ประชานิยม ปชป. ก็แค่ ลับ ลวง พราง!!
อนิจจา!! รัฐบาลอภิสิทธิ์ ระวังจะเป็นเหมือนทีมตกรอบบอลโลก เพราะถูกกระหน่ำหนักขึ้นทุกที วุฒิสภาถึงขึ้นขอภาพสลายการชุมนุม ขณะที่ จาตุรนต์เย้ย ประชานิยมเพียงเพื่อมุ่งกลบเกลื่อน
อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกีฬา หรือเรื่องใดๆ ก็ตาม แม้แต่กระทั่งเรื่องการเมือง
เพราะขณะนี้ 4 ทีมสุดท้ายที่เข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 2010 ชัดเจนแล้วว่า ทีมเต็งทีมดังใช่ว่าจะต้องชนะเสมอไป
วันนี้ (6 ก.ค.) จะเป็นการตัดเชือกรอบรองระหว่าง ทีมอุรุกวัย กับ เนเธอร์แลนด์ ในขณะที่วันพรุ่งนี้ (7 ก.ค.) จะเป็นการชิงกันระหว่าง เยอรมัน กับ สเปน... ผู้ชนะของทั้ง 2 คู่ ก็คือคู่ชิงแชมป์ฟุตบอลโลกในปีนี้นั่นเอง
ส่วนบรรดาทีมที่ตกรอบก็เผชิญชะตากรรมหนักเบาแล้วแต่มุมมองและแฟนบอลของแต่ละประเทศเอง... ยิ่งเต็ง ยิ่งถูกคาดหวังเอาไว้สูงยิ่งโดนหนัก
อย่างเช่นทีมแซมบ้า บราซิล สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ดุงก้า ที่มีชื่อเต็มๆ ว่า คาร์ลอส เคตาโน เบรดอร์น เวอร์รี่ โดนไล่ออกจากตำแหน่งกุนซือทีมชาติบราซิลเรียบร้อยแล้ว โดยสหพันธ์ฟุตบอลบราซิลได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าดุงก้าและสตาฟฟ์โดนขับออกจากตำแหน่ง
สภาพที่เกิดขึ้นกับวงการกีฬาในขณะนี้ ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ที่อยากให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผู้ที่ประกาศเลิกเชียร์ทีมใดทีมหนึ่งอีกแล้ว เพราะเชียร์ทีมไหน ทีมนั้นพังทุกที... บรรยากาศและสิ่งที่เกิดขึ้น นายอภิสิทธิ์ น่าจะนำไปย้อนคิดถึงทีมรัฐบาลอภิสิทธิ์ ว่า
ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอนเช่นกัน!!!
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่ ณ วันนี้ผ่านการสลายการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์มาใกล้จะครบ 2 เดือนแล้ว แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลยังอยู่ได้อย่างหน้าชื่นตาบาน ภายใต้เปลือกคุ้มครองที่แข็งแรง คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
แต่ก็อย่าได้ประมาทจนเกินไป เพราะวันนี้เสียงเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก.มีมากขึ้นทุกที พร้อมกับการค้นหาความจริงเกี่ยวกับการเสียชีวิตของประชาชนในช่วงสลายการชุมนุมกว่า 80 ศพนั้น ดูเหมือนว่าจะหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ
นางสาวเกศสิณี แขวัฒนะ ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร วุฒิสภา ถึงกับมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ สว(กมธ2)0010/2773 ส่งไปตามสื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ เพื่อขอข้อมูลภาพนิ่งพร้อมคำบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์สลายการชุมนุม
เพื่อนำไปตรวจสอบหาความจริง
ไม่ว่ารัฐบาลจะมั่นใจสักเพียงใดว่า ทุกอย่างกระทำการตามอำนาจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ในสายตาของประชาชน ของสังคม ของนักกฎหมายนั้น อำนาจจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นั้นเป็นอำนาจพิเศษเฉพาะกาล ที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายทั่วไป
โดยเฉพาะหมิ่นเหม่อย่างยิ่งต่อเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน!!!
ดังนั้นแม้ในขณะนี้ นายอภิสิทธิ์ จะเน้นในเรื่องของการสร้างความปรองดอง สร้างจุดขายในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นคนละส่วนกันอยู่ดี กับกรณีการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิต
เป็นดังเช่นหลักการในพุทธศาสนา ที่สอนชาวพุทธมานานกว่า 2,500 ปีแล้วว่า กรรมดีส่วนกรรมดี กรรมชั่วส่วนกรรมชั่ว จะเอามาหักกลบลบล้างกันไม่ได้
ฉะนั้นจะเห็นว่าในระยะนี้ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ โดนวิพากษ์วิจารณ์หนักขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดก็คือการที่บรรดากลุ่มนักวิชาการออกมาคัดค้านการอัดประชานิยมลดแลกแจกแถม และแนวนโยบายรัฐสวัสดิการของนายอภิสิทธิ์
และทำให้นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ออกมาสะกิดเตือนตรงๆ ว่าสิ่งนี้สะท้อนถึงการที่นายกฯ รู้ว่าตัวเองอยู่ในฐานะที่ลำบากมาก เพราะถ้ามีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกันจริงๆ จนรู้ว่าการปราบหรือสลายการชุมนุมขัดต่อหลักการของสหประชาชาติ ขัดต่อกฎหมายไทยเอง นายกฯ กับพวกก็อยู่ในฐานะลำบาก
ถ้าปล่อยให้มีการพูดกันแต่เรื่องเหล่านี้มากโดยไม่หาเรื่องอื่นมาเบนความสนใจ ก็ไม่ได้ ก็เลยต้องหาเรื่องอื่นมาเบี่ยงเบน
ขณะเดียวกันก็ทำทุกวิธีที่หวังว่าจะอยู่ในอำนาจต่อไป รวมทั้งจะชนะการเลือกตั้งคราวหน้าให้ได้ ก็เลยเอานโยบายลดแหลกแจกแถมดังกล่าวมาใช้โดยไม่ได้คำนึงว่าสอดคล้องกับนโยบายตัวเองหรือไม่ จะเป็นไปได้หรือไม่ และจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดอย่างไร
“นายกฯ รู้อยู่แก่ใจอยู่แล้ว รู้อย่างดีที่สุด เพราะเรียนเศรษฐศาสตร์มาด้วย ดังนั้นการไม่พูดถึงเรื่องการขยายหรือเพิ่มฐานภาษี แล้วมาบอกว่าบริการของรัฐจะไม่เก็บเงิน แต่กลับจะใช้จ่ายเงินของรัฐมากขึ้นเพื่อบริการประชาชน มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับประเทศที่มีรายได้น้อยอย่างประเทศไทย
แต่นายกฯ ก็ต้องพูดเรื่องอย่างนี้ไว้ก่อน เพื่อหวังว่าจะซื้อใจประชาชนได้ ประชาชนคนไทยก็จะฉลาดพอที่จะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เห็นชัดว่าเป็นการพูดเพื่อกลบเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน การปราบปรามการชุมนุม
และใช้วีธีนี้มาดึงคะแนนเสียงจากประชาชนในชนบทที่เป็นจุดอ่อนของประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและอีสาน รัฐบาลจะดันทุรังอยู่ไปให้นานที่สุด แต่ในที่สุดคนก็จะเห็นความล้มเหลวในด้านต่างๆ ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ” นายจาตุรนต์ กล่าว
จะมองว่าพรรคฝ่ายค้านก็ต้องค้านไปเรื่อยก็ได้ ... แต่อย่าลืมว่า แม้กระทั่ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นพวกเดียวกันเองกับนายอภิสิทธิ์ด้วยซ้ำ ยังระบุชัดเจนว่าแผนปรองดองของรัฐบาลเป็นแนวคิดที่ดี
แต่คงเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลจะทำให้สำเร็จภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด
ที่สำคัญแม้แต่ มหาจำลองเองก็ยังเห็นว่า กระบวนการใต้ดินจะไม่เกิดขึ้นอีก หากรัฐบาลเร่งดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่เหตุการณ์เดือนเมษายน ปี 2552 หากรัฐบาลใช้กระบวนการยุติธรรม ความรุนแรงก็จะไม่บานปลาย จนมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
เหล่านี้คือความจริงที่นายอภิสิทธิ์จะต้องยอมรับ
และความจริงทั้งหมด ก็คือ สิ่งที่จะตัดสินอายุรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์...
หาใช่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างที่บางคนพยายามยื้อเอาไว้สุดฤทธิ์
ที่มา.บางกอกทูเดย์
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ลากกันลงนรก
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความเห็นเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า” จากประชาชนในทุกภาค เพื่อสำรวจว่าหลังสถานการณ์ใช้ความรุนแรงกับการชุมนุมประท้วงและรัฐบาลได้ประกาศแผนปรองดองแห่งชาติเพื่อดึงทุกภาคส่วนในสังคมปฏิรูปประเทศไทยนั้น จะทำให้บ้านเมืองคืนสู่ความปรกติสุขโดยเร็วได้หรือไม่นั้น
ปรากฏว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศเฉลี่ยเพียง 3.57 คะแนน จาก 10 คะแนน โดยความเชื่อมั่นด้านการเมืองน้อย 3.20 คะแนน มีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันต่ำที่สุดคือ 2.17 คะแนน ส่วนความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3.16 คะแนน ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีเห็นเหมือนเดิม เพราะเห็นว่าอุปสรรคสำคัญยังอยู่ที่ความแตกแยกและไร้น้ำใจ การทุจริตคอร์รัปชันและนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีจริยธรรม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม
ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือนของรัฐบาล โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคทั่วประเทศเช่นกัน ซึ่งประชาชนมีความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลเพียง 3.79 คะแนน จาก 10 คะแนน คือรัฐบาลสอบตกทุกด้าน แม้แต่การบริหารงานของนายกรัฐมนตรีก็ลดลง
แม้นายกรัฐมนตรีจะใช้วาทศิลป์ไม่ยอมรับผลสำรวจว่าเป็นเรื่องปรกติของกรุงเทพโพลล์ที่จะให้คะแนนรัฐบาลในแง่ลบ แต่ผลสำรวจที่รัฐบาลสอบตกแบบยกชั้นและประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาลนั้นคงไม่ใช่เรื่องปรกติ แต่กลับเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องสังวรและสำรวจตัวเองอย่างยิ่ง ไม่ใช่ตีฝีปากเหมือนนักโต้เวที โดยเฉพาะในสถานการณ์ทางการเมืองที่รัฐบาลเองก็อ้างความจำเป็นต้องคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกข่าวว่ายังมีผู้ก่อการร้ายและก่อวินาศกรรม รวมถึงการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองและองค์กรอิสระ ซึ่งรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเลย นอกจากการกล่าวหาเพื่อใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจัดการกับฝ่ายตรงข้าม
ขณะที่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐบาลก็มีออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นความเด็ดขาดหรือความกล้าที่แก้ปัญหาได้เลย แต่ยังคงแก้ปัญหาด้วยคำพูดเหมือนทุกครั้ง ทั้งที่ไม่เคยทำได้เลยก็ตาม แม้แต่นโยบายประชานิยมที่ไม่ต่างอะไรกับการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า และให้ประชาชนหลงเชื่อนโยบายที่เป็นความฝันลมๆแล้งๆ โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปต่างๆที่มีแต่คนหน้าเดิมๆและแนวความคิดเดิมๆมาปฏิรูปประเทศไทย นอกจากไม่มีวันที่จะแก้ปัญหามากมายที่หมักหมมอยู่ได้แล้ว ยังเหมือนการลากเอาคนทั้งประเทศกลับไปลงนรกอีกด้วย
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความเห็นเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า” จากประชาชนในทุกภาค เพื่อสำรวจว่าหลังสถานการณ์ใช้ความรุนแรงกับการชุมนุมประท้วงและรัฐบาลได้ประกาศแผนปรองดองแห่งชาติเพื่อดึงทุกภาคส่วนในสังคมปฏิรูปประเทศไทยนั้น จะทำให้บ้านเมืองคืนสู่ความปรกติสุขโดยเร็วได้หรือไม่นั้น
ปรากฏว่าประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศเฉลี่ยเพียง 3.57 คะแนน จาก 10 คะแนน โดยความเชื่อมั่นด้านการเมืองน้อย 3.20 คะแนน มีความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันต่ำที่สุดคือ 2.17 คะแนน ส่วนความเชื่อมั่นต่อการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 3.16 คะแนน ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีเห็นเหมือนเดิม เพราะเห็นว่าอุปสรรคสำคัญยังอยู่ที่ความแตกแยกและไร้น้ำใจ การทุจริตคอร์รัปชันและนักการเมืองที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีจริยธรรม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม
ผลสำรวจดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ประเมินผลงาน 1 ปี 6 เดือนของรัฐบาล โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคทั่วประเทศเช่นกัน ซึ่งประชาชนมีความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลเพียง 3.79 คะแนน จาก 10 คะแนน คือรัฐบาลสอบตกทุกด้าน แม้แต่การบริหารงานของนายกรัฐมนตรีก็ลดลง
แม้นายกรัฐมนตรีจะใช้วาทศิลป์ไม่ยอมรับผลสำรวจว่าเป็นเรื่องปรกติของกรุงเทพโพลล์ที่จะให้คะแนนรัฐบาลในแง่ลบ แต่ผลสำรวจที่รัฐบาลสอบตกแบบยกชั้นและประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาลนั้นคงไม่ใช่เรื่องปรกติ แต่กลับเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องสังวรและสำรวจตัวเองอย่างยิ่ง ไม่ใช่ตีฝีปากเหมือนนักโต้เวที โดยเฉพาะในสถานการณ์ทางการเมืองที่รัฐบาลเองก็อ้างความจำเป็นต้องคง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การออกข่าวว่ายังมีผู้ก่อการร้ายและก่อวินาศกรรม รวมถึงการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองและองค์กรอิสระ ซึ่งรัฐบาลและศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนเลย นอกจากการกล่าวหาเพื่อใช้อำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจัดการกับฝ่ายตรงข้าม
ขณะที่ข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐบาลก็มีออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นความเด็ดขาดหรือความกล้าที่แก้ปัญหาได้เลย แต่ยังคงแก้ปัญหาด้วยคำพูดเหมือนทุกครั้ง ทั้งที่ไม่เคยทำได้เลยก็ตาม แม้แต่นโยบายประชานิยมที่ไม่ต่างอะไรกับการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า และให้ประชาชนหลงเชื่อนโยบายที่เป็นความฝันลมๆแล้งๆ โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปต่างๆที่มีแต่คนหน้าเดิมๆและแนวความคิดเดิมๆมาปฏิรูปประเทศไทย นอกจากไม่มีวันที่จะแก้ปัญหามากมายที่หมักหมมอยู่ได้แล้ว ยังเหมือนการลากเอาคนทั้งประเทศกลับไปลงนรกอีกด้วย
ผลของ‘โมฆะกรรม’
Tags: เรืองไกรฟ้องประชาชนเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
เคยศึกษาหาความรู้จากคำพิพากษาไปพบเรื่อง “โมฆะ” ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะมีการบันทึกหมายเหตุท้ายฎีกาที่ 965/2530 ไว้ว่า...
นิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าเสียเปล่าใช้ไม่ได้มาแต่ต้นทำอะไรกันไว้ก็เหมือนไม่ได้ทำ ไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิและหน้าที่ ไม่ต้องบอกล้างหรือเพิกถอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 มีว่า...เพียงผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงการยกขึ้นเพื่ออ้างว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หรือเป็นวิธีการประกาศให้ทราบเท่านั้น
มิได้หมายความว่า...ถ้าไม่กล่าวขึ้นอ้างแล้วจะไม่เป็นโมฆะ ผลของโมฆะกรรมนั้นกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าคู่กรณีจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรต่อไป
ผู้ที่ได้อะไรไว้จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ต้องคืนแก่อีกฝ่ายหนึ่งในฐานลาภมิควรได้
นิติกรรมที่จากความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 119 ถือเสมือนว่าไม่มีการนำนิติกรรม ไม่จำต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นอีก
เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะกรรมาธิการคณะหนึ่งของวุฒิสภาจะจัดสัมมนาเรื่องการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ
ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า...การได้อำนาจนั้นไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
เรื่องนี้เขียนเป็นบทความไปแล้ว สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง จำนวน 18 คน จึงได้ทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภาเพื่อส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
กรณีการเลือก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2551 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปจำนวน 47 คน ไปร่วมโหวตรับรองด้วยนั้น
เกิดประเด็นขึ้นมาว่า...การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าวอาจจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
เพราะ ส.ส. ที่เข้าไปโหวตเลือกนายกฯในวันดังกล่าว เป็น ส.ส. ของพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพไปแล้ว คือ “ถูกยุบไป”
ไม่เคยมีการตีความเรื่องนี้กันมาก่อน เพราะนักการเมืองเร่งรีบที่จะช่วงชิงอำนาจในการบริหารประเทศเลยลืมนึกถึงข้อกฎหมาย
ทั้งที่เรื่องดังกล่าวอาจส่งผลทำให้การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้อง “ตกเป็นโมฆะ” ได้ในที่สุด
กรณีการตีความการได้มาซึ่งตำแหน่งนั้น เคยเกิดมาแล้วกับการที่วุฒิสภาเคยเลือกผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบ
ซึ่งพิจารณาแล้วคงนำไปใช้ในกรณีสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน
เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในปี 2549 ว่า...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง
ต้องแปลความว่า...คำวินิจฉัยนี้ย่อมเป็นเด็ดขาดผูกพันรัฐสภา พรรคการเมืองต้องมีสภาพอยู่ มิได้สิ้นสภาพไป
ถ้าดูตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทุกคนย่อมเข้าใจตรงกันว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง ต่างจากสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่ไม่ต้องสังกัดพรรค
เรื่องนี้สมาชิกวุฒิสภาบางส่วนก็รับรู้ แต่กลับมาพูดคุยในเชิงให้ยุติเรื่องไว้ ไม่ควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถึงกับพยายามที่จะใช้มติของกรรมาธิการอีกคณะให้ระงับการส่งเรื่องกันมาแล้ว
จะว่ากันอย่างไร? เพื่อให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น พี่น้องผู้อ่านสามารถติดตามผลการสัมมนาในเรื่อง การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะมีผลเป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ที่มา.บางกอกทูเดย์
เคยศึกษาหาความรู้จากคำพิพากษาไปพบเรื่อง “โมฆะ” ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะมีการบันทึกหมายเหตุท้ายฎีกาที่ 965/2530 ไว้ว่า...
นิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าเสียเปล่าใช้ไม่ได้มาแต่ต้นทำอะไรกันไว้ก็เหมือนไม่ได้ทำ ไม่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิและหน้าที่ ไม่ต้องบอกล้างหรือเพิกถอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 133 มีว่า...เพียงผู้มีส่วนได้เสียกล่าวอ้างขึ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงการยกขึ้นเพื่ออ้างว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หรือเป็นวิธีการประกาศให้ทราบเท่านั้น
มิได้หมายความว่า...ถ้าไม่กล่าวขึ้นอ้างแล้วจะไม่เป็นโมฆะ ผลของโมฆะกรรมนั้นกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าคู่กรณีจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรต่อไป
ผู้ที่ได้อะไรไว้จากนิติกรรมที่เป็นโมฆะถือว่าปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ต้องคืนแก่อีกฝ่ายหนึ่งในฐานลาภมิควรได้
นิติกรรมที่จากความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 119 ถือเสมือนว่าไม่มีการนำนิติกรรม ไม่จำต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นอีก
เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะกรรมาธิการคณะหนึ่งของวุฒิสภาจะจัดสัมมนาเรื่องการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ
ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า...การได้อำนาจนั้นไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
เรื่องนี้เขียนเป็นบทความไปแล้ว สมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่ง จำนวน 18 คน จึงได้ทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภาเพื่อส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยต่อไป
กรณีการเลือก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม 2551 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปจำนวน 47 คน ไปร่วมโหวตรับรองด้วยนั้น
เกิดประเด็นขึ้นมาว่า...การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าวอาจจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
เพราะ ส.ส. ที่เข้าไปโหวตเลือกนายกฯในวันดังกล่าว เป็น ส.ส. ของพรรคการเมืองที่สิ้นสภาพไปแล้ว คือ “ถูกยุบไป”
ไม่เคยมีการตีความเรื่องนี้กันมาก่อน เพราะนักการเมืองเร่งรีบที่จะช่วงชิงอำนาจในการบริหารประเทศเลยลืมนึกถึงข้อกฎหมาย
ทั้งที่เรื่องดังกล่าวอาจส่งผลทำให้การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้อง “ตกเป็นโมฆะ” ได้ในที่สุด
กรณีการตีความการได้มาซึ่งตำแหน่งนั้น เคยเกิดมาแล้วกับการที่วุฒิสภาเคยเลือกผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบ
ซึ่งพิจารณาแล้วคงนำไปใช้ในกรณีสภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีได้เช่นกัน
เพราะศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในปี 2549 ว่า...สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดพรรคการเมือง
ต้องแปลความว่า...คำวินิจฉัยนี้ย่อมเป็นเด็ดขาดผูกพันรัฐสภา พรรคการเมืองต้องมีสภาพอยู่ มิได้สิ้นสภาพไป
ถ้าดูตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทุกคนย่อมเข้าใจตรงกันว่า ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง ต่างจากสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่ไม่ต้องสังกัดพรรค
เรื่องนี้สมาชิกวุฒิสภาบางส่วนก็รับรู้ แต่กลับมาพูดคุยในเชิงให้ยุติเรื่องไว้ ไม่ควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถึงกับพยายามที่จะใช้มติของกรรมาธิการอีกคณะให้ระงับการส่งเรื่องกันมาแล้ว
จะว่ากันอย่างไร? เพื่อให้เรื่องนี้ชัดเจนขึ้น พี่น้องผู้อ่านสามารถติดตามผลการสัมมนาในเรื่อง การได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะมีผลเป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ที่มา.บางกอกทูเดย์
นิธิ เอียวศรีวงศ์: ทำไมการเมืองไทย จึงไม่ลงตัว
“นิธิ” อภิปรายตอบโจทย์ทำไมการเมืองไทยจึงไม่ลงตัว เชื่อใช้เวลาอย่างน้อยเป็นสิบปีปรับดุลยภาพทางการเมือง ชี้ “การปรองดอง” ส่วนต่างๆ ต้องร่วมกันคิด ไม่ใช่รัฐบาลทำ และไม่ใช่การคิดแทนสังคม พร้อมเสนออยากเป็นประชาธิปไตยต้องเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรม “เสวนาวิชาการในดวงใจ” โดยสัปดาห์นี้เป็นการเสวนาหัวข้อ "ทำไมการเมืองไทย จึงไม่ลงตัว” โดยมี ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เป็นวิทยากร
การต่อสู้เพื่อที่ยืนครึ่งขา และการปรับจุดดุลยภาพที่กินเวลานาน
โดยนิธิ เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า มีคนเสนอว่าปรากฏการณ์ในตอนนี้คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างในเมือง กับ ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งผมคิดว่ามันง่ายเกินไปที่จะสรุปเช่นนั้น เพราะในระบบการเมือง ชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างอยู่นอกเวที ถ้าชนชั้นกลางในเมืองเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มนี้ได้ยืนเพียงครึ่งขา ก็จะไปเบียดพื้นที่ของชนชั้นสูง นักวิชาการ กองทัพ ฯลฯ ซึ่งพวกเขาไม่ยอมให้โดนเบียด ดังนั้น มันจึงสะเทือนการจัดรูปแบบของเวทีทั้งหมด
กลุ่มที่ออกหน้าทางการเมืองในปัจจุบันมีทั้งกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องให้ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียมกัน ไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบ กับอีกกลุ่มที่ยังต้องการให้มีเครื่องมือปกป้องตัวเอง จึงไม่ยอมรับความเท่าเทียม เพราะเชื่อว่าถ้าตัวเองยังไม่มีอำนาจในการปกป้องตนเองก็จำเป็นต้องขอยืมอำนาจนอกระบบมาใช้
ถ้าถามว่าจะใช้เวลาเท่าใดในการปรับจุดดุลยภาพทางการเมือง น่าจะกินเวลาประมาณ 5-7 ปี แบบพออยู่ได้ อย่างเช่นในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลา 48 ปีในการปรับตัวเองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กว่าจะมาพูดถึงการปกครองระบอบต่างๆ เพราะเห็นข้อบกพร่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ 2475 เมื่อปี 2490 ก็กันกลุ่มเจ้าไม่ให้ขึ้นมาบนเวที แต่พอ 2520 กลับเปิดโอกาสให้กลุ่มเจ้าขึ้นมาบนเวทีแล้วขับพลเรือนกลุ่มนั้นออกไป
แต่ผมคิดว่าเหตุการณ์ตอนนี้กว่าจะปรับเข้าสู่จุดดุลยภาพได้ใช้เวลาค่อนข้างนาน อย่างน้อยเป็น 10 ปี และอาจนานกว่าครั้งอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ เพราะความขัดแย้งครั้งนี้ทุกฝ่ายได้ช่วยกันทำลายสิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญบางอย่างของการเมืองไปเยอะมาก การที่เสื้อแดงสามารถลากเอาองคมนตรีมาพูดจาแบบนั้นบนเวทีได้ การที่อาญาสิทธิ์ต่างๆ ถูกท้าทาย ไปจนถึงการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 การหาจุดลงตัวคงต้องผ่านความขัดแย้งอีกหลายอย่าง และไม่รู้ว่าจะเห็นตัวกลางใดที่จะมาตัดสิน เช่น ศาล เพราะคนที่สังคมนับถือก็มีสี ส่วนคนที่ไม่มีสีก็ไม่เป็นที่นับถือ
ความยากก็คือเหตุการณ์ “พฤษภาฯ มหาโฉด” ที่เกิดขึ้นมันตัดจุดลงตัวที่ทุกฝ่ายพอจะรับได้ให้น้อยลง เพราะตอนนี้ไม่มีใครไว้วางใจใครได้เลย โอกาสใช้ความสงบมีน้อยมาก แต่ตราบใดก็ตามที่ใช้ความรุนแรง ต้นทุนทางสังคมที่ต้องจ่ายก็ย่อมจะสูงเสมอ
ในทางกลับกัน ถ้ากลุ่มเสื้อแดงชนะ พรรคเพื่อไทยได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ผมคิดว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าเสื้อแดงใช้ความรุนแรง ต้นทุนที่จะจ่ายก็จะเสียมาก เพราะคุณอภิสิทธิ์ที่ใช้ความรุนแรงก็เสียต้นทุนที่สูงเช่นกัน
ประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียม
หลังนิธิอภิปรายจบ ได้ให้ผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยน ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งได้ตั้งคำถามว่า หากมีพรรคการเมืองจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของชนชั้นนั้นๆ หากขึ้นมาบนเวทีแล้วจะมีหลักประกันอะไรที่เขาจะไม่ขูดรีดเหมือนกับนักการเมืองที่เคยทำมาแล้วในอดีต
นิธิกล่าวว่า “ผมรับประกันเลยว่าเขาทำแน่และถ้าจะคิดเช่นนี้ก็ไม่เป็นไร เพราะประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียมกัน แต่ประชาธิปไตยที่แท้จริงคือการยกเลิกระบบกดขี่และให้อำนาจที่มากขึ้นในการต่อรองต่างหาก เราควรมีระบบในการคุมคนชั่วได้มากกว่าได้หวังให้คนดีขึ้นมามีอำนาจ ในขณะเดียวกันก็ให้อำนาจในการต่อรองกับคนชายขอบ คนจนดักดานที่ไม่มีต้นทุนหรือโอกาสในเศรษฐกิจได้ต่อรองได้ด้วยเช่นกัน”
“การวัดว่าเขามีอำนาจในการต่อรองนั้นมีกลไกในการต่อรองหลายอย่าง โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ให้อำนาจในการต่อรองมากที่สุด อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี แม้จะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแต่ก็ขาดไม่ได้แต่ตัวมันเองอย่างเดียวก็ไม่พอ อีกอันหนึ่งคือสื่อที่คุณสามารถแสดงออกและใช้ในการต่อรอง อีกประการคือมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถตอบคำถามให้กับคนชายขอบได้ เช่น ไฟฟ้าไม่พอจะทำอย่างไร ไม่ใช่บอกว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้า ควรบอกข้อดีข้อเสียกับคนที่ได้รับผลกระทบด้วย ไม่ใช่แค่บอกแต่ข้อดีอย่างเดียว”
ปรองดองต้องไม่คิดแทนสังคม เสนอเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ต่อมามีผู้ตั้งคำถามว่านิธิ มีมุมมองเรื่องแผนปรองดองและแผนปฏิรูปอย่างไร นิธิตอบว่า ผมคิดว่าควรแบ่งเป็นสองอย่างคือ หนึ่ง แผนปรองดอง มันหมายถึงการที่เราทะเลาะกันแล้วจะมาปรองดองกันได้อย่างไร ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรมในการปรองดองนอกจากการลาออก สอง แผนปรองดองควรเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาช่วยคิด ไม่ใช่การคิดแทนสังคม คือไม่ใช่รัฐบาลเป็นคนทำ แต่เป็นสังคมต่างหากที่ควรถกเถียงและหาทางออกร่วมกัน
การที่เราชอบพูดว่าเราเป็นเมืองพุทธแต่กลับไม่พูดถึงผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ผมคิดว่าเมื่อไรที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะเห็นอะไรๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะ เพราะเมื่อคนมันดื้อขึ้นก็จะมีต่อต้านอำนาจมากขึ้น คุณก็ยืดเวลามากขึ้นไปอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์แล้วก็ลงเอยในลักษณะที่ใช้ความรุนแรง
ชี้รัฐธรรมนูญถูกฉีกไปค่อนเล่ม อยากเป็นประชาธิปไตยต้องเลิก พ.รก.ฉุกเฉินโดยเร็ว
นิธิอภิปรายต่อไปว่า ประเทศไทยตอนนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะฉีกรัฐธรรมนูญไปค่อนเล่ม เหลือแค่ราชอาณาจักรแบ่งแยกไม่ได้เพียงมาตราเดียว ถ้าคุณอยากเป็นประชาธิปไตยคุณต้องยกเลิกโดยเร็ว แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่เดือดร้อนกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมทั้งสื่อมวลชน ไม่ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือ ชนชั้นกลางในเมืองอยากได้อำนาจนอกระบบมาคุ้มครองตัวเอง
ผมคิดว่าในกรณีของการจับกุมคุณสมบัติและคุณสมยศ เมื่อไรที่ปล่อยให้ทหารจัดการภายใต้ พ.ร.ก.นี้ ทหารก็จะจัดการแบบไม่รู้เรื่อง การจับกลุ่มคนพวกนี้มันขาดทุน ซึ่งพลเมืองคิดหรือใช้อำนาจจะไม่ทำเช่นนั้น
ตอกทีวีสาธารณะไม่เป็นมืออาชีพ ราวทีวีสมัยอยุธยา
นิธิตอบคำถามเรื่องสื่อว่า สื่อที่ขายในตลาดตอนนี้เป็นธุรกิจชนิดหนึ่ง สิ่งที่คุมสื่อผมคิดว่าไม่ใช่รัฐแต่เป็นทุน อย่างที่ ศอฉ. ส่งหนังสือมาว่าอย่าลงเรื่องนั้นเรื่องนี้ เจ้าของธุรกิจก็จะคำนวณผลลัพธ์ว่าควรจะทะเลาะกับ ศอฉ. ดีหรือไม่ แต่เรามีสื่อแบบใหม่ที่ก็ยังไม่ลงตัวทั้งทางธุรกิจและการจัดการ แต่ก็ทำให้คนตัวเล็ก ๆ สามารถมีพื้นที่ต่อรองหรือสื่อสารได้ ส่วนทีวีธารณะของบ้านเรานอกจากจะไม่เป็นมืออาชีพทางเทคนิคแล้วการทำข่าวและการผลิตรายการก็ยังไม่เป็นมืออาชีพ เช่น การพูดถึงเมืองไทยก็ยังเป็นเมืองไทยในอดีตที่มีวัฒนธรรมหยุดนิ่ง ราวกับว่าเป็นทีวีสมัยกรุงศรีอยุธยา
เชื่อเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้าตามผัง ศอฉ.
