มติชนออนไลน์
ส.ว.สรรหาฝ่ายหนุนเมินเสียงนักวิชาการท้วง"จารุวรรณ"พ้นเก้าอี้ผู้ว่าการ สตง. กอดประกาศคปค.ฉบับ 29 ยืนกรานให้ทำหน้าที่ต่อ เรียก"พิศิษฐ์-กฤษฎีกา"แจง กมธ. 11 ส.ค.นี้ ชทพ.ติงสองฝ่ายละกิเลสส่วนตัวแก้ปัญหา
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) แถลงที่พรรคชาติไทยพัฒนา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ถึงปัญหาการดำรงตำแหน่งของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา อดีตผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่ถือว่าพ้นจากตำแหน่งเพราะอายุครบ 65 ปี ตามที่กฎหมายกำหนดนั้น แต่คุณหญิงจารุวรรณอ้างความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา ว่าสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 29 พร้อมทำหนังสือเวียนถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในการกลับมาทำหน้าที่ผู้ว่าการ สตง.ไปพลางก่อน ขณะที่นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการ สตง. ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการ สตง. เห็นว่าคุณหญิงจารุวรรณพ้นตำแหน่งไปแล้วเมื่ออายุครบ 65 ปี และทำหนังสือเวียนถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่อาจเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ หากทำตามคำสั่งของคุณหญิงจารุวรรณ โดยให้รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน
นายวัชระกล่าวว่า ขณะนี้ยังคงมีปัญหาในแง่การตีความว่าใครที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการผู้ว่าการ สตง.อยู่ ดังนั้น อยากเรียกร้องว่าตำแหน่งผู้ว่าการ สตง.เป็นตำแหน่งสำคัญเพราะเกี่ยวพันกับหน่วยงานต่างๆ จึงขอให้มีการเร่งหาข้อสรุปโดยเร็วต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าการ สตง. ดังนั้น ความขัดแย้งในตำแหน่งดังกล่าวนอกจากจะทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ยังทำให้เสียภาพลักษณ์ด้วย และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาทางออกโดยเร็วที่สุดเพื่อให้ทราบว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง และอยากให้คุณหญิงจารุวรรณและผู้รักษาการผู้ว่าการ สตง. นึกถึงประเทศชาติเป็นสำคัญมากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัว โดยให้สองฝ่ายที่กำลังขัดแย้งในปมปัญหารักษาการผู้ว่าการ สตง.นี้ละกิเลสส่วนตัวด้วย
ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายประธานวุฒิสภา ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เปิดเผยว่า ที่ประชุม กมธ. โดยน.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี กมธ. ได้นำกรณีตำแหน่งผู้ว่าการ สตง.เข้ามาให้ กมธ.พิจารณาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม เนื่องจากเห็นว่าฝ่ายผู้บริหารระดับสูงใน สตง.อาจมีปัญหาเรื่องธรรมาภิบาล โดยมีบันทึกข้อความวันที่ 2 สิงหาคม จากสำนักงานกฎหมาย สตง. แจ้งเวียนส่วนราชการใน สตง.ว่าคณะผู้บริหาร สตง.นำโดยนายพิศิษฐ์ รองผู้ว่าการ สตง.และรักษาราชการแทนผู้ว่าการ สตง. ได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของ สตง.หารือซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่รักษาราชการแทนผู้ว่าการ สตง. เนื่องจากคุณหญิงจารุวรรณอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์ ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการ สตง.ได้หรือไม่ ซึ่งผลการหารือได้มีมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ว่าให้รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยยังคงให้รองผู้ว่าการ สตง.รักษาราชการแทนผู้ว่าการ สตง. ตามบันทึกข้อความของสำนักงานกฎหมาย สตง.วันที่ 2 กรกฎาคม
"กมธ.เห็นว่ามติดังกล่าวอาจไม่ถูกต้อง เพราะมีการอ้างความเห็นของฝ่ายกฤษฎีกา ซึ่งไม่ใช่ฝ่ายที่มีอำนาจชี้ขาด แต่ก็อ้างเพื่อแต่งตั้งให้รองผู้ว่าการ สตง.รักษาการผู้ว่าการ สตง. ทั้งที่ผู้ว่าการ สตง.คนเดิมคือคุณหญิงจารุวรณ ยังไม่ได้ลาออก ไม่มีการโปรดเกล้าฯให้พ้นจากตำแหน่ง รองผู้ว่าการ สตง.จึงต้องหยุดการรักษาการ แต่ก็ใช้มติผู้บริหารเสียงข้างมาก ซึ่งก็ไม่มีอำนาจอะไรรองรับ จึงอาจขัดหลักธรรมาภิบาล เพราะคุณหญิงจารุวรรณยังเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการ สตง.อยู่ตามประกาศ คปค.แม้บางฝ่ายจะอ้างว่าครบ 65 ปีแล้วก็ต้องรอศาลชี้ขาด ไม่ใช่ใช้มติเสียงข้างมากมาชี้ขาดกันเอง ฉะนั้น กมธ.จึงมีมติเชิญนายพิศิษฐ์ และตัวแทนคณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าชี้แจงถึงอำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดในวันที่ 11 สิงหาคมนี้" นายไพบูลย์กล่าว
นายไพบูลย์ยังกล่าวถึงกรณีที่มีนักวิชาการและ ส.ว.ออกมาระบุว่า คุณหญิงจารุวรรณแม้จะรักษาการตามประกาศ คปค.ฉบับ 29 แต่เมื่ออายุครบ 65 ปี ถือเป็นเหตุอื่นให้พ้นจากตำแหน่งจึงไม่สามารถรักษาการต่อได้ว่า เมื่อคุณหญิงจารุวรรณพ้นจากตำแหน่งไปตั้งแต่ 30 กันยายน 2550 จะพ้นจากตำแหน่งอีกไม่ได้ ก็ต้องรักษาการต่อไป เพราะเป็นเหตุสุดวิสัยทางกฎหมายจริงๆ ที่ไม่ได้เขียนทางออกเอาไว้ แต่ก็ยอมรับที่หลายฝ่ายจะมองประเด็นทางกฎหมาย แต่คนชี้ขาดสุดท้ายคือ ศาล หรือประธาน คตง. เพราะประธาน คตง.เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ประกอบฯ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจบริหารตีความวินิจฉัยชี้ขาดการบริหารสำนักงาน ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณ ที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการ คตง.อยู่ด้วย ก็ชี้ขาดแล้วว่าตนเองในฐานะปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการ สตง. ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ทำให้ไม่ต้องมีใครมารักษาการแทนอีก
"หากใครไม่เห็นด้วยก็ต้องไปร้องศาล ซึ่งคุณหญิงจารุวรรณก็กล้าให้ศาลพิสูจน์ตัดสิน แต่ตอนนี้ที่ต้องทำหน้าที่ต่อไปพลางเพราะหากมีผู้รักษาการ จะทำได้แค่ดูแลเรื่องเรื่องธุรการเท่านั้น จึงกระทบต่อการแต่งตั้งซี 10 และการตรวจสอบต่างๆ ที่ต้องหยุดชะงัก" นายไพบูลย์กล่าว
*******************************************************************************
วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553
‘ตีปี๊บ’ ให้ชาติพัง!!
ประสานเป็น คอรัส ระนาด คีย์เดียวกัน..ปูดจับมือระเบิด ถล่มบ้านเมือง จาก “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”, “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ผอ. ศอฉ. “ธาริต เพ็งดิษฐ์” อธิบดีดีเอสไอ และ “พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์” ผบน.ช. คนดัง??
ข่าวที่ออก ภาพที่แพร่ “ราชอาณาจักร์ไทยแย่” ป้อแป้ทันที
นักท่องเที่ยวต่างชาติ....สะบัดก้น หดหัว พากันหนี
ก็แค่จะลงแขก รุมกินโต๊ะ “คนเสื้อแดง” ผู้รักประชาธิปไตย และ “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ให้กลับมาแข็งข้อ..โพนทะนาให้บ้านเมืองวิกฤติ แล้วนักท่องเที่ยวที่ไหน เขาจะมา!!!
ถ้าไม่ได้ “มือระเบิด”ของจริง....อยากให้อยู่นิ่งๆ ...อย่าชิง รุมทำลายประเทศ ดีกว่า??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘ขายชาติ’ ด่าเค้าไว้ เต็มกางเกง!!!
มามองกันว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ว่ากันไปแล้ว เข้าข่าย ว่าแต่เขาอีเหนาเป็นเอง???
เมื่อครั้น “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ขายหุ้นชินคอร์ป ให้ “เทมาเสก” แก่สิงคโปร์..ว่าขายสมบัติขายแก่ “ต่างชาติ”...ทั้งที่ “ชินคอร์ป” เป็นธุรกิจ เอกชน
สายการบินโลว์คอร์ส “ไทยไทเกอร์”...เสนอขายให้ “เทมาเสก” ไม่ยักปริปากบ่น
เอา “เทมาเสก” เข้ามาฮุบเส้นทาง “การบินของชาติ” ถือเอี่ยวกับ “การบินไทย”...ทีหยั่งงี้ ไม่ยักเห็น “นายกฯ อภสิทธิ์” ร่วมกันออกมาขยำ ทำการขย้ำ ร่วมกันขยี้ ว่าเป็นการ “ขายชาติ” พากันออกมาแฉ!!
ที “ทักษิณ”ขายหุ้นชินคอร์ป..ต่างพากันรับจ๊อบ?.ลอบด่าเค้า ช่าง ๒ มาตรฐานดีแท้??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘คนพูดไม่จริง’ ไม่กล้ายืนยัน!!!
ชิงแถลงแต่ไก่โห่ “ไทยไม่เสียค่าโง่” ในการเลื่อนพิจารณา “ปราสาทเขาพระวิหาร” เป็นปีหน้า หรอกนะพระคุณทั่น???
ที่แน่ๆ “วีระ สมความคิด” เป็นงูที่เห็นตีนไก่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”เป็นอย่างดี
เลื่อนถก “เขาพระวิหาร” เป็นปีหน้า...ไทยเสียท่า “กัมพูชา” ซ้ำซากอีกที
นัยว่า ขณะที่ตั้งวงถกกันที่ “ประเทศบราซิล” อยู่นั้น...มีการออนไลน์มาถึง “นายกฯอภิสิทธิ์” กันตลอด ๒๔ ชั่วโมง แบบว่าไม่มีการหลับการนอน..ซึ่ง “อภิสิทธิ์” รู้เรื่องหมดจด!!
ค่าโง่ที่เซ็นเอาไว้...หากเสียความเสียหาย?..จะมาบอกไม่รู้ไม่ได้ เพราะท่านรู้เรื่องทั้งหมด??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘เกิดวิกฤติ’ ต้องหยุดนิ่ง หาคำตอบ!!
ไม่ลุกลี้! ลุกร้น! สติแตก!...พอการเมืองมีอะไร เข้ามากระทบ ต้องทำจิตให้นิ่ง..นี่แหละความสงบ ของ นายใหญ่พรรคภูมิใจไทย ผู้ชื่อว่า “เนวิน ชิดชอบ??
ยามที่,การเมืองพลิกผัน หรือมีสิ่งใดมารบกวนหัวใจ “ห้อย บุรีรัมย์” มักบินไปประเทศอินเดีย นั่งสมาธิที่ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อย่างมาราธอน ทุกหน
เข้าฌาณนานๆ เป็นสิบชั่วโมง...บอกตรงๆ ทำกันได้ ไม่กี่คน
หนึ่งในนั้น “เนวิน ชิดชอบ” ผู้มีความสงบ สุขุม เยือกเย็น เป็นน้ำแข็งกลางหิมะ..ผู้รอทุกอย่างได้ด้วยความใจเย็น..แม้แต่เก้าอี้ “นายกรัฐมนตรี”!!!
“เนวิน” ถือหุ้นส่วนอำนาจประเทศไทย....รออีกนิดย่อมได้?.ไม่สายจะเป็น “นายกฯ”หรอกพี่??
___________________________________________________________________________
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
บางกอกทูเดย์
ข่าวที่ออก ภาพที่แพร่ “ราชอาณาจักร์ไทยแย่” ป้อแป้ทันที
นักท่องเที่ยวต่างชาติ....สะบัดก้น หดหัว พากันหนี
ก็แค่จะลงแขก รุมกินโต๊ะ “คนเสื้อแดง” ผู้รักประชาธิปไตย และ “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ให้กลับมาแข็งข้อ..โพนทะนาให้บ้านเมืองวิกฤติ แล้วนักท่องเที่ยวที่ไหน เขาจะมา!!!
ถ้าไม่ได้ “มือระเบิด”ของจริง....อยากให้อยู่นิ่งๆ ...อย่าชิง รุมทำลายประเทศ ดีกว่า??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘ขายชาติ’ ด่าเค้าไว้ เต็มกางเกง!!!
มามองกันว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน” ของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ว่ากันไปแล้ว เข้าข่าย ว่าแต่เขาอีเหนาเป็นเอง???
เมื่อครั้น “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ขายหุ้นชินคอร์ป ให้ “เทมาเสก” แก่สิงคโปร์..ว่าขายสมบัติขายแก่ “ต่างชาติ”...ทั้งที่ “ชินคอร์ป” เป็นธุรกิจ เอกชน
สายการบินโลว์คอร์ส “ไทยไทเกอร์”...เสนอขายให้ “เทมาเสก” ไม่ยักปริปากบ่น
เอา “เทมาเสก” เข้ามาฮุบเส้นทาง “การบินของชาติ” ถือเอี่ยวกับ “การบินไทย”...ทีหยั่งงี้ ไม่ยักเห็น “นายกฯ อภสิทธิ์” ร่วมกันออกมาขยำ ทำการขย้ำ ร่วมกันขยี้ ว่าเป็นการ “ขายชาติ” พากันออกมาแฉ!!
ที “ทักษิณ”ขายหุ้นชินคอร์ป..ต่างพากันรับจ๊อบ?.ลอบด่าเค้า ช่าง ๒ มาตรฐานดีแท้??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘คนพูดไม่จริง’ ไม่กล้ายืนยัน!!!
ชิงแถลงแต่ไก่โห่ “ไทยไม่เสียค่าโง่” ในการเลื่อนพิจารณา “ปราสาทเขาพระวิหาร” เป็นปีหน้า หรอกนะพระคุณทั่น???
ที่แน่ๆ “วีระ สมความคิด” เป็นงูที่เห็นตีนไก่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”เป็นอย่างดี
เลื่อนถก “เขาพระวิหาร” เป็นปีหน้า...ไทยเสียท่า “กัมพูชา” ซ้ำซากอีกที
นัยว่า ขณะที่ตั้งวงถกกันที่ “ประเทศบราซิล” อยู่นั้น...มีการออนไลน์มาถึง “นายกฯอภิสิทธิ์” กันตลอด ๒๔ ชั่วโมง แบบว่าไม่มีการหลับการนอน..ซึ่ง “อภิสิทธิ์” รู้เรื่องหมดจด!!
ค่าโง่ที่เซ็นเอาไว้...หากเสียความเสียหาย?..จะมาบอกไม่รู้ไม่ได้ เพราะท่านรู้เรื่องทั้งหมด??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘เกิดวิกฤติ’ ต้องหยุดนิ่ง หาคำตอบ!!
ไม่ลุกลี้! ลุกร้น! สติแตก!...พอการเมืองมีอะไร เข้ามากระทบ ต้องทำจิตให้นิ่ง..นี่แหละความสงบ ของ นายใหญ่พรรคภูมิใจไทย ผู้ชื่อว่า “เนวิน ชิดชอบ??
ยามที่,การเมืองพลิกผัน หรือมีสิ่งใดมารบกวนหัวใจ “ห้อย บุรีรัมย์” มักบินไปประเทศอินเดีย นั่งสมาธิที่ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ อย่างมาราธอน ทุกหน
เข้าฌาณนานๆ เป็นสิบชั่วโมง...บอกตรงๆ ทำกันได้ ไม่กี่คน
หนึ่งในนั้น “เนวิน ชิดชอบ” ผู้มีความสงบ สุขุม เยือกเย็น เป็นน้ำแข็งกลางหิมะ..ผู้รอทุกอย่างได้ด้วยความใจเย็น..แม้แต่เก้าอี้ “นายกรัฐมนตรี”!!!
“เนวิน” ถือหุ้นส่วนอำนาจประเทศไทย....รออีกนิดย่อมได้?.ไม่สายจะเป็น “นายกฯ”หรอกพี่??
___________________________________________________________________________
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
บางกอกทูเดย์
กรอบความคิดใหม่ ของผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง
ประชาชาติธุรกิจ
ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศเรื่องการปฏิรูปประเทศไทย นักวิชาการ นักเศรษฐกิจและอดีตนักการเมืองหลายคนมองเห็นว่า หลังจากความขัดแย้งที่ประเทศไทยไม่สามารถก้าวข้าม "ทักษิณ" ได้ ทำให้ ติดกับดักในวังวนอันนี้ ลากประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย
จึงเป็นที่มาของโครงการ "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" Leadership for Change เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ให้กับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำภาคประชาชนขึ้น โดยมูลนิธิสัมมาชีพและเครือมติชน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-วันที่ 5 กันยายน 2553
จึงนำบางหัวข้อมาเสนอ โดยหยิบเรื่อง "กรอบความคิดใหม่ ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลง" มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งมีวิทยากร ได้แก่ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
ดร.สุวิทย์เริ่มถึงภาพรวมว่า Geopolitics/Economic Change : กรอบความคิดใหม่ ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลง ว่าจากนี้ไปวิกฤตจะอยู่กับเราตลอดไป และเราจะอยู่ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนอย่างไร
อย่างปัญหาโลกร้อนธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีได้ศึกษาเมื่อปีที่แล้วใน 4 ประเทศ มีไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย พบว่าถ้าไม่ทำอะไรเลย 4 ประเทศนี้จะถูกผลกระทบจากโลกร้อนทำให้จีดีพีหายไป 6% เมื่อเทียบกับทั้งโลก ขณะที่ทั้งโลกถ้าไม่ทำอะไรเลย จีดีพีเฉลี่ยจะหายไป 3%
คำถามคือ แล้วพวกเราอยู่ในแถบนี้จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร !
หรือภูมิอากาศที่กระทบต่อพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ จีน อินเดีย หาแหล่งพลังงาน อาหาร โดยการไปเช่าพื้นที่ประเทศ ต่าง ๆ ทำการเกษตร นั่นคือมิติที่เกิดขึ้นในโลก
ในโลกเศรษฐกิจ คนมักเชื่อว่าการค้าเสรีดีที่สุด แต่เราพบว่าวันนี้ "ไม่ใช่" แล้ว นักวิชาการบอกว่า อนาคตโลก ไม่ได้เสรี การเติบโตชะลอลง การจ้างงานคงไม่โตมาก ความผันผวนสูงขึ้น รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงมากขึ้น โอกาสการกีดกันทางการค้า ระหว่างกันน่าจะสูง
นั่นคือโลกกำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เดิมโครงสร้างโลกจากที่ รวยกระจุกก็กระจายมากขึ้น จากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เริ่มมายังเอเชียโดยเฉพาะจีน อินเดีย
ดังนั้นพลังขับเคลื่อนโลกในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า อยู่ภายใต้สามเหลี่ยมอันนี้ คือ เอเชียตะวันออกนำโดยจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เอเชียใต้ นำโดยอาเซียน อินเดีย
หลายคนพูดถึงการเปลี่ยนทศวรรษ จากศตวรรษแห่งอเมริกัน ...อเมริกันเซนจูรี่มาเป็นเอเชียนเซนจูรี่ ดร.สุวิทย์กล่าวย้ำว่า "เราคงหนีไม่พ้น เราจะใช้อาเซียนให้เป็นพลังอย่างไร จะเป็นอาเซียน+3 อาเซียน+6 เราต้องเบ่งตัวเองขึ้นมาอย่างไร ?"
นี่คือภาพของโลก แล้วภาพของประเทศไทยอยู่ตรงไหน !!
10 ปี หลังวิกฤตปี 2540 เราเจอวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความผันผวนมาก เรื่องโรคร้ายต่าง ๆ ที่ระบาด แต่ไทยมีความวุ่นวายการเมือง ความแตกแยกทางสังคม ที่นำมาสู่ความอ่อนด้อยในเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน
เราพบว่าความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน โดยคน 10% ที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศเอาความมั่งคั่งไปแล้ว 34% และ 10% ของคนที่จนที่สุดมี ความมั่งคั่งแค่ 0-7% เท่านั้น
ประเด็นที่ ความเหลื่อมล้ำในประเทศทั้งเรื่องอำนาจความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสมาจากปัจจัยคอร์รัปชั่น ความเป็นอภิสิทธิ์ชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยหรือไม่ นำมาสู่สังคมที่มีความไม่ Clean&Clear ความไม่ Care&Share ความไม่ Free&Fair ทำให้เราอยู่ในโครงสร้างสังคมที่ถดถอย อยู่หรือไม่ และอาจจะก่อวิกฤตเศรษฐกิจหรือไม่
ดร.สุวิทย์ชชี้ว่า การพัฒนาในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2489-2552 ตัวเลข ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป และนำพามาสู่ความล้มเหลวทางสังคมอย่างสิ้นเชิงอย่างไร
เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในโลก ในประเทศ ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น ทุกแห่ง เป็นเรื่องที่เรากำลังเผชิญกับภาวะที่ไม่แน่นอนสูงขึ้น และอยู่ในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แกะกันไม่ออกระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แกะกันไม่ออกระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง แกะกัน ไม่ออกระหว่างโลคอลกับโกลบอล
ทั้งหมดที่กล่าววมา ดร.สุวิทย์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ว่าเป็นวิกฤตเชิงซ้อน ที่เราต้องใช้กระบวนทัศน์ใหม่มารับมือ หรือมาคิดกันใหม่
สร้าง awareness จากฐานราก
ดร.คณิศกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงควรต้องทำจากข้างล่าง แผนพัฒนาฯที่มาจากชนชั้นอีลิตมันไม่เกิดแล้ว ต่อไปนี้ไม่มีใครทำตามแผนที่คนอื่นทำให้แล้ว ชุมชนต้องทำแผนขึ้นมา วิธีคิดต้องกลับหัวกลับหาง
"เรามองเห็นภาพ 1.การเมืองไม่แข็งแรง 2.ข้าราชการอ่อนแอ กลุ่มที่เป็นคนนำไม่ได้เป็นคนนำเหมือนเมื่อก่อน สิ่งที่ต้องทำคือ เราต้องสร้าง awareness จากฐานราก"
ปัญหาคือเราจะสร้างแนวคิดร่วมกันอย่างไร สิ่งหนึ่งที่บอกว่า เรามีวิกฤตเชิงซ้อน มีกระแสความไม่แน่นอนทั้งใน-นอกประเทศ ความผันผวนสูง ดังนั้นต้องมีคนสร้างความหวังว่า เศรษฐกิจสังคมจะต้องเดินอย่างไร ต้องมีกระบวนการในการสร้างความหวังขึ้นมาให้ได้ ต้องก้าวข้ามตรงนี้ไปให้ได้ก่อน ไม่งั้นคนจะสนใจแต่ปัญหาตัวเองเฉพาะหน้า
อย่างเรื่องโลกร้อน เราต้องมีความหวัง เป็นโอกาสที่ฉกฉวยได้ ไม่ใช่เรื่องที่หดหู่ ไม่มีความหวัง อย่างเรื่องน้ำที่จะน้อยลง น้ำมันจะไม่มี ทั้ง 2 เรื่องนี้ ภาคเกษตรกระทบแน่ แล้วประเทศไทยจะบริหารน้ำอย่างไร ประเทศไทยดูแลเรื่องสินค้าเกษตรอย่างไร นโยบายที่จะทำของไทยมีอะไร อะไรต้องดูแล อะไรต้องรักษาไว้ เพราะ ต่อไประบบการบริหารเศรษฐกิจในอนาคต มันไม่ใช่กลไกตลาด 100% แล้ว มันจะเป็นระบบการบริหารจัดการ 60% กลไกตลาด 40% เราต้องมีความหวังที่จะถีบตัวเองขึ้นมา
โมเดลไม่เวิร์กต้องยกเลิก
ด้าน ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า ประเทศเรามีความหวัง แต่ต้องทำอะไรใหม่ ๆ หากทำอย่างเดิมจะได้ของเดิม ๆ จะได้ ผลตอบแทนไม่ค่อยดี อย่างกรณีรูปแบบการเติบโตของไทยที่ผ่านมาเราพึ่งการส่งออกเป็นหลัก ถึงแม้ทุกยุคทุกรัฐบาล จะบอกว่า จะลดการพึ่งพาการส่งออกลงแล้ว จะพึ่งพาในประเทศมากขึ้น แต่สิ่งที่ปรากฏคือ การพึ่งพาเศรษฐกิจไทยจากการส่งออกมีแต่เพิ่มขึ้น จาก 30% ตอนนี้เป็น 60% ของจีดีพี
การพึ่งพาเครื่องยนต์เดิม ๆ หากมองไปข้างหน้าภาพชัดเจนว่า นับวันเรายิ่งพึ่งพาเศรษฐกิจโลกได้น้อยลง ทั้งการพึ่งพายุโรป สหรัฐอเมริกา เพราะเขามีปัญหาทางโครงสร้างค่อนข้างเยอะ
หลายปีเราได้ยินเรื่องจีน มีการบอกว่า จะมีการย้ายพละจากเครื่องยนต์เก่ามาเป็นเครื่องยนต์ใหม่คือจีน แต่ในความเป็นจริงในช่วงการย้ายจากเครื่องยนต์เดิม (สหรัฐอเมริกา) มาเครื่องยนต์ใหม่ แต่เครื่องยนต์ใหม่แม้จะโตเร็วแต่ขนาดเล็กอยู่ ยังทดแทนเครื่องยนต์เก่าได้ไม่เต็มที่ เพราะขนาดเศรษฐกิจจีนแค่ 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐ ความหมายคือ การที่จีน จะโตเท่าสหรัฐ 1% จีนต้องโต 3% ซึ่งการที่จะโตขนาดนั้นต่อเนื่องคงจะยาก
ดังนั้นการพึ่งส่งออกเดิม ๆ ความหวัง ไม่ค่อยมี และการส่งออกที่เราส่งออกอย่างอิเล็กทรอนิกส์ เทียบกับต้นทุนกับประเทศอื่นก็ไม่ดีนัก หากเราสามารถหาตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ได้ก็จะดีกว่า
ดร.เศรษฐพุฒิเน้นว่าโมเดลอะไรที่ไม่เวิร์กต้องยกเลิก อย่างบทเรียนวิกฤต ปี 2540 การเติบโตของไทยที่พึ่งพิงต่างประเทศเยอะ มันไม่ยั่งยืน ล่าสุด บทเรียนของเราที่พบคือ การเติบโตที่ไม่สร้าง/เปิดโอกาสให้คนก็ไม่ยั่งยืนเช่นกัน
ดังนั้นโมเดลที่ไม่เวิร์กสำหรับผม เช่น การลดแลกแจกแถมที่ชอบทำกันมากมาย เหตุผลคือ หลายอย่างที่บอกว่า การอุดหนุนหวังว่าจะช่วยคนจน ในทางปฏิบัติ...อะไรที่มีประโยชน์ก็ถูกพวกที่มีอิทธิพล/คนรวยไปรับประโยชน์ จึงไม่ตอบโจทย์
หรือการหวังจะพึ่งพามาตรการภาษีเพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ มันยากมาก คนที่จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา มีประมาณ 4-5 ล้านคน
หรือจะไปหวังเรื่องงบประมาณมาลดแลกแจกแถม หากดูในภาพรวมของโครงสร้างงบประมาณคงจะลำบาก ถ้าเราดูปี 2554 งบประมาณรายจ่าย 2 ล้านล้านบาท ถอยกลับไป 10 ปีที่แล้ว งบประมาณ 9 แสนล้านบาท ผ่านมา 10 ปีเพิ่มขึ้น 2 เท่า ถามว่า แล้วเงินภาษีไปไหนหมด หากไปไล่ดูการใช้เงิน ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินอุดหนุนท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายประจำขององค์กรใหม่ ๆ ภาระการชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น เมื่อบวกรวม ๆ กันแล้ว เป็นรายจ่ายประจำประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้ที่คาดว่า จะเก็บได้ 1.6 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ไม่นับรวมงบฯลงทุนใหม่ ๆ จากรัฐบาลกลาง เพราะถ้าจะมีต้องใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณอย่างเดียว ดังนั้นในส่วนท้องถิ่นการหวังพึ่งพิงจากรัฐบาลคงไม่ได้ ต้องพึ่งตัวเองอย่างเดียว จากโครงสร้างอันนี้ ท้องถิ่นต้องพึ่งตัวเอง นี่คือภูมิคุ้มกัน
เพราะฉะนั้นภายใต้ขีดจำกัดของงบประมาณ โอกาสที่จะเป็นเครื่องมือที่จะลดความเหลื่อมล้ำ...คงยาก
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวต่อว่า หลายคนพูดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ผมคิดว่าเรื่องนี้คนพอทำใจได้ แต่ถ้าเป็นความเหลื่อมล้ำทาง "โอกาส" จะกระทบความรู้สึกมากกว่า การสร้างโอกาสให้คนต้องมาจากการศึกษาและสาธารณสุข ตราบใดที่ "โอกาส" ไม่ได้ออกไปนอกกรุงเทพฯ โอกาสที่จะลดความเหลื่อมล้ำ...ยาก
พร้อมยกตัวอย่างว่า มีนักเศรษฐศาสตร์ที่เทียบเคียงเรื่อง "โอกาส" กับถนน 2 เลนที่รถติดว่า ตอนแรกติดทั้ง 2 เลน พออีกเลนเริ่มเคลื่อนรถเริ่มไปได้ คนที่อยู่เลนติด ก็คิดว่ามี "โอกาส" ลุ้นว่ารถจะเคลื่อนได้ พอเวลาผ่านไปก็ยังติดอยู่ แทนที่จะสร้างความหวังก็สร้างความแค้น ว่าทำไมไม่เคลื่อนเสียที สิ่งที่ตามมาคนที่อยู่ในเลนที่ติดก็ปาดออกมา ทำให้ติดกันหมด ต่างคนต่างไปไม่ได้...
