ที่มา.Robert Amsterdam
เป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่าอาวุธที่กองทัพไทยใช้กำจัดประชาชนของตนในเดือนเมษายนและพฤษภาคม เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยนั้น มีแหล่งผลิตในประเทศเสรีประชาธิปไตยในยุโรป
หลายประเทศในยุโรปมีนโยบายที่จะไม่ค้าอาวุธกับรัฐบาลที่มักจะใช้อาวุธที่ผลิตขึ้นในต่างประเทศดังกล่าวกดขี่ฝ่ายตรงข้ามและชนกลุ่มน้อยในประเทศ อย่างไรก็ตาม ในกรณีเดียวกัน นโยบายค้าอาวุธให้กับเหล่าผู้นำเผด็จการของประเทศตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกานั้นมีสองมาตรฐาน เพราะสหรัฐมักจะทำการค้ากับเหล่าผู้นำเผด็จการที่ให้ประโยชน์กับตน และไม่ให้ความช่วยเหลือทางการทหารกับผู้นำที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม โดย กองทัพไทยได้รับผลประโยชน์จากนโยบายสองมาตรฐานนี้มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
ในขณะที่ประเทศตะวันตกได้เพิกเฉยต่อเหตุการณ์ฆ่าหมู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ประเทศผู้ค้าอาวุธหลายใหญ่ของโลกได้ตั้งคำถามกับกองทัพไทย วันนี้นายปนิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาลได้กล่าวถึงเรื่องที่น่าอับอายในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า ประเทศเยอรมันปฏิเสธที่จะขายเครื่องยนต์รุ่น Deutz BF 6m015 จำนวนหนึ่งให้กับประเทศไทย ตามนโยบายของสหภาพยุโรปที่ห้ามค้าอาวุธกับรัฐบาลที่ใช้ความรุนแรงกดขี่หรือปฏิเสธสิทธิของพลเรือนตนเองของเป็นระบบ ซึ่งเครื่องยนต์เหล่านี้ถูกสั่งซื้อแทนที่การสั่งซื้อรถถังหุ้มเกราะ 90คันจากประเทศยูเครน
แน่นอนว่ากองทัพไทยคงจะไม่มีปัญหาในการหาซื้ออาวุธที่พวกเขาต้องการ เพราะรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้รางวัลกองทัพไทยจากความพยายามปกป้องรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ให้ต้องลงแข่งขันการเลือกตั้งที่น่าหวาดกลัวโดยการเพิ่มงบประมาณมหาศาลให้กับกองทัพ ซึ่งมากขึ้นเป็นสองเท่าหากเทียบกับงบประมาณกองทัพในรัฐบาลทักษิณ
การที่ประเทศเยอรมันปฎิเสธที่จะขายอาวุธให้กับเล่านายพลที่โกงกินภาษีประชาชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาอำนาจอันเลวร้ายของตนเองควรจะเป็นแบบอยางที่ดีแก่ประเทศเสรีประชาธิปไตยในตะวันตกนำไปปฏิบัติ เพราะหากกองทัพไทยยืนกรานที่จะใช้อำนาจโดยไม่คำยังถึงสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนแล้ว ก็ไม่ควรจะทำโดยใช้อาวุธที่ผลิตในประเทศที่ปฏิญาณตนว่าจะปกป้องสิทธิมนุยชนทั่วโลก
ไม่น่าสงสัยเลยว่านายพลเหล่านี้จะไปซื้ออาวุธจากประเทศอื่น แต่อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศตะวันตกปฏิเสธที่จะไม่ค้าอาวุธให้ประเทศไทยเป็นการส่งสาสน์ชัดเจนไปยังรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่าความรุนแรงที่ก่อขึ้นในเดือนเมษายน/พฤษภาคมโดยรัฐบาลนั้นมีราคาที่ต้องจ่าย อย่างน้อยที่สุด ประเทศเสรีประชาธิปไตยในตะวันตกควรจะยึดถือศีลธรรมที่สูงกว่านายบูท
*****************************************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553
บันทึกฉบับที่ 5 ของ วิสา คัญทัพ
ว่าด้วยประวัติศาสตร์มายาคติแห่งการปรองดอง
การปรองดองวันนี้เป็นการปรองดองเพื่อสร้างภาพ ไม่ได้จริงใจที่จะปรองดอง รัฐบาลแสดงละครภายใต้การกำกับของกองทัพ เหนือกองทัพขึ้นไปมีกองบัญชาการของอำมาตย์และคนชั้นสูง ควบคุมบงการอยู่อีกชั้นหนึ่ง
รัฐธรรมนูญปี 50 คือรัฐธรรมนูญที่พวกเขาสร้างขึ้นมา เพื่ออำพรางให้เกิดภาพประชาธิปไตย ความจริงดังกล่าวในอดีตอาจไม่แจ่มชัด แต่วันนี้แจ่มชัดเป็นอย่างยิ่ง นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประชาธิปไตยไม่ได้ตกอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่เป็น “ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับ” เมื่อใดก็ตามที่มีสัญญาณว่า ความขัดแย้งทางชนชั้นเริ่มแหลมคมอำนาจอันแท้จริงจะเปลี่ยนไปอยู่ในมือของ “ข้าราษฏร” มิใช่ “ข้าราชการ” การจัดการให้อยู่ในร่องในรอยก็จะเกิดขึ้น
พูดอย่างนี้ มิได้หมายความว่า ไม่เห็นด้วยกับการปรองดอง แต่หมายถึง การปรองดองมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะปากพูด แต่การกระทำยังติดตามไล่ล่า จับกุมคุมขัง สังหารคนเสื้อแดง ปรากฎความไม่เป็นธรรมในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ทั้งระดับโครงสร้างประชาธิปไตย และรูปธรรมหลายประการทางการปฏิบัติ สูงสุดคือ อิสระภาพ เสรีภาพ และความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนที่คิดต่างต้องได้รับการคุ้มครอง
ในวาระครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร (19 กันยายน 2549) ผู้เขียนขอร่วมรำลึกเหตุการณ์ ด้วยการนำเสนอบันทึกฉบับที่ 5 วิเคราะห์การปรองดองจอมปลอมว่าไม่สามารถยุติความแตกแยกในสังคมได้ โดยจะชี้ให้เห็นว่า เราเคยผ่านความขัดแย้งแตกแยกที่รุนแรงเช่นนี้มาแล้ว แต่ละระยะ มีเนื้อหาเดียวกัน โดยตัวละครฝ่ายประชาธิปไตยผลัดเปลี่ยนเวียนกันเข้ามารุ่นแล้วรุ่นเล่า เหมือนนักมวยมั่นหมายชิงแชมป์ ทว่าแชมป์ยังเป็นคนเดิมที่แข็งแกร่งประดุจศิลากลางน้ำเชี่ยว เริ่มต้นจาก
หนึ่ง / ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีตัวละครสำคัญคือ “คณะราษฏร”ที่ทำการปฏิวัติยึดอำนาจ มีบุคคลสำคัญซึ่งท้ายสุดไม่มีแผ่นดินอยู่ แม้เวลาสิ้นชีวิตก็นำกลับมาได้เพียงเถ้าอัฐิเท่านั้น คือ ดร.ปรีดี พนมยงค์
หลัง 2475 อำนาจเวียวนอยู่ในมือของขุนศึกอำมาตย์ แต่การเมืองโดยภาพประชาธิปไตยก็ทำให้เกิดพืชพันธุ์ของ “นักสู้เพื่อสังคมธรรม” ขึ้นได้ ส่วนใหญ่ของนักสู้ดังว่ามักจะมาจากสามัญชนคนชั้นล่างที่มีโอกาสได้เรียนสูงแล้วมีทัศนะที่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการต่อสู้ทางชนชั้นในสากลยุคเปลี่ยนผ่านจากศักดินาสู่เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยและสังคมนิยม
สอง / เชื่อมต่อจากการต่อสู้ยุค ดร.ปรีดี พนมยงค์ รุ่นถัดมาจึงมาถึง “นักสู้ยุค พ.ศ.2500” นำขบวนด้วยนักคิดนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง นักเคลื่อนไหวคนสำคัญๆ มากมาย เช่น เตียง ศิริขันธ์,รวม วงศ์พันธุ์,ครอง จันดาวงศ์,เลียง ไชยกาล,ถวิล อุดล,จำลอง ดาวเรือง, กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา),อัศนี พลจันทร์,อุดม สีสุวรรณ,เปลื้อง วรรณศรี,จิตร ภูมิศักดิ์,สุวัฒน์ วรดิลก,ไขแสง สุกใส, และ ฯลฯ
ชื่อดังกล่าวไม่มีให้ศึกษาด้านถูกต้องในประวัติศาสตร์ประเทศไทย นักสู่เหล่านี้ บางคนถูกประหารชีวิต บางคนถูกฆ่าถูกไล่ล่า ถูกจับกุมคุมขัง ขบวนการฝ่ายประชาธิปไตยถูกปราบปราม ถูกบีบบังคับ จากการเขียนการพูดการวิพากษ์วิจารณ์ตามแนวทางสันติวิธีไม่สามารถดำเนินไปได้ หนทางสุดท้ายคือการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ จัดตั้งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ประกาศการต่อสู้ด้วยอาวุธอย่างเป็นทางการ ใครที่อยู่ในเมืองแล้วถูกฆ่าถูกขังก็เข้าป่าไปจับปืนต่อสู้ กำแพงคุกในยุคนั้นจึงปรากฎบทกวีของนักสู้นิรนามจารึกไว้ว่า
เมืองสยามใหญ่กว้าง สุดสายตา
จักเสาะยุติธรรมหา ยากแท้
คนดีถูกตีตรา นักโทษ
คนชั่วกลับอิ่มแปร้ นั่งยิ้มครองเมือง”
ช่างสอดคล้องกับวันเวลาอันมืดมนในยุคนี้ยิ่งนัก ขณะที่ผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทุ่มโถมโหมชีวิตต่อสู้อย่างกล้าหาญ พวกเขากลับถูกใส่ร้ายป้ายสี สร้างภาพว่าคอมมิวนิสต์เป็นภูติผีปีศาจทำลายชาติทำลายสถาบัน ให้การศึกษาเยาวชนโดยบิดเบือนประวัติศาสตร์ที่เป็นจริง เนือหาตำรับตำราวิชาการก็กลับดำเป็นขาวกลับขาวเป็นดำ ดีว่าชั่ว ชั่วว่าดี โฆษณาชวนเชื่อ ครองพื้นที่สื่อวิทยุโทรทัศน์สร้างคุณงามความดีให้ตนเอง
สาม / ยุคเยาวชนเดือนตุลา อธิบายควบคุมสองเหตุการณ์คือ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ต้องบอกว่า สองเหตุการณ์นี้คือขบวนการเดียวกัน เยาวชนนักเรียนนักศึกษาตื่นตัวขึ้นจากความรู้สึกว่าตนคือปัญญาชนผู้ได้เปรียบในสังคม พบว่าความรู้ไม่ใช่แค่เพียงปริญญาบัตร ไม่ใช่คำขวัญเรียนไปเพื่อเป็น “เจ้าคนนายคน” เมื่อสืบค้นลึกลงไปก็พบประวัติศาสตร์บิดเบือนมากมาย พบว่า ปรีดี พนมยงค์และคณะราษฏรแท้จริงเป็นฝ่ายธรรม พบว่าคอมมิวนิสต์คือพรรคการเมืองที่กำเนิดขึ้นจากทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์-เลนิน เป็นกระแสสากลแห่งโลกยุคสงครามเย็น พบว่าสังคมมีชนชั้น และประชาธิปไตยยังไม่เต็มใบอย่างแท้จริง
ที่สุดนิสิตนักศึกษาจึงกลายมาเป็นพลังนำในการเปลี่ยนแปลงสังคม สู่รูปธรรมเป็นการเคลื่อนไหว “เรียกร้องรัฐธรรมนูญ” จนถูกจับกุมคุมขัง เกิดกรณีเดินขบวนคัดค้านครั้งใหญ่ให้ปล่อย 13 กบฎรัฐธรรมนูญ นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รัฐบาลถนอม-ประภาส พ่ายแพ้ยอมออกนอกประเทศ สถานการณ์บีบบังคับให้ต้องรัฐอำมาตย์ต้อง “ยินยอมชั่วคราว” แต่หลังจากนั้น พวกเขาก็ปรับขบวนจากรับมาเป็นรุก สร้างโมเดล 6 ตุลาคม 2519 ด้วยข้อหาอมตะ นักศึกษาถูกแทรกแซงจากคอมมิวนิสต์ ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน ปั้นน้ำเป็นตัว สร้างเรื่องป้ายสีป่าวร้องผ่านสื่อของรัฐและสิ่งพิมพ์ในกำกับ จากนั้นก็ส่งหน่วยสร้างความรุนแรงเข้าปะปนกับนักศึกษา จุดชนวนเข้าล้อมปราบสังหารอย่างเหี้ยมโหด จนถึงวันนี้ใครฆ่าและใครสั่งฆ่านักศึกษาประชาชนก็ยังไม่มีใครรู้ ไม่มีใครรู้เสมอมา
โดยที่เวลานั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยึดแนวทาง “ชนบทล้อมเมือง” ไม่ยอมรับแนวทาง “ลุกขึ้นสู้ในเมือง” การต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนในเวลานั้นจึงปราศจากการ แทรกแซงชี้นำของ พคท.อย่างแท้จริง เป็นการต่อสู้ตามลำพังโดยบริสุทธิ์ แต่เพราะมีกองกำลัง พคท.ในชนบท นักศึกษาประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตยจึงมีที่ทางที่ได้อาศัยหลบหนีไปสู้ต่อได้ ที่เรียกว่า หนีตายไม่สู้ต่อ
ต้องถือว่า การต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตยขึ้นสู่จุดสูงสุดของความรุนแรง เข้มข้น และดุเดือดที่สุดในยุค 6 ตุลาคม 2519 สังคมแตกแยกหนักหน่วง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับปัจจุบันต้องถือว่ายังแตกแยกน้อยกว่าและห่างไกลกันมากนัก ทว่าจุดต่างก็คือวันนี้ไม่มีการต่อสู้ด้วยกองกำลังอาวุธที่มารองรับ แต่วันนั้นมี กองกำลังในป่าขยายตัวเติบใหญ่ ได้ภาพความชอบธรรมที่จะสู้กับการปราบอย่างโหดร้ายหกตุลา และกองกำลังอาวุธฝ่ายประชาชนสามารถสู้รบทางการทหารอย่างรุกคืบหน้ามากขึ้นในยุทธการต่างๆ สามารถตีระดับตำบลจนถึงระดับอำเภอแตก เป็นผลให้รัฐอำมาตย์ศักดินาต้องปรับขบวน รัฐประหารยึดอำนาจกันเองเพื่อปรับเปลี่ยนให้เกิดภาพประชาธิปไตย เอารัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรออก เอา พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เข้า และที่สุดก็เข้าสู่ยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งตนเองไม่เคยผ่านการลงสมัครรับเลือกตั้งแม้แต่ครั้งเดียว
ถึงตรงนี้มีข้อน่าสังเกตุคือ ความพยายามยุติการใช้การทหารนำการเมืองลงอย่างสิ้นเชิง โดยความคิดของข้าราชการทหารสายพิราบได้ชัยชนะเหนือทหารสายเหยี่ยว ในการดำเนินงานเพื่อหยุดยั้งการสู้รบด้วยความรุนแรง ผลักดันให้เกิดนโยบาย 66/23 ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ภายในขบวนการสู้รบในป่ามีปัญหาความขัดแย้งภายใน เรื่องแนวทางการต่อสู้อย่างดุเดือดถึงขั้นต้องแตกแยกกัน
ความจริงก็คือ รัฐอำมาตย์ศักดินาเคยยอมยุติความขัดแย้งโดยให้การยอมรับว่า พคท.ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย หากแต่เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยมาแล้ว อันถือเป็นจุดสูงสุดของการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธระหว่างกันซึ่งเป็นความรุนแรงสูงสุด หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่มีความพยายามเช่นนั้น การปรองดองยังเป็นคำพูดลอยๆ
คำถามคือ ทำไมรัฐศักดินายอมทำข้อตกลงยุติการสู้รบในเวลานั้น ตอบว่า เพราะได้มากกว่าเสีย การทำให้ไม่มีกองกำลังอาวุธคือการทำลายรากแก้วแห่งการต่อสู้ เป็นยุทธวิธี ปลดอาวุธศัตรูเพื่อให้หมดสภาพการต่อรอง เพียงแต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมิได้มาจากรัฐศักดินาเป็นด้านหลัก หากแต่เป็นเพราะขบวนการประชาชนประสบปัญหาความแตกแยกขัดแย้งกันเองเป็นด้านหลัก
สี่ / หลังการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในเขตป่าเขา (สงครามประชาชน) ซึ่งก็คือ หลังนโยบาย 66/23การต่อสู้ที่ไร้แนวหลังอันแข็งแกร่ง ทำให้รัฐศักดินาเข้มแข็งขึ้นอย่างมาก ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับเกรียงไกรอย่างต่อเนื่อง 8 ปี ในยุคพลเอก.เปรม ติณสูลานนท์ และหลังจากนั้นกองทัพก็ยังกุมสถานการณ์กำกับทุกรัฐบาลอยู่ได้ แน่นอน ที่สำคัญเพราะรัฐธรรมนูญที่ร่างอย่างเอื้อต่อระบอบโดยคนของพวกเขา จนกระทั่งกระแสเรียกร้องเพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยเข้มข้นขึ้น ประเด็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งก็ดี ประเด็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาก็ดี ที่สุดจากกระแสการเคลื่อนไหวของประชาชนก็สามารถผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 ออกมาได้
ส่งผลให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างมาก ส่งผลให้รัฐบาลใหม่อยู่ครบเทอม ส่งผลให้มีรัฐบาลพรรคเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดขบวนการต่อต้าน ประดิษฐ์วาทกรรม “เผด็จการรัฐสภา” ขึ้น ตามมาด้วยแผนทำลายทั้งรัฐบาล ทั้งพรรคการเมือง และทั้งต่อตัว “ทักษิณ ชินวัตร” โดยตรง ปิดฉากด้วยการรัฐประหารล้ม “รัฐธรรมนูญปี 40” อันเป็นต้นตอปัญหาที่ทำให้ “ประชาธิปไตย” หลุดไปจากการกำกับ ใช้ปืนและรถถังออกมายึดอำนาจเอาดื้อๆ และให้คนของพวกเขาร่างรัฐธรรมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง คือ “รัฐธรรมนูญปี 50” กลายเป็นรัฐ กอ.รมน. รัฐกองทัพ รัฐข้าราชการทหาร มี ศอฉ.เป็นใหญ่ ดีเอสไอ เป็นเครื่องมือ และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหุ่นเชิด
เมื่อประชาชนไม่ยินยอม และเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยสันติวิธีต่อเนื่องยาวนานเกือบสี่ปีหลังรัฐประหาร ในนาม”คนเสื้อแดง” พวกเขาก็ดำเนินการสังหารประชาชนอย่างเหี้ยมโหดเมื่อ 10 เมษา และ 19 พฤษภาที่ผ่านมา โดยใช้โมเดลเดียวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 “ปลอมปน สอดแทรก แบ่งแยก ทำลาย” พวกเขาพยายามดิ้นหนีจากโจทย์ “ใครฆ่าประชาชน” ให้พ้นด้วยการใช้สื่อสารมวลชนที่ตนควบคุมโหมป่าวร้องให้ความสำคัญกับการเผาอาคารมากกว่าชีวิตคน ใช้ศิลปินแต่งเพลงร้องเพลงทำร้ายหัวใจคนเสื้อแดง ตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆเผยโฉมหน้านักวิชาการบริกร เรียกร้องความปรองดองขณะจับกุมคุมขัง ไล่ล่าฆ่าสังหารคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่องทั้งในทางลับและเปิดเผย
คำถามก็คือ เมื่อการปรองดองเป็นมายาคติ ทับซ้อนอยู่ในความจริงอันเหี้ยมโหดแห่งการเข่นฆ่าประชาชนตลอดมาในประวัติศาสตร์ ภูเขาไฟลูกนี้จึงเป็นได้แค่ “ภูเขาไฟที่ดับชั่วคราว” สังคมไทยจะเข้าสู่สันติสงบและประชาธิปไตยที่แท้จริงได้อย่างไร
ดูแต่การปรองดองของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในอดีต ภาพรวมของพวกเขาเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นอดีตสมาชิก พคท.หรือแนวร่วมที่ออกจากป่ามาพร้อมกัน ปัจจุบัน พวกเขาล้วนยืนอยู่ทั้งสองฟากของความขัดแย้ง ด้วยความคิด ความเชื่อ ผลประโยชน์ และอุดมการณ์ที่ไม่เหมือนกัน
น่าคิดว่าในวันที่มีอาวุธอยู่ในมือ พวกเขายอมวางอาวุธ ไม่ใช่เพราะเชื่อในไมตรี ”พัฒนาชาติไทย” ที่รัฐศักดินาหยิบยื่นให้ แต่หากเพราะไม่มั่นใจแนวทางที่จะสู้ต่อไปของตนเองต่างหาก
เช่นเดียวกับวันนี้ แม้ไม่เชื่อในไมตรีที่จะ “ปรองดอง” พวกเขายังจะมีทางเลือกใดๆอีกหรือ เมื่อวันนี้ไม่มีอาวุธในมือ อย่าลืมว่าไม่มีอาวุธในมือ ไม่มีป่ารองรับ เสียหายง่าย เสียหายมาก ดังที่เห็นๆกันอยู่ แนวทางการปรองดองท่ามกลางการต่อสู้ด้วยสันติวิธีจึงเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดอย่างรอบคอบ
คำว่า “สู้ต่อไป”วันนี้ จะขับเคลื่อนโดยใช้อารมณ์อย่างขาดสติมิได้เป็นอันขาด คำ “ปรองดอง” จึงเป็นเอกภาพของความขัดแย้งกับ “สู้ต่อไป” ปรองดองก็เอา สู้ต่อไปก็สู้ ปรองดองในท่ามกลางการต่อสู้ หรือ ต่อสู้ขณะปรองดอง ก็ว่ากันไป เฉกเช่นเดียวกับ ขณะทำสงครามก็มีการเจรจา ขณะเจรจาการสู้รบยังดำเนินต่อไป จนกว่าจะตกลงกันได้ เพียงแต่ว่าจะโดย “เงื่อนไข” อันใดเท่านั้น.
