--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

พี-ไพโรจน์ วิเคราะห์ "เพื่อไทย เขาเป็นกองกำลังปีศาจ"พรรคที่ได้ที่หนึ่ง เก่งที่สุดได้ไม่เกิน 220 ที่นั่ง

เมื่อพรรคขนาดกลางอาจกลายเป็นพรรค "แกนนำ" จัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า
เมื่อขั้วการเมืองพลิกแพลง กลับกลาย คล้ายฤดูกาลที่แปรปรวน วิกฤต
ทั้งพรรค "เนวิน ชิดชอบ" และพรรค "บรรหาร ศิลปอาชา" ชิงจับมือไปด้วยกัน
ทิ้งพรรคเพื่อแผ่นดิน-รวมชาติพัฒนาไว้อีกขั้ว อีกข้าง
กลุ่ม 3 พี "ไพโรจน์-ปรีชา-พินิจ" ไม่ยอมตกขบวน ย้ายข้างไปแนบชิด "สุวัจน์ ลิปตพัลลภ" ผู้มีบารมีแห่งรวมชาติพัฒนา

ค่ำวันหนึ่งระหว่างศึกซักฟอก "ไพโรจน์ สุวรรณฉวี" แกนนำกลุ่ม 3 พี วิเคราะห์กระดานการเมืองอีก 70 วันข้างหน้า ต่อหน้าขาใหญ่ "สุวัจน์-พินิจ"    
..............
ไพโรจน์-วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งครั้งหน้าแบบวิทยาศาสตร์

"ผมดูแล้วตั้งแต่นราธิวาส 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นมาทั้งภาค ประชาธิปัตย์จะได้ 50 ที่นั่ง เพื่อไทย 0 ที่นั่ง  ใน กทม. 33 เขต เพื่อไทยจะได้ 6 เขตพื้นที่รอบนอก ประชาธิปัตย์จะได้ 27 ที่นั่ง เฉพาะ 2 ภาคนี้ ประชาธิปัตย์ชนะ 71 แต้ม"

"ในภาคอีสาน ประชาธิปัตย์คงได้ 8-9 ที่นั่ง เพื่อไทยได้ 70 ที่นั่ง" ถือว่าตีเสมอกับประชาธิปัตย์ที่ได้ 71 ที่นั่ง ในเขต กทม.รวมกับภาคใต้

"ภาคเหนือ เพื่อไทยชนะ 15 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์บอกเขาสำรวจมาได้ที่นั่งเพิ่ม แต่ก็ยังแพ้เพื่อไทย"

"ภาคตะวันออกกับภาคกลางชุลมุน แข่งกันทุกพรรค เขตสุพรรณบุรี อ่างทอง ประชาธิปัตย์ไม่มีทางได้เพิ่ม บางพื้นที่มีพรรครวมชาติพัฒนาสอดแทรกได้บ้าง บางจังหวัดพรรคภูมิใจไทยต้องแข่งประชาธิปัตย์ และประชาธิปัตย์อาจจะแพ้ด้วยซ้ำในพื้นที่ชลบุรี ราชบุรี" 

"เฉพาะภาคตะวันออก สถิติจำนวน ส.ส.ของประชาธิปัตย์ที่ผ่านมาถือว่า peak แล้ว ในเขตชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เขาคงได้เท่าเดิม ไม่มากไปกว่านี้" 

"หากพิจารณา 2 พรรค เพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ จะพบว่าฐานเดิมกับรูปแบบเลือกตั้งใหม่ จำนวน ส.ส.ที่จะได้คงไม่หนีกันเท่าไร แต่ยอดรวมเพื่อไทยชนะประชาธิปัตย์แน่นอน ผมเชื่อว่าประชาธิปัตย์ได้ระบบเขตเพิ่มขึ้น บวก-ลบ ไม่เกิน 1-2 คน" 

นายอำเภอแหวนเพชร-ไพโรจน์ อ่านการเมืองจากตัวเลขเดิม สมัยเลือกตั้ง 2550 ระบบเขต 400 คน ระบบสัดส่วน 80 คน ประชาธิปัตย์ได้คะแนนเขต+ระบบสัดส่วน คือ 132+33 คน รวม 165 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทย (ในนามพลังประชาชน) ได้ ส.ส.เขต 199+34 ที่นั่ง รวม 233 ที่นั่ง

"แต่เพื่อไทยชนะที่หนึ่งแล้ว จะได้ตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ได้ก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่เขามีความชอบธรรมทางการเมือง ใครจะมาทำตามใจไม่ได้ ถ้าเพื่อไทยชนะ เขาก็มีสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล"

"ในประวัติศาสตร์การเมือง พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยได้กลับมาเป็นรัฐบาลเบิ้ลสมัยที่สอง แต่ประวัติศาสตร์ก็มีไว้ให้ทำลาย ไม่แน่อาจจะมี...เรื่องมนต์ดำ ผมไม่เคยเห็น เคยเห็นแต่มนต์เขมร เราอย่าไปกลัวมัน มันก็ไม่สามารถมาครอบงำเราได้"

"โอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะชนะแบบถล่มทลาย-land slide มี แต่พรรคอื่นชนะแบบนี้ไม่ได้ ยกเว้นว่ามีการโกง ยกหีบ เปลี่ยนหีบเลือกตั้งกัน"

ถ้าเพื่อไทยชนะแน่นอน พรรค "ตัวเลือก" ในการร่วมรัฐบาลจะเป็นใคร "ไพโรจน์" ตอบสวนทันที

"ใครชนะก็ตั้งรัฐบาลได้ อยู่ที่ผู้ชนะว่าจะเลือกใคร จะเป็นเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ หรือกับใคร การเมืองไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร" 

เมื่อการเมืองพลิกกระดานหกสูง เปิดโอกาสให้พรรคขนาดเล็ก-ขนาดกลางได้ปรับตัว เขาวิเคราะห์คณิตศาสตร์การเมืองตอบโจทย์ "คนชนะ" 

"เพราะไม่มีพรรคไหนชนะเด็ดขาด ระบบการเลือกตั้งที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า พรรคที่ได้ที่หนึ่ง เก่งที่สุดก็ได้ไม่เกิน 220 ที่นั่ง ตัวเลขมันบอก ประชาธิปัตย์เคยได้ 165 ที่นั่ง พลังประชาชนเขาได้ 233 ที่นั่ง แล้วคราวนี้ประชาธิปัตย์จะชนะเพื่อไทยได้อย่างไร คะแนนยังห่างกันเยอะ จะไปไล่ทันได้อย่างไร" 

"หากมีคนพูดเหตุผลเรื่องมี ส.ส.พลังประชาชนเดิมย้ายไปอยู่ภูมิใจไทยแล้ว ก็ตัวเลขแค่ 20 กว่าคน 16 คนในนี้ก็เป็นพวก ส.ส.นกแล อย่างประจักษ์ แก้วกล้าหาญ อดีต รมช.คมนาคม, ศุกชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรฯ จะกล้ากลับไปลง ส.ส.เขตหรือ"  

สัญญาณการจัดอีเวนต์การเมือง "จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน" ระหว่างชาติไทยพัฒนากับภูมิใจไทย สำหรับ "3 พี" จึงเป็นเรื่อง "ดราม่า"

"เหตุการณ์นั้นบอกสัญญาณไม่สู้ดี แต่สังคมจะให้คำตอบว่าทำอย่างนั้นเป็นบวก หรือเป็นลบ การที่ 2 พรรคออกตัวก่อน ผมไม่รู้สึกว่าเราตกขบวน เพราะรู้ว่ามัน drama คราวที่แล้วก็มีการตัดหน้ากันอย่างนี้ กรณีที่พรรคเพื่อแผ่นดินนัดจะไปบ้านท่านบรรหาร ก็โดนตัดหน้า" 

หากนับสูตรของฝ่าย "3 พี+พรรครวมชาติพัฒนา+ชาติไทยพัฒนา = รัฐบาล" โอกาสที่ภูมิใจไทยเป็น "ฝ่ายค้าน" ก็เป็นไปได้

"ผมเชื่อมั่นว่าไม่มีใครชนะเด็ดขาด แต่หากมีเสียงจากพรรคร่วมไปรวมจัดตั้งรัฐบาลมากพอ พรรคภูมิใจไทยเป็นฝ่ายค้าน"

เหตุผลของคนเคยร่วมรัฐบาล "ผมมองตานายกฯอภิสิทธิ์ มองอย่างไรก็เห็นว่าภูมิใจไทยไม่ใช่ตัวเลือก ยกเว้น necessary evil จำเป็นจริง ๆ เสียงไม่พอ ผมมีจิตใต้สำนึกว่าเป็นอย่างนั้น ไม่งั้นไม่มีอีเวนต์ (บรรหารจับมือเนวิน) วันที่ 14 มี.ค.หรอก ทำไมอยู่ ๆ จะต้องออกมาแสดงอย่างนั้น"

"เหมือนเหตุการณ์สึนามิ มันไม่มีเหตุผลที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น ผมถามหน่อย ถ้ามั่นใจว่าได้ 80-100 เสียง คนต้องไปปูผ้าขาวกราบให้เป็นรัฐบาลอยู่แล้ว จะรีบออกมาแสดงอย่างนั้นทำไม"

"จำนวน ส.ส.ภูมิใจไทย in law มีแค่ 31 คน มี 21 คนเป็นกบฏเพื่อไทย และ ส.ส.นกแล พวกขุนศึกไม่มีเลย  มีเนวินคนเดียวที่รบในภาคอีสานได้ ฝ่ายเรามีทั้งท่านสุวัจน์ ท่านพินิจ สิทธิชัย โควสุรัตน์"

สูตรการเมืองยังมีอีกหลายสูตร "ไพโรจน์" วิเคราะห์ทีละสูตร

สูตรแรก โอกาสที่พรรคขนาดกลาง-เล็กรวมกันหมด แล้วหานายกฯจากพรรคขนาดกลาง เขาบอกว่า "เกิดไม่ได้ มันละเมิดกติกาประชาธิปไตย วันนี้การเมืองเป็นประชาธิปไตย ถูกพัฒนาเข้าผ่านการตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ผ่านรัฐบาลที่มาจากปลายกระบอกปืนถูกเปลี่ยนไปแล้ว ประวัติศาสตร์ไม่สามารถซ้ำรอยได้ คนจะไม่ยอม" 

สูตรที่ 2 เงื่อนไขที่หากเพื่อไทยชนะ แล้วนำหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี เขาแบ่งรับแบ่งสู้ "การเมืองไทย อะไรก็เกิดขึ้นได้ เราต้องกลับมาพูดกันเรื่องความชอบธรรม" 


