วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วาทกรรมปลุกผี
“ประชาธิปไตยไทยจะมีความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่มากขึ้น รู้สึกว่า ศอฉ. มีพฤติกรรมคล้ายคณะปฏิวัติ เขาจะเรียกใครไปสอบก็ได้ แช่แข็งบัญชีใครก็ได้ เขากักขังคนได้ 7 วัน และต่อเวลาได้ อำนาจของ ศอฉ. น่าเป็นห่วง ซึ่งไม่มีใครตรวจสอบเลย ได้ยินว่า ศอฉ. ใช้เงินมือเติบ ใช้ไปเท่าไรแล้ว ได้ข่าวสมาชิก ศอฉ. ได้สตางค์พิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนเป็นรายวัน โฆษก ศอฉ. ได้เงินพิเศษเป็นรายวันหรือไม่ ขอให้ตรวจสอบ บอกมาว่าได้เท่าไร ไม่อย่างนั้นใครจะตรวจสอบ ศอฉ.
บางครั้งตั้งคำถามว่าถ้าไม่มีกองทัพปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรัฐบาล นายกฯชื่ออภิสิทธิ์กองทัพจะเป็นอย่างไร สองคำถามนี้ทำให้เห็นว่าเขาเอื้อกัน พึ่งพาพึ่งพิงกันอย่างแน่น แฟ้นและด้วยดีพอสมควร”
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนา “แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่าสถานะการเมืองไทยขณะนี้ “พูดยาก เขียนลำบาก และน้ำท่วมปาก” ถ้าใครเห็นต่างจากรัฐบาลจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แม้แต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ นักลงทุน นักท่องเที่ยว ทูตานุทูต มูลนิธิ และองค์กรระหว่างประเทศที่สังเกตการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ได้แสดงความคิดเห็นจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับโดยตรงมาเปิดเผยยังถูกตำหนิว่าไม่เข้าใจประเทศไทย มีอคติ ลำเอียง หวังร้าย หรือถูก พ.ต.ท.ทักษิณว่าจ้างมา
เผด็จการอำพราง
ความเห็นของนายฐิตินันท์ไม่ได้แตกต่างจากนักวิชาการ ภาคประชาชน และสื่อต่างประเทศที่วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะนี้ว่าไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการที่ใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งมีอำนาจมากมาย ทั้งคุ้มครองการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย แม้แต่ตุลาการยังถูกมองว่าไม่มีอำนาจหรือไม่เข้ามาถ่วงดุลและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เกิดจากการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต ฉะนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ต่างอะไรกับกฎหมายโจราธิปัตย์ของคณะปฏิวัติรัฐประหาร แต่ศาลกลับยอมรับอำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้อำนาจคณะปฏิวัติรัฐประหารจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตาม
นักวิชาการและภาคประชาชนจึงไม่แปลกใจที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและข่มขู่ประชาชน รวมถึงฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลตลอดเวลา เพราะอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถกล่าวหา จับกุม ควบคุมธุรกรรมทางการเงิน หรือเรียกบุคคลใดมาสอบสวนก็ได้ แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ตาม เพียงแค่รัฐบาลและ ศอฉ. เชื่อหรือสงสัยว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐบาล
โดยเฉพาะการยัดเยียดข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายหรือล้มสถาบัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลและ ศอฉ. ใช้สื่อของรัฐและสื่อกระแสหลักให้ข่าว โฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเชื่อและเกลียดชังคนเสื้อแดงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ที่ ศอฉ. มีคำสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธสงครามสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย แม้รัฐบาลจะใช้ถ้อยคำสวยหรูว่า “ขอพื้นที่คืน” ก็ตาม
องค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ สื่อต่างชาติ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ต่างประณามว่าเป็นการฆ่าและทำร้ายประชาชนอย่างโหดเหี้ยม รวมถึงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ไม่มีทีท่าว่าจะแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเลย แม้จะถูกกระแสสังคมกดดันจากทั้งภายในและภายนอกอย่างมากมายก็ตาม
“จลาจล” ไม่ใช่ “ก่อการร้าย”
ที่สำคัญข้อกล่าวหา “ผู้ก่อการร้าย” ที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้กวาดล้างและจับกุมคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้าม โดยพยายามอ้างถึง “ไอ้โม่งชุดดำ” การเผาศูนย์การค้าและสถานที่ต่างๆกลางกรุงเทพฯนั้น แม้แต่บริษัทประกันภัยก็ไม่ยอมรับและไม่ยอมจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย โดยระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแค่การจลาจล ไม่ใช่การก่อการร้าย
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐ-มนตรี ก็ไม่สามารถชี้แจงหรืออธิบายความหมายของคำว่า “ผู้ก่อการร้าย” ให้แก่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ได้ โดยโยนให้ไปชี้ขาดกันที่กระบวนการทางศาล
สอดคล้องกับกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กล่าวถึงการเดินทางไปสหรัฐตามคำเชิญของผู้สนใจปัญหาของประเทศไทย และได้พบปะกับนักวิชาการ นักคิด สื่อมวลชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐว่า มีการพูดคุยถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยืนยันว่าผู้ที่มาชุมนุมไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่เขามาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทางรัฐสภาสหรัฐจะออกมติสนับสนุนการแก้ปัญหาการเมืองไทย โดยการเจรจาและสนับสนุนแผนโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้รวมถึงเนื้อหาในโรดแม็พ เนื่องจากโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนปฏิรูประยะยาวที่ต้องทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปฏิรูปสื่อ แต่กลับยังมีการปิดเว็บไซต์และวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดง
“สิ่งที่ผมคิดว่าประเทศไทยจะปรองดองกันได้ต้องอาศัยความจริงใจจากรัฐบาล โดยพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คืนเสรีภาพให้กับผู้ที่โดนตั้งข้อกล่าวหาเรื่องทางการเมือง และให้รีบตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่ถูกคุมขัง ไม่ใช่กักตัวไว้อย่างเดียวโดยที่ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา”
พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาเพื่อการปฏิรูปที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น นายอภิสิทธิ์ได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป พ.ศ. 2553 มีงบประมาณรองรับปีละ 200 ล้านบาท หากทำงาน 3 ปี ใช้งบ 600 ล้านบาท เพื่อสร้างความฝันปฏิรูปประเทศให้เป็นจริง
ขณะที่ความหมายคำว่า “ปฏิรูป” ก็ครอบจักรวาลคือ “การใดๆที่กระทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบคุณค่าของสังคม ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบภาษีและการเงินการคลัง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบยุติธรรม ระบบการเมืองและการจัดการภาครัฐ ระบบการสื่อสาร ระบบสุขภาพ ระบบสวัสดิการสังคม และระบบอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มสุขภาวะ ความเข้มแข็ง และความเป็นธรรมในสังคม”
ส่วน “สมัชชาปฏิรูป” หมายความว่า “กระบวนการทางสังคมที่ให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างหลากหลายและกว้างขวางบนฐานของปัญญา ความรู้ และความสมานฉันท์ โดยมีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การมีข้อเสนอเชิงนโยบายให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติหรือนำไปพิจารณากำหนดเป็นนโยบายสาธารณะสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย”
ชาติหน้าไม่แน่?
นิยามการปฏิรูปที่ครอบจักรวาลนั้น แม้แต่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังย้อนถามถึงการตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง และคณะกรรมการปฏิรูปเพื่อการปรองดองว่า ชาตินี้ไม่แน่ว่าจะปรองดองกันได้หรือเปล่า และไม่รู้ว่ารัฐบาลตั้งขึ้นมาทำไม ตั้งขึ้นมาเป็นประโยชน์อะไร
เช่นเดียวกับนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ก็ไม่เชื่อว่าการปรองดองจะสำเร็จ ถ้ารัฐบาลต้องการทำให้สำเร็จอาจเสนอเป็น พ.ร.บ.การปรองดองแห่งชาติ หรือเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เหมือนสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กลไกรัฐรับเรื่องไปปฏิบัติ
“แต่กรณีนี้ไม่ใช่ สถานะทางกฎหมายของการปรองดองไม่มีเลย ถ้านายกฯไปหรือเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลเราไม่มีทางรู้ว่าแผนการปรองดองจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่”
หากรัฐบาลมีความจริงใจ อย่างแรกรัฐบาลต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องนิรโทษกรรมคนเสื้อแดงที่อยู่ระหว่างการรับโทษ 300-400 คน ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่การกระทำจริงๆไม่มีอะไรผิด แต่ต้องไม่นิรโทษกรรมทั้งแพ็กเกจ ต้องไม่นิรโทษกรรมคนฆ่าประชาชน เพราะแนวโน้มส่วนใหญ่จะเป็นการนิรโทษกรรมหมกเม็ด ขณะเดียวกันการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บต้องนำมาพิสูจน์ให้ชัดเจน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดก็ต้องลงโทษ
“มิสเตอร์คลีน”
ไม่ใช่การสร้างความปรองดองเพื่อต้องการสร้างภาพให้นายอภิสิทธิ์เป็น “มิสเตอร์คลีน” เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความซื่อสัตย์ทสุจริตและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะภาพของนายอภิสิทธิ์ในสายตานักวิชาการ สื่อ และองค์กรภาคประชาชนจำนวนมากนั้นหมดภาวะความเป็นผู้นำไปแล้วนับตั้งแต่มีคำสั่งให้ทหารปราบปรามประชาชน
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ยังไม่แสดงความรับผิดชอบและไม่ออกมากล่าวคำขอโทษต่อประชาชนเลย แต่กลับพยายามสร้างความชอบธรรมเพื่อให้ตนเองได้อยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด ขณะที่ผลงานของรัฐบาลก็ล้มเหลว ทั้งยังถูกครหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยนายอภิสิทธิ์ไม่กล้าจัด การกับรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทุจริตตามที่ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อ เพราะกลัวกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
โคตรประชานิยม
ขณะเดียวกันนายอภิสิทธิ์อาศัยอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณมหาศาลขยายเวลานโยบายประชานิยม โดยมีมติต่ออายุมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ค่ารถเมล์ รถไฟ และค่าไฟฟ้าต่อไปจนถึงสิ้นปี 2553 และเตรียมใช้เป็นมาตรการตลอดชีพ โดยจะปรับเข้าสู่ระบบรัฐวิสาหกิจ แถมยังให้ตรึงราคาก๊าซแอลพีจี-เอ็นจีวี และค่าเอฟที ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณจากเงินภาษีประชาชนกว่า 30,000 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้รัฐบาลอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ให้โบนัสข้าราชการ ลดภาษีเงินกู้ แจกเงิน แจกของ ปูพรมสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่างๆ หรือแม้แต่พาคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและ อบจ. 75 จังหวัดไปทัวร์หรูต่างประเทศ ล้วนแล้วแต่เป็นการผลาญเงินงบประมาณ และเหมือนเป็นการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า จนถูกเรียกว่า “โคตรประชานิยม” โดยพยายามขายความฝันลมๆแล้งๆให้ประชาชนเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์สามารถทำให้ประเทศไทยเป็น “รัฐสวัสดิการ” ได้ แทนที่จะแก้ปัญหาที่รากเหง้า คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และชนชั้นในสังคม และความอยุติธรรมของรัฐบาลขณะนี้
แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังออกมาติงการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ รวมถึงพยุงราคาก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีว่าอาจทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาดที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจได้ แม้จะเป็นความตั้งใจของรัฐบาลในการดูแลค่าครองชีพของประชาชน แต่มาตรการต่างๆไม่ควรใช้นานเกินไป ควรปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาด
ศอฉ. ถลุงงบกว่า 5,000 ล้าน
ไม่ว่านายอภิสิทธิ์จะพยายามสร้างภาพและสร้างความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปอย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ยังถูกบันทึกว่าเป็น “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” อยู่ดี เช่นเดียวกับผู้นำกองทัพที่รับผิดชอบการปฏิบัติการที่ไม่อาจปฏิเสธว่าทหารฆ่าและทำร้ายประชาชนได้ เหมือนการทุจริตคอร์รัปชันที่ดูเหมือนจะเงียบหายไป ไม่ว่าจะเป็นไม้ล้างป่าช้า “จีที 200” เรือเหาะ และการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆ
แม้แต่ค่าใช้จ่ายของ ศอฉ. ที่คาดว่าจะมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท นับตั้งแต่กองทัพเข้ามารักษาความสงบเมื่อวันที่ 12-22 มีนาคม มีค่าใช้จ่ายประมาณ 280 ล้านบาท หรือประมาณวันละ 30-40 ล้านบาท แต่หลังจากขยายเวลาและเพิ่มกำลังพลจาก 50,000 คน เป็น 64,000 คน ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม-30 พฤษภาคม และวันประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว รวมยอดค่าใช้จ่ายประมาณ 3,400 ล้านบาท (เฉพาะเบี้ยเลี้ยง) แต่เมื่อรวมการเบิกจ่ายเป็นล็อตๆในรูปแบบงบสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็น รวมถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายย่อยอื่นๆ มียอดค่าใช้จ่ายสูงกว่า 5,000 ล้านบาท และหากยังมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อคาดว่าค่าใช้จ่ายจะยังมีต่อไป
ดีเอสไอปลุกผีคดีล้มเจ้า
ดังนั้น การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ใช่แค่ทำให้นายอภิสิทธิ์สามารถใช้อำนาจได้เยี่ยงรัฐบาลเผด็จการทหารเท่านั้น ยังทำให้นายอภิสิทธิ์และพรรคร่วมรัฐบาลสามารถใช้เงินงบประมาณเพื่อสร้างคะแนนเสียงและกลบเกลื่อนเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันอีกด้วย
แม้แต่แผนปรองดองก็สามารถดึงนายอานันท์และ นพ.ประเวศมาเป็นกันชนให้ได้ อีกด้านหนึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. กลับพยายามให้ข่าวเรื่องการก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป
ล่าสุด ศอฉ. ยังมีการพิจารณาคดีล้มเจ้า โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ. มอบหมายให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน โดยมีคำสั่งให้สนธิกำลัง 19 หน่วยงานนำข้อมูลมารวมกันแล้วตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 9 ชุดคือ ชุดการข่าว ชุดเทคโนโลยีสารสนเทศ ชุดการเงิน ชุดคดีการต่างประเทศ ชุดคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชุดที่ ศอฉ. ตั้งขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งมี 2 ชุด ชุดเลขาธิการ และชุดฝ่ายอำนวยการและสนับสนุน สอบสวนตามแผนผังกลุ่มขบวนการล้มเจ้าที่ ศอฉ. เคยแจกจ่าย
ปลุกผีจนกลัวเงาตัวเอง
ดังนั้น การที่นายสุเทพและ ศอฉ. ยืนยันว่ากรุงเทพฯยังเป็นพื้นที่ล่อแหลมถึง 68 จุด จึงไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยสั่งคุมเข้มคลังน้ำมันตลอด 24 ชั่วโมง หลังเกิดการยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีการตั้งคำถาม ศอฉ. ทันทีว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ เพราะถังน้ำมันเป็นถังเปล่า ซึ่งผู้ลงมือต้องรู้ข้อมูลภายในเป็นอย่างดี
รวมทั้งการให้ ศอฉ. ตรวจสอบการระงับธุรกรรมทางการเงินของ 83 บัญชีดำที่เชื่อว่ามีการเคลื่อนไหวส่งท่อน้ำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และการให้ดีเอสไอเดินหน้าคดีล้มเจ้า จึงเหมือนการปูพรมไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามครั้งใหญ่อีกครั้ง แม้ข้อกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายหรือล้มเจ้า จนขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน นอกจากการเอาข้อมูลและหลักฐานต่างๆมาโยงกัน เช่น กรณีไอ้โม่งชุดดำยังไม่สามารถจับตัวได้ มือเผาศูนย์การค้าก็ยังจับไม่ได้
โดยเฉพาะคดีล้มเจ้าที่ถูกนำมาปลุกระดมอีกครั้งนั้นไม่ต่างอะไรกับการปลุกผีขึ้นมาเล่นงานคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามที่นำรายชื่อมาเชื่อมโยงในแผนผังของ ศอฉ. จนถูกวิพากษ์วิจารณ์และแดกดันให้เป็นนวนิยายรางวัลยอดเยี่ยมแห่งปี
ขณะที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อในแผนผัง เขียนบทความประชดนายอภิสิทธิ์ว่าเหมือนเป็นการสร้าง “ภาพละครแขวนคอ” ย้อนไปครั้ง 6 ตุลา ที่กลุ่มขวาจัดใช้กล่าวหานักศึกษาและนำไปสู่การสังหารโหด
เช่นเดียวกับนายไมเคิล มอนติซาโน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย สถาบันศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สิงคโปร์ วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่าใช้การข่มขู่โดยอ้างความชอบธรรมในระบบเผด็จการอย่างเบ็ดเสร็จอย่างในอดีต ที่ออกแบบด้วยนโยบายชวนเชื่อสุดโต่ง ซึ่งยิ่งสร้างกระแสความเกลียดชังให้รุนแรงเหมือนเหตุการณ์ในอดีตเมื่อสองหรือสามทศวรรษที่ผ่านมา
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงไม่ต่างอะไรกับการย่ำไปบนซากศพและกองเลือดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้วาทกรรมตอแหลต่างๆสร้างผีร้ายขึ้นมา เพื่อทำลายล้างศัตรูทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นระบอบทักษิณ ขอพื้นที่คืน กระชับวงล้อม ผู้ก่อการร้ายและล้มเจ้า ซึ่งในที่สุดก็จะย้อนกลับเข้าหาตัวเอง
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงเหมือนพยายามหนีเงาตัวเองจากซากศพและกองเลือดของคนเสื้อแดง ซึ่งจับยัดใส่หม้อแลัวเอาผ้ายันต์มาผูกปิดไว้ แต่กลับกลัว “ผีก่อการร้าย” และ “ผีล้มเจ้า” ที่เขียนขึ้นมาเอง ซึ่งจะตามหลอกหลอนนายอภิสิทธิ์ไปจนชั่วลูกชั่วหลาน!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 266 วันที่ วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 8 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
บางครั้งตั้งคำถามว่าถ้าไม่มีกองทัพปัจจุบันรัฐบาลอภิสิทธิ์จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรัฐบาล นายกฯชื่ออภิสิทธิ์กองทัพจะเป็นอย่างไร สองคำถามนี้ทำให้เห็นว่าเขาเอื้อกัน พึ่งพาพึ่งพิงกันอย่างแน่น แฟ้นและด้วยดีพอสมควร”
นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนา “แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทยท่ามกลางความขัดแย้ง” ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่าสถานะการเมืองไทยขณะนี้ “พูดยาก เขียนลำบาก และน้ำท่วมปาก” ถ้าใครเห็นต่างจากรัฐบาลจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
แม้แต่ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ นักลงทุน นักท่องเที่ยว ทูตานุทูต มูลนิธิ และองค์กรระหว่างประเทศที่สังเกตการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดง ได้แสดงความคิดเห็นจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับโดยตรงมาเปิดเผยยังถูกตำหนิว่าไม่เข้าใจประเทศไทย มีอคติ ลำเอียง หวังร้าย หรือถูก พ.ต.ท.ทักษิณว่าจ้างมา
เผด็จการอำพราง
ความเห็นของนายฐิตินันท์ไม่ได้แตกต่างจากนักวิชาการ ภาคประชาชน และสื่อต่างประเทศที่วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะนี้ว่าไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลเผด็จการที่ใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งมีอำนาจมากมาย ทั้งคุ้มครองการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย แม้แต่ตุลาการยังถูกมองว่าไม่มีอำนาจหรือไม่เข้ามาถ่วงดุลและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เกิดจากการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต ฉะนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ต่างอะไรกับกฎหมายโจราธิปัตย์ของคณะปฏิวัติรัฐประหาร แต่ศาลกลับยอมรับอำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้อำนาจคณะปฏิวัติรัฐประหารจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตาม
นักวิชาการและภาคประชาชนจึงไม่แปลกใจที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและข่มขู่ประชาชน รวมถึงฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลตลอดเวลา เพราะอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินสามารถกล่าวหา จับกุม ควบคุมธุรกรรมทางการเงิน หรือเรียกบุคคลใดมาสอบสวนก็ได้ แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ตาม เพียงแค่รัฐบาลและ ศอฉ. เชื่อหรือสงสัยว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐบาล
โดยเฉพาะการยัดเยียดข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้ายหรือล้มสถาบัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลและ ศอฉ. ใช้สื่อของรัฐและสื่อกระแสหลักให้ข่าว โฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนเชื่อและเกลียดชังคนเสื้อแดงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 ที่ ศอฉ. มีคำสั่งให้ทหารพร้อมอาวุธสงครามสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย แม้รัฐบาลจะใช้ถ้อยคำสวยหรูว่า “ขอพื้นที่คืน” ก็ตาม
องค์กรภาคประชาชน นักวิชาการ สื่อต่างชาติ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ต่างประณามว่าเป็นการฆ่าและทำร้ายประชาชนอย่างโหดเหี้ยม รวมถึงละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ไม่มีทีท่าว่าจะแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองเลย แม้จะถูกกระแสสังคมกดดันจากทั้งภายในและภายนอกอย่างมากมายก็ตาม
“จลาจล” ไม่ใช่ “ก่อการร้าย”
ที่สำคัญข้อกล่าวหา “ผู้ก่อการร้าย” ที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้กวาดล้างและจับกุมคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้าม โดยพยายามอ้างถึง “ไอ้โม่งชุดดำ” การเผาศูนย์การค้าและสถานที่ต่างๆกลางกรุงเทพฯนั้น แม้แต่บริษัทประกันภัยก็ไม่ยอมรับและไม่ยอมจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย โดยระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแค่การจลาจล ไม่ใช่การก่อการร้าย
ขณะที่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐ-มนตรี ก็ไม่สามารถชี้แจงหรืออธิบายความหมายของคำว่า “ผู้ก่อการร้าย” ให้แก่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ได้ โดยโยนให้ไปชี้ขาดกันที่กระบวนการทางศาล
สอดคล้องกับกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กล่าวถึงการเดินทางไปสหรัฐตามคำเชิญของผู้สนใจปัญหาของประเทศไทย และได้พบปะกับนักวิชาการ นักคิด สื่อมวลชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐว่า มีการพูดคุยถึงข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยืนยันว่าผู้ที่มาชุมนุมไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่เขามาเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม เช่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งทางรัฐสภาสหรัฐจะออกมติสนับสนุนการแก้ปัญหาการเมืองไทย โดยการเจรจาและสนับสนุนแผนโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ แต่ไม่ได้รวมถึงเนื้อหาในโรดแม็พ เนื่องจากโรดแม็พของนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่แผนปรองดองอย่างแท้จริง แต่เป็นแผนปฏิรูประยะยาวที่ต้องทำอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปฏิรูปสื่อ แต่กลับยังมีการปิดเว็บไซต์และวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดง
“สิ่งที่ผมคิดว่าประเทศไทยจะปรองดองกันได้ต้องอาศัยความจริงใจจากรัฐบาล โดยพิจารณายกเลิก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คืนเสรีภาพให้กับผู้ที่โดนตั้งข้อกล่าวหาเรื่องทางการเมือง และให้รีบตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่ถูกคุมขัง ไม่ใช่กักตัวไว้อย่างเดียวโดยที่ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา”
พิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรมการสมัชชาเพื่อการปฏิรูปที่มี นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น นายอภิสิทธิ์ได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป พ.ศ. 2553 มีงบประมาณรองรับปีละ 200 ล้านบาท หากทำงาน 3 ปี ใช้งบ 600 ล้านบาท เพื่อสร้างความฝันปฏิรูปประเทศให้เป็นจริง
ขณะที่ความหมายคำว่า “ปฏิรูป” ก็ครอบจักรวาลคือ “การใดๆที่กระทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบคุณค่าของสังคม ระบบการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบภาษีและการเงินการคลัง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบยุติธรรม ระบบการเมืองและการจัดการภาครัฐ ระบบการสื่อสาร ระบบสุขภาพ ระบบสวัสดิการสังคม และระบบอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มสุขภาวะ ความเข้มแข็ง และความเป็นธรรมในสังคม”
ส่วน “สมัชชาปฏิรูป” หมายความว่า “กระบวนการทางสังคมที่ให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชนและชุมชน ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างหลากหลายและกว้างขวางบนฐานของปัญญา ความรู้ และความสมานฉันท์ โดยมีการจัดกระบวนการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การมีข้อเสนอเชิงนโยบายให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติหรือนำไปพิจารณากำหนดเป็นนโยบายสาธารณะสำหรับการปฏิรูปประเทศไทย”
ชาติหน้าไม่แน่?