บันทึกเขียนเสร็จ 6 กันยายน 2553
******************************************************************
การปรองดองวันนี้เป็นการปรองดองเพื่อสร้างภาพ ไม่ได้จริงใจที่จะปรองดอง รัฐบาลแสดงละครภายใต้การกำกับของกองทัพ เหนือกองทัพขึ้นไปมีกองบัญชาการของอำมาตย์และคนชั้นสูง ควบคุมบงการอยู่อีกชั้นหนึ่ง
รัฐธรรมนูญปี 50 คือรัฐธรรมนูญที่พวกเขาสร้างขึ้นมา เพื่ออำพรางให้เกิดภาพประชาธิปไตย ความจริงดังกล่าวในอดีตอาจไม่แจ่มชัด แต่วันนี้แจ่มชัดเป็นอย่างยิ่ง นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประชาธิปไตยไม่ได้ตกอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง หากแต่เป็น “ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับ” เมื่อใดก็ตามที่มีสัญญาณว่า ความขัดแย้งทางชนชั้นเริ่มแหลมคมอำนาจอันแท้จริงจะเปลี่ยนไปอยู่ในมือของ “ข้าราษฏร” มิใช่ “ข้าราชการ” การจัดการให้อยู่ในร่องในรอยก็จะเกิดขึ้น
พูดอย่างนี้ มิได้หมายความว่า ไม่เห็นด้วยกับการปรองดอง แต่หมายถึง การปรองดองมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะปากพูด แต่การกระทำยังติดตามไล่ล่า จับกุมคุมขัง สังหารคนเสื้อแดง ปรากฎความไม่เป็นธรรมในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ทั้งระดับโครงสร้างประชาธิปไตย และรูปธรรมหลายประการทางการปฏิบัติ สูงสุดคือ อิสระภาพ เสรีภาพ และความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนที่คิดต่างต้องได้รับการคุ้มครอง
ในวาระครบรอบ 4 ปีรัฐประหาร (19 กันยายน 2549) ผู้เขียนขอร่วมรำลึกเหตุการณ์ ด้วยการนำเสนอบันทึกฉบับที่ 5 วิเคราะห์การปรองดองจอมปลอมว่าไม่สามารถยุติความแตกแยกในสังคมได้ โดยจะชี้ให้เห็นว่า เราเคยผ่านความขัดแย้งแตกแยกที่รุนแรงเช่นนี้มาแล้ว แต่ละระยะ มีเนื้อหาเดียวกัน โดยตัวละครฝ่ายประชาธิปไตยผลัดเปลี่ยนเวียนกันเข้ามารุ่นแล้วรุ่นเล่า เหมือนนักมวยมั่นหมายชิงแชมป์ ทว่าแชมป์ยังเป็นคนเดิมที่แข็งแกร่งประดุจศิลากลางน้ำเชี่ยว เริ่มต้นจาก
หนึ่ง / ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณายาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีตัวละครสำคัญคือ “คณะราษฏร”ที่ทำการปฏิวัติยึดอำนาจ มีบุคคลสำคัญซึ่งท้ายสุดไม่มีแผ่นดินอยู่ แม้เวลาสิ้นชีวิตก็นำกลับมาได้เพียงเถ้าอัฐิเท่านั้น คือ ดร.ปรีดี พนมยงค์
หลัง 2475 อำนาจเวียวนอยู่ในมือของขุนศึกอำมาตย์ แต่การเมืองโดยภาพประชาธิปไตยก็ทำให้เกิดพืชพันธุ์ของ “นักสู้เพื่อสังคมธรรม” ขึ้นได้ ส่วนใหญ่ของนักสู้ดังว่ามักจะมาจากสามัญชนคนชั้นล่างที่มีโอกาสได้เรียนสูงแล้วมีทัศนะที่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการต่อสู้ทางชนชั้นในสากลยุคเปลี่ยนผ่านจากศักดินาสู่เสรีภาพแห่งประชาธิปไตยและสังคมนิยม
สอง / เชื่อมต่อจากการต่อสู้ยุค ดร.ปรีดี พนมยงค์ รุ่นถัดมาจึงมาถึง “นักสู้ยุค พ.ศ.2500” นำขบวนด้วยนักคิดนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง นักเคลื่อนไหวคนสำคัญๆ มากมาย เช่น เตียง ศิริขันธ์,รวม วงศ์พันธุ์,ครอง จันดาวงศ์,เลียง ไชยกาล,ถวิล อุดล,จำลอง ดาวเรือง, กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา),อัศนี พลจันทร์,อุดม สีสุวรรณ,เปลื้อง วรรณศรี,จิตร ภูมิศักดิ์,สุวัฒน์ วรดิลก,ไขแสง สุกใส, และ ฯลฯ
ชื่อดังกล่าวไม่มีให้ศึกษาด้านถูกต้องในประวัติศาสตร์ประเทศไทย นักสู่เหล่านี้ บางคนถูกประหารชีวิต บางคนถูกฆ่าถูกไล่ล่า ถูกจับกุมคุมขัง ขบวนการฝ่ายประชาธิปไตยถูกปราบปราม ถูกบีบบังคับ จากการเขียนการพูดการวิพากษ์วิจารณ์ตามแนวทางสันติวิธีไม่สามารถดำเนินไปได้ หนทางสุดท้ายคือการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ จัดตั้งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ประกาศการต่อสู้ด้วยอาวุธอย่างเป็นทางการ ใครที่อยู่ในเมืองแล้วถูกฆ่าถูกขังก็เข้าป่าไปจับปืนต่อสู้ กำแพงคุกในยุคนั้นจึงปรากฎบทกวีของนักสู้นิรนามจารึกไว้ว่า
เมืองสยามใหญ่กว้าง สุดสายตา
จักเสาะยุติธรรมหา ยากแท้
คนดีถูกตีตรา นักโทษ
คนชั่วกลับอิ่มแปร้ นั่งยิ้มครองเมือง”
ช่างสอดคล้องกับวันเวลาอันมืดมนในยุคนี้ยิ่งนัก ขณะที่ผู้รักชาติรักประชาธิปไตยทุ่มโถมโหมชีวิตต่อสู้อย่างกล้าหาญ พวกเขากลับถูกใส่ร้ายป้ายสี สร้างภาพว่าคอมมิวนิสต์เป็นภูติผีปีศาจทำลายชาติทำลายสถาบัน ให้การศึกษาเยาวชนโดยบิดเบือนประวัติศาสตร์ที่เป็นจริง เนือหาตำรับตำราวิชาการก็กลับดำเป็นขาวกลับขาวเป็นดำ ดีว่าชั่ว ชั่วว่าดี โฆษณาชวนเชื่อ ครองพื้นที่สื่อวิทยุโทรทัศน์สร้างคุณงามความดีให้ตนเอง
สาม / ยุคเยาวชนเดือนตุลา อธิบายควบคุมสองเหตุการณ์คือ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ต้องบอกว่า สองเหตุการณ์นี้คือขบวนการเดียวกัน เยาวชนนักเรียนนักศึกษาตื่นตัวขึ้นจากความรู้สึกว่าตนคือปัญญาชนผู้ได้เปรียบในสังคม พบว่าความรู้ไม่ใช่แค่เพียงปริญญาบัตร ไม่ใช่คำขวัญเรียนไปเพื่อเป็น “เจ้าคนนายคน” เมื่อสืบค้นลึกลงไปก็พบประวัติศาสตร์บิดเบือนมากมาย พบว่า ปรีดี พนมยงค์และคณะราษฏรแท้จริงเป็นฝ่ายธรรม พบว่าคอมมิวนิสต์คือพรรคการเมืองที่กำเนิดขึ้นจากทฤษฎีลัทธิมาร์กซ์-เลนิน เป็นกระแสสากลแห่งโลกยุคสงครามเย็น พบว่าสังคมมีชนชั้น และประชาธิปไตยยังไม่เต็มใบอย่างแท้จริง
ที่สุดนิสิตนักศึกษาจึงกลายมาเป็นพลังนำในการเปลี่ยนแปลงสังคม สู่รูปธรรมเป็นการเคลื่อนไหว “เรียกร้องรัฐธรรมนูญ” จนถูกจับกุมคุมขัง เกิดกรณีเดินขบวนคัดค้านครั้งใหญ่ให้ปล่อย 13 กบฎรัฐธรรมนูญ นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 รัฐบาลถนอม-ประภาส พ่ายแพ้ยอมออกนอกประเทศ สถานการณ์บีบบังคับให้ต้องรัฐอำมาตย์ต้อง “ยินยอมชั่วคราว” แต่หลังจากนั้น พวกเขาก็ปรับขบวนจากรับมาเป็นรุก สร้างโมเดล 6 ตุลาคม 2519 ด้วยข้อหาอมตะ นักศึกษาถูกแทรกแซงจากคอมมิวนิสต์ ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน ปั้นน้ำเป็นตัว สร้างเรื่องป้ายสีป่าวร้องผ่านสื่อของรัฐและสิ่งพิมพ์ในกำกับ จากนั้นก็ส่งหน่วยสร้างความรุนแรงเข้าปะปนกับนักศึกษา จุดชนวนเข้าล้อมปราบสังหารอย่างเหี้ยมโหด จนถึงวันนี้ใครฆ่าและใครสั่งฆ่านักศึกษาประชาชนก็ยังไม่มีใครรู้ ไม่มีใครรู้เสมอมา
โดยที่เวลานั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยึดแนวทาง “ชนบทล้อมเมือง” ไม่ยอมรับแนวทาง “ลุกขึ้นสู้ในเมือง” การต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนในเวลานั้นจึงปราศจากการ แทรกแซงชี้นำของ พคท.อย่างแท้จริง เป็นการต่อสู้ตามลำพังโดยบริสุทธิ์ แต่เพราะมีกองกำลัง พคท.ในชนบท นักศึกษาประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตยจึงมีที่ทางที่ได้อาศัยหลบหนีไปสู้ต่อได้ ที่เรียกว่า หนีตายไม่สู้ต่อ
ต้องถือว่า การต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตยขึ้นสู่จุดสูงสุดของความรุนแรง เข้มข้น และดุเดือดที่สุดในยุค 6 ตุลาคม 2519 สังคมแตกแยกหนักหน่วง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับปัจจุบันต้องถือว่ายังแตกแยกน้อยกว่าและห่างไกลกันมากนัก ทว่าจุดต่างก็คือวันนี้ไม่มีการต่อสู้ด้วยกองกำลังอาวุธที่มารองรับ แต่วันนั้นมี กองกำลังในป่าขยายตัวเติบใหญ่ ได้ภาพความชอบธรรมที่จะสู้กับการปราบอย่างโหดร้ายหกตุลา และกองกำลังอาวุธฝ่ายประชาชนสามารถสู้รบทางการทหารอย่างรุกคืบหน้ามากขึ้นในยุทธการต่างๆ สามารถตีระดับตำบลจนถึงระดับอำเภอแตก เป็นผลให้รัฐอำมาตย์ศักดินาต้องปรับขบวน รัฐประหารยึดอำนาจกันเองเพื่อปรับเปลี่ยนให้เกิดภาพประชาธิปไตย เอารัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียรออก เอา พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เข้า และที่สุดก็เข้าสู่ยุค พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งตนเองไม่เคยผ่านการลงสมัครรับเลือกตั้งแม้แต่ครั้งเดียว
ถึงตรงนี้มีข้อน่าสังเกตุคือ ความพยายามยุติการใช้การทหารนำการเมืองลงอย่างสิ้นเชิง โดยความคิดของข้าราชการทหารสายพิราบได้ชัยชนะเหนือทหารสายเหยี่ยว ในการดำเนินงานเพื่อหยุดยั้งการสู้รบด้วยความรุนแรง ผลักดันให้เกิดนโยบาย 66/23 ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่ภายในขบวนการสู้รบในป่ามีปัญหาความขัดแย้งภายใน เรื่องแนวทางการต่อสู้อย่างดุเดือดถึงขั้นต้องแตกแยกกัน
ความจริงก็คือ รัฐอำมาตย์ศักดินาเคยยอมยุติความขัดแย้งโดยให้การยอมรับว่า พคท.ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย หากแต่เป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยมาแล้ว อันถือเป็นจุดสูงสุดของการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธระหว่างกันซึ่งเป็นความรุนแรงสูงสุด หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่มีความพยายามเช่นนั้น การปรองดองยังเป็นคำพูดลอยๆ
คำถามคือ ทำไมรัฐศักดินายอมทำข้อตกลงยุติการสู้รบในเวลานั้น ตอบว่า เพราะได้มากกว่าเสีย การทำให้ไม่มีกองกำลังอาวุธคือการทำลายรากแก้วแห่งการต่อสู้ เป็นยุทธวิธี ปลดอาวุธศัตรูเพื่อให้หมดสภาพการต่อรอง เพียงแต่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมิได้มาจากรัฐศักดินาเป็นด้านหลัก หากแต่เป็นเพราะขบวนการประชาชนประสบปัญหาความแตกแยกขัดแย้งกันเองเป็นด้านหลัก
สี่ / หลังการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธในเขตป่าเขา (สงครามประชาชน) ซึ่งก็คือ หลังนโยบาย 66/23การต่อสู้ที่ไร้แนวหลังอันแข็งแกร่ง ทำให้รัฐศักดินาเข้มแข็งขึ้นอย่างมาก ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับเกรียงไกรอย่างต่อเนื่อง 8 ปี ในยุคพลเอก.เปรม ติณสูลานนท์ และหลังจากนั้นกองทัพก็ยังกุมสถานการณ์กำกับทุกรัฐบาลอยู่ได้ แน่นอน ที่สำคัญเพราะรัฐธรรมนูญที่ร่างอย่างเอื้อต่อระบอบโดยคนของพวกเขา จนกระทั่งกระแสเรียกร้องเพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยเข้มข้นขึ้น ประเด็นนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งก็ดี ประเด็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภาก็ดี ที่สุดจากกระแสการเคลื่อนไหวของประชาชนก็สามารถผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2540 ออกมาได้
ส่งผลให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างมาก ส่งผลให้รัฐบาลใหม่อยู่ครบเทอม ส่งผลให้มีรัฐบาลพรรคเดียวขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดขบวนการต่อต้าน ประดิษฐ์วาทกรรม “เผด็จการรัฐสภา” ขึ้น ตามมาด้วยแผนทำลายทั้งรัฐบาล ทั้งพรรคการเมือง และทั้งต่อตัว “ทักษิณ ชินวัตร” โดยตรง ปิดฉากด้วยการรัฐประหารล้ม “รัฐธรรมนูญปี 40” อันเป็นต้นตอปัญหาที่ทำให้ “ประชาธิปไตย” หลุดไปจากการกำกับ ใช้ปืนและรถถังออกมายึดอำนาจเอาดื้อๆ และให้คนของพวกเขาร่างรัฐธรรมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างยิ่ง คือ “รัฐธรรมนูญปี 50” กลายเป็นรัฐ กอ.รมน. รัฐกองทัพ รัฐข้าราชการทหาร มี ศอฉ.เป็นใหญ่ ดีเอสไอ เป็นเครื่องมือ และรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหุ่นเชิด
เมื่อประชาชนไม่ยินยอม และเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยสันติวิธีต่อเนื่องยาวนานเกือบสี่ปีหลังรัฐประหาร ในนาม”คนเสื้อแดง” พวกเขาก็ดำเนินการสังหารประชาชนอย่างเหี้ยมโหดเมื่อ 10 เมษา และ 19 พฤษภาที่ผ่านมา โดยใช้โมเดลเดียวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 “ปลอมปน สอดแทรก แบ่งแยก ทำลาย” พวกเขาพยายามดิ้นหนีจากโจทย์ “ใครฆ่าประชาชน” ให้พ้นด้วยการใช้สื่อสารมวลชนที่ตนควบคุมโหมป่าวร้องให้ความสำคัญกับการเผาอาคารมากกว่าชีวิตคน ใช้ศิลปินแต่งเพลงร้องเพลงทำร้ายหัวใจคนเสื้อแดง ตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆเผยโฉมหน้านักวิชาการบริกร เรียกร้องความปรองดองขณะจับกุมคุมขัง ไล่ล่าฆ่าสังหารคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่องทั้งในทางลับและเปิดเผย
คำถามก็คือ เมื่อการปรองดองเป็นมายาคติ ทับซ้อนอยู่ในความจริงอันเหี้ยมโหดแห่งการเข่นฆ่าประชาชนตลอดมาในประวัติศาสตร์ ภูเขาไฟลูกนี้จึงเป็นได้แค่ “ภูเขาไฟที่ดับชั่วคราว” สังคมไทยจะเข้าสู่สันติสงบและประชาธิปไตยที่แท้จริงได้อย่างไร
ดูแต่การปรองดองของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในอดีต ภาพรวมของพวกเขาเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นอดีตสมาชิก พคท.หรือแนวร่วมที่ออกจากป่ามาพร้อมกัน ปัจจุบัน พวกเขาล้วนยืนอยู่ทั้งสองฟากของความขัดแย้ง ด้วยความคิด ความเชื่อ ผลประโยชน์ และอุดมการณ์ที่ไม่เหมือนกัน
น่าคิดว่าในวันที่มีอาวุธอยู่ในมือ พวกเขายอมวางอาวุธ ไม่ใช่เพราะเชื่อในไมตรี ”พัฒนาชาติไทย” ที่รัฐศักดินาหยิบยื่นให้ แต่หากเพราะไม่มั่นใจแนวทางที่จะสู้ต่อไปของตนเองต่างหาก
เช่นเดียวกับวันนี้ แม้ไม่เชื่อในไมตรีที่จะ “ปรองดอง” พวกเขายังจะมีทางเลือกใดๆอีกหรือ เมื่อวันนี้ไม่มีอาวุธในมือ อย่าลืมว่าไม่มีอาวุธในมือ ไม่มีป่ารองรับ เสียหายง่าย เสียหายมาก ดังที่เห็นๆกันอยู่ แนวทางการปรองดองท่ามกลางการต่อสู้ด้วยสันติวิธีจึงเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดอย่างรอบคอบ
คำว่า “สู้ต่อไป”วันนี้ จะขับเคลื่อนโดยใช้อารมณ์อย่างขาดสติมิได้เป็นอันขาด คำ “ปรองดอง” จึงเป็นเอกภาพของความขัดแย้งกับ “สู้ต่อไป” ปรองดองก็เอา สู้ต่อไปก็สู้ ปรองดองในท่ามกลางการต่อสู้ หรือ ต่อสู้ขณะปรองดอง ก็ว่ากันไป เฉกเช่นเดียวกับ ขณะทำสงครามก็มีการเจรจา ขณะเจรจาการสู้รบยังดำเนินต่อไป จนกว่าจะตกลงกันได้ เพียงแต่ว่าจะโดย “เงื่อนไข” อันใดเท่านั้น.
บันทึกเขียนเสร็จ 6 กันยายน 2553
******************************************************************
เมื่อ “สถาบันนิยม” สะท้อน “ชาตินิยม”: กรณี “หัวโจก” กับ “รัฐมาเฟีย”
วันรัก สุวรรณวัฒนา
อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความโดย "วันรัก สุวรรณรัตนา" ตั้งคำถามต่อสิ่งที่รัฐบาลเรียกว่า "มาตรการเชิงรุก" หลังกรณีนักเรียนตีกัน " โดยชี้ว่า รูปแบบการเมืองของ “หัวโจก” ที่ทั้งรัฐบาลและสังคมยอมรับไม่ได้ เป็นเพียงโมเดลขนาดเล็กของการเมืองแบบ “รัฐมาเฟีย” ผิดกันที่สังคมยอมรับอำนาจนิยมรูปแบบนี้ได้
ในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องเยาวชนตีกันกลับเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ในหน้าหนึ่งของสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ไทยแทบทุกสำนัก การเสียชีวิตของเด็กชายวัย 9 ขวบซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาทเพียงแต่เผอิญไปอยู่ผิดที่ในเวลาที่ผิดพลาดนำมาซึ่งความรู้สึกสลดโศกเศร้าของผู้คนในสังคมที่เห็นพ้องต้องกันว่าเด็กเหลือขอเหล่านี้ควรต้องถูกจัดการโดยมาตรการที่เด็ดขาด
ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและออกมาตรการต่างๆใน “เชิงรุก” เพื่อสนองตอบอารมณ์สาธารณะที่ต้องการให้มีการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง จนถึงกับมีการเสนอให้ “เด็กหัวโจกทั้งระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะไปบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่ที่ท้าทาย เช่น ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” และยังเรียกร้องให้ “ครม.ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้” ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ออกมาขานรับกับการมาตรการแก้ปัญหาเชิง ”บูรณาการ” นี้ ด้วยข้อเสนอเรื่องการพัฒนาและเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว ควบคู่กับการพัฒนาเรื่องไอคิว (ดูเพิ่มเติมที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1283776766)
ท่ามกลางความพยายามที่ดูจริงใจและจริงจังเพื่อร่วมกันแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเสนอต่างๆที่ทยอยกันออกมากลับไม่ต่างไปจากข้อเสนอที่รัฐบาลและสังคมไทยได้เคย “คลอด” ออกมาตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา หนำซ้ำกลับจะทวีความรุนแรงทั้งในเชิงการจัดการและในเชิงมาตรการทางกฎหมาย เสมือนว่ากำลังพยายามก้าวกระโดดตามให้ทันความรุนแรงของปัญหาที่เพิ่มขึ้น ด้วยการลอกเลียนแบบความรุนแรงนั้น
คำถามก็คือ มาตราการเชิงรุกต่างๆ เหล่านี้ แท้จริงแล้วจะแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหมู่ "เยาวชน” ที่รมว.ศธ.และ “ผู้ใหญ่” ทั้งหลายในสังคมไทยแปะป้ายชื่อให้พวกเขาไปแล้วว่าเป็น “หัวโจก” ได้จริงหรือ?
ดังนั้น เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมานี้แล้วนั้น จะเห็นได้ว่ามีสองประเด็นที่สังคมไทยจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองอย่างตรงไปตรงมา
ประเด็นแรกคือ เรื่องกรอบคิดของการมองปัญหา ซึ่งนำไปสู่การให้คำนิยามกับปัญหาและวิธีในการจะเข้าไปจัดการกับปัญหา
จากคำสัมภาษณ์และแถลงการณ์ต่างๆของ “ทุกภาคส่วน” ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะของรมว.ศธ. เราจะเห็นได้ว่ากรอบวิธีคิดคือ การมองว่านี่คือปัญหาในระดับปัจเจก หมายถึงว่าเยาวชนทุกคนไม่ได้เป็นอย่างนี้ มีเพียงเยาวชนในบางสถาบัน เยาวชนบางกลุ่มและเยาวชนบางคนเท่านั้น ปัจเจกในที่นี้ ไม่ได้หมายความถึงตัวบุคคลเพียงคนเดียว (ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องของกรณียกเว้นไป) แต่หมายถึง “บางกลุ่มบางบุคคล” (ซึ่งเป็นเรื่องของกรณีพิเศษที่กินพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ทางมนุษยวิทยาจำกัดอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น แต่ไม่ใช่เป็นปัญหาของพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของสังคม)
การมองปัญหาแบบนี้ไม่ได้มีอะไรผิดในตัวเอง เพราะในความเป็นจริง เมื่อเราพิจารณาสถานะทางการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของเยาวชนกลุ่มนี้ เราจะเห็นได้ว่าพวกเขามีพื้นเพบางอย่างร่วมกัน คือพวกเขามาจากครอบครัวซึ่งเป็นกลุ่มคน “รากหญ้า” หรือฐานล่างที่ต้องรองรับน้ำหนักของยอดด้านบนที่กดทับลงมา หากแต่ผลที่เกิดขึ้นจากการมองปัญหาแบบนี้ในสังคมไทยต่างหากที่เป็นปัญหา เพราะนำไปสู่ข้อสรุปที่เต็มไปด้วยอคติของการสร้างความเป็นอื่นและการแบ่งแยก ดังจะเห็นจากการนิยามว่าเยาวชนเหล่านี้เป็น “หัวโจก” และเป็นภัยคุกคามสังคม
ดังนั้น เราต้องเข้าไป “จัดการ” หรือถ้าจะให้สุภาพเข้ากับ “จริต” ทางการเมืองของคนไทยหัวใจรักกัน เรามักจะใช้คำว่า “ช่วยเหลือ ขัดเกลาและเยียวยา” แต่ก็ด้วยวิธีการที่ฉาบไปด้วยอคติของการมองปัญหาแบบปัจเจก นั่นก็คือ “สอดส่อง ควบคุมและเซ็นเซอร์” ดังจะเห็นได้จากมาตรการควบคุมทั้งหลายที่ออกมาจากการประชุมของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีลักษณะสำคัญคือการ “เฝ้าระวัง” โดยมีองค์กรทางอำนาจ (ตำรวจ สารวัตรนักเรียนและตัวสถานศึกษาเอง) เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย “ล้มหัวโจก” ในขณะเดียวกัน “มาตรการระยะยาว” นั้นก็เน้นไปที่การตั้ง “คณะกรรมการ” ต่างๆขึ้นมาในรูปแบบของ “ภาคีเครือข่าย” ซึ่งในทางหลักการก็ดูเข้าที แต่ในกระบวนการและขั้นตอนของการได้มาซึ่งข้อสรุปนี้ เราจะเห็นว่า “ทุกภาคส่วน” นั้นมิได้มี “ส่วนของเยาวชนหัวโจก” ร่วมด้วยแต่อย่างใด
มาตรการเชิงรุกและระยะยาวนี้ล้วนกลั่นคั้นออกมาจากความคิดและความเห็นของ “ผู้ใหญ่ผู้หวังดี” แต่เพียงถ่ายเดียว โดยกีดกันผู้ที่เป็น “ตัวปัญหา” ออกไปจากการมีส่วนร่วม เพราะตัวปัญหาจะไม่สามารถคิด ทำและตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ได้แน่ๆ
ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามเสนออย่างกว้างขวางว่า ปัญหาเยาวชนตีกันนั้นเป็นปัญหาสังคม แต่วาทกรรมนี้ดูจะเป็นวาทกรรมที่มีแต่รูปแบบ ไร้เนื้อหาใดๆ มีไว้ใช้เพียงเพื่อประดับคำให้สัมภาษณ์ของผู้พูดเท่านั้นและเพื่อสร้างความอุ่นใจชั่วคราวให้กับสังคมเพราะตอบสนองกับสิ่งที่ความเห็นสาธารณะต้องการได้ยิน เข้าข่ายสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า political correctness (ความถูกต้องดีงามทางการเมือง)
หากในความเป็นจริงนั้น ไม่ได้มีความพยายามใดๆที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของวิธีการจัดการกับปัญหาให้สมกับที่อ้างว่าเป็นปัญหาสังคม เพราะเรายังคงมองเยาวชนเหล่านี้ว่าเป็นตัวก่อกวน มองว่าเป็นคนอื่น ที่ไม่ใช่พวกเรา ที่อยู่นอกเหนือไปจากพวกเรา และมองว่าเป็น “เชื้อร้าย” ของสังคม เราไม่ได้เอาตัวเราเองหรือสังคมทั้งหมดเข้าไป engage หรือมีส่วนร่วมจริงๆ ไม่ได้ตั้งตนว่า เรา ในฐานะคนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ก็ย่อมต้อง “มีส่วนต่อการเกิดขึ้น” ของปัญหาและ ดังนั้น จึงต้อง “มีส่วนรับผิดดชอบ” ต่อปัญหานี้เท่าๆกับเยาวชนผู้ก่อปัญหาโดยตรง
ในงานวิจัยของกรมสุขภาพจิตที่รมว.สธ.อ้างถึงนั้น สรุปไว้ว่า “กลไกก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่น 30 คน จาก 3 สถาบัน พบว่ามีปัจจัยหลักจากทัศนคติ ความคิด ค่านิยมความรุนแรง และศักดิ์ศรี ร้อยละ 60-80” ดังนั้นจึง “ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมเรื่องการใช้ความรุนแรง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ของเด็กและเยาวชนเหล่านี้
ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่จะหยุดแช่แข็งปัญญาของความคิดเห็นสาธารณะไว้เพียงแค่ข้อสรุปง่ายๆตื้นเขินว่า ต้องเปลี่ยนทัศนคติของเยาวชนเหล่านี้? ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่ เราทุกคนต้องตั้งโจทย์ใหม่ ต้องพลิกกลับกระบวนทัศน์ใหม่ ว่าอาจไม่ใช่ทัศนคติของเยาวชนที่มีปัญหา แต่เป็นทัศนคติที่ผู้มีอำนาจในการปกครองและสังคมไทยมีต่อเยาวชนต่างหากที่เป็นปัญหา?