นอกจากนี้มีผู้ถามนิธิ เรื่องแผนผังขบวนการล้มเจ้า ที่ ศอฉ. เคยนำเสนอ นิธิตอบคำถามนี้ว่า ผมคิดว่าเวลาที่ใช้คำว่า “เจ้า” นั้น หมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้า เพราะจะเป็นการเคลื่อนไหวที่โง่ที่สุด แต่คำว่า “เจ้า” ที่ ศอฉ. ใช้ ไม่ได้หมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงองคมนตรีและการใช้อำนาจขององคมนตรีด้วย
การไม่ยอมรับการรัฐประหารแล้วกลุ่มเสื้อแดงต่อต้านสิ่งนี้ไหม ผมคิดว่าเขาต่อต้าน ถ้าเขาจะต่อต้านหรือทำจริงก็คงเก็บไว้ลึกซึ้งภายในจนไม่มีใครรู้ต่างหาก แต่เราไม่สามารถพูดถึงพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ เพราะคนสับสนระหว่างการอาฆาตมาดร้ายในมาตรา 112 กับการบังคับให้จงรักภักดีซึ่งไม่มีในรัฐธรรมนูญ
ในช่วงท้ายของการเสวนามีผู้ถามนิธิว่า “เราจะอยู่ท่ามกลางคนรอบข้างที่สามารถทะเลาะกันเพราะความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันนี้ได้อย่างไร” นิธิตอบว่า ว่าเราต้องเรียนรู้ว่าความคิดเห็นทางการเมืองแม้ว่าจะเลิศหรูอย่างไร สักวันหนึ่งความเชื่อนั้นมันก็จะเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่สำคัญคือความเป็นเพื่อนที่อยู่ถาวรมากกว่าความคิดทางการเมือง
ที่มา.ประชาไท
เมื่อวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรม “เสวนาวิชาการในดวงใจ” โดยสัปดาห์นี้เป็นการเสวนาหัวข้อ "ทำไมการเมืองไทย จึงไม่ลงตัว” โดยมี ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เป็นวิทยากร
การต่อสู้เพื่อที่ยืนครึ่งขา และการปรับจุดดุลยภาพที่กินเวลานาน
โดยนิธิ เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า มีคนเสนอว่าปรากฏการณ์ในตอนนี้คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างในเมือง กับ ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งผมคิดว่ามันง่ายเกินไปที่จะสรุปเช่นนั้น เพราะในระบบการเมือง ชนชั้นกลางในชนบทและชนชั้นกลางระดับล่างอยู่นอกเวที ถ้าชนชั้นกลางในเมืองเปิดพื้นที่ให้คนกลุ่มนี้ได้ยืนเพียงครึ่งขา ก็จะไปเบียดพื้นที่ของชนชั้นสูง นักวิชาการ กองทัพ ฯลฯ ซึ่งพวกเขาไม่ยอมให้โดนเบียด ดังนั้น มันจึงสะเทือนการจัดรูปแบบของเวทีทั้งหมด
กลุ่มที่ออกหน้าทางการเมืองในปัจจุบันมีทั้งกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องให้ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่าเทียมกัน ไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบ กับอีกกลุ่มที่ยังต้องการให้มีเครื่องมือปกป้องตัวเอง จึงไม่ยอมรับความเท่าเทียม เพราะเชื่อว่าถ้าตัวเองยังไม่มีอำนาจในการปกป้องตนเองก็จำเป็นต้องขอยืมอำนาจนอกระบบมาใช้
ถ้าถามว่าจะใช้เวลาเท่าใดในการปรับจุดดุลยภาพทางการเมือง น่าจะกินเวลาประมาณ 5-7 ปี แบบพออยู่ได้ อย่างเช่นในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลา 48 ปีในการปรับตัวเองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กว่าจะมาพูดถึงการปกครองระบอบต่างๆ เพราะเห็นข้อบกพร่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ 2475 เมื่อปี 2490 ก็กันกลุ่มเจ้าไม่ให้ขึ้นมาบนเวที แต่พอ 2520 กลับเปิดโอกาสให้กลุ่มเจ้าขึ้นมาบนเวทีแล้วขับพลเรือนกลุ่มนั้นออกไป
แต่ผมคิดว่าเหตุการณ์ตอนนี้กว่าจะปรับเข้าสู่จุดดุลยภาพได้ใช้เวลาค่อนข้างนาน อย่างน้อยเป็น 10 ปี และอาจนานกว่าครั้งอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ เพราะความขัดแย้งครั้งนี้ทุกฝ่ายได้ช่วยกันทำลายสิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญบางอย่างของการเมืองไปเยอะมาก การที่เสื้อแดงสามารถลากเอาองคมนตรีมาพูดจาแบบนั้นบนเวทีได้ การที่อาญาสิทธิ์ต่างๆ ถูกท้าทาย ไปจนถึงการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 การหาจุดลงตัวคงต้องผ่านความขัดแย้งอีกหลายอย่าง และไม่รู้ว่าจะเห็นตัวกลางใดที่จะมาตัดสิน เช่น ศาล เพราะคนที่สังคมนับถือก็มีสี ส่วนคนที่ไม่มีสีก็ไม่เป็นที่นับถือ
ความยากก็คือเหตุการณ์ “พฤษภาฯ มหาโฉด” ที่เกิดขึ้นมันตัดจุดลงตัวที่ทุกฝ่ายพอจะรับได้ให้น้อยลง เพราะตอนนี้ไม่มีใครไว้วางใจใครได้เลย โอกาสใช้ความสงบมีน้อยมาก แต่ตราบใดก็ตามที่ใช้ความรุนแรง ต้นทุนทางสังคมที่ต้องจ่ายก็ย่อมจะสูงเสมอ
ในทางกลับกัน ถ้ากลุ่มเสื้อแดงชนะ พรรคเพื่อไทยได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาล ผมคิดว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าเสื้อแดงใช้ความรุนแรง ต้นทุนที่จะจ่ายก็จะเสียมาก เพราะคุณอภิสิทธิ์ที่ใช้ความรุนแรงก็เสียต้นทุนที่สูงเช่นกัน
ประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียม
หลังนิธิอภิปรายจบ ได้ให้ผู้ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยน ผู้เข้าร่วมคนหนึ่งได้ตั้งคำถามว่า หากมีพรรคการเมืองจากกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของชนชั้นนั้นๆ หากขึ้นมาบนเวทีแล้วจะมีหลักประกันอะไรที่เขาจะไม่ขูดรีดเหมือนกับนักการเมืองที่เคยทำมาแล้วในอดีต
นิธิกล่าวว่า “ผมรับประกันเลยว่าเขาทำแน่และถ้าจะคิดเช่นนี้ก็ไม่เป็นไร เพราะประชาธิปไตยคือการต่อรองที่เท่าเทียมกัน แต่ประชาธิปไตยที่แท้จริงคือการยกเลิกระบบกดขี่และให้อำนาจที่มากขึ้นในการต่อรองต่างหาก เราควรมีระบบในการคุมคนชั่วได้มากกว่าได้หวังให้คนดีขึ้นมามีอำนาจ ในขณะเดียวกันก็ให้อำนาจในการต่อรองกับคนชายขอบ คนจนดักดานที่ไม่มีต้นทุนหรือโอกาสในเศรษฐกิจได้ต่อรองได้ด้วยเช่นกัน”
“การวัดว่าเขามีอำนาจในการต่อรองนั้นมีกลไกในการต่อรองหลายอย่าง โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ให้อำนาจในการต่อรองมากที่สุด อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี แม้จะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแต่ก็ขาดไม่ได้แต่ตัวมันเองอย่างเดียวก็ไม่พอ อีกอันหนึ่งคือสื่อที่คุณสามารถแสดงออกและใช้ในการต่อรอง อีกประการคือมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถตอบคำถามให้กับคนชายขอบได้ เช่น ไฟฟ้าไม่พอจะทำอย่างไร ไม่ใช่บอกว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้า ควรบอกข้อดีข้อเสียกับคนที่ได้รับผลกระทบด้วย ไม่ใช่แค่บอกแต่ข้อดีอย่างเดียว”
ปรองดองต้องไม่คิดแทนสังคม เสนอเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ต่อมามีผู้ตั้งคำถามว่านิธิ มีมุมมองเรื่องแผนปรองดองและแผนปฏิรูปอย่างไร นิธิตอบว่า ผมคิดว่าควรแบ่งเป็นสองอย่างคือ หนึ่ง แผนปรองดอง มันหมายถึงการที่เราทะเลาะกันแล้วจะมาปรองดองกันได้อย่างไร ผมคิดว่าคุณอภิสิทธิ์ไม่มีความชอบธรรมในการปรองดองนอกจากการลาออก สอง แผนปรองดองควรเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาช่วยคิด ไม่ใช่การคิดแทนสังคม คือไม่ใช่รัฐบาลเป็นคนทำ แต่เป็นสังคมต่างหากที่ควรถกเถียงและหาทางออกร่วมกัน
การที่เราชอบพูดว่าเราเป็นเมืองพุทธแต่กลับไม่พูดถึงผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ผมคิดว่าเมื่อไรที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะเห็นอะไรๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะ เพราะเมื่อคนมันดื้อขึ้นก็จะมีต่อต้านอำนาจมากขึ้น คุณก็ยืดเวลามากขึ้นไปอีก กลายเป็นวงจรอุบาทว์แล้วก็ลงเอยในลักษณะที่ใช้ความรุนแรง
ชี้รัฐธรรมนูญถูกฉีกไปค่อนเล่ม อยากเป็นประชาธิปไตยต้องเลิก พ.รก.ฉุกเฉินโดยเร็ว
นิธิอภิปรายต่อไปว่า ประเทศไทยตอนนี้ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะฉีกรัฐธรรมนูญไปค่อนเล่ม เหลือแค่ราชอาณาจักรแบ่งแยกไม่ได้เพียงมาตราเดียว ถ้าคุณอยากเป็นประชาธิปไตยคุณต้องยกเลิกโดยเร็ว แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่เดือดร้อนกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมทั้งสื่อมวลชน ไม่ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือ ชนชั้นกลางในเมืองอยากได้อำนาจนอกระบบมาคุ้มครองตัวเอง
ผมคิดว่าในกรณีของการจับกุมคุณสมบัติและคุณสมยศ เมื่อไรที่ปล่อยให้ทหารจัดการภายใต้ พ.ร.ก.นี้ ทหารก็จะจัดการแบบไม่รู้เรื่อง การจับกลุ่มคนพวกนี้มันขาดทุน ซึ่งพลเมืองคิดหรือใช้อำนาจจะไม่ทำเช่นนั้น
ตอกทีวีสาธารณะไม่เป็นมืออาชีพ ราวทีวีสมัยอยุธยา
นิธิตอบคำถามเรื่องสื่อว่า สื่อที่ขายในตลาดตอนนี้เป็นธุรกิจชนิดหนึ่ง สิ่งที่คุมสื่อผมคิดว่าไม่ใช่รัฐแต่เป็นทุน อย่างที่ ศอฉ. ส่งหนังสือมาว่าอย่าลงเรื่องนั้นเรื่องนี้ เจ้าของธุรกิจก็จะคำนวณผลลัพธ์ว่าควรจะทะเลาะกับ ศอฉ. ดีหรือไม่ แต่เรามีสื่อแบบใหม่ที่ก็ยังไม่ลงตัวทั้งทางธุรกิจและการจัดการ แต่ก็ทำให้คนตัวเล็ก ๆ สามารถมีพื้นที่ต่อรองหรือสื่อสารได้ ส่วนทีวีธารณะของบ้านเรานอกจากจะไม่เป็นมืออาชีพทางเทคนิคแล้วการทำข่าวและการผลิตรายการก็ยังไม่เป็นมืออาชีพ เช่น การพูดถึงเมืองไทยก็ยังเป็นเมืองไทยในอดีตที่มีวัฒนธรรมหยุดนิ่ง ราวกับว่าเป็นทีวีสมัยกรุงศรีอยุธยา
เชื่อเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้าตามผัง ศอฉ.
นอกจากนี้มีผู้ถามนิธิ เรื่องแผนผังขบวนการล้มเจ้า ที่ ศอฉ. เคยนำเสนอ นิธิตอบคำถามนี้ว่า ผมคิดว่าเวลาที่ใช้คำว่า “เจ้า” นั้น หมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมคิดว่าเสื้อแดงไม่ได้ล้มเจ้า เพราะจะเป็นการเคลื่อนไหวที่โง่ที่สุด แต่คำว่า “เจ้า” ที่ ศอฉ. ใช้ ไม่ได้หมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงองคมนตรีและการใช้อำนาจขององคมนตรีด้วย
การไม่ยอมรับการรัฐประหารแล้วกลุ่มเสื้อแดงต่อต้านสิ่งนี้ไหม ผมคิดว่าเขาต่อต้าน ถ้าเขาจะต่อต้านหรือทำจริงก็คงเก็บไว้ลึกซึ้งภายในจนไม่มีใครรู้ต่างหาก แต่เราไม่สามารถพูดถึงพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่ เพราะคนสับสนระหว่างการอาฆาตมาดร้ายในมาตรา 112 กับการบังคับให้จงรักภักดีซึ่งไม่มีในรัฐธรรมนูญ
ในช่วงท้ายของการเสวนามีผู้ถามนิธิว่า “เราจะอยู่ท่ามกลางคนรอบข้างที่สามารถทะเลาะกันเพราะความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันนี้ได้อย่างไร” นิธิตอบว่า ว่าเราต้องเรียนรู้ว่าความคิดเห็นทางการเมืองแม้ว่าจะเลิศหรูอย่างไร สักวันหนึ่งความเชื่อนั้นมันก็จะเปลี่ยนไป แต่สิ่งที่สำคัญคือความเป็นเพื่อนที่อยู่ถาวรมากกว่าความคิดทางการเมือง
ที่มา.ประชาไท
หาเสียงยกแรก "มุมแดง-ฟ้า" ปชป.ออกตัวแรง-พท.เปิดตัวแดง
รายงานพิเศษ
การแข่งขันเพื่อเข้าสู่เส้นทางสภาผู้แทนราษฎร ยังคงเป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้ว
ยกแรก มีนักวิเคราะห์ฟันธงว่า ประชาธิปัตย์-เป็นต่อ เพื่อไทย-เป็นรอง
แต่ อาจารย์สุขุม นวลสกุล นักรัฐศาสตร์ วิเคราะห์ว่า
"การแข่งขันหาเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ครั้งนี้ว่า ชัดเจนว่าเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย แต่ความจริงแล้ว ดูออกจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับเสื้อแดง มากกว่า พูดง่าย ๆ ว่า ผู้สมัครเป็นคนของกลุ่มคนเสื้อแดง"
การแข่งขันระหว่างคู่ขัดแย้งระดับอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ กับผู้ถูกกล่าวหาในคดีการก่อการร้าย "อ.สุขุม" เห็นว่า เป็นเรื่อง "ไม่เกินคาด เพราะเสื้อแดงครอบพรรคเพื่อไทย พรรคไม่มีทางเลือก ถึงแม้หากอยากส่งคนอื่นลงสมัครพรรคเพื่อไทยก็ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเท่ากับกลุ่มเสื้อแดง ส่วนเสื้อแดงเอง ก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะสวมเสื้อ ของพรรคเพื่อไทยในการลงสมัครรับ เลือกตั้ง"
การ "ครอบ" พรรคเพื่อไทย โดยเสื้อแดงนั้น ไม่ถึงกับทำให้ระบบพรรคอ่อนแอ เพราะ "อ.สุขุม" เฉลยว่า "เมืองไทยก็เป็นอย่างนี้ พรรคการเมืองไทย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าหนักใจ เพราะหากเดิมทีพรรคการเมืองไทยเคยเข้มแข็งแล้วต่อมาอ่อนแอลง นั่นจึงจะเป็นสิ่งที่น่ากลุ้มใจ"
แม้ในยกแรก หลายฝ่ายอยากวิเคราะห์ให้ฝ่ายเพื่อไทย-เป็นต่อ แต่หากพิจารณาจากพฤติกรรมการหาเสียงแล้ว ทั้งท่าที และภาพลักษณ์ในอดีตของเสื้อแดงเองที่อาจทำให้ "ก่อแก้ว-เพื่อไทย"เพลี่ยงพล้ำ
"ต้องรอดูพฤติกรรมในการหาเสียง ว่าแต่ละฝ่ายจะหาเสียงอย่างไร ถ้าปรากฏว่าฝ่ายเสื้อแดงไปทุบรถผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ก็อาจทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเทคะแนนไปที่พรรคประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกันหากนายก่อแก้วยังคงอยู่ในเรือนจำ ก็อาจทำให้มีการเทคะแนน สงสารมาที่พรรคเพื่อไทยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามยอมรับว่าขณะนี้พรรค ประชาธิปัตย์เป็นต่อ ในแง่ฐานเสียงเก่าจากการเลือกตั้งครั้งก่อน"
บรรยากาศการหาเสียงช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ของพรรคเพื่อไทยคนแรก ที่ติดคุกระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง เริ่มต้นยังตลาดสดคู้บอน เขตคันนายาว บริเวณรามอินทรา ก.ม.8 ในเช้าวันพฤหัสฯที่ 1 ก.ค. เป็นไปอย่างจืดชืด แม้มีสีสัน "ดารา"เข้ามาประชัน
แต่ดาราตัวหลักยังเป็น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค นางสุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรค นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. ประธานภาค กทม. ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงศ์ ส.ส.กทม. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายนที สุทินเผือก หรือกรุง ศรีวิไล ส.ส.สมุทรปราการ น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ ว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธุ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย
รวมทั้งนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ แกนนำ นปช. และอาสาสมัครประมาณ 20 คน สวมเสื้อทีมของ "ส.ก.พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ" มาช่วยหาเสียง โดยชูป้ายพื้นสีแดงขนาดใหญ่ ระบุชื่อพรรคเพื่อไทย และมีรูปนายก่อแก้ว พิกุลทอง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวลายเส้นสีน้ำเงิน
ส.ส.และทีมหาเสียงได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงขอคะแนนให้นายก่อแก้ว รวมทั้งแจกการ์ดแนะนำตัวผู้สมัคร สัญลักษณ์ "สีแดง" เต็มรูปแบบ
มีคีย์เวิร์ด "25 กรกฎาคม 2553 เลือกฝ่ายประชาธิปไตย..."
พร้อมข้อความ-ขอคะแนนสงสาร "กราบเรียน พ่อแม่พี่น้อง ประชาชนชาวกรุงเทพฯเขต 6 ผมไม่สามารถมาพบปะ พี่น้องได้ เพราะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ด้วยเหตุผลที่ผมเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ผมขอกำลังใจจากพ่อแม่พี่น้อง เพื่อให้ผมมีโอกาสต่อสู้ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และคืน ความเป็นธรรมให้กับพ่อแม่พี่น้องและชาวไทยทุกคน"
สีสันส่วนใหญ่อยู่ที่การตอบรับจากบรรดาแม่ค้าในตลาดสด เมื่อขบวนหาเสียงได้เดินเท้าเคลื่อนจากปากทางเข้าไปในตลาดสด นำโดยนายวิชาญและบรรดา อดีตดาราที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เช่น นายพร้อมพงศ์ และนายสุทิน ได้รับดอกไม้สีแดงจากกองเชียร์ และมีการขอถ่ายรูปด้วยอย่างคึกคักในฐานะดารามากกว่าในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง
แม้ความเป็นดาราชื่อดังจะเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้การหาเสียงเข้าถึงชาวบ้าน ได้ง่าย เป็นจุดขายที่ดี แต่กระนั้น "ดนุพร ปุณณกันต์" อดีตดาราและ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย และ "ยุรนันท์ ภมรมนตรี" ก็ไม่ได้มาช่วยหาเสียง สร้างสีสันบรรยากาศในครั้งนี้
ส.ส.เพื่อไทยบางคนที่อยู่ในขบวน ช่วยหาเสียง ยังออกความเห็นไปในทางที่ "เหมือนจะชนะ แต่แพ้"
"ความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่แน่นอน เพราะแม้ว่าจะมีคนเสื้อแดงใน กทม.อยู่จำนวนมาก แต่ปัญหาคือเสื้อแดงส่วนใหญ่มักจะมีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่เลือกตั้งซ่อม..."
จุดอ่อนในศึกยกแรก ถูก ส.ส.กทม. อย่าง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รู้ทัน และหาทางแก้เกม
"จะมีการรณรงค์ให้ผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขต 6 ช่วยหาเสียง โดยหาเพื่อนที่มีสิทธิเลือกตั้งไปลงคะแนนให้"
ส่วนบรรยากาศของค่ายแม่พระธรณี บีบมวยผม สีฟ้า-ประชาธิปัตย์ พนิช วิกิตเศรษฐ์ นั้นลงพื้นที่ตั้งแต่ยังไม่ได้รับหมายเลขต่อเนื่อง เพื่อรักษาเก้าอี้ให้ฝ่ายรัฐบาล
ริมสองข้างทางถนนหลักในพื้นที่เลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ส่วนใหญ่เป็นโปสเตอร์หาเสียงของพนิชถ่ายรูปคู่กับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคหนาตา โดยยังไม่ปรากฏโปสเตอร์หาเสียงของพรรคเพื่อไทยแทรก การเริ่มต้นจากจุดสตาร์ตของพรรคเพื่อไทยอาจช้า แต่หวังพลังสีแดงช่วงโค้งสุดท้าย
ต่างจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังรักษาความแรงและถี่ทุกระยะ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
การแข่งขันเพื่อเข้าสู่เส้นทางสภาผู้แทนราษฎร ยังคงเป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 ขั้ว
ยกแรก มีนักวิเคราะห์ฟันธงว่า ประชาธิปัตย์-เป็นต่อ เพื่อไทย-เป็นรอง
แต่ อาจารย์สุขุม นวลสกุล นักรัฐศาสตร์ วิเคราะห์ว่า
"การแข่งขันหาเสียงเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ครั้งนี้ว่า ชัดเจนว่าเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย แต่ความจริงแล้ว ดูออกจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับเสื้อแดง มากกว่า พูดง่าย ๆ ว่า ผู้สมัครเป็นคนของกลุ่มคนเสื้อแดง"
การแข่งขันระหว่างคู่ขัดแย้งระดับอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ กับผู้ถูกกล่าวหาในคดีการก่อการร้าย "อ.สุขุม" เห็นว่า เป็นเรื่อง "ไม่เกินคาด เพราะเสื้อแดงครอบพรรคเพื่อไทย พรรคไม่มีทางเลือก ถึงแม้หากอยากส่งคนอื่นลงสมัครพรรคเพื่อไทยก็ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเท่ากับกลุ่มเสื้อแดง ส่วนเสื้อแดงเอง ก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะสวมเสื้อ ของพรรคเพื่อไทยในการลงสมัครรับ เลือกตั้ง"
การ "ครอบ" พรรคเพื่อไทย โดยเสื้อแดงนั้น ไม่ถึงกับทำให้ระบบพรรคอ่อนแอ เพราะ "อ.สุขุม" เฉลยว่า "เมืองไทยก็เป็นอย่างนี้ พรรคการเมืองไทย เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าหนักใจ เพราะหากเดิมทีพรรคการเมืองไทยเคยเข้มแข็งแล้วต่อมาอ่อนแอลง นั่นจึงจะเป็นสิ่งที่น่ากลุ้มใจ"
แม้ในยกแรก หลายฝ่ายอยากวิเคราะห์ให้ฝ่ายเพื่อไทย-เป็นต่อ แต่หากพิจารณาจากพฤติกรรมการหาเสียงแล้ว ทั้งท่าที และภาพลักษณ์ในอดีตของเสื้อแดงเองที่อาจทำให้ "ก่อแก้ว-เพื่อไทย"เพลี่ยงพล้ำ
"ต้องรอดูพฤติกรรมในการหาเสียง ว่าแต่ละฝ่ายจะหาเสียงอย่างไร ถ้าปรากฏว่าฝ่ายเสื้อแดงไปทุบรถผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ก็อาจทำให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเทคะแนนไปที่พรรคประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกันหากนายก่อแก้วยังคงอยู่ในเรือนจำ ก็อาจทำให้มีการเทคะแนน สงสารมาที่พรรคเพื่อไทยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามยอมรับว่าขณะนี้พรรค ประชาธิปัตย์เป็นต่อ ในแง่ฐานเสียงเก่าจากการเลือกตั้งครั้งก่อน"
บรรยากาศการหาเสียงช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ของพรรคเพื่อไทยคนแรก ที่ติดคุกระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง เริ่มต้นยังตลาดสดคู้บอน เขตคันนายาว บริเวณรามอินทรา ก.ม.8 ในเช้าวันพฤหัสฯที่ 1 ก.ค. เป็นไปอย่างจืดชืด แม้มีสีสัน "ดารา"เข้ามาประชัน
แต่ดาราตัวหลักยังเป็น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค นางสุณีย์ เหลืองวิจิตร เลขาธิการพรรค นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม. ประธานภาค กทม. ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงศ์ ส.ส.กทม. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย นายนที สุทินเผือก หรือกรุง ศรีวิไล ส.ส.สมุทรปราการ น.พ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ส.ส.ชัยภูมิ ว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธุ์ สุนทรชัย ส.ส.หนองคาย
รวมทั้งนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ แกนนำ นปช. และอาสาสมัครประมาณ 20 คน สวมเสื้อทีมของ "ส.ก.พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ" มาช่วยหาเสียง โดยชูป้ายพื้นสีแดงขนาดใหญ่ ระบุชื่อพรรคเพื่อไทย และมีรูปนายก่อแก้ว พิกุลทอง สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวลายเส้นสีน้ำเงิน
ส.ส.และทีมหาเสียงได้พูดผ่านเครื่องขยายเสียงขอคะแนนให้นายก่อแก้ว รวมทั้งแจกการ์ดแนะนำตัวผู้สมัคร สัญลักษณ์ "สีแดง" เต็มรูปแบบ
มีคีย์เวิร์ด "25 กรกฎาคม 2553 เลือกฝ่ายประชาธิปไตย..."