สูตรที่ 3 คือถ้าเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง จะเสนอชื่อใครเป็นนายกรัฐมนตรี เขาเชื่อว่า "มี" แต่ยัง "ไม่เปิดหัว"

"พรรคการเมืองระดับที่เขาคาดหวังว่าจะชนะเลือกตั้งได้ที่หนึ่ง เขาจะได้ 200 เสียงแน่นอน เขาต้องมีการวางตัวไว้แล้ว ว่าจะให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจจะไม่ใช่หัวหน้าพรรคก็ได้"

"แต่ถ้าเขาเปิดหัวมาตอนนี้ แล้วถูกทำลาย ถ้าผมเป็นพรรคเพื่อไทย ผมก็ไม่เปิดชื่อ เปิดหัว เพราะถ้าเปิดหัวมาให้เขาเฉาะ จะเปิดไปทำไม แต่ถ้าเปิดมาแล้วคนร้องยี้ ก็ต้องยี้ เพราะเป็นกติกาประชาธิปไตย" 

แต่เมื่อชื่อคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกเปิดมา ว่าจะเป็นปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 ของเพื่อไทย "ไพโรจน์" ใช้สัญชาตญาณส่วนตัวอ่านทางการเมืองของ "ชินวัตร"

"คนในตระกูลชินวัตร เขามีบทเรียน...บทเรียนเขาสูง ผมไม่รู้นะ ผมพูดแบบความเห็นส่วนตัว อะไรที่ชอบธรรม ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องเป็นไปตามนั้น พวกสีแดง-สีเขียว-หลากสี ก็ต้องหมดไปเอง" 

"พรรคเพื่อไทย เขาเป็นกองกำลังปีศาจ เหมือนผีที่มองไม่เห็น เราสู้กับอำนาจรัฐบาล เรามองเห็น แต่สู้กับปีศาจ มองไม่เห็น" 

สำหรับสูตร-เส้นทาง อนาคตพรรคเพื่อแผ่นดิน จะยังมีอยู่ในกระดานการเมืองอีกหรือไม่ "ไพโรจน์" ตั้งใจตอบคำถามให้ได้ยินถึงหู "สุวัจน์"

"พรรคเพื่อแผ่นดินยังยืนยากอยู่ ตอนนี้เป็นพรรคขนาดเล็ก ขนาดน้อย ถ้ายืนลำพังตัวเองยาก กระแสไหลเชี่ยวมาก หากรวมกับพันธมิตร แล้วสร้างความแข็งแกร่งขึ้น แต่ไม่ใช่การฮั้วทางการเมือง เราเพียงแต่หาพรรคที่ใกล้เคียงกันทางอุดมการณ์ ทางนโยบาย กรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 ฝ่าย มีความสนิทชิดเชื้อกัน สามารถไปด้วยกันได้ ต้องพยายามรวมกันเป็นพันธมิตร...ไม่มีทางเลือกอื่น" 

"การรวมกัน ทำให้ลดปัญหาการเมืองในอนาคต เพราะถ้ามีพรรคเล็กหลายพรรค การเมืองภาพรวมก็มีเสถียรภาพไม่มั่นคง การมารวมพรรคกัน ก็ทำให้มีเสถียรภาพทางการเมือง ให้มีจำนวนพรรคน้อย แต่มี ส.ส.ในสภาผู้แทนฯ ดีกว่าจำนวนพรรคเยอะ แต่ไม่มีพรรคที่มี ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรเลย"  


แบรนด์พรรค "เพื่อแผ่นดิน" จึงอาจเสี่ยงที่จะไม่มีในตลาดการเมือง

"เราเรียนรู้จากสหรัฐอเมริกาที่มี 30-40 พรรค แต่ก็มี third party เมืองไทยเรามีหลายพรรค จะลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อเอาคะแนนระบบสัดส่วน" 

"พรรคเพื่อแผ่นดินสมัครเลือกตั้ง ก็ยังได้ ส.ส.เขต 10 คน รวมระบบสัดส่วนอีก 4 คน แต่เราไม่สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้ ใครจะมาฟังเรา" 

"ไพโรจน์" ไม่ปฏิเสธ ถ้ากลุ่มการเมืองที่มีแต่ชื่อ "กลุ่ม 3 พี" จะมีแนวโน้มลงรับสมัครในนาม "รวมชาติพัฒนา"

"ชื่อนั้นสำคัญไฉน ยุบสภาเมื่อไหร่ คงชัดเจน แต่ไปจดทะเบียนพรรคใหม่ คงไม่ทัน ถ้าลงสมัคร คงใช้ชื่อพรรคใดพรรคหนึ่ง" 

"เรารวมกันเชิงคุณภาพ ถ้าเราจะรวมกันเชิงปริมาณ เราก็ตบเท้าเข้าไป แล้วบอกพี่เน...ครับ ผมอยู่ด้วย แต่เราเอาเชิงคุณภาพ มีหิริโอตตัปปะ เราไม่พายเรือให้โจรนั่ง เราจะเข้าไปร่วมฝากผีฝากไข้ได้อย่างไร"
........................

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

เยอรมนีถอนตัวจากปฏิบัติการนาโต้

เยอรมนีถอนตัวจากปฏิบัติการของนาโต ด้านรัสเซียขอเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหาทางยุติวิกฤติลิเบีย

เยอรมนี ตัดสินใจถอนตัวออกจากปฏิบัติการขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ ในเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากชาติพันธมิตรได้ใช้ปฏิบัติการทางอากาศโจมตีลิเบีย

โฆษกของกระทรวงกลาโหม ระบุว่า เรือฟรีเกต 2 ลำ และเรืออื่น ๆ อีก 2 ลำ พร้อมลูกเรือ 550 นายได้กลับไปอยู่ภายใต้การบัญชาการของเยอรมนี และยังไม่แน่ชัดว่า เรือเหล่านี้จะยังอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหรือไม่ แต่ทหารเยอรมัน 60-70 นาย ได้เข้าร่วมการใช้ปฏิบัติการสอดแนมทางอากาศของนาโต ในเมดิเตอร์เรเนียน ก็จะถอนออกมาด้วย

ก่อนหน้านี้ นาโต้ได้ใช้ปฏิบัติการทางทะเลเพื่อบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรทางอาวุธต่อลิเบียภายใต้มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ส่วนเยอรมนีก็เข้าร่วมในปฏิบัติการของนาโต้ในเมดิเตอร์เรเนียน มาแล้ว 3 ครั้ง รวมทั้งปฏิบัติการ " แอคทีฟ เอนเดฟเวอร์ " ด้วยและเยอรมนี เป็นหนึ่งในชาติที่งดออกเสียงในการลงมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในการบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย

ด้านนายดิมิทรี เมดเวเดฟ ประธานาธิบดีของรัสเซีย กล่าวต่อนายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐว่า รัสเซียวิตกต่อการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนในลิเบีย และเสนอขอเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยเพื่อหาทางออกให้กับวิกฤติที่เกิดขึ้น ซึ่งรัสเซีย ก็เป็นชาติที่งดออกเสียงในการลงมติบังคับใช้เขตห้ามบินของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เช่นกัน

ด้านนายเกตส์ ได้เปิดเผยต่อสำนักข่าวอินเตอร์แฟ็กซ์ของรัสเซียว่า การใช้ปฏิบัติการทางทหารใน
ลิเบีย จะลดลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ขณะที่นาโต ได้เตรียมจะส่งเรือรบเข้าไปปฏิบัติการภายใต้มาตรการคว่ำบาตรอาวุธในลิเบียในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ภายในนาโตเองยังคงมีความแตกแยกร้าวลึกในประเด็นที่ว่าใครจะรับหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองกำลังนาโตในภารกิจบังคับใช้เขตห้ามบิน โดยนายอันเดอร์ส ฟ็อกห์ รัสมุสเซ่น เลขาธิการนาโต ระบุในแถลงการณ์ว่า ชาติพันธมิตรจะจับตาการสัญจรทางทะเลในภูมิภาค และดักจับเรือต้องสงสัยว่าจะบรรทุกอาวุธ หรือ ค้าอาวุธโดยผิดกฎหมาย

เอกอัครราชทูตของชาติสมาชิกนาโต ได้ประชุมร่วมกันมาตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ หลังการลงมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่ให้ขยายมาตรการคว่ำบาตรอาวุธ และเปิดทางให้นานาชาติบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย ซึ่งปรากฎว่า ชาติพันธมิตรนาโตยังคงตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับขอบเขตของบทบาท ในการใช้ปฏิบัติการทางทหารเข้าแทรกแซงลิเบียที่หลายประเทศ เสนอให้เป็นความรับผิดชอบของนาโต

ขณะเดียวกัน เว็บไซท์หนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียน ของอังกฤษ รายงานว่า อังกฤษฝรั่งเศสและสหรัฐ ได้
เห็นชอบร่วมกัน ในการให้นาโตเข้ารับภารกิจบัญชาการการปฎิบัติการทหารเพื่อบังคับใช้เขตห้ามบิน โดยประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐ ได้โทรศัพท์หารือกับประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โคซี่ ของฝรั่งเศส และนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ ในเรื่องการส่งมอบภารกิจให้ 28 ชาติสมาชิกนาโต รวมทั้งชาติอาหรับ เช่น กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความจริง..บนโลกไซเบอร์

“ยุทธศาสตร์ 2 ขา 5 เขต เราเพิ่มเขตที่ 5 คือเขตที่อยู่ในโลกไซเบอร์...พี่น้องต้องเข้าไปต่อสู้ในเขตนี้ด้วย”

นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ปราศรัยกับคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2554 ที่ครบรอบ 1 ปีของการชุมนุมใหญ่ “นปช. แดงทั้งแผ่นดิน” ที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนตามยุทธศาสตร์ 2 ขา 5 เขต คือขาหนึ่งต่อสู้ในสภา อีกขาอยู่ในถนนต่อสู้กับคนเสื้อแดง ส่วน 5 เขตคือ 1.ในชนบท 2.ในเมือง 3.ในกรุงเทพฯ 4.ในต่างประเทศ และ 5.ในโลกไซเบอร์

แต่อุปสรรคสำคัญคือระบอบที่ล้าหลังอย่าง “ระบอบอำมาตย์” ทั้งๆที่เศรษฐกิจไทยเป็นทุนนิยมแล้ว แต่เมื่อศูนย์อำนาจการเมืองการปกครองและศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจอยู่ในกรุงเทพฯ ดังนั้น สนามการต่อสู้ที่จริงจังและแตกหักจึงอยู่ในกรุงเทพฯ คนเสื้อแดงจึงต้องปักหลักต่อสู้ในเขตกรุงเทพฯ

“ตาสว่าง” ไม่ต้อง “ปากสว่าง”

ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน กล่าวถึงยุทธวิธีเคลื่อนไหวของ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน โดยขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรกหลังจากถูกจองจำกว่า 9 เดือนว่า ต้องสอดรับกับสถานการณ์ โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ทุกคนต้องทำตัวเป็นผู้ปฏิบัติงานในสนามเลือกตั้งของฝ่ายประชาธิปไตย ไม่ใช่หัวคะแนนเหมือนในอดีต โดยคนเสื้อแดงจะปูพรมทั่วทุกอณูพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อไปอธิบายหลักการ แนวคิดเรื่องประชาธิปไตย ไปติดอาวุธทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญาให้ประชาชน จนประชาชนเกิดความเข้าใจว่าทำไมต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

“สิ่งที่ผมได้ยินตอนอยู่ในเรือนจำคือคำว่าตาสว่าง ไม่รู้ใครเขาพูดกัน แต่ผมได้ยินพี่น้องบอกว่าตาสว่างๆๆ ถามว่าพี่น้องตาสว่างแล้วผมสว่างไหม ผมก็สว่าง เมื่อประชาชนตาสว่างก็จะไม่มีใครสามารถซ่อนตัวอยู่ในมุมมืดได้อีกต่อไป ประเด็นคือเมื่อตาสว่างแล้วเราจะทำอย่างไรต่อ พี่น้องที่เคารพครับ สำหรับผมที่จะพูดคุยกับพี่น้องในฐานะที่เราเดินต่อสู้ในเวทีกลางแจ้ง เราต่อสู้อย่างเปิดเผย เราต่อสู้อย่างตรงไปตรงมาตลอดแบบนี้ ผมอยากจะบอกกับพี่น้องว่า ตาสว่างแต่บางทีปากไม่ต้อง สว่างก็ได้ครับ ตาสว่างไม่จำเป็นว่าปากต้องสว่าง ในบางสถานการณ์เสียงกระซิบมันได้ผลกว่าเสียงตะโกนครับ”

สงครามข่าวสาร

นายณัฐวุฒิยอมรับว่าเจ็บปวดที่ถูกขัง 9 เดือน แต่เทียบไม่ได้กับการบาดเจ็บล้มตายของพี่น้องเสื้อแดงที่วันนี้ยังถูกกล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้ายและล้มสถาบัน กรณีโลกอาหรับก็ทำให้วันนี้สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงโบกพัดให้คนเสื้อแดงที่เจ็บปวดจากการต่อสู้มีความรู้สึกสดชื่นตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เฉกเช่นคนทั่วโลกที่กำลังต่อสู้กับอำนาจเผด็จการเพื่อให้ได้ประชาธิปไตย แม้ในลิเบียยังลูกผีลูกคน

“ท่านเห็นไหมว่าสถานการณ์การต่อสู้ของเราอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับสถานการณ์ของเขาเหมือนกัน แล้วเดาไม่ถูกว่าประชาชนประเทศไหนจะถึงเส้นชัยแห่งประชาธิปไตยก่อนกัน แต่สิ่งที่ผมมั่นใจได้ก็คือ ไม่มีประชาชนในประเทศใดๆจะยอมศิโรราบต่ออำนาจของผู้เผด็จการอีกแล้ว นี่คือสิ่งที่ผมมั่นใจ”

อย่างไรก็ตาม นายณัฐวุฒิยืนยันว่าการต่อสู้ของคนเสื้อแดงจะเป็นไปอย่างสันติวิธี แม้จะต้องต่อสู้ทั้ง “มือที่มองไม่เห็น” อำนาจพิเศษ และอำนาจมืดต่างๆที่พูดไม่ได้ แต่คนเสื้อแดงต้อง “ตาสว่าง” รู้แจ้งเห็นจริงเพื่อต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ

โดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ที่นางธิดาให้พี่น้องคนเสื้อแดงเข้าไปต่อสู้ในเขตนี้ด้วย เพราะวันนี้โลกไซเบอร์กลายเป็นสนามต่อสู้สำคัญของคนทั้งโลกที่ใช้ทวงอำนาจจากคนส่วนน้อยคืน อย่างกระแสประชาธิปไตยในโลกอาหรับที่เกิดจากโลกไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์

เช่นเดียวกับขบวนการเสื้อแดงจะต้องสู้ต่อไปเรื่อยๆ มีการชุมนุมเดือนละ 2 ครั้งจนกว่าจะได้รับความยุติธรรมและมีผู้รับผิดชอบ 91 ศพที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” การรณรงค์ของกลุ่ม “ไม่เอา 112” เพื่อไม่ให้นำกฎหมายหมิ่นเบื้องสูงมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือกรณี “วิกิลีกส์” ที่นำข้อเท็จจริงและเบื้องหลังสถานการณ์ต่างๆในโลกและประเทศไทยออกมาเปิดเผย

ความจริงเผาบ้านเผาเมือง

โดยเฉพาะเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่วันนี้ยังไม่มีคำตอบว่าใครเป็น “ฆาตกร” หรือ “ใครสั่งฆ่าประชาชน” รวมทั้งใครที่เผาบ้านเผาเมือง แต่ในโลกไซเบอร์นั้นกลับสามารถค้นหาทั้งภาพถ่าย คลิปวิดีโอ ข่าว และความคิดเห็นทุกแง่ทุกมุมได้ แม้จะถูกปิดกั้นจากอำนาจรัฐหรือผู้นำเผด็จการก็ตาม

โลกไซเบอร์จึงเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด โดยเฉพาะการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและประชาธิปไตยซึ่งไม่มีใครปิดกั้นได้ ประชาธิปไตยจึงถูกส่งผ่านทางโลกไซเบอร์ ซึ่งมีพลานุภาพน่ากลัวไม่น้อยไปกว่าสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น

อย่างกรณีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ที่อภิปรายอย่างดุเดือดในสภานั้น หลักฐานมากมายก็นำมาจากโลกไซ-เบอร์ที่มีการนำไปเผยแพร่ ซึ่งสื่อกระแสหลักหรือสื่อทั่วไปไม่นำเสนอหรือไม่กล้านำเสนอ อย่างการชี้แจงของตัวแทนผู้บริหารของเซ็นทรัลเวิลด์ต่อคณะกรรม-การติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา ที่มีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธานว่า มีคนกลุ่มหนึ่งพยายามลอบเผาห้างหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากมีหน่วยรักษาความปลอดภัยคอยป้องกันเหตุจำนวนหลายร้อยคน หลังจากคนเสื้อแดงมอบตัวแล้วกลุ่มคนดังกล่าวพร้อมอาวุธครบมือได้เข้ามาภายในเซ็นทรัลเวิลด์จนสามารถบีบให้หน่วยรักษาความปลอด ภัยยอมจำนนและสามารถเผาได้สำเร็จ โดยมีวิดีโอบันทึกภาพกลุ่มคนที่วางเพลิงไว้ด้วย

สอดคล้องกับนายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประ-ธานกรรมการบริหารบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล ที่ให้สัมภาษณ์หลังเกิดการเผาห้างไม่ถึง 2 เดือนว่า ห้างมีวอร์รูมตั้งแต่เดินขบวนที่มีเจ้าหน้าที่ประจำตลอด 24 ชั่วโมง มีผู้บริหารระดับหนึ่งประจำอยู่เพื่อประเมินสถานการณ์ก่อนรายงานตรงถึงผู้บริหารระดับสูงได้ตลอดเวลา วอร์รูมจึงมีข้อความถึงผู้บริหารตลอดทุก 10 นาที หรือทุกครึ่งชั่วโมงแล้วแต่ความเคลื่อนไหว

ซักฟอกผ่านโลกไซเบอร์

แม้แต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ 9 รัฐมนตรี ก็ยังมีการตอบโต้ผ่านโลกไซเบอร์ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ตอบโต้นายอภิสิทธิ์ที่ชี้แจงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะหัวหน้าทีมอภิปราย ฝ่ายค้าน เรื่องหนี้สาธารณะว่ารัฐบาลต้องกู้เงินมาฟื้นฟูเศรษฐกิจที่พรรคเพื่อไทยก่อเอาไว้ และยืนยันว่ามีหนี้น้อยกว่ายุค พ.ต.ท.ทักษิณ โดย พ.ต.ท.ทักษิณทวิตว่า

“ได้ฟังคุณอภิสิทธิ์ตอบคุณมิ่งขวัญในสภาแล้วรู้สึกว่าน้องยังเด็กเหลือเกิน นักการเมืองที่ดีต้องพูดความจริงต่อประชาชนครับ ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน”

พ.ต.ท.ทักษิณยังทวิตต่อว่า สมัยตนรับหนี้มาจากรัฐบาลประชาธิปัตย์ 2 ก้อนใหญ่ๆคือ 1.หนี้กองทุนฟื้นฟูที่เกิดจากการขายทรัพย์ที่เอามาจากสถาบันการเงินล้มแบบโง่ๆให้กับโกลด์แมน ซาคส์, เลห์แมน บราเธอร์ส และจีอี แคปปิตอล ที่ได้ราคาไม่ถึง 20% ของต้นทุนทรัพย์สิน แถมยังช่วยไม่ให้ฝรั่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก หนี้ก้อนนี้ประมาณ 700,000 ล้านบาท หนี้ก้อนที่ 2 กู้มาจากโครงการมิยาซาวา, ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี), ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประมาณ 600,000 กว่าล้านบาท ซึ่งหนี้ไอเอ็มเอฟประมาณ 400,000 ล้านบาท ใช้ไปหมดแล้ว รัฐบาลนายอภิสิทธิ์เข้ามาจึงถือโอกาสกู้เงินเพื่อหวังผลทางการเมืองและมีการคอร์รัปชัน ทำให้หนี้สูงขึ้นเป็นลำดับ

“ขอแนะนำว่าให้ยอมรับและบอกว่าจะให้ความสนใจเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น จะใช้เงินที่กู้มาให้เกิดประโยชน์กว่านี้ จะปล่อยให้โกงน้อยลง จะไม่ให้เกิดการกักตุนสินค้าและตามมาด้วยการขึ้นราคาแบบนี้อีก ผมว่าดูจะเป็นผู้ใหญ่กว่า ได้รับความเห็นใจกว่า บอกประชาชนไปเลยครับว่าผมกำลังเรียนรู้งานอยู่ อีกหน่อยผมก็เก่งเองครับ”

“จาตุรนต์” ทวิตถล่มซ้ำ

เช่นเดียวกับนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ในฐานะทีมวอร์รูมติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งมีแกนนำพรรคและสมาชิกบ้านเลขที่ 111 คอยประเมินผลการอภิปราย ก็ทวิตข้อความตอบ โต้นายอภิสิทธิ์เรื่องหนี้ว่า พรรคไทยรักไทยทำให้หนี้ที่พรรคประชาธิปัตย์สร้างไว้ลดลงอย่างมากและรวดเร็ว

