นาย นาวิน บุญเศรษฐ์ ผู้ประสานงาน เสื้อแดง หรือ นปช. 17 ภาคเหนือ เปิดเผยว่า จากกรณีที่ กลุ่มเสื้อแดงซึ่งเป็นคนจังหวัดเชียงราย ที่มาร่วมชุมนุม กับกลุ่ม นปช. และเสื้อแดงส่วนกลางแล้วเดินทางกลับบ้านปรากฏว่า ได้เกิดอุบัติเหตุ ขับรถกระบะ ชนกับต้นไม้ที่ริมถนนสายแม่อ้อ - พาน ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย และบาดเจ็บ 1 ราย ด้วยกัน เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม เรื่องนี้พวกเรารู้สึกเสียใจมาก ที่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้กับพี่น้องเสื้อแดง ทั้งนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้โฟนอินมา ว่าจะไม่ทอดทิ้ง ผู้เสียชีวิต ทั้ง 5 ราย และ สั่งให้มีการจัดตั้งกองทุน ช่วยผู้เสียชีวิตเป็นค่าทำศพ จำนวน 1 ล้านบาท เพื่อเป็นการเยียวยา ส่วนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนั้นเราจะมีเงินไปช่วยเหลือส่วนหนึ่ง ซึ่งคงต้องมีการประชุมกันอีกครั้งโดยต้องรอ พ.ต.ท. ทักษิณ เป็นผู้ตัดสินใจ ส่วนบุตรของผู้เสียชีวิตทั้ง 5 คน พ.ต.ท. ทักษิณ จะส่งให้เรียนจนจบปริญญาตรี
นอกจากนี้ ในวันที่ 2 เมษายน นี้ตนเองในฐานะเป็นผู้ประสานงานเสื้อแดง 17 ภาคเหนือ จะเดินทางไปที่จังหวัดเชียงราย เพื่อไปร่วมงานเป็นเจ้าสภาพสวดพระอภิธรรมศพผู้เสียชีวิตซึ่งเป็นคนเสื้อแดง และจะอยู่ถึงวันที่ 3 เมษายน ซึ่งจะเป็นวันเผา แล้วจะกลับมาร่วมชุมนุมกดดันให้รัฐบาลยุบสภาต่อไป
ที่มา.เนชั่นทันข่าว
***************************************************
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
มติประชาชนเท่านั้นที่ทำลายอำมาตย์ได้
ความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2550 ผมเป็นผู้ใช้สิทธิคนหนึ่งในจำนวน10ล้านเศษที่ "ไม่เห็นชอบ" และเมื่อพรรคพลังประชาชนลงเลือกตั้งพร้อมทั้งเสนอสัญญษประชาคมว่า"ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกรัฐธรรมนูญ50 และจะนิรโทษกรรมการพรรคไทยรักไทย111 คน ผลการเลือกตั้งจึงได้ 233 คนมีนายสมัครเป็นนายก แถลงนโยบายยังไม่ทันได้ทำงาน กลุ่มคนเสื้อเหลืองก็รวมกลุ่มคัดค้านการออกกฏหมายนิรโทษ การแก้รัฐธรรมนูญ
การตั้งข้อหาที่หาสาระไม่ได้แต่มีสาระในการต้องออกจากตำแหน่งของนายกสมัคร
ส่วนรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนโดนใบแดงทำให้คุณสมชายและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิเป็นชุดที่สอง
ทีมAไทยรักไทย ทีมBพลังประชาชน และเพื่อไทยจึงเป็นเพียงทีมC ที่กลายเป็นฝ่ายค้าน แต่การกำจัดทักษิณที่ค้านความรู้สึก จนพัฒนามาถึงการต่อสู้ในปัจจุบันฉายให้เห็นขบวนการทำลายต่อเนื่องก่อนมีรัฐธรรมนูญและหลังมีรัฐธรรมนูญ นั้นทำลายแม้กระทั้งมติของประชาชนที่เลือกพรรคพลังประชาชนเพือป็นฝ่ายบริหาร
มติประชาชนต้องเป็นที่สิ้นสุด ตามหลักการและเมื่อมีการทำลายมติประชาชนจึงแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจที่เหนือกว่ามติของประชาชน สาเหตุมาจากกลไกต่างๆในรัฐธรรมนูญ2550 พร้อมทั้งการได้มติ"เห็นชอบ"ในขณะบางพื้นที่เป็นฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยยังประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งห้ามการชุมนุมเกินห้าคน ขัดขวางการวิภาควิจารณ์ข้อดีข้อเสียในรัฐธรรมนูญ มติที่ได้ภายใต้การข่มขู่ของคณะยึดอำนาจในขณะนั้น มิใช่ในบรรยากาศประชาธิปไตย
ความเห็นเกี่ยวกับมติรัฐธรรมนูญ 2550 ผมเป็นผู้ใช้สิทธิคนหนึ่งในจำนวน10ล้านเศษที่ "ไม่เห็นชอบ" และเมื่อพรรคพลังประชาชนลงเลือกตั้งพร้อมทั้งเสนอสัญญาประชาคมว่า"ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกรัฐธรรมนูญ50 และจะนิรโทษกรรมการพรรคไทยรักไทย111 คน ผลการเลือกตั้งจึงได้ 233 คนมีนายสมัครเป็นนายก แถลงนโยบายยังไม่ทันได้ทำงาน กลุ่มคนเสื้อเหลืองก็รวมกลุ่มคัดค้านการออกกฏหมายนิรโทษ การแก้รัฐธรรมนูญ
การตั้งข้อหาที่หาสาระไม่ได้แต่มีสาระในการต้องออกจากตำแหน่งของนายกสมัคร
ส่วนรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนโดนใบแดงทำให้คุณสมชายและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิเป็นชุดที่สอง
ทีมAไทยรักไทย
ทีมBพลังประชาชน
ทีมCเพื่อไทที่กลายเป็นฝ่ายค้าน
แต่การกำจัดทักษิณที่ค้านความรู้สึก จนพัฒนามาถึงการต่อสู้ในปัจจุบันฉายให้เห็นขบวนการทำลายต่อเนื่องก่อนมีและหลังมีรัฐธรรมนูญ นั้นทำลายแม้กระทั้งมติของประชาชนที่ถือว่าสูงสุดในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
เมื่อมติประชาชนไม่เป็นที่สิ้นสุด ตามหลักการและเมื่อมีการทำลายมติประชาชนจึงแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจที่เหนือกว่ามติของประชาชน ที่แฝงอยู่ในรัฐธรรมนูญ2550 และที่สำคัญการได้มติ"เห็นชอบ"ในขณะบางพื้นที่เป็นฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยยังประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งห้ามการชุมนุมเกินห้าคน ขัดขวางการวิภาควิจารณ์ข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญ มติที่ได้ภายใต้การข่มขู่ของคณะยึดอำนาจในขณะนั้น มิใช่ในบรรยากาศประชาธิปไตย
จึงเรียกร้องให้มีการแสดงประชามติ "เห็นชอบ" และ"ไม่เห็นชอบ" เพื่อรับรองรัฐธรรมนูญ2550นี้อีกครั้ง วิธีการนี้จะเป็นทางออกของวิกฤตของชาติหรือไม่ แต่มิได้หวังว่ารัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพแต่คาดหวังให้แกนนำคนเสื้อแดงเป็นเจ้าภาพ จากมติที่"เห็นชอบ 14 ล้านเศษกับ"ไม่เห็นชอบ" 10 ล้านเศษ มติที่ได้ในบางพื้นที่ประกาศใช้กฏอัยการศึก กับมติใหม่ภายใต้บรรยาการประชาธิปไตยนั้นจะแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะใช้มตินี้นี้เป็นสัญญาประชาคม ของประชาชนในการเลือกตั้งที่จะมาถึงอีกปีเศษ
เป็นอีกหนึ่งช่องทางหรือไม่ในการหาทางล้มรัฐธรรมนู2550ด้วย มติประชาชน ผมว่าไม่น่าจะยากเพราะจำนวนเสียงที่"เห็นชอบ"กับ "ไม่เห็นชอบ" ต่างกันไม่มาก และจะไม่เหมือนการเลือกพลังประชาชนแล้ว ต่างฝ่ายต่างเข้าใจเอาเองว่าเดี๋ยวประชาชนก็จะออกมาช่วยกันไม่ให้เสื้อเหลืองเป็นฝ่ายรุกอยู่ข้างเดียวถึงอย่างไรต้องคุ้มกันให้คนมาถือธง ส่วนประชาชนต่างรอและคิดว่าเลือกแล้วก็ยังไม่รู้จักป้องกันหม้อข้าวหม้อแกงของตนเอง เพราะต่างเข้าใจคนละวิธีกัน ทั้งๆที่ตอนนั้นที่สนามหลวงก็มีกลุ่มต่อต้านเผด็จการอยู่แล้วแต่จำนวนไม่มาก หากว่าเกิดการประสานกำลังในกรุงและกำลังต่างจังหวัด พธม.ก็จะหยุดอยู่แค่หอประชุมธรรมศาสตร์เท่านั้น
และการเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนได้บทเรียนแล้ว ผู้แทนคือหอยที่ต้องการเปลือกคือประชาชนที่เลือกเขาคอยปกป้องคุ้มครอง
ที่มา .konthaiuk
************************************************
การตั้งข้อหาที่หาสาระไม่ได้แต่มีสาระในการต้องออกจากตำแหน่งของนายกสมัคร
ส่วนรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนโดนใบแดงทำให้คุณสมชายและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิเป็นชุดที่สอง
ทีมAไทยรักไทย ทีมBพลังประชาชน และเพื่อไทยจึงเป็นเพียงทีมC ที่กลายเป็นฝ่ายค้าน แต่การกำจัดทักษิณที่ค้านความรู้สึก จนพัฒนามาถึงการต่อสู้ในปัจจุบันฉายให้เห็นขบวนการทำลายต่อเนื่องก่อนมีรัฐธรรมนูญและหลังมีรัฐธรรมนูญ นั้นทำลายแม้กระทั้งมติของประชาชนที่เลือกพรรคพลังประชาชนเพือป็นฝ่ายบริหาร
มติประชาชนต้องเป็นที่สิ้นสุด ตามหลักการและเมื่อมีการทำลายมติประชาชนจึงแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจที่เหนือกว่ามติของประชาชน สาเหตุมาจากกลไกต่างๆในรัฐธรรมนูญ2550 พร้อมทั้งการได้มติ"เห็นชอบ"ในขณะบางพื้นที่เป็นฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยยังประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งห้ามการชุมนุมเกินห้าคน ขัดขวางการวิภาควิจารณ์ข้อดีข้อเสียในรัฐธรรมนูญ มติที่ได้ภายใต้การข่มขู่ของคณะยึดอำนาจในขณะนั้น มิใช่ในบรรยากาศประชาธิปไตย
ความเห็นเกี่ยวกับมติรัฐธรรมนูญ 2550 ผมเป็นผู้ใช้สิทธิคนหนึ่งในจำนวน10ล้านเศษที่ "ไม่เห็นชอบ" และเมื่อพรรคพลังประชาชนลงเลือกตั้งพร้อมทั้งเสนอสัญญาประชาคมว่า"ถ้าได้เป็นรัฐบาลจะยกเลิกรัฐธรรมนูญ50 และจะนิรโทษกรรมการพรรคไทยรักไทย111 คน ผลการเลือกตั้งจึงได้ 233 คนมีนายสมัครเป็นนายก แถลงนโยบายยังไม่ทันได้ทำงาน กลุ่มคนเสื้อเหลืองก็รวมกลุ่มคัดค้านการออกกฏหมายนิรโทษ การแก้รัฐธรรมนูญ
การตั้งข้อหาที่หาสาระไม่ได้แต่มีสาระในการต้องออกจากตำแหน่งของนายกสมัคร
ส่วนรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนโดนใบแดงทำให้คุณสมชายและกรรมการพรรคถูกเพิกถอนสิทธิเป็นชุดที่สอง
ทีมAไทยรักไทย
ทีมBพลังประชาชน
ทีมCเพื่อไทที่กลายเป็นฝ่ายค้าน
แต่การกำจัดทักษิณที่ค้านความรู้สึก จนพัฒนามาถึงการต่อสู้ในปัจจุบันฉายให้เห็นขบวนการทำลายต่อเนื่องก่อนมีและหลังมีรัฐธรรมนูญ นั้นทำลายแม้กระทั้งมติของประชาชนที่ถือว่าสูงสุดในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
เมื่อมติประชาชนไม่เป็นที่สิ้นสุด ตามหลักการและเมื่อมีการทำลายมติประชาชนจึงแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจที่เหนือกว่ามติของประชาชน ที่แฝงอยู่ในรัฐธรรมนูญ2550 และที่สำคัญการได้มติ"เห็นชอบ"ในขณะบางพื้นที่เป็นฐานเสียงของพรรคไทยรักไทยยังประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งห้ามการชุมนุมเกินห้าคน ขัดขวางการวิภาควิจารณ์ข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญ มติที่ได้ภายใต้การข่มขู่ของคณะยึดอำนาจในขณะนั้น มิใช่ในบรรยากาศประชาธิปไตย
จึงเรียกร้องให้มีการแสดงประชามติ "เห็นชอบ" และ"ไม่เห็นชอบ" เพื่อรับรองรัฐธรรมนูญ2550นี้อีกครั้ง วิธีการนี้จะเป็นทางออกของวิกฤตของชาติหรือไม่ แต่มิได้หวังว่ารัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพแต่คาดหวังให้แกนนำคนเสื้อแดงเป็นเจ้าภาพ จากมติที่"เห็นชอบ 14 ล้านเศษกับ"ไม่เห็นชอบ" 10 ล้านเศษ มติที่ได้ในบางพื้นที่ประกาศใช้กฏอัยการศึก กับมติใหม่ภายใต้บรรยาการประชาธิปไตยนั้นจะแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะใช้มตินี้นี้เป็นสัญญาประชาคม ของประชาชนในการเลือกตั้งที่จะมาถึงอีกปีเศษ
เป็นอีกหนึ่งช่องทางหรือไม่ในการหาทางล้มรัฐธรรมนู2550ด้วย มติประชาชน ผมว่าไม่น่าจะยากเพราะจำนวนเสียงที่"เห็นชอบ"กับ "ไม่เห็นชอบ" ต่างกันไม่มาก และจะไม่เหมือนการเลือกพลังประชาชนแล้ว ต่างฝ่ายต่างเข้าใจเอาเองว่าเดี๋ยวประชาชนก็จะออกมาช่วยกันไม่ให้เสื้อเหลืองเป็นฝ่ายรุกอยู่ข้างเดียวถึงอย่างไรต้องคุ้มกันให้คนมาถือธง ส่วนประชาชนต่างรอและคิดว่าเลือกแล้วก็ยังไม่รู้จักป้องกันหม้อข้าวหม้อแกงของตนเอง เพราะต่างเข้าใจคนละวิธีกัน ทั้งๆที่ตอนนั้นที่สนามหลวงก็มีกลุ่มต่อต้านเผด็จการอยู่แล้วแต่จำนวนไม่มาก หากว่าเกิดการประสานกำลังในกรุงและกำลังต่างจังหวัด พธม.ก็จะหยุดอยู่แค่หอประชุมธรรมศาสตร์เท่านั้น
และการเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนได้บทเรียนแล้ว ผู้แทนคือหอยที่ต้องการเปลือกคือประชาชนที่เลือกเขาคอยปกป้องคุ้มครอง
ที่มา .konthaiuk
************************************************
2 ผลโพลล์ชี้ต่างหลังเจรจา โพลล์หนึ่งชี้ยุบ อีกโพลล์ชี้ยุบไม่ใช่ทางออก อย่างไรดีประเทศไทย!
หลังมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. กรุงเทพโพลล์ และเอแบคโพลล์รีบเดินหน้าทำแบบสำรวจความคิดเห็นประชาชนทันที โดย กรุงเทพโพลล์เผย คนกรุง 45.6% เจรจาแล้วยังเหมือนเดิม ขณะที่ 42% เห็นด้วยยุบสภา เฉือนหวิว 41% ไม่เห็นด้วย ขณะที่เอแบคโพลล์ชี้ 47% ไม่มั่นใจว่ายุบสภาคือทางออก มั่นใจแค่ 35% แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและลงลึกในรายบุคคลที่ยากจะชี้ทิศทางการเมืองไทย
@กรุงเทพโพลล์เผย คนกรุง 45.6% เจรจาแล้วยังเหมือนเดิม ขณะที่ 42% เห็นด้วยยุบสภา เฉือนหวิว 41% ไม่เห็นด้วย
วันนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ทำการเปิดเผยผลสำรวจเรื่อง อนาคตการเมืองไทยหลังการเจรจา 2 ครั้งระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. โดยผลสำรวจระบุว่า คนกรุงเทพ ฯ ร้อยละ 45.6 คิดว่าสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. มาแล้ว 2 ครั้ง จะยังคงเหมือนเดิม ร้อยละ 21.0 คิดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ร้อยละ 20.4 คิดว่าสถานการณ์จะแย่ลง และมีร้อยละ 13 ที่ไม่แสดงความคิดเห็น โดยให้คะแนนความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง 6.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10
ต่อประเด็นเรื่องการยุบสภานั้น ร้อยละ 42.0 เห็นด้วยกับการยุบสภา ร้อยละ 41.0 ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา และมีร้อยละ 17.0 ไม่ขอแสดงความคิดเห็น
ต่อประเด็นหากจะมีการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ สิ่งที่เห็นว่าควรมีการแก้ไขเพื่อสร้างรากฐานที่ดีให้กับระบบการเมืองไทยในอนาคตนั้น ร้อยละ 41.8 เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแก้ไขในบางประเด็นของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เช่น ประเด็นข้อกำหนดการยุบพรรคการเมือง ที่มาของ สว. และองค์กรอิสระ การแบ่งเขตเลือกตั้ง สส. ร้อยละ 30.6 ขณะที่อีกร้อยละ 11.2 เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้แทนฉบับปี 2550 นอกจากเรื่องแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ร้อยละ 27.9 ยังมีการเสนอให้แก้ไขในเรื่องอื่นๆ เช่น กำหนดมาตรการป้องกันและเพิ่มโทษของการซื้อสิทธิขายเสียง สร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักการเมือง โดยมีร้อยละ 30.3 ที่เห็นว่าทุกอย่างดีอยู่แล้ว ไม่มีเรื่องใดต้องแก้ไข
โดยสิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากบอกถึงรัฐบาล 5 อันดับแรก คือ เป็นกำลังใจให้รัฐบาลทำงานต่อไปให้ดีที่สุด ร้อยละ 26.9 ให้รัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหาเพื่อจะได้ยุติปัญหาโดยเร็ว ร้อยละ 16.3 ให้เสียสละ ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ร้อยละ 13.8 ให้ประนีประนอม ไม่ให้ใช้ความรุนแรง ปล่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย ร้อยละ 7.0 ให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยละ 6.6
และสิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากบอกถึงแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. (5 อันดับแรก) คือ ให้ยุติการชุมนุมโดยเร็ว ร้อยละ 32.7 ไม่ควรนึกถึงประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง ควรนึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยละ 19.5 ชุมนุมได้แต่ควรชุมนุมอย่างสงบไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ร้อยละ 19.0 เป็นกำลังใจให้ชุมนุมต่อไป ร้อยละ 10.4 ให้เจรจาหาทางออก และถอยกันคนละก้าว ร้อยละ 5.1
@เอแบคโพลล์ชี้ 47% ไม่มั่นใจว่ายุบสภาคือทางออก มั่นใจแค่ 35%
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำคนเสื้อแดง โดยประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.4 ติดตามการถ่ายทอดสดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 34.4 ไม่ได้ติดตามการถ่ายทอดสด แต่ติดตามจากสื่ออื่นๆ และร้อยละ 16.2 ไม่ได้ติดตามเลย
โดยประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.9 สนับสนุนวิธีการเจรจาระหว่างตัวแทนฝ่ายรัฐบาลและตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 47.8 ไม่มั่นใจว่า การยุบสภาเลือกตั้งใหม่จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 35.9 มั่นใจ ที่เหลือไม่มีความเห็น และเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการตัดสินใจเรื่องการยุบสภา พบว่า ร้อยละ 42.2 ขอให้ทำงานต่อไปจนครบวาระ แต่ร้อยละ 27.2 เสนอให้ยุบสภาภายใน 15 วัน ร้อยละ 13.9 ให้ยุบสภาภายใน 6 เดือน ร้อยละ 13.8 ให้ยุบสภาภายในอีก 9 เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงคะแนนความเป็นผู้นำโดยภาพรวมของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ภายหลังการเจรจา พบว่า ร้อยละ 35.5 ให้คะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.4 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 26.2 ระบุลดลง ที่เหลือไม่มีความเห็น และเมื่อถามถึงคะแนน ความเข้มแข็ง กล้าหาญของกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงที่ออกมาในหนทางประชาธิปไตย พบว่า ร้อยละ 35.9 ให้คะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.7 ระบุเหมือนเดิม แต่ร้อยละ 32.7 ระบุลดลง ที่เหลือไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาสำหรับทั้งฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมคือ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุสิ่งที่อยากให้รัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงใช้โอกาสนี้ช่วยกันทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคือ ร้อยละ 91.0 ระบุให้ช่วยกันแก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 89.2 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 87.2 ระบุปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 87.0 ระบุปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม ร้อยละ 84.5 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 80.7 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน และร้อยละ 79.2 ระบุปัญหาภัยแล้ง ตามลำดับ
โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และ สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,191 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 30 มีนาคม 2553
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
************************************************
@กรุงเทพโพลล์เผย คนกรุง 45.6% เจรจาแล้วยังเหมือนเดิม ขณะที่ 42% เห็นด้วยยุบสภา เฉือนหวิว 41% ไม่เห็นด้วย
วันนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้ทำการเปิดเผยผลสำรวจเรื่อง อนาคตการเมืองไทยหลังการเจรจา 2 ครั้งระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. โดยผลสำรวจระบุว่า คนกรุงเทพ ฯ ร้อยละ 45.6 คิดว่าสถานการณ์การเมืองไทยภายหลังการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำ นปช. มาแล้ว 2 ครั้ง จะยังคงเหมือนเดิม ร้อยละ 21.0 คิดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ร้อยละ 20.4 คิดว่าสถานการณ์จะแย่ลง และมีร้อยละ 13 ที่ไม่แสดงความคิดเห็น โดยให้คะแนนความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง 6.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10
ต่อประเด็นเรื่องการยุบสภานั้น ร้อยละ 42.0 เห็นด้วยกับการยุบสภา ร้อยละ 41.0 ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา และมีร้อยละ 17.0 ไม่ขอแสดงความคิดเห็น
ต่อประเด็นหากจะมีการยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ สิ่งที่เห็นว่าควรมีการแก้ไขเพื่อสร้างรากฐานที่ดีให้กับระบบการเมืองไทยในอนาคตนั้น ร้อยละ 41.8 เห็นว่าควรแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยแก้ไขในบางประเด็นของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เช่น ประเด็นข้อกำหนดการยุบพรรคการเมือง ที่มาของ สว. และองค์กรอิสระ การแบ่งเขตเลือกตั้ง สส. ร้อยละ 30.6 ขณะที่อีกร้อยละ 11.2 เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้แทนฉบับปี 2550 นอกจากเรื่องแก้รัฐธรรมนูญแล้ว ร้อยละ 27.9 ยังมีการเสนอให้แก้ไขในเรื่องอื่นๆ เช่น กำหนดมาตรการป้องกันและเพิ่มโทษของการซื้อสิทธิขายเสียง สร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักการเมือง โดยมีร้อยละ 30.3 ที่เห็นว่าทุกอย่างดีอยู่แล้ว ไม่มีเรื่องใดต้องแก้ไข
โดยสิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากบอกถึงรัฐบาล 5 อันดับแรก คือ เป็นกำลังใจให้รัฐบาลทำงานต่อไปให้ดีที่สุด ร้อยละ 26.9 ให้รัฐบาลจริงใจในการแก้ปัญหาเพื่อจะได้ยุติปัญหาโดยเร็ว ร้อยละ 16.3 ให้เสียสละ ยุบสภา คืนอำนาจให้ประชาชน ร้อยละ 13.8 ให้ประนีประนอม ไม่ให้ใช้ความรุนแรง ปล่อยให้เป็นไปตามกฎหมาย ร้อยละ 7.0 ให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยละ 6.6
และสิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากบอกถึงแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. (5 อันดับแรก) คือ ให้ยุติการชุมนุมโดยเร็ว ร้อยละ 32.7 ไม่ควรนึกถึงประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง ควรนึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ร้อยละ 19.5 ชุมนุมได้แต่ควรชุมนุมอย่างสงบไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ร้อยละ 19.0 เป็นกำลังใจให้ชุมนุมต่อไป ร้อยละ 10.4 ให้เจรจาหาทางออก และถอยกันคนละก้าว ร้อยละ 5.1
@เอแบคโพลล์ชี้ 47% ไม่มั่นใจว่ายุบสภาคือทางออก มั่นใจแค่ 35%
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำคนเสื้อแดง โดยประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.4 ติดตามการถ่ายทอดสดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ร้อยละ 34.4 ไม่ได้ติดตามการถ่ายทอดสด แต่ติดตามจากสื่ออื่นๆ และร้อยละ 16.2 ไม่ได้ติดตามเลย
โดยประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.9 สนับสนุนวิธีการเจรจาระหว่างตัวแทนฝ่ายรัฐบาลและตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 47.8 ไม่มั่นใจว่า การยุบสภาเลือกตั้งใหม่จะเป็นทางออกของการแก้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ ขณะที่ร้อยละ 35.9 มั่นใจ ที่เหลือไม่มีความเห็น และเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการตัดสินใจเรื่องการยุบสภา พบว่า ร้อยละ 42.2 ขอให้ทำงานต่อไปจนครบวาระ แต่ร้อยละ 27.2 เสนอให้ยุบสภาภายใน 15 วัน ร้อยละ 13.9 ให้ยุบสภาภายใน 6 เดือน ร้อยละ 13.8 ให้ยุบสภาภายในอีก 9 เดือนข้างหน้า
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงคะแนนความเป็นผู้นำโดยภาพรวมของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ภายหลังการเจรจา พบว่า ร้อยละ 35.5 ให้คะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.4 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 26.2 ระบุลดลง ที่เหลือไม่มีความเห็น และเมื่อถามถึงคะแนน ความเข้มแข็ง กล้าหาญของกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงที่ออกมาในหนทางประชาธิปไตย พบว่า ร้อยละ 35.9 ให้คะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.7 ระบุเหมือนเดิม แต่ร้อยละ 32.7 ระบุลดลง ที่เหลือไม่มีความเห็น
ที่น่าพิจารณาสำหรับทั้งฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมคือ ประชาชนส่วนใหญ่ระบุสิ่งที่อยากให้รัฐบาลและกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงใช้โอกาสนี้ช่วยกันทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคือ ร้อยละ 91.0 ระบุให้ช่วยกันแก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 89.2 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 87.2 ระบุปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 87.0 ระบุปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม ร้อยละ 84.5 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 80.7 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน และร้อยละ 79.2 ระบุปัญหาภัยแล้ง ตามลำดับ
โดยศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ขอนแก่น ศรีสะเกษ สกลนคร หนองบัวลำภู พัทลุง ระนอง และ สุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,191 ครัวเรือน ดำเนินการสำรวจในวันที่ 30 มีนาคม 2553
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
************************************************
เงื่อนไขเจรจา ที่ไม่ได้พูดหน้าทีวี!
"ผมไม่ผิดหวังกับการเจรจาที่ล้มเหลว เพราะผมไม่ได้คาดหวังตั้งแต่ต้นอยู่แล้วว่าจะประสบความสำเร็จ
เหตุทั้งสองฝ่ายนั่งลงหารือไม่ได้มุ่งหวังผล เนื่องจากทราบดีว่าเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายยากที่จะรับได้ แต่ถือว่าเป็นบรรยากาศที่ดีในระบอบประชาธิปไตย ที่ความขัดแย้งถูกยกขึ้นมาบนเวทีเจรจา แทนที่จะห้ำหั่นบนท้องถนน"
ฝ่ายรัฐบาลชัดเจนตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะไม่ยุบสภาในระยะสั้นอย่างแน่นอน ตราบใดที่งบประประมาณรายจ่ายปี 2554 ยังไม่มีผลบังคับใช้ เพราะทุกรัฐบาลหวังอย่างยิ่ง ที่จะเป็นผู้จัดสรร "เม็ดเงิน" ผ่านงบประมาณด้วยตัวเอง
ตามปฏิทิน งบประมาณปี 2554 นั้น 27 เม.ย. คณะรัฐมนตรี จะพิจารณากรอบในรายละเอียด และช่วง 26-27 พ.ค. พิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร 6 ก.ย. จะพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภา และคาดว่า 10 ก.ย. 2553 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะสามารถนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2554 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย
นัยของรัฐบาล เงื่อนไขงบประมาณรายจ่ายปี 2554 หลังเดือนก.ย. ถึงยุบสภาได้...จึงไม่แปลกที่ยื่นข้อเสนอ จะยุบสภาได้สิ้นปี สอดรับกับมุมมองของ "บรรหาร ศิลปอาชา" ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เห็นว่า ยุบสภาได้ต้องรอ 6-7 เดือน
แต่สิ่งที่เป็นเงื่อนไข ยิ่งใหญ่กว่างบประมาณรายจ่าย คือ ขั้นตอนการโยกย้ายข้าราชการตำรวจและนายทหาร "โดยเฉพาะโผโยกย้ายนายทหารระดับสูง" ซึ่งกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ ก็อยู่ช่วงเดือนส.ค.หรือเดือนก.ย.นั่นแหละ!
รัฐบาลและนายทหารที่กุมอำนาจในกองทัพ ปัจจุบันยอมไม่ได้ ที่จะให้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นก่อนเดือนส.ค.หรือเดือนก.ย. นำไปสู่ "ความไม่แน่นอนในกองทัพ"
หากมั่นใจว่าพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง คงไม่น่าวิตก แต่สถานการณ์วันนี้ "สุ่มเสี่ยง" แพ้หรือชนะ โอกาสเท่ากัน ยิ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เตรียมคลอดนโยบายหาเสียง "พักหนี้ 5 ปี หนี้ไม่เกิน 5 แสน" น่าจะได้รับการตอบสนอง ความนิยมในวงกว้าง เพราะยากที่ประชาชนจะตระหนักว่านั่นคือภาษีของตัวเอง
กองทัพจึงไม่พิสมัยความไม่แน่นอนทางการเมือง ก่อนเดือนก.ย. นี้ เพราะอาจจะนำไปสู่ความไม่แน่นอนของบุคคล ที่จะมาดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก คนใหม่ และในอีกหลายตำแหน่งที่สำคัญ
ขั้วอำนาจในปัจจุบันวางแถวไว้เรียบร้อยแล้ว !
นี้คือเหตุผลที่รัฐบาลไม่ได้ยกมาเจรจาหน้าทีวี
พ.ต.ท.ทักษิณ และ แกนนำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เข้าร่วมเจรจา ก็ทราบเงื่อนไขเรื่องนี้ดี จึงยื่นข้อเสนอยุบสภา ภายใน 15 วัน หรืออาจจะยืดให้ถึง 3 เดือน ตามที่นักวิชาการเสนอ
เพราะเชื่อว่าหากมีการเลือกตั้งก่อนเดือนก.ย. 2553 พรรคเพื่อไทย "ชนะแน่"! ด้วยนโยบาย "ประชานิยมสุดขั้ว" พักหนี้ 5 ปี 5 แสนบาท เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านฯ และอีกมากมาย
ได้อำนาจทางการเมือง ก่อนเดือนก.ย. เพื่อเข้าไปจัดสรร ตำแหน่งคนของตัวเองเข้าไปในองค์กรหลักของประเทศ อย่างเช่นหลังเลือกตั้งปี 2544 เคยปฏิบัติมาแล้ว หรืออีกนัย เบรกไม่ให้รัฐบาล แต่งตั้งโผนายทหารได้สำเร็จ
สามแกนนำ นปช.จึงปฏิเสธข้อเสนอรัฐบาลที่จะยุบสภาภายใน 9 เดือน
เมื่อทั้งสองฝ่ายรู้เงื่อนไข "จริง" และมีคำตอบอยู่แล้ว ไยถึงมานั่งเจรจา ขายฝันให้คนทั้งประเทศมีความหวัง ?
เพราะได้ออกฟรีทีวีทุกช่อง..."เรียลลิตี้โชว์ทางการเมือง" เพื่อใช้สื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเอง !
เสื้อแดง...หวังสื่อรายงานสิ่งที่พูดบทเวทีผ่านฟ้า ผ่านสื่อกระแสหลัก ที่มีการถ่ายทอดสดตลอดเจรจา 2 ชั่วโมง...เนื้อหาในวันเจรจา จึงดูเป็นตั้งกระทู้...กล่าวหา...อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล มากกว่า จะเป็นการ "เจรจา" อย่างแท้จริง (ยกเว้น วีระ มุสิกพงศ์)
รัฐบาล...ต้องการ "สื่อ" ไปยังทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะ "ฝ่ายตรงกลาง" ตอบโต้ทุกข้อกล่าวหา เพื่อให้เห็นความชอบธรรม ของการดำรงอยู่ แทนที่จะยุบสภาในระยะเวลาอันสั้น
เอาเข้าจริง...เงื่อนไข ยุบสภา 15 วัน หรือ 3 เดือน ที่ นปช.เสนอ หรือ 9 เดือนที่รัฐบาลเสนอ เกี่ยวข้องกับการรักษาอำนาจและแย่งชิงอำนาจทางการเมืองทั้งสิ้น
การดำรงอยู่และได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อที่จะจัดการบางอย่าง
เงื่อนไขที่ไม่ได้อยู่ในการเจรจาหน้าทีวี จึงไม่แปลกที่ทั้งสองฝ่าย "ยอมกันไม่ได้" ทั้งๆ ที่น่าสงสัยว่าทำไม 9 เดือน ก็ไม่ได้นานเกินไปที่จะรอ และเสื้อแดงน่าจะ "ประกาศเป็นชัยชนะได้ว่า กดดันจนนายกรัฐมนตรียอมเจรจาและระบุช่วงวันยุบสภาชัดเจน"
หากมีการเจรจารอบสาม และหวังผลได้ข้อตกลงจากการหารือผ่านหน้าจอทีวี...ไม่มีประโยชน์อีกแล้วครับ !
โดย.วีระศักดิ์ พงษ์อักษร
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
*************************************************
เหตุทั้งสองฝ่ายนั่งลงหารือไม่ได้มุ่งหวังผล เนื่องจากทราบดีว่าเงื่อนไขของแต่ละฝ่ายยากที่จะรับได้ แต่ถือว่าเป็นบรรยากาศที่ดีในระบอบประชาธิปไตย ที่ความขัดแย้งถูกยกขึ้นมาบนเวทีเจรจา แทนที่จะห้ำหั่นบนท้องถนน"
ฝ่ายรัฐบาลชัดเจนตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะไม่ยุบสภาในระยะสั้นอย่างแน่นอน ตราบใดที่งบประประมาณรายจ่ายปี 2554 ยังไม่มีผลบังคับใช้ เพราะทุกรัฐบาลหวังอย่างยิ่ง ที่จะเป็นผู้จัดสรร "เม็ดเงิน" ผ่านงบประมาณด้วยตัวเอง
ตามปฏิทิน งบประมาณปี 2554 นั้น 27 เม.ย. คณะรัฐมนตรี จะพิจารณากรอบในรายละเอียด และช่วง 26-27 พ.ค. พิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร 6 ก.ย. จะพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภา และคาดว่า 10 ก.ย. 2553 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะสามารถนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2554 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย
นัยของรัฐบาล เงื่อนไขงบประมาณรายจ่ายปี 2554 หลังเดือนก.ย. ถึงยุบสภาได้...จึงไม่แปลกที่ยื่นข้อเสนอ จะยุบสภาได้สิ้นปี สอดรับกับมุมมองของ "บรรหาร ศิลปอาชา" ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เห็นว่า ยุบสภาได้ต้องรอ 6-7 เดือน
แต่สิ่งที่เป็นเงื่อนไข ยิ่งใหญ่กว่างบประมาณรายจ่าย คือ ขั้นตอนการโยกย้ายข้าราชการตำรวจและนายทหาร "โดยเฉพาะโผโยกย้ายนายทหารระดับสูง" ซึ่งกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ ก็อยู่ช่วงเดือนส.ค.หรือเดือนก.ย.นั่นแหละ!
รัฐบาลและนายทหารที่กุมอำนาจในกองทัพ ปัจจุบันยอมไม่ได้ ที่จะให้การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นก่อนเดือนส.ค.หรือเดือนก.ย. นำไปสู่ "ความไม่แน่นอนในกองทัพ"
หากมั่นใจว่าพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง คงไม่น่าวิตก แต่สถานการณ์วันนี้ "สุ่มเสี่ยง" แพ้หรือชนะ โอกาสเท่ากัน ยิ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย เตรียมคลอดนโยบายหาเสียง "พักหนี้ 5 ปี หนี้ไม่เกิน 5 แสน" น่าจะได้รับการตอบสนอง ความนิยมในวงกว้าง เพราะยากที่ประชาชนจะตระหนักว่านั่นคือภาษีของตัวเอง
กองทัพจึงไม่พิสมัยความไม่แน่นอนทางการเมือง ก่อนเดือนก.ย. นี้ เพราะอาจจะนำไปสู่ความไม่แน่นอนของบุคคล ที่จะมาดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก คนใหม่ และในอีกหลายตำแหน่งที่สำคัญ
ขั้วอำนาจในปัจจุบันวางแถวไว้เรียบร้อยแล้ว !
นี้คือเหตุผลที่รัฐบาลไม่ได้ยกมาเจรจาหน้าทีวี
พ.ต.ท.ทักษิณ และ แกนนำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เข้าร่วมเจรจา ก็ทราบเงื่อนไขเรื่องนี้ดี จึงยื่นข้อเสนอยุบสภา ภายใน 15 วัน หรืออาจจะยืดให้ถึง 3 เดือน ตามที่นักวิชาการเสนอ
เพราะเชื่อว่าหากมีการเลือกตั้งก่อนเดือนก.ย. 2553 พรรคเพื่อไทย "ชนะแน่"! ด้วยนโยบาย "ประชานิยมสุดขั้ว" พักหนี้ 5 ปี 5 แสนบาท เพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านฯ และอีกมากมาย
ได้อำนาจทางการเมือง ก่อนเดือนก.ย. เพื่อเข้าไปจัดสรร ตำแหน่งคนของตัวเองเข้าไปในองค์กรหลักของประเทศ อย่างเช่นหลังเลือกตั้งปี 2544 เคยปฏิบัติมาแล้ว หรืออีกนัย เบรกไม่ให้รัฐบาล แต่งตั้งโผนายทหารได้สำเร็จ
สามแกนนำ นปช.จึงปฏิเสธข้อเสนอรัฐบาลที่จะยุบสภาภายใน 9 เดือน
เมื่อทั้งสองฝ่ายรู้เงื่อนไข "จริง" และมีคำตอบอยู่แล้ว ไยถึงมานั่งเจรจา ขายฝันให้คนทั้งประเทศมีความหวัง ?
เพราะได้ออกฟรีทีวีทุกช่อง..."เรียลลิตี้โชว์ทางการเมือง" เพื่อใช้สื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเอง !
เสื้อแดง...หวังสื่อรายงานสิ่งที่พูดบทเวทีผ่านฟ้า ผ่านสื่อกระแสหลัก ที่มีการถ่ายทอดสดตลอดเจรจา 2 ชั่วโมง...เนื้อหาในวันเจรจา จึงดูเป็นตั้งกระทู้...กล่าวหา...อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล มากกว่า จะเป็นการ "เจรจา" อย่างแท้จริง (ยกเว้น วีระ มุสิกพงศ์)
รัฐบาล...ต้องการ "สื่อ" ไปยังทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะ "ฝ่ายตรงกลาง" ตอบโต้ทุกข้อกล่าวหา เพื่อให้เห็นความชอบธรรม ของการดำรงอยู่ แทนที่จะยุบสภาในระยะเวลาอันสั้น
เอาเข้าจริง...เงื่อนไข ยุบสภา 15 วัน หรือ 3 เดือน ที่ นปช.เสนอ หรือ 9 เดือนที่รัฐบาลเสนอ เกี่ยวข้องกับการรักษาอำนาจและแย่งชิงอำนาจทางการเมืองทั้งสิ้น
การดำรงอยู่และได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อที่จะจัดการบางอย่าง
เงื่อนไขที่ไม่ได้อยู่ในการเจรจาหน้าทีวี จึงไม่แปลกที่ทั้งสองฝ่าย "ยอมกันไม่ได้" ทั้งๆ ที่น่าสงสัยว่าทำไม 9 เดือน ก็ไม่ได้นานเกินไปที่จะรอ และเสื้อแดงน่าจะ "ประกาศเป็นชัยชนะได้ว่า กดดันจนนายกรัฐมนตรียอมเจรจาและระบุช่วงวันยุบสภาชัดเจน"
หากมีการเจรจารอบสาม และหวังผลได้ข้อตกลงจากการหารือผ่านหน้าจอทีวี...ไม่มีประโยชน์อีกแล้วครับ !
โดย.วีระศักดิ์ พงษ์อักษร
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
*************************************************
ชำแหละรากแห่งวิกฤตสังคมไทย "เอาเลือดหัวมาล้างตีน" ...ต้องไม่เกิดขึ้น!!!
รสนา โตสิตระกูล วิพากษ์ทางออกประเทศไทย แนะรัฐบาลใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส เปิดเวทีรัฐบาลกับประชาชน ชำแหละรากแห่งปัญหา ความไม่เป็นธรรม เหลื่อมล้ำ ย้ำยุบสภาไม่ช่วยแก้ปัญหา แค่เปลี่ยนหน้ารัฐบาลเท่านั้น "พงษ์เทพ เทพกาญจนา" หนุนยุบสภา เลือกตั้งใหม่ ใช้รัฐบาลที่มาจากประชาชน แก้ปัญหาโครงสร้างเหลื่อมล้ำ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการจัดแถลงข่าวการจัดงานครคบรอบชาตกาล 110 ปีรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และได้มีการเสวนาเรื่อง "ก้าวข้ามวิกฤตด้วยอภิวัตน์สู่สันติ" ณ ห้องประชุมวรรณไวทยากร ชั้น 1 ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีวิทยากร คุณรสนา โตสิตระกูล คุณสุนีย์ ไชยรส คุณพงษ์เทพ เทพกาญจนา และคุณวิภา ดาวมณี ให้เกียรติมาร่วมเสวนาครั้งนี้ โดยวงเสวนานี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ตัวแทนที่มีแนวคิดด้านต่างๆ ได้มาร่วมกันหาแสวงหาทางออกให้กับประเทศไทยผ่านแนวคิดเรื่อง "อภิวัฒน์สู่สันติ" ที่ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เคยวางแนวทางไว้
@พงษ์เทพ เทพกาญจนา
นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตสมาชิกพรรคไทยรักรักไทย กล่าวว่า ปัญหาแท้จริงของสังคมไทยในเวลานี้คือ เรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม การจัดสรรอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ความแตกต่างด้านการกระจายรายได้ ไม่มีสังคมใดอยู่ได้ ถ้ามีความแตกต่างมากมายขนาดนี้
การเมืองมีการใช้อำนาจนอกระบบเข้าแทรกแซง ตั้งแต่ก่อน 19 กันยายน 2549 องค์กรต่างๆ ถูกแทรกแซง ทั้งๆ ที่ต้องอยู่ตรงกลาง ผลของการช่วงชิงอำนาจเมื่อ 19 กันยายน ได้มีการทำให้เกิดการช่วงชิงอำนาจไปไว้ในกลุ่มคนไม่กี่คน องค์กรอิสระบ้าง ศาลบ้าง มีการเขียนกติกาให้เกิดปัญหา มีระบบตัวแทนมากมาย
ทุกวันนี้คนที่มีบทบาทจริงๆ ทางการเมือง ไม่ได้อยู่ข้างหน้าอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นคนที่อยู่ข้างหลัง เพราะคนเหล่านี้เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ไม่ต้องเปิดเผยทรัพย์สิน กลายเป็นเสียอย่างนี้ไป
ทางออกของปัญหานี้ต้องย้อนกลับมาที่คนไทย 60 ล้านกว่าคน ต้องอยู่อย่างมีสติ อย่างมีเหตุผล และจะต้องมีการร่างโครงสร้างการอยู่ร่วมกันใหม่ ปัญหาโรคแทรกอย่างเสื้อเหลือง เสื้อแดง ที่ต่างก็มีชนักติดหลัง มีคดีความ ต้องปลดชนักนี้ แล้วมาเริ่มต้นกันใหม่ เคารพกติกาใหม่
ถ้าการบังคับใช้กฎหมายยังคงเป็นแบบนี้ มันก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นจะทำอะไร และใครเป็นคนทำ มันจึงขึ้นกับว่า ต้องเป็นสิ่งที่ต้องทำหลังจากมีการเลือกตั้งใหม่ ได้รับรัฐบาลใหม่มาแล้ว เพื่อมาจัดระเบียบใหม่
@รสนา โตสิตระกูล
รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงทางออกของปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ท่าน อ.ปรีดี เคยพูดเอาไว้ว่า คำ "อภิวัฒน์" ซึ่งต่างกับปฏิวัติตรงที่ปฏิวัติมีความหมายด้านลบอยู่ แต่อภิวัฒน์คือการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
ในความหมายของ อ.ปรีดี การอภิวัฒน์ ในทางการเมืองนั้น คือการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยสมบูรณ์ ประชาชนมีความป็นอิสราธิปไตย
ประชาธิปไตยภาคการเมืองจะดำรงอยู่ได้ ก็จะต้องวางรากอย่าง ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคมวัฒนธรรมก่อน จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นซึ่งทั้งหมดนั้นก็ต้องผ่านมาด้วยซึ่งความสุขสมบูรณ์ของราษฎร
แต่ถ้าลองมองย้อนกลับไป ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 จุดหมายอย่างหนึ่งซึ่ถูกมองข้ามไปในการเดินขบวนของประชาชนนั้น ใช่เป็นแค่ความต้องการโค่นล้มเผด็จการทหาร แต่เพราะไม่ต้องการนักการเมืองที่ทุจริต คือเรียกร้องธรรมมาภิบาลของนักการเมืองด้วย
ช่วงเวลาตั้งแต่ 2500 เป็นต้นมา ก่อนจะถึง 14 ตุลาคม 2516 นั้น เป็นช่วงบ่มเพาะภาคประชาชน เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งต้องขอบคุณท่าน อ.ปรีดี ซึงพยายยามใช้การศึกษาเป็นตัวผลักดัน
ส่วนเรื่องธรรมภิบาลของนักการเมืองนั้น หากย้อนไปดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งงชาติ ฉบับ 1-10 นั้น ต้องยอมรับว่า ไม่มีความสมดุลย์ เน้นภาคอุตสาหกรรม เน้นคนเมือง เน้นคนมั่งมี ซึ่งช่วงเวลา ได้ถ่างให้ช่องว่างถ่างตัว ประชาชนส่วนมากก็ต้องดิ้นรนด้วยตัวเอง
จากยุค เปรม ที่เป็นโลกาภิวัตน์ มากขึ้น ชาติชายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า แต่ทั้งหมดยังห่างไกล
จากช่วงเวลาที่ผ่านมาอาจบอกได้ว่า ด้านหนึ่งเป็นพัฒนาการ อีกด้านหนึ่งเป็นกลับเป็นปัญหา ดังนั้นจึงพากันบอกว่า เมื่อมันไม่เป็นธรรม ก็ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ แก้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีพื้นฐานมาจากรัฐประหาร ซึ่งมันไม่ตอบโจทย์ของปัญหาที่แท้จริง เนื่องจากระบบการเมืองของตัวแทนที่ประชาชนมีอำนาจแค่ 5 นาที เพื่อเข้าไปกากบาทนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนหน้ารัฐบาลเท่านั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหา
ฉะนั้นเสื้อเหลือง เสื้อแดง จึงเป็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมา
เพราะฉะนั้น รัฐบาลควรใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส ให้รากหญ้าได้พูดคุยกับรัฐบาล ให้มาพูดถึงปัญหาของเขา และแนวทางที่คุณจะเสนอให้พวกเขา และจะได้เป็นการบอกให้คนทั้งโลกรู้ไปเลยว่า ความไม่เป็นธรรมที่ว่านั้น มีลักษณะรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และรัฐจะตอบปัญหา แก้ปัญหานั้นอย่างไร
ประชาธิปไตยทางการเมืองจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ถ้ามีส่วนนี้แล้วเชื่อว่า วัฒนธรรมอุปถัมภ์ที่เหมือนจะเป็นอุปสรรคก็จะไม่เกิดขึ้นหรือลดหายไปในสังคมแล้วการบอกว่าเป็น สงครามระหว่างชนชั้น วาทกรรมไพร่กับอำมาตย์ ไม่ใช่สิ่งที่ อ.ปรีดี ต้องการพูด ทั้งยังเป็นสิ่งที่อ่อนแรงไปมากแล้วในปัจจุบัน เวลานี้ในทางสังคมเราเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ คนรวย คนจน สิ่งที่ อ.ปรีดีเสนอคือ เราควรจัดระบบการเกื้อกูลให้เกิดขึ้นในสังคม
