวุฒิ ฐานังกรณ์ หรือ สุชาติ นาคบางไทร ผู้ต้องหาคดี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ผู้ปราศรัย บนเวทีสนามหลวงของฝ่ายแดง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551
โดยการปราศรัยครั้งนั้น มีเนื้อหาที่ถึงขนาดทำให้นักการเมืองหลังเวทีไฮด์ปาร์ก รีบสตาร์ตรถเผ่นหนีออกจากจุดชุมนุม แทบไม่ทัน เพราะทุกคนที่เติบโตใน สังคมไทยย่อมเข้าใจว่า เนื้อหาเช่นนั้น เข้าข่ายผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
วราวุฒิ หรือสุชาติ เป็น 1 ในกลุ่มคนจากโลกไซเบอร์สเปซ ที่นัดหมายกันปรากฏตัว ณ สนามหลวง เพื่อต้านรัฐประหาร 2549 ในนามกลุ่มคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ก่อนที่นักการเมืองจะจัดตั้ง PTV ขึ้นมาใช้เฉพาะกิจแล้ว ยกเลิกไป เมื่อหมดประโยชน์
ต่อมากลุ่มคนวันเสาร์ฯแตกตัวเป็น คลับทักษิณ, นิวสกายไทยแลนด์ และสุดท้ายคือกลุ่มมดคันไฟ
การจับกุมตัวขณะที่วราวุฒิ นัดหมาย กินข้าวกับลูกสาว ในห้างย่านประตูน้ำ ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่เขาไม่ปรากฏ ตัวมาเป็นเวลา 2 ปี
เช้าวันที่ 2 พ.ย. 2553 หลังนอนคุก โรงพักคืนแรกและคืนเดียว ณ ห้องขัง ของสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม เจ้าของพื้นที่สนามหลวง จุดเกิดเหตุ...
อดีตนักไฮด์ปาร์กผู้เปลี่ยนฐานะเป็นจำเลยในข้อหาฉกรรจ์ เขาเปิดใจสนทนา ขณะที่ถูกพันธนาการกุญแจมือ ก่อนถูกนำขึ้นรถตำรวจไปยังห้องฝากขังของศาลอาญา และนำตัวไปยังเรือนจำ
ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบอกว่า "ผมปฏิเสธให้สัมภาษณ์นักข่าวหลายคน เนื่องจากไม่อยากให้ใครสนใจ ผมไม่ได้ต้องการเป็นข่าว ไม่อยากดัง ไม่อยากจะมีสื่อที่ไม่เข้าใจเจตนาของ ผมมาทำข่าว เพราะมันจะยุ่งยากและ ทำให้ครอบครัวของผมวุ่นวาย เพราะฉะนั้นผมมีความรู้สึกว่า ควรจะ ซอฟต์ ๆ และจบลง ดี ๆ..."
ก่อนการตั้งคำถามเรื่องอนาคตหลังลูกกรง เขาบอกสถานภาพของเขาชัดเจน ไม่มีเป้าหมายเป็นนักการเมือง ไม่ได้เป็น นปช. และไม่เกี่ยวข้องกับ "ทักษิณ"
- มีแนวทางในการต่อสู้คดีอย่างไร
รับสารภาพ เพื่อให้โทษลดลงครึ่งหนึ่ง และหากทำความดี โทษก็จะเหลือน้อยลง
- ได้ติดต่อกับแกนนำเสื้อแดง นปช. ที่อยู่ทั้งในคุกและนอกคุกหรือไม่
ผมเป็นคนละกลุ่มกับพวกเขา ...ไม่มีใครเอาผม ผมไม่ได้มีค่าอะไรสำหรับพวกเขา ...ผมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ได้ต่อสู้เพื่อเลือกตั้ง
- การต่อสู้ที่ผ่านมา ทำเพื่อคุณทักษิณ ชินวัตร หรือไม่
ไม่เกี่ยวข้อง
- มองคุณทักษิณอย่างไร
เป็นเหยื่อ...