แท้จริงแล้ว ปัญหาเยาวขนตีกันนั้นจึงไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาของปัจเจก และก็ไม่ได้เป็นปัญหาทางสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาทางวัฒนธรรม ดังนั้น จึงเป็นปัญหาทางการเมืองด้วยในเวลาเดียวกัน
ข้อสรุปชั่วคราวนี้จึงนำเรามาสู่ประเด็นที่สองคือ ประเด็นเรื่อง ภาพของสังคมที่เป็นอยู่ในขณะนี้ (ดังนั้นก็คือภาพของสังคมที่เราต้องการให้เป็นในอนาคตด้วยในเวลาเดียวกัน) ซี่งจะไปเกี่ยวเนื่องกับนโยบายปรองดองและปฏิรูปแห่งชาติที่รัฐบาลกำลังพยายามทำผ่านกลไกทางอำนาจทั้งหลายที่รัฐมีอยู่ในมือ
หลังจากเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่จบลงด้วยการตาย 91 ศพ รัฐบาลต้องการให้สังคมไทยก้าวกระโดดไปข้างหน้าด้วยการเสนอ “มาตรการระยะยาว” ภายใต้กรอบคิดเรื่อง “การปรองดอง” และ “การปฏิรูป” โดยมีวีธีการหลักๆคือ การสร้างเสริมจิตสำนึกของการรักชาติ ควบคู่ไปกับการดึงเอา “คนดี” มาเป็นธงชัยนำกองทัพปฎิรูป
“สถาบัน” ต่างๆ ทั้งทางการเมืองและทางสังคมถูกยกให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดที่แตะต้องไม่ได้
“ความดี” (และชุดคำที่มีนัยเดียวกัน “จริยธรรม” “ศีลธรรม” ฯลฯ) ถูกสถาปนาให้เป็นคุณค่าสูงสุดที่ต้องยึดมั่นถือมั่น
ในนามของ “ชาติไทย” และการรวมใจเป็นหนึ่งเดียว คนไทย “ที่ดี” นั้นจะต้องประพฤกติตัวบนเส้นทางนี้ที่รัฐบาลพยายามปูไว้ให้เท่านั้น หากเราเผลอก้าวออกนอกพรมแดงนี้เมื่อใด เราจะกลายเป็น คนไม่รักชาติ ผู้ก่อกวน ผู้ก่อการร้าย หัวโจก ฯลฯ ไปในทันที
ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่ายุคสมัยที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่นี้คือยุคของการกลับไปสู่การสร้างลัทธิ “ชาตินิยม” ในนามของการพัฒนาประเทศ และรัฐก็ใช้ความรุนแรงในหลากหลายวิธีเพื่อที่การสถาปนาลัทธินี้ เพราะในขณะที่รัฐบอกเราว่าเราควรจะรักกัน (ซึ่งเป็นมาตรการระยะยาวและเชิงบูรณาการ) รัฐก็ใช้ “มาตรการเชิงรุก” ภายใต้กรอบคิด “ควบคุม สอดส่องและเซ็นเซอร์” (รวมไปถึงปราบปราม) กลุ่มคนที่คิดเห็นต่าง ทั้งทางการเมืองและทางสังคม ด้วยการคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้
ดังนั้น ในท้ายที่สุดแล้ว “สถาบันนิยม” ของเหล่าเยาวชนผู้รักการตีกัน จึงอาจเป็นผลผลิต (ในเชิงย้อนกลับ) ของลัทธิ “ชาตินิยม” ของบรรดาคนไทยหัวใจ (รักชาติ) เดียวกัน เพราะท้ายที่สุด ทั้งสองกลุ่มก็รักและเทิดทูน “คุณค่าสูงสุด” ในแบบเดียวกัน กลุ่มหนึ่งเทิดทูนสถาบันการศึกษา ส่วนอีกกลุ่มเทิดทูนแนวคิดเรื่องรัฐชาติหนึ่งดียว และทั้งสองกลุ่มตัดสินใจหรือกระทำการใดๆ ภายใต้ “ความเชื่อ” เรื่องคุณค่าสูงสุด
รูปแบบการเมืองของ “หัวโจก” จึงเป็นโมเดลขนาดเล็กของรูปแบบการเมืองของ “รัฐมาเฟีย” !
แต่ในขณะที่สังคมยอมรับ “อำนาจนิยม” แห่งรัฐได้ (สังคมยอมให้รัฐใช้ความรุนแรงได้ โดยมีข้ออ้างคือ “ความชอบธรรม”) เหล่านักศึกษาอาชีว “หัวโจก” กลับไม่สามารถอ้างความชอบธรรมใดๆทั้งสิ้นที่จะใช้ความรุนแรงได้เลย นอกเสียจาก ความชอบธรรมหนึ่งเดียวที่บุคคลอื่นๆ ในสังคมยัดเยียดให้กับพวกเขาด้วยสายตาที่สังเวชระคนความโกรธเกรี้ยว
นั่นก็คือการมองว่าพวกเขาเป็นผู้ด้วยโอกาสทางสังคมอันเนื่องมาจากโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่บูดเบี้ยว
หากแต่เรามักจะลืมว่าโครงสร้างที่บูดเบี้ยวนี้ แท้จริงแล้ว ตั้งอยู่บนฐานของโครงสร้างทางอำนาจและทางคุณค่าที่เห็นแก่ตัว ใจแคบและเบ็ดเสร็จ !
กระบวนทัศน์ที่รัฐและสังคมใช้มองและจัดการกับปัญหาเรื่องเยาวชนก่อความรุนแรงจึงต้องได้รับการตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้ติดอยู่ในกับดักเรื่อง “การสร้างคนดี” แต่เพียงถ่ายเดียว เพราะปัญหาของเยาวขนตีกันนั้นสะท้อนปัญหาที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าเรื่องของทัศนคติและค่านิยมของเยาวชน และยิ่งใหญ่ไปกว่าวาทกรรมกว้างๆ ว่าด้วยปัญหาสังคม เพราะมันคือปัญหาของระบบการให้คุณค่าและระบบการใช้อำนาจของสังคมไทยทั้งระบบ
*****************************************************************
อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความโดย "วันรัก สุวรรณรัตนา" ตั้งคำถามต่อสิ่งที่รัฐบาลเรียกว่า "มาตรการเชิงรุก" หลังกรณีนักเรียนตีกัน " โดยชี้ว่า รูปแบบการเมืองของ “หัวโจก” ที่ทั้งรัฐบาลและสังคมยอมรับไม่ได้ เป็นเพียงโมเดลขนาดเล็กของการเมืองแบบ “รัฐมาเฟีย” ผิดกันที่สังคมยอมรับอำนาจนิยมรูปแบบนี้ได้
ในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องเยาวชนตีกันกลับเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ในหน้าหนึ่งของสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ไทยแทบทุกสำนัก การเสียชีวิตของเด็กชายวัย 9 ขวบซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทะเลาะวิวาทเพียงแต่เผอิญไปอยู่ผิดที่ในเวลาที่ผิดพลาดนำมาซึ่งความรู้สึกสลดโศกเศร้าของผู้คนในสังคมที่เห็นพ้องต้องกันว่าเด็กเหลือขอเหล่านี้ควรต้องถูกจัดการโดยมาตรการที่เด็ดขาด
ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการหารือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและออกมาตรการต่างๆใน “เชิงรุก” เพื่อสนองตอบอารมณ์สาธารณะที่ต้องการให้มีการแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง จนถึงกับมีการเสนอให้ “เด็กหัวโจกทั้งระดับมัธยมศึกษาและอาชีวะไปบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่ที่ท้าทาย เช่น ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” และยังเรียกร้องให้ “ครม.ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้” ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ออกมาขานรับกับการมาตรการแก้ปัญหาเชิง ”บูรณาการ” นี้ ด้วยข้อเสนอเรื่องการพัฒนาและเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว ควบคู่กับการพัฒนาเรื่องไอคิว (ดูเพิ่มเติมที่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1283776766)
ท่ามกลางความพยายามที่ดูจริงใจและจริงจังเพื่อร่วมกันแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเสนอต่างๆที่ทยอยกันออกมากลับไม่ต่างไปจากข้อเสนอที่รัฐบาลและสังคมไทยได้เคย “คลอด” ออกมาตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา หนำซ้ำกลับจะทวีความรุนแรงทั้งในเชิงการจัดการและในเชิงมาตรการทางกฎหมาย เสมือนว่ากำลังพยายามก้าวกระโดดตามให้ทันความรุนแรงของปัญหาที่เพิ่มขึ้น ด้วยการลอกเลียนแบบความรุนแรงนั้น
คำถามก็คือ มาตราการเชิงรุกต่างๆ เหล่านี้ แท้จริงแล้วจะแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในหมู่ "เยาวชน” ที่รมว.ศธ.และ “ผู้ใหญ่” ทั้งหลายในสังคมไทยแปะป้ายชื่อให้พวกเขาไปแล้วว่าเป็น “หัวโจก” ได้จริงหรือ?
ดังนั้น เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมานี้แล้วนั้น จะเห็นได้ว่ามีสองประเด็นที่สังคมไทยจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองอย่างตรงไปตรงมา
ประเด็นแรกคือ เรื่องกรอบคิดของการมองปัญหา ซึ่งนำไปสู่การให้คำนิยามกับปัญหาและวิธีในการจะเข้าไปจัดการกับปัญหา
จากคำสัมภาษณ์และแถลงการณ์ต่างๆของ “ทุกภาคส่วน” ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะของรมว.ศธ. เราจะเห็นได้ว่ากรอบวิธีคิดคือ การมองว่านี่คือปัญหาในระดับปัจเจก หมายถึงว่าเยาวชนทุกคนไม่ได้เป็นอย่างนี้ มีเพียงเยาวชนในบางสถาบัน เยาวชนบางกลุ่มและเยาวชนบางคนเท่านั้น ปัจเจกในที่นี้ ไม่ได้หมายความถึงตัวบุคคลเพียงคนเดียว (ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องของกรณียกเว้นไป) แต่หมายถึง “บางกลุ่มบางบุคคล” (ซึ่งเป็นเรื่องของกรณีพิเศษที่กินพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ทางมนุษยวิทยาจำกัดอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้น แต่ไม่ใช่เป็นปัญหาของพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของสังคม)
การมองปัญหาแบบนี้ไม่ได้มีอะไรผิดในตัวเอง เพราะในความเป็นจริง เมื่อเราพิจารณาสถานะทางการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของเยาวชนกลุ่มนี้ เราจะเห็นได้ว่าพวกเขามีพื้นเพบางอย่างร่วมกัน คือพวกเขามาจากครอบครัวซึ่งเป็นกลุ่มคน “รากหญ้า” หรือฐานล่างที่ต้องรองรับน้ำหนักของยอดด้านบนที่กดทับลงมา หากแต่ผลที่เกิดขึ้นจากการมองปัญหาแบบนี้ในสังคมไทยต่างหากที่เป็นปัญหา เพราะนำไปสู่ข้อสรุปที่เต็มไปด้วยอคติของการสร้างความเป็นอื่นและการแบ่งแยก ดังจะเห็นจากการนิยามว่าเยาวชนเหล่านี้เป็น “หัวโจก” และเป็นภัยคุกคามสังคม
ดังนั้น เราต้องเข้าไป “จัดการ” หรือถ้าจะให้สุภาพเข้ากับ “จริต” ทางการเมืองของคนไทยหัวใจรักกัน เรามักจะใช้คำว่า “ช่วยเหลือ ขัดเกลาและเยียวยา” แต่ก็ด้วยวิธีการที่ฉาบไปด้วยอคติของการมองปัญหาแบบปัจเจก นั่นก็คือ “สอดส่อง ควบคุมและเซ็นเซอร์” ดังจะเห็นได้จากมาตรการควบคุมทั้งหลายที่ออกมาจากการประชุมของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีลักษณะสำคัญคือการ “เฝ้าระวัง” โดยมีองค์กรทางอำนาจ (ตำรวจ สารวัตรนักเรียนและตัวสถานศึกษาเอง) เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย “ล้มหัวโจก” ในขณะเดียวกัน “มาตรการระยะยาว” นั้นก็เน้นไปที่การตั้ง “คณะกรรมการ” ต่างๆขึ้นมาในรูปแบบของ “ภาคีเครือข่าย” ซึ่งในทางหลักการก็ดูเข้าที แต่ในกระบวนการและขั้นตอนของการได้มาซึ่งข้อสรุปนี้ เราจะเห็นว่า “ทุกภาคส่วน” นั้นมิได้มี “ส่วนของเยาวชนหัวโจก” ร่วมด้วยแต่อย่างใด
มาตรการเชิงรุกและระยะยาวนี้ล้วนกลั่นคั้นออกมาจากความคิดและความเห็นของ “ผู้ใหญ่ผู้หวังดี” แต่เพียงถ่ายเดียว โดยกีดกันผู้ที่เป็น “ตัวปัญหา” ออกไปจากการมีส่วนร่วม เพราะตัวปัญหาจะไม่สามารถคิด ทำและตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ได้แน่ๆ
ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามเสนออย่างกว้างขวางว่า ปัญหาเยาวชนตีกันนั้นเป็นปัญหาสังคม แต่วาทกรรมนี้ดูจะเป็นวาทกรรมที่มีแต่รูปแบบ ไร้เนื้อหาใดๆ มีไว้ใช้เพียงเพื่อประดับคำให้สัมภาษณ์ของผู้พูดเท่านั้นและเพื่อสร้างความอุ่นใจชั่วคราวให้กับสังคมเพราะตอบสนองกับสิ่งที่ความเห็นสาธารณะต้องการได้ยิน เข้าข่ายสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า political correctness (ความถูกต้องดีงามทางการเมือง)
หากในความเป็นจริงนั้น ไม่ได้มีความพยายามใดๆที่จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของวิธีการจัดการกับปัญหาให้สมกับที่อ้างว่าเป็นปัญหาสังคม เพราะเรายังคงมองเยาวชนเหล่านี้ว่าเป็นตัวก่อกวน มองว่าเป็นคนอื่น ที่ไม่ใช่พวกเรา ที่อยู่นอกเหนือไปจากพวกเรา และมองว่าเป็น “เชื้อร้าย” ของสังคม เราไม่ได้เอาตัวเราเองหรือสังคมทั้งหมดเข้าไป engage หรือมีส่วนร่วมจริงๆ ไม่ได้ตั้งตนว่า เรา ในฐานะคนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ก็ย่อมต้อง “มีส่วนต่อการเกิดขึ้น” ของปัญหาและ ดังนั้น จึงต้อง “มีส่วนรับผิดดชอบ” ต่อปัญหานี้เท่าๆกับเยาวชนผู้ก่อปัญหาโดยตรง
ในงานวิจัยของกรมสุขภาพจิตที่รมว.สธ.อ้างถึงนั้น สรุปไว้ว่า “กลไกก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงในกลุ่มวัยรุ่น 30 คน จาก 3 สถาบัน พบว่ามีปัจจัยหลักจากทัศนคติ ความคิด ค่านิยมความรุนแรง และศักดิ์ศรี ร้อยละ 60-80” ดังนั้นจึง “ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรมเรื่องการใช้ความรุนแรง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม” ของเด็กและเยาวชนเหล่านี้
ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่จะหยุดแช่แข็งปัญญาของความคิดเห็นสาธารณะไว้เพียงแค่ข้อสรุปง่ายๆตื้นเขินว่า ต้องเปลี่ยนทัศนคติของเยาวชนเหล่านี้? ยังไม่ถึงเวลาอีกหรือที่ เราทุกคนต้องตั้งโจทย์ใหม่ ต้องพลิกกลับกระบวนทัศน์ใหม่ ว่าอาจไม่ใช่ทัศนคติของเยาวชนที่มีปัญหา แต่เป็นทัศนคติที่ผู้มีอำนาจในการปกครองและสังคมไทยมีต่อเยาวชนต่างหากที่เป็นปัญหา?
แท้จริงแล้ว ปัญหาเยาวขนตีกันนั้นจึงไม่ใช่เป็นแค่ปัญหาของปัจเจก และก็ไม่ได้เป็นปัญหาทางสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาทางวัฒนธรรม ดังนั้น จึงเป็นปัญหาทางการเมืองด้วยในเวลาเดียวกัน
ข้อสรุปชั่วคราวนี้จึงนำเรามาสู่ประเด็นที่สองคือ ประเด็นเรื่อง ภาพของสังคมที่เป็นอยู่ในขณะนี้ (ดังนั้นก็คือภาพของสังคมที่เราต้องการให้เป็นในอนาคตด้วยในเวลาเดียวกัน) ซี่งจะไปเกี่ยวเนื่องกับนโยบายปรองดองและปฏิรูปแห่งชาติที่รัฐบาลกำลังพยายามทำผ่านกลไกทางอำนาจทั้งหลายที่รัฐมีอยู่ในมือ
หลังจากเหตุการณ์การชุมนุมของคนเสื้อแดงที่จบลงด้วยการตาย 91 ศพ รัฐบาลต้องการให้สังคมไทยก้าวกระโดดไปข้างหน้าด้วยการเสนอ “มาตรการระยะยาว” ภายใต้กรอบคิดเรื่อง “การปรองดอง” และ “การปฏิรูป” โดยมีวีธีการหลักๆคือ การสร้างเสริมจิตสำนึกของการรักชาติ ควบคู่ไปกับการดึงเอา “คนดี” มาเป็นธงชัยนำกองทัพปฎิรูป
“สถาบัน” ต่างๆ ทั้งทางการเมืองและทางสังคมถูกยกให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดที่แตะต้องไม่ได้
“ความดี” (และชุดคำที่มีนัยเดียวกัน “จริยธรรม” “ศีลธรรม” ฯลฯ) ถูกสถาปนาให้เป็นคุณค่าสูงสุดที่ต้องยึดมั่นถือมั่น
ในนามของ “ชาติไทย” และการรวมใจเป็นหนึ่งเดียว คนไทย “ที่ดี” นั้นจะต้องประพฤกติตัวบนเส้นทางนี้ที่รัฐบาลพยายามปูไว้ให้เท่านั้น หากเราเผลอก้าวออกนอกพรมแดงนี้เมื่อใด เราจะกลายเป็น คนไม่รักชาติ ผู้ก่อกวน ผู้ก่อการร้าย หัวโจก ฯลฯ ไปในทันที
ในแง่นี้ อาจกล่าวได้ว่ายุคสมัยที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่นี้คือยุคของการกลับไปสู่การสร้างลัทธิ “ชาตินิยม” ในนามของการพัฒนาประเทศ และรัฐก็ใช้ความรุนแรงในหลากหลายวิธีเพื่อที่การสถาปนาลัทธินี้ เพราะในขณะที่รัฐบอกเราว่าเราควรจะรักกัน (ซึ่งเป็นมาตรการระยะยาวและเชิงบูรณาการ) รัฐก็ใช้ “มาตรการเชิงรุก” ภายใต้กรอบคิด “ควบคุม สอดส่องและเซ็นเซอร์” (รวมไปถึงปราบปราม) กลุ่มคนที่คิดเห็นต่าง ทั้งทางการเมืองและทางสังคม ด้วยการคงพ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้
ดังนั้น ในท้ายที่สุดแล้ว “สถาบันนิยม” ของเหล่าเยาวชนผู้รักการตีกัน จึงอาจเป็นผลผลิต (ในเชิงย้อนกลับ) ของลัทธิ “ชาตินิยม” ของบรรดาคนไทยหัวใจ (รักชาติ) เดียวกัน เพราะท้ายที่สุด ทั้งสองกลุ่มก็รักและเทิดทูน “คุณค่าสูงสุด” ในแบบเดียวกัน กลุ่มหนึ่งเทิดทูนสถาบันการศึกษา ส่วนอีกกลุ่มเทิดทูนแนวคิดเรื่องรัฐชาติหนึ่งดียว และทั้งสองกลุ่มตัดสินใจหรือกระทำการใดๆ ภายใต้ “ความเชื่อ” เรื่องคุณค่าสูงสุด
รูปแบบการเมืองของ “หัวโจก” จึงเป็นโมเดลขนาดเล็กของรูปแบบการเมืองของ “รัฐมาเฟีย” !
แต่ในขณะที่สังคมยอมรับ “อำนาจนิยม” แห่งรัฐได้ (สังคมยอมให้รัฐใช้ความรุนแรงได้ โดยมีข้ออ้างคือ “ความชอบธรรม”) เหล่านักศึกษาอาชีว “หัวโจก” กลับไม่สามารถอ้างความชอบธรรมใดๆทั้งสิ้นที่จะใช้ความรุนแรงได้เลย นอกเสียจาก ความชอบธรรมหนึ่งเดียวที่บุคคลอื่นๆ ในสังคมยัดเยียดให้กับพวกเขาด้วยสายตาที่สังเวชระคนความโกรธเกรี้ยว
นั่นก็คือการมองว่าพวกเขาเป็นผู้ด้วยโอกาสทางสังคมอันเนื่องมาจากโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่บูดเบี้ยว
หากแต่เรามักจะลืมว่าโครงสร้างที่บูดเบี้ยวนี้ แท้จริงแล้ว ตั้งอยู่บนฐานของโครงสร้างทางอำนาจและทางคุณค่าที่เห็นแก่ตัว ใจแคบและเบ็ดเสร็จ !
