--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อนุฯเผย คำถอดเทปเสียงคล้าย "นายกฯ"สั่งสลายเสื้อแดง


27 สค. 2552 16:39 น.
ที่อาคารรัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่บริเวรดินแดง ของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองเดือนเม.ย. โดยมี พล.ต.ท.สุเทพ สุขสงวน ส.ว.สรรหา ได้เผยแพร่คำถอดเทป ซึ่งมีการกล่าวอ้างว่าเป็นเสียงคล้ายกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเปิดคลิปเสียงดังกล่าวด้วยโดยมีความ 3.42 นาที

ในคำถอดเทป ระบุว่า “ ผมเชื่อว่า ทุกท่านก็คงจะได้มีการติดตามการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ และทางวิทยุเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งผมอยู่ในรถคันนั้นที่มีการทำร้ายนะครับ และท่านที่ดูข่าวก็จะทราบว่า ทางผู้ชุมนุมประกาศถึงขั้นว่าจะจับตัว จะไล่ล่าอะไรก็แล้วแต่นะครับ เพราะฉะนั้นจากนี้ไปเนี่ย ผมจะได้ชำระสะสางในเรื่องของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ผู้ชุมนุมต้องได้รับบทเรียน

ซึ่งผมจะขอทางเจ้าหน้าที่ทีเกี่ยวข้อง ปฏิบัติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ กับผู้ชุมนุมนะครับ โดยเริ่มจากประมาณดึกของวันนี้ไปจนถึงวันพรุ่งนี้ และให้มีการใช้อาวุธในการคลี่คลายสภาพปัญหาต่างๆ ที่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ผมก็อยากเรียกร้องให้ท่านเข้ามาช่วยกันคิด และวางแผนเพื่อที่จะสร้างสถานการณ์ต่างๆ
ผมต้องการให้สถานการณ์เกิดความไม่สงบ ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ผมประสงค์ที่จะให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นเพื่อสร้างเงื่อนไข

เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เกี่ยวกับแนวทางในการดำเนินการ ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุนในการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพราะฉะนั้นผมเรียนทุกท่านนะครับว่าทำอย่างไรก็ได้ที่จะให้ผู้ชุมนุมพยายามที่จะสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง
เพื่อแสดงให้เห็นว่าพี่น้องประชาชนกำลังเดือดร้อนจากปัญหาการชุมนุมเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไป และส่งผลกระทบอย่างมากต่อความเชื่อมั่นภาพลักษณ์ของประเทศ

อย่างแรกก็คือ ต้องการให้เกิดสภาพของการโกลาหลทั่วไป อ้างว่าแกนนำผู้ชุมนุมก็ได้มีการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงความปั่นป่วนขึ้นในบ้านเมืองเพื่อให้เป็นเครื่องมือที่เจ้าหน้าที่สามารถใช้ประกาศพระราชกำหนดในการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ก็ยิ่งดีนะครับ

อันที่ 2 นี่นะครับผมอยากให้เกิดเหตุการณ์บานปลายเหมือนกับที่พัทยาเนี่ย ที่มีเหตุการณ์ที่พี่น้องประชาชนไปปะทะกับผู้ชุมนุม ผมก็อยากให้ท่านสร้างสถานการณ์ต่างๆ ทำให้มีภาพผู้ชุมนุมเนี่ยวเอาปืนไปยิ่งใส่กลุ่มคนที่มาต่อต้านผู้ชุมนุม ซึ่งพอเหตุการณ์ที่มันรุนแรงเราประกาศให้ พรก.มันก็จะได้รับการยอมรับบทบาทและความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน หลังจากที่สลายการชุมนุมไปแล้ว ปรากฎว่ามีผู้เสียชีวิตตการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในช่วงที่มีการสลายการชุมนุม

ถ้าหากว่าผู้ชุมนุมเนี่ยมีการเสียชีวิตหลังจากที่มีการปฏิบัติการต่างๆ ในเรื่องการทหารพวกเราต้องการพยายามที่จะปกปิดการให้ข่าวทีเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ผมขอกำชับว่าการปฏิบัติการใดๆนั้น ต้องระมัดระวังให้มากที่สุดพยายามให้ข่าวไปในทางที่ดี ถ้ามีสถานนี้ไหน ได้มีส่วนทีเสนอข่าวการใช้ความรุนแรงจากภาครัฐ ขอให้เจ้าหน้าที่ไปปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์วิทยุกระจายเสียงทันที ระงับการดำเนินการของสถานีเหล่านั้นไว้ก่อน

และให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศเข้าใจว่ารัฐบาลเราแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบันนี้นะครับ ผมก็อยากให้มีข่าวว่าทางผู้ชุมนุมพยายามไม่อยากให้มีการสถาบันพระมหากษัตริย์นะครับ โดยผมต้องการให้อ้างว่าคนที่เค้ามาชุมนุมในทำเนียบที่อยู่กันหลายพันคนเนี่ยนะครับ ไปดึงสถาบันหลักของชาติเข้ามามีส่วนร่วมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีอดีตนายกฯ ขอให้ท่านได้กล่าวอ้างว่ามีพฤติกรรมจาบจ้วงหรือกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ ”

แดงแท้"VS"แดงเทียม ในสถาบันเสื้อแดง

Posted by ปลากัด ,
ผู้อ่าน : 51 , 11:33:12 น.
หมวด : การเมือง
น่าสนใจเป็นที่สุดสำหรับ "ปรากฏการณ์" แบบ "วงแตก" ภายในบรรดาแกนนำของ "คนเสื้อแดง" ที่ปรากฏออกมาหลังจากแกนนำที่ได้ชื่อว่าเป็น "สามเกลอ" พยายามที่จะเปิด "แคมเปญ" สำหรับการชุมนุมออกมาอย่างต่อเนื่อง

ความน่าสนใจของ "ปรากฏการณ์" ดังกล่าวปรากฏออกมานับแต่ที่มี บทความ “ทักษิณกลับบ้าน ?” ลงในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “แนวร่วม Red” ฉบับนที่ 25 สิงหาคม 2552 ของนายจักรภพ เพ็ญแข แกนนำ "คนเสื้อแดง" เผยแพร่โจมตีโดยนัยยะต่อ "สามเกลอ" ที่ว่า...

"ช่วงนี้พูดกันบ่อยว่า “คุณทักษิณจะกลับบ้าน” ยังมีการบอกพี่น้องที่ลงชื่อในฎีกาให้รีบลงเพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณ ได้กลับบ้าน รวมทั้งยังบอกเป็นนัยๆ ว่า พ.ต.ท.คุณทักษิณจะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเสียด้วยซ้ำ แค่ชาวเสื้อแดงมากันให้มากเข้าไว้...จนเชื่อกันว่า การเอาชนะพวกปล้นประชาธิปไตย จะง่าย สั้น จบ อย่างสวยงามอย่างที่พูดกัน...คนที่พร่ำพูดเช่นนั้นเอาเหตุผลอะไรมาอธิบายว่าความหวังของเราจะเป็นจริง...ไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยหมายถึงใครและอะไรบ้าง"...

น่าสนใจที่หลังจากปรากฏ "บทความ" ของนายจักรภพ ออกมา ก็มี "แรงโต้" จากนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ "คนเสื้อแดง" หนึ่งใน "สามเกลอ" ออกมาแว้งกลับจนฉายภาพข้อครหา "ความขัดแย้ง" ที่มีขึ้นในช่วง "สงกรานต์เลือด"

เหล่านี้คือ "ความขัดแย้ง" ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจะมีแต่กัดกิน "คนเสื้อแดง" ที่ว่าด้วย "มวลชน" ไม่ว่าจะเป็นฟากฝั่งใดฟากฝั่งหนึ่งอย่างแน่นอน

เพราะความน่าสนใจที่มีออกมาภายหลัง โดยเฉพาะการ "แยก" ออกไปเพื่อที่จะตั้ง "แดงสยาม" ของนายสุรชัย แซ่ด่าน ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามแต่ประการใด

เพราะแม้จริงอยู่ที่แกนนำของ "คนเสื้อแดง" ระดับนายสุรชัย จะมิได้มี "มวลชน" อยู่ในมือเป็นพันเป็นหมื่น แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าโดยแท้จริงแล้วใน "มวลชน" ของ "คนเสื้อแดง" ที่อาจถือได้ว่าเป็น "มวลชน" ที่เหนียวแน่นอย่างแท้จริง แต่โดยสภาพแล้วเป็น "มวลชน" ที่ยึดมั่นต่อ "อุดมการณ์" มากกว่าการยึดติดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็มีจำนวนอยู่มิใช่น้อย

ดังนั้นนับจากนี้จึงจะเป็นเครื่องพิสูจน์สำหรับ "แกนนำ" หลายๆ คนว่าจะยืนอยู่ฟากฝั่งไหนในนิยาม "ประชาธิปไตย" ของ "คนเสื้อแดง" โดยเฉพาะหลังการ "ถวายฎีกาฯ" ที่ถือเป็น "ฟางเส้นสุดท้าย" ที่ทำให้ "แกนนำ" บางส่วนรับไม่ได้กับ "ยุทธวิธี" อันขัดต่อ "ยุทธศาสตร์" ที่ "สามเกลอ" เลือกใช้เพื่อ "นำ" "คนเสื้อแดง" โดยอย่างยิ่งคือ ความขัดกันระหว่าง "ยุทธวิธี" ที่ถูกนำมาใช้กับเป้าหมายที่มุ่งไปสู่อย่าง "อำมาตย์" (โปรดดู "ถวายฎีกาฯ" กับราคาที่ "พ.ต.ท.ทักษิณ" ต้องจ่าย !!! ; http://www.oknation.net/blog/plagud/2009/08/07/entry-1)

เพราะต้องไม่ลืมว่าภายในแกนนำของ "คนเสื้อแดง" ที่เป็น "ปีกซ้าย" นั้น มิได้ถือมั่นอยู่เพียงแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่อย่างใด เพราะเอาเข้าจริงแล้ว "แกนนำ" กลุ่มนี้กลับมอง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มี "มวลชน" เป็นเพียง "เบี้ย" ตัวหนึ่งที่สำคัญที่จะใช้ "ปิดเกม" เท่านั้นเอง (โปรดดู "สถาบันเสื้อแดง" ภายใต้การนำของ "จักรภพ" !!! ; http://www.oknation.net/blog/plagud/2009/01/20/entry-1)

ฉะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากปรากฏการณ์ "วงแตก" ที่มิใช่เพียง "แตกคอ" ของแกนนำ "คนเสื้อแดง" ในครั้งนี้ก็คือ ก้าวย่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเลือกเดินจะยิ่งลำบากยากเข็ญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่าด้วยการจัดการ "มวลชน" เพื่อใช้เป็นแรงบีบเค้นทางการเมือง

และด้วยความเป็นจริงที่ว่า ในบรรดา "มวลชน" ของ "คนเสื้อแดง" ที่ดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นแต่มิได้ต้องการเป็น "เครื่องมือ" ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ผ่าน "สามเกลอ" เลือกใช้อีกต่อไปกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอยู่เรื่อยๆ
ดังนั้นอีกไม่นานคงจะได้เห็นกันว่าทั้ง "แกนนำ" และ "คนเสื้อแดง" เอง ...ใคร? จะเป็น "แดงแท้" และ "แดงเทียม" ใน "สถาบันเสื้อแดง" ของนายจักรภรพ ที่มีจุดกึ่งกล่างเป็นคำว่า "ประชาธิปไตย" และการดำรงไว้ซึ่ง "เสรีภาพ" !!!