เช่นนั้นแล้วในเวลานี้ เรากำลังสร้างวาทกรรมให้เกิดการแบ่งแยกซึ่งไม่ควรเกิด มันไม่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา เวลานี้การบอก "เอาเลือดหัวมาล้างตีน" ต้องไม่มี
รามอน แมกไซไซ เคยพูดว่า "คนที่มีน้อย รัฐต้องให้มาก"
รัฐบาลต้องสร้างโอกาสใหม่จากวิกฤตตรงนี้ ให้เขามีอำนาจต่อรอง ควบคุมนักการเมืองทุจริต ไม่ใช่ไพร่ที่มาพร้อม "มูลนาย"
@วิภา ดาวมณี
วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น อย่าง อ. ปรีดี บอกว่า การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด แต่สงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด ทางออกของปัญหานี้คงต้องย้อนกลับมาที่ประชาชน แต่ถ้ามองไม่ออกว่าศัตรูที่แท้จริงของประชาชนคือใคร ก็คงหาทางได้ยาก
เหตุการณ์เมื่อ 19 กันยายน 2549 ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะเป็นการปลุกชีพเผด็จการทหารขึ้นมาอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เผด็จการทหารหรือเผด็จการทางทุนก็น่ากลัวพอกัน
การเมืองในเวลานี้นั้นคับแคบมาก ในทางปฏิบัติการมีทหารออกมาอยู่ในจุดต่างๆ นั่นคือความรุนแรง
สิ่งที่นักการเมืองทำในเวลานี้อย่าง ประชานิยม นั้นไม่พอ ต้องดำเนินไปสู่รัฐสวัสดิการให้ได้ เก็บภาษีที่ดิน มรดก เพื่อมาชดเชยคนจน ช่องว่างจะได้น้อยลง กฎหมายจัดตั้งพรรคการเมืองก็ควรได้รับการแก้ไข เพราะมันเอื้อกับนายทุน มากกว่าประชาชน
ศาลก็เป็นอีกเรื่องที่พูดกันมาก หากมีระบบลูกขุน ระบบศาลจะเปลี่ยนไป จะยึดโยงกับประชาชน
@ สุนีย์ ไชยรส
สุนีย์ ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ทุกวันนี้ ความไม่เป็นธรรมในสังคมนั้นมีความดุเดือดถึงจุดวิกฤต และประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ชี้ให้เห็นว่า การต่อสู้ทุกครั้งในสังคมเป็นการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรียกได้ว่ามันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมโดยรวมไทย
ในเวลานี้ผู้คนในสังคมต่างมีความรู้สสึกต่าง ปัญหาเชิงโครงสร้าง เศรษฐกิจ การเมืองที่ฝังรากลึก อย่างภาคใต้ในเวลานี้ ผู้คนต่างบอกว่า มองไม่เห็นทางออก เพราะเรายังมองว่ามันต่าง เราต้องไม่มองมันขาว มันดำ อย่าไปแยกมัน
หากถามถึงทางอออกในเวลานี้ ยุบสภาไม่ใช่ทางออก เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องมองให้เรื่องนี้ให้ทะลุถึงปัญหาของประชาชน
ความรุนแรงจากที่ผ่านมานั้นสอนให้เราได้รู้จักบทเรียนมากมาย วันนี้เรายังไม่เห็นทหารออกมายิงเสื้อแดง
เห็นด้วยกับ สว.รสนา อย่างยิ่งว่า เปิดเวทีขึ้นมาเลย เอาปัญหาที่คนรากหญ้าบอกมาบอกกกล่าวกับประชาชนทั้งประเทศ ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่พวกคุณได้รับนั้นคืออะไร ให้โอกาสพวกเขาได้พูด เพราะการเปลี่ยนโฉมหน้ารัฐบาลไม่ใช่การแก้ปัญหา
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการยอมรับเรื่องความต่างๆ การเปิดเวทีจะช่วยให้คนเมืองที่ไม่เข้าใจได้เข้าใจพวกเขามากขึ้น ได้รับรู้ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่ง เกิดการยอมรับ เพราะหากทุกอย่างยังเป็นไปเช่นวันนี้ การเผชิญหน้ากันดูจะรังแต่ทำให้แย่ลง เพราะเมื่อประชาชนไม่ได้พูด ไม่ได้รับการปฏิบัติ พวกเขาจะเกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เมื่อประชาชนไม่เอาด้วยแล้ว ก็คงไม่อาจยกระดับเชิงโครงสร้างได้
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
**************************************************
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการจัดแถลงข่าวการจัดงานครคบรอบชาตกาล 110 ปีรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และได้มีการเสวนาเรื่อง "ก้าวข้ามวิกฤตด้วยอภิวัตน์สู่สันติ" ณ ห้องประชุมวรรณไวทยากร ชั้น 1 ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีวิทยากร คุณรสนา โตสิตระกูล คุณสุนีย์ ไชยรส คุณพงษ์เทพ เทพกาญจนา และคุณวิภา ดาวมณี ให้เกียรติมาร่วมเสวนาครั้งนี้ โดยวงเสวนานี้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้ตัวแทนที่มีแนวคิดด้านต่างๆ ได้มาร่วมกันหาแสวงหาทางออกให้กับประเทศไทยผ่านแนวคิดเรื่อง "อภิวัฒน์สู่สันติ" ที่ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เคยวางแนวทางไว้
@พงษ์เทพ เทพกาญจนา
นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตสมาชิกพรรคไทยรักรักไทย กล่าวว่า ปัญหาแท้จริงของสังคมไทยในเวลานี้คือ เรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม การจัดสรรอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ความแตกต่างด้านการกระจายรายได้ ไม่มีสังคมใดอยู่ได้ ถ้ามีความแตกต่างมากมายขนาดนี้
การเมืองมีการใช้อำนาจนอกระบบเข้าแทรกแซง ตั้งแต่ก่อน 19 กันยายน 2549 องค์กรต่างๆ ถูกแทรกแซง ทั้งๆ ที่ต้องอยู่ตรงกลาง ผลของการช่วงชิงอำนาจเมื่อ 19 กันยายน ได้มีการทำให้เกิดการช่วงชิงอำนาจไปไว้ในกลุ่มคนไม่กี่คน องค์กรอิสระบ้าง ศาลบ้าง มีการเขียนกติกาให้เกิดปัญหา มีระบบตัวแทนมากมาย
ทุกวันนี้คนที่มีบทบาทจริงๆ ทางการเมือง ไม่ได้อยู่ข้างหน้าอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นคนที่อยู่ข้างหลัง เพราะคนเหล่านี้เมื่อเกิดเรื่องขึ้น ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ไม่ต้องเปิดเผยทรัพย์สิน กลายเป็นเสียอย่างนี้ไป
ทางออกของปัญหานี้ต้องย้อนกลับมาที่คนไทย 60 ล้านกว่าคน ต้องอยู่อย่างมีสติ อย่างมีเหตุผล และจะต้องมีการร่างโครงสร้างการอยู่ร่วมกันใหม่ ปัญหาโรคแทรกอย่างเสื้อเหลือง เสื้อแดง ที่ต่างก็มีชนักติดหลัง มีคดีความ ต้องปลดชนักนี้ แล้วมาเริ่มต้นกันใหม่ เคารพกติกาใหม่
ถ้าการบังคับใช้กฎหมายยังคงเป็นแบบนี้ มันก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะฉะนั้นจะทำอะไร และใครเป็นคนทำ มันจึงขึ้นกับว่า ต้องเป็นสิ่งที่ต้องทำหลังจากมีการเลือกตั้งใหม่ ได้รับรัฐบาลใหม่มาแล้ว เพื่อมาจัดระเบียบใหม่
@รสนา โตสิตระกูล
รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงทางออกของปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ท่าน อ.ปรีดี เคยพูดเอาไว้ว่า คำ "อภิวัฒน์" ซึ่งต่างกับปฏิวัติตรงที่ปฏิวัติมีความหมายด้านลบอยู่ แต่อภิวัฒน์คือการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
ในความหมายของ อ.ปรีดี การอภิวัฒน์ ในทางการเมืองนั้น คือการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยสมบูรณ์ ประชาชนมีความป็นอิสราธิปไตย
ประชาธิปไตยภาคการเมืองจะดำรงอยู่ได้ ก็จะต้องวางรากอย่าง ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคมวัฒนธรรมก่อน จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายนั้นซึ่งทั้งหมดนั้นก็ต้องผ่านมาด้วยซึ่งความสุขสมบูรณ์ของราษฎร
แต่ถ้าลองมองย้อนกลับไป ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 จุดหมายอย่างหนึ่งซึ่ถูกมองข้ามไปในการเดินขบวนของประชาชนนั้น ใช่เป็นแค่ความต้องการโค่นล้มเผด็จการทหาร แต่เพราะไม่ต้องการนักการเมืองที่ทุจริต คือเรียกร้องธรรมมาภิบาลของนักการเมืองด้วย
ช่วงเวลาตั้งแต่ 2500 เป็นต้นมา ก่อนจะถึง 14 ตุลาคม 2516 นั้น เป็นช่วงบ่มเพาะภาคประชาชน เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งต้องขอบคุณท่าน อ.ปรีดี ซึงพยายยามใช้การศึกษาเป็นตัวผลักดัน
ส่วนเรื่องธรรมภิบาลของนักการเมืองนั้น หากย้อนไปดูแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งงชาติ ฉบับ 1-10 นั้น ต้องยอมรับว่า ไม่มีความสมดุลย์ เน้นภาคอุตสาหกรรม เน้นคนเมือง เน้นคนมั่งมี ซึ่งช่วงเวลา ได้ถ่างให้ช่องว่างถ่างตัว ประชาชนส่วนมากก็ต้องดิ้นรนด้วยตัวเอง
จากยุค เปรม ที่เป็นโลกาภิวัตน์ มากขึ้น ชาติชายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า แต่ทั้งหมดยังห่างไกล
จากช่วงเวลาที่ผ่านมาอาจบอกได้ว่า ด้านหนึ่งเป็นพัฒนาการ อีกด้านหนึ่งเป็นกลับเป็นปัญหา ดังนั้นจึงพากันบอกว่า เมื่อมันไม่เป็นธรรม ก็ยุบสภา เลือกตั้งใหม่ แก้รัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีพื้นฐานมาจากรัฐประหาร ซึ่งมันไม่ตอบโจทย์ของปัญหาที่แท้จริง เนื่องจากระบบการเมืองของตัวแทนที่ประชาชนมีอำนาจแค่ 5 นาที เพื่อเข้าไปกากบาทนั้น เป็นเพียงการเปลี่ยนหน้ารัฐบาลเท่านั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหา
ฉะนั้นเสื้อเหลือง เสื้อแดง จึงเป็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมา
เพราะฉะนั้น รัฐบาลควรใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส ให้รากหญ้าได้พูดคุยกับรัฐบาล ให้มาพูดถึงปัญหาของเขา และแนวทางที่คุณจะเสนอให้พวกเขา และจะได้เป็นการบอกให้คนทั้งโลกรู้ไปเลยว่า ความไม่เป็นธรรมที่ว่านั้น มีลักษณะรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และรัฐจะตอบปัญหา แก้ปัญหานั้นอย่างไร
ประชาธิปไตยทางการเมืองจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ถ้ามีส่วนนี้แล้วเชื่อว่า วัฒนธรรมอุปถัมภ์ที่เหมือนจะเป็นอุปสรรคก็จะไม่เกิดขึ้นหรือลดหายไปในสังคมแล้วการบอกว่าเป็น สงครามระหว่างชนชั้น วาทกรรมไพร่กับอำมาตย์ ไม่ใช่สิ่งที่ อ.ปรีดี ต้องการพูด ทั้งยังเป็นสิ่งที่อ่อนแรงไปมากแล้วในปัจจุบัน เวลานี้ในทางสังคมเราเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ คนรวย คนจน สิ่งที่ อ.ปรีดีเสนอคือ เราควรจัดระบบการเกื้อกูลให้เกิดขึ้นในสังคม
เช่นนั้นแล้วในเวลานี้ เรากำลังสร้างวาทกรรมให้เกิดการแบ่งแยกซึ่งไม่ควรเกิด มันไม่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา เวลานี้การบอก "เอาเลือดหัวมาล้างตีน" ต้องไม่มี
รามอน แมกไซไซ เคยพูดว่า "คนที่มีน้อย รัฐต้องให้มาก"
รัฐบาลต้องสร้างโอกาสใหม่จากวิกฤตตรงนี้ ให้เขามีอำนาจต่อรอง ควบคุมนักการเมืองทุจริต ไม่ใช่ไพร่ที่มาพร้อม "มูลนาย"
@วิภา ดาวมณี
วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ทางชนชั้น อย่าง อ. ปรีดี บอกว่า การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือด แต่สงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด ทางออกของปัญหานี้คงต้องย้อนกลับมาที่ประชาชน แต่ถ้ามองไม่ออกว่าศัตรูที่แท้จริงของประชาชนคือใคร ก็คงหาทางได้ยาก
เหตุการณ์เมื่อ 19 กันยายน 2549 ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะเป็นการปลุกชีพเผด็จการทหารขึ้นมาอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เผด็จการทหารหรือเผด็จการทางทุนก็น่ากลัวพอกัน
การเมืองในเวลานี้นั้นคับแคบมาก ในทางปฏิบัติการมีทหารออกมาอยู่ในจุดต่างๆ นั่นคือความรุนแรง
สิ่งที่นักการเมืองทำในเวลานี้อย่าง ประชานิยม นั้นไม่พอ ต้องดำเนินไปสู่รัฐสวัสดิการให้ได้ เก็บภาษีที่ดิน มรดก เพื่อมาชดเชยคนจน ช่องว่างจะได้น้อยลง กฎหมายจัดตั้งพรรคการเมืองก็ควรได้รับการแก้ไข เพราะมันเอื้อกับนายทุน มากกว่าประชาชน
ศาลก็เป็นอีกเรื่องที่พูดกันมาก หากมีระบบลูกขุน ระบบศาลจะเปลี่ยนไป จะยึดโยงกับประชาชน
@ สุนีย์ ไชยรส
สุนีย์ ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ทุกวันนี้ ความไม่เป็นธรรมในสังคมนั้นมีความดุเดือดถึงจุดวิกฤต และประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ชี้ให้เห็นว่า การต่อสู้ทุกครั้งในสังคมเป็นการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม เรียกได้ว่ามันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมโดยรวมไทย
ในเวลานี้ผู้คนในสังคมต่างมีความรู้สสึกต่าง ปัญหาเชิงโครงสร้าง เศรษฐกิจ การเมืองที่ฝังรากลึก อย่างภาคใต้ในเวลานี้ ผู้คนต่างบอกว่า มองไม่เห็นทางออก เพราะเรายังมองว่ามันต่าง เราต้องไม่มองมันขาว มันดำ อย่าไปแยกมัน
หากถามถึงทางอออกในเวลานี้ ยุบสภาไม่ใช่ทางออก เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องมองให้เรื่องนี้ให้ทะลุถึงปัญหาของประชาชน
ความรุนแรงจากที่ผ่านมานั้นสอนให้เราได้รู้จักบทเรียนมากมาย วันนี้เรายังไม่เห็นทหารออกมายิงเสื้อแดง
เห็นด้วยกับ สว.รสนา อย่างยิ่งว่า เปิดเวทีขึ้นมาเลย เอาปัญหาที่คนรากหญ้าบอกมาบอกกกล่าวกับประชาชนทั้งประเทศ ความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่พวกคุณได้รับนั้นคืออะไร ให้โอกาสพวกเขาได้พูด เพราะการเปลี่ยนโฉมหน้ารัฐบาลไม่ใช่การแก้ปัญหา
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการยอมรับเรื่องความต่างๆ การเปิดเวทีจะช่วยให้คนเมืองที่ไม่เข้าใจได้เข้าใจพวกเขามากขึ้น ได้รับรู้ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่ง เกิดการยอมรับ เพราะหากทุกอย่างยังเป็นไปเช่นวันนี้ การเผชิญหน้ากันดูจะรังแต่ทำให้แย่ลง เพราะเมื่อประชาชนไม่ได้พูด ไม่ได้รับการปฏิบัติ พวกเขาจะเกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เมื่อประชาชนไม่เอาด้วยแล้ว ก็คงไม่อาจยกระดับเชิงโครงสร้างได้
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
**************************************************
โม่งบีบมาร์ค ห้ามยุบนะหนู!!