นิยามการปฏิรูปที่ครอบจักรวาลนั้น แม้แต่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ยังย้อนถามถึงการตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง และคณะกรรมการปฏิรูปเพื่อการปรองดองว่า ชาตินี้ไม่แน่ว่าจะปรองดองกันได้หรือเปล่า และไม่รู้ว่ารัฐบาลตั้งขึ้นมาทำไม ตั้งขึ้นมาเป็นประโยชน์อะไร
เช่นเดียวกับนายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ก็ไม่เชื่อว่าการปรองดองจะสำเร็จ ถ้ารัฐบาลต้องการทำให้สำเร็จอาจเสนอเป็น พ.ร.บ.การปรองดองแห่งชาติ หรือเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เหมือนสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กลไกรัฐรับเรื่องไปปฏิบัติ
“แต่กรณีนี้ไม่ใช่ สถานะทางกฎหมายของการปรองดองไม่มีเลย ถ้านายกฯไปหรือเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลเราไม่มีทางรู้ว่าแผนการปรองดองจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่”
หากรัฐบาลมีความจริงใจ อย่างแรกรัฐบาลต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ต้องนิรโทษกรรมคนเสื้อแดงที่อยู่ระหว่างการรับโทษ 300-400 คน ซึ่งมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่การกระทำจริงๆไม่มีอะไรผิด แต่ต้องไม่นิรโทษกรรมทั้งแพ็กเกจ ต้องไม่นิรโทษกรรมคนฆ่าประชาชน เพราะแนวโน้มส่วนใหญ่จะเป็นการนิรโทษกรรมหมกเม็ด ขณะเดียวกันการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บต้องนำมาพิสูจน์ให้ชัดเจน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดก็ต้องลงโทษ
“มิสเตอร์คลีน”
ไม่ใช่การสร้างความปรองดองเพื่อต้องการสร้างภาพให้นายอภิสิทธิ์เป็น “มิสเตอร์คลีน” เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความซื่อสัตย์ทสุจริตและยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะภาพของนายอภิสิทธิ์ในสายตานักวิชาการ สื่อ และองค์กรภาคประชาชนจำนวนมากนั้นหมดภาวะความเป็นผู้นำไปแล้วนับตั้งแต่มีคำสั่งให้ทหารปราบปรามประชาชน
ที่สำคัญนายอภิสิทธิ์ยังไม่แสดงความรับผิดชอบและไม่ออกมากล่าวคำขอโทษต่อประชาชนเลย แต่กลับพยายามสร้างความชอบธรรมเพื่อให้ตนเองได้อยู่ในอำนาจต่อไปให้นานที่สุด ขณะที่ผลงานของรัฐบาลก็ล้มเหลว ทั้งยังถูกครหาเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยนายอภิสิทธิ์ไม่กล้าจัด การกับรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทุจริตตามที่ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อ เพราะกลัวกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
โคตรประชานิยม
ขณะเดียวกันนายอภิสิทธิ์อาศัยอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณมหาศาลขยายเวลานโยบายประชานิยม โดยมีมติต่ออายุมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ค่ารถเมล์ รถไฟ และค่าไฟฟ้าต่อไปจนถึงสิ้นปี 2553 และเตรียมใช้เป็นมาตรการตลอดชีพ โดยจะปรับเข้าสู่ระบบรัฐวิสาหกิจ แถมยังให้ตรึงราคาก๊าซแอลพีจี-เอ็นจีวี และค่าเอฟที ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้งบประมาณจากเงินภาษีประชาชนกว่า 30,000 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้รัฐบาลอนุมัติให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ให้โบนัสข้าราชการ ลดภาษีเงินกู้ แจกเงิน แจกของ ปูพรมสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่างๆ หรือแม้แต่พาคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและ อบจ. 75 จังหวัดไปทัวร์หรูต่างประเทศ ล้วนแล้วแต่เป็นการผลาญเงินงบประมาณ และเหมือนเป็นการหาเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า จนถูกเรียกว่า “โคตรประชานิยม” โดยพยายามขายความฝันลมๆแล้งๆให้ประชาชนเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์สามารถทำให้ประเทศไทยเป็น “รัฐสวัสดิการ” ได้ แทนที่จะแก้ปัญหาที่รากเหง้า คือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และชนชั้นในสังคม และความอยุติธรรมของรัฐบาลขณะนี้
แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังออกมาติงการต่ออายุมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ รวมถึงพยุงราคาก๊าซแอลพีจีและเอ็นจีวีว่าอาจทำให้เกิดการบิดเบือนกลไกตลาดที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจได้ แม้จะเป็นความตั้งใจของรัฐบาลในการดูแลค่าครองชีพของประชาชน แต่มาตรการต่างๆไม่ควรใช้นานเกินไป ควรปล่อยให้ระบบเศรษฐกิจไทยเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาด
ศอฉ. ถลุงงบกว่า 5,000 ล้าน
ไม่ว่านายอภิสิทธิ์จะพยายามสร้างภาพและสร้างความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปอย่างไรก็ตาม นายอภิสิทธิ์ยังถูกบันทึกว่าเป็น “ผู้นำมือเปื้อนเลือด” อยู่ดี เช่นเดียวกับผู้นำกองทัพที่รับผิดชอบการปฏิบัติการที่ไม่อาจปฏิเสธว่าทหารฆ่าและทำร้ายประชาชนได้ เหมือนการทุจริตคอร์รัปชันที่ดูเหมือนจะเงียบหายไป ไม่ว่าจะเป็นไม้ล้างป่าช้า “จีที 200” เรือเหาะ และการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆ
แม้แต่ค่าใช้จ่ายของ ศอฉ. ที่คาดว่าจะมีมากกว่า 5,000 ล้านบาท นับตั้งแต่กองทัพเข้ามารักษาความสงบเมื่อวันที่ 12-22 มีนาคม มีค่าใช้จ่ายประมาณ 280 ล้านบาท หรือประมาณวันละ 30-40 ล้านบาท แต่หลังจากขยายเวลาและเพิ่มกำลังพลจาก 50,000 คน เป็น 64,000 คน ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม-30 พฤษภาคม และวันประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว รวมยอดค่าใช้จ่ายประมาณ 3,400 ล้านบาท (เฉพาะเบี้ยเลี้ยง) แต่เมื่อรวมการเบิกจ่ายเป็นล็อตๆในรูปแบบงบสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็น รวมถึงค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายย่อยอื่นๆ มียอดค่าใช้จ่ายสูงกว่า 5,000 ล้านบาท และหากยังมีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อคาดว่าค่าใช้จ่ายจะยังมีต่อไป
ดีเอสไอปลุกผีคดีล้มเจ้า
ดังนั้น การคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่ใช่แค่ทำให้นายอภิสิทธิ์สามารถใช้อำนาจได้เยี่ยงรัฐบาลเผด็จการทหารเท่านั้น ยังทำให้นายอภิสิทธิ์และพรรคร่วมรัฐบาลสามารถใช้เงินงบประมาณเพื่อสร้างคะแนนเสียงและกลบเกลื่อนเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันอีกด้วย
แม้แต่แผนปรองดองก็สามารถดึงนายอานันท์และ นพ.ประเวศมาเป็นกันชนให้ได้ อีกด้านหนึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. กลับพยายามให้ข่าวเรื่องการก่อการร้ายและการก่อวินาศกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความชอบธรรมที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป
ล่าสุด ศอฉ. ยังมีการพิจารณาคดีล้มเจ้า โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการ ศอฉ. มอบหมายให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน โดยมีคำสั่งให้สนธิกำลัง 19 หน่วยงานนำข้อมูลมารวมกันแล้วตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 9 ชุดคือ ชุดการข่าว ชุดเทคโนโลยีสารสนเทศ ชุดการเงิน ชุดคดีการต่างประเทศ ชุดคดีจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ชุดที่ ศอฉ. ตั้งขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งมี 2 ชุด ชุดเลขาธิการ และชุดฝ่ายอำนวยการและสนับสนุน สอบสวนตามแผนผังกลุ่มขบวนการล้มเจ้าที่ ศอฉ. เคยแจกจ่าย
ปลุกผีจนกลัวเงาตัวเอง
ดังนั้น การที่นายสุเทพและ ศอฉ. ยืนยันว่ากรุงเทพฯยังเป็นพื้นที่ล่อแหลมถึง 68 จุด จึงไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยสั่งคุมเข้มคลังน้ำมันตลอด 24 ชั่วโมง หลังเกิดการยิงอาร์พีจีใส่ถังน้ำมันของกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีการตั้งคำถาม ศอฉ. ทันทีว่าเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อจะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ เพราะถังน้ำมันเป็นถังเปล่า ซึ่งผู้ลงมือต้องรู้ข้อมูลภายในเป็นอย่างดี
รวมทั้งการให้ ศอฉ. ตรวจสอบการระงับธุรกรรมทางการเงินของ 83 บัญชีดำที่เชื่อว่ามีการเคลื่อนไหวส่งท่อน้ำเลี้ยงให้คนเสื้อแดงออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง และการให้ดีเอสไอเดินหน้าคดีล้มเจ้า จึงเหมือนการปูพรมไล่ล่าและกวาดล้างคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามครั้งใหญ่อีกครั้ง แม้ข้อกล่าวหาไม่ว่าจะเป็นผู้ก่อการร้ายหรือล้มเจ้า จนขณะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน นอกจากการเอาข้อมูลและหลักฐานต่างๆมาโยงกัน เช่น กรณีไอ้โม่งชุดดำยังไม่สามารถจับตัวได้ มือเผาศูนย์การค้าก็ยังจับไม่ได้
โดยเฉพาะคดีล้มเจ้าที่ถูกนำมาปลุกระดมอีกครั้งนั้นไม่ต่างอะไรกับการปลุกผีขึ้นมาเล่นงานคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามที่นำรายชื่อมาเชื่อมโยงในแผนผังของ ศอฉ. จนถูกวิพากษ์วิจารณ์และแดกดันให้เป็นนวนิยายรางวัลยอดเยี่ยมแห่งปี
ขณะที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อในแผนผัง เขียนบทความประชดนายอภิสิทธิ์ว่าเหมือนเป็นการสร้าง “ภาพละครแขวนคอ” ย้อนไปครั้ง 6 ตุลา ที่กลุ่มขวาจัดใช้กล่าวหานักศึกษาและนำไปสู่การสังหารโหด
เช่นเดียวกับนายไมเคิล มอนติซาโน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย สถาบันศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สิงคโปร์ วิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ว่าใช้การข่มขู่โดยอ้างความชอบธรรมในระบบเผด็จการอย่างเบ็ดเสร็จอย่างในอดีต ที่ออกแบบด้วยนโยบายชวนเชื่อสุดโต่ง ซึ่งยิ่งสร้างกระแสความเกลียดชังให้รุนแรงเหมือนเหตุการณ์ในอดีตเมื่อสองหรือสามทศวรรษที่ผ่านมา
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงไม่ต่างอะไรกับการย่ำไปบนซากศพและกองเลือดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ใช้วาทกรรมตอแหลต่างๆสร้างผีร้ายขึ้นมา เพื่อทำลายล้างศัตรูทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นระบอบทักษิณ ขอพื้นที่คืน กระชับวงล้อม ผู้ก่อการร้ายและล้มเจ้า ซึ่งในที่สุดก็จะย้อนกลับเข้าหาตัวเอง
วันนี้นายอภิสิทธิ์จึงเหมือนพยายามหนีเงาตัวเองจากซากศพและกองเลือดของคนเสื้อแดง ซึ่งจับยัดใส่หม้อแลัวเอาผ้ายันต์มาผูกปิดไว้ แต่กลับกลัว “ผีก่อการร้าย” และ “ผีล้มเจ้า” ที่เขียนขึ้นมาเอง ซึ่งจะตามหลอกหลอนนายอภิสิทธิ์ไปจนชั่วลูกชั่วหลาน!
ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 5 ฉบับ 266 วันที่ วันที่ 3 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 หน้า 8 คอลัมน์ เรื่องจากปก โดย ทีมข่าวรายวัน
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ปฏิกริยาต่อบันทึกของ วิสา คัญทัพ (บุรุษผู้หนีทัพ-กวีหนีประชา)
**************************************************************************************************
โดย เพ็ญแข กงสวรรณ
*******************************************************************************************************
ดิฉันมีข้อสงสัยดังนี้
1. คุณและไพจิตร อักษรณรงค์ ยอมเห็นคนตายอีกไม่ได้ แล้วคุณเคยคิดไหมว่าคนที่อยู่ที่นั่นก็ไม่อยากเห็นคนตายอีก ดิฉันหมายถึงมวลชนไม่ใช่แกนนำ
เค้ามิอาจทิ้งเพื่อน ๆ ไปได้เค้าต้องอยู่เพื่อปกป้อง เพราะมวลชนส่วนใหญ่ตอนนั้นไม่ยอมแพ้ ดิฉันคิดว่าในความสูญเสียเรากลับได้เห็นเป็นครั้งแรกว่านี่คือคำสั่งประชาชนที่แท้จริง เป็นครั้งแรกที่เค้าไม่ยอมแกนนำสั่งอีกต่อไป และเป็นครั้งแรกที่มวลชนมีความคิดล้ำหน้าแกนนำอย่างพวกคุณ
2. ทำไมดิฉันพูดเช่นนั้น เพราะพวกคุณไม่เคยฟังเสียงมวลชน พวกคุณฟังเสียงกันเองเพียงไม่กี่คน ทั้ง ๆ ที่พวกเค้าเป็นพวกที่ต้องตาย ซึ่งหมายถึงตายได้ทุกเมื่อ ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีการ์ดคอยคุมอย่างพวกคุณ แต่เค้าก็ไม่ถอยเพียงเพราะไม่อยากถอย เค้าไม่ถอยเพียงเพราะเป็นห่วงเพื่อนร่วมทาง แล้วพวกแกนนำอย่างคุณอยู่ไหน?
3. ทำไมดิฉันพูดเช่นนี้น เพราะ ที่คุณมีความจริงใจอย่างที่ปากพูดที่ว่า วีระ มุสิกพงศ์ ตัวคุณวิสา และคุณไพจิตร อักษรณรงค์ คุณอดิศร เพียรเกษ ตัดสินใจลงสถานีเดียวกัน เพราะลงขบวนรถไฟไป เหตุเพราะข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" บรรลุแล้ว ทำไมคุณไปไม่บอกกล่าวมวลชนที่คุณพร่ำรักนักรักหนา ห่วงใยอย่างที่สุด เพียงกล่าวลายังไม่กล้า เพราะคุณกลัวโดนโห่ไล่ใช่หรือไม่ หรือพวกคุณขี้ขลาดเกินกว่าจะเผชิญหน้ากับมวลชน
--------------------------------------
หยุดอาจมีความหมายว่าไม่หยุด
หยุดเพราะแท้ที่สุด หาหยุดไม่
หยุดการตาย เพื่อให้อยู่ สู้ต่อไป
หยุดสงวนกำลังไว้ใช้อีกนาน
-------------------------------------
สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากบอกไปยังคุณ อดิศร เพียรเกษ ที่ดิฉันชื่นชมที่เป็นคนตัวใหญ่แต่มองเห็นหัวคนตัวเล็ก อุตส่าห์แต่งเพลงให้คุณตีนโต ทั้งที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง แต่ตอนนี้ดิฉันอยากถามว่า ตอนคุณตีนโตเข้าโรงพยาบาลได้กล่าวว่า ผมไม่อยากแพ้ ถึงตอนนี้คุณจะบอกกับวิญญาณเค้าอย่างไรว่าคุณลงสถานีก่อนหน้านี้ไปแล้ว
นี้เพียงความในใจความดิฉันคนที่รักพวกคุณ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ด้วยความเครารพ ดิฉันขอตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมมาอธิบายพรรณาเอาตอนนี้ หรือพวกคุณจะกลับมาสู้ต่อ ถ้าเป็นอย่างนั้นดิฉันจะดีใจอย่างยิ่ง แต่ขอความกรุณาขอให้พวกคุณ 4 คนกลับมาคราวหน้า กรุณามาเป็นมวลชนคนเสื้อแดง แต่อย่าเป็นแกนนำคนเสื้อแดงอีกเลย
ดิฉันหวังทาง thaienews จะกรุณาลงความในใจของคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ที่เพิ่งจะเขียนบทความครั้งแรกได้บอกความในใจนี้ด้วยเถอะคะ
ที่มา.ไทยอีนิวส์
โดย เพ็ญแข กงสวรรณ
เหมือนจะยอม เหมือนจะแพ้ แท้แล้วสู้
นี่คือคำพูดของคุณวิสา คัญทัพ ( อ่านรายละเอียด วิสา คัญทัพ:บันทึกพ่ายแพ้-สรุปบทเรียน ตอน1-2 )
***************************************************************************************************
น้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของมวลชน-ภาพที่มีชื่อเสียงภาพหนึ่งของเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม 53 คือThe last Red shirt เป็นภาพเหตุการณ์ที่ผุสดี งามขำ เสื้อแดงคนสุดท้ายนั่งปักหลักอยู่หน้าเวทีราชประสงค์ ภายหลังแกนนำคือณัฐวุฒิกับจตุพรประกาศยุติการชุมนุมเข้ามอบตัวกับรัฐบาล โดยมวลชนจำนวนมากไม่เห็นด้วย ขณะที่ผุสดีกล่าวภายหลังว่าเธอนั่งปักหลักอยู่เป็นคนสุดท้ายเพื่อเป็นการรักษาคำมั่นสัญญากับแกนนำว่าจะยืนหยัดต่อสู้จนถึงที่สุดไม่ยอมแพ้*******************************************************************************************************
ดิฉันมีข้อสงสัยดังนี้
1. คุณและไพจิตร อักษรณรงค์ ยอมเห็นคนตายอีกไม่ได้ แล้วคุณเคยคิดไหมว่าคนที่อยู่ที่นั่นก็ไม่อยากเห็นคนตายอีก ดิฉันหมายถึงมวลชนไม่ใช่แกนนำ
เค้ามิอาจทิ้งเพื่อน ๆ ไปได้เค้าต้องอยู่เพื่อปกป้อง เพราะมวลชนส่วนใหญ่ตอนนั้นไม่ยอมแพ้ ดิฉันคิดว่าในความสูญเสียเรากลับได้เห็นเป็นครั้งแรกว่านี่คือคำสั่งประชาชนที่แท้จริง เป็นครั้งแรกที่เค้าไม่ยอมแกนนำสั่งอีกต่อไป และเป็นครั้งแรกที่มวลชนมีความคิดล้ำหน้าแกนนำอย่างพวกคุณ
2. ทำไมดิฉันพูดเช่นนั้น เพราะพวกคุณไม่เคยฟังเสียงมวลชน พวกคุณฟังเสียงกันเองเพียงไม่กี่คน ทั้ง ๆ ที่พวกเค้าเป็นพวกที่ต้องตาย ซึ่งหมายถึงตายได้ทุกเมื่อ ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีการ์ดคอยคุมอย่างพวกคุณ แต่เค้าก็ไม่ถอยเพียงเพราะไม่อยากถอย เค้าไม่ถอยเพียงเพราะเป็นห่วงเพื่อนร่วมทาง แล้วพวกแกนนำอย่างคุณอยู่ไหน?