แกะรอย"แดงดอกเห็ด"สำรวจการก่อตัวของเครือข่ายเสื้อแดงไซส์เล็ก

ที่มา ประชาไท
มุทิตา เชื้อชั่ง

การชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ‘คนไม่เปรม’ ที่แต่งดำ เมื่อ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ในวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิดปีที่ 89 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และครบรอบ 1 ปี กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีและทำเนียบรัฐบาล หากสังเกตให้ดีจะพบว่างานนี้แรง...ในแนวทางขับไล่อำมาตย์อยู่เช่นเดิม แม้ว่าแกนนำ นปช. อย่างวีระ จตุพร ณัฐวุฒิ จะหันไปในประเด็นขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์แล้ว
หากสังเกตให้ดีจะพบว่างานนี้เล็ก...ไม่เหมือนที่ผ่านๆ มา เวทีปราศรัยไม่ใหญ่โตนัก เครื่องเสียงก็จำกัดไม่ก้องกังวานเหมือนครั้งก่อนๆ

เบื้องหลังเวทีนั้นอาจยิ่งทำให้นักข่าวงุนงงเพราะเต็มไปด้วยคนไม่คุ้นหน้าคุ้นตา จะพอคุ้นบ้างก็เพียง สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, จรัล ดิษฐาอภิชัย,สมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเวทีจัดขึ้นโดยการผนึกกำลังของกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มเล็กๆ ที่เพิ่งเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ประกอบด้วยกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย แดงนนทบุรี แดงตากสิน แดงนครปฐม สมัชชาสังคมก้าวหน้า เครือข่ายศิลปิน ฯลฯ
“ถ้าเราไม่จัดอะไรเลย คนก็จะลืมไปหมดว่าวันนี้มีนัยสำคัญยังไง” วันเพ็ญ หญิงวัยกลางคน/คนชนชั้นกลาง/คุณแม่ลูกสาม/แกนหลักกลุ่มแดงตากสินบอก

กลุ่มของเธอเพิ่งก่อตัวไม่นาน จากการที่มาชุมนุมกันเมื่อเดือนเมษายนแล้วเจอคนละแวกเดียวกันหลายคนทำให้เริ่มเกาะกลุ่มกันได้ และจัดกิจกรรมใหญ่เปิดตัวกลุ่มครั้งแรกเมื่อ 25 ก.ค. ที่อนุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่

“นปช.ใหญ่เขาจะจัดอะไรก็ไปร่วม แต่เราก็มีกิจกรรรมแบบของเราด้วย เรามันแดงชาวบ้าน บางทีเราก็เคลื่อนในประเด็นที่เขาอาจไม่สะดวกจะเคลื่อน อย่างหลังถวายฎีกาเขาก็ไม่เคลื่อนเรื่องอำมาตย์กันอีก”
“การต่อสู้กับระบอบอำมาตย์ที่แข็งแกร่งมากมันไม่ได้ทำได้ในวันสองวัน แล้วประชาชนเสื้อแดงก็หลากหลายมาก เราต้องพยายามรวมกลุ่ม แล้วหาแนวร่วม ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเกาะกันเองแต่กลุ่มเสื้อแดงอย่างเดียว คนที่อินในประเด็นเศรษฐกิจก็เคลื่อนไหวได้ แล้วเราก็พยายามชวนเขาถามต่อว่าปัญหาเศรษฐกิจนี้ปัจจัยหลักมันมาจากอะไร มาจากรัฐประหาร คมช. และรัฐบาลที่อุ้มสมกันมาใช่ไหม เราเดินตามประเด็นและแนวทางต่างๆ แต่หลายกระแสเดินมารวมที่ถนนเส้นเดียวกันได้”

“ที่สำคัญคือการยกระดับความคิดมวลชน”
สุ้มเสียง แนวคิดเกี่ยวกับมวลชนแบบนี้ออกจะคุ้นหู เมื่อซักไซ้ไล่เรียงจึงรู้ว่า เธออยู่ในขบวนการนักศึกษาสมัย 6 ตุลา 19 และเกือบได้เข้าป่ากับเขาด้วยเหมือนกัน
“ตอนนั้นอยู่ มศ.5 พี่กำลังจะไปอยู่แล้ว แต่อารมณ์คิดถึงบ้านเลยกลับบ้านก่อน แล้วโดนพ่อล็อกไว้เลย ออกไม่ได้”

ไม่เพียงเท่านั้น การก้าวขึ้นมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงการเคลื่อนไหวของเธอก็ไม่เป็นไปอย่างคาด
“ตั้งแต่รัฐประหารเราก็ไม่เอาอยู่แล้ว มันอยู่ในสายเลือด แต่เราก็ไม่ได้มาร่วมอะไรกับเสื้อแดงเค้า มาวนๆ ดูที่สนามหลวงบ้าง เพราะเราได้ยินเรื่องทักษิณมาเยอะเลยมาดูข้อมูลอื่นๆ จากนั้นเราก็เห็นสองมาตรฐานที่มากขึ้นเรื่อยๆ จนมันไม่ไหว”

“เราคุยกับผู้คน สงสัยเหมือนกันไอ้ที่เขาว่าจ้างมา มาดูเอง เห็นเอง ชาวบ้านเค้าก้าวหน้า ทุ่มเท ต้องยอมรับเค้าจริงๆ” วันเพ็ญเล่าถึงปฏิบัติการทางเมืองตั้งแต่ครั้งยังเป็นเพียงผู้สังเกตุการณ์ กระทั่งถึงจุดหักเหบางหตุการณ์ที่ทำให้เธอแน่ใจ เหมือนที่คนจำนวนไม่น้อยประสบอาการที่พวกเขานิยามว่า “ตาสว่าง”
เธอทำหน้าที่ประสานงานกับกลุ่มย่อยของย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มบางพลัด พุทธมณฑล บางบอน เพื่อมาแลกเปลี่ยนและระดมความคิด ระดมเงินทุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นผู้คน โดยเฉพาะคนประเภทที่เธอเรียกว่า “คนหน้าจอ” ซึ่งแสดงความเห็นสนับสนุนแนวทางของคนเสื้อแดงอยู่ในโลกไซเบอร์
“เราออกมาเดินถนนแล้ว เราก็ต้องกระตุ้นให้เขาพร้อมออกมาเดินบนถนนเดียวกัน” วันเพ็ญว่า

“อย่างงานวันนี้ก็ประชุมกันสามรอบ รอบแรกคุยคอนเซ็ปท์ รอบสองแจกงาน รอบสามก็เช็คลิสต์ ลูกๆ มันก็บ่นจะตาย กลับบ้านไม่เจอแม่ เดี๋ยวประชุมอีกแล้ว กิจกรรมก็เยอะนะ แต่ก่อนออกมาเราก็ทำกับข้าวไว้ให้เค้าก่อนแล้ว กลับมาดึกดื่น หกโมงตื่นไปส่งลูกอีกแล้ว”

เมื่อถามถึงเรื่องทุนรอน เธอตอบตรงไปตรงมา ชัดถ้อยชัดคำ “ลงขันกันสิ ขอนักการเมืองบ้าง ได้มาเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีทางพอ นี่ก็ออกค่ากับข้าวไปห้าหกพัน ยังไม่รู้จะได้กลับมามั่งมั้ย แต่ถือว่าเราทำด้วยใจ ไม่เป็นไร”

“คนลงแรงก็เยอะ นี่พี่คนหนึ่งก็มาช่วยหุงข้าว เขาเป็นแม่ค้าธรรมดา หนังสือไม่ได้เรียนด้วยซ้ำ ใครชอบว่าคนรากหญ้าโง่ ไม่เลย แล้วเขาก็มีลักษณะที่ไม่ปิดตัวเองด้วย มาชุมนุม เขาก็ได้ยกระดับแนวคิด ข้อมูล การชุมนุมมันทำหน้าที่นี้ เราถึงต้องพยายามจัดกิจกรรม”

“ในกลุ่มก็มีคนหลากหลายที่ช่วยกันทำงาน เราอาจถนัดคิดโครงการ เสนอไอเดีย ก็ทำไป แต่ถ้าไม่มีเขา ไม่มีมวลชนมันก็เดินไปไม่ได้ นี่พี่เค้ารับหุงข้าวให้เป็นร้อยกล่อง เตาถ่านด้วย โคตรเก่งเลย”
แปลกไปกว่าอาการอดรนทนไม่ได้จนต้องลุกมาเอ็กเซอร์ไซส์ทางการเมืองของเธอ ยังมีปรากฏการณ์ที่เธอนิยามว่า “เหมือนสายน้ำไหลกลับมาเจอกันใหม่”

ระหว่างพยายามรวบรวมเครือข่ายคนเสื้อแดงกันในระดับหมู่บ้านและประสานกับเขตอื่นๆ เธอก็เจอกับแกนนำแดงนนทบุรี - “ชิน”

“ตอนแรกคนอื่นแนะนำชื่อมา เราก็ไม่รู้จัก พอเจอหน้า เค้าเข้ามาตบหัวเลย ไม่ได้เจอกันน้านนนน รุ่นพี่เราเอง แต่เค้าเข้าป่า”

ชิน วัย 50 กว่าปีที่ยังดูหนุ่มแน่นประกอบธุรกิจด้านอินเตอร์เน็ต เขาเริ่มต้นหากลุ่มจากอินเตอร์เน็ตนั้นเอง จากคนคอเดียวกันในกระดานสนทนาต่างๆ ก็เกิดไอเดียทำร้านกาแฟเสื้อแดงเพื่อหาจุดนัดพบแลกเปลี่ยนกัน ในครั้งแรกมีคนมาร่วมวงคุย 9 คน

“จุดเริ่มต้นเราเหมือนกัน เราเห็นการเคลื่อนไหวของทักษิณมาตั้งแต่ชนะการเลือกตั้ง เราเชื่อในระบอบประชาธิปไตย ไม่คิดเลยว่าจะเกิดวงจรของระบอบอำมาตย์ในประเทศอีก ทักษิณอาจไม่ถูกด้านวิธีการบ้าง แต่ถูกต้องในหลักการ”