- ที่ผ่านมาได้รับการติดต่อจากนักการเมือง หรือพรรคการเมืองหรือไม่
ไม่มีใครติดต่อผม และผมไม่ติดต่อใคร ผมอยู่คนเดียวมาตลอด
- เหตุผลที่ไม่แก้ต่างในคดี แต่เลือกวิธีรับสารภาพเพราะอะไร
เป็นวิธีที่ดีที่สุด...ผมเห็นแนวทางที่ คุณสุวิชา ท่าค้อ และแม่หมอ (นางบุญยืน ประเสริฐยิ่ง) ปฏิบัติแล้ว เห็นว่าเป็นแนว ทางที่ดี ติดคุกประมาณ 2 ปี หรือไม่ถึง 2 ปี ...คิดว่าอยากไปช่วยครอบครัว เพราะฉะนั้นสรุปคือ เรายอมรับผิดดีกว่า...สั้น ง่าย สะดวก แล้วเราก็มาทำมาหากินเพื่อครอบครัว อันนี้น่าจะเป็นทางตรง เราอยู่...เราก็ไม่ใช่คนของใคร เราไม่ได้ทำงานเพื่อใคร ไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะต้องไปลำบาก นี่เป็นเหตุผลที่แท้จริง และอีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่เราพูด ที่เราทำ ถูกบันทึกวิดีโอไว้หมดแล้ว มันไปเปลี่ยนก็ไม่ได้ จะบอกว่าไม่พูด เป็นไปไม่ได้ ก็รับสารภาพไป
แล้วผมเชื่อว่าศาลก็คงจะพิจารณาไปตามรูปคดีที่เกิดจริง ผมเชื่อตรงนั้นนะ ไม่งั้นผมจะเข้ามาทำไม ถ้าเข้ามาแล้วไม่ เชื่อก็... จริง ๆ ผมจะไม่ถูกจับก็ได้ ถ้าพูดตรง ๆ แต่ผมเลือกนะ อันนี้ผมพูดอีกครั้ง...โอเค ตำรวจเก่ง อันนี้ต้องยอมรับ... แต่อีกส่วนหนึ่งเราก็มาดูแลครอบครัว พอครอบครัวเราเข้าที่เข้าทางแล้ว เราก็รู้สึกว่าเราน่าจะถึงเวลาแล้ว เราก็เริ่มลดความเคร่งครัดของตัวเองลง เมื่อเริ่มลดความเคร่งครัดของตัวเองลง ก็ไม่ยาก ที่จะถูกจับได้
- ถ้าพ้นโทษแล้วจะกลับมาเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหรือไม่
ผมไม่เรียกว่าเคลื่อนไหวนะ ผมคงไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะว่าการเมืองกับผมก็ไม่ได้เกี่ยวกันเลยนะ ตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงวันนี้ ผมก็ไม่ได้เรียกว่าเคลื่อนไหวเพื่อการเมือง
- สิ่งที่ทำนั้นเพื่ออะไร
เพื่อประเทศชาติ ประชาชน และเพื่อตัวผมเอง ไม่ได้เพื่อการเมืองของใคร ผมไม่ได้อยากเป็นนักการเมือง ผมไม่ได้อยากเป็น ส.ส. ผมไม่ได้อยากเป็นนายกฯ ผมอยากทำหน้าที่ต่อครอบครัว ดูแลครอบครัวผม... แต่เมื่อเราเห็นความไม่ถูกต้อง เราก็ออกมาแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อเราทำแล้ว เราสรุปว่าเราทำไม่ได้ ในฐานะประชาชน เราทำมากไปกว่านี้ ไม่ได้หรอก
- ก่อนหน้านี้เคยลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.
