--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มชาติพันธุ์ร้อง กสม.รัฐห้ามเผาป่า !!?


โดย : จันทร์จิรา พงษ์ราย

มติครม.แก้หมอกควันบานปลาย กลุ่มชาติพันธุ์ร้องกสม. ละเมิดสิทธิมนุษยชน ห้ามเผาไร่เลื่อนลอย ชงเสนอ "ปลอดประสพ" ทบทวนแนวปฏิบัติ

สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองจากหมอกควันจากไฟป่าในเขตพื้นที่ภาคเหนือ 9 จังหวัด คือจ.เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน ซึ่งส่อแวววิกฤติมากขึ้น ทั้งที่ยังอยู่ในช่วง 100 วันอันตราย ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าว ยังนำมาสู่การฟ้องร้องว่ากระทบต่อสิทธิมนุษยชน ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงจาก 3 หมู่บ้านในเขตจ.เชียงใหม่ และลำปาง ที่ร้องเรียนต่อคณะอนุกรรมการด้านที่ดินและป่าในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอีกด้วย

กสม. จี้"ปลอดประสพ"แก้แนวปฏิบัติ

วันนี้(21มี.ค.) นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะอนุกรรมการด้านที่ดินและป่าในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า ทางกสม. ได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านที่ร้องเรียนต่อคณะอนุกรรมการด้านที่ดินและป่า เข้าชี้แจงกรณีที่ได้รับผลกระทบถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในการดำเนินวิถีชีิวิต

จากมติครม. วันที่ 21 ม.ค.56 ที่เห็น ชอบในหลักการมาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควันประจำ 2556 ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือที่เปลี่ยนจาก “ควบ คุมการเผา” เป็น “ไม่มีการเผา” ที่มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะกระทบต่อวิถีของชาวบ้านในพื้นที่สูง เนื่องจากยังไม่ชัดเจนในแนวทางปฏิบัติอีกด้วย รวมทั้งยังขัดแย้งต่อตามมติครม.เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2553 เรื่องแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยงด้วย

" จากการรับฟังปัญหาชาวบ้านไม่ได้ดื้อ แต่ถูกละเมิดสิทธิในการใช้อำนาจของรัฐ ที่เกิดจากความไม่ชัดเจนจากมติครม.ไม่ให้เผา โดยหน่วยงานปฏิบัติไม่ได้แยกแยะระหว่างห้ามเผาป่า กับห้ามเผาไร่เลื่อนลอยที่ชาวบ้านทำกินอยู่ในพื้นที่ป่า และยังเป็นละเมิดภูมิปัญญาของชาวกะเหรี่ยงโดยพยายามเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตไปให้เขาใช้การไถกลบ ไม่ให้ทำไร่หมุนเวียน ซึ่ง หลังรับฟังในครั้งนี้ ทางกสม.จะทำข้อสรุปข้อเสนอจากเวทีเสนอไปที่ นายปลอดประสพ และผวจ.9 จังหวัดโดยเร็วที่สุด เพราะถือว่าเป็นมติครม.ที่ละเมิดสิทธิ และขอให้ทบทวนแนวทางการจัดการแก้ปัญหาไฟป่า" นพ.นิรันดร์ กล่าว

ประสานกต. เตือนเพื่อนบ้านยุติการเผา

น.ส.จงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) กล่าวว่า ขณะนี้ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน เฉลี่ย 24 ชั่วโมงมีค่าสูงสุดในรอบปี 2556 แล้ว โดยมีค่าเฉลี่ย 69-428 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มก./ลบม.) สูงสุดที่สถานีสนง. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อ.เมือง จ.เเม่ฮ่องสอน 428 มก./ลบ.ม. รองลงมาที่จ.เชียงใหม่ 200 มก./ลบม. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับอัน ตรายต่อสุขภาพแล้ว สาเหตุมาจากการเผาในเขตพื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตร กรรมทั้งในประเทศไทย และตามแนวตะเข็บชายแดนไทย ลาว และพม่า

"ขณะนี้ได้ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเตรียมทำหนังสือขอความร่วมมือในการลดการเผาพื้นที่การเกษตรที่ทำให้เกิดหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในเขตภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะที่แม่ฮ่องสอนที่มีสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกะทะ ทำให้หมอกควันแช่ตัวอยู่นาน นอกจากนี้วันที่ 30-31 มี.ค.นี้ ทางคพ.ยังได้เตรียมประชุมกลุ่มประเทศอาเซียนตอนบน 6 ชาติได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม พม่า กัมพูชา เพื่อหารือถึงมาตรการควบคุมป้องกันและการลดการเผาจากประเทศเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมถ้าเทียบกับช่วงเวลานี้ พบว่าจำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกิน 120 มก./ลบม.มี 17 วัน ขณะที่ปี 55 จำนวนวันสูงถึง 35 วัน ซึ่งยังไม่มีมีมติครม.เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน" น.ส.จงจิตร์ กล่าว

นายมาโนช การพนักงาน ผอ.ศูนย์อำนวยการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน สำนักงานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ยืนยันว่า มติครม.ทั้ง 8 ข้อที่กำนดในช่วง 100 วันห้ามมีการเผาระหว่างวันที่ 21ม.ค. -30 เม.ย.นี้ เพื่อต้องให้หน่วยงานต่างๆทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และผู้ว่าราชการทั้ง 9 จังหวัดสามารถทำงานแบบบูรณาการในแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่า ที่มักจะเกิดขึ้นรุนแรงในช่วงฤดูแล้ง
ชงเสนอ " ปลอดประสพ" แก้มติครม.

"หลังจากพบว่าในช่วง 2-3 ปีนี้ ปัญหาหมอกควันไฟป่าได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนภาคเหนือจำนวนมาก และยังกระทบท่องเที่ยวในภาคเหนือซึ่งอยู่ในช่วงรอยต่อของฤดูหนาว ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี และครม.ได้หารือร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรการทั้ง 8 ข้อออกมา และเน้นมาตรการป้องกัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน เช่น การกำหนดจัดระเบียบการเผา โดยให้นายอำเภอและท้องถิ่นทำความเข้าใจกับชุมชน รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบการเผามาเป็นการไถกลบ และการทำหมู่บ้านมาตรฐานปลอดการเผา เป็นต้น โดยให้ผวจ.9 จังหวัดภาคเหนือบริหารงานแบบซิงเกิลคอมมานด์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการทำให้กระทบกับวิถีชีวิตของชนเผ่า โดยจะเอาสิ่งที่ชาวบ้านกังวลไปเสนอนายปลอดประสพ เพื่อปรับแนวทางดำเนินงานต่อไป เนื่องจากยังมีประเด็นต่างๆที่กำหนดไว้ไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติ เช่น การไถกลบ หรือการขออนุมัติการทะยอยเผา เป็นต้น" นายมาโนช ระบุ

ปิ๊งไอเดีย ชี้ซื้อใบไม้ลดเชื้อเพลิง

นางนฤมล ปาลวัฒน์ ผวจ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า สถานการณ์หมอกควันที่แม่ฮ่องสอนวิกฤติหนัก มีปริมาณฝุ่นสูงถึง 428 มก./ลบม. แล้ว และฝุ่นจะแช่ตัวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะสภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกะทะ ทำให้อากาศกดตัวฝุ่นไม่สามารถลอยตัว ดังนั้นจึงเตรียมประสานขอฝนหลวง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากหมอกควันได้ส่งผลกระทบต่อรายได้จากการท่องเที่ยว และทำให้มีคนป่วยโรคทางเดิยหายใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"ที่ผ่านมาได้ประชาสัมพันธ์กับชนเผ่าเพื่อขอความร่วมมือในการเลื่อนการเผาพื้นที่เกษตรกรรมไปเป็นช่วงหลังเม.ย.นี้ ซึ่งจะมีเงินสนับสนุนจากรัฐมาช่วยชาวบ้านจริง และขณะนี้เงินยังไม่ได้รับการอนุมัติ นอกจากนี้ยังพยายามสนับสนุนการปลูกกาแฟ ต้นแมคาเดเมียทดแทนการปลูกพิชเชิงเดี่ยว เช่น ไร่ข้าวโพดที่ต้องเผาตอซัง และพืชหมุนเวียนอื่นๆ รวมทั้งยังมีแนวคิดที่รับซื้อใบไม้ที่ร่วงหล่น จากชาวบ้านเพื่อลดการสะสมตัวเป็นเชื้อเพลิงด้วย และนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และกระดาษสา แต่ตรงนี้อาจไม่ทันกับปีนี้" ผวจ. แม่ฮ่องสอน กล่าว

ด้านนายประยงค์ ดอกลำไย เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ กล่าวว่า มติครม.นี้ส่งผลกระทบต่อการทำไร่หมุนเวียนของชาวเขา และไม่เป็นธรรมอย่างมาก เพราะไม่ได้แยกแยะพื้นที่ และต้นเหตุของการเผา แต่โทษว่าชาวเขาที่ต้องเผาไร่หมุนเวียนเป็นต้นเหตุหลักของปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ยาวนานมานับศตวรรษ จนกระทั่งปัจจุบันทางกระทรวงวัฒนธรรมอยู่ระหว่างการผลักดันให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ขณะที่การห้ามเผาครั้งนี้ยังไม่ไม่ชัดเจนจากแนวปฏิบัติ

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

ระทึกมติ กกต. ฟัน สุขุมพันธุ์ เพื่อไทย ส่ง พงศพัศ. ลงซ้ำ !!?






แม้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะจบลงด้วยชัยชนะของ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" และ พรรคประชาธิปัตย์

แต่สงครามครั้งนี้ยังไม่จบ พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่สามารถนับศพทหารได้อย่างเบ็ดเสร็จ และไม่สามารถประกาศชัยเหนือเมืองหลวงได้อย่างเต็มปาก


เพราะ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" ยังมีชนักติดหลังเป็น 2 คำร้อง 3 ประเด็น ที่เสี่ยงถูกเขี่ยพ้นจากคำว่าผู้ชนะ โดยมีประเด็นหลัก คือ กรณีที่ "ศิริโชค โสภา" ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ภาพเหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อปี 2553 และกรณีที่ "ดร.เสรี วงษ์มณฑา" นักวิชาการ โพสต์

เฟซบุ๊กว่า "ไม่เลือกเรา เขามาแน่"

ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำกรุงเทพมหานคร ชงเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม กกต.ใหญ่ ให้ชี้ขาดว่าจะฟันใบเหลือง ใบแดง หรือใบขาว

"สดศรี สัตยธรรม" กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่า "เมื่อ กกต.จังหวัดเสนอมาว่ารับเป็นคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ทำให้ กกต.กลางจะต้องดำเนินการต่อให้เสร็จเรียบร้อย เนื่องจากสำนวนที่ กกต.กทม.เสนอมายังไม่ได้เชิญผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง ดังนั้น เมื่อสำนวนมาถึง กกต.กลาง ก็ต้องเข้าอนุกรรมการไต่สวนของ กกต.เพื่อตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ แล้วเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหาคนอื่น ๆ เช่น นายศิริโชค มาชี้แจงก่อนสรุปสำนวน แล้วบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของ กกต.เพื่อวินิจฉัยคำร้อง"

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูสถิติการรับรองผลผู้ว่าฯ กทม.ย้อนหลังในห้วงที่ 5 เสือ กกต.ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ พบว่ามีการเลือกตั้ง

ผู้ว่าฯ กทม.2 ครั้ง คือการเลือกตั้ง

5 ตุลาคม 2551 ครั้งที่ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง ครั้งนั้น กกต.ประกาศรับรองในวันที่ 8 ตุลาคม ห่างจากวันเลือกตั้ง 3 วัน

ครั้งที่สอง คือการเลือกตั้งเมื่อ

11 มกราคม 2552 ที่พรรคประชาธิปัตย์

ส่ง "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" ลงครั้งแรก

โดย กกต.รับรองผลในวันที่ 14 มกราคม

ห่างจากวันเลือกตั้ง 3 วันเช่นกัน เนื่องจากทั้ง 2 ครั้งไม่ปรากฏว่ามีคำร้องทุจริต

แตกต่างจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ 3 มีนาคม 2556 แม้ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" และพรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายชนะเลือกตั้ง แต่ก็ยังร้อน ๆ หนาว ๆ เพราะไม่มีวี่แววว่า กกต.กลางจะรับรองในเร็ววัน สืบเนื่องจากพิษ 2 คำร้อง 3 ประเด็น ที่ กกต.กทม.ชงให้ กกต.กลางลงดาบ

