ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
"ประชา-ประเสริฐ"เผยนัดคุย"เนวิน"แกนนำภท. "สมศักดิ์"แกนนำ ชทพ. ก่อนตัดสินใจย้ายพรรค ยก"กรุง-จิรพันธ์"'ถูกไล่เป็นหมูหมา เผยโทรลา"ทักษิณ"แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานหลังจาก นายนที สุทินเผือก หรือกรุง ศรีวิไล และนายจิรพันธ์ ลิ้มสกุลศิริรัตน์ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ย้ายไปอยู่พรรคภูมิใจไทย โดยมีเสียงด่าจากคนในพรรคเพื่อไทย ล่าสุด นายประชา ประสพดี นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ได้หารือกันตกลงว่าช่วง 2-3 วันนี้จะไปพรรคภูมิใจไทย เพื่อหารือกับนายเนวิน ชิดชอบ และนายอนุทิน ชาญวีรกูล แกนนำพรรคภูมิใจไทย ถึงสถานการณ์การเมืองต่าง ๆ และจะเดินทางไปพูดคุยกับนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา ด้วย
ทั้งนี้ ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมากลุ่ม ส.ส.สมุทรปราการ ได้ปรับทุกข์กับนายกรุง และนายจิรพันธ์ ถึงท่าทีแสดงออกของพรรคเพื่อไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา นายประชาได้ยืนพูดคุยกับนายจิรพันธ์อย่างเคร่งเครียดบริเวณบ่อปลาคาร์พ เมื่อเห็นผู้สื่อข่าวเดินผ่านมาและเข้าไปทักทาย นายประชาเอ่ยปากขึ้นมาด้วยน้ำเสียงจริงจังว่า “ไปหมดแล้ว อยู่ได้อย่างไร ด่ากันอย่างนี้ผมไม่เอาด้วยหรอก”
เมื่อผู้สื่อข่าวถาม ตกลงจะไปกันทั้งจังหวัดเลยหรือ นายประชากล่าวว่า “ไม่รู้คุยกันอยู่ แต่ปกติเราก็แท็กทีมกันอยู่แล้ว”
จากนั้นนายประชาให้สัมภาษณ์ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรู้สึกเห็นใจนายกรุงกับนายจิรพันธ์ จริงๆ เขาจะย้ายไปก็เป็นเรื่องของเขา ไปด่าเขารุนแรงเหมือนหมูเหมือนหมา เป็นตะกวดบ้าง เป็นตัวเหี้ยบ้าง ตนไม่เห็นด้วย วันหน้าเราเป็นส.ส.ก็ต้องเจอกันอยู่ ทำไมไม่ทบทวนตัวเองดูบ้าง เรามีข้อด้อยอะไร พรรคอื่นมีข้อดีอะไร ใช้เหตุและผลมาคุยกัน มาด่ากันอย่างนี้เป็นตัวอย่างไม่ดีต่อคนรุ่นใหม่ ไอ้พวกที่ออกมาพูดกันมากนัก อยากถามว่าในจิตใจแกว่งกันบ้างไหม และมาเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.สมุทรปราการ กันทันทีทันควัน ถามว่าได้ปรึกษา ส.ส.สมุทรปราการกันบ้างหรือยัง ถ้าเห็นเป็นแค่หัวหลักหัวตอ ไม่บอกให้รับรู้ ตนก็ไม่อยู่ การคัดเลือกผู้สมัครต้องผ่านบอร์ดของพรรคพิจารณา โดยไม่มีคนในตระกูลชินวัตรเข้ามาเกี่ยวข้อง วันนี้มีคนต่อแถวลงสมัคร 8-9 คน ส.ส.ในพื้นที่ต้องมีส่วนคิดด้วย ถ้าคัดเลือกกันแบบนี้ จะไปบอกชาวบ้านอย่างไร ถ้ายังเกิดเหตุการณ์นำไปสู่ความแตกแยกแบบนี้อีก ไม่เอาด้วยแน่
"คนเป็นส.ส.ก็ต้องการช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ ผมเป็นคนหนึ่งที่รับฟังเสียงชาวบ้านมากที่สุด ถามว่าพรรคจะช่วยเหลือเราได้มากเท่าไหร่ ตัวเราก็ต้องช่วยตัวเองให้มากที่สุด พรรคไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่ผมเป็นคนไปลามาไหว้ ผมคาใจอย่างเดียว คุณกรุงกับคุณจิรพันธ์ไปไม่บอกผม จะไปไม่บอกกันเลย" นายประชา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ช่วงหลังๆ ได้ติดต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บ้างหรือไม่ นายประชาตอบว่า เร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งคุยกัน ผมได้โทรไปหาท่านและก็ลาท่านแล้ว และได้นัดนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา คุยกันในอีกไม่กี่วันนี้แล้วด้วย
**********************************************************************
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553
ชำแหละสัมปทาน "สุวรรณภูมิสแควร์" เครือข่ายลึกลับ "แป้งร่ำ รีเทล" ทอท.ทำเพื่อใคร ?
ประชาชาติธุรกิจ
บทสรุปง่ายของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." จู่ ๆ ก็ยกสัมปทานให้บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด 15-20 ปี บริหารพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (long term parking) ในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิโซน A, B, C ขนาด 62,380.50 ตารางเมตร สร้างความตื่นตะลึงแก่วงการธุรกิจและผู้รับผิดชอบหลายแผนกที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบมติของคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ที่มี "นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ลงนามเมื่อ 19 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้ ทอท.ทำสัญญากับบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เป็นเวลา 15-20 ปี
สัมปทานโครงการนี้เป็นซีรีส์มหัศจรรย์ ซึ่งเริ่มต้นจากให้เช่าพื้นที่แก่ผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่เสนอขอทำ "ธุรกิจศูนย์รถยนต์ครบวงจร" บริเวณลานจอดรถสาธารณะ ฝั่งทิศตะวันออก 6,000 ตารางเมตร จากนั้นก็ขยายผลทำมาสเตอร์แพลน 4 โปรเจ็กต์ ย้ายพื้นที่ไปทางฝั่งตรงข้ามศูนย์ขนส่งสุวรรณภูมิ และ แปลงร่างเฉพาะเจาะจงทำโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์บริเวณลานจอดรถระยะยาว (long term parking) ก่อนจะลงเอยที่อภิมหาโปรเจ็กต์ "สุวรรณภูมิสแควร์" เต็มพื้นที่ 62,380.50 ตารางเมตร
จุดเริ่มจากเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ผู้ได้สัมปทานได้ทำหนังสือแจ้งประธานคณะกรรมการรายได้และ ทอท.ว่า เดิมเคยใช้บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ขอเช่าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการด้านรถยนต์ในสุวรรณภูมิพื้นที่ขนาด 6,000 ตารางเมตร แต่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อใหม่แล้วเป็น บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ซึ่งมีความประสงค์ขอเช่าพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวใน สุวรรณภูมิเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาด 62,380.50 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 350-450 ล้านบาท
จากนั้นเพียง 10 วัน ทอท.รีบอนุมัติให้บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ระบุวันส่งมอบพื้นที่แบบเร่งด่วนภายในวันที่ 1 กันยายน 2553 เป็นต้นไป และ ทำสัญญาอย่างรวดเร็ว 15 ปี ระหว่าง 1 ธันวาคม 2553-30 พฤศจิกายน 2568
ฝ่ายพาณิชย์นำเสนอคณะกรรมการรายได้โดยอ้างถึงเรื่องเดิมตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด แจ้งความประสงค์ขอเช่าพื้นที่ว่างบริเวณด้านหลังลานจอดรถรับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่) ติดกับรั้วอาคาร บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด 6,360 ตารางเมตร ระยะเวลาประกอบการ 12 ปี เพื่อดำเนินการศูนย์ธุรกิจรถยนต์ครบวงจร ได้แก่ คาร์แคร์ ศูนย์ซ่อมรถยนต์ โชว์รูมรถยนต์ ร้านเครื่องเสียงและประดับยนต์ ร้านเปลี่ยนยางแม็ก โชว์รูมอุปกรณ์คาร์แคร์พร้อมสำนักงาน
จากนั้นคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อ 20 มีนาคม 2552 มีมติเห็นชอบทันทีให้บริษัท คอน-พลัสฯเช่าพื้นที่ดำเนินธุรกิจได้ ต่อมามีการประชุมฯครั้งที่ 5/2552 เมื่อ 28 เมษายน 2552 มีมติให้ฝ่ายพาณิชย์ทำหนังสือถึงบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ถ้าหากต้องการจะขยายพื้นที่ครัวการบินในอนาคตจะต้องไปเจรจากับผู้ดูแลพื้นที่รายใหม่คือ คอน-พลัสฯที่ได้สิทธิการเช่าทำศูนย์ธุรกิจรถยนต์ครบวงจรในพื้นที่ว่างเปล่าฝั่งทิศตะวันออก ทางผ่านเข้า-ออก ถนนลาดกระบัง ด้านหลังติดลานจอดรถแท็กซี่
มติคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. วันที่ 28 เมษายน 2552 ระบุเงื่อนไขให้คอน-พลัสฯได้สิทธิทำศูนย์ธุรกิจรถยนต์ ครบวงจร 10 ปี ต้องจ่าย ทอท.ทั้งหมด 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ค่าตอบแทน 15% ของรายได้ต่อเดือน ก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ปีแรกจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำเดือนละ 111,780 บาท ปีต่อไปเพิ่มปีละ 10% ส่วนที่ 2 ค่าเช่าที่ดิน 60 บาท/ตร.ม./เดือน
ผ่านไป 3 เดือน คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ประชุมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2552 แก้ไขมติแบบพลิกสุดขั้ว เปลี่ยนมติจากเดิม "อนุญาตให้บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ดำเนินธุรกิจศูนย์รถยนต์ครบวงจร" ปรับมติใหม่เป็น "เปิดโดยวิธีประมูลทั่วไป" และให้ใช้พื้นที่แห่งใหม่บริเวณด้านทิศเหนือฝั่งตรงข้ามศูนย์ขนส่งสุวรรณภูมิ ขนาด 6,000 ตารางเมตร เพื่อทำโครงการศูนย์รถยนต์ครบวงจร โดยให้ฝ่ายพาณิชย์จัดทำมาสเตอร์แพลนพื้นที่ดังกล่าวเพื่อพัฒนาทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์
วันที่ 31 สิงหาคม 2552 ฝ่ายพาณิชย์ ทอท.เสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณารายได้เกี่ยวกับมาสเตอร์แพลนพื้นที่ด้านทิศเหนือฝั่งตรงข้ามศูนย์ขนส่งสุวรรณภูมิทั้งหมด มติที่ประชุมเห็นชอบให้กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจมี 4 โครงการ คือ โครงการศูนย์ให้บริการรถยนต์ครบวงจร โครงการศูนย์กีฬา โครงการศูนย์ให้บริการด้านสุขภาพ โครงการศูนย์จำหน่ายสินค้าจากโรงงาน
แล้วจู่ ๆ ก็ยกการประชุมคณะกรรมการพิจารณารายได้ย้อนกลับไปเมื่อ 19 มกราคม 2552 อ้างวาระ 6.15 เรื่อง ขอเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณด้านหลังลานจอดรถสาธารณะ (แท็กซี่) เพื่อทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในสุวรรณภูมิ ครั้งนั้นมติที่ประชุมให้ดำเนินกิจกรรม "Community Mall" บริเวณลานจอดรถระยะยาว โดยคัดเลือกด้วยวิธีพิเศษ (shortlist) จากผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์เข้ามาทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในสุวรรณภูมิ
ระบุชัดว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางนาอุปกรณ์ และสหกรณ์บริการวิสาหกิจชุมชนหนองปรือสมุทรปราการ" ได้รับสิทธิทำโครงการคอมมิวนิตี้ มอลล์ ในลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมิ สัญญา 5 ปี จ่ายค่าตอบแทน 15% ของรายได้ต่อเดือน ก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ และปีต่อไปจ่ายเพิ่มปีละ 10% จ่ายค่าเช่าที่ดิน 60 บาท/ตารางเมตร/เดือน เปลี่ยน "ผู้เล่นใหม่" อีกครั้ง
จากนั้นที่ประชุมฯได้ยกมติวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 วาระ 3.3 เรื่อง การพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการโครงการคอมมิวนิตี้ มอลล์ คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.มีมติให้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อโครงการ "การให้สิทธิประโยชน์โครงการคอมมิวนิตี้ มอลล์" เป็น "การให้สิทธิประกอบการเชิงพาณิชย์ บริเวณลานจอดรถระยะยาวในสุวรรณภูมิ" ขยายสัญญาจาก 5 เป็น 10 ปี ตัดคำว่าคอมมิวนิตี้ มอลล์ ออกไป โดยอ้างเหตุผลเป็นการเฉพาะเจาะจงรูปแบบบริการมากเกินไป
กระทั่งล่าสุดเมื่อ 19 สิงหาคม 2553 (ดูชาร์ตประกอบ) ทอท.ก็อนุมัติสัมปทานโครงการนี้ให้แก่ "บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด" มี "นายพีรยศ วงศ์วิทวัส" เป็นเจ้าของคนเดียวปรากฏอยู่ในอีก 2 บริษัท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางนาอุปกรณ์และบริษัท บางนาอุปกรณ์การค้า จำกัด ส่วนบริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด นั้น ตรวจสอบข้อมูลกับกรมทะเบียนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ไม่มีชื่อและข้อมูลปรากฏอยู่แต่อย่างใด
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทสรุปง่ายของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) "ทอท." จู่ ๆ ก็ยกสัมปทานให้บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด 15-20 ปี บริหารพื้นที่ลานจอดรถระยะยาว (long term parking) ในสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิโซน A, B, C ขนาด 62,380.50 ตารางเมตร สร้างความตื่นตะลึงแก่วงการธุรกิจและผู้รับผิดชอบหลายแผนกที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบมติของคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ที่มี "นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ลงนามเมื่อ 19 สิงหาคม 2553 เห็นชอบให้ ทอท.ทำสัญญากับบริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด เป็นเวลา 15-20 ปี
สัมปทานโครงการนี้เป็นซีรีส์มหัศจรรย์ ซึ่งเริ่มต้นจากให้เช่าพื้นที่แก่ผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่เสนอขอทำ "ธุรกิจศูนย์รถยนต์ครบวงจร" บริเวณลานจอดรถสาธารณะ ฝั่งทิศตะวันออก 6,000 ตารางเมตร จากนั้นก็ขยายผลทำมาสเตอร์แพลน 4 โปรเจ็กต์ ย้ายพื้นที่ไปทางฝั่งตรงข้ามศูนย์ขนส่งสุวรรณภูมิ และ แปลงร่างเฉพาะเจาะจงทำโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์บริเวณลานจอดรถระยะยาว (long term parking) ก่อนจะลงเอยที่อภิมหาโปรเจ็กต์ "สุวรรณภูมิสแควร์" เต็มพื้นที่ 62,380.50 ตารางเมตร
จุดเริ่มจากเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ผู้ได้สัมปทานได้ทำหนังสือแจ้งประธานคณะกรรมการรายได้และ ทอท.ว่า เดิมเคยใช้บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ขอเช่าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการด้านรถยนต์ในสุวรรณภูมิพื้นที่ขนาด 6,000 ตารางเมตร แต่ตอนนี้เปลี่ยนชื่อใหม่แล้วเป็น บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ซึ่งมีความประสงค์ขอเช่าพื้นที่ลานจอดรถระยะยาวใน สุวรรณภูมิเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาด 62,380.50 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุน 350-450 ล้านบาท
จากนั้นเพียง 10 วัน ทอท.รีบอนุมัติให้บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด ระบุวันส่งมอบพื้นที่แบบเร่งด่วนภายในวันที่ 1 กันยายน 2553 เป็นต้นไป และ ทำสัญญาอย่างรวดเร็ว 15 ปี ระหว่าง 1 ธันวาคม 2553-30 พฤศจิกายน 2568
ฝ่ายพาณิชย์นำเสนอคณะกรรมการรายได้โดยอ้างถึงเรื่องเดิมตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด แจ้งความประสงค์ขอเช่าพื้นที่ว่างบริเวณด้านหลังลานจอดรถรับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่) ติดกับรั้วอาคาร บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด 6,360 ตารางเมตร ระยะเวลาประกอบการ 12 ปี เพื่อดำเนินการศูนย์ธุรกิจรถยนต์ครบวงจร ได้แก่ คาร์แคร์ ศูนย์ซ่อมรถยนต์ โชว์รูมรถยนต์ ร้านเครื่องเสียงและประดับยนต์ ร้านเปลี่ยนยางแม็ก โชว์รูมอุปกรณ์คาร์แคร์พร้อมสำนักงาน
จากนั้นคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อ 20 มีนาคม 2552 มีมติเห็นชอบทันทีให้บริษัท คอน-พลัสฯเช่าพื้นที่ดำเนินธุรกิจได้ ต่อมามีการประชุมฯครั้งที่ 5/2552 เมื่อ 28 เมษายน 2552 มีมติให้ฝ่ายพาณิชย์ทำหนังสือถึงบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ถ้าหากต้องการจะขยายพื้นที่ครัวการบินในอนาคตจะต้องไปเจรจากับผู้ดูแลพื้นที่รายใหม่คือ คอน-พลัสฯที่ได้สิทธิการเช่าทำศูนย์ธุรกิจรถยนต์ครบวงจรในพื้นที่ว่างเปล่าฝั่งทิศตะวันออก ทางผ่านเข้า-ออก ถนนลาดกระบัง ด้านหลังติดลานจอดรถแท็กซี่
มติคณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท. วันที่ 28 เมษายน 2552 ระบุเงื่อนไขให้คอน-พลัสฯได้สิทธิทำศูนย์ธุรกิจรถยนต์ ครบวงจร 10 ปี ต้องจ่าย ทอท.ทั้งหมด 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ค่าตอบแทน 15% ของรายได้ต่อเดือน ก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ปีแรกจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำเดือนละ 111,780 บาท ปีต่อไปเพิ่มปีละ 10% ส่วนที่ 2 ค่าเช่าที่ดิน 60 บาท/ตร.ม./เดือน
ผ่านไป 3 เดือน คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.ประชุมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2552 แก้ไขมติแบบพลิกสุดขั้ว เปลี่ยนมติจากเดิม "อนุญาตให้บริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ดำเนินธุรกิจศูนย์รถยนต์ครบวงจร" ปรับมติใหม่เป็น "เปิดโดยวิธีประมูลทั่วไป" และให้ใช้พื้นที่แห่งใหม่บริเวณด้านทิศเหนือฝั่งตรงข้ามศูนย์ขนส่งสุวรรณภูมิ ขนาด 6,000 ตารางเมตร เพื่อทำโครงการศูนย์รถยนต์ครบวงจร โดยให้ฝ่ายพาณิชย์จัดทำมาสเตอร์แพลนพื้นที่ดังกล่าวเพื่อพัฒนาทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์
วันที่ 31 สิงหาคม 2552 ฝ่ายพาณิชย์ ทอท.เสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณารายได้เกี่ยวกับมาสเตอร์แพลนพื้นที่ด้านทิศเหนือฝั่งตรงข้ามศูนย์ขนส่งสุวรรณภูมิทั้งหมด มติที่ประชุมเห็นชอบให้กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจมี 4 โครงการ คือ โครงการศูนย์ให้บริการรถยนต์ครบวงจร โครงการศูนย์กีฬา โครงการศูนย์ให้บริการด้านสุขภาพ โครงการศูนย์จำหน่ายสินค้าจากโรงงาน
แล้วจู่ ๆ ก็ยกการประชุมคณะกรรมการพิจารณารายได้ย้อนกลับไปเมื่อ 19 มกราคม 2552 อ้างวาระ 6.15 เรื่อง ขอเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณด้านหลังลานจอดรถสาธารณะ (แท็กซี่) เพื่อทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในสุวรรณภูมิ ครั้งนั้นมติที่ประชุมให้ดำเนินกิจกรรม "Community Mall" บริเวณลานจอดรถระยะยาว โดยคัดเลือกด้วยวิธีพิเศษ (shortlist) จากผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์เข้ามาทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ในสุวรรณภูมิ
ระบุชัดว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางนาอุปกรณ์ และสหกรณ์บริการวิสาหกิจชุมชนหนองปรือสมุทรปราการ" ได้รับสิทธิทำโครงการคอมมิวนิตี้ มอลล์ ในลานจอดรถระยะยาวสุวรรณภูมิ สัญญา 5 ปี จ่ายค่าตอบแทน 15% ของรายได้ต่อเดือน ก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ และปีต่อไปจ่ายเพิ่มปีละ 10% จ่ายค่าเช่าที่ดิน 60 บาท/ตารางเมตร/เดือน เปลี่ยน "ผู้เล่นใหม่" อีกครั้ง
จากนั้นที่ประชุมฯได้ยกมติวันที่ 14 พฤษภาคม 2552 วาระ 3.3 เรื่อง การพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการโครงการคอมมิวนิตี้ มอลล์ คณะกรรมการพิจารณารายได้ ทอท.มีมติให้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อโครงการ "การให้สิทธิประโยชน์โครงการคอมมิวนิตี้ มอลล์" เป็น "การให้สิทธิประกอบการเชิงพาณิชย์ บริเวณลานจอดรถระยะยาวในสุวรรณภูมิ" ขยายสัญญาจาก 5 เป็น 10 ปี ตัดคำว่าคอมมิวนิตี้ มอลล์ ออกไป โดยอ้างเหตุผลเป็นการเฉพาะเจาะจงรูปแบบบริการมากเกินไป