และแนะว่า บางอย่างอย่าไปหวังว่าจะมีไอเดียบรรเจิดจากรัฐบาลกลาง บางเรื่องอาจจะติดว่างบประมาณไม่มี แต่บางทีเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณก็ได้ แต่เราสร้างรูปแบบตัวอย่างของความโปร่งใส เช่น ที่อินเดียที่ประสบความสำเร็จ เดิมคนจนไปรับบริการที่ศูนย์สุขภาพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่มาทำงาน ต่อมามีประกาศว่าคนจนสามารถขอข้อมูลจากหน่วยราชการได้ คนจนไปขอสถิติว่าเจ้าหน้าที่มาทำงานมากน้อยแค่ไหน พอคนที่รับบริการมีส่วนร่วมในการสร้างความโปร่งใส ก็ทำให้มีการบริการที่ดีขึ้น หากวันนี้มีคนจากหลายฝ่ายมารวมกัน หาตัวอย่างที่ดี ๆ เพื่อสร้างให้รับรู้ในวงกว้างได้ก็ช่วยแก้ปัญหาได้
*****************************************************************************
ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศเรื่องการปฏิรูปประเทศไทย นักวิชาการ นักเศรษฐกิจและอดีตนักการเมืองหลายคนมองเห็นว่า หลังจากความขัดแย้งที่ประเทศไทยไม่สามารถก้าวข้าม "ทักษิณ" ได้ ทำให้ ติดกับดักในวังวนอันนี้ ลากประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย
จึงเป็นที่มาของโครงการ "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" Leadership for Change เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ให้กับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำภาคประชาชนขึ้น โดยมูลนิธิสัมมาชีพและเครือมติชน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-วันที่ 5 กันยายน 2553
จึงนำบางหัวข้อมาเสนอ โดยหยิบเรื่อง "กรอบความคิดใหม่ ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลง" มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งมีวิทยากร ได้แก่ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์
ดร.สุวิทย์เริ่มถึงภาพรวมว่า Geopolitics/Economic Change : กรอบความคิดใหม่ ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลง ว่าจากนี้ไปวิกฤตจะอยู่กับเราตลอดไป และเราจะอยู่ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนอย่างไร
อย่างปัญหาโลกร้อนธนาคารพัฒนาเอเชียหรือเอดีบีได้ศึกษาเมื่อปีที่แล้วใน 4 ประเทศ มีไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย พบว่าถ้าไม่ทำอะไรเลย 4 ประเทศนี้จะถูกผลกระทบจากโลกร้อนทำให้จีดีพีหายไป 6% เมื่อเทียบกับทั้งโลก ขณะที่ทั้งโลกถ้าไม่ทำอะไรเลย จีดีพีเฉลี่ยจะหายไป 3%
คำถามคือ แล้วพวกเราอยู่ในแถบนี้จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร !
หรือภูมิอากาศที่กระทบต่อพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ จีน อินเดีย หาแหล่งพลังงาน อาหาร โดยการไปเช่าพื้นที่ประเทศ ต่าง ๆ ทำการเกษตร นั่นคือมิติที่เกิดขึ้นในโลก
ในโลกเศรษฐกิจ คนมักเชื่อว่าการค้าเสรีดีที่สุด แต่เราพบว่าวันนี้ "ไม่ใช่" แล้ว นักวิชาการบอกว่า อนาคตโลก ไม่ได้เสรี การเติบโตชะลอลง การจ้างงานคงไม่โตมาก ความผันผวนสูงขึ้น รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงมากขึ้น โอกาสการกีดกันทางการค้า ระหว่างกันน่าจะสูง
นั่นคือโลกกำลังเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เดิมโครงสร้างโลกจากที่ รวยกระจุกก็กระจายมากขึ้น จากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เริ่มมายังเอเชียโดยเฉพาะจีน อินเดีย
ดังนั้นพลังขับเคลื่อนโลกในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า อยู่ภายใต้สามเหลี่ยมอันนี้ คือ เอเชียตะวันออกนำโดยจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เอเชียใต้ นำโดยอาเซียน อินเดีย
หลายคนพูดถึงการเปลี่ยนทศวรรษ จากศตวรรษแห่งอเมริกัน ...อเมริกันเซนจูรี่มาเป็นเอเชียนเซนจูรี่ ดร.สุวิทย์กล่าวย้ำว่า "เราคงหนีไม่พ้น เราจะใช้อาเซียนให้เป็นพลังอย่างไร จะเป็นอาเซียน+3 อาเซียน+6 เราต้องเบ่งตัวเองขึ้นมาอย่างไร ?"
นี่คือภาพของโลก แล้วภาพของประเทศไทยอยู่ตรงไหน !!
10 ปี หลังวิกฤตปี 2540 เราเจอวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความผันผวนมาก เรื่องโรคร้ายต่าง ๆ ที่ระบาด แต่ไทยมีความวุ่นวายการเมือง ความแตกแยกทางสังคม ที่นำมาสู่ความอ่อนด้อยในเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน
เราพบว่าความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน โดยคน 10% ที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศเอาความมั่งคั่งไปแล้ว 34% และ 10% ของคนที่จนที่สุดมี ความมั่งคั่งแค่ 0-7% เท่านั้น
ประเด็นที่ ความเหลื่อมล้ำในประเทศทั้งเรื่องอำนาจความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสมาจากปัจจัยคอร์รัปชั่น ความเป็นอภิสิทธิ์ชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยหรือไม่ นำมาสู่สังคมที่มีความไม่ Clean&Clear ความไม่ Care&Share ความไม่ Free&Fair ทำให้เราอยู่ในโครงสร้างสังคมที่ถดถอย อยู่หรือไม่ และอาจจะก่อวิกฤตเศรษฐกิจหรือไม่
ดร.สุวิทย์ชชี้ว่า การพัฒนาในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2489-2552 ตัวเลข ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป และนำพามาสู่ความล้มเหลวทางสังคมอย่างสิ้นเชิงอย่างไร
เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในโลก ในประเทศ ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น ทุกแห่ง เป็นเรื่องที่เรากำลังเผชิญกับภาวะที่ไม่แน่นอนสูงขึ้น และอยู่ในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แกะกันไม่ออกระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แกะกันไม่ออกระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง แกะกัน ไม่ออกระหว่างโลคอลกับโกลบอล
ทั้งหมดที่กล่าววมา ดร.สุวิทย์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ว่าเป็นวิกฤตเชิงซ้อน ที่เราต้องใช้กระบวนทัศน์ใหม่มารับมือ หรือมาคิดกันใหม่
สร้าง awareness จากฐานราก
ดร.คณิศกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงควรต้องทำจากข้างล่าง แผนพัฒนาฯที่มาจากชนชั้นอีลิตมันไม่เกิดแล้ว ต่อไปนี้ไม่มีใครทำตามแผนที่คนอื่นทำให้แล้ว ชุมชนต้องทำแผนขึ้นมา วิธีคิดต้องกลับหัวกลับหาง
"เรามองเห็นภาพ 1.การเมืองไม่แข็งแรง 2.ข้าราชการอ่อนแอ กลุ่มที่เป็นคนนำไม่ได้เป็นคนนำเหมือนเมื่อก่อน สิ่งที่ต้องทำคือ เราต้องสร้าง awareness จากฐานราก"
ปัญหาคือเราจะสร้างแนวคิดร่วมกันอย่างไร สิ่งหนึ่งที่บอกว่า เรามีวิกฤตเชิงซ้อน มีกระแสความไม่แน่นอนทั้งใน-นอกประเทศ ความผันผวนสูง ดังนั้นต้องมีคนสร้างความหวังว่า เศรษฐกิจสังคมจะต้องเดินอย่างไร ต้องมีกระบวนการในการสร้างความหวังขึ้นมาให้ได้ ต้องก้าวข้ามตรงนี้ไปให้ได้ก่อน ไม่งั้นคนจะสนใจแต่ปัญหาตัวเองเฉพาะหน้า
อย่างเรื่องโลกร้อน เราต้องมีความหวัง เป็นโอกาสที่ฉกฉวยได้ ไม่ใช่เรื่องที่หดหู่ ไม่มีความหวัง อย่างเรื่องน้ำที่จะน้อยลง น้ำมันจะไม่มี ทั้ง 2 เรื่องนี้ ภาคเกษตรกระทบแน่ แล้วประเทศไทยจะบริหารน้ำอย่างไร ประเทศไทยดูแลเรื่องสินค้าเกษตรอย่างไร นโยบายที่จะทำของไทยมีอะไร อะไรต้องดูแล อะไรต้องรักษาไว้ เพราะ ต่อไประบบการบริหารเศรษฐกิจในอนาคต มันไม่ใช่กลไกตลาด 100% แล้ว มันจะเป็นระบบการบริหารจัดการ 60% กลไกตลาด 40% เราต้องมีความหวังที่จะถีบตัวเองขึ้นมา
โมเดลไม่เวิร์กต้องยกเลิก
ด้าน ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า ประเทศเรามีความหวัง แต่ต้องทำอะไรใหม่ ๆ หากทำอย่างเดิมจะได้ของเดิม ๆ จะได้ ผลตอบแทนไม่ค่อยดี อย่างกรณีรูปแบบการเติบโตของไทยที่ผ่านมาเราพึ่งการส่งออกเป็นหลัก ถึงแม้ทุกยุคทุกรัฐบาล จะบอกว่า จะลดการพึ่งพาการส่งออกลงแล้ว จะพึ่งพาในประเทศมากขึ้น แต่สิ่งที่ปรากฏคือ การพึ่งพาเศรษฐกิจไทยจากการส่งออกมีแต่เพิ่มขึ้น จาก 30% ตอนนี้เป็น 60% ของจีดีพี
การพึ่งพาเครื่องยนต์เดิม ๆ หากมองไปข้างหน้าภาพชัดเจนว่า นับวันเรายิ่งพึ่งพาเศรษฐกิจโลกได้น้อยลง ทั้งการพึ่งพายุโรป สหรัฐอเมริกา เพราะเขามีปัญหาทางโครงสร้างค่อนข้างเยอะ
หลายปีเราได้ยินเรื่องจีน มีการบอกว่า จะมีการย้ายพละจากเครื่องยนต์เก่ามาเป็นเครื่องยนต์ใหม่คือจีน แต่ในความเป็นจริงในช่วงการย้ายจากเครื่องยนต์เดิม (สหรัฐอเมริกา) มาเครื่องยนต์ใหม่ แต่เครื่องยนต์ใหม่แม้จะโตเร็วแต่ขนาดเล็กอยู่ ยังทดแทนเครื่องยนต์เก่าได้ไม่เต็มที่ เพราะขนาดเศรษฐกิจจีนแค่ 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐ ความหมายคือ การที่จีน จะโตเท่าสหรัฐ 1% จีนต้องโต 3% ซึ่งการที่จะโตขนาดนั้นต่อเนื่องคงจะยาก
ดังนั้นการพึ่งส่งออกเดิม ๆ ความหวัง ไม่ค่อยมี และการส่งออกที่เราส่งออกอย่างอิเล็กทรอนิกส์ เทียบกับต้นทุนกับประเทศอื่นก็ไม่ดีนัก หากเราสามารถหาตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ได้ก็จะดีกว่า
ดร.เศรษฐพุฒิเน้นว่าโมเดลอะไรที่ไม่เวิร์กต้องยกเลิก อย่างบทเรียนวิกฤต ปี 2540 การเติบโตของไทยที่พึ่งพิงต่างประเทศเยอะ มันไม่ยั่งยืน ล่าสุด บทเรียนของเราที่พบคือ การเติบโตที่ไม่สร้าง/เปิดโอกาสให้คนก็ไม่ยั่งยืนเช่นกัน
ดังนั้นโมเดลที่ไม่เวิร์กสำหรับผม เช่น การลดแลกแจกแถมที่ชอบทำกันมากมาย เหตุผลคือ หลายอย่างที่บอกว่า การอุดหนุนหวังว่าจะช่วยคนจน ในทางปฏิบัติ...อะไรที่มีประโยชน์ก็ถูกพวกที่มีอิทธิพล/คนรวยไปรับประโยชน์ จึงไม่ตอบโจทย์
หรือการหวังจะพึ่งพามาตรการภาษีเพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ มันยากมาก คนที่จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา มีประมาณ 4-5 ล้านคน
หรือจะไปหวังเรื่องงบประมาณมาลดแลกแจกแถม หากดูในภาพรวมของโครงสร้างงบประมาณคงจะลำบาก ถ้าเราดูปี 2554 งบประมาณรายจ่าย 2 ล้านล้านบาท ถอยกลับไป 10 ปีที่แล้ว งบประมาณ 9 แสนล้านบาท ผ่านมา 10 ปีเพิ่มขึ้น 2 เท่า ถามว่า แล้วเงินภาษีไปไหนหมด หากไปไล่ดูการใช้เงิน ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินอุดหนุนท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายประจำขององค์กรใหม่ ๆ ภาระการชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น เมื่อบวกรวม ๆ กันแล้ว เป็นรายจ่ายประจำประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้ที่คาดว่า จะเก็บได้ 1.6 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ไม่นับรวมงบฯลงทุนใหม่ ๆ จากรัฐบาลกลาง เพราะถ้าจะมีต้องใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณอย่างเดียว ดังนั้นในส่วนท้องถิ่นการหวังพึ่งพิงจากรัฐบาลคงไม่ได้ ต้องพึ่งตัวเองอย่างเดียว จากโครงสร้างอันนี้ ท้องถิ่นต้องพึ่งตัวเอง นี่คือภูมิคุ้มกัน
เพราะฉะนั้นภายใต้ขีดจำกัดของงบประมาณ โอกาสที่จะเป็นเครื่องมือที่จะลดความเหลื่อมล้ำ...คงยาก
ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวต่อว่า หลายคนพูดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ผมคิดว่าเรื่องนี้คนพอทำใจได้ แต่ถ้าเป็นความเหลื่อมล้ำทาง "โอกาส" จะกระทบความรู้สึกมากกว่า การสร้างโอกาสให้คนต้องมาจากการศึกษาและสาธารณสุข ตราบใดที่ "โอกาส" ไม่ได้ออกไปนอกกรุงเทพฯ โอกาสที่จะลดความเหลื่อมล้ำ...ยาก
พร้อมยกตัวอย่างว่า มีนักเศรษฐศาสตร์ที่เทียบเคียงเรื่อง "โอกาส" กับถนน 2 เลนที่รถติดว่า ตอนแรกติดทั้ง 2 เลน พออีกเลนเริ่มเคลื่อนรถเริ่มไปได้ คนที่อยู่เลนติด ก็คิดว่ามี "โอกาส" ลุ้นว่ารถจะเคลื่อนได้ พอเวลาผ่านไปก็ยังติดอยู่ แทนที่จะสร้างความหวังก็สร้างความแค้น ว่าทำไมไม่เคลื่อนเสียที สิ่งที่ตามมาคนที่อยู่ในเลนที่ติดก็ปาดออกมา ทำให้ติดกันหมด ต่างคนต่างไปไม่ได้...
และแนะว่า บางอย่างอย่าไปหวังว่าจะมีไอเดียบรรเจิดจากรัฐบาลกลาง บางเรื่องอาจจะติดว่างบประมาณไม่มี แต่บางทีเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณก็ได้ แต่เราสร้างรูปแบบตัวอย่างของความโปร่งใส เช่น ที่อินเดียที่ประสบความสำเร็จ เดิมคนจนไปรับบริการที่ศูนย์สุขภาพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่มาทำงาน ต่อมามีประกาศว่าคนจนสามารถขอข้อมูลจากหน่วยราชการได้ คนจนไปขอสถิติว่าเจ้าหน้าที่มาทำงานมากน้อยแค่ไหน พอคนที่รับบริการมีส่วนร่วมในการสร้างความโปร่งใส ก็ทำให้มีการบริการที่ดีขึ้น หากวันนี้มีคนจากหลายฝ่ายมารวมกัน หาตัวอย่างที่ดี ๆ เพื่อสร้างให้รับรู้ในวงกว้างได้ก็ช่วยแก้ปัญหาได้
*****************************************************************************
"ชวน" ปาฐกถาพิเศษ "วันรพี" ชี้ปัญหาสังคมไทยไม่ยึดกฎ ลั่นแม้ฟ้าถล่ม "นิติธรรม" ต้องดำรงอยู่
มติชนออนไลน์
คณะกรรมการฝ่ายเสวนาวิชาการ วันรพีประจำปี 2553 จัดงานเสวนาทางวิชาการเนื่องในวันรพี เรื่อง "ผู้แทนฯ...แทนใคร ? " ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนภาพและชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงของระบบผู้แทนราษฎรในประเทศไทย และเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของปวงชนโดยแท้จริงตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยในงานมีปาฐกถาพิเศษเรื่อง " ผู้แทนราษฎรไทย ในหัวใจประชาชน" โดยนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมเสวนาได้แก่ ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์สิริ, นายบุญยอด สุขถิ่นไทย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวนฤมิตรกุล
นายชวน หลีกภัย กล่าวในการปาฐกถาพิเศษว่า อยากให้กำลังใจกับคนเรียนกฎหมายเผื่อต้องไปเป็นนักการเมือง เราไม่อยากได้คนที่ไม่รู้จะทำอะไรก็ไปเล่นการเมือง แต่อยากได้คนที่มุ่งมั่นจริงๆ เพราะความตั้งใจจะทำให้คนเตรียมตัวเพื่อเป็นมืออาชีพในเรื่องนั้นๆ หากไม่ได้ตั้งใจไปทำงานจริงส่วนรวมก็เสียหาย ฉะนั้น งานทุกงานต้องการมืออาชีพ นักการเมืองที่ดีก็เป็นนักการเมืองอาชีพ ไม่ใช่เห็นว่ามาดูแลธุรกิจตัวเอง มีงบประมาณออกเท่าไร นั่นแหละที่ทำให้วงการเมืองเสียหาย
วันนี้ บ้านเมืองมีปัญหาก็ชี้ไปที่นักการเมือง สมัยก่อนนั้นมีคนบอกพวกส.ส.คือพวกกินจอบกินเสียบ ซึ่งก็มีมูลเหมือนกันเพราะส.ส.สมัยก่อนก็แจกจอบ ส่งข้าวสาร ข่าวเหล่านี้เป็นข่าวไม่ดี ไม่เป็นมงคลกับคนที่จะเป็นนักการเมือง คำที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับผมคำหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ "บ้านเมืองมีทั้งคนดีและไม่ดี ไม่มีใครสามารถทำให้ทุกคนดีหมด การทำให้บ้านเมืองเป็นปกติสุขคือต้องส่งเสริมให้คนดีปกครองคนไม่ดี" ทุกวงการมีคนดีและไม่ดี เช่นเดียวกับวงการการเมือง
ในระบบของเรานี้ไม่มีทางหนีการมีผู้แทนฯได้ เราจะปฎิเสธการเลือกตัวแทนไม่ได้ เพียงแต่กระบวนการเลือกจะทำอย่างไรให้เป็นไปโดยราบรื่น ชอบธรรม และถูกต้อง หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองไป 78 ปีเศษๆ ระยะเวลาชั่วอายุคนยาวนานพอจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
หลัง 2475 การเมืองในปัจจุบันนี้เป็นวิวัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตย แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้กระจายไปยังด้านเศรษฐกิจ และสังคมด้วย สมัยนั้นผมเข้ากรุงเทพฯมาเรียนมหาวิทยาลัย แต่สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปเพราะเรามีมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดคุณภาพดี เรามีสถาบันการศึกษา แต่ที่เพิ่งเปลี่ยนเมื่อ10 ปีคือการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น การกระจายที่เราเคยเห็นว่ากระจุกอยู่ที่เดียวมันเริ่มไปออกที่ตำบล การกระจายอำนาจเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ผมพูดว่าการกระจายต้องกระจาย 3 สิ่งคือ รายได้, โอกาส และอำนาจ
สิ่งที่เลวร้ายที่มากับการเปลี่ยนแปลงคือ ท่ามกลางสิ่งดีมีการประพฤติไม่ชอบ การทุจริตโกงกิน ในสภา เชื่อว่า พวกมีพวกที่มาจากซื้อเสียงมากกว่าครึ่ง แต่ไม่กล้าพูดว่าค่อน ซึ่งเมื่อ40 ปีที่แล้วไม่มีคำว่าซื้อเสียงอาจมีแต่คำว่าลูกรัง เพราะชนบทไม่เจริญ ใครก็ขอลูกรัง ขอถนนลูกรัง แต่ชนิดเหมาครอบครัวละ 5000 ผมไม่เคยได้ยิน
ผมคิดว่าสิทธิของผู้แทนฯมากขึ้น จากเดิมรัฐธรรมนูญ (รธน.) 2511 เขียนชัดว่าห้ามส.ส.เป็นรัฐมนตรี คนที่จะสมัครเป็นผู้แทนจึงมีคนตั้งใจจริง "จริงๆแล้วเราคิดอะไรในการมาเป็นผู้แทนการเมือง" อันนี้คือตัวที่ทำให้เป็นปัญหา แต่ความเปลี่ยนแปลงทางบวกคือคนที่มีการศึกษามากขึ้นเข้ามา แม้ว่าจะมีคนที่เพิ่งจบการศึกษาระหว่างอยู่ในตำแหน่งก็ตาม ซึ่งต้องเตือนว่าอย่าเอาเปรียบประชาชน อย่าใช้เวลาเอาเปรียบประชาชน
ที่มาของคนจากระบบที่ผิด มาด้วยความไม่ถูกต้อง งานที่ทำไปในสภาก็เป็นเหมือนที่มาของคนนั้น เงื่อนไขที่มาจากการซื้อเสียงก็กลายเป็นเงื่อนไขการโกงกิน ตรงนี้ทำให้ภาพเสียหาย และจะทำให้เป็นตัวถ่วงทำให้คนรุ่นใหม่ท้อแท้ไม่อยากเข้ามาในวงการ เหมือนที่กลัวคนเก่งไม่เป็นหมอ เพราะถ้าคนเก่งกลัวถูกฟ้องเราจะมีปัญหาทางด้านแพทย์ ข่าวนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้มีผล หากหาข้อยุติไม่ได้อาจทำให้คนทั่วไปเกิดกลัว แต่ในที่นี้อยากให้น้องๆมองภาพการเมืองเป็นเชิงบวก ความชั่วร้ายส่วนใหญ่จะเป็นเชิงบุคคลมากกว่า
บ้านเมืองที่รู้จักสิทธิ เราต้องสอนหน้าที่ควบไปเสมอ เราต้องสอนเรื่องกฎเกณฑ์เคารพหน้าที่ มีตัวอย่างหลายเรื่องอย่างในภาคใต้เรียกได้ว่าน้องๆอิรักเลย ปัญหาทั้งหมดมาจากการที่เราไม่เคารพกฎบ้านเมืองเราไม่ทำนอกกฎ วันหนึ่งเมื่อผู้บริหารไม่เคารพกฎแต่ใช้ความรู้สึก ความเชื่อว่าปัญหาต้องแก้ด้วยวิธีนี้ ไม่ใช้กฎ ใช้วิธีคนร้ายมีเท่านี้ ต้องกำจัดให้ได้วันละเท่านี้ 3 เดือนจบ รัฐบาลจะใช้วิธีการฆ่าให้หมดนั่นเป็นที่มาที่ก่อให้เกิดปัญหาบานปลายผลจากตรงนี้คือปัญหาปัจจุบัน กลุ่มมุสลิมก็ก่อตัวขึ้น เดี๋ยวนี้เพียงชั่วเวลาไม่นานสามารถเจาะถนนยัดระเบิดได้ ผมลองสังเกตว่าทุกอาชีพตายหมดแล้ว เหลืออาชีพเดียวที่ยังไม่ตายคือ "หมอ"
วันนี้ทั้งพุทธ มุสลิมสูญเสียหมด การไม่แก้ปัญหาด้วยหลักนิติธรรมทำให้เกิดปัญหา แม้ว่าดูเป็นไปไม่ได้แต่เป็นไปแล้ว ผมรับรองว่าคำพูดที่บอกว่าคนที่เคร่งกฎหมายอาจไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่ผมรับรองว่ามันไม่ทำให้บ้านเมืองถอยหลัง อยากให้รุ่นหลังยึดมั่น ไม่ท้อถอย แม้ว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น แต่ความทุจจิรตก็ตามมา คนที่เคารพกฎจะไม่โกง เพราะจะติดกับกติกา ความถูกต้อง
สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้นักกฎหมายหวั่นไหว มีความรุนแรงที่ข่มขู่ ขู่ว่าจะเผาบ้าน ถ้าไม่ยุบปชป. เรายังต้องเชื่อว่าฟ้าถล่มดินทลายก็ต้องประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแม้ว่าจะล้าหลัง แต่ต้องยึด ผมคิดว่าคำพูดที่ว่าปล่อยคนผิดสิบคน ยังดีกว่าลงโทษคนบริสุทธิ์คนเดียว ยังเป็นคำพูดที่ถูกต้องอยู่ ถึงอย่างไรก็ขอให้นักกฎหมายยึดมั่นอยู่
