นับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เงินบาทมีความผันผวนและแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจากอยู่ที่ประมาณ 30.63 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนธันวาคม 2555มาอยู่ที่อัตราอ้างอิงเฉลี่ยประมาณ......
29.51 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ในเดือน มี.ค. 56
29.07 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ในเดือน เม.ย.56 และ
29.41 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ เมื่อ 2 พ.ค. 56 ที่ผ่านมานี้
โดยอัตราอ้างอิงเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี ต่อ 1 ดอลลาร์ ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา มีดังนี้

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (
http://www2.bot.or.th/statistics/ReportPage.aspx?reportID=123&language=th (30 เม.ย. 56)
………………………….
ย้อนกลับไปประมาณร้อยปีที่แล้ว พ.ศ. 2451(สมัยรัชกาลที่ 5)ค่าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 2.69บาท...เพื่อที่จะเข้าใจเส้นทางเดินของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยกับเงินดอลลาร์สหรัฐ จาก 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 2.69 บาท ในปี 2451..มาอยู่ในระดับอ่อนที่สุดประมาณ 56 บาทต่อดอลลาร์ ในเดือนมกราคม ปี 2541 หลังเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 และปัจจุบัน(2 พ.ค. 56) อยู่ที่ประมาณ 29.41บาท ต่อ 1 ดอลลาร์..เราจำเป็นต้องเริ่มมองจากภาพใหญ่ก่อน คือ ระบบการเงินระหว่างประเทศ(International Financial System)
ระบบการเงินระหว่างประเทศสมัยใหม่ เริ่มต้นประมาณศตวรรษที่19 อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้การค้าขายภายในและระหว่างประเทศเจริญเฟื่องฟูขึ้นมาก ขณะที่ในแต่ละประเทศมีสกุลเงินตราของตัวเอง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศ ที่เป็นมาตรฐานสากลอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปขึ้นมา เพื่อคำนวณหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศที่กำลังขยายตัวมากขึ้นๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว นับจากนั้นมาถึงปัจจุบัน พัฒนาการของระบบการเงินระหว่างประเทศแบ่งได้เป็น 4 ยุคสมัย
ยุคแรก:ระบบมาตรฐานทองคำ ช่วงปี พ.ศ. 2413-2457(The Gold Standard : 1870-1914)คือ วิธี
เงินตรา(วิธีที่กำหนดค่าของเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งเทียบกับเงินตราของอีกสกุลหนึ่ง) อันกำหนดให้แต่ละประเทศที่อยู่บนระบบนี้ต้องมีกฎหมายกำหนดให้ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานกำหนดค่าของเงินหนึ่งหน่วยเท่ากับทองคำบริสุทธิ์เป็นจำนวนที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า“การกำหนดอัตราค่าเสมอภาค” (Par Value)
ยกตัวอย่างเช่น ช่วงเวลานั้นที่ระบบการเงินระหว่างประเทศกำลังใช้ระบบมาตรฐานทองคำ
อังกฤษ กำหนดอัตราค่าเสมอภาค1 ปอนด์ เท่ากับ ทองคำบริสุทธิ์หนัก 7.32237 กรัม
สหรัฐอเมริกา กำหนดอัตราค่าเสมอภาค 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 1.50465กรัม
สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. 127 กำหนดให้เงินบาทมีราคาเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 0.558กรัม
ดังนั้น การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลปอนด์ต่อเงินตราสกุลบาท ก็คือ การเอาค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงินหนึ่งปอนด์ คือ 7.32233 หารด้วยค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงินหนึ่งบาท คือ 0.558 (7.32233 / 0.558 = 13.12)