กระทั่งล่าสุดเมื่อ 19 สิงหาคม 2553 (ดูชาร์ตประกอบ) ทอท.ก็อนุมัติสัมปทานโครงการนี้ให้แก่ "บริษัท แป้งร่ำ รีเทล จำกัด" มี "นายพีรยศ วงศ์วิทวัส" เป็นเจ้าของคนเดียวปรากฏอยู่ในอีก 2 บริษัท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางนาอุปกรณ์และบริษัท บางนาอุปกรณ์การค้า จำกัด ส่วนบริษัท คอน-พลัส พร็อพเพอร์ตี้ แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด นั้น ตรวจสอบข้อมูลกับกรมทะเบียนธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ไม่มีชื่อและข้อมูลปรากฏอยู่แต่อย่างใด
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553
91 ปีในพายุประชาธิปไตย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
คอลัมน์ มนุษย์การเมือง
โดย อิสรินทร์ หนูเมือง
นับจากวันคล้ายวันเกิด พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
นับจากวันที่ 26 สิงหาคม 2553 วันที่ "พล.อ.เปรม" ก้าวย่างเข้าสู่วัย 91 อีก 9 ปี มีอายุครบ 100 ปี
นับเป็น 100 ปี ที่ประเทศก้าวผ่านทั้งจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงระบอบประชาธิปไตย
นับอีก 23 วันจะครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร 19 กันยา 2549
นับเป็นวันที่คณะผู้ก่อการปฏิรูป การปกครอง ตั้งใจจะก้าวข้ามจากระบอบทักษิณ
นับเป็นรอบ 4 ปี ที่มีการต่อต้าน-ตีโต้ระบอบอำมาตยาธิปไตย อย่างถึงราก
ทั้งหัวหอกฝ่ายระบอบทักษิณและ หัวหอกฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ต่างเปิดหน้าไพ่เล่นทุกรูปแบบ
ทั้งใต้ดิน-บนดิน ทั้งสงครามตัวแทน และสงครามตัวจริง ทั้งแบบเรื่องจริงผ่านจอ วิดีโอลิงก์ และเรื่องจริงผ่านปากคำคู่ขัดแย้ง
ฝ่ายทักษิณ-ครอบครองมวลชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในตารางคะแนนระบบปาร์ตี้ลิสต์ไม่น้อยกว่า 12 ล้านเสียง
ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย-ครอบครอง-ครอบคลุม-เกาะกุมจิตใจผู้คน ผ่านระบบข้าราชการ ไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน และโครงการพัฒนานับ 1,000 โครงการทั่วประเทศ
เฉพาะ "พล.อ.เปรม" ที่เคยครอบครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 และก้าวขึ้นสู่สำนักประธานองคมนตรี มีเครือข่ายในครอบครองเป็นเบอร์โทรศัพท์-สำหรับติดต่อข้าราชการระดับสูง-สายตรงไม่น้อยกว่า 500 เลขหมาย
เฉพาะชื่อ "พล.อ.เปรม" ครอบครองสถาบัน-มูลนิธิไว้ไม่น้อยกว่า 20 แห่ง
รัฐบุรุษ-พล.อ.เปรม ในวัยย่าง 91 ปี มี "มูลนิธิพลเอกเปรม" เป็นเครือข่ายมา ตั้งแต่ปี 2538
แจกทุนการศึกษาให้เด็กไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3,221 คน ผ่าน มูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทุกหัวเมือง-ทุกภาค-ทั่วประเทศ ทั้ง จ.สงขลา-นครศรีธรรมราช-นครราชสีมา-ขอนแก่น-เชียงใหม่ ฯลฯ
สัญลักษณ์-รูปเคารพ ของเครือข่าย-มูลนิธิรัฐบุรุษ นอกจากภาพถ่าย "พล.อ.เปรม" แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์กำกับให้ "ส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และจงรักภักดีของคนในชาติ"
วาระก้าวขึ้นปีที่ 91 ของ "รัฐบุรุษ" มีอดีตนักเรียนทุน-คนแรก เข้าคารวะ- รับโอวาท ที่ยังคงวาทกรรม "ตอบแทนคุณแผ่นดิน"
"วันนี้ถือเป็นวันแห่งความรักและความศรัทธาที่มีต่อกัน คนที่มูลนิธิให้ความช่วยเหลือ เป็นเพราะได้ยึดมั่นตอบแทนบุญคุณแผ่นดินที่เราอาศัยเกิดมา คนแรกที่รับทุนวันนี้ก็มา คือ นายไพโรจน์ ราวานุช ขณะนี้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์"
"ผมเชื่อในพระสยามเทวาธิราช เชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชมีจริง และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาติบ้านเมือง เชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชจะปกป้องคุ้มครองคนที่ประกอบคุณงามความดี และสาปแช่งคนที่คิดไม่ดีต่อชาติบ้านเมือง" พล.อ.เปรมย้ำคำเดิม
ย้ำคำที่เคยอธิบายความหมาย "การตอบแทนคุณแผ่นดิน" กับสื่อไทย- ต่างชาติ ว่า
"การเป็นทหารทำให้ได้รับใช้ชาติได้โดยตรง อย่างที่ชาวอเมริกันและชาวยุโรปกล่าวว่า ทหารแก่ไม่เคยตาย นายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ บอกว่า เมื่อคุณอยู่ในกองทัพ คุณก็จะต้องอยู่ไปตลอดชีวิตจนกว่าจะตาย ร่างกาย หัวใจ และจิตวิญญาณต้องอุทิศให้ชาติให้กองทัพ"
"ในประเทศนี้ เราถือว่าเราเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราถือน้ำพิพัฒน์สัตยาว่าเราเป็นของในหลวง คุณรู้จักการแข่งม้าไหม ? ในการแข่งม้า มีคอก และเจ้าของคอกเป็นเจ้าของม้า จ๊อกกี้เป็นคนขี่ม้าตอนแข่ง แต่จ๊อกกี้ไม่ได้เป็นเจ้าของม้า"
และในฐานะ "ประธานองคมนตรี" ที่มีหน้าที่ตาม พระราชดำรัส พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เคยพระราชทานเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 ความว่า
"องคมนตรีไม่ได้เป็นที่ปรึกษาของคนอื่น เป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพระมหากษัตริย์เท่านั้นเอง ถ้าแนะนำคนอื่น เป็นการแนะนำเป็นส่วนตัว ไม่ใช่ฐานะองคมนตรี"
ดังนั้น ทั้งฐานะแห่งประธานองคมนตรี-รัฐบุรุษ-อดีตนายกรัฐมนตรี-อดีตนายทหารแห่งกองทัพ และเครือข่ายแห่งมูลนิธิ- คอนเนกชั่น "ลูกป๋า" ในกองทัพ จึงถูก สปอตไลต์จากทุกเครือข่ายจับจ้องทุกจังหวะก้าวแห่งชีวิต
ในสถานภาพที่ทั้งทรงอิทธิพล ทรงอำนาจ และมีบารมี จึงถูกฝ่ายเสื้อแดง-ทักษิณ "จัดให้" ชื่อของ "พล.อ.เปรม" เป็นฝ่ายคู่ขัดแย้ง ในฐานะหัวขบวนอำมาตย์
เช่นเดียวกับขบวนการ "เสื้อแดง" ที่จัดตั้งขึ้น โดยมี "หัวขบวน-รูปเคารพ" เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ที่ทั้งมีเครือข่าย-มีอำนาจเงินจากอำนาจใหม่ จึงถูกเครือข่าย "อำนาจเก่า" จับจ้องทุกจังหวะก้าว
ทั้งหัวขบวนอำมาตยาธิปไตย และหัวขบวนทักษิณ ยังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้น
หัวขบวน "เสื้อแดงทั้งแผ่นดิน" ที่ถูกก่อตั้ง-ก่อตัว-ก่อการ มาตั้งแต่ปี 2544 พร้อมกับเครือข่ายพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ยังไม่หยุดต่อสู้ทางการเมือง
ขณะที่ "พล.อ.เปรม" อายุย่าง 91 ก็ประกาศไม่หยุด...ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ชีวิต "พล.อ.เปรม" ก้าวผ่านมาแล้ว ทั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์-ระบอบอำมาตยาธิปไตย-ประชาธิปไตย ในวัย 78 ปี และระบอบทักษิณ 12 ปี
ก่อนล่วงเข้าสู่วัย 91 "พล.อ.เปรม" เคยถูกต่อต้าน-ถูกถวายฎีกา-ประท้วง ให้พ้นจากตำแหน่ง "องคมนตรี"
แต่ "ตำแหน่ง" ที่มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในนามของคำว่า "ปรีวีเคาน์ซิล" หรือ "ที่ปฤกษาในพระองค์" นั้น "ต้องรับตำแหน่งที่อยู่จนสิ้นแผ่นดิน"
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คอลัมน์ มนุษย์การเมือง
โดย อิสรินทร์ หนูเมือง
นับจากวันคล้ายวันเกิด พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
นับจากวันที่ 26 สิงหาคม 2553 วันที่ "พล.อ.เปรม" ก้าวย่างเข้าสู่วัย 91 อีก 9 ปี มีอายุครบ 100 ปี
นับเป็น 100 ปี ที่ประเทศก้าวผ่านทั้งจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงระบอบประชาธิปไตย
นับอีก 23 วันจะครบรอบ 4 ปี รัฐประหาร 19 กันยา 2549
นับเป็นวันที่คณะผู้ก่อการปฏิรูป การปกครอง ตั้งใจจะก้าวข้ามจากระบอบทักษิณ
นับเป็นรอบ 4 ปี ที่มีการต่อต้าน-ตีโต้ระบอบอำมาตยาธิปไตย อย่างถึงราก
ทั้งหัวหอกฝ่ายระบอบทักษิณและ หัวหอกฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ต่างเปิดหน้าไพ่เล่นทุกรูปแบบ
ทั้งใต้ดิน-บนดิน ทั้งสงครามตัวแทน และสงครามตัวจริง ทั้งแบบเรื่องจริงผ่านจอ วิดีโอลิงก์ และเรื่องจริงผ่านปากคำคู่ขัดแย้ง
ฝ่ายทักษิณ-ครอบครองมวลชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในตารางคะแนนระบบปาร์ตี้ลิสต์ไม่น้อยกว่า 12 ล้านเสียง
ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย-ครอบครอง-ครอบคลุม-เกาะกุมจิตใจผู้คน ผ่านระบบข้าราชการ ไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน และโครงการพัฒนานับ 1,000 โครงการทั่วประเทศ
เฉพาะ "พล.อ.เปรม" ที่เคยครอบครองเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 และก้าวขึ้นสู่สำนักประธานองคมนตรี มีเครือข่ายในครอบครองเป็นเบอร์โทรศัพท์-สำหรับติดต่อข้าราชการระดับสูง-สายตรงไม่น้อยกว่า 500 เลขหมาย
เฉพาะชื่อ "พล.อ.เปรม" ครอบครองสถาบัน-มูลนิธิไว้ไม่น้อยกว่า 20 แห่ง
รัฐบุรุษ-พล.อ.เปรม ในวัยย่าง 91 ปี มี "มูลนิธิพลเอกเปรม" เป็นเครือข่ายมา ตั้งแต่ปี 2538
แจกทุนการศึกษาให้เด็กไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3,221 คน ผ่าน มูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทุกหัวเมือง-ทุกภาค-ทั่วประเทศ ทั้ง จ.สงขลา-นครศรีธรรมราช-นครราชสีมา-ขอนแก่น-เชียงใหม่ ฯลฯ
สัญลักษณ์-รูปเคารพ ของเครือข่าย-มูลนิธิรัฐบุรุษ นอกจากภาพถ่าย "พล.อ.เปรม" แล้ว ยังมีวัตถุประสงค์กำกับให้ "ส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และจงรักภักดีของคนในชาติ"
วาระก้าวขึ้นปีที่ 91 ของ "รัฐบุรุษ" มีอดีตนักเรียนทุน-คนแรก เข้าคารวะ- รับโอวาท ที่ยังคงวาทกรรม "ตอบแทนคุณแผ่นดิน"
"วันนี้ถือเป็นวันแห่งความรักและความศรัทธาที่มีต่อกัน คนที่มูลนิธิให้ความช่วยเหลือ เป็นเพราะได้ยึดมั่นตอบแทนบุญคุณแผ่นดินที่เราอาศัยเกิดมา คนแรกที่รับทุนวันนี้ก็มา คือ นายไพโรจน์ ราวานุช ขณะนี้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์"
"ผมเชื่อในพระสยามเทวาธิราช เชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชมีจริง และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาติบ้านเมือง เชื่อว่าพระสยามเทวาธิราชจะปกป้องคุ้มครองคนที่ประกอบคุณงามความดี และสาปแช่งคนที่คิดไม่ดีต่อชาติบ้านเมือง" พล.อ.เปรมย้ำคำเดิม
ย้ำคำที่เคยอธิบายความหมาย "การตอบแทนคุณแผ่นดิน" กับสื่อไทย- ต่างชาติ ว่า
"การเป็นทหารทำให้ได้รับใช้ชาติได้โดยตรง อย่างที่ชาวอเมริกันและชาวยุโรปกล่าวว่า ทหารแก่ไม่เคยตาย นายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ บอกว่า เมื่อคุณอยู่ในกองทัพ คุณก็จะต้องอยู่ไปตลอดชีวิตจนกว่าจะตาย ร่างกาย หัวใจ และจิตวิญญาณต้องอุทิศให้ชาติให้กองทัพ"
"ในประเทศนี้ เราถือว่าเราเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราถือน้ำพิพัฒน์สัตยาว่าเราเป็นของในหลวง คุณรู้จักการแข่งม้าไหม ? ในการแข่งม้า มีคอก และเจ้าของคอกเป็นเจ้าของม้า จ๊อกกี้เป็นคนขี่ม้าตอนแข่ง แต่จ๊อกกี้ไม่ได้เป็นเจ้าของม้า"
และในฐานะ "ประธานองคมนตรี" ที่มีหน้าที่ตาม พระราชดำรัส พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เคยพระราชทานเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 ความว่า
"องคมนตรีไม่ได้เป็นที่ปรึกษาของคนอื่น เป็นที่ปรึกษาของฝ่ายพระมหากษัตริย์เท่านั้นเอง ถ้าแนะนำคนอื่น เป็นการแนะนำเป็นส่วนตัว ไม่ใช่ฐานะองคมนตรี"
ดังนั้น ทั้งฐานะแห่งประธานองคมนตรี-รัฐบุรุษ-อดีตนายกรัฐมนตรี-อดีตนายทหารแห่งกองทัพ และเครือข่ายแห่งมูลนิธิ- คอนเนกชั่น "ลูกป๋า" ในกองทัพ จึงถูก สปอตไลต์จากทุกเครือข่ายจับจ้องทุกจังหวะก้าวแห่งชีวิต
ในสถานภาพที่ทั้งทรงอิทธิพล ทรงอำนาจ และมีบารมี จึงถูกฝ่ายเสื้อแดง-ทักษิณ "จัดให้" ชื่อของ "พล.อ.เปรม" เป็นฝ่ายคู่ขัดแย้ง ในฐานะหัวขบวนอำมาตย์
เช่นเดียวกับขบวนการ "เสื้อแดง" ที่จัดตั้งขึ้น โดยมี "หัวขบวน-รูปเคารพ" เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ที่ทั้งมีเครือข่าย-มีอำนาจเงินจากอำนาจใหม่ จึงถูกเครือข่าย "อำนาจเก่า" จับจ้องทุกจังหวะก้าว
ทั้งหัวขบวนอำมาตยาธิปไตย และหัวขบวนทักษิณ ยังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้น
หัวขบวน "เสื้อแดงทั้งแผ่นดิน" ที่ถูกก่อตั้ง-ก่อตัว-ก่อการ มาตั้งแต่ปี 2544 พร้อมกับเครือข่ายพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ยังไม่หยุดต่อสู้ทางการเมือง
ขณะที่ "พล.อ.เปรม" อายุย่าง 91 ก็ประกาศไม่หยุด...ตอบแทนคุณแผ่นดิน
ชีวิต "พล.อ.เปรม" ก้าวผ่านมาแล้ว ทั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์-ระบอบอำมาตยาธิปไตย-ประชาธิปไตย ในวัย 78 ปี และระบอบทักษิณ 12 ปี
ก่อนล่วงเข้าสู่วัย 91 "พล.อ.เปรม" เคยถูกต่อต้าน-ถูกถวายฎีกา-ประท้วง ให้พ้นจากตำแหน่ง "องคมนตรี"
แต่ "ตำแหน่ง" ที่มีมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในนามของคำว่า "ปรีวีเคาน์ซิล" หรือ "ที่ปฤกษาในพระองค์" นั้น "ต้องรับตำแหน่งที่อยู่จนสิ้นแผ่นดิน"
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘สิงห์ห้อย’พรึ่บใหญ่คับมหาดไถ!
ที่มา.ไทยโพตส์
แต่งตั้งระดับรองปลัด-อธิบดีของ มท.โผไม่พลิก เด็ก "สิงห์ห้อย" ผงาดยึดอธิบดีกรมปกครอง "ชวรัตน์" อ้างดูที่ความเหมาะสม ยกพระเวสสันดรยังมีคนเกลียด จับตา! แต่งตั้งผู้ว่าฯ ล็อตใหญ่ข้ามขั้น-ข้ามห้วย "มาร์ค" ยันย้ำใน ครม.ให้ยึดระบบคุณธรรม โถ! ปัญหามหาดไทยให้ "เทือก" กลั่นกรองแล้ว "เหลิม" ได้ทีจวกกระทรวง "สร้างทุกข์ บำบัดสุข"
เมื่อวันอังคาร คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย ตามที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้เสนอชื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 9 ราย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553
โดยข้าราชการ 9 ราย ประกอบด้วย 1.นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง 2.นายวัลลภ พริ้งพงษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง 3.นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
4.นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5.นายขวัญชัย วงศ์นิติกร พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 6.นายวิเชียร ชวลิต พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง
7.นายสุรชัย ขันอาสา พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 8.นายสุเมธ แสงนิ่มนวล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง 9.นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมการปกครอง
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ว่า การแต่งตั้งดังกล่าวกระทรวงหมาดไทยได้ทำการคัดเลือกตามความเหมาะสม ส่วนเรื่องอาวุโสนั้นก็เป็นองค์ประกอบที่ได้นำมาพิจารณาด้วย แต่ความเหมาะสมมาเป็นอันดับแรก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแต่งตั้งอธิบดีกรมการปกครองมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาก นายชวรัตน์บอกว่า เรื่องเสียงวิจารณ์เป็นธรรมดา พระเวสสันดรยังมีคนเกลียด เป็นธรรมดา
ซักว่าแล้วที่ว่ามีการแต่งตั้งคนใกล้ชิดของนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวง ท่านจะชี้แจงอย่างไร รมว.มหาดไทยกล่าวว่า สามารถชี้แจงได้ ต้นไม้ใหญ่ต้องรับลม อย่างไรก็ตามการวิจารณ์ก็มักจะเป็นประวัติศาสตร์อยู่แล้ว
นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ออกมาระบุเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยไม่เหมาะสมจนกลายเป็นกระทรวงน้ำเน่าว่า ตอนที่นายพงศ์โพยมเป็นผู้ว่าฯ ภูเก็ต ตนเป็นรองผู้ว่าฯ อยู่ ใครทำอะไรไว้ก็รู้กันหมด เราเป็นสุภาพบุรุษนักเลง ไม่อยากไปวิจารณ์ให้ร้ายผู้เคยเป็นผู้บังคับบัญชา
นายมานิตกล่าวต่อว่า ส่วนข้อกล่าวหาว่าผู้ได้รับการโยกย้ายขึ้นตำแหน่งระดับสูงเป็นผู้ใกล้ชิดฝ่ายการเมืองนั้น ก็ให้บอกมาว่าตำแหน่งไหนที่ใกล้ชิด และลองไปศึกษาดูว่าตอนนายพงศ์โพยมขึ้นเป็นปลัดนั้น นายพงศ์โพยมอาวุโสระดับที่เท่าไหร่ ลองไปถามผู้อาวุโสกว่าอย่างนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) หรือนายชัยฤกษ์ ดิษฐ์อำนาจ อดีตรองปลัดกระทรวงดู
เมื่อถามว่า แสดงว่านายมงคล สุระสัจจะ มีความเหมาะสมที่จะเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยแล้วใช่หรือไม่ นายมานิตกล่าวว่า ที่สื่อลงไปบางครั้งไม่ได้มีฐานข้อมูลพอ คนที่จะเป็นปลัดกระทรวงได้ต้องเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือรองปลัดกระทรวง เท่ากับมีแค่ 11 คน อาวุโสข้ามกันไม่กี่คน ที่นายพงศ์โพยมไปพูดว่ามีคนอาวุโสกว่านายมงคลถึง 35 คนนั่นไปเอาบัญชีผู้ว่าราชการมาดูหมด ซึ่งยืนยันว่าเราพิจารณาดีแล้วว่านายมงคลจะเป็นผู้พาทีมเราไปได้ ตนทำงาน ตนต้องดีพอสมควร ถ้าเลวคงไม่ขึ้นถึงขนาดนี้
ถามว่าท่านและนายมงคลถูกมองว่ามีความใกล้ชิดกับนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายมานิตกล่าว่า ตนก็เคยทำงานกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นๆ พอมาถึงงานม้วนสุดท้ายมาเห็นว่าใกล้ชิดกับนายเนวิน ก็เหมาว่าตนเป็นคนใกล้ชิดนายเนวิน อย่าไปด่วนสรุป
ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเข้าสู่ ครม.เร็วๆ นี้ จะทำให้สังคมกังขาอีกหรือไม่ นายมานิตกล่าวว่า ปีนี้ระวังมากที่สุด ให้ทำวิสัยทัศน์มาเสนอ ตั้งช้าแต่รอบคอบ พยายามดูแลให้ดี ทั้งนี้ ก.พ.มีเกณฑ์เดิม คนจะเป็นผู้ว่าฯ ได้ต้องเป็นรอง 3 ปีขึ้นไป แต่เกณฑ์ใหม่คือ 1 ปีขึ้นไปก็มีสิทธิ์เป็นได้ เราก็ยึดมาตรฐาน ก.พ.เป็นหลัก ทำตามระเบียบปฏิบัติ
นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการที่ ครม.มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง 4 อธิบดี และผู้ตรวจราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยว่า ไม่อยากจะพูดอะไรมากมาย เพราะได้พูดทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดแล้ว และผลที่ออกมาก็เป็นอย่างที่คาดเดาไว้ สะท้อนให้เห็นว่าการแต่งตั้งครั้งนี้ไม่ได้ฟังเสียงสะท้อนอะไร เพราะถือว่าตนเองมีอำนาจ ซึ่งเรื่องนี้ควรปล่อยให้สังคมพิจารณา
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตนได้กำชับเรื่องนี้ไปแล้ว เพราะมีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับราชการได้แสดงความห่วงใยมา โดยกำชับให้รัฐมนตรีทุกท่านยึดหลักของคุณธรรมในการเสนอโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการ
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันหนักถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยว่าเป็นคนของนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทยทั้งหมดนั้น นายกฯ กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยมีจำนวนหนึ่ง โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้กลั่นกรอง และเมื่อได้มีการสอบถามก็บอกว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าการแต่งตั้งโยกย้ายในกระทรวงมหาดไทย ระบบคุณธรรมหายไปแล้วในกระทรวงนี้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม.ได้ย้ำไปแล้ว การแต่งตั้งโยกย้ายในส่วนที่เหลือที่จะเข้า ครม.ก็ต้องปฏิบัติตามหลักที่พูดกันในที่ประชุม ครม.