ในฐานะผู้แทนฯขอพูดเพียงว่าเมื่อเรารักที่จะทำหน้าที่ด้านนี้ ก็ตั้งใจทำให้ดีที่สุด แต่หน้าที่ผู้แทนไม่ได้มีแค่ตามกฎหมาย แต่มีหน้าที่นอกกฎหมายก็พอๆกัน เราจะบอกว่าไม่ไปงานศพก็ไม่ได้ คนไทยมีสิ่งเหล่านี้ท่ามกลางสิ่งเลวร้าย ลึกๆเรามีสิ่งดีๆ ยังห่วงใยกัน พ่อแม่ลูกก็ยังดูแลกัน สิ่งเหล่านี้ไม่ควรที่จะให้สูยหายไปกับโลกสมัยใหม่ สิ่งที่ดีงานก็ไม่ต้องเปลี่ยน เก็บรักษาไว้ และต้องพัฒนาไปมากกว่านี้ และส่วนหนึ่งของผู้แทนฯจะเป็นส่วนที่สำคัญในสังคม
ความเป็นผู้แทนฯกับกฎหมายต้องอยู่คู่กัน เราเป็นตัวแทนประชาชนต้องมีหน้าที่ออกกฎหมายบังคับประชาชน เขาจะเห็นด้วยหรือไม่ เราคือปากเสียงของเขา การปกครองด้วยระบบแบบนี้การคานอำนาจต้องให้เกิดความสมดุล ที่เราเป็นตอนนี้ยังไม่สมดุล
***************************************************************************
คณะกรรมการฝ่ายเสวนาวิชาการ วันรพีประจำปี 2553 จัดงานเสวนาทางวิชาการเนื่องในวันรพี เรื่อง "ผู้แทนฯ...แทนใคร ? " ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนภาพและชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริงของระบบผู้แทนราษฎรในประเทศไทย และเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของปวงชนโดยแท้จริงตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยในงานมีปาฐกถาพิเศษเรื่อง " ผู้แทนราษฎรไทย ในหัวใจประชาชน" โดยนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้เข้าร่วมเสวนาได้แก่ ร้อยตำรวจโทเชาวริน ลัทธศักดิ์สิริ, นายบุญยอด สุขถิ่นไทย และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวนฤมิตรกุล
นายชวน หลีกภัย กล่าวในการปาฐกถาพิเศษว่า อยากให้กำลังใจกับคนเรียนกฎหมายเผื่อต้องไปเป็นนักการเมือง เราไม่อยากได้คนที่ไม่รู้จะทำอะไรก็ไปเล่นการเมือง แต่อยากได้คนที่มุ่งมั่นจริงๆ เพราะความตั้งใจจะทำให้คนเตรียมตัวเพื่อเป็นมืออาชีพในเรื่องนั้นๆ หากไม่ได้ตั้งใจไปทำงานจริงส่วนรวมก็เสียหาย ฉะนั้น งานทุกงานต้องการมืออาชีพ นักการเมืองที่ดีก็เป็นนักการเมืองอาชีพ ไม่ใช่เห็นว่ามาดูแลธุรกิจตัวเอง มีงบประมาณออกเท่าไร นั่นแหละที่ทำให้วงการเมืองเสียหาย
วันนี้ บ้านเมืองมีปัญหาก็ชี้ไปที่นักการเมือง สมัยก่อนนั้นมีคนบอกพวกส.ส.คือพวกกินจอบกินเสียบ ซึ่งก็มีมูลเหมือนกันเพราะส.ส.สมัยก่อนก็แจกจอบ ส่งข้าวสาร ข่าวเหล่านี้เป็นข่าวไม่ดี ไม่เป็นมงคลกับคนที่จะเป็นนักการเมือง คำที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับผมคำหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือ "บ้านเมืองมีทั้งคนดีและไม่ดี ไม่มีใครสามารถทำให้ทุกคนดีหมด การทำให้บ้านเมืองเป็นปกติสุขคือต้องส่งเสริมให้คนดีปกครองคนไม่ดี" ทุกวงการมีคนดีและไม่ดี เช่นเดียวกับวงการการเมือง
ในระบบของเรานี้ไม่มีทางหนีการมีผู้แทนฯได้ เราจะปฎิเสธการเลือกตัวแทนไม่ได้ เพียงแต่กระบวนการเลือกจะทำอย่างไรให้เป็นไปโดยราบรื่น ชอบธรรม และถูกต้อง หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองไป 78 ปีเศษๆ ระยะเวลาชั่วอายุคนยาวนานพอจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
หลัง 2475 การเมืองในปัจจุบันนี้เป็นวิวัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตย แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้กระจายไปยังด้านเศรษฐกิจ และสังคมด้วย สมัยนั้นผมเข้ากรุงเทพฯมาเรียนมหาวิทยาลัย แต่สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปเพราะเรามีมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดคุณภาพดี เรามีสถาบันการศึกษา แต่ที่เพิ่งเปลี่ยนเมื่อ10 ปีคือการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น การกระจายที่เราเคยเห็นว่ากระจุกอยู่ที่เดียวมันเริ่มไปออกที่ตำบล การกระจายอำนาจเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ผมพูดว่าการกระจายต้องกระจาย 3 สิ่งคือ รายได้, โอกาส และอำนาจ
สิ่งที่เลวร้ายที่มากับการเปลี่ยนแปลงคือ ท่ามกลางสิ่งดีมีการประพฤติไม่ชอบ การทุจริตโกงกิน ในสภา เชื่อว่า พวกมีพวกที่มาจากซื้อเสียงมากกว่าครึ่ง แต่ไม่กล้าพูดว่าค่อน ซึ่งเมื่อ40 ปีที่แล้วไม่มีคำว่าซื้อเสียงอาจมีแต่คำว่าลูกรัง เพราะชนบทไม่เจริญ ใครก็ขอลูกรัง ขอถนนลูกรัง แต่ชนิดเหมาครอบครัวละ 5000 ผมไม่เคยได้ยิน
ผมคิดว่าสิทธิของผู้แทนฯมากขึ้น จากเดิมรัฐธรรมนูญ (รธน.) 2511 เขียนชัดว่าห้ามส.ส.เป็นรัฐมนตรี คนที่จะสมัครเป็นผู้แทนจึงมีคนตั้งใจจริง "จริงๆแล้วเราคิดอะไรในการมาเป็นผู้แทนการเมือง" อันนี้คือตัวที่ทำให้เป็นปัญหา แต่ความเปลี่ยนแปลงทางบวกคือคนที่มีการศึกษามากขึ้นเข้ามา แม้ว่าจะมีคนที่เพิ่งจบการศึกษาระหว่างอยู่ในตำแหน่งก็ตาม ซึ่งต้องเตือนว่าอย่าเอาเปรียบประชาชน อย่าใช้เวลาเอาเปรียบประชาชน
ที่มาของคนจากระบบที่ผิด มาด้วยความไม่ถูกต้อง งานที่ทำไปในสภาก็เป็นเหมือนที่มาของคนนั้น เงื่อนไขที่มาจากการซื้อเสียงก็กลายเป็นเงื่อนไขการโกงกิน ตรงนี้ทำให้ภาพเสียหาย และจะทำให้เป็นตัวถ่วงทำให้คนรุ่นใหม่ท้อแท้ไม่อยากเข้ามาในวงการ เหมือนที่กลัวคนเก่งไม่เป็นหมอ เพราะถ้าคนเก่งกลัวถูกฟ้องเราจะมีปัญหาทางด้านแพทย์ ข่าวนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ทำให้มีผล หากหาข้อยุติไม่ได้อาจทำให้คนทั่วไปเกิดกลัว แต่ในที่นี้อยากให้น้องๆมองภาพการเมืองเป็นเชิงบวก ความชั่วร้ายส่วนใหญ่จะเป็นเชิงบุคคลมากกว่า
บ้านเมืองที่รู้จักสิทธิ เราต้องสอนหน้าที่ควบไปเสมอ เราต้องสอนเรื่องกฎเกณฑ์เคารพหน้าที่ มีตัวอย่างหลายเรื่องอย่างในภาคใต้เรียกได้ว่าน้องๆอิรักเลย ปัญหาทั้งหมดมาจากการที่เราไม่เคารพกฎบ้านเมืองเราไม่ทำนอกกฎ วันหนึ่งเมื่อผู้บริหารไม่เคารพกฎแต่ใช้ความรู้สึก ความเชื่อว่าปัญหาต้องแก้ด้วยวิธีนี้ ไม่ใช้กฎ ใช้วิธีคนร้ายมีเท่านี้ ต้องกำจัดให้ได้วันละเท่านี้ 3 เดือนจบ รัฐบาลจะใช้วิธีการฆ่าให้หมดนั่นเป็นที่มาที่ก่อให้เกิดปัญหาบานปลายผลจากตรงนี้คือปัญหาปัจจุบัน กลุ่มมุสลิมก็ก่อตัวขึ้น เดี๋ยวนี้เพียงชั่วเวลาไม่นานสามารถเจาะถนนยัดระเบิดได้ ผมลองสังเกตว่าทุกอาชีพตายหมดแล้ว เหลืออาชีพเดียวที่ยังไม่ตายคือ "หมอ"
วันนี้ทั้งพุทธ มุสลิมสูญเสียหมด การไม่แก้ปัญหาด้วยหลักนิติธรรมทำให้เกิดปัญหา แม้ว่าดูเป็นไปไม่ได้แต่เป็นไปแล้ว ผมรับรองว่าคำพูดที่บอกว่าคนที่เคร่งกฎหมายอาจไม่ได้แก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่ผมรับรองว่ามันไม่ทำให้บ้านเมืองถอยหลัง อยากให้รุ่นหลังยึดมั่น ไม่ท้อถอย แม้ว่าบ้านเมืองเจริญขึ้น แต่ความทุจจิรตก็ตามมา คนที่เคารพกฎจะไม่โกง เพราะจะติดกับกติกา ความถูกต้อง
สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้นักกฎหมายหวั่นไหว มีความรุนแรงที่ข่มขู่ ขู่ว่าจะเผาบ้าน ถ้าไม่ยุบปชป. เรายังต้องเชื่อว่าฟ้าถล่มดินทลายก็ต้องประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมแม้ว่าจะล้าหลัง แต่ต้องยึด ผมคิดว่าคำพูดที่ว่าปล่อยคนผิดสิบคน ยังดีกว่าลงโทษคนบริสุทธิ์คนเดียว ยังเป็นคำพูดที่ถูกต้องอยู่ ถึงอย่างไรก็ขอให้นักกฎหมายยึดมั่นอยู่
ในฐานะผู้แทนฯขอพูดเพียงว่าเมื่อเรารักที่จะทำหน้าที่ด้านนี้ ก็ตั้งใจทำให้ดีที่สุด แต่หน้าที่ผู้แทนไม่ได้มีแค่ตามกฎหมาย แต่มีหน้าที่นอกกฎหมายก็พอๆกัน เราจะบอกว่าไม่ไปงานศพก็ไม่ได้ คนไทยมีสิ่งเหล่านี้ท่ามกลางสิ่งเลวร้าย ลึกๆเรามีสิ่งดีๆ ยังห่วงใยกัน พ่อแม่ลูกก็ยังดูแลกัน สิ่งเหล่านี้ไม่ควรที่จะให้สูยหายไปกับโลกสมัยใหม่ สิ่งที่ดีงานก็ไม่ต้องเปลี่ยน เก็บรักษาไว้ และต้องพัฒนาไปมากกว่านี้ และส่วนหนึ่งของผู้แทนฯจะเป็นส่วนที่สำคัญในสังคม
ความเป็นผู้แทนฯกับกฎหมายต้องอยู่คู่กัน เราเป็นตัวแทนประชาชนต้องมีหน้าที่ออกกฎหมายบังคับประชาชน เขาจะเห็นด้วยหรือไม่ เราคือปากเสียงของเขา การปกครองด้วยระบบแบบนี้การคานอำนาจต้องให้เกิดความสมดุล ที่เราเป็นตอนนี้ยังไม่สมดุล
***************************************************************************
ช็อก!ขึ้นค่าเช่าจตุจักร20เท่า รถไฟบี้กทม.ต่อสัญญา30ปีจ่าย1.3หมื่นล.
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
การรถไฟฯเปิดศึก กทม. ซุ่มเก็บข้อมูล 8,800 แผงค้าตลาดนัดจตุจักร งัดเป็นไม้เด็ดขึ้นค่าเช่าหลังเหลืออายุสัญญาเช่าแค่ปีเศษ ชี้ค่าเช่าใหม่ต้องสะท้อนราคาตลาด ดัดหลังพวกหัวใสนำแผงค้าไปปล่อยเช่าช่วง 2-3 ทอด ปั่นราคาพุ่ง 1-5 หมื่นบาท/แผง/เดือน ทั้งที่ กทม.เก็บค่าเช่าแค่ 120-2,600 บาท/แผง/เดือน เสียงแข็งหากต่อสัญญาเช่าอีก 30 ปี กทม.ต้องจ่ายผลตอบแทน 1.3 หมื่นล้านบาท ด้านรองผู้ว่าฯ กทม.เมินคำขู่ ขอจ่ายเรตเดียวกับค่าเช่า อ.ต.ก. 600 บาท/ตร.ม./ปี
เหลือเวลาปีเศษ สัญญาเช่าที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักร เนื้อที่ 68-0- 95 ไร่ ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เช่าใช้ประโยชน์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม 2555 การเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่กำลังเป็นที่จับตามองว่า สุดท้าย ร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทนมากน้อย เช่นเดียวกับที่ผู้ประกอบการและผู้ค้าที่เช่าแผงค้ากับกทม.กำลังลุ้นระทึกเพราะต้องจ่ายค่าเช่าแพงขึ้นกว่าเดิมแน่
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย ว่า ร.ฟ.ท.มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาประเมินมูลค่าทรัพย์สินตลาดนัดจตุจักรเนื้อที่ 68-0-95 ไร่ หรือ 109,180 ตร.ม.ใหม่ทั้งหมดแล้ว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเจรจากับ กทม.ผู้เช่าเดิม ก่อนตัดสินใจว่าจะต่อสัญญาเช่าให้หรือไม่ หลังสิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 มกราคม 2555 เพื่อให้สะท้อนราคาตลาดจริง ๆ จะไม่ใช่ราคาเดิมที่ได้ค่าเช่าจาก กทม.ตลอดอายุสัญญา 25 ปี เพียงแค่ 144 ล้านบาทเศษ เนื่องจากปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป มีศักยภาพสูงขึ้นมาก มีทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอส ดังนั้นผลตอบแทนจะต้องมากกว่าเดิม เหมือนกับกรณีต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินให้กับศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ร.ฟ.ท.ตั้งแท่นต่ออายุ 30 ปี 1.3 หมื่น ล.
"ผลประเมินออกมา เมื่อทรัพย์สินตกเป็นของ ร.ฟ.ท.ทันทีหลังหมดสัญญาวันที่ 2 มกราคม 2555 มูลค่าอยู่ที่ 15,292 ล้านบาท ถ้าต่อสัญญาเช่าให้ กทม.อีก 30 ปี ร.ฟ.ท.ต้องได้ผลตอบแทนตลอดอายุสัญญา 13,177 ล้านบาท ทั้งหมดนี้จะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณาอนุมัติก่อนเจรากับ กทม. หาก กทม.ยอมรับเงื่อนไขก็จบ แต่หากไม่รับราคานี้ เราจะบริหารเองโดยบริษัทลูก คือ บริษัท บริหารสินทรัพย์ฯที่ตั้งขึ้นภายใน ร.ฟ.ท."
ทั้งนี้ คำนวณคร่าวๆ ผลประโยชน์ ตอบแทน 13,177 ล้านบาท 30 ปี เฉลี่ยปีละ 440 ล้านบาท ขณะที่ปีสุดท้ายสัญญาเดิม (2555) กทม.จ่ายในอัตรา 24.2 ล้านบาท เท่ากับค่าเช่าใหมเพิ่มประมาณ 20 เท่า
ตัวเลขที่ออกมาทั้งหมด บริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่จริงและจัดเก็บข้อมูลโดยสำรวจราคาตลาดที่มีการเช่าจริงในปัจจุบัน ด้วยการสอบถามผู้ค้า ผลที่ออกมาปัจจุบันผู้ค้าจ่ายค่าเช่าแผงเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-50,000 บาท/แผง/เดือน ในส่วนนี้บริษัทที่ปรึกษาได้จัดเก็บข้อมูลพร้อมจัดทำบัญชีและแผนผังการเช่าโดยแบ่งเป็นโซน ๆ ประเมินจากทรัพย์สินที่มีอยู่ คือ แผงค้ากึ่งถาวรใน 27 โครงการ 8,875 แผงค้า แผงค้าไก่ชน (เดิม) 85 แผงค้า นอกจากนี้ยังมีอาคารตัวแอล (แบ่งการใช้ประโยชน์เป็นธนาคารไทยพาณิชย์และร้านกาแฟดอยตุง) 1 อาคาร อาคารธนาคารออมสิน 1 อาคาร อาคารกองอำนวยการ (กองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร ธนาคารทหารไทยและธนาคารกรุงเทพ) 1 อาคาร อาคารร้านภูฟ้า 1 อาคาร อาคารห้องน้ำ 8 อาคาร
"ในหลักการ ร.ฟ.ท.จะต่อสัญญาให้ ถ้า กทม.ยอมรับค่าเช่าใหม่ที่ประเมินออกมา ส่วนจะมีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมจะต้องเจรจาร่วมกัน เช่น การแบ่งสัดส่วนรายได้จากค่าเช่า ร.ฟ.ท.ได้ตอบแทนในสัดส่วน 60% และ กทม. 40% เป็นต้น"
กทม.จ่าย 84 ล. แลกต่อสัญญาเช่า 30 ปี
แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 กทม.ได้ทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท.ตกลงจ่ายค่าเช่าในอัตราใหม่ที่ค้างชำระ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2544-1 มกราคม 2554 จากอัตราเดิมจ่าย 32 บาท/ตร.ม./ปี คือ 1.ช่วงวันที่ 2 มกราคม 2544-1 มกราคม 2551 อัตรา 64 บาท/ตร.ม./ปี เป็นเงิน 24,688,832 บาท
2.ช่วงวันที่ 2 มกราคม 2551-1 มกราคม 2554 อัตรา 191.41 บาท/ตร.ม./ปี เป็นเงิน 59,233,888 บาท และค่าเช่าค้างจ่ายจาก กองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร วันที่ 2 มกราคม 2552- 1 มกราคม 2554 วงเงิน 500,182 บาท รวมเป็นเงิน 84,422,902 บาท และ กทม.ได้ชำระเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา พร้อมขอต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีก 30 ปี จาก 2 มกราคม 2555-2 มกราคม 2585
เช่าช่วงพุ่ง 1-5 หมื่นบาท/แผง/เดือน
"ปัญหาตลาดนัดจตุจักรคือ ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของแผงไม่ได้ค้าขายจริง แต่นำไปให้เช่าช่วง 2-3 ทอด ขณะที่ กทม.เก็บค่าเช่าจาก ผู้เช่าแผงราคาต่ำมากเฉลี่ย 120-2,600 บาท/แผง/เดือน ขึ้นอยู่กับทำเล แต่ผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของแผงนำไปปล่อยเช่าเฉลี่ย 10,000-50,000 บาท/แผง/เดือน ดังนั้น ค่าเช่าใหม่จะต้องไม่ต่ำจากนี้แน่นอน"
ทั้งนี้หาก กทม.ได้ต่อสัญญาเช่าก็จะต้องสังคายนาบัญชีชื่อผู้เช่าเดิมที่จดทะเบียน 8,875 แผงทั้งหมด เพราะถือเป็นการเริ่มสัญญาใหม่ และให้ผู้ค้ามาทำสัญญาเช่าโดยตรงกับ กทม.ในอัตราค่าเช่าใหม่ อาจจะอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท/แผง/เดือน เชื่อว่าผู้ค้าจะรับได้ เพราะปัจจุบันจ่ายค่าเช่าอัตรานี้อยู่แล้ว จะลดปัญหาเรื่องการเช่าช่วงได้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้สอบถามผู้ค้าโนโซนทำเลดีเยี่ยมติดถนนพหลโยธิน ถนนกำแพงเพชร พบว่าค่าเช่าอยู่ที่ 10,000-30,000 บาท/แผง/เดือน ส่วนโซนระดับปานกลาง (ด้านใน)และมุมอับเฉลี่ย 5,000-10,000 บาท/แผง/เดือน ขณะที่บางแผงประกาศขายขาด โซนด้านใน 840,000 บาท/แผง โซนด้านนอก ๆ 1 ล้านบาท/แผง
กทม.ยันต่อสัญญาผู้เช่าเดิม
นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการตลาดนัดจตุจักร เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เจรจากับ ร.ฟ.ท. ขึ้นอยู่กับนโยบายผู้บริหาร ว่าจะยอมรับเงื่อนไขใหม่ได้มากน้อยแค่ไหน แต่กทม.ได้ชำระหนี้เก่าที่ค้างอยู่ 84 ล้านบาทแล้ว และให้ผู้เช่าในตลาดกว่า 10,000 แผง (จดทะเบียน 8,800 กว่าแผง ที่เหลือไม่ได้ขึ้นทะเบียน) จ่ายค่าเช่าเพิ่มเฉลี่ยแผงละ 8,100 บาท เป็นการจัดเก็บครั้งเดียว เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ต่อสัญญาเช่าตามที่ขอไป 30 ปี
"หลังได้ต่อสัญญา ร.ฟ.ท.คงปรับค่าเช่าเพิ่มแน่ เพราะเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่ แต่จะได้ข้อสรุปอย่างไร ยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้เจรจา แต่หากปรับเพิ่มจะทำให้รายได้ตลาดเพิ่มจากเดิมปีละ 40-50 ล้านบาท"
"ยอมรับว่า ปัญหาการเช่าช่วงมี แต่จับไม่ได้ เพราะเวลาไปสอบถามจะได้รับแจ้งว่าเป็นญาติกัน ถ้าผมรู้จับไปหมดแล้ว ที่ผ่านมาหากทำผิดจะมีการปรับ เช่น เดิมจ่าย 120 บาท/แผง/เดือน จะเพิ่มเป็น 240 บาท/แผง/เดือน"
ด้านนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า กทม.ทำตามเงื่อนไข ร.ฟ.ท. ที่แจ้งว่า เมื่อจ่ายหนี้ค้าง 84 ล้านบาท แล้วจะพิจารณาต่อสัญญาเช่าให้ 30 ปี แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อเจรจาสัญญาเช่าใหม่ แต่ที่ ร.ฟ.ท.ระบุว่า จะต้อง ได้ผลตอบแทนเหมือนกรณีห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว 10,000-20,000 ล้านบาท คิดว่าฝันไปหรือเปล่า ถ้าค่าเช่าสูงมากจนรับไม่ไหว กทม.ก็คงไม่ต่อสัญญา ให้ ร.ฟ.ท. ดำเนินการเองดีกว่า เพราะจะอิงกับกรณีเซ็นทรัลไม่ได้ ต้องอิงกับอัตราค่าเช่าขององค์การตลาดกลางฯ (อ.ต.ก.) ที่ค่าเช่าอยู่ที่ 500-600 บาท/ ตร.ม./ปี เพราะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
****************************************************************************
การรถไฟฯเปิดศึก กทม. ซุ่มเก็บข้อมูล 8,800 แผงค้าตลาดนัดจตุจักร งัดเป็นไม้เด็ดขึ้นค่าเช่าหลังเหลืออายุสัญญาเช่าแค่ปีเศษ ชี้ค่าเช่าใหม่ต้องสะท้อนราคาตลาด ดัดหลังพวกหัวใสนำแผงค้าไปปล่อยเช่าช่วง 2-3 ทอด ปั่นราคาพุ่ง 1-5 หมื่นบาท/แผง/เดือน ทั้งที่ กทม.เก็บค่าเช่าแค่ 120-2,600 บาท/แผง/เดือน เสียงแข็งหากต่อสัญญาเช่าอีก 30 ปี กทม.ต้องจ่ายผลตอบแทน 1.3 หมื่นล้านบาท ด้านรองผู้ว่าฯ กทม.เมินคำขู่ ขอจ่ายเรตเดียวกับค่าเช่า อ.ต.ก. 600 บาท/ตร.ม./ปี
เหลือเวลาปีเศษ สัญญาเช่าที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักร เนื้อที่ 68-0- 95 ไร่ ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เช่าใช้ประโยชน์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม 2555 การเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่กำลังเป็นที่จับตามองว่า สุดท้าย ร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทนมากน้อย เช่นเดียวกับที่ผู้ประกอบการและผู้ค้าที่เช่าแผงค้ากับกทม.กำลังลุ้นระทึกเพราะต้องจ่ายค่าเช่าแพงขึ้นกว่าเดิมแน่
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย ว่า ร.ฟ.ท.มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาประเมินมูลค่าทรัพย์สินตลาดนัดจตุจักรเนื้อที่ 68-0-95 ไร่ หรือ 109,180 ตร.ม.ใหม่ทั้งหมดแล้ว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเจรจากับ กทม.ผู้เช่าเดิม ก่อนตัดสินใจว่าจะต่อสัญญาเช่าให้หรือไม่ หลังสิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 มกราคม 2555 เพื่อให้สะท้อนราคาตลาดจริง ๆ จะไม่ใช่ราคาเดิมที่ได้ค่าเช่าจาก กทม.ตลอดอายุสัญญา 25 ปี เพียงแค่ 144 ล้านบาทเศษ เนื่องจากปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป มีศักยภาพสูงขึ้นมาก มีทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอส ดังนั้นผลตอบแทนจะต้องมากกว่าเดิม เหมือนกับกรณีต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินให้กับศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ร.ฟ.ท.ตั้งแท่นต่ออายุ 30 ปี 1.3 หมื่น ล.
