--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

มาทำความรู้จัก : ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ !!



พลันที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้บรรดาคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ได้แก่ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107-112 และความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113-118 และความผิดตามประกาศหรือคำสั่ง คสช. ให้การกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตราชอาณาจักร และในระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงนั้น

หลายคนที่ได้ฟังคำประกาศของ คสช.อาจจะไม่เข้าใจว่า "ศาลทหาร" คืออะไร ไม่ได้บังคับใช้เฉพาะกับทหารหรือ

พลิกดูพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 พบอำนาจศาลทหารบัญญัติอยู่ในมาตรา 13 ระบุว่า ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ศาลทหารก็เหมือนศาลพลเรือน แต่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายทหาร หรือกับบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือทหารประจำการระดับต่างๆ นั่นเอง ยกเว้นคดีที่กระทำผิดร่วมกับพลเรือน คดีที่ต้องดำเนินคดีในศาลเด็กและเยาวชน และคดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน

ศาลทหารดังกล่าวนี้ เรียกว่า "ศาลทหารในเวลาปกติ" ซึ่งยังไม่ใช่ศาลทหารตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 37 เพราะศาลทหารที่ คสช.ประกาศ คือ "ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ" ซึ่งตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 36 บัญญัติว่า "ในเวลาไม่ปกติ" คือ ในเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงคราม หรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลทหารซึ่งมีอยู่แล้วในเวลาปกติคงพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ตามอำนาจ แต่ถ้าผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ประกาศ หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้สั่งตามกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาใดๆ อีก ก็ให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นได้ด้วย

ทั้งนี้ เมื่อหมดภาวะการรบหรือสถานะสงคราม หรือเลิกใช้กฎอัยการศึก ศาลทหารยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ในศาลหรือที่ยังมิได้ฟ้อง...

กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ "ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ" คือศาลทหารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร แต่กระทำผิดในความผิดที่ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีด้วย

สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่ประกาศ คสช.ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารนั้น ในกลุ่มแรก คือ คดีหมิ่นสถาบัน ซึ่งสังคมไทยคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113-118 ประกอบด้วย

ความผิดฐานกบฏ, สะสมกำลังพลหรืออาวุธ หรือสมคบกันเพื่อเป็นกบฏ, ยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ, ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง, ยุยงให้ร่วมกันหยุดงาน และกระทำต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใดอันมีความหมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
----------------------------------------------

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คนสองซิม !!?

โดย.พญาไม้

เพราะ คนสองซิม คนเดียวทำเรื่อง..

เรื่องไม่เป็นเรื่องถึงกลายเป็นเรื่องขึ้นมา

เพราะมนุษย์สองซิม..มันไปเปิดปากเปิดโปงมาว่า..ที่กำลังเดินขบวนกันเป็นรายเดือนและกำลังจะเป็นรายปีนั้น..เป็นพวกเดียวกันกับพวกที่เป็นกรรมการเป็นคนกลางจัดการเลือกตั้งให้กับประเเทศ

ฝ่ายตรงกันข้ามที่กำลังหาช่องหามุมเข้าโจมตี..ก็เลยเจอจุดอ่อนช่องโหว่มหึมา..จะเอามาฟ้องต่อโลกต่อประชาชน

ว่า..ประชาธิปไตยของประเทศ..กำลังอ่อนแอมีปัญหา..เพราะพวกแพ้เลือกตั้งกลับใช้ขบวนการนอกประชาธิปไตย..มาล้มรัฐบาล

ถ้าฝ่ายตรงกันข้าม..กระทำโฆษณาสำเร็จ..

เลือกตั้งประเทศไทย..เลือกกี่ครั้งกี่ครั้งมันก็จะมีพรรคเดียวครองเมือง..เรื่องแบบนี้หากว่าเกิดในประเทศที่เจริญแล้ว..เขาก็ว่าเป็นเรื่องดี..เพราะรัฐบาลที่บริหารประเทศได้ยาวนาน..ก็จะทำโครงการใหญ่ยักษ์ให้ลุล่วงไปได้..

แต่ในประเทศที่ล้าหลังโบราณ..เขาว่าเป็นเผด็จการรัฐสภา..ต้องหาทางล้มล้างแก้ไข
เสียงประชาชนทั่วไปเป็นเสียงพวกโง่เง่าล้าหลัง..และรับจ้างใส่บัตรเลือกตั้ง..

อีกทั้ง..กรรมการเลือกตั้งตัวตรง..ก็น่ามึนงงในสติปัญญา..ดันไปบอกออกเรื่องราวว่า..ที่ต้องเดินเอียงเอาสีข้างเข้าถูนั้น..เพราะมีงานใหญ่..ต้องเอียงไว้รับงาน
คุยกันในที่ลับแล้วเอามาประกาศกันในที่แจ้ง..

พวกคนที่วางแผนกันไว้แน่นหนาก็ทำท่าจะเสียท่า..จะพากันไปไม่ถึงเป้าหมาย..ไปไม่ถึงดวงดาว..
เรื่องของเรื่อง..จึงต้องรวบรัดตัดความ..ถึงจะไม่ใช่ทางเรียบทางตรง..ถึงจะต้องขึ้นลงภูเขาข้ามห้วย..ก็ต้องเสี่ยงก็ต้องไป..เพราะช้าไว้ช้าเท่าไหร่..พวกสมองหมาปัญญาควายแต่ปากเบาจะทำพัง..
นั่นแหละปัจจุบันเหตุ..

แล้วเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อไป..ก็เป็นเรื่องจนปัญญาจะหาคำตอบหาตอนจบของเรื่อง..จนปัญญาไม่รู้แม้แต่กระทั่งว่า..มันเป็นหนังชีวิตหรือหนังบู๊ล้างผลาญ..แต่ที่แน่ๆ นั้น..มันเป็นหนังผี เพราะมีคนตายไปแล้วมากมายเกินร้อยศพ..

แต่เป็นหนังผีแนวใหม่..เพราะเป็นเรื่อง “คนเป็นหลอกคนตาย” ..และจะหลอกกันไปอีกนาน..ส่วนจะตายเป็นร้อยเป็นพันหรือเป็นหมื่นศพหรือไม่..ใครก็ทายไม่ถูก..

ไม่รู้ว่าอะไรจะน่าสงสารกว่ากัน..ระหว่าง..คนไทย กับ ประเทศไทย

ที่มา.บางกอกทูเดย์
////////////////////////////////////////

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กอ.รส. วางกรอบ10วัน จบไม่จบ !!?

กอ.รส.ก็คงจะดูเกมนี้ไว้แล้วตั้งแต่ต้น จึงได้เดินหมากใช้กฎอัยการศึกเพื่อรวบเอาอำนาจสั่งการมาไว้ในมือ..

ต้องจับตาว่า การประกาศวาทกรรม นับหนึ่งใหม่ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) ในการหาทางออกของประเทศจะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่ และเมื่อไหร่

แม้จะมีสัญญาณตอบรับกฎอัยการศึกที่ดีในช่วงวันสองวันแรก แต่ถ้าทอดเวลานานออกไปคงไม่เป็นผลดีเท่าใดนัก

วันแรกของประกาศกฎอัยการศึกได้มีการเชิญหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชนเข้ามาระดมสมองหาทางออกประเทศ วันต่อมา คือ วันที่ 21 พฤษภาคม ได้มีการเชิญฝ่ายที่เกี่ยวข้องและคู่ขัดแย้ง ได้แก่ กลุ่มกปปส., นปช., พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, วุฒิสภา มาพูดคุยกันเพื่อเร่งผ่าทางตันโดยเร็วที่สุด

นอกจากนี้ กอ.รส. ยังเป็นห่วงเรื่องปฏิกิริยาจากนานาชาติที่อาจมีความไม่เข้าใจต่อการทำหน้าที่ของกองทัพ ทางผอ.รส. จึงสั่งการให้มีการชี้แจงไปยังต่างประเทศใน 2 แนวทาง

1. ผอ.รส. ได้มีการสั่งการไปยัง "ผู้ช่วยทูตทหาร" ทั้ง 3 เหล่าทัพ ที่ประจำการอยู่ใน 100 กว่าประเทศทั่วโลกให้ไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางของกองทัพ และสถานการณ์ในประเทศ และ 2.เชิญ "เอกอัครราชทูต" ทุกประเทศที่ประจำการอยู่ในประเทศไทยมารับฟังการชี้แจงแนวทางการปฏิบัติของ กอ.รส. ในวันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคมนี้ ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี

ส่วนแนวทางในการบริหารจัดการประเทศหลังจากนี้ กองทัพแสดงให้เห็นว่า ยังคงยึดกรอบของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ในการเชิญคู่ขัดแย้งหลักของประเทศเข้ามาเจรจา เพื่อเร่งหาทางออกโดยเร็วที่สุด

หากการพูดคุยเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ และมีการปลุกระดมให้มีการต่อต้านการปฏิบัติหน้าที่ของ กอ.รส. ทางกองทัพก็อาจจำเป็นต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งอาจหมายถึงการ "รัฐประหาร"

ภาพของกองทัพภายใต้การประกาศใช้กฎอัยการศึกที่ปรากฏให้เห็นก็คือ

1.กองทัพทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชิญคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายมาพูดคุย เพื่อหาทางออกโดยสันติวิธี โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 10 วัน ซึ่งผลการหารือ ทางออกอาจจะไปลงที่ "รัฐบาลเฉพาะกาล" ก็เป็นไปได้ โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจนำมาจากตัวแทนของคู่ขัดแย้งทุกฝ่าย และหลังจากนั้นอาจมีการลงสัตยาบันร่วมกัน

2.หากเงื่อนไขนี้ไม่ได้รับการยอมรับ กองทัพอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการ "นอกกรอบรัฐธรรมนูญ" เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างเบ็ดเสร็จ เพราะนับตั้งแต่กองทัพเข้ามาประกาศกฎอัยการศึก และเข้ามาปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคงแทนศอ.รส. ก็เท่ากับว่า แรงกดดันทั้งหมดจะถูกผ่องถ่ายมายังกองทัพแทน และกองทัพคงไม่สามารถปฏิเสธแนวทางนี้ได้ แม้จะไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็ตาม

ทิศทางของประเทศจึงขึ้นอยู่กับการพูดคุยระหว่างตัวแทนฝ่ายต่างๆ อันประกอบด้วย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), วุฒิสภา, กปปส. และนปช. ว่าจะสามารถหาข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีร่วมกันโดยแท้

แต่ท่าทีของฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะคลี่คลายปัญหา กลับดูจะไม่ค่อย "ปลื้ม" กับการเข้ามาบริหารจัดการของกองทัพเท่าใดนัก สังเกตได้จากการที่ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐฒนตรี ปฏิเสธที่จะเดินทางไปพบปะพูดคุยตามคำเชื้อเชิญของ กอ.รส.