ถามว่า ข้าราชการก็อาจจะไม่กล้าไปร้องศาลปกครอง แต่ก็มีหลายกรณีที่ไปร้องแล้วมีปัญหา ควรจะใช้บทเรียนที่เกิดขึ้นแล้วมาปฏิบัติ นายกฯ กล่าวว่า คำวินิจฉัยไม่ว่าจะเป็นของศาลปกครอง คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ก.พ.ค. หรือหน่วยงานใดๆ ทำนองนี้ ตนได้กำชับว่าทางฝ่ายการเมืองฝ่ายนโยบายต้องนำไปปฏิบัติ เมื่อมีการวินิจฉัยออกมาแล้วมันเป็นการชี้แนวในเรื่องของบรรทัดฐานในเรื่องต่างๆ ก็ต้องปฏิบัติให้เร็วที่สุด
ซักว่า ในฐานะที่นายกฯ เป็นผู้นำรัฐบาลด้วย คิดว่าเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดในกระทรวงมหาดไทยหรือไม่ ที่มีการแต่งตั้งอย่างที่มีการวิพากษ์วิจารณ์หรือเปล่า นายกฯ กล่าวว่า คิดว่ามันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ตนก็รับคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นมาและแสดงความห่วงใย และคิดว่าทางกระทรวงมหาไทยต้องรับไปพิจารณา
ถามว่า แล้วท่านในฐานะนายกฯ เป็นผู้นำรัฐบาลทำอะไรได้มากกว่าความห่วงใย นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องของการบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องที่ต้องมีความพอดีในเชิงการบริหาร คือถ้าเป็นเรื่องนโยบาย โครงการ มาตรการต่างๆ เราจะร่วมกันพิจารณาอย่างเต็มที่ แต่พอเป็นเรื่องการบริหารจัดการภายในมันก็มีเรื่องที่ต้องให้เป็นดุลพินิจของเจ้ากระทรวง
"แต่ว่าถ้าหากมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องมันก็มีระบบที่จำกัดอยู่ หลายเรื่องเป็นเรื่องของดุลพินิจ ได้ย้ำไปแล้วว่าการใช้ดุลพินิจต้องระมัดระวังอย่างไร เพราะว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มา ก็ต้องฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นด้วย กับนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ไม่ได้มีการชี้แจงอะไรในเรื่องนี้ต่อที่ประชุม ครม." นายกฯ กล่าว
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกระทรวงมหาดไทยว่า ตั้งแต่มีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็น รมว.มหาดไทย การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงก็ค่อนข้างพิสดาร ไม่ยึดระบบอาวุโสและความสามารถ แต่เป็นการแต่งตั้งตามใจชอบและคนใกล้ชิด หากคนใดเคยรับราชการใน จ.บุรีรัมย์ มักจะเติบโตแบบตอนกิ่งที่ไม่โตจากเมล็ด
"สมัยที่ผมเป็น รมว.มหาดไทย ยึดหลักว่าคนที่จะเป็นผู้ว่าฯ ได้นั้นต้องเป็นรองผู้ว่าฯ มาแล้ว 2 ปี มีผลงานความสามารถ ไม่เคยคิดว่าจะเป็นคนของใคร หรือเป็นศัตรูใคร แต่วันนี้หลักการนี้หายไปหมด บางคนเป็นรองผู้ว่าฯ ปีเดียวก็นำมาพิจารณาให้เป็นผู้ว่าฯ ได้แล้ว กระทรวงมหาดไทยยุคนี้เปลี่ยนจากบำบัดทุกข์ บำรุงสุข มาเป็นสร้างทุกข์ บำบัดสุข หากข้าราชาการเติบโตด้วยการวิ่งเต้นและแสวงหา บ้านเมืองจะลำบาก" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แต่งตั้งระดับรองปลัด-อธิบดีของ มท.โผไม่พลิก เด็ก "สิงห์ห้อย" ผงาดยึดอธิบดีกรมปกครอง "ชวรัตน์" อ้างดูที่ความเหมาะสม ยกพระเวสสันดรยังมีคนเกลียด จับตา! แต่งตั้งผู้ว่าฯ ล็อตใหญ่ข้ามขั้น-ข้ามห้วย "มาร์ค" ยันย้ำใน ครม.ให้ยึดระบบคุณธรรม โถ! ปัญหามหาดไทยให้ "เทือก" กลั่นกรองแล้ว "เหลิม" ได้ทีจวกกระทรวง "สร้างทุกข์ บำบัดสุข"
เมื่อวันอังคาร คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย ตามที่นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้เสนอชื่อแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 9 ราย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553
โดยข้าราชการ 9 ราย ประกอบด้วย 1.นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง 2.นายวัลลภ พริ้งพงษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง 3.นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง
4.นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 5.นายขวัญชัย วงศ์นิติกร พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 6.นายวิเชียร ชวลิต พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง
7.นายสุรชัย ขันอาสา พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน 8.นายสุเมธ แสงนิ่มนวล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง 9.นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีกรมการปกครอง
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ว่า การแต่งตั้งดังกล่าวกระทรวงหมาดไทยได้ทำการคัดเลือกตามความเหมาะสม ส่วนเรื่องอาวุโสนั้นก็เป็นองค์ประกอบที่ได้นำมาพิจารณาด้วย แต่ความเหมาะสมมาเป็นอันดับแรก
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแต่งตั้งอธิบดีกรมการปกครองมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาก นายชวรัตน์บอกว่า เรื่องเสียงวิจารณ์เป็นธรรมดา พระเวสสันดรยังมีคนเกลียด เป็นธรรมดา
ซักว่าแล้วที่ว่ามีการแต่งตั้งคนใกล้ชิดของนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย เข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวง ท่านจะชี้แจงอย่างไร รมว.มหาดไทยกล่าวว่า สามารถชี้แจงได้ ต้นไม้ใหญ่ต้องรับลม อย่างไรก็ตามการวิจารณ์ก็มักจะเป็นประวัติศาสตร์อยู่แล้ว
นายมานิต วัฒนเสน ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ออกมาระบุเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยไม่เหมาะสมจนกลายเป็นกระทรวงน้ำเน่าว่า ตอนที่นายพงศ์โพยมเป็นผู้ว่าฯ ภูเก็ต ตนเป็นรองผู้ว่าฯ อยู่ ใครทำอะไรไว้ก็รู้กันหมด เราเป็นสุภาพบุรุษนักเลง ไม่อยากไปวิจารณ์ให้ร้ายผู้เคยเป็นผู้บังคับบัญชา
นายมานิตกล่าวต่อว่า ส่วนข้อกล่าวหาว่าผู้ได้รับการโยกย้ายขึ้นตำแหน่งระดับสูงเป็นผู้ใกล้ชิดฝ่ายการเมืองนั้น ก็ให้บอกมาว่าตำแหน่งไหนที่ใกล้ชิด และลองไปศึกษาดูว่าตอนนายพงศ์โพยมขึ้นเป็นปลัดนั้น นายพงศ์โพยมอาวุโสระดับที่เท่าไหร่ ลองไปถามผู้อาวุโสกว่าอย่างนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) หรือนายชัยฤกษ์ ดิษฐ์อำนาจ อดีตรองปลัดกระทรวงดู
เมื่อถามว่า แสดงว่านายมงคล สุระสัจจะ มีความเหมาะสมที่จะเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทยแล้วใช่หรือไม่ นายมานิตกล่าวว่า ที่สื่อลงไปบางครั้งไม่ได้มีฐานข้อมูลพอ คนที่จะเป็นปลัดกระทรวงได้ต้องเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือรองปลัดกระทรวง เท่ากับมีแค่ 11 คน อาวุโสข้ามกันไม่กี่คน ที่นายพงศ์โพยมไปพูดว่ามีคนอาวุโสกว่านายมงคลถึง 35 คนนั่นไปเอาบัญชีผู้ว่าราชการมาดูหมด ซึ่งยืนยันว่าเราพิจารณาดีแล้วว่านายมงคลจะเป็นผู้พาทีมเราไปได้ ตนทำงาน ตนต้องดีพอสมควร ถ้าเลวคงไม่ขึ้นถึงขนาดนี้
ถามว่าท่านและนายมงคลถูกมองว่ามีความใกล้ชิดกับนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายมานิตกล่าว่า ตนก็เคยทำงานกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นๆ พอมาถึงงานม้วนสุดท้ายมาเห็นว่าใกล้ชิดกับนายเนวิน ก็เหมาว่าตนเป็นคนใกล้ชิดนายเนวิน อย่าไปด่วนสรุป
ส่วนการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะเข้าสู่ ครม.เร็วๆ นี้ จะทำให้สังคมกังขาอีกหรือไม่ นายมานิตกล่าวว่า ปีนี้ระวังมากที่สุด ให้ทำวิสัยทัศน์มาเสนอ ตั้งช้าแต่รอบคอบ พยายามดูแลให้ดี ทั้งนี้ ก.พ.มีเกณฑ์เดิม คนจะเป็นผู้ว่าฯ ได้ต้องเป็นรอง 3 ปีขึ้นไป แต่เกณฑ์ใหม่คือ 1 ปีขึ้นไปก็มีสิทธิ์เป็นได้ เราก็ยึดมาตรฐาน ก.พ.เป็นหลัก ทำตามระเบียบปฏิบัติ
นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการที่ ครม.มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง 4 อธิบดี และผู้ตรวจราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทยว่า ไม่อยากจะพูดอะไรมากมาย เพราะได้พูดทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดแล้ว และผลที่ออกมาก็เป็นอย่างที่คาดเดาไว้ สะท้อนให้เห็นว่าการแต่งตั้งครั้งนี้ไม่ได้ฟังเสียงสะท้อนอะไร เพราะถือว่าตนเองมีอำนาจ ซึ่งเรื่องนี้ควรปล่อยให้สังคมพิจารณา
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีตนได้กำชับเรื่องนี้ไปแล้ว เพราะมีหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับราชการได้แสดงความห่วงใยมา โดยกำชับให้รัฐมนตรีทุกท่านยึดหลักของคุณธรรมในการเสนอโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการ
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันหนักถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยว่าเป็นคนของนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทยทั้งหมดนั้น นายกฯ กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงมหาดไทยมีจำนวนหนึ่ง โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้กลั่นกรอง และเมื่อได้มีการสอบถามก็บอกว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร
เมื่อถามว่า มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าการแต่งตั้งโยกย้ายในกระทรวงมหาดไทย ระบบคุณธรรมหายไปแล้วในกระทรวงนี้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ในที่ประชุม ครม.ได้ย้ำไปแล้ว การแต่งตั้งโยกย้ายในส่วนที่เหลือที่จะเข้า ครม.ก็ต้องปฏิบัติตามหลักที่พูดกันในที่ประชุม ครม.
ถามว่า ข้าราชการก็อาจจะไม่กล้าไปร้องศาลปกครอง แต่ก็มีหลายกรณีที่ไปร้องแล้วมีปัญหา ควรจะใช้บทเรียนที่เกิดขึ้นแล้วมาปฏิบัติ นายกฯ กล่าวว่า คำวินิจฉัยไม่ว่าจะเป็นของศาลปกครอง คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ก.พ.ค. หรือหน่วยงานใดๆ ทำนองนี้ ตนได้กำชับว่าทางฝ่ายการเมืองฝ่ายนโยบายต้องนำไปปฏิบัติ เมื่อมีการวินิจฉัยออกมาแล้วมันเป็นการชี้แนวในเรื่องของบรรทัดฐานในเรื่องต่างๆ ก็ต้องปฏิบัติให้เร็วที่สุด
ซักว่า ในฐานะที่นายกฯ เป็นผู้นำรัฐบาลด้วย คิดว่าเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดในกระทรวงมหาดไทยหรือไม่ ที่มีการแต่งตั้งอย่างที่มีการวิพากษ์วิจารณ์หรือเปล่า นายกฯ กล่าวว่า คิดว่ามันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ตนก็รับคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นมาและแสดงความห่วงใย และคิดว่าทางกระทรวงมหาไทยต้องรับไปพิจารณา
ถามว่า แล้วท่านในฐานะนายกฯ เป็นผู้นำรัฐบาลทำอะไรได้มากกว่าความห่วงใย นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องของการบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องที่ต้องมีความพอดีในเชิงการบริหาร คือถ้าเป็นเรื่องนโยบาย โครงการ มาตรการต่างๆ เราจะร่วมกันพิจารณาอย่างเต็มที่ แต่พอเป็นเรื่องการบริหารจัดการภายในมันก็มีเรื่องที่ต้องให้เป็นดุลพินิจของเจ้ากระทรวง
"แต่ว่าถ้าหากมีสิ่งที่ไม่ถูกต้องมันก็มีระบบที่จำกัดอยู่ หลายเรื่องเป็นเรื่องของดุลพินิจ ได้ย้ำไปแล้วว่าการใช้ดุลพินิจต้องระมัดระวังอย่างไร เพราะว่ามีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มา ก็ต้องฟังเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นด้วย กับนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ไม่ได้มีการชี้แจงอะไรในเรื่องนี้ต่อที่ประชุม ครม." นายกฯ กล่าว
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการกระทรวงมหาดไทยว่า ตั้งแต่มีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็น รมว.มหาดไทย การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงก็ค่อนข้างพิสดาร ไม่ยึดระบบอาวุโสและความสามารถ แต่เป็นการแต่งตั้งตามใจชอบและคนใกล้ชิด หากคนใดเคยรับราชการใน จ.บุรีรัมย์ มักจะเติบโตแบบตอนกิ่งที่ไม่โตจากเมล็ด
"สมัยที่ผมเป็น รมว.มหาดไทย ยึดหลักว่าคนที่จะเป็นผู้ว่าฯ ได้นั้นต้องเป็นรองผู้ว่าฯ มาแล้ว 2 ปี มีผลงานความสามารถ ไม่เคยคิดว่าจะเป็นคนของใคร หรือเป็นศัตรูใคร แต่วันนี้หลักการนี้หายไปหมด บางคนเป็นรองผู้ว่าฯ ปีเดียวก็นำมาพิจารณาให้เป็นผู้ว่าฯ ได้แล้ว กระทรวงมหาดไทยยุคนี้เปลี่ยนจากบำบัดทุกข์ บำรุงสุข มาเป็นสร้างทุกข์ บำบัดสุข หากข้าราชาการเติบโตด้วยการวิ่งเต้นและแสวงหา บ้านเมืองจะลำบาก" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การเมืองอัปลักษณ์
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และและสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงได้รับคะแนนจากคนกรุงเทพฯมากที่สุด ขณะที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว
โดยการเลือกตั้ง ส.ก. 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 61 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 45 คน พรรคเพื่อไทย 15 คน และผู้สมัครอิสระ 1 คน ส่วนการเลือกตั้ง ส.ข. จำนวนทั้งสิ้น 256 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 210 คน พรรคเพื่อไทย 39 คน และผู้สมัครอิสระ 7 คน
ที่น่าสนใจคือจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แยกเป็น ส.ก. มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,703,206 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,139,075 คน คิดเป็นร้อยละ 41.15 จากเดิมร้อยละ 41.94 ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ข. 36 เขต มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 1,151,483 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,737,054 คน คิดเป็นร้อยละ 42.07 จากเดิมร้อยละ 42.70
เห็นได้ว่ามีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเพียง 42% เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าคนกรุงเทพฯที่ถือเป็นกลุ่มผู้ที่มีความรู้และมีฐานะทางสังคมสูงยังไม่ให้ความสนใจกับการเลือกตั้งเหมือนที่ผ่านมา แต่เป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ทางการเมือง แม้วันนี้คนรากหญ้าที่เรียกตัวเองว่า “ไพร่” จะแสดงให้เห็นถึงพลังที่มีต่อการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะคำว่าประชาธิปไตยและความยุติธรรม
ดังนั้น การเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นสนามเล็กหรือสนามใหญ่ในกรุงเทพฯ จึงมีความหมายต่อการเมืองในภาพรวมไม่น้อย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่อึมครึมจนไม่มีใครมั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่ หรือถ้ามีการเลือกตั้งจะมีความยุติธรรมหรือไม่
เพราะหลายฝ่ายเห็นว่าการเมืองไทยวันนี้ไม่ต่างอะไรกับรัฐประหารเงียบหรือเผด็จการซ่อนรูปที่รัฐบาลอยู่ภายใต้กองทัพ ซึ่งคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ถูกมองว่าสนใจเรื่องปากท้องของตัวเองมากกว่าเรื่องของประชาธิปไตยหรือความยุติธรรมของสังคมไทย ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ
จึงไม่แปลกที่สื่อและนักวิชาการจะวิเคราะห์กันว่า ผลการเลือกตั้ง ส.ก. และ ส.ข. ถือเป็นความพ่ายแพ้ของภาคประชาชนทั้งสีเหลืองและสีแดง
แต่ถ้ามองในแง่ของประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน มาจากประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ว่าการเคลื่อนไหวของสีใดจะผูกโยงกับบุคคลใดหรือกลุ่มใดก็ตาม แต่ทุกสีต้องการเห็นประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชน และเพื่อประชาชน
ไม่ใช่ประชาธิปไตยภายใต้การเมืองที่อัปลักษณ์อย่างทุกวันนี้
**********************************************************************
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และและสมาชิกสภาเขต (ส.ข.) อย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ยังคงได้รับคะแนนจากคนกรุงเทพฯมากที่สุด ขณะที่พรรคการเมืองใหม่ไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว
โดยการเลือกตั้ง ส.ก. 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 61 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 45 คน พรรคเพื่อไทย 15 คน และผู้สมัครอิสระ 1 คน ส่วนการเลือกตั้ง ส.ข. จำนวนทั้งสิ้น 256 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 210 คน พรรคเพื่อไทย 39 คน และผู้สมัครอิสระ 7 คน
ที่น่าสนใจคือจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แยกเป็น ส.ก. มีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 1,703,206 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,139,075 คน คิดเป็นร้อยละ 41.15 จากเดิมร้อยละ 41.94 ส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ข. 36 เขต มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 1,151,483 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,737,054 คน คิดเป็นร้อยละ 42.07 จากเดิมร้อยละ 42.70
เห็นได้ว่ามีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเพียง 42% เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าคนกรุงเทพฯที่ถือเป็นกลุ่มผู้ที่มีความรู้และมีฐานะทางสังคมสูงยังไม่ให้ความสนใจกับการเลือกตั้งเหมือนที่ผ่านมา แต่เป็นตัวชี้วัดสถานการณ์ทางการเมือง แม้วันนี้คนรากหญ้าที่เรียกตัวเองว่า “ไพร่” จะแสดงให้เห็นถึงพลังที่มีต่อการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะคำว่าประชาธิปไตยและความยุติธรรม
ดังนั้น การเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นสนามเล็กหรือสนามใหญ่ในกรุงเทพฯ จึงมีความหมายต่อการเมืองในภาพรวมไม่น้อย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่อึมครึมจนไม่มีใครมั่นใจว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่ หรือถ้ามีการเลือกตั้งจะมีความยุติธรรมหรือไม่
เพราะหลายฝ่ายเห็นว่าการเมืองไทยวันนี้ไม่ต่างอะไรกับรัฐประหารเงียบหรือเผด็จการซ่อนรูปที่รัฐบาลอยู่ภายใต้กองทัพ ซึ่งคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ถูกมองว่าสนใจเรื่องปากท้องของตัวเองมากกว่าเรื่องของประชาธิปไตยหรือความยุติธรรมของสังคมไทย ซึ่งมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ
จึงไม่แปลกที่สื่อและนักวิชาการจะวิเคราะห์กันว่า ผลการเลือกตั้ง ส.ก. และ ส.ข. ถือเป็นความพ่ายแพ้ของภาคประชาชนทั้งสีเหลืองและสีแดง
แต่ถ้ามองในแง่ของประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยเป็นของประชาชน มาจากประชาชน และเพื่อประชาชน ไม่ว่าการเคลื่อนไหวของสีใดจะผูกโยงกับบุคคลใดหรือกลุ่มใดก็ตาม แต่ทุกสีต้องการเห็นประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชน และเพื่อประชาชน
ไม่ใช่ประชาธิปไตยภายใต้การเมืองที่อัปลักษณ์อย่างทุกวันนี้
**********************************************************************
รัฐบาลก้าวไม่ทันโลก นโยบายบิดเบี้ยว...ช่องว่างที่ต้องเติมเต็ม
ประชาชาติธุรกิจ
1 ปีของกลุ่มจับตานโยบายรัฐบาล (Policy watch) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเริ่มติดตามการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 จนถึงมิถุนายน 2553 ได้นำเสนอประเด็นทางนโยบาย 11 ข้อ กับอีกหนึ่งบทสรุปที่ได้จากการ จับตานโยบายรัฐบาล
"จากการจับตานโยบายรัฐบาลมาเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่ารัฐบาลยังก้าวช้ากว่าปัญหาหนึ่งก้าวเสมอ การทำงานเป็นเชิงตั้งรับมากกว่ามองไปข้างหน้าและป้องกันปัญหาที่จะ เกิดขึ้น" ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มจับตานโยบายรัฐบาลกล่าวในการแถลงครบรอบ 1 ปี ของกลุ่มจับตานโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ดร.ปัทมาวดีอธิบายเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจสังคมไทย เศรษฐกิจโลก รวมถึงกติกาในประเทศและกติการะหว่างประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วจนภาคการเมืองและรัฐไทยก้าวตามไม่ทัน
ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 มีลักษณะก้าวหน้าและสะท้อนภาพของสังคมในอุดมคติเกี่ยวกับสิทธิชุมชน สวัสดิการสังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังคาดหวังต่อบทบาทของรัฐที่พึงปรารถนาในการบริหารจัดการประเทศ แต่เมื่อรัฐไทยไม่สามารถปรับตัวก้าวตามได้ทัน การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 67 วรรค 2 จึงไม่มีกฎหมายลูกออกมารองรับ และมีจุดอ่อนในการกำกับดูแลจนเกิดปัญหากรณีมาบตาพุด
ช่องว่างนโยบายจึงเกิดขึ้นจากการที่รัฐไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในขณะที่ปัญหาเก่าก็ยังสะสมเรื้อรังพร้อมที่จะปะทุขึ้นมาได้ ดังเช่นกรณีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นที่สนใจหลังวิกฤตการเมือง
ดร.ปัทมาวดีย้ำว่า ช่องว่างนโยบายเกิดจากปัญหาด้าน "ทิศทาง" คือเป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้องอันเกิดจากสมมติฐานผิด ข้อมูลไม่เป็นจริง การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย การมองภาพย่อยไม่เห็นภาพรวม
นโยบายที่มีปัญหาด้าน "ขนาด" ของช่องว่างจะก้าวไม่ทันสถานการณ์ มีสาเหตุเกิดจากขาดการบริหารจัดการที่ดี มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ขาดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบชัดเจน หน่วยงานขาดความรู้และขาดประสิทธิภาพ ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และกฎกติกาที่ไม่ทันการ หรือกติกาทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติ รวมถึงขาดความต่อเนื่องของนโยบาย
ข้อสรุปข้างต้นของกลุ่มจับตานโยบายรัฐบาล ได้จากการจัดสัมมนา "วิเคราะห์ช่องว่างของนโยบายเศรษฐกิจไทย" หลังจากติดตามการดำเนินนโยบายรัฐบาลมาครบ 1 ปี ซึ่งจัดขึ้นช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2553
โดยมีนักวิจัยนำเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ ภาคราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปปัญหาในการดำเนินนโยบายรัฐบาล 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจมหภาค ด้านการคลัง ด้านการศึกษาและสวัสดิการแรงงาน ด้านอุตสาหกรรม และด้านเกษตร ข้อสรุปโดยรวมของประเด็นปัญหาคือการดำเนินนโยบายมี "ช่องว่าง" ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ขณะเดียวกันในเวทีสัมมนามีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเพื่อปิดช่องว่างนโยบายดังนี้