"ผลประเมินออกมา เมื่อทรัพย์สินตกเป็นของ ร.ฟ.ท.ทันทีหลังหมดสัญญาวันที่ 2 มกราคม 2555 มูลค่าอยู่ที่ 15,292 ล้านบาท ถ้าต่อสัญญาเช่าให้ กทม.อีก 30 ปี ร.ฟ.ท.ต้องได้ผลตอบแทนตลอดอายุสัญญา 13,177 ล้านบาท ทั้งหมดนี้จะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณาอนุมัติก่อนเจรากับ กทม. หาก กทม.ยอมรับเงื่อนไขก็จบ แต่หากไม่รับราคานี้ เราจะบริหารเองโดยบริษัทลูก คือ บริษัท บริหารสินทรัพย์ฯที่ตั้งขึ้นภายใน ร.ฟ.ท."
ทั้งนี้ คำนวณคร่าวๆ ผลประโยชน์ ตอบแทน 13,177 ล้านบาท 30 ปี เฉลี่ยปีละ 440 ล้านบาท ขณะที่ปีสุดท้ายสัญญาเดิม (2555) กทม.จ่ายในอัตรา 24.2 ล้านบาท เท่ากับค่าเช่าใหมเพิ่มประมาณ 20 เท่า
ตัวเลขที่ออกมาทั้งหมด บริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่จริงและจัดเก็บข้อมูลโดยสำรวจราคาตลาดที่มีการเช่าจริงในปัจจุบัน ด้วยการสอบถามผู้ค้า ผลที่ออกมาปัจจุบันผู้ค้าจ่ายค่าเช่าแผงเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-50,000 บาท/แผง/เดือน ในส่วนนี้บริษัทที่ปรึกษาได้จัดเก็บข้อมูลพร้อมจัดทำบัญชีและแผนผังการเช่าโดยแบ่งเป็นโซน ๆ ประเมินจากทรัพย์สินที่มีอยู่ คือ แผงค้ากึ่งถาวรใน 27 โครงการ 8,875 แผงค้า แผงค้าไก่ชน (เดิม) 85 แผงค้า นอกจากนี้ยังมีอาคารตัวแอล (แบ่งการใช้ประโยชน์เป็นธนาคารไทยพาณิชย์และร้านกาแฟดอยตุง) 1 อาคาร อาคารธนาคารออมสิน 1 อาคาร อาคารกองอำนวยการ (กองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร ธนาคารทหารไทยและธนาคารกรุงเทพ) 1 อาคาร อาคารร้านภูฟ้า 1 อาคาร อาคารห้องน้ำ 8 อาคาร
"ในหลักการ ร.ฟ.ท.จะต่อสัญญาให้ ถ้า กทม.ยอมรับค่าเช่าใหม่ที่ประเมินออกมา ส่วนจะมีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมจะต้องเจรจาร่วมกัน เช่น การแบ่งสัดส่วนรายได้จากค่าเช่า ร.ฟ.ท.ได้ตอบแทนในสัดส่วน 60% และ กทม. 40% เป็นต้น"
กทม.จ่าย 84 ล. แลกต่อสัญญาเช่า 30 ปี
แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 กทม.ได้ทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท.ตกลงจ่ายค่าเช่าในอัตราใหม่ที่ค้างชำระ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2544-1 มกราคม 2554 จากอัตราเดิมจ่าย 32 บาท/ตร.ม./ปี คือ 1.ช่วงวันที่ 2 มกราคม 2544-1 มกราคม 2551 อัตรา 64 บาท/ตร.ม./ปี เป็นเงิน 24,688,832 บาท
2.ช่วงวันที่ 2 มกราคม 2551-1 มกราคม 2554 อัตรา 191.41 บาท/ตร.ม./ปี เป็นเงิน 59,233,888 บาท และค่าเช่าค้างจ่ายจาก กองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร วันที่ 2 มกราคม 2552- 1 มกราคม 2554 วงเงิน 500,182 บาท รวมเป็นเงิน 84,422,902 บาท และ กทม.ได้ชำระเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา พร้อมขอต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีก 30 ปี จาก 2 มกราคม 2555-2 มกราคม 2585
เช่าช่วงพุ่ง 1-5 หมื่นบาท/แผง/เดือน
"ปัญหาตลาดนัดจตุจักรคือ ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของแผงไม่ได้ค้าขายจริง แต่นำไปให้เช่าช่วง 2-3 ทอด ขณะที่ กทม.เก็บค่าเช่าจาก ผู้เช่าแผงราคาต่ำมากเฉลี่ย 120-2,600 บาท/แผง/เดือน ขึ้นอยู่กับทำเล แต่ผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของแผงนำไปปล่อยเช่าเฉลี่ย 10,000-50,000 บาท/แผง/เดือน ดังนั้น ค่าเช่าใหม่จะต้องไม่ต่ำจากนี้แน่นอน"
ทั้งนี้หาก กทม.ได้ต่อสัญญาเช่าก็จะต้องสังคายนาบัญชีชื่อผู้เช่าเดิมที่จดทะเบียน 8,875 แผงทั้งหมด เพราะถือเป็นการเริ่มสัญญาใหม่ และให้ผู้ค้ามาทำสัญญาเช่าโดยตรงกับ กทม.ในอัตราค่าเช่าใหม่ อาจจะอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท/แผง/เดือน เชื่อว่าผู้ค้าจะรับได้ เพราะปัจจุบันจ่ายค่าเช่าอัตรานี้อยู่แล้ว จะลดปัญหาเรื่องการเช่าช่วงได้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้สอบถามผู้ค้าโนโซนทำเลดีเยี่ยมติดถนนพหลโยธิน ถนนกำแพงเพชร พบว่าค่าเช่าอยู่ที่ 10,000-30,000 บาท/แผง/เดือน ส่วนโซนระดับปานกลาง (ด้านใน)และมุมอับเฉลี่ย 5,000-10,000 บาท/แผง/เดือน ขณะที่บางแผงประกาศขายขาด โซนด้านใน 840,000 บาท/แผง โซนด้านนอก ๆ 1 ล้านบาท/แผง
กทม.ยันต่อสัญญาผู้เช่าเดิม
นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการตลาดนัดจตุจักร เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เจรจากับ ร.ฟ.ท. ขึ้นอยู่กับนโยบายผู้บริหาร ว่าจะยอมรับเงื่อนไขใหม่ได้มากน้อยแค่ไหน แต่กทม.ได้ชำระหนี้เก่าที่ค้างอยู่ 84 ล้านบาทแล้ว และให้ผู้เช่าในตลาดกว่า 10,000 แผง (จดทะเบียน 8,800 กว่าแผง ที่เหลือไม่ได้ขึ้นทะเบียน) จ่ายค่าเช่าเพิ่มเฉลี่ยแผงละ 8,100 บาท เป็นการจัดเก็บครั้งเดียว เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ต่อสัญญาเช่าตามที่ขอไป 30 ปี
"หลังได้ต่อสัญญา ร.ฟ.ท.คงปรับค่าเช่าเพิ่มแน่ เพราะเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่ แต่จะได้ข้อสรุปอย่างไร ยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้เจรจา แต่หากปรับเพิ่มจะทำให้รายได้ตลาดเพิ่มจากเดิมปีละ 40-50 ล้านบาท"
"ยอมรับว่า ปัญหาการเช่าช่วงมี แต่จับไม่ได้ เพราะเวลาไปสอบถามจะได้รับแจ้งว่าเป็นญาติกัน ถ้าผมรู้จับไปหมดแล้ว ที่ผ่านมาหากทำผิดจะมีการปรับ เช่น เดิมจ่าย 120 บาท/แผง/เดือน จะเพิ่มเป็น 240 บาท/แผง/เดือน"
ด้านนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า กทม.ทำตามเงื่อนไข ร.ฟ.ท. ที่แจ้งว่า เมื่อจ่ายหนี้ค้าง 84 ล้านบาท แล้วจะพิจารณาต่อสัญญาเช่าให้ 30 ปี แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อเจรจาสัญญาเช่าใหม่ แต่ที่ ร.ฟ.ท.ระบุว่า จะต้อง ได้ผลตอบแทนเหมือนกรณีห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว 10,000-20,000 ล้านบาท คิดว่าฝันไปหรือเปล่า ถ้าค่าเช่าสูงมากจนรับไม่ไหว กทม.ก็คงไม่ต่อสัญญา ให้ ร.ฟ.ท. ดำเนินการเองดีกว่า เพราะจะอิงกับกรณีเซ็นทรัลไม่ได้ ต้องอิงกับอัตราค่าเช่าขององค์การตลาดกลางฯ (อ.ต.ก.) ที่ค่าเช่าอยู่ที่ 500-600 บาท/ ตร.ม./ปี เพราะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
****************************************************************************
ภท.คุยโหวตงบฯผ่านเปิดอีก10ส.ส.พท.ซบ "สุรพงษ์"แฉค่าดูดผ่อนจ่ายเป็นงวด อ้าง"แม้ว"รู้ใครบ้างเป็นอีแอบรับเงิน 2 ทาง
ที่มา.มติชนออนไลน์
ภูมิใจไทยรอผ่านงบฯเปิดอีก10ส.ส.เพื่อไทยเข้าร่วมงาน
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น พรรค ภท. แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน กล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรค พท. ระบุว่าพรรค ภท.ใช้งบฯท้องถิ่นล่อซื้อ ส.ส.พรรค พท. ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะ ส.ส.ส่วนใหญ่ที่ย้ายมาอยู่กับพรรค ภท.ส่วนใหญ่พอมีเงินที่จะเล่นการเมืองอยู่บ้างแล้ว ปัจจัยเรื่องเงินทองจึงไม่มีผลในการย้ายพรรค แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้น พรรค พท.ต้องไปทบทวนตัวเองว่าเพราะอะไร ทั้งๆ ที่เป็นพรรคใหญ่ มีเงินสนับสนุนมาก อาจเป็นเพราะเริ่มเห็นว่าอนาคตของพรรค พท. ที่ยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้นำพรรค และจะต่อสู้ทิศทางไหน ทำให้ ส.ส.ขาดความอบอุ่น ตรงข้ามพรรค ภท.ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว ซึ่งมีเพื่อน ส.ส.ที่พรรค พท.มาปรับทุกข์ให้ฟังเป็นประจำ
"พรรคจดรายละเอียดเอาไว้หมดว่าใครเป็นใคร ใครจะมาอยู่กับเรา ใครแทงกั๊กอยู่ โดยรวมเรามี ส.ส.ที่มาร่วมกิจกรรมกับพรรคทั้ง ส.ส.พรรคภูมิใจไทย และ ส.ส.พรรคอื่นที่เป็น ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทยทางพฤตินัยและเปิดตัวแล้วรวม 53 คน แต่ยังเหลืออีก 10 กว่าคนที่เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ยังแทงกั๊กอยู่ ซึ่ง 10 กว่าคนนี้เรานัดเปิดตัวมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม แต่ยังไม่กล้ามา เพราะเมื่อมีข่าวออกไปทำให้เขาตกใจ เกรงว่าจะมีผลกระทบในพื้นที่ จึงขออนุญาตยังไม่เปิดตัว พรรคก็ให้โอกาส แต่หลังจากผ่านร่าง พ.ร.บ.งบฯ 2554 พรรคภูมิใจไทยจะเปิดตัว ส.ส.กลุ่มนี้อีกครั้ง"
คุยเริ่มสกรีนส.ส.ไหลเข้าภูมิใจไทย
นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น พรรค ภท. แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลที่พรรค ภท.จะต้องไปใช้เงินซื้อ ส.ส.พรรค พท. เพราะวันนี้ ส.ส.อีสานของพรรค พท. เดินเข้าพรรค ภท.ทุกวัน จนแกนนำพรรค ภท.ต้องสกรีนคนที่จะมาอยู่กับพรรคอย่างละเอียด เพราะต้องการได้ ส.ส.ที่มีคุณภาพ ส่วนการใช้งบฯท้องถิ่นไปล่อ ส.ส. ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะการประชุมกรรมาธิการงบฯ ส.ส.พรรค พท.เป็นกรรมาธิการอยู่ด้วยไม่เห็นมีใครโวยวายอะไร หากพิจารณาภาพรวมงบฯอย่างละเอียด จะพบว่างบฯต่างๆ กระจายตัวไปทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง หากงบฯไปลงพื้นที่ใครผิดปกติเท่ากับว่าทำผิดกฎหมาย
"วันนี้ทุกคนวิน-วินกันทั้งหมด งบฯกระจายตัวไปทุกพื้นที่ ส.ส.ทุกคนพอใจ พรรคภูมิใจไทยไม่ต้องเอาอะไรไปล่อเพื่อดูด ส.ส.มา เพราะจำนวน ส.ส.ที่จะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.งบฯ 2554 นั้นรัฐบาลมีอยู่ 270 เสียง ซึ่งเพียงพอที่จะโหวตผ่านสภาไปได้โดยไม่ต้องอาศัยฝ่ายค้านอยู่แล้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่จะมาอยู่พรรคภูมิใจไทยไม่จำเป็นต้องมายกมือสนับสนุน แต่ให้จับตาดูหลังผ่านร่าง พ.ร.บ.งบฯ 2554 ที่ถือเป็นช่วงนับถอยหลังสู่การเลือกตั้งใหม่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่จะมาอยู่กับพรรคภูมิใจไทยจะค่อยๆ ปรากฏตัว เพราะวันนี้ ส.ส.อีสานพรรคเพื่อไทยไม่รู้ว่าจะเอาผลงานที่ไหนไปคุยกับชาวบ้าน เพราะไปพูดแต่เรื่องสองมาตรฐานหรือไม่ก็เรื่องก่อการร้าย ต่างจากพรรคภูมิใจไทยที่ไปบอกได้ถึงราคาพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้น รวมถึงจังหวัดบึงกาฬที่เป็นจังหวัดที่ 77"
เพื่อไทยจับตา 5 ส.ส. ย่องเจรจาภูมิใจไทย
รายงานข่าวจากพรรค พท. แจ้งว่า การย้ายพรรคของ ส.ส.พรรค พท.ไปพรรค ภท. มีการทาบทามผ่านอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหนึ่งของพรรค ภท. คนหนึ่งที่มาจากภาคอีสาน และเป็นอนุกรรมาธิดูแลเรื่องท้องถิ่น ตามงบฯปี 2554 และยังเป็นคนประสานเรื่องงบฯกับทุกกระทรวงด้วย ล่าสุดมีการทาบทาม ส.ส.พรรค พท. 7 คนจากภาคอีสาน เช่น จ.อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เป็นต้น และเมื่อช่วงสายวันที่ 5 สิงหาคม ส.ส.พรรค พท. 5 คนจากกลุ่มดังกล่าวได้เจรจากับแกนนำพรรค ภท.อีกครั้ง ซึ่งพรรค พท. ทราบความเคลื่อนไหวทั้งหมดและจับตา ส.ส.กลุ่มดังกล่าวมาพักใหญ่ เนื่องจาก ส.ส.กลุ่มนี้เองแอบเดินทางไปกระทรวงมหาดไทยบ่อยครั้งเพื่อพบกับรัฐมนตรีจากพรรค ภท. ส่วนหนึ่งเป็น ส.ส.ที่เคยงดออกเสียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าพรรค ภท. ครั้งล่าสุด
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.เลย พรรค พท.และแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า การตัดสินใจใดๆ ขอให้นึกถึงบุญคุณผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทางการเมืองและช่วยให้ได้เป็นผู้แทนฯ ถ้าวันนี้ลืมบุญคุญ ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร
ซัดอีแอบรับ2ทาง-"แม้ว"รู้ใครบ้าง
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรค พท. กล่าวว่า ขอชมนายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรค พท. และ ส.ส.อีก 3 คน ที่ประกาศตัวย้ายไปพรรคอื่น อย่างน้อยเป็นลูกผู้ชายที่กล้าทำกล้ารับ และให้เวลาพรรคหาคนใหม่มาลงแทน แต่กลุ่มอีแอบในพรรค พท.ที่มีอยู่จำนวนไม่น้อย ต้องขอประณามเพราะเหยียบเรือสองแคมรับเงินทั้ง 2 พรรค และบางคนคิดว่าจะรอโก่งค่าตัวในนาทีสุดท้ายช่วงใกล้เลือกตั้ง จะทำให้พรรคไม่สามารถหาตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งแทนได้ทันเวลา แต่ขอบอกไปยังคนกลุ่มนี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทราบข้อมูลดีว่ามีใครบ้าง และใจกว้างที่จะให้ ส.ส.อีแอบกลุ่มนี้ตัดสินใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากทราบว่ามี ส.ส.ในพรรครับเงินสองทางจะนำข้อมูลมาประจานหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในพรรคมีการหารือกันแต่ตัวบุคคลนั้นบางส่วนยังไม่แสดงตัวชัด แต่ทราบข้อมูลว่า ฝ่ายมีอำนาจที่จะมาดูด ส.ส.ไปให้ค่าตัวถึงคนละ 45-50 ล้านบาท แต่ไม่มีความคิดจะดูดกลับ เพราะเชื่อมั่นว่ากระแสพรรค พท.ยังดีอยู่และจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลแน่นอน
แฉมีผ่อนจ่ายเป็นงวดค่าดูด ส.ส.
นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา พรรค พท. กล่าวว่า มีการใช้งบประมาณล่อซื้อ ส.ส.มาตั้งแต่การโหวตงบประมาณปี 2553 แล้ว นอกจากงบฯในพื้นที่ที่ ส.ส.จะได้รับแล้วยังมีการสนับสนุนเป็นเงินสดตัวเลข 8 หลักอีกด้วย มี ส.ส.พรรค พท. 2 คน ที่ย้ายไปพรรคการเมืองหนึ่ง ทราบมาว่าก่อนหน้าที่จะโหวตงบฯปี 2553 ทั้ง 2 คนนั้น ได้เงินสดไปแล้วก้อนหนึ่ง นอกจากงบฯที่จะได้รับในพื้นที่ประมาณ 100-120 ล้านบาท
"ส่วนเงินสดจะเป็นเท่าใดนั้น ผมไม่ทราบแน่ชัด รู้แต่เพียงว่าระดับ ส.ส.เงิน 1-2 ล้านไม่ต้องพูดถึง การย้ายพรรคอย่างนี้ต้อง 10-20 ล้านบาทขึ้นไปเป็นอย่างน้อย โดยอาจมีการผ่อนชำระเป็นงวดๆ เช่น จ่ายมัดจำหลังตกลงกัน จ่ายหลังเปิดตัว"นายไพจิตกล่าว และว่า ในภาคอีสานประเมินว่าน่าจะมี ส.ส.ของพรรค 2-3 คนที่จะย้ายพรรค กลุ่มที่น่าจับตาเป็นพิเศษคือ ส.ส.กลุ่มที่งดออกเสียงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าพรรค ภท.ครั้งที่ผ่านมา เชื่อว่า ส.ส.กลุ่มนี้ยังติดต่อพูดคุยกับพรรค ภท.อยู่
****************************************************************************
ภูมิใจไทยรอผ่านงบฯเปิดอีก10ส.ส.เพื่อไทยเข้าร่วมงาน
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น พรรค ภท. แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน กล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรค พท. ระบุว่าพรรค ภท.ใช้งบฯท้องถิ่นล่อซื้อ ส.ส.พรรค พท. ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะ ส.ส.ส่วนใหญ่ที่ย้ายมาอยู่กับพรรค ภท.ส่วนใหญ่พอมีเงินที่จะเล่นการเมืองอยู่บ้างแล้ว ปัจจัยเรื่องเงินทองจึงไม่มีผลในการย้ายพรรค แต่ปัญหาที่แท้จริงนั้น พรรค พท.ต้องไปทบทวนตัวเองว่าเพราะอะไร ทั้งๆ ที่เป็นพรรคใหญ่ มีเงินสนับสนุนมาก อาจเป็นเพราะเริ่มเห็นว่าอนาคตของพรรค พท. ที่ยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้นำพรรค และจะต่อสู้ทิศทางไหน ทำให้ ส.ส.ขาดความอบอุ่น ตรงข้ามพรรค ภท.ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเริ่มแข็งแรงขึ้นแล้ว ซึ่งมีเพื่อน ส.ส.ที่พรรค พท.มาปรับทุกข์ให้ฟังเป็นประจำ
"พรรคจดรายละเอียดเอาไว้หมดว่าใครเป็นใคร ใครจะมาอยู่กับเรา ใครแทงกั๊กอยู่ โดยรวมเรามี ส.ส.ที่มาร่วมกิจกรรมกับพรรคทั้ง ส.ส.พรรคภูมิใจไทย และ ส.ส.พรรคอื่นที่เป็น ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทยทางพฤตินัยและเปิดตัวแล้วรวม 53 คน แต่ยังเหลืออีก 10 กว่าคนที่เป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่ยังแทงกั๊กอยู่ ซึ่ง 10 กว่าคนนี้เรานัดเปิดตัวมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม แต่ยังไม่กล้ามา เพราะเมื่อมีข่าวออกไปทำให้เขาตกใจ เกรงว่าจะมีผลกระทบในพื้นที่ จึงขออนุญาตยังไม่เปิดตัว พรรคก็ให้โอกาส แต่หลังจากผ่านร่าง พ.ร.บ.งบฯ 2554 พรรคภูมิใจไทยจะเปิดตัว ส.ส.กลุ่มนี้อีกครั้ง"
คุยเริ่มสกรีนส.ส.ไหลเข้าภูมิใจไทย
นายปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น พรรค ภท. แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลที่พรรค ภท.จะต้องไปใช้เงินซื้อ ส.ส.พรรค พท. เพราะวันนี้ ส.ส.อีสานของพรรค พท. เดินเข้าพรรค ภท.ทุกวัน จนแกนนำพรรค ภท.ต้องสกรีนคนที่จะมาอยู่กับพรรคอย่างละเอียด เพราะต้องการได้ ส.ส.ที่มีคุณภาพ ส่วนการใช้งบฯท้องถิ่นไปล่อ ส.ส. ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะการประชุมกรรมาธิการงบฯ ส.ส.พรรค พท.เป็นกรรมาธิการอยู่ด้วยไม่เห็นมีใครโวยวายอะไร หากพิจารณาภาพรวมงบฯอย่างละเอียด จะพบว่างบฯต่างๆ กระจายตัวไปทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง หากงบฯไปลงพื้นที่ใครผิดปกติเท่ากับว่าทำผิดกฎหมาย
"วันนี้ทุกคนวิน-วินกันทั้งหมด งบฯกระจายตัวไปทุกพื้นที่ ส.ส.ทุกคนพอใจ พรรคภูมิใจไทยไม่ต้องเอาอะไรไปล่อเพื่อดูด ส.ส.มา เพราะจำนวน ส.ส.ที่จะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.งบฯ 2554 นั้นรัฐบาลมีอยู่ 270 เสียง ซึ่งเพียงพอที่จะโหวตผ่านสภาไปได้โดยไม่ต้องอาศัยฝ่ายค้านอยู่แล้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่จะมาอยู่พรรคภูมิใจไทยไม่จำเป็นต้องมายกมือสนับสนุน แต่ให้จับตาดูหลังผ่านร่าง พ.ร.บ.งบฯ 2554 ที่ถือเป็นช่วงนับถอยหลังสู่การเลือกตั้งใหม่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยที่จะมาอยู่กับพรรคภูมิใจไทยจะค่อยๆ ปรากฏตัว เพราะวันนี้ ส.ส.อีสานพรรคเพื่อไทยไม่รู้ว่าจะเอาผลงานที่ไหนไปคุยกับชาวบ้าน เพราะไปพูดแต่เรื่องสองมาตรฐานหรือไม่ก็เรื่องก่อการร้าย ต่างจากพรรคภูมิใจไทยที่ไปบอกได้ถึงราคาพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้น รวมถึงจังหวัดบึงกาฬที่เป็นจังหวัดที่ 77"
เพื่อไทยจับตา 5 ส.ส. ย่องเจรจาภูมิใจไทย
รายงานข่าวจากพรรค พท. แจ้งว่า การย้ายพรรคของ ส.ส.พรรค พท.ไปพรรค ภท. มีการทาบทามผ่านอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงหนึ่งของพรรค ภท. คนหนึ่งที่มาจากภาคอีสาน และเป็นอนุกรรมาธิดูแลเรื่องท้องถิ่น ตามงบฯปี 2554 และยังเป็นคนประสานเรื่องงบฯกับทุกกระทรวงด้วย ล่าสุดมีการทาบทาม ส.ส.พรรค พท. 7 คนจากภาคอีสาน เช่น จ.อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เป็นต้น และเมื่อช่วงสายวันที่ 5 สิงหาคม ส.ส.พรรค พท. 5 คนจากกลุ่มดังกล่าวได้เจรจากับแกนนำพรรค ภท.อีกครั้ง ซึ่งพรรค พท. ทราบความเคลื่อนไหวทั้งหมดและจับตา ส.ส.กลุ่มดังกล่าวมาพักใหญ่ เนื่องจาก ส.ส.กลุ่มนี้เองแอบเดินทางไปกระทรวงมหาดไทยบ่อยครั้งเพื่อพบกับรัฐมนตรีจากพรรค ภท. ส่วนหนึ่งเป็น ส.ส.ที่เคยงดออกเสียงการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าพรรค ภท. ครั้งล่าสุด
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.เลย พรรค พท.และแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา กล่าวว่า การตัดสินใจใดๆ ขอให้นึกถึงบุญคุณผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาทางการเมืองและช่วยให้ได้เป็นผู้แทนฯ ถ้าวันนี้ลืมบุญคุญ ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร
ซัดอีแอบรับ2ทาง-"แม้ว"รู้ใครบ้าง
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรค พท. กล่าวว่า ขอชมนายจุมพฏ บุญใหญ่ ส.ส.สกลนคร พรรค พท. และ ส.ส.อีก 3 คน ที่ประกาศตัวย้ายไปพรรคอื่น อย่างน้อยเป็นลูกผู้ชายที่กล้าทำกล้ารับ และให้เวลาพรรคหาคนใหม่มาลงแทน แต่กลุ่มอีแอบในพรรค พท.ที่มีอยู่จำนวนไม่น้อย ต้องขอประณามเพราะเหยียบเรือสองแคมรับเงินทั้ง 2 พรรค และบางคนคิดว่าจะรอโก่งค่าตัวในนาทีสุดท้ายช่วงใกล้เลือกตั้ง จะทำให้พรรคไม่สามารถหาตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งแทนได้ทันเวลา แต่ขอบอกไปยังคนกลุ่มนี้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ทราบข้อมูลดีว่ามีใครบ้าง และใจกว้างที่จะให้ ส.ส.อีแอบกลุ่มนี้ตัดสินใจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากทราบว่ามี ส.ส.ในพรรครับเงินสองทางจะนำข้อมูลมาประจานหรือไม่ นายสุรพงษ์กล่าวว่า ในพรรคมีการหารือกันแต่ตัวบุคคลนั้นบางส่วนยังไม่แสดงตัวชัด แต่ทราบข้อมูลว่า ฝ่ายมีอำนาจที่จะมาดูด ส.ส.ไปให้ค่าตัวถึงคนละ 45-50 ล้านบาท แต่ไม่มีความคิดจะดูดกลับ เพราะเชื่อมั่นว่ากระแสพรรค พท.ยังดีอยู่และจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลแน่นอน
แฉมีผ่อนจ่ายเป็นงวดค่าดูด ส.ส.
นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา พรรค พท. กล่าวว่า มีการใช้งบประมาณล่อซื้อ ส.ส.มาตั้งแต่การโหวตงบประมาณปี 2553 แล้ว นอกจากงบฯในพื้นที่ที่ ส.ส.จะได้รับแล้วยังมีการสนับสนุนเป็นเงินสดตัวเลข 8 หลักอีกด้วย มี ส.ส.พรรค พท. 2 คน ที่ย้ายไปพรรคการเมืองหนึ่ง ทราบมาว่าก่อนหน้าที่จะโหวตงบฯปี 2553 ทั้ง 2 คนนั้น ได้เงินสดไปแล้วก้อนหนึ่ง นอกจากงบฯที่จะได้รับในพื้นที่ประมาณ 100-120 ล้านบาท
"ส่วนเงินสดจะเป็นเท่าใดนั้น ผมไม่ทราบแน่ชัด รู้แต่เพียงว่าระดับ ส.ส.เงิน 1-2 ล้านไม่ต้องพูดถึง การย้ายพรรคอย่างนี้ต้อง 10-20 ล้านบาทขึ้นไปเป็นอย่างน้อย โดยอาจมีการผ่อนชำระเป็นงวดๆ เช่น จ่ายมัดจำหลังตกลงกัน จ่ายหลังเปิดตัว"นายไพจิตกล่าว และว่า ในภาคอีสานประเมินว่าน่าจะมี ส.ส.ของพรรค 2-3 คนที่จะย้ายพรรค กลุ่มที่น่าจับตาเป็นพิเศษคือ ส.ส.กลุ่มที่งดออกเสียงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าพรรค ภท.ครั้งที่ผ่านมา เชื่อว่า ส.ส.กลุ่มนี้ยังติดต่อพูดคุยกับพรรค ภท.อยู่
****************************************************************************
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ : บทเรียนจากการเคลื่อนไหวพฤษภาคม 2553 (2)
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
4. การสังหารหมู่ 19 พฤษภาคม 2553
การเสนอ “แผนปรองดอง” และให้เลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยรัฐบาลเป็นการรุกกลับทางการเมืองที่ทำให้แกนนำ นปช.ต้องเผชิญความขัดแย้งระหว่างการต่อสู้ทางการเมืองกับฝ่ายเผด็จการด้านหนึ่ง กับการเมืองของมวลชนในอีกด้านหนึ่ง
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นเพียงเครื่องมือของเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ไม่มีอำนาจและความเป็นเอกเทศที่จะตัดสินใจยุบสภาได้ด้วยตนเอง ความจริงคือ ฝ่ายเผด็จการไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในระยะเวลาอันใกล้ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะซ้ำรอยความผิดพลาดในอดีตของพวกเขาที่ยอมให้มีการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2550
ทั้งแกนนำและมวลชนต่างรู้ว่า “แผนปรองดอง” ดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการหลอกลวง และจะต้องถูกฝ่ายเผด็จการบิดพลิ้วไม่ช้าก็เร็ว แต่ถ้าแกนนำนปช.ปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลในทันที ฝ่ายเผด็จการก็จะฉวยใช้เป็นข้ออ้างทางการเมืองเพื่อใช้กำลังปราบปรามประชาชน ฉะนั้น หนทางที่สอดคล้องในขณะนั้นคือ การรับข้อเสนอของรัฐบาล ยุติการชุมนุม เพื่อรักษากำลัง ฐานมวลชนและเครือข่ายสื่อสารของตนไว้ให้พร้อม เพื่อรณรงค์เปิดโปงและเรียกร้องความเป็นธรรมจากกรณี 10 เมษายน 2553 ต่อไป รอเวลากลับมาเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้งเมื่อฝ่ายเผด็จการบิดพริ้วไม่ยุบสภาให้มีการเลือกตั้งตามกำหนดในวันข้างหน้า
แต่แกนนำก็ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ เพราะหากตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลโดยทันที พวกเขาก็จะเผชิญความขัดแย้งกับมวลชนที่ไม่ต้องการ “ปรองดอง” กับเผด็จการ
แกนนำพื้นที่และมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ได้สั่งสมความโกรธแค้นมาหลายปีอันเกิดจากการข่มเหงและความอยุติธรรม นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การยุบพรรคไทยรักไทย การปฏิเสธผลการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ด้วยการอุ้มชูอันธพาลการเมืองเสื้อเหลืองให้ยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบิน ยุบพรรคพลังประชาชน ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และการปราบปรามประชาชนเมื่อ 12-14 เมษายน 2552 มวลชนเหล่านี้จึงออกมาร่วมเคลื่อนไหวด้วยจิตใจที่พร้อมจะเผชิญกับความยากลำบากและอันตราย
กรณีนองเลือด 10 เมษายน 2553 ที่มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายรวมเกือบหนึ่งพันคนยิ่งสร้างความโกรธให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น พวกเขามิได้เพียงต้องการยุบสภาอีกต่อไป แต่ต้องการท้าทายระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตยโดยตรง แกนนำพื้นที่และมวลชนจึงปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาล และปฏิเสธแกนนำนปช.ในประเด็นดังกล่าว ผลที่อาจเกิดขึ้นคือ แกนนำบางส่วนและมวลชนจะยังคงชุมนุมยืดเยื้อต่อไปโดยลำพัง นำมาซึ่งการเข่นฆ่าประชาชนครั้งใหญ่อยู่ดี
ในขณะเดียวกัน แรงกดดันจากมวลชนยังส่งผลให้ความแตกต่างทางความคิดที่มีอยู่เดิมภายในหมู่แกนนำนปช. ขยายตัวเป็นความแตกแยกทางความคิดและยุทธวิธี แกนนำส่วนหนึ่งมี “ความโน้มเอียงทางการทหาร” ประเมินดุลกำลังของตนอย่างเพ้อฝันเกินจริง และประเมินฝ่ายเผด็จการต่ำเกินไป โดยเชื่อว่า จะยังคงไม่มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน หรือหากมีการใช้กำลัง ก็จะล้มเหลวดังเช่นกรณี 10 เมษายน และการยืนหยัดชุมนุมต่อไปจะทำให้รัฐบาลไม่มีทางอื่นใดอีกนอกจากต้องยอมยุบสภาโดยทันทีหรือลาออก
ในที่สุด ได้มีการเพิ่มข้อเรียกร้องของการชุมนุมจาก “ยุบสภา” เป็น “เอาผิดผู้รับผิดชอบกรณี 10 เมษายน” แต่การยกระดับข้อเรียกร้องดังกล่าวได้กลายเป็นสัญญาณว่า การต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในครั้งนี้มิอาจมีผลเป็นอย่างอื่นไปได้นอกจากการเข่นฆ่าประชาชนครั้งใหญ่เนื่องจากฝ่ายเผด็จการนั้นได้เตรียมแผนการมายาวนานและมีกำลังมาพร้อมสรรพ ในขณะที่ฝ่ายมวลชนประชาธิปไตยก็เต็มไปด้วยความโกรธที่สั่งสมมายาวนาน และพร้อมจะเผชิญหน้ากับฝ่ายอำมาตยาธิปไตย
ผู้วิจารณ์บางคนมีข้อแย้งว่า แกนนำนปช.ยังอาจยุติการชุมนุมได้ทันท่วงทีหากไม่มีการแตกแยกกัน และสามัคคีกันลงไปชี้แจงทำความเข้าใจกับแกนนำพื้นที่และมวลชน ข้อแย้งดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ว่า แกนนำยังคงสามารถกุมสภาพมวลชนได้ทั้งหมดตราบจนช่วงสุดท้ายของการชุมนุม แต่ความจริงคือ แกนนำนปช.ได้ค่อย ๆ สูญเสียการกุมสภาพมวลชนไปตั้งแต่เหตุการณ์ 10 เมษายน จนกระทั่งแทบจะกุมสภาพไม่ได้เลยในช่วงสุดท้าย กลายเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกเทศของแกนนำพื้นที่และแกนนำจากภายนอก รวมทั้งการเคลื่อนไหวที่เป็นไปเองของมวลชน
นัยหนึ่ง การชุมนุมของประชาชนในนาม “คนเสื้อแดง” ที่เรียกร้องการยุบสภาในช่วงเดือนมีนาคมนั้น หลังจากการปราบปรามในวันที่ 10 เมษายน ก็ได้พัฒนาไปเป็นการชุมนุมเพื่อท้าทายเผด็จการอำมาตยาธิปไตย และท้ายสุดเมื่อฝ่ายเผด็จการทำการปิดล้อมทางทหารเพื่อเตรียมการล้อมปราบครั้งที่สองในต้นเดือนพฤษภาคม การชุมนุมก็ขยายตัวกลายเป็นการลุกขึ้นสู้ของมวลชนครั้งใหญ่ โดยที่แกนนำนปช. แดงทั้งแผ่นดินไม่สามารถควบคุมได้ในที่สุด
แกนนำนปช. จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการยกระดับการชุมนุม และได้ตัดสินใจ “ยุติบทบาท” ไปก่อน แกนนำส่วนนี้แม้จะมองเห็นอย่างถูกต้องถึงอันตรายข้างหน้า แต่การที่พวกเขาตัดสินใจ “หยุด” ในขณะที่การเคลื่อนไหวของมวลชนยังคงดำเนินต่อไปนั้น มิได้เป็นผลดีต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนแต่อย่างใด ทั้งไม่ได้ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเข่นฆ่าประชาชนอย่างขนานใหญ่อยู่ดี ความรับผิดชอบของพวกเขาในฐานะผู้นำการเคลื่อนไหวจะต้องได้รับการประเมินอย่างเข้มงวดโดยมวลชนประชาธิปไตยต่อไป
แกนนำนปช. อีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ควรรับข้อเสนอของรัฐบาลและไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมยืดเยื้อออกไป แต่ด้วยความรับผิดชอบของการเป็นแกนนำ จึงยังคงยืนหยัดอยู่กับมวลชนไปจนถึงที่สุดแม้จะรู้ว่า บั้นปลายเป็นอย่างไร พวกเขาเหล่านี้สมควรได้รับการสดุดีอย่างสูง
5. การต่อสู้ที่มาก่อนกาลเวลา
อาจกล่าวได้ว่า แกนนำพื้นที่และมวลชนคนเสื้อแดงที่เรียกร้องเกินกว่าการยุบสภาในสถานการณ์ขณะนั้น กระทำผิดพลาดทางยุทธศาสตร์อย่างสำคัญ ในสภาพการณ์ที่ขบวนการประชาธิปไตยเพิ่งจะก่อตัว แม้จะมีจำนวนนับล้านคนทั่วประเทศแล้ว แต่ก็ยังอ่อนแอในการจัดตั้งและระเบียบวินัย ขาดประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวรูปธรรม ขาดแกนนำที่เข้มแข็งและเป็นเอกภาพ จึงย่อมไม่มีทางที่จะเข้าเผชิญหน้าโดยตรงกับเผด็จการอำมาตยาธิปไตยในทันที
การคลี่คลายของมวลชนจากการชุมนุมไปเป็นการลุกขึ้นสู้ในครั้งนี้ มีลักษณะเป็นไปเองและหลีกเลี่ยงได้ยาก ในประวัติศาสตร์ มีกรณีที่ประชาชนลุกขึ้นสู้ต่อต้านการกดขี่ข่มเหงอยู่ทุกหนแห่งทั่วโลก ส่วนใหญ่ต้องประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากเป็นการเข้าต่อสู้ก่อนเวลาอันควรในยามที่ประชาชนยังอ่อนเล็ก ขาดการนำและการจัดตั้ง อย่างไรก็ตาม แม้เราอาจวิจารณ์ว่า การต่อสู้เหล่านี้มีความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ แต่เราก็ต้องมีความเข้าใจในสัญชาตญาณและจิตใจของมวลชนว่า การลุกขึ้นสู้ที่พ่ายแพ้เหล่านี้ จำนวนมากเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากประชาชนได้ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างสาหัสมาเป็นเวลานาน จนถึงกาลที่พวกเขาไม่อาจทนต่อไปได้ และระเบิดขึ้นเป็นความโกรธ แม้พวกเขาจะรู้ว่า ในท้ายสุดจะยุติลงเป็นความสูญเสียและพ่ายแพ้ก็ตาม
ท่าทีที่ถูกต้องของนักประชาธิปไตยต่อการต่อสู้ที่พ่ายแพ้เหล่านี้ รวมทั้งต่อการเคลื่อนไหวพฤษภาคม 2553 คือ ต้องเข้าใจและสดุดีความกล้าหาญของพวกเขา คารวะจิตใจต่อสู้ที่กล้าเสียสละไม่กลัวตาย สนับสนุนและร่วมกับพวกเขาให้เรียนรู้จากความผิดพลาดและพ่ายแพ้เหล่านี้ นำมากลับมาถ่ายทอด เพื่อยกระดับการต่อสู้ในครั้งต่อไป
การโจมตีแกนนำนปช.อย่างสาดเสียเทเสียว่า เป็นสาเหตุหลักของการเสียหายจำนวนมากของมวลชน ไม่ใช่ท่าทีของนักประชาธิปไตย แม้ว่าแกนนำที่มีความโน้มเอียงทางการทหารจะกระทำผิดพลาดและมีส่วนสำคัญต่อผลลัพธ์ แต่พวกเขาก็ยังคงเป็นผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพประชาธิปไตยที่ยืนหยัดอยู่กับมวลชน
การโยนความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้แกนนำนปช.ยังเป็นการปฏิเสธความจริงสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนหลายแสนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวทั่วประเทศและชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพนั้น มาโดยสมัครใจ ด้วยความรับรู้ทางการเมืองในระดับสูงและการตัดสินใจที่ชัดเจนว่า พร้อมจะเผชิญหน้ากับความยากลำบาก อันตราย และการเสียสละ เพื่อให้สังคมไทยและชนชั้นปกครองไทยได้รู้สักครั้งว่า พวกเขาโกรธแค้นและจะไม่ยอมทนต่อการกดขี่และความอยุติธรรมอีกต่อไป ประชาชนเหล่านี้ไม่ใช่มวลชนว่านอนสอนง่ายที่แกนนำจะนำพาไปทางไหนก็ได้ พวกเขามีความมุ่งมั่นและความรับรู้สูงพอที่จะตัดสินใจสนับสนุนหรือปฏิเสธทิศทางการตัดสินใจของแกนนำของพวกเขาด้วยตัวเอง
6. ฝ่ายเผด็จการชนะทางทหาร แต่แพ้ทางการเมือง
การเคลื่อนไหวพฤษภาคม 2553 เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นไปเองอยู่สูง ขบวนการประชาธิปไตยจะต้องเรียนรู้จากจุดอ่อนและความผิดพลาดของตนเอง เพื่อยกระดับการเคลื่อนไหวในอนาคตฃ
จุดอ่อนสำคัญคือ แกนนำนปช. แดงทั้งแผ่นดินยังขาดเอกภาพในแนวทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธี เนื่องจากพื้นภูมิหลังที่แตกต่าง มีประสบการณ์ร่วมและเวลาไม่มากพอที่จะหล่อหลอมขึ้นเป็นแกนนำที่เข้มแข็งเป็นเอกภาพ จึงไม่อาจประสานสามัคคีกันเพื่อแก้ปัญหาทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีได้ในยามวิกฤต อีกทั้งไม่สามารถประสานเป็นหนึ่งเดียวกับแกนนำพื้นที่ ไม่อาจสื่อสารและเรียนรู้จากกันและกัน เป็นผลให้แกนนำนปช.ไม่สามารถกุมสภาพมวลชนได้ กระทั่งสูญเสียการกุมสภาพของการเคลื่อนไหวไปในขั้นตอนวิกฤต
การทำงานทางความคิดของแกนนำในหมู่มวลชนยังไม่เพียงพอ แม้แต่การทำความเข้าใจกับมวลชนในประเด็นยุทธศาสตร์ยุทธวิธีรูปธรรมก็ยังสับสน ก่อให้เกิดการคาดหวังที่ไม่เป็นจริง เช่น การประเมินกำลังของตนสูงเกินจริงอย่างต่อเนื่อง การกระพือความหวังลม ๆ แล้ง ๆ เรื่องสหประชาชาติ เรื่องกองกำลังในประเทศหรือจากต่างประเทศ เรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ เรื่องการแทรกแซงของมหาอำนาจ ซึ่งล้วนเป็นความเพ้อเจ้อที่สะท้อนถึงความอ่อนแอของฝ่ายประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ละเลยที่จะเน้นย้ำบทเรียนจากการต่อสู้ของประชาชนทั่วโลก คือต้องพึ่งตนเองเท่านั้น
มวลชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวพฤษภาคม 2553 แม้จะพัฒนายกระดับความรับรู้ทางการเมือง มีการจัดตั้งรวมตัวในระดับหนึ่ง ก็ยังอ่อนแอ กระจัดกระจาย และขาดวินัยที่จำเป็น แต่พวกเขาก็จะเรียนรู้จากความพ่ายแพ้ครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่ได้เรียนรู้บทเรียนจากการต่อสู้ตลอดหลายปีมานี้ ประสบการณ์นองเลือดครั้งนี้จะนำไปสู่การยกระดับครั้งใหญ่ในทางจิตสำนึก ความเรียกร้องต้องการ การรวมตัวจัดตั้งและวินัยของขบวนการประชาธิปไตย
ในครั้งนี้ ฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตยได้ชัยชนะในทางทหารเท่านั้น แต่กำลังพ่ายแพ้ทางการเมืองอย่างสำคัญ การบดขยี้ขบวนการประชาธิปไตยด้วยการสังหารหมู่ประชาชนครั้งใหญ่และคุกคามจับกุมคุมขังไปทั่วประเทศคราวนี้ แลกมาด้วยการฉีกหน้ากากนักบุญผู้ทรงคุณธรรมและความเมตตาของฝ่ายเผด็จการจนหมดสิ้น ในวันนี้ พวกเขาไม่สามารถปกครองด้วยศรัทธาและการครอบงำทางจิตใจเป็นด้านหลักได้อีกต่อไป และจำต้องหันมาใช้การกดขี่ ปราบปรามและกำลังรุนแรงเพื่อรักษาอำนาจไว้
ระบอบการเมืองใดก็ตามที่สูญเสียการครอบงำทางจิตใจและอุดมการณ์ แล้วหันมาใช้กำลังรุนแรงอย่างเปิดเผยเพื่อปกครองประชาชน ระบอบนั้นก็ไม่อาจอยู่ได้นาน
ที่มา.ประชาไท
****************************************************************************
4. การสังหารหมู่ 19 พฤษภาคม 2553
การเสนอ “แผนปรองดอง” และให้เลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยรัฐบาลเป็นการรุกกลับทางการเมืองที่ทำให้แกนนำ นปช.ต้องเผชิญความขัดแย้งระหว่างการต่อสู้ทางการเมืองกับฝ่ายเผด็จการด้านหนึ่ง กับการเมืองของมวลชนในอีกด้านหนึ่ง
รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นเพียงเครื่องมือของเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ไม่มีอำนาจและความเป็นเอกเทศที่จะตัดสินใจยุบสภาได้ด้วยตนเอง ความจริงคือ ฝ่ายเผด็จการไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งในระยะเวลาอันใกล้ เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะซ้ำรอยความผิดพลาดในอดีตของพวกเขาที่ยอมให้มีการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2550
ทั้งแกนนำและมวลชนต่างรู้ว่า “แผนปรองดอง” ดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการหลอกลวง และจะต้องถูกฝ่ายเผด็จการบิดพลิ้วไม่ช้าก็เร็ว แต่ถ้าแกนนำนปช.ปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลในทันที ฝ่ายเผด็จการก็จะฉวยใช้เป็นข้ออ้างทางการเมืองเพื่อใช้กำลังปราบปรามประชาชน ฉะนั้น หนทางที่สอดคล้องในขณะนั้นคือ การรับข้อเสนอของรัฐบาล ยุติการชุมนุม เพื่อรักษากำลัง ฐานมวลชนและเครือข่ายสื่อสารของตนไว้ให้พร้อม เพื่อรณรงค์เปิดโปงและเรียกร้องความเป็นธรรมจากกรณี 10 เมษายน 2553 ต่อไป รอเวลากลับมาเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้งเมื่อฝ่ายเผด็จการบิดพริ้วไม่ยุบสภาให้มีการเลือกตั้งตามกำหนดในวันข้างหน้า
แต่แกนนำก็ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ เพราะหากตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลโดยทันที พวกเขาก็จะเผชิญความขัดแย้งกับมวลชนที่ไม่ต้องการ “ปรองดอง” กับเผด็จการ
แกนนำพื้นที่และมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ได้สั่งสมความโกรธแค้นมาหลายปีอันเกิดจากการข่มเหงและความอยุติธรรม นับแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การยุบพรรคไทยรักไทย การปฏิเสธผลการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ด้วยการอุ้มชูอันธพาลการเมืองเสื้อเหลืองให้ยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบิน ยุบพรรคพลังประชาชน ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และการปราบปรามประชาชนเมื่อ 12-14 เมษายน 2552 มวลชนเหล่านี้จึงออกมาร่วมเคลื่อนไหวด้วยจิตใจที่พร้อมจะเผชิญกับความยากลำบากและอันตราย
กรณีนองเลือด 10 เมษายน 2553 ที่มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายรวมเกือบหนึ่งพันคนยิ่งสร้างความโกรธให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น พวกเขามิได้เพียงต้องการยุบสภาอีกต่อไป แต่ต้องการท้าทายระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตยโดยตรง แกนนำพื้นที่และมวลชนจึงปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาล และปฏิเสธแกนนำนปช.ในประเด็นดังกล่าว ผลที่อาจเกิดขึ้นคือ แกนนำบางส่วนและมวลชนจะยังคงชุมนุมยืดเยื้อต่อไปโดยลำพัง นำมาซึ่งการเข่นฆ่าประชาชนครั้งใหญ่อยู่ดี
ในขณะเดียวกัน แรงกดดันจากมวลชนยังส่งผลให้ความแตกต่างทางความคิดที่มีอยู่เดิมภายในหมู่แกนนำนปช. ขยายตัวเป็นความแตกแยกทางความคิดและยุทธวิธี แกนนำส่วนหนึ่งมี “ความโน้มเอียงทางการทหาร” ประเมินดุลกำลังของตนอย่างเพ้อฝันเกินจริง และประเมินฝ่ายเผด็จการต่ำเกินไป โดยเชื่อว่า จะยังคงไม่มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชน หรือหากมีการใช้กำลัง ก็จะล้มเหลวดังเช่นกรณี 10 เมษายน และการยืนหยัดชุมนุมต่อไปจะทำให้รัฐบาลไม่มีทางอื่นใดอีกนอกจากต้องยอมยุบสภาโดยทันทีหรือลาออก
ในที่สุด ได้มีการเพิ่มข้อเรียกร้องของการชุมนุมจาก “ยุบสภา” เป็น “เอาผิดผู้รับผิดชอบกรณี 10 เมษายน” แต่การยกระดับข้อเรียกร้องดังกล่าวได้กลายเป็นสัญญาณว่า การต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในครั้งนี้มิอาจมีผลเป็นอย่างอื่นไปได้นอกจากการเข่นฆ่าประชาชนครั้งใหญ่เนื่องจากฝ่ายเผด็จการนั้นได้เตรียมแผนการมายาวนานและมีกำลังมาพร้อมสรรพ ในขณะที่ฝ่ายมวลชนประชาธิปไตยก็เต็มไปด้วยความโกรธที่สั่งสมมายาวนาน และพร้อมจะเผชิญหน้ากับฝ่ายอำมาตยาธิปไตย
ผู้วิจารณ์บางคนมีข้อแย้งว่า แกนนำนปช.ยังอาจยุติการชุมนุมได้ทันท่วงทีหากไม่มีการแตกแยกกัน และสามัคคีกันลงไปชี้แจงทำความเข้าใจกับแกนนำพื้นที่และมวลชน ข้อแย้งดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานที่ว่า แกนนำยังคงสามารถกุมสภาพมวลชนได้ทั้งหมดตราบจนช่วงสุดท้ายของการชุมนุม แต่ความจริงคือ แกนนำนปช.ได้ค่อย ๆ สูญเสียการกุมสภาพมวลชนไปตั้งแต่เหตุการณ์ 10 เมษายน จนกระทั่งแทบจะกุมสภาพไม่ได้เลยในช่วงสุดท้าย กลายเป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกเทศของแกนนำพื้นที่และแกนนำจากภายนอก รวมทั้งการเคลื่อนไหวที่เป็นไปเองของมวลชน
นัยหนึ่ง การชุมนุมของประชาชนในนาม “คนเสื้อแดง” ที่เรียกร้องการยุบสภาในช่วงเดือนมีนาคมนั้น หลังจากการปราบปรามในวันที่ 10 เมษายน ก็ได้พัฒนาไปเป็นการชุมนุมเพื่อท้าทายเผด็จการอำมาตยาธิปไตย และท้ายสุดเมื่อฝ่ายเผด็จการทำการปิดล้อมทางทหารเพื่อเตรียมการล้อมปราบครั้งที่สองในต้นเดือนพฤษภาคม การชุมนุมก็ขยายตัวกลายเป็นการลุกขึ้นสู้ของมวลชนครั้งใหญ่ โดยที่แกนนำนปช. แดงทั้งแผ่นดินไม่สามารถควบคุมได้ในที่สุด
