--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นิรโทษกรรม : ฉบับเหล้าพ่วงเบียร์ !!?

โดย.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

ในการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรมวาระที่สอง ในวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมได้ลงมติสนับสนุนให้เป็นไปตามร่างการแปรญัตติที่นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เสนอ ซึ่งใจความสำคัญ อยู่ที่มาตรา 3 ซึ่งมีข้อความคือ

"ให้บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลหรือประชาชนที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือความขัดแย้งทางการเมือง หรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยคณะบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556 ไม่ว่าผู้กระทำจะได้กระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112"

การลงมติในลักษณะเช่นนี้เป็นการปรับแก้หลักการของร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเดิมที่เสนอโดย นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ และคณะ ซึ่งก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกับร่างที่ผ่านวาระแรก 4 ข้อ คือ ประการแรก เป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีทั้งหมด ประการที่สอง เป็นการนิรโทษกรรมแกนนำทุกฝ่าย ทั้งฝ่าย นปช.และฝ่ายพันธมิตร ประการที่สาม คือ นิรโทษกรรมให้กับทหารที่สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 รวมถึงอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในช่วงเวลา 9 ปี ประการที่สี่ เป็นการระบุชัดถึงการทอดทิ้งเหยื่อของมาตรา 112 ซึ่งเป็นข้อหาที่ไร้ความเป็นธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดในยุคสมัยปัจจุบัน ทั้งที่ในร่างเดิมไม่มีการระบุชัดเช่นนี้

ในเรื่องยกเว้นมาตรา 112 เป็นการบ่งชี้ว่า นี่ยังไม่ใช่เป็นนิรโทษแบบเหมาเข่งสุดซอยอย่างแท้จริง แต่เป็นการสะท้อนทัศนะยอมจำนนของฝ่ายกรรมาธิการเสียงข้างมากต่อฝ่ายอนุรักษ์นิยมเจ้า ทั้งที่เหยื่อมาตรา 112 ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคุณดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล สมยศ พฤกษาเกษมสุข เอกชัย หงส์กังวาน ปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ และคนอื่น ต่างก็ต้องคดีเพราะเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงต้องถือว่า เป็นการนิรโทษกรรมในลักษณะ”เหล้าพ่วงเบียร์” คือ นำเอาการนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ และนิรโทษกรรมทหาร มาผูกพ่วงกับการนิรโทษกรรมประชาชนที่ปราศจากความผิด

นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้พยายามอธิบายในวันที่ 21 ตุลาคมว่า การเสนอแปรญัตติดังกล่าวเพราะกรรมาธิการต้องการแก้ไขผลพวงความไม่เป็นธรรมและความวุ่นวายที่เกิดจากการรัฐประหาร และยึดหลักการให้ทุกฝ่ายได้รับความเสมอภาคทางกฎหมายเท่าเทียมกัน และว่า การปรองดองแห่งชาติต้องเริ่มต้นจากทุกฝ่ายให้อภัยกันก่อน การออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ทุกฝ่ายเป็นหลักการเดียวที่ทั่วโลกพึงปฏิบัติ เพื่อให้ประเทศชาติกลับมาสงบ แม้กระทั่ง น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล ที่เดิมทีก็ไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรม แต่ภายหลังก็ยอมเสียสละ เพื่อให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ เพราะหากยังมีความทิฐิอยู่ ก็ไม่เกิดการนิรโทษกรรมได้สำเร็จ

แต่กระนั้น นายปิยะบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การนิรโทษกรรมลักษณะนี้ ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางการเมืองและในทางกฎหมาย โดยเฉพาะเรื่องการแปรญัตติในระดับกรรมาธิการที่กระทำขัดกับหลักการที่สภารับในวาระแรก จะถูกฟ้องให้การแปรญัตตินี้เป็นโมฆะ นอกจากนี้ ก็คือ การไม่ระบุชัดว่า คดีในลักษณะใดที่จะได้รับการนิรโทษกรรม ก็จะกลายเป็นการเป็นที่ถกเถียงว่า เรื่องไหนเข้าข่ายนิรโทษ ทำให้การตัดสินสุดท้ายไปอยู่ที่ศาล กลายเป็นการเปิดทางให้ศาลผูกขาดการตีความเงื่อนไขการนิรโทษกรรม

ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มเสื้อเหลืองสลิ่มฝ่ายขวา ก็โจมตีการนิรโทษกรรมลักษณะนี้ โดยมุ่งไปที่ปัญหาที่ว่า จะเป็นการนิรโทษกรรมข้อหาทุจริตคอรับชั่น ซึ่งจะเท่ากับนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในหลายคดีทั้งที่ตัดสินไปแล้วและยังคั่งค้างอยู่ในศาล แล้วยังจะนำไปสู่การคืนทรัพย์สิน 4.6 หมื่นล้าน ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ศาลสั่งให้ยึดมา ทั้งยังยืนยันในข้ออ้างเดิมว่า การนิรโทษกรรมจะเป็นการทำลาย”หลักนิติรัฐและนิติธรรม” โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำการประท้วงรัฐบาล ยังคาดหมายว่า ประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมนี้ จะเป็นประเด็น”จุดติด”ที่นำมวลชนมาต่อต้านรัฐบาลได้สำเร็จ

แต่กรณีของกลุ่มคนเสื้อแดง ประเด็นที่ไม่เป็นที่ยอมรับคือ การนิรโทษกรรมที่ยกเข่งให้กับฝ่ายทหาร ศอฉ. พ้นจากความผิด และยังยกความผิดให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นตัวการในการเข่นฆ่าสังหารประชาชน ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังใช้วิธีการโกหกรายวันใส่ร้ายป้ายสีคนเสื้อแดง เพื่อเอาตัวรอด และยังไม่เคยแสดงท่าทีในการสำนึกในโทษกรรมของตนเองเลย

ความจริงแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้ติดใจเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องถือด้วยซ้ำว่า กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเรื่องของความอยุติธรรมที่ได้รับผลพวงจากการรัฐประหาร การหาเหตุมาเล่นงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยคดีของ คตส.(คณะกรรมการการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ที่ตั้งโดยคณะรัฐประหารเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด กระบวนการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณก็เป็นเรื่องอันไร้เหตุผล เพียงแต่ว่าจะเป็นการดีกว่านี้ ถ้าจะไม่เอาเรื่องการขอนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณมาพ่วงกับกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ปัญหาของกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ มีวิธีการแก้ไขที่ง่ายกว่าและเป็นธรรม นั่นคือการยกเลิกผลพวงคณะรัฐประหาร พ.ศ.2549 ทั้งหมด ให้กฎหมายและคำสั่งที่ออกโดยคณะรัฐประหารเป็นโมฆะ แล้วนำ พ.ต.ท.ทักษิณมาพิจารณาด้วยกฎหมายธรรมดา

ดังนั้น ในวันที่ 19 ตุลาคม แกนนำของกลุ่ม นปช. เช่น จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ และ วิภูแถลง พัฒนภูมิไท เป็นต้น ก็ได้แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมลักษณะเช่นนี้ ดังเช่นที่ ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช.ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมฝ่ายฆาตกร ด้วยเหตุผลที่ไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และไม่ต้องการทรยศประชาชนหากการฆ่าบนท้องถนนเกิดขึ้นได้โดยไม่มีใครต้องรับผิดชอบ และคิดว่าคนเสื้อแดง แม้เขาจะรักคุณทักษิณแต่เขาไม่เห็นด้วย ที่จะทำให้ประวัติศาสตร์หน้านี้หายไปเฉยๆ ไม่ได้ และอธิบายว่า กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย ส่วนที่พยายามทำเช่นนี้ เพราะมองแบบนักการเมือง คิดว่าถ้าสามารถเจรจากันแล้วจะอยู่ร่วมกันต่อไปได้ แต่มวลชนที่เติบโตมาจากการต่อสู้จะไม่คิดเช่นนั้น เพราะจะคิดในมิติของความเป็นธรรมที่ว่า ฆาตกรจะต้องถูกลงโทษ ส่วนนายแพทย์เหวง โตจิราการ ก็ประกาศจุดยืนว่า ยังยืนยันที่จะนิรโทษเฉพาะประชาชนเท่านั้น ไม่นิรโทษให้แกนนำและผู้สั่งการฆ่าประชาชนเด็ดขาด หากพรรคยืนยันให้นิรโทษ "ยกเข่ง"ก็จะขอสงวนความเห็น

สำหรับนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ กล่าวว่า ตนยังมีท่าทีเช่นเดิมคือไม่ต้องการให้มีการนิรโทษพวกตนและแกนนำคนเสื้อแดง แกนนำเสื้อเหลือง รวมถึงนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และได้ขอสงวนคำแปรญัตติไว้แล้ว เพื่อยืนยันเนื้อหาในร่างเดิม

สรุปแล้ว ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเหล่าพ่วงเบียร์เช่นนี้ ย่อมไม่อาจเป็นที่ยอมรับ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยควรจะต้องกลับไปพิจารณาใหม่ และนำกลับมาสู่หลักการของร่างเดิมที่ผ่านวาระแรกน่าจะเป็นการดีกว่า

ที่มา:นสพ.โลกวันนี้วันสุข
----------------------------------

องค์กรสื่อค้าน พรบ.คอมพ์ฉบับใหม่ จำกัดสิทธิเสรีภาพ ประชาชน.



