--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คลิปฉาวกับขบวนการล้มศาล ที่แท้...สนิมแต่เนื้อในตน!

โดย : ปกรณ์ พึ่งเนตร

ตะลึงตึงตังกันไปตามคาดสำหรับคลิปฉาวภาค 2 เกี่ยวกับบุคคลในศาลรัฐธรรมนูญที่เพิ่งเผยแพร่ทางโลกไซเบอร์
คราวนี้พุ่งเป้าไปที่พฤติกรรมของตุลาการโดยตรง ไม่ได้เชื่อมโยงกับคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ว่ากันว่าผู้พิพากษาหลายคนที่ได้ชมคลิป แม้แต่ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมเองยัง "อึ้ง" ไปตามๆ กัน และถามกันให้แซ่ดว่า ตุลาการที่เกี่ยวพันกับเนื้อหาในคลิปจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างไร?

คลิปฉาวภาค 2 นี้มี 3 ตอน ใช้ชื่อว่า "พฤติกรรมศาลรัฐธรรมนูญไทย" เป็นภาพและเสียงการพูดคุยกันของบุคคล 3 คน โดย 2 ใน 3 ถูกระบุว่าเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ "นาย พ." ซึ่งเคยตกเป็นข่าวพัวพันคลิปฉาวภาค 1 ที่โยงถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ และถูกปล่อยออกมาเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้า

เนื้อหาหลักๆ ของคลิปฉาวภาค 2 เป็นการหารือกันเพื่อหาทางออกเกี่ยวกับคลิปอีกชุดหนึ่งที่คนเหล่านี้เชื่อว่าถูกบันทึกภาพการเจรจาตกลงระหว่างตุลาการกลุ่มหนึ่งในการนำข้อสอบที่ใช้สอบบรรจุเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญไปแจกจ่ายให้กับคนใกล้ชิดของตุลาการเหล่านั้น ซึ่งก็มีทั้งคนที่เล่นด้วยและไม่เล่นด้วย เมื่อมีข่าวว่าคลิปดังกล่าวหลุดออกไปและอาจตกไปอยู่ในมือของพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ทำให้กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องมานั่งหารือกันเพื่อหาทางแก้เกมและแก้ข้อครหาที่จะตามมา

ภาพและเสียงที่ปรากฏในคลิปฉาวภาค 2 ทำให้พอมองเห็น "เรื่องราว" เบื้องหลังคลิป และ "เรื่องลับๆ" ในศาลรัฐธรรมนูญชัดเจนมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ

1.ข้อสันนิษฐานที่เคยคาดกันว่าพรรคเพื่อไทยอยู่เบื้องหลังการถ่ายทำ หรือ "จัดฉาก" ให้เกิดคลิปเหล่านี้ อาจไม่จริงทั้งหมด เพราะจากเนื้อหาในคลิปชัดเจนว่ามีการ "แอบถ่าย" กันเองระหว่างบุคคลในศาลรัฐธรรมนูญอยู่แล้วเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพื่อต่อรองอะไรกันบางอย่างในลักษณะ "กำความลับของอีกฝ่าย"

2.คลิปฉาวไม่ได้มีแค่ 2 ภาคหรือ 2 ชุดที่ถูกปล่อยออกมาแล้ว แต่น่าจะยังมีอีกอย่างน้อย 1 ชุด คือคลิปที่เชื่อกันว่าเป็นการบันทึกภาพการเจรจาตกลงระหว่างตุลาการกลุ่มหนึ่งเกี่ยวกับการโกงข้อสอบบรรจุเจ้าหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทว่ายังไม่ถูกเผยแพร่

3.จากภาพและเสียงที่ปรากฏในคลิป ยากที่จะปฏิเสธว่ามีความไม่ชอบมาพากลหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารงานภายในศาลรัฐธรรมนูญจริง ไม่ว่าจะเป็นการสอบบรรจุเจ้าหน้าที่ศาล โครงการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ หรือการต่อรองตำแหน่งสำคัญในหมู่ตุลาการ

4.พฤติกรรมของตุลาการบางคนที่เอ่ยถึงบุคคลที่สามอย่างไม่ให้เกียรติ ซึ่งบางรายเป็นพยานในคดียุบพรรคด้วย ทำให้ความน่าเชื่อถือที่สังคมมีต่อตุลาการลดลง แม้ว่าจะเป็นการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการในห้องที่ปิดลับก็ตาม

แน่นอนว่าเมื่อคลิปฉาวชุดที่ 2 ถูกแพร่ออกมา ได้ส่งผลให้เครดิตของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตกต่ำอย่างน่าใจหายอยู่แล้วก่อนหน้านี้ อยู่ในภาวะ "ดับวูบ" กันเลยทีเดียว และผลสะเทือนของมันน่าจะกระทบทั้งในมิติที่เกี่ยวกับอนาคตของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองซึ่งอาจเกี่ยวโยงถึงคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย และมิติทางการเมืองที่มีความพยายาม "เล่นงาน" กระบวนการ "ตุลาการภิวัตน์" มาตลอด

เริ่มจากอนาคตของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก่อน แนวโน้มที่เป็นไปได้มี 3 ประการ คือ

1.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแสดงสปิริตลาออกทั้งคณะ ซึ่งจะทำให้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ต้องหยุดชะงักลง
2.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนตัดสินใจลาออก จนอาจกระทบกับองค์คณะที่ทำหน้าที่วินิจฉัยคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งต้องมีไม่ต่ำกว่า 5 คน
3.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งคณะอยู่ในตำแหน่งต่อไป ซึ่งก็จะกระทบกับความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ โดยเฉพาะในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์

ส่วนในมิติทางการเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครดิตและความน่าเชื่อถือของตุลาการชุดนี้แทบจะหมดสิ้นแล้ว จนอาจ "เข้าทาง" กลุ่มการเมืองบางกลุ่ม ทั้งที่ต้องการยุบเลิกองค์กรศาลรัฐธรรมนูญไปเสีย หรือต้องการให้เริ่มกระบวนการสรรหาตุลาการชุดใหม่ และอาจลามไปถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสรรหาตลอดจนองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา และถึงที่สุดคือการ "ล้วงมือ" เข้าไปตรวจสอบศาล ในฐานะหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยที่แทบไม่เคยถูกตรวจสอบจากฝ่ายอื่นๆ เลย

ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้านี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางรายได้ออกมาพูดถึงข่าวการพยายามยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่พรรคเพื่อไทยและอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองกลุ่มบ้านเลขที่ 111 และ 109 ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยแสดงท่าทีหลายครั้งที่จะ "รื้อใหญ่" รัฐธรรมนูญ เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะกระบวนการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ อาทิเช่น ประธานศาลสูง โดยยกตัวอย่างเทียบเคียงกับสหรัฐอเมริกาที่อัยการและประธานศาลสูงต้องผ่านการตรวจสอบจากสภาในฐานะตัวแทนประชาชนก่อน

ที่สำคัญผลสะเทือนที่ว่านี้ย่อมส่งถึงศาลยุติธรรมด้วย เพราะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน 7 ใน 9 คนเคยเป็นผู้พิพากษาศาลยุติธรรม มี 3 คนที่ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และอีก 4 คนก็มาจากคณะกรรมการสรรหาที่มีประธานศาลฎีกาเป็นประธาน

การปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิงจะเป็นไปได้หรือ?

หากแนวโน้มดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจริง องค์กรศาลจะถูก "ตรวจสอบ" โดยฝ่ายการเมืองที่อ้างความเป็นตัวแทนประชาชน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย"

ประเด็นที่ต้องจับตาก็คือ หากการตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ในวงการตุลาการ อาทิเช่น ประธานศาลฎีกาต้องผ่านความเห็นชอบโดยฝ่ายการเมือง ย่อมหมายถึงสถาบันศาลเกือบทั้งสถาบันมีโอกาสถูกจัดแถวโดย "มือ" จากนอกศาล เพราะตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม ประธานศาลฎีกาคือผู้เสนอชื่อเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจคุมงานธุรการศาลทั่วประเทศ รวมทั้งจัดทำบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายตุลาการ

ขณะที่ประธานศาลฎีกาก็เป็นประธานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) และประธานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (กบศ.) โดยตำแหน่ง

ถึงตรงนี้คงพอนึกภาพออกแล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น...

กระบวนการที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัตน์" ซึ่งบุคลากรจากศาลออกมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายการเมือง กำลังถึงคราวพังทลาย และลุกลามไปถึงองค์กรต้นธารของบุคคลเหล่านี้

วันแห่งการเปลี่ยนแปลงกำลังก้าวมาถึงแล้ว แต่ไม่ใช่ด้วยปัจจัยทำลายล้างจากฝ่ายการเมืองผู้เสียประโยชน์แต่เพียงด้านเดียว ทว่าปัจจัยหลักมาจากสนิมแต่เนื้อในตน...

ถึงเวลาที่ฝ่ายตุลาการต้องกวาดบ้านตัวเองอย่างจริงจัง หากไม่อยากให้คนนอกบ้านมาช่วยกวาด!

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ

แกะธุรกิจ100ล."ศิริโชค โสภา"วอลล์เปเปอร์"มาร์ค" คู่ปรับ"พท.-วิสุทธิ์" ไขคำตอบโยงน้ำมันเถื่อนหรือไม่?

กรณี พล.ต.ต.วิสุทธิ์ วานิชบุตร  รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี (รองผบช.กมค.) แถลงข่าว(รอบ 2)ระบุนักการเมืองใกล้ชิดนายกฯ "ล้วงโผตำรวจ-รับเคลียร์"และกล่าวถึงนักการเมืองชื่อ "สระอิ สระอา" ไม่พอใจโดนปราบอิทธิพล นอกจากนี้ยังโจมตีนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ว่าเป็นวอลล์เปเปอร์เน่าทำให้คนในบ้านติดโรค

ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน นายศิริโชค โสภา เลขานุการส่วนตัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ออกมาปฏิเสธว่ามิได้เกี่ยวข้องกับการแสวงหาผลประโยชน์ทั้งในเรื่องของเถื่อน น้ำมันเถื่อน การเรียกรับผลประโยชน์จากการวิ่งเต้นโยกย้ายตำรวจด้วยนาฬิกายี่ห้อปาเต๊ะฟิลลิป และขอใช้สิทธิ์ฟ้องร้องพล.ต.ต.วิสุทธิ์ในข้อหาหมิ่นประมาท

"เมื่อครั้งที่ให้สัมภาษณ์ครั้งแรกผมก็ไม่ได้ติดใจ ถือว่าให้อภัยกันได้แต่พอมาพาดพิงครั้งที่สองผมคิดว่ามันเป็นการละเมิดสิทธิผมมากเกินไปก็ต้องใช้สิทธิในการฟ้องร้องคุณวิสุทธิ์และขอยืนยันว่าไม่ได้เป็นการฟ้องแก้เกี้ยวและจะฟ้อง 3 ศาลเลย ขอให้คุณวิสุทธิ์เตรียมไปพิสูจน์ตัวเองในศาลเลย"นายศิริโชคกล่าว

หากใครติดตามข้อหล่าวหาที่มีต่อนายศิริโชคอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ถูกกล่าวหามาหลายครั้ง

ครั้งแรก ถ้าจำกันได้เมื่อครั้งที่เขาอภิปรายเปิดโปงการหลบเลี่ยงภาษีของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ และบริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขาถูกเครือข่ายอดีตนายกฯขุดคุ้ยละเอียดยิบทั้งเรื่องส่วนตัวและครอบครัว

ถัดมาถูกเล่นงานกรณีเปิดโปงกรณีซื้อขายตำแหน่งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและออกมาเล่นบทพระเอกกรณีคลิปฉาวตัดต่อของนายกฯ(กรณีถูกพรรคเพื่อไทยกล่าวหาสั่งปราบประชาชน) 

กระทั่งถูกนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ตรวจสอบภูมิหลังนายศิริโชคโดยอ้างว่าบริษัทพี่ชายนายศิริโชคมีคดีความเกี่ยวกับการทุจริตรวมทั้งขอให้ตรวจสอบสัญชาติบิดาของนายศิริโชคอีกด้วย

ขณะที่เจ้าตัวออกมาโต้ว่าเป็นเรื่องเก่า ไร้สาระ หากทำให้เสียหายก็จะฟ้องดำเนินคดี และบอกทำนองว่านายพร้อมพงศ์ไปเล่นหนังโป๊ หากเป็นนักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรมก็คงเอาซีดีที่นายพร้อมพงศ์แสดงเป็นพระเอกออกมาเผยแพร่แล้ว 

และบอกอีกว่าการทำธุรกิจของพี่ชายถ้าจะเกิดปัญหาก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกันและคดีดังกล่าวก็เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมาย

แม้ว่าข้อกล่าวหาต่อนายศิริโชคกับคู่กรณีน่าจะไปพิสูจน์กันในชั้นศาล 

ถึงกระนั้น คำถามที่หลายคนจำนวนไม่น้อยอยากรู้ความจริงก็คือ ธุรกิจของเขาและครอบครัวเกี่ยวโยงกับธุรกิจน้ำมันหรือไม่?

ตรวจสอบข้อมูลมาและนำมาเสนอดังนี้

ครอบครัวนายศิริโชคมีธุรกิจกว่า 10 บริษัทมูลค่านับ100 ล้านบาท

ปี 2508 ก่อตั้งหจก.บัวไล ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ขายส่งสินค้า เช่น ข้าว แร่ ยาง ไม้ ข้าวโพดออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

ปี 2516 ก่อตั้งบริษัท โอเวอร์ซี เมอร์แคนไทล์ จำกัด (ปิดกิจการแล้ว) ทุน 1 ล้านบาท

ปี 2524 ก่อตั้งบริษัท สหะโสภา จำกัด ทุน 8 ล้านบาท ขายอาหารทะเล ที่อยู่เดียวกับบริษัท โอเวอร์ซี เมอร์แคนไทล์

ปี 2530 ก่อตั้ง บริษัท โอเวอร์ซีส์ มารีนและห้องเย็น จำกัด ทุน 100 ล้านบาท ส่งออกอาหารทะเล อยู่ในซอยทรงสะอาด ถนนวิภาวดีรังสิต 

ปี 2535 ก่อตั้ง บริษัท โสภา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ทุน 10 ล้านบาท

ปี 2536 ก่อตั้งบริษัท ระยองพรอน จำกัด (ปิดกิจการปี 2547) ทุน 1 ล้านบาท และบริษัท ปราณบุรี  จำกัด (ปิดกิจการปี 2547) ทุน 1 ล้านบาท ส่งออกอาหารทะเล

ปี 2538 ก่อตั้งบริษัท อินโด-ไทย ฟู้ด เทรด จำกัด ทุน 10 ล้านบาท ขายสินค้าอุปโภค บริโภค อยู่ในซอยเอกมัย
บริษัท โอแมค ปิโตรเลี่ยม จำกัด (ปิดกิจการปี 2546)  ทุน 1 ล้านบาท ขายน้ำมันเชื้อเพลิง
บริษัท ไอพีดี แลนด์ จำกัด ทุน 46 ล้านบาท รับเหมาก่อสร้าง  (ล้มละลาย 29 พ.ค.2551)

 กิจการเกือบทั้งหมดนายศิริโชคถือหุ้นร่วมกับแม่คือนางเสาวรส โสภา  น.ส.นุชนาฎ โสภา พี่สาว และ นายศิริพจน์ โสภา พี่ชาย  

  ที่น่าสนใจคือนายศิริโชคเริ่มผ่องถ่ายหุ้นให้แม่และพี่ชายตั้งแต่ปี 2541 (เป็น ส.ส.ครั้งแรกปี 2544) 

วันที่ 10 สิงหาคม 2541 โอนหุ้นบริษัท สหะโสภา จำกัด ให้นางเสาวรส 40 หุ้น และ นายศิริพจน์ 39 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10,000 บาท รวม  790,000 บาท และ โอนหุ้น บริษัท โอเวอร์ซีส์ มารีนและห้องเย็น จำกัด ให้นางเสาวรส และ นายศิริพจน์คนละ 5,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท รวม 10 ล้านบาท 

 วันที่ 10 เมษายน 2545 โอนหุ้นบริษัท โอแมค ปิโตรเลี่ยม  ให้นางเสาวรส 2,800 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวม 280,000 บาท  ,โอนหุ้นบริษัท ระยองพรอน  ให้นางเสาวรส 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวม 1 แสนบาท  และ โอนหุ้น บริษัท ปราณบุรี พรอน ให้นางเสาวรส 1,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวม 1 แสนบาท      

นายศิริโชคจึงไม่มีหุ้นในธุรกิจอีกต่อไป  และ แจ้ง ป.ป.ช.ว่าไม่มีแม้กระทั่งรถยนต์ 

 ทั้งนี้ นายศิริโชคยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตอนรับตำแหน่ง ส.ส.วันที่ 22 มกราคม 2551 ระบุว่ามีทรัพย์สินเพียง 2 รายการ คือเงินฝากแบงก์ 1.1 ล้านบาทเศษ ที่ดินในต.ปากพลี จ.นครนายก  1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่เศษ มูลค่า 3 แสนบาท  รวม 1.4 ล้านบาทเศษ  ไม่มีทรัพย์สินอื่น 

  ถ้าเทียบกับ ส.ส.ประชาธิปัตย์ จำนวน 172  คน ทรัพย์สินของนายศิริโชครั้งท้ายอยู่อันดับ 165

  นายศิริโชคระบุว่ามีหนี้สิน 119.2 ล้านบาท จำแนกเป็นหนี้ธนาคารไทยธนาคาร 27.5 ล้านบาท  บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน 31.8 ล้านบาท กองทุนรวมไทยรีสตรัคเจอริ่ง 4 รายการ  59.8 ล้านบาท

  หักลบกลบหนี้มี "หนี้สิน" มากกว่า "ทรัพย์สิน" 117.8 ล้านบาท (เป็น 1 ใน 6 ส.ส. ประชาธิปัตย์ที่มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน)

หนี้สินทั้งหมดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งศาลตัดสินตั้งแต่ปี 2543 - 2546 ซึ่งนายศิริโชคเป็นจำเลยร่วมกับ บริษัท โอเวอร์ซีส์ มารีนและห้องเย็น บริษัท สหะโสภา นางเสาวรส โสภา (นามสกุลเดิม จันทนะปุญญา) นายศิริพจน์ โสภา พี่ชาย และ เครือญาติ รวม 6 ราย 

  จากข้อมูลอาจเห็นได้ว่าครอบครัวนายศิริโชคทำธุรกิจ "ปิโตรเลียม" อยู่ด้วย

ด้วยเหตุนี้กระมังที่ถูกฝ่ายตรงข้ามหยิบมาเป็น"จุดอ่อน"โจมตี

กระนั้นก็ต้องยอมรับความจริง ณ ขณะนี้ ยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย? 


