"กอร์ปศักดิ์" กล่อมบริษัทประกันยกสุดท้ายไร้ผล ลั่นให้กระทรวงยุติธรรมช่วยหนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากม็อบแดงฟ้องร้อง แถมช่วงคดีขึ้นศาล จะหาเงินกู้ให้เป็นทุนดำเนินการอีกก้อน เผยผู้ประกอบการ 45 ราย ทำประกันพันกรมธรรม์ มูลค่ากว่าสองแสนล้าน ส่วนใหญ่เป็นร้านในเซ็นทรัลเวิลด์-บิ๊กซี ด้านสมาคมประกันฯ ยันจ่ายไม่ได้ ยืนกฎมาตรฐานเดียว
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เปิดเผยว่า ได้เชิญผู้บริหารบริษัทประกันภัยจำนวน 15 บริษัท หารือถึงความชัดเจนในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม แต่บริษัทประกันภัยยังคงยืนยันว่าไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประกอบการที่ทำเฉพาะประกันอัคคีภัยและการจลาจล แต่ไม่ได้ทำประกันภัยการก่อการร้าย คณะกรรมการจึงจำเป็นต้องทำเรื่องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เข้าช่วยเหลือดูแลผู้ประกอบการในการฟ้องร้องคดีกับบริษัทประกันเป็นกรณีๆ
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนั้น ในระหว่างที่คดีอยู่ในช่วงฟ้องร้อง ซึ่งอาจใช้เวลา 4-5 ปี ก็จะเสนอให้ ครม.จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้แก่ผู้ประกอบการที่เสียหาย เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินงาน เมื่อผู้ชนะคดีแล้วก็จะได้นำเงินมาใช้คืน รวมทั้งจะต้องพิจารณาด้วยว่ากรณีประกอบการที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันจะทำอย่างไร โดยสัปดาห์หน้าจะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการเยียวยาพิจารณา จากนั้น ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ก็จะทำเรื่องเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง
"จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยากจะเตือนนักธุรกิจและผู้บริโภคเวลาทำประกันควรดูความคุ้มครองให้ดี" นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมีการทำประกันภัย 45 บริษัท จำนวน 1,005 กรมธรรม์ มูลค่าเงินเอาประกัน 190,822 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีผู้ที่ทำประกันภัยที่มีวงเงินเอาประกันต่ำกว่า 5 ล้านบาท 614 กรมธรรม์ มูลค่าเงินเอาประกัน 1,057.98 ล้านบาท หากแยกตามพื้นที่ความเสียหายพบว่าผู้ประกอบการที่ทำประกันภัยไว้มากที่สุด คือผู้ประกอบการในเซ็นทรัลเวิลด์ บิ๊กซี และศูนย์การค้าเซน จำนวน 536 กรมธรรม์ คิดเป็นมูลค่าเงินเอาประกัน 91,965 ล้านบาท
"อย่างไรก็ตาม มูลค่าเงินเอาประกันทั้งหมด 190,822 ล้านบาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะผู้ประกอบการบางรายเสียหายเล็กน้อยบางรายเสียหายมาก จึงต้องมีการประเมินความเสียหายที่ชัดเจนอีกครั้ง"
ส่วนกรณีให้กรมสิทธิและเสรีภาพเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนนั้น ทางกรมคุ้มครองสิทธิจะเข้าไปดูด้วยว่าสัญญาประกันภัยที่บริษัทประกันทำไว้กับลูกค้าเข้าข่ายสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากพบว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมก็จะต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อไป
นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า สมาคมในฐานะตัวแทนบริษัทประกัน ยืนยันไม่สามารถจ่ายสินไหมได้ เพราะการดำเนินการของบริษัทประกันต้องให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งหากรัฐบาลจะใช้ช่องทางศาลยุติธรรม และหากศาลชี้ขาดว่าต้องจ่าย บริษัทก็ไม่มีปัญหา ขึ้นกับดุลพินิจของศาล
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เสียงลอดลูกกรงคุกคลองเปรม คุยกับ นปช.-ผู้สมัคร ส.ส.และผู้ก่อการร้าย
รายงานพิเศษ
แกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ถูกควบคุมตัวมารวมกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเรือนจำกลางคลองเปรม
ทันทีที่เวลาเยี่ยมมาถึง แทบทุกวัน มีเหล่าสาวก-ญาติมิตร เข้าคิว-ลงชื่อและถูกตรวจค้นทรัพย์สิน เพื่อ "ขอเยี่ยม"
ก่อนที่ "ก่อแก้ว พิกุลทอง" จะได้ประกันตัวออกไป ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต 6 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ภรรยาและ "น้องมุก" บุตรสาววัย 10 เดือนของเขา ก็ไปเข้าคิว
ทั้งผู้ถูกคุมขังและผู้เข้าเยี่ยม ต้องสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ที่มีผนังกระจกและลูกกรงคั่นกลาง
ใบหน้าคนในห้องขัง ดูไม่กังวลเท่ากับญาติพี่น้องและคนข้างนอก ที่ยืนชะเง้อ รอคิวขอคุยโทรศัพท์กับแกนนำ
แกนนำ นปช. 6 คน ยืนเรียงแถวถือหูโทรศัพท์คนละเครื่อง ทั้ง "น.พ.เหวง โตจิราการ" "ขวัญชัย (สาราคำ) ไพรพนา" "วิภูแถลง พัฒนภูมิไท" "ก่อแก้ว พิกุลทอง" "ยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก" "อำนาจ อินทโชติ"...
"ก่อแก้ว" ยอมรับว่า ที่ตัวเองได้ เป็นผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย เพราะพิจารณาคุณสมบัติของ "ณัฐวุฒิ" และพบอุปสรรคบางประการ
"ทางพรรคเห็นว่าคุณสมบัติของณัฐวุฒิไม่ครบถ้วน จึงส่งผมลงสมัครรับเลือกตั้ง ผมก็มีความยินดีและพร้อมลงสมัครรับ เลือกตั้ง ส่วนการหาเสียงนั้น คงขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทย เพราะขณะนี้ยังอยู่ใน เรือนจำ..." ก่อแก้วพูดผ่านลูกกรง
ถัดไปเป็นเสียงจาก "หมอเหวง" เขาพูดว่า "ต้องขอขอบคุณทางเรือนจำที่ดูแลพวกเราด้วยความห่วงใยเรื่องความปลอดภัย เราได้รับความสะดวกตามสภาพ ส่วนการเลือกตั้งซ่อมนั้น เห็นว่ารัฐบาลควรเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อความแฟร์ในการหาเสียง สำหรับผลการเลือกตั้ง เชื่อว่าประชาชนจะให้ความไว้วางใจเลือกพรรคเพื่อไทย..."
ห่างจากเรือนจำคลองเปรมไม่ไกล เป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
ที่นั่นมีแกนนำระดับ "วีระ มุสิกพงศ์" "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" "นิสิต สินธุไพร" "พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง" "สมบัติ มากทอง" ถูกควบคุมอยู่รวมกัน
ผู้เข้าเยี่ยม มีภรรยาหมอเหวง "ธิดา ถาวรเศรษฐ์" ผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง 2 เรือนจำ เดินทางไป ๆ มา ๆ ทั้ง 2 แห่ง แทบทุกวัน
พร้อม ๆ กับภรรยาของณัฐวุฒิ เดินทางมาเยี่ยมเช่นเดียวกัน
เธอเล่าถึงลูกชายคนโต ที่พูดถึงพ่อระหว่างถูกคุมขังว่า "พ่อไปทำงาน..."
ทั้ง "ณัฐวุฒิ" และ "วีระ" ได้รับความสนใจจาก "แม่ยก" จำนวนมาก เดินทางมาให้กำลังใจ ทั้งส่วนที่สามารถเข้าไปยัง ห้องเยี่ยมได้ และอีกส่วนที่ไม่สามารถเข้าไปได้ด้วยเหตุผลการจำกัดจำนวนคนแต่ละรอบของวัน
จำนวนหนึ่งจึงได้แต่โบกไม้โบกมือ ให้เห็นหน้าเห็นตา ผ่านเหล็กดัดที่อยู่ด้านนอกอีกชั้น บางครั้งมีเสียงตะโกนพร้อมกันดัง ๆ เข้าไปถึงแกนนำข้างใน ด้วยคำว่า "สู้ ๆ" ผ่านกระจกและลูกกรง
ณัฐวุฒิบอกว่า "พี่มีคุณสมบัติไม่ครบ พรรคเพื่อไทย ส่งก่อแก้วลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ก็เหมาะสมแล้ว และคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นมากกว่าการเลือกตั้งซ่อมทั่วไป เพราะเป็นการแข่งขันกันของพรรคการ เมืองทั้ง 2 ฝ่าย..."
ส่วนสนามเลือกตั้งใหญ่ จะได้เปิดรับสมัคร "ณัฐวุฒิ" หรือไม่นั้น เขาบอกแต่เพียงว่า "พี่ถูกหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนะ..."
ถึงคิวได้คุยกับ "วีระ" เขาพูดถึงการที่พรรคเพื่อไทยเลือก 1 ในแกนนำ นปช. เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ว่า "ก็มีความยินดีและขอให้ช่วยกันหาเสียงให้มาก ๆ ส่วนผลการเลือกตั้งจะชนะหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ประชาชน..."
สิ้นสุดเวลาเยี่ยม ญาติ ๆ และกองเชียร์-แม่ยก-สาวกเสื้อแดง ทยอยเดินออกจากจุดเยี่ยม
ก่อนออกจากเรือนจำพิเศษ แวะสนทนากับ "ธิดา ฐาวรเศรษฐ์" ภรรยาหมอเหวง ในฐานะครูใหญ่โรงเรียน นปช.อีกครั้ง
เธอบอกว่า "ในเรื่องการเมืองขณะนี้ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ด้านหนึ่งเหมือนประเทศไทยป่วยเป็นโรค แต่ผู้คุมอำนาจรัฐ วินิจฉัยโรคผิด จะไม่สามารถรักษาโรคได้ เพราะท่านตั้งโจทย์ว่าประชาชนคนไทยโง่ ขายเสียงและถูกหลอกได้"
"พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุด มีจุดเริ่มต้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน แต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เขาจึงต้องไปสำรวจตัวเขา แล้วคำถามก็คือ มีผู้สนับสนุนเขา แต่มาถึงนาทีนี้ ประชาชนทั่วไป ประชาชนรากหญ้า เขาไม่สนับสนุนเขาในฐานะเป็นสถาบันพรรคการเมือง แม้ว่าเขาอาจจะมองว่าคุณชวน หลีกภัย เป็นคนดี คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นคนดี"
ทุกชีวิตสีแดง...ยังคงดำเนินไปในคุกคลองเปรม และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนกว่าจะได้รับอิสระ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
แกนนำ นปช. แดงทั้งแผ่นดิน ถูกควบคุมตัวมารวมกันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และเรือนจำกลางคลองเปรม
ทันทีที่เวลาเยี่ยมมาถึง แทบทุกวัน มีเหล่าสาวก-ญาติมิตร เข้าคิว-ลงชื่อและถูกตรวจค้นทรัพย์สิน เพื่อ "ขอเยี่ยม"
ก่อนที่ "ก่อแก้ว พิกุลทอง" จะได้ประกันตัวออกไป ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต 6 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ภรรยาและ "น้องมุก" บุตรสาววัย 10 เดือนของเขา ก็ไปเข้าคิว
ทั้งผู้ถูกคุมขังและผู้เข้าเยี่ยม ต้องสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ที่มีผนังกระจกและลูกกรงคั่นกลาง
ใบหน้าคนในห้องขัง ดูไม่กังวลเท่ากับญาติพี่น้องและคนข้างนอก ที่ยืนชะเง้อ รอคิวขอคุยโทรศัพท์กับแกนนำ
แกนนำ นปช. 6 คน ยืนเรียงแถวถือหูโทรศัพท์คนละเครื่อง ทั้ง "น.พ.เหวง โตจิราการ" "ขวัญชัย (สาราคำ) ไพรพนา" "วิภูแถลง พัฒนภูมิไท" "ก่อแก้ว พิกุลทอง" "ยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก" "อำนาจ อินทโชติ"...
"ก่อแก้ว" ยอมรับว่า ที่ตัวเองได้ เป็นผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย เพราะพิจารณาคุณสมบัติของ "ณัฐวุฒิ" และพบอุปสรรคบางประการ
"ทางพรรคเห็นว่าคุณสมบัติของณัฐวุฒิไม่ครบถ้วน จึงส่งผมลงสมัครรับเลือกตั้ง ผมก็มีความยินดีและพร้อมลงสมัครรับ เลือกตั้ง ส่วนการหาเสียงนั้น คงขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทย เพราะขณะนี้ยังอยู่ใน เรือนจำ..." ก่อแก้วพูดผ่านลูกกรง
ถัดไปเป็นเสียงจาก "หมอเหวง" เขาพูดว่า "ต้องขอขอบคุณทางเรือนจำที่ดูแลพวกเราด้วยความห่วงใยเรื่องความปลอดภัย เราได้รับความสะดวกตามสภาพ ส่วนการเลือกตั้งซ่อมนั้น เห็นว่ารัฐบาลควรเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อความแฟร์ในการหาเสียง สำหรับผลการเลือกตั้ง เชื่อว่าประชาชนจะให้ความไว้วางใจเลือกพรรคเพื่อไทย..."
ห่างจากเรือนจำคลองเปรมไม่ไกล เป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
ที่นั่นมีแกนนำระดับ "วีระ มุสิกพงศ์" "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" "นิสิต สินธุไพร" "พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง" "สมบัติ มากทอง" ถูกควบคุมอยู่รวมกัน
ผู้เข้าเยี่ยม มีภรรยาหมอเหวง "ธิดา ถาวรเศรษฐ์" ผู้ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง 2 เรือนจำ เดินทางไป ๆ มา ๆ ทั้ง 2 แห่ง แทบทุกวัน
พร้อม ๆ กับภรรยาของณัฐวุฒิ เดินทางมาเยี่ยมเช่นเดียวกัน
เธอเล่าถึงลูกชายคนโต ที่พูดถึงพ่อระหว่างถูกคุมขังว่า "พ่อไปทำงาน..."
ทั้ง "ณัฐวุฒิ" และ "วีระ" ได้รับความสนใจจาก "แม่ยก" จำนวนมาก เดินทางมาให้กำลังใจ ทั้งส่วนที่สามารถเข้าไปยัง ห้องเยี่ยมได้ และอีกส่วนที่ไม่สามารถเข้าไปได้ด้วยเหตุผลการจำกัดจำนวนคนแต่ละรอบของวัน
จำนวนหนึ่งจึงได้แต่โบกไม้โบกมือ ให้เห็นหน้าเห็นตา ผ่านเหล็กดัดที่อยู่ด้านนอกอีกชั้น บางครั้งมีเสียงตะโกนพร้อมกันดัง ๆ เข้าไปถึงแกนนำข้างใน ด้วยคำว่า "สู้ ๆ" ผ่านกระจกและลูกกรง
ณัฐวุฒิบอกว่า "พี่มีคุณสมบัติไม่ครบ พรรคเพื่อไทย ส่งก่อแก้วลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ก็เหมาะสมแล้ว และคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นมากกว่าการเลือกตั้งซ่อมทั่วไป เพราะเป็นการแข่งขันกันของพรรคการ เมืองทั้ง 2 ฝ่าย..."
ส่วนสนามเลือกตั้งใหญ่ จะได้เปิดรับสมัคร "ณัฐวุฒิ" หรือไม่นั้น เขาบอกแต่เพียงว่า "พี่ถูกหาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนะ..."
ถึงคิวได้คุยกับ "วีระ" เขาพูดถึงการที่พรรคเพื่อไทยเลือก 1 ในแกนนำ นปช. เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ว่า "ก็มีความยินดีและขอให้ช่วยกันหาเสียงให้มาก ๆ ส่วนผลการเลือกตั้งจะชนะหรือไม่นั้น ก็แล้วแต่ประชาชน..."
สิ้นสุดเวลาเยี่ยม ญาติ ๆ และกองเชียร์-แม่ยก-สาวกเสื้อแดง ทยอยเดินออกจากจุดเยี่ยม
ก่อนออกจากเรือนจำพิเศษ แวะสนทนากับ "ธิดา ฐาวรเศรษฐ์" ภรรยาหมอเหวง ในฐานะครูใหญ่โรงเรียน นปช.อีกครั้ง
เธอบอกว่า "ในเรื่องการเมืองขณะนี้ เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ด้านหนึ่งเหมือนประเทศไทยป่วยเป็นโรค แต่ผู้คุมอำนาจรัฐ วินิจฉัยโรคผิด จะไม่สามารถรักษาโรคได้ เพราะท่านตั้งโจทย์ว่าประชาชนคนไทยโง่ ขายเสียงและถูกหลอกได้"
"พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่เก่าแก่ที่สุด มีจุดเริ่มต้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่นาน แต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทนกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เขาจึงต้องไปสำรวจตัวเขา แล้วคำถามก็คือ มีผู้สนับสนุนเขา แต่มาถึงนาทีนี้ ประชาชนทั่วไป ประชาชนรากหญ้า เขาไม่สนับสนุนเขาในฐานะเป็นสถาบันพรรคการเมือง แม้ว่าเขาอาจจะมองว่าคุณชวน หลีกภัย เป็นคนดี คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นคนดี"
ทุกชีวิตสีแดง...ยังคงดำเนินไปในคุกคลองเปรม และเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนกว่าจะได้รับอิสระ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
ทักษิณ ประกาศปีนี้ได้กลับไทยแน่นอน
พ.ต.ท.ทักษิณ ได้วิดีโอลิงก์ในงานสัมมนาพรรคเพื่อไทย ยืนยันสุขภาพยังแข็งแรง ประกาศปีนี้ได้กลับประเทศไทยอย่างแน่นอน พร้อมแนะรัฐบาล หากอยากปรองดอง ควรหันหน้าเข้าคุยกัน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์เข้ามาในงานสัมมนาของพรรคเพื่อไทย โดยกล่าวว่า ยังมีชีวิตอยู่ มีสุขภาพแข็งแรง และจิตใจยังดีพร้อม
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า พร้อมพูดคุยกับทุกคน แต่กลับโดนกล่าวหาว่ากล่าวเท็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะที่ดีขึ้นแล้ว ความจริงจะปรากฏ และผู้ที่เป็นตัวจริงก็จะอยู่ได้ พร้อมแสดงความเป็นห่วงส.ส.ที่ลงพื้นที่ รวมถึงกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นศัตรูของประเทศ
พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุอีกว่า จะอดทนเป็นหลัก พร้อมยืนยันว่า จะได้กลับประเทศไทยภายในปีนี้อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปชี้แจงนานาชาติว่า นายนพดลเพียงเดินทางไปชี้แจงให้ต่างประเทศเข้าใจในเรื่องที่ตนถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย พร้อมกล่าวแนะรัฐบาลว่า หากรัฐบาลต้องการปรองดองจริง ก็เพียงแค่หยิบยื่นประชาธิปไตยให้ประชาชน เมื่อหันหน้าเข้ากัน และคุยกัน บ้านเมืองก็จะมีความสุข
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวให้ข้อคิดกับส.ส.ของพรรคว่า คนเป็นนักการเมืองต้องพร้อมด้วยอุดมการณ์เพื่อประชาธิปไตยและจะต้องนำความผาสุขมาสู่ประชาชน
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้วิดีโอลิงก์เข้ามาในงานสัมมนาของพรรคเพื่อไทย โดยกล่าวว่า ยังมีชีวิตอยู่ มีสุขภาพแข็งแรง และจิตใจยังดีพร้อม
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวด้วยว่า พร้อมพูดคุยกับทุกคน แต่กลับโดนกล่าวหาว่ากล่าวเท็จ อย่างไรก็ตาม เมื่อบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะที่ดีขึ้นแล้ว ความจริงจะปรากฏ และผู้ที่เป็นตัวจริงก็จะอยู่ได้ พร้อมแสดงความเป็นห่วงส.ส.ที่ลงพื้นที่ รวมถึงกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นศัตรูของประเทศ
พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุอีกว่า จะอดทนเป็นหลัก พร้อมยืนยันว่า จะได้กลับประเทศไทยภายในปีนี้อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันยังกล่าวถึงกรณีที่นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปชี้แจงนานาชาติว่า นายนพดลเพียงเดินทางไปชี้แจงให้ต่างประเทศเข้าใจในเรื่องที่ตนถูกตั้งข้อหาก่อการร้าย พร้อมกล่าวแนะรัฐบาลว่า หากรัฐบาลต้องการปรองดองจริง ก็เพียงแค่หยิบยื่นประชาธิปไตยให้ประชาชน เมื่อหันหน้าเข้ากัน และคุยกัน บ้านเมืองก็จะมีความสุข
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวให้ข้อคิดกับส.ส.ของพรรคว่า คนเป็นนักการเมืองต้องพร้อมด้วยอุดมการณ์เพื่อประชาธิปไตยและจะต้องนำความผาสุขมาสู่ประชาชน
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
'ฆ่า มาร์ค-ฆ่าผู้นำ'!!