แกนนำนปช. จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการยกระดับการชุมนุม และได้ตัดสินใจ “ยุติบทบาท” ไปก่อน แกนนำส่วนนี้แม้จะมองเห็นอย่างถูกต้องถึงอันตรายข้างหน้า แต่การที่พวกเขาตัดสินใจ “หยุด” ในขณะที่การเคลื่อนไหวของมวลชนยังคงดำเนินต่อไปนั้น มิได้เป็นผลดีต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนแต่อย่างใด ทั้งไม่ได้ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการเข่นฆ่าประชาชนอย่างขนานใหญ่อยู่ดี ความรับผิดชอบของพวกเขาในฐานะผู้นำการเคลื่อนไหวจะต้องได้รับการประเมินอย่างเข้มงวดโดยมวลชนประชาธิปไตยต่อไป
แกนนำนปช. อีกส่วนหนึ่งมีความเห็นว่า ควรรับข้อเสนอของรัฐบาลและไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมยืดเยื้อออกไป แต่ด้วยความรับผิดชอบของการเป็นแกนนำ จึงยังคงยืนหยัดอยู่กับมวลชนไปจนถึงที่สุดแม้จะรู้ว่า บั้นปลายเป็นอย่างไร พวกเขาเหล่านี้สมควรได้รับการสดุดีอย่างสูง
5. การต่อสู้ที่มาก่อนกาลเวลา
อาจกล่าวได้ว่า แกนนำพื้นที่และมวลชนคนเสื้อแดงที่เรียกร้องเกินกว่าการยุบสภาในสถานการณ์ขณะนั้น กระทำผิดพลาดทางยุทธศาสตร์อย่างสำคัญ ในสภาพการณ์ที่ขบวนการประชาธิปไตยเพิ่งจะก่อตัว แม้จะมีจำนวนนับล้านคนทั่วประเทศแล้ว แต่ก็ยังอ่อนแอในการจัดตั้งและระเบียบวินัย ขาดประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวรูปธรรม ขาดแกนนำที่เข้มแข็งและเป็นเอกภาพ จึงย่อมไม่มีทางที่จะเข้าเผชิญหน้าโดยตรงกับเผด็จการอำมาตยาธิปไตยในทันที
การคลี่คลายของมวลชนจากการชุมนุมไปเป็นการลุกขึ้นสู้ในครั้งนี้ มีลักษณะเป็นไปเองและหลีกเลี่ยงได้ยาก ในประวัติศาสตร์ มีกรณีที่ประชาชนลุกขึ้นสู้ต่อต้านการกดขี่ข่มเหงอยู่ทุกหนแห่งทั่วโลก ส่วนใหญ่ต้องประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากเป็นการเข้าต่อสู้ก่อนเวลาอันควรในยามที่ประชาชนยังอ่อนเล็ก ขาดการนำและการจัดตั้ง อย่างไรก็ตาม แม้เราอาจวิจารณ์ว่า การต่อสู้เหล่านี้มีความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ แต่เราก็ต้องมีความเข้าใจในสัญชาตญาณและจิตใจของมวลชนว่า การลุกขึ้นสู้ที่พ่ายแพ้เหล่านี้ จำนวนมากเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากประชาชนได้ถูกกดขี่ข่มเหงอย่างสาหัสมาเป็นเวลานาน จนถึงกาลที่พวกเขาไม่อาจทนต่อไปได้ และระเบิดขึ้นเป็นความโกรธ แม้พวกเขาจะรู้ว่า ในท้ายสุดจะยุติลงเป็นความสูญเสียและพ่ายแพ้ก็ตาม
ท่าทีที่ถูกต้องของนักประชาธิปไตยต่อการต่อสู้ที่พ่ายแพ้เหล่านี้ รวมทั้งต่อการเคลื่อนไหวพฤษภาคม 2553 คือ ต้องเข้าใจและสดุดีความกล้าหาญของพวกเขา คารวะจิตใจต่อสู้ที่กล้าเสียสละไม่กลัวตาย สนับสนุนและร่วมกับพวกเขาให้เรียนรู้จากความผิดพลาดและพ่ายแพ้เหล่านี้ นำมากลับมาถ่ายทอด เพื่อยกระดับการต่อสู้ในครั้งต่อไป
การโจมตีแกนนำนปช.อย่างสาดเสียเทเสียว่า เป็นสาเหตุหลักของการเสียหายจำนวนมากของมวลชน ไม่ใช่ท่าทีของนักประชาธิปไตย แม้ว่าแกนนำที่มีความโน้มเอียงทางการทหารจะกระทำผิดพลาดและมีส่วนสำคัญต่อผลลัพธ์ แต่พวกเขาก็ยังคงเป็นผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพประชาธิปไตยที่ยืนหยัดอยู่กับมวลชน
การโยนความรับผิดชอบทั้งหมดไปให้แกนนำนปช.ยังเป็นการปฏิเสธความจริงสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนหลายแสนคนที่ออกมาเคลื่อนไหวทั่วประเทศและชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพนั้น มาโดยสมัครใจ ด้วยความรับรู้ทางการเมืองในระดับสูงและการตัดสินใจที่ชัดเจนว่า พร้อมจะเผชิญหน้ากับความยากลำบาก อันตราย และการเสียสละ เพื่อให้สังคมไทยและชนชั้นปกครองไทยได้รู้สักครั้งว่า พวกเขาโกรธแค้นและจะไม่ยอมทนต่อการกดขี่และความอยุติธรรมอีกต่อไป ประชาชนเหล่านี้ไม่ใช่มวลชนว่านอนสอนง่ายที่แกนนำจะนำพาไปทางไหนก็ได้ พวกเขามีความมุ่งมั่นและความรับรู้สูงพอที่จะตัดสินใจสนับสนุนหรือปฏิเสธทิศทางการตัดสินใจของแกนนำของพวกเขาด้วยตัวเอง
6. ฝ่ายเผด็จการชนะทางทหาร แต่แพ้ทางการเมือง
การเคลื่อนไหวพฤษภาคม 2553 เป็นการเคลื่อนไหวที่มีการจัดตั้งในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นไปเองอยู่สูง ขบวนการประชาธิปไตยจะต้องเรียนรู้จากจุดอ่อนและความผิดพลาดของตนเอง เพื่อยกระดับการเคลื่อนไหวในอนาคตฃ
จุดอ่อนสำคัญคือ แกนนำนปช. แดงทั้งแผ่นดินยังขาดเอกภาพในแนวทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธี เนื่องจากพื้นภูมิหลังที่แตกต่าง มีประสบการณ์ร่วมและเวลาไม่มากพอที่จะหล่อหลอมขึ้นเป็นแกนนำที่เข้มแข็งเป็นเอกภาพ จึงไม่อาจประสานสามัคคีกันเพื่อแก้ปัญหาทางยุทธศาสตร์ยุทธวิธีได้ในยามวิกฤต อีกทั้งไม่สามารถประสานเป็นหนึ่งเดียวกับแกนนำพื้นที่ ไม่อาจสื่อสารและเรียนรู้จากกันและกัน เป็นผลให้แกนนำนปช.ไม่สามารถกุมสภาพมวลชนได้ กระทั่งสูญเสียการกุมสภาพของการเคลื่อนไหวไปในขั้นตอนวิกฤต
การทำงานทางความคิดของแกนนำในหมู่มวลชนยังไม่เพียงพอ แม้แต่การทำความเข้าใจกับมวลชนในประเด็นยุทธศาสตร์ยุทธวิธีรูปธรรมก็ยังสับสน ก่อให้เกิดการคาดหวังที่ไม่เป็นจริง เช่น การประเมินกำลังของตนสูงเกินจริงอย่างต่อเนื่อง การกระพือความหวังลม ๆ แล้ง ๆ เรื่องสหประชาชาติ เรื่องกองกำลังในประเทศหรือจากต่างประเทศ เรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ เรื่องการแทรกแซงของมหาอำนาจ ซึ่งล้วนเป็นความเพ้อเจ้อที่สะท้อนถึงความอ่อนแอของฝ่ายประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ละเลยที่จะเน้นย้ำบทเรียนจากการต่อสู้ของประชาชนทั่วโลก คือต้องพึ่งตนเองเท่านั้น
มวลชนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวพฤษภาคม 2553 แม้จะพัฒนายกระดับความรับรู้ทางการเมือง มีการจัดตั้งรวมตัวในระดับหนึ่ง ก็ยังอ่อนแอ กระจัดกระจาย และขาดวินัยที่จำเป็น แต่พวกเขาก็จะเรียนรู้จากความพ่ายแพ้ครั้งนี้ เช่นเดียวกับที่ได้เรียนรู้บทเรียนจากการต่อสู้ตลอดหลายปีมานี้ ประสบการณ์นองเลือดครั้งนี้จะนำไปสู่การยกระดับครั้งใหญ่ในทางจิตสำนึก ความเรียกร้องต้องการ การรวมตัวจัดตั้งและวินัยของขบวนการประชาธิปไตย
ในครั้งนี้ ฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตยได้ชัยชนะในทางทหารเท่านั้น แต่กำลังพ่ายแพ้ทางการเมืองอย่างสำคัญ การบดขยี้ขบวนการประชาธิปไตยด้วยการสังหารหมู่ประชาชนครั้งใหญ่และคุกคามจับกุมคุมขังไปทั่วประเทศคราวนี้ แลกมาด้วยการฉีกหน้ากากนักบุญผู้ทรงคุณธรรมและความเมตตาของฝ่ายเผด็จการจนหมดสิ้น ในวันนี้ พวกเขาไม่สามารถปกครองด้วยศรัทธาและการครอบงำทางจิตใจเป็นด้านหลักได้อีกต่อไป และจำต้องหันมาใช้การกดขี่ ปราบปรามและกำลังรุนแรงเพื่อรักษาอำนาจไว้
ระบอบการเมืองใดก็ตามที่สูญเสียการครอบงำทางจิตใจและอุดมการณ์ แล้วหันมาใช้กำลังรุนแรงอย่างเปิดเผยเพื่อปกครองประชาชน ระบอบนั้นก็ไม่อาจอยู่ได้นาน
ที่มา.ประชาไท
****************************************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ไชยา พรหมา ส.ส.อีสาน "ตอกตะปูปิดฝาโลง...พรรคอื่น เข้าไม่ได้"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
ปรากฏการณ์ซื้อตัว ส.ส.และการลงพื้นที่ชิงตัว-ชิงพื้นที่ภาคอีสานทำให้การเลือกตั้ง พื้นที่อีสาน คือจุดยุทธศาสตร์ ชี้ชะตาประเทศ
"ไชยา พรหมา" ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย สัมผัสรูป-รส-กลิ่น-เสียง ภาคอีสานมาแล้ว 7 สมัย
ตั้งใจบอก ส.ส.ภาคอีสานด้วยกัน และส่งสัญญาณถึง ส.ส.ภาคอื่น ว่า
"นิสัยคนอีสานมีมิตรไมตรีกับคนทุกภาค เป็นคนให้อภัย ทำให้เมื่อใครเข้าไปทำ อะไรในพื้นที่ก็มีการตอบแทนบุญคุณ"
ประกอบกับ "การเมืองพัฒนามาถึงปัจจุบัน คนอยู่ตามท้องไร่ท้องนา อยู่ในภูเขาในป่า ก็สามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้ ทุกวันนี้จานดาวเทียมเครื่องหนึ่งประมาณ 2-3 พันบาท ถูกกว่ามอเตอร์ไซค์ เขาสามารถเลือกดูทีวีที่มีหลากหลาย"
คนอีสาน ไม่จน-ไม่โง่ อีกแล้ว
"ในอดีต คนที่อยู่ห่างไกลปืนเที่ยง ก็เชื่อผู้นำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อชาวบ้าน เพราะชาวบ้านต้องอยู่โดดเดี่ยว การสื่อสารก็ไม่มี การคมนาคมไม่สะดวก การศึกษาไปไม่ถึง ต้องอาศัยผู้นำ ผู้นำว่าไงก็เชื่อตามนั้น นี่เป็นจุดอ่อน ทำให้ "เจ้าบุญทุ่ม" การเมืองประเภทซื้อเสียงมีอิทธิพลในอดีต"
"ตอนนี้การเมืองเปลี่ยนไปแล้ว ถนนมีทุกหมู่บ้าน เดินทางจากชั่วโมง แต่วันนี้ใช้เวลาไม่กี่สิบนาที แต่ก่อนไม่มีโทรศัพท์ ไฟฟ้า เดี๋ยวนี้โครงสร้างพื้นฐานมีส่วนทำให้การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เร็วขึ้น"
"ดาวเทียม โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต มีไปถึงตำบล นี่คือโลกไซเบอร์ ไปได้รวดเร็ว วันนี้โทรศัพท์เครื่องละพันกว่าบาท และค่ายมือถือมีโปรโมชั่นราคาไม่แพง ทำให้ติดต่อสื่อสารเร็วขึ้น"
"โดยเฉพาะการอพยพของแรงงานอีสานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะมาเจอความศิวิไลซ์ การได้รับรู้การเมืองในเมืองหลวง มีการชุมนุมการเมืองอะไรต่าง ๆ ก็กลับไปถ่ายทอดให้ที่บ้านฟัง เขารู้ว่ามีการปราศรัยที่สนามหลวง และที่กรุงเทพฯมีความนิยมเรื่องอะไร"
การซื้อตัว-ซื้อหัวคะแนน-ซื้อเสียงอาจจะยังมี แต่ไม่มาก เพราะสมมติฐานที่ว่า "คนอีสานโง่...ซื้อได้" ใช้ไม่ได้อีกแล้ว
"แนวคิดนี้เป็นจุดอ่อนของการเมืองในภาคอีสาน ที่ทำให้นักการเมืองเอามาเป็นเครื่องมือในการช่วงชิงและอาศัยจุดอ่อนตรงนี้มาเป็นเป้าหมายในการเอาชนะ เราจะเห็นว่าในอดีตมี "เจ้าบุญทุ่ม" หิ้ว กระเป๋าเจมส์ บอนด์ไป แล้วไปซื้อเสียงในภาคอีสาน ก็อาจจะประสบความสำเร็จ"
"การเมืองในภาคอีสานเปลี่ยน เห็นได้ชัดคือวันนี้ ประชาชนเขาเลือกนโยบายที่เขาได้ประโยชน์ จากการลงคะแนนให้พรรคการเมืองแล้วได้เป็นรัฐบาล ได้ผลประโยชน์จีรังยั่งยืนกว่าผลประโยชน์ เล็กน้อยก่อนการเลือกตั้ง"
"ในอดีตเลือกผู้แทนฯได้รัฐบาลมาก็เป็นช่วงระยะสั้น ๆ ไม่มีความต่อเนื่องทางการเมือง ทำให้รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ทำให้การเลือกตั้งมุ่งเอาชนะเพื่อมา จัดตั้งรัฐบาล ในอดีตประชาชนจึงลงคะแนนให้แก่ผู้ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เห็น ๆ ในทันที ไม่ได้คิดอะไรมาก"
"ทำให้เกิด ส.ส.นกแล ในยุคสมัยที่พรรคไทยรักไทย เพราะประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าถ้าเลือกพรรคนี้ ได้ผู้นำคนนี้และนโยบายที่เขาหาเสียงไว้ สามารถที่จะแก้ไขปัญหา ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น ผลคือหลังจากเลือกตั้งปี"44 พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯอยู่ครบเทอมแล้ว เลือกตั้งปี"48 พรรคไทยรักไทยได้ 377 เสียง เป็นรัฐบาลพรรคเดียวเป็นครั้งแรก"
"นั่นจะเห็นได้ว่าประชาชนไม่ได้ตัดสินใจเลือกเพราะเงิน แต่ตัดสินใจเพราะนโยบายที่ดี และเขาได้รับผลจากการปฏิบัติของรัฐบาล มีผลมาสู่วิธีคิด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง กระทั่งปัจจุบันสภาพแบบนี้ก็คงอยู่ ประชาชนต้องการผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ผลประโยชน์รายตัว อันนี้เป็นสิ่งที่เข้าไปในสายเลือด"
พื้นที่อีสานและภาคเหนือจึงเป็นเค้กการเมืองที่ทุกพรรคต้องการ แต่ "ไชยา" บอกว่า "ไม่ง่าย"
"พรรคจะได้ขับเคลื่อนในสถานการณ์ปัจจุบัน ตรงไหนที่เรามั่นใจแล้ว ก็ต้องสร้างความเชื่อมั่น สร้างขวัญกำลังใจ สิ่งสำคัญในพื้นที่อีสาน คือเมื่อพรรคลงพื้นที่แล้วเกิดความอบอุ่น ฉะนั้นกระแสตอบรับในภาคอีสานและภาคเหนือ มันจะทำให้เป็นกระแสที่ส่งผลไปยังภาคอื่น ๆ อย่างน้อยภาคอีสานก็เป็นพื้นที่เป้าหมายของเรา"
"มวลชนเราก็อยู่ที่นั่น คะแนนนิยมเราก็อยู่ที่นั่น ภาคเหนือก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการไปกระตุ้น ไปรีชาร์จแบตเตอรี่ของมวลชน ก็จะทำให้ประชาชนมีขวัญกำลังใจมากขึ้น"
"อีสาน เหนือ เป็นพื้นที่หลักอยู่แล้ว เราต้องเน้นหนัก เหมือนกับภาษาที่เขาเรียกว่า "ตอกตะปูปิดฝาโลง" หมายความว่า พรรคการเมืองอื่นเข้าไปไม่ได้เลย มันก็ต้องไม่ให้เกิดการแย่งชิงมวลชน"
"เพราะการขับเคลื่อนในแต่ละภาคมีฟีดแบ็กไปถึงภาคอื่น แต่ถ้ามวลชนใน ภาคอีสานและภาคเหนือ สามารถจะตรึง ไว้ซึ่งฐานหลักของพรรค ก็จะทำให้การทำงานง่าย"
"เขตพื้นที่หลักเราก็ตรึงกำลังเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งชิงมวลชน หรือการแทรกของพรรคการเมืองอื่น เราก็มีเวลาไปทุ่มยังพื้นที่ที่จัดเป็นระดับลงมา อีสาน เหนือ อาจจะเป็นพื้นที่สีเขียว คือสอบผ่าน แต่พื้นที่ภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว ก็อาจจะเป็นอีกสีที่ไม่แดงไม่เขียว ก็จัดลำดับความสำคัญ เพราะฉะนั้นเป้าหมายการทำงานต้องแยกระดับ"
"ตรงไหนเป็นฐานของเขา เราเจาะไม่ได้ เราแตะไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียเวลาในการทุ่มเท"
"วันนี้บอกได้ว่าความเข้าใจการเมืองของคนอีสานมีมากขึ้นกว่าเดิม ประชาชนทำนาเสร็จแล้วมีเวลาดูทีวี ช่องสาม ห้า เจ็ด เก้า และสัญญาณดาวเทียมมีผลอย่างมาก"
ขณะที่ ส.ส.ทุกพรรค ทุกขั้ว ล้วนจับตาการเปลี่ยน "หัว" และการปรับโครงสร้าง "ก๊ก" ในพรรคเพื่อไทย "ไชยา" บอกว่า "หัวของอีสาน" แม้จะไม่ใช่คนอีสาน แต่ขอให้เป็น "หัวชินวัตร" ก็ขายได้
"อย่างน้อยต้องยอมรับว่าตอนที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบมาเป็นพรรคเพื่อไทย ในจังหวะเราซวนเซ เราก็ได้ใช้สถานที่ ได้การอุปถัมภ์จากท่านพายัพ (ชินวัตร) ในจังหวะซวนเซท่านก็มาซัพพอร์ต และท่านก็เป็นน้องชายอดีตนายกฯทักษิณ ถึงแม้ท่านไม่ใช่คนอีสาน แต่เราก็สามารถเอามาเป็นจุดขายได้"
เพราะสุดท้ายการหาเสียงในภาคอีสาน หากใครไม่เอ่ยชื่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อาจสอบตก
****************************************************************************
ปรากฏการณ์ซื้อตัว ส.ส.และการลงพื้นที่ชิงตัว-ชิงพื้นที่ภาคอีสานทำให้การเลือกตั้ง พื้นที่อีสาน คือจุดยุทธศาสตร์ ชี้ชะตาประเทศ
"ไชยา พรหมา" ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย สัมผัสรูป-รส-กลิ่น-เสียง ภาคอีสานมาแล้ว 7 สมัย
ตั้งใจบอก ส.ส.ภาคอีสานด้วยกัน และส่งสัญญาณถึง ส.ส.ภาคอื่น ว่า
"นิสัยคนอีสานมีมิตรไมตรีกับคนทุกภาค เป็นคนให้อภัย ทำให้เมื่อใครเข้าไปทำ อะไรในพื้นที่ก็มีการตอบแทนบุญคุณ"
ประกอบกับ "การเมืองพัฒนามาถึงปัจจุบัน คนอยู่ตามท้องไร่ท้องนา อยู่ในภูเขาในป่า ก็สามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้ ทุกวันนี้จานดาวเทียมเครื่องหนึ่งประมาณ 2-3 พันบาท ถูกกว่ามอเตอร์ไซค์ เขาสามารถเลือกดูทีวีที่มีหลากหลาย"
คนอีสาน ไม่จน-ไม่โง่ อีกแล้ว
"ในอดีต คนที่อยู่ห่างไกลปืนเที่ยง ก็เชื่อผู้นำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อชาวบ้าน เพราะชาวบ้านต้องอยู่โดดเดี่ยว การสื่อสารก็ไม่มี การคมนาคมไม่สะดวก การศึกษาไปไม่ถึง ต้องอาศัยผู้นำ ผู้นำว่าไงก็เชื่อตามนั้น นี่เป็นจุดอ่อน ทำให้ "เจ้าบุญทุ่ม" การเมืองประเภทซื้อเสียงมีอิทธิพลในอดีต"
"ตอนนี้การเมืองเปลี่ยนไปแล้ว ถนนมีทุกหมู่บ้าน เดินทางจากชั่วโมง แต่วันนี้ใช้เวลาไม่กี่สิบนาที แต่ก่อนไม่มีโทรศัพท์ ไฟฟ้า เดี๋ยวนี้โครงสร้างพื้นฐานมีส่วนทำให้การเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เร็วขึ้น"
"ดาวเทียม โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต มีไปถึงตำบล นี่คือโลกไซเบอร์ ไปได้รวดเร็ว วันนี้โทรศัพท์เครื่องละพันกว่าบาท และค่ายมือถือมีโปรโมชั่นราคาไม่แพง ทำให้ติดต่อสื่อสารเร็วขึ้น"
"โดยเฉพาะการอพยพของแรงงานอีสานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะมาเจอความศิวิไลซ์ การได้รับรู้การเมืองในเมืองหลวง มีการชุมนุมการเมืองอะไรต่าง ๆ ก็กลับไปถ่ายทอดให้ที่บ้านฟัง เขารู้ว่ามีการปราศรัยที่สนามหลวง และที่กรุงเทพฯมีความนิยมเรื่องอะไร"
การซื้อตัว-ซื้อหัวคะแนน-ซื้อเสียงอาจจะยังมี แต่ไม่มาก เพราะสมมติฐานที่ว่า "คนอีสานโง่...ซื้อได้" ใช้ไม่ได้อีกแล้ว
"แนวคิดนี้เป็นจุดอ่อนของการเมืองในภาคอีสาน ที่ทำให้นักการเมืองเอามาเป็นเครื่องมือในการช่วงชิงและอาศัยจุดอ่อนตรงนี้มาเป็นเป้าหมายในการเอาชนะ เราจะเห็นว่าในอดีตมี "เจ้าบุญทุ่ม" หิ้ว กระเป๋าเจมส์ บอนด์ไป แล้วไปซื้อเสียงในภาคอีสาน ก็อาจจะประสบความสำเร็จ"
"การเมืองในภาคอีสานเปลี่ยน เห็นได้ชัดคือวันนี้ ประชาชนเขาเลือกนโยบายที่เขาได้ประโยชน์ จากการลงคะแนนให้พรรคการเมืองแล้วได้เป็นรัฐบาล ได้ผลประโยชน์จีรังยั่งยืนกว่าผลประโยชน์ เล็กน้อยก่อนการเลือกตั้ง"
"ในอดีตเลือกผู้แทนฯได้รัฐบาลมาก็เป็นช่วงระยะสั้น ๆ ไม่มีความต่อเนื่องทางการเมือง ทำให้รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ทำให้การเลือกตั้งมุ่งเอาชนะเพื่อมา จัดตั้งรัฐบาล ในอดีตประชาชนจึงลงคะแนนให้แก่ผู้ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เห็น ๆ ในทันที ไม่ได้คิดอะไรมาก"
"ทำให้เกิด ส.ส.นกแล ในยุคสมัยที่พรรคไทยรักไทย เพราะประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าถ้าเลือกพรรคนี้ ได้ผู้นำคนนี้และนโยบายที่เขาหาเสียงไว้ สามารถที่จะแก้ไขปัญหา ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น ผลคือหลังจากเลือกตั้งปี"44 พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกฯอยู่ครบเทอมแล้ว เลือกตั้งปี"48 พรรคไทยรักไทยได้ 377 เสียง เป็นรัฐบาลพรรคเดียวเป็นครั้งแรก"
"นั่นจะเห็นได้ว่าประชาชนไม่ได้ตัดสินใจเลือกเพราะเงิน แต่ตัดสินใจเพราะนโยบายที่ดี และเขาได้รับผลจากการปฏิบัติของรัฐบาล มีผลมาสู่วิธีคิด ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง กระทั่งปัจจุบันสภาพแบบนี้ก็คงอยู่ ประชาชนต้องการผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ผลประโยชน์รายตัว อันนี้เป็นสิ่งที่เข้าไปในสายเลือด"
พื้นที่อีสานและภาคเหนือจึงเป็นเค้กการเมืองที่ทุกพรรคต้องการ แต่ "ไชยา" บอกว่า "ไม่ง่าย"
"พรรคจะได้ขับเคลื่อนในสถานการณ์ปัจจุบัน ตรงไหนที่เรามั่นใจแล้ว ก็ต้องสร้างความเชื่อมั่น สร้างขวัญกำลังใจ สิ่งสำคัญในพื้นที่อีสาน คือเมื่อพรรคลงพื้นที่แล้วเกิดความอบอุ่น ฉะนั้นกระแสตอบรับในภาคอีสานและภาคเหนือ มันจะทำให้เป็นกระแสที่ส่งผลไปยังภาคอื่น ๆ อย่างน้อยภาคอีสานก็เป็นพื้นที่เป้าหมายของเรา"
"มวลชนเราก็อยู่ที่นั่น คะแนนนิยมเราก็อยู่ที่นั่น ภาคเหนือก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการไปกระตุ้น ไปรีชาร์จแบตเตอรี่ของมวลชน ก็จะทำให้ประชาชนมีขวัญกำลังใจมากขึ้น"
"อีสาน เหนือ เป็นพื้นที่หลักอยู่แล้ว เราต้องเน้นหนัก เหมือนกับภาษาที่เขาเรียกว่า "ตอกตะปูปิดฝาโลง" หมายความว่า พรรคการเมืองอื่นเข้าไปไม่ได้เลย มันก็ต้องไม่ให้เกิดการแย่งชิงมวลชน"
"เพราะการขับเคลื่อนในแต่ละภาคมีฟีดแบ็กไปถึงภาคอื่น แต่ถ้ามวลชนใน ภาคอีสานและภาคเหนือ สามารถจะตรึง ไว้ซึ่งฐานหลักของพรรค ก็จะทำให้การทำงานง่าย"
"เขตพื้นที่หลักเราก็ตรึงกำลังเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งชิงมวลชน หรือการแทรกของพรรคการเมืองอื่น เราก็มีเวลาไปทุ่มยังพื้นที่ที่จัดเป็นระดับลงมา อีสาน เหนือ อาจจะเป็นพื้นที่สีเขียว คือสอบผ่าน แต่พื้นที่ภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว ก็อาจจะเป็นอีกสีที่ไม่แดงไม่เขียว ก็จัดลำดับความสำคัญ เพราะฉะนั้นเป้าหมายการทำงานต้องแยกระดับ"
"ตรงไหนเป็นฐานของเขา เราเจาะไม่ได้ เราแตะไม่ได้ ก็ไม่ต้องเสียเวลาในการทุ่มเท"
"วันนี้บอกได้ว่าความเข้าใจการเมืองของคนอีสานมีมากขึ้นกว่าเดิม ประชาชนทำนาเสร็จแล้วมีเวลาดูทีวี ช่องสาม ห้า เจ็ด เก้า และสัญญาณดาวเทียมมีผลอย่างมาก"