ที่มา : มติชนออนไลน์
**************************************************************

“ให้มาทำงาน ไม่ใช่มาช่วยกันโกง”!!

เอกซเรย์ ฉายรังสี ดูจุดเสื่อมแล้ว เห็นว่า “รัฐบาลอภิสิทธิ์” งาบกันปากมันส์...จน “ลูกพี่นายกฯ” ท่านชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาประชาธิปัตย์ ต้องเอ็ดตะโร จนเสียงหลง???

ประกอบกับ “รัฐบาลร้อยศพ” ไม่มีไอเดียบูรณาการ แก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ..หนำซ้ำ ยังปล่อยให้เหลือบ “ทุจริต-คอรัปชั่น” ในการแก้วิกฤติน้ำท่วม อีกกระทอก

“ผู้คุมอำนาจประเทศไทย” ชักเป็นเตี้ยอุ้มค่อม “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไม่ไหวแล้วขอบอก

จับตาดูช่วงน้ำลง ระหว่างวันที่ ๖-๑๐ เดือนพฤศจิกายนนี้ ให้ดี....ประเทศไทยจะเปลี่ยน “นายกฯคนใหม่?”.. เพราะไม่อาจแก้ชนักติดหลัง “การคอรัปชั่น” ที่เฟื่องฟู!!!

คนที่จะมาเป็นนายกฯ...ก็บูรพาพยัคฆ์หน้าหยก?..ผู้ฝีมือไม่ตก “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไงล่ะเท่าที่รู้???.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ประวัติศาสตร์ให้ “ความจริง”!!!

ขุนศึก นักรบใหญ่ ที่โตกันแบบยกแผง.. สุดท้ายก็ต้องตกเป็น “เป้านิ่ง”??

ในฐานะที่ท่าน เป็นเลือดนักรบ แห่งเตรียมทหารรุ่นที่ ๑๒ อยากให้ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซีซาร์ใหญ่แห่งกองทัพสยาม แลดู เข้าไปในอดีตบ้าง ก็จะดี

“จอมพลถนอม กิตติขจร”, “จอมพลประภาส จารุเสถียร”, “พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร” ครองกองทัพเอาไว้หมด สุดท้ายเหลืออำนาจ ที่ไหนกันล่ะนี่

เหมือนกับ “จปร.รุ่น๕” และ “จปร.รุ่น ๗” ของ “พล.อ.สุจินดา คราประยูร” และ ยังเติร์ก รุ่นใหญ่“พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร” ที่ใหญ่ยกแผง แต่ต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน เมื่อโดนพิชิต

ยามนี้“ตท.รุ่น ๑๒” ใหญ่สุด .ขอเตือนไปยัง. “บิ๊กประยุทธิ์”...อย่าให้เครื่องสะดุด ดับสนิท????

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เป็น “ไอดอล” ต้นแบบชั้นดี!!

ทั้ง “ชวน หลีกภัย”, “บัญญัติ บรรทัดฐาน”..ลอกมาตรฐาน “เทพไท เสนพงศ์” โทรโข่งปากตำแย มาได้เป๊ะ เชียวล่ะพี่

ท่านชวนโบ้ยใบ้ ว่า เสื้อแดงฆ่ากันเอง อย่างปู้ยี่ปู้ย่ำ

พณะทั่นบัญญัติ ก็ฟันธง มหากาพย์ “คลิปฉาว” เรื่องยาว..ของตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นการจัดฉาก เพื่อทำลายกระบวนการยุติธรรม

โดยไม่สนเนื้อหาอันอัดแน่น ด้วยความเจ้าเล่ห์ สร้างหลักฐานเท็จเพื่อปรักปรำคนอื่น?...ไม่น่าเชื่อ “๒ ผู้ยิ่งใหญ่” จะเอาสไตล์ “พ่อค้าแม่ค้าปากตลาด” มาพูดเป็นตุเป็นตะ!!!

“เทพไท”ต้องดีงาม..ไม่เช่นนั้น“ชวน-บัญญัติ”ไม่เดินตาม?...ให้พบความตกต่ำหรอกจ๊ะ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

งานหลวงไม่เคยขาด..งานราษฎร์ ไม่เคยบกพร่อง!!

ชีวิตนี้, ของ “ฉลาด ขามช่วง” สส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ทำงานรับใช้พี่น้อง??

๗ อำเภอ ของจังหวัดร้อยเอ็ด จมเป็นเมืองใต้บาดาล.. ทั้ง จังหาร-เชียงขวัญ-โพธิ์ชัย-ธวัชบุรี-ท่าเขาหลวง และ อาจสามารถ ซึ่งติดกับแม่น้ำชี น้ำจึงหลากจากชัยภูมิ ท่วมไร่นาเสียหายป่นปี้

เสร็จภารกิจ ประชุมสภา วันพุธ -วันพฤหัสบดี แล้ว.. “สส.ฉลาด ขามช่วง” ก็ดิ่งไปช่วยชาวบ้านกันอย่างทันที

ด้วยความเป็น “สส.ติดดิน” รู้ใจชาวบ้านอย่างแน่นแฟ้น..
“ ฉลาด ขามช่วง” จึงเป็นผู้แทนราษฎรมาแล้ว ถึง ๗ สมัยซ้อน!!

เป็นนักการเมือง ที่ไม่ทิ้งประชาชน...จะเลือกตั้งกี่หน?...ก็ติดลมบน เดินเข้าสภาฯแน่นอน

++++++++++++++++++++++++++++++++

ผลงาน “จิบ ๆ”.. หยิบขึ้นมาโชว์ไม่ได้!!

ฝีมือสอบตกด้านการบริหาร สำหรับ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรีเมืองไทย??

รู้ทั้งรู้พื้นที่ ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ๒๙ จังหวัด..เป็นพื้นที่การเกษตร เพาะปลูก ไร่นากันทั้งนั้น...

ไม่ยักหิ้วเอา “ธีระ วงศ์สมุทร” รมว.เกษตรฯ ออกไปพบชาวบ้านคู่กัน

เวลา “อภิสิทธิ์” ไม่ตรวจสภาพน้ำ พบปะชาวบ้าน.. ก็มักจะตีฆ้องร้องป่าว ให้ข้าราชการมาต้อนรับ...กว่าความช่วยเหลือจะไปถึงมือชาวบ้าน ก็สายเกินเพล!!!!

นอกจากทำงานร่วมกับ “รัฐมนตรีเกษตร”ไม่ได้... “อภิสิทธิ”ทำตัวเหลวไหล?..ฝีมือบ่มิไก๊ แถมทำงานไม่เป็น????

***********************************************
คอลัมน์:ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
บางกอกทูเดย์

ทำไมต้องขึ้นศาลโลก

ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ เหล็กใน

กระบวนการการทวงความยุติธรรมของคนเสื้อแดงเริ่มชัดเจนขึ้นแล้ว

หลัง นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของ นปช.ได้ทำรายงานเบื้องต้นส่งถึงอัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ

รายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นายโรเบิร์ตพยายามโน้มน้าวให้อัยการเห็นว่าแม้ไทยไม่ได้ลงสัตยาบันไว้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ

แต่เหตุการณ์การสลายม็อบแดงเมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.ที่ผ่านมาจนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บอีกเกือบสองพันราย ไม่ใช่เหตุการณ์ที่ปกติ

เป็นการใช้อำนาจรัฐในการปราบปรามประชาชน

เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรง

เข้าข่ายขอบเขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ

อีกทางหนึ่ง แกนนำ นปช.นำโดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด 1 ในเหยื่อสังหารหมู่ภายในวัดปทุมวนาราม ได้เข้ายื่นหนังสือต่อตัวแทนของ นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติไปในเวลาไล่เลี่ยกัน

การร้องเลขาฯ ยูเอ็นเพื่อต้องการให้ยูเอ็นหันมาให้ความสนใจต่อคดีปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย

หลักฐานสำคัญที่นายจตุพรมอบให้เป็นซีดีเหตุการณ์สลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.เรื่อยไปจนถึงวันที่ 19 พ.ค.

เป็นซีดีที่ไม่มีการตัดต่อ

เชื่อว่า นายบัน คีมุน จะได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ภาพประชาชนถูกสไนเปอร์กระหน่ำยิงตายศพแล้วศพเล่า

ภาพอาสาพยาบาลถูกยิงดิ้นทุรนทุรายในเต็นท์กาชาด

ภาพนักข่าวต่างประเทศโดนฆ่ากลางถนน

ภาพคนเสื้อแดงใช้หนังสติ๊กยิงสู้กับปืนสงครามของเจ้าหน้าที่ สู้กับรถหุ้มเกราะ

ภาพเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบอยู่บนรางบีทีเอสเล็งปืนใส่ประชาชน

นอกจากคนเสื้อแดงแล้ว ยังมีองค์กรสิทธิมนุษยชนโลก เช่น ฮิวแมนไรต์ วอชต์ ก็ยื่นหนังสือถึงเลขาฯ ยูเอ็นเช่นกัน

เรียกร้องให้ยูเอ็นเร่งรัดให้รัฐบาลไทยตอบรับคณะทำงานของยูเอ็นที่ต้องการเข้าไปสังเกตการณ์การสอบสวนเหตุสลายม็อบในเมืองไทย

เพราะก่อนหน้านี้รัฐบาลนายกฯ มาร์คปฏิเสธข้อเรียกร้อง ดังกล่าว

การเคลื่อนไหวทั้งหมดจะไม่มีผลเลย หากกระบวนการสอบ สวนของไทยเป็นไปด้วยความเที่ยงตรงและโปร่งใส

แต่ที่ผ่านมาเกือบครึ่งปี รัฐบาลไม่ได้สร้างความมั่นใจให้กับญาติพี่น้องของผู้สูญเสียชีวิตเลย

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ขนาดตัวประธานยังบ่นอุบ หน่วยงานรัฐไม่ให้ความร่วมมือ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ก็อืดอาดล่าช้า ล่าสุดยังขยายเวลาการชันสูตร 91 ศพออกไปไม่มีกำหนดเสียอีก

นายกฯ มาร์คที่ประกาศปาวๆ ว่าอยากจะปรองดอง แต่กลับปล่อยให้ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ออกมาตอกย้ำความแตกแยก

กล่าวหาเสื้อแดงฆ่ากันเอง

ทั้งหมดนี้เป็นข้อยืนยันได้ชัดเจนว่าการทวงความยุติธรรม 91 ศพในเมืองไทยไม่มีวี่แววเลยว่าจะบรรลุผล

ทั้งหมดนี้ยังตอกย้ำว่าหนทางเดียวก็คือต้องพึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องพึ่งสหประชาชาติ

ในเมื่อนายกฯ มาร์คยืนยันมาตลอดว่าไม่ใช่คนสั่งฆ่าประชาชน

ก็ต้องยอมรับการตรวจสอบในศาลโลกและยูเอ็น

ยังจะมัวบิดพลิ้วอยู่ทำไม

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คลิปจริงยาว1ชั่วโมง‘จตุพร’พร้อมส่งให้ประธานศาลรธน.

“จตุพร” ระบุมีคลิปที่ไม่ได้ตัดต่อความยาว 1 ชั่วโมงเกี่ยวกับการโกงสอบเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ศาล ภาพเห็นชัดเด็กเส้น 2 ใน 15 คนรับข้อสอบจากใคร แถมยังมีบันทึกคำสารภาพเอาไว้หลังจากสอบเข้าไปแล้วอีกด้วย ยืนยันจะไม่นำมาเปิดเผยเอง พร้อมส่งให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญหากต้องการ ย้ำไม่ได้เป็นคนทำและไม่รู้ใครส่งมาให้ ด้านตุลาการส่ง “จรัญ” ชี้แจง เชื่อทำกันเป็นขบวนการเพื่อกดดันให้ผลคดีเป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ เผยมีการติดต่อทางลับข่มขู่ก่อนคลิปแพร่บนยูทูบแต่ไม่ได้รับการตอบรับจึงปล่อยคลิปออกมา โต้ไม่เคยฝากลูกหลานเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ศาลและไม่มีใครเคยมาสอบแข่งขัน มติตุลาการไม่โต้ผ่านสื่อจะใช้กฎหมายจัดการ มั่นใจทั้ง 9 คนไม่มีใครเป็นโสเภณี “มาร์ค” แย้มผลสอบ ปชป. พบความเชื่อมโยงการเดินทางของคนทำคลิปกับคนอยู่เบื้องหลัง ตำรวจได้หลักฐานครบเตรียมหมายจับ ประสานไอซีทีบล็อกทั้ง 8 คลิปห้ามดู อ้างเพื่อไม่ให้บ้านเมืองวุ่นวาย

วันที่ 1 พ.ย. 2553 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รับมอบหมายจากคณะตุลาการแถลงชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่คลิปเกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า คณะตุลาการมีมติให้เลขาธิการสำนักงานเข้าแจ้งความเอาผิดกับผู้กระทำและเผยแพร่คลิปชุดใหม่ เพื่อเป็นการท้าพิสูจน์ความจริง

คลิปแรกไม่เข้าเป้าจึงมีชุดสอง

“คลิปชุดใหม่ที่เผยแพร่ออกมาสร้างความเสื่อมเสียให้ศาลรัฐธรรมนูญมากกว่าคลิปชุดเดิม ถือเป็นระเบิดอีกลูกที่ต้องการทำลายศาล หลังจากระเบิดลูกแรกไม่เป็นผลเท่าไร การดำเนินการของคนกลุ่มนี้เป็นการทำเพื่อบีบบังคับให้ศาลดำเนินการตามความประสงค์ เป็นการให้ข้อมูลสาธารณะเพื่อข่มขู่ จากการวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นการจัดทำของคนคนเดียวกับที่ล่อนายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มาติดกับในคลิปก่อนหน้านี้ ผู้กระทำการใช้คำถามนำซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าคลิปชุดล่าสุดนี้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างไร เป็นการจงใจวางแผนให้คนที่เป็นคู่สนทนาติดกับเพื่อเก็บข้อมูลไว้บีบบังคับตุลาการที่อยู่ในภาพเหตุการณ์เพื่อให้จำยอมทางคดี และเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่มุ่งทำลายความน่าเชื่อถือตุลาการชุดนี้” นายจรัญกล่าว

อ้างมีเจรจาทางลับข่มขู่ก่อนแล้ว

นายจรัญกล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเจรจาทางลับว่าหากการพิจารณาคดีไม่เป็นไปตามที่กลุ่มนี้ต้องการก็จะเปิดเผยข้อมูลที่ทำเอาไว้เป็นระยะ การข่มขู่ไม่สำเร็จจึงมีการเปิดเผยออกมาเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือโดยใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เช่น กรณีที่บอกว่าโกงข้อสอบ เอาข้อสอบไปให้ลูกดูจนสอบเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ของศาลได้เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งไม่จริง ขอให้ไปดูพยานหลักฐานได้ว่าไม่เคยมีลูกหรือหลานเข้าสอบในครั้งนั้นแต่อย่างใด เป็นการใช้ข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน

“จรัญ” ยังไม่เคยฝากลูกเข้าทำงาน

“ถือเป็นโชคดีที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะได้มีโอกาสชี้แจง ผมมีลูก 4 คน คนโตเป็นทันตแพทย์ คนที่ 2 ทำงานบริษัทกฎหมาย คนที่ 3 เป็นวิสัญญีแพทย์ และคนสุดท้องก็เป็นแพทย์ ลูกผมทั้งหมดไม่เคยมีใครสอบเป็นข้าราชการระดับ 3 ที่ไหนเลย” นายจรัญกล่าวและว่า ในที่ประชุมตุลาการ 2 คนที่ปรากฏภาพในคลิปยืนยันว่ามีข้อมูล พร้อมที่จะพิสูจน์ตัวเอง แต่ไม่ต้องการชี้แจงผ่านสื่อเพราะไม่อยากให้โต้เถียงกันไปมา โดยจะขอไปพิสูจน์กันในกระบวนการของกฎหมาย

ยืนยันไม่มีตุลาการคนใดลาออก

นายจรัญกล่าวว่า เป้าหมายของคนที่ดำเนินการเรื่องนี้คือต้องการบีบให้ตุลาการลาออกจากการพิจารณาคดีสำคัญหรือให้ออกจากเป็นตุลาการไปเลย จึงพยายามเจาะทำลายทีละคน ซึ่งในที่ประชุมไม่มีตุลาการท่านใดบอกว่าจะลาออก และส่วนตัวเห็นว่าไม่จำเป็นต้องลาออก หากออกตอนนี้จะทำให้เกิดกระบวนการใส่ร้ายไปเรื่อยๆเพื่อโค่นล้มศาลรัฐธรรมนูญ จึงอยากขอโอกาสให้ตุลาการที่ถูกกล่าวหาได้พิสูจน์ตัวเอง เมื่อความจริงปรากฏหากมีใครต้องได้รับโทษหรือต้องมีใครลาออกก็ว่ากันไป