จากนั้นชินก็เริ่มหาทางรวบรวมคนคอเดียวกันทั้งหลายเป็นกลุ่มก้อน แต่เขามีมุมมองในการสร้างเครือข่ายที่ต่างออกไปโดยพยายามให้เกิดกลุ่มย่อยมากที่สุด ทำงานประสานกัน แต่ไม่รวมศูนย์เป็นกลุ่มใหญ่
“คนเสื้อแดงก็เหมือนพี่น้อง ถ้าอยู่บ้านเดียวกันก็ชอบทะเลาะกัน แต่ถ้านานๆ เจอกันที โคตรจะรักกัน แดงนนทบุรีไม่ใช่องค์กร แต่ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน กลุ่มย่อยต่างๆ กลุ่มบ้านบัวทอง พฤกษา3 ตะวันฉาย แล้วก็อีกหลายที่มาประชุมกัน เวลาจะทำงานร่วมกันก็ชวนแกนๆ มาคุยกัน ต่างคนต่างใหญ่ แบบนี้ความขัดแย้งไม่เกิด”

“เราอยากให้การทำงานลักษณะนี้ขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ด้วย” ชินกล่าว
กลุ่มแดงนนทบุรีก็เพิ่งก่อตัวไม่นาน และเพิ่งเปิดเว็บไซต์ www.d-nontaburi.org อย่างไม่เป็นทางการไปเมื่อ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา และมีการติดต่อให้ทักษิณโฟนอินเข้ามาคุยกับประชาชนกลุ่มย่อยด้วย
“วันนั้นท่านทักษิณโฟนอินเข้ามาด้วย เป็นครั้งแรกที่เขาคุยกับมวลชนระดับย่อยมาก คนรู้ก็กระจายข่าวกันสู่แคมฟอกซ์กันใหญ่”

เขายังระบุถึงวิธีการสร้างเครือข่ายทางเศรษฐกิจด้วย นั่นคือ การรับสมัครสมาชิก และมีการประสานกับร้านค้าในจังหวัดนนทบุรีเพื่อสร้างส่วนลดให้กับสมาชิก

“เรากำลังทำระบบที่ให้เอาบัตรสมาชิกไปใช้เป็นส่วนลดได้ ตามร้านที่เข้าร่วม ตอนนี้ก็มีหลายร้าน ทั้งร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านปริ๊นท์สกรีน เราทำแบบเอเอสทีวีไม่ได้ แต่เราก็พยายามช่วยเหลือกัน แล้วก็กะจะมีการแจ้งรายจ่าย รายรับของกลุ่มในเว็บด้วย”

สำหรับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนนั้น ชินกล่าวว่า กลุ่มย่อยๆ นี้ต้องเดินหน้าไปพร้อมกับ นปช. แม้จะคิดต่างบ้างในรายละเอียด แต่ก็มีแนวทางใหญ่ร่วมกัน ไม่แตกแยก

เมื่อถามถึงประวัติในช่วงเป็นนักศึกษา ชินบอกว่าเขาอยู่ชมรมเชียร์ และออกจะเป็นแนวสายลมแสงแดดด้วยซ้ำ กระทั่งเกิดการปราบปรามนักศึกษาครั้งใหญ่ เขาตัดสินใจเข้าไปใช้ชีวิตในป่าในเขตงานสุราษฎร์ฯ แม้ไม่ได้มีพื้นฐานเป็นซ้ายจ๋า เขาก็ได้เรียนรู้วิธีการมองโลก และวิธีคิดหลายๆ อย่างซึ่งยังคงนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน
เขาวิเคราะห์ว่าขบวนการคนเสื้อแดงขณะนี้อยู่ในระหว่างสะสมปริมาณเพื่อก้าวไปสู่คุณภาพ และการเคลื่อนไหวของเขาก็จะไม่ใจร้อนขณะเดียวกันก็ไม่เฉื่อยเนือย ต้องค่อยๆ บ่มเพาะรอจนภาววิสัยพร้อม เขาเชื่อด้วยว่าการให้การศึกษาประชาชนไปเรื่อยๆ จะทำให้หลีกเลี่ยงการต่อสู้ทางการเมืองที่สูญเสียเลือดเนื้อได้ แม้ในห้วงยามแห่งการเปลี่ยนผ่านก็ตาม

“ที่เราต้องทำคือ การวิเคราะห์สถานการณ์ให้ละเอียดในการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมแต่ละครั้งเท่านั้นเอง เราก็ไม่อยากสูญเสีย มันมากพอแล้ว”

ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของคนหลังเวทีหน้าแปลกๆ (=ใหม่ๆ) ที่ไม่มีใครรู้จัก และกำลังมีปฏิบัติการทางการเมืองที่น่าจับตา.

ปิดฉากสมานฉันท์

ที่มา มติชน
บทนำมติชน
ในที่สุด ความสมานฉันท์และความปรองดองของคนในชาติก็ได้พิสูจน์ด้วยกาลเวลาว่า ในรอบ 8 เดือนที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามาบริหารประเทศไม่สามารถลดความขัดแย้ง แตกแยกในหมู่คนไทยได้ สิ่งที่นายอภิสิทธิ์แถลงเป็นนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ที่กระทรวงการต่างประเทศเป็นได้แค่เพียงถ้อยคำอันไพเราะ

แต่หาได้นำไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลที่เป็นรูปธรรมไม่หากย้อนกลับไปตรวจสอบจะพบว่า ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลซึ่งนายอภิสิทธิ์ยืนขึ้นอ่าน ในเรื่องที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ข้อ 1.1.3 ระบุว่า "เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจาก

ทุกฝ่ายและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ตลอดจนสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาทอำนาจและหน้าที่ขององค์กร" แท้จริงแล้ว

รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรที่จะก่อให้เกิดการยอมรับจากฝ่ายที่ขัดแย้งและแตกแยกกันอยู่เลยแม้แต่น้อย แม้จะมีความพยายามอยู่บ้าง เช่น การเปิดประชุมร่วมรัฐสภาให้ ส.ส.และ ส.ว.มาอภิปรายในเหตุการณ์ "สงกรานต์เลือด" จนต่อมาได้ตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีตัวแทนจากทุกพรรคมาร่วมเป็นกรรม

แต่ผลการศึกษาก็เป็นได้แค่ตัวอักษรในกระดาษที่วางไว้บนโต๊ะ ไม่ปรากฏว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะเห็นความสำคัญแล้วนำมาปฏิบัติแต่อย่างใดในทางตรงกันข้าม หลังจากเหตุกาณ์ "สงกรานต์เลือด" ผ่านพ้นไป จวบจนมาถึงวันนี้นับเวลาได้เกือบ 5 เดือน ดูเหมือนความขัดแย้ง แตกแยกกลับเพิ่มทวีไปมากกว่าเดิมหลายเท่า ความไม่คืบหน้าในการดำเนินคดีกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ฯลฯ

ที่คนเสื้อแดงมองว่าเป็น 2 มาตรฐานก็ยังเปรียบเสมือนเมฆดำที่ปกคลุมสังคมไทยจนสร้างความรู้สึกนึกคิดของคนเสื้อแดงที่ปฏิเสธรัฐบาลและโครงสร้างอำนาจอธิปไตย การล่ารายชื่อประชาชนคนเสื้อแดงได้ 3.5 ล้านคนทูลเกล้าฯถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้พระราชทานอภัยโทษ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับกลายเป็นเงื่อนไขใหม่ที่ตอกล่มให้รอยร้าวฉานในหมู่คนไทยบาดลึกยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า "บ้านเมืองเรากำลังล่มจม เพราะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างแย่งกัน ต่างคนต่างไม่เข้าใจว่าทำอะไร.." ควรจะทำให้คนไทยได้สติแต่ก็ดูเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นการชุมนุมของคนเสื้อแดงในบ่ายวันที่ 30 สิงหาคม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าก่อนจะไปล้อมทำเนียบรัฐบาลเพื่อกดดันให้นายอภิสิทธิ์ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่

ได้ถูกรัฐบาลนำ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรมาใช้เพื่อสกัดกั้นและขัดขวางการชุมนุมดังกล่าว การใช้มาตรการทางกฎหมายซึ่งถือเป็น "ไม้แข็ง" ในการรับมือกับคนเสื้อแดง แต่ถ้าหากแกนนำคนเสื้อแดงและมวลชนไม่กลัวการถูกตั้งข้อหาหรือแม้แต่การใช้กำลังตำรวจ-ทหารที่กฎหมายให้อำนาจไว้อย่างเต็มที่

เพราะคนเสื้อแดงถือว่าการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง อีกทั้งคนเสื้อแดงมองเห็นว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ขาดความชอบธรรมและไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาอาจเป็นความโกลาหล วุ่นวายของประเทศที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ ขณะเดียวกัน

การใช้อำนาจของรัฐบาลตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ จะถูกตั้งคำถามว่า มีหลักเกณฑ์อย่างไร ชอบธรรมหรือไม่เมื่อความสมานฉันท์ ความสามัคคีปรองดองไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็ต้องรอไปถึงรัฐบาลหน้าซึ่งจะต้องผ่านการเลือกตั้งไปก่อน ไม่มีใครตอบได้ว่า รัฐบาลหน้าจะประกอบไปด้วยพรรคไหน ใครเป็นนายกรัฐมนตรี จะสร้างความสมานฉันท์ได้หรือไม่ แต่สิ่งที่ตอบได้อย่างไม่ผิดพลาดก็คือ ความล่มจมของบ้านเมืองจะหนักหนาสาหัสกว่านี้เป็นหลายเท่า หากคนไทยยังขัดแย้ง แตกแยกกันอยู่เช่นนี้

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กษิต เมินเขมรฮุบพื้นที่ ไทยเสีย 4.6 ตร.กม-บ่อน้ำมัน


จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2614
ประจำวัน อังคาร ที่ 25 สิงหาคม 2009

รัฐสภา : ภาคีพระวิหารค้านข้อตกลงไทย-กัมพูชาเข้าสภา เพราะจะทำให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารสมบูรณ์ ทำให้ไทยเสียดินแดน 4.6 ตร.กม. เปลี่ยนหลักหมุดที่ 73 ต้องเสียบ่อน้ำมันให้เขมร ระบุผิดหวัง “กษิต” ปล่อยเกียร์ว่างทำให้เสียดินแดน แนะให้ลาออก

ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ นายวีระ สมความคิด ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน ในฐานะภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร ยื่นหนังสือต่อนายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา รองประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เพื่อคัดค้านการนำวาระร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชาเข้าสู่การพิจารณาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 190 (2) ในวันที่ 28 สิงหาคม

ม.ล.วัลย์วิภากล่าวว่า เครือข่ายขอคัดค้านกรณีที่รัฐสภาจะพิจารณาข้อตกลงของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เนื่องจากจะเป็นการนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ของกัมพูชา ทั้งนี้ น่าสังเกตว่าร่างข้อตกลงดังกล่าวรีบเสนอเข้ามาและมีการหมกเม็ด เลี่ยงบาลีหลายจุด ตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อเรียกการแก้ปัญหาจากเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องพื้นที่ระหว่างภูมะเขือกับช่องตาเฒ่า รวมไปถึงการบังคับให้ไทยต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ซึ่งหมายถึงว่าเป็นการยอมให้กัมพูชาได้ครอบครอง แม้แต่วันนี้คนไทยก็ไม่สามารถขึ้นไปที่ผามออีแดง ซึ่งเป็นเขตของไทยชัดเจนไม่ได้อยู่แล้ว