'ฆ่า มาร์ค-ฆ่าผู้นำ'!!
ช่างอีลุ่ยฉุยแฉก ออก “ข่าวแปลกแปลก” ...อย่างไม่สมควร ที่จะทำ??
เพราะต้องการคงไว้ ซึ่ง “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” กฎหมายเผด็จการ กดหัวค้ำกบาล “คนเสื้อแดง นปช.ทั้ง
แผ่นดิน” ไม่ให้ขยายแพร่พันธุ์ เป็นปฏิปักษ์กับ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน”
จากการ “ปล่อยข่าวแง่ร้าย”....ประเทศไทยเพิ่ม ความปี้ป่น
ต่างชาติ ที่จะรีเทิร์นเดินกลับมาลงทุนกันใหม่...หันหลังแจวกลับ หนีแผ่นดินไทย ดินแดนอันตราย ที่มี
แต่การ “ปั้นน้ำเป็นตัว” ว่าจะลอบสังหาร “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นรายวัน!!!
“อภิสิทธิ์” ได้ความชอบธรรมต่อ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”...แต่ชาติยับเยิน?..เกินไปแล้วนะทั่น??
****************************
เขียนเสือให้วัวกลัว!!!
“ศอฉ.” ทำหน้าที่กรอกหู เป่าหู ได้สม่ำเสมอ เหมือนเดิมขอรับทูนหัว???
นี่,ลูกน้องหน้าหวาน “เสธ.ไก่อู” พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. และขบวนการ ยังสร้างมหากาพย์เอาโทษความผิดกับ “คนเสื้อแดง” ไม่เลิก เสียที
โพนทะนาเสียงดังเปรี้ยง...มีการเตรียม “ท่อน้ำเลี้ยง” ๔ แสนล้าน เพื่อโค่นรัฐบาลนี้
แต่ดูกันแล้ว “ขบวนการเสื้อแดง” ไม่มีการกระดิกพลิกตัว ปฏิบัติการลงใต้ดิน ทำอะไรทั้งสิ้น?...มีแต่คนหัวใจสีแดง อย่าง “อ้วน บัวใหญ่” แดงโคราช บอดี้การ์ด “แรมโบ้อีสาน” ถูกยิงดับ..และ “พันจ่าอากาศเอก” มือคุ้มครอง “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” แดงปทุมธานี ถูกดับชีพ ร่วงทีละคน
“เสื้อแดง” อยู่ใต้กฎหมาย....ท่อน้ำเลี้ยง ๔ แสนล้านมีที่ไหน?...เลิกสร้างเรื่องเหลวไหล สร้างความสับสน??
*******************************
เป็น 'ด่านหน้า' ที่หนุน 'รัฐบาลมาร์ค'!!
“เครือสหพัฒน์” เดี๋ยวนี้ พากันร้องจ๊าก???
เพราะนับแต่ “นายกฯ มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระชับพื้นที่ และ ยึดพื้นที่คืน โดยมี หมู่มวลขบวนการคนเสื้อแดงตายเป็นเบือ..ปรากฏว่า “ต่างชาติ” โบกมือบ๊าย..บาย ซาโยนาระ ไทยเป็นแถว
เอกชน “เครือสหพัฒน์”....พากันเจ๊งสะบัด จึงออกมาร้องตะแง้ว
โดย “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานเครือสหพัฒน์ กู่ก้องร้องปากจะฉีก ให้รัฐบาลรีบดึงต่างชาติกลับ ...เพราะนับวันเอกชน แจ้งบัญชีเจ๊ง กันมากขึ้นทุกที!!!
ก็สมน้ำหน้า...เพราะชอบหนุนรัฐบาลไม่มีน้ำยา?....จึงต้องประสบชะตากรรม เช่นนี้???
*****************************
๖ วัน ๖๓ ล้านความคิด!!
โครงการ สวยเริด ประเสริฐจ้า..ในการระดมสมอง สร้างความ “ปรองดองแก่ชาติ”...โดยเกิดจากไอเดีย มันสมอง ของ “นายกฯ อภิสิทธิ์”???
แทนที่ “ท่านมาร์ค” จะได้รับไอเดียกิ๊บเก๋ไก๋...จากโทรศัพท์ ที่ ลดตัวลงมารับสายด้วยตัวเอง..กลายเป็นว่า มีประชาชนโทรมา “ด่าสายไหม้” จนสายหลุด
เพราะเขารู้นี่คือการ “สร้างภาพ”...จึงโทรมาด่ากันยับ เพื่อให้รัฐบาลหยุด
หากจริงใจ ไม่มีรายการ จิงโจ้กันแล้ว...ไม่ควรชักแถว เอาคนเลือกสี อย่าง “อานันท์ ปันยารชุน” และ “หมอประเวศ วะสี” มายกเครื่องปฏิรูปประเทศไทย เช่นนี้!!!!
ชอบเล่นบทแหกตา.... “อภิสิทธิ์”โผล่หน้าออกมา?...จึงโดนด่า ไม่มีชิ้นดี??
********************
ขี่ช้างจับตั๊กแตน!!!
สิ้นเปลือง ไร้ประโยชน์ กับการไล่ล่า “อดีต นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ด้วยเพลิงแค้น??
หยุดเสียดีกว่า ที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”, “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และ “กษิต ภิรมย์” รมว.ต่างประเทศ ทุ่มงบประมาณแผ่นดิน ตามจับตัว “ทักษิณ”
งบประมาณที่ทุ่ม..ไม่คุ้มกับความสุรุ่ยสุร่าย มีแต่ผลาญงบประมาณแผ่นดิน
เพราะต่างชาติรู้ดีว่า “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ใช่ตัวร้าย ที่ทำร้ายประเทศไทย..แต่กลุ่มที่คุมอำนาจประเทศไทยไว้ในมือขณะนี้ ..ทำให้ “ไทยแตกเป็นเสี่ยง” เขาต่างรู้ดี!!!
อย่าใช้เงินด้วยความเพี้ยน...เอาเงินไปสร้างถนนสร้างโรงเรียน!....คนจะได้ไม่สะอิดสะเอียน น่ะสิ????
************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อย“การบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
ช่างอีลุ่ยฉุยแฉก ออก “ข่าวแปลกแปลก” ...อย่างไม่สมควร ที่จะทำ??
เพราะต้องการคงไว้ ซึ่ง “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” กฎหมายเผด็จการ กดหัวค้ำกบาล “คนเสื้อแดง นปช.ทั้ง
แผ่นดิน” ไม่ให้ขยายแพร่พันธุ์ เป็นปฏิปักษ์กับ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ชน”
จากการ “ปล่อยข่าวแง่ร้าย”....ประเทศไทยเพิ่ม ความปี้ป่น
ต่างชาติ ที่จะรีเทิร์นเดินกลับมาลงทุนกันใหม่...หันหลังแจวกลับ หนีแผ่นดินไทย ดินแดนอันตราย ที่มี
แต่การ “ปั้นน้ำเป็นตัว” ว่าจะลอบสังหาร “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เป็นรายวัน!!!
“อภิสิทธิ์” ได้ความชอบธรรมต่อ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน”...แต่ชาติยับเยิน?..เกินไปแล้วนะทั่น??
****************************
เขียนเสือให้วัวกลัว!!!
“ศอฉ.” ทำหน้าที่กรอกหู เป่าหู ได้สม่ำเสมอ เหมือนเดิมขอรับทูนหัว???
นี่,ลูกน้องหน้าหวาน “เสธ.ไก่อู” พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. และขบวนการ ยังสร้างมหากาพย์เอาโทษความผิดกับ “คนเสื้อแดง” ไม่เลิก เสียที
โพนทะนาเสียงดังเปรี้ยง...มีการเตรียม “ท่อน้ำเลี้ยง” ๔ แสนล้าน เพื่อโค่นรัฐบาลนี้
แต่ดูกันแล้ว “ขบวนการเสื้อแดง” ไม่มีการกระดิกพลิกตัว ปฏิบัติการลงใต้ดิน ทำอะไรทั้งสิ้น?...มีแต่คนหัวใจสีแดง อย่าง “อ้วน บัวใหญ่” แดงโคราช บอดี้การ์ด “แรมโบ้อีสาน” ถูกยิงดับ..และ “พันจ่าอากาศเอก” มือคุ้มครอง “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” แดงปทุมธานี ถูกดับชีพ ร่วงทีละคน
“เสื้อแดง” อยู่ใต้กฎหมาย....ท่อน้ำเลี้ยง ๔ แสนล้านมีที่ไหน?...เลิกสร้างเรื่องเหลวไหล สร้างความสับสน??
*******************************
เป็น 'ด่านหน้า' ที่หนุน 'รัฐบาลมาร์ค'!!
“เครือสหพัฒน์” เดี๋ยวนี้ พากันร้องจ๊าก???
เพราะนับแต่ “นายกฯ มาร์ค” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กระชับพื้นที่ และ ยึดพื้นที่คืน โดยมี หมู่มวลขบวนการคนเสื้อแดงตายเป็นเบือ..ปรากฏว่า “ต่างชาติ” โบกมือบ๊าย..บาย ซาโยนาระ ไทยเป็นแถว
เอกชน “เครือสหพัฒน์”....พากันเจ๊งสะบัด จึงออกมาร้องตะแง้ว
โดย “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานเครือสหพัฒน์ กู่ก้องร้องปากจะฉีก ให้รัฐบาลรีบดึงต่างชาติกลับ ...เพราะนับวันเอกชน แจ้งบัญชีเจ๊ง กันมากขึ้นทุกที!!!
ก็สมน้ำหน้า...เพราะชอบหนุนรัฐบาลไม่มีน้ำยา?....จึงต้องประสบชะตากรรม เช่นนี้???
*****************************
๖ วัน ๖๓ ล้านความคิด!!
โครงการ สวยเริด ประเสริฐจ้า..ในการระดมสมอง สร้างความ “ปรองดองแก่ชาติ”...โดยเกิดจากไอเดีย มันสมอง ของ “นายกฯ อภิสิทธิ์”???
แทนที่ “ท่านมาร์ค” จะได้รับไอเดียกิ๊บเก๋ไก๋...จากโทรศัพท์ ที่ ลดตัวลงมารับสายด้วยตัวเอง..กลายเป็นว่า มีประชาชนโทรมา “ด่าสายไหม้” จนสายหลุด
เพราะเขารู้นี่คือการ “สร้างภาพ”...จึงโทรมาด่ากันยับ เพื่อให้รัฐบาลหยุด
หากจริงใจ ไม่มีรายการ จิงโจ้กันแล้ว...ไม่ควรชักแถว เอาคนเลือกสี อย่าง “อานันท์ ปันยารชุน” และ “หมอประเวศ วะสี” มายกเครื่องปฏิรูปประเทศไทย เช่นนี้!!!!
ชอบเล่นบทแหกตา.... “อภิสิทธิ์”โผล่หน้าออกมา?...จึงโดนด่า ไม่มีชิ้นดี??
********************
ขี่ช้างจับตั๊กแตน!!!
สิ้นเปลือง ไร้ประโยชน์ กับการไล่ล่า “อดีต นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร” ด้วยเพลิงแค้น??
หยุดเสียดีกว่า ที่ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ”, “เทพเทือก” สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และ “กษิต ภิรมย์” รมว.ต่างประเทศ ทุ่มงบประมาณแผ่นดิน ตามจับตัว “ทักษิณ”
งบประมาณที่ทุ่ม..ไม่คุ้มกับความสุรุ่ยสุร่าย มีแต่ผลาญงบประมาณแผ่นดิน
เพราะต่างชาติรู้ดีว่า “ทักษิณ ชินวัตร” ไม่ใช่ตัวร้าย ที่ทำร้ายประเทศไทย..แต่กลุ่มที่คุมอำนาจประเทศไทยไว้ในมือขณะนี้ ..ทำให้ “ไทยแตกเป็นเสี่ยง” เขาต่างรู้ดี!!!
อย่าใช้เงินด้วยความเพี้ยน...เอาเงินไปสร้างถนนสร้างโรงเรียน!....คนจะได้ไม่สะอิดสะเอียน น่ะสิ????
************************
คอลัมน์.ตอดนิดตอดหน่อย“การบูร
ที่มา.บางกอกทูเดย์
อำนาจเถื่อนและความกลัว
โดย Niwat Puttaprasart
นักปรัชญาชายขอบ
ต่อให้ผมรังเกียจทักษิณขนาดไหน แต่เพียงเปรียบเทียบแค่สองกรณีคือ 1) ตำนานเซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดิน กับตำนานเขายายเที่ยง และ 2) ตำนานถูกยึดทรัพย์ และตำนาน “รอด” ทุจริตกล้ายาง มโนธรรมของผมก็ย่อมสัมผัสได้ถึง “ความอยุติธรรม” ที่เขา (ทักษิณ) ได้รับ และนั่นย่อมเป็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ด้วย
และต่อให้ผมโกรธ “แกนนำเสื้อแดง” ขนาดไหนที่ (ในความรู้สึกของผม) พวกเขาขาดจิตสำนึกปกป้องชีวิตของมวลชน (และหรือ “อาจจะ” คิดใช้ชีวิตของมวลชนเป็นเครื่องมือเพื่อล้มรัฐบาลตั้งแต่แรก) แต่ผมก็ไม่มืดบอดพอที่จะมองไม่เห็นความอยุติธรรมที่พวกเขาไม่ได้รับการประกันตัว
ในขณะที่แกนนำพันธมิตรที่โดนข้อหา “ก่อการร้าย” เช่นกัน ยังลอยนวล และตวัดลิ้นห้าแฉกสร้าง “วัฒนธรรมความเกลียดชัง” ต่อไปและต่อไป (ไม่ใช่อยากให้จับแกนนำพันธมิตร แต่ไม่อยากให้จับใครทั้งสิ้นด้วยข้อหาที่คลุมเครือแบบนี้)
จะด้วยเหตุที่ผมพลัดหลงมาอยู่ใน “ดงคนชั้นกลางในเมือง” หรืออย่างไรไม่รู้ ที่ทำให้ผมมองเห็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ช้ากว่าคนรากหญ้าอีสาน ซึ่งเป็นมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับผม สำหรับพวกเขาแล้ว ความอยุติธรรมที่รับไม่ได้เลยคือ การที่สัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยถูกฉีกทิ้งโดยอำนาจนอกเจตจำนงทั่วไปของประชาชน หรือ “อำนาจเถื่อน”
เจตจำนงทั่งไปของประชาชนคือ ความต้องการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐประหารล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกคือการทำลายเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ซึ่งเท่ากับฉีกสัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยทิ้ง
ฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือที่ถูกสนับสนุนโดยกระบวนการรัฐประหาร จึงไม่ใช่รัฐบาลที่อาจแทนที่เจตจำนงทั่วไปของประชาชนได้ ด้วยเหตุนี้ “อำนาจรัฐที่ชอบธรรม” จึงไม่มีอยู่จริง!
ประชาชนจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะต่อต้าน “อำนาจเถื่อน” ที่ผุดขึ้นมาจากการฉีกสัญญาประชาคม เพราะในเมื่อสัญญา (รัฐธรรมนูญ 2540) ถูกฉีกทิ้งแล้ว ประชาชนย่อมไม่มีพันธะที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นอีกต่อไป
นั่นคือไม่จำเป็นต้องเชื่อฟัง “อำนาจเถื่อน” ที่ไม่ได้มีที่มาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน (เช่น การเลือกตั้ง)
ในขณะที่อำนาจเถื่อนเคลื่อนขบวนรถถังออกมาฉีกสัญญาประชาคม และแสดงอำนาจที่ไร้ความชอบธรรมนั้นสร้างความอยุติธรรม หรือ “ตำนานสองมาตรฐาน” จนนับไม่ถ้วน คนเสื้อแดงพยายามต่อต้านอำนาจเถื่อนนั้นบนจุดยืนของการทวงคืนสัญญาประชาคมอย่างตรงไปตรงมา คือ “ขอคืนรัฐธรรมนูญ 2540” แต่อำนาจเถื่อนไม่ยอมคืนให้!
และแล้ว จากความโกรธต่ออำนาจเถื่อน เกลียดชังความอยุติธรรม จลาจลนองเลือด เผาบ้านเผาเมือง ท่ามกลางการรักษาความสงบ “เรียบร้อย” อย่างสุภาพอ่อนโยนของ ศอฉ.(ที่ทุ่มทุนสร้างถึง 5,000 ล้านบาท จากเงินภาษีของประชาชนแห่งประชาคมประชาธิปไตย) บทสรุปก็คือ คนเสื้อแดงไม่รู้ประชาธิปไตย นิยมความรุนแรงและก่อการร้าย สมควรตาย พร้อมกับเสียงเสแสร้งของอำนาจเถื่อน (หมายเลข 2) ขอให้ลืมปัญหาในอดีตกันเถอะ เรามาร่วมปรองดอง ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (อีกสัก 600 ล้าน!)
แล้วความยุติธรรมอยู่ที่ไหน? ไม่มีความยุติธรรมก็ไม่มีเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ไม่มีจุดร่วมของการปรองดอง และไม่มีอุดมการณ์ร่วมในการปฏิรูปประเทศ!
ความยุติธรรมยึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐที่ชอบธรรม และอำนาจรัฐที่ชอบธรรมย่อมมาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน อำนาจเถื่อนไม่ได้ยึดโยงอยู่กับเจตจำนงทั่วไปของประชาชน จึงไม่อาจให้ความยุติธรรมได้
ให้ได้แต่ความหวาดกลัว เพราะคนที่เสวยอำนาจเช่นนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว กลับไปนอนบ้านตัวเองไม่ได้ ไม่อาจลดตัวลงไปสัมผัสมือประชาชนส่วนใหญ่ที่ปฏิเสธเขา และไม่อาจ “สบตา” กับมโนธรรมของตนเอง
ฉะนั้น เมื่อเขาถูกพันธนาการด้วยความหวาดกลัว เขาจึงสร้างพันธนาการมัดตรึงสังคมให้คงอยู่กับความหวาดกลัว (คง พรก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อ โฆษณาชวนเชื่อข้างเดียว ไล่ล่า ฯลฯ)
และเมื่อเขาไม่อาจหยั่งรู้อนาคตอันยาวนานของความเกลียดชังที่ประชาชนมีต่อเขา อนาคตความปรองดอง และการปฏิรูปประเทศที่เขา “คิดแทน” ประชาชน เขาก็ไม่มีทางหยั่งรู้ความสำเร็จของมันด้วยเช่นกัน!
เราจะอยู่กับความกลัวที่อำนาจเถื่อนหยิบยื่นให้ต่อไปได้อย่างไร! ทั้งที่มันไม่มีสิทธิ์จะทำให้เรากลัวเกรง เพราะมันเป็นอำนาจที่ไม่ได้มาจากการยินยอมของเรา หรือไม่ใช่อำนาจแห่งเจตจำนงทั่วไปของประชาชน
ยิ่งเรากลัวยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับมัน ฉะนั้น เราต้องต่อต้านมันทุกโอกาสที่เป็นไปได้ ด้วยมโนสำนึกที่ปฏิเสธ “ความอยุติธรรม” และการสร้าง “วัฒนธรรมหลอกตัวเอง!”