เพราะถึงแม้จะแก้ปัญหาได้ทีละเปลาะๆ แต่ส่วนที่ใหญ่ที่สุด แน่นที่สุด กลับอยู่ตรงจุดที่ยังคงมีรัฐบาลรักษาการอย่างถูกกฎหมาย หากยังมีตรงนี้ การจะเดินไปสู่การสรรหานายกรัฐมนตรีคนกลาง หรือ เฉพาะกาล จึงเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงที่จะขัดต่อกฎหมาย

อธิบายในอีกมุมก็คือ นี่คือข้อต่อรองเดียวของฝ่ายรัฐบาล

ซึ่งก็ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมายของทุกฝ่ายนัก รวมทั้ง กอ.รส.ก็คงจะดูเกมนี้ไว้แล้วตั้งแต่ต้น จึงได้เดินหมากใช้กฎอัยการศึกเพื่อรวบเอาอำนาจสั่งการมาไว้ในมือ แล้วจัดการเรียกทุกฝ่ายมาพูดคุย เนื่องจากว่าการใช้กฎหมายปกติ ไม่ได้ให้อำนาจมากขนาดนั้น

น่าสนใจว่า ด้วยอำนาจมากมายขนาดนี้ การเจรจาต่อรองระหว่างคู่ขัดแย้งท่ามกลางความเสียหายของประเทศจะจบลงอย่างไร

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับบทบาทราชองครักษ์ผู้ค้ำจุนรัฐ

ในยามที่บ้านเมืองต้องแตกร้าวระส่ำระส่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของกลุ่มประเทศโลกที่สาม การแผ่อำนาจทางการเมืองของทหาร มักถือเป็นเรื่องปกติ จนมักมีการเรียกขานทหารที่ตัดสินใจเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองว่า "องครักษ์ผู้ค้ำจุนรัฐ" หรือ "เพรโตเรี่ยน การ์ด/ Praetorian Guard"

ในทางประวัติศาสตร์ คำๆ นี้มักหมายถึง หน่วยทหารที่ทำหน้าที่คุ้มครององค์จักรพรรดิโรมัน หากแต่ว่า กองทหารเหล่านี้ก็อาจจะแอบลอบสังหารผู้ปกครองที่ประสบความล้มเหลวในการบริหารบ้านเมือง หรืออาจหันมาให้ความคุ้มกันต่อคณะสภาซีเนทเพื่อให้การคัดเลือกองค์อธิปัตย์ตนใหม่ เต็มไปด้วยความสงบราบรื่น

อย่างไรก็ตาม เวลาต่อมา คำว่า "เพรโตเรี่ยน การ์ด" ได้กลายมาเป็นศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมักถูกนำมาใช้อธิบายถึงการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร ควบคู่ไปกับคำศัพท์วลีอื่นๆ อย่างเช่น "The Man on Horseback" หรือที่อาจแปลเป็นภาษาไทยว่า "ชายบนหลังม้า" "บุรุษอาชาไนย" หรือ "อัศวินขี่ม้าขาว"



ปกหนังสือของ Finer นักรัฐศาสตร์ชื่อดังด้านทหารกับการเมือง เรื่อง "The Man on Horseback" จัดพิมพ์โดย Penguin ปี 1976 แสดงภาพชายบนหลังม้า บุรุษผู้เข้ามากู้วิกฤติให้กับบ้านเมือง เพียงแต่ข้าพเจ้าอยากจะตีความเอาเองว่า ในประวัติศาสตร์ของรัฐโลกที่สาม ถือว่ามีอยู่หลายครั้งที่ทหารมิสามารถจะนำสันติภาพกลับคืนสู่สังคมได้อย่างแท้จริง ซึ่งก็ทำให้อัศวินผู้กล้ากลับต้องขับขี่อาชาไนยสีเลือด แทนที่จะเป็นอัศวยุทธสีขาวอันทรงเกียรติและปราศจากมลทินทางการเมือง แต่กระนั้น ก็กลับมีอดีตบุรุษลายพรางบางกลุ่มที่พยายามทุ่มพละกำลังเพื่อเข้าแก้ไขวิกฤติของบ้านเมืองได้อย่างน่าประทับใจอยู่เช่นกัน อาทิ อดีตนายพลเต็ง เส่ง ของพม่า และ อดีตนายพล ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ของอินโดนีเซีย


จากนิยามดังกล่าว การตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึกของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อเข้าระงับความขัดแย้งในบ้านเมือง พร้อมกระชับอำนาจให้กองทัพบกกลายมาเป็นแกนกลางหลักแห่งโครงสร้างการเมืองไทย จึงถือเป็นพฤติกรรมที่เข้าข่ายลักษณะขององครักษ์ผู้ค้ำจุนรัฐ ซึ่งนับเป็นประเพณีการพัวพันทางการเมืองในแบบปกติของรัฐกำลังพัฒนาทั้งหลายทางแถบเอเชีย อัฟริกา และละตินอเมริกา

โดยกลิ่นอายแห่งความเป็นเพรโตเรี่ยน การ์ด สามารถสังเกตได้จากท่วงทำนองการประกาศอำนาจของตัวผู้บัญชาการทหารบก ที่ใช้พระบรมราโชวาทของรัชกาลที่ห้า เป็นฉากหลังขณะกำลังนั่งอ่านแถลงการณ์ ซึ่งมีข้อความสำคัญ เช่น "ทหารคือสุภาพบุรุษผู้ถืออาวุธเพื่อป้องกันประเทศ" หรือ "ทหารเป็นผู้เสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อความผาสุกของประชาชน และ ความอยู่รอดของชาติ”

นอกจากนั้น ภูมิหลังของพลเอกประยุทธ์ที่เติบโตมาจากกลุ่มทหารสายบูรพาพยัคฆ์ซึ่งรับมอบภารกิจเป็นกองทหารราชองครักษ์เพื่อถวายความคุ้มครองแด่องค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบหลักที่ช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ของความเป็นเพรโตเรี่ยน การ์ด ให้ตราตรึงอยู่ในมโนทัศน์ทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์

สำหรับเรื่องของศิลปะการใช้อำนาจ จะเห็นว่า การประกาศกฎอัยการศึกครั้งล่าสุด อาจยังผลดีหรือช่วยอวยประโยชน์ทางการเมืองให้กับขั้วอำนาจขององครักษ์ผู้คำจุนรัฐ โดยในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน โครงสร้างอำนาจการปกครองตามแบบปกติของพลเรือน จะถูกแทนที่ด้วยโครงสร้างบังคับบัญชาของกองทัพ เช่น การเข้ามามีอำนาจของศาลทหารในการตัดสินคดีความด้านความมั่นคง หรือ การถ่ายระดับกลไกอำนาจรัฐจากกองอำนวยการส่วนกลาง ลงสู่กองทัพภาค กองพล กองพัน และ กองร้อย ตลอดจนการแทรกตัวของเจ้าหน้าทหารเข้าไปในโครงข่ายการบริหารปกครองสายมหาดไทย เช่น จังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน

การขยับปริมณฑลการใช้อำนาจเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้ ผบ.ทบ. กลายเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์เฉพาะกิจซึ่งมีอำนาจแทนที่รัฐบาลในการจัดการปกครองประเทศ ขณะเดียวกัน การสถาปนากองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนดุลอำนาจภายในกองทัพ ซึ่งถือเป็นความพยายามกระชับอำนาจของทหารสายคุมกำลังรบให้มีอยู่เหนือกลุ่มทหารฝ่ายวางแผนและธุรการ อย่างเช่นจากขั้วปลัดกระทรวงกลาโหม หรือ จากขั้วชนชั้นนำพลเรือนภายในศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส.

ในอีกแง่มุมหนึ่ง การประกาศกฎอัยการศึกครอบคลุมทั่วประเทศ ยังเป็นการเสริมสร้างความเหนียวแน่นให้กับกองทัพภาคแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นการดึงให้หน่วยขึ้นตรงต่างๆ สามารถประสานหรือประกอบกำลังกันเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในแต่ละพื้นที่ พร้อมเปิดโอกาสให้แม่ทัพประจำหน่วยรบระดับกองพลหรือกองพัน มีโอกาสแสดงความพร้อมหรือทักษะการปฏิบัติการในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น กองพลทหารราบที่ 9 จากค่ายสุรสีห์ ที่เคลื่อนย้ายกำลังอย่างรวดเร็วจากกาญจนบุรีเข้าสู่ถนนอักษะเพื่อตรึงแนวชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง หรือ การเตรียมกำลังรักษาความสงบของกองพลทหารราบที่ 7 ค่ายขุนเณร จังหวัดเชียงใหม่ และกองพลทหารราบที่ 6 ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จังหวัดร้อยเอ็ด

แต่อย่างไรก็ตาม แม้พลเอกประยุทธ์ จะประสบความสำเร็จในการประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่ก็มิใช่ว่าเส้นทางการสร้างเอกภาพภายในประเทศ จะปราศจากซึ่งขวากหนาม โดยยังต้องจับตามองกันต่อไปว่าการสำแดงบทบาทเป็นองครักษ์ผู้ค้ำจุนรัฐในคราบของทหารผู้ไกล่เกลี่ย (Moderator) จะสามารถดึงให้คู่ขัดแย้งขั้วต่างๆ ยอมตัดสินใจลดเงื่อนไขทางการเมืองพร้อมเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการปรองดองอย่างจริงจัง ได้มากน้อยเพียงไร

ซึ่งถ้าหากขั้นตอนดังกล่าวประสบความล้มเหลว หรือมีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อสืบต่อไป การเพิ่มพลังของบุรุษอาชาไนย ขึ้นสู่การเป็นทหารผู้ปกครองแบบเต็มพิกัด (Ruler) ผ่านการยึดอำนาจหรือการทำรัฐประหารเต็มรูป ก็อาจกลายเป็นฉากทัศน์ที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของ ผบ.ทบ. หรือ กองทัพไทยโดยรวมอยู่มิใช่น้อย ในอีกกรณีหนึ่ง แม้ขุมพลังของกองทัพภาคที่ประกอบด้วยป้อมค่ายซึ่งตั้งเรียงรายอยู่ตามจังหวัดยุทธศาสตร์ต่างๆ จะสามารถยึดโยงให้กองทหารสามารถเปิดปฏิบัติการเพื่อควบคุมฝ่ายปรปักษ์ได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ



พลเอกประยุทธ์ ในพิธีสวนสนามวันกองทัพไทย

หากแต่ว่า ทหารเองนั้นย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางสังคม ซึ่งหากสังคมหรือภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ ล้วนเต็มไปด้วยการแตกแยกทางความคิดหรือสภาวะขัดแย้งทางชนชั้น การคุมกำลังพลระดับล่างซึ่งเริ่มมีการรับรู้ข่าวสารที่มาจากนอกค่ายทหารมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีเครือญาติซึ่งเป็นคนที่ชอบต่อต้านอิทธิพลทางการเมืองของทหารอยู่เนืองๆ ก็อาจกลับกลายเป็นขั้วปัจจัยที่สร้างความยากลำบากให้กับการรวมเอกภาพภายในกองทัพ หรือ การสานเอกภาพระหว่างกองทัพกับประชาชน

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น กองทัพญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1920 ที่กำลังพลระดับบนมักเป็นชนชั้นสูงสายอนุรักษ์นิยม ขณะที่กำลังพลระดับล่างกลับเป็นชนชั้นกลางและชนชั้นชาวนา หรือกรณีความระส่ำระส่าของกองทัพฝรั่งเศสในอัลจีเลียช่วงทศวรรษ 1950 ที่การเกณฑ์กำลังพลจากหลายพื้นที่ ได้ทำให้ทหารระดับล่างถูกแยกกลุ่มหรือสนับสนุนกลุ่มอำนาจที่มาจากภูมิภาคต่างๆ จนทำให้การรวมศูนย์ของกองทัพต้องสั่นคลอน

นอกจากนั้น ประเด็นที่เหล่าองครักษ์เพรโตเรี่ยนในโลกการเมืองปัจจุบัน จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกันอย่างจริงจังคือการคืนความสงบแก่บ้านเมืองให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม ควบคู่ไปกับการประกันความปลอดภัยให้กับผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งก็นับเป็นประเด็นที่หาความสำเร็จได้ยากในหมู่กองทัพของรัฐกำลังพัฒนาทั้งหลาย เช่น ความล้มเหลวของทหารพม่าในการจัดการเลือกตั้งที่โปร่งใสเที่ยงธรรมเมื่อช่วงปี 1990 และ 2010 หรือแม้แต่การจัดเลือกตั้งหลังการยึดอำนาจของนายพลปัก จุงฮี ของเกาหลีใต้ ช่วงต้นทศวรรษ 1960 เป็นอาทิ

ท้ายที่สุด คงต้องภาวนาให้ราชองครักษ์ผู้ค้ำจุนรัฐไทย สามารถใช้ทักษะด้านความมั่นคง เข้าคลี่คลายสถานการณ์เพื่อนำพาประเทศกลับคืนสู่สภาวะปกติ พร้อมนำกำลังกลับเข้ากรมกอง แล้วปล่อยให้สังคมเดินหน้าไปตามระบบและกรอบกฎหมายที่เต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์และยุติธรรม ซึ่งถ้าหากพลเอกประยุทธ์สามารถจบภารกิจได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็เท่ากับเป็นความสำเร็จส่วนหนึ่งในการปฏิรูปภาคทหาร (Military Reform) ของกองทัพไทย

เพียงแต่ว่า โอกาสแห่งความสำเร็จในบ้านเมืองนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกลุ่มพลังภาคพลเรือนดุจเดียวกันกัน โดยต้องจับตามองว่าเขาเหล่านั้นจะสามารถเจรจาประนีประนอมเพื่อหาข้อยุติทางการเมืองได้มากน้อยเพียงใด

อนึ่ง การต่อสู้ห้ำหั่นกันอย่างรุนแรงและสุดโต่งของกลุ่มการเมืองแต่ละฝ่าย รวมถึงจำนวนผู้เสียชีวิตที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับการตะแบงและสาดโคลนกันไปมาอย่างยาวนานของบรรดานักการเมือง ก็นับเป็นอีกหนึ่งข้อบกพร่องที่ทำให้การยอมรับความเหนือกว่าของพลเรือน หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า "Civilian Supremacy” ยังมิอาจหยั่งรากลึกหรือซึมซาบเข้าไปในจิตใจของชนชั้นนำทหารไทยได้อย่างจริงจัง

ผลที่ตามมา คือความไม่เชื่อมั่นของผู้นำทหารเกี่ยวกับสมรรถนะทางการปกครองของพลเรือนและวัฏจักรการเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองของทหารในฐานะองครักษ์ผู้คำจุนรัฐหรืออัศวินขี่ม้าขาว ซึ่งอาจจะยังคงเกาะติดแทรกซึมเข้าไปในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของรัฐไทย สืบต่อไป

ดุลยภาค ปรีชารัชช

สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
................................................

รายการอ้างอิง

Finer, S.E. The Man Horseback: The Role of Military in Politics. Baltimore [etc]: Penguin, 1976.

Huntington, S.P. The Soldier and the State: The Theory and Politics of Civil-Military Relations. New York: Vintage Book, 1957.

Nordlinger, E.A. Soldiers in Politics: Military Coups and Governments. New Jersey: Prentice-Hall, 1997.


- See more at: http://blogazine.in.th/blogs/dulyapak/post/4802#sthash.ezjAaG4x.dpuf



ที่มา.ประชาไท
-----------------------------------------


วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อนาคตประเทศไทยในมือ พล.อ.ประยุทธ์ หลังประกาศเคอร์ฟิว..


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ในทางกฎหมายแล้ว การประกาศ กฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ถือว่ามีความถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ เพราะใช้อำนาจตาม “พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457″ และไม่ได้ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งเหมือนการรัฐประหาร

แต่ในทางปฏิบัติ กฎอัยการศึก ก็มีความใกล้เคียงกับ รัฐประหารซ่อนรูป หรือ รัฐประหารครึ่งใบ (ตามแต่จะเรียกกัน) เพราะ “ฝ่ายทหาร” ภายใต้การบังคับบัญชาของกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการ ได้มีอำนาจด้านความมั่นคงภายในเหนือ “รัฐบาล” ที่ใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (ซึ่งมีศักดิ์ต่ำกว่ากฎอัยการศึก) ผ่าน ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่มีฝ่ายการเมืองและตำรวจเป็นกำลังสำคัญ

นอกจากนี้ การประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้ยังมีการควบคุมสื่อ เฝ้าระวังจุดยุทธศาสตร์ในกรุงเทพ รวมถึงเรียกหัวหน้าส่วนราชการและทูตต่างชาติเข้ามาชี้แจง ในรูปแบบเดียวกับการรัฐประหารครั้งก่อนในปี 2549 แทบจะทุกประการ

สิ่งที่ต่างไปมีเพียงแค่รัฐธรรมนูญและรัฐบาลรักษาการณ์ยังอยู่ เพียงแต่ว่าจะยังอยู่แบบมีความหมายหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ประเมินว่าความเคลื่อนไหวของฝ่ายทหาร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของม็อบ กปปส. โดยตรง แต่ในแง่ฟากฝั่งทางการเมืองนั้นมีความเชื่อมโยงและสนับสนุนกัน อย่างไรก็ตาม การประกาศกฎอัยการศึกของฝ่ายทหารถือเป็น “ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้” ถ้ามองจากม็อบทั้งสองฝ่าย ทำให้ม็อบทั้งสองฝ่ายเลือกจะอยู่ในที่ตั้งและ “ประเมินสถานการณ์” ก่อนวางแผนเคลื่อนไหวในขั้นต่อไป

ผลกระทบของการประกาศกฎอัยการศึกครั้งนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะสั้น (ภายในสัปดาห์นี้) กฎอัยการศึกจะทำให้ม็อบทั้งสองฝ่ายไม่กล้าขยับตัว และลดแรงปะทะของมวลชนทั้งสองฝ่ายลงได้ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม การประกาศกฎอัยการศึกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบทันที

ระยะกลาง (1-2 เดือน) กฎอัยการศึกไม่ได้แก้ปัญหา “สุญญากาศทางการเมือง” ที่ขาดรัฐบาลตัวจริงและสภาผู้แทนราษฎรมาปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนประเทศ แต่เป็นการเพิ่ม “คนกลาง” ที่มีอำนาจปลายกระบอกปืนเข้ามาเร่งให้เกิดการเดินหน้าต่อเพื่อแก้ปัญหา “สุญญากาศทางการเมือง” ได้เร็วขึ้น

ระยะยาว (1-3 ปี) กฎอัยการศึกไม่ได้แก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของการเมืองไทยในระยะยาว ที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและแสวงหา “สถาปัตยกรรมใหม่ทางการเมืองไทยในอนาคต” และอาจเป็นปัจจัยลบที่บั่นทอนอนาคตของประเทศไทยในเชิงประชาธิปไตยด้วยซ้ำ

กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่มีอายุครบ 100 ปีในปี 2557 นี้พอดี กฎหมายฉบับนี้ออกในสมัยรัชกาลที่ 6 ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเล็กน้อย ประเทศกำลังอยู่ในช่วงสงคราม ทำให้กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจฝ่ายทหารในการตรวจสอบหรือค้นหา “ศัตรู” ได้ทันที

คำถามคือ “ศัตรู” ของทหารไทยในปี 2457 และ “ศัตรู” ของทหารไทยในปี 2557 เป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่

ความเก่าแก่ของกฎอัยการศึกฉบับนี้อีกประเด็นหนึ่งคือ การเลิกกฎอัยการศึกนั้น ฝ่ายทหารไม่สามารถทำเองได้ ต้องอาศัย “พระบรมราชโองการ” เท่านั้น (เพราะในช่วงที่ออกกฎอัยการศึก ประเทศไทยยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์มีอำนาจเต็มที่)

การประกาศกฎอัยการศึกปี 2457 ในปี 2557 จึงหมายความว่า พลเอกประยุทธ์ไม่มี “ทางลงด้วยตัวเอง” เหลือแล้ว และต้องเดินหน้าแก้ปัญหาของประเทศต่อไปให้สำเร็จ ก่อนจะอาศัย “พระบรมราชโองการ” ยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

ระหว่างที่ทั้งโลกกำลังจับตา “อนาคตประเทศไทยในมือประยุทธ์
ประเมินว่าทางเลือกของ พล.อ.ประยุทธ์ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ

แนวทางแรก

พล.อ.ประยุทธ์ สามารถอาศัยสถานะ “คนกลาง” และอำนาจตามกฎอัยการศึก หารือกับหน่วยงานทางการเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลรักษาการณ์ ฝ่ายค้าน วุฒิสภา กกต. รวมถึงมวลชนทั้งสองฝ่าย ในการกำหนด “วันเลือกตั้งใหม่” เพื่อให้ประเทศไทยมีสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มโดยเร็ว

ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ เลือกแนวทางนี้ พรรคเพื่อไทยจะยินดีไม่ส่งคนของตระกูลชินวัตรลงเลือกตั้งเพื่อเลี่ยงการเผชิญหน้า พรรคประชาธิปัตย์จะกลับคืนสู่สนามเลือกตั้ง ส่วนม็อบ กปปส. ถึงแม้ไม่เห็นด้วยเต็มที่ แต่ก็น่าจะยินดีสนับสนุนการเลือกตั้งที่อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกมากกว่าการเลือกตั้งตามปกติ ส่วนคนเสื้อแดงก็น่าจะยอมรับได้ถ้าได้รับคำสัญญาว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

หลังการเลือกตั้งแล้ว รัฐบาลพรรคเพื่อไทย (ที่น่าจะชนะการเลือกตั้งมากที่สุด) จะเสนอกระบวนการปฏิรูปการเมืองและแก้รัฐธรรมนูญตามที่มีหลายฝ่ายเสนอมาก่อนหน้า และใช้เวลาอีก 1-2 ปีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ก่อนยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

แนวทางที่สอง

แต่ถ้า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ยึดโยงกับการเลือกตั้งว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาของประเทศ และหาทางตั้ง “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง (เช่น อาจใช้อำนาจตาม ม. 7 หรือ เสนอชื่อโดยวุฒิสภา) ถึงแม้จะสามารถตั้งรัฐบาลใหม่ได้สำเร็จ ก็ย่อมจะต้องเผชิญกับการต่อต้านจากคนเสื้อแดงอย่างรุนแรง การใช้กฎอัยการศึกจะเป็นตัวเร่งให้คนเสื้อแดงหันไปใช้ยุทธศาสตร์ใต้ดิน และอาจนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน จนลุกลามกลายเป็น “สงครามกลางเมือง” ที่ยืดเยื้อยาวนานตามที่หลายฝ่ายเคยทำนายกันไว้

สถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้ต้องถือว่าอยู่บน “ทางแพร่ง” ว่าจะไปในทิศทางใด และท้ายที่สุดแล้ว อำนาจการตัดสินใจเลือกอนาคตประเทศไทย ก็อยู่ในมือของผู้ชายชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เพียงคนเดียวเท่านั้น

ที่มา.Siam Intelligence Unit
--------------------------------

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หน้าที่ กกต.


เปิด(อีกครั้ง) รธน.-กฎหมาย พิสูจน์ “สมชัย ศรีสุทธิยากร” แทรกแซงสื่อฯ–ห้ามเห็นต่าง–อิดออดจัดเลือกตั้ง…“หน้าที่ กกต.” หรือ??

สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริการจัดการการเลือกตั้ง สอดขึ้นกลางวิกฤตการเมืองอีกครั้ง ด้วยการเสนอให้ กกต. ทำหนังสือดำเนินการตรวจสอบกรณีที่ช่อง 11 ถ่ายทอดการอภิปรายของกลุ่มนักวิชาการ ที่มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 16 พ.ค.2557 ระหว่างเวลา 18.00 – 19.00 น. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 

โดยอ้างว่าเนื้อหาทางวิชาการ ที่เหล่านักวิชาการได้นำเสนอ ต่อสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล มีการเสนอข้อมูลที่สร้างความแตกแยกและความสับสนต่อประชาชน โดยเฉพาะการที่นักวิชาการยืนยันด้วยหลักการทางกฎหมายว่ารัฐบาลสามารถทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกำหนดวันเลือกตั้งได้เอง

ซึ่งแน่นอนว่าความคิดเห็นของ นักวิชาการ เหล่านั้นย่อมไม่ตรงกับความคิดเห็นของ สมชัย ศรีสุทธิยากร ที่อ้างมาตลอดว่า รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี นั้นไม่มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกำหนดวันเลือกตั้ง ทั้งๆที่ปรากฏข้อมูล-หลักฐาน อย่างชัดเจนว่า นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ในช่วงปลายปี 2551 ภายหลัง “พรรคพลังประชาชน” ถูกสั่งให้ยุบพรรค นั้นเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร” ในเขตที่ว่างลง ซึ่งกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม 2552
 คลิกอ่านข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : เปิด พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส. 2552 พบ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ขณะ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี” เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ

คำถามก็คือ สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. มีหน้าที่ อะไรไปสั่งให้มีการตรวจสอบการทำงานของสื่อสารมวลชนและนักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกับ กกต. ทั้งๆที่เป็นความคิดเห็นทางวิชาการและเป็นไปโดยสุจริต

คำถามก็คือ สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. มี หน้าที่ อะไรไปกระทำการอันสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการ แทรกแซงการทำงานและอิสรภาพของสื่อสารมวลชน
และ คำถามก็คือ สิ่งที่ สมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ประกาศว่าจะกระทำนั้นเป็น หน้าที่หลัก ที่ กกต. พึงกระทำ ในขณะนี้หรือไม่

ซึ่งก่อนหน้านี้  ได้นำเสนอเรื่อง เปิด รธน.-กฎหมาย ดูพฤติกรรม กกต. ขอ เลื่อนเลือกตั้ง คำประกาศ เป็นกลาง(ข้างกบฎ) ไว้แล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อ “สมชัย ศรีสุทธิยากร” กกต.หญ่าย แสดงออกซึ่งการทำ “หน้าที่” ที่ชวนให้ สังคม ตั้งข้อสงสัย จึงขออนุญาตนำข้อมูลหลักฐาน มานำเสนออีกครั้ง เพื่อให้สังคมได้ร่วมกับพิจารณาว่า แท้ที่จริงแล้ว หน้าที่ ของ กกต. ที่สำคัญที่สุดนั้นคืออะไร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ซึ่งยกร่างโดย คนของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
มี ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธาน คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 และ สมคิด เลิศไพฑูรย์ เป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนดัง ร่วมกันทำคลอดออกมา ภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ใน มาตรา 235 กำหนด หน้าที่หลัก ของ กกต. เอาไว้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มี การเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหาร ท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

พร้อมกับระบุใน มาตรา 236 กำหนดว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมาย ตามมาตรา ๒๓๕ วรรคสอง รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งและการดำเนินการใดๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งมีความเสมอภาค และมีโอกาส ทัดเทียมกันในการหาเสียงเลือกตั้ง
(2) วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ขณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 โดยคำนึงถึงการรักษาประโยชน์ของรัฐ และคำนึง ถึงความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาค และโอกาสทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
(3) กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง การสนับสนุน ทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งการตรวจสอบบัญชี ทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผย และการควบคุมการจ่ายเงินหรือรับเงินเพื่อประโยชน์ในการ ลงคะแนนเลือกตั้ง
(4) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมาย ตามมาตรา 235 วรรคสอง
(5) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้น ตามกฎหมายตามมาตรา 235 วรรคสอง
(6) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียง ประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(7) ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียงประชามติ
(8) ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือสนับสนุนองค์การเอกชน ในการให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
(9) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ซึ่งออกมารองรับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ใน มาตรา 10 ก็ระบุถึง หน้าที่หลัก ของ กกต. เอาไว้ว่า ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นแล้วแต่กรณีรวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
รวมทั้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ใน มาตรา 6 ก็ถึง หน้าที่หลักของ กกต. ว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ซึ่งเป่นการลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง ที่จัดทําบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว
กกต. มี “หน้าที่และ หน้าที่หลัก ของ กกต. ก็คือ จัดการเลือกตั้งให้ บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม

การกระทำจำพวก  แทรกแซงสื่อมารมวลชน , แสดงความต้องการ จำกัดกรอบความคิดเห็นของประชาชนและนักวิชาการ, แสดงออกซึ่งความ ไม่พึงพอใจ เมื่อมีผู้แสดงความคิดที่แตกต่าง ซ้ำร้ายยัง ออกอาการ  อิดๆออดๆ ไม่อยากจะจัดการเลือกตั้ง ด้วย ข้ออ้าง มากมาย + เงื่อนไขแปลกประหลาดๆนั้น อาจจะ ไม่ใช่ หน้าที่หลัก ของ กกต.

ซึ่งอาจจะเป็น กก.ตรวย สาวก กรวย กปปส. ก็เป็นได้


ที่มา.พระนครสาสน์
-----------------------------------------------

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วุฒิสภา ยื้อฯไม่ยอมตั้งนายกฯคนกลาง..

สุรชัยนำทีมส.ว.แถลงทางออกประเทศ แบะท่าเปิดประชุมวุฒิสภา กรณีพิเศษเลือกนายกฯ แต่ไม่ได้บอกจะทำเมื่อไร เรียกร้อง3ข้อให้ทุกฝ่ายร่วมมือกับวุฒิ

สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) นำโดย นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา ในฐานะว่าที่ประธานวุฒิสภา ได้เปิดแถลงต่อสื่อมวลชนถึงข้อสรุปในการหาทางออกให้กับประเทศ หลังจากได้ประชุม ส.ว.นอกรอบและพบปะรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่ายหลายองค์กรมาตลอดสัปดาห์

นายสุรชัย กล่าวว่า สืบเนื่องจากวิกฤติชาติที่ดำรงอยู่ มีรากเหง้าจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง มีปัญหาการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง และองค์กรอิสระมีคำวินิจฉัยหลายกรณี รวมทั้งมีการประกาศยุบสภา จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เมื่อ 2 ก.พ. 2557 แต่ด้วยความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน นำไปสู่กระแสการคัดค้านการเลือกตั้ง จนศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ

จนกระทั่งบัดนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และรัฐบาลรักษาการยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งต่อไป จึงแน่นอนว่าไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะมีสภาผู้แทนราษฎรได้อีกเมื่อไร

วุฒิสภาในฐานะเป็นองค์กรนิติบัญญัติองค์กรเดียวที่ยังเหลืออยู่จึงมิอาจนิ่งเฉย ประกอบกับมีกระแสเรียกร้องของสังคมให้ทำหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชนชาวไทย เราจึงจัดประชุมนอกรอบเพื่อระดมความเห็น และที่ประชุมเห็นพ้องว่าวุฒิสภาต้องทำหน้าที่ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้วิกฤติชาติ