ขณะที่นายเทพมนตรีได้แสดงแผนที่ประเทศกัมพูชา ซึ่งมีตรายูเนสโกประทับไว้ด้านล่าง โดยอธิบายว่าเป็นแผนที่ที่กัมพูชาจัดทำขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เตรียมที่จะประกาศใช้หลังจากที่ยูเนสโกรับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก หลังวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 โดยแผนที่ดังกล่าวจะเปลี่ยนหลักหมุดที่ 73 ซึ่งอยู่ที่บ้านหาดเล็ก จ.ตราด ทำให้ปราสาทตาเมือนธมตกเป็นของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาเตรียมแผนที่จะประกาศเป็นมรดกโลกต่อจากปราสาทพระวิหาร รวมทั้งยังเปลี่ยนพิกัดในทะเลอ่าวไทยทำให้ไทยต้องสูญเสียบ่อน้ำมันขนาด 5.5 ล้านล้านบาเรล ซึ่งปัจจุบันแบ่งกับกัมพูชาในอัตราส่วน 80/20 จะกลายเป็น 20/80 ทันที

นายเทพมนตรีกล่าวต่อว่า วันที่ 25 สิงหาคม ตั้งแต่ 09.00 น. ที่อาคารรัฐสภา 2 จะมีการเสวนาเรื่องพื้นที่ 4.6 ตร.กม. โดยจะนำเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศที่ทำถึงสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ยอมรับว่าคณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาฝ่ายเดียว ทั้งที่วันที่ยูเนสโกลงมติคือ 7 กรกฎาคม 2551 แสดงว่ากระทรวงต่างประเทศรู้ผลการตัดสินล่วงหน้าแล้วแต่ไม่ดำเนินการอะไร ส่วนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปคัดค้านในการประชุมที่ประเทศสเปนนั้น ไม่พบหลักฐานว่ามีการคัดค้านจริง มีแต่การให้สัมภาษณ์ของนายสุวิทย์เท่านั้น แต่ข้อมูลของตนคือนายสุวิทย์กลับไปเซ็นชื่อรับรองให้กระบวนการขึ้นทะเบียนเดินหน้าต่อไปได้
"ตั้งแต่นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ไปลงนามแถลงการณ์ร่วมยอมรับให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ฝ่ายเดียว หลังจากนั้นแม้เปลี่ยนรัฐบาลแต่กระบวนการต่างๆก็ดำเนินการต่อไป นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่เอาใจใส่กับเรื่องนี้ ส่วนนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เคยมีท่าทีแข็งกร้าวบนเวทีพันธมิตรก็ไม่สนใจเมื่อผมนำเอกสารไปให้อ่าน อ้างว่าเอาลืมไว้ที่บ้านไม่ยอมอ่าน ผมคิดว่าถ้านายกษิตปกป้องอธิปไตยของชาติไม่ได้ก็ควรลาออกไป" นายเทพมนตรีกล่าว

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

งัด กม.มั่นคงคุม นปช.


จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ปีที่ 10 ฉบับที่ 2614 ประจำวัน อังคาร ที่ 25 สิงหาคม 2009
รัฐบาลอ้างจำเป็นต้องควบคุมให้เกิดความสงบ

รัฐบาลงัดกฎหมายความมั่นคงควบคุมการชุมนุมของคนเสื้อแดง ชงคณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดรายละเอียดข้อบังคับและพื้นที่ที่จะประกาศใช้วันนี้ (25 ส.ค.) อ้างจำเป็นต้องควบคุมไม่ให้เกิดความวุ่นวายเพราะมีบางกลุ่มจ้องทำให้เกิดเงื่อนไขรุนแรง เชื่อต่างชาติเข้าใจไม่กระทบภาพพจน์ประเทศ “มาร์ค” ส่งสัญญาณตำรวจถอนประกันแกนนำเสื้อแดง “บิ๊กบัง” เชื่อไม่มีเหตุแทรกซ้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ โต้บ้านเมืองวุ่นวายทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะ คมช. ทำงานไม่เบ็ดเสร็จ ฟุ้งแก้ปัญหาไปมากแล้ว หากไม่แก้จะยุ่งกว่านี้หลายเท่า

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 30 ส.ค. นี้ว่า ทราบมาว่ามีบางกลุ่มต้องการสร้างความวุ่นวาย ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชน จึงได้มอบหมายให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปดูวิธีการที่จะควบคุมให้เกิดความสงบ ไม่ให้มีการทำผิดกฎหมาย และต้องการให้การบริหารงานต่างๆเป็นไปตามปรกติ ต้องเข้าทำงานในทำเนียบรัฐบาลได้ตามปรกติ

ส่วนการชุมนุมจะยืดเยื้อหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า มีบางกลุ่มเจตนาให้ยืดเยื้อ อย่างไรก็ตาม การชุมนุมยืดเยื้อหรือไม่ไม่ใช่ปัญหา หากไม่มีการทำผิดกฎหมาย ก่อความวุ่นวาย

ส่งสัญญาณถอนประกันเสื้อแดง

“มีกระบวนการทางกฎหมายหลายช่องทางที่ดำเนินการได้ ซึ่งกำลังดูอยู่ เพราะหลายคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องยังมีคดีจากคราวที่แล้ว และที่ให้ประกันตัวออกมามีเงื่อนไขชัดเจนว่าจะต้องไม่ก่อความวุ่นวายอีก ส่วนจะดำเนินการอย่างไรเป็นหน้าที่ของตำรวจ เพราะตำรวจมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า ไม่ได้เตรียมสถานที่สำรองสำหรับทำงานไว้ เพราะเข้าใจว่าในหมู่ผู้ชุมนุมก็ยังไม่ลงตัวเรื่องระยะเวลาและสถานที่

“ผมต้องถามว่าคนที่คิดอย่างนี้ต้องการอะไร เพราะคนที่สูญเสียที่สุดคือประชาชนทั่วไป หากประเทศเสียภาพลักษณ์ หากเราไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ ปัญหาเศรษฐกิจก็แก้ไม่ได้” นายอภิสิทธิ์กล่าว

ไม่คิดเจรจาเพราะไม่มีประโยชน์

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีแนวคิดจะเจรจากับแกนนำคนเสื้อแดงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าเขาจะคุย คุยแล้วมีความหมายอะไร เพราะขนาดสิ่งที่เขาประกาศเอง เช่น เมื่อถวายฎีกาแล้วจะยุติการชุมนุม ก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างที่ได้ย้ำมาแต่ต้นว่ามีบางคน บางกลุ่มมีเป้าหมายแอบแฝงชัดเจน เขาต้องพยายามเดินไปจุดนั้น ซึ่งเสียหายกับบ้านเมืองมาก

เตรียมใช้ พ.ร.บ.มั่นคงคุมการชุมนุม

เมื่อถามว่าวันที่ 30 ส.ค. นี้จะใช้กฎหมายความมั่นคงดูแลสถานการณ์ด้วยหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวยอมรับว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง ตอนนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะดูจากข้อเท็จจริงและข่าวที่จะรายงานเข้ามา อย่างไรก็ตาม ต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 25 ส.ค. ก่อนที่จะประกาศใช้

ไม่ห่วงภาพลักษณ์ประเทศเสีย

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าการใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความมั่นคงควบคุมการชุมนุมทางการเมืองจะมีปัญหาต่อภาพลักษณ์ของประเทศหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คิดว่าไม่ เพราะเราได้ใช้ที่ภูเก็ตในการประชุมผู้นำอาเซียนมาแล้ว เท่ากับได้ทำความเข้าใจกับต่างชาติเรื่องกฎหมายนี้ไปแล้วว่ามีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ

เร่งชง ครม. พิจารณาให้เสร็จทันใช้

“รัฐบาลมีหน้าที่บริหารจัดการให้เกิดความเรียบร้อย มีเครื่องมืออะไรต้องนำมาใช้ การใช้ต้องอยู่ใต้กรอบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ถ้ายึดตามแนวทางนี้ต่างประเทศเขารับได้อยู่แล้ว” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า เรื่องการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงจะต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง เพราะตามกฎหมายต้องเลือกสถานที่ประกาศใช้ และจะต้องมีการมอบหมายอำนาจ เรื่องการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าจะประกาศห้ามเรื่องไหน อย่างไรบ้าง ในการประชุม ครม. วันอังคารนี้จะพยายามทำให้เสร็จทัน

อ้างต้องรักษาความสงบไว้ให้ได้

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จำเป็นที่ต้องตัดสินใจวางแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความวุ่นวาย เช่น อาจต้องประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงหรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะต้องรักษาความสงบไว้ให้ได้

ตั้งสมมุติฐานเกิดความยุ่งยาก

“ดูจากท่าทีของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ประกาศออกมา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจนำไปสู่ความยุ่งยากในบ้านเมือง ถ้าคนเสื้อแดงออกมาชุมนุมโดยสงบไม่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย เป็นการแสดงออกทางระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องไม่ขัดข้อง แต่ถ้ามาแล้วปิดล้อมสถานที่ไม่ให้คนเข้าไปทำงานในทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา หรือไปล้อมสถานที่ราชการต่างๆ ถือว่าไม่ใช่การแสดงออกทางประชาธิปไตยที่ถูกต้อง”

“บิ๊กบัง” เชื่อไม่มีอำนาจแทรกซ้อน

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กล่าวว่า จากที่ฟังนายกรัฐมนตรีชี้แจงถึงการดูแลสถานการณ์การชุมนุมแล้วเห็นว่าไม่น่ากังวล และเชื่อว่าไม่น่าจะมีอำนาจนอกกฎหมายแทรกซ้อนเข้ามา จึงไม่น่าจะบานปลาย

มั่นใจดูคนออกไม่มีปฏิวัติแน่

“ผมเชื่อว่าไม่มีเงื่อนไขอะไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ ไม่น่าจะมีเรื่องกองทัพทำอะไรนอกรัฐธรรมนูญ ผมดูคนออก เชื่อว่าไม่มี” พล.อ.สนธิกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าที่บ้านเมืองมีปัญหาทุกวันนี้เพราะ คมช. ทำไม่จบใช่หรือไม่ พล.อ.สนธิกล่าวว่า ไม่ใช่ ต้องสาวต่อไปให้ดีๆ ที่ผ่านมาแก้ปัญหาไปเยอะแล้ว ไม่เช่นนั้นจะแย่ยิ่งกว่านี้ และแนวทางต่างๆที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ถือว่าถูกต้อง เพียงแต่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน

ส.ว.ค้านบันทึก กมธ.เขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา นักวิชาการชี้ ครม.ยกเลิกมติสมัย"สมัคร"