องค์กรสื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการประกาศใช้พรบ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ อันจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ขัดรัฐธรรมนูญ แนะทำประชาพิจารณ์

 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้ออกแถลงการณ์ค้านพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ระบุ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ประกาศเมื่อเดือน ก.ค.ว่า ได้ทำการประชาพิจารณ์ร่างพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปนั้น

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสายสารสนเทศ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ ได้พิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว เห็นว่าเนื้อหาของร่างแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มีรายละเอียดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคลและขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ เห็นได้จากร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องการปิดบล็อกเว็บไซต์ให้ง่ายขึ้น โดยตัดส่วนของการกลั่นกรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีออกไป และให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มากขึ้นโดยปราศจากการตรวจสอบ ซึ่งทำให้การละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกละเมิด

นอกจากนี้ เนื้อหาที่แก้ไขของกฎหมายฉบับนี้ ยังขัดต่อหลักโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และก่อให้เกิดความรับผิดแก่บรรดาผู้ประกอบการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ผู้ให้บริการมือถือ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป เห็นได้จากร่างกฎหมายที่ระบุให้การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์และการครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ลามกอนาจารที่ส่งผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและมือถือผิดกฎหมาย แม้ประมวลผลอัตโนมัติโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและก่อให้เกิดปัญหาในการตีความในภายหลัง ซึ่งขัดต่อหลักการร่างกฎหมายอาญาที่ต้องเคร่งครัดและรัดกุมเพื่อให้การตีความและบังคับใช้กฎหมายเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนทั่วไป ฯลฯ

องค์กรสื่อจึงเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนเนื้อหาของร่างที่ประกาศใช้พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และให้มีการประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ รวมถึงการแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว

ขอบคุณข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////

การลงทุน ใน เมียนม่าร์

โดย วีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์ รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ

เมื่อ เดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปพม่าอีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นในการเสวนาเรื่อง "การปฏิรูปด้านการเงินการธนาคาร"

ในฐานะตัวแทนธนาคารกรุงเทพ ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในพม่ามาร่วม 2 ทศวรรษ ซึ่งการเสวนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม Euromoney Conferences ซึ่งปีนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Myanmar Global Investment Forum

ประเด็นสำคัญของการประชุมที่ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ ประกอบการไทย คือ ถ้อยแถลงของท่าน "กัน ซอ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของพม่า ว่าด้วยกรอบการปฏิรูปด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ 10 ด้าน ได้แก่

การปฏิรูประบบการคลัง และภาษี ระบบเงินตราและการเงิน การค้าและการลงทุน การพัฒนาภาคเอกชน ด้านสุขภาพและการศึกษา ความมั่นคงทางอาหารและการเติบโตของภาคเกษตรกรรม ด้านบรรษัทภิบาลและความโปร่งใส ด้านโทรคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรัฐบาล โดยรัฐบาลพม่าตั้งเป้าให้นโยบายการปฏิรูปดังกล่าวบังเกิดผลภายใน 5 ปี

การประกาศนโยบายดังกล่าว บวกกับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในทวาย ติละวา และจ๊อกพิว สะท้อนว่ารัฐบาลพม่ากำลังปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังผ่านการค้าการลงทุน

จาก ประสบการณ์ส่วนตัวประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของ ธนาคารกรุงเทพในพม่า และลูกค้าที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศนี้แล้ว เราค่อนข้างเห็นตรงกันว่า พม่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพ ทั้งในการเป็นฐานการผลิตและแหล่งแรงงาน รวมทั้งการเป็นตลาดใหม่สำหรับสินค้าไทย แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ท้าทายอยู่ไม่น้อย เช่น การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เสถียรภาพด้านพลังงาน เนื่องจากไฟฟ้าที่พม่าดับค่อนข้างบ่อย และประชากรเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่มีไฟฟ้าใช้ ในขณะที่ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์แพงมาก ส่วนระบบสาธารณูปโภคและการขนส่งก็ยังต้องได้รับการพัฒนาอีกมากหากจะกล่าวว่า พม่าในขณะนี้เปรียบเสมือนช่วงรุ่งสางของวันใหม่ที่แม้มองเห็นแสงสีทองเรือง ๆ จับขอบฟ้าแล้ว แต่ยังไม่มีใครสามารถฟันธงได้ว่าในช่วงสาย ๆ ฝนจะตกหรือแดดจะออก ดังนั้นผู้ประกอบการจึงไม่ควรเร่งรีบเข้าไปลงทุน นอกเสียจากว่าท่านได้ศึกษาข้อมูลมาอย่างดี มีการป้องกันความเสี่ยงในระดับหนึ่ง หรือมีพันธมิตรท้องถิ่นที่เชื่อถือไว้วางใจกันได้เท่านั้น

สำหรับ ท่านที่ปักธงเอาไว้ในใจแล้วว่าจะต้องเข้าไปคว้าโอกาสในประเทศนี้ให้ได้ ผมขอแนะนำว่า ท่านควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน ทั้งไปสำรวจด้วยตนเองและปรึกษาผู้มีประสบการณ์ตรง และเมื่อจะดำเนินการอะไรก็ขอให้เข้าตามตรอกออกตามประตูไว้ก่อน ค่อย ๆลงทุนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และวางแผนทางการเงินสำหรับโครงการลงทุนให้ดี เพราะที่พม่านั้น การซื้อขายทุกอย่างตั้งแต่ของกินของใช้ ไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์ราคาหลายสิบล้านบาท ล้วนใช้เงินสด ไม่มีระบบเงินเชื่อหรือการให้เครดิต

สุดท้ายคือควรมีพันธมิตรท้องถิ่นที่เชื่อถือและไว้วางใจได้เป็นเพื่อนคู่คิดในการทำธุรกิจในพม่า

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////

การรถไฟแห่งประเทศไทย ตีกรอบประมูลรถไฟทางคู่แสนล้าน !!

โดย : นงนภัส ไม้พานิชย์

ประภัสร์. การันตี ร.ฟ.ท.พร้อมเปิดประมูลงานก่อสร้างล็อตแรก รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง มูลค่ากว่า 1.16 แสนล้าน ลั่นประมูลพร้อมกันทุกโครงการ

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ต้องรับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาระบบรางภายใต้พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงินประมาณ 1.2 ล้านบาท ในส่วนของร.ฟ.ท.จะมีแผนงานรวม 28 โครงการ

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ให้สัมภาษณ์กับ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการต่างๆ ว่า โครงการก่อสร้างที่สามารถดำเนินการได้ก่อนคือโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 5 โครงการ วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ 1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม.วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท 2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท

3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท 4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท

เช็คศักยภาพผู้รับเหมาก่อนรับงาน

ทั้งนี้ หากว่า ร.ฟ.ท.ได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ภายในปีนี้ และเริ่มงานก่อสร้างภายในต้นปี 2557 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี ซึ่งร.ฟ.ท.จะแบ่งงานก่อสร้างเป็นหลายสัญญา และแบ่งสัญญาตามระยะทางที่เหมาะสม เพื่อให้งานก่อสร้างแล้วเสร็จเร็วขึ้น และจะประกวดราคาพร้อมกันทั้ง 5 โครงการ หากทยอยก่อสร้างจะเสร็จไม่ทันตามแผน 7 ปี

"การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนปกติ รวมทั้งขั้นตอนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประกวดราคาพร้อมกันเพราะต้องการให้งานเสร็จและเปิดใช้พร้อมกัน และในการประกวดราคาจะตรวจสอบความพร้อมและความสามารถของผู้รับเหมาว่าสามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้หรือไม่ ถือเป็นครั้งแรกที่จะตรวจสอบงานในมือของผู้รับเหมา โดยจะตรวจสอบทั้งเครื่องมืออุปกรณ์และจำนวนบุคลากรว่ามีความสามารถรับงานได้เท่าใด หากบุคลากรและเครื่องมือไม่เพียงพอจะไม่ได้รับการคัดเลือก"

นอกจากนั้น ในระยะแรกนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งดำเนินการอีก 4 โครงการ คือ 1.โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ เป็นงานปรับปรุงทาง ราง หมอน สะพาน และติดตั้งรั้ว 2.โครงการติดตั้งเครื่องกั้นถนนเสมอระดับและปรับปรุงเครื่องกั้น 3.โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณไฟสีทั่วประเทศ และ4.โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

อีก 2 ปีเริ่มประมูลโครงการเฟส 2

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจะดำเนินการในระยะถัดไป คือ โครงการก่อสร้างทางคู่อีก 6 เส้นทาง ระยะทางรวม 1,364 กม. วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท คือ 1.หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. 2.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. 3.สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 339 กม. 4.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. 5.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. และ 6.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.

"คาดว่าโครงการก่อสร้างทางคู่ 6 เส้นทางนี้ จะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี จึงสามารถประกวดราคาได้ เพราะต้องใช้เวลาในการพิจารณาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมค่อนข้างนาน แต่ทุกโครงการจะใช้พื้นที่เขตทางของรถไฟ จึงไม่มีปัญหาเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน"

เสนอตัวรับผิดชอบไฮสปีด 4 เส้นทาง

สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ระยอง ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะออกแบบไปถึงจังหวัดตราด แต่ในระยะแรกจะก่อสร้างถึงจังหวัดระยอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมเรื่องแนวเส้นทาง เบื้องต้นจะผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม หลังจากนั้นจะเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย ร.ฟ.ท.มั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะก่อสร้างเสร็จก่อนเส้นทางอื่น เพราะไม่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สามารถใช้พื้นที่เขตทางรถไฟก่อสร้างได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดย ร.ฟ.ท.เสนอเป็นผู้รับผิดชอบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง เพราะมั่นใจว่าพนักงานมีประสิทธิภาพสามารถดำเนินการได้ แต่ขอเพียงโอกาสในการดำเนินโครงการ เพราะว่าไม่มีบุคคลหรือหน่วยงานใดรู้เรื่องรถไฟดีกว่า ร.ฟ.ท. ที่ผ่านมาสังคมอาจมองว่าร.ฟ.ท.ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ไม่ได้ศึกษาให้ลึกซึ้งว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้

"การที่ ร.ฟ.ท.ขาดการลงทุนและขาดการพัฒนาระบบรางมาเป็นเวลานาน ขณะที่ค่าโดยสารถูกกำหนดไว้ในอัตราต่ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ ร.ฟ.ท. ไม่มีกำไร และถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่เป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้ ร.ฟ.ท. ต้องเป็นเช่นนี้"

ส่วนแนวทางการใช้วิธีบาร์เตอร์เทรดในโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อว่ารัฐบาลมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีการบาร์เตอร์เทรดมาก่อนหน้านี้แล้ว และคงไม่ทำให้เกิดปัญหาเหมือนครั้งที่ผ่านมาแน่นอน ขณะที่การดำเนินงานดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของ ร.ฟ.ท. ต้องล่าช้า เพราะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ

แนะแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.ยังมีโครงการก่อสร้างทางคู่สายใหม่ 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 696 กม. วงเงิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ พ.ร.บ.2 กู้เงิน คือ 1.เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. 2.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กม. และ 3.ชุมทางบ้านภาชี-อ.นครหลวง ระยะทาง 15 กม.