ดังนั้นด้วย พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. 127 (พ.ศ.2451) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินปอนด์จึงเท่ากับ 13.12 บาท ต่อ 1 ปอนด์ในเวลานั้น
หรือ ถ้าจะคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐต่อเงินตราสกุลบาท ก็คือ การเอาค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของเงินหนึ่งดอลลาร์ ซึ่งในเวลานั้นประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอัตราค่าเสมอภาค(Par Value) 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1.50465กรัม เมื่อนำมาหารด้วยค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงิน 1บาท คือ 0.558 กรัม ก็จะสามารถคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐต่อเงินตราสกุลบาทได้ เท่ากับ 1.50465 / 0.558 = 2.69 ทำให้ ค่าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 2.69 บาทตามที่กฎหมายกำหนด (พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. 127) ณ เวลานั้น
ในระบบมาตรฐานทองคำนอกจากจะให้แต่ละประเทศกำหนดอัตราค่าเสมอภาคต่อน้ำหนักทองคำแล้ว ยังกำหนดให้ประเทศต่างๆ ต้องรักษาระดับเงินทุนสำรองที่เป็นทองคำให้เพียงพอกับจำนวนธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินในประเทศนั้น
เช่น ประเทศไทยกำหนดอัตราค่าเสมอภาค(Par Value) 1 บาท เท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 0.558 กรัม ดังนั้นถ้าต้องการจะพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม 1 ล้านบาท เพื่อนำออกใช้หมุนเวียนในระบบการเงิน ประเทศไทยต้องหาปริมาณทองคำเข้ามาสำรองเก็บในท้องพระคลังเพิ่มอีก 0.558 ล้านกรัม หรือ 558,000กรัม (เท่ากับ558กิโลกรัม หรือประมาณ ครึ่งตัน) เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบมาตรฐานทองคำ
ยุคที่สอง : ระบบการเงินระหว่างประเทศช่วงสงครามโลก พ.ศ.2457-2488 (The Interwar Years:1914 –1945) ระยะเวลานี้เป็นช่วงที่ระบบการเงินระหว่างประเทศมีความยุ่งเหยิง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะสงครามโลกทั้งสองครั้ง (ครั้งที่ 1 ปี1914-1919 และครั้งที่ 2 ปี1939-1945)ทำให้ระบบมาตรฐานทองคำที่เคยใช้อยู่ก่อนหน้านั้น ประสบความยุ่งเหยิงวุ่นวายไปด้วย สาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1)บรรดาประเทศต่างๆที่อยู่บนระบบมาตรฐานทองคำต้องนำทองคำที่ใช้เป็นทุนสำรองหนุนค่า
เงินตราของตนออกมาใช้ในกิจการสงคราม เพื่อซื้ออาวุธและยุทธ์ปัจจัยทางสงครามต่าง ๆ
2)มีการห้ามการส่งออกทองคำในประเทศต่างๆ เพราะกลัวว่าจะสูญเสียทองคำที่จะต้องใช้ชำระ
ค่าใช้จ่ายในการทำสงคราม ซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนทองคำขึ้นในเวลานั้น
3)ผลจาก ข้อ1) และ 2) ทำให้แต่ละประเทศที่อยู่บนระบบมาตรฐานทองคำมาตกลงเจรจาเพื่อ
อนุญาตเงินตราของแต่ละสกุลที่อยู่บนระบบนี้ สามารถเคลื่อนไหวขึ้นลงได้ในช่วงที่กว้างขึ้นกว่าเดิม
4)ผลจาก ข้อ 3) ทำให้เกิดผลเสียมากว่าผลดี เพราะถึงแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้ค่าเงิน
สกุลตราต่างๆมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่กลับเป็นการเปิดช่องทางให้นักเก็งกำไรค่าเงิน ใช้โอกาสตรงนี้เก็งกำไรค่าเงินตราระหว่างประเทศ สร้างแรงกดดันให้เงินตราที่สกุลอ่อน ให้อ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ ขณะที่เงินตราสกุลแข็ง ก็ถูกปั่นให้มีค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง ผลที่ตามมาก็คือ ระบบการเงินระหว่างประเทศเกิดความไร้เสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ๆ