ไม่ผิดประมวลจริยธรรมศาล

นายจรัญยืนยันว่า สิ่งที่ปรากฏไม่เป็นการผิดประมวลจริยธรรมตุลาการ เรื่องความเชื่อเราไปบังคับใครไม่ได้ แต่ต้องไม่รับสินบน ไม่รับใบสั่ง หรือสยบสมยอมต่ออำนาจมืด หากใครไปทำเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่ผิดประมวลจริยธรรม แต่เป็นการทรยศต่อกฎหมาย และไม่เพียงเป็นตุลาการไม่ได้ต้องได้รับการลงโทษด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบคลิปใหม่หรือไม่ นายจรัญกล่าวว่า คณะกรรมการของศาลถูกทำลายความน่าเชื่อถือไปหมดแล้ว จึงต้องพึ่งกระบวนการทางกฎหมายเป็นหลัก

ได้ใจทำกับองค์กรอื่นสำเร็จมาแล้ว

“ขบวนการทั้งหมดนี้ปิดล้อมศาลเกือบไม่มีทางออกเหมือนที่เคยสำเร็จมาแล้วกับองค์กรอิสระอื่น แต่โชคดีที่ตุลาการไม่สยบยอม และทำให้เรามั่นใจได้ว่าตุลาการทั้ง 9 คนไม่มีใครขายตัวเป็นโสเภณี” นายจรัญกล่าว

ที่พรรคเพื่อไทย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน แถลงว่า บันทึการสนทนาที่เคยเห็นยาวกว่านี้นานประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อไปอาจมีใครนำมาเผยแพร่อีก

“จตุพร” มีภาพ 2 เด็กเส้นรับข้อสอบ

“ข้อมูลที่ผมได้รับมาไม่รู้ว่ามาจากใคร เพราะตอนไปปราศรัยมีคนเอาซีดีอะไรก็ไม่รู้มาให้เยอะแยะ เมื่อเอามาตรวจสอบดูจึงเห็นเรื่องนี้ เรื่องโกงข้อสอบยังมีภาพบันทึก 2 คน ใน 15 คนที่เป็นเด็กเส้นได้รับข้อสอบก่อนเข้าห้องสอบ เมื่อสอบได้เป็นเจ้าหน้าที่แล้วยังมีการบันทึกภาพและเสียงรับสารภาพว่ารับข้อสอบจากใคร ด้วยวิธีอะไร ผมคงไม่เอามาเปิดเผยแต่อยากมอบให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะได้ไปปัดกวาดบ้านตัวเองให้สะอาด” นายจตุพรกล่าว

วอนผู้เข้าสอบแจ้งความดำเนินคดี

ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวอีกว่า การกระทำของตุลาการและอดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นความผิดอาญาและผิดจริยธรรม จึงอยากให้ผู้ที่สมัครสอบทั้ง 12,000 คน เข้าแจ้งความดำเนินคดี หรืออาจไปฟ้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือศาลปกครองก็สุดแท้แต่ เนื่องจากเป็นการสอบที่ไม่ชอบ

ไม่เคยมีใครบอก “จรัญ” ฝากลูกชาย

“ที่นายจรัญออกมาบอกว่าไม่เคยฝากลูกชายเพราะจบแพทย์ ผมก็ไม่เห็นข้อความในคลิปว่ามีตอนไหนบอกว่านายจรัญฝากลูกชาย แค่บอกว่ามีคนฝากเด็กไว้ 3 คนเท่านั้น และหากนายจรัญจะฟ้องร้องก็ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีกับตุลาการและเลขานุการประธานศาล เพราะเป็นคนที่พูดถึงตัวนายจรัญเอง” นายจตุพรกล่าวพร้อมเรียกร้องให้นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานรัฐธรรมนูญ หรือใครก็ตามที่มีข้อมูลอยู่ในมือนำออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชน และเราต้องชื่นชมว่าคนเหล่านี้เป็นพลเมืองดี เปรียบเหมือนโจรขึ้นบ้านแล้วมีคนถ่ายคลิปไว้ได้ก็นำมาใช้เป็นหลักฐาน หากโจรไปแจ้งดำเนินคดีกับคนถ่ายคลิปแล้วต้องคิดคุกอย่างนี้จะอยู่กันได้อย่างไร

เปิดชื่อตุลาการตั้งลูกเป็นเลขานุการ

นายจตุพรกล่าวอีกว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ตั้งลูกเป็นเลขานุการส่วนตัว กินเงินเดือน 40,000 บาทคือ นายบุญส่ง กุลบุปผา เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้วไม่ค่อยอยู่ประเทศไทยเพราะไปเรียนต่างประเทศ การออกมาอ้างว่าต้องเอาคนไว้วางใจได้มาทำงานก็อยากถามว่าเมื่อตัวไม่อยู่แล้วจะทำงานได้อย่างไร หากออกมาปฏิเสธจะเอาตั๋วเครื่องบินของลูกนายบุญส่งมาแสดงให้ดู

ให้ทำใจเป็นกลางอย่ารีบเชื่อ

ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องทำใจเป็นกลางเพราะยังไม่มีใครรู้ว่าข้อเท็จจริงของเรื่องเป็นอย่างไร จัดฉากกันหรือไม่ คงต้องผลการสอบสวนออกมาก่อน

“สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือเป็นความบกพร่องของการบริหารจัดการในศาลรัฐธรรมนูญที่ปล่อยให้มีเรื่องอย่างนี้ออกมา โดยปรกติคนที่เป็นเลขาส่วนตัวจะไม่ให้เข้าไปยุ่งในที่ประชุมเด็ดขาด” ศาสตราจารย์พิเศษวิชากล่าวและว่า มีคนมาร้องต่อ ป.ป.ช. ให้สอบสวนเรื่องโกงข้อสอบแล้ว ซึ่งเราต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่จำเป็นก็ไม่อยากออกความเห็น

ตำรวจเสนอไอซีทีบล็อก 8 คลิป

ที่กองบัญชาการสอบสวนกลาง (บช.ก.) พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ที่ปรึกษา (สบ 10) พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รอง ผบช.ก. ประชุมร่วมกับพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเกี่ยวกับคดีการเผยแพร่คลิปล็อบบี้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์

พล.ต.ต.ปัญญากล่าวหลังประชุมว่า ได้มอบหมายให้กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้บล็อกคลิปทั้ง 8 คลิป (ของเก่า 3 คลิป ของใหม่ 5 คลิป) เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยนำคลิปที่เผยแพร่ใหม่มารวมเป็นคดีเดียวกันเพราะเป็นเรื่องเดียวกัน

หลักฐานพร้อมขอหมายจับ

“ขณะนี้การรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อจะขออนุมัติหมายจับผู้ดำเนินการพร้อมแล้ว แต่ติดตรงที่สถานะผู้ที่ถูกแจ้งความร้องทุกข์ว่าเป็นตัวการ ผู้สนับสนุนว่าเป็นเจ้าพนักงาน ตามที่เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมาแจ้งความเอาไว้หรือไม่ จึงได้ส่งเรื่องไปให้ฝ่ายกฎหมายสำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณา หากเป็นเจ้าพนักงานต้องส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ” พล.ต.ต.ปัญญากล่าวและว่า สำหรับผู้โพสต์คลิปได้ประสานกับทางยูทูบแล้ว ยังไม่มีคำตอบกลับมาจึงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

“ในส่วนของผู้ดำเนินการนั้นมีหลักฐานพอที่จะออกหมายจับ แต่ทราบว่าได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว” พล.ต.ต.ปัญญากล่าว

“มาร์ค” ให้ชี้แจงตามข้อเท็จจริง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเรามี พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่

“เรื่องของคดีความก็ต้องว่ากันไป เรื่องที่ประชาชนติดใจสงสัยผู้เกี่ยวข้องก็ต้องชี้แจงตามข้อเท็จจริง แน่นอนว่าเป็นความพยายามลดความน่าเชื่อถือของศาล แต่ทั้งหมดอยู่ที่การอธิบาย” นายอภิสิทธิ์กล่าวและว่า หากมีคำตัดสินคดีความอะไรเกี่ยวกับการเมืองก็ต้องอธิบายที่มาที่ไปของคำตัดสิน หากสังเกตระยะหลังศาลจะอ่านคำตัดสินละเอียดมาก

ผลสอบ ปชป. เห็นความเชื่อมโยง

นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า ภายใน 1-2 วันนี้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของพรรคเกี่ยวกับคลิปที่มี ส.ส. ของพรรคเข้าไปเกี่ยวข้องจะส่งรายงานมาให้ ทราบว่าในรายงานจะมีรายละเอียดชัดเจนว่าคนที่ดำเนินการนั้นเดินไปไหนมาบ้างระหว่างดำเนินการ ใช้เวลากี่วัน และอยู่ในประเทศกี่วัน

นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ให้ความเห็นว่า ไม่อยากให้ด่วนสรุปอะไร รอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ดีกว่าว่าอะไรจริง อะไรเท็จ

“ภาพลักษณ์ของศาลรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชนขณะนี้มีหลายมิติ พวกที่ชื่นชมก็ไม่มีปฏิกิริยาอะไร พวกที่ไม่เห็นด้วยก็ออกมาต่อต้าน แต่หากจะถึงขนาดให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญคงไม่ถูกต้อง ควรหาวิธีควบคุมการทำงานมากกว่า เรื่องนี้หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องตัวบุคคล ไม่เกี่ยวกับองค์กร” นายชุมพลกล่าวและว่า คลิปฉาวต่างๆที่ถูกนำออกมาเผยแพร่จะมีผลทางการเมืองหลังเลือกตั้งครั้งหน้าแน่นอน เพราะคงจะมีพรรคการเมืองเอาไปชูเป็นประเด็นหาเสียงว่าจะเข้ามาแก้ไข ส่วนจะทำได้หรือไม่ได้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ที่มา.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้

**********************************************************************

สัมภาษณ์พิเศษ : ผ่าโครงสร้างการเมืองไทย ผ่าน"คลิปฉาว"..ล็อบบี้ยิสต์แห่งอำนาจ

โดย อริน เจียจันทรพงษ์, ทองนากศิริวิ เหล่าวงษ์โคตร
การวิ่งเต้น ล็อบบี้ (Lobby) และการต่อรอง (Negotiate) ในสังคมไทย ความหมายของคำเหล่านี้ที่ผ่านสื่อ ค่อนข้างออกไปในทางลบ เพราะมีการรายงานปรากฏการณ์การวิ่งเต้นตั้งแต่ระดับเล็กไปถึงระดับใหญ่ ตั้งแต่ลูกเข้าโรงเรียนจนถึงงานประมูลโครงการต่างๆ
คนกลาง (Mediator) ที่จะต้องวิ่งเข้าหาเพื่อแลกผลประโยชน์ของตนเองนั้น มักจะเป็น เจ้าพ่อ ผู้ใหญ่ ผู้มีอิทธิพล หรือผู้ที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ

ล่าสุด กรณี "คลิปหลุด" ซึ่งเกี่ยวข้องกับคดีระดับประวัติศาสตร์การเมืองไทย กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีการพูดคุยที่ร้านอาหารแห่งหนึ่งระหว่างเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และคนของพรรคประชาธิปัตย์ จนกลายเป็นเรื่อง ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์

ในเวทีเมืองของนานาอารยประเทศ การล็อบบี้ การผลักดัน (Advocacy) ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง เพียงแต่เงื่อนไขในการล็อบบี้และบริบทของระบอบการเมือง มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมนั้นๆ ด้วย

เวียงรัฐ เนติโพธิ์" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมไทยที่มีตัวกลางทำหน้าที่ขับเคลื่อนกลไกทางการเมือง ได้ช่วยอธิบายถึงกลไกดังกล่าว พร้อมกับฉายภาพให้เห็นความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางอำนาจในขณะนี้...

การล็อบบี้ในสังคมการเมืองไทย อะไรเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลไกนี้แตกต่างกับต่างประเทศ และติดลบตลอด

การล็อบบี้ การผลักดัน (Advocacy) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการเมืองปกติในสังคมพหุนิยม (pluralism) ทั้งกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มธุรกิจ และกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-profit Organization) เช่น กลุ่มสิทธิมนุษยชน กลุ่มสิ่งแวดล้อมจะใช้วิธีนี้ผลักดันประเด็นทางสังคม เขาต้องมีนักล็อบบี้ เพื่อไปผลักดันนโยบายกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ ซึ่งก็ไม่ได้มีความหมายในทางลบ อย่างที่เราเห็นว่าในอเมริกาก็มีอาชีพล็อบบี้ยิสต์ ล็อบบี้ในไทย ในความหมายที่เป็นกลางไม่ใช่ลบก็มี เช่น กลุ่มภาคธุรกิจ กลุ่มเอ็นจีโอ หรือองค์กรที่ทำงานสาธารณะ เช่น สสส. ก็มีการผลักดันสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็พยายามเข้าถึงผู้กำหนดนโยบาย และนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายตัดสินใจ

"การวิ่งเต้น" ก็เป็นอีกคำหนึ่งของการล็อบบี้ ซึ่งมันก็อยู่ในกระบวนการทางการเมืองทุกขั้นตอนของไทย เกี่ยวพันทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับกระบวนการทางการเมืองอื่นๆ เช่น ไปใช้สิทธิลงคะแนน การแสดงความคิดเห็นในเวทีสาธารณะ แถมเป็นส่วนสำคัญสุดของกลไกทางการเมืองของไทยด้วยซ้ำไป การวิ่งเต้นในแบบนี้ไม่จำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบาย แต่การวิ่งเต้นหมายถึงว่าจะเข้าถึง "ใคร" และอ้างอิงถึง "ใคร" ต่างหาก เวลานักการเมืองขององค์กรปครองส่วนท้องถิ่นหาเสียง เขาก็บอกว่า ผมมีความสามารถในการ "วิ่งงบ" เพราะมีความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ในกรม ในกระทรวง หรือแม้แต่ในพรรคการเมืองที่ดูและกระทรวงนั้นๆ ส่วนหนึ่งที่ทำให้ ส.ส.ได้รับความนิยม ก็ดึงบญมาลงในพื้นที่ได้มาก ที่เราบอกว่ามันมีความหมายในทางลบ โดยเฉพาะในสายตาของสื่อ ก็เพราะว่ามันไม่โปร่งใส เราไม่รู้ว่าเขาคุยกันอย่างไร และมองว่ามันอาจจะมีการแลกเปลี่ยนกันโดยที่สังคมไม่อาจรู้ได้ เช่น ผมให้คุณ 50% นะ ถ้าเรื่องนี้ผ่าน หรือรับประกันคะแนนเสียงครั้งหน้าให้ หรือแม้แต่ได้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ซึ่งเรื่องที่ขออาจจะเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจหรือผิดกฎหมายก็ได้ หรือบางครั้งเลวร้ายยิ่งกว่า แต่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือ การต่อรองอาจจะแลกด้วยการปกป้องให้พ้นผิด หรือลบล้างความผิดให้ทั้งๆ ที่เป็นความผิดในทางกฎหมาย ซึ่งอันนี้แตกต่างจากล็อบบี้ในความหมายของประเทศพหุนิยมอื่นๆ
ของไทยไม่ใช่พหุนิยม และคนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนในการเข้าไปตัดสินใจในเรื่องใดๆ กับรัฐด้วย

ใช่ การวิ่งเต้นแบบที่รู้จักใคร หรือ "เส้นใคร" นั้น มันสะท้อนว่า คนกำหนดนโยบาย หรือคนกำหนดตัดสินชะตาของประเทศ มีอยู่ไม่มาก คือ สามารถวิ่งกับผู้ใหญ่บางคน ผู้มีอำนาจบางคน หรืออ้างอิงคนบางคน แล้วก็ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ทำให้สังคมมันข้ามกฎหมายหรือมาตรฐานบางอย่างได้ ซึ่งการล็อบบี้ที่ไม่โปร่งใส ต่อรองแบบที่สังคมรับไม่ได้แบบนี้ สะท้อนว่าการตัดสินใจในการเมืองไทยอยู่ที่คนไม่กี่คน

คนจำนวนไม่น้อยคิดว่านี่เป็นเรื่องวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์

ไม่ใช่ซะทีเดียว ดิฉันเองเชื่อว่าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างอำนาจรัฐกับสังคมมากกว่า คือตั้งแต่พัฒนามาเป็นรัฐสมัยใหม่ รัฐไทยไม่ได้สร้างขึ้นจากกฎหมาย ไม่ได้สร้างรัฐขึ้นมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสังคมแบบปฏิวัติถอนรากถอนโคน ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อการปลดแอกจากอาณานิคม แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้อำนาจรัฐโดยกลุ่มผู้มีอำนาจเป็นแวดวงเล็กๆ เท่านั้น ตั้งแต่สมัยรัฐในแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา จนมาถึงการเปลี่ยนรูปแบบเป็นประชาธิปไตยในปี 2475 คือเริ่มจากการทำให้เป็นรัฐสมัยใหม่ สร้างกลไกระบบราชการ การตัดสินใจอยู่ในวงจำกัด และพัฒนามาเรื่อยๆ มีกฎหมายที่ยุติธรรมขึ้น มีการให้ส่วนร่วมประชาชนมากขึ้น แต่วิธีการปฏิบัติการทางการเมืองก็ยังอยู่ในวงจำกัดเช่นเดิม สังคมแบบนี้ที่มันดำรงอยู่ได้เพราะคนจำนวนมากถูกทำให้อยู่ห่างศูนย์กลางอำนาจรัฐ เป็นโครงสร้างที่มีผู้เกี่ยวข้องกับอำนาจรัฐจำนวนจำกัด และคนเหล่านั้นสามารถที่จะบรรลุผลทางการเมืองได้อย่างราบรื่น เพราะมีผู้มีอำนาจอยู่ไม่กี่คน แต่ปัจจุบันการเมืองไทยมันเปลี่ยนแปลงไปมาก จึงมีความขัดแย้งระหว่างการเมืองแบบเก่าซึ่งขอเรียกว่าแบบสถิต กับ การเมืองแบบที่คนจำนวนมากมีส่วนในอำนาจทางการเมืองผ่านทางการเลือกตั้ง ซึ่งขอเรียกว่าแบบพลวัต
จุดแบ่งของการเมืองแบบนี้คืออะไร และต่างกันอย่างไร

จุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือ กระบวนการเลือกตั้งที่เกี่ยวโยงกับวิถีชีวิตประชาชนกับการกระจายอำนาจ การเมืองแบบเลือกตั้งมันไปเปลี่ยน ไอ้การเมืองที่มีกลไกแบบคนตัดสินใจเพียงไม่กี่คน สิ่งแรกเลยการลงคะแนนเสียงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองที่ตรงข้ามกับการวิ่งเต้น ทั้งจำนวนคน ความโปร่งใส การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร และการมีตัวเลือกมากกว่าหนึ่ง แม้ว่าเราจะยังใช้วิธีการแบบวิ่งเต้นอยู่ในการเมืองแบบนี้ แต่การต่อรองแลกเปลี่ยน หรือการอ้างอิง มันจะต้องพ่วง ฐานคะแนนเสียง จำนวนคนเลือกตั้ง มวลชน อะไรแบบนี้เข้าไปในการต่อรองด้วยเสมอ ส่วนประชาชนก็มีตัวเลือก วิ่งหัวคะแนนคนนี้ไม่ได้ก็ไปวิ่งอีกคน ถ้าครั้งนี้ไม่มีตัวเลือก การเลือกตั้งครั้งหน้าก็ต้องมีตัวเลือก ประชาชนเหล่านั้นจึงเห็นว่าตัวเขาเองเป็นตัวกำหนด ไม่ใช่นั่งรอความปรานีจากผู้มีอำนาจ ผลสำเร็จทางการเมืองที่เห็นได้จากอำนาจของผู้เลือกตั้งคือพลวัตที่สำคัญ อย่างไรก็ดี เมื่อการเมืองแบบพลวัตแบบนี้มันใหม่มากแค่ 10 กว่าปี เทียบกับการเมืองแบบสถิตที่มีมากว่าร้อยปี จึงยังมีคนจำนวนหนึ่งอยากใช้วิธีแบบเก่า เพราะมันเร็ว ราบรื่น ไม่วุ่นวาย สำหรับคนที่มีส่วนในการตัดสินใจ จึงยังคงเป็นแนวโน้มของการต่อสู้ที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้
การล็อบบี้ที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้ระบบการเมืองแบบใหม่ เพราะเงื่อนไขที่ว่าผลประโยชน์มันถูกแบ่งไปที่ประชาชนมากกว่าเดิมหรือเปล่า

แน่นอน เพราะการต่อรองนั้นมันมีการอ้างอิงถึงผลประโยชน์ที่ตกแก่คนจำนวนมาก แม้จะไม่ใช่ผลประโยชน์จำนวนมากนะ แต่มันเกี่ยวกับคนจำนวนมากแน่ๆ กลไกแบบนี้มันไม่ได้เปลี่ยนแบบฉับพลัน มันมีเจรจาผ่านผู้ใหญ่ในแบบเดิมๆ อยู่ แต่ในการเจรจามันจะต้องอ้างอิงถึงคะแนนเสียงด้วย ซึ่งอันนี้แหละที่เรียกว่าพลวัต เพราะมันไม่ได้ง่ายๆ และมั่นคงแบบเดิม มันต้องมีการประเมินมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในที่สุดมันจะนำไปสู่การเจรจาที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่ต้องใช้เวลาระดับหนึ่ง ยกตัวอย่าง เรื่อง การใช้งบประมาณตัดถนน ที่ผ่านการล็อบบี้ของนักการเมือง บริษัทที่ได้งานเป็นของพรรคพวก แต่การก่อสร้างสิ่งสาธารณะ หลักการต้องทำให้ดี เพราะถ้าสร้างไม่ดี 4 ปีข้างหน้าอาจจะไม่ได้รับเลือก นี่ถือว่าเกิดพลวัต ฐานคะแนนเสียง 5 พัน หรือ หมื่นคนถือว่าไม่น้อยถ้าไม่ตอบสนองฐานตรงนี้ การเลือกตั้งภายใน 2 หรือ 4 ปีข้างหน้ามีปัญหาแน่ นี่เป็นคำตอบที่ว่าผลประโยชน์มันถูกแบ่งให้ประชาชนมากกว่าเดิม

อย่างไรเสียการเมืองไทยก็ยังต้องอาศัย"คนกลาง"อยู่ดี

แน่นอน ในความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐกับประชาชน มันมีตัวกลางมาตลอด ตัวกลางคือ ผู้ใหญ่ ผู้มีอิทธิพล เจ้าพ่อ เสี่ย คนที่มีเส้นสายเยอะ ฯลฯ พวกนี้จะทำหน้าที่ตลอดเวลา สมมุติเรามีปัญหาคดีความ เราไม่ได้เดินขึ้นไปโรงพัก ไปคุยกับตำรวจ แต่เรากลับไปต้องคิดจะพึ่งใครได้บ้าง จะหาใครไปช่วยคุยกับตำรวจให้ เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยตัวแทน และต้องรู้ด้วยนะว่าจะพึ่งใครได้ สำหรับ "ตัวกลาง" ที่ถนัดจะทำแบบเดิม ก็ต้องรักษาอำนาจแบบเดิมไว้ กันไม่ให้คนจำนวนมาก เข้าไปมีส่วนร่วมในอำนาจทางการเมืองแข่งกับเขา อำนาจการเจรจาจะต้องไม่ถูกแชร์ไปให้คนอื่น เพราะจะเท่ากับตัวเองสูญเสียอำนาจ ซึ่งการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในทุกระดับ ทำให้ความสัมพันธ์ของคนกลางกับประชาชนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะรู้ว่าเขามีอำนาจในการเลือกคนและแน่นอนเขาเลือกที่จะใช้คนที่เขาพึ่งพิงได้มากกว่าพึ่งพิงคนกลางในระบอบเดิมๆ การเมืองได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตของพวกเขา และประชาชนเริ่มมีอำนาจต่อรองมากขึ้น
กรณีคลิปฉาวของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการพูดถึงการล็อบบบี้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ล่ะ

ในสมัยหนึ่งเราเคยคิดว่าพึ่งศาลได้ เป็นธรรมกับทุกคน เราเคารพในความศักดิ์สิทธิ์นั้น คนไทยเคยต้องการที่พึ่งพิง ที่เป็นอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเหมือนกับศาลเจ้าพ่อ คุณถือธูปเทียนดอกไม้ไปไหว้ คุณไม่รู้ว่าท่านจะให้ประโยชน์อะไร ได้แต่รออย่างมีความหวังว่าท่านศักดิ์สิทธิ์จริงจะดลบันดาลให้เกิดสิ่งที่เราขอได้ ศาลยุติธรรมสมัยก่อนเราก็คิดว่าศักดิ์สิทธิ์ คำตัดสินของศาลเราจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม เราจะไม่ตั้งคำถาม แต่ตอนนี้มันเริ่มเปิดเผยมากขึ้นว่ามันอาจมีอะไรที่ไปทำให้ผลมันเปลี่ยนแปลงได้ คดีเดียวกัน ตัดสินใจคนละแบบ ฉะนั้นจึงเริ่มเสื่อม ความเสื่อมถอยของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หากเกิดขึ้นแล้ว ยากจะกลับไปปลุกเสกให้กลับมาศักดิ์สิทธิ์ได้อีก หากจะฟื้นฟูก็ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมใหม่

เรื่องคลิปที่ว่านี้ มันควรจะเป็นความผิดที่ร้ายแรง เพราะคนที่เป็นคู่กรณีในศาลมาคุยกัน น่าจะเป็นอาญาแผ่นดิน แต่บางท่านบอกว่า คนปล่อยคลิปเป็นอาญาแผ่นดิน เฮ้อ.. (เสียงถอนหายใจ) ถ้าเป็นอยางนี้ ต่อให้มีอีกกี่คลิปก็คงไม่สะเทือน เรื่องนี้ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ในปี 2553 บางคนบอกว่าเป็นการจัดฉาก แต่ดิฉันเห็นว่าจัดฉากยังไง คนที่มีคดีในศาลก็ไม่ควรมาเจอกันและหารือกันอย่างนี้

แล้วเราจะตรวจสอบการ"ล็อบบี้"ได้ไหม

ในสังคมที่ส่วนแบ่งอำนาจอยู่กับคนจำนวนมาก อะไรๆ ก็ไม่ได้มาด้วยการวิ่งเต้นหรือล็อบบี้แบบง่ายๆ มันต้องคุยกันเยอะ ความวุ่นวาย ความไม่ลงตัวก็เกิดขึ้น ไม่รู้จะเอาอะไรตัดสิน ในที่สุดก็ต้องหากฎเกณฑ์ที่ใช้ได้ทั่วไปนั่นคือ กฎหมายที่ใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่เช่นนั้นสังคมอยู่ไม่ได้ การแสวงหากฎระเบียบและกฎหมายที่ใช้ได้แบบมีมาตรฐานเดียวกันเป็นคำตอบว่าทำไมในการเมืองแบบสถิตมันถึงข้ามเรื่องกฎหมายไปได้ เพราะมันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อะไรเป็นมาตรฐานในเมื่อการตัดสินใจมันอยู่ที่ ใคร เป็นคนตัดสินเท่านั้นเอง ถ้าการเลือกตั้งเป็นแหล่งที่มาของอำนาจแบบนี้ การล็อบบี้มันก็เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองแบบนี้ได้ เพราะประชาชนก็ต้องรู้ว่า ทำไมคุณไปล็อบบี้เรื่องนี้ เมื่อสำเร็จแล้วใครจะได้ประโยชน์ เพราะคนผลักดันก็ต้องไปหาเสียงกับประชาชนด้วย เช่น ล็อบบี้ให้เกิดกฎหมายนี้แล้วจะเป็นประโยชน์กับคุณ หรือเราล็อบบี้เพื่อให้เกิดการค้าคล่องตัวเป็นประโยชน์กับสมาคมอุตสาหกรรม แม้ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจ แต่มีผลดีกับคนในวงกว้าง การเจรจาต่อรองมันก็ต้องเปิดเผย และท้ายที่สุดข้อเรียกร้องต่อรองก็จะไม่ใช่สิ่งที่เป็นทางลบหรือไม่ชอบมาพากล เพราะการต่อรองในสังคมที่เปิดกว้างแบบนี้ แม้ว่าผลประโยชน์จะตกกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องมีความพยายามไม่ให้คนจำนวนมากได้รับผลกระทบด้วย หากจะมีเพราะการปกปิดข้อมูลข่าวสาร สุดท้ายก็ต้องถูกเปิดเผยออกมาอยู่ดี

แต่ทำไมแนวโน้มแบบนั้นจึงไม่ค่อยเห็นในสังคมไทย

ก่อนที่เราจะได้เห็นการเมืองแบบนั้น ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กลับมีความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะคงการเมืองแบบเดิมเอาไว้ เพื่อที่คนจำนวนน้อยจะคุมอำนาจได้ เอ็นจอยที่จะใช้การเมืองแบบเดิมอย่างสนุกสนาน ใช้คนไม่กี่คน ...เอ้าไปเรียกนักวิชาการของเรามาซัก 2 คน เอ้าไปเอาประธาน กกต.มาให้ได้ โอ้โห... พูดกันเหมือนพูดในครอบครัวไม่กี่คน หรืองบฯทหารจำนวนมหาศาล ใครตรวจสอบ เรารู้กันหมด แต่เราทำอะไรไม่ได้ เพราะมันไม่ได้อ้างอิงอะไรกับเราเลย
สังคมไทยก็ผ่านกระบวนการเลือกตั้งและมีพัฒนาการด้านประชาธิปไตยมาเรื่อยๆ แล้วทำไมจึงมีแนวโน้มแบบเก่าอีก

ความพยายามที่จะใช้การเมืองแบบสถิตในบริบทที่กลไกการเลือกตั้งมีผลต่อชีวิตของประชาชนจำนวนมาก ทำให้ต้องมีการใช้สถาบันหลักๆ ทางสังคมที่ศักดิ์สิทธิ์ สูงส่ง และแตะต้องไม่ได้ให้เข้ามามีบทบาททางการเมืองให้มากที่สุด เหมือนเอาข้าวสารปลุกเสกมาซัดให้ไพร่ผีแตกกระเจิงออกจากวงจรอำนาจ สถาบันศักดิ์สิทธิ์ที่การเมืองแบบเก่าเอามาใช้ และเป็นปัญหาที่สุดตอนนี้ เช่น ใช้ศาลยุติธรรม ในนามของการ หมิ่นศาล ต่อให้คำตัดสินนั้นกระทบต่อชีวิตประชาชนเพียงไรก็ไม่อาจมีการตรวจสอบหรือเรียกร้องอะไรได้ หรือการใช้สถาบันทางจารีตประเพณี เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันพุทธศาสนา เอามาใช้เพื่อกีดกันประชาชนออกไป ในนามผู้ไม่จงรักภักดี กีดกันนักการเมืองด้วยวาทกรรมที่ว่าคนเหล่านี้ไร้ศีลธรรม คอร์รัปชั่นโกงกิน ใช้กองทัพมาควบคุมความรุนแรง ดังนั้น การเมืองแบบสถิตจึงต้องถูกนำกลับมา

แนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมไทยจะเป็นอย่างไร

ถ้าให้มีการเลือกตั้งต่อไปในบริบทที่อำนาจรัฐกับประชาชนแนบชิดกันแบบที่ผ่านมานั้น แน่นอน มันมีพลวัตมหาศาล แต่มันมีความวุ่นวาย เพราะมีคนมหาศาลที่ต้องการมาต่อรอง มันไม่ง่ายอีกแล้ว นักการเมืองจะแข่งกันมากขึ้น ชาวบ้านก็จะต่อรองหนักขึ้น ยากขึ้น การเลือกตั้งแข่งสูงขึ้น รุนแรงขึ้น แต่ไม่ใช่แบบเดิมที่คนคนเดียวคุมทั้งภาค แต่จะแชร์ แย่งกัน การแข่งจะไม่ใช่แค่เลือกตั้งแล้ว จะแข่งนโยบาย ต้องแข่งให้คนรู้สึกว่า ได้มากกว่าคู่แข่งอีกคน ณ เวลานี้ มันคือการเมืองแบบสถิต กับการเมืองแบบพลวัต กำลังช่วงชิงกัน จากรัฐประหาร กันยายน 2549 เป็นต้นมา การเมืองพลวัตกำลังถูกทำให้อ่อนแอลงเรื่อยๆ ถูกกีดกันออกจากพื้นที่ทางอำนาจ ได้แค่จำนวนคนที่ออกมามากมายแต่ไม่ได้มีส่วนแบ่งในพื้นที่ทางอำนาจ โดยพื้นที่ทางอำนาจกลายเป็นการปิดห้องคุยกันในแบบเดิม และพยายามกดการเมืองแบบเลือกตั้งให้มากที่สุด แต่คนที่โดนกดก็ยอมไม่ได้ คู่ขัดแย้งในเวลานี้จึงกลายเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างอำนาจรัฐกับสังคม ซึ่งไม่ใช่คู่ขัดแย้งที่เท่าเทียมกันเลย
มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดการปะทะกันของคน2กลุ่มนี้ไหม

คำถามนี้น่ากลัวมาก แต่สงสัยจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ (หัวเราะขื่นๆ) มันอาจต้องมีการถอนรากถอนโคนสักครั้งนึง สมมุติว่าถ้าเราเชื่อว่า วัฒนธรรมไทยชอบประนีประนอม มันก็อาจมีทางออกแบบประนีประนอม เจรจาได้ แต่เนื้อหาสาระอาจถอนรากถอนโคนก็ได้ จริงๆ แล้ว การประนีประนอมครั้งสำคัญมีให้เห็นเช่น รัฐธรรมนูญ 2540 ที่หลายฝ่าย หลายกลุ่มพึงพอใจกับการได้มีส่วนร่วม ชนชั้นกลางพอใจที่มี ส.ส.จบปริญญาตรี นักการเมืองก็พอใจที่พรรคการเมืองเข้มแข็ง ทำให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็ง ฯลฯ ซึ่งในรายละเอียดของมันก็ถอนรากถอนโคนโครงสร้างหลายอย่าง และท้าทายการเมืองแบบสถิตมากพอสมควร แต่ถ้าประนีประนอมไม่ได้ ก็คงเกิดการปะทะกัน เพราะขณะนี้ความขัดแย้งมันสูง ฝ่ายหนึ่งไม่มีอำนาจทางการเมืองเลยแต่มีคนจำนวนมหาศาล อีกฝ่ายมีอำนาจจัดการทุกอย่างแล้วไปอ้างอิงกับสถาบัน ..นี่อันตราย การเมืองแบบกล่องดำเช่นนี้จึงเต็มไปด้วยข่าวลือ ความไม่ชอบมาพากล และ conspiracy (การสมคบคิด) นับวันความความขัดแย้งมันก็ยิ่งสูงขึ้นแบบไม่อาจประนีประนอมได้
ความเป็นไปได้ของการปะทะนั้นเพราะคนจำนวนมากไม่อยากกลับไปเป็นแบบเดิม เขาเคยตัดสินอำนาจรัฐด้วยตัวเอง เขาก็ต้องการอำนาจของเขาต่อไป ถามว่า ปรากฏการณ์ที่คนออกมาบอกว่ายอมตายเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งนั้นฟังดูเหมือนโง่ แต่มันเกิดขึ้นแล้ว เขายอมตายเพื่อไม่ให้สูญเสียอำนาจรัฐที่เขามีอยู่ในมือ อำนาจที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของเขาและลูกหลานในอนาคต เราอาจจะต้องเริ่มนับถอยหลังการปะทะกันแล้วมั้ง