ด้านมหภาค ควรปรับลดรายจ่ายประจำและรายจ่ายผูกพันระยะยาว เพื่อเป็นการรักษาวินัยการคลัง เนื่องจากไทยมีความเสี่ยงจะมีปัญหาหนี้สาธารณะหากไม่ระมัดระวังและยังทำให้สามารถจัดสรรงบประมาณร่ายจ่ายด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น ให้มีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนอย่างเป็นระบบ และควรให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ด้านการคลัง มีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มภาษี 1-2% ของจีดีพี โดยควรให้มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีรายได้เพิ่มขึ้น การปรับปรุงด้านรายจ่ายรัฐบาลและ อปท. ตามแนวทางการเพิ่มพลังคนจน เช่น จัดสวัสดิการ และขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานที่ไม่เป็นทางการ สนับสนุนให้มีการวิจัยนโยบายสาธารณะอย่างจริงจัง เพื่อขยายพรมแดนความรู้ ช่วยให้เข้าใจว่าใครได้ใครเสีย
ด้านการศึกษา เสนอว่าควรประเมินความคุ้มค่าของการทุ่มเท งบประมาณเพื่อการศึกษาในเชิงปริมาณ และทบทวนคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยเร่งเสริมสร้างศักยภาพของครู และพัฒนาอุปกรณ์สื่อการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ รวมทั้งวางแผนการผลิตแรงงานอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และภาคธุรกิจ ที่สำคัญต้องศึกษาแนวทางจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพระหว่างการศึกษาในระดับชั้นและรูปแบบต่าง ๆ โดยมีโอกาสให้เอกชนรวมทั้ง อปท.เข้ามาร่วมจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
ด้านสวัสดิการ ควรรณรงค์ให้เกิดวัฒนธรรมการออมและลงทุนในระยะยาว โดยรัฐต้องสร้างเครื่องมือหรือองค์กรเพื่อกำกับสถาบันการเงิน (กองทุน) ให้ดำเนินการอย่างเหมาะสม เตรียมพร้อมเพื่อการสร้างอาชีพและการสะสมทุนมนุษย์ หรือให้แรงงานมีโอกาสในการเปลี่ยนย้ายที่ทำงานได้ตามความเหมาะสมความรู้และสภาพร่างกายในวัยสูงอายุ ต้องหาแนวทางให้เศรษฐกิจนอกภาคทางการเข้ามาอยู่ในภาคทางการเพื่อเพิ่มภาษีและดูแลสวัสดิการได้ดีขึ้น รวมถึงการสร้างระบบหรือวัฒนธรรมการพึ่งพาตนเองมากที่สุดในการสร้างหลักประกันในยามเกษียณ เพราะสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในอีก 40 ปีโครงสร้างประชากรไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากกว่าวัยแรงงาน
ด้านอุตสาหกรรม ต้องส่งเสริมให้เกิดสถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะทาง รายสาขาให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการผลิต การวิจัย และการพัฒนาตลาด มีการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และมองทิศทางเกี่ยวกับ "นโยบายอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน" ในอนาคต และ ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับภาคเกษตรและฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) กับกิจการขนาดใหญ่อย่างเป็นธรรม
ด้านการเกษตร ควรจัดให้มีคลัสเตอร์ (cluster) หรือกลุ่มสินค้าในระดับนโยบาย เพื่อพิจารณาทั้งการผลิตและการตลาดจากต้นทางถึงปลายทางแบบครบวงจร และมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นก่อนกำหนดนโยบาย โดยกระทรวงพาณิชย์ต้องทำงานประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเกษตรมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ที่สำคัญการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรควรทำเท่าที่จำเป็น สำหรับทางออกในการระบายสต๊อกข้าว ควรนำข้าวในสต๊อกมาทำข้าวบรรจุถุงแจกให้กับคนยากจน นอกจากนี้การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา ควรเน้นเรื่องการประกันความเสี่ยงอย่างเดียว และควรครอบคลุมเกษตรกรทั้งหมดเพื่อความเป็นธรรม
ดร.ปัทมาวดีบอกว่า ถ้าให้จัดลำดับความสำคัญของนโยบายต้องทำเร่งด่วนเพื่อปิดช่องว่างนโยบาย มี 4 เรื่องพื้นฐาน ได้แก่ พื้นฐานอันดับแรกที่ต้องทำคือ "กติกา" โดยเฉพาะการจัดทำคู่มือประเมินโครงการและผลกระทบโครงการที่กำหนดแนวทางการประเมินตัวแปรและค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม (เช่น อัตราคิดลด) เพื่อไม่ให้ผู้ประเมินมีความลำเอียงที่จะเลือกใช้ตัวแปรและพารามิเตอร์ที่จะส่งผลเป็นบวกหรือเป็นลบตามที่โครงการมีความต้องการ เช่น โครงการเขื่อนปากมูล หากมีการประเมินถึงประโยชน์และต้นทุนที่แท้จริงตรงไปตรงมาตามมาตรฐานหลักวิชาการ โครงการนี้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ เป็นต้น
กลุ่มจับตานโยบายเสนอว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ควรเป็นหน่วยงานที่จัดทำคู่มือประเมินโครงการ ทั้งนี้ในการประเมินโครงการผู้ที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่ คือ นักวิชาการ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีบางโครงการไม่เหมาะสมแต่ผ่านการประเมินให้ดำเนินการได้ สิ่งที่เกิดนี้ทำให้แวดวงนักวิชาการบางท่านเรียกสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์นี้ว่า "นักวิชาการขายตัว" ดังนั้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันจึงควรมีคู่มือประเมินโครงการ
นอกจากนี้ กติกาที่เร่งด่วนอีกเรื่อง คือ การกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานปลายทาง (Ambient standard) เพื่อไม่ให้ปล่อยมลพิษออกรวม ๆ กันแล้วมากเกินกว่าความสามารถที่ธรรมชาติจะรองรับและบำบัดได้ ซึ่งในบางประเทศมีการกำหนดแล้ว
พื้นฐานอันดับที่ 2 คือ เรื่องคุณภาพของคน ในส่วนนี้ต้องมุ่งไปที่เรื่องการศึกษาของไทยที่มีข้อด้อยเยอะมาก ที่ผ่านมายิ่งพัฒนายิ่งถดถอย เห็นได้จากการสอบ แข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของไทยเทียบกับต่างประเทศในภูมิภาคเมื่อปี 2006 ได้คณิตศาสตร์ 417 คะแนน วิทยาศาสตร์ 421 คะแนน แต่พอ ปี 2007 ได้คณิตศาสตร์ 441 คะแนน วิทยาศาสตร์ 471 คะแนน
ดังนั้น ต้องปรับปรุงเรื่องการศึกษา เช่นควรทบทวนเรื่องเรียนฟรี 15 ปี เห็นว่าควรปรับลดระยะเวลาเรียนฟรีเหลือเพียง 12 ปี จากนั้นชั้นอุดมศึกษาก็ใช้ช่องทางต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีอยู่ เช่น กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้เรื่องการศึกษาต้องทำควบคู่ไปกับเรื่องสวัสดิการและแรงงาน เนื่องจากเป็นเรื่องคุณภาพของคน เพราะคนที่มีคุณภาพจะเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาในอนาคต
พื้นฐานอันดับที่ 3 คือ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร จะต้องมีสถาบันเฉพาะทางเป็นรายสาขามากขึ้น จากปัจจุบันยังมีจำนวนน้อยมาก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
พื้นฐานอันดับที่ 4 คือ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หากประเทศพัฒนาแบบรวมศูนย์ยากที่จะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ เพราะฉะนั้นแผนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำอย่างจริงจัง
สุดท้าย ดร.ปัทมาวดีย้ำว่า ช่วงติดตามนโยบายรัฐบาลมา 1 ปียังไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินนโยบายเท่าไร โดยทิศทางนโยบายส่วนใหญ่ยอมรับว่า เป็นทิศทางถูกต้อง เช่น การช่วยเหลือคนยากจน แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติใช้หลาย ๆ ครั้ง "หมิ่นเหม่" ว่าเป็นประชานิยมหรือไม่ เช่น โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ที่มีคำขวัญว่า "บัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงิน"
โครงการนี้ดูเหมือนจะดี ช่วยเหลือคนระดับรากหญ้า แต่ ดร.ปัทมาวดีให้ข้อสังเกตจากประสบการณ์โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มีโครงการคล้าย ๆ กัน คือ เมื่อผ่อนชำระครบตรงเวลาจะสามารถกู้เพิ่มได้ในอัตราดอกเบี้ยถูกลง ทำให้มีการกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อมา "หมุนหนี้" เพื่อจะได้มีเครดิตในการกู้ยืมครั้งต่อไปในอัตราดอกเบี้ยถูกลง ดังนั้นต้องระวังเรื่องนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะ กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก
ที่สำคัญคำจำกัดความ "วินัยดี" แคบไป เน้นแต่เรื่องการลดหนี้ ซึ่งก็ถูก แต่ควรรวมถึงการออมเข้าไปด้วย โดยให้มีการเปิดบัญชีเงินออมควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะตอบโจทย์การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวได้มากกว่า
"การทำนโยบายช่วยเหลือคนยากจน หรือกลุ่มคนด้อยโอกาส รัฐบาลควรนำประเด็นเรื่องความยั่งยืนทำควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดนโยบายที่ยั่งยืนในระยะยาว"
*****************************************************************************
1 ปีของกลุ่มจับตานโยบายรัฐบาล (Policy watch) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเริ่มติดตามการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 จนถึงมิถุนายน 2553 ได้นำเสนอประเด็นทางนโยบาย 11 ข้อ กับอีกหนึ่งบทสรุปที่ได้จากการ จับตานโยบายรัฐบาล
"จากการจับตานโยบายรัฐบาลมาเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่ารัฐบาลยังก้าวช้ากว่าปัญหาหนึ่งก้าวเสมอ การทำงานเป็นเชิงตั้งรับมากกว่ามองไปข้างหน้าและป้องกันปัญหาที่จะ เกิดขึ้น" ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มจับตานโยบายรัฐบาลกล่าวในการแถลงครบรอบ 1 ปี ของกลุ่มจับตานโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา
ดร.ปัทมาวดีอธิบายเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจสังคมไทย เศรษฐกิจโลก รวมถึงกติกาในประเทศและกติการะหว่างประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วจนภาคการเมืองและรัฐไทยก้าวตามไม่ทัน
ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 มีลักษณะก้าวหน้าและสะท้อนภาพของสังคมในอุดมคติเกี่ยวกับสิทธิชุมชน สวัสดิการสังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งยังคาดหวังต่อบทบาทของรัฐที่พึงปรารถนาในการบริหารจัดการประเทศ แต่เมื่อรัฐไทยไม่สามารถปรับตัวก้าวตามได้ทัน การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา 67 วรรค 2 จึงไม่มีกฎหมายลูกออกมารองรับ และมีจุดอ่อนในการกำกับดูแลจนเกิดปัญหากรณีมาบตาพุด
ช่องว่างนโยบายจึงเกิดขึ้นจากการที่รัฐไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในขณะที่ปัญหาเก่าก็ยังสะสมเรื้อรังพร้อมที่จะปะทุขึ้นมาได้ ดังเช่นกรณีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นที่สนใจหลังวิกฤตการเมือง
ดร.ปัทมาวดีย้ำว่า ช่องว่างนโยบายเกิดจากปัญหาด้าน "ทิศทาง" คือเป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้องอันเกิดจากสมมติฐานผิด ข้อมูลไม่เป็นจริง การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย การมองภาพย่อยไม่เห็นภาพรวม
นโยบายที่มีปัญหาด้าน "ขนาด" ของช่องว่างจะก้าวไม่ทันสถานการณ์ มีสาเหตุเกิดจากขาดการบริหารจัดการที่ดี มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ขาดหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบชัดเจน หน่วยงานขาดความรู้และขาดประสิทธิภาพ ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และกฎกติกาที่ไม่ทันการ หรือกติกาทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติ รวมถึงขาดความต่อเนื่องของนโยบาย
ข้อสรุปข้างต้นของกลุ่มจับตานโยบายรัฐบาล ได้จากการจัดสัมมนา "วิเคราะห์ช่องว่างของนโยบายเศรษฐกิจไทย" หลังจากติดตามการดำเนินนโยบายรัฐบาลมาครบ 1 ปี ซึ่งจัดขึ้นช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2553
โดยมีนักวิจัยนำเสนอผลการศึกษาและรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ ภาคราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปปัญหาในการดำเนินนโยบายรัฐบาล 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจมหภาค ด้านการคลัง ด้านการศึกษาและสวัสดิการแรงงาน ด้านอุตสาหกรรม และด้านเกษตร ข้อสรุปโดยรวมของประเด็นปัญหาคือการดำเนินนโยบายมี "ช่องว่าง" ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ขณะเดียวกันในเวทีสัมมนามีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเพื่อปิดช่องว่างนโยบายดังนี้
ด้านมหภาค ควรปรับลดรายจ่ายประจำและรายจ่ายผูกพันระยะยาว เพื่อเป็นการรักษาวินัยการคลัง เนื่องจากไทยมีความเสี่ยงจะมีปัญหาหนี้สาธารณะหากไม่ระมัดระวังและยังทำให้สามารถจัดสรรงบประมาณร่ายจ่ายด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น ให้มีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนอย่างเป็นระบบ และควรให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ด้านการคลัง มีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มภาษี 1-2% ของจีดีพี โดยควรให้มีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ภาษีสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีรายได้เพิ่มขึ้น การปรับปรุงด้านรายจ่ายรัฐบาลและ อปท. ตามแนวทางการเพิ่มพลังคนจน เช่น จัดสวัสดิการ และขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานที่ไม่เป็นทางการ สนับสนุนให้มีการวิจัยนโยบายสาธารณะอย่างจริงจัง เพื่อขยายพรมแดนความรู้ ช่วยให้เข้าใจว่าใครได้ใครเสีย
ด้านการศึกษา เสนอว่าควรประเมินความคุ้มค่าของการทุ่มเท งบประมาณเพื่อการศึกษาในเชิงปริมาณ และทบทวนคุณภาพการศึกษาอย่างเร่งด่วน โดยเร่งเสริมสร้างศักยภาพของครู และพัฒนาอุปกรณ์สื่อการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ รวมทั้งวางแผนการผลิตแรงงานอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และภาคธุรกิจ ที่สำคัญต้องศึกษาแนวทางจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพระหว่างการศึกษาในระดับชั้นและรูปแบบต่าง ๆ โดยมีโอกาสให้เอกชนรวมทั้ง อปท.เข้ามาร่วมจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
ด้านสวัสดิการ ควรรณรงค์ให้เกิดวัฒนธรรมการออมและลงทุนในระยะยาว โดยรัฐต้องสร้างเครื่องมือหรือองค์กรเพื่อกำกับสถาบันการเงิน (กองทุน) ให้ดำเนินการอย่างเหมาะสม เตรียมพร้อมเพื่อการสร้างอาชีพและการสะสมทุนมนุษย์ หรือให้แรงงานมีโอกาสในการเปลี่ยนย้ายที่ทำงานได้ตามความเหมาะสมความรู้และสภาพร่างกายในวัยสูงอายุ ต้องหาแนวทางให้เศรษฐกิจนอกภาคทางการเข้ามาอยู่ในภาคทางการเพื่อเพิ่มภาษีและดูแลสวัสดิการได้ดีขึ้น รวมถึงการสร้างระบบหรือวัฒนธรรมการพึ่งพาตนเองมากที่สุดในการสร้างหลักประกันในยามเกษียณ เพราะสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งในอีก 40 ปีโครงสร้างประชากรไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมากกว่าวัยแรงงาน
ด้านอุตสาหกรรม ต้องส่งเสริมให้เกิดสถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะทาง รายสาขาให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการผลิต การวิจัย และการพัฒนาตลาด มีการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และมองทิศทางเกี่ยวกับ "นโยบายอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน" ในอนาคต และ ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับภาคเกษตรและฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) กับกิจการขนาดใหญ่อย่างเป็นธรรม
ด้านการเกษตร ควรจัดให้มีคลัสเตอร์ (cluster) หรือกลุ่มสินค้าในระดับนโยบาย เพื่อพิจารณาทั้งการผลิตและการตลาดจากต้นทางถึงปลายทางแบบครบวงจร และมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นก่อนกำหนดนโยบาย โดยกระทรวงพาณิชย์ต้องทำงานประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเกษตรมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ ที่สำคัญการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรควรทำเท่าที่จำเป็น สำหรับทางออกในการระบายสต๊อกข้าว ควรนำข้าวในสต๊อกมาทำข้าวบรรจุถุงแจกให้กับคนยากจน นอกจากนี้การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชาวนา ควรเน้นเรื่องการประกันความเสี่ยงอย่างเดียว และควรครอบคลุมเกษตรกรทั้งหมดเพื่อความเป็นธรรม
ดร.ปัทมาวดีบอกว่า ถ้าให้จัดลำดับความสำคัญของนโยบายต้องทำเร่งด่วนเพื่อปิดช่องว่างนโยบาย มี 4 เรื่องพื้นฐาน ได้แก่ พื้นฐานอันดับแรกที่ต้องทำคือ "กติกา" โดยเฉพาะการจัดทำคู่มือประเมินโครงการและผลกระทบโครงการที่กำหนดแนวทางการประเมินตัวแปรและค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม (เช่น อัตราคิดลด) เพื่อไม่ให้ผู้ประเมินมีความลำเอียงที่จะเลือกใช้ตัวแปรและพารามิเตอร์ที่จะส่งผลเป็นบวกหรือเป็นลบตามที่โครงการมีความต้องการ เช่น โครงการเขื่อนปากมูล หากมีการประเมินถึงประโยชน์และต้นทุนที่แท้จริงตรงไปตรงมาตามมาตรฐานหลักวิชาการ โครงการนี้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ เป็นต้น
กลุ่มจับตานโยบายเสนอว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ควรเป็นหน่วยงานที่จัดทำคู่มือประเมินโครงการ ทั้งนี้ในการประเมินโครงการผู้ที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่ คือ นักวิชาการ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีบางโครงการไม่เหมาะสมแต่ผ่านการประเมินให้ดำเนินการได้ สิ่งที่เกิดนี้ทำให้แวดวงนักวิชาการบางท่านเรียกสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์นี้ว่า "นักวิชาการขายตัว" ดังนั้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันจึงควรมีคู่มือประเมินโครงการ
นอกจากนี้ กติกาที่เร่งด่วนอีกเรื่อง คือ การกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานปลายทาง (Ambient standard) เพื่อไม่ให้ปล่อยมลพิษออกรวม ๆ กันแล้วมากเกินกว่าความสามารถที่ธรรมชาติจะรองรับและบำบัดได้ ซึ่งในบางประเทศมีการกำหนดแล้ว
พื้นฐานอันดับที่ 2 คือ เรื่องคุณภาพของคน ในส่วนนี้ต้องมุ่งไปที่เรื่องการศึกษาของไทยที่มีข้อด้อยเยอะมาก ที่ผ่านมายิ่งพัฒนายิ่งถดถอย เห็นได้จากการสอบ แข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของไทยเทียบกับต่างประเทศในภูมิภาคเมื่อปี 2006 ได้คณิตศาสตร์ 417 คะแนน วิทยาศาสตร์ 421 คะแนน แต่พอ ปี 2007 ได้คณิตศาสตร์ 441 คะแนน วิทยาศาสตร์ 471 คะแนน
ดังนั้น ต้องปรับปรุงเรื่องการศึกษา เช่นควรทบทวนเรื่องเรียนฟรี 15 ปี เห็นว่าควรปรับลดระยะเวลาเรียนฟรีเหลือเพียง 12 ปี จากนั้นชั้นอุดมศึกษาก็ใช้ช่องทางต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีอยู่ เช่น กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้เรื่องการศึกษาต้องทำควบคู่ไปกับเรื่องสวัสดิการและแรงงาน เนื่องจากเป็นเรื่องคุณภาพของคน เพราะคนที่มีคุณภาพจะเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาในอนาคต
พื้นฐานอันดับที่ 3 คือ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร จะต้องมีสถาบันเฉพาะทางเป็นรายสาขามากขึ้น จากปัจจุบันยังมีจำนวนน้อยมาก เช่น อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
พื้นฐานอันดับที่ 4 คือ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หากประเทศพัฒนาแบบรวมศูนย์ยากที่จะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ เพราะฉะนั้นแผนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำอย่างจริงจัง
สุดท้าย ดร.ปัทมาวดีย้ำว่า ช่วงติดตามนโยบายรัฐบาลมา 1 ปียังไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินนโยบายเท่าไร โดยทิศทางนโยบายส่วนใหญ่ยอมรับว่า เป็นทิศทางถูกต้อง เช่น การช่วยเหลือคนยากจน แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติใช้หลาย ๆ ครั้ง "หมิ่นเหม่" ว่าเป็นประชานิยมหรือไม่ เช่น โครงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ที่มีคำขวัญว่า "บัตรลดหนี้ วินัยดีมีวงเงิน"
โครงการนี้ดูเหมือนจะดี ช่วยเหลือคนระดับรากหญ้า แต่ ดร.ปัทมาวดีให้ข้อสังเกตจากประสบการณ์โครงการกองทุนหมู่บ้านที่มีโครงการคล้าย ๆ กัน คือ เมื่อผ่อนชำระครบตรงเวลาจะสามารถกู้เพิ่มได้ในอัตราดอกเบี้ยถูกลง ทำให้มีการกู้ยืมเงินนอกระบบเพื่อมา "หมุนหนี้" เพื่อจะได้มีเครดิตในการกู้ยืมครั้งต่อไปในอัตราดอกเบี้ยถูกลง ดังนั้นต้องระวังเรื่องนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะ กลายเป็นปัญหาซ้ำซาก
ที่สำคัญคำจำกัดความ "วินัยดี" แคบไป เน้นแต่เรื่องการลดหนี้ ซึ่งก็ถูก แต่ควรรวมถึงการออมเข้าไปด้วย โดยให้มีการเปิดบัญชีเงินออมควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะตอบโจทย์การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในระยะยาวได้มากกว่า
"การทำนโยบายช่วยเหลือคนยากจน หรือกลุ่มคนด้อยโอกาส รัฐบาลควรนำประเด็นเรื่องความยั่งยืนทำควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดนโยบายที่ยั่งยืนในระยะยาว"
*****************************************************************************
งบแสนล้าน! หนามยอกอก‘กองทัพ’
บางกอกทูเดย์
“สมัยที่ผมเป็นรมว.กลาโหม การจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่มีนายหน้า ไม่มีค่าคอมมิชชั่น”
เสียงยืนยันจาก “พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ” พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ ต่อข้อครหาจากส.ส.ในสภาที่รุมยำงบประมาณ 1.7 แสนล้านบาทของกระทรวงกลาโหม ในช่วงที่มีการประชุมร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ที่ผ่านมา
รายการนี้ว่ากันว่า...กระทรวงกลาโหมถูกจองกฐินมากที่สุด และส.ส.ฝ่ายค้านอภิปรายมาราธอนยาวนานกว่า 7 ชั่วโมง
จนทำให้การอภิปรายในช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 24-25 ส.ค.ที่ผ่านมา เกือบจะไม่ได้ถ่ายทอดสด เพราะสภากลายเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจย่อยๆ
นอกจาก “บิ๊กป้อม”จะออกมาปฏิเสธ เสียงแข็งยืนยันนอนยันแล้วว่างบประมาณ ก้อนนี้ไม่มีอะไรในกอไผ่ “ทายาทบูรพาพยัคฆ์”อย่าง “บิ๊กป๊อก”พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ก็ออกมายืนยันเช่นกันว่า...พร้อมให้ตรวจสอบในทุกโครงการที่กองทัพจัดซื้อ
การออกมาชี้แจงของพี่น้องบูรพาพยัคฆ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางข้อสงสัยว่า...มีการงุบงิบ แบ่งเค้กก้อนโตเพียงไม่กี่คนจริงมั่วชัวร์หรือไม่?