กระบวนทัศน์ที่รัฐและสังคมใช้มองและจัดการกับปัญหาเรื่องเยาวชนก่อความรุนแรงจึงต้องได้รับการตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้ติดอยู่ในกับดักเรื่อง “การสร้างคนดี” แต่เพียงถ่ายเดียว เพราะปัญหาของเยาวขนตีกันนั้นสะท้อนปัญหาที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าเรื่องของทัศนคติและค่านิยมของเยาวชน และยิ่งใหญ่ไปกว่าวาทกรรมกว้างๆ ว่าด้วยปัญหาสังคม เพราะมันคือปัญหาของระบบการให้คุณค่าและระบบการใช้อำนาจของสังคมไทยทั้งระบบ
*****************************************************************
วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553
ซาอุฯ ออกแถลงการณ์ลดสัมพันธ์ไทย หลังมีมติแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
ซาอุออกแถลงการณ์ลดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย พร้อมสั่งห้ามพลเมืองเดินทางมายังไทย หลังไทยมีมติแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 53 เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่าสถานทูตซาอุดีอาระเบียประจำกรุงเทพฯ ได้ออกแถลงการณ์ เพื่อตอกย้ำถึงความไม่พอใจต่อกรณีที่ รัฐบาลไทยมีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธาน พิจารณาแต่งตั้ง พล.ต.ท. สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภาค 5 ขึ้นเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งที่ตกเป็นจำเลยในคดีอุ้มฆ่า นาย โมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี 2533 และคดีกำลังอยู่ในระหว่างชั้นศาล ซึ่งจะเริ่มต้นนัดสืบพยานในวันที่ 25 พ.ย. 2553
แถลงการณ์ ระบุว่า เนื่องจากกระบวนการสอบสวนในคดีความดังกล่าวที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า และขาดกระบวนการที่เหมาะสมนั้น ส่งผลให้ทางการซาอุดิอาระเบีย ตัดสินใจลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย พร้อมนำข้อกำหนดที่เข็มงวดมาบังคับใช้กับแรงงานไทย นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งห้ามพลเมืองซาอุฯ เดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังลดระดับความร่วมมือทวิภาคีในระดับสูงทุกสาขากับไทยให้อยู่ในระดับต่ำสุด
ไทยและซาอุดิอาระเบีย ได้เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2508 ก่อนจะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศขึ้นสู่ระดับ "เอกอัตรราชทูต" ในปี 2509
นอกจากนี้ แถลงการณ์ ยังเรียกร้องให้ทางการไทยทบทวนการตัดสินใจแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ซึ่งเคยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับคดีการหายตัวของนายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากคดีความทั้ง 3 คดี มีอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งทั้งสองประเทศพยายามที่จะให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างโปร่งใส และคดีความดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อความพยายามในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
ที่มา.ประชาไท
_______________________________________________________________
เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 53 เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์รายงานว่าสถานทูตซาอุดีอาระเบียประจำกรุงเทพฯ ได้ออกแถลงการณ์ เพื่อตอกย้ำถึงความไม่พอใจต่อกรณีที่ รัฐบาลไทยมีมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธาน พิจารณาแต่งตั้ง พล.ต.ท. สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภาค 5 ขึ้นเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งที่ตกเป็นจำเลยในคดีอุ้มฆ่า นาย โมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย เมื่อปี 2533 และคดีกำลังอยู่ในระหว่างชั้นศาล ซึ่งจะเริ่มต้นนัดสืบพยานในวันที่ 25 พ.ย. 2553
แถลงการณ์ ระบุว่า เนื่องจากกระบวนการสอบสวนในคดีความดังกล่าวที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า และขาดกระบวนการที่เหมาะสมนั้น ส่งผลให้ทางการซาอุดิอาระเบีย ตัดสินใจลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย พร้อมนำข้อกำหนดที่เข็มงวดมาบังคับใช้กับแรงงานไทย นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งห้ามพลเมืองซาอุฯ เดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทย พร้อมกันนี้ยังลดระดับความร่วมมือทวิภาคีในระดับสูงทุกสาขากับไทยให้อยู่ในระดับต่ำสุด
ไทยและซาอุดิอาระเบีย ได้เริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการขึ้น เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2508 ก่อนจะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศขึ้นสู่ระดับ "เอกอัตรราชทูต" ในปี 2509
นอกจากนี้ แถลงการณ์ ยังเรียกร้องให้ทางการไทยทบทวนการตัดสินใจแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ซึ่งเคยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับคดีการหายตัวของนายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบีย ไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคดีดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากคดีความทั้ง 3 คดี มีอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งทั้งสองประเทศพยายามที่จะให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างโปร่งใส และคดีความดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อความพยายามในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
ที่มา.ประชาไท
_______________________________________________________________
เศรษฐกิจดี สังคมต้องดีและปลอดภัย
บทบรรณาธิการ
แม้ในด้านหนึ่งต้องถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยที่นอกเหนือไปจากการออกมาแถลงข่าว ให้ความเชื่อมั่นโดยบุคคลของรัฐบาล หรือหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทยอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับแนวโน้มที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2553 ที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นไปถึงระดับ 7% แล้ว องค์กรหรือสถาบันการจัดอันดับระดับนานาชาติ ก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ไทยมีศักยภาพและความเข้มแข็งด้านการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมากในปีนี้
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้สูงกว่า 7% หรืออาจโตได้ราว 7.4% จากนั้นในปี 54 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราว 4-5% โดยฟิทช์จะมีการติดตามการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป หากมีการขยายตัวได้ดีขึ้นกว่านี้ และการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่ "มูดีส์" ก็ออกมายืนยันว่า ปรับอันดับเครดิตประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้ หลังมีมุมมองเครดิตประเทศไทยในเชิงลบมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี เนื่องจากสภาวะหลายอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและการเงินที่ดีเกินกว่าที่คาดไว้มาก แต่ขณะเดียวกันก็มีความท้าทายหลายอย่างที่มีผลกระทบในระยะยาว เช่น เรื่องการเมืองที่ดูเหมือนไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นนับตั้งแต่มีความขัดแย้งทางการเมืองมา
นอกจากประเด็นหลักเรื่องเดิมที่ยังเป็นคำถามสำคัญของประเทศไทยนั่นคือความผันผวนทางการเมืองแล้ว อีกด้านหนึ่งในท่ามกลางกระแสข่าวดีเกี่ยวกับอัตราการเติบโต การขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น ดูเหมือนปัญหาเกี่ยวเนื่องทางสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ยังดำรงอยู่ในหลายกลุ่ม หลายพื้นที่ อันนำไปสู่ภาพสะท้อนจากปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งมีสถิติคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนคนไทยกลับเพิ่มสูงขึ้น หรือยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ เมือง สังคม ที่ก้าวข้ามการพัฒนาด้านเศรษฐกิจไปพร้อมกับการดูแล ควบคุมปัญหาด้านสังคม อาชญากรรม ยาเสพติด ฯลฯ จนกลายเป็นประเทศหรือสังคมที่สมดุลทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจและความสงบสุข มั่นคงในด้านสังคม
สอดคล้องกับข้อมูลของ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,237 คน แล้วพบว่า คนกรุงเทพฯ เห็นว่าตนเองมีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตในระดับปานกลาง ความเสี่ยงด้านการเมืองยังคงมีคะแนนสูงที่สุดคือ 7.06 คะแนน รองลงมาคือความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย (6.51 คะแนน) ขณะที่ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สินและความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทางมีคะแนนเท่ากัน (6.36 คะแนน) ตามลำดับ
อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หยิบยกเอาประเด็นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาสถิติคดีอาชญากรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นควบคู่ไปกับสภาพการณ์ที่ดูเหมือนเศรษฐกิจไทยจะเติบโตมากขึ้น มาหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพียงแต่คำปรารภอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการตั้งรับสถานการณ์ความซับซ้อนที่กำลังก้าวกระโดด ทั้งคดีอาชญากรรมทั่วไป คดีอาชญากรรมรุนแรง คดีก่อความไม่สงบ ไปจนถึงคดีฉ้อโกง หลอกลวง ที่กำลังปะทุรุนแรงมากขึ้น และเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องตระหนัก เร่งหามาตรการเพื่อให้สังคม ก้าวไปอย่างสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคมที่เข้มแข็งและปลอดภัย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
***************************************************************************
แม้ในด้านหนึ่งต้องถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยที่นอกเหนือไปจากการออกมาแถลงข่าว ให้ความเชื่อมั่นโดยบุคคลของรัฐบาล หรือหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทยอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับแนวโน้มที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2553 ที่มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นไปถึงระดับ 7% แล้ว องค์กรหรือสถาบันการจัดอันดับระดับนานาชาติ ก็มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ไทยมีศักยภาพและความเข้มแข็งด้านการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมากในปีนี้
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวได้สูงกว่า 7% หรืออาจโตได้ราว 7.4% จากนั้นในปี 54 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราว 4-5% โดยฟิทช์จะมีการติดตามการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป หากมีการขยายตัวได้ดีขึ้นกว่านี้ และการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่ "มูดีส์" ก็ออกมายืนยันว่า ปรับอันดับเครดิตประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้ หลังมีมุมมองเครดิตประเทศไทยในเชิงลบมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี เนื่องจากสภาวะหลายอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจและการเงินที่ดีเกินกว่าที่คาดไว้มาก แต่ขณะเดียวกันก็มีความท้าทายหลายอย่างที่มีผลกระทบในระยะยาว เช่น เรื่องการเมืองที่ดูเหมือนไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นนับตั้งแต่มีความขัดแย้งทางการเมืองมา
นอกจากประเด็นหลักเรื่องเดิมที่ยังเป็นคำถามสำคัญของประเทศไทยนั่นคือความผันผวนทางการเมืองแล้ว อีกด้านหนึ่งในท่ามกลางกระแสข่าวดีเกี่ยวกับอัตราการเติบโต การขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น ดูเหมือนปัญหาเกี่ยวเนื่องทางสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ยังดำรงอยู่ในหลายกลุ่ม หลายพื้นที่ อันนำไปสู่ภาพสะท้อนจากปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งมีสถิติคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนคนไทยกลับเพิ่มสูงขึ้น หรือยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ เมือง สังคม ที่ก้าวข้ามการพัฒนาด้านเศรษฐกิจไปพร้อมกับการดูแล ควบคุมปัญหาด้านสังคม อาชญากรรม ยาเสพติด ฯลฯ จนกลายเป็นประเทศหรือสังคมที่สมดุลทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจและความสงบสุข มั่นคงในด้านสังคม
สอดคล้องกับข้อมูลของ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,237 คน แล้วพบว่า คนกรุงเทพฯ เห็นว่าตนเองมีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตในระดับปานกลาง ความเสี่ยงด้านการเมืองยังคงมีคะแนนสูงที่สุดคือ 7.06 คะแนน รองลงมาคือความเสี่ยงด้านสุขภาพร่างกาย (6.51 คะแนน) ขณะที่ความเสี่ยงด้านชีวิตและทรัพย์สินและความเสี่ยงด้านการจราจรและการเดินทางมีคะแนนเท่ากัน (6.36 คะแนน) ตามลำดับ
อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หยิบยกเอาประเด็นความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาสถิติคดีอาชญากรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นควบคู่ไปกับสภาพการณ์ที่ดูเหมือนเศรษฐกิจไทยจะเติบโตมากขึ้น มาหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพียงแต่คำปรารภอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสำหรับการตั้งรับสถานการณ์ความซับซ้อนที่กำลังก้าวกระโดด ทั้งคดีอาชญากรรมทั่วไป คดีอาชญากรรมรุนแรง คดีก่อความไม่สงบ ไปจนถึงคดีฉ้อโกง หลอกลวง ที่กำลังปะทุรุนแรงมากขึ้น และเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลต้องตระหนัก เร่งหามาตรการเพื่อให้สังคม ก้าวไปอย่างสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคมที่เข้มแข็งและปลอดภัย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
***************************************************************************
"กระผมไม่กลัวใต้เท้า"
วาทะของโฆษก ศอฉ.(ที่ไม่ได้ระบุคำเต็มไว้เพราะผู้อ่านแปลคำย่อนี้ต่างๆกัน ดังนั้นท่านถนัดแปลอย่างไร ก็ตามถนัดครับ) “ ศอฉ.ได้ติดตามพฤติกรรม (สื่อสิ่งพิมพ์บางฉบับ) มาโดยตลอด และจะมีการแจ้งความดำเนินคดีกับสื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว และถ้ามีความจำเป็นจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด เช่น การปิดหนังสือพิมพ์ดังกล่าว ” ตอกย้ำแนวทางการใช้อำนาจของ ศอฉ. ได้เป็นอย่างดี
หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเดือนเมษายน 2553 มีการอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 (3) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ออกข้อกำหนดเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 “ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร”
มาตรา 9 (3) เป็นมาตราเดียวในพระราชกำหนดที่ให้อำนาจในการดำเนินการกับสื่อต่างๆ โดยอาจห้ามเสนอเฉพาะข่าวที่เข้าลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด แต่มิใช่ห้ามไปเสียทุกเรื่อง ในกรณีที่สื่อนั้นมีข้อความต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ก็อาจห้ามจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลาย ซึ่งถ้าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ก็ห้ามได้เฉพาะฉบับที่มีข้อความต้องห้าม ถ้าสื่อนั้นตัดข้อความต้องห้ามออกแล้วก็ย่อมจำหน่ายได้ และจะไปห้ามจำหน่ายฉบับในอนาคตที่ยังไม่ทราบว่ามีข้อความใดย่อมไม่ได้ หลักการเดียวกันนี้ใช้กับสื่อประเภทอื่น เช่น สื่ออินเทอร์เน็ตด้วย ทั้งนี้พระราชกำหนดมิได้ให้อำนาจ ศอฉ. ปิดสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 45
โดยวรรคสามบัญญัติห้ามการสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรา 45 นี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ศอฉ.มีคำสั่งที่ 71/2553 ห้ามหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ คือ เสียงทักษิณ ความจริงวันนี้ ไทยเรดนิวส์ และวิวาทะ เสนอข่าวสารที่มีข้อความต้องห้ามตามกฎหมาย และห้ามจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการห้ามฉบับประจำวันใดหรือฉบับประจำช่วงเวลาใด ซึ่งเท่ากับเป็นการห้ามทุกฉบับแม้แต่ฉบับในอนาคตซึ่ง ศอฉ.ยังไม่ทราบเลยว่าหนังสือพิมพ์เหล่านั้นอาจออกฉบับที่สรรเสริญเยิรยอ ศอฉ.มาบ้างก็ได้ ผลของคำสั่ง ศอฉ.คือการปิดกิจการหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ นั่นเอง
นอกจากสื่อหนังสือพิมพ์ข้างต้นแล้วยังมีสื่ออินเทอร์เน็ตอีกมากที่โดนปิดด้วยวิธีการต่างๆ โดยมีร่องรอยการกระทำของผู้ใช้อำนาจรัฐปรากฏในสื่อดังกล่าวอยู่ก็หลายกรณี
ในการอภิปรายเกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม อีกครั้งหนึ่งจัดโดยคณะกรรมการฝ่ายเสวนาวิชาการ วันรพี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนสิงหาคม ผมและผู้อภิปรายบางท่านได้อภิปรายว่า ศอฉ.ไม่มีอำนาจปิดกิจการสื่อมวลชนและรัฐธรรมนูญห้ามปิดกิจการสื่อมวลชน แต่รู้สึกว่าไม่เป็นประเด็นที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญแม้จะเกี่ยวกับสื่อมวลชนเองก็ตาม
ต้องรอจนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2553 ที่วาทะโฆษก ศอฉ.ทำให้เรื่องการปิดสื่อมวลชนมาเป็นเป้าความสนใจได้ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ว่าการสั่งปิดหนังสือพิมพ์ไม่น่าจะทำได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ หาก ศอฉ.ยังคงมีการแถลงในลักษณะการข่มขู่ว่าใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉินสั่งปิดหนังสือพิมพ์ในลักษณะที่ทำให้เกิดความสับสน คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจะได้มีการหารือถึงมาตรการในการดำเนินการร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอื่นๆต่อไป
ผมจึงขอใช้โอกาสนี้แจ้งไปยังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งหลายว่าเรื่องการปิดกิจการสื่อมวลชนนั้นไม่ใช่เพียงการแถลงในลักษณะการข่มขู่ แต่ได้ปิดจริงๆแล้วด้วย ในยามที่กลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมดูจะทำงานไม่เหมือนยามปกติ เป็นเหตุให้มีการใช้อำนาจรัฐโดยผิดกฎหมายหรือใช้ตามอำเภอใจอยู่เนืองๆ ถึงเวลาหรือยังครับที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนจะแสดงบทบาทในการปกป้องเสรีภาพของสื่อมวลชน อย่างน้อยก็ควรบอกไปยัง ศอฉ. ว่า “กระผมไม่กลัวใต้เท้า” ด้วยถ้อยคำแบบเดียวกับที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ที่องค์การยูเนสโกยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านสื่อสารมวลชน เคยใช้เมื่อปลายปี 2525
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
***********************************************************************
หลังการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเดือนเมษายน 2553 มีการอาศัยอำนาจตามมาตรา 9 (3) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ออกข้อกำหนดเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2553 “ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร”
มาตรา 9 (3) เป็นมาตราเดียวในพระราชกำหนดที่ให้อำนาจในการดำเนินการกับสื่อต่างๆ โดยอาจห้ามเสนอเฉพาะข่าวที่เข้าลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด แต่มิใช่ห้ามไปเสียทุกเรื่อง ในกรณีที่สื่อนั้นมีข้อความต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ก็อาจห้ามจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลาย ซึ่งถ้าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ก็ห้ามได้เฉพาะฉบับที่มีข้อความต้องห้าม ถ้าสื่อนั้นตัดข้อความต้องห้ามออกแล้วก็ย่อมจำหน่ายได้ และจะไปห้ามจำหน่ายฉบับในอนาคตที่ยังไม่ทราบว่ามีข้อความใดย่อมไม่ได้ หลักการเดียวกันนี้ใช้กับสื่อประเภทอื่น เช่น สื่ออินเทอร์เน็ตด้วย ทั้งนี้พระราชกำหนดมิได้ให้อำนาจ ศอฉ. ปิดสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใด
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 45
โดยวรรคสามบัญญัติห้ามการสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรา 45 นี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2553 ศอฉ.มีคำสั่งที่ 71/2553 ห้ามหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ คือ เสียงทักษิณ ความจริงวันนี้ ไทยเรดนิวส์ และวิวาทะ เสนอข่าวสารที่มีข้อความต้องห้ามตามกฎหมาย และห้ามจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการห้ามฉบับประจำวันใดหรือฉบับประจำช่วงเวลาใด ซึ่งเท่ากับเป็นการห้ามทุกฉบับแม้แต่ฉบับในอนาคตซึ่ง ศอฉ.ยังไม่ทราบเลยว่าหนังสือพิมพ์เหล่านั้นอาจออกฉบับที่สรรเสริญเยิรยอ ศอฉ.มาบ้างก็ได้ ผลของคำสั่ง ศอฉ.คือการปิดกิจการหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ นั่นเอง
นอกจากสื่อหนังสือพิมพ์ข้างต้นแล้วยังมีสื่ออินเทอร์เน็ตอีกมากที่โดนปิดด้วยวิธีการต่างๆ โดยมีร่องรอยการกระทำของผู้ใช้อำนาจรัฐปรากฏในสื่อดังกล่าวอยู่ก็หลายกรณี
ในการอภิปรายเกี่ยวกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อเดือนกรกฎาคม อีกครั้งหนึ่งจัดโดยคณะกรรมการฝ่ายเสวนาวิชาการ วันรพี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือนสิงหาคม ผมและผู้อภิปรายบางท่านได้อภิปรายว่า ศอฉ.ไม่มีอำนาจปิดกิจการสื่อมวลชนและรัฐธรรมนูญห้ามปิดกิจการสื่อมวลชน แต่รู้สึกว่าไม่เป็นประเด็นที่สื่อมวลชนให้ความสำคัญแม้จะเกี่ยวกับสื่อมวลชนเองก็ตาม
ต้องรอจนถึงปลายเดือนสิงหาคม 2553 ที่วาทะโฆษก ศอฉ.ทำให้เรื่องการปิดสื่อมวลชนมาเป็นเป้าความสนใจได้ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ว่าการสั่งปิดหนังสือพิมพ์ไม่น่าจะทำได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ หาก ศอฉ.ยังคงมีการแถลงในลักษณะการข่มขู่ว่าใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉินสั่งปิดหนังสือพิมพ์ในลักษณะที่ทำให้เกิดความสับสน คณะกรรมการบริหารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยจะได้มีการหารือถึงมาตรการในการดำเนินการร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอื่นๆต่อไป
ผมจึงขอใช้โอกาสนี้แจ้งไปยังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้งหลายว่าเรื่องการปิดกิจการสื่อมวลชนนั้นไม่ใช่เพียงการแถลงในลักษณะการข่มขู่ แต่ได้ปิดจริงๆแล้วด้วย ในยามที่กลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมดูจะทำงานไม่เหมือนยามปกติ เป็นเหตุให้มีการใช้อำนาจรัฐโดยผิดกฎหมายหรือใช้ตามอำเภอใจอยู่เนืองๆ ถึงเวลาหรือยังครับที่องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนจะแสดงบทบาทในการปกป้องเสรีภาพของสื่อมวลชน อย่างน้อยก็ควรบอกไปยัง ศอฉ. ว่า “กระผมไม่กลัวใต้เท้า” ด้วยถ้อยคำแบบเดียวกับที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ที่องค์การยูเนสโกยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านสื่อสารมวลชน เคยใช้เมื่อปลายปี 2525
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
***********************************************************************
วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553
‘รัฐบาลเทพประทาน’ ชำรุด!!
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร,บางกอกทูเดย์
เท่าที่ ระแคะ! ระคาย! ระคน! ระคาง! ทราบกันมา.. “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี เริ่มไม่เป็นที่ “โปรด..โปรดกันอย่างสุด..สุด”??
พ่อยกแม่ยก ที่ส่งเสียงเย้วๆ หนุนกันยุ่บยั่บ! ยะยับ! ยะย้าว! พากันเบ้หน้าเป็นแถว
ความเป็น “เทพบุตรเนื้อหอม” สำหรับ “มาร์ค” นาทีนี้หมดแล้ว
ซึ่ง “อภิสิทธิ์” มั่นใจจะถูลู่ถูกัง ลาก “รัฐบาลเทพประทาน” อยู่ยาวไปจนครบเทอม..เกรงว่า เมื่อ “สิ้นมนต์เสื่อม” ไม่เป็นที่ปลื้มเสียแล้ว..โอกาสอยู่ไป มีแต่ยากส์!!
เท่าที่รู้ “ฟ้าเปลี่ยนสี”.... “อภิสิทธิ์” ทำให้ทุกฝ่ายเซ็งเต็มที?..อยู่ถึงสิ้นปี ยังลำบาก??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘โยนบาป’ ให้คนอื่นเต็ม..เต็ม!!
สงสาร “ลุงจิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล มท. ๑ ที่ถูกเขม่น เล่นงาน กันทุกเฟรม??
เอะอะมะเทิ่ง “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ก็โบ้ยใส่.. ทำเรื่องให้ “รัฐบาลเทพประทาน” ฉาวได้ทุกเรื่อง
แต่งตั้งปลัดกระทรวง ก็ล้วงลูกจนเกิดเหตุ ดังลั่นไปทั้งเมือง
จัดงบประมาณ ยังเป็นการ “แบ่งเค็ก” เพื่อจูงใจ! ให้ส.ส.จิงโจ้! ผู้ไม่มีความจริงใจ! เข้ามากินงบกันจุ๊บจั๊บ! เพื่อย้ายเข้ามาซบอยู่กับ “พรรคภูมิใจไทย”!!
“ลุงจิ้น” เป็นที่รังเกลียด.. “อภิสิทธิ์” เบื่อสุดเหยียด?..กำลังจะเบียด ให้ตกตำแหน่งไป??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อ ‘มหาดไทย’ มีแต่เรื่องฉาว เรื่องแดง!
ดีดลูกคิดรางแก้ว แล้ว “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ก็จะโล๊ะเอา “ลุงจิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ให้พ้นตำแหน่ง??
อย่างไรก็ดี, ต้องใช้บริการ “พรรคภูมิใจไทย” ของ “เนวิน ชิดชอบ” อยู่นั่นแหละ
พรรคนี้มี “คอนเน็กชั่น” มีคนร่วมประสาน ผลประโยชน์กันแยะ
ไล่เรียงดูแล้ว ล้วนระดับตัวเป้งขั้นเทพ ผู้ถืออำนาจประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น “บิ๊กเนวิน ชิดชอบ”, “สุเทพ เทือกสุบรรณ”, “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ป้ายแดง คนใหม่ ผู้มาแรง และอยู่ได้อีกนาน!!
กล้าโล๊ะทิ้ง “ลุงจิ้น” ออกไป....แต่ไม่กล้าตัดใจ?..ไล่พรรคภูมิใจไทย ก็แล้วกัลล์ล์??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“ทำบุญ” เหมือน “ไฟตกน้ำ”!!
“อดีตรัฐมนตรีพินิจ จารุสมบัติ” ๑ ใน ๓ ผู้คุมกฎพรรคเพื่อแผ่นดิน หนุนใคร ก็มีแต่ช้ำ??
สู้ปลุกปล้ำ..เอ๊ย...ปลุกปั้น และ ทุ่มเท ให้กับ “ท่านไชยยศ จิรเมธากร”อย่างเต็มที่
กระสุนดินดำ.. ก็ “ใจปล้ำ” ดูแลกันเป็นอย่างดี
แต่ใครจะไปเชื่อ?.. “ท่านพินิจ” ผู้มีน้ำใจกว้างเป็นแม่น้ำ คาบมหาสมุทร..ต้องช้ำใจเจ็บทรวง เมื่อ “คุณพี่ไชยยศ” คนที่จะสร้างให้เป็น “รัฐมนตรีว่าการ” กลับตัดช่องน้อยแต่พอตัว ไปรับจ๊อบทำงานสิวๆ เป็นแค่ “รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ” ให้แก่ “นายกฯ อภิสิทธิ์”!!
อยู่พรรคเพื่อแผ่นดินกันมา..แทนที่จะร่วมชะตา?...กลับหนีหน้า ไปรับตำแหน่งน้อยนิด??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อดีตไม่สำคัญ ปัจจุบัน ไม่ฟ้อง!!
“โทนี แบลร์” อดีตนายกรัฐมนตรีเมืองผู้ดีอังกฤษ ไม่เป็นที่ต้องการ ของพ่อแม่พี่น้อง??
พ้นจากเก้าอี้ ที่นั่งบัลลังก์ทอง...ไม่มีเอี่ยวเป็น “นายกรัฐมนตรี” แล้ว...วันนี้อยู่ดีมีสุข ที่ไหน
ไปเปิดตัวหนังสือที่ไอร์แลนด์...กลุ่มโกรธแค้น ก็ปาเกือก และ ไข่เข้าใส่
เป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์ สำหรับ “ผู้นำ” ที่ “คลั่งอำนาจ”..ยิ่งคนที่ “สั่งฆ่า” สังหารหมู่ประชาชนด้วยแล้ว..ยามลื่นตกจากตำแหน่ง กลายเป็น “เทวดาตกสวรรค์” ไม่เป็น “นายกรัฐมนตรี” แล้วไซร้!..เหยียบแผ่นดินตรงไหน คนก็ตาม “เช็คบิล” กันอย่างดาษดื่น!!
อยู่ในอำนาจ ใช้กฎหมายคุ้มครอง..ยามตกกระป๋อง?..ยังไง คนก็จ้องเอาคืน???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เท่าที่ ระแคะ! ระคาย! ระคน! ระคาง! ทราบกันมา.. “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” นายกรัฐมนตรี เริ่มไม่เป็นที่ “โปรด..โปรดกันอย่างสุด..สุด”??
พ่อยกแม่ยก ที่ส่งเสียงเย้วๆ หนุนกันยุ่บยั่บ! ยะยับ! ยะย้าว! พากันเบ้หน้าเป็นแถว
ความเป็น “เทพบุตรเนื้อหอม” สำหรับ “มาร์ค” นาทีนี้หมดแล้ว
ซึ่ง “อภิสิทธิ์” มั่นใจจะถูลู่ถูกัง ลาก “รัฐบาลเทพประทาน” อยู่ยาวไปจนครบเทอม..เกรงว่า เมื่อ “สิ้นมนต์เสื่อม” ไม่เป็นที่ปลื้มเสียแล้ว..โอกาสอยู่ไป มีแต่ยากส์!!
เท่าที่รู้ “ฟ้าเปลี่ยนสี”.... “อภิสิทธิ์” ทำให้ทุกฝ่ายเซ็งเต็มที?..อยู่ถึงสิ้นปี ยังลำบาก??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘โยนบาป’ ให้คนอื่นเต็ม..เต็ม!!
สงสาร “ลุงจิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล มท. ๑ ที่ถูกเขม่น เล่นงาน กันทุกเฟรม??
เอะอะมะเทิ่ง “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ก็โบ้ยใส่.. ทำเรื่องให้ “รัฐบาลเทพประทาน” ฉาวได้ทุกเรื่อง
แต่งตั้งปลัดกระทรวง ก็ล้วงลูกจนเกิดเหตุ ดังลั่นไปทั้งเมือง
จัดงบประมาณ ยังเป็นการ “แบ่งเค็ก” เพื่อจูงใจ! ให้ส.ส.จิงโจ้! ผู้ไม่มีความจริงใจ! เข้ามากินงบกันจุ๊บจั๊บ! เพื่อย้ายเข้ามาซบอยู่กับ “พรรคภูมิใจไทย”!!
“ลุงจิ้น” เป็นที่รังเกลียด.. “อภิสิทธิ์” เบื่อสุดเหยียด?..กำลังจะเบียด ให้ตกตำแหน่งไป??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เมื่อ ‘มหาดไทย’ มีแต่เรื่องฉาว เรื่องแดง!
ดีดลูกคิดรางแก้ว แล้ว “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ก็จะโล๊ะเอา “ลุงจิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล ให้พ้นตำแหน่ง??
อย่างไรก็ดี, ต้องใช้บริการ “พรรคภูมิใจไทย” ของ “เนวิน ชิดชอบ” อยู่นั่นแหละ
พรรคนี้มี “คอนเน็กชั่น” มีคนร่วมประสาน ผลประโยชน์กันแยะ
ไล่เรียงดูแล้ว ล้วนระดับตัวเป้งขั้นเทพ ผู้ถืออำนาจประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น “บิ๊กเนวิน ชิดชอบ”, “สุเทพ เทือกสุบรรณ”, “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ป้ายแดง คนใหม่ ผู้มาแรง และอยู่ได้อีกนาน!!
กล้าโล๊ะทิ้ง “ลุงจิ้น” ออกไป....แต่ไม่กล้าตัดใจ?..ไล่พรรคภูมิใจไทย ก็แล้วกัลล์ล์??
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“ทำบุญ” เหมือน “ไฟตกน้ำ”!!
“อดีตรัฐมนตรีพินิจ จารุสมบัติ” ๑ ใน ๓ ผู้คุมกฎพรรคเพื่อแผ่นดิน หนุนใคร ก็มีแต่ช้ำ??
สู้ปลุกปล้ำ..เอ๊ย...ปลุกปั้น และ ทุ่มเท ให้กับ “ท่านไชยยศ จิรเมธากร”อย่างเต็มที่
กระสุนดินดำ.. ก็ “ใจปล้ำ” ดูแลกันเป็นอย่างดี
แต่ใครจะไปเชื่อ?.. “ท่านพินิจ” ผู้มีน้ำใจกว้างเป็นแม่น้ำ คาบมหาสมุทร..ต้องช้ำใจเจ็บทรวง เมื่อ “คุณพี่ไชยยศ” คนที่จะสร้างให้เป็น “รัฐมนตรีว่าการ” กลับตัดช่องน้อยแต่พอตัว ไปรับจ๊อบทำงานสิวๆ เป็นแค่ “รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ” ให้แก่ “นายกฯ อภิสิทธิ์”!!
อยู่พรรคเพื่อแผ่นดินกันมา..แทนที่จะร่วมชะตา?...กลับหนีหน้า ไปรับตำแหน่งน้อยนิด??
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อดีตไม่สำคัญ ปัจจุบัน ไม่ฟ้อง!!
“โทนี แบลร์” อดีตนายกรัฐมนตรีเมืองผู้ดีอังกฤษ ไม่เป็นที่ต้องการ ของพ่อแม่พี่น้อง??
พ้นจากเก้าอี้ ที่นั่งบัลลังก์ทอง...ไม่มีเอี่ยวเป็น “นายกรัฐมนตรี” แล้ว...วันนี้อยู่ดีมีสุข ที่ไหน
ไปเปิดตัวหนังสือที่ไอร์แลนด์...กลุ่มโกรธแค้น ก็ปาเกือก และ ไข่เข้าใส่
เป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์ สำหรับ “ผู้นำ” ที่ “คลั่งอำนาจ”..ยิ่งคนที่ “สั่งฆ่า” สังหารหมู่ประชาชนด้วยแล้ว..ยามลื่นตกจากตำแหน่ง กลายเป็น “เทวดาตกสวรรค์” ไม่เป็น “นายกรัฐมนตรี” แล้วไซร้!..เหยียบแผ่นดินตรงไหน คนก็ตาม “เช็คบิล” กันอย่างดาษดื่น!!