นอกจากนี้ ยังมีโครงการระบบรถไฟในเมือง ได้แก่ โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก และ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง โครงการรถไฟสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยายช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และโครงการก่อสร้างโรงรถจักรแห่งใหม่ที่อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

"ในการดำเนินโครงการภายในพ.ร.บ.กู้เงินนั้น ผมมีแนวคิดให้รัฐบาลแยกบัญชีหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระหนี้สินจากการกู้เงินมาลงทุนเหมือนในอดีต ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินกว่า 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ประสบปัญหาขาดทุนมาโดยตลอด หรืออาจให้ ร.ฟ.ท.นำผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโครงการมาลงบัญชีเป็นรายได้ เพื่อชดเชยภาระหนี้สินจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน"

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ถนนเศรษฐกิจที่ต้องพัฒนา R12 เชื่อม ไทย-ลาว-เวียดนาม !!?

เส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศนำมาซึ่งการกระจายตัวทางเศรษฐกิจไปสู่ชุมชนสองข้างทาง ประเด็นนี้ถูกยกขึ้นนำในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS จึงเกิดการสร้างถนนเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว คู่ขนานไปกับการใกล้เข้ามาของการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปี 2558 เรื่องนี้ยิ่งต้องเป็น "ไฮไลต์" ให้เร่งผลักดัน

หนึ่งในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า "R9" พาดผ่านเมียนมาร์ (ยังไม่เสร็จเรียบร้อย)-ไทย-ลาว-เวียดนาม ระยะทางทั้งเส้นยาว 1,450 กม. แต่ถนนช่วงที่เปิดใช้จากไทย เริ่มที่ จ.มุกดาหาร ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 เข้าแขวงสะหวันนะเขตในลาว ไปยังเมืองลาวบาวของเวียดนาม ผ่านเมืองเว้ และสิ้นสุดที่ดานัง ของเวียดนาม




ตั้งแต่เส้นทางนี้เปิดใช้ยังไม่พบการกระจายตัวทางเศรษฐกิจคึกคักอย่างที่คาดการณ์ สะท้อนให้เห็นว่า ถนนเชื่อมระหว่างประเทศไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ

การเปิดเส้นทาง R9 ที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการนำร่องตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS Cross Border Transport Agreement : CBTA ซึ่งยังมีข้อติดขัดที่เป็นอุปสรรคในการเดินรถระหว่างประเทศที่ชัดเจนคือ กฎระเบียบในการเดินรถระหว่างประเทศที่ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งค่าธรรมเนียมที่ด่านศุลกากร การอนุญาตให้รถต่างชาติวิ่งผ่านได้ตลอดเส้นทางในทุกประเทศที่ถนนตัดผ่าน มาตรฐานการตรวจสินค้าและคนเข้า-ออกระหว่างประเทศ เหล่านี้เป็นปัญหาในระดับนโยบายทางการเมืองที่ประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งผลักดัน

นอกจากเส้นทาง R9 แล้ว ถนนเชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม ยังมีเส้นทาง "R12" ออกจากไทยที่ จ.นครพนม เข้าลาวที่แขวงคำม่วน ตัดเข้า จ.กวางบิ่งห์ของเวียดนาม บรรจบกับถนน "1A" ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักของประเทศเวียดนาม สามารถเดินทางขึ้นเหนือไปยังฮานอย และขึ้นเมืองกว่างซีของจีน

ศักยภาพที่ชัดเจนของ R12 คือ เป็นเส้นทางจากไทยที่เข้าเวียดนามสั้นที่สุด สั้นกว่าเส้นทางสาย R9 และตัดผ่านสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีทัศนียภาพสวยงาม ทั้งพระธาตุพนมใน จ.นครพนม ถ้ำกองลอ-นาตาน และกำแพงยักษ์ในแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว เขตอุทยานแห่งชาติฟองยา-แก่บาง ซึ่งเป็นมรดกโลกตามคำประกาศของยูเนสโกในจ.กวางบิ่งห์ ของเวียดนาม

ได้ร่วมโครงการสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจเส้นทางหมายเลข R12 กับคณะ ซึ่งนำโดยนายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, นายพิษณุ จันทร์วิทัน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์, นายชัยธันว์ พรหมศร ผอ.สำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ กรมทางหลวง, นางสาวนิธิวดี มานิตกุล ผอ.กองส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ นายชาญชัย ชอบชื่นชม ผอ.สำนักงานศุลการกรภาคที่ 2 ร่วมสำรวจทางสายนี้ด้วยการโดยสารทางรถ เพื่อมองศักยภาพที่ชัดเจนของการพัฒนาเส้นทางนี้รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต

การเดินทางด้วยรถบัสบนเส้น R12 ครั้งนี้เริ่มสำรวจตั้งแต่เส้นทางใน จ.นครพนม-คำม่วน สปป.ลาว-เข้าลาว-กวางบิ่งห์ เวียดนาม-เว้-สิ้นสุดที่เมืองดานัง

การเดินทางผ่าน 3 ประเทศด้วยถนนนี้ ต้องผ่านด่านศุลกากรแรกที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน ซึ่งปัจจุบันกำลังเตรียมพร้อมให้มีการเดินรถผ่านแดนสะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบันด่านขยายเวลาการให้บริการมาเป็น 06.00-22.00 น.มาเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว

บรรยากาศที่ด่านซึ่งเป็นวันอาทิตย์ไม่คึกคักเท่าที่ควร แต่ตัวแทนจาก จ.นครพนมกล่าวว่า เส้นทางนี้มีศักยภาพที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีรถผ่านแดนที่เส้นทางนี้มากขึ้นแล้ว และดัชนีการเติบโตของจังหวัดก็สามารถวัดได้จากการมีห้างค้าปลีกบิ๊กซีขนาดใหญ่มาเปิดกิจการแล้ว และมีขนาดใหญ่กว่าห้างค้าปลีกในจ.มุกดาหารด้วย



ด่านคำม่วน ของสปป.ลาว ซึ่งอยู่ติดกับด่านนครพนมของไทย บนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3

เส้นทางจากด่านนาพาวของ สปป.ลาวไปยังด่านจ่าลอของเวียดนามเป็นถนน 2 เลน ระยะทาง 150 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง สภาพถนนตัดผ่านที่ราบสูงและภูเขา มีช่วงเป็นพื้นที่ราบ สภาพถนนค่อนข้างดี มีบางช่วงสั้น ๆ ต้องปรับปรุง

มีชุมชนบ้านเรือนเป็นระยะ มีปั๊มน้ำมันจำนวน 2-3 แห่ง แต่ยังไม่มีจุดพักรถโดยสาร ระหว่างทางมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ตราสิงห์ของจีน ซึ่งมีกำลังการผลิต 800,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังพบเหมืองแร่ยิปซัมอีกด้วย ปัจจุบันแขวงคำม่วนมีบริษัทขุดแร่จำนวน 38 บริษัท ทั้งตะกั่ว หินปูน หินทราย โพแทสเซียม เหล็ก ยิปซัม และถ่านหิน เป็นต้น

ระยะเวลาผ่านด่านนาพาว และด่านจ่าลอ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะทางสั้น ๆ ใช้เวลาราวด่านละเกือบ 1 ชั่วโมง ในอนาคตหากมีการจัดทำระบบศุลกากรที่อำนวยความสะดวกให้มีการผ่านแดนสำหรับคนและสินค้า ณ จุดเดียว หรือที่เรียกว่า Single Window จะสามารถลดระยะเวลาให้สั้นลงได้มาก

หลังจากผ่านด่านจ่าลอ เข้าประเทศเวียดนาม เดินทางไปยัง จ.กวางบิ่งห์เป็นถนน 2 เลน ระยะทาง 125 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง เส้นทางส่วนใหญ่ยังคงตัดผ่านภูเขา คดเคี้ยวบางช่วง มีทัศนียภาพสวยงาม ชัดเจนว่าสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ และมีชุมชนริมเส้นทาง R12 คึกคักกว่าใน สปป.ลาว






บรรยากาศการสัญจรที่ด่านนาพาว ของสปป.ลาว ติดกับด่านจ่าลอ ของเวียดนาม

กวางบิ่งห์มีเขตเศรษฐกิจพิเศษสำคัญ 2 แห่ง คือ เขตเศรษฐกิจห่อนลา และเขตเศรษฐกิจด่านตรวจคนเข้าเมืองจ่าลอ

การเดินทางสำรวจเส้นทางจากนครพนมสิ้นสุดที่ จ.กวางบิ่งห์ใช้เวลารวมราว 8 ชั่วโมง และยังพบจำนวนรถบรรทุกระหว่างทางไม่มากนัก

หากมองเส้นทาง R12 ณ จังหวัดกวางบิ่งห์ ในแง่ศักยภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ สามารถใช้เส้นทางลงใต้ไปบรรจบกับเส้นทาง 1A ถนนหลักของเวียดนาม ไปยังจังหวัดถื่อเทียนเว้ หรือที่รู้จักกันว่า "เมืองเว้" เป็นระยะทาง 200 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง

เว้ เป็นเมืองมรดกโลกของยูเนสโก จึงมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก ปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจำนวน 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 24.6%

ส่วนนักท่องเที่ยวไทยในปี 2555 มีจำนวน 128,000 คน ส่วน 9 เดือนแรกในปี 2556 มีจำนวน 100,000 คน นอกจากนี้ยังมี

นักท่องเที่ยวจากจีน อิตาลี สเปน อังกฤษ สหรัฐ และแคนาดา เป็นต้น จึงเห็นได้ชัดว่า ศักยภาพการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่เมืองเว้มีสูงมาก


ถนน R12 ช่วงก่อนเข้าเขตประเทศเวียดนามที่จ.กว่างบิงห์

ในทางเศรษฐกิจ เส้นทางเดียวกันนี้สามารถไปยังนครดานัง ด้วยระยะทาง 100 ก.ม. ใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง ปัจจุบันนครดานังมีจำนวนประชากร 951,7000 คน

มีสนามบินนานาชาติ กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก มีโรงงานใหม่ ๆ ผุดขึ้น และมีนิคมอุตสาหกรรมมากถึง 6 แห่ง นครดานังมีท่าเรือดานังพื้นที่ 12 ตร.กม. ความลึกท่าเรือราว 10-17 เมตร ภายในท่าเรือประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ท่าเรือเตียนซาและท่าเรือแม่น้ำห่าน