3. ทำไมดิฉันพูดเช่นนี้น เพราะ ที่คุณมีความจริงใจอย่างที่ปากพูดที่ว่า วีระ มุสิกพงศ์ ตัวคุณวิสา และคุณไพจิตร อักษรณรงค์ คุณอดิศร เพียรเกษ ตัดสินใจลงสถานีเดียวกัน เพราะลงขบวนรถไฟไป เหตุเพราะข้อเรียกร้อง "ยุบสภา" บรรลุแล้ว ทำไมคุณไปไม่บอกกล่าวมวลชนที่คุณพร่ำรักนักรักหนา ห่วงใยอย่างที่สุด เพียงกล่าวลายังไม่กล้า เพราะคุณกลัวโดนโห่ไล่ใช่หรือไม่ หรือพวกคุณขี้ขลาดเกินกว่าจะเผชิญหน้ากับมวลชน
--------------------------------------
หยุดอาจมีความหมายว่าไม่หยุด
หยุดเพราะแท้ที่สุด หาหยุดไม่
หยุดการตาย เพื่อให้อยู่ สู้ต่อไป
หยุดสงวนกำลังไว้ใช้อีกนาน
-------------------------------------
สุดท้ายนี้ดิฉันขอฝากบอกไปยังคุณ อดิศร เพียรเกษ ที่ดิฉันชื่นชมที่เป็นคนตัวใหญ่แต่มองเห็นหัวคนตัวเล็ก อุตส่าห์แต่งเพลงให้คุณตีนโต ทั้งที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง แต่ตอนนี้ดิฉันอยากถามว่า ตอนคุณตีนโตเข้าโรงพยาบาลได้กล่าวว่า ผมไม่อยากแพ้ ถึงตอนนี้คุณจะบอกกับวิญญาณเค้าอย่างไรว่าคุณลงสถานีก่อนหน้านี้ไปแล้ว
นี้เพียงความในใจความดิฉันคนที่รักพวกคุณ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ด้วยความเครารพ ดิฉันขอตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมมาอธิบายพรรณาเอาตอนนี้ หรือพวกคุณจะกลับมาสู้ต่อ ถ้าเป็นอย่างนั้นดิฉันจะดีใจอย่างยิ่ง แต่ขอความกรุณาขอให้พวกคุณ 4 คนกลับมาคราวหน้า กรุณามาเป็นมวลชนคนเสื้อแดง แต่อย่าเป็นแกนนำคนเสื้อแดงอีกเลย
ดิฉันหวังทาง thaienews จะกรุณาลงความในใจของคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ที่เพิ่งจะเขียนบทความครั้งแรกได้บอกความในใจนี้ด้วยเถอะคะ
ที่มา.ไทยอีนิวส์
"พล.อ.ชวลิต" เเนะตั้งรัฐบาลแห่งชาติเเก้ปัญหาประเทศ
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวในงานสัมมนา ส.ส.และผู้สมัคร สส. หัวข้อ “ประชาธิปไตยถูกควบคุมสิทธิ์ แต่ทุจริตปล่อยตามอำเภอใจ” ตอนหนึ่งว่า ปัญหาของชาติในวันนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1. ปัญหาพื้นฐานเรื่องการปกครอง 2. ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดมาในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การเดินขบวน การจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้ สถานการณ์ในบ้านเมืองยังเป็นอย่างนี้ ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่เราต้องเร่งแก้ไข คือ ทำอย่างไรให้เรามีประชาธิปไตยให้ได้ ตอนนี้มีความคิดสองพวก พวกหนึ่งเห็นว่าต้องแก้ระบบ หรือ ระบอบ เช่น แก้รัฐธรรมนูญ ทั้งที่ความจริงการแก้รัฐธรรมนูญอาจไม่สำคัญสูงสุดขณะนี้ อีกกลุ่มเห็นว่า ถ้าให้บ้านเมืองดี ต้องได้คนดี มีความรู้ ซื่อสัตย์ เสียสละ แต่ที่ผ่านมาเรามีคนดีที่หาที่ติไม่ได้ เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช พระยาพหลพลพยุหเสนา เรามีนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนดี แต่ถามว่า ทำไมบ้านเมืองเราทรุดโทรม
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของเราคือ 1. การไม่สามารถสร้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา พวกเราต้องมีหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือนำประเทศกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่เป็นเกียรติประวัติเหมือนในอดีต กระจายอำนาจสู่ประชาชนในระดับล่างให้มากที่สุด 2. บุคคลต้องมีเสรีภาพ 3. ความเสมอภาค 4. หลักนิติธรรม กฎหมาย และ 5. รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน 5 หลักมีความสำคัญเรียงลงมา
สำหรับองค์กรที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหามี 3 องค์กร คือ 1 สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในอดีตสถาบันได้ทุ่มเททำงานทุกอย่างเพื่อพัฒนาการเมืองปกครอง เพื่อเอาอำนาจให้ประชาชน ตั้งแต่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ส่งต่อมายังรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยให้อำนาจกับคณะราษฎร แต่ขอให้คณะราษฎรเอาอำนาจไปให้พี่น้องประชาชน ต่อมาไม่ได้ทำอย่างนั้น มีการทวงถามตลอดที่ไม่สามารถเอาอำนาจพระองค์ท่านไปให้ประชาชน นั่นคือ วิกฤตการเมืองการปกครองครั้งแรก จนเป็นวิกฤตในหลายรูปแบบตามมา
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า หากสถาบันลงมาแก้ปัญหา เราเชื่อว่าจะสามารถลงมาแก้โดยง่าย จึงมีความเห็นในกลุ่มพวกเรา ที่จะถวายอำนาจคืนให้พระเจ้าอยู่หัว สุดท้ายตัวเองนำเสนอเพื่อขอพระบารมีคุ้มครองพวกเราเช่นกัน แต่ไม่เป็นผล 3. สถาบันทหาร เป็นสถาบันที่รับผิดชอบการเมืองการปกครอง แต่ที่ผ่านมาเป็นสถาบันของตัวเอง ยึดอำนาจมาหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถสร้างอำนาจการเมืองการปกครองได้ จนเป็นที่กลัวว่า ไม่อยากให้ทำรัฐประหารเพราะจะทำให้บ้านเมืองตกต่ำเหมือนครั้งล่าสุด และถ้าเมื่อใด เรามีผู้นำทางทหารที่รอบรู้ทางการเมือง ตรงนี้ เราทำได้ ถ้าเขาใช้อำนาจนั้นด้วยความบริสุทธิ์ และสร้างสรรค์ประเทศชาติให้มีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า เมื่อสถาบันทหารแก้ปัญหาไม่ได้ สถาบันที่ 3 ต้องรับผิดชอบ ซึ่งท่านปฏิเสธไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นคือ รัฐบาลที่อยู่ในอำนาจ วันนี้ พรรคเพื่อไทยของเราพยายามเสนอแนวทางแก้ปัญหาหลายครั้ง เบื้องต้นต้องมีสำนึกของความเป็นผู้นำ นายกรัฐมนตรีต้องทำให้รู้สึกว่าผู้ที่ขัดแย้งกับเราคือคนไทยด้วยกัน มันจะเกิดการอโหสิกรรม อภัย ความรัก ความผูกพันธ์ มันจะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องทำอะไร ข้อ 2 ที่เตือนไป ท่านต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ถูก ก่อนเดือนเม.ย.เราเตือนว่า วันนั้นสองฝ่ายกำลังปะทะกัน เมื่อเกิดการสูญเสียแล้วจะอีกนาน 10 ปีถึงจะแก้ไขได้
“การแก้ปัญหาวันนั้นช่วงคอมมิวนิสต์ไม่มีใครชนะ ชนะทั้งคู่ ตอนรบก็แพ้ทั้งคู่ เราเชิญเขามาต่อสู้ในสภา ไม่ใช่ว่าฉันผู้ชนะ เธอคือ ผู้ร้าย ก่อการร้าย เธอคือ คนเลวถ้าทำอย่างนี้ชาติหน้าแก้ได้ นี่คือสิ่งที่สำคัญแล้วไม่ต้องมีอะไรมาก รัฐบาลสามารถแก้ได้นิดเดียว และถ้ารัฐบาลไม่แก้ ก็ไม่มีองค์กรไหนแล้ว นอกจากประชาชนลุกขึ้นมาแก้เอง เมื่อนั้นประชาชนก็ต้องลุกขึ้นมายึดอำนาจ ซึ่งก็คือการสร้างความรุนแรง อย่าโทษประชาชน ตัวท่านเองต้องรับผิดชอบ” พล.อ.ชวลิต กล่าว
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เอาคู่กรณีเข้ามาให้หมด พรรคเพื่อไทยส่งมาเป็น 5 - 10 คน ไม่ต้องตั้งใคร ตั้งมาเพื่อแก้ปัญหา แล้ววางภาระประเทศชาติ รัฐบาลไม่ต้องสร้างอะไร ทำหน้าที่ขจัดความขัดแย้ง และวางฐานะของชาติให้กลับมาใหม่ 36 คนเป็นครม. หรือเอามาเป็น 100 คน ที่เหลือเอามาเป็นผู้ช่วย ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้าน รัฐบาลเฉพาะกาลจะอยู่ 8, 12, 16 เดือน แก้ตรงนี้แล้วยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยืนอยู่กับเราแล้ว จะออกพรก.ฉุกเฉินออกได้ แต่รัฐบาลนี้ร้ายกว่าเผด็จการในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด เราต้องเอาสะเก็ดไฟลามทุ่ง เพื่อมาเป็นไฟกองใหญ่มหาศาลที่มีพลัง วันนี้เขาไม่ต้องการอะไร นอกจากน้ำใจ หัวใจจากพวกเรา ต้องการความผูกพันธ์เหมือนในอดีต ดังนั้น หน้าที่ของพวกเรา คือ ไปกินนอนกับเขา นับแต่วันนี้เราปล่อยประเทศกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้ เราล้าหลังมากแล้ว เกียรติประวัติไม่เหลือ สำหรับนโยบายประชานิยมของพ.ต.ท.ทักษิณ ถือเป็นประชานิยมเฟสที่หนึ่งเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงิน ใครลอกอย่าไปโกรธเขา สนับสนุนให้เขาลอก เพราะทำให้คนจนก้าวหน้า แต่เฟสสอง เราต้องทำให้เกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน ที่มีหนี้ 8 แสนล้านให้หมดไป เราต้องสร้างชีวิตเขาใหม่
ที่มา. Spring News
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ปัญหาพื้นฐานของเราคือ 1. การไม่สามารถสร้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมา พวกเราต้องมีหน้าที่แก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือนำประเทศกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่เป็นเกียรติประวัติเหมือนในอดีต กระจายอำนาจสู่ประชาชนในระดับล่างให้มากที่สุด 2. บุคคลต้องมีเสรีภาพ 3. ความเสมอภาค 4. หลักนิติธรรม กฎหมาย และ 5. รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน 5 หลักมีความสำคัญเรียงลงมา
สำหรับองค์กรที่ต้องรับผิดชอบในการแก้ปัญหามี 3 องค์กร คือ 1 สถาบันพระมหากษัตริย์ โดยในอดีตสถาบันได้ทุ่มเททำงานทุกอย่างเพื่อพัฒนาการเมืองปกครอง เพื่อเอาอำนาจให้ประชาชน ตั้งแต่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ส่งต่อมายังรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยให้อำนาจกับคณะราษฎร แต่ขอให้คณะราษฎรเอาอำนาจไปให้พี่น้องประชาชน ต่อมาไม่ได้ทำอย่างนั้น มีการทวงถามตลอดที่ไม่สามารถเอาอำนาจพระองค์ท่านไปให้ประชาชน นั่นคือ วิกฤตการเมืองการปกครองครั้งแรก จนเป็นวิกฤตในหลายรูปแบบตามมา
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า หากสถาบันลงมาแก้ปัญหา เราเชื่อว่าจะสามารถลงมาแก้โดยง่าย จึงมีความเห็นในกลุ่มพวกเรา ที่จะถวายอำนาจคืนให้พระเจ้าอยู่หัว สุดท้ายตัวเองนำเสนอเพื่อขอพระบารมีคุ้มครองพวกเราเช่นกัน แต่ไม่เป็นผล 3. สถาบันทหาร เป็นสถาบันที่รับผิดชอบการเมืองการปกครอง แต่ที่ผ่านมาเป็นสถาบันของตัวเอง ยึดอำนาจมาหลายครั้ง แต่ยังไม่สามารถสร้างอำนาจการเมืองการปกครองได้ จนเป็นที่กลัวว่า ไม่อยากให้ทำรัฐประหารเพราะจะทำให้บ้านเมืองตกต่ำเหมือนครั้งล่าสุด และถ้าเมื่อใด เรามีผู้นำทางทหารที่รอบรู้ทางการเมือง ตรงนี้ เราทำได้ ถ้าเขาใช้อำนาจนั้นด้วยความบริสุทธิ์ และสร้างสรรค์ประเทศชาติให้มีการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวต่อว่า เมื่อสถาบันทหารแก้ปัญหาไม่ได้ สถาบันที่ 3 ต้องรับผิดชอบ ซึ่งท่านปฏิเสธไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นคือ รัฐบาลที่อยู่ในอำนาจ วันนี้ พรรคเพื่อไทยของเราพยายามเสนอแนวทางแก้ปัญหาหลายครั้ง เบื้องต้นต้องมีสำนึกของความเป็นผู้นำ นายกรัฐมนตรีต้องทำให้รู้สึกว่าผู้ที่ขัดแย้งกับเราคือคนไทยด้วยกัน มันจะเกิดการอโหสิกรรม อภัย ความรัก ความผูกพันธ์ มันจะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องทำอะไร ข้อ 2 ที่เตือนไป ท่านต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ถูก ก่อนเดือนเม.ย.เราเตือนว่า วันนั้นสองฝ่ายกำลังปะทะกัน เมื่อเกิดการสูญเสียแล้วจะอีกนาน 10 ปีถึงจะแก้ไขได้
“การแก้ปัญหาวันนั้นช่วงคอมมิวนิสต์ไม่มีใครชนะ ชนะทั้งคู่ ตอนรบก็แพ้ทั้งคู่ เราเชิญเขามาต่อสู้ในสภา ไม่ใช่ว่าฉันผู้ชนะ เธอคือ ผู้ร้าย ก่อการร้าย เธอคือ คนเลวถ้าทำอย่างนี้ชาติหน้าแก้ได้ นี่คือสิ่งที่สำคัญแล้วไม่ต้องมีอะไรมาก รัฐบาลสามารถแก้ได้นิดเดียว และถ้ารัฐบาลไม่แก้ ก็ไม่มีองค์กรไหนแล้ว นอกจากประชาชนลุกขึ้นมาแก้เอง เมื่อนั้นประชาชนก็ต้องลุกขึ้นมายึดอำนาจ ซึ่งก็คือการสร้างความรุนแรง อย่าโทษประชาชน ตัวท่านเองต้องรับผิดชอบ” พล.อ.ชวลิต กล่าว
พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือ การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หรือรัฐบาลเฉพาะกาล เอาคู่กรณีเข้ามาให้หมด พรรคเพื่อไทยส่งมาเป็น 5 - 10 คน ไม่ต้องตั้งใคร ตั้งมาเพื่อแก้ปัญหา แล้ววางภาระประเทศชาติ รัฐบาลไม่ต้องสร้างอะไร ทำหน้าที่ขจัดความขัดแย้ง และวางฐานะของชาติให้กลับมาใหม่ 36 คนเป็นครม. หรือเอามาเป็น 100 คน ที่เหลือเอามาเป็นผู้ช่วย ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้าน รัฐบาลเฉพาะกาลจะอยู่ 8, 12, 16 เดือน แก้ตรงนี้แล้วยุบสภาเลือกตั้งใหม่
ประธานพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยืนอยู่กับเราแล้ว จะออกพรก.ฉุกเฉินออกได้ แต่รัฐบาลนี้ร้ายกว่าเผด็จการในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด เราต้องเอาสะเก็ดไฟลามทุ่ง เพื่อมาเป็นไฟกองใหญ่มหาศาลที่มีพลัง วันนี้เขาไม่ต้องการอะไร นอกจากน้ำใจ หัวใจจากพวกเรา ต้องการความผูกพันธ์เหมือนในอดีต ดังนั้น หน้าที่ของพวกเรา คือ ไปกินนอนกับเขา นับแต่วันนี้เราปล่อยประเทศกลับไปเหมือนเดิมไม่ได้ เราล้าหลังมากแล้ว เกียรติประวัติไม่เหลือ สำหรับนโยบายประชานิยมของพ.ต.ท.ทักษิณ ถือเป็นประชานิยมเฟสที่หนึ่งเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงิน ใครลอกอย่าไปโกรธเขา สนับสนุนให้เขาลอก เพราะทำให้คนจนก้าวหน้า แต่เฟสสอง เราต้องทำให้เกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน ที่มีหนี้ 8 แสนล้านให้หมดไป เราต้องสร้างชีวิตเขาใหม่
ที่มา. Spring News
ความอยุติธรรม
บทบรรณาธิการ
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกระแสข่าวการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 40 แห่งทั่วประเทศว่า การข่าวแจ้งว่าอาจมีการลอบวางระเบิดหรือสร้างสถานการณ์อย่างที่เคยเกิดขึ้นภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี จึงสั่งการให้ตำรวจลงพื้นที่ติดตามหาข่าวเพื่อเตรียมมาตรการเฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัย
แต่ที่น่าวิตกคือ พล.ต.อ.ปทีปเปิดเผยว่ามีข่าวลอบสังหารหรือปองร้ายบุคคลสำคัญจริง และได้ส่งกำลังตำรวจเข้าไปคุ้มกันและดูแลความปลอดภัยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตุลาการที่พิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
แม้ พล.ต.อ.ปทีปไม่สามารถให้รายละเอียดว่าจะเป็นการก่อเหตุในลักษณะใดและจุดใด แต่ในที่ประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ประเมินและระบุสถานที่ที่เป็นจุดเสี่ยงในการสร้างสถานการณ์ไว้แล้ว อาทิ สถานที่ราชการและสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งตำรวจจะเข้าไปดูแลความปลอดภัย
ข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง ข่าวเท็จ หรือข่าวสร้างเพื่อหวังผลทางการเมือง หรือเพื่อเป็นเหตุผลในการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าเป็นข่าวที่ยังไม่น่าเชื่อถือ เพราะแม้แต่กรณีการยิงคลังน้ำมันก็มีการกล่าวหาและพาดพิงกันไปมา ตราบใดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ไม่สามารถจับผู้กระทำหรือมีหลักฐานชัดเจน เหมือนกรณีไอ้โม่งชุดดำและคนเผาศูนย์การค้าและอาคารต่างๆใจกลางเมือง ซึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. นำมากล่าวหาและจับกุมฝ่ายตรงข้าม
แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนเกือบ 100 ศพ วันนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยหลักฐานการชันสูตรอย่างเป็นทางการให้ประชาชนทราบ โดยเฉพาะการสังหารโหด 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งหากรัฐบาลและ ศอฉ. ยังปกปิดและไม่รายงานความคืบหน้าให้ประชาชนทราบ การจะสร้างความปรองดองก็เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครเชื่อว่ารัฐบาลมีความจริงใจ
ที่สำคัญการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น รัฐบาลและ ศอฉ. ก็ยังใช้ไล่ล่าและคุกคามคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวไปสอบสวนและอบรมตักเตือน หรือการจับกุมคุมขังอย่างเหวี่ยงแห แม้แต่นักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ทั้งยังยิ่งตอกย้ำให้เกิดความเกลียดชังและโกรธแค้น แทนที่จะเป็นการสร้างความสามัคคี ขณะที่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิก็ไม่สามารถต่อสู้หรือเรียกหาความรับผิดชอบและเรียกร้องความยุติธรรมจากการกระทำของรัฐบาลและ ศอฉ. ได้เลย แม้แต่ผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐสังหารอย่างโหดเหี้ยม
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกระแสข่าวการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 40 แห่งทั่วประเทศว่า การข่าวแจ้งว่าอาจมีการลอบวางระเบิดหรือสร้างสถานการณ์อย่างที่เคยเกิดขึ้นภายในกรมพลาธิการทหารบก จังหวัดนนทบุรี จึงสั่งการให้ตำรวจลงพื้นที่ติดตามหาข่าวเพื่อเตรียมมาตรการเฝ้าระวังและดูแลความปลอดภัย
แต่ที่น่าวิตกคือ พล.ต.อ.ปทีปเปิดเผยว่ามีข่าวลอบสังหารหรือปองร้ายบุคคลสำคัญจริง และได้ส่งกำลังตำรวจเข้าไปคุ้มกันและดูแลความปลอดภัยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ตุลาการที่พิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