นักปรัชญาชายขอบ
ต่อให้ผมรังเกียจทักษิณขนาดไหน แต่เพียงเปรียบเทียบแค่สองกรณีคือ 1) ตำนานเซ็นชื่อให้เมียซื้อที่ดิน กับตำนานเขายายเที่ยง และ 2) ตำนานถูกยึดทรัพย์ และตำนาน “รอด” ทุจริตกล้ายาง มโนธรรมของผมก็ย่อมสัมผัสได้ถึง “ความอยุติธรรม” ที่เขา (ทักษิณ) ได้รับ และนั่นย่อมเป็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ด้วย
และต่อให้ผมโกรธ “แกนนำเสื้อแดง” ขนาดไหนที่ (ในความรู้สึกของผม) พวกเขาขาดจิตสำนึกปกป้องชีวิตของมวลชน (และหรือ “อาจจะ” คิดใช้ชีวิตของมวลชนเป็นเครื่องมือเพื่อล้มรัฐบาลตั้งแต่แรก) แต่ผมก็ไม่มืดบอดพอที่จะมองไม่เห็นความอยุติธรรมที่พวกเขาไม่ได้รับการประกันตัว
ในขณะที่แกนนำพันธมิตรที่โดนข้อหา “ก่อการร้าย” เช่นกัน ยังลอยนวล และตวัดลิ้นห้าแฉกสร้าง “วัฒนธรรมความเกลียดชัง” ต่อไปและต่อไป (ไม่ใช่อยากให้จับแกนนำพันธมิตร แต่ไม่อยากให้จับใครทั้งสิ้นด้วยข้อหาที่คลุมเครือแบบนี้)
จะด้วยเหตุที่ผมพลัดหลงมาอยู่ใน “ดงคนชั้นกลางในเมือง” หรืออย่างไรไม่รู้ ที่ทำให้ผมมองเห็นความอยุติธรรมของสังคมนี้ช้ากว่าคนรากหญ้าอีสาน ซึ่งเป็นมนุษย์สายพันธุ์เดียวกับผม สำหรับพวกเขาแล้ว ความอยุติธรรมที่รับไม่ได้เลยคือ การที่สัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยถูกฉีกทิ้งโดยอำนาจนอกเจตจำนงทั่วไปของประชาชน หรือ “อำนาจเถื่อน”
เจตจำนงทั่งไปของประชาชนคือ ความต้องการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐประหารล้มรัฐบาลที่ประชาชนเลือกคือการทำลายเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ซึ่งเท่ากับฉีกสัญญาประชาคมแห่งสังคมประชาธิปไตยทิ้ง
ฉะนั้น รัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร หรือที่ถูกสนับสนุนโดยกระบวนการรัฐประหาร จึงไม่ใช่รัฐบาลที่อาจแทนที่เจตจำนงทั่วไปของประชาชนได้ ด้วยเหตุนี้ “อำนาจรัฐที่ชอบธรรม” จึงไม่มีอยู่จริง!
ประชาชนจึงมีสิทธิโดยชอบที่จะต่อต้าน “อำนาจเถื่อน” ที่ผุดขึ้นมาจากการฉีกสัญญาประชาคม เพราะในเมื่อสัญญา (รัฐธรรมนูญ 2540) ถูกฉีกทิ้งแล้ว ประชาชนย่อมไม่มีพันธะที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นอีกต่อไป
นั่นคือไม่จำเป็นต้องเชื่อฟัง “อำนาจเถื่อน” ที่ไม่ได้มีที่มาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน (เช่น การเลือกตั้ง)
ในขณะที่อำนาจเถื่อนเคลื่อนขบวนรถถังออกมาฉีกสัญญาประชาคม และแสดงอำนาจที่ไร้ความชอบธรรมนั้นสร้างความอยุติธรรม หรือ “ตำนานสองมาตรฐาน” จนนับไม่ถ้วน คนเสื้อแดงพยายามต่อต้านอำนาจเถื่อนนั้นบนจุดยืนของการทวงคืนสัญญาประชาคมอย่างตรงไปตรงมา คือ “ขอคืนรัฐธรรมนูญ 2540” แต่อำนาจเถื่อนไม่ยอมคืนให้!
และแล้ว จากความโกรธต่ออำนาจเถื่อน เกลียดชังความอยุติธรรม จลาจลนองเลือด เผาบ้านเผาเมือง ท่ามกลางการรักษาความสงบ “เรียบร้อย” อย่างสุภาพอ่อนโยนของ ศอฉ.(ที่ทุ่มทุนสร้างถึง 5,000 ล้านบาท จากเงินภาษีของประชาชนแห่งประชาคมประชาธิปไตย) บทสรุปก็คือ คนเสื้อแดงไม่รู้ประชาธิปไตย นิยมความรุนแรงและก่อการร้าย สมควรตาย พร้อมกับเสียงเสแสร้งของอำนาจเถื่อน (หมายเลข 2) ขอให้ลืมปัญหาในอดีตกันเถอะ เรามาร่วมปรองดอง ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (อีกสัก 600 ล้าน!)
แล้วความยุติธรรมอยู่ที่ไหน? ไม่มีความยุติธรรมก็ไม่มีเจตจำนงทั่วไปของประชาชน ไม่มีจุดร่วมของการปรองดอง และไม่มีอุดมการณ์ร่วมในการปฏิรูปประเทศ!
ความยุติธรรมยึดโยงอยู่กับอำนาจรัฐที่ชอบธรรม และอำนาจรัฐที่ชอบธรรมย่อมมาจากเจตจำนงทั่วไปของประชาชน อำนาจเถื่อนไม่ได้ยึดโยงอยู่กับเจตจำนงทั่วไปของประชาชน จึงไม่อาจให้ความยุติธรรมได้
ให้ได้แต่ความหวาดกลัว เพราะคนที่เสวยอำนาจเช่นนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว กลับไปนอนบ้านตัวเองไม่ได้ ไม่อาจลดตัวลงไปสัมผัสมือประชาชนส่วนใหญ่ที่ปฏิเสธเขา และไม่อาจ “สบตา” กับมโนธรรมของตนเอง
ฉะนั้น เมื่อเขาถูกพันธนาการด้วยความหวาดกลัว เขาจึงสร้างพันธนาการมัดตรึงสังคมให้คงอยู่กับความหวาดกลัว (คง พรก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อ โฆษณาชวนเชื่อข้างเดียว ไล่ล่า ฯลฯ)
และเมื่อเขาไม่อาจหยั่งรู้อนาคตอันยาวนานของความเกลียดชังที่ประชาชนมีต่อเขา อนาคตความปรองดอง และการปฏิรูปประเทศที่เขา “คิดแทน” ประชาชน เขาก็ไม่มีทางหยั่งรู้ความสำเร็จของมันด้วยเช่นกัน!
เราจะอยู่กับความกลัวที่อำนาจเถื่อนหยิบยื่นให้ต่อไปได้อย่างไร! ทั้งที่มันไม่มีสิทธิ์จะทำให้เรากลัวเกรง เพราะมันเป็นอำนาจที่ไม่ได้มาจากการยินยอมของเรา หรือไม่ใช่อำนาจแห่งเจตจำนงทั่วไปของประชาชน
ยิ่งเรากลัวยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับมัน ฉะนั้น เราต้องต่อต้านมันทุกโอกาสที่เป็นไปได้ ด้วยมโนสำนึกที่ปฏิเสธ “ความอยุติธรรม” และการสร้าง “วัฒนธรรมหลอกตัวเอง!”
งบปฏิรูป600ล้าน-คุ้มค่าแค่ไหน
ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบว่าด้วยการปฏิรูป ตามแผนปรองดองเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปขึ้น 2 ชุด
ชุดหนึ่งคือคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป มี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อีกชุดคือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน
เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศโดยการปฏิรูป และลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เทงบประมาณให้ถึงปีละ 200 ล้านบาท ดำเนินการ 3 ปี รวม 600 ล้านบาท
ท่ามกลางเสียงวิจารณ์จากบุคคลในแวดวงการเมือง นักวิชาการถึงแนวทางการทำงานที่กว้างเกินไปและการทุ่มงบฯให้มากถึง 600 ล้านบาท รวมถึงความไม่มั่นใจว่าแนวทางปรองดองจะสำเร็จหรือไม่
?โคทม อารียา
ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทำงานของ น.พ.ประ เวศ วะสี และ นายอานันท์ ปันยารชุน ผมมองว่ากรอบการทำงานกว้าง แต่กว้างไปหรือไม่ ไม่รู้ แต่เป็นความตั้งใจของทั้งนายอานันท์ และน.พ.ประเวศ ที่สนใจเรื่องกว้าง
น.พ.ประเวศทำเรื่องปฏิรูป ประเทศมาปีกว่าแล้ว เมื่อได้มาตรงนี้ก็เป็นโอกาสให้ขับเคลื่อนการทำงานให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
กรอบการทำงาน 3 ปี ที่ น.พ.ประเวศใช้คำว่า 999 วัน เป้าหมายการทำงาน คิดว่าเป็นรูปธรรมพอสมควร แต่จะทำได้จริงหรือไม่ ผมไม่รู้ เช่น สร้างคน 1 ล้านคน มาเป็นทูตช่วยทำประเทศให้น่าอยู่ มีองค์กรน่าอยู่ 1 หมื่นแห่ง เมืองน่าอยู่ 100 เมือง
เป้าหมายจะทำเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ตอนนี้ยังเร็วไปที่จะบอก แต่หากทำตามเป้าของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้เงินเปลืองกว่าคณะกรรมการชุดนายอานันท์ เพราะต้องขับเคลื่อนทั่วประเทศ ส่วนของนายอานันท์ เป็นเชิงยุทธศาสตร์
ดังนั้น คิดว่างบฯ ที่ได้ 600 ล้านบาท เฉพาะในส่วนของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้ประมาณ 500 ล้าน
การวิพากษ์วิจารณ์ตอนนี้ผมว่าน่าเป็นห่วง เพราะจะทำให้บรรยากาศไม่เอื้อในการทำงานเท่าไหร่ การจะทำงานต้องอาศัยความร่วมมือ จะทำแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
กระบวนการของน.พ.ประเวศ อาจบอกว่าไม่มีการกีดกัน แต่ก็มีคนที่มีความรู้สึกว่าถูกกันออกไป ถือเป็นองค์ประกอบที่มีความเสี่ยง แต่หากทำได้สำเร็จ โดยใช้วิธีการนี้ พยายามทำงานระดับท้องถิ่นในหมู่บ้าน 100 แห่ง ใช้สื่อให้คนเกิดความหวังว่าอนาคตจะทำให้ไทยเป็นเมืองน่าอยู่ สร้างจินตนา การเป็นพลัง
ส่วนที่คนมีอารมณ์ยังไม่มาร่วม เมื่อเห็นการทำงานตรงนี้แล้วอาจหันมาเห็นประโยชน์ได้ คิดว่าไม่ใช่ขับเคลื่อนเฉพาะกระบวนการนี้ ต้องขับเคลื่อนให้มีพื้นที่ของฝ่ายที่โกรธเคืองด้วยก็คือเสื้อแดง
การทำงานของน.พ. ประเวศ นายอานันท์ ไม่เชิงปรองดอง แต่เป็นเชิงแก้ ปัญหาของประเทศทั่วไป หากปรองดองจะแก้ปัญหาได้ดี หรือกระบวนการแก้ปัญหาประเทศเกิดผลจะสร้างความปรองดองไปในตัวได้
ความจริงผมฝากความหวังกับคณะทำงานของนายคณิต ณ นคร มากหน่อย หวังผลระยะสั้น
ผมเคยเสนอความเห็นกับนายคณิต แล้วว่าภารกิจที่น่าจะเป็น คือ 1.การหาข้อเท็จจริง ฟังข้อมูลรอบด้าน นำมาเรียบเรียงเรื่องเล่าที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้
อย่างน้อยเราก็รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น หากใครจะอยากมารับผิดชอบอย่างไรก็เกิดขึ้นตามมา ซึ่งการหาข้อเท็จจริงไม่ใช่การสืบสวนสอบสวน ไม่ใช่กระบวนการทางกฎหมาย
2.การมีพื้นที่ของผู้ที่ถูกกระทำหรือเหยื่อ มาบอกว่าตัวเองได้รับความเสียหายอะไรบ้าง ผู้กระทำเข้ามารับฟัง มายอมรับ ถ้าเรามีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้เกิดคนบาดเจ็บล้มตาย ทำลายทรัพย์สิน ออกมารับผิดชอบ หรือให้อภัยกัน เป็นความยุติธรรมเชิงเยียวยาฟื้นฟู
3.ควรพยายามเริ่มให้มีการพูดคุยระหว่างนปช.และรัฐบาล ซึ่งเคยทำมาแล้วเมื่อปลายเดือนเม.ย. แต่พอต้นเดือนพ.ค. ก็ผิดพลาดล้มเหลวอย่างน่าเสียดาย
กระบวนการปรองดองต้องทำ 2 ข้อแล้ว ต้องให้คู่กรณีจริงๆ มาพูดคุยกัน อาจมีข้อตกลงเบื้องต้น ถ้าไม่มีการเจรจา ไม่มีข้อตกลงเบื้องต้น การปรองดองก็เดินหน้าไม่ได้
การทำให้เกิดการปรองดองได้จริงต้องอาศัยองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมกัน
?สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรม การสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น
ในขั้นแรกคณะกรรม การได้เสนอแนว ทางในการแก้ปัญหา แต่การเสนอขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะทำได้อย่างไรและจะทำได้ขนาดไหน
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ฝังรากลึกมานาน ต้องใช้เวลานานในการแก้ไขปัญหา เบื้องต้นคิดว่ามีปัจจัยสำคัญคือ
1.คณะกรรมการทั้งสองชุดจะต้องเสนอแนวทางปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจะทำได้หรือไม่ ต้องดูในอนาคตเพราะบางเรื่องเกี่ยวข้องกับงบประมาณ
2.ปัญหาการเมือง การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องมีการปฏิรูปรายได้ และอาจกระทบผลประโยชน์ของนักการเมืองได้ เช่น การเก็บภาษีที่ดินทำกิน การเก็บภาษีมรดก หากเป็นเช่นนี้รัฐบาลจะอยู่ในวิสัยที่กล้าทำหรือไม่ หากผลประโยชน์อันนั้นไปกระทบกับนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล
รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ตั้งใจทำกัน แต่พอจะทำก็มีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเข้ามายุ่ง แทนที่จะเดินหน้าไปถึงเป้าหมาย กลับทำไม่ได้
3.หากมีการปฏิรูปก็ต้องมีหน่วยงานทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้อง คือกระทรวง ทบวง กรมแล้วระบบราชการของไทย ก็ทราบกันอยู่ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคอะไรบ้าง
ส่วนตัวคิดว่าคณะกรรมการชุดนี้อย่างเก่งก็ทำได้แค่เสนอแนวทางเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนงบประมาณที่รัฐบาลให้ปีละ 200 ล้านบาทนั้น เป็นเพียงงบฯ ดำเนินการเพื่อให้ความสนับสนุน
แต่แนวทางขับเคลื่อนปฏิรูประบบต่างๆ ของประเทศที่เป็นรูปธรรมจริงๆ นั้นเป็นไปได้ยาก
คิดว่าสิ่งที่พอทำได้คือแค่เสนอแนวทางเป็นข้อสรุปว่าทำได้แค่ไหน เพราะดูแล้วมีขอบเขตที่จำกัด ต้องปรับโครงสร้างใหม่ทั้งหมด และหากเปลี่ยนรัฐบาลการปฏิรูปก็อาจจะไม่ต่อเนื่อง
?ประสิทธิ์ โพธสุธน
ส.ว.สุพรรณบุรี
การที่รัฐบาลอนุมัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ นายอานันท์ ปันยารชุน และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปของ น.พ.ประเวศ วะสี ภายใต้กรอบการทำงาน 3 ปี ในวงเงินถึง 600 ล้านบาท เพื่อใช้สร้างความปรองดองของคนในชาตินั้น
ในความเห็นขอบอกตรงๆ ว่าไม่เกิดประโยชน์ เป็นเพียงงบฯ โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้เป็นข่าว สร้างภาพก็เท่านั้น
การที่รัฐบาลบอกปรองดองเป็นเพียงภาพที่พูดเพื่อให้สวยหรู สวนทางกับพฤติกรรมอย่างสุดขั้ว ปากบอกปรองดองแต่ขณะนี้กลับกดหัวไล่ล่าคนเสื้อแดง
เมื่อเป็นเช่นนี้ยังมองไม่เห็นว่าจะเกิดความปรองดองได้อย่างไร
ยืนยันว่าการที่จะปรองดองได้ต้องเกิดจากความจริงใจ เพราะขณะนี้ก็ปรากฏชัดว่าความไม่เท่าเทียมกันยังคงอยู่ และอารมณ์ความโกรธแค้นของคนที่รอวันปะทุ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก
ทางที่ดีก่อนที่รัฐบาลจะทำอะไรควรกลับมาย้อนดูตัวว่ามีความจริงใจต่อความปรองดองแค่ไหน ไม่ใช่ปากบอกอีกอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง อย่างนี้ใครเขาจะเชื่อถือ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อยื้อให้ตัวเองอยู่ในอำนาจหรือไม่นั้น ตรงนี้ขอสงวนความเห็น แต่ทุกอย่างมันมีความเป็นไปได้ เพราะปีหน้ารัฐบาลชุดนี้จะหมดวาระและมีการเลือกตั้งกันใหม่แล้ว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ชุดหนึ่งคือคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป มี นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อีกชุดคือคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน
เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศโดยการปฏิรูป และลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น
ขณะเดียวกันรัฐบาลได้เทงบประมาณให้ถึงปีละ 200 ล้านบาท ดำเนินการ 3 ปี รวม 600 ล้านบาท
ท่ามกลางเสียงวิจารณ์จากบุคคลในแวดวงการเมือง นักวิชาการถึงแนวทางการทำงานที่กว้างเกินไปและการทุ่มงบฯให้มากถึง 600 ล้านบาท รวมถึงความไม่มั่นใจว่าแนวทางปรองดองจะสำเร็จหรือไม่
?โคทม อารียา
ผอ.ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะทำงานของ น.พ.ประ เวศ วะสี และ นายอานันท์ ปันยารชุน ผมมองว่ากรอบการทำงานกว้าง แต่กว้างไปหรือไม่ ไม่รู้ แต่เป็นความตั้งใจของทั้งนายอานันท์ และน.พ.ประเวศ ที่สนใจเรื่องกว้าง
น.พ.ประเวศทำเรื่องปฏิรูป ประเทศมาปีกว่าแล้ว เมื่อได้มาตรงนี้ก็เป็นโอกาสให้ขับเคลื่อนการทำงานให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
กรอบการทำงาน 3 ปี ที่ น.พ.ประเวศใช้คำว่า 999 วัน เป้าหมายการทำงาน คิดว่าเป็นรูปธรรมพอสมควร แต่จะทำได้จริงหรือไม่ ผมไม่รู้ เช่น สร้างคน 1 ล้านคน มาเป็นทูตช่วยทำประเทศให้น่าอยู่ มีองค์กรน่าอยู่ 1 หมื่นแห่ง เมืองน่าอยู่ 100 เมือง
เป้าหมายจะทำเป็นรูปธรรมได้หรือไม่ตอนนี้ยังเร็วไปที่จะบอก แต่หากทำตามเป้าของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้เงินเปลืองกว่าคณะกรรมการชุดนายอานันท์ เพราะต้องขับเคลื่อนทั่วประเทศ ส่วนของนายอานันท์ เป็นเชิงยุทธศาสตร์
ดังนั้น คิดว่างบฯ ที่ได้ 600 ล้านบาท เฉพาะในส่วนของน.พ.ประเวศ น่าจะใช้ประมาณ 500 ล้าน
การวิพากษ์วิจารณ์ตอนนี้ผมว่าน่าเป็นห่วง เพราะจะทำให้บรรยากาศไม่เอื้อในการทำงานเท่าไหร่ การจะทำงานต้องอาศัยความร่วมมือ จะทำแค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้
กระบวนการของน.พ.ประเวศ อาจบอกว่าไม่มีการกีดกัน แต่ก็มีคนที่มีความรู้สึกว่าถูกกันออกไป ถือเป็นองค์ประกอบที่มีความเสี่ยง แต่หากทำได้สำเร็จ โดยใช้วิธีการนี้ พยายามทำงานระดับท้องถิ่นในหมู่บ้าน 100 แห่ง ใช้สื่อให้คนเกิดความหวังว่าอนาคตจะทำให้ไทยเป็นเมืองน่าอยู่ สร้างจินตนา การเป็นพลัง
ส่วนที่คนมีอารมณ์ยังไม่มาร่วม เมื่อเห็นการทำงานตรงนี้แล้วอาจหันมาเห็นประโยชน์ได้ คิดว่าไม่ใช่ขับเคลื่อนเฉพาะกระบวนการนี้ ต้องขับเคลื่อนให้มีพื้นที่ของฝ่ายที่โกรธเคืองด้วยก็คือเสื้อแดง
การทำงานของน.พ. ประเวศ นายอานันท์ ไม่เชิงปรองดอง แต่เป็นเชิงแก้ ปัญหาของประเทศทั่วไป หากปรองดองจะแก้ปัญหาได้ดี หรือกระบวนการแก้ปัญหาประเทศเกิดผลจะสร้างความปรองดองไปในตัวได้
ความจริงผมฝากความหวังกับคณะทำงานของนายคณิต ณ นคร มากหน่อย หวังผลระยะสั้น
ผมเคยเสนอความเห็นกับนายคณิต แล้วว่าภารกิจที่น่าจะเป็น คือ 1.การหาข้อเท็จจริง ฟังข้อมูลรอบด้าน นำมาเรียบเรียงเรื่องเล่าที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้
อย่างน้อยเราก็รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น หากใครจะอยากมารับผิดชอบอย่างไรก็เกิดขึ้นตามมา ซึ่งการหาข้อเท็จจริงไม่ใช่การสืบสวนสอบสวน ไม่ใช่กระบวนการทางกฎหมาย