ไม่ใช่เรื่องที่จะผิดความคาดหมาย สำหรับการเจรจาระหว่างรัฐบาล กับ แกนนำ นปช.ที่ต้องเรียกว่า เป็นเรียลลิตี้ โชว์ ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางการเมืองประเด็นของการยุบสภาตามข้อเรียกร้องกดดันของแกนนำ นปช.นั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อึดอัดด้วยความไม่เป็นตัวของตัวเองมาโดยตลอด เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าขึ้นมาเป็นรัฐบาล ขึ้นมาดำรงตำแหน่งได้เพราะใครในเมื่อบรรดาผู้อุปถัมภ์คํ้าชูทั้งหลาย ไม่ต้องการให้ยุบสภา ต่อให้อึดอัดและต้องทนสักเพียงใดก็ตามนายอภิสิทธิ์ ก็จะยุบสภาไม่ได้ทำได้แค่เพียงติ๊ดชึ่ง ออกลูกวน ตีกรรเชียงไปรอบๆเวที
รักษารูปมวยให้ดูหล่อ ดูมีคารมเป็นต่อเอาไว้เท่านั้นก็เพียงพอที่จะซื้อเวลาไปได้เรื่อยๆ แล้วเรื่องพูดเอาดีเข้าตัว ปัดโยนเรื่องชั่วๆ ให้คนอื่นเป็นสไตล์ถนัดของประชาธิปัตย์อยู่แล้ว นายอภิสิทธิ์ถูกหล่อหลอมมานาน ย่อมต้องเรียนรู้กระบวนแม่ไม้ต่างๆ มาไม่ใช่น้อยที่สำคัญด้วยความที่เป็นคนสมองดี การศึกษาระดับอ๊อกซฟอร์ด การที่จะใช้คารมหลีกเลี่ยงหรือพลิ้วหลบ แบบให้หลงทางมวยงงกันเป็นไก่ตาแตกนั้น ต้องถือเป็นลูกถนัดของนายอภิสิทธิ์... ตอบก็เหมือนไม่ได้ตอบ
หรือไม่เช่นนั้นก็แหกโค้งออกไปคนละเรื่องเดียวกันไปเลยยิ่งระหว่างเจรจา ได้ข้อความพี่เลี้ยงที่ BB มาให้โดยเฉพาะ แถมเป็นทีมงานที่คัดสรรมาโดยเฉพาะประเภทที่ “กูก็รู้ว่าของๆ เอ็ง แต่กูจะเอา” หรือประเภท “ก็รู้ว่าเอ็งไม่ผิด แต่ข้าก็ไม่ยอมบอกว่าเอ็งถูก”เจอแบบนี้ทั้ง นายวีระ มุสิกพงศ์ น.พ.เหวงโตจิราการ และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งหวังว่าคุยกันเป็นวันที่ 2 แล้วอะไรๆ น่าจะดีขึ้น ก็เลยต้องยอมรับความเป็นจริงว่า นายอภิสิทธิ์ ไม่เป็นตัวของตัวเองจริงๆคาดคั้นอย่าง
ไร หากข้างหลังนายอภิสิทธิ์ไม่ไฟเขียวเสียอย่าง เรื่องจะยอมยุบสภาตามเงื่อนไขรายละเอียดของ นปช.เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว!!!ถึงได้บอกว่า เรื่องนี้สาธุชนคนเสื้อแดง และประชาชนทั่วประเทศไม่ได้ประหลาดใจ ที่นายอภิสิทธิ์พูดชัดว่า ข้อเสนอที่ระบุว่าให้ยุบสภาภายในเวลา 15วันนั้น ไม่มีทางยุบสภาแน่เหตุผลเดิมๆ ก็คือต้องดำเนินการ 3 ประเด็นคือ1.เรื่องเศรษฐกิจ 2.เรื่องกติกา และ 3.เรื่องบรรยากาศแม้นายวีระจะยืนยันว่า แต่ละเรื่องนั้นไม่น่าที่จะต้องใช้เวลามาก
แค่ 2-3 เดือนก็น่าจะเหลือเฟือแล้วแต่นายอภิสิทธิ์ก็ยังคงยืนกรานว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าทอดเวลาออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ ก็คงไม่น่าจะมีปัญหาถามว่าทำไมนายอภิสิทธิ์ ต้องพยายามซื้อเวลาให้นานที่สุดก็ดูแค่เจรจาวันแรก ก็เห็นชัดเจนแล้วว่าคนที่ดาหน้าออกมาคัดค้านนั้น ล้วนแล้วแต่เป็น “สาวก” หรือ “ทาสที่ปล่อยไม่ไป”ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 ทั้งสิ้น40 ส.ว. ออกโรงค้านหัวชนฝา ยังไงก็ไม่ให้ยุบ... ถามว่า 40 ส.ว.กลุ่มนี้มาจากไหน ใครตั้งเข้ามา ก็พอมองทะลุได้แล้วว่า
อะไรเป็นอะไร ใครเป็นคนกดปุ่มเช่นเดียวกับพรรคการเมืองใหม่ ที่เต้นผางทันที ทั้งๆ ที่ตามปกติการเมืองระบอบประชาธิปไตย พรรคที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ที่ยังไม่มี ส.ส.เลยในมือ ย่อมต้องการที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ จะได้มี ส.ส.มาเป็นอำนาจต่อรองไม่เชื่อไปถามพรรคพลังคนกีฬา ของ“บิ๊กหอย” หรือ นายวนัสธนา (ธวัชชัย)สัจจกุล หัวหน้าพรรคที่ต้องการให้พรรคได้เก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาดูก็ได้ว่า อยากให้เลือกตั้งเพื่อจะได้มี ส.ส.หรือไม่… บิ๊กหอยต้องตอบ
ว่าอยากแน่นอนจะมีก็แต่พรรคการเมืองใหม่นี่แหละที่ กลับไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง ไม่รีบร้อนที่จะมี ส.ส.ภายในพรรค ราวกับว่าตอนนี้ก็มีอำนาจในการต่อรองทางการเมืองมากมายเหลือเฟืออยู่แล้วอย่างนั้นแหละรวมทั้งพรรคการเมืองที่ได้รับการ “จัดแถว” หน้าเดิน ซ้าย ขวา ซ้าย ให้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลให้กับนายอภิสิทธิ์ อย่างพรรคภูมิใจไทย เป็นต้น ต่างก็รีบร้อนดาหน้าออกมาตีกันไว้ก่อนเลยว่าไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาก็ขนาดนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงพาณิชย์ ทั้งๆ ที่ทำงานยากเพราะเจอสไตล์ ปชป.เป็นพิษ ถูกปัดแข้งปัดขาตลอด ชนิดถ้าเป็นเด็กๆ หรือนักบอลเจอขัดขาถี่ยิบแบบนี้คงล้มปากเปิกแตกยับถลอกไปหมดทั้งตัวแล้วแต่นางพรทิวา วันนี้ก็ยังจำต้องออกมาคัดค้านการยุบสภาเจอผู้อุปถัมภ์ ส่งสัญญาณผ่านกลไกรอบข้างให้ออกมาคัดค้านอย่างนี้แล้ว“Good Boy” อย่างนายอภิสิทธิ์ มีหรือจะอ่านไม่ออก ว่าต้องหาทางออกในการเจรจาอย่างไรขนาดอ้างหน้าตาเฉยว่ามั่นใจว่าหากไปถาม
ประชาชนว่าจะให้ยุบสภาหรือไม่นั้นเชื่อว่ามีคนเห็นด้วยกับการยุบสภาน้อยมากเป็นไงล่ะ ... กลุ่มคนเสื้อแดงมึนไปเลยสิเพราะแสดงพลังชุมนุมแบบสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ มากันเป็นแสนๆ คน ยังถูกมองว่าเป็นแค่เสียงส่วนน้อยเท่านั้นงานนี้จึงเป็นการสะท้อนที่ชัดเจนว่านายอภิสิทธิ์ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองเลยระหว่างคำสั่งและการส่งสัญญาณของผู้อุปถัมภ์ กับคำขอร้องและการส่งสัญญาณครอบครัว ของ ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะภรรยาสุดที่รัก ก็ชัดเจนแล้วว่า
นายอภิสิทธิ์เลือกที่จะเชื่อฟังฝ่ายใดฉะนั้นที่แสบสันต์จริงๆ ก็คือผู้อุปถัมภ์ที่ทำตัวเป็นอีแอบซ่อนอยู่เบื้องหลังนั่นแหละ ที่ทำให้สุดท้ายแล้วนายอภิสิทธิ์จึงเจรจาแบบไม่คิดที่จะหาทางออกร่วมกันแต่เลือกที่จะกำหนดว่า หากจะให้ยุบสภาก็ต้องโน่นสิ้นปีไปเลย และหากถึงตอนนั้นซื้อเวลาต่ออีกนิดก็พอดีแหละเข้าเป้าว่าไปยุบสภาเอาในปี 2554 ก่อนครบวาระแค่ 3-4 เดือนก็หรูแล้วทำให้เมื่อเห็นสถานการณ์การเมืองของไทยเป็นแบบนี้แล้ว อดเปรียบเทียบไม่ได้ว่าบรรดา
ทหารใหญ่ของไทย ที่นิยมชักใยอยู่เบื้องหลังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาทหารใหญ่ของประเทศพม่าแล้วต้องบอกว่านายทหารใหญ่ของพม่าเปิดเผยกว่าเยอะไม่ต้องการให้นางออง ซาน ซูจี กลับเข้ามาทำงานการเมือง ก็เขียนกฎหมายกันชัดๆไปเลยว่า ไม่ให้นางออง ซาน มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง... ชัดเจน ไม่ต้องอ้อมค้อมหรือไม่ต้องทำตัวเป็นอีแอบใดๆ ทั้งสิ้นหรือกรณีที่ นายพลตาน ฉ่วย ผู้นำอาวุโสรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า วัย 77 ปีกล่าวสุนทรพจน์นาน 7 นาที
ต่อหน้าทหารหาญมากกว่า 13,000 นาย ระหว่างร่วมพิธีสวนสนามประจำปีของเหล่าทัพกลางกรุงเนปิตอว์ แล้วระบุชัดเจนว่าทหารต้องมีส่วนร่วมทางการเมืองในพม่าทุกเวลาถ้าจำเป็นยืนยันว่าบทบาทของกองทัพต่อการเมืองไม่ใช่แค่เพื่อปกป้องและป้องกันชาติเท่านั้นหากยังดำเนินการเพื่อประชาชนภายในชาติด้วยพร้อมกับเตือนพรรคการเมืองที่ต้องการมีส่วนร่วมการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ให้หาเสียงอย่างเหมาะสมด้วยใครจะมองว่ายุ่งอะไรด้วย หรือทหารไม่ควรเข้ามา
เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจจะมีต่างชาติจะแทรกแซงการเลือกตั้งของพม่าแต่นายทหารพม่าก็ไม่หวั่น มีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนให้รู้กันไปเลยกล้าไม่กล้าล่ะที่ กฎหมายใหม่ว่าด้วยการเลือกตั้งของพม่า 5 ฉบับ มีเนื้อหาห้ามนางออง ซาน ซูจี ลงสนามเลือกตั้งผิดกับอดีตนายทหารใหญ่ของไทยที่ไม่เปิดเผย แต่ชอบเล่นบทแอบชักใยอยู่เบื้องหลังแทนก็แบบนี้แหละที่ทำให้กลายเป็นเชื้อปะทุจุดไฟต่อสู้ทางการเมืองให้คุโชนไม่รู้จบสิ้นตัณหาแห่งอำนาจตัวเดียวแท้ๆ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
**********************************************
รักษารูปมวยให้ดูหล่อ ดูมีคารมเป็นต่อเอาไว้เท่านั้นก็เพียงพอที่จะซื้อเวลาไปได้เรื่อยๆ แล้วเรื่องพูดเอาดีเข้าตัว ปัดโยนเรื่องชั่วๆ ให้คนอื่นเป็นสไตล์ถนัดของประชาธิปัตย์อยู่แล้ว นายอภิสิทธิ์ถูกหล่อหลอมมานาน ย่อมต้องเรียนรู้กระบวนแม่ไม้ต่างๆ มาไม่ใช่น้อยที่สำคัญด้วยความที่เป็นคนสมองดี การศึกษาระดับอ๊อกซฟอร์ด การที่จะใช้คารมหลีกเลี่ยงหรือพลิ้วหลบ แบบให้หลงทางมวยงงกันเป็นไก่ตาแตกนั้น ต้องถือเป็นลูกถนัดของนายอภิสิทธิ์... ตอบก็เหมือนไม่ได้ตอบ
หรือไม่เช่นนั้นก็แหกโค้งออกไปคนละเรื่องเดียวกันไปเลยยิ่งระหว่างเจรจา ได้ข้อความพี่เลี้ยงที่ BB มาให้โดยเฉพาะ แถมเป็นทีมงานที่คัดสรรมาโดยเฉพาะประเภทที่ “กูก็รู้ว่าของๆ เอ็ง แต่กูจะเอา” หรือประเภท “ก็รู้ว่าเอ็งไม่ผิด แต่ข้าก็ไม่ยอมบอกว่าเอ็งถูก”เจอแบบนี้ทั้ง นายวีระ มุสิกพงศ์ น.พ.เหวงโตจิราการ และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งหวังว่าคุยกันเป็นวันที่ 2 แล้วอะไรๆ น่าจะดีขึ้น ก็เลยต้องยอมรับความเป็นจริงว่า นายอภิสิทธิ์ ไม่เป็นตัวของตัวเองจริงๆคาดคั้นอย่าง
ไร หากข้างหลังนายอภิสิทธิ์ไม่ไฟเขียวเสียอย่าง เรื่องจะยอมยุบสภาตามเงื่อนไขรายละเอียดของ นปช.เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว!!!ถึงได้บอกว่า เรื่องนี้สาธุชนคนเสื้อแดง และประชาชนทั่วประเทศไม่ได้ประหลาดใจ ที่นายอภิสิทธิ์พูดชัดว่า ข้อเสนอที่ระบุว่าให้ยุบสภาภายในเวลา 15วันนั้น ไม่มีทางยุบสภาแน่เหตุผลเดิมๆ ก็คือต้องดำเนินการ 3 ประเด็นคือ1.เรื่องเศรษฐกิจ 2.เรื่องกติกา และ 3.เรื่องบรรยากาศแม้นายวีระจะยืนยันว่า แต่ละเรื่องนั้นไม่น่าที่จะต้องใช้เวลามาก
แค่ 2-3 เดือนก็น่าจะเหลือเฟือแล้วแต่นายอภิสิทธิ์ก็ยังคงยืนกรานว่าเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าทอดเวลาออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ ก็คงไม่น่าจะมีปัญหาถามว่าทำไมนายอภิสิทธิ์ ต้องพยายามซื้อเวลาให้นานที่สุดก็ดูแค่เจรจาวันแรก ก็เห็นชัดเจนแล้วว่าคนที่ดาหน้าออกมาคัดค้านนั้น ล้วนแล้วแต่เป็น “สาวก” หรือ “ทาสที่ปล่อยไม่ไป”ของรัฐธรรมนูญ ปี 50 ทั้งสิ้น40 ส.ว. ออกโรงค้านหัวชนฝา ยังไงก็ไม่ให้ยุบ... ถามว่า 40 ส.ว.กลุ่มนี้มาจากไหน ใครตั้งเข้ามา ก็พอมองทะลุได้แล้วว่า
อะไรเป็นอะไร ใครเป็นคนกดปุ่มเช่นเดียวกับพรรคการเมืองใหม่ ที่เต้นผางทันที ทั้งๆ ที่ตามปกติการเมืองระบอบประชาธิปไตย พรรคที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ที่ยังไม่มี ส.ส.เลยในมือ ย่อมต้องการที่จะให้มีการเลือกตั้งใหม่ จะได้มี ส.ส.มาเป็นอำนาจต่อรองไม่เชื่อไปถามพรรคพลังคนกีฬา ของ“บิ๊กหอย” หรือ นายวนัสธนา (ธวัชชัย)สัจจกุล หัวหน้าพรรคที่ต้องการให้พรรคได้เก้าอี้รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาดูก็ได้ว่า อยากให้เลือกตั้งเพื่อจะได้มี ส.ส.หรือไม่… บิ๊กหอยต้องตอบ
ว่าอยากแน่นอนจะมีก็แต่พรรคการเมืองใหม่นี่แหละที่ กลับไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง ไม่รีบร้อนที่จะมี ส.ส.ภายในพรรค ราวกับว่าตอนนี้ก็มีอำนาจในการต่อรองทางการเมืองมากมายเหลือเฟืออยู่แล้วอย่างนั้นแหละรวมทั้งพรรคการเมืองที่ได้รับการ “จัดแถว” หน้าเดิน ซ้าย ขวา ซ้าย ให้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลให้กับนายอภิสิทธิ์ อย่างพรรคภูมิใจไทย เป็นต้น ต่างก็รีบร้อนดาหน้าออกมาตีกันไว้ก่อนเลยว่าไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาก็ขนาดนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่า
การกระทรวงพาณิชย์ ทั้งๆ ที่ทำงานยากเพราะเจอสไตล์ ปชป.เป็นพิษ ถูกปัดแข้งปัดขาตลอด ชนิดถ้าเป็นเด็กๆ หรือนักบอลเจอขัดขาถี่ยิบแบบนี้คงล้มปากเปิกแตกยับถลอกไปหมดทั้งตัวแล้วแต่นางพรทิวา วันนี้ก็ยังจำต้องออกมาคัดค้านการยุบสภาเจอผู้อุปถัมภ์ ส่งสัญญาณผ่านกลไกรอบข้างให้ออกมาคัดค้านอย่างนี้แล้ว“Good Boy” อย่างนายอภิสิทธิ์ มีหรือจะอ่านไม่ออก ว่าต้องหาทางออกในการเจรจาอย่างไรขนาดอ้างหน้าตาเฉยว่ามั่นใจว่าหากไปถาม
ประชาชนว่าจะให้ยุบสภาหรือไม่นั้นเชื่อว่ามีคนเห็นด้วยกับการยุบสภาน้อยมากเป็นไงล่ะ ... กลุ่มคนเสื้อแดงมึนไปเลยสิเพราะแสดงพลังชุมนุมแบบสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ มากันเป็นแสนๆ คน ยังถูกมองว่าเป็นแค่เสียงส่วนน้อยเท่านั้นงานนี้จึงเป็นการสะท้อนที่ชัดเจนว่านายอภิสิทธิ์ ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองเลยระหว่างคำสั่งและการส่งสัญญาณของผู้อุปถัมภ์ กับคำขอร้องและการส่งสัญญาณครอบครัว ของ ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะภรรยาสุดที่รัก ก็ชัดเจนแล้วว่า