สิ่งที่ผมจะบอกก็คือ เราทำมาหมดแล้ว ที่ประชาชนคนหนึ่ง มือเปล่า ตัวคนเดียว จะทำได้ นอกจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของคนอื่นแล้ว
ทางสุดท้าย ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง บวก ลบ คูณ หารแล้ว ไม่มีอะไรดีไปกว่านี้ มีแต่เสีย เราไม่ได้สู้เพื่อเสีย เราไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อตาย เราไม่ได้อยากเป็นวีรชน เราไม่ได้อยากเป็นวีรบุรุษ... เหมือนอย่างเราเจอผัวเมียตีกัน อย่างน้อยเราก็แค่ห้ามไม่ให้ตีกัน พอเขาไม่ตีกันแล้วเราก็ จากไป เขาอาจจะมาตีกันอีกเรื่องของเขา แต่เราได้ทำหน้าที่ ณ เวลานั้นแล้วว่า เราเห็นมันไม่ถูกต้อง แต่เราคงไปห้ามเขาไม่ให้ตีกันตลอด เป็นไปไม่ได้หรอก เขาเป็นผัวเมียกัน เดี๋ยวเขาก็กลับมาตีกัน
- ช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ประเทศกัมพูชาหรือไม่
ไม่ได้อยู่ที่กัมพูชา
- ได้ติดต่อกับคุณจักรภพ เพ็ญแข หรือไม่
ไม่ได้ติดต่อ
- ทราบข่าวหรือไม่ว่าคุณจักรภพ ไปไหนมาไหนอย่างไร
ไม่ทราบ ไม่รู้
- ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางมากัมพูชา เคยได้พบปะกันหรือไม่
ไม่ได้พบ คือผมพยายามจะไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ทั้งเจตนาเดิม ปัจจุบัน และอนาคต และถ้าจะพูดให้ตรงเลยนะ นักการเมืองเขาก็ไม่ค่อยชอบผมหรอก (หัวเราะ) นี่ก็ต้องพูดตรง ๆ เลย เพราะผมไม่ใช่คนที่สั่งได้ ไม่ใช่คนที่จะมีนาย ไม่พร้อมที่จะเป็นลูกน้องใคร เรียกใครว่านาย เรียกใครว่าท่านแล้วผมทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่วิสัยเลย
ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใครหลายคนพยายามจะไปผูกโยงให้ผมเข้าไปเกี่ยวข้อง ทั้งโดยบังเอิญ ทั้งโดยเจตนา อะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าคุยกันตรง ๆ แล้ว เราไม่ต้องการ ผมกล้าพูดว่าเราไม่ต้องการ (การติดต่อ) ในขณะเดียวกัน ผมก็ยืนยันว่า เขา (นักการเมือง) ก็พูดคำเดียวกัน ... เขาก็ไม่ต้องการเราเหมือนกัน เพราะว่า เราไม่ได้ทำงานเพื่อเป้าหมายของคนอื่น (นักการเมือง) แต่เราทำงานเพื่อตัวเรา ประเทศชาติของเรา ส่วนประเทศชาติ ของคนอื่นเขาเป็นยังไง มันคนละภาพ กับของผม มันก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับเขา
- มองการเคลื่อนไหวของ นปช. อย่างไร ขณะนี้แกนนำก็อยู่ในคุก
ผมไม่รู้... เขาไม่เคยให้ผมรู้ สรุป ผมให้เกียรติกลุ่มอื่นที่จะทำงาน ใครจะเคลื่อนไหวยังไงเป็นสิทธิของเขา เขารับผิดชอบชีวิตเขา เขาเอาชีวิตมาแลกคุกตะราง แลกกระสุน ก็เป็นสิ่งที่น่าขอบคุณ แต่ เป้าหมายที่แท้จริง วิธีการเป็นยังไง ผมไม่รู้ เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้ เราก็ไปพูดไม่ได้
- ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะปราศรัยอย่างที่พูดในคืนวันที่ 14 ตุลาคม 2551 หรือไม่
คงไม่พูดหรอก เราคงไม่พูดเพื่อจะให้มาติดคุก ไม่พูดแน่...
ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ
***************************************************
โฆษกศาลยุติธรรมแจง ประเทศไทยมีกี่ศาล
หมายเหตุ- นายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม เขียนบทความ 'ประเทศไทยมีกี่ศาล' เพื่ออธิบายถึงระบบโครงสร้างของศาล และอำนาจหน้าที่ตามภารกิจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
นับแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้เปลี่ยนจากระบบศาลเดี่ยวมาเป็นระบบศาลคู่
กล่าวคือจากเดิมที่มีเฉพาะศาลสถิตยุติธรรมที่ทำหน้าที่ชี้ขาดตัดสินอรรถคดีทั้งปวง เปลี่ยนมาเป็นมีศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้น
ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แม้แต่ผู้คนที่อยู่ในแวดวงกระบวนการยุติธรรมบางส่วนยังสับสนไขว้เขวเข้าใจไม่ถูกต้อง
จึงไม่แปลกหากประชาชนและสื่อมวลชนบางสาขา จะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในระบบการศาลของไทยที่ปฏิรูปใหม่
ดังตัวอย่างเช่น บทความการเมืองหน้า 3 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หัวข้อ
"น้ำท่วมกับประชาชนต้องมาก่อน 'ไม่ครบเทอม' สัญญาณ 'อภิสิทธิ์' ย่อหน้าที่ 9 ความว่า 'สถานการณ์ต่อมาคือการต่อสู้ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี 'ทางโค้ง' ให้ใจหายใจคว่ำ จากกรณี 'คลิปการสนทนา' ระหว่างทีมกฎหมายของพรรคกับอดีตเลขานุการส่วนตัวประธานศาลฎีกา..."