ส.ว.เตรียมค้านบันทึกกมธ.เขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา นักวิชาการ ย้ำต้องออกมติครม.ยกเลิกมติครม.สมัย"สมัคร"ให้ "นพดล" หนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนพระวิหารมรดกโลก

ที่รัฐสภา คณะกรรมการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ร่วมกับภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร จัดเสวนาเรื่อง “แผ่นดินเขาพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร บทพิสูจน์ศักดิ์ศรีและอธิปไตยของไทย” โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการไม่เห็นด้วยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอรัฐสภาให้ลงมติเห็นชอบบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ในวันที่ 28 สิงหาคม

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงชั่วคราวที่ให้ทหารของไทยและกัมพูชาถอนกำลังออกมาจากวัดแก้วสิขาคีรีสะวารา เพราะดูเผินๆเหมือนเป็นข้อเสนอที่ดี แต่ความจริงไม่ใช่ เนื่องจากทหารของกัมพูชายังวางกำลังไว้ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งไทยไม่มี เท่ากับไทยกำลังเสียเปรียบ นอกจากนี้ยังทราบมาว่า เบื้องต้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชาว่า จะขอพบกันคนละครึ่งทางในเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร โดยแบ่งคนละครึ่ง 2.3 ตารางกิโลเมตร ในฐานะคนไทยไม่เห็นด้วยเด็ดขาดเพราะพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนแต่เป็นพื้นที่ของประเทศไทย

นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา แกนนำ 40 ส.ว. กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลไปยอมรับเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร จะทำให้ไทยเหลือความเป็นเจ้าของเพียง 50 % ทั้งที่เป็นของไทยทั้งหมด ถ้าประสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์และไทยยอมให้คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Com mittee หรือ ICC) เข้ามาจัดการ ก็จะมีปัญหาตามมาอีกมากทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชนว่า ชาวบ้านที่อยู่ในแถวนั้นต้องการหรือไม่

“ผมไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และการประชุมร่วมรัฐสภาวันที่ 28 สิงหาคมนี้ ผมจะคัดค้านแน่นอน และจะถามรัฐบาลหลายประเด็นถึงสิ่งที่มีความไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการแถลงการณ์ร่วมไทยกับกัมพูชาว่าสรุปแล้วมีการยกเลิกแล้วหรือไม่ นอกจากนี้สิ่งที่รัฐบาลเสนอเข้ามาให้รัฐสภาพิจารณาเป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ เพราะส่งเข้ามาเพียงแค่บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทยกัมพูชาเท่านั้น นอกจากนี้ ผมกลัวว่า รัฐบาลจะอ้างเรื่องความมั่นคงและให้ประชุมลับ จะทำให้สาธารณะไม่ทราบขอเท็จจริงเลย” นายคำนูณ กล่าว

ด้านนายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ที่ผ่านมาศาลโลกไม่ได้ชี้ขาดเส้นเขตแดนตามที่กัมพูชาเสนอเข้ามา เพียงแต่วินิจฉัยว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ อย่างไรก็ดี ไทยไม่ได้สละอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่หรือยอมรับอธิปไตยของกัมพูชา บริเวณนี้จึงเป็นพื้นที่เดียวที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ต่อมาในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 ไทยได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนอย่างชัดเจนและกระทันหันโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และ กรมแผนที่ทหาร ได้พร้อมใจยอมรับนับถืออำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร โดยไทยได้ออกแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชาลงนามโดยนายนภดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศของไทยและรองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งเป็นเอกสารประกอบการเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวโดยไทยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

“ขณะนี้ผมจึงขอเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้ ออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน และ 24 มิถุนายน ที่สนับสนุนให้ขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก รวมทั้งเร่งผลักดันให้มีการยึดสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามหลักสากล” นายเทพมนตรี กล่าว

นายอิศร ปกมนตรี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ตอนนี้กระทรวงต่างประเทศไม่ได้อยู่บนหอคอยงาช้างไม่สนใจปัญหาที่เกิดขึ้น แต่รับฟังความเห็นประชาชนและรับทราบปัญหามาโดยตลอด ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศพร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามมติของรัฐสภาและประชาชน

ทักษิณ กลับบ้าน.?



โดย จักรภพ เพ็ญแข

ที่มา หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ “แนวร่วม Red”

ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๗25 สิงหาคม 2552
คนไทยที่รู้การเมืองไทยจะไม่ยอมให้คุณทักษิณกลับมาเป็นเป้าปืนของเขาเป็นอันขาด..ระเบิดเครื่องบินการบินไทย วางแผนลอบสังหาร ๘ ครั้ง รวมทั้งกะฆ่าหมู่คนไทยที่บางพลัดเมื่อรถของคุณทักษิณแล่นผ่าน ไม่พออีกหรือครับ ที่จะเรียนรู้ว่าฝ่ายนี้เขาเจตนาฆ่าคุณทักษิณโดยไม่มีความคิดที่จะเจรจาใดๆ ด้วยเลย หมู่นี้พูดกันบ่อยจริงเรื่องคุณทักษิณจะกลับบ้าน อยากให้พี่น้องตื่นเต้นเร่งลงชื่อในฎีกา ก็บอกว่าเพื่อให้คุณ


ทักษิณได้กลับบ้าน จะเอาฎีกาไปยื่นที่สำนักพระราชวัง ก็เรียกคนมาชุมนุมกันที่สนามหลวงและบอกเป็นนัยๆ ว่าเพื่อคุณทักษิณจะได้กลับบ้าน หรือกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีเสียด้วยซ้ำ แค่ชาวเสื้อแดงมากันให้มากเข้าไว้เป็นได้การ พูดย้ำซ้ำทวนกันจนชาวประชาธิปไตยที่นิยมคุณทักษิณค่อนประเทศเชื่อเอาจริงๆ ว่ากระบวนการขั้นตอนในการเอาชนะพวกปล้นประชาธิปไตย จะง่าย สั้น จบ อย่างสวยงามอย่างที่พูดกัน ผมก็คนหนึ่งล่ะครับที่อยากเห็น พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้าน


อยากเห็นท่านเข้ามากอบกู้บ้านเมืองที่ถูกอำมาตย์มันปล้นทำลายไป แต่ผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนที่พร่ำพูดเช่นนั้นเอาเหตุผลอะไรมาอธิบายว่าความหวังของเราจะเป็นจริง การให้กำลังใจกันนั้นก็เป็นเรื่องดีและควรทำครับ แต่อย่าเตลิดไปจนสร้าง “ความฝัน” ขึ้นมาแทน “ความหวัง” จนกลายเป็นฝันสลายไป ดร.ทักษิณฯ นำพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาด ๒ ครั้ง


เป็นปรากฏการณ์แรกนับแต่ฝ่ายประชาธิปไตยโค่นเผด็จการแบบเก่าได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๕ และนำพรรคพลังประชาชนจนได้รับชัยชนะอีกครั้งในระหว่างที่บ้านเมืองอยู่ในเงารัฐประหารและรัฐบาลอำมาตย์ ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ สร้างฐานสมาชิกพรรคไทยรักไทยเป็นประวัติการณ์เกือบ ๒๐ ล้านคน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งราว ๔๐ ล้านทั่วประเทศ และได้รับคะแนนนิยมสูงกว่านายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งทุกคน วัดผลทีไรก็ไม่มีใครเถียงว่ามีผลงานจับใจประชาชนมากที่สุด


จนทำให้ประชาธิปไตยที่คุณทักษิณดูแลกลายเป็นสิ่งมีชีวิตและกินได้ แต่แล้ว...เขาก็หักดิบเอาตรงๆ เมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ในนาม คปค. / คมช. โดยไม่เกรงใจประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว ถามจริงๆ เถิดครับ เสียงในฎีกา ๖ ล้าน ซึ่งเป็นเสียงสวรรค์โดยแท้ไม่มีใครเถียงได้ จะไปคัดง้างอะไรกับคนชนิดนี้?ได้เคยคิดกันบ้างไหมครับ เห็นขึ้นมารุมด่าพลเอกเปรม พลเอกพิจิตร นายอภิสิทธิ์ นายบวรศักดิ์ ฯลฯ เป็นหมูเป็นหมา สนุกเสียไม่มี สะใจเป็นบ้า


ในที่สุดก็บอกกับพี่น้องประชาชนว่า ด่าไอ้พวกเลวชาติแบบไม่ต้องให้มันได้ผุดได้เกิดกันเลย เพื่อเราจะได้เกิดใหม่ทางการเมือง คนดูโห่ร้องกึกก้องเพราะนึกว่าเราจะได้รับชัยชนะแน่นอนแล้ว ไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ครับว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยหมายถึงใครและอะไรบ้าง เล่าเรียนกันมาทางไสยศาสตร์ขนาดไหน ถึงประกาศกลางเมืองว่าจะแยกผีออกจากสางมิน่าเล่า...


ถึงได้ถูกหลอกจนหัวโกร๋นแล้วโกร๋นอีก บางคนเคยถูกเขาหลอกมาครั้งหนึ่งตอนอายุสี่สิบเศษๆ ดันยอมถูกหลอกอีกครั้งในวัยหลังหกสิบ แล้วมาลากเอาคนเป็นล้านๆ เข้าไปในป่าช้าเพื่อจะถูกหลอกด้วย เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันใย? บอกด้วยความรักและหวังดีต่อกันว่า การหาความเป็นธรรมจากคนหน้าด้านที่ชำนาญเกมรักษาอำนาจ ยากกว่าการแงะเศษกระดูกออกจากปากสุนัขมากนัก ชอบอ่านประวัติศาสตร์การเมืองไทย


ทำไมจงใจอ่านข้ามตอนนี้ไปเสียล่ะครับ?พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ผู้นำสายทหารในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๕๗๕ ถึงกับต้องทำรัฐประหารซ้ำสองในปีรุ่งขึ้นเพื่อปราบปราม “ซากเดนศักดินา” ที่ผ่านร่างทรงเก่าๆ ของผีร้ายตัวเดิมเข้ามาทวงอำนาจคืน เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ผู้ได้รับเชิญเป็นประธานกรรมการราษฎร หรือนายกรัฐมนตรีคนแรกหลังการปฏิวัติ เป็นต้น แล้วคนรักพระยาพหลฯ ในบ้านเมืองนี้


ทำไมถึงได้ยืนด่าซากเดนศักดินาโดยไม่ยอมบอกมวลชนที่รักและเชื่อถือตัวเองว่า ซากเดนเหล่านั้นกระเด็นออกมาจากตรงไหน? หรือวันนี้เพลิดเพลินกับอำนาจใหม่ และการฟื้นคืนชีพทางการเมือง จนฝันจะเป็นพระยามโนฯ ขึ้นมาเอง โดยลืมเกียรติยศของเจ้าคุณพหลฯ เสียแล้ว?เป็นอย่างนั้นไปแล้วหรือครับพระคุณท่าน?การถวายฎีกาในครั้งนี้ไม่ต่างอะไรจากกระบวนการขั้นตอนที่เคยมีมา ไม่อาจลบประวัติศาสตร์ ๑๔ ตุลาคมที่คนเดือนพฤษภาบางคนที่มีปมด้อยพยายามจะลบ และอย่าเอาไปฝันเองว่าเป็นวีรกรรมใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าวีรกรรมทั้งหลาย