นายอภิสิทธิ์เลือกที่จะเชื่อฟังฝ่ายใดฉะนั้นที่แสบสันต์จริงๆ ก็คือผู้อุปถัมภ์ที่ทำตัวเป็นอีแอบซ่อนอยู่เบื้องหลังนั่นแหละ ที่ทำให้สุดท้ายแล้วนายอภิสิทธิ์จึงเจรจาแบบไม่คิดที่จะหาทางออกร่วมกันแต่เลือกที่จะกำหนดว่า หากจะให้ยุบสภาก็ต้องโน่นสิ้นปีไปเลย และหากถึงตอนนั้นซื้อเวลาต่ออีกนิดก็พอดีแหละเข้าเป้าว่าไปยุบสภาเอาในปี 2554 ก่อนครบวาระแค่ 3-4 เดือนก็หรูแล้วทำให้เมื่อเห็นสถานการณ์การเมืองของไทยเป็นแบบนี้แล้ว อดเปรียบเทียบไม่ได้ว่าบรรดา
ทหารใหญ่ของไทย ที่นิยมชักใยอยู่เบื้องหลังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาทหารใหญ่ของประเทศพม่าแล้วต้องบอกว่านายทหารใหญ่ของพม่าเปิดเผยกว่าเยอะไม่ต้องการให้นางออง ซาน ซูจี กลับเข้ามาทำงานการเมือง ก็เขียนกฎหมายกันชัดๆไปเลยว่า ไม่ให้นางออง ซาน มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้ง... ชัดเจน ไม่ต้องอ้อมค้อมหรือไม่ต้องทำตัวเป็นอีแอบใดๆ ทั้งสิ้นหรือกรณีที่ นายพลตาน ฉ่วย ผู้นำอาวุโสรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า วัย 77 ปีกล่าวสุนทรพจน์นาน 7 นาที
ต่อหน้าทหารหาญมากกว่า 13,000 นาย ระหว่างร่วมพิธีสวนสนามประจำปีของเหล่าทัพกลางกรุงเนปิตอว์ แล้วระบุชัดเจนว่าทหารต้องมีส่วนร่วมทางการเมืองในพม่าทุกเวลาถ้าจำเป็นยืนยันว่าบทบาทของกองทัพต่อการเมืองไม่ใช่แค่เพื่อปกป้องและป้องกันชาติเท่านั้นหากยังดำเนินการเพื่อประชาชนภายในชาติด้วยพร้อมกับเตือนพรรคการเมืองที่ต้องการมีส่วนร่วมการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ให้หาเสียงอย่างเหมาะสมด้วยใครจะมองว่ายุ่งอะไรด้วย หรือทหารไม่ควรเข้ามา
เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาจจะมีต่างชาติจะแทรกแซงการเลือกตั้งของพม่าแต่นายทหารพม่าก็ไม่หวั่น มีการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนให้รู้กันไปเลยกล้าไม่กล้าล่ะที่ กฎหมายใหม่ว่าด้วยการเลือกตั้งของพม่า 5 ฉบับ มีเนื้อหาห้ามนางออง ซาน ซูจี ลงสนามเลือกตั้งผิดกับอดีตนายทหารใหญ่ของไทยที่ไม่เปิดเผย แต่ชอบเล่นบทแอบชักใยอยู่เบื้องหลังแทนก็แบบนี้แหละที่ทำให้กลายเป็นเชื้อปะทุจุดไฟต่อสู้ทางการเมืองให้คุโชนไม่รู้จบสิ้นตัณหาแห่งอำนาจตัวเดียวแท้ๆ
ที่มา.บางกอกทูเดย์
**********************************************
วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553
"แม้ว"วิดีโอลิงก์ประกาศอยู่ในรัสเซีย ยันไม่ได้ถูกไล่จากสวีเดน กต.เผยใช้พาสปอร์ตปท.ที่3เดินทางเข้าออก
กต.เผย"แม้ว"ใช้พาสปอร์ตต่างประเทศบินเข้า"สวีเดน" 28มี.ค. ล่าสุดกลับออกมาแล้วแต่ยังไม่รู้จุดหมาย "นพดล"บอก"แม้ว"เดินทางออกจาก"สวีเดน" แต่ยังอยู่ในยุโรป
"แม้ว"ประกาศอยู่ในรัสเซีย ไปพบนักธุรกิจเตรียมชวนไปลงทุนในไทย
เมื่อเวลา 20.55 น. วันที่ 30 มีนาคม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วีดิโอลิงก์ มายังเวทีปราศรัยของคนเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ แต่ปรากฏว่า เกิดการติดขัดเรื่องระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมสัญญาณ ทำให้สัญญาณขาดหายไปหลายครั้ง โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์การเมือง โดยพาดพิงถึงอำมาตย์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวหาว่า รัฐบาลและอำมาตย์ระแวง พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าจะกลับมาเช็คบิลคืน
"มีการติดขัด ทางอินเตอร์เน็ต ที่ใช้วิดีโอลิงก์ แต่บอกว่ าเดี๋ยวจะส่งรูปประเทศที่ไปอยู่มาให้ดู ขอบอกว่ามีหลายประเทศที่อยากให้ไป แต่เขารำคาญที่ทางการไทย มักทำเรื่องไปกวน ... บอกให้ก็ได้ว่า อยู่รัสเซีย มาพบนักธุรกิจคนหนึ่งที่มีเงินสดเหลือเยอะ และสนใจที่จะไปลงทุนแถบเอเชีย เลยไปทำไมตรีไว้ เมื่อกลับบ้านจะได้พากลับไปลงทุนในประเทศไทย ตนเดินทางมาจากประเทศสวีเดน ไม่ได้ถูกเขาไล่ออกมาเหมือนที่กระทรวงการต่างประเทศบอก ไม่หวั่นไหว ตนยังมีเสรีภาพ มีปัญญาดีอยู่ แต่อยากจะทำงานให้เป็นประโยชน์เพื่อจะทำให้บ้านเมืองดีขึ้น" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ว่า ได้ทราบว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังประะเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา โดยใช้หนังสือเดินทางของประเทศที่สาม จึงได้ประสานกับทางการสวีเดน เพื่อขออย่าให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งทางการสวีเดนยืนยันว่าเขายึดมั่นในหลักการดังกล่าวอยู่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
อย่างไรก็ตามล่าสุดทราบว่าพ.ต.ท.ทักษิณเดินทางออกจากสวีเดนแล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะเดินทางต่อไปยังประเทศใด
"นพดล"บอก"แม้ว"เดินทางออกจาก"สวีเดน" แต่ยังอยู่ในยุโรป
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปยังประเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติเพื่อลงทุนทำธุรกิจและพบปะเพื่อนฝูง อย่างไรก็ตามขณะนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางออกจากประเทศสวีเดนแล้วและพำนักที่ประเทศหนึ่งในทวีปยุโรปซึ่งอีกไม่นานพ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางกลับเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรัเอมิเรตส์
"สิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศทำก็เพื่อต้องการดิสเครดิตพ.ต.ท.ทักษิณ การเดินทางไปยุโรปครั้งนี้เป็นการไปตามปกติ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับดูไบ"นายนพดลกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
*************************************************
"แม้ว"ประกาศอยู่ในรัสเซีย ไปพบนักธุรกิจเตรียมชวนไปลงทุนในไทย
เมื่อเวลา 20.55 น. วันที่ 30 มีนาคม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วีดิโอลิงก์ มายังเวทีปราศรัยของคนเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ แต่ปรากฏว่า เกิดการติดขัดเรื่องระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมสัญญาณ ทำให้สัญญาณขาดหายไปหลายครั้ง โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์การเมือง โดยพาดพิงถึงอำมาตย์ และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวหาว่า รัฐบาลและอำมาตย์ระแวง พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าจะกลับมาเช็คบิลคืน
"มีการติดขัด ทางอินเตอร์เน็ต ที่ใช้วิดีโอลิงก์ แต่บอกว่ าเดี๋ยวจะส่งรูปประเทศที่ไปอยู่มาให้ดู ขอบอกว่ามีหลายประเทศที่อยากให้ไป แต่เขารำคาญที่ทางการไทย มักทำเรื่องไปกวน ... บอกให้ก็ได้ว่า อยู่รัสเซีย มาพบนักธุรกิจคนหนึ่งที่มีเงินสดเหลือเยอะ และสนใจที่จะไปลงทุนแถบเอเชีย เลยไปทำไมตรีไว้ เมื่อกลับบ้านจะได้พากลับไปลงทุนในประเทศไทย ตนเดินทางมาจากประเทศสวีเดน ไม่ได้ถูกเขาไล่ออกมาเหมือนที่กระทรวงการต่างประเทศบอก ไม่หวั่นไหว ตนยังมีเสรีภาพ มีปัญญาดีอยู่ แต่อยากจะทำงานให้เป็นประโยชน์เพื่อจะทำให้บ้านเมืองดีขึ้น" พ.ต.ท.ทักษิณกล่าว
นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ว่า ได้ทราบว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางไปยังประะเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา โดยใช้หนังสือเดินทางของประเทศที่สาม จึงได้ประสานกับทางการสวีเดน เพื่อขออย่าให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งทางการสวีเดนยืนยันว่าเขายึดมั่นในหลักการดังกล่าวอยู่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
อย่างไรก็ตามล่าสุดทราบว่าพ.ต.ท.ทักษิณเดินทางออกจากสวีเดนแล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะเดินทางต่อไปยังประเทศใด
"นพดล"บอก"แม้ว"เดินทางออกจาก"สวีเดน" แต่ยังอยู่ในยุโรป
นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่าพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปยังประเทศสวีเดนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปต่างประเทศเป็นปกติเพื่อลงทุนทำธุรกิจและพบปะเพื่อนฝูง อย่างไรก็ตามขณะนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางออกจากประเทศสวีเดนแล้วและพำนักที่ประเทศหนึ่งในทวีปยุโรปซึ่งอีกไม่นานพ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางกลับเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรัเอมิเรตส์
"สิ่งที่กระทรวงการต่างประเทศทำก็เพื่อต้องการดิสเครดิตพ.ต.ท.ทักษิณ การเดินทางไปยุโรปครั้งนี้เป็นการไปตามปกติ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้มีปัญหาอะไรกับดูไบ"นายนพดลกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
*************************************************
ขว้างเอ็ม67 ใส่"มูลนิธิรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม"ถูกหม้อแปลงระเบิดดังสนั่น อีกจุดเต็นท์พระที่สนามหลวง
ถึงคราวมูลนิธิรัฐบุรุษ "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" ถูกคนร้ายปาเอ็ม67 เข้าใส่อาคารถูกหม้อแปลงไฟฟ้าดังสนั่นหวั่นไหว อีกจุดเป็นเต็นท์พระสนาม หลวง ฝั่งมธ. ไร้ผู้ใดบาดเจ็บ "อนุพงศ์"ประชุม ศอ.รส.ย้ำทหาร-ตำรวจหยุดให้อยู่ สนั่นนำทีมมอบดอกไม้ให้กำลังใจ"บรรหาร"
เมื่อเวลา 20.00 น.วันที่ 30 มีนาคม ได้มีคนร้าย 2 คนขี่รถจักรยานยนต์ ไม่ทราบยี่ห้อ สีและทะเบียน ผ่านหน้าอาคารมูลนิธิรัฐบุรุษพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เลขที่ 84 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กทม. จากนั้นคนร้ายได้ขว้างระเบิดชนิด เอ็ม 67 ผ่านรั้วเข้าไปในอาคารถูกหม้อแปลงเสาไฟฟ้าเกิดระเบิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว จากนั้นคนร้ายได้ขับรถหลบหนีไป
ต่อมาพล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พ.ต.อ.วีรวิทย์ จันทร์จำเริญ รองผบก.น.1 พ.ต.อ.ชยุตร์ มารยาท ผกก.สน.สามเสน ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบกระเดื่องเอ็ม 67 ตกห่างจากรั้วริมฟุทบาธ 30 เซ็นติเมตร ส่วนตัวอาคารไม่ได้รับความเสียหายใดๆ โดยใช้เวลา 5 นาที หลังจากนั้นพล.ต.ท.สัณฐานเดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ เพียงแต่กำชับตำรวจพื้นที่ให้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบริเวณภายในมูลนิธินั้นมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ตลอด 24 ชั่วโมงตามปกติ ขณะที่ภายนอกไม่มีกำลังตำรวจหรือทหารอารักขาความปลอดภัยแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในเวลาไล่เลี่ยกันเกิดเสียงคล้ายระเบิดดังขึ้นหลังเต็นท์พระภิกษุที่สนามหลวง ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้เกิดกลุ่มควันแต่ไม่มีพระภิกษุรูปใดได้รับบาดเจ็บ เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่าอาจเป็นระเบิดปิงปอง เพื่อสร้างสถานการณ์ก่อกวน
ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปเยือนราชอาณาจักรบาห์เรน ถึงการก่อเหตุป่วนเมือง ทั้งยิงและระเบิดสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ว่า รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่ อย่างน้อยคดีหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ ส่วนการเฝ้าระวัง ก็ต้องทำเต็มที่ แต่ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่เพราะว่าการป้องกันพื้นที่นั้นกว้างขวางมาก
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้สรุปสถานการณ์ให้ ครม.รับทราบ พร้อมยืนยันว่า ยังอยู่ในวิสัยที่รัฐบาลควบคุมได้ แต่ที่ห่วงคือ การข่าวแจ้งว่าแนวโน้มการก่อวินาศกรรมตามสถานที่ราชการ เพื่อหวังผลในเชิงสัญลักษณ์ ยังมีความพยายามต่อเนื่อง ซึ่งจากการประชุมร่วมกับฝ่ายความมั่นคงเห็นควรให้ปรับมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ล่อแหลมและจุดเสี่ยง โดยให้เจ้าหน้าที่ติดอาวุธประจำกายได้
ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศอ.รส. เป็นประธานประชุม ศอ.รส. ภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ. พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) และผู้แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้าร่วมการประชุม โดยไม่มีตัวแทนฝ่ายการเมืองเข้าร่วม เนื่องจากเวลาการประชุมตรงกับการประชุม ครม.