ผู้เขียนเชื่อว่า บทความข้างต้นคงมุ่งหมายถึงเหตุการณ์ในคลิปภาพและเสียงการสนทนาระหว่างเลขานุการส่วนตัวของประธานศาลรัฐธรรมนูญ กับสมาชิกสภาผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ที่กำลังตกเป็นข่าวตามสื่อในขณะนี้มากกว่า
เนื่องจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลรัฐธรรมนูญสามารถแต่งตั้งเลขานุการส่วนตัวได้ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2551
ส่วนประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขสูงสุดของศาลยุติธรรม ไม่มีตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวเช่นศาลรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจระบบศาลในประเทศไทยโดยไม่ผิดหลง ผู้เขียนจึงอาสาขออรรถาธิบายขยายความ คำว่าระบบศาลคู่ในประเทศไทย ดังนี้
1. ศาลยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2425
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีเยาวชนและครอบครัว คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีภาษีอากร คดีเลือกตั้ง คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นต้น
มีนายสบโชค สุขารมณ์ เป็นประธานศาลฎีกา นายวรวุฒิ ทวาทศิน เป็นเลขาธิการประธานศาลฎีกา และนายเชวง ชูศิริ เป็นเลขานุการศาลฎีกา
โดยไม่มีตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวประธานศาลฎีกา
2. ศาลปกครอง จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 เปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544
มี 2 ชั้นศาล คือ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลาง
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะอันไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลอื่น
คดีที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ/เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
หรือคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ฯลฯ เป็นต้น
มีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด
3. ศาลรัฐธรรมนูญ จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2543
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด 9 คน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดอำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญไว้หลายประการ
เช่น การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้วมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ กระทำการใดเพื่อให้ตนมีส่วนโดยตรงและโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายหรือไม่
หรือวินิจฉัยมติ หรือข้อบังคับของพรรคการเมือง การพิจารณาอุทธรณ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการวินิจฉัยกรณีบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพในทางการเมืองโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
มีนายชัช ชลวร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เป็นเลขานุการส่วนตัว ซึ่งปัจจุบันได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว
4. ศาลทหาร เป็นศาลพิเศษที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498
แบ่งได้ 3 ประเภทคือ ศาลทหารในเวลาปกติ ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ศาลอาญาศึก
ศาลทหารปกติมี 3 ชั้นศาลคือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารชั้นกลาง (ชั้นอุทธรณ์) และศาลทหารชั้นสูงสุด (ชั้นฎีกา)
"มีอำนาจพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด...."
เช่น ทหารประจำการ ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์หรือที่สมัครเข้ากองประจำการเพราะกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นทหาร)
ส่วนคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เช่น คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน เช่น ทหารกระทำผิดอาญาร่วมกับพลเรือน คดีที่ต้องดำเนินการในศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากอายุของผู้กระทำความผิด เป็นต้น
ที่กล่าวมาทั้งหมด คือ ระบบศาลคู่ในประเทศไทยโดยสังเขป ตามที่กำหนดในกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
แม้ผู้เขียนจะระบุอำนาจหน้าที่ตามภารกิจทั้งหมด หรือระบบโครงสร้างของศาลแต่ละศาลไม่ครบถ้วนกระบวนความก็ตาม แต่ก็พอทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักประเภทของศาลและระบบศาลคู่ในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ผู้คนในสังคมยังไม่ค่อยรู้ประการหนึ่งก็คือ ศาลยุติธรรมได้แยกออกจากกระทรวงยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 ด้วยแล้วอีกเช่นกัน
ที่มา:ข่าวสดรายวัน
*********************************************
นับแต่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้เปลี่ยนจากระบบศาลเดี่ยวมาเป็นระบบศาลคู่
กล่าวคือจากเดิมที่มีเฉพาะศาลสถิตยุติธรรมที่ทำหน้าที่ชี้ขาดตัดสินอรรถคดีทั้งปวง เปลี่ยนมาเป็นมีศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มขึ้น
ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แม้แต่ผู้คนที่อยู่ในแวดวงกระบวนการยุติธรรมบางส่วนยังสับสนไขว้เขวเข้าใจไม่ถูกต้อง
จึงไม่แปลกหากประชาชนและสื่อมวลชนบางสาขา จะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในระบบการศาลของไทยที่ปฏิรูปใหม่
ดังตัวอย่างเช่น บทความการเมืองหน้า 3 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หัวข้อ
"น้ำท่วมกับประชาชนต้องมาก่อน 'ไม่ครบเทอม' สัญญาณ 'อภิสิทธิ์' ย่อหน้าที่ 9 ความว่า 'สถานการณ์ต่อมาคือการต่อสู้ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่มี 'ทางโค้ง' ให้ใจหายใจคว่ำ จากกรณี 'คลิปการสนทนา' ระหว่างทีมกฎหมายของพรรคกับอดีตเลขานุการส่วนตัวประธานศาลฎีกา..."