แถมการชี้แจงของ “บิ๊กป๊อก”ยังออกแนวหวานไม่ดุดันเหมือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ข้อสงสัยเรื่องการทุจริตงบประมาณจัดซื้ออาวุธ และกลิ่นที่โชยตามมานั้นมักเป็นของคู่กันมานาน
เพราะเมื่อใดที่กองทัพขยับจัดซื้ออาวุธครั้งใด “นายหน้าค้าอาวุธ” ก็เริ่มเปิดพื้นที่เพื่อหวังเข้ามาร่วมวงไพบูลย์ขอเศษเค้กจากนายทหารใหญ่ในกองทัพ
วันนี้จึงไม่แปลกที่กองทัพจะถูกมองว่าจัดซื้อไม่โปร่งใส แม้จะชี้แจงจนปากจะฉีกถึงหูก็ตาม...ประเด็นสงสัยเหล่านี้ยังเป็น “หนามยอกอก” ให้บิ๊กสีเขียวต้องออกมาชี้แจงในทุกครั้งไป
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหมเปิดเผยกับ ว่า...งบประมาณจำนวน 1.7 แสนล้านบาท ที่ถูกส.ส.อภิปรายในสภา ไม่เป็นงบประมาณที่จัดซื้ออาวุธเพียงอย่างเดียว
แต่งบประมาณจำนวนดังกล่าว...เป็นที่ใช้สำหรับเบี้ยเลี้ยงข้าราชการจำนวนกว่า 5 แสนคนทั่วประเทศ ตามมติ ครม.ที่ขึ้นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงข้าราชการ 5 เปอร์เซ็นต์
“งบประมาณในการจัดซื้ออาวุธมีเพียง 20-25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถูกจัดในส่วนของงบพัฒนากองทัพ และการจัดซื้อทุกโครงการต้องผ่านความเห็นจากคณะกรรมการหลายชุดกว่าจะมาถึงกระทรวงกลาโหม ใช่ว่าจะจัดซื้อแล้วจัดซื้อได้เลย”
แหล่งข่าวคนเดิม ยังกล่าวด้วยว่า...กระทรวงกลาโหมยืนยันว่า โครงการทุกโครงการมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
**************************************************************************
“สมัยที่ผมเป็นรมว.กลาโหม การจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นไปอย่างโปร่งใส ไม่มีนายหน้า ไม่มีค่าคอมมิชชั่น”
เสียงยืนยันจาก “พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ” พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ ต่อข้อครหาจากส.ส.ในสภาที่รุมยำงบประมาณ 1.7 แสนล้านบาทของกระทรวงกลาโหม ในช่วงที่มีการประชุมร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ที่ผ่านมา
รายการนี้ว่ากันว่า...กระทรวงกลาโหมถูกจองกฐินมากที่สุด และส.ส.ฝ่ายค้านอภิปรายมาราธอนยาวนานกว่า 7 ชั่วโมง
จนทำให้การอภิปรายในช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 24-25 ส.ค.ที่ผ่านมา เกือบจะไม่ได้ถ่ายทอดสด เพราะสภากลายเป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจย่อยๆ
นอกจาก “บิ๊กป้อม”จะออกมาปฏิเสธ เสียงแข็งยืนยันนอนยันแล้วว่างบประมาณ ก้อนนี้ไม่มีอะไรในกอไผ่ “ทายาทบูรพาพยัคฆ์”อย่าง “บิ๊กป๊อก”พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ก็ออกมายืนยันเช่นกันว่า...พร้อมให้ตรวจสอบในทุกโครงการที่กองทัพจัดซื้อ
การออกมาชี้แจงของพี่น้องบูรพาพยัคฆ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางข้อสงสัยว่า...มีการงุบงิบ แบ่งเค้กก้อนโตเพียงไม่กี่คนจริงมั่วชัวร์หรือไม่?
แถมการชี้แจงของ “บิ๊กป๊อก”ยังออกแนวหวานไม่ดุดันเหมือนที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ข้อสงสัยเรื่องการทุจริตงบประมาณจัดซื้ออาวุธ และกลิ่นที่โชยตามมานั้นมักเป็นของคู่กันมานาน
เพราะเมื่อใดที่กองทัพขยับจัดซื้ออาวุธครั้งใด “นายหน้าค้าอาวุธ” ก็เริ่มเปิดพื้นที่เพื่อหวังเข้ามาร่วมวงไพบูลย์ขอเศษเค้กจากนายทหารใหญ่ในกองทัพ
วันนี้จึงไม่แปลกที่กองทัพจะถูกมองว่าจัดซื้อไม่โปร่งใส แม้จะชี้แจงจนปากจะฉีกถึงหูก็ตาม...ประเด็นสงสัยเหล่านี้ยังเป็น “หนามยอกอก” ให้บิ๊กสีเขียวต้องออกมาชี้แจงในทุกครั้งไป
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหมเปิดเผยกับ ว่า...งบประมาณจำนวน 1.7 แสนล้านบาท ที่ถูกส.ส.อภิปรายในสภา ไม่เป็นงบประมาณที่จัดซื้ออาวุธเพียงอย่างเดียว
แต่งบประมาณจำนวนดังกล่าว...เป็นที่ใช้สำหรับเบี้ยเลี้ยงข้าราชการจำนวนกว่า 5 แสนคนทั่วประเทศ ตามมติ ครม.ที่ขึ้นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงข้าราชการ 5 เปอร์เซ็นต์
“งบประมาณในการจัดซื้ออาวุธมีเพียง 20-25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถูกจัดในส่วนของงบพัฒนากองทัพ และการจัดซื้อทุกโครงการต้องผ่านความเห็นจากคณะกรรมการหลายชุดกว่าจะมาถึงกระทรวงกลาโหม ใช่ว่าจะจัดซื้อแล้วจัดซื้อได้เลย”
แหล่งข่าวคนเดิม ยังกล่าวด้วยว่า...กระทรวงกลาโหมยืนยันว่า โครงการทุกโครงการมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
**************************************************************************
ไม่ได้เกิด
ข่าวสดรายวัน
เหล็กใน
พรรคการเมืองใหม่ ที่แปลงร่างมาจากกลุ่มพันธ มิตรหรือม็อบเสื้อเหลือง
ได้โอกาสชิมลางลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งแรก
ด้วยการลงสนามประเดิมการเมืองตามระบอบประชา ธิปไตย
ชิงเก้าอี้สมาชิกสภาเขต(ส.ข.) และสมาชิกสภากรุง เทพมหานคร(ส.ก.)
สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตนั้น ปรากฏว่า
พรรคประชาธิปัตย์กวาดที่นั่งเป็นส่วนใหญ่
พรรคเพื่อไทยได้บางส่วน
นอกจากนี้ยังมีผู้สมัครอิสระ ที่แย่งเก้าอี้ไปได้บ้าง
ส่วนพรรคการเมืองใหม่ ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 61 เขต
ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ กวาดไป 45 เก้าอี้ พรรคเพื่อไทย 15 เก้าอี้
ผู้สมัครอิสระ(ความจริงก็คือนอมินีพรรคภูมิใจไทยนั่นเอง) ได้ 1 เก้าอี้
พรรคการเมืองใหม่ พ่ายแพ้อย่างหมดรูป
ที่น่าสนใจก็คือคะแนนที่ได้มา ก็ไม่เป็นกอบเป็นกำ มากนัก
ผู้สมัครบางคน นอกจากอาศัยเสื้อพันธมิตรแล้ว ยัง อ้างความเป็นน้องชายอดีตประธานรัฐสภาด้วย
คะแนนก็แค่ปลายแถวอยู่ดี
นอกจากนี้ ยังมีอดีตนักเคลื่อนไหวเดือนตุลา ที่ขันอาสาลงสู้ศึกในครั้งนี้
ได้ไม่ถึง 5 พันคะแนน
เป็นอันว่าการลงสนามเลือกตั้งครั้งแรกของพรรค การเมืองกลุ่มพันธมิตร ได้รับการตอบรับจากชาวกรุงเทพฯน้อยมาก
เมื่อเทียบกรณีพรรคประชากรไทย พรรคพลังธรรม และพรรคไทยรักไทย ตอนเกิดใหม่ๆ และส่งคนลงสนามเลือกตั้งในอดีต ยังได้รับเลือกตั้งบ้าง
แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้ใช้สิทธิ์เพียง 41 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
พรรคการเมืองใด กลุ่มการเมืองใดที่มีเสียงจัดตั้งอย่างเหนียวแน่น ย่อมมีโอกาสชนะสูง
จึงไม่อาจประเมินว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะ และพรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้
สะท้อนภาพทางการเมืองในระดับชาติหรือไม่
แต่เท่าที่ดูแนวโน้มในช่วงนี้ พรรคการเมืองใหม่ไม่น่าจะเป็นทางเลือกของชาวกรุง
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสุริยะใส กตะศิลา รักษาการเลขาธิการพรรค แสดงความมั่นใจว่าน่าจะได‰ที่นั่งส.ก.ประมาณ 7-8 ที่นั่ง
เมื่อผลออกมา ปรากฏว่าพ่ายหมดรูปทั้งส.ก.และส.ข.
นายสุริยะใส ก็ประกาศไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมอ้างตัวเลขคนที่ลงคะแนน ว่าสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนผู้สนับสนุนพรรคอย่างแท้จริง
และยืนยันด้วยว่าพร้อมที่จะทำงานหนัก เพื่อต่อสู้ในระดับชาติต่อไป
ถึงตอนนั้น ก็ขอให้แกนนำเสื้อเหลืองแปลงร่าง ลงสนามสู้ตามวิถีประชาธิปไตยให้พร้อมหน้าด้วย
เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสิน
**********************************************************************
เหล็กใน
พรรคการเมืองใหม่ ที่แปลงร่างมาจากกลุ่มพันธ มิตรหรือม็อบเสื้อเหลือง
ได้โอกาสชิมลางลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งแรก
ด้วยการลงสนามประเดิมการเมืองตามระบอบประชา ธิปไตย
ชิงเก้าอี้สมาชิกสภาเขต(ส.ข.) และสมาชิกสภากรุง เทพมหานคร(ส.ก.)
สำหรับผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขตนั้น ปรากฏว่า
พรรคประชาธิปัตย์กวาดที่นั่งเป็นส่วนใหญ่
พรรคเพื่อไทยได้บางส่วน
นอกจากนี้ยังมีผู้สมัครอิสระ ที่แย่งเก้าอี้ไปได้บ้าง
ส่วนพรรคการเมืองใหม่ ไม่ได้รับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 61 เขต
ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ กวาดไป 45 เก้าอี้ พรรคเพื่อไทย 15 เก้าอี้
ผู้สมัครอิสระ(ความจริงก็คือนอมินีพรรคภูมิใจไทยนั่นเอง) ได้ 1 เก้าอี้
พรรคการเมืองใหม่ พ่ายแพ้อย่างหมดรูป
ที่น่าสนใจก็คือคะแนนที่ได้มา ก็ไม่เป็นกอบเป็นกำ มากนัก
ผู้สมัครบางคน นอกจากอาศัยเสื้อพันธมิตรแล้ว ยัง อ้างความเป็นน้องชายอดีตประธานรัฐสภาด้วย
คะแนนก็แค่ปลายแถวอยู่ดี
นอกจากนี้ ยังมีอดีตนักเคลื่อนไหวเดือนตุลา ที่ขันอาสาลงสู้ศึกในครั้งนี้
ได้ไม่ถึง 5 พันคะแนน
เป็นอันว่าการลงสนามเลือกตั้งครั้งแรกของพรรค การเมืองกลุ่มพันธมิตร ได้รับการตอบรับจากชาวกรุงเทพฯน้อยมาก
เมื่อเทียบกรณีพรรคประชากรไทย พรรคพลังธรรม และพรรคไทยรักไทย ตอนเกิดใหม่ๆ และส่งคนลงสนามเลือกตั้งในอดีต ยังได้รับเลือกตั้งบ้าง
แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ มีผู้ใช้สิทธิ์เพียง 41 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
พรรคการเมืองใด กลุ่มการเมืองใดที่มีเสียงจัดตั้งอย่างเหนียวแน่น ย่อมมีโอกาสชนะสูง
จึงไม่อาจประเมินว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ชนะ และพรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้
สะท้อนภาพทางการเมืองในระดับชาติหรือไม่
แต่เท่าที่ดูแนวโน้มในช่วงนี้ พรรคการเมืองใหม่ไม่น่าจะเป็นทางเลือกของชาวกรุง
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสุริยะใส กตะศิลา รักษาการเลขาธิการพรรค แสดงความมั่นใจว่าน่าจะได‰ที่นั่งส.ก.ประมาณ 7-8 ที่นั่ง
เมื่อผลออกมา ปรากฏว่าพ่ายหมดรูปทั้งส.ก.และส.ข.
นายสุริยะใส ก็ประกาศไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ พร้อมอ้างตัวเลขคนที่ลงคะแนน ว่าสะท้อนให้เห็นถึงจำนวนผู้สนับสนุนพรรคอย่างแท้จริง
และยืนยันด้วยว่าพร้อมที่จะทำงานหนัก เพื่อต่อสู้ในระดับชาติต่อไป
ถึงตอนนั้น ก็ขอให้แกนนำเสื้อเหลืองแปลงร่าง ลงสนามสู้ตามวิถีประชาธิปไตยให้พร้อมหน้าด้วย
เพื่อให้ประชาชนได้ตัดสิน
**********************************************************************
วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553
ไม่มีการเลือกตั้ง หากสังคมไม่สงบสุข?
ที่มา. Robert Amsterdam
ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่อำนาจในปี 2551 อภิสิทธิ์ได้แสดงเจตจำนงครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเลือกตั้ง กว่าร้อยชีวิตต้องถูกสังเวยในเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมเพื่อที่จะยืดเวลาให้กับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ทั้งนี้อภิสิทธิ์ไม่มีทางที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากกองทัพ กระบวนการศาล และกลุ่มพันธมิตร
ในขณะนี้องค์กรเอกชนและสื่ออิสระได้เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์แสดงพันธะในการสร้าง “ความสมานฉันท์” โดยจัดให้มีการเลือกตั้ง เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้อำนาจตัดสินเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้ แต่นายอภิสิทธิ์ได้บัญญัติข้ออ้างใหม่ลงในพจนานุกรมของตนเอง โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวย้ำในวันนี้ว่า “รัฐบาลจะไม่จัดการเลือกตั้งทั่วไปจนกว่าประเทศจะกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อย”
ตามมาตรฐานของประเทศประชาธิปไตยทั่วไป เมื่อปรากฏว่ามีประชาชนเป็นจำนวนสมเหตุสมผลเกลียดชังรัฐบาล ข้ออ้างที่จะไม่จัดการเลือกตั้งทั่วไปและปัดความรับผิดชอบไม่ใช้ข้ออ้างที่ดี ความสงบไม่ใช่เงื่อนไขล่วงหน้าที่ก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ในทางกลับกัน ประชาธิปไตยคือเงื่อนไขล่วงหน้าของการทำให้เกิดความสงบ คำกล่าวของรัฐบาลนั้นไร้สาระขึ้นทุกวัน หากเราพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่า สาเหตุที่ประเทศไทยไม่มี “ความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อย” นั้นเป็นเพราะนายอภิสิทธิ์ยังคงปกครองประเทศด้วยตำแหน่งที่ได้มาด้วยความไม่ชอบธรรมต่างหาก และยังมีการดำเนินนโยบายที่กดขี่คุกคามประชาชนอย่างที่รัฐบาลพลเรือนไม่เคยกระทำมาก่อน และยิ่งกว่านั้นคือรัฐบาลนายอภิสิทธิ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วางระเบิดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในสังคม และหากเราตีความหมายคำพูดของอภิสิทธิ์ที่อ้างถึงของประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยใช้แนวคิดสนับสนุนที่ว่าไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งในประเทศไทยได้ นอกจากประเทศจะกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อยเท่านั้น เป็นลักษณะ“เฉพาะ” ของประเทศไทย
อภิสิทธิ์อาจจะไม่ได้ศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ในโรงเรียนอีตันหรือมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และอาจจะเป็นประโยชน์ที่จะย้ำเตือนนายอภิสิทธิ์ว่าประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต่อสู้กับกลุ่มกบฏบวรเดช ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และในสมัยนั้นการเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้มีขึ้นเพียงแค่วันเดียว เพราะระบบการเลือกตั้งสมัยนั้นเป็นระบบการเลือกตั้งโดยอ้อม โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะเลือกผู้แทนตำบล และผู้แทนตำบลเหล่านี้จะเป็นตัวแทนไปเลือกผู้แทนจังหวัด จากนั้นผู้แทนเหล่านั้นจะไปเลือกผู้แทนสภาราษฎรอีกที ดังนั้นการเลือกตั้งจึงกินเวลานานกว่าสองเดือน ซึ่งในระหว่างนั้นเองได้มีการก่อการกบฏโดยกลุ่มกบฏบวรเดชขึ้น ซึ่งกลุ่มกบฎดังกล่าวนำโดยคณะบุคคลระดับสูงในรัฐบาลเก่า
แม้การก่อการของกบฏบวรเดชจะล้มเหลวอย่างราบคราบ แต่การก่อการดังกล่าวเกือบจะล้มรัฐบาล และ ณ จุดหนึ่ง ในช่วงกลางเดือนตุลาคม กลุ่มกบฏเหล่านี้ได้ยึดสนามบินดอนเมืองซึ่งถือว่าเป็นภัยต่อกรุงเทพมหานครโดยตรง แต่หลวงพิบูลสงครามหนึ่งในคณะผู้นำรัฐบาลได้ต่อสู้กับกลุ่มกบฏโดยใช้ปืนใหญ่ ทำให้กลุ่มกบฏถ่อยร่นไปยังฐานที่มั่นในจังหวัดนครราชสีมา หลังจากการต่อสู้หลายอาทิตย์ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยราย และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงหลบหนีไปยังจังหวัดสงขลา
แม้กระทั่งพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำรัฐบาลในขณะนั้นยังรู้สึกหวาดกลัวต่อกลุ่มกบฏบวรเดช แต่ก็ไม่ได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการเลื่อนการจัดการเลือกตั้งทั่วไป แม้ว่าจะมีประชาชนมาเลือกตั้งไม่มาก แต่การเลือกตั้งก็เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จะจัดในช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามการเมืองก็ตาม และ80ปีหลังจากนั้น ประเทศไทยมีการจัดการเลือกตั้งในช่วงเวลาที่มีปัญหาและมีการแตกแยกในสังคมบ่อยครั้ง และในทุกครั้งประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมักจะแสดงถึงความมีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบมากกว่ากลุ่มผู้นำ
อย่างน้อยที่สุด นายอภิสิทธิ์ได้สร้างความอับอายให้กับตนเองด้วยข้ออ้างที่ล้าสมัยไร้สาระนี้ นายอภิิสิทธิ์อาจจะได้รับประโยชน์จากบทเรียนประวัติศาสตร์ไทยแบบเร่งรัดนี้บ้าง และในระหว่างนี้ อภิสิทธิ์อาจจะค้นพบว่าความเข้มแข็งของฝ่ายตรงข้ามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญประเทศไทยปี 2550 ได้บัญญัติไว้ว่ารัฐบาลสามารถดำรงหลังจากการเลือกตั้งได้เป็นเวลา 4ปี หรือนายอภิสิทธิ์จะระงับการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญและเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนในอีก 15เดือน หากเหตุการณ์มีทีท่าว่าจะไม่สงบสุขกระนั้นหรือ? หรือนี่คือไพ่ใบสุดท้ายของกลุ่มอำมาตย์ ที่พยายามสร้างความไร้เสถียรภาพของสังคม เพื่อเป็นข้ออ้างว่าการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้”?