ท่าเรือแห่งนี้อยู่ตอนกลางประเทศเวียดนาม มีแผนขยายท่าเรือที่คาดว่าจะเสร็จช่วงปี 2558-2559 ท่าเรือแห่งนี้

ซึ่งมีข้อจำกัดคือ ต้องประสบมรสุมจำนวนมาก และยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือระดับนานาชาติ มีจำนวนสินค้ายังไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบ เช่น สินค้าเกษตร อาหารทะเล สิ่งทอ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการส่งมายังเมืองนี้ มากกว่าเป็นท่าเรือที่กระจายสินค้าไปยังประเทศอื่น ๆ

ในเชิงท่องเที่ยว เมืองดานังเริ่มพัฒนาชายหาดของเมืองรับนักท่องเที่ยว และจากการสำรวจเส้นทางพบเห็นโรงแรม รีสอร์ต กาสิโน ผับ บาร์ และร้านอาหารจำนวนมากเปิดเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวตะวันตกจำนวนมากริมชายหาด และย่านธุรกิจของเมือง


ท่าเรือดานัง

อย่างไรก็ตาม ช่องทางธุรกิจไทยที่เห็นได้จากการสำรวจเส้นทางดังกล่าวจากนครพนมมายังดานังคือ การขนส่งสินค้าไทยเข้ามายังเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามนิยมสินค้าไทยอย่างสูง เพราะคุณภาพดีกว่าสินค้าจีน ระหว่างทางจากกวางบิ่งห์มายังเว้ มีย่านร้านสินค้าไทย ที่ชาวเวียดนามในจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาเพื่อซื้อสินค้าไทยโดยเฉพาะ

ทั้งนครพนม คำม่วน กวางบิ่งห์ เว้ และดานัง ต่างเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดการกระจายตัวทางเศรษฐกิจตามเส้นทางสำรวจของคณะเดินทาง หากได้รับการผลักดันด้านกฎระเบียบจากภาครัฐของไทย ลาว และเวียดนาม

ที่ผ่านมาในการประชุม รมว.ช่วยต่างประเทศ ตามแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ครั้งที่ 2 ณ สะหวันนะเขต

ช่วงเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ภาครัฐจากทั้ง 3 ประเทศได้เห็นพ้องให้ผลักดันเส้นทาง R12 เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางในกรอบความร่วมมือของ GMS เพื่อพัฒนาระเบียบการขนส่ง CBTA ให้ครอบคลุมเส้นทางนี้ให้ประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐของทั้ง 3 ประเทศได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระหว่างกัน

สำรวจหลากหลายความคิดเห็นจากการเดินทางสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจเส้นทางถนนระหว่างประเทศสาย R9

นายพิษณุ จันทร์วิทัน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว กล่าวว่า เส้นทางนี้ตัดผ่าน 3 ประเทศ แต่ต้องมองถึงการกระจายตัวทางเศรษฐกิจของทุก ๆ ประเทศด้วย สปป.ลาวที่เป็นทางผ่านสามารถพัฒนาเส้นทางนี้ให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ แต่ต้องอาศัย?ความร่วมมือจากทั้งไทยและเวียดนามช่วยสนับสนุนด้วย ในแง่สินค้า ปัจจุบันไทยส่งผลไม้ไปยังเวียดนามจำนวนมาก แต่ปัจจุบันไปทางเรือ เส้นทางนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสินค้าดังกล่าว แต่ต้องทำให้สินค้าที่ขนผ่านเส้นทางนี้ไปได้อย่างสะดวก ไม่มีการจัดเก็บภาษีเป็นสินค้านำเข้าหรือส่งออกเมื่อผ่านด่านระหว่างประเทศ ในแง่ความสัมพันธ์ ปัจจุบันมีชาวเวียดนามจำนวนมากเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องในไทยด้วยการบิน หากด่านระหว่างประเทศทำให้การเดินรถสะดวก เชื่อว่าจะมีการเดินทางด้วยรถจากระหว่างไทย-เวียดนามมากขึ้น ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วย

นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่า?เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด หากต้องการขนสินค้าไปยังเวียดนามและขึ้นไปยังเมืองกว่างซีของจีนได้ ซึ่งแน่นอนว่าจีนเป็นตลาดสินค้าใหญ่ที่เชื่อมต่อกับประเทศแถบอาเซียน แต่ปัจจุบันการเดินทางยังมีข้อติดขัดในทางกฎหมาย ที่ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของภาครัฐไทย ลาว และเวียดนามช่วยกันผลักดัน หากนำเส้นทางสายนี้เข้ากรอบ GMS ได้ ก็จะได้สิทธิประโยชน์จากการขจัดขั้นตอนที่ด่านศุลกากรให้สั้นลง มีธรรมเนียมในการขนส่งสินค้าและคนที่เป็นมาตรฐาน ลดระยะเวลาการเดินทางและเห็นต้นทุนที่ชัดเจนสำหรับภาคธุรกิจ ให้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่

นายชัยธันว์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ กรมทางหลวง กล่าวว่า ?การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นการเปิดประตูเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งควบคู่ไปกับการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางนี้ตัดผ่านเขา มีทางโค้งหลายจุด ?ยังไม่เหมาะกับการเดินทางของรถบรรทุกใหญ่ ๆ นัก ?การสนับสนุนเส้นทางนี้ต้องอาศัยการพัฒนาภายในประเทศทั้ง 3 ประเทศ และต้องมองความคุ้มค่า เพราะแน่นอนว่าต้องเป็นเอกชนที่เข้ามาใช้เส้นทางนี้เพื่อให้เกิดการ?กระจายตัวทางเศรษฐกิจ ต้องมองไปถึงว่าแต่ละประเทศจะได้ประโยชน์อย่างไร ควรสนับสนุนสินค้าชนิดไหน พร้อม ๆ กับการพัฒนา?ด้านกฎระเบียบที่เป็นซอฟต์แวร์เข้ามาสนับสนุนถนนที่เป็นฮาร์ดแวร์
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
----------------------------------------------------

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ธปท.ยันเงินในระบบมีพอทำโครงการ2ล้านล.


ธปท.ยันเงินในระบบมีพอทำโครงการ2ลล.
กระแสทุนเคลื่อนย้ายยังสมดุล
แนะไทยรับมือโลกเปลี่ยนแปลง

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถา หัวข้อการปรับเปลี่ยนประเทศไทย ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ของนักเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นและสามารถส่งต่อด้านการผลิต ต่อเนื่องจนทำให้เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมีแนวโน้มใหญ่ 2 ประการคือ 1.โครงสร้างประชากร ที่กำลังเปลี่ยนเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้น ปี 2555 ประชากรโลก เกิน 7,000 ล้านคน แล้วและมีสัดส่วนผู้สงอายุ 11% และในปี 2573 ยูเอ็น คาดว่าจะเพิ่มอีก 1,000 ล้านคน และมีสัดส่วนผู้สูงอายุ เพิ่มเป็น 16% แต่อัตราการเจริญพันธุ์ ปรับลดลงจาก 5 คน เหลือเพียง 2.5 คน ทำให้ประชากรวัยทำงานของโลกมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ

และปัจจัยที่ 2 คือ การเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีอัตโนมัติ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ที่ซับซ้อนแต่มีคุณภาพและความแม่นยำ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของโลก ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากร และการเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีอัตโนมัติ ส่งผลให้มีบางประเทศได้เปรียบการแข่งขัน และบางประเทศประสบอุปสรรคต่อการเติบโต

นายประสารกล่าวว่า กรณีของประเทศไทย อยู่ในกลุ่มประเทศ ที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ด้านการผลิตโลกน่าจะเป็นอุปสรรคสำหรับการเติบโต ดังนั้น เพื่อที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงนี้ไทยควรมีการปรับทัศนคติ 3 ด้านเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน 1.เลิกแข่งขันที่ราคาและปริมาณ แต่ต้องแข่งด้วยคุณภาพของสินค้าและบริการ เลิกหวังพึ่งแรงงานราคาถูก เป็นปัจจัยการผลิตอีกต่อไป 2.ต้องยอมรับการแข่งขันที่มากขึ้น เลิกกีดกันการแข่งขัน เพื่อรองรับการแข่งขันที่เสรีจากภายในและภายนอกให้มากขึ้น และ 3.ปรับทัศนคติ ที่ไม่ยอมรับการคอร์รัปชั่น เพราะการคอร์รัปชั่นเป็นต้นเหตุสำคัญของการบิดเบือนการจัดสรรทรัพยากร ในระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความสูญเปล่า สิ่งสำคัญที่เราต้องปรับ คือ ไม่ยอมรับคอร์รัปชั่น เลิกยอมรับการคอร์รัปชั่นถ้าเราได้ประโยชน์

นายประสารยังได้กล่าวอีกว่า ปัญหาในระยะสั้นที่ต้องติดตามในขณะนี้คือปัญหาการคลังของสหรัฐที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่มีการต่อรองทางการเมืองจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของสหรัฐไม่เป็นไปตามกำหนด แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้ว 2 พรรคการเมืองจะประนีประนอมขยายระยะเพดานหนี้ได้ในที่สุด แต่ต้องใช้เวลานานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งเห็นได้จากปฏิกิริยาต่อตลาดหุ้นที่คึกคัก เพราะคาดว่าปัญหาด้านการคลังทำให้สหรัฐจะต้องชะลอการลดมาตรการอัดฉีดสภาพคล่อง (คิวอี) ออกไป

ขณะที่ตลาดการเงินมีทั้งการไหลเข้าและไหลออกของเงินทุน ซึ่งค่อนข้างเป็นไปอย่างสมดุล ทำให้ค่าเงินบาทแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์การเคลื่อนย้ายของเงินทุน โดยเฉพาะกระแสเงินไหลออก หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศลดมาตรการคิวอีจะมีเงินไหลออกเร็วแค่ไหน ถ้าหากออกเร็วจะต้องมีการบริการจัดการ แต่มั่นใจว่าไทยจะสามารถรองรับปัญหาดังกล่าวได้

ส่วนสภาพคล่องในระบบการเงินไทยนั้น นายประสารยืนยันว่า มีเพียงพอต่อการกู้เงินในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทของภาครัฐ เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนระยะยาว 7 ปี และวงเงินที่กู้ต่อปีสูงสุดเพียงแค่ปีละ 300,000-400,000 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่สภาพคล่องส่วนเกินที่ ธปท. ดูแลอยู่มีถึง 4.4 ล้านล้านบาท และสภาพคล่องหมุนเวียนของธนาคารพาณิชย์ผ่านตลาดอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนมีประมาณ 500,000-600,000 ล้านบาท ต่อวัน จึงมั่นใจว่าเพียงพอหากรัฐบาลจะเน้นกู้เงินในประเทศเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และเพื่อการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์

ส่วนปัญหาการเมืองในขณะนี้จากกระแสต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เชื่อว่าปัญหาการเมืองเป็นเรื่องปกติของสังคมไทยที่จะต้องมีการทดสอบกำลังเป็นระยะ และทั้งสองฝ่ายต่างก็ศึกษาทัศนคติของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าติดตาม

ที่มา.นสพ.แนวหน้า
---------------------------------------

คลังลุ้นปีหน้าทำคลอด บริษัทสินเชื่อรายย่อย !!?