ผู้เขียนเชื่อว่า บทความข้างต้นคงมุ่งหมายถึงเหตุการณ์ในคลิปภาพและเสียงการสนทนาระหว่างเลขานุการส่วนตัวของประธานศาลรัฐธรรมนูญ กับสมาชิกสภาผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ที่กำลังตกเป็นข่าวตามสื่อในขณะนี้มากกว่า
เนื่องจากคดียุบพรรคประชาธิปัตย์กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลรัฐธรรมนูญสามารถแต่งตั้งเลขานุการส่วนตัวได้ตามระเบียบศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการแต่งตั้งเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2551
ส่วนประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขสูงสุดของศาลยุติธรรม ไม่มีตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวเช่นศาลรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจระบบศาลในประเทศไทยโดยไม่ผิดหลง ผู้เขียนจึงอาสาขออรรถาธิบายขยายความ คำว่าระบบศาลคู่ในประเทศไทย ดังนี้
1. ศาลยุติธรรม ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2425
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีเยาวชนและครอบครัว คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีภาษีอากร คดีเลือกตั้ง คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็นต้น
มีนายสบโชค สุขารมณ์ เป็นประธานศาลฎีกา นายวรวุฒิ ทวาทศิน เป็นเลขาธิการประธานศาลฎีกา และนายเชวง ชูศิริ เป็นเลขานุการศาลฎีกา
โดยไม่มีตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวประธานศาลฎีกา
2. ศาลปกครอง จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 เปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544
มี 2 ชั้นศาล คือ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลาง
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยเฉพาะอันไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลอื่น
คดีที่เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือ/เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
หรือคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ฯลฯ เป็นต้น
มีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด
3. ศาลรัฐธรรมนูญ จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2543
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีทั้งหมด 9 คน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 กำหนดอำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญไว้หลายประการ
เช่น การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้วมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ กระทำการใดเพื่อให้ตนมีส่วนโดยตรงและโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายหรือไม่
หรือวินิจฉัยมติ หรือข้อบังคับของพรรคการเมือง การพิจารณาอุทธรณ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการวินิจฉัยกรณีบุคคลหรือพรรคการเมืองใช้สิทธิและเสรีภาพในทางการเมืองโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
มีนายชัช ชลวร เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
และนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ เป็นเลขานุการส่วนตัว ซึ่งปัจจุบันได้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว
4. ศาลทหาร เป็นศาลพิเศษที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498
แบ่งได้ 3 ประเภทคือ ศาลทหารในเวลาปกติ ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ศาลอาญาศึก
ศาลทหารปกติมี 3 ชั้นศาลคือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารชั้นกลาง (ชั้นอุทธรณ์) และศาลทหารชั้นสูงสุด (ชั้นฎีกา)
"มีอำนาจพิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด...."