อยู่ในอำนาจ ใช้กฎหมายคุ้มครอง..ยามตกกระป๋อง?..ยังไง คนก็จ้องเอาคืน???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
"สมคิด"เพาะเมล็ดพันธุ์ ผู้นำรุ่นใหม่ กล้าคิด-นำเปลี่ยนแปลง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปิดโครงการอบรม "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" ซึ่งมูลนิธิสัมมาชีพและเครือ "มติชน" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม-5 กันยายน ที่ห้องประชุมอาคารข่าวสด เมื่อวันที่ 5 กันยายน
ผมมาวันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาบรรยายอะไร แต่มาเพื่อสื่อความในใจร่วมกัน ต้องการมาขอบคุณเครือมติชน และผู้บริหารในเครือมติชนที่เห็นคุณค่าของโครงการนี้ และเป็นเสาหลักจริงๆ ให้กับโครงการที่จัดขึ้นมา ถ้าไม่มีความสนับสนุนจากเครือมติชน ผมไม่คิดว่าโครงการจะลุล่วงได้ถึงขนาดนี้ ขอขอบคุณคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเชื่อว่าเป็นคณะวิทยากรซึ่งหาได้ยาก แต่ละท่านล้วนมีชื่อเสียงระดับประเทศ การมาร่วมกันบรรยายโครงการหนึ่งโครงการใดนั้นไม่ใช่ของง่าย ที่สำคัญที่สุดต้องขอขอบคุณมูลนิธิสัมมาชีพ ที่ประกอบด้วยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้หวังผลอะไร แต่ยอมเสียสละเวลา เสียสละกำลังกายกำลังใจเป็นผู้จัดโครงการ และต้องขอขอบคุณผู้เข้าร่วมอบรม แต่ละคนมีภาระยุ่งเหยิง มาจากต่างจังหวัด บางท่านมาจากยะลา เสียสละเวลามานั่งฟัง แบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
สิ่งที่โครงการนี้หวังเพียงว่า ณ จุดนี้ โครงการจะสามารถทำให้เห็นถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกพอสมควร ช่วยให้สามารถมองเห็นหลายสิ่งหลายอย่างของประเทศไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ อาจให้ความคิดหรือบทเรียนบางประการที่สามารถนำไปใช้ในสิ่งที่มีจุดมุ่งหมายอยู่แล้วที่จะทำความดีความงามให้กับสังคมบ้านเมือง มีโอกาสให้สร้างเครือข่าย ไม่ใช่สร้างเครือข่ายเพื่อความรุ่งเรืองส่วนตัว แต่เป็นเครือข่ายที่จะช่วยให้ผู้อบรมได้ทำในสิ่งที่ต้องการคือทำสังคมให้ดียิ่งขึ้น
ตอนเริ่มโครงการ ผมเชื่อว่าหลายคนอาจตั้งคำถามในใจว่าจริงๆ แล้ว วัตถุประสงค์ของโครงการคืออะไร มีการเมืองแอบแฝงหรือไม่ แต่ผมไม่เคยอธิบายและตอบคำถามในสิ่งเหล่านี้ ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าโครงการนี้ให้อะไร และได้ผลอย่างไร เท่าที่ฟังผู้เข้าอบรมสรุปมาก็คิดว่าโครงการนี้บรรลุเป้าหมาย ถ้าเริ่มมีประกาย เริ่มมีความมุ่งมั่น เริ่มคิดที่จะลุกขึ้นมาทำอะไรหลายๆ อย่างเพื่อสังคมบ้านเมือง สิ่งเหล่านี้คือจุดประสงค์ที่แท้จริง
เมื่อครั้งผมคุยกับคุณขรรค์ชัย บุนปาน ประธานเครือมติชน ว่าต้องการให้มีการร่วมกันของภาคประชาชน ถ้าภาคประชาชนเข้มแข็ง บ้านเมืองก็เข้มแข็ง แต่ภาคประชาชนนั้นไม่ใช่ว่า ทุกคนมีความพร้อมเท่าเทียมกัน การที่ทุกคนจะมีส่วนร่วมในทันใดนั้นเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ต้องมีด่านหน้าหรือที่เรียกว่า "ฟรอนท์ ไลน์" ที่มีความพร้อม อยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำอะไรได้มากกว่าคนอื่น ให้คนเหล่านี้ได้มีโอกาสพบปะ รับฟังสิ่งต่างๆ ร่วมกัน ทำความเข้าใจโลก ทำความเข้าใจกับประเทศไทย ทำความเข้าใจกับตัวเองให้ดีขึ้น โครงการพยายามให้ข้อมูล ให้ความรู้ ให้ช่องทาง และให้ความสนับสนุนเต็มที่
ผมคิดโครงการนี้ขึ้นมา เพราะครั้งหนึ่งผมเคยมีความฝัน เป็นความฝันของคนที่ยังหนุ่มยังแน่น เป็นความฝันที่อยากทำให้ประเทศดีขึ้น จริงๆ แล้วชีวิตผมห่างไกลจากการเมืองสุดกู่ ผมเกิดที่เยาวราชในครอบครัวที่ไม่มีอันจะกิน โชคดีที่ผู้ใหญ่อุปการะส่งเสริมให้เรียนหนังสือ ได้ทุนไปเรียนต่างประเทศ มีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดทางสังคมและการเมือง เริ่มมีความคิดทางสังคมและการเมือง เพราะว่ามีสิ่งที่มาจุดประกาย ประกายแรกเกิดขึ้นที่ธรรมศาสตร์ สมัย 14 ตุลา มาจบที่ 6 ตุลา ผมอยู่ปี 1-4 จากคนที่ไม่เคยสนใจสังคมการเมืองก็เริ่มคิดว่าบ้านเมืองควรเปลี่ยนแปลงอย่างนี้อย่างนั้น ประการที่สองคือ ตอนที่มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ ได้ศึกษาทำความรู้จักกับประเทศญี่ปุ่น ก็เอะใจว่าทำไมญี่ปุ่นซึ่งไม่มีอะไรเลยถึงพลิกกลับขึ้นเป็นมหาอำนาจ ความสนใจเริ่มแผ่ไปฮ่องกง สิงคโปร์ ประการที่สามเริ่มคิดจะเขียนหนังสือ แล้วก็คิดถึงเรื่องเมืองไทย แล้วจู่ๆ โชคชะตาก็พาเข้าการเมือง
ก่อนหน้านั้นผมเป็นนักวิชาการ เป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ครั้งหนึ่งเคยนั่งกินกาแฟ ทางซ้ายของผมคือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทางขวาของผมคือ คุณทักษิณ ชินวัตร รักกันมาก นั่นคือ 20 ปีที่แล้ว ผมไม่คิดว่าวันนี้ท่านจะเป็นเจ้าของกีฬาสีคนละสีกัน นี่คือดวงชะตาคนเรา จู่ๆ ผมก็เข้าไปช่วยคุณทักษิณที่กระทรวงต่างประเทศ บอกท่านให้ใช้เศรษฐกิจนำการทูต และเมื่อตั้งพรรคการเมืองท่านก็ตั้งให้ผมเป็นประธานวิชาการของพรรคไทยรักไทย เขียนนโยบายขึ้นมา ตอนนั้นหนังสือเล่มหนึ่งกำลังฮิต คือ "รี ธิงกิ้ง" ผมเลยคิดขึ้นมาว่า คิดใหม่ ทำใหม่ สำหรับประเทศไทยขณะนั้น
ประสบการณ์ที่ผมได้คลุกคลีกับหลายจุด ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคราชการ ภาคการเมือง จนครอบคลุมเต็มตัวจริงๆ อยู่ 6 ปี ตอนนั้นแม้จะเหนื่อยแต่เป็นความสุขของคนที่เคยฝัน ฝันว่าอยากจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้น คิดทำโน่นทำนี่ ฝันว่าอยากทำให้ประเทศไทยมีความสามารถเชิงแข่งขันที่โดดเด่น ฝันว่าจะทำให้สังคมมีความสุข ผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว เรารู้ว่าสังคมกำลังแตกก็บอกว่าให้มีภาษีลูกกตัญญู คิดทำในสิ่งเหล่านี้ เรื่องของกองทุนหมู่บ้าน จิปาถะเต็มไปหมด ทำงานเหน็ดเหนื่อยก็จริงแต่มีความสุขใจที่ได้มีโอกาสช่วยประเทศ สุขใจที่มีโอกาสใช้สิ่งที่ร่ำเรียนมาให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่เอาสิ่งที่ร่ำเรียนมาทำเพื่อการค้าหรือสร้างตัวเองขึ้นมา
แล้ววันหนึ่งพระเจ้าก็บอกว่า สมคิดมาพักได้แล้ว ผมมีความทุกข์พอสมควรในการเห็นปัญหาของบ้านเมืองแล้วไม่สามารถผลักดันหรือขับเคลื่อนได้อย่างที่ต้องการ บางครั้งเหมือนเขยื้อนภูเขา เขยื้อนไม่ได้ ทำไม่ได้เพราะถ้าคิดคนเดียว ทำคนเดียว ทำให้ตายก็ไม่มีทาง ฉะนั้น จุดความฝันใหม่ ฝันว่าจะทำอย่างไรให้เมล็ดพันธุ์พืชขึ้นมาหลายๆ เมล็ด ให้เป็นคนที่สามารถฝากผีฝากไข้สำหรับอนาคตของประเทศ เพราะคนเหล่านั้นจะสามารถก้าวสู่ความเป็นผู้นำในอนาคตข้างหน้า และผู้นำนั้นต้องมาจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่มาจากนักธุรกิจอย่างเดียว อาจารย์อย่างเดียว หรือจากภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง
แต่ละคนล้วนมีความคิดของตนเองทั้งสิ้น ทำอย่างไรถึงจะมีสื่อกลางให้คนเหล่านั้นได้แสดงออก ให้เขาเริ่มเติบโต เริ่มยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น รู้ว่าความคิด ความฝัน ความจริงกับการปฏิบัติเป็นอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะเดินไปข้างหน้าได้ โลกเราอยู่ได้ด้วยการผสมผสาน ความยืดหยุ่น รู้จักใช้สิ่งที่เป็นบวกของแต่ละคน มองข้ามสิ่งที่เป็นลบ คนเหล่านี้เมื่อถึงเวลาของเขาก็อาจก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำระดับชาติ
ถ้าสร้างตั้งแต่วันนี้ ช่วยเหลือตั้งแต่วันนี้ ก็จะออกผลเอาตอนนั้น และถ้าออกผลในตอนนั้น ประเทศก็มีที่พึ่ง ที่วันนี้ประเทศไม่มีที่พึ่งเพราะเราไม่ได้สร้างเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นขึ้นมา เราไม่มีผู้นำรุ่นใหม่ๆ ในแต่ละภาคส่วน แต่วันนี้เราเริ่มเห็นผู้นำในท้องถิ่น นายกเทศมนตรีทั้งหลาย ผู้นำสหกรณ์อายุไม่มากเกิดความคิดดีเลิศ นี่คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าเมืองไทยของเราไม่ได้ขาดคนดี แต่ทำอย่างไรจะจุดไฟให้เกิดขึ้น ต้องกล้าคิดกล้าทำ ไม่เอาตัวเองให้ตกเป็นทาสของความคิดผิดๆ กล้าคิดของตัวเองขึ้นมา การอธิบายว่าผู้นำเป็นอย่างไรนั้น หาอ่านได้ในหนังสือเยอะแยะ แต่อยากให้ดูว่าผู้นำที่สามารถสร้างชาติได้ต้องมีความรักชาติ รักบ้านเมือง ต้องมีความเสียสละ ต้องมีความกล้าหาญ
มีผู้นำอยู่คนหนึ่งซึ่งผมยอมรับและชื่นชมคือ อดีตนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยิว ของสิงคโปร์ ผมชื่นชมเขาไม่ใช่ประเทศเขาเจริญ ลี กวน ยิว โตในสิงคโปร์ ไปเรียนหนังสือต่างประเทศ ชีวิตของเขามีแรงผลักอยู่มหาศาล ตอนอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เขาเคยเล่าให้นักข่าวฟังว่า ญี่ปุ่นมายึดสิงคโปร์ เขาเดินผ่านทหารญี่ปุ่น แต่ไม่รู้ว่าเวลาเดินผ่านทหารญี่ปุ่นต้องโค้ง ทหารญี่ปุ่นเรียกไปให้เขาคุกเข่าแล้วกระทืบ เขาบอกว่าการกระทืบครั้งนั้นสอนให้รู้ว่าอำนาจคืออะไร จากนั้นเขาไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ตอนไปคนอังกฤษดูหมิ่นคนเอเชีย เพราะคิดว่าเหนือกว่า เขาเริ่มเกิดความคิดว่าระบบอังกฤษดีกว่า คนเอเชียจริงหรือเปล่า เขาติดตามดูวิธีการบริหารเศรษฐกิจของอังกฤษ ติดตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษที่เป็นแม่บท เขาบอกว่าสิงคโปร์ทำได้แน่และดีกว่าแน่นอน ขออย่างเดียวให้มีเวลา
เขาเดินทางกลับมาที่สิงคโปร์ ตอนนั้นอายุยังไม่ถึง 40 ด้วยซ้ำ ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง สนับสนุนให้มีการรวมสิงคโปร์ซึ่งเป็นเกาะประมงเล็กๆ ไม่มีอะไร ร่วมกับมลายู ก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย เขาต่อสู้เพื่อสิ่งเหล่านี้และเขาชนะ สิงคโปร์รวมกับมลายูได้ แต่เมื่อตั้งมาเลเซียขึ้นมา เขาได้รับบทเรียนสำคัญ มาเลเซียนั้นต้องการเป็นมาเลเซียซึ่งมีมาเลย์ ออน ท็อป แต่ข้อเสนอของเขาคือ ต้องเท่าเทียมกัน เป็นลูกคนหนึ่ง ไม่ใช่ลูกเลี้ยง เขาคิดไม่ถึงว่า มาเลเซียขณะนั้นจะตัดเขาออกไป อดีตนายกฯมาเลเซียประกาศตัดสิงคโปร์ออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เพราะคิดว่าไปไม่รอดแน่ เกาะเล็กๆ ไม่มีอะไร มีแค่การจับปลา
ผมได้มีโอกาสดูวิดีโอคลิปตอน ลี กวน ยิว อายุประมาณ 42 ผมไม่เคยคิดว่าบุรุษเหล็กอย่างลี กวน ยิว ร้องไห้เป็น เขาให้สัมภาษณ์นักข่าวบอกว่า ตลอดชีวิตวัยหนุ่มทุ่มเทและเชื่อมั่นว่าการรวมเป็นสหพันธรัฐมาเลเซียคือเป้าหมาย เขาเอาทิชชูมาซับน้ำตา ผมดูแล้วเข้าใจทันทีว่า ทำไมสิงคโปร์ถึงมีแรงผลักมากขนาดนี้ ทำไม 40-50 ปีให้หลังถึงทำงานแบบไม่มีหยุดหย่อน ทุกอย่างเริ่มต้นจากแรงผลักข้างในทั้งสิ้น คำถามที่ต้องถามคือ คนไทยมีแรงผลักนี้หรือไม่ มีความมุ่งมั่นหรือไม่ทางการเมือง การเมืองไม่ใช่เพื่อส่วนตัวแต่เพื่อประเทศชาติ เขาใช้เวลาหลายเดือนในการรวบรวมตัวเองไม่ให้แตกซ่านจากความผิดหวัง
ลี กวน ยิว ออกมาประกาศต่อคนสิงคโปร์ว่า คนอย่างเขาไม่ใช่ลูกไล่ของใคร เขาบอกว่าจะไม่เล่นเกมที่ใครกำหนดขึ้นมา สิงคโปร์จะกำหนดชะตาเอง และสิงคโปร์จะต้องอยู่รอด เขาประกาศคำนี้ตอนอายุ 42 จากจุดนั้นเป็นต้นมา เขาคิดอนาคต เลือกสรรคนดีๆ มาทำงานเพื่อบ้านเมือง คนเราไม่เท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้นทำอย่างไรให้คนสิงคโปร์เหนือกว่าคนอื่นและอยู่รอดได้ และสิ่งนั้นคือเรื่องของการศึกษา และสิงคโปร์ก็ทุ่มเทเรื่องการศึกษามาโดยตลอด มีการนำคนเก่งๆ เข้ามาในประเทศไม่ว่าจะชาติใดก็แล้วแต่ การที่มีคนเก่ง มีคนดี มีความตั้งใจ
ลี กวน ยิว เริ่มสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ มี โก๊ะ จ๊ก ตง มีจายา กุมาร์ เต็มไปหมด แต่ละคนเขาให้เงินเดือนสูงมากๆ วันที่เขาตั้งเงินเดือนให้สูงๆ นั้น เขาถูกโจมตีจากสื่อต่างประเทศ เขาประกาศว่า ถ้าให้คนที่จะมานำประเทศแล้วให้เงินเดือนต่ำๆ ก็จะมีแต่คนที่พูดหวานแล้ววันหนึ่งข้างหน้าจะออกลาย แล้วเมื่อนั้นพวกเขาจะทำให้ชาติเสื่อมทราม ประเทศจะเจริญได้ รัฐบาลต้องเข้มแข็ง รัฐบาลสามารถเข้มแข็งได้ก็จะมีคนดีเลิศมาที่รัฐบาล ประเทศชาติจะเจริญ ฉะนั้น อย่าเสียดายเงินเดือนค่าจ้าง
มีคนถามลี กวน ยิว ว่าห่วงไหม ถ้าวันหนึ่งมีพรรคอื่นมาเป็นรัฐบาล เขาบอกว่าไม่ห่วงเลย ตราบใดที่พวกเขาเหล่านั้นรู้ว่าจะหาใครมาทำงานให้สิงคโปร์ก้าวหน้าได้ เขาเตือนประชาชนของเขาอย่างตรงไปตรงมาไม่มีอ้อมค้อม ไม่มีระบบศรีธนญชัย เขาบอกว่าเราให้ชามข้าวคุณ ไม่ใช่ชามเหล็กตกไม่แตก แต่เป็นชามกระเบื้องที่ตกแตก ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของชาวสิงคโปร์ทุกคนที่จะต้องรักษาชามข้าวใบนี้ไว้ ถ้าแตกเมื่อไหร่คือเคราะห์ร้ายของประเทศ รัฐบาลจำเป็นต้องแทรกแซงในบางเรื่อง เพราะขณะนั้นเริ่มมีคนบ่นว่าเขาเริ่มเข้ามาวุ่นกับชีวิตประจำวันของคนสิงคโปร์ เขาบอกว่าสิงคโปร์มีวันนี้เพราะเราช่วยกันคิดว่าอนาคตคืออะไร ต้องทำอะไร แม้กระทั่งจะถ่มน้ำลายก็สำคัญ ถ้าคิดว่าเขาทำผิดก็ให้เลือกพรรคอื่นไม่ต้องเลือกเขา คนงานสหภาพแรงงานสไตร๊ค์ 2 สัปดาห์ ในภาพวิดีโอที่ออกมา เขาออกมาประกาศว่าการหยุดงาน 2 สัปดาห์ แต่ใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะซ่อมความเสียหายได้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเจรจาต่อรอง แต่เป็นเรื่องของชีวิตคนสิงคโปร์ทุกคน มีทางเลือก 2 ทางคือสไตร๊ค์ต่อหรือหยุด ถ้าเป็นทางแรก เขาสัญญาว่าจะให้คนสิงคโปร์ทั้งประเทศให้บทเรียนและสั่งสอน
ฟังเขาพูดเรื่องสื่อฝรั่ง สื่อฝรั่งเริ่มตำหนิสิงคโปร์ เพราะตอนนั้นเริ่มเกิดปัญหาระหว่างสิงคโปร์กับออสเตรเลีย เขาให้สื่อต่างประเทศออกจากสิงคโปร์ ตรงนี้ถูกผิดหรือไม่ผมไม่ขอออกความเห็น แต่สะท้อนได้ว่าเขาคิดอะไร เขาบอกเขาอนุญาตให้สื่ออยู่ในประเทศเพื่อรายงานข้อเท็จจริงของสิงคโปร์ให้ฝรั่งได้เข้าใจ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มจินตนาการเริ่มเขียนให้เกิดความเสียหายต่อสิงคโปร์ เมื่อนั้นก็ไม่ต้องอยู่ในสิงคโปร์ สื่อในสิงคโปร์มีความสามารถไม่แพ้สื่อต่างประเทศ เขาบอกว่าถ้าคุณไม่ดูแลสิ่งเหล่านี้ แล้วมีคนซึ่งเอาความคิดที่ไม่ดี ความคิดผิดๆ แล้วเผยแพร่ตลอดเวลาในสื่อเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี ประเทศจะอยู่ได้หรือไม่ เป็นหน้าที่ของผู้นำและของรัฐบาลที่ต้องหยุดความคิดเหล่านั้นด้วยการให้คนที่มีความคิดเหล่านั้นมาชี้แจง ถ้าผิดก็ขอโทษในสิ่งที่เคยพูด ถ้ายังทำต่อไปต้องขึ้นศาลว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม ไม่เช่นนั้นถ้าความคิดผิดๆ อยู่ในสมองของประชาชน ความเสียหายจะเกิดขึ้นมหาศาล เขาพูดแบบนี้เมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว ผมคิดถึงกีฬาสีเมืองไทยขึ้นมา
สิ่งที่เล่ามาไม่ใช่ว่าถูกหรือผิด แต่กำลังจะบอกว่า คนที่เป็นผู้นำนั้นต้องมีความคิด ต้องเปิดรับความคิด ต้องรู้จักทำในสิ่งที่ถูกต้อง ต้องสื่อความ ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องไม่เห็นว่าอำนาจคืออะไร ตำแหน่งคืออะไร สิ่งเหล่านั้นคือสิ่งที่ต้องปลูกฝัง ต้องสร้างให้มีผู้นำรุ่นใหม่เกิดขึ้น ปีนี้ผมอายุ 57 แล้ว อีกไม่กี่ปีก็ 60 แต่ต้องมีคนรุ่นใหม่แล้ว อายุ 30 40 50 ต้องเริ่มคิดสิ่งเหล่านี้แล้ว คนอายุมากถอยไปอยู่ข้างหลัง คอยช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ลี กวน ยิว เคยบอกว่า ต่อให้เขานอนอยู่บนเตียงผู้ป่วย หรือคนกำลังจะเอาร่างของเขาฝังในดิน ถ้าเมื่อไหร่มีอะไรผิดปกติขึ้นกับสิงคโปร์ เขาจะลุกขึ้นมา ถ้าไม่ดูประวัติเขาตั้งแต่ต้น ไม่เคยเห็นวันที่เขาร้องไห้ จะไม่เข้าใจและคิดว่าเขาพูดเกินจริง แต่คนคนหนึ่งถ้ารักชาติ สร้างชาติขึ้นมา บางครั้งเขาอาจทำในสิ่งที่ผิดพลาด คนสิงคโปร์ก็ให้อภัยเขา เขาอาจเผด็จการมากไป แต่ข้อดีของเขามีเยอะ
เมืองไทยต้องมีคนแต่ละรุ่น มีจิตใจที่กล้าเสียสละ 4 ปีที่ผ่านมา เดือนนี้เป็นเดือนครบรอบ 4 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ใครจะปฏิวัติรัฐประหารปล่อยเขาไป แต่สิ่งที่เห็นชัดคือว่า โดยส่วนตัวผมว่าบ้านเมืองนี้เสื่อมลง ผมเห็นความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น ตัวผมเองประสบด้วยตัวเอง ผมเห็นจริยธรรมคุณธรรมเริ่มตกต่ำ ผมเห็นวิวัฒนาการของการเมืองไทย จากการเมืองศรีธนญชัยมาสู่การเมืองยุคที่เรียกว่า หน้าด้านใจดำ มีหนังสือเรื่อง "ธิค เฟซ แบล๊ค ฮาร์ท" ซึ่งไม่ควรอ่านอย่างยิ่ง เพราะเขาบอกว่าคนเราจะได้ดีนั้นหน้าต้องหนา และหน้าต้องไม่มีจุดนิ่ง เปลี่ยนได้ตลอด จิตใจนั้นดำ จะให้ดีต้องดำเหมือนถ่าน ขัดให้เงาฉายแสง แล้วเมื่อนั้นจะได้ดีทางการเมือง ผมไม่แนะนำให้อ่าน ไม่อยากให้เป็นตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ เพราะประเทศไทยจะดีได้อยู่ที่คุณธรรม ซื่อสัตย์ ทำเพื่อส่วนรวม
ผมไม่ต้องการเข้าการเมือง ไม่ต้องการตั้งพรรคการเมือง มีข่าวอยู่เรื่อยว่าร่วมกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ การมีตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องง่าย แต่การเข้าไปแล้วทำให้ประเทศดีขึ้นนั้นไม่ใช่ง่าย คุณจะมีความทุกข์ถ้าตั้งใจมากและเข้าไปแล้วทำอะไรไม่ได้ หาก ส.ส. 1 คน 30 ล้าน พวกเราผู้ประกอบสัมมาชีพจะไปทำการเมืองได้อย่างไร ฉะนั้น ภาคประชาชนจะเป็นความหวังของประเทศ ประชาชนแข็งแรง มีความรู้ รู้เท่าทัน รัฐบาลจะรู้จักรับผิดชอบ แต่ถ้าประชาชนอ่อนแอ ไม่รู้ไม่ชี้ ใครจะอย่างไรก็ช่าง รอหวังอัศวินม้าขาว การเมืองไทยจะไม่มีวันดีขึ้น
วันนี้มาพูดสื่อความ และผมไม่อยากให้เป็นข่าว เพราะผมสื่อความในใจ ผมอยากขอบคุณมติชนที่กล้าผลักดันสร้างโครงการนี้ขึ้นมา ความหวังของผมอยู่ที่พวกท่าน ไม่ได้อยู่ที่อัศวินม้าขาว ถ้าพวกท่านแข็งแรง การเมืองศรีธนญชัยจะหมดไป ประเทศจะเจริญ
ที่มา : มติชนรายวัน
*****************************************************************************
ผมมาวันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาบรรยายอะไร แต่มาเพื่อสื่อความในใจร่วมกัน ต้องการมาขอบคุณเครือมติชน และผู้บริหารในเครือมติชนที่เห็นคุณค่าของโครงการนี้ และเป็นเสาหลักจริงๆ ให้กับโครงการที่จัดขึ้นมา ถ้าไม่มีความสนับสนุนจากเครือมติชน ผมไม่คิดว่าโครงการจะลุล่วงได้ถึงขนาดนี้ ขอขอบคุณคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเชื่อว่าเป็นคณะวิทยากรซึ่งหาได้ยาก แต่ละท่านล้วนมีชื่อเสียงระดับประเทศ การมาร่วมกันบรรยายโครงการหนึ่งโครงการใดนั้นไม่ใช่ของง่าย ที่สำคัญที่สุดต้องขอขอบคุณมูลนิธิสัมมาชีพ ที่ประกอบด้วยคนกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้หวังผลอะไร แต่ยอมเสียสละเวลา เสียสละกำลังกายกำลังใจเป็นผู้จัดโครงการ และต้องขอขอบคุณผู้เข้าร่วมอบรม แต่ละคนมีภาระยุ่งเหยิง มาจากต่างจังหวัด บางท่านมาจากยะลา เสียสละเวลามานั่งฟัง แบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
สิ่งที่โครงการนี้หวังเพียงว่า ณ จุดนี้ โครงการจะสามารถทำให้เห็นถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกพอสมควร ช่วยให้สามารถมองเห็นหลายสิ่งหลายอย่างของประเทศไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ อาจให้ความคิดหรือบทเรียนบางประการที่สามารถนำไปใช้ในสิ่งที่มีจุดมุ่งหมายอยู่แล้วที่จะทำความดีความงามให้กับสังคมบ้านเมือง มีโอกาสให้สร้างเครือข่าย ไม่ใช่สร้างเครือข่ายเพื่อความรุ่งเรืองส่วนตัว แต่เป็นเครือข่ายที่จะช่วยให้ผู้อบรมได้ทำในสิ่งที่ต้องการคือทำสังคมให้ดียิ่งขึ้น
ตอนเริ่มโครงการ ผมเชื่อว่าหลายคนอาจตั้งคำถามในใจว่าจริงๆ แล้ว วัตถุประสงค์ของโครงการคืออะไร มีการเมืองแอบแฝงหรือไม่ แต่ผมไม่เคยอธิบายและตอบคำถามในสิ่งเหล่านี้ ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าโครงการนี้ให้อะไร และได้ผลอย่างไร เท่าที่ฟังผู้เข้าอบรมสรุปมาก็คิดว่าโครงการนี้บรรลุเป้าหมาย ถ้าเริ่มมีประกาย เริ่มมีความมุ่งมั่น เริ่มคิดที่จะลุกขึ้นมาทำอะไรหลายๆ อย่างเพื่อสังคมบ้านเมือง สิ่งเหล่านี้คือจุดประสงค์ที่แท้จริง