แต่ในมุมของผู้ถูกกล่าวหาว่าทุจริต

อย่างพรรคประชาธิปัตย์ วิเคราะห์โอกาสรอดมีมากกว่าโดนเชือด

แม้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และโหรการเมืองอีกหลายสำนัก

จะโหนกระแส วิเคราะห์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะอาการสาหัส

เสี่ยงรับโทษรุนแรงจากใบเหลือง-ใบแดง หากแต่เป็นมุมมองที่สวนทางกับคนวงใน ที่เลือกใช้ยุทธวิธี "นิ่งสงบ สยบเคลื่อนไหว" แทนที่จะออกมาปะทะคารมกับคู่ตรงข้าม ตามคำบัญชาของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรค

โดยยืนยันหลักการเดิมต้องเคารพกระบวนการตรวจสอบ ไม่ควรทำอะไร

ที่สร้างแรงกดดันให้ กกต. "อภิสิทธิ์"

เชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน

ตรวจสอบตามปกติ และยังไม่เห็นว่าจะมีอะไรผิดกฎหมาย และเมื่อกางกฎหมาย คำนวณความน่าจะเป็นกรณีเลวร้ายที่สุด กกต.แจกได้แค่ใบเหลือง ไม่มีใบแดง

สอดรับกับผลวิเคราะห์ ประเมินผลจากฝ่ายกฎหมายพรรคที่มองว่า โอกาสที่จะมีความผิด มีความเป็นไปได้น้อยมาก

เพียงแต่กังวลในท่าทีตีฆ้องร้องทุกข์ของฝ่ายตรงข้าม อาจเปลี่ยนสถานะ

ผู้ตรวจสอบอย่าง กกต. กลายเป็นจำเลย

ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด

"การที่เพื่อไทยออกมาแสดงท่าที

อย่างนี้ มันมีแต่ผลเสีย หาก กกต.ตัดสินว่ามีความผิด ก็จะถูกตีตราว่าถูกการเมืองชี้นำ

แต่ตัดสินตรงกันข้ามก็จะถูกกล่าวหาว่าไม่มีความยุติธรรม ดังนั้นเราควรเงียบ และปล่อยให้ กกต.ทำงานของเขา"

"ตามกระบวนการตรวจสอบ หาก กกต.กลางพบว่าส่อเค้าว่าจะมีความผิด จะต้องเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องไปชี้แจง แต่จนบัดนี้ไม่ว่าจะเป็นนายศิริโชค และ ดร.เสรี

หรือแม้กระทั่งนายอภิสิทธิ์ก็ยังไม่เคยถูกเรียกตัวไปชี้แจง นั่นย่อมเห็นแล้วว่า ผลลัพธ์สุดท้ายจะออกมาในทิศทางไหน"

ด้วยความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยมว่าจะไม่มีผลลัพธ์เป็นลบ ทั้งพรรคจึงเชื่อมั่นว่า

ควรรอฟังคำตัดสินอย่างสงบ ไม่ตอบโต้ ปะทะคารมทางการเมือง

มีเพียงหนึ่งใน "จำเลยจำเป็น" อย่างนายศิริโชค ที่ออกมาตอบโต้ ยืนยันความบริสุทธิ์ใจ โดยแถลงข่าวชี้แจงเรื่องที่มาที่ไปของภาพตัดต่อที่ถูกโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีทางที่จะผิดกฎหมาย

"ไม่ว่าจะดูมุมไหนก็ไม่ผิดกฎหมาย ผมไม่ได้ใส่ร้าย พล.ต.อ.พงศพัศ

พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผาบ้านเผาเมือง ผมระบุชัดเจนว่า มีคนตัดต่อภาพฉากหลังที่มี นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (รมช.พาณิชย์)

ขึ้นรถหาเสียง ทำให้ชวนคิดถึงเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง"

"หากเทียบกับการเลือกตั้งใหญ่

เราถูกโจมตี กล่าวหาว่าสั่งฆ่าประชาชน

นายณัฐวุฒิก็เป็นคนทำไว้ ซึ่ง กกต.ก็วินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เหตุการณ์นี้ก็จะเหมือนกัน ผมอยากให้กลับไปดูภาพตัดต่อจากกลุ่ม Red Club มากกว่า ที่นำศิลปิน ดารา นักมวย ออกมาชี้นำให้เลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ผมว่านั่นต่างหากที่ผิดกฎหมายชัดเจน"

หากแต่ในมุมของศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.พรรคเพื่อไทย ที่มี "ภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรคเป็นประธาน ที่อยู่ฝ่ายผู้ปราชัย กลับคาดการณ์คำวินิจฉัยของ กกต.ว่าจะออกเป็นใบเหลือง

เนื่องจากการกระทำของ "ศิริโชค" เข้าข่าย

ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยม

ดังนั้น วอร์รูมพรรคเพื่อไทยจึงส่ง

สัญญาณให้บรรดาลูกทีมอยู่ในสภาพ "พร้อมรบ" ทุกเมื่อ หาก กกต.เป่านกหวีดให้ใบเหลือง

"พล.ต.อ.พงศพัศ" ที่หลบหลังฉากอยู่ในเวลานี้ จะกลับมาปรากฏตัวอยู่หน้าฉากอีกครั้ง นโยบายไร้รอยต่อจะถูกเข็น

ออกมากางสู่สาธารณะ ควบคู่กับการชี้แจงคำครหา "เผาบ้าน เผาเมือง" ของฝ่ายค้าน โดยเฉพาะการนำคำวินิจฉัยของศาลแพ่ง ที่พิพากษาว่าการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ไม่ใช่การก่อการร้ายมาชี้แจงกับ

ประชาชน

เคราะห์กรรมของ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" ยังคงต้องลุ้นต่อไป เพราะชัยชนะที่ได้มายังไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เข้าคำโบราณที่ว่า สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร


ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ

//////////////////////////////////////////////

ศาลฎีกาฯ สั่งจำคุก ประพัฒน์ โพธิวรคุณ-ไพศาล ลือพืช ไม่แจ้งทรัพย์สิน ป.ป.ช. !!?

ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก 4 เดือน “ประพัฒน์ โพธิวรคุณ”ไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน ป.ป.ช. นั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง “ไพศาล ลือพืช” เลขาฯรมว.แรงงาน โดน 2 เดือน แต่ให้รอลงอาญาทั้งคู่
k210356

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาจำคุก นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ คดีไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขณะเป็นประธานกรรมการ และกรรมการของรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงในประเทศไทยหลายแห่ง โดยให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือนและปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ๔ กระทง รวม จำคุก ๘ เดือน ปรับ ๑๖,๐๐๐ บาท

แต่นายประพัฒน์ให้การรับสารภาพให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่งแล้ว รวมเป็นจำคุก ๔ เดือน และปรับ ๘,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยต้องโทษทางอาญามาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ( คดีหมายเลขดำที่ อม. ๕/๒๕๕๕ คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๒/๒๕๕๖)


ก่อนหน้านี้วันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ศาลฎีกาฯ พิพากษานายไพศาล ลือพืช กรณีไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ตอนดำรงตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้าน เป็นความผิดสองกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือน และปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท

ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กระทงละกึ่งหนึ่ง รวมให้จำคุก ๒ เดือน และปรับ ๔,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยรับ โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ มีกำหนด ๑ ปี หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๔ วรรคสอง ( คดีหมายเลขดำที่ อม. ๖/๒๕๕๕
คดีหมายเลขแดงที่ อม. ๑/๒๕๕๖)

คำพิพากษา คดี นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ดังนี้

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือเรียกโดยย่อว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่า นายประพัฒน์ โพธิวรคุณ ผู้คัดค้านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการฯ และกรรมการของรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงในประเทศไทยหลายแห่ง จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๙ (๑๕) และมาตรา ๔ ผู้คัดค้านจึงต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้อง ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง ทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี

ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินต่อผู้ร้อง ครั้งแรกกรณีเข้ารับตำแหน่งกรรมการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๔ โดยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔ และยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในฐานะกรรมการรัฐวิสาหกิจในกรณีต่าง ๆ ตามวาระแต่ละครั้ง อีกหลายครั้ง แต่ผู้คัดค้านไม่ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง ในตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี สำหรับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีและตำแหน่ง กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง

ผู้ร้องได้พิสูจน์เจตนาของผู้คัดค้าน โดยมีหนังสือถึงผู้คัดค้านเพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว โดยส่งหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยของผู้คัดค้าน ซึ่งมีผู้รับหนังสือไว้แทนผู้คัดค้านแต่ผู้คัดค้านไม่ชี้แจงเหตุขัดข้องต่อผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องได้ประชุมพิจารณากรณีผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแล้วมีมติ เป็นเอกฉันท์ว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) ในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) ในกรณีเข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และในกรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) รวม ๙ บัญชี

แต่การจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง สำหรับกรณี พ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในการดำรงตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) และกรณีเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ขาดอายุความแล้ว คงมีการกระทำผิดของผู้คัดค้านที่ยังอยู่ในอายุความ ดำเนินคดีคือ ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง หน้า ๓ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำ หนด กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่ง และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ( ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำ แหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) รวม ๕ บัญชี

ผู้ร้องจึงได้มายื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นคดีนี้เพื่อขอให้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่ วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือวันที่ตรวจพบการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณี ห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๔๑ กับให้ลงโทษผู้คัดค้านตามมาตรา ๑๑๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑

ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อเท็จจริง เพียงพอที่จะวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องไต่สวนพยานหลักฐานของผู้ร้องและผู้คัดค้าน จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนพิเคราะห์คำร้อง เอกสารประกอบคำร้องและคำรับสารภาพของผู้คัดค้านแล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ผู้คัดค้านเคยเป็นกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวม ๙ ครั้ง ได้แก่กรณีพ้นจากตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๔) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่ง กรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และกรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ผู้ร้องเคยมีหนังสือแจ้งให้แก่ผู้คัดค้านมาชี้แจงแล้วรวม ๔ ครั้ง

ซึ่งผู้คัดค้านได้รับหนังสือของผู้ร้องแล้ว แต่ไม่ไปชี้แจง ผู้ร้องมีความเห็นว่าผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เห็นควรยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อพิจารณาลงโทษผู้คัดค้านและห้ามผู้คัดค้านมิให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปี นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง แต่มีคดีบางส่วนที่ขาดอายุความไปแล้วคงมีคดีซึ่งผู้ร้องเห็นว่ายังไม่ขาดอายุความคือ กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และกรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องคดีนี้

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเห็นว่า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง ผู้คัดค้าน ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ กรรมการรัฐวิสาหกิจของรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งตามลำดับ ผู้คัดค้าน จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ มีหน้าที่ ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบสำหรับตัวผู้คัดค้าน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องภายในสามสิบวันนับแต่วันเข้ารับตำแหน่ง ทุกสามปีที่อยู่ในตำแหน่ง เมื่อพ้นจากตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตามมาตรา ๓๙ (๑๕) แต่ผู้คัดค้าน ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินรวม ๙ ครั้ง แต่ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ลงโทษผู้คัดค้านคดีนี้มี ๕ กรณี ได้แก่ กรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) กรณีพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) กรณีพ้นจากตำแหน่งกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) และพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒)

ก่อนหน้านี้ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงมาบ้างแล้ว แต่ต่อมากลับไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือ แจ้งให้ผู้คัดค้านชี้แจงเหตุที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ผู้คัดค้าน ได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชี้แจง องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินจริง แต่เห็นว่า กรณีผู้คัดค้านไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) นั้น แม้ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่ง ประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ แต่ปรากฏว่าตามหนังสือของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เรื่องขอทราบข้อเท็จจริงและขอเอกสารหลักฐาน ที่ วท ๕๒๐๑/๗๔๖ ฉบับลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ แจ้งต่อผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าววันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ และครบวาระวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ตามคำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ ๗๙/๒๕๔๗ เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๗ เอกสารหมาย ร. ๒ ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ มิใช่วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๙ ดังที่ปรากฏในคำร้องของผู้ร้อง เมื่อได้ความว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๙ วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี จึงต้องเป็นวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๐ ซึ่งจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจาก ตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีภายในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ อายุความจึงเริ่มนับถัดจากวันดังกล่าว เป็นต้นไป

ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องและได้ตัวผู้คัดค้านมาดำเนินคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองภายในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕ จึงจะไม่ขาดอายุความ คดีนี้แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำร้อง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ แต่เมื่อยังไม่ได้ ตัวผู้คัดค้านมา จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาห้าปี คดีในส่วนที่ขอให้ลงโทษผู้คัดค้านสำหรับการไม่ยื่นบัญชี หน้า ๖ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๗ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีในตําแหน่งประธานกรรมการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๑) องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมาก เห็นว่าคำร้องในส่วนนี้จึงขาดอายุความ แม้ผู้คัดค้านจะให้การรับสารภาพแต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจ พิพากษายกฟ้องผู้ร้องในส่วนนี้ได้ ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยด้วยว่า ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สิน หรือนับแต่วันที่ตรวจพบว่ามีการกระทำดังกล่าว แล้วแต่กรณี กับห้ามมิให้ผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ตามคำร้องของผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

แต่ปรากฏว่า ตามเอกสารหมาย ร. ๒ ระบุว่า ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ ถึงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้คัดค้านจึงพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ มิใช่วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ ตามที่ปรากฏในคำร้องของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งทั้งสองดังกล่าว เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ และวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ จึงถือว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งนั้น นับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งที่ผู้ร้องเสนอเรื่องให้วินิจฉัยมาแล้วก่อนศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยการให้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งตามคำร้องของผู้ร้องอีก

ดังนั้นเมื่อการกระทำความผิดของผู้คัดค้านในคดีนี้ เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวจึงต้องถือ วันพ้นจากตำแหน่งตามความเป็นจริงคือผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ครั้งที่ ๒) วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ การห้ามมิให้ผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลาห้าปี จึงต้องนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ซึ่งเป็นวันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งครั้งสุดท้าย ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๑ พิพากษาว่า ผู้คัดค้านมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดหลายกรรม ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินและเอกสารประกอบ จำคุกกระทงละ ๒ เดือนและปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ๔ กระทง รวม จำคุก ๘ เดือน ปรับ ๑๖,๐๐๐ บาท ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กึ่งหนึ่งแล้ว รวมเป็นจำคุก ๔ เดือน และปรับ ๘,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยต้องโทษทางอาญามาก่อน โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นเวลา ๕ ปีนับแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๑ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก



คำพิพากษา คดีนายไพศาล ลือพืช มีดังนี้

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือที่เรียกโดยย่อว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ร้อง ยื่นคำร้องว่า นายไพศาล ลือพืช ผู้คัดค้าน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๘๙/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ และคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๑๕๕/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะพร้อมเอกสารประกอบต่อผู้ร้องภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๙, มาตรา ๒๖๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔

มาตรา ๓๒, ๓๓ ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองครั้ง เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๑ และวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามลำดับ เนื่องจากผู้สั่งแต่งตั้ง พ้นจากตำแหน่ง ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อผู้ร้อง กรณีเข้ารับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครั้งที่ ๑) เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ และกรณีพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งครบกำหนดการยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ ในการเข้ารับตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครั้งที่ ๒) ผู้คัดค้านยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งครบกำหนดการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ต่อมาผู้ร้อง ได้ดำเนินการพิสูจน์เจตนาของผู้คัดค้านโดยมีหนังสือให้ผู้คัดค้านชี้แจงสาเหตุที่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแล้ว ๓ ครั้ง ผู้คัดค้านได้รับหนังสือแล้วแต่ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแก่ผู้ร้องแต่อย่างใด ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ กรณีพ้นจากตำแหน่ง มาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี ในการดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองครั้ง การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดตามกฎหมายหลายกรรมต่างวาระกัน ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองลงโทษผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มาตรา ๓๔, ๑๑๙ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ และห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพและไม่ยื่นคำคัดค้าน

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณาแล้ว เห็นว่า ข้อเท็จจริง เพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยไปได้ จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนพิเคราะห์คำร้อง เอกสารประกอบคำร้องและคำรับสารภาพของผู้คัดค้านแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔ (๑๗) โดยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานรวม ๒ ครั้ง ครั้งแรกตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๘๙/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง แต่งตั้งผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป หลังจากนั้นผู้คัดค้านต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากผู้มีอำนาจแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง โดยพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๑ ต่อมาผู้คัดค้านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานอีกเป็นครั้งที่ ๒ ตามคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ ๑๕๕/๒๕๕๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ และพ้นจากตำแหน่งครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ เนื่องจาก ผู้สั่งแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งอีก

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๙, ๒๖๐ กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อผู้ร้องภายใน ๓๐ วัน กรณีเข้ารับตำแหน่ง กรณีพ้นจากตำแหน่งและในวันครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง ผู้ฝ่าฝืนจะมีความผิดต้องได้รับโทษ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเฉพาะเมื่อเข้ารับตำแหน่ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการดำรงตำแหน่งครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่งเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งเป็นเวลาหนึ่งปีทั้งสองครั้ง ซึ่งกำหนดให้ ผู้คัดค้านต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๒ และวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ตามลำดับ ทั้งที่ผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งเตือนและผู้คัดค้านได้รับหนังสือแจ้งเตือนแล้ว ตามหนังสือขอให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและหนังสือตอบรับ เอกสารหมาย จ. ๗ ถึง จ. ๙

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เห็นว่า ผู้คัดค้านเป็นข้าราชการการเมือง มีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามที่กฎหมายกำหนด ผู้คัดค้านเคยยื่นบัญชี แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้บ้างแล้วกรณีเข้ารับตำแหน่งและกรณีพ้นจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่ไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่ง เป็นเวลาหนึ่งปีสำหรับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานทั้งสองคราว ย่อมแสดงว่า ผู้คัดค้านจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อผู้ร้อง และเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ลงโทษ ผู้คัดค้านเป็นคดีนี้ ผู้คัดค้านก็ให้การรับสารภาพ องค์คณะผู้พิพากษาจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกระทำของผู้คัดค้านเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙

สำหรับที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองห้ามผู้คัดค้านดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใด ในพรรคการเมืองมีกำหนดระยะเวลา ๕ ปี นั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๔ วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวันที่ความปรากฏต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ระยะเวลาห้าปีตามวรรคหนึ่งให้นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ในคดีนี้ระยะเวลาห้าปีในการห้ามดำรงตำแหน่งของผู้คัดค้านจึงนับแต่วันที่ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ ๒ คือวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ อันเป็นวันพ้นตำแหน่ง ครั้งสุดท้าย พิพากษาว่า นายไพศาล ลือพืช ผู้คัดค้าน มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๑๙ การกระทำของผู้คัดค้าน เป็นความผิดสองกรรม เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ให้จำคุกกระทงละ ๒ เดือน และปรับกระทงละ ๔,๐๐๐ บาท ผู้คัดค้านให้การรับสารภาพ ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณาคดี เป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ กระทงละกึ่งหนึ่ง รวมให้จำคุก ๒ เดือน และปรับ ๔,๐๐๐ บาท ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเคยรับ โทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ มีกำหนด ๑ ปี หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ และห้ามผู้คัดค้าน ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองมีกำหนดห้าปี นับแต่วันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๔ วรรคสอง

ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
///////////////////////////////////////////////////////////////

ป.ป.ช.เล็งส่งหนังสือบี้อัยการ คดีไร่ส้ม !!?


วิชา มหาคุณ เผย ป.ป.ช.เตรียมส่งหนังสือถึงอัยการสูงสุด ถามความคืบหน้า “คดีไร่ส้ม” หลังส่งสำนวนไปตั้งแต่ ต.ค.ปีที่แล้วยังเงียบ



(ภาพจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)

เมื่อวันที่ 22 มี.ค.2556 นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เปิดเผยกับ “สำนักข่าวอิศรา”www.isranews.org ว่า ป.ป.ช.เตรียมทำหนังสือสอบถามความคืบหน้าเรื่องการดำเนินการคดีกล่าวหาพนักงานบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ช่วยเหลือให้บริษัท ไร่ส้ม จำกัด ที่มีนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นกรรมการผู้จัดการ ได้รับเงินโฆษณาเกินกว่าเวลาที่ระบุในสัญญา รวมเป็นเงินกว่า 138 ล้านบาท เนื่องจาก ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดพร้อมส่งสำนวนคดีดังกล่าวไปยังอัยการสูงสุด ตั้งแต่เดือน ต.ค.ของปีที่แล้ว แต่ถึงขณะนี้ ทราบมาเพียงว่า อัยการสูงสุดเพียงแค่ตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบสำนวนที่ ป.ป.ช.ส่งไปให้เท่านั้น ยังไม่มีความคืบหน้า หรือการแจ้งกลับมายัง ป.ป.ช.ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

นายวิชายังกล่าวว่า นอกจากทำหนังสือสอบถามความคืบหน้าคดีไร่ส้มแล้ว ยังมีแนวคิดที่จะนัดหารือร่วมกันระหว่าง ป.ป.ช.กับอัยการสูงสุด เพื่อทำข้อตกลงว่า ต่อไปคดีใดที่ ป.ป.ช.ชี้มูลแล้วส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อ ควรจะแจ้งความคืบหน้ากลับมายัง ป.ป.ช.ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของตน 30 วันเป็นระยะเวลาที่น่าจะเหมาะสม

อ่านประกอบ: อัยการตั้งทีมตรวจสำนวน "คดีไร่ส้ม" ก่อนพิจารณาส่งฟ้องศาล

ที่มา.สำนักข่าวอิศรา
////////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

เค.วอร์เตอร์ไม่แฮปปี้ ขอแก้ไข ทีโออาร์ !!?


ธงทอง.เผยเค.วอร์เตอร์ไม่แฮปปี้ถึงขั้นขอแก้ไขทีโออาร์ ระบุทำอีไอเอ-เดินเรื่องเวนคืนที่ดิน

เปิดเวทีชี้แจงรายละเอียดข้อกำหนดและขอบเขตงาน(TOR) โครงการเพื่อการออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ให้กับ 6 กลุ่มบริษัทเอกชนที่ผ่านการคัดเลือกกรอบแนวคิดเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ทั้ง 9 แผนงาน โดยคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ(สบอช.) ตามพระราชกำหนดกู้เงินวงเงิน 3.5แสนล้านบาท

โดย 6 กลุ่มบริษัทเอกชนที่เข้าฟังการชี้แจงประกอบด้วย 1.บริษัท โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปปอเรชั่น(เค.วอเตอร์) 2.กิจการค้าร่วม ญี่ปุ่น-ไทย 3.ITD-POWERCHINA JV 4.กิจการร่วมค้าทีมไทยแลนด์ 5.กลุ่มบริษัทค้าร่วม ล็อกซเลย์ และ 6.กิจการร่วมค้า ซัมมิท เอสยูที โดยรูปแบบของเป็นการเปิดเวทีในวันนี้ เป็นการให้เอกชนที่ผ่านการคัดเลือกได้สอบถามในประเด็นข้อสงสัยต่างๆที่เป็น 2 เซ็คชั่น คือเซ็คชั่นของข้อกฎหมายและด้านเทคนิค ทั้งนี้ในส่วนของตัวแทนฝ่ายรัฐบาล-คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ในการตอบคำถามของเอกชนนั้น ประกอบด้วย นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการเลขาธิการสบอช. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นายอภิชาติ อนุกูลอำไพ ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณากรอบแนวคิดทางเทคนิค-วิชาการ โครงการก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และนางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกบอ. ไม่ได้มาร่วมงาน เนื่องจากติดภารกิจที่ต่างประเทศ

นายธงทองจันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบในช่วงของเซ็คชั่นตอบคำถามเรื่องข้อกฎหมาย กล่าวอธิบายถึงขั้นตอนในการสอบถามนั้น ทางคณะกรรมการฯขอให้เอกชนส่งคำถามเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า และจะได้รับคำตอบโดยวาจาในชั้นต้นแต่ยังไม่ถือว่าเป็นคำตอบสุดท้าย เพราะคณะกรรมการฯจะทำคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อความรอบคอบเพื่อให้เอกชนนำไปใช้อ้างอิงได้ต่อไป ดังนั้นคำตอบที่มีผลผูกพันคือคำตอบที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการเท่านั้น ทั้งนี้ยืนยันด้วยว่าไม่ปรับตารางเวลาต่างๆที่มีการกำหนดไว้เพราะเราอยู่ในข้อจำกัดของเวลา

สำหรับรูปแบบการชี้แจงนั้น เป็นการให้ทางบริษัทเอกชนเขียนคำถามเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วให้ฝ่ายของคณะกรรมการที่เป็นฝ่ายรัฐซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างเป็นผู้ตอบ โดยบรรยากาศในการตอบคำถามล้วนแล้วแต่เป็นการตอบด้วยวาจาเป็นภาษาไทย ดังนั้นจึงทำให้กลุ่มเอกชนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติต้องนำล่ามมาช่วยแปลภาษาเอง

โดยในช่วงของเช็คชั่นแรกนั้น เป็นเรื่องของคำถามด้านข้อกฎหมาย ซึ่งมีคำถามหลากหลาย อาทิ คำถามเรื่องวิธีคิดค่าปรับมีการตั้งวงเงินค่าปรับสูงสุดไว้หรือไม่ โดยประเด็นนี้ตัวแทนจากกฤษฎีกา ตอบว่า ในส่วนของค่าปรับมี 2 กรณี กรณีแรกคือการเรื่องทำวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่มีพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นถ้าเอกชนทำไม่แล้วเสร็จจะมีการปรับวันต่อวัน แต่ไม่มีวงเงินค่าปรับสูงสุด แต่จะปรับจนกว่าจะทำจนแล้วเสร็จ และอีกกรณีคือการปรับหากก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ

ส่วนคำถามที่ว่าหากมีกรณีเกิดเหตุสุดวิสัยที่เกิดความเสียหายกับงานจ้างซึ่งไม่ได้เกิดจากผู้ยื่นข้อเสนอ ดังนั้นผู้ยื่นข้อเสนอไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใช่หรือไม่ โดยเรื่องนี้นายธงทอง เป็นผู้ตอบคำถามว่า ต้องรับผิดชอบ เพราะขอให้มีสูตรคำนวณความเสี่ยงต่างๆบอกเข้ามาด้วย เรียนว่าหลักการทั้งหมดเป็นสิ่งที่ผู้ยื่นข้อเสนอต้องตรึกตรองด้วยความรอบคอบ ดังนั้นจึงอยู่ในกรอบการใช้เงินสูงสุด(Guaranteed Maximum Price : GMP) ที่ได้ยื่นให้กับคณะกรรมการ จากนั้นเอกชนถามว่าในระหว่างการทำงานหากมีภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นจะทำอย่างไร นายธงทอง กล่าวว่า ส่วนนี้ไม่มีการระบุรายละเอียดราคาที่ท่านคิดเป็นราคา GMP ในซองที่รวมราคาภาษีทุกอย่างไว้แล้ว

ส่วนคำถามที่ว่ารายละเอียดเอกสารมีจำนวนมากจะขอขยายเวลาในการยื่นคำถามออกไปหนึ่งสัปดาห์และขยายเวลาอีก 45 วัน เพื่อส่งดีไซน์บิวส์ได้หรือไม่ โดยนายธงทอง กล่าวยืนยันหนักแน่นในประเด็นนี้หลายครั้งว่า ไม่สามารถยืดเวลาให้ได้ เนื่องจากมีการวางกติกาไว้แล้วและมีเงื่อนไขของเวลาตามพ.ร.ก.กู้เงิน อย่างไรก็ตามในการยื่นซองข้อเสนอราคานั้นให้ยื่นซองเดียว ส่วนข้อเสนอด้านเทคนิคให้ทำสำเนามา 25 ชุด และในส่วนของโครงการที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน ผู้รับจ้างสามารถขอรับข้อกำหนดเกี่ยวกับการศึกษาความเหมาะสมของกรมชลประทานที่มารับได้ในวันศุกร์ที่ 22 มี.ค. เวลา 10.00-12.00 น. ที่ตึกสบอช. ทำเนียบรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อมาถึงคำถามที่ถามยาวหลายคำถามว่า หากมีการชุมนุมต่อต้านโครงการบางพื้นที่ และหากศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและใช้เวลาในการศึกษานาน เจ้าของที่ดินไม่ยอมให้เวนคืนหรือเรียกค่าเวนคืนสูง เจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือทำให้เกิดความล่าช้า ฝ่ายรัฐบาลจะให้ความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง โดยเรื่องนี้ นายธงทอง กล่าวว่า เรื่องที่ดินเป็นหลักการที่เคยประชุมกับคณะกรรมการแล้วมีการวางแนวทางระบุอยู่ในทีโออาร์ โดยในกรณีที่เป็นที่ดินของรัฐผู้ว่าจ้าง(รัฐ) ต้องขออนุญาตจากที่ดินของรัฐ ที่รัฐจะดูแลเองในการขออนุญาต แต่หากที่ดินดังกล่าวมีโรงเรียนตั้งอยู่ ดังนั้นหากมีกรณีที่ต้องสร้างโรงเรียนใหม่ชดเชย หรือขยายโรงเรียน ผู้รับจ้าง(เอกชน)ต้องรับผิดชอบ ส่วนกรณีที่เป็นที่ดินของรัฐที่มีบุคคลอาศัยอาจจะโดยทางราชการผ่อนผัน ได้รับใบอนุญาตชั่วคราวหรือบุกรุก แต่พื้นฐานนั้นยังเป็นพื้นที่หลวง ดังนั้นค่าที่ดินผู้รับจ้างไม่ต้องจ่าย แต่หากต้องมีค่ารื้อขนย้ายในการไปตั้งถิ่นฐานใหม่ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบ

นายธงทอง กล่าวอีกว่า กรณีที่เป็นที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง ผู้รับจ้างมีหน้าที่เจรจาขอซื้อ และเมื่อซื้อได้เมื่อถึงเวลาโอนก็ให้โอนทอดเดียวจากคนขายมาเป็นสมบัติของรัฐบาลไทย และกรณีที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนที่ไม่สามารถกันตกลงราคาได้ ขอซื้อไม่สำเร็จต้องใช้อำนาจรัฐโดยการออกฎหมายเวนคืนที่รัฐต้องออกค่าชดเชยเวนคืน แต่ส่วนที่รัฐจ่ายชดเชยไปจะนำมาหักออกจากมูลค่าของสัญญา

เมื่อถามถึงคำถามเรื่องค่าปรับกรณีก่อสร้างล้าช้าไม่เสร็จภายใน 5 ปีนั้น ตัวแทนกฤษฎีกา กล่าวว่า การจะกำหนดเวลาเริ่มจะนับจากวันทำสัญญาแล้วนับเวลาไป หากมีความล่าช้าจากผู้ว่าจ้างเองอาจจะมีการอนุมัติขยายเวลาให้ตามความเหมาะสม เมื่อถามถึงข้อเสนอพิเศษได้คิดค่าใช้จ่ายให้หรือไม่ นายธงทอง กล่าวว่า เป็นของแถมที่ผู้รับจ้างประสงค์จะแถมให้ ทางราชการจึงไม่มีงบประมาณให้

สำหรับคำถามที่ว่าถ้าบริษัทเอกชนได้คะแนนเท่ากันคณะกรรมการจะตัดสินอย่างไร โดยนายธงทอง กล่าวว่า เกณฑ์ให้คะแนนมีความละเอียดพอและจะมีความแตกต่างในแต่ละราย แต่ถ้าคะแนนใกล้เคียงมากก็จะมีความรอบคอบในการตัดสินตามหลักวิชาการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อถึงคำถามที่เป็นของบริษัทเค.วอเตอร์ฯ ที่ได้รับการคัดเลือกอยู่ใน10 Module ซึ่งปรากฏว่าเอกสารคำถามมีความหนาจึงทำให้นายธงทอง กล่าวว่า อ่านคำถามแล้วดูเหมือนท่านจะไม่แฮปปี้กับข้อกำหนดบางอย่าง ท่านเคารพผม ผมก็เคารพท่าน และผมยืนยันข้อกำหนดเดิมตามหลักทีโออาร์

"เพราะท่านจะขอเปลี่ยนรายละเอียดในทีโออาร์ เปลี่ยนข้อกำหนด ซึ่งเรายืนยันว่าเราไม่เปลี่ยนทีโออาร์ ผมไม่เปลี่ยนหรอก" นายธงทอง กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นเป็นเซ็คชั่นของการชี้แจงและถามคำถามด้านเทคนิคซึ่งใช้เวลาในการชี้แจงนานกว่าช่วงของคำถามข้อกฎหมาย เนื่องจากมีรายละเอียดและใช้ศัพท์ทางเทคนิคแต่ละแผนงานทั้ง 9 แผนงาน(Module) ซึ่งนายอภิชาต ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาฯ ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า แต่ละแผนงานต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการทำศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เช่นนั้นอาจจะตกม้าตายได้ ดังนั้นถ้าไม่อยากจะสะดุดหรือผิดระเบียบก็ขอให้ดำเนินการ อีกทั้งถ้าท่านศึกษาและใช้เทคนิคราคาแพงเกินกว่ากรอบวงเงินรัฐบาลก็ไม่มีเงินให้ ไม่ใช่ว่ามี 3,000 ล้านบาท ก็ไม่จำเป็นต้องทำให้ได้ 3,000 ล้านบาท อย่าเข็นครกขึ้นภูเขา อย่าทำวิลิศมาหรา เพราะท่านอาจจะเสียคะแนน ไม่ใช่ว่าทำได้แค่บนกระดาษแต่ทำจริงๆไม่ได้ อย่างไรก็ตามใครที่มีสิทธิ์อยู่ในหลายแผนงานก็ต้องออกแรงเยอะหน่อย ไม่รู้ว่าเป็นโชคหรือเป็นกรรม เพราะต้องเสนอเข้ามาตามที่เราคัดเลือกไว้ในแต่ละแผนงาน ถ้าท่านไม่เสนอเข้ามาก็ตกไปทันที

Tags : นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////

ทีวีสาธารณะ บทบาทที่ถูกตั้งคำถาม !!?


สืบเนื่องจากโจทย์ร้อนของรายการตอบโจทย์ประเทศไทย? ที่ถูกตั้งข้อสงสัยว่า ตอบโจทย์ใครกันแน่? ประเทศไทย? สาธารณชน? หรือคนบางกลุ่ม?
       
จากการสวมหน้ากากในฐานะของทีวีสาธารณะ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเงินที่ไหลเวียนอยู่ในสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมาจากภาษีของประชาชนหรือสาธารณะ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงสูงสุดคงจะหนีไม่พ้นคือการทำหน้าที่ในฐานะสื่อเพื่อประโยชน์สูงสุดของสาธารณชน หากแต่ว่าโจทย์ที่เลือกตอบในครั้งนี้กลับถูกตั้งคำถามอย่างหนัก
       
จากท่าทีสู่ความไม่เห็นด้วย จนถึงการประท้วง และท้ายที่สุด แม้เรื่องราวจบลงที่สื่อสาธารณะได้รับอิสรภาพ แต่สิ่งที่ต้องแลกมากับคำถามที่ถูกตั้งขึ้นครั้งนี้คืออะไร?
     