แม้ พล.ต.อ.ปทีปไม่สามารถให้รายละเอียดว่าจะเป็นการก่อเหตุในลักษณะใดและจุดใด แต่ในที่ประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ประเมินและระบุสถานที่ที่เป็นจุดเสี่ยงในการสร้างสถานการณ์ไว้แล้ว อาทิ สถานที่ราชการและสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งตำรวจจะเข้าไปดูแลความปลอดภัย
ข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง ข่าวเท็จ หรือข่าวสร้างเพื่อหวังผลทางการเมือง หรือเพื่อเป็นเหตุผลในการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่อไปหรือไม่ก็ตาม ต้องถือว่าเป็นข่าวที่ยังไม่น่าเชื่อถือ เพราะแม้แต่กรณีการยิงคลังน้ำมันก็มีการกล่าวหาและพาดพิงกันไปมา ตราบใดที่รัฐบาลและ ศอฉ. ไม่สามารถจับผู้กระทำหรือมีหลักฐานชัดเจน เหมือนกรณีไอ้โม่งชุดดำและคนเผาศูนย์การค้าและอาคารต่างๆใจกลางเมือง ซึ่งรัฐบาลและ ศอฉ. นำมากล่าวหาและจับกุมฝ่ายตรงข้าม
แม้แต่การเสียชีวิตของประชาชนเกือบ 100 ศพ วันนี้ก็ยังไม่มีการเปิดเผยหลักฐานการชันสูตรอย่างเป็นทางการให้ประชาชนทราบ โดยเฉพาะการสังหารโหด 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งหากรัฐบาลและ ศอฉ. ยังปกปิดและไม่รายงานความคืบหน้าให้ประชาชนทราบ การจะสร้างความปรองดองก็เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีใครเชื่อว่ารัฐบาลมีความจริงใจ
ที่สำคัญการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินนั้น รัฐบาลและ ศอฉ. ก็ยังใช้ไล่ล่าและคุกคามคนเสื้อแดงและฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียกตัวไปสอบสวนและอบรมตักเตือน หรือการจับกุมคุมขังอย่างเหวี่ยงแห แม้แต่นักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวางทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ทั้งยังยิ่งตอกย้ำให้เกิดความเกลียดชังและโกรธแค้น แทนที่จะเป็นการสร้างความสามัคคี ขณะที่ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิก็ไม่สามารถต่อสู้หรือเรียกหาความรับผิดชอบและเรียกร้องความยุติธรรมจากการกระทำของรัฐบาลและ ศอฉ. ได้เลย แม้แต่ผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐสังหารอย่างโหดเหี้ยม
รัฐเอาแน่ช่วยเอกชนฟ้องบ.ประกัน ฐานเบี้ยวจ่ายพิษแดงเผา ดันครม.ให้เงินกู้ช่วงขึ้นศาล
"กอร์ปศักดิ์" กล่อมบริษัทประกันยกสุดท้ายไร้ผล ลั่นให้กระทรวงยุติธรรมช่วยหนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากม็อบแดงฟ้องร้อง แถมช่วงคดีขึ้นศาล จะหาเงินกู้ให้เป็นทุนดำเนินการอีกก้อน เผยผู้ประกอบการ 45 ราย ทำประกันพันกรมธรรม์ มูลค่ากว่าสองแสนล้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านในเซ็นทรัลเวิลด์-บิ๊กซี ด้านสมาคมประกันฯ ยันจ่ายไม่ได้ ยืนกฎมาตรฐานเดียว
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เปิดเผยว่า ได้เชิญผู้บริหารบริษัทประกันภัยจำนวน 15 บริษัท หารือถึงความชัดเจนในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม แต่บริษัทประกันภัยยังคงยืนยันว่าไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประกอบการที่ทำเฉพาะประกันอัคคีภัยและการจลาจล แต่ไม่ได้ทำประกันภัยการก่อการร้าย คณะกรรมการจึงจำเป็นต้องทำเรื่องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เข้าช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการในการฟ้องร้องคดีกับบริษัทประกันเป็นกรณีๆ
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนั้น ในระหว่างที่คดีอยู่ในช่วงฟ้องร้อง ซึ่งอาจใช้เวลา 4-5 ปี ก็จะเสนอให้ ครม.จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียหาย เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินงาน เมื่อผู้ชนะคดีแล้วก็จะได้นำเงินมาใช้คืน รวมทั้งจะต้องพิจารณาด้วยว่ากรณีประกอบการที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจะทำอย่างไร โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการเยียวยาพิจารณา จากนั้น ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ก็จะทำเรื่องเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง
"จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยากจะเตือนนักธุรกิจและผู้บริโภคเวลาทำประกันควรดูความคุ้มครองให้ดี" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมีการทำประกันภัย 45 บริษัท จำนวน 1,005 กรมธรรม์ มูลค่าเงินเอาประกัน 190,822 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีผู้ที่ทำประกันภัยที่มีวงเงินเอาประกันต่ำกว่า 5 ล้านบาท 614 กรมธรรม์ มูลค่าเงินเอาประกัน 1,057.98 ล้านบาท หากแยกตามพื้นที่ความเสียหายพบว่าผู้ประกอบการที่ทำประกันภัยไว้มากที่สุด คือผู้ประกอบการในเซ็นทรัลเวิลด์ บิ๊กซี และศูนย์การค้าเซน จำนวน 536 กรมธรรม์ คิดเป็นมูลค่าเงินเอาประกัน 91,965 ล้านบาท
"อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินเอาประกันทั้งหมด 190,822 ล้านบาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะผู้ประกอบการบางรายเสียหายเล็กน้อยบางรายเสียหายมาก จึงต้องมีการประเมินความเสียหายที่ชัดเจนอีกครั้ง"
ส่วนกรณีให้กรมสิทธิและเสรีภาพเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนนั้น ทางกรมคุ้มครองสิทธิจะเข้าไปดูด้วยว่าสัญญาประกันภัยที่บริษัทประกันทำไว้กับลูกค้าเข้าข่ายสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากพบว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมก็จะต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อไป
นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า สมาคมในฐานะตัวแทนบริษัทประกัน ยืนยันไม่สามารถจ่ายสินไหมได้ เพราะการดำเนินการของบริษัทประกันต้องให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งหากรัฐบาลจะใช้ช่องทางศาลยุติธรรม และหากศาลชี้ขาดว่าต้องจ่าย บริษัทก็ไม่มีปัญหา ขึ้นกับดุลพินิจของศาล
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เปิดเผยว่า ได้เชิญผู้บริหารบริษัทประกันภัยจำนวน 15 บริษัท หารือถึงความชัดเจนในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม แต่บริษัทประกันภัยยังคงยืนยันว่าไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประกอบการที่ทำเฉพาะประกันอัคคีภัยและการจลาจล แต่ไม่ได้ทำประกันภัยการก่อการร้าย คณะกรรมการจึงจำเป็นต้องทำเรื่องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เข้าช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการในการฟ้องร้องคดีกับบริษัทประกันเป็นกรณีๆ
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนั้น ในระหว่างที่คดีอยู่ในช่วงฟ้องร้อง ซึ่งอาจใช้เวลา 4-5 ปี ก็จะเสนอให้ ครม.จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียหาย เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินงาน เมื่อผู้ชนะคดีแล้วก็จะได้นำเงินมาใช้คืน รวมทั้งจะต้องพิจารณาด้วยว่ากรณีประกอบการที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจะทำอย่างไร โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการเยียวยาพิจารณา จากนั้น ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ก็จะทำเรื่องเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง
"จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยากจะเตือนนักธุรกิจและผู้บริโภคเวลาทำประกันควรดูความคุ้มครองให้ดี" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมีการทำประกันภัย 45 บริษัท จำนวน 1,005 กรมธรรม์ มูลค่าเงินเอาประกัน 190,822 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีผู้ที่ทำประกันภัยที่มีวงเงินเอาประกันต่ำกว่า 5 ล้านบาท 614 กรมธรรม์ มูลค่าเงินเอาประกัน 1,057.98 ล้านบาท หากแยกตามพื้นที่ความเสียหายพบว่าผู้ประกอบการที่ทำประกันภัยไว้มากที่สุด คือผู้ประกอบการในเซ็นทรัลเวิลด์ บิ๊กซี และศูนย์การค้าเซน จำนวน 536 กรมธรรม์ คิดเป็นมูลค่าเงินเอาประกัน 91,965 ล้านบาท
"อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินเอาประกันทั้งหมด 190,822 ล้านบาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะผู้ประกอบการบางรายเสียหายเล็กน้อยบางรายเสียหายมาก จึงต้องมีการประเมินความเสียหายที่ชัดเจนอีกครั้ง"
ส่วนกรณีให้กรมสิทธิและเสรีภาพเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนนั้น ทางกรมคุ้มครองสิทธิจะเข้าไปดูด้วยว่าสัญญาประกันภัยที่บริษัทประกันทำไว้กับลูกค้าเข้าข่ายสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากพบว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมก็จะต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อไป
นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า สมาคมในฐานะตัวแทนบริษัทประกัน ยืนยันไม่สามารถจ่ายสินไหมได้ เพราะการดำเนินการของบริษัทประกันต้องให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งหากรัฐบาลจะใช้ช่องทางศาลยุติธรรม และหากศาลชี้ขาดว่าต้องจ่าย บริษัทก็ไม่มีปัญหา ขึ้นกับดุลพินิจของศาล
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เสียงลอดลูกกรงคุกคลองเปรม คุยกับ นปช.-ผู้สมัคร ส.ส.และผู้ก่อการร้าย
รายงานพิเศษ
แกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ถูกควบคุมตัวมารวมกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเรือนจำกลางคลองเปรม
ทันทีที่เวลาเยี่ยมมาถึง แทบทุกวัน มีเหล่าสาวก-ญาติมิตร เข้าคิว-ลงชื่อและถูกตรวจค้นทรัพย์สิน เพื่อ "ขอเยี่ยม"
ก่อนที่ "ก่อแก้ว พิกุลทอง" จะได้ประกันตัวออกไป ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต 6 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ภรรยาและ "น้องมุก" บุตรสาววัย 10 เดือนของเขา ก็ไปเข้าคิว
ทั้งผู้ถูกคุมขังและผู้เข้าเยี่ยม ต้องสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ที่มีผนังกระจกและลูกกรงคั่นกลาง
ใบหน้าคนในห้องขัง ดูไม่กังวลเท่ากับญาติพี่น้องและคนข้างนอก ที่ยืนชะเง้อ รอคิวขอคุยโทรศัพท์กับแกนนำ
แกนนำ นปช. 6 คน ยืนเรียงแถวถือหูโทรศัพท์คนละเครื่อง ทั้ง "น.พ.เหวง โตจิราการ" "ขวัญชัย (สาราคำ) ไพรพนา" "วิภูแถลง พัฒนภูมิไท" "ก่อแก้ว พิกุลทอง" "ยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก" "อำนาจ อินทโชติ"...
"ก่อแก้ว" ยอมรับว่า ที่ตัวเองได้ เป็นผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย เพราะพิจารณาคุณสมบัติของ "ณัฐวุฒิ" และพบอุปสรรคบางประการ
"ทางพรรคเห็นว่าคุณสมบัติของณัฐวุฒิไม่ครบถ้วน จึงส่งผมลงสมัครรับเลือกตั้ง ผมก็มีความยินดีและพร้อมลงสมัครรับ เลือกตั้ง ส่วนการหาเสียงนั้น คงขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทย เพราะขณะนี้ยังอยู่ใน เรือนจำ..." ก่อแก้วพูดผ่านลูกกรง
ถัดไปเป็นเสียงจาก "หมอเหวง" เขาพูดว่า "ต้องขอขอบคุณทางเรือนจำที่ดูแลพวกเราด้วยความห่วงใยเรื่องความปลอดภัย เราได้รับความสะดวกตามสภาพ ส่วนการเลือกตั้งซ่อมนั้น เห็นว่ารัฐบาลควรเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อความแฟร์ในการหาเสียง สำหรับผลการเลือกตั้ง เชื่อว่าประชาชนจะให้ความไว้วางใจเลือกพรรคเพื่อไทย..."
ห่างจากเรือนจำคลองเปรมไม่ไกล เป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
ที่นั่นมีแกนนำระดับ "วีระ มุสิกพงศ์" "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" "นิสิต สินธุไพร" "พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง" "สมบัติ มากทอง" ถูกควบคุมอยู่รวมกัน
ผู้เข้าเยี่ยม มีภรรยาหมอเหวง "ธิดา ถาวรเศรษฐ์" ผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง 2 เรือนจำ เดินทางไป ๆ มา ๆ ทั้ง 2 แห่ง แทบทุกวัน
พร้อม ๆ กับภรรยาของณัฐวุฒิ เดินทางมาเยี่ยมเช่นเดียวกัน
เธอเล่าถึงลูกชายคนโต ที่พูดถึงพ่อระหว่างถูกคุมขังว่า "พ่อไปทำงาน..."
ทั้ง "ณัฐวุฒิ" และ "วีระ" ได้รับความสนใจจาก "แม่ยก" จำนวนมาก เดินทางมาให้กำลังใจ ทั้งส่วนที่สามารถเข้าไปยัง ห้องเยี่ยมได้ และอีกส่วนที่ไม่สามารถเข้าไปได้ด้วยเหตุผลการจำกัดจำนวนคนแต่ละรอบของวัน
จำนวนหนึ่งจึงได้แต่โบกไม้โบกมือ ให้เห็นหน้าเห็นตา ผ่านเหล็กดัดที่อยู่ด้านนอกอีกชั้น บางครั้งมีเสียงตะโกนพร้อมกันดัง ๆ เข้าไปถึงแกนนำข้างใน ด้วยคำว่า "สู้ ๆ" ผ่านกระจกและลูกกรง
ณัฐวุฒิบอกว่า "พี่มีคุณสมบัติไม่ครบ พรรคเพื่อไทย ส่งก่อแก้วลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ก็เหมาะสมแล้ว และคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นมากกว่าการเลือกตั้งซ่อมทั่วไป เพราะเป็นการแข่งขันกันของพรรคการ เมืองทั้ง 2 ฝ่าย..."
ส่วนสนามเลือกตั้งใหญ่ จะได้เปิดรับสมัคร "ณัฐวุฒิ" หรือไม่นั้น เขาบอกแต่เพียงว่า "พี่ถูกหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนะ..."
ถึงคิวได้คุยกับ "วีระ" เขาพูดถึงการที่พรรคเพื่อไทยเลือก 1 ในแกนนำ นปช. เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ว่า "ก็มีความยินดีและขอให้ช่วยกันหาเสียงให้มาก ๆ ส่วนผลการเลือกตั้งจะชนะหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ประชาชน..."
สิ้นสุดเวลาเยี่ยม ญาติ ๆ และกองเชียร์-แม่ยก-สาวกเสื้อแดง ทยอยเดินออกจากจุดเยี่ยม
ก่อนออกจากเรือนจำพิเศษ แวะสนทนากับ "ธิดา ฐาวรเศรษฐ์" ภรรยาหมอเหวง ในฐานะครูใหญ่โรงเรียน นปช.อีกครั้ง
เธอบอกว่า "ในเรื่องการเมืองขณะนี้ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ด้านหนึ่งเหมือนประเทศไทยป่วยเป็นโรค แต่ผู้คุมอำนาจรัฐ วินิจฉัยโรคผิด จะไม่สามารถรักษาโรคได้ เพราะท่านตั้งโจทย์ว่าประชาชนคนไทยโง่ ขายเสียงและถูกหลอกได้"
"พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุด มีจุดเริ่มต้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน แต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เขาจึงต้องไปสำรวจตัวเขา แล้วคำถามก็คือ มีผู้สนับสนุนเขา แต่มาถึงนาทีนี้ ประชาชนทั่วไป ประชาชนรากหญ้า เขาไม่สนับสนุนเขาในฐานะเป็นสถาบันพรรคการเมือง แม้ว่าเขาอาจจะมองว่าคุณชวน หลีกภัย เป็นคนดี คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นคนดี"
ทุกชีวิตสีแดง...ยังคงดำเนินไปในคุกคลองเปรม และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนกว่าจะได้รับอิสระ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
แกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ถูกควบคุมตัวมารวมกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเรือนจำกลางคลองเปรม
ทันทีที่เวลาเยี่ยมมาถึง แทบทุกวัน มีเหล่าสาวก-ญาติมิตร เข้าคิว-ลงชื่อและถูกตรวจค้นทรัพย์สิน เพื่อ "ขอเยี่ยม"
ก่อนที่ "ก่อแก้ว พิกุลทอง" จะได้ประกันตัวออกไป ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต 6 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ภรรยาและ "น้องมุก" บุตรสาววัย 10 เดือนของเขา ก็ไปเข้าคิว
ทั้งผู้ถูกคุมขังและผู้เข้าเยี่ยม ต้องสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ที่มีผนังกระจกและลูกกรงคั่นกลาง
ใบหน้าคนในห้องขัง ดูไม่กังวลเท่ากับญาติพี่น้องและคนข้างนอก ที่ยืนชะเง้อ รอคิวขอคุยโทรศัพท์กับแกนนำ
แกนนำ นปช. 6 คน ยืนเรียงแถวถือหูโทรศัพท์คนละเครื่อง ทั้ง "น.พ.เหวง โตจิราการ" "ขวัญชัย (สาราคำ) ไพรพนา" "วิภูแถลง พัฒนภูมิไท" "ก่อแก้ว พิกุลทอง" "ยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก" "อำนาจ อินทโชติ"...
"ก่อแก้ว" ยอมรับว่า ที่ตัวเองได้ เป็นผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย เพราะพิจารณาคุณสมบัติของ "ณัฐวุฒิ" และพบอุปสรรคบางประการ
"ทางพรรคเห็นว่าคุณสมบัติของณัฐวุฒิไม่ครบถ้วน จึงส่งผมลงสมัครรับเลือกตั้ง ผมก็มีความยินดีและพร้อมลงสมัครรับ เลือกตั้ง ส่วนการหาเสียงนั้น คงขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทย เพราะขณะนี้ยังอยู่ใน เรือนจำ..." ก่อแก้วพูดผ่านลูกกรง
ถัดไปเป็นเสียงจาก "หมอเหวง" เขาพูดว่า "ต้องขอขอบคุณทางเรือนจำที่ดูแลพวกเราด้วยความห่วงใยเรื่องความปลอดภัย เราได้รับความสะดวกตามสภาพ ส่วนการเลือกตั้งซ่อมนั้น เห็นว่ารัฐบาลควรเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อความแฟร์ในการหาเสียง สำหรับผลการเลือกตั้ง เชื่อว่าประชาชนจะให้ความไว้วางใจเลือกพรรคเพื่อไทย..."