“คุณอภิสิทธิ์ไปเอาตัวเลขหนี้สาธารณะมาจากไหน และยังตัดตอนประวัติศาสตร์มาพูด ลักไก่เอาแบบไม่น่าเชื่อ เรื่องตัวเลขหนี้สาธารณะเป็นอย่างไรก็เรื่องหนึ่ง แต่หนี้ตอนไหนมากกว่าตอนไหนไม่ใช่ประเด็น จะจับให้มั่นคั้นให้ตายต้องรวบรวมเรื่องใหญ่ๆที่คุณอภิสิทธิ์ไม่ตอบหรือตอบไม่ได้มาแสดงให้เห็น แล้วจะพบว่าคุณอภิสิทธิ์สอบตกแน่ แต่ผมขอไม่ทำเองนะครับ เรื่องหนี้สาธารณะคุณอภิสิทธิ์คิดผิดถนัดที่มาคุยว่าหนี้สมัยตัวเองน้อยกว่าสมัยคุณทักษิณ ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นจุดแข็งที่สุดของคุณทักษิณ และเป็นจุดอ่อนที่สุดของคุณอภิสิทธิ์”

ปชป. รัวทวิตแจงประชาชน

ในวันเดียวกันทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ได้เขียน ข้อความลงทวิตเตอร์ โดยใช้ชื่อว่า “@democratTH” สรุปประเด็นการชี้แจงของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นข้อความสั้นๆอย่างต่อเนื่อง ทวิตเตอร์ไทยคู่ฟ้า “Thaikhufa” ของรัฐบาลก็โพสต์ข้อความรวมถึงรายงานความเคลื่อนไหวต่างๆของนายอภิสิทธิ์และรัฐมนตรีที่ชี้แจงในการอภิปรายทันทีในแต่ละประเด็นแบบนาทีต่อนาทีทีเดียว

วอร์รูมกองทัพ

แม้แต่กองทัพบกก็ตั้งวอร์รูม โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เปิดเผยว่า วอร์รูมเป็นแค่การติดตามสถานการณ์ทางทหาร ซึ่งกองทัพบกมีงานทุกวันอยู่แล้ว มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบติดตามสถานการณ์รอบประเทศ 24 ชั่วโมง มี 7 กองกำลังทำงาน แต่หากมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับทหารถามเข้ามาก็ตอบไปเท่านั้น เพราะการทำงานของทหารเป็นผู้ปฏิบัติเท่านั้น

อย่างเหตุการณ์เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่กองทัพเข้าไปรับผิดชอบก็ทำตามคนที่สั่งการโดยชอบตามกฎหมายคือรัฐบาล ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ที่ระบุว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายสั่งการทหารเข่นฆ่าประชาชนนั้น เรื่องการใช้กำลังทหารไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง ประชาชนต้องแยกให้ออก เพราะเจ้าหน้าที่ทหารเลี่ยงคำสั่งไม่ได้ กฎหมายคือกฎหมาย ความรับผิดชอบมีอยู่แล้ว ถ้าสั่งการมาแล้วชอบด้วยกฎหมายก็ต้องปฏิบัติ จะปฏิบัติอย่างไรให้เกิดความปลอดภัยต้องใช้ความระมัดระวัง โดยยืนยันว่าช่วงกระชับพื้นที่ทหารทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาล ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กลุ่มเสื้อแดงมีสิทธิเลี่ยงพื้นที่อันตรายได้แต่กลับหันมาสู้กับกฎหมาย

การเมืองบนโลกไซเบอร์

โลกไซเบอร์จึงกลายเป็นพื้นที่การตอบโต้การอภิปรายไม่ไว้วางใจระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาลที่ดุเดือดไม่น้อยกว่าในสภา และยังอาจได้ข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่ชัดเจนกว่าการอภิปรายในสภา เพราะไม่ถูกขัดจังหวะจากบรรดาองครักษ์พิทักษ์นาย หรือเป็นข้อมูลจากผู้รู้จริง ซึ่งทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยก็มีการตั้งวอร์รูมขึ้นมาต่อสู้กัน

วันนี้โลกไซเบอร์จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆในเวทีการเมืองและการเคลื่อนไหวต่างๆของภาคประชาชน แม้แต่การก่ออาชญากรรมและก่อการร้ายต่างๆ เหมือนทีวี.ออนไลน์ที่ขณะนี้คนไทยหลายสิบล้านคนเลือกดูแทนทีวี.เสรีหรือสื่อหลักที่มีการนำเสนอที่อยู่ในกรอบและมอมเมา

อาชญากรรมหรือการเมือง

นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 2 กรก-ฎาคม 2552 ได้เคยวิเคราะห์การเมืองบนโลกไซเบอร์ของไทยว่าเหมือนกับจีน เพราะทั้ง 2 ประเทศคอยอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย แต่โลกไซเบอร์ในจีนกลับเป็นสมรภูมิระหว่างเสรีภาพในการพูดและการเซ็นเซอร์ เช่นเดียวกับไทยที่แม้จะมีเสรีมากกว่าสื่อกระแสหลักที่ขาดความกล้า แต่การตรวจสอบก็ทำมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้สกัดกั้นเว็บไซต์มากกว่า 8,300 เว็บ โดยอ้างว่าผิดกฎหมายหมิ่นเบื้องสูง สำนักงานตำรวจแห่งชาติปิดเว็บเพจมากกว่า 32,000 หน้า ด้วยข้อหาต่างๆกันเมื่อปี 2550 แม้แต่ยูทูบยังโดนปิดกั้นเป็นเวลานานหลายเดือนหากเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกใจผู้มีอำนาจ

The Economist ยังกล่าวถึงขบวนการ “ไล่ล่าแม่มด” บนโลกไซเบอร์ว่า เบื้องหลังคือการเมืองที่เป็น กลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณจนกระทั่งเกิดการทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเหมือนการปล้นอำนาจโดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่มีกองทัพ ตุลาการ และชนชั้นสูงอยู่เบื้องหลัง โดยใช้กลุ่มเสื้อเหลืองออกหน้าการขับไล่ โดยอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณและพวกพยายามทำลายสถาบันเบื้องสูง จนในที่สุดนายอภิสิทธิ์ก็ได้เป็นรัฐบาล พร้อมตั้งคำถามว่าเรื่องนี้เป็นการเมืองหรืออาชญากรรม

“ทักษิณ” ใช้โลกไซเบอร์สู้

อย่างไรก็ตาม หลังจากต้องพ่ายแพ้ด้วยโลกไซเบอร์จากการส่งต่อข่าวอย่างเป็นระบบจากกลุ่มต่อต้าน โดยไม่สนว่าข่าวนั้นจะจริงหรือเท็จอย่างไร พ.ต.ท.ทักษิณ ก็พลิกกลับมาใช้โลกไซเบอร์เป็นจุดแข็งมาโดยตลอดในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตนเองเช่นกันนับตั้งแต่ต้องออกไปอยู่นอกประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่าการวิดีโอลิ้งค์หรือโฟนอินหรือทวิตข้อความของ พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามายังคนเสื้อแดงหรือในเหตุการณ์สำคัญๆหลายครั้งนั้นมีผลต่อสังคมไทยไม่น้อย

ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวหาและโจมตีของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์หรือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ต.ท.ทักษิณก็จะใช้โลกไซเบอร์คอยตอบโต้ ทำให้ยังอยู่ในกระแสข่าวทั้งในประเทศไทยและการเมืองโลก

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ก็วางยุทธศาสตร์ในการหาเสียงเลือกตั้งครั้งใหม่ผ่านโลกไซเบอร์มานานแล้ว รวมทั้งเว็บไซต์ของนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ที่ถือเป็นฐานเสียงสำคัญที่สร้างภาพและคะแนนนิยมของนายอภิสิทธิ์และนายกรณ์ให้กับคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่ไม่เคยรู้ข่าวจากแหล่งอื่นเพราะรับข่าวสารจากโลกไซเบอร์อย่างเดียวเท่านั้น

โลกไซเบอร์กับประชาธิปไตย

นายยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในการเสวนาเปิดตัวหนังสือ “สื่อออนไลน์ BORN TO BE DEMOCRACY” ว่าแม้ไม่แน่ ใจว่าสื่อออนไลน์จะเป็นประชาธิปไตยโดยตัวเอง แต่ก็น่าจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่ประชาธิปไตยมากกว่า หรือเรียกว่า born to become democracy

นอกจากนี้ยังมีคำถามเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ ซึ่งผู้คนมักมองเห็นพลังและแง่บวกในการสร้าง “พื้นที่สาธารณะ” อย่างไร้พรมแดน ถึงที่สุดก็ไม่ได้ต่างอะไรกับโลกออฟไลน์ พรมแดนทางออนไลน์ที่ยังมีเรื่องของภาษาหรือกฎกติกาในเว็บต่างๆที่คนจะมีส่วนร่วมกำหนดกฎเกณฑ์ในสังคมออนไลน์ได้อย่างไร และไม่ให้รัฐก้าวล่วงมาได้มากน้อยแค่ไหน

สื่อออนไลน์หรือโลกไซเบอร์จึงต้องมีความเท่าเทียม เป็นของกระฎุมพีที่ขยายพื้นที่เพื่อสื่อสารทาง การเมือง ช่วยให้คนฉุกคิด เข้าใจถึงการสื่อสารอื่นๆในโลกความจริง ซึ่งต้องสร้างสังคมประชาธิปไตยในโลกออฟไลน์ให้เป็นจริงขึ้นมาเพื่อจะได้ประชาธิปไตยในโลกออนไลน์ เพราะพื้นที่ออนไลน์กับออฟไลน์มันเกี่ยวกัน อย่างรัฐก้าวล่วงเข้ามาในพื้นที่ออนไลน์ก็ทำให้คนอึดอัด

ขณะที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ บ.ก.ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวถึงระยะแรกเริ่มของพฤติกรรมคนที่แสดงออกมาทางอินเทอร์เน็ตว่า เหมือนคนที่ออกมาจากคุก จนวันนี้คนก็ยังพูดเรื่องนี้ อินเทอร์เน็ตหรือโลกไซเบอร์จึงให้สิทธิคนอื่นๆในการด่าคนในที่สาธารณะได้ นอกเหนือจากนักข่าว นักเขียน ซึ่งสื่อหนังสือพิมพ์อายุสั้นแค่วันเดียว รายสัปดาห์ก็ 1 สัปดาห์ แต่อินเทอร์เน็ตอยู่นานได้

ดังนั้น วันนี้โลกไซเบอร์จึงเหมือนโลกของประชาธิปไตย ซึ่งปัญหาและเรื่องราวมากมายนั้นสื่อออฟไลน์เสนอไม่ได้หรือไม่กล้านำเสนอ อย่างกรณีวิกิลีกส์ที่สื่อกระแสหลักของไทยจำใจเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่คนไทยกลับสามารถรับรู้ชนิด “คำต่อคำ” ผ่านทางโลกไซเบอร์หรืออินเทอร์เน็ตได้

โลกไซเบอร์จึงทำให้คนจำนวนมากได้ “ตาสว่าง” รู้ว่าอะไรจริง อะไรเท็จ ใครทำดี ใครทำชั่ว ใครเป็นฆาตกร ใครเป็นผู้บริสุทธิ์?