นี่คือการใช้ช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่ายังอยู่กันได้เท่านั้นเองครับ ใครจะหวังได้ดีอย่างไรจากงานนี้ โปรดอย่าลืมว่าประชาชนของเราเดือดร้อนกันมามากกว่าสี่ปีแล้ว อย่าไปเล่นสนุกกับความฝันและความหวังของท่านทั้งหลายเหล่านี้เป็นอันขาด บาปหนักและขบวนการประชาธิปไตยจะถูกทำลายเกลี้ยง หยุดพูดเถอะครับว่า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะกลับบ้านในเร็ววันนี้ เหตุการณ์บ้านเมืองจะพลิกไปอย่างไรก็ตามหลังฎีกา


คนไทยที่รู้การเมืองไทยจะไม่ยอมให้คุณทักษิณกลับมาเป็นเป้าปืนของเขาเป็นอันขาด ระเบิดเครื่องบินการบินไทย วางแผนลอบสังหาร ๘ ครั้ง รวมทั้งกะฆ่าหมู่คนไทยที่บางพลัดเมื่อรถของคุณทักษิณแล่นผ่าน ไม่พออีกหรือครับ ที่จะเรียนรู้ว่าฝ่ายนี้เขาเจตนาฆ่าคุณทักษิณโดยไม่มีความคิดที่จะเจรจาใดๆ ด้วยเลย อยากให้คุณทักษิณกลับมาตายเมืองไทย หรือเตรียมเป็นนายกรัฐมนตรีในยามปลอดภัยและช่วยชาติได้เต็มที่ เป็น


ทางเลือกที่คนไทยหลายคน และตัวผมเองไม่ยอมเลือกเป็นอันขาด คนที่เรียกร้องให้คุณทักษิณกลับบ้านโดยอะไรต่างๆ มันไม่ได้ดีขึ้นเลยนั้น เหมือนคนที่อยากเห็นคุณทักษิณกลับไปตายเหมือนวุฒิสมาชิกเบนิญโญ อาคิโนของฟิลิปปินส์ คุณทักษิณท่านไม่กลัวตายหรอกครับ ผู้นำคนนี้กล้า ผมได้เห็นมาหลายครั้งแล้ว แต่เราต่างหากที่เป็นฝ่ายกลัวคุณทักษิณจะเป็นอะไรไป เพราะเรารู้ว่าบ้านเมืองจะสูญเสียอะไร.-----------------------------------

TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน)Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเมืองของมวลชนหลังถวายฎีกา

การเมืองของมวลชนหลังถวายฎีกา

นักปรัชญาชายขอบ


“...การเมืองไทยได้คลี่คลายมาสู่การเมืองของมวลชนมากขึ้น ข้อนี้ใครๆ ก็เห็นได้อยู่แล้ว การดำเนินการทางการเมืองจึงเปลี่ยนไป และหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงคือความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์ การถวายฎีกาด้วยคลื่นมหาชนเช่นนี้นับเป็นครั้งแรกของความสัมพันธ์ใหม่ ที่ปรากฏให้เห็นได้ในการเมืองแบบมวลชน

...การรณรงค์ตอบโต้ว่าผิดกฎหมายก็ตาม, "ดึงฟ้าต่ำ" ก็ตาม, "หินแตก" ก็ตาม หรือแม้แต่การตั้งโต๊ะให้ถอนชื่อก็ตาม นอกจากไม่ประสบความสำเร็จที่จะยับยั้งฎีกาได้แล้ว ยังมาจากความพยายามที่จะดึงการเมืองไทยให้จำกัดอยู่บนเวทีของชนชั้นนำตามเดิม อันเป็นความพยายามที่ฝืนธรรมชาติของพัฒนาการทางการเมืองในเศรษฐกิจทุนนิยม”
(นิธิ เอียวศรีวงศ์,มติชนรายวัน, 10 /08/2552 น.6)

ข้อเขียนของนิธิข้างต้นนี้สะท้อนให้เห็นว่า เหตุผลของฝ่ายคัดค้านการถวายฎีกาช่วยทักษิณที่อ้างว่าเป็นการ “กดดัน” หรือ “กระทบกระทั่ง” สถาบันนั้น เป็นเหตุผลที่เกิดจากความไม่เข้าใจการเมืองไทยที่เปลี่ยนแปลงมาสู่การเมืองของมวลชนมากขึ้น ที่ทำให้ “การดำเนินการทางการเมืองจึงเปลี่ยนไป และหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงคือความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์”

ขยายความต่อก็คือ ใน “ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับสถาบันพระมหากษัตริย์” คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การเมืองของมวลชนจะกระทบกระทั่งหรือกดดันสถาบันกษัตริย์ในแง่ใดแง่หนึ่ง ดังที่เราเห็นในกรณีถวายฎีกาขอนายกฯตามมาตรา 7 และฎีกาช่วยทักษิณในขณะนี้

ดังนั้น ถ้าเราตามทันพัฒนาการทางการเมืองของมวลชน ประเด็นที่เราจะต้องปกป้อง (defend) จึงไม่ใช่การห้ามไม่ให้การเมืองของมวลชนกระทบกระทั่ง หรือกดดันสถาบัน เพราะในระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง ย่อมไม่มีสถาบันใดๆสมควรอยู่เหนือการกระทบกระทั่งหรือการกดดันจากการเมืองของมวลชน หรือ “การเมืองภาคพลเมือง”

ในทางกลับกัน สถาบันทางสังคมการเมืองใดๆก็ต้องมีความพร้อมที่จะเผชิญกับการกดดันกระทบกระทั่งอย่างใช้ปัญญา และใช้วิธีการตอบโต้ตามครรลองของประชาธิปไตยอย่างมีจิตสำนึกที่เคารพต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง

ประเด็นที่เราต้องปกป้อง จึงได้แก่ การส่งเสริมให้การเมืองภาคพลเมืองมี “ช่องทาง” ตามกฎหมาย มีวุฒิภาวะและมีพลังในการกดดันสถาบันใดๆก็ได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม การเคารพสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และสิ่งที่ดีอื่นๆตามครรลองของประชาธิปไตย และเราต้องปฏิเสธความพยายามใดๆที่จะ “ดึงการเมืองไทยให้จำกัดอยู่บนเวทีของชนชั้นนำตามเดิม”

ดังนั้น การเมืองของมวลชนหลังถวายฎีกา จึงควรเดินต่อไปดังนี้

1.ต้องแสดงให้เห็นว่า “มวลชนใช้ทักษิณ” ไม่ใช่ “ทักษิณใช้มวลชน” โดยมวลชนเสื้อแดงจะต้องชูยุทธศาสตร์ประชาธิปไตยที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับของอำมาตย์ การนำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาและแก้ไขจุดอ่อน การกำหนดแนวทางรัฐสวัสดิการ ต้องกดดันให้ทักษิณและพรรคการเมืองที่สนับสนุนทักษิณ (หรือพรรคการเมืองใดๆที่ต้องการเสียงสนับสนุนจากประชาชน) สร้างนโยบายที่เป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าว

ทักษิณและพรรคการเมืองที่สนับสนุนทักษิณจะได้รับการสนับสนุนจากมวลชน ไม่ใช่ด้วยการสร้างฝันลมๆแล้งๆ เช่น การเปิดสถานีโทรทัศน์ 100 ช่อง การจะกลับมาเป็นนายกฯทำให้คนรากหญ้าหายจน ฯลฯ โดยไม่แสดงให้เห็นนโยบายใหม่ๆที่เป็นรูปธรรมใดๆที่สามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าว

2.ต้องเสนอแนวทางปฏิเสธอิทธิพลทางการเมืองของ “พรรคข้าราชการ” หรืออำมาตยาธิปไตย เช่น เสนอให้มีกฎหมายห้ามทำรัฐประหาร และให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ มีระบบการกระจายอำนาจจนถึงระดับชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีอำนาจดูแลตนเองให้มากที่สุดทั้งในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุข สาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.การเมืองภาคพลเมืองจะต้องสร้างพลังกำกับตรวจสอบพรรคการเมือง นักการเมืองอำมาตย์หรือชนชั้นนำต่างๆให้พ้นไปจากการช่วงชิงอำนาจรัฐในรูปแบบวัฒนธรรม “สมบัติผลัดกันชม” มาเป็นการแข่งกันสร้างนโยบาย (และทำตามนโยบาย) เพื่อตอบสนองความต้องการของการเมืองภาคพลเมือง

4.การเมืองภาคพลเมืองจะมีอายุยืนยาวหรือมีพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสร้างสรรค์ ก็ต่อเมือมีการเสร้างเครือข่าย ขยายเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ (ที่มากกว่าการชุมนุม) และจำเป็นต้องสร้างอุดมการณ์ร่วมในเรื่องรัฐสวัสดิการ พร้อมกับสร้างการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจริงจังถึงแนวทางที่เป็นไปได้ที่จะบรรลุอุดมการณ์ดังกล่าว

กล่าวโดยสรุป ทางออกของวิกฤตการเมืองคือทางเดินต่อย่างสร้างสรรค์ของการเมืองของมวลชน หรือการเมืองภาคพลเมือง ที่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน และสามารถกำกับ ถ่วงดุล ตรวจสอบ สถาบันทางการเมืองต่างๆให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นธรรม และรัฐสวัสดิการ

โดยมวลชนจะต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของนักการเมือง พรรคการเมือง หรือฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ แต่ต้องสามารถใช้นักการเมือง พรรคการเมือง หรือฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของมวลชน หรือของประชาชนส่วนรวม

ทำไมยังโหยหาถึงแต่"ทักษิณ"

วันจันทร์ 24 สิงหาคม 2009 — chapter 11
Why they still long for ThaksinAugust 16, 2009
ที่มา – Philippine Daily Inquirerแปลและเรียบเรียง – chapter 11

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ผู้นำต่างๆของประเทศไทยปฎิเสธที่จะทำความเข้าใจ และจัดการกับปัญหาที่แบ่งแยกประเทศออกเป็นฝ่าย “เสื้อแดง” และ ฝ่าย “เสื้อเหลือง” ซึ่งเป็นอันตรายสำหรับพวกเขาเอง

ช่างคล้ายกับประเทศฟิลิปปินส์ อำนาจในประเทศไทยตกอยู่ในกำมือของศักดินาหัวโบราณ ซึ่งคุมสถาบันต่างๆและดำเนินการในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่า จะปกป้องผลประโยชน์ให้กับตัวเองโดยไม่แยแสถึงประชาชนจำนวนมากซึ่งยากแค้น และแทบจะหมดหนทางหรือไม่มีทางที่จะได้เข้าถึงอำนาจทางการเมือง