ทีวีสาธารณะคืออะไร
     
 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกิดจากการเปลี่ยนไอทีวีซึ่งในยุคนั้นได้ชื่อว่าเป็นทีวีเสรีเป็นทีวีซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของ และมีการกำหนดเนื้อหาในการนำเสนอเอาไว้ที่เรื่องข่าวและสารประโยชน์ 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 30 เปอร์เซ็นต์เป็นส่วนบันเทิงมาเป็นทีวีสาธารณะเต็มรูปแบบ
     
 โดยได้มีกฎหมายรองรับในโครงสร้างการบริหารชัดเจนให้เป็นอิสระจากอำนาจรัฐและกลุ่มทุน กลายเป็นทีวีสาธารณะ มีเงินงบประมาณจากภาษีเหล้าและบุหรี่มาคอยสนับสนุน ปีละประมาณ 2 พันล้าน
     
 บอกได้ว่า ทีวีสาธารณะคือความฝันของสื่อในอุดมคติที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องยึดตัวเองอยู่กับรัฐหรือกลุ่มทุน ทว่าอิสระเหล่านั้นก็ต้องมีสิ่งที่แลกเปลี่ยนของตอบแทนสู่ประชาชน ว่าง่ายๆคือ โจทย์ที่สำคัญที่สุดของทีวีสาธารณะคือประชาชน
     
รศ.ดร.สุรัตน์ เมธีกุล อดีตคณบดี คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นต่อความเป็นสื่อสาธารณะของไทบพีบีเอสว่า ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ จากปัจจัยหลายอย่างที่ยังคงเป็นเงื่อนไขอยู่
     
“ในยุคปัจจุบัน เรามีความเชื่อมั่นกันมากเรื่องสื่อเสรี ทีวีสาธารณะ เพราะฉะนั้น การกำกับควบคุมจึงควรทำเท่าที่ทำได้เท่านั้น คือต้องปล่อยให้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ควบคู่ไปกับผู้ผลิตรายการที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม
     
“แต่ในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้น ผมยังไม่เชื่อว่าเราจะทำได้อย่างนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะโครงสร้างระบบ การบริหารจัดการหลายๆ อย่างของเรา ยังตกอยู่ภายใต้เจ้าของ ซึ่งอาจจะเป็นหน่วยงานราชการ หน่วยงานทหาร ทำให้บางครั้ง บางองค์กรมีข้อจำกัด อาจเพราะใกล้ชิดกับนักการเมือง หรือเหตุผลหลายๆ อย่าง แต่สุดท้ายแล้ว การจะทำให้เป็น “ทีวีสาธารณะ” ในอุดมคติให้ได้มากที่สุดก็คือ ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงเรื่องความรับผิดชอบ หลักของการข่าว ต้องมีความลึก รอบรู้ กว้างไกล และที่สำคัญ ต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม”
     
จากเอกสารวิชาการส่วนบุคคล เรื่อง ความเป็นอิสระของทีวีสาธารณะ และการถ่ายทอดวาทกรรมและปฏิบัติการจิตวิทยาของรัฐ: กรณีศึกษาการชุมชุมทางการเมืองใน เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553โดย ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ที่เป็นการศึกษาถึงการทำงานในฐานะทีวีสาธารณะของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส พบว่า มีความโน้มเอียงอยู่ในหลายช่วงเวลา
     
จากผลการศึกษานี้ ระบุว่า ในช่วงการชุมนุมทีวีไทยมีแนวโน้มที่ไม่เป็นอิสระหรือเข้าข้างรัฐบาลในช่วงการชุมนุมทางการเมืองในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2553 นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เอียงข้างฝ่ายตรงข้ามกับรัฐในการชุมนุมทางการเมืองในช่วงก่อนปี 2552
     
ข้อสังเกตุของการโน้มเอียงที่เกิดขึ้นนี้ ถูกวิเคราะห์ว่าเป็นเรื่องยากที่สื่อปัจจุบันจะดำรงความเป็นกลาง ท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรง ซึ่งในรายการระบุว่า กรรมการนโยบายและผู้บริหารทีวีไทยหลายท่านได้แย้งว่าทีวีไทย “ถูกด่า/วิจารณ์จากทั้งแดงทั้งเหลือง” โดยยืนยันว่าเป็นปรากฏการณ์ที่แสดงความเป็นกลาง แต่ปรากฏการณ์นี้อาจสะท้อนปัญหา ความเอนเอียงไปมาตามกระแสหรือเสียงวิจารณ์ในช่วงต่างๆ ก็เป็นได้ ซึ่งถ้าทีวีไทยสามารถทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพที่ไม่เลือกข้างอย่างแท้จริง ก็น่าจะทำให้ข้อครหาเหล่านี้ให้น้อยลงหรือหมดไป
     
 จุดน่าสังเกตอย่างหนึ่งคือ ถึงแม้ทีวีสาธารณะในบางประเทศจะมีภาพลักษณ์ที่มีจุดยืนทางการเมืองในเรื่องต่างๆ ที่ไม่ใช่ตรงกลาง แต่ทีวีเหล่านี้ก็มักจะมีนโยบายที่ชัดเจนในการเปิดพื้นที่ให้กับรายการที่ได้ชื่อว่า มีจุดยืนทางการเมืองต่างออกไป ทั้งนี้ในแง่มุมของการทำงานก็ได้รับการยอมรับในฐานะที่มีความเป็นมืออาชีพค่อนข้างสูง จึงทำให้ไม่มีข้อครหาต่อจุดยืนแต่อย่างใด
       
 ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นเป้าหมายที่ทีวีไทยควรจะตั้งและพยายามดำเนินงานแบบมืออาชีพในการนำเสนอข่าวสารและรายการอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากการยัดเยียด บิดเบือน หรือโจมตีเพื่อช่วยฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งจะทำให้ทีวีไทยกลายเป็นทีวีสาธารณะที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและยังสามารถรักษาจุดยืนขององค์กรไปพร้อมกันด้วย
     
       คำถามของสังคม
     
 การมองเรื่องสถาบันเป็นจุดสำคัญหรือที่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลใช้คำว่า “เป็นปัญหาใจกลาง” หรือ “ศูนย์กลาง” นั้นถือเป็นทัศนะของบุคคลกลุ่มหนึ่ง บอกได้ว่าเป็นเรื่องของสถาบันนั้นในปัจจุบันเป็นปัญหาสำหรับคนกลุ่มหนึ่ง มากกว่าที่จะกระทบต่อสาธารณชน ในทางกลับกัน การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันด้วยท่าทีของการมองว่าเป็นปัญหาต่างหากที่เป็นปัญหาเสียเอง
     
 ต่อประเด็นของการตอบโจทย์ฯ รศ.ดร.สุรัตน์ ที่ได้รับชมรายการด้วยเห็นว่า สิ่งที่รายการนำเสนอออกมาเป็นการสะท้อนถึงเสรีภาพที่สามารถพูดได้จริง แต่มันก็ชวนให้เกิดคำถามว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ มันใช่เวลาที่จะหยิบประเด็นปัญหาเหล่านั้นมาพูดหรือ?
     
 “ในฐานะสื่อมวลชนที่ดี เราจะต้องหยิบเรื่องที่กำลังเป็นที่ถกเถียง เป็นที่สนใจ เป็นปัญหาของสังคมอยู่ ณ ขณะนั้น เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาคำตอบไปในทางคลี่คลาย แต่ครั้งนี้ ถามว่ามูลเหตุของการหยิบประเด็นนี้มาพูดคืออะไรและพูดแล้วจะเป็นประโยชน์กับใครบ้าง? เราสามารถแสดงออกความคิดเห็นได้อย่างเสรีก็จริง แต่ถ้าเสรีภาพนั้นมันไปสั่นคลอนหรือก่อให้เกิดความเสียหาย มันก็ดูจะไม่เหมาะสมที่จะมานั่งหยิบประเด็นตรงนั้นมาขยาย”
     
     
 ท้ายที่สุด จากที่ได้ชมรายการที่เป็นปัญหา เขาบอกว่า ไม่ได้มีการให้คำตอบอะไร ทั้งยังเป็นทัศนะส่วนตัวที่เขาไม่แน่ใจว่าจะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม ทว่าประเด็นเรื่องเสรีภาพของสื่อนั้นดูจะเป็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายหยิบยกมาถกเถียง เขาเห็นว่า เป็นเรื่องของดุลยพินิจสื่อควรจะพูดเรื่องใด และพูดอย่างไร
     
 “ถ้าจะบอกว่า ต้องการหยิบมาพูดเพื่อให้เกิดบรรยากาศแห่งเสรีภาพ ตัวรายการต้องตั้งประเด็นให้ชัด มีที่มาที่ไปที่อธิบายได้ว่าเหตุใดจึงหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูด ซึ่งสุดท้ายแล้วคนที่จะตอบได้ว่าเนื้อหารายการนั้นมีประโยชน์หรือไม่ ควรค่าแก่การออกอากาศหรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและความรับผิดชอบของสถานีนั่นเอง ซึ่งตอนหลัง เขาก็ออกมาแสดงความรับผิดชอบด้วยการขอยุติรายการ ซึ่งผมคิดว่าทำถูกแล้ว ในเมื่อสังคมไม่เห็นด้วยและมีผลสะท้อนในทางลบตอบกลับมา ก็ถึงเวลาที่สื่อที่เรียกตัวเองว่าเป็น “ทีวีสาธารณะ” ต้องหาทางแก้ไขไม่ให้เรื่องบานปลายและหันมาพิจารณาหน้าที่ของตัวเอง ผมไม่ตั้งคำถามกับการเลือกคน แต่ผมตั้งคำถามกับการเลือกประเด็นมาพูดมากกว่า เพราะไม่ว่าเรื่องนี้จะถูกนำเสนอผ่านสื่อแบบไหน จะเป็นทีวีสาธารณะ ทีวีธุรกิจ หรือทีวีอะไร สื่อมวลชนต้องมีความรับผิดชอบครับ ต้องไม่เป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกหรือทำให้สังคมไม่สงบสุข”
     
 ในงานเสวนาสาธารณะ “ตอบโจทย์ เรื่อง ตอบโจทย์: ทีวีสาธารณะกับบทบาทพื้นที่สาธารณะในสังคมไทย
     
นักวิชาการด้านสื่อหลายคนมองว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่พูดได้หรือไม่ หากแต่พูดอย่างไร ท่ามกลางความขัดแย้ง เพราะเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน ทั้งยังมีความเสี่ยงที่ส่งให้ผลให้สังคมเกิดความแตกแยก
     
 ทั้งนี้ ในเวทีดังกล่าว สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ยังยืนยันว่า ต้องมีเวทีกลางให้ได้พูด
     
 “คนไทยพีบีเอส อาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่เราเป็นสื่อไม่จำเป็นต้องเข้าข้างใคร ผมไม่รู้สื่ออื่นเป็นอย่างไร ถึงผมก็ไม่เห็นด้วยในคำพูดของนายสมศักดิ์ หลายเรื่อง แต่เราเป็นพื้นที่กลางต้องมีเวทีนี้”
     
อย่างไรก็ตาม เสียงหนึ่งที่สะท้อนถึงความต้องการของประชาชนต่อทีวีสาธารณะได้ดีคือเสียงของผู้ชม พัฒนจรินทร์ สวนแก้วมณี ผู้ชมที่ติดตามรายการตอบโจทย์ ตั้งคำถามท่ามกลางวงเสวนาขึ้นว่า การนำประเด็นเรื่องสถาบันออกมาพูดนั้นตนไม่ได้ต่อต้านและพร้อมรับฟัง แต่ดูบริบทโดยรวมแล้วเห็นว่า มีเรื่องที่น่าสนใจมากมายในขณะนี้เช่นเรื่องความล้มเหลวของโครงการรับจำนำข้าว เรื่องเงินกู้2.2 ล้านบาทที่ควรจะตอบโจทย์ประชาชนและเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้รับรู้ โดยนำผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงมากกว่า เพราะการที่นำประเด็นเรื่องพระมหากษัตริย์ที่มีการออกอากาศถึง 5 ตอนนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเท่ากับปัญหาปากท้องและนโยบายที่ล้มเหลวของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนอยากรู้มากกว่า
     
 ทั้งนี้ ตนมีความคาดหวังสูงกับทีวีสาธารณะที่รับเงินจากภาษีประชาชน แม้ตนจะไม่ใช่ผู้ที่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ก็ตามแต่ก็ถือว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสได้ภาษีจากประชาชนเช่นกัน ดังนี้ควรทำเรื่องที่เป็นสาธารณะและตอบโจทย์ประชาชนอย่างแท้จริง
     
 บทบาทในฐานะสื่อสาธารณะ มีเจตจำนงในดำรงอยู่เพื่อสาธารณชน ทว่าเมื่อสื่อสาธารณะถูกตั้งคำถาม จากประเด็นที่สุ่มเสียงในช่วงเวลาที่ยังไม่เหมาะสม หน้ากากของความเป็นกลางที่ถูกวางไว้เพื่อประชาชน ท้ายที่สุดแล้วหรือจะเป็นเพียงอีกโฉมหน้าหนึ่งของวาระซ้อนเร้นทางการเมืองเท่านั้น?
       
       ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ live
////////////////////////////////////////////////////////////////

ยิ่งลักษณ์ ยิ่งอยู่นานวัน ยิ่งเหนือชั้น !!?


โดย ชลิต กิติญาณทรัพย์

ใครที่ไปเยี่ยมชมนิทรรศการ Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ แล้วคุณจะมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของวิถีดำเนินชีวิตของคนไทยในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

แล้วคุณจะประจักษ์ด้วยสายตาตัวเองว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีวิสัยทัศน์และการบริหารงานที่เหนือกว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลายขุม

ไล่เรียงกันมาตั้งแต่แผนป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาครอบคลุมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดรายทางแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งรัฐบาลได้จัดให้มีการซักซ้อมใหญ่เหมือนจริงเพื่อจะได้รู้ข้อบกพร่องช่องโหว่ของการปฏิบัติงานได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อปีที่แล้ว และโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะกลางและระยะยาวมูลค่า 3.5 แสนล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้

จนกระทั่งมาถึงนิทรรศการ Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก แผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ หรือเส้นทางคมนาคมทั้งระบบขนส่งสินค้า และขนส่งคนของเมืองไทยทั้งหมด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและทวงคืนเวลาของทุกคนที่เสียไปกับท้องถนนให้กลับคืนสู่สถาบันครอบครัว และแผนเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท วางแผ่หลาให้ทุกคนได้สัมผัส

Thailand 2020 เปรียบเสมือนแม่เหล็กก้อนใหญ่ที่ดึงดูดบริษัทต่างประเทศจากทั่วทุกทวีป ให้มาร่วมประมูลแข่งขันนำเสนอเทคโนโลยีที่ดีที่สุดสำหรับเมืองไทย แค่ประเทศจีนเพียงประเทศเดียวน่าจะมีอย่าง 4 บริษัทเอกชนเข้าร่วมแจม

อาทิ ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรั๊คชั่น ไชน่า เรลเวย์ เน็ตเวิร์ค เป็นต้น ไม่ต้องพูดบริษัทเอกชนญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อื่น ๆ ล้วนแต่อยากเป็นผู้กำชัยชนะครั้งนี้ทั้งสิ้น

ไม่เพียงแต่เท่านี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ลงนามความร่วมมือ

กับประเทศพม่าไปแล้ว เพื่อผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย และเขตพัฒนาอุตสาหกรรมสำคัญ ท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าแห่งใหม่ของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นประตูส่งที่สำคัญของจีนตอนใต้ กล่าวโดยรวมแล้วพม่า ไทย จีน ลาว จะได้ผลประโยชน์มากที่สุดจากโครงการนี้

ไม่เพียงแต่เท่านี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังศึกษาหาวิถีทางเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายกองทัพนักลงทุนของญี่ปุ่นจากประเทศจีนมาเมืองไทย ซึ่งจะเป็นการเดินทัพครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ รัฐบาลกำลังเล็งหาสถานที่และระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไว้รองรับ วางแผนพัฒนาเฉกเช่นเดียวกับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก

ทั้งหมดนี้ล้วนอยู่เหนือความคาดหมายของพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคพวก

นายอภิสิทธิ์และพรรคพวกพยายามที่จะชูปมเด่น "ฝีปาก" เพื่อลบปมด้อย "มันสมอง" ของตัวเองทำงานด้วยวิธีทำลายล้าง สร้างกระแสคัดค้าน ต่อต้าน ทุกวิถีทาง และยืมจมูกคนอื่นหายใจนั้น "ตกยุค" แล้ว

กรณีทวงคืน ปตท.ของรสนา โตสิตระกูล, พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส, นายมานพ ก้าวสมบูรณ์ กับกรณีเครือข่ายสุราษฎร์ธานี เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน ประท้วงการให้สัมปทานขุดเจาะสำรวจน้ำมันในอ่าวไทยของกระทรวงพลังงาน และอีกหลายขบวนการที่จะเริ่มปรากฏตัวนั้น จะมีความเชื่อมโยงสอดประสานกับเส้นทางเดินของประชาธิปัตย์หรือไม่

หรือจะสอดคล้องดวงดาวตามคำทำนายของผู้เชี่ยวชาญโหราศาสตร์ท่านหนึ่งบอกไว้ เดือนเมษายนหลังสงกรานต์ มีดาวร้ายราหูกับเสาร์เข้ามาป้วนเปี้ยนดวงเมืองตลอด

คืน 13 ต่อเช้า 14 เมษายน จะเกิดจันทร์ดับที่ราศีเมษต่อราศีมีน นอกจากนี้ ยังมีอังคารเข้ามาร่วมขบวนการปลายราศีมีนกับราศีเมษด้วย

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

พรางอำนาจ !!?


แล้วไง...??
ท่าน วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์..ประธานศาลรัฐธรรมนูญ..ออกมากล่าวเท้าความย้อนหลัง..ถึงคราวตัดสินคดีปลดนายสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี..และยุบพรรคการเมือง..พลังประชาชน พรรคชาติไทย และมัชณิมา..เพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง
ก็ต้องกราบเรียนว่า..

คำพิพากษาที่บกพร่อง..ไม่ว่าด้วยประการใดๆ นั้น..ได้ทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยดังที่พวกท่านปรารถนาหรือไม่..หน้าที่ของท่านคือความสุขุมรอบคอบในการใช้อำนาจที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดนั้น เป็นเรื่องที่ต้องพึงระวังอย่างยิ่ง

ขอเคารพในสิ่งที่ท่านได้กล่าวถึงและยอมรับ..แต่จะต้องถามกลับไปว่า..เป็นเช่นนี้แล้วในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่..ยังจะต้องคงอำนาจเช่นนี้ไว้ต่อไปหรือไม่..

เพราะว่า..ถึงแม้ว่า..สมัคร สุนทรเวช จะถูกถอดถอนออกไป..แต่เขาก็สามารถจะกลับเข้ามาใหม่ได้..หากเสียงส่วนใหญ่ในสภายังยืนยัน..

แต่ที่ สมัคร สุนทรเวช ไม่ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น..เพราะมีการหักกันเองในพรรคใหญ่และเป็นเหตุให้..เกิดปรากฏการณ์งูเห่า..จนได้พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นรัฐบาล..ได้ท่าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาเป็นนายกรัฐมนตรี

การไม่ยอมรับจากประชาชนจึงก่อหวอดขึ้น..จากการพรางอำนาจของอำนาจที่ไร้การควบคุม
ว่ากันไปแล้ว..หน้าที่เพื่อรักษาความสงบของบ้านเมืองนั้น...ไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ..ไม่ว่าจะมองจากชื่อขององค์กรอิสระหรือองคาพยพของกำลังพลเจ้าหน้าที่..
แล้วหลังจากที่ได้ยุบพรรคทั้ง 3 ไปแล้ว ได้เกิดความสงบในบ้านเมืองสมดังเจตนารมณ์ของพวกท่านหรือไม่..ตรงกันข้ามมิใช่หรือ....

ประชาชนพากันก่อหวอดเรียกร้องให้รัฐบาลที่เกิดจากการพรางอำนาจคืนอำนาจให้กับประชาชน..จนเกิดการบุกเข้ามายึดพื้นที่ในเมืองหลวงการบุกล้อมศาลากลาง..และเกิดการกระชับพื้นที่..จนมีการเข่นฆ่าสังหารหมู่ ตายไปเกือบร้อยศพและบาดเจ็บกว่าสองพันคน..

ในที่สุดฝ่ายเรียกร้องการเลือกตั้งประสพชัยชนะ...และประชาชนเกินครึ่ง..เลือกพรรคที่นายสมัคร สุนทรเวช..เคยเป็นนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง...บ้านเมืองจึงเกิดความสงบมาจนเท่าทุกวันนี้

โดย. พญาไม้.บางกอกทูเดย์
/////////////////////////////////////////////////

บิ๊กจิ๋ว ปัดข่าว ถูกทาบร่วมงานรัฐบาล !!?



ที่สโมสรราชพฤกษ์  พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้บัญชาการทหารบก เปิดเผยว่ า ไม่เคยได้รับการติดต่อทาบทาม พูดคุย หรือเชื้อเชิญจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน

หรือกลุ่มวาดะห์ ให้เข้าไปดูแลงานด้านความมั่นคงให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน อย่างที่มีกระแสข่าวออกมาก่อนหน้านี้ แต่ยอมรับว่าพร้อมที่จะช่วยงานความมั่นคงของประเทศชาติ โดยไม่มีจำเป็นต้องมีตำแหน่งในรัฐบาลก็ได้ แต่หากรัฐบาลมีการติดต่อ ทาบทามมาจริง ก็ต้องมาหารือกันว่าจะตอบรับหรือไม่ อย่างไร


พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนพร้อมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ที่ทำมาเราเคยทำงานในพื้นที่กันมา 30-40 ปีแล้ว ทุกอย่างก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา แต่ความสัมพันธ์เรายังเหมือนเดิม แน่นแฟ้นมากกว่าเดิมด้วย นั่นเพราะงานด้านความมั่นคงมีความสำคัญที่จะละเว้น หรือละเลยไม่ได้ แม้จะไม่อยู่ในตำแหน่ง แต่ก็สามารถช่วยงานได้ ที่ผ่านมาก็มีข่าวออกมาเยอะเหลือเกิน บางทีก็ดี บางทีก็ไม่ดี อาจเสียหายทั้ง 2 ฝ่ายได้

ส่วนตแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ ที่รัฐบาลไปพูดคัยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า มองว่ารัฐเดินมาถูกทางหรือไม่ ว่า มันมี 2 ทางคือ แนวทางรุนแรง กับอีกอันแนวทางสันติ ในเมื่อมาแนวทางสันติก็ถูกแล้ว เมื่อเริ่มแล้วก็ไม่เป็นไร ต่อไปก็ช่วยกันตกแต่ง เราก็ช่วยกันดู ก็จะไปได้ บางคนบอกว่ามีเรื่องเยอะ ก็ไม่เป็นไรค่อยๆ แก้ไปที่ละข้อทีละประเด็น ฉะนั้น ก็ทำมาถูกแล้วต้องให้กำลังช่วยกันส่วนที่เกรงกันว่า ถ้าไปยอมรับการมีตัวตนของกลุ่มต่างๆ หลายฝ่ายอาจเข้ามายุ่งย่ามในประเทศได้ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า จะให้เขาเข้ามาได้อย่างไร ประเทศเรามีอธิปไตย ไม่ใช่อยากเข้ามาก็เข้ามาได้ ทำไม่ได้หรอก เราก็ตระหนักดี ถามหน่อย มีประเทศไหนที่ให้อิสระกับพี่น้องชาวไทยมุสลิมมากเท่าไทยเรา อย่างกรณีผ้าคลุมหน้าชาวมุสลิม ขนาดประเทศฝรั่งเศสที่บอกว่ามีความเป็นประชาธิปไตย ยังทำไม่ได้เลย เราก็ต้องมีการพูดจาทำความเข้าใจกัน แน่นอนที่สุดคนที่เป็นหนุ่มสาวของเขาอาจมีแนวความคิดกระตือรื้อร้น กู้ชาติ แบ่งแยกดินแดน แต่เราก็ต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับเขา ไม่มีอะไรหรอก อดทนนิดหนึ่งมาถูกทางแล้ว ใกล้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง มีกลุ่มคนบางกลุ่มใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีผลประโยชน์ในพื้นที่ และพยายามอาจหวังผลให้การเจรจากับบีอาร์เอ็นไม่ประสบผลสำเร็จอยู่เหมือนกัน แต่เชื่อเถอะ สิ่งไหนไม่ดีอยู่ไม่ได้หรอกในสังคมของเรา มันก็มีสิ่งที่เป็นผลประโยชน์อยู่บ้าง เราต้องช่วยกันแก้ไข ส่วนตัวเชื่อว่าการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ คงใช้เวลาไม่นานนับจากนี้ เพราะเห็นว่ามาถูกทางแล้ว

ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////

เงินทะลักเข้าไทย บาทแข็ง รอบ 5 ปี !!?