เมื่อครั้งผมคุยกับคุณขรรค์ชัย บุนปาน ประธานเครือมติชน ว่าต้องการให้มีการร่วมกันของภาคประชาชน ถ้าภาคประชาชนเข้มแข็ง บ้านเมืองก็เข้มแข็ง แต่ภาคประชาชนนั้นไม่ใช่ว่า ทุกคนมีความพร้อมเท่าเทียมกัน การที่ทุกคนจะมีส่วนร่วมในทันใดนั้นเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ต้องมีด่านหน้าหรือที่เรียกว่า "ฟรอนท์ ไลน์" ที่มีความพร้อม อยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำอะไรได้มากกว่าคนอื่น ให้คนเหล่านี้ได้มีโอกาสพบปะ รับฟังสิ่งต่างๆ ร่วมกัน ทำความเข้าใจโลก ทำความเข้าใจกับประเทศไทย ทำความเข้าใจกับตัวเองให้ดีขึ้น โครงการพยายามให้ข้อมูล ให้ความรู้ ให้ช่องทาง และให้ความสนับสนุนเต็มที่
ผมคิดโครงการนี้ขึ้นมา เพราะครั้งหนึ่งผมเคยมีความฝัน เป็นความฝันของคนที่ยังหนุ่มยังแน่น เป็นความฝันที่อยากทำให้ประเทศดีขึ้น จริงๆ แล้วชีวิตผมห่างไกลจากการเมืองสุดกู่ ผมเกิดที่เยาวราชในครอบครัวที่ไม่มีอันจะกิน โชคดีที่ผู้ใหญ่อุปการะส่งเสริมให้เรียนหนังสือ ได้ทุนไปเรียนต่างประเทศ มีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดทางสังคมและการเมือง เริ่มมีความคิดทางสังคมและการเมือง เพราะว่ามีสิ่งที่มาจุดประกาย ประกายแรกเกิดขึ้นที่ธรรมศาสตร์ สมัย 14 ตุลา มาจบที่ 6 ตุลา ผมอยู่ปี 1-4 จากคนที่ไม่เคยสนใจสังคมการเมืองก็เริ่มคิดว่าบ้านเมืองควรเปลี่ยนแปลงอย่างนี้อย่างนั้น ประการที่สองคือ ตอนที่มีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ ได้ศึกษาทำความรู้จักกับประเทศญี่ปุ่น ก็เอะใจว่าทำไมญี่ปุ่นซึ่งไม่มีอะไรเลยถึงพลิกกลับขึ้นเป็นมหาอำนาจ ความสนใจเริ่มแผ่ไปฮ่องกง สิงคโปร์ ประการที่สามเริ่มคิดจะเขียนหนังสือ แล้วก็คิดถึงเรื่องเมืองไทย แล้วจู่ๆ โชคชะตาก็พาเข้าการเมือง
ก่อนหน้านั้นผมเป็นนักวิชาการ เป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ครั้งหนึ่งเคยนั่งกินกาแฟ ทางซ้ายของผมคือ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ทางขวาของผมคือ คุณทักษิณ ชินวัตร รักกันมาก นั่นคือ 20 ปีที่แล้ว ผมไม่คิดว่าวันนี้ท่านจะเป็นเจ้าของกีฬาสีคนละสีกัน นี่คือดวงชะตาคนเรา จู่ๆ ผมก็เข้าไปช่วยคุณทักษิณที่กระทรวงต่างประเทศ บอกท่านให้ใช้เศรษฐกิจนำการทูต และเมื่อตั้งพรรคการเมืองท่านก็ตั้งให้ผมเป็นประธานวิชาการของพรรคไทยรักไทย เขียนนโยบายขึ้นมา ตอนนั้นหนังสือเล่มหนึ่งกำลังฮิต คือ "รี ธิงกิ้ง" ผมเลยคิดขึ้นมาว่า คิดใหม่ ทำใหม่ สำหรับประเทศไทยขณะนั้น
ประสบการณ์ที่ผมได้คลุกคลีกับหลายจุด ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคราชการ ภาคการเมือง จนครอบคลุมเต็มตัวจริงๆ อยู่ 6 ปี ตอนนั้นแม้จะเหนื่อยแต่เป็นความสุขของคนที่เคยฝัน ฝันว่าอยากจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้น คิดทำโน่นทำนี่ ฝันว่าอยากทำให้ประเทศไทยมีความสามารถเชิงแข่งขันที่โดดเด่น ฝันว่าจะทำให้สังคมมีความสุข ผลักดันเรื่องการท่องเที่ยว เรารู้ว่าสังคมกำลังแตกก็บอกว่าให้มีภาษีลูกกตัญญู คิดทำในสิ่งเหล่านี้ เรื่องของกองทุนหมู่บ้าน จิปาถะเต็มไปหมด ทำงานเหน็ดเหนื่อยก็จริงแต่มีความสุขใจที่ได้มีโอกาสช่วยประเทศ สุขใจที่มีโอกาสใช้สิ่งที่ร่ำเรียนมาให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่เอาสิ่งที่ร่ำเรียนมาทำเพื่อการค้าหรือสร้างตัวเองขึ้นมา
แล้ววันหนึ่งพระเจ้าก็บอกว่า สมคิดมาพักได้แล้ว ผมมีความทุกข์พอสมควรในการเห็นปัญหาของบ้านเมืองแล้วไม่สามารถผลักดันหรือขับเคลื่อนได้อย่างที่ต้องการ บางครั้งเหมือนเขยื้อนภูเขา เขยื้อนไม่ได้ ทำไม่ได้เพราะถ้าคิดคนเดียว ทำคนเดียว ทำให้ตายก็ไม่มีทาง ฉะนั้น จุดความฝันใหม่ ฝันว่าจะทำอย่างไรให้เมล็ดพันธุ์พืชขึ้นมาหลายๆ เมล็ด ให้เป็นคนที่สามารถฝากผีฝากไข้สำหรับอนาคตของประเทศ เพราะคนเหล่านั้นจะสามารถก้าวสู่ความเป็นผู้นำในอนาคตข้างหน้า และผู้นำนั้นต้องมาจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่มาจากนักธุรกิจอย่างเดียว อาจารย์อย่างเดียว หรือจากภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง
แต่ละคนล้วนมีความคิดของตนเองทั้งสิ้น ทำอย่างไรถึงจะมีสื่อกลางให้คนเหล่านั้นได้แสดงออก ให้เขาเริ่มเติบโต เริ่มยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น รู้ว่าความคิด ความฝัน ความจริงกับการปฏิบัติเป็นอย่างไร ทำอย่างไรถึงจะเดินไปข้างหน้าได้ โลกเราอยู่ได้ด้วยการผสมผสาน ความยืดหยุ่น รู้จักใช้สิ่งที่เป็นบวกของแต่ละคน มองข้ามสิ่งที่เป็นลบ คนเหล่านี้เมื่อถึงเวลาของเขาก็อาจก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำระดับชาติ
ถ้าสร้างตั้งแต่วันนี้ ช่วยเหลือตั้งแต่วันนี้ ก็จะออกผลเอาตอนนั้น และถ้าออกผลในตอนนั้น ประเทศก็มีที่พึ่ง ที่วันนี้ประเทศไม่มีที่พึ่งเพราะเราไม่ได้สร้างเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นขึ้นมา เราไม่มีผู้นำรุ่นใหม่ๆ ในแต่ละภาคส่วน แต่วันนี้เราเริ่มเห็นผู้นำในท้องถิ่น นายกเทศมนตรีทั้งหลาย ผู้นำสหกรณ์อายุไม่มากเกิดความคิดดีเลิศ นี่คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าเมืองไทยของเราไม่ได้ขาดคนดี แต่ทำอย่างไรจะจุดไฟให้เกิดขึ้น ต้องกล้าคิดกล้าทำ ไม่เอาตัวเองให้ตกเป็นทาสของความคิดผิดๆ กล้าคิดของตัวเองขึ้นมา การอธิบายว่าผู้นำเป็นอย่างไรนั้น หาอ่านได้ในหนังสือเยอะแยะ แต่อยากให้ดูว่าผู้นำที่สามารถสร้างชาติได้ต้องมีความรักชาติ รักบ้านเมือง ต้องมีความเสียสละ ต้องมีความกล้าหาญ
มีผู้นำอยู่คนหนึ่งซึ่งผมยอมรับและชื่นชมคือ อดีตนายกรัฐมนตรี ลี กวน ยิว ของสิงคโปร์ ผมชื่นชมเขาไม่ใช่ประเทศเขาเจริญ ลี กวน ยิว โตในสิงคโปร์ ไปเรียนหนังสือต่างประเทศ ชีวิตของเขามีแรงผลักอยู่มหาศาล ตอนอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เขาเคยเล่าให้นักข่าวฟังว่า ญี่ปุ่นมายึดสิงคโปร์ เขาเดินผ่านทหารญี่ปุ่น แต่ไม่รู้ว่าเวลาเดินผ่านทหารญี่ปุ่นต้องโค้ง ทหารญี่ปุ่นเรียกไปให้เขาคุกเข่าแล้วกระทืบ เขาบอกว่าการกระทืบครั้งนั้นสอนให้รู้ว่าอำนาจคืออะไร จากนั้นเขาไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ตอนไปคนอังกฤษดูหมิ่นคนเอเชีย เพราะคิดว่าเหนือกว่า เขาเริ่มเกิดความคิดว่าระบบอังกฤษดีกว่า คนเอเชียจริงหรือเปล่า เขาติดตามดูวิธีการบริหารเศรษฐกิจของอังกฤษ ติดตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษที่เป็นแม่บท เขาบอกว่าสิงคโปร์ทำได้แน่และดีกว่าแน่นอน ขออย่างเดียวให้มีเวลา
เขาเดินทางกลับมาที่สิงคโปร์ ตอนนั้นอายุยังไม่ถึง 40 ด้วยซ้ำ ก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง สนับสนุนให้มีการรวมสิงคโปร์ซึ่งเป็นเกาะประมงเล็กๆ ไม่มีอะไร ร่วมกับมลายู ก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย เขาต่อสู้เพื่อสิ่งเหล่านี้และเขาชนะ สิงคโปร์รวมกับมลายูได้ แต่เมื่อตั้งมาเลเซียขึ้นมา เขาได้รับบทเรียนสำคัญ มาเลเซียนั้นต้องการเป็นมาเลเซียซึ่งมีมาเลย์ ออน ท็อป แต่ข้อเสนอของเขาคือ ต้องเท่าเทียมกัน เป็นลูกคนหนึ่ง ไม่ใช่ลูกเลี้ยง เขาคิดไม่ถึงว่า มาเลเซียขณะนั้นจะตัดเขาออกไป อดีตนายกฯมาเลเซียประกาศตัดสิงคโปร์ออกจากสหพันธรัฐมาเลเซีย เพราะคิดว่าไปไม่รอดแน่ เกาะเล็กๆ ไม่มีอะไร มีแค่การจับปลา
ผมได้มีโอกาสดูวิดีโอคลิปตอน ลี กวน ยิว อายุประมาณ 42 ผมไม่เคยคิดว่าบุรุษเหล็กอย่างลี กวน ยิว ร้องไห้เป็น เขาให้สัมภาษณ์นักข่าวบอกว่า ตลอดชีวิตวัยหนุ่มทุ่มเทและเชื่อมั่นว่าการรวมเป็นสหพันธรัฐมาเลเซียคือเป้าหมาย เขาเอาทิชชูมาซับน้ำตา ผมดูแล้วเข้าใจทันทีว่า ทำไมสิงคโปร์ถึงมีแรงผลักมากขนาดนี้ ทำไม 40-50 ปีให้หลังถึงทำงานแบบไม่มีหยุดหย่อน ทุกอย่างเริ่มต้นจากแรงผลักข้างในทั้งสิ้น คำถามที่ต้องถามคือ คนไทยมีแรงผลักนี้หรือไม่ มีความมุ่งมั่นหรือไม่ทางการเมือง การเมืองไม่ใช่เพื่อส่วนตัวแต่เพื่อประเทศชาติ เขาใช้เวลาหลายเดือนในการรวบรวมตัวเองไม่ให้แตกซ่านจากความผิดหวัง
ลี กวน ยิว ออกมาประกาศต่อคนสิงคโปร์ว่า คนอย่างเขาไม่ใช่ลูกไล่ของใคร เขาบอกว่าจะไม่เล่นเกมที่ใครกำหนดขึ้นมา สิงคโปร์จะกำหนดชะตาเอง และสิงคโปร์จะต้องอยู่รอด เขาประกาศคำนี้ตอนอายุ 42 จากจุดนั้นเป็นต้นมา เขาคิดอนาคต เลือกสรรคนดีๆ มาทำงานเพื่อบ้านเมือง คนเราไม่เท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้นทำอย่างไรให้คนสิงคโปร์เหนือกว่าคนอื่นและอยู่รอดได้ และสิ่งนั้นคือเรื่องของการศึกษา และสิงคโปร์ก็ทุ่มเทเรื่องการศึกษามาโดยตลอด มีการนำคนเก่งๆ เข้ามาในประเทศไม่ว่าจะชาติใดก็แล้วแต่ การที่มีคนเก่ง มีคนดี มีความตั้งใจ
ลี กวน ยิว เริ่มสร้างเมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ มี โก๊ะ จ๊ก ตง มีจายา กุมาร์ เต็มไปหมด แต่ละคนเขาให้เงินเดือนสูงมากๆ วันที่เขาตั้งเงินเดือนให้สูงๆ นั้น เขาถูกโจมตีจากสื่อต่างประเทศ เขาประกาศว่า ถ้าให้คนที่จะมานำประเทศแล้วให้เงินเดือนต่ำๆ ก็จะมีแต่คนที่พูดหวานแล้ววันหนึ่งข้างหน้าจะออกลาย แล้วเมื่อนั้นพวกเขาจะทำให้ชาติเสื่อมทราม ประเทศจะเจริญได้ รัฐบาลต้องเข้มแข็ง รัฐบาลสามารถเข้มแข็งได้ก็จะมีคนดีเลิศมาที่รัฐบาล ประเทศชาติจะเจริญ ฉะนั้น อย่าเสียดายเงินเดือนค่าจ้าง
มีคนถามลี กวน ยิว ว่าห่วงไหม ถ้าวันหนึ่งมีพรรคอื่นมาเป็นรัฐบาล เขาบอกว่าไม่ห่วงเลย ตราบใดที่พวกเขาเหล่านั้นรู้ว่าจะหาใครมาทำงานให้สิงคโปร์ก้าวหน้าได้ เขาเตือนประชาชนของเขาอย่างตรงไปตรงมาไม่มีอ้อมค้อม ไม่มีระบบศรีธนญชัย เขาบอกว่าเราให้ชามข้าวคุณ ไม่ใช่ชามเหล็กตกไม่แตก แต่เป็นชามกระเบื้องที่ตกแตก ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของชาวสิงคโปร์ทุกคนที่จะต้องรักษาชามข้าวใบนี้ไว้ ถ้าแตกเมื่อไหร่คือเคราะห์ร้ายของประเทศ รัฐบาลจำเป็นต้องแทรกแซงในบางเรื่อง เพราะขณะนั้นเริ่มมีคนบ่นว่าเขาเริ่มเข้ามาวุ่นกับชีวิตประจำวันของคนสิงคโปร์ เขาบอกว่าสิงคโปร์มีวันนี้เพราะเราช่วยกันคิดว่าอนาคตคืออะไร ต้องทำอะไร แม้กระทั่งจะถ่มน้ำลายก็สำคัญ ถ้าคิดว่าเขาทำผิดก็ให้เลือกพรรคอื่นไม่ต้องเลือกเขา คนงานสหภาพแรงงานสไตร๊ค์ 2 สัปดาห์ ในภาพวิดีโอที่ออกมา เขาออกมาประกาศว่าการหยุดงาน 2 สัปดาห์ แต่ใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะซ่อมความเสียหายได้ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเจรจาต่อรอง แต่เป็นเรื่องของชีวิตคนสิงคโปร์ทุกคน มีทางเลือก 2 ทางคือสไตร๊ค์ต่อหรือหยุด ถ้าเป็นทางแรก เขาสัญญาว่าจะให้คนสิงคโปร์ทั้งประเทศให้บทเรียนและสั่งสอน
ฟังเขาพูดเรื่องสื่อฝรั่ง สื่อฝรั่งเริ่มตำหนิสิงคโปร์ เพราะตอนนั้นเริ่มเกิดปัญหาระหว่างสิงคโปร์กับออสเตรเลีย เขาให้สื่อต่างประเทศออกจากสิงคโปร์ ตรงนี้ถูกผิดหรือไม่ผมไม่ขอออกความเห็น แต่สะท้อนได้ว่าเขาคิดอะไร เขาบอกเขาอนุญาตให้สื่ออยู่ในประเทศเพื่อรายงานข้อเท็จจริงของสิงคโปร์ให้ฝรั่งได้เข้าใจ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มจินตนาการเริ่มเขียนให้เกิดความเสียหายต่อสิงคโปร์ เมื่อนั้นก็ไม่ต้องอยู่ในสิงคโปร์ สื่อในสิงคโปร์มีความสามารถไม่แพ้สื่อต่างประเทศ เขาบอกว่าถ้าคุณไม่ดูแลสิ่งเหล่านี้ แล้วมีคนซึ่งเอาความคิดที่ไม่ดี ความคิดผิดๆ แล้วเผยแพร่ตลอดเวลาในสื่อเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี ประเทศจะอยู่ได้หรือไม่ เป็นหน้าที่ของผู้นำและของรัฐบาลที่ต้องหยุดความคิดเหล่านั้นด้วยการให้คนที่มีความคิดเหล่านั้นมาชี้แจง ถ้าผิดก็ขอโทษในสิ่งที่เคยพูด ถ้ายังทำต่อไปต้องขึ้นศาลว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม ไม่เช่นนั้นถ้าความคิดผิดๆ อยู่ในสมองของประชาชน ความเสียหายจะเกิดขึ้นมหาศาล เขาพูดแบบนี้เมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว ผมคิดถึงกีฬาสีเมืองไทยขึ้นมา
สิ่งที่เล่ามาไม่ใช่ว่าถูกหรือผิด แต่กำลังจะบอกว่า คนที่เป็นผู้นำนั้นต้องมีความคิด ต้องเปิดรับความคิด ต้องรู้จักทำในสิ่งที่ถูกต้อง ต้องสื่อความ ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องไม่เห็นว่าอำนาจคืออะไร ตำแหน่งคืออะไร สิ่งเหล่านั้นคือสิ่งที่ต้องปลูกฝัง ต้องสร้างให้มีผู้นำรุ่นใหม่เกิดขึ้น ปีนี้ผมอายุ 57 แล้ว อีกไม่กี่ปีก็ 60 แต่ต้องมีคนรุ่นใหม่แล้ว อายุ 30 40 50 ต้องเริ่มคิดสิ่งเหล่านี้แล้ว คนอายุมากถอยไปอยู่ข้างหลัง คอยช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน ลี กวน ยิว เคยบอกว่า ต่อให้เขานอนอยู่บนเตียงผู้ป่วย หรือคนกำลังจะเอาร่างของเขาฝังในดิน ถ้าเมื่อไหร่มีอะไรผิดปกติขึ้นกับสิงคโปร์ เขาจะลุกขึ้นมา ถ้าไม่ดูประวัติเขาตั้งแต่ต้น ไม่เคยเห็นวันที่เขาร้องไห้ จะไม่เข้าใจและคิดว่าเขาพูดเกินจริง แต่คนคนหนึ่งถ้ารักชาติ สร้างชาติขึ้นมา บางครั้งเขาอาจทำในสิ่งที่ผิดพลาด คนสิงคโปร์ก็ให้อภัยเขา เขาอาจเผด็จการมากไป แต่ข้อดีของเขามีเยอะ
เมืองไทยต้องมีคนแต่ละรุ่น มีจิตใจที่กล้าเสียสละ 4 ปีที่ผ่านมา เดือนนี้เป็นเดือนครบรอบ 4 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ใครจะปฏิวัติรัฐประหารปล่อยเขาไป แต่สิ่งที่เห็นชัดคือว่า โดยส่วนตัวผมว่าบ้านเมืองนี้เสื่อมลง ผมเห็นความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น ตัวผมเองประสบด้วยตัวเอง ผมเห็นจริยธรรมคุณธรรมเริ่มตกต่ำ ผมเห็นวิวัฒนาการของการเมืองไทย จากการเมืองศรีธนญชัยมาสู่การเมืองยุคที่เรียกว่า หน้าด้านใจดำ มีหนังสือเรื่อง "ธิค เฟซ แบล๊ค ฮาร์ท" ซึ่งไม่ควรอ่านอย่างยิ่ง เพราะเขาบอกว่าคนเราจะได้ดีนั้นหน้าต้องหนา และหน้าต้องไม่มีจุดนิ่ง เปลี่ยนได้ตลอด จิตใจนั้นดำ จะให้ดีต้องดำเหมือนถ่าน ขัดให้เงาฉายแสง แล้วเมื่อนั้นจะได้ดีทางการเมือง ผมไม่แนะนำให้อ่าน ไม่อยากให้เป็นตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ เพราะประเทศไทยจะดีได้อยู่ที่คุณธรรม ซื่อสัตย์ ทำเพื่อส่วนรวม
ผมไม่ต้องการเข้าการเมือง ไม่ต้องการตั้งพรรคการเมือง มีข่าวอยู่เรื่อยว่าร่วมกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ การมีตำแหน่งทางการเมืองเป็นเรื่องง่าย แต่การเข้าไปแล้วทำให้ประเทศดีขึ้นนั้นไม่ใช่ง่าย คุณจะมีความทุกข์ถ้าตั้งใจมากและเข้าไปแล้วทำอะไรไม่ได้ หาก ส.ส. 1 คน 30 ล้าน พวกเราผู้ประกอบสัมมาชีพจะไปทำการเมืองได้อย่างไร ฉะนั้น ภาคประชาชนจะเป็นความหวังของประเทศ ประชาชนแข็งแรง มีความรู้ รู้เท่าทัน รัฐบาลจะรู้จักรับผิดชอบ แต่ถ้าประชาชนอ่อนแอ ไม่รู้ไม่ชี้ ใครจะอย่างไรก็ช่าง รอหวังอัศวินม้าขาว การเมืองไทยจะไม่มีวันดีขึ้น
วันนี้มาพูดสื่อความ และผมไม่อยากให้เป็นข่าว เพราะผมสื่อความในใจ ผมอยากขอบคุณมติชนที่กล้าผลักดันสร้างโครงการนี้ขึ้นมา ความหวังของผมอยู่ที่พวกท่าน ไม่ได้อยู่ที่อัศวินม้าขาว ถ้าพวกท่านแข็งแรง การเมืองศรีธนญชัยจะหมดไป ประเทศจะเจริญ
ที่มา : มติชนรายวัน
*****************************************************************************
บอร์ดการท่าฯถกด่วน ล้มสัมปทาน"สุวรรณภูมิสแควร์"ของบ.แป้งร่ำฯ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
บอร์ด ทอท.เปิดประชุมด่วนจี๋จันทร์ 6 ก.ย.นี้ ถกแผนล้มสัมปทานโครงการ "สุวรรณภูมิสแควร์" ของบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เป็นโมฆะ จ่อเอาผิดบิ๊ก ทอท. "เสรีรัตน์ ประสุตานนท์" ใช้อำนาจขัดระเบียบจะอ้างเข้าใจผิดคงไม่ได้ เพราะกฎของบริษัทสัญญาเกิน 10 ปี ต้องเสนอบอร์ดพิจารณา แถมในเอกสารลงนาม 18-19 ส.ค. 53 มีรายงานบันทึกเสร็จสรรพระบุการให้เช่าลานจอดรถระยะยาวมีข้อจำกัด
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 6 กันยายนนี้ ได้เรียกประชุมคณะกรรมการ ทอท.ด่วนในวาระพิเศษเพื่อลงมติล้มเลิกสัมปทานโครงการ "สุวรรณภูมิสแควร์" ซึ่งเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจบอร์ดอย่างรุนแรง เมื่อนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะกรรมการพิจารณาราย ลงนามอนุมัติให้ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เข้ามารับผิดชอบบริหารพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (long term parking) 62,380.50 ตารางเมตร เป็นเวลา 15 ปี เป็นโครงการขนาดใหญ่แถมเกินอำนาจของฝ่ายบริหารจะทำได้ แต่กลับไม่เสนอให้บอร์ดอนุมัติ
กรณีนี้ถือเป็นการความผิดร้ายแรงและอาจส่งผลเสียหายแก่บริษัทได้ ถึงแม้นายเสรีรัตน์จะนำทีมบริหารที่เกี่ยวข้องมาอธิบายด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 อ้างที่ทำไปทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด คิดว่าฝ่ายบริหารมีอำนาจดำเนินการเองทั้งหมด ก็ไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่ถูกต้อง ผู้นำต้องรู้และแม่นยำเรื่องระเบียบปฏิบัติทางกฎหมาย
ดังนั้นการประชุมบอร์ดด่วนนัดพิเศษครั้งนี้จะต้องหารือกับกรรมการทุกคนถึงมาตรการลงโทษฝ่ายบริหาร เพราะที่ผ่านมาบอร์ดกำหนดกติกาชัดเจนทุกเรื่อง แต่หลังจากเกิดกรณีแอบอนุมัติให้สัมปทานโครงการสุวรรณภูมิสแควร์ กรรมการจึงเริ่มเกิดความไม่มั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และประธานคณะกรรมการพิจารณารายได้ อย่างไรก็คงต้องขอมติเพื่อปลดก็เป็นไปได้ รวมถึงการยกเลิกข้อตกลงทุกอย่างเกี่ยวกับโครงการสุวรรณภูมิสแควร์
"ในการประชุมบอร์ดด่วนวาระพิเศษต้องหารือ 3 เรื่องแรก ย้ำอย่างหนักแน่นให้ทุกฝ่ายยึดมั่นการรักษาผลประโยชน์องค์กรเต็มที่ เรื่องที่ 2 คณะกรรมการพิจารณารายได้ชุดนี้จะต้องตอบคำถามบอร์ดอย่างละเอียดชัดเจนถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ไม่เสนอบอร์ด เรื่องที่ 3 ความเหมาะสมในการพัฒนาที่ดินในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ บริเวณติดกับพื้นที่ที่มีแผนอนาคตอีก 10-15 ปี จะใช้สร้างทางวิ่งที่ 4 (runway 4) นั้นได้คำนึงถึงผลลัพธ์ความยุ่งยากที่จะตามมาหรือไม่
"ผมมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ทำหนังสือชี้แจงประธานบอร์ดและกรรมการทุกคนอย่างละเอียดหลายประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การให้สัมปทานแป้งร่ำ รีเทล ซึ่งเป็นบริษัทโนเนม มีทุนจดทะเบียนแค่ 1 ล้านบาท รับผิดชอบการลงทุน 450 ล้านบาท ยาวถึง 15 ปีนั้น ประเด็นแรก ก่อนตัดสินใจอนุมัติสัมปทานโครงการได้ทำการศึกษาผลดีผลเสียหรือเปล่า ประเด็นที่ 2 รายได้ที่ ทอท.ควรจะได้รับสอดคล้องกับความเป็นจริงขนาดไหน ประเด็นที่ 3 เหตุใดจึงทำผิดระเบียบ ทอท. ซึ่งระบุอำนาจฝ่ายบริหารอนุมัติสัมปทานโครงการได้ไม่เกิน 5 ปี ถ้าเกินจากนี้ไปจะต้องเสนอบอร์ดเห็นชอบ"
นายปิยะพันธ์กล่าวว่า ถ้าหากบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ขู่จะฟ้องร้องโดยอ้างได้รับจดหมายแจ้งเป็นผู้ได้รับเลือกโดยวิธีพิเศษทำสัมปทานโครงการสุวรรณภูมิสแควร์ แต่บอร์ดมายกเลิกนั้น อธิบายได้เลยว่านิติกรรมครั้งนี้เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น เพราะผู้อนุมัติทำผิดระเบียบและไม่มีอำนาจ ดังนั้นหากต้องการค่าเสียหายใด ๆ ก็ให้ไปฟ้องดำเนินคดีกับนายเสรีรัตน์เอาเอง
"ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบเอกสารของคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.อ้างอิงฉบับ ทสภ.ที่ 15705/53 ซึ่งมีลายเซ็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ลงนาม เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2553 จากนั้นก็ส่งรายละเอียดทั้งหมดต่อตามเอกสารระบุที่ ทอท.7060/2553 วันที่ 19 สิงหาคม 2553 แจ้งผลการพิจารณาขอเช่าพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว เพื่อดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในสุวรรณภูมิ เป็นหนังสือทำถึง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด โดยอ้างถึงหนังสือ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เลขที่ นอ.85/53 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2553 พร้อมกับสิ่งที่ส่งมากับหนังสือฉบับดังกล่าวคือ รายละเอียดเอกสารหลักฐานประกอบการทำสัญญาจำนวน 2 แผ่น และส่วนท้ายมีลายเซ็นนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ลงนามในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.