นายอภิสิทธิ์และศาลอาญาระหว่างประเทศ

โดย Political Prisoners



หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ด้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ“รายงานเบื้องต้นสถานการณ์ในราชอาณาจักรไทยที่อาจถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” ของสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ พีรอฟฟ์ ซึ่งยื่นในนามของ “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและบุคคลอื่น”

หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว PPT (Political Prisoners Thailand) สงสัยว่าผู้เขียนบทความเคยอ่านรายงานดังกล่าวหรือไม่ เนื่องจากประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาหรือแม้แต่ประเด็นของข่าวในบทความชิ้นดังกล่าว โดยเราจะขออธิบายว่าเหตุใดเราจึงสงสัยเช่นนั้น

ตอนต้นผู้เขียนกล่าวว่า “การประกาศของกลุ่มคนเสื้อแดงและอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในศาลอาญาระหว่างประเทศ นั้นเป็นเรื่องที่น่าตกใจอย่างยิ่งในประเด็นของการบิดเบือนการใช้กระบวนการยุติธรรม”

ในรายงานดังกล่าวระบุชื่อนายอภิสิทธิ์ แต่นายอภิสิทธิ์เป็นเพียงหนึ่งใน “รายชื่อทั้งหมด 15 รายชื่อ ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกคนสำคัญของรัฐบาลและกองทัพ โดยส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูงในศอฉ. และเป็นบุคคลที่คนทั่วไปรับรู้ดีว่ามีส่วนในการร่างนโยบายอันนำไปสู่อาชญากรรมที่ได้อธิบายไว้ในรายงาน”

ผู้เขียนยังกล่าวต่อว่า “ทนายความชาวอเมริกันที่เป็นที่พึ่งพิงและไร้รสนิยมของทักษิณ นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมเป็นผู้ร่างรายงานฉบับนี้ และยังทำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ โดยสรุปคือ นายอัมสเตอร์ดัมยื่นเอกสารดังกล่าวในนามของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อให้ดำเนินคดีต่อนายอภิสิทธิ์”

ในขณะที่เราตั้งคำถามกับประเด็นที่ใช้โจมตีนายอัมสเตอร์ดัม เราจะต้องเข้าใจก่อนว่ารายงานดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ แต่เป็นการทำรายงานเบื้องต้น เพื่อที่จะให้อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศพิจารณา และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การดำเนินคดี ประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันในบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ ดังนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวจึง “อาจจะสามารถที่จะนำเข้าสู่เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะอธิบายในเอกสารอีกฉบับซึ่งจะยื่นในนามของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและบุคคลอื่น อีกภายใน 8 สัปดาห์”

โดยปราศจากข้อโต้แย้งใด ผู้เขียนกล่าวว่า “บุคคลที่มีความคิดอันถูกต้องจะต้องประณามการทำให้กระบวนการยุติธรรมแปดเปื้อนและทักษิณ และจะต้องสั่งให้มีการหยุดดำเนินการดังกล่าว”

เพราะเหตุใด? มันจะทำให้กระบวนการยุติธรรมแปดเปื้อนอย่างไร? คดีดังกล่าวเป็นคดีที่ระบุว่ารัฐบาลไทยกระทำผิดกฎหมาย และบางทีประเด็นของกระบวนการยุติธรรมที่ควรจะถูกตั้งคำถามคือความเสื่อมโทรมของระบบกฎหมายไทยที่ดำเนินมาในระยะเวลาหนึ่งและเมื่อไม่นานมานี้ นายอัมสเตอร์ดัมและทีมงานพยายามดำเนินคดีและแสวงหาความถูกต้องของระบบกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เหมือนกับว่าหาไม่ได้ในประเทศไทย ลองไปถามผู้ที่ถูกพิพากษาจำคุก และถูกดำเนินคดีลับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือถามคนที่ดูวิดีโอของผู้พิพากษาที่กำลังเจรจาต่อรองเรื่องผลประโยชน์ที่ผิดกฎหมาย

ต่อมาผู้เขียนยังพยายามที่จะตำหนิศาลอาญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว “รายงานเบื้องต้น” เผยให้เห็นถึงข้อตำหนิสำคัญในการกระบวนการดำเนินงานทั้งหมดของศาลอาญาระหว่างประเทศ ตามกฎของศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลมีหน้าที่จะต้องพิจารณาเอกสารอย่างจริงจัง เจ้าหน้าระดับสูงในศาลจะต้องพิจารณาข้อหาอันไร้สาระที่ถูกหยิบยกขึ้นโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ บุคคลที่สามซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของโลกในขณะที่การชุมนุมของนปช.เิกิดขึ้น

อันที่จริง นายอัมสเตอร์ดัมอ้างว่าเขาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในขณะที่มีการสลายการชุมนุมครั้งสุดท้ายของกลุ่มคนเสื้อแดงเกิดขึ้น แต่นั้นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือความเห็นกลุ่มรัฐบาลไทยที่โกรธเคืองและคิดว่า การสังหารประชาชนของตนเอง (ครั้งแล้วครั้งเล่า) เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย และคิดว่าศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นมีข้อตำหนิที่พยายามจะพิจารณาข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับความรุมแรงืที่ก่อโดยรัฐบาล
ผู้เขียนได้หยิบยกหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างนี้  “การยื่นคำร้องให้ดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันในข้อหาร้ายแรงอย่างอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ทำให้รัฐบาลทั้งหลายตั้งข้อสงสัยอย่างหนักต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ”

อะไรกัน? จะปล่อยให้อภิสิทธิ์หลุดพ้นความผิดเพราะเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างนั้นหรือ? ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น หลังจากนั้นมีการเพิ่มเติมไปด้วยว่าการสังการพลเรือนนั้นเป็น “เรื่องการเมือง” และยังกล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 114 ประเทศที่ลงนานในบทบัญญัติแห่งกรุงโรม ซึ่งให้อำนาจก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในปี 2545 แต่ประเทศไทยไม่เคยให้สัตยาบันในบทบัญญัติดังกล่าว ผู้เชียวชาญในประเทศไทยเกรงกลัวมานานว่าศัตรูทางการเมืองของตนเองจะใช้ความพยายามอันมีศีลธรรมนี้ในการนำข้อเท็จจริงขึ้นสู่ศาลโลก ประเทศหลายประเทศมีความคิดเห็นเหมือนกัน รวมถึงอเมริกา รัสเซีย อิหร่าน ฟิลิปปินส์และจีน” โดยประเทศที่ไม่ได้ให้สัตยาบันเหล่านี้กระทำอาชญากรรมซึ่งอยู่ในอำนาจการพิจาณาของศาลอาญาระหว่างประเทศหลายครั้ง  อ่านเรื่องราวของสหรัฐอเมริกาได้ที่นี่

อย่างไรก็ตามเราคิดว่าจำนวนของประเทศที่ให้สัตยาบัน แต่ไม่ได้ลงนามมี 35 ประเทศ ไม่ใช่ 114 ประเทศ โดยมี 113 เป็นสมาชิก

ผู้เขียนกล่าวว่า “วัตถุประสงค์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ คือการนำผู้นำเผด็จการที่น่าประณามอย่างที่สุดเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี กระบวนการแซกแทรงควรจะเกิดขึ้นเมื่อประเทศดังกล่าวกำลังจะแตกสลาย มีผู้นำประเทศที่เป็นเผด็จการทรราช และศาลโลกเป็นที่พึ่งเดียวของประเทศ”

ข้ออ้างดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็น “ศาลอิสระและถาวรที่ดำเนินคดีกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดทางอาญาที่นานาประเทศรู้สึกกังวล อาทิเช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม” ซึ่งเป็นศาลตัวเลือกสุดท้าย แต่ประเด็นสำคัญคือ “ศาลจะไม่ดำเนินการใด หากคดีดังกล่าวถูกสอบสวน หรือนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของประเทศดังกล่าวแล้ว นอกเสียจากว่า กระบวนการดังกล่าวไม่มีความแท้จริง อาทิเช่น หากกระบวนการดังกล่าวใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องบุคคลจากความรับผิดทางอาญาเพียงอย่างเดียว ” ซึงเป็นประเด็นที่ถูกอ้างถึงในรายงานเบื้องต้น

จากนั้น ผู้เขียนได้กล่าวอย่างโง่เขลาว่า “มีการแสดงความเห็นขัดแย้งต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมในเดือนเมษายนและพฤษภาคมอย่างมีเหตุมีผล แลยังมีความรู้สึกที่รุนแรง ต่อการที่นายอภิสิทธิ์สั่งสลายการชุมนุม ในวันที่ 19 พฤษภาคม แต่ระบบกฎหมายของประเทศไม่ได้ล้มเหลว นายอภิสิทธิ์จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปปีหน้า” “การอภิปราย” ว่าจะปกปิดการตายของประชาชนหลายรายเป็นการอภิปรายที่ “สมเหตุสมผล”? จริงเหรอ? ข้อโต้แย้งนี้ขัดต่อหลักเหตุผลและกฎหมาย และยังทำให้นึกถึงข้อโต้แย้งที่เกี่ยวกับทักษิณ การเลือกตั้งและการเลือกตั้ง

แต่ประเด็นที่น่าหงุดหงิดคือ ผู้เขียนรู้สึกกังวลว่าการหยิบยกข้อกล่าวหาดังกล่าวต่อศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เป็นวิธีการ “ที่ทำลายเชื่อเสียงของประเทศชาติ” และเป็นการทำร้ายกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยและของนานาประเทศ” และนี่คือประเด็นสำคัญ หนึ่งในเหตุผลที่อภิสิทธิ์ถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือการแก้ชื่อเสียงของประเทศไทยหลังจากรัฐประหารในเวทีโลก ซึ่งที่จริงแล้ว นายอภิสิทธิ์ได้ทำให้ชื่อเสียงประเทศนั้นแย่ลงกว่าเดิม

ผู้เขียนควรจะหยิบยกข้อเท็จจริง ใช้เหตุผลและหลักกฎหมายในการโต้แย้ง แทนที่จะพูดจาเพ้อเจ้อเกี่ยวกับเพื่อนและญาติพี่น้องที่กำลังตกที่นั่งลำบาก

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรื่องที่มากับ น้ำท่วม

โดย:นักวิชาการ ลูกพ่อขุน

จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้ผมได้เห็นอะไรหลายๆอย่าง ที่หลายคนมองข้ามไป วันนี้เลยเอามาเล่าสู่กันฟังเผื่อจะสะกิดใจใครให้รู้สำนึกเสียทีว่าประเทศนี้กำลังเกิดอะไรขึ้น

เริ่มจากคุณหนูอภิสิทธิ์ ที่ร้อยวันพันปีไม่เคยลงพื้นที่เลยเพราะกลัวถูกลอบฆ่าจากใครก็ไม่รู้ที่ยังไม่เคยมีหลักฐานใดๆ ก็ต้องลงพื้นที่เพื่อสร้างภาพพร้อมการ์ดนับร้อย เดินทางลงพื้นที่บอกว่าจะมาช่วยประชาชนที่ประสบอุทกภัย แต่ภาพที่เห็นคือคุณหนู่ท่านก็นั่งอยู่บนเรือยาง สวมชูชีพไม่เปียกน้ำสักนิด คอยโปรยยิ้มให้กับชาวบ้านที่ต้องว่ายน้ำเอาปากคาบดอกไม้มาถวายถึงกาบเรือ น่าชื่นใจจริงๆ พอเรื่องนี้ถูกถามโดยนักข่าวก็ได้รับคำตอบว่าไม่อยากทำเหมือนใคร(ทักษิณ)ผมไม่จำเป็นต้องลง

หลังจากนั้นไม่นานกระแสนายกลูกคุณหนูก็แรงจัดจนคนเริ่มหมั่นไส้ จนกุนซือประชาธิปัตย์ทนไม่ได้ต้องสะกิดหนูอภิสิทธิ์ให้ลงจากสวรรค์มาโปรดชาวโลก เปลี่ยนลุ๊คสวมบู๊ทยาวเก้ๆกังๆลงเหยียบน้ำที่ท่วมระดับไม่ถึงแข้ง แต่ทว่าหน้าตากลับบอกบุญไม่รับกับกลิ่นเน่าของน้ำแต่ต้องทำใจยิ้มสู้ เพื่อฐานเสียง ซึ่งเป็นพื้นที่ตัวเมืองล้วนๆไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ประสบอุทกภัยร้ายแรงเลย

โดยปรกติไม่ว่ายุคใด เมื่อมีอุทกภัยสิ่งที่เราจะเห็นกันเป็นประจำคือผู้นำประเทศจะสั่งกองกำลังทหาร ออกมาช่วยเหลือประชาชนอย่างขันแข็ง ด้วยทหารมีเครื่องไม้เครื่องมือครบ แต่สำหรับคราวนี้เราแทบไม่เห็นบทบาทของทหารอย่างที่ควรจะเป็นเลย กลับเป็นสื่ออย่าง ช่อง 3 ที่กลายเป็นแม่ข่ายใหญ่ที่ดูและช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ(อันนี้ต้องขอชื่นชมจากใจจริง)

ความจริงในหน่วยทหารมีทั้งรถสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ยานยนต์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก(หรือที่เราเรียกว่าโฮเวอร์คราฟ) เรือปฏิบัติการขนาดเล็ก(เจ็ทสกีหรือเรือยาง)เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นหน่วยงานทหารมีเป็นร้อยๆ ซึ่งยานยนต์พวกนี้สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ได้แม้จะเป็นพื้นที่เสียงแค่ไหนก้ตาม แต่เราก็ไม่เห็นมาวิ่งสักลำกลับจอดสงบนิ่งอยู่ในกรมกอง แม้แต่ในเขตจังหวัดทหารแท้ๆก็ไม่พบออกมาเลย เมื่อนักข่าวสายทหารถามประเด็นนี้กับทหารชั้นผู้ใหญ่ ก็ได้รับคำตอบว่าทหารไม่มีงบฯจึงไม่สามารถจัดเครื่องมือดังกล่าวไปช่วยชาวบ้านได้

ฟังดูก็น่าแปลกใจมิใช่น้อย ทั้งที่กลาโหมได้งบแบบกินเรียบจากการถวายของรัฐบาลหนูอภิสิทธิ์แล้ว เหตุใดกลับบอกว่าไม่มีงบประมาณอีก แล้วเงินที่ได้ทหารเอาไปใช้อะไรกันหมด ทั้งที่ความจริงก็ปรากฎกับสังคมว่าทหารสามารถนำยานยนต์ทหารพวกนี้ไปซ้อมรบกับต่างชาติ หรือแม้แต่ส่งไปช่วยประเทศแถบแอฟริกาปราบโจรสลัดแบบฟรี

ที่แย่สุดๆคือ สามารถเอากำลังทหารออกมาล้อมกรอบประชาชนและไล่ฆ่าที่ราชประสงค์ได้เป็นเดือนๆ มาตอนนี้ตอนที่กระทรวงกลาโหมได้งบประมาณมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ตอนที่ประชาชนตาดำๆต้องทนทุกข์กับอุบัติภัยร้ายต้องการทหารมากที่สุดครั้งหนึ่งก็ว่าได้ กลับบอกว่างบประมาณไม่มี การจะนำยานยนต์ทหารมาช่วยชาวบ้านตาดำๆที่กำลังรอความช่วยเหลือจึงเป็นไปไม่ได้อย่างนี้มันเหมาะควรหรือ

ยังดีที่สังคมไทยยังไม่แล้งน้ำใจไปซะหมด เราจึงเห็นภาพเจ็ทสกีของพลเรือน ลากเรือขนของเข้าไปช่วยชาวบ้านกันในหน้าข่าว แต่มันน่าเสียใจตรงที่กลายเป็นภาคเอกชนที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือพี่น้องที่มีทุกข์
แทนที่จะเป็นภาครัฐ เป็นเรื่องดีที่แย่ที่ต้องเห็นประชาชนช่วยกันเอง ที่บอกอย่างนี้เพราะหากรัฐบาลเข้มแข็งคงสามารถจัดการปัญหาได้ดีกว่านี้ ไม่ต้องรอให้คนในประเทศออกมาช่วยกันเอง

ในระบอบประชาธิปไตยเราเลือกตั้ง ส.ส.เพื่อเข้าไปดูแลบริหารประเทศ เมื่อประชาชนเดือดร้อนจึงเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ต้องเข้าช่วยเหลืออย่างสุดความสารถ หากวันนี้เรามีรัฐบาลแต่พึ่งไม่ได้กลับต้องมาช่วยกันเองเมื่อเกิดทุข์ แล้วรัฐบาลก็คอยปรบมือให้ ลองคิดดูดีๆซิว่าเราจะมีรัฐบาลแบบนี้ไปทำไมกัน

******************************************************

‘อภิสิทธิ์’หมดอำนาจก็กลายเป็น‘อาชญากร-ฆาตกร’

นายสิงห์ทอง บัวชุม นักวิชาการอิสระที่มีดีกรีนิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ถือเป็นนักวิชาการที่มีมุมมองน่าสนใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทยคนหนึ่ง โดยเฉพาะการสะท้อนภาพการเกาะเกี่ยวอำนาจและผลประโยชน์ของรัฐบาลและทหาร

การเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน

การเมืองภาพใหญ่วันนี้ต้องยอมรับว่าเมื่อมีการวางกรอบของกลุ่มอำนาจเก่าที่ต้องการให้พรรคการเมืองอ่อนแอประสบผลสำเร็จ คือหลายพรรคการเมืองอ่อนแอลงไปมาก หลายพรรคการเมืองเมื่อเข้าไปเป็นรัฐบาลผสม รัฐบาลก็จะไร้ประสิทธิภาพ ไร้เอกภาพ มีก๊กมีเหล่า มีกลุ่มต่อรองเรื่องอำนาจและผลประโยชน์ในแต่ละกระทรวง ทบวง กรม วันนี้เราเห็นความชัดเจนว่ามีข่าวการทุจริตคอร์รัปชันในแต่ละกระทรวง ขณะเดียวกันก็มีข่าวการซื้อขายตำแหน่งในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการหลายกระทรวง รวมไปถึงการเล่นพรรคเล่นพวกที่เป็นข่าวคราวจนทำให้เกิดความเสียหายกับราชการมากที่สุดคือตำรวจและกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเห็นชัดเจนมากที่สุด เพราะสมัยนี้กลายเป็นใครเป็นพวก ใครยอมสยบให้ก็เอามาเป็นปลัด เป็นอธิบดี เป็นผู้บริหารระดับสูง อย่างปัญหาการตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น

วันนี้รัฐบาลกำลังถูกระแสสังคมกดดัน ไม่ว่าจะเป็นสีไหนก็ตาม สีแดง สีเหลือง หรือสีที่เป็นกลางเยอะที่สุดก็ไม่พอใจเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน เพราะแต่ละกระทรวงเกิดปัญหาทุจริตเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงการไทยเข้มแข็ง โครงการชุมชนพอเพียง โครงการต้นกล้าอาชีพ โครงการในกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข วันนี้รัฐบาลทำได้แค่การตัดตอนเท่านั้น เช่น โครงการชุมชนพอเพียงก็มีแค่นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรีที่ลาออกไปเท่านั้น แล้วเรื่องก็จบ

ขณะเดียวกันในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยก็มีข่าวเรื่องการทุจริตมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคม คนในรัฐบาลพูดเองเรื่องการทำงานที่ส่อไปในทางไม่สุจริตหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นข้าว มันสำปะหลัง ถนนไร้ฝุ่น เครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดจีที 200 การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอและการโยกย้ายนายตำรวจ

เมื่อภาพเป็นเช่นนี้กระแสสังคมก็โหมไปที่รัฐบาลว่าไม่สามารถจัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ พรรคประชาธิปัตย์เองก็เกรงว่าจะส่งผลต่อการเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องผลักเรื่องการทุจริตทั้งหมดออกไปให้พรรคภูมิใจไทยที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพราะตัวเองต้องการเป็นนายสะอาด และพรรคภูมิใจไทยก็มีภาพไม่ดีนัก เมื่อประชาธิปัตย์เล่นเกมสาดโคลนมาเช่นนี้ก็ไม่กล้าทำอะไรมากเพราะตัวเองยังไม่พร้อมจะเลือกตั้งเช่นกัน แต่ต้องการสร้างภาพประชาธิปัตย์ว่าเป็นพรรคมือสะอาด จึงคิดการใหญ่โดยเขี่ยภูมิใจไทยออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดทั้งปวงเพียงเพราะต้องการกวาดบ้านตัวเองก่อนจะเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง

ภาพในขณะนี้คือการออกโฆษณาโครงการของประชาธิปัตย์ โครงการซูเปอร์ประชานิยม มีการทำการตลาด ติดรูปนายอภิสิทธิ์และรัฐมนตรีต่างๆทั่วประเทศ นี่คือสัญญาณที่ออกมาว่าจะมีการเลือกตั้งกันแล้ว ในขณะเดียวกันทหารก็เริ่มไม่ไหวกับการเป็นไม้ค้ำให้รัฐบาลนี้ คือหมดแล้วซึ่งความอดทนกับรัฐบาลนี้ เพราะทหารก็มองว่ารัฐบาลชุดนี้มีแผลใหญ่เรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน

ขณะเดียวกันพรรคภูมิใจไทยก็ส่งสัญญาณเรื่องการปกป้องสถาบัน ซึ่งแน่นอนว่าคนไทยไม่ต้องการให้คนไปยุ่งกับสถาบัน นี่คือเรื่องที่คนไทยให้ความสำคัญมาก

มองคดียุบพรรคอย่างไร

วันนี้ไม่ว่าผลการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร จะยุบหรือไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ สุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์ก็จะพบกับวิบากกรรมของตัวเองอยู่ดี เพราะวันนี้ประชาธิปัตย์จะมาอ้างถึงการจัดฉาก มัวแต่มาถามกันว่าใครจัดฉาก มันไม่ใช่เรื่องของการจัดฉาก แต่เป็นเรื่องของเนื้อหาในการพูดคุยกันมากกว่า เพราะในข้อเท็จจริงนั้นคุณไปล็อบบี้ศาลหรือเปล่า เมื่อก่อนคุณเคยบอกว่ามีการล็อบบี้ศาลให้มีการยกเลิก กกต. แต่วันนี้คุณวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นทั้งทนายความ เป็นคนที่เกี่ยวข้องกับคดี ทำไมต้องไปพบเจ้าหน้าที่ระดับสูงของศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ผลการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าจะยุบหรือไม่ยุบประชาธิปัตย์จึงน่าจับตามองมากที่สุด หากตัดสินว่าไม่ยุบผมมองว่าพี่น้องคนเสื้อแดงคงจะลุกฮือทั้งประเทศ และเกิดความรุนแรงทางการเมืองอย่างแน่นอน เพราะเขาเชื่อว่าเป็นเรื่อง 2 มาตรฐาน

แล้วถามว่ากรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์รู้หรือไม่ อันนี้อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์จะตัดสินเพราะเชื่อว่าสุดท้ายคนผิดก็จะเป็นนายวิรัช ร่มเย็น คนเดียว เหมือนกับกรณีของนายทศพล เพ็งส้ม ส.ส.นนทบุรี ที่ไปรับเอกสารหลังจากเลิกทำงานของเจ้าหน้าที่ศาลแล้ว ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องตัดตอน เรื่องของคลิปเป็นเรื่องการตรวจสอบว่าใครทำอะไรบ้าง ไม่ใช่มาไล่จับคนที่เปิดเผย แล้วจะอยู่กันอย่างไรในเมื่อมีความพยายามโยนความผิดให้คนอื่น

ขณะเดียวกันความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ใช่ไม่มี มีเหมือนกัน เพราะในขณะที่กลุ่มผลัดใบหรือกลุ่มผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์เองก็ไม่พอใจกลุ่มทศวรรษใหม่ที่มักจะทำอะไรข้ามหน้าข้ามตา หากมีการยุบพรรคเกิดขึ้นอาจมีการเอาคืนจาก ส.ส. รุ่นใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ เพราะที่ผ่านมาก็ไม่ได้รักกันดูดดื่มนัก นายอภิสิทธิ์เองก็ไม่ได้มีคนรักมากนักในประชาธิปัตย์

ข่าวลือทหารเตรียมปฏิวัติเป็นเช่นไร

อยากจะเตือนไปยังทหารเหมือนกันว่าหากคุณปฏิวัติเมื่อไร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ลำบากแน่ เพราะวันนี้นอกจากคนเสื้อแดงที่ออกมาเรียกร้องเรื่องประชาธิปไตยแล้วยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการทำปฏิวัติ ซึ่งคนเหล่านี้จะออกมาทันที เพราะเรื่องประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่ไม่มีใครยอมรับง่ายๆ ซึ่งการปฏิวัติที่ผ่านมาก็ทำให้เราล้าหลังไปมากแล้ว อย่าคิดว่าประชาชนจะยอมให้ทหารทำเช่นนี้อีก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาก่อนจะล้อมปราบประชาชนก็มีข่าวออกมาว่ามีนายทหารระดับสูงของกองทัพบกคนหนึ่งมีความกระสันจะใช้กฎอัยการศึกปราบปรามคนเสื้อแดง มีความพยายามที่จะทำทุกวิถีทาง แต่สุดท้ายก็ทำไม่ได้ ทำให้นายทหารคนนั้นผูกใจเจ็บมาจนถึงวันนี้ นี่คือสาเหตุของการใช้กำลังทหารกับอาวุธสงครามในการปราบปรามคนเสื้อแดง ส่งผลให้คนไทยกับทหารใช้อาวุธเข่นฆ่ากันจนเสียชีวิต 91 คน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน ก็มาจากนายทหารระดับสูงคนนี้เช่นกัน

ข้อกล่าวหาไม่จงรักภักดี

เรื่องการกล่าวหากันว่าไม่จงรักภักดีเป็นการกระทำที่เลวร้ายที่สุด เพราะกล่าวหากันโดยไม่มีหลักฐาน หากเรามองย้อนกลับไปจะพบว่าบรรดาคนเก่งของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นายปรีดี พนมยงค์ ต่างก็โดนใส่ร้ายทั้งนั้น มาจนถึงท่านนายกฯทักษิณก็ไม่ต่างกัน เฉกเช่นเดียวกับการใส่ข้อกล่าวหาว่าก่อการร้ายให้กับนายบิน ลาดิน เลยทีเดียว

การตายของคนเสื้อแดงจะมีคำตอบหรือไม่

ขอพูดความจริงว่าตอนนี้เรากำลังทำทุกอย่างเพื่อให้ความจริงปรากฏออกมา และที่สำคัญ 6 ศพที่ตายในวัดปทุมวนารามฯถึงวันนี้ยังไม่มีการเผา ยังคงเก็บศพไว้เพราะยังไม่มีการชันสูตรพลิกศพ ที่ผ่านมามีการดำเนินการคืออัยการทำเรื่องส่งไปที่ศาลบอกว่าให้ตัดสินเพื่อชันสูตรพลิกศพ แต่ศาลบอกว่าไม่ใช่อำนาจศาลจึงส่งเรื่องกลับมาที่อัยการ ตอนนี้เรื่องอยู่ที่อัยการก็ยังไม่มีคำตอบออกมาว่าจะมีการชันสูตรกันเมื่อไร ศพที่อยู่ตรงนี้จะกลับมาเล่นงานรัฐบาลในเรื่องของการใช้กำลัง ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่าอัยการจะดึงเรื่องไว้เช่นไร

ที่รัฐบาลออกมาบอกว่าคนเสื้อแดงยิงกันเอง อันนี้รัฐบาลยังไม่สามารถหาหลักฐานมาโยงกับเรื่องเหล่านี้ได้ เป็นการกล่าวอ้างกันลอยๆเท่านั้น แต่วันนี้รัฐบาลมามุขใหม่พยายามจะโยนว่าเป็นการยิงของคนชุดดำ ถามว่าวันนี้รัฐบาลมีทั้งอำนาจ มีทั้งสรรพกำลังทุกอย่าง แต่ยังไม่สามารถเอาคนชุดดำมาดำเนินการได้เลยแม้แต่คนเดียว รวมทั้งกรณีการเผาอาคารที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมรัฐบาลก็บอกว่าคนเสื้อแดงเผา แต่อยากจะบอกว่าในความเป็นจริงการเผาอาคารขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่ใช่ใครก็ทำได้ เพราะต้องมีการเตรียมการ เตรียมความพร้อม ที่น่าสังเกตคือทำไมอุปกรณ์การเผาถึงไปอยู่ข้างบนอาคารได้ ต้องมีการเตรียมการมาอยู่แล้ว ผมกล้าพูดเลยว่าเรื่องที่เกิดขึ้นมาจากคำที่ว่า “คนเสื้อแดงเผายาง รัฐบาลเผาเมือง”

ทำไมต้องใส่ร้ายคนเสื้อแดง

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าทั้งโทรทัศน์ วิทยุที่เป็นสื่อของรัฐบาลได้โจมตีคนเสื้อแดงมาโดยตลอด แม้แต่ทีวี.ของกลุ่มเสื้อเหลืองเองก็ออกมาโจมตี ซึ่งผมเคยออกมาบอกว่าที่ผ่านมาสื่อของรัฐบิดเบือนกล่าวหาคนเสื้อแดงมาตลอด ในขณะเดียวกันก็มีการฉายภาพความโหดร้ายของคนเสื้อแดง ทั้งๆที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จนถึงวันนี้รัฐบาลจับมือคนเผาได้หรือไม่ ไม่ได้เลยสักคน แต่ภาพที่คนเสื้อแดงถูกยิงตายกลับไม่มีเลยที่จะไปจับภาพตรงนั้น

การทำเช่นนี้เป็นเหมือนการจ้องจะทำให้คนเสื้อแดงเป็นผู้ร้าย รัฐบาลเป็นพระเอก ทหารเป็นอัศวินอย่างนั้นหรือ คนเสื้อแดงไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่ลูกหลานไทย ไม่ใช่คนอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มองว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่คนไทยเช่นเดียวกับคนเสื้อเหลืองอย่างนั้นหรือ เพราะคนเสื้อแดงรัฐบาลจับติดคุกหมด แต่คนเสื้อเหลืองแม้แต่จะออกหมายเรียกยังลำบากเลย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะให้ไม่มองว่าเป็น 2 มาตรฐานได้อย่างไร

เชื่อหรือไม่ที่ทหารบอกว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์

กรณีที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก บอกว่าไม่มีการใช้ปืนสไนเปอร์ในปฏิบัติการกระชับพื้นที่ล้อมปราบปรามคนเสื้อแดง ผมบอกเลยว่าเรื่องแบบนี้เช็กได้ไม่ยากหรอก เท่าที่ผมรู้ความจริงคือในส่วนของกองทัพมีกองกำลังชุดดำทั้งชุดประมาณ 120 คน ซึ่งทางกองทัพเรียกว่าหน่วยล่าสังหาร ชุดซุ่มโจมตี หรือหน่วยสไนเปอร์ ซึ่งการทำงานของหน่วยนี้ไม่ใช่ในแนวราบ แต่เป็นการซุ่มอยู่บนอาคารสูงบริเวณที่มีการชุมนุม คนที่จะขึ้นไปอยู่ในอาคารสูงได้จะเป็นใครนอกจากเจ้าหน้าที่รัฐ โดยดูได้จากการยิง พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล ก็เป็นการยิงมาจากอาคารสูงเช่นกัน

กรณี 11 นักรบเสื้อแดงเป็นอย่างไร

เป็นการจัดฉากที่ทำเป็นขบวนการ มีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นตัวเดินเรื่อง เพราะขณะนี้ดีเอสไอเป็นองค์กรที่คอยรับใช้รัฐบาลในทุกกรณี เปรียบเสมือนว่าดีเอสไอเป็น (...) รับใช้รัฐบาลอย่างไม่ต้องสงสัย องค์กรนี้ทำตัวเองให้หมดความน่าเชื่อถือ ทั้งที่ผ่านมามีการมองกันว่าดีเอสไอประหนึ่งองค์กรเอฟบีไอเหมือนอเมริกา แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะเอฟบีไอไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ เขามีอำนาจในการสอบสวน สืบสวนเรื่องทุกเรื่องอย่างอิสระ แต่วันนี้ดีเอสไอโดยเฉพาะอธิบดีไปรับใช้รัฐบาลทุกเรื่อง แม้แต่กรณีที่มีพลเรือนเอาสถานที่ของดีเอสไอไปแถลงข่าวเรื่องความสัมพันธ์กับดารา อย่างนี้มีที่ไหน ที่สุดดีเอสไอใครจะไปเชื่อถือ ทุกวันนี้คนในองค์กรนี้หมดความเชื่อถือในตัวผู้บริหารแล้ว

เรื่อง 11 นักรบแดงหากทำผิดจริงทำไมไม่ดำเนินการ คุณนำเขามาไว้เป็นพยานทำไม เพื่อจะจัดฉากให้มีการใส่ร้ายคนเสื้อแดงเท่านั้นหรือ ถ้ามีการทำผิดจริงคุณต้องดำเนินคดีจนถึงที่สุด และต้องมีพยานหลักฐานจริง แต่วันนี้คุณปิดบังทุกอย่าง

ข้อแตกต่างระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง

เสื้อเหลืองออกมาบอกว่าจะกู้ชาติ ทหารจึงอำนวยความสะดวกเต็มที่ ทุกสิ่งทุกอย่าง ในขณะที่คนเสื้อแดงออกมากลับถูกไล่ล่า ถูกฆ่าตายกลางถนน ทั้งๆที่พวกเขามือเปล่า ภาพข่าวที่ออกมาก็ชัดอยู่แล้วว่าคนเสื้อแดงไม่มีอาวุธ ที่สำคัญคนเสื้อแดงคือผู้ถูกกระทำจากอำนาจรัฐโดยตรง ต่างกันตรงนี้ คนเสื้อเหลืองคือส่วนหนึ่งของรัฐบาลนี้ คนเสื้อแดงไม่ใช่ ฉะนั้นอย่าเอามาเทียบกัน มันคนละเรื่อง