 คลังเตรียมดันมาตรการแก้ไขหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน ดึงเจ้าหนี้นอกระบบลุยปล่อยกู้ตามกฎหมาย คิดดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 36% แจงอยู่ระหว่างรอ ธปท.คลอดประกาศ คาดต้นปีหน้าชัดเจน
   
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการในการแก้ไขหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกประกาศ ธปท. โดยกำหนดให้นิติบุคคลที่ต้องการจะปล่อยกู้ตามแนวทางดังกล่าว ซึ่งอยู่ในนามบริษัทสินเชื่อรายย่อย (บย.) สามารถปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนรายย่อยได้ ซึ่งการดำเนินกิจการดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดจะอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ปว.58 เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องออกกฎหมายใหม่
   
ทั้งนี้ เมื่อ ธปท.ออกประกาศเรียบร้อย ทางกระทรวงการคลังก็จะเร่งออกประกาศกระทรวง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินงานของ บย. โดยหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะกำหนดให้นิติบุคคลที่จะเข้าร่วมเป็น บย. ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ 10 ล้านบาท และสามารถปล่อยกู้ให้ประชาชนรายย่อยเพื่อนำไปประกอบอาชีพได้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท รวมถึงสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยรวมค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 15% และสูงสุดไม่เกิน 36% โดยอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในระดับดังกล่าวถือว่ายังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในการปล่อยกู้นอกระบบ
   
คาดว่าน่าจะเริ่มดำเนินมาตรการดังกล่าวได้ภายในวันที่ 1 ม.ค.2557 นี้ โดยในส่วนของการกำกับดูแลการดำเนินงานทั้งหมดจะเป็นการประสานงานร่วมกันระหว่าง ธปท. และกระทรวงการคลัง เพื่อให้มาตรการในการแก้ไขหนี้นอกระบบครั้งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด” นายสมชัยกล่าว
   
อย่างไรก็ดี ก็จะมีการกำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน อาทิ การยึดใบอนุญาตของ บย. กรณีทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขด้วย โดยระหว่างนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเร่งพิจารณาขั้นตอนการดำเนินงานทุกอย่างให้รอบคอบ ซึ่งเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างสูง.

ที่มา.ไทยโพสต์
-----------------------------

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ (ASEAN Committee on Culture and Information)

คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ หรือ ASEAN-COCI มีหน้าที่ดำเนินการงานความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและสนเทศทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2513 โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้งสิบร่วมเป็นคณะกรรมการ ในระยะแรก คณะทำงานได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกองทุนวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Cultural Fund) ซึ่งได้รับเงินบริจาคจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นจำนวน 5,000 ล้านเยน
   
ต่อมาในปี 2542 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของ ASEAN-COCI ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ประกอบไปด้วย คณะอนุกรรมการด้านวัฒนธรรม (Sub-Committee on Culture) และคณะอนุกรรมการด้านสนเทศ (Sub-Committee on Information) ซึ่งมีหน้าที่คือ การพิจารณาจัดทำและกลั่นกรองการเสนอโครงการใหม่ต่อ ASEAN-COCI รวมถึงวางแผนปฏิบัติการและติดตามผลการดำเนินงานศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาหรือความต้องการของภูมิภาค โดยจะจัดให้มีการประชุมปีละหนึ่งครั้ง ให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
 
 ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา การดำเนินงานของ ASEAN-COCI ได้ก่อเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมจำนวนมาก ครอบคลุมงานหลากหลายมิติ ทั้งผลงานด้านวรรณกรรมและอาเซียนศึกษา ผลงานด้านศิลปะการแสดง ผลงานด้านทัศนศิลป์ ผลงานด้านสนเทศ และผลงานด้านมรดกวัฒนธรรม โดยนอกเหนือจากการดำเนินงานร่วมมือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันแล้ว ASEAN-COCI มีกิจกรรมความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners) ซึ่งปัจจุบันมี 12 ประเทศ/องค์การ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน สหภาพยุโรป และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งเป็นการระดมทรัพยากรจากประเทศที่มีศักยภาพเพื่อช่วยในการพัฒนาด้านต่างๆ ของอาเซียน โดยประเทศสมาชิกได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานกับประเทศคู่เจรจาและมีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนทุกๆ 3 ปี
 
 สำหรับการประชุม ASEAN-COCI ครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 47) ระหว่างวันที่ 10-15 ธันวาคม 2555 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม คณะกรรมการได้เห็นชอบและมีมติร่วมกันให้มีการพิจารณาโครงการด้านวัฒนธรรมและสนเทศภายใต้กรอบของ ASEAN-COCI ให้มีความสอดคล้องกับแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Blueprint) โดยเน้นการใช้วัฒนธรรมเพื่อเชื่อมโยงประชาชนในภูมิภาคเข้าด้วยกันและเน้นบทบาทของสื่อโดยเฉพาะการใช้สื่อสมัยใหม่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรู้สึกถึงความเป็นประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้น

ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
--------------------------------

นางพะเยาว์ อัคฮาด แถลงค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหมายกเข่ง !!?

แม่น้องเกด แถลงค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เหมายกเข่ง สุดตัวยื่นข้อเสนอ5ข้อให้รัฐบาลนำไปแก้ พร้อมยกอภิสิทธิ์-สุเทพตัวอย่างที่ดี ไม่รับนิรโทษฯขอสู้ในกระบวนการยุติธรรม

กลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมือง พ.ศ.2553 นำโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของน.ส.กมนเกด อัคฮาด นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ บิดานายสมาพันธ์ ศรีเทพ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มนปช.เมื่อปี 53 โดยนางพะเยาว์ กล่าวว่า ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย ประธานกรรมาธิการ เป็นประธานการประชุม ได้มีมติแก้ไขเนื้อหาในมาตรา 3 ขอร่างเดิมที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยและคณะเสนอ ซึ่งทางกลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ทางการเมือง พ.ศ.2553 มีความเห็นว่าการแก้ไขข้อความในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษดังกล่าว เป็นที่ชัดเจนว่าพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นกรรมาธิการเสียงข้างมากมีเจตนาที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แลกเปลี่ยนกับการนิรโทษกรรมทหารที่กระทำความผิดในการสังหารหมู่ประชาชน ตลอดจนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและประธานศูนย์อำนวยการเยียวยาสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนั้น อย่างไรก็ตามการแก้ไขข้อความดังกล่าว ยังแสดงให้สังคมเห็นว่าพรรคเพื่อไทยไม่เคยฟังเสียงประชาชน โดยเฉพาะญาติผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง

นางพะเยาว์ กล่าวต่อว่า การแก้ไขข้อความดังกล่าว เน้นย้ำความสงสัยของสังคมต่อพรรคเเพื่อไทยอีกครั้ง ต่อข้อครหา เรื่องการดำเนินการตามใบสั่ง ความมุ่งหวังที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้านโดยไม่คำนึงถึงวิธีการ เพิกเฉยต่อกระบวนการยุติธรรม ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่านายอภิสิทธิ์ กรรมาธิการเสียงข้างน้อยและเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกลับแสดงเจตนารมณ์ว่าต้องการพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม แม้จะสามารถมองว่าเป็นเทคนิคทางการเมือง ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มญาติผู้เสียหายฯ จึงขอเสนอต่อรัฐบาลอันมีพรรคเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมากดังนี้ 1.รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องฟังเสียงประชาชนในการแก้ไขข้อความในร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ดังที่ศาลอาญาได้มีคำสั่งการไต่สวนการตาย กรณีนายพัน คำกอง นายชาญณรงค์ พลศรีลา นายชาติชาย ซาเหลา ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ รวมถึงกรณี 6 ศพ วัดปทุมฯ​ว่าเหตุและพฤติการณ์ที่ตายคือถูกลูกกระสุนปืนซึ่งยิงจากอาวุธของเจ้าหน้าที่ทหาร อย่างไรก็ตาม กลุ่มญาติฯยินดีที่จะสนับสนุนร่างนิรโทษกรรมใดใดนั้น จะมีผลต่อการนิรโทษกรรมประชาชนอันเกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมืองเท่านั้น

2.รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องเร่งรัดมาตรการทางนโยบายในการให้นักโทษการเมืองได้รับสิทธิในการประกันตัวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องสงสัยตามหลักสิทธิมนุษยชน 3.รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องมีมาตรการเร่งรัดกระบวนการยุติธรรมกับคดีสังหารหมู่ประชาชน 4.รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะต้องย้ายนายธาริต เพ็งดิษฐ์ จากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และให้พ้นจากหน้าที่หัวหน้าคณะผู้สอบสวนกรณีเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชน ปี 53 เนื่องจากเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์ดังกล่าว 5.รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะต้องจัดตั้งคณะทำงานในการเร่งรัดกระบวนการยุติธธรรมในคดีสังหารหมู่ประชาชน ประกอบด้วยบุคลากรจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการ แพทย์ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้น