รายละเอียดทั้งหมดในเอกสารระบุเลขที่ออกทั้งฉบับวันที่ 18 และ 19 สิงหาคม 2553 นั้น ลำดับเหตุการณ์โดยหยิบยกเหตุการณ์เอกชนที่เข้ามาเกี่ยวพันกับการยื่นขอเช่าพื้นที่ในสุวรรณภูมิ 3 บริษัท คือ ห้างหุ้นส่วนบางนาอุปกรณ์ กับสหกรณ์บริการวิสาหกิจชุมชนหนองปรือ จ.สมุทรปราการ ยื่นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552 ขอเช่าพื้นที่หลังลานจอดรถสาธารณะ (แท็กซี่) 6,000 ตารางเมตร ทำ Community Mall สัญญา 5 ปี ต่อมา บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (ซึ่งตรวจจากกรมทะเบียนธุรกิจการค้าไม่พบการจดทะเบียน) ยื่นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ขอเช่าที่ดินด้านหลังลานจอดรถแท็กซี่ติดกับรั้วอาคาร บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด 6,360 ตารางเมตร เพื่อทำศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร
กระทั่งมาถึงวันลงนามอนุมัติสัมปทานสุวรรณภูมิสแควร์ ในลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมิ 15 ปี ถึงได้มีการแจ้งเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ เป็น บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นคนเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดบางนาอุปกรณ์ ประการสำคัญในเอกสารอ้างอิงฉบับวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ระบุชัดเจนไว้ตอนหนึ่งว่า การใช้ลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาธุรกิจนั้นมีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ไม่เกิน 10 ปี แต่การประชุมของคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. ที่สุวรรณภูมิ ครั้งที่ 11/2553 วันที่ 16 สิงหาคม 2553 กลับลงมติขัดแย้งระเบียบดังกล่าว โดยระบุว่าโครงการของบริษัท แป้งร่ำ รีเทล มีความน่าสนใจ ส่วนลานจอดรถก็มีผู้ใช้บริการน้อย ดังนั้นจึงมีมติอนุมัติให้สัมปทานเอกชนรายนี้เป็นเวลา 15 ปี ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ฝ่ายบริหารใช้เป็นเหตุผลอ้างกับนายปิยะพันธ์ว่าเป็นการเข้าใจผิดเรื่องมีอำนาจอนุมัติเอง
*************************************************************************************
บอร์ด ทอท.เปิดประชุมด่วนจี๋จันทร์ 6 ก.ย.นี้ ถกแผนล้มสัมปทานโครงการ "สุวรรณภูมิสแควร์" ของบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เป็นโมฆะ จ่อเอาผิดบิ๊ก ทอท. "เสรีรัตน์ ประสุตานนท์" ใช้อำนาจขัดระเบียบจะอ้างเข้าใจผิดคงไม่ได้ เพราะกฎของบริษัทสัญญาเกิน 10 ปี ต้องเสนอบอร์ดพิจารณา แถมในเอกสารลงนาม 18-19 ส.ค. 53 มีรายงานบันทึกเสร็จสรรพระบุการให้เช่าลานจอดรถระยะยาวมีข้อจำกัด
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." เปิดเผยว่า วันจันทร์ที่ 6 กันยายนนี้ ได้เรียกประชุมคณะกรรมการ ทอท.ด่วนในวาระพิเศษเพื่อลงมติล้มเลิกสัมปทานโครงการ "สุวรรณภูมิสแควร์" ซึ่งเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจบอร์ดอย่างรุนแรง เมื่อนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะกรรมการพิจารณาราย ลงนามอนุมัติให้ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เข้ามารับผิดชอบบริหารพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (long term parking) 62,380.50 ตารางเมตร เป็นเวลา 15 ปี เป็นโครงการขนาดใหญ่แถมเกินอำนาจของฝ่ายบริหารจะทำได้ แต่กลับไม่เสนอให้บอร์ดอนุมัติ
กรณีนี้ถือเป็นการความผิดร้ายแรงและอาจส่งผลเสียหายแก่บริษัทได้ ถึงแม้นายเสรีรัตน์จะนำทีมบริหารที่เกี่ยวข้องมาอธิบายด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 อ้างที่ทำไปทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด คิดว่าฝ่ายบริหารมีอำนาจดำเนินการเองทั้งหมด ก็ไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่ถูกต้อง ผู้นำต้องรู้และแม่นยำเรื่องระเบียบปฏิบัติทางกฎหมาย
ดังนั้นการประชุมบอร์ดด่วนนัดพิเศษครั้งนี้จะต้องหารือกับกรรมการทุกคนถึงมาตรการลงโทษฝ่ายบริหาร เพราะที่ผ่านมาบอร์ดกำหนดกติกาชัดเจนทุกเรื่อง แต่หลังจากเกิดกรณีแอบอนุมัติให้สัมปทานโครงการสุวรรณภูมิสแควร์ กรรมการจึงเริ่มเกิดความไม่มั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และประธานคณะกรรมการพิจารณารายได้ อย่างไรก็คงต้องขอมติเพื่อปลดก็เป็นไปได้ รวมถึงการยกเลิกข้อตกลงทุกอย่างเกี่ยวกับโครงการสุวรรณภูมิสแควร์
"ในการประชุมบอร์ดด่วนวาระพิเศษต้องหารือ 3 เรื่องแรก ย้ำอย่างหนักแน่นให้ทุกฝ่ายยึดมั่นการรักษาผลประโยชน์องค์กรเต็มที่ เรื่องที่ 2 คณะกรรมการพิจารณารายได้ชุดนี้จะต้องตอบคำถามบอร์ดอย่างละเอียดชัดเจนถึงเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ไม่เสนอบอร์ด เรื่องที่ 3 ความเหมาะสมในการพัฒนาที่ดินในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ บริเวณติดกับพื้นที่ที่มีแผนอนาคตอีก 10-15 ปี จะใช้สร้างทางวิ่งที่ 4 (runway 4) นั้นได้คำนึงถึงผลลัพธ์ความยุ่งยากที่จะตามมาหรือไม่
"ผมมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ทำหนังสือชี้แจงประธานบอร์ดและกรรมการทุกคนอย่างละเอียดหลายประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การให้สัมปทานแป้งร่ำ รีเทล ซึ่งเป็นบริษัทโนเนม มีทุนจดทะเบียนแค่ 1 ล้านบาท รับผิดชอบการลงทุน 450 ล้านบาท ยาวถึง 15 ปีนั้น ประเด็นแรก ก่อนตัดสินใจอนุมัติสัมปทานโครงการได้ทำการศึกษาผลดีผลเสียหรือเปล่า ประเด็นที่ 2 รายได้ที่ ทอท.ควรจะได้รับสอดคล้องกับความเป็นจริงขนาดไหน ประเด็นที่ 3 เหตุใดจึงทำผิดระเบียบ ทอท. ซึ่งระบุอำนาจฝ่ายบริหารอนุมัติสัมปทานโครงการได้ไม่เกิน 5 ปี ถ้าเกินจากนี้ไปจะต้องเสนอบอร์ดเห็นชอบ"
นายปิยะพันธ์กล่าวว่า ถ้าหากบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ขู่จะฟ้องร้องโดยอ้างได้รับจดหมายแจ้งเป็นผู้ได้รับเลือกโดยวิธีพิเศษทำสัมปทานโครงการสุวรรณภูมิสแควร์ แต่บอร์ดมายกเลิกนั้น อธิบายได้เลยว่านิติกรรมครั้งนี้เป็นโมฆะตั้งแต่ต้น เพราะผู้อนุมัติทำผิดระเบียบและไม่มีอำนาจ ดังนั้นหากต้องการค่าเสียหายใด ๆ ก็ให้ไปฟ้องดำเนินคดีกับนายเสรีรัตน์เอาเอง
"ประชาชาติธุรกิจ" ตรวจสอบเอกสารของคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.อ้างอิงฉบับ ทสภ.ที่ 15705/53 ซึ่งมีลายเซ็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ลงนาม เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2553 จากนั้นก็ส่งรายละเอียดทั้งหมดต่อตามเอกสารระบุที่ ทอท.7060/2553 วันที่ 19 สิงหาคม 2553 แจ้งผลการพิจารณาขอเช่าพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว เพื่อดำเนินกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในสุวรรณภูมิ เป็นหนังสือทำถึง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด โดยอ้างถึงหนังสือ บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เลขที่ นอ.85/53 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2553 พร้อมกับสิ่งที่ส่งมากับหนังสือฉบับดังกล่าวคือ รายละเอียดเอกสารหลักฐานประกอบการทำสัญญาจำนวน 2 แผ่น และส่วนท้ายมีลายเซ็นนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ลงนามในฐานะกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.
รายละเอียดทั้งหมดในเอกสารระบุเลขที่ออกทั้งฉบับวันที่ 18 และ 19 สิงหาคม 2553 นั้น ลำดับเหตุการณ์โดยหยิบยกเหตุการณ์เอกชนที่เข้ามาเกี่ยวพันกับการยื่นขอเช่าพื้นที่ในสุวรรณภูมิ 3 บริษัท คือ ห้างหุ้นส่วนบางนาอุปกรณ์ กับสหกรณ์บริการวิสาหกิจชุมชนหนองปรือ จ.สมุทรปราการ ยื่นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552 ขอเช่าพื้นที่หลังลานจอดรถสาธารณะ (แท็กซี่) 6,000 ตารางเมตร ทำ Community Mall สัญญา 5 ปี ต่อมา บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ จำกัด (ซึ่งตรวจจากกรมทะเบียนธุรกิจการค้าไม่พบการจดทะเบียน) ยื่นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ขอเช่าที่ดินด้านหลังลานจอดรถแท็กซี่ติดกับรั้วอาคาร บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด 6,360 ตารางเมตร เพื่อทำศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร
กระทั่งมาถึงวันลงนามอนุมัติสัมปทานสุวรรณภูมิสแควร์ ในลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมิ 15 ปี ถึงได้มีการแจ้งเปลี่ยนชื่อจาก บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ เป็น บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นคนเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดบางนาอุปกรณ์ ประการสำคัญในเอกสารอ้างอิงฉบับวันที่ 18 สิงหาคม 2553 ระบุชัดเจนไว้ตอนหนึ่งว่า การใช้ลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนาธุรกิจนั้นมีข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ไม่เกิน 10 ปี แต่การประชุมของคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. ที่สุวรรณภูมิ ครั้งที่ 11/2553 วันที่ 16 สิงหาคม 2553 กลับลงมติขัดแย้งระเบียบดังกล่าว โดยระบุว่าโครงการของบริษัท แป้งร่ำ รีเทล มีความน่าสนใจ ส่วนลานจอดรถก็มีผู้ใช้บริการน้อย ดังนั้นจึงมีมติอนุมัติให้สัมปทานเอกชนรายนี้เป็นเวลา 15 ปี ซึ่งตรงกันข้ามกับที่ฝ่ายบริหารใช้เป็นเหตุผลอ้างกับนายปิยะพันธ์ว่าเป็นการเข้าใจผิดเรื่องมีอำนาจอนุมัติเอง
*************************************************************************************
วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553
เรื่องของคนหน้าบาง
คอลัมน์. ตอดนิดตอดหน่อยใต้ฟ้า บางกอกทูเดย์
ได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีผู้มีอำนาจให้เป็นนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้
พลันถูกฝ่ายค้านวิจารณ์เรื่องคุณสมบัติและจริยธรรม นายคิม แตโฮ ก็หน้าบางถอนตัวไม่ยอมเป็นนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้เอาดื้อๆ
ผิดกับที่นี่ประเทศไทยหน้ามือเป็นหลังมือ ทำอย่างไรก็ได้ขอให้ข้าฯเป็นใหญ่...;เป็นฝ่ายค้านพูดอย่าง..เป็นรัฐบาลพูดอีกอย่าง...ด้านได้อายอดนำ.... คุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องไว้เล่าบ่นพูดจาหน้ากล้องหรือหลังโพเดี้ยมให้ดูดีมีค่า
ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ในเมืองไทยมีสำนึกแบบนี้บ้าง
เรื่องวุ่นๆอีรุงตุงนังเช่นที่เป็นอยู่คงหมดไปนานแล้วแน่ !!...จริงไหมท่านนายกฯ ??
.............................................................................................................
อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ??
ทำงานในหน้าที่ ส.ส.แถมเป็นวอลลเปเปอร์เคลื่อนที่ให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอย่างเดียวคงไม่สนุกพอ
ศิริโชค โสภา สส.สงขลา จึงต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนไปสืบสวนหาข่าวเอากับ วิคเตอร์ บูธ ถึงในเรือนจำในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
ใครจะเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธหรือไม่ ??
ชุดดำที่เอาอาวุธมายิงประชาชนเป็นใคร เกี่ยวข้องกับ วิคเตอร์ บูธ หรือเกี่ยวข้องกับใครหรือไม่ ??
ทั้งหมดทั้งปวงมันก็น่าจะเป็นหน้าที่ของข้าราชประจำ ไม่น่าใช่หน้าที่ของ ศิริโชค โสภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือว่าอยากดึงเรื่องราวต่างๆผูกโยงเป็นเรื่องเดียวกันเพื่อผลทางการเมืองก็เป็นอีกเรื่อง
ระวังจะเหยียบเปลือกล้วยล้มโดนข้อหาใช้สถานะและตำแหน่งการเป็น ส.ส.เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานประจำแล้วล่ะก็
ยิ่งหากนำสืบได้ว่าที่ทำไปนั้นเพื่อประโยชน์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมต่อตนเอง ผู้อื่น หรือพรรคการเมือง
จับพลัดจับผลู...อาจเป็นเรื่องขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 266 เอาง่ายๆก็ได้นะ???
ขออย่าให้ปลาวาฬเกยตื้นก็แล้วกัน...เพราะหากช่วยไม่ทันช่วยไม่ถูก ก็มีสิทธิตายเอาได้ง่ายๆเหมือนกัน !!
..........................................................................................................................
ยกย่องกันเกินไปหรือเปล่า ??
เคยมีข่าวจะมีการจัดสรรงบประมาณลงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยรัฐบาล แม้วพลัดถิ่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมากน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์เหตุความไม่สงบ
ดาหน้าออกมาถล่มกันยับเยินทั้งนักวิชาการและนักการเมืองอีกฟากฝ่าย
วันนี้มีข่าวงบประมาณแผ่นดินถูกเอามาเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมือง
หากเป็นส.ส.พรรคที่อยู่ในซีกฝ่ายรัฐบาลก็จะได้งบประมาณลงในท้องที่ที่เป็นเขตเลือกตั้งจำนวนมาก
ในทำนองกลับกันหากเป็น ส.ส.ในซีกฝ่ายค้านโอกาสได้งบประมาณลงพื้นที่ก็จะได้น้อย
วันนี้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการกลับไม่ดังเท่าที่ควร
หากมีการเอางบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนมาเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมือง
ที่เรียกขานกันว่าผู้ทรงเกียรติ..พวกเขาเหล่านั้นมีเกียรติพอที่จะให้เรียกกันหรือไม่ ??
...................................................................................................................................
ท.ท.ท.ระส่ำ ??
การท่องเที่ยวซบเซา เงินไม่ไหลเข้ากระเป๋าคนไทยแต่ดันไหลไปเข้ากระเป๋าคนประเทศอื่น
“เสี่ยเล็ก” สุรพล เศวตเสรณี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคงยังไม่รู้
ที่แต่งตั้งให้เป็นใหญ่เป็นโตมากับมือ...:ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าเลือกมาเองกับมือหรือเพราะหลงจู้หรือเสมียนแนะนำมา
วันนี้คนที่ว่าก็ทำเอาวุ่นไปหมดทั้งสำนักงานแล้ว..ถึงว่าการท่องเที่ยวถึงไม่กระเตื้อง
พนักงานเขาบ่นมา...แต่งตั้งคนคนนี้มาได้อย่างไรก็ไม่รู้ ??
อยากรู้เป็นใคร ใบ้ให้นิดก็ได้...ผู้ชายอะไรชอบหันหลังสู้...!!!
....................................................................................................................
ตื่นเถิดไทย ??
นักเรียนนักเลงขี่จักรยานยนต์นับสิบคันขนาบรถเมล์พร้อมยิงปืนและขว้างปาก้อนหินใส่เพื่อหวังทำร้ายนักเรียนคู่อริ
ตั้งแต่คลองสามยันคลองหกระยะทางหลายกิโลเมตร
ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ต่างเมินเฉยถือว่าธุระไม่ใช่
เมื่อไหร่นะคนไทยจะตื่นและร่วมกันปกป้องไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีงามในบ้านเมืองเสียที
ขืนหลับไม่ตื่นยึดคติธุระไม่ใช่อยู่แบบนี้...มีหวังเรื่องที่ไม่ชอบมาพากล
ทั้งโกงบ้านกินเมือง ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการแบบเน่าหนอนชอนไชเพื่อมุ่งรับใช้ผู้มีอำนาจโดยละเลยประชาชนแบบทุกวันนี้คงเพิ่มขึ้นอีกบานเบอะ
ตื่นเถิดคนไทย..ขืนหลับไหลไอ้พวกจัญไรครองเมืองมากกว่านี้แน่ ???
................................................................................
ได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีผู้มีอำนาจให้เป็นนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้
พลันถูกฝ่ายค้านวิจารณ์เรื่องคุณสมบัติและจริยธรรม นายคิม แตโฮ ก็หน้าบางถอนตัวไม่ยอมเป็นนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้เอาดื้อๆ
ผิดกับที่นี่ประเทศไทยหน้ามือเป็นหลังมือ ทำอย่างไรก็ได้ขอให้ข้าฯเป็นใหญ่...;เป็นฝ่ายค้านพูดอย่าง..เป็นรัฐบาลพูดอีกอย่าง...ด้านได้อายอดนำ.... คุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องไว้เล่าบ่นพูดจาหน้ากล้องหรือหลังโพเดี้ยมให้ดูดีมีค่า
ถ้าผู้หลักผู้ใหญ่ในเมืองไทยมีสำนึกแบบนี้บ้าง
เรื่องวุ่นๆอีรุงตุงนังเช่นที่เป็นอยู่คงหมดไปนานแล้วแน่ !!...จริงไหมท่านนายกฯ ??
.............................................................................................................
อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ??
ทำงานในหน้าที่ ส.ส.แถมเป็นวอลลเปเปอร์เคลื่อนที่ให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอย่างเดียวคงไม่สนุกพอ
ศิริโชค โสภา สส.สงขลา จึงต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนไปสืบสวนหาข่าวเอากับ วิคเตอร์ บูธ ถึงในเรือนจำในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
ใครจะเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธหรือไม่ ??
ชุดดำที่เอาอาวุธมายิงประชาชนเป็นใคร เกี่ยวข้องกับ วิคเตอร์ บูธ หรือเกี่ยวข้องกับใครหรือไม่ ??
ทั้งหมดทั้งปวงมันก็น่าจะเป็นหน้าที่ของข้าราชประจำ ไม่น่าใช่หน้าที่ของ ศิริโชค โสภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือว่าอยากดึงเรื่องราวต่างๆผูกโยงเป็นเรื่องเดียวกันเพื่อผลทางการเมืองก็เป็นอีกเรื่อง
ระวังจะเหยียบเปลือกล้วยล้มโดนข้อหาใช้สถานะและตำแหน่งการเป็น ส.ส.เป็นการก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานประจำแล้วล่ะก็
ยิ่งหากนำสืบได้ว่าที่ทำไปนั้นเพื่อประโยชน์ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมต่อตนเอง ผู้อื่น หรือพรรคการเมือง
จับพลัดจับผลู...อาจเป็นเรื่องขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 266 เอาง่ายๆก็ได้นะ???
ขออย่าให้ปลาวาฬเกยตื้นก็แล้วกัน...เพราะหากช่วยไม่ทันช่วยไม่ถูก ก็มีสิทธิตายเอาได้ง่ายๆเหมือนกัน !!
..........................................................................................................................
ยกย่องกันเกินไปหรือเปล่า ??
เคยมีข่าวจะมีการจัดสรรงบประมาณลงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยรัฐบาล แม้วพลัดถิ่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมากน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์เหตุความไม่สงบ
ดาหน้าออกมาถล่มกันยับเยินทั้งนักวิชาการและนักการเมืองอีกฟากฝ่าย
วันนี้มีข่าวงบประมาณแผ่นดินถูกเอามาเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมือง
หากเป็นส.ส.พรรคที่อยู่ในซีกฝ่ายรัฐบาลก็จะได้งบประมาณลงในท้องที่ที่เป็นเขตเลือกตั้งจำนวนมาก
ในทำนองกลับกันหากเป็น ส.ส.ในซีกฝ่ายค้านโอกาสได้งบประมาณลงพื้นที่ก็จะได้น้อย
วันนี้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการกลับไม่ดังเท่าที่ควร
หากมีการเอางบประมาณแผ่นดินที่มาจากภาษีอากรของประชาชนมาเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมือง
ที่เรียกขานกันว่าผู้ทรงเกียรติ..พวกเขาเหล่านั้นมีเกียรติพอที่จะให้เรียกกันหรือไม่ ??
...................................................................................................................................
ท.ท.ท.ระส่ำ ??