ไม่ว่าทักษิณจะเข้ามามีอำนาจจากการโกหกและการหลอกลวงตามที่รัฐบาลปัจจุบันกล่าวอ้าง อดึตนายกรัฐมนตรีที่กำลังลี้ภัยทักษิณ ชินวัตร สามารถเปลี่ยนแปลงสมการนั้นได้ชั่วคราว ถึงแม้จะอยู่ในระหว่างการลี้ภัย ทักษิณยังคงย้ำเตือนความจำให้กับผู้สนับสนุนในชนบท ให้คิดถึงคุณประโยชน์ที่ได้เคยทำไว้ให้กับพวกเขา และปลุกจิตสำนึกให้พวกเขารู้ว่า อำนาจเป็นพวกเขาเองและพวกเขาเองเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้

ทักษิณ แม้จะถูกรัฐบาลถากถางเหน็บแนมว่า “เป็นคนที่โกงกินและใช้อำนาจในทางผิดมากที่สุด” กลับกลายเป็นสัญญลักษณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตย

ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน ผู้อำนวยการศูนย์แคโรไรนาเอเซีย ภาควิชาเอเซียศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไรนา แห่งสหรัฐอเมริกากล่าวไว้ว่า “ทักษิณอาจจะกลับไทยไม่ได้ ผมไม่คิดว่าทักษิณจะมีอนาคตทางการเมืองในประเทศไทย แต่ขณะนี้ปัญหาคือ ทักษิณเป็นตัวแทนของอะไร”

นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐสภา หลังจากตุลการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งกองทัพเป็นผู้แต่งตั้งขี้นมา เป็นตัวการสำคัญในการยุบรัฐบาลถึงสองครั้ง ที่นำโดยพรรคการเมืองนิยมทักษิณที่ได้รับชัยชนะเข้ามาจากการเลือกตั้งอย่างใสสอาด

เสื้อแดงต่างคับแค้นใจที่ตัวแทนที่พวกเขาได้เลือกเข้าไป ถูกโค่นล้มซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากคำสั่งของศาลซึ่งถูกมองว่า ไม่มีความยุติธรรม และ ไม่เป็นประชาธิปไตย

ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน กล่าวว่า “ถ้าขืนเรื่องแบบนี้ยังเกิดขี้นบ่อยๆ ถ้าคะแนนเสียงของพวกเขากลายเป็นโมฆะ ถ้าเมื่อไรพวกเขารู้สึกว่าไม่มีหนทางชนะ เมื่อนั้นแหละจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงขี้นได้”
นอกเสียจากว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถจัดให้มีการเลือกตั้ง แล้วผู้ที่เสื้อแดงลงเสียงให้พ่ายแพ้ ซึ่งการเลือกตั้งดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยุติธรรมมากที่สุด

มิฉะนั้นแล้ว ความคับแค้นใจจะทับถม และพวกเขาจะหันไปใช้วิธีการลุกฮือขี้นมา ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรงได้

ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน อธิบายถึง ประวัติของความเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่ต้นจนจบว่า “ผู้ที่มีอำนาจ ผู้ที่มีเงิน” ควรแลกเปลี่ยนอำนาจในมือเพียงเล็กน้อยให้กับชนชั้นล่างของสังคม อันจะเป็นหนทางป้องกันไม่ให้เกิดการลุกฮือขี้นมาได้ หรือพวกเขาจะทำวิธีใดก็ได้ที่จะทำให้ประชาชนคิดว่า พวกเขาได้แบ่งปันอำนาจแม้ว่าไม่ได้แบ่งจริงๆ

อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ เควิน เฮวิสัน ไม่คิดว่าศักดินาในประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ จะยอมประนีประนอมในการแบ่งอำนาจกับมวลชน เขากล่าวอีกว่า ศักดินาอยากที่จะคุมอำนาจไว้กับตัวเองมากกว่าจะแบ่งปัน

เขากล่าวว่า “พวกเขา (คนไทยทั้งหลาย) จะต้องหาวิธีประนีประนอมให้กับพวกที่ถูกริดรอนสิทธิ ซึ่งแท้จริงแล้วพวกเขาต้องมีส่วนในการตัดสินใจด้วยเช่นกัน ถ้าคนไทยไม่สามารถหาหนทางเพื่อให้เกิดการประนีประนอมกันได้ ผมคิดว่า คนไทยเองนั่นแหละ ที่จะต้องตกอยู่ในสภาพลำบาก ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า พวกศักดินาจะยอมหรือเปล่า”

นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมคนไทยจึงได้รู้สึกวิตกว่าทักษิณ และผู้สนับสนุนจะสร้างความไม่สงบบนท้องถนนอีกครั้ง หรืออาจจะรุนแรงมากไปกว่านั้น

วีรบุรุษ ที่หายไป


ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ผมต้องเก็บตัว เป็นจังหวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทุกอย่างมันประดัง คนพวกเดียวกันมันทำร้ายพวกเรากันเอง ถือว่ามันขัดอุดมการณ์ของผม คนพวกเดียวกันทำร้ายด้วยกันเอง เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ หากเป็นข้าศึกคงไม่ว่าอะไร เพราะข้าศึกไม่เคยทำร้ายพวกเรา”เสียงจากนายพล “ไซซ์เอส” คนเดิม พล.อ.สพรั่งกัลยาณมิตร ที่ระบายความในใจต่อสถานการณ์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ “บิ๊กพรั่ง” เจ็บปวดมากที่สุด

คือการเปลี่ยนแปลงของเพื่อนที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกันการออกมาเผยความในใจของชายชาติทหารผู้นี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติบางอย่างในกลุ่มเพื่อน คมช.ที่ไม่เหมือนเดิมจนไม่อาจกลับไปเป็นเหมือนเดิมที่จะนั่งล้อมวงจิบกาแฟปรับทุกข์ฉันมิตรเหมือนเช่น 3 เดือนแรกของการหมดสิ้นอำนาจ คมช.แต่การออกมาสู่สังคมสาธารณะของ “บิ๊กพรั่ง” ในครั้งนี้เหมือนจะฝากคำพูดผ่านสื่อไปยังอดีต คมช. ที่กำลังจะแหย่เท้าลงวิ่งในสนามการเมือง ที่ครั้งหนึ่ง คมช. เป็นผู้ลบประวัติศาสตร์การเมือง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ คมช. (Council of National Security - CNS) เป็นคณะบุคคลที่แปรสภาพมาจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคมช.

ประกอบด้วย
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข รองประธาน คมช.
พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ สมาชิก คมช.
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ สมาชิก คมช.
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส สมาชิก คมช.
พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ
คมช.พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยเลขาธิการ คมช.

และคงยังจำกันได้ สำหรับประโยคที่สุดแสนจะคลาสสิก“ขณะนี้ประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติอย่างสมบูรณ์ตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 คมช. จึงขอจบภารกิจ

พร้อมทั้งขอขอบคุณประชาชนทุกคนในโอกาสที่ คมช. สิ้นสุดหน้าที่ และฝากความหวังไว้กับรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ให้ทำทุกอย่างภายใต้เจตนารมณ์แก้ไขปัญหาประเทศชาติ”คมช. นำโดย “บิ๊กต๋อย” พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข แถลงข่าวจบภารกิจ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551นั่นคือสิ่งที่คนไทยหลายคนจดจำได้

ขณะที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เจอมรสุมทางการเมืองมากเท่าใด ยิ่งทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าเมืองไทย
กำลังจะได้เห็นพรรคการเมืองและนักการเมืองน้องใหม่(แต่)หน้าเก่า กำลังแต่งองค์ทรงเครื่องรอจังหวะ “สนามเลือกตั้ง” เปิดให้ลงชิงชัยกันมากหน้าหลายตาและในบรรดานักการเมืองน้องใหม่ที่ว่านี้ ก็ย่อมหนีไม่พ้นอดีตนายทหารจากคณะปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 อย่าง “บิ๊กบัง”พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีต ผบ.ทบ. และประธาน คมช.ที่เบนเข็มจากนักศึกษารัฐศาสตร์ การเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง มาศึกษา

งานด้านการเมืองโดยเลือกศึกษาในพรรคการเมืองถิ่นสะตอที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ แต่เป็นพรรคน้องใหม่อย่าง “มาตุภูมิ”ที่เปิดตัวไปแล้วเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาทว่า “บิ๊กบัง” จะยังแบ่งรับแบ่งสู้ตามสไตล์ “ลับ ลวง พราง”อยู่ก็ตาม จึงยังไม่รู้ซะทีว่าตกลงแล้ว อดีตประธาน คมช.จะสานต่อภารกิจล้มระบอบทักษิณหรือไม่หรือจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบอบ

ยังไม่มีคำถามที่ชัดเจนจากปาก พล.อ.สนธิ ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มทวีความร้อนแรงด้วยสีของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ออกมาถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรรวมทั้งเตรียมออกมาเคลื่อนไหวล่ารายชื่อประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลอภิสิทธิ์จึงไม่แปลกที่นายทหารร่างเล็กต้องออกมาแสดงความเป็นกังวลต่อสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขวันเวลาที่ไม่เหมือนเดิมตลอดจนกลับมาทวงถามหา“วีรบุรุษ” ที่หายไป

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ย่างก้าวของ "เวียดนาม"วัดกึ๋น รบ.มาร์ค

ประเทศเวียดนาม! เคยเป็นประเทศ “ด้อยพัฒนา”แต่วันนี้ไม่ใช่ไทยแลนด์! เคยเป็นประเทศ “กำลังพัฒนา” แต่วันนี้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร! ปลดหนี้และนำพาประเทศสู่ระดับ“ผู้นำ” แต่เมื่อเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 เกิดขึ้น ทุกอย่างก็ “ถอยหลัง”..เสถียรภาพความมั่นคงของไทย “ติดลบ”กระทั่ง 17 ธันวาคม 2551 คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเข้าบริหารประเทศ การขับเคลื่อนช่วงแรกส่งสัญญาณ“ไปได้ดี” ไม่มีที่ติ! ประชาชน “โล่งอก” รอดูการก้าวย่างของไทยแลนด์ในทางที่ดีขึ้น ท่ามกลาง “ฝุ่นการเมือง”