2 มาตรฐานส่งผลร้ายอย่างไร

เรื่อง 2 มาตรฐานเลวร้ายมาก ทั้งๆที่ตามรัฐธรรมนูญต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน นายอภิสิทธิ์บอกว่าใช้นิติรัฐในการบริหารประเทศ แต่วันนี้นิติรัฐกำลังหมดความน่าเชื่อถือลงไป เมื่อไม่มีการดำเนินการเรื่องของความยุติธรรมให้บังเกิด ชาวบ้านก็รับไม่ได้กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ วันนี้คุณกำลังใช้อภิสิทธิ์ ใช้กำลัง เอานิติรัฐไปรังแกคน เอานิติรัฐไปไล่ล่าคนอื่นที่ไม่ใช่พวกคุณ เอานิติรัฐจับคนขังคุกโดยไม่มีการสอบสวน เรื่องแบบนี้วันหนึ่งเมื่อคุณไล่ล่าเขาจนเข้ามุมอับ เมื่อนั้นเขาจะลุกขึ้นและหันกลับมาต่อสู้ นี่คือความจริง หากไม่หยุดจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะคำว่า “หมาจนตรอก” ก็ต้องสู้เพื่อเอาตัวรอด ดังนั้น การสะท้อนกลับของความยุติธรรมจะแรงมาก

มองนายกฯอภิสิทธิ์อย่างไร

ต้องบอกว่าหมดหวังในตัวนายอภิสิทธิ์ เพราะเป็นคนที่ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่มีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ แค่จะตั้งคนเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังทำไม่ได้ การบริหารราชการภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์จึงล้มเหลวไม่เป็นท่า มีแต่การทุจริตคอร์รัปชันเต็มไปหมด ภาพของการแก่งแย่งชิงดีมากเสียจนคนมองแล้วน่าสมเพชรัฐบาลมากกว่าชื่นชม เพราะรัฐบาลยิ่งบริหาร ชาวบ้านยิ่งจน ขณะที่คนที่อยู่ในกลุ่มก้อนการเมืองรวยขึ้น หมายถึงรวยกระจุก จนกระจาย ไม่รู้บริหารงานแบบไหนเหมือนกัน ส่งผลให้กระแสของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงอย่างหนัก จนไม่กล้าแม้แต่คิดจะยุบสภา แต่เชื่อว่าไม่น่าจะอยู่ครบเทอม เพราะกระแสการกดดันจากประชาชน

ส่วนที่มีข่าวว่าจะมีการเลือกตั้งนั้นขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะทำอะไรให้กลุ่มอำนาจเก่าไม่พอใจหรือไม่ ซึ่งต้องยอมรับว่าอำนาจนอกระบบยังยิ่งใหญ่ เมื่อเป็นแบบนี้จะส่งผลร้ายกับประเทศไทยมาก จนผู้ใหญ่คนหนึ่งถึงกับเอ่ยออกมาว่า “ผมไม่รู้ว่าผมอาจตายก่อนที่จะเห็นประชาธิปไตยในประเทศไทยหรือเปล่า” เพราะทุกวันนี้ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นช่องว่างรัฐบาลกับทหารที่อาศัยกดหัวประชาชนเท่านั้น

มองรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างไร

ยอมรับว่าที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญทำให้รัฐธรรมนูญปี 2550 สร้างเผด็จการขึ้นมามาก เช่น วันนี้หากคิดย้ายนายพลสักคน ถามว่าทำได้หรือไม่ ตอบเลยว่าทำไม่ได้ เพราะต้องเอาเรื่องเข้าสภากลาโหม คนเป็นนายกรัฐมนตรียังย้ายไม่ได้เลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเขียนกฎหมายขึ้นมาเพื่อเป็นข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน คนที่เขียนกฎหมายก็ทำเพื่อคนชั้นนั้น ซึ่งคนที่ร่างจะได้ประโยชน์มากที่สุด ตราบใดก็ตามที่ยังมีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ประเทศไทยไม่มีทางได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยแน่ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 เขียนขึ้นมาสืบทอดอำนาจเผด็จการของกลุ่มอำมาตย์ให้ยาวนานต่อไป

ทหารยังพร้อมทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลหรือไม่

ผมเชื่อว่าวันนี้ทหารยังพร้อมที่จะโอบอุ้มรัฐบาล หากเขาอุ้มรัฐบาลนี้จะไม่ออกมาทำปฏิวัติหรอก แต่เมื่อใดก็ตามที่อำนาจทหารมองว่านายอภิสิทธิ์เป็นอะไหล่ที่เสื่อมสภาพแล้ว วันนั้นก็จะมองหาอะไหล่ตัวใหม่เข้ามาเปลี่ยน แต่มีข้อแม้ว่าทหารยังคงเป็นคนคุมเกมเช่นเดิม

นายอภิสิทธิ์จะอยู่อย่างไรหากไม่เป็นนายกฯ

นายอภิสิทธิ์จะกลายเป็นอาชญากร เป็นฆาตกรที่เข่นฆ่าประชาชน ต้องขึ้นศาลโลก ศาลอาญาระหว่างประเทศแน่นอน วันนี้คนเสื้อแดงก็ดำเนินการตามกฎหมายทุกอย่าง แต่ผลที่ออกมาคือช้าและมีการดึงเรื่อง วันนี้คนเสื้อแดงกำลังฟ้องทางแพ่ง คือเรียกร้องความเสียหายส่วนบุคคลทั้งหมดมากกว่า 2,000 คดี ซึ่งจะฟ้องเรื่อยไปจนกว่านายอภิสิทธิ์จะหมดอำนาจ และหลังจากนั้นจะฟ้องอาญาทันที ผมเชื่อว่าหลังลงจากอำนาจแล้วคนอย่างนายอภิสิทธิ์ไม่น่าจะอยู่เมืองไทย จะต้องไปต่างประเทศสักระยะตามแผนที่วางเอาไว้ เพราะหากยังอยู่ในประเทศไทยนายอภิสิทธิ์จะเดินไปไหนมาไหนได้หรือเปล่า ต้องไม่ลืมว่าในวันที่มีอำนาจคุณทำกับเขาไว้อย่างไร ดังนั้น เมื่อคุณไม่มีอำนาจเขาก็จะเอาคืนกับคุณเช่นกัน

ไม่ต้องดูอะไรมาก วันนี้แค่ไปตรวจน้ำท่วมยังต้องระดมทั้งทหารตำรวจนับพันไว้คอยคุ้มครอง คนเราหากทำดีกับพี่น้องประชาชนหรือเป็นคนดีจริงคงไม่ต้องใช้คนมากขนาดนี้ ไม่ต้องแสดงความกลัวตายให้เห็นเช่นนี้ เลยเป็นเรื่องของความกลัว บวกกับความน่าสมเพชของคนเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยที่ไปไหนก็ไม่กล้าหากไม่มีใครคอยคุ้มครอง

ที่มา : นิตยสารโลกวันนี้วันสุข

***************************************************

“แก้รธน.” เกมวัดใจ “ปชป.”

หลังจาก "เตะถ่วง" มานานในที่สุด “ระเบิดเวลา” ที่ซุกเอาไว้นานก็ค่อยๆ นับถอยหลังรอวัน “ทำงาน” สำหรับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นาทีที่ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ยังไม่หายจากอาการ “สำลักน้ำ” ข้อเสนอจานด่วนของ “สมบัติ ธำรงธัญวงศ์” ประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ลำเลียง 6 ประเด็นออกจากเตาร้อนๆ เตรียมเสิร์ฟเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 2 พ.ย.นี้

6 ประเด็นที่จะแก้ไขประกอบด้วย

1.แก้ไข ม.190 กำหนดประเภทสัญญาที่จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

2.แก้ไขเขตเลือกตั้งจาก “พวงใหญ่เรียงเบอร์” เป็น “เขตเดียวเบอร์เดียว” และโละระบบบัญชีรายชื่อ 8 บัญชีเหลือ 1 บัญชี ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง

3.คง ส.ว.เลือกตั้งและสรรหาในสัดส่วนเท่าเดิมแต่ให้เพิ่มกรรมการสรรหา

4.คงข้อห้าม ส.ส.และ ส.ว.ไม่ให้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ที่ปรึกษา หรือเลขานุการรัฐมนตรี

5.ยังคงห้าม ส.ส.และ ส.ว.แทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหาร แต่เปิดช่องให้เล็กน้อยกรณีหากจะแจ้งความเดือดร้อนของประชาชนให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร

และ 6.แก้ไขโทษยุบพรรค ให้เหลือเฉพาะความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย ส่วนโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้มุ่งไปที่หัวหน้าพรรค

ในประเด็นอื่นๆ ดูท่าจะ “สมประโยชน์” กันถ้วนหน้า แต่เรื่องที่ “ขบเหลี่ยม” กันหนัก ระหว่าง “ประชาธิปัตย์” กับ “พรรคร่วมรัฐบาล” เห็นจะเป็นเรื่องเขตเลือกตั้งที่ประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะต้อง “เขตใหญ่” เท่านั้น

ขณะที่พรรคร่วมฯ ซึ่งเป็นพรรคขนาดกลาง ขนาดเล็ก ไม่ได้มี “กระแส-กระสุน” หนุนหลังเหมือนพรรคใหญ่ ฉะนั้นหนทางในการ “ตีเมืองขึ้น” อย่างเดียวคือ “เจาะทะลวง” เข้าไปทีละเขต ทีละเขต ขืนเลือกกันเป็น “พวง” เห็นจะมีแต่ “พัง”

“ข้อสรุป” ของคณะกรรมการชุด “อ.สมบัติ” ออกมาเป็นแบบนี้ “อภิสิทธิ์” ตีกรรเชียงหนีลำบาก มองไม่เห็นหนทางที่จะ “ยื้อ” อีกรอบ เพราะแค่ “ซื้อเวลา” มาถึงขนาดนี้ก็แทบจะมองหน้าเพื่อนไม่ติดอยู่แล้ว

บาดหมางกันขนาดไหน “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รู้ดีที่สุด !!!

ฉะนั้น “ศึกในรัฐบาล” จะร้อนระอุอีกรอบ ในวันประชุม ครม.อังคารที่จะถึงนี้

งานนี้ “พรรคร่วมฯ” เดินเกมรุกหนัก ถึงขนาด “ส่งสัญญาณ” ล่วงหน้าแบบ “ลับๆ” ผ่าน “ประธานชัย ชิดชอบ” ถ้าร่างแก้ไข 6 ข้อนี้เข้าสภาปุ๊บ จะดันเข้าสภาปั๊บ

มีการเตรียมแผนบันได 3 ขั้นไว้ล่วงหน้าแล้ว เริ่มด้วย หลังจากที่ ครม.ผ่านมติแก้ไขรัฐธรรมนูญชุด อ.สมบัติ ร่างนี้จะถูกลำเลียงเข้าสภาอย่างรวดเร็ว จากนั้นใช้เสียงข้างมากในสภารับหลักการร่างของ อ.สมบัติ พร้อมๆ ไปกับ “เบียด” ร่างฉบับหมอเหวงที่คาอยู่มาแรมปีให้ร่วงผล็อยลงข้างทาง แล้วพิจารณาร่างนี้ให้แล้วเสร็จใน 2 เดือนจากนั้นจะ “ยุบสภา” เมื่อไหร่ก็ได้แล้ว

หนึ่งในกรรมการชุด อ.สมบัติ ระบุ “ทราบว่าขณะนี้มีการคุยกับประธานชัยแล้วว่า ถ้าแก้รัฐธรรมนูญในสมัยประชุมนี้ไม่เสร็จ ก็จะเปิดสภาสมัยวิสามัญพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ตามกฎหมายแล้วจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือนก็เสร็จ”

ทุกแผนเพื่อรองรับการ "เลือกตั้ง" ถูกขับเคลื่อนอย่างเต็มสูบ

จับตา...เมื่อยามน้ำลด ฝุ่นจะตลบทันที

ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ

*************************************************

ลีลาแม่น้ำร้อยสาย-เจ้าแม่ กทม. คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หลังพิงเพื่อไทย-เทใจมูลนิธิ "ไทยพึ่งไทย"

คนการเมืองจากมหาสาขา "ไทยรักไทย" แยกเป็นแม่น้ำร้อยสาย

สายหนึ่งอยู่ในมูลนิธิ 111 อิงอยู่กับกลุ่มอำนาจสาย "ชินวัตร"

สายหนึ่งอยู่ในสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย ตามแนวทาง "จาตุรนต์ ฉายแสง"

สายหนึ่งแยกตัวไปทำธุรกิจส่วนตัว หันหลังให้การเมืองแบบ "น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี-น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช"

สายหนึ่งถูกตั้งให้เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หนุนส่งกับทีม "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"

ที่เหลือแยกเป็นแม่น้ำสาขาไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และพรรคภูมิใจไทย ในน่านน้ำรัฐบาล

อีกสายหนึ่งมีนัยสำคัญในพื้นที่เมืองหลวง ส่วนหนึ่งยังอยู่ในสาขาพรรคเพื่อไทย ส่วนหนึ่งแยกไปตั้งสำนักมูลนิธิไทยพึ่งไทย จัดกิจกรรมการเมืองต่อเนื่องกับ "คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์"

อนาคตทางการเมืองของแต่ละสาขา จะชัดเจนอีกไม่เกิน 16 เดือนข้างหน้า

เฉพาะสาขา "คุณหญิงสุดารัตน์" จากนี้ไปจะไหลไปในทิศทางใด อ่านทางจากปาก "เจ้าแม่ กทม."

- นับถอยหลังหากสิ้นสุดเวลาถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แล้วจะมาลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคเพื่อไทยอีกหรือไม่

ประเด็นแรกก่อนว่าจะไปอยู่ตรงไหนเนี่ยอีกปีกว่า จะกลับเข้ามาการเมืองหรือเปล่า ก็เปิดใจเลยว่าอีกปีกว่า ก็ยังไม่แน่ว่าจะกลับเข้ามาทำการเมือง 100 เปอร์เซ็นต์ คือการกลับเข้าเป็นนักการเมืองเต็มตัว เพราะในวันนี้สภาพบ้านเมืองที่เป็นอยู่ สภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ มันค่อนข้างที่จะยากลำบาก

สำหรับการเดินหน้าของประเทศ มันค่อนข้างที่จะยากลำบากสำหรับคนไทย ทั้งที่เรามีปัจจัยพื้นฐานที่ดี เรามีเอกชนหรือภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เรามีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงให้ความเมตตากับประชาชนทั้งประเทศอย่างดีมาโดยตลอด

แต่เหมือนกับสภาพการเมืองเรากลับเป็นปัญหาที่ทำให้ทุกอย่างมันค่อนข้างชะงัก ฉะนั้น ถ้าจะกลับหรือไม่กลับเข้าไปสู่การเมืองเนี่ย อีกปีกว่า คงจะดูว่าถ้า สภาพการเมืองยังเป็นลักษณะการใช้กฎหมาย 2 มาตรฐานอยู่ การไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน การไม่สนับสนุนให้ประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยเต็มตัว พี่อาจจะเลือกทำงานบุญอย่างที่ทำทุกวันนี้ ทำมูลนิธิอาจจะได้ประโยชน์กว่า

ก่อนจะถามว่าไปอยู่ที่ไหน พรรคไหน พี่ยังตอบตัวเองไม่ได้ว่าจะกลับไปการเมืองหรือเปล่า พี่อยู่อย่างนี้อาจมีความสุข มากกว่า แต่ไม่ทิ้งการช่วยเหลือประชาชน...ต้องดูปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้...

- มองว่าปัจจุบันพรรคเพื่อไทยเดินหน้าในทิศทางที่เหมาะสมหรือไม่

คือมองจากคนนอก คิดว่าพรรคเพื่อไทยมีบุคลากรเยอะ คนมีความรู้ความสามารถเยอะ และในสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ เขาโดนกระทำทุกทางนะ ถ้าพูดถึงก็ถูกยุบมา 2 ครั้งแล้ว พรรคนี้ และทุกวันนี้ก็โดนกระทำทุกทางในทุกด้าน ดังนั้นเขาสามารถที่จะเดินได้หรือยืนได้ในขณะนี้ ก็นับว่าเขาเก่งแล้ว ก็ต้องช่วยกันให้กำลังใจไปเหมือนกับเขาโดนมรสุม วันนี้เขาสามารถฝ่ามรสุมได้ก็ถือว่าเก่ง...

- ในพรรคมีความขัดแย้งกันเหมือนกับที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หรือไม่

ก็ไม่อยากให้มี และเราไม่สามารถจะไปพูดว่ามีจริงหรือไม่จริง เพราะวันนี้อาจจะเป็นเหยื่อของการถูกโจมตีหรือปลุกปั่นก็ได้ เหมือนวันที่พี่ไปโคราชก็มีนักข่าวโทร.มาเยอะแยะว่าพรุ่งนี้พี่จะแถลงเปิดพรรค ทั้งที่ในข้อเท็จจริงก็ไม่ใช่อย่างนั้น บางทีอาจจะเป็นข่าวลือว่าแตกแยก แต่ถ้ามีจริงก็ไม่ควรจะแตกแยก เพราะถูกกระทำมาเยอะ

- กระแสความนิยมของพรรคในพื้นที่กรุงเทพฯลดลง คุณหญิงมีข้อเสนอหรือไม่

ก็ต้องก้มหน้าทำงานให้หนัก พิสูจน์ ตัวเอง...หลัง ๆ มีน้อง ๆ มาปรึกษาเรื่องกระแส เราก็บอกว่าต้องก้มหน้าทำงานอย่างเดียว...