2.การมีพื้นที่ของผู้ที่ถูกกระทำหรือเหยื่อ มาบอกว่าตัวเองได้รับความเสียหายอะไรบ้าง ผู้กระทำเข้ามารับฟัง มายอมรับ ถ้าเรามีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้เกิดคนบาดเจ็บล้มตาย ทำลายทรัพย์สิน ออกมารับผิดชอบ หรือให้อภัยกัน เป็นความยุติธรรมเชิงเยียวยาฟื้นฟู
3.ควรพยายามเริ่มให้มีการพูดคุยระหว่างนปช.และรัฐบาล ซึ่งเคยทำมาแล้วเมื่อปลายเดือนเม.ย. แต่พอต้นเดือนพ.ค. ก็ผิดพลาดล้มเหลวอย่างน่าเสียดาย
กระบวนการปรองดองต้องทำ 2 ข้อแล้ว ต้องให้คู่กรณีจริงๆ มาพูดคุยกัน อาจมีข้อตกลงเบื้องต้น ถ้าไม่มีการเจรจา ไม่มีข้อตกลงเบื้องต้น การปรองดองก็เดินหน้าไม่ได้
การทำให้เกิดการปรองดองได้จริงต้องอาศัยองค์ประกอบเหล่านี้ร่วมกัน
?สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูป ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และคณะกรรม การสมัชชาปฏิรูป ที่มี น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น
ในขั้นแรกคณะกรรม การได้เสนอแนว ทางในการแก้ปัญหา แต่การเสนอขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะทำได้อย่างไรและจะทำได้ขนาดไหน
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ฝังรากลึกมานาน ต้องใช้เวลานานในการแก้ไขปัญหา เบื้องต้นคิดว่ามีปัจจัยสำคัญคือ
1.คณะกรรมการทั้งสองชุดจะต้องเสนอแนวทางปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจะทำได้หรือไม่ ต้องดูในอนาคตเพราะบางเรื่องเกี่ยวข้องกับงบประมาณ
2.ปัญหาการเมือง การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องมีการปฏิรูปรายได้ และอาจกระทบผลประโยชน์ของนักการเมืองได้ เช่น การเก็บภาษีที่ดินทำกิน การเก็บภาษีมรดก หากเป็นเช่นนี้รัฐบาลจะอยู่ในวิสัยที่กล้าทำหรือไม่ หากผลประโยชน์อันนั้นไปกระทบกับนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล
รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ตั้งใจทำกัน แต่พอจะทำก็มีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเข้ามายุ่ง แทนที่จะเดินหน้าไปถึงเป้าหมาย กลับทำไม่ได้
3.หากมีการปฏิรูปก็ต้องมีหน่วยงานทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้อง คือกระทรวง ทบวง กรมแล้วระบบราชการของไทย ก็ทราบกันอยู่ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคอะไรบ้าง
ส่วนตัวคิดว่าคณะกรรมการชุดนี้อย่างเก่งก็ทำได้แค่เสนอแนวทางเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนงบประมาณที่รัฐบาลให้ปีละ 200 ล้านบาทนั้น เป็นเพียงงบฯ ดำเนินการเพื่อให้ความสนับสนุน
แต่แนวทางขับเคลื่อนปฏิรูประบบต่างๆ ของประเทศที่เป็นรูปธรรมจริงๆ นั้นเป็นไปได้ยาก
คิดว่าสิ่งที่พอทำได้คือแค่เสนอแนวทางเป็นข้อสรุปว่าทำได้แค่ไหน เพราะดูแล้วมีขอบเขตที่จำกัด ต้องปรับโครงสร้างใหม่ทั้งหมด และหากเปลี่ยนรัฐบาลการปฏิรูปก็อาจจะไม่ต่อเนื่อง
?ประสิทธิ์ โพธสุธน
ส.ว.สุพรรณบุรี
การที่รัฐบาลอนุมัติให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปของ นายอานันท์ ปันยารชุน และคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปของ น.พ.ประเวศ วะสี ภายใต้กรอบการทำงาน 3 ปี ในวงเงินถึง 600 ล้านบาท เพื่อใช้สร้างความปรองดองของคนในชาตินั้น
ในความเห็นขอบอกตรงๆ ว่าไม่เกิดประโยชน์ เป็นเพียงงบฯ โฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้เป็นข่าว สร้างภาพก็เท่านั้น
การที่รัฐบาลบอกปรองดองเป็นเพียงภาพที่พูดเพื่อให้สวยหรู สวนทางกับพฤติกรรมอย่างสุดขั้ว ปากบอกปรองดองแต่ขณะนี้กลับกดหัวไล่ล่าคนเสื้อแดง
เมื่อเป็นเช่นนี้ยังมองไม่เห็นว่าจะเกิดความปรองดองได้อย่างไร
ยืนยันว่าการที่จะปรองดองได้ต้องเกิดจากความจริงใจ เพราะขณะนี้ก็ปรากฏชัดว่าความไม่เท่าเทียมกันยังคงอยู่ และอารมณ์ความโกรธแค้นของคนที่รอวันปะทุ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก
ทางที่ดีก่อนที่รัฐบาลจะทำอะไรควรกลับมาย้อนดูตัวว่ามีความจริงใจต่อความปรองดองแค่ไหน ไม่ใช่ปากบอกอีกอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง อย่างนี้ใครเขาจะเชื่อถือ
ส่วนการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมาเพื่อยื้อให้ตัวเองอยู่ในอำนาจหรือไม่นั้น ตรงนี้ขอสงวนความเห็น แต่ทุกอย่างมันมีความเป็นไปได้ เพราะปีหน้ารัฐบาลชุดนี้จะหมดวาระและมีการเลือกตั้งกันใหม่แล้ว
ที่มา.ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เจ้าทฤษฎีปฏิวัติสยาม 2475 "ประวัติศาสตร์จบไปแล้ว"
วาทกรรมและประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ 24 มิถุนายน 2475 ถูกบันทึกต่างกรรมต่างวาระ
1 ในหลายบันทึกประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ คือ หนังสือ "ปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
เรียบเรียง-ค้นคว้าโดย "รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วาระ 24 มิถุนายน 2553 "อาจารย์นครินทร์" พูดถึงประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง...อีกครั้ง
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงหนังสือการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ว่า "ผมเบื่อหนังสือเล่มนี้มาก ๆ ผมทำหนังสือเล่มนี้ช่วงปี 2525-2535 ใช้เวลาประมาณ 10 ปี"
"ดร.นครินทร์" เขียนหนังสือเล่มนี้ เพราะกูรู-ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชักชวน เข้าสู่วงการ
"ผมเขียนบทความชิ้นแรกในปี 2525 และได้เข้าไปอยู่ในข้อโต้เถียงซึ่งผมเบื่อมาก โดยเฉพาะข้อโต้เถียงระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า"
"ผมพูดตรง ๆ ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายบอกความจริงไม่หมด พูดเฉพาะสิ่งที่ตัวเองได้ประโยชน์ ไม่พูดความจริงทั้งหมด เช่น คณะเจ้าก็จะพูดถึงการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ส่วนฝ่ายตรงข้ามชิงสุกก่อนห่าม พวกคณะราษฎรก็จะยกย่องหลายเรื่องจนเกินเหตุ"
ข้อค้นพบของ "ดร.นครินทร์"...
"ยกตัวอย่างที่ผมรู้สึกช็อก คือใครที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจไทยเป็นคนแรก ? ถ้าบอกว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม อันนี้แหละคือความเท็จ ผมจึงหนีจากคณะรัฐศาสตร์ไปอยู่อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุที่ผมเบื่อความเท็จ ความจริงที่มันเลอะเทอะ ถ้าอ่านหนังสือ เข้าหอจดหมายเหตุ หรืออ่านรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะรู้ว่าคนที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจคนแรกชื่อ "มังกร สามเสน""
"คนไทยจะชอบแห่แหน ยกย่องคน บางคนจนเกินเหตุ ถามว่า มังกร สามเสน คือใคร คนนี้คือวีรบุรุษในดวงใจของผม คนหนึ่งในหนังสือ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 ใน 70 คน เป็น ส.ส.รุ่นแรกที่มาจากการแต่งตั้งจาก 3 คน ซึ่งผมสนใจทั้ง มังกร สามเสน และอีก 2 คนคือ มานิต วสุวัต และ ซุ่นใช้ ฮุนตระกูล"
"ปัจจุบันนี้ยังไม่มีหนังสือ หรืองานวิจัย บอกว่าคณะราษฎรคือใคร ประกอบด้วยใครบ้าง ทำอะไรบ้าง และพวกเรามี แนวโน้มอย่างหนึ่ง คือมักเอาคณะราษฎร ไปเท่ากับ ปรีดี พนมยงค์ มันเป็นไปได้อย่างไร คุณไม่นับหลวงพิบูลสงครามเลย เหรอ พอบอกว่าคณะราษฎรคือหลวงพิบูลสงคราม หลายคนโกรธมาก"
"อาจารย์ปรีดีเป็นเพียงเสี้ยวเดียวขององค์คณะ ทำไมไม่นับพระยาพหลฯล่ะ ? ความจริงคนที่เป็นแกนกลางในการวิ่งติดต่อประสานงานในคณะราษฎร ในการประชุมทุกครั้งคือ ประยูร ภมรมนตรี เราก็ไม่นับประยูร ไปหาว่าประยูรเป็นพวกทรยศไปอยู่กับเจ้า ด่าประยูร ไปเลอะเทอะ แต่ถ้าไม่มีประยูร ไม่มี แนบ พหลโยธิน ก็ไม่มีคณะราษฎร"
"อาจารย์นครินทร์" บอกว่า "หนังสือชุด 2475" นั้นอ่านยาก เพราะ
"ผมตั้งใจทำให้อ่านยาก ไม่ได้ตั้งใจเขียนให้ง่าย เพราะว่าผมเบื่อหน่ายมาก ทั้ง นักประวัติศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ ความจริงถ้ามีเวลา ผมจะทำให้ยากกว่านั้นอีก"
กัลยาณมิตรทางวิชาการคนสำคัญ ของ "นครินทร์" ที่ทำให้งานประวัติศาสตร์ 2475 สมบูรณ์ คือ "อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์" แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อครั้ง 2528
"โครงเรื่องในการปฏิวัติ 2475 จะมี 2 ปีกใหญ่ ๆ ปีกหนึ่งจะบอกว่าชิงสุก ก่อนห่าม อีกปีกหนึ่งจะพูดว่าเป็นการปฏิวัติยังไม่เสร็จ ไม่สมบูรณ์ ไม่เสร็จสิ้น ทั้ง 2 ปีกมีอิทธิพลมาก ผมว่ายิ่งกว่า พวกเชียร์คณะราษฎร ซึ่งผมคิดว่าจิ๊บจ๊อยมากในสายตาผม"
"แต่ผมเผชิญหน้าในทางวิชาการกับ พวกสำนักที่บอกว่า unfinished revolution มาก คนหนึ่งคือ "ฉัตรทิพย์ นาถสุภา" เป็นปรมาจารย์ใหญ่ เป็นคนที่ผมเคารพมาก พวกฝ่ายซ้ายทั้งหมดจะบอกว่าการปฏิวัติ 2475 ยังไม่สำเร็จ ยังไม่เสร็จสิ้น การปฏิวัติยังตกค้างอยู่ เพราะกระฎุมพียังไม่ใหญ่พอ มาเที่ยวนี้มีนักกฎหมายบอกว่า การปฏิวัติ 2475 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะยังไม่ได้ชำระสะสางองค์กรตุลาการ"
"ในความเห็นของผม ผมถือว่าเรื่องนี้ จบไปแล้ว ผมเขียนงานชิ้นนี้จบเมื่อปี 2535 ใน 18 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ผมพิมพ์ ออกมา มีคนวิจารณ์ผมเยอะ บางเรื่องผมก็ตอบไม่ได้ มีหลายเรื่องที่ผมยังไม่ทำ เช่น ทำไมไม่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวขบวนการพระ, ทำไมไม่ไปเก็บข้อมูลคนจีน"
"โดยเฉพาะคนจีนที่มาจากสายคอมมิวนิสต์แท้ ๆ ผมยอมแพ้เพราะผมอ่านภาษาจีนไม่ได้ ผมไม่รู้จะเก็บข้อมูลยังไง คนจีนมี 2 กลุ่ม คอมมิวนิสต์กลุ่มหนึ่ง ก๊กมินตั๋งกลุ่มหนึ่ง ทั้ง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนแรงมาก แจกใบปลิวถล่มคณะราษฎรตั้งแต่แรกแล้ว ความจริงมีการเคลื่อนไหวก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475"
แม้หนังสือเล่มนี้จะหนากว่า 3 นิ้ว แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ "อาจารย์นครินทร์" ไม่ได้บันทึก
"ผมยังไม่ได้ทำอีกหลายเรื่อง ถ้าจะทำ ก็ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น อย่าคิดกันเองเลยครับ ผมไปอ่านฎีกาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผมตกใจมาก มีฎีกาอย่างนี้ได้ยังไง เจอฎีกาของ ถวัติ ฤทธิเดช นรินทร์ ภาษิต คนพวกนี้อยู่ในดวงใจของผม"
"และสิ่งที่ผมทึ่งคือ แถลงการณ์ของคณะราษฎร ที่อาจารย์ปรีดีเขียน ไปก๊อบปี้คำของฎีกาเหล่านี้มาใช้ เช่น ประเทศนี้ปกครองอย่างหลอกลวง เอาราษฎรเป็นทาส คำเหล่านี้ไม่ใช่อาจารย์ปรีดีคิดเอง แต่อยู่ในฎีกาก่อนปฏิวัติตั้ง 4-5 ปี แปลว่าอะไร ฎีกาพวกนี้บางส่วนมาจาก ต่างจังหวัดด้วย ต้นตำรับฎีกา พิษณุโลก อยุธยา ฉะเชิงเทรา เรื่องนี้เป็นมิติใหญ่ เรื่องชนชั้นนำที่มาจากต่างจังหวัด ที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ 2475"
"อย่าไปคิดว่าคณะราษฎรเป็นปีก เดียวกันทั้งหมด อย่างตระกูลตุลารักษ์มาจากฉะเชิงเทรา ...คณะราษฎรมีทั้งปีกซ้ายสุดและปีกขวาสุด ผมว่าเราอย่า ไปรังเกียจ ประยูร ภมรมนตรี ว่าไม่ใช่คณะราษฎรเลย ถึงเราจะไม่ชอบก็ตาม"
"แต่ถ้าพูดอย่างนี้ สานุศิษย์อาจารย์ปรีดีจะโกรธมาก ไปบอกว่าหลวงพิบูลฯเป็นคณะราษฎรก็ไม่ได้ คือพวกเราพยายามเอาอาจารย์ปรีดีเป็นคณะราษฎรทั้งหมด ผมคิดว่าความจริงมันไม่ใช่ เพราะคณะราษฎรคือทุกคนที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และจริง ๆ ตอนเขามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง เริ่มในการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าก็มีข้อจำกัดมาก"
"เราเรียกร้องต่ออดีต ในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ ในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์ ผมเห็นว่าหลาย ๆ เรื่องมันจบไปแล้ว ผมเองเห็นแย้งทั้ง 2 พวก ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบสิ้นไปแล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อระบบการเมืองคงตัวอยู่ ทั้งหมดเป็นเรื่องที่สร้างใหม่ทั้งสิ้น"
"คนแต่ละกลุ่มก็สร้างตำนานของตัวเองขึ้นมา คนแต่ละกลุ่มก็สร้างศัตรูของตัวเองขึ้นมา แต่ผมไม่มีปัญญา ไม่มีพละกำลังดูการเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้อีก"
"ผมเป็นคนแรกที่ใช้คำว่าสยาม ผมไม่อยากเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่าเป็นการปฏิวัติประเทศไทย เพราะตอนนั้น ประเทศไทยยังไม่เกิด ประเทศไทย เกิด 2482 อีก 7 ปีให้หลัง สภาวการณ์ตอนนั้นเป็นภาวการณ์ของคนหลากหลายชาติพันธุ์เป็นภาวการณ์ซึ่งไม่มีเอกราชสมบูรณ์"
"คณะราษฎรบางปีกพยายามยืนยันว่า ประเทศสยามไม่มีเอกราชสมบูรณ์เพราะเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คำอธิบายแบบนี้หลายคนรับไม่ได้ เพราะทุกคนพยายามยืนยันว่าเรามีเอกราชมาตลอด ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร คือพูดเรื่องเดียวกันแต่พูดคนละเรื่อง และผมสนใจข้อขัดแย้งเหล่านี้ในเชิงของความคิด และข้อโต้แย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง"
"ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว ที่เหลือคือการตีความซึ่งเป็นเรื่องของทุกคน ใครจะชอบรสนิยมยังไงก็เชิญตามสบาย ผมไม่ขัดข้อง ใครจะเป็นซ้ายก็ซ้ายให้สุด ๆ ใครจะเป็นขวาก็เป็นขวาให้สุด ๆ ความจริงประวัติศาสตร์ history เป็นของทุกคน ไม่ใช่สมบัติของคนใดคนหนึ่ง ประวัติศาสตร์เป็นของทุกคน"
อย่างน้อยก็มีเรื่องที่ "ดร.นครินทร์" ไม่กล้าเขียน คือเรื่อง "คณะราษฎร" แม้ว่าเวลาผ่านมาแล้วหลายสิบปี
"ผมท้าทายเด็กรุ่นใหม่ที่รักคณะราษฎร มีหลายคนพูดว่าการต่อสู้ของคณะราษฎรยังไม่จบ การต่อสู้ของคณะราษฎรกับ คณะเจ้ายังคงมีต่อไป... คุณช่วยเขียนหนังสือเรื่องคณะราษฎรให้ผมอ่านหน่อยสิ ช่วยออกแรงหน่อยได้ไหมครับ ออกแรงเขียนหนังสือให้อ่านหน่อยสักเล่มเรื่องคณะราษฎร ...ผมเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง ผมยังไม่กล้าเขียนเพราะมันไม่สมบูรณ์"
"ผมเดาไม่ได้ว่าใครเป็นใครในคณะราษฎร ผมรู้สักประมาณ 1 ใน 3 อีก 2 ใน 3 ผมไม่รู้ชัด ๆ ว่าเขาคือใคร ฉะนั้นคณะราษฎรไม่ใช่อาจารย์ปรีดี คนเดียว"
ชื่อ "ดิเรก ชัยนาม" คือชื่อที่ "ดร.นครินทร์" เอ่ยพาดพิงกรณีเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 2475
"ยกตัวอย่าง เช่น ดิเรก ชัยนาม ผมพยายามพูดเสมอว่า คณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก คือคณะราษฎร แต่ผมเข้าไปในบ้านของตระกูลชัยนาม หลายคนพยายามไม่พูดเรื่องนี้ เพราะว่าการเป็นสมาชิกคณะราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากนัก คือไปมีส่วนร่วมกับคณะปฏิวัติ แล้วกลับบ้าน ถูกด่า คุณต้องไปถามตระกูลชัยนาม ไม่ใช่คิดเอาเอง ต้องไปถามญาติพี่น้อง ลูกหลานของตระกูลชัยนาม ว่ายังภาคภูมิใจกับการเป็นสมาชิกคณะราษฎรหรือเปล่า"
"ความเห็นของผม การปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว และทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลายเป็นระบอบประชาธิปไตย จุดเปลี่ยนผ่านใหญ่คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ เป็นประมุขของคณะรัฐมนตรีอีก"
"ก่อนปี 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, 6, 7 ทรงประทับในที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ที่เรียกว่าเสนาบดีสภา ท่านทรงประชุมร่วมกับเสนาบดีสภา ทุกสัปดาห์ คือทุกวันอังคาร แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จ ไปที่นั่นอีกแล้ว"
"ฉะนั้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์มันจบไปแล้ว เพียงแต่ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร ทุกสังคมจะต้องแสวงหาเอาเองเราไม่มีทางไปก๊อบปี้ประเทศใดประเทศหนึ่งได้"
ก่อนจบการอภิปราย "ดร.นครินทร์" แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มคือ "การปฏิวัติฝรั่งเศส"
ที่เขียนโดย พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา และคำนำโดย "ปรีดี พนมยงค์"
คำนำ-หัวที่ยังทันสมัย แม้ตีพิมพ์เมื่อ 2477 ความว่า "การปฏิวัติของประเทศฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์ และ เราไม่ควรเอาแบบอย่างเป็นเด็ดขาด การปฏิวัติของสยามเป็นการปฏิวัติที่ไม่ ต้องมาโต้แย้งกันเรื่องรูปแบบการปกครองอีก คือให้พระเจ้าอยู่หัวอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเสีย ส่วนที่เหลือก็ต้องจัดการกันเอง..."