พร้อมข้อความ-ขอคะแนนสงสาร "กราบเรียน พ่อแม่พี่น้อง ประชาชนชาวกรุงเทพฯเขต 6 ผมไม่สามารถมาพบปะ พี่น้องได้ เพราะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ด้วยเหตุผลที่ผมเรียกร้องให้ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ผมขอกำลังใจจากพ่อแม่พี่น้อง เพื่อให้ผมมีโอกาสต่อสู้ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย และคืน ความเป็นธรรมให้กับพ่อแม่พี่น้องและชาวไทยทุกคน"
สีสันส่วนใหญ่อยู่ที่การตอบรับจากบรรดาแม่ค้าในตลาดสด เมื่อขบวนหาเสียงได้เดินเท้าเคลื่อนจากปากทางเข้าไปในตลาดสด นำโดยนายวิชาญและบรรดา อดีตดาราที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เช่น นายพร้อมพงศ์ และนายสุทิน ได้รับดอกไม้สีแดงจากกองเชียร์ และมีการขอถ่ายรูปด้วยอย่างคึกคักในฐานะดารามากกว่าในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง
แม้ความเป็นดาราชื่อดังจะเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้การหาเสียงเข้าถึงชาวบ้าน ได้ง่าย เป็นจุดขายที่ดี แต่กระนั้น "ดนุพร ปุณณกันต์" อดีตดาราและ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย และ "ยุรนันท์ ภมรมนตรี" ก็ไม่ได้มาช่วยหาเสียง สร้างสีสันบรรยากาศในครั้งนี้
ส.ส.เพื่อไทยบางคนที่อยู่ในขบวน ช่วยหาเสียง ยังออกความเห็นไปในทางที่ "เหมือนจะชนะ แต่แพ้"
"ความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ยังไม่แน่นอน เพราะแม้ว่าจะมีคนเสื้อแดงใน กทม.อยู่จำนวนมาก แต่ปัญหาคือเสื้อแดงส่วนใหญ่มักจะมีชื่อในทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่เลือกตั้งซ่อม..."
จุดอ่อนในศึกยกแรก ถูก ส.ส.กทม. อย่าง น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รู้ทัน และหาทางแก้เกม
"จะมีการรณรงค์ให้ผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขต 6 ช่วยหาเสียง โดยหาเพื่อนที่มีสิทธิเลือกตั้งไปลงคะแนนให้"
ส่วนบรรยากาศของค่ายแม่พระธรณี บีบมวยผม สีฟ้า-ประชาธิปัตย์ พนิช วิกิตเศรษฐ์ นั้นลงพื้นที่ตั้งแต่ยังไม่ได้รับหมายเลขต่อเนื่อง เพื่อรักษาเก้าอี้ให้ฝ่ายรัฐบาล
ริมสองข้างทางถนนหลักในพื้นที่เลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 ส่วนใหญ่เป็นโปสเตอร์หาเสียงของพนิชถ่ายรูปคู่กับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคหนาตา โดยยังไม่ปรากฏโปสเตอร์หาเสียงของพรรคเพื่อไทยแทรก การเริ่มต้นจากจุดสตาร์ตของพรรคเพื่อไทยอาจช้า แต่หวังพลังสีแดงช่วงโค้งสุดท้าย
ต่างจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังรักษาความแรงและถี่ทุกระยะ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
ผู้นำกับแมว
สัตว์เลี้ยงประจำบ้านอย่างสุนัขและแมว
นอกจากมีสรรพคุณช่วยจรรโลงจิตใจเจ้านายแล้ว หลายกรณียังสามารถช่วยนักการเมืองได้ด้วย
ประเด็นแรกเป็นที่เข้าใจกัน
ส่วนประเด็นหลังผมวิเคราะห์เองจากการเห็นผู้นำหลายประเทศ “ปลีกวิเวก” เข้าหาสัตว์เลี้ยง
ผู้นำบางคนรักสุนัขหรือแมวจริงๆ ส่วนบางคนคล้ายกับจะอาศัยเป็นตัวสยบความเคลื่อนไหวทางการเมือง
ทำนองเห็นสถานการณ์การเมืองวุ่นวายนัก ก็ขอให้แมวช่วยซะเลย
ล่าสุดท่านดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ตุน ราซัค ผู้นำมาเลเซีย แวบหาแมวเช่นกัน
คงเป็นเรื่องคนรักแมวจริงๆแหละครับ ไม่ใช่หวังผลทางการเมือง
ท่านดาโต๊ะไปเปิดงานแสดงสินค้า รณรงค์ให้ซื้อสินค้าท้องถิ่นชื่อ "Buy Malaysia" แล้วเหลือบเห็นลูกแมวเปอร์เซียสีส้มขาว อุ้มขึ้นตรวจดูคุณลักษณะพักหนึ่งจึงตกลงซื้อในราคา 650 ริงกิต (6,500 บาท)
จากนั้นท่านดาโต๊ะนำเรื่องนี้มาเล่าในบล็อกในเว็บไซต์ www.1malaysia.com.my บอกแฟนคลับว่า มีแมวอยู่แล้วหลายตัว แต่เห็นว่าลูกแมวสวยดี ลูกสาวคงชอบ จึงซื้อมา ปิดท้ายด้วยการขอให้แฟนคลับช่วยกันตั้งชื่อ
คำเชิญชวนของผู้นำมาเลเซียได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพียง 2 วันแรกมีแฟนคลับเสนอชื่อไป 500 คน
ชื่อที่เสนอไปมีความหมายเกี่ยวกับผู้นำและครอบครัว บางชื่อมีความหมายเกี่ยวกับประเทศ และสิ่งที่ท่านดาโต๊ะทำเพื่อชาติ เช่น ชื่อเมลซินเดีย (Melcindia) ผู้เสนออธิบายว่า ย่อมาจากมะลายู (Melayu) ซินา (Cina) และอินเดีย (India) ที่รวมกันเป็น 1 Malaysia
ขณะผมเขียนต้นฉบับ ผู้นำมาเลย์ยังไม่ประกาศผลการเลือกชื่อ แต่สรุปได้ว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอาจจะเกินคาดก็ได้ เนื่องจากมีแฟนคลับร่วมเสนอชื่อจำนวนมาก
นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ที่ได้ข่าวก็ไม่นิ่งดูดาย ได้ส่งเสาฝนกงเล็บ (เสาสำหรับให้แมวข่วนเล่น) และบอลของเล่นด่วนจี๋มาเป็นของกำนัล
ฝ่ายสนับสนุนคึกคักกับการลุ้นชื่อ ขณะที่ฝ่ายค้านตำหนิตามระเบียบ มองว่าผู้นำมาเลย์ทำตัวอย่างไม่ดีเพราะซื้อแมวมาเลี้ยงแทนที่จะรับจากสถานสงเคราะห์ที่มีแมวรอเจ้านายใหม่กันอย่างแออัด
ตกลงเรื่องนี้ แมวเป็นตัวช่วยหรือตัวเพิ่มปัญหายังน่าสงสัยครับ
แต่ก็อย่างนี้แหละครับผู้นำขยับไปไหนย่อมไม่เว้นควันหลงตามมา
ถ้าทำอะไรแล้วไม่มีใครทักท้วงผมว่าเหงาแย่เหมือนกัน
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 266 วันที่ วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 51 คอลัมน์ เรื่องเล่าต่างแดน โดย วรวุฒิ สารพันธุ์
นอกจากมีสรรพคุณช่วยจรรโลงจิตใจเจ้านายแล้ว หลายกรณียังสามารถช่วยนักการเมืองได้ด้วย
ประเด็นแรกเป็นที่เข้าใจกัน
ส่วนประเด็นหลังผมวิเคราะห์เองจากการเห็นผู้นำหลายประเทศ “ปลีกวิเวก” เข้าหาสัตว์เลี้ยง
ผู้นำบางคนรักสุนัขหรือแมวจริงๆ ส่วนบางคนคล้ายกับจะอาศัยเป็นตัวสยบความเคลื่อนไหวทางการเมือง
ทำนองเห็นสถานการณ์การเมืองวุ่นวายนัก ก็ขอให้แมวช่วยซะเลย
ล่าสุดท่านดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ตุน ราซัค ผู้นำมาเลเซีย แวบหาแมวเช่นกัน
คงเป็นเรื่องคนรักแมวจริงๆแหละครับ ไม่ใช่หวังผลทางการเมือง
ท่านดาโต๊ะไปเปิดงานแสดงสินค้า รณรงค์ให้ซื้อสินค้าท้องถิ่นชื่อ "Buy Malaysia" แล้วเหลือบเห็นลูกแมวเปอร์เซียสีส้มขาว อุ้มขึ้นตรวจดูคุณลักษณะพักหนึ่งจึงตกลงซื้อในราคา 650 ริงกิต (6,500 บาท)
จากนั้นท่านดาโต๊ะนำเรื่องนี้มาเล่าในบล็อกในเว็บไซต์ www.1malaysia.com.my บอกแฟนคลับว่า มีแมวอยู่แล้วหลายตัว แต่เห็นว่าลูกแมวสวยดี ลูกสาวคงชอบ จึงซื้อมา ปิดท้ายด้วยการขอให้แฟนคลับช่วยกันตั้งชื่อ
คำเชิญชวนของผู้นำมาเลเซียได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพียง 2 วันแรกมีแฟนคลับเสนอชื่อไป 500 คน
ชื่อที่เสนอไปมีความหมายเกี่ยวกับผู้นำและครอบครัว บางชื่อมีความหมายเกี่ยวกับประเทศ และสิ่งที่ท่านดาโต๊ะทำเพื่อชาติ เช่น ชื่อเมลซินเดีย (Melcindia) ผู้เสนออธิบายว่า ย่อมาจากมะลายู (Melayu) ซินา (Cina) และอินเดีย (India) ที่รวมกันเป็น 1 Malaysia
ขณะผมเขียนต้นฉบับ ผู้นำมาเลย์ยังไม่ประกาศผลการเลือกชื่อ แต่สรุปได้ว่าโครงการนี้ประสบความสำเร็จอาจจะเกินคาดก็ได้ เนื่องจากมีแฟนคลับร่วมเสนอชื่อจำนวนมาก
นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ที่ได้ข่าวก็ไม่นิ่งดูดาย ได้ส่งเสาฝนกงเล็บ (เสาสำหรับให้แมวข่วนเล่น) และบอลของเล่นด่วนจี๋มาเป็นของกำนัล
ฝ่ายสนับสนุนคึกคักกับการลุ้นชื่อ ขณะที่ฝ่ายค้านตำหนิตามระเบียบ มองว่าผู้นำมาเลย์ทำตัวอย่างไม่ดีเพราะซื้อแมวมาเลี้ยงแทนที่จะรับจากสถานสงเคราะห์ที่มีแมวรอเจ้านายใหม่กันอย่างแออัด
ตกลงเรื่องนี้ แมวเป็นตัวช่วยหรือตัวเพิ่มปัญหายังน่าสงสัยครับ
แต่ก็อย่างนี้แหละครับผู้นำขยับไปไหนย่อมไม่เว้นควันหลงตามมา
ถ้าทำอะไรแล้วไม่มีใครทักท้วงผมว่าเหงาแย่เหมือนกัน
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 266 วันที่ วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 51 คอลัมน์ เรื่องเล่าต่างแดน โดย วรวุฒิ สารพันธุ์
เปิดปมเงื่อน 2รัฐมนตรีบิ๊กเนม ถอนเงินสดๆ จากแบงก์40ล้าน ไฉน! แจ้งป.ป.ช. มีทรัพย์สินแค่จิ๊บจ๊อย
กรณีศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีคำสั่งห้ามทำธุรกรรมทางการเงินนักการเมือง 2 คนจากทั้งหมด 152 ราย คือนายสันติ พร้อมพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นายไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการการกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากพบว่ามีความเคลื่อนไหวทางการเงินผิดปกติ
นายสันติ พร้อมพัฒน์ และ นายไชยา สะสมทรัพย์ ต่างปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นท่อน้ำเลี้ยงสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดง
นายสันติ กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงธุรกรรมการเงินต้องสงสัยต่อพนักงานสอบสวนดีเอสไอเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม สรุปว่าได้ถอนเงินสดออกมาเก็บไว้กับตัว เพราะรัฐบาลจะทำอะไรก็ได้ จึงต้องมีเงินสดสำรองไว้ที่บ้าน จึงเบิกถอนเงินออกจากธนาคารครั้งละ 1-2 ล้านบาท ประมาณ 3-4 ครั้ง มั่นใจว่าสามารถชี้แจงครบถ้วน แต่พนักงานสอบสวนยังติดใจสงสัยในบัญชีเงินเดือน ส.ส. ซึ่งตนจะรวบรวมหลักฐานส่งเข้าชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร
ขณะที่นายไชยากล่าวว่า มาขอรับประเด็นคำถามเพื่อชี้แจงประเด็นที่พนักงานสอบสวนต้องการทราบในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ อาทิ เรื่องการเบิกถอนเงิน 20 ล้านบาทไม่ใช่เบิกถอนภายในวันเดียวแต่เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน ที่เบิกมาจัดงานวันเกิดและบริจาคสร้างโรงพยาบาล ซื้อคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน ซึ่งมีใบอนุโมทนาบัตรแต่ต้องใช้เวลาในการจัดเตรียมเอกสารและสอบถามไปยังธนาคารถึงรายละเอียดค่าใช้จ่าย เพราะไม่มีใครจำได้ว่าเมื่อ 9 เดือนที่ผ่านมาใช้จ่ายเงินไปอย่างไร
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางที่เชื่อมโยงได้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของบุคคลทั้งสองเกี่ยวข้องกับท่อน้ำเลี้ยงขกลุ่มคนเสื้อแดง
กระนั้นถ้าดูบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ทั้งสองคนยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ
นายสันติ ตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ครบ 1 ปี วันที่ 25 กันยายน 2552 แจ้ง ป.ป.ช.มีทรัพย์สิน 7,331,278 บาท ในจำนวนเป็นเงินฝาก 2 บัญชี 1,451,278 บาท หนี้สิน 9,277 บาท ส่วนนางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ คู่สมรส มีทรัพย์สิน 14,077,391 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินฝาก 3 บัญชี 4,943,066 บาท หนี้สิน 220,979 บาท
ก่อนหน้านี้ ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 นายสันติแจ้งต่อ ป.ป.ช.มีทรัพย์สิน 7,583,115 บาท หนี้สิน 121,504,765 บาท มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 113,921,650 บาท ในจำนวนนี้แจ้งว่ามีเงินฝากธนาคารเพียง 603,115 บาท ไม่มีคู่สมรส (แจ้งว่าหย่า นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ อดีตภรรยา)
ตอนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยุครัฐบาล วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 แจ้งว่ามีทรัพย์สิน 7 ล้านบาทเศษ หนี้สิน 121.6 ล้านบาท มีเงินฝาก 2 บัญชีเพียง 114,079 บาท (แจ้งว่าหย่า-นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์อดีตภรรยา)
แสดงว่าขณะยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช.แต่ละครั้ง นายสันติมีเงินฝากเพียง 1 แสนบาทเศษ , 6 แสนบาทเศษ และ 1.4 ล้านบาทเศษตามลำดับ
ขณะที่นายไชยาตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ครบ 1 ปี วันที่ 25 กันยายน 2552 ระบุมีเงินฝาก 5 บัญชีรวม 3,226,644 บาท จากทรัพย์สิน 5,711,901 บาท นางจุไรภรรยามีเงินฝาก 9 บัญชีรวม 4,553,410 บาท จากทรัพย์สินรวม 75,209,410 บาท นางจุไรมีหนี้สิน 1,511,530 บาท
ก่อนหน้านี้ตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขครบ 1 ปี วันที่ 7 มีนาคม 2552 ระบุ มีเงินฝาก 6 บัญชี 1,086,730 บาท ไม่มีหนี้สิน นางจุไรมีเงินฝาก 9 บัญชี 4,878,895 บาท จากทรัพย์สิน 76,034,895 บาท หนี้สิน 2,043,396 บาท
แสดงว่าขณะยื่นบัญชีฯต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.แต่ละครั้งนายไชยามีเงินฝาก 1 ล้านบาท และ 3.2 ล้านบาทตามลำดับ
และถ้าย้อนไปดูคำสั่ง "แช่แข็ง" ทางการเงินต่อบุคคลทั้งสองคนจะพบว่า
กรณีนายสันติ มีข้อมูลระบุว่าดีเอสไอได้ตรวจสอบพบว่าในช่วงเดือนกันยายน 2552 –พฤษภาคม 2553 มีการโอนเงินเข้าในบัญชีธนาคารของนายสันติประมาณ 21.5 ล้านบาท และถอนเงินออกจากบัญชีภายใน 9 วัน
กรณีนายไชยา ในช่วงเวลาเดียวกัน มีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน โดยมียอดเงินหมุนเวียนประมาณ 40 ล้านบาท (ฝากประมาณ 18 ล้านบาท ถอนประมาณ 19 ล้านบาท) ซึ่งมีการฝากถอนเงินเกือบทุกวัน
ในการยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ดีเอสไอตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน) นายสันติแจ้งว่ามีรายได้ "เงินเดือน" ส.ส.จากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552 จำนวน 1,076,954 บาท ส่วนนางวันเพ็ญมีรายได้ ในช่วงเดียวกัน 1,251,960 บาท
ไม่มีรายได้อื่น
ขณะที่นายไชยาในการยื่นบัญชีฯเดือนมีนาคม 2552 แจ้งว่ามีรายได้เงินเดือนจากเอกชน 2,400,000 บาท
เงื่อนปมที่น่าสนใจก็คือ นายสันติแจ้ง ป.ป.ช.ว่ามีรายได้จากเงินเดือน ส.ส. ประมาณเดือนละ 1 แสนบาท ไม่มีธุรกิจอื่น กลับมีเงินโอนเข้าในบัญชีเงินฝาก 21.5 ล้านบาท
ขณะที่นายไชยา แจ้ง ป.ป.ช.ว่ามีเงินลงทุนเพียงไม่กี่แสนบาท มีรายได้เงินเดือนจากเอกชน 2.4 ล้านบาท แต่บัญชีเงินฝากธนาคารมีกระแสเงินหมุนเวียนมากถึง 40 ล้านบาท
นอกจากถูกดีเอสไอตรวจสอบความเชื่อมโยงกับท่อน้ำเลี้ยงแดงหรือไม่แล้ว
อีกด้านหนึ่งอาจถูกตั้งคำถามด้วยว่า ยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช. ครบถ้วนหรือไม่?