นางพะเยาว์ แถลงอีกว่า ทางเราขอคัดค้านการนิรโทษกรรมแบบเหมายกเข่ง เนื่องจากการเหมายกเข่งเป็นที่ยอมรับไม่ได้ และขอถามว่าการนิรโทษแบบเหมายกเข่งทำเพื่ออะไร ในเมื่อนายอภิสิทธิ์ นายสุเเทพ ขอพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรม แล้วจะนิรโทษให้ทำไม ตนไม่เข้าใจ ถ้าจะนิรโทษกรรมตนขอเสนอให้นิรโทษกรรมแต่ประชาชนล้วนๆ และไม่ต้องอ้างว่าฝ้ายค้านไม่ยอม เพราะมีหลายคดีมีเรื่องอาวุธ เผาบ้านเมือง ตนคิดว่าทำได้เพราะรัฐบาลเป็นเสียงข้างมาก ขนาดแก้ไขพ.ร.บ.นิรโทษกรรมยังทำได้ ทั้งนี้ขอให้นิรโทษฯแต่ประชาชน ที่เหลือที่ไม่เกี่ยวกับประชาชนให้แขวนไว้เลย อย่างไรก็ตามคนที่รับผิดชอบในเหตุการณ์ต้องเป็นทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล

ขณะที่นายพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า การผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็เหมือนที่บรรณาธิการเว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่งระบุว่า เป็นการยิงซ้ำคนตายอีกรอบ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นรอบที่เท่าไรแล้ว และก็ได้พิสูจน์ด้วยการกระทำว่า ข้อสงสัยเรื่องใบสั่งเพื่อพาพ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้าน หรือคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณที่ว่าพี่น้องเสื้อแดงมาส่งผมถึงฝั่งแล้ว ที่เหลือผมจะไปต่อเอง ซึ่งความหมายก็จะแดงออกมาเรื่อยๆ

ที่มา.ทีนิวส์
----------------------------------------

ปีหายนะ !!?

โดย.พญาไม้

ปีที่สามของทุกๆ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง..สำคัญกว่า 2 ปีที่ผ่านมา และสำคัญมากกว่าปีที่ 4 ปีสุดท้ายของอายุสภาผู้แทน

เพราะหลายๆ รัฐบาลในประวัติศาสตร์การเมืองไทย..ล้วนมีอันเป็นไปในปีที่ 3 ของการเป็นรัฐบาลตัวอย่างที่เห็นชัด..

รัฐบาลของ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์..นายทหารผู้กระทำการปฏิวัติประเทศถึง 2 ครั้ง 2 คราว..เมื่อมาเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยก็ยั่งยืนอยู่ไม่ได้..

ก็ในขวบปีที่3

ในครั้งนั้นคราวนั้น..ได้ทักท้วงกับ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์..ให้โอนอ่อนผ่อนตามความต้องการของฝ่ายยังค์เติร์กให้มากที่สุด เพื่อผ่านปีที่ 3 ไปให้ได้..

แต่ผู้อยู่ในอำนาจมาแล้วถึง 3 ปี ผู้ปฏิวัติสำเร็จมาแล้วถึง 2 ครั้ง...ย่อมมีความเชื่อมั่นอย่างสูงในตัวตน..เขาเอาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ยอมรับการต่อรองของยังค์เติรก์..ที่มี พลตรี มณูญ รูปขจร แกนนำใหญ่ของยังค์เติรก์..

เขาจึงต้องประกาศลาออกกลางสภา..เพราะดีกว่าไปแพ้โหวตในรัฐสภา..

รัฐบาลของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ..ในปีที่3 แห่งการครองอำนาจ..กับการเลือกผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่..ในครั้งนั้นคราวนั้น..ได้เสนอให้..เอา พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ มาเป็นผู้บัญชาการทหารบก..เพื่อให้กองทัพกับกองทัพกำกับและควบคุมกันเอง..

โดยการแนะนำของ..คนใกล้ตัว..พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ..เลือก พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นผู้บัญชาการทหารบก...

ถัดจากนั้นไม่นาน..รัฐบาลของเขาก็ถูกปฏิวัติ..

ปีที่ 3 ของรัฐบาล..หากผ่านพ้นไปได้..ปีสุดท้ายเงื่อนไขใดๆ ก็เอามาอ้างไม่ได้เพื่อการขจัดรัฐบาลเพราะเป็นปีเปลี่ยนรัฐบาล..

วันนี้ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังอยู่ในช่วงปีที่ 3 จึงเป็นปีสำคัญที่จะต้องเข็นผ่านให้ได้..

ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล..จะทำทุกวิถีทางเพื่อล้มรัฐบาลลงให้ได้...ไม่ว่าจะด้วยเล่ห์หรือด้วยกล..ไม่ว่าด้วยมนต์หรือคาถา..

รัฐบาลนี้อาจจะมีฐานเสียงแข็งแกร่งทางรัฐสภา..และมีฐานมวลชนแน่นหนาที่จะต่อต้านการถูกปฏิวัติรัฐประหาร..

แต่สำหรับการถูกโค่นล้มด้วยข้อหาคอร์รัปชั่น..และด้วยเหตุผลและหลักฐานที่เจือสม..จะไม่มีเหตุผลให้มวลชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้าน..

และวันนี้ก็มีเรื่องราวมากมาย..ที่หมดหนทางปฏิเสธว่าไม่มีการใช้อำนาจรัฐจัดผลประโยชน์ให้กับกลุ่มตนและพรรคพวก

การรับจำนำข้าว..ที่รัฐบาลยอมรับว่าขาดทุนเป็นแสนล้าน..คำถามคือ...ชาวนาคนปลูกข้าวได้ไปเท่าไหร่..กำไรไปอยู่ที่ใคร..

หยิกเล็กก็เจ็บเนื้อ...ไม่อยากชี้โพรงให้กะรอก..แต่อยากจะบอกว่า..ถ้ารัฐบาลจะมีอันเป็นไป..ก็เพราะพฤติกรรมของ..แกนนำพรรค..ไม่ใช่ใครที่ไหน..

และจะไม่มีมวลชนมวลใดลุกฮือขึ้นมาเพื่อปกป้องรัฐบาลที่โกงกินแผ่นดิน

ที่มา.บางกอกทูเดย์
----------------------------------------

ทุนนิยมยุคใหม่ !!?

โดย วีรพงษ์ รามางกูร

ทุกวันนี้ดูเหมือนจะยอมรับกันทั่วโลกเสียแล้วว่า ระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นระบอบเศรษฐกิจที่เลวน้อยที่สุดในบรรดาระบอบเศรษฐกิจทั้งหลาย ที่นักคิดทางการเมืองและนักคิดทางเศรษฐกิจพยายามค้นคิดตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา สงครามทางความคิดเรื่องบทบาทของรัฐกับปัจเจกชนซึ่งต่อสู้กันมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ก็เป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้พังทลายลง เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์แพ้ "สงครามอวกาศ" หรือ "Star wars" ในสมัยประธานาธิบดีเรแกนแห่งสหรัฐอเมริกา

และฝ่ายนิยมสหภาพแรงงาน ซึ่งได้แก่ พรรคแรงงานในอังกฤษ และพรรคสังคมนิยมอื่น ๆ ในประเทศยุโรปตะวันออก พ่ายแพ้แก่นายกรัฐมนตรีมาร์กาเรต แทตเชอร์ แห่งสหราชอาณาจักร ที่ทำการต่อสู้กับสหภาพแรงงานเหมืองถ่านหิน ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานที่ใหญ่และเข้มแข็งที่สุดในประเทศอังกฤษ

สาเหตุที่คำทำนายของ คาร์ล มาร์กซ์ ไม่เป็นความจริง กล่าวคือ ระบบทุนนิยมนั้นเป็นระบบที่ทำลายตัวเอง เพราะการขูดรีดของชนชั้นนายทุนซึ่งมีจำนวนน้อย กับชนชั้นกรรรมาชีพซึ่งมีจำนวนมาก ทำให้นายทุนสามารถกดค่าแรงไว้ในระดับที่ต่ำเท่าที่จะประทังชีวิตอยู่ได้เท่านั้น

สมมติฐานนี้ก็ไม่เป็นความจริงเมื่อเกิดมีสหภาพแรงงานขึ้นในยุโรป สหภาพแรงงาน ทำให้กรรมกรสามารถต่อรองกับนายทุนผ่านทางสหภาพแรงงานได้ สหภาพแรงงานเติบใหญ่โตขึ้นจนสามารถตั้งพรรคการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลได้

อีกทั้งสมมติฐานที่ว่า ถ้าค่าแรงเพิ่มสูงขึ้นเมื่อไหร่ ชนชั้นกรรมาชีพก็จะมีลูกมากขึ้น การที่ชนชั้นกรรมาชีพมีลูกมากขึ้นทำให้จำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น ค่าแรงก็จะไม่สูงขึ้นตามอุปสงค์อุปทานของตลาดแรงงานก็ไม่จริง เมื่อสังคมร่ำรวย มีการศึกษามากขึ้น การวางแผนครอบครัวก็เป็นที่แพร่หลาย ไม่ได้ผูกขาดอยู่แต่เฉพาะชนชั้นนายทุนเท่านั้น ค่าจ้างแรงงานที่แท้จริงเมื่อคิดในรูปข้าวของสินค้าก็สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนนายทุนต้องออกไปหาแหล่งลงทุนใหม่ ๆ นอกประเทศที่ยังมีสัดส่วนของแรงงานต่อทุนมากกว่าประเทศของตน อันเป็นเหตุให้การพัฒนาได้กระจายตัวออกไปจากภูมิภาคหนึ่งไปสู่อีกภูมิภาคหนึ่ง จนกระทั่งครอบคลุมไปทั่วโลก ในที่สุดแม้ว่าในขบวนการดังกล่าวจะมีประชาชนบางส่วน "ตกรถ" ด้วยเหตุผลบางอย่าง แต่ก็เป็นส่วนน้อยไม่ใช่ส่วนใหญ่

แม้แต่สิ่งที่เคยพูดว่าระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย อย่างเช่น ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ยุโรป อังกฤษแบบพรรคกรรมกร ซึ่งยังให้ความสำคัญกับบทบาทของ "รัฐ" ในการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาล บัดนี้ก็ดูจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากการสนทนาโต้เถียงกัน ทั้งในเชิงทฤษฎีและการปฏิบัติ ประเทศที่เป็นที่ยกเว้นเห็นจะเป็นสหรัฐอเมริกา หัวหน้าค่าย "ทุนนิยม" เสียเองที่กำลังต่อสู้กันอยู่ในเรื่องสวัสดิการของรัฐในเรื่อง "การรักษาพยาบาล" เพราะรัฐบาลประธานาธิบดี