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
1 ในหลายบันทึกประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ คือ หนังสือ "ปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
เรียบเรียง-ค้นคว้าโดย "รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วาระ 24 มิถุนายน 2553 "อาจารย์นครินทร์" พูดถึงประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง...อีกครั้ง
รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงหนังสือการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ว่า "ผมเบื่อหนังสือเล่มนี้มาก ๆ ผมทำหนังสือเล่มนี้ช่วงปี 2525-2535 ใช้เวลาประมาณ 10 ปี"
"ดร.นครินทร์" เขียนหนังสือเล่มนี้ เพราะกูรู-ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชักชวน เข้าสู่วงการ
"ผมเขียนบทความชิ้นแรกในปี 2525 และได้เข้าไปอยู่ในข้อโต้เถียงซึ่งผมเบื่อมาก โดยเฉพาะข้อโต้เถียงระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า"
"ผมพูดตรง ๆ ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายบอกความจริงไม่หมด พูดเฉพาะสิ่งที่ตัวเองได้ประโยชน์ ไม่พูดความจริงทั้งหมด เช่น คณะเจ้าก็จะพูดถึงการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ส่วนฝ่ายตรงข้ามชิงสุกก่อนห่าม พวกคณะราษฎรก็จะยกย่องหลายเรื่องจนเกินเหตุ"
ข้อค้นพบของ "ดร.นครินทร์"...
"ยกตัวอย่างที่ผมรู้สึกช็อก คือใครที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจไทยเป็นคนแรก ? ถ้าบอกว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม อันนี้แหละคือความเท็จ ผมจึงหนีจากคณะรัฐศาสตร์ไปอยู่อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุที่ผมเบื่อความเท็จ ความจริงที่มันเลอะเทอะ ถ้าอ่านหนังสือ เข้าหอจดหมายเหตุ หรืออ่านรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะรู้ว่าคนที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจคนแรกชื่อ "มังกร สามเสน""
"คนไทยจะชอบแห่แหน ยกย่องคน บางคนจนเกินเหตุ ถามว่า มังกร สามเสน คือใคร คนนี้คือวีรบุรุษในดวงใจของผม คนหนึ่งในหนังสือ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 ใน 70 คน เป็น ส.ส.รุ่นแรกที่มาจากการแต่งตั้งจาก 3 คน ซึ่งผมสนใจทั้ง มังกร สามเสน และอีก 2 คนคือ มานิต วสุวัต และ ซุ่นใช้ ฮุนตระกูล"
"ปัจจุบันนี้ยังไม่มีหนังสือ หรืองานวิจัย บอกว่าคณะราษฎรคือใคร ประกอบด้วยใครบ้าง ทำอะไรบ้าง และพวกเรามี แนวโน้มอย่างหนึ่ง คือมักเอาคณะราษฎร ไปเท่ากับ ปรีดี พนมยงค์ มันเป็นไปได้อย่างไร คุณไม่นับหลวงพิบูลสงครามเลย เหรอ พอบอกว่าคณะราษฎรคือหลวงพิบูลสงคราม หลายคนโกรธมาก"
"อาจารย์ปรีดีเป็นเพียงเสี้ยวเดียวขององค์คณะ ทำไมไม่นับพระยาพหลฯล่ะ ? ความจริงคนที่เป็นแกนกลางในการวิ่งติดต่อประสานงานในคณะราษฎร ในการประชุมทุกครั้งคือ ประยูร ภมรมนตรี เราก็ไม่นับประยูร ไปหาว่าประยูรเป็นพวกทรยศไปอยู่กับเจ้า ด่าประยูร ไปเลอะเทอะ แต่ถ้าไม่มีประยูร ไม่มี แนบ พหลโยธิน ก็ไม่มีคณะราษฎร"
"อาจารย์นครินทร์" บอกว่า "หนังสือชุด 2475" นั้นอ่านยาก เพราะ
"ผมตั้งใจทำให้อ่านยาก ไม่ได้ตั้งใจเขียนให้ง่าย เพราะว่าผมเบื่อหน่ายมาก ทั้ง นักประวัติศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ ความจริงถ้ามีเวลา ผมจะทำให้ยากกว่านั้นอีก"
กัลยาณมิตรทางวิชาการคนสำคัญ ของ "นครินทร์" ที่ทำให้งานประวัติศาสตร์ 2475 สมบูรณ์ คือ "อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์" แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อครั้ง 2528
"โครงเรื่องในการปฏิวัติ 2475 จะมี 2 ปีกใหญ่ ๆ ปีกหนึ่งจะบอกว่าชิงสุก ก่อนห่าม อีกปีกหนึ่งจะพูดว่าเป็นการปฏิวัติยังไม่เสร็จ ไม่สมบูรณ์ ไม่เสร็จสิ้น ทั้ง 2 ปีกมีอิทธิพลมาก ผมว่ายิ่งกว่า พวกเชียร์คณะราษฎร ซึ่งผมคิดว่าจิ๊บจ๊อยมากในสายตาผม"
"แต่ผมเผชิญหน้าในทางวิชาการกับ พวกสำนักที่บอกว่า unfinished revolution มาก คนหนึ่งคือ "ฉัตรทิพย์ นาถสุภา" เป็นปรมาจารย์ใหญ่ เป็นคนที่ผมเคารพมาก พวกฝ่ายซ้ายทั้งหมดจะบอกว่าการปฏิวัติ 2475 ยังไม่สำเร็จ ยังไม่เสร็จสิ้น การปฏิวัติยังตกค้างอยู่ เพราะกระฎุมพียังไม่ใหญ่พอ มาเที่ยวนี้มีนักกฎหมายบอกว่า การปฏิวัติ 2475 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะยังไม่ได้ชำระสะสางองค์กรตุลาการ"
"ในความเห็นของผม ผมถือว่าเรื่องนี้ จบไปแล้ว ผมเขียนงานชิ้นนี้จบเมื่อปี 2535 ใน 18 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ผมพิมพ์ ออกมา มีคนวิจารณ์ผมเยอะ บางเรื่องผมก็ตอบไม่ได้ มีหลายเรื่องที่ผมยังไม่ทำ เช่น ทำไมไม่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวขบวนการพระ, ทำไมไม่ไปเก็บข้อมูลคนจีน"
"โดยเฉพาะคนจีนที่มาจากสายคอมมิวนิสต์แท้ ๆ ผมยอมแพ้เพราะผมอ่านภาษาจีนไม่ได้ ผมไม่รู้จะเก็บข้อมูลยังไง คนจีนมี 2 กลุ่ม คอมมิวนิสต์กลุ่มหนึ่ง ก๊กมินตั๋งกลุ่มหนึ่ง ทั้ง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนแรงมาก แจกใบปลิวถล่มคณะราษฎรตั้งแต่แรกแล้ว ความจริงมีการเคลื่อนไหวก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475"
แม้หนังสือเล่มนี้จะหนากว่า 3 นิ้ว แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ "อาจารย์นครินทร์" ไม่ได้บันทึก
"ผมยังไม่ได้ทำอีกหลายเรื่อง ถ้าจะทำ ก็ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น อย่าคิดกันเองเลยครับ ผมไปอ่านฎีกาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผมตกใจมาก มีฎีกาอย่างนี้ได้ยังไง เจอฎีกาของ ถวัติ ฤทธิเดช นรินทร์ ภาษิต คนพวกนี้อยู่ในดวงใจของผม"
"และสิ่งที่ผมทึ่งคือ แถลงการณ์ของคณะราษฎร ที่อาจารย์ปรีดีเขียน ไปก๊อบปี้คำของฎีกาเหล่านี้มาใช้ เช่น ประเทศนี้ปกครองอย่างหลอกลวง เอาราษฎรเป็นทาส คำเหล่านี้ไม่ใช่อาจารย์ปรีดีคิดเอง แต่อยู่ในฎีกาก่อนปฏิวัติตั้ง 4-5 ปี แปลว่าอะไร ฎีกาพวกนี้บางส่วนมาจาก ต่างจังหวัดด้วย ต้นตำรับฎีกา พิษณุโลก อยุธยา ฉะเชิงเทรา เรื่องนี้เป็นมิติใหญ่ เรื่องชนชั้นนำที่มาจากต่างจังหวัด ที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ 2475"
"อย่าไปคิดว่าคณะราษฎรเป็นปีก เดียวกันทั้งหมด อย่างตระกูลตุลารักษ์มาจากฉะเชิงเทรา ...คณะราษฎรมีทั้งปีกซ้ายสุดและปีกขวาสุด ผมว่าเราอย่า ไปรังเกียจ ประยูร ภมรมนตรี ว่าไม่ใช่คณะราษฎรเลย ถึงเราจะไม่ชอบก็ตาม"
"แต่ถ้าพูดอย่างนี้ สานุศิษย์อาจารย์ปรีดีจะโกรธมาก ไปบอกว่าหลวงพิบูลฯเป็นคณะราษฎรก็ไม่ได้ คือพวกเราพยายามเอาอาจารย์ปรีดีเป็นคณะราษฎรทั้งหมด ผมคิดว่าความจริงมันไม่ใช่ เพราะคณะราษฎรคือทุกคนที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และจริง ๆ ตอนเขามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง เริ่มในการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าก็มีข้อจำกัดมาก"
"เราเรียกร้องต่ออดีต ในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ ในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์ ผมเห็นว่าหลาย ๆ เรื่องมันจบไปแล้ว ผมเองเห็นแย้งทั้ง 2 พวก ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบสิ้นไปแล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อระบบการเมืองคงตัวอยู่ ทั้งหมดเป็นเรื่องที่สร้างใหม่ทั้งสิ้น"
"คนแต่ละกลุ่มก็สร้างตำนานของตัวเองขึ้นมา คนแต่ละกลุ่มก็สร้างศัตรูของตัวเองขึ้นมา แต่ผมไม่มีปัญญา ไม่มีพละกำลังดูการเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้อีก"
"ผมเป็นคนแรกที่ใช้คำว่าสยาม ผมไม่อยากเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่าเป็นการปฏิวัติประเทศไทย เพราะตอนนั้น ประเทศไทยยังไม่เกิด ประเทศไทย เกิด 2482 อีก 7 ปีให้หลัง สภาวการณ์ตอนนั้นเป็นภาวการณ์ของคนหลากหลายชาติพันธุ์เป็นภาวการณ์ซึ่งไม่มีเอกราชสมบูรณ์"
"คณะราษฎรบางปีกพยายามยืนยันว่า ประเทศสยามไม่มีเอกราชสมบูรณ์เพราะเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คำอธิบายแบบนี้หลายคนรับไม่ได้ เพราะทุกคนพยายามยืนยันว่าเรามีเอกราชมาตลอด ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร คือพูดเรื่องเดียวกันแต่พูดคนละเรื่อง และผมสนใจข้อขัดแย้งเหล่านี้ในเชิงของความคิด และข้อโต้แย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง"
"ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว ที่เหลือคือการตีความซึ่งเป็นเรื่องของทุกคน ใครจะชอบรสนิยมยังไงก็เชิญตามสบาย ผมไม่ขัดข้อง ใครจะเป็นซ้ายก็ซ้ายให้สุด ๆ ใครจะเป็นขวาก็เป็นขวาให้สุด ๆ ความจริงประวัติศาสตร์ history เป็นของทุกคน ไม่ใช่สมบัติของคนใดคนหนึ่ง ประวัติศาสตร์เป็นของทุกคน"
อย่างน้อยก็มีเรื่องที่ "ดร.นครินทร์" ไม่กล้าเขียน คือเรื่อง "คณะราษฎร" แม้ว่าเวลาผ่านมาแล้วหลายสิบปี
"ผมท้าทายเด็กรุ่นใหม่ที่รักคณะราษฎร มีหลายคนพูดว่าการต่อสู้ของคณะราษฎรยังไม่จบ การต่อสู้ของคณะราษฎรกับ คณะเจ้ายังคงมีต่อไป... คุณช่วยเขียนหนังสือเรื่องคณะราษฎรให้ผมอ่านหน่อยสิ ช่วยออกแรงหน่อยได้ไหมครับ ออกแรงเขียนหนังสือให้อ่านหน่อยสักเล่มเรื่องคณะราษฎร ...ผมเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง ผมยังไม่กล้าเขียนเพราะมันไม่สมบูรณ์"
"ผมเดาไม่ได้ว่าใครเป็นใครในคณะราษฎร ผมรู้สักประมาณ 1 ใน 3 อีก 2 ใน 3 ผมไม่รู้ชัด ๆ ว่าเขาคือใคร ฉะนั้นคณะราษฎรไม่ใช่อาจารย์ปรีดี คนเดียว"
ชื่อ "ดิเรก ชัยนาม" คือชื่อที่ "ดร.นครินทร์" เอ่ยพาดพิงกรณีเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 2475
"ยกตัวอย่าง เช่น ดิเรก ชัยนาม ผมพยายามพูดเสมอว่า คณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก คือคณะราษฎร แต่ผมเข้าไปในบ้านของตระกูลชัยนาม หลายคนพยายามไม่พูดเรื่องนี้ เพราะว่าการเป็นสมาชิกคณะราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากนัก คือไปมีส่วนร่วมกับคณะปฏิวัติ แล้วกลับบ้าน ถูกด่า คุณต้องไปถามตระกูลชัยนาม ไม่ใช่คิดเอาเอง ต้องไปถามญาติพี่น้อง ลูกหลานของตระกูลชัยนาม ว่ายังภาคภูมิใจกับการเป็นสมาชิกคณะราษฎรหรือเปล่า"
"ความเห็นของผม การปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว และทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลายเป็นระบอบประชาธิปไตย จุดเปลี่ยนผ่านใหญ่คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ เป็นประมุขของคณะรัฐมนตรีอีก"
"ก่อนปี 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, 6, 7 ทรงประทับในที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ที่เรียกว่าเสนาบดีสภา ท่านทรงประชุมร่วมกับเสนาบดีสภา ทุกสัปดาห์ คือทุกวันอังคาร แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้เสด็จ ไปที่นั่นอีกแล้ว"
"ฉะนั้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์มันจบไปแล้ว เพียงแต่ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร ทุกสังคมจะต้องแสวงหาเอาเองเราไม่มีทางไปก๊อบปี้ประเทศใดประเทศหนึ่งได้"
ก่อนจบการอภิปราย "ดร.นครินทร์" แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มคือ "การปฏิวัติฝรั่งเศส"
ที่เขียนโดย พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา และคำนำโดย "ปรีดี พนมยงค์"
คำนำ-หัวที่ยังทันสมัย แม้ตีพิมพ์เมื่อ 2477 ความว่า "การปฏิวัติของประเทศฝรั่งเศสเป็นการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์ และ เราไม่ควรเอาแบบอย่างเป็นเด็ดขาด การปฏิวัติของสยามเป็นการปฏิวัติที่ไม่ ต้องมาโต้แย้งกันเรื่องรูปแบบการปกครองอีก คือให้พระเจ้าอยู่หัวอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเสีย ส่วนที่เหลือก็ต้องจัดการกันเอง..."
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
Facebook ในฐานะสัญญะทางสังคมและการเมือง
โดย.กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
ในตอนนี้ คงมีคนที่ใช้งานโลกอินเตอร์เน็ตน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักระบบ เครือข่ายทางสังคม (Social Network) ที่เรียกว่า ‘facebook’ (สามารถเข้าไป ดู ชม หรือใช้ได้จาก http://www.facebook.com – นี่คือการโฆษณาที่ไม่ได้รับเงินตอบแทนใดๆ) โดยนับวัน คนที่ “ติด” facebook นี้ก็ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าสงสัยว่าทำไม ทำไม ทำไม...
ผมอยากจะเสนอลงไปอย่างชัดเจนในที่นี้ว่า ผมมองว่าแท้จริงแล้ว “การเล่น facebook นั้นมันก็คือ การสำเร็จความใคร่ทางจิต และสังคมของผู้ใช้” นั่นแหละ ฉะนั้นสภาพการ “ติด” facebook จึงไม่ได้ต่างอะไรจากการที่คุณ “ติดรสมือขวา (หรือซ้าย) ของตน ในการสำเร็จความใคร่ทางกายภาพ” เลย
หากเราลองเปรียบเทียบด้วยฐานคิดที่ว่า การเข้าสังคม และปะทะสังสรรค์กันด้วยการพบปะกันโดยตรงนั้น เสมือนกับ “การร่วมเพศ” ที่คนอย่างน้อย 2 คนต้องมีการ “เข้าถึง” กันทั้งทางกายภาพ และทางผัสสะอื่นๆ แล้ว การเล่น facebook ที่ทำให้คุณเต็มตื้นทางจิต และสังคมได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือทำอะไรอื่น แม้แต่การก้าวออกจากปริมณฑลแห่งอำนาจของตนเองนั้น จึงทำให้ การเล่น facebook ไม่ได้ต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ที่ทำให้คุณประสบกับความสุข ซูอาเว่ ของคุณได้ ภายในปริมณฑลแห่งอำนาจของคุณอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะด้วยแขนซ้าย หรือแขนขวา หรือสองแขนพร้อมๆ กันไป
ไม่เพียงเท่านั้น หากเรามาลองมองบทบาทของการร่วมเพศผ่านกระบวนทัศน์แบบสายจิตพิเคราะห์ที่มองว่าแท้จริงแล้วการร่วมเพศนั้นก็คือ การเข้าสู่จุดสุดยอดด้วยตนเอง ซึ่งว่ากันในเชิงหลักการแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเลย หรือก็คือ หากมองบนฐานนี้การเล่น facebook ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการไปพบเพื่อนที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยนัก ตราบเท่าที่มันยังนำไปสู่จุดสุดยอดได้ดุจเดียวกัน หรือก็คือ บนฐานของ The end justifies the means. นั่นเอง
นอกไปจากนี้สภาวะที่เป็นดั่งการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของ facebook นี้นั่นเอง ที่ทำให้ผมได้มานั่งนึกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นในทางวิชาการในระยะหลังๆ มานี้เลย นั่นก็คือ บทความที่มีเนื้อหาหลักๆ เกี่ยวกับการที่ facebook มัน “ให้นิยามใหม่ (Redefine)” ต่อ “พื้นที่ส่วนบุคคล” ของเรา แน่นอนว่า โดยมากแล้วงานเหล่านี้จะบ่งชี้ว่า facebook เข้าไปบุกทำลายความเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลต่างๆ นาๆ ... แต่ นั่นน่ะ จริงหรือ?
หากเรามองว่าการสำเร็จความใคร่นั้นเป็นสัญญะแห่งการดำดิ่งสู่พื้นที่ความเป็นส่วนตัวอย่างเป็นที่สุดแล้ว (ซึ่งผมเชื่อว่าโดยทั่วไป ก็คงจะทำให้มันอยู่ในปริมณฑลส่วนตัวมากที่สุดอยู่แล้ว นอกจากจะถ่ายหนังโป๊อยู่) การใช้ facebook ในฐานะการสำเร็จความใคร่ทางสังคม ก็ย่อมหมายถึงการดำดิ่งสู่พื้นที่ส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ แทนที่จะเป็นการลดทอนอย่างที่พยายามบ่นด่ากันไม่ใช่หรือ?