ห่างจากเรือนจำคลองเปรมไม่ไกล เป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
ที่นั่นมีแกนนำระดับ "วีระ มุสิกพงศ์" "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" "นิสิต สินธุไพร" "พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง" "สมบัติ มากทอง" ถูกควบคุมอยู่รวมกัน
ผู้เข้าเยี่ยม มีภรรยาหมอเหวง "ธิดา ถาวรเศรษฐ์" ผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง 2 เรือนจำ เดินทางไป ๆ มา ๆ ทั้ง 2 แห่ง แทบทุกวัน
พร้อม ๆ กับภรรยาของณัฐวุฒิ เดินทางมาเยี่ยมเช่นเดียวกัน
เธอเล่าถึงลูกชายคนโต ที่พูดถึงพ่อระหว่างถูกคุมขังว่า "พ่อไปทำงาน..."
ทั้ง "ณัฐวุฒิ" และ "วีระ" ได้รับความสนใจจาก "แม่ยก" จำนวนมาก เดินทางมาให้กำลังใจ ทั้งส่วนที่สามารถเข้าไปยัง ห้องเยี่ยมได้ และอีกส่วนที่ไม่สามารถเข้าไปได้ด้วยเหตุผลการจำกัดจำนวนคนแต่ละรอบของวัน
จำนวนหนึ่งจึงได้แต่โบกไม้โบกมือ ให้เห็นหน้าเห็นตา ผ่านเหล็กดัดที่อยู่ด้านนอกอีกชั้น บางครั้งมีเสียงตะโกนพร้อมกันดัง ๆ เข้าไปถึงแกนนำข้างใน ด้วยคำว่า "สู้ ๆ" ผ่านกระจกและลูกกรง
ณัฐวุฒิบอกว่า "พี่มีคุณสมบัติไม่ครบ พรรคเพื่อไทย ส่งก่อแก้วลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ก็เหมาะสมแล้ว และคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นมากกว่าการเลือกตั้งซ่อมทั่วไป เพราะเป็นการแข่งขันกันของพรรคการ เมืองทั้ง 2 ฝ่าย..."
ส่วนสนามเลือกตั้งใหญ่ จะได้เปิดรับสมัคร "ณัฐวุฒิ" หรือไม่นั้น เขาบอกแต่เพียงว่า "พี่ถูกหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนะ..."
ถึงคิวได้คุยกับ "วีระ" เขาพูดถึงการที่พรรคเพื่อไทยเลือก 1 ในแกนนำ นปช. เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ว่า "ก็มีความยินดีและขอให้ช่วยกันหาเสียงให้มาก ๆ ส่วนผลการเลือกตั้งจะชนะหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ประชาชน..."
สิ้นสุดเวลาเยี่ยม ญาติ ๆ และกองเชียร์-แม่ยก-สาวกเสื้อแดง ทยอยเดินออกจากจุดเยี่ยม
ก่อนออกจากเรือนจำพิเศษ แวะสนทนากับ "ธิดา ฐาวรเศรษฐ์" ภรรยาหมอเหวง ในฐานะครูใหญ่โรงเรียน นปช.อีกครั้ง
เธอบอกว่า "ในเรื่องการเมืองขณะนี้ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ด้านหนึ่งเหมือนประเทศไทยป่วยเป็นโรค แต่ผู้คุมอำนาจรัฐ วินิจฉัยโรคผิด จะไม่สามารถรักษาโรคได้ เพราะท่านตั้งโจทย์ว่าประชาชนคนไทยโง่ ขายเสียงและถูกหลอกได้"
"พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุด มีจุดเริ่มต้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน แต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เขาจึงต้องไปสำรวจตัวเขา แล้วคำถามก็คือ มีผู้สนับสนุนเขา แต่มาถึงนาทีนี้ ประชาชนทั่วไป ประชาชนรากหญ้า เขาไม่สนับสนุนเขาในฐานะเป็นสถาบันพรรคการเมือง แม้ว่าเขาอาจจะมองว่าคุณชวน หลีกภัย เป็นคนดี คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นคนดี"
ทุกชีวิตสีแดง...ยังคงดำเนินไปในคุกคลองเปรม และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนกว่าจะได้รับอิสระ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
ทักษิณ ประกาศปีนี้ได้กลับไทยแน่นอน
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้วิดีโอลิงก์ในงานสัมมนาพรรคเพื่อไทย ยืนยันสุขภาพยังแข็งแรง ประกาศปีนี้ได้กลับประเทศไทยอย่างแน่นอน พร้อมแนะรัฐบาล หากอยากปรองดอง ควรหันหน้าเข้าคุยกัน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์เข้ามาในงานสัมมนาของพรรคเพื่อไทย โดยกล่าวว่า ยังมีชีวิตอยู่ มีสุขภาพแข็งแรง และจิตใจยังดีพร้อม
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า พร้อมพูดคุยกับทุกคน แต่กลับโดนกล่าวหาว่ากล่าวเท็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะที่ดีขึ้นแล้ว ความจริงจะปรากฏ และผู้ที่เป็นตัวจริงก็จะอยู่ได้ พร้อมแสดงความเป็นห่วงส.ส.ที่ลงพื้นที่ รวมถึงกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นศัตรูของประเทศ
พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุอีกว่า จะอดทนเป็นหลัก พร้อมยืนยันว่า จะได้กลับประเทศไทยภายในปีนี้อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปชี้แจงนานาชาติว่า นายนพดลเพียงเดินทางไปชี้แจงให้ต่างประเทศเข้าใจในเรื่องที่ตนถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย พร้อมกล่าวแนะรัฐบาลว่า หากรัฐบาลต้องการปรองดองจริง ก็เพียงแค่หยิบยื่นประชาธิปไตยให้ประชาชน เมื่อหันหน้าเข้ากัน และคุยกัน บ้านเมืองก็จะมีความสุข
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวให้ข้อคิดกับส.ส.ของพรรคว่า คนเป็นนักการเมืองต้องพร้อมด้วยอุดมการณ์เพื่อประชาธิปไตยและจะต้องนำความผาสุขมาสู่ประชาชน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์เข้ามาในงานสัมมนาของพรรคเพื่อไทย โดยกล่าวว่า ยังมีชีวิตอยู่ มีสุขภาพแข็งแรง และจิตใจยังดีพร้อม
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า พร้อมพูดคุยกับทุกคน แต่กลับโดนกล่าวหาว่ากล่าวเท็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะที่ดีขึ้นแล้ว ความจริงจะปรากฏ และผู้ที่เป็นตัวจริงก็จะอยู่ได้ พร้อมแสดงความเป็นห่วงส.ส.ที่ลงพื้นที่ รวมถึงกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นศัตรูของประเทศ
พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุอีกว่า จะอดทนเป็นหลัก พร้อมยืนยันว่า จะได้กลับประเทศไทยภายในปีนี้อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปชี้แจงนานาชาติว่า นายนพดลเพียงเดินทางไปชี้แจงให้ต่างประเทศเข้าใจในเรื่องที่ตนถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย พร้อมกล่าวแนะรัฐบาลว่า หากรัฐบาลต้องการปรองดองจริง ก็เพียงแค่หยิบยื่นประชาธิปไตยให้ประชาชน เมื่อหันหน้าเข้ากัน และคุยกัน บ้านเมืองก็จะมีความสุข
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวให้ข้อคิดกับส.ส.ของพรรคว่า คนเป็นนักการเมืองต้องพร้อมด้วยอุดมการณ์เพื่อประชาธิปไตยและจะต้องนำความผาสุขมาสู่ประชาชน
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
'ฆ่า มาร์ค-ฆ่าผู้นำ'!!
'ฆ่า มาร์ค-ฆ่าผู้นำ'!!
ช่างอีลุ่ยฉุยแฉก ออก “ข่าวแปลกแปลก” ...อย่างไม่สมควร ที่จะทำ??
เพราะต้องการคงไว้ ซึ่ง “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” กฎหมายเผด็จการ กดหัวค้ำกบาล “คนเสื้อแดง นปช.ทั้ง
แผ่นดิน” ไม่ให้ขยายแพร่พันธุ์ เป็นปฏิปักษ์กับ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน”
จากการ “ปล่อยข่าวแง่ร้าย”....ประเทศไทยเพิ่ม ความปี้ป่น
ต่างชาติ ที่จะรีเทิร์นเดินกลับมาลงทุนกันใหม่...หันหลังแจวกลับ หนีแผ่นดินไทย ดินแดนอันตราย ที่มี
แต่การ “ปั้นน้ำเป็นตัว” ว่าจะลอบสังหาร “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นรายวัน!!!
“อภิสิทธิ์” ได้ความชอบธรรมต่อ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”...แต่ชาติยับเยิน?..เกินไปแล้วนะทั่น??
****************************
เขียนเสือให้วัวกลัว!!!
“ศอฉ.” ทำหน้าที่กรอกหู เป่าหู ได้สม่ำเสมอ เหมือนเดิมขอรับทูนหัว???
นี่,ลูกน้องหน้าหวาน “เสธ.ไก่อู” พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. และขบวนการ ยังสร้างมหากาพย์เอาโทษความผิดกับ “คนเสื้อแดง” ไม่เลิก เสียที
โพนทะนาเสียงดังเปรี้ยง...มีการเตรียม “ท่อน้ำเลี้ยง” ๔ แสนล้าน เพื่อโค่นรัฐบาลนี้
แต่ดูกันแล้ว “ขบวนการเสื้อแดง” ไม่มีการกระดิกพลิกตัว ปฏิบัติการลงใต้ดิน ทำอะไรทั้งสิ้น?...มีแต่คนหัวใจสีแดง อย่าง “อ้วน บัวใหญ่” แดงโคราช บอดี้การ์ด “แรมโบ้อีสาน” ถูกยิงดับ..และ “พันจ่าอากาศเอก” มือคุ้มครอง “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” แดงปทุมธานี ถูกดับชีพ ร่วงทีละคน
“เสื้อแดง” อยู่ใต้กฎหมาย....ท่อน้ำเลี้ยง ๔ แสนล้านมีที่ไหน?...เลิกสร้างเรื่องเหลวไหล สร้างความสับสน??
*******************************
เป็น 'ด่านหน้า' ที่หนุน 'รัฐบาลมาร์ค'!!
“เครือสหพัฒน์” เดี๋ยวนี้ พากันร้องจ๊าก???
เพราะนับแต่ “นายกฯ มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระชับพื้นที่ และ ยึดพื้นที่คืน โดยมี หมู่มวลขบวนการคนเสื้อแดงตายเป็นเบือ..ปรากฏว่า “ต่างชาติ” โบกมือบ๊าย..บาย ซาโยนาระ ไทยเป็นแถว
เอกชน “เครือสหพัฒน์”....พากันเจ๊งสะบัด จึงออกมาร้องตะแง้ว
โดย “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานเครือสหพัฒน์ กู่ก้องร้องปากจะฉีก ให้รัฐบาลรีบดึงต่างชาติกลับ ...เพราะนับวันเอกชน แจ้งบัญชีเจ๊ง กันมากขึ้นทุกที!!!
ก็สมน้ำหน้า...เพราะชอบหนุนรัฐบาลไม่มีน้ำยา?....จึงต้องประสบชะตากรรม เช่นนี้???
*****************************
๖ วัน ๖๓ ล้านความคิด!!
โครงการ สวยเริด ประเสริฐจ้า..ในการระดมสมอง สร้างความ “ปรองดองแก่ชาติ”...โดยเกิดจากไอเดีย มันสมอง ของ “นายกฯ อภิสิทธิ์”???
แทนที่ “ท่านมาร์ค” จะได้รับไอเดียกิ๊บเก๋ไก๋...จากโทรศัพท์ ที่ ลดตัวลงมารับสายด้วยตัวเอง..กลายเป็นว่า มีประชาชนโทรมา “ด่าสายไหม้” จนสายหลุด
เพราะเขารู้นี่คือการ “สร้างภาพ”...จึงโทรมาด่ากันยับ เพื่อให้รัฐบาลหยุด
หากจริงใจ ไม่มีรายการ จิงโจ้กันแล้ว...ไม่ควรชักแถว เอาคนเลือกสี อย่าง “อานันท์ ปันยารชุน” และ “หมอประเวศ วะสี” มายกเครื่องปฏิรูปประเทศไทย เช่นนี้!!!!
ชอบเล่นบทแหกตา.... “อภิสิทธิ์”โผล่หน้าออกมา?...จึงโดนด่า ไม่มีชิ้นดี??
********************
ขี่ช้างจับตั๊กแตน!!!
สิ้นเปลือง ไร้ประโยชน์ กับการไล่ล่า “อดีต นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ด้วยเพลิงแค้น??
หยุดเสียดีกว่า ที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”, “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และ “กษิต ภิรมย์” รมว.ต่างประเทศ ทุ่มงบประมาณแผ่นดิน ตามจับตัว “ทักษิณ”
งบประมาณที่ทุ่ม..ไม่คุ้มกับความสุรุ่ยสุร่าย มีแต่ผลาญงบประมาณแผ่นดิน
เพราะต่างชาติรู้ดีว่า “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ใช่ตัวร้าย ที่ทำร้ายประเทศไทย..แต่กลุ่มที่คุมอำนาจประเทศไทยไว้ในมือขณะนี้ ..ทำให้ “ไทยแตกเป็นเสี่ยง” เขาต่างรู้ดี!!!
อย่าใช้เงินด้วยความเพี้ยน...เอาเงินไปสร้างถนนสร้างโรงเรียน!....คนจะได้ไม่สะอิดสะเอียน น่ะสิ????
************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อย“การบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
ช่างอีลุ่ยฉุยแฉก ออก “ข่าวแปลกแปลก” ...อย่างไม่สมควร ที่จะทำ??
เพราะต้องการคงไว้ ซึ่ง “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” กฎหมายเผด็จการ กดหัวค้ำกบาล “คนเสื้อแดง นปช.ทั้ง
แผ่นดิน” ไม่ให้ขยายแพร่พันธุ์ เป็นปฏิปักษ์กับ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน”
จากการ “ปล่อยข่าวแง่ร้าย”....ประเทศไทยเพิ่ม ความปี้ป่น
ต่างชาติ ที่จะรีเทิร์นเดินกลับมาลงทุนกันใหม่...หันหลังแจวกลับ หนีแผ่นดินไทย ดินแดนอันตราย ที่มี
แต่การ “ปั้นน้ำเป็นตัว” ว่าจะลอบสังหาร “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นรายวัน!!!
“อภิสิทธิ์” ได้ความชอบธรรมต่อ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”...แต่ชาติยับเยิน?..เกินไปแล้วนะทั่น??
****************************
เขียนเสือให้วัวกลัว!!!
“ศอฉ.” ทำหน้าที่กรอกหู เป่าหู ได้สม่ำเสมอ เหมือนเดิมขอรับทูนหัว???
นี่,ลูกน้องหน้าหวาน “เสธ.ไก่อู” พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. และขบวนการ ยังสร้างมหากาพย์เอาโทษความผิดกับ “คนเสื้อแดง” ไม่เลิก เสียที
โพนทะนาเสียงดังเปรี้ยง...มีการเตรียม “ท่อน้ำเลี้ยง” ๔ แสนล้าน เพื่อโค่นรัฐบาลนี้
แต่ดูกันแล้ว “ขบวนการเสื้อแดง” ไม่มีการกระดิกพลิกตัว ปฏิบัติการลงใต้ดิน ทำอะไรทั้งสิ้น?...มีแต่คนหัวใจสีแดง อย่าง “อ้วน บัวใหญ่” แดงโคราช บอดี้การ์ด “แรมโบ้อีสาน” ถูกยิงดับ..และ “พันจ่าอากาศเอก” มือคุ้มครอง “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” แดงปทุมธานี ถูกดับชีพ ร่วงทีละคน
“เสื้อแดง” อยู่ใต้กฎหมาย....ท่อน้ำเลี้ยง ๔ แสนล้านมีที่ไหน?...เลิกสร้างเรื่องเหลวไหล สร้างความสับสน??
*******************************
เป็น 'ด่านหน้า' ที่หนุน 'รัฐบาลมาร์ค'!!
“เครือสหพัฒน์” เดี๋ยวนี้ พากันร้องจ๊าก???
เพราะนับแต่ “นายกฯ มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระชับพื้นที่ และ ยึดพื้นที่คืน โดยมี หมู่มวลขบวนการคนเสื้อแดงตายเป็นเบือ..ปรากฏว่า “ต่างชาติ” โบกมือบ๊าย..บาย ซาโยนาระ ไทยเป็นแถว
เอกชน “เครือสหพัฒน์”....พากันเจ๊งสะบัด จึงออกมาร้องตะแง้ว
โดย “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานเครือสหพัฒน์ กู่ก้องร้องปากจะฉีก ให้รัฐบาลรีบดึงต่างชาติกลับ ...เพราะนับวันเอกชน แจ้งบัญชีเจ๊ง กันมากขึ้นทุกที!!!
ก็สมน้ำหน้า...เพราะชอบหนุนรัฐบาลไม่มีน้ำยา?....จึงต้องประสบชะตากรรม เช่นนี้???
*****************************
๖ วัน ๖๓ ล้านความคิด!!
โครงการ สวยเริด ประเสริฐจ้า..ในการระดมสมอง สร้างความ “ปรองดองแก่ชาติ”...โดยเกิดจากไอเดีย มันสมอง ของ “นายกฯ อภิสิทธิ์”???
แทนที่ “ท่านมาร์ค” จะได้รับไอเดียกิ๊บเก๋ไก๋...จากโทรศัพท์ ที่ ลดตัวลงมารับสายด้วยตัวเอง..กลายเป็นว่า มีประชาชนโทรมา “ด่าสายไหม้” จนสายหลุด
เพราะเขารู้นี่คือการ “สร้างภาพ”...จึงโทรมาด่ากันยับ เพื่อให้รัฐบาลหยุด
หากจริงใจ ไม่มีรายการ จิงโจ้กันแล้ว...ไม่ควรชักแถว เอาคนเลือกสี อย่าง “อานันท์ ปันยารชุน” และ “หมอประเวศ วะสี” มายกเครื่องปฏิรูปประเทศไทย เช่นนี้!!!!
ชอบเล่นบทแหกตา.... “อภิสิทธิ์”โผล่หน้าออกมา?...จึงโดนด่า ไม่มีชิ้นดี??
********************
ขี่ช้างจับตั๊กแตน!!!
สิ้นเปลือง ไร้ประโยชน์ กับการไล่ล่า “อดีต นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ด้วยเพลิงแค้น??
หยุดเสียดีกว่า ที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”, “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และ “กษิต ภิรมย์” รมว.ต่างประเทศ ทุ่มงบประมาณแผ่นดิน ตามจับตัว “ทักษิณ”
งบประมาณที่ทุ่ม..ไม่คุ้มกับความสุรุ่ยสุร่าย มีแต่ผลาญงบประมาณแผ่นดิน
เพราะต่างชาติรู้ดีว่า “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ใช่ตัวร้าย ที่ทำร้ายประเทศไทย..แต่กลุ่มที่คุมอำนาจประเทศไทยไว้ในมือขณะนี้ ..ทำให้ “ไทยแตกเป็นเสี่ยง” เขาต่างรู้ดี!!!
อย่าใช้เงินด้วยความเพี้ยน...เอาเงินไปสร้างถนนสร้างโรงเรียน!....คนจะได้ไม่สะอิดสะเอียน น่ะสิ????
************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อย“การบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
อำนาจเถื่อนและความกลัว
โดย Niwat Puttaprasart
นักปรัชญาชายขอบ
ต่อให้ผมรังเกียจทักษิณขนาดไหน แต่เพียงเปรียบเทียบแค่สองกรณีคือ 1) ตำนานเซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดิน กับตำนานเขายายเที่ยง และ 2) ตำนานถูกยึดทรัพย์ และตำนาน “รอด” ทุจริตกล้ายาง มโนธรรมของผมก็ย่อมสัมผัสได้ถึง “ความอยุติธรรม” ที่เขา (ทักษิณ) ได้รับ และนั่นย่อมเป็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ด้วย
และต่อให้ผมโกรธ “แกนนำเสื้อแดง” ขนาดไหนที่ (ในความรู้สึกของผม) พวกเขาขาดจิตสำนึกปกป้องชีวิตของมวลชน (และหรือ “อาจจะ” คิดใช้ชีวิตของมวลชนเป็นเครื่องมือเพื่อล้มรัฐบาลตั้งแต่แรก) แต่ผมก็ไม่มืดบอดพอที่จะมองไม่เห็นความอยุติธรรมที่พวกเขาไม่ได้รับการประกันตัว
ในขณะที่แกนนำพันธมิตรที่โดนข้อหา “ก่อการร้าย” เช่นกัน ยังลอยนวล และตวัดลิ้นห้าแฉกสร้าง “วัฒนธรรมความเกลียดชัง” ต่อไปและต่อไป (ไม่ใช่อยากให้จับแกนนำพันธมิตร แต่ไม่อยากให้จับใครทั้งสิ้นด้วยข้อหาที่คลุมเครือแบบนี้)
จะด้วยเหตุที่ผมพลัดหลงมาอยู่ใน “ดงคนชั้นกลางในเมือง” หรืออย่างไรไม่รู้ ที่ทำให้ผมมองเห็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ช้ากว่าคนรากหญ้าอีสาน ซึ่งเป็นมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับผม สำหรับพวกเขาแล้ว ความอยุติธรรมที่รับไม่ได้เลยคือ การที่สัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยถูกฉีกทิ้งโดยอำนาจนอกเจตจำนงทั่วไปของประชาชน หรือ “อำนาจเถื่อน”
เจตจำนงทั่งไปของประชาชนคือ ความต้องการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐประหารล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกคือการทำลายเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ซึ่งเท่ากับฉีกสัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยทิ้ง
ฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือที่ถูกสนับสนุนโดยกระบวนการรัฐประหาร จึงไม่ใช่รัฐบาลที่อาจแทนที่เจตจำนงทั่วไปของประชาชนได้ ด้วยเหตุนี้ “อำนาจรัฐที่ชอบธรรม” จึงไม่มีอยู่จริง!
ประชาชนจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะต่อต้าน “อำนาจเถื่อน” ที่ผุดขึ้นมาจากการฉีกสัญญาประชาคม เพราะในเมื่อสัญญา (รัฐธรรมนูญ 2540) ถูกฉีกทิ้งแล้ว ประชาชนย่อมไม่มีพันธะที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นอีกต่อไป
นั่นคือไม่จำเป็นต้องเชื่อฟัง “อำนาจเถื่อน” ที่ไม่ได้มีที่มาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน (เช่น การเลือกตั้ง)
ในขณะที่อำนาจเถื่อนเคลื่อนขบวนรถถังออกมาฉีกสัญญาประชาคม และแสดงอำนาจที่ไร้ความชอบธรรมนั้นสร้างความอยุติธรรม หรือ “ตำนานสองมาตรฐาน” จนนับไม่ถ้วน คนเสื้อแดงพยายามต่อต้านอำนาจเถื่อนนั้นบนจุดยืนของการทวงคืนสัญญาประชาคมอย่างตรงไปตรงมา คือ “ขอคืนรัฐธรรมนูญ 2540” แต่อำนาจเถื่อนไม่ยอมคืนให้!
และแล้ว จากความโกรธต่ออำนาจเถื่อน เกลียดชังความอยุติธรรม จลาจลนองเลือด เผาบ้านเผาเมือง ท่ามกลางการรักษาความสงบ “เรียบร้อย” อย่างสุภาพอ่อนโยนของ ศอฉ.(ที่ทุ่มทุนสร้างถึง 5,000 ล้านบาท จากเงินภาษีของประชาชนแห่งประชาคมประชาธิปไตย) บทสรุปก็คือ คนเสื้อแดงไม่รู้ประชาธิปไตย นิยมความรุนแรงและก่อการร้าย สมควรตาย พร้อมกับเสียงเสแสร้งของอำนาจเถื่อน (หมายเลข 2) ขอให้ลืมปัญหาในอดีตกันเถอะ เรามาร่วมปรองดอง ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (อีกสัก 600 ล้าน!)
แล้วความยุติธรรมอยู่ที่ไหน? ไม่มีความยุติธรรมก็ไม่มีเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ไม่มีจุดร่วมของการปรองดอง และไม่มีอุดมการณ์ร่วมในการปฏิรูปประเทศ!
ความยุติธรรมยึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐที่ชอบธรรม และอำนาจรัฐที่ชอบธรรมย่อมมาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน อำนาจเถื่อนไม่ได้ยึดโยงอยู่กับเจตจำนงทั่วไปของประชาชน จึงไม่อาจให้ความยุติธรรมได้
ให้ได้แต่ความหวาดกลัว เพราะคนที่เสวยอำนาจเช่นนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว กลับไปนอนบ้านตัวเองไม่ได้ ไม่อาจลดตัวลงไปสัมผัสมือประชาชนส่วนใหญ่ที่ปฏิเสธเขา และไม่อาจ “สบตา” กับมโนธรรมของตนเอง
ฉะนั้น เมื่อเขาถูกพันธนาการด้วยความหวาดกลัว เขาจึงสร้างพันธนาการมัดตรึงสังคมให้คงอยู่กับความหวาดกลัว (คง พรก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อ โฆษณาชวนเชื่อข้างเดียว ไล่ล่า ฯลฯ)
และเมื่อเขาไม่อาจหยั่งรู้อนาคตอันยาวนานของความเกลียดชังที่ประชาชนมีต่อเขา อนาคตความปรองดอง และการปฏิรูปประเทศที่เขา “คิดแทน” ประชาชน เขาก็ไม่มีทางหยั่งรู้ความสำเร็จของมันด้วยเช่นกัน!
เราจะอยู่กับความกลัวที่อำนาจเถื่อนหยิบยื่นให้ต่อไปได้อย่างไร! ทั้งที่มันไม่มีสิทธิ์จะทำให้เรากลัวเกรง เพราะมันเป็นอำนาจที่ไม่ได้มาจากการยินยอมของเรา หรือไม่ใช่อำนาจแห่งเจตจำนงทั่วไปของประชาชน
ยิ่งเรากลัวยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับมัน ฉะนั้น เราต้องต่อต้านมันทุกโอกาสที่เป็นไปได้ ด้วยมโนสำนึกที่ปฏิเสธ “ความอยุติธรรม” และการสร้าง “วัฒนธรรมหลอกตัวเอง!”
นักปรัชญาชายขอบ
ต่อให้ผมรังเกียจทักษิณขนาดไหน แต่เพียงเปรียบเทียบแค่สองกรณีคือ 1) ตำนานเซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดิน กับตำนานเขายายเที่ยง และ 2) ตำนานถูกยึดทรัพย์ และตำนาน “รอด” ทุจริตกล้ายาง มโนธรรมของผมก็ย่อมสัมผัสได้ถึง “ความอยุติธรรม” ที่เขา (ทักษิณ) ได้รับ และนั่นย่อมเป็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ด้วย
และต่อให้ผมโกรธ “แกนนำเสื้อแดง” ขนาดไหนที่ (ในความรู้สึกของผม) พวกเขาขาดจิตสำนึกปกป้องชีวิตของมวลชน (และหรือ “อาจจะ” คิดใช้ชีวิตของมวลชนเป็นเครื่องมือเพื่อล้มรัฐบาลตั้งแต่แรก) แต่ผมก็ไม่มืดบอดพอที่จะมองไม่เห็นความอยุติธรรมที่พวกเขาไม่ได้รับการประกันตัว
ในขณะที่แกนนำพันธมิตรที่โดนข้อหา “ก่อการร้าย” เช่นกัน ยังลอยนวล และตวัดลิ้นห้าแฉกสร้าง “วัฒนธรรมความเกลียดชัง” ต่อไปและต่อไป (ไม่ใช่อยากให้จับแกนนำพันธมิตร แต่ไม่อยากให้จับใครทั้งสิ้นด้วยข้อหาที่คลุมเครือแบบนี้)
จะด้วยเหตุที่ผมพลัดหลงมาอยู่ใน “ดงคนชั้นกลางในเมือง” หรืออย่างไรไม่รู้ ที่ทำให้ผมมองเห็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ช้ากว่าคนรากหญ้าอีสาน ซึ่งเป็นมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับผม สำหรับพวกเขาแล้ว ความอยุติธรรมที่รับไม่ได้เลยคือ การที่สัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยถูกฉีกทิ้งโดยอำนาจนอกเจตจำนงทั่วไปของประชาชน หรือ “อำนาจเถื่อน”
เจตจำนงทั่งไปของประชาชนคือ ความต้องการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐประหารล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกคือการทำลายเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ซึ่งเท่ากับฉีกสัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยทิ้ง
ฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือที่ถูกสนับสนุนโดยกระบวนการรัฐประหาร จึงไม่ใช่รัฐบาลที่อาจแทนที่เจตจำนงทั่วไปของประชาชนได้ ด้วยเหตุนี้ “อำนาจรัฐที่ชอบธรรม” จึงไม่มีอยู่จริง!
ประชาชนจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะต่อต้าน “อำนาจเถื่อน” ที่ผุดขึ้นมาจากการฉีกสัญญาประชาคม เพราะในเมื่อสัญญา (รัฐธรรมนูญ 2540) ถูกฉีกทิ้งแล้ว ประชาชนย่อมไม่มีพันธะที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นอีกต่อไป
นั่นคือไม่จำเป็นต้องเชื่อฟัง “อำนาจเถื่อน” ที่ไม่ได้มีที่มาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน (เช่น การเลือกตั้ง)
ในขณะที่อำนาจเถื่อนเคลื่อนขบวนรถถังออกมาฉีกสัญญาประชาคม และแสดงอำนาจที่ไร้ความชอบธรรมนั้นสร้างความอยุติธรรม หรือ “ตำนานสองมาตรฐาน” จนนับไม่ถ้วน คนเสื้อแดงพยายามต่อต้านอำนาจเถื่อนนั้นบนจุดยืนของการทวงคืนสัญญาประชาคมอย่างตรงไปตรงมา คือ “ขอคืนรัฐธรรมนูญ 2540” แต่อำนาจเถื่อนไม่ยอมคืนให้!
และแล้ว จากความโกรธต่ออำนาจเถื่อน เกลียดชังความอยุติธรรม จลาจลนองเลือด เผาบ้านเผาเมือง ท่ามกลางการรักษาความสงบ “เรียบร้อย” อย่างสุภาพอ่อนโยนของ ศอฉ.(ที่ทุ่มทุนสร้างถึง 5,000 ล้านบาท จากเงินภาษีของประชาชนแห่งประชาคมประชาธิปไตย) บทสรุปก็คือ คนเสื้อแดงไม่รู้ประชาธิปไตย นิยมความรุนแรงและก่อการร้าย สมควรตาย พร้อมกับเสียงเสแสร้งของอำนาจเถื่อน (หมายเลข 2) ขอให้ลืมปัญหาในอดีตกันเถอะ เรามาร่วมปรองดอง ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (อีกสัก 600 ล้าน!)
แล้วความยุติธรรมอยู่ที่ไหน? ไม่มีความยุติธรรมก็ไม่มีเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ไม่มีจุดร่วมของการปรองดอง และไม่มีอุดมการณ์ร่วมในการปฏิรูปประเทศ!
ความยุติธรรมยึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐที่ชอบธรรม และอำนาจรัฐที่ชอบธรรมย่อมมาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน อำนาจเถื่อนไม่ได้ยึดโยงอยู่กับเจตจำนงทั่วไปของประชาชน จึงไม่อาจให้ความยุติธรรมได้
ให้ได้แต่ความหวาดกลัว เพราะคนที่เสวยอำนาจเช่นนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว กลับไปนอนบ้านตัวเองไม่ได้ ไม่อาจลดตัวลงไปสัมผัสมือประชาชนส่วนใหญ่ที่ปฏิเสธเขา และไม่อาจ “สบตา” กับมโนธรรมของตนเอง
ฉะนั้น เมื่อเขาถูกพันธนาการด้วยความหวาดกลัว เขาจึงสร้างพันธนาการมัดตรึงสังคมให้คงอยู่กับความหวาดกลัว (คง พรก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อ โฆษณาชวนเชื่อข้างเดียว ไล่ล่า ฯลฯ)
และเมื่อเขาไม่อาจหยั่งรู้อนาคตอันยาวนานของความเกลียดชังที่ประชาชนมีต่อเขา อนาคตความปรองดอง และการปฏิรูปประเทศที่เขา “คิดแทน” ประชาชน เขาก็ไม่มีทางหยั่งรู้ความสำเร็จของมันด้วยเช่นกัน!
เราจะอยู่กับความกลัวที่อำนาจเถื่อนหยิบยื่นให้ต่อไปได้อย่างไร! ทั้งที่มันไม่มีสิทธิ์จะทำให้เรากลัวเกรง เพราะมันเป็นอำนาจที่ไม่ได้มาจากการยินยอมของเรา หรือไม่ใช่อำนาจแห่งเจตจำนงทั่วไปของประชาชน
ยิ่งเรากลัวยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับมัน ฉะนั้น เราต้องต่อต้านมันทุกโอกาสที่เป็นไปได้ ด้วยมโนสำนึกที่ปฏิเสธ “ความอยุติธรรม” และการสร้าง “วัฒนธรรมหลอกตัวเอง!”
งบปฏิรูป600ล้าน-คุ้มค่าแค่ไหน
ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบว่าด้วยการปฏิรูป ตามแผนปรองดองเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้น 2 ชุด
ชุดหนึ่งคือคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป มี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อีกชุดคือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน
เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศโดยการปฏิรูป และลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เทงบประมาณให้ถึงปีละ 200 ล้านบาท ดำเนินการ 3 ปี รวม 600 ล้านบาท
ท่ามกลางเสียงวิจารณ์จากบุคคลในแวดวงการเมือง นักวิชาการถึงแนวทางการทำงานที่กว้างเกินไปและการทุ่มงบฯให้มากถึง 600 ล้านบาท รวมถึงความไม่มั่นใจว่าแนวทางปรองดองจะสำเร็จหรือไม่
?โคทม อารียา
ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทำงานของ น.พ.ประ เวศ วะสี และ นายอานันท์ ปันยารชุน ผมมองว่ากรอบการทำงานกว้าง แต่กว้างไปหรือไม่ ไม่รู้ แต่เป็นความตั้งใจของทั้งนายอานันท์ และน.พ.ประเวศ ที่สนใจเรื่องกว้าง
น.พ.ประเวศทำเรื่องปฏิรูป ประเทศมาปีกว่าแล้ว เมื่อได้มาตรงนี้ก็เป็นโอกาสให้ขับเคลื่อนการทำงานให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
กรอบการทำงาน 3 ปี ที่ น.พ.ประเวศใช้คำว่า 999 วัน เป้าหมายการทำงาน คิดว่าเป็นรูปธรรมพอสมควร แต่จะทำได้จริงหรือไม่ ผมไม่รู้ เช่น สร้างคน 1 ล้านคน มาเป็นทูตช่วยทำประเทศให้น่าอยู่ มีองค์กรน่าอยู่ 1 หมื่นแห่ง เมืองน่าอยู่ 100 เมือง
เป้าหมายจะทำเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ตอนนี้ยังเร็วไปที่จะบอก แต่หากทำตามเป้าของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้เงินเปลืองกว่าคณะกรรมการชุดนายอานันท์ เพราะต้องขับเคลื่อนทั่วประเทศ ส่วนของนายอานันท์ เป็นเชิงยุทธศาสตร์
ดังนั้น คิดว่างบฯ ที่ได้ 600 ล้านบาท เฉพาะในส่วนของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้ประมาณ 500 ล้าน
การวิพากษ์วิจารณ์ตอนนี้ผมว่าน่าเป็นห่วง เพราะจะทำให้บรรยากาศไม่เอื้อในการทำงานเท่าไหร่ การจะทำงานต้องอาศัยความร่วมมือ จะทำแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
กระบวนการของน.พ.ประเวศ อาจบอกว่าไม่มีการกีดกัน แต่ก็มีคนที่มีความรู้สึกว่าถูกกันออกไป ถือเป็นองค์ประกอบที่มีความเสี่ยง แต่หากทำได้สำเร็จ โดยใช้วิธีการนี้ พยายามทำงานระดับท้องถิ่นในหมู่บ้าน 100 แห่ง ใช้สื่อให้คนเกิดความหวังว่าอนาคตจะทำให้ไทยเป็นเมืองน่าอยู่ สร้างจินตนา การเป็นพลัง
ส่วนที่คนมีอารมณ์ยังไม่มาร่วม เมื่อเห็นการทำงานตรงนี้แล้วอาจหันมาเห็นประโยชน์ได้ คิดว่าไม่ใช่ขับเคลื่อนเฉพาะกระบวนการนี้ ต้องขับเคลื่อนให้มีพื้นที่ของฝ่ายที่โกรธเคืองด้วยก็คือเสื้อแดง
การทำงานของน.พ. ประเวศ นายอานันท์ ไม่เชิงปรองดอง แต่เป็นเชิงแก้ ปัญหาของประเทศทั่วไป หากปรองดองจะแก้ปัญหาได้ดี หรือกระบวนการแก้ปัญหาประเทศเกิดผลจะสร้างความปรองดองไปในตัวได้
ความจริงผมฝากความหวังกับคณะทำงานของนายคณิต ณ นคร มากหน่อย หวังผลระยะสั้น
ผมเคยเสนอความเห็นกับนายคณิต แล้วว่าภารกิจที่น่าจะเป็น คือ 1.การหาข้อเท็จจริง ฟังข้อมูลรอบด้าน นำมาเรียบเรียงเรื่องเล่าที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้
อย่างน้อยเราก็รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น หากใครจะอยากมารับผิดชอบอย่างไรก็เกิดขึ้นตามมา ซึ่งการหาข้อเท็จจริงไม่ใช่การสืบสวนสอบสวน ไม่ใช่กระบวนการทางกฎหมาย
2.การมีพื้นที่ของผู้ที่ถูกกระทำหรือเหยื่อ มาบอกว่าตัวเองได้รับความเสียหายอะไรบ้าง ผู้กระทำเข้ามารับฟัง มายอมรับ ถ้าเรามีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้เกิดคนบาดเจ็บล้มตาย ทำลายทรัพย์สิน ออกมารับผิดชอบ หรือให้อภัยกัน เป็นความยุติธรรมเชิงเยียวยาฟื้นฟู
3.ควรพยายามเริ่มให้มีการพูดคุยระหว่างนปช.และรัฐบาล ซึ่งเคยทำมาแล้วเมื่อปลายเดือนเม.ย. แต่พอต้นเดือนพ.ค. ก็ผิดพลาดล้มเหลวอย่างน่าเสียดาย
กระบวนการปรองดองต้องทำ 2 ข้อแล้ว ต้องให้คู่กรณีจริงๆ มาพูดคุยกัน อาจมีข้อตกลงเบื้องต้น ถ้าไม่มีการเจรจา ไม่มีข้อตกลงเบื้องต้น การปรองดองก็เดินหน้าไม่ได้
การทำให้เกิดการปรองดองได้จริงต้องอาศัยองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมกัน
?สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรม การสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น
ในขั้นแรกคณะกรรม การได้เสนอแนว ทางในการแก้ปัญหา แต่การเสนอขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะทำได้อย่างไรและจะทำได้ขนาดไหน
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ฝังรากลึกมานาน ต้องใช้เวลานานในการแก้ไขปัญหา เบื้องต้นคิดว่ามีปัจจัยสำคัญคือ
1.คณะกรรมการทั้งสองชุดจะต้องเสนอแนวทางปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจะทำได้หรือไม่ ต้องดูในอนาคตเพราะบางเรื่องเกี่ยวข้องกับงบประมาณ
2.ปัญหาการเมือง การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องมีการปฏิรูปรายได้ และอาจกระทบผลประโยชน์ของนักการเมืองได้ เช่น การเก็บภาษีที่ดินทำกิน การเก็บภาษีมรดก หากเป็นเช่นนี้รัฐบาลจะอยู่ในวิสัยที่กล้าทำหรือไม่ หากผลประโยชน์อันนั้นไปกระทบกับนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล
รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ตั้งใจทำกัน แต่พอจะทำก็มีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเข้ามายุ่ง แทนที่จะเดินหน้าไปถึงเป้าหมาย กลับทำไม่ได้
3.หากมีการปฏิรูปก็ต้องมีหน่วยงานทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้อง คือกระทรวง ทบวง กรมแล้วระบบราชการของไทย ก็ทราบกันอยู่ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคอะไรบ้าง
ส่วนตัวคิดว่าคณะกรรมการชุดนี้อย่างเก่งก็ทำได้แค่เสนอแนวทางเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนงบประมาณที่รัฐบาลให้ปีละ 200 ล้านบาทนั้น เป็นเพียงงบฯ ดำเนินการเพื่อให้ความสนับสนุน
แต่แนวทางขับเคลื่อนปฏิรูประบบต่างๆ ของประเทศที่เป็นรูปธรรมจริงๆ นั้นเป็นไปได้ยาก
คิดว่าสิ่งที่พอทำได้คือแค่เสนอแนวทางเป็นข้อสรุปว่าทำได้แค่ไหน เพราะดูแล้วมีขอบเขตที่จำกัด ต้องปรับโครงสร้างใหม่ทั้งหมด และหากเปลี่ยนรัฐบาลการปฏิรูปก็อาจจะไม่ต่อเนื่อง
?ประสิทธิ์ โพธสุธน
ส.ว.สุพรรณบุรี
การที่รัฐบาลอนุมัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ นายอานันท์ ปันยารชุน และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปของ น.พ.ประเวศ วะสี ภายใต้กรอบการทำงาน 3 ปี ในวงเงินถึง 600 ล้านบาท เพื่อใช้สร้างความปรองดองของคนในชาตินั้น
ในความเห็นขอบอกตรงๆ ว่าไม่เกิดประโยชน์ เป็นเพียงงบฯ โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้เป็นข่าว สร้างภาพก็เท่านั้น
การที่รัฐบาลบอกปรองดองเป็นเพียงภาพที่พูดเพื่อให้สวยหรู สวนทางกับพฤติกรรมอย่างสุดขั้ว ปากบอกปรองดองแต่ขณะนี้กลับกดหัวไล่ล่าคนเสื้อแดง
เมื่อเป็นเช่นนี้ยังมองไม่เห็นว่าจะเกิดความปรองดองได้อย่างไร
ยืนยันว่าการที่จะปรองดองได้ต้องเกิดจากความจริงใจ เพราะขณะนี้ก็ปรากฏชัดว่าความไม่เท่าเทียมกันยังคงอยู่ และอารมณ์ความโกรธแค้นของคนที่รอวันปะทุ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก
ทางที่ดีก่อนที่รัฐบาลจะทำอะไรควรกลับมาย้อนดูตัวว่ามีความจริงใจต่อความปรองดองแค่ไหน ไม่ใช่ปากบอกอีกอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง อย่างนี้ใครเขาจะเชื่อถือ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อยื้อให้ตัวเองอยู่ในอำนาจหรือไม่นั้น ตรงนี้ขอสงวนความเห็น แต่ทุกอย่างมันมีความเป็นไปได้ เพราะปีหน้ารัฐบาลชุดนี้จะหมดวาระและมีการเลือกตั้งกันใหม่แล้ว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ชุดหนึ่งคือคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป มี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อีกชุดคือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน
เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศโดยการปฏิรูป และลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เทงบประมาณให้ถึงปีละ 200 ล้านบาท ดำเนินการ 3 ปี รวม 600 ล้านบาท
ท่ามกลางเสียงวิจารณ์จากบุคคลในแวดวงการเมือง นักวิชาการถึงแนวทางการทำงานที่กว้างเกินไปและการทุ่มงบฯให้มากถึง 600 ล้านบาท รวมถึงความไม่มั่นใจว่าแนวทางปรองดองจะสำเร็จหรือไม่
?โคทม อารียา
ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทำงานของ น.พ.ประ เวศ วะสี และ นายอานันท์ ปันยารชุน ผมมองว่ากรอบการทำงานกว้าง แต่กว้างไปหรือไม่ ไม่รู้ แต่เป็นความตั้งใจของทั้งนายอานันท์ และน.พ.ประเวศ ที่สนใจเรื่องกว้าง
น.พ.ประเวศทำเรื่องปฏิรูป ประเทศมาปีกว่าแล้ว เมื่อได้มาตรงนี้ก็เป็นโอกาสให้ขับเคลื่อนการทำงานให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
กรอบการทำงาน 3 ปี ที่ น.พ.ประเวศใช้คำว่า 999 วัน เป้าหมายการทำงาน คิดว่าเป็นรูปธรรมพอสมควร แต่จะทำได้จริงหรือไม่ ผมไม่รู้ เช่น สร้างคน 1 ล้านคน มาเป็นทูตช่วยทำประเทศให้น่าอยู่ มีองค์กรน่าอยู่ 1 หมื่นแห่ง เมืองน่าอยู่ 100 เมือง
เป้าหมายจะทำเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ตอนนี้ยังเร็วไปที่จะบอก แต่หากทำตามเป้าของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้เงินเปลืองกว่าคณะกรรมการชุดนายอานันท์ เพราะต้องขับเคลื่อนทั่วประเทศ ส่วนของนายอานันท์ เป็นเชิงยุทธศาสตร์