โอบามากำลังต่อสู้ที่จะจัดโครงการ "สุขภาพดีถ้วนหน้า" โดยการออกกฎหมายให้คนอเมริกันทุกคนต้อง "ประกันสุขภาพ" ไม่ของเอกชนก็ของรัฐบาล

ทั้งนี้ ก็เพราะว่าค่ารักษาพยาบาลในอเมริกันแพงมาก ที่แพงมากก็เพราะคนไข้อเมริกันชอบฟ้องแพทย์และพยาบาลเรียกค่าเสียหายมาก ๆ อยู่เสมอ หมอและพยาบาลก็ต้องซื้อประกัน ค่าประกันหมอก็แพงมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่าบริการรักษาพยาบาลที่อเมริกาก็เลยแพง ที่ยุโรปก็แพง แต่ยุโรปเขาบังคับให้ทุกคนประกันสุขภาพมานานแล้ว

คนอเมริกันและยุโรปหลาย ๆ คนบินมารักษาที่เมืองไทย อยู่พักผ่อนเที่ยวเล่นจนหาย บินกลับแล้วค่อยไปเบิกค่าพยาบาลรักษาที่บ้าน คิดรวมหมดแล้วยังถูกกว่า คุณภาพดีกว่า บริการดีกว่า

คนที่มีฐานะดีในอเมริกาซึ่งส่วนมากนิยมพรรครีพับลิกัน และสามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากบริการของเอกชนได้จึงคัดค้าน ทั้ง ๆ ที่มีน้ำหนักน้อย

อย่างที่เป็นข่าวอยู่ในสภาล่างของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน โดยเหตุที่ข้อเสียหรือจุดอ่อนของระบอบ "ทุนนิยม" ถูกแก้ไขได้เพราะระบอบทุนนิยมนั้นอยู่คู่กับระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย มิได้เป็นระบอบ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพแบบคอมมิวนิสต์" ในขณะเดียวกัน ข้อดีของระบอบทุนนิยมก็ได้รับการสนับสนุน เช่น ประสิทธิภาพในการผลิตของพนักงาน ประสิทธิภาพของตลาด ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร เพราะมีการแข่งขัน รวมทั้งโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ ทำให้เทคโนโลยีหรือวิทยาการ

การผลิตใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อการอยู่รอด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดถ้าหน่วยผลิตเป็นของ "รัฐ" หรือเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดอย่างเต็มที่ ประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจึงมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รายได้ต่อหัวของประชากรก็สูงขึ้น มีสินค้าและบริการให้ประชาชนในประเทศได้อุปโภคบริโภคได้อย่างเพียงพอ

แต่อันตรายของระบอบทุนนิยมในหลายเรื่องก็ยังมีอยู่ เช่น นายทุนก็จะมุ่งแต่จะแข่งขันแสวงหากำไร ทำลายทรัพยากรของชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำในทะเลและแม่น้ำลำคลอง มลพิษ เช่น น้ำเสีย อากาศเสีย รวมทั้งทำลายวัฒนธรรมอันดีงามของชาวบ้าน ซึ่งสร้างขึ้นตามวิถีชีวิตแบบเดิมที่อาศัยเศรษฐกิจการเกษตรดั้งเดิม หรืออุตสาหกรรมในครัวเรือน ศิลปะพื้นบ้าน รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดและคุณค่าของสังคมที่ไม่ใช่ตัวเงิน

ขณะนี้ก็เกิดแนวความคิดเรื่อง "ความรับผิดชอบต่อสังคมของนายทุน" หรือที่ชอบเรียกกันว่า CSR หรือ Corporate Social Responsibility ทำโดยกลุ่มเอ็นจีโอ หรือหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐในยุโรป ตามด้วยอเมริกา ทำการต่อสู้เรียกร้องและคัดค้านข้อที่เป็นจุดเสียของระบอบทุนนิยม

กลุ่มนี้มีหลายสมาคม หลาย ๆ หน่วยงาน แต่ทั้งหมดพยายามรณรงค์ให้ผู้บริโภคให้ความสนใจต่อบทบาทของนายทุนในการขูดรีดแรงงาน การทำลายสิ่งแวดล้อม การทำให้โลกร้อน การรักษาพันธุ์สัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ การทรมานสัตว์ และอื่น ๆ

ในทางการเมือง เมื่อชนชั้นนายทุนสามารถเอาชนะชนชั้นศักดินา สามารถสถาปนาระบอบการปกครอง "ประชาธิปไตย" ขึ้น ก็จะเกิดการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับประชาชน ซึ่งควรจะเป็นเจ้าของอำนาจประชาธิปไตยแต่ยังไม่เป็น จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "ทุนนิยมสามานย์" ซึ่งเป็นระบอบการปกครองของโลกในปัจจุบัน

ในทางเศรษฐกิจ ระบบการผลิตก็จะอยู่ในมือของชนชั้นนายทุน มิได้อยู่ในมือหรืออิทธิพลของผู้บริโภค ตามปรัชญาเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ในระบบเศรษฐกิจเสรีนั้นอำนาจอธิปไตยเป็นของผู้บริโภค หรือ Consumer Sovereignty ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ กระแสการต่อสู้จึงเกิดขึ้น เป็นกระแสการต่อสู้ระหว่างนายทุนกับผู้บริโภค ไม่ใช่นายทุนกับผู้ใช้แรงงานอีกต่อไปแล้ว เพราะปัญหาการต่อสู้ระหว่างผู้ใช้แรงงานกับนายทุนสงบแล้ว หลังชัยชนะของนายกรัฐมนตรีหญิงมาร์กาเรต แทตเชอร์

กระแสทุนนิยม "New Capitalism" หรือ "ทุนนิยมที่บรรลุ" "Enlightened Capitalism" กำลังเกิดขึ้น กล่าวคือ ทุนนิยมหรือนายทุนหรือกิจการของบริษัทจะสำเร็จอยู่ได้อย่างยั่งยืนก็ต่อเมื่อบริษัทมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีกลุ่มที่สามารถสร้างกระแสให้ผู้บริโภคไม่ซื้อหรือไม่ยอมรับสินค้า หรือบริการที่ผู้ผลิตไม่รับผิดชอบต่อสังคมได้ และกระแสที่ว่านี้เข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ กระแสที่ว่านี้พยายามสถาปนาอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคให้ปรากฏเป็นจริงให้มากขึ้นเรื่อย ๆ คล้ายกับขบวนการประชาธิปไตยที่พยายามจะสถาปนาอำนาจประชาธิปไตยให้เป็นของประชาชนให้เป็นจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ

เมืองไทยของเราก็คงจะได้เห็นการเกิดขึ้นของกระแสทั้ง 2 กระแสอย่างแจ้งชัดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะหลีกเลี่ยงก็คงจะเป็นไปได้ยาก
บริษัท ห้างร้าน และนายทุนที่ต้องพึ่งตลาดในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ได้ตระหนักในเรื่องความรับผิดชอบต่อคนอย่างมาก และถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพ จะได้ราคาสูงกว่าสินค้าปกติ และคุ้มกับการปฏิบัติตามค่านิยมนี้

ส่วนชนชั้นปกครองของเราจะเห็นกระแสเช่นว่านี้หรือไม่ก็ไม่ทราบ ถ้าไม่เห็นก็ควรจะพยายามเห็นและปรับตัวอย่างพวกนายทุนเสีย สังคมและบ้านเมืองจะได้สงบเรียบร้อย เป็นผลดีกับทุกฝ่าย อย่างไรเสียก็คงหนีไม่พ้นสองกระแสนี้

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
---------------------------------------------------

ตระกูลการเมืองไทย ยิ่งยุบ(พรรค)ยิ่งโต !!?

ตระกูลการเมืองไทย ยิ่งยุบ (พรรค) ยิ่งโต...เจนเนอเรชั่น 2 พร้อมทำงาน

เป็นข่าวฮือฮาช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อมีสื่อบางแขนงเสนอผลวิจัยเรื่อง "ตระกูลการเมือง" ของนักการเมืองไทย โดยเฉพาะ ส.ส.ในสภา ซึ่งพบว่าผู้แทนของเรามีสัดส่วนของคนจาก "ตระกูลการเมือง" ที่ส่งต่อสืบทอดกันมากที่สุดในโลก!

อย่างไรก็ดี เมื่อตามไปดูงานวิจัยร้อนๆ ของ ดร.สติธร ธนานิธิโชติ จากสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งแปรเป็นบทความชื่อ "สามทศวรรษตระกูลการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทย" ก็ได้พบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า ไม่ได้มีส่วนหนึ่งส่วนใดของงานวิจัยที่ชี้ชัดว่าประเทศไทยมีตระกูลการเมือง หรือที่หลายคนเรียกอย่างค่อนแคะว่าเป็นการ "สืบทอดอำนาจ" หรือ "สมบัติผลัดกันชม" ของวงศ์วานว่านเครือในระดับมากที่สุดในโลก

แต่ถึงกระนั้นก็นับเป็นสัดส่วนที่สูงไม่น้อยทีเดียว...

จากการจับเข่าคุยกับ ดร.สติธร และพลิกดูงานวิจัยอย่างละเอียด ยังพบประเด็นน่าสนใจมากกว่าจำนวน นั่นก็คือสัดส่วนของตระกูลการเมืองที่ฝ่าด่านเลือกตั้งเข้าสภาได้ในการเลือกตั้งทั่วไปแต่ละครั้งกลับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งๆ ที่ผู้คนในบ้านเมืองรับรู้ข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น หนำซ้ำในปี 2550 และปี 2551 ยังมีการยุบพรรคการเมืองใหญ่ไปหลายพรรค จนหลายคนคิดว่านักการเมืองและตระกูลการเมืองผู้ทรงอิทธิพลอยู่เดิมจะ "สูญพันธุ์" แต่ความเป็นจริงกลับสวนทาง!

ตระกูลการเมืองอิทธิพลสูงจริงหรือ?