เช่น ทหารประจำการ ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์หรือที่สมัครเข้ากองประจำการเพราะกฎหมายบังคับให้ต้องเป็นทหาร)
ส่วนคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร เช่น คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน เช่น ทหารกระทำผิดอาญาร่วมกับพลเรือน คดีที่ต้องดำเนินการในศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากอายุของผู้กระทำความผิด เป็นต้น
ที่กล่าวมาทั้งหมด คือ ระบบศาลคู่ในประเทศไทยโดยสังเขป ตามที่กำหนดในกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
แม้ผู้เขียนจะระบุอำนาจหน้าที่ตามภารกิจทั้งหมด หรือระบบโครงสร้างของศาลแต่ละศาลไม่ครบถ้วนกระบวนความก็ตาม แต่ก็พอทำให้ท่านผู้อ่านรู้จักประเภทของศาลและระบบศาลคู่ในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะข้อเท็จจริงที่ผู้คนในสังคมยังไม่ค่อยรู้ประการหนึ่งก็คือ ศาลยุติธรรมได้แยกออกจากกระทรวงยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 ด้วยแล้วอีกเช่นกัน
ที่มา:ข่าวสดรายวัน
*********************************************
เมื่อความจริงเป็นสิ่งที่เจ็บปวดสำหรับรัฐบาลไทย
ตามคาดหมาย รัฐบาลไทยได้ออกมาตอบโต้บทความของเรา “ละครแห่งการพิจารณาคดี การดำเนินคดีทางการเมือง และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสดในวันศุกร์ที่ผ่านมาอย่างดุเดือด คำแก้ต่างให้กับรัฐบาลของนพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์นั้นฟังดูไม่มีเหตุมีผลเหมือนคราวก่อนๆ
คำแถลงการณ์ที่กล่าวหาว่าสำนักงานกฎหมายของผมเกี่ยวข้องกับ “แผนการสมรู้ร่วมคิดเพื่อลดความน่าเชื่อถือของระบบตุลาการไทย” ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่น่าขบขันที่สุด
ประเด็นที่สำคัญคือการ “ลดความน่าเชื่อถือ” ของระบบตุลาการในประเทศไทยให้ดูแย่ลงไปกว่านี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะระบบไม่มี “ความน่าเชื่อถือ” อยู่เลย และประชาคมโลกต่างรู้ดีว่าระบบตุลาการในประเทศไทยนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือแม้แต่น้อย เพราะจะคาดหวังให้ใครเชื่อถือระบบตุลาการที่ไม่เคยตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนแม้แต่ครั้งเดียว หรือไม่เคยตั้งคำถามในเรื่องความชอบธรรมของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นโดยการทำรัฐประหาร และไม่เคยที่จะลังเลที่จะกล่าวหาคนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลว่าเป็นอาชญากร?
ระบบตุลาการในประเทศไทยต่างหากที่ “ลดความน่าเชื่อถือ” ตนเอง พฤติกรรมอันน่าตกใจของผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมที่ถูกบันทึกวิดีโอ เผยให้เห็นถึงการทำงานของสถาบันที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มอำมาตย์เป็นเวลาหลายสิบปี สำนักงานกฎหมายของผมเพียงแค่หยิบยกประเด็นที่ว่าระบบตุลาการในประเทศไทยใช้วิธีการหลายอย่าง เพื่อที่จะลิดรอบสิทธิของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ซึ่งสำนักงานกฎหมายของเราต่างจากรัฐบาลตรงที่ว่าเราไม่ได้พยายามที่จะลิดรอนสิทธิของประชาชน แต่เราสนับสนุนพวกเขาในการพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้มาสิทธิของพวกเขา
และประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นคือคือ ไม่มีใครทำประเทศเสื่อมเสียชื่อเสียงได้เท่ารัฐบาลและกลุ่มนายทหารที่หนุนหลังรัฐบาลนี้ แทนที่จะสร้างความอับอายให้ประเทศ รัฐบาลไทยควรที่จะพิจารณาว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการกอบกู้ “ภาพลักษณ์” ของประเทศคือการหยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือพยายามปกปิดความล้มเหลวของตนเอง และหยุดขัดขวางประชาธิปไตย ปัญหาของรัฐบาลนี้ไม่ใช่การขาดแคลนที่การโฆษณาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย การประชาสัมพันธ์ที่ฉูดฉาด หรือการพาผู้นำต่างชาติไปรับประทานอาหารสุดหรู แต่เป็นการปราศจากความชอบธรรม ความรับผิด และความเคารพแต่หลักนิติรัฐ
แม้จะพยายามหาเหตุผลนับร้อยเพื่อมาอธิบายเหตุการณ์เข้าข้างตนเอง แต่รัฐบาลก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความจริงเหล่านี้ได้
ที่มา:ประเทศไทย Robert Amsterdam
***********************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)