ที่เริ่มก่อตัวตามธรรมเนียม ซึ่งเชื่อว่าจะ “สงบ” ลงในไม่ช้าแต่ดูจะเป็นการ “คาดเดา” ที่ผิดผลาด เพราะปัจจุบันการจัดสรรปันส่วนยัง “ชิง” กัน “ฝุ่นตลบกลบเมือง” ทั้งเรื่องโยกย้ายตำแหน่ง บารมี มอบรางวัลเป็นค่าตอบแทนพระคุณที่เกื้อหนุนกันจนได้ดิบได้ดี แค่ 2 เรื่องก็ทำให้ “วงล้อประเทศ”หยุดนิ่ง!สถานการณ์เมืองไทยน่าเป็นห่วง..ในขณะที่รัฐบาลประกาศว่าเรามาถูกทาง และพยายามเหนี่ยวรั้งให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน แต่ในความเป็นจริงไทยกำลังอยู่ในช่วง “ชะลอ”การพัฒนา ซึ่งเป็น “จุดด้อย” ที่นักลงทุนต่างตระหนักท่ามกลางความอึมครึมในเมืองไทย!! “เวียดนาม”ประเทศเพื่อนบ้านที่เราเคยนำหน้าไปแบบไม่เห็นฝุ่น วันนี้รัฐบาลเขาวางแผนพัฒนาประเทศด้วยเมกะโปรเจกต์กว่า 60,000ล้านดอลลาร์ โดยมีเป้าหมาย 12 ปีข้างหน้า “เวียดนาม”จะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่น่าสนใจในระดับต้นๆ ของเอเชียนอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหวียนเติ๋นยวุ๋ง(Nguyen Tan Dung) ได้ออกคำสั่งให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกำกับดูแลโครงการ

ก่อสร้างขนาดใหญ่ของประเทศให้เป็นไปตามกำหนดเวลา ประกอบด้วย
1. ทางหลวงโฮจิมินห์ 500 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างโครงการสร้างทางหลวงขนาด 6 เลนแนวตะวันออก-ตะวันตกรวมระยะทาง 23 กม. ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่แห่งนี้

2. ทางด่วนไซ่ง่อน-ด่งนาย 1,200 ล้านดอลลาร์ ทางด่วนระยะทาง 55 กม. ตัดผ่าน จ.บิ่งซเวือง (Binh Duong) ไปยังเมืองเบียนหว่า (Bien Hoa) จ.ด่งนาย ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อการส่งออกขนาดใหญ่ของประเทศ เชื่อมต่อกับ จ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า อันเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมันดิบ ตลอดจนเมืองท่องเที่ยวตากอากาศ

3. รถไฟไฮสปีดเหนือ-ใต้ 33,000 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลเวียดนามตัดสินใจก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงตามรางกว้าง 1.435 เมตร สายเหนือ-ใต้ รวมระยะทางกว่า 1,700 กม. เชื่อมกรุงฮานอยกับนครโฮจิมินห์โดยไม่ต้องรื้อทางรถไฟสายเก่าที่ใช้งานมานาน 60 ปี

4. รถไฟเลียบอ่าวฮาลอง 255 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างเพิ่งจะเริ่มได้เมื่อปี 2549 เพื่อพัฒนายกระดับทางรถไฟจากเอี๋ยนเวียน (Yen Vien) ชานกรุงฮานอย ไปยังฝาหล่าย (Pha Lai) เกิ๋มฝา (Cam Pha) และเอืองบิ (Oung Bi) ซึ่ง เป็นเขตอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนาดใหญ่

5. รถไฟฟ้าโฮจิมินห์ 1,100 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดินสายแรกในนครใหญ่แห่งนี้ ระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดจะดำเนินการไปจนถึงปี 2563

6. รถไฟหายฟ่อง-ล่าวกาย 150 ล้านดอลลาร์ การพัฒนายกระดับทางรถไฟสายนี้ดำเนินการภายใต้กลุ่มความร่วมมือแห่งอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region) มีต้นทางจากท่าเรือนครหายฟ่อง(Hai Phong) ไปยังสถานีลองเบียน (Long Bien) ชานกรุงฮานอย ก่อนจะตัดขึ้นเหนือไปยัง จ.ล่าวกาย(Lao Cai) เพื่อเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากเมืองคุนหมิง (Kunming) มณฑลหยุนหนันของจีน เพื่อให้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าออกผ่านท่าเรือน้ำลึกในทะเลจีนใต้

7. สนามบินฮานอยส่วนขยาย 300 ล้านดอลลาร์ ประกอบด้วย อาคารผู้โดยสาร 1 หลัง พื้นที่ใช้สอย90,000 ตารางเมตร มูลค่า 230 ล้านดอลลาร์ กับทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินความยาว 3,800 เมตร ทั้งหมดกำหนดแล้วเสร็จในปี 2553 คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารได้ถึง 6.5 ล้านคนต่อปี และในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีการขยายเฟสที่สองให้ท่าอากาศยานโนบ่าย (Noi Bai) รองรับผู้โดยสารได้ 12 ล้านคนต่อปี

8. สนามบินลองแถ่ง 6,000 ล้านดอลลาร์ สนามบินแห่งนี้อยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ราว 30 กม.จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 45-50 ล้านคน เวียดนามจะใช้แทนท่าอากาศยานเติ่นเซินเญิตนครโฮจิมินห์ ที่ขยายไม่ได้อีก ขณะนี้อยู่ในช่วงศึกษาความเหมาะสม

9. สนามบินฟุก๊วกเฟสแรก 60 ล้านดอลลาร์ การก่อสร้างเริ่มเมื่อปีที่แล้ว เป็นสนามบินแห่งใหม่ที่จะใช้แทนที่สนามบินขนาดเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เฟสแรกจะใช้เงินลงทุนเพียง 60 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้เครื่องบินโดยสารโบอิ้งและแอร์บัสลงจอดได้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2.65 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2563 จะขยายเป็นสนามบินขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับแผนพัฒนาเกาะอ่าวไทยแห่งนี้ให้เป็นปลายทางการท่องเที่ยวระดับโลก

10. ท่าเรือน้ำลึกหายฟ่อง 200 ล้านดอลลาร์ ท่าเรือน้ำลึกแหล็คเฮวียน (Lach Huyen) เริ่มก่อสร้างเมื่อปีที่แล้วในเขตอุตสาหกรรมใหญ่นครหายฟ่อง มีกำหนดเปิดใช้ในปี2553 ด้วยเงินลงทุน 213.8 ล้านดอลลาร์ สามารถรองรับเรือสินค้าที่มีระวาง 50,000-80,000 ตัน

11. ท่าเรือ-อู่เรืออ่าวเวินฟอง 9,000 ล้านดอลลาร์โครงขนาดใหญ่ใน จ.แค๊งหว่า (Khanh Hoa) นี้ ประกอบด้วยท่าเรือสินค้าและเรือโดยสาร รวมทั้งอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มสึมิโตโม (Tsumitomo) จากญี่ปุ่นที่เข้าลงทุนถึง4,000 ล้านดอลลาร์ และยังมีโครงการโรงงานเหล็กกล้ามูลค่าอีกเท่าๆ กัน

12. ท่าเรือน้ำลึกก๋ายแหม็บ-ถิหวาย 300 ล้านดอลลาร์เป็นท่าเรือน้ำลึกใหญ่ที่สุดในภาคใต้ที่ปากแม่น้ำถิหวายในจ.บ่าเหรียะ-หวุงเต่า (Ba Ria-Vung Tao) เป็นไปตามแผนการย้ายท่าเรือออกจากไซ่ง่อนที่ขยายไม่ได้อีก13. ขยายร่องน้ำเข้าท่าเรือเกิ่นเธอ 100 ล้านดอลลาร์นครเกิ่นเธอ (Can Tho) เป็นศูนย์กลางของเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงอันเป็นเขตอู่ข้าวสำคัญของประเทศ เวียดนามจะต้องขุดลอกแม่น้ำตลอดความยาวกว่า 60 กม. เพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถแล่นเข้าถึงได้โดยตรงแทนการทยอยขนส่งสินค้าออกสู่ทะเลหลวงด้วยเรือขนาดเล็ก ซึ่งสิ้นเปลืองและเสี่ยงอันตรายทั้งหมดคือโครงการที่รัฐบาลเวียดนาม สั่งการดำเนินการแล้วและมันจะเป็นรูปธรรมในอีก 12 ปีข้างหน้าแน่นอน! แล้วรัฐบาลมาร์คล่ะมีคำตอบอะไรให้ประชาชนบ้าง?? ■

ถอยหลังเข้าคลอง
โดยคุณ นกน้อย (not verified) เมื่อ Sat, 2009-08-22 06:09.
บ้านเมืองล่มจมเพราะทักษิณโกงชาตือย่างคนที่ออกประกาศขับไล่ ทักษิณหมดความชอบธรรมที่จะเป็นนายกฯต่อไปแล้วนั้นจริงหรือ....จึงใช้พฤติกรรมบอยคอตการเลือกตั้ง อ้างจะไม่ขอร่วมสังฆกรรมทางการเมือง

ในที่สุดเป็นที่มาของการปฎิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน นำไปสู่เหตุที่มาของวิกฤตินานัปการ จะว่าบ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ความล่มจมแล้วในบัดนั้นก็ว่าได้.แผ่นดินไทยแตกแยกเพราะเกิดการชิงดีชิงเด่นของกลุ่มคนสร้างความสับสนโดยอาศัยเสื้อเหลืองอันเป็นสัญลักษณ์องค๋พระมหากษัตริย์ พร้อมกับคำว่า เราสู้เพื่อในหลวง เอาแผ่นดินของเราคืนมา ช่วงเวลานั้นประชาชนสับสนจนไม่ทราบว่า.........กำลังทำสงครามกับประทศอะไร

แทนที่กลุ่มการเมืองที่หวังแก่งแย่งอำนาจที่ให้การสนับสนุนชี้แจงกลับนิ่งเฉย โดดขึ้นเวที่เอากะเขาด้วย..สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ พวกเขาต้องการแย่งอำนาจจาก พัน ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ มาจากพรรคไทยรักไทยในขณะนั้น..ด้วยความเชี่ยวชาญ..ประเคนสารพัดข้อกล่าวหาเข้าใส่ ลักษณะเดียวกับที่กำลังเกิดเป็นข่าวกับ สตช.ในปัจจุบัน..ยิ่งนานวันประชาชนก็ยิ่งเห็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมในสังคมไทย..เขาออกมาเรียกหาความเป็นธรรมที่เกิดกับคนที่เขารัก คนที่เขาเคยฝากชีวิต แต่ก็ไม่ได้รับการสนองตอบจากองค์กรที่เขาหวังพึ่งพาได้..

ความแตกแยกก็ยิ่งทวีหนักขึ้นจนที่มาของเสื้อแดง ตามมาด้วยเสื้อน้ำเงิน ในที่สุดอาจจะเข้าขั้นถึงการจราจลในบ้านเมือง..ที่ผมสาธยายมาทั้งหมด..ก็จะมาสรุปตรงที่ว่า อดีตนายกฯทักษิณท่านทำผิดอะไรกันนักหนา..จนถึงขั้นยอมทำลายบ้านเมืองเพื่อล้มล้างกับคนคนเดียว..สิ่งดีๆมีมากมายที่ท่านทำให้แก่ประชาชนได้อยู่ดีกินดีมีมากมาย แลดประเทศชาติกำลังก้าวสู่ความเป็นนิค ถึงใครจะมืดบอดมองไม่เห็น แต่ประชาชนเสื้อแดงที่ออกมาเคลื่อนไหวเขาต่างเห็นเป็นรูปธรรม..สัมผัสได้ ..ของอย่างนี้หลอกกันไม่หรอกครับ..ผม