การท่องเที่ยวซบเซา เงินไม่ไหลเข้ากระเป๋าคนไทยแต่ดันไหลไปเข้ากระเป๋าคนประเทศอื่น
“เสี่ยเล็ก” สุรพล เศวตเสรณี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคงยังไม่รู้
ที่แต่งตั้งให้เป็นใหญ่เป็นโตมากับมือ...:ซึ่งไม่รู้เหมือนกันว่าเลือกมาเองกับมือหรือเพราะหลงจู้หรือเสมียนแนะนำมา
วันนี้คนที่ว่าก็ทำเอาวุ่นไปหมดทั้งสำนักงานแล้ว..ถึงว่าการท่องเที่ยวถึงไม่กระเตื้อง
พนักงานเขาบ่นมา...แต่งตั้งคนคนนี้มาได้อย่างไรก็ไม่รู้ ??
อยากรู้เป็นใคร ใบ้ให้นิดก็ได้...ผู้ชายอะไรชอบหันหลังสู้...!!!
....................................................................................................................
ตื่นเถิดไทย ??
นักเรียนนักเลงขี่จักรยานยนต์นับสิบคันขนาบรถเมล์พร้อมยิงปืนและขว้างปาก้อนหินใส่เพื่อหวังทำร้ายนักเรียนคู่อริ
ตั้งแต่คลองสามยันคลองหกระยะทางหลายกิโลเมตร
ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ต่างเมินเฉยถือว่าธุระไม่ใช่
เมื่อไหร่นะคนไทยจะตื่นและร่วมกันปกป้องไม่ให้เกิดสิ่งที่ไม่ดีงามในบ้านเมืองเสียที
ขืนหลับไม่ตื่นยึดคติธุระไม่ใช่อยู่แบบนี้...มีหวังเรื่องที่ไม่ชอบมาพากล
ทั้งโกงบ้านกินเมือง ทั้งการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการแบบเน่าหนอนชอนไชเพื่อมุ่งรับใช้ผู้มีอำนาจโดยละเลยประชาชนแบบทุกวันนี้คงเพิ่มขึ้นอีกบานเบอะ
ตื่นเถิดคนไทย..ขืนหลับไหลไอ้พวกจัญไรครองเมืองมากกว่านี้แน่ ???
................................................................................
ฑูตซาอุฯโต้'สุเทพ'แต่งตั้ง'สมคิด'พันคดีฆ่า'อัลรูไวลี่'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ฑูตซาอุฯโต้"สุเทพ"คดีแต่งตั้งพล.ต.ท.สมคิดซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีฆ่า"อัลรูไวลี่"นั่งผช.ผบ.ตร. กำหนดเข้าสู่กระบวนการไต่สวนของศาลเริ่ม25พ.ย.2553
รายงานเกี่ยวกับแถลงการณ์ของสถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2553 นั้น ทางสถานทูตฯ ซาอุดิอาระเบียมีความประสงค์ที่จะชี้แจงประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบีย ต้องการเน้นย้ำ ตามที่ได้เคยกล่าวไว้ในแถลงการณ์ดังกล่าวก่อนหน้านี้ว่าทางสถานทูตฯ ยึดหลักนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงหรือก้าวก่ายกิจการภายในใดๆ ของในแต่ละประเทศ และไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันของประเทศไทยแต่อย่างใด หรือมีเจตนาที่จะเข้าไปแทรกแซงเรื่องภายในประเทศนั้นๆ คำกล่าวข้างต้นมีเพียงเฉพาะประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับซาอุดีอาระเบียโดยปราศจากประเด็นอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้ ขณะที่ทางสถานทูตฯ กำลังดำเนินเรื่องคดีต่างๆ ที่ค้างอยู่ด้วยความระมัดระวังอย่างสูงสุดและปฏิบัติด้วยวิธีที่เคารพต่อสถานการณ์อ่อนไหวทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน
สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียขอชี้แจงหมายเหตุที่คัดค้าน และแสดงความกังวลในแถลงการณ์ก่อนหน้านี้นั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าหัวข้อที่เป็นปัญหาคือ ประเด็นที่ตรงกับความกังวลเกี่ยวกับคดีคงค้างทั้ง 3 คดีของซาอุดิอาระเบียและยังไม่ได้รับการแก้ไขเป็นเวลานานมากกว่า 20 ปีคือคดีการโจรกรรมเครื่องเพชรจากราชอาณาจักรประเทศซาอุดิอาระเบียโดยคนงานไทย ซึ่งเป็นเหตุตามมาด้วยการฉ้อฉล ยักยอกเครื่องประดับที่ถูกโจรกรรม คดีลอบสังหารนักการทูตของประเทศซาอุดิอาระเบียที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย และคดีสุดท้ายคือการหายตัวไปและฆาตรกรรม นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ซึ่งส่งผลลดระดับของความสัมพันธ์ทวิภาคีในทุกด้านๆ
ดังนั้นทางสถานเอกอัครราชทูตฯ มีสิทธิ์สมควรปฏิบัติตามหน้าที่หลัก โดยการติดตามความคืบหน้าของการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย ขณะที่สนับสนุนให้ทางการเปิดเผยถึงสิ่งที่เป็นข้อสงสัยต่อคดีทั้ง 3 ในปัจจุบันซึ่งรอนานกว่า 20 ปี อีกทั้งให้สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียที่ให้อุปถัมภ์สนับสนุนการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างใกล้ชิดกับมิตรประเทศทั่วโลก เป็นเวลานานกว่า 20 ปีตั้งแต่ทางการซาอุฯ ตกตะลึงต่อเหตุการณ์คดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น ทางรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้แสดงความเข้าใจและมีความอดทนต่อการติดตามคดี อีกทั้งได้ให้ความร่วมมืออย่างดีต่อเจ้าหน้าที่ไทยที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเพื่อเปิดเผยคดีอาชญากรรมดังกล่าว นอกจากนี้เป็นหน้าที่ของสถานทูตฯที่ปฏิบัติตามหน้าที่รับใช้ต่อคดีที่ประชาชนให้ความสนใจและคำนึงถึงการปกป้องผลประโยชน์โดยให้ความร่วมมือกับอำนาจจากภาครัฐของไทย
สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียยังคงยืนยันและได้แสดงท่าทีหลายครั้งในการเรียกร้องและคาดหวังที่จะเห็นความโปร่งใส มีความยุติธรรมและการไม่เข้าไปแทรกแซงกับการแก้ปัญหาคดีค้างที่เกี่ยวข้องกับประเทศซาอุดิอาระเบีย และณ โอกาสนี้ขออ้างถึงนโยบายของรัฐบาลไทยโดย ฯพณฯนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต่อรัฐภา ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551(2008) ซึ่งรวมถึงกฎหมายและความยุติธรรม
8.2 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
8.2.2 พัฒนากฎหมายเพื่อการบริหารความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรมต่อทุกกลุ่ม
ในขณะที่สถานทูตฯ สนับสนุนการริเริ่มอย่างเต็มที่ของรัฐบาลไทย และเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้มองว่าคือจุดเริ่มต้นของความคืบหน้ามากกว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และความคืบหน้าของคดีทั้ง 3 คดี ประสบผลสำเร็จโดยรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันซึ่งเป็นการปูทางไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรทั้ง 2 อย่างเต็มรูปแบบ
ในการนี้ ตามที่สถานทูตฯ ได้เคยแถลงไปว่า ทางสถานทูตฯ ยังไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ ต่อทั้งสามคดี หรือยังไม่ได้กล่าวโทษบุคคลใด ว่าได้กระทำผิด หรือต้องรับผิดชอบในการดำเนินการใดๆ ของคดีอาชญากรรมที่รู้กันดีตามหัวข้อที่ตกเป็นประเด็น เพราะเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมและศาลไทยที่จะเป็นฝ่ายพิสูจน์และดำเนินการที่จำเป็นอันสอดคล้องกับกฎระเบียบตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ทางสถานทูตฯ ตั้งข้อสังเกตเห็นว่า ตามมาตรา 95 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติปี พ.ศ. 2547 ระบุว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา จะต้องถูกสั่งพักราชการจนกว่าการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ ดังนั้นทางสถานทูตฯ จึงแสดงความเห็นดังนี้
1.สถานทูตฯ เพียงแต่ประหลาดใจต่อคำให้สัมภาษณ์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับคดีนายอัลรูไวลี่ที่ค้างอยู่ ซึ่งหนึ่งในห้าผู้ต้องหาในคดีนี้ (ซึ่งตัดสินโดยสำนักอัยการสูงสุด) โดยที่พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ไม่มีความผิด และยังคงปฏิบัติทำงานในหน้าที่ และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามที่ทางสถานทูตได้รับทราบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของไทยได้ตัดสินสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 5 คนในคดีการหายตัวและคดีฆาตกรรมของนายอัลรูไวรี่ และมีกำหนดจะเข้าสู่กระบวนการการไต่สวนของศาลที่จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.2553
2.สถานทูตได้แสดงความกังวลตามที่นายเทพเทือกมีมติเห็นชอบกับ ก.ตร.ว่าพล.ต.ท.สมคิดเป็นผู้บริสุทธิ์ต่อการกระทำความผิดใดๆในคดีของนายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ ในขณะที่สถานทูตฯ มีความเห็นว่าพล.ต.ท.สมคิด ยังมีส่วนพัวพันต่อคดีอาชญากรรมตามที่กล่าวมาข้างต้น ก.ตร. หรือหน่วยงานใดๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตัดสินพิจารณาว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์นั้นล้วนขัดแย้งโดยตรงกับข้อเท็จจริงตามกฎหมายไทยและอำนาจนิติบัญญัติ (อำนาจนิติบัญญัติ) ซึ่งในกรณีนี้ พล.ต.ท. สมคิดยังตกเป็นจำเลยและยังไม่ได้ถูกพิจารณาดำเนินคดี
สุดท้ายนี้สถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทยเน้นย้ำว่าทางรัฐบาลอุดิอาระเบียได้คาดหวังอย่างสูงสุดว่าการรักษาคำมั่นสัญญาของรัฐบาลไทยภายใต้การนำของฯพณฯนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ไขปัญหาคดีค้างทั้ง 3 คดีอย่างเป็นกรณีพิเศษเพื่อที่จะปูทางไปสู่การฟื้นฟูและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียและราชอาณาจักรไทย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ฑูตซาอุฯโต้"สุเทพ"คดีแต่งตั้งพล.ต.ท.สมคิดซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีฆ่า"อัลรูไวลี่"นั่งผช.ผบ.ตร. กำหนดเข้าสู่กระบวนการไต่สวนของศาลเริ่ม25พ.ย.2553
รายงานเกี่ยวกับแถลงการณ์ของสถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2553 นั้น ทางสถานทูตฯ ซาอุดิอาระเบียมีความประสงค์ที่จะชี้แจงประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบีย ต้องการเน้นย้ำ ตามที่ได้เคยกล่าวไว้ในแถลงการณ์ดังกล่าวก่อนหน้านี้ว่าทางสถานทูตฯ ยึดหลักนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ว่าจะไม่เข้าไปแทรกแซงหรือก้าวก่ายกิจการภายในใดๆ ของในแต่ละประเทศ และไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันของประเทศไทยแต่อย่างใด หรือมีเจตนาที่จะเข้าไปแทรกแซงเรื่องภายในประเทศนั้นๆ คำกล่าวข้างต้นมีเพียงเฉพาะประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับซาอุดีอาระเบียโดยปราศจากประเด็นอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้ ขณะที่ทางสถานทูตฯ กำลังดำเนินเรื่องคดีต่างๆ ที่ค้างอยู่ด้วยความระมัดระวังอย่างสูงสุดและปฏิบัติด้วยวิธีที่เคารพต่อสถานการณ์อ่อนไหวทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน
สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียขอชี้แจงหมายเหตุที่คัดค้าน และแสดงความกังวลในแถลงการณ์ก่อนหน้านี้นั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าหัวข้อที่เป็นปัญหาคือ ประเด็นที่ตรงกับความกังวลเกี่ยวกับคดีคงค้างทั้ง 3 คดีของซาอุดิอาระเบียและยังไม่ได้รับการแก้ไขเป็นเวลานานมากกว่า 20 ปีคือคดีการโจรกรรมเครื่องเพชรจากราชอาณาจักรประเทศซาอุดิอาระเบียโดยคนงานไทย ซึ่งเป็นเหตุตามมาด้วยการฉ้อฉล ยักยอกเครื่องประดับที่ถูกโจรกรรม คดีลอบสังหารนักการทูตของประเทศซาอุดิอาระเบียที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย และคดีสุดท้ายคือการหายตัวไปและฆาตรกรรม นายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ซึ่งส่งผลลดระดับของความสัมพันธ์ทวิภาคีในทุกด้านๆ
ดังนั้นทางสถานเอกอัครราชทูตฯ มีสิทธิ์สมควรปฏิบัติตามหน้าที่หลัก โดยการติดตามความคืบหน้าของการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย ขณะที่สนับสนุนให้ทางการเปิดเผยถึงสิ่งที่เป็นข้อสงสัยต่อคดีทั้ง 3 ในปัจจุบันซึ่งรอนานกว่า 20 ปี อีกทั้งให้สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาลราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียที่ให้อุปถัมภ์สนับสนุนการเจริญสัมพันธไมตรีอย่างใกล้ชิดกับมิตรประเทศทั่วโลก เป็นเวลานานกว่า 20 ปีตั้งแต่ทางการซาอุฯ ตกตะลึงต่อเหตุการณ์คดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้น ทางรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้แสดงความเข้าใจและมีความอดทนต่อการติดตามคดี อีกทั้งได้ให้ความร่วมมืออย่างดีต่อเจ้าหน้าที่ไทยที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนเพื่อเปิดเผยคดีอาชญากรรมดังกล่าว นอกจากนี้เป็นหน้าที่ของสถานทูตฯที่ปฏิบัติตามหน้าที่รับใช้ต่อคดีที่ประชาชนให้ความสนใจและคำนึงถึงการปกป้องผลประโยชน์โดยให้ความร่วมมือกับอำนาจจากภาครัฐของไทย
สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียยังคงยืนยันและได้แสดงท่าทีหลายครั้งในการเรียกร้องและคาดหวังที่จะเห็นความโปร่งใส มีความยุติธรรมและการไม่เข้าไปแทรกแซงกับการแก้ปัญหาคดีค้างที่เกี่ยวข้องกับประเทศซาอุดิอาระเบีย และณ โอกาสนี้ขออ้างถึงนโยบายของรัฐบาลไทยโดย ฯพณฯนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต่อรัฐภา ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551(2008) ซึ่งรวมถึงกฎหมายและความยุติธรรม
8.2 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
8.2.2 พัฒนากฎหมายเพื่อการบริหารความยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพโปร่งใสและเป็นธรรมต่อทุกกลุ่ม
ในขณะที่สถานทูตฯ สนับสนุนการริเริ่มอย่างเต็มที่ของรัฐบาลไทย และเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้มองว่าคือจุดเริ่มต้นของความคืบหน้ามากกว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และความคืบหน้าของคดีทั้ง 3 คดี ประสบผลสำเร็จโดยรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันซึ่งเป็นการปูทางไปสู่การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรทั้ง 2 อย่างเต็มรูปแบบ
ในการนี้ ตามที่สถานทูตฯ ได้เคยแถลงไปว่า ทางสถานทูตฯ ยังไม่ได้มีข้อสรุปใดๆ ต่อทั้งสามคดี หรือยังไม่ได้กล่าวโทษบุคคลใด ว่าได้กระทำผิด หรือต้องรับผิดชอบในการดำเนินการใดๆ ของคดีอาชญากรรมที่รู้กันดีตามหัวข้อที่ตกเป็นประเด็น เพราะเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมและศาลไทยที่จะเป็นฝ่ายพิสูจน์และดำเนินการที่จำเป็นอันสอดคล้องกับกฎระเบียบตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ทางสถานทูตฯ ตั้งข้อสังเกตเห็นว่า ตามมาตรา 95 พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติปี พ.ศ. 2547 ระบุว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา จะต้องถูกสั่งพักราชการจนกว่าการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ ดังนั้นทางสถานทูตฯ จึงแสดงความเห็นดังนี้
1.สถานทูตฯ เพียงแต่ประหลาดใจต่อคำให้สัมภาษณ์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับคดีนายอัลรูไวลี่ที่ค้างอยู่ ซึ่งหนึ่งในห้าผู้ต้องหาในคดีนี้ (ซึ่งตัดสินโดยสำนักอัยการสูงสุด) โดยที่พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ไม่มีความผิด และยังคงปฏิบัติทำงานในหน้าที่ และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ตามที่ทางสถานทูตได้รับทราบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของไทยได้ตัดสินสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 5 คนในคดีการหายตัวและคดีฆาตกรรมของนายอัลรูไวรี่ และมีกำหนดจะเข้าสู่กระบวนการการไต่สวนของศาลที่จะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.2553
2.สถานทูตได้แสดงความกังวลตามที่นายเทพเทือกมีมติเห็นชอบกับ ก.ตร.ว่าพล.ต.ท.สมคิดเป็นผู้บริสุทธิ์ต่อการกระทำความผิดใดๆในคดีของนายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี่ ในขณะที่สถานทูตฯ มีความเห็นว่าพล.ต.ท.สมคิด ยังมีส่วนพัวพันต่อคดีอาชญากรรมตามที่กล่าวมาข้างต้น ก.ตร. หรือหน่วยงานใดๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ตัดสินพิจารณาว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์นั้นล้วนขัดแย้งโดยตรงกับข้อเท็จจริงตามกฎหมายไทยและอำนาจนิติบัญญัติ (อำนาจนิติบัญญัติ) ซึ่งในกรณีนี้ พล.ต.ท. สมคิดยังตกเป็นจำเลยและยังไม่ได้ถูกพิจารณาดำเนินคดี
สุดท้ายนี้สถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทยเน้นย้ำว่าทางรัฐบาลอุดิอาระเบียได้คาดหวังอย่างสูงสุดว่าการรักษาคำมั่นสัญญาของรัฐบาลไทยภายใต้การนำของฯพณฯนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ไขปัญหาคดีค้างทั้ง 3 คดีอย่างเป็นกรณีพิเศษเพื่อที่จะปูทางไปสู่การฟื้นฟูและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียและราชอาณาจักรไทย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปชป.ปากกล้าสับซาอุฯอย่ายุ่งแต่งตั้ง‘สมคิด’
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
ส.ส.ประชาธิปัตย์ทำฝีปากกล้า ออกโรงสับซาอุฯอย่าก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ยืนยันตั้ง “สมคิด “นั่ง ผช.ผบ.ตร. เป็นไปตามหลักการและระเบียบราชการที่ถูกต้อง “สุเทพ” ขันอาสาทำหนังสือชี้แจงกระบวนการแต่งตั้ง ปล่อยไก่คดียังไม่สั่งฟ้องถือเป็นผู้บริสุทธิ์ โฆษกเพื่อไทยจวกอัยการส่งคดีขึ้นสู่ศาลแล้วถือว่ามีพยานหลักฐานน่าเชื่อถือ แต่กลับไม่มีความผิดทางวินัย ไม่ถูกสั่งพักราชการ จี้นายกฯเร่งแก้ไข หากไม่ทำจะยื่น ป.ป.ช. ฟันฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่ทางการซาอุดีอาระเบียแสดงความไม่พอใจการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจที่ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ได้ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.) ทั้งที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีการหายตัวไปของนายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุฯ เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนว่า ภายในสัปดาห์นี้จะทำหนังสือชี้แจงไปยังซาอุฯ เพราะคดีนี้แม้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาแต่ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่แทรกแซงทางคดี และเรื่องของการแต่งตั้งโยกย้ายก็เป็นเรื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ซาอุฯไม่ควรเข้ามาแทรกแซงกระบวนการแต่งตั้งของไทย เพราะการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิดเป็นไปตามหลักการและระเบียบทางราชการ ส่วนเรื่องเกี่ยวกับคดีต้องถือว่า พล.ต.ท.สมคิดยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ จึงต้องให้ความเป็นธรรมด้วย
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า พรรคเพื่อไทยเคยทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. ว่าให้ดำเนินการตามมาตรา 95 ของ พ.ร.บ.ตำรวจ คือเมื่อมีตำรวจถูกตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง เป็นผู้ต้องหาคดีอาญาต้องให้ออกจากราชการไว้ก่อน แต่กรณีของ พล.ต.ท.สมคิดนอกจากไม่ถูกสั่งพักราชการแล้วยังได้เลื่อนตำแหน่งอีกด้วย
“เรื่องนี้นอกจากจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้วยังทำโดยไม่แคร์ความรู้สึกของประชาชน และไม่คิดถึงผลกระทบต่อประเทศ ผมเชื่อว่าน่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง เป็นเรื่องของบุญคุณต้องทดแทน” นายพร้อมพงศ์กล่าวพร้อมเรียกร้องว่า นายกรัฐมนตรีควรคิดถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลักมากกว่าประโยชน์พวกพ้อง ไม่ควรทำอะไรที่เป็นสองมาตรฐาน ส่วนกรณีที่นายสุเทพออกมาปกป้องว่า พล.ต.ท.สมคิดไม่มีความผิดวินัยร้ายแรงนั้นถือว่าผิดปรกติ เพราะคดีนี้อัยการสั่งฟ้องไปแล้ว และศาลก็รับคดีไว้พิจารณา แสดงว่าพยานหลักฐานน่าเชื่อถือ
โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ตร. โดยตำแหน่งและนายสุเทพที่ปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.ตร. ควรทบทวนการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิดใหม่ ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในสัปดาห์หน้าจะไปยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบเอาผิดนายอภิสิทธิ์กับนายสุเทพในเรื่องนี้
ด้าน พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ. 5 กล่าวว่า การแต่งตั้งโยกย้ายเป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจหรือ ก.ตร. ตนไม่มีสิทธิขัดขืน ผู้บังคับบัญชาให้ไปทำงานตรงไหนก็ต้องไปทำตรงนั้น และจะทำเต็มกำลังความสามารถ ส่วนเรื่องที่มีการออกมาโจมตีนั้นไม่ขอตอบโต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯอัยการเพิ่งมีคำสั่งฟ้องคดี โดยมี พล.ต.ท.สมคิดและพวกรวม 5 คนเป็นจำเลยต่อศาล เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2553
**********************************************************************
ส.ส.ประชาธิปัตย์ทำฝีปากกล้า ออกโรงสับซาอุฯอย่าก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ ยืนยันตั้ง “สมคิด “นั่ง ผช.ผบ.ตร. เป็นไปตามหลักการและระเบียบราชการที่ถูกต้อง “สุเทพ” ขันอาสาทำหนังสือชี้แจงกระบวนการแต่งตั้ง ปล่อยไก่คดียังไม่สั่งฟ้องถือเป็นผู้บริสุทธิ์ โฆษกเพื่อไทยจวกอัยการส่งคดีขึ้นสู่ศาลแล้วถือว่ามีพยานหลักฐานน่าเชื่อถือ แต่กลับไม่มีความผิดทางวินัย ไม่ถูกสั่งพักราชการ จี้นายกฯเร่งแก้ไข หากไม่ทำจะยื่น ป.ป.ช. ฟันฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กล่าวถึงกรณีที่ทางการซาอุดีอาระเบียแสดงความไม่พอใจการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจที่ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ได้ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.) ทั้งที่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีการหายตัวไปของนายโมฮัมเหม็ด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุฯ เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนว่า ภายในสัปดาห์นี้จะทำหนังสือชี้แจงไปยังซาอุฯ เพราะคดีนี้แม้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาแต่ยังอยู่ระหว่างการสอบสวน ซึ่งรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่แทรกแซงทางคดี และเรื่องของการแต่งตั้งโยกย้ายก็เป็นเรื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ซาอุฯไม่ควรเข้ามาแทรกแซงกระบวนการแต่งตั้งของไทย เพราะการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิดเป็นไปตามหลักการและระเบียบทางราชการ ส่วนเรื่องเกี่ยวกับคดีต้องถือว่า พล.ต.ท.สมคิดยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ จึงต้องให้ความเป็นธรรมด้วย
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า พรรคเพื่อไทยเคยทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการ ผบ.ตร. ว่าให้ดำเนินการตามมาตรา 95 ของ พ.ร.บ.ตำรวจ คือเมื่อมีตำรวจถูกตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง เป็นผู้ต้องหาคดีอาญาต้องให้ออกจากราชการไว้ก่อน แต่กรณีของ พล.ต.ท.สมคิดนอกจากไม่ถูกสั่งพักราชการแล้วยังได้เลื่อนตำแหน่งอีกด้วย
“เรื่องนี้นอกจากจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้วยังทำโดยไม่แคร์ความรู้สึกของประชาชน และไม่คิดถึงผลกระทบต่อประเทศ ผมเชื่อว่าน่าจะมีการเมืองเข้ามาแทรกแซงการแต่งตั้ง เป็นเรื่องของบุญคุณต้องทดแทน” นายพร้อมพงศ์กล่าวพร้อมเรียกร้องว่า นายกรัฐมนตรีควรคิดถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลักมากกว่าประโยชน์พวกพ้อง ไม่ควรทำอะไรที่เป็นสองมาตรฐาน ส่วนกรณีที่นายสุเทพออกมาปกป้องว่า พล.ต.ท.สมคิดไม่มีความผิดวินัยร้ายแรงนั้นถือว่าผิดปรกติ เพราะคดีนี้อัยการสั่งฟ้องไปแล้ว และศาลก็รับคดีไว้พิจารณา แสดงว่าพยานหลักฐานน่าเชื่อถือ
โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน ก.ตร. โดยตำแหน่งและนายสุเทพที่ปฏิบัติหน้าที่ประธาน ก.ตร. ควรทบทวนการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิดใหม่ ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเข้าข่ายการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในสัปดาห์หน้าจะไปยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบเอาผิดนายอภิสิทธิ์กับนายสุเทพในเรื่องนี้
ด้าน พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผบช.ภ. 5 กล่าวว่า การแต่งตั้งโยกย้ายเป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจหรือ ก.ตร. ตนไม่มีสิทธิขัดขืน ผู้บังคับบัญชาให้ไปทำงานตรงไหนก็ต้องไปทำตรงนั้น และจะทำเต็มกำลังความสามารถ ส่วนเรื่องที่มีการออกมาโจมตีนั้นไม่ขอตอบโต้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีการหายตัวไปของนักธุรกิจซาอุฯอัยการเพิ่งมีคำสั่งฟ้องคดี โดยมี พล.ต.ท.สมคิดและพวกรวม 5 คนเป็นจำเลยต่อศาล เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2553
**********************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)