ที่มา. มติชนออนไลน์
นายสันติ พร้อมพัฒน์ และ นายไชยา สะสมทรัพย์ ต่างปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นท่อน้ำเลี้ยงสนับสนุนกลุ่มคนเสื้อแดง
นายสันติ กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงธุรกรรมการเงินต้องสงสัยต่อพนักงานสอบสวนดีเอสไอเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม สรุปว่าได้ถอนเงินสดออกมาเก็บไว้กับตัว เพราะรัฐบาลจะทำอะไรก็ได้ จึงต้องมีเงินสดสำรองไว้ที่บ้าน จึงเบิกถอนเงินออกจากธนาคารครั้งละ 1-2 ล้านบาท ประมาณ 3-4 ครั้ง มั่นใจว่าสามารถชี้แจงครบถ้วน แต่พนักงานสอบสวนยังติดใจสงสัยในบัญชีเงินเดือน ส.ส. ซึ่งตนจะรวบรวมหลักฐานส่งเข้าชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร
ขณะที่นายไชยากล่าวว่า มาขอรับประเด็นคำถามเพื่อชี้แจงประเด็นที่พนักงานสอบสวนต้องการทราบในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ อาทิ เรื่องการเบิกถอนเงิน 20 ล้านบาทไม่ใช่เบิกถอนภายในวันเดียวแต่เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน ที่เบิกมาจัดงานวันเกิดและบริจาคสร้างโรงพยาบาล ซื้อคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน ซึ่งมีใบอนุโมทนาบัตรแต่ต้องใช้เวลาในการจัดเตรียมเอกสารและสอบถามไปยังธนาคารถึงรายละเอียดค่าใช้จ่าย เพราะไม่มีใครจำได้ว่าเมื่อ 9 เดือนที่ผ่านมาใช้จ่ายเงินไปอย่างไร
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางที่เชื่อมโยงได้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของบุคคลทั้งสองเกี่ยวข้องกับท่อน้ำเลี้ยงขกลุ่มคนเสื้อแดง
กระนั้นถ้าดูบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ทั้งสองคนยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะพบข้อมูลที่น่าสนใจ
นายสันติ ตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ครบ 1 ปี วันที่ 25 กันยายน 2552 แจ้ง ป.ป.ช.มีทรัพย์สิน 7,331,278 บาท ในจำนวนเป็นเงินฝาก 2 บัญชี 1,451,278 บาท หนี้สิน 9,277 บาท ส่วนนางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ คู่สมรส มีทรัพย์สิน 14,077,391 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินฝาก 3 บัญชี 4,943,066 บาท หนี้สิน 220,979 บาท
ก่อนหน้านี้ ตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 นายสันติแจ้งต่อ ป.ป.ช.มีทรัพย์สิน 7,583,115 บาท หนี้สิน 121,504,765 บาท มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 113,921,650 บาท ในจำนวนนี้แจ้งว่ามีเงินฝากธนาคารเพียง 603,115 บาท ไม่มีคู่สมรส (แจ้งว่าหย่า นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ อดีตภรรยา)
ตอนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยุครัฐบาล วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 แจ้งว่ามีทรัพย์สิน 7 ล้านบาทเศษ หนี้สิน 121.6 ล้านบาท มีเงินฝาก 2 บัญชีเพียง 114,079 บาท (แจ้งว่าหย่า-นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์อดีตภรรยา)
แสดงว่าขณะยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช.แต่ละครั้ง นายสันติมีเงินฝากเพียง 1 แสนบาทเศษ , 6 แสนบาทเศษ และ 1.4 ล้านบาทเศษตามลำดับ
ขณะที่นายไชยาตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ครบ 1 ปี วันที่ 25 กันยายน 2552 ระบุมีเงินฝาก 5 บัญชีรวม 3,226,644 บาท จากทรัพย์สิน 5,711,901 บาท นางจุไรภรรยามีเงินฝาก 9 บัญชีรวม 4,553,410 บาท จากทรัพย์สินรวม 75,209,410 บาท นางจุไรมีหนี้สิน 1,511,530 บาท
ก่อนหน้านี้ตอนพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขครบ 1 ปี วันที่ 7 มีนาคม 2552 ระบุ มีเงินฝาก 6 บัญชี 1,086,730 บาท ไม่มีหนี้สิน นางจุไรมีเงินฝาก 9 บัญชี 4,878,895 บาท จากทรัพย์สิน 76,034,895 บาท หนี้สิน 2,043,396 บาท
แสดงว่าขณะยื่นบัญชีฯต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช.แต่ละครั้งนายไชยามีเงินฝาก 1 ล้านบาท และ 3.2 ล้านบาทตามลำดับ
และถ้าย้อนไปดูคำสั่ง "แช่แข็ง" ทางการเงินต่อบุคคลทั้งสองคนจะพบว่า
กรณีนายสันติ มีข้อมูลระบุว่าดีเอสไอได้ตรวจสอบพบว่าในช่วงเดือนกันยายน 2552 –พฤษภาคม 2553 มีการโอนเงินเข้าในบัญชีธนาคารของนายสันติประมาณ 21.5 ล้านบาท และถอนเงินออกจากบัญชีภายใน 9 วัน
กรณีนายไชยา ในช่วงเวลาเดียวกัน มีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน โดยมียอดเงินหมุนเวียนประมาณ 40 ล้านบาท (ฝากประมาณ 18 ล้านบาท ถอนประมาณ 19 ล้านบาท) ซึ่งมีการฝากถอนเงินเกือบทุกวัน
ในการยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2552 (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ดีเอสไอตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน) นายสันติแจ้งว่ามีรายได้ "เงินเดือน" ส.ส.จากเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552 จำนวน 1,076,954 บาท ส่วนนางวันเพ็ญมีรายได้ ในช่วงเดียวกัน 1,251,960 บาท
ไม่มีรายได้อื่น
ขณะที่นายไชยาในการยื่นบัญชีฯเดือนมีนาคม 2552 แจ้งว่ามีรายได้เงินเดือนจากเอกชน 2,400,000 บาท
เงื่อนปมที่น่าสนใจก็คือ นายสันติแจ้ง ป.ป.ช.ว่ามีรายได้จากเงินเดือน ส.ส. ประมาณเดือนละ 1 แสนบาท ไม่มีธุรกิจอื่น กลับมีเงินโอนเข้าในบัญชีเงินฝาก 21.5 ล้านบาท
ขณะที่นายไชยา แจ้ง ป.ป.ช.ว่ามีเงินลงทุนเพียงไม่กี่แสนบาท มีรายได้เงินเดือนจากเอกชน 2.4 ล้านบาท แต่บัญชีเงินฝากธนาคารมีกระแสเงินหมุนเวียนมากถึง 40 ล้านบาท
นอกจากถูกดีเอสไอตรวจสอบความเชื่อมโยงกับท่อน้ำเลี้ยงแดงหรือไม่แล้ว
อีกด้านหนึ่งอาจถูกตั้งคำถามด้วยว่า ยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช. ครบถ้วนหรือไม่?
ที่มา. มติชนออนไลน์
วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วาทกรรมปลุกผี
“ประชาธิปไตยไทยจะมีความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่มากขึ้น รู้สึกว่า ศอฉ. มีพฤติกรรมคล้ายคณะปฏิวัติ เขาจะเรียกใครไปสอบก็ได้ แช่แข็งบัญชีใครก็ได้ เขากักขังคนได้ 7 วัน และต่อเวลาได้ อำนาจของ ศอฉ. น่าเป็นห่วง ซึ่งไม่มีใครตรวจสอบเลย ได้ยินว่า ศอฉ. ใช้เงินมือเติบ ใช้ไปเท่าไรแล้ว ได้ข่าวสมาชิก ศอฉ. ได้สตางค์พิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนเป็นรายวัน โฆษก ศอฉ. ได้เงินพิเศษเป็นรายวันหรือไม่ ขอให้ตรวจสอบ บอกมาว่าได้เท่าไร ไม่อย่างนั้นใครจะตรวจสอบ ศอฉ.
บางครั้งตั้งคำถามว่าถ้าไม่มีกองทัพปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรัฐบาล นายกฯชื่ออภิสิทธิ์กองทัพจะเป็นอย่างไร สองคำถามนี้ทำให้เห็นว่าเขาเอื้อกัน พึ่งพาพึ่งพิงกันอย่างแน่น แฟ้นและด้วยดีพอสมควร”
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนา “แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่าสถานะการเมืองไทยขณะนี้ “พูดยาก เขียนลำบาก และน้ำท่วมปาก” ถ้าใครเห็นต่างจากรัฐบาลจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แม้แต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ นักลงทุน นักท่องเที่ยว ทูตานุทูต มูลนิธิ และองค์กรระหว่างประเทศที่สังเกตการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ได้แสดงความคิดเห็นจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับโดยตรงมาเปิดเผยยังถูกตำหนิว่าไม่เข้าใจประเทศไทย มีอคติ ลำเอียง หวังร้าย หรือถูก พ.ต.ท.ทักษิณว่าจ้างมา
เผด็จการอำพราง
ความเห็นของนายฐิตินันท์ไม่ได้แตกต่างจากนักวิชาการ ภาคประชาชน และสื่อต่างประเทศที่วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะนี้ว่าไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการที่ใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งมีอำนาจมากมาย ทั้งคุ้มครองการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย แม้แต่ตุลาการยังถูกมองว่าไม่มีอำนาจหรือไม่เข้ามาถ่วงดุลและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เกิดจากการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต ฉะนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ต่างอะไรกับกฎหมายโจราธิปัตย์ของคณะปฏิวัติรัฐประหาร แต่ศาลกลับยอมรับอำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้อำนาจคณะปฏิวัติรัฐประหารจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตาม
นักวิชาการและภาคประชาชนจึงไม่แปลกใจที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและข่มขู่ประชาชน รวมถึงฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลตลอดเวลา เพราะอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถกล่าวหา จับกุม ควบคุมธุรกรรมทางการเงิน หรือเรียกบุคคลใดมาสอบสวนก็ได้ แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ตาม เพียงแค่รัฐบาลและ ศอฉ. เชื่อหรือสงสัยว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐบาล
โดยเฉพาะการยัดเยียดข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายหรือล้มสถาบัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลและ ศอฉ. ใช้สื่อของรัฐและสื่อกระแสหลักให้ข่าว โฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเชื่อและเกลียดชังคนเสื้อแดงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ที่ ศอฉ. มีคำสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธสงครามสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย แม้รัฐบาลจะใช้ถ้อยคำสวยหรูว่า “ขอพื้นที่คืน” ก็ตาม
องค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ สื่อต่างชาติ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ต่างประณามว่าเป็นการฆ่าและทำร้ายประชาชนอย่างโหดเหี้ยม รวมถึงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ไม่มีทีท่าว่าจะแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเลย แม้จะถูกกระแสสังคมกดดันจากทั้งภายในและภายนอกอย่างมากมายก็ตาม
“จลาจล” ไม่ใช่ “ก่อการร้าย”
ที่สำคัญข้อกล่าวหา “ผู้ก่อการร้าย” ที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้กวาดล้างและจับกุมคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้าม โดยพยายามอ้างถึง “ไอ้โม่งชุดดำ” การเผาศูนย์การค้าและสถานที่ต่างๆกลางกรุงเทพฯนั้น แม้แต่บริษัทประกันภัยก็ไม่ยอมรับและไม่ยอมจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย โดยระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแค่การจลาจล ไม่ใช่การก่อการร้าย
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐ-มนตรี ก็ไม่สามารถชี้แจงหรืออธิบายความหมายของคำว่า “ผู้ก่อการร้าย” ให้แก่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ได้ โดยโยนให้ไปชี้ขาดกันที่กระบวนการทางศาล
สอดคล้องกับกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กล่าวถึงการเดินทางไปสหรัฐตามคำเชิญของผู้สนใจปัญหาของประเทศไทย และได้พบปะกับนักวิชาการ นักคิด สื่อมวลชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐว่า มีการพูดคุยถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยืนยันว่าผู้ที่มาชุมนุมไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่เขามาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทางรัฐสภาสหรัฐจะออกมติสนับสนุนการแก้ปัญหาการเมืองไทย โดยการเจรจาและสนับสนุนแผนโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้รวมถึงเนื้อหาในโรดแม็พ เนื่องจากโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนปฏิรูประยะยาวที่ต้องทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปฏิรูปสื่อ แต่กลับยังมีการปิดเว็บไซต์และวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดง
“สิ่งที่ผมคิดว่าประเทศไทยจะปรองดองกันได้ต้องอาศัยความจริงใจจากรัฐบาล โดยพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คืนเสรีภาพให้กับผู้ที่โดนตั้งข้อกล่าวหาเรื่องทางการเมือง และให้รีบตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่ถูกคุมขัง ไม่ใช่กักตัวไว้อย่างเดียวโดยที่ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา”
พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาเพื่อการปฏิรูปที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น นายอภิสิทธิ์ได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป พ.ศ. 2553 มีงบประมาณรองรับปีละ 200 ล้านบาท หากทำงาน 3 ปี ใช้งบ 600 ล้านบาท เพื่อสร้างความฝันปฏิรูปประเทศให้เป็นจริง
ขณะที่ความหมายคำว่า “ปฏิรูป” ก็ครอบจักรวาลคือ “การใดๆที่กระทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบคุณค่าของสังคม ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบภาษีและการเงินการคลัง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบยุติธรรม ระบบการเมืองและการจัดการภาครัฐ ระบบการสื่อสาร ระบบสุขภาพ ระบบสวัสดิการสังคม และระบบอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มสุขภาวะ ความเข้มแข็ง และความเป็นธรรมในสังคม”
ส่วน “สมัชชาปฏิรูป” หมายความว่า “กระบวนการทางสังคมที่ให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างหลากหลายและกว้างขวางบนฐานของปัญญา ความรู้ และความสมานฉันท์ โดยมีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การมีข้อเสนอเชิงนโยบายให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติหรือนำไปพิจารณากำหนดเป็นนโยบายสาธารณะสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย”
ชาติหน้าไม่แน่?