ประเทศไทยก็หนีไม่พ้นผลกระทบดังกล่าว ทำให้ต้องมีการปรับปรับแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเงินตราที่กระจัดกระจายกันอยู่หลายฉบับ ให้มารวมกันเป็นฉบับเดียว เพื่อความเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีเงินตราของประเทศในเวลานั้น
ในปี พ.ศ. 2471 ช่วงรัชกาลที่ 7 ได้มีการตร “พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2471” ซึ่งสาระสำคัญข้อหนึ่งคือ การประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ.127 และกำหนดให้ค่าเงินหนึ่งบาทมีราคาเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 0.66567 กรัม จากเดิมที่พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ.127 ได้เคยกำหนดไว้ให้เงินหนึ่งบาทมีราคาเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 0.558กรัม ด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ทำให้การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลบาทกับสกุลต่างประเทศต้องเปลี่ยนไปด้วย เช่น
ขณะที่ สหรัฐ ยังคงกำหนดอัตราค่าเสมอภาค (Par Value) 1 ดอลลาร์ เท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 1.50465กรัมเท่าเดิมอยู่
ประเทศอังกฤษ ยังคงกำหนดอัตราค่าเสมอภาค (Par Value) 1 ปอนด์ เท่ากับ/ต่อ ทองคำบริสุทธิ์หนัก 7.3223 กรัมเท่าเดิมอยู่
ประเทศไทย ได้ปรับเปลี่ยนการกำหนดอัตราค่าเสมอภาค (Par Value) ใหม่ เป็น1บาท เท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก0.66567กรัม ด้วยวิธีการคำนวณที่กล่าวมาข้างต้น จึงทราบได้ว่า เงิน 1 ดอลลาร์มีค่าตามกฎหมายเท่ากับ 2.26 บาท(1.50465/0.66567 = 2.26) และ เงิน 1 ปอนด์ก็มีค่าตามกฎหมายเท่ากับ 11 บาท (7.32237/0.66567 = 11)ในเวลานั้น พ.ศ. 2471
ภายหลังจากที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พศ. .2471 ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 ประเทศอังกฤษได้ออกจากมาตรฐานทองคำ กล่าวคืออังกฤษประกาศงดการจ่ายทองคำแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลปอนด์สเตอร์ลิงค์ การที่อังกฤษเลิกใช้มาตรฐานทองคำนั้น ทำให้เงินปอนด์มีค่าลดลง ในขณะที่เงินบาทยังคงมีค่าเท่าเดิม เพราะประเทศไทยยังอยู่ในระบบมาตรฐานทองคำ จากเดิมที่มีค่าประมาณ 11 บาทต่อ 1 ปอนด์ แข็งค่าขึ้นเป็นประมาณ 8-9 บาทต่อปอนด์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าของไทยกับต่างประเทศ โดยเฉพาะรายได้ของเกษตรกรจากการขายข้าวและรายได้ของรัฐบาล
ดังนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2475 ประเทศไทยจึงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าเสมอภาค(Par Value) ค่าเงิน 1 บาทกับน้ำหนักทองคำ(ระบบมาตรฐานทองคำ)โดยออกพระราชบัญญัติเงินตราแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475เปลี่ยนวิธีเงินตราที่ผูกค่าเงินบาทไว้กับน้ำหนักทองคำ เป็นผูกไว้กับค่าของเงินปอนด์แทน ที่เรียกว่า“มาตรปริวรรตปอนด์สเตอร์ลิงค์”(Sterling Exchange Standard)คือ การกำหนดค่าของเงินบาทเทียบเงินปอนด์สเตอร์ลิงค์ ไว้ที่อัตรา 11บาทต่อ1 ปอนด์สเตอร์ลิงค์ ส่วนการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลบาทกับเงินตราสกุลต่างประเทศอื่นๆ จะเป็นเท่าไรนั้น รัฐบาลจะประกาศเป็นครั้งคราวไป
พระราชบัญญัติเงินตรา พศ. .2471 ได้มีถูกปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด 9 ครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบบการเงินระหว่างประเทศในช่วงสงครามโลกที่มีความผันแปรเป็นอย่างยิ่งโดยฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายคือ “พระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2487”หนึ่งปีก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะสิ้นสุดลงในปี 2488 .......
ที่มา.นสพ.แนวหน้า
///////////////////////////////////////////////////