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่อำนาจในปี 2551 อภิสิทธิ์ได้แสดงเจตจำนงครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเลือกตั้ง กว่าร้อยชีวิตต้องถูกสังเวยในเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมเพื่อที่จะยืดเวลาให้กับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ทั้งนี้อภิสิทธิ์ไม่มีทางที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากกองทัพ กระบวนการศาล และกลุ่มพันธมิตร
ในขณะนี้องค์กรเอกชนและสื่ออิสระได้เรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์แสดงพันธะในการสร้าง “ความสมานฉันท์” โดยจัดให้มีการเลือกตั้ง เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้อำนาจตัดสินเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานมานี้ แต่นายอภิสิทธิ์ได้บัญญัติข้ออ้างใหม่ลงในพจนานุกรมของตนเอง โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวย้ำในวันนี้ว่า “รัฐบาลจะไม่จัดการเลือกตั้งทั่วไปจนกว่าประเทศจะกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อย”
ตามมาตรฐานของประเทศประชาธิปไตยทั่วไป เมื่อปรากฏว่ามีประชาชนเป็นจำนวนสมเหตุสมผลเกลียดชังรัฐบาล ข้ออ้างที่จะไม่จัดการเลือกตั้งทั่วไปและปัดความรับผิดชอบไม่ใช้ข้ออ้างที่ดี ความสงบไม่ใช่เงื่อนไขล่วงหน้าที่ก่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ในทางกลับกัน ประชาธิปไตยคือเงื่อนไขล่วงหน้าของการทำให้เกิดความสงบ คำกล่าวของรัฐบาลนั้นไร้สาระขึ้นทุกวัน หากเราพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่า สาเหตุที่ประเทศไทยไม่มี “ความสงบสุขและความเป็นระเบียบเรียบร้อย” นั้นเป็นเพราะนายอภิสิทธิ์ยังคงปกครองประเทศด้วยตำแหน่งที่ได้มาด้วยความไม่ชอบธรรมต่างหาก และยังมีการดำเนินนโยบายที่กดขี่คุกคามประชาชนอย่างที่รัฐบาลพลเรือนไม่เคยกระทำมาก่อน และยิ่งกว่านั้นคือรัฐบาลนายอภิสิทธิ์อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์วางระเบิดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวในสังคม และหากเราตีความหมายคำพูดของอภิสิทธิ์ที่อ้างถึงของประเทศไทยโดยเฉพาะ โดยใช้แนวคิดสนับสนุนที่ว่าไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งในประเทศไทยได้ นอกจากประเทศจะกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อยเท่านั้น เป็นลักษณะ“เฉพาะ” ของประเทศไทย
อภิสิทธิ์อาจจะไม่ได้ศึกษาเรื่องราวเหล่านี้ในโรงเรียนอีตันหรือมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด และอาจจะเป็นประโยชน์ที่จะย้ำเตือนนายอภิสิทธิ์ว่าประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต่อสู้กับกลุ่มกบฏบวรเดช ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และในสมัยนั้นการเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้มีขึ้นเพียงแค่วันเดียว เพราะระบบการเลือกตั้งสมัยนั้นเป็นระบบการเลือกตั้งโดยอ้อม โดยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะเลือกผู้แทนตำบล และผู้แทนตำบลเหล่านี้จะเป็นตัวแทนไปเลือกผู้แทนจังหวัด จากนั้นผู้แทนเหล่านั้นจะไปเลือกผู้แทนสภาราษฎรอีกที ดังนั้นการเลือกตั้งจึงกินเวลานานกว่าสองเดือน ซึ่งในระหว่างนั้นเองได้มีการก่อการกบฏโดยกลุ่มกบฏบวรเดชขึ้น ซึ่งกลุ่มกบฎดังกล่าวนำโดยคณะบุคคลระดับสูงในรัฐบาลเก่า
แม้การก่อการของกบฏบวรเดชจะล้มเหลวอย่างราบคราบ แต่การก่อการดังกล่าวเกือบจะล้มรัฐบาล และ ณ จุดหนึ่ง ในช่วงกลางเดือนตุลาคม กลุ่มกบฏเหล่านี้ได้ยึดสนามบินดอนเมืองซึ่งถือว่าเป็นภัยต่อกรุงเทพมหานครโดยตรง แต่หลวงพิบูลสงครามหนึ่งในคณะผู้นำรัฐบาลได้ต่อสู้กับกลุ่มกบฏโดยใช้ปืนใหญ่ ทำให้กลุ่มกบฏถ่อยร่นไปยังฐานที่มั่นในจังหวัดนครราชสีมา หลังจากการต่อสู้หลายอาทิตย์ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยราย และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงหลบหนีไปยังจังหวัดสงขลา
แม้กระทั่งพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำรัฐบาลในขณะนั้นยังรู้สึกหวาดกลัวต่อกลุ่มกบฏบวรเดช แต่ก็ไม่ได้ใช้ข้ออ้างดังกล่าวในการเลื่อนการจัดการเลือกตั้งทั่วไป แม้ว่าจะมีประชาชนมาเลือกตั้งไม่มาก แต่การเลือกตั้งก็เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จะจัดในช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามการเมืองก็ตาม และ80ปีหลังจากนั้น ประเทศไทยมีการจัดการเลือกตั้งในช่วงเวลาที่มีปัญหาและมีการแตกแยกในสังคมบ่อยครั้ง และในทุกครั้งประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมักจะแสดงถึงความมีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบมากกว่ากลุ่มผู้นำ
อย่างน้อยที่สุด นายอภิสิทธิ์ได้สร้างความอับอายให้กับตนเองด้วยข้ออ้างที่ล้าสมัยไร้สาระนี้ นายอภิิสิทธิ์อาจจะได้รับประโยชน์จากบทเรียนประวัติศาสตร์ไทยแบบเร่งรัดนี้บ้าง และในระหว่างนี้ อภิสิทธิ์อาจจะค้นพบว่าความเข้มแข็งของฝ่ายตรงข้ามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญประเทศไทยปี 2550 ได้บัญญัติไว้ว่ารัฐบาลสามารถดำรงหลังจากการเลือกตั้งได้เป็นเวลา 4ปี หรือนายอภิสิทธิ์จะระงับการใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญและเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนในอีก 15เดือน หากเหตุการณ์มีทีท่าว่าจะไม่สงบสุขกระนั้นหรือ? หรือนี่คือไพ่ใบสุดท้ายของกลุ่มอำมาตย์ ที่พยายามสร้างความไร้เสถียรภาพของสังคม เพื่อเป็นข้ออ้างว่าการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเป็นสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้”?
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
‘โง่’จนเป็นนิสัย!!
โกหกมดเท็จ ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง อย่างเป็นอาจิณ คนเขาก็จับกันได้??
ซัดโครม การเป็นนินจาเต่า มุดดิน ของ “ซูเปอร์วอลล์เปเปอร์” ศิริโชค โสภา เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”..เข้าพบ “วิคเตอร์ บูท” เป็นเรื่องส่วนตัว
นึกว่าคนไทยกินแกลบ....พูดแอ๊บแบ๊ว เช่นนี้คนจะเชื่อ หรือทูนหัว
“ศิริโชค” สายลูกลาวอพยพ กับ “นายกฯ อภิสิทธิ์” สายลูกเวียตนามอพยพ เป็นยิ่งกว่า “เงาติดตามตัว” .. “อภิสิทธิ์” ยืนหัวโด่เด่ ที่ไหน “ศิริโชค” ก็ยืน เป็นหัวหลักหัวตอ อยู่ที่นั่น..เห็นว่าความสัมพันธ์สูงสุดขีด เสียยิ่งกว่า “แตงโม” พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภรรยา วันๆ เจอหน้าไม่กี่นาที??
ยิ่งอ้างยิ่งเสียหาย....ควรรูดซิปปากเอาไว้?...ยิ่งแก้ตัวไป คะแนนยิ่งตกทุกที???
---------------------------------------------
มา ‘เทรนเดียวกัน’ ตลอด!!
ครั้น “ความจริง” แตกดังโพล๊ะ โดนเขาจับได้ไล่ทัน ก็ยัดความผิดให้กับ “ลูกน้อง” ได้อย่างสุดยอด??
ไม่เพียงแต่ “วอลล์เปเปอร์” ส.ส.ศิริโชค โสภา จะรับขี้เข้าไปเต็มกางเกง..เมื่อ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” และ “รองนายกฯสุเทพ เทือกสุบรรณ” ว่า การเดินแอ็คอาร์ตเข้าเรือนจำ พบ “วิคเตอร์ บูท” เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
พอมีอะไรเสียหาย...ลูกน้อง ส.ส.ปลายแถว ก็รับไป ก็แล้วกัน
เหมือนกันกับที่ “โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์” ส.ส.เทพไท เสนพงศ์ ด่าเสื้อแดงเป็นวรรคเป็นเวร..พอปูดพูดไม่เข้าตะแล๊บแก๊ป เกี่ยวกับ “เสื้อแดง” วางบอมม์เมืองหลวง..หัวหงอกหัวดำ หัวกะทิ ผู้เป็นคีย์แมนรัฐบาล ออกมาเฉ่ง เป็นการพูดในฐานะ “ส่วนตั๊ว...ส่วนตัว”!!
“ลูกพี่” มีพฤติการณ์ เช่นนี้....ลูกน้องยังภักดี?..ประเทศนี้ ยิ่งมีแต่ความน่ากลัว??
----------------------------------------------------
คิด ‘กิน ๒ เด้ง’!!
ปฏิบัติการณ์จับ “พ่อค้าแห่งความตาย” วิคเตอร์ บูท” ถ้า “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไม่คิดชุบมือเปิบ ประเทศไทย เราก็ไม่ต้องเจ๊ง???
เพราะการจับ “วิคเตอร์ บูท” เป็นไปตามหมายจับ ของ “ซีไอเอ” สหรัฐอเมริกา
จับเมื่อวันนั้น...ส่งตัวให้รัฐบาลมะริกัน ก็ไม่ต้องมีปัญหา
แต่ด้วยการคิดจะรับรางวัล ๒ ทาง..คือ คิดรับเงินรางวัล ซึ่งเป็นค่าหัว ของ “วิคเตอร์บูท”..และจะเอาหน้าเอาตัว ในการจับ “พ่อค้าแห่งความตาย” จึงแถลงข่าวเสียใหญ่โต..หารู้ไม่ “วิคเตอร์ บูท” เป็นหนึ่งในคนที่รู้ใจ ของ “วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน” เบอร์ใหญ่ แห่งรัสเซีย!!
หากส่ง “วิคเตอร์ บูท” ไปแต่ต้น...ไทยก็ไม่ต้องเสียคน?.. จนแต้มกันให้ยั้วเยี้ย???
----------------------------------------------
“ฮุน เซน” เจ้าเล่ห์??
“นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เดินไม่ทันเหลี่ยม วางนโยบายต่างประเทศ แบบตุปัดตุเป๋??
นึกว่ามีชัยชัยะ โหระทึก ต่อกรณี ที่ “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ถอนตัว ออกจากการเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจให้กับเขมร
เรานี้ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” น่าจะเจียม..เพราะเราเสียเหลี่ยมเค้า เท่าที่มองเห็น
การ “ถอดสลัก” ตัดปลั๊พการเมือง ไม่ให้ปัญหา ของ “อดีตนายกฯ ทักษิณ” มาเป็นชวนระหว่าง ๒ ประเทศต่อไป...หากไทยยังโยกโย้ ขัดขวาง เรื่อง “ปราสาทเขาพระวิหาร” เราจะเป็นศัตรูของคนทั่วโลก???
“อภิสิทธิ์” เลิกดีใจ....ที่ “ฮุน เซน” ทำลงไป?..เค้ามีชัย เหนือท่านทุกยก???
---------------------------------------------------
‘วอลล์เปเปอร์’ ชักไม่คลัง!!
ภาพหลังฉาก ที่มี “ส.ส.ศิริโชค โสภา” เป็นแบล็คกราวน์ นับวัน มีแต่คน ชิงชัง??
คนที่มาอยู่ “ข้างหลังภาพ” เป็นไม้ประดับ ให้กับ “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คนใหม่ ดูสดใสไม่เบา....
“ส.ส.อรรถพร พลบุตร”...ผู้เป็นนักพูด นักประท้วงมือจอมเก๋าส์
เขา..ชื่อเล่นว่า “เจี๊ยบ” เป็น ส.ส.สัดส่วนแห่งพรรคประชาธิปัตย์...มีผู้ชายนักปั้นมือขั้นเทพ ชื่อ “บิ๊กจ้อน” อลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เป็นผู้ปลุกปั่น ให้มีบทบาท ก้าวขึ้นมาแทน “วอลล์เปเปอร์” รุ่นเสื่อมคุณภาพ อย่าง “ศิริโชค โสภา” อยู่ในขณะนี้!!!
“อรรถพล” มาแรง....ใกล้ที่จะแซง?...แย่งตำแหน่ง “วอลล์เปเปอร์” ไปทุกที???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
ซัดโครม การเป็นนินจาเต่า มุดดิน ของ “ซูเปอร์วอลล์เปเปอร์” ศิริโชค โสภา เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”..เข้าพบ “วิคเตอร์ บูท” เป็นเรื่องส่วนตัว
นึกว่าคนไทยกินแกลบ....พูดแอ๊บแบ๊ว เช่นนี้คนจะเชื่อ หรือทูนหัว
“ศิริโชค” สายลูกลาวอพยพ กับ “นายกฯ อภิสิทธิ์” สายลูกเวียตนามอพยพ เป็นยิ่งกว่า “เงาติดตามตัว” .. “อภิสิทธิ์” ยืนหัวโด่เด่ ที่ไหน “ศิริโชค” ก็ยืน เป็นหัวหลักหัวตอ อยู่ที่นั่น..เห็นว่าความสัมพันธ์สูงสุดขีด เสียยิ่งกว่า “แตงโม” พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภรรยา วันๆ เจอหน้าไม่กี่นาที??
ยิ่งอ้างยิ่งเสียหาย....ควรรูดซิปปากเอาไว้?...ยิ่งแก้ตัวไป คะแนนยิ่งตกทุกที???
---------------------------------------------
มา ‘เทรนเดียวกัน’ ตลอด!!
ครั้น “ความจริง” แตกดังโพล๊ะ โดนเขาจับได้ไล่ทัน ก็ยัดความผิดให้กับ “ลูกน้อง” ได้อย่างสุดยอด??
ไม่เพียงแต่ “วอลล์เปเปอร์” ส.ส.ศิริโชค โสภา จะรับขี้เข้าไปเต็มกางเกง..เมื่อ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” และ “รองนายกฯสุเทพ เทือกสุบรรณ” ว่า การเดินแอ็คอาร์ตเข้าเรือนจำ พบ “วิคเตอร์ บูท” เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับรัฐบาล
พอมีอะไรเสียหาย...ลูกน้อง ส.ส.ปลายแถว ก็รับไป ก็แล้วกัน
เหมือนกันกับที่ “โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์” ส.ส.เทพไท เสนพงศ์ ด่าเสื้อแดงเป็นวรรคเป็นเวร..พอปูดพูดไม่เข้าตะแล๊บแก๊ป เกี่ยวกับ “เสื้อแดง” วางบอมม์เมืองหลวง..หัวหงอกหัวดำ หัวกะทิ ผู้เป็นคีย์แมนรัฐบาล ออกมาเฉ่ง เป็นการพูดในฐานะ “ส่วนตั๊ว...ส่วนตัว”!!
“ลูกพี่” มีพฤติการณ์ เช่นนี้....ลูกน้องยังภักดี?..ประเทศนี้ ยิ่งมีแต่ความน่ากลัว??
----------------------------------------------------
คิด ‘กิน ๒ เด้ง’!!
ปฏิบัติการณ์จับ “พ่อค้าแห่งความตาย” วิคเตอร์ บูท” ถ้า “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ไม่คิดชุบมือเปิบ ประเทศไทย เราก็ไม่ต้องเจ๊ง???
เพราะการจับ “วิคเตอร์ บูท” เป็นไปตามหมายจับ ของ “ซีไอเอ” สหรัฐอเมริกา
จับเมื่อวันนั้น...ส่งตัวให้รัฐบาลมะริกัน ก็ไม่ต้องมีปัญหา
แต่ด้วยการคิดจะรับรางวัล ๒ ทาง..คือ คิดรับเงินรางวัล ซึ่งเป็นค่าหัว ของ “วิคเตอร์บูท”..และจะเอาหน้าเอาตัว ในการจับ “พ่อค้าแห่งความตาย” จึงแถลงข่าวเสียใหญ่โต..หารู้ไม่ “วิคเตอร์ บูท” เป็นหนึ่งในคนที่รู้ใจ ของ “วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน” เบอร์ใหญ่ แห่งรัสเซีย!!
หากส่ง “วิคเตอร์ บูท” ไปแต่ต้น...ไทยก็ไม่ต้องเสียคน?.. จนแต้มกันให้ยั้วเยี้ย???
----------------------------------------------
“ฮุน เซน” เจ้าเล่ห์??
“นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เดินไม่ทันเหลี่ยม วางนโยบายต่างประเทศ แบบตุปัดตุเป๋??
นึกว่ามีชัยชัยะ โหระทึก ต่อกรณี ที่ “อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ถอนตัว ออกจากการเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจให้กับเขมร
เรานี้ “รัฐบาลอภิสิทธิ์” น่าจะเจียม..เพราะเราเสียเหลี่ยมเค้า เท่าที่มองเห็น
การ “ถอดสลัก” ตัดปลั๊พการเมือง ไม่ให้ปัญหา ของ “อดีตนายกฯ ทักษิณ” มาเป็นชวนระหว่าง ๒ ประเทศต่อไป...หากไทยยังโยกโย้ ขัดขวาง เรื่อง “ปราสาทเขาพระวิหาร” เราจะเป็นศัตรูของคนทั่วโลก???
“อภิสิทธิ์” เลิกดีใจ....ที่ “ฮุน เซน” ทำลงไป?..เค้ามีชัย เหนือท่านทุกยก???
---------------------------------------------------
‘วอลล์เปเปอร์’ ชักไม่คลัง!!
ภาพหลังฉาก ที่มี “ส.ส.ศิริโชค โสภา” เป็นแบล็คกราวน์ นับวัน มีแต่คน ชิงชัง??
คนที่มาอยู่ “ข้างหลังภาพ” เป็นไม้ประดับ ให้กับ “นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” คนใหม่ ดูสดใสไม่เบา....
“ส.ส.อรรถพร พลบุตร”...ผู้เป็นนักพูด นักประท้วงมือจอมเก๋าส์
เขา..ชื่อเล่นว่า “เจี๊ยบ” เป็น ส.ส.สัดส่วนแห่งพรรคประชาธิปัตย์...มีผู้ชายนักปั้นมือขั้นเทพ ชื่อ “บิ๊กจ้อน” อลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ เป็นผู้ปลุกปั่น ให้มีบทบาท ก้าวขึ้นมาแทน “วอลล์เปเปอร์” รุ่นเสื่อมคุณภาพ อย่าง “ศิริโชค โสภา” อยู่ในขณะนี้!!!
“อรรถพล” มาแรง....ใกล้ที่จะแซง?...แย่งตำแหน่ง “วอลล์เปเปอร์” ไปทุกที???