นายสุรชัย กล่าวต่อว่า จากนั้นได้ประสานไปยังทุกภาคส่วนของสังคม โดยผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นจากส่วนต่างๆ ผลการจัดเวทีสาธารณะล้วนมีความเห็นตรงกันว่า หากปล่อยให้สภาวการณ์แบบนี้ดำรงต่อไปอาจนำไปสู่การล่มสลายทั้งเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงแห่งชาติ ทุกภาคส่วนจึงเสนอให้วุฒิสภาแก้ไขวิกฤติของชาติเพื่อไม่ให้ขยายตัว จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.ให้แก้ไขปัญหาวิกฤติชาติโดยคืนความสงบสุข สมานฉันท์ ด้วยการจัดให้ปฏิรูปประเทศในทุกด้าน ซึ่งต้องมีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็ม 2.ให้รัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่รัฐบาลและพรรคการเมืองให้ความร่วมมือกับวุฒิสภาในการหาทางออกให้ประเทศภายใต้หลักการร่วมมือของคนในชาติ และลดเงื่อนไขความรุนแรง

3.วุฒิสภาพร้อมจะทุ่มเทการทำงานอย่างหนักและต่อเนื่อง จะนำความเห็นจากทุกฝ่ายมาพิจารณาประกอบ หากจำเป็นจะอาศัยข้อบังคับเปิดประชุมเป็นกรณีพิเศษเพื่อได้นายกรัฐมนตรีตามกรอบรัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ตามประเพณีทั้งของสากลและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย

"เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลและทุกภาคส่วน หวังว่าทุกคนจะร่วมกันตระหนักถึงวิกฤติชาติและฝ่าฟันไปให้ได้ เราหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะยอมเสียสละและลดละความคิดดั้งเดิม ให้ความร่วมมือของวุฒิสภาในการก้าวไปข้างหน้าต่อไป" นายสุรชัย ระบุ

"สุเทพ"ฉุนจบไม่ลง-ลั่นกลับไปหาวิธีเอง

ด้าน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ขึ้นปราศรัยบริเวณหน้าอาคารรัฐสภาซึ่งมีมวลชน กปปส.ล้อมไว้ทุกประตู หลังได้ฟังคำแถลงของนายสุรชัย ว่า เราได้ยินคำตอบแล้วว่าให้รอต่อไป

"ผมอยากบอกว่าวันนี้ วินาทีนี้ที่ผมได้ยินคำตอบ ผมดีใจมากที่ไม่ต้องพบกันในสภาอีกต่อไป ผมดีใจที่ได้เลิกเล่นการเมืองทั้งชีวิตเพราะเบื่อคำพูดแบบนี้ ท่านประธานที่เคารพได้ยินว่าพูดได้อย่างไร เราก็ไม่อยากคุยกับคุณอีกต่อไปแล้ว ขอบคุณที่ช่วยแถลงให้ทราบว่าในที่สุดคุณก็ยังเกรงใจคนมากเหลือเกิน จากนี้เราจะคิดหาวิธีของเรา จะได้ไม่ต้องเล่นลิ้นกับใคร ทำตามประสาเรา เป็นอย่างไรก็เป็นกัน"

จากนั้น นายสุเทพได้นำมวลชนเดินกลับเวทีหลักที่หน้าหอประชุมสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ท่ามกลางมวลชนที่เป่านกหวีดเสียงดังลั่นตลอดทาง

เพื่อไทยลุยค้าน นายกฯคนกลาง

ด้านความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย ทั้งแกนนำ อดีต ส.ส.ของพรรค และทีมกฎหมายของพรรค เช่น นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ยังคงออกมายืนยันเช่นเดิมว่า วุฒิสภาไม่มีอำนาจในการดำเนินการตั้งนายกรัฐมนตรี และย้ำว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 181 บังคับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รักษาการทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่

ขณะที่ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยทีมทนายความ ได้เดินทางเข้าพบ นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภาคนใหม่ พร้อมพวก จะกระทำการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ถือเป็นการขัดบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่าด้วยการได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทั้งนี้ นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า อัยการรับเรื่องไว้แล้วและจะตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที หากพบว่าเป็นการกระทำเข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้การพิจารณาคาดว่าใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน

"นิวัฒน์ธำรง"ปัดนัดหารือส.ว.

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีรักษาการ กล่าวขณะลงพื้นที่ จ.เชียงราย ถึงกรณีมีข่าวนัดหารือกับว่าที่ประธานวุฒิสภาในวันที่ 17 พ.ค. ว่า "ไม่ทราบ วันนี้ผมมาปฏิบัติราชการที่ จ.เชียงราย ส่วนวันที่ 17 พ.ค.มีภารกิจต้องปฏิบัติราชการที่ จ.เชียงใหม่ ทั้งวันเสาร์และอาทิตย์ ผมอยู่ที่ภาคเหนือ" และว่าข่าวที่ระบุว่ามีการนัดหมายนั้น คงไม่ได้นัดกับตน เพราะตนไม่เคยตอบรับ

"อภิสิทธิ์"บอกรธน.เปิดช่องตั้งนายกฯ

ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลอ้างเหตุผลต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อรักษาการต่อตามรัฐธรรมนูญ จึงห้ามมีรัฐบาลใหม่หรือนายกฯคนใหม่ ว่า ถือเป็นคนละเรื่องกัน เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 180 กำหนดให้ ครม.พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลง ส่วนมาตรา 181 ระบุว่า คนที่พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 180 ให้ทำหน้าที่รักษาการจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ แต่รัฐบาลกลับไปอ้างมาตรา 181 เป็นบทหลัก ทั้งๆ ที่มาตรา 180 บอกชัดว่า เมื่อนายกฯพ้นจากตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และ 173 ให้เห็นชอบบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ดังนั้น การบอกว่าห้ามสรรหาคนใหม่นั้นไม่จริง เพียงแต่การสรรหาคนใหม่เกิดปัญหา คือ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นเอง และสิ่งที่คณะของวุฒิสภากำลังดำเนินการ คือ ตามมาตรา 180 ที่ให้ดำเนินการตาม 172 และ 173 โดยอนุโลม และสิ่งที่วุฒิสภาทำ เป็นการหาทางออกให้ประเทศ แต่กลับมีคนกลุ่มเดียวที่พยายามจะอยู่ในอำนาจคัดค้าน ท่ามกลางความเสียหายของบ้านเมือง

มท.1 ไฟเขียวขนคนเข้ากรุงขวางทหาร

ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ออกแถลงการณ์ 7 ข้อ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ยืนยันพร้อมใช้กำลังทหารเต็มรูปแบบหากสถานการณ์ความรุนแรงในบ้านเมืองมีแนวโน้มเกิดจลาจลนั้น

ที่ หอประชุมประจักษ์ศิลปาคม ศาลากลางจังหวัดหนองคาย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) กล่าวตอนหนึ่งขณะมอบนโยบายและชี้แจงสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย ว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้เข้ามาบริหารบ้านเมือง 2 ปีเศษ ได้ดำเนินการตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาทุกประการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ การถูกขัดขวางทุกวิถีทาง โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยร่วมกับองค์กรอิสระอื่นๆ ทำลายพรรคเพื่อไทย

ที่สำคัญคือแถลงการณ์ของทหาร 7 ข้อ ที่ออกมา อาจจะนำไปสู่เหตุการณ์ที่นักประชาธิปไตยไม่ต้องการเกิดขึ้นใน 1-2 วันนี้ จึงขอให้กำนันผู้ใหญ่บ้านได้เตรียมความพร้อมไว้ โดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านแต่ละคนไปทำความเข้าใจกับประชาชน และเชิญชวนให้ได้อย่างน้อย 10 คน เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทวงคืนประชาธิปไตย หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นจริง โดยให้ทุกคนไปรวมตัวกันที่ศาลากลางและให้ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางต่อไป

ท่าทีของนายจารุพงศ์ สอดคล้องกับที่ประชุมคณะกิจการพรรคเพื่อไทย ที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในสัปดาห์หน้าว่า มีความน่าเป็นห่วง เพราะอาจมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงจนเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชน นำไปสู่การออกมายึดอำนาจของทหาร อย่างไรก็ดี ในส่วนของรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยได้เตรียมพร้อมเคลื่อนไหวต่อต้านผ่านประชาชนที่แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ พร้อมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เพื่อยืนยันว่าไม่ยอมรับการปฏิวัติรัฐประหาร และยืนยันว่าทางออกที่ดีที่สุดตามหลักการประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งเท่านั้น

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
--------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุ ประธานวุฒิสภา เสนอชื่อ นายกฯ ไม่ได้.

ดร.ธำรงศักดิ์ ระบุประธานวุฒิสภาในช่วงที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร อ้างสิทธิทำตนเป็น"รัฐาธิปัตย์"เพื่อเสนอชื่อและลงนามรับรองนายกฯคนใหม่ไม่ได้

การเขียนคำว่า"รัฐาธิปัตย์"ที่ถูกต้อง คือ รัฐ+อธิปัตย์ หมายถึง การมีอำนาจหน้าที่สูงสุดแห่งรัฐในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งในช่วงเวลาปกติโดยทั่วไปคือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในฐานะประมุขฝ่ายบริหาร หรือ Head of Government

ประมุขฝ่ายบริหาร หรือ Head of Government ในกรณีของสหรัฐคือ ประธานาธิบดี ของอังกฤษ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย คือ นายกรัฐมนตรี ส่วนประมุขแห่งรัฐ Head of State เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศและทำหน้าที่ในการลงนามกฎหมายแทนประชาชนทุกคนทั้งประเทศเท่านั้น (ยกเว้นรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) เช่น สหรัฐ สิงคโปร์ คือ ประธานาธิบดี มาเลเซีย คือ ยังดี เปอร์ตวน อากง อังกฤษและไทย คือ Monarch

แต่ในช่วงที่ต้องมีการหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในการใช้อำนาจนำเสนอและลงนามรับรองชื่อบุคคลที่จะมาเป็นประมุขฝ่ายบริหาร ในระบอบประชาธิปไตยคือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนคำเขียนที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีความหมาย คือ"รัฏฐาธิปัตย์"เพราะคำว่า "รัฏฐ" นั้น ไม่มีคำและความหมายใดๆ ทั้งสิ้น ดูได้จาก"พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ.2530" (หน้า 447) และ"พจนานุกรมฉบับมติชน" (หน้า 734-735)

คำว่า "รัฐาธิปัตย์" ถูกนำเสนอเป็นข่าวเมื่อต้นเดือน (5-12) เมษายน 2557 สัมพันธ์กับกรณีศาลปกครองสูงสุดกับการตัดสินคดีนายถวิล เปลี่ยนศรี และศาลตลก. มีมติเอกฉันท์ รับวินิจฉัยสถานะ "นายกรัฐมนตรี"ของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง ( 7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้รัฐบาลคืนเก้าอี้ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ให้กับถวิล เปลี่ยนศรี ทั้งนี้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำของฝ่ายการเมืองบนท้องถนน ประกาศว่า ตนจะทำหน้าที่เป็น "รัฏฐาธิปัตย์" ในนามมวลชนกปปส. โดยนายสุเทพจะทูลเกล้าฯชื่อ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ จะอาสารับเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเอง1

ในแง่นี้ นายสุเทพคาดหวังว่าตนจะสามารถนำเสนอชื่อและลงนามรับรอง "นายกรัฐมนตรี" ได้ตามบทบาทหน้าที่ของตนใน 2 แนวทาง ที่ "ไม่อาจเป็นไปได้"คือ 1. แสดงบทบาทหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบรัฐธรรมนูญ และ 2. แสดงบทบาทของหัวหน้าคณะยึดอำนาจ ซึ่งที่ผ่านโดยทั่วไปมาคือการยึดอำนาจเพื่อเป็นรัฐเผด็จการของคณะทหารไทย โดยฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมทิ้ง แล้วสร้างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมาใช้ โดยที่ผู้นำคณะยึดอำนาจจะยังคงมีอำนาจทั้งในทางนิตินัย (de jure) และในทางพฤตินัย (de facto) เพื่อควบคุมครอบงำการใช้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่

ทำไมเป้าหมายจึงอยู่ที่การตั้งบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีหรือประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่?