เงินไหลเข้าต่อเนื่อง ดันบาทแข็งรอบ 5 ปี เหตุเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง-ปรับเครดิต จับตาอีกทะลุ 29 บาทต่อดอลลาร์ ด้าน ธปท.รับแข็งค่าเร็ว

ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นมาแตะระดับ 29.31 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเปิดตลาดที่ระดับ 29.40-29.42 บาทต่อดอลลาร์ โดยขยับไปที่ 29.34 บาทต่อดอลลาร์ ระหว่างวัน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2550 โดยค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) และหากเทียบกับการซื้อขายในประเทศแล้วค่าเงินบาทในระดับ 29.34 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่าแข็งค่าสุด นับตั้งแต่ลอยตัวค่าเงินบาท

ขณะที่ ภาพรวมตลาดหุ้นไทย ดัชนีปรับตัวลดแรงในช่วงบ่ายของวันกว่า 30 จุด จากความกังวลสถานการณ์ในไซปรัส และค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยดัชนีปรับขึ้นสูงสุดที่ระดับ 1,601.34 จุด และปรับลดลงต่ำสุดที่ระดับ 1,554.27 ปิดตลาดที่ระดับ 1,568.25 จุด ปรับลง 23.40 จุด หรือ 1.47% มูลค่าการซื้อขาย 7.06 หมื่นล้านบาท

นักบริหารเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า เงินบาทแข็งค่าจากเงินทุนที่ยังคงไหลเข้าตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่จะมีการลงทุนและไทยได้รับการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาดูแลค่าเงินที่ระดับ 29.34 บาท ทำให้เงินบาทเริ่มทรงตัว

ค่าบาทต่อดอลลาร์ ช่วงท้ายตลาด อยู่ที่ระดับ 29.34-29.36 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับกรอบเงินบาทในระยะสั้น ต้องจับตาที่ระดับ 29.25 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับทดสอบสำคัญ หากหลุดไปได้จะไปถึงระดับ 29.00 บาท

นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทวานนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้มาก โดยปัจจัยสำคัญคือตลาดเกิดความไม่สมดุล มีแต่แรงเทขายค่าเงินดอลลาร์เป็นหลัก ประกอบกับตั้งแต่ต้นปีมีเงินทุนไหลเข้าในตลาดพันธบัตรรัฐบาลและเอกชนจำนวนมากถึง 8 แสนล้านบาท

"เงินบาทที่หลุด 29.50 บาทต่อดอลลาร์ กำลังทดสอบระดับถัดไปที่ระดับ 29.00 บาท ซึ่งมีโอกาส แต่หากมีมาตรการดูแลค่าเงินบาทออกมา ควรจะเน้นที่ตลาดพันธบัตรระยะสั้นเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพราะสะท้อนการเก็งกำไรชัดเจนมากกว่าลงทุนจริง"

ด้าน นายธีรพล รัตตกุล ผู้จัดการฝ่ายค้าเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าเงินทุนที่ไหลเข้าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บาทแข็งค่า เพราะตลาดมองว่าเงินบาทต้องแข็งอยู่แล้ว จึงทำนิวไฮตลอด และหลุดระดับสำคัญมาเรื่อยๆ จนระดับนี้ถือว่าแข็งค่าที่สุดนับตั้งแต่ลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 ซึ่งก็มีความชัดเจนว่าจะแข็งค่าขึ้นไปอีก

"ระดับ 29.00 บาท เป็นระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ตลาดกำลังมอง คาดว่ามีโอกาสจะได้เห็นอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์นี้"

ธปท.ชี้เป็นไปตามกลไกตลาด

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินตามความเหมาะสม และการปล่อยให้เงินบาทแข็งตามกลไกตลาด ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการดูแลค่าเงิน เพราะถ้าเงินบาทแข็งค่าเกินไปก็จะอ่อนตัวลงมาเอง

ทั้งนี้ แม้ว่าค่าเงินจะเปลี่ยนแปลงมาก และรวดเร็วนั้น คงต้องรอดูอีกสักระยะหนึ่ง เพราะว่ายังเป็นเพียงแค่วันเดียว โดยเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากข่าวเกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ออกมาค่อนข้างดี ทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุน

"คงต้องรอดูอีกสักระยะ ช่วงนี้ข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยค่อนไปทางดี เขาจึงเข้ามาลงทุน"

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงนี้ไม่สร้างความกังวลใจให้กับธปท. และยืนยันว่ายังไม่มีการเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวาระเร่งด่วนแต่อย่างใด

ไซปรัสป่วนตลาดบอนด์ช่วงสั้น

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่ากรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับไซปรัสหลังมีผู้ฝากเงินจำนวนมาก แห่ถอนเงินฝาก เนื่องจากกังวลว่าจะมีการเก็บภาษี ส่งผลกระทบกับตลาดพันธบัตรในช่วงสั้น โดยเห็นได้จากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (บอนด์ ยิลด์) ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนมีการโยกเงินเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและกดดันบอนด์ ยิลด์ ของไทยระยะยาว และระยะกลางปรับตัวลงตาม

"เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับไซปรัส กระทบตลาดพันธบัตรในช่วงสั้น เพราะไซปรัสเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก"

ต่างชาติถือตราสารหนี้เพิ่มต่อเนื่อง

ส่วนภาพรวมการลงทุนตราสารหนี้ของนักลงทุนต่างชาติย้อนหลัง 5 ปี พบว่า มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 76,100 ล้านบาท ในปี 2551 เพิ่มเป็น 811,524 ล้านบาท ในวันที่ 15 มี.ค. 2556 หากคิดเป็นสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติถือครองตราสารหนี้ เมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ออกจะพบว่า ในปี 2551 ต่างชาติถือครองตราสารหนี้ 1.5% ปี 2552 ลดลงมาเหลือเพียง 1.2% ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐ ทำให้มีการถือครองลดลง อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 4.1% ปี 2554 อยู่ที่ 5.9% ปี 2555 อยู่ที่ 8.3% และในปี 2556 ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-15 ม.ค. เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 9%

นางสาวอริยา กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ต่างชาติถือครองตราสารหนี้เพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นปี 2552 ที่การถือครองลดลง 6.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยลดลงมาเหลือเพียง 7.6 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2551 ถือครอง 7.6 หมื่นล้านบาท

ในปี 2553 เป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ หรือ QE โดยมียอดซื้อสุทธิกว่า 2.8 แสนล้านบาท ปี 2554 เพิ่มเป็น 4.2 แสนล้านบาท ปี 2555 เพิ่มเป็น 7.1 แสนล้านบาท และในปี 2556 จนถึงเมื่อวันที่ 15 มี.ค. เพิ่มเป็น 8.1 แสนล้านบาท

ชี้ยังไม่พบผิดปกติจากบาทแข็ง

นางสาวอริยา กล่าวว่า ผู้เล่นในตลาดตราสารหนี้ส่วนใหญ่ของไทยยังคงเป็นนักลงทุนสถาบัน กองทุน บริษัทประกัน และธนาคารพาณิชย์ และการที่มีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนตราสารหนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเข้ามาหากำไรส่วนต่างดอกเบี้ย (สเปรด) ที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า ยังไม่เห็นสัญญาณการย้ายเข้ามาลงทุน หรือเข้ามาเก็งกำไรในตลาดตราสารหนี้ เพราะมูลค่าการซื้อขายยังเป็นปกติ ซึ่งในช่วงนี้เงินทุนไหลเข้าน้อยกว่าในช่วงเดือนม.ค. ที่มีเงินไหลเข้าจำนวนมาก

นักลงทุนอ่อนไหวฉุดหุ้นดิ่ง

สำหรับตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงเมื่อวานนี้ (19 มี.ค.) นักวิเคราะห์ระบุว่านักลงทุนไม่มีความมั่นใจในทิศทางตลาด เนื่องจากตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องและเกรงว่าจะมีมาตรการสกัดเงินทุนออกมา หลังจากค่าเงินบาทแข็งค่า
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยที่ปรับลดลงแรง มาจากความอ่อนไหวของนักลงทุน ที่กังวลว่าตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นสูงแล้ว อาจจะมีการปรับฐานลดลง ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์หรือปัจจัยลบเกิดขึ้น จึงเทขายออกมา โดยปัจจัยลบที่นักลงทุนกังวลหลักๆ มาจากสถานการณ์ในไซปรัส มากกว่าความ

กังวลเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

"นักลงทุนกังวลอยู่แล้ว แค่ใบไม้ไหวก็พร้อมจะเทขาย ประกอบกับมีความกังวลสถานการณ์ในไซปรัส ส่วนเรื่องค่าเงินบาท ที่มีความกังวลว่าธปท. อาจจะออกมาตรการดูแลค่าเงินนั้น ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะหากมีสัญญาณ ตลาดเงินจะรับรู้ก่อน ค่าเงินก็จะลง แต่ค่าเงินบาทก็ยังแข็งค่าขึ้นอยู่"

ด้าน นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยที่ปรับลดลงกว่า 30 จุด คาดว่าเป็นผลจากการที่นักลงทุนมีความกังวลว่า ธปท.จะออกมาตรการดูแลค่าเงินบาท เพื่อป้องกันไม่ให้แข็งค่าไปมากกว่านี้

ยูโรโซนแนะไซปรัสเลิกเก็บภาษีเงินฝาก

ขณะที่ความเคลื่อนไหวในไซปรัส ซึ่งกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ และมีแนวคิดที่จะเก็บภาษีเงินฝากนั้นรัฐมนตรีคลังยูโรโซนแถลงหลังเสร็จสิ้นการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ ที่ประชุมมีความเห็นว่าผู้ฝากเงินรายย่อยควรได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากผู้ฝากเงินรายใหญ่ พร้อมยืนยันถึงความสำคัญของการรับประกันเงินฝากต่ำกว่า 100,000 ยูโร

แหล่งข่าวยูโรโซน เผยว่า แถลงการณ์ดังกล่าวน่าจะหมายความถึงการยกเลิกแผนการเก็บภาษี 6.75% สำหรับผู้มีเงินฝากต่ำกว่า 1 แสนยูโร ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 3 ใน 5 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมดในไซปรัส

มีบางกระแสรายงานว่ารัฐมนตรีคลังยูโรโซน แนะให้จัดเก็บภาษีเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 15.6% สำหรับผู้ฝากที่มีเงินในบัญชีสูงกว่า 100,000 ยูโร จากเดิมที่จะจัดเก็บภาษีเงินฝาก 6.7% สำหรับบัญชีที่มีเงินฝากต่ำกว่า 100,000 ยูโร และ 9.9% สำหรับบัญชีเงินฝากสูงกว่า 100,000 ยูโร

ขณะที่ความเคลื่อนไหวของไซปรัส ล่าสุดได้ปิดธนาคารจนถึงวันพฤหัสบดี (21 มี.ค.) เป็นอย่างน้อย หลังจากประชาชนแห่ไปกดเงินออกจากเอทีเอ็ม นอกจากนั้น ชาวไซปรัสหลายร้อยคนยังไปชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภา เพื่อแสดงความไม่พอใจแผนการเก็บภาษีเงินฝาก ขณะที่ตลาดหุ้นไซปรัสยังปิดทำการอยู่เช่นกัน

นักวิเคราะห์คนหนึ่ง กล่าวว่า หากผู้กำหนดนโยบายยุโรปกำลังมองหาทางบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบธนาคาร พวกเขาก็ดูเหมือนว่าทำสำเร็จกับแผนการเก็บภาษีเงินฝาก

คาดสภาไม่ผ่านแผนเก็บภาษีเงินฝาก

นายคริสตอส สไตลิอานิเดส โฆษกรัฐบาลไซปรัส คาดการณ์ว่า ร่างกฎหมายเก็บภาษีเงินฝากจะไม่ได้รับการอนุมัติจากสภาที่มี ส.ส. อยู่ทั้งหมด 56 คน เพราะพรรคการเมือง 3 พรรคแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าจะไม่สนับสนุนร่างกฎหมายจัดเก็บภาษีดังกล่าว ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอีกพรรค ก็กล่าวเช่นกันว่า ไม่สามารถที่จะสนับสนุนแผนการดังกล่าวได้ ทำให้ไม่ชัดเจนจะมีการเลื่อนลงคะแนนเสียงออกไปอีกหรือไม่

 ประธานาธิบดีนิคอส สตาซิอาเดซ ได้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากนายกรัฐมนตรีแองเกลา แมร์เคิล ของประเทศเยอรมนี และเขาได้โทรศัพท์หาผู้นำประเทศเยอรมนีอีกครั้งเมื่อวานนี้ (19 มี.ค.) นอกจากนี้ โฆษกรัฐบาลไซปรัส ยังกล่าวว่า ประธานาธิบดีอนาสตาซิอาเดซ อาจจะขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียด้วย

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

เถาถั่วต้มถั่ว หรือว่าเผื่อกันเหนียว กันแน่ !!?