ดร.สติธร เล่าให้ฟังถึงความสนใจเรื่องตระกูลการเมืองไทยจนตัดสินใจทำงานวิจัยชิ้นนี้ว่า จากผลการเลือกตั้งปี 2554 นักวิชาการหลายคนวิเคราะห์ว่าบทบาทของตระกูลการเมืองลดลงไปหรือเปล่า เพราะมีหลายตระกูลพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เช่น ตระกูลฉายแสง ตระกูลตันเจริญ จึงเกิดความสงสัยว่าเป็นจริงตามที่มีการวิเคราะห์หรือไม่ ประกอบกับเว็บไซต์ TCIJ (ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง) รายงานว่ามี 42 ตระกูลการเมืองที่ได้เข้าสภาในการเลือกตั้งปี 2554 จึงใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการศึกษา

หลักเกณฑ์ของการกำหนดนิยามของคำว่า "ตระกูลการเมือง" ใช้ 2 เจนเนอเรชั่น หรือ 2 รุ่น ส่วนใหญ่เน้นไปที่นามสกุลเดียวกัน หรือมีความเป็นเครือญาติกัน หากเคยชนะเลือกตั้งเข้าสภาได้ 2 รุ่นก็นับเป็นตระกูลการเมืองแล้ว ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ใช้ในต่างประเทศ แต่การวิจัยครั้งนี้ขีดกรอบเฉพาะนักการเมืองระดับชาติในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ไม่ได้โยงไปถึงระดับท้องถิ่นหรือวุฒิสภา อย่างไรก็ดี ในส่วนของ ส.ส. 500 คนในสภาผู้แทนชุดปัจจุบันนั้น พิจารณาจากทั้ง ส.ส.ระบบเขต และระบบบัญชีรายชื่อ และศึกษาย้อนกลับไปถึงการเลือกตั้งเมื่อปี 2522 เลยทีเดียว

งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งแสวงหาคำตอบว่า อิทธิพลของตระกูลการเมืองยังมีความสำคัญต่อการเมืองและการเลือกตั้งของไทยหรือไม่ ถ้ามี...อิทธิพลดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตหรือไม่ อย่างไร?

เลือกตั้ง 3 ก.ค.54 มี 42 ตระกูล

ดร.สติธร อธิบายว่า ผลการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2554 มีพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งจำนวน 11 พรรค มีผู้ได้รับการเลือกตั้งที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติในลักษณะ พ่อ-แม่-ลูก, พี่-น้อง และสามี-ภรรยา จำนวน 42 ตระกูล รวม 90 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของ ส.ส.ทั้งหมด 500 คน (แบบแบ่งเขต 375 คน แบบบัญชีรายชื่อ 125 คน)

สำหรับตระกูลที่มีสมาชิกในตระกูลชนะเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ "ตระกูลเทียนทอง" สังกัดพรรคเพื่อไทย 5 คน รองลงมาคือ "ตระกูลเทือกสุบรรณ" สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 4 คน และ "ตระกูลรัตนเศรษฐ" สังกัดพรรคเพื่อไทย 3 คน

นอกจากนั้นอีก 39 ตระกูล มีสมาชิกในตระกูลได้รับการเลือกตั้งจำนวน 2 คน กระจายไปในพรรคการเมืองต่างๆ จำนวน 5 พรรค และยังมีอีก 4 ตระกูลที่คนในตระกูลได้รับเลือกตั้งต่างพรรคกัน ได้แก่ ตระกูลไกรฤกษ์ (นายจุติ ไกรฤกษ์ ประชาธิปัตย์ นายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ พรรครักประเทศไทย) ตระกูลจินตะเวช (นายปัญญา จินตะเวช เพื่อไทย นายตุ่น จินตะเวช ชาติไทยพัฒนา) ตระกูลใจสมุทร (นายธานินทร์ ใจสมุทร ชาติไทยพัฒนา นายศุภชัย ใจสมุทร ภูมิใจไทย) และตระกูลมุ่งเจริญพร (นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร ภูมิใจไทย นางปิยะดา มุ่งเจริญพร เพื่อไทย)

เพื่อไทยแชมป์ 19 ตระกูล-ปชป.17

เมื่อพิจารณาจำนวนตระกูลแยกเป็นรายพรรค พบว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่มีตระกูลนักการเมืองได้รับเลือกตั้งมากที่สุด รวม 19 ตระกูล รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ 17 ตระกูล พรรคภูมิใจไทย 4 ตระกูล พรรคชาติไทยพัฒนา 3 ตระกูล พรรคพลังชล 1 ตระกูล และพรรครักประเทศไทย 1 ตระกูล

แต่หากพิจารณาในแง่สัดส่วน (เทียบกับจำนวน ส.ส.ทั้งหมดของพรรค) พบว่า พรรคชาติไทยพัฒนามีสัดส่วน ส.ส.ที่เป็นคนในตระกูลเดียวกันที่ได้รับเลือกตั้งสูงที่สุด คือ ร้อยละ 31.6 รองลงมาคือพรรคพลังชล ร้อยละ 28.6 พรรครักประเทศไทย ร้อยละ 25 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 22 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 17.6 และพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 15.1

ตระกูลการเมืองเพิ่มตลอดไม่มีลด

ประเด็นที่น่าสนใจต่อมา คือ พัฒนาการการดำรงอยู่ของตระกูลการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรของไทย ตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบัน ดร.สติธร บอกว่า ส.ส.ที่มีความสัมพันธ์แบบตระกูลการเมืองมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากที่มีเพียงร้อยละ 3.1 ในปี 2522 เพิ่มเป็นร้อยละ 6.6 ในปี 2526 และเพิ่มขึ้นในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ มา จนมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 10 เป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 ก.ย.2535 หรือการเลือกตั้งปี 2535/2 (ดูข้อมูลในกราฟฟิก)

จากนั้นการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วน ส.ส.ที่มีความสัมพันธ์แบบตระกูลการเมืองก็เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่มีการยกเครื่องระบบการเลือกตั้งครั้งใหญ่ มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเข้ามาเพิ่ม ผลก็คือทำให้สัดส่วนของ ส.ส.ที่มีความสัมพันธ์แบบตระกูลการเมืองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.2 และ 14.4 ในการเลือกตั้งปี 2544 และ 2548 ตามลำดับ

ยิ่งยุบพรรค ตระกูลการเมืองยิ่งโต

นอกจากนั้นยังเป็นที่น่าสังเกตว่า แม้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังการรัฐประหาร เมื่อ 19 ก.ย.2549 และนำไปสู่การยุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนักการเมืองครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้ง คือการยุบพรรคไทยรักไทย ในปี 2550 และการยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย กับพรรคมัชฌิมาธิปไตย ในปี 2551 นำไปสู่การเว้นวรรคทางการเมืองของนักการเมืองคนสำคัญ 111 คน กับ 109 คน เป็นเวลาถึง 5 ปี

แต่ปรากฏว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้กระทบหรือทำให้ตระกูลการเมือง "สูญพันธุ์" เพราะในการเลือกตั้ง 2 ครั้งหลังจากนั้น คือในปี 2550 และปี 2554 ส.ส.ที่มีความสัมพันธ์แบบตระกูลการเมืองกลับได้รับเลือกตั้งเข้าสภาสูงขึ้น คือ ร้อยละ 17.9 และ ร้อยละ 18.0 ตามลำดับ

ปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนว่า ตระกูลการเมืองใหญ่ของเมืองไทยไม่ได้ "สูญพันธุ์" ดังที่มีการคาดการณ์หรือวิเคราะห์กันช่วงหลังการยุบพรรค แต่กลับกลายเป็นตัวเร่งให้มีการส่งผ่านตำแหน่งทางการเมืองจากคนรุ่นหนึ่งซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมือง ไปสู่เครือญาติ ทั้งคู่สมรส ลูก หลาน และญาติพี่น้องเร็วกว่าเวลาอันควรด้วยซ้ำ

ระบบตระกูลมีทั้งข้อดี-ข้อเสีย

ในแง่ของผลที่เกิดขึ้นจากบทบาทของตระกูลการเมือง ดร.สติธร มองว่า การที่อำนาจไปกระจุกอยู่ที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความสนิทชิดเชื้อกันในแง่ของสายเลือด แน่นอนว่าย่อมส่งผลต่อการกำหนดนโยบายที่มีโอกาสอิงประโยชน์เฉพาะกลุ่มตนมากกว่าเพื่อคนส่วนใหญ่ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนสูง แต่หากมองในแง่ดีก็มีไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะการเตรียมคนรุ่นที่ 2 เข้าสู่เวทีการเมือง จะมีการตระเตรียมทั้งเรื่องการศึกษาที่ดี และส่งไปฝึกงานหรือทดลองงานกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในพรรคเดียวกัน ทำให้นักการเมืองรุ่นใหม่ๆ ที่เป็นเจนเนอเรชั่นใหม่ของตระกูลการเมืองเหล่านี้สามารถทำงานได้ทันทีที่ได้รับเลือกตั้ง

เห็นได้จากพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคอื่นๆ ก็ตาม กลุ่ม ส.ส.รุ่นใหม่ที่เป็นคนหนุ่มสาว เป็นเจนเนอเรชั่นที่ 2 ของตระกูลการเมือง มักทำงานได้ดี

ฉะนั้นแม้ตระกูลการเมืองจะยังคงมีต่อไปในระบบการเมืองไทย แต่จากผลการเลือกตั้งหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา พวกเขาก็ไม่ได้ชนะเลือกตั้งโดยอัตโนมัติ แต่มีปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขคือการทำงานในพื้นที่ และมีคุณสมบัติที่ดีพอที่ประชาชนจะลงคะแนนให้หรือไม่ ประกอบกับในแต่ละพื้นที่ก็มีหลายตระกูลแข่งขันกัน การเลือกตั้งบางครั้งตระกูลใหญ่แพ้ทั้งคู่ก็มี

ด้วยเหตุนี้การเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรู้เท่าทันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ใครที่มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลัง ใครที่มีสายสัมพันธ์กับใคร ถ้าประชาชนรู้ ก็จะทำให้การผูกขาดหรือออกนโยบายที่อิงผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มทำได้ยากขึ้น และถึงที่สุดก็จะทำให้ความเป็นตระกูลการเมืองไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ชนะการเลือกตั้ง แต่ผู้ที่มีอำนาจกำหนดเลือกผู้แทนที่แท้จริงคือประชาชน!

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////