ขณะที่ ส.ส.ทุกพรรค ทุกขั้ว ล้วนจับตาการเปลี่ยน "หัว" และการปรับโครงสร้าง "ก๊ก" ในพรรคเพื่อไทย "ไชยา" บอกว่า "หัวของอีสาน" แม้จะไม่ใช่คนอีสาน แต่ขอให้เป็น "หัวชินวัตร" ก็ขายได้
"อย่างน้อยต้องยอมรับว่าตอนที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบมาเป็นพรรคเพื่อไทย ในจังหวะเราซวนเซ เราก็ได้ใช้สถานที่ ได้การอุปถัมภ์จากท่านพายัพ (ชินวัตร) ในจังหวะซวนเซท่านก็มาซัพพอร์ต และท่านก็เป็นน้องชายอดีตนายกฯทักษิณ ถึงแม้ท่านไม่ใช่คนอีสาน แต่เราก็สามารถเอามาเป็นจุดขายได้"
เพราะสุดท้ายการหาเสียงในภาคอีสาน หากใครไม่เอ่ยชื่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อาจสอบตก
****************************************************************************
ปชป.-พท.แย่ง (เสียง) สางหนี้คนจน
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
หัวข้อหลักที่ฝ่ายค้านเดินสายหาเสียง คือ "การแก้หนี้"
หัวข้อหลักในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ระหว่างชนชั้น คนรวยคนจน คือ "การแก้หนี้"
เพราะโจทย์-ปัญหา-ความต้องการของคนเป็นหนี้ คือ ต้องการปลดแอกจากมูลหนี้
ข้อเท็จจริงคือ ขณะนี้มีคนเป็นหนี้ "นอกระบบ" ถึง 1.6 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มขยับขึ้น 20% ทุกปี
ส่วนหนี้ "ในระบบ" ที่กระทรวงการคลัง-กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพมีอีกไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้าน
ทั้งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "ดร.สุชาติ ธาดาดำรงเวช" และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "กรณ์ จาติกวณิช" ต่างนำเสนอ "ตัวเลขหนี้" เป็นธงในการหาเสียง
ฝ่าย "ดร.สุชาติ" ทีมเศรษฐกิจของเพื่อไทย จัดทำโมเดลหนี้ และคาดการณ์หนี้ในอนาคตไว้ว่า ขณะนี้ปี 2553 รัฐบาลมีหนี้สาธารณะทั้งสิ้น 4.54 ล้านล้านบาท ขณะที่ประเทศมีรายได้ประชาชาติ (จีดีพี) รวม 9.7 ล้านล้านบาท ประชาชนมีหนี้ต่อหัวประมาณคนละ 70,000 บาท ทำให้อัตราหนี้สาธารณะต่อ จีดีพีสูงถึง 46%
ตัวเลขของฝ่ายค้านคาดการณ์ว่า ในปี 2557 ประเทศจะมีหนี้ 6.83 ล้านล้านบาท ในขณะที่ตัวเลขจีดีพี 12.36 ล้านล้านบาท สัดส่วนหนี้ 55.23% ต่อจีดีพี และประชาชนจะมีหนี้ต่อหัวประมาณ 100,892 บาท
นโยบายสางหนี้ของเพื่อไทย คือ ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ และพักหนี้-ปรับโครงสร้างหนี้
ตัวเลขและนโยบาย "สางหนี้" ของ รัฐบาลประชาธิปัตย์ทั้งใน-นอกระบบ คือ ย้ายหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารพาณิชย์รวม 8 แห่ง
การช่วยเหลือจะให้น้ำหนักเป็นพิเศษกับกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยมีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือตาม "กระบวนการยุติธรรม" ด้วย
สำหรับกลุ่มลูกหนี้ในระบบที่ถูกฟ้องร้องในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา 1.2 แสนรายทั่วประเทศ และบางรายถูกเจ้าหนี้ฟ้องศาลโดยใช้สัญญาเงินกู้ระบุมูลหนี้สูงกว่ามูลหนี้จริงถึง 200-500% กระทรวงยุติธรรมจะช่วยเหลือตามหลักการ "ประชาธิปัตย์"
ด้วยการให้คำปรึกษากฎหมาย เช่น ให้ลูกหนี้รวมตัวกันต่อสู้คดี เป็นต้นควบคู่ไปกับการตรวจสอบบัญชี การเงิน ไกล่เกลี่ยเพื่อลดหนี้ และดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ที่กระทำผิดโดยใช้มาตรการด้านภาษีและกฎหมายฟอกเงิน
ส่วนกลุ่มที่ถูกยึดทรัพย์บังคับคดี และที่ถูกพิพากษาล้มละลาย รัฐบาลคาดว่าจะช่วยลดจำนวนหนี้ที่ถูกฟ้องร้องจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหนี้ได้ไม่ต่ำกว่า 50,000-100,000 ล้านบาท
ยังมีกลุ่มที่ถูกบังคับคดีและถูกพิพากษาให้ล้มละลาย จากข้อมูลการขึ้นทะเบียน พบว่าขณะนี้มีลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างถูกบังคับคดี 2.3 แสนคดี จำนวนทุนทรัพย์ 3.4 แสนล้านบาท และคดีล้มละลาย 6.3 หมื่นคดี จำนวนทุนทรัพย์ 3.8 แสนล้านบาท
รวมแล้วมีลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างถูกบังคับคดีและอยู่ในคดีล้มละลาย 2.93 แสนคดี ทุนทรัพย์ 7.2 แสนล้านบาท แต่หากรวมลูกหนี้ที่ถูกฟ้องร้องและอยู่ระหว่างตั้งเรื่องอีกจำนวนมาก จำนวนทุนทรัพย์น่าจะสูงถึง 800,000-1,000,000 ล้านบาท
ส่วน "หนี้นอกระบบ" ฝ่ายรัฐบาลมีตัวเลขที่ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงการคลังมีทั้งหมด 1,194,710 ราย มูลหนี้รวม 122,794,319 บาท มีเจ้าหนี้นอกระบบทั้งสิ้นประมาณ 4.9 พันราย
ในจำนวนนี้มีทั้งเจ้าหนี้รายใหญ่-รายย่อยเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และทุนนอกระบบที่เจ้าหนี้เป็นนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น แต่มักดำเนินการในลักษณะเป็น ตัวแทน หรือนอมินีให้กับนายทุนหรือนักการเมือง
ในจำนวนลูกหนี้ 1,194,710 ราย มูลหนี้รวม 122,794,319 บาท เป็นลูกหนี้ที่กระทรวงมหาดไทยรับมาดำเนินการเข้าสู่กระบวนการเจรจามูลหนี้ตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท รวม 756,073 ราย มูลหนี้ 91,713,236,606 บาท
มีรายงานว่าธนาคาร-สถาบันการเงิน อนุมัติสินเชื่อและดำเนินการโอนเงินให้แล้ว 28,946 ราย ธนาคารพิจารณา สินเชื่อแต่ลูกหนี้ไม่สามารถหาหลักประกันได้ 8,288 ราย ธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อ 7,195 ราย และอยู่ระหว่างการพิจารณา 509,840 ราย
มหกรรม-ตัวเลขหนี้ยังเป็นยาหอมที่ทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาลใช้เป็น "เบี้ย" หาเสียงได้อีกหลายสมัย
****************************************************************************
หัวข้อหลักที่ฝ่ายค้านเดินสายหาเสียง คือ "การแก้หนี้"
หัวข้อหลักในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ระหว่างชนชั้น คนรวยคนจน คือ "การแก้หนี้"
เพราะโจทย์-ปัญหา-ความต้องการของคนเป็นหนี้ คือ ต้องการปลดแอกจากมูลหนี้
ข้อเท็จจริงคือ ขณะนี้มีคนเป็นหนี้ "นอกระบบ" ถึง 1.6 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มขยับขึ้น 20% ทุกปี
ส่วนหนี้ "ในระบบ" ที่กระทรวงการคลัง-กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าภาพมีอีกไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้าน
ทั้งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "ดร.สุชาติ ธาดาดำรงเวช" และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง "กรณ์ จาติกวณิช" ต่างนำเสนอ "ตัวเลขหนี้" เป็นธงในการหาเสียง
ฝ่าย "ดร.สุชาติ" ทีมเศรษฐกิจของเพื่อไทย จัดทำโมเดลหนี้ และคาดการณ์หนี้ในอนาคตไว้ว่า ขณะนี้ปี 2553 รัฐบาลมีหนี้สาธารณะทั้งสิ้น 4.54 ล้านล้านบาท ขณะที่ประเทศมีรายได้ประชาชาติ (จีดีพี) รวม 9.7 ล้านล้านบาท ประชาชนมีหนี้ต่อหัวประมาณคนละ 70,000 บาท ทำให้อัตราหนี้สาธารณะต่อ จีดีพีสูงถึง 46%
ตัวเลขของฝ่ายค้านคาดการณ์ว่า ในปี 2557 ประเทศจะมีหนี้ 6.83 ล้านล้านบาท ในขณะที่ตัวเลขจีดีพี 12.36 ล้านล้านบาท สัดส่วนหนี้ 55.23% ต่อจีดีพี และประชาชนจะมีหนี้ต่อหัวประมาณ 100,892 บาท
นโยบายสางหนี้ของเพื่อไทย คือ ลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ และพักหนี้-ปรับโครงสร้างหนี้
ตัวเลขและนโยบาย "สางหนี้" ของ รัฐบาลประชาธิปัตย์ทั้งใน-นอกระบบ คือ ย้ายหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารพาณิชย์รวม 8 แห่ง
การช่วยเหลือจะให้น้ำหนักเป็นพิเศษกับกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยมีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือตาม "กระบวนการยุติธรรม" ด้วย
สำหรับกลุ่มลูกหนี้ในระบบที่ถูกฟ้องร้องในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา 1.2 แสนรายทั่วประเทศ และบางรายถูกเจ้าหนี้ฟ้องศาลโดยใช้สัญญาเงินกู้ระบุมูลหนี้สูงกว่ามูลหนี้จริงถึง 200-500% กระทรวงยุติธรรมจะช่วยเหลือตามหลักการ "ประชาธิปัตย์"
ด้วยการให้คำปรึกษากฎหมาย เช่น ให้ลูกหนี้รวมตัวกันต่อสู้คดี เป็นต้นควบคู่ไปกับการตรวจสอบบัญชี การเงิน ไกล่เกลี่ยเพื่อลดหนี้ และดำเนินคดีกับเจ้าหนี้ที่กระทำผิดโดยใช้มาตรการด้านภาษีและกฎหมายฟอกเงิน
ส่วนกลุ่มที่ถูกยึดทรัพย์บังคับคดี และที่ถูกพิพากษาล้มละลาย รัฐบาลคาดว่าจะช่วยลดจำนวนหนี้ที่ถูกฟ้องร้องจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหนี้ได้ไม่ต่ำกว่า 50,000-100,000 ล้านบาท
ยังมีกลุ่มที่ถูกบังคับคดีและถูกพิพากษาให้ล้มละลาย จากข้อมูลการขึ้นทะเบียน พบว่าขณะนี้มีลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างถูกบังคับคดี 2.3 แสนคดี จำนวนทุนทรัพย์ 3.4 แสนล้านบาท และคดีล้มละลาย 6.3 หมื่นคดี จำนวนทุนทรัพย์ 3.8 แสนล้านบาท
รวมแล้วมีลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างถูกบังคับคดีและอยู่ในคดีล้มละลาย 2.93 แสนคดี ทุนทรัพย์ 7.2 แสนล้านบาท แต่หากรวมลูกหนี้ที่ถูกฟ้องร้องและอยู่ระหว่างตั้งเรื่องอีกจำนวนมาก จำนวนทุนทรัพย์น่าจะสูงถึง 800,000-1,000,000 ล้านบาท
ส่วน "หนี้นอกระบบ" ฝ่ายรัฐบาลมีตัวเลขที่ลงทะเบียนไว้กับกระทรวงการคลังมีทั้งหมด 1,194,710 ราย มูลหนี้รวม 122,794,319 บาท มีเจ้าหนี้นอกระบบทั้งสิ้นประมาณ 4.9 พันราย
ในจำนวนนี้มีทั้งเจ้าหนี้รายใหญ่-รายย่อยเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และทุนนอกระบบที่เจ้าหนี้เป็นนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น แต่มักดำเนินการในลักษณะเป็น ตัวแทน หรือนอมินีให้กับนายทุนหรือนักการเมือง
ในจำนวนลูกหนี้ 1,194,710 ราย มูลหนี้รวม 122,794,319 บาท เป็นลูกหนี้ที่กระทรวงมหาดไทยรับมาดำเนินการเข้าสู่กระบวนการเจรจามูลหนี้ตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท รวม 756,073 ราย มูลหนี้ 91,713,236,606 บาท
มีรายงานว่าธนาคาร-สถาบันการเงิน อนุมัติสินเชื่อและดำเนินการโอนเงินให้แล้ว 28,946 ราย ธนาคารพิจารณา สินเชื่อแต่ลูกหนี้ไม่สามารถหาหลักประกันได้ 8,288 ราย ธนาคารไม่อนุมัติสินเชื่อ 7,195 ราย และอยู่ระหว่างการพิจารณา 509,840 ราย
มหกรรม-ตัวเลขหนี้ยังเป็นยาหอมที่ทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาลใช้เป็น "เบี้ย" หาเสียงได้อีกหลายสมัย
****************************************************************************
วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เจาะใจ"เลขาธิการ ก.พ."ขรก.ล้มละลายปิดไม่มิด-เผย14กรมดาวแดงกลุ่มสูงอายุพุ่ง-องค์การมหาชนอื้อซ่า
ที่มา.มติชนออนไลน์
ปัจจุบันต้องยอมรับว่าบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ทำให้หน่วยงานนี้ถูกจับตามองจากทุกภาคส่วน
จากบทบาท พี่เลี้ยง สำนักงาน ก.พ.ดูแลคนของภาครัฐและหน่วยราชการ หลายแสนคน ล่าสุด มติชนออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ “เบญจวรรณ สร่างนิทร” เลขาธิการ ก.พ. ในประเด็นสำคัญ หลายประเด็น ดังนี้
ปัจจุบัน ข้าราชการถูกฟ้องล้มละลาย ทำให้ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่ง มีมากน้อยแค่ไหน ?
เราพูดไม่ได้ว่า มาก หรือ น้อย แค่ไหน เพราะไม่มีตัวเลขข้อมูลที่เป็นทางการ แต่ปัญหาว่า ถ้าล้มละลายแล้วขาดคุณสมบัติของการเป็นข้าราชการ ปัญหานี้ ในช่วงที่เขียนเรื่องคุณสมบัติทั่วไปสำหรับคนที่เป็นราชการ เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันมากว่า ควรจะใส่รายละเอียดว่าอย่างไร เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็เห็นด้วยให้ใส่ไว้ แต่ถ้าจะถามว่าวันนี้ตัวเลขข้าราชการถูกฟ้องล้มละลายมีจำนวนมากหรือน้อยเท่าไร ไม่รู้เพราะทางสำนักงาน ก.พ.ไม่เคยมีการเก็บตัวเลขตรงนี้
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้าราชการคนไหน ต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ เพราะไม่มีการตรวจสอบไม่มีข้อมูล
จริงๆแล้วต้องมาบอก แต่ถ้าสมมติว่า นาย ก. ล้มละลายแล้ว ปกปิด ก็ปิดไม่มีมิดหรอก เพราะการทำงานทุกวันนี้ทุกคนก็จ้องเรื่อยขาเก้าอี้กันทั้งนั้น
สิ้นปี 2553 มีข้าราชการเกษียณอายุเท่าไหร่
จากการเก็บสถิติทุกปีตัวเลขข้าราชการเกษียณอายุจะอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 คนไม่หนีกันเท่าไหร่ อย่างปีที่ผ่านมามีข้าราชการเกษียณอายุทั้งหมด 3,300 คน ทำให้สามารถรับคนใหม่เพิ่มเข้าในหน่วยราชการอีก 3,000 กว่าคนเพราะวันนี้อัตราข้าราชการที่เกษียณอายุไม่ได้ถูกยุบไปด้วยแต่จะรับใหม่ทดแทนแล้วจัดสรรให้กับหน่วยราชการที่มีความต้องการบุคลากร
หากมองไปข้างหน้า ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุที่เยอะขึ้น ตรงนี้กระทบกับระบบราชการไหม
เรื่องโครงสร้างอายุ ทางก.พ.ได้ทำการสำรวจข้อมูลเหมือนกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ในหน่วยราชการหลายแห่งมีผู้สูงวัยอยู่เยอะมาก ข้อมูลรายกระทรวงที่เก็บได้ พบว่ากระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีคนสูงวัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่อายุเฉลี่ยน้อยกว่าหน่วยงานรัฐอื่น เมื่อไปดูในรายละเอียดพบว่า เป็นผลมาจากกระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์และพยาบาลที่ถูกบังคับให้รับราชการเพื่อใช้ทุนจึงดึงอายุเฉลี่ยของข้าราชการในกระทรวงให้ต่ำลง
ข้อมูลที่ได้จึงไม่สามารถบ่งชี้สถานะที่แท้จริงในเรื่องอายุของข้าราชการได้ ก.พ.จึงได้เจาะลึกไปในส่วนของกรม คราวนี้เจอ 14 กรมที่มีดาวแดงในเรื่องกลุ่มผู้สูงอายุอยู่เยอะ
พอเอาเรื่องเข้าที่ประชุมก.พ.ก็มีคนอยากเห็นเรื่องนี้นำไปสู่การปฏิบัติ จึงได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการใน 14 กรมดาวแดงมาหารือ ซึ่งถ้าจะเอาจริงทั้ง 14 กรมเลยคงต้องใช้กำลังมาก และต้องใช้เวลานาน ในเบื้องต้นจึงขอแค่ 3 กรมที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการหาวิธีการรองรับกับผู้สูงวัยที่กำลังจะไป
กรมนำร่อง ก็มี กรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมการค้าภายใน
อีกโครงการหนึ่งที่ สำนักงานก.พ.ทำมาตั้งแต่ปี 2552 จะไปสิ้นสุดโครงการในปี 2555 คือ โครงการเออร์ลี่รีไทร์ เพื่อดึงโครงสร้างอายุของข้าราชการให้ลดลง ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการไปสองปีแล้ว มีข้าราชการเข้าร่วมโครงการประมาณ 10,000 กว่าคน ส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการกันเยอะ
ในขณะที่ระบบราชการพยายามกระชับพื้นที่ไม่ให้มีการขยายตัวมากนัก แต่ปรากฏว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีองค์การมหาชน พิเศษ เกือบ 60 แห่ง จะสวนทางกันไหม ?
ตรงนี้เป็นเรื่องที่มีการพูดกันเยอะเหมือนกัน วันนี้จำนวนราชการคุมอยู่แต่พอไปออกหน่วยงานอื่นในรูปขององค์การมหาชนรัฐก็ต้องมีระบบที่ไปกำกับติดตามการทำงานที่ชัดเจน
ที่สำคัญต้องตอบคำถามประชาชนให้ได้ว่า ท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่ของรัฐมีกี่ประเภทแน่ แล้วประเภทไหนใช้งบประมาณไปเท่าไหร่ ประเภทไหนมีผลผลิตให้ประเทศชัดเจนแค่ไหน
องค์การมหาชน ที่ผุดเป็นดอกเห็ด ถือเป็นการสร้างอาณาจักรใหม่ ไม่รู้จบ
มันไม่ใช่อาณาจักรใหม่ วันนี้เราต้องยอมรับว่า โลกไม่ได้อยู่กับที่ โลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราก้าวไม่ทันในบางเรื่อง เราก็ล้าสมัย
วันก่อนตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปศูนย์ซินโครตรอนที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ศูนย์ซินโครตรอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ญี่ปุ่น อันดับสองอยู่อเมริกา อันดับสี่อยู่นครเซี่ยงไฮ้ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาช่วงของแสงที่มีจุดโฟกัสที่ตัวเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็นทำให้สามารถเห็นโครงสร้างของเชื้อโรค แล้วบอกได้ว่าเชื้อโรคแต่ละชนิดประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งประโยชน์ที่ได้มหาศาล
ดังนั้นถ้าคนอื่นเขาไปแล้วเรายังทำเหมือนเดิม ก็หมายความว่าเราล้าสมัย เพราะวิทยาการทั้งหลายมันเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา องค์กรใหม่ๆ สำหรับประเทศไทยก็ยังมีความจำเป็นอยู่ เพียงแต่ว่าต้องทำบทบาทให้มีประสิทธิภาพมีศักยภาพ แล้วตอบคำตอบประชาชนให้ได้ว่า งานที่หน่วยงานพิเศษเหล่านี้ทำคุ้มค่ากับภาษีราษฏรหรือไม่
ทิศทางการพัฒนาคนของภาครัฐนับจากนี้ไป 3 ปี 5 ปีจะเป็นอย่างไร
เรื่องการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆตั้งแต่การเตรียมกำลังคน การให้ความสำคัญกับกลุ่มกำลังคนบางประเภท เช่น ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์สูง กลุ่มคลื่นลูกใหม่ของระบบ ยังไม่รวมกลุ่มคนเก่ง(Talent)ที่ต้องดูแล
ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการออกแนวปฏิบัติในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของข้าราชการทั้งระบบ ทุกเก้าอี้มีรายเอียดหมด โดยข้าราชการ 381,000 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ บริหาร อำนวยการ วิชาการ ทั่วไป และแต่ละประเภทจะมีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายในการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ
ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งวิชาการจะต้องมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรรถนะเรื่องอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนี้
ในเรื่องสมรรถนะหลักก็จะมุ่งไปที่ผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน การทำงานเป็นทีม เอาเป็นว่าถ้าจำแนกลงไปในรายละเอียดแล้วคนเหล่านี้ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ ความสามารถหรือสมรรถนะด้านใดก็ตาม บทบาทสำคัญของส่วนราชการคือต้องพัฒนาคนให้ได้มาตรฐานที่กำหนดก็มหาศาลแล้วยังไม่พูดถึงการพัฒนาบุคลากรให้เหนือมาตรฐาน
ส่วนการเตรียมคนเพื่อที่จะก้าวเป็นผู้บริหารลำดับถัดไปก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเริ่มสร้างให้ทัน
หน่วยราชการต่างๆต้องคิดแล้วว่าจะสร้างคนอย่างไร ตั้งแต่วันแรกที่เขาก้าวเข้ามารับราชการหรือเปล่า ถ้าใครที่มีศักยภาพที่ดีระบบใหม่เปิดให้สร้างคนเก่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารได้ ไม่ใช่ว่าใครเกิดตรงไหนต้องตายตรงนั้น
ทุกสายงานต้องมีความก้าวหน้าในอาชีพให้กับข้าราชการทุกคน และต้องสร้างระบบให้มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงานกันได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้พัฒนาความสามารถเรียนรู้งานใหม่ๆในส่วนงานอื่นๆ นอกจากภารกิจงานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนั้นหน่วยราชการต้องโฟกัสไปเลยว่า ข้าราชการแต่ละคนจะต้องพัฒนาตรงไหน ถ้าทุกหน่วยงานตระหนักถึงการยกระดับบุคลากรภาครัฐให้ได้มาตรฐาน ผลผลิตของภาครัฐก็น่าจะตอบสนองกับความพึงพอใจของประชาชนทั้งประเทศไทย
และสิ่งเหล่านี้คือพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ที่พลิกระบบการบริหารจัดการด้านบุคลากรที่หลากหลายมากขึ้น
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปัจจุบันต้องยอมรับว่าบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ทำให้หน่วยงานนี้ถูกจับตามองจากทุกภาคส่วน
จากบทบาท พี่เลี้ยง สำนักงาน ก.พ.ดูแลคนของภาครัฐและหน่วยราชการ หลายแสนคน ล่าสุด มติชนออนไลน์ สัมภาษณ์พิเศษ “เบญจวรรณ สร่างนิทร” เลขาธิการ ก.พ. ในประเด็นสำคัญ หลายประเด็น ดังนี้
ปัจจุบัน ข้าราชการถูกฟ้องล้มละลาย ทำให้ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่ง มีมากน้อยแค่ไหน ?