ในโลกของ facebook ผู้ใช้จะได้เสพสุข, ดำดิ่งกับการกลายเป็นเจ้าอำนาจในการสื่อสารนั้นๆ ตัวผู้ใช้มีสิทธิอุปโลกน์ “โลกส่วนตัว ที่มีรูปธรรม” ของตนขึ้นมา และเลือกกรองเอาเฉพาะสิ่งที่ตนอนุมัติให้เข้ามาได้ ในดินแดนแห่งนี้ตัวผู้ใช้จะดำเนินการสนทนากับ “โลก” ในระนาบที่ผิดแปลกไป จากเดิมที่อยู่ในระนาบที่ “เท่าเทียมกัน” ก็จะกลายมาเป็นการอยู่ในระนาบที่ “ตัวผู้ใช้เหนือกว่าโดยสัมบูรณ์” ดังการใช้มือกับอวัยวะเพศของตนเองที่ตัวเจ้าของร่างกายมีอำนาจ และกรรมสิทธิ์เหนือร่างกายตนอย่างเต็มที่ ผิดกับการร่วมเพศที่เป็นการประลองอำนาจระหว่างบุคคล
นั่นทำให้ใน facebook คุณสามารถเลือกที่จะ “สร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่ตัดขาดจากการรับรู้ภายนอก” ได้ คุณสามารถด่าทอในสิ่งที่คุณไม่กล้าที่จะทำเมื่ออยู่ในระนาบความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน, กด “ชอบ (like)” ข้อความที่คุณคิดว่าดูโก้เก๋ แม้ว่าคุณอาจจะไม่เคยเข้าใจมันเลย, หรือแสดงออกทางอารมณ์อย่างสุดฤทธิ์ ด้วยใบหน้าที่เรียบเฉยดังแก้มก้นเด็ก, ฯลฯ กล่าวคือ facebook ได้ทำให้เกิด “พื้นที่ส่วนบุคคล ที่คุณสามารถสร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่คุณต้องการ” จากนั้นก็สัมผัสกับความใคร่ทางสังคมเมื่อมีคนมาปฏิสัมพันธ์กับ “ตัวตนส่วนตัวสัมบูรณ์” ของคุณนั้น...”ซูอาเว่” กันไปข้างหนึ่ง
ด้วยระนาบความสัมพันธ์ที่ทำให้คุณกลายเป็นเจ้าอำนาจนี้เองที่ทำให้คนเราเสพติด facebook กันมากขึ้นอย่างล้นหลาม จริงๆ แล้วก็เป็น irony อย่างหนึ่งทีเดียว ที่การเข้าถึงจุดสุดยอดทางสังคม – วัฒนธรรม มีลักษณะที่สวนทางกับการเข้าถึงจุดสุดยอดทางกายภาพ ที่ความนิยมนั้นจะพัฒนาไปจาก “การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เข้าไปสู่การร่วมเพศ” แต่ในทางสังคมแล้ว กลับกลายเป็น “การร่วมเพศ เข้าสู่การสำเร็จความใคร่” ซึ่งจะว่าไปแล้ว ส่วนหนึ่งนั้นก็อาจจะมาจาก “ทางเลือก” ก็เป็นได้ ในขณะที่ทางกายภาพนั้น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ถูกบีบให้เป็นทางเลือกหลักเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งจะหาคู่ร่วมรักได้ (หากไม่นับข่มขืน) ในทางตรงกันข้าม ก่อนการมีระบบ
social network อย่าง facebook เรากลับถูกบีบให้ร่วมเพศทางสังคม – วัฒนธรรม โดยไม่มีตัวเลือกในการสำเร็จความใคร่เลย ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ ที่แม้จะดูมีความเป็นส่วนตัว แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ยังคงไม่ได้แตกต่างอะไรจากเดิม และยังไม่ใช่การตัดขาดโดยสัมบูรณ์ระหว่างตัวผู้ใช้ กับโลกภายนอก มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเป็นตัวตนในจินตกรรมอันแท้จริงมากำกับ เช่น น้ำเสียง ที่แม้จะเบื่อแสนเบื่อ แต่ก็ต้องทำสดใสร่าเริง ไปจนถึง MSN ที่แม้จะดูส่วนตัวมากขึ้น แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ไม่ได้แตกต่างเช่นกัน ปัจจัยอื่นๆ อันนำมาสู่ความไม่สมบูรณ์ของตัวตนในจินตกรรมก็คงอยู่เช่นกัน เช่น ความไวในการตอบสนอง หรือแม้แต่ท่าทีผ่านการตอบ อย่างการที่อีกฝ่ายพิมพ์มายืดยาว และตอบกลับแค่ “อืม” เป็นต้น กล่าวคือ ด้วยสภาพที่ถูกบีบคั้น และจำเจ ของการมีตัวเลือกเดียวมาโดยตลอดในระยะแรก (การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในกรณีเชิงกายภาพ และการร่วมเพศ ในกรณีเชิงสังคม – วัฒนธรรม) ที่ทำให้เกิดการถ่ายเท ของการเสพติดมาสู่อีกทางเลือกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย เมื่อได้ครอบครองอำนาจในการเลือกทางเลือกใหม่นั่นเอง
สุดท้าย...ก็ขอให้ชาว facebook ทุกท่าน จงถึงจุดสุดยอดโดยทั่วกันเทอญ
ที่มา.ประชาไท
ในตอนนี้ คงมีคนที่ใช้งานโลกอินเตอร์เน็ตน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักระบบ เครือข่ายทางสังคม (Social Network) ที่เรียกว่า ‘facebook’ (สามารถเข้าไป ดู ชม หรือใช้ได้จาก http://www.facebook.com – นี่คือการโฆษณาที่ไม่ได้รับเงินตอบแทนใดๆ) โดยนับวัน คนที่ “ติด” facebook นี้ก็ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าสงสัยว่าทำไม ทำไม ทำไม...
ผมอยากจะเสนอลงไปอย่างชัดเจนในที่นี้ว่า ผมมองว่าแท้จริงแล้ว “การเล่น facebook นั้นมันก็คือ การสำเร็จความใคร่ทางจิต และสังคมของผู้ใช้” นั่นแหละ ฉะนั้นสภาพการ “ติด” facebook จึงไม่ได้ต่างอะไรจากการที่คุณ “ติดรสมือขวา (หรือซ้าย) ของตน ในการสำเร็จความใคร่ทางกายภาพ” เลย
หากเราลองเปรียบเทียบด้วยฐานคิดที่ว่า การเข้าสังคม และปะทะสังสรรค์กันด้วยการพบปะกันโดยตรงนั้น เสมือนกับ “การร่วมเพศ” ที่คนอย่างน้อย 2 คนต้องมีการ “เข้าถึง” กันทั้งทางกายภาพ และทางผัสสะอื่นๆ แล้ว การเล่น facebook ที่ทำให้คุณเต็มตื้นทางจิต และสังคมได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือทำอะไรอื่น แม้แต่การก้าวออกจากปริมณฑลแห่งอำนาจของตนเองนั้น จึงทำให้ การเล่น facebook ไม่ได้ต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ที่ทำให้คุณประสบกับความสุข ซูอาเว่ ของคุณได้ ภายในปริมณฑลแห่งอำนาจของคุณอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะด้วยแขนซ้าย หรือแขนขวา หรือสองแขนพร้อมๆ กันไป
ไม่เพียงเท่านั้น หากเรามาลองมองบทบาทของการร่วมเพศผ่านกระบวนทัศน์แบบสายจิตพิเคราะห์ที่มองว่าแท้จริงแล้วการร่วมเพศนั้นก็คือ การเข้าสู่จุดสุดยอดด้วยตนเอง ซึ่งว่ากันในเชิงหลักการแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองเลย หรือก็คือ หากมองบนฐานนี้การเล่น facebook ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการไปพบเพื่อนที่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยนัก ตราบเท่าที่มันยังนำไปสู่จุดสุดยอดได้ดุจเดียวกัน หรือก็คือ บนฐานของ The end justifies the means. นั่นเอง
นอกไปจากนี้สภาวะที่เป็นดั่งการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของ facebook นี้นั่นเอง ที่ทำให้ผมได้มานั่งนึกถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเรียกได้ว่าเป็นแฟชั่นในทางวิชาการในระยะหลังๆ มานี้เลย นั่นก็คือ บทความที่มีเนื้อหาหลักๆ เกี่ยวกับการที่ facebook มัน “ให้นิยามใหม่ (Redefine)” ต่อ “พื้นที่ส่วนบุคคล” ของเรา แน่นอนว่า โดยมากแล้วงานเหล่านี้จะบ่งชี้ว่า facebook เข้าไปบุกทำลายความเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลต่างๆ นาๆ ... แต่ นั่นน่ะ จริงหรือ?
หากเรามองว่าการสำเร็จความใคร่นั้นเป็นสัญญะแห่งการดำดิ่งสู่พื้นที่ความเป็นส่วนตัวอย่างเป็นที่สุดแล้ว (ซึ่งผมเชื่อว่าโดยทั่วไป ก็คงจะทำให้มันอยู่ในปริมณฑลส่วนตัวมากที่สุดอยู่แล้ว นอกจากจะถ่ายหนังโป๊อยู่) การใช้ facebook ในฐานะการสำเร็จความใคร่ทางสังคม ก็ย่อมหมายถึงการดำดิ่งสู่พื้นที่ส่วนบุคคลอย่างเต็มที่ แทนที่จะเป็นการลดทอนอย่างที่พยายามบ่นด่ากันไม่ใช่หรือ?
ในโลกของ facebook ผู้ใช้จะได้เสพสุข, ดำดิ่งกับการกลายเป็นเจ้าอำนาจในการสื่อสารนั้นๆ ตัวผู้ใช้มีสิทธิอุปโลกน์ “โลกส่วนตัว ที่มีรูปธรรม” ของตนขึ้นมา และเลือกกรองเอาเฉพาะสิ่งที่ตนอนุมัติให้เข้ามาได้ ในดินแดนแห่งนี้ตัวผู้ใช้จะดำเนินการสนทนากับ “โลก” ในระนาบที่ผิดแปลกไป จากเดิมที่อยู่ในระนาบที่ “เท่าเทียมกัน” ก็จะกลายมาเป็นการอยู่ในระนาบที่ “ตัวผู้ใช้เหนือกว่าโดยสัมบูรณ์” ดังการใช้มือกับอวัยวะเพศของตนเองที่ตัวเจ้าของร่างกายมีอำนาจ และกรรมสิทธิ์เหนือร่างกายตนอย่างเต็มที่ ผิดกับการร่วมเพศที่เป็นการประลองอำนาจระหว่างบุคคล
นั่นทำให้ใน facebook คุณสามารถเลือกที่จะ “สร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่ตัดขาดจากการรับรู้ภายนอก” ได้ คุณสามารถด่าทอในสิ่งที่คุณไม่กล้าที่จะทำเมื่ออยู่ในระนาบความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน, กด “ชอบ (like)” ข้อความที่คุณคิดว่าดูโก้เก๋ แม้ว่าคุณอาจจะไม่เคยเข้าใจมันเลย, หรือแสดงออกทางอารมณ์อย่างสุดฤทธิ์ ด้วยใบหน้าที่เรียบเฉยดังแก้มก้นเด็ก, ฯลฯ กล่าวคือ facebook ได้ทำให้เกิด “พื้นที่ส่วนบุคคล ที่คุณสามารถสร้างตัวตนโดยสัมบูรณ์ที่คุณต้องการ” จากนั้นก็สัมผัสกับความใคร่ทางสังคมเมื่อมีคนมาปฏิสัมพันธ์กับ “ตัวตนส่วนตัวสัมบูรณ์” ของคุณนั้น...”ซูอาเว่” กันไปข้างหนึ่ง
ด้วยระนาบความสัมพันธ์ที่ทำให้คุณกลายเป็นเจ้าอำนาจนี้เองที่ทำให้คนเราเสพติด facebook กันมากขึ้นอย่างล้นหลาม จริงๆ แล้วก็เป็น irony อย่างหนึ่งทีเดียว ที่การเข้าถึงจุดสุดยอดทางสังคม – วัฒนธรรม มีลักษณะที่สวนทางกับการเข้าถึงจุดสุดยอดทางกายภาพ ที่ความนิยมนั้นจะพัฒนาไปจาก “การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เข้าไปสู่การร่วมเพศ” แต่ในทางสังคมแล้ว กลับกลายเป็น “การร่วมเพศ เข้าสู่การสำเร็จความใคร่” ซึ่งจะว่าไปแล้ว ส่วนหนึ่งนั้นก็อาจจะมาจาก “ทางเลือก” ก็เป็นได้ ในขณะที่ทางกายภาพนั้น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ถูกบีบให้เป็นทางเลือกหลักเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งจะหาคู่ร่วมรักได้ (หากไม่นับข่มขืน) ในทางตรงกันข้าม ก่อนการมีระบบ
social network อย่าง facebook เรากลับถูกบีบให้ร่วมเพศทางสังคม – วัฒนธรรม โดยไม่มีตัวเลือกในการสำเร็จความใคร่เลย ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ ที่แม้จะดูมีความเป็นส่วนตัว แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ยังคงไม่ได้แตกต่างอะไรจากเดิม และยังไม่ใช่การตัดขาดโดยสัมบูรณ์ระหว่างตัวผู้ใช้ กับโลกภายนอก มีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเป็นตัวตนในจินตกรรมอันแท้จริงมากำกับ เช่น น้ำเสียง ที่แม้จะเบื่อแสนเบื่อ แต่ก็ต้องทำสดใสร่าเริง ไปจนถึง MSN ที่แม้จะดูส่วนตัวมากขึ้น แต่ระนาบความสัมพันธ์ก็ไม่ได้แตกต่างเช่นกัน ปัจจัยอื่นๆ อันนำมาสู่ความไม่สมบูรณ์ของตัวตนในจินตกรรมก็คงอยู่เช่นกัน เช่น ความไวในการตอบสนอง หรือแม้แต่ท่าทีผ่านการตอบ อย่างการที่อีกฝ่ายพิมพ์มายืดยาว และตอบกลับแค่ “อืม” เป็นต้น กล่าวคือ ด้วยสภาพที่ถูกบีบคั้น และจำเจ ของการมีตัวเลือกเดียวมาโดยตลอดในระยะแรก (การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ในกรณีเชิงกายภาพ และการร่วมเพศ ในกรณีเชิงสังคม – วัฒนธรรม) ที่ทำให้เกิดการถ่ายเท ของการเสพติดมาสู่อีกทางเลือกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย เมื่อได้ครอบครองอำนาจในการเลือกทางเลือกใหม่นั่นเอง
สุดท้าย...ก็ขอให้ชาว facebook ทุกท่าน จงถึงจุดสุดยอดโดยทั่วกันเทอญ
ที่มา.ประชาไท
บทเรียนไอร์แลนด์เหนือ...จากมิคสัญญีสู่สันติภาพ
ท่ามกลางบรรยากาศการคลำทางสู่ความปรองดอง สมานฉันท์ และสันติภาพในสังคมไทย ทั้งจากปมปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในส่วนกลาง และปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แทบมองไม่เห็นแสงสว่าง ยังคงมีตัวอย่างความขัดแย้งขนาดใหญ่ที่จบลงได้ด้วยกระบวนการเจรจาให้ศึกษาและถอดบทเรียน
เมื่อกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการเรียนการสอนหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ "4 ส." รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้าได้จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ และอดีตสมาชิกขบวนการไอร์อาร์เอ (Irish Republican Army) ซึ่งเคยมีปัญหาขัดแย้งถึงขั้นเข่นฆ่ากันมาก่อน แต่ปัจจุบันได้หันหน้ามาร่วมมือกันสร้าง "กระบวนการสันติภาพ" อันนำมาสู่การยุติความรุนแรงยืดเยื้อในไอร์แลนด์เหนือได้ในที่สุด
ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ปัญหาบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ประชากรดั้งเดิมซึ่งเป็นชาวไอริชนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกรู้สึกว่าถูกขโมยดินแดนไป และเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านเพื่อเรียกร้องอิสระในการปกครองตนเอง
กระทั่งปี ค.ศ.1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act โดยอังกฤษยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป
การแบ่งประเทศครั้งนั้นทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรโปรแตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และประชากรคาทอลิกราวร้อยละ 40 กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นชาวโปรแตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก และต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษเพื่อไปผนวกกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์
กลุ่ม Unionist เป็นเสียงส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือ กุมอำนาจทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมานานเกือบ 50 ปี กระทั่งปี ค.ศ.1968 ได้เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม และยุติการกดขี่ชาวคาทอลิก
การประท้วงขยายตัวเป็นความรุนแรงถึงขั้นปะทะกันระหว่างกองกำลังประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Troubles กินเวลานานถึง 30 ปี ก่อให้เกิดความสูญเสียกว่า 3,600 ชีวิต บาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจหลายหมื่นคน ทั้งยังมีผู้ถูกจับกุม 36,000 คน
แต่แล้วสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ก็เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อมีกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างไออาร์เอกับรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีอำนาจรัฐ (Non State Holder) ในปี ค.ศ.1994 นำไปสู่สัญญาณที่ดีของการเริ่มหยุดยิงในบางช่วง
กระทั่งปี ค.ศ.1998 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธี โดยให้อังกฤษถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้แก่คณะผู้บริหารและสภาของไอร์แลนด์เหนือ ในลักษณะของการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคการเมืองหลักของทั้งสองฝ่าย
ผลจากข้อตกลงสันติภาพ ทำให้วันนี้คนที่เคยอยู่คนละขั้วคนละฝ่ายกัน และเคยไล่เข่นฆ่ากัน กลับมานั่งอยู่บนเวทีเดียวกันได้!
"ฟัง"เพื่อสันติภาพ
วิทยากรจากไอร์แลนด์เหนือที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย Alex Maskey สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Sinn Fein มีอุดมการณ์แยกดินแดนจากอังกฤษเพื่อตั้งรัฐอิสระ, Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Democratic Unionist มีจุดยืนต้องการอยู่กับอังกฤษต่อไป, Michael Culbert อดีตสมาชิกขบวนการไออาร์เอ และนักโทษการเมือง ซึ่งวันนี้เป็นผู้อำนวยการ Coiste องค์กรที่ดูแลนักโทษการเมืองของไออาร์เอ และ Ian White ผู้อำนวยการศูนย์ Glencree ซึ่งเป็นเอ็นจีโอไอร์แลนด์เหนือ ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายสามารถพูดคุยกันได้
ความน่าทึ่งก็คือ คนเหล่านี้มานั่งบนเวทีเดียวกัน และพูดกันเรื่องสันติภาพ!