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อยการบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
กี่มาตรฐาน
โดย หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน
กรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพวกรวม 79 คน รับทราบข้อกล่าวหาบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองกับพนักงานสอบสวน ซึ่งถูกดำเนินคดีทั้งหมด 12 ข้อหา โดยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดคือก่อการร้ายและซ่องโจร แต่ทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะทำหนังสือชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรส่งมาให้พนักงานสอบสวนภายใน 30 วัน จากนั้นทั้งหมดก็เดินทางกลับโดยไม่ต้องยื่นประกันตัว เนื่องจากพนักงานสอบสวนอ้างเข้าพบตามหมายเรียก แต่นายสนธิและพวกก็ประกาศจะฟ้องกลับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ดูแลคดีนี้จนถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม กรณีการปล่อยตัวพันธมิตรฯทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทันทีว่าเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐานหรือไม่ เพราะกรณีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ซึ่งถูกกล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้ายและเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวนเช่นกัน กลับไม่ได้รับการประกันตัวและถูกคุมขังจนถึงทุกวันนี้
ที่สำคัญแม้แต่การชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” 91 ศพ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับผิดชอบจนขณะนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ แต่กลับนำไปให้อัยการประกอบสำนวนส่งศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนและอัยการสูงสุดก็สั่งฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามวิธีพิจารณาความอาญานั้น ก็มีคำถามเช่นกันว่าเป็นการให้ความเป็นธรรมหรือไม่
ยิ่งย้อนกลับไปถึงการยึดสนามบินสุวรรณภูมิของพันธมิตรฯ นับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ระบุว่า สร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าทำให้มีผู้โดยสารนานาชาติ 700,000 คนต้องได้รับผลกระทบและสร้างความเสียหายมากถึง 200,000 ล้านบาท จากการท่องเที่ยว ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ
ขณะที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยระบุว่า ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถเดินทางเข้าออกจากสนามบินสุวรรณภูมิได้ 110,000 คนต่อวัน เที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกไม่สามารถขึ้นลงได้ 700 เที่ยวต่อวัน
ที่สำคัญ กว่าที่กลุ่มพันธมิตรฯจะเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกก็ใช้เวลายาวนานถึงกว่า 600 วัน แถมยังได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องยื่นประกันใดๆอีก
ดังนั้น เมื่อพิจารณาคดีของพันธมิตรฯกับคดีของแกนนำ นปช. หากนำคดีมาเปรียบเทียบกันโดยให้นักกฎหมายหรือผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายใช้ดุลยพินิจว่า การดำเนินการของพนักงานสอบสวน ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ดีเอสไอ หรือกระบวนการยุติธรรมต่างๆที่ผ่านมา มีความยุติธรรมและเสมอภาคแตกต่างกันอย่างไร คนทั้งแผ่นดินก็รู้ดีว่ากระบวนการยุติธรรมวันนี้มีกี่มาตรฐาน
**********************************************************************
กรณีนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพวกรวม 79 คน รับทราบข้อกล่าวหาบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองกับพนักงานสอบสวน ซึ่งถูกดำเนินคดีทั้งหมด 12 ข้อหา โดยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดคือก่อการร้ายและซ่องโจร แต่ทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะทำหนังสือชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรส่งมาให้พนักงานสอบสวนภายใน 30 วัน จากนั้นทั้งหมดก็เดินทางกลับโดยไม่ต้องยื่นประกันตัว เนื่องจากพนักงานสอบสวนอ้างเข้าพบตามหมายเรียก แต่นายสนธิและพวกก็ประกาศจะฟ้องกลับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ดูแลคดีนี้จนถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม กรณีการปล่อยตัวพันธมิตรฯทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทันทีว่าเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐานหรือไม่ เพราะกรณีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน ซึ่งถูกกล่าวหาเป็นผู้ก่อการร้ายและเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวนเช่นกัน กลับไม่ได้รับการประกันตัวและถูกคุมขังจนถึงทุกวันนี้
ที่สำคัญแม้แต่การชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต” 91 ศพ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับผิดชอบจนขณะนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ แต่กลับนำไปให้อัยการประกอบสำนวนส่งศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนและอัยการสูงสุดก็สั่งฟ้องโดยไม่ปฏิบัติตามวิธีพิจารณาความอาญานั้น ก็มีคำถามเช่นกันว่าเป็นการให้ความเป็นธรรมหรือไม่
ยิ่งย้อนกลับไปถึงการยึดสนามบินสุวรรณภูมิของพันธมิตรฯ นับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2551 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ระบุว่า สร้างความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าทำให้มีผู้โดยสารนานาชาติ 700,000 คนต้องได้รับผลกระทบและสร้างความเสียหายมากถึง 200,000 ล้านบาท จากการท่องเที่ยว ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ
ขณะที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยระบุว่า ทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถเดินทางเข้าออกจากสนามบินสุวรรณภูมิได้ 110,000 คนต่อวัน เที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกไม่สามารถขึ้นลงได้ 700 เที่ยวต่อวัน
ที่สำคัญ กว่าที่กลุ่มพันธมิตรฯจะเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกก็ใช้เวลายาวนานถึงกว่า 600 วัน แถมยังได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องยื่นประกันใดๆอีก
ดังนั้น เมื่อพิจารณาคดีของพันธมิตรฯกับคดีของแกนนำ นปช. หากนำคดีมาเปรียบเทียบกันโดยให้นักกฎหมายหรือผู้ที่ไม่ใช่นักกฎหมายใช้ดุลยพินิจว่า การดำเนินการของพนักงานสอบสวน ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ดีเอสไอ หรือกระบวนการยุติธรรมต่างๆที่ผ่านมา มีความยุติธรรมและเสมอภาคแตกต่างกันอย่างไร คนทั้งแผ่นดินก็รู้ดีว่ากระบวนการยุติธรรมวันนี้มีกี่มาตรฐาน
**********************************************************************
"ดร.นันทวัฒน์"วิพากษ์รัฐบาลผสมกับการปรองดองแบบขี้ขลาด! ฟันธงไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อประเทศชาติ
ที่มา.มติชนออนไลน์
ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แสดงความเห็นทางวิชาการ ผ่านบทบรรณาธิการ ในเว็บไซต์ www.pub-law.net วันที่ 30 สิงหาคม 2553 มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ นำความเห็นทางวิชาการ มานำเสนอดังนี้
ในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปก็จะถึง “วาระสำคัญ” ที่ทุกคนรอคอยคำตอบคือ พรรคการเมืองพรรคใดจะเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากเกินครึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อทราบคำตอบดังกล่าวก็คงพอมองเห็นว่า ใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเพราะโดยธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นอยู่นั้น หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็จะต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อะไรจะเกิดขึ้นหากไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดได้เสียงข้างมากเกินครึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่เข้าใจกันว่า พรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดอาจตัดสินใจจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยหรืออาจจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากโดยไป “ชักชวน” พรรคการเมืองอื่นให้มาเข้าร่วมกับตนเองจัดตั้ง “รัฐบาลผสม” ขึ้นมาก็ได้
โดยทั่วไปแล้ว วิธีการแรกจะเป็นวิธีการที่ “มีความเสี่ยง” มากกว่าวิธีการหลัง เพราะรัฐบาลเสียงข้างน้อยเป็นรูปแบบของรัฐบาลที่มักจะมีอายุสั้น เมื่อไรก็ตามที่ต้องมีการใช้ “เสียง” ของสภาผู้แทนราษฎรก็หมายความว่าอายุขัยของรัฐบาลเสียงข้างน้อยก็มักจะสิ้นสุดลงไปด้วยครับ
ว่าด้วย "รัฐบาลผสม ไทย-เทศ "
ส่วนรัฐบาลผสมนั้นเกิดขึ้นจากการที่พรรคการเมืองหนึ่งไม่มีโอกาสได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเพียงพอที่จะจัดตั้ง “รัฐบาลพรรคเดียว” ได้ โดยมารยาท พรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรก็จะไปชักชวนพรรคการเมืองอื่นให้เข้ามาร่วมกับตนเพื่อให้มีเสียงข้างมากเกินกว่าครึ่งในสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการนี้ พรรคการเมืองผู้ชักชวนก็จะเป็น “แกนนำ” ในการจัดตั้งรัฐบาล
ในต่างประเทศ รัฐบาลผสมไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ เพราะอย่างน้อยการที่พรรคการเมืองพรรคหนึ่งจะไปร่วมกับพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งได้ก็ต้องมีแนวความคิดและนโยบายทางการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่แตกต่างกันมากนักและสามารถร่วมงานกันได้โดยไม่กระทบต่อนโยบายหลักของพรรคการเมืองที่เข้าร่วม เพราะหากพรรคการเมืองต่าง ๆ มีแนวความคิดแตกต่างกัน แม้จะสามารถรวมกันเข้าเป็นรัฐบาลได้แต่คงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ตามนโยบายของพรรคการเมืองของตนได้ ดังนั้น การเข้าร่วมกันของพรรคการเมืองต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับ “นโยบาย” ของพรรคการเมืองเหล่านั้นที่ต้องมีความสอดคล้องใกล้เคียงกัน
70 กว่าปีของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยให้ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของรัฐบาลในบ้านเราครบทุกรูปแบบ เราเคยมีรัฐบาลที่เกิดจากพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวมาแล้ว เราเคยมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยมาแล้ว แต่ทั้งสองรูปแบบก็เกิดขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับรัฐบาลส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการรวบรวมพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งเป็น “รัฐบาลผสม”
“แบ่งผลประโยชน์” ลงตัว หรือไม่
ในประเทศไทย การเกิดขึ้นของรัฐบาลผสมดูจะเป็นเรื่องปกติเสียแล้วสำหรับ “คอการเมือง” เพราะแทบจะเรียกได้ว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีพรรคการเมืองพรรคใดมีเสียงมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ดังนั้น เมื่อผ่านวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรดาสื่อมวลชนจึงสนใจที่จะไปทำข่าวตามบ้านของหัวหน้าพรรคการเมืองขนาดกลางกันมากกว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ เพราะพรรคการเมืองขนาดกลางจะเป็น “ตัวชี้” ว่า พรรคการเมืองขนาดใหญ่พรรคใดจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
รัฐบาลผสมในประเทศไทยเกิดขึ้นมาภายใต้บริบทที่แตกต่างไปจากรัฐบาลผสมในต่างประเทศดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ด้วยเหตุที่บรรดาพรรคการเมืองของไทยแทบจะทุกพรรคการเมืองต่างก็มี “นโยบาย” ที่เรียกได้ว่า “ใกล้เคียงกัน” และก็มีนโยบายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ “สามารถเข้าร่วมกับใครก็ได้” การเกิดขึ้นของรัฐบาลผสมในประเทศไทยจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของพรรคการเมืองเป็นสำคัญ แต่จะไปขึ้นอยู่กับเรื่องอื่น ๆ
เช่น ตำแหน่งในรัฐบาล กระทรวงที่จะรับผิดชอบ และแม้กระทั่งผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับตามมาจากการเข้าร่วมรัฐบาล หากการตกลงร่วมกันได้ข้อยุติที่ดี รัฐบาลก็เกิดขึ้นได้ ส่วนจะมีความมั่นคงเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับ “ผู้บริหารจัดการ” รัฐบาลว่าจะสามารถ “แบ่งผลประโยชน์” ต่าง ๆ ให้กับบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลได้อย่างลงตัวหรือไม่
รัฐบาลผสมอยู่ได้เท่าที่การแบ่งผลประโยชน์ลงตัวและไม่มีความขัดแย้งกัน โดยผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้รับบทบาทหนักที่สุดและเหนื่อยที่สุดและต้องเป็นนักประสานประโยชน์ที่ดีเพราะต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการไม่ว่าจะเป็นการแก่งแย่งตำแหน่ง การต่อรองต่าง ๆ ซึ่งก็จะนำมาสู่ความขัดแย้งในรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีส่วนมากก็จะต้อง “ยอม” เพราะถ้าไม่ยอมรัฐบาลก็ถึงจุดจบได้อย่างง่าย ๆ ครับ
พรรคร่วมทุจริต สุกงอม แล้วก็รัฐประหาร
และนอกจากนี้ จุดจบของรัฐบาลอาจมาถึงได้ง่ายอีกเช่นกันดังที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในบ้านเรา นั่นก็คือการทุจริตคอร์รัปชันของพรรคร่วมรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจทำอะไรได้เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อสถานภาพของรัฐบาล ในที่สุดเมื่อเหตุการณ์สุกงอม การรัฐประหารจึงเกิดขึ้นตามมาครับ
เมื่ออายุของรัฐบาลผสมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่ “ไม่แน่นอน” พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลจึงมักจะรีบเร่งที่จะ “สร้างงาน” ให้กับพรรคการเมืองของตนเอง ทำทุกอย่างโดยมีสมมติฐานว่าหากรัฐบาลต้องจบสิ้นลง พรรคการเมืองของตนก็จะยังคงมี “ปัจจัย” เพียงพอที่จะกลับมาได้อีก
รัฐบาลผสมจึงเป็นสิ่งที่ “ไม่แน่นอน” สำหรับระบบการเมืองของไทยเพราะเท่าที่ผ่านมาและที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เนือง ๆ การต่อรองต่าง ๆ ของพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้แสดงให้เห็นเลยว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง แต่ในทางกลับกัน ภาพที่ปรากฏออกมากลับเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัวหรือผลประโยชน์ของพรรคการเมืองของตนเสียมากกว่า
ด้านมืดของรัฐบาลผสมแบบไทยๆ
เช่น การต่อรองกันเรื่องตำแหน่งด้วยการส่งภรรยาหรือน้องสาวไปเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากตัวเองถูกตัดสิทธิทางการเมือง การรวบรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มของตัวเองเพื่อเอาจำนวนเสียงไปใช้ต่อรองให้ตัวเองได้เป็นรัฐมนตรี
หรือแม้กระทั่งการที่พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อวางฐานอำนาจทางการเมืองให้กับพรรคการเมืองของตัวเอง รวมไปถึงการจัดให้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อสะสม “ปัจจัย” เอาไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยครั้งภายใต้บรรยากาศของการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลของรัฐบาลผสมในที่สุด
ที่กล่าวไปทั้งหมดข้างต้นนั้นไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลผสมไม่ดีแล้วรัฐบาลพรรคเดียวจะเป็นรูปแบบของรัฐบาลที่ดีกว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคเดียวก็ไม่ได้มีความแตกต่างไปจากรัฐบาลผสมเท่าไรนักในเรื่อง “ผลประโยชน์” เพราะแม้รัฐบาลจะประกอบด้วยพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว แต่หัวหน้าพรรคการเมืองก็สามารถทำให้พรรคการเมืองของตนถึงจุดจบไปได้เช่นกันเพราะหากการดำเนินการต่าง ๆ ของหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นไปในลักษณะ “ทุบโต๊ะ” ที่ลูกพรรคต้องยอมหรือไม่ก็หลับหูหลับตายอม การตรวจสอบการใช้อำนาจต่าง ๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ วันหนึ่งพรรคการเมืองดังกล่าวก็ต้องถึงจุดจบไปเช่นกันดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ต้องการทำให้ระบบพรรคการเมืองแข็งแกร่ง ผลที่เกิดขึ้นทำให้มีพรรคการเมืองมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
ข้อหา “เผด็จการทางรัฐสภา”?
แต่ต่อมารัฐบาลถึงจุดจบเพราะใช้อำนาจมากเกินไปและตรวจสอบไม่ได้ แต่เหตุดังกล่าวคงไม่ใช่เหตุเดียวที่ทำให้พรรคการเมืองดังกล่าวถึงจุดจบเพราะยังมีเหตุอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย เช่น มีพรรคการเมืองบางพรรค “อิจฉา” ที่เลือกตั้งมาไม่รู้กี่หนไม่เคยได้เสียงข้างมากเสียที เลยงัดเอาข้อหา “เผด็จการทางรัฐสภา” มาใช้จนกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในเวลาต่อมา เป็นต้น
ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่มีรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียวมาตลอดซึ่งแตกต่างไปจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปที่มีแต่รัฐบาลผสม แต่อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปจะมีรัฐบาลผสมแต่รัฐบาลผสมของเขาก็ไม่ได้สร้างปัญหาและอุปสรรคให้กับการบริหารประเทศมากเช่นในบ้านเราเพราะเมื่อพรรคการเมืองต่าง ๆ ตัดสินใจเข้าร่วมงานกันแล้วก็จะต้องทำการบริหารประเทศให้ได้
ส่วนรัฐบาลผสมของอังกฤษในปัจจุบันนั้นเท่าที่ทราบข่าว พรรคการเมืองขนาดเล็กที่เข้าร่วมรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นเรื่องใหญ่ แต่กลับทำการต่อรองให้รัฐบาลเอานโยบายของพรรคการเมืองของตนไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล ผมมีโอกาสได้อ่านบทวิเคราะห์วิจารณ์การจัดตั้งรัฐบาลผสมของอังกฤษในปัจจุบันจากหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ก็ได้พบสาระที่เกี่ยวกับ “ข้อดีของรัฐบาลผสม” ในต่างประเทศที่มีอยู่บ้าง
ดังเช่นในการพิจารณากฎหมายสำคัญ ๆ ที่เสนอโดยรัฐบาลพรรคเดียวนั้น แม้กฎหมายจะสามารถผ่านการพิจารณาของสภาออกไปได้ง่ายแต่ผลก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะกว่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจหรือยอมรับก็ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าหากเป็นกฎหมายที่เสนอโดยรัฐบาลผสม พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีฐานเสียงของประชาชนหลากหลายก็จะมีส่วนที่ทำให้ประชาชนที่เป็นฐานเสียงของตนเข้าใจในกฎหมายนั้นได้กว้างกว่าและมากกว่า ส่วนรูปแบบของรัฐบาลผสมเองก็มีข้อดีอยู่ในตัวเพราะสามารถนำเอาตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาอยู่ร่วมกันได้ เช่นพรรคเขียวหรือพรรคสังคมนิยม เป็นต้น เมื่อพรรคการเมืองเหล่านี้มารวมกันและทำงานร่วมกัน ความขัดแย้งในสังคมก็จะลดน้อยลงไปด้วย
กลับมาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในวันนี้กันบ้าง แน่นอนครับว่า ภาพของ “รัฐบาลผสม” ชุดปัจจุบันไม่ได้ให้ความมั่นใจ (อย่างน้อยก็กับผม) ว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหนและจะทำอะไรให้กับประเทศไทยได้บ้าง คงไม่ต้องพูดถึง “ที่มา” และ “กระบวนการจัดตั้ง” รัฐบาลชุดนี้
รัฐบาลผสมอยู่นานแค่ไหนขึ้นกับ2 ปัจจัย
แต่ผมอยากจะดูว่า รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันจะทนอยู่ได้นานขนาดไหน การทนอยู่ได้นานขนาดไหนนั้นคงขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการด้วยกันคือ ปัจจัยที่เกิดจากภายในรัฐบาลและปัจจัยที่เกิดจากภายนอกรัฐบาล ปัจจัยทั้งสองนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาหลายสิบครั้งแล้วในอดีตที่ผ่านมาครับ
ปัจจัยภายในที่จะทำให้รัฐบาลผสมอยู่หรือไปคงได้แก่ “ความปรองดอง” ของพรรคร่วมรัฐบาลครับ ที่ผ่านมาเราคงได้เห็นภาพของการปรองดองอยู่บ้าง เช่นโครงการต่าง ๆ หลายโครงการรวมทั้งการเช่ารถเมล์ 4,000 คันด้วยราคาที่แพงกว่าซื้อของพรรคร่วมรัฐบาลที่แม้พรรคแกนนำจะ “วิตก” อยู่บ้างแต่ก็ไม่กล้า “ยกเลิก” ที่ทำได้ก็คือพยายาม “ถ่วงเวลา” เอาไว้เพื่อให้รัฐบาลอยู่ต่อไปได้ ดังนั้น ปัจจัยภายในที่สำคัญที่จะทำให้รัฐบาลอยู่หรือไปก็คงอยู่ที่การ “ยอม” ซึ่งกันและกันมากกว่าครับ เมื่อไรพรรคการเมืองหนึ่งไม่ยอมอีกพรรคการเมืองหนึ่ง รัฐบาลก็แตก แค่นั้นเองครับ
แต่อย่างไรก็ตาม สภาพการเมืองในบ้านเราวันนี้คงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการยอมกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ปัจจุบันเราพบว่าภายในพรรคการเมืองมีการแบ่งเป็นกลุ่ม เป็นก๊วน เป็นแก๊ง กันเต็มไปหมด บรรดากลุ่ม ก๊วนหรือแก๊งเหล่านี้พร้อมที่จะลุกขึ้นมามีปากมีเสียงกับพรรคของตัวเองและพรรคร่วมรัฐบาลอื่นหาก “ผลประโยชน์” ของกลุ่ม ก๊วนหรือแก๊งของตัวเองได้รับผลกระทบ คลื่นใต้น้ำภายในพรรคการเมืองจึงเกิดขึ้นและมากขึ้น ๆ ทุกทีครับ
ดังนั้น ความมั่นคงของรัฐบาลผสมจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับประโยชน์ของพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับประโยชน์ของกลุ่ม ก๊วน หรือแก๊งทางการเมืองที่อยู่ภายในพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งในพรรคการเมืองของตนเองด้วยครับ
คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคือ นักปรองดอง
เห็นด้วยกับผมไหมครับว่า นายกรัฐมนตรี หากจะอยู่ในตำแหน่งได้นาน ๆ จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีข้อหนึ่งคือ เป็นนักปรองดองที่ดีครับ !!!
ส่วนปัจจัยภายนอกที่จะทำให้รัฐบาลผสมอยู่หรือไปนั้น จากการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของไทยพบว่า การปฏิวัติรัฐประหารเกือบทุกครั้งมักมีการหยิบยกเรื่องที่นักการเมืองทุจริตคอร์รัปชันและใช้อำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรมมาเป็น “ข้ออ้าง” ในการปฏิวัติรัฐประหาร
นั่นหมายความว่า “ทหาร” กับ “การเมือง” ต้องมีข้อขัดแย้งกันด้วยนะครับ !!! แต่ถ้าหากพิจารณาดูจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็จะพบว่าเมื่อใดก็ตามที่ “ทหาร” กับ “การเมือง” ไปได้ด้วยดีด้วยกัน การปฏิวัติรัฐประหารก็ไม่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นจึงมาถึงโจทย์ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะไม่ให้ทหารลุกขึ้นมาปฏิวัติรัฐประหารรัฐบาลผสมที่ “อ่อนแอ” แล้วก็ “ไม่สามารถบริหารประเทศ” ได้อย่างดีเท่าที่ควรครับ !!!
เป็นที่ปรากฏชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลที่มีความสัมพันธ์อันดีกับทหาร เริ่มตั้งแต่การ “จัดตั้ง” การ “ให้ความสำคัญ” กับทหารในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การ “ยอม” อยู่ในความคุ้มครองของทหาร ฯลฯ เพราะฉะนั้น ทหารกับรัฐบาลชุดปัจจุบันจึงน่าจะ “ไปด้วยกันได้” ด้วยดี
งบประมาณทางทหารที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
นอกจากความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว เมื่อผมมองดูงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2554 จำนวน 2.07 ล้านล้านบาทก็จะพบว่า ในปีนี้ งบประมาณของกระทรวงกลาโหม(ซึ่งบรรดาสื่อต่าง ๆ กล่าวว่ารัฐบาลอัดฉีดงบประมาณจำนวนกว่าร้อยละ 8 ของยอดงบประมาณของประเทศโดยรวมให้กับทหาร) เป็นงบประมาณทางทหารที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาและมากกว่าในยุคของการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำไป
ลองมาดูตัวอย่างบางกรณีกันเล่น ๆ ว่าทหารจะซื้ออะไรกันบ้างนะครับ ปืน 15,000 กระบอก ใช้งบประมาณ 1,500 ล้านบาท รถถัง 60 คันใช้งบประมาณ 7,2000 ล้านบาท เฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ ใช้งบประมาณ 1,600 ล้านบาท รถวีโก้กันกระสุน 300 คัน ใช้งบประมาณ 700 ล้านบาท รถหุ้มเกราะล้อยาง 121 คัน ใช้งบประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นต้น
งบประมาณจำนวนมากมายมหาศาลนี้ อย่างน้อยก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ในเมื่อรัฐบาล “ดูแล” ทหารเป็นอย่างดี ทหารก็น่าจะ “ดูแล” รัฐบาลเป็นอย่างดีด้วยเช่นกันครับ เพราะฉะนั้น ปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่ “คว่ำ” รัฐบาลมาแล้วหลายรัฐบาล จึงไม่น่าที่จะเป็น “ปัจจัยเสี่ยง” ของรัฐบาลชุดนี้ตราบใดที่ “ทหาร” กับ “รัฐบาล” ยังไปด้วยกันได้อย่างดี
รัฐบาลผสมกับการปรองดองแบบขี้ขลาด!
จากปัจจัยทั้งสองประการข้างต้น รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันจะอยู่หรือไปคง (น่าจะ) ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญเพียงปัจจัยเดียวคือ ปัจจัยภายใน ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ทุกพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลและทุกกลุ่ม ก๊วน หรือแก๊งที่อยู่ภายในพรรคการเมืองต้อง “รีบเร่ง” ทำทุกอย่างอย่างรวดเร็ว
เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้ หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็จะมีการกระทำต่าง ๆ ที่เป็น “ปฏิปักษ์” ตามมาไม่ว่าจะเป็นความไม่ร่วมมือในการบริหารประเทศ การไม่เข้าร่วมพิจารณาร่างกฎหมาย การไม่ออกเสียงหรือออกเสียงสวนทางกับรัฐบาลและก็แน่นอนที่สุดที่จะต้องมีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันตามมาอีกด้วย
วันหนึ่ง หากมีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดถอนตัวออกจากรัฐบาลหรือหากนายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็จะถึงจุดจบของรัฐบาลผสมครับ แต่ถ้าพรรคร่วมรัฐบาล “ปรองดอง” กันได้ รัฐบาลผสมชุดนี้ก็คงอยู่ครบวาระได้ไม่ยากครับ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลผสมจะ “อยู่ได้” แต่ก็ยังมีสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคิดก็คือ ประเทศชาติและประชาชนจะ “อยู่ได้” อย่างดีด้วยหรือไม่เพราะการปรองดองภายในพรรคร่วมรัฐบาลอาจเป็นผลดีกับพรรคการเมือง แต่ในทางกลับกัน ผลกระทบก็อาจเกิดขึ้นกับประเทศชาติและประชาชนด้วยเพราะโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนแต่พรรคร่วมรัฐบาลไม่สามารถ “ปรองดอง” กันได้ก็อาจถูก “เก็บ” เอาไว้ในลิ้นชัก
เช่นเดียวกับข้อมูลที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันของพรรคร่วมรัฐบาลก็ถูก “เก็บ” เอาไว้ในลิ้นชักเช่นกัน ปรองดองอย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นการ “ปรองดองแบบขี้ขลาด” เพราะเป็นการปรองดองเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ปรองดองเพื่อให้ตัวเองและพรรคการเมืองของตนและพรรคการเมืองที่อยู่ร่วมกับตน “ได้” ในสิ่งที่ “ต้องการ” เป็นการปรองดองเพื่อประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน เป็นการปรองดองที่ไม่ได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ไม่กล้า “หักหาญ”
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า “ไม่ถูกต้อง” เพราะหาก “หักหาญ” เมื่อใด รัฐบาลก็จะถึงจุดจบทันทีครับ การปรองดองแบบขี้ขลาดจึงเป็นการปรองดองที่ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อประเทศชาติและประชาชนเลยครับ !!!