ข่าวแจ้งว่า พล.อ.อนุพงษ์ได้เร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีมาตรการหาผู้ก่อเหตุระเบิดมาลงโทษให้ได้ พร้อมแสดงเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์การก่อวินาศกรรม โดยเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจควบคุมสถานการณ์ไว้ให้ได้ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในงานวันกาชาด ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-7 เมษายน เนื่องจากสถานที่จัดงานใกล้เคียงกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง
ด้าน พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กล่าวว่า ขอเตือนกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่ก่อเหตุป่วนเมือง ซึ่งล่าสุดก่อเหตุที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้ประทัดกระเทียมมัดรวมกันก่อนใช้หนังสติ๊กยิงเข้าไปในในจุดที่เจ้าหน้าที่ยืนอยู่ ซึ่ง ศอ.รส.สั่งให้ตำรวจดำเนินการอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีการจับภาพเอาไว้ได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามตัว พร้อมแจ้งให้การ์ดคนเสื้อแดงช่วยกันหา หากเป็นคนเสื้อแดงก็ให้ประสานมา และเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา พบของกลางจำนวนหนึ่ง จึงให้ตำรวจประสานงานเพื่อรับภาพกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 1 แล้ว ส่วนจะเป็นกลุ่มใดขอให้จับตัวได้ก่อน
ส่วนพล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 กล่าวถึงเหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธปืนขนาด .38 ยิงใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานขาว เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ตำรวจ สน.นางเลิ้ง ได้ส่งพยานที่เห็นหน้าคนร้ายไปทำการสเก๊ตช์ภาพที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร และพยานยืนยันว่ามีลักษณะคล้ายเหมือนคนร้าย 70% นอกจากนี้ยังได้ภาพจากกล้องวงจรปิดของธนาคารและของ กทม. ที่เห็นผู้ต้องสงสัยมีผ้าปิดคาดปากสีขาว ใส่เสื้อคลุมแจ๊คเก็ตเขียว กางเกงสแล็คส์สีดำ หมวกแก๊ปสีแดง เป็นชายไทยสูงประมาณ 165 เซนติเมตร ผิวสีดำแดง อายุประมาณ 30 ปี พร้อมตั้งรางวัล 2 แสนบาท ให้กับผู้ที่แจ้งเบาะแสจนสามารถจับกุมคนร้ายได้ โดยแจ้งได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ของตน 08-1443-2639
พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม (รรท.ผบก.ป.) กล่าวถึงเหตุการณ์ระเบิดป่วนเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการก่อเหตุยิงถล่มธนาคารกรุงเทพหลายแห่งว่า ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ และ พ.ต.ท.อดินันท์ ชัยนันท์ รอง ผกก.1 บก.ป. จัดกำลังลงพื้นที่สืบสวนในเชิงลึก และดูว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง โดยจะสืบสวนคนละส่วนกับชุดสืบสวนของ บช.น. ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อมูลบางอย่างมาแล้วว่าเป็นกลุ่มไหน แต่ต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า กลุ่มใดบ้างที่เป็นผู้ลงมือก่อเหตุป่วนดังกล่าว
ข่าวแจ้งว่า ชุดสืบสวนของ กก.1 บก.ป.ยังจัดชุดสืบสวนแกะรอยเส้นทางเงินของกลุ่มผู้ต้องสงสัย เพื่อดูว่ามีการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือไม่
ส่วนกรณีคนร้ายขว้างระเบิดใส่บริเวณบ้านพักนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ กทม. เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมานั้น เมื่อเวลา 14.00 น. แกนนำ และ ส.ส.ชทพ. นำโดย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษา ชทพ. นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้า ชทพ. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายนิกร จำนง ที่ปรึกษาหัวหน้า ชทพ. และอดีตแกนนำพรรคชาติไทย ทยอยเข้ามอบช่อดอกไม้ให้กำลังใจนายบรรหาร ทั้งนี้ พล.ต.สนั่นกล่าวให้กำลังใจนายบรรหารว่า ทุกคนใน ชทพ.เห็นด้วยกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของนายบรรหาร และขอยืนเคียงข้างนายบรรหาร เพราะทุกคนมั่นใจว่านายบรรหาร คิดดีทำดีต่อบ้านเมืองที่ทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้
ด้านนายบรรหารกล่าวตอบว่า ตกเป็นเป้าทางการเมืองตั้งแต่สมัยเสื้อเหลือง เคยถูกขู่เผาบ้าน แต่ไม่กลัว เพราะทำงานการเมืองมา 30 ปี อะไรที่คิดว่าเป็นทางออกให้บ้านเมืองก็จะช่วย และขอขอบคุณทุกคนที่เชื่อมั่น การมาให้กำลังใจทำให้มีกำลังใจ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤต จึงขอให้ทุกคนช่วยกันประคับประคอง
ต่อมานายบรรหารให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ไม่รู้สึกเครียดกับเหตุที่เกิดขึ้น สบายๆ เมื่อถามย้ำว่า กลัวหรือไม่ที่จะถูกเหตุร้ายเข้าตัว นายบรรหารกล่าวว่า "ไม่กลัว คนเราเมื่อทำถูกต้องเสียอย่างจะกลัวอะไร พระต้องคุ้มครอง"
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุม ส.ส.พรรค ว่านายสุเทพได้ชี้แจงเรื่องการยิงระเบิดที่เกิดขึ้นมาในช่วงนี้ว่า กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังมีหลายกลุ่ม และจ้างกันเป็นทอดๆ มีทั้งนายทหารเก่าและตำรวจเก่า ที่รู้ช่องทาง ทำให้ยากต่อการจับกุม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ติดอาวุธทุกจุด โดยเฉพาะสายตรวจ ยกเว้นเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในที่ชุมนุม
ที่มา.มติชนออนไลน์
*************************************************
เมื่อเวลา 20.00 น.วันที่ 30 มีนาคม ได้มีคนร้าย 2 คนขี่รถจักรยานยนต์ ไม่ทราบยี่ห้อ สีและทะเบียน ผ่านหน้าอาคารมูลนิธิรัฐบุรุษพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เลขที่ 84 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กทม. จากนั้นคนร้ายได้ขว้างระเบิดชนิด เอ็ม 67 ผ่านรั้วเข้าไปในอาคารถูกหม้อแปลงเสาไฟฟ้าเกิดระเบิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว จากนั้นคนร้ายได้ขับรถหลบหนีไป
ต่อมาพล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พ.ต.อ.วีรวิทย์ จันทร์จำเริญ รองผบก.น.1 พ.ต.อ.ชยุตร์ มารยาท ผกก.สน.สามเสน ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบกระเดื่องเอ็ม 67 ตกห่างจากรั้วริมฟุทบาธ 30 เซ็นติเมตร ส่วนตัวอาคารไม่ได้รับความเสียหายใดๆ โดยใช้เวลา 5 นาที หลังจากนั้นพล.ต.ท.สัณฐานเดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ เพียงแต่กำชับตำรวจพื้นที่ให้พยายามป้องกันไม่ให้เกิดเหตุขึ้นอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบริเวณภายในมูลนิธินั้นมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ตลอด 24 ชั่วโมงตามปกติ ขณะที่ภายนอกไม่มีกำลังตำรวจหรือทหารอารักขาความปลอดภัยแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในเวลาไล่เลี่ยกันเกิดเสียงคล้ายระเบิดดังขึ้นหลังเต็นท์พระภิกษุที่สนามหลวง ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้เกิดกลุ่มควันแต่ไม่มีพระภิกษุรูปใดได้รับบาดเจ็บ เบื้องต้นตำรวจสันนิษฐานว่าอาจเป็นระเบิดปิงปอง เพื่อสร้างสถานการณ์ก่อกวน
ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางไปเยือนราชอาณาจักรบาห์เรน ถึงการก่อเหตุป่วนเมือง ทั้งยิงและระเบิดสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ว่า รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่ อย่างน้อยคดีหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จะจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ ส่วนการเฝ้าระวัง ก็ต้องทำเต็มที่ แต่ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่เพราะว่าการป้องกันพื้นที่นั้นกว้างขวางมาก
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้สรุปสถานการณ์ให้ ครม.รับทราบ พร้อมยืนยันว่า ยังอยู่ในวิสัยที่รัฐบาลควบคุมได้ แต่ที่ห่วงคือ การข่าวแจ้งว่าแนวโน้มการก่อวินาศกรรมตามสถานที่ราชการ เพื่อหวังผลในเชิงสัญลักษณ์ ยังมีความพยายามต่อเนื่อง ซึ่งจากการประชุมร่วมกับฝ่ายความมั่นคงเห็นควรให้ปรับมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ล่อแหลมและจุดเสี่ยง โดยให้เจ้าหน้าที่ติดอาวุธประจำกายได้
ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศอ.รส. เป็นประธานประชุม ศอ.รส. ภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอง ผบ.ทบ. พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) และผู้แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้าร่วมการประชุม โดยไม่มีตัวแทนฝ่ายการเมืองเข้าร่วม เนื่องจากเวลาการประชุมตรงกับการประชุม ครม.
ข่าวแจ้งว่า พล.อ.อนุพงษ์ได้เร่งรัดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีมาตรการหาผู้ก่อเหตุระเบิดมาลงโทษให้ได้ พร้อมแสดงเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์การก่อวินาศกรรม โดยเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจควบคุมสถานการณ์ไว้ให้ได้ นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในงานวันกาชาด ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม-7 เมษายน เนื่องจากสถานที่จัดงานใกล้เคียงกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง
ด้าน พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กล่าวว่า ขอเตือนกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่ก่อเหตุป่วนเมือง ซึ่งล่าสุดก่อเหตุที่ทำเนียบรัฐบาล โดยใช้ประทัดกระเทียมมัดรวมกันก่อนใช้หนังสติ๊กยิงเข้าไปในในจุดที่เจ้าหน้าที่ยืนอยู่ ซึ่ง ศอ.รส.สั่งให้ตำรวจดำเนินการอย่างเด็ดขาด เนื่องจากมีการจับภาพเอาไว้ได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามตัว พร้อมแจ้งให้การ์ดคนเสื้อแดงช่วยกันหา หากเป็นคนเสื้อแดงก็ให้ประสานมา และเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา พบของกลางจำนวนหนึ่ง จึงให้ตำรวจประสานงานเพื่อรับภาพกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 1 แล้ว ส่วนจะเป็นกลุ่มใดขอให้จับตัวได้ก่อน
ส่วนพล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 กล่าวถึงเหตุการณ์คนร้ายใช้อาวุธปืนขนาด .38 ยิงใส่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานขาว เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ตำรวจ สน.นางเลิ้ง ได้ส่งพยานที่เห็นหน้าคนร้ายไปทำการสเก๊ตช์ภาพที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร และพยานยืนยันว่ามีลักษณะคล้ายเหมือนคนร้าย 70% นอกจากนี้ยังได้ภาพจากกล้องวงจรปิดของธนาคารและของ กทม. ที่เห็นผู้ต้องสงสัยมีผ้าปิดคาดปากสีขาว ใส่เสื้อคลุมแจ๊คเก็ตเขียว กางเกงสแล็คส์สีดำ หมวกแก๊ปสีแดง เป็นชายไทยสูงประมาณ 165 เซนติเมตร ผิวสีดำแดง อายุประมาณ 30 ปี พร้อมตั้งรางวัล 2 แสนบาท ให้กับผู้ที่แจ้งเบาะแสจนสามารถจับกุมคนร้ายได้ โดยแจ้งได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ของตน 08-1443-2639
พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทนผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม (รรท.ผบก.ป.) กล่าวถึงเหตุการณ์ระเบิดป่วนเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการก่อเหตุยิงถล่มธนาคารกรุงเทพหลายแห่งว่า ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ และ พ.ต.ท.อดินันท์ ชัยนันท์ รอง ผกก.1 บก.ป. จัดกำลังลงพื้นที่สืบสวนในเชิงลึก และดูว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง โดยจะสืบสวนคนละส่วนกับชุดสืบสวนของ บช.น. ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อมูลบางอย่างมาแล้วว่าเป็นกลุ่มไหน แต่ต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า กลุ่มใดบ้างที่เป็นผู้ลงมือก่อเหตุป่วนดังกล่าว
ข่าวแจ้งว่า ชุดสืบสวนของ กก.1 บก.ป.ยังจัดชุดสืบสวนแกะรอยเส้นทางเงินของกลุ่มผู้ต้องสงสัย เพื่อดูว่ามีการเคลื่อนไหวผิดปกติหรือไม่
ส่วนกรณีคนร้ายขว้างระเบิดใส่บริเวณบ้านพักนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ กทม. เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมานั้น เมื่อเวลา 14.00 น. แกนนำ และ ส.ส.ชทพ. นำโดย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษา ชทพ. นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้า ชทพ. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และนายนิกร จำนง ที่ปรึกษาหัวหน้า ชทพ. และอดีตแกนนำพรรคชาติไทย ทยอยเข้ามอบช่อดอกไม้ให้กำลังใจนายบรรหาร ทั้งนี้ พล.ต.สนั่นกล่าวให้กำลังใจนายบรรหารว่า ทุกคนใน ชทพ.เห็นด้วยกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของนายบรรหาร และขอยืนเคียงข้างนายบรรหาร เพราะทุกคนมั่นใจว่านายบรรหาร คิดดีทำดีต่อบ้านเมืองที่ทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้
ด้านนายบรรหารกล่าวตอบว่า ตกเป็นเป้าทางการเมืองตั้งแต่สมัยเสื้อเหลือง เคยถูกขู่เผาบ้าน แต่ไม่กลัว เพราะทำงานการเมืองมา 30 ปี อะไรที่คิดว่าเป็นทางออกให้บ้านเมืองก็จะช่วย และขอขอบคุณทุกคนที่เชื่อมั่น การมาให้กำลังใจทำให้มีกำลังใจ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤต จึงขอให้ทุกคนช่วยกันประคับประคอง
ต่อมานายบรรหารให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ไม่รู้สึกเครียดกับเหตุที่เกิดขึ้น สบายๆ เมื่อถามย้ำว่า กลัวหรือไม่ที่จะถูกเหตุร้ายเข้าตัว นายบรรหารกล่าวว่า "ไม่กลัว คนเราเมื่อทำถูกต้องเสียอย่างจะกลัวอะไร พระต้องคุ้มครอง"
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุม ส.ส.พรรค ว่านายสุเทพได้ชี้แจงเรื่องการยิงระเบิดที่เกิดขึ้นมาในช่วงนี้ว่า กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังมีหลายกลุ่ม และจ้างกันเป็นทอดๆ มีทั้งนายทหารเก่าและตำรวจเก่า ที่รู้ช่องทาง ทำให้ยากต่อการจับกุม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ติดอาวุธทุกจุด โดยเฉพาะสายตรวจ ยกเว้นเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในที่ชุมนุม
ที่มา.มติชนออนไลน์
*************************************************
สดศรีจี้เร่งคดีเงินบริจาคปชป.258ล.ให้เสร็จ

ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ - นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทว่า ได้สอบถามจากคณะทำงานเมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมาก็บอกว่ายังไม่แล้วเสร็จ เพราะ 2 บริษัทที่ทางคณะทำงานได้มีหนังสือให้มาชี้แจงยงไม่เข้าให้ปากคำ แต่ก่อนหน้านี้ประธานคณะทำงานฯก็ได้ระบุถึงความคืบหน้าของการแล้วเสร็จไปกว่า 80 % ดังนั้นตนคิดว่าควรจะเร่งรัดเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นมี.ค.นี้ ถึงแม้จะเหลืออีกเพียงวันเดียว และประธานคณะทำงานฯก็เคยบอกว่าจะทำให้เสร็จ
เมื่อถามว่ากกต.ยังไม่พิจารณาเรื่องนี้เพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการเมืองใช่หรือไม่ นางสดศรี กล่าวว่า เราไม่ได้ดูมิติทางการเมืองที่เกิดขึ้น ถ้าเราทำถูกต้องอะไรจะเกิดแล้วเราไปหลีกเลี่ยง หรือหวั่นวิตกต่อสถานการณ์ ก็ไม่ต้องทำหน้าที่กัน อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวเห็นว่าเรื่องที่มีการร้องนั้นแยกออกเป็น 2 ส่วน คือกรณีของเงินบริจาค 258 ล้านบาท และการใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ ถ้าคณะทำงานพิจารณาเรื่องใดแล้วเสร็จก็น่าที่จะเสนอมาให้กกต.พิจารณาได้เลย
ส่วนเรื่องเงินบริจาคยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จก็ให้ตรวจสอบต่อไป แต่ที่พูดก็เป็นในฐานะกกต.ที่ไม่สามารถจะไปมีความเห็นชี้ขาดได้เลย เว้นแต่ว่านายทะเบียนพรรคการเมืองมีความเห็นก็ควรส่งเรื่องนี้ให้กับที่ประชุมกกต.พิจารณา เมื่อส่งมาก็คงจะได้พิจารณากัน เทาที่ทราบขณะนี้ประเด็นของการใช้เงินกองทุนนั้นคณะทำงานได้สอบสวนเสร็จแล้ว
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
************************************************
" พระนเรศวร " ตำนานนักต่อสู้ผู้ไม่มี(วัน)ตาย จาก"จักรพรรดิราช"สู่เบื้องหน้า"ม็อบแดง"สู้อำมาตย์???