นิยามการปฏิรูปที่ครอบจักรวาลนั้น แม้แต่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังย้อนถามถึงการตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง และคณะกรรมการปฏิรูปเพื่อการปรองดองว่า ชาตินี้ไม่แน่ว่าจะปรองดองกันได้หรือเปล่า และไม่รู้ว่ารัฐบาลตั้งขึ้นมาทำไม ตั้งขึ้นมาเป็นประโยชน์อะไร
เช่นเดียวกับนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ก็ไม่เชื่อว่าการปรองดองจะสำเร็จ ถ้ารัฐบาลต้องการทำให้สำเร็จอาจเสนอเป็น พ.ร.บ.การปรองดองแห่งชาติ หรือเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เหมือนสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กลไกรัฐรับเรื่องไปปฏิบัติ
“แต่กรณีนี้ไม่ใช่ สถานะทางกฎหมายของการปรองดองไม่มีเลย ถ้านายกฯไปหรือเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลเราไม่มีทางรู้ว่าแผนการปรองดองจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่”
หากรัฐบาลมีความจริงใจ อย่างแรกรัฐบาลต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องนิรโทษกรรมคนเสื้อแดงที่อยู่ระหว่างการรับโทษ 300-400 คน ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่การกระทำจริงๆไม่มีอะไรผิด แต่ต้องไม่นิรโทษกรรมทั้งแพ็กเกจ ต้องไม่นิรโทษกรรมคนฆ่าประชาชน เพราะแนวโน้มส่วนใหญ่จะเป็นการนิรโทษกรรมหมกเม็ด ขณะเดียวกันการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บต้องนำมาพิสูจน์ให้ชัดเจน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดก็ต้องลงโทษ
“มิสเตอร์คลีน”
ไม่ใช่การสร้างความปรองดองเพื่อต้องการสร้างภาพให้นายอภิสิทธิ์เป็น “มิสเตอร์คลีน” เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความซื่อสัตย์ทสุจริตและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะภาพของนายอภิสิทธิ์ในสายตานักวิชาการ สื่อ และองค์กรภาคประชาชนจำนวนมากนั้นหมดภาวะความเป็นผู้นำไปแล้วนับตั้งแต่มีคำสั่งให้ทหารปราบปรามประชาชน
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ยังไม่แสดงความรับผิดชอบและไม่ออกมากล่าวคำขอโทษต่อประชาชนเลย แต่กลับพยายามสร้างความชอบธรรมเพื่อให้ตนเองได้อยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด ขณะที่ผลงานของรัฐบาลก็ล้มเหลว ทั้งยังถูกครหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยนายอภิสิทธิ์ไม่กล้าจัด การกับรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทุจริตตามที่ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อ เพราะกลัวกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
โคตรประชานิยม
ขณะเดียวกันนายอภิสิทธิ์อาศัยอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณมหาศาลขยายเวลานโยบายประชานิยม โดยมีมติต่ออายุมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ค่ารถเมล์ รถไฟ และค่าไฟฟ้าต่อไปจนถึงสิ้นปี 2553 และเตรียมใช้เป็นมาตรการตลอดชีพ โดยจะปรับเข้าสู่ระบบรัฐวิสาหกิจ แถมยังให้ตรึงราคาก๊าซแอลพีจี-เอ็นจีวี และค่าเอฟที ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณจากเงินภาษีประชาชนกว่า 30,000 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้รัฐบาลอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ให้โบนัสข้าราชการ ลดภาษีเงินกู้ แจกเงิน แจกของ ปูพรมสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่างๆ หรือแม้แต่พาคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและ อบจ. 75 จังหวัดไปทัวร์หรูต่างประเทศ ล้วนแล้วแต่เป็นการผลาญเงินงบประมาณ และเหมือนเป็นการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า จนถูกเรียกว่า “โคตรประชานิยม” โดยพยายามขายความฝันลมๆแล้งๆให้ประชาชนเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์สามารถทำให้ประเทศไทยเป็น “รัฐสวัสดิการ” ได้ แทนที่จะแก้ปัญหาที่รากเหง้า คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และชนชั้นในสังคม และความอยุติธรรมของรัฐบาลขณะนี้
แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังออกมาติงการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ รวมถึงพยุงราคาก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีว่าอาจทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาดที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจได้ แม้จะเป็นความตั้งใจของรัฐบาลในการดูแลค่าครองชีพของประชาชน แต่มาตรการต่างๆไม่ควรใช้นานเกินไป ควรปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาด
ศอฉ. ถลุงงบกว่า 5,000 ล้าน
ไม่ว่านายอภิสิทธิ์จะพยายามสร้างภาพและสร้างความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปอย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ยังถูกบันทึกว่าเป็น “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” อยู่ดี เช่นเดียวกับผู้นำกองทัพที่รับผิดชอบการปฏิบัติการที่ไม่อาจปฏิเสธว่าทหารฆ่าและทำร้ายประชาชนได้ เหมือนการทุจริตคอร์รัปชันที่ดูเหมือนจะเงียบหายไป ไม่ว่าจะเป็นไม้ล้างป่าช้า “จีที 200” เรือเหาะ และการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆ
แม้แต่ค่าใช้จ่ายของ ศอฉ. ที่คาดว่าจะมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท นับตั้งแต่กองทัพเข้ามารักษาความสงบเมื่อวันที่ 12-22 มีนาคม มีค่าใช้จ่ายประมาณ 280 ล้านบาท หรือประมาณวันละ 30-40 ล้านบาท แต่หลังจากขยายเวลาและเพิ่มกำลังพลจาก 50,000 คน เป็น 64,000 คน ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม-30 พฤษภาคม และวันประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว รวมยอดค่าใช้จ่ายประมาณ 3,400 ล้านบาท (เฉพาะเบี้ยเลี้ยง) แต่เมื่อรวมการเบิกจ่ายเป็นล็อตๆในรูปแบบงบสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็น รวมถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายย่อยอื่นๆ มียอดค่าใช้จ่ายสูงกว่า 5,000 ล้านบาท และหากยังมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อคาดว่าค่าใช้จ่ายจะยังมีต่อไป
ดีเอสไอปลุกผีคดีล้มเจ้า
ดังนั้น การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ใช่แค่ทำให้นายอภิสิทธิ์สามารถใช้อำนาจได้เยี่ยงรัฐบาลเผด็จการทหารเท่านั้น ยังทำให้นายอภิสิทธิ์และพรรคร่วมรัฐบาลสามารถใช้เงินงบประมาณเพื่อสร้างคะแนนเสียงและกลบเกลื่อนเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันอีกด้วย
แม้แต่แผนปรองดองก็สามารถดึงนายอานันท์และ นพ.ประเวศมาเป็นกันชนให้ได้ อีกด้านหนึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. กลับพยายามให้ข่าวเรื่องการก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป
ล่าสุด ศอฉ. ยังมีการพิจารณาคดีล้มเจ้า โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ. มอบหมายให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน โดยมีคำสั่งให้สนธิกำลัง 19 หน่วยงานนำข้อมูลมารวมกันแล้วตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 9 ชุดคือ ชุดการข่าว ชุดเทคโนโลยีสารสนเทศ ชุดการเงิน ชุดคดีการต่างประเทศ ชุดคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชุดที่ ศอฉ. ตั้งขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งมี 2 ชุด ชุดเลขาธิการ และชุดฝ่ายอำนวยการและสนับสนุน สอบสวนตามแผนผังกลุ่มขบวนการล้มเจ้าที่ ศอฉ. เคยแจกจ่าย
ปลุกผีจนกลัวเงาตัวเอง
ดังนั้น การที่นายสุเทพและ ศอฉ. ยืนยันว่ากรุงเทพฯยังเป็นพื้นที่ล่อแหลมถึง 68 จุด จึงไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยสั่งคุมเข้มคลังน้ำมันตลอด 24 ชั่วโมง หลังเกิดการยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีการตั้งคำถาม ศอฉ. ทันทีว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ เพราะถังน้ำมันเป็นถังเปล่า ซึ่งผู้ลงมือต้องรู้ข้อมูลภายในเป็นอย่างดี
รวมทั้งการให้ ศอฉ. ตรวจสอบการระงับธุรกรรมทางการเงินของ 83 บัญชีดำที่เชื่อว่ามีการเคลื่อนไหวส่งท่อน้ำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และการให้ดีเอสไอเดินหน้าคดีล้มเจ้า จึงเหมือนการปูพรมไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามครั้งใหญ่อีกครั้ง แม้ข้อกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายหรือล้มเจ้า จนขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน นอกจากการเอาข้อมูลและหลักฐานต่างๆมาโยงกัน เช่น กรณีไอ้โม่งชุดดำยังไม่สามารถจับตัวได้ มือเผาศูนย์การค้าก็ยังจับไม่ได้
โดยเฉพาะคดีล้มเจ้าที่ถูกนำมาปลุกระดมอีกครั้งนั้นไม่ต่างอะไรกับการปลุกผีขึ้นมาเล่นงานคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามที่นำรายชื่อมาเชื่อมโยงในแผนผังของ ศอฉ. จนถูกวิพากษ์วิจารณ์และแดกดันให้เป็นนวนิยายรางวัลยอดเยี่ยมแห่งปี
ขณะที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อในแผนผัง เขียนบทความประชดนายอภิสิทธิ์ว่าเหมือนเป็นการสร้าง “ภาพละครแขวนคอ” ย้อนไปครั้ง 6 ตุลา ที่กลุ่มขวาจัดใช้กล่าวหานักศึกษาและนำไปสู่การสังหารโหด
เช่นเดียวกับนายไมเคิล มอนติซาโน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย สถาบันศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สิงคโปร์ วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่าใช้การข่มขู่โดยอ้างความชอบธรรมในระบบเผด็จการอย่างเบ็ดเสร็จอย่างในอดีต ที่ออกแบบด้วยนโยบายชวนเชื่อสุดโต่ง ซึ่งยิ่งสร้างกระแสความเกลียดชังให้รุนแรงเหมือนเหตุการณ์ในอดีตเมื่อสองหรือสามทศวรรษที่ผ่านมา
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงไม่ต่างอะไรกับการย่ำไปบนซากศพและกองเลือดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้วาทกรรมตอแหลต่างๆสร้างผีร้ายขึ้นมา เพื่อทำลายล้างศัตรูทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นระบอบทักษิณ ขอพื้นที่คืน กระชับวงล้อม ผู้ก่อการร้ายและล้มเจ้า ซึ่งในที่สุดก็จะย้อนกลับเข้าหาตัวเอง
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงเหมือนพยายามหนีเงาตัวเองจากซากศพและกองเลือดของคนเสื้อแดง ซึ่งจับยัดใส่หม้อแลัวเอาผ้ายันต์มาผูกปิดไว้ แต่กลับกลัว “ผีก่อการร้าย” และ “ผีล้มเจ้า” ที่เขียนขึ้นมาเอง ซึ่งจะตามหลอกหลอนนายอภิสิทธิ์ไปจนชั่วลูกชั่วหลาน!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 266 วันที่ วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 8 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
บางครั้งตั้งคำถามว่าถ้าไม่มีกองทัพปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรัฐบาล นายกฯชื่ออภิสิทธิ์กองทัพจะเป็นอย่างไร สองคำถามนี้ทำให้เห็นว่าเขาเอื้อกัน พึ่งพาพึ่งพิงกันอย่างแน่น แฟ้นและด้วยดีพอสมควร”
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนา “แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่าสถานะการเมืองไทยขณะนี้ “พูดยาก เขียนลำบาก และน้ำท่วมปาก” ถ้าใครเห็นต่างจากรัฐบาลจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แม้แต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ นักลงทุน นักท่องเที่ยว ทูตานุทูต มูลนิธิ และองค์กรระหว่างประเทศที่สังเกตการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ได้แสดงความคิดเห็นจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับโดยตรงมาเปิดเผยยังถูกตำหนิว่าไม่เข้าใจประเทศไทย มีอคติ ลำเอียง หวังร้าย หรือถูก พ.ต.ท.ทักษิณว่าจ้างมา
เผด็จการอำพราง
ความเห็นของนายฐิตินันท์ไม่ได้แตกต่างจากนักวิชาการ ภาคประชาชน และสื่อต่างประเทศที่วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะนี้ว่าไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการที่ใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งมีอำนาจมากมาย ทั้งคุ้มครองการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย แม้แต่ตุลาการยังถูกมองว่าไม่มีอำนาจหรือไม่เข้ามาถ่วงดุลและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เกิดจากการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต ฉะนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ต่างอะไรกับกฎหมายโจราธิปัตย์ของคณะปฏิวัติรัฐประหาร แต่ศาลกลับยอมรับอำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้อำนาจคณะปฏิวัติรัฐประหารจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตาม
นักวิชาการและภาคประชาชนจึงไม่แปลกใจที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและข่มขู่ประชาชน รวมถึงฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลตลอดเวลา เพราะอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถกล่าวหา จับกุม ควบคุมธุรกรรมทางการเงิน หรือเรียกบุคคลใดมาสอบสวนก็ได้ แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ตาม เพียงแค่รัฐบาลและ ศอฉ. เชื่อหรือสงสัยว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐบาล
โดยเฉพาะการยัดเยียดข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายหรือล้มสถาบัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลและ ศอฉ. ใช้สื่อของรัฐและสื่อกระแสหลักให้ข่าว โฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเชื่อและเกลียดชังคนเสื้อแดงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ที่ ศอฉ. มีคำสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธสงครามสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย แม้รัฐบาลจะใช้ถ้อยคำสวยหรูว่า “ขอพื้นที่คืน” ก็ตาม
องค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ สื่อต่างชาติ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ต่างประณามว่าเป็นการฆ่าและทำร้ายประชาชนอย่างโหดเหี้ยม รวมถึงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ไม่มีทีท่าว่าจะแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเลย แม้จะถูกกระแสสังคมกดดันจากทั้งภายในและภายนอกอย่างมากมายก็ตาม
“จลาจล” ไม่ใช่ “ก่อการร้าย”
ที่สำคัญข้อกล่าวหา “ผู้ก่อการร้าย” ที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้กวาดล้างและจับกุมคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้าม โดยพยายามอ้างถึง “ไอ้โม่งชุดดำ” การเผาศูนย์การค้าและสถานที่ต่างๆกลางกรุงเทพฯนั้น แม้แต่บริษัทประกันภัยก็ไม่ยอมรับและไม่ยอมจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย โดยระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแค่การจลาจล ไม่ใช่การก่อการร้าย
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐ-มนตรี ก็ไม่สามารถชี้แจงหรืออธิบายความหมายของคำว่า “ผู้ก่อการร้าย” ให้แก่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ได้ โดยโยนให้ไปชี้ขาดกันที่กระบวนการทางศาล
สอดคล้องกับกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กล่าวถึงการเดินทางไปสหรัฐตามคำเชิญของผู้สนใจปัญหาของประเทศไทย และได้พบปะกับนักวิชาการ นักคิด สื่อมวลชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐว่า มีการพูดคุยถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยืนยันว่าผู้ที่มาชุมนุมไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่เขามาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทางรัฐสภาสหรัฐจะออกมติสนับสนุนการแก้ปัญหาการเมืองไทย โดยการเจรจาและสนับสนุนแผนโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้รวมถึงเนื้อหาในโรดแม็พ เนื่องจากโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนปฏิรูประยะยาวที่ต้องทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปฏิรูปสื่อ แต่กลับยังมีการปิดเว็บไซต์และวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดง
“สิ่งที่ผมคิดว่าประเทศไทยจะปรองดองกันได้ต้องอาศัยความจริงใจจากรัฐบาล โดยพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คืนเสรีภาพให้กับผู้ที่โดนตั้งข้อกล่าวหาเรื่องทางการเมือง และให้รีบตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่ถูกคุมขัง ไม่ใช่กักตัวไว้อย่างเดียวโดยที่ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา”
พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาเพื่อการปฏิรูปที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น นายอภิสิทธิ์ได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป พ.ศ. 2553 มีงบประมาณรองรับปีละ 200 ล้านบาท หากทำงาน 3 ปี ใช้งบ 600 ล้านบาท เพื่อสร้างความฝันปฏิรูปประเทศให้เป็นจริง
ขณะที่ความหมายคำว่า “ปฏิรูป” ก็ครอบจักรวาลคือ “การใดๆที่กระทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบคุณค่าของสังคม ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบภาษีและการเงินการคลัง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบยุติธรรม ระบบการเมืองและการจัดการภาครัฐ ระบบการสื่อสาร ระบบสุขภาพ ระบบสวัสดิการสังคม และระบบอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มสุขภาวะ ความเข้มแข็ง และความเป็นธรรมในสังคม”
ส่วน “สมัชชาปฏิรูป” หมายความว่า “กระบวนการทางสังคมที่ให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างหลากหลายและกว้างขวางบนฐานของปัญญา ความรู้ และความสมานฉันท์ โดยมีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การมีข้อเสนอเชิงนโยบายให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติหรือนำไปพิจารณากำหนดเป็นนโยบายสาธารณะสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย”
ชาติหน้าไม่แน่?