---------------------------------------------------------------------------
ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แสดงความเห็นทางวิชาการ ผ่านบทบรรณาธิการ ในเว็บไซต์ www.pub-law.net วันที่ 30 สิงหาคม 2553 มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ นำความเห็นทางวิชาการ มานำเสนอดังนี้
ในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปก็จะถึง “วาระสำคัญ” ที่ทุกคนรอคอยคำตอบคือ พรรคการเมืองพรรคใดจะเป็นพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากเกินครึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อทราบคำตอบดังกล่าวก็คงพอมองเห็นว่า ใครจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเพราะโดยธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็นอยู่นั้น หัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรก็จะต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
อะไรจะเกิดขึ้นหากไม่มีพรรคการเมืองพรรคใดได้เสียงข้างมากเกินครึ่งหนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่เข้าใจกันว่า พรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดอาจตัดสินใจจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยหรืออาจจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากโดยไป “ชักชวน” พรรคการเมืองอื่นให้มาเข้าร่วมกับตนเองจัดตั้ง “รัฐบาลผสม” ขึ้นมาก็ได้
โดยทั่วไปแล้ว วิธีการแรกจะเป็นวิธีการที่ “มีความเสี่ยง” มากกว่าวิธีการหลัง เพราะรัฐบาลเสียงข้างน้อยเป็นรูปแบบของรัฐบาลที่มักจะมีอายุสั้น เมื่อไรก็ตามที่ต้องมีการใช้ “เสียง” ของสภาผู้แทนราษฎรก็หมายความว่าอายุขัยของรัฐบาลเสียงข้างน้อยก็มักจะสิ้นสุดลงไปด้วยครับ
ว่าด้วย "รัฐบาลผสม ไทย-เทศ "
ส่วนรัฐบาลผสมนั้นเกิดขึ้นจากการที่พรรคการเมืองหนึ่งไม่มีโอกาสได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรเพียงพอที่จะจัดตั้ง “รัฐบาลพรรคเดียว” ได้ โดยมารยาท พรรคการเมืองที่มีเสียงมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรก็จะไปชักชวนพรรคการเมืองอื่นให้เข้ามาร่วมกับตนเพื่อให้มีเสียงข้างมากเกินกว่าครึ่งในสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการนี้ พรรคการเมืองผู้ชักชวนก็จะเป็น “แกนนำ” ในการจัดตั้งรัฐบาล
ในต่างประเทศ รัฐบาลผสมไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ เพราะอย่างน้อยการที่พรรคการเมืองพรรคหนึ่งจะไปร่วมกับพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งได้ก็ต้องมีแนวความคิดและนโยบายทางการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ไม่แตกต่างกันมากนักและสามารถร่วมงานกันได้โดยไม่กระทบต่อนโยบายหลักของพรรคการเมืองที่เข้าร่วม เพราะหากพรรคการเมืองต่าง ๆ มีแนวความคิดแตกต่างกัน แม้จะสามารถรวมกันเข้าเป็นรัฐบาลได้แต่คงไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ตามนโยบายของพรรคการเมืองของตนได้ ดังนั้น การเข้าร่วมกันของพรรคการเมืองต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับ “นโยบาย” ของพรรคการเมืองเหล่านั้นที่ต้องมีความสอดคล้องใกล้เคียงกัน
70 กว่าปีของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยให้ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของรัฐบาลในบ้านเราครบทุกรูปแบบ เราเคยมีรัฐบาลที่เกิดจากพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวมาแล้ว เราเคยมีรัฐบาลเสียงข้างน้อยมาแล้ว แต่ทั้งสองรูปแบบก็เกิดขึ้นไม่มากเมื่อเทียบกับรัฐบาลส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการรวบรวมพรรคการเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อจัดตั้งเป็น “รัฐบาลผสม”
“แบ่งผลประโยชน์” ลงตัว หรือไม่
ในประเทศไทย การเกิดขึ้นของรัฐบาลผสมดูจะเป็นเรื่องปกติเสียแล้วสำหรับ “คอการเมือง” เพราะแทบจะเรียกได้ว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีพรรคการเมืองพรรคใดมีเสียงมากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ดังนั้น เมื่อผ่านวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรดาสื่อมวลชนจึงสนใจที่จะไปทำข่าวตามบ้านของหัวหน้าพรรคการเมืองขนาดกลางกันมากกว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่ เพราะพรรคการเมืองขนาดกลางจะเป็น “ตัวชี้” ว่า พรรคการเมืองขนาดใหญ่พรรคใดจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
รัฐบาลผสมในประเทศไทยเกิดขึ้นมาภายใต้บริบทที่แตกต่างไปจากรัฐบาลผสมในต่างประเทศดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ด้วยเหตุที่บรรดาพรรคการเมืองของไทยแทบจะทุกพรรคการเมืองต่างก็มี “นโยบาย” ที่เรียกได้ว่า “ใกล้เคียงกัน” และก็มีนโยบายที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ “สามารถเข้าร่วมกับใครก็ได้” การเกิดขึ้นของรัฐบาลผสมในประเทศไทยจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของพรรคการเมืองเป็นสำคัญ แต่จะไปขึ้นอยู่กับเรื่องอื่น ๆ
เช่น ตำแหน่งในรัฐบาล กระทรวงที่จะรับผิดชอบ และแม้กระทั่งผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับตามมาจากการเข้าร่วมรัฐบาล หากการตกลงร่วมกันได้ข้อยุติที่ดี รัฐบาลก็เกิดขึ้นได้ ส่วนจะมีความมั่นคงเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับ “ผู้บริหารจัดการ” รัฐบาลว่าจะสามารถ “แบ่งผลประโยชน์” ต่าง ๆ ให้กับบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลได้อย่างลงตัวหรือไม่
รัฐบาลผสมอยู่ได้เท่าที่การแบ่งผลประโยชน์ลงตัวและไม่มีความขัดแย้งกัน โดยผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นผู้รับบทบาทหนักที่สุดและเหนื่อยที่สุดและต้องเป็นนักประสานประโยชน์ที่ดีเพราะต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการไม่ว่าจะเป็นการแก่งแย่งตำแหน่ง การต่อรองต่าง ๆ ซึ่งก็จะนำมาสู่ความขัดแย้งในรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีส่วนมากก็จะต้อง “ยอม” เพราะถ้าไม่ยอมรัฐบาลก็ถึงจุดจบได้อย่างง่าย ๆ ครับ
พรรคร่วมทุจริต สุกงอม แล้วก็รัฐประหาร
และนอกจากนี้ จุดจบของรัฐบาลอาจมาถึงได้ง่ายอีกเช่นกันดังที่ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในบ้านเรา นั่นก็คือการทุจริตคอร์รัปชันของพรรคร่วมรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจทำอะไรได้เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อสถานภาพของรัฐบาล ในที่สุดเมื่อเหตุการณ์สุกงอม การรัฐประหารจึงเกิดขึ้นตามมาครับ
เมื่ออายุของรัฐบาลผสมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่ “ไม่แน่นอน” พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลจึงมักจะรีบเร่งที่จะ “สร้างงาน” ให้กับพรรคการเมืองของตนเอง ทำทุกอย่างโดยมีสมมติฐานว่าหากรัฐบาลต้องจบสิ้นลง พรรคการเมืองของตนก็จะยังคงมี “ปัจจัย” เพียงพอที่จะกลับมาได้อีก
รัฐบาลผสมจึงเป็นสิ่งที่ “ไม่แน่นอน” สำหรับระบบการเมืองของไทยเพราะเท่าที่ผ่านมาและที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่เนือง ๆ การต่อรองต่าง ๆ ของพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้แสดงให้เห็นเลยว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง แต่ในทางกลับกัน ภาพที่ปรากฏออกมากลับเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัวหรือผลประโยชน์ของพรรคการเมืองของตนเสียมากกว่า
ด้านมืดของรัฐบาลผสมแบบไทยๆ
เช่น การต่อรองกันเรื่องตำแหน่งด้วยการส่งภรรยาหรือน้องสาวไปเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากตัวเองถูกตัดสิทธิทางการเมือง การรวบรวมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มของตัวเองเพื่อเอาจำนวนเสียงไปใช้ต่อรองให้ตัวเองได้เป็นรัฐมนตรี
หรือแม้กระทั่งการที่พรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อวางฐานอำนาจทางการเมืองให้กับพรรคการเมืองของตัวเอง รวมไปถึงการจัดให้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อสะสม “ปัจจัย” เอาไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยครั้งภายใต้บรรยากาศของการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลของรัฐบาลผสมในที่สุด
ที่กล่าวไปทั้งหมดข้างต้นนั้นไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลผสมไม่ดีแล้วรัฐบาลพรรคเดียวจะเป็นรูปแบบของรัฐบาลที่ดีกว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลพรรคเดียวก็ไม่ได้มีความแตกต่างไปจากรัฐบาลผสมเท่าไรนักในเรื่อง “ผลประโยชน์” เพราะแม้รัฐบาลจะประกอบด้วยพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว แต่หัวหน้าพรรคการเมืองก็สามารถทำให้พรรคการเมืองของตนถึงจุดจบไปได้เช่นกันเพราะหากการดำเนินการต่าง ๆ ของหัวหน้าพรรคการเมืองเป็นไปในลักษณะ “ทุบโต๊ะ” ที่ลูกพรรคต้องยอมหรือไม่ก็หลับหูหลับตายอม การตรวจสอบการใช้อำนาจต่าง ๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ วันหนึ่งพรรคการเมืองดังกล่าวก็ต้องถึงจุดจบไปเช่นกันดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ต้องการทำให้ระบบพรรคการเมืองแข็งแกร่ง ผลที่เกิดขึ้นทำให้มีพรรคการเมืองมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
ข้อหา “เผด็จการทางรัฐสภา”?
แต่ต่อมารัฐบาลถึงจุดจบเพราะใช้อำนาจมากเกินไปและตรวจสอบไม่ได้ แต่เหตุดังกล่าวคงไม่ใช่เหตุเดียวที่ทำให้พรรคการเมืองดังกล่าวถึงจุดจบเพราะยังมีเหตุอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย เช่น มีพรรคการเมืองบางพรรค “อิจฉา” ที่เลือกตั้งมาไม่รู้กี่หนไม่เคยได้เสียงข้างมากเสียที เลยงัดเอาข้อหา “เผด็จการทางรัฐสภา” มาใช้จนกลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศในเวลาต่อมา เป็นต้น
ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่มีรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียวมาตลอดซึ่งแตกต่างไปจากประเทศอื่น ๆ ในยุโรปที่มีแต่รัฐบาลผสม แต่อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปจะมีรัฐบาลผสมแต่รัฐบาลผสมของเขาก็ไม่ได้สร้างปัญหาและอุปสรรคให้กับการบริหารประเทศมากเช่นในบ้านเราเพราะเมื่อพรรคการเมืองต่าง ๆ ตัดสินใจเข้าร่วมงานกันแล้วก็จะต้องทำการบริหารประเทศให้ได้
ส่วนรัฐบาลผสมของอังกฤษในปัจจุบันนั้นเท่าที่ทราบข่าว พรรคการเมืองขนาดเล็กที่เข้าร่วมรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นเรื่องใหญ่ แต่กลับทำการต่อรองให้รัฐบาลเอานโยบายของพรรคการเมืองของตนไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล ผมมีโอกาสได้อ่านบทวิเคราะห์วิจารณ์การจัดตั้งรัฐบาลผสมของอังกฤษในปัจจุบันจากหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ก็ได้พบสาระที่เกี่ยวกับ “ข้อดีของรัฐบาลผสม” ในต่างประเทศที่มีอยู่บ้าง
ดังเช่นในการพิจารณากฎหมายสำคัญ ๆ ที่เสนอโดยรัฐบาลพรรคเดียวนั้น แม้กฎหมายจะสามารถผ่านการพิจารณาของสภาออกไปได้ง่ายแต่ผลก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะกว่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจหรือยอมรับก็ต้องใช้เวลานาน แต่ถ้าหากเป็นกฎหมายที่เสนอโดยรัฐบาลผสม พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งมีฐานเสียงของประชาชนหลากหลายก็จะมีส่วนที่ทำให้ประชาชนที่เป็นฐานเสียงของตนเข้าใจในกฎหมายนั้นได้กว้างกว่าและมากกว่า ส่วนรูปแบบของรัฐบาลผสมเองก็มีข้อดีอยู่ในตัวเพราะสามารถนำเอาตัวแทนของกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาอยู่ร่วมกันได้ เช่นพรรคเขียวหรือพรรคสังคมนิยม เป็นต้น เมื่อพรรคการเมืองเหล่านี้มารวมกันและทำงานร่วมกัน ความขัดแย้งในสังคมก็จะลดน้อยลงไปด้วย
กลับมาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในวันนี้กันบ้าง แน่นอนครับว่า ภาพของ “รัฐบาลผสม” ชุดปัจจุบันไม่ได้ให้ความมั่นใจ (อย่างน้อยก็กับผม) ว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหนและจะทำอะไรให้กับประเทศไทยได้บ้าง คงไม่ต้องพูดถึง “ที่มา” และ “กระบวนการจัดตั้ง” รัฐบาลชุดนี้
รัฐบาลผสมอยู่นานแค่ไหนขึ้นกับ2 ปัจจัย
แต่ผมอยากจะดูว่า รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันจะทนอยู่ได้นานขนาดไหน การทนอยู่ได้นานขนาดไหนนั้นคงขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการด้วยกันคือ ปัจจัยที่เกิดจากภายในรัฐบาลและปัจจัยที่เกิดจากภายนอกรัฐบาล ปัจจัยทั้งสองนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เพราะเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาหลายสิบครั้งแล้วในอดีตที่ผ่านมาครับ
ปัจจัยภายในที่จะทำให้รัฐบาลผสมอยู่หรือไปคงได้แก่ “ความปรองดอง” ของพรรคร่วมรัฐบาลครับ ที่ผ่านมาเราคงได้เห็นภาพของการปรองดองอยู่บ้าง เช่นโครงการต่าง ๆ หลายโครงการรวมทั้งการเช่ารถเมล์ 4,000 คันด้วยราคาที่แพงกว่าซื้อของพรรคร่วมรัฐบาลที่แม้พรรคแกนนำจะ “วิตก” อยู่บ้างแต่ก็ไม่กล้า “ยกเลิก” ที่ทำได้ก็คือพยายาม “ถ่วงเวลา” เอาไว้เพื่อให้รัฐบาลอยู่ต่อไปได้ ดังนั้น ปัจจัยภายในที่สำคัญที่จะทำให้รัฐบาลอยู่หรือไปก็คงอยู่ที่การ “ยอม” ซึ่งกันและกันมากกว่าครับ เมื่อไรพรรคการเมืองหนึ่งไม่ยอมอีกพรรคการเมืองหนึ่ง รัฐบาลก็แตก แค่นั้นเองครับ
แต่อย่างไรก็ตาม สภาพการเมืองในบ้านเราวันนี้คงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการยอมกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ปัจจุบันเราพบว่าภายในพรรคการเมืองมีการแบ่งเป็นกลุ่ม เป็นก๊วน เป็นแก๊ง กันเต็มไปหมด บรรดากลุ่ม ก๊วนหรือแก๊งเหล่านี้พร้อมที่จะลุกขึ้นมามีปากมีเสียงกับพรรคของตัวเองและพรรคร่วมรัฐบาลอื่นหาก “ผลประโยชน์” ของกลุ่ม ก๊วนหรือแก๊งของตัวเองได้รับผลกระทบ คลื่นใต้น้ำภายในพรรคการเมืองจึงเกิดขึ้นและมากขึ้น ๆ ทุกทีครับ
ดังนั้น ความมั่นคงของรัฐบาลผสมจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับประโยชน์ของพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับประโยชน์ของกลุ่ม ก๊วน หรือแก๊งทางการเมืองที่อยู่ภายในพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งในพรรคการเมืองของตนเองด้วยครับ
คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคือ นักปรองดอง
เห็นด้วยกับผมไหมครับว่า นายกรัฐมนตรี หากจะอยู่ในตำแหน่งได้นาน ๆ จะต้องมีคุณสมบัติที่ดีข้อหนึ่งคือ เป็นนักปรองดองที่ดีครับ !!!
ส่วนปัจจัยภายนอกที่จะทำให้รัฐบาลผสมอยู่หรือไปนั้น จากการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของไทยพบว่า การปฏิวัติรัฐประหารเกือบทุกครั้งมักมีการหยิบยกเรื่องที่นักการเมืองทุจริตคอร์รัปชันและใช้อำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรมมาเป็น “ข้ออ้าง” ในการปฏิวัติรัฐประหาร
นั่นหมายความว่า “ทหาร” กับ “การเมือง” ต้องมีข้อขัดแย้งกันด้วยนะครับ !!! แต่ถ้าหากพิจารณาดูจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็จะพบว่าเมื่อใดก็ตามที่ “ทหาร” กับ “การเมือง” ไปได้ด้วยดีด้วยกัน การปฏิวัติรัฐประหารก็ไม่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นจึงมาถึงโจทย์ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะไม่ให้ทหารลุกขึ้นมาปฏิวัติรัฐประหารรัฐบาลผสมที่ “อ่อนแอ” แล้วก็ “ไม่สามารถบริหารประเทศ” ได้อย่างดีเท่าที่ควรครับ !!!
เป็นที่ปรากฏชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลที่มีความสัมพันธ์อันดีกับทหาร เริ่มตั้งแต่การ “จัดตั้ง” การ “ให้ความสำคัญ” กับทหารในการปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การ “ยอม” อยู่ในความคุ้มครองของทหาร ฯลฯ เพราะฉะนั้น ทหารกับรัฐบาลชุดปัจจุบันจึงน่าจะ “ไปด้วยกันได้” ด้วยดี
งบประมาณทางทหารที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
นอกจากความสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว เมื่อผมมองดูงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2554 จำนวน 2.07 ล้านล้านบาทก็จะพบว่า ในปีนี้ งบประมาณของกระทรวงกลาโหม(ซึ่งบรรดาสื่อต่าง ๆ กล่าวว่ารัฐบาลอัดฉีดงบประมาณจำนวนกว่าร้อยละ 8 ของยอดงบประมาณของประเทศโดยรวมให้กับทหาร) เป็นงบประมาณทางทหารที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาและมากกว่าในยุคของการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำไป
ลองมาดูตัวอย่างบางกรณีกันเล่น ๆ ว่าทหารจะซื้ออะไรกันบ้างนะครับ ปืน 15,000 กระบอก ใช้งบประมาณ 1,500 ล้านบาท รถถัง 60 คันใช้งบประมาณ 7,2000 ล้านบาท เฮลิคอปเตอร์ 8 ลำ ใช้งบประมาณ 1,600 ล้านบาท รถวีโก้กันกระสุน 300 คัน ใช้งบประมาณ 700 ล้านบาท รถหุ้มเกราะล้อยาง 121 คัน ใช้งบประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นต้น
งบประมาณจำนวนมากมายมหาศาลนี้ อย่างน้อยก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ในเมื่อรัฐบาล “ดูแล” ทหารเป็นอย่างดี ทหารก็น่าจะ “ดูแล” รัฐบาลเป็นอย่างดีด้วยเช่นกันครับ เพราะฉะนั้น ปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่ “คว่ำ” รัฐบาลมาแล้วหลายรัฐบาล จึงไม่น่าที่จะเป็น “ปัจจัยเสี่ยง” ของรัฐบาลชุดนี้ตราบใดที่ “ทหาร” กับ “รัฐบาล” ยังไปด้วยกันได้อย่างดี
รัฐบาลผสมกับการปรองดองแบบขี้ขลาด!
จากปัจจัยทั้งสองประการข้างต้น รัฐบาลผสมชุดปัจจุบันจะอยู่หรือไปคง (น่าจะ) ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญเพียงปัจจัยเดียวคือ ปัจจัยภายใน ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ทุกพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาลและทุกกลุ่ม ก๊วน หรือแก๊งที่อยู่ภายในพรรคการเมืองต้อง “รีบเร่ง” ทำทุกอย่างอย่างรวดเร็ว
เมื่อเหตุการณ์เป็นดังนี้ หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นก็จะมีการกระทำต่าง ๆ ที่เป็น “ปฏิปักษ์” ตามมาไม่ว่าจะเป็นความไม่ร่วมมือในการบริหารประเทศ การไม่เข้าร่วมพิจารณาร่างกฎหมาย การไม่ออกเสียงหรือออกเสียงสวนทางกับรัฐบาลและก็แน่นอนที่สุดที่จะต้องมีเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันตามมาอีกด้วย
วันหนึ่ง หากมีพรรคการเมืองพรรคหนึ่งพรรคใดถอนตัวออกจากรัฐบาลหรือหากนายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็จะถึงจุดจบของรัฐบาลผสมครับ แต่ถ้าพรรคร่วมรัฐบาล “ปรองดอง” กันได้ รัฐบาลผสมชุดนี้ก็คงอยู่ครบวาระได้ไม่ยากครับ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลผสมจะ “อยู่ได้” แต่ก็ยังมีสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ต้องคิดก็คือ ประเทศชาติและประชาชนจะ “อยู่ได้” อย่างดีด้วยหรือไม่เพราะการปรองดองภายในพรรคร่วมรัฐบาลอาจเป็นผลดีกับพรรคการเมือง แต่ในทางกลับกัน ผลกระทบก็อาจเกิดขึ้นกับประเทศชาติและประชาชนด้วยเพราะโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนแต่พรรคร่วมรัฐบาลไม่สามารถ “ปรองดอง” กันได้ก็อาจถูก “เก็บ” เอาไว้ในลิ้นชัก
เช่นเดียวกับข้อมูลที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันของพรรคร่วมรัฐบาลก็ถูก “เก็บ” เอาไว้ในลิ้นชักเช่นกัน ปรองดองอย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นการ “ปรองดองแบบขี้ขลาด” เพราะเป็นการปรองดองเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ปรองดองเพื่อให้ตัวเองและพรรคการเมืองของตนและพรรคการเมืองที่อยู่ร่วมกับตน “ได้” ในสิ่งที่ “ต้องการ” เป็นการปรองดองเพื่อประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน เป็นการปรองดองที่ไม่ได้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ไม่กล้า “หักหาญ”
ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า “ไม่ถูกต้อง” เพราะหาก “หักหาญ” เมื่อใด รัฐบาลก็จะถึงจุดจบทันทีครับ การปรองดองแบบขี้ขลาดจึงเป็นการปรองดองที่ไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อประเทศชาติและประชาชนเลยครับ !!!
---------------------------------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)