คำตอบคือ ระบอบการเมืองไทยสมัยใหม่นับแต่ปฏิวัติ 2475 มา ไม่ว่าจะอยู่ในระยะของระบบรัฐสภา หรือระบบเผด็จการทหาร นายกรัฐมนตรีหรือประมุขฝ่ายบริหาร คือผู้ที่มีอำนาจในฐานะ"รัฐาธิปัตย์"อย่างแท้จริงที่จะใช้อำนาจทางการเมืองในการบริหารประเทศ

นายสุเทพสามารถเป็นองค์"รัฐาธิปัตย์" ในช่วงที่ต้องมีการหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายบริหารคนใหม่ได้หรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ได้ คำอธิบายอย่างสั้นกระชับคือ นายสุเทพไม่สามารถแสดงบทบาทหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรตามระบอบรัฐธรรมนูญ หรือ แสดงบทบาทของหัวหน้าคณะยึดอำนาจได้แต่อย่างไร เพราะหากพิจารณาจากปรากฏการณ์ที่เป็นจริง ต่อให้ศาล ตลก. ตัดสินว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรีชุดนั้นมีความผิดและหมดสิ้นวาระอำนาจหน้าที่ เราก็พบว่า นายสุเทพ ก็ไม่อาจที่จะสามารถเสนอชื่อและลงนามรับรองบุคคลใดมาเป็นนายกฯคนใหม่แทนได้

สรุป ความไม่สามารถมีบทบาทหน้าที่ตามนิตินัยได้ของคุณสุเทพในเกือบครึ่งปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ ในวันนี้ (กลางพฤษภาคม) เราจึงเห็นความพยายามของสมาชิกวุฒิสภาที่จะผลักดันให้มีการแต่งตั้งประธานวุฒิสภาเพื่อที่จะนำไปสู่การอ้างอำนาจในการทำหน้าที่ "รัฐาธิปัตย์" ของตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ

คำถาม ประธานวุฒิสภาในช่วงที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร อ้างสิทธิทำตนเป็น “รัฐาธิปัตย์” แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอชื่อและลงนามรับรองนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อนำไปสู่การตั้งรัฐบาลชุดใหม่ได้หรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่ได้

คำอธิบาย คือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยล้มเหลวทางความชอบธรรมทางการเมืองอย่างสูงสุดจากกรณีผ่าน พรบ.นิรโทษกรรม แบบสุดซอย จนต้องวิ่งหนีจนสุดโลก

ในลักษณะเดียวกัน ประธานวุฒิสภาในช่วงที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร หากอ้างสิทธิทำตนเป็น "รัฐาธิปัตย์" แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เสนอชื่อและลงนามรับรองนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อนำไปสู่การตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ก็จะล้มเหลวทางความชอบธรรมทางการเมืองอย่างสูงสุด เช่นกัน

"รัฐาธิปัตย์" มีอำนาจทางนิตินัยและพฤตินัยได้ เพราะความชอบธรรมทางการเมืองที่เกิดจากการยอมรับของสังคมไทยโดยรวมและสังคมโลกโดยรวม แต่ไม่อาจดำรงอยูได้ ถ้าเป็นเพียงการยอมรับจากพวกฝ่ายของพวกตนเท่านั้น

นี้คือคำและความหมาย “รัฐาธิปัตย์” ในการเมืองไทยสมัยใหม่

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
------------------------------------------------

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เปิด พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ส.ส. 2552 พบ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการฯ

ความพยายามของ ส.ว. ซึ่งนำโดย สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา ในการผลักดัน นายก ม.7 ตามความต้องการของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ให้ทันตามกำหนด เผด็จศึก ภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 นั้นเรียกได้ว่า ความหวังริบหรี่ จนแทบที่จะเดินต่อไปไม่ได้

สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้เคยประกาศ เผด็จศึกรัฐบาลให้ได้ภายใน 14 พ.ค. 2557 นั้นไม่สามารถทำได้ตามที่พูด และอาจจะต้อง กลืนน้ำลายตัวเอง อีกครั้ง

แต่กระนั้น เครือข่าย กปปส. ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ กลุ่มคนที่เคยร่วมวงไพบูลย์กับ เผด็จการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ก็ยังคงไม่ละความพยายาม
ล่าสุด คณะกรรรมการการเลือกตั้ง กกต.ซึ่งไม่เคยแสดงให้เห็นว่า จะพยายามจัดการเลือกตั้งให้สำเร็จลุล่วงตามระบอบประชาธิปไตย ก็พยายาม สร้างสรรค์เงื่อนไข มาขัดขวางการการ กำหนดวันเลือกตั้ง ครั้งใหม่อีกครั้ง ด้วยการอ้างว่า ไม่มั่นใจว่า รักษาการนายกรัฐมนตรี จะมีอำนาจ ในการนำ ร่างพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ขึ้นทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการฯ หรือไม่
แสดงอาการที่จะ ดึงเกม การเลือกตั้ง ให้ เว้นว่าง ยืดยาว ออกไป อีกครั้ง






แต่มีการตรวจสอบพบว่า ในช่วงปลายปี 2551 ซึ่งเกิดวิกฤตการเมืองจากการที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง จากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ก็เร่งวินิจฉัยให้ ยุบพรรคพลังประชาชน-พรรคชาติไทย และ พรรคมัชฌิมาธิปไตย พร้อมกับสั่งให้ ตัดสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี อันเป็นการทำให้ รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ขณะนั้นต้องถูกโค่นล้มลง พร้อมกับการเปิดโอกาสให้กับ พรรคประชาธิปัตย์ สุมหัวกับ ส.ส.งูเห่า กลุ่มเพื่อนเนวิน พรรคภูมิใจไทยแอบจัดตั้ง รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
พบว่า ขณะที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็น คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน พรรคการเมืองที่ถูกสั่งยุบพรรค จนทำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เหลืออยู่ ต้องหาผู้ที่จะมา รักษาการ และ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี จึงมีมติในเวลาต่อมามอบหมายให้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น เป็นผู้รักษาการในตำแหน่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ซึ่งต่อมาก็คือ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นที่รวมของ ส.ส.งูเห่า กลุ่มเพื่อนเนวิน
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ซึ่งต่อมาก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ซึ่งก็คือ บิดาของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ในปัจจุบัน และเป็นแกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน ในขณะนั้น
ซึ่งก็พบว่า นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ขณะ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในเขตที่ว่างลง ซึ่งกำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม 2552

จากการตรวจสอบเว็บไซด์ราชกิจนุเบกษา ( www.ratchakitcha.soc.go.th )พบว่า มีการเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ ๑๐ จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดนครปฐม เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดนครพนม เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดนราธิวาส เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดบุรีรัมย์ เขตเลือกตั้งที่ ๒ และเขตเลือกตั้งที่ ๔ จังหวัดปทุมธานี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดมหาสารคาม เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดร้อยเอ็ด เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดลพบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดลําปาง เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดลําพูน เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดศรีสะเกษ เขตเลือกตั้งที่ ๑ และเขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสมุทรปราการ เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดสระบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดสิงห์บุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดสุพรรณบุรี เขตเลือกตั้งที่ ๑ และเขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดอ่างทอง เขตเลือกตั้งที่ ๑ จังหวัดอุดรธานี เขตเลือกตั้งที่ ๒ จังหวัดอุทัยธานี เขตเลือกตั้งที่ ๑ และจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๒ และเขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตําแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑” ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เอาไว้เมื่อ 20 ธันวาคม 2551 เอาไว้อย่างถูกต้อง

ที่มา.พระนครสานส์
//////////////////////////////////////////

ภาคีประชาชนคือคนกลาง แถลงเดินหน้าเลือกตั้ง !!?



ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide! แถลงการณ์ ประชาชนคือคนกลาง เสนอเดินหน้าและปกป้องการเลือกตั้ง วอน ส.ว. ฟังเสียงประชาชนกลุ่มอื่นด้วย นอกจาก กปปส.และ นปช. ย้ำประชาชนกำหนดอนาคตเองได้

ที่ ห้องสมุด The Reading Room ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide! ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มขั้วที่ 3 คัดค้านความรุนแรง ,เครือข่ายพลเมืองเพื่อความหวัง Citizen for Hope, กลุ่มพอกันที!, กลุ่ม Respect My Vote, กลุ่ม My Freedom, กลุ่มสภาหน้าโดม, กลุ่มคนเท่ากัน,กลุ่มเพื่อนรักกัน ,กลุ่ม We Vote, กลุ่ม Ant’s Power เป็นต้น จัดแถลงข่าวพร้อมด้วยออกแถลงการณ์ฉบับแรก เรื่อง ‘ประชาชนคือคนกลาง’ โดยเสนอให้สังคมเดินหน้าเลือกตั้งให้เร็วที่สุดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เรียกร้องให้ปกป้องการเลือกตั้ง และเรียกร้องให้องค์กรที่พยามหาทางออกของประเทศ เช่น ส.ว. ให้ฟังประชาชนกลุ่มอื่นๆ นอกจาก กปปสง และ นปช. ด้วย