ดังนั้น คิดว่างบฯ ที่ได้ 600 ล้านบาท เฉพาะในส่วนของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้ประมาณ 500 ล้าน
การวิพากษ์วิจารณ์ตอนนี้ผมว่าน่าเป็นห่วง เพราะจะทำให้บรรยากาศไม่เอื้อในการทำงานเท่าไหร่ การจะทำงานต้องอาศัยความร่วมมือ จะทำแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
กระบวนการของน.พ.ประเวศ อาจบอกว่าไม่มีการกีดกัน แต่ก็มีคนที่มีความรู้สึกว่าถูกกันออกไป ถือเป็นองค์ประกอบที่มีความเสี่ยง แต่หากทำได้สำเร็จ โดยใช้วิธีการนี้ พยายามทำงานระดับท้องถิ่นในหมู่บ้าน 100 แห่ง ใช้สื่อให้คนเกิดความหวังว่าอนาคตจะทำให้ไทยเป็นเมืองน่าอยู่ สร้างจินตนา การเป็นพลัง
ส่วนที่คนมีอารมณ์ยังไม่มาร่วม เมื่อเห็นการทำงานตรงนี้แล้วอาจหันมาเห็นประโยชน์ได้ คิดว่าไม่ใช่ขับเคลื่อนเฉพาะกระบวนการนี้ ต้องขับเคลื่อนให้มีพื้นที่ของฝ่ายที่โกรธเคืองด้วยก็คือเสื้อแดง
การทำงานของน.พ. ประเวศ นายอานันท์ ไม่เชิงปรองดอง แต่เป็นเชิงแก้ ปัญหาของประเทศทั่วไป หากปรองดองจะแก้ปัญหาได้ดี หรือกระบวนการแก้ปัญหาประเทศเกิดผลจะสร้างความปรองดองไปในตัวได้
ความจริงผมฝากความหวังกับคณะทำงานของนายคณิต ณ นคร มากหน่อย หวังผลระยะสั้น
ผมเคยเสนอความเห็นกับนายคณิต แล้วว่าภารกิจที่น่าจะเป็น คือ 1.การหาข้อเท็จจริง ฟังข้อมูลรอบด้าน นำมาเรียบเรียงเรื่องเล่าที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้
อย่างน้อยเราก็รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น หากใครจะอยากมารับผิดชอบอย่างไรก็เกิดขึ้นตามมา ซึ่งการหาข้อเท็จจริงไม่ใช่การสืบสวนสอบสวน ไม่ใช่กระบวนการทางกฎหมาย
2.การมีพื้นที่ของผู้ที่ถูกกระทำหรือเหยื่อ มาบอกว่าตัวเองได้รับความเสียหายอะไรบ้าง ผู้กระทำเข้ามารับฟัง มายอมรับ ถ้าเรามีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้เกิดคนบาดเจ็บล้มตาย ทำลายทรัพย์สิน ออกมารับผิดชอบ หรือให้อภัยกัน เป็นความยุติธรรมเชิงเยียวยาฟื้นฟู
3.ควรพยายามเริ่มให้มีการพูดคุยระหว่างนปช.และรัฐบาล ซึ่งเคยทำมาแล้วเมื่อปลายเดือนเม.ย. แต่พอต้นเดือนพ.ค. ก็ผิดพลาดล้มเหลวอย่างน่าเสียดาย
กระบวนการปรองดองต้องทำ 2 ข้อแล้ว ต้องให้คู่กรณีจริงๆ มาพูดคุยกัน อาจมีข้อตกลงเบื้องต้น ถ้าไม่มีการเจรจา ไม่มีข้อตกลงเบื้องต้น การปรองดองก็เดินหน้าไม่ได้
การทำให้เกิดการปรองดองได้จริงต้องอาศัยองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมกัน
?สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรม การสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น
ในขั้นแรกคณะกรรม การได้เสนอแนว ทางในการแก้ปัญหา แต่การเสนอขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะทำได้อย่างไรและจะทำได้ขนาดไหน
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ฝังรากลึกมานาน ต้องใช้เวลานานในการแก้ไขปัญหา เบื้องต้นคิดว่ามีปัจจัยสำคัญคือ
1.คณะกรรมการทั้งสองชุดจะต้องเสนอแนวทางปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจะทำได้หรือไม่ ต้องดูในอนาคตเพราะบางเรื่องเกี่ยวข้องกับงบประมาณ
2.ปัญหาการเมือง การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องมีการปฏิรูปรายได้ และอาจกระทบผลประโยชน์ของนักการเมืองได้ เช่น การเก็บภาษีที่ดินทำกิน การเก็บภาษีมรดก หากเป็นเช่นนี้รัฐบาลจะอยู่ในวิสัยที่กล้าทำหรือไม่ หากผลประโยชน์อันนั้นไปกระทบกับนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล
รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ตั้งใจทำกัน แต่พอจะทำก็มีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเข้ามายุ่ง แทนที่จะเดินหน้าไปถึงเป้าหมาย กลับทำไม่ได้
3.หากมีการปฏิรูปก็ต้องมีหน่วยงานทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้อง คือกระทรวง ทบวง กรมแล้วระบบราชการของไทย ก็ทราบกันอยู่ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคอะไรบ้าง
ส่วนตัวคิดว่าคณะกรรมการชุดนี้อย่างเก่งก็ทำได้แค่เสนอแนวทางเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนงบประมาณที่รัฐบาลให้ปีละ 200 ล้านบาทนั้น เป็นเพียงงบฯ ดำเนินการเพื่อให้ความสนับสนุน
แต่แนวทางขับเคลื่อนปฏิรูประบบต่างๆ ของประเทศที่เป็นรูปธรรมจริงๆ นั้นเป็นไปได้ยาก
คิดว่าสิ่งที่พอทำได้คือแค่เสนอแนวทางเป็นข้อสรุปว่าทำได้แค่ไหน เพราะดูแล้วมีขอบเขตที่จำกัด ต้องปรับโครงสร้างใหม่ทั้งหมด และหากเปลี่ยนรัฐบาลการปฏิรูปก็อาจจะไม่ต่อเนื่อง
?ประสิทธิ์ โพธสุธน
ส.ว.สุพรรณบุรี
การที่รัฐบาลอนุมัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ นายอานันท์ ปันยารชุน และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปของ น.พ.ประเวศ วะสี ภายใต้กรอบการทำงาน 3 ปี ในวงเงินถึง 600 ล้านบาท เพื่อใช้สร้างความปรองดองของคนในชาตินั้น
ในความเห็นขอบอกตรงๆ ว่าไม่เกิดประโยชน์ เป็นเพียงงบฯ โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้เป็นข่าว สร้างภาพก็เท่านั้น
การที่รัฐบาลบอกปรองดองเป็นเพียงภาพที่พูดเพื่อให้สวยหรู สวนทางกับพฤติกรรมอย่างสุดขั้ว ปากบอกปรองดองแต่ขณะนี้กลับกดหัวไล่ล่าคนเสื้อแดง
เมื่อเป็นเช่นนี้ยังมองไม่เห็นว่าจะเกิดความปรองดองได้อย่างไร
ยืนยันว่าการที่จะปรองดองได้ต้องเกิดจากความจริงใจ เพราะขณะนี้ก็ปรากฏชัดว่าความไม่เท่าเทียมกันยังคงอยู่ และอารมณ์ความโกรธแค้นของคนที่รอวันปะทุ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก
ทางที่ดีก่อนที่รัฐบาลจะทำอะไรควรกลับมาย้อนดูตัวว่ามีความจริงใจต่อความปรองดองแค่ไหน ไม่ใช่ปากบอกอีกอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง อย่างนี้ใครเขาจะเชื่อถือ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อยื้อให้ตัวเองอยู่ในอำนาจหรือไม่นั้น ตรงนี้ขอสงวนความเห็น แต่ทุกอย่างมันมีความเป็นไปได้ เพราะปีหน้ารัฐบาลชุดนี้จะหมดวาระและมีการเลือกตั้งกันใหม่แล้ว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เจ้าทฤษฎีปฏิวัติสยาม 2475 "ประวัติศาสตร์จบไปแล้ว"
วาทกรรมและประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ 24 มิถุนายน 2475 ถูกบันทึกต่างกรรมต่างวาระ
1 ในหลายบันทึกประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ คือ หนังสือ "ปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
เรียบเรียง-ค้นคว้าโดย "รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วาระ 24 มิถุนายน 2553 "อาจารย์นครินทร์" พูดถึงประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง...อีกครั้ง
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงหนังสือการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ว่า "ผมเบื่อหนังสือเล่มนี้มาก ๆ ผมทำหนังสือเล่มนี้ช่วงปี 2525-2535 ใช้เวลาประมาณ 10 ปี"
"ดร.นครินทร์" เขียนหนังสือเล่มนี้ เพราะกูรู-ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชักชวน เข้าสู่วงการ
"ผมเขียนบทความชิ้นแรกในปี 2525 และได้เข้าไปอยู่ในข้อโต้เถียงซึ่งผมเบื่อมาก โดยเฉพาะข้อโต้เถียงระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า"
"ผมพูดตรง ๆ ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายบอกความจริงไม่หมด พูดเฉพาะสิ่งที่ตัวเองได้ประโยชน์ ไม่พูดความจริงทั้งหมด เช่น คณะเจ้าก็จะพูดถึงการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ส่วนฝ่ายตรงข้ามชิงสุกก่อนห่าม พวกคณะราษฎรก็จะยกย่องหลายเรื่องจนเกินเหตุ"
ข้อค้นพบของ "ดร.นครินทร์"...
"ยกตัวอย่างที่ผมรู้สึกช็อก คือใครที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจไทยเป็นคนแรก ? ถ้าบอกว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม อันนี้แหละคือความเท็จ ผมจึงหนีจากคณะรัฐศาสตร์ไปอยู่อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุที่ผมเบื่อความเท็จ ความจริงที่มันเลอะเทอะ ถ้าอ่านหนังสือ เข้าหอจดหมายเหตุ หรืออ่านรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะรู้ว่าคนที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจคนแรกชื่อ "มังกร สามเสน""
"คนไทยจะชอบแห่แหน ยกย่องคน บางคนจนเกินเหตุ ถามว่า มังกร สามเสน คือใคร คนนี้คือวีรบุรุษในดวงใจของผม คนหนึ่งในหนังสือ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 ใน 70 คน เป็น ส.ส.รุ่นแรกที่มาจากการแต่งตั้งจาก 3 คน ซึ่งผมสนใจทั้ง มังกร สามเสน และอีก 2 คนคือ มานิต วสุวัต และ ซุ่นใช้ ฮุนตระกูล"
"ปัจจุบันนี้ยังไม่มีหนังสือ หรืองานวิจัย บอกว่าคณะราษฎรคือใคร ประกอบด้วยใครบ้าง ทำอะไรบ้าง และพวกเรามี แนวโน้มอย่างหนึ่ง คือมักเอาคณะราษฎร ไปเท่ากับ ปรีดี พนมยงค์ มันเป็นไปได้อย่างไร คุณไม่นับหลวงพิบูลสงครามเลย เหรอ พอบอกว่าคณะราษฎรคือหลวงพิบูลสงคราม หลายคนโกรธมาก"
"อาจารย์ปรีดีเป็นเพียงเสี้ยวเดียวขององค์คณะ ทำไมไม่นับพระยาพหลฯล่ะ ? ความจริงคนที่เป็นแกนกลางในการวิ่งติดต่อประสานงานในคณะราษฎร ในการประชุมทุกครั้งคือ ประยูร ภมรมนตรี เราก็ไม่นับประยูร ไปหาว่าประยูรเป็นพวกทรยศไปอยู่กับเจ้า ด่าประยูร ไปเลอะเทอะ แต่ถ้าไม่มีประยูร ไม่มี แนบ พหลโยธิน ก็ไม่มีคณะราษฎร"
"อาจารย์นครินทร์" บอกว่า "หนังสือชุด 2475" นั้นอ่านยาก เพราะ
"ผมตั้งใจทำให้อ่านยาก ไม่ได้ตั้งใจเขียนให้ง่าย เพราะว่าผมเบื่อหน่ายมาก ทั้ง นักประวัติศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ ความจริงถ้ามีเวลา ผมจะทำให้ยากกว่านั้นอีก"
กัลยาณมิตรทางวิชาการคนสำคัญ ของ "นครินทร์" ที่ทำให้งานประวัติศาสตร์ 2475 สมบูรณ์ คือ "อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์" แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อครั้ง 2528
"โครงเรื่องในการปฏิวัติ 2475 จะมี 2 ปีกใหญ่ ๆ ปีกหนึ่งจะบอกว่าชิงสุก ก่อนห่าม อีกปีกหนึ่งจะพูดว่าเป็นการปฏิวัติยังไม่เสร็จ ไม่สมบูรณ์ ไม่เสร็จสิ้น ทั้ง 2 ปีกมีอิทธิพลมาก ผมว่ายิ่งกว่า พวกเชียร์คณะราษฎร ซึ่งผมคิดว่าจิ๊บจ๊อยมากในสายตาผม"
"แต่ผมเผชิญหน้าในทางวิชาการกับ พวกสำนักที่บอกว่า unfinished revolution มาก คนหนึ่งคือ "ฉัตรทิพย์ นาถสุภา" เป็นปรมาจารย์ใหญ่ เป็นคนที่ผมเคารพมาก พวกฝ่ายซ้ายทั้งหมดจะบอกว่าการปฏิวัติ 2475 ยังไม่สำเร็จ ยังไม่เสร็จสิ้น การปฏิวัติยังตกค้างอยู่ เพราะกระฎุมพียังไม่ใหญ่พอ มาเที่ยวนี้มีนักกฎหมายบอกว่า การปฏิวัติ 2475 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะยังไม่ได้ชำระสะสางองค์กรตุลาการ"
"ในความเห็นของผม ผมถือว่าเรื่องนี้ จบไปแล้ว ผมเขียนงานชิ้นนี้จบเมื่อปี 2535 ใน 18 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ผมพิมพ์ ออกมา มีคนวิจารณ์ผมเยอะ บางเรื่องผมก็ตอบไม่ได้ มีหลายเรื่องที่ผมยังไม่ทำ เช่น ทำไมไม่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวขบวนการพระ, ทำไมไม่ไปเก็บข้อมูลคนจีน"
"โดยเฉพาะคนจีนที่มาจากสายคอมมิวนิสต์แท้ ๆ ผมยอมแพ้เพราะผมอ่านภาษาจีนไม่ได้ ผมไม่รู้จะเก็บข้อมูลยังไง คนจีนมี 2 กลุ่ม คอมมิวนิสต์กลุ่มหนึ่ง ก๊กมินตั๋งกลุ่มหนึ่ง ทั้ง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนแรงมาก แจกใบปลิวถล่มคณะราษฎรตั้งแต่แรกแล้ว ความจริงมีการเคลื่อนไหวก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475"
แม้หนังสือเล่มนี้จะหนากว่า 3 นิ้ว แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ "อาจารย์นครินทร์" ไม่ได้บันทึก
"ผมยังไม่ได้ทำอีกหลายเรื่อง ถ้าจะทำ ก็ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น อย่าคิดกันเองเลยครับ ผมไปอ่านฎีกาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผมตกใจมาก มีฎีกาอย่างนี้ได้ยังไง เจอฎีกาของ ถวัติ ฤทธิเดช นรินทร์ ภาษิต คนพวกนี้อยู่ในดวงใจของผม"
"และสิ่งที่ผมทึ่งคือ แถลงการณ์ของคณะราษฎร ที่อาจารย์ปรีดีเขียน ไปก๊อบปี้คำของฎีกาเหล่านี้มาใช้ เช่น ประเทศนี้ปกครองอย่างหลอกลวง เอาราษฎรเป็นทาส คำเหล่านี้ไม่ใช่อาจารย์ปรีดีคิดเอง แต่อยู่ในฎีกาก่อนปฏิวัติตั้ง 4-5 ปี แปลว่าอะไร ฎีกาพวกนี้บางส่วนมาจาก ต่างจังหวัดด้วย ต้นตำรับฎีกา พิษณุโลก อยุธยา ฉะเชิงเทรา เรื่องนี้เป็นมิติใหญ่ เรื่องชนชั้นนำที่มาจากต่างจังหวัด ที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ 2475"
"อย่าไปคิดว่าคณะราษฎรเป็นปีก เดียวกันทั้งหมด อย่างตระกูลตุลารักษ์มาจากฉะเชิงเทรา ...คณะราษฎรมีทั้งปีกซ้ายสุดและปีกขวาสุด ผมว่าเราอย่า ไปรังเกียจ ประยูร ภมรมนตรี ว่าไม่ใช่คณะราษฎรเลย ถึงเราจะไม่ชอบก็ตาม"
"แต่ถ้าพูดอย่างนี้ สานุศิษย์อาจารย์ปรีดีจะโกรธมาก ไปบอกว่าหลวงพิบูลฯเป็นคณะราษฎรก็ไม่ได้ คือพวกเราพยายามเอาอาจารย์ปรีดีเป็นคณะราษฎรทั้งหมด ผมคิดว่าความจริงมันไม่ใช่ เพราะคณะราษฎรคือทุกคนที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และจริง ๆ ตอนเขามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง เริ่มในการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าก็มีข้อจำกัดมาก"
"เราเรียกร้องต่ออดีต ในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ ในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์ ผมเห็นว่าหลาย ๆ เรื่องมันจบไปแล้ว ผมเองเห็นแย้งทั้ง 2 พวก ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบสิ้นไปแล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อระบบการเมืองคงตัวอยู่ ทั้งหมดเป็นเรื่องที่สร้างใหม่ทั้งสิ้น"
"คนแต่ละกลุ่มก็สร้างตำนานของตัวเองขึ้นมา คนแต่ละกลุ่มก็สร้างศัตรูของตัวเองขึ้นมา แต่ผมไม่มีปัญญา ไม่มีพละกำลังดูการเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้อีก"
"ผมเป็นคนแรกที่ใช้คำว่าสยาม ผมไม่อยากเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่าเป็นการปฏิวัติประเทศไทย เพราะตอนนั้น ประเทศไทยยังไม่เกิด ประเทศไทย เกิด 2482 อีก 7 ปีให้หลัง สภาวการณ์ตอนนั้นเป็นภาวการณ์ของคนหลากหลายชาติพันธุ์เป็นภาวการณ์ซึ่งไม่มีเอกราชสมบูรณ์"
"คณะราษฎรบางปีกพยายามยืนยันว่า ประเทศสยามไม่มีเอกราชสมบูรณ์เพราะเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คำอธิบายแบบนี้หลายคนรับไม่ได้ เพราะทุกคนพยายามยืนยันว่าเรามีเอกราชมาตลอด ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร คือพูดเรื่องเดียวกันแต่พูดคนละเรื่อง และผมสนใจข้อขัดแย้งเหล่านี้ในเชิงของความคิด และข้อโต้แย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง"
"ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว ที่เหลือคือการตีความซึ่งเป็นเรื่องของทุกคน ใครจะชอบรสนิยมยังไงก็เชิญตามสบาย ผมไม่ขัดข้อง ใครจะเป็นซ้ายก็ซ้ายให้สุด ๆ ใครจะเป็นขวาก็เป็นขวาให้สุด ๆ ความจริงประวัติศาสตร์ history เป็นของทุกคน ไม่ใช่สมบัติของคนใดคนหนึ่ง ประวัติศาสตร์เป็นของทุกคน"
อย่างน้อยก็มีเรื่องที่ "ดร.นครินทร์" ไม่กล้าเขียน คือเรื่อง "คณะราษฎร" แม้ว่าเวลาผ่านมาแล้วหลายสิบปี
"ผมท้าทายเด็กรุ่นใหม่ที่รักคณะราษฎร มีหลายคนพูดว่าการต่อสู้ของคณะราษฎรยังไม่จบ การต่อสู้ของคณะราษฎรกับ คณะเจ้ายังคงมีต่อไป... คุณช่วยเขียนหนังสือเรื่องคณะราษฎรให้ผมอ่านหน่อยสิ ช่วยออกแรงหน่อยได้ไหมครับ ออกแรงเขียนหนังสือให้อ่านหน่อยสักเล่มเรื่องคณะราษฎร ...ผมเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง ผมยังไม่กล้าเขียนเพราะมันไม่สมบูรณ์"
"ผมเดาไม่ได้ว่าใครเป็นใครในคณะราษฎร ผมรู้สักประมาณ 1 ใน 3 อีก 2 ใน 3 ผมไม่รู้ชัด ๆ ว่าเขาคือใคร ฉะนั้นคณะราษฎรไม่ใช่อาจารย์ปรีดี คนเดียว"
ชื่อ "ดิเรก ชัยนาม" คือชื่อที่ "ดร.นครินทร์" เอ่ยพาดพิงกรณีเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 2475
"ยกตัวอย่าง เช่น ดิเรก ชัยนาม ผมพยายามพูดเสมอว่า คณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก คือคณะราษฎร แต่ผมเข้าไปในบ้านของตระกูลชัยนาม หลายคนพยายามไม่พูดเรื่องนี้ เพราะว่าการเป็นสมาชิกคณะราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากนัก คือไปมีส่วนร่วมกับคณะปฏิวัติ แล้วกลับบ้าน ถูกด่า คุณต้องไปถามตระกูลชัยนาม ไม่ใช่คิดเอาเอง ต้องไปถามญาติพี่น้อง ลูกหลานของตระกูลชัยนาม ว่ายังภาคภูมิใจกับการเป็นสมาชิกคณะราษฎรหรือเปล่า"
"ความเห็นของผม การปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว และทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลายเป็นระบอบประชาธิปไตย จุดเปลี่ยนผ่านใหญ่คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ เป็นประมุขของคณะรัฐมนตรีอีก"
"ก่อนปี 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, 6, 7 ทรงประทับในที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ที่เรียกว่าเสนาบดีสภา ท่านทรงประชุมร่วมกับเสนาบดีสภา ทุกสัปดาห์ คือทุกวันอังคาร แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จ ไปที่นั่นอีกแล้ว"
"ฉะนั้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์มันจบไปแล้ว เพียงแต่ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร ทุกสังคมจะต้องแสวงหาเอาเองเราไม่มีทางไปก๊อบปี้ประเทศใดประเทศหนึ่งได้"
ก่อนจบการอภิปราย "ดร.นครินทร์" แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มคือ "การปฏิวัติฝรั่งเศส"
ที่เขียนโดย พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา และคำนำโดย "ปรีดี พนมยงค์"
คำนำ-หัวที่ยังทันสมัย แม้ตีพิมพ์เมื่อ 2477 ความว่า "การปฏิวัติของประเทศฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์ และ เราไม่ควรเอาแบบอย่างเป็นเด็ดขาด การปฏิวัติของสยามเป็นการปฏิวัติที่ไม่ ต้องมาโต้แย้งกันเรื่องรูปแบบการปกครองอีก คือให้พระเจ้าอยู่หัวอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเสีย ส่วนที่เหลือก็ต้องจัดการกันเอง..."