แม้ในสภาจะเต็มไปด้วยน้ำลายที่มีแต่การโกหกตอแหล แต่ก็ไม่อาจปกปิด “ความจริง” ในโลกไซเบอร์ได้ว่า ใครคือฆาตกรสังหารโหด 91 ศพและไอ้โม่งตัวจริงที่เผาบ้านเผาเมือง

“กรรมออนไลน์” บนโลกไซเบอร์ จึงรวดเร็วทันใจกว่า “กรรมติดจรวด”

ใครก่อกรรมอะไรไว้...ได้เวลาชดใช้กรรมในชาตินี้...ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า!

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

.36 ในการเมืองท้องถิ่น

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา แกนนำสองคนของประชาชนตำบลอ่าวน้อย ซึ่งกำลังต่อต้านโครงการบ่อขยะ และสะพานปลาในพื้นที่ ถูกมือปืนกระหน่ำยิงด้วยปืนเอ็ม 16 แต่ทั้งสองอาศัยความคุ้นเคยพื้นที่หนีรอดมาได้อย่างหวุดหวิด

จากการสอบถามชาวบ้าน ได้ความว่าขบวนการประชาชนที่อ่าวน้อยเคยต่อต้านโครงการโรงเผาขยะได้สำเร็จมาแล้ว แต่โครงการนั้นก็ถูกเจ้าพ่อท้องถิ่นแปรจากโรงเผามาเป็นบ่อขยะ ซึ่งชาวบ้านก็รับไม่ได้อีกนั่นแหละ จึงเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการนี้ต่อมา ในขณะเดียวกันเจ้าแม่แพปลาในพื้นที่ก็สร้างสะพานเทียบเรือยื่นไปในทะเลยาวเหยียด ขวางทางเดินเรือประมงของชาวบ้าน ชาวบ้านจึงขยายการคัดค้านมาพ่วงเอาสะพานปลานี้ไว้ด้วยกัน

แต่ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนึ่งในแกนนำถูกหมายปองชีวิต นั่นคือ แกนนำผู้นั้นมีทีท่าว่าจะให้การสนับสนุนกลุ่มการเมืองอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกำลังจะเข้ามาแข่งขันกับกลุ่มเก่าในการเมืองท้องถิ่น การลอบสังหารจึงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุทั้งสามเรื่องปนๆ กัน เพราะกลุ่มผู้เสียประโยชน์เป็นกลุ่มเดียวกัน

นี่เป็นความรุนแรงของการเมืองท้องถิ่นใช่หรือไม่?

ผมตอบไม่ได้จนมาพบงานวิจัยของอาจารย์ณัฐกร วิทิตานนท์ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งศึกษา "การลอบสังหารในการเมืองท้องถิ่นไทย : ในรอบทศวรรษ (พ.ศ.2543-2552)" ซึ่งสำนักข่าว "ประชาไท" (สื่อออนไลน์อิสระที่ถูกรัฐรังควานอย่างหนัก) ได้นำมาลงไว้ แม้เป็นงานวิจัยเบื้องต้นที่เก็บและวิเคราะห์สถิติเท่านั้น แต่ก็ทำให้มองเห็นความรุนแรงในการเมืองท้องถิ่นไทยตามความเป็นจริงได้มากกว่าสรุปเอาเอง และเปิดคำถามใหม่ๆ ในเรื่องนี้ขึ้นอีกมาก

เรามักสรุปเอาเองว่า การเมืองท้องถิ่นไทยนั้นมีความรุนแรงอย่างยิ่ง แต่เมื่อดูที่ตัวเลขแล้ว กลับไม่พบว่าอย่างนั้น จริงอยู่มีการลอบสังหารเกิดขึ้นมากทีเดียว ทั้งสิบปีที่อาจารย์ณัฐกรศึกษา มีการลอบสังหารถึง 481 ราย หรือ 459 กรณี เฉลี่ยเหตุที่เกิด 48.1 ราย และเสียชีวิตเฉลี่ย 36.2 คนต่อปี แต่เมื่อดูสถิติค่าเฉลี่ยของคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาของไทย จะพบว่ามีถึงเกือบปีละ 4,700 ราย ฉะนั้น กรณีลอบสังหารในการเมืองท้องถิ่นจึงมีไม่ถึง 1% ของคดีฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา นอกจากนี้ นักการเมืองท้องถิ่นในปัจจุบันมีประมาณ 160,000 คนทั่วประเทศ คดีลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นต่อปี ก็มีไม่ถึง 1% เช่นกัน

ผมยอมรับว่าตัวเลขคดีลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นอาจน้อยไปบ้าง เพราะไม่ได้รวมการลอบสังหารหัวคะแนน ดังที่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการลอบสังหารแกนนำชาวบ้านที่อ่าวน้อย

การสรุปเอาเองว่าการเมืองท้องถิ่นไทยมีความรุนแรงนั้น อาจมาจากการรับรู้ข่าวสาร เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นมักเป็นข่าวใหญ่ในสื่อ แม้ว่าความถี่ซึ่งเกิดขึ้นมีไม่ถึง 1% ของกรณีฆ่ากันตายโดยทั่วๆ ไป แม้กระนั้นผมก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า การลอบสังหารนักการเมืองเป็นความรุนแรงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในการเมืองท้องถิ่น แต่มูลเหตุอาจไม่ได้อยู่ที่การเมืองท้องถิ่นเท่ากับสังคม-วัฒนธรรมไทยเอง กล่าวคือ เราอยู่ในสังคม-วัฒนธรรมที่ใช้ความรุนแรงค่อนข้างมาก จะยับยั้งความรุนแรงในการเมืองท้องถิ่นได้ ก็ต้องยับยั้งการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาในสังคม-วัฒนธรรมไทยให้ได้

ประเด็นที่น่าสนใจซึ่งการวิจัยค้นพบ ก็คือ เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความรุนแรงในท้องถิ่น อาจไม่ได้อยู่ที่ภายในเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เกิดภายนอกท้องถิ่นด้วย ผู้วิจัยพบว่า การลอบสังหารเกิดขึ้นอย่างมากเป็นพิเศษในช่วง 2546 อันเป็นปีที่รัฐบาลทรท.ทำ "สงครามยาเสพติด" คือเปิดโอกาสให้แก่การฆาตกรรมในนามของ "ฆ่าตัดตอน" อย่างมาก เช่นเดียวกับใน พ.ศ.2550 อันเป็นที่ความรุนแรงในสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้เป็นไปอย่างหนัก กรณีการลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นในภาคใต้ก็สูงขึ้นอย่างผิดสังเกตเช่นกัน

งานวิจัยยังพบอีกว่า เฉพาะจากกรณีที่จับคนร้ายได้ นายกฯ (อบต., เทศมนตรี, อบจ.) ถูกลอบสังหารด้วยสาเหตุทางการเมืองมากสุด (สัดส่วนการลอบสังหารนายกฯ 28.9%) แต่สมาชิกสภา (ตำบล, เทศบาล, จังหวัด) ถูกลอบสังหารด้วยสาเหตุส่วนตัวมากที่สุด (สัดส่วนการลอบสังหารสมาชิกสภาคือ 42.8%) ส่วนประธานสภานั้นไม่มีสักรายเดียวที่ถูกลอบสังหารด้วยสาเหตุทางการเมือง (สัดส่วนการลอบสังหารประธานสภาคือ 5.6%)

พูดให้เข้าใจง่ายกว่านั้นก็คือ ส่วนใหญ่ที่ฆ่ากันไม่ใช่เพราะแย่งตำแหน่งทางการเมืองกัน แต่เพราะมีเหตุส่วนตัว หรือมีผลประโยชน์ขัดแย้ง หมายความว่าจะมีหรือไม่มีการเมืองท้องถิ่น เมืองไทยก็เป็นสังคมแห่งความรุนแรงอยู่แล้ว

รัฐมีบทบาทน้อยมากในการระงับหรือยับยั้งความรุนแรงในการเมืองท้องถิ่น ประมาณ 81% ของคดีลอบสังหาร ตำรวจไม่อาจสืบสวนจับตัวคนร้ายมาลงโทษได้ และในจำนวนน้อยที่สามารถจับกุมตัวคนร้ายได้ ก็ไม่สามารถสืบไปจนถึงผู้จ้างวานได้ สถิติการจับกุมระดับนี้ทำให้ต้นทุนการลอบสังหารแทบจะเป็นศูนย์ การลอบสังหารจึงเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นการเมือง, ธุรกิจ หรือส่วนตัวที่ใช้ง่ายและคุ้มทุนที่สุดอย่างหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม สถิติการลอบสังหารในการเมืองท้องถิ่นกลับเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัดในสองปีสุดท้าย จนผู้วิจัยคาดการณ์ว่า มีแนวโน้มว่าการลอบสังหารจะยังลดลงในการเมืองท้องถิ่นต่อไป

ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่ผู้วิจัย ในฐานะนักวิชาการ จะสามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้ในขณะนี้ แต่ผมในฐานะนักเขียนเล็กๆ คนหนึ่งอยากอธิบายดังนี้

ผมพยายามมองหาเหตุผลที่ทำให้ "ต้นทุน" การลอบสังหารสูงขึ้น รัฐคงไม่เกี่ยว เพราะฝีมือของตำรวจในการจับตัวคนร้ายไม่ได้ดีขึ้นในระยะ 2 ปีท้ายมาจนถึงบัดนี้ แต่ความเปลี่ยนแปลงที่พอมองเห็นได้ ก็คือ การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนขยายตัวขึ้น และเข้มแข็งมากขึ้น แม้ไม่ใช่ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่ข่าวคราวเหล่านี้สามารถเรียนรู้กันได้มากขึ้นผ่านสื่อ

กรณีอ่าวน้อยเท่าที่ผมได้รับทราบมาเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