เราพูดไม่ได้ว่า มาก หรือ น้อย แค่ไหน เพราะไม่มีตัวเลขข้อมูลที่เป็นทางการ แต่ปัญหาว่า ถ้าล้มละลายแล้วขาดคุณสมบัติของการเป็นข้าราชการ ปัญหานี้ ในช่วงที่เขียนเรื่องคุณสมบัติทั่วไปสำหรับคนที่เป็นราชการ เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันมากว่า ควรจะใส่รายละเอียดว่าอย่างไร เป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ แต่ท้ายที่สุดทุกคนก็เห็นด้วยให้ใส่ไว้ แต่ถ้าจะถามว่าวันนี้ตัวเลขข้าราชการถูกฟ้องล้มละลายมีจำนวนมากหรือน้อยเท่าไร ไม่รู้เพราะทางสำนักงาน ก.พ.ไม่เคยมีการเก็บตัวเลขตรงนี้
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้าราชการคนไหน ต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ เพราะไม่มีการตรวจสอบไม่มีข้อมูล
จริงๆแล้วต้องมาบอก แต่ถ้าสมมติว่า นาย ก. ล้มละลายแล้ว ปกปิด ก็ปิดไม่มีมิดหรอก เพราะการทำงานทุกวันนี้ทุกคนก็จ้องเรื่อยขาเก้าอี้กันทั้งนั้น
สิ้นปี 2553 มีข้าราชการเกษียณอายุเท่าไหร่
จากการเก็บสถิติทุกปีตัวเลขข้าราชการเกษียณอายุจะอยู่ที่ประมาณ 3,000-4,000 คนไม่หนีกันเท่าไหร่ อย่างปีที่ผ่านมามีข้าราชการเกษียณอายุทั้งหมด 3,300 คน ทำให้สามารถรับคนใหม่เพิ่มเข้าในหน่วยราชการอีก 3,000 กว่าคนเพราะวันนี้อัตราข้าราชการที่เกษียณอายุไม่ได้ถูกยุบไปด้วยแต่จะรับใหม่ทดแทนแล้วจัดสรรให้กับหน่วยราชการที่มีความต้องการบุคลากร
หากมองไปข้างหน้า ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุที่เยอะขึ้น ตรงนี้กระทบกับระบบราชการไหม
เรื่องโครงสร้างอายุ ทางก.พ.ได้ทำการสำรวจข้อมูลเหมือนกัน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ในหน่วยราชการหลายแห่งมีผู้สูงวัยอยู่เยอะมาก ข้อมูลรายกระทรวงที่เก็บได้ พบว่ากระทรวงสาธารณะสุขเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีคนสูงวัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่อายุเฉลี่ยน้อยกว่าหน่วยงานรัฐอื่น เมื่อไปดูในรายละเอียดพบว่า เป็นผลมาจากกระทรวงสาธารณสุขมีแพทย์และพยาบาลที่ถูกบังคับให้รับราชการเพื่อใช้ทุนจึงดึงอายุเฉลี่ยของข้าราชการในกระทรวงให้ต่ำลง
ข้อมูลที่ได้จึงไม่สามารถบ่งชี้สถานะที่แท้จริงในเรื่องอายุของข้าราชการได้ ก.พ.จึงได้เจาะลึกไปในส่วนของกรม คราวนี้เจอ 14 กรมที่มีดาวแดงในเรื่องกลุ่มผู้สูงอายุอยู่เยอะ
พอเอาเรื่องเข้าที่ประชุมก.พ.ก็มีคนอยากเห็นเรื่องนี้นำไปสู่การปฏิบัติ จึงได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการใน 14 กรมดาวแดงมาหารือ ซึ่งถ้าจะเอาจริงทั้ง 14 กรมเลยคงต้องใช้กำลังมาก และต้องใช้เวลานาน ในเบื้องต้นจึงขอแค่ 3 กรมที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการหาวิธีการรองรับกับผู้สูงวัยที่กำลังจะไป
กรมนำร่อง ก็มี กรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมการค้าภายใน
อีกโครงการหนึ่งที่ สำนักงานก.พ.ทำมาตั้งแต่ปี 2552 จะไปสิ้นสุดโครงการในปี 2555 คือ โครงการเออร์ลี่รีไทร์ เพื่อดึงโครงสร้างอายุของข้าราชการให้ลดลง ซึ่งตอนนี้ได้ดำเนินการไปสองปีแล้ว มีข้าราชการเข้าร่วมโครงการประมาณ 10,000 กว่าคน ส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการครูที่สนใจเข้าร่วมโครงการกันเยอะ
ในขณะที่ระบบราชการพยายามกระชับพื้นที่ไม่ให้มีการขยายตัวมากนัก แต่ปรากฏว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีองค์การมหาชน พิเศษ เกือบ 60 แห่ง จะสวนทางกันไหม ?
ตรงนี้เป็นเรื่องที่มีการพูดกันเยอะเหมือนกัน วันนี้จำนวนราชการคุมอยู่แต่พอไปออกหน่วยงานอื่นในรูปขององค์การมหาชนรัฐก็ต้องมีระบบที่ไปกำกับติดตามการทำงานที่ชัดเจน
ที่สำคัญต้องตอบคำถามประชาชนให้ได้ว่า ท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่ของรัฐมีกี่ประเภทแน่ แล้วประเภทไหนใช้งบประมาณไปเท่าไหร่ ประเภทไหนมีผลผลิตให้ประเทศชัดเจนแค่ไหน
องค์การมหาชน ที่ผุดเป็นดอกเห็ด ถือเป็นการสร้างอาณาจักรใหม่ ไม่รู้จบ
มันไม่ใช่อาณาจักรใหม่ วันนี้เราต้องยอมรับว่า โลกไม่ได้อยู่กับที่ โลกเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราก้าวไม่ทันในบางเรื่อง เราก็ล้าสมัย
วันก่อนตามเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปศูนย์ซินโครตรอนที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ศูนย์ซินโครตรอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ญี่ปุ่น อันดับสองอยู่อเมริกา อันดับสี่อยู่นครเซี่ยงไฮ้ เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ศึกษาช่วงของแสงที่มีจุดโฟกัสที่ตัวเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็นทำให้สามารถเห็นโครงสร้างของเชื้อโรค แล้วบอกได้ว่าเชื้อโรคแต่ละชนิดประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งประโยชน์ที่ได้มหาศาล
ดังนั้นถ้าคนอื่นเขาไปแล้วเรายังทำเหมือนเดิม ก็หมายความว่าเราล้าสมัย เพราะวิทยาการทั้งหลายมันเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา องค์กรใหม่ๆ สำหรับประเทศไทยก็ยังมีความจำเป็นอยู่ เพียงแต่ว่าต้องทำบทบาทให้มีประสิทธิภาพมีศักยภาพ แล้วตอบคำตอบประชาชนให้ได้ว่า งานที่หน่วยงานพิเศษเหล่านี้ทำคุ้มค่ากับภาษีราษฏรหรือไม่
ทิศทางการพัฒนาคนของภาครัฐนับจากนี้ไป 3 ปี 5 ปีจะเป็นอย่างไร
เรื่องการพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆตั้งแต่การเตรียมกำลังคน การให้ความสำคัญกับกลุ่มกำลังคนบางประเภท เช่น ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์สูง กลุ่มคลื่นลูกใหม่ของระบบ ยังไม่รวมกลุ่มคนเก่ง(Talent)ที่ต้องดูแล
ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีการออกแนวปฏิบัติในเรื่องมาตรฐานสมรรถนะของข้าราชการทั้งระบบ ทุกเก้าอี้มีรายเอียดหมด โดยข้าราชการ 381,000 คน จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ บริหาร อำนวยการ วิชาการ ทั่วไป และแต่ละประเภทจะมีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายในการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ
ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งวิชาการจะต้องมีความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรรถนะเรื่องอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งนี้
ในเรื่องสมรรถนะหลักก็จะมุ่งไปที่ผลสัมฤทธิ์ของการทำงาน การทำงานเป็นทีม เอาเป็นว่าถ้าจำแนกลงไปในรายละเอียดแล้วคนเหล่านี้ต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ ความสามารถหรือสมรรถนะด้านใดก็ตาม บทบาทสำคัญของส่วนราชการคือต้องพัฒนาคนให้ได้มาตรฐานที่กำหนดก็มหาศาลแล้วยังไม่พูดถึงการพัฒนาบุคลากรให้เหนือมาตรฐาน
ส่วนการเตรียมคนเพื่อที่จะก้าวเป็นผู้บริหารลำดับถัดไปก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องเริ่มสร้างให้ทัน
หน่วยราชการต่างๆต้องคิดแล้วว่าจะสร้างคนอย่างไร ตั้งแต่วันแรกที่เขาก้าวเข้ามารับราชการหรือเปล่า ถ้าใครที่มีศักยภาพที่ดีระบบใหม่เปิดให้สร้างคนเก่งเหล่านี้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารได้ ไม่ใช่ว่าใครเกิดตรงไหนต้องตายตรงนั้น
ทุกสายงานต้องมีความก้าวหน้าในอาชีพให้กับข้าราชการทุกคน และต้องสร้างระบบให้มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงานกันได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้พัฒนาความสามารถเรียนรู้งานใหม่ๆในส่วนงานอื่นๆ นอกจากภารกิจงานที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนั้นหน่วยราชการต้องโฟกัสไปเลยว่า ข้าราชการแต่ละคนจะต้องพัฒนาตรงไหน ถ้าทุกหน่วยงานตระหนักถึงการยกระดับบุคลากรภาครัฐให้ได้มาตรฐาน ผลผลิตของภาครัฐก็น่าจะตอบสนองกับความพึงพอใจของประชาชนทั้งประเทศไทย
และสิ่งเหล่านี้คือพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ที่พลิกระบบการบริหารจัดการด้านบุคลากรที่หลากหลายมากขึ้น
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ยุค ‘คนไทย’ ‘ตายเป็นเบือ’!!
ยังมีน้ำหน้า มายกก้น เชิดบั้นเอว “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็น “อภิสิทธัตถะ” เทียบ “พระพุทธเจ้า” อย่างไม่น่าเชื่อ??
“ไพบูลย์ วัฒนธรรมศิริ” ประโคมยก “มาร์ค” จนตัวลอย
หลุดฉายานี้ออกมา...คนด่ากระหึ่มไม่น้อย
ว่าเป็นสัตบุรุษ ที่มีปณิธานสร้างความปรองดองแก่ชาติ เร่งปฏิรูปประเทศให้ดีกว่าเก่า...แต่ไม่มอง กองกระดูก เลือดท่วมซากศพ ที่ตายพะเนินเทินทึก ไม่มีรัฐบาลใด สร้างสถิติได้มากเท่านี้!!!
ประเทศนี้ยับเยิน.... “มาร์ค” ยังได้รับคำสรรเสริญ?..ไม่เขินหัวใจมั่งเลยนะ นายกรัฐมนตรี
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ใหญ่ยกแผง!!
คุมอำนาจไว้หมด สำหรับ “บูรพาพยัคฆ์” และ “ตท.๑๒” ของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึด “๕ เสือทัพบก” เอาไว้ได้ ทุกตำแหน่ง
“บิ๊กประยุทธ์” ใครก็ฉุดไม่อยู่ ...เป็น “ผบ.ทบ.” ที่มาแรง อำนาจไม่ตก
“พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” เพื่อนรัก ตท.รุ่น๑๒...ก็ขึ้นมาเป็นมันสมอง ในตำแหน่ง “เสนาธิการทหารบก”
มากันใหญ่ยกก๊วน มากันใหญ่ยกแก๊ง..ก็ต้องไปพลิกอดีตกันดู เมื่อคราว “จปร.๕” ของ “พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ “จปร. ๗” ของ “พล.ต.มนูญกฤติ รูปขจร”, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง” “พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี” ใหญ่คับประเทศ แต่ไม่สามารถครองใจกองทัพได้ ทั้งที่มีบารมี!!
ขอให้ “บิ๊กตู่” ทหารจอมเก๋าส์..อย่าได้เดินตามรอยเท้า?..ถูกเขาบอยคอต เหมือนรุ่นพี่??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปัดกันวุ่น!!!
ฝ่ายทหาร โยนกลอง โทษนักการเมือง...นักการเมือง ก็ปัดสวะ ให้ทหาร เหมือนกันแหละคุณ?
เพราะการสังหารหมู่ คนไทยรากหญ้า ผู้รักประชาธิปไตย ที่ผ่านฝ้า และ ราชประสงค์ ไป ๙๐ ศพ และบาดเจ็บเหยียบ ๒,๐๐๐ คนนั้น...เป็น “บาปที่ล้างไม่หมด”
“ศอฉ.” ปริปากมาแล้ว...รัฐบาลอภิสิทธิ์ชนสั่งชักแถว ให้เข้าบี้เข้าบด
มาถึงวันนี้ ฝ่ายทหาร ของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม, “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่ ผบ.ทบ.คนใหม่ ให้ลูกแถวมายัน ว่าเป็นฝีมือ ของ “ฝ่ายรัฐบาล” ที่สั่งการกันเต็มๆ!!!
ซัดให้ “มาร์ค” รับไปสุดๆ ...ไม่อยากจะพูด...เดี๋ยวนี้ “มาร์ค” เป็น “บุรุษที่ใจเค็ม”??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อยู่ได้ คนไทย ก็หวาดหวั่น!!!
ทำท่าเป็นกิจวัตรไปแล้ว สำหรับ การวางระเบิด ในกรุงเทพมหานคร ที่เกิดขึ้นแบบรายวัน!
“เจ้าพ่อวังน้ำเย็น” เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช เป็นห่วงอย่างยิ่ง
ระเบิดที่ราชประสงค์ ซอยรางน้ำ....เป็นเรื่องที่น่าเกรงขาม กว่าเรื่องใดทุกสิ่ง
แต่ไม่ใช่หมายความว่า ระเบิดที่เกิดขึ้น ณ สองแห่งนี้ จะหมดไป... “ท่านเสนาะ” กระเทาะหัวใจ ยันว่า ระเบิดกลางเมืองหลวง จะเกิดขึ้น และรุนแรงมากกว่านี้!!!
ระเบิดจะหมดไป...ต้องได้รัฐบาลใหม่?... “ประชาธิปัตย์” ต้องถูกขจัดไป ในทันที???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เอาดีใส่ตัว!!!
นี่แหละ ผลงานที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ดีเด่นมาอย่างเดียว พ่อคุณทูนหัว??
สมอ้าง ว่าการเลื่อนยก “ปราสาทเขาพระวิหาร” ไปเป็นปีหน้า...เป็นชัยชนะประเทศไทย
“วีระ สมความคิด”....จับผิดไล่ทันจะบอกให้
การออกมาลักไก่ ของ “นายกฯ มาร์ค” นั้น...เป็นการซื้อผ้าเอาหน้ารอด เพื่อให้ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน” ได้ใจคนไทย.. แต่เรานั้นได้เสียรู้ “เขมร” ของ “สมเด็จฯ ฮุน เซน” เขาไปเต็มคราบ!!!
“พันธมิตรฯ” เลี้ยงต้อย รัฐบาลนี้มา....ตอนนี้แสนจะระอา?..จะหันหน้า พามาด่ากันให้ยับ?
*************************************************************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
“ไพบูลย์ วัฒนธรรมศิริ” ประโคมยก “มาร์ค” จนตัวลอย
หลุดฉายานี้ออกมา...คนด่ากระหึ่มไม่น้อย
ว่าเป็นสัตบุรุษ ที่มีปณิธานสร้างความปรองดองแก่ชาติ เร่งปฏิรูปประเทศให้ดีกว่าเก่า...แต่ไม่มอง กองกระดูก เลือดท่วมซากศพ ที่ตายพะเนินเทินทึก ไม่มีรัฐบาลใด สร้างสถิติได้มากเท่านี้!!!
ประเทศนี้ยับเยิน.... “มาร์ค” ยังได้รับคำสรรเสริญ?..ไม่เขินหัวใจมั่งเลยนะ นายกรัฐมนตรี
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ใหญ่ยกแผง!!
คุมอำนาจไว้หมด สำหรับ “บูรพาพยัคฆ์” และ “ตท.๑๒” ของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึด “๕ เสือทัพบก” เอาไว้ได้ ทุกตำแหน่ง
“บิ๊กประยุทธ์” ใครก็ฉุดไม่อยู่ ...เป็น “ผบ.ทบ.” ที่มาแรง อำนาจไม่ตก
“พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ” เพื่อนรัก ตท.รุ่น๑๒...ก็ขึ้นมาเป็นมันสมอง ในตำแหน่ง “เสนาธิการทหารบก”
มากันใหญ่ยกก๊วน มากันใหญ่ยกแก๊ง..ก็ต้องไปพลิกอดีตกันดู เมื่อคราว “จปร.๕” ของ “พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ “จปร. ๗” ของ “พล.ต.มนูญกฤติ รูปขจร”, พล.ต.จำลอง ศรีเมือง” “พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี” ใหญ่คับประเทศ แต่ไม่สามารถครองใจกองทัพได้ ทั้งที่มีบารมี!!
ขอให้ “บิ๊กตู่” ทหารจอมเก๋าส์..อย่าได้เดินตามรอยเท้า?..ถูกเขาบอยคอต เหมือนรุ่นพี่??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปัดกันวุ่น!!!
ฝ่ายทหาร โยนกลอง โทษนักการเมือง...นักการเมือง ก็ปัดสวะ ให้ทหาร เหมือนกันแหละคุณ?
เพราะการสังหารหมู่ คนไทยรากหญ้า ผู้รักประชาธิปไตย ที่ผ่านฝ้า และ ราชประสงค์ ไป ๙๐ ศพ และบาดเจ็บเหยียบ ๒,๐๐๐ คนนั้น...เป็น “บาปที่ล้างไม่หมด”
“ศอฉ.” ปริปากมาแล้ว...รัฐบาลอภิสิทธิ์ชนสั่งชักแถว ให้เข้าบี้เข้าบด
มาถึงวันนี้ ฝ่ายทหาร ของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม, “บิ๊กป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าที่ ผบ.ทบ.คนใหม่ ให้ลูกแถวมายัน ว่าเป็นฝีมือ ของ “ฝ่ายรัฐบาล” ที่สั่งการกันเต็มๆ!!!
ซัดให้ “มาร์ค” รับไปสุดๆ ...ไม่อยากจะพูด...เดี๋ยวนี้ “มาร์ค” เป็น “บุรุษที่ใจเค็ม”??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อยู่ได้ คนไทย ก็หวาดหวั่น!!!
ทำท่าเป็นกิจวัตรไปแล้ว สำหรับ การวางระเบิด ในกรุงเทพมหานคร ที่เกิดขึ้นแบบรายวัน!
“เจ้าพ่อวังน้ำเย็น” เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช เป็นห่วงอย่างยิ่ง
ระเบิดที่ราชประสงค์ ซอยรางน้ำ....เป็นเรื่องที่น่าเกรงขาม กว่าเรื่องใดทุกสิ่ง
แต่ไม่ใช่หมายความว่า ระเบิดที่เกิดขึ้น ณ สองแห่งนี้ จะหมดไป... “ท่านเสนาะ” กระเทาะหัวใจ ยันว่า ระเบิดกลางเมืองหลวง จะเกิดขึ้น และรุนแรงมากกว่านี้!!!
ระเบิดจะหมดไป...ต้องได้รัฐบาลใหม่?... “ประชาธิปัตย์” ต้องถูกขจัดไป ในทันที???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เอาดีใส่ตัว!!!
นี่แหละ ผลงานที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ดีเด่นมาอย่างเดียว พ่อคุณทูนหัว??
สมอ้าง ว่าการเลื่อนยก “ปราสาทเขาพระวิหาร” ไปเป็นปีหน้า...เป็นชัยชนะประเทศไทย
“วีระ สมความคิด”....จับผิดไล่ทันจะบอกให้
การออกมาลักไก่ ของ “นายกฯ มาร์ค” นั้น...เป็นการซื้อผ้าเอาหน้ารอด เพื่อให้ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน” ได้ใจคนไทย.. แต่เรานั้นได้เสียรู้ “เขมร” ของ “สมเด็จฯ ฮุน เซน” เขาไปเต็มคราบ!!!
“พันธมิตรฯ” เลี้ยงต้อย รัฐบาลนี้มา....ตอนนี้แสนจะระอา?..จะหันหน้า พามาด่ากันให้ยับ?
*************************************************************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
ศอออฉอ
โดย.พญาไม้ทูเดย์พญาไม้
เชื่อกันหรือไม่ว่า...ในที่สุดของที่สุดแล้ว...ศอฉ.ก็คงจะทำให้ประเทศนี้เติบโตไปสู่ความสงบและสันติสุขไม่ได้...
และที่จะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือการ เปิดฉากสังหารและการเข่นฆ่าครั้งใหม่
และที่แน่นอนยิ่งไปกว่านั้นก็คือ...การเข่นฆ่ายิ่งมากครั้งยิ่งขึ้นเท่าไหร่...โอกาสที่ประเทศนี้จะยิ่งล่มสลายก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
การปรากฏตัวของคนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวอยู่ในเวลานี้...ก็ไม่ต่างอะไรกับการเคลื่อนไหวในอดีตที่ผ่านมา...เขาเหล่านั้น...ทำในสิ่งที่ประชาชนที่เปลี่ยนแปลงประเทศทั้งหลายในโลกเขาเคยทำมา...
นั่นคือกระทำการอารยะขัดขืนต่อการปกครองของรัฐบาล...ใช้การคุ้มครองของกฎหมาย...และไต่ไปบนเส้นแบ่งครึ่งระหว่าง ถูกกับผิด...ละเมิดหรือไม่...ฯลฯ
เมื่อเกิดภาวะอึดอัดในการถูกปกครอง...ผู้คนทั้งหลายก็จะทำให้สิ่งเดียวกัน...นั่นคือ...ปรับทุกข์ ผูกมิตร จัดตั้ง...
ผู้คนจำนวนหนึ่งถูกไล่ล่า...ผู้คนอีกจำนวนหนึ่งปรากฏตัวออกมาสานต่อ...เป็นเช่นนี้...ไม่ใช่เช่นประเทศไทย แต่ไม่ว่าที่ไหนๆ ในโลก ก็เช่นกัน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ...การคงไว้ซึ่ง ศอออฉอ เสียอีก...จะกลายเป็นปัญหาของท่านในอนาคต...อันใกล้...เพราะท่านจะถูกท้าทาย และโดนลองของอีกนับครั้งไม่ถ้วน ในขณะที่การสอบสวนจับกุมจะกลายเป็นการใช้อำนาจที่สากลไม่ยอมรับ
ในที่สุดของที่สุด...ประสิทธิภาพของ ศอออฉอ ก็จะเสื่อมสลาย...และหากใช้อำนาจนั้นมากักขังจับกุมหรือเข่นฆ่าครั้งใหม่
ท่านก็เดินไปสู่ความเป็นผู้บริหารที่ล้มเหลว และผู้ปกครองที่ชั่วช้า นั่นคือหายนะ...ที่จะเปลี่ยนท่านจากการเป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยไปสู่การเป็นทรราชย์
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า...ท่านจะอยู่ไม่ครบสมัย...นั่นคือความคิดที่ถูกต้องสมบูรณ์..มีแต่การเลือกตั้งที่ประชาชนยอมรับเท่านั้น...ประเทศนี้ถึงจะก้าวพ้นวิกฤติ...ไปพร้อมๆ กับรัฐบาลของท่าน...
เมื่อพรรคใหญ่ 2 พรรค ร่วมกันเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งใหญ่...ประชาธิปไตยของชาติก็จะกลับมาพร้อมกับภูมิต้านทานมหึมา...ที่ไม่ทำให้ประเทศนี้แกว่งไกว
ที่มา.บางกอกทูเดย์
*****************************************************************************
เชื่อกันหรือไม่ว่า...ในที่สุดของที่สุดแล้ว...ศอฉ.ก็คงจะทำให้ประเทศนี้เติบโตไปสู่ความสงบและสันติสุขไม่ได้...
และที่จะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือการ เปิดฉากสังหารและการเข่นฆ่าครั้งใหม่
และที่แน่นอนยิ่งไปกว่านั้นก็คือ...การเข่นฆ่ายิ่งมากครั้งยิ่งขึ้นเท่าไหร่...โอกาสที่ประเทศนี้จะยิ่งล่มสลายก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
การปรากฏตัวของคนเสื้อแดงที่เคลื่อนไหวอยู่ในเวลานี้...ก็ไม่ต่างอะไรกับการเคลื่อนไหวในอดีตที่ผ่านมา...เขาเหล่านั้น...ทำในสิ่งที่ประชาชนที่เปลี่ยนแปลงประเทศทั้งหลายในโลกเขาเคยทำมา...
นั่นคือกระทำการอารยะขัดขืนต่อการปกครองของรัฐบาล...ใช้การคุ้มครองของกฎหมาย...และไต่ไปบนเส้นแบ่งครึ่งระหว่าง ถูกกับผิด...ละเมิดหรือไม่...ฯลฯ
เมื่อเกิดภาวะอึดอัดในการถูกปกครอง...ผู้คนทั้งหลายก็จะทำให้สิ่งเดียวกัน...นั่นคือ...ปรับทุกข์ ผูกมิตร จัดตั้ง...
ผู้คนจำนวนหนึ่งถูกไล่ล่า...ผู้คนอีกจำนวนหนึ่งปรากฏตัวออกมาสานต่อ...เป็นเช่นนี้...ไม่ใช่เช่นประเทศไทย แต่ไม่ว่าที่ไหนๆ ในโลก ก็เช่นกัน
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ...การคงไว้ซึ่ง ศอออฉอ เสียอีก...จะกลายเป็นปัญหาของท่านในอนาคต...อันใกล้...เพราะท่านจะถูกท้าทาย และโดนลองของอีกนับครั้งไม่ถ้วน ในขณะที่การสอบสวนจับกุมจะกลายเป็นการใช้อำนาจที่สากลไม่ยอมรับ
ในที่สุดของที่สุด...ประสิทธิภาพของ ศอออฉอ ก็จะเสื่อมสลาย...และหากใช้อำนาจนั้นมากักขังจับกุมหรือเข่นฆ่าครั้งใหม่
ท่านก็เดินไปสู่ความเป็นผู้บริหารที่ล้มเหลว และผู้ปกครองที่ชั่วช้า นั่นคือหายนะ...ที่จะเปลี่ยนท่านจากการเป็นรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยไปสู่การเป็นทรราชย์
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า...ท่านจะอยู่ไม่ครบสมัย...นั่นคือความคิดที่ถูกต้องสมบูรณ์..มีแต่การเลือกตั้งที่ประชาชนยอมรับเท่านั้น...ประเทศนี้ถึงจะก้าวพ้นวิกฤติ...ไปพร้อมๆ กับรัฐบาลของท่าน...
เมื่อพรรคใหญ่ 2 พรรค ร่วมกันเป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้งใหญ่...ประชาธิปไตยของชาติก็จะกลับมาพร้อมกับภูมิต้านทานมหึมา...ที่ไม่ทำให้ประเทศนี้แกว่งไกว
ที่มา.บางกอกทูเดย์
*****************************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)