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
1 ในหลายบันทึกประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ คือ หนังสือ "ปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
เรียบเรียง-ค้นคว้าโดย "รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วาระ 24 มิถุนายน 2553 "อาจารย์นครินทร์" พูดถึงประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง...อีกครั้ง
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงหนังสือการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ว่า "ผมเบื่อหนังสือเล่มนี้มาก ๆ ผมทำหนังสือเล่มนี้ช่วงปี 2525-2535 ใช้เวลาประมาณ 10 ปี"
"ดร.นครินทร์" เขียนหนังสือเล่มนี้ เพราะกูรู-ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชักชวน เข้าสู่วงการ
"ผมเขียนบทความชิ้นแรกในปี 2525 และได้เข้าไปอยู่ในข้อโต้เถียงซึ่งผมเบื่อมาก โดยเฉพาะข้อโต้เถียงระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า"
"ผมพูดตรง ๆ ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายบอกความจริงไม่หมด พูดเฉพาะสิ่งที่ตัวเองได้ประโยชน์ ไม่พูดความจริงทั้งหมด เช่น คณะเจ้าก็จะพูดถึงการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ส่วนฝ่ายตรงข้ามชิงสุกก่อนห่าม พวกคณะราษฎรก็จะยกย่องหลายเรื่องจนเกินเหตุ"
ข้อค้นพบของ "ดร.นครินทร์"...
"ยกตัวอย่างที่ผมรู้สึกช็อก คือใครที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจไทยเป็นคนแรก ? ถ้าบอกว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม อันนี้แหละคือความเท็จ ผมจึงหนีจากคณะรัฐศาสตร์ไปอยู่อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุที่ผมเบื่อความเท็จ ความจริงที่มันเลอะเทอะ ถ้าอ่านหนังสือ เข้าหอจดหมายเหตุ หรืออ่านรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะรู้ว่าคนที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจคนแรกชื่อ "มังกร สามเสน""
"คนไทยจะชอบแห่แหน ยกย่องคน บางคนจนเกินเหตุ ถามว่า มังกร สามเสน คือใคร คนนี้คือวีรบุรุษในดวงใจของผม คนหนึ่งในหนังสือ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 ใน 70 คน เป็น ส.ส.รุ่นแรกที่มาจากการแต่งตั้งจาก 3 คน ซึ่งผมสนใจทั้ง มังกร สามเสน และอีก 2 คนคือ มานิต วสุวัต และ ซุ่นใช้ ฮุนตระกูล"
"ปัจจุบันนี้ยังไม่มีหนังสือ หรืองานวิจัย บอกว่าคณะราษฎรคือใคร ประกอบด้วยใครบ้าง ทำอะไรบ้าง และพวกเรามี แนวโน้มอย่างหนึ่ง คือมักเอาคณะราษฎร ไปเท่ากับ ปรีดี พนมยงค์ มันเป็นไปได้อย่างไร คุณไม่นับหลวงพิบูลสงครามเลย เหรอ พอบอกว่าคณะราษฎรคือหลวงพิบูลสงคราม หลายคนโกรธมาก"
"อาจารย์ปรีดีเป็นเพียงเสี้ยวเดียวขององค์คณะ ทำไมไม่นับพระยาพหลฯล่ะ ? ความจริงคนที่เป็นแกนกลางในการวิ่งติดต่อประสานงานในคณะราษฎร ในการประชุมทุกครั้งคือ ประยูร ภมรมนตรี เราก็ไม่นับประยูร ไปหาว่าประยูรเป็นพวกทรยศไปอยู่กับเจ้า ด่าประยูร ไปเลอะเทอะ แต่ถ้าไม่มีประยูร ไม่มี แนบ พหลโยธิน ก็ไม่มีคณะราษฎร"
"อาจารย์นครินทร์" บอกว่า "หนังสือชุด 2475" นั้นอ่านยาก เพราะ
"ผมตั้งใจทำให้อ่านยาก ไม่ได้ตั้งใจเขียนให้ง่าย เพราะว่าผมเบื่อหน่ายมาก ทั้ง นักประวัติศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ ความจริงถ้ามีเวลา ผมจะทำให้ยากกว่านั้นอีก"
กัลยาณมิตรทางวิชาการคนสำคัญ ของ "นครินทร์" ที่ทำให้งานประวัติศาสตร์ 2475 สมบูรณ์ คือ "อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์" แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อครั้ง 2528
"โครงเรื่องในการปฏิวัติ 2475 จะมี 2 ปีกใหญ่ ๆ ปีกหนึ่งจะบอกว่าชิงสุก ก่อนห่าม อีกปีกหนึ่งจะพูดว่าเป็นการปฏิวัติยังไม่เสร็จ ไม่สมบูรณ์ ไม่เสร็จสิ้น ทั้ง 2 ปีกมีอิทธิพลมาก ผมว่ายิ่งกว่า พวกเชียร์คณะราษฎร ซึ่งผมคิดว่าจิ๊บจ๊อยมากในสายตาผม"
"แต่ผมเผชิญหน้าในทางวิชาการกับ พวกสำนักที่บอกว่า unfinished revolution มาก คนหนึ่งคือ "ฉัตรทิพย์ นาถสุภา" เป็นปรมาจารย์ใหญ่ เป็นคนที่ผมเคารพมาก พวกฝ่ายซ้ายทั้งหมดจะบอกว่าการปฏิวัติ 2475 ยังไม่สำเร็จ ยังไม่เสร็จสิ้น การปฏิวัติยังตกค้างอยู่ เพราะกระฎุมพียังไม่ใหญ่พอ มาเที่ยวนี้มีนักกฎหมายบอกว่า การปฏิวัติ 2475 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะยังไม่ได้ชำระสะสางองค์กรตุลาการ"
"ในความเห็นของผม ผมถือว่าเรื่องนี้ จบไปแล้ว ผมเขียนงานชิ้นนี้จบเมื่อปี 2535 ใน 18 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ผมพิมพ์ ออกมา มีคนวิจารณ์ผมเยอะ บางเรื่องผมก็ตอบไม่ได้ มีหลายเรื่องที่ผมยังไม่ทำ เช่น ทำไมไม่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวขบวนการพระ, ทำไมไม่ไปเก็บข้อมูลคนจีน"
"โดยเฉพาะคนจีนที่มาจากสายคอมมิวนิสต์แท้ ๆ ผมยอมแพ้เพราะผมอ่านภาษาจีนไม่ได้ ผมไม่รู้จะเก็บข้อมูลยังไง คนจีนมี 2 กลุ่ม คอมมิวนิสต์กลุ่มหนึ่ง ก๊กมินตั๋งกลุ่มหนึ่ง ทั้ง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนแรงมาก แจกใบปลิวถล่มคณะราษฎรตั้งแต่แรกแล้ว ความจริงมีการเคลื่อนไหวก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475"
แม้หนังสือเล่มนี้จะหนากว่า 3 นิ้ว แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ "อาจารย์นครินทร์" ไม่ได้บันทึก
"ผมยังไม่ได้ทำอีกหลายเรื่อง ถ้าจะทำ ก็ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น อย่าคิดกันเองเลยครับ ผมไปอ่านฎีกาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผมตกใจมาก มีฎีกาอย่างนี้ได้ยังไง เจอฎีกาของ ถวัติ ฤทธิเดช นรินทร์ ภาษิต คนพวกนี้อยู่ในดวงใจของผม"
"และสิ่งที่ผมทึ่งคือ แถลงการณ์ของคณะราษฎร ที่อาจารย์ปรีดีเขียน ไปก๊อบปี้คำของฎีกาเหล่านี้มาใช้ เช่น ประเทศนี้ปกครองอย่างหลอกลวง เอาราษฎรเป็นทาส คำเหล่านี้ไม่ใช่อาจารย์ปรีดีคิดเอง แต่อยู่ในฎีกาก่อนปฏิวัติตั้ง 4-5 ปี แปลว่าอะไร ฎีกาพวกนี้บางส่วนมาจาก ต่างจังหวัดด้วย ต้นตำรับฎีกา พิษณุโลก อยุธยา ฉะเชิงเทรา เรื่องนี้เป็นมิติใหญ่ เรื่องชนชั้นนำที่มาจากต่างจังหวัด ที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ 2475"
"อย่าไปคิดว่าคณะราษฎรเป็นปีก เดียวกันทั้งหมด อย่างตระกูลตุลารักษ์มาจากฉะเชิงเทรา ...คณะราษฎรมีทั้งปีกซ้ายสุดและปีกขวาสุด ผมว่าเราอย่า ไปรังเกียจ ประยูร ภมรมนตรี ว่าไม่ใช่คณะราษฎรเลย ถึงเราจะไม่ชอบก็ตาม"
"แต่ถ้าพูดอย่างนี้ สานุศิษย์อาจารย์ปรีดีจะโกรธมาก ไปบอกว่าหลวงพิบูลฯเป็นคณะราษฎรก็ไม่ได้ คือพวกเราพยายามเอาอาจารย์ปรีดีเป็นคณะราษฎรทั้งหมด ผมคิดว่าความจริงมันไม่ใช่ เพราะคณะราษฎรคือทุกคนที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และจริง ๆ ตอนเขามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง เริ่มในการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าก็มีข้อจำกัดมาก"
"เราเรียกร้องต่ออดีต ในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ ในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์ ผมเห็นว่าหลาย ๆ เรื่องมันจบไปแล้ว ผมเองเห็นแย้งทั้ง 2 พวก ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบสิ้นไปแล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อระบบการเมืองคงตัวอยู่ ทั้งหมดเป็นเรื่องที่สร้างใหม่ทั้งสิ้น"
"คนแต่ละกลุ่มก็สร้างตำนานของตัวเองขึ้นมา คนแต่ละกลุ่มก็สร้างศัตรูของตัวเองขึ้นมา แต่ผมไม่มีปัญญา ไม่มีพละกำลังดูการเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้อีก"
"ผมเป็นคนแรกที่ใช้คำว่าสยาม ผมไม่อยากเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่าเป็นการปฏิวัติประเทศไทย เพราะตอนนั้น ประเทศไทยยังไม่เกิด ประเทศไทย เกิด 2482 อีก 7 ปีให้หลัง สภาวการณ์ตอนนั้นเป็นภาวการณ์ของคนหลากหลายชาติพันธุ์เป็นภาวการณ์ซึ่งไม่มีเอกราชสมบูรณ์"
"คณะราษฎรบางปีกพยายามยืนยันว่า ประเทศสยามไม่มีเอกราชสมบูรณ์เพราะเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คำอธิบายแบบนี้หลายคนรับไม่ได้ เพราะทุกคนพยายามยืนยันว่าเรามีเอกราชมาตลอด ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร คือพูดเรื่องเดียวกันแต่พูดคนละเรื่อง และผมสนใจข้อขัดแย้งเหล่านี้ในเชิงของความคิด และข้อโต้แย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง"
"ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว ที่เหลือคือการตีความซึ่งเป็นเรื่องของทุกคน ใครจะชอบรสนิยมยังไงก็เชิญตามสบาย ผมไม่ขัดข้อง ใครจะเป็นซ้ายก็ซ้ายให้สุด ๆ ใครจะเป็นขวาก็เป็นขวาให้สุด ๆ ความจริงประวัติศาสตร์ history เป็นของทุกคน ไม่ใช่สมบัติของคนใดคนหนึ่ง ประวัติศาสตร์เป็นของทุกคน"
อย่างน้อยก็มีเรื่องที่ "ดร.นครินทร์" ไม่กล้าเขียน คือเรื่อง "คณะราษฎร" แม้ว่าเวลาผ่านมาแล้วหลายสิบปี
"ผมท้าทายเด็กรุ่นใหม่ที่รักคณะราษฎร มีหลายคนพูดว่าการต่อสู้ของคณะราษฎรยังไม่จบ การต่อสู้ของคณะราษฎรกับ คณะเจ้ายังคงมีต่อไป... คุณช่วยเขียนหนังสือเรื่องคณะราษฎรให้ผมอ่านหน่อยสิ ช่วยออกแรงหน่อยได้ไหมครับ ออกแรงเขียนหนังสือให้อ่านหน่อยสักเล่มเรื่องคณะราษฎร ...ผมเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง ผมยังไม่กล้าเขียนเพราะมันไม่สมบูรณ์"
"ผมเดาไม่ได้ว่าใครเป็นใครในคณะราษฎร ผมรู้สักประมาณ 1 ใน 3 อีก 2 ใน 3 ผมไม่รู้ชัด ๆ ว่าเขาคือใคร ฉะนั้นคณะราษฎรไม่ใช่อาจารย์ปรีดี คนเดียว"
ชื่อ "ดิเรก ชัยนาม" คือชื่อที่ "ดร.นครินทร์" เอ่ยพาดพิงกรณีเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 2475
"ยกตัวอย่าง เช่น ดิเรก ชัยนาม ผมพยายามพูดเสมอว่า คณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก คือคณะราษฎร แต่ผมเข้าไปในบ้านของตระกูลชัยนาม หลายคนพยายามไม่พูดเรื่องนี้ เพราะว่าการเป็นสมาชิกคณะราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากนัก คือไปมีส่วนร่วมกับคณะปฏิวัติ แล้วกลับบ้าน ถูกด่า คุณต้องไปถามตระกูลชัยนาม ไม่ใช่คิดเอาเอง ต้องไปถามญาติพี่น้อง ลูกหลานของตระกูลชัยนาม ว่ายังภาคภูมิใจกับการเป็นสมาชิกคณะราษฎรหรือเปล่า"
"ความเห็นของผม การปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว และทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลายเป็นระบอบประชาธิปไตย จุดเปลี่ยนผ่านใหญ่คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ เป็นประมุขของคณะรัฐมนตรีอีก"
"ก่อนปี 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, 6, 7 ทรงประทับในที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ที่เรียกว่าเสนาบดีสภา ท่านทรงประชุมร่วมกับเสนาบดีสภา ทุกสัปดาห์ คือทุกวันอังคาร แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จ ไปที่นั่นอีกแล้ว"
"ฉะนั้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์มันจบไปแล้ว เพียงแต่ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร ทุกสังคมจะต้องแสวงหาเอาเองเราไม่มีทางไปก๊อบปี้ประเทศใดประเทศหนึ่งได้"
ก่อนจบการอภิปราย "ดร.นครินทร์" แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มคือ "การปฏิวัติฝรั่งเศส"
ที่เขียนโดย พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา และคำนำโดย "ปรีดี พนมยงค์"
คำนำ-หัวที่ยังทันสมัย แม้ตีพิมพ์เมื่อ 2477 ความว่า "การปฏิวัติของประเทศฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์ และ เราไม่ควรเอาแบบอย่างเป็นเด็ดขาด การปฏิวัติของสยามเป็นการปฏิวัติที่ไม่ ต้องมาโต้แย้งกันเรื่องรูปแบบการปกครองอีก คือให้พระเจ้าอยู่หัวอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเสีย ส่วนที่เหลือก็ต้องจัดการกันเอง..."
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)