นอกจากนี้ภาคีประชาชนคือคนกลางฯ ได้เชิญชวนให้ประชาชนรณรงค์ด้วยการเขียนป้าย “ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide” ถ่ายรูปกับป้าย แล้วติด tag #ประชาชนคือคนกลาง #Let_the_People_Decide ใน facebook, instragram ส่งต่อจากเพื่อนถึงเพื่อนให้มากที่สุด เพื่อประเทศไทยที่คิดต่างได้และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

รายละเอียดของแถลงการณ์ :

แถลงการณ์
ประชาชนคือคนกลาง

"ภาคีประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide!" เป็นการรวมตัวของประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ปรารถนาจะเห็นประเทศเดินหน้าต่อไปได้ด้วยการเคารพสิทธิและเสียงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย จึงได้มาร่วมกันนำเสนอทางออกจากวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองในครั้งนี้

เราขอพูดด้วยเสียงของประชาชนผู้ต้องการอยู่อย่างสงบสันติ คิดแตกต่างแต่ไม่แตกแยก ไม่เอาปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ต้องการเห็นการบิดเบือนกฎหมายและหลักนิติธรรมอีกต่อไป และปรารถนาจะเห็นการปฏิรูปร่วมกันของคนทั้งสังคมบนพื้นฐานประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน

ท่ามกลางสถานการณ์ขณะนี้ เราเห็นว่าความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะนำประเทศเข้าสู่สุญญากาศทางการเมืองเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกฯ คนกลางที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ถือเป็นวิธีการนอกระบอบประชาธิปไตย เป็นการลิดรอนสิทธิเสียงของประชาชนพลเมืองในประเทศนี้อย่างชัดเจน

เราขอยืนยันว่าทางออกของความขัดแย้งครั้งนี้ คือให้ประชาชนได้กำหนดอนาคตตนเอง ได้มีส่วนในการตัดสินใจต่อชะตากรรมประเทศด้วยสิทธิเสียงที่มีอยู่เท่ากันทุกผู้นาม เพราะ “ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide!” เราขอเสนอต่อทุกภาคส่วนดังนี้

เดินหน้าเลือกตั้งให้เร็วที่สุดตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เพราะการเลือกตั้งคือทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติในระบอบประชาธิปไตย
ขอให้เตรียมพร้อมเข้าสู่โหมดปกป้องการเลือกตั้ง ด้วยวิถีทางต่างๆ เท่าที่แต่ละคนแต่ละกลุ่มจะทำได้บนพื้นฐานของการเคารพความเห็นที่แตกต่างและไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
ขอให้องค์การต่างๆ ที่พยายามหาทางออกให้กับบ้านเมืองในขณะนี้ ดังเช่นวุฒิสภา กรุณาให้โอกาสเราชี้แจง รับฟังและเคารพในความเห็นของภาคประชาชนนี้อีกฝ่ายหนึ่งด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ กปปส. หรือ นปช. เท่านั้น

เราเชื่อว่าไม่มีใครอยากเห็นความขัดแย้งลุกลามบานปลายรุนแรงจนไปสู่สงครามกลางเมือง ก่อนจะถึงวันนั้นทุกฝ่ายต้องกลับสู่การเลือกตั้งเท่านั้น เพราะ ประชาชนคือคนกลาง Let the People Decide

แถลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2557
ณ ห้องสมุด The Reading Room

ที่มา.ประชาไท
////////////////////////////////////////////////////////

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สมัชชา เครือข่ายปฏิรูปการศึกษา !!?

โดย.อินทิรา วิทยสมบูรณ์

ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หลายภาคส่วนในสังคมต่างได้เสนอแนวทางอันเป็นทางออกจากปัญหา ที่พบว่า “การปฏิรูปประเทศไทย” เป็นทิศทางที่ทุกภาคส่วนต่างเห็นพ้องว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่จะนำพาประเทศก้าวพ้นจากวิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลายาวนาน

โดยการปฏิรูปประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นนั้น จะต้องเป็นการปฏิรูปที่ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการระดมความคิดเห็น ออกแบบเครื่องมือและกระบวนการอย่างจริงจังในทุกด้าน สังคมไทยต้องการการปฏิรูปในหลายเรื่อง เช่น การปฏิรูปการปกครอง ที่มีข้อเสนอการกระจายอำนาจการปกครองและงบประมาณให้ท้องถิ่นจังหวัดจัดการตนเอง การปฏิรูปที่ดินและการจัดการที่ดินให้ประชาชนอย่างเป็นธรรม การปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานของประเทศ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษา เป็นต้น



ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การศึกษา” เป็นฐานปัญหาสำคัญหนึ่งของสังคมไทย เป็นรากเน่าที่ส่งผลก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ขึ้นในสังคม การศึกษาไทยเป็นระบบเผด็จการทางการศึกษา เป็นการศึกษาที่ผูกขาดจากส่วนกลาง ด้วยการบังคับให้เรียนตามมาตรฐานเดียว/ หลักสูตรเดียวจากกรุงเทพฯ ที่ส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งปัญหาการจัดสรรงบประมาณการศึกษา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุดของงบประมาณแผ่นดิน แต่กลับมีงบพัฒนาเด็กเพียง 10% เท่านั้น และงบประมาณดังกล่าวก็ไม่อาจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพราะการจัดสรรงบประมาณรายหัวเด็กนั้นไม่สมดุลกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งต้นทุนของเด็กแต่ละคนต่างกันตามสภาพพื้นที่ แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดใด (โรงเรียนด้อยโอกาส เล็ก กลาง ใหญ่) กลับได้รับงบประมาณอุดหนุนรายหัวเด็กเท่ากัน ดังนั้นโรงเรียนที่ด้อยโอกาสอยู่แล้วจึงไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะพัฒนาโรงเรียน ไหนจะขาดครู ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน จนนำไปสู่การเกิดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพและศักยภาพทางการศึกษาตามมา

ขณะเดียวกัน ระบบการศึกษายังเป็นการศึกษาที่ผูกอยู่กับระบบโรงเรียน ผูกติดอยู่กับมาตรฐานกลาง หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักจนไม่สามารถสร้างการเรียนรู้เพื่อให้เด็กค้นเจอศักยภาพ ค้นเจอตนเอง อีกทั้งยังละเลย/เพิกเฉยไม่ให้ความสำคัญกับองค์ความรู้ท้องถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลาย ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและรากเหง้า อัตลักษณ์ของชุมชน ขาดการเปิดรับการมีส่วนร่วมของสังคมทำให้ชีวิตวัยเรียนเป็นชีวิตในห้องเรียนเป็นหลัก พรากเด็กออกจากวิถีของถิ่นฐานและรากเหง้าจนไม่สามารถเชื่อมโยงตนเองสู่ชีวิตจริงที่มีครอบครัว ชุมชนและสังคมแวดล้อมได้

การศึกษาเช่นนี้ ได้บีบให้เด็กเข้าสู่พื้นที่การแข่งขันที่ไม่มีทางเลือก จึงไม่แปลกที่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา หลายคนมีชีวิตอยู่กับการเรียนอย่างหนัก ทั้งเรียนในโรงเรียน เรียนพิเศษกวดวิชา หลายคนขาดทักษะในการใช้ชีวิต ขาดความมีชีวิตชีวาในการเรียนรู้ เบื่อโรงเรียน เบื่อห้องเรียน และหลายคนต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา แขวนชีวิตไว้กับความเสี่ยง

การศึกษาไทยที่เป็นอยู่ เด็กจึงไม่ได้รับการผลักดันในเรื่องที่ตัวเองถนัด มุ่งเน้นวิชาการเป็นเลิศแต่อ่อนแอในการพัฒนาจิตใจ คุณธรรม จริยธรรมของเด็ก, นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนก็ไม่ต่อเนื่องเปลี่ยนตามผู้บริหารที่ย้ายไปย้ายมา, ผู้บริหารมีอำนาจค่อนข้างเบ็ดเสร็จ, ระบบการประเมินโรงเรียนและครู เกณฑ์การวัดผลยังไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ต่างกัน อีกทั้งยังทำให้ครูมุ่งแต่การจัดเตรียมเอกสารเพื่อการประเมินภายนอกจนละเลยการเรียนการสอน , หลักสูตรยังไม่เหมาะสมกับช่วงวัย และระบบการศึกษาไม่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรม เป็นต้น

ทั้งๆ ที่หัวใจของการศึกษาที่แท้นั้น คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบตนเอง เรียนในเรื่องที่อยากจะเรียน เรียนแล้วมีความสุข เรียนแล้วเอามาปรับใช้กับชีวิตและสังคมได้ โดยเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความหลากหลายทั้งอัตลักษณ์ ความเป็นชาติพันธุ์ และวิถีวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบสานภูมิปัญญา/องค์ความรู้ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของเด็กและชุมชน ลดต้นทุนการนำเข้าทรัพยากรการเรียนรู้จากภายนอกด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนในท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา

ภายใต้สถานการณ์ปัญหาต่างๆ เช่นนี้ กลุ่ม ข่าย สถาบัน องค์กรภาคเอกชน และเครือข่ายประชาสังคมที่ทำงานการศึกษา ต่างตระหนักได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประสบปัญหาจากการศึกษา ตัวจริงเสียงจริงทั้งเด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และผู้ประกอบภาคเอกชน จะได้ส่งเสียงสะท้อนถึงปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขเพื่อเป็นทางออกของการศึกษาไทยร่วมกัน

ด้วยความสำคัญของปัญหาเช่นนี้ “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษาไทย” หรือ Education Reform Assembly TH จึงเกิดขึ้นบนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การถักทอเชื่อมร้อย ประสานความร่วมมือกันของเครือข่ายใหญ่ 9 เครือข่าย ประกอบด้วย

1. กลุ่มโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น

2. กลุ่มโรงเรียน/วิทยาลัย ที่จัดโดยภาคธุรกิจเอกชน

3. กลุ่มสมาคม/ชมรมผู้ปกครอง

4. กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.