Ian White ถอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ปัจจัยสำคัญของกระบวนการสันติภาพคือทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะทุกฝ่ายล้วนมีคุณูปการต่อกระบวนการสันติภาพ แต่การสร้างกระบวนการสันติภาพนั้น เขาใช้คำว่า "Easy to say but difficult to do" หรือ “พูดง่ายแต่ทำยาก” เพราะมักจะมีคำถามว่าไปคุยกับคนที่ฆ่าเราได้อย่างไร
"ความยากคือการดึงคนที่ไม่ใช่เพื่อนเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ" เขาบอก และว่า การส่งกำลังทหารเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ใช่คำตอบอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วจากหลายๆ พื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น รากเหง้าของปัญหาที่ไอร์แลนด์เหนือคือความไม่เท่าเทียม ความพยายามปลูกฝังให้ยอมรับอัตลักษณ์ของอีกฝ่าย ฉะนั้นทางแก้จึงไม่ใช่อาวุธปืน
Alex Maskey เสริมว่า เคล็ดลับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ คือประชาชนต้องรู้ว่ากำลังเจรจาเรื่องอะไร มีความเข้าใจ และต้องเป็นรูปธรรม ผลของกระบวนการต้องทำให้ชีวิตของประชาชนทุกฝ่ายดีขึ้น
ขณะที่ Jimmy Spratt อดีตตำรวจ ให้ทัศนะว่า กระบวนการสันติภาพใช้เวลายาวนาน ฉะนั้นแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือประชาชนทั่วไปต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการสันติภาพจริงๆ ก่อน การจะแสวงหาทางออกต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องรู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา ต้องฟังว่าคนอื่นมีปัญหาอะไรบ้าง จะได้ช่วยกันแก้ แม้ปัญหาที่เจอจะไม่เหมือนกับเราก็ตาม
"การแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ แต่ใช้จิตใจ การดึงทุกฝ่ายมานั่งด้วยกันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและได้รับการยอมรับในที่สุด"
ในฐานะอดีตตำรวจ เขาบอกว่า "จุดเปลี่ยน" ในทัศนะของเขาเอง คือการที่ได้ไปงานศพแล้วเห็นน้ำตาของผู้สูญเสีย ไม่ว่าจะฝ่ายไหนทุกคนก็ร้องไห้เหมือนกัน ความสูญเสียร่วมกันทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ขณะที่กฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินแก้ไขได้ชั่วคราว แต่ไม่ยั่งยืน
Michael Culbert อดีตสมาชิกไออาร์เอ ซึ่งเคยติดคุกนานถึง 16 ปี บอกว่า ในอดีตรัฐบาลอังกฤษไม่เคยรู้เลยว่าอะไรทำให้ ไออาร์เอ ต้องต่อสู้และต้องการประกาศเอกราชจากอังกฤษ หนำซ้ำอังกฤษยังแก้ปัญหาด้วยการสนับสนุนให้คนไอริชบางกลุ่มมีอำนาจปกครอง ประชาชนส่วนที่เหลือจึงต้องต่อสู้
"อังกฤษมองไม่ออกว่าอะไรเป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง อังกฤษมองแบบผู้ปกครอง สร้างโรงเรียนให้ สร้างบ้านจัดสรรให้ แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง เมื่อคนโดนกดขี่ ก็ต้องหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้ เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ประเทศ ฉะนั้นการใช้กำลังทหารตำรวจเข้าแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหายิ่งหนักและบานปลาย”
อดีตสมาชิกไออาร์เอ เสนอว่า แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนคือต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเจรจา และเอื้อต่อกระบวนการสร้างสันติภาพด้วย สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องฟังกันและกัน...
หลายประโยคจากวิทยากรที่สะท้อนปัญหาความขัดแย้ง บางมุมก็ไม่ต่างอะไรกับที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะในบริบทของม็อบเสื้อแดง หรือสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม แต่ความต่างก็คือประเทศอื่นเขาเริ่มสร้างกระบวนการสันติภาพกันแล้ว หลายชาตินับไปถึงสิบแล้วด้วยซ้ำ...
เมื่อไหร่ไทยจะเริ่มนับหนึ่ง?!?
( หมายเหตุ รายงานชิ้นนี้ ผลิตโดย ทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา )
ที่มา.มติชนออนไลน์
เมื่อกลางเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ในการเรียนการสอนหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข หรือ "4 ส." รุ่นที่ 2 สถาบันพระปกเกล้าได้จัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือ และอดีตสมาชิกขบวนการไอร์อาร์เอ (Irish Republican Army) ซึ่งเคยมีปัญหาขัดแย้งถึงขั้นเข่นฆ่ากันมาก่อน แต่ปัจจุบันได้หันหน้ามาร่วมมือกันสร้าง "กระบวนการสันติภาพ" อันนำมาสู่การยุติความรุนแรงยืดเยื้อในไอร์แลนด์เหนือได้ในที่สุด
ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอังกฤษ ปัญหาบนเกาะเล็กๆ แห่งนี้ปะทุขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เมื่อชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์จำนวนมากได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์ ทำให้ประชากรดั้งเดิมซึ่งเป็นชาวไอริชนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกรู้สึกว่าถูกขโมยดินแดนไป และเริ่มเคลื่อนไหวต่อต้านเพื่อเรียกร้องอิสระในการปกครองตนเอง
กระทั่งปี ค.ศ.1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้ลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act โดยอังกฤษยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป
การแบ่งประเทศครั้งนั้นทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรโปรแตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และประชากรคาทอลิกราวร้อยละ 40 กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งเป็นชาวโปรแตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก และต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษเพื่อไปผนวกกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์
กลุ่ม Unionist เป็นเสียงส่วนใหญ่ในไอร์แลนด์เหนือ กุมอำนาจทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมมานานเกือบ 50 ปี กระทั่งปี ค.ศ.1968 ได้เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคม และยุติการกดขี่ชาวคาทอลิก
การประท้วงขยายตัวเป็นความรุนแรงถึงขั้นปะทะกันระหว่างกองกำลังประชาชนทั้งสองฝ่าย หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Troubles กินเวลานานถึง 30 ปี ก่อให้เกิดความสูญเสียกว่า 3,600 ชีวิต บาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจหลายหมื่นคน ทั้งยังมีผู้ถูกจับกุม 36,000 คน
แต่แล้วสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ก็เริ่มก่อตัวขึ้น เมื่อมีกระบวนการเจรจาสันติภาพระหว่างไออาร์เอกับรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งกลุ่มที่ไม่มีอำนาจรัฐ (Non State Holder) ในปี ค.ศ.1994 นำไปสู่สัญญาณที่ดีของการเริ่มหยุดยิงในบางช่วง
กระทั่งปี ค.ศ.1998 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงสันติภาพจากความพยายามแก้ไขปัญหาทางการเมืองด้วยสันติวิธี โดยให้อังกฤษถ่ายโอนอำนาจการปกครองให้แก่คณะผู้บริหารและสภาของไอร์แลนด์เหนือ ในลักษณะของการแบ่งสรรอำนาจระหว่างพรรคการเมืองหลักของทั้งสองฝ่าย
ผลจากข้อตกลงสันติภาพ ทำให้วันนี้คนที่เคยอยู่คนละขั้วคนละฝ่ายกัน และเคยไล่เข่นฆ่ากัน กลับมานั่งอยู่บนเวทีเดียวกันได้!
"ฟัง"เพื่อสันติภาพ
วิทยากรจากไอร์แลนด์เหนือที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย Alex Maskey สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Sinn Fein มีอุดมการณ์แยกดินแดนจากอังกฤษเพื่อตั้งรัฐอิสระ, Jimmy Spratt สมาชิกสภาไอร์แลนด์เหนือจากเขตเบลฟาสต์ใต้ สังกัดพรรค Democratic Unionist มีจุดยืนต้องการอยู่กับอังกฤษต่อไป, Michael Culbert อดีตสมาชิกขบวนการไออาร์เอ และนักโทษการเมือง ซึ่งวันนี้เป็นผู้อำนวยการ Coiste องค์กรที่ดูแลนักโทษการเมืองของไออาร์เอ และ Ian White ผู้อำนวยการศูนย์ Glencree ซึ่งเป็นเอ็นจีโอไอร์แลนด์เหนือ ทำหน้าที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายสามารถพูดคุยกันได้
ความน่าทึ่งก็คือ คนเหล่านี้มานั่งบนเวทีเดียวกัน และพูดกันเรื่องสันติภาพ!
Ian White ถอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ปัจจัยสำคัญของกระบวนการสันติภาพคือทุกคนต้องมีส่วนร่วม เพราะทุกฝ่ายล้วนมีคุณูปการต่อกระบวนการสันติภาพ แต่การสร้างกระบวนการสันติภาพนั้น เขาใช้คำว่า "Easy to say but difficult to do" หรือ “พูดง่ายแต่ทำยาก” เพราะมักจะมีคำถามว่าไปคุยกับคนที่ฆ่าเราได้อย่างไร
"ความยากคือการดึงคนที่ไม่ใช่เพื่อนเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ" เขาบอก และว่า การส่งกำลังทหารเข้าไปแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ใช่คำตอบอย่างแน่นอน เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วจากหลายๆ พื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น รากเหง้าของปัญหาที่ไอร์แลนด์เหนือคือความไม่เท่าเทียม ความพยายามปลูกฝังให้ยอมรับอัตลักษณ์ของอีกฝ่าย ฉะนั้นทางแก้จึงไม่ใช่อาวุธปืน
Alex Maskey เสริมว่า เคล็ดลับความสำเร็จของกระบวนการสันติภาพ คือประชาชนต้องรู้ว่ากำลังเจรจาเรื่องอะไร มีความเข้าใจ และต้องเป็นรูปธรรม ผลของกระบวนการต้องทำให้ชีวิตของประชาชนทุกฝ่ายดีขึ้น
ขณะที่ Jimmy Spratt อดีตตำรวจ ให้ทัศนะว่า กระบวนการสันติภาพใช้เวลายาวนาน ฉะนั้นแต่ละฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือประชาชนทั่วไปต้องแสดงให้เห็นว่าต้องการสันติภาพจริงๆ ก่อน การจะแสวงหาทางออกต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องรู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา ต้องฟังว่าคนอื่นมีปัญหาอะไรบ้าง จะได้ช่วยกันแก้ แม้ปัญหาที่เจอจะไม่เหมือนกับเราก็ตาม
"การแก้ปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธ แต่ใช้จิตใจ การดึงทุกฝ่ายมานั่งด้วยกันเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เกิดการถ่วงดุลและได้รับการยอมรับในที่สุด"
ในฐานะอดีตตำรวจ เขาบอกว่า "จุดเปลี่ยน" ในทัศนะของเขาเอง คือการที่ได้ไปงานศพแล้วเห็นน้ำตาของผู้สูญเสีย ไม่ว่าจะฝ่ายไหนทุกคนก็ร้องไห้เหมือนกัน ความสูญเสียร่วมกันทำให้ต้องเข้าสู่กระบวนการสันติภาพ ขณะที่กฎหมายควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินแก้ไขได้ชั่วคราว แต่ไม่ยั่งยืน
Michael Culbert อดีตสมาชิกไออาร์เอ ซึ่งเคยติดคุกนานถึง 16 ปี บอกว่า ในอดีตรัฐบาลอังกฤษไม่เคยรู้เลยว่าอะไรทำให้ ไออาร์เอ ต้องต่อสู้และต้องการประกาศเอกราชจากอังกฤษ หนำซ้ำอังกฤษยังแก้ปัญหาด้วยการสนับสนุนให้คนไอริชบางกลุ่มมีอำนาจปกครอง ประชาชนส่วนที่เหลือจึงต้องต่อสู้
"อังกฤษมองไม่ออกว่าอะไรเป็นปัญหาหลัก อะไรเป็นปัญหารอง อังกฤษมองแบบผู้ปกครอง สร้างโรงเรียนให้ สร้างบ้านจัดสรรให้ แต่ไม่รู้ว่าอะไรที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง เมื่อคนโดนกดขี่ ก็ต้องหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้ เป็นความคิดทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ประเทศ ฉะนั้นการใช้กำลังทหารตำรวจเข้าแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหายิ่งหนักและบานปลาย”
อดีตสมาชิกไออาร์เอ เสนอว่า แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนคือต้องสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการเจรจา และเอื้อต่อกระบวนการสร้างสันติภาพด้วย สิ่งสำคัญคือทุกฝ่ายต้องฟังกันและกัน...
หลายประโยคจากวิทยากรที่สะท้อนปัญหาความขัดแย้ง บางมุมก็ไม่ต่างอะไรกับที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะในบริบทของม็อบเสื้อแดง หรือสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม แต่ความต่างก็คือประเทศอื่นเขาเริ่มสร้างกระบวนการสันติภาพกันแล้ว หลายชาตินับไปถึงสิบแล้วด้วยซ้ำ...
เมื่อไหร่ไทยจะเริ่มนับหนึ่ง?!?
( หมายเหตุ รายงานชิ้นนี้ ผลิตโดย ทีมข่าวอิศรา โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา )
ที่มา.มติชนออนไลน์
เสาหลักที่หักโค่นของประชาธิปไตย
นับกาลล่วงเลยผ่านยาวนานถึง 78 ปีแห่งการปฏิวัติสยามประเทศ ก้าวข้ามการเปลี่ยนระบบสังคมเก่า เข้าสู้อุดมคติแห่งการปกครองของเสรีชนผู้ใฝ่ฝัน “ประชาธิปไตย” โดยนักปกครองหัวสมัยใหม่ขณะนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “คณะราษฎร” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
เป็นที่ทราบกันดีเหตุการณ์ในวัน นั้นเต็มไปด้วยความสุ่มเสี่ยงล่อแหลม มากมายเพราะอาจซ้ำรอย “กบฏ ร.ศ. 130” ซึ่งจะว่าไปก็ถือเป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกันมานั่นเอง
แต่แล้วเหตุการณ์ต่างๆ กลับผ่านพ้นไปด้วยดี ไพร่ฟ้าได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตามสิทธิเสรีภาพในแบบประชา ธิปไตย
ซึ่งภายหลังคณะราษฎรได้ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรขึ้น โดยปรากฏอยู่ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และถือเป็นนโนบายของคณะกรรมการ ราษฎรชุดแรกในระบอบประชาธิปไตยของ ประเทศสยาม
และหลัก 6 ประการนี้ มีสรุปคำ ใจความหลักคือ “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา”
หลัก 6 ประการสามารถประมวลได้ดังนี้
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้ง หลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะ พยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่า ราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6.จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
หลัก 6 ประการที่กล่าวมานี้คือแบบแผนของประชาธิปไตย ที่เชื่อว่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของประชาชนตามแนวคิด ของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยในสมัยนั้น ก่อนที่จะถูกปล้นโดยรัฐบาลทหารใน ยุคต่อมา
ซึ่งนับเวลาที่ล่วงเลยมา 78 ปีที่ผ่านมานี้หลัก 6 ประการแห่งประชา ธิปไตยกลับเลือนหายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะประชาธิปไตยที่เรารู้จักกันอยู่ เช่นตอนนี้กลับเหลือแค่เสรีภาพ... อิสระในการสนองความต้องการส่วนตัว โดยอ้างว่า... “เพื่อประชาธิปไตย” จนทำให้งงกันไปหมดแล้วว่าไอ้ประชาธิป ไตยที่ว่าอยู่บนพานใบเดียวกันหรือเปล่า
ทุกวันนี้เราจะเห็นหลัก 6 ประการก็แต่เพียงที่เป็นสัญลักษณ์ทางประติมากรรมเท่านั้นอย่างเช่นการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม หรือศาลากลางจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร มีเสาใหญ่หกเสาด้านหน้า ซึ่งอ้างอิงถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
แต่เสาหลักของประชาธิปไตยได้ ถูกหักโค่นไปนานแล้วโดยที่เราเองกลับ ไม่รู้ตัว เพราะสำคัญผิดแต่ความต้องการ สนองอารมณ์ตัวเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
เป็นที่ทราบกันดีเหตุการณ์ในวัน นั้นเต็มไปด้วยความสุ่มเสี่ยงล่อแหลม มากมายเพราะอาจซ้ำรอย “กบฏ ร.ศ. 130” ซึ่งจะว่าไปก็ถือเป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกันมานั่นเอง
แต่แล้วเหตุการณ์ต่างๆ กลับผ่านพ้นไปด้วยดี ไพร่ฟ้าได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตามสิทธิเสรีภาพในแบบประชา ธิปไตย
ซึ่งภายหลังคณะราษฎรได้ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรขึ้น โดยปรากฏอยู่ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และถือเป็นนโนบายของคณะกรรมการ ราษฎรชุดแรกในระบอบประชาธิปไตยของ ประเทศสยาม
และหลัก 6 ประการนี้ มีสรุปคำ ใจความหลักคือ “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา”
หลัก 6 ประการสามารถประมวลได้ดังนี้
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้ง หลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะ พยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่า ราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6.จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
หลัก 6 ประการที่กล่าวมานี้คือแบบแผนของประชาธิปไตย ที่เชื่อว่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของประชาชนตามแนวคิด ของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยในสมัยนั้น ก่อนที่จะถูกปล้นโดยรัฐบาลทหารใน ยุคต่อมา
ซึ่งนับเวลาที่ล่วงเลยมา 78 ปีที่ผ่านมานี้หลัก 6 ประการแห่งประชา ธิปไตยกลับเลือนหายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะประชาธิปไตยที่เรารู้จักกันอยู่ เช่นตอนนี้กลับเหลือแค่เสรีภาพ... อิสระในการสนองความต้องการส่วนตัว โดยอ้างว่า... “เพื่อประชาธิปไตย” จนทำให้งงกันไปหมดแล้วว่าไอ้ประชาธิป ไตยที่ว่าอยู่บนพานใบเดียวกันหรือเปล่า
ทุกวันนี้เราจะเห็นหลัก 6 ประการก็แต่เพียงที่เป็นสัญลักษณ์ทางประติมากรรมเท่านั้นอย่างเช่นการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม หรือศาลากลางจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร มีเสาใหญ่หกเสาด้านหน้า ซึ่งอ้างอิงถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
แต่เสาหลักของประชาธิปไตยได้ ถูกหักโค่นไปนานแล้วโดยที่เราเองกลับ ไม่รู้ตัว เพราะสำคัญผิดแต่ความต้องการ สนองอารมณ์ตัวเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
ความเหมือนบนความแตกต่าง
ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองยุคใหม่ที่ผ่านมา แทบไม่มีความแตกต่างจากสมัยนี้เท่าไรนัก จะต่างกันตรงที่แค่การสื่อสาร วิทยาการ และเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น แต่จิตใจของคนที่ถืออำนาจในมือกลับตกต่ำเหมือนเดิม มุ่งหวังแต่จะหวงอำนาจ กอบโกยผลประโยชน์ เงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญเข้าตัวและพวกพ้อง
โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งถ้านับเหตุการณ์การเมืองที่ เกิดขึ้นกับสังคมไทย นับวันจะยิ่งเหมือนเราหมุนกงล้อประวัติศาสตร์กลับมาที่เดิม ที่สำคัญบางช่วงบางตอนก็ไปคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์การเมืองของต่างประเทศ อย่างไม่ตั้งใจ
เหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในการเมืองไทย ต่างสะท้อนมุมมองออกมาอย่างเด่นชัดในหลายเรื่อง อาทิ เรื่องของผลประโยชน์ อำนาจ และเงินตรา รวมไปถึงการยกเอาสถาบัน หรือลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาเกี่ยว และสุดท้ายมักจะจบลงด้วยประเด็นก่อการร้าย ที่ผ่านมามีหลายเรื่องราวที่คล้ายกับในอดีต
ไล่ตั้งแต่การเมืองยุคใหม่สมัยการปราบปรามนักศึกษา ประชาชน เมื่อ 14 ต.ค.2516 และ 6 ต.ค.2519 สมัยนั้นคนถืออำนาจก็อ้างว่า กลุ่มต่อต้านมีอาวุธร้ายแรง เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้าย โอ!!! ชั่งคล้ายกับยุคนี้เสียนี่กระไร เช่นเดียวกันกับยุคพฤษภาทมิฬ ที่ผู้มีอำนาจก็กล่าวหาในทำนองเดียวกัน และนี่คือหนึ่งในหนัง ม้วนเดียวกัน ที่ตอนหน้าท่านจะได้พบกับวัฏจักรทางการเมืองตั้งแต่ยุคเปลี่ยนแปลง การปกครอง 2475
สำหรับส่วนที่ไปคล้ายคลึงกับสถานการณ์ในต่างประเทศ คงต้องยกให้กับเหตุการณ์นองเลือดในเกาหลีเมื่อ 18 พฤษภาคม 1980 ครั้งนั้นรัฐบาลชุนดูฮวาน หลังจากเข้าควบคุมสภาและจับกุมนักการเมืองหลายคน รวมไปถึงนักประชาธิปไตย หัวเอียงซ้ายอย่างคิมแดจุง ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีระหว่างปี 1998-2003 โดยครั้งนั้นเขาได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิต แต่ก็รอดมาได้
สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาและประชาชนรวมตัวกันต่อต้านกว่า 300,000 คน และจัดตั้งเป็นกองทัพประชาชนต่อสู้กับรัฐบาลทรราช ต่อมารัฐบาล ก็ได้ส่งกองกำลังทหารทั้งทางบกและทางอากาศมากกว่า 200,000 นาย กวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมในย่านใจกลางเมือง โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 90 นาที
ว่ากันว่าทหารเกาหลีถือโอกาสยิงขณะที่ประชาชนและนักศึกษาเคารพธงชาติ โดยท้ายที่สุดก็ยัดเยียดให้ผู้ถูกสังหารเป็นผู้ก่อการร้ายและกบฏคอมมิวนิสต์ไปตามระเบียบ จนกระทั่งในปี 2003 จากข้อมูลในเหตุการณ์ครั้งนั้น พบว่ามีผู้เสียชีวิต 207 คน บาดเจ็บ 2,392 คน และเหยื่อทั่วๆ ไป อีกกว่า 987 คน ซึ่งคาดกันว่าผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตน่าจะมากกว่านี้
เหตุการณ์นี้แทบจะคล้ายกับหลายๆ เหตุสงครามกลางเมืองในบ้านเรา ที่ต่างกันแค่บทสรุปสุดท้าย ที่จอมบงการมือเปื้อนเลือดถูกดำเนินคดี แต่ในเมืองไทยคนสั่งการโดยตรงและคนที่เกี่ยวข้องก็ยังคงลอยนวล..???