- การที่มี ส.ส.พรรคเพื่อไทยมาร่วมงานกับมูลนิธิไทยพึ่งไทย เป็นการสะท้อนบทบาทคุณหญิงในการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.ลงภาค กทม.หรือไม่

(หัวเราะ) ไม่หรอกค่ะ พรรคเขามีระบบแล้ว และเขาก็ทำได้ดี กรุงเทพฯก็มีท่าน อนุดิษฐ์ ท่านวิชาญเป็นประธานภาคอยู่แล้ว ตอนนี้พี่เป็นพวกยาหมดอายุแล้ว ถูกตัดสิทธิ์นะ ก็ได้แต่ทำงานการกุศล และพี่ ๆ น้อง ๆ ก็ไม่ปฏิเสธ มีอะไร ก็แวะเวียนมาปรึกษาหารือ อย่างตอนนี้ ชาวบ้านเดือดร้อนอยากออกไปช่วย ก็ไปช่วยด้วยกัน

เรื่องงานบุญอย่าเอางานการเมืองเข้ามาเลย...อย่างมีนักข่าวบางช่องไม่ได้อ้างคำให้สัมภาษณ์พี่ แต่บอกว่าพี่อึดอัดกับพรรคก็ขอบอกว่าไม่ได้อึดอัดอะไร เพราะวันนี้ ไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวอะไรในพรรคได้อยู่แล้ว...งานการเมืองเนี่ย พวกเรา 111 ไปทำคงลำบาก ถ้าอยู่อีกฝั่งหนึ่งก็ไม่ผิด แต่อยู่ฝั่งนี้ถ้าทำให้พรรคเขาถูกยุบก็จะยุ่ง อีกนะ (หัวเราะ)

- ยังมีข่าวด้วยว่า ส.ส. กทม.กลุ่มหนึ่งไม่แฮปปี้กับตระกูลชินวัตร

ก็ต้องถาม ส.ส. เพราะพี่ก็ไม่เคยได้ยินเขาบ่นอย่างงั้น...(หัวเราะ) เพราะพวกนี้เขาพวกทำงาน

- การที่กลุ่ม ร.ต.อ.เฉลิมดึง "กลุ่ม กรุงเทพฯ 50" เข้าพรรค ถูกมองเป็นการชิงการนำกันในพื้นที่กรุงเทพฯหรือเปล่า

พี่ก็ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เพราะพรรคเพื่อไทยก็เป็นพรรคที่เคยเป็นพวก ๆ กันมาจากไทยรักไทย พี่ไม่เคยอยู่พรรคเพื่อไทยนะ ถ้าบอกว่าเคยอยู่เดี๋ยวจะถูกยุบอีก (หัวเราะ) เวลาอ่านข่าวทุกครั้งพี่ก็ไม่สบายใจ เพราะอยากให้พรรคเพื่อไทยมีความสมัครสมานสามัคคีกัน เดินหน้าทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาลเพราะมีเรื่องทุจริตเยอะแยะ ถ้าเรียกภาษาฟุตบอลก็คือมีลูกเข้าเท้าทุกวัน ถ้าพรรคเพื่อไทยทำหน้าที่ของตนเอง ทำงานด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวก็จะสามารถเตะ ลูกเข้าประตูทุกวัน

พี่เองไม่ได้ไมนด์หรอกว่า ถ้าคุณเฉลิมหรือใครจะมาดูแลกรุงเทพฯแทนพี่ เพราะวันนี้พี่ก็ไม่ได้สามารถจะไปทำงานการเมืองได้แล้ว ใครที่เขาไม่ได้ถูกตัดสิทธิ์ก็ให้เขาทำให้มันดีเถอะ มันดีทั้งนั้นแหละ... พี่ก็ระวังตัวนะ เดี๋ยวจะหาว่าเอาพี่ไปอยู่ในความขัดแย้ง พี่ก็ต้องระวังตัว และก็เดี๋ยวบางคนก็จะมาระแวงว่าพี่ไป ขวางทางสู่ดวงดาวของเขา ดังนั้นพี่ก็พยายามจะไม่ยุ่งอะไรที่จะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทย สิ่งที่ทำก็ทำในนามตัวเอง การเมืองก็ขอพักไว้ก่อน

- บทบาทของมูลนิธิและการทำกิจกรรมการเมืองของกลุ่ม ส.ส.กทม.เพื่อไทยในปัจจุบัน จะเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพรรคการเมือง เหมือนกับบทบาทกลุ่ม พลังไทยในอดีตที่ปรับเป็นพรรคไทยรักไทยหรือไม่

อันนั้น (กลุ่มพลังไทย) เป็นกลุ่มการเมืองชัดเจนไง อันนี้เป็นมูลนิธิไม่ใช่การเมืองนะ ส่วน ส.ส.ในพรรคเพื่อไทย มาช่วย ก็มาช่วยเพราะความสัมพันธ์ส่วนตัว มันน่าจะเกื้อกัน มูลนิธิมีคนบริจาคมีข้าวของก็เอาไปช่วยผู้ประสบภัย

- การที่มูลนิธิมาทำงานโดยมี ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยบางส่วนมาร่วมด้วย เท่ากับเป็นการแบ่งการทำงานของพรรคเพื่อไทยกับ ส.ส. กทม.ออกมาอย่างชัดเจนหรือไม่

ไม่แบ่งหรอกค่ะ เพราะ ส.ส.ก็เป็น ส.ส.ที่ทำหน้าที่อยู่ในสภา อยู่ในพรรคอยู่ เพียงแต่ว่ามูลนิธิจะออกไปช่วย ก็ต้องขอความช่วยเหลือจาก ส.ส. ส.ก. ส.ข.ในพื้นที่ที่เขารู้พื้นที่ รู้ปัญหาประชาชน พอไปต่างจังหวัดเราก็ไปประสานกับ ส.ส. ต่างจังหวัดแล้วแต่พื้นที่

- ทำไมมูลนิธิไม่ไปรวมกับพรรคเพื่อไทย แทนที่จะแบ่งแยกออกเป็น 2 สาย

อ๋อ...ไม่เป็นการแบ่งแยกหรอกค่ะ ถ้าคิดในทางที่เป็นปัญหาก็เป็นปัญหา แต่ส่วนตัวคิดว่าถ้าจะช่วยกันก็ไม่ควร แบ่งพรรคแบ่งพวก ใครจะช่วยคนลำบากช่วยตรงไหนได้ก็ช่วย ส่วน ส.ส. ส.ก. ส.ข.ที่มาร่วมก็มาในนามพรรคอยู่แล้ว แต่มูลนิธิจะบอกว่าทำในนามพรรคไม่ได้ เพราะมูลนิธิเป็นองค์กรที่ไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้ และขณะนี้ก็อาจจะต้องระวังตัวมากกว่า เพราะทำอะไรก็จะผิดเหมือนกัน แต่ถ้าอยู่อีกฝั่งหนึ่งก็จะทำอะไรไม่ค่อยผิดเท่าไร (หัวเราะ)

- ขณะนี้มีสายตาจับจ้องว่าพรรคมีหลายกลุ่ม เมื่อกลุ่ม กทม.แยกอย่างนี้ก็ยิ่งเป็นข้อสังเกตใหญ่ว่ามีปัญหาอะไรหรือเปล่า

ไม่ได้แยกอะไรเลยค่ะ...ส่วนตัวพวกพี่ที่เป็นมูลนิธิ และเป็น 111 พี่ไม่สามารถที่จะทำงานในนามพรรคใดพรรคหนึ่งได้ แม้แต่ที่มีข่าวว่าจะตั้งพรรคใหม่ เอาพวกพี่ไปตั้งพรรคใหม่เมื่อไร พรรคนั้นก็ถูกยุบเมื่อนั้น นะคะ ฉะนั้นพี่ไม่สามารถทำได้ ฉะนั้นการ เมืองวันนี้ขอพักไว้ก่อน เอาเรื่องงานบุญก่อน

- กรณีคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ไปลงพื้นที่น้ำท่วมที่ จ.นครราชสีมา และ จ.ลพบุรี ตรงนี้ทางคุณหญิงสุดารัตน์แบ่งกับคุณสมชายอย่างไร

ทางคุณสมชายไปในนามพรรค คือจริง ๆ แล้วอย่าไปพูดว่าแบ่งทำ เพราะพูดแล้วจะเป็นบาปไปเปล่า ๆ เรื่องการช่วยคน เพราะใครเขาจะช่วยได้ก็ต้องช่วยกันนะ อย่างลองพี่บอกว่าออกหน่วยของพรรค เพื่อไทย แต่พี่เอามูลนิธิไป ก็จะถูกโจมตี อีกแบบหนึ่งว่า อ๋อ เดี๋ยวนี้เอามูลนิธิมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งขัดต่อกฎหมาย... ดังนั้นพี่คงไม่สามารถยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้...และมูลนิธิเป็นพรรคการเมืองไม่ได้

ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ

***********************************************************

'เทือก'ชนะซ่อมสุราษฎร์ฯ กระแสปชป.พุ่ง หรือแบ่งฝ่ายรุนแรง

การเลือกตั้งซ่อมส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ชนะคู่แข่งจากพรรคเพื่อไทย แสนกว่าคะแนน

เป็นชัยชนะชนิดถล่มทลาย และไม่ง่ายนักสำหรับนักการเมือง

เม็ดคะแนนที่ออกมาสะท้อนความนิยม ของพรรคประชาธิปัตย์

หรือความขัดแย้งแบ่งสี แบ่งภาค ที่รุนแรงขึ้น

หรือสะท้อนเอกภาพในพรรคประชาธิปัตย์

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

เรื่องนี้สะท้อนได้ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือภาคใต้ที่ยังเห็นได้ชัดว่าปิดประตูตายสำหรับคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย

เรื่องที่ 2 คือ เป็นภาพที่เกี่ยวเนื่องจากการเลือกตั้งซ่อมทั้งที่กทม. และส.ก. ส.ข. ที่เห็นได้ชัดว่ากระแสของพรรคที่ผูกพันกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังลดความนิยมลงไป โดยมีสาเหตุเดียวกันคือ การไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงใช้ช่วงเดือนเม.ย. 2552 และพ.ค. 2553

ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนไป ยกเว้นคนที่รักและฝังใจพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งคือผู้ที่ได้ประโยชน์จากพ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มคนรากหญ้า กลุ่มเหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลง รวมถึงกลุ่มที่ผูกพันกับส.ส.เพื่อไทย จะไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน ฐานเสียงนี้จะยังคงอยู่

แต่มีอยู่อีกกลุ่มคนหนึ่งคือ สามารถเลือกกลับไปกลับมาได้ ที่จะเห็นได้ว่าคนเหล่านี้อยู่ในกทม. หรืออยู่ในเมือง เป็นคนชั้นกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็อยู่ในเมือง หรือภาคใต้ก็อยู่ในเมือง กลุ่มเหล่านี้แต่เดิมอาจจะชอบพ.ต.ท.ทักษิณ ชอบพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อพบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งเม.ย. 2552 และพ.ค. 2553 ทำให้คนกลุ่มนี้เริ่มเกิดความไม่พอใจ และหันมาเลือกพรรคที่ตรงข้ามกับพรรคที่ทำให้พวกเขาไม่พอใจ แม้จะไม่ชอบพรรคนั้นก็ตาม

เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่พอใจกับการกระทำนั้น จึงทำให้คะแนนเสียง 2 ฝั่งมารวมกันคือ กลุ่มคนไม่ชอบทักษิณมาบวกกับกลุ่มที่ต้องการแสดงพลัง ทำให้คะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้น คะแนนเสียงของนายสุเทพเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่คะแนนเสียงทั้งหมดอาจจะไม่ได้ชอบนายสุเทพก็ได้

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับการเลือกตั้งในครั้งต่อไป ที่คะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยที่แม้จะได้มากอยู่แต่ก็จะน้อยกว่าทุกครั้งที่เคยผ่านมา เพราะเกิดปรากฏการณ์ความไม่พอใจของกลุ่มคนชั้นกลาง หรือคนที่อยู่ในเมืองที่ไม่พอใจเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น

ครั้งหนึ่งคนเหล่านี้อาจเคยชอบหรือพอใจพ.ต.ท.ทักษิณ หรือระบบต่างๆ แต่ครั้งนี้จะมีการแสดงออกให้เห็นว่าไม่เอาแล้ว การเลือกตั้งครั้งต่อไปก็จะดูได้จากการเลือกตั้งย่อย 3 ครั้งที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ยังจะทำให้การแบ่งขั้วลดลง เพราะเมื่อคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยที่น้อยลงอาจจะมีการแยกขั้วอย่างที่จะเห็นว่ามีส.ส.เพื่อไทยบางคนที่มาเข้าร่วมกับรัฐบาล แตกต่างจากในอดีตที่คนเหล่านี้จะกอดกันแน่นเมื่อมีคะแนนเสียงเข้มแข็ง การเลือกตั้งครั้งหน้าก็จะมีการย้ายข้ามฟากจากพรรคเพื่อไทย มาพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย หรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ

ส่วนเหตุผลที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครลงทั้งๆ ที่รู้ว่าจะแพ้ เพราะ 1.เป็นโอกาสแสดงพลังให้ภาคใต้เห็น เป็นการประชาสัมพันธ์ 2.ถ้าได้คะแนนเสียง แม้จะแพ้แต่ห่างกันไม่เยอะก็ถือว่าเขาชนะแล้ว เป็นเครื่องเตือนให้คนทั่วไปรู้ว่านี้ขนาดภาคใต้ และ 3.เป็นการวัดคะแนนเสียงเพื่อเป็นตัวประเมินครั้งต่อไป

ผลการเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้จะทำให้พรรคเพื่อไทยต้องพิจารณาหนักว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ยังไม่กล้าจะเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่มา เพราะกลัวว่าถ้าเลือกแล้วจะมีการแบ่งแยกมากขึ้น การเลือกตั้งครั้งต่อไปพรรคเพื่อไทยเอกภาพจะลดน้อยลง

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ผลการเลือกตั้งส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 1 แทนตำแหน่งที่ว่างครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการแบ่งขั้วที่ชัดเจนระหว่างคนที่เอาประชาธิปัตย์ และคนไม่เอาประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และก็ถือว่าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เปรียบอยู่แล้ว เพราะไม่ใช่การเลือกตั้งที่ธรรมดา แต่เป็นเลขาธิการพรรคมาลงสมัครส.ส.

ซึ่งผลการเลือกตั้งก็สะท้อนว่านายสุเทพได้รับความนิยมและมีบารมีในพื้นที่เป็นอย่างมาก ผมเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาเพราะพรรคประชาธิปัตย์ได้รับความนิยมในพื้นที่นี้มาอย่างยาวนาน

นายสุเทพไม่ใช่คนแรก จึงไม่มีอะไรที่แปลกประหลาด เช่นเดียวกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีคนกลุ่มหนึ่งไม่ชอบ ไม่เอา แต่เมื่อมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ได้กลับมาอีกครั้ง

ซึ่งประเทศไทยยังต้องเผชิญปัญหาแบบนี้ต่อไป เนื่องจากไม่มีระบบเชื่อมโยงที่จะนำไปสู่การตรวจสอบนักการเมือง

น.พ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์

การที่ประชาชนเลือกนายสุเทพเข้ามาเป็นส.ส.ในพื้นที่ แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้โอกาส และไว้ใจให้พรรคประชาธิปัตย์ในการทำงานบริหารประเทศ แม้ว่าจะเป็นการเลือกตั้งในเขตพื้นที่ที่เป็นฐานเสียงเดิมของพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้วก็ตาม แต่มันก็สะท้อนให้เห็นถึงความนึกคิดของประชาชน ที่ยังคงมีความนิยมในพรรคประชาธิปัตย์

ขณะเดียวกัน แม้ว่าที่ผ่านมาสถานการณ์บ้านเมืองของเราจะยังไม่เป็นปกติ เพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์การชุมนุมมา แต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดกลับไม่มีเหตุการณ์ความวุ่นวาย ไม่มีความรุนแรง รวมถึงไม่มีกลุ่มคนที่ออกมาคัดค้านการเลือกตั้งเหมือนที่เคยเกิดในพื้นที่อื่นๆ ในอดีต ถือเป็นการเลือกตั้งโดยประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการออกมาใช้สิทธิ์

มันสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อทิศทางในการบริหารงานของ ประเทศ ซึ่งรัฐบาลที่นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้บริหาร เพื่อนำประเทศไปสู่การบริหารงานที่ถูกต้อง พัฒนาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองให้ดี ยิ่งขึ้น

นอกจากพรรคประชาธิปัตย์จะได้รับคะแนนเสียงเป็นจำนวนมากในพื้นที่ภาคใต้แล้ว ผมยังมองว่าในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศพรรคประชาธิปัตย์ก็จะได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กทม. หรือจังหวัดอื่นๆ

ส่วนกรณีที่มีบัตรโนโหวตเป็นจำนวนถึง 1.2 หมื่นใบนั้น ก็ไม่ถือว่าเป็นจำนวนที่มากนัก และคงไม่เกี่ยวกับกรณีที่ประชาชนเบื่อการเมือง เพราะเป็นเรื่องปกติที่จะมีเสียงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

ปลอดประสพ สุรัสวดี
รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

การเลือกตั้งซ่อมส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 1 แม้ว่านายสุเทพจะชนะการเลือกตั้งแบบขาดลอย แต่ถือเป็นการเลือกตั้งที่พรรคพึงพอใจเพราะนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ ผู้สมัครของพรรคได้คะแนนเกิน 2 หมื่นคะแนน ซึ่งถือว่าเยอะมากแล้ว

อีกทั้งสะท้อนให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยจะมีโอกาสที่จะได้ส.ส.ในส่วนของระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มมากขึ้น แต่เสียดายที่คะแนนในส่วนโนโหวตนั้นมีมากเกินไปถึง 1 หมื่นกว่าคะแนน แสดงให้เห็นว่าชาวสุราษฎร์ฯ เบื่อการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์

แต่หากมองในส่วนที่เป็นประโยชน์กับทางพรรคประชาธิปัตย์นั้น ก็สะท้อนว่าแม้ภายในพรรคประชาธิปัตย์จะทะเลาะกันเอง แต่พอถึงเวลาเลือกตั้งก็ช่วยเหลือกัน

เพราะผมมองว่าคะแนนของนายสุเทพน่าจะได้ประมาณ 9 หมื่นคะแนน ส่วนที่เหลือเป็นคะแนนในส่วนของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ที่มา:ข่าวสดรายวัน

************************************************************