ก่อนเกิดการไล่ยิงแกนนำ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่เลือกแสดง "บารมี" ของตน โดยให้ลูกน้องใช้ปืนตบหน้าชาวประมงที่ร้องคัดค้านการสร้างสะพานปลา เพื่อ "สั่งสอน" กลุ่มชาวบ้านที่เคลื่อนไหวแนะนำให้เหยื่อของความรุนแรงแจ้งความ แม้จะแน่ใจว่าตำรวจในพื้นที่ไม่สามารถจับตัวคนร้ายได้ หรือถึงจับได้ก็คงเพียงแค่ถูกปรับ ถึงกระนั้นก็แนะนำให้เหยื่อแจ้งความ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้เกิดบันทึกประจำวัน หนึ่งในแกนนำอธิบายให้ผมฟังว่า บันทึกประจำวันของตำรวจนั้นมีประโยชน์ในการต่อสู้ เพราะคำให้การจะเป็น "น้ำหนัก" ที่ตกลงบนชื่อเสียงของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ แม้เป็นน้ำหนักที่ไม่มากนัก แต่หากมีการแจ้งความในทุกกรณีที่ถูกรังแก "น้ำหนัก" ก็จะเพิ่มขึ้น จนกระทั่ง "ผู้ใหญ่" ในอำเภอ, จังหวัด, และประเทศ ซึ่งแบกเจ้าพ่อ-เจ้าแม่นั้นอยู่ รู้สึกว่าเจ้าพ่อ-เจ้าแม่หนักเกินไปที่จะแบกไว้ต่อไป จำเป็นต้องวางเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ลง

เท่านั้นก็พอแล้ว เพราะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ทั้งหลายในเมืองไทยนั้น ล้วน "หญ่าย" อยู่ได้ก็เพราะซื้อหรือฉกชิงอำนาจรัฐบางส่วนมาไว้ในมือ (นับตั้งแต่สินบนไปถึงอยู่ในเครื่องแบบ หรืออยู่ในตำแหน่งทางการเมืองที่สูง) ดังนั้น หัวใจสำคัญในการต่อสู้กับอิทธิพลท้องถิ่นก็คือ ทำให้อำนาจรัฐ "เป็นกลาง" (neutralize) ไปเสียให้ได้ หากทำได้สำเร็จ กฎหมายย่อมอยู่ฝ่ายชาวบ้าน เพราะชาวบ้านไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายอยู่แล้ว

ผมไม่ทราบว่า ในที่สุดชาวประมงที่ถูกปืนตบหน้าได้ไปแจ้งความหรือไม่ แต่ขบวนการประชาชนที่ "รู้ทัน" เหล่านี้เติบโตขึ้น ในท้องที่ต่างๆ ของประเทศไทยมากขึ้น จนเริ่มมีนัยยะสำคัญในการเมืองท้องถิ่นเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

"ต้นทุน" การลอบสังหารทางกฎหมายอาจน้อย แต่ "ต้นทุน" ทางการเมืองและสังคมเริ่มมีสูงขึ้น กรณีคุณเจริญ วัดอักษร แห่งตำบลบ่อนอก น่าสนใจในแง่นี้ แม้ว่าจนถึงทุกวันนี้ บ้านเมืองยังไม่สามารถสืบสวนคดีของคุณเจริญไปจนถึงผู้บงการที่แท้จริงได้ (เพราะคงจะ "หญ่าย" ระดับชาติ) แต่การเคลื่อนไหวอย่างเอาจริงเอาจังของชาวประจวบฯ ทำให้จับมือปืนได้ แม้ไม่อาจสาวไปถึง "เจ้าพ่อ" ตัวจริงผู้รับ "งาน" การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของประชาชนก็ยังไม่หยุด เป็นผลให้ต้องมีการ "ตัดตอน" และ "ผู้ใหญ่" ไม่กล้าอุ้มเจ้าพ่อต่อไปได้ ผลก็คืออิทธิพลและเส้นทางการเมืองในท้องถิ่น (ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการเมืองระดับชาติ) ซบเซาลงทันตาเห็น

ผมจึงเชื่อว่า หากขบวนการประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ เคลื่อนไหวและมีพลังมากขึ้น การเมืองท้องถิ่นก็จะเปลี่ยนโฉมหน้าไปมากยิ่งขึ้น

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า เราจะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นลุกขึ้นมากำกับดูแลการเมืองท้องถิ่นได้อย่างไร

ที่มา.มติชนออนไลน์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

ยื่นสอบปชป.เผด็จการส.ส.แคนาดาร้องสหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยม

4 ส.ส.แคนาดาเข้าชื่อยื่นเรื่องให้สหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยมสอบพรรคประชาธิปัตย์กระทำการและสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ซึ่งขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ทั้งกรณีใช้อำนาจปิดกั้นสื่อ ปิดกั้นการแสดงความเห็นของประชาชน สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ชี้สวนทางทั่วโลกที่ประชาชนลุกขึ้นมาทวงสิทธิตัวเอง ด้านการชุมนุมคนเสื้อแดงยังคึกคัก “ณัฐวุฒิ” ขึ้นปราศรัยปิดท้ายกลางดึก ย้ำยังมีจ้องทำปฏิวัติรัฐประหารอยู่แม้นายกฯจะอยากยุบสภาเพื่อหนีคะแนนนิยมตกต่ำและวิธีการพิเศษ ระบุหากปล่อยให้มีเลือกตั้งประเทศเดินต่อได้ แต่หากเลือกวิธีพิเศษพังทั้งระบบ

การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา ยังมีคนเสื้อแดงเข้าร่วมจำนวนมาก ขณะที่แกนนำที่ออกมาจากเรือนจำก็ขึ้นเวทีปราศรัยกันอย่างพร้อมหน้า โดยส่วนมากพูดถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้านที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่หลายคนนำข้อมูลมาตอบโต้การชี้แจงของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่าไม่ตรงข้อเท็จจริง

หวังข้อมูลฝ่ายค้านถึงชาวบ้านกว้างขึ้น

การปราศรัยของแกนนำคนสำคัญอย่างนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ขึ้นปราศรัยปิดท้ายการชุมนุมเวลาประมาณ 02.00 น. วันที่ 20 มี.ค. นายณัฐวุฒิระบุว่า ไม่ได้คาดหวังว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่คาดหวังว่าข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ ส.ส.ฝ่ายค้านพูดในสภาจะกระจายไปสู่ประชาชนในวงกว้ามากขึ้น ซึ่งต้องขอชมเชยทีมอภิปรายของพรรคเพื่อไทยที่ทำงานได้ดี นำเสนอข้อมูลได้ดี

เชื่อ “อภิสิทธิ์” อยากยุบสภา

“หลายคนถามผมว่าหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วเราจะเดินอย่างไรต่อไป ชัดเจนว่าจากนี้ไปเราต้องเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งผมมั่นใจว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อยากจะยุบสภา ดีไม่ดีไม่ถึงต้นเดือน พ.ค. อย่างที่ประกาศไว้ แค่กลางๆเดือน เม.ย. ก็อาจจะไม่อยู่แล้ว เพราะว่าเขาต้องหนี 2 เรื่องคือ 1.หนีคะแนนความนิยมที่ดำดิ่งลงเรื่อยๆ 2.หนีวิธีการพิเศษที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการเมือง”

แนวคิดยึดอำนาจยังมีอยู่

นายณัฐวุฒิย้ำว่า ยังมีคนจ้องทำปฏิวัติรัฐประหารอยู่ เพียงแต่รอนายตัดสินใจขั้นสุดท้าย ซึ่งตอนนี้นายก็ยังลังเลอยู่ว่าจะเอาอย่างไรดี เราต้องรอดูว่าเขาจะกล้าหรือเปล่า ซึ่งอยากเตือนคนที่มีอำนาจตัดสินใจว่าให้คิดให้รอบคอบ เพราะหากทำปฏิวัติรัฐประหารเที่ยวนี้เดิมพันสูงมาก

เตือนยึดอำนาจอีกพังทั้งระบบ

“ผมขอให้คิดให้ดี เพราะหากให้มีการเลือกตั้งตามกระบวนการประชาธิปไตยก็ยังพอเดินหน้าไปได้ แต่หากใช้วิธียึดอำนาจไม่ให้มีเลือกตั้งก็พังกันทั้งกระดานแน่คราวนี้” นายณัฐวุฒิกล่าวและว่า การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นหากพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแล้วไม่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ยังมีการใช้อำนาจพิเศษล็อกคอพรรคการเมืองเล็กให้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล สนับสนุนนายอภิสิทธิ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก ถือว่าขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนที่ลงคะแนน หากยังใช้วิธีการพิเศษอีกก็ต้องเจอการต่อต้านจากประชาชนที่รักประชาธิปไตยแน่นอน

ส.ส.แคนาดายื่นสอบประชาธิปัตย์

ด้านเว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม รายงานว่า เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ผ่านมามี ส.ส.พรรคเสรีนิยมแห่งประเทศแคนาดาออกมาเรียกร้องให้สหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยมสอบสวนพรรคประชาธิปัตย์กรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน

คำแถลงการณ์ของพรรคเสรีนิยมแห่งรัฐสภาในกรณีพรรคประชาธิปัตย์แห่งประเทศไทยระบุว่า พรรคเสรีนิยมแห่งแคนาดา หนึ่งในสมาชิกที่น่าชื่นชมของสหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยม ซึ่งสหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยมเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ระบุให้สมาชิกต้องยอมรับหลักการในแถลงการณ์เสรีนิยม 1947 คำประกาศแห่งกรุงออกซ์ฟอร์ด 1967 และข้อเรียกร้องเสรีนิยมแห่งโรม 1981

เสรีนิยมต้องส่งเสริมเสรีภาพ

1.หลักการพื้นฐานของสหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยมถือเป็นหลักการที่สนับสนุน ส่งเสริมเสรีภาพส่วนตัว ซึ่งถูกรับรองโดยการบริหารงานของหน่วยงานทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นอิสระ

2.เสรีภาพและอิสรภาพของความรู้สึกนึกคิด

3.เสรีภาพของสื่อมวลชน

4.เสรีภาพที่จะเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วม

ต้องมีอิสรภาพทางการเมือง

5.ประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่สามารถแยกได้จากอิสรภาพทางการเมือง และต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกนึกคิด เสรีภาพ และเจตจำนงที่เกิดจากความรู้แจ้งของคนส่วนมาก ซึ่งแสดงออกผ่านทางการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยวิธีลับและเป็นอิสระ ต้องเคารพอิสรภาพและความเห็นของคนกลุ่มน้อยด้วย