นิยามการปฏิรูปที่ครอบจักรวาลนั้น แม้แต่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังย้อนถามถึงการตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง และคณะกรรมการปฏิรูปเพื่อการปรองดองว่า ชาตินี้ไม่แน่ว่าจะปรองดองกันได้หรือเปล่า และไม่รู้ว่ารัฐบาลตั้งขึ้นมาทำไม ตั้งขึ้นมาเป็นประโยชน์อะไร
เช่นเดียวกับนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ก็ไม่เชื่อว่าการปรองดองจะสำเร็จ ถ้ารัฐบาลต้องการทำให้สำเร็จอาจเสนอเป็น พ.ร.บ.การปรองดองแห่งชาติ หรือเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เหมือนสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กลไกรัฐรับเรื่องไปปฏิบัติ
“แต่กรณีนี้ไม่ใช่ สถานะทางกฎหมายของการปรองดองไม่มีเลย ถ้านายกฯไปหรือเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลเราไม่มีทางรู้ว่าแผนการปรองดองจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่”
หากรัฐบาลมีความจริงใจ อย่างแรกรัฐบาลต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องนิรโทษกรรมคนเสื้อแดงที่อยู่ระหว่างการรับโทษ 300-400 คน ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่การกระทำจริงๆไม่มีอะไรผิด แต่ต้องไม่นิรโทษกรรมทั้งแพ็กเกจ ต้องไม่นิรโทษกรรมคนฆ่าประชาชน เพราะแนวโน้มส่วนใหญ่จะเป็นการนิรโทษกรรมหมกเม็ด ขณะเดียวกันการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บต้องนำมาพิสูจน์ให้ชัดเจน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดก็ต้องลงโทษ
“มิสเตอร์คลีน”
ไม่ใช่การสร้างความปรองดองเพื่อต้องการสร้างภาพให้นายอภิสิทธิ์เป็น “มิสเตอร์คลีน” เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความซื่อสัตย์ทสุจริตและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะภาพของนายอภิสิทธิ์ในสายตานักวิชาการ สื่อ และองค์กรภาคประชาชนจำนวนมากนั้นหมดภาวะความเป็นผู้นำไปแล้วนับตั้งแต่มีคำสั่งให้ทหารปราบปรามประชาชน
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ยังไม่แสดงความรับผิดชอบและไม่ออกมากล่าวคำขอโทษต่อประชาชนเลย แต่กลับพยายามสร้างความชอบธรรมเพื่อให้ตนเองได้อยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด ขณะที่ผลงานของรัฐบาลก็ล้มเหลว ทั้งยังถูกครหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยนายอภิสิทธิ์ไม่กล้าจัด การกับรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทุจริตตามที่ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อ เพราะกลัวกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
โคตรประชานิยม
ขณะเดียวกันนายอภิสิทธิ์อาศัยอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณมหาศาลขยายเวลานโยบายประชานิยม โดยมีมติต่ออายุมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ค่ารถเมล์ รถไฟ และค่าไฟฟ้าต่อไปจนถึงสิ้นปี 2553 และเตรียมใช้เป็นมาตรการตลอดชีพ โดยจะปรับเข้าสู่ระบบรัฐวิสาหกิจ แถมยังให้ตรึงราคาก๊าซแอลพีจี-เอ็นจีวี และค่าเอฟที ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณจากเงินภาษีประชาชนกว่า 30,000 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้รัฐบาลอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ให้โบนัสข้าราชการ ลดภาษีเงินกู้ แจกเงิน แจกของ ปูพรมสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่างๆ หรือแม้แต่พาคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและ อบจ. 75 จังหวัดไปทัวร์หรูต่างประเทศ ล้วนแล้วแต่เป็นการผลาญเงินงบประมาณ และเหมือนเป็นการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า จนถูกเรียกว่า “โคตรประชานิยม” โดยพยายามขายความฝันลมๆแล้งๆให้ประชาชนเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์สามารถทำให้ประเทศไทยเป็น “รัฐสวัสดิการ” ได้ แทนที่จะแก้ปัญหาที่รากเหง้า คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และชนชั้นในสังคม และความอยุติธรรมของรัฐบาลขณะนี้
แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังออกมาติงการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ รวมถึงพยุงราคาก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีว่าอาจทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาดที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจได้ แม้จะเป็นความตั้งใจของรัฐบาลในการดูแลค่าครองชีพของประชาชน แต่มาตรการต่างๆไม่ควรใช้นานเกินไป ควรปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาด
ศอฉ. ถลุงงบกว่า 5,000 ล้าน
ไม่ว่านายอภิสิทธิ์จะพยายามสร้างภาพและสร้างความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปอย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ยังถูกบันทึกว่าเป็น “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” อยู่ดี เช่นเดียวกับผู้นำกองทัพที่รับผิดชอบการปฏิบัติการที่ไม่อาจปฏิเสธว่าทหารฆ่าและทำร้ายประชาชนได้ เหมือนการทุจริตคอร์รัปชันที่ดูเหมือนจะเงียบหายไป ไม่ว่าจะเป็นไม้ล้างป่าช้า “จีที 200” เรือเหาะ และการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆ
แม้แต่ค่าใช้จ่ายของ ศอฉ. ที่คาดว่าจะมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท นับตั้งแต่กองทัพเข้ามารักษาความสงบเมื่อวันที่ 12-22 มีนาคม มีค่าใช้จ่ายประมาณ 280 ล้านบาท หรือประมาณวันละ 30-40 ล้านบาท แต่หลังจากขยายเวลาและเพิ่มกำลังพลจาก 50,000 คน เป็น 64,000 คน ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม-30 พฤษภาคม และวันประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว รวมยอดค่าใช้จ่ายประมาณ 3,400 ล้านบาท (เฉพาะเบี้ยเลี้ยง) แต่เมื่อรวมการเบิกจ่ายเป็นล็อตๆในรูปแบบงบสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็น รวมถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายย่อยอื่นๆ มียอดค่าใช้จ่ายสูงกว่า 5,000 ล้านบาท และหากยังมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อคาดว่าค่าใช้จ่ายจะยังมีต่อไป
ดีเอสไอปลุกผีคดีล้มเจ้า
ดังนั้น การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ใช่แค่ทำให้นายอภิสิทธิ์สามารถใช้อำนาจได้เยี่ยงรัฐบาลเผด็จการทหารเท่านั้น ยังทำให้นายอภิสิทธิ์และพรรคร่วมรัฐบาลสามารถใช้เงินงบประมาณเพื่อสร้างคะแนนเสียงและกลบเกลื่อนเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันอีกด้วย
แม้แต่แผนปรองดองก็สามารถดึงนายอานันท์และ นพ.ประเวศมาเป็นกันชนให้ได้ อีกด้านหนึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. กลับพยายามให้ข่าวเรื่องการก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป
ล่าสุด ศอฉ. ยังมีการพิจารณาคดีล้มเจ้า โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ. มอบหมายให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน โดยมีคำสั่งให้สนธิกำลัง 19 หน่วยงานนำข้อมูลมารวมกันแล้วตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 9 ชุดคือ ชุดการข่าว ชุดเทคโนโลยีสารสนเทศ ชุดการเงิน ชุดคดีการต่างประเทศ ชุดคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชุดที่ ศอฉ. ตั้งขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งมี 2 ชุด ชุดเลขาธิการ และชุดฝ่ายอำนวยการและสนับสนุน สอบสวนตามแผนผังกลุ่มขบวนการล้มเจ้าที่ ศอฉ. เคยแจกจ่าย
ปลุกผีจนกลัวเงาตัวเอง
ดังนั้น การที่นายสุเทพและ ศอฉ. ยืนยันว่ากรุงเทพฯยังเป็นพื้นที่ล่อแหลมถึง 68 จุด จึงไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยสั่งคุมเข้มคลังน้ำมันตลอด 24 ชั่วโมง หลังเกิดการยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีการตั้งคำถาม ศอฉ. ทันทีว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ เพราะถังน้ำมันเป็นถังเปล่า ซึ่งผู้ลงมือต้องรู้ข้อมูลภายในเป็นอย่างดี
รวมทั้งการให้ ศอฉ. ตรวจสอบการระงับธุรกรรมทางการเงินของ 83 บัญชีดำที่เชื่อว่ามีการเคลื่อนไหวส่งท่อน้ำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และการให้ดีเอสไอเดินหน้าคดีล้มเจ้า จึงเหมือนการปูพรมไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามครั้งใหญ่อีกครั้ง แม้ข้อกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายหรือล้มเจ้า จนขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน นอกจากการเอาข้อมูลและหลักฐานต่างๆมาโยงกัน เช่น กรณีไอ้โม่งชุดดำยังไม่สามารถจับตัวได้ มือเผาศูนย์การค้าก็ยังจับไม่ได้
โดยเฉพาะคดีล้มเจ้าที่ถูกนำมาปลุกระดมอีกครั้งนั้นไม่ต่างอะไรกับการปลุกผีขึ้นมาเล่นงานคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามที่นำรายชื่อมาเชื่อมโยงในแผนผังของ ศอฉ. จนถูกวิพากษ์วิจารณ์และแดกดันให้เป็นนวนิยายรางวัลยอดเยี่ยมแห่งปี
ขณะที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อในแผนผัง เขียนบทความประชดนายอภิสิทธิ์ว่าเหมือนเป็นการสร้าง “ภาพละครแขวนคอ” ย้อนไปครั้ง 6 ตุลา ที่กลุ่มขวาจัดใช้กล่าวหานักศึกษาและนำไปสู่การสังหารโหด
เช่นเดียวกับนายไมเคิล มอนติซาโน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย สถาบันศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สิงคโปร์ วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่าใช้การข่มขู่โดยอ้างความชอบธรรมในระบบเผด็จการอย่างเบ็ดเสร็จอย่างในอดีต ที่ออกแบบด้วยนโยบายชวนเชื่อสุดโต่ง ซึ่งยิ่งสร้างกระแสความเกลียดชังให้รุนแรงเหมือนเหตุการณ์ในอดีตเมื่อสองหรือสามทศวรรษที่ผ่านมา
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงไม่ต่างอะไรกับการย่ำไปบนซากศพและกองเลือดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้วาทกรรมตอแหลต่างๆสร้างผีร้ายขึ้นมา เพื่อทำลายล้างศัตรูทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นระบอบทักษิณ ขอพื้นที่คืน กระชับวงล้อม ผู้ก่อการร้ายและล้มเจ้า ซึ่งในที่สุดก็จะย้อนกลับเข้าหาตัวเอง
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงเหมือนพยายามหนีเงาตัวเองจากซากศพและกองเลือดของคนเสื้อแดง ซึ่งจับยัดใส่หม้อแลัวเอาผ้ายันต์มาผูกปิดไว้ แต่กลับกลัว “ผีก่อการร้าย” และ “ผีล้มเจ้า” ที่เขียนขึ้นมาเอง ซึ่งจะตามหลอกหลอนนายอภิสิทธิ์ไปจนชั่วลูกชั่วหลาน!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 266 วันที่ วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 8 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ปฏิกริยาต่อบันทึกของ วิสา คัญทัพ (บุรุษผู้หนีทัพ-กวีหนีประชา)
**************************************************************************************************
โดย เพ็ญแข กงสวรรณ
*******************************************************************************************************
ดิฉันมีข้อสงสัยดังนี้
1. คุณและไพจิตร อักษรณรงค์ ยอมเห็นคนตายอีกไม่ได้ แล้วคุณเคยคิดไหมว่าคนที่อยู่ที่นั่นก็ไม่อยากเห็นคนตายอีก ดิฉันหมายถึงมวลชนไม่ใช่แกนนำ
เค้ามิอาจทิ้งเพื่อน ๆ ไปได้เค้าต้องอยู่เพื่อปกป้อง เพราะมวลชนส่วนใหญ่ตอนนั้นไม่ยอมแพ้ ดิฉันคิดว่าในความสูญเสียเรากลับได้เห็นเป็นครั้งแรกว่านี่คือคำสั่งประชาชนที่แท้จริง เป็นครั้งแรกที่เค้าไม่ยอมแกนนำสั่งอีกต่อไป และเป็นครั้งแรกที่มวลชนมีความคิดล้ำหน้าแกนนำอย่างพวกคุณ
2. ทำไมดิฉันพูดเช่นนั้น เพราะพวกคุณไม่เคยฟังเสียงมวลชน พวกคุณฟังเสียงกันเองเพียงไม่กี่คน ทั้ง ๆ ที่พวกเค้าเป็นพวกที่ต้องตาย ซึ่งหมายถึงตายได้ทุกเมื่อ ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีการ์ดคอยคุมอย่างพวกคุณ แต่เค้าก็ไม่ถอยเพียงเพราะไม่อยากถอย เค้าไม่ถอยเพียงเพราะเป็นห่วงเพื่อนร่วมทาง แล้วพวกแกนนำอย่างคุณอยู่ไหน?
3. ทำไมดิฉันพูดเช่นนี้น เพราะ ที่คุณมีความจริงใจอย่างที่ปากพูดที่ว่า วีระ มุสิกพงศ์ ตัวคุณวิสา และคุณไพจิตร อักษรณรงค์ คุณอดิศร เพียรเกษ ตัดสินใจลงสถานีเดียวกัน เพราะลงขบวนรถไฟไป เหตุเพราะข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" บรรลุแล้ว ทำไมคุณไปไม่บอกกล่าวมวลชนที่คุณพร่ำรักนักรักหนา ห่วงใยอย่างที่สุด เพียงกล่าวลายังไม่กล้า เพราะคุณกลัวโดนโห่ไล่ใช่หรือไม่ หรือพวกคุณขี้ขลาดเกินกว่าจะเผชิญหน้ากับมวลชน
--------------------------------------
หยุดอาจมีความหมายว่าไม่หยุด
หยุดเพราะแท้ที่สุด หาหยุดไม่
หยุดการตาย เพื่อให้อยู่ สู้ต่อไป
หยุดสงวนกำลังไว้ใช้อีกนาน
-------------------------------------
สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากบอกไปยังคุณ อดิศร เพียรเกษ ที่ดิฉันชื่นชมที่เป็นคนตัวใหญ่แต่มองเห็นหัวคนตัวเล็ก อุตส่าห์แต่งเพลงให้คุณตีนโต ทั้งที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง แต่ตอนนี้ดิฉันอยากถามว่า ตอนคุณตีนโตเข้าโรงพยาบาลได้กล่าวว่า ผมไม่อยากแพ้ ถึงตอนนี้คุณจะบอกกับวิญญาณเค้าอย่างไรว่าคุณลงสถานีก่อนหน้านี้ไปแล้ว
นี้เพียงความในใจความดิฉันคนที่รักพวกคุณ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ด้วยความเครารพ ดิฉันขอตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมมาอธิบายพรรณาเอาตอนนี้ หรือพวกคุณจะกลับมาสู้ต่อ ถ้าเป็นอย่างนั้นดิฉันจะดีใจอย่างยิ่ง แต่ขอความกรุณาขอให้พวกคุณ 4 คนกลับมาคราวหน้า กรุณามาเป็นมวลชนคนเสื้อแดง แต่อย่าเป็นแกนนำคนเสื้อแดงอีกเลย
ดิฉันหวังทาง thaienews จะกรุณาลงความในใจของคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ที่เพิ่งจะเขียนบทความครั้งแรกได้บอกความในใจนี้ด้วยเถอะคะ
ที่มา.ไทยอีนิวส์
โดย เพ็ญแข กงสวรรณ
เหมือนจะยอม เหมือนจะแพ้ แท้แล้วสู้
นี่คือคำพูดของคุณวิสา คัญทัพ ( อ่านรายละเอียด วิสา คัญทัพ:บันทึกพ่ายแพ้-สรุปบทเรียน ตอน1-2 )
***************************************************************************************************
น้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของมวลชน-ภาพที่มีชื่อเสียงภาพหนึ่งของเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม 53 คือThe last Red shirt เป็นภาพเหตุการณ์ที่ผุสดี งามขำ เสื้อแดงคนสุดท้ายนั่งปักหลักอยู่หน้าเวทีราชประสงค์ ภายหลังแกนนำคือณัฐวุฒิกับจตุพรประกาศยุติการชุมนุมเข้ามอบตัวกับรัฐบาล โดยมวลชนจำนวนมากไม่เห็นด้วย ขณะที่ผุสดีกล่าวภายหลังว่าเธอนั่งปักหลักอยู่เป็นคนสุดท้ายเพื่อเป็นการรักษาคำมั่นสัญญากับแกนนำว่าจะยืนหยัดต่อสู้จนถึงที่สุดไม่ยอมแพ้*******************************************************************************************************
ดิฉันมีข้อสงสัยดังนี้
1. คุณและไพจิตร อักษรณรงค์ ยอมเห็นคนตายอีกไม่ได้ แล้วคุณเคยคิดไหมว่าคนที่อยู่ที่นั่นก็ไม่อยากเห็นคนตายอีก ดิฉันหมายถึงมวลชนไม่ใช่แกนนำ
เค้ามิอาจทิ้งเพื่อน ๆ ไปได้เค้าต้องอยู่เพื่อปกป้อง เพราะมวลชนส่วนใหญ่ตอนนั้นไม่ยอมแพ้ ดิฉันคิดว่าในความสูญเสียเรากลับได้เห็นเป็นครั้งแรกว่านี่คือคำสั่งประชาชนที่แท้จริง เป็นครั้งแรกที่เค้าไม่ยอมแกนนำสั่งอีกต่อไป และเป็นครั้งแรกที่มวลชนมีความคิดล้ำหน้าแกนนำอย่างพวกคุณ
2. ทำไมดิฉันพูดเช่นนั้น เพราะพวกคุณไม่เคยฟังเสียงมวลชน พวกคุณฟังเสียงกันเองเพียงไม่กี่คน ทั้ง ๆ ที่พวกเค้าเป็นพวกที่ต้องตาย ซึ่งหมายถึงตายได้ทุกเมื่อ ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีการ์ดคอยคุมอย่างพวกคุณ แต่เค้าก็ไม่ถอยเพียงเพราะไม่อยากถอย เค้าไม่ถอยเพียงเพราะเป็นห่วงเพื่อนร่วมทาง แล้วพวกแกนนำอย่างคุณอยู่ไหน?