แต่ในใจผมเชื่อลึกๆ ว่า บาปกรรมมีจริง และไม่แน่อีกไม่นาน เราอาจจะเหมือนเกาหลีอย่างน้อยอีก 2 อย่างคือ มีการลงโทษจอมเผด็จการตัวจริง และมี การชำระความคืนความเป็นธรรมให้กับผู้บริสุทธิ์ทุกชีวิต ที่ต้องปลิดปลิว
วันนั้นใกล้มาถึงแล้ว เตรียมตัวเตรียมใจได้เลย เมื่อความจริงปรากฏ ท่านจะรู้ว่า การเสวยสุขบนกองเลือด คือ “ความสุขจอมปลอม”
ที่มา.สยามธุรกิจ
โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งถ้านับเหตุการณ์การเมืองที่ เกิดขึ้นกับสังคมไทย นับวันจะยิ่งเหมือนเราหมุนกงล้อประวัติศาสตร์กลับมาที่เดิม ที่สำคัญบางช่วงบางตอนก็ไปคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์การเมืองของต่างประเทศ อย่างไม่ตั้งใจ
เหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ในการเมืองไทย ต่างสะท้อนมุมมองออกมาอย่างเด่นชัดในหลายเรื่อง อาทิ เรื่องของผลประโยชน์ อำนาจ และเงินตรา รวมไปถึงการยกเอาสถาบัน หรือลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาเกี่ยว และสุดท้ายมักจะจบลงด้วยประเด็นก่อการร้าย ที่ผ่านมามีหลายเรื่องราวที่คล้ายกับในอดีต
ไล่ตั้งแต่การเมืองยุคใหม่สมัยการปราบปรามนักศึกษา ประชาชน เมื่อ 14 ต.ค.2516 และ 6 ต.ค.2519 สมัยนั้นคนถืออำนาจก็อ้างว่า กลุ่มต่อต้านมีอาวุธร้ายแรง เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้าย โอ!!! ชั่งคล้ายกับยุคนี้เสียนี่กระไร เช่นเดียวกันกับยุคพฤษภาทมิฬ ที่ผู้มีอำนาจก็กล่าวหาในทำนองเดียวกัน และนี่คือหนึ่งในหนัง ม้วนเดียวกัน ที่ตอนหน้าท่านจะได้พบกับวัฏจักรทางการเมืองตั้งแต่ยุคเปลี่ยนแปลง การปกครอง 2475
สำหรับส่วนที่ไปคล้ายคลึงกับสถานการณ์ในต่างประเทศ คงต้องยกให้กับเหตุการณ์นองเลือดในเกาหลีเมื่อ 18 พฤษภาคม 1980 ครั้งนั้นรัฐบาลชุนดูฮวาน หลังจากเข้าควบคุมสภาและจับกุมนักการเมืองหลายคน รวมไปถึงนักประชาธิปไตย หัวเอียงซ้ายอย่างคิมแดจุง ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีระหว่างปี 1998-2003 โดยครั้งนั้นเขาได้รับการตัดสินโทษประหารชีวิต แต่ก็รอดมาได้
สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาและประชาชนรวมตัวกันต่อต้านกว่า 300,000 คน และจัดตั้งเป็นกองทัพประชาชนต่อสู้กับรัฐบาลทรราช ต่อมารัฐบาล ก็ได้ส่งกองกำลังทหารทั้งทางบกและทางอากาศมากกว่า 200,000 นาย กวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมในย่านใจกลางเมือง โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 90 นาที
ว่ากันว่าทหารเกาหลีถือโอกาสยิงขณะที่ประชาชนและนักศึกษาเคารพธงชาติ โดยท้ายที่สุดก็ยัดเยียดให้ผู้ถูกสังหารเป็นผู้ก่อการร้ายและกบฏคอมมิวนิสต์ไปตามระเบียบ จนกระทั่งในปี 2003 จากข้อมูลในเหตุการณ์ครั้งนั้น พบว่ามีผู้เสียชีวิต 207 คน บาดเจ็บ 2,392 คน และเหยื่อทั่วๆ ไป อีกกว่า 987 คน ซึ่งคาดกันว่าผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตน่าจะมากกว่านี้
เหตุการณ์นี้แทบจะคล้ายกับหลายๆ เหตุสงครามกลางเมืองในบ้านเรา ที่ต่างกันแค่บทสรุปสุดท้าย ที่จอมบงการมือเปื้อนเลือดถูกดำเนินคดี แต่ในเมืองไทยคนสั่งการโดยตรงและคนที่เกี่ยวข้องก็ยังคงลอยนวล..???
แต่ในใจผมเชื่อลึกๆ ว่า บาปกรรมมีจริง และไม่แน่อีกไม่นาน เราอาจจะเหมือนเกาหลีอย่างน้อยอีก 2 อย่างคือ มีการลงโทษจอมเผด็จการตัวจริง และมี การชำระความคืนความเป็นธรรมให้กับผู้บริสุทธิ์ทุกชีวิต ที่ต้องปลิดปลิว
วันนั้นใกล้มาถึงแล้ว เตรียมตัวเตรียมใจได้เลย เมื่อความจริงปรากฏ ท่านจะรู้ว่า การเสวยสุขบนกองเลือด คือ “ความสุขจอมปลอม”
ที่มา.สยามธุรกิจ
สงครามสาดโคลนประชาชนต้องฟังดีๆ
สำนัก(ข่าว)พระพยอม
โดย.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 กำลังเป็นที่จับจ้องว่าเป็นสนามหนึ่งที่มีการสาดโคลนเข้าใส่กันมากที่สุด ฉะนั้นคนฟังจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะฟังฝ่ายไหนมาก็ตาม
และแล้วเทศกาลสาดโคลนก็มาถึง ซึ่งจะใช้สนามเลือกตั้ง กทม. เขต 6 เป็นเวทีระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ 2 พรรคใหญ่นี้ยากที่จะยอมให้แก่กัน ถึงแม้ผู้สมัครจากฝ่ายหลังบอกว่าจะไม่กล่าวโจมตีใคร จะหาเสียงโดยเสนอเพียงนโยบาย แต่เชื่อเถอะว่าบรรดาลิ่วล้อหรือคนในพรรคคงไม่เป็นเช่นนั้นแน่ ต้องมีออกมาอัด ออกมาสวน เพราะอย่างไรการปราศรัยย่อมหนีไม่พ้นการพาดพิง ถ้าการเมืองไทยมีแต่การหาเสียงเชิงนโยบายอย่างเดียวจริง ไม่โจมตีใคร ไม่ใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่มีการสาดโคลนใส่ใคร ป่านนี้ประเทศไทยก้าวหน้ากว่านี้เยอะแล้ว ไม่ต้องมีปัญหาอย่างที่เคย
เราก็ได้รู้ได้เห็นกันอยู่ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะที่ผ่านก็มีแต่การสาดโคลนเข้าใส่กันในยามใดที่มีการเลือกผู้แทน สำหรับเวทีนี้ประชาชนเขาวิจารณ์กันว่าฝ่ายค้านคงเอาเรื่องรัฐบาลมือปื้นเลือดมาเป็นประเด็นสาดใส่กันแน่ๆ ส่วนรัฐบาลก็คงจะหยิบเรื่องผู้ก่อการร้าย คนเผาบ้านเผาเมืองมาพูดปราศรัยเช่นกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ประชาชน ประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ถ้าการเมืองมีแต่เรื่องการกลั่นแกล้งประเทศก็จะไม่ไปไหน และก็ดูจะหนักกว่าเก่า จะพากันลงเหวลงนรกกันมากกว่าเก่า กลายเป็นว่าการเลือกตั้งเป็นการเลือกนรกกันไปเลย ไม่ใช่เลือกคนแต่เป็นการเลือกนรกให้กับชาติบ้านเมือง แต่ถ้าผู้สมัครแต่ละพรรคมีการพูดกันแต่นโยบายและอาศัยความประนีประนอมรอมชอมกัน ทุกคนช่วยกันเสนอแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองกลับมามีความสงบ เพื่อประชาชนจะได้มาร่วมมือกันเดินหน้าสร้างสรรค์ประเทศไทย ไม่ล้าหลัง ไม่ตกหล่มของความขัดแย้ง ไม่เป็นแผ่นเสียงตกร่องเหมือนอย่างที่แล้วๆมา บ้านเมืองเราก็จะกลับมามีความสุข
มีคนกล่าวว่าหากเรายังคิดจะสู้กันเหมือนเดิมก็คงมีแต่จะตายกันแบบเดิม เมื่อก่อนเราเคยสู้กันในป่าในสมัยที่ยังมีคอมมิวนิสต์ ก็จะมีคนตายในป่าเพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ล่าสุดมาสู้กันในเมืองก็ถูกยกตำแหน่งให้เป็นผู้ก่อการร้าย อันนี้ก็มาตายกันในเมืองกันเกือบร้อย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหันมาสู้กันแบบใหม่ ที่เห็นแย่ที่สุดคือสู้แบบอารยะขัดขืน ยังดีที่สู้แบบนี้ไม่มีใครเป็นอะไร แต่อาจเสียอยู่บ้างตรงที่อารยะขัดขืนบางครั้งก็พาประชาธิปไตยไปอยู่ใต้เครื่องมือของกองทัพ อย่าเพิ่งถามว่าใครฆ่าประชาชน เชื่อเถอะว่าไม่มีใครกล้ายอมรับหรอก
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันกลับมานำพาประเทศหนีให้พ้นจากวิกฤตนี้กันเสียที อย่าสร้างวิกฤตให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นเลย เพราะจะเป็นบาปเป็นกรรมกับทุกฝ่ายที่ทำให้บ้านเมืองบอบซ้ำ จะเป็นแบบที่ฝรั่งวิจารณ์หรือไม่ว่าประเทศไทยเสียโอกาส เพราะมีระบบการเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาต่อความเจริญก้าวหน้า
ทำอย่าไรพวกนักการเมืองถึงจะได้รู้สึกตัว โดยไม่หลงมัวเมาทำตัวเป็นอุปสรรค ทำตัวเป็นต้นเหตุขัดขวางความเจริญของบ้านเมือง เพราะจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย และยังจะไม่ได้เป็นการแสดงความฉลาดของคนที่เป็นนักการเมือง
สำหรับประชาชนก็เช่นเดียวกัน เห็นกันบ้างหรือไม่ว่านักการเมืองแต่ละคนพูดจากันอย่างไร พูดจากลับกลอกไปวันๆอย่างไรบ้าง ด่ากันไปด่ากันมา ฟ้องกันมาฟ้องกันไปคนละสองสามที อย่างล่าสุดได้ยินคนระดับแกนนำพันธมิตรฯเม้งใส่กันเรื่องเงินบริจาค แต่ตอนนี้ท่าจะยอมความกันแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นประชาชนก็ได้ฟังอยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าใครพูดจริง อาจจะเป็นการฮั้วกันหรือเปล่า เขายอมปรองดองด้วยหรือเปล่า เขายอมประนีประนอมคดี คงไม่ใช่ว่าเขาปรองดองเพราะความรู้ถึงดีต่อกัน หรือเขาปรองดองด้วยความรู้สึกผิด เพราะกลัวติดคุกติดตะรางทั้งคู่ จึงไม่เกิดประโยชน์อะไรถ้าเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะประชาชนทั่วไป ถ้าได้ฟังอะไรมาอย่าเพิ่งคล้อยตามหรืออารมณ์ขึ้น หากได้ฟังการปราศรัยโจมตีด่ากันด่าไปด่ากันมา
ทั้งหมดน่าจะพอกันได้แล้ว มีเวทีหนึ่งเขาจะนำคนถูกเผากับคนจัดม็อบมาเจอกัน ตรงนี้น่าจะมีหลายทีม คือเอาพวกเสียหายมานั่งคุยกับพวกจัดม็อบ ม็อบสนามบินมาด้วย มาฟังความทุกข์ร้อนเสียหายของคนที่สูญเสียจะได้ฉุกคิดว่าไม่ใช่เรื่องสนุก อาจจะคิดกันได้ว่าไม่น่าทำเลย จนต้องมาวิปฏิสารกันต่อไป
เพราะฉะนั้นการเมืองคราวนี้อย่าให้ต้องมีวิปฏิสารในภายหลัง คือต้องมานั่งเสียใจต่อการกระทำในช่วงที่มีการสาดโคลนใส่กันไม่เกิดประโยชน์
สู้มาช่วยกันสร้างคนโดยไม่เป็นตัวต้นเหตุของความวุ่นวาย แต่เข้ามาเป็นต้นเหตุแห่งความประสานรอยร้าว ให้สมัครสมานสามัคคีปรองดองกันเหมือนเดิมดีกว่า
เจริญพร
โดย.หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม. เขต 6 กำลังเป็นที่จับจ้องว่าเป็นสนามหนึ่งที่มีการสาดโคลนเข้าใส่กันมากที่สุด ฉะนั้นคนฟังจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะฟังฝ่ายไหนมาก็ตาม
และแล้วเทศกาลสาดโคลนก็มาถึง ซึ่งจะใช้สนามเลือกตั้ง กทม. เขต 6 เป็นเวทีระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ 2 พรรคใหญ่นี้ยากที่จะยอมให้แก่กัน ถึงแม้ผู้สมัครจากฝ่ายหลังบอกว่าจะไม่กล่าวโจมตีใคร จะหาเสียงโดยเสนอเพียงนโยบาย แต่เชื่อเถอะว่าบรรดาลิ่วล้อหรือคนในพรรคคงไม่เป็นเช่นนั้นแน่ ต้องมีออกมาอัด ออกมาสวน เพราะอย่างไรการปราศรัยย่อมหนีไม่พ้นการพาดพิง ถ้าการเมืองไทยมีแต่การหาเสียงเชิงนโยบายอย่างเดียวจริง ไม่โจมตีใคร ไม่ใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่มีการสาดโคลนใส่ใคร ป่านนี้ประเทศไทยก้าวหน้ากว่านี้เยอะแล้ว ไม่ต้องมีปัญหาอย่างที่เคย
เราก็ได้รู้ได้เห็นกันอยู่ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เพราะที่ผ่านก็มีแต่การสาดโคลนเข้าใส่กันในยามใดที่มีการเลือกผู้แทน สำหรับเวทีนี้ประชาชนเขาวิจารณ์กันว่าฝ่ายค้านคงเอาเรื่องรัฐบาลมือปื้นเลือดมาเป็นประเด็นสาดใส่กันแน่ๆ ส่วนรัฐบาลก็คงจะหยิบเรื่องผู้ก่อการร้าย คนเผาบ้านเผาเมืองมาพูดปราศรัยเช่นกัน ถ้าเป็นอย่างนี้ประชาชน ประเทศชาติก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร
ถ้าการเมืองมีแต่เรื่องการกลั่นแกล้งประเทศก็จะไม่ไปไหน และก็ดูจะหนักกว่าเก่า จะพากันลงเหวลงนรกกันมากกว่าเก่า กลายเป็นว่าการเลือกตั้งเป็นการเลือกนรกกันไปเลย ไม่ใช่เลือกคนแต่เป็นการเลือกนรกให้กับชาติบ้านเมือง แต่ถ้าผู้สมัครแต่ละพรรคมีการพูดกันแต่นโยบายและอาศัยความประนีประนอมรอมชอมกัน ทุกคนช่วยกันเสนอแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองกลับมามีความสงบ เพื่อประชาชนจะได้มาร่วมมือกันเดินหน้าสร้างสรรค์ประเทศไทย ไม่ล้าหลัง ไม่ตกหล่มของความขัดแย้ง ไม่เป็นแผ่นเสียงตกร่องเหมือนอย่างที่แล้วๆมา บ้านเมืองเราก็จะกลับมามีความสุข
มีคนกล่าวว่าหากเรายังคิดจะสู้กันเหมือนเดิมก็คงมีแต่จะตายกันแบบเดิม เมื่อก่อนเราเคยสู้กันในป่าในสมัยที่ยังมีคอมมิวนิสต์ ก็จะมีคนตายในป่าเพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ล่าสุดมาสู้กันในเมืองก็ถูกยกตำแหน่งให้เป็นผู้ก่อการร้าย อันนี้ก็มาตายกันในเมืองกันเกือบร้อย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหันมาสู้กันแบบใหม่ ที่เห็นแย่ที่สุดคือสู้แบบอารยะขัดขืน ยังดีที่สู้แบบนี้ไม่มีใครเป็นอะไร แต่อาจเสียอยู่บ้างตรงที่อารยะขัดขืนบางครั้งก็พาประชาธิปไตยไปอยู่ใต้เครื่องมือของกองทัพ อย่าเพิ่งถามว่าใครฆ่าประชาชน เชื่อเถอะว่าไม่มีใครกล้ายอมรับหรอก
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันกลับมานำพาประเทศหนีให้พ้นจากวิกฤตนี้กันเสียที อย่าสร้างวิกฤตให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้นเลย เพราะจะเป็นบาปเป็นกรรมกับทุกฝ่ายที่ทำให้บ้านเมืองบอบซ้ำ จะเป็นแบบที่ฝรั่งวิจารณ์หรือไม่ว่าประเทศไทยเสียโอกาส เพราะมีระบบการเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาต่อความเจริญก้าวหน้า
ทำอย่าไรพวกนักการเมืองถึงจะได้รู้สึกตัว โดยไม่หลงมัวเมาทำตัวเป็นอุปสรรค ทำตัวเป็นต้นเหตุขัดขวางความเจริญของบ้านเมือง เพราะจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย และยังจะไม่ได้เป็นการแสดงความฉลาดของคนที่เป็นนักการเมือง
สำหรับประชาชนก็เช่นเดียวกัน เห็นกันบ้างหรือไม่ว่านักการเมืองแต่ละคนพูดจากันอย่างไร พูดจากลับกลอกไปวันๆอย่างไรบ้าง ด่ากันไปด่ากันมา ฟ้องกันมาฟ้องกันไปคนละสองสามที อย่างล่าสุดได้ยินคนระดับแกนนำพันธมิตรฯเม้งใส่กันเรื่องเงินบริจาค แต่ตอนนี้ท่าจะยอมความกันแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นประชาชนก็ได้ฟังอยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าใครพูดจริง อาจจะเป็นการฮั้วกันหรือเปล่า เขายอมปรองดองด้วยหรือเปล่า เขายอมประนีประนอมคดี คงไม่ใช่ว่าเขาปรองดองเพราะความรู้ถึงดีต่อกัน หรือเขาปรองดองด้วยความรู้สึกผิด เพราะกลัวติดคุกติดตะรางทั้งคู่ จึงไม่เกิดประโยชน์อะไรถ้าเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะประชาชนทั่วไป ถ้าได้ฟังอะไรมาอย่าเพิ่งคล้อยตามหรืออารมณ์ขึ้น หากได้ฟังการปราศรัยโจมตีด่ากันด่าไปด่ากันมา
ทั้งหมดน่าจะพอกันได้แล้ว มีเวทีหนึ่งเขาจะนำคนถูกเผากับคนจัดม็อบมาเจอกัน ตรงนี้น่าจะมีหลายทีม คือเอาพวกเสียหายมานั่งคุยกับพวกจัดม็อบ ม็อบสนามบินมาด้วย มาฟังความทุกข์ร้อนเสียหายของคนที่สูญเสียจะได้ฉุกคิดว่าไม่ใช่เรื่องสนุก อาจจะคิดกันได้ว่าไม่น่าทำเลย จนต้องมาวิปฏิสารกันต่อไป
เพราะฉะนั้นการเมืองคราวนี้อย่าให้ต้องมีวิปฏิสารในภายหลัง คือต้องมานั่งเสียใจต่อการกระทำในช่วงที่มีการสาดโคลนใส่กันไม่เกิดประโยชน์
สู้มาช่วยกันสร้างคนโดยไม่เป็นตัวต้นเหตุของความวุ่นวาย แต่เข้ามาเป็นต้นเหตุแห่งความประสานรอยร้าว ให้สมัครสมานสามัคคีปรองดองกันเหมือนเดิมดีกว่า
เจริญพร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)