ก็ต้องสร้างเรื่องสร้างราวกันไว้ให้หนักหนาสาหัส จนผู้คนไม่เป็นอันทำมาหากิน จึงจะสามารถได้สิ่งที่ต้องการ เหมือนดั่งชาวนากวนน้ำในนาให้ขุ่น เพื่อจะจับปลานั่นแหละ เรื่องราวที่ ส.ส. จังหวัดเชียงใหม่ ลาออกจากตำแหน่ง นัยว่าเพื่อให้นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ได้ลงสมัครเป็น ส.ส. แทน จึงเป็นเรื่องราวกระหึ่มไปทั้งบ้านทั้งเมืองอีกเรื่องหนึ่ง

เพราะนัยยะของข่าวนั้นเปิดเผยชัดเจนว่า เป็นการเตรียมการเผื่อขาดเผื่อเหลือหากว่านางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะมีอันเป็นไปด้วยประการใด ๆ        

และมีการปล่อยข่าวในลักษณะที่ว่า ขณะนี้นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังถูกตรวจสอบหลายเรื่องหลายกรณี ซึ่งอาจทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หรือต้องพักการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี จึงต้องมีการเตรียมการเผื่อขาดเผื่อเหลือเอาไว้

และมีข่าวกระเซ็นกระสายออกมาด้วยว่า คนที่มีอำนาจระดับสั่งการให้ ส.ส. ลาออก ก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าเก่าเล่ายี่ห้อ ซึ่งครองพื้นที่ข่าวของประเทศไทยต่อเนื่องกันมาถึงสิบปีแล้ว จนคนไทยจะกิน จะนั่ง จะนอน จะขี้ จะเยี่ยว ก็จะมีข่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาให้ได้ยินได้รู้อยู่ทุกวี่วัน

ทั้งๆที่เจ้าตัวยังคงร่อนเร่เป็นสัมภเวสีอยู่ในต่างประเทศ และบางครั้งก็พร่ำเพ้อรำพันแบบถอดจิตถอดใจแล้วว่า มีชะตากรรมเหมือนคนลอยคออยู่ในมหาสมุทร ไม่มีใครจริงใจช่วยเหลือให้ได้กลับบ้าน บางคนก็ทำทีเป็นหวังดีแต่แนะนำว่าอย่าเพิ่งกลับบ้านเลย ไม่รู้ว่าจะหวังให้ตายในต่างประเทศหรืออย่างไร

รวมความว่า ขณะนี้ข่าวสารยืนยันมั่นเหมาะแล้วว่ามี ส.ส.เชียงใหม่ คนหนึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ลาออก

เมื่อลาออกแล้วก็จะไปสมัครเป็นผู้บริหารองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งลบล้างคำพูดของพระเอกลิเกที่ว่า ลาออกเพราะปัญหาสุขภาพ เป็นการย้ำให้คนไทยได้ประจักษ์ใจอีกครั้งหนึ่งว่า นักการเมืองนั้นมีวิสัยโกหกตอแหลเชื่อไม่ได้

เมื่อลาออกแล้ว ข่าวสารในขณะนี้ สื่อมวลชนรายงานตรงกันว่า นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แทนเพื่อจะเตรียมการเป็นนายกรัฐมนตรี หากว่านางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีอันเป็นไป แต่จะมีบทสรุปอย่างไร ข่าวก็ระบุว่า นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ จะบินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในต่างประเทศเพื่อหาข้อยุติอีกครั้งหนึ่ง

ภาษาคอการเมืองทั้งหลายจึงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า หมากตานี้มีอะไรซ่อนเร้นแอบแฝง หรือว่ามีลับลมคมในประการใด จึงต้องแคะไค้ให้ได้ดูให้ได้ชมกัน

เป็นการเตรียมการเผื่อขาดเผื่อเหลือหากว่านางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะต้องพ้นจากตำแหน่งจริงๆ หรือ หากจะดูตามสภาพในขณะนี้ แม้จะมีการตรวจสอบบางเรื่องบางราวเกี่ยวกับนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอยู่ แต่ดูฟ้าดูฝนและเทศกาลทั้งหลายแล้ว ไม่มีเค้าว่าจะตกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเลย

 เพราะไปไหนใครก็รัก นั่งอยู่เฉยๆ ก็น่ารัก น่าเข้าใกล้เข้าหา ฝนฟ้าก็เป็นใจ คนเสื้อแดงก็เคลิบเคลิ้มในไมตรีจิตมิตรภาพเป็นอันมาก ยกเว้นก็แต่พวกแดงล้มเจ้าที่กำลังจะกลายพันธุ์เป็นมะเร็งร้ายทำลายพรรคทำลายพวกและเป็นที่รังเกียจของคนทั้งหลายเท่านั้น

ดังนั้นเหตุผลที่ว่า เตรียมการเผื่อขาดเผื่อเหลือ จึงไม่ค่อยน่าเชื่อถือ แต่จะทำให้นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เชื่อถือตามไปด้วยหรือไม่ ใครเล่าจะรู้

แต่ที่รู้แน่ๆก็คือ บรรดาทีมงานวงในทั้งหลายไม่ว่า ขบวนว่าราชการหลังม่านหรือขบวนว่าราชการหน้าม่านที่กำลังเสวยสุขสนุกสนาน ปล่อยให้ใครบางคนลอยคออยู่กลางพระมหาสมุทรไม่เชื่อเหตุผลที่ว่านี้

แว่วๆข่าวให้ได้ยินว่า จากการหารือวงในใกล้ชิดตั้งแต่ช่วงวันเสาร์ถึงวันจันทร์ที่เพิ่งผ่านมานี้ ก็ยืนยันว่าเป็นการเตรียมเตะเก้าอี้นางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เพื่อไม่ให้ขบวนว่าราชการหลังม่านและหน้าม่านเติบใหญ่ไปมากกว่านี้ เพราะบัดนี้ใกล้ฤดูฝนแล้ว หากปล่อยให้ถึงฤดูฝน หญ้าแพรกก็จะงอกงามจำเริญ จะถอนก็ยาก จะไถก็ยุ่ง

เมื่อการหารือได้ข้อสรุปอย่างนั้น ก็นึกกันเอาเองว่า กลุ่มก๊วนที่มีอำนาจในปัจจุบันนี้จะยอมเสียอำนาจหรือว่าจะกระชับอำนาจ ชะดีชะร้ายอาจจะได้เห็นการแย่งชิงอำนาจครั้งใหญ่

                เข้าทำนองที่ว่า “ลงกานี้เป็นสองเมืองหรือ  ให้น้องแล้วจะยื้อไปให้พี่”

นั่นเป็นเรื่องของญาติพงศ์วงยักษ์เขาว่ากัน แต่ถ้าหวนย้อนนึกรำลึกถึงเรื่องรามเกียรติ์แล้ว เกมกลครั้งนี้ก็ไม่ต่างกับเมื่อครั้งทศกัณฐ์สั่งให้กุมภกรรณออกรบกับพระราม

กุมภกรรณนั้นเป็นรัชทายาท มีฤทธิ์มาก ปราบได้แม้กระทั่งพระอินทร์มาแล้ว  ดังนั้นการใช้ให้กุมภกรรณออกรบจึงถือว่าเป็นไม้ตายอย่างหนึ่งและเป็นการรบแบบหมดหน้าตักของทศกัณฐ์ แต่ในที่สุด กุมภกรรณก็ถูกพระรามฆ่าตาย

เมื่อกุมภกรรณตายแล้ว ทศกัณฐ์ก็เท่ากับหมดสิ้นญาติพงศ์วงยักษ์ และต้องออกรบด้วยตนเอง

ในศึกครั้งสุดท้าย พระรามให้หนุมานไปเอากล่องดวงใจของทศกัณฐ์มาเตรียมไว้ ครั้นกระทำศึกห้ำหั่นกัน พระรามแผลงศรไปต้องทศกัณฐ์ หนุมานก็ขยี้หัวใจของทศกัณฐ์ ในที่สุดจอมยักษ์ที่ถอดดวงใจออกไว้นอกกายก็ต้องตายลงด้วยประการฉะนี้

                ก็ไม่มีอะไร เอาตำนานรามเกียรติ์มาเล่ากันฟังย่อ ๆ อย่างนี้แหละ!

ที่มา:นสพ.แนวหน้า
/////////////////////////////////////////////////

ตอบโจทย์ : โพสต์ ขอบคุณ ไทยพีบีเอส ตัดสินใจออกอากาศ ตอนสุดท้าย..!!?

ภายหลังจากที่ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม สถานีไทยพีบีเอสตัดสินใจ ออกอากาศรายการ “ตอบโจทย์” ตอนสถาบันกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ตอนที่ 5 ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย เป็นวิวาทะต่อเนื่องจากตอนที่แล้วระหว่าง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในเวลาเดียวกันนั้น หน้าเพจเฟซบุ๊กของ “ตอบโจทย์ประเทศไทย” ได้โพสข้อความ ดังนี้

แสงสว่างเสมอด้วยปัญญานั้นไม่มี

------------------------------------

ทีมงานรายการตอบโจทย์ประเทศไทยขอขอบพระคุณเพื่อนมิตรในไทยพีบีเอส รวมทั้งเพื่อนสื่อมวลชนทุกแขนง นักวิชาการ ปัญญาชน และที่สำคัญ ผู้ชมทุกท่าน ที่ร่วมยืนยันเสรีภาพของสื่อมวลชนอันเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของประชาธิปไตย จนทำให้ตอบโจทย์ 5 ตอนสุดท้ายในชุด สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้ผ่านการตัดสินใจจนนำไปสู่การออกอากาศในค่ำคืนวันที่ 18 มีนาคม 2556

ขอกราบขอบพระคุณคณะกรรมการนโยบาย ฝ่ายบริหาร ที่ช่วยทำให้ตอบโจทย์ตอนสุดท้ายของสัปดาห์ประวัติศาสตร์ ได้ออกอากาศในที่สุด แม้อาจจะมีผู้มองต่างในเรื่องประเด็นและความเห็น แต่นี่คือย่างก้าวที่สำคัญของวงการสื่อสารมวลชนไทย ที่เราสามารถนำผู้เห็นต่างทั้งสองด้าน มานั่งลงสนทนากันอย่างตรงไปตรงมา ตลอดทั้งสัปดาห์หน้าจอโทรทัศน์ ให้คนไทยนับล้านคนทั่วประเทศ ได้ฟังอย่างมีสติ ไตร่ตรอง และขบคิด เพื่อตอบหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของประเทศไทย ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ขอคุณพระศรีรัตนตรัย ดลบันดาลให้คนไทยสนทนากันด้วยเหตุและผล ขอคุณพระสยามเทวาธิราช ดลให้คนไทยใช้ความอดกลั้นและอดทน ในการฟังความเห็นต่างอย่างสงบ ขอสังคมไทยพบทางออกที่สร้างสรรค์ ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

จนกว่าจะพบกันใหม่

(ภาพด้านล่างนั้นคือ ห้องพระของวังวรดิศ ที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระกษัตริยาธิราชไทยในราชวงศ์จักรี และเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระสยามเทวาธิราช อันเป็นมรดกตกทอดขององค์ปราชญ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปัญญาชนพระองค์สำคัญ ผู้เป็นหลักมั่นให้พระปิยะมหาราช รักษาสยามไว้ได้ ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงแห่งอดีต ด้วยเหตุผลดังกล่าว ขอความกรุณางดการโพสต์ข้อความไม่สุภาพในโพสต์นี้ เพื่อถวายความจงรักภักดี แด่ทุกพระองค์)


ภาพจาก เพจ "ตอบโจทย์ประเทศไทย"

ที่มา:มติชนออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////