การเคลื่อนม็อบแดง ยึดกรุง ทุกครั้ง จตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. จะต้องอัญเชิญพระองค์ดำ หรือ พระนเรศวร นำทัพเสื้อแดง สู้อำมาตย์ เอาเข้าจริง ตำนานอันยิ่งใหญ่ของพระนเรศวร ถูกนำมารับใช้การเมืองตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา จากยุควีรกรรมของพระมหากษัตริย์อันยิ่งใหญ่ มาสู่ชาตินิยม จนมาล่าสุด พระนเรศวร ถูกอัญเชิญมาอยู่ เบื้องหน้าคนเสื้อแดง เหตุใด จึงเป็นเช่นนั้น เรามีคำตอบ
...สมเด็จพระนเรศวรเปรียบเสมือนวีรบุรุษของราชสำนักมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ราชสำนักในแต่ละยุค "สร้าง" สมเด็จพระนเรศวรให้สอดคล้องกับคติความเชื่อและความคิดทางการเมืองของตน ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ภาพของสมเด็จพระนเรศวรเป็นไปในแนวทางจักรพรรดิราชและธรรมราชาภายใต้โลกทัศน์แบบศาสนา
เนื่องด้วยคติที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงอยุธยา เรื่องของสมเด็จพระนเรศวรเป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันความชอบธรรมในการปกครองและเป็นเสมือนตำราในการศึกษาเรื่องราวขนบธรรมเนียมประเพณีของพระราชวงศ์ในอดีต
งานเขียนเหล่านี้จึงมักเป็นพระราชพงศาวดารที่เสพกันเฉพาะชนชั้นในราชสำนักเท่านั้น
ทว่าเมื่อโลกทัศน์ของชนชั้นนำเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบทางโลกย์มากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์ภายในคือความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนางและสถานการณ์ภายนอกคือลัทธิจักรวรรดินิยม ทำให้เกิดการปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5 เกิดสำนึกความเป็นชาติ
สำนึกถึงขอบเขตของดินแดนสมเด็จพระนเรศวรจึงกลายเป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้ปกป้องประเทศ กู้เอกราชชาติภายใต้โครงเรื่องแบบ "ราชาชาตินิยม" วีรกรรมของพระองค์แพร่ลงมาสู่ประชาชนเพื่อปลูกฝังประวัติศาสตร์และความเป็นชาติ
ความคิดแนวนี้ถูกผลิตซ้ำโดยราชสำนัก ทั้งผ่านหนังสือ บทละคร และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในที่สุด เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระราชประวัติของพระองค์ยังกลายเป็นบทเรียนและสัญญาณที่บ่งบอกถึงการต่อสู้ของคณะเจ้าต่อคณะราษฎร จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรยังทรงเป็นผู้ที่ราชสำนักไทยให้ความสำคัญและยังคงนึกถึงอยู่เสมอ
เรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรยังคงถูกสร้างต่อ ๆ มาในหลายรูปแบบ แต่เปลี่ยนมือผู้สร้างจากราชสำนักมาเป็นสามัญชน กองทัพ เรื่องราวของพระองค์เป็นประโยชน์ในเรื่องการทหาร มีการสถาปนาวันกองทัพบกไทยขึ้นมาใน พ.ศ. 2495 ตรงกับวันที่ 25 มกราคมของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา กองทัพใช้เรื่องสมเด็จพระนเรศวรอธิบายประวัติความเป็นมาของตนเองว่ามีความเป็นมายาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทย
ในยุคสงครามเย็น พระองค์เป็นเสมือนสัญลักษณ์ในการต่อสู้กับ "คอมมิวนิสต์" พระบรมราชานุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นมามากมาย รวมทั้งเกิดเพลงปลุกใจ "ทหารพระนเรศวร" และ "มาร์ชนเรศวร" เมื่อสถานการณ์ภัยแดงเริ่มคลี่คลาย อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรกลายเป็นสถานที่สักการะบูชาและบนบานของประชาชน เกิดการนำวีรกรรมของพระองค์ไปประกอบการแสดงแสงสีเสียง แต่งเป็นนวนิยายเรื่องต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตคือ ไม่ว่าผู้สร้างเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นชนชั้นใด พระองค์มักได้รับการนำเสนอแบบ "ด้านเดียว" มาตลอด คือความเป็นกษัตริย์นักรบ แม้จะมีความพยายามเสนอภาพอื่น ๆ บ้าง
เช่น นวนิยายหลายเรื่องที่เขียนให้พระองค์มีการกระทำและอารมณ์หลากหลาย ดูเป็นมนุษย์มากขึ้น นำเสนอเรื่องความรักของพระองค์ซึ่งไม่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร แต่ก็ไม่สามารถแทนภาพกษัตริย์นักรบที่ถูกสั่งสมมาอย่างยาวนานได้เลย
เรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชถูกนำไปใช้ในหลายรูปแบบ หลายสถานการณ์ โดยบุคคลหลายระดับ หลายกลุ่ม ทุกคนกลายเป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งเคยจำกัดวงอยู่ในราชสำนักเท่านั้น
แต่ละคนนำเอาประวัติศาสตร์ไปสร้างประโยชน์ สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาบางอย่างให้แก่ตนเองและพวกพ้อง
ความเป็นวีรบุรุษของสมเด็จพระนเรศวรจะคงอยู่ในสังคมไทยต่อไป แต่ในอนาคตจะถูกใช้อย่างไร เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือมากมายแค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ในอนาคต และ "มนุษย์" ซึ่งเป็นผู้ที่ทรงพลังที่สุดในการเขียนและสร้างประวัติศาสตร์มาทุกยุคทุกสมัย!!!
( หมายเหตุ จาก งานวิจัย ปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษาศาสตร์ จุฬาฯ เรื่อง ภาพลักษณ์สมเด็จพระนเรศวร ของราชสำนักไทย สมัยรัตนโกสินทร์ ถึงทศวรรษ 2480 ของ วริศรา ตั้งค้าวานิช )
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
***********************************************
...สมเด็จพระนเรศวรเปรียบเสมือนวีรบุรุษของราชสำนักมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ราชสำนักในแต่ละยุค "สร้าง" สมเด็จพระนเรศวรให้สอดคล้องกับคติความเชื่อและความคิดทางการเมืองของตน ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ภาพของสมเด็จพระนเรศวรเป็นไปในแนวทางจักรพรรดิราชและธรรมราชาภายใต้โลกทัศน์แบบศาสนา
เนื่องด้วยคติที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงอยุธยา เรื่องของสมเด็จพระนเรศวรเป็นสิ่งหนึ่งที่ยืนยันความชอบธรรมในการปกครองและเป็นเสมือนตำราในการศึกษาเรื่องราวขนบธรรมเนียมประเพณีของพระราชวงศ์ในอดีต
งานเขียนเหล่านี้จึงมักเป็นพระราชพงศาวดารที่เสพกันเฉพาะชนชั้นในราชสำนักเท่านั้น
ทว่าเมื่อโลกทัศน์ของชนชั้นนำเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบทางโลกย์มากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์ภายในคือความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับขุนนางและสถานการณ์ภายนอกคือลัทธิจักรวรรดินิยม ทำให้เกิดการปฏิรูปการปกครองในรัชกาลที่ 5 เกิดสำนึกความเป็นชาติ
สำนึกถึงขอบเขตของดินแดนสมเด็จพระนเรศวรจึงกลายเป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้ปกป้องประเทศ กู้เอกราชชาติภายใต้โครงเรื่องแบบ "ราชาชาตินิยม" วีรกรรมของพระองค์แพร่ลงมาสู่ประชาชนเพื่อปลูกฝังประวัติศาสตร์และความเป็นชาติ
ความคิดแนวนี้ถูกผลิตซ้ำโดยราชสำนัก ทั้งผ่านหนังสือ บทละคร และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในที่สุด เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระราชประวัติของพระองค์ยังกลายเป็นบทเรียนและสัญญาณที่บ่งบอกถึงการต่อสู้ของคณะเจ้าต่อคณะราษฎร จะเห็นได้ว่าสมเด็จพระนเรศวรยังทรงเป็นผู้ที่ราชสำนักไทยให้ความสำคัญและยังคงนึกถึงอยู่เสมอ
เรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรยังคงถูกสร้างต่อ ๆ มาในหลายรูปแบบ แต่เปลี่ยนมือผู้สร้างจากราชสำนักมาเป็นสามัญชน กองทัพ เรื่องราวของพระองค์เป็นประโยชน์ในเรื่องการทหาร มีการสถาปนาวันกองทัพบกไทยขึ้นมาใน พ.ศ. 2495 ตรงกับวันที่ 25 มกราคมของทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา กองทัพใช้เรื่องสมเด็จพระนเรศวรอธิบายประวัติความเป็นมาของตนเองว่ามีความเป็นมายาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทย
ในยุคสงครามเย็น พระองค์เป็นเสมือนสัญลักษณ์ในการต่อสู้กับ "คอมมิวนิสต์" พระบรมราชานุสาวรีย์ถูกสร้างขึ้นมามากมาย รวมทั้งเกิดเพลงปลุกใจ "ทหารพระนเรศวร" และ "มาร์ชนเรศวร" เมื่อสถานการณ์ภัยแดงเริ่มคลี่คลาย อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรกลายเป็นสถานที่สักการะบูชาและบนบานของประชาชน เกิดการนำวีรกรรมของพระองค์ไปประกอบการแสดงแสงสีเสียง แต่งเป็นนวนิยายเรื่องต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตคือ ไม่ว่าผู้สร้างเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรจะเป็นชนชั้นใด พระองค์มักได้รับการนำเสนอแบบ "ด้านเดียว" มาตลอด คือความเป็นกษัตริย์นักรบ แม้จะมีความพยายามเสนอภาพอื่น ๆ บ้าง
เช่น นวนิยายหลายเรื่องที่เขียนให้พระองค์มีการกระทำและอารมณ์หลากหลาย ดูเป็นมนุษย์มากขึ้น นำเสนอเรื่องความรักของพระองค์ซึ่งไม่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร แต่ก็ไม่สามารถแทนภาพกษัตริย์นักรบที่ถูกสั่งสมมาอย่างยาวนานได้เลย
เรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชถูกนำไปใช้ในหลายรูปแบบ หลายสถานการณ์ โดยบุคคลหลายระดับ หลายกลุ่ม ทุกคนกลายเป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งเคยจำกัดวงอยู่ในราชสำนักเท่านั้น
แต่ละคนนำเอาประวัติศาสตร์ไปสร้างประโยชน์ สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาบางอย่างให้แก่ตนเองและพวกพ้อง
ความเป็นวีรบุรุษของสมเด็จพระนเรศวรจะคงอยู่ในสังคมไทยต่อไป แต่ในอนาคตจะถูกใช้อย่างไร เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือมากมายแค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ในอนาคต และ "มนุษย์" ซึ่งเป็นผู้ที่ทรงพลังที่สุดในการเขียนและสร้างประวัติศาสตร์มาทุกยุคทุกสมัย!!!
( หมายเหตุ จาก งานวิจัย ปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษาศาสตร์ จุฬาฯ เรื่อง ภาพลักษณ์สมเด็จพระนเรศวร ของราชสำนักไทย สมัยรัตนโกสินทร์ ถึงทศวรรษ 2480 ของ วริศรา ตั้งค้าวานิช )
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
***********************************************
ธุรกิจบัณฑิตย์โพลล์ตบหน้ามาร์ค มติคนกรุง 66% ให้ออก+ยุบสภา
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล โดยศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวกรุงเทพฯ เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี โดยทำการสำรวจชาวกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,479 คน กระจายตาม อาชีพ อายุ และการศึกษา ระหว่างวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2553 พบว่า
ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 34.57 เชื่อว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจะสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปอีกได้ไม่เกิน 9 เดือน ร้อยละ 26.95 เชื่อว่าจะดำรงตำแหน่งต่อไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 8.55 เท่านั้น ที่เชื่อว่าอยู่จนครบวาระ ใน สภาพเศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 46.37 อยากให้มีการยุบสภา ร้อยละ 33.09 อยากให้รัฐบาลอยู่แก้ปัญหาต่อไป และร้อยละ 19.46 อยากให้นายกรัฐมนตรีลาออก
สำหรับความคิดเห็นเรื่องการพิจารณายึดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตรในวันที่ 26 ก.พ. พบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 60.20 คิดว่าจะถูกยึดทรัพย์บางส่วน มีเพียงร้อยล 14.00 เท่านั้นที่คิดว่าจะไม่ถูกยึดทรัพย์เลย และเมื่อถามว่าอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะมีโอกาสกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกหรือไม่ ชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.36 คิดว่ามีโอกาสค่อนข้างน้อย และไม่มีโอกาสเลยถึงร้อยละ 35.12
บุคคลที่ชาวกรุงเทพฯ อยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 43.85) รองลงมา คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 29.91) และนายชวน หลีกภัย (ร้อยละ 8.81) ตามลำดับ
ในบรรดานายกรัฐมนตรีที่ประเทศไทยเคยมีมา ชาวกรุงเทพฯ ชอบพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มากที่สุด (ร้อยละ 34.89) รองลงมา คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 22.59) และนายชวน หลีกภัย (ร้อยละ 19.39) ตามลำดับ
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ที่ปรึกษา
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์มนฤดี กีรติพรานนท์ ผู้รับผิดชอบ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล
*********************************************
ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 34.57 เชื่อว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันจะสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปอีกได้ไม่เกิน 9 เดือน ร้อยละ 26.95 เชื่อว่าจะดำรงตำแหน่งต่อไปได้อีกไม่เกิน 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 8.55 เท่านั้น ที่เชื่อว่าอยู่จนครบวาระ ใน สภาพเศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 46.37 อยากให้มีการยุบสภา ร้อยละ 33.09 อยากให้รัฐบาลอยู่แก้ปัญหาต่อไป และร้อยละ 19.46 อยากให้นายกรัฐมนตรีลาออก
สำหรับความคิดเห็นเรื่องการพิจารณายึดทรัพย์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตรในวันที่ 26 ก.พ. พบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 60.20 คิดว่าจะถูกยึดทรัพย์บางส่วน มีเพียงร้อยล 14.00 เท่านั้นที่คิดว่าจะไม่ถูกยึดทรัพย์เลย และเมื่อถามว่าอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร จะมีโอกาสกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกหรือไม่ ชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 36.36 คิดว่ามีโอกาสค่อนข้างน้อย และไม่มีโอกาสเลยถึงร้อยละ 35.12
บุคคลที่ชาวกรุงเทพฯ อยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 43.85) รองลงมา คือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 29.91) และนายชวน หลีกภัย (ร้อยละ 8.81) ตามลำดับ
ในบรรดานายกรัฐมนตรีที่ประเทศไทยเคยมีมา ชาวกรุงเทพฯ ชอบพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มากที่สุด (ร้อยละ 34.89) รองลงมา คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 22.59) และนายชวน หลีกภัย (ร้อยละ 19.39) ตามลำดับ
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ที่ปรึกษา
รศ.ดร.สรชัย พิศาลบุตร ผู้รับผิดชอบ
อาจารย์มนฤดี กีรติพรานนท์ ผู้รับผิดชอบ
ธุรกิจบัณฑิตย์โพล
*********************************************
เมื่อทัพเรือ ไม่พอใจทัพบก
ขณะนี้มีกำลังทหารบก จำนวน 3 กองร้อย
ได้เข้าประจำการที่พระราชวัง เดิม(กองบัญชาการกองทัพเรือ)
ซึ่งแน่นอนว่านั่นเป็นพื้นที่ของทหารเรือ
และขณะนี้กองทัพเรือได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย ในการปฏิบัติหน้าที่ถวายอารักขา
ในส่วนของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งก็ติดกับพระราชวังเดิมนั่นเอง
เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจ ให้กับทางกองทัพเรือเป็นอย่างมาก
ซึ่งได้มีการทัดทานและแย้งไปแล้วว่า นี่เป็นการก้าวก่ายหน้าที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายอารักขา เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงมีพระราชประสงค์เป็นการเฉพาะ ให้กองทัพเรือปฏิบัติหน้าที่ถวายอารักขา
ตลอดทั้งพื้นที่
แต่ กองทัพบกโดยทหารกลุ่มบูรพาพยัคฆ์
ได้สั่งให้กองกำลังดังกล่าวนั้นเข้า ประจำที่
ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวของในพื้นที่เหล่านี้เลยแม้แต่น้อย
แหล่งข่าวนายทหารเรือท่านนี้ได้ปรารภว่า (ซึ่งที่จริงเรียกว่าด่านั่นล่ะ)
นี่เป็นการก้าวก่ายหน้าที่กันอย่างน่า เกลียดและเป็นการขัดพระราชประสงค์
อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่าง ร้ายแรง
เรื่องนี้ทางกองทัพเรือโดย ผบ.ทร. กำลังหงุดหงิดไม่พอใจเป็นอย่างมาก
by ประจันบาล ประชาไท
************************************************
ได้เข้าประจำการที่พระราชวัง เดิม(กองบัญชาการกองทัพเรือ)
ซึ่งแน่นอนว่านั่นเป็นพื้นที่ของทหารเรือ
และขณะนี้กองทัพเรือได้รับการไว้วางพระราชหฤทัย ในการปฏิบัติหน้าที่ถวายอารักขา
ในส่วนของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งก็ติดกับพระราชวังเดิมนั่นเอง
เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจ ให้กับทางกองทัพเรือเป็นอย่างมาก
ซึ่งได้มีการทัดทานและแย้งไปแล้วว่า นี่เป็นการก้าวก่ายหน้าที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายอารักขา เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทรงมีพระราชประสงค์เป็นการเฉพาะ ให้กองทัพเรือปฏิบัติหน้าที่ถวายอารักขา
ตลอดทั้งพื้นที่
แต่ กองทัพบกโดยทหารกลุ่มบูรพาพยัคฆ์
ได้สั่งให้กองกำลังดังกล่าวนั้นเข้า ประจำที่
ทั้งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวของในพื้นที่เหล่านี้เลยแม้แต่น้อย
แหล่งข่าวนายทหารเรือท่านนี้ได้ปรารภว่า (ซึ่งที่จริงเรียกว่าด่านั่นล่ะ)
นี่เป็นการก้าวก่ายหน้าที่กันอย่างน่า เกลียดและเป็นการขัดพระราชประสงค์
อันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่าง ร้ายแรง
เรื่องนี้ทางกองทัพเรือโดย ผบ.ทร. กำลังหงุดหงิดไม่พอใจเป็นอย่างมาก
by ประจันบาล ประชาไท
************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)