“มาร์ค” ได้อำนาจฝืนมติประชาชน

เราให้ความสนใจรายงานขององค์กรระหว่างประเทศหลายฉบับที่ระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกสหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยม ถูกกล่าวหาว่าอาจละเมิดหลักการพื้นฐานเสรีนิยมที่ระบุในคำแถลงการณ์ของสหพันธ์ รายงานของ Freedom House กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคผู้นำรัฐบาล นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บริหารประเทศโดยปราศจากประชามติจากผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยขึ้นสู่อำนาจในปลายปี 2551 หลังจากศาลตัดสินให้ยุบพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคผู้นำรัฐบาล

สั่งสลายการชุมนุมของประชาชน

ฤดูใบไม้ผลิปี 2553 สื่อต่างชาติรายงานว่ารัฐบาลใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล “คนเสื้อแดง” ในกรุงเทพมหานครอย่างรุนแรง และใน “คำร้องขอให้ทำการสอบสวนเหตุการณ์ในราชอาณาจักรไทย” ที่ยื่นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งระบุอย่างละเอียดว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกองทัพจำนวนหนึ่งให้การว่าปฏิบัติการต่อต้านผู้ชุมนุมถูกสั่งการโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการต้อนผู้ชุมนุมเข้าไปในที่แคบบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ สร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย และมุ่งสังหารแกนนำเสื้อแดงบนเวที

ใช้กฎหมายหมิ่นฯจำกัดสิทธิ์

นอกจากนี้ Freedom House ยังรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2552 รัฐบาลได้บังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อควบคุมเสรีภาพการแสดงออกและการแสดงความเห็นทางการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เสรีภาพสื่อและอินเทอร์เน็ตถูกจำกัดอย่างรุนแรง โดยผู้ที่วิจารณ์รัฐบาลตกเป็นเป้าหมายของการสอบสวน และในหลายครั้งถูกดำเนินคดี

ทั่วโลกกำลังต้องการประชาธิปไตย

เราอยู่ในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ ประชาชนผู้ที่เคยถูกกดขี่และพลเมืองทั่วโลกลุกขึ้นเรียกร้องเสรีภาพและอิสรภาพของพวกเขา สหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยมจะต้องสอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการกระทำที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานขององค์กร โดยมีการใช้ความรุนแรงและกดขี่ประชาชนของตนเองโดยพรรคสมาชิก ดังนั้น เราจึงขอให้สหพันธ์พรรคการเมืองเสรีนิยมสอบสวนข้อกล่าวหาที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ในประเทศไทย เพื่อจะรับรองว่าพรรคจะปฏิบัติตามหลักการในคำแถลงการณ์ขององค์กรอย่างชัดเจน

ลงชื่อ Bob Rae องคมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Paul Szabo สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Bryon Wilfert องคมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Borys Wrzesnewskyj สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

หมาหอนก่อนโหวตไว้วางใจที่มาผลคะแนนค้านสายตา

โฆษกเพื่อไทยแฉเบื้องหลังผลโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาที่คะแนนออกมาค้านสายตาและความรู้สึกประชาชนเนื่องมาจากมีการแจกเงินค่ายกมือให้ ส.ส. ระบุคืนก่อนโหวตหมาหอนทั้งคืน ต่อรองกันจนนาทีสุดท้ายจนสามารถปั่นตัวเลขค่าตอบแทนขึ้นไปสูงถึง 8 หลัก ให้จับตาก่อนยุบสภาจะมีการอนุมัติโครงการทิ้งทวนเพื่อถอนทุนคืนและเตรียมทุนเลือกตั้ง แนะเพื่อไม่ให้ถูกครหาไม่ควรอนุมัติโครงการใหม่ก่อนยุบสภา ประชาธิปัตย์เสี้ยม “เฉลิม-มิ่งขวัญ” ให้แย่งตำแหน่งผู้นำพรรคเพื่อชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ยังไม่ขับ “สมเกียรติ” ที่โหวตไม่ไว้วางใจนายกฯออกจากพรรค อ้าง ส.ส. มีเอกสิทธิ์ตัดสินใจในสภา

นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นความแตกแยกภายในพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.สัดส่วน ผู้นำการอภิปราย กับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรค

“ชัดเจนว่านายมิ่งขวัญกับ ร.ต.อ.เฉลิมจะไม่ถูกวางตัวเป็น ส.ส.สัดส่วน ลำดับที่ 1 ในการเลือกตั้ง เพราะไม่ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวนอกสภากับคนเสื้อแดง น่าเสียดายที่คนที่พร้อมจะใช้สภาขับเคลื่อนทางการเมืองถูกลดบทบาทลง”

ความแตกต่างระหว่าง พท.-ปชป.

นพ.บุรณัชย์กล่าวอีกว่า การอภิปรายที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นแนวคิดที่แตกต่างระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์หลายเรื่อง ได้แก่ 1.ราคาสินค้าเกษตร พรรคเพื่อไทยเน้นวิธีการจำนำ แต่พรรคประชาธิปัตย์เน้นวิธีประกันราคา 2.รายได้ พรรคประชาธิปัตย์เน้นเพิ่มรายได้คู่กับการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ แต่พรรคเพื่อไทยเน้นเพิ่มรายได้เพียงอย่างเดียว 3.ด้านพลังงาน พรรคประชาธิปัตย์เน้นคุมราคาน้ำมันดีเซลลอยตัวเบนซิน แต่พรรคเพื่อไทยจะลอยตัวดีเซล แก้ปัญหาเบนซิน

“ภาพรวมการอภิปรายที่ผ่านมาพรรคเพื่อไทยไม่ได้เน้นตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล แต่เน้นสร้างความแตกแยกและสร้างความเสียหายให้ผู้อื่นโดยใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองเป็นเกราะกำบัง”

ยังไม่ขับ “สมเกียรติ” พ้นพรรค

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า พรรคยังไม่ได้หารือเรื่องที่นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน ของพรรคโหวตไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หากไม่ขับออกจากพรรคก็ไม่ได้หมายความว่ากลัวจะแตกหักกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่เป็นเพราะต้องแยกแยะการทำหน้าที่ของ ส.ส.

“ขณะนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 6 สัปดาห์จะยุบสภาตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศเอาไว้ เวลาที่เหลือรัฐบาลจะเร่งดำเนินนโยบายวาระเร่งด่วน พร้อมกับสำรวจความต้องการและปัญหาของประชาชนเพื่อกำหนดนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง โดย ส.ส. จะเสนอข้อมูลในพื้นที่ต่อที่ประชุมพรรควันที่ 22 มี.ค. นี้”

นโยบายเร่งด่วนเน้นเพิ่มรายได้

นพ.บุรณัชย์กล่าวว่า นโยบายเร่งด่วนที่พรรคจะเสนอต่อประชาชน เช่น เพิ่มรายได้ 25% ภายใน 2 ปี ลดต้นทุนการขนส่งด้านพลังงานจาก 19% เหลือ 15% ปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคล ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรเพื่อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว

นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่ ร.ต.อ.เฉลิมประกาศวางมือจากการเมืองหากนายมิ่งขวัญขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยเป็นการวัดกำลังกันภายในพรรค และเป็นการประกาศเพื่อกดดันนายใหญ่

เสี้ยม “มิ่งขวัญ” อย่ายอมถ้าถูกเขี่ย

“นายมิ่งขวัญได้แสดงฝีมือแล้วในการนำอภิปรายไม่ไว้วางใจ พรรคเพื่อไทยจึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงผู้นำให้ประชาชนสับสนอีก หากจะมีการเปลี่ยนแปลงนายมิ่งขวัญไม่ควรยอมแพ้ต่อขบวนการขัดขวางตัวเอง ส.ส. ในกลุ่มที่รับเงินพิเศษจากนายมิ่งขวัญควรออกมาปกป้องนายให้สมกับเงินที่ได้รับ” นายเทพไทกล่าวและว่า การที่ ร.ต.อ.เฉลิมยก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมาเพื่อสกัดนายมิ่งขวัญและเพื่อหวังปอกลอก

นายเทพไทกล่าวว่า ไม่ว่าพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนใครขึ้นมาชิงตำแหน่งนายกฯควรเร่งเปิดตัวเพื่อให้ประชาชนได้พิจารณา

“สุเทพ” อุบรวมงานกลุ่ม 3 พี

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า การที่ ส.ส.กลุ่ม 3 พี โหวตสนับสนุนรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ได้เป็นสัญญาใจว่าจะร่วมงานกันหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า เพราะการโหวตในสภาเป็นการใช้ดุลยพินิจของ ส.ส.

“ต้องขอบคุณที่โหวตไว้วางใจรัฐบาล เพราะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ส่วนในอนาคตยังไม่สามารถบอกได้”

“มิ่งขวัญ” เสนอตัวเป็นเรื่องดี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาประชาชนที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจะตัดสินใจได้เองว่าเชื่อถือข้อมูลของใคร ข้อมูลอะไรของฝ่ายค้านที่เป็นประโยชน์พร้อมรับมาพิจารณา เช่น ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ส่วนกรณีที่นายมิ่งขวัญเสนอตัวเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีจะได้มีความชัดเจนในการนำเสนอวิธีคิดแก้ปัญหาให้ประชาชน

“เมื่อนายมิ่งขวัญเสนอตัวแล้วหวังว่าพรรคเพื่อไทยจะมีความชัดเจนที่จะมาแข่งขันกันในระบบ จะได้นำการเมืองออกจากความขัดแย้ง เพราะหลายปีที่ผ่านมาวนเวียนอยู่กับการเคลื่อนไหวนอกสภา ทั้งการใช้มวลชนและกองกำลัง ถ้านายมิ่งขวัญสามารถหยุดตรงนี้ได้จะเป็นการแสดงภาวะผู้นำ จะได้มาแข่งขันกัน” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า หากนายมิ่งขวัญเสนอตัวแล้วหยุดกระบวนการนอกสภาไม่ได้แสดงว่ารู้เห็นเป็นใจและไม่ได้เป็นผู้นำอย่างแท้จริง

เพื่อไทยยันไม่เปลี่ยนคณะผู้บริหาร

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า การประชุมวิสามัญประจำปีของพรรคในวันที่ 22 มี.ค. นี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค ส่วนเรื่องแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร แต่จะประกาศบุคคลที่เหมาะสมได้ก่อนยุบสภาแน่นอน

“ทันทีที่นายอภิสิทธิ์ประกาศกำหนดยุบสภาชัดเจนเราจะประชุมพรรคทันทีเพื่อให้ ส.ส. เลือกว่าจะชูใครขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับนายอภิสิทธิ์ในการเลือกตั้ง” นายพร้อมพงศ์กล่าวพร้อมยืนยันว่า ในพรรคมีคนเก่งกว่านายอภิสิทธิ์ที่บริหารประเทศจนข้าวของแพงอยู่หลายคน

โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมามีโพลประเมินผลงานของทีมอภิปรายให้คะแนน 7.9 เต็ม 10 ผู้อภิปรายของพรรคทุกคนสอบผ่านหมด ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีเพียงนายอภิสิทธิ์คนเดียวที่ได้ 5.01 คะแนน ที่เหลือได้เพียง 4 คะแนนกว่าๆ

แฉค่าโหวตไว้วางใจสูง 8 หลัก

“คะแนนที่ออกมาต่างจากผลโหวตในสภาที่ยังเป็นลักษณะพวกมากลากไป ที่เห็นชัดเจนคือกรณีของนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ประชาชนบอกว่าชี้แจงไม่ตรงประเด็น ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ผลโหวตในสภากลับได้คะแนนไว้วางใจมากที่สุดถึง 251 เสียง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ที่เป็นคนเดียวที่ประชาชนให้สอบผ่านได้เพียง 249 เสียง” นายพร้อมพงศ์กล่าวพร้อมระบุว่า ที่ผลคะแนนออกมาอย่างนี้ทราบมาว่ามีการวิ่งล็อบบี้ชนิดหมาหอนทั้งคืนก่อนจะโหวต ได้ยินมาว่าบางพรรคมี ส.ส. วิ่งเข้าไปรับมัดจำงวดแรกก่อน หลังการลงมติก็ไปรับงวดที่สอง ที่น่าตกใจคือการโหวตครั้งนี้แลกกับเงินมากถึง 8 หลักเลยทีเดียว ผลโหวตในสภาจึงสวนทางต่อความรู้สึกของประชาชน

จับตาโกงทิ้งทวนก่อนยุบสภา

นายพร้อมพงศ์กล่าวอีกว่า รู้สึกเป็นห่วงที่นายกรัฐมนตรีประกาศไม่ปรับคณะรัฐมนตรี และยังย้ำเรื่องยุบสภาสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. เพราะจะทำให้มีการโกงทิ้งทวนในโครงการต่างๆมากขึ้น ดังนั้น เมื่อมีความชัดเจนเรื่องเวลายุบสภาแล้วจึงไม่ควรอนุมัติโครงการใหม่ๆอะไรอีกในช่วงนี้

โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวอีกว่า การชี้แจงในสภาที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 9 คนตอบไม่ตรงคำถาม และไม่ได้ตอบคำถามของฝ่ายค้านหลายเรื่อง จึงจะรวบรวม 20 คำถามที่รัฐบาลไม่ได้ตอบหรือตอบไม่ชัดเจนให้ประชาชนพิจารณา เช่น เรื่องภาษีบุหรี่ 68,000 ล้านบาท น้ำมันปาล์ม การทุจริตในสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การปั่นหุ้นไทยคม การเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทรูในการประมูล 3จี การโยกย้ายข้าราชการไม่เป็นธรรม การซื้อหัวรถจักรไฟฟ้า 7 หัวโดยมิชอบ การส่อทุจริตรถตู้เอ็นจีวี การขายแป้งมันสำปะหลังแบบจีทูจี ซึ่งตรวจสอบแล้วพบว่าจีนไม่รับรอง 3 บริษัท การขายสต็อกข้าว โครงการแจกข้าวถุง 75 ล้านถุงที่พบว่าแพงกว่าท้องตลาด การครอบครองที่ดิน 700 ไร่ ที่จังหวัดนครพนม และความล้มเหลวทางการทูตกับเพื่อนบ้าน โดยจะทำเป็นเอกสารแจกจ่ายประชาชนทั่วประเทศต่อไป

ภท.-ชทพ. หวังเป็นตัวแปรตั้งรัฐบาล

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หลังการเลือกตั้งยังไม่แน่นอนว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะจับมือทำงานร่วมกันต่อไป เพราะพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนาประกาศร่วมมือกันแล้วเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองทางการเมือง

“ทั้ง 2 พรรคประเมินแล้วเห็นว่าหลังเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์จะไม่มีใครได้ชัยชนะเด็ดขาด ไม่มีพรรคไหนได้ถึง 251 เสียงแน่นอน สองพรรคจึงรวมกันเพื่ออยู่ตรงกลางและต่อรอง ก่อนตัดสินใจว่าจะสนับสนุนฝ่ายไหนตั้งรัฐบาล” ผศ.ดร.ปริญญากล่าวและว่า หากพรรคภูมิใจและพรรคชาติไทยพัฒนาร่วมมือกันถึงขนาดไม่ส่ง ส.ส. ทับซ้อนกันมีโอกาสที่จะรวมเสียงกันแล้วมากกว่าพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ได้เช่นกัน

นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เชื่อว่าการหาเสียงเลือกตั้งในบางพื้นที่อาจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะผู้สมัครต้องคอยระมัดระวังตัว และเชื่อว่าจะไม่มีพรรคไหนชนะเลือกตั้งเด็ดขาด รัฐบาลชุดใหม่ยังต้องเป็นรัฐบาลผสมแน่นอน

ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจอภิปราย ให้ฝ่ายค้านชนะ

 
20 มี.. 54 - ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภาคทั่วประเทศ พบว่า หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้นลง ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีรวม 10 ท่านที่ถูกอภิปราย ดังนี้
 
<>
 
ไว้วางใจ
(ร้อยละ)
ไม่ไว้วางใจ
(ร้อยละ)
ไม่ออกความเห็น/ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (ร้อยละ)
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
25.6
57.2
17.2
2. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
22.9
53.2
23.9
3. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
19.6
55.1
25.3
4.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ
16.6
56.1
27.3
5. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
16.4
65.6
18.0
6. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
16.4
70.9
12.7
7. นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
14.0
70.3
15.7
8. นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
12.3
62.5
25.2
9. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
11.8
68.6
19.6
10. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
11.7
69.6
18.7
 
 
สำหรับการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ในการอภิปรายที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนให้คะแนนฝ่ายค้าน 6.48 คะแนน ฝ่ายรัฐบาล 4.28 คะแนน และประธานสภาฯ 5.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
 
โดยร้อยละ 49.8 ระบุว่าเชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 19.7 เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า และร้อยละ 30.5 ไม่เชื่อถือข้อมูลของทั้งสองฝ่าย
 
อย่างไรก็ตาม หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลงยังคงมีประเด็นที่ประชาชนค้างคาใจมากที่สุดคือเรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม (ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างสรรพสินค้าเซ็ลทรัลเวิลด์) ร้อยละ 29.9 รองลงมาคือ เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด ร้อยละ 27.4 และเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่แพงขึ้น ร้อยละ 8.1 ตามลำดับ
 
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
1. การรับชม /รับฟัง หรือติดตามข่าวการประชุมสภาฯ เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวม 10 ท่าน ในวันที่ 15 18 มีนาคม ที่ผ่านมา พบว่า
 
มีผู้ติดตามการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง        ร้อยละ 10.2
ติดตามการถ่ายทอดสดเป็นช่วงๆ ร้อยละ 63.0
ติดตามจากข่าวที่สื่อต่างๆ นำมาเสนอ            ร้อยละ 26.8
 
 2. หลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายทั้ง 10 คน โดยเรียงลำดับรัฐมนตรีที่ประชาชนให้ความไว้วางใจจากมากไปน้อย ดังนี้
 
<>
 
ไว้วางใจ
(ร้อยละ)
ไม่ไว้วางใจ
(ร้อยละ)
ไม่ออกความเห็น/ไม่มีข้อมูลเพียงพอ (ร้อยละ)
1. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
25.6
57.2
17.2
2. นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
22.9
53.2
23.9
3. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
19.6
55.1
25.3
4.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ
16.6
56.1
27.3
5. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
16.4
65.6
18.0
6. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
16.4
70.9
12.7
7. นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
14.0
70.3
15.7
8. นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
12.3
62.5
25.2
9. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
11.8
68.6
19.6
10. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
11.7
69.6
18.7
 
3. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนการทำหน้าที่ของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และประธานสภาฯ ในการอภิปราย
 ครั้งนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่า
 
- ให้คะแนนการทำหน้าที่ซักฟอกของฝ่ายค้าน                               6.48 คะแนน
- ให้คะแนนการทำหน้าที่ชี้แจงประเด็นที่ถูกอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล           4.28 คะแนน
- ให้คะแนนการทำหน้าที่ของประธานสภาฯ                                          5.57 คะแนน
 
4. เมื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พบว่า
 
            - เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายค้านมากกว่า                     ร้อยละ 49.8
            - เชื่อถือข้อมูลของฝ่ายรัฐบาลมากกว่า                       ร้อยละ 19.7
            - ไม่เชื่อทั้งสองฝ่าย                                              ร้อยละ   30.5
 
5. ภายหลังการอภิปรายเสร็จสิ้นลง พบว่า ประเด็นในการอภิปรายที่ประชาชนยังค้างคาใจอยู่ 3 อันดับแรก(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) คือ
           
            อันดับ 1 เรื่องการสลายการชุมนุมในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม           ร้อยละ 29.9
 (ทำให้มีคนเสียชีวิต 91 ศพ และการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์)
            อันดับ 2 เรื่องน้ำมันปาล์มขาดตลาด และมีราคาแพง                                          ร้อยละ 27.4
            อันดับ 3 เรื่องราคาสินค้า อุปโภค – บริโภค ที่แพงขึ้น                                        ร้อยละ 8.1
 
  
………………………………….
รายละเอียดในการสำรวจ
 
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนจากทั่วประเทศ เกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวม 10 ท่าน เพื่อสะท้อนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและ จังหวัดต่างๆ ทุกภาคภาคทั่วประเทศ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบพบตัวและการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่าง 1,246 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.3 และเพศหญิงร้อยละ 47.7
 
 ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
 ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
           
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           : 18 -19 มีนาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ                : 20 มีนาคม 2554
 
 
ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
<>



จำนวน


ร้อยละ


เพศ





 ชาย


652

52.3

 หญิง


594

47.7

รวม

1,246

100.0

อายุ





 18 - 25 ปี

218

17.5

 26 - 35 ปี

312

25.0

 36 - 45 ปี

346

27.8

 46 ปีขึ้นไป

370

29.7

รวม

1,246

100.0

การศึกษา





 ต่ำกว่าปริญญาตรี

677

54.3

 ปริญญาตรี

493

39.6

 สูงกว่าปริญญาตรี

76

6.1

รวม

1,246

100.0

อาชีพ






168

13.5

 พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน

345

27.7

 ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว

358

28.7

 รับจ้างทั่วไป

167

13.4

 พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ

97

7.8

 อื่นๆ อาทิ เกษตรกรรม อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ

111

8.9

รวม

1,246

100.0
Tags:
ที่มา.ประชาไท
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////