3. ทำไมดิฉันพูดเช่นนี้น เพราะ ที่คุณมีความจริงใจอย่างที่ปากพูดที่ว่า วีระ มุสิกพงศ์ ตัวคุณวิสา และคุณไพจิตร อักษรณรงค์ คุณอดิศร เพียรเกษ ตัดสินใจลงสถานีเดียวกัน เพราะลงขบวนรถไฟไป เหตุเพราะข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" บรรลุแล้ว ทำไมคุณไปไม่บอกกล่าวมวลชนที่คุณพร่ำรักนักรักหนา ห่วงใยอย่างที่สุด เพียงกล่าวลายังไม่กล้า เพราะคุณกลัวโดนโห่ไล่ใช่หรือไม่ หรือพวกคุณขี้ขลาดเกินกว่าจะเผชิญหน้ากับมวลชน
--------------------------------------
หยุดอาจมีความหมายว่าไม่หยุด
หยุดเพราะแท้ที่สุด หาหยุดไม่
หยุดการตาย เพื่อให้อยู่ สู้ต่อไป
หยุดสงวนกำลังไว้ใช้อีกนาน
-------------------------------------
สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากบอกไปยังคุณ อดิศร เพียรเกษ ที่ดิฉันชื่นชมที่เป็นคนตัวใหญ่แต่มองเห็นหัวคนตัวเล็ก อุตส่าห์แต่งเพลงให้คุณตีนโต ทั้งที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง แต่ตอนนี้ดิฉันอยากถามว่า ตอนคุณตีนโตเข้าโรงพยาบาลได้กล่าวว่า ผมไม่อยากแพ้ ถึงตอนนี้คุณจะบอกกับวิญญาณเค้าอย่างไรว่าคุณลงสถานีก่อนหน้านี้ไปแล้ว
นี้เพียงความในใจความดิฉันคนที่รักพวกคุณ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ด้วยความเครารพ ดิฉันขอตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมมาอธิบายพรรณาเอาตอนนี้ หรือพวกคุณจะกลับมาสู้ต่อ ถ้าเป็นอย่างนั้นดิฉันจะดีใจอย่างยิ่ง แต่ขอความกรุณาขอให้พวกคุณ 4 คนกลับมาคราวหน้า กรุณามาเป็นมวลชนคนเสื้อแดง แต่อย่าเป็นแกนนำคนเสื้อแดงอีกเลย
ดิฉันหวังทาง thaienews จะกรุณาลงความในใจของคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ที่เพิ่งจะเขียนบทความครั้งแรกได้บอกความในใจนี้ด้วยเถอะคะ
ที่มา.ไทยอีนิวส์
"พล.อ.ชวลิต" เเนะตั้งรัฐบาลแห่งชาติเเก้ปัญหาประเทศ
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวในงานสัมมนา ส.ส.และผู้สมัคร สส. หัวข้อ “ประชาธิปไตยถูกควบคุมสิทธิ์ แต่ทุจริตปล่อยตามอำเภอใจ” ตอนหนึ่งว่า ปัญหาของชาติในวันนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1. ปัญหาพื้นฐานเรื่องการปกครอง 2. ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดมาในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การเดินขบวน การจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้ สถานการณ์ในบ้านเมืองยังเป็นอย่างนี้ ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่เราต้องเร่งแก้ไข คือ ทำอย่างไรให้เรามีประชาธิปไตยให้ได้ ตอนนี้มีความคิดสองพวก พวกหนึ่งเห็นว่าต้องแก้ระบบ หรือ ระบอบ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ทั้งที่ความจริงการแก้รัฐธรรมนูญอาจไม่สำคัญสูงสุดขณะนี้ อีกกลุ่มเห็นว่า ถ้าให้บ้านเมืองดี ต้องได้คนดี มีความรู้ ซื่อสัตย์ เสียสละ แต่ที่ผ่านมาเรามีคนดีที่หาที่ติไม่ได้ เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พระยาพหลพลพยุหเสนา เรามีนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนดี แต่ถามว่า ทำไมบ้านเมืองเราทรุดโทรม
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของเราคือ 1. การไม่สามารถสร้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา พวกเราต้องมีหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือนำประเทศกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่เป็นเกียรติประวัติเหมือนในอดีต กระจายอำนาจสู่ประชาชนในระดับล่างให้มากที่สุด 2. บุคคลต้องมีเสรีภาพ 3. ความเสมอภาค 4. หลักนิติธรรม กฎหมาย และ 5. รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน 5 หลักมีความสำคัญเรียงลงมา
สำหรับองค์กรที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหามี 3 องค์กร คือ 1 สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในอดีตสถาบันได้ทุ่มเททำงานทุกอย่างเพื่อพัฒนาการเมืองปกครอง เพื่อเอาอำนาจให้ประชาชน ตั้งแต่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ส่งต่อมายังรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยให้อำนาจกับคณะราษฎร แต่ขอให้คณะราษฎรเอาอำนาจไปให้พี่น้องประชาชน ต่อมาไม่ได้ทำอย่างนั้น มีการทวงถามตลอดที่ไม่สามารถเอาอำนาจพระองค์ท่านไปให้ประชาชน นั่นคือ วิกฤตการเมืองการปกครองครั้งแรก จนเป็นวิกฤตในหลายรูปแบบตามมา
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า หากสถาบันลงมาแก้ปัญหา เราเชื่อว่าจะสามารถลงมาแก้โดยง่าย จึงมีความเห็นในกลุ่มพวกเรา ที่จะถวายอำนาจคืนให้พระเจ้าอยู่หัว สุดท้ายตัวเองนำเสนอเพื่อขอพระบารมีคุ้มครองพวกเราเช่นกัน แต่ไม่เป็นผล 3. สถาบันทหาร เป็นสถาบันที่รับผิดชอบการเมืองการปกครอง แต่ที่ผ่านมาเป็นสถาบันของตัวเอง ยึดอำนาจมาหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถสร้างอำนาจการเมืองการปกครองได้ จนเป็นที่กลัวว่า ไม่อยากให้ทำรัฐประหารเพราะจะทำให้บ้านเมืองตกต่ำเหมือนครั้งล่าสุด และถ้าเมื่อใด เรามีผู้นำทางทหารที่รอบรู้ทางการเมือง ตรงนี้ เราทำได้ ถ้าเขาใช้อำนาจนั้นด้วยความบริสุทธิ์ และสร้างสรรค์ประเทศชาติให้มีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า เมื่อสถาบันทหารแก้ปัญหาไม่ได้ สถาบันที่ 3 ต้องรับผิดชอบ ซึ่งท่านปฏิเสธไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นคือ รัฐบาลที่อยู่ในอำนาจ วันนี้ พรรคเพื่อไทยของเราพยายามเสนอแนวทางแก้ปัญหาหลายครั้ง เบื้องต้นต้องมีสำนึกของความเป็นผู้นำ นายกรัฐมนตรีต้องทำให้รู้สึกว่าผู้ที่ขัดแย้งกับเราคือคนไทยด้วยกัน มันจะเกิดการอโหสิกรรม อภัย ความรัก ความผูกพันธ์ มันจะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องทำอะไร ข้อ 2 ที่เตือนไป ท่านต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ถูก ก่อนเดือนเม.ย.เราเตือนว่า วันนั้นสองฝ่ายกำลังปะทะกัน เมื่อเกิดการสูญเสียแล้วจะอีกนาน 10 ปีถึงจะแก้ไขได้
“การแก้ปัญหาวันนั้นช่วงคอมมิวนิสต์ไม่มีใครชนะ ชนะทั้งคู่ ตอนรบก็แพ้ทั้งคู่ เราเชิญเขามาต่อสู้ในสภา ไม่ใช่ว่าฉันผู้ชนะ เธอคือ ผู้ร้าย ก่อการร้าย เธอคือ คนเลวถ้าทำอย่างนี้ชาติหน้าแก้ได้ นี่คือสิ่งที่สำคัญแล้วไม่ต้องมีอะไรมาก รัฐบาลสามารถแก้ได้นิดเดียว และถ้ารัฐบาลไม่แก้ ก็ไม่มีองค์กรไหนแล้ว นอกจากประชาชนลุกขึ้นมาแก้เอง เมื่อนั้นประชาชนก็ต้องลุกขึ้นมายึดอำนาจ ซึ่งก็คือการสร้างความรุนแรง อย่าโทษประชาชน ตัวท่านเองต้องรับผิดชอบ” พล.อ.ชวลิต กล่าว
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เอาคู่กรณีเข้ามาให้หมด พรรคเพื่อไทยส่งมาเป็น 5 - 10 คน ไม่ต้องตั้งใคร ตั้งมาเพื่อแก้ปัญหา แล้ววางภาระประเทศชาติ รัฐบาลไม่ต้องสร้างอะไร ทำหน้าที่ขจัดความขัดแย้ง และวางฐานะของชาติให้กลับมาใหม่ 36 คนเป็นครม. หรือเอามาเป็น 100 คน ที่เหลือเอามาเป็นผู้ช่วย ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้าน รัฐบาลเฉพาะกาลจะอยู่ 8, 12, 16 เดือน แก้ตรงนี้แล้วยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยืนอยู่กับเราแล้ว จะออกพรก.ฉุกเฉินออกได้ แต่รัฐบาลนี้ร้ายกว่าเผด็จการในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด เราต้องเอาสะเก็ดไฟลามทุ่ง เพื่อมาเป็นไฟกองใหญ่มหาศาลที่มีพลัง วันนี้เขาไม่ต้องการอะไร นอกจากน้ำใจ หัวใจจากพวกเรา ต้องการความผูกพันธ์เหมือนในอดีต ดังนั้น หน้าที่ของพวกเรา คือ ไปกินนอนกับเขา นับแต่วันนี้เราปล่อยประเทศกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้ เราล้าหลังมากแล้ว เกียรติประวัติไม่เหลือ สำหรับนโยบายประชานิยมของพ.ต.ท.ทักษิณ ถือเป็นประชานิยมเฟสที่หนึ่งเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงิน ใครลอกอย่าไปโกรธเขา สนับสนุนให้เขาลอก เพราะทำให้คนจนก้าวหน้า แต่เฟสสอง เราต้องทำให้เกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน ที่มีหนี้ 8 แสนล้านให้หมดไป เราต้องสร้างชีวิตเขาใหม่
ที่มา. Spring News
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของเราคือ 1. การไม่สามารถสร้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา พวกเราต้องมีหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือนำประเทศกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่เป็นเกียรติประวัติเหมือนในอดีต กระจายอำนาจสู่ประชาชนในระดับล่างให้มากที่สุด 2. บุคคลต้องมีเสรีภาพ 3. ความเสมอภาค 4. หลักนิติธรรม กฎหมาย และ 5. รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน 5 หลักมีความสำคัญเรียงลงมา
สำหรับองค์กรที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหามี 3 องค์กร คือ 1 สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในอดีตสถาบันได้ทุ่มเททำงานทุกอย่างเพื่อพัฒนาการเมืองปกครอง เพื่อเอาอำนาจให้ประชาชน ตั้งแต่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ส่งต่อมายังรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยให้อำนาจกับคณะราษฎร แต่ขอให้คณะราษฎรเอาอำนาจไปให้พี่น้องประชาชน ต่อมาไม่ได้ทำอย่างนั้น มีการทวงถามตลอดที่ไม่สามารถเอาอำนาจพระองค์ท่านไปให้ประชาชน นั่นคือ วิกฤตการเมืองการปกครองครั้งแรก จนเป็นวิกฤตในหลายรูปแบบตามมา
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า หากสถาบันลงมาแก้ปัญหา เราเชื่อว่าจะสามารถลงมาแก้โดยง่าย จึงมีความเห็นในกลุ่มพวกเรา ที่จะถวายอำนาจคืนให้พระเจ้าอยู่หัว สุดท้ายตัวเองนำเสนอเพื่อขอพระบารมีคุ้มครองพวกเราเช่นกัน แต่ไม่เป็นผล 3. สถาบันทหาร เป็นสถาบันที่รับผิดชอบการเมืองการปกครอง แต่ที่ผ่านมาเป็นสถาบันของตัวเอง ยึดอำนาจมาหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถสร้างอำนาจการเมืองการปกครองได้ จนเป็นที่กลัวว่า ไม่อยากให้ทำรัฐประหารเพราะจะทำให้บ้านเมืองตกต่ำเหมือนครั้งล่าสุด และถ้าเมื่อใด เรามีผู้นำทางทหารที่รอบรู้ทางการเมือง ตรงนี้ เราทำได้ ถ้าเขาใช้อำนาจนั้นด้วยความบริสุทธิ์ และสร้างสรรค์ประเทศชาติให้มีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า เมื่อสถาบันทหารแก้ปัญหาไม่ได้ สถาบันที่ 3 ต้องรับผิดชอบ ซึ่งท่านปฏิเสธไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นคือ รัฐบาลที่อยู่ในอำนาจ วันนี้ พรรคเพื่อไทยของเราพยายามเสนอแนวทางแก้ปัญหาหลายครั้ง เบื้องต้นต้องมีสำนึกของความเป็นผู้นำ นายกรัฐมนตรีต้องทำให้รู้สึกว่าผู้ที่ขัดแย้งกับเราคือคนไทยด้วยกัน มันจะเกิดการอโหสิกรรม อภัย ความรัก ความผูกพันธ์ มันจะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องทำอะไร ข้อ 2 ที่เตือนไป ท่านต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ถูก ก่อนเดือนเม.ย.เราเตือนว่า วันนั้นสองฝ่ายกำลังปะทะกัน เมื่อเกิดการสูญเสียแล้วจะอีกนาน 10 ปีถึงจะแก้ไขได้
“การแก้ปัญหาวันนั้นช่วงคอมมิวนิสต์ไม่มีใครชนะ ชนะทั้งคู่ ตอนรบก็แพ้ทั้งคู่ เราเชิญเขามาต่อสู้ในสภา ไม่ใช่ว่าฉันผู้ชนะ เธอคือ ผู้ร้าย ก่อการร้าย เธอคือ คนเลวถ้าทำอย่างนี้ชาติหน้าแก้ได้ นี่คือสิ่งที่สำคัญแล้วไม่ต้องมีอะไรมาก รัฐบาลสามารถแก้ได้นิดเดียว และถ้ารัฐบาลไม่แก้ ก็ไม่มีองค์กรไหนแล้ว นอกจากประชาชนลุกขึ้นมาแก้เอง เมื่อนั้นประชาชนก็ต้องลุกขึ้นมายึดอำนาจ ซึ่งก็คือการสร้างความรุนแรง อย่าโทษประชาชน ตัวท่านเองต้องรับผิดชอบ” พล.อ.ชวลิต กล่าว
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เอาคู่กรณีเข้ามาให้หมด พรรคเพื่อไทยส่งมาเป็น 5 - 10 คน ไม่ต้องตั้งใคร ตั้งมาเพื่อแก้ปัญหา แล้ววางภาระประเทศชาติ รัฐบาลไม่ต้องสร้างอะไร ทำหน้าที่ขจัดความขัดแย้ง และวางฐานะของชาติให้กลับมาใหม่ 36 คนเป็นครม. หรือเอามาเป็น 100 คน ที่เหลือเอามาเป็นผู้ช่วย ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้าน รัฐบาลเฉพาะกาลจะอยู่ 8, 12, 16 เดือน แก้ตรงนี้แล้วยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยืนอยู่กับเราแล้ว จะออกพรก.ฉุกเฉินออกได้ แต่รัฐบาลนี้ร้ายกว่าเผด็จการในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด เราต้องเอาสะเก็ดไฟลามทุ่ง เพื่อมาเป็นไฟกองใหญ่มหาศาลที่มีพลัง วันนี้เขาไม่ต้องการอะไร นอกจากน้ำใจ หัวใจจากพวกเรา ต้องการความผูกพันธ์เหมือนในอดีต ดังนั้น หน้าที่ของพวกเรา คือ ไปกินนอนกับเขา นับแต่วันนี้เราปล่อยประเทศกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้ เราล้าหลังมากแล้ว เกียรติประวัติไม่เหลือ สำหรับนโยบายประชานิยมของพ.ต.ท.ทักษิณ ถือเป็นประชานิยมเฟสที่หนึ่งเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงิน ใครลอกอย่าไปโกรธเขา สนับสนุนให้เขาลอก เพราะทำให้คนจนก้าวหน้า แต่เฟสสอง เราต้องทำให้เกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน ที่มีหนี้ 8 แสนล้านให้หมดไป เราต้องสร้างชีวิตเขาใหม่
ที่มา. Spring News
ความอยุติธรรม
บทบรรณาธิการ
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกระแสข่าวการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 40 แห่งทั่วประเทศว่า การข่าวแจ้งว่าอาจมีการลอบวางระเบิดหรือสร้างสถานการณ์อย่างที่เคยเกิดขึ้นภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี จึงสั่งการให้ตำรวจลงพื้นที่ติดตามหาข่าวเพื่อเตรียมมาตรการเฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัย
แต่ที่น่าวิตกคือ พล.ต.อ.ปทีปเปิดเผยว่ามีข่าวลอบสังหารหรือปองร้ายบุคคลสำคัญจริง และได้ส่งกำลังตำรวจเข้าไปคุ้มกันและดูแลความปลอดภัยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตุลาการที่พิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
แม้ พล.ต.อ.ปทีปไม่สามารถให้รายละเอียดว่าจะเป็นการก่อเหตุในลักษณะใดและจุดใด แต่ในที่ประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ประเมินและระบุสถานที่ที่เป็นจุดเสี่ยงในการสร้างสถานการณ์ไว้แล้ว อาทิ สถานที่ราชการและสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งตำรวจจะเข้าไปดูแลความปลอดภัย
ข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง ข่าวเท็จ หรือข่าวสร้างเพื่อหวังผลทางการเมือง หรือเพื่อเป็นเหตุผลในการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าเป็นข่าวที่ยังไม่น่าเชื่อถือ เพราะแม้แต่กรณีการยิงคลังน้ำมันก็มีการกล่าวหาและพาดพิงกันไปมา ตราบใดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ไม่สามารถจับผู้กระทำหรือมีหลักฐานชัดเจน เหมือนกรณีไอ้โม่งชุดดำและคนเผาศูนย์การค้าและอาคารต่างๆใจกลางเมือง ซึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. นำมากล่าวหาและจับกุมฝ่ายตรงข้าม
แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนเกือบ 100 ศพ วันนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยหลักฐานการชันสูตรอย่างเป็นทางการให้ประชาชนทราบ โดยเฉพาะการสังหารโหด 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งหากรัฐบาลและ ศอฉ. ยังปกปิดและไม่รายงานความคืบหน้าให้ประชาชนทราบ การจะสร้างความปรองดองก็เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครเชื่อว่ารัฐบาลมีความจริงใจ
ที่สำคัญการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น รัฐบาลและ ศอฉ. ก็ยังใช้ไล่ล่าและคุกคามคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวไปสอบสวนและอบรมตักเตือน หรือการจับกุมคุมขังอย่างเหวี่ยงแห แม้แต่นักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ทั้งยังยิ่งตอกย้ำให้เกิดความเกลียดชังและโกรธแค้น แทนที่จะเป็นการสร้างความสามัคคี ขณะที่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิก็ไม่สามารถต่อสู้หรือเรียกหาความรับผิดชอบและเรียกร้องความยุติธรรมจากการกระทำของรัฐบาลและ ศอฉ. ได้เลย แม้แต่ผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐสังหารอย่างโหดเหี้ยม
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกระแสข่าวการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 40 แห่งทั่วประเทศว่า การข่าวแจ้งว่าอาจมีการลอบวางระเบิดหรือสร้างสถานการณ์อย่างที่เคยเกิดขึ้นภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี จึงสั่งการให้ตำรวจลงพื้นที่ติดตามหาข่าวเพื่อเตรียมมาตรการเฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัย
แต่ที่น่าวิตกคือ พล.ต.อ.ปทีปเปิดเผยว่ามีข่าวลอบสังหารหรือปองร้ายบุคคลสำคัญจริง และได้ส่งกำลังตำรวจเข้าไปคุ้มกันและดูแลความปลอดภัยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตุลาการที่พิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
แม้ พล.ต.อ.ปทีปไม่สามารถให้รายละเอียดว่าจะเป็นการก่อเหตุในลักษณะใดและจุดใด แต่ในที่ประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ประเมินและระบุสถานที่ที่เป็นจุดเสี่ยงในการสร้างสถานการณ์ไว้แล้ว อาทิ สถานที่ราชการและสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งตำรวจจะเข้าไปดูแลความปลอดภัย
ข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง ข่าวเท็จ หรือข่าวสร้างเพื่อหวังผลทางการเมือง หรือเพื่อเป็นเหตุผลในการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าเป็นข่าวที่ยังไม่น่าเชื่อถือ เพราะแม้แต่กรณีการยิงคลังน้ำมันก็มีการกล่าวหาและพาดพิงกันไปมา ตราบใดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ไม่สามารถจับผู้กระทำหรือมีหลักฐานชัดเจน เหมือนกรณีไอ้โม่งชุดดำและคนเผาศูนย์การค้าและอาคารต่างๆใจกลางเมือง ซึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. นำมากล่าวหาและจับกุมฝ่ายตรงข้าม
แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนเกือบ 100 ศพ วันนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยหลักฐานการชันสูตรอย่างเป็นทางการให้ประชาชนทราบ โดยเฉพาะการสังหารโหด 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งหากรัฐบาลและ ศอฉ. ยังปกปิดและไม่รายงานความคืบหน้าให้ประชาชนทราบ การจะสร้างความปรองดองก็เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครเชื่อว่ารัฐบาลมีความจริงใจ
ที่สำคัญการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น รัฐบาลและ ศอฉ. ก็ยังใช้ไล่ล่าและคุกคามคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวไปสอบสวนและอบรมตักเตือน หรือการจับกุมคุมขังอย่างเหวี่ยงแห แม้แต่นักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ทั้งยังยิ่งตอกย้ำให้เกิดความเกลียดชังและโกรธแค้น แทนที่จะเป็นการสร้างความสามัคคี ขณะที่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิก็ไม่สามารถต่อสู้หรือเรียกหาความรับผิดชอบและเรียกร้องความยุติธรรมจากการกระทำของรัฐบาลและ ศอฉ. ได้เลย แม้แต่ผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐสังหารอย่างโหดเหี้ยม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)