5. กลุ่มเครือข่ายการศึกษาทางเลือก

6. กลุ่มเด็กและเยาวชน

7. กลุ่มนักบริหารและนักวิชาการด้านการศึกษา

8. กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเอกชน

9. กลุ่มสื่อที่สนใจด้านการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีความสุขทั้งมิติของกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันในตัวมนุษย์และสัมพันธ์กับสิ่งแวด ล้อมทั้งทางกายภาพและสังคม และมีความสามารถเชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี

บนปรัชญาและเจตจำนงค์ที่เชื่อมั่นว่า “การศึกษาที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นการศึกษาที่พัฒนาคนให้เป็นผู้มีความสุข”

ถึงเวลาแล้ว ที่ “เรา” ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมกันลงมือสร้างอนาคตทางการศึกษา ให้เป็นการศึกษาที่มีความเป็นมนุษย์ การศึกษาที่มีความหลากหลาย และเป็นการศึกษาที่สร้างความงอกงามแก่บุคคล ชุมชนและสังคม

มาร่วมกันเปลี่ยนการศึกษา มาร่วมกันเป็นสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา







เราต่างคือเกลียวเชือกที่ถักทอร่วมกัน บนเป้าหมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษาเกลียวเชือกทั้ง 9 เครือข่าย 9 สีสะท้อนถึงความหลากหลาย ที่มาเรียงกัน มาขมวดมาสุ่มรวมกันบนจุดร่วมเดียวกันที่ปลายดินสอที่เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการศึกษา

ภายใต้ชื่อว่า Education Reform Assembly หรือชื่อเล่นว่า ERA หรือ “ยุคสมัย” เพื่อแสดงนัยยะของการสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกันในช่วงชีวิตของพวกเรา ที่มีการศึกษาเป็นเป้าประสงค์สำคัญ

…มาร่วมกันขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา มาร่วมกัน

สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา https://www.facebook.com/EducationReformAssemblyTH

ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////

ทำไมประชาธิปัตย์ จึงไม่ชนะ...!!?



โดย. บุญเกียรติ ชีวะตระกูลกิจ

ในมุมมองของฝ่ายต่อต้านประชาธิปัตย์ คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นอาจเป็นดังนี้
เพราะประชาธิปัตย์ เล่นการเมือง แบบนักการเมืองโบราณ มองอะไรเป็นเกมการเมืองไปหมด

เพราะประชาธิปัตย์ก้าวไม่ข้ามทักษิณ เอะอะอะไรก็โยนขี้ให้ทักษิณและตระกูลชินวัตร

เพราะประชาธิปัตย์เปลี่ยนไป เคยต่อต้านเผด็จการทหารในอดีตอยู่พักหนึ่ง แต่ปัจจุบันกลับลำมาอิงแอบแนบชิดกับกองทัพ

เพราะประชาธิปัตย์เป็นพรรคอำมาตย์ มีจุดยืนอยู่ตรงข้ามกับประชาชนและระบอบประชาธิปไตย

ฯลฯ

ลองฟังมุมมองของผู้ที่ยังศรัทธาพรรคประชาธิปัตย์ดูบ้าง ตำตอบก็คงประมาณนี้กระมัง

ถ้าเป็น ปชป.สาย Hard Core เหตุผลอาจเป็นว่า

เพราะประชาธิปัตย์อุดมไปด้วย คนดี จึงพ่ายแพ้ คนเลว ในกระบวนการเลือกตั้ง

เพราะประชาธิปัตย์แพ้อำนาจเงิน ทักษิณมีเงินมากจนสามารถซื้อเสียงได้ทั่วทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน

ที่ Soft ลงมาหน่อยก็คงตอบว่า ...

เพราะประชาธิปัตย์ มีคนเก่ง (เช่น ดร.ศุภชัยฯ คุณอลงกรณ์ฯ หรือแม้แต่ปู่พิชัย ฯ) ก็จริง แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์เท่าที่ควร

ทำไมประชาธิปัตย์จึงไม่ชนะสักที ... ทั้งที่ก็มีปัจเจกบุคคล คณะบุคคลและองค์กร (อิสระ) ต่างๆ อันล้วนทรงพลานุภาพในสังคมไทยคอยโอบอุ้มเอาใจช่วยอยู่อย่างมากมายก่ายกองยิ่ง จนผู้สนับสนุนเหล่านั้นพากันรู้สึกขัดเคืองและเอือมระอายิ่งนักแล้ว

ลงเลือกตั้งทีไร เป็นแพ้หลุดลุ่ยทุกที ดังรูปที่ตีกรอบไว้นี้

แพ้ซ้ำซาก จนครั้งล่าสุดต้องยอมทิ้ง หลักการประชาธิปไตย ออกมาเลือกจุดยืน ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เสนอวิธีการ ปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชน เพื่อให้ได้อำนาจรัฐมาอยู่ในมือ สถาปนาความเป็น รัฏฐาธิปัตย์ มีสิทธิขาดชี้ชะตาผู้คนทั้งแผ่นดิน ทำทีมโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส. จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี

แนวคิดนี้ถูกตั้งคำถามจากกระแสประชาธิปไตยทั้งในและนอกประเทศว่า มวลมหาประชาชน นั้น ยึดโยงอย่างไรกับประชาชนทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคน ซ้ำร้ายเมื่อรัฐบาลยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งโดย กกต. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ขบวนการมวลมหาประชาชน ของนายสุเทพฯ ก็ยังได้เข้าขัดขวางไม่ให้การเลือกตั้งดำเนินไปได้อย่างชนิดเอาเป็นเอาตาย

มวลมหาประชาชน นี้คือใครกัน ลองวิเคราะห์แบบแฟร์ๆ ดูไหม ว่าประกอบด้วยคนลักษณะใดบ้างในสังคมไทย

1.กลุ่มคนเกลียดทักษิณ ถูกปลุกผีว่าทักษิณจะมาโกงกินประเทศ

2.ผู้รักและเทิดทูนสถาบัน ถูกป้อนข้อมูลว่าทักษิณจะมาล้มล้างสถาบัน (คนไทยที่รักและเทิดทูนสถาบันมีทั้งประเทศ ส่วนที่ไม่เชื่อข้อมูลการปลุกปั่นในเรื่องนี้ จึงไม่รวมอยู่ในข้อนี้)

3.ข้าราชการหัวโบราณ ผู้มีความสุขอยู่ใน Comfort Zone และเกลียดทักษิณที่มาปฏิรูประบบราชการ ทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้น

4.คนใต้ ส่วนหนึ่ง ซึ่งผูกพันกับพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ประชาธิปัตย์

5.ฐานเสียงประชาธิปัตย์ที่จัดตั้งโดยหัวคะแนน (ซึ่งข้อนี้มีกันทุกพรรค)

6.อื่นๆ ตามแต่ท่านผู้อ่านจะเติมลงไป

คำถามคือ คนกลุ่มนี้สามารถเป็น Sample ที่มีคุณภาพ (Quality) และปริมาณ (Size) เพียงพอที่จะเป็นตัวแทน ประชากร-Population ของคนไทยทั้งประเทศในเชิงสถิติได้หรือไม่ และเหตุใดพรรคประชาธิปปัตย์จึงเลือกที่จะอิงแอบกับ Sampling Frame อันมีขนาดจำกัดคับแคบเช่นนี้แทนการแนบชิดกับประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ

เพราะอิงแอบกับกลุ่มใหญ่ ทีไรเป็นพบกับความพ่ายแพ้ทุกทีไปกระนั้นหรือ

อันที่จริง ผมเองก็เคยเป็นแฟนพรรคประชาธิปัตย์มานาน น่าจะยุคนายสุเทพเพิ่งเข้าการเมืองใหม่ๆ ตอนนั้นนายอภิสิทธิ์ คงจะยังเรียนมัธยมอยู่เลยกระมังครับ นักการเมืองน้ำดียุคนั้น ก็มี เช่น นายวีระ มุสิกพงศ์ ซึ่งเคยยิ่งใหญ่ในระดับเลขาธิการพรรคเลยทีเดียว จำได้ว่าตอนนายวีระ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยครั้งแรก นายชวนเรียกเขาว่า ท่านรัฐมนตรีวีระ ทุกคำ คนประชาธิปัตย์อภิปรายในสภาเก่ง ที่เป็นดาวเลยก็คือ นายสมัคร สุนทรเวช เงาเสียง ท่านสมัครคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง คนคุณภาพเหล่านี้

ล้วนอยู่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้กันหมด ยุคท้ายๆ ก็ยังมี อีดี้จวบ ประจวบ ไชยสาส์น สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล และนพดล ปัทมะ ฯลฯ

ประชาธิปัตย์เปลี่ยนไปมากยุคนายอภิสิทธิ์ เข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค บทบาททางการเมืองทั้งในและนอกสภาออกทะเลแบบกู่ไม่กลับ ไม่ว่าจะเป็นนายบุญยอดนายชวนนท์ หรือนางรังสิมา การอภิปรายในสภาขาดเสน่ห์ ไม่มีเมตตาต่อกัน ไม่ชวนติดตามเหมือนนักการเมืองยุคก่อนอย่าง ธรรมนูญ เทียนเงิน ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และอีกหลายท่านที่ได้เอ่ยนามไปแล้วนั้น ความเละเทะของคนรุ่นใหม่ แม้ผู้หลักผู้ใหญ่อย่างนายพิชัย รัตตกุล จะได้ออกมาเตือนแต่ก็กลับถูกด่าแบบสาดเสียเทเสียจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน แปลกที่คนรุ่นเก่าอย่างนายชวนกลับให้ท้ายนายอภิสิทธิ์ จนทำให้พรรคเป๋ออกไปจาก หลักการประชาธิปไตย อย่างน่าอดสูยิ่ง

ประชาธิปัตย์กับแนวร่วมอันประกอบด้วย กปปส. และองค์กรอิสระ อาจชนะศึกการร่วมกัน ล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ในครั้งนี้ แต่นั่นก็เป็นเรื่อง ระยะสั้น เพราะการต่อสู้อันแท้จริง ไม่ได้อยู่ที่ ตระกูลชินวัตร กับ มวลมหาประชาชน หากอยู่ที่ ระบอบประชาธิปไตย กับ ระบอบเผด็จการซ่อนรูป ต่างหาก

โชคไม่ดีสำหรับประชาธิปัตย์ ที่ทักษิณเลือกยืนข้างระบอบประชาธิปไตย และเอาชนะประชาธิปัตย์ทุกครั้งบนกระบวนการเลือกตั้งอันเป็นที่ยอมรับของสากล

หากยึดกุมรัฏฐาธิปัตย์เอาไว้ได้ในครั้งนี้วันหลังก็ต้องกลับมาเลือกตั้งใหม่อยู่ดี แล้วถ้าเกิดพ่ายแพ้อีกเล่า ประชาธิปัตย์มิต้องวิ่งโร่กลับไปหา ตัวช่วยให้มาทำปฏิวัติ ปฏิรูป หรือ ปฏิ ... อะไรอีกหรือ

พรรคเก่าแก่พรรคนี้ จะไม่มีวันชนะอย่างยั่งยืนได้เลย ถ้าไม่กลับตัวกลับใจ กลับไปนั่งปฏิรูปตนเองในเชิงประชาธิปไตยอย่างขนานใหญ่ ดังที่นาย อลงกรณ์ ก็ได้พยายามขายความคิดไปหลายรอบแล้วนั้น


ที่มา นสพ.มติชน
//////////////////////////////////////////